You are on page 1of 12

แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปั ญหายาเสพติด

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับยาเสพติด

- ยาเสพติดคืออะไร

ตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 หมายถึง สารเคมี


หรือ วัตถุชนิดใดๆ หรือ พืช เมื่อเสพเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าจะด้วย
การ กิน สูบ ฉีด ดม หรือด้วยวิธีการใด ที่ก่อให้เกิดผมต่อร่างกาย
และจิตใจ นอกจากนี้ยังทำให้เกิดการเสพติดได้ มีความต้องการ
เสพอย่างรุนแรงและต่อเนื่อง แสดงอาการอยากยา เมื่อ ขาดยา
สุขภาพร่างกายทรุดโทรม

- ประเภทของยาเสพติด

พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ได้จัดประเภทของยา


เสพติดให้โทษออกเป็ น 5 ประเภท ดังนี้

ประเภทที่ 1 ยาเสพติดให้โทษชนิดร้ายแรง

เป็ นยาที่ไม่มีการนำมาใช้ในทางการแพทย์ และทำให้เกิดการเสี่ยง


ต่อการติดยาของประชากรในระดับรุนแรง เช่น เฮโรอีน ยาบ้า
ยาอี เป็ นต้น

ประเภทที่ 2 ยาเสพติดให้โทษทั่วไป
เป็ นยาที่มีประโยชน์ในการรักษาโรคในระดับน้อยจนถึงมาก และ
ทำให้เกิดการเสี่ยงต่อการติดยาของประชากรในระดับที่ต้องพึง
ระวัง เช่น มอร์ฟี น โคเคน โคเดอีน เป็ นต้น

ประเภทที่ 3 ยาเสพติดให้โทษที่มียาเสพติดให้โทษในประเภท 2
เป็ นส่วนผสมอยู่ด้วย ตามที่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับไว้ เป็ นยาที่ทำให้
เกิดการเสี่ยงต่อการติดยาของประชากรน้อย แต่ยังคงมีอันตราย
และมีประโยชน์ มากในการรักษาโรคเช่น ยาแก้ไอผสมโคเดอีน
เป็ นต้น

ประเภทที่ 4 สารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษในประเภท
1 ห รื อ ป ร ะ เ ภ ท 2 เ ช่ น อ า เ ซ ติ ค แ อ น ไ ฮ ไ ด ร ด์ (Acetic
Anhydride) อาเซติลคลอไรด์ (Acetyl Chloride)

ประเภทที่ 5 ยาเสพติดให้โทษที่มิได้อยู่ในประเภทที่1 ถึงประเภท


ที่4 เช่น กัญชา พืชกระท่อม เห็ดขี้ควาย เป็ นต้น

เฮโรอีน หรือ ผงขาว (HEROIN)

อาการผู้เสพติดเฮโรอีน: เฮโรอีนได้จากการสังเคราะห์ตาม
กรรมวิธีทางเคมี เป็ นยาเสพติดที่ร้ายแรง เสพติดได้ง่ายเมื่อใช้
เพียง ๑ หรือ ๒ ครั้ง อาจทำให้เกิดอาการมึนงงเซื่ องซึม ง่วง
เคลิ้มหลับได้เป็ นเวลานาน ไม่สนใจต่อสิ่งต่าง ๆ รอบข้าง บางราย
เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ตาลาย สำหรับผู้ที่เสพจนติด เสพเป็ น
ประจำ ร่างกายจะทรุดโทรม ผอมตัวซีดเหลือง ขอบตาคล้ำ
ดวงตาเหม่อลอย น้ำหนักตัวลดอย่างรวดเร็ว สมองและประสาท
เสื่อม ความคิดสับสน ความจำเสื่อม อ่อนเพลียไม่มีแรง และหาก
ใช้ยาเกิดขนาด ฤทธิ์ของเฮโรอีนจะทำให้หัวใจหยุดทำงาน เกิด
อาการ "ช็อค" ถึงแก่ความตายได้ทันที สำหรับอาการขาดยาหรือ
ไม่ได้เสพยาเมื่ อถึงเวลาเสพ ผู้เสพติดเฮโรอีนจะเกิดอาการ
ทุรนทุราย ทุกข์ทรมาน น้ำมูก น้ำตาไหล ความคิดฟุ้งซ่าน สับสน
หงุดหงิด กระวนกระวาย ปวดเจ็บตามกล้ามเนื้อตามกระดูก ปวด
ท้องอย่างรุนแรง หูอื้อ ตาพร่ามัว อาเจียนอย่างรุนแรง ถ่าย
อุจจาระเป็ นเลือด นอนไม่หลับ บางรายมีอาการเพ้อคลั่ง ชักและ
หมดสติอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้

ยาบ้า

ยาบ้า คือ ยาเสพติดสังเคราะห์ที่มีส่วนผสมของสารแอมเฟตามีน


(Amphetamine) แ ล ะ เ ม ท แ อ ม เ ฟ ต า มี น
(Methamphetamine) สาร Amphetamine ซี่งออกฤทธิ์โดย
การไปกระตุ้นการหลั่งสารสื่ อประสาทกลุ่ม Catecholamine
ได้แก่ นอร์อาดรีนาลิน โดพามีน การออกฤทธิ์ของยาบ้าโดย
หลักๆ จะกระตุ้นให้ผู้เสพมีอาการทางประสาท ผ่านการออกฤทธิ์
ต่อสมองชั้นใน เช่น รู้สึกมีความสุขมากกว่าปกติ รู้สึกมีกำลังวังชา
รู้สึกขยัน กระตือรือร้นมากขึ้น เกิดความมั่นใจมากขึ้น และรู้สึก
พึงพอใจทางเพศมากขึ้น หากใช้ขณะมีเพศสัมพันธ์

มอร์ฟี น

เป็ นสารอัลคาลอยด์ที่สกัดได้จากฝิ่ น มอร์ฟี นใช้เป็ นยาหลักหรือ


มาตรฐานของยาแก้ปวด ยาพวกนี้กดระบบประสาทส่วนกลาง ผู้
ที่เสพมอร์ฟี น ระยะแรกฤทธิ์ของมอร์ฟี นจะช่วยลดความวิตก
กังวล คลายความเจ็บปวดต่าง ๆ ตามร่างกาย ทำให้มีอาการง่วง
นอนและหลับง่าย และหากเสพจนเกิดอาการติด ฤทธิ์ของ
มอร์ฟี นจะทำให้ผู้เสพมีอาการเหม่อลอย เซื่องซึม จิตใจเลื่อนลอย
เกียจคร้านไม่สนใจต่อสิ่งแวดล้อมรอบกายสุขภาพร่างกาย
ผ่ายผอม ทรุดโทรม

โคเคน (COCAINE)

โคเคนหรือโคคาอีน เป็ นสารเสพติดธรรมชาติที่ได้จากการ


สังเคราะห์ส่วนใบของต้นโคคา ที่นิยมปลูกกันมากในประเทศแถบ
อเมริกาใต้ และอเมริกากลาง มีฤทธิ์ในการ กระตุ้นประสาทส่วน
กลางเช่นเดียวกับ แอมเฟตามีน (ยาม้า) แต่ทำให้เกิดอาการติดยา
ได้ง่ายกว่า ผู้เสพติดโคเคนเข้าสู่ร่างกาย ในระยะแรกฤทธิ์ของ
โคเคนจะกระตุ้นประสาททำให้เกิดอาการไร้ความรู้สึก ดูเหมือน
คล้ายมีกำลังมากขึ้น มีความกระปรี้กระเปร่า ไม่รู้สึกเหนื่อย แต่
เมื่อหมดฤทธิ์ยาร่างกายและความรู้สึกจะอ่อนเพลียเมื่อยล้าขึ้นมา
ทันที มีอาการเซื่องซึม

กัญชา (CANNABIS)

กัญชาเป็ นพืชล้มลุกจำพวกหญ้าชนิดหนึ่ง ลักษณะใบกัญชา จะ


เรียวยาวแตกเป็ นแฉกคล้ายใบละหุ่งหรือมันสำปะหลัง ส่วนที่นำ
มาใช้เสพก็คือ ใบและยอดช่อดอกตัวเมีย โดยการนำมาตากหรือ
อบแห้งแล้วบดหรือหั่นเป็ นผงหยาบ ๆ นำมามวนบุหรี่สูบ หรือ
อาจสูบด้วยกล้องหรือบ้องกัญชา บางรายใช้เคี้ยว หรือเจือปนกับ
อาหารรับประทาน กัญชาจะออกฤทธิ์หลายอย่างผสมผสานกัน
เริ่มตั้งแต่ กระตุ้น กด และหลอนประสาททั้งนี้เนื่องจากในช่อ
ด อ ก แ ล ะ ใ บ กั ญ ช า มี ส า ร พิ ษ ที่ ร้ า ย แ ร ง ช นิ ด ห นึ่ ง เ รี ย ก ว่ า
TETRAHYDROCANNABINOL (THC) เ ป็ น ส า ร พิ ษ ที่ ทำ ล า ย
สุขภาพร่างกายและก่อให้เกิดอาการติดยา ผู้ที่เสพกัญชาในระยะ
แรกของการเสพ ฤทธิ์ของกัญชาจะกระตุ้นประสาททำให้ผู้เสพมี
อาการร่าเริง ช่างพูด หัวเราะง่าย หัวใจเต้นเร็ว ตื่นเต้นง่าย ต่อมา
จะมีอาการคล้ายคนเมาเหล้าอย่างอ่อนเนื่องจากกัญชาออกฤทธิ์
ก ด ป ร ะ ส า ท ผู้ เ ส พ จ ะ มี อ า ก า ร ง่ ว ง น อ น ซึ ม ห า ย ใ จ ถี่ เ ห็ น
ภาพลวงตา ภาพหลอนต่าง ๆ เกิดอาการ หูแว่ว ตกใจง่าย วิตก
กังวล หวาดระแวง บางรายคลื่นไส้อาเจียนความจำเสื่อมความคิด
สับสนเพ้อคลั่ง ไม่สามารถควบคุมตนเองได้และมีอาการทางจิต

เห็ดขี้ควาย (PSILOCYBE CUBENSIS MUSHROOM)

เป็ นเห็ดพิษที่มักขึ้นอยู่ตามมูลความแห้ง และมีขึ้นอยู่ทั่วไปแทบ


ทุกภาคของประเทศไทย มีชื่อเรียกกันในบรรดานักท่องเที่ยวว่า
MAGIC MUSHROOM ผู้ที่เสพหรือบริโภคเห็ดชนิดนี้เข้าไป
ร่างกายจะได้รับสารพิษ เช่นไซโลลีน และไซโลไซลีน ซึ่งเป็ นสาร
พิษที่มีฤทธิ์ในการหลอนประสาท ทำลายระบบประสาทอย่าง
รุนแรง ผู้ที่เสพหรือบริโภคเห็ดพิษจะรู้สึกร้อนวูบวาบ ตามเนื้อตัว
แน่นหน้าอก ตาพร่า อึดอัดรู้สึกไม่สบาย คลื่นไส้อาเจียน มีอาการ
มึนเมา จนอาจถึงขั้นเสียชีวิต

สาเหตุของการติดยาเสพติด

๑. สาเหตุที่เกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์

๑.๑ ความอยากรู้ อยากลอง อยากเห็น อยากสัมผัสของ


ตนเอง ซึ่งเป็ นสัญชาตญาณอย่างหนึ่งของมนุษย์ “ความ
สงสัย” เป็ นพฤติกรรมโดยธรรมชาติของมนุษย์ทุกคน ใน
กรณีของยาเสพติด ความสงสัยที่เกิดขึ้น คือ การสงสัยว่า
หากลองใช้แล้วจะเป็ นอย่างไร เห็นคนใกล้ตัวใช้ เลยอยาก
ลองบ้าง เมื่อได้ลองแล้วรู้สึกดีจึงอยากลองใช้อีก จนทำให้
เกิดอาการเสพติดในที่สุด เมื่อต้องการเลิก ก็มีอาการขาด
ยา หรือมีอาการลงแดง ทำให้เลิกไม่ได้

๑.๒ การถูกเพื่อนชักชวน ส่วนใหญ่พบในกลุ่มเยาวชน อาจ


เกิดจากการเชื่อตามคำชักชวนโฆษณา และทำตามเพื่อน
เพราะต้องการ การยอมรับจากเพื่อนฝูง หรือถูกชักจูงว่าใช้
แล้วทำให้สมองปลอดโปร่ง หรือใช้แล้วทำให้ขยันจึงเหมาะ
แก่การเรียน และการทำงาน

๑.๓ เกิดจากศึกความคะนอง คนบางคนมีความคึกคะนอง


ชอบพูดอวดเก่งเป็ นนิสัย โดยเฉพาะวัยรุ่นมักจะมีนิสัยดัง
กล่าว คนพวกนี้อาจแสดงความเก่งกล้าของตน ในกลุ่ม
เพื่อนโดยการแสดงการใช้สิ่งเสพติดชนิดต่าง ๆ เพราะเห็น
แก่ความสนุกสนาน ตื่นเต้น และให้เพื่อนฝูงยอมรับว่าตน
เก่ง โดยมิได้คำนึง ถึงผลเสียหาย หรือ อันตรายที่จะเกิดขึ้น
ในภายหลังแต่อย่างไร ในที่สุดตนเองก็กลายเป็ นคนติดสิ่ง
เสพติดนั้นและขาดสติยั้งคิด

๒. สาเหตุที่เกิดจากการถูกหลอกลวง
ถูกหลอกลวง โดยอาศัยรูปแบบสีสันสวยงาม ทำให้ผู้รับ
ไม่อาจทราบได้ว่า สิ่งที่ตนได้รับเป็ นยาเสพติด ในปั จจุบันนี้
มีผู้ขายสินค้าประเภทอาหาร ขนม หรือเครื่องดื่มบางราย
ใช้สิ่งเสพติดผสมลงในสินค้าที่ขาย เพื่อให้ผู้ซื้อสินค้านั้นไป
รับประทานเกิดการติดและอยากมาซื้อไปรับประทานอีก
ซึ่งในกรณีนี้ผู้ซื้ออาหาร รู้แต่เพียงว่าอยากจะรับประทาน
อาหาร ขนม หรือเครื่องดื่มที่ซื้อจากร้านนั้น ๆ

๓. สาเหตุที่เกิดจากความเจ็บป่ วย

๔. สาเหตุจากปั จจัยอื่นๆ

ภาวะสิ่งแวดล้อมรอบตัว เอื้ออำนวยที่จะส่งเสริม และ


ผลักดันให้หันเข้าหายาเสพติด เช่น ครอบครัวแตกแยก
สมาชิกในครอบครัวขาดความเข้าใจซึ่งกันและกัน ภาวะ
เศรษฐกิจบีบบังคับให้ทำเพื่อความอยู่รอด อยากรวยเร็ว
หรือพักอาศัยอยู่ ในแหล่งที่มีการเสพและค้ายาเสพติด

โทษของยาเสพติด
แนวทางการแก้ปั ญหา ป้ องกัน บำบัดและรักษา
อ้างอิง

https://www.oncb.go.th/Home/Pages/Drug-
knowledge/fileupload/
%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8
%AA%E0%B8%9E
%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%94%20%E0%
B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD
%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3.pdf

https://hdmall.co.th/c/amphetamines-drugs

https://www.pinthong-group.com/tab/detail.php?
id=27

http://www.digitalschool.club/digitalschool/
health4-6/health4_2/Health_Edu/2-5.php

https://www.phufaresthome.com/blog/reasons-
for-using-drugs-and-how-to-prevent/
https://www.dayonerehabcenter.com/
blog_content/15

http://www.kungpayom.go.th/attachments/510_
%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%8D
%E0%B8%AB
%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B9
%80%E0%B8%AA%E0%B8%9E
%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B9
%83%E0%B8%99%E0%B8%8A
%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%8A
%E0%B8%99.pdf

https://www.phufaresthome.com/blog/reason-of-
drug-addict/

https://www.rama.mahidol.ac.th/ramamental/
generalknowledge/06212014-1613

http://www.tamnop.go.th/news/detail/23756/
data.html

You might also like