You are on page 1of 13

ไซนัสอักเสบ (Sinusitis)

จัดทําโดย

จิ ตติ พร ยุบลพริ้ง (APN) หอผูป้ ่ วยเฉลิ มพระเกียรติ 1


งานการพยาบาลจักษุ โสต นาสิ ก ลาริ งซ์วิทยา ฝ่ ายการพยาบาลโรงพยาบาลศิ ริราช
ไซนัส คืออะไร
ไซนัส (Sinuses) หมายถึง โพรงอากาศทีอ่ ยู่รอบๆ โพรงจมูกเราทัง้ ซ้ายและขวา โดยปกติคนเรามีโพรงไซนัส
ทัง้ หมด 4 แห่ง คือ บริเวณระหว่างตาทัง้ สองข้าง บริเวณแก้ม บริเวณหน้าผาก และบริเวณในสุดของรูจมูกและทีใ่ ต้
ฐานกะโหลก โพรงอากาศนี้ เ ป็ น ที่โล่ง ๆ ในกะโหลกศีร ษะ แต่ ล ะโพรงอากาศจะมีรูร ะบายอากาศตามธรรมชาติ
โพรงละ 1 รู ซึ่ง จะระบายเข้า สู่โ พรงจมูก และเมื่อ เยื่อ บุ โ พรงไซนัส มีก ารอัก เสบ เราจึง เรีย กว่า “ไซนัส อัก เสบ”
(วิชญ์ บรรณหิรญ ั , 2553)

บริเวณหน้ าผาก บริเวณหน้ าผาก


(Frontal sinus) (Frontal sinus)

บริเวณในสุดของรู จมูกและใต้ บริเวณในสุดของรู จมูกและใต้


ฐานกะโหลก (Sphenoid sinus) ฐานกะโหลก (Sphenoid sinus)

บริเวณระหว่ างตา บริเวณระหว่ างตา


(Ethmoid sinus) (Ethmoid sinus)

บริเวณแก้ ม บริเวณแก้ ม
ดัดแปลงมาจาก: http://sinupret.co.za/sphenoid-sinusitis
(Maxillary sinus) (Maxillary sinus)
ไซนัสอักเสบ (Sinusitis)
ไซนัสอักเสบ หมายถึง การอักเสบของเยือ่ บุโพรงอากาศข้างจมูก มักเกิดขึน้ เมือ่ จมูกมีการติดเชือ้ อักเสบ
เป็ นหวัด ภูมแิ พ้ การคังค้
่ างอุดตันของสิง่ คัดหลังในผู
่ ้ท่มี ภี าวะสันจมูกคด ทําให้การระบายอากาศในโพรงอากาศ
ลําบากมากขึ้น การมีก้อนเนื้องอกในจมูกก็เป็ นอีกสาเหตุท่ที ําให้เกิดการติดเชื้อในโพรงไซนัส ปจั จุบนั เรียกว่า
“โรคเยือ่ บุจมูกและไซนัสอักเสบ (Rhinosinusitis)” (ศรีสนุ ทรา เจิมวรพิพฒ
ั น์, 2552; สุปราณี ฟูอนันต์, 2553)

สาเหตุของโรค
1. เชือ้ แบคทีเรีย ส่วนใหญ่เป็ นชนิด Streptococcus pneumoniae,
Heamophilus influenzae, และ Staphylococcus aureus
2. เชือ้ ไวรัส ส่วนใหญ่เกิดจากเชือ้ Rhinovirus
3. เชือ้ รา มักพบกลุม่ เชือ้ Aspergillus, Rhizopus, และ Candida
(Benninger et al., 2003)
อาการนําของไซนัสอักเสบ
คัดจมูก นํ้ามูกข้นเขียวหรือเหลือง
หายใจมีกลิน่ เหม็น
ปวดศีรษะ ปวดขมับ ปวดแก้ม ปวดท้ายทอย หนักหัว
เสมหะข้นไหลลงคอ ไอบ่อย
เลือดออกทางจมูก (พบในบางราย)
รายทีเ่ ป็ นรุนแรงอาจมีไข้สงู ตาบวมอักเสบได้ เป็ นต้น
(วิชญ์ บรรณหิรญ ั , 2553)
ไซนัสอักเสบเฉี ยบพลัน (Acute Sinusitis)
มักมีจากการติดเชือ้ ทางเดินหายใจส่วนต้นมาก่อน เช่น เชือ้ ไวรัส เป็ นหวัด หรือมีภาวะภูมแิ พ้
เริม่ มีอาการช่องจมูกบวม คัดจมูก นํ้ามูกไหล จนเกิดการคังของของเหลวในโพรงไซนั
่ ส และมี
เชือ้ แบคทีเรียเข้าไปเจริญเติบโตอยู่
สามารถหายเองได้ภายใน 7 วัน
อาการของไซนัสอักเสบเฉี ยบพลัน
อาการทัวไป ่ จะเหมือนเป็ นไข้หวัด มีไข้
เมือ่ เชือ้ ลุกลามเข้าสูไ่ ซนัสจะมีอาการ ได้แก่
ปวดจมูก
ปวดกระบอกตา ทีม่ า: Anand, V. K. (2010). Sinusitis Retrieved 24 July 2012,
from http://www.sinusitis-solutions.com/diagnosis.html
แก้มข้างใดข้างหนึ่งหรือทัง้ สองข้าง
นํ้ามูกและเสมหะจะมีสเี หลืองอมเขียวมากขึน้
อาจปวดขากรรไกรบนหรือฟนั ร่วมด้วย

การติดเชื้ออาจลุกลามมากขึน้ ควรรีบรักษาอย่างจริงจัง เพื่อลดการเป็ นไซนัสอักเสบเรือ้ รัง


ไซนัสอักเสบเรือ้ รัง (Chronic Sinusitis)
มักเกิดจากเชือ้ แบคทีเรีย
มีการอักเสบติดเชือ้ อยูน่ านกว่า 2 เดือน ในวัยผูใ้ หญ่ และนานเกิน 2 สัปดาห์ ในเด็กเล็ก

อาการของไซนัสอักเสบเรือ้ งรัง
มักพบอาการต่างในเวลาตื่นนอนตอนเช้า ได้แก่
คัดแน่นจมูก มีน้ํามูกเป็ นสีเหลืองอมเขียว กลิน่ เหม็น ไหลลงคอ
ไอ เจ็บคอ มีอาการหอบ หลอดลมตีบร่วมด้วย
อ่อนเพลีย ปวดเมือ่ ตามตัว
ทีม่ า: Smith, D. J. (2011). Hope for chronic sinusitis sufferers: A patient success
บางรายการรับกลิน่ และรสเสียไป หรือหูออ้ื story Retrieved 24 July 2012, from http://www.cornerstoneent.com/hope-chronic-
เนื่องจากมีการอักเสบของหูชนั ้ กลางร่วมด้วย sinusitis-sufferers-patient-success-story/

ถ้าไม่รีบรักษาอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงที่เป็ นอันตรายได้
การรักษาไซนัสอักเสบ
ประกอบด้วยหลักใหญ่ๆ 3 ประการ ดังนี้
การให้ยาฆ่าเชื้อโรค (ยาปฏิชีวนะ = ยาแก้อกั เสบ)

ส่วนใหญ่เชือ้ โรคทีท่ าํ ให้เกิดไซนัสอักเสบ ได้แก่ Streptococcus pneumoniae,


Hemophilus influenzae และ Branhamella catarrhalis
ยาทีใ่ ช้ในการฆ่าเชือ้ โรคเหล่านี้ ได้แก่ Amoxicillin, Amoxicillin/clavulanic
acid, Cefprozil, Ceftibuten, Cefuroxime axetil, Cefaclor, Clarithromycin,
Clindamycin, Erythromycin, Trimethoprim, Sulfamethoxazole
แพทย์จะเป็ นผูเ้ ลือกใช้ยาเหล่านี้ตามความเหมาะสมในผูป้ ว่ ยแต่ละคน
ระยะเวลาการใช้ยาจะนานกว่าการรักษาการติดเชือ้ ของระบบหายใจตามปกติ
อาจจะให้นานถึง 3-6 สัปดาห์ ตามทีแ่ พทย์จะแนะนํา ซึง่ จะต้องรักษาจน
หนองหมดไปจากโพรงไซนัส
(ภาควิชากุมารเวชศาสตร์และภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วทิ ยา คณะแพทยศาสตร์ศริ ริ าชพยาบาล, 2553)
การทําโพรงจมูกที่บวมให้ยบุ ลง
เพือ่ ให้หนองในโพรงไซนัสไหลถ่ายเทออกมาให้หมด
ทําได้โดยการล้างจมูกด้วยนํ้าเกลือ หรือการใช้ยาพ่นจมูก
การล้างจมูกด้วยนํ้าเกลือทําได้ง่ายๆ ดังนี้
1. หาซือ้ นํ้าเกลือ (Normal saline) ทีม่ ขี ายตามร้านขายยา หรืออาจผสม
ขึน้ เองง่ายๆ โดยใช้น้ําสะอาด 750 cc. ผสมกับเกลือสะอาด 1 ช้อนชา
2. เทนํ้าเกลือลงในแก้วสะอาด
3. ดูดนํ้าเกลือจากแก้วสะอาดเข้าในลูกยางหรือหลอดฉีดยา (Syringe)
4. พ่นนํ้าเกลือจากลูกยางหรือหลอดฉีดยาเข้าในจมูกในท่าก้มหน้า
กลัน้ หายใจในระหว่างฉีดนํ้าเกลือเข้าสูจ่ มูก
5. ทําซํ้าจนนํ้ามูกหมด ปฏิบตั วิ นั ละ 2-3 ครัง้ ตามคําแนะนําของแพทย์
6. แพทย์อาจสังยาพ่่ นจมูก หรือยาล้างจมูกให้ใช้ตามคําแนะนําของแพทย์

(ภาควิชากุมารเวชศาสตร์และภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วทิ ยา คณะแพทยศาสตร์ศริ ริ าชพยาบาล, 2553)


การหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้น
ผูป้ ว่ ยทีเ่ ป็ นไซนัสอักเสบจํานวนหนึ่ง (อาจถึงร้อยละ 50) อาจ
มีอาการของไซนัสอักเสบทีเ่ นื่องมากจากโรคภูมแิ พ้ของจมูก
ซึ่งจะทําให้จมูกบวมและมีอาการติดเชื้อตามมา ผู้ป่วยควร
หลีกเลีย่ งสารแพ้จากไรฝุน่ ตามคําแนะนําของแพทย์
ผูป้ ว่ ยควรหลีกเลีย่ ง ควันบุหรี่ การติดเชือ้ จากคนรอบข้าง
การอยูใ่ นทีแ่ ออัด การว่ายนํ้าในสระทีไ่ ม่ได้มาตรฐาน ฯลฯ
การติดตามผลการรักษาเป็ นสิง่ ทีส่ าํ คัญมากผูป้ ว่ ยควรจะต้อง
มารับการประเมินผลการรักษาตามทีแ่ พทย์นดั ทุกครัง้

หากการรักษาด้วยยาไม่ได้ผล และมีการอักเสบซํ้าๆ หรือมีภาวะแทรกซ้อน


ทัง้ ต่อทางตา สมอง และกระดูกบริเวณใกล้เคียง แพทย์อาจพิจารณารักษาด้วยการผ่าตัดผ่านกล้องเอนโดสโคป เช่น
การเจาะล้างไซนัส หรือผ่าตัดขยายรูเปิดของไซนัส
(ภาควิชากุมารเวชศาสตร์และภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วทิ ยา คณะแพทยศาสตร์ศริ ริ าชพยาบาล, 2553)
การผ่าตัดส่องกล้องโพรงไซนัส (Endoscopic Sinus Surgery)
เป็ นการผ่าตัดโพรงไซนัส โดยใส่กล้องจุลทรรศน์สอ่ งผ่านช่องจมูกเข้าไปสูโ่ พรงไซนัสตําแหน่งต่างๆ ทีต่ อ้ งการ
ตรวจดูความผิดปกติได้โดยตรง และตัดเนื้อเยือ่ ทีอ่ กั เสบ เป็ นหนอง หรือสิง่ อุดตันในโพรงจมูกออก ช่วยโพรงไซนัสมี
การระบายอากาศได้ดขี น้ึ

ที่มา: Karim, M. A. (2011). Endoscopic sinus surgery Retrieved 24 July 2012, from http://www.entjo.com/web/en/nasal-sinus-
surgery/endoscopic-sinus-surgery.html
คําแนะนําในการดูแลตนเอง
ผูท้ เ่ี ป็ นไซนัสอักเสบ ควรหลีกเลีย่ งสิง่ กระตุน้ ทีท่ าํ ให้เกิดอาดการหวัด ภูมแิ พ้
หากรูว้ า่ อะไรเป็ นปจั จัยกระตุน้ ให้เกิดภูมแิ พ้
ควรงดว่ายนํ้า ดํานํ้า ขึน้ เครือ่ งบิน ประมาณ 2 สัปดาห์ ในช่วงทีอ่ าการกําเริบ
ไม่ควรรักษาการเองตามพืน้ บ้าน เช่น ใช้กรดบางชนิดหยอดเข้าจมูก (ทําให้มนี ้ํามูกไหลออกมามาก
เพราะอาจเกิดการระคายเคืองต่อเยือ่ บุจมูก) อาจทําให้เกิดการอักเสบ หรือจมูกพิการได้
หมันออกกํ่ าลังกายเป็ นประจํา
ดืม่ นํ้ามากๆ พักผ่อนให้เพียงพอ อยูใ่ นสถานทีๆ่ อากาศถ่ายเท
การป้ องกันตนเองให้ห่างไกลจากโรคไซนัสอักเสบ
การรักษาสุขภาพให้แข็งแรง
เมือ่ เป็ นหวัดนานเกิน 1 สัปดาห์ ควรรีบปรึกษาแพทย์
พักผ่อนให้เพียงพอ
กินอาหารทีม่ ปี ระโยชน์
ออกกําลังกายอยูเ่ สมอ
งดสูบบุหรีแ่ ละดืม่ เครือ่ งดืม่ แอลกอฮอล์
หลีกเลีย่ งสถานทีๆ่ มีคนแออัด หรือบริเวณทีม่ ี
ฝุน่ ควันมากๆ สิง่ มีพษิ ในอากาศ สารเคมีต่างๆ
รักษาสุขภาพช่องปากและฟนั ให้ดี ไม่ให้ฟนั ผุ
ถ้ามีโรคประจําตัว ควรรับการรักษาจากแพทย์อย่างสมํ่าเสมอ

มาช่วยกันดูแลตนเองให้แข็งแรง ห่างไกลจากไซนัสอักเสบกันนะค่ะ
รายการอ้างอิง
ภาควิชากุมารเวชศาสตร์และภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วทิ ยา คณะแพทยศาสตร์ศริ ริ าชพยาบาล. (2553). มารูจ้ กั ไซนัสอักเสบ
ในเด็กและวิธกี ารรักษาทีถ่ ูกต้องกันเถอะ. Retrieved 24 กรกฎาคม 2555, from http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-
pl/articledetail.asp?id=195
วิชญ์ บรรณหิรญ ั . (2553). เมือ่ เป็ นไซนัสอักเสบ. Retrieved 24 กรกฎาคม 2555, from http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-
pl/articledetail.asp?id=14
ศรีสนุ ทรา เจิมวรพิพฒ ั น์. (2552). การพยาบาลหู คอ จมูก (พิมพ์ครัง้ ที่ 2). นนทบุร:ี ธนาเพรสจํากัด.
สุปราณี ฟูอนันต์. (2553). ไซนัสอักเสบ (sinusitis). ใน พิชติ สิทธิไตรย์, สายสวาท ไชยเศรษฐ และสุวชิ า อิศราดิสยั กุล
(บรรณาธิการ), ตําราหู คอ จมูก สําหรับเวชปฏิบตั ทิ วไป ั ่ (หน้า. 363-372). เชียงใหม่: Trick Think.
Anand, V. K. (2010). Sinusitis. Retrieved 24 July 2012, from http://www.sinusitis-solutions.com/diagnosis.html
Benninger, M. S., Ferguson, B. J., Hadley, J. A., Hamilos, D. L., Jacobs, M., Kennedy, D. W., et al. (2003). Adult
chronic rhinosinusitis: Definitions, diagnosis, epidemiology, and pathophysiology. Otolaryngology - Head and
Neck Surgery, 129(3, Supplement), S1-S32. doi: 10.1016/s0194-5998(03)01397-4
Karim, M. A. (2011). Endoscopic sinus surgery. Retrieved 24 July 2012, from http://www.entjo.com/web/en/nasal-sinus-
surgery/endoscopic-sinus-surgery.html
Smith, D. J. (2011). Hope for chronic sinusitis sufferers: A patient success story. Retrieved 24 July 2012, from
http://www.cornerstoneent.com/hope-chronic-sinusitis-sufferers-patient-success-story/

You might also like