You are on page 1of 11

๑๕๒ การจัดการดูแลสุ นขั

การให้ ยาในสุ นัข


ประภาพร ตังธนธานิช

ในสิ งมีชีวิตรวมทังคน สัตว์และพืชต่างจําเป็ นต้องมีการได้รับยา ยา


จัดเป็ นปั จจัยหนึ งที จําเป็ นในการดํารงชี พของสิ งมี ชีวิต ซึ งวิธีการให้ยาเข้าสู่
ร่ างกายมีหลายทางและในสิ งมีชีวิตแต่ละชนิ ดก็มีวิธีการให้ยาทีแตกต่างกันไป
ตามลักษณะทางกายวิภาคและความเหมาะสมของสิ งมีชีวิตชนิ ดนันๆ สําหรับ
สุ นขั มีวิธีการให้ยาได้หลายทางดังนี
1. การให้กิน
2. การฉี ดเข้าใต้ผวิ หนัง
3. การฉี ดเข้ากล้ามเนือ
4. การฉี ดเข้าหลอดเลือดดํา
5. การฉี ดเข้าช่องท้อง
6. การป้ ายและหยอดยาตา
7. การหยอดยาหู
1. การให้ กนิ
เป็ นการป้ อนยาทังชนิดเม็ดและนํา อาหารเสริ ม สารทึบแสงในการฉาย
รังสี เอกซ์ (radiographic contrast materials) เพือให้สุนขั กลืน สิ งทีควรระวังคือ
การสําลักสิ งทีป้ อนเข้าสู่ ทางเดินหายใจ
การป้ อนยาชนิดเม็ด
สามารถป้ อนด้วยมือเปล่าหรื อการใช้คีม (Forceps) โดยการใช้มือข้าง
หนึ งจับโอบจมูกและขากรรไกรด้านบน แล้วใช้นิวหัวแม่มือกับนิ วชีของมืออีก
ข้างหนึงจับเม็ดยาหรื อใช้คีมจับเม็ดยาให้กระชับเพือสอดเข้าในช่องปากและวาง
เม็ดยาไว้บนโคนลินลึกๆ จากนันรี บเอามือออกจากช่องปากและโอบปิ ดปากไว้
การให้ยาในสุ นขั ๑๕๓

ชัวระยะเวลาหนึ งเพือรอให้สุนขั กลืนยาลงไป หากไม่ทาํ การปิ ดปากไว้สุนขั จะ


อ้าปากแล้วใช้ลินดุนยาเม็ดออกจากปากได้ (รู ปที 11.1 และ 11.2)

รู ปที 11.1 การป้ อนชนิดเม็ดด้วยมือเปล่า

รู ปที 11.2 การป้ อนยาชนิดเม็ดด้วยคีม


๑๕๔ การจัดการดูแลสุ นขั

การป้ อนยาชนิดนํา
นิยมใช้กระบอกฉี ดยา (Syringe) หรื อช้อนป้ อนยาก็ได้ การกรอกด้วย
ช้อนหรื อฉี ดจากกระบอกฉี ดยาเข้าทางด้านข้างของปากโดยไม่ตอ้ งจับสุ นขั อ้า
ปากแต่จะต้องแหงนหน้าสุ นขั ขึนเล็กน้อยเพือให้ยานําไหลเข้าบริ เวณคอหอย
แล้วสุ นขั จะอ้าปากแลบลินกลืนเข้าไปเอง (รู ปที 11.3 และ 11.4)

รู ปที 11.3 การป้ อนยาชนิดนําด้วยช้อน

รู ปที 11.4 การป้ อนยาชนิดนําด้วยกระบอกฉี ดยา


การให้ยาในสุ นขั ๑๕๕

2. การฉีดเข้ าใต้ ผวิ หนัง


ยาหลายชนิ ดสามารถฉี ดเข้าใต้ผิวหนังได้ซึงสามารถฉี ดได้ง่ายและ
สะดวกกว่าการฉี ดเข้าทางอืนๆ ทําให้สุนขั เจ็บน้อยกว่าการฉี ดเข้ากล้ามเนือและ
สะดวกกว่าการฉี ดเข้าหลอดเลือดดํา แต่การดูดซึ มได้ทางใต้ผิวหนังจะช้ากว่า
การฉี ดเข้าทางอืนๆ ตําแหน่งทีฉี ดมีบริ เวณหลังขาหน้า หน้าขาหน้าและหน้าขา
หลังซึ งจะเป็ นบริ เวณทีมีเส้นเลือดมาเลียงมาก วิธีการฉี ดเข้าใต้ผิวหนังโดยใช้
มือข้างทีถนัดถือกระบอกฉี ดยาทีเตรี ยมไว้และใช้มืออีกข้างหนึงเช็ดบริ เวณทีจะ
ฉี ดด้วยสําลีชุบ 70 % แอลกอฮอล์ จากนันใช้มือข้างนี ขยุม้ ผิวหนังนันขึนมา
เล็ก น้อ ยเพื อให้ใ ต้ผิว หนัง บริ เ วณนันเกิ ด เป็ นโพรง แล้ว แทงเข็ม เข้า บริ เ วณ
ดัง กล่ า ว ก่ อ นฉี ด ยาเข้า ไปควรดึ ง ก้า นกระบอกฉี ด ถอยหลัง เล็ ก น้ อ ยเพื อ
ตรวจสอบว่าปลายเข็มแทงเข้าหลอดเลื อดหรื อไม่ เมื อฉี ดเสร็ จแล้วควรนวด
บริ เวณนันเพือให้ยากระจายตัวและดูดซึมได้ดี (รู ปที 11.5)

รู ปที 11.5 การฉี ดเข้าใต้ผวิ หนัง


๑๕๖ การจัดการดูแลสุ นขั

3. การฉีดเข้ ากล้ ามเนือ


การฉี ดเข้ากล้ามเนื อยาจะดูดซึ มได้ดีกว่าการฉี ดเข้าใต้ผิวหนังแต่จะช้า
กว่าการฉี ดเข้าช่องท้องและหลอดเลือดดํา ตําแหน่ งของการฉี ดเข้ากล้ามเนื อที
ปลอดภัยมี 3 ตําแหน่งคือ (รู ปที 11.6)
1. กลุ่มกล้ามเนือ quadriceps อยูบ่ ริ เวณด้านหน้าของต้นขาหลัง
2. กล้ามเนือ lumbodorsal หรื อกล้ามเนือสันนอกซึ งอยูบ่ ริ เวณด้านข้าง
ทังสองข้างของกระดูกสันหลังส่ วนเอว (lumbar vertebrae)
3. กล้ามเนือ triceps อยูบ่ ริ เวณด้านหลังของต้นขาหน้า
นอกจากนี ยังมีอีกตําแหน่งทีสามารถฉี ดเข้ากล้ามเนื อได้ นันคือกลุ่ม
กล้ามเนื อ hamstring ซึ งประกอบด้วยกล้ามเนื อ semitendinosus และ
semimembranosus แต่ตาํ แหน่งนี ควรหลีกเลียงเนื องจากปลายเข็มทีฉี ดเข้าไป
อาจทําให้เกิดการเสี ยหายของเส้นประสาท sciatic ได้

รู ปที 11.6 ตําแหน่งของการฉี ดเข้ากล้ามเนือ


การให้ยาในสุ นขั ๑๕๗

วิธีการฉี ดเข้ากล้ามเนื อโดยใช้มือข้างทีถนัดถือกระบอกฉี ดยาทีเตรี ยม


ไว้และใช้มืออีกข้างหนึ งเช็ดบริ เวณทีจะฉี ดด้วยสําลีชุบ 70 % แอลกอฮอล์
จากนันใช้นิวมือของมือข้างนี จับกล้ามเนื อมัดนันๆทีต้องการจะฉี ดไว้ซึงจะทํา
ให้ทราบขนาดของมัดกล้ามเนือแล้วแทงเข็มเข้าบริ เวณดังกล่าว ให้ปลายเข็มอยู่
บริ เวณกลางมัดกล้ามเนื อและปริ มาณของยาทีฉี ดไม่ควรมากเกินไปเพราะอาจ
ทําให้กล้ามเนื อนันเกิดการอักเสบได้ ก่อนฉี ดยาเข้าไปควรดึงก้านกระบอกฉี ด
ถอยหลังกลับเล็กน้อยเพือตรวจสอบว่าปลายเข็มแทงเข้าหลอดเลือดหรื อไม่ เมือ
ฉี ดเสร็ จแล้วควรนวดบริ เวณนันเพือให้ยามีการกระจายตัวและดูดซึ มได้ดี การ
ฉี ดเข้ากล้ามเนือจะทําให้สุนขั เจ็บ ดังนันจึงควรแทงเข็มให้ตงฉากกั
ั บผิวหนังให้
มากทีสุ ดและควรหลีกเลียงการโยกกระบอกฉี ดยาให้มากทีสุ ด

4. การฉีดเข้ าหลอดเลือดดํา
การฉี ดเข้าหลอดเลือดปกติจะแทงเข็มเข้าหลอดเลื อดดําไม่ว่าจะเป็ น
การให้ยา สารนําหรื อสารอาหาร และรวมถึงการเจาะเก็บเลือด ทังนีเพราะหลอด
เลือดดําจะอยู่ใต้ผิวหนัง ส่ วนเลือดแดงจะอยู่ลึกลงไปและหลอดเลือดดําจะมี
แรงดันเลือดตํากว่ามากด้วย การฉี ดเข้าหลอดเลือดดําในสุ นขั มี 3 ตําแหน่งคือ
1. Cephalic vein อยูด่ า้ นหน้าของขาหน้าทังสอง ใต้ขอ้ ศอกลงมา
2. Lateral saphenous vein อยูด่ า้ นข้างของขาหลังทังสอง ใต้หวั เข่า
ลงมา
3. Jugular vein เป็ นหลอดเลือดดําใหญ่ทอดยาวสองข้างของหลอดลม

ส่ วนของ Jugular vein นิยมใช้เจาะเก็บเลือดมากกว่าทีจะใช้ฉีดยาเข้า


หลอดเลือดดําเพราะการควบคุมส่ วนหัวของสุ นขั ให้นิงทําได้ยากทําให้หลอด
เลือดดํามีการเคลือนหลุดออกจากปลายเข็มได้ง่าย ส่ วนการเก็บเลือดจากหลอด
๑๕๘ การจัดการดูแลสุ นขั

เลือดดํานีจะง่ายกว่า Cephalic vein และ Lateral saphenous vein เพราะหลอด


เลือดมีขนาดใหญ่กว่ามาก

การฉีดเข้ าหลอดเลือดดํา Cephalic


สามารถฉี ดในท่านอนหมอบหรื อท่านอนตะแคงข้าง ผูช้ ่ วยจับสุ นัข
จะต้องใช้มือโอบขาตําแหน่ งใต้ขอ้ ศอกโดยใช้นิวหัวแม่มือบีบรั ดหลอดเลือด
Cephalic vein เพือให้เห็นเส้นเลือดชัดเจนขึน และควรให้ขาเหยียดตึงจะทําให้
ผิวหนังไม่หย่อนการแทงเข็มเข้าหลอดเลือดง่ายขึน (รู ปที 11.7)

รู ปที 11.7 การจับเพือฉี ดเข้า Cephalic Vein

การฉีดเข้ าหลอดเลือดดํา Lateral saphenous


ผูช้ ่วยจับสุ นขั ท่านอนตะแคงข้างและต้องใช้มือโอบขาตําแหน่งข้อหัว
เข่าให้ขาเหยียดตึงและใช้นิวมือบีบรัดเส้นเลือด Lateral saphenous vein เพือให้
เห็นเส้นเลือดชัดเจนขึน (รู ปที 11.8)
การฉีดเข้ าหลอดเลือดดํา Jugular
สามารถฉี ดในท่านอนหมอบหรื อท่านอนตะแคงข้าง ผูช้ ่วยจับสุ นขั
จะต้องใช้มือข้างหนึ งโอบรวบขาหน้าทังสองและใช้มืออีกข้างหนึ งจับบริ เวณ
การให้ยาในสุ นขั ๑๕๙

จมูกเพือแหงนหน้าขึนไปด้านหลัง (รู ปที 11.9) ส่ วนคนแทงเข็มจะต้องใช้มือ


ข้างทีถนัดถือกระบอกฉี ดยาทีเตรี ยมไว้และใช้นิวหัวแม่มือของมืออีกข้างหนึ ง
กดทับหลอดเลือด Jugular vein จะทําให้เห็นเส้นเลือดบริ เวณเหนือนิวขึนไปได้
ชัดเจน จากนันให้แทงเข็มเข้าหลอดเลือดต่อไป (รู ปที 11.10)

รู ปที 11.8 การจับเพือฉี ดเข้า Lateral saphenous vein

รูปที 11.9 การจับเพือฉี ดเข้า Jugular vein


๑๖๐ การจัดการดูแลสุ นขั

ซึงการยึดกระบอกฉี ดยาให้อยู่
กับทีในกรณี นีจะทําได้ยากกว่าการฉี ด
ยาเข้าหลอดเลื อด Cephalic และ
Lateral saphenous เพราะการฉี ดบริ เวณ
ข า ห น้ า แ ล ะ ข า ห ลั ง ส า ม า ร ถ ใ ช้
นิ วหัว แม่ มื อ กับ นิ วชี จับ ยึ ด หัว เข็ม ได้
และนิ วส่ ว นที เหลื อ จะโอบรั ด ขาของ
สุ นขั ไว้ได้

รู ปที 11.10 การฉี ดเข้า Jugular vein

5. การฉีดเข้ าช่ องท้ อง


การฉี ดยาเข้าช่องท้องนิยมใช้ในกรณี ทีไม่สามารถฉี ดเข้าหลอดเลือดดํา
ได้เช่น สุ นขั แรกเกิดมีขนาดเล็กมากหรื อในรายทีหลอดเลือดดําตีบแฟบ ยาเข้า
ช่ องท้องจะออกฤทธิ ช้ากว่าการฉี ดเข้าหลอดเลื อดดําแต่จะเร็ วกว่าการฉี ดเข้า
กล้ามเนือ
วิธีการทําโดยจับสุ นขั นอนหงายหรื อนอนข้างและยกส่ วนท้ายลําตัวให้
สู งกว่าส่ วนหน้าประมาณ 4-6 นิ ว ควรทําการตรวจคลําช่ องท้องว่ากระเพาะ
ปั สสาวะว่างเปล่า หากมีปัสสาวะเต็มในกระเพาะปั สสาวะควรให้สุนขั ขับถ่าย
ออกหรื อ ใช้ท่ อ สวนปั ส สาวะออกมาก่ อ น จากนันเช็ด ด้ว ยสํา ลี ชุ บ 70%
แอลกอฮอล์ บริ เวณกึงกลางระหว่างสะดือกับด้านหน้าของกระดูกเชิงกรานเป็ น
ตําแหน่งทีจะแทงเข็มเข้าช่องท้อง ก่อนฉี ดยาเข้าไปควรดึงก้านกระบอกฉี ดถอย
หลังกลับเล็กน้อยเพือตรวจสอบว่ามีเลือด ปั สสาวะหรื อส่ วนทีเป็ นกากในลําไส้
หรื อไม่ (รู ปที 11.11)
การให้ยาในสุ นขั ๑๖๑

รู ปที 11.11 การฉี ดเข้าช่องท้อง

6. การป้ ายและหยอดยาตา
ยาใส่ ในตาแบ่งได้เป็ น 2 ลักษณะคือเป็ นชนิ ดนําและชนิ ดขีผึง วิธี
หยอดยาชนิ ดนําใส่ ตาด้วยการใช้มือ ที ไม่ ถนัดประคองหัวสุ นัขให้แหงนขึ น
เล็ก น้อ ยและใช้มื อ อี ก ข้า งหนึ งถื อ ขวดยาไว้ จากนันเอาอุ ้ง มื อ ไปรั งหนัง ตา
ด้านบนให้ถ่างขึนแล้วหยดยา 1-2 หยดใส่ ตาในตําแหน่ง 12 นาฬิกา หลังจาก
หยดยาแล้วให้ประคองหัวสุ นขั ให้แหงนขึนอยูส่ ักครู่ เพือให้ยาไปเลียงส่ วนของ
ตาได้ทวและมี
ั เวลาดูดซึมของตัวยา
วิธีป้ายยาชนิ ดขีผึงด้วยการใช้มือทีไม่ถนัดประคองหัวสุ นขั ให้แหงน
ขึนเล็กน้อยและใช้มืออีกข้างหนึ งถือหลอดยาไปจ่อบริ เวณหัวตาหางตาหรื อใน
ตําแหน่ง 12 นาฬิกาก็ได้เพือบีบให้ยาขีผึงทะลักเข้าไปอยูด่ า้ นหน้าของกระจกตา
จากนันให้ใช้หนังตาทังด้านบนและด้านล่างขยีไปมาเพือให้ยาขีผึงกระจายไป
ทัวทังลูกตา (รู ปที 11.12)
๑๖๒ การจัดการดูแลสุ นขั

รู ปที 11.12 การใส่ ยาเข้าในตา ภาพซ้ายเป็ นยาชนิดนํา ภาพขวาเป็ นยาชนิดขีผึง

7. การหยอดยาหู
ลักษณะช่องหู ของสุ นขั จะเป็ นท่อแนวตังฉากลงไปแล้วต่อเป็ นท่อใน
แนวนอนอีกทีจึงจะพบเยือแก้วหู ในช่องหู จะเห็นมีขนกระจายเต็มช่องหู ถ้าใน
ช่องหูมีขนมากเกินไปควรใช้คีม (forceps) จับขนดึงทิงออกบ้างเพือให้ช่องหู มี
การระบายได้และสามารถหยดยาลงไปได้ เมือบีบหลอดยาพอรู ้ได้ว่ามียาหยด
ลงไปในช่องหูแล้วให้ใช้นิวมือขยีบริ เวณฐานหูเพือให้ยากระจายลงไปในช่องหู
ลึกๆ อย่าเพิงรี บปล่อยหัวของสุ นขั ทันทีทีหยดยาลงไปในช่องหู เพราะสุ นขั จะ
สลัดหัวทําให้ยากระเด็นออกมาได้

รู ปที 11.13 การหยอดยาหู

You might also like