You are on page 1of 21

การลาดตระเวน

การลาดตระเวนเป็ นการปฏิบัติภารกิจเพื่อรวบรวมข่าวสาร หรือปฏิบัติการรบ ระดับหมวด


และหมู่ปื นเล็ก สามารถปฏิบัติการลาดตระเวนได้ ๓ แบบ คือการลาดตระเวนหาข่าว ลาดตระเวนรบ
และลาดตระเวนสะกดรอย บทเรียนนี้จะบรรยายถึงข้อพิจารณาในการวางแผน และเตรียมการลาด
ตระเวน การรายงานผลการลาดตระเวนและการจัดตั้งรวมทั้งการปฏิบัติการในฐานลาดตระเวน

ตอนที่ ๑
การวางแผนลาดตระเวน

ตอนที่ ๑ จะประกอบด้วย การพิจารณาวางแผนทั่วไปในการลาดตระเวน ซึ่งใช้ได้กับการ


ลาดตระเวนเกือบทั้งหมด กิจเฉพาะซึ่งกำหนดให้ ผบ.หมวดหรือ ผบ.หมู่ใช้จัดหน่วยลาดตระเวน การ
วางแผนขั้นต้น และการประสานที่จำเป็ นสำหรับการผ่านออกจากแนวทหารฝ่ ายเราและการกลับเข้า
มาในแนว
๓ - ๑ การจัด
เพื่อผลสำเร็จในการลาดตระเวน หมวด หรือหมู่ ต้องปฏิบัติกิจเฉพาะหลายประการ เช่น
การระวังป้ องกัน การผ่านพื้นที่อันตรายหรือจุดที่นัดพบ การลาดตระเวนในบริเวณที่หมาย การเจาะ
การสนับสนุนหรือการโจมตี เป็ นต้น ผบ.หมวดจะมอบหมายกิจเฉพาะให้ส่วนต่าง ๆ ของหมวด ให้
สอดคล้องกับการประมาณสถานการณ์ของตนเอง เช่นเดียวกับภารกิจอื่น ๆ ผบ.หมวดจะวิเคราะห์ว่า
กิจใดบ้างที่หมวดจะปฏิบัติและส่วนใดเป็ นผู้ปฏิบัติกิจเหล่านั้น ในการมอบหมายภารกิจนั้น
ผบ.หมวด ควรจะดำรงความเป็ นหมู่และชุดยิงไว้ ซึ่งจะทำให้สามารถใช้สายการบังคับบัญชาใน
ระหว่างการลาดตระเวน คำว่า “ส่วน” [Element] หรือชุด [Team] มีความหมายถึง หมู่ ชุดยิง หรือคู่
[buddy] ซึ่งได้รับมอบภารกิจตามที่กล่าวมาแล้วหมู่หรือชุดยิงหนึ่ง อาจได้รับมอบภารกิจมากกว่าหนึ่ง
ประการ ในขณะที่หมู่หรือชุดยิงอื่น ๆ อาจได้รับกิจเพียงอย่างเดียว ผบ.หมวด จะต้องวางแผนอย่าง
รอบคอบ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าตนได้วิเคราะห์ภารกิจ และมอบหมายกิจให้หน่วยอย่างมีประสิทธิภาพ
ส่วน หรือชุด สำหรับหมวดในการลาดตระเวน อาจเป็นการประกอบกำลังตามปกติ หรือเป็ นชุดพิเศษ
เพื่อให้เหมาะสมกับแบบของการลาดตระเวน สำหรับการลาดตระเวนปกติจะจัดกำลัง ดังนี้
ก. ส่วนบังคับบัญชา : ประกอบด้วย ผบ.หมวด พนักงานวิทยุ รอง ผบ.หมวด ผตน. พลวิทยุ
ของ ผตน. นอกจากนี้ ยังอาจจะมีหน่วยสมทบที่ ผบ.หมวด หรือ รอง ผบ.หมวด เป็ นผู้ควบคุมด้วย
ตนเอง
ข. ชุดพยาบาล
ค. ชุดควบคุมเชลยศึก : มีความรับผิดชอบในการควบคุมเชลยศึก โดยให้สอดคล้องกับหลัก
การปฏิบัติต่อเชลยศึก (ค้น แยก เงียบ เร็ว พิทักษ์) และคำแนะนำของ ผบ.หมวด
ง. ชุดเฝ้ าตรวจ : จะเฝ้ าตรวจบริเวณที่หมาย ตั้งแต่เวลาที่ ผบ.หมวด เสร็จจากการลาด
ตระเวนที่หมายจนกระทั่งหน่วยได้ปรับรูปขบวน เพื่อปฏิบัติต่อที่หมายจึงกลับเข้าไปอยู่กับส่วนของ
ตนเองตามเดิม
จ. ชุดบันทึก : จะคอยบันทึกข่าวสารทั้งหมดที่เกิดขึ้นในระหว่างภารกิจลาดตระเวน
ฉ. พลเข็มทิศ : จะคอยช่วยเหลือเกี่ยวกับการนำทาง เพื่อให้ชุดยิงที่นำอยู่ข้างหน้ามั่นใจได้
ว่าอยู่ในเส้นทางตลอดเวลา คำแนะนำสำหรับพลเข็มทิศประกอบด้วย มุมภาคเริ่มแรก และมุมภาครอง
2

ซึ่งจะใช้ในกรณีจำเป็นในกรณีที่การลาดตระเวนต้องปฏิบัติระหว่างทัศนวิสัยจำกัด พลเข็มทิศ ควรตั้ง


เข็มทิศไว้ที่มุมภาคเริ่มต้นตั้งแต่ก่อนออกทำการลาดตระเวน ผบ .มว. หรือ ผบ.หมู่ ควรจะกำหนดพล
เข็มทิศสำรอง
ช. พลนับก้าว : จะคอยดำรงรักษาก้าวการเดินตลอดเวลา ผบ.หมวด หรือ ผบ.หมู่ ควรจะ
กำหนดให้พลนับก้าวรายงานให้ทราบถึงจำนวนก้าวในการเดิน และควรจะรายงานเมื่อพ้นแต่ละช่วง
ผบ.หมวดควรจัดให้มีพลนับก้าวสำรองไว้ด้วย
๓ - ๒ การวางแผนขั้นต้น และการประสานงาน
ผบ.หมวด วางแผนและเตรียมการลาดตระเวนโดยใช้ระเบียบการนำหน่วยและการประมาณ
สถานการณ์ของตนเอง แล้ววิเคราะห์กิจที่จำเป็ นต้องปฏิบัติบริเวณที่หมาย หลังจากนั้นวางแผนการ
ปฏิบัติย้อนหลังตั้งแต่การผ่านแนวทหารฝ่ ายเดียวกันถึงจุดแยก และการปฏิบัติหน้าแนวทหารฝ่ าย
เดียวกัน จนกระทั่งกลับถึงแนวฝ่ ายเดียวกันอีกครั้ง ปกติ ผบ.หมวดมักจะรับคำสั่งยุทธการ ณ ทก.พัน.
หรือ ทก.ร้อย.ซึ่งเป็ นที่ที่มีการสื่อสารดี และมีกำลังพลระดับสำคัญปฏิบัติงานอยู่เนื่องจากการลาด
ตระเวนเป็ นปฏิบัติการอิสระหน้าแนวทหารฝ่ ายเดียวกัน โดยได้รับการสนับสนุนด้วยการยิงเล็งตรง
จากหน่วยเหนือ ดังนั้นการประสานงานจึงจำเป็ นต้องกระทำอย่างแน่นแฟ้ น และลึกลงไปในราย
ละเอียด ผบ.หมวด สามารถประวานงานโดยตรงกับฝ่ ายอำนวยการของกองพันได้ ตั้งแต่ขั้นตอนการ
วางแผน และขั้นเตรียมการ โดยใช้หัวข้อการตรวจสอบ [check Iist] เพื่อป้ องกันการหลงลืมสิ่งที่อาจ
กระทบต่อความสำเร็จได้
ก. เรื่องที่ ผบ.หมวด ประสานงานกับฝ่ ายอำนวยการกองพัน หรือ ผบ.ร้อย. ประกอบด้วย
- สถานการณ์ข้าศึกที่เปลี่ยนแปลงไป หรือข่าวสารที่ทันสมัย
- เส้นทางที่ดีที่สุดในภูมิประเทศ จุดนัดพบ ฐานลาดตระเวน ฯลฯ
- ข้อมูลแสงสว่างและสภาพอากาศ
- สถานการณ์ฝ่ ายเรา
- การสมทบหน่วยที่มีทักษะพิเศษ หรือยุทโธปกรณ์พิเศษ เช่น ทหารช่าง พลซุ่มยิง ชุด
สุนัขทหารลาดตระเวน ผตน. หรือล่าม เป็นต้น
- การใช้ และที่ตั้งของพื้นที่ส่งลง
- การผ่านออก และกลับเข้ามาในแนวทหารฝ่ ายเดียวกัน
- การยิงสนับสนุนที่หมายตามเส้นทางที่วางแผนไว้ และเส้นทางสำรอง
- พื้นที่ และเวลาในการซักซ้อม ภูมิประเทศที่ใช้ซักซ้อมควรจะเหมือนที่หมาย ซึ่งอาจจะ
เพิ่มเติมสิ่งก่อสร้างหรือป้ อมค่ายได้ การประสานงานในเรื่องการซักซ้อมควรจะประกอบด้วยพื้นที่
ปลอดภัย การใช้กระสุนซ้อมรบ การใช้พลุ และการใช้กระสุนจริง
- ความต้องการยุทโธปกรณ์พิเศษ
- การขนส่ง ซึ่งรวมทั้งการเคลื่อนย้ายไป – กลับ ณ พื้นที่ซักซ้อมด้วย
- แผนการสื่อสาร นามเรียกขาน ความถี่ ประมวลลับ พลุ และสัญญาณผ่าน
ข. ผบ.หมวด และ ผบ.หมู่ ประสานงานกับหน่วยที่หมวดหรือหมู่ จะผ่านทางหน้าแนว
และหลังแนว (รายละเอียดอยู่ในข้อ ๓ - ๔)
ค. ผบ.หมวด ควรจะประสานกับหน่วยอื่น ๆ ที่จะลาดตระเวนในพื้นที่ข้างเคียงในเวลา
เดียวกันด้วย
๓ - ๓ แผนสมบูรณ์
การทำแผนสมบูรณ์ของ ผบ.หมวด มีข้อพิจารณา ดังนี้
3

ก. กิจสำคัญยิ่ง และกิจแฝง ผบ.หมวด จะต้องมั่นใจว่าได้มอบหมายกิจสำคัญให้หน่วยปฏิบัติทั้ง


บริเวณที่หมาย จุดนัดพบ พื้นที่อันตราย พื้นที่ระวังป้ องกัน หรือพื้นที่เฝ้ าตรวจ ระหว่างเส้นทางและ
บริเวณช่องทางผ่านเข้า – ออก
ข. เวลาที่จะใช้ในการเคลื่อนที่ที่สำคัญ ผู้บังคับหมวดจะต้องประมาณการในเรื่องเวลาที่จะต้องใช้
ในการเคลื่อนที่เพื่อปฏิบัติในเรื่องการเคลื่อนที่ไปยังที่หมาย การลาดตระเวนบริเวณที่หมายของ
ผบ.มว. การจัดการระวังป้ องกันและการเฝ้ าตรวจ การปฏิบัติกิจที่ได้รับมอบหมายทั้งหมด ณ ที่หมาย
การเคลื่อนที่ไปยังจุดนัดพบ ณ ที่หมายเพื่อสรุปทบทวนความเข้าใจของกำลังพลภายในหมวด และ
การกลับเข้าสู่แนวทหารฝ่ ายเดียวกัน
ค. เส้นทางหลักและรอง ผบ.หมวด เลือกเส้นทางหลักและรอง ไปยังที่หมายและกลับออกจากที่
หมาย ซึ่งเส้นทางไปและกลับควรจะไม่ซ้ำกัน
ง. สัญญาณต่าง ๆ ผบ.หมวดกำหนดสัญญาณพิเศษ เช่น ทัศนสัญญาณ พลุส่องสว่าง เสียง
นกหวีด วิทยุ และเครื่องมืออินฟาเรด ซึ่งเครื่องมือสื่อสารทั้งหมดต้องได้รับการซักซ้อมจนทหาร
เข้าใจความหมายเป็นอย่างดี
จ. สัญญาณผ่านที่แนวทหารฝ่ ายเดียวกัน ปฏิบัติตาม นปส. แต่จะต้องไม่ใช้เมื่อพ้นแนวทหาร
ฝ่ ายเราออกไปแล้ว
๑) ผบ.หมวด อาจกำหนดตัวเลขขึ้น การถามก็จะถามเลขที่กำหนด คำตอบจะเป็นตัวเลขที่นำ
มารวมกับคำถาม แล้วได้ผลลัพธ์เท่ากับที่ ผบ.หมวด กำหนดขึ้น เช่น ผบ.หมวดกำหนดผลรวมของ
ตัวเลขเท่ากับ ๑๘ ถ้าถาม ๘ ต้องตอบ ๑๐ เป็นต้น
๒) ผบ.หมวด อาจจะกำหนดให้หมุนเวียนสัญญาณผ่าน เพื่อกระตุ้นให้หน่วยเกิดความตื่น
ตัวเมื่อผ่านแนวทหารฝ่ ายเดียวกันในลักษณะไม่เป็ นหน่วย หรืออาจจะถูกข้าศึกกดดันติดตามมา ซึ่ง
ลักษณะเช่นนี้จะต้องผ่านแนวฝ่ ายเดียวกันอย่างรวดเร็ว โดยจะแจ้งสัญญาณผ่านและตามด้วยจำนวน
ทหารที่ผ่านแนวนี้ (เช่น เสือดำ ๕) เพื่อป้ องกันมิให้ข้าศึกแอบเกาะมาด้วย เพื่อพยายามเจาะแนวฝ่ ายเรา
ฉ. ที่อยู่ของ ผบ.หน่วย ผบ.หมวด จะพิจารณาที่อยู่ของตนเอง ของ รอง ผบ.หมวด และบุคคล
สำคัญภายในหมวด ในแต่ละขั้นของการลาดตระเวน โดยปกติจะมอบหมายใช้ รอง ผบ.หมวด อยู่กับ
ส่วนเหล่านี้ในแต่ละภารกิจลาดตระเวน
- การตีโฉบฉวยหรือซุ่มโจมตี ปกติจะควบคุมส่วนยิงสนับสนุน
- การลาดตระเวนพื้นที่ มักจะอยู่ประจำจุดนัดพบ ณ ที่หมาย
- ในการลาดตระเวนเขตลักษณะเคลื่อนที่ไปกับ ส่วนลาดตระเวนที่จัดตั้งจุดบรรจบหน่วย
ช. การปฏิบัติเมื่อเกิดการปะทะ ถ้าภารกิจไม่ระบุให้ปะทะข้าศึก หน่วยลาดตระเวนจะพยายาม
หลีกเลี่ยงการปะทะกับข้าศึก ผบ.หมวด จะต้องวางแผนการปฏิบัติเมื่อเกิดการปะทะโดยไม่คาดคิดไว้
ในทุกขั้นตอนของการลาดตระเวน หมวดจะสามารถปฏิบัติภารกิจลาดตระเวนต่อไปได้หรือไม่นั้นขึ้น
อยู่กับขีดความสามารถของหมวด ที่จะยุติการปะทะอย่างมีประสิทธิภาพ (ซึ่งอาจจะเปิ ดเผยทิศทาง
เคลื่อนที่ตามลำดับ) และการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นจากการปะทะ
๑) แผนต้องระบุตำบลรับผู้บาดเจ็บสาหัส หรือตายจากการสู้รบ
๒) แผนต้องระบุตำบลส่งต่อเชลยศึกที่จับได้ในการปะทะโดยไม่คาดคิด และไม่ได้เป็ น
ส่วนหนึ่งของแผนลาดตระเวน
ซ. แผนเผชิญเหตุ ผบ.หมวด มักจะต้องออกไปนอกหน่วยเพื่อการวางแผน ประสานงานและ
เตรียมการ สำหรับปฏิบัติภารกิจลาดตระเวน ในแต่ละครั้งที่ออกไปนอกหน่วยโดยไม่มีวิทยุหรือ
โทรศัพท์ ผบ.หมวด จะแจ้งแผนเผชิญเหตุ ๕ ประการไว้ ประกอบด้วย
4

- จะไปไหน
- ไปกับใคร
- คาดว่าจะไปนานเพียงใด
- ถ้า ผบ.หมวด ยังไม่กลับมาจะปฏิบัติอะไรบ้าง
- การปฏิบัติของหมวด หรือ ผบ.หมวด ถ้าเกิดการปะทะระหว่างที่ ผบ.หมวด ไม่อยู่
๓ - ๔ การออกจากแนวทหารฝ่ ายเดียวกัน
การวางแผนและการประสานงานจะต้องทำโดยละเอียดและครอบคลุมในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
ก. การประสานงาน ผบ.หมวด จะประสานงานกับ ผบ.หน่วย ที่อยู่หน้าแนว และ ผบ.หน่วยที่จะ
ลาดตระเวนอยู่ในพื้นที่เดียวกันหรือพื้นที่ข้างเคียง เรื่องที่จะประสานงานประกอบด้วย นปส.ที่ใช้
แผนการสื่อสาร แผนการยิง สัญญาณผ่าน กรรมวิธีผ่านออกไป และการกลับเข้ามา ตำบลลงรถ จุด
นัดพบขั้นต้น จุดออกและจุดกลับเข้ามา และข่าวสารเกี่ยวกับข้าศึก
๑) ผบ.หมวด จะแจ้งให้ ผบ.หน่วยในแนวหน้าได้ทราบเกี่ยวกับเครื่องหมายบอกฝ่ าย ขนาด
ของหน่วยลาดตระเวน เวลาออกไป และจะกลับเข้ามา และพื้นที่ปฏิบัติการ
๒) ผบ.หน่วยในแนวหน้าจะแจ้ง ผบ.หมวดเกี่ยวกับ
- ข่าวสารเพิ่มเติมเกี่ยวกับภูมิประเทศ
- ที่ตั้งข้าศึกที่รู้แล้วหรือคาดว่าจะมีอยู่
- พื้นที่ที่ข้าศึกน่าจะใช้ซุ่มโจมตี
- พฤติกรรมล่าสุดของข้าศึก
-ข่าวสารโดยละเอียดเกี่ยวกับที่ตั้งฝ่ ายเราที่ตั้งเครื่องกีดขวางและที่ตรวจการณ์
- แผนการยิงของฝ่ ายเรา
- การสนับสนุนที่หน่วยสามารถให้ได้ เช่นการยิงสนับสนุน ชุดเปล พลนำทาง การ
สื่อสาร และกำลังที่ใช้โต้ตอบ
ข. การวางแผน ในการออกจากแนวฝ่ ายเดียวกัน ผบ.หมวดพิจารณาตามลำดับดังนี้
- การติดต่อพลนำทางฝ่ ายเรา ณ จุดประสานงาน
- การเคลื่อนย้ายไปยังจุดนัดพบขั้นต้นที่ประสานไว้แล้ว
- การประสานงานในรายละเอียดครั้งสุดท้าย
- การเคลื่อนที่ไปผ่านจุดออก
- การจัดยามคอยเหตุและที่ฟังการณ์ ที่เลยแนวยิงฉากป้ องกันขั้นสุดท้ายของฝ่ ายเราออกไป
หมวดควรอยู่ในรูปขบวนแถวตอนเรียงหนึ่ง รอง ผบ.หมวดตามหลังพลนำทางซึ่งจะทำให้
สามารถนับทหารที่ผ่านจุดออก แล้วแจ้งยอดให้พลนำทางพร้อมกับแจ้งเวลาที่จะให้พลนำทางคอยอยู่
ณ จุดออก (หรือเวลาที่กลับเข้ามา) ย้ำเตือนสัญญาณผ่าน
ถ้าหมวดออกจากจุดออกไปแล้ว ปะทะกับข้าศึกอย่างหนักจนเสียระเบียบ ทหารแต่ละคน
จะกลับมาที่จุดออกนี้ แล้วไปรวมจุดนัดพบขั้นต้น ผบ.หมวดจะรายงานให้หน่วยเหนือทราบ ต่อไป
๓ - ๕ จุดนัดพบ (Rally Points)
ผบ.หมวด พิจารณาใช้และเลือกที่ตั้งจุดนัดพบ ซึ่งเป็นจุดที่ ผบ.หมวด กำหนดไว้ให้หมวดกลับมา
รวมพล เพื่อจัดระเบียบใหม่หากถูกทำให้หน่วยแตกกระจายกันออกไป
ก. การเลือกจุดนัดพบ ถ้าเป็นไปได้ ผบ.หมวด จะลาดตระเวนด้วยเท้าเพื่อเลือกจุดนัดพบ แต่หาก
ไม่สามารถทำได้ก็อาจเลือกจุดนัดพบจากแผนที่ แต่ก็จะยืนยันจุดนัดพบอีกครั้งเมื่อเคลื่อนที่ผ่านจุด
เหล่านี้ จุดนัดพบควรมีลักษณะ
5

- หาได้ง่าย
- มีการกำบัง และซ่อนพราง
- ไม่อยู่ในแนวเส้นตามธรรมชาติหรือเส้นตัดขอบฟ้ า
- สามารถตั้งรับได้ในระยะเวลาสั้น ๆ
ข. ชนิดของจุดนัดพบ ปกติชนิดของจุดนัดพบมีจุดนัดพบขั้นต้น จุดนัดพบระหว่างทาง จุดนัด
พบ ณ ที่หมาย จุดนัดพบในการกลับเข้าหน่วยทหารฝ่ ายเดียวกัน จุดนัดพบฝั่งไกล - ฝั่งใกล้ ในแต่ละ
ขั้นตอนของภารกิจนั้นทหารจะต้องรู้ว่าเคลื่อนที่ไปยังจุดนัดพบใด อีกทั้งควรจะรู้ด้วยว่าการปฏิบัติ ณ
จุดนัดพบจะปฏิบัติอะไร และจะใช้เวลานานเท่าใด ก่อนที่จะไปจุดนัดพบต่อไป
๑) จุดนัดพบขั้นต้น เป็นจุดที่อยู่ภายในแนวทหารฝ่ ายเดียวกัน ซึ่งจะใช้เป็ นที่รวมพลและจัด
ระเบียบใหม่ ในกรณีที่เกิดการปะทะข้าศึกระหว่างการออกจากแนวทหารฝ่ ายเดียวกันหรือก่อนที่จะ
ถึงจุดนัดพบระหว่างทางแห่งแรก ปกติผู้กำหนดจุดนัดพบขั้นต้นจะเป็น ผบ.หน่วยฝ่ ายเราในแนว
๒) จุดนัดพบระหว่างทาง ผบ.หมวด เป็นผู้กำหนดขึ้นทุกระยะ ๑๐๐ - ๔๐๐ เมตร (ขึ้นอยู่กับ
ภูมิประเทศ พืชพันธุ์ไม้ และทัศนวิสัย) เมื่อ ผบ.หมวด กำหนดจุดนัดพบระหว่างทางขึ้นใหม่แล้ว จุด
นัดพบระหว่างทางเดิมยังคงมีผลใช้ได้ หากเกิดการปะทะฉับพลันทหารจะเคลื่อนที่ไปยังจุดนัดพบเดิม
ในการเลือกจุดนัดพบระหว่างทางปฏิบัติได้ ๓ ลักษณะดังนี้
- เลือกจุดที่หยุดพักห้วงระยะเวลาสั้นๆ เป็นจุดนัดพบ ซึ่งวิธีนี้เป็นวิธีที่พึงประสงค์
- ผ่านห่าง ๆ แล้วกำหนดด้วย สัญญาณมือและแขน
- เดินผ่านจุดนั้น แล้วกำหนดด้วยสัญญาณมือหรือแขน
๓) จุดนัดพบ ณ ที่ หมาย เป็ นจุดที่ปราศจากการมองเห็น เสียง และพ้นระยะจากการยิงของ
ปื นเล็กจากที่หมาย มักอยู่ในพื้นที่ที่หมวดได้วางแผนไว้ว่าอยู่ในทิศทางที่หมวดจะเคลื่อนที่ผ่าน หลัง
จากปฏิบัติภารกิจ ณ ที่หมายเรียบร้อยแล้ว จุดนัดพบ ณ ที่หมายนี้อาจเปลี่ยนแปลงได้จนกว่าจะได้
ยืนยันที่หมายแล้ว (รูปที่ ๓ - ๒) โดยปกติการปฏิบัติบริเวณจุดนัดพบ ณ ที่หมายหรือจากจุดนัดพบ ณ
ที่หมาย มีการปฏิบัติดังนี้
- การลาดตระเวน ณ ที่หมาย
- ออกคำสั่งเป็นส่วน ๆ
- รายงานข่าวสารที่ได้จากการลาดตระเวน เมื่อไม่มีการปะทะ
- เตรียมการขั้นสุดท้ายก่อนจะทำการลาดตระเวนต่อไป เช่น ทำการพรางใหม่ เตรียมวัตถุ
ระเบิด รัดตรึงเป้ เพื่อความคล่องตัว เตรียมชุดควบคุมและจับเชลยศึก ปฐมพยาบาล พวกเปลและการ
ตรวจอาวุธ
- สำรวจยอดกำลังพล และยุทโธปกรณ์ หลังจากเสร็จสิ้นภารกิจ ณ ที่หมาย
- จัดสายการบังคับบัญชาใหม่ หลังจากเสร็จสิ้นภารกิจ ณ ที่หมาย
ก) การเข้าจุดนัดพบ ณ ที่หมายของหมู่ ในการวางแผนการเข้าจุดนัดพบ ณ ที่หมาย ผบ.หมู่
จะพิจารณาวางแผนในเรื่องต่าง ๆ ตามลำดับดังนี้
- หยุดหน่วยให้พ้นจากการมองเห็น เสียง และระยะยิงของปื นเล็ก ห่างจากจุดนัดพบ ณ ที่
หมายประมาณ ๒๐๐ - ๔๐๐ เมตร เมื่อทัศนวิสัยดี แต่หากทัศนวิสัยจำกัดควรหยุดหน่วยที่ระยะ
ประมาณ ๑๐๐ - ๒๐๐ เมตร
- การระวังป้ องกันที่ตั้ง
6

- การเคลื่อนที่ไปข้างหน้า โดยพลเข็มทิศ และพลยิงจากชุดยิงทั้งสองชุด ชุดละหนึ่งคน


ไปด้วยเพื่อยืนยันที่ตั้ง และตรวจความเหมาะสมของจุดพบ ณ ที่หมาย โดยก่อนจะออกไปจะต้องแจ้ง
ให้ทราบแผนเผชิญเหตุ ๕ ประการด้วย
- กำหนดที่อยู่ของ ชุด ก ที่ ๑๒ นาฬิกา ชุด ข ที่ ๖ นาฬิกา ของจุดนัดพบ ณ ที่หมาย แล้ว
แจ้งให้ทราบถึงแผนเผชิญเหตุ ๕ ประการ เสร็จแล้วจึงกลับมาพร้อมกับพลเข็มทิศ
- นำหมู่เข้าจุดนัดพบ ณ ที่หมาย วางกำลังชุดยิง ก ตั้งแต่ ๙ - ๓ นาฬิกา และชุดยิง ข
ตั้งแต่ ๓ - ๙ นาฬิกา
หมายเหตุ : หมู่อาจจะต้องเข้ายึดครองจุดนัดพบ ณ ที่หมายโดยใช้กำลัง จึงจำเป็ นต้องตรวจ
ตราอย่างละเอียด แต่อย่างไรก็ตามไม่ควรแยกหมู่เป็นส่วนๆ
ข) การเข้าจุดนัดพบ ณ ที่หมายของหมวด ก็คงปฏิบัติตามลำดับเช่นเดียวกับหมู่ แต่ในการ
ลาดตระเวนตรวจจุดนัดพบ ณ ที่หมาย ผบ.หมวด จะนำทหารจากแต่ละหมู่ เพื่อกำหนดให้วางกำลัง
ของหมู่ ที่ ๑๐ นาฬิกา ๒ นาฬิกา และ ๖ นาฬิกา หมู่แรกของการเคลื่อนที่วางกำลังที่ ๑๐ - ๒ นาฬิกา
หมู่เคลื่อนที่ตามวางกำลังที่ ๒ - ๖ นาฬิกา และ ๖ - ๑๐ นาฬิกา ตามลำดับ
๔) จุดนัดพบในการกลับแนวทหารฝ่ ายเดียวกัน จะตั้งอยู่พ้นระยะตรวจการณ์ การได้ยินและ
ระยะยิงของปื นเล็กจากแนวทหารฝ่ ายเดียวกัน ซึ่งก็หมายความว่าจะอยู่พ้นระยะยิงฉากป้ องกันขั้น
สุดท้ายของหน่วยฝ่ ายเราด้วย หมวดจะใช้จุดนัดพบในการกลับแนวทหารฝ่ ายเดียวกัน เพื่อระวัง
ป้ องกันรอบตัวเท่านั้น
๕) จุดนัดพบฝั่งไกล– ฝั่งใกล้ เป็นจุดนัดพบที่อยู่บนฝั่งไกลหรือฝั่งใกล้ของพื้นที่อันตราย หาก
หมวดเกิดการปะทะขึ้นระหว่างการข้ามพื้นที่อันตรายและสูญเสียการควบคุม ทหารทุกคนจะเคลื่อนที่
ไปยังจุดนัดพบที่อยู่ใกล้ตัวมากที่สุดทั้งบนฝั่งไกลและฝั่งใกล้ของพื้นที่อันตราย แล้วจัดสายการบังคับ
บัญชาใหม่ สำรวจสถานการณ์ยุทโธปกรณ์ แล้วปฏิบัติภารกิจลาดตระเวนต่อไป หรือทำการบรรจบ
หน่วยบริเวณจุดนัดพบ ณ ที่หมาย หรือปฏิบัติตามคำสั่งสุดท้ายที่ได้รับให้เสร็จสมบูรณ์
๓ - ๖ การลาดตระเวนของ ผบ.หน่วย บริเวณที่หมาย
ในแผนการลาดตระเวนจะต้องรวมการลาดตระเวนของ ผบ.หน่วย (ผบ.หมวด และ ผบ.หมู่)
บริเวณที่หมายไว้ด้วย ซึ่งการลาดตระเวนนี้จะกระทำหลังจากที่ได้กำหนดที่นัดพบ ณ ที่หมายของ
หมวดและหมู่ปื นเล็กเรียบร้อยแล้ว ในระหว่างการลาดตระเวน ผบ.หมวด หรือ ผบ.หมู่ จะกำหนดจุด
ที่แน่ชัดของที่หมาย การระวังป้ องกัน การสนับสนุน และตำแหน่งที่จะเข้าโจมตีให้กับหมู่และชุดยิง
และทำการปรับแผนการลาดตระเวนโดยใช้ผลจากการตรวจการณ์ หรือลาดตระเวนบริเวณที่หมาย
เป็นหลัก
การลาดตระเวนแต่ละประเภทกิจเฉพาะของ ผบ.หน่วย จะแตกต่างกันออกไป ดังนั้นกำลังที่
ผบ.หน่วย จะนำไปด้วยจึงต้องพิจารณาให้เหมาะสม และจะต้องวางแผนในการใช้เวลาให้เหมาะสม
ตั้งแต่การกลับไปถึงจุดนัดพบ ณ ที่หมาย ทำแผนสมบูรณ์ กระจายข่าวกรอง ให้คำสั่งและคำแนะนำ
รวมทั้งเวลาที่จะต้องให้กับหน่วยรองในการเตรียมการ
๓ - ๗ การกลับเข้าแนวทหารฝ่ ายเดียวกัน
คำเตือน : การกลับเข้าแนวทหารฝ่ ายเดียวกัน ในเวลากลางคืนเป็ นอัตรายอย่างยิ่ง จะปฏิบัติต่อ
เมื่อจำเป็นต่อความสำเร็จของภารกิจ
ในการวางแผนขั้นต้นและการประสานงานของ ผบ.หมวด จะต้องมีเรื่องเกี่ยวกับการกลับเข้า
แนวทหารฝ่ ายเดียวกันรวมอยู่ด้วย โดยพิจารณาตามลำดับดังนี้
ก. หมวดหยุดที่จุดนัดพบที่กลับแนว และจัดการระวังป้ องกัน
7

ข. ผบ.หมวดส่งข่าวทางวิทยุเข้ารหัสแจ้งให้หน่วยทหารฝ่ ายเดียวกันทราบที่ตั้งของหมวด และ


ความพร้อมที่จะกลับเข้าแนว หน่วยทหารฝ่ ายเดียวกันที่จะรับหมวดกลับเข้าแนวจะต้องทราบข่าวนี้
และยืนยันให้หมวดที่จะกลับเข้าแนวทราบว่า พลนำทางพร้อมนำทางหมวดตั้งแต่ก่อนที่หมวดจะ
เคลื่อนที่จากจุดนัดพบก่อนกลับเข้าแนว
๑) กรณีไม่สามารถติดต่อสื่อสารวิทยุได้ ผบ.หมวด พลวิทยุ และส่วนระวังป้ องกัน ๒ นาย
(คู่ buddy) จะเคลื่อนที่ไปยังที่ตรวจการณ์ของหน่วยทหารฝ่ ายเดียวกัน แล้วพยายามติดต่อโดยใช้
สัญญาณหมายหน่วย หรือสัญญาณผ่าน เมื่อสามารถติดต่อกันได้แล้วผู้ประจำอยู่ที่ตรวจการณ์
รายงานให้หน่วยเหนือทราบและร้องขอพลนำทาง
๒) ถ้าหาที่ตรวจการณ์ไม่พบ ผบ.หมวด พร้อมด้วยพลวิทยุและส่วนระวังป้ องกันจะจัดตั้งจุด
ประสานงานเพื่อการกลับแนว ผบ.หมวดจะเคลื่อนที่ตรงไปและออกห่างจากแนวทหารฝ่ ายเดียวกัน
โดยไม่ให้ขนานแนวการเคลื่อนที่ทางข้างจะต้องอยู่พ้นระยะยิงของอาวุธปื นเล็กด้วย
หมายเหตุ : การปฏิบัติเช่นนี้ ผบ.หมวด ควรพยายามปฏิบัติเฉพาะเวลากลางวันเท่านั้น ถ้า
เวลากลางคืนควรใช้เพียงการสื่อสาร เพื่อติดต่อกับหน่วยทหารฝ่ ายเรา แต่วิธีที่พึงประสงค์ก็คือ การรอ
คอยจนกระทั่งกลางวัน (ถ้าการสื่อสารไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้)
ค. ถ้าหน่วยทหารฝ่ ายเราได้รับทราบการกลับมาของหมวดแล้ว ผบ.หมวด จะแจ้งแผนเผชิญเหตุ
๕ ประการ พร้อมกับนำพลวิทยุและทหาร ๑ คู่บัดดี้ (buddy team) ซึ่งเป็นส่วนระวังป้ องกันไปตรวจ
มุมภาคและนับก้าวไปยังจุดผ่านแนว
ง. ผบ.หมวดใช้ทัศนสัญญาณระยะไกลและระยะใกล้ติดต่อกับพลนำทาง
จ. ผบ.หมวด แจ้งส่วนนำของหมวด (โดยใช้วิทยุ) หรือกลับไปนำหมวดเคลื่อนที่ไปยังจุดผ่าน
แนวด้วยตนเอง ผบ.หมวด อาจจะกำหนดที่ตั้งของส่วนระวังป้ องกัน พร้อมด้วยพลนำทางไว้ทางด้าน
ข้าศึกก็ได้
ฉ. รอง ผบ.หมวด จะคอยนับและพิสูจน์ฝ่ ายทหารแต่ละคนที่ผ่านจุดผ่านแนว
ช. คนนำทาง นำทางหมวดไปยังที่รวมพลก่อนการผ่านแนว
ซ. ผบ.หมวด รายงานเหตุการณ์ให้ที่บังคับการหน่วยทหารฝ่ ายเดียวกันทราบในทุกเรื่องที่มีผลก
ระทบทางยุทธวิธี ในพื้นที่รับผิดชอบของหน่วยทหารเดียวกัน
ด. ผบ.หมวด จะกลับมาร่วมกับหมวด ณ ที่รวมพล เพื่อนำหมวด ไปยังพื้นที่ปลอดภัยเพื่อ
สอบถามและรับรายงานจากกำลังพลภายในหมวดในเรื่องต่าง ๆ
๓ - ๘ การรายงานผล
ทันทีที่หมวดหรือหมู่กลับมาถึง ผู้แทนจากหน่วยเหนือจะมาสอบถามและรับฟังการรายงานผล
โดยตลอด ซึ่งผู้เข้าร่วมอาจจะประกอบด้วยทหารทุกคนในหมวดหรือ ผบ.หมวด หรือพลวิทยุ และ
หน่วยสมทบอื่น ๆ ซึ่งปกติจะรายงานด้วยวาจา แต่บางครั้งอาจต้องการให้รายงานเป็นลายลักษณ์อักษร
(กองกำลัง NATO รายงานตามแบบฟอร์มที่กำหนดโดย STANAG 2003) ข่าวสารที่จะรายงาน
ประกอบด้วย
- ขนาดและการประกอบกำลังของหมวด เพื่อปฏิบัติภารกิจลาดตระเวน
- ภารกิจของหมวด (ชนิดของการลาดตระเวน บริเวณ ความมุ่งหมาย ฯลฯ)
- เวลาไปและกลับ
- บรรยายรายละเอียด ภูมิประเทศ และที่ข้าศึกที่ทราบแล้ว
- ผลการปะทะกับข้าศึก
- สถานภาพกำลังพล เมื่อเสร็จสิ้นภารกิจ ตลอดจนที่อยู่ของผู้บาดเจ็บ
8

- ข้อสรุปและข้อเสนอ

ตอนที่ ๒
การลาดตระเวนหาข่าว

การลาดตระเวนหาข่าวมีการปฏิบัติ ๓ อย่าง คือ เป็ นพื้นที่ เป็ นเขต และการลาดตระเวนเส้น


ทาง ซึ่งในการลาดตระเวนหาข่าวนี้กำหนดระยะเวลาที่แน่นอน และต้องการข่าวสารที่แน่นอนเกี่ยว
กับภูมิประเทศ เพื่อที่ ผบ.หน่วย จะได้ยืนยันกับแผนที่วางไว้ก่อนที่จะลงมือปฏิบัติตามแผน ดังนั้นผู้
บังคับบัญชาจะต้องมอบหัวข้อข่าวสารเจาะจงที่ต้องการ ให้กับ ผบ.หน่วย ลาดตระเวนในแต่ละภารกิจ
๓ - ๙ การจัด
ปกติการลาดตระเวนหาข่าวจัดกำลังเป็ นสองส่วน คือ ชุดลาดตระเวนหาข่าว และชุดลาดตระเวน
ระวังป้ องกัน
ก. ชุดลาดตระเวนหาข่าว เมื่อชุดระวังป้ องกันเข้าวางตัวเรียบร้อยแล้ว ชุดลาดตระเวนหาข่าวจะ
เริ่มลาดตระเวนหาข่าวทันที ปกติจัดกำลังเป็นคู่บัดดี้เพื่อลดโอกาสที่จะถูกตรวจพบ
ข. ชุดลาดตระเวนและป้ องกัน ปกติจะใช้ในการลาดตระเวนเขต แต่ก็อาจจะใช้ประโยชน์ใน
สถานการณ์ที่ไม่สามารถแบ่งความรับผิดชอบระหว่างการลาดตระเวนกับการระวังป้ องกันได้
๓ - ๑๐ กิจที่มอบให้หน่วยรอง
โดยปกติ บก.หมวด เป็นส่วนควบคุมหมวด ในภารกิจลาดตระเวนหาข่าว
ก. ผบ.หมวด เป็ นผู้พิจารณาความต้องการในการลาดและการระวังป้ องกันเพื่อมอบหมายกิจ
ให้หมู่หรือชุดยิงเป็ นผู้ปฏิบัติ ผบ.หมวด จะแบ่งกิจให้หมู่ใดหมู่หนึ่งหรือมากกว่าปฏิบัติเรื่องการลาด
ตระเวนหาข่าว ขณะที่หมู่อื่น ๆ หรือ ชุดยิงอื่น ๆ ได้รับภารกิจระวังป้ องกันในที่ตั้งยิงที่เปลี่ยนย้าย
ตลอดเวลา หรืออาจจะมอบหมายกิจให้แต่ละหมู่ หรือแต่ละชุดยิงได้รับกิจลาดตระเวนและป้ องกัน
ในระดับชุดยิงหากปฏิบัติกิจลาดตระเวนหาข่าว จะจัดเป็นชุดลาดตระเวนและป้ องกันเพียงชุดเดียว
ข. ในการมอบหมายกิจ ผบ.หมวด จะคำนึงถึงขนาดและจำนวนที่หมาย ความต้องการในการ
ป้ องกัน จุดนัดพบ ณ ที่หมาย และจุดอื่น ๆ รวมทั้งเวลาที่มีอยู่สำหรับปฏิบัติภารกิจ
๓ - ๑๑ การลาดตระเวนพื้นที่
การลาดตระเวนพื้นที่เป็ นการลาดตระเวน เพื่อให้ได้ข่าวสารเกี่ยวกับที่ตั้งเฉพาะและพื้นที่รอบ ๆ
ซึ่งอาจจะได้รับมอบมาเป็นตารางพิกัดกริด หรือที่หมายหรือแผ่นบริวารหมวดหรือหมู่ จะใช้การเฝ้ า
ตรวจจากพื้นที่สูงใกล้ที่หมายในการตรวจการณ์ในการวางแผนลาดตระเวนพื้นที่ ผบ.หมวด ควรจะ
พิจารณาตามลำดับขั้น ดังนี้
ก. ในการลาดตระเวนที่หมายของ ผบ.หมวด อาจจะนำชุดเฝ้ าตรวจจากจุดนัดพบ ณ ที่หมาย
ไปด้วย เพื่อไปเข้าที่ตั้งในระหว่างการลาดตระเวน ผบ.หน่วยรอง จะรับผิดชอบในการจัดการระวัง
ป้ องกันบริเวณจุดนัดพบ ณ ที่หมาย และวางชุดระวังป้ องกันไว้ตามแนวทางที่คาดว่าข้าศึกจะใช้
เคลื่อนที่เข้าสู่ที่หมายด้วย
ข. ผบ.หมวด อาจจะกำหนดชุดเฝ้ าตรวจอื่น ๆ เกี่ยวกับที่หมายก็ได้ โดยอาจจะกำหนดให้
เคลื่อนที่ตามเส้นทางที่แยกกันไปยังตำแหน่งที่กำหนดให้ หรืออาจจะนำไปตามเส้นทาง แล้วกำหนดที่
วางตัวในระหว่างการเคลื่อนที่
9

ค. หลังจากเฝ้ าตรวจที่หมายตามเวลาที่กำหนดแล้ว ทุกส่วนเคลื่อนที่ไปยังจุดนัดพบ ณ ที่หมาย


เพื่อรายงานผลการตรวจการณ์ให้กับ ผบ.หมวด หรือเจ้าหน้าที่บันทึกให้รับทราบ เมื่อรวบรวม
ข่าวสารได้ทั้งหมดแล้ว ก็จะแจ้งให้ทหารทุก ๆ คนได้รับทราบด้วย
๓ - ๑๒ การลาดตระเวนเขต
การลาดตระเวนเขตเป็ นการลาดตระเวนในเขตเฉพาะ เพื่อให้ได้ข่าวสารเกี่ยวกับข้าศึก
ภูมิประเทศและเส้นทาง การลาดตระเวนเขต ประกอบด้วย การใช้ส่วนเคลื่อนที่ และส่วนเฝ้ าตรวจ
ประจำที่ หรือใช้การลาดตระเวนต่อเนื่องเป็นส่วน ๆ
ก. ส่วนเคลื่อนที่ ผบ.หมวด วางแผนการใช้หมู่หรือชุดยิงเคลื่อนที่ในหลายเส้นทาง เพื่อให้
ครอบคลุมพื้นที่ได้อย่างทั่วถึง โดยวิธีการวางแผนการเคลื่อนที่ของส่วนต่าง ๆ จะประกอบด้วย การ
ลาดตระเวนรูปใบพัด การลาดตระเวนรูปกล่อง การลาดตระเวนแบบเส้นทางบรรจบกัน และการลาด
ตระเวนให้สำเร็จทีละส่วน
๑) วิธีการลาดตระเวนรูปใบพัด ขั้นแรก ผบ.หมวด จะเลือกจุดนัดพบ ณ ที่หมายหลาย ๆ
แห่งตลอดทั่วทั้งเขตที่จะลาดตระเวน หมวดจะจัดการระวังป้ องกันขึ้นที่ จุดนัดพบ ณ ที่หมาย แต่ละ
ชุดลาดตระเวนจะเคลื่อนที่ในเส้นทางที่แตกต่างกันในรูปใบพัด ซึ่งแต่ละเส้นทางจะทาบทับกับเส้น
ทางอื่น เพื่อให้มั่นใจได้ว่าได้ปฏิบัติการลาดตระเวนตลอดทั่วพื้นที่ ผบ.หมวด จะให้กองหนุนอยู่ที่จุด
นัดพบ ณ ที่หมาย เมื่อชุดลาดตระเวนและป้ องกันกลับมายังจุดนัดพบ ณ ที่หมาย หมวดจะรวบรวม
และกระจายข่าวสารทั้งหมดให้ทหารทุกคนทราบก่อนที่จะเคลื่อนย้ายต่อไปยังจุดนัดพบ ณ ที่หมาย
แห่งต่อไป
๒) วิธีการลาดตระเวนรูปกล่อง ผบ.หมวด จะส่งชุดลาดตระเวนและป้ องกันจากจุดนัดพบ ณ
ที่หมาย ตามเส้นทางซึ่งมีรูปร่างคล้ายกล่องในพื้นที่ และส่งชุดลาดตระเวนและป้ องกัน ชุดอื่น ๆ
ลาดตระเวนเส้นทางภายในรูปกล่อง ทุกชุดจะบรรจบกัน ณ จุดบรรจบ ซึ่งอยู่ด้านไกลของรูปกล่อง
จากจุดนัดพบ ณ ที่หมาย
๓) วิธีการลาดตระเวนแบบเส้นทางบรรจบ ผบ.หมวด เลือกเส้นทางจากจุดนัดพบ ณ ที่หมาย
ผ่านเขตลาดตระเวนไปยังจุดบรรจบ ซึ่งอยู่ด้านไกลของเขตลาดตระเวน ให้แต่ละชุดลาดตระเวนและ
ป้ องกันเคลื่อนที่ตามเส้นทางที่กำหนดให้ ซึ่งแต่ละชุดจะใช้เทคนิคการลาดตระเวนรูปใบพัดตามเส้น
ทางไปยังจุดบรรจบ ตามเวลาที่ ผบ.หมวด กำหนดไว้
๔) วิธีการต่อเนื่องเป็ นส่วน ๆ ผบ.มว. จะแบ่งความรับผิดชอบเป็ นส่วน ๆ ในแต่ละส่วนจะ
ใช้วิธีการลาดตระเวนเส้นทางบรรจบระหว่างทาง ซึ่งจะใช้ในการรวบรวมและกระจายข่าวสาร
ก่อนที่จะลาดตระเวนไปยังส่วนต่อไป
ข) ชุดเฝ้ าตรวจประจำที่ การใช้เทคนิคนี้ ผบ.มว. จะกำหนดให้ชุดเฝ้ าตรวจวางตัวในจุดต่างๆ
ที่สามารถตรวจการณ์ได้ทั่วเขตรับผิดชอบในระยะเวลานาน เพื่อรวบรวมข่าวสารที่ปรากฏ ผบ.หมวด
จะต้องพิจารณาสิ่งที่จำเป็นในการดำรงชีพ ในแผนการบรรทุกของทหารด้วย
ค) การลาดตระเวนหลายพื้นที่ ผบ.หมวดจะมอบกิจเฉพาะให้หมู่ต่าง ๆ ปฏิบัติการลาด
ตระเวนเป็นพื้นที่ตามเส้นทางที่กำหนด
๓ - ๑๓ การลาดตระเวนเส้นทาง
การลาดตระเวนเส้นทางเป็ นการปฏิบัติเพื่อได้มาซึ่งรายละเอียดของข่าวสาร เกี่ยวกับเส้นทาง
และภูมิประเทศใกล้เคียง หรือตำบลที่เหมาะแก่การจัดวางเครื่องกีดขวาง การลาดตระเวนเส้นทาง
เป็ นการปฏิบัติบนข่ายเส้นทางเป็ นแนวแคบๆ เช่น ช่องทางแทรกซึม หรือทิศทางเข้าตีหลัก ปกติจะ
สมทบทหารช่างให้กับหน่วยทหารราบเพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ในการลาดตระเวน แต่อย่างไรก็ตาม
10

ทหารราบสามารถจัดการลาดตระเวนเส้นทางแบบเร่งด่วนโดยไม่ต้องรับการสนับสนุนจากทหารช่าง
ก็ได้ ผลจากการลาดตระเวนจะได้รายละเอียดเกี่ยวกับความสามารถในการจราจร พฤติกรรมข้าศึก
การแพร่ของ นชค. แง่คิดเกี่ยวกับภูมิประเทศทั้งของฝ่ ายเราและข้าศึก ในการวางแผนการลาดตระเวน
เส้นทาง ผบ.หมวดจะพิจารณาเรื่องต่างต่อไปนี้
ก. วิธีการที่พึ่งประสงค์คือ การลาดตระเวนเส้นทางรูปใบพัด ตามที่ได้กล่าวถึงมาแล้ว
ผบ.หมวด ต้องมั่นใจได้ว่ารูปใบพัดนั้นขยายกว้างพอที่จะลาดตระเวนแบ่งเส้นทาง พ้นจากระยะยิงเล็ง
ตรงจากเส้นทางหลัก
ข. ผบ.หมวดควรใช้เส้นทางไปและกลับไม่ซ้ำกัน
ค. แม้ว่าวัตถุประสงค์ของการลาดตระเวนเส้นทางบางส่วนหรือทั้งหมดคือถนน ผบ .หมวด ควร
ตระหนักว่าถนนถือเป็นพื้นที่อันตรายประเภทหนึ่ง หน่วยลาดตระเวนควรใช้การเคลื่อนที่ตามเส้นทาง
ขนานกับถนนซึ่งให้การกำบังและซ่อนพรางได้ดี ในการตรวจพื้นที่สำคัญอาจจะให้ส่วนลาดตระเวน
และส่วนระวังป้ องกันเคลื่อนที่ใกล้กับถนนได้เมื่อต้องการ
ง. ผบ.หน่วยลาดตระเวนควรเสนอรายงานการลาดตระเวนในรูปแบบของแผ่นบริวาร
ตอนที่ ๓
การลาดตระเวนรบ

การลาดตระเวนรบเป็ นการปฏิบัติเพื่อทำลายหรือจับกุมข้าศึก หรือยุทโธปกรณ์ที่ตั้งทาง


ทหารหรือสิ่งอำนวยความสะดวก หรือสิ่งที่เป็ นจุดสำคัญ หรือการรบกวนกำลังข้าศึก จึงมักจัดหน่วย
ป้ องกันขนาดใหญ่ โดยปกติแบบของหน่วยลาดตระเวนรบมี ๒ แบบคือ การซุ่มโจมตีและการตีโฉบ
ฉวย
๓ - ๑๔ การจัด
ปกติ ในการลาดตระเวนรบมักจะมีการจัดชุดกำลังดังนี้
ก. ส่วนโจมตี : เป็ นส่วนที่ยึดและระวังป้ องกันบริเวณที่หมาย และให้การระวังป้ องกัน ชุด
ปฏิบัติการพิเศษ เพื่อให้ปฏิบัติการบริเวณที่หมายได้อย่างสมบูรณ์
ข. ส่วนระวังป้ องกัน มักจะได้รับภารกิจในการระวังป้ องกันในพื้นที่อันตราย การป้ องกันจุดนัด
พบ ณ ที่หมาย แยกที่หมาย และการสนับสนุนการถอนตัวของกำลังส่วนที่เหลือของหมวดออกจาก
พื้นที่ปฏิบัติการหลังจากปฏิบัติภารกิจที่ได้รับมอบหมายเรียบร้อยแล้ว ส่วนระวังป้ องกันอาจจัดกำลัง
เป็นหลายชุดระวังป้ องกัน ซึ่งแต่ละชุดก็จะได้รับมอบภารกิจให้ปฏิบัติหรือให้ปฏิบัติภารกิจตามลำดับ
ขั้น
ค. ส่วนสนับสนุน ให้การสนับสนุนด้วยการยิงตรง และอาจควบคุมการยิงเล็งจำลอง ให้กับ มว.
ง. ส่วนทำลาย (Breach Element) มีหน้าที่ทำลายเจาะช่องเครื่องกีดขวางของข้าศึกเมื่อต้องการ
จ.ชุดระเบิดทำลาย มีความรับผิดชอบในการเตรียมการและใช้ระเบิดทำลายยุทโธป-กรณ์ ยาน
พาหนะ และสิ่งอำนวยความสะดวกบริเวณที่หมาย
ฉ. ชุดตรวจค้น ส่วนโจมตีอาจจะแบ่งกำลังเป็นชุดละ ๒ คน หรือ ๔ คน (ชุดยิง) เพื่อตรวจค้นที่
กำบัง อาคาร หรืออุโมงค์บริเวณที่หมาย ชุดเหล่านี้จะตรวจค้นบริเวณที่หมายหรือพื้นที่สังหาร เพื่อ
ค้นหาคนบาดเจ็บ เอกสาร หรือยุทโธปกรณ์
๓ - ๑๕ ภารกิจสำหรับหน่วยรอง
ปกติ บก.มว. เป็ นส่วนที่ควบคุม มว. ในการปฏิบัติภารกิจลาดตระเวน ผบ.มว. จะต้องพยายาม
ดำรงความเป็นหมู่และชุดยิง ในการมอบภารกิจให้หน่วยรองมีเรื่องที่ควรพิจารณาดังนี้
11

ก. ผบ.หมวด จะต้องพิจารณาความต้องการในการโจมตีที่หมาย การสนับสนุนด้วยการยิง และ


การระวังป้ องกันหน่วย ตลอดจนจบภารกิจ
๑) ในการโจมตีที่หมาย ผบ.มว. จะต้องพิจารณาความต้องการในการปฏิบัติบริเวณที่หมาย
ขนาดของที่หมาย และสิ่งที่รู้แล้ว หรือสมมุติฐานเกี่ยวกับจุดแข็งของข้าศึก การวางกำลังของข้าศึก
บริเวณที่หมายหรือใกล้เคียงที่หมาย
๒) ผบ.มว. จะต้องพิจารณา ขีดความสามารถของอาวุธที่มีอยู่แต่และชนิดรวมถึงปริมาณการ
ยิงที่ต้องการเพื่อสนับสนุนส่วนโจมตีที่หมาย
๓) ผบ.มว. จะต้องพิจารณาความต้องการในการจัดการระวังป้ องกันให้กับหมวดในจุดต่าง
ๆ ตลอดเส้นทางทาง พื้นที่อันตราย จุดนัดพบ ณ ที่หมาย ตลอดแนวทางเคลื่อนที่เข้าสู่ที่หมายของ
ข้าศึก และเรื่องอื่น ๆ ระหว่างปฏิบัติภารกิจ
ข. ผบ.มว. มอบกิจแฝงให้หมู่เพื่อปฏิบัติเกี่ยวกับการวางระเบิดทำลาย การค้นหาข้าศึก หรือจับ
ข้าศึก การป้ องกันของชุดควบคุมเชลยศึก การรักษาพยาบาลและการส่งกลับ (ชุดเปล) ผู้ป่ วยฝ่ ายเรา
และกิจอื่น ๆ ที่จำเป็นต่อความสำเร็จของภารกิจลาดตระเวน
ค. ผบ.หมวด จะพิจารณาว่าใครจะเป็นผู้ควบคุมหน่วยขึ้นสมทบซึ่งจัดผู้ชำนาญการหรือยุทโธ
ปกณ์พิเศษมาให้
๓ - ๑๖ การลาดตระเวนที่หมายของ ผบ.หมวด
ในการลาดตระเวนรบ ผบ.มว. จะพิจารณาเพิ่มเติมการปฏิบัติการลาดตระเวนบริเวณที่หมาย
จากจุดนัดพบ ณ ที่หมาย ปกติ ผบ.มว. จะเป็ น ผบ. ส่วนโจมตี และจะนำ ผบ.ส่วนสนับสนุน ผบ.ส่วน
วังป้ องกันและชุดเฝ้ าตรวจ (ทีม ๒ คนจากส่วนโจมตี) ไปด้วย
ก. ผบ.มว. กำหนดจุดแยก ซึ่งอยู่กลางทางระหว่าง จุดนัดพบ ณ ที่หมาย กับที่หมาย หมู่และชุด
ยิงจะแยก ณ จุดแยก และเคลื่อนที่เข้าที่ตั้งที่ ผบ.มว.กำหนดให้ จุดแยกนี้ควรมีการสื่อสารทางสายกับ
จุดนัดพบ ณ ที่หมายและก่อตั้ง
ข. ผบ.มว. ต้องมีความแน่ใจในเรื่องที่ตั้งของที่หมายและพิจารณาอย่างรอบคอบแล้วว่าที่หมาย
นั้นเหมาะแก่การซุ่มโจมตี นอกจากนั้นจะต้องสังเกตภูมิประเทศและพิสูจน์ทราบว่าบริเวณใดที่
สามารถวางทุ่นระเบิดหรือเคลย์โมเพื่อคุ้มครองพื้นที่อับกระสุนได้ รวมทั้งต้องสังเกตองค์ประกอบ
โดยรวมของที่หมายว่ามีอะไรบ้างที่อาจมีผลทำให้แผนที่วางไว้ต้องเปลี่ยนแปลง
ค. ถ้าที่หมายมีลักษณะเป็ นพื้นที่สังหารของการซุ่มโจมตี ชุดลาดตระเวนของ ผบ.มว.ไม่ควร
ข้ามผ่านบริเวณนั้น เพราะอาจทำให้เกิดปรากฏร่องรอยที่น่าสงสัยซึ่งจะกระทบกระเทือนภารกิจ
ง. ผบ.หมวดควรยืนยันความเหมาะสมของที่ตั้งของส่วนโจมตี และส่วนสนับสนุนรวมทั้งเส้น
ทางจากที่ตั้งเหล่านั้นกลับไปยังจุดนัดพบ ณ ที่หมาย
จ. ผบ.มว. ควรกำหนดที่ตั้งของชุดเฝ้ าตรวจและแจ้งแผนเผชิญเหตุ ๕ ประการ ให้ชุดเฝ้ าตรวจ
ทราบก่อนที่จะกลับไปยัง จุดนัดพบ ณ ที่หมาย
๓ - ๑๗ การซุ่มโจมตี
การซุ่มโจมตีเป็นการจู่โจมจากที่ตั้งที่มีการซ่อนพรางต่อเป้ าหมายขณะเคลื่อนที่ หรือเป้ าหมาย
ระหว่างหยุดพัก การซุ่มโจมตียานเกราะจะกระทำเมื่อได้รับมอบภารกิจให้ทำลายยานเกราะหรือยาน
ยนต์ข้าศึก การซุ่มโจมตีแบ่งออกเป็ น การซุ่มโจมตีแบบเร่งด่วนหรือประณีต การซุ่มโจมตีแบบเป็ นจุด
หรือพื้นที่ และการซุ่มโจมตีรูปขบวนตามแนวยาวหรือรูปตัวแอล ผบ.มว. จะใช้การผสมผสานของ
แบบ ชนิดและรูปขบวน เพื่อพัฒนาแผนการซุ่มโจมตี
ก. การวางแผน จะพิจารณาเรื่องสำคัญ ๆ ดังนี้
12

- การคุ้มครองพื้นที่สังหารทั้งหมดด้วยการยิง
- การใช้เครื่องกีดขวางทั้งที่มีอยู่เดิมและสร้างเพิ่มเติม (เคลย์โม และทุ่นระเบิดอื่นๆ) เพื่อ
บังคับให้ข้าศึกต้องอยู่ในพื้นที่สังหาร
- การป้ องกันส่วนโจมตีและส่วนสนับสนุนโดยใช้ทุ่นระเบิดเคลย์โม หรือวัตถุระเบิดอื่นๆ
- ใช้ส่วนระวังป้ องกันในการแยกพื้นที่สังหารให้โดยเดี่ยว
- การโจมตีเข้าสู่พื้นที่สังหารเพื่อค้นหาข้าศึกที่เสียชีวิตหรือบาดเจ็บ รวบรวมเชลยศึกและ
ยุทโธปกรณ์ (ส่วนโจมตีจะต้องสามารถใช้ความรวดเร็วในการเคลื่อนที่ผ่านเครื่องกีดขวางป้ องกันตัว
ของหน่วยตนเอง)
- ทุกส่วนของหมวดจะต้องปฏิบัติตามกำหนดเวลาเพื่อมิให้เสียผลของการจู่โจม
- ใช้เพียงหมู่เดียวในการปฏิบัติในพื้นที่ซุ่มโจมตีและหมุนเวียนหมู่จากจุดนัดพบ ณ ที่หมาย
การปฏิบัติด้วยเทคนิคอย่างนี้จะมีประโยชน์เมื่อต้องปฏิบัติการซุ่มโจมตีเป็นเวลานาน
ข. รูปขบวน ผบ.มว.พิจารณาใช้รูปขบวนตามแนวยาวหรือรูปขบวนแบบตัวแอล
ในการวางแผนการซุ่มโจมตี
๑) รูปขบวนตามแนวยาว การใช้รูปขบวนตามแนวยาวเพื่อปฏิบัติการซุ่มโจมตี ส่วนโจมตี
และส่วนสนับสนุนวางกำลังให้ขนานกับเส้นทางการเคลื่อนที่ของฝ่ ายข้าศึก จากที่ตั้งของทั้งสองส่วน
ตามแนวยาวของพื้นที่สังหารทำให้ข้าศึกต้องเผชิญกับการถูกยิงจากทางปี ก รูปขบวนแบบนี้ใช้ได้ดีใน
ภูมิประเทศปิ ดซึ่งจำกัดความสามารถในการดำเนินกลยุทธของข้าศึก ในการต่อสู้กับหมวด หรือใช้ใน
ภูมิประเทศโล่งแจ้งได้หากมีเครื่องมือที่ใช้บังคับให้ข้าศึกต้องอยู่ภายในพื้นที่สังหาร
๒) รูปขบวนแบบตัว แอล การใช้รูปขบวนแบบตัวแอล ส่วนโจมตีจะวางกำลังทางขา
ด้านยาวของตัวแอล โดยให้ขนาดกับทิศทางการเคลื่อนที่ของข้าศึก ส่วนสนับสนุนจะวางกำลังทาง
ด้านสั้นของตัวแอลต่อจากส่วนโจมตีซึ่งจะทำให้ข้าศึกต้องประสบทั้งการยิงทางปี ก (ด้านยาวของรูป
ตัวแอล) และการยิงกราด (ด้านสั้นของรูปตัวแอล) รูปขบวนตัวแอลเหมาะในการซุ่มโจมตีบริเวณ
ทางโค้งหักศอกของทางเดิน ถนนหรือลำธาร แต่จะไม่ควรใช้ในกรณีที่ด้านสั้นจำเป็ นต้องวางกำลัง
ข้ามถนน หรือเส้นทางที่มีลักษณะเป็นเส้นตรง
๓ - ๑๘ การซุ่มโจมตีเร่งด่วน
หมวดหรือหมู่ปฏิบัติภารกิจการซุ่มโจมตีเร่งด่วน เมื่อตรวจพบกำลังข้าศึกและมีเวลาในการ
วางกำลังซุ่มโจมตีจำกัด การปฏิบัติการซุ่มโจมตีจำเป็นต้องได้รับการฝึกมาแล้วเป็นอย่างดี ทหารต้องรู้
ว่าจะทำอะไร เมื่อได้รับสัญญาณจาก ผบ.มว. และต้องรู้ด้วยว่าจะปฏิบัติอย่างไรหากถูกตรวจพบก่อน
ที่จะพร้อมปฏิบัติการซุ่มโจมตี ในการวางแผนและการซักซ้อมการซุ่มโจมตีแบบเร่งด่วน ผบ.หมวด
จะพิจารณาตามลำดับดังนี้
ก. ใช้ทัศนสัญญาณ และทหารทุกนายจะต้องมีความตื่นตัวว่าข้าศึกอยู่ในสายตาและจะต้อง
จับตาดูที่ตั้งและพฤติกรรมของกำลังข้าศึก จนกว่าจะได้รับการผลัดเปลี่ยนจากชุดของตนหรือ ผบ.หมู่
ข. หมวดหรือหมู่จะหยุดการเคลื่อนไหวอยู่กับที่
ค. ผบ.หมวด พิจารณาหาที่ตั้งใกล้ ๆ ที่ดีที่สุดที่เหมาะสำหรับการซุ่มโจมตีเร่งด่วน จากนั้น
ใช้ทัศนสัญญาณเพื่อสั่งการให้ทหารเข้าที่กำบังและซ่อนพราง แล้วกำหนดที่ตั้งและแนวพื้นที่สังหาร
ง. ส่วนระวังป้ องกันเคลื่อนที่เข้าที่ตั้งเพื่อกำบังด้านปี กทั้งสองข้างและด้านหลังซึ่งจะอยู่ใน
ระยะที่ ผบ.หมวด กำหนดให้ ส่วนระวังป้ องกันนี้จะกลับมาอยู่ร่วมกับหมวดเมื่อสั่ง หรือภายหลังเสร็จ
สิ้นการซุ่มโจมตี ในระดับหมู่ คู่บัดดี้ ๒ คู่ทางปี ก จะได้รับมอบให้ระวังป้ องกันปี กเพิ่มเติมจากการยิง
ในพื้นที่สังหารในระดับหมวด ชุดยิงจะได้รับภารกิจเป็นส่วนป้ องกัน
13

จ. ทหารจะเคลื่อนที่อย่างรวดเร็วไปยังที่วางตัวที่มีการกำบังและซ่อนพราง ซึ่งโดยปกติจะ
ห่างประมาณ ๕ - ๑๐ เมตร ทหารจะต้องมั่นใจว่าอยู่ในจุดที่ให้การตรวจการณ์และพื้นยิงได้ดีไปยัง
พื้นที่สังหาร
ฉ. ผบ.มว. เริ่มดำเนินการซุ่มโจมตีเมื่อกำลังข้าศึกส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่สังหาร (หากเวลา
และภูมิประเทศเกื้อกูล หมวดหรือหมู่ อาจใช้เคลย์โมในการเปิ ดฉากการซุ่มโจมตี)
หมายเหตุ กรณีถูกข้าศึกตรวจพบ ทหารที่เปิ ดฉากการซุ่มโจมตีโดยการยิงจะต้องแจ้งให้
ส่วนที่เหลือของหมวดทราบว่าข้าศึกทางขวา (ทางซ้ายหรือตรงหน้า)
ช. ผบ.หมวดเป็นผู้ควบคุมอัตราการยิงและขอบเขตการยิง ผบ.หมวดจะให้หยุดยิงเมื่อข้าศึก
ถูกทำลายหรือข้าศึกหยุดต้านทาน จากนั้นส่วนโจมตีจะเข้าไปในพื้นที่สังหารเพื่อตรวจค้นทหารข้าศึก
ทหารในส่วนอื่น ๆ ยังคงประจำที่เพื่อให้การระวังป้ องกัน
ซ. ส่วนระวังป้ องกันจะกลับมารวมตัวกับหมวดภายหลังจากส่วนโจมตีตรวจค้นทั่วพื้นที่
สังหารแล้ว หมวดจะถอนตัวจากพื้นที่ซุ่มโจมตีโดยใช้เส้นทางที่ปกปิ ดกำบัง จากนั้นกลับไปจุดนัดพบ
ณ ที่หมาย เพื่อรวบรวมรายงานข่าวสารทั้งหมด จัดระเบียบใหม่ที่จำเป็นและปฏิบัติภารกิจต่อไป
๓ - ๑๙ การซุ่มโจมตีปราณีต
การซุ่มโจมตีปราณีตเป็ นการปฏิบัติต่อที่หมายเฉพาะเจาะจงในพื้นที่ที่กำหนดไว้แล้ว
ผบ.หมวดจึงต้องการข่าวสารโดยละเอียด เพื่อใช้ในการวางแผนการซุ่มโจมตีปราณีต ดังต่อไปนี้
- ขนาดและการประกอบกำลังของข้าศึก
- อาวุธยุทโธปกรณ์ของข้าศึก
- เส้นทางและทิศทางการเคลื่อนที่ของข้าศึก
- เวลาที่หน่วยเป้ าหมายจะถึงหรือผ่านจุดที่กำหนดตามเส้นทาง
๓ - ๒๐ การซุ่มโจมตีเป็ นจุด
ในการซุ่มโจมตีเป็ นจุดนั้นจะวางกำลังต่อพื้นที่สังหารแห่งเดียว ในการวางแผนการซุ่มโจมตี
เป็นจุดแบบปราณีต ผบ.มว. จะต้องพิจารณาตามลำดับนี้
ก. ชุดระวังป้ องกันหรือชุดเฝ้ าตรวจ จะต้องเข้าประจำที่ตั้งเป็ นอันดับแรก ส่วนสนับสนุนควร
วางกำลังให้แล้วเสร็จก่อนส่วนโจมตีจะเคลื่อนที่ผ่านจุดแยก เพื่อให้ส่วนสนับสนุนเป็ นผู้เฝ้ าตรวจเพื่อ
ให้ส่วนโจมตีเข้าประจำที่ตั้ง
ข. ผบ.หมวดซึ่งก็คือ ผบ.ส่วนโจมตีด้วย จะต้องตรวจสอบการเข้าประจำที่ตั้งโจมตีของทหาร
แต่ละคนแล้วให้สัญญาณชุดเฝ้ าตรวจกลับมารวมกับส่วนโจมตีต่อไป
๑) การปฏิบัติของส่วนโจมตีประกอบด้วย
- ตรวจขอบเขตการยิงของแต่ละบุคคลซึ่งได้รับมอบจาก ผบ.หมวด แล้วปักหลักเล็งไปยัง
ที่หมาย
- วางเคลย์โมหรือเครื่องป้ องกันชนิดอื่น ๆ
- วางเคลย์โม ทุ่นระเบิด หรือวัตถุระเบิดอื่น ๆ ไว้ในตำบลอับกระสุนภายในพื้นที่สังหาร
- พรางที่ตั้ง
- ปลดห้ามไกอาวุธ เป็ นสิ่งที่ทหารทุกคนจะปฏิบัติเป็ นขั้นสุดท้าย ก่อนจะเริ่มซุ่มโจมตี
เพราะหากรอข้าศึกเข้ามาในพื้นที่สังหารแล้วจึงปลดห้ามไก อาจมีเสียงดังและเปิ ดเผยการซุ่มโจมตีได้
๒) การปฏิบัติของส่วนสนับสนุนประกอบด้วย
- ตรวจขอบเขตการยิงของอาวุธทั้งหมด โดยเฉพาะอย่างยิ่งปื นกล ในการซุ่มโจมตีรูปตัว
แอล จะต้องระมัดระวังให้มีเขตจำกัดการยิงด้วยเพื่อป้ องกันไม่ให้ยิงเข้าไปแนวของส่วนโจมตี
14

- วางกับระเบิดเคลย์โม หรือระเบิดชนิดอื่น ๆ
ค. คำแนะนำสำหรับส่วนระวังป้ องกัน ประกอบด้วยการแจ้งเตือนเพื่อให้ ผบ.มว.ได้ทราบว่า
ข้าศึกเข้ามาในพื้นที่สังหาร (รายงาน salute) ส่วนป้ องกันต้องให้ข่าวสารแก่ ผบ.หมวด ด้วยหากมี
กำลังข้าศึกเคลื่อนที่ติดตามส่วนนำมาด้วย
ง. ผบ.มว.ต้องพิจารณาขนาดของเป้ าหมายว่าควรมีขนาดเท่าใด จึงจะปฏิบัติการซุ่มโจมตีได้
บรรลุผล และต้องเตรียมที่จะยอมให้ผ่านหากมีขนาดใหญ่เกินกว่าที่จะดำเนินการได้ พร้อมกับ
รายงานให้หน่วยเหนือทราบด้วย
จ. ผบ.มว. เริ่มการซุ่มโจมตี โดยอาจสั่งให้จุดกับระเบิดเคลย์โม แต่ก็ต้องเตรียมเครื่องมือ
สำรองไว้ด้วยหากเครื่องมือหลักไม่สามารถกระทำได้ ซึ่งอาจจะเป็ นปื นกลก็ได้และต้องแจ้งให้ทหาร
ทั้งหมดทราบ รวมทั้งต้องมีการฝึกในระหว่างการซักซ้อมด้วย
ฉ. ในห้วงทัศนวิสัยจำกัด หากจำเป็นต้องเริ่มการซุ่มโจมตี ผบ.มว. ก็ควรจะมีเครื่องมือที่จะใช้
ต่อสู้กับข้าศึก แต่ก็ต้องระวังอย่าให้เป็ นการเปิ ดเผยที่ตั้งของหน่วยฝ่ ายเรา ผบ.มว. อาจจะใช้การส่อง
สว่างทางตรงหรือการส่องสว่างทางอ้อมก็ได้
ช. ผบ.มว. ควรมีแผนการยิงเล็งจำลองไว้ในแผนการซุ่มโจมตีด้วย เพราะการยิงเล็งจำลองจะ
กันขอบเขตของปี กของพื้นที่สังหารไว้ เพื่อแยกข้าศึกส่วนที่ตกอยู่ในพื้นที่สังหารออกจากส่วนอื่น
นอกจากนั้นยังช่วยให้หมวดผละออกจากข้าศึกเมื่อการซุ่มโจมตีไม่ประสบผลสำเร็จหรือจำเป็ นต้อง
ผละออกจากพื้นที่ซุ่มโจมตีเนื่องจากถูกกดดันได้อีกด้วย
ซ. ผบ.มว. ควรมีแผนการสื่อสารให้ดีเพื่อให้ส่วนโจมตีเข้าไปค้นในพื้นที่สังหารเพื่อค้นหาและ
รวบรวมคนเจ็บ ซึ่งควันอาจจะทำให้ส่วนสนับสนุนมองไม่เห็น ทหารทุกคนควรจะรู้และฝึกกันในการ
ซักซ้อม
ด. ส่วนโจมตีเตรียมเคลื่อนที่ผ่านพื้นที่สังหาร โดยใช้เทคนิคการเคลื่อนที่เป็ นบุคคลหากถูก
ต้านทานด้วยการยิงจากข้าศึกขณะที่เริ่มทำการตรวจค้น ส่วนโจมตีจะเคลื่อนที่โดยวิธีสลับเป็ นชุดยิง
จนถึงพื้นที่สังหาร การปฏิบัติในพื้นที่สังหาร มีดังนี้
๑) รวบรวมและป้ องกันเชลยศึก จากนั้นนำออกจากพื้นที่สังหารแล้วทำการตรวจค้นร่างกาย
จัดตั้งตำบลรวบรวมเชลยศึกและศพข้าศึก ให้อยู่ในลักษณะปกปิ ดกำบังเพื่อไม่ให้ตรวจพบจากหน่วย
ข้าศึก ๆ
๒) ค้นหาจากด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่ง พร้อมกับทำเครื่องหมายไว้เพื่อให้มั่นใจว่าการ
ตรวจค้นได้กระทำทั่วทั้งพื้นที่สังหารแล้ว
๓) ใช้เทคนิคตรวจค้นเป็ นคู่
ก. การเคลื่อนที่เข้าตรวจค้นศพข้าศึกนั้น คนหนึ่งจะคอยป้ องกันขณะที่คนหนึ่งตรวจค้น
โดยอันดับแรกต้องเตะปื นข้าศึกให้ห่างจากศพต่อมาพลิกศพข้าศึกขึ้น โดยนอนทับบนศพแล้วพลิก
เพื่อให้ศพข้าศึกเป็ นกำบัง คู่บัดดี้ซึ่งนอนอยู่ด้านศีรษะของข้าศึกก็จะพลิกพร้อมกัน ทั้งนี้เพื่อป้ องกัน
กรณีข้าศึกนอนทับลูกระเบิดขว้างที่ถอดสลักนิรภัย
ข. พลตรวจค้นจะต้องมีระบบการตรวจค้นอย่างเป็ นระบบ ตั้งแต่หัวจรดเท้าแล้วยึด
เอกสารและยุทโธปกรณ์ใหม่ ๆ เช่น ป้ ายนามหน่วยที่แปลกใหม่ ปื นพก กล้องตรวจการณ์เวลากลาง
คืน ข้อสังเกตถ้าข้าศึกแต่งกายดี ตัดผมสั้น มักจะเป็ นผู้เก็บความถี่วิทยุ และ นปส. รวมทั้งแผนที่การ
ตรวจตามศพจะต้องทำอย่างถี่ถ้วนจนครบทุกศพ ทั้งในพื้นที่สังหารและบริเวณใกล้เคียงศพที่ตรวจค้น
แล้วควรทำเครื่องหมายไว้ (เช่น งอแขนวางไว้บนหน้าอก) เพื่อหลีกเลี่ยงการซ้ำซ้อน
15

๔) หลักฐานและอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ยึดได้จะต้องส่งกลับ ดังนั้นจึงต้องเตรียมการขนส่งไว้
ด้วย (ตรวจและจัดวางไว้ที่ปลอดภัย)
๕) พิสูจน์ทราบและรวบรวมอาวุธยุทโธปกรณ์ที่จะทำลาย ชุดระเบิดทำลายเตรียมวัตถุ
ระเบิด (C4 ประกอบกับเครื่องจุด M.60 หรือฝักแคเวลา) พร้อมกับรอสัญญาณให้ทำลาย เป็ นการ
ปฏิบัติเป็นขั้นสุดท้าย ก่อนที่จะออกจากที่หมายและเป็นการให้สัญญาณส่วนระวังป้ องกันให้กลับไปที่
จุดพบ ณ ที่หมายด้วย
๖) หากเวลาเกื้อกูล จะรักษาพยาบาลให้ผู้บาดเจ็บฝ่ ายเราก่อนแล้วจึงรักษาข้าศึกที่บาดเจ็บ
ต. ถ้าข้าศึกมีขีดความสามารถในการใช้ยานเกราะ ชุดระวังป้ องกันปี กจะได้รับมอบทุ่นระเบิด
ดักรถถังด้วย หากมีการปะทะทางปี กชุดระวังป้ องกันปี กจะทำการต่อสู้ให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้โดย
จะไม่ทำให้เป็ นการรบติดพัน จากนั้นใช้การสื่อสารที่เตรียมไว้แจ้งให้ ผบ.หมวดทราบว่ามีการปะทะ
ผบ.หมวดอาจสั่งการให้บางส่วนของส่วนสนับสนุนช่วยเหลือส่วนระวังป้ องกันปี ก เมื่อมีการปะทะ
ก็ได้
ท. ผบ.หมวดเตรียมแผนการถอนตัวออกจากพื้นที่ซุ่มโจมตีดังนี้
๑) ส่วนต่าง ๆ ถอนตัวในทิศทางตรงข้ามจากที่วางกำลัง
๒) ส่วนต่าง ๆ จะกลับไปยังที่จุดแยกก่อน ต่อจากนั้นถึงไปจุดนัดพบ ณ ที่หมายทั้งนี้ขึ้นอยู่
กับระยะห่างระหว่างส่วนต่าง ๆ
๓) ส่วนระวังป้ องกัน ซึ่งอยู่ที่จุดนัดพบ ณ ที่หมาย ต้องเตรียมพร้อมไว้เพื่อให้การช่วยเหลือ
หมวดในการกลับเข้าสู่จุดนัดพบ ที่หมายเพื่อเตรียมปฏิบัติภารกิจต่อไป
ธ. เมื่อกลับเข้าสู่จุดนัดพบ ณ ที่หมายแล้วสำรวจกำลังพล และยุทโธปกรณ์เก็บเป้ หลัง และ
ยุทโธปกรณ์ที่ปลดไว้ที่จุดนัดพบ ณ ที่หมายในระหว่างการซุ่มโจมตี
๓ - ๒๑ การซุ่มโจมตีเป็ นพื้นที่
การซุ่มโจมตีเป็นพื้นที่จะกระจายกำลังเป็นการซุ่มโจมตี ๒ ชุด หรือมากกว่า ในการวางแผนซุ่ม
โจมตีเป็นพื้นที่อย่างปราณีต ผบ.หมวด ควรพิจารณาลำดับการปฏิบัติดังนี้
ก. หมวดเป็ นหน่วยระดับเล็กที่สุดที่สามารถซุ่มโจมตีเป็ นพื้นที่ได้ หมวดจะปฏิบัติการซุ่มโจมตี
เป็นพื้นที่ต่อข้าศึกที่เคลื่อนที่ ตามเส้นทางหรือลำธารที่จำกัดการเคลื่อนที่
ข. ผบ.มว. เลือกพื้นโจมตีหลักขึ้นโดยอยู่ในพื้นที่ซุ่มโจมตีรอบนอก แล้ววางกำลังซุ่มโจมตีไว้ที่
พื้นที่ซุ่มโจมตีรองซึ่งตั้งอยู่ในทิศทางที่ข้าศึกน่าจะใช้เข้ามาหรือหลบหนีไปจากพื้นที่ซุ่มโจมตีหลัก
มากที่สุด ปกติหน่วยระดับหมู่จะได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบต่อพื้นที่ซุ่มโจมตีแต่ละแห่งเท่านั้น
โดยจัดตั้งพื้นที่ซุ่มโจมตีตามที่ได้อธิบายแล้วข้างต้น
ค. ผบ.มว. ต้องพิจารณาจุดที่จะใช้ ปก.ได้ดีที่สุด ปกติจะตั้งยิง ปก. เป็นคู่ไว้ที่ส่วนสนับสนุนใน
พื้นที่ซุ่มโจมตีหลัก
ง. หมู่ซึ่งรับผิดชอบการซุ่มโจมตีด้านนอกจะไม่เปิ ดฉากการยิงก่อน แต่จะรอให้พื้นที่ซุ่มโจมตี
หลักเป็นผู้เปิ ดฉากการยิง หมู่จะป้ องกันไม่ให้ข้าศึกหลบหนีหรือเพิ่มเติมกำลังได้
๓ - ๒๒ การซุ่มโจมตียานเกราะ
หมวดและหมู่จะซุ่มโจมตียานเกราะ เพื่อทำลายยานเกราะเพียง ๑ - ๒ คันเท่านั้น ซึ่งหากให้หมู่
ซุ่มโจมตียานเกราะควรจะสมทบชุดอาวุธต่อสู้รถถังขนาดกลางให้ด้วย ในการวางแผน ผบ.หมวด
หรือ ผบ.หมู่ ควรพิจารณาดังนี้
ก. ชุดทำลายรถถังวางกำลังใกล้ชุดต่อสู้รถถังขนาดกลาง ผบ.หมวด อาจจะพิจารณาเพิ่มอาวุธ
พิเศษให้อีก เช่น อาวุธ ตถ.ขนาดเบา หรือ AT4 ผบ.หมวด พิจารณาที่ตั้งอาวุธ ตถ. ทั้งหมดให้ยิงได้ดี
16

ที่สุด (ด้านหลัง ทางปี ก หรือด้านบน) ส่วนอื่น ๆ ของหมวดปฏิบัติเป็ นส่วนสนับสนุน และส่วนระวัง


ป้ องกันในลักษณะเดียวกับการลาดตระเวนรบอื่น ๆ
ข. การซุ่มโจมตีรถถังของหมู่นั้น ผบ.หมวดเป็ นผู้กำหนดพื้นที่ซุ่มโจมตีให้หมู่อย่างคราว ๆ
ผบ.หมู่จะพิจารณาหาพื้นที่ที่จำกัดการเคลื่อนที่ของยานเกราะซึ่งอยู่นอกพื้นที่สังหาร ผบ.หมวด ควร
เลือกที่วางตัวที่มีเครื่องกีดขวางคั่นอยู่ระหว่างที่วางตัวกับพื้นที่สังหาร
ค. ส่วนระวังป้ องกันต้องพิจารณาแนวทางการเคลื่อนที่เข้าสู่พื้นที่โจมตี ในกรณีที่ข้าศึกลงรบ
เดินดินด้วย
ง. ผบ.มว. พิจารณาวิธีการเปิ ดฉากการซุ่มโจมตียานเกราะ ซึ่งวิธีที่พึ่งประสงค์คือ วางกับ
ระเบิดดักรถถังอยู่ในพื้นที่สังหาร การใช้อาวุธต่อสู้รถถังขนาดกลางเป็ นเครื่องมือเริ่มซุ่มโจมตีก็
สามารถทำได้แต่อาจเป็นการเปิ ดเผยที่ตั้ง อีกทั้งอัตราเร็วในการยิงน้อยซึ่งอาจไม่ค่อยเหมาะสม
จ. ถ้าเป็ นไปได้ ชุดทำลายรถถังต้องพยายามทำลายรถถังคันแรกและคันสุดท้ายของรูปขบวน
แถวตอนของข้าศึกให้ได้ อาวุธทุกชนิดต้องทำการยิงทันทีที่การซุ่มโจมตีเริ่มขึ้น หากพื้นที่สังหารอยู่
ในระยะยิงของอาวุธต่อสู้รถถังขนาดเบา ทหารแต่ละคนที่ถืออาวุธชนิดนี้จะทำการยิงคนละ ๑ นัด
ฉ. ผบ.มว. จะต้องพิจารณา การปฏิบัติต่อข้าศึกที่ลงรถถัง และมีรถถังที่อาจจะกระทบต่อความ
สำเร็จของการซุ่มโจมตี ผบ.มว. อาจเลือกปฏิบัติได้ดังนี้
- เปิ ดฉากการซุ่มโจมตีตามที่วางแผนไว้
- ถอนตัวโดยไม่ซุ่มโจมตี
- ซุ่มโจมตีโดยใช้อาวุธกลเพียงอย่างเดียว ไม่ใช้อาวุธต่อสู้รถถัง
ช. เนื่องจากมีความเร็วยานเกราะอื่นๆ ของข้าศึก สามารถเพิ่มเติมกำลังบริเวณพื้นที่ซุ่มโจมตี
ได้ ผบ.มว.ควรจะแผนการโจมตีภายในระะยเวลาสั้น ๆ และการถอนตัวอย่างรวดเร็ว การซุ่มโจมตี
ยานเกราะนั้นไม่ต้องตรวจค้นในพื้นที่สังหารเหมือนการซุ่มโจมตีอื่น ๆ
๓ - ๒๓ การตีโฉบฉวย
การตีโฉบฉวยเป็ นการปฏิบัติทางทหารต่อที่ตั้งทางทหารแล้วถอนตัวอย่างรวดเร็ว ปกติหน่วย
ระดับหมู่ไม่สามารถตีโฉบฉวยได้ สำหรับการปฏิบัติของหมวดในการตีโฉบฉวยก็เหมือนการซุ่มโจมตี
แต่ส่วนโจมตีอาจจะได้รับมอบภารกิจการเจาะเครื่องกีดขวางด้วย นอกจากนี้ยังมีกิจแฝงที่ต้องปฏิบัติ
ในบริเวณที่หมาย เช่น การระเบิดอาคาร เป็นต้น

ตอนที่ ๔
การลาดตระเวนสะกดรอย

หมู่หรือหมวดอาจได้รับภารกิจ ให้ติดตามร่องรอยของหน่วยข้าศึก ทหารต้องค้นหาสิ่งต่าง


ๆ ที่ข้าศึกทิ้งไว้ ข่าวสารที่รวบรวมจะเกี่ยวกับขนาดหน่วยของข้าศึก เส้นทางที่ข้าศึกเคลื่อนที่ และ
สภาพภูมิประเทศโดยรอบในระหว่างสะกดรอย
๓ - ๒๔ ข้อพิจารณา
หัวข้อสำคัญที่ต้องพิจารณาประกอบด้วย
- ทหารต้องเคลื่อนที่อย่างลักลอบ ทั้งต้องเป็ นผู้มีวินัยดี และได้รับการฝึ กเทคนิคการสะกด
รอยมาเป็นอย่างดี
- เมื่อหมวดได้รับภารกิจลาดตระเวนสะกดรอย ผบ.หมวดควรมอบกิจในการสะกดรอยให้
เพียงหมู่เดียวเป็นผู้ปฏิบัติ หมู่อื่น ๆ และหน่วยสมทบ ทำหน้าที่เป็นส่วนระวังป้ องกัน
17

- ส่วนใหญ่ของหมวดให้การระวังป้ องกันชุดสะกดรอยทั้งด้านหน้าและทางปี กตามเส้นทาง


รูปขบวนของหมู่ในการลาดตระเวนสะกดรอย หมู่อาจจะแยกชุดกระจายกันสะกดรอยได้หาก
ภูมิประเทศและพืชพันธุ์ไม้เกื้อกูลให้ปฏิบัติได้ แต่จะต้องยังคงมองเห็นกันได้ ปกติชุดยิงนำจะรับผิด
ชอบในการระวังป้ องกันเป็นจุด สะกดรอยและนำทาง
๓ - ๒๕ การจัด
ปกติการจัดในการลาดตระเวนสะกดรอยจะประกอบด้วยชุดระวังป้ องกันและชุดสะกดรอย
ก. ชุดระวังป้ องกัน จะให้การระวังป้ องกันแก่ ผบ.หมู่ พนักงานวิทยุโทรศัพท์ และพลนับเก้า
และยังให้การระวังป้ องกันทางปี กและหลังด้วย
ข. ชุดสะกดรอย จะเป็นผู้แกะร่องรอย และติดตามร่องรอยของข้าศึก
๓ - ๒๖ กิจที่มอบให้หน่วยรอง
สิ่งสำคัญที่สุดในการมอบหมายงานให้กับทหารคือ การมอบหมายให้ทหารที่ได้รับการฝึ ก
สะกดรอยมาอย่างดีที่สุดทำหน้าที่พลสะกดรอยหลัก ผบ.หมู่ต้องพยายามดำรงความเป็ นชุดยิงไว้ และ
หากเป็นไปได้ควรดำรงการปฏิบัติงานเป็นคู่ และมอบหมายให้ดังนี้
ก. ผบ.หน่วยสะกดรอย ผบ.หมู่ปกติจะทำหน้าที่ ผบ.หน่วยสะกดรอย และผู้นำทางหลัก ซึ่งมี
ความรับผิดชอบต่อความสำเร็จของภารกิจ
ข. พลสะกดรอยหลัก จะได้รับมอบภารกิจเฉพาะในเรื่องการติดตามเส้นทางหลักที่หน่วยที่ถูก
สะกดรอยใช้
ค. ชุดระวังป้ องกัน ทหาร ๑ คู่บัดดี้ (Buddy) ทำหน้าที่ระวังป้ องกัน ผบ.หมู่ พลนับก้าว และพล
วิทยุโทรศัพท์
ง. ชุดระวังป้ องกันหลัง ทหาร ๑ คู่ (Buddy Team)ทำหน้าที่ระวังป้ องกันด้านหลังให้กับหมู่
๓ - ๒๗ การฝึ ก
การฝึ กเป็ นสิ่งจำเป็ นต่อการพัฒนาและรักษาความชำนาญในการสะกดรอยไว้ และสามารถนำ
ไปใช้ในพื้นที่ปฏิบัติการได้ การฝึ กจะต้องกระทำอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งหมวดสามารถจำลักษณะ
ของดินแต่ละพื้นที่สภาพอากาศ พืชพันธุ์ไม้ สัตว์ ยานพาหนะ รอยของรองเท้า และองค์ประกอบอื่น ๆ
พลสะกดรอยหลักจะต้องเตรียมคู่มือแสดงความเปลี่ยนแปลงของร่องรอยเฉพาะที่เปลี่ยนแปลงไปตาม
สภาพอากาศหรือระยะเวลาไว้ด้วย
๓ - ๒๘ ข่าวกรอง
ข่าวกรองเฉพาะเกี่ยวกับ พฤติกรรมข้าศึก ยุทโธปกรณ์ เครื่องแต่งกาย รอยรองเท้า อาหาร หรือ
ยุทธวิธี ตัวอย่างเช่น เราพบร่องรอยข้าศึกที่สวมรอยเท้าแตะแบบเดียวกับชาวพื้นเมืองแต่ก็ได้ตรวจพบ
ว่ายังมีร่องรอยข้าศึกคนหนึ่งสวมรองเท้าบู๊ท เพราะร่องรอยที่เกิดขึ้นแตกต่างออกไป อาจตีความหมาย
ได้ว่าหน่วยข้าศึกมีนายทหารที่รับการฝึกมาแล้ว หรือผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศหรืออาจจะมีนักโทษ
ไปด้วยก็ได้ ข่าวกรองที่มีลักษณะพิเศษเช่นนี้จะเป็ นประโยชน์อย่างมาก และหากเป็ นไปได้ควรจะ
สอบถามผู้มี่เคยพบเห็นหน่วยนี้มาแล้ว

๓ - ๒๙ เครื่องหมายตามทาง
คน เครื่องจักร และสัตว์ มักจะทิ้งร่องรอย ไว้ตามที่ต่าง ๆ ที่เคลื่อนที่ไปซึ่งอาจจะปรากฏใน
ลักษณะของกลิ่นหรือปรากฏให้เห็นเป็นร่องรอยเป็นแนวที่ผ่านได้ ทหารทุกคนต้องอ่านร่องรอยที่ทิ้ง
ไว้ได้ เช่นบนถนน ร่องรอยบนทรายหรือหิมะ อย่างไรก็ตามทหารจะต้องมีความสนใจในรายละเอียด
18

สามัญสำนึก การเตรียมพร้อม การพิจารณาหาเหตุผล ความรอบรู้ในสิ่งแวดล้อมและพฤติกรรมข้าศึก


จะทำให้ได้รับข่าวกรองที่ดีกว่าการค้นหาร่องรอยในพื้นที่การรบเพียงอย่างเดียว
ก. การค้นหาร่องรอย เป็ นงานประการแรกที่ชุดสะกดรอยต้องทำ โดยอาจจะลาดตระเวน
ค้นหาจากจุดที่ทราบแล้วซึ่งมีการปฏิบัติของข้าศึกอยู่ การค้นหาร่องรอยอาจจะทำได้ ๒ วิธี ดังนี้
๑) จากจุดที่ทราบ โดยปกติมักมีพื้นที่ซึ่งมักจะตรวจพบข้าศึกอยู่บ่อย ๆ ซึ่งชุดสะกดรอย
สามารถใช้เป็นจุดเริ่มต้นในการค้นหาร่องรอยเพื่อติดตามได้
๒) การตัดร่องรอย วิธีนี้จะใช้เมื่อหน่วยทหารฝ่ ายเราข้ามผ่านร่องรอยที่หน่วยอื่นทิ้งไว้
หน่วยลาดตระเวนต้องรายงานไปยัง บก. หน่วยเหนือ และปฏิบัติตามคำสั่งที่ได้รับใหม่ ซึ่งอาจได้
รับคำสั่งให้ทำการสะกดรอยที่พบ ๑ หรือหลายร่องรอยก็ได้
ข. การวิเคราะห์ร่องรอย ทันทีที่พบร่องรอยแรกอย่าไปรบกวนหรือปกปิ ด จะต้องวิเคราะห์อย่าง
รอบคอบก่อนที่จะติดตามข้าศึกต่อไป หากร่องรอยที่พบถูกพบในบริเวณที่เคยตรวจพบพฤติกรรม
ข้าศึกเรามักจะทราบที่มาของร่องรอยนั้นได้ หากร่องรอยที่ตรวจพบเป็ นครั้งแรกพลสะกดรอยต้อง
พิจารณาว่าขนาดและการประกอบกำลังของหน่วยที่ถูกตรวจพบเป็ นอย่างไร ทิศทางเคลื่อนที่ สภาพ
ทั่วไป และข้อเท็จจริงอื่น ๆ พลสะกดรอยจะต้องตรวจวิเคราะห์ร่องรอยข้าศึกให้มากที่สุดเท่าที่จะ
ทำได้ ต่อจากนั่นจึงติดตามข้าศึก ในระหว่างการติดตามข้าศึก หมวดจะต้องทำการวิเคราะห์ร่องรอยที่
พบตลอดเวลา จะทำให้พลสะกดรอยและหน่วยมีความรู้เกี่ยวกับข้าศึกเพิ่มขึ้น หากข้าศึกพยายามต่อ
ต้านการสะกดร้อยของฝ่ ายเราให้ใช้เทคนิคดังนี้
๑) ค้นหาร่องรอยที่หายไปให้พบ ถ้าพลลาดตระเวนสะกดรอยพบว่าร่องรอยที่ติดตามมา
สูญหายไปจะหยุดการเคลื่อนที่ ชุดสะกดรอยจะย้อนกลับไปที่ปรากฏร่องรอยข้าศึกครั้งหลังสุด แล้ว
ทำเครื่องหมายไว้จากนั้นศึกษาร่องรอยและพื้นที่รอบ ๆ เพื่อหาเบาะแสที่อาจจะมี เป็ นต้นว่า ข้าศึกจะ
ไปทางใด ค้นหาร่องรอยที่ข้าศึกทิ้งไว้ ย้อนกลับทางเดิมหรือกระจายออกนอกเส้นทางหรือใช้วิธีการ
ต่อต้านการสะกดรอย ถ้ายังหาร่องรอยไม่พบจะต้องจัดชุดระวังป้ องกันไว้ที่ร่องรอยที่พบครั้งสุดท้าย
จากนั้นพลสะกดรอยกับผู้ช่วยจะออกติดตามโดยการออกเดินเป็นรูปกล่อง (สี่เหลี่ยม)รอบ ๆ จุดที่หาย
ไป โดยทุกครั้งจะต้องย้อนกลับมาที่ทางเก่าเพื่อหลีกเลี่ยงการสร้างร่องรอยขึ้นมาอีกโดยไม่จำเป็น
๒) การใช้เทคนิคการต่อต้านการสะกดรอย ทันทีที่ข้าศึกรู้ตัวว่าถูกสะกดรอย ข้าศึกจะ
พยายามผละออกหรืออาจจะโจมตีชุดสะกดรอยก็ได้
ค. การลาดตระเวนร่วม โดยการใช้ชุดสะกดรอย ๒ ชุดขึ้นไป สะกดรอยหน่วยข้าศึกเพียง
หน่วยเดียว
ตัวอย่าง
หมู่กำลังสะกดรอยข้าศึก ผบ.หมู่รายงานทางวิทยุให้ ผบ.หมวด ซึ่งอยู่ที่จุดนัดพบ ณ ที่หมาย
ทราบ ขนาดและการประกอบกำลังของข้าศึกโดยประมาณ อัตราเร็วในการเคลื่อนที่ และทิศทางการ
เคลื่อนที่ ผบ.หมวดสั่งการให้หมู่ ๒ ใช้เส้นทางที่จะตัดผ่านร่องรอยข้าศึก
หมู่ ๒ ทำเครื่องหมายบริเวณที่ติดกับร่องรอย (จุด ก.) แล้วทำการสะกดรอย เครื่องหมาย
อาจใช้ไม้ปักลงบนพื้น การเรียงก้อนหินหรือการพันหญ้าเป็ นเกลียว ฯลฯ แต่เครื่องหมายที่ทำจะต้อง
เป็นเครื่องหมายที่ได้นัดหมายกันไว้แล้ว
หมู่ ๑ ยังคงสะกดรอยข้าศึก ตามรอยมาจนกระทั่งพบเครื่องหมายของหมู่ ๒ ซึ่ง
ทำเอาไว้ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าข้าศึกอยู่ในทางเดียวกับฝ่ ายเราและหมู่ ๒ ตามมาถูกทางแล้ว ผบ.หมู่
๑ จะรายงานให้ ผบ.หมวดทราบเพื่อขอรับคำสั่งต่อไป เมื่อหมู่ ๒ มั่นใจในเรื่องความเร็วและ
ทิศทางข้าศึกจะรายงานให้ ผบ.หมวดทราบรวมทั้งระยะทางโดยประมาณ ผบ.หมวดจะสั่งการให้
19

หมู่ ๓ จัดพื้นที่ซุ่มโจมตี ในทิศทางที่ข้าศึกน่าจะเคลื่อนที่ผ่าน


ตอนที่ ๕
ฐานลาดตระเวน
ฐานลาดตระเวนจัดตั้งขึ้นเพื่อให้หมู่หรือหมวดที่ปฏิบัติการลาดตระเวนใช้หยุดหน่วยที่มีห้วง
ระยะเวลานานพอสมควรแต่ไม่เกิน ๒๔ ชั่วโมง ยกเว้นมีเหตุฉุกเฉิน นอกจากนั้นหมวดและหมู่จะต้อง
ไม่ใช้ฐานลาดตระเวนซ้ำเป็ นครั้งที่ ๒ ปกติหมวดและหมู่จะใช้ฐานลาดตระเวนเพื่อปฏิบัติสิ่งต่าง ๆ
ดังนี้
- หยุดเคลื่อนไหว เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกค้นพบ
- หลบซ่อน ในระหว่างการลาดตระเวนที่หมายโดยละเอียด
- รับประทานอาหาร ทำความสะอาดอาวุธยุทโธปกรณ์และพักผ่อน
- วางแผน และให้คำสั่ง
- จัดระเบียบใหม่หลังการแทรกซึมผ่านพ้นพื้นที่ยึดครองของข้าศึก
- ใช้เป็นฐานในการปฏิบัติภารกิจอื่น ๆ เช่น ซุ่มโจมตี ตีโฉบฉวย ลาดตระเวนหาข่าว หรือ
ลาดตระเวนป้ องกัน
๓ - ๓๐ การเลือกที่ตั้งฐานลาดตระเวน
ผบ.หมวดเป็ นผู้เลือกที่ตั้งฐานลาดตระเวนจากแผนที่หรือจากการลาดตระเวนทางอากาศ ถ้า
เลือกฐานลาดตระเวนที่เหมาะสมได้แล้วจะต้องตั้งแต่ก่อนจะเข้าไปใช้งาน และควรมีฐานลาดตระเวน
สำรองไว้ด้วย เพื่อไว้ใช้ในกรณีฐานลาดตระเวนแห่งแรกอาจไม่เหมาะสม หรือจำเป็ นต้องออกจาก
ฐานแห่งแรกโดยไม่คาดคิด
๓ - ๓๑ ข้อพิจารณาในการวางแผน
ผบ.หมวด วางแผนการใช้ฐานลาดตระเวน โดยพิจารณาจากภารกิจและมาตราการในการรักษา
ความปลอดภัยทั้งในเชิงรุกและเชิงรับ
ก. ภารกิจ : ฐานลาดตระเวนควรอยู่ในที่ที่จะบรรลุภารกิจได้ดีที่สุด
ข. มาตรการในการป้ องกัน ประกอบด้วย
๑) ผบ.หมวด เลือกที่ตั้งฐานลาดตระเวนโดยพิจารณาภูมิประเทศดังนี้
- ภูมิประเทศที่ข้าศึกไม่น่าจะให้ความสำคัญทางยุทธวิธี
- นอกแนวกระแสน้ำเชี่ยว
- พื้นที่ทุรกันดารที่สามารถถ่วงเวลาการเคลื่อนที่ด้วยเท้าได้ เช่น ป่ าทึบ พุ่มไม้และต้นไม้
ที่แผ่คลุมพื้นดิน เป็นต้น
- ใกล้แหล่งน้ำ
- ภูมิประเทศที่มีการกำบังและซ่อนพราง ซึ่งสามารถใช้ต้านทานข้าศึกในระยะเวลาสั้น
ได้
๒) ผบ.หมวด วางแผนเกี่ยวกับ
- ที่ตรวจการณ์
- การสื่อสารกับที่ตรวจการณ์
- การป้ องกันฐานลาดตระเวน
- การถอนตัวจากฐานลาดตระเวน ประกอบด้วยเส้นทาง จุดนัดพบ ที่รวมพล หรือฐาน
ลาดตระเวนสำรอง
20

- ระบบการระวังป้ องกัน ที่มั่นใจได้ว่าทหารแต่ละคนตื่นตัวตลอดเวลา


- กวดขันวินัยในการพราง แสงและเสียง
- เคลื่อนไหวและใช้เสียงให้น้อยที่สุด
๓. ผบ.หมวดต้องหลีกเลี่ยงการปฏิบัติดังนี้
- การตั้งฐานลาดตระเวนบริเวณที่รู้หรือคาดว่าเป็นที่ตั้งของข้าศึก
- ตกแต่งพื้นที่
- ตั้งฐานลาดตระเวนบริเวณสันเขาหรือยอดเนิน เว้นแต่ถ้าจำเป็นต้องการสื่อสาร
- ถนนหนทาง
- หุบเขาเล็ก ๆ
๓ - ๓๒ การเข้าฐานลาดตระเวน ปฏิบัติตามลำดับดังนี้
ก. การเข้าฐานลาดตระเวนและการตั้งฐานลาดตระเวน คงกระทำเช่นเดียวกับ จุดนัดพบ ณ ที่
หมาย หรือจุดนัดพบก่อนกลับเข้าแนว เว้นแต่หมวดจะเลี้ยว ๙๐ องศา ขณะเข้าสู่ฐานลาดตระเวน
หมายเหตุ : ขึ้นกับปัจจัย METT-T
ข. ผบ.หมวด จะให้ทหาร ๒ คน เป็ นจุดตรวจการณ์ที่บริเวณจุดเลี้ยว ผบ.หมวด และชุดยิง
สุดท้ายจะกลบเกลื่อนร่องรอยเข้าสู่ฐานลาดตระเวน
ค. หมวดเข้าฐานลาดตระเวน
ง. ผบ.หมู่ ทุกหมู่ จะอยู่ทางปี กซ้ายของหมู่ตนเอง
จ. ผบ.หมวด และ ผบ.ส่วนสนับสนุน หรือ ผบ.หมู่ ปก. ออกตรวจเริ่มที่ ๖ นาฬิกา เดินตามเข็ม
นาฬิกา (ไปพบ ผบ. หมู่ต่างๆ ทางปี กซ้ายของหมู่) ถ้า ผบ.หมวด หรือ ผบ.หมู่ ปก.เห็นว่าที่ตั้ง ปก. ที่
จุดใดดีกว่าที่วางอยู่ก็อาจจะให้เปลี่ยนที่ตั้งก็ได้
ฉ. เมื่อ ผบ.หมวด ตรวจเรียบร้อยแล้ว ผบ.หมู่ รายงานให้ ทก.ทราบเกี่ยวกับการจัดชุดระวัง
ป้ องกัน
ช. ผบ.หมวด แจ้งให้ชุดระวังป้ องกัน ๓ ชุด ทราบแผนเผชิญเหตุ พร้อมสั่งกำชับภารกิจเฝ้ า
ตรวจข้าศึก ป่ า สิ่งปลูกสร้าง หรือเคหสถาน ถนน และเส้นทาง ตลอดจนจุดนัดพบที่เป็นไปได้ (หมู่จะ
เข้าฐานลาดตระเวนโดยไม่ส่งชุดระวังป้ องกันออกไปในเวลากลางคืน)
ซ. ชุดระวังป้ องกันจะออกจากฐานลาดตระเวนทางปี กซ้ายของหมู่ และจะไปวางตัวตามคำ
แนะนำของ ผบ.หมวด ในการเข้าและออกจะใช้ระบบตามเข็มนาฬิกา ขณะกลับจะเข้าทางปี กขวาของ
หมู่ ชุดระวังป้ องกันที่ออกไปหากเป็ นไปได้จะพยายามเตรียมภาพร่างด้านหน้าของหมู่ตนเองแล้ว
รายงานให้ ทก. ทราบด้วย
หมายเหตุ ๑ ระยะที่ชุดระวังป้ องกันจะออกห่างจากหมวดขึ้นอยู่กับภูมิประเทศและพืชพันธุ์
ไม้ (บางแห่ง ๒๐๐ ถึง ๔๐๐ เมตร) กำลังพลของหมวดทุกคนเตรียมพร้อม ๑๐๐% ขณะที่ชุดระวัง
ป้ องกันออกไปนอกพื้นที่ในเวลากลางคืน ชุดระวังป้ องกันจะใช้ประโยชน์ได้น้อยมากหากไม่มีกล้อง
ตรวจการณ์กลางคืน พนักงานวิทยุจะต้องพยายามจัดการสื่อสารกับหน่วยเหนือให้ได้โดยใช้เสาอากาศ
บังคับทิศทาง
หมายเหตุ ๒ หาก ผบ.หมวดรู้สึกว่าหมวดจะถูกสะกดรอย ผบ.หมวดอาจสั่งให้เตรียมพร้อม
๑๐๐ % และรอคอยอย่างสงบชั่วระยะเวลาหนึ่ง ก่อนที่จะส่งชุดระวังป้ องกันออกไปก็ได้
ด. ผบ.หมู่ (ชุดระวังป้ องกัน) เมื่อปฏิบัติการลาดตระเวนได้สมบูรณ์แล้ว ก็จะรายงานกลับไป
ให้ ผบ.หมวดทราบ
21

ต. ผบ.มว. พิจารณาข่าวสารจากชุดระวังป้ องกันทั้งสามชุดเพื่อพิจารณาหาที่ตั้งที่ดีที่สุด ที่


หมวดจะเลือกเป็นฐานลาดตระเวน
๓ - ๓๓ การปฏิบัติในฐานลาดตระเวน
เมื่อ ผบ.มว. ได้พิจารณาว่าจะเลือกพื้นที่นั้นเป็ นที่ตั้งฐานลาดตระเวนแล้วจะแจ้งให้รอง
ผบ.หมวด และ ผบ.หมู่รับทราบ พร้อมทั้งแจ้งให้ทราบเกี่ยวกับ สัญญาณผ่าน ความถี่ และนามเรียก
ขาน ซึ่ง ผบ.หมู่ จะต้องนำไปแจ้งให้กำลังพลของตนทราบก่อนที่จะเริ่มปฏิบัติงานตามลำดับความเร่ง
ด่วนที่ ผบ.หมวดมอบให้ก่อนออกจากฐานลาดตระเวนจะต้องทำให้ฐานลาดตระเวนนั้นไม่สามารถใช้
ประโยชน์ได้อีกต่อไป
ก. การระวังป้ องกัน : การเข้าออกจากฐานลาดตระเวนควรกระทำเพียงจุดเดียว อีกทั้งต้องมี
วินัยในการใช้แสงและเสียงตลอดเวลา ทุกคนต้องคอยระมัดระวัง ผบ.หมู่ ต้องกำกับดูแลการปักหลัก
เล็ง และต้องมั่นใจว่าได้วางระเบิดเคลย์โมไว้เรียบร้อยแล้ว หมู่ต่าง ๆ จัดที่ตรวจการณ์ขึ้นพร้อมกับ
ดัดแปลงที่มั่นอย่างเร่งด่วนและเงียบ ผบ.หมู่ วาดภาพสังเขปเพื่อทำแผ่นจดระยะ
ข. แผนเตรียมพร้อม ผบ.หมวด กำหนดความพร้อม (๑/๒ หรือ ๑/๓) เวลาที่จะเตรียมพร้อม
ทั้งหมดทั้งกลางวันและกลางคืน และต้องมั่นใจได้ว่าที่ตั้งต่าง ๆ ได้รับการตรวจตามห้วงระยะเวลาที่
กำหนด ที่ตรวจการณ์ยังใช้งานได้และมั่นใจได้ว่าอย่างน้อยที่สุดต้องมี ผบ.หมู่ ๑ คน ที่เตรียมพร้อมอยู่
ค. แผนการถอนตัว ผบ.หมวดกำหนดสัญญาณที่ใช้เมื่อมีการปะทะ (เช่น พุลดาวสีเป็ นต้น) คำ
สั่งสำหรับการถอนตัวเมื่อถูกกดดัน (หมู่ที่ไม่ติดพันกับข้าศึกถอนตัวก่อน) ที่รวมพลสำหรับหมวด
(กรณีที่หมวดไม่ได้จัดฐานลาดตระเวนสำรองไว้)
ง. แผนการซ่อมบำรุง ผบ.หมวดจะต้องมั่นใจได้ว่าปื นกลและอาวุธอื่นๆ เครื่องมือสื่อสาร
กล้องตรวจการณ์กลางคืน ไม่ชำรุดพร้อม ๆ กัน และต้องใช้เวลาในการซ่อมบำรุง แจกจ่ายกระสุนเพิ่ม
เติม
หมายเหตุ : เวลากลางคืนไม่มีการนำอาวุธมารวมกัน
จ. สุขาภิบาลและสุขศาสตร์บุคคล รอง ผบ.หมวด ต้องมั่นใจได้ว่าคูสนามเพลาะถูกขุด และทำ
เครื่องหมายด้วยแสงเคมีไว้ด้านใน ผบ.หมู่กำหนดพื้นที่ขับถ่าย ทหารคนได้ทำความสะอาดร่างกาย
ประจำวัน เช่น การโกนหนวด แปรงฟัน ล้างหน้า รักแร้ ขาหนีบ ขัดรองเท้า และไม่ทิ้งขยะไว้
ฉ. แผนการเลี้ยงดูทหาร ไม่ควรรับประทานพร้อมกันมากกว่าครึ่งหนึ่ง
ช. การส่งกำลังน้ำ รอง ผบ.หมวดจัดชุดส่งกำลังน้ำโดยให้บรรทุกกระติกน้ำไว้ในเป้ เปล่า
หมายเหตุ : ในระดับหมู่ก็มีการปฏิบัติเช่นเดียวกับระดับหมวด

You might also like