You are on page 1of 3

1

พระสุตตันตปิ ฎก เล่ม ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐ-ธรรมบท-อุทาน-อิตอวุตตก-สุตตนิบาต - หน้าที่ 364


ปรมัฏฐกสูตรที่ ๕
[๔๑๒] บุคคลในโลกยึดถือในทิฐิทั้งหลายว่า สิ่งนี้เป็นอย่างยิ่งย่อมกระทำศาสดาเป็นต้นของตนให้เป็นผู้ประเสริฐ
กล่าวผู้อื่นนอกจากศาสดาเป็นต้นของตนนั้นว่า เลวทั้งหมด เพราะเหตุนั้น บุคคลนั้นจึงไม่ล่วงพ้นความวิวาทไปได้ บุคคล
นั้นเห็นอานิสงส์อันใดในตนกล่าวคือ ทิฐิ ที่เกิดขึ้นในสิ่งเหล่านี้คือ ในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง ศีล พรตหรืออารมณ์ที่ได้
ทราบ บุคคลนั้นยึดมั่นอานิสงส์ในทิฐิของตนนั้นแลว่าประเสริฐที่สุด เห็นศาสดาอื่นทั้งหมดโดยความเป็นคนเลวอนึ่ง
บุคคลผู้อาศัยศาสดาของตนแล้ว เห็นศาสดาอื่นเป็นคนเลว เพราะความเห็นอันใด ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายกล่าวความเห็นนั้น
ว่า เป็นกิเลสเครื่องร้อยรัด เพราะฉะนั้นแหละ ภิกษุไม่พึงยึดมั่นรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟังอารมณ์ที่ได้ทราบ หรือศีลและ
พรต แม้ทิฐิก็ไม่พึงกำหนดด้วยญาณหรือแม้ด้วยศีลและพรตในโลก ไม่พึงนำตนเข้าไปเปรียบว่า เป็ นผู้เสมอเขา ไม่พึง
สำคัญว่า เป็ นผู้เลวกว่าเขา หรือว่าเป็ นผู้วิเศษกว่าเขา ภิกษุนั้นละความเห็นว่าเป็นตนได้แล้ว ไม่ถือมั่นอยู่ ย่อมไม่กระทำ
นิสัย (ตัณหานิสัยและทิฐินิสัย) แม้ในญาณ ไม่เป็นผู้แล่นไปเข้าพวกในสัตว์ทั้งหลายผู้แตกต่างกันด้วยอำนาจทิฐิต่าง ๆ
ย่อมไม่กลับมาแม้สู่ทิฐิอะไรๆ พราหมณ์ในโลกนี้ไม่มีตัณหาในส่วนสุดทั้ง ๒ มีผัสสะเป็นต้นเพื่อความเกิดบ่อย ๆ ในโลก
นี้หรือในโลกอื่น ไม่มีความยึดมั่นอะไรๆ ไม่มีสัญญาอันปัจจัยกำหนดแล้วแม้แต่น้อย ในรูปที่ได้เห็น ในเสียงที่ได้ฟังหรือ
ในอารมณ์ที่ได้ทราบ ในโลกนี้ เพราะได้ตัดสินธรรมที่ตนยึดถือแล้วในธรรมทั้งหลาย ใคร ๆ จะพึงกำหนดพราหมณ์นั้นผู้
ไม่ถือมั่นทิฐิ ด้วยการกำหนดด้วยตัณหาหรือด้วยการกำหนดด้วยทิฐิอะไรๆ ในโลกนี้ พราหมณ์ทั้งหลายย่อมไม่กำหนด
ด้วยตัณหาหรือทิฐิ ย่อมไม่กระทำตัณหาและทิฐิไว้ในเบื้องหน้า แม้ธรรมคือทิฐิทั้งหลาย พราหมณ์เหล่านั้นก็มิได้ปกปิ ดไว้
พราหมณ์ผู้อันใคร ๆ จะพึงนำไปด้วยศีลและพรตไม่ได้ ถึงฝั่งคือ นิพพานแล้วเป็นผู้คงที่ย่อมไม่กลับมาหากิเลสทั้งหลาย
อีกฉะนั้นแล ฯ
จบปรมัฏฐกสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิ ฎก มมก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 732


ปรมัฏฐกสูตรที่ ๕ ว่าด้วยเรื่องทิฏฐิของคน
[๔๑๒] บุคคลในโลกยึดถือในทิฏฐิทั้งหลายว่า สิ่งนี้เป็นอย่างยิ่ง ย่อมกระทำศาสดาเป็นต้นของตนให้เป็นผู้
ประเสริฐกล่าวผู้อื่นนอกจากศาสดาเป็นต้นของตนนั้นว่า เลวทั้งหมด เพราะเหตุนั้นบุคลนั้นจึงไม่ล่วงพ้นความวิวาทไปได้.
บุคคลนั้นเห็นอานิสงส์อันใดในตนกล่าวคือ ทิฏฐิ ที่เกิดขึ้นในสิ่งเหล่านี้ คือในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง ศีล
พรต หรืออารมณ์ที่ได้ทราบ บุคคลนั้น ยืดมั่นอานิสงส์ในทิฏฐิของตนนั้นแลว่าประเสริฐที่สุด เห็นศาสดาอื่นทั้งหมดโดย
ความเป็นคนเลว.
อนึ่ง บุคคลผู้อาศัยศาสดาของตนแล้ว เห็นศาสดาอื่นเป็นคนเลว เพราะความเห็นอันใด ท่านผู้ฉลาดทั้งหลาย
กล่าวความเห็นนั้นว่า เป็นกิเลสเครื่องร้อยรัด เพราะฉะนั้นแหละ ภิกษุไม่พึงยึดมั่นรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่
ได้ทราบ หรือศีลและพรต.
แม้ทิฏฐิก็ไม่พึงกำหนดด้วยญาณหรือแม้ด้วยศีลและพรตในโลก ไม่พึงนำตนเข้าไปเปรียบว่า เป็ นผู้เสมอเขา ไม่
พึงสำคัญว่า เป็ นผู้เลวว่าเขา หรือว่าเป็ นผู้วิเศษกว่าเขา.
ภิกษุนั้นละความเห็นว่าเป็นตนได้แล้วไม่ถือมั่นอยู่ ย่อมไม่กระทำนิสัย (ตัณหานิสัยและทิฏฐินิสัย) แม้ในญาณ
ไม่เป็นผู้แล่นไปเข้าพวกในสัตว์ทั้งหลายผู้แตกต่างกันด้วยอำนาจทิฏฐิต่าง ๆ ย่อมไม่กลับมาแม้สู่ทิฏฐิอะไร ๆ.
พราหมณ์ในโลกนี้ไม่มีตัณหาในส่วนสุดทั้ง ๒ มีผัสสะเป็นต้นเพื่อความเกิดบ่อย ๆในโลกนี้หรือในโลกอื่น
2

ไม่มีความยึดมั่นอะไร ๆ ไม่มีสัญญาอันปัจจัยกำหนดแล้วแม้แต่น้อย ในรูปที่ได้เห็น ในเสียงที่ได้ฟังหรือในอารมณ์ที่


ได้ทราบ ในโลกนี้ เพราะได้ตัดสินธรรม ที่ตนยึดถือแล้วในธรรมทั้งหลายใคร ๆ จะพึงกำหนดพราหมณ์นั้นผู้ไม่ถือมั่น
ทิฏฐิ ด้วยการกำหนดด้วยตัณหาหรือด้วยการกำหนดด้วยทิฏฐิอะไร ๆ ในโลกนี้.
พราหมณ์ทั้งหลายย่อมไม่กำหนดด้วยตัณหาหรือทิฏฐิ ย่อมไม่กระทำตัณหาและทิฏฐิไว้ในเบื้องหน้า แม้
ธรรมคือทิฏฐิทั้งหลาย พราหมณ์เหล่านั้นก็มิได้ปกปิ ดไว้พราหมณ์ผู้อันใคร ๆ จะพึงนำไปด้วยศีลและพรตไม่ได้ ถึง
ฝั่งคือ นิพพานแล้วเป็นผู้คงที่ ย่อมไม่กลับมาหากิเลสทั้งหลายอีก ฉะนั้นแล.
จบปรมัฏฐกสูตรที่ ๕
อรรถกถาปรมัฏฐกสูตรที่ ๕
ปรมัฏฐกสูตร มีคำเริ่มต้นว่า ปรมนฺติ ทิฏฺีสุ ในทิฏฐิทั้งหลายว่าสิ่งนี้เป็นอย่างยิ่ง ดังนี้.พระสูตรนี้มีการเกิดขึ้นอย่างไร ? ได้ยินว่า เมื่อพระผู้มีพระ
ภาคเจ้าประทับอยู่ ณ กรุงสาวัตถี พวกเดียรถีย์ต่าง ๆ ประชุมกันแสดงทิฏฐิของตน ๆ ว่าสิ่งนี้เป็นอย่างยิ่ง เกิดโต้เถียงกันแล้วพากันไปกราบทูลพระราชา.
พระราชาให้ประชุมคนตาบอดแต่กำเนิดเป็นอันมากแล้วรับสั่งว่า พวกเจ้าจงแสดงช้างเหล่านี้ ดังนี้. พวกราชบุรุษประชุมคนตาบอดแล้วให้ช้างนอนข้าง
หน้ากล่าวว่า พวกท่านจงดูซิ. คนตาบอดเหล่านั้นคลำอวัยวะส่วนหนึ่ง ๆ ของช้างแล้ว พระราชาตรัสถามว่า นี่แน่ะเจ้าช้างเหมือนอะไร ? ผู้ที่คลำงวงก็ทูลว่า
เหมือนงอนไถพระเจ้าข้า. พวกที่คลำงาเป็นต้นต่างก็บริภาษอีกพวกหนึ่งว่า นี่แน่ะเจ้า อย่าทูลเท็จต่อพระพักตร์พระราชานะ แล้วกราบทูลว่าเหมือนขอติด
ข้างฝาพระเจ้าข้า. พระราชาทรงสดับทั้งหมดแล้ว จึงทรงส่งพวกเดียรถีย์กลับไปด้วยพระดำรัสว่า ลัทธิของพวกท่านก็เหมือนเช่นนี้แหละ. ภิกษุผู้ถือ
บิณฑบาตเป็นวัตรรูปหนึ่งรู้เรื่องราวนั้นแล้ว จึงไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถือเอาเรื่องนั้นเป็นเหตุจึงตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมา
ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนตาบอดแต่กำเนิด ไม่รู้จักช้าง ต่างก็คลำอวัยวะส่วนนั้น ๆ ของช้างแล้วก็เถียงกัน ฉันใด พวกเดียรถีย์ก็ฉันนั้น ไม่รู้จักธรรม
อันเป็นเหตุให้พ้นทุกข์ ลูบคลำทิฏฐินั้น ๆ แล้วก็เถียงกัน เพื่อทรงแสดงธรรมนั้น จึงได้ตรัสพระสูตรนี้.ในบทเหล่านั้นบทว่า ปรมนฺติ ทิฏฺีสุ ปริพฺพสาโน
บุคคลยึดถือในทิฏฐิทั้งหลายว่าสิ่งนี้เป็นอย่างยิ่ง คือยึดอยู่ในทิฏฐิของตน ๆ ว่าสิ่งนี้เป็นอย่างยิ่ง. บทว่า ยทุตฺตรึ กุรุเต ย่อมกระทำให้ยิ่งคือย่อมกระทำศาสดา
เป็นต้นของตนให้เป็นผู้ประเสริฐ. บทว่า หีนาติ อญฺเ ตโต สพฺพมาห กล่าวผู้อื่นเว้นศาสดาเป็นต้นของตนว่าพวกนี้เลวทั้งหมด. บทว่า ตสฺมา วิวาทานิอวีต
วตฺโต คือเพราะเหตุนั้นบุคคลนั้นจึงไม่ล่วงพ้นความวิวาทไปได้เป็นแน่. พึงทราบความแห่งคาถาที่สองต่อไปนี้ ก็ไม่ล่วงพ้นไปได้อย่างนี้แล้วบุคคลนั้นเห็น
อานิสงส์อันใดดังกล่าวแล้วในก่อนในตน กล่าวคือทิฏฐิอันเกิดขึ้นในสิ่งเหล่านี้คือ ในรูปที่ได้เห็น ในเสียงที่ได้ฟัง ในศีลและพรต ในอารมณ์ที่ได้รู้ บุคคล
นั้นยืดมั่นอานิสงส์ในทิฏฐิของตนนั้นว่า สิ่งนี้ประเสริฐที่สุด เห็นศาสดาอื่นทั้งหมดมีศาสดาของคนอื่นเป็นต้น โดยกามเป็นคนเลว. พึงทราบความแห่งคาถาที่
สามต่อไปนี้ เมื่อเห็นอย่างนี้ บุคคลผู้อาศัยศาสดาเป็นต้นของตนเห็นศาสดาของคนอื่นเป็นต้น เป็นคนเลว เพราะความเห็นอันใด ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายกล่าว
ความเห็นอันนั้นว่า เป็นกิเลสเครื่องร้อยรัด อธิบายว่า เป็นเครื่องผูกมัด. ท่านอธิบายว่า เพราะฉะนั้นแลภิกษุไม่พึงยึดมั่นในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง
อารมณ์ที่ได้ทราบ หรือศีลและพรต พึงทราบความแห่งคาถาที่สี่ต่อไป มิใช่ไม่พึงยึดถือรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟังเป็นต้นอย่างเดียว อันที่จริงไม่พึงกำหนดแม้
ทิฏฐิยิ่ง ๆ ขึ้นไปที่ยังไม่เป็นในโลก. ท่านอธิบายว่า ไม่พึงให้เกิด. เช่นไร. ไม่พึงกำหนดทิฏฐิที่กำหนดด้วยญาณหรือแม้ศีลและพรต หรือด้วยญาณมี
สมาบัติญาณเป็นต้น หรือด้วยศีลและพรต. อนึ่งมิใช่พึงกำหนดทิฏฐิอย่างเดียว อันที่จริงไม่พึงสำคัญว่าเป็ นผู้เลวกว่าเขา หรือเป็ นผู้วิเศษกว่าเขา.พึงทราบ
ความแห่คาถาที่ห้าต่อไป ก็เมื่อไม่กำหนดคือไม่สำคัญทิฏฐิอย่างนี้ ภิกษุละความเห็นว่าเป็นตนได้แล้ว ไม่ถือมั่นอยู่ คือละสิ่งที่ตนถือมาก่อน แล้วไม่ถือสิ่ง
อื่น ย่อมไม่กระทำนิสัย ๒ อย่าง (ตัณหานิสัยและทิฏฐินิสัย) ในญาณมีประการดังกล่าวแล้วแม้นั้น ก็เมื่อไม่กระทำ ภิกษุนั้นแล ไม่เป็นผู้แล่นไปเข้าพวก
ในสัตว์ทั้งหลายผู้แตกต่างกันด้วยอำนาจทิฏฐิต่าง ๆ เป็นผู้ไม่ไปด้วยอำนาจความพอใจเป็นต้น ย่อมไม่กลับมาสู่ทิฏฐิแม้อะไร ๆ ในทิฏฐิ ๖๒.บัดนี้ พระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสคาถา ๓ คาถา มีอาทิว่า ยสฺสูภยนฺเต ดังนี้ เพื่อกล่าวสรรเสริญพระขีณาสพ ดังได้กล่าวแล้วในคาถานี้.ในบทเหล่านั้น บทว่า อุภยนฺเต ในส่วน
สุดท้องสอง คือผัสสะเป็นต้น ดังได้กล่าวไว้แล้วในก่อน. ปณิธิ ได่แก่ ตัณหา. บทว่า ภวาภวายคือเพื่อความเกิดบ่อย ๆ บทว่า อิธ วา หุรวา ในโลกนี้หรือ
ในโลกอื่น คือในโลกนี้มีอัตภาพของตนเป็นต้น หรือในโลกอื่นมีอัตภาพของผู้อื่นเป็นต้น.บทว่า ทิฏฺ เ วา ในรูปที่ได้เห็น คือในความบริสุทธิ์ ของรูปที่ได้
เห็น. ในเสียงที่ได้ฟังก็มีนัยนี้. บทว่า สญฺา ได้แก่ ทิฏฐิอันเกิดแต่สัญญา. บทว่าธมฺมาปิ เตส น ปฏิจฺฉิตาเส แม้ธรรมทั้งหลายพราหมณ์เหล่านั้นก็มิได้ปกปิ ด
ไว้ คือแม้ธรรมคือทิฏฐิ ๖๒ พราหมณ์เหล่านั้นมิได้ปกปิ ดไว้ อย่างนี้ว่านี้เท่านั้นเป็นของจริง อย่างอื่นเป็นโมฆะ. ดังนี้. บทว่า ปาร คโต นปจฺเจติ ตาที ผู้ถึง
ฝั่งแล้วเป็นผู้คงที่ไม่กลับมาอีก คือ ผู้ถึงฝั่งคือนิพพานแล้วเป็นผู้คงที่ด้วยอาการ ๕ ย่อมไม่กลับมาสู่กิเลสที่ละได้ด้วยมรรคนั้น ๆ อีก.บทที่เหลือชัดแล้วทั้งนั้น.
จบอรรถกถาปรมัฏฐกสูตรที่ ๕ แห่งอรรถกถาขุททกนิกาย
ชื่อปรมัตถโชติกา

พระไตรปิ ฎก มจร เล่มที่ ๒๕ สุตตันตปิ ฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต หน้าที่ ๖๙๔


พระสุตตันตปิ ฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต [๔. อัฏฐกวรรค] ๕. ปรมัฏฐกสูตร
๕. ปรมัฏฐกสูตร๑ ว่าด้วยผู้ยึดถือทิฏฐิของตนว่ายอดเยี่ยม ๑ ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๓๑-๓๘/๑๒๓-๑๔๑
3

(พระผู้มีพระภาคตรัสแก่ภิกษุทั้งหลายดังนี้)
{๔๑๒} [๘๐๓] สัตว์เกิดผู้ยึดถือในทิฏฐิทั้งหลายว่า ยอดเยี่ยมย่อมทำทิฏฐิใดให้ยิ่งใหญ่ในโลกกล่าวทิฏฐิอื่นทุกอย่าง
นอกจากทิฏฐินั้นว่า เลวเพราะฉะนั้น สัตว์เกิดนั้นจึงไม่ล่วงพ้นการวิวาทไปได้
[๘๐๔] เจ้าลัทธิเห็นอานิสงส์ใดในตน ในรูปที่เห็นในเสียงที่ได้ยิน ในศีลและวัตร หรือในอารมณ์ที่รับรู้
เจ้าลัทธินั้นยึดมั่นทิฏฐินั้นในลัทธิของตนนั้นเห็นทิฏฐิอื่นทั้งปวงโดยความเป็นของเลว
[๘๐๕] บุคคลอาศัยศาสดาใด เห็นศาสดาอื่นว่าเลวผู้ฉลาดทั้งหลายเรียกศาสดานั้นว่า เป็นเครื่องร้อยรัด
เพราะฉะนั้นแล ภิกษุจึงไม่ควรอาศัยรูปที่เห็นเสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่รับรู้ หรือศีลและวัตร
[๘๐๖] ภิกษุไม่พึงกำหนดทิฏฐิในโลกด้วยญาณหรือแม้ด้วยศีลและวัตรไม่พึงเอาตนเข้าไปเทียบว่าเสมอเขา
ไม่พึงสำคัญตนว่าด้อยกว่าเขาหรือเลิศกว่าเขา
[๘๐๗] ภิกษุนั้นละอัตตาแล้ว ไม่ยึดถือ ไม่สร้างนิสัยแม้ด้วยญาณเมื่อชนทั้งหลายแตกกันภิกษุนั้นก็ไม่เข้าเป็นฝัก
เป็นฝ่ ายภิกษุนั้นไม่ถือแม้ทิฏฐิอะไร ๆ
[๘๐๘] พระอรหันต์ใดผู้ไม่มีความคะนึงหาในส่วนสุดทั้ง ๒ ด้านในโลกนี้ ในภพน้อยภพใหญ่ ในโลกนี้
หรือในโลกหน้าพระอรหันต์นั้นจึงไม่มีเครื่องอยู่อะไร ๆ ความตกลงใจในธรรมทั้งหลายแล้วถือมั่นก็ไม่มี
[๘๐๙] พระอรหันต์นั้นไม่มีทิฏฐิอันสัญญากำหนดไว้แม้นิดเดียวในรูปที่เห็น ในเสียงที่ได้ยิน หรือในอารมณ์
ที่รับรู้ในโลกนี้ใคร ๆ ในโลกนี้จะพึงกำหนดพระอรหันต์นั้นผู้เป็นพราหมณ์ไม่ยึดถือทิฏฐิอยู่ด้วยเหตุอะไรเล่า
[๘๑๐] พระอรหันตขีณาสพทั้งหลายย่อมไม่กำหนด ไม่เชิดชู(ตัณหาและทิฏฐิ)ไว้แม้ธรรมทั้งหลาย๑พระ
อรหันต์เหล่านั้นก็ไม่ปรารถนาพระอรหันต์ผู้เป็นพราหมณ์นั้น ใคร ๆ ก็นำไปด้วยศีลและวัตรไม่ได้เป็นผู้ถึงฝั่ง๒ ไม่กลับ
มา เป็นผู้คงที่ ๑ ธรรมทั้งหลายในที่นี้หมายถึงทิฏฐิ ๖๒ (ขุ.สุ.อ. ๒/๘๑๐/๓๖๗) ๒ ฝั่ง หมายถึงอมตนิพพาน ได้แก่ ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวงเป็นที่สลัดทิ้ง
อุปธิทั้งปวง เป็นต้น (ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๓๘/๑๓๘)
ปรมัฏฐกสูตรที่ ๕ จบ

You might also like