You are on page 1of 2

อุทาหรณ์ประกอบมาตรา ๒๗๒

แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา ๒๗๒ ถ้าศาลได้มีคาพิพากษาหรือคาสั่งอย่างใดซึ่งต้องมี การบังคับคดี


แก่ลูกหนี้ตามคาพิพากษาก็ให้ศาลออกคาบังคับทันทีที่ได้อ่านหรือถือว่าได้อ่านคาพิพากษาหรือ
คาสั่งนั้น และให้ถือว่าลูกหนี้ตามคาพิพากษาได้ทราบคาบังคับแล้วในวันนั้น
ในคดี ที่ ลู ก หนี้ ต ามค าพิ พ ากษาขาดนั ด ยื่ น ค าให้ ก ารหรื อ ขาดนั ด พิ จ ารณา
และลูกหนี้ตามคาพิพากษา ทนายความ หรือผู้รับมอบฉันทะจากบุคคลใดบุคคลหนึ่งดังกล่าวให้มา
ฟังคาพิพากษาหรือคาสั่ง มิได้อยู่ในศาลในเวลาที่ออกคาบังคับ ให้บังคับตามมาตรา ๑๙๙ ทวิ
หรือมาตรา ๒๐๗ แล้วแต่กรณี

๑. หลักการ
วางหลักเรื่องการออกและการทราบคาบังคับ กล่าวคือ ในกรณีปกติจะไม่มีการส่งคาบังคับไป
ยังลูกหนี้ตามคาพิพากษา เว้นแต่กรณีลูกหนี้ขาดนัดยื่นคาให้การ/ขาดนัดพิจารณา ศาลต้องส่งคาบังคับให้แก่
ลูกหนี้ตามคาพิพากษาโดยวิธีส่งหมายธรรมดาหรือวิธีอื่นแทน

๒. อุทาหรณ์
(วรรคหนึ่ง) มาตรา ๒๗๒ ถ้ า ศาลได้ มี ค าพิ พากษาหรื อ ค าสั่ ง อย่ า งใดซึ่ ง ต้ อ งมี ก ารบั ง คั บ คดี แ ก่
ลูกหนี้ตามคาพิพากษาก็ให้ศาลออกคาบังคับทันทีที่ไ ด้อ่า นหรื อถือว่าได้อ่า นคาพิพากษาหรือคาสั่งนั้น
และให้ถือว่าลูกหนี้ตามคาพิพากษาได้ทราบคาบังคับแล้วในวันนั้น
อุทาหรณ์
ศาลจั ง หวั ด ระยองพิ พ ากษาให้ ข. และ ค. ร่ ว มกั น ช าระหนี้ ต ามสั ญ ญาซื้ อ ขายจ านวน
๓๐๐,๐๐๐ บาท แก่ ก. ดังนี้ ศาลจั งหวัดระยองต้องออกคาบังคับทั นทีในวันที่ได้อ่านคาพิพากษา ไม่ว่ า
ข. หรือ ค. จะอยู่ในศาลในวันที่ออกคาบังคับหรือไม่ และให้ถือว่า ข. และ ค. ได้รับทราบคาบังคับนั้นแล้ว
(วรรคสอง) ในคดีที่ลูกหนี้ตามคาพิพากษาขาดนัดยื่นคาให้การหรือขาดนัดพิจารณา และลูกหนี้ตาม
ค าพิ พ ากษา ทนายความ หรื อ ผู้ รั บ มอบฉัน ทะจากบุ ค คลใดบุ ค คลหนึ่ง ดั ง กล่า วให้ม าฟั ง ค า พิ พากษา
หรือ คาสั่ง มิไ ด้อ ยู่ใ นศาลในเวลาที่อ อกคาบัง คับ ให้บัง คับ ตามมาตรา ๑๙๙ ทวิ หรือ มาตรา ๒๐๗
แล้วแต่กรณี
อุทาหรณ์
ศาลจังหวัดระยองพิพากษาให้ ข. ช าระหนี้ต ามสั ญญาซื้อขาย จานวน ๓๐๐,๐๐๐ บาท
แก่ ก. โดย ข. ขาดนัดยื่นคาให้การหรือขาดนัดพิจารณา และ ข. รวมทั้งทนายความ ผู้รับมอบฉันทะจาก ข.
หรือจากทนายความไม่อยู่ในศาลในเวลาที่ออกคาบังคับ ดังนี้ ในวันอ่านคาพิพากษาศาลต้องออกคาบังคับและ
กาหนดการอย่างใดตามที่เห็นสมควรเพื่อส่งคาบังคับตามคาพิพากษาหรือคาสั่งให้แก่ ข. ตามมาตรา ๑๙๙ ทวิ
วรรคหนึ่ง หรือมาตรา ๒๐๗ แล้วแต่กรณี เช่น ให้เจ้าพนักงานศาลส่งคาบังคับให้แก่ ข. ณ ภูมิลาเนาของ ข.
ภายในเวลาที่กาหนด ถ้าส่งไม่ได้ให้ปิดคาบังคับไว้ ณ ภูมิลาเนาของ ข.

๓. ข้อสังเกต
มาตรานี้มีความเชื่อมโยงกับมาตรา ๗๐ เรื่องการส่งคาคู่ความ ซึ่งได้มีการแก้ไขข้อความให้
สอดคล้องกันด้วยแล้ว

You might also like