You are on page 1of 3

ข้อสอบปลายภาค การต่อท้านทุจริต ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

1. ความเกรงกลัวต่อสิ่งที่ไม่ดี ไม่ถูกต้อง คือความหมายของข้อใด


ก. ความไม่ทน
ข. ความละอาย
ค. ความทุจริตต่อหน้าที่
ง. จริยธรรม
2. ข้อใดมิใช่ผลกกระทบจากปัญหาคอรัปชั่น*
ก. ประชาชนต้องซื้อสินค้าราคาแพงขึ้น
ข. ปัญหาอาชญากรรมสูงขึ้น
ค. ประชาชนต้องเสี่ยงจากโครงการที่ไม่ได้มาตรฐาน
ง. เกิดความไม่น่าเชื่อถือในกระบวนการยุติธรรม
3. การคอร์รัปชั่นเกิดจากการขาดคุณธรรมประการใดสำคัญ
ก. ความสามัคคี
ข. ความเมตตากรุณา
ค. ความวิริยะอุตสาหะ
ง. ความซื่อสัตย์สุจริต
4. ข้อใด ไม่ใช่ สาเหตุของการทุจริต
ก. ระบบอุปถัมภ์ในสังคมไทย
ข. กระบวนการยุติธรรมที่ไม่เข้มแข็ง
ค. กระแสบริโภคนิยม วัตถุนิยม
ง. การยืนหยัดทำในสิ่งที่ถูกต้อง
5. ข้อใด ไม่เกี่ยวข้อง กับคำว่าทุจริต
ก. ประพฤติชั่ว
ข. ฉ้อโกง
ค. คดโกง
ง. ช่องโหว่
6. เด็กชาย เอ เกิบเงินได้นำส่งเจ้าของ เรื่องนี้เกี่ยวกับเรื่องใด*
ก. ค่าโง่
ข. สินบน
ค. สินบน
ง. ความซื่อสัตย์
7. วันต่อต้านคอร์รัปชันสากล ตรงกับวันใด*
ก. 16 มกราคม
ข. 9 ธันวาคม
ค. 14 เมษายน
ง. 25 ธันวาคม
8. ข้อใดไม่ใช่พฤติกรรมที่แสดงถึงการโกงหรือการทุจริตในโรงเรียน*
ก. ให้เพื่อนลอกการบ้านเพราะเพื่อนทำไม่ได้
ข. คุณครูไปราชการจึงไม่ได้เข้าสอนตามตาราง
ค. นักเรียนสวมรองเท้าขึ้นอาคารเรียน
ง. หลบหลีกการเข้าร่วมกิจกรรมหน้าเสาธง
9. วัตถุประสงค์ของโรงเรียนสุจริตไม่ต้องการให้นักเรียนเป็นคนเช่นไร*
ก. เห็นคุณค่าของการทำความดี
ข. รณรงค์ต่อต้านการโกงทุกรูปแบบ
ค. ยอมรับพฤติกรรมการโกงเพียงเล็กน้อยได้
ง. เติบโตเป็นคนเก่งที่ไม่โกง
10. ข้อใดสัมพันธ์กับ “จิตพอเพียงต้านการทุจริต”*
ก. การเลือกตั้ง
ข. ระเบียบ กฎ กติกา กฎหมาย
ค. ความโปร่งใส
ง. ความเป็นพลเมืองดี
11. ข้อใดต่อไปนี้เป็นการป้องกันการทุจริต*
ก. ตั้งคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช)
ข. ปฏิรูปกฎหมายที่เกี่ยวกับการบริหารพัสดุและการจัดซื้อจัดจ้างให้โปร่งใส
ค. การเพิ่มโทษในการทุจริตและประพฤติมิชอบ
ง. การปลูกจิตสำนุกโตไปไม่โกงให้แก่เด็ก ๆ
12. ข้อใดเป็นการทุจริต*
ก. ผู้รับเหมาก่อสร้างยื่นของประมูลประกวดราคา
ข.นักการเมืองออกเยี่ยมประชาชนที่ประสบภัยพิบัติโดยมอบของให้
ค. นักธุรกิจนำกระเช้าผลไม้ไปเยี่ยมภูมิปัญญาในหมู่บ้าน
ง. เจ้าหน้าที่ของรัฐให้บริการนักธุรกิจ โดยจ่ายเงินตามช่องทางตามปกติของราชการ แค่เพิ่มเงินใหเป็นค่าบริการเพื่อ
ความสะดวกรวดเร็ว
13. พฤติกรรมในข้อใดเป็นการไม่ทนต่อการทุจริตหรือการกระทำที่ไม่ถูกต้อง*
ก. แจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจทันทีที่พบเห็นการแซงคิว
ข. ใช้วิธีการประณามต่อสาธารณชนทุกครั้งที่พบเรื่องไม่ถูกต้อง
ค. บอกผู้แซงคิวให้ทราบ และไปต่อท้ายแถว
ง. ไม่สนใจถ้าเราไม่เดือดร้อน
14. การกระทำในข้อใดไม่ใช่การทุจริต*
ก. การให้ผู้อื่นรับโทษแทนคน โดยให้ค่าจ้างตอบแทน
ข. การให้เงินเจ้าหน้าที่เพื่อเป็นค่าส่งเอกสารที่ขอไว้
ค. การอำนวยความสะดวกเป็นพิเศษเพื่อให้งานของตนเองราบรื่น
ง. การสับเปลี่ยนสินค้าที่มีคุณภาพต่ำกว่าให้กับลูกค้า
15. ภูมิคุ้มกันที่ทำให้บุคคลไม่กระทำทุจริต จะต้องประกอบด้วย*
ก. ความรู้ ความเข้าใจ และปลุกให้ตื่นรู้
ข. ความรู้ ความเข้าใจ และความเป็นผู้นำ
ค. ความรู้ ความเข้าใจ และความเอื้ออาทร
ง. ความรู้ ความเข้าใจ และการมุ่งไปข้างหน้า
16. การมีจิตพอเพียงด้านทุจริต ควรเริ่มจากข้อใดเป็นอันดับแรก*
ก. สังคม
ข. ตนเอง
ค.ครอบครัว
ง. ประเทศชาติ
17. บุคคลจะเกิดความละอายต่อการทุจริต ควรเริ่มต้นจากข้อใดเป็นสำคัญ*
ก. ความกลัวผู้อื่นรู้
ข. ความตระหนักถึงผลเสีย
ค. ความฉลาดรอบรู้
ง. ความก้าวหน้าในการทำงาน
18. หน่วยงานใดมีหน้าที่โดยตรงในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตของประเทศไทย*
ก. ป.ป.ส
ข. ป.ป.ช
ค. สตง.
ง. สคบ.
19. จิตพอเพียงด้านทุจริต เป็นการนำหลักการใดมาประยุกต์ใช้ต่อต้านการทุจริต*
ก. หลักคิดเป็น
ข. หลักศีลธรรม
ค. หลักสมดุล
ง.หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
20. ค่านิยม 12 ประการข้อใดพูดถึงความซื่อสัตย์ เสียสละ*
ก. ข้อ 1
ข. ข้อ 2
ค. ข้อ 3
ง. ข้อ 12

You might also like