You are on page 1of 58

ผลสัมฤทธิ์ของการปฏิบัติงานสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นอำเภอ :

กรณีศึกษา สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น อำเภอสังขะ

ณฐกร หงษ์แก้ว

งานวิจัยฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา
หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณทิต คณะสหวิทยาการ
มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย
2565
บทที่ 1
บทนำ
1.1 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นอำเภอ เป็นหน่วยงานที่ดำเนินงานที่มีภารกิจหลักในการส่งเสริม
สนับสนุนการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ มีหน้าที่ส่งเสริม สนับสนุน
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้คำปรึกษาแนะนำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น
การบริหารงานบุคคล การเงิน การคลัง และการบริหารจัดการต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่น
และสนับสนุนการดำเนินงานของนายอำเภอ (กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น, 2564) ซึ่งองค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่น ทำหน้าที่ในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ แผนงาน และนโยบายของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
ส่งผลให้สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นอำเภอ เป็นกลไกที่สำคัญที่จะทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
สามารถจะปฏิบัติงานได้ตามยุทธศาสตร์ แผนงาน และนโยบายรัฐบาล
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นหน่วยงานที่มีความสำคัญต่อการปฏิบัติงาน ขับเคลื่อนนโยบายใน
ระดับพื้นที่เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และท้องถิ่นมีการพัฒนา
เป็นไปตามยุทธศาสตร์ แผนงาน และนโยบายของรัฐ หากไม่มีสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นอำเภอ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก็ไม่สามารถที่จะปฏิบัติงานได้ตรงตามยุทธศาสตร์ แผนงาน และนโยบายของ
ส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และนโยบายของรัฐบาล ก็จะส่งผลให้ท้องถิ่นไม่ได้รับการพัฒนาเท่าที่ควร และไม่
ตรงตามความต้องการของประชาชนในพื้นที่ เนื่องจากสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นอำเภอ เป็น
หน่วยงงานที่คอยส่งสเริม สนับสนุน ให้คำปรึกษา ในการปฏิบัติงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่ง
สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นอำเภอ ก็ไม่สามารถทราบได้ว่า ทางองค์กรปกครองส่ว นท้องถิ่นมีความ
เข้าใจในการปฏิบัติงานมากน้อยเพียงใดจากการปฏิบัติหน้าที่ของสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นอำเภอ
สามารถปฏิบัติงานได้ตรงตามเป้าหมายหรือไม่ หรือปฏิบัติงานได้ถูกต้องตามระเบียบ ข้อบังคับมากน้อย
เพียงใด และปัญหาที่พบในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทย คื อ การจัดบริการสาธารณะขององค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นไทยยังใช้รูปแบบบริการสาธารณะที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดาเนินการเองในทุกขั้นตอน
ขณะเดียวกันประเภทบริการสาธารณะที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดาเนินการยังขาดความคิดสร้างสรรค์ใน
การสร้างและจัดหาบริการสาธารณะใหม่ ๆ ที่ตอบสนองความต้องการของประชาชนทั้งที่มีสาเหตุจากข้อจากัด
ทางกฎหมายและจากศักยภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รูปแบบและประเภทการจัดบริการสาธารณะ
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเอง (ภิศักดิ์ กัลยาณมิตร, เอก ศรีเชลยีง, ดรุณศักดิ์ ตติยะลาภะ และไททัศน์
มาลา, 2561) จึงทำให้สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น มีหน้าที่ส่งเสริม สนับสนุนองค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่น ให้คำปรึกษาแนะนำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น การบริหารงานบุคคล
การเงิน การคลัง และการบริหารจัดการต่าง ๆ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และการปฏิบัติ งานของ
สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ก็ยังพบปัญหาต่าง ๆ ที่ยังส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงาน
ดังนั้นผู้วิจัย จึงมีความสนใจที่จะศึกษา ผลสัมฤทธิ์ของการปฏิบัติงานสำนักงานส่งเสริมการปกครอง
ท้องถิ่นอำเภอ เนื่องจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นหน่วยงานที่มีความใกล้ชิดกับประชาชน และเป็น
หน่วยงานที่ขับเคลื่อนนโยบายในระดับพื้นที่เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี
ขึ้น เพื่อที่ต้องการทราบว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความเข้าใจ ปฏิบัติงานได้ตรงตามเป้าหมาย ของ
สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นอำเภอมากน้อยเพี ยงใด และปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงานของ
สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นอำเภอ ต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

1.2 วัตถุประสงค์
1.2.1 เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานของสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นอำเภอ ต่อการ
ปฏิบัติงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

1.2.2 เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงานของสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
อำเภอ ต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

1.3 ขอบเขตการศึกษา
1.3.1 ขอบเขตด้านเนื้อหา
การศึกษาวิจัย เรื่อง ผลสัมฤทธิ์ของการปฏิบัติงานสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นอำเภอ
กรณีศึกษาสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น อำเภอสังขะ โดยมุ่งเน้นศึกษาวิเคราะห์เชิง อำนาจ หน้าที่
ภารกิจที่ได้รับมอบหมาย ความรู้ความเข้าใจ และเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย

1.3.2 ขอบเขตด้านกลุม่ เป้าหมาย


ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และท้องถิ่นอำเภอ
1.3.3. ขอบเขตด้านพื้นที่
การวิจัยครั้งนี้กำหนดพื้นที่ไว้ที่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่อยู่ใน อำเภอสังขะ จังหวัด
สุรินทร์
1.3.4 ขอบเขตด้านเวลา
การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้กำหนดระยะเวลาในการดำเนินการ คือ ตั้งแต่ เดือนธันวาคม 2565 -
มีนาคม 2566

1.4 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1.4.1 ได้ทราบถึงผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานของสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นอำเภอ
ต่อการปฏิบัติงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

1.4.2 ได้ทราบถึงปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงานของสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
อำเภอ ต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

1.5 นิยามศัพท์เฉพาะ
1.5.1 ผลสัมฤทธิ์ หมายถึง งาน หรือกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดจากการทำงานของเจ้าหน้าที่ภ าครัฐ
สามารถปฏิบัติได้ตรงตามเป้าหมาย และวัตถุประสงค์ของงานที่ได้รับมอบหมาย
1.5.2 สำนั ก งานส่ ง เสริ ม การปกครองท้ อ งถิ ่ น หมายถึ ง ส่ ว นราชการที ่ จ ั ด ตั ้ ง ขึ ้ น ในสั ง กั ด
กระทรวงมหาดไทยที่มีบทบาทภารกิจ ในการส่งเสริม สนับสนุน พัฒนา แนะนำ ให้คำปรึกษา องค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่น ในด้ านการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น การบริหารงานบุคคล การเงินการคลัง และการบริหาร
จัดการ เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีศักยภาพในการให้บริการสาธารณะ
1.5.3 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หมายถึง องค์กรที่รัฐมอบอำนาจ หน้าที่ในการจัดทำบริ การ
สาธารณะ แต่ก็จะต้องอยู่ภายใต้ การกำกับดูแลของส่วนราชการส่วนกลาง ประกอบไปด้วย องค์การบริหาร
ส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา มีหน้าที่
บทที่ 2
แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
การศึกษาวิจ ัย เรื่อง ผลสัมฤทธิ์ของการปฏิบัติงานสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น อำเภอ
กรณีศึกษา สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น อำเภอสังขะ ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาค้นคว้า เอกสาร แนวคิด
ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ดังต่อไปนี้
2.1 แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการปกครองส่วนท้องถิ่น
2.2 กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
2.3 แนวคิดเกี่ยวกับการบริหารงานแบบมุงผลสัมฤทธิ์
2.4 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
2.5 กรอบแนวคิด

2.1 แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการปกครองส่วนท้องถิ่น
จอห์น เจ. คลาร์ก (John J. Clark, 1957 อ้างถึงใน สำนักงานเลขาธิการสภา ผู้แทนราษฎร, 2555:
9) ได้ให้ความหมายของการปกครองท้องถิ่นว่า การปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นการปกครองที่มีหน้าที่ รับผิดชอบ
เกี่ยวข้องกับการให้บริการประชาชนในเขตพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งโดยเฉพาะ และเป็นหน่วยการปกครอง ที่มีการ
จัดตั้งและอยู่ในการกำกับดูแลของรัฐบาล
อุทัย หิรัญโต (2523 : 2) ได้ให้ความหมายของการปกครองท้องถิ่นว่า การปกครองท้องถิ่น เป็นการ
ปกครองที่ รัฐบาลได้กระจายอำนาจ หรือมอบอำนาจให้ประชาชนในท้องถิ่นใดท้องถิ่นหนึ่งจัดการปกครองและ
ดำเนินกิจการบางอย่างโดยดำเนินการกันเองเพื่อบำบัดความต้องการของตนเอง การบริหารงานของท้องถิ่นมี
การจัดเป็นองค์การมีเจ้าหน้าที่ซึ่ง ประชาชนเลือกตั้งขึ้นมาทั้งหมดหรือบางส่วนมีความเป็นอิสระในการ
บริหารงานแต่รัฐบาลต้องควบคุมด้วย วิธีการต่าง ๆ ตามความเหมาะสมจะปราศจากการควบคุมของรัฐหาได้
ไม่ เพราะการปกครองท้องถิ่นเป็นสิ่ง ที่รัฐทำให้เกิดขึ้น
เดเนียล วิท (Daniel Wit, 1967 อ้างถึงใน สำนักงานเลขาธิการสภา ผู้แทนราษฎร, 2555 : 9) ได้ให้
ความหมายของการปกครองท้องถิ่นว่า เป็นการปกครองที่รัฐบาลกลางได้ให้อำนาจ หรือกระจายอำนาจไปให้
หน่วยการปกครองท้องถิ่น ได้เปิดโอกาสให้ประชาชนในท้องถิ่น ได้มีโอกาสในการปกครองตนเองร่ว มกัน
ทั้งหมด หรือบางส่วนในการบริหารท้องถิ่น ตามหลักการที่ว่าถ้าอำนาจการปกครองมาจาก ประชาชนใน
ท้องถิ่นแล้ว รัฐบาลของท้องถิ่นก็ย่อมเป็นรัฐบาลของประชาชนโดยประชาชนและเพื่อประชาชน การบริหาร
การปกครองท้องถิ่นจึงจำเป็นต้องมีองค์กรของตนเองที่เกิดจากการกระจาย อำนาจของรัฐบาลกลาง โดยให้
องค์กรอันมิได้เป็นส่วนหนึ่งของรัฐบาล มีอำนาจในการตัดสินใจและ บริหารงานภายในท้องถิ่นในเขตอำนาจ
ของตน
2.1.1 ความหมายของการกระจายอำนาจ
การกระจายอำนาจสู่องค์กรปกครองท้องถิ่นที่เกิดจากรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช
2540 มีเจตนารมณ์ที่จะมุ่งเน้นและมุ่งหวังให้เกิดการมีส่วนร่วม ของประชาชนในการปกครองตนเองภายใต้
ระบอบประชาธิปไตย ทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับภูมิภาค และระดับประเทศ และยังได้ให้ความสำคัญกับการ
กระจายอำนาจในด้านการปกครองท้องถิ่น ในการพึ่งพาตนเองและพัฒนาเศรษฐกิจ ระบบสาธารณูปโภคและ
สาธารณูปการทั้งในเรื่องของโครงสร้างพื้นฐาน สารสนเทศในท้องถิ่นด้วยตนเอง
การกระจายอำนาจมีแนวความคิดทั้งในทางการเมืองและทางกฎหมาย มีพื้นฐานมาจากแนวความคิด
ของการปกครองตนเองของชุมชนท้องถิ่นภายในรัฐ ซึ่งได้รับอิทธิพลจากประเทศ อังกฤษ ซึ่งมีแนวคิดว่า
ท้องถิ่นมีการปกครองตนเองมาก่อนที่จะมีรัฐ เมื่อมีรัฐแล้วจึงเป็นการที่ชุมชน ท้องถิ่นมอบอ านาจในการ
ปกครองให้แก่รัฐ ส่วนในด้านของประเทศฝรั่งเศสมีแนวคิดว่า รัฐมีอำนาจและมอบอำนาจในการปกครองให้แก่
ท้องถิ่น ซึ่งทั้ง 2 แนวคิดดังกล่าวล้วนเป็นการมองในมิติด้านอำนาจรัฐทั้งสิ้น หลักการกระจายอำนาจ เป็นหลัก
ที่มาจากแนวคิดเรื่องอำนาจรัฐของประเทศฝรั่งเศสและเป็นคำที่มาจากภาษาฝรั่งเศส มี ความหมายว่า “การ
เอาอำนาจออกไปจากศูนย์กลาง (โภคิน พลกุล, 2528)
ประธาน คงฤทธิศึกษากร ได้อธิบายการกระจายอำนาจทางการปกครองออกเป็น 2 กรณี คือ กรณี
แรกการแบ่งอำนาจการปกครอง (De Concentration) หมายถึงการมอบอำนาจหน้าที่ของรัฐ บาลไปให้
ราชการส่วนภูมิภาคให้มีอำนาจหน้าที่ตามที่รัฐบาลมอบหมายภายในพื้นที่ที่ก ำหนด มีอำนาจในการใช้ดุลพินิจ
ตัดสินใจและริเริ่มดำเนินการได้ภายในกรอบนโยบายที่รัฐบาลกำหนด กรณีที่ 2 การมอบอำนาจให้ท้องถิ่น
ปกครองตนเอง (Devolution) หมายถึง การมอบอำนาจให้ประชาชนในท้องถิ่นปกครองตนเองอย่างแท้จริง
ซึ่งเป็นการมอบอำนาจทั้งในทางการเมืองและในทางการบริหารโดยให้ท้องถิ่นมีอ ำนาจในการกำหนดนโยบาย
และควบคุมการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามนโยบายของท้องถิ่นตนเองได้ (ประธาน คงฤทธิศึกษากร, 2534)
โกวิทย์พวงงาม นิยามว่าการกระจายอำนาจการปกครอง คือ การที่มีองค์กรซึ่งมีอาณาเขตมีความเป็น
อิสระในการปกครองและการบริหารตนเองมีประชาชน มีอำนาจหน้าที่ มีรายได้ตามกฎหมาย รวมทั้งมีอำนาจ
หน้าที่ให้บริการด้านต่าง ๆ แก่ประชาชน ซึ่งประชาชนในพื้นที่มีส่วนร่วมในการบริหารและปกครองตนเอง
สามารถร่วมตัดสินใจแก้ไขปัญหาชุมชน ซึ่งอาจกระทำผ่านตัวแทนของประชาชน (โกวิทย์ พวงงาม, 2554)
2.2 กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
2.2.1 กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เป็นส่วนราชการที่จัดตั้งขึ้นในสังกัดกระทรวงมหาดไทย มีอำนาจ
หน้าที่ในการส่งเสริมสนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยให้คำปรึกษา แนะนำองค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่นในด้านการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น การบริหารงานบุคคล การเงินการคลัง และการบริหารจัดการ ให้มี
ศักยภาพในการให้บริการสาธารณะ ตามอำนาจหน้าที่และโครงสร้างส่วนราชการ ของกรมส่งเสริมการปกครอง
ท้องถิ่น เป็น ไปตามกฎกระทรวงแบ่ งส่ว นราชการกรมส่ง เสริ มการปกครองท้ องถิ ่น กระทรวงมหาดไทย
พ.ศ. 2545
อำนาจหน้าที่ของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น มีดังนี้ (สํานักราชกิจจานุเบกษา, 2551)
1. ดำเนินการพัฒนาระบบ รูปแบบ และโครงสร้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
2. ส่งเสริมและสนับสนุนในการจัดทำ ประสานและบูรณาการแผนพัฒนาท้องถิ่น
และวางระบบในการติดตามและประเมิน ผลการดำเนินงานตามแผนพัฒนาท้องถิ่น
3. ดำเนินการจัดทำ แก้ไข ปรับปรุงกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับองค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งให้คำปรึกษา แนะนำ และกำกับดูแลการปฏิบัติงานตามอำนาจ หน้าที่ขององค์การ
ปกครองส่วนท้องถิ่น
4. กำหนดแนวทางและจัดทำมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งนี้ ตามกฎหมายว่าด้วยการบริการงานบุคคลส่วนท้องถิ่น
5. ส่ ง เสริ ม สนั บ สนุ น และประสานการดำเนิ น งานด้ า นการเงิ น การคลั ง
การงบประมาณ การพัสดุการจัดเก็บรายได้ และการประกอบกิจการพาณิชย์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
รวมทั้งวางระบบตรวจสอบระบบการเงิน การบัญชี และ การพัสดุขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น
6. ส่งเสริมสนับสนุนและประสานการจัดการบริการสาธารณะและการศึกษาใน
อำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
7. กำหนดแนวทาง วางระบบ และสร้างตัวชี้วัดเพื่อเป็นมาตรฐานการดำเนินงาน
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตลอดจนกำกับดูแลให้เป็นไปตามมาตรฐาน
8. ส่ ง เสริ ม ภาคประชาชนให้ ม ี ส ่ ว นร่ ว มในการบริ ห ารงานและตรวจสอบการ
ดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
9. พัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อการบริการขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น
10. พัฒนาบุคลากรขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่นและของกรม
11. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรมหรือตามที่
กระทรวงหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
2.2.2 โครงสร้างกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น

2.2.3 สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัด
สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดสุรินทร์ เป็นหน่วยงานในราชการบริหารส่วนภูมิภาคของ
กรมส่ ง เสริ ม การปกครองท้ อ งถิ ่ น ตามกฎกระทรวงแบ่ ง ส่ ว นราชการกรมส่ ง เสริ ม การปกครองท้ อ งถิ่น
กระทรวงมหาดไทย พ.ศ.2551 โดยมี ท้องถิ่นจังหวัด ปฏิบัติหน้าที่เป็นหัวหน้าหน่วยงาน เป็นหัวหน้าส่วน
ราชการประจำจังหวัด
อำนาจหน้าที่สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัด (กรมส่งเสริมการปกครอง
ท้องถิ่น, 2564)
หน่วยงานภายในสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดสุรินทร์ แบ่งออกเป็น
1 ฝ่าย 5 กลุ่มงาน ดังนี้
1. ฝ่ายบริหารทั่วไป
1.) รับผิดชอบเกี่ยวกับงานบริหารทั่วไปของสำนักงาน ประกอบด้วยงาน
ธุรการ งานสารบรรณ งานการประชุม การประชาสัมพันธ์ การจัดเวรดูแลสถานที่ทำงาน งานเลขานุการ
หัวหน้าสำนักงานท้องถิ่นจังหวัด ตลอดจนงานอื่น ๆ ที่ไม่อยู่ในความรับผิดชอบของกลุ่มงานใด
2.) การบริห ารงานบุคคลของข้าราชการ และลูกจ้างสำนักงานท้องถิ่น
จังหวัด การขออนุญาตลาในกรณี ต่าง ๆ การเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิ สริยาภรณ์ การขอรับบำเหน็จ
บำนาญ และการขออนุญาตเดินทางไปราชการของข้าราชการ ยกเว้นการดำเนินการทางวินัยของข้าราชการ
และลูกจ้างสำนักงานท้องถิ่นจังหวัด
1.1 กลุ่มงานมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น
มีหน้าที่ในการปฏิบัติงาน โดยรับผิดชอบเกี่ยวกับงานด้านการบริหารงาน
บุคคลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในฐานะเลขานุการ/ผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการข้าราชการหรือ
พนักงานส่วนท้องถิ่นจังหวัด ดังนี้
1.) การดำเนินการตามพระราชบัญญัติระเบียบบริห ารงานบุค คลส่ ว น
ท้องถิ่น พ.ศ. 2542 และระเบียบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น เป็นต้น
2.) การพิจารณาตรวจสอบการเลื่อนขั้นเงินเดือน การแต่งตั้ง โยกย้าย
พนักงานและลูกจ้างในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
3.) การจัดทำทะเบียนประวัติสมาชิกสภาท้องถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่น พนักงาน
ส่วนท้องถิ่น และลูกจ้างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
4.) การประสานกับสำนักงานคณะกรรมการมาตรฐานการบริห ารงาน
บุคคลส่วนท้องถิ่น (ก.ถ.) และคณะกรรมการกลางข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น (ก.กลาง) ร วมทั้ง
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่าง ๆ ทั้งในและนอกเขตจังหวัด
5.) การคัดเลือกกรรมการผู้แทนข้าราชการ ผู้แทนองค์กรปกครองส่ว น
ท้องถิ่น และกรรมการผู้ ทรงคุ ณวุฒ ิ ในและคณะกรรมการข้ าราชการหรื อ พนั กงานส่ว นท้ องถิ ่นจั ง หวั ด
(ก.จังหวัด)
6.) การประสานในการจัดประชุมคณะกรรมการข้าราชการหรือพนักงาน
ส่วนท้องถิ่นจังหวัด (ก.จังหวัด)
7.) การแจ้งมติที่ประชุมคณะกรรมการฯให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ถือปฏิบัติ
8.) การประสานงานกับคณะกรรมการข้ าราชการองค์ก ารบริห ารส่ ว น
จังหวัด (ก.จ.จ.)
9.) การขอพระราชทานเครื ่อ งราชอิ ส ริย าภรณ์ ใ ห้ แ ก่ข ้ า ราชการ หรื อ
พนักงานส่วนท้องถิ่น หรือบุคคลกรทางการศึกษาท้องถิ่น และสมาชิกสภา หรือผู้บริหารท้องถิ่น
10.) ให้คำปรึกษาแนะนำและตอบข้อหารือทางการบริ หารงานบุคคลส่วน
ท้องถิ่นเกี่ยวกับการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ต่าง ๆ แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
11.) ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
1.2 กลุ่มงานส่งเสริมและพัฒนาท้องถิ่น
1.2.1 งานบริหารบุคคล
1.) การบริหารงานบุคคลของพนักงานและลูกจ้างสถานธนานุบาล ยกเว้น
การดำเนินการทางวินัยของพนักงานและลูกจ้างสถานธนานุบาล
2.) การออกหนังสือรับรองบุคคลสมาชิกสภาท้องถิ่น
3.) การออกบัตรประจำตัวของสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น
4.) การลาของผู้บริหารท้องถิ่น
5.) การอบรมสมาชิกสภาท้องถิ่น
6.) การแต่งกายของพนักงาน/ข้าราชส่วนท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่น
7.) ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
1.2.2 งานประสานแผนพัฒนาท้องถิ่นและการถ่ายโอนกิจกรรมบริการ
สาธารณะ
1.) การกำกั บดู แลให้ องค์ กรปกครองส่ ว นท้ อ งถิ่ นปฏิบ ั ติ ตามระเบี ย บ
กระทรวงมหาดไทย และหนังสือสั่งการเกี่ยวกับการวางแผนพัฒนาท้องถิ่น
2.) การพิจารณาร่างแผนพัฒ นาระยะปานกลาง (3 ปี) และแผนพัฒ นา
ประจำปีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งการตรวจสอบและกลั่นกรองแผนพัฒนาดังกล่าวเพื่อเสนอผู้ว่า
ราชการ จังหวัด
3.) การสนับสนุนด้านวิชาการข้อมูลและให้คำปรึกษาแนะนำในด้านการ
วางแผนพัฒนาการ ประสานแผนพัฒนาและการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่น
4.) การรวบรวมข้อมูลวิเคราะห์ พัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศท้องถิ่น เช่น
ข้อมูลบุคคล (สมาชิกสภา/ผู้บริหาร) ข้อมูลด้านรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งการติดตาม
ความก้าวหน้าโครงการอินเตอร์เน็ตตำบล
5.) ติ ด ตามประเมิ น ผลการดำเนิ น งานตามนโยบายของรั ฐ บาล มติ
คณะรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย และกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
6.) การดำเนินการตามโครงการถ่ายโอนกิจกรรมบริการสาธารณะให้แก่
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
7.) การส่งเสริม สนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีแนวทางที่ได้
มาตรฐานในการจัดทำหลัก เกณฑ์การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ตามมาตรา 52 แห่งพระราชกฤษฎีการว่า
ด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546
8.) ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

1.2.3 งานงบประมาณองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและการพัฒนารายได้
1.) การประสานงานโครงการเพื่อขอรับเงินอุดหนุนเฉพาะกิจด้านโครงสร้าง
พื้นฐาน หรือเงินอุดหนุนเฉพาะกิจอื่น ๆ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และการขอใช้เงินเหลือจ่าย รวมถึง
การสั่งการก่อนได้รับอนุมัติเงินประจำงวด
2.) การดำเนินการด้านเงินกู้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
3.) การพั ฒ นารายได้ ท ้ อ งถิ ่ น เช่ น ภาษี โ รงเรื อ นและที ่ ด ิ น ภาษี ป ้ า ย
การจัดทำแผนที่ภาษี และทะเบียนทรัพย์สิน
4.) การจัดหาประโยชน์ในทรัพย์สินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
5.) ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
1.3 กลุ่มงานกฎหมายระเบียบและเรื่องร้องทุกข์
1.) การให้คำปรึกษา แนะนำ ตอบข้อหารือด้านระเบียบกฎหมายท้องถิ่น
การดำเนินการขออนุมัติยกเว้นการปฏิบัติตามระเบียบ
2.) การขอจำหน่ายหนี้สูญขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ยกเว้นการ
จำหน่ายหนี้สูญประเภทภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีป้าย ภาษีโรงเรือนและที่ดิน และค่าน้ำประปา
3.) การดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างขององค์กรปกครองส่ วนท้องถิ่น และการ
ดำเนินการอื่นใดที่เกี่ยวข้องที่เป็นอำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัด ตลอดจนการพิจารณาผู้ละทิ้งงานจัดซื้อจัด
จ้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
4.) การตรวจสอบร่างข้อบัญญัติ เทศบัญญัติ ข้อบังคับเกี่ยวกับกฎหมายที่
เกี่ยวข้อง เช่น พระราชบัญญัติควบคุมอาคารและสิ่งก่อสร้าง พระราชบัญญัติการสาธารณสุข เป็นต้น
5.) การจัดตั้ง ยุบ ยุบรวมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การเปลี่ยนแปลง
เขตการปกครองส่วนท้องถิ่น การเปลี่ยนชื่อ การเปลี่ยนดวงตราองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
6.) การประชุมสภาท้องถิ่นรวมทั้งข้อหารือระเบียบกฎหมาย ข้อบังคับ
การประชุมสภาท้องถิ่นหรือการยุบสภาท้องถิ่น
7.) การทำกิจการนอกเขต หรือทำกิจกรรมร่วมกันระหว่างองค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่น
8.) การเลือกตั้งสมาชิก หรือผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
9.) งานคดีแพ่ง คดีอาญา กรณีข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของกรม
ส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ต้องหาว่ากระทำผิดคดีอาญาหรือคดีแพ่ง
10.) งานคดีปกครอง กรณีเกี่ยวกับข้อพิพาทอันเนื่องมาจากการกระทำหรือ
ละเว้น การกระทำโดยไม่ชอบ ด้ว ยกฎหมายของข้าราชการกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ข้าราชการ
พนักงาน หรือ ลูกจ้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
11.) งานคดีละเมิด กรณีข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของกรมส่ง เสริม
การปกครองท้องถิ่น และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กระทำให้เกิดความเสียหาย หรือกระทำละเมิดต่ อ
บุคคลภายนอก หรือหน่วยงานของรัฐ ตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539
และระเบีย บสำนักนายกรัฐ มนตรีว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิด ชอบทางละเมิ ด ของ
เจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 และหนังสือสั่งการที่เกี่ยวข้อง
12.) งานติดตามผลทางแพ่งและทางอาญาของพนักงาน ลูกจ้างองค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นในกรณีที่เกิดการทุจริตหรือมีกรณีผิดปกติ ทางการเงิน และรายงานผลให้กรมส่งเสริมการ
ปกครองท้องถิ่นทราบ
13.) งานในส่วนที่เกี่ยวข้องกับนิติกรรมสัญญา
14.) การปฏิบัติตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสาร พ.ศ. 2540
15.) การร้องทุกข์กล่าวโทษ ร้องเรียนข้าราชการสังกัดกรมส่งเสริมการ
ปกครองท้องถิ่น ข้าราชการ พนักงานท้องถิ่น และลูกจ้างขององค์ กรปกครองส่วนท้องถิ่นตลอดจนการ
ดำเนินการทางวินัย
16.) การร้องเรียนกล่าวโทษผู้บริห ารท้องถิ่น สมาชิกสภาท้องถิ่น การ
แต่งตั้ง หรือถอดถอนผู้บริหาร และสมาชิกสภาท้องถิ่น
17.) การประสานกับคณะกรรมการกลางข้าราชการหรือพนักงานส่วน
ท้องถิ่น (ก.กลาง) และคณะกรรมการข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นจังหวัด (ก.จังหวัด) เกี่ยวกับการ
ดำเนินการทางวินัย
18.) การดำเนินการทางวินัย แพ่ง อาญาของพนักงานและลูกจ้างสถาน
ธนานุบาล
19.) ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
1.4. กลุ่มงานการเงินบัญชี และการตรวจสอบ
1.4.1 งานการเงิน
1.) การดำเนินการด้านการเบิกจ่ายเงินต่าง ๆ ของข้าราชการ และลูกจ้าง
ในสังกัดสำนักงานท้องถิ่นจังหวัด เช่น เงินเดือน เงินสวัสดิการค่าเช่าบ้าน ค่ารักษาพยาบาล ค่าศึกษาเล่าเรียน
บุตรและค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ และของข้าราชการ หรือพนักงานตามโครงการถ่ายโอนบุคลากร
2.) เบิกจ่ายเงินอุดหนุนทั่วไป เงินอุดหนุนเฉพาะกิจขององค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่น
3.) การจัดสรรภาษีและรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
4.) การพิ จ ารณาตรวจสอบเอกสารการขอรั บ เงิ น บำเหน็ จ บำนาญ
การขอรับเงินบำเหน็จตกทอดของข้าราชการ หรือพนักงาน หรือลูกจ้างประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
5.) งานการเงินที่เกี่ยวกับสหกรณ์ออมทรัพย์ข้าราชการ เงิน ฌปค. หรือเงิน
ภาษี
6.) การขอกั น เงิ น ไว้ เ บิ ก เหลื่ อ มปี การขอขยายเวลาการเบิ ก จ่ า ยเงิ น
การเบิกตัดปี และขยายเวลาเบิกตัดปี
7.) งานในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเงินของสถานธนานุบาล เช่น การเบิกเงิน
เกินบัญชี การขอจ่ายขาดเงินสะสม และการตรวจติดตามงบการเงินบัญชี เป็นต้น
8.) งานพัสดุ ครุภัณฑ์
9.) งานรับรองลายมือชื่อผู้เบิกเงินจากคลังจังหวัดขององค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่น
10.) การรายงานทางด้านการเงินตามหนังสือสั่งการ ระเบียบ และกฎหมาย
กำหนด รวมทั้งการรายงานเงินอุดหนุนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
11.) ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
1.4.2 งานบัญชี
1.) การจัดทำบัญชีเงินสด บัญชีแยกประเภท บัญชีเงินคงเหลือประจำวัน
ตรวจสอบใบเสร็จรับเงินและหลักฐานการจ่ายเงิน
2.) การจัดสรร ควบคุมงบประมาณ การรายงานและงบเดือน
3.) การของบประมาณค่าใช้จ่า ยต่ าง ๆ จากกรมส่งเสริมการปกครอง
ท้องถิ่น
4.) ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
1.4.3 งานตรวจสอบ
1.) การวางระบบการควบคุมภายในของสำนักงานท้องถิ่นจังหวัด
2.) การให้คำปรึกษา แนะนำ กำหนดแนวทางและแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับ
การเงิน การบัญชี ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ถูกต้องเป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับและ
หลักเกณฑ์ที่กำหนด
3.) ตรวจสอบการเงิน การบัญชี การพัสดุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ให้ถูกต้องเป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และหลักเกณฑ์ที่กำหนด ตลอดจนติดตามผลการแก้ไข
ข้อบกพร่องตามรายงานการตรวจสอบที่แจ้งองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นทราบ
4.) รายงานผลการตรวจสอบการเงิ น การบั ญ ชี การพั ส ดุ ข ององค์ ก ร
ปกครองส่วนท้องถิ่นให้ผู้ว่าราชการจังหวัดและกรมส่งเสริม การปกครองท้องถิ่นทราบ
5.) ติ ด ตามผลการดำเนิ น งานขององค์ ก รปกครองส่ ว นท้ อ งถิ ่ น ตาม
ข้อเสนอแนะของสำนักงาน การตรวจเงินแผ่นดินในการตรวจสอบงบการเงิน หรือตรวจสอบบัญชีประจำปี
และสรุปผลการดำเนินการ รายงานให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินทราบ พร้อมทั้งรายงานกรมส่งเสริมการ
ปกครองท้องถิ่น
6.) ติดตามผลการสอบทานการปฏิบัติงานด้านการคลังของผู้บริหารองค์กร
ปกครองส่วน ท้องถิ่น พร้อมทั้งรายงานให้กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นทราบ
7.) ติดตามผลการวางระบบการควบคุมภายในขององค์กรปกครองส่ว น
ท้ อ งถิ ่ น ตามระเบี ย บคณะ กรรมการตรวจเงิ น แผ่ นดิ น ว่ า ด้ว ยการกำหนดมาตรฐานการควบคุ ม ภายใน
พ.ศ. 2544 และรายงานให้กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นทราบ
8.) การจำหน่ายหนี้สูญกรณีที่ไม่สามารถเร่งรัดจัดเก็บได้ ได้แก่ ภาษีบำรุง
ท้องที่ ภาษีป้าย ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ค่าน้ำประปา เป็นต้น
9.) การตรวจสอบร่างข้อบัญญัติ/เทศบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี
ข้อบัญญัติ/เทศบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อ ง
รวมถึงการพิจารณากรณีสภามีมติไม่รับหลักการแห่งร่างงบประมาณนั้นด้วย
10.) ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
1.5. กลุ่มงานส่งเสริมและประสานงานท้องถิ่นอำเภอ
มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการอำนวยการประสาน และการสนับสนุนการ
ปฏิบัติงานตามขอบเขตภารกิจของท้องถิ่นอำเภอ การติดตามการปฏิบัติงานตามขอบเขตภารกิจของท้องถิ่น
อำเภอ การระสานงานกับกลุ่มงานภายในสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัด เพื่อแก้ไขหรือหารือ
แนวทางในการพัฒนาการปฏิบัติงานตามขอบเขตภารกิจของท้องถิ่นอำเภอ การให้คำปรึกษา และคำแนะนำ
เกี่ยวกับการปฏิบัติงานตามขอบเขตภารกิจของท้องถิ่นอำเภอ และการปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการ
ปฏิบัติงานตามที่ท้องถิ่นจังหวัดมอบหมาย
2.2.4 สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นอำเภอ
สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นอำเภอ เป็นหน่วยงานที่สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
จังหวัด ได้มีการจัดตั้งขึ้น เพื่อส่งบุคลากรในสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัด มาช่วยนายอำเภอใน
การส่งเสริม สนับสนุน พัฒนา แนะนำ ให้คำปรึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่ น ในด้านการจัดทำแผนพัฒนา
ท้องถิ่น การบริหารงานบุคคล การเงินการคลัง และการบริหารจัดการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
อำนาจหน้าที่สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นอำเภอ (สำนักงานส่งเสริมการปกครอง
ท้องถิ่นจังหวัดสุรินทร์, 2564)
1. การสนับสนุนนายอำเภอในการกำกับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
2. การบูรณาการแนวทางการพัฒนาเชิงพื้นที่และขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาลใน
ระดับอำเภอ
3. การส่งเสริมการสนับสนุนการบริหารงานบุคคลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
4. การส่งเสริมการสนับสนุนการบริหารงานการเงินและการคลังท้องถิ่น
5. การจัดการฐานข้อมูลเกี่ยวกับการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
6. การส่ ง เสริ ม การบริ ห ารกิ จ การบ้ า นเมื อ งที ่ ด ี การอำนวยความสะดวกและ
ธรรมาภิบาล
7. การกำกับการดำเนินงานให้เป็นไปตามมาตรฐานการดำเนินงานและมาตรฐาน
บริการสาธารณะ
8. การส่งเสริม สนับสนุนการดำเนินงานของนายอำเภอในภารกิจอื่น ๆ

วัตถุประสงค์ของสำนักงานส่งเสริมการปกคองท้องถิ่น
1. งานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นในระดับอำเภอ โดยให้ความช่วยเหลือ สนับสนุน
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอ ได้แก่ เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล ในพื้นที่รับผิดชอบให้
ดำเนินการ ตามอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย นโยบายของรัฐบาล และระเบียบหลักเกณฑ์ที่กำหนด
2. การอำนวยการแก่นายอำเภอ ในกรณีการปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายที่
เกี่ยวข้องกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอ
3. การประสานงานเกี่ยวกับการพัฒนาท้องถิ่ น แผนพัฒนาท้องถิ่น งบประมาณ
ระเบียบกฎหมายและการบริหารงานทั่วไป
4. การให้คำปรึกษา แนะนำ กำหนดแนวทางแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการเงิน การบัญชี
การพัสดุ รวมทั้งควบคุมตรวจสอบการเงินและบัญชี การพัสดุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้เป็นไปตาม
กฎหมายระเบียบข้อบังคับและหลักเกณฑ์ที่กำหนด
5. การประสานการอำนวยการกับส่วนราชการอื่นๆ ที่มีภารกิจ อำนาจหน้าที่
เกี่ยวกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอ
6. การดำเนิ น การเกี ่ ย วกั บ การเงิ น การบั ญ ชี การงบประมาณ การพั ส ดุ ข อง
สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นอำเภอ
เป้าหมายในการปฏิบัติงานของสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
1. มาตรฐานการบริการสาธารณะได้รับการถ่ายทอดสู่การปฏิบัติ
2. ประชาชนได้รับบริการสาธารณะ ครอบคลุมวิถีการดำรงชีวิต
3. ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี
4. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดบริการสาธารณะอย่างมีประสิทธิภาพและเข้มแข็ง
5. องค์กรมีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการและประชาชนมีความสุข
2.4 แนวคิดเกี่ยวกับการบริหารงานแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์
การบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ คือ วิธีการบริหารที่มุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ผลขององค์กรเป็น หลักการ
ปฏิบัติงานขององค์การที่มีผลสัมฤทธิ์เพียงใดพิจารณาได้จากการเปรียบเทียบผลผลิตและผลลัพธ์ ที่เกิดขึ้นจริง
ตามเป้าหมายที่กำหนดการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ และการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์เป็นการจัดการที่
คำนึงถึงการใช้ทรัพยากรอย่างประหยัด มีประสิทธิภาพ และได้ผลงานที่บรรลุเป้าหมาย และวัตถุประสงค์
(พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต), 2550)
ปัจจัยที่จะทำให้การบริหารงานแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ให้ประสบผลสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพ มีดังนี้
1. ด้านปัจจัยนำเข้า 4 ด้านประกอบไปด้วย 1) ด้านนโยบาย คือ มีระเบียบข้อบังคับการ
ดำเนินการที่ชัดเจนและเหมาะสมมีวัตถุประสงค์ 2) ด้านบุคลากร คือ การจัดหาบุคลากรในการปฏิบั ติงานที่
เหมาะสม พัฒนาและฝึกอบรมให้สามารถปฏิบัติงานแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ 3) ด้านงบประมาณ คือ การจัดสรรการ
วางแผนกำหนดงบประมาณ จัดงบประมาณให้ มีความเหมาะกับปริมาณงานของหน่วยงาน 4) ด้านวัส ดุ
อุปกรณ์ คือ การสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ในการปฏิบัติงานแสวงหาวัสดุอุปกร ณ์ ให้เพียงพอต่อความ
ต้องการของบุคลากร
2. ด้านกระบวนการ 4 ด้านประกอบด้วย 1) ด้านการวางแผนดำเนินงาน คือ กำหนดทิศ
ทางการดำเนินงานตามวิสัยทัศน์ พันธกิจ วัตถุประสงค์ เป้าหมายให้ชัดเจน กำหนดขั้นตอนการทำงาน วาง
แผนกสนปฏิบัติงาน 2) ด้านการบริหารจัดการ คือ การวางกำลังคนให้เพียงพอและเหมาะสมกับปริมาณงาน
ภายในองค์กร และมีระบบแบบแผนชัดเจน มีเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ 3) ด้านการมุ่ง
ผลสัมฤทธิ์ คือ ผู้บริหารมีการกำหนดวัตถุประสงค์ กำหนดยุทธศาสตร์และมีการเปรียบเทียบข้อมูลผลการ
ปฏิบัติงานมีการวางระบบจัดเก็บรวบรวมข้อมูลผลการปฏิบัติงานที่เป็นระบบ และครบวงจร 4) ด้านการ
ติดตามประเมินผล คือ การวัดผลประเมินผลของการปฏิบัติงานปัจจัยหลักแห่ง ความสำเร็จและตัวชี้วัด
สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์และกลยุทธ์ขององค์กร มีเครื่องมือ และการก าหนดเกณฑ์ในการ
ประเมิน ผลการด าเนิน งานให้ครอบคลุมวิส ัย ทั ศ น์ พันธกิจเป้าประสงค์ และ ภารกิจของเทศบาล การ
ประเมินผลมีความโปร่งใส ตรวจสอบ ชี้แจงได้
3. ด้านผลผลิต 1 ด้านประกอบด้วย 1) ประเมินผลการดำเนินงานหน่วยงาน คือ มีการตรวจสอบและ
ประเมิน ผลข้อ มูล จากการทบทวนและรายงานผลครอบคลุ มปัจ จัย แห่ งความสำเร็จ และตัว ชี้ว ั ดผลการ
ปฏิบัติงาน การวัดผลการ ปฏิบัติงานรวมถึงการใช้ข้อมูลผลการปฏิบัติงาน เพื่อการตัดสินใจในการทำงาน
ประจำวัน พนักงานมี ความรู้ความเข้าใจและตระหนักในความสำคัญของการวิเคราะห์ติดตามและประเมินผล
การปฏิบัติงาน
4. ด้านข้อมูลย้อนกลับ คือ การรับข้อมูลทั้งที่ดีหรือไม่ดีของผลผลิตที่องค์กร ผลิตออกไปแล้วและ
นำมาวิเคราะห์ถึงปัญหาของผลผลิตที่ได้ และนำมาแก้ไข เพื่อการพัฒนาต่อไปขององค์กร
5. ด้านสิ่งแวดล้อม คือ ภาวะที่เกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ประกอบด้วย ภาวะ เศรษฐกิจตกต่ำหรือ
สูงขึ้น เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก การปกครองมีการปรับเปลี่ยนรัฐบาล การเมืองมีการเลือกตั้ง
เปลี่ยนระบบการพัฒนาบ้านเมืองใหม่และสังคมการอยู่ร่วมกัน
2.4.1 การวัดผลการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์
การวัดผลการบริหารงานแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ ประกอบไปด้วยตัวบ่งชี้ที่สำคัญ ดังนี้ 1) ตัวบ่งชี้วัดปัจจัย
นำเข้า ได้แก่ จำนวนทรัพยากรโดยรวมที่ใช้ในการดำเนินกิจกรรมหรือบริการเพื่อก่อให้เกิดผลผลิตผลลัพธ์ 2)
ตัวบ่งชี้วัดผลผลิต เป็นตัวบ่งชี้ที่แสดงถึงปริมาณจำนวนสิ่งของที่ผลิตได้จากการดำเนินกิจกรรม 3) ตัวบ่งชี้วัด
ผลลัพธ์ หมายถึง ตัวชี้วัดที่แสดงถึงผลสัมฤทธิ์ของกิจกรรม 4) ตัวบ่งชี้วัดผลลัพธ์คุณภาพของการบริการ 5) ตัว
บ่งชี้วัดประสิทธิภาพ หมายถึง ตัวบ่งชี้วัดผลงานที่แสดงค่าใช้จ่ายต่อหน่วยของผลผลิต หรือระยะเวลาในการ
ให้บริการต่อรายการ (ทศพร ศิริสัมพันธ์, 2546)
ดังนั้นสรุปได้ว่า การบริหารงานแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์จะบรรลุตามเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ได้ผู้บริหาร
จะต้องมีความรู้ความเข้าใจในหลักการปฏิบัติงาน ระเบียบต่าง ๆ ในการปฏิบัติงาน มีการมอบหมายงานตรง
ตามความสามารถของบุคลากรในหน่วยงาน มีการจัดสรรงบต่าง ๆ อย่างทั่วถึง มีการสร้างแรงจูงใจเพื่ อให้
บุคลากรทำงานโดยมุ่งผลสัมฤทธิ์รวมถึงการมอบอำนาจในการ ตัดสินใจเพื่อแลกเปลี่ยนกับความรับผิดชอบต่อ
ผลการปฏิบัติงาน และหน่วยงานราชการจะต้องมีการจัดระบบข้อมูลการปฏิบัติงานที่สามารถแสดงถึงระดับ
การเปลี่ยนแปลงของผลลัพธ์สู่เป้าหมายขององค์การ

2.5 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
พลกฤต แสงอาวุธ (2563) ได้ทำการศึกษา ความร่ว มมือในการจัดบริการสาธารณะขององค์ ก ร
ปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี ผลการศึกษาจากแบบสัมภาษณ์ พบว่า ควรมีการ
ประชุมหารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นความรู้ประสบการณ์เพื่อรวมเครือข่ายประสานความร่วมมือในการจัดทำ
บริการสาธารณะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานีและจัดทำฐานข้อมูลเพื่อ
การบริหารของความร่วมมือในการจัดทำบริการสาธารณะ การจัดทำฐานข้อมูลที่จำเป็นในการจัดทำแผน
งบประมาณ การจัดทำแผนดำเนิ น การและโครงการ การประชาสั ม พันธ์ รวมทั้งมี การประเมิ นผลการ
ดำเนินการจัดทำการบริการสาธารณะอีกด้วย
เสรี วรพงษ์ (2558) ได้ ท ำการศึ ก ษา การพั ฒ นาแนวทางบริ ก ารสู ่ ค วามเป็ น เลิ ศ ของ
องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดนครปฐม พบว่า การที่ทำให้ไปสู่การบริการที่เป็นเลิศจะมีองค์ประกอบ
หลักอยู่สาม ประการ ได้แก่ 1) บุคลากร ซึ่งจะต้องมีการพัฒนาด้านจิตสำนึก ความรู้ ทัศนคติ ทักษะ การมี
ส่วนร่วม และความสามารถในการประเมินผลตนเองด้านการบริการอย่างมีประสิ ทธิภาพ 2) สภาพแวดล้อม
และ 3) การะบวนการทำงานหรือขั้นตอนการ ปฏิบัติงาน ซึ่งจะมีประเด็นแยกย่อยออกแต่ละประเด็น ประเด็น
สุดท้าย จะพบว่าอุ ปสรรคและข้อเสนอแนะนั้น จะเป็นไปในส่วนของการจัดการในด้านการบริหารภายใน
องค์กร ซึ่งจะได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่าง ๆ หรือการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ
และประชาชนต้องการให้ หน่วยงานการให้บริการประชาชนปฏิบัติงานอย่างมีใจบริการกับประชาชนทุกคน
ภิรมย์พร ไชยยนต์ (2557) ได้ทำการศึกษา การกระจายอำนาจการปกครองท้องถิ่น : ศึกษากรณีการ
ปกครองตนเองตาม เจตนารมณ์ของประชาชนในระดับจังหวัด พบว่า การปกครองท้องถิ่นไทยมีปัญหาด้าน
โครงสร้างที่ทับซ้อนกัน ปัญหาด้านอำนาจหน้าที่ของท้องถิ่นที่ยังไม่ชัดเจน ปัญหาด้านการกำกับดูแลที่ราชการ
ส่วนภูมิภาคกำกับดูแลท้องถิ่นจนขาดอิสระ ปัญหาด้านการคลัง งบประมาณที่ไม่เพียงพอและขาดการพัฒนา
ปัญหาด้านการบริหารงานบุคคลซึ่งขาดการพัฒนาและความก้าวหน้าทางสายอาชีพ และปัญหาด้านการมีส่วน
ร่วมของประชาชน ประชาชนไม่ได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการปกครองท้องถิ่นอย่างเพียงพอ
วีระศักดิ์ สมยานะ (2549) ประสิทธิภาพการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนจั งหวัดเชียงใหม่ ปี
2549 การศึ ก ษามี ว ั ต ถุ ป ระสงค์ เ พื ่ อ ประเมิ น การดำเนิน งานขององค์ ก ารบริ ห ารส่ ว น จั ง หวั ด เชี ย งใหม่
ปีงบประมาณ 2549 โดยใช้แบบจำลอง CIPP model ผลการศึกษาสรุปได้ว่า เมื่อประเมินบริบทขององค์กร
(context) ปัจจัยนำเข้า (input) กระบวนการดำเนินงาน (process) และผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงาน
(product) สามารถประเมินได้ว่าการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ ปี 2549 อยู่ในเกณฑ์
ดีมาก อีกทั้งยังได้ข้อเสนอแนะจากการประเมินว่า องค์กรควรจดัทำแผนการดำเนินงานให้ตรงกับวิสัยทัศน์ของ
องค์กรเพื่อจัดทำโครงการต่ าง ๆ ให้สอดคล้องกับแผนงานอันจะนำมาซึ่งประสิทธิภาพขององค์กรได้มากขึ้น
ถึงแม้องค์กรจะมีการกำหนดโครงสร้างการดำเนินงานที่เป็นมาตรฐาน แต่หากใช้บุคลากรให้เหมาะสมตาม
ตำแหน่งและหน้าที่แล้วก็จะสามารถเพิ่มศักยภาพขององค์กรได้มากขึ้น
2.6 กรอบแนวคิด

ผู้ให้ข้อมูล ผลสัมฤทธิ์ของการปฏิบัติงาน
- ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
- ท้องถิ่นอำเภอ อำเภอ กรณีศึกษา สำนักงานส่งเสริม
การปกครองท้องถิ่น อำเภอสังขะ
- ผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานของ
สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
อำเภอ ต่อการปฏิบัติงานขององค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่น
- ปัญหาของสำนักงานส่งเสริมการ
ปกครองท้องถิ่นอำเภอ
บทที่ 3
วิธีการดำเนินการวิจัย
การศึกษา ผลสัมฤทธิ์ของการปฏิบัติงานสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นอำเภอ กรณีศึกษา
สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น อำเภอสังขะ ผู้ศึกษาได้ดาเนินการศึกษาค้นคว้าตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
3.1 กลุ่มเป้าหมายและผู้ให้ข้อมูลสำคัญ
3.2 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
3.3 การเก็บรวบรวมขอ้มูล
3.4 การตรวจสอบข้อมูล
3.5 การวิเคราะห์ข้อมูล

3.1 กลุม่ เป้าหมายและผู้ให้ข้อมูลสำคัญ


กลุ่มเป้าหมายในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ท้องถิ่นอำเภอ และนักส่งเสริม
การปกครองท้องถิ่นปฏิบัติการ
ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่
1. ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 13 คน
2.บุคลากรสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นอำเภอสังขะ จำนวน 1 คน
รวมจำนวนผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ทั้งสิ้น จำนวน 14 คน

3.2 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
3.2.1 แบบสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview) เพื่อใช้ในการสัมภาษณ์ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ
(Key Informant) ซึ ่ ง มี ล ั ก ษณะเป็ น ข้ อ คำถามปลายเปิ ด (Open-ended Questions) แบบมี โ ครงสร้ า ง
(structure interview) เป็นคำถามที่ได้กำหนดไว้ล่วงหน้า โดยแบ่งออกเป็น 4 ตอน ดังนี้
ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้สัมภาษณ์
1.1 ประวัติส่วนตัว อายุ ระดับการศึกษา
1.2 ตำแหน่ง
1.3 หน่วยงาน
ตอนที่ 2 เป็นคำถามปลายเปิดผลสัมฤทธิ์ของการปฏิบัติงานสำนักงานส่งเสริมการปกครอง
ท้องถิ่นอำเภอ กรณีศึกษา สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น อำเภอสังขะ (สำหรับผู้บริหารองค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่น)
ประเด็นข้อคำถาม
ด้านที่ 1 พันธกิจของสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
ท่านมีความคิดเห็นกับพันธกิจของสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
และงานที่ได้รับมอบหมาย มีความสอดคล้องกันมากน้อยเพียงใด
ด้านที่ 2 แนวทางในการส่งเสริม สนับสนุน ของสำนักงานส่งเสริมการปกครอง
ส่วนท้องถิ่น
แนวทางในการส่งเสริม สนับสนุน การบริหารงานบุคคลขององค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่น ทางสำนักงานส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น มีการส่งเสริม สนับสนุน หน่วยงานท่านอย่างไร
บ้าง
ด้านที่ 3 ปัจจัยและปัญหาอุปสรรค
ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ให้ประสบผลสำเร็จ ได้แก่
อะไรบ้าง
ปัจจัยนำเข้า ได้แก่ นโยบาย จำนวนบุคลากร งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์
และตัวบ่งชี้วัดคุณภาพของการบริหาร สอดคล้องกับงานและสามารถที่จะทำให้งานบรรลุเป้าหมายได้หรือไม่
อย่างไร และมีผลต่อเป้าหมาย พันธกิจ ของหน่วยงานหรือไม่
ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ที่ทางท้องถิ่นได้มอบหมายใน
หน่วยงานท่านปฏิบัติ มีมากน้อยเพียงใด
ด้านที่ 4 การปฏิบัติงานของสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
ท่านมีความคิดเห็นต่อ สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นอำเภอสังขะ
ในการปฏิบัติงานเป็นอย่างไรบ้าง เช่น ความรวดเร็วในการปฏิบัติงาน การสนับสนุนการทำงานของหน่วยงาน
ของท่าน เป็นต้น
ตอนที่ 3 เป็นคำถามปลายเปิดเกี่ยวกับปัญหาของสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
อำเภอ (สำหรับบุคลากรสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นอำเภอ)
ประเด็นข้อคำถาม
ด้านที่ 1 พันธกิจและบทบาทของสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
ท่านมีความคิดเห็นกับ พันธกิจของสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
และงานที่ได้รับมอบหมายสอดคล้องกันมากน้อยเพียงใด
บทบาทอำหน้าหน้าที่ของสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นมีความ
เหมาะสมมากน้อยเพียงใด
ท่านมีความคิดเห็นอย่างไร กับพันธกิจของสำนักงานส่งเสริมการปกครอง
ท้องถิ่น สามารถทำได้จริงหรือไม่
ด้านที่ 2 ปัจจัยนำเข้าและอุปสรรคในการปฏิบัติงาน
อุปสรรคในการทำงานของสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น มีมาก
น้อยเพียงใด
ท่ า นมี ค วามคิ ด เห็น อย่ า งไร ต่ อ คุ ณ ภาพงานที ่ ไ ด้ ม อบหมายให้ อ งค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นได้ดำเนินการ เช่น โครงการถังขยะเปียกลดโลกร้อน เป็นต้น
ปัจจัยนำเข้า ได้แก่ นโยบาย จำนวนบุคลากร งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์
และตัวบ่งชี้วัดคุณภาพของการบริหาร สอดคล้องกับงานที่ได้รับมอบหมายและสามารถที่จะทำให้งานบรรลุ
เป้าหมายได้หรือไม่ อย่างไร และมีผลต่อเป้าหมาย พันธกิจ ของสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นหรือไม่
ตอนที่ 4 ข้อเสนอแนะ
3.3 การเก็บรวบรวมข้อมูล
3.3.1 แหล่งข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) ผู้วิจัยได้ศึกษาและรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและ
งานวิ จ ั ย ที ่เ กี่ ย วข้อ ง คั ด เลื อ กข้ อ มู ล ทำการแยกประเด็ น เก็ บ รวบรวม นำไปวิ เ คราะห์ ส รุป ข้อ มู ล ตาม
วัตถุประสงค์ บันทึกวิเคราะห์เนื้อหาตามวัตถุประสงค์
3.3.2 แหล่งข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-dept Interview)

3.4 การตรวจสอบข้อมูล
ก่อนทำการสัมภาษณ์ผู้วิจัยทำการส่งคำถามที่ใช้ในการสัมภาษณ์ให้อาจารย์ที่ปรึกษา ตรวจสอบ และ
ทำการแก้ไขตามคำแนะนำให้สมบูรณ์ก่อนการสัมภาษณ์จริง และเมื่อเก็บข้อมูล เรียบร้อยแล้วได้ทำการ
ตรวจสอบด้วยวิธีการสามเส้า (Triangulation) โดยใช้การตรวจสอบข้อมลูจากแหล่งที่มาต่าง ๆ กัน ได้แก่
จากการวิเคราะห์เนื้อหาจากการสัมภาษณ์เชิงลึก และจากข้อมูลเอกสารที่เกี่ยวข้องเพื่ออธิบายสภาพการณ์
หลาย ๆ ช่วงเวลาและมิติที่ต่างกัน

3.5 การวิเคราะห์ข้อมูล
เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์ทั้งหมด แล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูลตามวัตถุประสงค์ของ
การวิจัยที่วางไว้ โดยเครื่องมือที่ใช้มีการสร้างกรอบในการวิเคราะห์เนื้อหาจากทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
มาเพื่อใช้เป็นแนวทางในการสร้างประเด็นคำถามสำหรับการสัมภาษณ์
บทที่ 4
ผลการวิจัย
การศึกษาวิจัย เรื่อง ผลสัมฤทธิ์ของการปฏิบัติงานสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นอำเภอ
กรณีศึกษา สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น อำเภอสังขะ โดยงานวิจัยฉบับนี้ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิง
คุณภาพ (Qualitative Research Method) ผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ในกลุ่มตัวอย่างผู้
เป็นเป้าหมายการวิจัยเชิงคุณภาพ จากผู้ให้ข้อมูลจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์
จำนวน 13 คน และจากสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น จำนวน 1 คน
แบ่งการนำเสนอผลการวิจัยเป็น 4 ด้าน สำหรับ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้ดังนี้
ด้านที่ 1 พันธกิจของสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
ด้านที่ 2 แนวทางในการส่งเสริม สนับสนุนของสำนักงานส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น
ด้านที่ 3 ปัจจัยและปัญหาอุปสรรคที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงาน
ด้านที่ 4 การปฏิบัติงานของสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น

4.1 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม
นาย ก.
ด้านที่ 1 พันธกิจของสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
พันธกิจของสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นมีความสดคล้อง และมีความหมาะ
สมกับงานที่ได้รับมอบหมาย และในเรื่องของงบประมาณที่ทางกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจัดสรรให้กับ
สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ยังไม่สอดคล้องกับงานที่ ได้รับมอบหมาย และมาบริหารจัดการในการ
ดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่
ด้านที่ 2 แนวทางในการส่งเสริม สนับสนุนของสำนักงานส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น
สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นอำเภอสังขะ มีการส่งเสริม สนับสนุน แนะนำ
ให้คำปรึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งในด้านการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น การบริหารงานบุคคล
การเงินการคลัง และการบริหารจัดการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมาโดยตลอด
ด้านที่ 3 ปัจจัยและปัญหาอุปสรรคที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงาน
ปัจ จัย ที่จ ะส่งผลให้ก ารปฏิบั ติ งานหรื อ การดำเนิน กิจ กรรมต่า ง ๆ ขององค์ ก ร
ปกครองส่วนท้องถิ่นจะประสบความสำเร็จได้ มีอยู่ 3 ด้าน คือ งบประมาณ บุคลากร ทั้ง 2 ด้าน นี้ยังไม่
เพียงพอ และการเข้าถึงงบประมาณ ยังไม่สอดคล้องกันและ งบประมาณ บุคลากรไม่เพียงพอต่อการพัฒนา จึง
ส่งผลให้งานยังไม่สามารถบรรลุเป้าหมายได้ ส่วนปัญหาไม่มี
ด้านที่ 4 การปฏิบัติงานของสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
สำนักงานส่ งเสริ ม การปกครองท้ อ งถิ ่น มี ก าร สนับสนุนการทำงานต่ อ องค์ ก ร
ปกครองส่วนท้องถิ่นได้อย่างดีเยี่ยม และควรมีงบประมาณให้บริหารจัดการ มีบุคลากรในการช่วยเหลืองาน
มากกว่านี้ ควรมีอาคารสำนักงานเป็นของตนเอง ง่ายต่อการติดต่อประสานงาน
ข้อเสนอแนะ
ขอบคุณที่ดูแลเป็นพี่เลียงให้ องค์การบริหารส่วนตำบลด้วยดีมาตลอด
จากการสัมภาษณ์ นาย สรุปได้ว่า ด้านที่ 1 พันธกิจของสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นอำเภอ
พัน ธกิจ กับ งานที่ได้ร ับ มอบหมายมีความสอดคล้องกัน ด้านที่ 2 แนวทางในการส่งเสริม สนับสนุน ของ
สำนักงานส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น มีการส่งเสริม สนับสนุน แนะนำ ให้คำปรึกษาในการจัด ทำ
แผนพัฒนาท้องถิ่น บริหารงานบุคคล การเงินการคลัง การบริหารจัดการ ด้านที่ 3 ปัจจัยและปัญหาอุปสรรค
มี อ ยู ่ 3 ด้ า น คื อ งบประมาณ บุ ค ลากร ที ่ ไ ม่ เ พี ย งพอ จึ ง ยั ง ไม่ ส ามารถบรรลุ เ ป้ า หมายได้ ด้ า นที ่ 4
มีการสนับสนุนการทำงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
นางสาว ก แทน นายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ด้านที่ 1 พันธกิจของสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
พัน ธกิจ ของสำนั กงานส่ง เสริ ม การปกครองท้อ งถิ ่น และงานที่ ไ ด้ร ับ มอบหมาย
สอดคล้องกันมาก เพราะ เหมาะสมต่อการทำงานของท้องถิ่น
ด้านที่ 2 แนวทางในการส่งเสริม สนับสนุนของสำนักงานส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น
สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ส่งเสริมสนับสนุนต่อหน่ว ยงานไม่ได้ดีมาก
เนื่องจากต้องดูแลหน่วยงาน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งอำเภอ และอาจจะทำให้มีงานมาก และบุคลากรมี
จำนวนน้อย ทำให้การสนับสนุน และการส่งเสริมของสำนักงานส่งเสริมการปกครอง ไม่ได้ดีมากเท่าที่ควร
ด้านที่ 3 ปัจจัยและปัญหาอุปสรรคที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงาน
ปัจจัยที่สำคัญที่ทำการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ประสบผลสำเร็จ คือ การติดต่อสื่อสาร
ที่มีความรวดเร็ว การประสานงานทางอินเตอร์เน็ต หรือไลน์กลุ่มที่ได้มีการสร้างไว้ในการประสานงาน สามารถ
ตรวจสอบ และติดตามผลการดำเนินงานได้รวดเร็ว บุคลากรมีประสิทธิภาพ ในส่วนปัจจัยนำเข้า จะเป็นด้าน
จำนวนบุคลากรมีน้อยอาจจะทำให้งานล่าช้าได้ การให้คำแนะนำ ชี้แนะของการปกครองท้องถิ่นจึงยังไม่มีความ
ทั่วถึง ปัญหาอุปสรรค เนื่องจากบุคลากรท้องถิ่นมีจำนวนน้อย เมื่อมีปัญหา อุปสรรค หรือต้องการคำแนะนำ
เมื่อเข้าไปหาทางสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นอำเภอในบางครั้ง อาจไม่พบบุคลากรเนื่องจากท้องถิ่น
อาจออกไปปฏิบัติงานนอกพื้นที่ หรือไม่มีใครประจำอยู่ที่สำนักงาน
ด้านที่ 4 การปฏิบัติงานของสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
มีความรวดเร็วในการปฏิบัติงานมาก การประสานงานทางโทรศัพท์จะทำให้มีความ
แน่นอนในการติดต่อ ในส่วนด้านการสนับสนุนการทำงาน ได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดี
ข้อเสนอแนะ
ไม่มี
จากการสัมภาษณ์ นางสาว ก แทน นายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สรุปได้ว่า ด้านที่ 1
พัน ธกิจ ของสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น สอดคล้องกันมาก ด้านที่ 2 แนวทางในการส่งเสริม
สนับสนุนของสำนักงานส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น มีการส่งเสริมสนับสนุนยังไม่ดีเท่าที่ควร เพราะ
สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นต้องดูแลหน่วยงานหลาย อปท.และบุคลากรมีจำนวนน้อย ด้านที่ 3
ปัจจัยและปัญหาอุปสรรคที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงาน ปัจจัยที่สำคัญที่ทำให้งานสำเร็จ ประกอบด้วย การ
ติดต่อสื่อสาร ที่มคี วามรวดเร็ว การประสานงานทางอินเตอร์เน็ต สามารถตรวจสอบงานได้ และติดตามผลการ
ปฏิบัติงานได้ บุคลากรมีประสิทธิภาพ ปัจจัยนำเข้า คือ จำนวนบุคลากรของสำนักงานส่งเสริมการปกครอง
ท้องถิ่นมีมีน้อย จึงทำให้งาน การให้คำแนะนำ ชี้แนะ ยังไม่ทั่วถึง และเมื่อมีการออกพื้นที่ ก็ไม่มีใครประจำอยู่
สำนักงงาน เพราะ บุคลากรมีน้อย ด้านที่ 4 การปฏิบัติงานของสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น มีความ
รวดเร็วในการปฏิบัติงาน สนับสนุนการทำงานได้ดี
นาย ข แทน นายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ด้านที่ 1 พันธกิจของสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
สอดคล้องกันมาก เนื่องจากในปัจจุบันการขับเคลื่อนงานขององค์กรปกครองส่ว น
ท้องถิ่น ต้องรวดเร็วและมีความถูกต้องในการปฏิบัติงาน
ด้านที่ 2 แนวทางในการส่งเสริม สนับสนุนของสำนักงานส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น
ทางสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น มีการส่งเสริมและสนับสนุนในเรื่อง การ
เป็นที่ปรึกษาในการปฏิบัติงาน ในเรื่องข้อกฎหมาย และระเบียบต่าง ๆ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้
การปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องและตรงตามระเบี ยบของ อปท. และติดตามผลการดำเนินงานต่าง ๆ ของ อบต.
ให้สามารถขับเคลื่อนได้ทันภายในกำหนดเวลา และช่วยตรวจทานกลั่นกรองเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการ
ปฏิบัติราชการ เพื่อให้เป็นไปตามระเบียบของทางราชการ
ด้านที่ 3 ปัจจัยและปัญหาอุปสรรคที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงาน
ปัจจัยที่สำคัญที่ทำให้กิจกรรมต่าง ๆ ประสบความสำเร็จ คือ การเปิดโอกาสให้
สามารถติดต่อและการประสานงานได้หลายช่องทาง การสร้างความเป็นกันเองกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ในพื้นที่ให้สามารถเข้าหาได้ง่าย การมาปฏิบัติงานที่ตรงต่อเวลาของงานท้องถิ่น อำเภอและผู้ช่วยฯ หรือการ
แจ้งล่วงหน้าให้ทราบถึงภารกิจต่าง ๆ ที่กำลังดำเนินการอยู่เพื่อจะให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้วางแผน
ล่วงหน้า ส่วนปัจจัยนำเข้า การปฏิบัติงานที่มีปัจจัยนำเข้าที่ครบถ้วน หรือมี 4 m ย่อมสามารถทำให้งานบรรลุ
เป้าหมายมากกว่าการมีไม่ครบ ดังนั้น สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นอำเภอสังขะ มีครบถ้วนในเรื่อง
ดังกล่าว ปัญหาปัจจุบันที่ อบต. เนื่องจากการมอบหมายโดยส่วนมาก มีการจั ดประชุมเพื่อซักซ้อมแนวทาง
การปฏิบัติงานก่อนเสมอ ทำให้ไม่ได้เกิดปัญหา อุปสรรคมากจนไม่สารมารถแก้ไขเองได้
ด้านที่ 4 การปฏิบัติงานของสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
มีความรวดเร็วในเรื่องการประสานงาน และมีช่องทางในการประสานงานได้หลาย
ช่องทาง มีการนัดประชุมเพื่อซักซ้อมความเข้าใจกันบ่อย ๆ ทำให้ลดปัญหา ในเรื่องความเข้าใจที่แตกต่างกัน มี
ความเป็นกันเองสูง สามารถเข้าหา และพูดคุยได้ง่าย
ข้อเสนอแนะ
ไม่มี
จากการสัมภาษณ์ นาย ข แทน นายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สรุปได้ว่า ด้านที่ 1 พันธกิจ ของ
สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น สอดคล้องกันมาก ด้านที่ 2 แนวทางในการส่งเสริม สนับสนุน ของ
สำนักงานส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น ท้องถิ่น มีการส่งเสริมและสนับสนุนในเรื่องข้อกฎหมาย และ
ระเบียบต่าง ๆ และยังเป็นที่ปรึกษาให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการปฏิบัติงานต่าง ๆ เช่น ช่วย
ตรวจทานกลั่นกรองเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติราชการ ด้านที่ 3 ปัจจัยและปัญหาอุปสรรคที่
ส่งผลต่อการปฏิบัติงาน ปัจจัยที่สำคัญที่ทำให้งานประสบความสำเร็จ คือ เปิดโอกาสให้สามารถติดต่อและการ
ประสานงานได้หลายช่องทาง การสร้างความเป็นกันเอง การมาปฏิบัติงานที่ตรงต่อเวลาของงานท้องถิ่น ส่วน
ปัจจัยนำเข้า ต้องมี 4 m จะสามารถทำให้งานบรรลุเป้าหมายได้ ปัญหาอุปสรรคขององค์การบริหารส่วนตำบล
ไม่มี ด้านที่ 4 การปฏิบัติงานของสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น มีความรวดเร็วในเรื่องการประสานงาน
และมีช่องทางในการประสานงานได้หลายช่องทาง มีความเป็นกันเองสูง สามารถเข้าหา และพูดคุยได้ง่าย
นาย ค
ด้านที่ 1 พันธกิจของสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
สอดคล้องมาก เนื่องจากเป็นหน่วยงานที่คอยช่วยเหลือ แนะนำ ในการปฏิบัติงาน
ของ อบต. และให้คำแนะนำ
ด้านที่ 2 แนวทางในการส่งเสริม สนับสนุนของสำนักงานส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น
เป็นหน่วยงานที่มีความสำคัญในการ แนะนำช่วยเหลือ ในด้านการบริหารงานบุคคล
ของ อปท. ในด้านการปฏิบัติงาน กฎหมาย ระเบียบ
ด้านที่ 3 ปัจจัยและปัญหาอุปสรรคที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงาน
ความร่ว มมือของหน่ว ยงานและบุค ลากร ความรู้ ความสามารถ ของบุคลากร
ทรัพยากร ด้านงบประงบมาณ เครื่องมือ ส่วนปัจจัยทำให้งานบรรลุเป้าหมายได้ เนื่องจาก นโยบาย จำนวน
บุคลากร งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ สามารถนำพานโยบายไปสู่ความสำเร็จได้ ประชาชนได้รับผลประโยชน์
สูงสุด ปัญหาของหน่วยงานมี มาก คือ ด้านงบประมาณ นโยบาย ไม่สอดคล้องกับระเบียบ กฎหมาย จึ งทำให้
เกิดอุปสรรคทางด้านการปฏิบัติงาน หรือสนองนโยบาย
ด้านที่ 4 การปฏิบัติงานของสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
ปัจจุบันดีอยู่แล้ว การประสานงาน การให้คำแนะนำ ปรึกษา เป็นไปด้วยความ
เรียบร้อย
ข้อเสนอแนะ
ไม่มี
จากการสัมภาษณ์ นาย ค สรุปได้ว่า ด้านที่ 1 พันธกิจ ของสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
สอดคล้องมาก ด้านที่ 2 แนวทางในการส่งเสริม สนับสนุน ของสำนักงานส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น
แนะนำช่วยเหลือ ด้านการบริหารงานบุคคลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในด้านการปฏิบัติงาน กฎหมาย
ระเบียบ ด้านที่ 3 ปัจจัยและปัญหาอุปสรรคที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงาน ปัจจัยที่ทำให้งานสำเร็จ ความร่วมมือ
ของหน่วยงานและบุคลากร ความรู้ ความสามารถ ของบุคลากร ทรัพยากร ด้านงบประงบมาณ เครื่องมือ
ปัจจัยนำเข้านโยบาย จำนวนบุคลากร งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ สามารถนำนโยบายไปสู่ความสำเร็จได้ ปัญหา
ที่พบมี มาก คือ ด้านงบประมาณ นโยบาย ไม่สอดคล้องกับระเบียบ กฎหมาย จึงทำให้เกิดปัญหาในการทำงาน
ด้านที่ 4 การปฏิบัติงานของสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การประสานงาน การให้คำแนะนำ การให้
คำปรึกษากับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดี
นาย ง
ด้านที่ 1 พันธกิจของสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
พันธกิจของสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นอำเภอสังขะ และงานที่ได้รับ
มอบหมาย มีความสอดคล้องกันมาก เพราะ ได้รับคำปรึกษา และแนะนำในเรื่องการดำเนินงานทุกงาน จาก
สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นอำเภอสังขะ เพื่อให้ท้องถิ่นมีความเข็มแข็งและสามารถแก้ไขปัญหา การ
บริการสาธารณะ และบริการประชาชนได้ทันช่วงเวลา
ด้านที่ 2 แนวทางในการส่งเสริม สนับสนุนของสำนักงานส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น
สำนั ก งานส่ ง เสริ ม การปกครองท้ อ งถิ ่ น อำเภอสั ง ขะ มี ก ารส่ ง เสริ ม สนั บ สนุ น
ตรวจสอบ กลั่นกรอง เสนอความคิดเห็น เพื่อสนับสนุนงานอันเป็นอำนาจหน้าที่ของนายอำเภอ ด้านการกำกับ
ดูแล ให้ความรู้เรื่องการพัฒนาความรู้ ด้านกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานบุคคล ทำให้เกิดบุลคากรที่
มีความรู้ความเชี่ยวชาญ ในการปฏิบัติงาน
ด้านที่ 3 ปัจจัยและปัญหาอุปสรรคที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงาน
1.มีการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ และยุทธศาสตร์ ในการพัฒนาอย่างเป็นระบบ 2.มี
การถ่ายทอดความรู้ ความเข้าใจ และประสบการณ์ให้กับภายในระหว่างบุคลากร ของ อปท. 3.มีกลไก ในการ
ส่งเสริมการทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ 4.ผู้บริหารมีภาวะความเป็นผู้นำสูง 5.บุคลากรมีความสามารถและมี
ความรับผิดชอบ 6.มีการรับฟังความคิดเห็นจากภายนอก 7.มีการแปลงวิสัยทัศน์ นโยบายและยุทธศาสตร์ สู่
การปฏิบัติอย่างแท้จริง 8.เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วม ริเริ่มกิจกรรมและโครงการ 9.มีการติดตาม
ประเมินผลโครงการและงาน 10.มีงบประมาณที่เพียงพอ ปัจจัยนำเข้าเป็นส่วนหนึ่งของการเริ่มต้นและเป็นตัว
สำคัญในการปฏิบัติงานของหน่วยงานให้ประสบความสำเร็จและบรรลุเป้าหมายได้ และประสิทธิภาพในการ
ทำงานของหน่วยงาน ก็เป็นหัวใจสำคัญในการทำให้หน่วยงานบรรลุเป้าหมาย หน่วยงานจะมีผลผลิตที่เป็นที่น่า
พอใจ ในด้านการบริการ ความพึงพอใจของผู้รับริการและบุคลากรในหน่วยงานต้องดี ประกอบการพัฒนา
ประสิทธิภาพสำคัญดังนี้
1.สิ่งแวดล้อมภายนอกหน่วยงาน เช่น ผู้รับบริการ สภาพเศรษฐกิจ สังคม การ
เปลี่ยนแปลงทางสังคม
2.สิ่งแวดล้อมภายในองค์กร ได้แก่ นโยบาย วิส ัยทัศน์ ทิศทางการบริห ารงาน
วัฒนธรรมองค์กร การจัดบรรยากาศ การทำงานที่ส่งเสริมการทำงานของหน่วยงาน
3.ปัจจัยขององค์กร ได้แก่ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ งบประมาณ อาคารสถานที่
เทคโนโลยี และศักยภาพของบุคลากร
บุคลากร ถือเป็นหัวใจของการพัฒนาประสิทธิภาพของหน่วยงาน บุคลากรต้องมี
ประสิทธิภาพในการทำงานให้บรรลุเป้าหมาย
ในส่วนปัญหาอุปสรรคของ อบต. กับภารกิจงานที่ได้รับมอบหมาย ก็จะมี ด้าน
บุคลากร ของ อบต.ขาดบุคลากรในการดำเนินกิจกรรม เนื่องจาก งานบางงานไม่มีผู้รับผิดชอบโดยตรง และ
บุคลากร 1 ตำแหน่ง อาจรับผิดชอบหลายงาน เช่น งานสาธารณสุข ทำให้งานอาจล่าช้า ไม่ทัน ตามกำหนด
ระยะเวลาที่กำหนด
ด้านที่ 4 การปฏิบัติงานของสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
เรื่องการสนับสนุนการทำงานของหน่วยงาน ในการทำงานบางงานอาจมีปัญหา ไม่
เข้าใจในข้อกฎหมายทาง อบต. ได้นำไปปรึกษาท้องถิ่นอำเภอสังขะก็ได้รับการช่วยเหลือ ประสานงาน แนะนำ
เพื่อให้การปฏิบัติงาน สามารถดำเนินการต่อไปได้ ความรวดเร็วในการปฏิบัติงาน ท้องถิ่นอำเภอสังขะ มีการ
ปฏิบัติงานที่รวดเร็ว เช่น การแจ้งหนังสือ การตามงานเพื่อให้ทันช่วงเวลา จะมีการปฏิบัติงานที่รวดเร็ว
ข้อเสนอแนะ
อยากให้มีการนัดประชุม พบปะกัน คุยปรึกษาหารือเรื่องงานระหว่างกันในอำเภอ
เดือนละครั้งเพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน พบปะแลกเปลี่ยนปัญหา เพื่อหาแนวทางแก้ไขในการ
ปฏิบัติงานในแต่ละหน่วยงานของแตะละ อบต.
จากการสัมภาษณ์ นาย ง สรุปได้ว่า ด้านที่ 1 พันธกิจ ของสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้อ งถิ่น
ความสอดคล้องกันมาก เพราะ สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ได้ให้คำปรึกษา และแนะนำในเรื่องการ
ดำเนินงานทุกงาน ด้านที่ 2 แนวทางในการส่งเสริม สนับสนุนของสำนักงานส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น มี
การกำกับดูแล พัฒนาความรู้ให้กับบุคลากร ดูแลด้านกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานบุคคล และ
สนับสนุนอำนาจหน้าที่ของนายอำเภอ ในการดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ด้านที่ 3 ปัจจัยและปัญหา
อุปสรรคที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงาน ปัจจัยที่จะทำให้งานสำเร็จ ประกอบไปด้วย 10 ด้าน 1.การกำหนดวิสัยทัศน์
พันธกิจ และยุทธศาสตร์ 2.การถ่ายทอดความรู้ ความเข้าใจ 3.มีกลไก ในการส่งเสริมการทำงานร่วมกันอย่าง
เป็นระบบ 4.ผู้บริหารมีภาวะความเป็นผู้นำสูง 5.บุคลากรมีความสามารถและมีความรับผิดชอบ 6.มีการรับ ฟัง
ความคิดเห็นจากภายนอก 7.มีการแปลงวิสัยทัศน์ นโยบายและยุทธศาสตร์ สู่การปฏิบัติอย่างแท้จริง 8.เปิด
โอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วม 9.การติดตามงาน 10.มีงบประมาณที่เพียงพอ ปัจจัยนำเข้า เป็นสิ่งที่สำคัญใน
การปฏิบัติงาน และการที่จะทำให้งานมีประสิทธิภาพต้องประกอบไปด้วย 1.สิ่งแวดล้อมภายนอกหน่วยงาน
2.สิ่งแวดล้อมภายในองค์กร 3.ปัจจัยขององค์กร ซึ่งบุคลากรเป็นสิ่งที่สำคัญ ส่วนปัญหา ด้านบุคลากร
ขาดบุคลากรในการทำงาน เช่น บุคลากร 1 ตำแหน่ง อาจรับผิดชอบหลายงาน ด้านที่ 4 การปฏิบัติงานของ
สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ได้รับการช่วยเหลือ คำแนะนำ เวลามีปัญหา ไม่เข้าใจในข้อกฎหมาย
ต่าง ๆ มีความรวดเร็วในการปฏิบัติงาน
นาย จ แทน นายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ด้านที่ 1 พันธกิจของสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
สอดคล้อง ตรงตามงานที่ได้รับมอบหมาย มีการบริหารจัดการดี แต่การปฏิบัติอาจ
ล่าช้า
ด้านที่ 2 แนวทางในการส่งเสริม สนับสนุนของสำนักงานส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น
ให้การสนับสนุนงบประมาณและโครงการที่มีงบประมาณเกินศักยภาพขององค์การ
บริหารส่วนตำบล และมีการสนับสนุนในการประชาสัมพันธ์ในการอบรมต่าง ๆ ให้กับบุคลากร
ด้านที่ 3 ปัจจัยและปัญหาอุปสรรคที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงาน
งบประมาณจำกัด บุคลากรขาดความรู้ความเข้าใจเรื่องงาน ปัจจัยนำเข้า นโยบาย
งบประมาณ บุคลากร ตัวชี้วัด วัสดุอูกรณ์ ทั้งหมดเป็นสิ่งที่สำคัญ ขาดอย่างใดไปก็ไม่ได้ ถ้าขาดไปงานก็อาจจะ
ไม่สำเร็จ เช่น ขาดงบประมาณในการจัดกิจกรรม ปัญหา มีบ้าง บุคลากรขาดความเข้าใจในการปฏิบัติงาน
ด้านที่ 4 การปฏิบัติงานของสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
รวดเร็วทันใจ และได้รับการแนะนำ คอยเป็นพี่เลี้ยงให้คำปรึกษาในการปฏิบัติงาน
ข้อกฎหมาย ระเบียบต่าง ๆ มาตลอด
ข้อเสนอแนะ
ไม่มี
จากการสัมภาษณ์ นาย จ นายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ด้านที่ 1 พันธกิจของสำนักงานส่งเสริม
การปกครองท้องถิ่น สอดคล้อง ด้านที่ 2 แนวทางในการส่งเสริม สนับสนุนของสำนักงานส่งเสริมการปกครอง
ส่วนท้องถิ่น สนับสนุนงบประมาณ สนับสนุนโครงการ การประชาสัมพันธ์ในการอบรมต่าง ๆ ด้านที่ 3 ปัจจัย
และปัญหาอุปสรรคที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงาน งบประมาณที่มีจำกัด บุคลากรขาดความรู้ความเข้าใจเรื่องงาน
ปัจจัยนำเข้า นโยบาย งบประมาณ บุคลากร ตัวชี้วัด วัสดุอูกรณ์ ทั้งหมดเป็นสิ่งที่สำคัญ ปัญหา บุคลากรขาด
ความเข้าใจในการปฏิบัติงาน ด้านที่ 4 การปฏิบัติงานของสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น รวดเร็ว เป็น
ที่ปรึกษาคอยให้คำแนะนำ ในการปฏิบัติงาน
นาง ฉ แทน นายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ด้านที่ 1 พันธกิจของสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
ในส่วนงานที่ได้รับมอบหมาย จะเป็นกองการศึกษา ศาสนา วัฒนธรรม เป็นงานที่
ชอบ และตรงกับความชอบของตัวเอง งานในด้านนี้ก็จะมีการดูแลทั้งการศึกษา ดูแลศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก งาน
ประเพณีต่าง ๆ เช่น งานที่ทางหน่วยงานได้ไปร่วมที่ผ่านมาก็เป็นงานบวงสรวงพระยาเชียงฆะ ที่ผ่านมา ซึ่งงาน
ทั้งหมดที่ได้ทำมีความสอดคล้องกับพันธกิจ และสอดคล้องกับทั้งตำบลและอำเภอ
ด้านที่ 2 แนวทางในการส่งเสริม สนับสนุนของสำนักงานส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น
ทาง สถอ.สังขะ ก็มีการส่งเสริม สนับสนุนในการอบรมบุคลากร ใน อบต. มีการ
สนับสนุน ให้ความร่วมมือกับ สถอ.สังขะ ในการที่ส่งบุคลากรเข้าไปอบรม ไม่ว่าจะด้านกองการศึกษา กองช่าง
การคลัง ทาง อบต. ก็ได้ส่งไปอบรม และก็มีการส่งเสริมในด้านหน้าที่ของบุคลากร มีการให้เกียรติกันและกัน
อบต. จะสนับสนุนทุกส่วนงานในการทำงาน ที่ทาง สถอ.สังขะ ส่งเสริม หรือสนับสนุน
ด้านที่ 3 ปัจจัยและปัญหาอุปสรรคที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงาน
จะต้องมีความสามัคคีของบุคลากรในหน่วยงาน เป็นปัจจัยสำคัญ ร่วมแรงร่วมใจกัน
ในการทำงาน ทางหน่วยงานของเรามีผู้บริหารที่ให้ความเท่าเทียมกัน กล้าที่จะตัดสินใจ มีการตัดสินใจที่
รวดเร็ว การมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี ให้เกียรติลูกน้อง สนับสนุนการทำงาน ที่ได้พดู มาทั้งหมดทาง อบต. ของเราถือ
เป็นสิ่งที่สำคัญ และจะทำให้งานประสบความสำเร็จได้ ในส่วนปัจจัยนำเข้า ส่วนงานที่ได้รับมอบหมายจะเป็น
งานของกองการศึกษาที่ได้พูดไปแล้ว ก็ในด้านวัสดุอุปกรณ์ ก็มีความเหมาะสมกับงาน ด้านบุคลากร ทำงานเร็ว
เห็นประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก นายกตัดสินใจเร็ว ด้านงบประมาณ จะต้องบอกก่อนว่า งบประมาณเรา
ไม่สามารถที่จะนำมาใช้ก่อนได้ เราต้องจัดกิจกรรมก่อน แล้วเอามาเบิกที่หลัง แต่ก็ได้น้อย บุคลากร ก็มีความ
เหมาะสมกับงาน นโยบายตัวชี้วัดสอดคล้องทั้งหมด ทำงานเร็วตามเป้าหมายได้ ด้านปัญหา จะเป็นด้านการ
คลัง งบประมาณ ก็คือ ทำงานก่อนคอยเบิกเงิน เงินที่จะนำมาใช้ก่อนก็จะเป็นการยืม หรือจากส่วนต่าง ๆ มา
ใช้ก่อน ซึ่งก็จะมีแหล่งที่ยืมอยู่แล้ว ในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ
ด้านที่ 4 การปฏิบัติงานของสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
มีความรวดเร็วในการทำงานดี มีการประชาสัมพันธ์ จัดการอบรมต่าง ๆ ค่อยให้
คำปรึกษาในการทำงาน
ข้อเสนอแนะ
จะเป็นในเรื่อง การส่งเอกสาร ให้แจ้งล่วงหน้า อย่างน้อย 1 อาทิตย์ให้ทราบ ถ้าแจ้ง
แบบกระชันชิดอาจทำให้งานเสร็จไม่ทัน หรือล่าช้าได้
จากการสัมภาษณ์ นาง ฉ แทน นายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สรุปได้ว่า ด้านที่ 1 พันธกิจ ของ
สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น งานทั้งหมดที่ได้ทำมีความสอดคล้องกับพันธกิจ ด้านที่ 2 แนวทางใน
การส่งเสริม สนับสนุนของสำนักงานส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น สนับสนุนในการอบรมบุคลากร ด้านที่ 3
ปัจจัยและปัญหาอุปสรรคที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงาน ปัจจัยที่จะทำให้งานสำเร็จ จะต้องมีความสามัคคี ร่วมแรง
ร่วมใจกันในการทำงาน เป็นปัจจัยสำคัญ การมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี ให้เกียรติลูกน้อง ผู้บริหารมีการสนับสนุนการ
ทำงาน ปัจจัยนำเข้า ด้านวัสดุอุปกรณ์ ก็มีความเหมาะสมกับงาน ด้านบุคลากร ทำงานเร็ว มีความเหมาะสมกับ
งาน ด้านงบประมาณ ได้ไม่เพียงพอ นโยบายตัวชี้วัดสอดคล้องทั้งหมด ด้านที่ 4 การปฏิบัติงานของสำนักงาน
ส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น มีความรวดเร็วในการทำงาน มีการประชาสัมพันธ์ จัดการอบรมต่าง ๆ ค่อยให้
คำปรึกษาในการทำงานดี
นาย ช แทน นายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ด้านที่ 1 พันธกิจของสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
ท้องถิ่นอำเภอและอบต. เป็นหน่วยงานที่จะต้องมีการประสานงานทำงานด้วยกัน
อบต.เป็นหน่วยบริการที่ใกล้ประชาชน อำนวยความสะดวก เชื่อมต่อกับชุมชน มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อชุมชน
จากงานที่ได้รับมอบหมายจาก สถอ.สังขะ ก็มีความสอดคล้อง และตรงตามภารกิจของหน่วยงาน ที่จะต้องดูแล
ประชาชน
ด้านที่ 2 แนวทางในการส่งเสริม สนับสนุนของสำนักงานส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น
มีการส่งเสริมในการ จัดการขยะมูลฝอย ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน ก็จะมี
โครงการที่เกี่ยวกับขยะ วิธีการคัดอยกขยะ และ อบต.ก็มีการแยกถังขยะ ทาง สถอ. ก็มีการให้คำแนะนำ
สนับสนุน ในการทำงานที่ดูแลเกี่ยวกับขยะมูลฝอย
ด้านที่ 3 ปัจจัยและปัญหาอุปสรรคที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงาน
ปัจจัยด้านบุคลากร ถ้าคนเยอะก็สามารถแบ่งให้คนไปทำงานได้ตรงความต้องการได้
ด้านงบประมาณของรัฐบาล ถ้าไม่มีเงินก็ไม่สารถจัดกิจกรรมได้ การมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีทั้งในองค์กร และชุมชน
ถ้ามีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี เวลาขอความช่วยเหลือ ชาวบ้านก็จะให้ความช่วยเหลือในการทำงาน ด้านปัจจัยนำเข้า
นโยบาย บุคลากร งบประมาณ วัส ดุ อุป กรณ์ ตัว ชี้ว ัด ที่ได้พูดไป บรรลุตามเป้าหมายได้ และบางอย่าง
สอดคล้องกับงาน แต่งบประมาณยังน้อยอาจจะส่งผลในการทำงานได้ ในส่วนปัญหา ย่อมมีบ้างเป็นธรรมดาที่
จะต้องเจอในการทำงาน เรื่องไม่เข้าใจกันในการทำงาน ปัญหางบประมาณมีน้อย ยังไม่พอในการทำงาน งาน
บางอย่างต้องอาศัยชาวบ้านในการทำงาน ก็จะมีปัญหาสุขภาพ การประกอบอาชีพของชาวบ้าน ที่อาจจะไม่
สามารถมาช่วยได้เต็มทีเ่ วลาขอความร่วมมือ
ด้านที่ 4 การปฏิบัติงานของสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
ได้รับความสะดวกรวดเร็วในการไปติดต่องาน ให้ความร่วมมือที่ดี เวลาขอความ
ร่วมมือทาง สถอ.สังขะ คอยให้ตำแนะนำมาตลอด
ข้อเสนอแนะ
อยากให้มีการสื่อสาร รวดเร็ว การส่งหนังสือให้มีความรวดเร็ว
จากการสัมภาษณ์ นาย ช แทน นายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สรุปได้ว่า ด้านที่ 1 พันธกิจของ
สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เป็นหน่วยงานที่จะต้องมีการ
ประสานงานกับองค์การบริหารส่วนตำบล ซึ่งงานที่ได้รับมอบหมายจากสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
มีความสอดคล้อง และตรงตามภารกิจของหน่วยงาน ด้านที่ 2 แนวทางในการส่งเสริม สนับสนุนของสำนักงาน
ส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น ส่งเสริมในการ จัดการขยะมูลฝอยให้คำแนะนำ สนับสนุน ในการทำงานที่
ดูแลเกี่ยวกับขยะมูลฝอย ด้านที่ 3 ปัจจัยและปัญหาอุปสรรค (มี 3 ข้อ) ปัจจัยที่ทำให้งานสำเร็จ ด้านบุคลากร
ถ้ามีบุคลากรจำนวนมาก หรือมีเพียงพอก็สามารถแบ่งงานได้ตรงความต้องการได้ ด้านงบประมาณของรัฐบาล
ถ้าไม่มีก็ไม่สามารถดำเนินกิจกรรมได้ การมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี ปัจจัยนำเข้าสามารถ บรรลุตามเป้าหมายได้ ซึ่ง
บางบางอย่างสอดคล้องกับงาน แต่งบประมาณยังไม่เพียงพอ ปัญหา มีบ้างในเรื่องการไม่เข้าใจในการทำงาน
ปัญหาสุขภาพ การประกอบอาชีพของชาวบ้าน ที่อาจจะไม่สามารถมาช่วยได้เต็มที่เวลาขอความร่ว มมือ
ด้านที่ 4 การปฏิบัติงานของสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น สะดวกรวดเร็วในการไปติดต่องาน ให้ความ
ร่วมมือ คอยให้คำแนะนำมาตลอด
นาย ญ แทน นายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ด้านที่ 1 พันธกิจของสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
มีความเหมาะสม สอดคล้องกับบทบาทภารกิจของสำนักงานส่งเสริมการปกครอง
ท้องถิ่น มีความครอบคลุมทุกด้านครบถ้วน และงานที่ได้รับมอบหมายก็มีความสอดคล้องตรงตามพันธกิจของ
สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ทั้งในด้าน การบริหารงานบุคคลและการให้บริการสาธารณะ การ
มอบหมายงานอยู่ในกรอบงานตามพันธกิจทุกงาน ทุกภารกิจ
ด้านที่ 2 แนวทางในการส่งเสริม สนับสนุนของสำนักงานส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น
มีแบบแผน นโยบายให้ผู้บริหาร สมาชิกและพนักงานใน อบต. ได้เข้าอบรมหลักสูตร
ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานบุคคลอย่างชัดเจน มีการแจ้งข่าวประชาสัมพันธ์เข้ารับการฝึกอบรม มีการให้
คำปรึกษา เสนอแนะเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล ส่งเอกสารความรู้ กฎหมาย ระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ
การบริหารงานบุคคล
ด้านที่ 3 ปัจจัยและปัญหาอุปสรรคที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงาน
1.คน คนเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด ที่ส่งผลต่อความสำเร็จของกิจกรรมต่าง ๆ เพราะ
ถ้าคนมี Mindset ที่ใช้ มีความรู้ที่ตรง มีความสามารถเหมาะสมกับงานหรือกิจกรรมนั้น ๆ ก็จะสำเร็จได้ง่าย
2.เงิน เงินเป็นปัจจัยสำคัญในด้านการเอื้ออำนวยในส่วนที่คนไม่สามารถดำเนินการ
ได้ มีความจำเป็นต้องใช้เงิน เพราะ กิจกรรมบางอย่างต้องใช้เงินในการขับเคลื่อนอีกทั้ง เงินยังเป็น แรงจูงใจ
ของคนและเป็นสื่อกลางในการขับเคลื่อนกิจกรรมต่าง ๆ ให้ประสบผลสำเร็จอีกด้วย
3.วัส ดุป ุกรณ์ เครื่องไม้เครื่องมือต่าง ๆ ล้ว นมีความสำคัญต่อความสำเร็จของ
กิจกรรม คนไม่อาจทำงานโดยใช้เพียงมันสมองและสองมือได้สำเร็จ จำเป็นต้องมีเครื่องจักร วัสดุอุปกรณ์ ช่วย
ผ่อนแรง เงินจึงมีความเกี่ยวข้องในเรื่องการใช้สอยในด้านวัสดุอุปกรณ์เหล่านี้ด้วย
4.การบริหารจัดการที่ดี การดำเนินกิจกรรมใด ๆ ต้องมีปัจจัยคือ คน เงิน และวัสดุ
อุป กรณ์ มากเพีย งพอ แต่ห ากไม่มี วิธ ีการบริห ารจัดการที่ดี ต่องานหรือกิจกรรมนั้น ๆ ก็ ไม่ อาจประสบ
ความสำเร็จได้
สรุป คน เงิน วัสดุอุปกรณ์ และการบริหารจัดการ 4 ปัจจัยนี้ จึงมีผลต่อความสำเร็จ
ของงานหรือกิจกรรม คนคุณภาพ มี Mindset ดี ส่งผลต่อการใช้เงินที่คุ้มค่า ได้วัสดุดีมีมาตรฐานและคนยังทำ
ให้การบริหารจัดการคล่องตัว มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ส่งผลต่อความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรมได้เป็น
อย่างดี ในส่วนปัจจัยนำเข้า สอดคล้องและสามารถทำให้งานบรรลุตามเป้าหมายได้ เพราะ นโยบาย เป็น
เหมือนภาพใหญ่ที่ต้องการให้เกิดขึ้น จำนวนบุคลากร เป็นตัวขับเคลื่อนนโยบายให้บรรลุผล งบประมาณ เป็น
ปัจจัยเติมเต็มและใช้สอย ในส่วนที่ต้องขับเคลื่อนระหว่างการดำเนินงาน วัสดุอุปกรณ์ เป็นเครื่องมือที่ต้องใช้
เพื่อการขับเคลื่อน เหมือน ชาวนาไม่มีจอบ เขาจะทำนาได้อย่างไร ตัวบ่งชี้ เป็นเหมือนเครื่องชี้วัดความสำเร็จ
ให้เราได้เทียบเคียงว่า นโยบายใด งานใด สำเร็จ ดีมีระดับ คุณภาพภาพเพียงใด ซึ่งก็มีผลต่อเป้าหมาย พันธกิจ
เพราะ หน่วยงานหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ระดับตำบลจะกำหนดเป้าหมาย พันธกิจ หรือ จะทำการสิ่ง
ใดจะต้องยึดนโยบายรัฐบาล ยึดนโยบายของหน่วยงานบังคับบัญชาเหนือขึ้นไปเป็นหลักเสมอ เพราะ นโยบาย
เบื้องต้น เป็นเหมือนฝาครอบหน่วยงานระดับล่างอยู่แล้ว งานทุกอย่างจึงมีความสอดคล้องตั้งแต่ระดับ บน
กลาง ล่าง เสมอด้านปัญหา มีไม่มาก ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องของการประสานงานที่ล่าช้ากว่ากำหนด เกี่ยวกับ
งานรับ - ส่งหนังสือ
ด้านที่ 4 การปฏิบัติงานของสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
1.ส่วนใหญ่เป็นเรื่องการประสานงานหนังสือราชการที่ล่าช้า
2.ขาดการประสานงานที่เป็นระบบ
3.ไม่มีปฏิทินการปฏิบัติงานที่สามารถทราบล่วงหน้าทั้งปี
ส่วนเรื่องการสนับสนุนการทำงานของหน่วยงานมีการให้การสนับสนุนเป็นอย่างดี
ตลอดมา
ข้อเสนอแนะ
สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ควรจัดทำปฏิทินงานทั้งปีของสำนัก งาน
เพื่อให้รู้ล่วงหน้าว่า มีกิจกรรมหลัก ๆ อะไร วันไหนบ้าง เป็นต้น
จากการสัมภาษณ์ นาย ญ แทน นายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สรุปได้ว่า ด้านที่ 1 พันธกิจของ
สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้ อ งถิ่ น มีความเหมาะสม สอดคล้องกับบทบาทภารกิจและงานที ่ไ ด้ รั บ
มอบหมาย ด้านที่ 2 แนวทางในการส่งเสริม สนับสนุน ของสำนักงานส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น มีการ
แจ้งข่าวประชาสัมพันธ์ฝนการการฝึกอบรม มีการให้คำปรึกษา เสนอแนะเกี่ยวกับการบริ หารงานบุคคล มีการ
ส่งเอกสารความรู้ กฎหมาย ระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานบุคคล ด้านที่ 3 ปัจจัยและปัญหา
อุปสรรคที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงาน ปัจจัยที่ทำให้งานสำเร็จ ประกอบไปด้วย 1.คน 2.เงิน 3.วัสดุปุกรณ์ 4.การ
บริหารจัดการที่ดี ปัจจัยนำเข้า สามารถทำให้งานบรรลุตามเป้าหมายได้ เพราะ นโยบาย บุคลากร งบประมาณ
วัสดุอุปกรณ์ ตัวบ่งชี้ เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องมี และมีผลต่อเป้าหมาย พันธกิจ ด้านที่ 4 การปฏิบัติงานของ
สำนั ก งานส่ ง เสริม การปกครองท้ อ งถิ ่น จะเป็ น เรื ่ อ งการประสานงานหนั ง สื อ ราชการที ่ ล ่ า ช้ า ขาดการ
ประสานงานที่เป็นระบบ ไม่มีปฏิทินการปฏิบัติงานที่สามารถทราบล่วงหน้าทั้งปีในส่วนการสนับสนุนการ
ทำงานของหน่วยงานมีการให้การสนับสนุนเป็นอย่างดี
นาง ข
ด้านที่ 1 พันธกิจของสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
สำหรับในเรื่องการปฏิบัติงานของท้องถิ่นอำเภอ ก็มี ความสอดคล้องกับงานที่ได้รับ
มอบหมาย ซึ่งก็เป็นหน่วยงานที่อยู่ภายใต้การดูแลของสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นอำเภอสังขะ
ด้านที่ 2 แนวทางในการส่งเสริม สนับสนุนของสำนักงานส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น
สำหรับในเรื่องการปฏิบัติงานของท้องถิ่นอำเภอ ในกรณีที่เป็นหน่วยงานท้องถิ่นที่อยู่
ภายใต้ การช่วยเหลือดูแลของสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นอำเภอ เรื่องของให้คำปรึกษาไม่ว่าจะเป็น
เรื่องเกี่ย วกับ ระเบีย บต่าง ๆ กฎหมายต่างๆ ก็ต้องไปของการแนะนำ ก็ได้รับการช่ว ยเหลื อแนะนำจาก
สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นอำเภอสังขะเป็นอย่างดี
ด้านที่ 3 ปัจจัยและปัญหาอุปสรรคที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงาน
สำหรับกิจกรรมต่าง ๆ ที่ทำให้ประสบความสำเร็จและก็มีความสำคัญกับท้องถิ่น
เช่น เรื่องการประชุมสภา ที่ทาง สถอ.ก็เข้ามาช่วยเหลือระเบียบต่าง ๆ ของการประชุมสภา เพื่อที่จะนำ
งบประมาณมาใช้พัฒนาชุมชนในพื้นที่ ปัจจัยนำเข้าทางหน่วยงานของเราก็เป็นหน่วยงานของท้องถิ่น เรื่องของ
โครงการต่าง ๆ นโยบายต่าง ๆ เราก็ต้องทำให้มันสอดคล้องกับภาระหน้าที่ ที่มั นสามารถที่จะดำเนินการได้
ภายใต้กรอบระเบียบ กฎหมายต่าง ๆ ของท้องถิ่น อุปสรรคก็จะเป็นในเรื่องข้อกฎหมาย ระเบียบต่าง ๆ บาง
เรื่อง บางครั้งเราก็จะต้องไปขอคำแนะนำ เช่น กิจจกรรมต่าง ๆ บางครั้งทำได้ บางครั้งทำไม่ได้ บางครั้งเราก็
คิดว่าเราทำได้ แต่เอาเข้าจริง ๆ พอไปดูระเบียบกฎหมายจริง ๆ บางเรื่องก็ทำไม่ได้เหมือนกัน
ด้านที่ 4 การปฏิบัติงานของสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้อถิ่น ก็ถือว่าเป็นส่วนผลักดัน ส่วนสำคัญของการที่มี
สถอ. ไว้คอยช่วยเหลือ ดูแล และก็ประสานงาน บางเรื่องบางอย่างก็ต้องให้ท้องถิ่นอำเภอประสานงาน หากว่า
มีความจำเป็นที่จะต้องส่งเอกสารต่าง ๆ เข้าไปในระดับจังหวัด ก็จะเป็นผู้คอยปนะสานงาน ให้ความสะดวกกับ
ท้องถิ่น
ข้อเสนอแนะ
ไม่มี
จากการสัมภาษณ์ นาง ข ด้านที่ 1 พันธกิจของสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ความสอดคล้อง
กับงานที่ได้รับมอบหมาย ด้านที่ 2 แนวทางในการส่งเสริม สนับสนุน ของสำนักงานส่งเสริมการปกครองส่วน
ท้องถิ่น ให้คำปรึกษา ข้อระเบียบต่าง ๆ กฎหมายต่างๆ เป็นอย่างดี ด้านที่ 3 ปัจจัยและปัญหาอุปสรรคที่ส่งผล
ต่อการปฏิบัติงาน ปัจจัยที่ทำให้งานสำเร็จ คือ การประชุมสภา เพราะ เป็นการนำงบประมาณมาใช้พัฒนา
ชุมชน ปัจจัยนำเข้า นโยบายต่าง ๆ ก็ต้องสอดคล้องการภาระหน้าที่ ที่สามารถปฏิบัติงานได้ ภายใต้กรอบ
ระเบียบ กฎหมายต่าง ๆ ปัญหา จะเป็นในข้อกฎหมาย ระเบียบต่าง ๆ ด้านที่ 4 การปฏิบัติงานของสำนักงาน
ส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
นาย ด แทน นายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ด้านที่ 1 พันธกิจของสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
ท้องถิ่นจะเป็นพี่เลี้ยง ให้คำปรึกษากับ อบต ไม่ว่าจะเรื่องงานบุคคล ด้านการเงิน
การคลังและการบริหารจัดการต่าง ๆ ให้การบริหารจัดการบริการสาธารณะ ถ้าอันไหนที่เป็นนโยบายหลักของ
รัฐบาล สถอ ให้บริการให้คำปรึกษา แนวทางที่ดีในการปฏิบัติงานให้ถูกต้องตามระเบียบ สอดคล้งอกับนโยบาย
ของรัฐบาล และนโยบายของจังหวัด สอดคล้องอยู่ในการทำงาน
ด้านที่ 2 แนวทางในการส่งเสริม สนับสนุนของสำนักงานส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น
จะเป็นพี่เลี้ยงในการดูแลงานบุคคล และจะดูให้ว่าประสิทธิภาพในการทำงานของ
อบต เป็นอย่างไร บุคลากรเพียงพอไหม ถ้าไม่เพียงพอก็จะดูกรอบอัตรากำลัง ช่วยเป็นพี่เลี้ยงให้ ซึ่ง อบต เป็น
นิติบุคคลสามารถบริการหน่วยงานเองได้อยู่แล้ว แต่บางครั้งก็ต้องมีพี่เลี่ยงคอยช่วยดูแล
ด้านที่ 3 ปัจจัยและปัญหาอุปสรรคที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงาน
ความมี ศ ั ก ยภาพขององค์ก รปกครองส่ ว นท้ อ งถิ่ นแต่ล ะแห่ ง งบสนั บ สนุ นจาก
ส่วนกลางและการจัดเก็บเองที่มีประสิทธิภาพ งบประมาณต่าง ๆ ต้องได้รับงานส่งนเสริมสนับสนุนจาก
ส่วนกลางด้วย ส่วนกลางก็ส่งทั้งงบประมาณ และก็กำลังคนมาให้ ซึ่งการดำเนินงานจะสำเร็จหรือไม่ ก็จะต้อง
อยู่ที่ความร่วมมือของผู้บริหาร สมาชิก เจ้าหน้าที่ ประชาชนในพื้นที่ถึงจะสำเร็จ ด้านปัจจัยนำเข้า งบสนับสนุน
จากส่วนกลาง งบประมาณต่าง ๆ กำลังคน ตัวชี้วัด ความร่วมมือต่าง ๆ ล้วนเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้งานสำเร็จ
ได้ ด้านปัญหา ส่วนมากอุปสรรคจะเป็นเรื่องงบประมาณที่มันมีน้อย ปัญหาความต้องการของประชาชนมัน
เยอะ บางครั้งก็เข้าไม่ทั่วถึงการบริการ เนื่องจากจำกัดด้านงบประมาณ จำกัดด้านกฎหมายบางเรื่องที่ไม่
สามารถที่จะดำเนินการได้เต็มที่ การประสานงานบางครั้ง การประสานงานก็มีช่องว่างต่าง ๆ บาง
ด้านที่ 4 การปฏิบัติงานของสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
ทำงานได้รวดเร็วอยู่ ก็มีบางครั้ง ก็มีการประสานงานผ่านเทคโนโลยี ใช้ระบบไลน์
บางอะไรบ้าง การประสานงานก็รวดเร็วยิ่งขึ้น แต่ก็มีอุปสรรคบางครั้งบางทีในระบบอาจไปไม่ทั่วถึงบาง
หน่วยงาน บาง/ท้องถิ่นกับอบต. หรือหน่วยงานอื่นๆ อาจจะมีระบบสารบัญอาจจะแตกต่างกันออกไป ก็เป็นอุ
สรรคเล็กน้อยในการปฏิบัติงาน
ข้อเสนอแนะ
อยากจะให้ดูแลระบบการส่งเสริมด้านบุคลากรให้แก่ท้องถิ่นนิดหนึ่ง และก็ช่วยดูแล
เรื่องงบประมาณมาเพิ่มให้
จากการสัมภาษณ์ นาย ด สรุปได้ว่า ด้านที่ 1 พันธกิจ ของสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เป็นพี่เลี้ยง ให้คำปรึกษา ในการปฏิบัติงานให้ถูกต้องตามระเบียบ และ
สอดคล้งอกับนโยบายของรัฐบาล และนโยบายของจังหวัด พันธกิจกับงานที่ได้รับมอบหมายสอดคล้องอยู่ใน
การทำงาน ด้านที่ 2 แนวทางในการส่งเสริม สนับสนุน ของสำนักงานส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นพี่
เลี้ยงในการดูแลงานบุคคล เช่น บุคลากรไม่เพียงพอทางสำนักงานส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นก็จะดูกรอบ
อัตรากำลัง ช่วยเป็นพี่เลี้ยงให้ ด้านที่ 3 ปัจจัยและปัญหาอุปสรรคที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงาน ปัจจัยที่ทำให้งาน
สำเร็จ องค์กรปกครองส้วนท้องถิ่นในแต่ละแห่งต้องมีศักยภาพในการทำงาน และงบประมาณก็จะต้องได้รับมา
จากส่วนกลางที่เพียงพอ และก็ ความร่วมมือของผู้บริหาร สมาชิก เจ้าหน้าที่ ประชาชนในพื้นที่ ด้วย ปัจจัย
นำเข้า งบสนับสนุน งบประมาณต่าง ๆ กำลังคน ตัวชี้วัด ความร่วมมือต่าง ๆ เป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้งานสำเร็จ
ได้ ปัญหา จะเป็นเรื่องงบประมาณที่ ไม่เพียงพอ ปัญหาความต้องการของประชาชเยอะ แต่งบประมาณไม่
เพียงพอ ด้านกฎหมายบางเรื่องที่ไม่สามารถที่จะดำเนินการได้เต็มที่ การประสานงานบางครั้ง ก็มีช่องว่างต่าง
ๆ ในการประสานงาน ด้านที่ 4 การปฏิบัติงานของสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ปฏิบัติงานได้รวดเร็ว
มีการประสานงานผ่านเทคโนโลยี แต่อาจไปไม่ทั่วถึงบางหน่วยงาน
นาย ร
ด้านที่ 1 พันธกิจของสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
มีความสอดคล้อง แต่ก็มีบางงานที่ยังไม่เหมาะสม เช่น ถังขยะเปียกลดโลกร้อน มันก็
สอดคล้อง แต่ไม่เหมาะสม ชุมชนแถวบ้านเราเป็นชุมชนบ้านนอก พอมีเศษอาหารก็เอาไปเทที่ไร่ ให้เป็ดให้ไก่
กิน ทำปุ๋ย ก็เลยไม่เหมาะสมกับชุมชนบ้านเรา ถ้าจะเหมาะก็ต้องเป็นชุมชนเมือง เช่น เทศบาล หรือที่เป็นบ้าน
เดี่ยว ส่วนถ้าเป็นพวกทาวน์เฮ้าส์เหมาะกับใช้พวกจุลินทรีย์
ด้านที่ 2 แนวทางในการส่งเสริม สนับสนุนของสำนักงานส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น
ทาง สถอ.สังขะ ก็ได้มีการช่วยปนะชาสัมพันธ์ มีการสนับสนุนเงินเฉพาะกิจ ส่งเสริม
การอบรม คอยเป็นที่ปรึกษา เป็นพี่เลี้ยงให้นายกในการปฏิบัติงาน พวกข้อกฎหมาย ระเบียบต่าง ๆ และมีการ
มาเข้าร่วมกิจกรรมที่ทาง อบต.จัด นานครั้ง เพราะ บุคลากรของ สถอ.มีน้อย
ด้านที่ 3 ปัจจัยและปัญหาอุปสรรคที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงาน
การประสานงานกัน ไม่ว่าจะเป็น อบต. กับ สถอ.สังจะ หรือ อบต. ด้วยกันเอง
งบประมาณ ก็ต้องมีเพื่อใช้ในการจัดกิจกรรม ความร่วมมือของชุมชน บุคลากร น้ำหนึ่งใจเดียวกัน ปัจจัยนำเข้า
อบต.เป็นเหมือนประเทศ ๆ หนึ่ง ก็จะต้องมีนโยบาย นโยบายจะกว้างๆ แต่ก็ทำกันเอง ซึ่งก็จะมี อำเภอเป็นพี่
เลี้ยง เราก็ทำตามกรอบอำนาจหน้าที่ บุคลากร บางงานก็จะต้องใช้คนจำนวนเยอะในการทำงาน ปัญหาก็มีบาง
งบประมาณ บางครั้งก็ยังไม่เหมาะสมกับงานที่ต้องทำ วัสดุอุปกรณ์ ตัวชี้วัด ทั้งหมดนี้ก็ทำให้งานเสร็จได้
ปัญหา ชาวบ้านไม่ให้ความร่วมมือ อย่างที่ได้พูดไป โครงการถังขยะเปียกลดโลกร้อน ด้วยบริบท ชุมชนเป็น
ชุมชนชนบท เลี้ยงหมู เลี้ยงเป็ด เลี้ยงไก่ ก็เอาเศษอาหารไปเทให้ เป็ด ไก่ หมู ที่เลี้ยงกิน และก็เอาไปทำปุ๋ยอยู่
แล้ว และก็บุคลากร ก็มีการต่อต้านบางเป็นเรื่องปกติในการทำงาน บางคนก็มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี งบประมาณ ก็
มีไม่เพียงอยู่แล้ว ก็จะต้องทำเรื่องของบเงินอุดหนุน กับทาง อบจ. สถอ.สังขะ ทางหลวง กรมทาง เพื่อของงบ
มาในการทำโครงการ หรือกิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับความสามารถ ศักยภาพของนายกแต่ละท่าน เพราะ
งบไม่เพียงพอ มันก็จะวนกันไปหมด
ด้านที่ 4 การปฏิบัติงานของสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
เป็นพี่เลี้ยง ให้คำแนะนำ มีการทำงานทุกวัน เสาร์ อาทิตย์ก็ทำด้วย มีการลงพื้นที่มา
ดูงาน นาน ๆ มาที
ข้อเสนอแนะ
ควรใช้หลัก SWOT มาวิเคราะห์ จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค ทั้งในการ
ทำงาน และสามารถนำไปใช้กับการทำวิจัยได้
จากการสัมภาษณ์ นาย ร ด้านที่ 1 พันธกิจ ของสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น มีความ
สอดคล้องกัน แต่บางงานไม่เหมาะสม เช่น โครงการถังขยะเปียกลดโลกร้อน ด้านที่ 2 แนวทางในการส่งเสริม
สนับสนุนของสำนักงานส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น มีการช่วยประชาสัมพันธ์ สนับสนุนทั้งในด้ าน
งบประมาณ การอบรม และข้ อกฎหมาย ระเบียบต่าง ๆ ด้านที่ 3 ปัจจัยและปัญหาอุปสรรคที่ส่งผลต่อการ
ปฏิบัติงาน ปัจจัยที่ทำให้งานสำเร็จ การประสานงานกันกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และด้านงบประมาณ
ความร่วมมือนกันของทั้งองค์กรและชุมชน ปัจจัยนำเข้า ก็จะต้องมีนโยบาย มีกรอบอำนาจหน้าที่ในการทำงาน
บุคลากร งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ ตัวชี้วัด เป็นสิ่งที่สำคัญที่ทำให้งานสำเร็ จได้ ปัญหา ชาวบ้านไม่ให้ความ
ร่วมมือ บุคลากร ก็มีการต่อต้าน งบประมาณที่ไม่เพียงพอ ความสามารถ ศักยภาพของนายก ด้านที่ 4 การ
ปฏิบัติงานของสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น มีการทำงานทุกวัน เป็นพี่เลี้ยง คอยให้คำแนะนำในการ
ปฏิบัติงานต่าง ๆ
นาย อ กระเทียม
ด้านที่ 1 พันธกิจของสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
งานตรงตามอำนาจหน้าที่ สอดคล้อง ตามกรอบงานได้ต้องได้ทำ เพราะ เป็นงานที่
ต้องดูแลพื้นที่ ประชาชน ชาวบ้านในชุมชน
ด้านที่ 2 แนวทางในการส่งเสริม สนับสนุนของสำนักงานส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น
ส่งเสริมในการแจ้งการอบรมต่าง ๆ ให้บุคลากรใน อบต.เข้าร่วมการอบรมที่ได้มีการ
จัดขึ้น สนับสนุนงบประมาณ เป็นพี่เลี้ยงในการให้คำแนะนำ คำปรึกษาในการทำงานตามกรอบอำนาจหน้าที่
ด้านที่ 3 ปัจจัยและปัญหาอุปสรรคที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงาน
สิ่งสำคัญที่จะทำให้สำเร็จ จะต้องมีการร่วมมือกันอย่างเป็นระบบ ชุมชน องค์กร
ต้องมีความเข้มแข็งในการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นการพูดคุยกันในการทำงาน รับฟังความคิดเห็นของกันและกัน
งบประมาณ บุคลากรในการทำงานที่เพียงพอ ด้านปัจจัยนำเข้า ก็มีความสำคัญทั้งหมดนี้ ก็เป็นสิ่งที่จะต้องมีใน
การทำงาน เพื่อที่จะให้งานสำเร็จได้ แต่ถ้าไม่มีหรือขาดไป ก็อาจจะทำให้งานไม่สำเร็จได้ ปัญหาก็เป็นบุคลากร
ที่มีจำนวนน้อย งานไม่เหมาะสมกับจำนวนบุคลากร และงบประมาณ
ด้านที่ 4 การปฏิบัติงานของสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
คอยให้คำแนะนำ เป็นที่ปรึกษาในการทำงานที่ดี ทั้งในข้อระเบียบต่าง ๆ ข้อ
กฎหมายที่เกี่ยวข้องในการทำงานของ อบต.
ข้อเสนอแนะ
ไม่มี
จากการสัมภาษณ์ นาย อ ด้านที่ 1 พันธกิจของสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ตรง
ตามอำนาจหน้าที่ สอดคล้อง ตามกรอบงานของหน่วยงาน ด้านที่ 2 แนวทางในการส่งเสริม สนับสนุน ของ
สำนักงานส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น ส่งเสริมด้านบุคลากรในการอบบรม และงบประมาณ ด้านที่ 3
ปัจจัยและปัญหาอุปสรรคที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงาน ปัจจัยที่ทำให้งานสำเร็จ มีการร่วมมือกันอย่างเป็นระบบทั้ง
ในระดับองค์และชุมชน งบประมาณ บุคลากรที่เพียงพอ ปัญหาบุคลากรและงบประมาณมีจำนวนจำกัด ด้านที่
4 การปฏิบัติงานของสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น คอยให้คำแนะนำ เป็นที่ปรึกษาในการปฏิบัติงานที่
ดี
แบ่งการนำเสนอผลการวิจัยเป็น 2 ด้าน สำหรับ ท้องถิ่นอำเภอสังขะ ได้ดังนี้
ด้านที่ 1 พันธกิจและบทบาทของสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
ด้านที่ 2 ปัจจัยนำเข้าและอุปสรรคในการปฏิบัติงาน
ท้องถิ่นอำเภอ
ด้านที่ 1 พันธกิจและบทบาทของสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
พันธกิจของสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นอำเภอและงานที่ได้รับมอบหมาย
เห็นว่าไม่สอดคล้องกับพันธกิจของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เนื่องจากสำนักงานเสริมการปกครอง
ท้องถิ่นอำเภอ ไม่มีโครงสร้างเป็นราชการส่วนภูมิภาคระดับอำเภอ เป็นข้าราชการสังกัดสำนักงานส่งเสริมการ
ปกครองท้องถิ่นจังหวัดซึ่งเป็นราชการส่วนภูมิภาคระดับจังหวัด ที่ต้องมปฏิบัติหน้าที่อยู่ที่ที่ว่าการอำเภอทำ
หน้าที่เป็นผู้ช่วยเหลือนายอำเภอในการกำกับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ปฏิบัติหน้าที่งานธุรการรับ -ส่ง
หนังสือ ติดตามประสานงานนโยบายกระทรวง กรม รับเรื่องราวร้องทุกข์ ตรวจสอบเรื่องร้องเรียนการทุจริต
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งไม่สอดคล้องกับจำนวนบุคลากรที่ส่งไปปฏิบัติหน้าที่เพียงอำเภอละ 1 ถึง 2
คน เนื่องจากมีงานที่จำนวนมาก และภารกิจหน้าที่ไม่ชัดเจนตามพันธกิจในการส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่นมีความเข้มแข็งและมีศักยภาพในการให้บริการสาธารณะตามมาตรฐานสากล บทบาทอำหน้าหน้าที่ของ
สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ไม่มีความเหมาะสม ไม่สอดคล้องตามพันธกิจในการส่งเสริมให้องค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นมีความเข้มแข็งและมีศักยภาพในการให้บริการสาธารณะตามมาตรฐานสากลโดยการ
พัฒนาและให้คำปรึกษาแนะนำในด้านการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น การบริหารงานบุคคล การเงิน การคลัง
และการบริหารการจัดการ เนื่องจากงานที่ปฏิบัติระดับอำเภอไม่สอดคล้องกับพันธกิจ เมื่อเทียบกับหน่วยงาน
อื่นซึ่งมีความชัดเจน ในส่วนของพันธกิจที่ว่าสามารถทำได้จริงหรือไม่ เห็นว่าเพื่อให้การขับเคลื่อนพันธกิจของ
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นได้จริง ควรมีการปรับโครงสร้างส่วนราชการเป็นราชการส่วนภูมิภาคระดับ
อำเภอ
ด้านที่ 2 ปัจจัยนำเข้าและอุปสรรคในการปฏิบัติงาน
อุปสรรคในการทำงานของสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น บุคลากรไม่เพียงพอในการ
ปฏิบัติหน้าที่ ประสานงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งมีจำนวนมากแต่ละอำเภอ และงบประมาณที่จัดสรรให้จำกัดไม่
เพียงพอ ความคิดเห็นต่อคุณภาพงานที่ได้มอบหมายให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ดำเนินการ เห็นว่าโครงการที่เป็น
นโยบายจากส่วนกลาง อย่างเช่นโครงการถังขยะเปียกลดโลกร้อน หรือโครงการอื่นๆ ยังขาดความเข้าใจ ข้อมูลในพื้นที่ที่จะ
ดำเนินการ ซึ่งแต่ละพื้นที่ แต่ละองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีปัญหา และบริบท ที่ต่างกัน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่มีส่วน
ร่วมในการกำหนดนโยบาย ทำให้การดำเนินการไม่ประสบผลสำเร็จตามเป้าหมาย และสิ้นเปลืองงบประมาณ ปัจจัยนำเข้า
ไม่สอดคลอดกับงานที่ได้รับมอบหมาย ทำให้งานที่จะทำไม่สามารถบรรลุเป้าหมายในการส่งเสริมและสนับสนุนองค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นยังขาดความรู้ ความสามารถในการบริหารงาน งบประมาณต่างๆ เนื่องจากงานที่ได้รับ
มอบหมายไม่สอดคล้องกับพันธกิจ จำนวนบุคลากรมีจำนวนน้อย 1 - 2 คนต่อ 1 อำเภอ บางแห่ง 1 คนต่อ 2 อำเภอก็มีใน
บางแห่ง งบประมารณ วัสดุอุปกรณ์ไม่เพียงพอเพราะเป็นงบสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดกระจายให้สำนักงาน
ส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นอำเภอ ตัวชี้วัดที่ได้รับมอบหมายไม่สอดคล้องกับการทำงาน

ข้อเสนอแนะ
หากต้องการบรรลุเป้าหมายพันธกิจ ในการส่งเสริมและสนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
สู่การพัฒนาและให้คำปรึกษาแนะนำในด้านการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น การบริหารงานบุคคล การเงิน การ
คลัง และการบริห ารการจั ดการ เพื่อให้มี ความเข้ มแข้ งและมี ศั กยภาพในการให้บริก ารสาธารณะตาม
มาตรฐานสากล ต้องกำหนดค่างานให้จัดเจน พัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถ ในการให้คำแนะนำ
ส่งเสริมสนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในด้านต่างๆ ปรับปรุงโครงสร้างให้เป็นราชการส่วนภูมิภาคระดับ
อำเภอเพื่อให้มีงบประมาณ และบุคลากรที่เหมาะสม ในการปฏิบัติงานตามพันธกิจที่ได้รับมอบหมาย
จากการสัมภาษณ์ ท้องถิ่นอำเภอ สรุปได้ว่า ด้านที่ 1 พันธกิจและบทบาทของสำนักงานส่งเสริมการ
ปกครองท้ อ งถิ ่น พัน ธกิจ ของสำนั ก งานส่ งเสริ ม การปกครองท้ อ งถิ ่น อำเภอและงานที ่ ได้รั บ มอบหมาย
ไม่สอดคล้องกับพันธกิจของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เนื่องจากสำนักงานเสริมการปกครองท้องถิ่น
อำเภอ ไม่มีโครงสร้างเป็นราชการส่วนภูมิภาคระดับอำเภอ เป็นข้าราชการสังกัดสำนักงานส่งเสริมการปกครอง
ท้องถิ่นจังหวัดซึ่งเป็นราชการส่วนภูมิภาคระดับจังหวัด ที่ต้องมาปฏิบัติหน้าที่อยู่ที่ที่ว่าการอำเภอทำหน้าที่เป็น
ผู้ช่วยเหลือนายอำเภอในการกำกับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ปฏิบัติหน้าที่งานธุรการรับ -ส่งหนังสือ
ติดตามประสานงานนโยบายกระทรวง กรม รับเรื่องราวร้องทุกข์ ตรวจสอบเรื่องร้องเรียนการทุจริต บทบาท
อำหน้าหน้าที่ของสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ไม่มีความเหมาะสม ไม่สอดคล้องตามพันธกิจในการ
ส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในส่วนของพันธกิจที่ว่าสามารถทำได้จริงหรือไม่ สามารถทำได้จริง ถ้ามี
การปรับโครงสร้างส่วนราชการเป็นราชการส่วนภูมิภาคระดับอำเภอ ด้านที่ 2 ปัจจัยนำเข้าและอุปสรรคในการ
ปฏิบัติงาน อุปสรรคในการทำงาน บุคลากรไม่เพียงพอในการปฏิบัติหน้าที่ การประสานงานองค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่น และงบประมาณที่จัดสรรให้จำกัดไม่เพียงพอ ในส่วนความคิดเห็นต่อคุณภาพงานที่ได้มอบหมาย
ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ดำเนินการ โครงการที่เป็นนโยบายจากส่วนกลาง หรือโครงการอื่น ๆ ซึ่ง
ส่วนกลาง ยังขาดความเข้าใจ ข้อมูลในพื้นที่ที่จะดำเนินการ ซึ่งแต่ละพื้นที่ แต่ละองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมี
ปัญหา และบริบท ที่ต่างกัน ปัจจัยนำเข้า ไม่สอดคลอดกับงานที่ได้รับมอบหมาย ทำให้งานที่จะทำไม่สามารถ
บรรลุเป้าหมายในการส่ งเสริมและสนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นยังขาด
ความรู้ ความสามารถในการบริหารงาน งบประมาณต่าง ๆ และงานที่ได้รับมอบหมายไม่สอดคล้องกับพันธกิจ
จำนวนบุคลากรมีจำนวนน้อย 1 - 2 คนต่อ 1 อำเภอ บางแห่ง 1 คนต่อ 2 อำเภอก็มีในบางแห่ง งบประมารณ
วัสดุอุปกรณ์ไม่เพียงพอเพราะเป็นงบสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดกระจายให้สำนักงานส่งเสริม
การปกครองท้องถิ่นอำเภอ ตัวชี้วัดที่ได้รับมอบหมายไม่สอดคล้องกับการทำงาน

4.2 ผลการวิเคราะห์
ผลการวิเคราะห์จากการสัมภาษณ์ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
สรุปได้ว่า ด้านที่ 1 พันธกิจของสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น มีความสอดคล้องกับง
งานที่ได้รับมอบหมายจากสำนักงานส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น แต่มีงานบางบางที่ไม่เหมาะสมกับพันธ
กิจของสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เพราะ มีการสนับสนุน ใหคำปรึกษา คำแนะนำในการปฏิบัติงาน
ด้านที่ 2 แนวทางในการส่งเสริม สนับสนุนของสำนักงานส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น
สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ส่วนมากจะส่งงเสริม สนับสนุน ในด้านงบประมาณ และการแจ้งการ
อบรมต่าง ๆ ให้กับบุคลากร คอยสนับสนุน ให้คำแนะนำ เป็นที่ปรึกษาข้อกฎหมาย ระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ในการปฏิบัติงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ด้านที่ 3 ปัจจัยและปัญหาอุปสรรคที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงาน ปัจจัยที่จะทำให้งานประสบ
ความสำเร็จ จะเป็นในด้านความร่วมมือของบุคลากรทั้งภายในองค์กร และนอกองค์กร หน่วยงานต่าง ๆ ชุมชน
การประสาน งบประมาณ บุคลากรที่เพียงพอต่องานที่ได้รับมอบหมาย มีการบริหารจัดการที่ดี วัสดุอุปกรณ์
ต่าง ๆ ในการดำเนินงานที่เหมาะสมและเพียงพอต่อการปฏิบัติงาน ผู้นำมีวิสัยทัศน์ในการทำงาน มีการทำงาน
ที่อย่างเป็นระบบ ปัจจัยนำเข้าที่ส่งผลให้การปฏิบัติงานประสบความสำเร็จ จะต้องมีหลัก 4M คือ งบประมาณ
การบริหารจัดการที่ดี วัสดุอุปกรณ์ และบุลคากร ซึ่งเป็นสิ่งที่จะทำให้งานประสบความสำเร็จ และจะต้องมี
นโยบายเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน ตัวชี้วัดในการกำหนดคุณภาพของงาน ซึ่งทั้งหมดสามารถทำให้งาน
สำเร็จได้ ส่วนปัญหา อุปสรรคในการปฏิบัติงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ส่วนมากจะเป็นในด้าน
งบประมาณที่ไม่เพียงพอ บุคลากรมีจำนวนน้อยไม่เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน ความร่วมมือของบุคลากร ชุมชน
บุคลากรขาดความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติงาน
ด้านที่ 4 การปฏิบัติงานของสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เป็นพี่เลี้ยง เป็นที่ปรึกษา
คอยให้คำแนะนำ ในการปฏิบัติงาน ทั้งในการด้านข้อกฎหมาย ระเบียบต่าง ๆ ที่มีความเกี่ยวข้องในการ
ปฏิบัติงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นอย่างดี และเมื่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไปติดต่องานก็ได้รับ
ความรวดเร็วในการรับบริการ แต่ก็จะมีปัญหา ในการส่งหนังสือในบางครั้งยังที่ยังมีความล่าช้า ซึ่งอาจจะส่งผล
ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นปฏิ บัติงานได้ไม่ทันเวลา และด้านบุคลากรมีจำนวนที่น้อย ซึ่งทำให้เวลาไปส่ง
หนังสือที่สำนักงาน ขอคำแนะนำหรือขอคำปรึกษาที่สำนักงาน ก็อาจจะไม่พบบุคลากรของสำนักงาน ขาดการ
ประสานงานที่ยังไม่เป็นระบบ
ข้อเสนอแนะ สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นอำเภอควรมีการนัดพูดคุย พบปะกับ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ เพื่อพูดคุยแลกเปลี่ยนปัญหาต่าง ๆ ที่พบในแต่ละพื้นที่ ในเรื่องการส่ง
หนังสือให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรมีการส่งอย่างน้อย 1 สัปดาห์ เพื่อให้องค์กรปกครองส่ว นท้องถิ่น
ได้มีการเตรียมตัวในงานที่ได้รับมอบหมาย ด้านการสื่อสารที่ยังไม่รวดเร็ว ควรมีการจัดทำปฏิทินงานในแต่ละปี
เพื่อใองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ทราบถึงกิจกรรมที่จะเกิดขึ้น ช่วยดูแลในด้านงบประมาณในการปฏิบัติงาน
และส่งเสริมบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ดียิ่งขึ้น ใช้หลัก SWOT ในการทำงานและทำวิจัย
ผลการวิเคราะห์จากการสัมภาษณ์ท้องถิ่นอำเภอ
ด้านที่ 1 พัน ธกิจ และบทบาทของสำนัก งานส่ งเสริม การปกครองท้ องถิ ่น พันธกิ จ ของ
สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นอำเภอและงานที่ได้รับมอบหมาย ไม่สอดคล้องกับพันธกิจของกรม
ส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เนื่องจากสำนักงานเสริมการปกครองท้องถิ่นอำเภอ ไม่มีโครงสร้างเป็นราชการ
ส่วนภูมิภาคระดับอำเภอ แต่เป็นข้าราชการของจังหวัดที่ต้องมาปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ช่วยเหลือนายอำเภอในการ
กำกับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ปฏิบัติหน้าที่งานธุรการรับ -ส่งหนังสือ ติดตามประสานงานนโยบาย
กระทรวง กรม รับเรื่องราวร้องทุกข์ ตรวจสอบเรื่องร้องเรียนการทุจริต ซึ่งไม่ตรงตามพันธกิจ และบทบาทอำ
หน้าหน้าที่ของสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ไม่มีความเหมาะสม ไม่สอดคล้องตามพันธกิจในการ
ส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในส่วนของพันธกิจที่ว่าสามารถทำได้จริงหรือไม่ สามารถทำได้จริง ถ้ามี
การปรับโครงสร้างส่วนราชการเป็นราชการส่วนภูมิภาคระดับอำเภอ
ด้านที่ 2 ปัจจัยนำเข้าและอุปสรรคในการปฏิบัติงาน อุปสรรคในการทำงาน บุคลากรไม่
เพียงพอในการปฏิบัติหน้าที่ การประสานงาน และงบประมาณที่ไม่เพียงพอ ในส่วนความคิดเห็นต่อคุณภาพ
งานที่ได้มอบหมายให้องค์กรปกครองส่ วนท้องถิ่นได้ดำเนินการ โครงการที่เป็นนโยบายจากส่วนกลาง หรือ
โครงการอื่น ๆ ซึ่งส่วนกลาง ยังขาดความเข้าใจ ข้อมูลในพื้นที่ที่จะดำเนินการ ซึ่งแต่ละพื้นที่ แต่ละองค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นมีปัญหา และบริบท ที่ต่างกัน ปัจจัยนำเข้า ไม่สอดคลอดกับงานที่ได้รับมอบหมาย ทำให้
งานที่จะทำไม่สามารถบรรลุเป้าหมายได้ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นยังขาดความรู้ ความสามารถในการ
บริหารงาน งบประมาณต่าง ๆ และงานที่ได้รับมอบหมายไม่สอดคล้องกับพันธกิจ เช่น จำนวนบุคลากรมี
จำนวนน้อย แต่งานที่มอบหมายมาต้องใช้จำนวนบุคลากรจำมาก งบประมารณ วัสดุอุปกรณ์ไม่เพียงพอ และ
ตัวชี้วัดที่ได้รับมอบหมายไม่สอดคล้องกับการทำงาน
ข้อเสนอแนะ หากต้องการบรรลุเป้าหมายพันธกิจ ต้องกำหนดค่างานให้จัดเจน พัฒนาบุคลากรให้มี
ความรู้ความสามารถ ในการให้คำแนะนำ ส่งเสริมสนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในด้านต่าง ๆ ปรับปรุง
โครงสร้างให้เป็นราชการส่วนภูมิภาคระดับอำเภอเพื่อให้มีงบประมาณ และบุคลากรที่เหมาะสม ในการ
ปฏิบัติงานตามพันธกิจที่ได้รับมอบหมาย
บทที่ 5
สรุปผลการวิจัย อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
การศึกษาวิจัยเรื่อง ผลสัมฤทธิ์ของการปฏิบัติงานสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นอำเภอ :
กรณีศึกษา สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น อำเภอสังขะ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์
ในการปฏิบัติงานของสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นอำเภอ ต่อการปฏิบัติงานขององค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่น และศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงานของสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นอำเภอ ต่อ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
การศึกษาในครั้งนี้ใช้ระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ การสัมภาษณ์เชิงลึก
ซึ่งเป็นผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 13 คน และบุลคากรสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
อำเภอ จำนวน 1 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ตอน ดังนี้ ตอนที่
1 ข้อมูลทั่วไปของผู้สัมภาษณ์ ตอนที่ 2 เป็นคำถามปลายเปิดผลสัมฤทธิ์ของการปฏิบัติงานสำนักงานส่งเสริม
การปกครองท้องถิ่นอำเภอ กรณีศึกษา สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น อำเภอสังขะ (สำหรับผู้บริหาร
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น) ตอนที่ 3 เป็นคำถามปลายเปิดเกี่ยวกับปัญหาของสำนักงานส่งเสริมการปกครอง
ท้องถิ่น อำเภอ (สำหรับบุคลากรสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น อำเภอ) และตอนที่ 4 ข้อคิดเห็ น
ข้อเสนอแนะ

5.1 สรุปผลการวิจัย
ผู้วิจัยสามารถสรุปได้ว่า ผลสัมฤทธิ์ของการปฏิบัติงานสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
อำเภอ : กรณีศึกษา สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น อำเภอสัง ะ มีอยู่ 4 ด้าน สำหรับผู้บริหารองค์กร
ปกครองส่ ว นท้ อ งถิ ่ น ประกอบด้ ว ย ด้ า นที ่ 1 พั น ธกิ จ ของสำนั ก งานส่ ง เสริ ม การปกครองท้ อ งถิ่ น
ด้านที่ 2 แนวทางในการส่งเสริม สนับสนุน ของสำนักงานส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น ด้านที่ 3 ปัจจัย
นำเข้าและปัญหาอุปสรรค ด้านที่ 4 การปฏิบัติงานของสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ซึ่งทั้ง 4 ด้านนี้
ผู้บริหารองค์กรก็ได้มีการแสดงความคิดเห็นที่แตกต่างกันออกไป ถึงผลผลสัมฤทธิ์ของการปฏิบัติงานสำนักงาน
ส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นอำเภอ ทั้งในด้านที่ดีและในด้านที่ควรปรับปรุงแก้ ไข และบุคลากรสำนักงาน
ส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นอำเภอ มีอยู่ 2 ด้าน ประกอบด้วย ด้านที่ 1 พันธกิจและบทบาทของสำนักงาน
ส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และ ด้านที่ 2 ปัจจัยนำเข้าและอุปสรรคในการปฏิบัติงาน ก็ได้มีการแสดงความคิด
ต่อ พันธกิจ บทบาทของหน่วยงาน ปัจจัยต่าง ๆ อุปสรรคในการปฏิบัติงานของสำนักงาน ซึ่งก็ทำให้ทราบถึง
ปัญหาต่าง ๆ ที่พบในการในการปฏิบัติงานของสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นอำเภอด้วย
5.1.1 ศึกษาผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานของสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นอำเภอ
ต่อการปฏิบัติงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ด้านที่ 1 สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นมีการทำงานที่ตรงตามพันธกิจของ
หน่วยงาน แต่ก็ยังมีงานที่ยังไม่เหมาะสมกับบริบทของชุมชน และงานบางงานที่ได้รับมอบหมาย หรือกิจกรรม
ต่าง ๆ ที่ทางท้องถิ่นมอบหมายให้ทางองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นปฏิบัติ ก็ยังไม่เหมาะสมกับจำนวนบุคลากร
ของหน่วยงานและงบประมาณที่ได้รับมา
ด้านที่ 2 จากการสัมภาษณ์ พบว่า สำนักงานส่งเสริมการปกครองจะมีการสนับสนุน
ในด้านบุคลากรในการอบรมหลักสูตรต่าง ๆ งบประมาณ และคอยสนับสนุนนการทำงานขององค์กรปกครอง
ส่ว นท้อง ไม่ว ่าจะเป็น ที่ป รึกษา หรือคอยให้คำแนะนำต่าง ๆ ทั้งในข้อกฎหมาย ระเบียบต่าง ๆ ในการ
ปฏิบัติงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้ถูกต้องตามระเบียบ และกรอบอำนาจหน้าที่ขององค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นที่สามารถปฏิบัติงาน แต่ก็ยังมีการสนับสนุนที่ยังไม่ทั่วถึง เนื่องจากบุคลากรของสำนักงาน
ส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นมีจำนวนน้อย ก็อาจจะส่งผลต่อการมาติดต่องานที่สำนักงาน เพราะ บางครั้ง
บุคลากรของสำนักงงานก็ต้องมีการลงพื้นที่ และเมื่อมาก็อาจจะไม่พบได้ เป็นต้น
ด้านที่ 3 จากการสัมภาษณ์ พบว่า ปัจจัยที่จะทำให้งานสำเร็จ หลัก ๆ ที่ พบ
ส่วนมากจะเป็นในเรื่องการให้ความร่วมมือของบุคลากร ชุมชน หน่วยงานต่าง ๆ ในการปฏิบัติงาน การ
ประสานงานขององค์กรต่าง ๆ ด้านงบประมาณ ที่เพียงพอในการปฏิบัติงาน ผู้บริหารมีการสนับสนุนการ
ทำงานของบุคลากร การมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีกับบุคลากร ชุมชน และหน่วยงานต่าง ๆ ปัจจัยนำเข้า ได้แก่
นโยบาย จำนวนบุคลากร งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ และตัวบงชี้วัดคุณภาพของการบริหาร จากการได้ไป
สัมภาษณ์ ผู้บริหารส่วนมากได้บอกว่า ปัจจัยนำเข้าทั้งหมดทำให้งานสำเร็จได้ตามเป้าหมายและตามอำหน้า
หน้าที่ หรือกรอบที่ได้รับมอบหมายในการปฏิบัติงานได้ หรือการที่ใช้หลัก 4M ประกอบไปด้วย งบประมาณ
บุคลากร วัสดุอุปกรณ์ การบริหารจัดการที่ดี ก็ สามารถที่จะทำให้งานประสบความสำเร็จตามเป้าหมายได้
ปัญหาที่ทางองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมี ซึ่งจากการที่ได้ไปสัมภาษณ์ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ส่วนมากจะเป็นปัญหาในด้านบุคลากรไม่เพียงพอ ต่องานที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งก็ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพราะ การที่มีจำนวนบุคลากรที่ไม่เพียงพอต่องาน ทำให้บุคลากร 1 คนหรือ 1
ตำแหน่ง ต้องรับผิดชอบงานมากกว่า 2 งาน ซึ่งก็ส่งผลต่องานทำงาน ทำให้งานล่าช้าได้ หรือบางหน่วยงาน
บุคลากรทำงานแทนตำแหน่งที่ว่าง ก็ส่งผลต่องานทำงานได้เหมือนกัน เพราะ ตำแหน่งงานที่ว่างบางตำแหน่ง
ต้องใช้ความรู้เฉพาะด้าน ถ้ามาทำงานแทนกันก็อาจจะล่าช้าได้ และงบประมาณไม่เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน
ซึ่งทั้งบุคลากรและงบประมาณ เป็นสิ่งสำคัญที่ทางองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องการเป็ นอย่างมากในการ
ปฏิบัติงาน
ด้านที่ 4 จากการสัมภาษณ์ พบว่า ส่วนมากจะพึ่งพอใจในด้านการเป็นพี่เลี้ยง เป็นที่
ปรึกษา คอยให้คำแนะนำต่าง ๆ ในการปฏิบัติงานเป็นอย่างดี แต่ก็ยังมีสิ่งที่ต้องแก้ไข จากที่ได้ไปสัมภาษณ์
ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คือ ด้านการส่งหนังสื อราชการที่ยังมีความล่าช้า และการประสานงานที่
ยังไม่ดีเท่าที่ควร บุคลากรของสำนักงานมีจำนวนน้อย จึงอยากให้มีเพิ่มเพื่อให้เกิดการทำงานที่มีความรวดเร็ว
ยิ่งขึ้น และควรมีการนัดพบปะพูดคุยกับผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ปัญหาของ
กันและกัน
5.1.2 ศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงานของสำนักงานส่งเสริมการปกครอง
ท้องถิ่นอำเภอ ต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ด้านที่ 1 พันธกิจและบทบาทของสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น พันธกิจของ
สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นอำเภอและงานที่ได้รับมอบหมาย ไม่สอดคล้องกับพันธกิจของกรม
ส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เนื่องจากสำนักงานเสริมการปกครองท้องถิ่นอำเภอ ไม่มีโครงสร้างเป็นราชการ
ส่วนภูมิภาคระดับอำเภอ แต่เป็นข้าราชการของจังหวัดที่ต้องมาปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ช่วยเหลือนายอำเภอในการ
กำกับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ปฏิบัติหน้าที่งานธุรการรับ-ส่งหนังสือ ติดตามประสานงานนโยบาย
กระทรวง กรม รับเรื่องราวร้องทุกข์ ตรวจสอบเรื่องร้องเรียนการทุจริต ซึ่งไม่ตรงตามพันธกิจ และบทบาทอำ
หน้าหน้าที่ของสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ไม่มีความเหมาะสม ไม่สอดคล้องตามพันธกิจในการ
ส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในส่วนของพันธกิจที่ว่าสามารถทำได้จริงหรือไม่ สามารถทำได้จริง ถ้ามี
การปรับโครงสร้างส่วนราชการเป็นราชการส่วนภูมิภาคระดับอำเภอ
ด้ า นที ่ 2 ปั จ จั ย นำเข้ า และอุ ป สรรคในการปฏิ บ ัต ิ ง าน อุ ป สรรคในการทำงาน
บุคลากรไม่เพียงพอในการปฏิบัติหน้าที่ การประสานงาน และงบประมาณทีไ่ ม่เพียงพอ ในส่วนความคิดเห็นต่อ
คุณภาพงานที่ได้มอบหมายให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ดำเนินการ โครงการที่เป็นนโยบายจากส่วนกลาง
หรือโครงการอื่น ๆ ซึ่งส่วนกลาง ยังขาดความเข้าใจ ข้อมูลในพื้นที่ที่จะดำเนินการ ซึ่งแต่ละพื้นที่ แต่ละองค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นมีปัญหา และบริบท ที่ต่างกัน ปัจจัยนำเข้า ไม่สอดคลอดกับงานที่ได้รับมอบหมาย ทำให้
งานที่จะทำไม่สามารถบรรลุเป้าหมายได้ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นยังขาดความรู้ ความสามารถในการ
บริหารงาน งบประมาณต่าง ๆ และงานที่ได้รับมอบหมายไม่สอดคล้องกับพันธกิจ เช่น จำนวนบุคลากรมี
จำนวนน้อย แต่งานที่มอบหมายมาต้องใช้จำนวนบุคลากรจำมาก งบประมารณ วัสดุอุปกรณ์ไม่เพียงพอ และ
ตัวชี้วัดที่ได้รับมอบหมายไม่สอดคล้องกับการทำงาน
ดังนั้นจะเห็นได้ว่า ทั้ง 4 ด้านของการสัมภาษณ์ของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นสิ่งที่มี
ความสำคัญในการปฏิบัติงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่จะทำให้งานบรรลุเป้าหมายได้ และทาง
สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นอำเภอสังขะ ควรจะมีการเข้าไปรับฟังปัญหาต่าง ๆ ขององค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่น และร่วมแก้ไขปัญหา หาวิธี แนวทางการแก้ไขปัญหาร่วมกัน เพื่อที่จะได้ทราบว่าแต่ละพื้นที่มี
ปัญหาในด้านไหนบ้าง เพื่อที่จะทำให้งานสามารถบรรลุตามเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสำนัก งาน
ส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ควรจะมีบุคลากรในการปฏิบัติงานที่เพียงพอต่องานที่ได้รับมอบหมาย เพื่อที่จะ
ช่วยให้การทำงานมีความรวดเร็วยิ่งขึ้น เช่น การส่งหนังสือ เป็นต้น และสามารถที่จะเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ที่
ทางองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้จัดขึ้นอย่างทั่วถึง และควรมีการนัดพบปะพูดคุยกับผู้บริหารองค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ปัญหาของกันและกัน เพื่อจะทราบถึงปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นของแต่ล ะ
หน่วยงาน และหาแนวทางแก้ไขร่วมกัน และ 2 ด้านจากการสัมภาษณ์ของท้องถิ่นอำเภอ ก็เป็นสิ่งที่จะนำไปสู้
การกำหนดแนวทางต่าง ๆ ในการปฏิบัติงานของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และทางกรมส่งเสริมการ
ปกครองท้องถิ่น ควรจะมีการเข้ามาดูแล หรือมีการลงพื้นที่ในการสำรวจโครงการต่าง ๆ พื้นที่จะได้ทราบ
บริบทของแต่ละพื้น ที่ ในการจัดทำโครงการว่าเหมาะสมหรือไม่ และควรจัดตั้งให้สำนักงานส่งเสริม ก าร
ปกครองท้องถิ่น อำเภอ เป็น ราชการส่ว นอำเภอ เพื่อที่จะได้มีจำนวนบุคลกกร และงบประมาณในการ
ดำเนินงานต่าง ๆ อย่างเต็มที่

5.2 อภิปรายผล
จากการศึ ก ษา ผลสั ม ฤทธิ ์ ข องการปฏิ บ ั ต ิ ง านสำนั ก งานส่ ง เสริ ม การปกครองท้ อ งถิ ่ น อำเภอ :
กรณีศึกษา สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น อำเภอสังขะ ในครั้งนี้ได้พบประเด็นสำคัญจากการ
ดำเนินการเก็บข้อมูลจากแบบสัมภาษณ์เชิงลึกที่ผู้วิจัยได้จัดทำขึ้น ค้นพบได้ในประเด็นดังนี้
5.2.1 ศึกษาผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานของสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นอำเภอ ต่อการ
ปฏิบัติงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ด้านที่ 1 สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นมีการทำงานที่ตรงตามพันธกิจของหน่วยงาน
แต่ก็ยังมีงานที่ยังไม่เหมาะสมกับบริบทของชุมชน และงานบางงานที่ได้รับมอบหมาย หรือกิจกรรมต่าง ๆ ที่
ทางท้องถิ่นมอบหมายให้ทางองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นปฏิบัติ ก็ยังไม่เหมาะสมกับจำนวนบุคลากรของ
หน่ว ยงานและงบประมาณที่ได้ร ับ มา ซึ่งไม่ส อดคล้องกับ วีระศักดิ์ สมยานะ (2549) ประสิทธิภ าพการ
ดำเนิน งานขององค์การบริห ารส่ว นจังหวัดเชียงใหม่ ปี 2549 การศึกษามีว ัตถุประสงค์เพื่อประเมิน การ
ดำเนินงานขององค์การบริหารส่วน จังหวัดเชียงใหม่ปีงบประมาณ 2549 พบว่า องค์กรควรจัดทำแผนการ
ดำเนินงานให้ตรงกับวิสัยทัศน์ขององค์กรเพื่อจัดทำโครงการต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับแผนงานอันจะนำมาซึ่ง
ประสิทธิภาพขององค์กรได้มากขึ้นถึงแม้องค์กรจะมีการ กำหนดโครงสร้างการดำเนินงานที่เป็นมาตรฐาน แต่
หากใช้บุคลากรให้เหมาะสมตามตำแหน่งและ หน้าที่แล้วก็จะสามารถเพิ่มศักยภาพขององค์กรได้มากขึ้น
ด้านที่ 2 จากการสัมภาษณ์ พบว่า สำนักงานส่งเสริมการปกครองจะมีการสนับสนุนในด้าน
บุคลากรในการอบรมหลักสูตรต่าง ๆ งบประมาณ และคอยสนับสนุนนการทำงานขององค์กรปกครองส่วนท้อง
ไม่ว่าจะเป็นที่ปรึกษา หรือคอยให้คำแนะนำต่าง ๆ ทั้งในข้อกฎหมาย ระเบียบต่าง ๆ ในการปฏิบัติงานของ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้ถูกต้องตามระเบียบ และกรอบอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่นที่สามารถปฏิบัติงาน แต่ก็ยังมีการสนับสนุนที่ยังไม่ทั่วถึง เนื่องจากบุคลากรของสำนักงานส่งเสริมการ
ปกครองส่วนท้องถิ่นมีจำนวนน้อย ก็อาจจะส่งผลต่อการมาติดต่องานที่สำนักงาน เพราะ บางครั้งบุคลากรของ
สำนั ก งงานก็ ต ้ อ งมี ก ารลงพื ้ น ที ่ และเมื ่ อ มาก็ อ าจจะไม่ พ บได้ เป็ น ต้ น ซึ ่ ง สอดคล้ อ งกั บ
วีระศักดิ์ สมยานะ (2549) ประสิทธิภาพการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ ปี 2549
การศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ปีงบประมาณ
2549 พบว่า หากใช้บุคลากรให้เหมาะสมตามตำแหน่งและหน้าที่แล้วก็จะสามารถเพิ่มศักยภาพขององค์กร
ได้มากขึ้น
ด้านที่ 3 จากการสัมภาษณ์ พบว่า ปัจจัยที่จะทำให้งานสำเร็จ หลัก ๆ ที่ พบส่วนมากจะเป็น
ในเรื่องการให้ความร่วมมือของบุคลากร ชุมชน หน่วยงานต่าง ๆ ในการปฏิบัติงาน การประสานงานของ
องค์กรต่าง ๆ ด้านงบประมาณ ที่เพียงพอในการปฏิบัติงาน ผู้บริหารมีการสนับสนุนการทำงานของบุคลากร
การมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีกับบุคลากร ชุมชน และหน่วยงานต่าง ๆ ปัจจัยนำเข้า ได้แก่ นโยบาย จำนวนบุคลากร
งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ และตัวบงชี้วัดคุณภาพของการบริหาร จากการได้ไปสัมภาษณ์ ผู้บริหารส่วนมากได้
บอกว่า ปัจ จัย นำเข้าทั้งหมดทำให้งานสำเร็จได้ตามเป้ าหมายและตามอำหน้าหน้าที่ หรือกรอบที่ได้รับ
มอบหมายในการปฏิบัติงานได้ หรือการที่ใช้หลัก 4M ประกอบไปด้วย งบประมาณ บุคลากร วัสดุอุปกรณ์ การ
บริหารจัดการที่ดี ก็ สามารถที่จะทำให้งานประสบความสำเร็จตามเป้าหมายได้ ปัญหาที่ทางองค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นมี ซึ่งจากการที่ได้ไปสัมภาษณ์ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ส่วนมากจะเป็นปัญหาในด้าน
บุคลากรไม่เพียงพอ ต่องานที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งก็ส่งผลต่อการปฏิบัติงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
เพราะ การที่มีจำนวนบุคลากรที่ไม่เพียงพอต่องาน ทำให้บุคลากร 1 คนหรือ 1 ตำแหน่ง ต้องรับผิด ชอบงาน
มากกว่า 2 งาน ซึ่งก็ส่งผลต่องานทำงาน ทำให้งานล่าช้าได้ หรือบางหน่วยงานบุคลากรทำงานแทนตำแหน่งที่
ว่าง ก็ส่งผลต่องานทำงานได้เหมือนกัน เพราะ ตำแหน่งงานที่ว่างบางตำแหน่งต้องใช้ความรู้เฉพาะด้าน ถ้ามา
ทำงานแทนกันก็อาจจะล่าช้าได้ และงบประมาณไม่เพียงพอต่อการปฏิ บัติงาน ซึ่งทั้งบุคลากรและงบประมาณ
เป็นสิ่งสำคัญที่ทางองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องการเป็นอย่างมากในการปฏิบัติงาน ซึ่งสอดคล้องกับ ภิรมย์
พร ไชยยนต์ (2557) ในด้านงบประมาณ ที่ได้ทำการศึกษา การกระจายอำนาจการปกครองท้องถิ่น : ศึกษา
กรณีการปกครองตนเองตาม เจตนารมณ์ของประชาชนในระดับจังหวัด พบว่า การปกครองท้องถิ่นไทยมี
ปัญหาด้านโครงสร้างที่ทับซ้อนกัน ปัญหาด้านอำนาจหน้าที่ของท้องถิ่นที่ยังไม่ชัดเจน ปัญหาด้านการกำกับ
ดูแลที่ราชการส่วนภูมิภาคกำกับดูแลท้องถิ่นจนขาดอิสระ ปัญหาด้านการคลัง งบประมาณที่ไม่เพียงพอและ
ขาดการพัฒนา และในด้านบุคลากร สอดคล้องกับ วีระศักดิ์ สมยานะ (2549) ประสิทธิภาพการดำเนินงานของ
องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ ปี 2549 การศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการดำเนินงานขององค์การ
บริหารส่วน จังหวัดเชียงใหม่ปีงบประมาณ 2549 พบว่า หากใช้บุคลากรให้เหมาะสมตามตำแหน่งและหน้าที่
แล้วก็จะสามารถเพิ่มศักยภาพขององค์กรได้มากขึ้น
ด้านที่ 4 จากการสัมภาษณ์ พบว่า ส่วนมากจะพึ่งพอใจในด้านการเป็นพี่เลี้ยง เป็นที่ปรึกษา
คอยให้คำแนะนำต่าง ๆ ในการปฏิบัติงานเป็นอย่างดี แต่ก็ยังมีสิ่งที่ต้องแก้ไข จากที่ได้ไปสัมภาษณ์ผู้บริหาร
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คือ ด้านการส่งหนังสือราชการที่ยังมีความล่าช้า และการประสานงานที่ยังไม่ดี
เท่าที่ควร บุคลากรของสำนักงานมีจำนวนน้อย จึงอยากให้มีเพิ่มเพื่อให้เกิดการทำงานที่มีความรวดเร็วยิ่งขึ้น
และควรมีการนัดพบปะพูดคุยกับผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ปัญหาของกันและ
กัน ซึ่งสอดคล้องกับ พลกฤต แสงอาวุธ (2563) ได้ทำการศึกษา ความร่วมมือในการจัดบริการสาธารณะของ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี ผลการศึกษาจากแบบสัมภาษณ์ พบว่า ควร
มีการประชุมหารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นความรู้ประสบการณ์เพื่อรวมเครือข่ายประสานความร่วมมือในการ
จัดทำบริการสาธารณะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานีและจัดทำฐานข้อมูล
เพื่อการบริหารของความร่วมมือในการจัดทำบริการสาธารณะ การจัดทำฐานข้อมูลที่จำเป็นในการจัดทำแผน
งบประมาณ การจัดทำแผนดำเนิ น การและโครงการ การประชาสั ม พันธ์ รวมทั้งมี การประเมิ นผลการ
ดำเนินการจัดทำการบริการสาธารณะอีกด้วย
5.2.2 ศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงานของสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้อ งถิ่น
อำเภอ ต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ด้านที่ 1 พัน ธกิจ และบทบาทของสำนัก งานส่ งเสริม การปกครองท้ องถิ ่น พันธกิ จ ของ
สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นอำเภอและงานที่ได้รับมอบหมาย ไม่สอดคล้องกับพันธกิจของกรม
ส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เนื่องจากสำนักงานเสริมการปกครองท้องถิ่ นอำเภอ ไม่มีโครงสร้างเป็นราชการ
ส่วนภูมิภาคระดับอำเภอ แต่เป็นข้าราชการของจังหวัดที่ต้องมาปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ช่วยเหลือนายอำเภอในการ
กำกับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ปฏิบัติหน้าที่งานธุรการรับ -ส่งหนังสือ ติดตามประสานงานนโยบาย
กระทรวง กรม รับเรื่องราวร้องทุ กข์ ตรวจสอบเรื่องร้องเรียนการทุจริต ซึ่งไม่ตรงตามพันธกิจ และบทบาท
อำนาจหน้าที่ของสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ไม่มีความเหมาะสม ไม่สอดคล้องตามพันธกิจในการ
ส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในส่วนของพันธกิจที่ว่าสามารถทำได้จริงหรือไม่ สามารถทำได้จริง ถ้ามี
การปรับโครงสร้างส่วนราชการเป็นราชการส่วนภูมิภาคระดับอำเภอ ซึ่งสอดคล้องกับ วีระศักดิ์ สมยานะ
(2549) ประสิทธิภาพการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ ปี 2549 การศึกษามีวัตถุประสงค์
เพื่อประเมินการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วน จังหวัดเชียงใหม่ปีงบประมาณ 2549 โดยใช้แบบจำลอง
CIPP model ผลการศึกษาสรุปได้ว่า องค์กรควรจดัทำแผนการดำเนินงานให้ตรงกับวิสัยทัศน์ขององค์กรเพื่อ
จัดทำโครงการต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับแผนงานอันจะนำมาซึ่งประสิทธิภาพขององค์ กรได้มากขึ้นถึงแม้องค์กร
จะมีการกำหนดโครงสร้างการดำเนินงานที่เป็นมาตรฐาน แต่หากใช้บุคลากรให้เหมาะสมตามตำแหน่งและ
หน้าที่แล้วก็จะสามารถเพิ่มศักยภาพขององค์กรได้มากขึ้น
ด้านที่ 2 ปัจจัยนำเข้าและอุปสรรคในการปฏิบัติงาน อุปสรรคในการทำงาน บุคลากรไม่
เพียงพอในการปฏิบัติหน้าที่ การประสานงาน และงบประมาณที่ไม่เพียงพอ ในส่วนความคิดเห็นต่อคุณภาพ
งานที่ได้มอบหมายให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ดำเนินการ โครงการที่เป็นนโยบายจากส่วนกลาง หรือ
โครงการอื่น ๆ ซึ่งส่วนกลาง ยังขาดความเข้าใจ ข้อมูลในพื้นที่ที่จะดำเนินการ ซึ่งแต่ละพื้นที่ แต่ละองค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นมีปัญหา และบริบท ที่ต่างกัน ปัจจัยนำเข้า ไม่สอดคลอดกับงานที่ได้รับมอบหมาย ทำให้
งานที่จะทำไม่สามารถบรรลุเป้าหมายได้ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นยังขาดความรู้ ความสามารถในการ
บริหารงาน งบประมาณต่าง ๆ และงานที่ได้รับมอบหมายไม่สอดคล้องกับพันธกิจ เช่น จำนวนบุคลากรมี
จำนวนน้อย แต่งานที่มอบหมายมาต้องใช้จำนวนบุคลากรจำมาก งบประมารณ วัสดุอุปกรณ์ไม่เพียงพอ และ
ตัวชี้วัดที่ได้รับมอบหมายไม่สอดคล้องกับการทำงาน ซึ่งสอดคล้องกับ ภ ิ ร ม ย ์ พ ร ไ ช ย ย น ต ์ (2 5 5 7 ) ไ ด้
ทำการศึกษา การกระจายอำนาจการปกครองท้องถิ่น : ศึกษากรณีการปกครองตนเองตาม เจตนารมณ์ของ
ประชาชนในระดับจังหวัด พบว่า การปกครองท้องถิ่นไทยมีปัญหาด้านโครงสร้างที่ทับซ้อนกัน ปัญหาด้านการ
คลัง งบประมาณที่ไม่เพียงพอและขาดการพัฒนา ปัญหาด้านการบริหารงานบุคคลซึ่งขาดการพัฒนาและ
ความก้าวหน้าทางสายอาชีพ

5.3 ข้อเสนอแนะ
5.3.1 ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
1. กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ควรมีการกำหนดกนอบอัตากำลังคนในการปฏิบัติงานให้
เหมาะสมกับงานที่ได้รับมอบหมายตามภาระกิจ อำหน้าหน้าที่ของสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
อำเภอ เพื่อให้เกิดความรวดเร็วในการปฏิบัติงาน และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เนื่องจากบุคลากรของสำนักงาน
ส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นอำเภอ มีจำนวนบุคลากรที่น้อยมาก ถ้าเปรียบเทียบกับอำนาจหน้าที่ที่ได้รับ
มอบหมาย
2. กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นควรมีการจัดสรรงบประมาณให้เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน
3.กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นควรจัดตั้งให้สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นอำเภอ
เป็นราชการส่วนภูมภาค
5.3.2 ข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติ
1. บุคลากรของสำนักงานส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น ควรมีการลงพื้นที่ของแต่ละ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อที่จะได้ทราบถึงปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และจะ
ได้สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ทันเวลา และเพื่อสร้างมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีกับองค์กร
2. สำนักงานส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น ควรมีการส่งเสริมให้บุคลากรขององค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นได้ฝึกพัฒนาตัวเอง ให้มีความรับผิดชอบและการดำเนินการให้บรรลุเป้าหมาย ได้มีการ
พัฒนาทักษะใหม่ ๆ ที่เกี่ยวข้องในการทำงาน
3. สำนักงานส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอ ควรมีการนัดพบปะผู้คุยกับผู้บริหาร
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แลกเปลี่ยนเรียนรู้ของแต่ละองค์กร
5.3.3 ข้อเสนอแนะในการวิจัยในครั้งถัดไป
1.ในการวิจัยครั้งถัดไป ควรมีการสัมภาษณ์บุคลากรในแต่ละส่วนงานด้วย เพื่อจะได้มีความ
คลอบคลุมถึงงานที่แต่ละองค์กรปกครองท้องถิ่นได้รับหมอบมาย
2.ในการวิจัยครั้งถัดไป อาจจะมีการสัมภาษณ์ประชาชนที่ได้รับบริการจากองค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นด้วย เพื่อให้ทราบว่าบริการต่าง ๆ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความเหมาสะมมากน้อย
เพียงใด
บรรณานุกรม
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2564). ขอบแขตภารกิจของท้องถิ่นอำเภอ. ค้นคว้าเมื่อ 8 มกราคม 2566,
จาก https://loeilocal.go.th/public/list/data/index/menu/1645
โกวิทย์ พวงงาม. (2554). การปกครองท้องถิ่น ไทย หลักการและมิติใหม่ในอนาคต. กรุงเทพมหานคร:
วิญญูชน.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2550). ความสำคัญของพระพุทธศาสนาในฐานะศาสนาประจำชาติ .
(พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: กองพิมพ์หนังสือเป็นธรรมทาน.
ทศพร ศิริสัมพันธ์. (2546). การบริหารผลการดำเนินงาน: รวมบทความวิชาการ 100 ปี รัฐประศาสนศาสตร์
ไทย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประธาน คงฤทธิศึกษากร. (2534). การปกครองเมืองพัทยา. กรุงเทพมหานคร: สหายบลอกการพ็อมพิ.
พลกฤต แสงอาวุธ. (2563). ความร่วมมือในการจัดบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอ คีรี
รัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์, 3(1). ค้นคว้าเมื่อ 8 มกราคม
2566, จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SASAJ/article/view/249505
โภคิน พลกุล. (2528). หลักเกี่ยวกับการจัดระเบียบบริหารราชการ. รัฐสภาสาร.
ภิรมย์พร ไชยยนต์. (2557). การกระจายอำนาจการปกครองท้องถิ่น : ศึกษากรณีการปกครองตนเองตาม
เจตนารมณ์ของประชาชนในระดับจังหวัด วิทยานิพนธ์ปริญญานิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา
นิติศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ภิศักดิ์ กัลยาณมิตร, เอก ศรีเชลียง, ดรุณศักดิ์ ตติยะลาภะ และไททัศน์ มาลา. (2561). แนวทางการบริการ
สาธารณะเพื่อยกระดับคุณภาพมาตรฐานการบริการที่ดีแก่ประชาชนขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น
ในจังหวัดปทุมธานี. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศ น์ (มนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์) , 8(1),
147-157. ค้นคว้าเมื่อ 10 มกราคม 2566, จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/var/
article/download/146955/108289/393078
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2555). การปกครองส่วนท้องถิ่นและอำนาจหน้าที่ของกำนัน และ
ผู้ใหญ่บ้าน. กรุงเทพมหานคร: สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
สำนั กราชกิจ จานุเบกษา. (2551). แบ่งส่วนราชการกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น . ค้นคว้าเมื่อ 15
มกราคม 2566, จาก http://www.dla.go.th/visit/2551.pdf
สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดสุรินทร์ . (2564). พันธกิจและอำนาจหน้าที่. ค้นคว้าเมื่อ 10
มกราคม 2566, จาก https://surinlocal.go.th/public/
วี ร ะศั กดิ์ สมยานะ. (2549). ประสิทธิภ าพการดำเนิน งานขององค์ การบริห ารส่ วนจั ง หวั ดเชี ย งใหม่
ปี 2549. สำนักงานคณะกรรมการวิจยั แห่งชาติ.
เสรี วรพงษ์. (2558). การพัฒนาแนวทางบริการสู่ความเป็นเลิศ ขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น ในจังหวัด
นครปฐม. วารสารสั ง คมสงเคราะห์ ศ าสตร์ , 23(1), ค้ น คว้ า เมื ่ อ 15 มกราคาม 2566, จาก
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/swjournal/article/download/173106/124081/
อุทัย หิรัญโต (2523). การปกรองท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: บารมีการพิมพ์.

You might also like