You are on page 1of 22

แนวข้อสอบวิชาหลักนิยม

1. หลักนิยมสงครามทางบก
(น.ต.ภูวจักร, น.ต.กฤษณ์, น.ต.บุญญฤทธิ,์ น.ต.ธนัสม์, น.ต.ตรีศัลย์,
น.ท.สุทธจินต์)

1.1 อธิบายการจัดหน่วยของกองทัพบกว่าเหมือนหรือแตกต่างกับการ
จัดหน่วยของกองทัพเรืออย่างไร

การจัดหน่วยของกองทัพบก
การจัดหน่วยของกองทัพเรือ
ข้อแตกต่างของการจัดหน่วยระหว่างกองทัพบกและกองทัพเรือ
(ตัวอย่าง)
1. กองทัพบกจัดส่วนราชการออกเป็ น 7 ส่วน แต่กองทัพเรือจัดส่วน
ราชการออกเป็ น 4 ส่วน และหน่วยเฉพาะกิจ ทร.
2. กองบัญชาการกองทัพบก จะรวมอยู่ในส่วนบัญชาการ แต่กอง
บัญชาการกองทัพเรือ จัดโครงสร้างแยกอยู่เหนือส่วนราชการทัง้ 4
ส่วน
3. ส่วนที่ใกล้เคียงกัน คือ ส่วนบัญชาการ และส่วนกำลังรบ
4. ส่วนยุทธบริการของกองทัพเรือ จะรวมเป็ นส่วนเดียว แต่กองทัพบก
จะแยกออกเป็ นส่วนสนับสนุนการรบ ส่วนส่งกำลังบำรุง และอยู่
ในกรมฝ่ ายยุทธบริการ ในส่วนบัญชาการด้วย
5. กองทัพเรือจะรวมส่วนศึกษาและวิจัยเป็ นส่วนเดียวกัน แต่กองทัพ
บกจะแยกเป็ นส่วนการฝึ กศึกษาและหลักนิยม กับส่วนพัฒนา
ประเทศ
6. ทัพภาคของกองทัพบกจะอยู่ใน ส่วนภูมิภาค และกำลังรบ แต่ทัพ
เรือภาคของกองทัพเรือจะอยู่ในส่วนกำลังรบเท่านัน

7. กองพลทหารช่างของกองทัพบก จะอยู่ในส่วนพัฒนาประเทศ แต่
กรมอู่ทหารเรือ กรมอิเล็กทรอนิกส์ ของกองทัพเรือ จะอยู่ในยุทธ
บริการ

1.2 Concept การวางแผนการรบทางบก (BOS7) ความหมายคือ


อะไรบ้าง สามารถนำมาใช้ได้อย่างไร

แนวความคิดในการปฏิบัติและประสานสอดคล้องระบบปฏิบัติการ
สนามรบ (Battlefield Operating System: BOS) มี 7 ขัน
้ ตอน คือ
1.3 อธิบายการจัดยุทธบริเวณตามแนวคิดหลักการทำสงครามทางบก
และการจัดยุทธบริเวณในประเทศไทยของ ทบ. ไม่ว่าจะเป็ น ทัพภาค
กองพล ทบ.มีการจัดอย่างไรบ้าง

การจัดดินแดนยามสงคราม เป็ นการแบ่งมอบความรับผิดชอบ


พื้นที่ระหว่างหน่วยรบ และหน่วยสนับสนุนการช่วยรบ เพื่อปลดเปลื้อง
ความรับผิดชอบพื้นที่สำหรับหน่วยรบให้เหลือน้อยที่สุด ขณะเดียวกันก็ให้
มีพ้น
ื ที่ดำเนินกลยุทธอย่างเพียงพอ และเป็ นการมอบความรับผิดชอบใน
การระวังป้ องกันเขตหลัง ให้กับหน่วยสนับสนุนการช่วยรบ การจัดดิน
แดนยามสงคราม จะประกาศใช้พร้อมกับแผนป้ องกันประเทศของกองทัพ
บก
ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะกำหนด ดังนี.้
1) เขตสงคราม หมายถึง พื้นที่ทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ ซึง่
เกี่ยวข้องหรืออาจเกี่ยวข้อง โดยตรงในการสงคราม เขตสงครามจะเล็กจะ
ใหญ่ขน
ึ ้ อยู่กับขนาดของกรณีพิพาท
1.1) ยุทธบริเวณ คือดินแดนส่วนหนึ่งของเขตสงครามที่จำเป็ นต่อ
การปฎิบัติการรบ การสนับสนุนการรบ และการสนับสนุนทางการช่วยรบ
ซึ่งแบ่งออกเป็ นเขตหน้า และเขตหลัง โดยเส้นแบ่งเขต เมื่อประเทศอยู่ใน
ภาวะสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมจะก าหนดพื้นที่ยุทธ
บริเวณขึน
้ และจะแต่งตัง้ ผบ.ยุทธบริเวณ เพื่อรับผิดชอบในการปฏิบัติ
การยุทธ และการช่วยรบของหน่วยกำลังรบทุกเหล่าทัพทั่วยุทธบริเวณ
1.1.1) เขตหน้า คือ พื้นที่ส่วนหนึ่งของยุทธบริเวณ นับตัง้ แต่
แนวหน้าสุดของกำลังทหารฝ่ ายเราที่เผชิญหน้าข้าศึกลึกลงมาจนถึง
เส้นเขตหลังของกองทัพน้อย หรือกองทัพภาค เป็ นพื้นที่สำหรับ
หน่วยรบใช้ดำเนินการกลยุทธ มีหน่วยสนับสนุนการรบ และหน่วย
สนับสนุนทางการช่วยรบตามความจำเป็ น การปฏิบัติในระยะใกล้
จะประกอบด้วยกิจกรรมที่กำลังดำเนินอยู่ของส่วนกำลังรบหลักที่
เข้าปฏิบัติการ รวมทัง้ หน่วยสนับสนุนการรบ และหน่วยสนับสนุน
ทางการช่วยรบ (ที่ไปให้การสนับสนุนกิจกรรม) ซึง่ เป็ นส่วน
ประกอบของการปฏิบัติการในระยะใกล้
1.1.2) เขตหลัง คือ พื้นที่ยุทธบริเวณที่เหลือทัง้ หมดนับจาก
เส้นเขตหลังของเขตหน้ามาจนถึงเส้นเขตหลังของเขตหลัง หรือของ
ยุทธบริเวณ ประกอบด้วยเส้นทางคมนาคมที่ตงั ้ ทางการส่งกำลัง
บำรุง กำลังกองหนุน และสิง่ อำนวยความสะดวก เพื่อให้การ
สนับสนุนหน่วยในเขตหน้า บก.ยธบ.จะถูกจัดตัง้ ขึน
้ เพื่อควบคุมทาง
ด้านยุทธการ ต่อหน่วยทุกหน่วยในยุทธบริเวณ
๑.๒) เขตภายใน คือ พื้นที่ที่อยู่นอกเขตสงคราม ไม่กระทบ
กระเทือนจากการรบ เป็ นแหล่งทรัพยากร โรงงาน และแหล่งผลิต
สำหรับเป็ นฐานส่งกำลังบำรุง เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติในยุทธบริเวณ
อย่างต่อเนื่อง
การแบ่งพื้นที่การรบ แบ่งออกเป็ น ๓ พื้นที่
๑. พื้นที่ทางลึก พื้นที่นอกแนวปะทะที่ปฏิบัติการเพื่อสร้างสภวะที่เกื้อกูล
ต่อการปฏิบัติต่อไป
๒. พื้นที่ระยะใกล้ พื้นที่ที่กำลังรบหลักเข้าดำเนินกลยุทธ
๓. พื้นที่ส่วนหลัง พื้นที่ที่อยู่ส่วนหลังนอกแนวปะทะ ที่ใช้ประกอบ
กิจกรรมต่างๆ เพื่อดำรงเสรีในการปฏิบัติ
2. หลักนิยมสงครามทางเรือ
(น.ท.วรยุทธ, น.ท.กฤษณพร, น.ท.จิรัฏฐ์, น.ต.ชวัลธร, น.ต.กุลวิณ,
น.ท.สุทธิชัย, น.ท.ผศ.ธนพน)

2.1 หลักนิยมทางการทหาร แบ่งเป็ นกี่ประเภท อะไรบ้าง และหลัก


นิยมทางทะเลของ ทร. (อทร.8001) เป็ นหลักนิยมประเภทไหน
หลักนิยมทางทหาร แบ่งออกเป็ น 5 ประเภท ได้แก่
1 หลักนิยมพื้นฐาน คือแนวทางในการใช้กำลังโดยทั่วไปเพื่อให้
บรรลุวัตถุประสงค์ทางทหารในระดับยุทธศาสตร์ โดยจะชีใ้ ห้เห็นแนว
ความคิดกว้างๆ เกี่ยวกับการใช้กำลังทางทหารอย่างมีประสิทธิผล และ
เป็ นหลักการพื้นฐานสำหรับหลักนิยมอื่นๆ
2 หลักนิยมยุทธศาสตร์ อธิบายแนวทางการใช้กำลังแห่งชาติทาง
ทหาร โดยส่วนมากจะอยู่ในรูปแบบ Defense White Paper
3 หลักนิยมยุทธการ อธิบายใช้ในแต่ละสมรภูมิ เป็ นแหล่งแผน
ยุทธการ ถูกเชื่อว่าเป็ นหนทางปฏิบัติที่ดีที่สุดเพื่อเอาชนะฝ่ ายตรงข้าม ให้
ในการเตรียมกำลังให้พร้อม
4 หลักนิยมยุทธวิธี เป็ นแนวทางปฏิบัติให้กับหน่วยทางยุทธวิธี
จำพวกระเบียบปฏิบัติประจำ (SOP : Standard Operating
Procedure)
5 หลักนิยมยุทธร่วม/ผสม ใช้เป็ นแนวทางให้กับการปฏิบัติการ
ร่วม/ผสม
โดย หลักนิยมทางทะเลของ ทร. (อทร.8001) จัดเป็ นหลักนิยมพื้น
ฐาน ตามนิยามข้างต้น

2.2 ให้คำจำกัดความของกำลังทางเรือ ได้แก่ การครองทะเล การ


ควบคุมทางทะเล การปฏิเสธการใช้ทะเล การขยายกำลังจากเรือสู่ฝั่ง
จาก อทร.8001 หน้า 28-30 ได้กำหนดแนวคิดการใช้กำลังอำนาจทาง
ทะเล (Concepts Governing the Use of maritime Power) โดย
จำแนกได้ ดังนี ้
1. การครองทะเล (Command of the sea) คือ การควบคุมทะเล
โดยสมบูรณ์ (Absolute Sea Control) ตามหลักนิยมการรบทาง
เรือสมัยใหม่ เพื่อให้ฝ่ายตนเองสามารถใช้ทะเลได้โดยไม่มีการขัด
ขวางหรือท้าทายจากฝ่ ายตรงข้าม และเป็ นการปฏิเสธการปฏิบัติ
ทางเรือใด ๆ ของฝ่ ายตรงข้าม สามารถกระทำครองทะเลได้โดยการ
ทำลายกำลังทางเรือของข้าศึกให้หมดสิน
้ ไปด้วยการปิ ดล้อม
2. การควบคุมทะเล (Sea Control) คือ การควบคุมสภาวะแวดล้อม
ทางทะเลทัง้ บนผิวน้ำ ใต้น้ำ และในอากาศ ในพื้นที่เฉพาะแห่งและ
ในห้วงเวลาที่กำหนดโดยใช้กำลังทางเรือ เพื่อตอบสนองความ
ต้องการมีเสรีภาพในการใช้ทะเลและประโยชน์ของฝ่ ายตนเอง ใน
ขณะเดียวกันก็เป็ นการปฏิเสธการใช้ทะเลของฝ่ ายตรงข้ามอีกด้วย
3. อํานาจการรบที่เหนือกว่า (Battlespace Dominance) คือ การ
จัดการต่อพื้นที่ทําการรบ
เพื่อควบคุมสภาวะแวดล้อมของยุทธบริเวณที่ทําการรบทัง้ หมดใน
ด้านสภาวะบนพื้นน้ำ ใต้น้ำ พื้นท้องทะเลในอากาศรวมทัง้ ในอวกาศ
และการใช้อุปกรณ์การสื่อสารและอิเล็กทรอนิกส์ที่มีการแพร่
คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ า หากสามารถทําได้ก็จะช่วยให้กําลังทางเรือ
สามารถควบคุมทะเลในพื้นที่ที่ต้องการได้ แนวความคิดในการ
จัดการต่อพื้นที่ทําการรบนีม
้ ีประโยชน์สําหรับใช้ในการปฏิบัติการ
ร่วม และ
การปฏิบัติการชายฝั่ ง ซึ่งต้องการดํารงไว้ซึ่งเสรีในการปฏิบัติบนฝั่ ง
4. การปฏิเสธการใช้ทะเล (Sea Denial) คือ การปฏิเสธหรือการขัด
ขวางมิใหขาศึกมีเสรีภาพในการใชทะเลซึ่งเปนหลักการของการ
ควบคุมทะเลอยูแลว จึงไมแตกตางจากการควบคุมทะเลมากนัก
แตมักจะใชตอเมื่อไมมีการควบคุมทะเลอยางสมบูรณ์
5. กองเรือคงชีพ (Fleet in Being) คือ การหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้า
กับข้าศึกที่เหนือกว่า เพื่อออมกําลังที่มีอยู่น้อยกว่านัน
้ ไว้คอยรัง
ควาญการปฏิบัติใดๆ ของฝ่ ายตรงข้าม โดยยังสามารถเป็ นภัย
คุกคามและสร้างความยุง่ ยากในการตกลงใจต่อกําลังทางเรือของ
ข้าศึกมิให้ทาํ การควบคุม ทะเลได้อย่างสมบูรณ์
6. การขยายกําลังอํานาจทางทะเลสู่ฝั่ง (Maritime Power
Projection) คือ การขยายกําลังอํานาจทางทะเลด้วยการใช้กําลัง
อํานาจทางเรือจากทะเลสู่ฝั่ง เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติการทางบก
โดยใช้
การควบคุมทะเลเพื่อการเข้าถึงชายฝั่ งเพื่อส่งกําลังทางทหารขึน
้ บก
โดยกําลังที่ใช้ในการปฏิบัติการประกอบด้วยกําลังรบยกพลขึน
้ บก
อากาศยานที่มากับเรือ อาวุธสําหรับโจมตีเป้ าหมายบนบกและ
หน่วยปฏิบัติการพิเศษ เป้ นต้น
7. การป้ องกันฝั่ ง (Coastal Defense) คือ การปฏิบัติการในทางรับ
เพื่อป้ องกันฝั่ งในจุดที่มีความสำคัญและมีความเสี่ยงจากภัยคุกคาม
ในรูปแบบต่าง ๆ ด้วยการปฏิบัติการที่สำคัญ ได้แก่ การหาข่าว
การป้ องกัน และการโต้ตอบ ซึ่งจําเป็ นต้องมียุทโธปกรณ์สนับสนุน
ทัง้ แบบติดตัง้ ประจําที่และ
แบบเคลื่อนที่ได้ การป้ องกันฝั่ งมักมีการปฏิบัติกัน ดังนี ้
a. การป้ องกันฐานทัพ (Base Defense) มีวัตถุประสงค์หลัก คือ
การดํารงไว้ซึ่งขีดความสามารถในการใช้ฐานทัพและป้ องกันมิ
ให้ข้าศึกใช้ประโยชน์จากฐานทัพนัน
้ ได้ ในกรณีที่ไม่สามารถ
รักษาฐานทัพไว้ได้ จะต้องพิจารณาใช้ทงั ้ กําลังทางเรือ ทาง
อากาศและทางบก ประกอบกันเพื่อผลในการป้ องกันสูงสุดและ
พยายามตรวจให้พบกําลังข้าศึกแต่เนิน
่ และทําลายเสีย
ตัง้ แต่ระยะไกล
b. การป้ องกันท่าเรือ (Harbour Defense) คือการป้ องกันน่าน
น้ำบริเวณชายฝั่ งที่ใช้เป็ น
ที่จอดเรือหรือท่าเรือให้พ้นจากภัยคุกคามจากเรือดําน้ำ ทุ่น
ระเบิดและการก่อวินาศกรรม เพื่อป้ องกันสิ่งอํานวยความ
สะดวกต่าง ๆ ตลอดจนการเทียบท่าและการขนถ่ายสินค้า
ของฝ่ ายเรา

2.3 What is a long-range task force fleet, at what stage, and how
will it respond? How does the OOAAA concept work?

กองเรือเฉพาะกิจระยะไกลคือ กองกำลังทางเรือเฉพาะกิจปฏิบัติการ
ระยะไกลที่ประกอบด้วยกำลังทางเรือและอากาศยานที่มีขีดความ
สามารถสูงสามารถที่จะป้ องกันภัยคุกคามได้ทงั ้ ๓ มิติ รวมทัง้ การปฏิบัติ
การร่วมกับอากาศยานของ ทอ. ได้ และอาจจะมีกำลังทางเรือที่สามารถ
ปฏิบัติการขยายอำนาจจากทะเลสู่ฝั่งรวมอยู่ด้วย
จัดขึน
้ ในสภาวะขัดแย้ง - สงคราม จะเริ่มจาก
การประกาศวัน ว. ของ ทร. และจะทำการเพิ่มเติมกำลังให้กับ ทรภ. เพื่อ
เตรียมการในการปฏิบัติในสภาวะนีจ
้ ะมีการปฏิบัติทงั ้ ทางรับและทางรุก
การปฏิบัติภารกิจทางรุกจะจัดตัง้ หน่วยกำลังเฉพาะกิจเพื่อใช้ในการ
ควบคุมทะเลและปฏิเสธการใช้ทะเลของข้าศึก โดยเป็ นบทบาทของหน่วย
ปฏิบัติการเรือดำน้ำที่ปฏิบัติงานตัง้ แต่ในภาวะปกติและกองกำลังทางเรือ
เฉพาะกิจปฏิบัติการระยะไกลที่ประกอบด้วยกำลังทางเรือและอากาศยาน
ที่มีขีดวามสามารถสูงสามารถที่จะป้ องกันภัยคุกคามได้ทงั ้ ๓ มิติ รวมทัง้
การปฏิบัติการร่วมกับอากาศยานของ ทอ. ได้ และอาจจะมีกำลังทางเรือ
ที่สามารถปฏิบัติการขยายอำนาจจากทะเลสู่ฝั่งรวมอยู่ด้วย ในส่วนของ
การปฏิบัติภารกิจทางรับ ทรภ. จะทำหน้าที่ในการป้ องกันพื้นที่และที่ตงั ้
สำคัญรวมทัง้ การป้ องกันเส้นทางคมนาคมทางทะเลภายในพื้นที่ปฏิบัติ
การรวมถึงสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจทางรุก ซึ่งพื้นที่ปฏิบัติการใน
สภาวะสงครามกำลังทางเรือของ ทรภ. จะถูกขยายพื้นที่ปฏิบัติการจาก
เดิมให้ครอบคลุมพื้นที่ของประเทศที่เป็ นภัยคุกคามหรือจนถึงพื้นที่นอก
อาณาเขตทางทะเลของประเทศไทยที่มีผลต่อการปฏิบัติการ

จากยุทธศาสตร์ ทร.๒๐ ปี ได้กำหนดการสร้างความมั่นคงของชาติทาง


ทะเล ตามแนวคิดระดับยุทธศาสตร์ว่า
“ปฏิบัติการสองฝั่ งมหาสมุทรและสามพื้นที่ปฏิบัติการ” หรือ “Two
Oceans and Three Areas
(OOAAA/Double O Triple A)” โดย Two Oceans มองถึงพื้นที่ปฏิบัติ
การในอนาคตที่เปลี่ยนแปลงไป
ตามบริบทของผลประโยชน์ของชาติทางทะเลที่มิได้หยุดอยู่เพียงแค่
อาณาเขตทางทะเลของไทย แต่แผ่ขยาย
ไปทั่วโลก โดยกำหนดให้ ทร.ต้องมีขีดความสามารถในการปฏิบัติการ
ระยะไกลเพื่อการปฏิบัติการร่วม/ผสม
การฝึ กร่วม/ผสม และการแสดงกำลังในพื้นที่ที่ผลประโยชน์ของชาติไปถึง
มิได้หมายถึงการคงกำลังปฏิบัติการอยู่ในพื้นที่นน
ั ้ ๆ ตลอดเวลา สำหรับ
Three Areas เป็ นแนวคิดในการเสริมสร้างกำลังของ ทรภ. โดย
กำหนดให้ทงั ้ ๓ ทรภ.ต้องมีขีดความสามารถ และเครื่องมือที่เพียงพอ ที่
พร้อมปฏิบัติภารกิจตัง้ แต่ในยามปกติ
ได้ตลอด ๒๔ ชม. จนถึงภาวะขัดแย้งหากสถานการณ์รุนแรงขึน
้ จะดำเนิน
การใช้กำลังตามแผนป้ องกันประเทศ
ต่อไป
3. หลักนิยมสงครามทางอากาศ
(น.ต.ศรัณย์, น.ต.ยุทธา, น.ท.ธีรยุทธ, น.ต.ณโรจ, น.ท.รศ.สันติ, น.ท.ฐิติ
กรณ์)

3.1 วิเคราะห์ปัจจัยความสำเร็จของ Royal Air Force และความล้ม


เหลวของ Luftwaffe ในยุทธการ Battle of Britain

ปั จจัยความสำเร็จของ Royal Air Force


1. ระบบเรดาร์เตือนภัยในการตรวจจับและแจ้งเตือน /ระบบ
ควบคุมและรายงาน (Control and Reporting System) ที่มี
ประสิทธิภาพ ประเทศอังกฤษ ได้ริเริ่มในระบบเตือนภัยและระบบ
ควบคุมและรายงานขึน
้ มา ช่วยให้ กองบัญชาการทางอากาศของ
อังกฤษ ทราบจำนวนและชนิดของเครื่องที่เยอรมันใช้ ซึ่งเป็ น
ประโยชน์ต่อ กองบัญชาการทางอากาศของอังกฤษในการวางแผน
และสั่งเครื่องขึน
้ เพื่อสกัดกัน

2. ยุทธวิธีการต่อสู้ด้วยหมวดบินของอังกฤษ ยุทธวิธีของอังกฤษ ใช้
ยุทธวิธีปฏิบัติการแยกเป็ นหมวดบิน โดนเน้นการโจมตีไปที่เครื่อง
บินทิง้ ระเบิดซึ่งเป็ นเป้ าหมายสำคัญที่จำเป็ นต้องทำลายเพื่อป้ องกัน
ความเสียหายที่จะเกิดขึน
้ ภายในประเทศ โดยสามารถปฏิบัติได้
อย่างมีประสิทธิภาพ
3. ยุทธบริเวณเหนือดินแดนอังกฤษ เนื่องด้วยการกำหนดยุทธบริเวณ
ให้อยู่เหนือดินแดนประเทศอังกฤษประเทศ โดยการสั่งให้เครื่องขึน

เมื่อเครื่องบินเยอรมันถึงจุดที่กำหนด ทำให้เครื่องบินอังกฤษได้
เปรียบเรื่องเวลาในการปฏิบัติการทางอากาศ
4. การผลิตและส่งกำลังบำรุง ด้วยขีดความสามารถในการผลิตเครื่อง
บิน และส่งกำลังบำรุงที่เหนือกว่าสืบเนื่องจากการสนับสนุนจาก
ภาคประชาชน ทำให้อังกฤษมีความได้เปรียบเรื่องกำลังรบทาง
อากาศในช่วงครึ่งหลังของสงคราม

ปั จจัยความล้มเหลวของ Luftwaffe
1. ความล่าช้าในการโจมตีเกาะอังกฤษ ผู้บัญชาการกองทัพอากาศ
เยอรมัน เออร์ฮาร์ด มิลช์ (Erhard Milch) ได้เสนอให้บุกเกาะ
อังกฤษทันทีในขณะที่อังกฤษเพิ่งถอยร่นข้ามช่องแคบอังกฤษกลับ
ไปและทิง้ อาวุธยุทโธปกรณ์จำนวนมหาศาลไว้ที่เมือง “ดังเคิร์ก”
(Dunkrik) ของฝรั่งเศส “ถ้าคิดจะบุกเกาะอังกฤษ ก็ต้องบุกในห้วง
เวลานี ้ เพราะอังกฤษขาดแคลนทุกสิ่งทุกอย่างที่จะใช้ต่อต้าน
เยอรมัน ถ้าเรารอแม้แต่เพียงหนึ่งเดือน ทุกอย่างก็อาจสายเกินไป”
ซึ่งปฏิบัติการ Dunkrik เสร็จสิน
้ ตัง้ แต่วันที่ 4 มิ.ย. ค.ศ.1940 แต่
Battle of Britain นัน
้ เริ่มต้นเมื่อ 10 ก.ค. ค.ศ.1940 ส่งผลทำให้
ประเทศอังกฤษมีเวลาฟื้ นฟูกำลัง เพียงพอสำหรับการป้ องกัน
ประเทศ
2. ขีดจำกัดเรื่อง ชพ. ทำให้มีเวลาปฏิบัติการเหนือเกาะอังกฤษเพียง
20-30 นาที พื้นที่การปฏิบัติการของ Battle of Britain ทัง้ หมด
เป็ นบริเวณพื้นที่เหนือเกาะอังกฤษ เครื่องบินของเยอรมันต้องวิ่งขึน

จาก สนามบินที่อยู่นอกเกาะอังกฤษ ทำให้มีการใช้น้ำมันและต้อง
เผื่อน้ำมันสำหรับการบินกลับ ทำให้ การปฏิบัติการเหนือเกาะ
อังกฤษเหลือเพียง 20-30 นาที ทำให้เสียเปรียบเรื่องเวลาในการ
ปฏิบัติการทางอากาศ
3. การข่าวกรองและการประเมินความเสียหายที่ล้มเหลวของ
เยอรมัน การข่าวกรองของเยอรมันผิดพลาด ได้แก่ ข่าวกรองเกี่ยว
กับการส่งกำลังบำรุงของประเทศอังกฤษ (ความจริงการผลิตเครื่อง
บินอังกฤษสามารถผลิตจำนวนเครื่องบินรบต่อเดือนได้มากกว่า แต่
ทางข่าวกรองเยอรมันรายงานข้อมูลตรงกันข้าม) รวมไปถึงการ
ประเมินความเสียหายต่อวันของเยอรมัน หน่วยข่าวกรองของ
เยอรมันประเมินความเสียหายของเครื่องบินรบอังกฤษมากกว่าที่
เสียหายจริง ทำให้การประเมินสถานการณ์และการปรับแผนไม่
สอดคล้องกัน

3.2 Air Control Relation Element มีอะไรบ้าง 3 ระดับ


การควบคุมทางอากาศ (Control of The Air) มี ๓ ระดับ ดังนี ้
๑. การควบคุมทางอากาศเสมอภาค (Air Parity) หมายถึง ระดับการ
ควบคุมทางอากาศที่อยู่ในสถานการณ์ที่เท่าเทียมกัน ทำให้การปฏิบัติการ
ทางบก ทางทะเล ทางอากาศ และทางอวกาศ ของทัง้ สองฝ่ ายอาจเผชิญ
กับการแทรกแซงโดยกำลังทางอากาศของฝ่ ายตรงข้ามอย่างมีนัยสำคัญ
ซึ่งความเท่าเทียมกันของกำลังทางอากาศไม่ได้หมายความว่าจะเป็ นการ
ยุติความขัดแย้ง แต่อาจจะทำให้เกิดการต่อสู้กันอย่างรุนแรงจนถึงขัน
้ จุด
วิกฤต เพื่อให้บรรลุการควบคุมทางอากาศในระดับหนึ่ง หรือเพื่อให้ได้มา
ซึ่งการได้เปรียบทางอากาศ ยกตัวอย่างเช่น ณ พื้นที่ปฏิบัติการ ก. ช่วง
เวลา น. ฝ่ ายเราส่ง บ.ขึน
้ ปฏิบัติการทางอากาศ เช่นเดียวกันกับฝ่ ายตรง
ข้ามซึ่งมีศักย์กำลังทางอากาศเทียบเคียงกันได้สง่ บ.ขึน
้ ปฏิบัติการทาง
อากาศในพื้นที่ และห้วงเวลาเดียวกัน เป็ นต้น
๒. การได้เปรียบทางอากาศ (Air Superiority) หมายถึง ระดับการ
ควบคุมทางอากาศของกำลังทางอากาศของฝ่ ายเราที่เหนือกว่า และมี
อิทธิพลต่อกำลังทางอากาศของฝ่ ายข้าศึก ซึ่งทำให้เกิดเสรีในการปฏิบัติ
การของกำลังทางบก ทางทะเล ทางอากาศ และทางอวกาศของฝ่ ายเรา
ในห้วงเวลาและพื้นที่ที่ต้องการ โดยไม่มีการแทรกแซงของกำลังทาง
อากาศของฝ่ ายข้าศึก ทัง้ นี ้ ด้วยกำลังทางอากาศที่เหนือกว่า การได้
เปรียบทางอากาศ
อาจเป็ นการกำหนดห้วงเวลาและพื้นที่ หรืออาจเปิ ดกว้างและไม่มีเวลา
กำหนดของการปฏิบัติเพื่อสร้างผลกระทบที่ต้องการ ยกตัวอย่างเช่น
๒.๑ ณ พื้นที่ปฏิบัติการ ก. ช่วงเวลา น. ฝ่ ายเราส่ง บ.ขึน
้ ปฏิบัติ
การทางอากาศเป็ นจำนวนมากกว่า ๑๐ เท่าของฝ่ ายตรงข้าม ทำให้ฝ่าย
ตรงข้ามตัดสินใจถอนกำลังทางอากาศออกจากพื้นที่
๒.๒ ฝ่ ายตรงข้าม ณ ขณะนัน
้ ไม่สามารถส่ง บ.ขึน
้ ปฏิบัติการทาง
อากาศได้ เนื่องจากอยู่ระหว่างการปรนนิบัติเพื่อขึน
้ บินเที่ยวถัดไปอยู่ แต่
ถ้าหากใช้เวลาในพื้นที่นานกว่านี ้ ฝ่ ายตรงข้ามก็สามารถส่ง บ.ขึน
้ ปฏิบัติ
การทางอากาศได้
๒.๓ ฝ่ ายตรงข้าม ณ ขณะนัน
้ ไม่สามารถส่ง บ.ขึน
้ ปฏิบัติการทาง
อากาศ ณ พื้นที่ ก.ได้เนื่องจากอยู่นอกรัศมีปฏิบัติการของสนามบิน แต่
หากเวลาผ่านไป ฝ่ ายตรงข้ามมีการปรับการวางกำลัง พื้นที่ปฏิบัติการ
ก.อาจก็จะมีการต่อต้านโดยกำลังทางอากาศของฝ่ ายตรงข้าม เป็ นต้น
๓. การครองอากาศ (Air Supremacy) หมายถึง ระดับการควบคุมทาง
อากาศด้วยกองกำลังทางอากาศของฝ่ ายเราที่เหนือกว่า และมีอิทธิพลต่อ
กำลังทางอากาศของฝ่ ายข้าศึกแบบเบ็ดเสร็จ ก่อให้เกิดเสรีในการปฏิบัติ
การในทุกมิติและทุกรูปแบบที่ต้องการ ของกำลังทางบก ทางทะเล ทาง
อากาศและทางอวกาศ ของฝ่ ายเรา เหนือพื้นที่ปฏิบัติการอย่างสมบูรณ์
โดยปราศจากการแทรกแซงใด ๆ จากกำลังทางอากาศของฝ่ ายข้าศึก ซึ่ง
ถือว่าการครองอากาศในระดับนีเ้ ป็ นการควบคุมทางอากาศในระดับสูงสุด
ที่ทุกกองกำลังทางอากาศต้องการและแสวงหา อย่างไรก็ตาม การควบคุม
ทางอากาศในระดับการครองอากาศนี ้ มักจะเกิดกับคู่ขัดแย้งสองฝ่ ายที่มี
ศักย์สงครามของกำลังทางอากาศที่ต่างกันโดยสิน
้ เชิงเป็ นส่วนมาก ยก
ตัวอย่างเช่น กองกำลังทางอากาศของฝ่ ายตรงข้าม ถูกทำลายสนามบิน
ระบบตรวจจับและพิสูจน์ทราบฝ่ าย ตลอดจนระบบป้ องกันภัยทางอากาศ
อย่างสมบูรณ์ทำให้ไม่มี บ.สามารถวิ่งขึน
้ เพื่อปฏิบัติการทางอากาศได้ ฝ่ าย
เราจึงมีเสรีในการปฏิบัติการ ณ พื้นที่ปฏิบัติการใด ๆ ณ ช่วงเวลาที่
ต้องการใด ๆ ได้

3.3 อธิบายคำจำกัดความของหลักนิยมปฏิบัติการทางอากาศ 5 ข้อ


(โจมตีทางยุทธศาสตร์ Counter Air Counter Land Counter Sea
การป้ องกันทางอากาศ)

1) การโจมตีทางยุทธศาสตร์ (Strategic Attack) การโจมตีทางอากาศ


ยุทธศาสตร์เป็ นปฏิบัติการเชิงรุก โดยผู้มีอำนาจสั่งการให้มีการปฏิบัติเพื่อ
บังเกิดผลสำเร็จในการรักษาผลประโยชน์แห่งชาติ ซึ่งการปฏิบัติการนีจ
้ ะ
ส่งผลกระทบโดยตรงต่อผู้นำ และบั่นทอนกำลังอำนาจของชาติของฝ่ าย
ตรงข้าม โดยมุ่งหวังในการทำลายจุดแข็งของฝ่ ายตรงข้าม อาทิเช่น การ
โจมตีต่อฐานที่มั่นคงของฝ่ ายตรงข้ามในระยะไกลและตัดการติดต่อของ
กำลังทางทหารในสนามรบกับผู้นำหรือสังคมของข้าศึก ซึ่งปกติแล้วการ
โจมตีทางยุทธศาสตร์ จะเป็ นการโจมตีต่อจุดศูนย์ดุลของข้าศึก (Center
of Gravity) อันเป็ นเป้ าหมายทางยุทธศาสตร์ทงั ้ ที่เป็ นรูปธรรมและ
นามธรรม และส่งผลกระทบต่อพลังอำนาจแห่งชาติทุกด้านของข้าศึก ซึง่
เป้ าหมายนี ้ มิจำเป็ นที่จะต้องเป็ นเป้ าหมายทางทหารเสมอไป ยกตัวอย่าง
เช่น โครงสร้างพื้นฐาน องค์กรหน่วยงานที่สำคัญ แหล่งอุตสาหกรรมหลัก
เป้ าหมายทางทหารที่สำคัญ ระบบคมนาคม ระบบการติดต่อสื่อสาร รวม
ถึงผู้นำประเทศ และสิ่งที่ส่งผลกระทบในระดับยุทธศาสตร์ทงั ้ ปวง

๒) การตอบโต้ทางอากาศ (Counter Air) การตอบโต้ทางอากาศ


เป็ นการปฏิบัติการเพื่อให้ได้มาซึ่งการได้เปรียบทางอากาศ (Air
Superiority) หรือการครองอากาศ (Air Supremacy) เป็ นการผสม
ผสาน
การปฏิบัติการทัง้ เชิงรุกและเชิงรับเข้าด้วยกัน มุ่งทำลายระบบที่ประกอบ
กันเป็ นกำลังทางอากาศของข้าศึกทัง้ ในอากาศและบนพื้น โดยมี
วัตถุประสงค์ในการรักษาระดับความเหนือกว่าทางอากาศที่ต้องการ รวม
ทัง้ ทำให้เกิดเสรีในการปฏิบัติการของกำลังทางบก กำลังทางทะเล และ
กำลังทางอากาศของฝ่ ายเรา ทัง้ ในระดับยุทธวิธี ยุทธการ และยุทธศาสตร์
เพื่อการควบคุมทางอากาศ (Control of The Air) ณ พื้นที่และเวลาที่
ต้องการ ประกอบด้วยการตอบโต้ทางอากาศเชิงรุก (Offensive
Counter Air : OCA) และการตอบโต้ทางอากาศ
เชิงรับ (Defensive Counter Air : DCA) เพื่อให้กำลังฝ่ ายเราได้ใช้
ประโยชน์จากการครองอากาศและลดขีดความสามารถกำลังทางอากาศ
ของฝ่ ายตรงข้ามรวมถึงอาวุธต่อต้านภาคพื้นที่จะเป็ นอันตรายต่อฝ่ ายเรา

๓) การต่อต้านทางภาคพื้น (Counter Land)การต่อต้านทางภาคพื้น


เป็ นการปฏิบัติการทางอากาศต่อสู้กับขีดความสามารถกำลังภาคพื้นของ
ข้าศึก เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของ ผบ.กองกำลังร่วม โดยวัตถุประสงค์
หลักของการต่อต้านทางภาคพื้น คือ มีอำนาจเหนือสภาวะแวดล้อมภาค
พื้นของข้าศึก และป้ องกันฝ่ ายข้าศึกมิให้กระทำในสิ่งเดียวกันต่อกำลังฝ่ าย
เรา การต่อต้านทางภาคพื้นกำหนดกิจเฉพาะสำคัญ ได้แก่ (๑) การขัด
ขวางทางอากาศ (Air Interdiction : AI) ซึ่งเป็ นการดำเนินกลยุทธ์
(Maneuver) ทางอากาศ สนับสนุนโดยตรงต่อการดำเนินกลยุทธ์ทางบก
หรือสนับสนุนโดยตรงต่อแบบแผนของกลยุทธ์ทางอากาศ อาศัยการโจมตี
เป้ าหมายภาคพื้นที่อยู่ห่างจากกำลังภาคพื้นของฝ่ ายเรา (๒) การ
สนับสนุนทางอากาศโดยใกล้ชิด (Close Air Support : CAS) ซึ่งเป็ นการ
ดำเนินกลยุทธ์ทางอากาศสนับสนุนการดำเนินกลยุทธ์ภาคพื้นโดยตรง
อาศัยการโจมตีเป้ าหมายภาคพื้นที่อยู่ในบริเวณกำลังภาคพื้นของฝ่ ายเรา

๔) การต่อต้านทางทะเล (Counter Sea) การต่อต้านทางทะเลเป็ นการ


ขยายขีดความสามารถกำลังทางอากาศไปสู่พ้น
ื ที่ทางทะเล เพื่อให้ได้มา
หรือรักษาไว้ซึ่งการได้เปรียบทางทะเล (Maritime Superiority) ในระดับ
ที่ต้องการ และมีวัตถุประสงค์ในการปฏิเสธการใช้ทะเลของข้าศึก ในขณะ
ที่ดำรงเสรีในการปฏิบัติในทะเลของฝ่ ายเรา กำลังทางอากาศสามารถ
ปฏิบัติการ เพื่อยับยัง้ การถูกรุกรานทางทะเล หรือการปิ ดอ่าวจากข้าศึก
โดยการปฏิบัติการ ประกอบไปด้วยการทำลาย การขัดขวาง การหน่วง
เหนี่ยว หรือการทำให้ภัยคุกคามหมดความน่าเกรงขามในสภาพแวดล้อม
ทางทะเล ซึง่ การปฏิบัติการของกำลังทางอากาศในการ
ตอบโต้ทางทะเล สามารถปฏิบัติการได้ทงั ้ ๔ มิติ อันประกอบด้วย มิติ
ผิวน้ำ (Surface Domain) มิติใต้น้ำ (Subsurface Domain) มิติอากาศ
เหนือทะเล (Air Domain) และมิติอวกาศ (Space Domain)
๕) การป้ องกันทางอากาศ (Air Defense) การป้ องกันทางอากาศ
เป็ นการปฏิบัติการทัง้ ปวง ซึง่ นำมาใช้เพื่อกำจัดหรือลดประสิทธิภาพใน
การปฏิบัติการโจมตีทางอากาศของฝ่ ายข้าศึก โดยทั่วไป การปฏิบัติการ
ป้ องกันทางอากาศ แบ่งออกเป็ น ๒ ประเภท ได้แก่
๕.๑) การป้ องกันทางอากาศเชิงรับ (Passive Air Defense)
เป็ นการปฏิบัติการใด ๆ ของกำลังทางอากาศทุกหน่วย เพื่อลด
ประสิทธิผลการโจมตีทางอากาศของข้าศึก โดยมีกระบวนการตัง้ แต่ก่อน
การถูกโจมตี ระหว่างถูกโจมตี และการฟื้ นฟูหลังจากถูกโจมตีซึ่งจำเป็ น
ต้องอาศัยการแจ้งเตือนภัยทางอากาศที่แม่นยำและต่อเนื่องเพื่อให้มีเวลา
เพียงพอในการปฏิบัติ
๕.๒) การป้ องกันทางอากาศเชิงรุก (Active Air Defense) เป็ นการ
ปฏิบัติการใด ๆ ในการใช้กำลังเข้าต่อต้านกำลังทางอากาศของฝ่ ายข้าศึก
ที่เข้าโจมตีทางอากาศ ไม่ว่าจะเป็ น อากาศยาน และอาวุธปล่อย โดยการ
ปฏิบัติการป้ องกันทางอากาศเชิงรุกเป็ นจุดเริ่มการปฏิบัติการโดยฝ่ ายเรา
เช่น หน่วยบินขับไล่สกัดกัน
้ ยุทธวิธี (Alert) หน่วยค้นหาและแจ้งเตือน
และหน่วยอาวุธต่อสู้อากาศยาน เป็ นต้น

You might also like