You are on page 1of 1

 Back 

 แนวทางการ)แล+,วย./อาการปวด3นคอ (Approach to neck pain)


นพ.ปิยวรรษ บิณฑจิตต์
สาขาว ิชาออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์ มหาว ิทยาลัยสงขลานคร ินทร์

การส่งตรวจว ินิจฉัยเพิ่มเติม (Investigation)

1. ภาพถ่ายรังสีของกระดูกต้นคอ (Plain Film Cervical spine ท่า AP และ Lateral


view)10 เป็นการส่งตรวจว ินิจฉัยเพิ่มเติมที่ควรเลือกใช้เป็นอันดับแรก เนื่องจากสามารถทําได้ง่ายและ
ราคาถูก ซึ่งภาพถ่ายรังสีนั้นจะแสดงให้เห็นถึงแนวกระดูกสันหลัง และสามารถประเมินพยาธิสภาพใน
ส่วนของกระดูกได้ รวมถึงหากมีอาการอักเสบ บวมจากการติดเชื้อ หร ือจากการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อ
บร ิเวณด้านหน้ากระดูกต้นคอ จะเห็นเป็นลักษณะการหนาตัวของเนื้อเยื่อในภาพถ่ายรังสี ดังแสดงตาม
รูปที่ 1

รูปที่ 1 แสดงภาพภาพถ่ายรังสีของกระดูกต้นคอ ในผู้ปว่ ยที่มีภาวะกระดูกต้นคอเสื่อม (Cervical


spondylosis) ซิ่งพบว่ามีการทรุดตัวลงของหมอนรองกระดูกสันหลังระดับ C4/5, C5/6 และ C6/7

2. ภาพถ่ายรังสีของกระดูกต้นคอในท่าก้มคอและเงยคอ (Plain film Cervical spine ท่า


Lateral flexion และ Lateral extension) ใช้สําหรับประเมิณว่ากระดูกต้นคอผู้ปว่ ยมีการ
เคลื่อนไหวที่ผิดไปจากแนวกระดูกที่ปกติหร ือไม่ ซึ่งส่งผลทําไห้เกิดความไม่ม่น
ั คงของกระดูกสันหลัง
(Cervical instability) ดังแสดงตามรูปที่ 2

รูปที่ 2 แสดงภาพถ่ายรังสีของกระดูกต้นคอในท่าก้มคอและเงยคอ ที่มาพบแพทย์ด้วยอาการปวด


ต้นคอ ซึ่งไม่พบภาวะความไม่ม่น
ั คงของกระดูกสันหลัง (Spinal instability)

3. ภาพถ่ายภาพคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic resonance imaging Cervical


spine)11-13 เป็นการตรวจว ินิจฉัยเพิ่มเติมที่ให้ข้อมูลได้ดีท่ส
ี ุด ในปัจจุบันโดยสามารถแสดงให้เห็นถึง
รายละเอียดของเนื้อเยื่อบร ิเวณกระดูกสันหลังทุกส่วนได้ชัดเจน เพื่อใช้สําหรับประเมินการกดทับของ
รากประสาท และไขสันหลัง เพื่อยืนยันในการว ินิจฉัยและใช้สําหรับวางแผนการรักษาด้วยการผ่าตัด ดัง
แสดงตามรูปที่ 3

รูปที่ 3 แสดงภาพถ่ายภาพคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าผู้ปว่ ย Cervical spondylosis with myelopathy


ซิ่งพบว่าหมอนรองกระดูกสันหลังหลายตําแหน่งมีการทรุดตัวลง โดยในระดับที่ C3/4 จะพบว่ามีการ
กดทับไขสันหลัง

4. ภาพถ่ายรังสีคอมพิวเตอร์ (CT scan Cervical spine) เลือกส่งตรวจในกรณีท่ผ


ี ู้ปว่ ยมีข้อ
ห้ามสําหรับการส่งตรวจ MRI โดยที่ CT scan จะมีข้อดีในกรณีที่ต้องการแยกระหว่าง osteophyte
จาก soft tissue ที่ผิดปกติ หร ือใช้สําหรับเพื่อช่วยยืนยันการว ินิจฉัย Ossified posterior
longitudinal ligament (OPLL) ดังแสดงตามรูปที่ 4

pSU1.5T Sangyas CARLASTI PSU1.ST


Sargyas Genkear
rgyos CeRt Sangyas Centesw MRICC-Tspine 1315204 MRIC-T spine
1315204 CT.C-spine 1315204
15204 CT_C-sPine MooNewSTIR 21/1/1972 TZw_FrE_J0
/1/1972 21/1/1972H:ResolutionFC8D2.000Axial.1 21/1/1972
17/4/202021:DD:20 48YEAR 17/4/202021:37:24
E6/2/22020991972E 48YEAR
VEER E16/87120209739725 45YEAR
5441818 5443902 5443902
5443818

LOC:2.16 LOC:•119.11 LOC:85.50


THK:2 THK:2 LOS:40.5D
HES THK:35P:4,50 THK:JSP:1.50
HFS HFS
HES

รูปที่ 4 แสดงภาพถ่ายรังสีคอมพิวเตอร์เปร ียบเทียบกับภาพถ่ายภาพคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในผู้ปว่ ยที่มี


Ossified posterior longitudinal ligament (OPLL)

5. Electromyelography และ nerve conduction พิจารณาส่งตรวจในกรณีที่ต้องการ


แยกอาการของโรคทางกระดูกสันหลัง เช่น peripheral nerve disorders หร ือเพื่อต้องการที่จะระบุ
ชนิดของการสูญเสียการทํางานของรากประสาท เช่น demyelination, axonal loss เป็นต้น ความ
ไวต่อการตรวจ (sensitivity) สําหรับ cervical radiculopathy อยู่ที่ประมาณ 50% ถึง 71%14-
15

สําหรับโรคที่เป็นสาเหตุที่ทําให้มีอาการปวดต้นคอที่นอกเหนือจากอุบัติเหตุที่พบบ่อยมีดังนี้

1. Myofascial pain syndrome พบบ่อยในผู้ปว่ ยทุกกลุ่มอายุ

ลักษณะทางคลินิก
ผู้ปว่ ยส่วนใหญ่จะมาพบแพทย์ด้วยอาการปวดต้นคอทางด้านหลัง หร ือมีอาการปวดบร ิเวณบ่า
บร ิเวณกล้ามเนื้อ Upper trapezius muscle ตรวจร่างกายจะพบจุดกดเจ็บ คลําได้ลักษณะปมของ
กล้ามเนื้อ (Trigger point) ซึ่งหากเราออกแรงกดไปที่บร ิเวณตําแหน่งดังกล่าว ผู้ปว่ ยจะมีอาการปวด
มากขึ้น หากคลายแรงกดอาการปวดจะดีข้น
ึ ส่วนการตรวจทางระบบประสาทมักจะไม่พบความผิดปกติ

การรักษา
พักการใช้งาน ทานยาบรรเทาอาการปวด ยืดเหยียดกล้ามเนื้อส่วนที่มีอาการหร ือใช้การนวด
แต่ถ้าหากอาการไม่ดีข้น
ึ พิจารณาทํากายภาพบําบัดเช่น Ultrasound, Shock wave หร ือฝังเข็ม

2. Cervical spondylosis

พบในผู้ปว่ ยที่มีหมอนรองกระดูกสันบร ิเวณต้นคอเสื่อม โดยที่ยังไม่มีการกดทับรากประสาท


(Cervical nerve root) และไขสันหลัง (Spinal cord)

ลักษณะทางคลินิก
ผู้ปว่ ยส่วนใหญ่จะมาพบแพทย์ด้วยอาการปวดต้นคอเรอื้ รัง โดยหากมีการเคลื่อนไหวของ
กระดูกต้นคอจะทําให้มีอาการปวดมากขึ้น โดยที่หากก้มคอแล้วมีอาการปวดมากขึ้นแสดงว่าน่าจะมี
พยาธิสภาพจากหมอนรองกระดูกสันหลัง (Discogenic pain) แต่หากเงยคอแล้วมีอาการปวดมากขึ้น
แสดงว่าน่าจะมีพยาธิสภาพจาก facet joints ทางด้านหลัง

การรักษา
เรมิ่ จากการพักการใช้งาน ทานยาบรรเทาอาการปวด ยืดเหยียดกล้ามเนื้อส่วนที่มีอาการหร ือใช้
การนวด แต่ถ้าหากอาการไม่ดีขึ้น พิจารณาทํากายภาพบําบัด เช่น Ultrasound, Shock wave หร ือ
ฝังเข็ม ดึงคอ (traction)

การตรวจด้วยภาพถ่ายคลื่นแม่เหล็กฟ้าในช่วงแรกของการรักษาอาจจะยังไม่มีความจําเป็น แต่
หากอาการผู้ปว่ ยไม่ดีขึ้น อาการรุนแรงมากขึ้น การส่งตรวจคลื่นแม่เหล็กมีความจําเป็นเพื่อยืนยันการ
ว ินิจฉัย และใช้สําหรับการวางแผนสําหรับการผ่าตัดรักษา16, 17

สําหรับการผ่าตัดพิจารณาในกรณีที่การรักษาที่กล่าวมาไม่ได้ผล โดยการผ่าตัดเชื่อมกระดูก
ต้นคอ (Cervical fusion)

3. Cervical radiculopathy

พบในผู้ปว่ ยที่มีหมอนรองกระดูกสันบร ิเวณต้นคอเสื่อม เคลื่อนกดทับรากประสาทในระดับ


กระดูกต้นคอ (cervical nerve root)

ลักษณะทางคลินิก
ผู้ปว่ ยจะมาพบแพทย์ด้วยอาการปวดต้นคอร้าวลงแขน โดยจะมีลักษณะอาการปวดคล้ายไฟ
ช็อตร้าวลงไปตามตําแหน่งที่รากประสาทไปเลี้ยง อาจตรวจพบมีอาการชา อ่อนแรง รวมถึงถ้าหากมี
อาการเป็นระยะเวลานานจะทําให้กล้ามเนื้อส่วนนั้นๆ ลีบเล็กลง

การรักษา
การตรวจด้วยภาพถ่ายคลื่นแม่เหล็กฟ้าในช่วงแรกของการรักษาอาจจะยังไม่มีความจําเป็น แต่
หากอาการผู้ปว่ ยไม่ดีขึ้น อาการรุนแรงมากขึ้น มีอาการอ่อนแรงของมือ หร ือแขนการส่งตรวจคลื่นแม่
เหล็กมีความจําเป็นเพื่อยืนยันการว ินิจฉัย และใช้สําหรับวางแผนการรักษาด้วยการผ่าตัด

สําหรับการผ่าตัดพิจารณาในกรณีที่การรักษาที่กล่าวมาไม่ได้ผล โดยการผ่าตัดเอาหมอนรอง
กระดูกตําแหน่งที่กดทับรากประสาทออก (Anterior cervical discectomy) ร่วมกับผ่าตัดเชื่อม
กระดูกต้นคอ (Cervical fusion)18-19

4. Cervical myelopathy

พบในผู้ปว่ ยที่มีหมอนรองกระดูกสันบร ิเวณต้นคอเสื่อมเคลื่อนกดทับไขสันหลัง หร ือเกิดจาก


ความไม่มั่นคงของกระดูกสันหลังในระดับกระดูกต้นคอที่มีการกดทับไขสันหลัง (spinal cord)

ลักษณะทางคลินิก
ผู้ปว่ ยจะมาพบแพทย์ด้วยอาการปวดต้นคอร่วมกับมีอาการอ่อนแรงแขนและขา เดินไม่สะดวก
ทรงตัวลําบาก มือใช้งานได้ไม่เต็มที่ บางรายมีอาการของระบบขับถ่ายที่ผิดปกติ ตรวจร่างกายจะพบ
ความผิดปกติของระบบประสาท เช่น Hoffman’s test, Inverted radial reflex เป็นต้น ดังที่ได้
กล่าวไปแล้ว

การตรวจด้วยภาพถ่ายคลื่นแม่เหล็กฟ้าในผู้ปว่ ยที่มีอาการของการกดทับของไขสันหลัง มี
ความจําเป็นเพื่อยืนยันการว ินิจฉัย และใช้สําหรับวางแผนการรักษาด้วยการผ่าตัด

การรักษา
สําหรับการผ่าตัดพิจารณาในกรณีที่การรักษาด้วยยาไม่ได้ผล หร ือผู้ปว่ ยที่มาพบแพทย์ด้วย
อาการที่มาก ทําโดยการผ่าตัดเอากระดูก หร ือหมอนรองกระดูกสันหลังตําแหน่งที่กดทับไขสันหลัง
(Anterior cervical discectomy or corpectomy) ร่วมกับผ่าตัดเชื่อมกระดูกต้นคอ (Cervical
fusion) หร ือพิจารณาผ่าตัดเปิดโพรงกระดูกสันหลัง (Laminoplasty or Laminectomy) ร่วมกับ
พิจารณาเชื่อมกระดูกต้นคอจากทางด้านหลังด้วยโลหะดามกระดูก (Posterior cervical fusion
with instrument)20-21

© 2017 Binla Book: Medical Education, Faculty of Medicine, Prince of Songkla University.

You might also like