You are on page 1of 1

' (

SECTIONS ! ก" ก!

หน้าแรก › สมุนไพร › กระเจี๊ยบแดง 889.2 K Views | 0 Shares

กระเจี๊ยบแดง สรรพคุณและประโยชน์ของกระเจี๊ยบแดง 45 ข้อ !


By MedThai | POSTED: 23 กันยายน 2013, UPDATED: 4 สิงหาคม 2017

กระเจี๊ยบแดง

กระเจี๊ยบแดง
กระเจี ๊ ย บแดง ภาษาอังกฤษ Rosella, Jamaican sorel, Roselle, Rozelle, Sorrel, Red sorrel, Kharkade,
Karkade, Vinuela, Cabitutu

หมอนเ&าสลบเห+อด!"#$%&!초와
หมอน%ขภาพแ+ปวดคอ!ปวดไห1
นอนห2บสบายตลอด8น9วยหมอน%ขภาพแ+
ปวดคอ!ปวดไห1ใบ;!จะนอน>าไหน?สบาย
'#$%&()*(+#

,-./

กระเจี ๊ ย บแดง ชื ่ อ วิ ท ยาศาสตร์ Hibiscus sabdariffa Linn. จัดอยู่ในวงศ์ชบา (MALVACEAE)

สมุ น ไพรกระเจี ๊ ย บแดง มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ผักเก็งเค็ง, ส้มเก็งเค็ง, ส้มตะเลงเครง (ตาก), ใบส้มม่า (ระนอง), แกงแคง
(เชียงใหม่), ส้มปู (แม่ฮ่องสอน), แบลมีฉี่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), แต่เพะฉ่าเหมาะ (กะเหรี่ยงแดง), ปร่างจําบู้ (ปะหล่อง),
กระเจี๊ยบ, ส้มเก็ง ส้มพอเหมาะ (ภาคเหนือ), ส้มพอดี (ภาคอีสาน), กระเจี๊ยบแดง, กระเจี๊ยบเปรี้ยว (ภาคกลาง), ส้มพอ ส้มพอ
เหมาะ เป็นต้น มีถิ่นกําเนิดในประเทศซูดาน อินเดีย มาเลเซีย และประเทศไทย โดยในประเทศไทยมีแหล่งผลิตที่สําคัญ ได้แก่
จังหวัดลพบุรี สระบุรี อุตรดิตถ์ กาญจนบุรี และฉะเชิงเทรา

ลักษณะของกระเจี๊ยบแดง
ต้ น กระเจี ๊ ย บแดง จัดเป็นไม้พุ่มมีความสูงประมาณ 50-180 เซนติเมตร มีอยู่หลายสายพันธุ์ ลําต้นและกิ่งก้านมีสีม่วง
แดง ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด

Ads by optAd360

ใบกระเจี ๊ ย บแดง มีใบเป็นใบเดี่ยว ใบมีหลายลักษณะ ลักษณะคล้ายรูปฝ่ามือ 3 แฉก หรือ 5 แฉก ใบเว้าลึกหรือเรียบ


หรือใบเป็นรูปรีแหลม หรือรูปเรียวแหลม ขอบใบมีจักเป็นฟันเลื่อย ใบมีความกว้างและความยาวใกล้เคียงกันประมาณ 8-
15 เซนติเมตร และก้านใบมีความยาวประมาณ 5 เซนติเมตร

อาหารไABอย แผลใน
กระเพาะ
ปลอด%ย ปราศจากสารสเ.ยรอย/ ผ1ต
โดยโรงงานมาตราฐาน 8 อย รอง9บ

Fญญธร คIJก -ด.อเรา

ดอกกระเจี ๊ ย บแดง ดอกเป็นดอกเดี่ยว ออกดอกตามซอกใบ มีกลีบดองสีชมพูหรือสีเหลือง บริเวณกลางดอกจะมีสีเข้ม


กว่าคือสีม่วงแดง ดอกมีเกสรตัวผู้เชื่อมกันเป็นหลอด ก้านดอกสั้น มีริ้วประดับเรียวยาวปลายแหลม มี 8-12 กลีบ กลีบ
เลี้ยงจะแผ่ขยายติดกันออกหุ้มเมล็ดไว้ มีสีแดงเข้มและหักง่าย เมื่อดอกบานเต็มที่จะมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 6
เซนติเมตร

ผลกระเจี ๊ ย บแดง ลักษณะของผลเป็นรูปรีมีปลายแหลม ผลมีความยาวประมาณ 2.5 เซนติเมตร ผลอ่อนมีสีเขียว ผลแก่


จะแห้งแตกเป็น 5 แฉก ในผลมีเมล็ดสีนํ้าตาล ลักษณะคล้ายรูปไตอยู่จํานวนมาก ประมาณ 30-35 เมล็ดต่อผล และผลยัง
มีกลีบเลี้ยงหนาสีแดงฉํ่านํ้าหุ้มอยู่ เราจะเรียกส่วนนี้ว่ากลีบกระเจี๊ยบหรือกลีบรองดอก (Calyx) หรือที่คนทั่วไปเข้าใจว่าเป็น
ดอกกระเจี๊ยบนั่นเอง

ลดราคา ลดราคา

0อปแบรน34งมากมาย8 iHerb
iHerb

สรรพคุณของกระเจี๊ยบแดง
1. กลีบเลี้ยงของดอกหรือกลีบที่เหลือที่ผล ใช้เป็นยาลดไขมันในเส้นเลือดและช่วยลดนํ้าหนัก โดยมีการทดลองกับกระต่ายที่มี
ไขมันสูง แล้วพบว่าระดับไตรกลีเซอไรด์ คอเลสเตอรอล และระดับไขมันเลว (LDL) ลดลง และมีปริมาณของไขมันชนิดดี
(HDL) เพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ความรุนแรงของการอุดตันหลอดเลือดแดงใหญ่จากหัวใจก็น้อยลงกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับสาร
สกัดกระเจี๊ยบแดงอีกด้วย (ผล, เมล็ด, นํ้ากระเจี๊ยบแดง)
2. ดอกกระเจี๊ยบแดงช่วยละลายไขมันในเส้นเลือด (ดอก)
3. เมล็ดใช้เป็นยาบํารุงธาตุ บํารุงกําลัง (เมล็ด, นํ้ากระเจี๊ยบแดง, ยอดและใบ)
4. ช่วยแก้อาการอ่อนเพลีย (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
5. ช่วยรักษาโรคเบาหวาน (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
6. ช่วยลดความดันโลหิต โดยไม่มีผลร้ายแต่อย่างใด มีรายงานการวิจัยทางคลินิกพบว่าในวันที่ 12 หลังผู้ป่วยได้รับชาชง
กระเจี๊ยบแดงทุกวัน ค่าความดันโลหิตเมื่อหัวใจบีบตัวและคลายตัวลดลง 11.2% และ 10.7% ตามลําดับเมื่อเทียบกับวัน
แรก และ 3 วันหลังจากหยุดดื่มชาชง ความความดันโลหิตทั้งสองค่าก็เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (นํ้ากระเจี๊ยบแดง)
7. เมล็ดช่วยบํารุงโลหิต (เมล็ด)
8. ช่วยแก้เส้นเลือดตีบตัน ช่วยรักษาเส้นเลือดให้แข็งแรงและอ่อนนิ่มยืดหยุ่นได้ดี (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
9. นํ้ากระเจี๊ยบช่วยทําให้ความเหนียวข้นของเลือดลดลง (นํ้ากระเจี๊ยบแดง)
10. ดอกกระเจี๊ยบแดงช่วยรักษาโรคเส้นเลือดแข็งเปราะได้เป็นอย่างดี (นํ้ากระเจี๊ยบแดง)

ประห:ด 22% ตอน<=บ 22NEW


iHerb

11. ในอียิปต์มีการใช้ทั้งต้นของกระเจี๊ยบแดงมาต้มกินเพื่อเป็นยารักษาโรคหัวใจและโรคประสาท (ทั้งต้น)


12. ช่วยแก้อาการคอแห้ง กระหายนํ้า (นํ้ากระเจี๊ยบแดง, ผล)
13. นํ้ากระเจี๊ยบช่วยแก้อาการร้อนใน (นํ้ากระเจี๊ยบแดง)
14. ช่วยลดอุณหภูมิในร่างกาย (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
15. ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง ช่วยป้องกันหวัด เนื่องจากกระเจี๊ยบแดงมีสารแอนโทไซยานิน (Anthocyanin) ซึ่งเป็น
สารสีแดงในกลุ่มเดียวกับที่พบในผลไม้อย่างบลูเบอร์รี แต่กระเจี๊ยบแดงจะมีสารชนิดนี้มากกว่าบลูเบอร์รีถึง 50%
16. ช่วยลดไข้ (นํ้ากระเจี๊ยบแดง)
17. ดอกกระเจี๊ยบแดงช่วยแก้อาการไอ (นํ้ากระเจี๊ยบแดง, ดอก)
18. ใบใช้เป็นยากัดเสมหะ ขับเมือกมันในลําคอให้ลงสู่ทวารหนัก (ใบ, ดอก)
19. ช่วยรักษาและป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน เนื่องจากมีวิตามินซีในปริมาณที่สูงอยู่พอสมควร (นํ้ากระเจี๊ยบ)
20. ช่วยในการย่อยอาหาร ใช้เป็นยาระบาย ช่วยหล่อลื่นลําไส้ ทําให้อุจจาระนิ่มขึ้น (นํ้ากระเจี๊ยบ, เมล็ด, ยอดและใบ)
21. ในอียิปต์มีการใช้ทั้งต้นนํามาต้มกินเป็นยาลดนํ้าหนัก เนื่องจากเป็นยาระบายและยังช่วยฆ่าเชื้อในลําไส้ได้อีกด้วย (ทั้งต้น)
22. ช่วยรักษาโรคกระเพาะและลําไส้อักเสบ ด้วยการใช้ผลแห้งนํามาบดเป็นผง ใช้รับประทานครั้งละ 1 ช้อนโต๊ะแล้วดื่มนํ้าตาม
วันละ 3-4 ครั้ง (ผล)
23. ช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหาร ป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร (ผล)
24. ใบกระเจี๊ยบแดงมีสรรพคุณช่วยแก้โรคพยาธิตัวจี๊ด หรือจะใช้ผลอ่อนนํามาต้มรับประทานติดต่อกัน 5-8 วัน หรือจะใช้ผสม
ในตํารับยาร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่น ๆ หรือจะใช้ทั้งต้นใส่หม้อต้มกับนํ้า 3 ส่วน เคี่ยวไฟจนงวดให้เหลือ 1 ส่วน แล้วผสม
กับนํ้าผึ้งกึ่งหนึ่ง ใช้รับประทานวันละ 3 เวลา หรือจะรับประทานนํ้ายาเปล่า ๆ ก็ได้จนหมดนํ้ายา (ใบ, ผล, ทั้งต้น)
25. นํ้ากระเจี๊ยบมีฤทธิ์ช่วยขับปัสสาวะ เป็นการช่วยลดความดันได้อีกทางหนึ่ง โดยมีรายงานวิจัยทางคลินิกว่า เมื่อให้ผู้ป่วยดื่ม
ผงกระเจี๊ยบขนาด 3 กรัม ชงกับนํ้าเดือด 1 ถ้วย ดื่มวันละ 3 ครั้ง นาน 7 วัน พบว่าได้ผลดีในการขับปัสสาวะ (นํ้ากระเจี๊ยบ
แดง, เมล็ด, ยอดและใบ)
26. ช่วยรักษาโรคทางเดินปัสสาวะ นิ่วในไต แก้โรคนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียในทางเดินปัสสาวะ ลดอาการ
กระเพาะปัสสาวะอักเสบ มีอาการปวดแสบ โดยใช้กระเจี๊ยบแห้งบดเป็นผงประมาณ 3 กรัม นํามาชงกับนํ้าเดือด 1 ถ้วย ใช้
ดื่มวันละ 3 ครั้ง ประมาณ 7 วัน หรือจนกว่าจะหาย ซึ่งจากรายงานการวิจัยพบว่าผู้ป่วยที่ดื่มนํ้ากระเจี๊ยบแดงขนาด 3
กรัม ชงกับนํ้าเดือด 1 แก้ว ดื่มวันละ 3 ครั้ง เป็นระยะเวลา 1 ปี พบว่าผู้ป่วยกว่า 80% มีปัสสาวะที่ใสขึ้นกว่าเดิม และยัง
พบว่าปัสสาวะมีความเป็นกรดมากขึ้น จึงช่วยในการฆ่าเชื้อในทางเดินปัสสาวะได้เป็นอย่างดี (นํ้ากระเจี๊ยบแดง, เมล็ด)
27. ช่วยแก้อาการขัดเบา โดยใช้กลีบเลี้ยงของผลหรือกลีบรองดอกสีม่วงแดง นํามาตากแห้งแล้วบดให้เป็นผง นํามาใช้ครั้งละ 1
ช้อนชา (ประมาณ 3 กรัม) ใช้ชงกับนํ้าเดือด 1 ถ้วย (ประมาณ 250 มิลลิลิตร) แล้วนํามาเฉพาะนํ้าสีแดงใส วันละ 3 ครั้ง
ดื่มติดต่อกันทุกวันจนกว่าอาการจะดีขึ้นและหายไป (นํ้ากระเจี๊ยบแดง)
28. ช่วยป้องกันโรคต่อมลูกหมากโต (นํ้ากระเจี๊ยบแดง)
29. ช่วยเพิ่มการหลั่งนํ้าดีจากตับ และช่วยป้องกันไม่ให้ตับถูกทําลาย (นํ้ากระเจี๊ยบแดง, เมล็ด)
30. ดอกกระเจี๊ยบแดงช่วยรักษาไตพิการ (นํ้ากระเจี๊ยบแดง)
31. เมล็ดช่วยแก้ดีพิการ (เมล็ด)
32. กระเจี๊ยบแดงมีฤทธิ์ต้านการเกิดพิษต่อตับและช่วยป้องกันตับจากการถูกทําลายจากสารพิษ โดยมีงานวิจัยในสัตว์ทดลอง
พบว่า สารสกัดด้วยนํ้า (Anthocyanins) และสาร Protocatechuic Acid ของกระเจี๊ยบแดง สามารถช่วยลดความ
เป็นพิษต่อตับจากสารพิษได้หลายชนิด (นํ้ากระเจี๊ยบแดง)
33. ใบใช้ตําพอกฝีหรือใช้ต้มนํ้าเพื่อใช้ล้างแผลได้ (ใบ)
34. ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของกระเจี๊ยบแดง ช่วยลดอาการบวม ช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ยับยั้งเชื้อราอะฟลาท็อกซิน ไวรัสเริม
ยับยั้งเนื้องอก ช่วยขับกรดยูริก คล้ายกล้ามเนื้อเรียบ และลดความเจ็บปวด
35. สารสกัดจากลีบดอกของกระเจี๊ยบแดงมีฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจนในเพศหญิง จึงเชื่อว่าน่าจะเป็นประโยชน์ต่อสตรีวัย
ทองไม่มากก็น้อย (กลีบดอก)
36. ช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง โดยสารแอนโทไซยานินจากกระเจี๊ยบมีฤทธิ์ช่วยยับยั้งออกซิเดชันของไขมันเลส และยับยั้ง
การตายของมาโครฟาจ โดยมีสาร Dp3-Sam ซึ่งเป็นแอนโทไซยานินชนิดหนึ่งที่มีฤทธิ์ช่วยกําจัดเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว
ในห้องทดลองได้ จึงมีผลในการช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็งและอาจช่วยชะลอการลุกลามของมะเร็งบางชนิดได้ (นํ้า
กระเจี๊ยบแดง)

ประห:ด 22% ตอน<=บ 22NEW


iHerb

Pure Indian Foods เนยใสออ?แก@ก


AตรBงเCมจากEว8เGยงHวยหIา 100%
ขนาด 15 ออนK (425 ก.)
฿601.92

Mอเลย

ประโยชน์ของกระเจี๊ยบแดง
1. กระเจี๊ยบมีสารแอนโทไซยานิน (Anthocyanin) และสารโพลีฟีนอล ซึ่งได้แก่ Protocatechuic Acid ที่มีฤทธิ์ต่อต้าน
อนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง ช่วยชะลอความแก่ และช่วยให้เส้นเลือดอ่อนนิ่มได้
2. กระเจี๊ยบใช้ทําเป็นนํ้าดื่มที่ช่วยทําให้ร่างกายสดชื่น เนื่องจากมีกรดซิตริกอยู่ด้วย
3. ใบอ่อนของกระเจี๊ยบใช้รับประทานเป็นผักได้ หรือจะนํามาใช้ทําแกงส้มก็ได้ ให้รส
เปรี้ยวกําลังดี และยังมีวิตามินเอสูง (12,583 I.U. ต่อ 100 กรัม) ที่ช่วยบํารุงสายตา
อีกด้วย
4. กลีบเลี้ยงผลและกลีบดอกอุดมไปด้วยแคลเซียมที่ช่วยบํารุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง
5. กระเจี๊ยบแดงจัดเป็นพืชส่งออกโดยนําไปใช้เป็นส่วนผสมสําคัญสําหรับ Herbal tea
และใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร ใช้บริโภคภายในประเทศ ใช้ทําเป็นผลิตภัณฑ์ได้อย่าง
หลากหลาย เช่น ผลิตภัณฑ์ชาชง กระเจี ๊ ย บแดงอบแห้ ง กระเจี ๊ ย บแดงแคปซู ล
เครื่องดื่มต่าง ๆ ใช้ในอุตสาหกรรมสีผสมอาหาร หรือใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร ได้แก่
แยม เยลลี่ เบเกอรี ไอศกรีม ไวน์ นํ้าหวาน ซอส เป็นต้น รวมไปถึงในอุตสาหกรรม
เครื่องสําอาง เช่น โลชัน ครี ม กระเจี ๊ ย บแดง เจลอาบนํ้า ครีมขัดผิว เป็นต้น
6. นํ้าต้มของดอกแห้งจะมีกรดผลไม้หรือ AHA อยู่หลายชนิดในปริมาณสูง จึงมีการนํา
มาผลิตเป็นเครื่องสําอางประเภทครีมหน้าใส
7. เมนูดอกกระเจี๊ยบแดง เช่น แกงส้มดอกกระเจี๊ยบ ยําดอกกระเจี๊ยบ แยมดอกกระเจี๊ยบ ดอกกระเจี๊ยบแช่อิ่ม กระเจี๊ยบกวน
ชากระเจี ๊ ย บแดง นํ ้ า กระเจี ๊ ย บแดง เป็นต้น
8. ในแอฟริกาใต้มีการใช้นํ้ามันจากเมล็ดเป็นยารักษาแผลให้อูฐ
9. นอกจากนี้ลําต้นของกระเจี๊ยบแดงยังสามารถนํามาทําเป็นเชือกปอได้อีกด้วย

คุณค่าทางโภชนาการของกระเจี๊ยบแดง (กลีบดอก) ต่อ 100 กรัม


พลังงาน 49 กิโลแคลอรี
คาร์โบไฮเดรต 11.31 กรัม
ไขมัน 0.64 กรัม
โปรตีน 0.96 กรัม
วิตามินเอ 14 ไมโครกรัม 2%
วิตามินบี 1 0.011 มิลลิกรัม 1%
วิตามินบี 2 0.028 มิลลิกรัม 2%
วิตามินบี 3 0.31 มิลลิกรัม 2%
วิตามินซี 12 มิลลิกรัม 14%
ธาตุแคลเซียม 215 มิลลิกรัม 22%
ธาตุเหล็ก 1.48 มิลลิกรัม 11%
ธาตุแมกนีเซียม 51 มิลลิกรัม 14%
ธาตุฟอสฟอรัส 37 มิลลิกรัม 5%
ธาตุโพแทสเซียม 208 มิลลิกรัม 4%
ธาตุโซเดียม 6 มิลลิกรัม 0%

% ร้อยละของปริมาณแนะนําที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันสําหรับผู้ใหญ่ (ข้อมูลจาก : USDA Nutrient database)

โทษของกระเจี๊ยบแดง
กระเจี๊ยบแดงอาจทําให้เกิดอาการท้องเสียได้ในผู้ป่วยบางราย เพราะมีฤทธิ์เป็นยาระบาย
นํ้ากระเจี๊ยบมีฤทธิ์เป็นยาขับปัสสาวะ แม้ว่าจะมีความเป็นพิษตํ่ามาก แต่ก็ไม่ควรดื่มในปริมาณเข้มข้นและติดต่อกันนาน ๆ
เพราะจะไม่เกิดผลดีต่อสุขภาพ

วิธีทํานํ้ากระเจี๊ยบแดงพุ ทราจีน
1. ให้เตรียมกระเจี๊ยบประมาณ 1 กํามือและพุทราจีน 1 กํามือ
2. นํามาล้างนํ้าให้สะอาด แล้วบีบพุทราจีนให้แตก ให้รวมกันลงในภาชนะแล้วเติมนํ้าเปล่า 2 ลิตร
3. ต้มให้เดือดสักพักแล้วยกลง กรองเอาเนื้อออกให้เหลือแต่นํ้า
4. เติมนํ้าตาลเพื่อปรุงรส หรือจะใช้ใบหญ้าหวาน หรือลําไยตากแห้งแทนก็ได้ เพราะจะได้ความหวานจากธรรมชาติที่ไม่ทําให้
นํ้าตาลในเลือดสูง หรือไม่ต้องใส่เลยก็ได้ เมื่อได้รสตามชอบใจแล้ว ก็ให้นํามาเก็บใส่ขวดแล้วแช่ไว้ในตู้เย็นเอาไว้ดื่ม
5. สาเหตุที่ใส่พุทราผสมลงไปนั้น เป็นเพราะว่าการต้มกระเจี๊ยบแดงกินแบบเดี่ยว ๆ เป็นระยะเวลานาน ๆ อาจจะทําให้ไต
เสื่อมได้ จึงต้องมีพุทราจีนตากแห้งผสมลงไปด้วย เพื่อเป็นตัวแก้และเป็นตัวช่วยบํารุงไตไปด้วยในตัว

0อปแบรน34งมากมาย8 iHerb
iHerb

แหล่งอ้างอิง : เว็บไซต์สํานักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดําริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ


สยามบรมราชกุมารี, สํานักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร, สถาบันการแพทย์แผนไทย, สํานักงาน
พัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน), ศูนย์วิจัยและการจัดการความรู้ทางพฤกษศาสตร์ มหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ, สํานักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ (HISO), มูลนิธิหมอชาวบ้าน (รศ.ดร.สุธาทิพ ภมรประวัต)ิ ,
!
เว็บไซต์กระทรวงสาธารณสุ ข, ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, ฐานข้อมูลสมุนไพร
แม่โจ้ (ชีวกโกมารภัจจ์) มหาวิทยาลัยแม่โจ้, รายการสาระความรู้ทางการเกษตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขต
หาดใหญ่, ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์)

ภาพประกอบ : www.flickr.com (by davidfntau, Vietnam Plants & The USA plants), วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เรียบเรียงข้อมูลโดยเว็บไซต์เมดไทย (Medthai)

259 SHARES
Facebook Twitter Copy Link NมO Pนๆ...

MALVACEAE

แสดงความคิดเห็น
28 Comments Sort by Newest

Add a comment...

ธ"ช สมเ'า
กรดไหลSอนTUน VวใสUนอWางเXนไHYด
Like · Reply · 1 · 44w

Khetthaphon Kansomphont
อZอยT
Like · Reply · 1 · 1y

นกข,น-ทอง ไ23ง
[กใจจ\งๆ
Like · Reply · 1 · 1y

เชอ45 เชอ4
อWา]นเยอะ ห^อเ_ม_น ห^อ-ด.อ=นนานๆ นะคะ เราใ0กาaมbcอนaมกระเdยบ แeวfมgงไhในกา เiอบอาjตk. ผลmอ
กาaมbcอน nวเoนpเqกๆกระจายrวsนกาaมเลยคะ.
Like · Reply · 1y

67ฒ9 ศ;ส<น
tไวuvอZอยT
บางwนx หyงจากaมแeวเอาzวน8เหfอtแยมไH
Like · Reply · 2y

เม= ออฟ ฟอ ส?ป


น น ือ|่
Like · Reply · 2y

สายลมเCน แสงแดดFอน
ป~กเองค•บ ]นเองค•บ ÄบÅายÇาย WอยอาหารÇาย ]นแeวÉÑกชดÜนค•บ Tกáา]นbàดลม âก ประโยชuเลยอะค• 8แãๆ
ขายไHเåนâก ป~กไçéนHวย ค•บ
Like · Reply · 1 · 2y

GเCน GเCนเCน
ใคร]นแeวไHผลTมาแสดงความเXนหãอยค•บ อยากÉ
Like · Reply · 1 · 3y

แHด รอดประเส?ฐ
èyงทดลอง]น
Like · Reply · 3y

GเCน GเCนเCน
]นแeวผลเoนไงëงค•บ
Like · Reply · 3y

แดง LMมา4ท
tไมเรา]นbกระเdยบเ_าไปแeวปวดกระเพาะìสวะàกแสบîงคïงเลย...]นแsวเTยวÉผลเลยñะ
Like · Reply · 3y

Load 10 more comments

Facebook Comments Plugin

เรื่องที่น่าสนใจ

ยาสา$ญประ)*าน , อย รอง/บ กระเ3ยบเ4ยว สรรพ7ณและ Traditional Medicinals ชะพN สรรพ7ณและประโยช=ของ


ประโยช=ของกระเ3ยบเ4ยว 47 Organic Healthy Cycle ใบ ชะพN ใบชะพN 16 ?อ !
?อ ! ราสเบอAB ปราศจากคาเฟGน บรรH
IงชาใJKอ 16 Iง ขนาด 0.85
ออนM (24 ก.)
.)

โฆษณา !ญญธร ค&'ก medthai.com โฆษณา iHerb medthai.com

ยาOPน CocoMint มะRม สรรพ7ณและประโยช=ของ Sทรา สรรพ7ณและประโยช=ของ 68 สรรพ7ณและประโยช=ของVน


มะRม 16 ?อ ! SทราUน 23 ?อ ! NกใVใบ ! ((หXาใVใบ))

โฆษณา CocoMint.Toothpaste medthai.com medthai.com medthai.com

MED PEDIA TAG HEALTH ABOUT MEDTHAI FOR SPONSORS

รายชื่อโรค สุขภาพเด็ก About this Website Advertise with Us

รายชื่อยา วิตามิน และเกลือแร่ สุขภาพผู้ชาย Terms & Privacy Advertising Policy

รายชื่อสมุนไพร สุขภาพผู้หญิง Careers at Medthai

รายชื่อผัก สุขภาพหญิงตั้งครรภ์ Contact Us

รายชื่อผลไม้ สุขภาพผู้สูงอายุ
CONNECT WITH US
สุขภาพทางเพศ
Facebook
สุขภาพจิต
Google+
สุขภาพดวงตา
Twitter
สุขภาพช่องปาก

สุขภาพผิว / ปัญหาผิว

ข้อจํากัดความรับผิดชอบ

เมดไทย (Medthai) ให้ข้อมูลทีถ ่ ูกต้องและเป็นอิสระเกีย่ วกับการดูแลสุขภาพ การรักษาโรค การใช้ยา สมุนไพร แม่และเด็ก ฯลฯ เราได้ร่วมมือกับแพทย์
และผู้เชี่ยวชาญเพื่ อให้มั่นใจว่าคุณจะได้รับข้อมูลที่ถูกต้องและดีที่สุด อย่างไรก็ตาม เนื้อหาในเว็บไซต์แห่งนี้ก็มีไว้เพื่ อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้
ความเข้าใจเท่านั้น ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่ อให้หรือใช้แทนคําแนะนําทางการแพทย์ การวินิจฉัย หรือการรักษาแต่อย่างใด ทางเว็บไซต์ไม่มีคําตอบสําหรับ
ปัญหาทั้งหมด คําตอบสําหรับปัญหาที่เฉพาะเจาะจงอาจไม่สามารถใช้ได้กับทุกคน หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบายควรปรึกษาแพทย์ของคุณ
สําหรับข้อมูลเพิ่ มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

About Us Contact Us Term & Privacy


© 2014-2021 Medthai. All rights reserved. # $ %

&

You might also like