You are on page 1of 46

รายงาน

เรื่อง การสำรวจภาคสนาม

จัดทำโดย
นายอัคนีรุทร์ วัดเวียงคำ 64010117040
ชั้นปีที่3

เสนอ
อาจารย์ ผศ. ดร. จิระเดช มาจันแดง

งานชิ้นนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา ธรณีวิทยาสำหรับภูมิศาสตร์(0107343)
ภาคเรียนที่2 ปีการศึกษา 2566
ภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
คำนำ
รายงานเล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา 0107343 ธรณีวิทยาสำหรับภูมิศาสตร์ เพื่อให้ได้
ศึกษาหาความรู้เรื่อง โครงสร้างทางกายภาพของพื้นที่ต่างๆ ตามลักษณะทางธรณีวิทยา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้
ทราบถึงลักษณะทางกายภาพและโครงสร้างทางธรณีวิทยา
ผู้จัดทำหวังว่า รายงานเล่มนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้อ่านที่กำลังหาข้อมูลเรื่องลักษณะทางกายภาพต่างๆ
ของพื้นที่และหิน หากมีข้อแนะนำหรือผิดพลาดประการใด ผู้จัดทำขอน้อมรับไว้และขออภัยมา ณ ที่นี้ได้

ผู้จัดทำ
นายอัคนีรุทร์ วัดเวียงคำ
แผนที่ธรณีวิทยาจังหวัดเลย
แผนที่จังหวัดเลย
ตำแหน่งสำรวจชั้นหินทางธรณีวิทยา
ตำแหน่งที่ 1 : ผานกเค้า ตำบลผานกเค้า อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย
UTM : X = 813548 , Y = 1865056 (Zone 47Q),244m
ชุดหิน : หินปูน หินตะกอน
ลักษณะภูมิประเทศ : ลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาสูงที่ตั้งอยู่ริมลำน้ำพอง อยู่ในเขตระหว่างจังหวัดขอนแก่น กับ
จังหวัดเลย โดยมีลักษณะเป็นหน้าผาสูงชัน ภูเขาหินสีดำบางส่วนกระเทาะออกเห็นเนื้อหินสีส้ม มีต้นไม้ขึ้นปกคลุม
อยู่ประปราย บริเวณที่จะมองเห็นเค้าโครงของนกเค้าได้ชัดเจนควรเดินเข้าไปในศูนย์เพาะชำกล้วยไม้ กองบำรุง
กรมป่าไม้
ลักษณะชุดหิน : หินปูน เนื้อแน่นละเอียดทึบ มีสีออกขาว เทา เทาชมพู เทาดำ หรือสีด้าก็ได้ อาจมี ซากดึกดำ
บรรพ์ในหินได้ เช่น ซากหอย ปะการัง ภูเขาหินปูนมักมียอดหยัก แหลมเป็นหน้าผา และเป็นหินที่ละลายน้ำได้ดี
ส่วนประกอบ ส่วนใหญ่ประกอบด้วย แร่คาร์บอเนต เช่น แคลไซต์ โดโลไมต์
หินตะกอน หรือหินชั้น เกิดจากการทับถมอัดแน่น และมีการเชื่อมประสานของ ตะกอนที่เกิด
จากการผุพังของหินชนิดต่างๆ ทั้งจากการทับถมของกระแสน้ำ กระแสลมที่พัดพามา ทำให้เกิดการประสานตัวกัน
แน่นกลายเป็นหิน หินชนิดนี้ส่วนใหญ่มีลักษณะเปราะและแตกง่าย เนื้อหินจะสามารถมองเห็นเม็ดหินได้

ภาพแสดงตำแหน่งของตำแหน่งที่ 1 : ผานกเค้า
แผนที่ธรณี ชุดดินของตำแหน่งที่ 1 : ผานกเค้า
ภาพลักษณะหินของตำแหน่งที่ 1 : ผานกเค้า
ตำแหน่งที่ 2 : วัดสี่แยกพัฒนาราม ตำบลภูกระดึง อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย
UTM : X = 810765 , Y = 1871872 (Zone 47Q),299m
ชุดหิน : หินทราย
ลักษณะภูมิประเทศ : ลักษณะภูมิประเทศมีทิวเขาและภูเขาที่สูงตลอดแถบที่ยาวนาน ซึ่งสร้างแนวเข็มขึ้นตลอด
พื้นที่ นอกจากนี้ยังมีภูเขาที่สูงและชัดเจนที่เป็นจุดโล่งสูงสุดของพื้นที่ใกล้เคียงมีพื้นที่ป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์และ
สะอาดอยู่ในบริเวณตำบล ซึ่งเป็นที่อาศัยของสัตว์ป่าและพันธุ์พืชที่หลากหลายมีอากาศเป็นเขตร้อนชื้น โดยมีฤดูฝน
และฤดูหนาวที่ชัดเจน อากาศสดชื่นและมีความชื้นสูง เหมาะสำหรับการท่องเที่ยวและกิจกรรมกลางแจ้งตลอดทั้งปี
ลักษณะชุดหิน : หินทราย เนื้อหยาบ จับดูระคายมือ เพราะประกอบด้วยเม็ดทรายขนาดแตกต่างกัน (1/16 – 2
มม.) เม็ดแร่ส่วนใหญ่เป็นแร่ ควอร์ตซ์ แต่อาจมีแร่อื่นและเศษหินดินปะปนอยู่ด้วย เพราะมีวัตถุประสารมีความแข็ง
มากสามารถขูดเหล็กเป็น รอยได้ มีสีต่าง ๆ เช่น แดง น้ำตาล เทา เขียว เหลืองอ่อน อาจแสดงรอยชั้นให้เห็น มีซาก
ดึกดำบรรพ์

ภาพแสดงตำแหน่งของตำแหน่งที่ 2 : วัดสี่แยกพัฒนาราม
แผนที่ธรณี ชุดดินของตำแหน่งที่ 2 : วัดสี่แยกพัฒนาราม
ภาพลักษณะหินของตำแหน่งที่ 2 : วัดสี่แยกพัฒนาราม
ตำแหน่งที่ 3 : ตำบลน้ำหมาน อำเภอเมือง จังหวัดเลย
UTM : X = 798653 , Y = 1904953 (Zone 47Q),244m
ชุดหิน : หินตะกอน
ลักษณะภูมิประเทศ : ลักษณะภูมิประเทศคือตำบลน้ำหมานมีพื้นที่อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลปานกลาง ตั้งแต่ระดับ
200 - 400 เมตร ความสูงของพื้นที่เริ่มจากด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ไปทางทิศเหนือ และทิศตะวันตก โดยทาง
ทิศตะวันตกมีพื้นที่เป็นภูเขา ทางทิศเหนือเป็นที่ราบสูง ส่วนทิศตะวันออกเฉียงใต้เป็นที่ราบสูง
ลักษณะชุดหิน : หินตะกอนหรือหินชั้น เกิดจากการทับถมอัดแน่น และมีการเชื่อมประสานของ ตะกอนที่เกิดจาก
การผุพังของหินชนิดต่างๆ ทั้งจากการทับถมของกระแสน้ำ กระแสลมที่พัดพามา ทำให้เกิดการประสานตัวกันแน่น
กลายเป็นหิน หินชนิดนี้ส่วนใหญ่มีลักษณะเปราะและแตกง่าย เนื้อหินจะสามารถมองเห็นเม็ดหินได้

ภาพแสดงตำแหน่งของตำแหน่งที่ 3 : ตำบลน้ำหมาน
แผนที่ธรณี ชุดดินของตำแหน่งที่ 3 : ตำบลน้ำหมาน
ภาพลักษณะหินของตำแหน่งที่ 3 : ตำบลน้ำหมาน
ตำแหน่งที่ 4 : ตำบลผาอินทร์แปลง อำเภอเอราวัณ จังหวัดเลย
UTM : X = 811617 , Y = 1916754 (Zone 47Q),358m
ชุดหิน : หินปูน
ลักษณะภูมิประเทศ : ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบสลับภูเขา มีป่าเบญจพรรณและมีลำห้วยไหลผ่าน
เช่น ลำน้ำสวย ลำน้ำหินฮาว ลำน้ำตาดข่า ลำน้ำป่าน และลำน้ำลิ้นควาย พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ
ได้แก่ ป่าดงซำทอง ป่าหนองไผ่ ป่าผาสามยอด และป่าโคกนกยูง
ลักษณะชุดหิน : หินปูน เนื้อแน่นละเอียดทึบ มีสีออกขาว เทา เทาชมพู เทาดำ หรือสีด้าก็ได้ อาจมี ซากดึกดำ
บรรพ์ในหินได้ เช่น ซากหอย ปะการัง ภูเขาหินปูนมักมียอดหยัก แหลมเป็นหน้าผา และเป็นหินที่ละลายน้ำได้ดี
ส่วนประกอบ ส่วนใหญ่ประกอบด้วย แร่คาร์บอเนต เช่น แคลไซต์ โดโลไมต์

ภาพแสดงตำแหน่งของตำแหน่งที่ 4 : ตำบลผาอินทร์แปลง
แผนที่ธรณี ชุดดินของตำแหน่งที่ 4 : ตำบลผาอินทร์แปลง
ภาพลักษณะหินของตำแหน่งที่ 4 : ตำบลผาอินทร์แปลง
ตำแหน่งที่ 5 : ตำบลผาอินทร์แปลง อำเภอเอราวัณ จังหวัดเลย
UTM : X = 811451 , Y = 1916898 (Zone 47Q),349m
ชุดหิน : หินปูน
ลักษณะภูมิประเทศ : ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบสลับภูเขา มีป่าเบญจพรรณและมีลำห้วยไหลผ่าน
เช่น ลำน้ำสวย ลำน้ำหินฮาว ลำน้ำตาดข่า ลำน้ำป่าน และลำน้ำลิ้นควาย พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ
ได้แก่ ป่าดงซำทอง ป่าหนองไผ่ ป่าผาสามยอด และป่าโคกนกยูง
ลักษณะชุดหิน : หินปูน เนื้อแน่นละเอียดทึบ มีสีออกขาว เทา เทาชมพู เทาดำ หรือสีด้าก็ได้ อาจมี ซากดึกดำ
บรรพ์ในหินได้ เช่น ซากหอย ปะการัง ภูเขาหินปูนมักมียอดหยัก แหลมเป็นหน้าผา และเป็นหินที่ละลายน้ำได้ดี
ส่วนประกอบ ส่วนใหญ่ประกอบด้วย แร่คาร์บอเนต เช่น แคลไซต์ โดโลไมต์

ภาพแสดงตำแหน่งของตำแหน่งที่ 5 : ตำบลผาอินทร์แปลง
แผนที่ธรณี ชุดดินของตำแหน่งที่ 5 : ตำบลผาอินทร์แปลง
ภาพลักษณะหินของตำแหน่งที่ 5 : ตำบลผาอินทร์แปลง
ตำแหน่งที่ 6 : ตำบลผาอินทร์แปลง อำเภอเอราวัณ จังหวัดเลย
UTM : X = 811148 , Y = 1916887 (Zone 47Q),330m
ชุดหิน : หินทรายแป้ง
ลักษณะภูมิประเทศ : ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบสลับภูเขา มีป่าเบญจพรรณและมีลำห้วยไหลผ่าน
เช่น ลำน้ำสวย ลำน้ำหินฮาว ลำน้ำตาดข่า ลำน้ำป่าน และลำน้ำลิ้นควาย พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ
ได้แก่ ป่าดงซำทอง ป่าหนองไผ่ ป่าผาสามยอด และป่าโคกนกยูง
ลักษณะชุดหิน : หินทรายแป้งคือหินตะกอนชนิดหนึ่งที่มีขนาดของตะกอนเล็กกว่า 1/16 มิลลิเมตร ซึ่งมีขนาดเล็ก
กว่าขนาดของทรายละเอียด ในขณะที่หินโคลนเป็นหินตะกอนเช่นกันแต่ประกอบด้วยอนุภาคของตะกอนที่เล็กกว่า
1/256 มิลิเมตร ซึ่งมักจะตกตะกอนในสภาวะที่แอ่งสะสมตะกอนมีพลังงานต่ำ คลื่นและลมสงบ

ภาพแสดงตำแหน่งของตำแหน่งที่ 6 : ตำบลผาอินทร์แปลง
แผนที่ธรณี ชุดดินของตำแหน่งที่ 6 : ตำบลผาอินทร์แปลง
ภาพลักษณะหินของตำแหน่งที่ 6 : ตำบลผาอินทร์แปลง
ตำแหน่งที่ 7 : ตำบลน้ำหมาน อำเภอเมือง จังหวัดเลย (จุดสุดท้ายของวันแรก)
UTM : X = 786113 , Y = 1936032 (Zone 47Q),276m
ชุดหิน : หินตะกอน
ลักษณะภูมิประเทศ : ลักษณะภูมิประเทศตำบลน้ำหมานมีพื้นที่อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลปานกลาง ตั้งแต่ระดับ
200 - 400 เมตร ความสูงของพื้นที่เริ่มจากด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ไปทางทิศเหนือ และทิศตะวันตก โดยทาง
ทิศตะวันตกมีพื้นที่เป็นภูเขา ทางทิศเหนือเป็นที่ราบสูง ส่วนทิศตะวันออกเฉียงใต้เป็นที่ราบสูง
ลักษณะชุดหิน : หินตะกอนหรือหินชั้น เกิดจากการทับถมอัดแน่น และมีการเชื่อมประสานของ ตะกอนที่เกิดจาก
การผุพังของหินชนิดต่างๆ ทั้งจากการทับถมของกระแสน้ำ กระแสลมที่พัดพามา ทำให้เกิดการประสานตัวกันแน่น
กลายเป็นหิน หินชนิดนี้ส่วนใหญ่มีลักษณะเปราะและแตกง่าย เนื้อหินจะสามารถมองเห็นเม็ดหินได้

ภาพแสดงตำแหน่งของตำแหน่งที่ 7 : ตำบลน้ำหมาน
แผนที่ธรณี ชุดดินของตำแหน่งที่ 7 : ตำบลน้ำหมาน
ภาพลักษณะหินของตำแหน่งที่ 7 : ตำบลน้ำหมาน
ตำแหน่งที่ 8 : ร้านอิ่มเลย(สวนลุงเผือก) ตำบลบุฮม อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย (จุดเริ่มต้นของวันที่2)
UTM : X = 790089 , Y = 1985243 (Zone 47Q),225m
ชุดหิน : หินคาร์บอน
ลักษณะภูมิประเทศ : สภาพภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่มสลับภูเขา สภาพแวดล้อมยังมีความอุดมสมบูรณ์ ติดกับแม่น้ำ
โขง เหมาะแก่การทำเกษตรกรรม โดยเฉพาะการทำไร่สวน และทำนาเป็นบางพื้นที่ ตำบลบุฮมเป็นแหล่งส่งออก
ผลไม้ที่สำคัญแห่งหนึ่งในอำเภอเชียงคาน จนได้รับขนานนามว่าเป็น เมืองผลไม้ตลอดปี
ลักษณะชุดหิน : หินคาร์บอนเป็นถ่านหินที่มีการแปรสภาพสูงสุด เนื่องจากแรงกดดันและความร้อนใต้เปลือกโลก
ทำให้น้ำและสารระเหยต่างๆในพืชหมดไปเหลือแต่คาร์บอน มีอายุการเกิดนานที่สุด มีสีดำ ลักษณะเนื้อแน่น แข็ง
และเป็นมัน มีปริมาณออกซิเจนและความชื้นต่ำ แต่มีปริมาณคาร์บอนสูงกว่าถ่านหินชนิดอื่น

ภาพแสดงตำแหน่งของตำแหน่งที่ 8 : ร้านอิ่มเลย
แผนที่ธรณี ชุดดินของตำแหน่งที่ 8 : ร้านอิ่มเลย
ภาพลักษณะหินของตำแหน่งที่ 8 : ร้านอิ่มเลย
ตำแหน่งที่ 9 : ศาลเจ้าร้าง ตำบลบุฮม อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย
UTM : X = 789179, Y = 1982245 (Zone 47Q),219m
ชุดหิน : หินอัคนี
ลักษณะภูมิประเทศ : ลักษณะทางภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่มสลับภูเขา สภาพแวดล้อมยังมีความอุดมสมบูรณ์ ติด
กับแม่น้ำโขง เหมาะแก่การทำเกษตรกรรม โดยเฉพาะการทำไร่สวน และทำนาเป็นบางพื้นที่ ตำบลบุฮมเป็นแหล่ง
ส่งออกผลไม้ที่สำคัญแห่งหนึ่งในอำเภอเชียงคาน จนได้รับขนานนามว่าเป็น เมืองผลไม้ตลอดปี
ลักษณะชุดหิน : หินอัคนี เป็นหินที่เกิดจากการแข็งตัวของหินหนืด (Magma) จากชั้นแมนเทิลที่โผล่ขึ้นมา เราแบ่ง
หินอัคนีตามแหล่งที่มาออกเป็น 2 ประเภท คือ หินอัคนีแทรกซอน (Intrusive igneous rocks) เป็นหินที่เกิดจาก
หินหนืดที่เย็นตัวลงภายในเปลือกโลกอย่างช้าๆ ทำให้ผลึกแร่มีขนาดใหญ่ และเนื้อหยาบ เช่น หินแกรนิต หินไดออ
ไรต์

ภาพแสดงตำแหน่งของตำแหน่งที่ 9 : ศาลเจ้า
แผนที่ธรณี ชุดดินของตำแหน่งที่ 9 : ศาลเจ้า
ภาพลักษณะหินของตำแหน่งที่ 9 : ศาลเจ้า
ตำแหน่งที่ 10 : แก่งคุดคู้
UTM : X = 186438 , Y = 1981998 (Zone 47Q),200m
ชุดหิน : หินกรวดมล
ลักษณะภูมิประเทศ : มีลักษณะของที่ราบและเขา มีภูเขาสูงและสวยงามที่เป็นจุดเด่นของพื้นที่นี้ ภูเขาและที่ราบ
เป็นลักษณะที่สร้างความหลากหลายทางธรรมชาติและสร้างภาพทิวทัศน์ที่สวยงามให้แก้งคุดคู้
ลักษณะชุดหิน : หินกรวดมลเป็นหินตะกอนพัดพา มีเนื้อหยาบประกอบด้วยชิ้นเศษหินหรือเม็ดกรวดที่มีความมน
สูง มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ตั้งแต่ 2 มม. ขึ้นไป ฝังตัวอยู่ในเนื้อ พื้นที่เป็นตะกอนละเอียด พวกทราย ทรายแป้ง

ภาพแสดงตำแหน่งของตำแหน่งที่ 10 : แก่งคุดคู้
แผนที่ธรณี ชุดดินของตำแหน่งที่ 10 : แก่งคุดคู้
ภาพลักษณะหินของตำแหน่งที่ 10 : แก่งคุดคู้
ตำแหน่งที่ 11 : วัดป่าเจริญธรรม (วัดถ้ำภูสะนาว)
UTM : X = 790900 , Y = 1952737 (Zone 47Q),255m
ชุดหิน : หินอัคนี
ลักษณะภูมิประเทศ : ลักษณะภูมิประเทศเป็นเนินเขาที่ราบสูง ป่าไม้ปกคลุมพอสมควร หน้าร้อนก็จะร้อนไม่มาก
เพราะได้รับความชื้นจากสภาพแวดล้อมที่เป็นป่าโปร่ง อากาศจึงเย็นสบาย หน้าหนาว หน้าหนาวก็ไม่หนาวจัด
จนเกินไป ป่าไม้ปกคลุมอยู่พอสมควรแต่ไม่ถึงกับรกครึ้ม
ลักษณะชุดหิน : หินอัคนี เป็นหินที่เกิดจากการแข็งตัวของหินหนืด (Magma) จากชั้นแมนเทิลที่โผล่ขึ้นมา เราแบ่ง
หินอัคนีตามแหล่งที่มาออกเป็น 2 ประเภท คือ หินอัคนีแทรกซอน (Intrusive igneous rocks) เป็นหินที่เกิดจาก
หินหนืดที่เย็นตัวลงภายในเปลือกโลกอย่างช้าๆ ทำให้ผลึกแร่มีขนาดใหญ่ และเนื้อหยาบ เช่น หินแกรนิต หินไดออ
ไรต์

ภาพแสดงตำแหน่งของตำแหน่งที่ 11 : วัดป่าเจริญธรรม
แผนที่ธรณี ชุดดินของตำแหน่งที่ 11 : วัดป่าเจริญธรรม
ภาพลักษณะหินของตำแหน่งที่ 11 : วัดป่าเจริญธรรม
ตำแหน่งที่ 12 : วัดถ้ำผาปู่
UTM : X = 787696 , Y = 1945618(Zone 47Q),291m
ชุดหิน : หินปูน
ลักษณะภูมิประเทศ : ลักษณะภูมิประเทศเป็นพื้นที่บริเวณไหล่เขา จะเป็นป่าเบญจพรรณและป่าไผ่ที่ยังสมบูรณ์
สูงขึ้นไปบนภูเขายังมีต้นไม้ปกคลุมด้วยป่าดงดิบและบริเวณด้านข้างเป็นหน้าผาสูงประมาณ 50 เมตร ซึ่งมองดู
สภาพแวดล้อมภายในวัดแล้ว เหมาะอย่างมากสำหรับการเจริญภาวนาเพราะ มีป่าและสงบร่มเย็น ดังนั้นที่นี่จึงเป็น
แหล่งอาศัยของสัตว์จำนวนมาก โดยเฉพาะค่างแว่นถิ่นเหนือ ที่ชอบอยู่ตามป่าดงดิบและ บนผาสูงๆและชัน ถ้ำผาปู่
จึงเป็นที่ที่เดียวในจังหวัดเลย ที่ยังมีค่างแว่นเหลืออยู่
ลักษณะชุดหิน : หินปูน เนื้อแน่นละเอียดทึบ มีสีออกขาว เทา เทาชมพู เทาดำ หรือสีด้าก็ได้ อาจมี ซากดึกดำ
บรรพ์ในหินได้ เช่น ซากหอย ปะการัง ภูเขาหินปูนมักมียอดหยัก แหลมเป็นหน้าผา และเป็นหินที่ละลายน้ำได้ดี
ส่วนประกอบ ส่วนใหญ่ประกอบด้วย แร่คาร์บอเนต เช่น แคลไซต์ โดโลไมต์

ภาพแสดงตำแหน่งของตำแหน่งที่ 12 : วัดถ้ำผาปู่
แผนที่ธรณี ชุดดินของตำแหน่งที่ 12 : วัดถ้ำผาปู่
ภาพลักษณะหินของตำแหน่งที่ 12 : วัดถ้ำผาปู่
ตำแหน่งที่ 13 : ภูบ่อบิด
UTM : X = 792738 , Y = 1935418(Zone 47Q),291m
ชุดหิน : หินปูน
ลักษณะภูมิประเทศ : ลักษระภูมิประเทศเป็นเขาสูงชันโดดเด่น ตั้งอยู่ในแนวเทือกเขาหินปูน โครงสร้างภูเขาเป็น
หินยาวตลอดแนวทิศตะวันตกและทิศตะวันออก มีถ้ำหลายแห่งและป่ามีสภาพสมบูรณ์ขึ้นอยู่ทางทิศตะวันตกและ
ทิศใต้ เหมาะแก่การชมวิวทิวทัศน์และศึกษาธรรมชาติ มียอดเขาหลายยอด มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง
ประมาณ 500 - 600 เมตร และมีระยะห่างวัดจากศาลากลางจังหวัดเลย เป็นระยะทางเพียง 5 กิโลเมตร
ลักษณะชุดหิน : หินปูน เนื้อแน่นละเอียดทึบ มีสีออกขาว เทา เทาชมพู เทาดำ หรือสีด้าก็ได้ อาจมี ซากดึกดำ
บรรพ์ในหินได้ เช่น ซากหอย ปะการัง ภูเขาหินปูนมักมียอดหยัก แหลมเป็นหน้าผา และเป็นหินที่ละลายน้ำได้ดี
ส่วนประกอบ ส่วนใหญ่ประกอบด้วย แร่คาร์บอเนต เช่น แคลไซต์ โดโลไมต์

ภาพแสดงตำแหน่งของตำแหน่งที่ 13 : ภูบ่อบิด
แผนที่ธรณี ชุดดินของตำแหน่งที่ 13 : ภูบ่อบิด
ภาพลักษณะหินของตำแหน่งที่ 13 : ภูบ่อบิด

You might also like