You are on page 1of 7

ข้อสอบ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4) พ.ศ.

2564
1. การจัดทำรายงานการประชุม ต้องมีรายละเอียดตามที่กำหนด โดยหัวใจสำคัญของรายงานการประชุม คือข้อใด
ก. ความสวยงาม เรียบร้อยของรายงานการประชุม
ข. การบันทึกความคิดเห็น และมติของที่ประชุมไว้เป็นหลักฐาน
ค. การบันทึกหลักฐานไว้เพื่อประโยชน์ในการอ้างอิง
ง. ต้องลงชื่อและตำแหน่งของผู้ที่มิได้รับการแต่งตั้งเป็นคณะที่ประชุม ซึ่งได้เข้าร่วมประชุมไว้ด้วย
2. ผู้ใดมีอำนาจหน้าที่แก้ไขเพิ่มเติมภาคผนวกท้ายระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526
ก. ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
ข. นายกรัฐมนตรี
ค. คณะกรรมการพิจารณาปรับปรุงและพัฒนาระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ง. ไม่มีข้อใดถูก
3. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 แก้ไขเพิ่มเติมล่าสุดโดยกฎหมายใด
ก. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2548
ข. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2560
ค. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2564
ง. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2564
4. ข้อใดไม่ถูกต้อง
ก. หนังสือที่บุคคลภายนอกมีมาถึงส่วนราชการถือเป็นหนังสือราชการ
ข. หนังสือราชการมี 6 ชนิด
ค. ชั้นความเร็ว "ด่วนมาก" เจ้าหน้าที่ต้องปฏิบัติทันทีที่ได้รับหนังสือ
ง. โดยปกติต้องเก็บหนังสือไว้ไม่น้อยกว่า 10 ปี
5. งานสารบรรณ คือ งานที่เกี่ยวกับการบริหารงานเอกสาร โดยมีขั้นตอนตามข้อใด
ก. การจัดทำการส่ง การรับ การยืม การเก็บรักษา จนถึงการทำลาย
ข. การจัดทำการรับ การส่ง การยืม การเก็บรักษา จนถึงการทำลาย
ค. การจัดทำการส่ง การรับ การเก็บรักษา การยืม จนถึงการทำลาย
ง. การจัดทำการรับ การส่ง การเก็บรักษา การยืม จนถึงการทำลาย
6. บรรดาข้อความที่ทางราชการเห็นสมควรเผยแพร่ให้ประชาชนทราบ เป็นความหมายในข้อใด
ก. แถลงการณ์ ข. ประกาศ
ค. บันทึก ง. ข่าว
7. ข้อใดมิใช่หนังสือสั่งการ
ก. คำสั่ง ข. ประกาศ
ค. ระเบียบ ง. ข้อบังคับ
8. การลงลายมือชื่อหรือลายมือชื่อย่อในสำเนาคู่ฉบับไว้ที่ใดของหนังสือ
ก. ตรงกลางด้านขวาของหนังสือ
ข. ตรงกลางด้านซ้ายของหนังสือ
ค. ข้างท้ายขอบล่างด้านขวาของหนังสือ
ง. ข้างท้ายขอบล่างด้านซ้ายของหนังสือ
9. การประทับตรารับหนังสือที่มุมบนด้านขวาของหนังสือ ต้องกรอกรายละเอียดในข้อใด
ก. เลขรับ วันที่ เวลา ข. เลขลับ วันที่
ค. เลขรับ วันที่ ง. เลขลับ วันที่รับ
10. ตามมาตรฐานกระดาษโดยปกติกระดาษปอนด์ขาวต้องมีน้ำหนักเท่าใด
ก. 50 กรัม ต่อตารางเมตร ข. 60 กรัม ต่อตารางเมตร
ค. 70 กรัม ต่อตารางเมตร ง. 80 กรัม ต่อตารางเมตร
11. ผู้มีอำนาจยกเว้นการปฏิบัติงานสารบรรณตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 และที่
แก้ไขเพิ่มเติม
ก. คณะรัฐมนตรี ข. รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ค. ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ง. อธิบดีกรมการสารบรรณ
12. ข้อใดมิใช่หนังสือประชาสัมพันธ์
ก. คำสั่ง ข. ประกาศ
ค. ข่าว ง. แถลงการณ์
13. การกรอกรายละเอียดกรณีผู้มาประชุมแทนในรายงานการประชุม ต้องดำเนินการตามข้อใด
ก. ลงชื่อผู้ที่ได้รับแต่งตั้งเป็นคณะที่ประชุม
ข. ระบุตำแหน่งของผู้ได้รับแต่งตั้งเป็นคณะที่ประชุม
ค. ลงชื่อและตำแหน่งของผู้ได้รับแต่งตั้งเป็นคณะที่ประชุม
ง. ลงชื่อผู้มาประชุมแทน และลงว่ามาประชุมแทนผู้ใดหรือตำแหน่งใด
14. ข้อใดถูกต้อง
ก. การติดต่อราชการให้ดำเนินการด้วยระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์เป็นหลัก
ข. ให้เก็บสำเนาคู่ฉบับหนังสือไว้ที่ต้นเรื่อง 2 ฉบับ
ค. หนังสือภาษาต่างประเทศไม่ต้องใช้กระดาษตราครุฑ
ง. หนั ง สื อ ราชการภาษาอั ง กฤษที ่ ล งชื ่ อ มี 2 ชนิ ด ได้ แ ก่ หนั ง สื อ ช่ ว ยจำ (Aide-Memoire) และบั น ทึ ก
(Memorandum)
15. การเก็บหนังสือแบ่งออกเป็นกี่ประเภท
ก. 2 ประเภท
ข. 3 ประเภท
ค. 4 ประเภท
ง. ไม่มีข้อใดถูกต้อง
16. ข้อใดไม่ถูกต้องในการดำเนินการเกี่ยวกับหนังสือที่ต้องเก็บไว้ตลอดไป
ก. ต้องประทับตราคำว่า "ห้ามทำลาย"
ข. ขนาดอักษรไม่เล็กกว่าตัวพิมพ์ 24 พอยท์
ค. ประทับตราด้วยหมึกสีแดง
ง. ประทับตรากำหนดเก็บหนังสือที่มุมบนด้านซ้ายของกระดาษแผ่นแรก
17. การเก็บหนังสือที่เป็นเรื่องธรรมดาสามัญไม่มีความสำคัญ และเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเป็นประจำ มีอายุการเก็บหนังสือตาม
ข้อใด
ก. ไม่น้อยกว่า 5 ปี นับแต่ดำเนินการแล้วเสร็จ
ข. ไม่น้อยกว่า 5 ปี นับแต่มีการตรวจสอบแล้วเสร็จ
ค. ไม่น้อยกว่า 1 ปี นับแต่ดำเนินการแล้วเสร็จ
ง. ไม่น้อยกว่า 1 ปี นับแต่มีการตรวจสอบแล้วเสร็จ
18 ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับกระดาษหนังสือ
ก. กระดาษตราครุฑ ให้ใช้ขนาดเอ 4
ข. กระดาษบันทึกข้อความ ให้ใช้ขนาดเอ 4 หรือเอ 5
ค. มาตรฐานกระดาษโดยปกติให้ใช้กระดาษปอนด์ขาว
ง. ขนาดเอ 4 หมายความว่า ขนาด 148 มิลลิเมตร x 210 มิลลิเมตร
19. การแจ้งเตือนเรื่องที่ค้าง ควรทำหนังสือประเภทใด
ก. หนังสือภายนอก
ข. หนังสือประทับตรา
ค. หนังสือสั่งการ
ง. หนังสือที่เจ้าหน้าที่ทำขึ้นเป็นหลักฐานในราชการ
20. หนังสือติดต่อราชการภายในกระทรวง ทบวง กรม หรือจังหวัดเดียวกัน ต้องทำเป็นหนังสือใด
ก. บันทึกข้อความ
ข. หนังสือภายใน
ค. หนังสือประทับตรา
ง. หนังสือภายนอก
21. การตรวจสอบข้อมูลข่าวสารและหนังสือราชการที่ได้รับในระบบอีเมลของส่วนราชการ จะต้องตรวจสอบตามข้อใด
ก. อย่างน้อย 1 ครั้งต่อสัปดาห์
ข. อย่างน้อย 2 ครั้งต่อสัปดาห์
ค. ไม่น้อยกว่าวันละ 1 ครั้ง ในเวลาราชการ
ง. ไม่น้อยกว่าวันละ 2 ครั้ง ในเวลาราชการ
22. กรณีส่วนราชการได้รับอีเมลภายหลังเวลา 16.30 นาฬิกา จะต้องแจ้งยืนยันการได้รับอีเมลโดยการตอบกลับ (reply)
ตามเวลาในข้อใด
ก. ภายใน 1 ชั่วโมง นับแต่ได้รับอีเมล
ข. ภายใน 3 ชั่วโมง นับแต่ได้รับอีเมล
ค. ไม่เกิน 10.00 นาฬิกา ของวันทำการถัดไป
ง. ไม่มีข้อใดถูกต้อง
23. ข้อใดไม่ถูกต้อง เกี่ยวกับการจัดทำข้อมูลข่าวสารหรือหนังสือราชการเพื่อส่งทางอีเมล
ก. ชื่อไฟล์ให้ใช้เลขอารบิก
ข. ต้องแปลงหนังสือให้เป็นไฟล์ PDF
ค. ไฟล์ต้องมีความละเอียดไม่น้อยกว่า 150 dpi
ง. ชื่อไฟล์ให้ใช้เครื่องหมายขีดล่าง (_) แทนการเว้นวรรค
24. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2564 กำหนดให้ส่วนราชการจัดให้มีทะเบียน
หนังสือรับ ทะเบียนหนังสือส่ง ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งกำหนดใช้บังคับเมื่อใด
ก. ตั้งแต่ 26 พฤษภาคม 2564 เป็นต้นไป
ข. ตั้งแต่ 23 สิงหาคม 2564 เป็นต้นไป
ค. ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565 เป็นต้นไป
ง. ตั้งแต่ 26 พฤษภาคม 2565 เป็นต้นไป
25. โดยปกติหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ มีอายุการเก็บหนังสือในข้อใด
ก. 5 ปี
ข. 10 ปี
ค. 20 ปี
ง. ไม่มีอายุการเก็บหนังสือ
26. ข้อใดคือความหมายของ "ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์"
ก. การรับส่งข้อมูลข่าวสาร หรือหนังสือ ผ่านระบบสื่อสารด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์
ข. การรับส่งและเก็บรักษาข้อมูลข่าวสาร หรือหนังสือ ผ่านระบบสื่อสารด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยรวม
ถึงการรับส่งโดยใช้ไ ปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ของส่วนราชการ หรือที่ส่วนราชการจัดให้แก่เจ้าหน้าที่ และ
ระบบสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์อื่นใดตามที่หัวหน้าส่วนราชการกำหนด
ค. หนังสือราชการที่จัดทำ และได้รับ ส่ง หรือเก็บรักษาตามระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์
ง. การประยุกต์ใช้วิธีการทางอิเล็กตรอน ไฟฟ้า คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือวิธีอื่นใดในลักษณะคล้ายกัน และให้
หมายความรวมถึงการประยุกต์ใช้วิธีการทางแสง วิธีการทางแม่เหล็ก หรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวเนื่องกับ การ
ประยุกต์ใช้วิธีต่างๆ เช่นว่านั้น
27. หากเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานสารบรรณกลาง ตรวจพบ Spam mail ต้องดำเนินการอย่างไร
ก. เปิดเอกสารโดยเร็ว
ข. คลิกลิงก์ที่แนบมากับอีเมลทันที
ค. ย้ายไปยังกล่องจดหมายเข้า (inbox)
ง. ลบอีเมลทิ้งทันที
28. "2565_OPM0913_56.pdf" จากชื่อไฟล์หนังสือราชการที่ใช้ส่งอีเมลดังกล่าว OPM มีความหมายตรงกับข้อใด
ก. อักษรโรมันประจำส่วนราชการ
ข. รูปแบบเนื้อหาอีเมล
ค. Subject
ง. digital signature
29. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่ต้องส่งให้สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร ต้องมีความละเอียดตามข้อใด
ก. 50 dpi
ข. 75 dpi
ค. 120 dpi
ง. 150 dpi
30. รหัสตัวอักษรโรมันประจำกระทรวงมหาดไทย ตรงกับข้อใด
ก. MOI
ข. MOE
ค. MOC
ง. MOT
เฉลยข้อสอบ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2564

1. ตอบ ข. ข้อ 25 รายงานการประชุม คือ การบันทึกความคิดเห็นของผู้มาประชุม ผู้เข้าร่วมประชุม และมติของที่


ประชุมไว้เป็นหลักฐาน
2. ตอบ ก. ข้อ 8 วรรคหนึ่ง กำหนดให้ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี มีอำนาจแก้ไขเพิ่มเติมภาคผนวกท้ายระเบียบฯ นี้
3. ตอบ ค. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2564 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
เล่ม 138/ตอนพิเศษ 113 ง/หน้า 1/25 พฤษภาคม 2564
4. ตอบ ค. ข้อ 28.2 ด่วนมาก ให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติโดยเร็ว
5. ตอบ ง. ข้อ 6 งานสารบรรณ หมายความว่า งานที่เกี่ยวกับการบริหารงานเอกสาร เริ่มตั้งแต่การจัดทำการรับ
การส่ง การเก็บรักษา การยืม จนถึงการทำลาย
6. ตอบ ง. ข้อ 22 ข่าว คือ บรรดาข้อความที่ทางราชการเห็นสมควรเผยแพร่ให้ทราบ
7. ตอบ ข. ข้อ 15 วรรคสุดท้าย หนังสือสั่งการมี 3 ชนิด ได้แก่ คำสั่ง ระเบียบ และข้อบังคับ
8. ตอบ ค. ข้อ 30 วรรคสอง สำเนาคู่ฉบับให้ผู้ลงชื่อ ลงลายมือชื่อหรือลายมือชื่อย่อ และให้ผู้ร่าง ผู้พิมพ์ และ
ผู้ตรวจ ลงลายมือชื่อหรือลายมือชื่อย่อ ไว้ที่ข้างท้ายขอบล่างด้านขวาของหนังสือ (หรือมุมขวาล่าง)
9. ตอบ ก. ข้อ 37 ต้องกรอกรายละเอียด 3 อย่าง ได้แก่ เลขรับ (ให้ลงเลขที่รับตามเลขที่ รับในทะเบียน) วันที่
(ให้ลงวัน เดือน ปีที่รับหนังสือ) และเวลา (ให้ลงเวลาที่รับหนังสือ)
10. ตอบ ข. ข้อ 74.1 น้ำหนัก 60 กรัมต่อตารางเมตร
11. ตอบ ค. ดูข้อ 4 ประกอบข้อ 8 ส่วนราชการที่มีความจำเป็นต้องปฏิบัติงานสารบรรณนอกเหนือไปจากที่กำหนด
ไว้ในระเบียบฯ สารบรรณ นี้ ต้องขอทำความตกลงกับปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
12. ตอบ ก. ดูข้อ 19 วรรคท้าย หนังสือประชาสัมพันธ์มี 3 ชนิด ได้แก่ ประกาศ แถลงการณ์ และข่าว
13. ตอบ ง. ดูข้อ 25.5 ลงชื่อผู้มาประชุมแทนและลงว่ามาประชุมแทนผู้ใดหรือตำแหน่งใด
14. ตอบ ก. ระเบียบฯ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2564) ได้ยกเลิกข้อ 29 เดิม และให้ใช้ข้อความใหม่แทน ซึ่งข้อ 29 วรรคหนึ่ง
กำหนดให้การติดต่อราชการให้ดำเนินการด้วยระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์เป็นหลัก***
15. ตอบ ข. ดูข้อ 52 มี 3 ลักษณะ ได้แก่ การเก็บระหว่างปฏิบัติ การเก็บเมื่อปฏิบัติแล้วเสร็จ และการเก็บไว้ เพื่อใช้
ในการตรวจสอบ
16. ตอบ ง. ดูข้อ 55.1 เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในการเก็บหนังสือ ต้องประทับตรากำหนดเก็บหนังสือไว้ที่มุมล่าง
ด้านขวาของกระดาษแผ่นแรกของหนังสือฉบับนั้น
17. ตอบ ค. ดูข้อ 57.5 ต้องเก็บหนังสือไว้ไม่น้อยกว่า 1 ปี นับแต่ดำเนินการในเรื่องนั้นๆ แล้วเสร็จ
18. ตอบ ง. ดูข้อ 74.1.1 ขนาดเอ 4 หมายความว่า ขนาด 210 มิลลิเมตร x 297 มิลลิเมตร
19. ตอบ ข. ดูข้อ 13.5 การเตือนเรื่องที่ค้างโดยใช้หนังสือประทับตรา
20 ตอบ ข. ดูข้อ 12 ต้องทำเป็น "หนังสือภายใน" โดยใช้ "กระดาษบันทึกข้อความ" ปล. บันทึกข้อความไม่ใช่ชนิด
ของหนังสือราชการ เป็นเพียงชนิดของกระดาษ
21. ตอบ ง. ดูข้อ 89/1 และภาคผนวก 7 (ข้อ 2.) ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณ (ฉบับที่ 4)
พ.ศ. 2564 ต้องตรวจสอบอีเมลไม่น้อยกว่าวันละ 2 ครั้งในเวลาราชการ อย่างน้อย 1 ครั้งในช่วงเช้า
และอย่างน้อยอีก 1 ครั้งในช่วงบ่าย
22. ตอบ ค. ดูข้อ 89/1 และภาคผนวก 7 (ข้อ 3.2) ตามระเบียบสำนักนายกรัฐ มนตรี ว่าด้ว ยงานสารบรรณ
(ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2564 ให้ตอบกลับอย่างช้าไม่เกิน 10.00 นาฬิกา ของวันทำการถัดไป
23. ตอบ ค. ดูข้อ 89/1 และภาคผนวก 7 (ข้อ 4.3) ตามระเบียบสำนักนายกรัฐ มนตรี ว่าด้ว ยงานสารบรรณ
(ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2564 ความละเอียดต้องไม่น้อยกว่า 300 dpi
24. ตอบ ค. ดูระเบียบฯ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2564) ข้อ 8 ได้เพิ่มเติมความในข้อ 29/1 แห่งระเบียบฯ สารบรรณ
พ.ศ. 2526 กำหนดให้ ส ่ ว นราชการจั ด ให้ ม ี ท ะเบี ย นหนั ง สื อ รั บ ทะเบี ย นหนั ง สื อ ส่ ง ในรู ป แบบ
อิเล็กทรอนิกส์ และข้อ 2 กำหนดให้เริ่มใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565 เป็นต้นไป
25. ตอบ ง. ดูข้อ 89/5 วรรคหนึ่ง หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ไม่มีอายุการเก็บหนังสือ โดยปกติให้เก็บไว้ตลอดไป...
26. ตอบ ข. ดูข้อ 6 "ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์" แก้ไขเพิ่มเติมโดย ระบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้ว ยงาน
สารบรรณ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2564
27. ตอบ ง. ดูข้อ 89/1 และภาคผนวก 7 (ข้อ 2. วรรคสอง) ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณ
(ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2564
28. ตอบ ก. ดูข้อ 89/1 และภาคผนวก 7 (ข้อ 4.3.2) ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณ
(ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2564 เป็นรหัสอักษรโรมันประจำส่วนราชการ
29. ตอบ ง. ข้อ 89/4 วรรคสอง ความละเอียดไม่น้อยกว่า 150 dpi
30. ตอบ ก. MOI ดูข้อ 89/1 และรหัสตัวอักษรโรมันประจำส่วนราชการ แนบท้ายภาคผนวก 7 ตามระเบียบสำนัก
นายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2564

You might also like