You are on page 1of 49

แนะนําสัญญาณ

0 บทที่ 1
2 แนะนําสัญญาณ

1 บทนํา

สัญญาณหมายถึงคาปริมาณที่สามารถตรวจวัดไดที่ใชแสดงถึงขอมูลที่อธิบายปรากฏการณ
ทางกายภาพที่แปรเปลี่ยนไปตามเวลา สัญญาณแรงดัน และสัญญาณกระแสเปนตัวอยางหนึ่งของ
สัญญาณไฟฟา เสียงที่เกิดขึ้นที่หูของคนเราก็จะเปนสัญญาณทางกล ภาพที่อยูในหนาหนังสือนับได
เปนสัญญาณของแสงในลักษณะ 2 มิติที่เกิดขึ้นที่เยื่อเรตินาในตาคนเรา และจํานวนประชากรใน
ประเทศไทยก็สามารถนับไดเปนสัญญาณประเภทหนึ่งไดเชนกัน
ในทางคณิตศาสตรนั้น สัญญาณสามารถจําลองไดเปนฟงกชัน (function) ของตัวแปร
อิสระหนึ่งหรือมากกวาหนึ่งตัวแปร โดยตัวแปรอิสระที่ใชแทนในสัญญาณคือ เวลา ความถี่ หรือ
พิกัดเชิงพื้นที่(spatial coordinates) รูปที่ 1.1 แสดงถึงสัญญาณทั่วไป และระบบทางกายภาพ
ทั่วไปที่ใหกําเนิดสัญญาณตางๆในแตละสาขาทางวิศวกรรม โดยใหคอลัมนของรูปทางซายแสดงถึง
ระบบทางกายภาพนั้น สวนสัญญาณที่สัมพันธกับระบบก็จะแสดงอยูในคอลัมนทางขวาของรูป
โดยรูปที่ 1.1 a) เปนวงจรไฟฟาอยางงายที่ประกอบไปดวยองคประกอบเฉื่อยงาน (passive
component) 3 องคประกอบที่ไดแก ตัวเก็บประจุ C ตัวเหนี่ยวนํา L และ ตัวตานทาน R โดยมี
แรงดัน v(t) ที่ปอนเขาทางดานเขา (input) ของวงจร RLC และไดแรงดันทางดานออก y(t) ที่ตก
ครอมตัวเก็บประจุ ซึ่งจะไดรูปคลื่นที่เปนไปไดของ y(t) คือสัญญาณไซนูซอยด(sinusoidal
signal) ดังที่แสดงในรูปที่ 1.1 b) สัญลักษณ v(t) และ y(t) แสดงถึงขนาดของแรงดัน v และ y ใน
ฟงกชันของเวลา t รูปที่ 1.1 c) แสดงถึงระบบของเครื่องบันทึกเสียงที่สัญญาณขาเขาเปนรูปคลื่น
ของเสียงพูด โดยหนาที่ของเครื่องบันทึกเสียงจะแปลงสัญญาณเสียงพูดใหอยูในรูปคลื่นทางไฟฟา
ดังที่แสดงในรูปที่ 1.1 d) และจะถูกอัดลงบนเทปแมเหล็ก หรือ ดิสก สวนในรูปที่ 1.1 e) เปน
กลองดิจิตอล CCD (charge coupled device) ซึ่งทําหนาที่เปลี่ยนแสงที่ตกมากระทบ ในตัวมัน
ใหกลายเปนขอมูลดิจิตอล ทั้งนี้พื้นผิวของ CCD จะถูกแบงยอยเปนสวนเล็กๆ ที่เรียกวาพิกเซล
(pixel) โดยแตละพิกเซลจะใหขอมูลของ 1 จุดภาพ และรูปที่ 1.1 g) แสดงถึงเครื่องตรวจวัด
อุณหภูมิที่ใชเทอรมิสเตอร (Thermistor) ที่เปนอุปกรณเปลี่ยนคาความตานทานไปตามอุณหภูมิ
การผันแปรในคาความตานทานของตัวเทอรมิสเตอรจะใชในการวัดอุณหภูมิโดยรูปที่ 1.1 h) เปน
คาที่อานไดจากเครื่องตรวจวัดอุณหภูมิในรูปสัญญาณที่ไมตอเนื่องทางเวลา (discrete time) ใน
ตัวอยางที่แสดงในรูปที่ 1.1 ที่ผานมานั้นไมวาจะเปนวงจร RLC เครื่องบันทึกเสียง กลอง CCD และ
เครื่องตรวจวัดอุณหภูมิ ก็แสดงใหเห็นถึงระบบการทํางานที่แตกตางกัน

1- 1
แนะนําสัญญาณ

รูปที่ 1.1 ตัวอยางของสัญญาณและระบบ a) วงจรไฟฟา b) ระบบบันทึกเสียง e) กลองดิจิตอล และ


g) เครื่องวัดอุณหภูมิแบบดิจิตอล โดยมีสัญญาณดานออกที่เกิดขึ้นจากระบบที่แสดงในรูป a) c) e)
และ g) ตามลําดับสามารถแสดงไดดังในรูป b), d) , f), และ h)

1-2
แนะนําสัญญาณ

ขณะที่รูปคลื่นขอมูลขาเขาอยางเชน แรงดันทางไฟฟา เสียงพูด ระดับความเขมแสง และ


การผันแปรในคาความตานทาน จะแทนไดดวยสัญญาณขาเขา และรูปคลื่นทางดานออกสําหรับ
ตั ว อย า งที่ ก ล า วไปจะเป น รู ป คลื่ น แรงดั น ทางไฟฟ า ในกรณี ข องระบบวงจรไฟฟ า รู ป คลื่ น
กระแสไฟฟาสําหรับไมโครโฟน และคาการผันแปรของคาความตานทานสําหรับเครื่องตรวจวัด
อุณหภูมิ โดยคาสัญญาณขาออกเหลานี้จะแปรเปลี่ยนไปตามเวลา และจัดใหเปนสัญญาณ 1 มิติ (
one-dimension (1D) signal ) ในขณะที่คาความเขมของแสงในแตละพิกเซลของอุปกรณ CCD
สําหรับกลองดิจิตอลจะแปรเปลี่ยนในรูปปริภูมิ 2 มิติ โดยคาตัวแปรอิสระอิสระจะเปนพิกัดเชิง
พื้นที่ 2 มิติ ดังนั้นสัญญาณของการกระจายความเขมแสงจึงจัดไดเปนสัญญาณ 2 มิติ (two-
dimension (2D) signal)
ตัวอยางที่แสดงในรูปที่ 1.1 แสดงใหเห็นถึงทุกๆระบบจะมีสัญญาณจํานวน 1 สัญญาณ
หรือมากกวาที่ไปเกี่ยวของกับระบบนั้นๆ ดังนั้นระบบจึงสามารถนิยามใหเปนเอกลักษณ (entity) ที่
ประมวลสัญญาณในรูปแบบหนึ่งซึ่งเรียกสัญญาณขาเขาไปเปนสัญญาณในอีกรูปแบบหนึ่งที่เรียกวา
สัญญาณขาออก แหลงจายแรงดันทางไฟฟาในรูปที่ 1.1 a) เสียงในรูปที่ 1.1 c) ความเขมแสงที่
สองเขากลองในรูปที่ 1.1 e) และคาอุณหภูมิรอบๆในรูปที่ 1.1 g) เหลานี้เปนตัวอยางของสัญญาณ
ดานเขาของระบบ แรงดันที่ตกครอมตัวเก็บประจุ C ในรูปที่ 1.1 b) คาแรงดันไฟฟาที่เกิดขึ้นจาก
ไมโครโฟนในรูปที่ 1.1 d) คาประจุไฟฟาที่สะสมในแผง CCD ของกลองดิจิตอลไดแสดงภาพตาม
ในรูปที่ 1.1 f) และแรงดันที่เกิดจากเทอรมิสเตอรที่ใชวัดอุณหภูมิรอบๆ ดังที่แสดงในรูปที่ 1.1 h)
เหลานี้เปนตัวอยางของสัญญาณดานออกจากระบบ ดังนั้นรูปที่ 1.2 จึงแสดงถึงระบบการประมวล
สัญญาณ โดยที่ระบบจะแสดงถึงแบบจําลองที่ใชอธิบายถึงกระบวนการทางกายภาพที่ไปดําเนินการ
กับสัญญาณดานเขา x(t) และใหสัญญาณดานออก y(t) และอยางเชน วงจรไฟฟา อุปกรณทางกล
ระบบไฮโดรลิค และ Computer algorithms ที่มีการดําเนินการตอสัญญาณดานเขา และสัญญาณดาน
ออก สําหรับระบบที่มีความซับซอนกวาก็จะมีสัญญาณดานเขา และสัญญาณดานออกที่มีจํานวน
มากมาย (MIMO)

รูปที่ 1.2 การประมวลผลของสัญญาณโดยระบบหนึ่ง

1- 3
แนะนําสัญญาณ

1-1 ประเภทของสัญญาณ
สัญญาณหนึ่งๆสามารถแบงไดเปนหลายประเภทซึ่งขึ้นอยูกับคุณลักษณะของสัญญาณ
นั้นๆ
1-1-1 สัญญาณที่ตอเนื่องทางเวลา และสัญญาณที่ไมตอ เนื่องทางเวลา
สัญญาณที่ตอเนื่องทางเวลา (Continuous time signal) เปนสัญญาณที่สามารถระบุคาของ
สัญญาณไดทกุ ๆจุดของเวลา พิจารณาในรูปที่ 1.1 b) และ d) เห็นไดวาสัญญาณเหลานี้จะ
เปลี่ยนแปลงไปอยางตอเนื่องทางเวลา และสามารถทราบขนาดของสัญญาณไดในชัว่ ขณะของเวลา
นั้นๆ โดยทัว่ ไปจะใชสัญลักษณ x(t) แทนสัญญาณที่ตอเนื่องทางเวลา x โดยที่ t คือตัวแปรอิสระที่
ตอเนื่องทางเวลาซึ่งมีคาเปนจํานวนจริง และในอีกทางหนึ่งนัน้ ถาสัญญาณใดๆที่มีคาที่ไมมีการ
เปลี่ยนแปลงอยางตอเนื่องทางเวลาจะเรียกสัญญาณนั้นวาสัญญาณที่ไมตอเนื่องทางเวลา (discrete-
time signal) ซึ่งเปนสัญญาณที่ระบุคาของสัญญาณไดเพียงจุดที่ไมตอ  เนื่องของเวลาดังในรูปที่ 1.1
h) ที่แสดงอุณหภูมิซึ่งวัดไดของหองในเวลาเดียวกันของทุกๆวันในชวง 1 อาทิตย และไมมีขอมูล
อุณหภูมิใดๆอยูระหวางการบันทึกประจําวัน ดังนั้นรูปที่ 1.1 h) จึงเปนตัวอยางหนึ่งของสัญญาณที่
ไมตอเนื่อง สําหรับสัญลักษณที่ใชแทนสัญญาณที่ไมตอ เนื่องคือ
x[kT] , k = 0, ±1, ±2, ±3,…,

โดยที่ T เปนชวงเวลาระหวางตัวอยาง 2 ตัวที่อยูตอเนื่องตามลําดับกัน หรือเวลาการชักตัวอยาง


(Sampling Time) สําหรับในรูปที่ 1.1 h) คาของ T คือชวงเวลาหนึ่งวัน เพื่อใหการหนด
สัญลักษณดูงายขึ้นจึงไดกําหนดสัญลักษณ x[k] ใชแทนสัญญาณที่ไมตอเนื่องทางเวลาหนึ่งมิติ
(One-dimensional (1D) DT signal) และอางถึง x[k] วาคือตัวอยาง (Sample) ลําดับที่ k
ของสัญญาณ
สําหรับรูปที่ 1.1 f) จะสัญญาณภาพที่ไดจากกลอง CCD โดยขอมูลที่ไดอยางไมตอเนื่อง
มีคาแปรเปลี่ยนตามตําแหนงใน 2 มิติ ในที่นี้กําหนดใหตัวแปรอิสระคือ (m , n) โดยที่ m และ n
คือพิกัดในแนวราบ และแนวตั้งที่ไมตอเนื่อง สําหรับกรณีนี้กําหนดให x(m , n) เปนสัญญาณที่ไม
ตอเนื่องทางเวลา 2 มิติ (Two-dimensional (2D) DT signal)

ตัวอยางที่ 1-1 พิจารณาสัญญาณที่ตอเนื่องทางเวลา x(t) = sin(t) โดยแสดงในรูปของฟงกชัน


เวลา t ดังที่แสดงในรูปที่ 1.3 a) จงทําการ discretize สัญญาณดวยเวลาการชักตัวอยางที่เวลา T =
025 s พรอมกับวาดรูปคลื่นของลําดับขอมูลที่ไมตอเนื่อง DT sequence ที่เกิดขึ้นในชวง -8  k 
8

1-4
แนะนําสัญญาณ

รูปที่ 1.3 a) สัญญาณที่ตอเนื่องทางเวลา x(t) ในตัวอยางที่ 1-1 b) สัญญาณที่ไมตอเนื่องทางเวลา


x[n] โดยหาไดจากการ Discretizing x(t) ดวยชวงเวลาชักตัวอยาง T = 0.25 s

วิธีทํา
โดยการแทนคา t = kT และสามารถแสดงสัญญาณที่ตอเนื่องทางเวลา x(t) ไดดวยสัญญาณที่ไม
ตอเนื่องทางเวลาเปน
x[kT ]  sin( k  T )  sin(0.25 k ).

สําหรับ k  0,  1,  2,  3,..., คาสัญญาณที่ไมตอ เนื่อง x[k ] มีคาดังนี้


1
x[8]  x(8T )  sin(2 )  0 , x[1]  x(T )  sin(0.25 )  ,
2
1
x[7]  x(7T )  sin(1.75 )  , x[2]  x(2T )  sin(0.5 )  1 ,
2
1
x[6]  x(6T )  sin(1.5 )  1 , x[3]  x(3T )  sin(0.75 )  ,
2
1
x[5]  x(5T )  sin(1.25 )  , x[4]  x(4T )  sin( )  0 ,
2
1
x[4]  x(4T )  sin( )  0 , x[5]  x(5T )  sin(1.25 )   ,
2
1
x[3]  x(3T )  sin(0.75 )   , x[6]  x(6T )  sin(1.5 )  1 ,
2
1
x[2]  x(2T )  sin(0.5 )  1 , x[7]  x(7T )  sin(1.75 )   ,
2
1
x[1]  x(T )  sin(0.25 )   , x[8]  x(8T )  sin(2 )  0 ,
2
x[0]  x(0)  sin(0)  0 .

รูปคลื่นของสัญญาณที่ไมตอ เนื่อง x[k ] สามารถแสดงไดดังในรูปที่ 1.3 b)

1- 5
แนะนําสัญญาณ

1-1-2 สัญญาณแอนะล็อก และสัญญาณดิจิทัล


ขนาดของสั ญ ญาณที่ เ กิ ด ขึ้ น หลายๆสั ญ ญาณอย า งเช น แรงดั น ไฟฟ า กระแสไฟฟ า
อุณหภูมิ และความดันบรรยากาศ ที่มีการเปลี่ยนแปลงอยางตอเนื่องทางเวลา และเรียกสัญญาณ
เหลานี้วาสัญญาณแอนะล็อก (Analog signal) สําหรับตัวอยางเชน การที่จะอานคาอุณหภูมิรอบๆ
ภายในบานไดอยางแมนยํานั้น คาที่บันทึกได จะเปนคาตัวเลขแอนะล็อกที่มีคาของจํานวนตัวเลข
เปนอนันต อยางเชน 24.763 578 … อยางก็ตาม สัญญาญดิจิทัลมีขนาดของสัญญาณที่เปนคา
จํานวนจํากัด อยางในตัวอยางเชน เครื่องวัดอุณหภูมิแบบดิจิทัล ที่ใหคาความละเอียดเทากับ 1 oC
ในชวง 10 oC ถึง 30 oC ซึ่งใชวัดอุณหภูมิหองในชั่วขณะของเวลาที่ไมตอเนื่องที่ t =kT ดังนั้น
คาที่บันทึกไดจึงประกอบขึ้นเปนสัญญาณดิจิทัล ตัวอยางของสัญญาณดิจิทัลแสดงไดดังในรูปที่
1.1 h) ที่กําหนดคาอุณหภูมิที่อานไดในแตละวันของหนึ่งสัปดาห โดยสัญญาณดิจิทัลนี้มีคาความ
ละเอียดอยูที่ 0.1 oC และชวงเวลาการชักตัวอยางเปน 1 วัน
รูปที่ 1.5 แสดงถึงสัญญาณแอนะล็อกที่สามารถประมาณขนาดของสัญญาณใหเปนคา
ทางดิจิทัลในชวงพลวัตระหวาง [-1,1] ซึ่งมีขนาดเปนจํานวนจริงในชวงพลวัติ ถาสัญญาณแอ
นะล็อกนี้ถูกชักตัวอยางที่เวลาชั่วขณะ t =kT และขนาดของตัวอยางถูกควอนไตซ (quantize) ให
อยูในเซตจํากัดของจํานวนที่สามารถทราบคาภายในชวง [-1,1] สัญญาณที่เปนผลจากการทําควอน
ไตซนี้จะเปนสัญญาณดิจิทัล โดยการใชเซตของคาที่ถูกแบงอยางสม่ําเสมอ 8 คาดังนี้
[-0.875, -0.625, -0.375, -0.125, 0.125, 0.375, 0.625, 0.875]
ในชวง [-1,1] คาที่ประมาณที่ดีที่สุดของสัญญาณแอนะล็อก เปนสัญญาณดิจิทัลที่แสดงดวย stem
plot ดังที่แสดงในรูปที่ 15

รูปที่ 1-5 สัญญาณแอนะล็อกที่ถูกประมาณรูปรางสัญญาณใหเปนสัญญาณดิจิทัล

1-6
แนะนําสัญญาณ

สําหรับตัวอยางอีกตัวอยางหนึ่งของสัญญาณดิจิทัลคือการบันทึกดนตรีลงในแผนซีดี
(Compact disk) โดยมีสัญญาณดนตรีที่ถูกชักตัวอยางในอัตรา 44100 ตัวตอวินาที หรือเวลาในการ
ชักตัวอยาง T คือ 1/44100 หรือ 22.68 µs จากนั้นตัวอยางในแตละคาจะถูกควอนไตซดวย
การควอนไตซคา 16 บิตสม่ําเสมอ หรือกลาวอีนัยหนึ่งไดวา ตัวอยางของสัญญาณดนตรีที่ถูกบันทึก
ไวจะประมาณคาดวยเซตของคาที่ถูกแบงอยางสม่ําเสมอที่แสดงในรูปจํานวนไบนารี่ 16 บิต โดย
จํานวนของคาที่อยูในเซตที่แยกเปนสวนชัด (discretize) จํากัดอยูที่ 216 คา

1-1-3 สัญญาณคาบ และสัญญาณไมเปนคาบ


สัญญาณ x(t) จะเปนสัญญาณคาบก็ตอเมื่อ

x(t+T o ) = x(t), -∞< t < ∞ (1-1)

โดยคาคงที่ T o เปนคาบเวลา (period) เราจะอางอิงคาที่นอยของ T o ที่ทําใหสมการ (1-1) สามารถ


ใชไดนั้นเปนคาบเวลามูลฐาน (fundamental period) เพื่อใหเรียกงายๆวา คาบเวลา สําหรับสัญญาณ
อื่นๆที่ไมเปนไปตามสมการนี้จะเรียกวาสัญญาณไมเปนคาบ ตัวอยางหนึ่งที่คุนเคยกันของสัญญาณ
เปนคาบคือสัญญาณไซนูซอยด (sinusoidal signal) ที่อธิบายไดดังในสมการ

x(t) = Asin(2πf o t + θ), -∞< t < ∞ (1-2)

โดยที่ A, f o , และ θ เปนคาคงที่ที่แสดงถึง ขนาด ความถี่ในหนวยเฮริทซ และเฟส ตามลําดับ ใน


บางครั้งมักจะให ω o = 2πf o เพื่อใหอยูในรูปที่งายขึ้นซึ่ง ω o เปนความถี่เชิงมุม (angular
frequency) ที่อยูในรูป rad/s คาบเวลาของสัญญาณคือ T o = 2π/ ω o = 1/f o โดยการแทนคาใน
สมการที่ 1-1 และใชกฎตรีโกณมิติ ซึ่งจะได

 2 
x t    x(t ) สําหรับทุกคาของ t (1-3)
 o 
โดย
 2    2  
x t    A sin  o  t     
 o    o  
 A sin( o t  2   )
 A[sin( o t   ) cos 2  cos( o t   ) sin 2 ] (1-4)

1- 7
แนะนําสัญญาณ

เนื่องจาก cos2π = 1 และ sin2π = 0 ดังนั้นจึงสามารถกลาวไดวาสมการที่ 1-4 มีความสัมพันธเปน


สัญญาณคาบ โดย T o = 2π/ ω o ซึ่งเปนคาที่เล็กที่สุดของ T o ชนิดตางๆของสัญญาณคาบไดแสดง
ไวดังในรูปที่ 1-6 รวมทั้งสัญญาณไซนูซอยด

 / 0

2 / 0

a)

xt(t)

t
T0

-A

b)

xt(t)

-A
T0

c)
รูปที่ 1-6 ชนิดตางๆของสัญญาณคาบ a) สัญญาณไซนูซอยด b) สัญญาณสามเหลี่ยม และ c)
สัญญาณฟนเลื่อย

1-8
แนะนําสัญญาณ

ตัวอยางที่ 1-2 สัญญาณตอไปนี้ สัญญาณใดไมเปนสัญญาณคาบ


a) x1 (t )  sin 10t
b) x 2 (t )  sin 20t
c) x3 (t )  sin 31t
d) x 4 (t )  x1 (t )  x 2 (t )
e) x5 (t )  x1 (t )  x3 (t )

วิธีทํา มีเพียงคําตอบเดียวคือสัญญาณในขอ e) ที่ไมเปนสัญญาณคาบ เพื่อพิสูจนรูปคลื่น x1 (t ) ,


x 2 (t ) , และ x3 (t ) จะใชสมการ

  
sin( o t   )  sin  o  t    sin  o t
 o 

ถาให θ มีคาเปนจํานวนเต็มใดๆที่คูณอยูกับ 2π (θ = 2nπ , n = 1, 2, 3,…) ดังนั้นคาที่นอย


ที่สุดของ θ และเปนคาบเวลาของสัญญาณ sin( o t   ) ซึ่งมีคาเปน

2
To 
o

ดังนั้น คาบเวลาของสัญญาณ x1 (t ) , x2 (t ) , และ x3 (t ) มีคาเปน 1/5 , 1/10, และ 2π/10


ตามลําดับ สําหรับผลรวมของสัญญาณไซนูซอยดทั้งสองจะเปนสัญญาณคาบไดก็ตอเมื่ออัตราสวน
ของคาบเวลาในแตละสัญญาณตองไดเปนจํานวนตรรกยะ (rational number) ดังนั้นสัญญาณ
x 4 (t ) จึงเปนสัญญาณคาบ เพราะอัตราสวนของคาบเวลาใน x1 (t ) และ x 2 (t ) มีคาเปนจํานวน
ตรรกยะนั้นคือ ½ และคาบเวลาของสัญญาณ x4 (t ) มีคาเปน 1/5 s. ในขณะที่สัญญาณ x5 (t ) นั้น
อัตราสวนของคาบเวลาใน x1 (t ) และ x3 (t ) ไมเปนจํานวนตรรกยะ
เมื่อพิจาณาถึงสัญญาณไซนูซอยดสองสัญญาณดังนี้ x(t )  sin( o t   ) และสัญญาณ
x m (t )  sin(m o t   ) ความถี่เชิงมุมพื้นฐานของสัญญาณทั้งสองคือ ω o และ mω o rad/s
ตามลําดับ นั้นคือความถี่เชิงมุมของสัญญาณ xm (t ) มีคาเปน m เทาของสัญญาณ x(t ) หรือ
สัญญาณตอเนื่องทางเวลา xm (t ) สามารถอางไดเปนฮารมอนิกสที่ m ของสัญญาณตอเนื่องทางเวลา
x(t ) รูปที่ 1-7 แสดงถึงรูปคลื่นของสัญญาณ x(t )  sin 2t และสัญญาณฮารมอนิกสที่ 2 ซึ่งเปน
สัญญาณ x2 (t )  sin 4t โดยคาบเวลาของสัญญาณ x(t ) คือ 1 วินาทีที่ใหความถี่พื้นฐานเปน 2π
rad/s และคาบเวลาของสัญญาณ x2 (t ) คือ ½ วินาทีที่ใหความถี่ฮารมอนิกสเปน 4π rad/s ฮารมอ

1- 9
แนะนําสัญญาณ

นิกสมีความสําคัญตอการวิเคราะหสัญญาณคาบที่ไมใชสัญญาณไซนูซอยดอยางมากซึ่งแสดงถึงการ
รวมกันเชิงเสน (linear combination) ของคลื่นซายนที่มีความถี่พื้นฐานเดียวกันอยางความถี่พื้นฐาน
ของสัญญาณคาบตนกําเนิด และฮารมอนิกสของคลื่นซายน ซึ่งคุณสมบัตินี้เปนพื้นฐานของการ
อธิบายอนุกรมฟูเรียร (Fourier series) ซึ่งจะกลาวถึงในบทตอไป

1-1-4 สัญญาณพลังงาน และสัญญาณกําลัง


กําลังชั่วขณะ (instantaneous power) ของสัญญาณที่ตอเนื่องทางเวลา x(t) ใดๆ ที่เวลา t =
t o นิยามโดย x2(t o ) ในทํานองเดียวกัน กําลังชั่วขณะของสัญญาณที่ไมตอเนื่องทางเวลา x[k] ที่เวลา
ชั่วขณะ (time instant) k = k o จะนิยามโดย x2[k] ไดเชนกัน ถาสัญญาณมีคาเปนจํานวนเชิงซอน
การแสดงค า กํ า ลั ง ชั่ ว ขณะสามารถใช x(t o ) 2 หรื อ x[k o ] 2 โดยที่ สั ญ ญาณ  แสดงถึ ง ค า
สัมบูรณของจํานวนเชิงซอน
สําหรับพลังงานของสัญญาณตอเนื่องทางเวลา ในชวงเวลาใดๆเวลาหนึ่งสามารถนิยามได
โดย
T2 2
E (T1 ,T2 )   x(t ) dt
T1
T1  t  T2 (1-5)

ในทํานองเดียวกัน พลังงานของสัญญาณที่ไมตอเนื่องทางเวลาในชวงเวลาใดๆเวลาหนึ่ง
สามารถนิยามไดโดย
N2

 x[k ] (1-6)
2
E[ N1 , N 2 ]  N1  k  N 2
k  N1

พลังงานทั้งหมดของสัญญาณตอเนื่องทางเวลาหาไดโดยการคํานวณหาพลังงานในชวงเวลา t = (-
∞, ∞) นั้นคือ

Ex   x(t )
2
dt (1-7)


ในทํานองเดียวกัน พลังงานทั้งหมดของสัญญาณที่ไมตอเนื่องทางเวลาหาไดโดยการคํานวณหา
พลังงานในชวงเวลาชั่วขณะที่ k = [-∞, ∞] นั้นคือ

 x[k ] (1-8)
2
Ex 
k  

1-10
แนะนําสัญญาณ

เนื่องจากกําลังนิยามโดยพลังงานตอหนวยเวลา และคากําลังเฉลี่ยของสัญญาณที่ตอเนื่องทางเวลา
x(t) ในชวงเวลา t = (-∞, ∞) คือ
T /2
1
Px  lim
T  T 
2
x(t ) dt. (1-9)
T / 2

ในขณะที่คากําลังเฉลี่ยของสัญญาณที่ไมตอเนื่องทางเวลา x[k] ในชวงเวลา k = [-∞, ∞] คือ

K
1
 (1-10)
2
Px  x[k ]
2 K  1 k  K

สมการที่ 1-9 และ 1-10 สามารถพิจาณาใหอยูในรูปอยางงายเมื่อนําไปใชหากําลังของสัญญาณคาบ


เนื่องจากสัญญาณคาบมีการซ้ําคาไปมา ดังนั้นกําลังเฉลี่ยของสัญญาณคาบจึงสามารถคํานวณหาได
ในชวงเวลาหนึ่งคาบของสัญญาณ นั้นคือ
t1 To
1 1
กรณีสัญญาณที่ตอเนื่องทางเวลา: Px  (T ) x(t ) dt  To
2
 x(t )
2
dt (1-11)
To o t1

k1  K o 1
1 1
กรณีสัญญาณที่ไมตอเนื่องทางเวลา:   (1-12)
2 2
Px  x[k ]  x[k ]
Ko k ( K o ) Ko k  k1

โดยที่ t 1 เปนจํานวนจริงใดๆ และ k 1 เปนจํานวนเต็มใดๆ สวนสัญลักษณ T o และ K o เปน


คาบเวลาของสัญญาณที่ตอเนื่องทางเวลา x(t) และสัญญาณที่ไมตอเนื่องทางเวลา x[k] ตามลําดับ
ชวงเวลาที่ใชในการอินทริเกตจะเปนคาบเวลาของสัญญาณที่อยูในชวง [t 1 ,t 1 +T o ] โดยที่ t 1 เปน
คาเวลาใดๆ ก็ตามโดยกําหนดใหเปนขีดจํากัดลาง (lower limit) ของการอินทริเกตที่มีคาขีดจํากัด
บน (upper limit) ที่อยูหางออกไปจากขีดจํากัดลางอยูหนึ่งคาบเวลามูลฐาน สวนเครื่องหมาย
 (T ) แสดงถึงการอินทริเกตในชวงหนึ่งคาบเวลา และไมขึ้นอยูกับขีดจํากัดลาง ในทํานองเดียวกัน
o

การหาคากําลังเฉลี่ยของสัญญาณที่ไมตอเนื่องทางเวลา x[k] สามารถคํานวณไดจากผลรวมของ


สมการที่ 1-12 ในชวงขีดจํากัดลางถึงขีดจํากัดบนซึ่งเปนผลรวมในชวงคาบเวลา K o
สัญญาณ x(t) และ x[k] จะเรียกวาสัญญาณพลังงาน (energy signal) ก็ตอเมื่อพลังงาน
ทั้งหมด E x ตองทราบคาไดนั้นคือ 0 < E x < ∞ และจะเรียกเปนสัญญาณกําลัง (power signal) เมื่อ
สัญญาณนี้มีกําลังที่ทราบคาไดนั้นคือ 0 < P x < ∞ สังเกตไดวาสัญญาณไมสามารถเปนไดทั้ง
สัญญาณพลังงาน และสัญญาณกําลังพรอมกันได สัญญาณพลังงานมีคากําลังเฉลี่ยเปนศูนยในทาง
ตรงกันขามสัญญาณกําลังก็จะมีพลังงานทั้งหมดเปนอนันต อยางไรก็ตามสัญญาณบางสัญญาณไม

1-11
แนะนําสัญญาณ

สามารถจัดใหเปนไดทั้งสองชนิด อยางเชนสัญญาณ e2tu(t) มีการเพิ่มขึ้นแบบเอกซโพเนนเชียลซึ่ง


ไมสามารถคํานวณหาคากําลังเฉลี่ยได
สัญญาณคาบสวนใหญจะเปนสัญญาณกําลัง อยางเชนคากําลังเฉลี่ยของสัญญาณไซนู
ซอยดที่ตอเนื่องทางเวลา Asin(ω o t + θ) สามารถหากําลังเฉลี่ยไดเปน A2/2 ในทํานองเดียวกัน
กําลังเฉลี่ยของสัญญาณเอกซโพเนนเชียลเชิงซอน Aexp(jω o t) สามารถหาคาไดเทากับ A2

ตัวอยางที่ 1-3 พิจารณาสัญญาณตอเนื่องทางเวลาที่แสดงในรูปที่ 1-7 a) และ b) จงคํานวณหากําลัง


ชั่ว ขณะ กําลังเฉลี่ ย และพลั งงานของสัญ ญาณในรูปทั้งสอง และจงบอกว าสัญญาณกํ าลัง หรือ
สัญญาณพลังงาน

a)

b)

รูปที่ 1-7 สัญญาณตอเนื่องทางเวลาตามตัวอยางที่ 1-3

วิธีทํา
a) สัญญาณ x(t) สามารถเขียนในเชิงคณิตศาสตรไดดังนี้

5 2t  2
x(t )  
0 t  2, t  2

1-12
แนะนําสัญญาณ

คากําลังชั่วขณะ กําลังเฉลี่ย และพลังงานสามารถคํานวณหาไดดังนี้

25 2t  2
คากําลังชั่วขณะ : Px  
0 t  2, t  2

 2
คาพลังงาน : Ex   x(t ) dt   25dt  100
2

 2

1
คากําลังเฉลี่ย : Px  lim
T  T
E x  0.

เพราะวาสัญญาณ x(t) สามารถหาคาพลังงานได ( 0  E x  100  ) ดังนั้นสัญญาณนี้เปน


สัญญาณพลังงาน

b) สัญญาณ z(t) เปนสัญญาณคาบโดยมีคาบเวลาเทากับ 8 และสามารถอธิบายในเชิง


คณิตศาสตรไดดังนี้
5 2t  2
z (t )  
0 2  t  4,

โดยที่ z(t+8) = z(t) สําหรับ คากําลังชั่วขณะ กําลังเฉลี่ย และพลังงานสามารถคํานวณหาได


ดังนี้
25 2t  2
คากําลังชั่วขณะ : Pz (t )  
0 2 t 4
และ P z (t+8) = P z (t) ;
4 2
1 1 100
คากําลังเฉลี่ย : Pz   z (t ) dt   25dt 
2
 12.5;
8 4 8 2 8


คาพลังงาน : Ez   z (t )
2
dt  .


เนื่องจากสัญญาณสามารถหาคากําลังเฉลี่ยได (0  Pz  12.5  ) ดังนั้นสัญญาณ z(t) นี้


เปนสัญญาณกําลัง

ตัวอยางที่ 1-4 พิจารณาลําดับที่ไมตอเนื่องทางเวลาดังนี้

1-13
แนะนําสัญญาณ

e 0.5 k k0
f [k ]  
0 k 0
จงหาวาสัญญาณนี้เปนสัญญาณกําลัง หรือสัญญาณพลังงาน

วิธีทํา พลังงานทั้งหมดของลําดับที่ไมตอเนื่องทางเวลาสามารถคํานวณหาไดดังนี้

  e 1  
  
1
 f [k ]   e 0.5 k
2 2 k
Ef   1.582
k   k 0 k 0 1  e 1

เนื่องจาก E f สามารถหาคาได ดังนั้นลําดับที่ไมตอเนื่อง f[k] จึงเปนสัญญาณพลังงาน

ตัวอยางที่ 1-5 จงหาวาลําดับที่ไมตอเนื่องทางเวลา g[k] = 3cos(πk/10) เปนสัญญาณพลังงาน


หรือสัญญาณกําลัง

วิธีทํา ลําดับที่ไมตอเนื่องทางเวลา g[k] = 3cos(πk/10) เปนสัญญาณคาบที่มีคาบเวลาเทากับ 20


สัญญาณคาบทุกๆสัญญาณจะเปนสัญญาณกําลัง ดังนั้นลําดับที่ไมตอเนื่องทางเวลา g[k] จึงเปน
สัญญาณกําลัง
จากสมการที่ (1-12) กําลังเฉลี่ยของลําดับ g[k] สามารถหาไดดังนี้

1 19 2 k  9 19 1   2 k  
Pg  
20 k 0
9 cos     
 10  20 k 0 2 
1  cos  
 10  
9 19 9 19  2 k 

40
 1 
40
 cos 
10
.
k 0

k 0 
term 1 term 2

ผลรวมในพจนที่ 1(term 1) เทากับ 9(20)/40 = 4.5 สําหรับการคํานวณหาผลรวมของพจนที่ 2


(term 2)โคซายนสามารถอธิบายไดดังนี้

9 19 1 j k / 5  j k / 5 9 19 9 19
     e j / 5     e j / 5  .
k k
term 2 =  e e
40 k 0 2 80 k 0 80 k 0

โดยการใชลําดับเรขาคณิต (geometric progression GP series) จะได

1-14
แนะนําสัญญาณ

1   e j / 5 
20
19
1  e j 4 11
 e
k 0

j / 5 k

1  (e j / 5 )
 j / 5

1   e  1   e j / 5 
0

และ
1   e  j / 5 
20
19
1  e  j 4 1 1
 e
k 0

 j / 5 k

1  (e j / 5 )
 j / 5

1   e  1   e j / 5 
0

ดังนั้นผลรวมในพจนที่ 2 มีคาเปนศูนย คากําลังเฉลี่ยของ g[k] สามารถหาไดโดย

P g = 4.5 + 0 = 4.5.

โดยทั่วไป สัญญาณคาบไซนูซอยดที่ไมตอเนื่อง x[k] ที่อยูในรูป Acos(ω o k +θ) มีคากําลังเฉลี่ย


2
P x = A /2

1-1-5 สัญญาณเชิงกําหนด และสัญญาณสุม


ถาสัญญาณใดๆสามารถที่จะทํานาย หรือหาคาไดในทุกๆชวงเวลา (t หรือ k) โดยที่ไมมี
ขอผิดพลาด เราจะเรียกสัญญาณนี้วาสัญญาณเชิงกําหนด (deterministic signal) และในทางกลับกัน
สัญญาณใดๆที่ไมสามารถทํานายคาไดในทุกๆชวงเวลาใดๆก็ตาม จะเรียกสัญญาณนี้วาสัญาณสุม
(random signal)
โดยทั่วไปสัญญาณเชิงกําหนดเปนสัญญาณที่สามารถเขียนใหอยูในรูปคณิตศาสตร หรือ
ในรูปกราฟกได อยางตัวอยางเชน
1) สัญญาณไซนูซอยดที่ตอเนื่องทางเวลา : x 1 (t) =5sin(20πt+6);
2) สัญญาณไซนูซอยดที่ขนาดลงลงแบบเอ็กซโพลเนนเชียล : x 2 (t) =2e-t sin(7t);
e j 4t t  5
3) สัญญาณเลขชี้กําลังเชิงซอนในชวงเวลาจํากัด : x3 (t )  
0 t 5
4) ลําดับเลขชี้กําลังที่ไมตอเนื่องทางเวลา : x 4 [k] = 4e-2k
5) ลําดับไซนูซอยดที่ขนาดลงลงแบบเอ็กซโพลเนนเชียล :
 16k 
x5 [k ]  3e 2 k  sin  
 5 

สัญญาณสุมไมสามารถจําลองรูปสมการไดอยางถูกตองแมนยําได โดยทั่วไปอธิบาย
คุณ ลัก ษณะของสั ญ ญาณสุ ม ในรู ป การวั ด ค า ทางสถิ ติ อย า งเชน ค า เฉลี่ ย (means) ค า เบี่ ย งเบน
(standard deviations) และคารากกําลังสองเฉลี่ย (mean squared values) โดยทั่วไปในระบบสื่อสาร
สัญญาณที่พบมากจะมีลักษณะเปนสัญญาณสุมโดยอาจจะอยูในรูปสัญญาณขาวสารที่ตองการ หรือ

1-15
แนะนําสัญญาณ

ใชประโยชนไดเชน สัญญาณเสียงในโทรศัพท สัญญาณภาพผานระบบดาวเทียม และสัญญาณ


ขอมูลที่จัดเก็บในฮารดดิสกไดรฟ เปนตน หรืออาจจะอยูในรูปของสัญญาณรบกวนที่เกิดขึ้นใน
ระบบซึ่งเปนสิ่งที่ไมตองการ เชน สัญญาณรบกวนเชิงความรอน (thermal noise) เปนตน
1-1-6 สัญญาณคู และสัญญาณคี่
สัญญาณตอเนื่องทางเวลาจะเปนสัญญาณคู (even signal) ก็ตอเมื่อ x(t) = x(-t) และ
สัญญาณที่ไมตอเนื่องทางเวลาจะเปนสัญญาณคูก็ตอเมื่อ x[k] = x[-k] จะเห็นไดวาสัญญาณคูจะมี
ความสมมาตรกันที่แกนตั้ง
สัญญาณใดๆสัญญาณหนึ่งจะเปนสัญญาณคี่ก็ตอเมื่อ x(t) = -x(-t) และ x[k] = - x[-k]
สัญญาณคี่จะมีความสมมาตรกันที่จุดกําเนิด ถาเราพลิกกลับสวนของสัญญาณที่อยูในชวงเวลาบวก
ในแนวแกนตั้งกอน จากนั้นจึงพลิกกลับไปในแนวแกนนอน ผลที่ไดจะมีคาที่เทากับคาในสวนของ
สัญญาณที่อยูในชวงเวลาลบ ซึ่งนั้นหมายความวา x(0) = 0 หรือ x[0] = 0

รูปที่ 1-8 สัญญาณคูที่ตอเนือ่ งทางเวลา

รูปที่ 1-9 สัญญาณคี่ที่ไมตอเนื่องทางเวลา

สัญญาณใดๆสามารถที่จะแยกออกมาไดทั้งในสวนของสัญญาณคี่ และสัญญาณคี่ ดังนี้

1-16
แนะนําสัญญาณ

x(t )  x e (t )  xo (t ) (1-13)

1
โดยในสวนของสัญญาณคู : xe (t ) : [ x(t )  x(t )] (1-14)
2
1
โดยในสวนของสัญญาณคี่: xo (t ) : [ x(t )  x(t )] (1-15)
2

ตัวอยางที่ 1-6 จงแสดงสัญญาณที่ตอเนื่องทางเวลา

t 0  t 1
x(t )  
0 elsewhere

ที่เปนการรวมกันของสัญญาณคู และสัญญาณคี่

วิธีทํา
กอนจะหาคํานวณหา x e (t) และ x o (t) จะตองคํานวณหาฟงกชัน x(-t) ซึ่งสามารถแสดงไดดังนี้

 t 0  t  1  t 1  t  0
x(t )   
0 elsewhere 0 elsewhere

โดยใชสมการที่ 1-14 ในสวนของสัญญาณคู x e (t) ของ x (t) จึงหาไดเปน

 1
 2t 0  t 1

1  1
xe (t )  [ x(t )  x(t )]   t 1  t  0
2  2
 0 elsewhere

และในสวนของสัญญาณคี่ x o (t) หาคาไดโดยสมาการที่ 1-14 ซึ่งจะได

1-17
แนะนําสัญญาณ

 1
 t 0  t 1
2

1  1
xe (t )  [ x(t )  x(t )]   t 1  t  0
2  2
 0 elsewhere

รูปคลื่นของสัญญาณตอเนื่องทางเวลา x (t) และ สวนของสัญญาณคู x e (t) และสวนของ


สัญญาณคี่ x o (t) สามารถแสดงไดในรูปที่ 1-10

รูปที่ 1-10 a) สัญญาณตอเนื่องทางเวลา x (t) ของตัวอยางที่ 1-6 b) สวนของสัญญาณคู x e (t)


และ c) สวนของสัญญาณคี่ x o (t)

1-2 สัญญาณพื้นฐาน

1-18
แนะนําสัญญาณ

ในหัวขอนี้ จะกลาวถึงฟงกชันพื้นฐานที่มักจะใชในการอธิบายสัญญาณที่มีความซับซอน
กวา การอธิ บายสั ญญาณให อยู ใ นรู ป ของฟ งกชั น พื้ น ฐานจะชว ยทําให สามารถวิเ คราะห และ
ออกแบบระบบเชิงเสนไดงายขึ้น

1-2-1 ฟงกชันขั้นบันไดหนึ่งหนวย
ฟงกชันขั้นบันไดหนึ่งหนวย (unit step function) ที่ตอเนื่องทางเวลา u(t) สามารถนิยาม
ไดดังนี้
1 t0
u (t )   (1-16)
0 t  0.

ฟงกชันขั้นบันไดหนึ่งหนวยที่ไมตอเนื่องทางเวลา u[k] สามารถนิยามไดดังนี้

1 k 0
u[k ]   (1-17)
0 k  0.

โดยรูปคลื่นของฟงกชันขั้นบันไดหนึ่งหนวย u(t) และ u[k] แสดงในรูปที่ 1-11 a) และ


b) ตามลําดับ จากรูปที่ 1-11 สังเกตเห็นไดวาฟงกชันขั้นบันไดหนึ่งหนวย ที่ตอเนื่องทางเวลา u(t)
จะมีความไมตอเนื่อง ( piecewise continuous) ที่ t = 0 หรืออาจจะกลาวไดวาอัตราการเปลี่ยนแปลง
ของ u(t) ที่เวลา t = 0 มีคาเปนอนันต อยางไรก็ตาม u[k] จะไมเกิดความไมตอเนื่องเลย

1-2-2 ฟงกชันพัลสสี่เหลี่ยม
ฟงกชันพัลสสี่เหลี่ยม (rectangular pulse function) ที่ตอเนื่องทางเวลา rect(t/τ) นิยามได
ดังนี้
t 1 t  /2
rect ( )   (1-18)
 0 t   / 2.

ซึ่งแสดงไดดังในรูปที่ 1-11 c) พัลสสี่เหลี่ยมที่ไมตอเนื่องทางเวลา rect(k/2N+1) นิยามไดดังนี้

k 1 k N
rect( ) (1-19)
2 N  1 0 k  N.
และสามารถแสดงรูปไดดังในรูปที่ 1-11 d)

1-19
แนะนําสัญญาณ

1-2-3 ฟงกชันเครื่องหมาย
ฟงกชันเครื่องหมาย (signum function) ที่แสดงโดย sgn(t) สามารถนิยามไดดังนี้

 1 t0

sgn(t )   0 t  0 (1-20)
 1 t  0

ฟงกชันเครื่องหมายที่ตอเนื่องทางเวลา sgn(t) แสดงไดดังในรูปที่ 1-11 e)

1-20
แนะนําสัญญาณ

รูปที่ 1-11 ฟงกชันพื้นฐานตางๆ a) , b)ฟงกชันขั้นบันไดหนึ่งหนวย c) , d) พัลสสี่เหลี่ยม e) , f)


ฟงกชันเครื่องหมาย g) , h) ฟงกชันลาด i) , j) ฟงกชันไซนูซอยด k) , l) ฟงกชันไซนคารดินัล
ฟงกชันเครื่องหมายที่ไมตอเนื่องทางเวลา และแสดงโดย sgn[k] สามารถนิยามไดดังนี้

 1 k 0

sgnk    0 k  0 (1-21)
 1 k  0

และสามารถแสดงไดดังในรูปที่ 1-11 f)

1-2-4 ฟงกชันลาด
ฟงกชันลาด (ramp function) ที่ตอเนื่องทางเวลา r(t) มีนิยามดังนี้

t t0
r (t )  ru (t )   (1-22)
0 t0

และสามารถแสดงไดดังในรูปที่ 1-12 g) สําหรับฟงกชันลาด (ramp function) ที่ไม


ตอเนื่องทางเวลา r[k] มีนิยามดังนี้

k k 0
r[k ]  ru[k ]   (1-23)
0 k 0

และสามารถแสดงไดดังในรูปที่ 1-11 h)

1-2-5 ฟงกชันไซนูซอยด
ฟงกชันไซนูซอยด (sinusoidal function) ที่ตอเนื่องทางเวลาที่มีความถี่เปน f o มีนิยามคือ

x(t )  sin( o t   )  sin( 2f o t   ), (1-24)

1-21
แนะนําสัญญาณ

และสามารถแสดงไดดังในรูปที่ 1-11 i) สําหรับฟงกชันไซนูซอยด (sinusoidal function) ที่ไม


ตอเนื่องทางเวลามีนิยามคือ

x[k o ]  sin( o k   )  sin(2f o k   ), (1-25)

โดยที่ Ω o เปนความถี่เชิงมุมที่ไมตอเนื่องทางเวลา ฟงกชันไซนูซอยดที่ไมตอเนื่องทางเวลาสามารถ


แสดงไดดังในรูปที่ 1-11 j) อยางที่ไดอธิบายไวในหัวขอที่ 1-1-3 สัญญาณไซนูซอยดที่ตอเนื่องทาง
เวลา x(t )  sin( o t   ) เปนสัญญาณคาบเสมอ ในขณะที่สัญญาณไซนูซอยดที่ไมตอเนื่องทาง
เวลา x[k o ]  sin( o k   ) ไม จํ า เป น ที่ ต อ งเป น สั ญ ญาณคาบ โดยที่ สั ญ ญาณไซนู ซ อยด ที่ ไ ม
ตอเนื่องทางเวลาเปนสัญญาณคาบก็ตอเมื่อ Ω o /2π เปนจํานวนตรรกยะ

1-2-6 ฟงกชันไซนคารดินัล
ฟงกชันไซนคารดินัล (sinc function) ที่ตอเนื่องทางเวลามีนิยามคือ

sin( o t )
sinc( o t )  , (1-26)
o t

ซึ่งสามารถวาดกราฟไดดังในรูปที่ 1-12 k) และในสวนของฟงกชันไซนคารดินัลที่ไมตอเนื่องทาง


เวลามีนิยามคือ
sin( o k )
sinc( o k )  , (1-27)
 o t

สามารถแสดงไดดังในรูปที่ 1-11 l)

1-2-7 ฟงกชันเลขชี้กําลังที่ตอเนื่องทางเวลา
ฟงกชันเลขชี้กําลัง (exponential function) ที่ตอเนื่องทางเวลาที่มีความถี่เชิงซอนเปน
s   j o สามารถแสดงไดดังในสมการนี้

x(t )  e st  e (  jo )t  e t (cos  o t  j sin  o t ). (1-28)

1-22
แนะนําสัญญาณ

ดังนั้นฟงกชันเลขชี้กําลังที่ตอเนื่องทางเวลาจึงประกอบไปดวยองคประกอบทางจํานวนจริง และ
องคประกอบทางจํานวนจินตภาพดังนี้

องคประกอบทางจํานวนจริง  
Re e st  et cos ot ;
องคประกอบทางจํานวนจินตภาพ Ime   e
st t
sin ot .

และทําใหฟงกชันเลขชี้กําลังเชิงซอนเกิดได 2 กรณีดังนี้
กรณีที่ 1 องคประกอบทางจํานวนจินตภาพเปนศูนย (ω o =0)
สมมติวาองคประกอบทางจินตภาพ ω o ของความถี่เชิงซอน s เปนศูนย ฟงกชันเลขชี้
กําลังจึงสามารถจัดใหอยูในรูปแบบไดดังนี้
x(t )  et

ซึ่งอางถึงฟงกชันเลขชี้กําลังที่ไดคาจริงโดยที่ σ มีคาตางๆกันแสดงไดดังในรูปที่ 1-12 เมื่อคา σ มีคา


เปนลบดังนั้นฟงกชันเลขชี้กําลังมีขนาดลดลงเมื่อเวลา t เพิ่มขึ้นดังที่แสดงในรูปที่ 1-12 a) สําหรับ
ที่ σ = 0 ฟงกชันเลขชี้กําลังจะไดคาคงที่ดังที่แสดงในรูปที่ 1-12 b) ในขณะที่ σ > 0 ฟงกชันเลขชี้
กําลังมีคาเพิ่มขึ้นตามเวลา t ดังที่แสดงในรูปที่ 1-12 c)

กรณีที่ 2 องคประกอบทางจํานวนจริงเปนศูนย (σ = 0)
เมื่อองคประกอบทางจํานวนจริง σ ของความถี่เชิงซอน s เปนศูนย สามารถแสดงฟงกชัน
เลขชี้กําลังไดเปน
x(t )  e jot  cos  o t  j sin  o t

โดยในสวนจํานวนจริง และจํานวนจินตภาพของเลขชี้กําลังเชิงซอนตางก็จะเปนไซนูซอยดดังที่
แสดงในรูปที่ 1-13

1-23
แนะนําสัญญาณ

รูปที่ 1-12 องคประกอบจํานวนจินตภาพเปนศูนย a) σ < 0 b) σ = 0 และ c) σ > 0

รูปที่ 1-13 องคประกอบทางจํานวนจริงเปนศูนย a) องคประกอบทางจํานวนจริง b) องคประกอบ


ทางจํานวนเชิงซอน

ตัวอยางที่ 1-7 จงวาดรูปกราฟขององคประกอบทางจํานวนจริง และองคประกอบทางจํานวนจินต


ภาพของฟงกชันเลขชี้กําลัง x(t )  exp( j 4  0.5)t เมื่อ -4 ≤ t ≤ 4

วิธีทํา
ฟงกชันเลขชี้กําลังที่ตอเนื่องทางเวลาแสดงไดดังนี้

x(t )  e ( j 4 0.5) t  e 0.5t  e j 4t .

องคประกอบทางจํานวนจริง และจํานวนจินตภาพของ x(t) แสดงไดดังนี้

องคประกอบทางจํานวนจริง Re(t )  e 0.5t cos(4t );


องคประกอบทางจํานวนจินตภาพ Im(t )  e 0.5t sin(4t );

1-24
แนะนําสัญญาณ

รูปที่ 1-14 ฟงกชันเลขชี้กําลัง x(t )  exp( j 4  0.5)t a) องคประกอบทางจํานวนจริง และ b)


องคประกอบจํานวนจินตภาพ
องคประกอบทางจํานวนจริงจะเปนรูปคลื่นของฟงกชันโคซายนที่มี ω o = 4π ที่แสดงในรูปที่ 1-13
a) ที่คูณดวย exp(-5t) ผลที่ไดจะเปนไปดังในรูปที่ 1-14 a) ในทํานองเดียวกัน องคประกอบทาง
จินตภาพจะเปนรูปคลื่นของฟงกชันซายนที่มี ω o = 4π ที่แสดงในรูปที่ 1-13 a) ที่คูณดวย exp(-5t)
ผลที่ไดจะเปนไปดังในรูปที่ 1-14 b)

1-2-8 ฟงกชันเอกซโพเนนเชียลที่ไมตอเนื่องทางเวลา
ฟงกชันเอกซโพเนนเชียลเชิงซอนที่ไมตอนื่องทางเวลาดวยความถี่เชิงมุม Ω o มีนิยามได
ดังนี้
x[k ]  e(  jo ) k  e t (cos o k  j sin o k ). (1-29)

อยางในตัวอยางหนึ่งของฟงกชันเชิงซอนที่ไมตอเนื่องทางเวลา โดยพิจารณา x[k] = exp(j0.2π –


0.05k) ซึ่งวาดกราฟไดดังในรูปที่ 1-15 โดยรูปที่ a) แสดงถึงองคประกอบทางจํานวนจริง และ b)
แสดงถึงองคประกอบทางจํานวนจินตภาพของสัญญาณเชิงซอน

กรณีที่ 1 องคประกอบทางจินตภาพเปนศูนย (Ω o = 0) ซึ่งจะไดสัญญาณที่มีรูปแบบดังนี้

x[k ]  ek

เมื่อองคประกอบทางจินตภาพ Ω o ของความถี่เชิงซอนที่ไมตอเนื่องทางเวลาเปนศูนย ในทํานอง


เดียวกับฟงกชันเลขชี้กําลังที่ตอเนื่องทางเวลา ดังนั้นฟงกชันเลขชี้กําลังที่ไมตอเนื่องทางเวลาใน

1-25
แนะนําสัญญาณ

กรณีนี้จึงสามารถจัดแบงไดเปนคาเลขชี้กําลังที่มีขนาดเพิ่มขึ้น ลดลง และขนาดคงที่ซึ่งขึ้นกับคาของ


σ

รูปที่ 1-15 ฟงกชันเอกซโพเนนเชียลเชิงซอนที่ไมตอนื่องทางเวลา x[k]=exp(j0.2π-0.05 k) a)


องคประกอบจํานวนจริง b) องคประกอบจํานวนจินตภาพ
กรณีที่ 2 องคประกอบทางจํานวนจริงเปนศูนย (σ = 0) ฟงกชันเลขชี้กําลังที่ไมตอเนื่องทางเวลาจึงมี
รูปแบบเปน
x[k ]  e jo k  cos  o k  j sin  o k

โดยที่ฟงกชันเลขชี้กําลังเชิงซอนนี้จะเปนสัญญาณคาบ ถา Ω o /2π เปนจํานวนตรรกยะ

1-2-9 ฟงกชันอิมพัลสหนึ่งหนวยที่ตอเนื่องทางเวลา
ฟงกชันอิมพัลสหนึ่งหนวย (unit impulse function δ(t)) หรือที่รูจักกันชื่อวาฟงกชันเดลตา
ของดิแร็ก (dirac delta function) และเรียกงายๆวาฟงกชันเดลตา (delta function) ซึ่งสามารถนิยาม
ไดดวยคุณสมบัติ 2 ขอดังนี้
1) ขนาด  (t )  0, t  0; (1-30)

2) พื้นที่ปดลอม   (t )dt  1. (1-31)


การแสดงรูปของฟงกชันอิมพัลสหนึ่งหนวยเชิงเวลาเปนการยากมาก ดังนั้นวิธีหนึ่งที่
สามารถแสดงรูปของฟงกชันอิมพัลสหนึ่งหนวยที่ตอเนื่องทางเวลาจึงเริ่มจากฟงกชันสี่เหลี่ยมกอน
โดยจินตนาฟงกชันอิมพัลสใหเปนพัลสสี่เหลี่ยมที่แคบ และสูงดวยความกวางเปน ε และมีความสูง
เปน 1/ε ดังที่แสดงในรูปที่ 1-16 a) ซึ่งจะไดพื้นที่ปดลอม (area enclosed) มีคาเปน 1 ขณะที่
  0 ฟงกชันสี่เหลี่ยมนี้ก็จะมีรูปรางใกลเคียงกันกับฟงกชันอิมพัลสที่ตอเนื่องทางเวลา  (t )
ดวยขนาดที่เปนอนันตที่เวลา t = 0 อยางไรก็ตามพื้นที่ลอมรอบฟงกชันอิมพัลสที่ตอเนื่องทางเวลา
สามารถหาคาไดและมีคาเปน 1 สําหรับรูปลักษณะของฟงกชันอิมพัลสแสดงไดดังในรูปที่ 1-16 b)

1-26
แนะนําสัญญาณ

โดยมีหัวลูกศรชี้ขึ้นในแนวตั้ง ความสูงของลูกศรจะเกี่ยวของกับพื้นที่ที่ปดลอมโดยฟงกชันอิมพัลส
ที่ตอเนื่องทางเวลา

รูปที่ 1-16 ฟงกชันอิมพัลส  (t ) a) การสรางฟงกชันอิมพัลสจากพัลสสี่เหลี่ยม b) รูปลักษณะของ


ฟงกชันอิมพัลส
คุณสมบัติของฟงกชันอิมพัลส
1) ฟงกชันอิมพัลสเปนฟงกชันคู เพราะวา  (t )   (t )
2) การอินทิเกรตฟงกชันอิมพัลสหนึ่งหนวยจะไดผลลัพธเปนหนึ่ง ซึ่งจะใหขอบเขตของการ
อินทิเกรตคลอบคลุมถึงจุดเริ่มตนของอิมพัลสดังแสดงในสมการคณิตศาสตรดังนี้

T A for -T  t  T
T A (t  t 0 )dt   (1-32)
0 elsewhere

3) ฟงกชันอิมพัลสหนึ่งหนวยที่ถูกทําสเกล (scaled) และถูกเลื่อนเวลา (time-shifted) สามารถ


หาไดโดย
1  b
 (at  b)    t   (1-33)
a  a

4) เมื่อนําฟงกชันใดๆ  (t ) ไปคูณกับฟงกชันอิมพัลสที่ถูกเลื่อนเวลา จะไดผลคูณเปน

 (t ) (t  t 0 )   (t 0 ) (t  t 0 ) (1-34)

หรื อ กล า วอี ก นั ย หนึ่ ง ได ว า การคู ณ กั น ระหว า งฟ ง ก ชั น ที่ ต อ เนื่ อ งทางเวลาใดๆ กั บ
ฟงกชันอิมพัลสจะไดเปนฟงกชันอิมพัลสที่ใหพื้นที่มีคาเทากับคาของฟงกชันที่ตอเนื่องทาง
เวลาที่ตําแหนงของอิมพัลส เมื่อใชคุณสมบัติที่ 2 และ 4 จะไดวา

1-27
แนะนําสัญญาณ

  (t ) (t  t 0 )dt   (t 0 ) (1-35)


5) ฟงกชันอิมพัลสหนึ่งหนวยสามารถหาไดจากการหาอนุพันธของฟงกชันขั้นบันไดหนึ่ง
หนวยดังแสดงในสมการ
du
 (t )  (1-36)
dt

6) ในทางตรงกั น ข า ม ฟ ง ก ชั น ขั้ น บั น ไดหนึ่ ง หน ว ยก็ ส ามารถหาได จ ากการอิ น ทิ เ กรต


ฟงกชันอิมพัลสหนึ่งหนวยดังในสมการ

t
u (t )    ( )d (1-37)


ตัวอยางที่ 1-8 จงจัดรูปแบบตอไปนี้ใหเปนรูปแบบงายๆ

5  jt
a)  (t );
7  t2

b)  (t  5) (t  2)dt;


c)  e j 0.5  2 (  5)d


วิธีทํา
5  jt  5  jt  5
a) โดยใชสมการที่ 1-34 ซึ่งจะไดผล  (t )   2 
 (t )   (t )
7t 2
 7  t  t 0 7

b) โดยใชสมการที่ 1-34 ซึ่งจะไดผล

  

 (t  5) (t  2)dt   [(t  5)]t 2  (t  2)dt  7   (t  2)dt  7


  

c) โดยใชสมการที่ 1-34 จะไดผล

1-28
แนะนําสัญญาณ
 

e  (  5)d   [e j 0.5  2 ] 5  (  5)d


j 0.5  2

 

  (  5)d
j 2.5  2
e


เนื่องจาก exp( j 2.5  2)  j exp(2) และการอินทิกรัลเทากับหนึ่ง ซึ่งจะได

e
j 0.5  2
 (  5)d  je 2


1-2-10 ฟงกชันอิมพัลสหนึ่งหนวยที่ไมตอเนื่องทางเวลา
ฟงกชันอิมพัลสหนึ่งหนวยที่ไมตอเนื่องทางเวลาซึ่งสามารถอางไดเปนฟงกชันตัวอยาง
หนึ่งหนวย (sample function) ที่ไมตอเนื่องทางเวลา มีนิยามดังนี้

1 k 0
 [k ]  u[k ]  u[k  1]   (1-38)
0 k0

โดยที่รูปคลื่นของฟงกชันอิมพัลสหนึ่งหนวยที่ไมตอเนื่องทางเวลาแสดงไดดังในรูปที่ 1-17

รูปที่ 1-17 ฟงกชันอิมพัลสหนึ่งหนวยที่ไมตอเนื่องทางเวลา

ตัวอยางที่ 1-9 อธิบายลําดับที่ไมตอเนื่องทางเวลาในรูปที่ 1-18 a) ใหเปนฟงกชันอิมพัลสหนึ่งหนวย


ที่ไมตอเนื่องทางเวลาที่ถูกเลื่อนเวลา

วิธีทํา สัญญาณที่ไมตอเนื่องทางเวลา x[k] สามารถอธิบายใหเปนผลรวมของฟงกชัน 3 ตัวคือ


x 1 [k] x 2 [k] และ x 3 [k] ดังในสมการ

1-29
แนะนําสัญญาณ

x[k ]  x1 [k ]  x 2 [k ]  x3 [k ]

โดยที่ x 1 [k] x 2 [k] และ x 3 [k] เปนฟงกชันอิมพัลสที่ถูกเลื่อนเวลา โดยที่

x1 [k ]   [k  1], x 2 [k ]  2 [k ], และ x3 [k ]  4 [k  1]

ซึ่งสามารถแสดงไดดังในรูปที่ 1-18 b) , c) และ d) ตามลําดับ ดังนั้นลําดับที่ไมตอเนื่องทางเวลา


x[k] สามารถอธิบายไดเปน

x[ k ]   [k  1]  2 [k ]  4 [k  1]

รูปที่ 1-18 ฟงกชันที่ไมตอเนื่องทางเวลาในตัวอยางที่ 1-9 a) x[k ] b) x1 [k ] , c) x 2 [k] และ d)


x 3 [k]

1-3 การดําเนินการของสัญญาณ
แนวคิดที่สําคัญในการวิเคราะหสัญญาณ และระบบคือการเปลี่ยนแปลงรูปลักษณะของ
สัญญาณ ในหัวขอนี้ จะเปนการพิจารณาถึงการเปลี่ยนรูปสัญญาณเบื้องตน 3 รูปแบบในโดเมน
เวลาคือ การเลื่อนเวลา (time shifting) การสเกลทางเวลา (time scaling) และการผกผันทางเวลา
(time inversion)

1-30
แนะนําสัญญาณ

1-3-1 การเลื่อนเวลา
การเลื่อนเวลา (time shifting) เปนการทําใหสัญญาณอินพุท (input signal) มีการลาชา
หรือล้ําหนาในทางเวลา พิจารณาสัญญาณที่ตอเนื่องทางเวลา  (t ) ที่หาโดยการเลื่อนเวลาของ
สัญญาณอีกสัญญาณหนึ่ง x(t) สัญญาณ  (t ) ที่ไดถูกเลื่อนเวลาสามารถอธิบายไดเปน

 (t )  x(t  T )

หรือกลาวอีกนัยหนึ่งวา สัญญาณที่ถูกเลื่อนเวลาไปเปน T หาไดโดยแทนคา t ใน x(t) ไป t+T ถา


T < 0 ดังนั้นสัญญาณ x(t) จะลาชาในเวลา ถาอธิบายดวยภาพนั้นคือสัญญาณนี้เปนการเลื่อน
จุดเริ่มตนของสัญญาณ x(t) ไปทางดานขวามือเปนเวลา T ในแกนเวลา อีกทางหนึ่ง ถา T > 0
ดังนั้นสัญญาณ x(t) จึงล้ําหนาในเวลา การเขียนสัญญาณที่ล้ําหนาเปนการเลื่อนสัญญาณ x(t) ไป
ทางดานซายมือเปนเวลา T ในแกนเวลา

รูปที่ 1-19 การเลื่อนเวลาของสัญญาณที่ตอเนื่องทางเวลา a) สัญญาณตนกําเนิด x(t) b) สัญญาณที่


ลาชา x(t-3) c) สัญญาณล้ําหนา x(t+3)

รูปที่ 1-19 a) แสดงถึงสัญญาณที่ตอเนื่องทางเวลา x(t) และสัญญาณที่ถูกเลื่อนเวลาที่


เกี่ยวของกัน x(t-3) และ x(t+3) เนื่องจาก x(t-3) เปนรูปแบบการลาชาของ x(t) รูปคลื่นของ
x(t-3) มีรูปคลื่นลักษณะเหมือนกันกับ x(t) แตเลื่อนเวลาไปทางขวามือเปน 3 หนวยเวลา ใน

1-31
แนะนําสัญญาณ

ทํานองเดียวกัน x(t+3) เปนรูปแบบที่ล้ําหนาของ x(t) รูปคลื่นของ x(t+3) มีรูปคลื่นลักษณะ


เหมือนกันกับ x(t) แตเลื่อนเวลาไปทางซายมือเปน 3 หนวยเวลา
ทฤษฎีของการเลื่อนเวลาของสัญญาณที่ตอเนื่องทางเวลาสามารถนํามาประยุกตใชกับ
ลําดับที่ไมตอเนื่องทางเวลา เมื่อสัญญาณที่ไมตอเนื่องทางเวลา x[k ] ถูกเลื่อนเวลาไป m หนวยเวลา
สัญญาณที่ลาชา (delayed signal) [k ] สามารถอธิบายไดโดย

[k ]  x[k  m]

ถา m < 0 ทําใหสัญญาณนี้มีการลาชาในเวลา สัญญาณ x[k] ที่ถูกเลื่อนไปทางขวามือ


ในแนวแกน k ดวยเวลา m หนวยเวลาก็จะทําใหได สัญญาณที่ลาชาในเวลา [k ] ในอีกทางหนึ่ง
ถา m > 0 สัญญาณนี้จะเปนสัญญาณที่ล้ําหนาในเวลา สัญญาณ x[k] ที่ถูกเลื่อนไปทางซายมือใน
แนวแกน k ดวยเวลา m หนวยเวลาก็จะทําใหได สัญญาณที่ล้ําหนาในเวลา [k ]

รูปที่ 1-20 การเลื่อนเวลาของสัญญาณที่ไมตอเนื่องทางเวลา a) สัญญาณตนกําเนิด x[k] b)


สัญญาณที่ลาชา x[k-4] c) สัญญาณล้ําหนา x[k+4]

1-32
แนะนําสัญญาณ

รูปที่ 1-20 แสดงถึงสัญญาณที่ไมตอเนื่องทางเวลา x[k] และสัญญาณที่ถูกเลื่อนเวลาที่เกี่ยวของกัน


x[k-4] และ x[k+4] เนื่องจาก x[k-4] เปนรูปแบบการลาชาของ x[k] รูปคลื่นของ x[k-4] มี
รูปคลื่นลักษณะเหมือนกันกับ x(t) แตเลื่อนเวลาไปทางขวามือเปน 4 หนวยเวลา ในทํานอง
เดียวกัน x[k+4] เปนรูปแบบที่ล้ําหนาของ x[k] รูปคลื่นของ x[k+4] มีรูปคลื่นลักษณะ
เหมือนกันกับ x[k] แตเลื่อนเวลาไปทางซายมือเปน 4 หนวยเวลา

ตัวอยางที่ 1-10 พิจาณาสัญญาณ x(t) = e-tu(t) จงวาดสัญญาณ x(t-4) และ x(t+2)

วิธีทํา สัญญาณ x(t) สามารถอธิบายไดดังในสมการนี้

e t t0
x(t )  e t u (t )   (1-39)
0 t  0,

โดยแสดงไดดังในรูปที่ 1-21 a) เพื่อที่จะหา x(t-4) และแทน t เปน (t-4)ในสมการที่ 1-39 ดังนั้น


แสดงผลลัพธไดเปน
e  ( t  4) t40
x(t  4)  
0 t  4  0,
e ( t  4 ) t4

0 t4

ฟงกชัน x(t-4) สามารถแสดงไดดังในรูปที่ 1-21 b)


ในทํานองเดียวกัน สามารถหาคา x(t+2) โดยการแทนคา t เปน ( t+2) ในสมการที่ 1-39 ซึ่งจะได
ผลลัพธเปน
e  (t  4 ) t20
x(t  2)  
0 t  2  0,
e ( t  4) t  2

0 t  2

ซึ่งสามารถแสดงไดดังในรูปที่ 1-21 c) จากรูปที่ 1-21 เราจะสังเกตไดวารูปคลื่นของ x(t-4)


สามารถหาไดโดยตรงจากสัญญาณ x(t) โดยการเลื่อนรูปคลื่น x(t) ไปทางดานขวามือเปน 4 หนวย
เวลา ในทํานองเดียวกันรูปคลื่นของ x(t+2) สามารถหาไดโดยการเลื่อนรูปคลื่น x(t) ไปทางดาน
ซายมือเปน 2 หนวยเวลา

1-33
แนะนําสัญญาณ

รูปที่ 1-21 การเลื่อนเวลาของตัวอยางที่ 1-10 a) สัญญาณกําเนิด x(t) b) สัญญาณที่ลาชา x(t-4) c)


สัญญาณที่ล้ําไปหนา x(t+4)
ตัวอยางที่ 1-11 พิจารณาสัญญาณ x[k] ที่มีนิยามดังนี้

0.2k 0k 5
x[k ]   (1-40)
0 elsewhere

วิธีทํา สัญญาณ x[k] สามารถวาดรูปไดดังในรูปที่ 1-22 a) ในการคํานวณหา p[k] จึงตองแทน


k = m-2 ในสมการที่ 1-40 ซึ่งจะไดผลลัพธเปน

0.2(m  2) 0  (m  2)  5
x[m  2]  
0 elsewhere

โดยการเปลี่ยนคาตัวแปรอิสระจาก m ไปเปน k และจัดรูปใหมใหงายขึ้น จะได

0.2(k  2) 2k 7
p[k ]  x[k  2]  
0 elsewhere

1-34
แนะนําสัญญาณ

คาของ p[k] ในชวง 2 ≤ k ≤ 7 แสดงไดดังในตารางที่ 1-1 และสามารถแสดง p[k] ไดดังในรูปที่ 1-


22 b) ในการคํานวณหา q[k] จะแทนคา k = m+2 ในสมการที่ 1-40 ซึ่งจะไดผลลัพธของสมการ
เปน

0.2(m  2) 0  (m  2)  5
x[m  2]  
0 elsewhere

โดยการเปลี่ยนคาตัวแปรอิสระจาก m ไปเปน k และจัดรูปใหมใหงายขึ้น จะได

0.2(k  2) 2 k 3
q[k ]  x[k  2]  
0 elsewhere

คาของ q[k] ในชวง- 2 ≤ k ≤ 3 แสดงไดดังในตารางที่ 1-1 และสามารถแสดง q[k] ไดดังในรูปที่ 1-


22 c)
จากตัวอยางที่ 1-11 เราสังเกตเห็นไดวารูปคลื่นของ p[k] = x[k-2] สามารถหาไดโดยตรง
จากสัญญาณ x[k] โดยการเลื่อนรูปคลื่น x[k] ไปทางดานขวามือเปน 2 หนวยเวลา ในทํานอง
เดียวกันรูปคลื่นของ q[k] = x[k+2] สามารถหาไดโดยการเลื่อนรูปคลื่น x[k] ไปทางดานซายมือ
เปน 2 หนวยเวลา

1-35
แนะนําสัญญาณ

รูปที่ 1-22 การเลื่อนเวลาของตัวอยางที่ 1-10 a) สัญญาณกําเนิด x[k] b) สัญญาณที่ลาชา x[k-2] c)


สัญญาณที่ล้ําไปหนา x[k+2]
1-3-2 การสเกลทางเวลา
การสเกลทางเวลา (time scaling) เปนการบีบอัด(compressing) หรือ การทําใหขยาย
(expanding) สัญญาณอินพุทในชวงโดเมนเวลา สัญญาณที่ตอเนื่องทางเวลา x(t) ถูกสเกลดวยตัว
ประกอบ (factor) c ในโดเมนเวลาซึ่งเขียนไดเปน x(ct) ถา c > 1 สัญญาณจะถูกบีบอัดดวยตัว
ประกอบ c และ ถา 0 < c < 1 สัญญาณจะถูกทําใหขยายกวางขึ้น เราสามารถอธิบายแนวคิดของ
การสเกลของสัญญาณที่ตอเนื่องทางเวลาไดดวยตัวอยางดังตอไปนี้

ตัวอยางที่ 1-12 พิจารณาสัญญาณที่ตอเนื่องทางเวลา x(t) ที่มีนิยามดังตอไปนี้


t  1 1  t  0
1 0t 2

x(t )   (1-41)
 t  3 2t 3
0 elsewhere
และแสดงไดดังในรูปที่ 1-22 a) จงหาสัญญาณที่ถูกสเกลคือ x(2t) และ x(t/2) พรอมกับวาดรูป
สัญญาณดังกลาวดวย

วิธีทํา แทนคา t  2 ลงในสมการที่ 1-41 จะได

1-36
แนะนําสัญญาณ

2  1  1  2  0
1 0  2  2

x(2 )  
 2  3 2  2  3
0 elsewhere

โดยการเปลี่ยนคาตัวแปรอิสระจาก  ไปเปน t และจัดรูปใหงาย จะได

2t  1  0.5  t  0
1 0  t 1

x(2t )  
 2t  3 1  t  1.5
0 elsewhere

สามารถแสดงรูปคลื่นไดดังในรูปที่ 1-22b) โดยรูปคลื่นของ x(2t) สามารถหาไดโดยการบีบอัด


รูปคลื่นของ x(t) ดวยตัวประกอบเทากับ 2 จะสังเกตไดวาการบีบอัดสัญญาณเปนการบีบสัญญาณ
ในแนวแกนเวลาโดยที่ขนาดของสัญญาณของรูปคลื่น x(t) และ x(2t) มีขนาดเทากัน
และเมื่อแทน t   / 2 ในสมการที่ 1-41 เราจะได
 / 2  1 1   / 2  0
1 0  /2  2

x( / 2)  
 2  3 2  /2  3
0 elsewhere

โดยการเปลี่ยนคาตัวแปรอิสระจาก  ไปเปน t และจัดรูปใหงาย จะได

t / 2  1 2t 0
1 0t 4

x(2t )  
 t / 2  3 4t 6
0 elsewhere

สามารถแสดงไดดังในรูปที่ 1-22c) โดยรูปคลื่นของ x(t/2) สามารถหาไดโดยการขยายรูปคลื่นของ


x(t) ดวยตัวประกอบเทากับ 2 จะสังเกตไดวาการบีบอัดสัญญาณเปนการขยายรูปในแนวแกนเวลา
โดยที่ขนาดของสัญญาณของรูปคลื่น x(t) และ x(t/2) มีขนาดเทากัน

1-37
แนะนําสัญญาณ

รูปที่ 1-22 การเลื่อนทางเวลาของสัญญาณในตัวอยางที่ 1-12 a) สัญญาณที่ตอเนื่องทางเวลา x(t )


b) รูปแบบการบีบอัดสัญญาณทางเวลา x(2t ) c) รูปแบบการขยายทางเวลา x(0.5t )
1-3-2-1 Decimation
ถาลําดับ x[k] ถูกบีบอัดโดยตัวประกอบ c จะทําใหขอมูลในตัวอยางบางคาของ x[k] จะ
เกิดการสูญหาย อยางในตัวอยางเชน ถาเรา decimate x[k] ดวยสอง ฟงกชันที่ถูก
decimate เปน y[k] = x[2k] ก็จะเหลือตัวอยางหนึ่งที่เวนหนึ่งโดยไดตัวอยางเปน x[0], x[2],
x[4] เปนตน ดังนั้นการบีบอัด สัญญาณที่ไมตอเนื่องทางเวลาจึงเปนกระบวนที่ไมสามารถเอาคา
คื น กลั บ มาได ในขณะที่ ลํ า ดั บ ต น กํ า เนิ ด x[k] ไม ส ามารถนํ า คื น กลั บ มาจากสั ญ ญาณที่ ถู ก
decimate y[k] ไดอยางแมนยํา

1-3-2-2 การประมาณคาในชวง(Interpolation)
ในสัญญาณที่ไมตอเนื่องทางเวลา การประมาณคาในชวงสามารถนิยามไดเปนดังนี้

 k 
x , k  2m
x ( m)
[k ]    m  (1-42)
0 , k  2m

1-38
แนะนําสัญญาณ

ลําดับที่ถูกแทรก x(m)[k] เปนการเพิ่มศูนยจํานวน m-1 ตัวระหวางตัวอยางที่อยูติดกันของลําดับ


x[k] การประมาณค า ในช ว งของลํ า ดั บ ที่ ไ ม ต อ เนื่ อ ง x[k] คื อ กระบวนการย อ นกลั บ (reverse
process) อยางที่ลําดับตนกําเนิด x[k] สามารถกูคืนกลับมาไดจากลําดับ x(m)[k]

ตัวอยางที่ 1-13 พิจารณาลําดับ x[k] ที่แสดงไวดังในรูปที่ 1-23 a) จงคํานวณหา และวาดรูปของ


p[k] = x[2k] และ q[k] = x[k/2]

วิธีทํา เนื่องจาก x[k] ไมเปนศูนยสําหรับ 5  k  5 คาทีไมเปนศูนยของลําดับ p[k] = x[2k]ที่


ทําการ decimate แลว เกิดขึ้นใน 3  k  3 ซึ่งแสดงไดดังในตารางที่ 1-2 สวนรูปคลื่นของ p[k]
แสดงไดดังในรูปที่ 1-23 b) รูปคลื่นของลําดับ p[k] สามารถหาไดโดยการบีบอัดลําดับ x[k] ดวยตัว
ประกอบเทากับ 2 ในแนวแกน y โดยที่คาของ x[k] ที่ k = 0 จะมีคาเทากับ p[k] ที่ k = 0 ได
เชนเดียวกัน
ในการหา q[k] = x[k/2] จะเริ่มจากการหาชวงพิสัยที่ x[k/2] มีคาไมเปนศูนย ซึ่งคาที่ไม
เปนศูนยของ q[k] = x[k/2] จะเกิดขึ้นในชวง 10  k  10 ซึ่งแสดงไวในตารางที่ 1-3 และมี
รูปคลื่นของ q[k] แสดงในรูปที่ 1-23 c) รูปคลื่นของลําดับ q[k] สามารถหาไดโดยการใหขยายกวาง
ขึ้นของรูปคลื่น x[k] โดยตัวประกอบเทากับ 2 ในแนวแกน y เมื่อเกิดการขยายกวางขึ้นคาของ
x[k] ที่ ที่ k = 0 จะมีคาเทากับ q[k] ที่ k = 0 ตัวอยางที่เปนเลขคูโดย k เปนจํานวนเทาของสอง
คาของ q[k] เทากับ x[k/2] และตัวอยางที่เปนเลขคี่ q[k] ถูกตั้งคาใหเทากับศูนย

1-39
แนะนําสัญญาณ

รูปที่ 1-23 การสเกลในเวลาของสัญญาณที่ไมตอเนื่องทางเวลาตามในตัวอยางที่ 1-13 a) ลําดับที่ไม


ตอเนื่อง x[k] b) รูปคลื่นของ x[2k] c) รูปคลื่นของ x[k/2]

การหาลําดับที่ไดถูกการประมาณคาในชวง x[mk] ทําไดโดยการเพิ่มคาศูนยเปนจํานวน m-1 ตัว


ระหวางตัวอยางที่ติดกันของลําดับ x[k] ตามในสมการที่ 1-42 โดยที่ x[k] ไมทราบคา แตใน
ความเปนจริงแลวแทนที่จะใสคาศูนยลงไปแลว เราสามารถหาคาจากตัวอยางที่อยูใกลเคียงของ
x[k] ที่ทราบคา โดยสมการในการหาลําดับที่ถูกการประมาณคาในชวงสามารถหาไดโดยสมการ
ดังนี้

 k 
x m  , k  2m
  
x [k ]  
( m)
(1-42)
(1   ) x  k   x  k  , k  2m
  m   m 

 k  k
โดยที่  m  เปนจํานวนเต็มที่ใกลที่สุดที่นอยกวาหรือเทากับ (k/m) สวน  m  เปนจํานวน
เต็มที่ใกลที่สุดที่มากกวาหรือเทากับ (k/m) และ   (k mod m) / m โดยที่ mod เปนปฏิบัติการ
มอดุโล (modulo) ที่เปนการคํานวณเลขเศษที่หารไมลงตัวของการหารคา k/m ถา m = 2 สมการที่
1-42 สามารถเขียนงายๆไดเปน

 k 
x 2  , k is even
  
x [k ]  
( 2)

0.5 x  k  1  x  k  1  , k is odd .
   2   2  

1-40
แนะนําสัญญาณ

จะเห็นไดวาสมการที่ 1-42 มีประโยชนในการหาลําดับที่ถูกสอดแทรกไดโดยละเอียดมากกวา


อยางไรก็ตาม สมการที่ 1-41 จะถูกนํามาประยุกตใชในเฉพาะหนังสือเลมนี้เทานั้น

1-3-3 การผกผันในทางเวลา
การผกผันในทางเวลา (time-inversion) เปนการสะทอนสัญญาณอินพุทรอบแนวแกนตั้ง
(t = 0) เมื่อสัญญาณที่ตอเนื่องทางเวลา x(t) มีการผันกลับทางเวลา (time reverse) สัญญาณถูกผัน
กลับ (inverted signal) นี้สามารถเขียนไดเปน x(-t) ในทํานองเดียวกัน สัญญาณที่ไมตอเนื่องทาง
เวลา x[k] เมื่อมีการผันกลับทางเวลา (time reverse) สัญญาณถูกผันกลับ (inverted signal) นี้
สามารถเขียนไดเปน x[-k]

ตัวอยางที่ 1-14 จงวาดรูปของสัญญาณผกผันในทางเวลาของสัญญาณตามสมการนี้

e t t0
x(t )  e t u (t )   (1-43)
0 t  0,

ซึ่งแสดงรูปสัญญาณไดดังในรูปที่ 1-24 a)

รูปที่ 1-24 การผกผันทางเวลาของสัญญาณในตัวอยางที่ 1-14 a) สัญญาณ x(t) b) สัญญาณที่ถูก


ผกผันทางเวลา x(-t)

1-41
แนะนําสัญญาณ

วิธีทํา
ถาแทน t   ลงในสมการที่ 1-43 ดังนั้นจะไดผลลัพธเปน
e   0
x( )  e u ( )  
0  0

เพื่อจัดสมการขางบนใหอยูในรูปที่งายขึ้น ดวยการแทนคากลับไปในพจนของตัวแปรอิสระ t ซึ่งจะ


ไดผลเปน
e t t0
x ( t )  
0 t0

สัญญาณที่ถูกผกผันทางเวลา x(-t) แสดงไดดังในรูปที่ 1-24 b) เราสามารถหารูปสัญญาณที่ถูก


ผกผันทางเวลา x(-t) ไดงายโดยการพลิกกลับสัญญาณตนกําเนิดในแนวแกน y

1-3-4 การดําเนินการแบบผสม
ในหัวขอที่ผานมาการดําเนินการพื้นฐานของสัญญาณในโดเมนเวลาทั้ง 3 วิธีไดถูกกลาว
ไปแลว ในการประยุก ตข องการประมวลสั ญ ญาณนั้น เรามัก จะพบเห็น การดํ า เนิน การทาง
สัญญาณทั้ง 3 วิธีเหลานี้จะถูกนํามาใชผสมรวมกัน การดําเนินการทางสัญญาณเชิงเสนหนึ่งที่ได
รวมการดําเนินการทางสัญญาณทั้ง 3 วิธีสามารถเขียนใหอยูในรูป x( t   ) โดยที่  เปนตัว
ประกอบในการสเกลทางเวลา และ  เป น ตั ว ประกอบในการเลื่ อ นเวลา ถ า  มี ค า เป น ลบ
สัญญาณนี้จะเกิดการพลิกลับพรอมกับมีการสเกลเวลา และการเลื่อนเวลา เมื่อจัดรูปสัญญาณนี้ใหม
จะไดเปน
   
x( t   )  x   t    ,
   

เราสามารถวาดรูปคลื่นของ x( t   ) ตามขั้นตอนดังนี้


1. ใหทําการสเกล x(t) โดย  ผลของการแปลงรูปคลื่นจะได x(  t )
2. ถา  มีคาเปนลบ ใหผกผันสัญญาณที่ทําการสเกลแลว x(  t) ในแนวรอบแกน t = 0
ขั้นตอนนี้จะใหรูปคลื่น x( t )
3. เลื่อนเวลาของรูปคลื่น x( t ) ที่หาไดในขั้นตอนที่ 2 ไปเปน  /  หนวยเวลา เลื่อนเวลา
ไปทางดานขวามือของสัญญาณ เมื่อ (  /  ) มีคาเปนลบ และจะเลื่อนไปทางซายมือของ

1-42
แนะนําสัญญาณ

สัญญาณ เมื่อ (  /  ) มีคาเปนบวก ผลลัพธที่เกิดขึ้นจากขั้นตอนนี้เปน x( t   ) ซึ่งเปน


การเปลี่ยนแปลงรูปสัญญาณตามตองการ

ตัวอยางที่ 1-15 จงหา x(4  2t ) โดยที่รูปคลื่นของสัญญาณที่ตอเนื่องทางเวลา x(t ) มีรูป


คลื่นสัญญาณไปตามรูปที่ 1-25 a)

รูปที่ 1-25 การดําเนินการแบบผสมตามในตัวอยางที่ 1-15 a) สัญญาณที่ตอเนื่องทางเวลา x(t ) b)


การสเกล x(2t ) c) การผกผันทางเวลา x(2t ) จาก b) d) การเลื่อนเวลาของ c) จะได x(4  2t )
วิธีทํา จัดรูป x(4  2t )  x(2[t  2]) จากนั้นดําเนินการขั้นตอนไดนี้
1. บีบอัด x(t) ดวยตัวประกอบเปน 2 จะได x(2t) จะไดผลเปนรูปคลื่นดังที่แสดงในรูปที่ 1-25
b)
2. ทําการผกผันทางเวลาของ x(2t) จะไดเปน x(-2t) ซึ่งแสดงไดดังในรูปที่ 1-25 c)
3. ทําการเลื่อนเวลาของ x(-2t) ไปตามทิศทางขวามือดวยเวลาเปน 2 หนวยเวลาจะได
x(2[t  2])  x(4  2t ) โดยที่รูปคลื่น x(4  2t ) แสดงไดดังในรูปที่ 1-25 d)

ตัวอยางที่ 1-16 จงวาดรูปคลื่นของ x[15  3k ] ของลําดับที่ไมตอเนื่อง x[k] ที่แสดงดังในรูปที่


1-26a)

1-43
แนะนําสัญญาณ

รูปที่ 1-26 การดําเนินการแบบผสมของลําดับที่ไมตอเนือ่ งทางเวลาตามตัวอยางที่ 1-16 a) ลําดับที่


ไมตอเนื่อง x[k] b) รูปแบบสเกลเวลา x[3k] c) รูปแบบการผกผันทางเวลา x[-3k] ของรูป b) d)
รูปแบบการเลื่อนเวลา x[15  3k ] ของรูป c)
วิธีทํา จัดรูป x[15  3k ]  x[3(k  5)] จากนั้นดําเนินการตามขั้นตอนดังนี้
1. ทําการบีบอัด x[k] ดวยตัวประกอบเปน 3 จะได x[3k] ผลลัพธที่ไดจะแสดงรูปคลื่นดังในรูปที่
1-26 b)
2. ทําการผกผันทางเวลาของ x[3k] จะได x[-3k] ซึ่งแสดงไดดังในรูปที่ 1-26c)
3. ทําการเลื่อนเวลาของ x[-3k] ไปทางดานซายมือเปน 5 หนวยเวลาจะได
x[3(k  5)  x[15  3k ]] และรูปคลื่นแสดงไดดังในรูปที่ 1-26 d)

1-4 สรุป
ในบทนี้ไดอธิบายถึงสัญญาณ การแปลความหมายเชิงคณิตศาสตร และรูปของสัญญาณ
การแบงประเภทของสัญญาณ สัญญาณพื้นฐานตางๆ การดําเนินการสัญญาณในทางเวลา ซึ่งการ
เขาใจพื้นฐานตางๆเหลานี้จะทําใหเขาถึงการวิเคราะห และประมวลสัญญาณใหมีประสิทธิภาพได

1-44
แนะนําสัญญาณ

แบบฝกหัด
1-1 จงวาดรูปของสัญญาณที่ตอเนื่องทางเวลาดังตอไปนี้
(1) x 1 (t ) = cos(3πt/4 + π/8) โดยที่ −1 ≤ t ≤ 2;
(2) x 2 (t ) = sin(−3πt/8 + π/2) โดยที่ −1 ≤ t ≤ 2;
(3) x 3 (t ) = 5t + 3 exp(−t ) โดยที่ −2 ≤ t ≤ 2;
(4) x 4 (t ) = (sin(3πt/4 + π/8))2 โดยที่ −1 ≤ t ≤ 2;
(5) x 5 (t ) = cos(3πt/4) + sin(πt/2) โดยที−
่ 2 ≤ t ≤ 3;
(6) x 6 (t ) = t exp(−2t ) โดยที่ −2 ≤ t ≤ 3.

1-2 จงวาดรูปของสัญญาณที่ไมตอเนื่องทางเวลาดังตอไปนี้
(1) x 1 [k] = cos(3πk/4 + π/8) โดยที่ −5 ≤ k ≤ 5;

1-45
แนะนําสัญญาณ

(2) x 2 [k] = sin(−3πk/8 + π/2) โดยที่ −10 ≤ k ≤ 10;


(3) x 3 [k] = 5k + 3−k โดยที่ −5 ≤ k ≤ 5;
(4) x 4 [k] = |sin(3πk/4 + π/8)|โดยที−
่ 6 ≤ k ≤ 10;
(5) x 5 [k] = cos(3πk/4) + sin(πk/2)โดยที่ −10 ≤ k ≤ 10;
(6) x 6 [k] = k4−|k| โดยที่ −10 ≤ k ≤ 10.

1-3 สัญญาณที่ตอเนื่องทางเวลาดังตอไปนี้เปนสัญญาณคาบ พรอมกับหาคาบเวลาของสัญญาณคาบ


ดวย
(1) x 1 (t ) = sin(−5πt/8 + π/2);
(2) x 2 (t ) = |sin(−5πt/8 + π/2)|;
(3) x 3 (t ) = sin(6πt/7) + 2 cos(3t/5);
(4) x 4 (t ) = exp(j(5t + π/4));
(5) x 5 (t ) = exp(j3πt/8) + exp(πt/86);
(6) x 6 (t ) = 2 cos(4πt/5)×sin2(16t/3);
(7) x 7 (t ) = 1 + sin 20t + cos(30t + π/3).

1-4 สัญญาณที่ไมตอเนื่องทางเวลาดังตอไปนี้เปนสัญญาณคาบ พรอมกับหาคาบเวลาของสัญญาณ


คาบดวย
(1) x 1 [k] = 5 × (−1)k ;
(2) x 2 [k] =exp(j(7πk/4)) + exp(j(3k/4));
(3) x 3 [k] = exp(j(7πk/4)) + exp(j(3πk/4));
(4) x 4 [k] = sin(3πk/8) + cos(63πk/64);
(5) x 5 [k] = exp(j(7πk/4)) + cos(4πk/7 + π);
(6) x 6 [k] = sin(3πk/8) cos(63πk/64).

1-5 จงพิจารณาสัญญาณที่ตอเนื่องทางเวลาตอไปนี้เปนสัญญาณกําลัง หรือสัญญาณพลังงาน พรอม


กับคํานวณหาพลังงาน และกําลังของสัญญาณในแตละกรณี
(1) x 1 (t) = cos(πt ) sin(3πt)
(2) x 2 (t) = exp(−2t)
(3) x 3 (t) = exp(−j2t)
(4) x 4 (t) = exp(−2t)u(t)

1-46
แนะนําสัญญาณ

cos(3t ) t 3
(5) x5 (t )  
0 t 3

1-6 จงพิจารณาสัญญาณที่ไมตอเนื่องทางเวลาตอไปนี้เปนสัญญาณกําลัง หรือสัญญาณพลังงาน


พรอมกับคํานวณหาพลังงาน และกําลังของสัญญาณในแตละกรณี
 k   3k 
(1) x1 [k ]  cos  sin  
 4   8 
  3k 
cos   10  k  0
(2) x 2 [k ]    16 
0 elsewhere

(3) x3 [k ]  (1) k
(4) x 4 [k ]  exp( j (k / 2   / 8))
2 k 0  k  10

(5) x5 [k ]  1 11  k  15
0 elsewhere

1-7 จงพิ จ ารณาสั ญ ญาณที่ ต อ เนื่ อ งทางเวลาเป น สั ญ ญาณคู หรื อ สั ญ ญาณคี่ พร อ มกั บ หา
องคประกอบของสัญญาณคู และองคประกอบของสัญญาณคี่ในสัญญาณที่ตอเนื่องทางเวลาเหลานี้
(1) x1 (t )  2 sin( 2t )[2  cos(4t )]

(2) x 2 (t )  t 2  cos(3t )
(3) x3 (t )  exp(3t ) sin(3t )

(4) x 4 (t )  t sin(5t )
(5) x5 (t )  tu (t )

1-8 จงพิจารณาสัญญาณที่ไมตอเนื่องทางเวลาเปนสัญญาณคู หรือสัญญาณคี่ พรอมกับหา


องคประกอบของสัญญาณคู และองคประกอบของสัญญาณคี่ในสัญญาณที่ไมตอเนื่องทางเวลา
เหลานี้
(1) x1 [k ]  sin( 4k )  cos(2 / k 3)
(2) x 2 [k ]  sin(k / 3000)  cos(2k / 3)
(3) x3 [k ]  exp( j (7k / 4))  cos(4k / 7   )

(4) x 4 [k ]  sin(3k / 8) cos(63k / 64)

(5) x5 [k ]  (1) k u[k ]

1-9 จงวาดรูปสัญญาณที่ตอเนื่องทางเวลาตอไปนี้

1-47
แนะนําสัญญาณ

(1) x1 (t )  u (t )  2u (t  3)  2u (t  6)  u (t  9)
(2) x 2 (t )  u (sin(t ))
(3) x3 (t )  rect(t / 6)  rect(t / 4)  rect (t / 2)

(4) x 4 (t )  r (t )  r (t  2)  2u (t  4)
(5) x5 (t )  (exp(t )  exp(3t )u (t )

(6) x6 (t )  3 sgn(t ).rect(t / 4)  2 (t  1)  3 (t  3)

1-10 จงวาดรูปสัญญาณที่ไมตอเนื่องทางเวลาตอไปนี้
(1) x1 [k ]  u[k ]  u[k  3]  u[k  5]  u[k  7]

(2) x 2 [k ]    [k  m]
m 0

(3) x3 [k ]  (3 k  2 k )u[k ]

(4) x 4 [k ]  u[cos(k / 8)]


(5) x5 [k ]  ku[k ]

(6) x6 [k ]  k (u[k  4]  u[k  4])

1-11 จงจัดรูปแบบตอไปนี้ใหเปนรูปแบบงายๆ
5  2t  t 2
(1)  (t  1)
7  t2  t4
sin(t )
(2)  (t )
2t
3 1
(3)  (  5)
2  2

1-12 จงหาคาปริพันธตอไปนี้

(1)  (t  1) (t  5)dt

6
(2)  (t  1) (t  5)dt


(3)  (t  1) (t  5)dt
6

(4)  (2t / 3  5) (3t / 4  5 / 6)dt


1-48
แนะนําสัญญาณ

e sin( (t  5) / 4) (1  t )dt


( t 1)
(5)


 [sin(3t / 4)  e ] (t  1)dt


 2 t 1
(6)


(7)  [u (t  6)  u (t  10)] sin(3t / 4) (t  5)dt

21
  
(8) 21  m
 
t (t  5m) dt

1-13 พิจารณาสัญญาณที่ตอเนื่องทางเวลา

t  2  2  t  1
1 1  t  1

x(t )  
 t  2 1 t  2
0 elsewhere

จงวาดรูปฟงกชัน x(t  2), x(2t  3), และ x(0.75t  3)

1-14 พิจารณาสัญญาณที่ไมตอเนื่องทางเวลา
x[k ]  k (u[k  5]  u[k  5])

จงหา x[3k ], x[k / 2], และ x[6  2k ]

1-49

You might also like