You are on page 1of 65

การศึกษาการทดสอบสมบัติของไม้ไผ่ที่มีการรักษา

เนื้อไม้

โดยภูมิปั ญญาชาวบ้าน

A study testing the properties of bamboo


and wood conservation by local wisdom.

นายกิตติ เมินดี
กร
นาย อายุวงศ์
เกียรติศักดิ์
นายอมร กองเงิน
เทพ กลาง
โครงงานนี้เป็ นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร
วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต

สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา ภาควิชาวิศวกรรมโยธา

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราช
มงคลกรุงเทพ

ปี การศึกษา 2565

ลิขสิทธิ์เป็ นของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล
กรุงเทพ

การศึกษาการทดสอบสมบัติของไม้ไผ่ที่มีการรักษา
เนื้อไม้

โดยภูมิปั ญญาชาวบ้าน
นายกิตติ เมินดี
กร
นาย อายุวงศ์
เกียรติศักดิ์
นายอมร กองเงิน
เทพ กลาง

โครงงานนี้เป็ นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร
วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต

สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา ภาควิชาวิศวกรรมโยธา

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราช
มงคลกรุงเทพ
ปี การศึกษา 2565

ลิขสิทธิ์เป็ นของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล
กรุงเทพ

ชื่อโครงงาน การศึกษาการทดสอบสมบัติของ
ไม้ไผ่ที่มีการรักษาเนื้อไม้ โดยภูมิปั ญญา
ชาวบ้าน

โดย นายกิตติกร เมินดี

นายเกียรติศักดิ์ อายุวงศ์

นายอมเทพ กองเงินกลาง

สาขาวิชา วิศวกรรมโยธา

อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์อภัย เบ็ญจพงศ์

_________________________________________________
________________________

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล
กรุงเทพ อนุมัติให้นับโครงงานนี้เป็ นส่วนหนึ่งของการศึกษาตาม
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต
.............................................................. คณะบดีคณะ
วิศวกรรมศาสตร์

(ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชัชวาลย์ สุขมั่น)

คณะกรรมการสอบโครงงาน

.............................................................. ประธาน
กรรมการ

(ดร.ชำนาญ น้อยพิทักษ์)

.............................................................. อาจารย์ที่
ปรึกษาโครงงาน

(อาจารย์อภัย เบ็ญจพงศ์)

.............................................................. กรรมการ

(ดร.เซาฟี ร์ ดือราแม)

.............................................................. กรรมการ

(ผู้ชวยศาสตราจารย์สวัสดิ์ ศรีเมืองธน)

ชื่อโครงงาน การศึกษาการทดสอบสมบัติของ
ไม้ไผ่ที่มีการรักษาเนื้อไม้ โดยภูมิปั ญญา
ชาวบ้าน

โดย นายกิตติกร เมินดี


นายเกียรติศักดิ์ อายุวงศ์

นายอมเทพ กองเงินกลาง

สาขาวิชา วิศวกรรมโยธา

อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์อภัย เบ็ญจพงศ์

ปี การศึกษา 2566

บทคัดย่อ

ไผ่ตงมีชื่อสามัญว่า Rough Giant Bamboo เป็ นไผ่ประเภท


เหง้ามีกอขนาดใหญ่ สูง 20–30 เมตร ลำตรงอัดกันเป็ นกอค่อนข้าง
แน่นปลายลำโค้งถึงห้อยลงเส้นผ่านศูนย์กลางลำ 10–20 เซนติเมตร
ปล้องยาว 20–50 เซนติเมตร เนื้อลำหนา 1–3.5 เซนติเมตร ลำ
อ่อนปล้องล่างมีขนสีน้ำตาลปกคลุมหนาแน่น ปล้องบนมีขนสีขาว
หรือสีเทาปกคลุม ลำแก่สีเขียวเข้มหรือสีเขียวอมเทา ปล้องล่างยังมี
ขนปกคลุมหนาแน่นและมักมีรากอากาศจำนวนมากออกตามข้อ
แตกกิ่งต่ำหรือตั้งแต่กลางลำต้นขึ้นไป มีข้อลำ 3–5 กิ่ง กิ่งเด่นหนึ่ง
กิ่งอยู่ตรงกลาง กิ่งที่เหลือขนาดไล่เลี่ยกันมักมีรากอากาศที่กิ่ง
บทที่ 1

บทนำ

1.1 ความเป็ นมาและความสำคัญของปั ญหา

ไผ่ในประเทศไทยไผ่เป็ นพืชสารพัดประโยชน์ ที่มนุษย์นำมาใช้


เป็ นเวลาช้านาน เพื่อเป็ นอาหาร วัตถุดิบ ที่อยู่อาศัย และแม้กระทั่ง
ยารักษาโรค ลำไผ่มีความแข็งแกร่งมากโดยเฉพาะเมื่อผ่านการอบ
แห้งอัดน้ำ รักษาเนื้อไม้แล้ว สามารถนำ มาสร้างบ้าน ทำ รั้ว ทำ
สะพานเดิน เครื่องเรือน ของเด็กเล่น นั่งร้านก่อสร้าง หมวก เครื่อง
ดนตรีหลายชนิด พื้นบ้าน การใช้ลำไผ่จำเป็ นต้องคัดเลือกไผ่ที่มีอายุ
หลายปี เพื่อให้ได้เนื้อไม้ เราสามารถดัดลำไผ่ให้เป็ นเหลี่ยมได้ด้วย
การครอบท่อเหลี่ยมบังคับ ซึ่งจะต้องค่อยๆ เลื่อนขึ้นไปตามลำไผ่
ที่โตหรือสูงขึ้น สำหรับการทำกระดาษนั้น จีนเป็ นชาติแรกที่คิด
ประดิษฐ์ ซึ่งทำด้วยมือมีคุณภาพสูงแต่ได้จำนวนน้อย ปั จจุบันยังคง
ผลิตกระดาษไหว้เจ้าจากไผ่เพื่อใช้อยู่ในสังคมไม้ไผ่เป็ นวัสดุยั่งยืน มี
วงจรชีวิตสั้นกว่าไม้ยืนต้นประเภทอื่ นๆ และเป็ นทรัพยากร
หมุนเวียน เนื้อไม้ไผ่เมื่อแห้งแล้ว การขยายหรือหดตัวมีน้อยกว่าไม้
ชนิดอื่ น อีกทั้งยังเป็ นโครงสร้างที่สมบูรณ์ที่สุด ในด้านของการ
ออกแบบทางวิศวกรรมโครงสร้างเนื่ องจากมีลำต้นกลวง ใช้วัสดุ
น้อย ผิวนอกแข็งและเหนียว คล้ายกับการเสริมเหล็กในคอนกรีต มี
ข้อปล้องเป็ นระยะๆ สร้างความแข็งแรงให้กับโครงสร้าง อีกทั้งยังมี
คุณสมบัติ ในการรับแรงอัดและแรงดึงสูง จึงนิยมใช้ไม้ไผ่เป็ นวัสดุ
ทดแทนในการก่อสร้าง แทนไม้ยืนต้น

ดั ง นั้น ผู้ ทำ ก า ร วิ จั ย จึ ง มี ค ว า ม ส น ใ จ แ ล ะ ต้ อ ง ก า ร ที่ จ ะ เ พิ่ ม


ประสิทธิภาพ ให้ไม้ไผ่สามารถใช้ในงานโครงสร้างได้ และยัง
สามารถใช้แทนวัสดุชนิดอื่นได้ เพื่อช่วยยืดระยะเวลาในการใช้งาน
ของไม้ไผ่ให้ได้ยาวนานมากขึ้น จึงได้นำเอาภูมิปั ญญาชาวบ้านมาใช้
โดยการนำเอาไม้ไผ่มาต้มน้ำที่มีอุณหภูมิสูง และนำไปทอดด้วย
น้ำมัน เพื่อป้ องการกัดกินของสัตว์ประเภทจำพวกแมลง มอด และ
ปลวก ที่เป็ นปั ญหาสำหรับไม้ไผ่ ที่จะนำไปใช้ในด้านงานโครงสร้าง
ต่างๆ ดังนั้นจงจำเป็ นต้องทำการทดสอบ เพื่อหาคุณสมบัติของไม้ไผ่
ที่มีการรักษาเนื้อไม้

1.2 วัตถุประสงค์

1.2.1 เพื่อทราบการรับกำลังอัดสูงสุดของไม้ไผ่ที่ผ่านการรักษา
เนื้อไม้
1.2.2 เพื่อทราบคุณสมบัติของทางกายภาพของไม้ไผ่ที่ผ่านการ
รักษาเนื้อไม้
1.2.3 เพื่อวิเคราะห์คุณสมบัติของไม้ไผ่ที่ผ่านการรักษาเนื้อไม้ที่มี
ผลต่อกำลังรับแรงอัด

1.3 ขอบเขตของโครงงาน

1.3.1 พั น ธุ์ ไ ผ่ ที่ ใ ช้ คื อ ไ ผ่ ต ง (Rough Giant Bamboo)


เนื่องจากเป็ นพันธุ์ที่มีความแข็งแรงมีลำต้นตรง เป็ นที่นิยมในการใช้
เป็ นโครงสร้าง
1.3.2 ใช้ไผ่อายุ 3 - 6 ปี เนื่องจากเป็ นช่วงที่ไผ่โตเต็มวัยหดตัว
มีการแตกตัวน้อย และเนื้อไม้มีความแข็งแรงมากสุด
1.3.3 ไม้ไผ่ที่นำมารักษาเนื้อไม้เพื่อทดสอบใช้ความยาวตาม
ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของไม้ไผ่โดยเฉลี่ยคือ 90 93 91 90 91 90
มิลลิเมตรเซนติเมตร

1.3.4 งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาเฉพาะการเปรียบเทียบไม้ไผ่ในการรับ
กำลังอัดตามวิธีภูปั ญญาชาวบ้าน และลักษณะทางกายภาพของ
ไม้ไผ่ตงที่ผ่านการรักษาเนื้อไม้เพื่อเพิ่มความคงทนสำหรับงานที่ใช้
ไม้ไผ่ในการทำโครงสร้างต่างๆ

1.4 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

1.4.1 ได้ทราบถึงความสามารถรับแรงอัดของไม้ไผ่ที่ผ่านการ
รักษาเนื้อไม้โดยภูมิปั ญญาชาวบ้าน
1.4.2 ได้ทราบถึงลักษณะทางกายภาพของไม้ไผ่ที่ผ่านการรักษา
เนื้อไม้โดยภูมิปั ญญาชาวบ้าน
1.4.3 ได้ทราบถึงความเหมาะสมในการนำ มาใช้งานได้ถูก
ประเภทสำหรับงานต่างๆ
1.4.4 ได้ทราบถึงระยะเวลาของการรักษาไม้ไผ่เพื่อนำมาใช้งาน

บทที่ 2
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2.1 ไม้ไผ่

ไผ่เป็ นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว อยู่ในวงศ์ GRAMINAE วงศ์ย่อย


BAMBUSOIDAE ไผ่มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็ นไผ่ที่
มีการแตกกอขนาดใหญ่ และเป็ นลำต้นสูงตรง ผอมเรียว ส่วนไผ่ที่มี
ถิ่นกำเนิดในเขตอบอุ่นนั้น เป็ นไผ่ที่มีการแตกกอน้อย และมีลำต้น
ขนาดใหญ่ไผ่มีลำต้นใต้ดินเรียกว่าเหง้า(rhizome) ส่วนโคนของ
ลำต้นเหนือดินจะใหญ่และค่อย ๆ เรียวไปยังส่วนปลายลำต้น หน่อ
ใหม่จะเจริญออกมาจากตาข้างหรือตายอดของเหง้าที่อยู่ใต้ดิน ไผ่
แต่ละลำประกอบด้วยส่วนของปล้องลำต้นที่มีลักษณะเป็ นท่อกลวง
และส่วนข้อที่มีลักษณะเป็ นแผ่นแบนแข็ง เส้นผ่านศูนย์กลางของ
ลำต้นขึ้นอยู่กับชนิดของไผ่ ซึ่งมีเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ 0.5-20
เซนติเมตร นอกจากนี้ยังพบว่าขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของลำต้น
ขึ้นกับขนาดของหน่ออ่อนที่เจริญออกมาจากเหง้าใต้ดินอีกด้วย
ปล้องที่อยู่บริเวณส่วนกลางของลำต้นมักมีความยาวมากกว่า ปล้อง
ที่อยู่ตรงส่วนโคนหรือส่วนปลายของลำต้น และมีริ้วรอยของกาบใบ
ที่หลุดร่วงไปจากบริเวณข้อของลำต้นด้วย ข้อของลำต้นไผ่บางชนิด
อาจมีลักษณะโป่ งพอง และอาจพบรากพิเศษเจริญออกมาจากข้อ
ของลำต้นที่อยู่ใกล้กับส่วนโคนของลำต้น

2.1.1 ไผ่ตงมีชื่อสามัญว่า RoughGiant Bamboo อยู่ในวงศ์


Gramineae สกุล Dendrocalamus Nees เป็ นไผ่ประเภทเหง้ามี
กอขนาดใหญ่ สูง 20–30 เมตร ลำตรงอัดกันเป็ นกอค่อนข้างแน่น
ปลายลำโค้งถึงห้อยลงเส้นผ่านศูนย์กลางลำ 10–20 เซนติเมตร
ปล้องยาว 20–50 เซนติเมตร เนื้อลำหนา 1–3.5 เซนติเมตร ลำ
อ่อนปล้องล่างมีขนสีน้ำตาลปกคลุมหนาแน่น ปล้องบนมีขนสีขาว
หรือสีเทาปกคลุม ลำแก่สีเขียวเข้มหรือสีเขียวอมเทา ปล้องล่างยังมี
ขนปกคลุมหนาแน่นและมักมีรากอากาศจำนวนมากออกตามข้อ
แตกกิ่งต่ำหรือตั้งแต่กลางลำต้นขึ้นไป มีข้อลำ 3–5 กิ่ง กิ่งเด่นหนึ่ง
กิ่งอยู่ตรงกลาง กิ่งที่เหลือขนาดไล่เลี่ยกันมักมีรากอากาศที่กิ่ง

ลักษณะเฉพาะที่ใช้แยกชนิด ของไผ่ตงออกจากไผ่ชนิดอื่น คือ


กาบหุ้มลำ โดยเฉพาะบริเวณโคน ลำ ที่มีขนาดเล็กกว่าตอนบน
ด้านหลังกาบมีขนสีน้ำตาลเหลืองปกคลุม หากขึ้นในพื้นที่แล้งจะไม่
ค่อยมีขน

ใบของไผ่ประกอบด้วยส่วนของแผ่นใบ (blade) กาบใบ


(sheath proper) ลิ้นใบ(ligule) และเขี้ยวใบ(auricles) ซึ่งมีขนาด
และรูปร่างแตกต่างกันตามชนิดของไผ่ รวมทั้งสีสันของกาบใบที่หุ้ม
หน่ออ่อน รวมทั้งการมีหนาม ขนหรือความเป็ นมันเงาของกาบใบก็
แตกต่างกันไปตามชนิดของไผ่ด้วยการแตกกิ่งก้านสาขาของไผ่จะ
พบตั้งแต่ส่วนโคนของลำต้นไปจนกระทั่งถึงส่วนปลายยอดในไผ่บาง
ชนิด แต่ไผ่บางชนิดมีการแตกกิ่งก้านสาขาเฉพาะส่วนยอดของ
ลำต้นเท่านั้น

ไผ่ออกดอกเป็ นช่อซึ่งมีช่อดอกย่อยแบบ Spikelet ช่อดอก


ของไผ่ถูกแบ่งออกได้เป็ น 2 แบบใหญ่ ๆ คือ แบบ semelauctant
ซึ่งมีการเรียงของช่อดอกย่อยออกมาจากทั้งสองด้านแกนกลาง เป็ น
ช่อดอกแบบช่อกระจะ (Raceme) หรือ (panicle) ส่วนอีกแบบ
หนึ่งเป็ นช่อดอกแบบ iterauctant หรือ indeterminate ซึ่งมีช่อ
ดอกแตกออกเป็ นกระจุกเรียงซ้อนกันเป็ นชั้น ๆ
ผลของไผ่เป็ นผลธัญพืช (caryopsis) เช่นเดียวกับพืชชนิดอื่นๆ ซึ่ง
อยู่ในวงศ์หญ้า มีผนังผลเชื่อมติดกับส่วนของเปลือกหุ้มเมล็ดเมล็ด
ประกอบด้วยเอ็มบริโอ(embryo)เอนโดสเปิ ร์ (endosperm) และ
ใบเลี้ยง 1 ใบ เรียกว่า scutellum เมื่อเมล็ดงอกเป็ นต้นกล้า จะมี
รากปฐมภูมิซึ่งพัฒนามาจากรากแรกเกิด(radicle) ของเอ็มบริโอ
ส่วนยอดอ่อน(plumule) จะเจริญเป็ นลำต้นโผล่เหนือดิน โดยมี
เนื้อเยื่อหุ้มยอดแรกเกิด(coleoptile) ห่อหุ้มปลายยอดของต้นกล้า
ออกมาด้วย

2.1.2 ประโยชน์ของไผ่

2.1.2.1 ใช้เป็ นที่อยู่อาศัย ไม้ไผ่ที่นำ มาทำ เป็ นที่อยู่


อาศัย คุณสมบัติพิเศษของไม้ไผ่ที่สามารถใช้ประโยชน์ได้โดยไม่ต้อง
แปรรูปและแปรรูป และเป็ นไม้ที่มีความคงทนต่อสภาพดินฟ้ า
อากาศได้ดี จึงมีการนำไม้ไผ่มาสร้างเป็ นบ้านเรือนที่พักอาศัยกัน
ทั่วไป เช่นเรือนไม้ไผ่ในประเทศไทยที่เรียกว่า “เรือนเครื่องผูก” ที่
สร้างด้วยไม้ไผ่แทบทั้งหมด ตั้งแต่ใช้เป็ นโครงสร้างและส่วน
ประกอบของบ้านเรือน ได้แก่ ใช้ลำไม้ไผ่เป็ นเสา โครงหลังคา และ
ใช้ไม้ไผ่แปรรูปด้วยการผ่าเป็ นซีกๆ เป็ นพื้นและสานเป็ นแผงใช้เป็ น
ฝาเรือน เป็ นต้น ชาวชนบทที่มีฐานะทางเศรษฐกิจไม่ดีนักมักสร้าง
เครื่ องเรือนผูกเป็ นที่อยู่อาศัย เพราะสามารถสร้างได้เอง โดยใช้
ไม้ไผ่และวัสดุที่มีในท้องถิ่นของตนมาประกอบ กันเป็ นเรือนที่พัก
อาศัย รูปแบบของเรือนเครื่องผูกจะแตกต่างกันไปตามความนิยม
ของแต่ละท้องถิ่นโดยทั่ว ไปจะใช้ไม้ไผ่เป็ นวัสดุหลักในการก่อสร้าง

2.1.2.2 เครื่ องมือเครื่ องใช้ไม้ไผ่ที่ใช้เป็ นเครื่ องมือ


เครื่องใช้ในครัวเรือนและชีวิตประจำวัน งานไม้ไผ่ประเภทนี้มีความ
เกี่ยวเนื่องกับชีวิตมนุษย์มาช้านานและอาจจะเป็ น เครื่องใช้ในครัว
เรือนที่เก่าแก่ที่สุดอย่างหนึ่ง เฉพาะอย่างยิ่งชาวตะวันออกนั้น มี
เครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำด้วยไม้ไผ่มาแต่โบราณ เช่น ตะเกียบไม้ไผ่
ของจีน เป็ นเครื่องมือการกินอาหารที่ทำอย่างง่ายๆ แต่ใช้ประโยชน์
ได้อย่างดี ก่องข้าวและกระติบสำหรับใส่ข้าวเหนียวของชาวอีสาน
และชาวเหนือ เป็ นตัวอย่างที่ดีซึ่งแสดงให้เห็นความชาญฉลาดใน
การนำไม้ไผ่มาแปรรูปเป็ น ภาชนะสำหรับใส่ข้าวเหนียวนึ่งได้ดีเท่า
ก่องข้าวและกระติบที่สานด้วยตอกนอกจากนี้ยังใช้ทำเครื่องใช้สอย
ในครัวเรือน เช่นตะกร้า กระจาด สาแหรก กระบอกเ ป่ าไฟ
กระชอน ตะเกียบ ชะลอม ที่เสียบมีด กระบอกเก็บสาก ทัพพี ช้อน
ตะหลิว ทำพัด ตับปิ้งปลา ทำฟื น ด้ามเครื่องมืออื่นๆ เครื่องจักสาน
ของที่ระลึกเครื่องเขิน ทำโครงร่ม ไม้กวาด ใช้เป็ นไม้ค้ำยันในการ
ทำการเกษตร เช่นไม้ค้ำต้นส้ม ค้ำผัก ค้างถั่ว ฯลน ไม้ไผ่ยังใช้เป็ น
หลักปั กกองฟาง ใช้ทำเข่งบรรจุผลไม้ บรรจุใบชา ของป่ าต่างๆ ทำ
หุ่นหรือลูกบวบหนุนเรือนแพล่องไม้ไม่ให้จม บุ้งกี๋ กระพ้อม เสียม
เสื่อลำแพน ทำท่อ ทำโต๊ะ เก้าอี้ และเฟอร์นิเจอร์ตกแต่งภายใน
บ้าน
2.1.2.3 เครื่องมือประกอบอาชีพและเครื่องเรือนไม้ไผ่
ที่ใช้ในการประกอบอาชีพ งานไม้ไผ่ประเภทนี้มีใช้กันอย่างกว้าง
ขวางในสังคมเกษตร กรรมของชาวเอเชีย เพราะไม้ไผ่เป็ นวัสดุที่หา
ได้ไม่ยากและชาวบ้านสามารถทำใช้สอยได้เอง เฉพาะอย่างยิ่งใน
ประเทศไทยประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม ดังนั้นเครื่องมือ
เครื่องใช้ในการทำนาทำไร่จำนวนมากจึงทำมาจากไม้ไผ่ เช่นคราด
คานหลาว คานกระบุง กระพ้อม ครุ (ครุหรือแอ่ว ของภาคเหนือใช้
สำหรับตีหรือฟาดข้าว ให้เมล็ดข้างหลุดออกจากรวง เป็ นเครื่ อง
จักสานไม้ไผ่ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด) เลื่อน วี โพง ฯลฯ นอกจากนี้ยังใช้
ทำ เครื่ องใช้สอยในครัวเรือน เช่นตะกร้า กระจาด สาแหรก
กระบอกเป่ าไฟ กระชอน ตะเกียบ ชะลอม ที่เสียบมีด กระบอกเก็บ
สาก ทัพพี ช้อน ตะหลิว ทำพัด ตับปิ้ งปลา ทำฟื น ด้ามเครื่องมือ
อื่นๆ เครื่องจักสาน ของที่ระลึกเครื่องเขิน ทำโครงร่ม ไม้กวาด ใช้
เป็ นไม้ค้ำยันในการทำการเกษตร เช่นไม้ค้ำต้นส้ม ค้ำผัก ค้างถั่ว
ฯลน ไม้ไผ่ยังใช้เป็ นหลักปั กกองฟาง ใช้ทำเข่งบรรจุผลไม้ บรรจุใบ
ชา ของป่ าต่างๆ ทำหุ่นหรือลูกบวบหนุนเรือนแพล่องไม้ไม่ให้จม บุ้ง
กี๋ กระพ้อม เสียม เสื่อลำแพน ทำท่อ ทำโต๊ะ เก้าอี้ และเฟอร์นิเจอร์
ตกแต่งภายในบ้านงานไม้ไผ่ที่ใช้เป็ นเครื่องเรือนและเครื่อง ตกแต่ง
งานไม้ไผ่ประเภทนี้มีใช้ทั่วไปในหลายประเทศ เช่น ทำ เป็ นโต๊ะ
เก้าอี้ เตียงนอน แม้บางชนิดจะดูเป็ นสิ่งที่ทำได้ง่ายๆ ไม่มีราคามาก
นัก แต่ใช้ประโยชน์ได้ดีเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและภูมิอากาศ
เช่น คนไทยใช้ไม้ไผ่ทำแคร่ ทำเปลไว้นอนเล่นในฤดูร้อน เพราะแคร่
และเปลไม้ไผ่นั้นโปร่ง อากาศผ่านได้จึงไม่ร้อนกล่าวกันว่า เมื่อครั้งที่
พ่อค้าชาวดัชท์ (Datch) เข้ามาค้าขายในตะวันออกไกลครั้งแรก
พวกเขารู้สึกประหลาดใจมากที่เห็นคนพื้นเมืองนอนอยู่บนเตียง
ไม้ไผ่ที่พื้น เตียงทำด้วยไม้ไผ่เป็ นซีกๆ เปิ ดโล่งให้ลมผ่านได้ เตียง
ลักษณะนี้จะช่วยคลายร้อนได้มากในคืนที่มีอากาศร้อน เตียงชนิดนี้
เป็ นที่มาของคำว่า “bamboo princess” ต่อมากลายเป็ นคำว่า ”
Datch wife” เป็ นคำที่รู้กันในหมู่ชาวตะวันออก เครื่องเรือนไม้ไผ่
นั้นมีความงดงามที่เรียบง่าย แฝงแนวคิดและปรัชญาแบบตะวัน
ออกด้วยเฉพาะอย่างยิ่ง ชาวญี่ปุ่นใช้ไม้ไผ่เป็ นเครื่องเรือนและเครื่อง
ตกแต่งบ้านอย่างเห็นคุณค่ามา ช้านาน เช่นไม้ไผ่ทำเป็ นฝาบ้าน รั้ว
ประตูหน้าต่าง มู่ลี่ เป็ นต้น

2.1.3 คุณสมบัติของไม้ไผ่

2.1.3.1 คุณสมบัติทางกายภาพความชื้นของไม้ไผ่ที่เจริญ
เติบโตเต็มที่มีค่าเฉลี่ย 50-99 % และไม้ไผ่ที่ยังอ่อนอยู่มีค่าเฉลี่ย
80-95 % ขณะ ที่ไม้ไผ่ซึ่งแห้งเต็มที่แล้วมี ความ ชื้ น 12-18 %
ความชื้นของไม้ไผ่จะค่อย ๆ ลดลงจากส่วนโคนไปยังส่วนปลายของ
ลำต้น และจะลดลงเมื่อลำต้นมีอายุเพิ่มขึ้น และมีความชื้นสูงในฤดู
ฝนมากกว่าฤดูแล้ง ความหนาแน่นของเนื้อไม้เปลี่ยนแปลงไปตาม
ชนิดของไม้ไผ่ ปริมาณน้ำ ในผนังเซลล์ของเซลล์เส้นใยหรือ
ไฟเบอร์(fiber) ขึ้นกับชนิดของเนื้อไม้การหดตัวของเนื้อไม้ เกิดขึ้น
ภายหลังจากการเก็บเกี่ยว ไม้ไผ่ที่มีสีเขียวจะมีการสูญเสียน้ำและมี
การหดตัวของเซลล์ซึ่งมีผลต่อขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของลำไม้ไผ่
ให้หดเล็กลงด้วย

2.1.3.2 คุณสมบัติทางกลไม้ไผ่เป็ นพืชที่มีเนื้อไม้ซึ่งแข็ง


แรง และยืดหยุ่นได้เช่นเดียวกับเนื้อไม้ของพืชอื่น ๆ คือการโค้งงอ
คุณสมบัติขึ้นกับชนิดของไม้ไผ่ และขนาดของลำไผ่ หรือเนื้อไม้ที่ถูก
ผ่าแบ่งให้มีความหนาและบางแตก ต่างกันไปการยืดหยุ่น ขึ้นกับ
คุณสมบัติในการโค้งงอ และการทนต่อแรงกดบนเนื้อไม้การทนทาน
ต่อแรงกด แรงบีบ และแรงอัดต่าง ๆ ซึ่งมีผลต่อการรับน้ำหนักของ
วัตถุ

2.1.3.3 คุณสมบัติทางเคมีองค์ประกอบหลักของเนื้อ
ไม้ ได้แก่ เซลลูโลส (cellulose) เฮมิเซลลูโลส (hemicellulose)
และลิกนิน (lignin) องค์ประกอบรองได้แก่สารจำ พวก เรซิน
(resins) แทนนิน (tannins) แว๊กซ์(waxes) และ เกลืออนินทรีย์
(inorganicsalts) อุตสาหกรรมการผลิตกระดาษ และเยื่อกระดาษ
มีเซลลูโลสและเฮมิเซลลูโลส ซึ่งเรียกรวมกันว่า โฮโลเซลลูโลส
(holocellulose) เป็ นองค์ประกอบ 61-71 % เพนโทแซ น
(pentosans) 16-21 % ลิกนิน (lignin) 20-30 % เถ้า 1-9 % ซิลิ
ก้า 0.5-4% หน่ออ่อนของลำต้นที่นำมาบริโภคเป็ นหน่อไม้ ในส่วนที่
รับประทานได้หนัก 100 กรัม ประกอบด้วย น้ำ 89-93 กรัม
โปรตีน 1.3-2.3 กรัม ไขมัน 0.3-0.4 กรัม คาร์โบไฮเดรต 4.2-6.1
กรัม เส้นใย 0.5-0.77 กรัม เถ้า 0.8-1.3 กรัม แคลเซียม 81-96
มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 42-59 มิลลิกรัม เหล็ก 0.5-1.7 มิลลิกรัม วิตา
มินบี 10.07-0.14 มิลลิกรัม วิตามินซี 3.2-5.7 มิลลิกรัม กลูโคส
1.8-4.1 กรัม พลังงาน 118-197 จุล ไซยาไนด์ 44-283 มิลลิกรัม
ต่อกิโลกรัม

จากข้อมูลผลการทดสอบสมบัติทางกายภาพของไผ่ตงหม้อ
สามารถเปรียบเทียบกับงานวิจัย ไผ่ตงของผู้ทำวิจัยท่านอื่ นได้ใน
ช่องที่ 5 ของตารางที่ 4.3

ตารางที่ 4.3 เปรียบเทียบสมบัติทางกายภาพของไผ่ตงกับงานวิจัย


อื่น

ไผ่ตรงในงานวิจัยอื่น ไผ่ตรงหม้อที่ทดสอบในงาน
คุณสมบัติทางกายภาพ
1 2 3 4 วิจัย
เส้นผ่านศูนย์กลาง 92.
113.2 - 85.3 43.5
ภายนอก(มม.) 5
11.
ความหน้าผนังปล้อง(มม.) 12.2 - 12.7 7.5
1
19.8
ความชื้นสัมพัทธ์(%) 11(46) 11 11.73 9.0909
9
0.6
ความถ่วงจำเพาะ 0.77(0.73) - - 0.512
9
797.9
ความหนาแน่น(กก./ลบ.ม.) - 767 - 512
5
การหดตัว(%)
ด้านสัมพัทธ์ 2.53 - - - -
ด้านรัสมี 1.35 4.5 - - -
ตามยาว 0.21 0.1 - - -
ความหนา - 4.2 - - -
หมายเหตุ : จาก 1. ฐิติกุล ภาคคีรี (2540); 2. สุชาติไทยเพชร
(2547); 3. พัชริกา ประสงค์พรสกุล (2554); 4. เอกลักษณ์ตงยนต์
(2554);

คุณสมบัติทางกายภาพของไผ่ตงหม้อที่นำมาทำการ
ทดสอบเมื่อเปรียบเทียบกับงานวิจัยอื่ น แล้วจะเห็นได้ว่ามีขนาด
ใหญ่กว่าไผ่ตงสายพันธุ์ย่อยอื่นแต่มีความชื้นสัมพัทธ์ ที่มากกว่างาน
วิจัยของ ฐิติกุล ภาคคีรี (2540) สุชาติไทยเพชร (2547) และ
เอกลักษณ์ ตงยนต์ (2554) ซึ่งอาจเป็ นผลมาจาก สภาพแวดล้อมใน
สถานที่ที่ทำการทดสอง เช่น ความชื้นภายในห้องทดสอบ เป็ นต้น
และจากตารางที่ 4.3 พบว่าการทดสอบในงานวิจัยนี้เนื้อไม้มีความ
หนาแน่นน้อยกว่างานวิจัยอื่น ซึ่งอาจมีผลมาจากการ เก็บรักษาไม้
ไ ด้ ไ ม่ ดี ทำ ใ ห้ ไ ม้ มี ค ว า ม เ สี ย ห า ย จ า ก ม อ ด ไ ม้ ไ ผ่ (Dinoderus
minutus) เจาะไม้สดหรือไม้ที่ กำ ลังแห้ง ซึ่งตัวอย่างที่นำ มา
ทดสอบมีความเสียหายจากมอดไม้ไผ่มาพอสมควร

2.1.4 ปริมาณแป้ งในลำไผ่

2.1.4.1 ไม้ไผ่มีการเจริญเติบโตรวดเร็ว มากในแถบ


ร้อนไม้ไผ่แต่ละลำ จะเจริญเติบโตเต็มที่ภายใน 6 เดือน ปริมาณ
แป้ งภายในลำของไผ่ก่อนแตกหน่อจะสูง และลดลงเมื่ อเกิดหน่อ
ใหม่ จนกระทั่งหน่อเจริญเต็มที่แล้ว ลำไผ่จะมีการสะสมแป้ งมากขึ้น
อีก และจะลดลงอีกครั้งเมื่อเหง้ามีการเจริญเติบโต ในช่วงฤดูร้อนมี
แป้ งสะสมอยู่มากเพื่อใช้ในการแตกหน่อและเติบโตในช่วงฤดูฝน
อายุของไม้ไผ่มีความสัมพันธ์กับปริมาณแป้ ง ไผ่อ่อนอายุ 1 ปี จะยัง
ไม่มีแป้ ง เมื่ออายุมากขึ้นและโตเต็มที่จึงจะมีแป้ ง ลำไผ่ส่วนโคนจะมี
แป้ งน้อยกว่าส่วนกลางและมีมากที่ส่วนปลาย จึงทำให้ส่วนโคนของ
ไม้ไผ่มีความทนทานต่อแมลงและเชื้อราปริมาณแป้ งในไม้ไผ่โดย
ทั่วๆ ไปมีประมาณ 2-6 % และมีมากถึง 10 % ได้ ขึ้นอยู่กับชนิด
อายุ ความสูงของลำ และพื้นที่ปลูก ในช่วงที่ไผ่กำ ลังออกดอก
ปริมาณแป้ งในลำจะต่ำ พันธุ์ไผ่ที่มีแป้ งน้อยกว่าจะทนทานต่อมอด
มากกว่า ไม้ไผ่ที่มีปริมาณแป้ งน้อยกว่า 19 เป็ นไม้ไผ่คุณภาพดี
สามารถนำไปใช้ในการก่อสร้างได้ ไม้ไผ่อายุ 2 ปี มีแป้ งมากแต่
ไฟเบอร์ในไม้ยังไม่แข็งพอจึงถูกทำลายได้มากกว่าไผ่แก่ที่มีแป้ ง ดัง
นั้นเมื่ อตัดไม้ไผ่มาใช้ ปริมาณแป้ งในลำ อายุและชนิดของไม้ไผ่
ความชื้นของไม้จะเป็ นตัวดึงดูดให้แมลงมาเจาะได้ภายในเวลา 24
ชั่วโมง ปริมาณแป้ งในไม้ไผ่มีส่วนสัมพันธ์กับความอ่อนแอของไม้ไผ่
ที่มีต่อแมลงและเชื้อราทำลายไม้ การลดปริมาณแป้ งทำได้โดย การ
ผึ่งพร้อมใบและกิ่ง การแช่น้ำ การใช้ความร้อนโดยการอบหรือการ
รมควัน การย่างไฟและการต้ม

2.1.5 ความชื้นในไม้ไผ่และการผึ้งให้แห้งในกระแสอากาศ
2.1.5.1 ความชื้นในลำไผ่ขึ้นกับชนิด อายุ ฤดูกาล
พื้นที่ปลูก และความยาวของลำไผ่อายุ 1 ปี มีความชื้นในลำสูง
มากกว่า 100 % ส่วนไผ่แก่มีประมาณ 60-70 % ส่วนโคนของลำมี
ความชื้นสูงกว่าส่วนปลาย ความชื้นในลำไผ่ที่ Ur ยังไม่ตัดออกจาก
กอประมาณ 70-140 % ความขึ้นของไผ่มีความสำคัญต่อการเข้า
ทำลายของแมลงและเชื้อราอย่างยิ่ง และมีความสำคัญต่อวิธีการ
ป้ องกันรักษา ไม้ไผ่ที่ต้องการความชื้นในลำช่วยให้น้ำยาป้ องกัน
รักษาเนื้อไม้ผ่านเข้าไปในลำไผ่ได้ดีขึ้น ไม้ไผ่ที่มีความชื้น 15-20 %
ไม่เหมาะกับการเจริญของเชื้อรา ถ้าสูงกว่า 20 % เชื้อราจะเข้า
ทำลายได้ง่าย

2.1.6 การป้ องกันแมลงจำพวกมอดทำลายไม้ไผ่

2.1.6.1 ปั จจุบันปริมาณการใช้ประโยชน์ไม้ไผ่เพิ่มขึ้น
ทุกปี จากการนำไม้ไผ่มาใช้ทดแทนไม้ในการทำผลิตภัณฑ์ต่างๆ มี
การพัฒนารูปแบบเพื่อเพิ่มมูลค่าของสินค้าจนเป็ นที่ต้องการของ
ตลาด แต่ปั ญหาจากมอดไม้ไผ่และ เชื้อราทำ ลายไม้ ยังคงเป็ น
ปั ญหาสำคัญ มอดไม้ไผ่สามารถเข้าทำลายไม้ไผ่ได้ภายในเวลา 24
ชั่วโมงหลังจาก ตัดฟั น จึงจำเป็ นที่จะต้องป้ องกันรักษาไม้ไผ่ตั้งแต่
เริ่มตัดฟั นเพื่อยืดอายุการใช้งานไม้ไผ่ การยืดอายุการใช้งานไม้ไผ่
ทำได้หลายวิธีโดยการใช้สารเคมีและไม่ใช้สารเคมี แล้วแต่ความ
เหมาะสม ของไม้ใช้งาน การใช้สารเคมีเป็ นการป้ องกันระยะยาว
เพื่อช่วยรักษาไม้ไผ่ให้มีความทนทานต่อแมลงทำลายไม้ สามารถยืด
อายุการใช้งานให้นานขึ้น 3-5 เท่า แมลงทำลายไม้ไผ่ การเข้า
ทำลายของแมลงทำลายไม้ไผ่ ขึ้นอยู่กับปริมาณแป้ งในไม้ไผ่และ
ความชื้นของไม้ ชนิดแมลงที่ เข้าทำ ลายไม้ไผ่ ได้แก่ มอดไม้ไผ่
(Dinoderus minutus) เจาะไม้สดหรือไม้ที่กำลังแห้ง วงจรชีวิต
ประมาณ 2 เดือน มอดไม้ไผ่แห้ง (Minthea rugicollis) เข้าทำลาย
ขณะที่ไม้ไผ่กำ ลังแห้งและมีความชื้ นตำ กว่า 30% วงจรชีวิต
ป ร ะ ม า ณ 2-3 เ ดื อ น ด้ ว ง ห น ว ด ย า ว ไ ม้ ไ ผ่ (Chlorophorus
annulatus) เข้าทำ ลายได้ทั้งไม้ไผ่ที่เพิ่งตัดและไม้ไผ่แห้ง โดย
เฉพาะไม้ ไผ่ที่แห้งแล้วและมีเนื้อไม้หนา วงจรชีวิตประมาณ 6
เดือน การป้ องกันรักษาไม้ไผ่ หลักการคือ ลดปริมาณแป้ งในไม้
แก้ไขสภาวะแวดล้อมที่เอื้ออำ นวยต่อการเข้าทำ ลายของแมลง
ทำลายไม้ และการทำให้สารเคมีที่มีพิษต่อแมลงถูกดูดซึมเข้าไปใน
เนื้อไม้ เพื่อช่วยรักษาไม้ไผ่ให้มีความทนทาน ต่อแมลงทำลายไม้
เป็ นการยืดอายุการใช้งานให้นานขึ้น

2.1.6.2 การแช่น้ำ เป็ นวิธีที่ทำได้ง่ายและเสียค่าใช้


จ่ายน้อย การแช่น้ำก็เพื่อทำลายสารในเนื้อไม้ที่มีอาหารของแมลง
ต่างๆ เช่น พวกน้ำตาล แป้ งให้หมดไปการแช่ต้องแชให้มิดลำไม้ไผ่
ถ้าเป็ นน้ำไหลซึ่งมีระยะเวลาแช่น้ำสำหรับไม้สดประมาณ 3 วัน ถึง
3 เดือน แต่ถ้าเป็ นไม้ไผ่แห้งต้องเพิ่มอีกประมาณ 15 วัน ทำให้
ปริมาณแป้ งลดลงและมอดไม่เข้าทำลาย ไผ่แต่ละชนิดมีปริมาณแป้ ง
ไม่เท่ากัน ไม้ไผ่ที่มีปริมาณแป้ งมากจะต้องแช่น้ำนานขึ้นแช่ในน้ำ
ไหลหรือน้ำนิ่งก็ได้
2.1.6.3 การย่างด้วยไฟ เป็ นวิธีการง่ายๆ ที่ทำกันมา
นานแต่โบราณ จะทำให้เนื้อไม้มีลักษณะแกร่ง ไผ่สดนำมาย่างไฟ
อุณหภูมิ 120-130 *C ประมาณ 20 นาที วิธีนี้มักใช้กับไม้ไผ่ลำเล็ก
ตันหรือไม้ไผ่เนื้อหนา การย่างด้วยไฟโดยตรงจะทำให้ลำไผ่มีสีดำ
เป็ นรอยไหม้ได้ การย่างต้องหมุนลำไผ่ให้ทั่วระวังอย่าให้ไหม้ อาจมี
ความชื้นอยู่ในลำไผ่จึงต้องนำไปผึ่งแดดให้แห้งโดยมัดส่วนปลายเข้า
ด้วยกันส่วนล่างกระจายออก

2.1.6.4 การอบหรือรมควัน ใช้กับไม้ไผ่ที่นำ ไปใช้


ก่อสร้างโดยไม่ต้องใช้น้ำยาป้ องกันรักษาไม้ไผ่ โดยสร้างห้องอบทรง
สูง หรือตามความยาวของไม้ไผ่ เพื่อวางเรียงไม้ไผ่ในแนวตั้ง มีปล่อง
ข้างบนที่มุมทั้งสี่ อบหรือรมด้วยควันไฟโดยใช้ความร้อนต่ำ ลำไผ่ที่
ใส่เข้าไปอบควรผึ่งให้เหลือความชื้นในลำต่ำกว่า 50 % ก่อน อบจน
ความชื้นของไม้ไผ่เหลือประมาณ 12-15 % ใช้เวลาอบ 12-20 วัน
ไม้ไผ่ที่อบควรเจาะรูเหนือข้อและใต้ข้อทุกปล้องเพื่อลดแรงตึงผิว
ลดการแตกของไม้ เมื่ออบแล้วไม้ไผ่จะเปลี่ยนเป็ นสีน้ำตาลป้ องกัน
มอดและเชื้อราได้ประโยชน์อย่างคุ้มค่าต้องคำนึงถึงวัตถุประสงค์
ของการใช้งานไม้ เพื่อเลือกใช้สารเคมีและวิธีการป้ องกันรักษาเนื้อ
ไม้ให้ถูกต้อง ก่อนใช้ควรศึกษาข้อมูลความเป็ นพิษของสารชนิดเข้ม
ข้น ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและข้อควรปฏิบัติเมื่อได้รับพิษ

2.1.7 โครงสร้างรับแรงอัด
2.1.7.1 ส่วนโครงสร้างรับแรงอัดเช่นเสาไม้เป็ นต้นซึ่ง
เป็ นโครงสร้างที่พบเห็นได้โดยทั่วไปกำลังในการรับน้ำหนักของเสา
ขึ้นกับค่าอัตราส่วนความชะลูดของเสา (Slenderness Ratio) หาก
เสายิ่งมี ความยาวมากเท่าไร กำลังในการรับน้ำหนักของเสาก็จะ
ลดน้อยลง เพราะเสาจะมีโอกาสโก่งตัวทางด้านข้างมากขึ้น ซึ่งไม้ไผ่
ถูกนำมาทดสอบเพื่อศึกษาพฤติกรรมการวิบัติและการรับน้ำหนัก
บรรทุก ด้วยเหตุนี้ค่าอัตราส่วนความชะลูดจึงใช้แบ่งประเภทของ
เสาไม้แบ่งออกเป็ น 2 ประเภท คือ เสาสั้น (Short Column) และ
เสายาว (Long Column) และมีผลต่อค่าหน่วยแรงอัดขนานเสี้ยนที่
จะใช้ ออกแบบ กล่าวคือ สำหรับเสาสั้นไม่ต้องทำการลดค่าหน่วย
แรงอัดขนานเสี้ยนที่ยอมให้ลง ให้ใช้ค่าที่ กำหนดตามประเภทไม้
แล้วคูณกับพื้นที่หน้าตัดเสา จะได้ค่ากำลังในการรับน้ำหนักโดย
ปลอดภัยของ เสาไม้แต่ถ้าหากเป็ นเสายาวจะต้องลดค่าหน่วยแรง
อัดขนานเสี้ยนที่ยอมให้ลงก่อน จากนั้นจึงทำการ หากำลังของเสา
ไม้ได้ทั้งนี้หากพื้นที่หน้าตัดของเสาไม้มีขนาดใหญ่มาก ไม่สามารถใช้
ไม้ชิ้นเดียวทำเสา ได้ให้พิจารณาเลือกใช้เสาไม้ประกอบ เช่น เสาไม้
ประกอบตัน หรือเสาไม้ประกับพุกแทน เป็ นต้น

2.1.8 ไม้ไผ่ในงานวิศวกรรมโยธา

ปั จจุบันไม้ไผ่มีการนำไปใช้ประโยชน์หลายๆ ด้านในงานวิศวกรรม
โยธา โดยมีการศึกษาหลากหลายลักษณะ โดยส่วนใหญ่ในงาน
ก่อสร้างขนาดเล็กมักมีการนำไม้ไผ่มาศึกษาคุณสมบัติเชิงกลของ
ไม้ไผ่การทดสอบด้านความแข็งแรงของโครงสร้างไม้ไผ่ เช่น งาน
วิจัยของ

ภัทฐิตา พงศ์ธนา และสุปรีดี ฤทธิรงค์ (2558) ได้ศึกษาคุณสมบัติ


ทางกายภาพและเชิงกลของไม้ไผ่ตามมาตรฐาน ISO 22157
Determination of physical and mechanical properties of
bamboo โดยการเพิ่มกำลังรับแรงอัดโดยการรวบลำไผ่

2.2 สารประกอบโบรอน

สารประกอบโบรอนบริสุทธิ์เป็ นของแข็งที่มีจุดเดือด
จุดหลอมเหลวสูง แข็งและเปราะ เป็ นธาตุกึ่งโลหะที่มี
คุณสมบัติอยู่ระหว่างธาตุโลหะและธาตุอโลหะ โบรอนถูกค้น
พบในปี ค.ศ. 1808 โดยความร่วมมือกันของ โชแซ็ฟ หลุยส์
แก-ลูว์ซัก และ หลุยส์ ฌัก เธนาด์, และ ฮัมฟรี เดวี ค้นพบ
เองในปี เดียวกัน
ธาตุโบรอนมีสมบัติคล้ายกับธาตุหมู่ 14 อย่างคาร์บอนและ
ซิลิคอน มากกว่าธาตุหมู่ 13 ที่เป็ นหมู่เดียวกันอย่าง
อะลูมิเนียม ผลึกโบรอนไม่มีความว่องไวต่อปฏิกิริยาและ
ทนทานต่อกรดสูง ไม่ถูกกัดกร่อนโดยกรดไฮโดรฟลูออริก
โดยทั่วไปแล้วสารประกอบโบรอนมีค่าออกซิเดชัน +3 อย่าง
เช่น สารประกอบเฮไลด์ที่มีความสมบัติเป็ นกรดลิวอิส, สาร
ประกอบโบเรตที่พบในแร่โบเรต โบเรนที่มีพันธะพิเศษเรียก
3c–2e bond โบรอนมีไอโซโทป 13 ไอโซโทปและใน
ธรรมชาติมี 11B 80.1% และ 10B 19.9%

โบรอนมีปริมาณในเปลือกโลกค่อนข้างต่ำ แต่มีการรวมตัว
เป็ นแร่ขนาดใหญ่ ง่ายต่อการขุดมาใช้จึงมีประวัติการใช้มา
ตั้งแต่นาน อดีตใช้เป็ นสารเคลือบเครื่องปั้นดินเผา ปั จจุบัน
นิยมใช้ในการผลิตแก้วถึงร้อยละ 60 ในปริมาณบริโภคปี
2011 อื่น ๆ ใช้เป็ นสารผสมในคอนดักเตอร์ อุปกรณ์เครื่อง
เสียงและยาฆ่าแมลง

โบรอนเป็ นธาตุที่ต้องการสำหรับพืชเพื่อรักษาผนังเซลล์ เมื่อ


ขาดแคลนจะส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตโบรอนคาดว่า
เป็ นธาตุที่ต้องการสำ หรับสัตว์เหมือนกันแต่ยังไม่ทราบ
หน้าที่อย่างชัดเจน สำหรับมนุษย์และสัตว์ โบรอนไม่เป็ นพิษ
เหมือนเกลือแกงแต่สำหรับพืชเมื่อปลูกบนดินที่มีโบรอนสูง
จะเกิดการตายเฉพาะส่วนบริเวณใบ และเป็ นพิษต่อแมลง

2.2.1 สมบัติทางกายภาพและทางเคมี

โบรอนมีหลายอัญรูป สมบัติละเอียดจะแตกต่างกันใน
แต่ละอัญรูป แต่โดยรวมแล้วเป็ นของแข็งที่แข็งและเปราะ
จุดเดือดจุดหลอมเหลวสูง ตัวอย่างเช่น จุดหลอมเหลวของ
โบรอนอสัณฐานคือ 2,300℃ และ β–รอมโบฮีดรัลโบรอน
คือ 2,180℃ จุดเดือดของ β–รอมโบ ฮีดรัลโบรอ น คือ
3,650℃ โบรอนอสัณฐานจะระเหิดที่ 2,550℃ ความแข็ง
ของ β–รอมโบฮีดรัลโบรอนอยู่ระดับ 9.3 บนมาตราโมส
ความถ่วงจำเพาะของ α-รอมโบฮีดรัลโบรอนและ β–รอมโบ
ฮีดรัลโบรอนมีค่า 2.46 และ 2.35 ตามลำดับ

โบรอนบริสุทธิ์เป็ นกึงโลหะที่มีคุณสมบัติอยู่ระหว่างธาตุ
โลหะและธาตุอโลหะ โบรอนมีสมบัติพันธะโคเวเลนต์ที่
เสถียรคล้ายกับคาร์บอนและซิลิคอนที่อยู่ในธาตุหมู่ 14
มากกว่า อะลูมิเนียมและแกลเลียมที่อยู่หมู่ 13 เดียวกันกับ
โบรอน เนื่ องจากพลังงานไอออไนเซชันลำดับที่หนึ่งของ
โบรอนมีค่าสูงถึง 8.296eV จึงเป็ นไอออนได้ยากและไฮบริด
2 2 1
ออร์บิทัล sp มีพลังงานต่ำ กว่าออร์บิทัล 2s 2p โบรอน
บริสุทธิ์มีพันธะโคเวเลนต์ที่แข็งแรงระหว่างโบรอนจึงขาด
อิเล็กตรอนอิสระเพื่อแสดงสมบัติการนำไฟฟ้ า เป็ นเหตุผล
อธิบายสมบัติกึ่งโลหะของโบรอนที่นำไฟไฟ้ าแต่นำได้น้อย
และเนื่ องจากเหตุผลดังกล่าวโบรอนมีสมบัติเป็ นสารกึ่ง
ตัวนำ

ผลึกโบรอนไม่ว่องไวต่อปฏิกิริยา ทนต่อการต้มด้วยไฮ
โดรฟลูออริกและไฮโดรคลอริก ผงโบรอนสามารถถูก
กัดกร่อนโดยการต้มด้วยไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์เข้มข้น
กรดไนตริกเข้มข้น กรดซัลฟูริก หรือโครมิค เลขออกซิเดชัน
ของโบรอนขึ้นอยู่กับผลึก รัศมีผลึก ความบริสุทธิ์ และ
อุณหภูมิ โบรอนไม่ปฏิกิริยากับออกซิเจนในอุณหภูมิห้อง
แต่ปฏิกิริยาในอุณหภูมิสูงได้ผลิตภัณฑ์คือโบรอนออกไซด์
รูปภาพที่ 2.2.2 สารประกอบโบรอน

2.3 โซดาไฟ

โ ซ ด า ไ ฟ ห รื อ ค อ ส ติ ก โ ซ ด า (อั ง ก ฤ ษ : caustic
soda) พ จ น า นุ ก ร ม ฉ บั บ ร า ช บั ณ ฑิ ต ย ส ถ า น พ .ศ .
2542 นิยามว่า คือ "สารประกอบชนิดหนึ่ง ชื่อ โซเดียมไฮ
ดรอกไซด์ (NaOH) เป็ นของแข็งสีขาว ดูดความชื้นดีมาก
ละลายน้ำได้ดี ใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมทำสบู่ เส้นใยเร
ยอน"

โซดาไ ฟถูกใช้ในการผลิตเป็ นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่


เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำ วัน และยังใช้ประโยชน์ได้อีก
ม า ก ม า ย เ ช่ น ใ น ก า ร ผ ลิ ต เ ยื่ อ แ ล ะ ก ร ะ ด า ษ ส บู่ แ ล ะ
ผลิตภัณฑ์ซักฟอก เคมีภัณฑ์ การทำความสะอาด โรงกลั่น
น้ำ มัน การใช้งานทางอุตสาหกรรมโลหะ อุตสาหกรรม
อาหาร อุตสาหกรรมเส้นใยเรยอน สิ่งทอ และอื่น ๆ

2.3.1 คุณสมบัติของโซดาไฟ

โ ซ ด า ไ ฟ ห รื อ โ ซ เ ดี ย ม ไ ฮ ด ร อ ก ไ ซ ด์ (NaOH)มี ชื่ อ ท า ง
วิทยาศาสตร์ว่า Sodium Hydroxide ซึ่งเป็ นสารประกอบ
ชนิดหนึ่งที่เป็ นของแข็งสีขาว สามารถละลายน้ำและดูดซึม
ความชื้นในอากาศได้ดีมากมีฤทธิ์กัดกร่อนและมีความเป็ น
ด่างมากจึงมักนิยมนำ ใช้ในการทำ ความสะอาดและการ
แปรรูปในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น ผลิตภัณฑ์ปิ โตรเลียม,
การแปรรูปผ้าฝ้ ายแปรรูปโลหะ การเคลือบออกไซด์ การชุบ
ด้วยไฟฟ้ า และการสกัดด้วยไฟฟ้ า

ถือเป็ นสารเคมีที่มีความสำคัญมากในภาคอุตสาหกรรม โดย


ปั จจุบันมีจำหน่ายทั้งในสถานะของแข็งเป็ นเกล็ดและเมล็ด
กลมขนาดเล็ก ความเข้มข้น 98% และ 99% ตามลำดับ

ส่ ว น ใ น รู ป ส า ร ล ะ ล า ย มั ก พ บ ค ว า ม เ ข้ ม ข้ น 50% แ ล ะ
32%นอกจากนั้น โซดาไฟ ยังถูกนำ มาใช้กับผลิตภัณฑ์ที่
เกี่ยวข้องในชีวิตประจำ ของเราหลายชนิด เช่น สบู่, ผง
ซั ก ฟ อ ก ใ น ก า ร ป รั บ ส ภ า พ ก ร ด ไ ข มั น ใ ห้ เ ป็ น ก ล า ง
และน้ำยาทำความสะอาดท่อระบายน้ำ นอกจากนั้นยังใช้
ประโยชน์ในเชิงอุตสาหกรรมได้หลากหลาย
รูปภาพที่ 2.3.2 โซดาไฟ

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการนำไม้ไผ่มาใช้ในงานโครงสร้างมี
เป็ นจำนวนมากทั้งการศึกษาสมบัติของไม้ไผ่ อาทิเช่น

Ghavami (2004) ศึกษาสมบัติเชิงกลของไม้ไผ่ 6 ชนิด พร้อมทั้ง


ศึกษาการเคลือบผิวของไม้ไผ่เพื่อป้ องกัน ความชื้น เนื่องจากไม้ไผ่มี
ข้อเสีย คือ สามารถดูดซึมน้ำได้ จากการศึกษาพบว่า อัตราส่วน
ระหว่างกำ ลังต่อน้ำ หนัก ของไม้ไผ่มีค่ามากกว่าเหล็กถึง 6 เท่า
ปริมาณไม้ไผ่ที่เสริม ในคานคอนกรีตและทำให้คานรับน้ำหนักสูงสุด
คือ 3% ของหน้าตัดคาน และควรมีการใช้น้ำยาป้ องกันการดูดน้ำ
เคลือบผิวไม้ไผ่

ธัชชัย อุ่นใจจนและคณะ (2560) ศึกษาสมบัติเชิงกลของขึ้นงาน


ไม้ไผ่ที่นิยมนำมาใช้ประโยชน์ จำนวน 5 พันธุ์ ได้แก่ไผ่รวก ไมไผ่ตง
ไม้ไผ่สีสุก ไม่ไผ่ซาง และไม้ไผ่เลี้ยง โดยนำชิ้นงานไม้ไผ่จากส่วนโคน
ส่วนกลาง และส่วนปลายของลำต้น มาผ่านการอบแห้งเพื่อกำจัด
ความชื้นออกจากเนื้อไม้ ซิ้นงานไม่ไผ่ที่ผ่านการอบแห้งแล้วจะถูกนำ
ไปทดสอบโดยการให้การะดึงภาระกด และภาระดัด ด้วยเครื่ อง
ทดสอบสากล เพื่อหาค่าสมบัติเชิงกลของไม้ไผ่ ผลการศึกษาพบว่า
ไม้ไผ่เลี้ยงมีความเหมาะสมที่จะนำไปใช้งานในการรับแรงต่างๆ
เนื่องจากมีคำความต้านทานแรงสูงกว่าไม้ไผ่ชนิดอื่น โดยมีความ
ต้านทานแรงตึงสูงสุด 124.05 MPa ความต้านทานแรงอัดสูงสุด
92.29 MPa ความต้านทานแรงตัดสูงสุด 265.47 MPa และมีค่ามอ
ดูลัสความยืดหยุ่น 13.17 GPa ตามลำดับ

ฐิติกุล ภาคคีรี (2540) ศึกษาสมบัติทางกายภาพและ เชิงกลของ


ไม้ไผ่ตง จากผลการวิจัยพบว่าไม้ไผ่ตงเขียวมีค่าเฉลี่ยความชื้นที่
สภาพสดตามธรรมชาติเท่ากับ 46% และ ความถ่วงจำเพาะที่สภาพ
แห้งเท่ากับ 0.77 ค่าเฉลี่ยการหด ตัวที่สภาพแห้งทางด้านสัมผัส
รัศมีและความยาว เท่ากับ 2.53% 1.35% และ 0.21% ตามลำดับ
โดยมีค่าเฉลี่ย โมดูลัสแตกหักเท่ากับ 135 เมกะพาสคัล โมดูลัสการ
ยืดหยุ่นเท่ากับ 13,115 เมกะพาสคัล และค่าความเหนียว 676
เมกะพาสคัล ค่าเฉลี่ยความเค้นดึง ความเค้นอัด และความเค้น
เฉือนขนานเสี้ยนเท่ากับ 314 72 และ 14 เมกะพาสคัล ตามลำดับ

สุทธิชา บรรจงรัตน์ (2557) การศึกษาคุณสมบัติทางกลของพันธุ์ไผ่


ไทยในงานโครงสร้างเรียบง่าย โดยทำการทดสอบคุณสมบัติทาง
กายภาพและคุณสมบัติเชิงกลของไผ่ ตามมาตรฐาน ASTM D143
และมาตรฐาน ISO ซึ่งประกอบด้วย ISO 3133.ISO 3345 และ
ISO 3347 การที่เลือกใช้มาตรฐานหลากหลาย เพื่อเป็ นการปรับใช้
ให้มีความเหมาะสมสำหรับการทดสอบไผ่มากขึ้น จากการศึกษา
พบว่าไผ่แต่ละสายพันธุ์มีความเหมาะสมกับการนำมาใช้งานที่แตก
ต่างกันไผ่ที่เหมาะสำหรับงานโครงสร้างได้แก่ ไผ่ตงซึ่งเป็ นไผ่ขนาด
ใหญ่ มีคุณสมบัติในการรับแรงอัดตั้งฉากเสี้ยนโดดเด่นกว่าคุณ
สมบัติอื่นๆ การประยุกต์ใช้ไผ่ในการก่อสร้างนั้นได้ทำการออกแบบ
โครงสร้างไม้ไผ่ และคำ นวณประสิทธิภาพการรับน้ำ หนักของ
โครงสร้าง เพื่ อออกแบบเสาและคานด้วยการรวบลำ ไผ่ของไผ่
แต่ละสายพันธุ์ ไผ่ตงและไผ่ซางหม่นต้องใช้ไผ่ 1-4 ลำสำหรับเสา,
คาน และต้องใช้มากกว่า 4 ลำ สำหรับคาน 1 แบบของโครงสร้าง
ไผ่สีสุกต้องใช้ไผ่ 1-4 ลำสำ หรับเสา, 24 ลำ และมากกว่า 4 ลำ
สำหรับคานของโครงสร้าง ไผ่เลี้ยงต้องใช้ไผ่ 1-4 ลำ และมากกว่า 4
ลำ สำหรับเสาของโครงสร้าง, 3 ลำ และมากกว่า 4 ลำ สำหรับ
คานของโครงสร้าง

สุภิญญาลักษณ์ จันทรวงศ์ (2557) การศึกษาคุณสมบัติเชิงกลของ


ไผ่ตงเพื่อสร้างค่ามาตรฐานกลางของวัสดุและการประยุกต์ใช้ในงาน
โครงสร้างสำหรับอาคารสาธารณะ ที่กำหนดไว้ในมาตรฐาน ISO
(22157-1) และทำการเปรียบเทียบไผ่ตงในงานวิจัยอื่นๆที่ทำการ
ทดสอบเหมือนกัน ซึ่งคุณสมบัติต่าง ๆ ที่ได้ช่วยในการกำหนดค่า
มาตรฐานกลางของวัสดุ เพื่อช่วยในการออกแบบโครงสร้างไม้ไผ่
จากการศึกษาพบว่า ลักษณะทางกายภาพของไผ่ตงที่มีอายุ 3-4 ปี
มีดังนี้ ค่าเฉลี่ยความหนาเนื้อไม้เท่ากับ 19.18 มิลลิเมตร ค่าเฉลี่ย
เส้นผ่านศูนย์กลางของลำไผ่ตงเท่ากับ 116.48 มิลลิเมตรและค่า
เฉลี่ยพื้นที่หน้าตัดของลำไผ่เท่ากับ 4,548.11 ตารางมิลลิเมตร ใน
ส่วนของการทดสอบคุณสมบัติทางกายภาพของไผ่ตง พบว่า ค่า
เฉลี่ยความชื้นเท่ากับ 15.33% ค่าเฉลี่ยความหนาแน่นเท่ากับ
760.41 กก./ลบ.ม.และการหดตัวตามความหนาเท่ากับ 0.20% ใน
ส่วนคุณสมบัติเชิงกลของไผ่ตง พบว่า มีค่าเฉลี่ยการต้านทานแรงอัด
ขนานเสี้ยนเท่ากับ 42.87 นิวตัน/ตร.มม. ค่าเฉลี่ยการต้านทานแรง
ตึงเท่ากับ 141.84 นิวตัน/ตร.มม. ค่าเฉสี่ยการต้านทานแรงเฉือน
ขนานเสี้ยน กรณีที่มีข้อปล้องเท่ากับ 9.67 นิวตัน/ตร.มม. กรณีที่
ไม่มีข้อปล้องเท่ากับ 6.51 นิวตัน/ตร.มม. ค่าเฉลี่ยการต้านทานแรง
ตัดเท่ากับ 127.24 นิวตัน/ตร.มม. และค่าเฉลี่ยโมดูลัสของการยึด
หยุ่น 27,750.89 นิวตัน/ตร.มม.
บทที่ 3

วิธีการดำเนินงาน

โครงงานเล่มนี้เป็ นการเปรียบเทียบกำลังรับแรงอัดของไม้ไผ่
ต ง ห ม้ อ ใ น ก า ร ต้ ม 4 ชั่ ว โ ม ง ก า ร ต้ ม ผ ส ม โ ซ ด า ไ ฟ ก า ร แ ช่ ใ น
น้ำ 1 เดือน การผสมสารโบรอน การทอด 90 องศา 10 นาที การอบ
ด้วยความร้อน ซึ่งเป็ นการนำไม้ไผ่ที่มีลักษณะทางกายภาพที่แตก
ต่างกันมาทดสอบ เพื่อหาคุณสมบัติรับกำลังรับแรงอัดของไม้ไผ่ตง
หม้อตัวอย่าง และนำผลที่ได้จากการทดสอบความสามารถในการ
รับแรงอัดข้างต้นนั้นไปเปรียบเทียบความแตกต่างเพื่อหาลักษณะที่
ดีที่สุดของไม้ไผ่ในการรับแรงอัดได้ดีที่สุด

3.1 เครื่องมือและอุปกรณ์

ภาพที่ 3.1.1 เวอร์เนียร์คาลิปเปอร์

ภาพที่ 3.1.2 เครื่องชั่งดิจิตอล


ภาพที่ 3.1.3 ตู้ควบคุมอุณหภูมิ

ภาพที่ 3.1.4 เทอร์มอมิเตอร์


ภาพที่ 3.1.5 หม้อต้ม

ภาพที่ 3.1.6 เตาแก๊ส https://biggo.co.th/s/


ภาพที่ 3.1.7 ตลับเมตร

ภาพที่ 3.1.8 เลื่อยคันธนู


ภาพที่ 3.1.9 เครื่องทดสอบ Universal Testing Machine
(UTM)

3.2 การทดสอบสมบัติของไม้ไผ่ที่มีการรักษาเนื้อไม้โดย

ภูมิปั ญญาชาวบ้าน
ภาพที่ 3.2.1 วิธีการต้มน้ำร้อนนาน 4 ชั่วโมง

ภาพที่ 3.2.2 การต้มโดยการแช่โซดาไฟ


ภาพที่ 3.2.3 การทอดที่อุณหภูมิ 90 องศา 10 นาที

ภาพที่ 3.2.4 การแช่ด้วยน้ำ 1 เดือน


ภาพที่ 3.2.5 การด้วยสารโบรอน 7 วัน

ภาพที่ 3.2.6 ไม้ไผ่ Original

ข้อมูลลักษณะทางกายภาพของไม้ไผ่ตงหม้อ หรือสกาย
สมบัติ
สกายสมบัติของไม้ หมายถึง คุณลักษณะ (characteristic)
และพฤติกรรมของไม้ต่ออิทธิพลภายนอก นอกเหนือจากแรงต่าง ๆ
(Winandy, 1994) เ ช่ น ป ริ ม า ณ ค ว า ม ชื้ น ค ว า ม ห น า แ น่ น
ความถ่วงจำเพาะ คุณสมบัติที่มีต่อ ความร้อน ไฟ การนำไฟฟ้ า
ความทนทาน เป็ นต้น

การกำหนดชื่อชิ้นตัวอย่าง เช่น A.1 คือ แทนชิ้นงานที่ทดสอบ


เป็ นไม้ไผ่ที่ผ่านการต้ม 4 ชั่วโมงชิ้นงานที่นำมาทดสอบ ความยาว
95 มิล ลิ เ ม ต ร , เ ส้น ผ่า น ศู น ย์ ก ล า ง 95 มิ ล ลิ เ ม ต ร ,เ ส้น ผ่ า น
ศูนย์กลางภายใน 85 มิลลิเมตร

การกำหนดชื่อชิ้นตัวอย่าง เช่น B คือ แทนชิ้นงานที่ทดสอบ


เป็ นไม้ไผ่ที่ผ่านการต้มผสมโซดาไฟ 30 นาที ชิ้นงานที่นำมาทดสอบ
ความยาว 94 มิลลิเมตร , เส้นผ่านศูนย์กลาง 94 มิลลิเมตร ,เส้น
ผ่านศูนย์กลางภายใน 85 มิลลิเมตร

การกำหนดชื่อชิ้นตัวอย่าง c คือ แทนชิ้นงานที่ทดสอบเป็ น


ไม้ไผ่ที่ผ่านการแช่น้ำ 1 เดือน ชิ้นงานที่นำมาทดสอบ ความยาว 95
มิลลิเมตร , เส้นผ่านศูนย์กลาง 95 มิลลิเมตร ,เส้นผ่านศูนย์กลาง
ภายใน 84 มิลลิเมตร

การกำหนดชื่อชิ้นตัวอย่าง D คือ แทนชิ้นงานไม้ไผ่ที่ผสมสาร


โบรอน 10 วัน ชิ้นงานที่นำมาทดสอบ ความยาว 90 มิลลิเมตร ,
เส้นผ่านศูนย์กลาง 90 มิลลิเมตร ,เส้นผ่านศูนย์กลางภายใน 81
มิลลิเมตร
การกำหนดชื่อชิ้นตัวอย่าง E คือ แทนชิ้นงานไม้ไผ่ที่ผ่านการทอด
90 องศา 10 นาที ชิ้นงานที่นำมาทดสอบ ความยาว 94 มิลลิเมตร
, เส้นผ่านศูนย์กลาง 94 มิลลิเมตร ,เส้นผ่านศูนย์กลางภายใน 85
มิลลิเมตร

การกำหนดชื่อชิ้นตัวอย่าง O คือ แทนชิ้นงาน ORIGINALLY


ชิ้นงานที่นำมาความยาว 93 มิลลิเมตร , เส้นผ่านศูนย์กลาง 93
มิลลิเมตร ,เส้นผ่านศูนย์กลางภายใน 82 มิลลิเมตร

เนื่องจากไม้ไผ่ตงหม้อที่นำมาทดสอบ นั้นมีข้อจำกัดด้านรูปร่าง
ที่ไม่สามารถกำหนดให้ชิ้นตัวอย่างเหมือนกันทั้งหมดได้ จึงทำให้
ต้องวัดค่าต่าง ๆ ทั้งด้านหัวและท้ายอย่างน้อย 4 ค่า เพื่อนำมาหา
ค่าเฉลี่ยในการคำนวณ

Dt = (a1 + a2 + a3 + a4)/4
(1)

dt = (b1 + b2 + b3 + b4)/4
(2)

ct = Dt – dt
( 3 )
ภาพที่ 3.2 การเก็บข้อมูลหน้าตัดของไม้ไผ่

โดยที่ a1 และ a2 คือเส้นผ่านศูนย์กลางภายนอกข้างปลายด้านบน


ของเสาไม้ไผ่

a3 และ a4 คือเส้นผ่านศูนย์กลางปลายด้านล่างของเสาไม้ไผ่

b1 และ b2 คือเส้นผ่านศูนย์กลางภายในข้างปลายด้านบนของเสา
ไม้ไผ่

b3 และ b4 คือเส้นผ่านศูนย์กลางภายในข้างปลายด้านล่างของเสา
ไม้ไผ่

ct คือความหนาตามทฤษฎีของเสาไม้ไผ่
Dt และ dt คือเส้นผ่านศูนย์กลางภายนอก และเส้นผ่าน
ศูนย์กลางภายในตามทฤษฎี

ตามลำดับ
ตามพารามิเตอร์ทางเรขาคณิตเหล่านี้ พิจารณาได้ตาม
สมการที่ (1) ถึง (3) และข้อมูลการ ทดลองหลักของแต่ละเสา
ตัวอย่างสามารถคำนวณได้ดังสมการต่อไปนี้
2
π Dt 2
A= (1−α )
4

(4)

(5)
Dt
i=
4
√1+α 2
πH
λ=
I

(6)

(7)
Dt
ε=
ct

dt
α=
Dt

(8)

โดยที่ λ คือ อัตราส่วนความชะลูด

μ คือ ปั จจัยด้านความยาวที่กำหนด โดยข้อจำกัดที่ตัวอย่างในการ


ทดสอบถูกยึดปลายทั้งสองด้าน ดังนั้นค่า μ = 1

H คือ ความสูงของเสาไม้ไผ่แต่ละตัวอย่าง

ε คือ อัตราส่วนเส้นผ่านศูนย์กลางของความหนา

การทดสอบสกายสมบัติของไม้ไผ่ เพื่อใช้เป็ นข้อมูลประกอบ


การตัดสินใจในการเลือกชนิดไม้ที่จะนำไปใช้ประโยชน์ในลักษณะที่
แตกต่างกัน จะทำการทดสอบ ปริมาณความชื้น (moisture
content) ความแน่น (density) หรือน้ำหนักต่อหน่วยปริมาตร
(mass per volume) และความถ่วงจำเพาะ (specific gravity)

ภาพที่ 3.3 การวัดเส้นผ่าศูนย์กลางภายนอก และเส้นผ่า


ศูนย์กลางภายในตามทฤษฎีโดยใช้เวอร์เนียร์

3.3.1 ความหนาแน่น

เป็ นค่าที่แสดงถึงปริมาณมวลสารในหนึ่งหน่วย
ปริมาตรหาได้จากการหาความ สัมพันธ์ระหว่างมวลกับ
ปริมาตร มีหน่วยเป็ น kg./m3, gm./cm3 หรือ lb./in3
M
เขียนสูตรได้ว่า
6
D= ×10
V
เมื่อ D = ความหนาแน่น ( )
3
kg /m

M = น้ำหนักขนาดทดสอบ ( g )

V = ปริมาตรขณะทดสอบ ( )
3
mm

3.3.2 ความถ่วงจำเพาะ

หาได้จากอัตราส่วนระหว่างความแน่นของชิ้น
ตัวอย่างต่อความแน่นของน้ำที่อุณหภูมิ

ประมาณ ซ . (ไ ม่ มี ห น่ ว ย ) เ ขี ย น เ ป็ น สู ต ร ไ ด้ ว่ า
°
4

มวลอบแห้ง /ปริมาณขณะทดสอบ
ถ . พ .=
ความแน่นของน้ำ

เมื่ อ ความหนาแน่นของน้ำ ¿ 1 g . /cm , 1,000 g ./cm หรื อ


3 3

3
62.4 lb ./cm

ภาพที่ 3.4 ตัวอย่างในการทดสอบความชื้น ของไผ่ตง ภาพถ่าย


เมื่อ 16 มกราคม 2565
ภาพที่ 3.4 การอบตัวอย่างในตู้อบไม้ที่อุณหภูมิ 103 ± 2°

3.2.3 ปริมาณความชื้น

ปริมาณความชื้นหาได้จากการเตรียมตัวอย่างไม้ไผ่
ตงหม้อ โดยการตัดไม้ให้ได้ขนาด 25×25 มิลิเมตร ดังภาพที่ 3.3
และทำการคำนวณหาปริมาตรของตัวอย่างแต่ละชิ้น โดยทำการใช้
เวอร์เนียร์วัดอย่างละเอียด และชั่งน้ำหนักด้วยเครื่องชั่งดิจิตอล ใน
สถานที่และเวลาเดียวกันเรื่อย ๆน้ำหนักที่ได้ถือเป็ นน้ำหนักก่อนอบ
เมื่ อได้ปริมาตรและน้ำ หนักก่อนอบครบแล้ว ปล่อยไว้จนกว่า
ตัวอย่างจะแห้งลงตามสภาพอากาศภายนอก หลังจากนั้นนำ
ตัวอย่างไปอบในตู้อบไม้ที่อุณหภูมิ103 ± 2°ซ.

ดังภาพที่ 3.4 จนอยู่ในสภาพแห้ง จากนั้นทำการชั่งน้ำหนักอีกรอบ


จะเป็ นน้ำหนักในสภาพแห้ง แล้วนำค่าที่ได้จากการทดสอบนี้ไป
คำนวณเพื่อหาปริมาณความชื้น
m−m0
เขียนสูตรได้ว่า MC=
m0
× 100

เมื่อ MC=ปริมาณความชื้ น (%)


m=น้ำหนักก่อนอบ (g)

m0=น้ำหนักสภาพแห้ง (g)

3.2.4 การต้มไม้ไผ่

นำไม้ไผ่ที่ได้จากการวัดขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง
ภายนอก และเส้นผ่าศูนย์กลางภายในเพื่อนำมากำหนดความยาวใน
การต้ม นำไม้ไผ่ไปต้มในน้ำจนถึงอุณหภูมิสูงสุดหรือที่อุณหภูมิ100
องศาเซลเซียสจากนั้นให้นำไม้ไผ่ออกมาพักไว้ 24 ชั่วโมงแล้วค่อย
นำไม้ไผ่ไปทดสอบหากำลังอัด

3.3 กลสมบัติของไผ่ตงหม้อ

กลสมบัติไม้ (mechanical properties) หมายถึง คุณสมบัติ


ของไม้หรือวัตถุใดๆ ที่มีต่อน้ำหนัก หรือแรงภายนอก (external
force) ที่มากระทำความสามารถต่อต้านหรือรับรองแรงหรือน้ำ
หนักมาก น้อยต่างกัน เรียกว่าความแข็งแรง (strength) ความยาก
ง่ายในการเสียรูป เรียกว่าความดื้อ (stiffness) ความสามารถรับ
พลังงานที่ทำให้ไม้เสียกำลังโดยสิ้นเชิง หรือที่ระดับใดๆ เรียกว่า
ความเหนียว (toughness) และ ความ ต่อต้านต่อการขีดข่วนเจาะ
ไช เรียกว่า ความแข็ง (hardness) การทดสอบกลสมบัติของไม้ไผ่
เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของลักษณะลำไผ่ และใช้เป็ นข้อมูล
ประกอบการตัดสินใจในการเลือกชนิด ไม้ที่จะนำไปใช้ประโยชน์ใน
ลักษณะที่แตกต่างกันจะทำการทดสอบ แรงอัด (compression)
ของไม้ไผ่

3.3.1 การทดสอบกำลังต้านทานแรงอัด

ในการทดสอบจะใช้ตัวอย่างเป็ นท่อนไม้ไผ่ที่มีความยาวที่
ต่างกันโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 87 84.3 109.6 113.6 มิลลิเมตรและเส้นผ่า
ศูนย์กลางของไม้ไผ่โดยเฉลี่ยที่ 72.6 68.7 93.3 95 มิลลิเมตรและ
ความหนาของแต่ละท่อนเฉลี่ยที่ 83.3 86.6 90 100 มิลลิเมตร
ทำการวัดขนาด และเก็บข้อมูลความต่างของตัวอย่างแต่ละชิ้น จาก
นั้นนำตัวอย่างของไม้ไผ่ไปทดสอบ วางตัวอย่างไม้ไผ่ให้ตรงกับจุด
กึ่งกลางของเครื่องทดสอบ โดยให้ทิศทางที่วางนั้นขนานกับเสี้ยน
ดังภาพ 3.5 ทำ การทดสอบโดยใ ช้เครื่ อง Universal Testing
Machine (UTM) ทดสอบโดยใช้แรงอัดของเครื่ องทำให้ตัวอย่าง
ไม้ไผ่แตก จากนั้นบันทึกผลการรับน้ำหนักสูงสุดที่ตัวอย่างไม้ไผ่
สามารถรับได้เพื่อนำค่าไปคำนวณ
ภาพที่ 3.5 การทดสอบกำลังต้านทานแรงอัด

ภาพที่ 3.6 รอยแตกที่เกิดจากการทดสอบกำลังต้านทานแรงอัด

บทที่ 4

วิเคราะห์เปรียบเทียบผลของการทดสอบ
ผลการศึกษาคุณสมบัติของไม้ไผ่โดยผ่านการรักษาเนื้อไม้มีผล
การทดสอบโดยแบ่งออกเป็ น 3 หัวข้อ ดังนี้

1) ผลการทดสอบลักษณะทางกายภาพของไม้ไผ่ที่ผ่านการ
รักษาเนื้อไม้โดยภูมิปั ญญาชาวบ้าน
2) ผลการทดสอบคุณสมบัติทางกายภาพของไม้ไผ่ที่ผ่านการ
รักษาเนื้อไม้โดยภูมิปั ญญาชาวบ้าน
3) ผลการทดสอบการรักษาเนื้อไม้เพื่ อป้ องกันสัตว์จำ พวก
แมลงโดยผ่านการต้ม

4.1 ผลการทดสอบลักษณะทางกายภาพของไม้ไผ่ที่ผ่าน
การรักษาเนื้อไม้โดยภูมิปั ญญาชาวบ้าน

ไม้ไผ่ตงหม้อที่นำมาทำการทดสอบ เป็ นไผ่ตงหม้อที่มีอายุ


ประมาณ 3 - 6 ปี จากจังหวัดปราจีนบุรี ไม้ไผ่ตงหม้อที่ใช้ในการ
ทดสอบทั้งหมด 18 ตัวอย่าง ซึ่งแต่ละตัวอย่างมีความยาวของแต่ละ
ท่อน และ ความกว้างของเส้นผ่านศูนย์ลางภายในที่แตกต่างกัน
ไม้ไผ่ตงหม้อที่นำมาทดสอบเป็ นช่วงความยาวโดยเฉลี่ย 90 93 91
90 91 90 มิลลิเมตร และความหนาของแต่ละท่อนเฉลี่ยที่ 7.5
5.5 5.8.7.2 7.7 7.4 มิลลิเมตร เป็ นไม้ที่อยู่ในสภาพแห้งแล้วจึงได้
นำมาทำการเก็บข้อมูล ทางกายภาพของตัวอย่างท่อนไม้ไผ่ และ
เพื่อเตรียมตัวอย่างในการทดสอบสมบัติทางกายภาพต่อไปลักษณะ
ทางกายภาพของตัวอย่างท่อนไม้ไผ่มีรายละเอียด
4.1.2 ผลการทดสอบสมบัติทางกายภาพของไผ่ตงหม้อ

การทดสอบสมบัติทางกายภาพของไผ่ตงหม้อตามที่
มาตรฐาน ISO (22157-1) กำหนดไว้ ได้แก่ การทดสอบความชื้น
(Moisture Content) ก า ร ท ด ส อ บ ค ว า ม ห น า แ น่ น (Mass by
Volume) และ ความถ่วงจำเพาะ (specific gravity)

ตัวอย่างการคำนวณ (B8743.5-1) ชิ้นที่ 1


m−m0
ปริมาณความชื้น จากสูตร MC = m0 x 100
4.8−4.4
จะได้ MC = 4.4 x 100 =
9.0909%

M
ความหนาแน่น จากสูตร MC = x
6
10
V
4.8
จะได้ D = x = 512.0000
6
10
9375

ค ว า ม ถ่ ว ง จำ เ พ า ะ ถ .พ =
มวลอบแห้ง /ปริมาตรขณะทดสอบ
ความแน ่ นของนํ้า
4.8
จะได้ ถ.พ = 9.375 = 0.5120000
1
ตารางที่ 4.1.2 สมบัติทางกายภาพของท่อนไม้ไผ่ตงหม้อ

4.2 ผลการทดสอบคุณสมบัติเชิงกลของไผ่ตงหม้อ

จากการนำตัวอย่างเสาไผ่ตงหม้อไปทดสอบหาแรงอัดโดย
เ ค รื่ อ ง Universal Testing Machine (UTM) แ ล้ ว ไ ด้ ผ ล ก า ร
ทดสอบ ตังตารางที่ 4.3 ตารางที่ 4.4

ตารางที่ 4.3 ผลการทดสอบแรงอัด


ประเภทของชิ้นส่วน แรงอัดสูงสุดของชิ้นส่วนตัวอย่าง
ค่าเฉลี่ย
ตัวอย่าง (KN)
ชิ้นส่วน ชิ้นส่วน ชิ้นส่วน
ตัวอย่างที1 ตัวอย่างที2 ตัวอย่างที3
ไม่ผ่านการต้ม 129 157.7 153.6 146.767

ผ่านการต้ม 5 นาที 133.7 129.18 131.8 131.560

ผ่านการต้ม 10 นาที 129.9 119.8 133.2 127.633

ผ่านการต้ม 15 นาที 153.4 130.7 117.4 133.833

ตารางที่ 4.4 ผลการทดสอบความเค้น

ความเค้นสูงสุดของชิ้นส่วนตัวอย่าง
ประเภทของชิ้นส่วน ค่าเฉลี่ย
ตัวอย่าง ชิ้นส่วน ชิ้นส่วน ชิ้นส่วน (mpa)
ตัวอย่างที1 ตัวอย่างที2 ตัวอย่างที3
ไม่ผ่านการต้ม 51.6 63.1 61.4 58.700

ผ่านการต้ม 5 นาที 53.5 47.6 52.7 51.267

ผ่านการต้ม 10 นาที 52 27.9 53.3 44.400

ผ่านการต้ม 15 นาที 61.4 52.3 48.9 54.200

จากตารางที่ 4.3 และ 4.4 จะเห็นได้ว่ากำลังรับแรงอัดของ


ไม้ไผ่ในแต่ล่ะท่อนของชิ้นส่วนตัวอย่างในแต่ล่ะกลุ่มค่อนข้างแตก
ต่างกัน ซึ่งคาดว่าเป็ นผลมาจากความแตกต่างของลักษณะทาง
กายภาพของ ลำไผ่ และคุณสมบัติบางประการ เช่น การที่นำไม้ไผ่
ไปต้ม ความหนาแน่น และ ความชื้นของไม้ รวมไปถึงความเสียหาย
จากมอดไม้ไผ่ที่ทำให้เนื้อไม้เสียหายอีกด้วย

4.2.1 กราฟแสดงการเปรียบเทียบผลการทดสอบ
แรงอัดสูงสุดของชิ้นส่วนตัวอย่าง
160
140
120
100
80
60
40
20
0
ไม่ผ่านการต้ม ผ่านการต้ม 5 นาที ผ่านการต้ม 10 นาที ผ่านการต้ม 15 นาที

Series1 Series2 Series3

ภาพที่ 4.2.1 กราฟแสดงการเปรียบเทียบผลการทดสอบ

จากกราฟในภาพที่ 4.2.1 จะเห็นได้ว่ากลุ่มตัวอย่างของชิ้น


ส่วนตัวอย่างของไม้ไผ่ที่ไม่ผ่านการต้มจะมีความสามารถในการรับ
แรงอัดได้มากกว่า กลุ่มตัวชิ้นส่วนตัวอย่างของไม้ไผ่ที่ผ่านการต้ม 5
นาที 10 นาทีและ 15 นาที ซึ่งตัวอย่างไม้ไผ่ที่ไม่ผ่านการต้มจะ
ความสามารในการรับแรงอัดเฉลี่ยอยู่ที่ 146.767 KN กลุ่มตัวอย่าง
ที่ผ่านการต้มในระยะเวลา 5 นาที จะมีความสามารถในการรับแรง
อัดเฉลี่ยอยู่ที่ 131.560 KN กลุ่มตัวอย่างที่ผ่านการต้มในระยะเวลา
10 นาที จะมีความสามารถในการรับแรงอัดเฉลี่ยอยู่ที่ 127.633
KN และกลุ่มตัวอย่างที่ผ่านการต้ม 15 นาที จะมีความสามารถใน
การรับแรงอัดอยู่ที่ 133.833 KN ซึ่งจะเห็นได้ว่ากลุ่มตัวอย่างที่ผ่าน
การต้ม 10 นาทีมีการรับเเรงอัดโดยเฉลี่ยน้อยที่สุด

4.3 ผลการทดสอบการรักษาเนื้อไม้เพื่ อป้ องกันสัตว์


จำพวกแมลงโดยผ่านการต้ม
4.3.1 จากการทดสอบการรักษาเนื้อไม้ได้นำชิ้นส่วนตัวอย่าง
ไม้ไผ่ที่ไม่ผ่านการต้ม มาเก็บโดยเก็บชิ้นส่วนตัวอย่างไว้ในที่ที่มี
สภาพแวดล้อมและในที่อุณหภูมิปกติในระยะเวลา 90 วันพบว่าชิ้น
ส่วนตัวอย่างได้มีแมลงจำพวกมอดมมาทำลายเนื้อไม้ไผ่ ทำให้ชิ้น
ส่วนตัวอย่างเกิดความเสียหายและมีอายุการใช้งานที่สั้นลงและอาจ
ส่งผลต่อการรับแรงของชิ้นส่วนที่ถูกทำลายโดยมอดไม้ไผ่ ดังภาพ
ชิ้นส่วนตัวอย่างของไม้ไผ่ที่มีมอดไม้ไผ่มาทำลาย

ภาพชิ้นส่วนตัวอย่างที่ไม่ผ่านการต้ม

4.3.2 จากการทดสอบจากการทดสอบการรักษาเนื้อไม้ได้นำ
ชิ้นส่วนตัวอย่างไม้ไผ่ ที่ผ่านการต้มมา 5 นาที 10 นาที และ 15
นาที ผลการทดสอบเป็ นระยะเวลา 90 วันพบว่าชิ้นส่วนตัวอย่าง
ไม่มีสัตว์แมลงจำพวกมอดมาทำลายเนื้อไม้ ดังภาพตัวอย่างที่แสดง
ดังนี้
ภาพชิ้นส่วนตัวอย่างที่ผ่านการต้ม 5 นาที

ภาพชิ้นส่วนตัวอย่างที่ผ่านการต้ม 10 นาที
ภาพชิ้นส่วนตัวอย่างที่ผ่านการต้ม 15 นาที

บทที่5
บทสรุป

5.1 ไม้ไผ่ตงหม้อที่ผ่านการรักษาเนื้อไม้เพื่อป้ องกันสัตว์จำพวก


แมลงโดยการต้ม โดยจำแนกเวลาเป็ น 3 ช่วงเวลา ชุดที่ 1 ผ่านการ
ต้ม 5 นาที ชุดที่ 2 ผ่านการต้ม 10 นาที ชุดที่ 3 ผ่านการต้ม 15
นาที แต่ยังคงมี ชุดที่ไม่ผ่านการต้ม เพื่อแยกไว้เป็ นชุดเอาไว้เปรียบ
เทียบ แรงอัดสูงสุด ความเค้นสูงสุดความชื้น

5.2 สรุปโดยผลจากการทดสอบทั้ง 4 ชุด จะเห็นได้ว่า ชุดที่ไม่ผ่าน


การต้มจะมีรับแรงอัดได้สูงกว่า ชุดที่1,2 และ 3 ซึ่งชุดที่ไม่ผ่านการ
ต้มสามารถรับแรงอัดเฉลี่ยอยู่ที่ 146.767 KN สามารถรับความเค้น
เฉลี่ยอยู่ที่ 58.700 mpa มีความชื้นเฉลี่ยอยู่ที่ 11.040 % ชุดที่ผ่าน
การต้ม 5 นาที สามารถรับแรงอัดอยู่ที่เฉลี่ยอยู่ที่ 131.560 KN
สามารถรับความเค้นเฉลี่ยอยู่ที่ 51.127 mpa มีความชื้นเฉลี่ยอยู่ที่
---- % ชุดที่ผ่านการต้ม 10 นาที สามารถรับแรงอัดอยู่ที่เฉลี่ยอยู่ที่
127.633 KN สามารถรับความเค้นเฉลี่ยอยู่ที่ 44.400 mpa มี
ความชื้นเฉลี่ยอยู่ที่ 6.575 % ชุดที่ผ่านการต้ม 15 นาที สามารถ
รับแรงอัดอยู่ที่เฉลี่ยอยู่ที่ 133.833 KN สามารถรับความเค้นเฉลี่ย
อยู่ที่ 54.200 mpa มีความชื้นเฉลี่ยอยู่ที่ 7.838 % ซึ่งเห็นได้ว่า ชุด
ที่ผ่านการต้ม 10 นาที สามารถรับแรงอัดความเค้นโดยเฉลี่ยได้น้อย
ที่สุด และ มี % ความชื้นน้อยที่สุด

5.3 จากการทดสอบการรักษาเนื้อไม้ได้นำชิ้นตัวอย่างที่ไม่ผ่านการ
ต้ม มาเก็บ โดยเก็บชิ้นส่วนตัวอย่างไว้ในที่ที่มีสภาพแวดล้อมทั่วไป
และในที่ที่อุณภูมิปกติในระยะเวลา 90 วัน พบได้ว่าชิ้นส่วนตัวอย่าง
ที่ไม่ผ่านการต้มได้มีแมลงจำพวกมอดมาทำลายชิ้นส่วนตัวอย่าง
ทำให้ชิ้นส่วนตัวอย่างเกินความเสียหายและมีอายุการใช้งานสั้นลง
และอาจส่งผลต่อการรับแรงของชิ้นส่วนที่ถูกทำลายโดยแมลง
จำพวกมอด

You might also like