You are on page 1of 24

หลักการตีความตามนัยคัมภีร์เนตติปกรณ์และคัมภีร์เปฏโกปเทส

ปรุตม์ บุญศรีตัน

ความนำ
คัมภีร์เนตติปกรณ์และคัมภีร์เปฏโกปเทส เป็นผลงานของพระเถระรูปหนึ่งซึ่งร่วมสมัยกับ
พระพุทธเจ้า มีชื่อว่า พระมหากัจจายนะ ท่านนี้ได้รับการยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่าเป็นผู้ที่สามารถอธิบายขยายความ
ธรรมที่พระพุทธเจ้าแสดงไว้โดยย่อให้พิศดารได้1 จึงรวบรวมประมวลหลักการและวิธีการที่ท่านใช้ในการอธิบายความ
ตีความธรรมเอาไว้ทั้งสองคัมภีร์นี้มีเนื้อหาคล้ายคลึงกัน สันนิษฐานกันว่า คัมภีร์เนตติปกรณ์เป็นคัมภีร์สายเถรวาท
ส่วนคัมภีร์เปฏโกปเทสอาจมาจากสายอื่น เช่น นิกายมหิสาสกะ2 เนื่องจากคัมภีร์ทั้งสองมีเนื้อหาที่คล้ายกัน การศึกษา
คัมภีร์ใดคัมภีร์หนึ่ง สามารถได้เนื้อหาของคัมภีร์ได้เช่นเดียวกัน ดังนั้น ในการศึกษานี้ จะเลือกศึกษาเนื้อหาในคัมภีร์เนต
ติปกรณ์เป็นหลัก เพราะได้เนื้อหาครอบคลุมถึงคัมภีร์เปฏโกปเทสด้วย
คัมภีร์ทั้งสองนี้ แม้มีเนื้อหาคล้ายคลึงกัน แต่ความเป็นระเบียบในการแต่งมีความแตกต่างกัน คัมภีร์เนต
ติปกรณ์จะมีเนื้อหาที่เป็นระบบชัดเจนมากกว่าคัมภีร์เปฏโกปเทส คัมภีร์เปฏโกปเทสไม่ได้จัดลำดับข้ออย่างเป็นระบบ
ข้อนี้ทำให้ปราชญ์ชาวตะวันตกบางท่านเห็นว่า คัมภีร์เปฏโกปเทสเกิดก่อนคัมภีร์เนตติปกรณ์ อย่างไรก็ตาม ในคัมภีร์
ชั้นรองของพระพุทธศาสนาเถรวาทได้มีข้อความบ่งชี้ว่า คัมภีร์เปฏโกปเทสนั้นแต่งตามแนวของคัมภีร์เนตติปกรณ์
และมีเนื้อหาดำเนินตามแนวของคัมภีร์เนตติปกรณ์ เป็นคัมภีร์ที่อธิบายความในพระไตรปิฎกเช่นกัน3
คัมภีร์เนตติปกรณ์ มีความแตกต่างจากคัมภีร์อรรกถาอื่น ๆ ตรงที่ว่า คัมภีร์เนตติปกรณ์จะอธิบายธรรม
ของพระพุทธเจ้าด้วยหลักหาระ 16 นัย 5 และสาสนปัฏฐาน 2 เป็นหลักการอธิบายที่มีลักษณะเฉพาะที่มุ่งอธิบายความ
เนื้อหาธรรมเป็นหลัก แต่คัมภีร์อรรถกถาอื่น ๆ นั้น จะมีลักษณะอีกลักษณะหนึ่ง คือ เป็นการอธิบายความจากพระ
ไตรปิฎกเช่นกัน แต่เป็นการอธิบายแบบคำต่อคำ บทต่อบท ความต่อความ ไม่ได้มีลักษณะเหมือนกับคัมภีร์เนตติ
ปกรณ์ นอกจากนั้น คัมภีร์อรรถกถา อาจมีการนำนิทานยกขึ้นมาอธิบายประกอบเป็นตัวอย่าง แต่คัมภีร์เนตติปกรณ์
ไม่มีการยกนิทานมาอธิบายประกอบ แต่จะยกพุทธพจน์มาเป็นตัวอย่างอธิบายประกอบ
การศึกษาคัมภีร์พุทธศาสนาในยุคปัจจุบัน จะใช้วิธีการแบบอรรถกถาและอ้างอิงจากคัมภีร์อรรถกถา
เป็นส่วนมาก ส่วนการนำหลักการตามคัมภีร์เนตติปกรณ์มาใช้นั้น จะเป็นการทำงานของพระอรรถกถาจารย์ในอดีต
เช่น พระพุทธโฆษาจารย์ที่รจนาคัมภีร์วิสุทธิมรรค ไม่เพียงจะใช้วิธีการอธิบายแบบคัมภีร์อรรถกถาทั่วไปแล้ว ยังนำวิธี
การในคัมภีร์เนตติปกรณ์มาใช้ด้วย เช่น การอธิบายถึง ศีล โดยใช้หลักลักษณาทิจตุกกะ หรือหลักปทัฏฐานหาระ ลัก
ษณหาระในคัมภีร์เนตติปกรณ์นั่นเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ฎีกาแห่งทีฆนิกาย4 สังยุตนิกาย5 อังคุตรนิกาย6 ได้อธิบาย
ความโดยใช้หลักการในคัมภีร์เนตติปกรณ์
คัมภีร์เนตติปกรณ์ ได้ให้หลักการตีความที่ชัดเจน ไม่เปิดโอกาสให้มีการตีความนอกไปจากกรอบที่ให้
ไว้ ทั้งนี้เพื่อป้องกันการตีความหรือเข้าใจเนื้อหาสาระพระสูตรเดียวกันต่างกัน ฉะนั้น หากการศึกษาตีความใช้หลักการ
เดียวกัน จะเชื่อได้ว่า การตีความจะไม่ขัดแย้งกัน ไม่ว่าการแสดงธรรมนั้นจะแสดงไว้ในรูปแบบไหน ทั้งในแง่บัญญัติ
และปรมัตถ์ เพราะการใช้หลักการเดียวกันจะสามารถเชื่อมโยงเข้าหาหลักธรรมได้ และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลักการ
ทั้งหมดนั้นสามารถเชื่อมโยงถึงกันและกันได้ด้วย
อย่างไรก็ตาม แม้คัมภีร์เนตติปกรณ์จะเป็นหลักการเพียงพอที่จะอ่านพระไตรปิฎกได้กระนั้นก็ตาม
ไม่ใช่เรื่องง่ายนักที่จะเข้าใจองค์ธรรมโดยรวมอย่างถ่องแท้ จำเป็นต้องอาศัยหลักการอื่น ๆ มาประกอบด้วย โดยเฉพาะ
หลักอภิธรรมมาช่วยอธิบายหรือศึกษาตีความ7 เพราะองค์ธรรมหรือเนื้อหาสาระที่เป็นแก่นธรรมส่วนมากจะแสดงไว้
ในอภิธรรม กระนั้นก็ตาม นักปราชญ์ทางพระพุทธศาสนา เช่น พุทธทาสภิกขุเห็นว่า การศึกษาคำสอนของ
พระพุทธเจ้านั้น สามารถศึกษาได้ครบถ้วนในพระสุตตันตปิฎก พระไตรปิฎกในส่วนที่เป็นอภิธรรมปิฎก ท่านเสนอ
ให้ตัดทิ้งบ้างก็ได้เราก็ยังสามารถศึกษาพุทธธรรมได้ อย่างไรก็ตาม แม้ในกลุ่มผู้ศึกษาพุทธศาสนา หรือนักปราชญ์ชาว
พุทธศาสนา จะมีความเห็นต่างกันบ้าง เป็นสิ่งที่ควรรับฟังไว้ แต่จะเชื่อหรือยอมรับหรือไม่เป็นอีกประเด็นหนึ่ง ฉะนั้น
ลักษณะการศึกษาพุทธศาสนาที่ควรจะเป็น คือ ควรศึกษาตามคัมภีร์ หรือหลักฐาน เอกสารต่าง ๆ เท่าที่มีสืบทอดมาถึง
เรา ทั้งพระไตรปิฎกและอรรถกถา ตลอดถึงคัมภีร์อื่น ๆ ไม่ควรจะตัดทิ้งหรือมองข้ามละเลยคัมภีร์ใด ๆ หรือส่วนใด
ส่วนหนึ่งของคัมภีร์ไป เพราะเราเองตัดสินไม่ได้เช่นกันว่า ส่วนไหนใช่หรือไม่ใช่คำสอนในพระพุทธศาสนา แต่ภาพ
รวมของเนื้อหาคัมภีร์ทั้งหมดเป็นตัวเปิดเผยถึงความจริงของตัวมันเอง คัมภีร์ดังกล่าวนี้ จึงเป็นปกรณ์ที่ใช้เป็นเครื่องมือ
ในการสืบค้นหาคำสอนหรือสาสนะ8 เป็นการสืบค้นหาความหมายของคำสอน อธิบายถึงความหมายของคำสอนใน
เชิงปริยัติ วิเคราะห์วิจารณ์ถึงเนื้อหาคำสอนทั้งหมดสอดคล้องกันระหว่างหลักการใหญ่กับหลักการย่อยทั้งหลาย9

ก) ความหมายของคำว่า “เนตติ”
ในอรรถกถาคัมภีร์เนตติปกรณ์ พระธรรมบาลเถระแห่งพุทธติตถวิหาร ได้อธิบายความหมาย คำ
ว่า “เนตฺติ” ไว้ว่า หมายถึง คัมภีร์ที่สามารถนำเวไนยสัตว์เข้าสู่สัจธรรมได้ หรือเป็นเครื่องมือในการทำเวไนยสัตว์ให้
บรรลุนิพพาน หากใช้หลักการตามคัมภีร์เนตติปกรณ์นี้ศึกษาเนื้อหาของพระสูตร จะมีความรู้ความเข้าใจพระสูตรได้ถูก
ต้องไม่มีผิดเพี้ยนไปจากเจตนารมณ์ของพระพุทธเจ้า10

ข) รูปแบบการนำเสนอเนื้อหาในคัมภีร์เนตติปกรณ์
คัมภีร์เนตติปกรณ์ มีเนื้อหาแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ
1) สังคหวาระ เป็นการสรุปประมวลเนื้อหาโดยย่อนำเสนอไว้ในรูปของคาถา 5 คาถาด้วยกัน แต่
ได้สาระครอบคลุมเนื้อหาทั้งหมดของคัมภีร์เนตติปกรณ์ ส่วนนี้มีลักษณะเหมือนบทคัดย่อที่สรุปสาระสำคัญที่เป็น
หัวใจของเนื้อหาทั้งหมดไว้
2) วิภาควาระ เป็นส่วนการอธิบาย จำแนกเนื้อหาโดยละเอียด ซึ่งจะประกอบด้วย รูปแบบการ
อธิบาย เรียกว่า เทส คือ การแสดง 3 ส่วนของการนำเสนอ คือ (1) อุทเทส หมายถึง การยกหัวข้อขึ้นแสดง (2) นิทเทส
หมายถึง การแสดงรายละเอียดว่าในหัวข้อที่ยกขึ้นมานั้น แต่ยังไม่ให้รายละเอียดทั้งหมด (3) ปฏินิทเทส หมายถึง การ
แสดงรายละเอียดโดยพิศดาร โดยการทำรายละเอียดจากนิทเทส มาอธิบายขยายเพื่อให้ได้รายละเอียดเพิ่มเติมมากขึ้นอีก
ฉะนั้น ปฏินิทเทสของคัมภีร์เนตติปกรณ์นี้ จึงประกอบเนื้อหาสำคัญ 4 ส่วน คือ (1) หารวิภังค์ (2) หารสัมปาตะ (3)
นยสมุฏฐาน และ (4) สาสนปัฏฐาน (ซึ่งหารวิภังค์กับหารสัมปาตะมีความแตกต่างกัน คือ หารวิภังค์เป็นการอธิบาย
พระสูตรหลายสูตรด้วยหาระเดียว แต่หาระสัมปาตะเป็นการกล่าวแสดงพระสูตรเดียวด้วยหลายหาระ)11

ค) รูปแบบการตีความในคัมภีร์เนตติปกรณ์
คัมภีร์เนตติปกรณ์ มีเนื้อหาสาระสำคัญแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ (1) หาระ (2) นัย (3) สาสนปัฏ
ฐาน
1) หาระ
“หาระ” เป็นส่วนที่แสดงถึงหลักการอธิบายคำสอนของพระพุทธเจ้า รวมถึงเป็นหลักการฟังธรรม
ของผู้ฟังด้วย (เป็นหลักการในการจับประเด็น) หลักการนี้สามารถนำมาใช้ได้ทั้งผู้ฟังและผู้พูด หรือผู้ตีความสามารถ
นำมาใช้ในทั้งสองทาง ทั้งที่เป็นผู้ตีความเองและเป็นตีความผู้ตีความอีกชั้นหนึ่ง โดยความหมายตามรูปศัพท์ คำว่า
“หาระ” นี้ แปลว่า วิธีการ หลักการ การกล่าวอธิบาย จะพบเห็นคำนี้ที่ใช้ในรูปศัพท์อื่น ๆ ที่มีความหมายว่า การกล่า
วอธิบาย เช่น คำว่า “โวหาร” “พรรณนาโวหาร” “อัพโพหาริก” ดังนั้น หาระจึงเป็นหลักการ ซึ่งถือว่า เป็นกุญแจ
สำคัญในการกล่าวอธิบายขยายความธรรมให้ถูกต้องตามพระประสงค์ขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้า กล่าวได้ว่า หากนำ
หลักการดังกล่าวนี้ไปใช้ในการศึกษา ตีความคัมภีร์พระไตรปิฎก หรือคำสอนของพระพุทธเจ้า เราจะเข้าใจ รับรู้ เข้าถึง
คำสอนของพระพุทธเจ้าได้ถูกต้องที่สุด เพราะหลักการดังกล่าวนี้ พระมหากัจจายนะเคยใช้อธิบายธรรมของ
พระพุทธเจ้ามาก่อนแล้ว และที่สำคัญพระพุทธเจ้าทรงรับรองว่า การอธิบายธรรมของพระองค์ด้วยหลักการเช่นนี้
เป็นการถูกต้องตามพุทธประสงค์ และหากพระพุทธเจ้าทรงอธิบายด้วยพระองค์เอง ก็จะทรงอธิบายเช่นเดียวกันกับที่
พระมหากัจจายนะได้อธิบายนี้เช่นกัน หลักหารดังกล่าวนี้ ท่านจำแนกออกเป็น 16 หาระด้วยกัน ดังมีรายละเอียดต่อ
ไปนี้

(ก) เทสนาหาระ
เทสนาหาระ เป็นหลักการอธิบายขยายความพุทธพจน์ โดยจำแนกประเด็นในการวิเคราะห์ออก
เป็น 6 ประเด็นด้วยกัน คือ
(1) อัสสาทะ หมายถึง ข้อดี ความพึงพอใจ ยินดี ด้านที่เป็นคุณหรือแง่บวกของธรรมนั้น
ว่า มีข้อดีที่ทำให้เกิดความพึงพอใจหรือมีประโยชน์อย่างไร ได้แก่ สุข โสมนัส อิฏฐารมณ์ ตัณหา และวิปัลลาส โดยที่
ตัณหาและวิปัลลาส เป็นอัสสาทะในฐานะที่เป็นเหตุให้เกิดความยินดี ส่วนเวทนา อิฏฐารมณ์ในภูมิ 3 เป็นอัสสาทะใน
ฐานะเป็นผล อัสสาทะจึงมีทั้งส่วนที่เป็นเหตุและส่วนที่เป็นผล
(2) อาทีนวะ หมายถึง ข้อเสีย หรือ ด้านลบที่เป็นโทษของธรรมนั้น ที่ควรระวังและควร
หลีกเว้น ได้แก่ ทุกขเวทนา อนิฏฐารมณ์ต่าง ๆ การปรุงแต่งในภูมิ 3 (เตภูมิกสังขาร) เป็นอาทีนวะด้วยในฐานเป็น
ธรรมชาติที่ตกอยู่ภายใต้อำนาจของความเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ปราศจากตัวตนที่แท้จริง
(3) นิสสรณะ หมายถึง ทางออก แนวทางออกจากข้อเสีย ปัญหา หรือสิ่งที่เป็นโทษนั้น ๆ
ได้แก่ อริยมรรค และนิพพาน ที่เป็นเป้าหมายสูงสุด นิสสรณะดังกล่าวนี้ จึงมีนัยความหมายทางภาษาเป็นทั้งเหตุและผล
ของการปฏิบัติ นิสสรณะในความหมายที่เป็นเหตุ ได้แก่ อริยมรรค โพธิปักขิยธรรม สติปัฏฐาน เพราะธรรมเหล่านี้เป็น
เหตุให้หลุดพ้นจากความทุกข์ได้ นิสสรณะในความหมายที่เป็นผล ได้แก่ นิพพาน
(4) ผล หมายถึง ผลลัพธ์ หรืออานิสงส์ที่เกิดจากการดำเนินตามนิสสรณะหรือทางออกนั้น
แล้ว ได้แก่ ความรู้ที่ได้รับจากการฟัง เรียกว่า สุตมยปัญญา หรือสุตมยญาณ ตลอดถึงความรู้ธรรมในระดับสูงขึ้นไป
กระทั้งสัมมาสัมโพธิญาณ
(5) อุปาย หมายถึง อุบายหรือวิธีการที่แยบยลเพื่อให้เกิดผล โดยใช้อุบายบางอย่างกระตุ้น
ให้ดำเนินตามแนวทางออกที่เสนอไว้ได้แก่ ข้อปฏิบัติที่เป็นเบื้องต้นของอริยมรรค หรืออุบายที่จะทำให้เกิดการบรรลุ
อริยมรรค และบรรลุนิพพานในที่สุด เช่น ปรโตโฆสะและโยนิโสมนสิการ เป็นเบื้องต้นแห่งการเกิดขึ้นของสัมมาทิฐิ
เป็นต้น
(6) อาณัติ หมายถึง การกล่าวชักจูง โน้มน้าวให้แรงจูงใจใฝ่รู้ ใฝ่กระทำ ประพฤติปฏิบัติ
ทั้งชักชวน ชี้ชวน และสั่งบังคับ ได้แก่ คำสั่ง คำแนะนำ คำเชิญชวนให้ปฏิบัติ เช่น “อปฺปมาเทน สมฺปาเทถ ท่านทั้ง
หลาย จงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมถึง”12 คำว่า “จง” เป็นลักษณะของอาณัตินี้ 13
หลักการทั้ง 6 ประการของเทสนาหาระดังกล่าว นับเป็นหลักการสำคัญเบื้องต้นในการแสดงธรรม
พระพุทธเจ้า ซึ่งจะอยู่ในขอบข่ายทั้ง 6 ประการนี้ แม้ในการแสดงธรรมแต่ละครั้ง จะไม่ได้ระบุคำเหล่านี้อยู่แต่ผู้ฟังหรือ
ผู้แสดงต่อไปสามารถจับประเด็นในเนื้อหาได้ด้วยหลักการเหล่านี้ ซึ่งอาจไม่เป็นไปตามลำดับ โดยเฉพาะในพระสูตร
หรือพุทธพจน์ทั้งหมด อนึ่ง พระสูตรต่าง ๆ อาจใช้โวหารไม่เหมือนกัน ใช้คำต่างกัน แต่สาระสำคัญของธรรมไม่ต่าง
กัน ดังนั้น สาระสำคัญของเทสนาหาระ จึงอยู่ที่อัสสาทะ อาทีนวะและนิสสรณะที่จะใช้เป็นหลักการในการตีความคำ
สอนของพระพุทธเจ้า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อัสสาทะกับอาทีนวะนั้น เป็นหลักการมองโลกและชีวิตว่า มีสองด้านเสมอ
และทั้งสองนั้น เป็นส่วนที่เป็นโลกียธรรมที่ยังข้องและเวียนว่ายอยู่ในสังสารวัฏ พระพุทธเจ้าทรงสอนให้มองโลกและ
ชีวิตทั้งสองด้าน อย่ามองเพียงด้านเดียว แล้วจะเห็นทางออกของปัญหาชีวิต สิ่งเดียวกันมีนัยแฝงทั้งที่เป็นด้านคุณคือ อัส
สาทะ และที่เป็นโทษ คือ อาทีนวะอยู่ด้วย ฉะนั้น ต้องมองให้ครบทั้งสองด้าน
ในการตีความคำสอนเช่นเดียวกัน เมื่อพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมที่มีนัยแฝงดังกล่าว การตีความจำเป็น
ต้องมองทั้งสองด้านด้วยเช่นกัน กระนั้นก็ตาม การมองทั้งสองยังไม่สมบูรณ์ตามเจตนารมณ์ของพระพุทธเจ้า เพราะไม่
ได้ทรงแสดงธรรมไว้เพียงสองด้านเท่านั้น หากทรงแสดงทางออกหรือทางแก้ปัญหาไว้ด้วย ฉะนั้น จึงต้องชี้ทางออก
ของปัญหาหรือข้อดีข้อเสียนั้น ๆ ไว้ด้วย เพื่อมนุษย์จะได้มีความหวังในโลกและชีวิตที่จะออกไปจากทางสองแพร่งที่ดี
หรือเสียนั้นได้
อย่างไรก็ตาม ที่ยากคือ การแสดงธรรมของพระพุทธเจ้า บางแห่งไม่ได้ทรงแสดงไว้ตรง ๆ ถึงความเป็น
อัสสาทะ อาทีนวะ และนิสสรณะ บางทีทรงแสดงเพียงอัสสาทะ ไม่ทรงแสดงอาทีนวะและนิสสรณะ บางทีทรงแสดง
อัสสาทะและอาทีนวะ ไม่แสดงนิสสรณะ หรือบางทีแสดงเพียงนิสสรณะอย่างเดียว ไม่เพียงเท่านั้น ส่วนมากการแสดง
ธรรมไม่ได้ระบุชัดว่า ส่วนไหนเป็นอัสสาทะ อาทีนวะหรือนิสสรณะ จึงเป็นหน้าที่ของผู้ศึกษาตีความค้นหาเองโดยใช้
หลักการแห่งเทสนาหาระนี้ ทั้งนี้ ในคัมภีร์เนตติปกรณ์ มีข้อความระบุถึงการที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมมี อัสสาทะ
อาทีนวะ และนิสสรณะเป็นต้น ไม่ครบถ้วนนั้น เป็นเพราะพระองค์ทรงแสดงธรรมโดยทรงคำนึงถึงความเหมาะสม
ของอุปนิสัยแต่ละบุคคลที่ทรงประสงค์จะโปรด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บุคคลที่เป็นเวไนยสัตว์ 3 ประเภท คือ อุคฆติตัญญู
วิปจิตัญญู และเนยยบุคคล กล่าวคือ จะทรงแสดงเฉพาะนิสสรณะแก่บุคคคลประเภทอุคฆติตัญญู ทรงแสดงอาทีนวะ
และนิสสรณะแก่บุคคลประเภทวิปจิตัญญู และทรงแสดงทั้งอัสสาทะ อาทีนวะ และนิสสรณะแก่บุคคลประเภทเนย
ยะ14 ส่วนปทปรมบุคคลนั้น ไม่มีการกล่าวถึงลักษณะการแสดงธรรมของพระพุทธเจ้า เป็นไปได้ว่า พระพุทธเจ้าทรง
ทราบดีว่า จะแสดงอย่างไรก็ตาม สำหรับบุคคลกลุ่มนี้ จะไม่สามารถบรรลุผลได้ เราจึงไม่พบข้อความที่ระบุถึงวิธีสอน
บุคคลกลุ่มนี้ หรืออาจเป็นไปได้เช่นกันว่า พระองค์ทรงเล็งเห็นว่ามนุษย์ทุกนามเป็นเวไนยสัตว์ทั้งหมด
กล่าวได้ว่า การแสดงธรรมของพระพุทธเจ้านั้น มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับจริตหรืออุปนิสัยเดิม
ของผู้ฟัง ดังนั้น รูปแบบหรือเทคนิควิธีในการแสดงธรรมนั้น ตามคัมภีร์เนตติปกรณ์ เรียกว่า สาสนปัฏฐาน ถ้าหากใช้
หลักการในเทสนาหาระโดยเฉพาะอัสสาทะ อาทีนวะ และนิสสรณะ เป็นเกณฑ์ในการจำแนก จะมีรูปแบบถึง 7 นัยด้วย
กัน คือ (1) อัสสาทเทสนา (2) อาทีนวเทสนา (3) นิสสรณเทสนา (4) อัสสาทอาทีนวเทสนา (5) อาทีนวนิสสรณเท
สนา (6) อัสสาทนิสสรณเทสนา (7) อัสสาทอาทีนวนิสสรณเทสนา15
บรรดานัยทั้ง 7 ประการนั้น นัยที่ 1, 2, 4, และ 6 เป็นรูปแบบที่ไม่ได้กล่าวไว้ในคัมภีร์เนตติปกรณ์ หาก
แต่กล่าวไว้เฉพาะนัยที่ 3, 5 และ 7 เท่านั้น เพราะว่า ถ้าแสดงเพียงอัสสาทะอย่างเดียว หรืออาทีนวะอย่างเดียว ไม่สามารถ
เป็นเหตุให้ผู้ฟังบรรลุธรรมได้หรือถ้าแสดงอัสสาทะและอาทีนวะหรือแสดงเพียงอัสสาทะและนิสสรณะเท่านั้น ไม่
สามารถเป็นเหตุให้บรรลุธรรมได้เช่นกัน มีเพียงนิสสรณะอย่างเดียวที่กล่าวแสดงไว้โดยลำพังเฉพาะแก่บุคคลประเภท
อุคฆติตัญญูเท่านั้น นิสสรณะแม้จะแสดงคู่กับอัสสาทะ แต่หากไม่ได้แสดงอาทีนวะไว้ด้วย ก็ไม่เป็นเหตุให้บรรลุธรรม
ได้เช่นกัน เพราะหากมนุษยืเห็นแต่ความสุขสนานเพลิดเพลินเท่านั้น มองไม่เห็นโทษหรือข้อเสียของสิ่งเหล่านั้น เช่น
นั้น จะไม่มีการปฏิบัติเพื่อออกจากทุกข์และโทษนั้น ๆ ไม่มีความคิดแก้ไขปัญหาเพราะมองไม่เห็นปัญหาใด ๆ มีแต่
หลงยึดติดในความสุขเพลิดเพลินยินดีนั้นยิ่งขึ้นไป หากมีสักคนหนึ่งไปแนะนำและชี้ให้เห็นว่า สิ่งที่เขาหลงยึดติดยินดี
อยู่นั้นไม่ดี ให้ละเว้นสิ่งสุขเพลิดเพลินเหล่านั้นเสีย ยิ่งเป็นสิ่งที่คนเหล่านั้นไม่สามารถยอมรับได้เพราะไม่เห็นว่าเป็นสิ่ง
เลวร้ายมีโทษดังกล่าวแล้ว
ดังนั้น การอธิบายความธรรม หากมุ่งให้คนเข้าใจธรรมอย่างถูกต้องและมีอุปนิสัยโน้มไปในทางปฏิบัติ
ธรรม จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องนำเสนอหรืออธิบายความธรรมให้ครอบคลุมอย่างน้อย 3 นัยดังกล่าว โดยเฉพาะคน
ทั่วไป ซึ่งจัดอยู่ในประเภทเนยยบุคคล จำเป็นต้องชี้แจง อธิบายให้ครบทั้งสามนัย อย่างไรก็ตาม ในแง่การศึกษาตีความ
หากไม่มุ่งให้เกิดการบรรลุธรรม แต่มุ่งความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาธรรม นัยแห่งการตีความ ยิ่งจำเป็นต้องศึกษาตีความ
ให้ครอบคลุมครบทั้งหมดของหลักการตีความ โดยนัยแห่งการตีความที่เหลือจากที่คัมภีร์เนตติปกรณ์เสนอไว้สามารถ
นำมาใช้ได้เพื่อให้เห็นถึงแต่ละด้านของคำสอนของพระพุทธเจ้า แต่จะอย่างไรก็ตาม เพื่อป้องกันการมองเพียงด้านเดียว
จำเป็นต้องนำรูปแบบการแสดงมาตีความให้ครบถ้วน เพราะมิฉะนั้น อาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดเกี่ยวคำสอนของ
พระพุทธเจ้าได้ซึ่งอาจมองในแง่ลบอย่างเดียว หรือมองในแง่บวกอย่างเดียว แม้จะไม่ผิดไปจากคำสอนโดยรวมทั้งหมด
แต่เป็นความถูกต้องบางแง่มุม การเสนอแบบแยกส่วนแล้วไม่มีการเสนอแบบองค์รวมรอบด้านของคำสอนของ
พระพุทธเจ้า อาจทำให้เข้าใจคลาดเคลื่อนได้
ฉะนั้น ในแง่การศึกษาตีความเชิงปริยัติ จำเป็นต้องศึกษาให้ครบทุกด้านของคำสอน แม้จะมุ่งเพียงความ
รู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคำสอน ไม่ได้มุ่งถึงการบรรลุธรรมชั้นสูงสุดก็ตาม ตัวอย่างคำสอนเรื่อง อนุปุพพิกถา แสดงให้
เห็นถึงเทสนาหาระ โดยเฉพาะอัสสาทะ อาทีนวะ และนิสสรณะอย่างชัดเจน การกล่าวแสดงถึงเรื่องทาน ศีล และสวรรค์
ถือว่าเป็นเรื่องของอัสสาทเทศนา อาทีนวกถาเป็นการกล่าวถึงโทษของกามคุณที่เป็นที่พอใจ ซึ่งเป็นศูนย์รวมความสุข
ความพอใจที่เกิดจากการให้ รักษาศีล และให้ผลในสวรรค์นั้น ยังมีโทษอยู่เพราะยังเป็นทุกข์และเป็นเหตุให้เวียนว่ายตาย
เกิดอยู่ในสังสารวัฏ การแสดงเช่นนี้ถือว่าเป็นอาทีนวเทสนา และสุดท้ายคือ เนกขัมมกถา ที่พูดถึงการออกจากกามคุณ
ด้วยรูปแบบต่าง เช่น การบวชเป็นภิกษุ เป็นต้น ถือว่า เป็นนิสสรณเทสนา
จะเห็นว่า หากแสดงแต่ข้อดีของทานและศีลที่ส่งผลให้เกิดในสวรรค์เพียงอย่างเดียว โดยไม่ชี้ให้เห็น
โทษของมันเด้วย คนจะไม่ปฏิบัติเพื่อสลัดออกจากภาวะที่เป็นโทษนั้น ๆ เมื่อคนฟังมองเห็นข้อเสียในสิ่งที่ยึดว่าดีนั้น
แล้ว จึงจะหันมาปฏิบัติหรือหาแนวทางแก้ไขหรือออกจากภาวะที่ทำให้เกิดความทุกข์โทษนั้นอย่างจริงใจ เพื่อให้ความ
หวังแก่คนที่มองเห็นความจริงเช่นนั้น แม้หลักคำสอนเรื่อง อริยสัจ 4 เช่นกัน เป็นตัวอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นการแสดง
ธรรมที่มีครบทั้งอัสสาทะ อาทีนวะและนิสสรณะ กล่าวคือ ทุกข์ได้แก่ อาทีนวะและเป็นส่วนผล ตัณหา เป็นอัสสาทะ
และเป็นเหตุ นิโรธ เป็นนิสสรณะ และมรรค เป็นอุบายและอาณัติ16
ฉะนั้น การศึกษาตีความคำสอนของพระพุทธเจ้าต้องเสนอให้รอบด้านตามนัยที่พระมหากัจจายนะได้
ให้ไว้ในเทสนาหาระ ซึ่งเป็นการศึกษาตีความในแง่ของอรรถะหรือเนื้อหาสาระสำคัญของธรรม ซึ่งอาจต้องพิจารณา
ศึกษาควบคู่ไปกับการศึกษาตีความเชิงพยัญชนะด้วย เพราะทั้งอรรถะและพยัญชนะนั้น เป็นสิ่งที่เชื่อมโยงถึงกัน และ
เป็นลักษณะของคำสอนในพระพุทธศาสนาที่พระพุทธเจ้าทรงสอน ประกาศพร้อมทั้งสองประการ การศึกษาตีความจึง
ต้องคำนึงถึงทั้งสองประการนี้

(ข) วิจยหาระ
วิจยหาระ หมายถึง หลักการวิเคราะห์ จำแนก แยกแยะ การเลือกเฟ้นคำสอนของพระพุทธเจ้าที่
ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎก โดยใช้หลักการในเทสนาหาระ เพื่อให้เกิดความชัดเจนและตรงตามพุทธประสงค์หรือนัยที่
พระพุทธเจ้าทรงประสงค์ (ทั้งที่เป็นคำถามและคำตอบ ที่สำคัญคือ การวิเคราะห์จำแนกตามหลักการของเทสนาหาระ
(คือ อัสสาทะ อาทีนวะ นิสสรณะ ผล อุปาย และอาณัติ) วิจยหาระ จำแนกเนื้อหาที่ต้องวิจัยออกเป็น 12 ประการด้วย
กันคือ17
(1) บท การวิเคราะห์บทในแต่ละประโยค ตามหลักไวยากรณ์ของภาษา โดยเฉพาะไวยากรณ์
ภาษาบาลี บทดังกล่าวนี้ จำแนกออกเป็น 4 คือ บทที่เป็นนาม อาขยาต อุปสัค และนิบาต (การจำแนกเช่นนี้มีมาก่อน
พุทธกาล ฤาษียาสกะผู้เขียนคัมภีร์นิรุตติ น่าจะเป็นคนแรกที่จำแนกเช่นนี้ไว้) เช่นนี้ เรียกว่า จำแนกบทเชิงศัพท์ (สัทท)
และการจำแนกบทอีกประการหนึ่งคือ การจำแนกบทเชิงอรรถ (อัตถ) ว่า บทนั้นมีความหมายว่าอย่างไร เป็นการ
วิเคราะห์ความหมายของศัพท์ การวิเคราะห์วิจัยบทดังกล่าวนี้ จะปรากฏมีการใช้มากในคัมภีร์อรรถกถา แต่ในคัมภีร์เนต
ติปกรณ์ไม่ได้แสดงตัวอย่างไว้
(2) ปัญหาหรือคำถาม การวิเคราะห์วิจัยเกี่ยวกับคำถาม ที่ต้องวิเคราะห์เพราะว่าคำถามมีหลาย
ประเภท ตามนัยอรรถกถาแห่งคัมภีร์เนตติปกรณ์ จำแนกไว้ถึง 11 ประเภท ดังนี้ (1) อทิฏฐโชตนาปุจฉา คือ คำถามที่
ถามเพราะไม่รู้ไม่เห็น แต่อยากจะรู้ (2) ทิฏฐสังสันทนา คือ ถามเพื่อเปรียบเทียบกับความรู้เห็นที่มีอยู่ (3) วิมติจเฉทนา
คือ ถามเพื่อตัดความสงสัย (4) อนุมติปุจฉา คือ ถามเพื่อคล้อยตาม (5) กเถตุกัมยตาปุจฉา คือ ถามเพื่อจะตอบเอง (6) เอ
กังสพยากรณียา คือ คำถามที่สามารถตอบได้เลยโดยไม่มีเงื่อนไขใด ๆ (7) วิภัชชพยากรณียา คือ คำถามที่จะต้อง
แยกแยะตอบเป็นประเด็นไป (8) ปฏิปุจฉาพยากรณียา คือ คำถามที่ต้องย้อนถามก่อนแล้วจึงตอบ (9) ฐปนียา คือ
คำถามที่ต้องงดไว้ไม่ตอบ (10) ธัมมาธิษฐานา คือ คำถามที่มุ่งหมายถึงธรรม (11) สัตตาธิษฐานา คือ คำถามที่มุ่งหมาย
ถึงสัตว์18 การศึกษาตีความ จึงจำเป็นต้อวจำแนกแยกแยะให้ได้ว่า ในกรณีที่มีการถามที่ปรากฏในพระไตรปิฎก เท่าที่มี
ผู้มาทูลถามพระพุทธเจ้า หรือเป็นคำถามของบุคคลอื่น ๆ ได้ก็ตาม เป็นคำถามประเภทไหนในบรรดาคำถามแต่ละ
ประเภทดังกล่าว เพราะเมื่อจำแนกได้แล้วว่า เป็นคำถามประเภทไหน จะได้ตอบให้ตรงประเด็น หรือปฏิบัติให้ตรงกับ
ลักษณะคำถามนั้น ๆ
(3) วิสัชนาหรือคำตอบ มีลักษณะและประเภทเช่นเดียวกับคำถาม เพราะจะต้องตอบให้ตรง
ประเด็นกับคำถามนั้น ๆ ดังนั้น ลักษณะประเภทของคำตอบและคำถามจึงมีจำนวนเท่ากัน ในการศึกษาตีความ ผู้ศึกษา
ตีความต้องวินิจฉัย จำแนกแยกแยะด้วยว่า ลักษณะการตอบปัญหาของพระพุทธเจ้าหรือของเหล่าพระสาวก มีลักษณะ
การตอบเป็นประเภทไหน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การตอบปัญหาของพระพุทธเจ้า 4 ลักษณะ คือ (1) เอกังสพยากรณ์ ตอบ
ตรงทันที (2) วิภัชชพยากรณ์ ตอบแบบแยกแยะให้เห็นชัดในประเด็นต่าง ๆ (3) ปฏิปุจฉาพยากรณ์ ตอบแบบย้อนถาม
เพื่อให้อยู่ในประเด็นเดียวกัน (4) ฐปนียพยากรณ์ ตอบแบบไม่ตอบ นอกจากนี้ การตอบคำถามของผู้ไม่รู้ ผู้มีความ
สงสัย ผู้ประสงค์เทียบเคียงหรือเพื่อให้มั่นใจก็ตาม ลักษณะการตอบคำถามยังคงอยู่ใน 4 ลักษณะของการตอบปัญหาดัง
กล่าวนี้ ซึ่งวัตถุประสงค์หรือเจตนารมณ์ของผู้ถามปัญหานั้น มีส่วนสำคัญในการจะตอบปัญหานั้น ๆ ด้วย เช่น ผู้ที่
ประสงค์จะถามเพื่อเทียบเคียงแนวคิดคำสอนเพื่อถึงเข้าเป็นฝักฝ่ายสนับสนุนแนวความคิดของตนหรือคำถามที่มี
ลักษณะสุดโต่งไม่ทางใดทางหนึ่ง เช่นนี้ พระพุทธเจ้าจะทรงใช้วิธีฐปนียพยากรณ์
(4) บุพพาประหรือ ข้อความก่อนกับข้อความหลัง ได้แก่ การศึกษาวิเคราะห์ความสัมพันธ์
ระหว่างประโยคข้อความหน้ากับประโยคข้อความหลังที่เชื่อมความขยายความกันและกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ระหว่าง
คำถามกับคำตอบ ประโยคคำถามถือว่าเป็นข้อความหน้า สำหรับประโยคคำตอบ เป็นข้อความหลัง เพื่อให้เห็นถึง
ความมีเอกภาพระหว่างคำหน้ากับคำหลัง มิให้เกิดความขัดแย้งกัน การศึกษาตีความต้องคำนึงถึงประเด็นนี้ด้วย อย่างไร
ก็ตาม คำหน้ากับคำหลังที่ว่านี้ ไม่ได้หมายถึงเฉพาะคำถามกับคำตอบเท่านั้น ประโยคข้อความอื่น ๆ ที่อธิบายขยาย
ความประโยคข้อความข้างหน้าตน จัดเป็นคำหน้ากับคำหลังด้วย ตัวอย่าง เช่น (1) คำถามกับคำตอบ ในประโยค
คำถามว่า “เกนสฺสุ นิวุโต โลโก”19 (อะไร ห่อหุ้มสัตว์โลกไว้) เป็นคำหน้า ประโยคคำตอบว่า “อวิชฺชาย นิวุโต
โลโก”20 (อวิชชาห่อหุ้มสัตว์โลกไว้) จัดเป็นคำหลัง (2) ประโยคข้อความทั่วไป เช่น “นีวรเณหิ นิวุโต โลโก”21 (นิวรณ์
ทั้งหลายห่อหุ้มสัตว์โลกไว้) จัดเป็นคำหน้า และ “อวิชฺชานีวรณา หิ สพฺเพ สตฺตา”22 (สรรพสัตว์มีอวิชชาเป็นเครื่อง
ห่อหุ้มไว้) จัดเป็นคำหลัง และประโยคข้อความต่อ ๆ ไป ที่ขยายความซึ่งกันและกัน จะกลายเป็นคำหน้ากับคำหลังของ
กันและกันจนกว่าจะจบข้อความ การพิจารณาวิเคราะห์ข้อความหน้ากับข้อความหลังดังกล่าว จะทำให้ได้เนื้อหาสาระ
ที่แท้จริง และจะเห็นถึงความสอดคล้องต้องกันตลอดสายของพุทธธรรม
(5) อัสสาทะ หรือ ข้อดี (6) อาทีนวะ หรือข้อเสีย (7) นิสสรณะ หรือทางออก (8) ผล (9)
อุบาย (10) อาณัติ ทั้ง 6 ข้อนี้มีความหมายเช่นเดียวกับที่กล่าวแล้วในเทสนาหาระข้างต้น จะไม่ขอกล่าวราย
ละเอียดในที่นี้อีก
(11) อนุคีติ เป็นการวิเคราะห์วิจัยถึงสิ่งที่กล่าวมาแล้วนำมากล่าวย้ำอีกครั้งหนึ่ง อนุคีติ คือ การ
กล่าวย้ำถึงสิ่งที่ได้กล่าวมาแล้วอีกครั้งหนึ่ง เป็นการสรุปย้ำประเด็นที่กล่าวมาแล้ว ซึ่งถ้อยคำที่นำมากล่าวนั้น อาจเป็น
ข้อความที่อ้างมาจากที่อื่นเพื่อสนับสนุนข้อความที่กล่าวมาแล้ว เป็นลักษณะการวิจัยที่มีการอ้างอิงข้อความอื่น เพื่อให้
ข้อความที่กล่าวมานั้นมีความน่าเชื่อถือ ไม่เลื่อนลอย คำที่มีความหมายเหมือนกันกับคำว่า อนุคีติ มีหลายคำ เช่น สังคห
กถา อุทานคาถา คำเหล่านี้เป็นไวพจน์กัน สามารถใช้แทนกันได้ซึ่งในบางคัมภีร์อาจใช้คำเหล่านี้ต่างกันไป บางคัมภีร์
ใช้คำว่า อุทานคาถา บางคัมภีร์ใช้คำว่า อนุคีติ บางคัมภีร์ใช้คำว่า สังคหกถา23 กระนั้นก็ตาม ขอให้เข้าใจว่ามีความหมาย
เหมือนกัน คือเป็นการสรุปย้ำความที่กล่าวมา โดยนำข้อความอื่นมาสนับสนุนให้มีน้ำหนักยิ่งขึ้น ซึ่งอาจเป็นข้อความที่
เป็นพุทธพจน์ หรือคำของอาจารย์ในอดีตก็ได้เราจะพบการอ้างอิงลักษณะใช้คำภาษาบาลี เช่น เตนาห ภควา (เหตุนั้น
พระผู้พระภาคเจ้าจึงตรัสว่า) ยถาห ภควา (เหมือนดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า) เตนาหุ โปราณา (เพราะเหตุนั้น
โบราณาจารย์จึงกล่าวไว้ว่า)
(12) พระสูตร 9 หรือที่เรียกว่า นวังคสัตถุสาสน์ เป็นกรอบหนึ่งเพื่อการศึกษาวิจัยคำสอนของ
พระพุทธเจ้าว่า คำสอนไหนจัดอยู่ในกลุ่มไหนใน 9 กลุ่มนั้น คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน ชาตกะ อิติวุต
ตกะ อัพภูตธัมมะ และเวทัลละ
วิจัยหาระ จึงเป็นกรอบในการศึกษาตีความธรรมวินัยที่ค่อนข้างครอบคลุม ซึ่งผู้ศึกษาจำเป็นต้องมีความ
รู้พื้นฐานด้านภาษา โดยเฉพาะภาษาบาลีที่ใช้บันทึกคำสอน เพราะการศึกษาวิจัย ถ้าจะให้ได้ความหมายสมบูรณ์ต้อง
พิจารณาทั้งในแง่อรรถะและในแง่พยัญชนะ ซึ่งอิงอาศัยกันและกัน อรรถมีอยู่ในพยัญชนะ และพยัญชนะจะเป็นสื่อให้
เข้าใจถึงอรรถด้วย

(ค) ยุตติหาระ
ยุตติหาระ หมายถึง หลักการพิจารณาถึงความเหมาะสมและไม่เหมาะสมของศัพท์และความ
หมายของศัพท์เป็นหลักการพิจารณาถึงความสมเหตุสมผลของศัพท์และความหมายที่ได้จากการวิเคราะห์ด้วยหลักหา
ระทั้งปวง ถือว่าเป็นการตรวจสอบความถูกต้องของการตีความ การอธิบายความตามหลักหาระอื่น ๆ อีกชั้นหนึ่ง24
หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการตรวจสอบพิจารณาถึงความถูกต้องและไม่ถูกต้องนั้น ตามหลักการแห่งยุตติหาระ มี 4 หลักใหญ่
คือ
(1) หลักมหาปเทส คือ หลักการอ้างผู้ใหญ่ การอ้างหลักฐานที่สำคัญ มี 4 ประการได้แก่ (1)
พุทธาปเทส หมายถึง การอ้างถึงพระดำรัสของพระพุทธเจ้า (2) สังฆาปเทส หมายถึง การอ้างถึงคำพูดของพระสงฆ์ (3)
สัมพหุลัตถเถราปเทส หมายถึง การอ้างถึงถ้อยคำของพระเถระหลายรูป (4) เอกัตเถราปเทส หมายถึง การอ้างถึงถ้อยคำ
ของพระเถระรูปเดียว25 ทั้ง 4 ข้อนี้ถือว่า เป็นรูปแบบการอ้างอิงในยุคไม่มีหนังสือเป็นรูปเล่ม จึงต้องอ้างบุคคลผู้ที่กล่าว
หรือผู้ที่ตนได้รับฟังมา จัดเป็นแหล่งข้อมูล ซึ่งต้องตรวจสอบด้วยสูตร ข้อความที่อ้างมานั้นต้องเทียบเคียงกับสูตรและ
จัดลงในสูตรได้ไม่ขัดแย้งกับสูตร และคำว่า “สูตร” ตามนัยแห่งเนตติปกรณ์ คือ “อริยสัจ 4”26 แม้ในอรรถกถาพระ

1
เชิงอรรถ
?
ขุ.อป. (บาลี) 33/121/179.
2
จำรูญ ธรรมดา, เนตติฏิปปนี, (กรุงเทพมหานคร: ไทยรายวันการพิมพ์, 2546), หน้า 2.
3
วิมติวิโนทนี ฎีกา (บาลี) 1/11/91.
4
ดูรายละเอียดใน สีลักขันธกวัคคฎีกา 149/232-248.
5
ดูรายละเอียดใน สังยุตตฎีกา 1/20/54-65.
6
ดูรายละเอียดใน อังคุตรฎีกา 1/20/64-84.
7
จำรูญ ธรรมดา, เนตติฏิปปนี, หน้า 17.
8
คำว่า “สาสนะ” หมายถึง สิ่งที่ใช้เป็นเครื่องสั่งสอน แนะนำสัตว์ด้วยประโยชน์ในปัจจุบัน ในอนาคต และประโยชน์
สูงสุดตามความเหมาะสม (เนตฺติ.อ. 7)
9
เนตฺติ. อ. 12.
10
เนตฺติ.อ. 2-3.
11
เนตฺติ.อ. 3.
12
ที.ม. (บาลี) 10/107/141, (ไทย) 10/107/119.
13
เนตฺติ. (บาลี) 35(5)/7, เนตฺติ.อ. 35/63-64.
14
เนตติ. (บาลี) 36 (6)/9.
15
จำรูญ ธรรมดา, เนตติฏิปปนี, หน้า 75.
16
เนตติ. (บาลี) 9/10, คุณารักษ์ นพคุณ, เนตติปกรณ์แปลและเนตติสารัตถทีปนี, (กรุงเทพมหานคร: หจก.ทิพยวิสุทธิ์,
2544), หน้า 13.
17
เนตติ. 11/12, คุณารักษ์ นพคุณ, เรื่องเดียวกัน, หน้า 16.
18
เนตฺติ.อ. 68.
19
ขุ.สุ. (บาลี) 25/1039/531, ขุ.จู. (บาลี) 30/1/25, เนตฺติ. 41/13.
20
ขุ.สุ. (บาลี) 25/1040/531, ขุ.จู. (บาลี) 30/2/25, เนตฺติ. 41/13.
21
เนตฺติ. 41/13.
22
เนตฺติ. 41/13.
23
จำรูญ ธรรมดา, เนตติฏิปปนี, หน้า 141.
24
จำรูญ ธรรมดา, เนตติฏิปปนี, หน้า 194.
ไตรปิฎก “สูตร” จะหมายถึง ปิฎกทั้ง 3 ก็ตาม แต่พึงเห็นว่า สามารถเทียบเคียงกันและสมกัน เพราะคำสอนในปิฎก 3
นั้นล้วนจัดอยู่ในขอบข่ายของอริยสัจ 4 ทั้งหมด27
(2) หลักอริยสัจ 4 ได้แก่ (1) ทุกข์ (2) สมุทัย (3) นิโรธ และ (4) มรรค หลักอริยสัจ 4 นี้ จึง
เป็นหลักเทียบเคียงและใช้ตรวจสอบความถูกต้องของการตีความด้วยการอ้างตามหลักมหาปเทสดังกล่าว ข้อความหรือ
คำอธิบายต่าง ๆ ต้องสามารถตรวจสอบและจัดลงในอริยสัจ 4 ได้จึงจะถือว่า “ยุตติ” คือ ถูกต้อง สมเหตุสมผล เป็นการ
ตีความที่ถูกต้อง
(3) เทียบเคียงกับวินัย คำว่า “วินัย” ในที่นี้ ไม่ได้หมายถึง วินัยบัญญัติในวินัยปิฎก แต่หมายถึง
การละ การขจัด ได้แก่ การขจัดและละกิเลสทั้งหลาย โดยเฉพาะรากเหง้าของอกุศลทั้งปวง คือ ราคะ ความกำหนัด โทสะ
ความโกรธ และ โมหะ ความหลง กล่าวคือ ราควินัย โทสวินัย และโมหวินัย การตีความต้องเป็นไปเพื่อการขจัดกิเลส
เหล่านี้ 28
(4) ไม่ขัดแย้งกับหลักธรรมดา คำว่า “ธรรมดา” คือคำว่าในภาษาบาลีว่า “ธมฺมตา” ในที่นี้ หมาย
ถึง หลักปฏิจจสมุปบาท29

การศึกษาตีความธรรมวินัย หากจะให้ถูกต้อง ต้องตรวจสอบแหล่งที่มาหรือที่อ้างอิงตามหลักมหาปเทส


ส่วนด้านเนื้อหาต้องสอดคล้องตรงกันกับหลักอริยสัจ 4 การละกิเลส และไม่ขัดแย้งกับหลักปฏิจจสมุปบาท ตรงกัน
ข้าม ต้องมีความสอดคล้องต้องกันกับหลักปฏิจจสมุปบาท มุ่งขจัดกิเลส และประชุมในอริยสัจ 4 ได้เช่นนี้ ถือว่า เป็น
ยุตติหาระ คือ ความถูกต้องเหมาะสมและเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าได้ ยุตติหาระ จึงเป็นการตรวจสอบพิจารณา
ความถูกต้องหรือไม่ถูกต้องของธรรมวินัยที่มีการตีความอธิบายความนั้น ๆ โดยหลัก 4 ประการคือ (1) สุตตะ ได้แก่
พระไตรปิฎก โดยเฉพาะพระไตรปิฎกที่ทำสังคายนา 3 ครั้งนั้น (2) สุตตานุโลม คือ หลักมหาปเทส 4 ฝ่ายวินัย (3)
อาจริยวาท คือ อรรถกถา (4) อัตตโนมติ คือ ความรู้ความเข้าใจส่วนบุคคล ซึ่งต้องใช้ตรวจสอบกันตามลำดับ30

(ง) ปทัฏฐานหาระ
ปทัฏฐานหาระ หมายถึง หลักการตีความโดยพิจารณาถึงเหตุใกล้ของธรรม (ปทัฏฐาน) แต่ละ
ข้อที่พระพุทธเจ้าตรัสแสดงไว้31 เป็นวิธีการตีความหนึ่งในพระพุทธศาสนาเถรวาท ซึ่งให้หลักการวิเคราะห์ธรรมไว้
โดยการวิเคราะห์สืบสาวหาปทัฏฐาน หรือเหตุใกล้ (อาสันนการณ์) ของธรรมแต่ละข้อที่เชื่อมโยงกัน ผู้ที่เคยศึกษา

25
เนตฺติ. (บาลี) 18/22.
26
เนตฺติ. (บาลี) 18/22.
27
เนตฺติ.อ. (บาลี) 88.
28
เนตฺติ. 18/22.
29
เนตฺติ. 18/23.
30
เนตฺติ.อ. 90.
31
คุณารักษ์ นพคุณ, เนตติปกรณ์แปลและเนตติสารัตถทีปนี, หน้า 4
คัมภีร์วิสุทธิมรรค จะคุ้นเคยกับคำว่า ปทัฏฐาน เพราะเป็นวิธีการอธิบายความข้อหนึ่งที่พระพุทธโฆษาจารย์ใช้ในการ
อธิบายความที่รู้จักกันว่า “ลักขณาทิจตุกกะ” คือ วิธีการอธิบายความธรรม 4 องค์ประกอบ คือ (1) ลักษณะ (2) รสหรือ
กิจ หน้าที่ (3) ปัจจุปัฏฐาน และ (4) ปทัฏฐาน การตีความตามหลักปทัฏฐานหาระสามารถทำได้ 2 วิธี คือ
(1) การวิเคราะห์สืบสาวหาปทัฏฐานโดยอนุโลม เป็นการสืบสาวหาเหตุจากต้นไปสู่ปลาย หรือ
จะเรียกว่า จากเหตุไปหาผลก็ได้ วิธีนี้มีชื่อเรียกเฉพาะว่า โอรุยโหรุยนัย ตัวอย่างเช่น อวิชชาเป็นปทัฏฐานแห่งสังขาร
สังขารเป็นปทัฏฐานแห่งวิญญาณ วิญญาณเป็นปทัฏฐานของนามรูป เรื่อยไปจนถึงอุปายาส
(2) การวิเคราะห์สืบสาวหาปทักฐานโดยปฏิโลม เป็นการสืบสาวหาเหตุจากปลายขึ้นไปหาต้น
จากล่างสู่บน หรือเริ่มจากผลย้อนไปหาเหตุ เรียกว่า อารุยหารุยหนัย ตัวอย่างเช่น เริ่มจาก อุปายาสย้อนขึ้นมาถึงอวิชชา32

กล่าวได้ว่า สิ่งที่เรียกว่า ปทัฏฐาน มุ่งหมายเอาเหตุปัจจัยทุกอย่างที่ประชุมกันแล้วทำให้เกิดธรรมอย่างใด


อย่างหนึ่งขึ้น กระนั้นก็ตาม ปทัฏฐาน มีความมุ่งหมายจำเพาะเหตุปัจจัยที่ใกล้ตัวมากที่สุดที่ส่งต่อให้เกิดธรรมนั้น ๆ
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ธรรมแต่ละข้อนั้น ล้วนเป็นทั้งผลและเป็นปทัฏฐานให้เกิดธรรมอื่น ๆ อีกด้วย ดังข้อความในคัมภีร์
เนตติปกรณ์ที่ยืนยันถึงปทัฏฐานว่า อุปนิสัยอย่างใดอย่างหนึ่ง ปัจจัยอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งหมดนั้นล้วนเป็นปทัฏฐาน33
ดังนั้น คำว่า ปทัฏฐาน อาจหมายถึง เหตุอย่างใดอย่างหนึ่งในเหตุ 3 ประเภท คือ (1) ชนกเหตุ คือ เหตุที่ทำให้เกิดผล (2)
ญาปกเหตุ คือ เหตุที่แสดงให้รู้ว่า มีเหตุนี้ มีลักษณะเป็นสัญญาณบ่งบอก (3) สัมปาปกเหตุ คือ เหตุให้ถึงผล ซึ่งเหตุกับ
ผลในกรณีนี้เป็นคนละอย่างกัน เช่น มรรคเป็นปทัฏฐานของนิพพาน มรรคกับนิพพาน เป็นคนละอย่างกัน มรรคไม่มี
ในนิพพาน และนิพพานก็ไม่มีในมรรค แต่มรรคทำให้นิพพานเกิดขึ้นได้ปทัฏฐานในที่นี้ จึงหมายถึง สัมปาปกเหตุ นี้
ไม่ใช่ชนกเหตุหรือญาปกเหตุข้างต้น

(จ) ลักขณหาระ
ลักขณหาระ หมายถึง หลักการหรือวิธีการอธิบายพุทธพจน์อีกแนวหนึ่งที่ใช้ลักษณะร่วมของ
ธรรมเป็นหลักในการอธิบายธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้โดยย่อให้พิสดาร การอธิบายความตามนัยแห่งลักขณาหา
ระนี้ จะยึดเอาลักษณะของสภาวธรรมเป็นเครื่องมือ โดยเฉพาะสืบสาวจากธรรมข้อหนึ่งไปสู่ธรรมข้ออื่น ๆ ที่มีลักษณะ
อย่างเดียวกัน (เอกลักขณ) หรือมีลักษณะเสมอกัน (สมานลักขณ) ซึ่งครอบคลุมถึงธรรมที่เป็นสหจารี คือ ธรรมที่เกิด
ร่วมกัน มีหน้าที่เหมือนกัน (สมานกิจ) มีเหตุเหมือนกัน (สมานเหตุ) มีผลเหมือนกัน (สมานผล) มีอารมณ์เดียวกัน
(สมานารัมมณ)

ลักขณหาระ จึงเป็นหลักการตีความเชื่อมโยงถึงธรรมอื่นที่ไม่ได้ตรัสไว้ในพระธรรมเทศนานั้น ๆ โดย


อาศัยความเหมือนกันโดยลักษณะที่เรียกว่า เป็นสัมปยุตธรรมเป็นตัวเชื่อมโยง เป็นการสร้างองค์ความรู้ใหม่จากฐาน

32
จำรูญ ธรรมดา, เนตติฏิปปนี, หน้า 225.
33
เนตฺติ. 22/30.
ความรู้เก่าหรือฐานข้อมูลที่มีอยู่โดยหลักการนี้ จะทำให้มีความรู้ในหลักธรรมอื่นจากที่ตรัสไว้เป็นการสงเคราะห์ธรรม
อื่นที่มีลักษณะเดียวกันเข้ามา แม้จะไม่ได้ตรัสไว้ในที่นั้นหรือในสูตรนั้นก็ตาม แต่เนื่องจากเป็นธรรมที่มีลักษณะ
เหมือนกันกับธรรมที่ตรัสอยู่นั้น เช่นนี้ นับว่า เป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในที่นั้นหรือในสูตรนั้นด้วย34 หลักการนี้
ยังสามารถใช้ในกรณีที่พบปัญหาการหาหลักฐานที่มาของข้อความหรือข้อความพุทธพจน์ที่ยกมาอ้าง ซึ่งหาไม่พบเพื่อ
สนับสนุนในการตีความทางหนึ่งด้วย ตัวอย่างเช่น ในกรณีของจักษุ ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ว่า ไม่เที่ยง แต่ไม่ได้แส
ดงโสตะ ฆานะ เป็นต้น รวมไว้ด้วย ในเวลาอธิบายความโสตะ ฆานะ จะต้องอ้างอิงธรรม เช่น จักษุ ที่ทรงแสดงไว้
โดยตรงเป็นหลักฐานอ้างอิง เพราะนัยลักขณหาระ ถือว่า จักษุ และโสตะ ฆานะ เป็นต้นนั้น เป็นธรรมที่มีลักษณะร่วม
กัน ในฐานะเป็นอินทรีย์อายตนะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตกอยู่ในสามัญลักษณะเช่นกัน35

ในคัมภีร์เนตติปกรณ์ พระมหากัจจายนะ ได้ยกตัวอย่างข้อความที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในยมโกวาทสูตร


ที่ว่า “ดูกรราธะ เธอจงเป็นผู้ไม่เพ่งเล็งในรูปขันธ์ที่เป็นอดีต อย่ายินดีรูปขันธ์ที่เป็นอนาคต จงปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย
เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อการสละ เพื่อการพ้นรูปขันธ์เป็นปัจจุบัน”36 โดยชี้ให้เห็นว่า แม้ในพระสูตรนี้
จะตรัสเพียงรูปขันธ์ก็ตาม แต่พึงเข้าใจว่า พระองค์ได้ตรัสถึงขันธ์ที่เหลือไว้ด้วยเช่นกัน เพราะว่า ปัญจขันธ์ทั้งปวง มี
ลักษณะเหมือนกันโดยสภาพความเป็นผู้ฆ่า37

(ฉ) จตุพยูหหาระ
จตุพยูพหาระ หมายถึง หลักการอธิบายด้วยวิธีการ 4 ประการ คือ
(1) นิรุตติ ได้แก่ การวิเคราะห์ศัพท์เพื่อหาความหมายของศัพท์เป็นการนิยามความหมายของคำ
แต่ละคำตามรากศัพท์มีความหมายเหมือนกับคำว่า วิคฺคห, นิพฺพจน ซึ่งการวิเคราะห์ให้เห็นถึงรากศัพท์ช่วยให้การ
แปลความหมายของศัพท์และการแยกแยะให้เห็นถึงธาตุ ปัจจัย จะช่วยให้เข้าใจความหมายของพุทธพจน์ได้ชัดเจนยิ่ง
ขึ้น
(2) อธิปปาย ได้แก่ ความมุ่งหมาย เป้าประสงค์ของผู้กล่าวแสดง หรือผู้เขียน การตีความต้อง
คำนึงข้อนี้ด้วย ในกรณีการตีความธรรมวินัยในพระพุทธศาสนา หมายถึง จุดมุ่งหมายหรือเป้าหมายของพระพุทธเจ้า
นั่นเอง ที่ทรงแสดงพระสูตรแต่ละสูตรเพื่อจุดประสงค์อะไร เพื่ออนุเคราะห์บุคคลเช่นไร หากเป็นการตีความคัมภีร์
หรือหนังสืออื่น ๆ ย่อมหมายถึง จุดประสงค์ของผู้เขียนหนังสือนั้น ๆ
(3) เทสานิทาน ได้แก่ มูลเหตุหรือต้นเหตุแห่งการแสดงธรรมนั้น ๆ ซึ่งมูลเหตุดังกล่าวนี้ มี 2
ประการคือ มูลเหตุภายในกับมูลเหตุภายนอก มูลเหตุภายใน ได้แก่ ความต้องการหรือเจตนารมณ์ของผู้แสดง ผู้กล่าว
ส่วนมูลเหตุภายนอก ได้แก่ บริบททางสังคม สภาพแวดล้อมของการแสดงธรรมนั้น ๆ
34
จำรูญ ธรรมดา, เนตติฏิปปนี, หน้า 265-276.
35
เรื่องเดียวกัน, หน้า 277.
36
สํ.ขุ. (บาลี) 17/9, 79/16, 71; สํ.สฬา. (บาลี) 18/10-12/5.
37
คุณารักษ์ นพคุณ, เนตติปกรณ์แปลและเนตติสารัตถทีปนี, หน้า 40.
(4) ปุพพาปรนุสันธิ ได้แก่ การเชื่อมโยงข้อความในสูตรเดียวกันระหว่างข้อความหน้ากับ
ข้อความหลัง เพื่อให้ไม่เกิดความขัดแย้งกัน แต่เพื่อความประสานสอดคล้องต้องกันประการหนึ่ง อีกประการหนึ่ง เป็น
ความเชื่อมโยงระหว่างสูตรกับสูตร ปุพพาปรสนธินี้ ยังจำแนกออกเป็น 4 ประการคือ (1) อัตถสนธิ คือ การเชื่อมโยง
กันของความหมาย ได้แก่ สังกาสนา การยกหัวข้อขึ้นกล่าว ปกาสนา การขยายความในเบื้องต้น วิวรณา การขยายความ
ในรายละเอียด วิภชนา การจำแนกความพร้อมอุทาหรณ์ อุตตานีกัมม์การทำให้เข้าใจง่ายขึ้น บัญญัติ การแสดงให้รู้โดย
ประเภทต่าง ๆ (2) พยัญชนสนธิ คือ การเชื่อมโยงกันของพยัญชนะ ทั้ง 6 ได้แก่ อักขระ บท พยัญชนะ อาการ นิรุตติ
และนิทเทส (3) เทสนาสนธิ คือ การเชื่อมโยงกันของการกล่าวแสดงระหว่างสูตรที่แสดงไว้ก่อนกับสูตรที่แสดงในภาย
หลัง โดยมาก พระพุทธเจ้าจะแสดงวัฏฏะก่อนแล้วจึงแสดงวิวัฏฏะภายหลัง38

(ช) อาวัฏฏหาระ
อาวัฏฏหาระ มีความหมายเช่นเดียวกับปทัฏฐานหาระ หากแปลตามศัพท์แล้วจะได้ความว่า
หลักการที่พูดถึงการหมุนธรรม คือ การแสดงธรรมจากฝ่ายหนึ่งมาเป็นอีกฝ่ายหนึ่ง หรือสลับจากกฝ่ายดีมาเป็นฝ่ายชั่ว
เป็นการตีความธรรมทั้งสองด้านที่ตรงกันข้ามกัน พระมหากัจจายนะ นิยามความหมายอาวัฏฏหาระไว้ดังนี้ว่า “เมื่อยก
ธรรมข้อหนึ่งซึ่งเป็นปทัฏฐานขึ้นแสดง แล้วค้นหาธรรมที่เป็นปทัฏฐานที่เหลือ และหมุนไปในธรรมฝ่ายตรงกันข้าม
ชื่อว่า อาวัฏฏหระ”39 อาวัฏฏหาระ จึงเป็นการตีความข้อความหรือประโยคคำพูดที่พระพุทธเจ้าหรือพระเถระอื่น ๆ
แสดงไว้ว่ามีปทัฏฐานมาจากอะไร และเป็นปทัฏฐานของอะไร เป็นต้น เป็นการอธิบายหาปทัฏฐานจากประโยคคำพูด
ไม่ได้เป็นการปทัฏฐานจากองค์ธรรมเหมือนปทัฏฐานหาระข้างต้น ตัวอย่างเช่น คาถาว่า
อารมฺภถ นิกฺกมถ ยุญฺชถ พุทฺธสาสเน
ธุนาถ มจฺจุโน เสนํ นฬาคารํว กุญฺชโรติ40
แปลวา ท่านทั้งหลาย จงพยายาม จงบากบั่น จงหมั่นเพียรในคำสอนของพระพุทธเจ้า จงกำจัด
เสนาแห่งมัจจุมาร ดุจช้างทำลายบ้านเรือนที่ทำด้วยไม้อ้อ ฉะนั้น
ตามหลักอาวัฏฏหาระ คาถาดังกล่าว จะตีความได้ความว่า ประโยคคำพูดว่า “อารมฺภถ นิกฺกมถ” เป็น
ปทัฏฐานให้เกิดองค์ธรรมคือ วิริยะ ความเพียร ประโยคว่า “ยุญฺชถ พุทฺธสาสเน” เป็นปทัฏฐานให้เกิดองค์ธรรมคือ
สมาธิ ส่วนประโยคว่า “ธุนาถ มจฺจุโน เสนํ นฬาคารํว กุญฺชโร” เป็นปทัฏฐานให้เกิดปัญญา

อาวัฏฏหาระในอีกความหมายหนึ่ง คือ การหมุนหรือสลับธรรมเพื่อให้เห็นสิ่งที่เป็นปฏิปักข์หรือเป็น


ข้าศึกต่อกันของธรรมนั้น ตัวอย่างเช่น ความโลภจะละได้ด้วยอสุภกรรมฐาน ความโกรธ จะขจัดได้ด้วยเมตตา ความ
หลงจะละได้ด้วยปัญญา หรืออีกตัวอย่างหนึ่ง คือ แสดงธรรมที่เป็นข้าศึกกันโดยใช้หลักพรหมวิหารมาอธิบายว่าเป็น
ปฏิปักข์ต่ออคติ 4 กล่าวคือ ฉันทาคติ (โลภะ) ละได้ด้วยอุเบกขา โทสาคติ ละได้ด้วยเมตตาและกรุณา ส่วนโมหาคติ
38
ดู เนตฺติ. 28/39-40, เนตฺติ.อ. 112.
39
เนตฺติ. (บาลี) 7/4, คุณารักษ์ นพคุณ, เนตติปกรณ์แปลและเนตติสารัตถทีปนี, หน้า 5-6.
40
สํ.ส. (บาลี) 15/185/188, ขุ.เถร. (บาลี) 16/256/311.
และภยาคติ ละได้ด้วยมุทิตา41 อาวัฏฏหาระจึงเป็นหลักการตีความธรรมที่เป็นปทัฏฐานจากประโยคคำพูด และเป็นการ
ตีความที่ทำให้มองเห็นฝ่ายตรงกันข้ามระหว่างดีกับไม่ดี และหาปทัฏฐานของธรรมที่ดีและไม่ดีนั้น ๆ ด้วย เพื่อให้
สามารถเชื่อมโยงกันระหว่างกุศลกับอกุศล42

(ซ) วิภัตติหาระ
วิภัตติหาระ หมายถึง หลักการอธิบายความโดยการจำแนกธรรมต่าง ๆ ออกเป็น 3 ประการคือ
(1) ธรรมวิภัตติ ได้แก่ การจำแนกหาองค์ธรรม ว่า เนื้อหาสาระที่เป็นแก่นของเรื่องนั้นคืออะไร
จากนั้น จึงวิเคราะห์หาปทัฏฐานของธรรมนั้นอีกชั้นหนึ่ง และองค์ธรรมที่ว่านั้นจัดอยู่ในภูมิไหน
(2) ปทัฏฐานวิภัตติ ได้แก่ การจำแนกวิเคราะห์หาปทัฏฐานของธรรม เป็นเหมือนกับวิจยหาระ
ที่ค้นหาองค์ธรรม ปทัฏฐานและจำแนกธรรม จึงเป็นกรอบคิดที่สำคัญในการตีความคำสอนในพระพุทธศาสนา เพื่อให้
เห็นความเชื่อมโยงขององค์ธรรมต่าง ๆ นอกจากนี้ ยังเป็นการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ของการแสดง (วัตถุ) กับสิ่งที่
เป็นต้นเหตุของการแสดง (นาม) นั้น ซึ่งในแต่ละวิภัตติ จะมีเนื้อหาจำแนกนามและวัตถุดังกล่าวที่เป็นสาธารณะคือ
ทั่วไป และที่เป็นอสาธารณะ คือไม่ทั่วไป สาธารณะกับอสาธารณะ ในที่นี้ หมายถึง สภาวธรรม ความเป็นธรรม (ธมฺม
ตา) ที่สัมพันธ์กันระหว่างภูมิแต่ละชั้น เช่น กามราคะและพยาบาท เป็นที่ทั่วไปสำหรับผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดา
ปัตติผล กับพระโสดาบัน แต่โดยสภาวธรรมไม่เหมือนกัน (อสาธารณะ) กล่าวคือ ทั้งโสดปัตติมรรคและโสดาปัตติผล
ยังมีกิเลสคือ กามราคะและปฏิฆะด้วยกันทั้งคู่ แต่โดยสภาวธรรม (ธมฺมตา) ไม่เหมือนกัน เพราะโสดาปัตติมรรค กำลัง
ละกิเลสอยู่แต่โสดาปัตติผลนั้น ละกิเลสได้แล้วในขอบเขตของตนเอง43
(3) ภูมิวิภัตติ ได้แก่ การจำแนกธรรมตามภูมิหรือชั้นระดับของธรรม44

กระนั้นก็ตาม เพื่อให้เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์จำแนก ท่านยังได้จำแนกหลักการของวิภัตติหาระให้


เห็นถึงลักษณะของสูตรทั้งหลายที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ออกเป็น 2 ประเภทหลัก คือ45
(1) วาสนาภาคิยสูตร หมายถึง กลุ่มพระสูตรที่มีเนื้อหากล่าวถึงการทำดี หรือการบำเพ็ญบุญกุศลต่าง ๆ ที่
เป็นเหตุปัจจัยเบื้องต้นแห่งการรู้ธรรมชั้นสูง เช่น สูตรที่พูดถึง ทานกถา ศีลกถา สัคคกถา กามาทีนวกถา เนกขัมมกถา
หรือปุญญวิปากกถา46 ผู้ที่ได้ฟังสูตรที่เป็นวาสนาภาคิยสูตร จะยังไม่บรรลุธรรมในทันที แต่จะเป็นอุปนิสัยปัจจัยแห่ง
การบรรลุธรรมต่อไปในอนาคตได้เป็นส่วนของธรรมที่เป็นพื้นฐานสำหรับผู้ที่มีญาณยังไม่แก่กล้า

41
เนตฺติ. 30/44.
42
จำรุญ ธรรมดา, เนตติฏิปปนี, หน้า 320.
43
เรื่องเดียวกัน, หน้า 379.
44
เนตฺติ. (บาลี) 8/4, 33-34/49, จำรูญ ธรรมดา. เรื่องเดียวกัน, หน้า 357-365.
45
เนตฺติ. (บาลี) 33/49
46
เนตฺติ.อ. 33/120.
(2) นิพเพธภาคิยสูตร หมายถึง กลุ่มพระสูตรที่มีเนื้อหากล่าวถึงการทำลายกิเลส เช่น ความโลภเป็นต้น
ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งแห่งการหยั่งรู้ธรรมชั้นสูงตามลำดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พระสูตรที่แสดงถึงอริยสัจ 4 ผู้ที่ได้ฟังนิพเพธ
ภาคิยสูตร จะบรรลุธรรมในทันที และเป็นพระสูตรที่ทรงแสดงแก่ผู้มีญาณแก่กล้าแล้ว มีสติปัญญาที่เฉียบแหลม47 ไม่
เพียงเท่านี้ ลักษณะสูตรทั้งสองนั้น ยังแบ่งออกได้อีกเป็นอย่างละ 2 คือ วาสนาภาคิยสูตร แยกเป็นส่วนดี เรียกว่า อสัง
กิเลสภาคิยสูตร และส่วนไม่ดี เรียกว่า สังกิเลสภาคิยสูตร ส่วนนิพเพธภาคิยสูตร แยกเป็นเสกขภาคิยสูตร สูตรที่กล่าวถึง
ส่วนของผู้ที่ยังต้องศึกษาปฏิบัติอยู่และอเสกขาภาคิยสูตร สูตรที่กล่าวถึงส่วนของผู้ที่ไม่ต้องศึกษาปฏิบัติอีกต่อไป แม้
จะจำแนกออกเป็น 4 ประเภทดังกล่าวก็ตาม แต่คงนับเนื่องใน 2 สูตรหลักอยู่ ฉะนั้น การจำแนกสูตรออกเป็น 2 ฝ่ายดัง
กล่าวนั้น จึงเป็นการจำแนกเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการจำแนกและวิเคราะห์หาองค์ธรรมว่า องค์ธรรมนั้น ๆ จัดอยู่ในฝัก
ฝ่ายไหน ซึ่งจะง่ายต่อการแสวงหาปทัฏฐานและภูมิขององค์ธรรมนั้นดียิ่งขึ้น

วิภัตติหาระจึงเป็นสูตรสำเร็จสำหรับใช้ในการตีความจำแนกพุทธพจน์ ที่มีกรอบสำหรับตีความที่
สำคัญ คือ องค์ธรรม ปทัฏฐาน และภูมิ ของธรรมนั้น ๆ โดยมีกรอบคิดที่จัดแบ่งพระสูตรออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่
เป็นเพียงการส่งเสริมอบรมความมีกุศล และกลุ่มที่เป็นส่วนส่งเสริมในการบรรลุธรรมชั้นสูง

(ญ) เววจนหาระ
เววจนหาระ หมายถึง หลักการตีความอธิบายความโดยการใช้ศัพท์หรือคำพูดที่มีความหมาย
เหมือนกันในการอธิบาย ซึ่งอาจมีคำที่สามารถนำมาใช้อธิบายได้มากกว่าหนึ่งคำ48 คำในลักษณะนี้เรียกว่า “ไวพจน์”
หรือ “เววจนะ” แปลว่า คำที่มีความหมายเหมือนกัน หรือคำที่มุ่งหมายถึงสิ่งเดียวกัน แม้จะมีเนื้อหาบางแง่มุมแตกต่าง
กันก็ตาม บางทีก็เรียกว่า คำพ้องความ49 เหมือนกับที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมข้อหนึ่งด้วยคำที่เป็นไวพจน์กันและ
กันเป็นอันมาก50 การที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมข้อหนึ่งด้วยคำศัพท์มากมายนั้น เป็นเพราะว่า (1) เพื่อเป็นแนวทาง
การหยั่งรู้ความหมายคำในอนาคต (2) เพื่อทำให้ผู้ฟังที่ใจลอยได้เข้าใจความหมายด้วยคำอื่น ๆ จากคำแรกที่ไม่ได้ฟัง
(3) เพื่อทำให้ผู้มีปัญญาน้อยจะได้ไม่หลงประเด็น เมื่อกำหนดความหมายของคำนั้นบ่อย ๆ (4) เพื่อขจัดความสับสน
ของคำที่มีความหมายหลายนัยซึ่งมีพยัญชนะเหมือนกัน (5) เพื่อให้เข้าใจความหมายได้ตรงกันแม้จะใช้คำอื่น (6) เพื่อ
ง่ายสำหรับผู้กล่าวธรรมที่จะวางเป็นแบบแผนเพื่อให้เข้าใจอรรถได้ (7) เพื่อประกาศความเป็นผู้ชาญฉลาดในธัมมนิรุต
ติปฏิสัมภิทา (8) เพื่อให้เวไนยสัตว์ได้หยั่งรู้ธรรม51

(ฎ) ปัญญัตติหาระ
47
เนตฺติ.อ. 33/121.
48
เนตฺติ. (บาลี) 10/5.
49
จำรูญ ธรรมดา. เรื่องเดียวกัน. หน้า 419.
50
เนตฺติ. (บาลี) 37/53.
51
เนตฺติ.อ. (บาลี) 37/127.
ปัญญัตติหาระ หมายถึง หลักการอธิบายความโดยการจำแนกเป็นบัญญัติต่าง ๆ ในธรรมที่
พระพุทธเจ้าทรงแสดง52 เพื่อให้รู้และแยกแยกได้ว่า ส่วนไหนเป็นบัญญัติ และส่วนไหนเป็นปรมัตถ์หรือสมมติสัจจะ
และปรมัตถสัจจะ53 เป็นการแสดงให้รู้ความหมายโดยประการต่าง ๆ โดยเฉพาะภาษาที่ใช้สื่อสิ่งต่าง ๆ ทั้งที่เป็นสมมติ
และปรมัตถ์กล่าวอีกนัยหนึ่ง บัญญัติ หมายถึง ภาษาที่ใช้สื่อให้เข้าใจในเรื่องต่าง ๆ นั้นเป็นบัญญัติทั้งหมด พระมหากัจ
จายนะ ได้แสดงบัญญัติไว้เป็นอเนกประการดังนี้ (1) นิกเขปบัญญัติ บัญญัติ (การแสดงให้รู้โดยประการต่าง ๆ) คือ
สภาวธรรมตามปกติที่ยกขึ้นมาพูดกัน (2) ปภวบัญญัติ บัญญัติถึงเหตุที่ทำให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้น (3) ปริญญาบัญญัติ
บัญญัติคือการกำหนดรู้ เช่น กำหนดรู้ทุกข์ (4) ปหานบัญญัติ บัญญัติว่าด้วยการละ (5) ภาวนาบัญญัติ บัญญัติว่าด้วย
การเจริญทำให้เกิดมีขึ้น (6) สัจฉิกิริยาบัญญัติ บัญญัตว่าด้วยการทำให้สำเร็จลุล่วง (7) นิโรธบัญญัติ บัญญัติว่าด้วยการ
ดับทุกข์อย่างสิ้นเชิง (8) นิพพิทาบัญญัติ บัญญัติว่าด้วยความเบื่อหน่าย (9) ปฏิเวธบัญญัติ บัญญัติว่าด้วยการหยั่งรู้แจ้ง
(10) อุปปาทบัญญัติ บัญญัติว่าด้วยการเกิดขึ้น (11) โอกาสบัญญัติ บัญญัติว่าด้วยที่ตั้ง (12) อารัมภบัญญัติ บัญญัติว่า
ด้วยการริเริ่มคิดสร้างทำ (13) อาหฏนาบัญญัติ บัญญัติว่าด้วยการยกออก (14) อภินิฆาตบัญญัติ บัญญัติว่าด้วยการตัด
โดยไม่เหลือ (15) เทสนาบัญญัติ บัญญัติว่าด้วยการแสดง (16) ปวัตตนาบัญญัติ บัญญัติว่าด้วยการกล่าวแสดง (17)
อภิญญาบัญญัติ บัญญัติว่าด้วยการรู้ยิ่ง (18) ปริจจาคบัญญัติ บัญญัติว่าด้วยการสละ (19) ฐิติบัญญัติ บัญญัติว่าด้วยการ
ตั้งอยู่ดำรงอยู่ (20) อภินิพพิทาบัญญัติ บัญญัติว่าด้วยการมุ่งไปสู่นิพพาน (21) ปทาลนบัญญัติ บัญญัติว่าด้วยการ
ทำลาย (22) เววจนบัญญัติ บัญญัติว่าด้วยคำที่เป็นไวพจน์กันมีความเหมายเหมือนกัน (23) อภินิเวสบัญญัติ บัญญัติว่า
ด้วยการยึดมั่น (24) ทัสสนบัญญัติ บัญญัติว่าด้วยการรู้เห็น (25) อปจยบัญญัติ บัญญัติว่าด้วยการสั่งสม (26) วายาม
บัญญัติ บัญญัติว่าด้วยความพยายาม (27) อัปปมาทบัญญัติ บัญญัติว่าด้วยความไม่ประมาท (28) อารักขบัญญัติ
บัญญัติว่าด้วยการรักษาให้คงอยู่ (29) วิปรีตบัญญัติ บัญญัติว่าด้วยความแปลกแยก (30) กิจจบัญญัติ บัญญัติว่าด้วย
หน้าที่ (31) พลวบัญญัติ บัญญัติว่าด้วยการมีกำลัง (32) วิรูหนาบัญญัติ บัญญัติว่าด้วยการพอกพูน (33) อุปนย
นบัญญัติ บัญญัติว่าด้วยการนำเข้าสู่ประเด็น (34) โชตนาบัญญัติ บัญญัติว่าด้วยภาวะแห่งความกระจ่างชัด (35) นิยยานิ
กบัญญัติ บัญญัติว่าด้วยการนำออกจากทุกข์ (36) นิสสรณบัญญัติ บัญญัติว่าด้วยการสลัดออกจากทุกข์54

(ฏ) โอตรณหาระ
โอตรณหาระ หมายถึง หลักการอธิบายความ ตีความ ด้วยการสงเคราะห์หลักธรรมย่อย รวมลง
ในหลักใหญ่ ซึ่งเป็นที่รวมลงหรือเป็นหัวใจสำคัญของพุทธธรรม ได้แก่ ปฏิจจสมุปบาท อินทรีย์ขันธ์ ธาตุ อายตนะ55
ในทางกลับกัน หมายถึง หลักธรรมเหล่านี้ คือ ปฏิจจสมุปบาท อินทรีย์ขันธ์ ธาตุ อายตนะ เป็นหลักการในการตีความ
และเป็นเกณฑ์วินิจฉัยด้วยว่าการตีความถูกต้องหรือไม่ หากสามารถสงเคราะห์เข้าได้ไม่ขัดแย้งกับหลักธรรมดังกล่าว

52
เนตฺติ. (บาลี) 11/5.
53
จำรูญ ธรรมดา, เรื่องเดียวกัน, หน้า 440.
54
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมใน เนตฺติ. (บาลี) 52/270.
55
เนตฺติ. (บาลี) 12/5.
ถือว่า เป็นการตีความที่ถูกต้อง โดยเฉพาะ ธรรมในกลุ่มขันธ์ ท่านจำแนกเป็น 2 กลุ่มคือ (1) กลุ่มศีลขันธ์ สมาธิขันธ์
และปัญญาขันธ์ (2) กลุ่มรูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์

โอตรณหาระ จึงเป็นวิธีการตีความโดยการจัดหรือสงเคราะห์ธรรมจากหมวดหนึ่งไปอีกหมวดหนึ่งเพื่อ
ให้เห็นความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันโดยความเป็นองค์ธรรมหรือสภาวธรรมว่า เป็นอันเดียวกัน ซึ่งแสดงในถ้อยคำที่ต่าง
กัน หมายความว่า ในพระสูตร พระพุทธเจ้าอาจไม่ทรงแสดงปฏิจจสมุปบาท อินทรีย์ขันธ์ ธาตุ อายตนะ ไว้โดยตรง แต่
ผู้อื่น จะต้องหาวิธีจัดธรรมที่มีเนื้อหาสาระนั้น ๆ ให้เข้าในหลักธรรมดังกล่าวตามแต่ละกรณี วิธีการเช่นนี้ เรียกว่า โอต
รณหาระ56 ตัวอย่าง เช่น นิสสัย มี 2 อย่าง คือ ตัณหานิสัย และทิฐินิสัย เจตนาของผู้กำหนัดอย่างแรง ชื่อว่า ตัณหานิสัย
เจตนาของผู้หลงอย่างเมามัน ชื่อว่า ทิฐินิสัย เจตนานั้นเป็นสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัยจึงเกิดวิญญาณ เพราะวิญญาณ
เป็นปัจจัย จึงเกิดนามรูป ฯลฯ ปฏิจจสมุปบาททั้งปวง ย่อมมีเช่นนี้ นี้เป็นการสงเคราะห์ด้วยปฏิจจสมุปบาท ในบรรดา
บุคคลผู้กำหนัดอย่างแรงและหลงอย่างยิ่งนั้น เวทนาของผู้กำหนัดนั้นเป็นสุขเวทนา เวทนาของผู้หลง เป็นอทุกขมสุข
เวทนา เวทนาทั้งสองนั้นเป็นเวทนาขันธ์ นี่เป็นการสงเคราะห์ด้วยขันธ์ ในบรรดาเวทนาเหล่านั้น สุขเวทนา เป็น
อินทรีย์ 2 อย่าง คือ สุขินทรีย์และโสมนัสสินทรีย์ อทุกขมสุขเวทนาเป็นอุเปกขินทรีย์ นี้เป็นการสงเคราะห์ด้วยอินทรีย์
ทั้งหลาย อินทรีย์เหล่านั้น นับเนื่องในสังขาร สังขารเหล่าใดเป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็นเหตุแห่งภพ สังขารเหล่านั้น สง
เคราะห์เป็นธัมมธาตุ นี่เป็นการสงเคราะห์ด้วยธาตุ ธรรมธาตุนั้น นับเนื่องในธัมมายตนะ อายตนะใดเป็นอารมณ์ของอา
สวะ เป็นเหตุแห่งภพ (อายตนะนั้นไม่ดี) นี่เป็นการสงเคราะห์ด้วยอายตนะทั้งหลาย57

(ฐ) โสธนหาระ
โสธนหาระ หมายถึง หลักการพิจารณาตรวจสอบความถูกต้องและไม่ถูกต้องของคามหมายที่
เสนอในคำถามและคำตอบ โดยเสนอหลักการเพื่อใช้ในการตรวจสอบชำระ 2 ประการคือ (1) บท (2) เนื้อหาที่
ต้องการ (อารัมภ์) หมายถึง ข้อความที่เป็นคำตอบสมบูรณ์ เป็นบทสรุปของเนื้อหาทั้งปวง ที่เป็นภาพรวมทั้งหมด
ฉะนั้น ในการถามและตอบ จะมีประเด็นคำถามและคำตอบที่ตรงไปตรงมา เช่น ถามว่า อะไรเป็นเครื่องกั้นกระแสทั้ง
หลาย (แห่งกิเลส) ขอพระองค์จงตรัสบอกถึงเครื่องป้องกันกระแสเหล่านั้นด้วยเถิด ตอบว่า สติเป็นเครื่องกั้นกระแสทั้ง
หลาย เรากล่าวการปิดกั้นกระแสทั้งหลายว่า ย่อมถูกปิดกั้นด้วยปัญญา หากพิจารณาการถามและตอบดังกล่าวด้วยบท
คือบทที่เป็นคำถามและคำตอบ คำต่อคำ ในที่นี้ คือ อะไรเป็นเครื่องกั้น สติเป็นเครื่องกัน จะกั้นด้วยอะไร กั้นด้วย
ปัญญา แต่ถ้าพิจารณาโดยอารัมภะ คือ เนื้อหาที่เป็นภาพรวมทั้งหมดของคำถามและคำตอบทั้งหมด คือ สติและปัญญา
เป็นเครื่องกั้น ป้องกัน และปิดกั้นกระแสแห่งกิเลสทั้งหลาย58

(ฑ) อธิฏฐานหาระ
56
จำรูญ ธรรมดา, เรื่องเดียวกัน, หน้า 475.
57
คุณารักษ์ นพคุณ, เรื่องเดียวกัน, 83-84.
58
เนตฺติ. 13/5, 45/71-72.
อธิฏฐานหาระ หมายถึง หลักการอธิบายความธรรมโดยมีบทตั้งและอธิบายความของบทนั้น ๆ
ในรายละเอียดเพิ่มเติม เป็นการนำเอาหลักการหรือหัวข้อธรรม คำศัพท์ตามที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้มานำเสนอ มี
ลักษณะเหมือนการโคว้ตข้อความมาอ้างอิงในการอธิบาย ดังนั้น อธิฏฐานหาระ จึงอาศัยความทรงจำที่แม่นยำหรือ
อาศัยคัมภีร์เป็นหลักฐานอ้างอิง อธิฏฐานหาระ มีหลักการอธิบายความ 2 ลักษณะ คือ (1) เอกัตตตา ความเป็นคำสามัญ
ที่มีความเหมือนกัน ซึ่งไม่ได้ระบุเจาะจงชัดลงไปว่าเป็นอะไร (ประเด็นหัวข้อ) (2) เวมัตตตา ความหมายพิเศษที่มีนัย
ต่างกันในรายละเอียด ตัวอย่าง เช่น คำว่า “ทุกข์” เรียกว่า เป็นเอกัตตตา เพราะเป็นเพียงคำแสดงหัวข้อสำคัญ แต่ถ้าหาก
เป็นการกล่าวแสดงถึงรายละเอียดว่า ความทุกข์นั้นมีอะไรบ้าง อะไรบ้างที่จัดเป็นทุกข์เช่น ความเกิดเป็นทุกข์ ความแก่
เป็นทุกข์ ความเจ็บเป็นทุกข์ ความตายเป็นทุกข์ เหล่านี้เรียกว่า เวมัตตตา อธิฏฐานหาระ ไม่เปิดโอกาสให้ตีความ อธิบาย
เป็นอย่างอื่น หากแต่ต้องอ้างข้อความพุทธพจน์จากคัมภีร์โดยตรง หรือจากความทรงจำเนื้อหาแหล่งที่ในคัมภีร์ได้ เอกั
ตตตากับเวมัตตตา จึงมีความสัมพันธ์กันในฐานเป็นหัวข้อกับรายละเอียดเนื้อหาในประเด็นย่อยที่จำแนกแยกแยะให้
เห็นจริง59 ดังข้อความในคัมภีร์เนตติปกรณ์ตอนหนึ่งที่ชี้ให้เห็นถึงความดังกล่าวว่า
ธรรมใดมีสภาวะเหมือนธรรมใดโดยนัยดังกล่าว ธรรมนั้น แม้ไม่ใช่เป็นอันเดียวกัน แต่สามารถ
จัดว่าเป็นอันเดียวกันได้โดยความเหมือนแห่งธรรมนั้น ส่วนธรรมใด มีลักษณะแตกต่างกับธรรมใดโดย
ภาวะใด ๆ ธรรมนั้น ย่อมถึงความแตกต่างกับธรรมนั้น โดยภาวะนั้น ๆ ผู้ถูกถาม พึงพิจารณาดูในสูตร ใน
ไวยากรณ์ หรือในคาถา คือ เข้าถามด้วยความเหมือนหรือด้วยความต่าง ๆ ถ้าถามด้วยความเหมือน ควรตอบ
ด้วยความเหมือน หากถามด้วยความต่าง ควรตอบด้วยความต่าง ถ้าถามด้วยสัตตาธิฏฐาน ควรตอบด้วยสัต
ตาธิฏฐาน ถ้าถามด้วยธรรมาธิฏฐาน ควรตอบด้วยธรรมาธิฏฐาน หรือถามด้วยประการใด ๆ ควรตอบด้วย
ประการนั้น ๆ60

(ฒ) ปริกขารหาระ
ปริกขารหาระ หมายถึง หลักการอธิบายความโดยการจำแนกเหตุและปัจจัยของธรรมทั้ง
หลาย เพื่อชี้ให้เห็นถึงความเป็นเหตุเป็นผลและความสัมพันธ์ระหว่างเหตุกับผล มีหลักการกว้าง ๆ ว่า “ธรรมใด ทำให้
ธรรมใดเกิด ธรรมนั้น ชื่อว่า ปริกขารของธรรมนั้น” คำว่า บริขาร จึงมีลักษณะการทำให้เกิดผลอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้น
สิ่งที่ทำให้สรรพสิ่งเกิดผล มี 2 ประการคือ เหตุ และปัจจัย เหตุ คือ สิ่งที่อยู่ในภายในตัวของสิ่งนั้น สิ่งที่ทำให้เกิด เป็น
เหตุโดยตรง มีลักษณะเฉพาะ ไม่ทั่วไปแก่ผลอื่น ๆ ส่วนปัจจัย คือ เหตุที่รองลงมา เป็นเหตุที่อยู่ในภายนอก เป็นสิ่งที่คอย
สนับสนุนให้เกิดผล แต่ไม่ใช่เหตุที่เป็นปทัฏฐาน เรียกว่า เหตุภายนอก คำว่า เหตุ นั้น หมายถึง เหตุภายในของสิ่งนั้น ๆ
ตัวอย่างเช่น พีชะหรือเชื้อ เป็นเหตุไม่ทั่วไป (เหตุ) ของการเกิดขึ้นของหน่อไม้แต่ดินและน้ำเป็นเหตุทั่วไป (ปัจจัย)
ของการเกิดขึ้นของหน่อไม้ ดินและน้ำ เป็นปัจจัยของหน่อไม้ พีชะจึงเป็นสภาวเหตุ หน่อไม้เกิดขึ้นได้เพราะมีเหตุและ
ปัจจัยดังกล่าวนี้ “เหตุ” ท่านจำแนกออกเป็น 2 อย่างคือ สมนันตรเหตุ กับ ปรัมปรเหตุ สมนันตรเหตุ คือ เหตุที่ไม่มี

59
เนตฺติ.อ. 46/140.
60
เนตฺติ. 48/77.
ระหว่างคั้น เหมือนหน่อพืชกับพืช เป็นเหตุที่เกิดก่อน ส่วนปรัมปรเหตุ คือ เหตุที่สืบเนื่องต่อกันมา เช่น ผลไม้ที่เกิดจาก
พืช ถือว่าเป็นเหตุที่สืบเนื่องกันมา61 ปริกขารหาระ จึงครอบคลุมถึงสิ่งที่เป็นอุปนิสัย ปัจจัยอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งหมด
จึงเป็นบริขาร เพราะสร้างทำให้เกิดผลชัดและสืบต่อกันมาอย่างไม่ขาดสาย62 ตัวอย่างเช่น จักขุวิญญาณอาศัยจักขุ
ปสาทและรูปารมณ์ จึงเกิดขึ้น จักขุปสาทเป็นอธิปติปัจจัย รูปารมณ์เป็นอารัมมณปัจจัย แสงสว่างเป็นอุปนิสัยปัจจัย
มนสิการ (กิริยามโนธาตุ) เป็นเหตุที่มีภาวะเหมือนกัน คือ ความเป็นวิญญาณ เหมือนจักขุวิญญาณ63

ตารางแสดงนัยที่แตกต่างกันระหว่างเหตุกับปัจจัย
บริขาร นัย 1 นัย 2 นัย 3 นัย 4 นัย 5
เหตุ สภาวะ อัชฌัตติกะ ชนกะ อสาธารณะ พีชะ
ปัจจย ปรภาวะ พาหิระ ปริคาหกะ สาธารณะ ดิน น้ำ

(ณ) สมาโรปนหาระ
สมาโรปนหาระ หมายถึง หลักการอธิบายความตีความโดยการยกเอาสิ่งที่เป็นปทัฏฐาน
ไวพจน์ การปฏิบัติ และการละ มาเป็นหลักการในการอธิบาย โดยนัยนี้ สมาโรปนหาระจึงจำแนกออกเป็น 4 ประการ
คือ
(1) ปทัฏฐานสมาโรปนะ ได้แก่ การยกเอาเหตุที่เป็นปทัฏฐานของธรรมมากล่าวแสดง ซึ่ง
เป็นการสืบสาวค้นหาปทัฏฐานของธรรมนั้น ๆ หากธรรมนั้น ไม่ได้ปรากฏว่ามีการแสดงปทัฏฐานไว้โดยตรง ตัวอย่าง
เช่น โอวาทปาฏิโมกข์ 3 ที่ว่า “การไม่ทำความชั่วทั้งปวง การทำแต่ความดี การอบรมจิตของตนให้ผ่องใส นี่เป็นคำ
สอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย” มีปทัฏฐานคือ สุจริต 3 ได้แก่ กายสุจริต วจีสุจริต และมโนสุจริต เป็นต้น64
(2) เววจนสมาโรปนะ ได้แก่ การยกคำที่เป็นไวพจน์หรือคำที่มีความหมายเหมือนกันมา
อธิบาย เพื่อให้เห็นและเข้าใจภาพรวมของธรรมนั้น ๆ เพราะสิ่งเดียวกัน อาจมีคำเรียกได้หลายคำตามความนิยมใช้ใน
แต่ละท้องถิ่น การนำเอาคำเหล่านั้น มาอธิบายถึงสิ่งนั้นในที่แห่งเดียวกัน คนที่อยู่ต่างท้องถิ่น ก็สามารถเข้าใจเนื้อหา
นั้นได้เช่น คำว่า ปัญญินทรีย์ ปัญญาพล ปัญญาสิกขา ปัญญาขันธ์ ญาณ สัมมาทิฐิ สันตีรณะ หิรี วิปัสสนา เป็น
ไวพจน์ของกันและกันทั้งหมด ซึ่งหมายถึง ปัญญา

61
เนตฺติ. (บาลี) 49/98-99.
62
เนตฺติ.ฎีกา (บาลี) 49/100.
63
เนตฺติ. (บาลี) 49/79.
64
เนตฺติ. (บาลี) 50/80.
(3) ภาวนาสมาโรปนะ ได้แก่ การยกเอาวิธีการปฏิบัติมากล่าวแสดงว่า ธรรมที่เป็นภาคปฏิบัติ
นั้นมีวิธีการปฏิบัติอย่างไร และสามารถเชื่อมโยงถึงการปฏิบัติของหมวดธรรมอื่น ๆ ด้วย เช่น แสดงวิธีปฏิบัติสติปัฏ
ฐานให้เชื่อมโยงกับอริยมรรคเป็นต้น
(4) ปหานสมาโรปนะ ได้แก่ การยกเอาการละกิเลสในแต่ละระดับของการปฏิบัติธรรมแต่ละ
อย่างมากล่าวแสดง เช่น การที่บุคคลพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ย่อมละวิปัลลาส (ความเห็นที่คลาดเคลื่อน) ว่างาม ใน
สิ่งที่ไม่งาม การพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา ย่อมละวิปัลลาสว่าสุขในสิ่งที่เป็นทุกข์ การพิจารณาเห็นจิตในจิต ย่อมละ
วิปัลลาสว่าเที่ยงในสิ่งที่ไม่เที่ยง และการพิจารณาเห็นธรรมในธรรม ย่อมละวิปัลลาสว่าเป็นตัวตน ในสิ่งที่ไม่มีตัวตน
ได้65

2) นัย
คัมภีร์เนตติปกรณ์ ได้แสดงนัยแห่งการอธิบายความธรรมไว้ โดยให้นิยามคำว่า “นัย” ว่า หมายถึง
วิธีการที่ทำให้รู้จักอกุศลธรรม (ฝ่ายไม่ดี) และกุศลธรรม (ฝ่ายดี) ที่มีแฝงอยู่พระวัจนะในพระสูตรต่าง ๆ “นัย” จึงเป็น
หลักการ วิธีการ ที่จำแนกธรรมตามมุ่งหมาย หรือตามเจตนารมณ์ของพระพุทธเจ้า ที่ทรงให้เป็นนัยความหมายเอาไว้ที่
แฝงอยู่ในพยัญชนะที่ทรงกล่าวแสดง กล่าวได้ว่า การอธิบายธรรมตามหลักหาระข้างต้นเป็นการตีความตามพยัญชนะ
ตามตัวอักษรที่ต่างใช้ฐานความรู้ทางไวยากรณ์ แต่นัยนี้เป็นการค้นหาความหมายที่แท้จริงที่อยู่ในตัวอักษรนั้นโดย
จำแนกออกเป็นส่วน ๆ เป็น 5 นัยด้วยคือ66

(ก) นันทิยาวัฏฏนัย
นันทิยาวัฏฏนัย หมายถึง นัยที่แสดงถึงการอธิบายด้วยการเวียนจำแนกออกเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายดี
กับฝ่ายไม่ดี โดยที่ธรรมฝ่ายไม่ดีนั้นจะอธิบายด้วยคำว่า ตัณหาและอวิชชา (ได้แก่คนผู้เป็นตัณหาจริตและทิฐิจริต)
และธรรมฝ่ายดีจะอธิบายด้วยคำว่า สมถะและวิปัสสนา (ซึ่งเปรียบเสมือนยารักษาโรค ฝี และถอนลูกศร คือ อัตตกิลมถา
นุโยคและกามสุขัลลิกานุโยค) แล้วสงเคราะห์ลงในอริยสัจ 4 กล่าวคือ ตัณหาและอวิชชาก็ดี อกุศลอันเป็นกิเลสที่เหลือ
และกุศลจิตตุปบาทอันเป็นสาสวะก็ดี ชื่อว่า สมุทยสัจจะ เป็นธรรมที่ควรละ เตภูมิกธรรมทั้งหลายที่เหลือ ชื่อว่า ทุกข
สัจจะ เป็นธรรมที่ควรกำหนดรู้ สมถะและวิปัสสนา ชื่อว่า มรรคสัจจะ เป็นธรรมที่เจริญฝึกอบรมทำให้เกิดขึ้น
นิพพานชื่อว่า นิโรธสัจจะ เป็นธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ธรรมดังกล่าวคือ ตัณหา อวิชชา สมถะ และวิปัสสนา เหล่านี้ เรียก
ว่า มูลบท 4

(ข) ติปุกขลนัย
ติปุกขลนัย หมายถึง นัยที่มีการกล่าวแสดงถึงลักษณะการนำเนื้อหาสูตรที่เป็นฝ่ายสังกิเลส คือ
อกุศลมูล 3 ได้แก่ โลภะ โทสะ โมหะ และเนื้อหาของสูตรฝ่ายโวทาน คือ กุศลมูล 3 ได้แก่ อโลภะ อโทสะ อโมหะ แล้ว
65
เนตฺติ. (บาลี) 51/82-83.
66
เนตฺติ. (บาลี) 79/107-118, เนตฺติฎีกา 88-/129-153.
สงเคราะห์เข้าใจสัจจะ 4 กล่าวคือ อกุศลมูล 3 เป็นสมุทยสัจจะ เตภูมิกธรรมที่เหลื่อเป็นทุกขสัจจะ กุศลมูล 3 เป็นมรรค
สัจจะ และนิพพานเป็นนิโรธสัจจะ

(ค) สีหวิกกีฬิตนัย
สีหวิกกีฬิตนัย หมายถึง นัยที่มีลักษณะการนำเนื้อหาของสูตรฝ่ายสังกิเลส คือ วิปัลลาส 4
(ความเข้าใจคลาดเคลื่อนในสิ่งที่ไม่งามว่า งาม 1 ความเข้าใจคลาดเคลื่อนในสิ่งที่เป็นทุกข์ว่า เป็นสุข 1 ความเข้าใจคลาด
เคลื่อนในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่า เที่ยง 1 ความเข้าใจคลาดเคลื่อนในสิ่งที่ไม่เป็นตัวตนว่า เป็นตัวตน 1) และเนื้อหาของสูตรที่
เป็นโวทาน คือ อินทรีย์ 4 (สติ 1 สมาธิ 1 วิริยะ 1 ปัญญา1) สงเคราะห์เข้าในสัจจะ 4 คือ ทุกข์สมุทัย นิโรธและมรรค
อีกทีหนึ่ง เป็นวิธีการตีความธรรมของพระพุทธเจ้าผู้เช่นกับราชสีห์

(ง) ทิสาโลจนนัย
ทิสาโลจนนัย หมายถึง นัยแห่งการพิจารณาดูธรรมทั้งหมด (18 ประการ คือ มูลบท 4 อกุศล
มูล 3 กุศลมูล 3 วิปัลลาส 4 และอินทรีย์ 4) ซึ่งเป็นกุศลและอกุศลตามที่ได้แสดงมาแล้วในนัยทั้ง 3 ข้างต้น

(จ) อังกุสนัย
อังกุสนัย ได้แก่ นัยแห่งการนำเอาทิสาธรรมทั้งหมดที่พิจารณาดูแล้วตามนัยแห่งทิสาโลจน
นัยนั้น ไปในนัยทั้ง 3 ข้างต้น เหมือนกับการเกี่ยวดึงวัตถุอย่างใดอย่างหนึ่งที่ต้องการไปสู่สถานที่ต้องการด้วยตะขอ

ทิสาโลจนนัยและอังกุสนัยนี้ ไม่มีเนื้อหาต่างหากของตนเอง แต่เป็นเหมือนเครื่องมือในการพิจารณา


ตรวจสอบธรรมทั้งหลายด้วยจิตแล้วนำไปด้วยจิตในนัย 3 ข้างต้น เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า โวหารนัยและกรรมนัย เพราะ
เป็นเพียงโวหารคือ การดูการนำไปและกิริยาการคือ การดู การนำไปเท่านั้น67 อย่างไรก็ตาม นัยทั้ง 5 นั้น เป็นเครื่องมือ
สำหรับวิเคราะห์พระสูตรเพื่อค้นหาวิเคราะห์ถึงองค์ธรรมที่เป็นรากเหง้าของธรรมทั้งฝ่ายดีและฝ่ายไม่ดี ทั้งยังเป็นเกณฑ์
ในการพิจารณาตรวจสอบความถูกต้องแห่งการอธิบายความธรรมด้วย

3) สาสนปัฏฐาน
สาสนปัฏฐาน คือ วิธีการกล่าวแสดงธรรม อธิบายความให้เหมาะสมกับอัธยาศัยของเวไนยสัตว์ให้
มีหลักในการอธิบายความพุทธพจน์ได้อย่างถูกต้องตามที่พระพุทธเจ้าทรงประสงค์ เป็นการแสดงธรรมหรือกล่าว
อธิบายธรรมตามความเหมาะสมกับอุปนิสัย อัธยาศัยของผู้ฟัง คำนึงถึงผู้ฟังเป็นหลัก เพื่อให้ผู้ฟังสามารถเข้าใจในสิ่งที่
สอนมากที่สุด หลักการนี้ ไม่ง่ายนัก หากจะนำมาใช้ในปัจจุบัน เพราะอัธยาศัยของมนุษย์นั้น หยั่งรู้ได้ยากสำหรับคน
ธรรมดาที่ไม่คุณสมบัติพิเศษที่จะสามารถหยั่งรู้ได้ โดยได้จำแนกประเภทของพระสูตรต่าง ๆ ที่มาในพระบาลี (ซึ่ง

67
คุณารักษ์ นพคุณ, เรื่องเดียวกัน, หน้า 267-273.
ถือว่าเป็นที่ตั้งแห่งมูลบท 18 ประการ) ออกเป็น 4 กลุ่มหลัก แล้วจำแนกคละกันระหว่างสูตรทั้ง 4 กลุ่ม จึงเป็นสูตร
ทั้งหมด 16 ประเภท และใช้เป็นกรอบในการตีความ อธิบายธรรมว่าจัดอยู่ในสูตรประเภทไหน ดังนี้ 68
(ก) สังกิเลสภาคิยสูตร คือ สูตรที่มีเนื้อหากล่าวถึงธรรมที่เป็นส่วนแห่งความเศร้าหมองทั้งหลาย
(ข) วาสนาภาคิยสูตร คือ สูตรที่มีเนื้อหากล่าวถึงธรรมที่เป็นส่วนแห่งความดี ความผ่องใส
(ค) นิพเพธภาคิยสูตร คือ สูตรที่มีเนื้อหากล่าวถึงธรรมที่เป็นส่วนแห่งการตรัสรู้
(ง) อเสกขภาคิยสูตร คือ สูตรที่มีเนื้อหากล่าวถึงธรรมที่เป็นส่วนการจบการศึกษาแล้ว
(จ) สังกิเลสวาสนาภาคิยสูตร คือ สูตรที่มีเนื้อหากล่าวถึงธรรมที่เป็นส่วนของทั้งความเศร้าหมอง
และความดี
(ฉ) สังกิเลสนิพเพธภาคิยสูตร คือ สูตรที่มีเนื้อหากล่าวถึงธรรมที่เป็นส่วนของทั้งความเศร้าหมอง
และการตรัสรู้
(ช) สังกิเลสอเสกขภาคิยสูตร คือ สูตรที่มีเนื้อหากล่าวถึงธรรมที่เป็นส่วนของทั้งความเศร้าหมอง
และการไม่ต้องศึกษาต่อไป
(ซ) สังกิเลสนิพเพธอเสกขภาคิยสูตร คือ สูตรที่มีเนื้อหากล่าวถึงธรรมที่เป็นส่วนของทั้งความเศร้า
หมอง การตรัสรู้ และการไม่ต้องศึกษาต่อไป
(ฌ) สังกิเลสวาสนานิพเพธภาคิยสูตร คือ สูตรที่มีเนื้อหากล่าวถึงธรรมที่เป็นส่วนของทั้งความ
เศร้าหมอง ความดี และการตรัสรู้
(ญ) วาสนานิพเพธภาคิยสูตร คือ สูตรที่มีเนื้อหากล่าวถึงธรรมที่เป็นส่วนของความดีและการ
ตรัสรู้
(ฎ) ตัณหาสังกิเลสภาคิยสูตร คือ สูตรที่มีเนื้อหากล่าวถึงธรรมที่เป็นส่วนความเศร้าหมองเพราะ
ตัณหา
(ฎ) ทิฏฐิสังกิเลสภาคิยสูตร คือ สูตรที่มีเนื้อหากล่าวถึงธรรมที่เป็นส่วนของความเศร้าหมองเพราะ
ความเห็นผิด
(ฐ) ทุจจริตสังกิเลสภาคิยสูตร คือ สูตรที่มีเนื้อหากล่าวถึงธรรมที่เป็นส่วนของความเศร้าหมอง
เพราะความประพฤติผิด
(ฑ) ตัณหาโวทานภาคิยสูตร คือ สูตรที่มีเนื้อหากล่าวถึงธรรมที่เป็นส่วนแห่งความหมดจดจาก
ตัณหา
(ฒ) ทิฏฐาโวทานภาคิยสูตร คือ สูตรที่มีเนื้อหากล่าวถึงธรรมที่เป็นส่วนแห่งความหมดจดจาก
ความเห็นผิด
(ณ) ทุจจริตโวทานภาคิยสูตร คือ สูตรที่มีเนื้อหากล่าวถึงธรรมที่เป็นส่วนแห่งความหมดจดจาก
ความประพฤติผิด

68
เนตฺติ. (บาลี) 89-111/124-161, คุณารักษ์ นพคุณ, เรื่องเดียวกัน, หน้า 274-277.
อีกนัยหนึ่ง ตามนัยแห่งสาสนปัฏฐาน ท่านยังจำแนกพระสูตรบรรดาที่มาในพระบาลีอย่างพิสดาร โดย
ถือเอาเนื้อหาสาระในพระสูตรเป็นหลัก ออกเป็นอีก 28 ประเภท ดังนี้ (1) โลกิยสูตร สูตรที่ว่าด้วยโลกิยธรรม (2) โลกุ
ตรสูตร สูตรที่ว่าด้วยโลกุตรธรรม (3) โลกิยโลกุตรสูตร สูตรที่ว่าด้วยโลกิยธรรมและโลกุตรธรรม (4) สัตตาธิษฐาน
สูตร สูตรที่ว่าด้วยสัตว์หรือบุคคล (5) ธัมมาธิษฐานสูตร สูตรที่ว่าด้วยธรรม (6) สัตตธัมมาธิษฐานสูตร สูตรที่ว่าด้วย
สัตว์และธรรม (7) ญาณสูตร สูตรที่ว่าด้วยความรู้ (8) เญยยสูตร สูตรที่ว่าด้วยสิ่งที่ควรรู้ (9) ญาณเญยยสูตร สูตรที่ว่า
ความรู้และสิ่งที่ควรรู้ (10) ทัสสนสูตร สูตรที่ว่าด้วยโสดาปัตติมรรคและโสดาปัตติผล (11) ภาวนาสูตร สูตรที่ว่าด้วย
พระเสกขะและอเสกขะที่เหลือ (12) ทัสสนภาวนาสูตร สูตรที่ว่าด้วยโสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล และพระเสกขะ
อเสกขที่เหลือ (13) สกวจนสูตร สูตรที่ว่าด้วยถ้อยคำของพระพุทธเจ้า (14) ปรวจนสูตร สูตรที่ว่าด้วยวัจนะของผู้อื่น
จากพระพุทธเจ้า (15) สกปรวจนสูตร สูตรที่ว่าด้วยวัจนะของพระพุทธเจ้าและของบุคคลอื่น ๆ (16) วิสัชชนียสูตร สูตร
ที่ว่าด้วยปัญหาที่ควรตอบ (17) อวิสัชชนียสูตร สูตรที่ว่าด้วยปัญหาที่ไม่ควรตอบ (18) วิสัชชนียาวิสัชชนียสูตร สูตรที่
ว่าด้วยปัญหาที่ควรตอบและไม่ควรตอบ (19) กัมมสูตร สูตรที่ว่าด้วยเหตุ (20) วิปากสูตร สูตรที่ว่าด้วยผลแห่งเหตุ (21)
กัมมวิปากสูตร สูตรที่ว่าเหตุและผล (22) กุศลสูตร สูตรที่ว่าด้วยกุศล (23) อกุศลสูตร สูตรที่ว่าด้วยอกุศล (24) กุศลา
กุศลสูตร สูตรที่ว่าด้วยกุศลและอกุศล (25) อนุญญาตสูตร สูตรที่ว่าด้วยข้ออนุญาต (26) ปฏิขิตตสูตร สูตรที่ว่าด้วยข้อ
ห้าม (27) อนุญญาตปฏิกขิตตสูตร สูตรที่ว่าด้วยข้ออนุญาตและข้อห้าม (28) ถวสูตร สูตรว่าด้วยการสรรเสริญหรือการ
ชมเชย69

นอกจากนี้ ท่านยังได้จำแนกลักษณะสูตรที่มาในอรรถกถาและฎีกาทั้งหลาย ออกเป็น 16 ประเภท โดย


แบ่งเป็น 4 หมวด ดังนี้ หมวดที่ 1 มี 4 ประเภท คือ (1) สังกิเลสภาคิยสูตร (2) วาสนาภาคิยสูตร (3) นิพเพธภาคิยสูตร
(4) อเสกขภาคิยสูตร หมวดที่ 2 มี 6 ประเภท คือ (5) สังกิเลสวาสนาภาคิยสูตร (6) สังกิเลสนิพเพธภาคิยสูตร (7) สัง
กิเลสอเสกขภาคิยสูตร (8) วาสนานิพเพธภาคิยสูตร (9) วาสนาอเสกขภาคิยสูตร (10) นิพเพธอเสกขภาคิยสูตร หมวด
ที่ 3 มี 4 ประเภท คือ (11) สังกิเลสวาสนานิพเพธภาคิยสูตร (12) สังกิเลสวาสนาอเสกขภาคิยสูตร (13) สังกิเลสนิพเพธ
อเสกขภาคิยสูตร (14) วาสนานิพเพธอเสกขภาคิยสูตร หมวดที่ 4 มี 2 ประเภท คือ (15) สัพพภาคิยสูตร (16) อสัพพ
ภาคิยสูตร70

กล่าวได้ว่า สาสนปัฏฐาน เป็นหลักการหรือเป็นกรอบในการพิจารณาศึกษาวิเคราะห์เนื้อหาธรรมที่


ปรากฏอยู่ในพระสูตรต่าง ๆ ในพระไตรปิฎกและอรรถกถาว่า จัดอยู่ในพระสูตรประเภทไหน ตามลักษณะพระสูตรที่
ท่านพระมหากัจจายนะได้จำแนกไว้เป็นแบบอย่างในคัมภีร์เนตติปกรณ์ โดยได้ยกเอาพระบาลีที่เป็นพระดำรัสของ
พระพุทธเจ้าขึ้นมาเป็นตัวอย่างแล้ววิเคราะห์ชี้ให้เห็นว่า พระพุทธพจน์ดังกล่าวนั้น เป็นสูตรประเภทไหน ตัวอย่างเช่น

69
เนตฺติ. (บาลี) 112-125/161-187, คุณารักษ์ นพคุณ, เรื่องเดียวกัน, หน้า 275-276.
70
คุณารักษ์ นพคุณ, เรื่องเดียวกัน, หน้า 275.
โอวาทปาฏิโมกข์ที่ว่า การไม่ทำความชั่วทั้งปวง การทำความดีให้ถึงพร้อม การทำจิตใจของตนให้ผ่องใส นี่เป็นคำ
สอนของพระพุทธเจ้า พุทธพจน์จัดเป็นอนุญญาตปฏิกขิตตสูตร คือ เป็นสูตรที่มีเนื้อหาทั้งที่เป็นข้ออนุญญาตและข้อ
ห้ามในสูตรเดียวกัน71 อย่างไรก็ตาม แม้ท่านจะจำแนกพระสูตรออกเป็นเอนกประการดังกล่าวก็ตาม แต่กรอบสำหรับ
การจำแนกพระสูตรดังกล่าวนั้น มีเพียง 18 ประการเท่านั้น เรียกว่า มูลบท 18 ซึ่งแบ่งเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายดี เรียกว่า กุศล
มี 9 ประการคือ (1) สมถะ (2) วิปัสสนา (3) อโลภะ (4) อโทสะ (5) อโมหะ (6) อสุภสัญญา (7) ทุกขสัญญา (8)
อนิจจสัญญา (9) อนัตตสัญญา ส่วนฝ่ายไม่ดี เรียกว่า อกุศล มี 9 ประการเช่นกัน คือ (1) ตัณหา (2) อวิชชา (3) โลภะ
(4) โทสะ (5) โมหะ (6) สุภสัญญา (7) สุขสัญญา (8) นิจจสัญญา (9) อัตตาสัญญา72 มูลบท ทั้ง 18 ประการดังกล่าวนี้
ถือว่าเป็นกรอบในการตีความของพระมหากัจจายนะที่ท่านใช้ในการตีความอธิบายความธรรมที่มีเนื้อหาในพระสูตรที่
พระพุทธเจ้าตรสเทศนาไว้โดยใช้มูลบทั้ง 18 ประการเป็นแว่นในสอดส่องวิจัยธรรมนั้น ๆ นอกเหนือไปจากหลักหาระ
และนัยที่ได้ไว้แล้วข้างต้น

สรุปได้ว่า ตามคัมภีร์เนตติปกรณ์ หลักหาระทั้งหลายเป็นการอธิบายธรรมซึ่งมุ่งเน้นไปในทางพยัญชนะ


มากกว่ามุ่งอรรถะหรือเนื้อหาสาระที่เป็นแก่นธรรม ส่วนนัยและสาสนปัฏฐานนั้น มุ่งเน้นหนักไปในอรรถะและตรวจ
สอบความถูกต้องของการอธิบายโดยมีกรอบในการวินิจฉัยที่ชัดเจน แต่กระนั้นก็ตาม หากพิจารณาตามหลักการของหา
ระทั้งหมดแล้ว ก็มีนัยแห่งอรรถะและพยัญชนะ ตลอดถึงการตรวจสอบวินิจฉัยด้วยเช่นกัน ซึ่งไม่ได้มุ่งเน้นที่จะจัดเป็น
หมวดหมู่เหมือนในหลักสาสนปัฏฐาน ซึ่งมุ่งจัดเป็นหมวดหมู่ตามลักษณะเนื้อหาของแต่ละสูตรเป็นหลัก

71
เนตฺติ. (บาลี) 124/186.
72
เนตฺติ. (บาลี) 3/3.

You might also like