You are on page 1of 24

โครงงานคณิตศาสตร์

เรื่อง
โคมไฟเส้นดาย สไตล์เอนวิโลป

โดย
1. นางสาวจันทิมา อินเป้า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
2. นางสาวทินสิรี อนันเอื้อ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
3.นางสาวชนาภา แก้วขอนแก่น นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

โรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัย
รายงานฉบับนี้เป็นส่วนประกอบของโครงงานคณิตศาสตร์
ประเภท โครงงานคณิตศาสตร์ที่บูรณาการความรู้ในคณิตศาสตร์ไปประยุกต์ใช้ (ประเภทการพัฒนาหรือการ
ประดิษฐ์)ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
โครงงานคณิตศาสตร์

เรื่อง
โคมไฟเส้นดายสไตล์เอนวิโลป
โดย
1.นางสาวจันทิมา อินเป้า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
2.นางสาวทินสิรี อนันเอื้อ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
3.นางสาวชนาภา แก้วขอนแก่น นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

ครูที่ปรึกษา
นางชนกรัตน์ คืนดี

โรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัย

รายงานฉบับนี้เป็นส่วนประกอบของโครงงานคณิตศาสตร์
ประเภท โครงงานคณิตศาสตร์ที่บูรณาการความรู้ในคณิตศาสตร์ไปประยุกต์ใช้ (ประเภทการพัฒนาหรือการ
ประดิษฐ์) ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
บทคัดย่อ
โครงงานคณิตศาสตร์เรื่องโคมไฟเส้นดายสไตล์เอนวิโลปมีวัตถุประสงค์ดังนี้
1)เพื่อประดิษฐ์โคมไฟให้มีความส่องสว่างและสวยงาม
2) เพื่อให้สะพานแขวนบ้านหาดงิ้วมีแสงสว่างที่เพียงพอ
3) เพื่อนําความรู้เรื่องทางคณิตศาสตร์ เรื่อง เอนวิโลป (envelope) และการแปลงทางเรขาคณิตมาประยุกต์ใช้
4) เพื่อใช้โปรแกรม The Geometer's Sketchpad หรือ GSP มาออกแบบลวดลายจากการดําเนินการพบว่า
โคมไฟที่จัดทํา มี 5 รูปแบบได้แก่ รูปทรงพีระมิด,รูปทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก,รูปทรงปริซึมฐานสามเหลี่ยม,รูปทรง
ปริซึมฐานหกเหลี่ยมและรูปทรงสะพาน แขวน แต่ละรูปทรงจะมีลวดลายที่ได้จากการออกแบบโดยใช้โปรแกรม
The Geometer's Sketchpad หรือ GSP นําความรู้ทางคณิตศาสตร์เรื่องเส้นโค้งที่เกิดจากเส้นตรงหรือเอนวิ
โลป (envelope) และการแปลงทางเรขาคณิต ประกอบด้วยการเลื่อนขนานการสะท้อนและการหมุนมา
ประยุกต์ใช้ออกแบบลวดลายที่สวยงามและนําโคมไฟที่ได้ไปใช้บนสะพานแขวนหาดงิ้วเพื่อเพิ่มแสงสว่างให้กับผู้
ที่สัญจรไปมาและจากการสัมภาษณ์ความพึงพอใจในการใช้บริการจากกลุ่มตัวอย่าง 9คนที่สัญจรไปมาในแต่ละ
ประเด็นเป็นดังนี้ 1)ด้านความสวยงามของโคมไฟพบว่ามีความพึงพอใจกับรูปทรงและลวดลายของโคมไฟที่มี
ความสวยงามแปลกตาเป็นอย่างมาก
2)ด้านความสว่างของโคมไฟพบว่า สะพานแขวนมีความสว่างเพิ่มขึ้น แต่ยังไม่พียงพอสําหรับการสัญจรไปมา
3) ด้านรูปแบบของโคมไฟที่ชื่นชอบได้แก่ รูปทรงสะพานแขวน
4) ด้านรูปแบบของโคมไฟที่ต้องการให้มี เพิ่มเติม ได้แก่ รูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์ หรือสัญลักษณ์ของชุมชน
กิตติกรรมประกาศ

ในการจัดทําโครงงานคณิตศาสตร์เรื่องโคมไฟเส้นดายสไตล์เอนวิโลปเสร็จสิ้นและสมบูรณ์ได้เป็น
อย่างดีเพราะได้รับ ความช่วยเหลือและสนับสนุนจาก คุณครูสำเนียง ขันบุตร โรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัยและ
คุณครูชนกรัตน์ คืนดี โรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัยที่สนับสนุนและอํานวยความสะดวกในการทําโครงงานครั้งและ
ครูที่ปรึกษาโครงงานขอบคุณนางสาวพิชญาภิญญากุลและนายยะนัยเลิศธนโยธินครูกลุ่มสาระการเรียนรู้
คณิตศาสตร์ที่ให้คาแนะนําการทําโครงงานและให้ความรู้เรื่องการนําคณิตศาสตร์ไปประยุกต์ใช้สุดท้ายนี้
ผู้จัดทําหวังเป็นอย่างยิ่งว่าโครงงานเล่มนี้จะมีประโยชน์ต่อการศึกษาและเป็นแนวทางต่อผู้ศึกษาต่อไปหากมี
ข้อผิดพลาดประการ…ใดขออภัยมา ณ ที่นี้

คณะผู้จัดทํา
สารบัญ
เรื่อง หน้า

บทคัดย่อ.............................................................................................................................................................ก

กิตติกรรมประกาศ...............................................................................................................................................ข

สารบัญ.................................................................................................................................................................ค

บทที่ 1 บทนํา........................................................................................................................................................1

ที่มาและความสําคัญ...................................................................................................................................1

วัตถุประสงค์...............................................................................................................................................1

ขอบเขตการศึกษา.......................................................................................................................................1

ผลที่คาดว่าจะได้รับ......................................................................................................................................1

บทที่ 2 เอกสารที่เกีย่ วข้อง.......................................................................................................................................2

1.เส้นโค้งเกิดจากเส้นตรง เอนวิโลป (envelope) ........................................................................................2

2.รูปทรงเรขาคณิต.........................................................................................................................................4

3.การแปลงทางเรขาคณิต..............................................................................................................................6

4.โปรแกรม The Geometer's Sketchpad หรือ GSP.................................................................................8

บทที่ 3 วิธกี ารดําเนินการ........................................................................................................................................11

1.วิธีดําเนินการศึกษา...................................................................................................................................11

2.วัสดุ อุปกรณ์ ที่ใช้ทําโครงงาน....................................................................................................................12

3.ขั้นตอนการดําเนินงาน................................................................................................................................13

1.1ขั้นตอนการวางแผนและสํารวจ...........................................................................................................13

1.2ขั้นตอนการดําเนินการ........................................................................................................................13

1.3ขั้นตอนการประเมินผล.......................................................................................................................15

1.4ขั้นตอนการสรุปผลและอภิปรายผล....................................................................................................15

บทที่ 4 ผลการดําเนินการ.........................................................................................................................................16

บทที่ 5 สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ...............................................................................................................17

บรรณานุกรม..............................................................................................................................................................18

ภาคผนวก....................................................................................................................................................................19
1

บทที่ 1
บทนำ
ที่มาและความสําคัญ
สะพานแขวนเป็นสะพานแขวนที่เชื่อมระหว่างหมู่บ้านมีความยาวทั้งสิ้น 180 เมตร เป็นสะพานแขวนที่ชาวบ้าน
ของทั้งสองหมู่บ้านใช้สัญจรไปมาตลอดทั้งวันตั้งแต่เช้าจรดเย็นแต่จากการสังเกตพบว่าในเวลากลางคืนสะพาน
แห่งนี้ มีแสงสว่างไม่เพียงพอมีเพียงไฟหรี่ที่อยู่หัวสะพานเพียงด้านเดียวส่วนอีกด้านหนึ่งเป็นไฟที่ชํารุดใช้งาน
ไม่ได้ทําให้ผู้ที่สัญจรไปมาบนสะพานในเวลากลางคืน ไม่ได้รับความสะดวกในการ เดินทาง อาจนําไปสู่การเกิด
อุบัติเหตุขึ้นผู้จัดทําจึงมีแนวคิดที่จะทําโครงงานคณิตศาสตร์เรื่องโคมไฟเส้นดายสไตล์เอนวิโลปโดยประดิษฐ์
โคมไฟบนสะพานแขวนเพื่อให้เกิดแสงสว่างในเวลาค่าคืนเพื่อให้ผู้สัญจรไปมามีความปลอดภัยในการเดินทาง
โดยต้องการประดิษฐ์โคมไฟให้มีความสวยงามเป็นรูปทรงเรขาคณิต และใช้ โปรแกรม The Geometer's
Sketchpad หรือ GSP ออกแบบลวดลายโดยใช้ความรู้ เรื่องเส้นโค้งที่ เกิดจากเส้นตรง เอนวิโลป (envelope)
และการแปลงทางเรขาคณิต มาประยุกต์ใช้
วัตถุประสงค์
1.เพื่อประดิษฐ์โคมไฟให้มีความส่องสว่างและสวยงาม
2.เพื่อให้สะพานแขวนบ้านหาดงิ้ว มีแสงสว่างที่เพียงพอ
3.เพื่อนําความรู้เรื่องทางคณิตศาสตร์ เรื่อง เอนวิโลป (envelope) และการแปลงทาง เรขาคณิต มา
ประยุกต์ใช้
4.เพื่อใช้โปรแกรม The Geometer's Sketchpad หรือ GSP มาออกแบบลวดลาย
ขอบเขตการศึกษา
การประดิษฐ์โคมไฟเป็นลวดลายคณิตศาสตร์ ตามหลักการของ เอนวิโลป (envelope) เพื่อ นําไปประดับ
ตกแต่งบนสะพานแขวนให้มีแสงสว่างเพิ่มขึ้น
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1.นักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์จากการออกแบบโคมไฟ2.สะพานแขวนบ้านหาดงิ้ว มีแสงสว่างที่เพียงพอ
สําหรับการสัญจรไปมา 3.นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจทางคณิตศาสตร์ เรื่อง เส้นโค้งที่เกิดจากเส้นตรง เอนวิ
โลป (envelope) 4.นักเรียนมีทักษะในการใช้โปรแกรม The Geometer's Sketchpad หรือ GSP เพิ่มขึน้
2

บทที่ 2เอกสารที่เกี่ยวข้อง
โครงงานคณิตศาสตร์ เรื่องโคมไฟเส้นดาย สไตล์เอนวิโลป ผู้จัดทําได้ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง
ดังนี้
1.เส้นโค้งเกิดจากเส้นตรง เอนวิโลป (envelope)
2.รูปทรงเรขาคณิต
3.การแปลงทางเรขาคณิต
4.โปรแกรม The Geometer's Sketchpad หรือ GSP
1.เส้นโค้งเกิดจากเส้นตรง เอนวิโลป (envelope)
ถ้าลากเส้นตรงเป็นจํานวนมากๆ ค่อย ๆ เปลี่ยนทิศทางไปตามกฎเกณฑ์ที่ก าหนดไว้ เส้นตรง
เหล่านั้นจะตัดกับเส้นตรงที่อยู่ข้างเคียง และจะมีเส้นโค้งเส้นหนึ่งเกิดขึ้นซึ่งจะสัมผัสชุดของเส้นตรงที่ได้เขียนไว้
แต่แรกทุกเส้นยิ่งเขียนเส้นตรงให้มากขึ้นก็จะแลเห็นเส้นโค้งชัดเจนขึ้นในทางคณิตศาสตร์ เรียกเส้นโค้งเช่นนี้ว่า
เอนวิโลป (envelope) ของชุดเส้นตรงหรือเราอาจจะเรียกว่า เส้นขอบ ของชุด เส้นตรงก็ได้

วงกลมจากเส้นตรง ลองกําหนดเครื่องหมาย x บนกระดาษใช้ไม้บรรทัดวางบนกระดาษให้ริมข้างหนึ่งผ่าน


จุดตัดของเครื่องหมาย x แล้วขีดเส้นตรงที่ริมของไม้บรรทัดอีกด้านหนึ่ง ค่อยๆ เลื่อนไม้บรรทัดโดยให้ริม หนึ่ง
ผ่าน x เสมอ และขีดเส้นตรงที่อีกริมหนึ่งของไม้บรรทัด เมื่อหมุนไม้บรรทัดไปจนรอบ x ก็จะได้ ชุดเส้นตรง
รอบ x ด้วย จะเห็นได้ว่า จะมีวงกลมหนึ่งวง มีศูนย์กลางที่ x และสัมผัสเส้นตรงชุดนี้ทุก เส้น วงกลมนี้ก็คือ
เส้นขอบ หรือ เอนวิโลป ของเส้นตรง ซึ่งอยู่ห่างจาก x เป็น ระยะทางเท่ากับความ กว้างของไม้บรรทัดนั่นเอง
ถ้าลากเส้นตรงสองเส้นมีความยาวเส้นละ 4 นิ้ว และให้ท ามุมต่อกันเป็นมุมเล็กกว่า 90 องศา แบ่งสเกลบน
เส้นทั้งสองออกเป็น 16 ส่วนโดยมีความยาว ส่วนละ 1/4 นิ้ว บนเส้นหนึ่งเขียนเลข 1, 2, 3,...,16 และเขียน
ตัวอักษร ก, ข, ค,...,บ บนอีกเส้นหนึ่ง ใช้เส้นตรงโยงจุด ก และจุด 16 จุด ข และ จุด 15 จุด ค และจุด 14
เช่นนี้ไปจนครบ 16 จุดบนแต่ละเส้น เส้นขอบของเส้นตรงชุดนี้คือ เส้นโค้ง พาราโบลา
3

จากแนวความคิดนี้เราอาจประดิษฐ์ลวดลายแบบคณิตศาสตร์ขึ้นได้ โดยใช้ไม้สี่เหลี่ยมจัตุรัส (อาจจะใช้ไม้อัด


หรือวัสดุอื่นก็ได้) ลากเส้นตรงสองเส้นให้ตั้งฉากกันและกัน และแบ่งไม้แบบเป็นสี่ส่วน แบ่งสเกลจากจุดตัด
ออกไปทั้งสี่ทิศ ให้มีความยาวช่วงละครึ่งนิ้ว (หรือจะใช้หน่วยอื่นก็ได้) ก าหนดเลข 1, 2, 3,... ลงบนเส้นตรงทั้ง
สอง (ตามภาพ) แล้วเจาะรูตรงหมายเลขทั้งหมด ใช้เชือกเส้น เล็กๆ ที่มีสี สวยงามหรือเส้นด้ายไนลอนสีก็ได้
สอดเข้าไปในรูเข็ม สอดเข็มใต้ แผ่นกระดานตรงหมายเลข 8 บน แกน y ขึ้นมา แล้วสอดเข็มลงไปที่หมายเลข
1 บนแกน x ดึงด้ายให้ตึงเสมอ ต่อไปสอดเข็มขึ้นมาตรง หมายเลข 2 บนแกน x แล้วนําเข็มไปสอดลงตรง
หมายเลข 7 บนแกน y สอดเข็มขึ้นมาตรงหมายเลข 6 บนแกน y แล้วนําไปสอดลงตรงหมายเลข 3 บนแกน x
ท าเช่นนี้ไปจนครบทุก หมายเลข จะได้ เส้นด้ายตัดกันมีขอบเป็นเส้นโค้ง อยู่ในส่วนที่หนึ่งของแผ่นไม้ แบบ อีก
สามส่วนของแผ่นไม้แบบก็ กระทําเช่นเดียวกัน จะได้ลวดลายที่มีเส้น ตรงเป็นชุดๆ ออกจากเส้นตรงที่ตั้งฉาก
กันสองเส้นและมี เส้นโค้งเป็นเส้นขอบ

เขียนวงกลมลงบนแผ่นไม้อัด แล้วแบ่งเส้นรอบวงของวงกลมออกเป็น 36 ส่วน โดยการวัดมุม ที่ศูนย์กลางของ


วงกลม 36 มุม มุมละ 10 องศา ไปโดย รอบ ใช้ด้ายไนลอนสีและเข็มเช่นในวิธีที่แล้ว เจาะรูที่เส้นรอบของ
วงกลมตาม ต าแหน่งที่แบ่งไว้ 36 รู แล้วให้หมายเลขเรียงล าดับตั้งแต่ 1 จนถึง 36 เอาเข็ม สอดใต้ไม้อัดให้ขึ้น
ที่หมายเลข 1 แล้วสอดเข็มลงที่หมายเลข 10 และดึงเส้นด้าย ให้ตึง สอด เข็มขึ้นที่หมายเลข 11 แล้วน าไป
สอดที่หมายเลข 20 (หรือกลับไป ที่หมายเลข 2 ก็ได้) ท าเช่นนี้ไปจน ครบทั้ง 36 หมายเลข จะได้รูปร่างของ
เส้นด้ายเป็นเส้นตรงขึงตึงอยู่บนเส้นรอบวงกลมที่อยู่ห่างกัน 9 รู เส้นตรงเหล่านี้จะมี เส้นขอบเป็นวงกลมอีกวง
หนึ่งอยู่ภายในวงกลมแรกและมีศูนย์กลางร่วมกัน
4

2.รูปทรงเรขาคณิต
รูปทรง (Form) คือ รูปที่ลักษณะเป็น 3 มิติ โดยนอกจากจะแสดงความกว้าง ความยาวแล้ว ยัง มีความลึก
หรือความหนา นูน ด้วย เช่น รูปทรงกลม ทรงสามเหลี่ยม ทรงกระบอก เป็นต้น ให้ ความรู้สึกมีปริมาตร ความ
หนาแน่น มีมวลสาร ที่เกิดจากการใช้ค่าน้าหนัก หรือการจัดองค์ประกอบ ของรูปทรง หลายรูปรวมกัน

ปริซึม เป็นรูปเรขาคณิตสามมิติที่มีฐานทั้งสองเป็นรูปเหลี่ยมที่เท่ากันทุกประการ ฐานทั้งสอง อยู่บนระนาบที่


ขนานกัน และด้านข้างแต่ละด้านเป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน เรียกว่า ปริซึม

ปริซึม มีหน้าตัดหรือบานทั้งสองเป็นรูปหลายเหลี่ยมที่เท่ากันทุกประการ และอยู่บนระนาบที่ ขนานกัน มีหน้า


ข้างเป็นรูปสี่เหลี่ยม การเรียกชื่อปริซึม เรียกตามลักษณะของรูปหลายเหลี่ยมที่เป็น หน้าตัดฐาน เช่น ปริซึม
สามเหลี่ยม ปริซึมสี่เหลี่ยม เป็นต้น
ปริซึมสี่เหลี่ยมหรือทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก ที่มีหน้าทุกหน้าเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส เรียกว่า ลูกบาศก์
5

ทรงกระบอก (cylinder) มีหน้าตัด หรือฐานทั้งสองเป็นรูปวงกลมที่เท่ากันทุกประการ และอยู่ บนระนาบที่


ขนานกัน

กรวย มีฐานเป็นรูปวงกลมและมียอดแหลม ซึ่งไม่อยู่บนระนาบเดียวกันกับฐาน

ทรงกลม มีผิวเรียบที่ทุกๆ จุดบนผิวห่างจากจุดศูนย์กลางเท่ากัน

พีระมิด (Pyramid) คือ รูปเรขาคณิตสามมิติที่มีฐานเป็นรูปหลายเหลี่ยม มียอดแหลมซึ่งไม่ อยู่บนระนาบ


เดียวกันกับฐาน และมีหน้าข้างเป็นรูปสามเหลี่ยม เรียกว่าพีระมิด การเรียกชื่อพีระมิด เรียกตามลักษณะของ
รูปหลายเหลี่ยมที่เป็นฐาน เช่น พีระมิดฐานสามเหลี่ยม หมายถึง พีระมิดที่มีฐาน เป็นรูปสามเหลี่ยม
6

3.การแปลงทางเรขาคณิต
3.1การเลื่อนขนาน
การเลื่อนขนาน(Translation)ต้องมีรูปต้นแบบทิศทางและระยะทางที่ต้องการเลื่อนรูปการเลื่อนขนานเป็นการ
แปลงที่จับคู่จุดแต่ละจุดของรูปที่ได้จากการเลื่อนรูปต้นแบบไปในทางทิศทางใดทิศทางหนึ่งด้วยระยะทางที่
กําหนดจุดแต่ละจุดบนรูปที่ได้จากการเลื่อนขนานระยะห่างจากจุดที่ สมนัยกันบนรูปต้นแบบเป็นระยะทาง
เท่ากันการเลื่อนในลักษณะนี้เรียกอีกอย่างหนึ่ง ว่า “สไลด์ (slide)”
ในการบอกทิศทางและระยะทางของการเลื่อนขนานจะใช้เวกเตอร์เป็นตัวกําหนดซึ่งการ
กําหนดเวกเตอร์ของการเลื่อนขนานอาจให้จุดเริ่มต้นอยู่บนรูปต้นแบบหรืออยู่นอกรูปต้นแบบก็ได้

สมบัติของการเลื่อนขนาน
1.รูปที่ได้จากการเลื่อนขนานกับรูปต้นแบบเท่ากันทุกประการ
2.จุดแต่ละจุดที่สมนัยกันบนรูปที่ได้จากการเลื่อนขนานกับรูปต้นแบบจะมีระยะห่างเท่ากัน
3.ภายใต้การเลื่อนขนาน จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างและขนาดของรูปต้นแบบ
3.2การสะท้อน
การสะท้อน(Reflection)เป็นการแปลงที่จุดทุกจุดของรูปต้นแบบเคลื่อนที่ข้ามเส้นตรงเส้นหนึ่งซึ่งเปรียบ
เหมือนกระจกหรือเรียกว่าเส้นสะท้อนโดยที่เส้นนี้จะแบ่งครึ่งและตั้งฉากกับส่วน ของเส้นตรงที่เชื่อมระหว่างจุด
แต่ละจุดบนรูปต้นแบบกับจุดแต่ละจุดบนรูปสะท้อนที่สมนัยกัน สมบัติของการสะท้อน
1.รูปที่เกิดจากการสะท้อนมีขนาดและรูปร่างเท่ากับรูปต้นแบบ หรือเท่ากันทุกประการกับ รูปต้นแบบ
2.รูปที่เกิดจากการสะท้อนกับรูปต้นแบบห่างจากเส้นสะท้อนเท่ากัน
3.จุดบนเส้นสะท้อนเป็นจุดคงที่ ไม่มีการสะท้อน
การสะท้อนข้ามแกน X ความหมายของการสะท้อนข้ามแกน X
ในแง่ภาษา หมายถึง การสะท้อนจุดข้ามแกน X ใช้ค่าพิกัด X เดียวกัน และคูณค่าพิกัด Y
7

ด้วย – 1 ในแง่พีชคณิต หมายถึง ( X, Y ) กลายเป็น ( X, -Y ) การสะท้อนข้ามแกน Y


ความหมายของการสะท้อนข้ามแกน Y
ในแง่ภาษา หมายถึง การสะท้อนจุดข้ามแกน Y คูณค่าพิกัด X ด้วย – 1 และใช้ค่าพิกัด Y เดิม ใน
แง่พีชคณิต หมายถึง ( X, Y ) กลายเป็น (- X, Y )

จากภาพแสดงการสะท้อนของ ΔABC เป็นการสะท้อนข้ามแกน Y

3.3การหมุน
การหมุน(Rotation)เป็นการแปลงที่จุดทุกจุดของรูปต้นแบบเคลื่อนที่ไปเป็นมุมเดียวกันรอบจุด
ตรึงอยู่กับที่ที่กําหนดหรือจุดหมุนการหมุนจะหมุนทวนเข็มนาฬิกาหรือตามเข็มนาฬิกาตามขนาดของมุมและ
ทิศทางที่ต้องการหมุนโดยทั่วไปถ้าไม่ระบุทิศทางการหมุนจะถือว่าเป็นการหมุนทวน เข็มนาฬิกาการหมุนเป็น
การแปลงที่เกิดจากการจับคู่ของ จุดแต่ละคู่ระหว่างรูปต้นแบบกับรูปที่ได้จาก การหมุน

สมบัติของการหมุน
1.รูปที่ได้จากการหมุนกับรูปต้นแบบเท่ากันทุกประการ
2.จุดแต่ละจุดบนรูปต้นแบบเคลื่อนที่รอบจุดหมุนด้วยขนาดของมุมที่กําหนด
3.จุดหมุนเป็นจุดคงที่
8

ความหมายของการหมุน 90° ทวนเข็มนาฬิกา


ในแง่ภาษา หมายถึง การหมุนรูปทวนเข็มนาฬิกาไป 90° สลับค่าพิกัดแต่ละจุด แล้วคูณค่า พิกัดแรกด้วย -1
ในแง่เลขคณิต หมายถึง A ( 3, 2 )=> A′ (-2 , 3 )
ในแง่พีชคณิต หมายถึง A ( x, y ) => A′ ( – y , x )
ความหมายของการหมุน 180° ในแง่ภาษา หมายถึง การหมุนไป 180° คูณค่าพิกัดทั้งสองของแต่ละจุดด้วย –1
ในแง่เลขคณิต หมายถึง A ( 3 , 2 )=> A′ (-3 , – 2 )
ในแง่พีชคณิต หมายถึง A ( x, y ) => A′ ( – x , – y )

4.โปรแกรม The Geometer's Sketchpad หรือ GSP


1.โปรแกรมTheGeometer'sSketchpadเป็นระบบซอฟต์แวร์ที่ใช้สําหรับสร้างสํารวจและ
การวิเคราะห์สิ่งต่างๆที่เกี่ยวกับเนื้อหาคณิตศาสตร์หลายด้านโปรแกรม GSP เป็นสื่อเทคโนโลยีที่ช่วยให้ผู้เรียน
มีโอกาสเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง เนื่องจากขณะใช้ โปรแกรม GSP ผู้ใช้สามารถ
สร้างตัวแบบคณิตศาสตร์ที่ท าให้เกิดการเคลื่อนไหวเชิงเรขาคณิต และ ผู้ใช้สามารถท าปฏิกิริยาโต้ตอบได้
โปรแกรม GSPสามารถนํามาใช้ในการสํารวจเบื้องต้นเกี่ยวกับรูปทรงเรขาคณิตและจํานวนตลอดจนแสดงการ
เคลื่อนไหวของเนื้อหาด้านคณิตศาสตร์ที่ซับซ้อน และพัฒนาความคิดเกี่ยวกับหัวข้อต่างๆในวิชาคณิตศาสตร์ได้
หลายแขนง เช่น เรขาคณิต พีชคณิต ตรีโกณมิติ แคลคูลัส และเนื้อหาอื่นๆ จึงมีความเหมาะสมที่ครูผู้สอน
คณิตศาสตร์จะน ามาใช้ในการ จัดการเรียนรู้และสร้างสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
2.ความสามารถของโปรแกรม GSP
2.1ด้านศิลปะและการเคลื่อนไหว (Art / Animation) โปรแกรม GSP สามารถที่จะน า
เครื่องมือมาสร้างรูปต่างๆ และสามารถใช้ค าสั่งเพื่อที่จะท าให้รูปดังกล่าวเคลื่อนไหวได้ตามที่ต้องการ ซึ่งเป็น
โปรแกรมที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนในลักษณะนี้
9

2.2. แคลคูลัส (Calculus) เราสามารถใช้โปรแกรม GSP คํานวณหาปริมาตรของกล่องซึ่งเกิด จากการตัดมุม


ทั้งสี่ของกระดาษ ซึ่งเราจะเห็นการเปลี่ยนแปลงของปริมาตรของกล่องดังกล่าวจากการเคลื่อนไหวและ
นอกจากนี้ยังสามารถใช้โปรแกรมดังกล่าวสร้างกราฟจากสมการต่างๆ ได้

2.3วงกลม(Circles)ในโปรแกรมGSPสามารถที่จะใช้เครื่องมือCompassToolสร้างวงกลมได้ตามที่ต้องการ
และสามารถที่จะวัดหารัศมี เส้นรอบวง และคำนวณหาพื้นที่ได้

2.4ภาคตัดกรวย(Conic Section) สําหรับเรื่องภาคตัดกรวย โปรแกรม GSP สามารถที่จะ สร้างวงกลมวงรี


พาราโบลา และไฮเปอร์โบลา โดยการเคลื่อนที่ทําให้เห็นร่องรอย (Trace) ของกราฟ ซึ่งจะทําให้เห็นรูปต่างๆ
ได้ตามต้องการ

2.5การเขียนกราฟและการหาจุดโคออร์ดิเนตในเรขาคณิต(Graphing/CoordinateGeometry) ในการเขียน
กราฟจากรูปสมการต่างๆ โปรแกรม GSP สามารถสร้างรูปกราฟและหาจุด โคออร์ดิเนตในสมการต่างๆ ได้
10

2.6เส้นตรงและมุม (Lines and Angles) ในการสร้างเส้นตรงและมุมโดยการใช้ โปรแกรม GSP สามารถทําได้


โดยง่าย ซึ่งเมื่อได้ท าการสร้างเส้นตรงและมุมเสร็จแล้วสามารถที่จะวัดขนาดของ เส้นตรงและมุมดังกล่าวได้
ซึ่งด้วยความสามารถและคุณสมบัติดังกล่าวทําให้การสรุป เนื้อหาและ ทฤษฎีเกี่ยวกับเรื่องเส้นตรงและมุมทํา
ได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

2.7รูปสามเหลี่ยม (Triangles) เมื่อสร้างรูปสามเหลี่ยมโดยการใช้โปรแกรม GSP แล้ว เรา สามารถที่จะใช้คําสั่ง


ภายในโปรแกรมเพื่อคํานวณหาความยาวของด้านแต่ละด้าน มุมแต่ละมุมและ คํานวณหาพื้นที่ของรูป
สามเหลี่ยมดังกล่าวได้

2.8ตรีโกณมิติ (Trigonometry) ในการหาฟังก์ชันตรีโกณมิติโดยใช้โปรแกรม GSPกระทําได้ โดยสร้างวงกลม


หน่วย (Unit Circle) เมื่อกําหนดมุม C ตามรูปด้านล่าง ก็สามารถหาฟังก์ชัน ตรีโกณมิติของมุม C ได้ตาม
ต้องการ
11

บทที่ 3
วิธีการดําเนินการ
1.วิธีดําเนินการศึกษา
โครงงานคณิตศาสตร์ เรื่องโคมไฟเส้นดาย สไตล์เอนวิโลป คณะผู้จัดทํา ได้ดําเนินการตาม ขั้นตอนดังนี้
1.1 รวมกลุ่มกัน 3 คน
1.2จากนั้นไปสํารวจสถานที่จริงที่สะพานแขวนบ้านหาดงิ้ว เพื่อศึกษา สังเกต การใช้สะพาน แขวนบ้านหาด
งิ้ว ของผู้สัญจรไปมา และพบว่าไฟส่องสว่างที่สะพานแขวนไม่เพียงพอ
1.3มีแนวคิดที่จะทําโครงงานคณิตศาสตร์เกี่ยวกับโคมไฟ โดยร่วมกันปรึกษากับครูที่ปรึกษา ในการทํา
โครงงาน
1.4กําหนดหัวข้อในการทําโครงงาน
1.5ศึกษา ค้นคว้า ตํารา เอกสาร ที่เกี่ยวข้อง
1.6ออกแบบลวดลายโคมไฟ ตามหลักการ เอนวิโลป (envelope)
1.7ร่วมกันประดิษฐ์โคมไฟ ตามที่ออกแบบไว้
1.8ทดลองใช้โคมไฟกับสะพานแขวน
1.9ประเมินผลการทดลอง โดยใช้แบบสัมภาษณ์ความพึงพอใจ
1.10เขียนรายงานพร้อมสรุปผลและอภิปรายผลในรูปแบบความเรียง
12

2.วัสดุ อุปกรณ์ ที่ใช้ทำโครงงาน

ไม้บรรทัดและตลับเมตร กระดาษทราย ดินสอ


เมตร

ไหมพรม
แม็กยิง เลื่อยอน
กาวร้ ปลั๊กไฟสามตา
กรรไกร

ไม้เนื้ออ่อน
ค้อนและตะปู สว่าน

เข็ม อแด๊ปเตอร์และไฟเส้น
LED
13

3.ขั้นตอนการดําเนินงาน
3.1ขั้นตอนการวางแผนและสํารวจ
1.สํารวจการใช้สะพานแขวนของชาวบ้าน
2.พบว่าไฟส่อวสว่างบนสพานไม่เพียงพอ
3.ร่วมกันวางแผนการท าโครงงานกับครูที่ปรึกษา

3.2ขั้นตอนการดําเนินการ
1. ออกแบบลวดลายการทาโคมไฟ โดยใช้โปรแกรม GSP

2. ลวดลายเส้นโค้งที่เกิดจากเส้นตรง เอนวิโลป (envelope) และการแปลงทางเรขาคณิต


14

3. ลวดลายเส้นโค้งที่เกิดจากเส้นตรง เอนวิโลป (envelope) และการแปลงทางเรขาคณิต

4. การออกแบบและประดิษฐ์โครงของโคมไฟ เป็นรูปทรงเรขาคณิตสามมิติ
5. การใช้ไหมพรมร้อยตามรูที่เจาะไว้บนโครง และร้อยตามลวดลายที่ออกแบบไว้
6. จะได้โคมไฟรูปทรงเรขาคณิตสามมิติตามลวดลายเอนวิโลปที่สวยงาม
7. โคมไฟรูปทรงสะพานแขวน
8. การทดลองและติดตั้งไฟเส้น LED ในโคมไฟ
9. โคมไฟทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก
10. โคมไฟทรงพีระมิด
11.โคมไฟทรงปริซึมฐานสามเหลี่ยมออกแบบสันเอียง
12. โคมไฟรูปทรงสะพานแขวน
13. โคมไฟทรงปริซึมฐานหกเหลี่ยม
14. ทดลองความส่องสว่างของโคมไฟทุกรูปแบบ
15. นําโคมไฟทั้ง 5 รูปแบบมาติดตั้งบนสะพานแขวน
16. ทดลองความส่องสว่างของโคมไฟ
15

17. สังเกต การใช้สะพานแขวนของชาวบ้านที่มีโคมไฟช่วยเพิ่มแสงสว่าง


18. มีการประเมินผล โดยใช้แบบสัมภาษณ์ความพึงพอใจ กับชาวบ้านที่ใช้บริการขับรถผ่านไปผ่านมา

3.3ขั้นตอนการประเมินผล
ใช้แบบสัมภาษณ์ความพึงพอใจกับผู้ที่ใช้บริการขับรถผ่านไปผ่านมา โดยมีประเด็นข้อคําถามดังนี้
ที่ ประเด็นข้อคําถาม
1 ด้านความสวยงามของโคมไฟ
2 ด้านความสว่างของโคมไฟ
3 ด้านรูปแบบของโคมไฟที่ชื่นชอบ (พีระมิด, ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก,ปริซึมฐาน สามเหลี่ยม,ปริซึมฐานหก
เหลี่ยม,ทรงสะพานแขวน)
4 ด้านรูปแบบของโคมไฟที่ต้องการให้มีเพิ่มเติม
5 ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม

3.4 ขั้นตอนการสรุปผลและอภิปรายผล เขียนรายงานในรูปแบบบรรยายความเรียง


16

บทที่ 4
ผลการดําเนินการ
โครงงานคณิตศาสตร์เรื่องโคมไฟเส้นดายสไตล์เอนวิโลป มีวัตถุประสงค์ดังนี้
1) เพื่อ ประดิษฐ์โคมไฟให้มีความส่องสว่างและสวยงาม
2) เพื่อให้สะพานแขวนบ้านหาดงิ้วมีแสงสว่างที่เพียงพอ
3) เพื่อนําความรู้เรื่องทางคณิตศาสตร์เรื่อง เอนวิโลป (envelope) และการแปลงทาง เรขาคณิต มา
ประยุกต์ใช้
4) เพื่อใช้โปรแกรม The Geometer's Sketchpad หรือ GSP มา ออกแบบลวดลาย จากการดําเนินการ
พบว่า โคมไฟที่จัดทํามี5รูปแบบ ได้แก่ รูปทรงพีระมิด, รูปทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก,รูปทรงปริซึมฐานสามเหลี่ยม,
รูปทรงปริซึมฐานหกเหลี่ยมและรูปทรงสะพาน แขวนแต่ละรูปทรงจะมีลวดลายที่ได้จากการออกแบบโดยใช้
โปรแกรม The Geometer's Sketchpad หรือ GSP นําความรู้ทางคณิตศาสตร์เรื่องเส้นโค้งที่เกิดจากเส้นตรง
หรือเอนวิโลป (envelope) และการแปลงทางเรขาคณิต ประกอบด้วย การเลื่อนขนาน การสะท้อนและการ
หมุน มาประยุกต์ใช้ออกแบบลวดลายที่สวยงาม แล้วใช้ไหมพรมโยงเป็นเส้นตรง โดยโคมไฟทุกอันจะใช้ไฟ เส้น
LED ขนาด 12วัตต์มาประดับตกแต่งเพื่อให้เกิดแสงสว่างและนําโคมไฟที่ได้ไปใช้บนสะพานแขวนหาดงิ้วเพื่อ
เพิ่มแสงสว่างให้กับผู้ที่สัญจรไปมาซึ่งจากการสังเกตพบว่าโคมไฟแต่ละอันให้แสงสว่างที่มีสีสันสวยงามมากแต่
ระดับของแสงสว่างที่มีไม่มากนักยังไม่เพียงพอและจากการสัมภาษณ์ความพึงพอใจในการใช้บริการ จากกลุ่ม
ตัวอย่าง 9 คน ที่สัญจรไปมา ในแต่ละประเด็น เป็นดังนี้
1) ด้านความสวยงามของโคมไฟ พบว่า มีความพึงพอใจกับรูปทรงและลวดลายของโคมไฟที่มีความ สวยงาม
แปลกตาเป็นอย่างมาก 2) ด้านความสว่างของโคมไฟ พบว่า สะพานแขวนมีความสว่าง เพิ่มขึ้น แต่ยังไม่พียง
พอสําหรับการสัญจรไปมา 3) ด้านรูปแบบของโคมไฟที่ชื่นชอบ ได้แก่ รูปทรง สะพานแขวน 4) ด้านรูปแบบ
ของโคมไฟที่ต้องการให้มีเพิ่มเติม ได้แก่ รูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์ หรือ สัญลักษณ์ของชุมชน เช่น ทรงหน่อไม้
ทรงเห็ดโคน เป็นต้น
17

บทที่ 5
สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
สรุปผลและอภิปรายผล
จากการทําโครงงานคณิตศาสตร์เรื่องโคมไฟเส้นดายสไตล์เอนวิโลปที่ต้องการแก้ปัญหาในการใช้สะพานแขวน
บ้านหาดงิ้วซึ่งในเวลากลางคืนมีแสงสว่างไม่เพียงพอทําให้ผู้ที่สัญจรไปมาไม่ได้รับความสะดวกในการเดินทางจึง
มีแนวคิดที่จะประดิษฐ์โคมไฟที่สวยงามบนสะพานแขวนเพื่อให้เกิด แสงสว่างในเวลาค่าคืนเพื่อให้ผู้สัญจรไปมา
มีความปลอดภัยในการเดินทาง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ประดิษฐ์โคมไฟให้มีความส่องสว่างและสวยงาม เพื่อให้
สะพานแขวนบ้านหาดงิ้ว มีแสงสว่างที่ เพียงพอ เพื่อน าความรู้เรื่องทางคณิตศาสตร์ เรื่อง เอนวิโลป
(envelope) และการแปลงทาง เรขาคณิตมาประยุกต์ใช้ และเพื่อใช้โปรแกรม The Geometer's Sketchpad
หรือ GSP มา ออกแบบลวดลาย โดยโครงงานคณิตศาสตร์นี้ มีขอบเขตการศึกษาได้แก่การประดิษฐ์โคมไฟเป็น
ลวดลายคณิตศาสตร์ตามหลักการของเอนวิโลป(envelope)เพื่อนําไปประดับตกแต่งบนสะพาน แขวนให้มีแสง
สว่างเพิ่มขึ้น สามารถสรุปผลการดําเนินการได้ว่า โคมไฟที่จัดทํา มี 5 รูปแบบ โคมไฟ แต่ละอันให้แสงสว่างที่มี
สีสันสวยงามมาก และจากการสัมภาษณ์ความพึงพอใจในการใช้บริการที่ สัญจรไปมา สรุปในแต่ละประเด็นได้
ดังนี้ 1) ด้านความสวยงามของโคมไฟ พบว่า มีความพึงพอใจกับรูปทรงและลวดลายของโคมไฟที่มีความ
สวยงามแปลกตาเป็นอย่างมากเนื่องจากโคมไฟมีสีสันสดใสสะดุดตาและมีลวดลายสวยงาม ไม่เคยพบเห็น
ลวดลายแบบนี้มาก่อน 2) ด้านความสว่างของโคมไฟ พบว่า สะพานแขวนมีความสว่างเพิ่มขึ้น แต่ระดับของ
แสงสว่างที่มีไม่มากนัก ยังไม่พียงพอส าหรับการ สัญจรไปมา เนื่องจากเป็นไฟเส้น LED เพียง 12 วัตต์ 3) ด้าน
รูปแบบของโคมไฟทีช่ ื่นชอบ ได้แก่ รูปทรงสะพานแขวน เนื่องจากเป็นรูปทรงที่เปรียบเสมือนเอกลักษณ์ของ
ชุมชน คือ สะพานแขวน 4) ด้านรูปแบบของโคมไฟที่ต้องการให้มีเพิ่มเติม ได้แก่ รูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์ หรือ
สัญลักษณ์ของ ชุมชน เช่น ทรงหน่อไม้ ทรงเห็ดโคน เป็นต้น

ข้อเสนอแนะ
1.ควรใช้หลอดไฟ หรือดวงไฟ ให้มีความสว่างมากขึ้น
2.อาจนําแผ่นพลาสติกหรือแผ่นอะคริลิคในการหุ้มโคมไฟไม่ให้น้ าเข้าได้ เพื่อป้องกันการ เปียกฝน
และยืดอายุการใช้งาน
3.การเดินสายไฟควรรวบให้เป็นเส้นเดียวกัน เพื่อเปิด-ปิดพร้อมกัน ไม่ควรแยกสวิตซ์ไฟ
4.หากใช้งานจริง อาจมีระบบในการเปิดปิดไฟอัตโนมัติ
18

บรรณานุกรม
https://www.saranukromthai.or.th/sub/book/book.php?book=6&chap=7&page=t6-7-
infodetail05.html เข้าถึงเมื่อ 15 กรกฎาคม 2564
http://geometrybasicmean.weebly.com/36483619358636343588360336363605362636
3436173617363636053636.htmlเข้าถึงเมื่อ 15 กรกฎาคม 2564
https://planofgeometry.wordpress.com/ เข้าถึงเมื่อ 18 กรกฎาคม 2564
https://krujongpanuwat.files.wordpress.com/2014/10/2-
e0b8abe0b899e0b988e0b8a7e0b8a2e0b897e0b8b5e0b988-1-
e0b884e0b8a7e0b8b2e0b8a1e0b8a3e0b8b9e0b989e0b980e0b89ae0b8b7e0b989e0b
8ade0b887.pdf เข้าถึงเมื่อ 18 กรกฎาคม 2564
19

ภาคผนวก

You might also like