You are on page 1of 2

ใบความรู้เพิ่มเติม อ่านสอบ กลางภาคครับ

การเผยแผ่พระไตรปิ ฎก
พระไตรปิ ฎก เป็นคัมภีร์สำคัญทางพระพุทธศาสนาที่พระภิกษุสามเณรและพุทธศาสนิกชนใช้ศึกษา
เล่าเรียนเพื่อให้รู้ทั่วถึงพระธรรมวินัยและปฏิบัติตามพระธรรมคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้อย่าง
ถูกต้อง ด้วยเหตุนี้พระไตรปิ ฎกจึงเรียกว่า พระปริยัติสัทธรรมเพราะเป็นบรรทัดฐานให้เกิดมีพระปฏิบัติ
สัทธรรมคือ ศีล สมาธิ ปัญญา และมีปฏิเวธสัทธรรม คือ มรรค ผล นิพพานเป็นที่สุด ดังนั้น การเผยแผ่พระ
ไตรปิ ฎกจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องกระทำอย่างต่อเนื่อง เพื่อสืบอายุพระพุทธศาสนา ซึ่งจะขอกล่าวถึง
วิธีการเผยแผ่พระไตรปิ ฎกดังนี้
1. การเผยแผ่โดยวิธี “มุขปาฐะ” หรือแบบปากต่อปาก โดยหลังจากพุทธปรินิพพานพระมหาสาวกทั้ง
หลายได้ทำสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งแรกด้วยการรวบรวมคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจัดเป็น
พระไตรปิ ฎก คือพระวินัยปิ ฎก พระสุตตันตปิ ฎก และพระอภิธรรมปิ ฎก พระสงฆ์สาวกต่อ ๆ มาก็ทรงจำ
แบบจากปากต่อปากที่เรียกว่า “มุขปาฐะ” สั่งสอนสืบต่อ ๆ กันมา
2. การเผยแผ่เป็ นลายลักษณ์อักษร ในการทำสังคายนาครั้งที่ 5 ในประเทศศรีลังกา (ประมาณ พ.ศ.
433) ได้มีการทำสังคายนาด้วยเกรงว่าการท่องจำพระพุทธจวนะอาจจะมีความคลาดเคลื่อนได้ ควรจะมีการ
จารึกเป็นลายลักษณ์อักษร จึงมีการจารึกเป็นภาษาบาลี(มคธ) ขึ้น และมีการสังคายนาและแปลเป็นภาษาต่าง
ๆ ในประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาให้เป็นภาษาของตน
3. การเผยแผ่เป็ นฉบับภาษาไทย ในประเทศไทยได้มีการแปลเป็นภาษาไทย โดยแบ่งออกเป็น 2
สำนวน คือ แปลโดยอรรถตามความในพระบาลีพิมพ์เป็นเล่มเรียกว่า “พระไตรปิ ฎกภาษาไทย และอีก
สำนวนหนึ่งแปลเป็นสำนวนเทศนา พิมพ์ลงในใบลานเรียกว่า พระไตรปิ ฎกเทศนาฉบับหลวง
ต่อมาใน พ.ศ. 2514 ได้มีการพิมพ์พระไตรปิ ฎกภาษาไทยเป็นครั้งที่ 2 เนื่องในวโรกาสที่พระบาท
สมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช รัชกาลที่ 9 ได้เสวยราชสมบัติครบ 25 ปี เรียกว่า พระไตรปิ ฎกภาษา
ไทยฉบับหลวง และครั้งสุดท้ายมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย ได้มีการแปลและจัดพิมพ์ดังได้กล่าวมาแล้ว ใน
การจัดพิมพ์พระไตรปิ ฎกให้เป็นภาษาไทย เพื่อให้พุทธศาสนิกชนที่เป็นคนไทยทุกคนสามารถเข้ามาศึกษา
ค้นคว้าพระไตรปิ ฎกได้ ซึ่งเป็นการเผยแผ่พระไตรปิ ฎกอีกลักษณะหนึ่ง
เสฐียรพงษ์ วรรณปก (2540 : 17-18) ได้กล่าวถึงวิธีการถ่ายทอดพระไตรปิ ฎกว่า ในพระสูตรหลาย
แห่งเช่น อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต บอกวิธีการศึกษาเล่าเรียนเพื่อให้การถ่ายทอดคำสอนเป็นไปอย่างมี
ประสิทธิภาพไว้ 5 ประการคือ
1. ต้องฟังมาก โดยหาโอกาสสดับตรับฟังเรื่องราวต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ให้มาก
2. จำได้ โดยเมื่อฟังแล้วพยายามจำให้ได้ จับหลักหรือสาระได้ ทรงจำไว้แม่นยำ
3. ท่องบ่นสาธยายจนคล่องปาก
4. เพ่งพินิจพิจารณาความหมายด้วยใจจนนึกครั้งใดก็ปรากฏเนื้อหาความสว่างชัด
5. ขบให้แตก คือทำความเข้าใจลึกซึ้ง มองเห็นประจักษ์ด้วยปัญญา ทั้งแง่ความหมายและเหตุผล
วิธีการทั้ง 5 นี้ เอื้ออำนวยให้ระบบการถ่ายทอดหลักคำสอนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและสืบทอด
ต่อ ๆ กันมาเป็นเวลานานหลังจากพุทธปรินิพพาน เนื่องจากคำสอนของพระพุทธองค์มีมากมาย เกินความ
สามารถของปัจเจกบุคคลคนเดียวจะจำได้หมด จึงได้มีการแบ่งหน้าที่กันในหมู่สงฆ์ ให้บางรูปที่เชี่ยวชาญ
ทางพระวินัยรับผิดชอบท่องจำพระวินัย บางรูปท่องพระสูตร เป็นต้น

You might also like