You are on page 1of 59

๑-๑

ภาคที่ ๑
ตอนที่ ๑
หลักนิยม ภารกิจ การจัด
กล่าวทั่วไป
ในอดี ต นั้ น ทหารม้ า ได้ ท าการรบอย่ า งห้ า วหาญบนหลั ง ม้ า ในสมรภู มิ ต่ า งๆ มาช้ า นาน จวบจน
สงครามโลกครั้งที่ ๑ ในช่วงปี ค.ศ. ๑๙๑๖ ณ แนวรบด้านตะวันตกในสมรภูมิยุโรป ก็ได้มีการเปลี่ยนแปลง
ครั้งยิ่งใหญ่ของพาหนะในการรบของเหล่าทหารม้าเกิดขึ้น โดยมีการปรากฏตัวครั้งแรกของยานรบที่ขับเคลื่อน
ด้วยเครื่องยนต์, หุ้มด้วยเกราะ และติดตั้งอาวุธ เข้าทาการบุกทะลุทะลวงแนวสนามเพลาะของข้าศึก ซึ่งยานรบ
หุ้มเกราะนั้นถูกเรียกขานกันโดยทั่วไปว่า “รถถัง” จนกองทัพของประเทศต่างๆ ได้ประจักษ์ถึงขีดความสามารถ
ของหน่ ว ยยานเกราะ ต่ างก็ ได้ วิจั ยพั ฒ นายานเกราะแบบต่า งๆ อย่ างต่อ เนื่ อ ง จนยานเกราะได้ กลายเป็ น
เครื่องมือในการรบอันทรงอานุภาพของกองกาลังทางบกตราบเท่าทุกวันนี้
นับตั้งแต่ยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ เป็น ต้น มา หลักนิยม, การจัด หน่วย และวิธีการรบของเหล่า
ทหารม้าโดยทั่วไปของกองทัพในทุกชาติแทบจะไม่ค่อยแตกต่างกันเท่าใดนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกาลเวลาที่ผ่านมา
ไม่ ไ ด้เปลี่ย นแปลงหลัก นิ ยมพื้ น ฐานของทหารม้า แต่ อย่ างใด แต่ ไ ด้มี ก ารพั ฒ นาให้ ก้าวหน้า ไปตามเทคนิ ค
ของอาวุ ธสมั ย ใหม่ เพื่ อ ให้ มี ป ระสิท ธิภ าพที่ เหนื อ กว่ าฝ่ ายตรงข้ าม ด้ ว ยคุ ณ ลั ก ษณะของความคล่ อ งแคล่ ว
ในการเคลื่อนที่ทุ กสภาพภูมิประเทศ, อานาจการยิง ที่รุน แรง, อานาจแรงกระแทกหรือกาลังชน รวมกาลัง
เข้าประชิดข้าศึกได้อย่างรวดเร็วและรุนแรง ก่อให้เกิดอานาจการทาลายและข่มขวัญ สูง ทาให้เหล่าทหารม้า
มีหลักนิยมและวิธีรบเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง
เหล่าทหารม้าได้มีการพัฒนาการจัดและหลักนิยมการใช้โดยแน่ ชัด โดยถือว่าเป็นส่วนกาลังรบหลัก
เป็ น หน่ ว ยก าลั ง ทางบกที่ ท รงประสิ ท ธิ ภ าพในการท าลายก าลั ง ข้ า ศึ ก เป็ น เครื่ อ งมื อ หลั ก อั น ส าคั ญ ยิ่ ง
ของผู้บังคับบัญชาในการใช้ตัดสินการยุทธ์ที่ให้ผลการรบแตกหัก ณ ยุทธบริเวณ ทหารม้าเป็นหน่วยที่ใช้สาหรับ
การดาเนินกลยุทธ์ทาการรุกเข้าทาลายล้างอานาจกาลังรบของข้าศึก โดยจะไม่ยึดพื้นที่เหนียวแน่น แต่จะยึด
พื้นที่ก็เพื่อปรับกาลังใหม่แล้วเข้าทาการรบต่อไป
ทหารม้าเป็นแนวความคิดในการใช้คุณลักษณะของความคล่องแคล่วในการเคลื่อนที่ อานาจการยิง
และอานาจการทาลายข่มขวัญ เข้าทาการรบด้วยยานเกราะที่มีอานาจสูงสุด ทาให้กาลังรบของข้าศึกต้องพ่ายแพ้ไป
หน่ ว ยทหารม้า จะประกอบด้ว ย หน่ วยทหารม้ ารถถัง , หน่ วยทหารม้ าบรรทุ กยานเกราะ, หน่ว ยทหารม้ า
ลาดตระเวน และหน่วยอื่นๆ ที่แบ่งมอบให้กับหน่วยทหารม้า (หน่วยในกองพลทหารม้า) ได้แก่ หน่วยทหารปืนใหญ่
หน่ ว ยทหารช่ าง หน่ ว ยป้ อ งกัน ภั ย ทางอากาศ หน่ ว ยทหารสื่ อ สาร หน่ วยบิ นทหารบก สนั บ สนุ น ด้ วยข่า ย
การติดต่อสื่อสารที่รวดเร็วคล่องตัว และระบบการส่งกาลังบารุงแบบเคลื่อนที่
ยานรบหุ้มเกราะต่างๆ ของทหารม้า สามารถป้องกันกระสุน, สะเก็ดระเบิดจากกระสุนปืนใหญ่และ
เครื่องยิงลูกระเบิดของข้าศึก รวมทั้งสามารถป้องกันผลจากการใช้ อาวุธ คชรน. ได้ จากคุณลักษณะดังกล่าว
ทาให้ผู้บังคับบัญชาสามารถใช้ทหารม้าเข้าดาเนินกลยุทธ์ภายใต้การยิงของข้าศึก และสามารถขยายผลได้สูงสุ ด
จากการยิงของอาวุธยิงของผ่ายเรา คุณลักษณะของยานรบหลักเหล่าทหารม้า สรุปได้พอสังเขป คือ
รถถัง มีอานาจการยิงรุนแรง, มีเกราะป้องกันตัวหนา, มีความคล่องแคล่ว แต่การตรวจการณ์กระทาได้
อย่างจากัด และมีน้าหนักมาก โดยสามารถแบ่งออกได้ดังนี้
รถถั ง หลั ก (Main Battle Tank : MBT) คื อ รถถั ง ที่ ใช้ เป็ น หั ว หอกในการรบ มี ขี ด ความสามารถ
ที่ ส าคั ญ คื อ อ านาจการยิ ง ที่ มี ค วามแม่ น ย ารุ น แรงมาก, มี ค วามคล่ อ งตั ว และมี เ กราะป้ อ งกั น ตนเอง
ที่มีประสิทธิภาพสูง สามารถทาลายยานเกราะหนักของข้าศึกและเป้าหมายต่างๆ ได้ในระยะไกล รถถังหลั ก
มีขีดความสามารถที่พึงประสงค์ คือ มีอานาจการยิงทาลายสูง, ต่อสู้และทาลายรถถังและยานเกราะข้าศึกได้
๑-๒

ในระยะไกล, สามารถทาการยิงได้ในขณะเคลื่อนที่, มีเกราะป้องกันตนเองจากอาวุธขนาดหนักของข้าศึก ได้


ในระยะประชิด , มีความคล่องแคล่วในการเคลื่อนที่สูง , มีรัศมีปฏิบัติการไกล, มีระยะการสื่อสารที่กว้างไกล
และเชื่อถือได้, สามารถปฏิบัติภารกิจได้ทั้งกลางวันและกลางคืน, สามารถปฏิบัติการในสงครามเคมี ชีวะ รังสี
นิวเคลียร์ (คชรน.) ได้ และ มีระบบการป้องกันตนเองที่ดี
รถถังเบา (Light Tank) คือ รถถังที่ถูกออกแบบให้ มีขนาดและน้าหนักที่น้อยกว่ารถถังหลัก จึงทาให้
เคลื่อนที่ได้คล่องแคล่วมากกว่า, มีอานาจการยิงที่แม่นยารุนแรง และมีเกราะป้องกันตนเองที่ดีในระดับหนึ่ง
ดังนั้นจึงมักจะใช้รถถังเบาในภารกิจการลาดตระเวน หรือ การสนับสนุนให้แก่ส่วนดาเนินกลยุทธ์อื่น ๆ ในพื้นที่
ซึ่งรถถังหลักไม่สามารถเข้าถึงได้ รถถังเบาควรมีขีดความสามารถที่สาคัญ คือ มีอานาจการยิงสูง สามารถทาลาย
รถถังในขนาดเดียวกันได้, สามารถทาการยิงขณะเคลื่อนที่ได้, มีเกราะป้องกันตนเองจากอาวุธกลขนาดหนัก
ของข้าศึกได้, มีความคล่องแคล่วในการเคลื่อนที่สูง, มีรัศมีในการปฏิบัติการปานกลาง, มีระบบการติดต่อสื่อสาร
ที่กว้างไกลและเชื่อถือได้, สามารถปฏิบตั ิการได้ทั้งกลางวันและกลางคืน, สามารถปฏิบัติการในสงคราม คชรน.ได้
และมีระบบการป้องกันตนเองที่ดี
ยานเกราะล าเลี ยงพล (Armored Personnel Carrier : APC) มี ทั้ งยานเกราะล าเลี ยงพลแบบสายพาน
และแบบล้อยาง เป็นยานรบหุ้มเกราะขนาดเบา, มีความคล่องแคล่ วในการเคลื่อนที่สูง, มีขีดความสามารถ
ในการบรรทุ ก ก าลังพลเพื่ อ เข้ าดาเนิ นกลยุท ธ์เคี ย งบ่าเคีย งไหล่ กับ หน่ วยรถถั ง และยานเกราะลาเลีย งพล
ส่วนใหญ่ ยังมี ขีดความสามารถในการลอยน้าและขับเคลื่อนในน้าได้ นอกจากนี้ยัง มีย านเกราะล าเลียงพล
ที่ใช้ในวัตถุประสงค์อื่นๆ เช่น รถบังคับการ, รถกู้ซ่อม, ติดตั้งเครื่องยิงลูกระเบิด, ติดตั้งจรวดนาวิถีต่อสู้รถถัง ,
ติดตั้งจรวดหลายลากล้อง, รถพยาบาล ฯลฯ
ยานยนต์ลาดตระเวน (Patrol Vehicle) เป็นยานยนต์ล้อขนาดเบา, มีความคล่องแคล่วในการเคลื่อนที่สูง,
อาจมี เกราะบางที่ ป้ อ งกั น จากกระสุ น ขนาดเล็ ก และสะเก็ ด ระเบิ ด ได้ ในระดั บ หนึ่ ง สามารถติ ด ตั้ ง อาวุ ธ
ได้ หลากหลาย ตั้ งแต่ ปืน กลเบา, เครื่อ งยิง ลูก ระเบิด อัต โนมั ติ, ปืน กลหนัก จนถึ ง เครื่อ งยิง จรวจต่ อสู้ รถถั ง
โดยยานรบประเภทนี้มักจะใช้ในภารกิจการลาดตระเวน
ในอดีตนั้น รถถังถือว่าเป็นยานรบที่มีขีดความสามารถอันพึงประสงค์ของทหารม้า ส่วนรถสายพาน
ลาเลียงพลและรถเกราะยังมีขีดความสามารถที่จากัดอยู่หลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งขีดความสามารถ
ในการต่อ สู้รถถังและอ านาจการยิง แต่ ในปั จจุ บัน ได้มี ก ารพั ฒ นารถสายพานล าเลีย งพล และรถเกราะให้
มีขีดความสามารถสูงขึ้น โดยมีการติดตั้งปืนใหญ่ , ปืนใหญ่ อัตโนมัติ หรือ อาวุธจรวดนาวิถีต่อสู้รถถัง ทาให้
เพิ่ ม ขี ด ความสามารถในการต่ อ สู้ แ ละท าลายรถถั ง ข้ า ศึ ก ได้ ใ นระยะไกล ทั้ ง ยั ง ท าการยิ ง สนั บ สนุ น ให้
กับส่วนที่ทาการลงรบเดินได้อีกด้วย เรียกยานรบนี้ว่า ยานรบทหารม้า (Cavalry Fighting Vehicle : CFV)
คุณลักษณะของทหารม้า
ความสาเร็จในการปฏิบัติการของทหารม้า ขึ้นอยู่ กับการผสมผสานคุณ ลักษณะอย่างเหมาะสม
ของ อ านาจการยิงภายใต้เกราะป้องกันตัว, ความคล่องแคล่วในการเคลื่อ นที่ , อานาจการทาลายข่มขวัญ ,
การติดต่อสื่อสารที่กว้างไกลและอ่อนตัว และการตอบสนองต่อคาสั่งได้อย่างรวดเร็ว
๑. อานาจการยิงภายใต้เกราะกาบัง ยานรบของหน่วยทหารม้าประกอบด้วยระบบอาวุธเคลื่อนที่
ที่ มี เกราะป้ อ งกั น ได้ แ ก่ ปื น กล, เครื่อ งยิง ลู ก ระเบิ ด และปื น ใหญ่ รถถั ง การใช้ ท หารม้ าจึ ง อยู่ บ นพื้ น ฐาน
ของการรวมระบบอาวุธ ซึ่งประกอบด้วยอาวุธของทหารม้ารถถัง ทหารม้าบรรทุกยานเกราะ ทหารม้าลาดตระเวน
ทั้งทางพื้นดินและทางอากาศ ปืนใหญ่วิถีโค้ง และอาวุธสนับสนุนอื่นๆ
๒. ความคล่องแคล่วในการเคลื่อนที่ เป็นหน่วยที่มีความคล่องแคล่วในการเคลื่อนที่ได้ ๑๐๐% โดยกาลังพล
และอาวุธยุทโธปกรณ์ทั้งหมด สามารถเคลื่อนย้ายด้วยยานยนต์ในอัตราของหน่วยตนเอง มีขีดความคล่องแคล่ว
ในการเคลื่อนที่ ทั้งบนถนนและในภูมิประเทศสูง จากคุณลักษณะดังกล่าวจึงอานวยให้ผู้บังคับบัญ ชาสามารถ
๑-๓

โยกย้ายอานาจการยิง และเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติไ ด้อย่างรวดเร็ว สามารถเคลื่อนที่ เข้าเพิ่มพูนความแข็งแกร่ง


ในการสู้ ร บของฝ่ า ยเราให้ มี ค วามเหนื อ กว่ า ข้ า ศึ ก ณ พื้ น ที่ ต่ า งๆ ได้ อ ย่ า งรวดเร็ ว หน่ ว ยบิ น ทหารบก
ที่มาสนับสนุนให้กับหน่วยทหารม้าจะเพิ่มพูนความคล่องแคล่วในการเคลื่อนที่ของหน่วยทหารม้าให้มากยิ่งขึ้น
โดยการปฏิ บั ติ ก ารเฝ้ า ตรวจ, การลาดตระเวน, การส่ ง ก าลั ง , การส่ ง กลั บ สายแพทย์ อ ย่ า งจ ากั ด และ
การเคลือ่ นย้ายหน่วย
๓. อานาจการทาลายข่มขวัญ เป็นการผสมผสานอานาจการทาลายทางกายภาพกับผลทางจิตวิทยา
ต่ อ ข้ า ศึ ก ซึ่ ง เกิ ด จากการเข้ า ปะทะอย่ า งรุ น แรงด้ ว ยอ านาจการยิ ง ภายใต้ เ กราะก าบั ง ของรถถั ง และ
จากการสนั บ สนุ น ของหน่ ว ยทหารม้ าบรรทุ ก ยานเกราะ การรวมอ านาจการยิ ง อย่ างมหาศาลผสมผสาน
กับการเคลื่อนที่ของหน่วยทหารม้าด้วยยานรบอย่างรวดเร็ว ทาให้เกิดอานาจการทาลายข่มขวัญอย่างรุ นแรง
ต่ อ ข้า ศึ ก อ านาจการท าลายข่ ม ขวั ญ ของทหารม้ าจะยิ่ ง สู ง ขึ้ น ถ้ า เพิ่ ม เติ ม จ านวนรถถั ง และใช้ รถถั ง อย่ า ง
เป็ น ปึ ก แผ่ น เป็ น กลุ่ม ก้ อ น ผลของอ านาจการท าลายข่ ม ขวั ญ ในการใช้ ท หารม้ า เข้ า โจมตี อ ย่ างรุ น แรงนั้ น
นอกจากจะสามารถให้ผลในการทาลายขวัญข้าศึกแล้ว ก็ยังเป็นการบารุงขวัญทหารให้ฝ่ายเราอีกด้วย
๔. การติดต่อสื่อสารที่กว้างไกลและอ่อนตัว วิทยุเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักของหน่วยทหารม้า ทาให้
หน่วยทหารม้ามีระบบการติดต่อสื่อสารที่จะนามาใช้ใด้ในทันที, มีระยะติดต่อสื่อสารที่ไกล และมีความอ่อนตัวสูง
ในการสื่อสารกับหน่วยเหนือ, หน่วยรอง, หน่วยข้างเคียง และหน่วยสนับสนุน ต่างๆ ส่วนการติดต่อสื่อสาร
ด้วยวิธีการอื่นนั้นจะกาหนดเพิ่มเติมขึ้นตามสถานการณ์ทางยุทธวิธี
๕. ความอ่ อ นตั ว ทหารม้ า เป็ น หน่ ว ยที่ มี ค วามอ่ อ นตั ว สู ง สามารถรวมก าลั ง หรื อ แยกหน่ ว ยได้
อย่างรวดเร็วตามความต้องการเมื่อเข้าเผชิญกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ความคล่องแคล่วในการเคลื่อนที่
ในสนามรบของหน่วยทหารม้าทาให้ สามารถเปลี่ยนแปลงการจัดเฉพาะกิจ และรูปแบบการดาเนินกลยุท ธ์
ได้อย่างรวดเร็วแม้ในขณะที่หน่วยกาลังปะทะกับข้าศึกในสภาพภูมิประเทศทุกรูปแบบ มีปจั จัยหลายประการ
ที่ ท าให้ ห น่ ว ยทหารม้ า มี ค วามอ่ อ นตั ว ได้ แ ก่ การจั ด หน่ ว ยแยกเป็ น ส่ ว นๆ, มี ร ะบบการติ ด ต่ อ สื่ อ สาร
ที่มีความอ่อนตัวสูง, มีหน่วยสนับสนุนการรบและสนับสนุนการช่วยรบที่สามารถเคลื่อนที่ให้การสนับสนุนได้รวดเร็ว
๖. การตอบสนองต่อคาสั่ง เนื่องจากหน่วยทหารม้ามีความคล่องแคล่วในการเคลื่อนที่สูง มีความอ่อนตัวสูง
รวมทั้งมีการติดต่อสื่อสารที่กว้างไกล จึง ทาให้หน่วยทหารม้าสามารถตอบสนองคาสั่ง ของผู้บังคับบัญ ชาได้
เป็นอย่างดี หน่วยทหารม้าสามารถตอบสนองต่อคาสั่งได้อย่างรวดเร็วและง่ายดายต่อคาสั่งแบบมอบภารกิจ
ความง่ายในการติดต่อสื่อสารของทหารม้าทาให้การส่งคาสั่งในการปฏิบัติได้อย่างรวดเร็ว ในขณะเดียวกัน
ความอ่ อ นตั ว และความคล่ อ งแคล่ ว ในการเคลื่ อ นที่ จ ะเปิ ด โอก าสให้ ส ามารถตอบสนองต่ อ ค าสั่ ง
ในการเปลี่ยนแปลงภารกิจ, เปลี่ยนการจัดเฉพาะกิจ ของหน่วยทางยุทธวิธี, เปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่ และ
สามารถเคลื่อนที่อย่างรวดเร็วไปยังพื้นที่ที่สาคัญ หรือพื้นที่ที่ให้ผลการรบแตกหัก
ขีดความสามารถของทหารม้า
จากคุณลักษณะของทหารม้า การใช้หน่วยทหารม้าในการสนองตอบต่อภารกิจให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
ควรปฏิบัติด้วยความห้าวหาญตามขีดความสามารถที่สาคัญ ดังต่อไปนี้
๑. ดาเนินกลยุทธ์ภายใต้การยิงที่มีเกราะป้องกันในสนามรบ
๒. เคลื่อนที่อย่างรวดเร็วเข้าปะทะกับข้าศึกเพื่อตัดสินการรบ ณ ตาบลแตกหัก
๓. กระจายกาลัง และ รวมกาลังอย่างรวดเร็ว
๔. เข้าปฏิบัติการในสนามรบด้วยระบบป้องกันที่มีประสิทธิภาพสูง
๕. เข้าปะทะและผละจากการสู้รบกับข้าศึกได้อย่างรวดเร็ว โดยสูญเสียน้อยที่สุด
๖. เข้าโจมตีอย่างหนักหน่วงต่อที่มั่นข้าศึก
๗. ดาเนินกลยุทธ์เข้าสู่ทางปีกหรือด้านหลังของข้าศึกได้อย่างรวดเร็ว
๑-๔

ขีดจากัดของทหารม้า
๑. ยานรบส่วนมากมีน้าหนักมาก จึงมีปัญหาในการขนส่ง, การเคลื่อนย้าย และการปฏิบัติการในที่ลุ่ม
ที่พื้นดินมีความอ่อนนุ่ม และในพื้นที่ป่าภูเขา
๒. มีความสิ้นเปลือง สป.สูง โดยเฉพาะ สป.๓ และ สป.๕ จึงต้องมีการส่งกาลังที่ดี
๓. มีความต้องการในการซ่อมบารุงสูง
หลักนิยมในการรบของทหารม้า
จากคุณลักษณะและขีดความสามารถของทหารม้า ทาให้มีหลักนิยมในการรบโดยสามารถสรุปได้ดังนี้
๑. ทาการรบบนยานรบเคลื่อนที่เร็ว และปฏิบัติการรบด้วยวิธีรุกเป็นหลัก โดยปฏิบัติการ
ด้วยความรวดเร็ว รุนแรง เด็ดขาด
๒. ปฏิบัติการเป็นอิสระ โดยใช้ความคล่องแคล่วในการเคลื่อนที่ และอานาจการยิง
๓. ทาการรบอย่างแตกหัก หวังผลตัดสินการรบ
๔. ไม่รบยืดเยื้อเป็นเวลานาน
๕. ทาการรบแบบผสมเหล่าที่มีความสมบูรณ์ในตัวเอง
๖. ทาการรบแบบเป็นปึกแผ่น ใช้ความคล่องแคล่วและอานาจการยิงให้เกิดผลสูงสุด
บทบาทของทหารม้า
บทบาทการรบของหน่วยทหารม้า จะเป็นการปฏิบัติที่ต้องการความเด็ดขาดในการยุทธ์โดยใช้ยานรบ
ที่เคลื่อนที่ได้รวดเร็วทางพื้นดิน โดยปกติทหารม้าจะมีคุณลักษณะที่เหมาะในการเข้าทาการรบด้วยวิธีรุกเป็นหลัก
และดารงคุณลักษณะได้ด้วยการใช้ยานรบเข้าดาเนินกลยุทธ์ โดยบทบาทที่เหมาะสมสาหรับหน่วยทหารม้า
สามารถกาหนดให้เห็นเด่นชัด ๒ แบบ คือ
๑. ทาการรบอย่างเป็น ปึกแผ่น และปฏิบัติก ารเป็ นอิสระโดยใช้ความเร็ว อานาจการยิง ตลอดจน
อานาจการทาลายข่มขวัญ และรัศมีปฏิบัติการไกล ทาการรบตามหลักนิยมของทหารม้าโดยเป็นหน่วยในอุดมคติ
สาหรับ การรบด้ วยวิธี รุก หรื อใช้ ในการตี โต้ ต อบ เป็ น เครื่อ งมื อที่ ผู้บั ง คั บ บั ญ ชาสามารถใช้ส าหรับ การรบ
ที่ให้ผลแตกหัก ตามปกติแล้วบทบาทนี้จะปฏิบตั ิโดยกองพลทหารม้า และกรมทหารม้า
๒. ทาการร่วมรบกับทหารเหล่าอื่น เป็นบทบาทที่หน่วยทหารม้าสนับสนุนภารกิจของทหารราบเป็นหลัก
โดยท าการรบอย่ างเป็ น ปึ กแผ่ น ในระดั บ กองพั น รถถัง หรือ จั ด เป็ น ชุด รบร่ว มกับ ทหารราบ และกองพั น
หรือกองร้อยทหารม้าลาดตระเวน เพื่อให้การลาดตระเวนและระวังป้องกันให้แก่ทหารราบ ตามปกติบทบาทนี้
จะปฏิบัติโดยหน่วยทหารม้าที่แบ่งมอบให้กับหน่วยทหารราบ
ภารกิจของทหารม้า
ทหารม้ าเป็ น หน่ วยกาลังรบในลัก ษณะผสมก าลั ง ด้ว ยหน่ ว ยยานรบทางพื้ น ดิ น และการสนั บ สนุ น
ทางอากาศ เพื่อให้มีระดับความสามารถสูงสุดในเรื่องความคล่องแคล่วในการเคลื่อนที่, อานาจการยิงที่รุนแรง,
การติดต่อสื่อสารที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ทหารม้าสามารถทาการรบได้ทุกขั้นตอนของสงคราม ทุกแบบ
ของการรบ ในสภาพลมฟ้ า อากาศที่ เ ลวร้ า ย และทุ ก ภู มิ ป ระเทศ โดยการจั ด ก าลั ง ผสมให้ เ หมาะสม
กับสถานการณ์ข้าศึกและสภาพภูมิประเทศ แม้ในสงครามที่มีการใช้อาวุธ คชรน. ทหารม้าก็เป็นหน่วยที่เหมาะสม
ที่จะใช้ในการรบ เนื่องจากมีเกราะป้องกันความร้อนและแรงกดดันอย่างรุนแรง รวมทั้งรังสีที่เกิดจากการระเบิด
ของอาวุธนิวเคลียร์ ตลอดจนสารเคมีและสารชีวภาพต่างๆ โดยเกราะของยานรบสามารถป้องกันพลประจารถ
ให้ปลอดภัยได้ในระดับหนึ่ง ทาให้ทหารม้าสามารถดาเนินกลยุทธ์ในพื้นที่ดังกล่าวได้ ในขณะที่หน่วยทหารเหล่าอื่น
ต้องหลีกเลี่ยงจากพื้นที่เปื้อนพิษหรือรังสี
๑-๕

ภารกิ จ นั บว่ าเป็ นปั จจั ยส าคั ญประการหนึ่ งที่ ก าหนดการจั ดก าลั งของหน่ วยต่ างๆ ดั งนั้ นในการจั ด
หน่วยทหารม้าเข้าปฏิบัติการจึงควรพิจารณาให้เหมาะสมกับภารกิจ คือ
๑. ภารกิ จในบทบาทการลาดตระเวน ระวัง ป้ องกั น และออมก าลัง เป็ น ภารกิจซึ่ ง ต้อ งการหน่ว ย
ที่ ส ามารถปฏิ บั ติ ก ารเป็ น อิ ส ระได้ อ ย่ างอ่ อ นตั วตามสถานการณ์ เฉพาะที่ เกิ ด ขึ้ น และมี ค วามคล่ อ งแคล่ ว
ในการเคลื่อนที่สูงกว่าความคล่องแคล่วของกาลังรบฝ่ายเดียวกันและกาลังรบฝ่ายข้าศึก สามารถทาการสู้รบ
ด้วยยานรบทั้งทางพื้นดิน, อากาศหรือลงรบเดินดิน ซึ่งหน่วยทหารม้าลาดตระเวนจะมีโครงสร้างการจัดเป็นชุดรบ
ผสมผสานอ านาจก าลั งรบที่ เหมาะสมกั บ สถานการณ์ ทุ ก ชนิ ด คื อ มีส่ วนลาดตระเวน ส่วนด าเนิ น กลยุ ท ธ์
ทางพื้นดิน ส่วนรถถัง และส่วนยิงสนับสนุนในตัวเอง ในตั้งแต่ระดับหมวดขึ้นไปจนถึงระดังกองพัน จึงทาให้
สามารถปฏิบัติภารกิจมูลฐานบรรลุผลสาเร็จได้เป็นอย่างดี โดยอาจพิจารณาใช้เป็นหน่วยลาดตระเวน หน่วยกาบัง
หน่วยคุ้มกัน หรือทาฉากกาบังให้กับกาลังหน่วยใหญ่ ทาการเกาะข้าศึก หรือเป็นหน่วยติดต่อระหว่างกาลังฝ่ายเรา
ทาการตั้งรับ รั้งหน่วง เข้าตีโฉบฉวยในพื้นที่ส่วนหลังของข้าศึก รบกวน หรือเข้าตีลวง ฯลฯ รวมทั้งเป็นหน่วย
ในการออมกาลังให้กับหน่วยเหนือ เพื่อที่จะอานายให้สามารถใช้กาลังรบส่วนใหญ่เข้าดาเนินกลยุทธ์ในพื้นที่อื่น
ซึ่งหวังผลการรบแตกหักได้
หน่วยลาดตระเวนทางอากาศหรือหน่วยทหารม้าอากาศ ทาให้ขีดความสามารถในการลาดตระเวน
ระวั ง ป้ อ งกั น และการเฝ้ า ตรวจ ขยายขอบเขตกว้ า งขวางและรวดเร็ ว มากยิ่ ง ขึ้ น โดยค านึ ง ถึ ง ข้ อ จ ากั ด
ของลั กษณะภู มิ ป ระเทศเพี ย งเล็ก น้ อ ยเท่ านั้ น จะต้ องปฏิ บั ติก ารร่วมกั บ ทหารม้ าลาดตระเวนภาคพื้ น ดิ น
จึงจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
๒. ภารกิจ ในบทบาทการเป็ นส่ วนดาเนิน กลยุ ทธ์ ห ลั ก ภารกิ จนี้ จะเป็ น การประกอบก าลัง ร่วมกั น
ระหว่างหน่วยทหารม้ารถถัง และหน่วยทหารม้าบรรทุกยานเกราะ
๒.๑ หน่ วยทหารม้ารถถัง มีภ ารกิ จมูลฐาน คื อ เข้าประชิด และทาลายกาลัง ข้าศึกด้ วยการยิ ง
การดาเนินกลยุทธ์ และอานาจการทาลายข่มขวัญ โดยประสานกับกาลัง รบหน่วยอื่น ๆ หน่วยทหารม้ารถถัง
สามารถปฏิบัติได้ทุกรูปแบบและทุกประเภทของการยุทธ์ เพราะว่าหน่วยทหารม้ารถถังมีอานาจในการยิงอยู่ในตัว
มีความคล่องแคล่วในการเคลื่อนที่ , มีเกราะกาบัง และมีอานาจการทาลายข่มขวัญ ดังนั้นจึงสามารถพิจารณา
ใช้หน่วยทหารม้ารถถังให้เหมาะสมกับลักษณะของหน่วยได้คือ ดาเนินกลยุทธ์ภายใต้การยิง ทาลายยานเกราะข้าศึก
ขยายผลด้วยการทะลุทะลวง และขยายผลจากการใช้อาวุธทาลายภายใต้การสนับสนุนด้วยการยิงของอาวุธ
ในอัตรา และใช้รถถังในภารกิจการสนับสนุนหน่วยทหารราบ
๒.๒ หน่ วยทหารม้ าบรรทุ ก ยานเกราะ มี ภ ารกิจมู ลฐานคื อเข้ าประชิด ข้าศึก ด้ว ยการยิ ง และ
การดาเนินกลยุทธ์ เพื่อทาลายหรือจับเป็นเชลย หรือเพื่อผลักดันการเข้าตีของข้าศึกด้วยการยิง การรบประชิด
และการตี โต้ตอบ หน่ วยทหารม้าบรรทุกยานเกราะเหมาะสาหรับการปฏิ บัติการรบด้วยวิธีรุกเป็น อย่างยิ่ ง
โดยจะไม่ยึดพื้นที่เหนียวแน่น แต่จะยึดเพื่อปรับกาลังใหม่และเข้าดาเนินกลยุทธ์ต่อไป และเป็นหน่วยที่สามารถ
ปฏิบัติภารกิจร่วมกับหน่วยทหารม้ารถถังได้อย่างดียิ่ง เพื่อเป็นการชดเชยจุดอ่อนซึ่งกันและกัน
ภารกิจทีค่ วรมอบให้ทหารม้า
จากการที่หน่วยทหารม้าเป็นหน่วยกาลังรบที่มีขีดความสามารถในการเคลื่อนที่สูงกว่ากาลังรบอื่น ๆ
มี อานาจการยิ งอย่ างรุ น แรงในตั ว เอง มี เกราะก าบั ง มี อานาจการท าลายข่ ม ขวั ญ รวมทั้ ง มี ค วามอ่อ นตั ว
ในการจัด ด้วยการผสมก าลั งได้ อย่างเหมาะสม และมีระบบการติดต่ อสื่อสารที่ รวดเร็วและมีป ระสิทธิภ าพ
เพื่ อสนองตอบค าสั่ งที่ ต้ องการอ านาจก าลั งรบสู งสุ ดในทุ กสถานการณ์ ทหารม้ าจึ งเหมาะสมที่ จะใช้ ส าหรั บ
การปฏิบัติการรบด้วยวิธีรุกเป็นอย่างยิ่ง เพื่อประชิดและเข้าทาลายกาลังข้าศึก ใช้ขยายผลแห่งความมีชัย และ
ใช้ขยายผลจากการใช้อาวุธ คชรน. ดังนั้นภารกิจที่ควรมอบให้ทหารม้า คือ
๑-๖

๑. การเจาะลึกและการโอบปีกกว้าง หน่วยทหารม้าขนาดใหญ่ในรูปขบวนรบที่มีความคล่องแคล่ว
ในสนามรบ และมีขีดความสามารถในการดาเนินกลยุทธอย่างเป็นปึกแผ่นด้วยกาลังเป็นกลุ่มก้อนทั้งหมด หรือ
เพียงบางส่วน เพื่อก่อให้เกิดความกดดันอย่างมหาศาลจากการยิงสนับสนุน ก่อให้เกิดกาลังรบที่ทรงอานาจ
และพลังโถมกระแทก ในการเจาะลึกและโอบปีกกว้าง ในพื้นที่ส่วนหลังของข้าศึก หน่วยทหารม้าส่วนนี้จะมีเสรี
ในการปฏิ บั ติ อ ย่ างยิ่ง เมื่ อ ใช้ ด าเนิ น กลยุ ท ธเพื่ อ ยึด ที่ ห มายแตกหั ก ท าลายการติ ด ต่ อ สื่ อ สาร ที่ บั ง คั บ การ
ที่ตั้งจรวด ที่ตงั้ ปืนใหญ่ ที่ตั้งกองหนุน หรือที่ตั้งทางการส่งกาลัง
๒. การขยายผลและไล่ ติ ด ตาม หน่ วยทหารม้ า มี อ านาจก าลั ง รบเพี ย งพอที่ จ ะฉกฉวยโอกาส
ในการขยายผล หรือทาการไล่ติดตามได้เอง ทั้งยังเป็นหน่วยกาลังรบแตกหักให้ผู้บังคับบัญชาใช้ในการขยายผล
หรือไล่ติดตาม ต่อจากความสาเร็จของหน่วยอื่นๆ ได้อย่างรวดเร็วอีกด้วย
๓. การตั้ งรั บ แบบคล่ อ งตั ว หน่ วยทหารม้ า เป็ น หน่ ว ยในอุ ด มคติ ที่ มี ค วามเหมาะสมอย่ างยิ่ ง
ในการปฏิบั ติการตั้งรับ แบบคล่อ งตัวในพื้ นที่ ที่มี กว้างด้านหน้ามาก อย่ างไรก็ตามเนื่อ งจากหน่ ว ยทหารม้ า
มีพื้นฐานการจัดเพื่อ ปฏิบัติการรบด้วยวิธีรุก การใช้หน่วยทหารม้าได้ดีที่สุดในการรบด้วยวิธีรับแบบยึดพื้นที่
ก็คือ ใช้เป็น กองหนุน ของหน่วยเหนื อ ที่มี ความเข็มแข็ ง และมี ความคล่องแคล่ ว สาหรับใช้ในการตีโต้ตอบ
เพื่อทาลายการเข้าตีของฝ่ายข้าศึก
๔. การทาลายยานเกราะข้าศึก ในการทาลายหน่วยยานเกราะข้าศึกนั้น เป็นสิ่งจาเป็น อย่างยิ่ง
ต่อผลสาเร็จในการรบทางภาคพื้นดิ น และต้องกระทาอย่างต่อเนื่องทั้งในการรบด้วยวิธี รุก รับ และร่นถอย
โดยรถถังจะเป็นอาวุธหลักในการทาลายหน่วยยานเกราะข้าศึก
๕. การลาดตระเวนและการระวังป้องกัน เนื่องจากอาวุธสมัยใหม่มีระยะยิงไกลขึ้นและมีอานาจ
การท าลายมากขึ้ น หน่ วยต้อ งกระจายกาลั ง กัน ออกไปเพื่ อลดอัน ตรายที่ จะเกิ ดร่ว มกั นท าให้ ค วามจ าเป็ น
และความต้องการในการลาดตระเวนและระวังป้องกันเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ภารกิจลาดตระเวนและระวังป้องกัน
ต้องการหน่วยที่มีความสามารถในการรบทางพื้นดินที่มีคล่องแคล่วในการเคลื่อนที่สูงเพื่อแจ้งเตือนเกี่ยวกับข้าศึก
ซึ่ ง ในบางสถานการณ์ ห น่ ว ยอาจต้ อ งท าการรบในขี ด ความสามารถของตนเอง เพื่ อ คลี่ ค ลายสถานการณ์
หน่วยทหารม้าลาดตระเวนสามารถทาการลาดตระเวน ทั้งทางพื้น ดินและทางอากาศ เป็นกาลังที่เหมาะสม
สาหรับใช้ในการลาดตระเวน การกาบัง การคุ้มกัน การทาฉากกาบัง การระวังป้องกันพื้นที่ส่วนหลัง หรือใช้
สนับสนุนการปฏิบัติการยุทธเคลื่อนที่ทางอากาศ และยังเป็นหน่วยที่เหมาะสมอย่างยิ่งที่จะใช้ในการต่อต้านการ
ปฏิบัติการยุทธเคลื่อนที่ทางอากาศ การปฏิบตั ิการยุทธส่งทางอากาศ และการรบแบบกองโจรของฝ่ายข้าศึก
๖. การออมกาลัง ทหารม้าลาดตระเวน มี การจัดและการประกอบกาลัง ตามอุดมคติเพื่อปฏิบัติ
ภารกิจในการออมกาลัง อานวยให้ผู้บังคับบัญชาสามารถใช้กาลังรบส่วนใหญ่เพื่อเข้าดาเนินกลยุทธ์ในพื้นที่อื่น
ที่หวังผลการรบแตกหักได้
๗. การสนับสนุนทหารราบอย่างใกล้ชิด ภารกิจนี้ส่วนใหญ่ ปฏิบัติโดยกองพัน รถถัง ของกองพล
ทหารราบ ไม่ว่าจะใช้เป็นหน่วยกองพัน รถถัง อย่างเป็นปึกแผ่น หรือแยกหน่วยรถถังสมทบกรมทหารราบ
กองพันรถถังจะเพิ่มอานาจการยิงให้กับทหารราบในภารกิจการเข้าตี และตั้งรับ และเพิ่มขีดความสามารถใน
การทาลายยานเกราะให้สูงขึ้น
๘. การปฏิ บัติ การในพื้ น ที่ ส่วนหลัง หน่ วยยานเกราะเป็น หน่ว ยที่ สามารถใช้ ในการปฏิ บั ติก าร
ต่อต้านกาลังรบฝ่ายข้าศึกที่ ปฏิบัติการอยู่ในพื้นที่ ส่วนหลังของฝ่ายเรา หน่วยกาลัง รบข้าศึกที่ปฏิบั ติการใน
พื้นที่ส่วนหลังนั้นอาจมีความแตกต่างกันไป ตั้งแต่หน่วยกาลังรบนอกแบบ เช่น หน่วยกองโจร, หน่วยรบพิเศษ
ไปจนถึงกาลังรบตามแบบที่ปฏิบัติการยุทธ์ส่งทางอากาศหรือการยุทธ์เคลื่อนที่ทางอากาศก็ได้
๙. การปฏิบั ติ การเพื่ อ เสถี ยรภาพ และการป้ องกั นภายใน คุ ณ ลัก ษณะของหน่วยยานเกราะ
เหมาะสมอย่างยิ่งในการใช้ปฏิบัติการเพื่อเสถียรภาพ เช่น การแสดงแสนยานุภาพให้ฝ่ายตรงข้ามเกิดความหวาดกลัว
ในการปฏิบัติการป้องกันภายในนั้น หน่วยยานเกราะสามารถปฏิบัติการอย่างได้ผลต่อหน่วยกาลังทางยุทธวิธี
๑-๗

ของผู้ก่ อ การร้า ย หน่ วยทหารม้ า อากาศก็ เ ป็ น หน่ วยที่ เหมาะสมอย่ างยิ่ ง ในการปฏิ บั ติ ก ารป้ องกั นภายใน
ณ ภูมิประเทศซึ่งไม่เกื้อกูลต่อการปฏิบัติของหน่วยยานเกราะภาคพื้นดิน เราอาจใช้หน่วยยานเกราะในฐานะ
เป็นส่วนหนึ่งในการปฏิบัติการเพื่อ เสถียรภาพ, เพื่อสนับสนุ นการรักษาความมั่นคงภายใน, ปฏิบัติการ หรือ
ให้ ก ารสนั บ สนุ น ในการพิ ทั ก ษ์ และช่ วยเหลื อประชาชน, การเข้ าไปมี ส่ วนร่วมในปฏิ บั ติ ก ารจิต วิท ยา และ
งานด้านข่าวกรอง หรือเป็นที่ปรึกษาแก่หน่วยทหารของประเทศเจ้าบ้านที่เราเข้าไปปฏิบัติการเพื่อเสถียรภาพ
และป้องกันภายในให้
๑-๘

ตอนที่ ๒
การจัด และภารกิจ หน่วยทหารม้าของกองทัพบกไทย
กล่าวทั่วไป
เมื่อพม่าได้ยกทัพมาล้อมกรุงศรีอยุธยาไว้ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชซึ่งขณะนั้นยังทรงพระยศ
เป็นพระยาวชิระปราการ พระองค์ตัดสินพระทัย รวบรวมไพร่พลจานวนหนึ่ งตีฝ่า วงล้อมของข้าศึกออกมา
จากกรุง ศรีอยุธยา ครั้นเมื่อตรงกับวันที่ ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๓๐๙ บริเวณบ้านพรานนก (ปัจจุบัน อยู่ในเขต
อาเภออุ ทั ย จังหวั ด พระนครศรีอ ยุธ ยา) ก็ไ ด้ มี ข้าศึ กยกกาลั ง ไล่ติ ดตามมาทั น พระองค์ จึง เสด็ จขึ้ น ทรงม้ า
พร้อมทหารคู่พระทัยออกสู้รบกับข้าศึกทันที และทรงได้รับชัยชนะอย่างเด็ดขาดในการรบจนในที่สุดก็ทรงกอบกู้
เอกราชของชาติไทยกลับคืน มาได้ภายในระยะเวลาเพียง ๗ เดือน ด้วยพระปรีชาสามารถและพระวีรกรรม
ของพระองค์ในการรบที่บ้านพรานนกในครั้งนั้น เหล่าบรรดาทหารม้าแห่งกองทัพบกไทยต่างก็เทิดทูนพระองค์
เยี่ยงพระบู รพาจารย์ แห่งการสู้ บนหลั งม้ า และได้ ยึดถื อเอาวั นที่ ๔ มกราคมของทุ กปี เป็น “วั นทหารม้ า ”
มาจวบจนทุกวันนี้
การพัฒนากิจการเหล่าทหารม้าของกองทัพบกไทยที่สาคัญ เพื่อก้าวเข้าสู่ยุคของทหารม้ายานเกราะนั้น
เกิดขึ้นในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ โดยได้มีการจัดตั้ง “กองรถยนต์
เกราะกองเสนาหลวงรักษาพระองค์” ขึ้น และพระองค์ได้พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จัดสร้าง
รถเกราะต้นแบบขึ้น เมื่อวัน ที่ ๑ ธัน วาคม พ.ศ.๒๔๖๒ ซึ่ง ถือ ได้ว่าเป็ นรถเกราะคันแรกของไทย และตั้ง แต่
ปี พ.ศ.๒๔๗๓ ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หวั รัชกาลที่ ๗ เป็นต้นมา ก็ได้เริ่มมีการจัดซื้อ
ยานเกราะประเภทต่างๆ ทั้ง รถเกราะ, รถถั ง และรถสายพาน จากต่างประเทศเข้ามาประจ าการ รวมทั้ ง
ยั ง ได้ รั บ ความช่ ว ยเหลื อ ทางด้ า นการทหารจากมิ ต รประเทศ ท าให้ กิ จ การของหน่ ว ยทหารม้ า ของไทย
ได้มีการพัฒนามาโดยลาดับจนถึงปัจจุบัน
เหล่าทหารม้าของไทยได้นาหลักนิยม, การจัดหน่วย และวิธีรบ ของหน่วยยานเกราะจากมิตรประเทศ
มาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมทางการยุทธ์ของประเทศไทย รวมทั้งบทเรียนจากการรบที่ผ่านมา
ของทั้ ง กองทั พ บกไทยและต่ า งประเทศ ท าให้ ส ามารถน ามาพั ฒ นาเป็ น หลั ก นิ ย มและวิธี รบของทหารม้ า
ของกองทัพบกไทย เพื่อใช้เป็นหลักพื้นฐานอันเป็นแนวทางยึดถือในการปฏิบัติของหน่วยทหารม้าทุกระดับ
โดยในปัจจุบันเหล่าทหารม้าของไทยได้แบ่งทหารม้าออกเป็น ๓ ประเภทหลักๆ คือ
ทหารม้ารถถัง เป็นหน่วยทหารม้าที่ดาเนินกลยุทธ์โดยใช้รถถั งเป็นยานรบ รถถังถือว่าเป็นอาวุธหลัก
ของทหารม้า เป็นระบบอาวุธที่สมบูรณในตัวเองที่ออกแบบให้เข้าต่อสู้กับเป้าหมายได้ทุกชนิด ปืนใหญ่รถถัง
เป็นอาวุธยิงเล็งตรงที่มีอานาจการยิงรุนแรง ใช้เป็นอาวุธหลักในการต่อสู้กับรถถัง, ยานเกราะ และเป้าหมาย
ที่มีความแข็งแรงอื่นๆ และยังสามารถใช้ เป็น อาวุธกึ่งเล็ง จาลอง (สาหรับรถถังบางชนิด) ในการยิง สนับสนุน
แบบกึ่ งวิถีโค้งให้แก่ห น่วยดาเนิ นกลยุท ธ์อื่น ๆ นอกจากนั้ นรถถัง ยัง ติดตั้ง ปืน กลร่วมแกนเพื่อ ใช้ยิง ตัดรอน,
ยิงทาลายกาลังทหาร หรือเป้าหมายที่บอบบาง และยังมีปืนกลบนป้อมที่ใช้ยิงต่อสู้อากาศยานได้
ทหารม้าบรรทุกยานเกราะ เป็น หน่วยทหารม้า ที่ดาเนิน กลยุทธ์โดยใช้ยานรบหุ้มเกราะลาเลียงพล
เป็นยานรบหลั ก (รถสายพานลาเลียงพล, รถเกราะล้อยาง) สามารถเคลื่อนที่เข้าท าการรบบนยานรบร่วม
กับทหารม้ารถถังอย่างใกล้ชิด เพื่อเป็นการชดเชยจุดอ่อนของทหารม้ารถถัง และสามารถทาการลงรบเดินดินได้
เมื่อมีความจาเป็นที่จะต้องดาเนินกลยุทธ์ทางพื้นดิน โดยใช้อาวุธขนาดเล็กของหน่วยเข้าทาลายข้าศึกในระยะ
ประชิด
๑-๙

ทหารม้าลาดตระเวน เป็นหน่วยทหารม้าที่มีภารกิจในการลาดตระเวนและระวังป้องกันให้กับหน่วย
ดาเนินกลยุทธ์อื่นๆ โดยใช้ยานเกราะขนาดเบาที่มีความคล่องแคล่วในการเคลื่อนที่มีการผสมผสานระบบอาวุธ
ที่มีความสมบูรณ์ในตัวเอง ทั้งอานาจการยิงเล็งตรงของรถถังเบาและอาวุธกล, การยิงเล็งจาลองจากเครื่องยิง
ลูกระเบิด, การลาดตระเวน และการดาเนินกลยุทธ์เพื่อกาหนดที่ตั้งข้าศึก, ปืนใหญ่ และอาวุธยิงสนับสนุ นอื่นๆ
สามารถเพิ่ มเติ ม การยิงเพื่ อช่วยเหลื อ หน่วยทหารม้ารถถั งและหน่วยทหารม้ าบรรทุ กยานเกราะในการเข้ า
ประชิดและทาลายกาลังข้าศึก
การจัดหน่วยทหารม้าของกองทัพบกไทย
จากบทบาทของทหารม้าซึ่งมีทั้ ง ทาการรบเป็ นปึ กแผ่น , ปฏิ บัติก ารเป็ น อิ สระ และท าการร่วมรบ
กับ ทหารเหล่ าอื่ น ท าให้ เหล่าทหารม้าของไทยได้ มีก ารแบ่ ง ทหารม้ าออกเป็น “ทหารม้ าในกองพล” และ
“ทหารม้านอกกองพล”
ทหารม้าในกองพล คือ หน่วยทหารม้าซึ่งเป็นหน่วยในอัตราของกองพลทหารม้า ซึ่งในปัจจุบันมีอยู่
จานวน ๓ กองพลทหารม้า
ทหารม้านอกกองพล คือ หน่วยทหารม้าที่ไม่ได้เป็นหน่วยในอัตราของกองพลทหารม้า แต่อาจจะเป็น
หน่วยทหารม้าที่เป็นหน่วยขึน้ ตรงของกองพลทหารราบ หรือหน่วยทหารม้าที่เป็นหน่วยขึ้นตรงต่อกองทัพภาค
ตัวอย่างการจัดทหารม้านอกกองพล เช่น
๑. กองพลทหารราบเบา มีการจัด ๑ กองพันทหารม้าลาดตระเวน เป็นหน่วยขึ้นตรง
๒. กองพลทหารราบมาตรฐาน มีการจัด
๑ กองพันทหารม้ารถถัง และ ๑ กองร้อยทหารม้าลาดตระเวน เป็นหน่วยขึ้นตรง
๓. กองพลทหารราบยานเกราะ มีการจัด
๑ กองพันทหารม้ารถถัง และ ๑ กองพันทหารม้าลาดตระเวน เป็นหน่วยขึ้นตรง
จะเห็นได้ว่าทหารม้านอกกองพลนั้น ประกอบด้วยทหารม้ารถถัง และทหารม้าลาดตระเวน แต่จะไม่มี
การบรรจุหน่วยทหารม้าบรรทุกยานเกราะอยู่เลย ในส่วนของทหารม้าในกองพลจะมีการจัดครบทั้ง ทหารม้ารถถัง,
ทหารม้าบรรทุกยานเกราะ และ ทหารม้าลาดตระเวน
บทบาทของทหารม้าในกองพลและนอกกองพลจะแตกต่างกัน คือ ทหารม้าในกองพลทหารม้า จะมีบทบาท
ที่ปฏิบัติการเป็นอิสระ, ใช้หลักนิยม และวิธีรบของทหารม้าโดยสมบูรณ์ ส่วนทหารม้านอกกองพลทหารม้านั้น
จะใช้ในการสนับสนุนภารกิจของทหารราบเป็นหลัก
กองพลทหารม้ามาตรฐาน
การจัดที่ แตกต่ างกั นของแต่ละกองพลทหารม้า จึง เป็ นเรื่องยากในการจัด การฝึก การศึกษา และ
การใช้ปฏิบัติภารกิจ แม้แต่หน่วยรองหลักทีเ่ ป็นส่วนดาเนินกลยุทธ์ของกองพลทหารม้า คือ กรมทหารม้า ก็ยังมี
การจั ด หน่ วยที่ แ ตกต่ างกั น อี ก เพื่ อ ขจั ด ความยุ่ ง ยากดั ง กล่า ว เหล่ าทหารม้ า จึ ง มี แ นวความคิ ด ในอุ ดมคติ
ในการจัดหน่วยทหารม้ามาตรฐาน คือ หน่วยรองหลักของกองพล คือ กรมทหารม้า จะมีการจัดเหมือนกัน และ
กองพั นต่ างๆ ภายในกรม ก็จะมีการจัดเหมือ นกันทุกกรม ซึ่ง จะเป็นมาตรฐานเพื่อให้ง่ายในการจัด การฝึก
การศึกษา และการจัดหายุทโธปกรณ์ที่จะบรรจุให้ กองพลทหารม้ามาตรฐานมีโครงสร้างการจัดที่ค่อนข้างตายตัว
ซึ่ง อาจแบ่งออกเป็น ส่วนฐานกองพล และส่วนดาเนิน กลยุท ธ์ ในการจัดหน่ วยทหารม้าในกองพลทหารม้ า
มาตรฐานแบ่งทหารม้าประกอบด้วยทหารม้าทั้ง ๓ ประเภท คือ ทหารม้าลาดตระเวน, ทหารม้ารถถัง และ
ทหารม้าบรรทุกยานเกราะ ดังนั้นในการจัดกาลังเพื่อการแบ่งมอบทหารม้าประเภทต่างๆ ในกองพลทหารม้า
จึงจัดให้มี ๑ พัน.ม.(ลว.), ๓ พัน.ม.(ถ.) และ ๖ พัน.ม.(ก.) โดยหน่วยทหารม้าในกองพลทหารม้าได้รับแบ่งมอบ
๑ - ๑๐

ภารกิ จ ที่ ส าคั ญ ดั ง นี้ คื อ การลาดตระเวนและระวั ง ป้ อ งกั น การออมก าลั ง และการด าเนิ น กลยุ ท ธ์ ห ลั ก
โดยที่ ท หารม้ าลาดตระเวนเหมาะสมในภารกิ จ การลาดตระเวน ระวั ง ป้ อ งกั น และเป็ น หน่ ว ยออมก าลั ง
ส่วนทหารม้ารถถังและทหารม้าบรรทุกยานเกราะ เหมาะในภารกิจดาเนินกลยุทธ์หลัก
กองพลทหารม้ามาตรฐาน เป็น แนวความคิดการจัดหน่วยทหารม้าในอุดมคติ สาหรับปฏิบัติการรบ
แบบเคลื่อนที่ทางภาคพื้นดิน ของหน่วยยานเกราะ เป็น การจัดกาลังรบผสมเหล่าที่มีอัตราการจัดยุทโธปกรณ์
ที่สมบูรณ์ในตัวเอง ได้แก่ ส่วนบังคับบัญชา ส่วนดาเนินกลยุทธ์ ส่วนสนับสนุนการรบ และส่วนสนับสนุนการช่วยรบ
และมีการจัดหน่วยภายในของส่วนดาเนินกลยุทธ์หลักเหมือนกันทั้ง ๓ กรมทหารม้า โดยมีมาตรฐานการฝึกและ
หลักนิยมในการปฏิบัตกิ ารรบเหมือนกัน โดยการจัดในกองพลทหารม้ามาตรฐานนั้นจะประกอบด้วย ๒ ส่วนหลัก ดังนี้
ส่วนฐานกองพล จะรวมถึง ส่วนบังคับบัญชา ส่วนลาดตระเวนและระวังป้องกัน ส่วนสนับสนุนการรบ
และส่วนสนับสนับสนุนการช่วยรบ อาจประกอบด้วย
๑. กองบัญชาการกองพล และกองร้อยกองบัญชาการ
๒. กองพันทหารม้าลาดตระเวน
๓. กองร้อยสารวัตรทหาร
๔. กองร้อยบินกองพล หรือ กองร้อยทหารม้าอากาศ
๕. กองพันทหารสื่อสาร
๖. กองพันทหารช่าง
๗. กรมทหารปืนใหญ่ (ใช้ ป.ขนาด ๑๕๕ มม. อัตราจรทั้งหมด)
๘. กรมสนับสนุน
ส่ว นด าเนิ น กลยุท ธ์ กองพลทหารม้ ามาตรฐานจะได้ รับ การบรรจุม อบหน่ วยด าเนิ น กลยุท ธ์ ห ลั ก
จานวน ๓ กรมทหารม้า มาตรฐาน โดยในแต่ล ะกรมทหารม้ าจะมี ก ารจั ด เหมื อ นกั น ทุ ก กรม เป็ น การรวม
คุณลักษณะ, ขีดความสามารถของทหารม้ารถถัง และทหารม้าบรรทุกยานเกราะเข้าด้วยกัน และยังมีอานาจ
การยิงจากอาวุธยิงสนับสนุนในอัตรา
กรมทหารม้ามาตรฐาน
กรมทหารม้าจะมีความสมบูรณ์ในตัวเองทั้งด้านยุทธการ และธุรการ มีภารกิจเข้าประชิดและทาลาย
ล้างกาลังข้าศึกด้วยการยิงดาเนินกลยุทธ์และการข่มขวัญ โดยการจัดกรมทหารม้ามาตรฐาน ประกอบด้วย
๑. กองบังคับการกรม และกองร้อยกองบังคับการ
๒. กองร้อยเครื่องยิงหนัก จานวน ๑ กองร้อย
๓. กองพันทหารม้ารถถัง จานวน ๑ กองพัน
๔. กองพันทหารม้าบรรทุกยานเกราะ จานวน ๒ กองพัน
ขีดความสามารถของกรมทหารม้า คือ
๑. จัดเป็นฐานยิงและส่วนดาเนินกลยุทธ์ได้
๒. แย่งยึดพื้นที่
๓. ปฏิบัติการเป็นอิสระได้ในขีดจากัด
๔. ป้องกันต่อสู้รถถังได้ในขีดจากัด
๕. ยิงสนับสนุนด้วยอาวุธวิถีโค้งให้กับหน่วยในอัตราและหน่วยที่มาขึ้นสมทบ
๖. ปฏิบัติการลาดตระเวนระยะไกลได้ เมื่อเพิ่มเติมยุทโธปกรณ์ให้ตามความเหมาะสม
๗. ร่วมในการยุทธ์เคลื่อนที่ทางอากาศได้ เมื่อมีอากาศยานขนส่งให้
๘. มีความคล่องแคล่วในการเคลื่อนที่สูง
๙. ชดเชยจุดอ่อนซึ่งกันและกันได้ เมื่อปฏิบัติการร่วมเป็นชุดรบกับหน่วยรถถัง
๑ - ๑๑

กองพันรถถัง (พัน.ถ.)
กองพั นรถถังของกองทั พบกไทย มี การจัดหน่ วยทั้ ง ในกองพลทหารม้ า และนอกกองพลทหารม้ า
(ในกองพลทหารราบ) โดยทาการรบเป็นปึกแผ่นในระดับกองพัน ตามหลักนิยมของทหารม้า หรือสนับสนุน
ภารกิจของทหารราบโดยใช้ดาเนินกลยุทธ์เป็นชุดรบร่วมกับทหารราบอย่างใกล้ชิด โดยการจัดกองพันทหารม้า
รถถังในกองพลทหารราบก็มีการจัดหน่วยเช่นเดียวกับกองพันทหารม้ารถถังของกรมทหารม้าในกองพลทหารม้า
ทุกประการ
ภารกิจของกองพันรถถัง ได้แก่
๑. เคลื่อนที่เข้าประชิด และทาลายกาลังข้าศึก โดยใช้อานาจการยิง การดาเนินกลยุทธ์ และ
อานาจทาลายและข่มขวัญ
๒. ปฏิบัติการรบร่วมกับทหารเหล่าอื่น
ขีดความสามารถของกองพันรถถัง มีดังนี้
๑. การปฏิบัติการรบที่ต้องใช้อานาจการยิง, ความคล่องแคล่วในการเคลื่อนที่, มีเกราะป้องกัน
และอานาจทาลายข่มขวัญสูง
๒. เข้าตี หรือตีโต้ตอบภายใต้อานาจการยิงของข้าศึก
๓. ทาลายยานเกราะของข้าศึกด้วยการยิง
๔. สนับสนุนหน่วยทหารราบและทหารม้าด้วยการยิง การดาเนินกลยุทธ์ และอานาจทาลายข่มขวัญ
๕. ขยายผลแห่งความมีชัยหลังการเจาะแนวของข้าศึก โดยใช้ความคล่องแคล่วในการเคลื่อนที่
ในภูมิประเทศได้อย่างสูง
๖. ทาการยิงสนับสนุนด้วยอาวุธในอัตราของหน่วย
๗. จัดการด้านธุรการ, ส่งกาลัง, การสื่อสาร และการซ่อมบารุงได้สมบูรณ์ในตนเอง
๘. เคลื่อนที่ได้ ๑๐๐%
การจัดกองพันรถถัง (พัน.ม.(ถ.)) อจย.๑๗ - ๑๕ (๑๐ ก.ค.๕๘) มีการจัดหน่วย ประกอบด้วย
๑. กองบังคับการกองพัน และกองร้อยกองบังคับการ
๒. กองร้อยรถถัง จานวน ๓ กองร้อย เป็นส่วนดาเนินกลยุทธ์ของกองพัน โดยในแต่ละกองร้อย
จะประกอบด้วย กองบังคับการกองร้อย และ ๓ หมวดรถถัง
กองพันทหารม้าบรรทุกยานเกราะ (พัน.ม.(ก))
กองพันทหารม้าบรรทุกยานเกราะ ของกองทัพบกไทย มีการจัดอยู่เฉพาะในกองพลทหารม้าเท่านั้น
เป็ น หน่ว ยทหารม้าที่ ด าเนิ น กลยุ ท ธ์โดยใช้ย านรบหุ้ ม เกราะลาเลีย งพลเป็ น ยานรบหลั ก สามารถเคลื่ อ นที่
เข้าทาการรบบนยานรบร่วมกับทหารม้ารถถังอย่างใกล้ ชิด เพื่อเป็นการชดเชยจุดอ่อนของทหารม้ารถถัง และ
สามารถทาการลงรบเดิ นดินได้เมื่อมีค วามจาเป็น ที่ จะต้องดาเนินกลยุทธ์ทางพื้ นดิน โดยใช้อาวุธขนาดเล็ ก
ของหน่วยเข้าทาลายข้าศึกในระยะประชิด
ภารกิจของทหารม้าบรรทุกยานเกราะ ได้แก่
๑. เข้าประชิดข้าศึกด้วยการยิงและดาเนินกลยุทธ์เพื่อทาลาย หรือจับเป็นเชลย
๒. ทาลายการเข้าตีของข้าศึกโดยการยิง การรบประชิด และการตีโต้ตอบ
๑ - ๑๒

การจัด กองพัน ทหารม้าบรรทุ กยานเกราะ (พั น.ม.(ก.)) อจย.๑๗ - ๒๕ มีการจัดที่ สามารถปฏิบั ติ


ภารกิจที่กาหนดให้ได้เป็นอย่างดี โดยการจัดทีม่ ีความสมบูรณ์ในตัวเอง ประกอบด้วย
๑. กองบังคับการกองพัน และกองร้อยสนับสนุนการรบ (บก.พัน และร้อย.สสก.)
๒. กองร้อยสนับสนุนทางการช่วยรบ (ร้อย.สสช.)
๓. กองร้ อ ยทหารม้ า บรรทุ ก ยานเกราะจ านวย ๓ กองร้ อ ย โดยในแต่ ล ะกองร้อ ยมี ก ารจั ด
ประกอบด้วย กองบังคับการกองร้อย และ ๓ หมวดทหารม้า
กองพันทหารม้าลาดตระเวน (พัน.ม.(ลว.))
มี ภ ารกิ จ ท าการลาดตระเวนและระวั ง ป้ อ งกั น หน่ ว ยเหนื อ หรื อ หน่ ว ยที่ ไ ปขึ้ น สมทบ ทหารม้ า
ลาดตระเวนมีการจัดที่อ่อนตัว เพื่อช่วยเหลือผู้บังคับบัญชาให้สามารถเห็นสภาพสนามรบ ทาให้ได้มาซึ่งข่าวสาร
การรบที่ถูกต้องและทันเวลา สามารถขยายผลจากจุดอ่อนได้อย่างรวดเร็ว, ลวงข้าศึก, ทาการระวังป้องกัน และ
โจมตีข้าศึกทางลึก
ภารกิจหลักประการหนึ่งตามหลักนิยม, การจัด และวิธีรบของเหล่าทหารม้านั้น ทหารม้าลาดตระเวน
เป็นทหารม้าประเภทหนึ่งที่จัดขึ้นเพื่อปฏิบัติภารกิจ ลาดตระเวน, ระวังป้องกัน และออมกาลัง โดยการที่ทหารม้า
ลาดตระเวนเป็ น ก าลั งผสม ท าการรบบนยานรบทางพื้ น ดิ น และอากาศยาน และมี ก ารจั ด ขึ้ น เป็ น พิ เศษ
เพื่อช่วยเหลือผู้บังคับบัญชาให้สามารถมองเห็นสภาพสนามรบ, ขยายผลอย่างรวดเร็วเมื่อพบจุดอ่อนของข้าศึก,
ลวงข้าศึก, ทาการระวังป้องกัน และโจมตีข้าศึกในทางลึก ในการนี้บทบาทของทหารม้ าลาดตระเวนในการรบ
ที่พึง ประสงค์ จะได้รับมอบภารกิจเฉพาะ คื อ การลาดตระเวน, การระวังป้องกัน และเป็นหน่วยออมกาลัง
ให้กับหน่วยเหนือ และเข้าปะทะข้าศึกในการรบด้วยวิธีรุก, รับ และรบหน่วงเวลา
ขีดความสามารถกองพันทหารม้าลาดตระเวน คือ
๑. ลาดตระเวน, ระวังป้องกัน และออมกาลังให้กบั หน่วยเหนือหรือหน่วยที่ไปสมทบ
๒. ปฏิบัติการเป็นอิสระโดยไม่มีการเพิ่มเติมกาลัง
๓. ทาการรบได้ในขอบเขตจากัดอันเหมาะสมแก่หน่วยยานเกราะขนาดเบา
๔. แต่ละบุคคลในหน่วยทาการรบได้อย่างทหารราบ
๕. สามารถป้องกันตนเองและที่ตั้งได้จากการโจมตีทางพื้นดินของข้าศึก
ในปัจจุบันกองพันทหารม้าลาดตระเวนของ ทบ.ไทย มีการจัดหน่ วยโดยใช้อัตราการจัดยุทโธปกรณ์
เป็น ๒ แบบ คือ อจย.หมายเลข ๑๗ - ๒๕ พ. (ใช้รถสายพานเป็นหลัก) และ อจย.หมายเลข ๑๗ - ๒๕ ก.
(ใช้รถเกราะล้อยางเป็นหลัก) เป็นหน่วยที่มีบรรจุอยู่ทั้งในกองพลทหารม้า(ทหารม้าในกองพล) และในกองพล
ทหารราบ(ทหารม้านอกกองพล) จะมีการจัดหน่วยเหมือนกัน แตกต่างกันที่การบรรจุ มอบและยุทโธปกรณ์
ที่ได้รับการแจกจ่าย โดยมีภารกิจในการทาการระวัง ป้องกัน และลาดตระเวนให้กับหน่วยเหนื อ หรือหน่วย
ที่ไปขึ้นสมทบ
การจัดกองพันทหารม้าลาดตระเวน จะมีการจัดที่สมบูรณ์ในตัวเอง ประกอบด้วย กองบังคับการกองพัน
กองร้อยกองบังคับการ และกองร้อยทหารม้ าลาดตระเวน ๓ กองร้อย โดยในแต่ ละกองร้อยจะมีการผสมผสาน
อานาจกาลังรบจาก ส่วนลาดตระเวน, รถถังเบา, ส่วนปืนเล็กบรรทุกบนรถเกราะลาเลียงพล และ ส่วนของ
เครื่ อ งยิ งลู ก ระเบิ ด ท าให้ ก องร้ อยทหารม้ า ลาดตระเวนมี ค วามสมบู รณ์ ในตั วเองมากที่ สุ ด มี ค วามอ่ อนตั ว
ในการจัดกาลังตามภารกิจที่ได้รับมอบ โดยสามารถทาการจัดกาลังที่แตกต่างกันได้ถึง ๕ รูปแบบ
๑ - ๑๓

กรมทหารม้าลาดตระเวน (กรม ม.ลว.)


นอกจากนั้นยังมีโครงสร้างการจัดกรมทหารม้าลาดตระเวน (กรม ม.ลว.) ของกองทัพภาค (ปัจจุบัน ทบ.ไทย
ไม่ มี การจั ด กรม ม.ลว. ของ ทภ. แต่ ส ามารถท าการจัด เฉพาะกิจ ขึ้น มาได้ ต ามความต้ องการทางยุ ท ธวิธี )
โดย กรม ม.ลว. นั้ น จะมี ภ ารกิ จ ในการลาดตระเวน, ระวั ง ป้ อ งกั น , เฝ้ า ตรวจ และเป็ น หน่ ว ยออมก าลั ง
ให้กับกองทัพภาค โดยการรบด้วยวิธีรุก, รับ และ รบหน่วงเวลา
ขีดความสามารถของกรมทหารม้าลาดตระเวน คือ
๑. ทาการลาดตระเวนและระวังป้องกันได้ทั้งระยะไกลและใกล้
๒. กาบัง หรือคุ้มกันให้หน่วยทหารขนาดใหญ่
๓. เกาะข้าศึก หรือเป็นหน่วยติดต่อระหว่างกาลังฝ่ายเรา
๔. ปฏิบัติการรบด้วยวิธีรุก, รับ และรบหน่วงเวลา เมื่อได้รับการเพิ่มเติมกาลังอย่างเหมาะสม
๕. มีความคล่องแคล่วในการเคลื่อนที่ ๑๐๐%
๖. มีขีดความสามารถในการปราบจลาจลได้เป็นอย่างดี
การจัดกรมทหารม้าลาดตระเวน จะมีการจัด โดยประกอบด้วย
๑. กองบังคับการกรม และกองร้อยกองบังคับการ
๒. ๑ กองร้อยทหารม้าอากาศ
๓. ๑ กองพันปืนใหญ่(อัตราจร)
๔. ๓ กองพันทหารม้าลาดตระเวน (อจย.๑๗ - ๕๕ ก. หรือ พ.)

ทหารม้าอากาศ
ความคล่ อ งแคล่ ว ในการเคลื่ อ นที่ ข องหน่ ว ยทหารม้ า อากาศ ท าให้ ส ามารถขยายขอบเขต และ
ขีดความสามารถในการลาดตระเวน ระวัง ป้องกัน และการเฝ้าตรวจได้กว้างขวางยิ่งขึ้ น กับทั้ง ยังอานวยให้
สามารถทาการขนส่งส่วนกาลั งรบติดอาวุธขนาดเล็กได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่ต้องคานึง ถึงข้อจากัดเกี่ยวกับ
ภู มิ ป ระเทศมากนั ก ทหารม้ า อากาศเข้ า ปฏิ บั ติ ก ารร่ ว มกั บ หน่ ว ยทหารม้ า ลาดตระเวนทางภาคพื้ น ดิ น
ก่อให้เกิดขีดความสามารถสูงสุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการใช้เป็นเครื่องมือการรวบรวมข่าวสารทีส่ าคัญยิ่ง (ปัจจุบัน
ทบ.ไทย ได้ทาการยุบหน่วยทหารม้าอากาศแล้ว แต่หากเมื่อมีความต้องการในทางยุทธวิธี ศูนย์การบินทหารบก
สามารถจัดชุดบินเฉพาะกิจที่สามารถปฏิบัติภารกิจได้เช่นเดียวกับกองร้อยทหารม้าอากาศ เพื่อให้การสนับสนุนได้)
หน่ ว ยทหารม้ า ลาดตระเวนทางพื้ น ดิ น และหน่ ว ยทหารม้ า อากาศในการปฏิ บั ติ ก ารเฝ้ า ตรวจ
เมื่อเปรียบเที ยบกั น จะมี ข้อได้เปรียบและเสี ยเปรียบกั นตามนี้ คือ หน่ วยทหารม้าลาดตระเวนทางพื้ นดิ น
ปฏิบัติได้ช้ากว่าหน่วยทหารม้าอากาศ แต่ห น่วยทหารม้าลาดตระเวนทางพื้นดินจะปฏิบั ติการลาดตระเวน
ได้ละเอียดทั่วถึงดีกว่าหน่วยทหารม้าอากาศ
๑ - ๑๔

หน่วยทหารม้าอื่นๆ ตามที่ กห. กาหนด


๑. กองพันทหารม้าที่ ๒๙ รักษาพระองค์ เป็นหน่วยทหารม้าขี่ม้า มีภารกิจในการจัดขบวนม้าเข้าร่วม
ในงานพระราชพิ ธี และรัฐ พิ ธี ที่ ส าคั ญ รวมทั้ ง การแห่ น าตามเสด็ จ และถวายการอารั ก ขา นอกจากนั้ น
ยัง มีขีดความสามารถในการปราบปรามจลาจล และการรักษาความสงบเรีย บร้อยภายใน และทาการรบได้
แบบทหารม้า (จัดเป็นหน่วยทหารม้าลาดตระเวนประเภทหนึ่ง)
๒. กองพันทหารม้าที่ ๒๒ เป็นหน่วยทหารม้าที่มีภารกิจให้การสนับสนุนศูนย์การทหารม้า ในด้านการฝึก
ศึกษาของกาลังพลในเหล่าทหารม้า ทาการวิจัย พัฒนา ทดสอบ หลักนิยมการรบของทหารม้า ทาการทดสอบ
สมรรถนะของอาวุธต่างๆ ของเหล่าทหารม้า และเป็นกาลังรบของเหล่าทหารม้าได้เมื่อได้รับคาสั่ง
***********************************************************************
๒-๑

ภาคที่ ๒
ตอนที่ ๑
ทหารม้าในการปฏิบัติการรบด้วยวิธีรุก
จากคุณลักษณะ และขีดความสามารถ จึงทาให้หน่วยทหารม้าเป็นหน่วยดาเนินกลยุทธ์หลักของกาลังรบ
ในปัจจุบัน ซึ่งมีขีดความสามารถในการปฏิบัติการรบด้วยวิธีรุก, รับ และร่นถอย ครบทั้ง ๓ แบบได้เป็นอย่างดี
แต่ แ บบการด าเนิ น กลยุ ท ธ์ ที่ มี ค วามส าคั ญ และเหมาะกั บ คุ ณ ลั ก ษณะของหน่ ว ยทหารม้ ามากที่ สุ ด ก็ คื อ
“การรบด้ ว ยวิ ธี รุ ก ” ซึ่ งมี ค วามมุ่ ง หมายในการที่ จ ะขั ด ขวางมิ ให้ ข้ า ศึ ก ใช้ แ หล่ ง ทรั พ ยากร และเพื่ อ ลด
ขีดความสามารถของข้าศึกที่จะอาศัยแหล่งทรัพยากรต่างๆ รวมทั้งหันเหหรือดึงความสนใจของข้าศึกจากพื้นที่
แตกหั ก ที่ ข้ า ศึ ก ทราบล่ ว งหน้ า ด้ ว ยการปฏิ บั ติ ก ารเข้ า ตี ล วงในพื้ น ที่ อี ก แห่ ง หนึ่ ง ซึ่ ง ถ้ า หากการปฏิ บั ติ นี้
เป็น ผลสาเร็ จ ก็ จะเป็ น การลดขีด ความสามารถในการตอบโต้ข องข้าศึ กจากพื้ น ที่ก ารรบแตกหัก ที่ฝ่ ายเรา
ได้กาหนดขึ้น นอกจากนี้ความมุ่งหมายของการรบด้วยวิธีรุกจะรวมถึงการทาลายข้าศึก เพื่อให้บรรลุความมุ่งหมาย
ในการรบด้วยวิ ธีรุก จึงต้องรักษาความริเริ่ มไว้ เพราะความริเริ่มในการปฏิบัติ จะมีอิทธิพลและความสาคั ญ
เป็นอย่างยิ่ ง จะท าให้ฝ่ายข้าศึก หมดโอกาสที่จ ะตอบโต้กาลัง ของฝ่ายเรา, ทาให้ ฝ่ายเรามี เสรีในการปฏิบั ติ
ซึ่งความสาเร็จในการปฏิบัตินี้อาจทาได้ด้วยการจู่โจม หรือขยายผลจากข้อผิดพลาดหรือจากจุดอ่อนของข้าศึก
หน่วยทหารม้าจะใช้อานาจการยิงและการดาเนินกลยุทธ์เพื่ อทาการข่ม, ตัดรอน, ทาลาย, เข้าควบคุม
ภูมิประเทศ หรือเข้ารบกวนต่อพื้นที่ส่วนหลังของฝ่ายข้าศึก หน่วยทหารม้าต้องมีปฏิบัติที่ห้าวหาญ ทาการเข้าตี
อย่างรุกรบและรุนแรง เพื่อก่อให้เกิดอานาจการทาลายและการข่มขวัญสูงสุดในการทาลายกาลังตลอดจนอาวุธ
ยุทโธปกรณ์ และความตั้งใจในการรบของข้าศึกทาให้ข้าศึกต้องอ่อนกาลังลงอย่างชัดเจนจนไม่สามารถต้านทาน
การเข้าตีได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สนามรบในปัจจุบันมีรูปแบบสนามรบทั้ง ๓ มิติ ในสงครามสมัยใหม่ต้องถือว่าห้วงอากาศเป็นอีกมิติ
ในสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติการ ผบ.หน่วยทหารม้าจะต้องผสมผสานหน่วยบินทหารบก, ทหารม้าอากาศ,
อากาศยานทางยุท ธวิธีข องกองทั พ อากาศ และหน่ว ยปื นใหญ่ ต่อสู้ อากาศยาน ไม่เพี ยงเพื่ อ ขยายขอบเขต
ของอานาจกาลังรบของตน แต่เพื่อให้พ้นจากผลกระทบที่มาจากการโจมตีทางอากาศของฝ่ายข้าศึกอีกด้วย
หน่วยทหารม้าที่เป็นหน่วยดาเนินกลยุทธ์หลักในการรบด้วยวิธีรุกด้วยการยิง และการดาเนินกลยุทธ์
โดยการเข้าตีจะสาเร็จได้โดย
๑. จัดให้มีส่วนฐานยิง เพื่อตรึงข้าศึกให้อยู่กับที่ และตัดรอนกาลังยิงของอาวุธยิงข้าศึก จะอานวยให้
ส่วนดาเนินกลยุทธ์มีเสรีในการปฏิบั ติ โดยตามปกติแล้วส่วนที่เป็ นฐานยิง ไม่จาเป็น ต้องเข้าประชิด ที่ห มาย
แต่จะอยู่ในระยะของอาวุธยิงที่ให้ผลในการยิงต่อที่หมายสูง สุด ฐานยิงอาจประกอบด้วยเครื่องยิงลูกระเบิด,
อาวุธต่อสู้รถถั ง, ปืนใหญ่, กาลังทางอากาศยุทธวิธี และการยิง สนับสนุนจากปืนใหญ่เรือ โดยตามปกติ แล้ว
จะไม่ ร วมรถถั ง และทหารม้ า อากาศเอาไว้ ใ นส่ ว นฐานยิ ง เพราะจะไม่ ก่ อ ให้ เกิ ด ประโยชน์ สู ง สุ ด ที่ ม า
จากคุณลักษณะของหน่วยทั้งสอง แต่อย่างไรก็ตามหากมีความความจาเป็นอาจให้รถถังและทหารม้าอากาศ
สนับสนุนด้วยการยิงให้แก่กาลังส่วนดาเนินกลยุทธ์เป็นการชั่วคราวได้
๒. ส่วนดาเนินกลยุทธ์ จะทาการเข้าประชิดและทาลายข้าศึก ควรจะมีการประกอบกาลังโดยบรรจุ
มอบให้แก่ส่วนดาเนินกลยุทธ์มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ และควรเป็นหน่วยรบผสมเหล่าระหว่าง รถถัง ทหารม้า
บรรทุกยานเกราะ ทหารราบยานเกราะหรือยานยนต์ ส่วนดาเนินกลยุทธ์จะเข้าประชิดข้าศึกอย่างรวดเร็วที่สุด
๒-๒

เท่ าที่สามารถกระทาได้เพื่อเป็นการขยายผลจากส่วนฐานยิง ตามปกติส่วนดาเนินกลยุทธ์จะเข้าปฏิบัติการ


ในลักษณะเป็นกลุ่มก้อน และมีความลึก หากสามารถกระทาได้จะทาการเข้าตีต่อปีกใดปี กหนึ่งหรือทั้งสองปีก
ของข้าศึก ทาการรุกคืบหน้าไปอย่างรวดเร็วและรุนแรงเข้าสู่ที่หมายพร้อมๆ กันในแต่ละส่วน เพื่อที่หน่วยรถถัง
และทหารม้าบรรทุกยานเกราะ ทหารราบยานเกราะหรือทหารราบยานยนต์ จะได้สามารถให้ การสนับสนุนซึ่ง
กันและกันได้
กองหนุนในการรบด้วยวิธีรุก คือ กาลังที่สงวนไว้ ยังไม่ได้เข้าปฏิบัติการในขั้นเริ่มแรกของการปะทะ
แต่จะเก็บรักษาเพื่อไว้ใช้เมื่อต้องการหวังผลแตกหัก ในการยุท ธ์ยานเกราะของทหารม้าจะเก็บกองหนุนไว้
ค่อนไปข้างหน้าของรูปขบวนอันที่จะให้ ผู้บังคับหน่วยสามารถใช้กองหนุนได้ โดยฉับพลันเพื่อทาการขยายผล
แห่งความมีชัย ดารงไว้ซึ่งความรุนแรงในการปะทะระหว่างเข้าตี และให้การระวังป้องกันแก่ปีกทั้งสองข้างและ
ด้านหลังของหน่วย
หน่วยทหารม้ารถถังเป็นหน่วยสาหรับเข้าประจัญบาน โดยตามธรรมดาแล้วจะไม่ใช้รถถังเป็นกองหนุน
หรือเข้าไปอยู่ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของกองหนุน หน่วยรถถังต้องใช้ความพยายามทุกวิถที างเพื่อทาลายกาลังข้าศึก
โดยการใช้อานาจกาลังรบทั้งปวงที่มีอยู่
การพิจารณาขนาดของกองหนุนนั้นย่อมขึ้นอยู่กับการพิจารณาปัจจัย METT-TC ซึ่งคานึงถึงความลึก
ของที่หมาย และสถานการณ์ฝ่ายข้าศึก โดยหากไม่อาจทราบหรือคาดคะเนให้เห็นภาพข้าศึก หรือสถานการณ์ข้าศึก
หรื อ ผลลั พ ธ์ สุ ด ท้ า ยในการเข้ า ตี ที่ อ าจจะเกิ ด ขึ้ น จะท าให้ จ าเป็ นต้ อ งเก็ บ กองหนุ น ขนาดใหญ่ ไ ว้
เมื่อมีสถานการณ์ที่ไม่กระจ่างชัดดังกล่าว และเมื่อผู้บังคับหน่วยได้ส่งกองหนุนออกปฏิบัติแล้ว ก็ควรที่จะได้
มีการสถาปนากองหนุนของตนขึ้นมาใหม่โดยเร็วที่สุด โดยสามารถจัดกองหนุนขึ้นมาจากส่วนอื่นๆ จากหน่วยรอง
ของตน, จัด จากหน่ วยรองของตนที่ ถ อนตัว จากการปะทะออกมาแล้ ว หรื อ เมื่ อ เกิ ด ความจาเป็ น เร่ ง ด่ ว น
จะพิ จารณาว่าหน่ วยใดเหมาะสมที่จ ะให้ ถ อนตัวออกจากการปะทะเพื่ อ จัดตั้ ง กองหนุ น และสุดท้ ายก็คื อ
การร้องขอกองหนุนเพิ่มเติมจากหน่วยเหนือ
การวางแผนในการเข้าตีของทหารม้าต้องมีความละเอียดและรอบคอบ โดยใช้คุณลักษณะต่างๆ ที่มีอยู่
ในหน่วยกาลังรบผสมเหล่าของตนให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อเป็นหลักประกันได้ว่าจะสามารถรวมอานาจกาลังรบ
ทั้ ง มวลที่ เหนื อ กว่ า ฝ่ า ยข้ าศึ ก ณ เวลาและต าบลที่ เหมาะสม การวางแผนควรพิ จ ารณาความได้ เปรี ย บ
ทางภูมิประเทศ และควรให้มีความอ่อนตัวมากพอที่จะเกื้ อกูลให้สามารถขยายผลต่อจุดอ่อนต่างๆ ของข้าศึก
ได้อย่างรวดเร็วโดยปัจจัย METT-T ต้องถูกนามาพิจารณาอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา โดยไม่คานึงถึงสถานการณ์
หรือระดับของหน่วย ทั้งนี้เพื่อประกันให้มีการใช้อานาจกาลังรบทั้งมวลที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ในการรุกผู้บังคับหน่วยเข้าตีจะต้องรักษาแรงหนุนเนื่องในการเข้าตีอยู่ตลอดเวลา โดยการใช้กองหนุน
เข้าตีในทิศทางอื่นที่จะให้ผลสาเร็จดีกว่า พยายามรุกคืบหน้าเข้าสู่ที่หมายให้ได้โดยเร็วที่สุด และด้ว ยการย้าย
การยิง ของส่วนยิงสนับสนุนที่ ต่อเนื่ องไม่ขาดตอน การเข้าตีจะประสบความสาเร็จ หากผู้บังคับหน่ วยเข้าตี
มีความรู้เกี่ยวกับ ข้าศึก เป็นอย่างดีในเรื่องการวางกาลัง , การประกอบกาลัง , ขีดความสามารถและจุดอ่อ น
ของข้ า ศึ ก , ขี ด ความสามารถของอาวุ ธ ยุ ท โธปกรณ์ ข้ า ศึ ก , ที่ มั่ น ในทางลึ ก , พื้ น ที่ สั ง หารที่ ก าหนด และ
การใช้กองหนุนของข้าศึกนอกจากนั้น ต้องทราบเครื่องกีดขวางที่มีอยู่ และที่สร้างขึ้นด้วย
แบบของการรบด้วยวิธีรุกก็เช่นเดียวกับหน่วยดาเนินกลยุทธ์อื่น คือ การเคลื่อนที่เข้าปะทะ, การเข้าตี
เร่งด่วน, การเข้าตีประณีต, การขยายผล และการไล่ติดตาม
๒-๓

การเคลื่อนที่ เข้าปะทะ จะกระท าในขณะทัศนวิสั ยจากัด หรือเวลากลางคืน เพื่ อป้องกั นการโจมตี


ทางอากาศของข้ า ศึ ก โดยประกอบก าลั ง เป็ น ๓ ส่ วน คื อ ส่ วนก าบั ง , กองระวัง หน้ า และกาลั งส่ วนใหญ่
โดยมี ค วามมุ่ ง หมายที่ จ ะเข้ า ปะทะข้ า ศึ ก หรื อ กลั บ เข้ า ปะทะให ม่ , เพื่ อ คลี่ ค ลายสถานการณ์ แ ต่ เ นิ่ น
และเพื่อให้ได้เปรียบก่อนมีการรบแตกหัก
การเข้ า ตี เร่ง ด่ วน มั ก จะปฏิ บั ติ ภ ายหลั ง การเคลื่ อ นที่ เข้ า ปะทะ หรือ เมื่ อ เกิ ด การปะทะกั บ ข้ า ศึ ก
โดยไม่คาดคิด การเข้าตีเร่งด่วนจะมีอยู่ด้วยกัน ๓ ขั้นตอน คือ ขั้นการรุกของส่วนลาดตระเวนและระวังป้องกัน,
ขั้นการปรับรูปขบวนและการเข้าตีของส่วนลาดตระเวนและระวังป้องกัน และขั้นการโจมตีของกาลังส่วนใหญ่
การเข้าตีประณีต มีความมุ่งหมายที่จะทาลายกาลังข้าศึกในพื้นที่ตั้งรับโดยใช้การยิง และการดาเนิน -
กลยุทธ เพื่อเข้ าประชิดและท าลายหรือจับข้าศึ กเป็นเชลย โดยประกอบกาลัง เป็น ชุดรบผสมเหล่า มีรถถั ง
และทหารม้าบรรทุกยานเกราะเป็นหลัก แบ่งกาลังเป็นส่วนเข้าตีหลัก, ส่วนเข้าตีสนับสนุน และกองหนุน
การขยายผล กระทาเพื่อทาลายขีดความสามารถของข้าศึกในการจัดการตั้งรับอย่างมีระเบียบขึ้นใหม่
และบัง คับ ไม่ให้ข้าศึกถอนตั วอย่างมีระเบี ยบ หน่วยรถถัง และทหารม้าบรรทุกยานเกราะ จัดว่าเป็น หน่ วย
ที่ทาการขยายผลได้ดี เนื่องจากความคล่องแคล่วในการเคลื่อนที่และอานาจการยิงสูง
การไล่ติดตาม กระทาเพื่อทาลายกาลังข้าศึกขณะผละจากการรบ โดยประกอบกาลังเป็นหน่วยกดดัน
โดยตรงและหน่วยโอบล้อม

การปฏิบัติการรบด้วยวิธีรุกแบบอื่น ๆ
การลาดตระเวนด้วยกาลัง เป็นการปฏิบัติการต่อที่หมายจากัดในห้วงระยะเวลาสั้นๆ มีความมุ่งหมาย
ที่ จ ะให้ ไ ด้ ม าซึ่ ง ข่ าวสาร ทดสอบการวางก าลั ง และก าลั ง และคลี่ ค ลายสถานการณ์ เวลาที่ จ ะใช้ก องหนุ น
ในการตีโต้ตอบ และแผนการยิงสนับสนุนของข้าศึก โดยจัดกาลังเฉพาะกิจมีกาลังมากเพียงพอ มีรถถังเป็นหลัก
ผสมด้วยทหารม้าบรรทุกยานเกราะตามความเหมาะสมทาการเข้าตีต่อที่หมายจากัด ใช้กลยุทธการยิง และ
การดาเนินกลยุทธ, ตีกวาดด้วยรถถังและกลยุทธเคลื่อนที่ทางอากาศ การลาดตระเวนด้วยกาลังสามารถใช้ได้
ทั้งการรบด้วยวิธีรุกและรับ
การเข้าตีโฉบฉวย เป็นการปฏิบัติการรุกทางยุทธวิธีขนาดย่อม โดยจะมีพื้ นฐานจากการข่าวกรอง
ที่ละเอียด, ใช้การเคลื่อนที่กวาดเข้าไปในเขตทหารข้าศึกที่อันตราย, และจบลงด้วยการถอนตัวตามที่ได้วางแผนไว้
ภารกิจในการเข้าตีโฉบฉวยโดยทั่วไปก็เพื่อ
๑. จับกุมข้าศึก ,ทาลายที่ตั้ง และวัสดุอุปกรณ์ของข้าศึก
๒. ทาลายวัสดุอุปกรณ์หรือที่ตั้งของข้าศึก
๓. หาข่าวสารเฉพาะของหน่วยข้าศึกที่อันตราย เช่นที่ตั้ง, การวางกาลัง, การประกอบกาลัง หรือ
แผนการปฏิบัติ
๔. ลวงหรือรบกวนข้าศึก
๕. ช่วยเหลือ จนท. ฝ่ายเราที่ถูกจับไป
การเข้าตีลวง เป็นการเข้าตีต่อที่หมายจากัด เป็นการแสดงกาลังซึ่งมุ่งหวังที่จะลวงข้าศึก หันเหความสนใจ
และถ้าเป็นไปได้ จะดึงอานาจกาลังรบข้ าศึกออกไปจากการเข้าตีหลัก การเข้าตีลวงต้องมีกาลังและจัดกาลัง
พอเพียงที่จะทาให้ข้าศึกตอบโต้ตามที่ต้องการ การเข้าตีลวงจะดูสมจริงจึงจาเป็นที่จะต้องมีการปะทะกับข้าศึกบ้าง
๒-๔

การแสดงลวง เป็ น การเข้ า ตี หรื อ การแสดงก าลั ง ในพื้ น ที่ ห นึ่ ง ซึ่ ง ไม่ ต้ อ งการผลการรบที่ แ ตกหั ก
การแสดงลวงเป็นการปฏิบัติโดยมีจุดมุ่งหมายในการลวงข้าศึก แต่จะไม่มีการปะทะกับกาลังข้าศึก หน่วยที่แสดงลวง
จะใช้ ก ารยิ ง , การเคลื่ อ นย้ายของก าลั งด าเนิ น กลยุ ท ธต่ างๆ, ควั น , สงครามอิเล็ ก ทรอนิ ก ส์ และเครื่อ งมื อ
ติดต่อสื่อสารเพื่อสนับสนุน แผนการลวง รวมถึงการยิงเตรียม และการยิงของ ป.ซึ่งเหมือนกับการยิงทาลาย
ล่วงหน้าในการเข้าตีประณีต
การเข้าตี ของหน่ วยทหารม้ า มีทั้ง การเข้า ตีเจาะ, การเข้าตีโอบ และการเข้ าตี ตรงหน้า การตีเจาะ
จะกระทาเมื่อข้าศึกวางกาลังบนกว้างด้านหน้ามาก และฝ่ายเราค้นหาจุดอ่อนในที่มั่นตั้งรับข้าศึกได้ โดยกาลังเข้าตี
จะเข้าตีผ่านไปในที่มั่นตั้งรับข้าศึก มีการปฏิบัติเป็น ๓ ขั้น คือ แยกที่มั่นตั้งรับของข้าศึกออกจากกัน, ขยายช่องเจาะ
และเข้าทาลายหรือยึดที่หมายทางลึก เพื่อทาลายความต่อเนื่องในการตั้งรับของข้าศึก
การเข้ า ตี โ อบ และการตี ต ลบ(โอบลึ ก ) จะจั ด ก าลั ง เป็ น ส่ ว นเข้ า ตี ห ลั ก และส่ ว นเข้ า ตี ส นั บ สนุ น
แต่ในการตีตลบ ส่วนเข้าตีหลักและส่วนเข้าตีสนับสนุนจะอยู่ห่างกันมากจนไม่สามารถสนับสนุนซึ่งกันและกันได้
ผลสาเร็จของการโอบ ขึ้นอยู่กับการจู่โจม, ความคล่องแคล่วในการเคลื่อนที่, ความสามารถของส่วนเข้าตีสนับสนุน
และการลวงเพื่อตรึงข้าศึกไว้ ณ ที่มั่น
การเข้าตีตรงหน้าจะปฏิบัติเมื่อภารกิจต้องการตรึงกาลังข้าศึกไว้ ณ ที่มั่น ลวงหรือช่วยเหลือการเข้าตีหลัก
หน่วยที่เหมาะกับการตีตรงหน้าควรจะเป็นหน่วยระดับกองทัพน้อยขึ้นไป หน่วยทหารม้าระดับกรมและกองพล
เหมาะแก่การดาเนินกลยุทธด้วยการตีเจาะหรือโอบ โดยที่หน่วยเข้าตีระดับกรมและกองพันจะมีรูปขบวนแถวตอน
และรูปขบวนหน้ากระดานเป็นรูปขบวนมาตรฐาน ซึ่งพิจารณาใช้จากปัจจัย METT-TC
ในการปฏิ บั ติ ก ารรบด้ วยวิธี รุ ก จะจั ด ส่ ว นก าลั ง รบเป็ น ส่ วนระวัง ป้ อ งกั น , ส่ ว นเข้ า ตี , กองหนุ น ,
ส่ วนบั งคั บบั ญ ชา และส่ วนสนั บสนุ น วางกระจายในทางลึ กของสนามรบ และควรใช้ กองหนุ น เมื่ อต้ องการ
ผลแตกหัก ณ เวลาและสถานที่ที่จะทาให้สาเร็จภารกิจที่ได้ รับมอบ, ใช้ขยายผลแห่งความมีชัยและป้องกันปีก
หรือด้านหลังของกาลังส่วนใหญ่ ทั้งนี้กองหนุนควรจะอยู่ ณ ที่ซึ่งสามารถเคลื่อนที่อย่างรวดเร็ว ไปยังตาบล
ที่ต้องการได้สะดวก, สามารถสนับสนุนส่วนเข้าตีหลัก , ให้การระวัง ป้องกันทางปีกและทางด้านหลัง รวมทั้ง
สามารถป้องกันจากการตรวจการณ์และการยิงมากที่สุด และเมื่อได้ใช้กองหนุนไปแล้วจะต้องรีบจัดตั้งกองหนุน
ขึ้น ใหม่ โดยเร็ว โดยอาจจะจั ดจากส่ วนสนั บ สนุ น การรบและส่วนช่ว ยรบชั่ว คราว, ใช้ ห น่ว ยที่ สามารถผละ
จากการรบได้สะดวกที่สุด หรือขอกาลังเพิ่มเติมจากหน่วยเหนือ
การจัดกาลังเข้าทาการรบมีส่วนที่สาคัญ คือ ส่วนดาเนินกลยุทธ์และฐานยิง หากข้าศึกมีอาวุธอัตโนมัติ
จานวนมาก หรือมีการยิงด้วยวิธีเล็งจาลองอย่างหนาแน่นควรจัดกาลังให้มีรถถังเป็นหลัก แต่หากสถานการณ์ข้าศึก
ไม่กระจ่างชัดอาจจัดกาลังโดยรถถังเป็นหลัก หรือจัดแบบสมดุล ส่วนฐานยิงควรประกอบด้วยอาวุธต่อสู้รถถัง
ในอัตรา, เครื่องยิงลูกระเบิดชนิดต่างๆ, ปืนใหญ่สนามหรือปืนเรือ รวมทั้งจรวดนาวิถี และหน่วยบินทางยุทธวิธี
ปกติมักจะไม่ใช้รถถังและทหารม้าอากาศอยู่ในฐานยิง แต่จะประกอบอยู่ในส่วนดาเนินกลยุทธ์ ผสมผสานกัน
ระหว่างหน่วยรถถังและทหารม้าบรรทุกยานเกราะซึ่งมีภารกิจเคลื่อนที่เข้าประชิด และทาลายกาลังข้าศึก
ในแผนการเข้าตีจะต้อ งกล่าวถึงแผนดาเนินกลยุทธ และแผนการยิงสนับสนุน โดยกาหนดมาตรการ
ควบคุมการเข้าตีเท่าที่จาเป็นจะต้องใช้ในการประสานการดาเนินกลยุทธและการยิงเท่านั้น เพื่อให้ผู้บังคับหน่วยรอง
มีเสรีในการปฏิบัติมากที่สุด
๒-๕

แบบของการดาเนินกลยุทธพื้นฐานในการรบด้วยวิธีรุก
การเข้าตีโอบ เป็นแบบการดาเนินกลยุทธพื้นฐาน ซึ่งมุ่งที่จะใช้กาลังที่แข็งแกร่งต่อจุดอ่อนของข้าศึก
หลีกเลี่ยงด้านหน้าของข้าศึกซึ่งข้าศึกจะมีการป้องกัน ให้ความสนใจมากที่สุด และสามารถที่จะรวมการยิงได้ง่าย
ส่วนความพยายามสนับสนุนจะเข้าตีเพื่อตรึงฝ่ายตั้งรับให้อยู่ภายในที่มั่น ส่วนความพยายามหลักจะดาเนินกลยุทธ์
โอบเลยการตัง้ รับของข้าศึกไป เพื่อโจมตีต่อด้านหลังหรือทางปีกของข้าศึก
การเข้าตีโอบจะประสบความสาเร็จได้ก็ด้วยการที่ข้าศึกมีปีกที่เปิด ส่วนโอบซึ่งเป็นส่วนความพยายามหลัก
จะต้องใช้อานาจกาลังรบที่เหนือกว่าเข้าตีต่อปีก และส่วนตรึงซึ่งเป็นส่วนความพยายามสนับสนุนจะตรึงข้าศึก
ไว้ ในที่ มั่ น ด้ ว ยการยิ ง หรื อ การเข้ า ตี ต รึ ง ถึ ง แม้ ว่ า หน่ ว ยทหารม้ า ยานเกราะจะเป็ น หน่ ว ยที่ พึ ง ประสงค์
ในการเข้ า ตี โ อบก็ ต าม แต่ ก็ ส ามารถใช้ ห น่ ว ยทหารม้ า ยานเกราะเขาตี ใ นฐานะของส่ ว นตี ต รึ ง หรื อ
ส่วนความพยายามสนั บสนุน ก็ ได้ ความสาเร็จของการเข้าตีโอบขึ้น อยู่กั บการจู่ โจม และความคล่อ งแคล่ ว
ในการเคลื่ อ นที่ ข องส่ ว นโอบ เพื่ อ ป้ อ งกั น ไม่ ให้ ข้ า ศึ ก เคลื่ อ นย้ า ยกองหนุ น เข้ า โต้ ต อบฝ่ า ยเรา ตลอดจน
ประสิทธิภาพของการยิงสนับสนุน และการเข้าตีของส่วนตรึง
การเข้าตีตลบ การเข้าตีตลบเป็นรูปแบบการปฏิบตั ิที่คล้ายกับการตีโอบ แตกต่างที่หน่วยที่ทาการตีตลบ
จะเป็ น หน่ ว ยที่ มี ค วามเข้ ม แข็ ง คล่ อ งแคล่ ว และสมบู ร ณ์ ในตั ว เอง เคลื่ อ นที่ อ ย่ า งรวดเร็ ว เพื่ อ หลี ก เลี่ ย ง
แนวการวางก าลั งของข้ าศึ ก อย่ า งสิ้ น เชิ ง แล้ ว เข้ า ยึ ด ควบคุ ม ที่ ห มายที่ อ ยู่ ลึ ก เข้ าไปในส่ วนหลั ง ของข้ าศึ ก
ตามเส้นทางคมนาคมที่สาคัญ เพื่อบังคับให้ข้าศึกต้องสละที่มั่นหรื อหันเหกาลังส่วนใหญ่ของตนเพื่อเข้าปฏิบัติ
ต่ อ ก าลั ง ส่ ว นที่ ตี ต ลบ หลั ง จากนั้ น ข้ า ศึ ก จะถู ก ท าลาย ณ พื้ น ที่ ที่ ฝ่ า ยตี ต ลบได้ เลื อ กเอาไว้ ตามปกติ แ ล้ ว
หน่วยกองพลน้อยยานเกราะ และระดับต่ากว่ากองพลน้อ ยลงมาจะเข้าร่วมในการตีตลบในฐานะเป็นส่วนหนึ่ง
ของกาลังส่วนใหญ่
จะเห็ น ได้ ว่ า การตี ต ลบนั้ น ที่ ห มายของการตี ต ลบก็ คื อ การเข้ า ยึ ด ภู มิ ป ระเทศส าคั ญ ของข้ า ศึ ก
ทางด้านหลัง โดยส่วนตลบจะหลีกเลี่ยงการปะทะกับแนวตั้งรับของข้าศึกโดยสิ้นเชิง แต่ในการตีโอบที่หมาย
ของการโอบจะมุ่งที่การเข้าปะทะกับแนวตั้งรับของข้าศึกทางด้านปีกหรือด้านหลัง นอกจากนั้นการเข้าตีโอบ
และการตีตลบมีข้อแตกต่างกันที่สาคัญอยู่อีกประเด็นก็คือ ในการเข้าตีโอบ ส่วนโอบ(ความพยายามหลัก) และ
ส่วนตรึง (ความพยายามสนับสนุน) จะยังอยู่ในระยะที่สามารถให้การสนับสนุนกันและกันได้ แต่ในการเข้าตีตลบนั้น
ส่วนตลบ (ความพยายามหลัก) และส่วนตรึง (ความพยายามสนับสนุน) จะอยู่ห่างไกลกันมากจนอยู่พ้นระยะ
การสนับสนุนซึ่งกันและกัน
การแทรกซึม เป็นการเทคนิคหนึ่งในการเคลื่อนที่ ซึ่งนามาใช้ร่วมกับการปฏิบัติการรุกได้หลายๆ แบบ
ในการเข้ า ตี นั้ น การแทรกซึ ม กระท าด้ ว ยความมุ่ ง หมายที่ จ ะส่ ง หน่ ว ยก าลั ง รบเข้ า สู่ ส่ ว นหลั ง ของข้ า ศึ ก
การเคลื่อนที่และการรวมพลของหน่วยที่ทาการแทรกซึมเข้าไปในพื้นที่ของข้าศึกนั้นเป็นการปฏิบัติที่ล่าช้ามาก
แม้หน่วยทหารม้าที่ทาการลงรบเดินดินจะเป็นหน่วยที่เหมาะสมในการปฏิบัติการแทรกซึมก็ตาม แต่หน่ วยรถถัง
ก็สามารถที่จะทาการแทรกซึมได้เช่นกัน โดยการฉวยโอกาสในความได้เปรียบจากการวางกาลังที่ไม่เหมาะสม
ของข้าศึก, ช่องว่างที่เกิดขึ้นในเครื่องกีดขวางที่ข้ าศึกไม่รู้ หรือด้วยการใช้หน่ วยดาเนินกลยุทธ์อื่นทาการเข้าตี
หรือทาการยิงเพื่อหันเหความสนใจออกจากหน่วยรถถังที่ทาการแทรกซึม
การวางแผนในการแทรกซึมต้องมีรายละเอียด และการประสานงานอย่างใกล้ชิด เข้ากับแผนในการเข้าตี
เพราะในทันทีที่เริ่มมีการเคลื่อนย้ายหน่วย หากเกิดสิ่งที่ผิดพลาดออกไปจากแผนก็ ยากที่จะทาให้แผนกลับมา
มีความประสานสอดคล้องกันได้ใหม่ และจะต้องมีการเตรียมแผนการการยุทธบรรจบ หรือแผนในการให้หน่วย
ทาการแทรกซึมออกมาด้วย
๒-๖

การเข้าตีเจาะ หน่วยเข้าตีจะเคลื่อนที่ผ่านที่มั่นตั้ง รับของข้าศึกเข้าไป เจาะแนวที่มั่นตั้งรับนั้น แล้ว


ตัดรอนกาลังหรือทาลายความเหนียวแน่นในการตั้งรับ ประกอบด้วย ๓ ขั้นตอนที่สาคัญคือ การเจาะแนวที่มั่น
ตั้ ง รั บ ข้ าศึ ก , การยึ ด รัก ษาและขยายช่ อ งที่ เจาะเอาไว้ และการส่ ง ก าลั ง เข้ า ไปบดขยี้ ห รื อ ควบคุ ม ที่ ห มาย
การเข้ า ตี เจาะจะเป็ น การท าลายความต่ อ เนื่ อ งในการตั้ ง รั บ ของข้ า ศึ ก และเปิ ด โอกาสในการขยายผล
แห่งความสาเร็จในการตีเจาะ ถ้าการเข้าตีเจาะไม่เฉียบคมและรุนแรงจนไม่สามารถยึดที่หมายไว้ได้อย่างรวดเร็ว
การเข้าตีเจาะนั้นก็จะเปรียบเสมือนกันเข้าตีตรงหน้าจนทาให้ฝ่ายเราเกิดความสูญเสียอย่างมาก การใช้หน่วยทหารม้า
ในการเข้าร่วมเข้าตีเจาะอาจจะเข้าร่วมในภารกิจใดภารกิจหนึ่งใน ๓ ขั้นตอน หรือมากกว่า ดังนี้
๑. การเจาะแนวที่ มั่ น ตั้ ง รั บ ข้ าศึ ก หน่ ว ยทหารม้ า ซึ่ ง มี ค วามคล่ อ งแคล่ วในการเคลื่ อ นที่
ในสนามรบสู งกว่า จะเข้าตีด้วยความรุนแรงต่อกว้างด้านหน้าที่แคบเพื่ อทาลายความต่ อเนื่องในการตั้ง รับ
ของข้าศึก กาลังที่เข้าตีต้องมีความเข็มแข็งมากพอที่จะเอาชนะการตั้งรับได้ และจะต้องเปิดช่องอย่างรวดเร็วที่สุด
เท่าที่ จะสามารถกระท าได้ เพื่ อตัด โอกาสไม่ ให้ กองหนุ น ของข้าศึ กเพิ่ ม เติ มกาลั ง หรือเข้ าตีโต้ตอบฝ่ายเรา
หรือเพื่อป้องกันไม่ให้ข้าศึกที่ถูกฝ่ายเราเข้าตีเจาะนาวิธีการรบด้วยการรบหน่วงเวลามาใช้
๒. การยึดและขยายช่องว่างที่เจาะได้ อาจกระทาด้วยการดาเนินกลยุทธ์ , ด้วยการยิง หรือ
ทั้งสองประการ โดยต้องเพ่งเล็งในการป้องกันไม่ให้มีการเคลื่อนย้ายกาลังรบของข้าศึกเข้ามายังพื้นที่ที่ทาการเจาะ
และทาการเข้าปะทะอย่างรวดเร็วต่อการตีโต้ตอบโดยกองหนุนของข้าศึก แล้วต้องขยายช่องที่เจาะได้ให้กว้างขึ้น
อานวยให้หน่วยที่มีความคล่องแคล่วสูงผ่านเข้าไปได้อย่างรวดเร็ว แล้วทาการขยายผลต่อส่วนหลังข้าศึก
๓. การขยายผลต่อที่หมายในทางลึก โดยหน่วยที่รับมอบภารกิจให้เข้าขยายผลในการเข้าตีเจาะ
จะยังไม่ถูกส่งเข้าปฏิบัติการจนกว่าการเจาะแนวจะสาเร็จเรียบร้อยแล้ว แต่ก็อาจถูกส่งเข้าปฏิบัติการเพื่อเร่งรัด
การเจาะแนวให้รวดเร็วยิ่งขึ้น หน่วยขยายผลต้องทาการประสานการผ่านแนวกับหน่วยที่ทาหน้าที่เจาะ แล้ว
ทาการเข้าตีอย่างต่อเนื่องและรุนแรงต่อไป
การเข้าตีตรงหน้า เป็นแบบการดาเนินกลยุทธที่เหมาะสมน้อยที่สุด การเข้าตีตรงหน้าจะใช้เพื่อโจมตี
ต่อข้าข้าศึกบนกว้างด้านหน้ามากๆ ตามแนวทางเคลื่อนที่ที่ตรงที่สุดจุดประสงค์เพื่อเข้าบดขยี้และทาลายหรือ
จับกุมข้าศึกที่อ่อนแอในที่มั่นหรือเพื่อตรึงกาลังข้าศึกให้อยู่ในที่มั่น เพื่อสนับสนุนการเข้าตีของฝ่ายเราในพื้นที่อื่นๆ
๒-๗

ตอนที่ ๒
ทหารม้าในการปฏิบัติการรบด้วยวิธีรับ
การรบด้วยวิธีรับ หน่วยทหารม้าจะใช้ทรัพยากรทุกอย่างที่มีเพื่อทาการป้องกัน, ต้านทาน, ขับไล่ หรือ
ทาลายการเข้าตีของข้าศึก และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อทาลายกาลังรบของข้าศึกทั้งนี้ ฝ่ายตั้ งรับต้องฉวยโอกาส
ทุกทางที่จะเป็นฝ่ายริเริ่ม และทาลายข้าศึก โดยการเลือกที่มั่นตั้งรับ, บังคับให้ข้าศึกปฏิบัติตามแผนการตั้งรับ,
ขยายผลจากจุ ด อ่ อ นและข้ อ ผิ ด พลาดของข้ า ศึ ก โดยการรบด้ ว ยวิ ธี รุ ก , ตี โ ต้ ต อบต่ อ ผลส าเร็ จ ของข้ า ศึ ก
ความมุ่งหมายของการตั้งรับก็คือเพื่อที่จะให้ได้เวลาจนกว่าสถานการณ์ ต่างๆ จะคลี่คลายไปในทางที่เกื้อกูล
เพื่อรอสภาพอันได้เปรียบและกลับเป็นฝ่ายรุกอีกครั้ง การตั้งรับเป็นการออมกาลังในพื้นที่แห่งหนึ่งเพื่อรวมกาลัง
เข้าปฏิบัติการแตกหักในอีกพื้นที่หนึ่ง , ดักให้ข้าศึกติดกับหรือทาลายข้าศึก , ขัดขวางมิให้ ข้าศึกเข้ามาในพื้นที่
และลดขีดความสามารถของข้าศึกที่จะทาการรบด้วยวิธีรุก
หลักนิยมในการตั้งรับจะใช้ส่วนระวังป้องกันในการแจ้งเตือนล่วงหน้าเพื่ อค้นหา, รั้งหน่วง, ลวง และ
ทาลายการเข้าตี ของข้าศึ ก การใช้ ก าลังตั้งรั บในส่ วนหน้าให้ จัดระเบี ยบการตั้งรับเพื่ อผลักดั นฝ่ ายเข้ าตี และ
ทาการคลี่คลายสถานการณ์ หรือการใช้กาลังเข้าโจมตีด้วยการปฏิบั ติการรบด้ วยวิธีรุกเพื่ อทาลายการเข้าตีของ
ข้าศึก นอกจากนั้นยังใช้ความคล่องแคล่วในการเคลื่อนที่, อานาจการยิงและการปฏิบัติเชิงรุก ไม่ให้ฝ่ายตั้งรับถูก
ตรึง อยู่กับที่และถูกทาลาย เพื่อก่อให้เกิดการตั้งรับที่ชิงเป็นฝ่ายริเริ่ม เพื่อขัดขวางฝ่ายเข้าตีไม่ให้เข้าถึงที่หมาย
แตกหักที่ต้องการ ในกรณีที่ฝ่ายข้าศึกที่เข้าตี มีหน่วยกาลังเป็นยานรบที่มีความทันสมัย กาลังที่แนวตั้งรับหน้า
จะต้องประกอบด้วยรถถัง และอาวุธต่อสู้รถถังที่เพียงพอ ซึ่งจะทาให้กาลังตัง้ รับเหล่านั้นสามารถผลักดันฝ่ายเข้าตี
หรือเพื่อให้ สามารถคลี่คลายสถานการณ์ ได้ ในลักษณะของการรบด้วยวิธีรับนี้จาเป็นต้องให้มี พื้นที่ ที่เพียงพอ
ในการดาเนินกลยุทธ์ และหน่วยที่ปฏิบัติจะต้องมีความคล่องแคล่วในการเคลื่อนที่สูง

ข้อพิจารณาพื้นฐานในการตั้งรับ
๑. การใช้ภูมิประเทศอย่างเหมาะสม ฝ่ายตั้งรับต้องเข้าควบคุมภูมิประเทศสาคัญ ขัดขวางไม่ให้ข้าศึก
ใช้ภูมิประเทศที่อันอาจเป็นอันตรายต่อความสาเร็จของการตั้งรับ ใช้ความได้เปรียบจากเครื่องกีดขวางต่างๆ
เพื่อเพิ่มพูนความแข็งแกร่งของที่มั่น หรือหันเหข้าศึกเข้ามาในพื้ นที่ที่เหมาะแก่การโจมตี หรือตีโต้ตอบ ดังนั้น
เครื่องกีดขวางต่างๆ จึงมีบทบาทสาคัญต่อแผนตั้งรับนอกจากนั้นควรพิจารณาลักษณะของการตรวจการณ์
และพื้นยิง การกาลังและซ่อนพราง เครื่องกีดขวาง ภูมิประเทศสาคัญ และเส้นทางการเคลื่อนที่ของข้าศึก
ที่จะเคลื่อนที่เข้ามา
๒. การระวังป้องกัน เนื่องจากฝ่ายเข้าตีจะดารงการเป็นฝ่ายริเริ่มเกี่ยวกับ เวลา สถานที่ ทิศทาง และ
กาลังในการเข้าตี หน่วยที่ตั้งรับจะต้องจัดให้มีการระวังป้องกันขึ้นเพื่อให้แน่ใจได้ว่าจะมีการแจ้งเตือนล่วงหน้า
และมีการให้ข่าวสารที่เชื่อถือได้เกี่ยวกับข้าศึกทีเ่ คลื่อนที่เข้ามา
๓. การตั้งรับรอบตัว ถึงแม้การตั้งรับจะมุ่งที่จะทาการสู้รบกับข้าศึกตามแนวทางการเคลื่อนที่ที่คาดว่า
เป็นไปได้มากที่สุดของข้าศึกก็ตาม แต่ข้าศึกอาจเข้าตีจากทิศทางอื่นนอกเหนือจากที่ได้คาดเอาไว้ ข้าศึกอาจเข้าตี
ต่อส่วนปีกหรือหลังด้วยการตีโอบ หรือมีปฏิบัติแบบกองโจรในพื้นที่ส่วนหลัง ดังนั้นหน่วยที่ปฏิบัติการตั้งรับ
ต้องมีความสามารถที่จะเผชิญต่อการเข้าตีจากทิศทางใดๆ ก็ตาม
๔. การตั้งรับทางลึก การตั้งรับต้องให้มีความลึกอย่างพอเพียงในการปฏิบัติ เพื่อดึงให้ข้าศึกเข้ามา
ยังพื้นที่ที่ฝ่ายตั้งรับกาหนด หลีกเลี่ยงต่อการปฏิบัติเข้าตีโต้ตอบจากพื้นที่ตั้งรับที่ มีความลึกน้อย เนื่องจากถ้า
๒-๘

ความลึกในการตั้งรับมีน้อยฝ่ายตั้งรั บจะไม่สามามารถทาการตอบโต้ข้าศึกสามารถทาการเจาะแนวเข้ามาได้
อย่างมีป ระสิ ทธิภาพ ความลึกในการตั้งรับจะเกิดขึ้ นได้ก็ ด้วยกรใช้กาลัง รบอย่า งเหมาะสม, การเลือกและ
การจัดเตรียมที่มั่นในทางลึก, การดาเนินกลยุทธ์ของส่วนต่างๆ ในแนวหน้ามาสู่ที่มั่นสกัดกั้นในทางลึกต่างๆ
ตามความจาเป็น ตลอดจนการใช้กองหนุนเคลื่อนที่เร็วในพื้นที่ตั้งรับ
๕. การตอบสนองและการบังคับบัญชา ความสาเร็จในการตั้งรับย่อมขึ้นอยู่กับการใช้อานาจกาลังรบ
ที่เหนือกว่า ณ เวลาและตาบลที่ใ ห้ผลแตกหัก ทั้งส่วนดาเนิ นกลยุทธ์และส่วนยิง สนับสนุน จะต้องสามารถ
ตอบสนองความต้องการของผู้บังคับบัญชาได้
๖. การกระจายกาลัง
๗. การรบด้วยวิธีรุกให้เกิดประโยชน์มากที่สุด ในการตั้งรับนั้น จะต้องฉกฉวยโอกาสเพื่อเข้าช่วงชิง
ความริ เริ่ม ให้ จงได้ ฝ่ ายตั้ งรับ องเตรีย มการให้ส ามารถเข้ าปฏิ บั ติ การด้ว ยวิ ธีรุก ได้ในทั น ที ที่ โอกาสอ านวย
การเข้าตีโต้ตอบนั้นเป็นกุญแจสาคัญที่จะนาไปสู่ความสาเร็จในการตั้งรับ
๘. การสนธิและประสานมาตรการตั้งรับต่างๆ เข้าไว้ด้วยกัน โดยต้องสนใจเป็นพิเศษต่อการต่อสู้รถถัง
หรือมีกาลังยานรบที่มีความทันสมัย ต้องมีการวางแผนการยิงและประสานการยิงในทุกระดับหน่วย จะต้องจั ด
ให้มีการสนับสนุนซึ่งกันและกันด้วยการยิงหรือการเคลื่อนที่ดาเนินกลยุทธ์หรือทั้งสองประการ มีการสนับสนุน
ด้วยการยิงอย่างต่ อเนื่ อ งให้ แ ก่ห น่ วยกาลั ง รบต่างๆ รวมทั้ ง ในพื้ น ที่ ระวั ง ป้ องกั น และต้ องวางแผนการยิ ง
ให้ครอบคลุมช่องว่างต่างๆ รวมทั้งแผนฉากขัดขวางที่มีประสิทธิภาพโดยมีแผนการยิงคุ้มครองฉากขัดขวางด้วย

รูปแบบพื้นฐานของการตั้งรับ
รูป แบบพื้ น ฐานของการตั้ งรั บ มี ๒ แบบคื อ การตั้ ง รับ แบบคล่ อ งตั ว และการตั้ ง รั บ แบบยึ ด พื้ น ที่
โดยการจะเลื อ กแบบของการตั้ ง รั บ ที่ จ ะน ามาใช้ ย่ อ มขึ้ น อยู่ กั บ ภารกิ จ , ภู มิ ป ระเทศ, ความคล่ อ งแคล่ ว
ในการเคลื่อนที่เมื่อเปรียบเทียบกับข้าศึก, กาลังทางอากาศยุทธวิธี, เวลา และขีดความสามารถต่างๆ ของข้าศึก
การตั้งรับ แบบคล่ องตั ว การตั้งรับแบบคล่องตัวเป็นการตั้ง รับที่เหมาะสมกับหน่วยทหารม้า หรือ
หน่วยยานเกราะ โดยใช้การสนธิการปฏิบัติการรบด้วยวิธีรุก, รับ และร่นถอย เข้าด้วยกัน โดยความสาเร็จ
ขึ้นอยู่กับการส่วนที่ปฏิบัติการรบด้วยวิธีรุก วัตถุประสงค์หลักของการตั้งรับแบบคล่องตัวก็คือการทาลายกาลังรบ
ข้าศึ กที่ทาการเข้าตี ในการตั้งรับ แบบคล่องตัวจะใช้ก าลัง ส่วนน้อยเป็ นส่วนตรึง ข้าศึกไว้ในพื้ นที่ ตั้ง รับ หน้ า
เพื่อทาการค้นหา, ทาลายการจัด, รบหน่วงเวลา เพื่อดึง ข้าศึกเข้ามาในพื้นที่ที่ฝ่ายตั้งรับได้เตรียมการเอาไว้
ให้ ได้ เวลาและพื้ น ที่ด าเนิน กลยุ ท ธ์แก่ การปฏิบั ติก ารของส่ วนก าลัง โจมตี โดยอานาจก าลัง รบส่ วนใหญ่ นั้ น
ใช้เป็นกาลังโจมตี ซึ่งจะทาการรบด้วยวิธีรุกเข้าทาลายล้างข้าศึกที่ถูกดึง เข้ามา ณ ตาบลและเวลาที่เหมาะสม
มากที่สุด โดยการตั้งรับแบบคล่องตัวจะมีความเหมาะสมเมื่อ
๑. ภารกิ จที่ได้ รับเกื้อ กูลต่ อการจัดก าลั งในการตั้ ง รับแบบคล่ องตั ว และพื้ นที่ ที่ได้ รับมอบ
ความผิดชอบมีความลึกเพียงพอ
๒. ภูมิประเทศอานวยให้ฝ่ายตั้งรับเคลื่อนที่ได้อย่างเสรีได้ในภูมิประเทศ
๓. ความคล่องแคล่วของหน่วยที่ตั้งรับต้องทัดเทียมหรือมากกว่าฝ่ายเข้าตี
๔. สถานการณ์อากาศยานข้าศึกเกื้อกูลให้ฝ่ายตั้งรับเคลื่อนที่ได้อย่างเสรี
๕. มีเวลาน้อยในการเตรียมการในการจัดพื้นที่และที่มั่นในการตั้งรับ
ปกติแล้วกองพลจะเป็นหน่วยระดับที่เล็กที่สุดที่สามารถทาการตั้งรับแบบคล่องตัวได้ โดยหน่วยทหารม้า
และหน่วยยานเกราะตามปกติจะเข้าร่วมในการตั้งรับแบบคล่องตัวในฐานะของส่วนระวังป้องกัน, กาลังส่วนตรึง
หรือกาลังโจมตี
๒-๙

การตั้งรับแบบยึดพื้นที่ สาหรับหน่ วยทหารม้ า หรือหน่วยยานเกราะแล้ว การตั้ง รับแบบยึดพื้ นที่


ไม่ค่อยเป็นการปฏิบัติที่พึงประสงค์นัก เพราะไม่อาจใช้ความคล่องแคล่วในการเคลื่อนที่ของรถถัง และรถเกราะ
ได้อย่างเกิดประโยชน์สูงสุด โดยการตั้งรับแบบยึดพื้นที่จะเน้นที่การยึดรักษาภูมิประเทศโดยหยุดข้าศึกเอาไว้
ด้านหน้าของพื้นที่ตั้งรับหน้า หรือเพื่อผลักดันข้าศึกออกไปเมื่อข้าศึกสามารถเจาะแนวเข้ามาได้ อานาจกาลังรบ
ส่วนใหญ่ของการตั้งรับจะถูกส่งออกไปปฏิบัติการเพื่อป้องกันพื้น ที่ตั้งรับหน้า ส่วนกองหนุนจะใช้เพื่อสกัดกั้น
หรื อท าลายการเจาะแนวตั้งรับ จากฝ่ายเข้ าตีโดยใช้ก ารตี โต้ต อบ แล้ วสถาปนาที่ มั่ น ตั้ง รั บขึ้ น มาใหม่ หรื อ
เพื่อเพิ่มเติมกาลังให้แก่หน่วยกาลังรบในพื้นที่ตั้งรับหน้า โดยการตั้งรับแบบยึดพื้นที่จะมีความเหมาะสมเมื่อ
๑. พื้นที่ตั้งรับขาดความลึก
๒. มีความจาเป็นที่ต้องยึดรักษาภูมิประเทศ
๓. ภูมิประเทศจากัดการเคลื่อนที่ของหน่วยตั้งรับ
๔. ฝ่ายเข้าตีมีความคล่องแคล่วในการเคลื่อนที่เหนือกว่าฝ่ายตั้งรับ
๕. ฝ่ายเข้าตีสามารถครองการเป็นเจ้าอากาศ
๖. มีเวลามากพอในการเตรียมพื้นที่ สร้างที่มั่น ตลอดจนฉากขัดขวางต่าง ๆ
๗. กว้างด้านหน้าแคบ
๒ - ๑๐

ตอนที่ ๓
ทหารม้าในการรบด้วยวิธีร่นถอย
การร่นถอย คือ การเคลื่อนที่อย่างมีระเบียบไปข้างหลังหรือห่างออกไปจากข้าศึก การร่นถอยแบ่งออกเป็น
๓ แบบ คือ การรบหน่วงเวลา, การถอนตัว และการถอย การรบด้วยวิธีร่นถอยนี้อาจกระทาด้วยความสมัครใจ
หรืออาจถูกข้าศึกบีบบังคับก็ได้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ
๑. เพื่อรบกวน, ทาให้ข้าศึกอ่อนกาลัง, ทาการหน่วงเหนี่ยว และสร้างความเสียหายให้ข้าศึก
๒. เพื่อดึงข้าศึกให้เข้ามาในสถานการณ์ที่ไม่เกื้อกูลต่อข้าศึก
๓. เพื่ออานวยให้สามารถใช้กาลังส่วนต่างๆ ณ ที่แห่งอื่น
๔. เพื่อหลีกเลี่ยงการสู้รบภายใต้สภาพการณ์ต่างๆ ที่ไม่เกื้อกูลต่อฝ่ายเรา
๕. เพื่อให้ได้เวลา และหลีกเลี่ยงในการรบติดพันแตกหัก
๖. เผื่อทาการผละออกจากการรบ
๗. เพื่อวางกาลังต่างๆ ให้สอดคล้องกับกาลังส่วนอื่นๆ ของฝ่ายเดียวกัน
๘. เพื่อร่นระยะทางคมนาคม
เช่น เดียวกับการรบแบบอื่น ๆ สภาพของภูมิประเทศและลมฟ้าอากาศเป็นข้อพิจารณาที่มีผลกระทบ
ต่อการใช้หน่วยทหารม้าในการรบด้วยวิธีร่นถอย หน่วยทหารม้าจะเลือกภูมิประเทศให้มีการตรวจการณ์ และ
พื้นยิงในระยะไกล มีการซ่อนพรางจากการตรวจการณ์ และให้การระวังป้องกัน ใช้เครื่องกีดขวางเพื่อขัดขวาง
หน่วงเหนี่ย วการรุกคืบหน้าของข้าศึ ก , เพื่อ ป้องกันปีก ที่เปิด , บัง คับให้ ข้าศึกเคลื่อนที่ช้าลง และเพื่อบั งคั บ
ให้ข้าศึกต้องรวมกาลังกันเป็นกลุ่มเป็นก้อน โดยหน่วยทหารม้าลาดตระเวนเป็นทหารม้าประเภทเดียวที่กาหนด
เส้นแบ่งเขตทางข้างลงถึงระดับหมวด เพื่อใช้ในการควบคุม
การรบหน่ ว งเวลา การรบหน่ ว งเวลาเป็ น การรบที่ มุ่ ง ที่ จ ะหน่ วงเหนี่ ย วและสร้ างความเสี ย หาย
ให้แก่ข้าศึกที่รุกเข้ามาให้มากที่ สุด โดยการรบหน่วงเวลาต้องหลีกเลี่ยงการรบติดพันแตกหัก ต้องระมัดระวัง
ไม่ ให้ หน่ ว ยถู กข้ าศึ ก โอบปี ก จะมุ่ งที่ ยอมจะเสีย พื้ น ที่ ให้น้ อ ยที่ สุด เพื่ อ แลกกับ เวลาให้ ม ากที่ สุด โดยหน่ ว ย
จะด าเนิ น กลยุ ท ธ์ ด้ วยการถอยตั ว จากที่ มั่ น รบหน่ ว งเวลาแห่ ง หนึ่ ง มายั ง อี ก แห่ ง หนึ่ ง โดยต้ อ งได้ รั บ อนุ มั ติ
จากหน่วยเหนือก่อนเท่านั้น โดยมีแบบของการรบหน่วงเวลาคือ การรบหน่วงเวลา ณ ที่มั่นตามลาดับขั้น และ
การรบหน่วงเวลา ณ ที่มั่นสลับขั้น โดยอาจใช้ทั้งสองแบบสลับกันก็ได้ตามแต่สถานการณ์ข้าศึก และภูมิประเทศ
๑. การรบหน่วงเวลา ณ ที่มั่นตามลาดับขั้น ในการรบหน่วงเวลาตามลาดับขั้นนี้ หน่วยจะต้องจัด
และเข้ายึดครองที่มั่นรบหน่วงเวลาในขั้นต้ น เมื่อจะถอนตัวหน่ วยก็เคลื่อนที่เข้าที่มั่นรบหน่ วงเวลาขั้นต่อไป
ซึ่งอยู่ด้านหลัง โดยทิ้งกาลังบางส่วนไว้ปะทะกับข้าศึกเพื่อกาบั งให้หน่วยที่ถอนตัว โดยจะกระทาเช่นนี้กับที่มั่น
รบหน่วงเวลาตามลาดับขั้น ทุกที่มั่น และเนื่องจากการรบหน่วงเวลา ณ ที่มั่นตามลาดับขั้น นี้มักจะได้รับมอบ
พื้นที่กว้างด้านหน้าที่มาก จึงเหมาะสมที่จะใช้หน่วยทหารม้า หรือหน่วยยานเกราะเป็นหน่วยปฏิบัติ
๒. การรบหน่วงเวลา ณ ที่มั่นสลับขั้น ในการรบหน่วงเวลา ณ ที่มั่นสลับขั้นนี้ จะแบ่งกาลังออก
เป็น ๒ ส่วน ส่วนแรกจะเข้ายึดที่มั่นรบหน่วงเวลาในขั้นแรก ในขณะเดียวกันนั้นส่วนที่สองก็จะเข้ายึดครองและ
ปรับปรุงที่มั่นรบหน่วงเวลาที่ข้างข้างหลัง เมื่อส่วนแรกต้องทาการถอนตัว กาลังส่วนแรกจะถอนตัวผ่านหรือ
อ้อมผ่านกาลังส่วนที่สอง แล้ วเข้ายึดครองและปรับปรุง ที่มั่นรบหน่วงเวลาที่ อยู่ข้างหลังถัดไปจากส่วนที่สอง
แต่ก่อนที่จะทาการถอนตัว กาลังส่วนแรกจะจัดกาลังส่วนหนึ่งทิ้งไว้ปะทะกับข้าศึกเพื่อช่วยกาบังในการถอนตัว
๒ - ๑๑

เมื่ อ ข้ าศึ ก ท าการรุก เข้า มานั้ น ก าลั งส่ ว นที่ ส องก็ จะท าการปะทะกั บ ข้ าศึ ก ไว้ และเมื่ อ ต้อ งท าการถอนตั ว
ก็จะกระทาเช่นเดียวกับส่วนแรก กาลังทั้งสองส่วนจะทาเช่นนี้สลับกันไป และเนื่องจากการรบหน่วงเวลา ณ
ที่มั่นตามสลับขั้นนี้ มักจะได้รับมอบพื้นที่กว้างด้านหน้าแคบแต่มีความลึก โดยปกติแล้วจะไม่บ่อยนักที่หน่วย
ทหารม้าหรือหน่วยยานเกราะ จะเข้าปฏิบัติการในพื้นที่กว้างด้านหน้าแคบ และมีพื้นที่ไม่เพียงพอที่จะอานวย
ให้สามารถปฏิบัติการได้ ข้อพิจารณามูลฐานในการรบหน่วงเวลา คือ การควบคุมแบบรวมการปฏิบัติแบบแยกการ,
ใช้ภูมิประเทศให้ เกิดผลดี สูงสุด , ใช้เครื่องกีดขวางให้เกิดประโยชน์สู ง สุด, บัง คับให้ข้าศึกต้องปรับ รูป ขบวน
และดาเนินกลยุทธ์, การดารงการเกาะข้าศึกไว้ และหลีกเลี่ยงการรบติดพันแตกหัก
แนวที่ มั่ น รั้ ง หน่ ว งที่ พึ ง ประสงค์ ควรที่ มี ลั ก ษณะเป็ น กลุ่ ม แนวสั น เขาที่ ข นานกั น และตั้ ง ได้ ฉ าก
กับแนวทางรุกของข้าศึก หากบางภูมิประเทศไม่สามารถกาหนดแนวที่มั่นรั้งหน่วงได้ ก็ จะกาหนดเส้นขั้นเป็น
มาตรการควบคุม ในการวางกาลังรบหน่วงเวลาจะแบ่งกาลังออกเป็น ๓ ส่วน คือ ส่วนระวังป้องกัน, ส่วนรั้งหน่วง
(ส่วนรบหน่วงเวลา) และกองหนุน โดยที่กาลังส่วนใหญ่จะอยู่ที่ส่วนรั้งหน่วง
แบบพื้นฐานการถอนตัว คือ การถอนตัวภายใต้การกดดันของข้าศึก และการถอนตัวนอกความกดดัน
ของข้าศึก ปกติมักนิยมใช้การถอนตัวนอกความกดดันมากกว่า เพราะหากทาการถอนตัวภายใต้ความกดดัน
ก็จะตกอยู่ภายใต้การตรวจการณ์และการยิงของข้าศึก ซึ่งจะต้องชดเชยด้วยความคล่องแคล่วในการเคลื่อนที่
และอานาจการยิงระยะไกลของหน่วย การถอนตัวนอกความกดดันของข้าศึก จะต้องจัดหน่วยแยกทิ้งไว้ปะทะ
โดยมีภารกิจที่จะให้การระวังป้องกันในการถอนตัวของหน่วย และลวงข้าศึก โดยปกติรองผู้บังคับหน่วยจะเป็น
ผู้บังคับหน่วยแยกทิ้งไว้ปะทะ ส่วนการถอนตัวเมื่อข้าศึกกดดัน จะแบ่งกาลังเป็น ๒ ส่วน ได้แก่ ส่วนใหญ่ และ
ส่วนป้องกัน และต้องกาหนด มาตรการควบคุมในการถอนตัวผ่านที่มั่นข้างหลัง เช่น กาหนดจุดพบ, ตาบลผ่านแนว
, เส้นทางถอนตัว, เวลาผ่านแนว และสัญญาณบอกฝ่าย
๒ - ๑๒

ตอนที่ ๔
ทหารม้าในการปฏิบัติการยุทธ์แบบอื่น ๆ
การปฏิบัติการรบในป่าทึบ
ป่าทึบเป็นพื้น ที่บริเวณเขตร้อนมีพันธุ์ไ ม้ขึ้นรกทึบเป็ นส่วนใหญ่ อาจมีหุบเขาที่มีความสลับซับซ้อน
มี สั น เขาสู ง ชั น ตลอดจนที่ ลุ่ ม น้ าขั ง อยู่ ด้ ว ย ความรู้ เกี่ ย วกั บ ภู มิ ป ระเทศจึ ง นั บ ว่ า เป็ น สิ่ ง ส าคั ญ อย่ า งยิ่ ง
ผู้บังคับบัญชาหน่วยยานเกราะต้องพยายามหาข่าวสารที่มีความสัมพันธ์กับภูมิประเทศให้ได้ก่อนที่จะเริ่มทาการ
ออกลาดตระเวน ข่าวสารต่างๆ เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศประจาถิ่น ต้องทันสมัยและสมบูรณ์
ปัญหาต่างๆ ในการปฏิบัติการในป่ารกทึบจะลดลงได้ด้วยการทาให้เคยชินกับสภาพอากาศประจาถิ่น, การฝึก
และการวางแผนอย่างละเอียดถี่ถ้วน
ป่ารกทึบจะส่งผลกระทบต่อพื้นการยิง, การเคลื่อนที่ และการติดต่อสื่อสาร กับยังให้การกาบังซ่อนพราง
จากการตรวจการณ์ทั้งทางพื้นดินและทางอากาศทาให้การควบคุมกระทาได้ยาก การปฏิบัติการของหน่วยยานเกราะ
ในพื้นที่นี้จึงต้องมีกว้างด้านหน้าที่แคบกว่าปกติ และจะต้อ งลดระยะระหว่างยานรบ หรือทหารเป็นรายบุคคล
ให้ น้ อ ยลงด้ ว ย ส่ ว นการใช้ ก ารยิง สนั บ สนุ น นั้ น ก็ ก ระท าได้ อย่ า งจ ากั ด ในพื้ น ที่ ป่ ารกทึ บ มั ก ไม่ ค่ อ ยมี ถนน
หรือข่ายเส้นทางที่ดี การเคลื่อนที่ของหน่วยยานเกราะจะถูกจากัดด้วยป่าหญ้าสูงหรือป่าที่มีพันธุ์ไม้ขึ้นปกคลุม
อย่างไรก็ ตามยานเกราะก็สามารถที่จะเคลื่อนที่ผ่านภูมิประเทศที่ยากลาบากได้ เมื่อประสบปัญ หา
เกี่ยวกับพืชพันธุ์ไม้ในป่าควบคู่กับความลาดชันของพื้นที่ หรือพื้นที่ลุ่มน้าขัง ก็จาเป็นที่จะต้องให้ทหารลงทาการรบ
เดินดิน หรือการเลือกใช้เส้นทางที่เหมาะสมซึ่งจะมาได้จากการลาดตระเวนอย่างละเอียดรอบคอบ หน่วยยานเกราะ
จะต้องใช้ถนนและทางเดินต่างๆ ที่มีอยู่ และอาจต้องใช้การเคลื่อนที่แบบสลับขั้นเพื่อไม่ให้ถูกซุ่มโจมตี ซึ่งข้าศึก
อาจใช้ยานเกราะเข้าจู่โจมในทิศทางเข้ าตีที่ไ ม่คาดคิด มากกว่าการใช้ความเร็วในการเคลื่อนที่เข้าตี ดั งนั้ น
การปฏิบัติต่างๆ ที่ได้กล่าวมาจะสิ้นเปลืองเวลามาก และจะต้องวางแผนให้สอดคล้องกับเวลาที่ต้องสูญเสียไป
ระยะการติ ด ต่ อ สื่ อ สารด้ วยวิ ท ยุ จ ะลดลงเป็ น อย่ า งมาก ประสิ ท ธิภ าพของวิ ท ยุ จ ะขึ้ น อยู่ กั บ ที่ ตั้ ง
ของสถานี วิทยุ และสภาพภูมิ อากาศ การใช้อากาศยานช่ วยในการส่ง ต่ อทางวิทยุ จะได้ผ ลมาก และการใช้
การติดต่อสื่อสารทางสายจะได้ผลมากที่สุด ชุดทางสายต้องเคลื่อนที่ไปกับส่วนโจมตีเพื่อวางการติด ต่อสื่อสาร
มายังข้างหลัง กับต้องเพิ่มเติมด้วยการติดต่อด้วยพลนาสารเดินเท้า และทัศนสัญญาณที่มีการนัดหมายกันไว้
ล่วงหน้าให้มากขึ้น
ในการรบในป่ารกทึบจะกระทาด้วยหน่วยทหารราบหรือทหารม้าบรรทุกยานเกราะที่ทาการรบเดินดิน
สมทบด้วยหน่วยรถถังเพื่อช่วยลดอานาจการยิง จากอาวุธอัตโนมัติข้าศึก หมู่ตรวจต่างๆ ที่ทาการรบเดินดิน
ซึ่งต้องทาการลาดตระเวนเส้นหลักการรุก, อาวุธต่อสู้รถถัง และเครื่ องกีดขวางป้องกันรถถัง โดยรถถังทุกคั น
ต้องได้รับการคุ้มกันอย่างใกล้ชิดจากหน่วยที่ล งรบเดินดินทั้ง ทางปีกและด้านหลัง หน่วยที่ทาการรบเดินดิน
เมื่อเข้าปะทะกับข้าศึกจะใช้รถถังเป็นโล่กาบังตน ทาการตรวจการณ์หาที่ตั้งยิงของอาวุธข้าศึก หรือที่ตั้งข้าศึกได้
แล้ ว ใช้ ชุ ด รบที่ มี ร ถถั ง เข้ า ท าลายข้ า ศึ ก ในบางครั้ ง ผู้ บั ง คั บ รถถั ง จ าเป็ น ต้ อ งโผล่ อ อกมาจากป้ อ มปื น
เพื่ อ ท าการค้ น หาเป้ า หมาย และด ารงการสื่ อ สารกั บ รถถั ง คั น ข้ า งเคี ย งด้ ว ย แต่ ถ้ าภู มิ ป ระเทศไม่ อ านวย
ให้ ใช้ ร ถถั ง เข้ า ตะลุ ม บอนได้ รถถั ง ก็ อ าจให้ ก ารยิ ง สนั บ สนุ น ด้ ว ยการยิ ง ข้ า มศี ร ษะ หรื อ การยิ ง ทางปี ก
ของทหารฝ่ายเดียวกัน โดยอาจส่งผู้ตรวจการณ์หน้าของหน่วยรถถัง ร่วมไปกับหน่ วยรบเดินดิน เพื่อส่งคาขอ
การยิงสนับสนุน
การตั้ งรั บ ในป่ ารกทึ บ จะต้ อ งวางหน่ ว ยทหารบริ เวณขอบหน้ า ที่ มั่ น รบให้ มี ร ะยะเคี ย งของหน่ ว ย
และระหว่างหลุมบุคคลน้อยที่สุด ส่วนระวังป้องกันจะประกอบด้วยกาลังขนาดย่อมๆ ฝังตัวอยู่ออกไปข้างหน้า
๒ - ๑๓

ในระยะที่ สามารถตรวจการณ์ ข้ าศึกที่ เข้ามาได้ก่ อนที่ ข้ าศึ กจะเข้ามาสู่ ระยะยิง หวัง ผลของอาวุธต่อ สู้รถถั ง
ขนาดเบา บ่ อ ยครั้ งที่ ห น่ ว ยต่ า งๆ ต้ อ งปฏิ บั ติ ก ารโดดเดี่ ย วอยู่ ในภู มิ ป ระเทศป่ า รกทึ บ จึ ง จ าเป็ น ต้ อ งจั ด
ให้มีการระวังป้องกันรอบตัว และทาการวางกาลังตั้งรับแบบวงรอบให้เร็วที่สุด
ในการปฏิบัติการรบในพื้นที่ ป่ารกทึบนี้ หน่วยยานเกราะจะสามารถใช้มาตรการป้องกันภัยทางอากาศ
เชิงรับอย่างได้ผลสูงสุด ดังนั้นจึงสามารถลดจานวนหน่วยป้องกันภัยทางอากาศต่างๆ ที่มาสนับสนุนลงได้
การปฏิบัติการรบในพื้นทีป่ ่าภูเขา
พื้นที่เป็นภูเขาเป็นพื้นที่ที่มีความสูงมักมีการเปลี่ยนแปลงของลมฟ้าอากาศอย่างรุนแรง มีเส้นทางน้อย
และส่วนมากจะเป็นเส้นทางแคบและคดเคี้ยว ภูมิประเทศเป็นเนินสูงและลาดชันเป็นส่วนใหญ่ ลักษณะภูมิประเทศ
ทาให้ใช้ยานเกราะได้อย่างจากัด การสนับสนุนการส่งกาลังกระทาได้ยาก การติดต่อ สื่อสารเกิดปัญหายุ่งยาก
ลักษณะภูมิประเทศจะทาให้การติดต่อสื่อสารกระทาได้เพียงระยะใกล้ ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ชุดวิทยุประเภท
ปรุ ง คลื่ น ความถี่ (Frequency Modulation) อาจได้ รั บ ความกระทบกระเทื อ นจากที่ สู ง ซึ่ ง ขวางกั้ น
อยูร่ ะหว่างคู่สถานี ดังนั้นการรบในพื้นที่ภูเขาของหน่วยยานเกราะต้องมีการวางแผนอย่างรอบคอบ หาข่าวสาร
จากประชาชนในท้องถิ่นเกี่ยวกับเส้นทางและเครื่องกีดขวางที่ไม่ปรากฎในแผนที่ให้มากที่สุด
การเข้าตีของหน่วยยานเกราะในพื้นที่ภูเขาจะต้องมีการวางแผนในรายละเอียด หน่วยต่างๆ ต้องได้รับ
การบรรยายสรุปอย่างถี่ถ้วน ภูมิ ประเทศอาจอานวยให้ รถถังสนั บสนุน หน่วยรบเดินดิ นด้ วยการยิง เล็ง ตรง
จากระยะไกล ซึ่งต้องวางการติดต่อสื่อสารและประสานอย่างดียิ่ง ส่วนเข้าตีจะใช้เส้นทางตามแนวสันเขาหรือ
แนวภู มิ ป ระเทศอื่ น ๆ ที่ มี ค วามสู ง ซึ่ ง จะก่ อ ให้ เกิ ด การจู่ โ จมจากก าลั ง ส่ ว นเข้ า ตี ด้ ว ยเหตุ ที่ ก ารเข้ า ตี
ตามแนวพื้ น ที่ ต่ าขึ้ น ไปหาพื้ น ที่ สู ง เป็ น การปฏิ บั ติ ที่ มี ค วามเสี่ ย งสู ง ที่ ห น่ ว ยเข้ า ตี จ ะได้ รั บ การสู ญ เสี ย มาก
เพราะฝ่ายตั้งรับมีการตรวจการณ์ดีเยี่ยมอยู่บนที่สูง และสามารถใช้อาวุธและสามารถใช้อาวุธยิงขัดขวางได้
การปฏิบัติในพื้นที่ภูเขาต้องการการปฏิบัติง านของทหารช่ างมาก เพื่อที่จะนารถถั งเคลื่อนที่เข้ายึดที่สูง ซึ่ง
สามารถให้การสนับสนุนใกล้ชิดแก่การเข้าตีได้ และอาจจาเป็นต้องสร้างทางเดินเข้าจากพื้นที่ต่าไปยังฐานออกตี
แต่จะต้องไม่นายานเกราะขึ้น ไปยังส่วนหน้าจนเกินความจาเป็นเท่าที่จะใช้เพื่อการปฏิบัติโดยฉับพลัน เพราะ
การนายานเกราะขึ้นไปมากโดยไม่ได้ใช้เข้าทาการรบจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ถนนโดยไม่จาเป็น และอาจ
กี ด ขวางการจราจรของรถที่ ใช้ ในการส่ง ก าลั ง ได้ ถ้ า สามารถใช้ ย านเกราะเข้ าปฏิ บั ติ ก ารอย่ า งแตกหั ก ได้
ก็จะต้องใช้ยานเกราะปฏิบัติการเป็นกลุ่มก้อนภายใต้การสนับสนุนของปื นใหญ่สนาม และทหารช่างโดยใกล้ชิด
โดยปกติ ที่ ห มายของยานเกราะจะเป็ น ต าบลวิ ก ฤติ ต ามเส้ น ทางส่ ง ก าลั ง และเส้ น ทางถอนตั ว ของข้ า ศึ ก
การเข้ายึดที่หมายดังกล่าวก็เพื่อโดดเดี่ยวข้าศึกที่ตั้งรับอยู่ด้านหน้า
การตั้งรับและการร่นถอยของหน่วยยานเกราะในพื้นที่ภูเขาจะเป็นไปในลักษณะจากัด แต่ก็สามารถ
ประยุกต์ใช้ในการรบบนภูเขาได้ แต่อย่างไรก็ตามในพื้ นที่ที่สามารถกระทาได้ก็ต้องใช้รถถังให้เกิดประโยชน์
มากที่สุดในบทบาทของอาวุธต่อสู้รถถัง และการปฏิบัติการเชิงรุกในการตั้งรับ
๒ - ๑๔

การยุทธ์เคลื่อนที่ทางอากาศ, ส่งทางอากาศ
การยุ ทธ์ เคลื่อ นที่ท างอากาศเป็น การยุ ทธ์ที่ก ระทาควบคู่ ไปกั บการปฏิ บัติก ารยุท ธ์ ที่เป็ นหลัก เช่ น
การเข้าตีเพื่อเข้ายึดท่าข้ามตามแนวลาน้า หรือเพื่อช่วยเหลือในการเข้าแย่งยึดที่หมาย ดัง นั้นการยุทธ์ เคลื่อนที่
ทางอากาศจึ งจัดอยู่ในการปฏิบั ติก ารรบด้วยวิธีรุกเป็นส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตามการยุทธ์แบบนี้เป็นแบบหนึ่ง
ในการปฏิบัติการยุทธ์ตามการแบ่งมอบภารกิจ ซึ่งเป็นลักษณะการปฏิบัติร่วมไปกับการยุทธหลัก เช่น การเข้าตี,
การตั้งรับ และการร่นถอย สาหรับกองพลทหารม้าก็สามารถปฏิบัติการยุ ทธเคลื่อนที่ทางอากาศได้เมื่อได้รับ
การสนับสนุนหน่วยบินเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการเคลื่อนที่ และสร้างความอ่อนตัวในการปฏิบัติการยุทธ์
เคลื่อนที่ทางอากาศมิได้จากัดแก่หน่วยรบแบบใดโดยเฉพาะ หน่วยทหารม้าของกองพลทหารม้าก็มักจะมีส่วนร่วม
ในการยุทธเคลื่อนที่ทางอากาศ เพียงแต่ต้องมีการจัดยุทโธปกรณ์ให้เหมาะสมกับภารกิจ
ถึ งแม้ ในกองพลส่ ง ทางอากาศจะไม่ ก องพั น รถถั ง ในอั ต รา แต่ ก ารปฏิ บั ติ ก ารยุ ท ธ์ ส่ ง ทางอากาศ
ก็อาจจาเป็นต้องได้รับการสมทบด้วยยานเกราะให้ ยานรบที่จัดขึ้นไปสมทบอาจเป็นรถหุ้มเกราะ, ยานเกราะ
ขนาดเบาที่ติดอาวุธหนัก หรือรถลาดตระเวนโจมตีทางอากาศ ก็อาจใช้ปฏิบัติการยิงเพื่อช่วยสนับสนุนหน่วยส่ง
ทางอากาศที่ ลงรบเดินดิน ส่วนกองพั นรถถังที่ใช้รถถั ง หลักซึ่ง มีน้าหนักมากอาจจัดให้ขึ้นสมทบกองพลส่ง
ทางอากาศเพื่อเข้าปฏิบัติการจากทางภาคพื้นดิน ซึ่งการปฏิบัติดังกล่าวนั้นไม่จาเป็นต้องมีการขนย้ายทางอากาศ
การยุทธ์บรรจบ
การยุทธ์บรรจบมักเกิดขึ้นในการยุทธ์ส่งทางอากาศ, การยุทธ์สะเทินน้าสะเทินบก, การยุทธ์จากฝั่งสู่ฝั่ง,
การยุทธ์เคลื่อนที่ทางอากาศ, การปฏิบัติการแทรกซึมเพื่อทาการเข้าปลดปล่อยหน่วยที่ถูกตัดขาด, การหักฝ่าวงล้อม
ของหน่วยที่ถูกข้าศึกโอบล้อม หรือการเข้าตีเพื่อสนธิกาลังกับหน่วยปฏิบัติการรบแบบกองโจรของฝ่ายเดียวกัน
การวางแผนเพื่อเข้าบรรจบต้องกระทาล่วงหน้าและต้องทันต่อเวลา สิ่งที่มีความสาคัญยิ่งยวด คือ หน่วยต่างๆ
ที่เกี่ยวข้องต้องได้มีการแลกเปลี่ยนข่าวสารกันแต่เนิ่น และต้องดารงการแลกเปลี่ยนข่าวสารกันไว้ตลอดเวลา
ต้องใช้การประสานการควบคุมมากกว่าการรบด้วยวิธีรุกแบบอื่นๆ และออกข้อจากัดการปฏิบัติต่างๆ ระหว่างหน่วย
ที่เกี่ยวข้องอย่างแน่ชัด ในการบรรจบหน่วยเคลื่อนที่กับหน่วยอยู่กับที่ จะต้องประสานเรื่องจุดบรรจบบนพื้นดิน
เพื่อเป็นหลักประกันให้ได้ว่าหน่วยที่มาบรรจบจะไม่ปะทะกันเอง และควรมีจุดบรรจบสารองไว้ด้วย รวมทั้ง
กาหนดแนวประสานการยิงเพื่อป้องกันการสูญ เสียจากการยิง กันเอง ในการยุทธ์บรรจบนั้นหน่วยเคลื่อนที่
ต้องกาหนดเขตปฏิบัติการ, แนวประสานการยิง และจุดนัดพบ ป้องกันการผิดพลาดทั้งมวล
การตีโฉบฉวย
การเข้าตีโฉบฉวยเป็นการเข้าตีเพื่อให้บรรลุความมุ่งหมายที่กาหนดไว้ โดยเฉพาะในดินแดนของข้าศึก
โดยที่ไม่มุ่งหมายที่จะยึดรักษาภูมิประเทศ ตากปกติวัตถุประสงค์ของการตีโฉบฉวย คือ เพื่อจับเชลย, เพื่อแย่งยึด
หรือทาลายยุท ธภั ณ ฑ์ข องข้ าศึก , เพื่อ ให้ไ ด้มาซึ่ง ข่าวสารเกี่ ย วกับข้าศึก , เพื่อขัด ขวางแผนการปฏิบั ติต่างๆ
ของข้าศึก, เพื่อการลวงทางยุทธวิธี, เพื่อป้องกันข่าวสารของฝ่ายเรา, เพื่อสนับสนุนหรือประสานงานกับหน่วย
กาลังรบนอกแบบต่างๆ
หน่วยปฏิบัติการตีโฉบฉวยจะปฏิบัติการในลักษณะแยกการ โดยจะทาการถอนตัวภายหลังจากที่บรรลุ
ภารกิ จแล้ว โดยขั้ นตอนการถอนตั วนี้ เป็ นขั้ นตอนที่ย ากที่ สุดในการปฏิบั ติเว้นแต่ว่าจะมี ก ารวางแผนและ
การปฏิบัติอย่างรอบคอบ การระวังป้องกันถือว่าเป็นสิ่งสาคัญยิ่ง เนื่องจากหน่วยตีโฉบฉวยจะปฏิบัติการในพื้นที่
ของข้าศึก จึงเป็นจุดอ่อนต่อการที่จะถูกเข้าตีจากทุกทิศทุกทาง การวางแผนในการตีโฉบฉวยจะคล้ายคลึง
กับการเข้าตีในรูปแบบอื่นๆ แต่จะเน้นความสาคัญที่เรื่องของการจู่โจม และความเร็วในการปฏิบัติมากกว่า
๒ - ๑๕

การตี โฉบฉวยกระท าได้ ทั้ งการลงรบเดิ น ดิ น , การบรรทุ ก ด้ ว ยยานพาหนะ, การรบจากยานรบ,


การส่งทางอากาศหรือทางน้า หน่วยที่เหมาะสมในการปฏิบัติภารกิจตีโฉบฉวยควรเป็นหน่วยที่มีความคล่องแคล่ว
ในการเคลื่อนที่ การใช้หน่วยรถถังเป็นหลักในการประกอบกาลังถือว่าเป็น การจัดหน่วยตีโฉบฉวยในอุดมคติ
โดยการปฏิบัติการกวาดล้างด้วยรถถังนั้นถือเป็นการปฏิบัติการที่เหมาะสมตามอุดมคติด้วย
หน่วยเหนือ อาจเป็นผู้กาหนดให้ หรืออาจมอบหมายให้อยู่ในดุลยพิ นิจของผู้บัง คับหน่ วยตี โฉบฉวย
เป็ นผู้กาหนดที่หมายเอง โดยพิจารณาถึง ลักษณะที่หมายที่สามารถยึดได้ชั่วคราว และการตั้งรับของข้าศึก
เป็ นไปอย่ างเบาบาง ห้ วงเวลาการปฏิบั ติ การตีโฉบฉวยที่ เหมาะสมคื อ หน่ วยจะสามารถเข้า ถึง ที่ ห มายได้
ในช่ ว งแสงทอง หรือ ในช่ ว งสิ้ น แสง หรื อ ในสภาพการณ์ อื่ น ๆ ที่ ทั ศนวิสั ย ไม่ ดี เพื่ อ จ ากั ด การตรวจการณ์
ของข้าศึกแต่ก็ยังมีแสงสว่างเพียงพอสาหรับการรบในระยะประชิด
การกวาดล้างด้วยรถถัง
การกวาดล้างด้วยรถถังกระทาเพื่อโจมตีอย่างรวดเร็วและรุนแรงต่อกาลังรบของข้าศึ ก เพื่อก่อให้เกิด
การสูญเสียอย่างมากที่สุดต่อฝ่ายข้าศึก ทหารม้าบรรทุกยานเกราะที่มาสมทบจะใช้สาหรับควบคุมและส่งกลับ
เชลยศึก หรือเพื่ อทาลายยุท ธภัณ ฑ์ ในระหว่างการกวาดล้าง การกวาดล้างด้วยรถถั ง ใช้การวางแผนโจมตี
จากยานพาหนะเพื่อทะลุทะลวงต่อดินแดนภายใต้การควบคุมของข้าศึก ข้อแตกต่างจากการเข้าตีรูปแบบอื่น ๆ
คื อ การกวาดล้ า งด้ ว ยรถถั ง จะไม่ เข้ า ยึ ด ครองที่ ห มาย จะกวาดล้ างผ่ านข้ าศึ ก ไปแล้ วกลั บ เข้ ามายั งที่ มั่ น
ของฝ่ ายเดี ยวกั นด้ วยการเคลื่ อนที่ เที่ ยวเดี ยว โดยต้ อ งหาข่ า วสารของข้ า ศึ ก ในพื้ น ที่ อั น ตรายให้ น้ อ ยที่ สุ ด
การกลับ เข้าสู่ที่มั่ นของฝ่ายเดียวกันเป็นงานที่ยากลาบากของการกวาดล้างด้วยรถถัง จะต้องมีการควบคุม
และประสานกันอย่างใกล้ชิด เพื่อพิสูจน์ฝ่าย และป้องกันอันตรายจากการยิงต่อหน่วยทหารฝ่ายเดียวกัน
การกวาดล้างด้วยรถถังจะใช้รูปขบวนที่อานวยให้สามารถให้อานาจการยิงที่หนาแน่นไปในทิศทาง
การกวาดล้ า งได้ อ ย่ า งรวดเร็ว หลี ก เลี่ ย งการเปลี่ ย นรู ป ขบวนใดๆ ที่ จ ะท าให้ ส่ ว นใดส่ ว นหนึ่ ง ของหน่ ว ย
ต้องหยุดชะงักการเคลื่อนที่ โดยการปฏิ บัติต้องก่อให้ เกิดการสูญ เสียแก่หน่วยทหารและที่ตั้งทางการทหาร
ของข้าศึกให้มากที่สุด หน่วยต่างๆ จะต้องพยายามเคลื่อนที่และทาการยิงตลอดเวลาไปยังที่หมาย ต้องทาการยิง
ต่อรถถังหรือยานเกราะข้าศึกด้วยกระสุนชนิดที่ทาลายเกราะอย่างเหมาะสม เช่น รถยนต์บรรทุกเบา, ที่บังคับการ
และสิ่งอุ ปกรณ์ ต่างๆ จะต้องทาลายด้วยปืน กลหรือยิง ด้วยกระสุนระเบิ ดแรงสูง ส่วนหน่วยทหารราบหรือ
พลประจาอาวุธที่เปิดเผยตัวนอกที่กาบังจะต้องทาการยิงด้วยปืนกลและเข้าบดขยี้โดยสิ้นเชิง การสนธิการยิง
อย่างหนาแน่นเข้ากับการดาเนินกลยุทธ์อย่างรวดเร็วดังกล่าวจะก่อให้เกิดอานาจการทาลายและข่มขวัญ
การกวาดล้างด้วยรถถังจะต้ องจัดให้ มีการสนับ สนุนการรบ ณ ที่ ที่มีความจาเป็น การยิง สนับสนุ น
ในการกวาดล้างด้ว ยรถถังต้องวางแผนการยิง เล็งจาลองไปยังพื้นที่หรือตามแนวทางปีกทั้ง สองข้างของพื้ นที่
ที่จะเข้ากวาดล้าง ถ้าสภาพอากาศเปิดก็อาจวางแผนใช้ควันเพื่อสร้างความสับสนให้แก่ข้าศึก และเพื่อช่วยซ่อนพราง
กาลังของหน่วยที่เข้ากวาดล้าง ส่วนทหารช่างที่ไ ปขึ้นสมทบจะทาลายเครื่องปิดกั้นถนน หรือการเจาะช่อง
ในสนามทุ่ น ระเบิด อย่างรวดเร็ว การวางแผนการสนั บ สนุ น ต่างๆ ต้อ งกระท าอย่ างรอบคอบ และจะต้ อ ง
มีการประสานอย่างใกล้ชิดเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้การกวาดล้างต้องล่าช้าลง
การกลับ เข้าที่ มั่นของฝ่ายเดียวกันหลังจากเสร็จสิ้นการปฏิ บั ติการกวาดล้างด้ วยรถถังเป็ นขั้นตอน
ที่วิกฤตยิ่งอีกขั้นตอนหนึ่ง ในขณะที่หน่วยปฏิบัติการกวางล้างเคลื่อนที่เข้าประชิดกับที่มั่นของฝ่ายเดียวกันนั้น
จ าเป็ น ต้ อ งมี ก ารควบคุ ม และการประสานงานกั น อย่ า งใกล้ ชิ ด เพื่ อ ท าการพิ สู จ น์ ฝ่ า ยของหน่ ว ยนั้ น ๆ
เพื่อหลีกเลี่ยงการกีดขวาง และเพื่อป้องกันการยิงฝ่ายเดียงกันเอง
๒ - ๑๖

การยุทธ์ ณ ช่องทางผ่านบังคับ
เมื่อต้องปฏิบัติการผ่านช่องทางบังคับ ผบ.หน่วย และฝ่ายอานวยการจะต้องระมัดระวัง มิให้หน่วยทหาร
เกิดการคับคั่ง ณ ช่องทางผ่านบังคับ ต้องมีการควบคุมการจราจรอย่างเหนียวแน่น ต้องเลือกพื้นที่กระจายกาลัง
ทั้ ง อาวุ ธ ยุ ท โธปกรณ์ แ ละก าลั ง พล ต้ อ งวางแผนให้ ส ามารถผ่ า น ช่ อ งทางบั ง คั บ โดยใช้ เ วลาน้ อ ยที่ สุ ด
โดยมีก ารระวังป้ อ งกั น ทั้งสองปี กของช่อ งทางบั ง คับ ใช้ห น่ วยป้ อ งกั น ภัย ทางอากาศเพื่ อป้ อ งกั น การโจมตี
ทางอากาศข้ า ศึ ก บริ เวณช่ อ งทางบั ง คั บ หน่ วยทหารม้ าอากาศและอากาศยานในอั ต ราหรือ มาขึ้ น สมทบ
จะท าการลาดตระเวนเฝ้ าตรวจพื้ น ที่ วิก ฤต และขนส่ ง ส่ ว นปฏิ บั ติ ก ารขนาดเบาเพื่ อ แย่ง ยึ ด พื้ น ที่ ดัง กล่ า ว
จากทางอากาศ มาตรการควบคุ ม ที่ จ าเป็ น ส าหรั บ น าหน่ วยผ่ านช่ อ งทางบั ง คั บ คื อ การก าหนดขอบเขต
ของพื้ น ที่เป้าหมาย, ก าหนด จนท.ประสานงาน ณ เขตพื้ น ที่เป้า หมายในช่อ งทางบั ง คับ , ก าหนดเส้น ทาง
และเส้นทางสารอง, กาหนดจุดควบคุมการจราจร, เลือกและจัดพื้นที่รอคอยที่มีการกระจายกาลังเป็นอย่างดี,
เลือกและจัดตั้งที่พักรวมยุทโธปกรณ์ขนาดเล็กที่มีการพรางอย่างดี
ในการรบด้วยวิธีรุกที่ต้องผ่านช่องทางบังคับ จะใช้หน่วยทหารม้าลาดตระเวนและหน่วยทหารม้าอากาศ
เคลื่อนที่นากาลังส่วนใหญ่ ทาการลาดตระเวนสารวจพื้นที่โดยรอบให้ละเอียดจนประกันได้ว่าพื้นที่ที่อยู่ถัดไป
จากช่ อ งทางบั ง คั บ ปลอดภั ย แล้ ว หน่ วยทหารม้ าลาดตระเวนจะท าการส่ ง รถถั ง และยานเกราะเคลื่ อ นที่
ผ่านช่องทางดังกล่าว แล้วจัดการระวังป้องกันพื้นที่ดาเนินกลยุทธ์เพื่ออานวยให้กาลังส่วนใหญ่สามารถเคลื่อนที่
ผ่านช่ อ งทางบั งคั บ นั้ น ได้อ ย่ างรวดเร็วโดยไม่ ถูก ขั ด ขวาง แต่ ถ้าพื้ น ที่ นั้ น มีก ารตั้ ง รั บ จากข้ าศึ กอยู่ ก็จ าเป็ น
ที่ต้องเข้าแย่งยึดพื้นที่นั้นเสียก่อน

การยุทธ์ในที่มั่นดัดแปลงแข็งแรง
การเข้ า ตี ที่ มั่ น ดั ด แปลงแข็ ง แรงหรื อ พื้ น ที่ ที่ เป็ น ป้ อ มค่ า ยนี้ กระท าโดยจั ด ก าลั ง รบผสมเหล่ า
ซึ่งประกอบด้วย รถถัง, ทหารราบหรือทหารม้าบรรทุกยานเกราะ, ปืนใหญ่สนาม, ทหารช่าง, ทหารม้าอากาศ
และก าลั ง ทางอากาศยุ ท ธวิ ธี ในการนี้ อ าจต้ อ งใช้ ยุ ท โธปกรณ์ ต ลอดจนกระสุ น แบบพิ เศษในการเข้ า ตี
ต่อที่มั่นดัดแปลงแข็งแรงก่อนที่จะใช้กาลังส่วนใหญ่เข้าปฏิบัติในที่มั่นดัดแปลงแข็งแรงต้องใช้หน่วยลาดตระเวน
หาข่าวสารเกี่ยวกับที่ตั้งเครื่องกีดขวางต่างๆ เช่น สนามทุ่นระเบิด, ลวดหนาม, คูสนาม, รายละเอียดเกี่ยวกับ
ป้อ มสนาม, ความหนาแน่ นของคอนกรีต, ตาแหน่ งและชนิด อาวุธ, เส้ น ทางที่ ปกปิด กาบั ง ที่จ ะเข้าประชิ ด
ที่หมาย, ที่ตั้งยิงต่างๆ ซึ่งสามารถให้ทาการยิงเล็งตรงเพื่อสนับสนุนหน่วยบุกโจมตี
โดยปกติจะประกอบกาลังหน่วยขนาดหมวดทหารม้ายานเกราะหรือทหารราบเป็นหลัก โดยมีรถถัง
ให้การสนับสนุน เข้าปฏิบัติการโดยรถถังจะสนับสนุนด้วยการยิงเล็งตรงให้กับชุดปฏิบัติการโดยทาการยิงเข้าไป
ยัง ที่ห มายที่เปิด อยู่ แล้ว พยายามท าลายป้อ มสนามนั้น โดยปกติรถถั ง จะเคลื่อ นที่ ตามชุด ปฏิ บั ติการเข้าไป
อย่างกระชั้น ชิดพอที่จะให้ การสนั บสนุนโดยตรงได้ตลอดเวลา ส่วนรถถังที่ไ ม่ไ ด้เข้าสมทบกับชุดปฏิ บัติการ
อาจให้การยิงสนับสนุนด้วยการยิงเพิ่มเติมได้จาดที่ตั้งยิงที่มีการกาบังตัวรถ อาจใช้ควันเพื่อกาบังการเคลื่อนที่
ของหน่วยการโจมตีต่อป้อมสนาม
การดาเนินการเข้าตีป้อมสนามจะเริ่มขึ้นด้วยการยิงปืนใหญ่อย่างหนาแน่นรุนแรง และด้วยการวางฉากควัน
การระดมยิงทางอากาศและการระดมทิ้งระเบิดต่อป้อมสนามก็นับว่าเป็นสิ่งที่พึงประสงค์ ในระหว่างการยิงปืนใหญ่
ท าการกวาดทุ่ น ระเบิ ด สั ง หารตามเส้ น ทางต่ า งๆ และอาจใช้ ร ะเบิ ด งู เพื่ อ กวาดล้ า งทุ่ น ระเบิ ด ดั ก รถถั ง
หรื อ เปิ ด ช่ อ งทาง เมื่ อ เส้ น ทางปลอดภั ย แล้ ว ชุ ด ปฏิ บั ติ ก ารบุ ก โจมตี จ ะเคลื่ อ นที่ ขึ้ น ไปอย่ า งรวดเร็ ว ที่ สุ ด
เท่าที่ จะกระท าได้ ในระหว่างการกวาดล้างข้าศึก รถถัง ต้องเตรียมการที่จะทาการยิง ไปยัง เส้นทางที่ข้าศึ ก
น่ า จะใช้ เข้ า ตี โต้ ต อบ เมื่ อ รถถั ง ให้ ก ารสนั บ สนุ น ด้ ว ยการยิ ง เรี ย บร้ อ ยแล้ ว จะต้ อ งเคลื่ อ นที่ ไ ปข้ า งหน้ า
๒ - ๑๗

เพื่อให้การช่วยเหลือชุดปฏิบัติการที่ยังสดชื่น ทาการเคลื่อนที่ไปข้างหน้าด้วยความรวดเร็วเพื่อปฏิบัติการเข้าตี
ต่อไปโดยไม่ชักช้า และอาจต้องทาการเจาะช่องที่เปิดได้ให้ลึกเข้าไปและกว้างขึ้นต่อไป
ในการการป้ อ งกั น ที่ มั่ น ดั ด แปลงแข็ ง แรง ตามปกติ แ ล้ ว จะจั ด รถถั ง เป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ของกองหนุ น
เพื่อใช้ในการตีโต้ตอบ อย่างไรก็ตามเมื่อปรากฏว่ามียานเกราะข้าศึกเข้าประชิดที่มั่นเป็นจานวนมากก็อาจใช้รถถัง
ขึ้นสมทบกับหน่วยที่ตั้งรับในที่มั่นในแนวหน้า เพื่อให้กาบังเส้นทางเคลื่อนที่เข้าประชิดที่มั่นจากฝ่ายข้าศึก
การยุทธ์ในพืน้ ที่สิ่งก่อสร้างถาวร
การยุทธ์ในพื้นที่ที่มีสิ่งก่อสร้าง มีลักษณะเป็นการสู้รบจากอาคารสู่อาคาร โดยปกติหน่วยยานเกราะ
จะพยายามอ้อมผ่านบริเวณที่มีสิ่งก่อสร้าง เนื่องจากทัศนวิสัยจากัด, พื้นที่ยิงจากัด, มีพื้นที่ดาเนินกลยุทธจากัด
และการควบคุมและประสานงานทาได้ยาก จึงไม่เหมาะแก่การใช้ยานเกราะเข้าปฏิบัติการในพื้นที่ดัง กล่าว
หากมีความจาเป็นต้องปฏิบัติการในบริเวณสิ่ง ก่อสร้างจะต้องพิจารณาถึง ลักษณะที่เป็นอยู่ของสิ่ง แวดล้อม
ที่ผลกระทบต่อการปฏิบัติการ
การตั้งรับในพื้นที่สิ่งก่อสร้างนั้นสามารถที่จะยับยั้งฝ่ ายเข้าตีที่มีกาลังเหนือกว่าเอาไว้ได้เป็นเวลานาน
ตัวเมื องที่ มีการก่ อสร้างแข็ งแรงย่อ มอานวยให้ฝ่ ายตั้ง รับ ได้ เปรียบฝ่ายเข้ าตี ฝ่ ายตั้ง รับ สามารถเลือ กพื้ น ที่
ที่ให้การตรวจการณ์และการยิงที่ดี อาคารและสิ่งก่อสร้างช่วยในการกาบังและซ่อนพรางของฝ่ายตั้งรับ ฝ่ายเข้าตี
จะถูกจากัดในเรื่องการใช้อาวุธยิงเล็งจาลองเนื่องจากจากัดต่อการตรวจการณ์และมี หน่วยของตนเองอยู่ใกล้
กับเป้าหมาย ส่วนการยิงเล็งตรงฝ่ายเข้าตีก็จะถูกจากัดด้วยพื้นการยิง อาคารแต่ละหลังหรือกลุ่มอาคารแต่ละกลุ่ม
จะเป็ น จุ ด ต้ า นทานอั น ทรงประสิ ท ธิ ภ าพ และด้ ว ยการก่ อ สร้ า งเพิ่ ม เติ ม ด้ ว ยการใช้ เครื่ อ งปิ ด กั น ถนน,
วางกับระเบิดในพื้ นที่ต่างๆ ในอาคาร และด้วยวิธีการอื่น ๆ ที่ฝ่ายตั้ง รับมี อยู่ก็จะทาให้อาคารที่เลือกไว้ แล้ว
กลายเป็นป้อมปราการอันทรงอานุภาพ
การเข้าตีที่หมายในพื้นที่สิ่งก่ อสร้าง ฝ่ายเข้าตีจะได้เปรียบในการดาเนินกลยุทธด้วยการตัดตัวเมือง
ให้ อ ยุ่ โดดเดี่ ย ว สามารถท าการกดดั น การเข้ าตี ห รือ จะปิ ด ล้ อ มบี บ บั ง คั บ ฝ่ ายตั้ ง รั บ ให้ ต้ อ งยอมจ านนก็ ไ ด้
ทันทีที่ตัวเมืองถูกตัดขาดเรียบร้อยแล้ว ฝ่ายเข้าตีอาจกระทาจากทิศทางใดทิศทางหนึ่งหรือจากหลายทิศทางก็ได้
ฝ่ายเข้าตีย่อมจะสามารถเลือกที่จะอ้อมผ่านอาคารที่มีการตั้งรับอย่างหนาแน่นได้
การจัดกาลังในการเข้าตียึดเมืองอาจประกอบด้วย กาลังส่วนบุกเข้าโจมตีโดยตรง ซึ่ง ประกอบด้วย
ทหารม้าบรรทุกยานเกราะหรือทหารราบเป็นหลัก กับกาลังส่วนโอบล้อมที่ประกอบด้วยรถถังเป็นหลัก ภารกิจ
ที่ควรมอบแก่รถถังคือการใช้อาวุธถังยิงตัดรอนที่มั่นข้าศึก, ทาลายล้างจุดต้านทานข้าศึกด้วยอาวุธและกระสุน
ที่เหมาะสม, ทาลายเครื่องปิดกั้นถนน, เปิดทางเข้าไปในอาคาร และทาลายเป้าหมายตามที่ร้องขอ โดยกาลัง
ทั้งสองส่วนนี้จะได้รับการยิงสนับสนุนที่มีการประสานงานกัน กาลังส่วนโอบล้อมจะทาหน้าที่ป้องกันมิให้ข้าศึ ก
หลบหนี, ป้องกันการเข้าเพิ่มเติมกาลังในตัวเมือง, ให้การสนับสนุนการยิงเล็งตรงแต่ส่วนกาลังบุกโจมตีโดยตรง
และป้องกันส่วนกาลังบุกโจมตีโดยตรงถูกตีโต้ตอบ โดยมีการดาเนินการเข้าตีดังนี้
ขั้นที่ ๑ ตัดเมืองใหญ่ให้โดดเดี่ยว แล้วเข้ายึดภูมิประเทศที่สามารถข่มเส้นทางต่างๆ ที่เข้าสู่ตัวเมืองได้
ฝ่ายเข้าตีจะจัดการระวังป้องกันที่มั่นต่างๆ ที่อยู่ด้านนอกของพื้นที่สิ่งก่อสร้างที่ใช้ในการสนับสนุนการเข้าสู่ตัวเมือง
ของฝ่ายตน สาหรับขั้นตอนนี้ไม่แตกต่างจากเทคนิคที่ใช้ในการเข้าตีต่อที่มั่นที่มีการจัดเตรียมเป็นอย่างดีของข้าศึก
ขั้นที่ ๒ การรุกคืบ หน้าสู่ชานเมือง และการแย่ง ยึดฐานปฏิบัติ การ โดยฐานปฏิบัติก ารนี้ ควรจากั ด
การตรวจการณ์ทางพื้น ดินและการยิงเล็งตรงจากฝ่ายตั้งรับ ฝ่ายเข้าตีจะใช้ฐานปฏิบัติการดังกล่าวในการจัด
ระเบียบใหม่, แยกการควบคุมออกเป็นแบบแยกการ, จัดวางอาวุธยิงสนับสนุนไว้ ตามที่ตั้งยิงต่างๆ การเข้าตี
เจาะในขั้นแรกจะกระทาด้วยกว้างด้านหน้าแคบๆ โดยมีรถถังเคลื่อนที่นา กับจะต้องมีการรวมอานาจการยิง
สนับสนุนทั้งปวงที่มีอยู่เข้าสู่ตาบลที่มุ่งเข้าสู่ตัวเมือง โอกาสที่จะประสบความสาเร็จจะมากขึ้นถ้าการบุกโจมตี
กระทาจากทิศทางที่ข้าศึก ไม่ได้คาดคิด เวลาในการเริ่มรุกคืบที่เหมาะสมได้แก่ช่วงเช้ามืดก่อนเริ่มแสง หรื อ
ในห้วงเวลาอื่นๆ ที่ทัศนวิสัยจากัด หรือภายใต้การกาบังของควัน ควรยิงกระสุนชนวนแตกอากาศไปเหนือตาบล
๒ - ๑๘

ที่เลือกเป็นเส้นทางเข้าสู่เมืองเพื่อป้องกันไม่ให้ข้าศึกจัดวางอาวุธต่อสู้รถถังได้ โดยในการเคลื่อนที่เข้าสู่เมืองนั้น
ทหารยังคงอยู่บนยานยนต์และให้เคลื่อนที่เข้า ใกล้ที่หมายให้มากที่สุดเท่าที่จะสามารถกระทาได้ แต่การเข้าตี
ที่ มี ก ารตั้ ง รั บ เหนี ย วแน่ น ทหารจะต้ อ งท าการลงรบเดิ น ดิ น เพื่ อ ช่ ว ยในการเข้ า ป ระชิ ด การตั้ ง รั บ
และให้การคุ้มครองอย่างใกล้ชิดแก่รถถัง รถถังก็จะให้การสนับสนุนด้วยการยิงโดยเคลื่อนที่ไปข้างหน้าโดยเร็ว
ส าหรั บ รถสายพานล าเลี ย งหุ้ ม เกราะจะต้ อ งเคลื่ อ นที่ ติ ด ตามไปในระยะกระชั้ น ชิ ด โดยอยู่ ห ลั ง รถถั ง
และชุดรบเดินดิน เพื่อช่วยเพิ่มการยิงโดยใช่อานาจการยิงจากปืนกลบนรถสายพาน หรือช่วยกาบังพื้นที่วิกฤติ
ทางปีกทั้งสองข้างของกาลังบุกโจมตี
ขั้ น ที่ ๓ ท าการกวาดล้ า งพื้ น ที่ วิ ก ฤติ แ ละอาคารต่ า งๆ โดยถ้ า พื้ น ที่ สิ่ ง ก่ อ สร้ า งมี ข นาดใหญ่ แ ละ
มีการดัดแปลงที่มั่นอย่างแข็งแรง หรือเมื่อได้รับคาสั่งให้กวาดล้างข้าศึกออกไปอย่างสิ้นเชิง จะทาการกวาดล้าง
จากบ้านหลังหนึ่งไปสู่อีกหลั งหนึ่ง และจากตึกหนึ่งไปยังอีกตึกหนึ่ง อย่างระเอียดโดยไม่ปล่อยให้ข้าศึกตกค้าง
อยู่ด้านหลัง แต่เมื่อพื้นที่สิ่งก่อสร้างมีขนาดเล็กและมีการต้านทานเบาบาง หน่วยโจมตีจะเคลื่อนที่ผ่านเข้าสู่ตัวเมือง
โดยเร็วที่สุดโดยมีรถถังเป็นส่วนเคลื่อนที่น า อาวุธอัตโนมัติของรถถัง และบนรถสายพานลาเลียงพลจะต้อง
รวมอานาจการยิงเข้าสู่หน้าต่างอาคารและยอดหลังคาของอาคารต่างๆ ทหารจะอยู่บนรถสายพานลาเลียงพล
หรือ ยานพาหนะจนกว่าจะถู กบี บบั งคับ ให้ ท าการลงรบเดิน ดิน เพื่ อท าการคุ้ มกั น รถถั ง จากอาวุธต่อ สู้รถถั ง
และอาวุธประจากายข้าศึก, ช่วยรื้อถอนเครื่องกีดขวางหรือเครื่องปิดกั้นถนนที่ทาให้การรุกคืบหน้าของรถถัง
ต้องหยุดชะงัก
สาหรับการยิงสนับสนุนจะมีประสิทธิภาพลดลง เนื่องจากในการตรวจการณ์กระทาได้อย่างจากัด และ
การอยู่ใกล้เคียงกันของหน่วยทหารฝ่ายเดียวกันกับฝ่ายข้าศึก ในการปฏิบัตินี้ทั้งปืนใหญ่และเครื่องยิงลูกระเบิด
ควรท าการยิ ง ด้ ว ยมุ ม ยิ ง สู ง เพื่ อ ให้ ส ามารถยิ ง ข้ า มอาคารสู ง ชนวนระเบิ ด จะมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพต่ อ ข้ า ศึ ก
ที่ อ ยู่ บ นหลั ง คาอาคารหรื อ อยู่ ห ลั งเครื่ อ งกี ด ขวางบนถนน, ยิ ง ท าฉากควั น เพื่ อ ก าบั ง การรุ ก คื บ หน้ า ของ
กาลัง บุกโจมตีในที่โล่ง ส่วนการยิงด้วยชนวนเวลาจะอานวยให้สามารถเจาะเข้าไปทาลายข้าศึกซึ่งอยู่ภายใน
ตัวอาคารได้ และอาจใช้ปืนใหญ่ อัตราจรทาการยิงด้วยการยิงเล็ งตรงเพื่ อสนับสนุนการเข้าตี แต่ก็ ล่อแหลม
ต่ออันตรายที่เกิดจากอาวุธต่อสู้รถถังข้าศึก
การยุทธ์สะเทินน้าสะเทินบก
หน่วยยานเกราะในการยุทธ์ สะเทินน้าสะเทินบกนั้น เนื่องจากกองพลทหารม้ามี ยานพานหนะและ
ยุ ท โธปกรณ์ ที่ มี น้ าหนั ก มาก ส่ ว นมากจะไม่ ใช้ ใ นขั้ น การโจมตี ส ะเทิ น น้ า สะเทิ น บก แต่ อ ย่ า งไรก็ ต าม
ในสถานการณ์ที่แน่ชัดบางสถานการณ์ การยกพลขึ้นบกแต่เนิ่นของหน่วยยานเกราะ (กองพลน้อย กรม หรือ
หน่วยที่เล็กกว่ากรมลงมา) ก็อาจเป็นสิ่งพึงประสงค์ เพื่อให้ทาการยุทธ์บรรจบกับหน่วยส่ง ทางอากาศหรือ
หน่วยปฏิบัติการยุทธเคลื่อนที่ทางอากาศ หรือ เพื่อให้เข้าแย่งยึดภูมิประเทศสาคัญที่สามารถข่มบริเวณยกพล
ขึ้นบกในทันทีที่สามารถขึ้นสู่ฝั่งได้ การใช้หน่วยยานเกราะทางยุทธวิธีก็คงเช่นเดียวกับการสงครามทางบก
ในการยุทธสะเทินน้าสะเทินบกขนาดใหญ่ หัวหาดอาจได้รับการระวังป้องกันโดยทหารราบจากนั้นก็อาจส่งกองพล
ยานเกราะให้ยกพลขึ้นบกเพื่อเพิ่มพูนอานาจการยิง, ความคล่องแคล่วในการเคลื่อนที่ และอานาจการทาลาย
และข่มขวัญให้แก่หัวหาดในการปฏิบัติการยุทธขั้นต่อไป ในขั้นการนายานเกราะเข้าสู่ฝั่งภายใต้สภาพการณ์ต่างๆ
ในการยกพลขึ้นบก อาจบังคับให้ต้องข้ามแนวหินโสโครก, ที่ราบน้าท่วม หรือพื้นที่อื่นๆ ซึ่งอาจทาให้ยานเกราะ
เกยติดค้ายอยู่ หรือทาให้เครื่องยนต์ดับเพราะจมน้า ในการนี้หน่วยยานเกราะจาเป็นต้องได้รับการนาทางอ้อม
ผ่านพื้นที่เหล่านั้น หรือหลังจากที่ลงจากเรือแล้วก็อาจใช้รถสะเทินน้าสะเทินบกนาทางขึ้นสู่ฝั่ง, ใช้พลประจารถ
เดินนาทาง หรือให้เจ้าหน้าที่ลาดตระเวนทาสัญลักษณ์เครื่องหมายต่างๆ ตามช่องทางเข้าสู่ฝั่ง หน่วยทหารม้า
ลาดตระเวนและหน่วยทหารม้าอากาศอาจใช้ในภารกิจลาดตระเวนและระวังป้องกัน ทั้งก่อนหน้า, ในระหว่าง
หรือภายหลังจากการโจมตียกพลขึ้นบก
๒ - ๑๙

การยุทธ์ข้ามลาน้า
การยุทธ์ข้ามลาน้ามีข้อแตกต่างจากการดาเนิ นกลยุทธ์ภาคพื้นดินในรูปแบบอื่น ๆ อยู่หลายประการ
เช่น ต้องการยุทโธปกรณ์แบบพิเศษและเจ้าหน้าที่ที่ต้องฝึกฝนพิเศษมากกว่า, การบังคับบัญชาและควบคุมหน่วย
กระทาได้ยาก, ความสามารถในการดาเนินกลยุทธและยิงสนับสนุนถูกจากัด, เมื่อบุกข้ามแล้วจะทาการถอนตัว
หรือปฏิบัตินอกแผนที่ วางไว้กระทาได้ยาก และเป็นการปฏิบัติที่ ล่อ แหลมต่อการโจมตีท างอากาศมากกว่า
การดาเนินกลยุทธในรูปแบบอื่น
การข้ามลาน้าจะต้องใช้เครื่องมือข้ามทั้งมวลที่มีอยู่เพื่อส่งข้ามกาลังทหาร, ยุทโธปกรณ์ และยานรบต่างๆ
ไปให้ได้มากที่สุดในเวลาที่น้อยที่สุด เครื่องมือข้ามที่อยู่ในอัตราของหน่วยยานเกราะได้แก่ รถสายพานลาเลียงพล,
รถเกราะ, รถลาดตระเวน หรือ ยานพาหนะอื่น ๆ ที่ มีขี ด ความสามารถในการลอยตั วและขั บ เคลื่อ นในน้ า
รวมทั้งรถถังหลักที่ติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมขีดความสามารถในการลุยน้าลึก ทั้งนี้ทหารช่างที่มาให้การสนับสนุน
ก็สามารถเพิ่มเติมเครื่องมือในการข้ามลาน้าได้อีกด้วย เช่น แพส่งข้าม สะพาน หรือเรือในการส่งข้าม ตลอดจน
ยานสะเทินน้าสะเทินบก และอากาศยานลาเลียงก็อาจใช้เพิ่มขีดความสามารถในการส่งข้ามให้สูงยิ่งขึ้น
การข้ามลาน้าเร่งด่วน เป็นการข้ามลาน้าโดยการใช้เครื่องมือข้ามลาน้าที่มีอยู่ หรือแสวงหาได้ทันที
โดยไม่ เ สี ย เวลาหยุ ด ณ แนวล าน้ า ถึ ง แม้ จ ะใช้ ค าว่ า การข้ า มล าน้ าเร่ ง ด่ ว น แต่ ก็ เ ป็ น การปฏิ บั ติ ที่ ไ ด้
มี ก ารเตรี ย มการไว้ ล่ ว งหน้ า เพื่ อ ด ารงความต่ อ เนื่ อ งในการเข้ า ตี การข้ า มล าน้ าประเภทนี้ เป็ น การข้ า ม
ที่พึงประสงค์อย่างยิ่งของหน่วยยานเกราะ โดยสามารถกระทาได้ในสถานการณ์ที่มีข้าศึกต้านทานเบาบาง
หรือไม่มี การวางกาลังตั้ งรบไว้ และลาน้าที่จ ะข้ามไม่เป็ นอุป สรรคที่สาคัญ หน่ วยยานเกราะต้องทาการรุก
อย่างรวดเร็วเข้าสู่แนวล าน้ า แล้วทาการข้ามลาน้าอย่างเร่ง ด่วนเพื่อไม่ให้ สูญ เสียแรงปะทะ ณ แนวล าน้ า,
มีความเร็วและความคล่องตัว, มีการจู่โจม, มีการรวมกาลัง หน่วยเป็นกลุ่มก้อนให้น้อยที่สุด, ใช้การควบคุม
การปฏิบัติหน่วยย่อยต่างๆ แบบแยกการ
การข้ า มล าน้ าประณี ต เป็ น การข้ า มล าน้ าที่ จ าเป็ น ต้ อ งมี ก ารวางแผน , การเตรี ย มการและ
การประสานงานอย่างละเอียดต้องมีการลาดตระเวนและประเมินค่าข่าวสารอย่างถี่ถ้วนมีการซักซ้อมการปฏิบัติ
จาต้ อ งใช้ก าลั งพล ยุ ท โธปกรณ์ และเวลาอย่า งมาก การข้ าล าน้ าประณี ต จะกระท าเมื่ อ หน่ วยไม่ ส ามารถ
ทาการข้ามแบบเร่งด่ วนได้ , เมื่อ ทาการข้ามแบบเร่ง ด่ วนล้ม เหลว หรือมี การต้ านทานจากข้ าศึก ที่เข้ม แข็ ง
การข้ามลาน้าประณีตจะใช้การควบคุมการปฏิบัติหน่วยย่อยต่างๆ แบบรวมการ โดยขั้นตอนการข้าม ประกอบด้วย
๑. การรุ ก เข้ า สู่ ล าน้ า เพื่ อ ยึ ด ที่ ห มายและระวั ง ป้ อ งกั น พื้ น ที่ ฝั่ ง ใกล้ ข องแนวล าน้ า
หน่ ว ยลาดตระเวนและทหารช่ า งจะท าการส ารวจท่ า ข้ า ม และลาดตระเวนพื้ น ที่ ฝั่ ง ใกล้ ปื น ใหญ่ และ
เครื่องบินโจมตีจะเตรียมการยิงที่หมายในทางลึกบนฝั่งไกล
๒. การบุ ก ข้ า มล าน้ า โดยหน่ ว ยบุ ก ข้ า มจะท าการบุ ก ข้ ามล าน้ าไปยั ง ฝั่ ง ไกลโดยเร็ วที่ สุ ด
ด้วยตนเองหรือด้วยเครื่องมือข้ามลาน้าของทหารช่าง เช่น เรือบุกข้ามหรือเรือส่งข้ามแล้วจัดวางการระวังป้องกัน
บริ เ วณฝั่ ง ไกล ป้ อ งกั น การยิ ง เล็ ง ตรงที่ จ ะเป็ นภั ย คุ ก คามต่ อ ท่ า ข้ า ม หน่ ว ยบุ ก ข้ า มอาจต้ อ งเผชิ ญ
กับการต้านทานอย่างหนักของข้าศึก เช่น เครื่องกีดขวาง, สนามทุ่นระเบิด หรือ จุดต้านทานแข็งแรง
๓. การรุ ก คื บ หน้ าบนฝั่ ง ไกล เป็ น การเข้ า ตี ต่ อ ไปเพื่ อ ท าให้ ฝั่ ง ไกลปลอดภั ย และท่ าข้ า ม
ปลอดภัยจากอาวุธยิงเล็งตรงและเล็งจาลอง เมื่อพื้นที่ฝั่งไกลมีความปลอดภัยพอสมควรจะทาการส่งกาลังพล
ยุทโธปกรณ์ และยานรบด้วยแพส่งข้ามชนิดต่างๆ ในอัตรา เพื่อสนับสนุนการเข้าตีและยึดที่หมายต่อไป
๔. การป้ อ งกั น หัว สะพาน หน่ วยด าเนิ น กลยุ ท ธ์จ ะท าการเข้ายึ ดรัก ษาที่ห มายหั วสะพาน
เพื่ อ ป้ อ งกั น การตี โต้ ต อบจากข้ าศึ ก เพื่ อ ให้ ฝ่ ายเรามี เวลาและพื้ น ที่ ในการเพิ่ ม พู น ก าลั ง รบส าหรั บ การรุ ก
ออกจากหัวสะพานต่อไป ในขั้น ที่จะทาการส่ง ข้ามขบวนสัมภาระต่างๆ และส่วนสนับสนุนการช่วยรบด้ วย
สะพานเครื่องหนุนมั่น, สะพานเครื่องหนุนลอย และแพส่งข้ามต่างๆ ในอัตรา
๒ - ๒๐

การปฏิบัติการป้องกันภายใน
การปฏิ บั ติ ก ารป้ อ งกั น ภายใน เป็ น การปฏิ บั ติ โ ดยประเทศเจ้ า บ้ า นหรื อ ประเทศพั น ธมิ ต ร
ต่อผู้ก่อการร้ายติดอาวุธ, หน่วยปฏิบัติการใต้ดิน, ป้องกันและขจัดระบบการสนับ สนุนแก่ผู้ก่อการร้ายที่ลี้ภัย
อยู่ภ ายนอกประเทศ หรือกาลังที่ให้การสนับสนุนอยู่ภายนอกประเทศของผู้ก่อการร้ายนั้น ๆ วัตถุป ระสงค์
ที่สาคัญ ยิ่งก็คือ การขจัดชนวนเหตุต่างๆ ที่อยู่เบื้องหลังการก่อการร้าย และป้องกันมิให้เกิด ชนวนเหตุนั้นอีก
การใช้หน่วยยานเกราะต่อหน่วยกาลังรบของผู้ก่อการร้ายนั้นอาจกระทาในพื้นที่กว้างขวาง สิ่งที่สาคัญอย่างยิ่งยวด
ก็ คื อ การใช้ ย านเกราะเข้ า ไปแทรกอยู่ ในการปฏิ บั ติ ก ารเป็ น ส่ ว นรวมในพื้ น ที่ เฉพาะเจาะจงหนึ่ ง ๆ เช่ น
เขตการปกครอง, จังหวัด และอาเภอ เป็นต้น อาจเป็น การช่วยเหลือ หน่วยกาลังรบของประเทศเพื่ อนบ้าน
ในการเข้ า ปฏิ บั ติ ก ารช่ ว ยเหลื อ ประชาชน การเข้ า สนั บ สนุ น เจ้ า หน้ า ที่ บ้ า นเมื อ ง หรื อ เจ้ า หน้ า ที่ ต ารวจ
ในการปฏิ บั ติก ารรักษาความมั่นคงภายใน โดยการปฏิ บัติดัง กล่าวนี้ อาจนามาซึ่ง เงื่อ นไขในการปฏิบัติ การ
ของหน่วยยุทธวิธี หรือของประเทศเจ้าบ้านได้
โดยหลักการแล้วสามารถประยุกต์ใช้ห น่วยยานเกราะกับการปฏิบั ติการป้องกันภายในได้โดยปรับ
ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติการเฉพาะใจแต่ละภารกิจไป การจัดและคุณลักษณะของการรบ
ในการก่อการร้ายนี้มิได้มีความคล้ายคลึงกับสถานการณ์การรบในสงครามทั่วไป ผู้ก่อการร้ายและการสนับสนุน
ต่างๆ จะมีขนาดเล็กและอยู่กระจัดกระจาย จึงทาให้ยากต่อการค้นหาและทาลาย ตลอดจนประชาชนในพื้ นที่
อาจให้การสนับสนุนหรือถูกข่มขู่
การปฏิบัติของผู้ก่อการร้ายอาจทาให้จาเป็นต้องนามาตรการรักษาความปลอดภัยมาใช้อย่างเข้มงวด
เช่น ต้องจัดการระวังป้องกันให้แก่ สถานที่สาคัญต่างๆ อย่างเช่น สนามบิน, แหล่งทรัพยากรสาคัญ, ที่ตั้งของ
หน่ ว ยงานรั ฐ ที่ ส าคั ญ โดยต้ อ งท าการจั ด จุ ด ตรวจประจ าที่ แ ละเคลื่ อ นที่ เพื่ อ ท าการควบคุ ม ประชาชน,
ยุ ท ธภั ณ ฑ์ และสิ่ ง อุ ป กรณ์ ต่ า งๆ ตามเส้ น ทาง โดยเจ้ า หน้ า ที่ ต้ อ งได้ รั บ การฝึ ก เกี่ ย วกั บ ระเบี ย บปฏิ บั ติ
ในการตรวจค้น
การใช้ ห น่ วยตรวจยานเกราะของทหารม้ า ระหว่ า งต าบลหรื อ หมู่ บ้ า นเพื่ อ แสดงก าลั ง และ ให้ ผ ล
ทางจิตวิทยาในการป้องปรามการติดต่อระหว่างประชาชนและหน่วยกาลังก่อการร้าย การใช้หน่วยทหารม้า
ลาดตระเวนตามแนวชายแดนเพื่อเฝ้าตรวจและป้องกันการสนั บสนุน แก่ผู้ก่อการร้ายจากภายนอกประเทศ
และการใช้ดินแดนประเทศข้างเคียงเป็นฐานสนับสนุนการก่อการร้าย รวมทั้งเป็นที่ลี้ภัย
ในการปรับปรุงสภาพแวดล้อมและช่วยเหลือประชาชนนั้น หน่วยทหารม้ายานเกราะจะมียุทโธปกรณ์
และเจ้าหน้าที่ชานาญการพิ เศษซึ่งอาจใช้เพื่ อปรับ ปรุงสิ่ง แวดล้อมของประชาชนได้ เช่น การใช้ยานเกราะ
เข้าโค่นล้มต้นไม้หรือปรับปรุงพื้นที่ในโครงการก่อสร้างในท้องถิ่น, สนับสนุนการติดต่ อสื่อสารเพิ่มเติม หรือ
จัดให้มีระบบติดต่อสื่อสารยามฉุกเฉินใช้ในกิจการพลเรือนในพื้นที่ห่างไกล เป็นต้น
ทหารม้าจะใช้ยานเกราะของหน่วยทหารม้าจัดหมู่ตรวจระหว่างตาบลและหมู่บ้านโดยมีวัตถุประสงค์
เพื่ อ แสดงก าลั งหน่ วยปฏิ บั ติ การป้ องกั น ภั ยภายในให้ ป ระจั ก ษ์ เพื่ อ ก่ อให้ เกิ ดผลทางบวกในด้ านจิต วิท ยา
แก่ ป ระชาชน และเพื่ อ ป้ อ งปรามการติ ดต่ อ ระหว่ างชาวบ้ า นกั บ หน่ ว ยก าลัง ทางยุ ท ธวิธี ข องผู้ก่ อ การร้า ย
หน่ ว ยทหารม้ า จะใช้ ค วามคล่ อ งแคล่ วในการเคลื่ อ นที่ แ ละการติ ด ต่ อ สื่ อ สารให้ เป็ น ประโยชน์ อ ย่ างเต็ ม ที่
ในการลาดตระเวนตามแนวชายแดน เมื่ อ ภู มิ ป ระเทศอ านวยความคล่ อ งแคล่ ว ในการเคลื่ อ นที่ แ ละ
การติดต่อสื่อสารที่ดีของหน่วยทหารม้าย่อมยังประโยชน์สูงสุดในการสกัดกั้น , ขัดขวางหรือดารงการเฝ้าตรวจ
ประเทศข้ างเคี ยงในการให้ ก ารสนั บ สนุ น แก่ผู้ ก่อ การร้ าย และเพื่ อ ป้ องกัน การใช้ป ระโยชน์ พื้ น ที่ ข้ างเคี ย ง
เป็นดินแดนลี้ภัยของผู้ก่อการร้าย
๒ - ๒๑

ตอนที่ ๕
หลักการลาดตระเวน และการระวังป้องกัน

จากคุ ณ ลัก ษณะของเหล่ าทหารม้า คื อ ความคล่ องแคล่ว ในการเคลื่ อ นที่ , การที่ มี เกราะป้ อ งกั น ,
มีอานาจการยิงที่รุนแรง, มีเครื่องมือสื่อสารระยะปานกลางถึงระยะไกล ทาให้เกื้อกูลต่อการใช้หน่วยทหารม้า
ในการลาดตระเวน, การระวังป้องกัน, การเฝ้าตรวจ และการป้องกันภัยทางอากาศได้ในระดับหนึ่ง
การลาดตระเวนและการระวังป้องกันเป็นสิ่งที่เกื้อกูลกันและกัน และไม่สามารถจะแบ่งแยกออกจากกันได้
การลาดตระเวนทางพื้ น ดิ น และทางอากาศที่ มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพจะก่ อ ให้ เกิ ด การระวั ง ป้ อ งกั น ที่ เชื่ อ มั่ น ได้
และหน่วยระวังป้องกันก็จะช่วยให้ได้มาซึ่งข่าวสารเกี่ยวกับข้าศึกและพื้นที่ปฏิบัติการด้วย
การลาดตระเวน
การลาดตระเวนมีความมุ่งหมายเพื่อรวบรวมข่าวสารเกี่ยวกับข้ าศึกและพื้ นที่ ปฏิ บัติการเพื่อ ที่จะให้ไ ด้
ข่าวสารเกี่ยวกับข้า ศึก และพื้นที่ปฏิบัติการเพื่อผลิตข่าวกรองการรบที่เป็นประโยชน์สาหรับให้หน่วยเหนือ
ใช้วางแผนปฏิบัติในการรบ ข่าวสารต่างๆ ที่ได้มาจากการลาดตระเวนจะนามาผลิตเป็นข่าวกรองทางการรบ
จะช่วยลดปัญหาต่างๆ ที่ยังไม่ทราบเกี่ยวกับข้าศึกและพื้นที่ปฏิบัติการ และมีส่วนเพิ่มพูนความถูกต้องเที่ยงตรง
ให้กับการประเมินค่าความเสี่ยงต่างๆ ดังนั้นภารกิจในการลาดตระเวนถือได้ว่าเป็นความรับผิดชอบอันไม่มี
ที่สิ้นสุดตั้งแต่ผู้บังคับหน่วยจนถึงทหารแต่ละนาย
เจ้ า หน้ า ที่ ใ นการลาดตระเวนทางพื้ น ดิ น นั้ น หมายถึ ง บุ ค คลหรื อ หน่ ว ยที่ ไ ด้ รั บ การจั ด ตั้ ง ขึ้ น เพื่ อ
ปฏิบัติการลาดตระเวนโดยเฉพาะ มีการประกอบยุทโธปกรณ์ให้มีขีดความสามารถปฏิบัติการลาดตระเวนได้
ทั้งทางพื้นดิน รวมทั้งทางอากาศ เช่น ร้อย.ม.(ลว.) ของ พล.ร., พัน.ม.(ลว.) ของ พล.ม./พล.ร., กรม ม.(ลว.) ของ ทภ.
เป็นต้น ส่วนหน่วยที่มีขีดความสามารถในการลาดตระเวนทางอากาศ คือ หน่วยบินทหารบก และกาลังทางอากาศ
ยุทธวิธีของทหารอากาศ ซึ่งจะเพิ่มขีดความสามารถในการลาดตระเวนตรวจการณ์ทางอากาศ, ภาพถ่ายทางอากาศ
และการเผ้าตรวจด้วยเครื่องมือทางไฟฟ้า
การลาดตระเวนแบ่งออกได้เป็น ๓ ประเภท คือ การลาดตระเวนตรวจการรบ, การลาดตระเวนระยะใกล้
และการลาดตระเวนระยะไกล โดยที่ ก ารลาดตระเวนระยะใกล้ จ ะเป็ น การรวบรวมข่ า วสารในพื้ น ที่
ซึ่ง มีการปฏิบัติทางยุทธวิธี เพื่อให้ผู้บังคับบัญ ชาได้มาซึ่งข่าวสารสาหรับใช้ประกอบการตกลงใจทางยุทธวิธี
โดยทหารม้าลาดตระเวนเป็นหน่วยที่เหมาะสมที่จะใช้ปฏิบัติภารกิจ

หลักมูลฐานของการลาดตระเวน
การลาดตระเวนต่างๆ นั้น ย่อมแปรผันไปตามสถานการณ์ และสภาพของพื้ นที่ ปฏิบัติ การ รวมทั้ ง
ภารกิจ ที่ ไ ด้ รับ มอบ ขนาด/ชนิ ด/การประกอบก าลั ง ของหน่ ว ยลาดตระเวนนั้ น ๆ โดยหลั กมู ล ฐานในการ
ลาดตระเวนทางพื้นดินมี ๕ ข้อ คือ
๑. ลาดตระเวนให้สัมพันธ์กับที่หมายทีอ่ ยู่กับที่ หรือเคลื่อนที่
๒. รายงานข่าวสารทั้งปวงอย่างละเอียดและทันเวลา
๓. หลีกเลี่ยงการรบติดพันแตกหัก
๔. ดารงการเกาะข้าศึกอย่างต่อเนื่อง
๕. คลี่คลายสถานการณ์
๒ - ๒๒

แบบของการลาดตระเวน แบ่งออกเป็น ๓ แบบหลักๆ คือ


๑. การลาดตระเวนเส้นทาง เป็นการลาดตระเวนเพื่อให้ทราบข่าวสารเกี่ยวกับเส้นทาง, เครื่องกีดขวาง
และข้าศึกตามเส้นทางนั้น ๆ รวมทั้งภูมิประเทศที่อยู่ข้างเคีย งเส้นทาง ซึ่งถ้าข้าศึกสามารถยึดครองไว้ได้แล้ว
จะมีผลกระทบต่อการปฏิบัติของฝ่ายเราตามเส้นทางนั้น
๒. การลาดตระเวนเขต เป็นการลาดตระเวนเพื่อให้ทราบข่าวสารเกี่ยวกับเส้นทางทั้งปวง, ภูมิประเทศ
และข้าศึกในเขตหนึ่งๆ ที่กาหนดด้วยเส้นแบ่งเขต เป็นการลาดตระเวนที่มีความละเอียด และสิ้นเปลืองเวลา
๓. การลาดตระเวนพื้ น ที่ เป็ น การลาดตระเวนเพื่ อ ให้ ท ราบข่ า วสารเกี่ ย วกั บ เส้ น ทางทั้ ง ปวง,
ภูมิประเทศ และข้าศึกในพื้นที่หนึ่งๆ ที่กาหนดโดยชัดแจ้ง เช่น การลาดตระเวนหมู่บ้าน, หย่อมป่า, ท่าข้ามต่างๆ
ตามลาน้า โดยการปฏิบัติการจะใช้เทคนิคเช่นเดียวกับลาดตระเวนเขต

การลาดตระเวนแบบอื่นๆ
๑. การลาดตระเวนด้วยการยิง เป็นการลาดตระเวนโดยการใช้การยิงเข้าสู่พื้นที่ที่คาดว่าจะเป็นที่ มั่น
ของข้าศึก โดยมุ่งจะยั่วยุให้ ข้าศึกตอบโต้ฝ่ายเราเป็นเหตุให้เปิดเผยตนเองออกมา การลาดตระเวนด้วยการยิง
จะใช้ในสถานการณ์ที่วิกฤติ เสี่ยงต่อการสูญเสียการจู่โจม แต่สามารถช่วยลดโอกาสที่หน่วยจะเคลื่อนที่เข้าไป
ยัง ที่ มั่น ซึ่งมี การซ่ อนพรางอย่ างดีข องข้ าศึก การลาดตระเวนด้ วยการยิง จะไร้ผลหากข้าศึ กมี ความเจนจั ด
และมีวินัยการยิงที่ดี
๒. การลาดตระเวนหมู่บ้าน, เมือง, เครื่องกีดขวาง หรือที่มั่นข้าศึก
๓. การลาดตระเวนสะพาน หรือช่องทางบังคับ ก่อนที่กาลังส่วนใหญ่จะเคลื่อนที่ผ่านช่องสะพานหรือ
ช่องทางบังคั บนั้ น จะต้ องมี การลาดตระเวนเพื่อ ค้น หาที่มั่ นข้ าศึก ซึ่ง ข่ม สะพานหรือช่อ งทางบั ง คับ นั้น อยู่
รวมถึงหรือการตรวจสอบเพื่อหาทุ่นระเบิด, กับระเบิด หรือสิ่งก่อสร้างที่ถูกลดความแข็งแรงลง สิ่งต่างๆ เหล่านี้
ต้องถูกรื้อถอนออก, ทาเครื่องหมายระบุชั้นของสะพานไว้ให้หน่วยที่ตามมาได้ทราบ
๔. การลาดตระเวนในเวลากลางคื น เป็ น การลาดตระเวนที่ ก ระท าได้ ล่ า ช้ า และให้ ผ ลน้ อ ย
การลาดตระเวนในเวลากลางคื น จะจากั ด ให้ ต้ อ งกระท าให้ ต้ อ งลงรบเดิ น ดิ น ตลอดจนการใช้ ที่ ฟั ง การณ์
และอุปกรณ์เรดาร์ทางพื้น ดินประสานกับที่ตรวจการณ์ และที่ฟั งการต่างๆ การใช้ยานยนต์ลาดตระเวนนั้ น
จะกระทาได้ก็ต่อเมื่อมีการต้านทานจากข้าศึกที่เบาบาง และมีภูมิประเทศตลอดจนเส้นทางที่เกื้อกูล เนื่องจาก
เสียงเครื่องยนต์ และการเคลื่อนที่ของยานยนต์ลาดตระเวนจะสามารถได้ยินไปในระยะไกลมาก ซึ่งจะทาให้
เสี่ยงต่อการถูกตรวจพบจากข้าศึก
๕. การลาดตระเวนด้วยกาลัง จะเป็นการรุกเข้าสู่ที่หมายจากัด โดยหน่วยที่มีกาลัง ค่อนข้างเข็มแข็ง
เพื่อท าการค้น หา, ทดสอบกาลังและการวางกาลัง ของข้าศึ ก, เข้าคลี่คลายสถานการณ์ ให้ ได้ม าซึ่ง ข่าวสาร,
ค้นหาจุดอ่อนในการวางกาลังของข้าศึก และสามารถขยายผลต่อจุดอ่อนของข้าศึกได้หากอยู่ในขีดความสามารถ
ความกว้างด้ านหน้ าของการลาดตระเวน ไม่ มี ขนาดที่ ต ายตั วส าหรับ หน่ วยหนึ่ ง ๆ แต่ จ ะก าหนด
ด้ว ยภารกิ จการลาดตระเวนที่ ได้ รับ , ทั ศนวิ สัย , สภาพภู มิ ป ระเทศ, ข่า ยเส้ น ทาง, สถานการณ์ ฝ่ ายข้ าศึ ก ,
ลักษณะของข่าวสารที่ต้องการ และเวลาที่มีอยู่ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความกว้างด้านหน้าของ
การลาดตระเวนที่จะมอบกิจให้แก่หน่ วยหนึ่งๆ ถ้ าต้องการข่าวสารอย่างละเอีย ด การลาดตระเวนจะต้อง
เสียเวลามาก ดังนั้นกว้างด้านหน้าก็ควรที่กาหนดไว้ให้แคบกว่าการลาดตระเวนหาข่าวสารทั่ว ๆ ไป แต่ก็อาจจะ
กาหนดกว้างด้านหน้าได้มากขึ้นเมื่อมีการสนับสนุนจากอากาศยาน หรือหน่วยทหารม้าอากาศ
๒ - ๒๓

กองพันทหารม้าลาดตระเวนเมื่อได้รับมอบการปฏิบัติภารกิจระวังป้องกันที่มีเขตรับผิดชอบที่มี ระยะ
กว้ า งด้ านหน้ า มาก ผู้ บั ง คั บ กองพั น ทหารม้ า ลาดตระเวนจะเตรี ย มแก้ ปั ญ หาในสถานการณ์ ดั ง กล่ า ว
โดยใช้ความคล่องแคล่วรวดเร็วในการเคลื่อนที่, การติดต่อสื่อสารที่สามารถกระทาได้อย่างกว้างขวาง และ
การจัดที่อ่อนตัว

การระวังป้องกัน
การระวังป้องกัน คือ วิธีการต่างๆ ที่กาหนดขึ้นเพื่อใช้ป้องกันตนเองหรือหน่วย ให้พ้นจากการตรวจการณ์,
การยิง และการจู่โจมของข้าศึก โดยมีวัตถุประสงค์ที่ จะรักษาความลับ ให้เกิดข้อได้เปรียบและดารงไว้ซึ่งเสรี
ในการปฏิบั ติข องหน่ วย ซึ่งการปฏิบั ติภาคพื้ นดิ นของข้าศึก มักจะหมายรวมถึ ง การลาดตระเวน, การยิง ,
การโจมตีทางพื้นดิน, การแทรกซึม, กองโจร, หน่วยเคลื่อนที่ทางอากาศ หน่วยระวังป้องกันต้องใช้ภูมิประเทศ
และเครื่องกีดขวางต่างๆ เพื่อเพิ่มพูนผลการปฏิบัติในการระวังป้องกัน
การระวั งป้องกันจะประสบความสาเร็จก็ ด้วยการจัดให้มีการค้นหาภัยคุกคามอย่างมีประสิทธิภาพ
การจัดให้มีเวลาและมีพื้นที่ดาเนินกลยุทธ์อย่างเพียงพอที่จะโต้ตอบภัยคุกคามนั้น โดยที่สามารถจะหลีกเลี่ยง,
ตั ด รอน หรื อ ท าลายการคุ ก คามนั้ น ได้ การระวั ง ป้ อ งกั น จะได้ ผ ลดี ยิ่ ง ขึ้ น ด้ ว ยการข่ า วกรองที่ ทั น ต่ อ เวลา
และมี ค วามแม่ น ย าถู ก ต้ อง รวมทั้ งการเคลื่ อ นที่ ด าเนิ น กลยุ ท ธ์ ที่ รวดเร็ วและรุน แรง หน่ วยต่ างๆ จะต้ อ ง
รับผิดชอบในการจัดการระวังป้องกันตนเอง โดยไม่คานึงถึงว่าจะมีหน่วยอื่นมาจัด การระวังป้องกันให้หรือไม่
หน่วยระวังป้องกันของกองทหารขนาดใหญ่ จะต้ องเป็น หน่วยที่มีความเข็ม แข็ง เพียงพอ และต้องวางกาลัง
ให้เหมาะสม เพื่อให้หน่วยที่ตนให้การระวังป้องกันได้มีเวลาอย่างเพียงพอในการโต้ตอบข้าศึก หน่วยระวังป้องกัน
จะเข้ารบปะทะติดพันข้าศึกไว้เฉพาะในขีดความสามารถของตนเท่าที่จาเป็นเพื่อบรรลุภารกิจ อย่างไรก็ตาม
มาตรการในการระวั งป้อ งกั นต่ างๆ จะต้อ งไม่ท าให้ การใช้ก าลัง หรือ เจตนารมณ์ ที่ จ ะบรรลุ ผลตามภารกิ จ
ของหน่วยที่ตนให้การระวังป้องกันต้องไขว้เขวไปโดยไม่จาเป็น

หลักมูลฐานของการระวังป้องกัน
ความสาคัญอยูท่ ี่การแจ้งเตือนที่ทันเวลาและมีความถูกต้อง กับการให้มีพื้นที่ดาเนินกลยุทธ์อย่างเพียงพอ
การปฏิบัติต่างๆ ของหน่วยระวังป้องกันควรที่จะเป็นไปตามแนวทางที่ถูกต้องด้วยการนาหลักมูลฐาน ๕ ข้อไป
ประยุกต์ใช้อย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย
๑. ให้มีความสัมพันธ์กับหน่วยใหญ่ที่อยู่กับที่หรือเคลื่อนที่
๒. ปฏิบัติการลาดตระเวนโดยต่อเนื่อง
๓. ให้ข่าวสารที่แน่นอนและทันเวลา
๔. ดารงการเกาะข้าศึก
๕. ให้มีพื้นที่ในการดาเนินกลยุทธ์
ทั้งนี้ภารกิจเฉพาะในการระวังป้องกันต่อการปฏิบัติการทางพื้นดิน กระทาได้โดยการลาดตระเวนทาง
อากาศและทางพื้นดิน, การจัดหน่วยกาบัง, การจัดกองกระหนาบ กองระวังหน้า กองระวังหลัง, การจัดหน่วย
ทาฉากกาบัง และการจัดหน่วยระวังป้องกันประจาถิ่น การปฏิบัติการระวังป้องกันอาจให้ปฏิบัติการไปข้างหน้า,
ทางปี ก หรือ ด้ านหลั ง ของฝ่ ายเดีย วกัน ขนาดและการประกอบก าลัง ของหน่ ว ยระวัง ป้ อ งกั น ย่ อ มขึ้ น อยู่
กับปัจจัย METT-TC ในการระวังป้องกันข้าศึกที่มีความคล่องแคล่วในการเคลื่อนที่สูง และมีการกาลังยานเกราะ
๒ - ๒๔

เป็ น ส่ ว นใหญ่ หน่ ว ยระวั งป้ อ งกั น จะต้ อ งมี ค วามคล่ อ งแคล่ ว ในการเคลื่ อ นที่ ทั ด เที ย มหรื อ มากกว่า ข้ าศึ ก
กับทั้งต้องมีขีดความสามารถในการต่อสู้รถถังอย่างพอเพียง
หลั ก มู ล ฐานของการลาดตระเวน และการระวั ง ป้ อ งกั น มี สิ่ ง ที่ เหมื อ นกั น อยู่ ข้ อ หนึ่ ง ได้ แ ก่ เรื่ อ ง
“ดารงการเกาะข้าศึก” ซึ่งกระทาได้ทั้งการเกาะข้าศึกด้วยการตรวจการณ์ด้วยสายตา และการดารงการเกาะข้าศึก
ด้ ว ยการยิ ง การเกาะข้ าศึ ก จะด ารงการปฏิ บั ติ ก ารลาดตระเวนโดยต่ อ เนื่ อ งกระท าเพื่ อ ให้ ผู้ บั ง คั บ หน่ ว ย
ระวังป้องกันได้ทราบข่าวสารเกี่ยวกับข้าศึกภายในพื้นที่รับผิ ดชอบ และทาให้สามารถวางกาลังหน่วยระหว่าง
หน่ วยใหญ่ แ ละข้ าศึกที่ คุก คามได้อ ย่างเหมาะสม การดารงการเกาะข้าศึ กนั้ น จะสามารถท าการผละออก
จากการเกาะข้าศึกได้ก็ต่อเมื่อได้รับคาสั่งจากหน่วยเหนือ

ระดับของการระวังป้องกัน
๑. การก าบั ง เป็ น การปฏิ บั ติ ก ารในฐานะเป็ น หน่ ว ยหนึ่ ง ที่ แ ยกต่ า งหากออกจากส่ ว นใหญ่ และ
ปฏิบัติการในทิศทางที่สอดคล้องกับทิศทางของข้าศึก เพื่อมุ่งที่จะสกัดกั้น, รั้งหน่วง, ทาลาย และลวงข้าศึก
ก่อนที่ข้าศึกจะสามารถเข้าปฏิบัติต่อกาลังส่วนใหญ่ที่ทาการกาบังให้ ส่วนกาบังมักจะต้องปฏิบัติการพ้นระยะ
การสนับสนุนจากหน่วยใหญ่ ดังนั้นกาลังส่วนนี้ต้องได้รับการเพิ่มเติมกาลังเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็ง และ
มีความสมบูรณ์ในตัวเอง โดยมีระบบปฏิบัติการในสนามรบครบทั้ง ๗ ประการ สามารถทาการรบเป็นอิสระ
จากหน่วยใหญ่ได้ในห้วงระยะเวลาหนึ่ง
๒. การคุ้มกัน เป็นการปฏิบัติการทางปีก, ด้านหน้า หรือข้างหลัง ของกาลังส่วนใหญ่ที่เคลื่อนที่หรือ
หยุดอยู่กับที่ ในลักษณะที่จะสามารถขัดขวางการตรวจการณ์ ทางพื้นดิน,การยิงเล็ง ตรง และการปฏิบัติการ
อย่างจู่โจมจากฝ่า ยข้าศึก การปฏิบัติก ารดัง กล่าวกระทาได้โดยการเอาชนะ, ทาลาย หรือรั้ งหน่ วงข้าศึกไว้
ในขีดความสามารถแต่มักจะปฏิบัติการคุ้มกันโดยยังอยู่ในระยะการสนับสนุนจากหน่วยใหญ่ แต่ต้องมีระยะห่าง
เพียงพอเพื่อที่จะให้มีเวลาและพื้นที่ดาเนินกลยุทธ์
๓. การทาฉากกาบัง เป็นการเฝ้าตรวจไปด้านหน้า, ด้านข้าง หรือด้านหลัง ของหน่วยใหญ่ที่เคลื่ อนที่
หรือหยุดอยู่กับที่ เพื่อทาการแจ้งเตือนการเข้ามาของข้าศึกด้วยการตรวจการณ์, การรายงาน และดารงการเกาะ
ข้าศึก หน่วยที่ทาฉากกาบังจะเข้าทาการขัดขวางหรือรบกวนข้าศึกภายในขีดความสามารถของตนด้วยอาวุธยิง
ในอัตราหรือที่มาสนับสนุน และทาลายหรือผลักดันหมู่ตรวจของฝ่ายข้าศึก
หน่วยทาการระวังป้องกัน อาจจะเป็ นส่วนกาบัง, กองกระหนาบ, กองระวังหน้า หรือ กองระวังหลัง
หรือเป็นหน่วยระวังป้องกันในพื้นที่ส่วนหลังก็ได้ ทั้งนี้ย่อมขึ้นอยู่กับระดับของการระวังป้องกันที่ต้องการ และ
ตาแหน่งที่ตั้งต้องสัมพันธ์กับหน่วยรับการระวังป้องกัน โดยหน่วยที่ทาการระวังป้องกันจะเข้าติดพันในการรบ
ด้วยวิธีรุก รับ หรือร่นถอย ได้ตามความจาเป็นเพื่อให้บรรลุภารกิจ
ส่วนกาบั ง เป็ นหน่วยระวังป้องกันที่ มีความเข้มแข็งและสมบูรณ์ ในตัวเอง ปฏิ บัติการในระยะห่าง
ออกไปข้างหน้า, ทางข้าง หรือข้างหลัง ของหน่วยที่รับการกาบัง ทั้งในภารกิจปฏิบัติการรบด้วยวิธีรุก รับ และ
ร่นถอย ของกาลังส่วนใหญ่ ภารกิจของส่วนกาบังก็คือการเข้าคลี่คลายสถานการณ์แต่เนิ่น เข้าเอาชนะกาลัง
ข้าศึกถ้าสามารถกระทาได้ และทาการลวง, รั้งหน่วง และทาลายการจัดของหน่วยข้าศึก จนกว่ากาลังส่วนใหญ่
จะสามารถเข้ารับโอนการรบได้ ตามปกติแล้วจะไม่มอบภารกิจการกาบังให้กับหน่วยที่เล็กกว่ากองพันทหารม้า
เฉพาะกิจ หรือกองพันทหารม้าเพิ่มเติมกาลัง เป็นหน่วยที่ต้องมีความคล่องแคล่วในการเคลื่อนที่อย่างเต็มที่,
มีการจัดรถถัง เป็นหลักและเพิ่มเติมด้วยทหารม้าบรรทุกยานเกราะ, ทหารราบ, ทหารปืนใหญ่ , ทหารช่าง,
หน่วยป้องกันภัยทางอากาศ และทหารม้าอากาศตามความจาเป็น โดยส่วนกาบังจะอยู่ภายใต้การบังคับบัญชา
๒ - ๒๕

ของผู้บังคับบัญชาเพียงคนเดียว และผู้บังคับบัญชาผู้นี้จะปฏิบัติอยู่ภายใต้การควบคุมโดยตรงจากผู้บังคับบัญชา
หน่วยใหญ่ที่รับการกาบัง
กองระวังหน้า เป็นหน่วยปฏิบัติการอยู่หน้ากาลังส่วนใหญ่ มีภารกิจที่จะคลี่คลายสถานการณ์ตั้งแต่เริ่มต้น,
ป้องกันมิ ให้ หน่วยใหญ่ ถูก จู่โจม ให้ก ารคุ้ม กันต่ อการจัดรูปขบวนของหน่วยใหญ่ และอ านวยความสะดวก
ในการเคลื่อนที่ให้กับหน่วยใหญ่ ทาการรื้อถอนเครื่องกีดขวาง ซ่อมแซมถนนสะพานต่างๆ หรือกาหนดเส้นทาง
อ้อมผ่าน กองระวังหน้าจะเคลื่อ นที่ไปข้างหน้ าเร็วที่ สุดเท่ าที่ กระทาได้ แต่ยัง คงอยู่ภ ายในระยะที่ สามารถ
รับการสนับสนุนจากหน่วยที่ทาการคุ้มกันให้ กองระวังหน้าจะทาการลาดตระเวนอย่างต่อเนื่องไปข้างหน้า
ทาการผลักดันหรือทาลายข้าศึกกลุ่มย่อยๆ ก่อนที่ข้าศึกเหล่านั้นจะขัดขวางการรุกคืบ เมื่อต้องเผชิญกับหน่วย
ข้าศึกขนาดใหญ่ หรือพื้นที่ที่ข้าศึกตั้งรับหนาแน่น กองระวังหน้านะเข้าปฏิบัติการอย่างรุนแรงและฉับพลันเพื่อ
คลี่คลายสถานการณ์ ทาการรุกเข้าเอาชนะข้าศึกในขีดความสามารถของตน และทาการค้นหาเพื่อระบุที่ตั้ ง,
กาลัง, การวางกาลัง และการประกอบกาลังของข้าศึกให้ได้
กองกระหนาบ เป็นหน่วยระวังป้องกันที่ปฏิบัติการอยู่ทางปีกของหน่วยใหญ่ ป้องกันการตรวจการณ์
ทางพื้ น ดิ น , การยิ ง เล็ ง ตรง และการเข้ า โจมตี อ ย่ า งจู่ โ จมจากข้ า ศึ ก ในการรบด้ ว ยวิ ธี รุ ก หรื อ ร่ น ถอย
กองกระหนาบจะเป็นหน่วยเคลื่อนที่เร็วทางด้านปีก ทาการเข้ายึดที่มั่นทางปีกด้วยเทคนิคการเคลื่อนที่สลับขั้น,
ตามล าดั บ ขั้ น หรื อ การเคลื่ อ นที่ ด้ ว ยรู ป ขบวนต่ อ เนื่ อ ง ในขณะที่ ในการรบด้ ว ยวิ ธี รั บ นั้ น ตามปกติ แ ล้ ว
กองกระหนาบจะปฏิ บั ติ จ ะเข้ า ยึ ด ที่ มั่ น สกั ด กั้ น ต่ า งๆ ทางปี ก อยู่ กั บ ที่ แต่ ต้ อ งพร้ อ มที่ จ ะปฏิ บั ติ ก าร
เป็นกองกระหนาบเคลื่อนที่เร็วได้ทันทีเมื่อมีความจาเป็น ความรับผิดชอบของกองกระหนาบนั้นจะเริ่มตั้งแต่
ท้ายขบวนของกองพันที่เป็นหน่วยนา และไปสิ้นสุดที่ส่วนสุดท้ายของส่วนดาเนิน กลยุทธ์หลัก (ไม่รวมถึงกอง
ระวังหลัง)
กองระวั งหลั ง คื อ หน่ ว ยระวั งป้ อ งกั น ที่ ป ฏิ บั ติ ก ารทางส่ วนหลั ง ของหน่ วยที่ ก าลั ง ปฏิ บั ติ ก ารรุ ก
ไปข้างหน้า หรือหน่วยที่กาลังปฏิบัติการถอนตัว เพื่อป้องกันหน่วยใหญ่ให้พ้นจากการเข้าตีอย่างจู่โจม หรือ
รบกวนจากข้าศึก ด้วยการเข้าเอาชนะ, ทาลาย หรือรั้งหน่วงข้าศึกไว้ในขีดความสามารถ ถ้ากองระวัง หลั ง
ถูก เข้ าตี ด้ วยก าลั งข้ าศึ ก ที่ เหนื อ กว่ า จะท าการรบหน่ ว งเวลาโดยไม่ ย อมให้ ข้ าศึ ก อ้ อ มผ่า น หรือ ถู ก กดดั น
ให้ร่นถอยเข้าหาหน่วยรับการคุ้มกันจนกว่าหน่วยรับการคุ้มกันจะพร้อมที่จะสามารถตอบโต้ภัยคุกคามได้
ฉากกาบั ง คือ หน่ วยที่ จะให้ การแจ้ง เตื อนการเข้ ามาของข้า ศึก แต่ เนิ่ น ด้ ว ยการเฝ้าตรวจในพื้ น ที่
ที่มีความกว้างด้านหน้ามาก โดยสามารถเฝ้าตรวจไปข้างหน้า, ทางปีก หรือทางด้านหลัง ของหน่วยเหนือที่
กาลังเคลื่อนที่ หรือหยุดอยู่กับที่ทาการให้การแจ้งเตือนการเข้ามาของข้าศึกแต่เนิ่น, เข้าทาการเกาะข้าศึกและ
ทาการรายงานการเคลื่อนไหวของข้าศึกตลอดเวลา, ทาลายหรือผลักดันหมู่ตรวจของข้าศึก และทาการขัดขวาง
การรุกเข้ามาของข้าศึกด้วยการยิงระยะไกลด้วยอาวุธในอัตราและที่มาให้การสนับสนุน
ภารกิจการทาฉากกาบังนี้ จะมอบให้หน่วยปฏิบัติก็เมื่อจาเป็ นต้องมีการปฏิบัติ เป็นหน่วยออมกาลัง
เพื่อทาการเฝ้าตรวจในบริเวณพื้นที่ที่มีขนาดกว้างใหญ่ แต่มีหน่วยสาหรับปฏิบัติภารกิจในการเฝ้าตรวจน้อย
ภารกิจจะประสบความสาเร็จก็โดยการจัดกาลังเข้าประจาที่ตรวจการณ์ต่างๆ ซึ่งครอบคลุมเส้นทางหรือพื้นที่
ที่คาดว่าข้าศึกน่าจะเคลื่อนที่เข้ามา อาจต้องมีการลาดตระเวนในบางพื้นที่ซึ่งไม่อาจตรวจการณ์เห็นด้วยสายตาได้
ที่ตรวจการณ์ของหน่วยทาฉากกาบังต้องอยู่ ณ จุดที่สามารถทาการการตรวจการณ์ และการซ่อนพราง
ได้ดีที่สุด โดยการใช้หมู่ตรวจบนยานพาหนะ หรือหมู่ตรวจลงรบเดินดิน อาจเสริมด้วยอุปกรณ์เรดาร์ภาคพื้นดิน
เพื่อให้สามารถครอบคลุมเส้นทางที่ข้าศึกน่าจะเคลื่อนที่เข้ามา ที่ตรวจการณ์ต่างๆ ต้องดารงการเกาะข้าศึก
๒ - ๒๖

ที่ตรวจพบ แล้วทาการรายงานอย่างถูกต้องและทันเวลา รวมทั้งสมารถอานวยการยิงให้แก่ส่วนยิงสนับสนุน


ทั้งจากอาวุธยิงสนับสนุนในอัตราหรือจากหน่วยที่มาให้การสนับสนุน เพื่อทาการรบกวนรูปขบวนการรุกเข้ามา
ของข้าศึก ถ้าได้รับคาสั่งอนุมัติให้ทาการถอนตัวได้ หน่วยฉากกาบังก็จะเคลื่อนที่ถอนตัวเป็นห้วงๆ โดยที่ยังคง
ดารงการเกาะข้าศึกเอาไว้อย่ างต่อ เนื่อ งพร้อมกับยั งคงปรับการยิ งสนับ สนุน ต่อไป และอาจใช้อากาศยาน
จากหน่วยบินทหารบกหรือหน่วยทหารม้าอากาศ เพื่อขยายขอบเขตของการตรวจการณ์ให้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น
หน่ วยระวังป้ อ งกั นพื้ น ที่ส่ วนหลั ง จะให้ การคุ้ม กัน แก่ที่ ตั้ง ขอหน่ว ยต่างๆ ที่ อยู่ในพื้ น ที่ส่วนหลั ง ,
เส้นทางคมนาคม (ที่ใช้ในการส่งกาลัง ยุทโธปกรณ์ เส้นทางเพิ่มเติมกาลัง) ให้พ้นจากการโจมตีจากหน่วยส่ง
ทางอากาศ, หน่วยเคลื่อนที่ทางอากาศ, กองโจร หรือหน่วยแทรกซึมต่างๆ จากฝ่ายข้าศึก โดยหน่วยที่ระวังป้องกัน
ในพื้นที่ส่วนหลังนั้นต้องทาการประสานการปฏิบัติกับหน่วยรบ และหน่วยแบบอื่นๆ ในพื้นที่ส่วนหลังด้วย
ทหารม้าลาดตระเวน (ม.ลว.) เป็นหน่วยที่เหมาะสาหรับระวังป้องกันให้กับหน่วยใหญ่ เมื่อได้รับมอบ
กว้างด้านหน้ามาก โดยใช้คุณลักษณะและขี ดความสามารถของหน่วยประกอบกับการจัดที่อ่อนตัวเข้าปฏิบัติ
อย่างเหมาะสม ในการรบด้วยวิธีรุก ม.ลว. จะคลี่คลายสถานการณ์ และทาลายกาลังข้าศึกในขีดความสามารถ
ในการตั้ ง รั บ ก็ จ ะแจ้ ง เตื อ นการเข้ า มาของข้ า ศึ ก , ท าลายระเบี ย บในการเคลื่ อ นที่ และรั้ ง หน่ ว งข้ า ศึ ก
หากมีภารกิจให้ต่อต้านหน่วยเคลื่อนที่ทางอากาศหรือกองโจรข้าศึกในพื้นที่ส่วนหลัง พัน.ม.ลว. ก็จะวางกาลัง
กระจายออกไป และท าการลาดตระเวน เมื่ อ พบเป้ า หมายก็ จ ะปฏิ บั ติ ก ารโจมตี ต่ อ ข้ า ศึ ก อย่ า งรวดเร็ ว
หน่วย พัน.ม.ลว. เหมาะที่จะใช้ในภารกิจเฝ้าตรวจ ทั้งการเฝ้าตรวจทางทัศนะ, การเฝ้าตรวจทางไฟฟ้า และ
การเฝ้ าตรวจทางการ ถ่ ายภาพ และใช้ ขี ดความสามารถในการติ ดต่ อสื่ อสาร รายงานข่ าวได้ อย่างทั น เวลา
โดย พัน.ม.ลว. จะจัดกาลังส่วนใหญ่ออกตรวจการณ์ และมีกองหนุนเท่าที่จาเป็นสาหรับแก้ปัญหา
ทหารม้ามีคุณลักษณะ คือ มีอานาจการยิงและเกราะป้องกัน, มีความคล่องแคล่วในการเคลื่อนที่สูง ,
มี อ านาจการท าลายและข่ ม ขวั ญ , มี ก ารติ ด ต่ อ สื่ อ สารได้ ห ลายวิธี และมี ก ารจั ด ที่ อ่ อ นตั ว ดั ง นั้ น หลั ก การ
ใช้หน่วยทหารม้าลาดตระเวน จึงมีดังนี้
๑. ดารงความเป็นหน่วย ให้มีเอกภาพในการบังคับบัญชา และเอกภาพในการจัดกาลังทางยุทธวิธี
๒. ความกว้างด้านหน้าขึ้นอยู่กับภารกิจ, ข่ายเส้นทาง, ภูมิประเทศ, การปฏิบัติของข้าศึก, แผนปฏิบัติการ,
ความใกล้ – ไกล จากฝ่ายเดียวกัน และรัศมีของเครื่องมือสื่อสาร
๓. ระยะห่างจากหน่วยที่ไปสนับสนุนขึ้นอยู่กับภารกิจ, ภูมิประเทศ, การปฏิบัติของข้าศึก, ยุทโธปกรณ์
ที่มีอยู่ และรัศมีของเครื่องมือสื่อสาร
๔. สามารถปฏิบัติการเป็นอิสระได้เมื่อได้รับการเพิ่มเติมกาลังที่เหมาะสม
การป้องกันภัยทางอากาศ
หน่วยยานเกราะต่างๆ นั้น บอบบางต่อการถูกโจมตีทางอากาศในระหว่างการปฏิบัติในทุกขั้นตอน
ระบบการแจ้งเตือนภัยทางอากาศนั้น อาจใช้การแจ้งเตือนด้วยทัศนะสัญ ญาณ, วิทยุ, แตรของยานพาหนะ,
นกหวีด ทั้ง นี้ขึ้ น อยู่กั บ สถานการณ์ ในระหว่ างการปฏิ บั ติภ ารกิจ จะต้ อ งมี การจัด ยามอากาศให้ ป ฏิ บั ติ อ ยู่
บนยานพาหนะทุกคัน และต้องจัดที่ตรวจการณ์เพื่อระวังป้องกันภัยทางอากาศในที่รวมพล หน่วยยานเกราะ
ที่เข้าปฏิบัติงานตามลาพังต้องมีการตรวจการณ์ในทุกทิศทาง ทหารต้องได้รับการฝึกเกี่ยวกับการจดจาลักษณะ
เพื่อที่จะสามารถระบุอากาศยานทั้งของฝ่ายเราและฝ่ายข้าศึกเป็นอย่างดี
๒ - ๒๗

การป้องกันภัยทางอากาศ คือ การกาหนดมาตรการทั้งปวงที่ใช้ลดประสิทธิภาพการโจมตีทางอากาศ


ของข้าศึก โดยการป้องกันภัยทางอากาศมี ๒ ประเภท คือ การป้องกันภัยทางอากาศเชิงรุก , การป้องกันภัย
ทางอากาศเชิงรับ
ระบบการแจ้งเตือนภัยทางอากาศบนยานพาหนะขณะกาลังเคลื่อนย้ายหรือ เข้าที่รวมพล จะต้องจัด
ที่ตรวจการณ์ หรือจัดยามอากาศ เพื่อแจ้งเตือนและระวังป้องกันภัยทางอากาศ
มาตรการป้องกันเชิงรุก เครื่องมือป้องกันภัยทางอากาศที่มีอยู่นั้น หมายรวมถึงอากาศยานทางยุทธวิธี
ของ ทอ., อาวุธต่อสู้อากาศยานของ ทบ. ตลอดจนอาวุธต่างๆ ในอัตราของหน่วย
มาตรการป้องกันเชิงรับ โดยนาหลักการพรางมาประยุกต์ใช้เกี่ยวกับยานพาหนะโดย ถ้ายานพาหนะ
ไม่ได้พ่นสีหรือทาสีพรางให้พรางด้วยโคลน หรือพรางด้วยพืชพันธุ์ไม้ หรือใช้ตาข่ายพราง การป้องกันภัยทางอากาศ
เชิงรับในเรื่องการกระจายกาลั ง มีการปฏิบัติเกี่ยวกับการกระจายยานพาหนะโดยให้เพิ่มระยะต่อและระยะ
เคียงระหว่างยานพาหนะแต่ละคันออกไป
***********************************************************************
๓-๑

ภาคที่ ๓
ตอนที่ ๑
ทหารม้าลาดตระเวน
หน่ ว ยทหารม้าลาดตระเวน (ม.ลว.) เป็ นหน่วยทหารม้ าที่ท าหน้ าลาดตระเวน, ระวัง ป้ องกัน และ
เป็นหน่วยออมกาลังให้กับหน่วยเหนือหรือหน่วยที่ไ ปขึ้นสมทบ ดังนั้นจึงมีการจัดหน่วยทหารม้าลาดตระเวน
อยู่ในทุกกองพลดาเนินกลยุทธ์ (ทั้งกองพลทหารราบ และกองพลทหารม้า) หน่วยทหารม้าลาดตระเวนสามารถ
ปฏิบัติการเป็นอิสระได้ สามารถจัดกาลังเข้าทาการรบได้หลายรูปแบบด้วยการสนธิกาลังแต่ละชนิดเข้าด้วยกัน
ได้ หลากหลายรู ปแบบตามแต่ วัตถุประสงค์ในการใช้ หน่ วย โดยส่ว นดาเนิ นกลยุท ธ์ ข องทหารม้าลาดตระเวน
จะประกอบด้วย รถถัง (หรือรถเกราะติดตั้ง ปืนใหญ่ ) และหน่วยปืนเล็ก ที่บรรทุกบนรถสายพานลาเลียงพล
(หรือรถเกราะลาเลียงพลล้อยาง), ส่วนยิง สนับ สนุ นก็จ ะประกอบด้วย ค. ๑๒๐ มม. ติ ดตั้ง บนรถสายพาน
(หรือ ค.๘๑ มม. ติดตั้งบนรถเกราะ) และส่วนลาดตระเวนที่ใช้ยานยนต์ขนาดเบาติดตั้งอาวุธกล ทาให้ทหารม้า
ลาดตระเวนเป็นหน่วยขนาดเล็กที่สุดที่มีการผสมผสานกาลังรบได้สมบูรณ์ในตัวเอง
ร้อย.ม.(ลว.) เป็นหน่วยที่มีการจัดที่ผสมผสานกาลังรบได้สมบูรณ์ในตัวเอง มีความอ่อนตัวที่สามารถ
จัดกาลังเพื่อทาการรบได้ถึง ๕ รูปแบบ มีดังนี้
แบบที่ ๑ จัดเป็น ๓ มว.ลว.ตาม (ใน ๑ มว.ลว. ประกอบด้วย ตอนคอยเหตุ , ตอนรถถัง, หมู่ปืนเล็ก
และ หมู่ ค.) โดยทั้งหมดจะอยู่ในความควบคุมของ ผบ.ร้อย.
แบบที่ ๒ จัดเป็น ๓ มว.ลว. คล้ายแบบที่ ๑ แต่หย่อนกาลัง หมู่ ค. ในแต่ละ มว.ลว. มารวมกันเป็น
มว.ค. ให้อยู่ในความควบคุมของ รอง ผบ.ร้อย. ส่วน ๓ มว.ลว.(-) จะอยู่ในความควบคุมของ ผบ.ร้อย.
แบบที่ ๓ จัดเป็น ๓ มว.ลว. คล้ายแบบที่ ๑ แต่รวม หมู่ ค. ไว้ที่ มว.ลว. ใด มว. หนึ่ง (๒ มว.ลว.(-)
และ ๑ มว.ลว.(+)) โดยทั้งหมดจะอยู่ในความควบคุมของ ผบ.ร้อย.
แบบที่ ๔ จัดยานรบประเภทเดียวกันอยู่ด้วยกัน โดยจัดเป็น ๑ มว.คอยเหตุ, ๑ มว.ถ., ๑ มว.ปืนเล็ก
และ ๑ มว.ค. โดยให้ รอง ผบ.ร้อย. เป็น ผบ.มว.ค.
แบบที่ ๕ จัดยานรบประเภทเดียวกันอยู่ด้วยกัน จัดแยกเป็นส่วนดาเนินกลยุทธ์ ประกอบด้วย มว.คอยเหตุ
กับ มว.ปืนเล็ก และส่วนฐานยิง ประกอบด้วย มว.ถ. กับ มว.ค.
ในการลาดตระเวนเขต มั กมี ความมุ่ง หมายหรือ จุดประสงค์เพื่ อ ให้ ได้ มาซึ่ ง ข่าวสารเกี่ยวกับ ข้าศึ ก
หรื อ ลั ก ษณะภู มิ ป ระเทศในพื้ น ที่ ป ฏิ บั ติ ก ารที่ ก าหนดให้ ถนนและลั ก ษณะภู มิ ป ระเทศต่ างๆ ภายในเขต
จะต้องได้รับการตรวจตราอย่างทั่วถึงในสถานการณ์ไม่กระจ่างชัด ทั้งนี้ความเร็วในการเคลื่อนที่ขึ้นอยู่กับภารกิจ,
การปฏิบั ติข องข้าศึ ก, ภู มิ ประเทศ และข่ายเส้น ทางในพื้น ที่ เพื่ อ ให้ มีขี ดความสามารถในการลาดตระเวน
กาลังพลใน ร้อย.ม.(ลว.) จึงถูกฝึกให้มีขีดความสามารถงานช่างโยธาในด้านการลาดตระเวนทางการช่าง เช่น
การตรวจค้น และทาลายสนามทุ่นระเบิด โดยไม่ใช้เครื่องมือทหารช่าง, การลาดตระเวนสารวจเส้นทางและ
สะพาน, การคานวณดินระเบิดและรื้อถอนวัตถุระเบิด เป็นต้น
ผู้บังคับบัญ ชาได้รับประโยชน์จากทหารม้าลาดตระเวนในเรื่องของการได้รับข่าวสารเกี่ยวกับข้าศึก
สภาพภูมิประเทศ ลมฟ้าอากาศ ทาให้สามารถองเห็นภาพสนามรบ สามารถขยายผลได้อย่างรวดเร็ว เมื่อพบจุดอ่อน
ของข้าศึก ทาการลวงข้าศึก ทาการระวังป้องกัน และโจมตีข้าศึ กในทางลึกได้ เมื่อหน่วยใหญ่รุกเข้าหาข้าศึก
กองพั น ทหารม้ า ลาดตระเวนเป็ น ส่ ว นก าบั ง จะมี ภ ารกิ จ คลี่ ค ลายสถานการณ์ แ ละท าลายก าลั ง ข้ า ศึ ก
ภายในขีดความสามารถ
๓-๒

ในการปฏิบัติการเฝ้าตรวจ แบ่งการปฏิบัติออกเป็น ๓ ชนิด คือ การเฝ้าตรวจทางทัศนะ, การเฝ้าตรวจ


ทางไฟฟ้ า และการเฝ้ า ตรวจทางการถ่ า ยภาพ การปฏิ บั ติ ก ารเฝ้ าตรวจของหน่ ว ยทหารม้ าลาดตระเวน
ใช้ เทคนิ ค เพื่ อให้ ได้ มาซึ่ง ข่าวสารโดยการจัด ส่ ง ก าลัง ส่ว นใหญ่ อ อกตรวจการณ์ ดั น ก าลั ง ส่ว นใหญ่ อ อกไป
ปฏิบัติงาน แต่ก็สามารถเก็บกาลังกองหนุนขนาดย่อมๆ เอาไว้แก้ปัญหา
การดารงการเกาะข้าศึกของหน่วยลาดตระเวน คือ เมื่อตรวจพบและติดตามการปฏิบัติของข้าศึกได้แล้ว
ต้องเกาะข้าศึกไว้จนกว่าข้าศึกจะหยุดคุกคามต่อหน่วยใหญ่ หรือได้เคลื่อนที่ออกไปนอกเขตรับผิดชอบแล้ว
โดยจะทาการผละจากการเกาะข้าศึกเองไม่ได้นอกจากได้รับคาสั่งจากหน่วยเหนือ เมื่อข้าศึกออกไปนอกพื้นที่
รับผิดชอบแล้วต้องแจ้งให้หน่วยข้างเคียงทราบ และช่วยเหลือหน่วยนั้นเข้าเกาะข้าศึก ต่อไป การให้ข่าวสาร
ที่ แน่ น อนและทั น เวลาของ ร้ อ ย.ม.(ลว.) ก็ เพื่ อที่ จ ะแจ้ ง เตือ นให้ ผู้ บั ง คั บ บั ญ ชาทราบที่ ตั้ ง และการคุ กคาม
ของข้าศึกตั้งแต่เริ่มต้น เพื่อให้ผู้บังคับบัญชาพัฒนาหนทางปฏิบัติที่ให้เกิดผลจู่โจม และได้เปรียบข้าศึก
โดยปกติ เมื่ อ กองพลปฏิ บั ติ ก ารรบด้ วยวิ ธีรุ ก มั ก มอบภารกิ จ ให้ พั น .ม.(ลว.) ในการระวัง ป้ อ งกั น
โดยความกว้างของพื้นที่รับผิดชอบจะกาหนดโดยใช้ปัจจัย METT-TC, ทัศนวิสัย, ภูมิประเทศและลมฟ้าอากาศ,
ข่ายถนน, การปะทะกับข้าศึกที่คาดหมายไว้ และลักษณะข่าวสารที่พึงประสงค์มาพิจารณา หาก พัน.ม.(ลว.)
ต้องปฏิบัติการเข้าตีข้าศึกเพื่อคลี่คลายสถานการณ์ การแบ่งกาลังเข้าตีโดยส่วนดาเนินกลยุทธ์ของ พัน.ม.(ลว.)
ประกอบด้วย รถถัง (รถเกราะ) และหน่วยปืนเล็ก ในส่วนฐานยิงของ พัน.ม.(ลว.) ประกอบด้วย ค.๑๒๐ มม.,
ค.๘๑ มม., ป.ชต., หน่วยบินทางยุทธวิธี โดยในการปฏิบัติการเข้าตี ผบ.พัน.ม.(ลว.) จะบังคับบัญชาอยู่ ณ ที่
ที่ควบคุมหน่วยได้ดีที่สุด ปกติจะอยู่กับส่วนดาเนินกลยุทธ์ และในการปฏิบัติ ณ ที่หมาย เมื่อส่วนดาเนินกลยุทธ์
ยึดไว้ได้แล้ว ผบ.พัน.ม.(ลว.) ปฏิบัติภารกิจสาคัญ คือ การเสริมความมั่นคง และการจัดระเบียบใหม่
ในการตั้งรับตามแบบมาตรฐาน พัน.ม.(ลว.) สามารถนากาลังไปวางในพื้นที่ตั้งรับได้ ๓ พื้นที่ คือ พื้นที่
ระวังป้องกัน, พื้นที่ตั้งรับหน้า และพื้นที่กองหนุนหรือพื้นที่ส่วนหลัง เมื่อกองพันทหารม้าลาดตระเวนเป็นส่วนกาบัง
จะมี ภ ารกิ จ แจ้ งเตื อ นการรุ ก เคลื่ อ นที่ เข้ า มาของข้ า ศึ ก , ท าลายระเบี ย บในการเคลื่ อ นที่ ข องข้ าศึ ก และ
หน่วงเหนี่ยวข้าศึก แต่ภารกิจที่เหมาะสมที่ควรมอบแก่ พัน.ม.(ลว.) ในการรบด้วยวิธีรับ คือ ภารกิจลาดตระเวน
และระวังป้องกัน หากทาหน้าที่เป็นส่วนลาดตระเวนก็จะทาการลาดตระเวนในพื้นที่ระวังป้องกัน หรือทาการวาง
ฉากกาบังเพื่อ แจ้งเตือนการเข้ามาของข้าศึกแต่เนิ่น หากทาหน้าที่เป็นส่วนระวัง ป้องกัน เมื่อปะทะกับข้าศึก
ก็จะทาการรบหน่วงเวลาเข้าหากาลังส่วนใหญ่ เพื่อให้กาลัง ส่วนใหญ่ ที่ พั น.ม.(ลว.) ทาการระวังป้องกันให้
มีพื้นที่และเวลาเพียงพอในการตอบโต้ข้าศึก ในบางสถานการณ์ พัน.ม.(ลว.) อาจต้องทาการตั้งรับแบบวงรอบ
เมื่อจาเป็น, มีเวลาน้อยหรือปฏิบัติการห่างไกลจากหน่วยอื่นๆ ของกองพล
การระวังป้องกันในพื้นที่ส่วนหลังให้กับกาลังส่วนใหญ่ พัน.ม.(ลว.) จะปฏิบตั ิต่อหน่วยกาลังรบส่งทางอากาศ,
หน่ วยเคลื่อนที่ ทางอากาศ และหน่ วยรบแบบกองโจรของฝ่ายข้ าศึก จะให้ส าเร็จภารกิจได้ โดยการปฏิ บั ติ
การกระจายกาลังกันออกเพื่อทาการเข้าตีอย่างเร่งด่วน และปฏิบัติการตอบโต้ต่อการเข้าตีข้าศึกโดยฉับพลัน
การลาดตระเวนอย่างต่อเนื่อง, การเฝ้าตรวจอย่างเหมาะสม จะเป็นการป้องกันมิให้ข้าศึกโจมตีทางปีก
ของกองพัน หากกองพันจะรั้งหน่วงข้าศึก ณ ที่มั่นตามลาดับขั้น ก็จะให้ ร้อย.ม.(ลว.) ทาการรบอย่างต่อเนื่อง
ตามที่มั่นรั้งหน่วงที่ได้เตรียมการไว้ในแต่ละขั้น ตามลาดับ ส่วนการรั้งหน่วง ณ ที่มั่นสลับขั้น จะเอื้อให้มีเวลา
ดัดแปลงที่มั่นรั้งหน่วง, มีเวลาในการซ่อมบารุงยุทโธปกรณ์ , กาลังพลผลัดเปลี่ยนกันเข้าทาการรบ แต่หากว่า
มีกว้างด้านหน้าแคบ จะเกิดอันตรายร่วมกัน
๓-๓

การระวัง ป้ องกั นในการรบหน่ วงเวลาของ พั น.ม.(ลว.) ผู้บั ง คับ กองพั นจะท าการลาดตระเวนโดย
ต่อเนื่องและการระวังป้องกันพร้อมกับมีการเฝ้าตรวจนับว่าเป็นวิธีการป้องกันที่ดีที่สุด ที่จะไม่ให้ข้าศึกตีตลบปีก
หรือจู่โจมที่มั่ นของกองพั น หน่วยที่วางกาลัง ในที่ มั่นรั้ง หน่ว งจะต้องจัดวางการระวั งป้ องกั นปีกของตนขึ้ น
โดยการจัดตั้งที่ตรวจการณ์โดยรอบตัว, จัดหน่วยลาดตระเวน และติดต่อกับหน่วยข้างเคียงตลอดเวลา จะต้อง
ทาการเกาะข้าศึ ก ไว้เพื่ อให้ สามารถระวั ง ป้ องกั น , ลวง และเพื่ อ มิให้ ข้ าศึ ก เคลื่ อ นที่ รุก เข้ ามาอย่ างรวดเร็ ว
กองพันจะใช้การถอนตัวแบบภายใต้ความกดดัน หรือทาการถอนนอกความกดดันจากข้าศึก เพื่อให้สามารถ
ดารงการเกาะข้าศึกไว้ได้ตลอดเวลา
การที่ พัน.ม.(ลว.) ใช้ ร้อย.ม.(ลว.) ทุกกองร้อยเข้าปฏิบัติการ ณ ที่มั่นรั้งหน่วงของกองพันแต่ล ะขั้น
และจะให้ ร้อ ย.ม.(ลว.) ท าการรบอย่ างต่ อเนื่ องตามที่ มั่น รั้ง หน่ วงที่ไ ด้เตรียมการไว้ ในแต่ ละขั้น ตามลาดั บ
จะเป็น แบบการรบหน่วงเวลาแบบรั้งหน่วง ณ ที่มั่ นตามล าดั บขั้น ส่วนการปฏิบั ติที่ สลับกั น รั้ง หน่ วงข้าศึ ก
โดยจะมี ก าลัง ส่ วนหนึ่ งที่ ผ ละจากการปะทะ แล้ว เคลื่อ นไปข้ างหลั ง เข้ ายึด ครองที่ มั่ น รั้ง หน่ วงในขั้ นต่ อ ไป
จะเป็นแบบการรบหน่วงเวลาแบบการรั้ง หน่ว ง ณ ที่มั่น สลับขั้น ซึ่ง การรั้งหน่วง ณ ที่ มั่นสลับขั้น มีข้อดีและ
ข้อเสียดังนี้ คือ
ข้อดี ๑. มีเวลาทาการดัดแปลงที่มั่นรั้งหน่วง
๒. มีเวลาในการซ่อมบารุงยุทโธปกรณ์
๓. หน่วยทหารมีเวลาผลัดเปลี่ยนกันทาการรบ
ข้อเสีย ข้อเสียที่สาคัญยิ่ง เนื่องจากมักจะมีกว้างด้านหน้าของพื้นที่แคบ ทาให้กาลังต้อ งอยู่รวมกัน
จะได้รับอันตรายจากการโจมตีด้วยอาวุธนิวเคลียร์ร่วมกันได้
กรม ม.(ลว.) ในภารกิจกาบังจะสาเร็จได้ก็ขึ้นอยู่กับการวางแผนและการควบคุมโดยพิจารณาภูมิประเทศ,
ข่ ายถนน, เส้ น ทางที่ จ ะก าบั ง , มอบเขตรับ ผิ ด ชอบให้ กั บ หน่ ว ยรอง และมี ก องหนุ น พอสมควร (ถ้ าท าได้
ควรเป็น ๑ กองพัน) การวางแผนและการควบคุมของ กรม ม.(ลว.) จะรวมถึง
๑. การลาดตระเวนเพื่อศึกษาภูมิประเทศ
๒. ดารงการเกาะข้าศึก
๓. จัดให้มีการแจ้งเตือนการเข้ามาของข้าศึกแต่เนิ่น
๔. คลี่คลายสถานการณ์ขณะข้าศึกเคลื่อนที่เข้ามาในพื้นที่ระวังป้องกัน
๕. จัดให้มีการลาดตระเวนทางอากาศให้มากที่สุด
๖. ดารงการสื่อสารกับหน่วยในพื้นที่ตั้งรับอย่างต่อเนื่อง
๗. ทาลายข้าศึกในขีดความสามารถ
๘. หากข้าศึกมีการเพิ่มเติมกาลัง ต้องทาการรบหน่วงเวลา
การวางแผนและประสานการเข้าตี ของ กรม ม.(ลว.) จะบรรลุผลสาเร็จ ขึ้นอยู่กับภารกิจ และเวลา
ที่อานวย โดยส่วนดาเนินกลยุทธ์ของ กรม ม.(ลว.) จะมีกาลัง ๑ กองพัน หรือมากกว่า อาจสมทบด้วย ร้อย.ถ.
หรือ ร้อ ย.ม.(ก.) จากกองพั น หนุน อาจมี การใช้ ฉากควัน กาบัง ในการด าเนิ นกลยุ ท ธ์ ในการรบหน่ว งเวลา
จะจัดส่วนระวังป้องกันอย่างน้อย ๑ ร้อย.ม.(ลว.) อาจเพิ่มเติมด้วยรถถัง ปัจจัยสาคัญในการเลือกที่มั่นรั้งหน่วง
คือ การตรวจการณ์และการยิง มีการซ่อนพรางและการลวงในการเคลื่อนย้าย หากถูกข้าศึกกดดันเร็วเกินกว่า
ที่วางแผนไว้ต้องรายงานให้หน่วยเหนือทราบโดยเร็ว และต้องมีแผนการตีโต้ตอบทุกสถานการณ์ หากเป็นไปได้
การตีโต้ตอบควรเป็นการปฏิบัติในลักษณะของการซุ่มโจมตี
๓-๔

การเคลื่อนที่ของ กรม ม.(ลว.) ซึ่งกาบังทางปีกอยู่นั้น เมื่อพบกาลังส่วนน้อยของข้าศึกจะอ้อมผ่านไป


โดยรายงานที่ ตั้ง , ก าลั ง , การประกอบก าลั ง และการวางกาลัง ของข้ าศึ ก ที่ อ้ อมผ่ านไปให้ ส่ วนใหญ่ ท ราบ
และถ้ากาลังข้าศึกมีขนาดใหญ่ จะต้องทาลายหรือตรึงข้าศึกไว้
ผบ.กรม ม.(ลว.) จะวางแผนเมื่อเป็นส่วนกาบังด้านหลัง โดยพิจารณาภูมิประเทศ, ข่ายถนน, เส้นทาง
ที่จะกาบัง, มอบเขตรับผิดชอบ ให้หน่วยรอง และเก็บกองพันไว้เป็นกองหนุนหนึ่งกองพัน ถ้าสามารถกระทาได้
กรม ม(ลว.) ปฏิ บัติ การรบด้ วยวิธีรุก การวางแผนและการประสานในการเข้าตี จะบรรลุ ผลสาเร็จ
แค่ไหนขึ้นอยู่กับภารกิจและเวลาอานวยให้ กรม ม.(ลว.) ในการรบด้วยวิธีรุกมีการจัดแบ่งกาลังเข้าตีโดยแบ่งกาลัง
เป็น ๓ ส่วน คือ ส่วนดาเนินกลยุทธ, ฐานยิง และกองหนุนส่วนดาเนินกลยุทธ์ของ กรม ม.(ลว.) มีกาลังหนึ่งกองพัน
หรือมากกว่า อาจสมทบด้วย ร้อย.ถ., ร้อย.ม.(ลว.) จากกองพั นหนุน ในการดาเนิ นกลยุทธ์เข้าตีของ กรม ม.(ลว.)
การใช้ควันปกติเราใช้ให้พัดไปหาข้าศึกเพื่อ เป็นฉากกาบังในการดาเนินกลยุทธ
การตั้งรับแบบคล่องตัวของ กรม ม.(ลว.) จะสาเร็จได้ผลขึ้นอยู่ กับการปฏิบัติของการปฏิบัติ การรบ
ด้วยวิธีรุกของกาลังโจมตีที่มีความคล่องแคล่วและมีความรุนแรงในการโจมตี
การตั้งรับแบบยึดพื้นที่ กรม ม.(ลว.) จะมีการจัดกาลังของส่วนระวังป้องกันในการตั้งรับแบบยึดพื้นที่
โดยใช้ ร้อย.ม.(ลว.) หรือมากกว่า หรือเพิ่มเติมด้วยรถถัง การจัดกองหนุน จะจัดหน่วยระดับกองพันไว้ หรือ
จะจัดเป็นกองพันรบเฉพาะกิจไว้เป็นกองหนุนก็ได้
เมื่อ กรม ม.(ลว.) ได้รับคาสั่งให้ทาการรบหน่วงเวลา ตามปกติผู้บังคับหน่วยเหนือ จะกาหนดแนวขึ้น
แนวหนึ่งที่ไม่ยอมให้ข้าศึกผ่านเข้าได้ก่อนถึง เวลาที่กาหนดไว้แนวนี้คือ แนวที่มั่นรั้งหน่วงขั้นแรก โดยจะดาเนินการ
ต้านทานอย่างสูงสุด ณ ที่ มั่นรั้งหน่วงขั้นแรก การปฏิบัติแบบนี้เป็น การรั้งหน่วงแบบการรั้งหน่ วง ณ ที่มั่ น
ตามลาดับขั้น
ในระหว่างการรบหน่วงเวลา ผบ.กรม ม.(ลว.) จะต้องตระหนักไว้ทันทีว่า เมื่อข้าศึกทราบว่าฝ่ายเรา
จะท าการรบหน่ ว งเวลา ข้ า ศึ ก จะเข้ า ตี ท างปี ก ในสถานการณ์ นี้ กรม ม.(ลว.) จะต้ อ งเตรี ย มแก้ ปั ญ หา
โดยการเตรียมใช้กองหนุนทาการเข้าตี และเตรียมทาการรั้งหน่วงข้าศึกทางปีกไว้ การปฏิบัติการรบหน่วงเวลา
ของกรมทหารม้าลาดตระเวนจากที่มั่นแห่งหนึ่งไปยังที่มั่นขั้น ต่อไป จะต้องควบคุมและประสานการปฏิบัติ
โดยใกล้ชิด นอกจากนั้น จะต้องพยายามลวงข้าศึกทุกวิถีทาง จะทาการลวงข้าศึกในเรื่องการซ่อนพรางและ
การเตรียมการเคลื่อนย้าย ปัจจัยที่สาคัญ ในการเลือกที่มั่นรั้งหน่วงของ กรม ม.(ลว.) คือ การตรวจการณ์และ
การยิงระยะไกล
ถ้าข้าศึกไม่กดดันให้ กรม ม.(ลว.) ต้องเคลื่อนย้ายออกจากที่มนั่ รั้งหน่วง หรือข้าศึกกดดันให้ต้องถอนตัว
เร็วเกินไปกว่าที่วางแผนไว้ ผบ.กรม ม.(ลว.) จะต้องรายงานให้ผู้บังคับหน่วยเหนือทราบ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
จะต้องรายงานให้ทราบถึงสถานการณ์โดยละเอียด ผบ.กรม ม.(ลว.) จะเป็นผู้กาหนดสถานการณ์ที่แน่นอน
ที่จะปฏิบัติการตีโต้ตอบโดยแน่ชัด กรม ม.(ลว.) จะต้องทาแผนเพื่อปฏิบัติการตีโต้ตอบในทุก ๆ สถานการณ์
ทั้งนี้จะต้องพยายามทุกวิถีทางที่จะให้เกิดผลดีในการจู่โจม ถ้ากระทาได้ควรจะให้การตีโต้ตอบเป็นไปในลักษณะ
การซุ่มโจมตี
๓-๕

ตอนที่ ๒
ทหารม้ารถถัง
หน่วยรถถังมีคุณ ลักษณะที่ สาคั ญ คือ มีอานาจการยิง ที่ รุน แรง, ความคล่อ งแคล่วในการเคลื่อนที่ ,
มีเกราะกาบัง, มีอานาจทาลายและข่มขวัญ เข้าทาการรบด้วยรถถังที่มีอานาจสูงสุดทาให้กาลังรบข้าศึกพ่ายแพ้ไป
บทบาทของหน่วยทหารม้ารถถังเป็น การปฏิบัติที่ ต้องการความเด็ ดขาดในการยุท ธ์เคลื่อนที่เร็วทางพื้นดิ น
โดยใช้ รถถัง เป็ น ยานรบ โดยปกติ ทหารม้ารถถัง จะมีลัก ษณะที่ เข้าท าการรบด้ วยวิธีรุก เป็ น หลัก และด ารง
คุณลักษณะได้ด้วยการใช้รถถังอย่างชานาญ ซึ่งความสาเร็จในการปฏิบัติการของทหารม้ารถถัง ขึ้นอยู่กับการใช้
คุณลักษณะอย่างเหมาะสมของเกราะป้องกันตัว อานาจการยิง ความคล่องแคล่วในการเคลื่อนที่ อานาจการทาลาย
และข่มขวัญ และมีระบบการติดต่อสื่อสารที่กว้างไกลและอ่อนตัว
ทหารม้ารถถังในการรบด้วยวิธีรุก จะใช้อานาจการยิงและดาเนินกลยุทธ์ในการเข้าตี เพื่อเข้าข่มขวัญ
ตัดรอนกาลัง หรือเพื่อทาลายล้างข้าศึก เพื่อเข้าควบคุมภูมิประเทศสาคัญหรือเพื่อเข้ารบกวนต่อพื้นที่ส่วนหลัง
ของข้าศึก ทหารม้ารถถังต้องวางแผนปฏิบัติการอย่างห้าวหาญและถี่ถ้วน แล้วเข้าตีอย่างรุกรบและรุนแรง ทั้งนี้
เพื่อให้เกิดการทาลายและข่มขวัญสูงสุดในการเข้าทาลายล้างข้า ศึกตลอดไปจนถึงยุทธภัณฑ์รบของข้าศึกด้วย
ความรุนแรงดังกล่ าวนี้ก่อให้เกิดความสาเร็จได้ โดยทาให้ข้าศึ กต้องอ่อนกาลังลงจนถึง ณ จุดๆ หนึ่งซึ่งข้าศึ ก
ไม่อาจต้านทานการเข้าตีต่อไปอย่างมีประสิทธิภาพได้ สรุปหลักการสาคัญของการใช้หน่วยรถถังปฏิบัติการรบ
ด้วยวิธี รุกก็เพื่อ ทาลายข้าศึ ก คลี่คลายสถานการณ์ ยึ ด ภู มิป ระเทศ รวมทั้ ง เบนความสนใจของข้ าศึก หรื อ
เพื่อให้บรรลุผลหลายๆ อย่าง ทาให้ผู้บังคับบัญชาเกิดข้อได้เปรียบในเรื่องความริเริ่มในการปฏิบัติและโอกาส
ที่จะเป็นฝ่ายสร้างสถานการณ์หรือขยายสถานการณ์อย่างได้ผล
ในการเข้ าตี ร ถถั งจะเคลื่ อ นที่ บ นเส้ น หลั ก เดี ยวกั น กั บ หน่ ว ยทหารม้ า บรรทุ ก ยานเกราะเมื่ อ เข้ า ตี
ในภูมิประเทศโล่งแจ้ง, มีเส้นทางการเคลื่อนที่เพียงเส้นทางเดียว หรือไม่สามารถโอบปีกต่อที่หมายได้ แต่ถ้าหาก
มีเครื่องกีดขวางหรือเป็นพื้นที่ซึ่งรถถังไม่สามารถผ่านได้ หรือภูมิประเทศนั้นต้องข้ามลาน้าที่ไม่สามารถลุยข้ามได้
ก็จ ะใช้ รถถัง ในบทบาทเป็ น ฐานยิ ง โอกาสที่ ควรใช้ ร ถถั ง และหน่ วยบรรทุ ก ยานเกราะเข้า ตีค นละเส้น ทาง
สอบเข้ า หากั น เมื่ อ มี เส้ น ทางเคลื่ อ นที่ เข้ า หาที่ ห มายมากกว่ าหนึ่ ง เส้ น ทาง, มี เส้ น ทางที่ ให้ ก ารซ่ อ นพราง
อย่างน้อยหนึ่งเส้นทาง และเมื่อสามารถโอบปีกของที่หมายได้
หากไม่มีเวลาเพียงพอในการเตรียมการและการลาดตระเวนอย่างละเอียดและวางแผนอย่างประณีตแล้ว
หน่วยรถถังจะเข้าตีจากขบวนเดินโดยใช้ความรวดเร็ วและใช้กาลังเป็นกลุ่มก้อนเพื่อให้เกิดอานาจทาลาย และ
ข่มขวัญ อย่างเต็มที่ การตีจากขบวนเดินนี้ต้องอาศัยความริเริ่มและการปฏิ บัติอย่างห้าวหาญ หากหน่วยรถถัง
ได้รับภารกิจเป็นกองหนุนก็จะจัดทาแผนของตนขึ้นเพื่อสนับสนุนภารกิจของหน่วยเหนือตามแผน ก่อนการปฏิบัติ
ควรจะได้ ท าการลาดตระเวนบนพื้น ที่ ในภู มิป ระเทศ เพื่ อพิ จารณาเส้น ทางต่างๆ, ฐานออกตี , แนวออกตี ,
ที่มั่นสกัดกั้น และที่หมายในการตีโต้ตอบ แล้วกาหนดมาตรการควบคุมต่างๆ ที่จาเป็น
ทหารม้ารถถังในการตั้งรับแบบคล่องตัวหากหน่วยรถถังต้องเป็นส่วนตรึงก็จะแบ่งมอบที่มั่น และเขตการยิง
ให้กับหน่วยต่างๆ โดยดูจากกาลัง ที่มีอยู่และเส้นทางที่ข้าศึกจะใช้เคลื่อนที่เข้ามาในเขตเป็นเครื่องพิจารณา
หน่ ว ยสื่ อ สารจะด าเนิ น การวางการติ ด ต่ อ สื่ อ สารทางสายในที่ บั ง คั บ การ, ในที่ ร วมพล ใช้ ข่ า ยการติ ด ต่ อ
สื่อสารทางสายในระหว่างการห้ามส่งวิทยุ ในการรบด้ วยวิธีรับ หรือการปฏิบัติการอยู่กับที่ และในที่รวมพล
การใช้ พั น.ม.(ถ.) จะต้องพิจ ารณาขีดความสามารถข้าศึ กในเรื่องอานาจการยิง การพิ จ ารณาใช้ พั น.ม.(ถ.)
จะเกี่ยวข้องกับ ที่ตั้งและการวางกาลั งอาวุธ , คุณ ลักษณะอาวุธของข้าศึก, จุดอ่อนของอาวุธข้าศึกต่ออานาจ
กาลังรบที่มีอยู่ของผู้ บังคับหน่วยฝ่ายเรา, จานวนและชนิดอาวุธที่ข้าศึกมีอยู่ในครอบครองและอาจหามาได้
ปัจจัยสาหรับการพิจารณาภูมิประเทศและลมฟ้าอากาศก็เช่นเดียวกับการวางแผนโดยทั่วไปซึ่งจะต้องวิเคราะห์
ภูมิประเทศอย่างถี่ถ้วนในเรื่องเกี่ยวกับ
๓-๖

๑. การตรวจการณ์และพื้นยิง
๒. เครื่องกีดขวาง
๓. การซ่อนพรางและการกาบัง
๔. ภูมิประเทศสาคัญ
๕. เส้นทางเคลื่อนที่เข้าประชิด
ตามปกติ พัน.ม.(ถ.) เป็นหน่วยขึ้นตรงของ พล.ม., พล.ร. และ กรม.ม. เพื่อปฏิบัติทางยุทธวิธี แต่กองพล
สามารถจัด พัน.ม.(ถ.) ขึ้นเป็น พัน.ม.(ถ.) เฉพาะกิจ ที่ได้รับการเพิ่มเติมกาลังขึ้นได้ และใช้ภายใต้การควบคุม
โดยตรงของกองพลเมื่อใช้เป็นหน่วยกาบังให้กับกองพลหรือกรม
การใช้ พัน.ม.(ถ.) เพิ่มเติมกาลัง ปฏิบัติภารกิจเป็นหน่วยกาบังให้กับกองพลโดยการจัดกาลังรบเฉพาะกิจ
ของ พั น .ถ.จะไม่ ต ายตั ว การประกอบก าลั ง ของ พั น .ม.(ถ.) ฉก. ขึ้ น อยู่ กั บ ปั จ จั ย METT-TC สามารถ
เปลี่ยนแปลงได้เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ทางยุทธวิธีที่เปลี่ยนแปลงไป ในขณะปฏิบัติการรบกองบังคับการ
และกองร้ อยกองบังคับการก็จะปฏิบัติเป็น ๒ ส่วน คือ ที่บังคับการกองพัน และขบวนสัมภาระของกองพัน
ส่วนประกอบของที่บั งคับ การกองพั น และขบวนสัม ภาระของกองพั นอาจแตกต่ างกัน ไปตามสถานการณ์
โดยจั ด พวกบั งคั บ บั ญ ชาปฏิ บั ติ งานใน ทก.ยว.แยกออกไปจาก ทก.หลั ก ควบคุ ม บั ง คั บ บั ญ ชาหน่ ว ยรอง
ไกลออกไปจาก ทก.หลัก เพื่อจะได้ทราบสถานการณ์การรบด้วยตนเอง ใช้ประมุขศิลป์ และควบคุมหน่วยได้
ใกล้ชิดขึ้น ในช่วยเวลาวิกฤติ พวกบั งคับบัญ ชาจะประกอบด้วยผู้บังคับ บัญ ชา และฝ่ายอานวยการที่จาเป็ น
พร้อมด้วยเครื่องมือสื่อสารและหน่วยแยกระวังป้องกัน
ในสถานการณ์ที่มีการจัดขบวนสัมภาระของกองพันออกเป็น ๒ ส่วนอันประกอบด้วย ขบวนสัมภาระรบ
และสัมภาระพัก ขบวนสัมภาระรบจะเคลื่อนที่ไปกับกองพัน ส่วนขบวนสัมภาระพักจะอยู่ที่พื้นที่ขบวนสัมภาระ
ของกรมหรือพื้นที่สนับสนุนของกองพล
วิธีรบของ พัน.ม.(ถ.) มีการยิงและการดาเนินกลยุทธ์ กับการยิงและการเคลื่อนที่มีลักษณะที่แตกต่างกัน
คือ สาหรับการยิงและการดาเนินกลยุทธเป็นการปฏิบั ติโดยใช้กาลังแยกเป็นสองส่วน คือ ส่วนดาเนิน กลยุทธ์
เคลือ่ นที่เข้าสู่ที่หมาย และอีกส่วนเป็นฐานยิง ส่วนการยิงและการเคลื่อนที่จะเป็นการปฏิบัติของส่วนดาเนินกลยุทธ์
ที่ แ บ่ ง ก าลั ง ออกเป็ น ๒ ส่ ว น ให้ ส่ ว นหนึ่ ง เคลื่ อ นที่ รุ ก เข้ า สู่ ที่ ห มาย อี ก ส่ ว นหนึ่ ง หยุ ด ท าการยิ ง คุ้ ม ครอง
เมือ่ ส่วนดาเนินกลยุทธเคลื่อนที่เป็นกลุ่มก้อนไม่ได้ และจะกระทาสลับกันเท่าที่จาเป็นจนกว่าส่วนดาเนินกลยุทธ์
ทั้งหมดสามารถเข้าตีเป็นกลุ่มเป็นก้อนได้
๓-๗

ตอนที่ ๓
ทหารม้าบรรทุกยานเกราะ
ทหารม้าบรรทุกยากเกราะ มีภารกิจ คือ เข้าประชิดข้าศึกด้วยการยิงและการดาเนินกลยุทธ์ เพื่อทาลายหรือ
จับเป็นเชลย ทาลายการเข้าตีของข้าศึกด้วยการยิง การรบประชิด และการตีโต้ตอบ โดยมีขีดความสามารถ ดังนี้
๑. เข้าประชิดข้าศึกด้วยการยิงและดาเนินกลยุทธ์เพื่อทาลาย หรือจับเป็นเชลย
๒. ทาลายการเข้าตีของข้าศึกโดยการยิง การรบประชิด และการตีโต้ตอบ
๓. แย่งยึดภูมิประเทศ
๔. ดาเนินกลยุทธ์ได้ในภูมิประเทศทุกประเภท และทุกสภาพอากาศ
๕. มีความคล่องแคล่วในการเคลื่อนที่สูง
๖. ต่อสูร้ ถถังได้ในขีดจากัด
โดยปกติทหารม้าบรรทุกยากเกราะจะทาการรบบนยานรบเป็นหลัก แต่เมื่อสถานการณ์บีบบังคับหรือ
มีปัญหาจากเครื่องกีดขวาง ทหารม้าบรรทุกยานเกราะก็จะทาการลงรบเดินดิน และเมื่อยึดที่หมายได้แล้วก็จะรีบ
เสริมความมั่นคงและจัดระเบียบใหม่ สถานการณ์ที่นามาพิจารณาในการใช้หน่วยทหารม้าบรรทุ กยานเกราะ
หรือใช้เป็นส่วนปฏิบัติหลัก โดยไม่ต้องมีหน่วยใดมาสมทบ มีดังนี้
๑. เมื่อทัศนวิสัยจากัด
๒. เมื่อมีอาคารบ้านเรือน หรือเครื่องกีดขวางธรรมชาติอย่างหนาแน่น
๓. เมื่อข้าศึกมีการป้องกันต่อสู้รถถังแข็งแรง
๔. ต้องการกวาดล้างข้าศึกในเขตปฏิบัติการ
๕. ต้องการกวาดล้างข้าศึกในพื้นที่ที่มีอาคารบ้านเรือนหนาแน่น
เทคนิคการดาเนินกลยุทธ์ของทหารม้าบรรทุกยานเกราะในการรบบนยานรบนั้น คงเป็น เช่นเดียว
กับทหารม้ารถถัง คือมีส่วนหนึ่งยิงคุ้มครองการเคลื่อนที่ ขณะที่อีกส่วนหนึ่งทาการเคลื่อนที่ เข้าประชิดข้าศึก
แต่เมื่อทหารม้าบรรทุกยานเกราะทาการลงรบเดินดิน ก็จะใช้เทคนิคการดาเนินกลยุทธ์ เช่นเดียวกับทหารราบ
ส่วนรถสายพานลาเลียงพลหรือรถเกราะ ก็จะทาหน้าที่เป็นฐานยิงเพื่อให้การยิงสนับสนุนทหารม้าที่ทาการลงรบ
เดินดินด้วยอาวุธที่ติดตั้งอยู่บนยานรบนั้น ๆ เพิ่มเติมด้วยการยิงจากเครื่องยิงลูกระเบิด, อาวุธต่อสู้รถถัง และ
จากปืนใหญ่ที่มาให้การสนับสนุ น ในบางกรณี ที่รถสายพานลาเลียงพลหรือรถเกราะไม่สามารถติดตามเข้าไป
ในพื้ น ที่ ไ ด้ เลย ทหารม้ า บรรทุ ก ยานเกราะก็ จ ะท าการลงรบเดิ น ดิ น แล้ ว ด าเนิ น กลยุ ท ธ์ โดยปราศจาก
การสนับสนุนจากยานรบ
กองพันทหารม้าบรรทุกยานเกราะ (พัน.ม.(ก.) จะปฏิบัติการรบตามลาพังได้ เมื่อฝ่ายข้าศึกเป็นทหารราบ
เดินเท้า และเมื่อหน่วยได้รับภารกิจในการเข้าตี, ขยายผลไล่ติดตาม, เป็นกองหนุน และเมื่อควบคุมเชลยศึก
ในการรบด้วยวิธีรุก พั น.ม.(ก.) สามารถปฏิ บัติการตามล าพั งได้ แต่ ต้องคานึงถึงลักษณะภู มิ ประเทศ
หากเป็นภูมิ ประเทศที่มี เส้นทางมาก มว.ลว. ของ พัน .ม.(ก.) จะได้รับมอบภารกิจในการทาฉากก าบัง และ
มว.ตถ. ทาการสร้างฉากขัดขวางให้กับกองพัน โดยที่ยุทธวิธีของ พัน.ม.(ก.) ขึ้นอยู่กับการยิง และการดาเนินกลยุทธ์
ดังนั้นมาตรการในการควบคุมของ พัน.ม.(ก.) ในการเข้าตี จึงคล้ายกับหน่วยดาเนินกลยุทธ์อื่นๆ คือ ที่รวมพล,
ฐานออกตี , แนวออกตี , ที่ ห มาย, เส้ น หลั ก การรุ ก , ทิ ศ ทางเข้ า ตี , เส้ น ขั้ น , จุ ด ตรวจสอบ และจุ ด พบ
ดังนั้นบทบาทของ พัน.ม.(ก.) ในการเข้าตีมักจะได้รับภารกิจ ดังนี้
๑. เจาะช่องหรือรื้อถอนเครื่องกีดขวาง
๒. ช่วยเหลือ ตัดรอน หรือทาลายอาวุธต่อสู้รถถังของข้าศึก
๓. กาหนดและระบุเป้าหมายให้กับรถถังทาการยิง
๔. ป้องกันรถถังจากมาตรการในการต่อสู้รถถังเป็นบุคคล
๕. ทาการเข้าตีด้วยการลงรบเดินดินเมื่อจาเป็น
๓-๘

๖. ให้การคุ้มครองรถถังขณะดาเนินกลยุทธ์
๗. กวาดล้าง และช่วยเหลือในการเสริมความมั่นคง ณ ที่หมาย
ส่ วนมาตรการควบคุ ม ที่ ใช้ ในการตั้ ง รับ ของ พั น .ม.(ก.) ได้ แ ก่ แนวขอบหน้ าที่ มั่ น , เส้ น แบ่ ง เขต,
จุดประสานเขต, ที่มั่นสกัดกั้น และที่รวมพล
๓-๙

ตอนที่ ๔
การปฏิบัติการของ กองร้อยชุดรบ และกองพันเฉพาะกิจ
คื อหน่ วยทหารม้ าที่ มี การจั ดเฉพาะกิ จหรื อผสมด้ วยหน่ วยประเภทอื่ น ๆ หน่ วยขนาดเล็ กที่ สุ ด คื อ
“กองร้ อ ยชุ ดรบ” ซึ ่ง เป็น การจัด หน่ว ยด าเนิน กลยุท ธ์ใ นระดับ กองร้อ ยเป็น การชั ่ว คราว โดยจัด ขึ ้น
เพื่อปฏิบัติการรบในกิจเฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่งโดยต้องพิจารณาปัจจัยภารกิจ ข้าศึก ภูมิประเทศ ลมฟ้าอากาศ
กาลังที่มีอยู่ และเวลา รวมทั้งข้อพิจารณาด้านพลเรือน ชุดรบนี้อาจจะประกอบกาลังระหว่าง รถถัง - ทหารม้า
บรรทุกยานเกราะ หรือรถถัง - ทหารราบ ก็ได้
กองร้อยชุดรบ
กองร้อยชุดรบเป็ นการจั ดรวมหน่ วยต่างๆ ในทางยุทธวิธี ภายใต้ การบั งคั บบั ญชาของผู้บั งคับกองร้อย
คนเดียว ซึ่งกองร้อยชุดรบจัดตั้งขึ้นเพื่ อการปฏิ บัติการหรือภารกิจใดภารกิจหนึ่ งโดยเฉพาะ กองร้อยชุดรบ
อาจจะประกอบด้วยกองร้อยเต็มอัตรา ๑ กองร้อย และหน่วยรบนอกอัตรา ๑ หน่วย หรือมากกว่ามาขึ้นสมทบ
หรืออาจประกอบด้วยกองร้อย ๑ กองร้อย แต่มีหน่วยในอัตรา ๑ หรือ ๒ หน่วย หรือมากกว่าแยกไปสมทบกับ
หน่วยอื่น แล้วมีหน่วยรบนอกอัตรา ๑ หน่วย หรือมากกว่ามาขึ้นสมทบ
กองร้อยชุดรบ สามารถจัดกาลังได้ ๓ แบบ ได้แก่ กองร้อยชุดรบหนัก ถ., กองร้อ ยชุดรบหนัก ม.(ก.)
และกองร้อยชุดรบแบบสมดุล โดยปกติกองร้อยชุดรบของทหารม้าจะประกอบด้วย ๑ ร้อย.ถ. กับ ๑ มว.ม.
หรือ ๑ ร้อย.ม.(ก.) กับ ๑ มว.ถ. หรือมากกว่า ซึ่งผู้ที่จะทาหน้าที่ ผบ.ร้อย.ชุดรบ นั้นพิจารณาจากภารกิจและ
การประกอบกาลัง โดยทั่วไปถ้ากองร้อยชุดรบจัดกาลังประเภทใดเป็นหลักก็ให้ ผบ.หน่วยนั้นเป็น ผบ.ร้อย.ชุดรบ
และในการเข้าตี ผบ.ร้อย.ชุดรบจะอยู่กับส่วนดาเนินกลยุทธ์เพื่อควบคุมการเคลื่อนที่ และคลี่คลายสถานการณ์
ได้อย่างเหมาะสม
กองร้อยชุดรบจะมีรูปขบวนมูลฐาน คือ รูปขบวนหน้ากระดาน และรูปขบวนแถวตอน โดยจัดกาลัง
เป็น ๒ ส่วน คือ ส่วนดาเนินกลยุทธและส่วนฐานยิง การเข้าตีของกองร้อยชุดรบมักจะกระทาใน ๓ ลักษณะ คือ
๑. ส่วนดาเนินกลยุทธ์เข้าตีบนเส้นหลักเดียว
๒. ส่วนดาเนินกลยุทธ์เข้าตีบนสองเส้นหลัก ซึ่งสอบเข้าหากัน
๓. รถถังของส่วนดาเนินกลยุทธ์สนับสนุนด้วยการยิงเพียงอย่างเดียว
ปกติแล้ว ผบ.ร้อย.ชุดรบ จะใช้หน่วยในการดาเนินกลยุทธ์ไม่ต่ากว่า ระดับหมวด แต่หากภูมิประเทศ
หรือสถานการณ์ ไม่อานวยก็อาจจาเป็นต้องใช้กาลัง กระจายต่ากว่าหมวดได้ และมักจะไม่กาหนดกองหนุ น
ที่แน่นอน แต่จะจัดรูปขบวนไว้ในทางลึกและใช้ความคล่องแคล่วในการเคลื่อนที่ให้เ กิดประโยชน์ สูง สุด ซึ่ง
หน่วยรถถังในกองร้อยชุดรบมีบทบาท ดังนี้
๑. ใช้อานาจการยิงที่มีเกราะป้องกัน เพื่อช่วยให้ชุดรบรุกเข้าหาข้าศึกได้
๒. ตัดรอนและทาลายอาวุธของข้าศึกด้วยการยิงและการเคลื่อนที่
๓. กวาดล้างเส้นทางเคลื่อนที่ของชุดรบ
๔. ตัดรอนที่ตั้งป้อมค่ายด้วยอาวุธเล็งตรง
๕. สนับสนุนการยิงเล็งตรงให้กับชุดรบ
๖. ให้การป้องกันต่อสู้รถถัง
๗. เมื่อสภาพอานวยจะเคลื่อนที่นาในการเข้าตี
๓ - ๑๐

กองพันทหารม้าเฉพาะกิจ
ในหน่ วยระดั บ สู งขึ้ น มาจากกองร้ อ ยชุ ด รบ คื อ กองพั น รบเฉพาะกิ จ ซึ่ ง เป็ น หน่ ว ยขนาดกองพั น
ที่สนธิกาลังกันระหว่างรถถังและทหารม้ายานเกราะเป็นการชั่วคราว โดยมีส่วนสนับสนุนการรบ และส่วนช่วยรบ
ตามความจาเป็น เพื่อให้สามารถปฏิบัติภารกิจอย่างใดอย่างหนึ่งให้เป็นผลสาเร็จได้ การประกอบกาลังของกอง
พันรบเฉพาะกิจไม่มีกฎข้อบังคับตายตัวที่จะกาหนดขนาดและการประกอบกาลัง การจัดกองพันรบเฉพาะกิจ
ขึ้ น อยู่ กั บ ปั จ จั ย METT-TC และปั จ จั ย อื่ น ๆ เช่ น เดี ย วกั บ การจั ด กองร้ อ ยชุ ด รบ อาจมี ก ารเปลี่ ย นแปลง
การประกอบกาลังได้ขณะที่สถานการณ์ เปลี่ยนแปลงไป ดัง นั้นเมื่อ ได้จัดกาลังเพื่อปฏิบัติการแล้วในระหว่ าง
การปฏิบัติ ผบ.หน่วยอาจจะเปลี่ยนแปลงการจัดหน่วยขึ้นใหม่ ก็ได้ การเรียกนามหน่วยก็ขึ้นอยู่กับหน่วยหลัก
ที่น ามาประกอบก าลัง ถ้ามี กองพั น ทหารม้า(รถถัง ) เป็น หลั ก เรียกว่ า กองพั น ทหารม้า (รถถัง ) เฉพาะกิ จ
(พัน.ม.(ถ.) ฉก.) ถ้ามีกองพันทหารม้า (บรรทุกยานเกราะ) เป็นหลัก เรียกว่า กองพันทหารม้า (บรรทุกยานเกราะ)
เฉพาะกิจ (พัน.ม.(ก).ฉก.) ถ้าจัดกาลังเท่าๆ กันแบบสมดุล อาจเรียกว่า กองพันทหารม้าเฉพาะกิจ(พัน.ม.ฉก.)
ในการเข้าตีนั้ น พั น.ม.ฉก. จะกาหนดทิ ศทางเข้าตีให้ กับหน่วยด าเนิ นกลยุทธ์ เมื่ อทัศ นวิสัยจากัด ,
ทาการเข้าตีเวลากลางคืน และทาการตีโต้ตอบ และจะกาหนดฐานออกตีให้กับหน่วยกองร้อยชุดรบ และหน่วย
ขนาดหมวดเท่านั้น โดยปกติจะใช้ มว.ค.ปฏิบัติการภายใต้การควบคุมของกองพันโดยตรง เพื่อใช้ เป็นส่วนยิง
สนับสนุนของกองพัน สาหรับ มว.ลว. จะใช้ในภารกิจลาดตระเวนและระวังป้องกันให้กับกองพั นโดยเฉพาะ
ในการระวังป้องกันปีก และจะใช้หน่วยทหารม้าบรรทุกยานเกราะในการกวาดล้าง และเสริมความมั่นคง ณ ที่หมาย
การเข้าตีโดยใช้ ทหารม้ารถถังและทหารม้าบรรทุกยานเกราะเข้า ตีบนเส้นหลักสองเส้น โดยโอบปีก เข้าหากัน
จะให้ผลในการจู่โจมดีที่สุด แต่เมื่อที่หมายไม่สามารถปฏิบัติได้ก็ควรใช้ทหารม้ารถถังและทหารม้าบรรทุกยานเกราะ
เข้าตีบนเส้นหลักเดียวกัน ไม่ว่าจะใช้วิธีเข้าตีอย่างไรก็ควรจะเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงสุดเท่าที่ภูมิประเทศและ
สถานการณ์ข้าศึกจะอานวยให้ และเมื่อยึดที่หมายได้แล้วต้องรีบดาเนินการเสริมความมั่นคงและจัดระเบียบใหม่
เพื่อป้องกันการตีโต้ตอบของข้าศึกและให้หน่วยอยู่ในสภาพพร้อมรบ
การเข้าตีเวลากลางคืนมักจะถูกนามาใช้เสมอในการรบด้วยวิธีรุก เมื่อปฏิบัติการในเวลากลางวันมีโอกาส
ได้ผลสาเร็จน้อย หรือเมื่อกาลังสนับสนุนทางอากาศของฝ่ายเราจากัด หรือเพื่อรักษาความหนุนเนื่องในการเข้าตี
ต่อจากเวลากลางวัน เพื่อกดดันอย่างต่อเนื่องทั้ งกลางวันและกลางคืนโดยมิให้ข้าศึกได้พักผ่อนหรือจัดระเบียบ
ในการตั้งรับใหม่ และสร้างความสูญเสียอย่างหนักแก่ข้าศึก ถึงแม้การควบคุมการปฏิบัติในการเข้าตีเวลากลางคืน
ทาได้ยากลาบาก แต่ความมืดจะช่วยฝ่ายเข้าตีในการกาบังซ่อนพรางทาให้อัตราการเสี่ยงต่าและความสูญเสียน้อย
การปฏิบัติก็คงเช่นเดียวกับการปฏิบัติเข้าตีในเวลากลางวัน แต่เทคนิคและการควบคุมอาจเปลี่ยนแปลงไปบ้าง
ทั้ งนี้ ความส าเร็ จของการเข้ าตี ในเวลากลางคื นจะขึ้ นอยู่ กั บการลาดตระเวนที่ ดี มี แผนที่ สามารถปฏิ บั ติ ได้ ง่าย
มี มาตรการควบคุ ม ที่ ไ ด้ ผ ล มี ก ารฝึ ก ท าการรบในเวลากลางคื น และขี ด ความสามารถในการเฝ้ า ตรวจ
ในเวลากลางคื น ของข้ า ศึ ก ที่ ห มายในการเข้ า ตี เวลากลางคื น ควรจะตื้ น หรื อ จ ากั ด ความลึ ก เนื่ อ งจาก
ความยากลาบากในการควบคุมการปฏิบัติ นอกจากนั้น ขวัญ และสภาพจิตใจของทหารจะมีผลต่อการปฏิบัติ
ในเวลากลางคื นอย่ างมาก ดังนั้ นหน่ วยปฏิบั ติ ควรได้รั บการฝึ ก การปฏิ บั ติ เวลากลางคื นเป็ น มาอย่ างดี และ
ข้อพิจารณาที่สาคัญที่สุดคือ หน่วยจะต้องคุ้นเคยกับภูมิประเทศที่ ก่อนจะเข้าตี เมื่อผู้บังคับหน่วยตกลงใจที่จะ
ปฏิ บั ติ ก ารเข้ า ตี เวลากลางคื น ต้ อ งรี บ แจ้ ง ให้ ห น่ ว ยรองทราบเพื่ อ ให้ มี เวลาลาดตระเวนและเตรี ย มการ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องลาดตระเวนในรายละเอียดในเรื่องเส้นทางการเคลื่อนที่ ฐานออกตี ตาบลควบคุมต่างๆ
จุดผ่านแนวออกตีห มวด ภาพถ่ายทางอากาศของพื้ นที่ ที่ จะเข้าตีต้อ งจั ดหาและแจกจ่ ายถึง หน่ วยกองร้อ ย
เป็ น อย่ า งน้ อ ย โดยการลาดตระเวนสามารถได้ ข้ อ มู ล เพิ่ ม เติ ม มาจากการลาดตระเวนทางอากาศ หรื อ
หน่วยที่ปะทะข้าศึกในแนวหน้า
๓ - ๑๑

การจู่โจมในการเข้าตีในเวลากลางคืนจะเกิดได้จากการรักษาความลับ ซึ่งควรจะกาหนดขนาดและเวลา
ในการลาดตระเวน, ใช้การยิงของปืนใหญ่ และเครื่องยิง ลูกระเบิดเพื่อ กลบเสียงของรถถังและรถสายพาน
รวมทั้ง เลือ กเข้าตี ณ เวลาและทิ ศทางที่ ข้าศึกมิไ ด้คาดหมายไว้ ส่วนมาตรการควบคุมก็ค งปฏิบั ติเช่น เดีย ว
กับ เวลากลางวัน แต่ ก ารควบคุ ม จะมี ม ากขึ้ น เช่ น จุด เริ่ม ต้ น – เส้น ทาง – จุ ด แยกขบวนจากที่ ร วมพลถึ ง
จุดผ่านแนวออกตี – ทิศทางเข้าตี – แนวแยกรูปขบวน – แนวจากัดการรุก – เครื่องหมายหน่วยพิเศษ เป็นต้น
และต้องมีการเตรียมแผนการส่องสว่างสนามรบไว้เสมอเพื่อใช้ช่วยอานวยความสะดวกในการควบคุมและ
ประสานการปฏิบัติของส่วนเข้าตีให้สามารถทาการยิงเล็งตรงได้ผล การรื้อถอนทุ่นระเบิดและส่งกลังผู้บาดเจ็บ
ให้ได้อย่างรวดเร็ว
การยิ งสนั บ สนุน ในการเข้าตี เวลากลางคื น จะทาการยิ ง รบกวนก่อ นเสมอ เพื่ อ เป็ น การพรางเสี ย ง
การเคลื่อนที่ของยานเกราะ และจะเริ่มยิงเพื่อแบ่งแยกที่หมาย, ยิงป้องกันการตีโต้ตอบ การเข้าตีเวลากลางคืน
มักจะเริ่มเมื่อใกล้สว่าง หากต้องการที่จะยึดที่หมายให้ได้ในเวลากลางวัน และหากต้องการให้ข้าศึกสับสนและ
ต้องการดาเนินกลยุทธ์ในเวลากลางคืน ก็จะเริ่มปฏิบัติจากรอยต่อของกลางวันสู่กลางคืน
ในการขยายผลก็จะปฏิบัติต่อไปเช่นเดียวกับการเข้าตี โดยโอกาสในการขยายผลย่อมมีสิ่งบอกเหตุ
จากการที่ฝ่ายเข้าตีสามารถจับเชลยศึกได้จานวนเพิ่มขึ้น, มีการละทิ้งยุทโธปกรณ์มากขึ้น, สามารถยึดปืนใหญ่
และที่ตั้งทางการบังคับบัญชา/ที่ตั้งทางการสื่อสาร และที่ตั้งทางการส่งกาลังบารุง เมื่อมีสิ่งบอกเหตุดังที่ได้กล่าวมา
ก็จะเปลี่ยนจากการเข้าตีมาเป็นการขยายผล โดยการขยายผลอาจเกิดขึ้นอย่างปัจจุบันทันด่วนหรือค่อยเป็น
ค่อยไป และในทุกแผนการเข้าตีก็จา เป็นที่จะต้องเตรียมแผนในการขยายผลเอาไว้เสมอ
การขยายผลเหมาะที่ จะใช้หน่ วยที่ มีอานาจการยิงและความคล่องแคล่วในการเคลื่อนที่ เข้าขยายผล
โดยการปฏิบัติจะเป็นแบบแยกการซึ่งผู้นาทุกระดับสามารถใช้ความริเริ่มให้เกิดประโยชน์มากที่สุด โดยใช้อาวุธ
ทุ ก ประเภทตามขี ด ความสามารถและหน่ ว ยยิ ง สนั บ สนุ น ต้ อ งเคลื่ อ นที่ ไ ปกั บ ก าลั ง ที่ ป ฏิ บั ติ ก ารขยายผล
ไปข้างหลังอย่างใกล้ชิด หน่ วยขยายผลจะเคลื่อนที่ไ ปถึง ที่หมายด้วยกาลัง มากที่สุดและเร็วที่สุด โดยหน่ วย
ที่ทาการขยายผลปฏิบัติการผ่านช่องว่างหรืออ้อมปีกของข้าศึก โดยธรรมดาจะได้รับมอบที่หมายในภูมิประเทศ
ที่ลึกเข้าไปในเขตหลังของข้าศึก เพื่อให้ข้าศึกเกิดความสับสนอลหม่านและเสียระเบียบ ผบ.หน่วยจะต้องมีเสรี
ในการปฏิบัติมากกว่าโดยจะปฏิบัติแบบแยกการ ทาให้หน่วยขยายผลมีเสรีในการปฏิบัติมากกว่า เมื่อเริ่มเข้าตี
การขยายผลต้องการการตัดสินใจอย่างรวดเร็ว สามารถแปรและปรับ รูปขบวนเข้าตีที่ปรับจากรูปขบวนเดิน
ได้ อย่ างรวดเร็ว การบัง คั บ บั ญ ชาต้ อ งปฏิ บั ติ อย่ างห้ าวหาญ ใช้ค วามริเริ่ม ความชานาญด้ านยุท ธวิ ธี และ
ต้องพร้อมเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ต้องมีการควบคุมอย่างเข้มงวดโดยขบวนเคลื่อนที่จะต้อง
ให้อยู่ในความควบคุมตลอดเวลาเพื่อให้สามารถปฏิบัติ การตอบโต้ได้โดยทันทีและสามารถใช้กาลังได้อย่างดีที่สุด
โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องมีการระวังป้องกันตนเองจากการเข้าตีโต้ตอบจากทางปีกและด้านหลัง โดยการใช้หน่วย
ลาดตระเวนทั้งทางอากาศและทางพื้นดิน ส่วนระวังป้องกันทั้งหลายต้องมีความคล่องแคล่วในการเคลื่ อนที่
และมีอานาจการยิงเพียงพอที่จะทาลายข้าศึกในระดับหนึ่ ง ส่วนกาบังของหน่วยขยายผลควรประกอบด้วย
หน่วยรถถัง, หน่วยทหารม้าบรรทุกยานเกราะ และมีหน่วยสนับสนุนการรบ/การช่วยรบ อย่างเพียงพอ ทั้งนี้
การจัดกองระวังหน้าให้จัดจากหน่วยที่เป็นหน่วยนาและควรมีรถถังมาเพิ่มเติมกาลัง กองกระหนาบจะให้หน่วยต่างๆ
รับผิดชอบในการจัดการระวังป้องกันปีกของตนเอง ส่วนกองระวังหลังจะเป็นหน่วยรถถังเพิ่มเติมกาลังหรือ
หน่วยทหารม้าบรรทุกยานเกราะเพิ่มเติมกาลัง
ในการไล่ติดตามจะประสบผลสาเร็จ จาเป็นต้องมีการกดดันข้าศึกอย่างต่อเนื่องเพื่อขัดขวางการปรับกาลัง
และเตรียมการสถาปนาการตั้งรับขึ้นใหม่ ผู้บังคับบัญชาอาจยอมเสี่ยงที่จะใช้กาลังส่วนใหญ่ของตนไล่ติดตาม
๓ - ๑๒

ในการตั้งรับ กองพันทหารม้าเฉพาะกิจจะมีภารกิจขับไล่ และทาลายข้าศึกด้วยการยิง, การรบประชิด


และการตีโต้ตอบ พั น.ม.ฉก. นั้ นจะปฏิ บัติก ารโดยอาจเป็น ส่ วนหนึ่ง ของกรมในการเป็น ส่วนระวัง ป้ องกัน ,
ส่วนตั้งรับหน้า, เป็นกองหนุน, หรือในบางโอกาสอาจปฏิบัติการอยู่ภายใต้การควบคุม ของกองพลโดยตรง เช่น
การระวัง ป้ อ งกั น พื้ น ที่ ส่ว นหลัง แบบของการตั้ ง รับ และการจัด พื้ น ที่ ในการตั้ ง รั บ ก็ เช่ น เดี ย วกั บ การตั้ ง รั บ
ของหน่วยดาเนินกลยุทธ์อื่นๆ คือ การตั้งรับแบบยึดพื้นที่และการตั้งรับแบบคล่องตัว โดยการตั้งรับแบบพื้นที่
กระทาเพื่อยึดรักษาภูมิประเทศที่กาหนด, หยุดข้าศึกไว้ที่ขอบหน้าที่มั่นรบ ถ้าข้าศึกเจาะแนวตั้งรับเข้ามาได้
จะต้องทาลายหรือขับไล่ด้วยการตีโต้ตอบ ส่วนการตั้งรับแบบคล่องตัวกระทาโดยกองพลหรือหน่วยใหญ่กว่า
เป็นผู้ดาเนินการ อาศัยความชานาญในการดาเนินกลยุทธ์และการยิงเข้าทาลายข้าศึก ใช้กาลังรบในขอบหน้า
ที่มั่นรบให้น้อยที่สุด เพื่อแจ้งเตือนการเข้าตีของข้าศึกและหน่วยเหนี่ยวให้ข้าศึกเสียระเบียบพร้อมทั้งบีบบังคั บ
ให้ ข้ าศึ ก ที่ เข้ าตี เคลื่อ นเข้า มายังพื้ น ที่ ที่ เกื้ อ กูล ต่ อการใช้ ก าลั ง โจมตี ขนาดใหญ่ เข้ าท าลาย ในการตั้ ง รับ นั้ น
ผู้บังคับกองพันและฝ่ายอานวยการต้องปฏิบัติตามขั้นตอนในการวางแผน โดย
๑. วิเคราะห์ภารกิจ และข่าวสารทั้งหมดที่มี
๒. กาหนดภูมิประเทศสาคัญ, แนวทางการเคลื่อนที่
๓. กาหนดกาลังรบที่ใช้ใน ขนม. และกองหนุน
๔. กาหนดส่วนระวังป้องกันและมาตรการที่จาเป็นต่างๆ
๕. กาหนดความต้องการเครื่องกีดขวาง การป้องกันต่อสู้รถถัง
๖. กาหนดมาตรการควบคุมที่จาเป็น
๗. จัดกาลังเข้าทาการรบ
๘. กาหนดความต้องการการสนับสนุนทางธุรการ
๙.ทาแผนสารองสาหรับเหตุการณ์ต่างๆ
ส่วนต่างๆ ในการตั้งรับ และพื้นที่การรบของกองพันมีดังนี้ คือ
๑. พื้นที่ระวังป้องกัน
๒. พื้นที่ขอบหน้าพื้นที่การรบ (ขนพร.)
๓. พื้นที่กองหนุน
พื้นที่ระวังป้องกันของ กองพันทหารม้าเฉพาะกิจจะมีขอบเขตจากขอบหน้าที่มั่น การรบไปข้างหน้า
โดยในพื้นที่ระวังป้องกันมีการปฏิบัติที่ สาคัญ คือการแจ้งเตือนข่าวสารเกี่ยวกับข้าศึกให้ทันเวลา, ป้องกันไม่ให้
ข้าศึกตรวจการณ์ทางพื้นดิน, ลวง และหน่วงเหนี่ยวทาให้ข้าศึกเสียระเบียบ
พื้นที่ตั้งรับในขอบหน้าพื้นที่การรบของ กองพันทหารม้าเฉพาะกิจจะมีขอบเขตจากขอบหน้าพื้นที่การรบ
ลงไปข้ า งหลั งตลอดพื้ น ที่ ก ารจั ด ระเบี ย บตั้ ง รับ ของกองร้ อ ยในแนวหน้ า จนถึ ง เส้ น เขตหลั ง ของกองร้ อ ย
ส่วนในการตั้ งรับ แบบคล่องตั วนั้น กาลัง ซึ่ งปฏิ บัติ อยู่ในขอบหน้ า พื้ นที่ การรบจะมี หน้ าที่ ในการแจ้ งเตือ น
การเข้าตีของข้าศึกที่เคลื่อนที่เข้ามา, หน่วงเหนี่ยวทาให้ข้าศึกเสียระเบียบ, บีบบังคับให้การเคลื่อนที่ไปยังพื้นที่
ที่เกื้อกูลต่อการใช้กาลังโจมตีเข้าทาลาย และทาการรบแตกหักเพื่อรักษาพื้นที่ที่กาหนด
พื้นที่กองหนุนของกองพันทหารม้าเฉพาะกิจ มีขอบเขตเริ่มจากเส้นเขตหลังของกองร้อยในแนวหน้ า
จนถึงเส้นเขตหลังของกองพัน การปฏิบัติของกองหนุนของกองพันจะทาการสกัด กั้นการเจาะ, เพิ่มเติมกาลัง
ให้กับพื้นที่ต่างๆ ที่ถูกข้าศึกคุกคาม และเข้าทาลายหรือขับไล่ข้าศึกออกไปด้วยการตีโต้ตอบ เพื่อกลับเข้าควบคุม
พื้นที่ตั้งรับในขอบหน้าพื้นที่การรบของกองพันใหม่
ภารกิจในการรบหน่วงเวลาที่ กองพันทหารม้าเฉพาะกิจอาจได้รับคือ อาจทาการรบหน่ วงเวลาในเขต
หรือรบหน่วงเวลาหน้ าแนวขั้น โดย ผบ.พั น. ต้องพิจารณาอัตราเร็วในการรุก ของข้าศึก ประกอบกับเวลา
๓ - ๑๓

ในการเคลื่อนที่จากที่มั่นหนึ่งไปยังที่มั่นต่อไป ประกอบการประมาณการเวลาในการรบหน่วงเวลา ซึ่ง ผบ.พัน.ม.ฉก.


จะใช้ พิ จ ารณาว่า จะเริ่ม ถอนตั วได้ เมื่ อ ใด เมื่ อ มี ก ว้ างด้ านหน้ าของพื้ น ที่ รับ ผิ ด ชอบมาก พั น .ม.ฉก. ก็ ค วร
ทาการรบหน่ วงเวลา ณ ที่มั่นตามลาดั บขั้น โดยแต่ละกองร้อยจะรับผิดชอบต่อเส้นหลักการเคลื่อนที่เข้ามา
ของข้าศึก ๑ เส้นทาง และต้องมีเส้นทางที่จะใช้ถอนตัวไปข้างหลัง อย่างน้อย ๑ เส้นทาง ส่วนที่บังคับการและ
ขบวนสั ม ภาระรบจะไปอยู่ ในแนวขั้ น ต่ อ ไป ผบ.พั น .ม.ฉก. จะต้ อ งระบุ ค วามเร่ ง ด่ วนในการยิ ง สนั บ สนุ น
ให้กับหน่ วยที่ ถูกกดดันจากข้าศึกมาก เมื่อหน่วยรองของกองพันถูกคุกคามและเสี่ยงต่อการติดพัน แตกหั ก
ในการรบหน่วงเวลา วิธีที่ดีที่ สุดในการเพิ่ม อานาจกาลัง รบให้กับหน่วยที่ ถูกคุกคามคือการให้ ความเร่ง ด่วน
ในการยิงสนับสนุนให้กับหน่วยที่ถูกคุกคามนั้น และจะสามารถทาการถอนตัวมายังที่มั่นข้างหลังต่อไปก็ต่อเมื่อ
ได้รับอนุมัติก่อนเท่านั้น หากกองพันไม่สามารถกาหนดหน่วยปฏิบัติเป็นกองหนุนโดยเฉพาะได้ ก็จะพิจารณา
ใช้หน่วยที่ปะทะกับข้าศึกน้ อยที่ สุดเป็นกองหนุ น เพื่อทาการตีโต้ตอบหรือทาการเข้าตีช่วยในการผละออก
จากข้ าศึ ก แก่ ห น่ ว ยที่ ถ อนตั ว ดั งนั้ น จะเห็ น ได้ ว่ า ความส าเร็ จ ในการถอนตั ว เมื่ อ ถู ก ข้ า ศึ ก กดดั น จะขึ้ น อยู่
กับการดาเนินกลยุทธ์, อานาจการยิงและการควบคุมการปฏิบัติ แต่หากข้าศึกไม่กดดันความสาเร็จในการถอนตัว
จะขึ้นอยู่กับการลวง และความรวดเร็วในการปฏิบัติ
๓ - ๑๔

ตอนที่ ๕
การปฏิบัติการของกรมทหารม้า
ตามปกติแล้ว กรมทหารม้า (กรม ม.) จะมีการจัดกาลังของส่วนดาเนินกลยุทธ์ที่สนธิกาลังกันระหว่าง
พั น .ม.(ถ.) และ พั น .ม.(ก.) รวมทั้ ง มี อ านาจการยิ ง สนั บ สนุ น จากกองร้ อ ยเครื่ อ งยิ ง ลู ก ระเบิ ด ขนาดหนั ก
ซึ่งอยู่ในอัตราของ กรม.ม. อยู่แล้ว ทาให้ กรม.ม. มีการจัดคล้ายๆ กับการจัดเฉพาะกิจ มีการรวมอานาจการยิง
จากรถถั ง และมี ขี ด ความสามารถในการรบเดิ น ดิ น จากทหารม้ า บรรทุ ก ยานเกราะเข้ า ด้ วยกั น แต่ ก็ อ าจ
มีแนวความคิดในการจัดกรมทหารม้าในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้สามารถตอบสนองต่อภารกิจ ดังนี้
กรมทหารม้ าแบบที่ ๑ มี การจัดก าลั งคื อ ๒ กองพั นรถถัง และ ๑ กองพั นทหารม้ าบรรทุ กยานเกราะ
ใช้ในภารกิจการรุก, การตีโต้ตอบ และการขยายผลไล่ติดตามเพื่อทาลายข้าศึก
กรมทหารม้าแบบที่ ๒ มีการจัดกาลังคือ ๑ กองพันรถถัง และ ๒ กองพันทหารม้าบรรทุกยานเกราะ
ใช้ในภารกิจเข้าประชิ ดข้าศึกด้วยการยิง, การดาเนินกลยุทธ์และข่มขวั ญ , การปฏิบัติการรบในภู มิประเทศ
ที่ยากลาบากหรือมีสิ่งปลูกสร้างที่หนาแน่น
กรมทหารม้ าแบบที่ ๓ มี การจัด กาลังคือ ๓ กองพัน ทหารม้าบรรทุกยานเกราะล้วน ใช้ในภารกิ จ
ในการรบประชิดและการตีโต้ตอบ กวาดล้างข้าศึกที่ไม่ใช่หน่วยยานเกราะเพื่อยึดรักษาภูมิประเทศในระยะเวลา
จากัดและปฏิบัติร่วมในการยุทธ์เคลื่อนที่ทางอากาศเมื่อมีอากาศยานมาสนับสนุน
กรมทหารม้ า แบบที่ ๔ มี ก ารจั ด ก าลั ง คื อ ๓ กองพั น ทหารม้ า ลาดตระเวนล้ ว น ใช้ ในภารกิ จ
ท าการลาดตระเวนระวั งป้ อ งกั น และเป็ น หน่ วยออมกาลั ง ให้ กั บ หน่ ว ยเหนื อ และยั ง มี ขี ด ความสามารถ
ทั้งการรุก ตั้งรับ หรือหน่วงเวลา
นอกจาก กรม ม. จะมีการจัดกาลัง ของกองพัน ดาเนินกลยุทธ์ให้ เหมาะสมกับ ภารกิจแล้ว กรม.ม.
มั ก จะได้ รั บ การสมทบจากหน่ ว ยอื่ น ๆ เพื่ อ ให้ เกิ ด ความสมบู ร ณ์ ในตั ว เอง และมี ระบบปฏิ บั ติ ในสนามรบ
ครบทัง้ ๗ ประการ โดยหน่วยที่มักจะขึ้นสมทบหรือขึ้นควบคุมทางยุทธการกับ กรม ม. หรือ กรม ม.ฉก. อาจได้แก่
เพิ่มเติมกองพันดาเนินกลยุทธ์ (กองพันรถถัง กองพันทหารม้าบรรทุ กยานเกราะ หรือกองพันทหารราบยานยนต์
กองพันทหารราบยานเกราะ) กองพันปืนใหญ่ กองร้อยป้องกันภัยทางอากาศ กองร้อยทหารช่าง หากมีความจาเป็น
ในการเพิ่มการขีดความสามารถในการลาดตระเวนและระวังป้องกัน อาจสมทบด้วยหน่วยลาดตระเวน และ
หน่ ว ยบิ น โดยหน่ วยที่ ม าประกอบกาลั ง กั บ กรม ม.ฉก. ควรมี ขี ด ความสามารถในการเคลื่ อ นที่ ทั ด เที ย ม
กับหน่วยทหารม้า เพื่อที่จะสามารถเคลื่อนที่ติดตามให้การสนับสนุนได้
ในด้านการช่วยรบ กรม ม. มักจะได้รับการสนับสนุ นจากหน่วยช่ วยรบโดยตรงให้แก่กรม โดยอาจ
จัด กรมสนั บ สนุ น ส่ วนแยกหนึ่ ง ๆ หรือ หน่ ว ยส่ ง ก าลั ง บ ารุง อื่ น ๆ เพื่ อ ให้ ก ารสนั บ สนุ น การช่ วยรบโดยตรง
แก่ กรม ม. เพื่อดารงความหนุนเนื่องในการส่งกาลังบารุงอันเป็นสิ่งสาคัญของการยุทธ์ยานเกราะ
การปฏิบัติการของกรมทหารม้า
กรม ม. เป็ น หน่ ว ยที่ มี ก ารจั ด ยุ ท โธปกรณ์ โ ดยมี แ นวความคิ ด ในการที่ เป็ น หน่ ว ยที่ เหมาะสม
ในการปฏิบัติการรบด้วยวิธีรุกและทาการปฏิบัติการรบบนยานรบเป็นส่วนใหญ่ ที่จะเข้าตีด้วยความห้าวหาญ
และรุนแรงโดยใช้คุณลักษณะของทหารม้าให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในสงครามนิวเคลียร์และไม่ใช่นิวเคลียร์ กรม ม.
จะเข้าตีต่อจุดอ่อนของข้าศึกด้วยการรวมอานาจการยิง และเข้าบดขยี้ฝ่ายตั้งรับโดยเร็วที่สุด แล้วเคลื่อนที่
ไปยั ง เขตหลั ง ของข้ า ศึ ก เพื่ อ ให้ เสี ย ระเบี ย บหากต้ อ งการความจู่ โจม กรม ม.จะใช้ เส้ น ทางการเคลื่ อ นที่
ที่เหมาะสมน้อยที่สุด และจะออกคาสั่งการเข้าตีข้างหน้าโดยมิให้หน่วยรองต้องมารับคาสั่ง ข้างหลัง ผบ.กรม ม.
จะอยู่ในที่ซึ่งสามารถควบคุมดาเนินกลยุทธอย่างได้ผลดีที่สุด อาจจะอยู่บนยานพาหนะ หรือ ฮ. ก็ได้
๓ - ๑๕

หากต้องปฏิบัติในพื้นที่ที่มีเครื่องกีดขวางมาก ป่าทึบ หรือมีสิ่งก่อสร้าง ก็จะจัดกาลังให้มีหน่วยทหารม้า


บรรทุกยานเกราะเป็ นหลัก และจะใช้หน่ วยรถถัง ล้วนๆ เมื่อต้องต่อสู้รถถั ง หรือเข้าตีบนยานรบผ่านพื้ น ที่
อาบรังสีหรือสารเคมี การใช้รูปขบวนแถวตอนเข้าตี จะทาให้หน่วยมีความอ่อนตัวในการปฏิบัติ รักษาความริเริ่มได้
และรักษาแรงหนุนเนื่องในการเข้าตีได้ ส่วนรูปขบวนหน้ ากระดาน จะทาให้ใช้อานาจการยิง ได้สูง สุด และ
สามารถคลี่คลายสถานการณ์ได้รวดเร็ว รูปขบวนหน้ากระดานมีทั้งเป็นรูปขบวนหน้ากระดานที่มีกองหนุน และ
ไม่มีกองหนุน การใช้รูปขบวนหน้ากระดานของ กรม ม. หมายถึงการที่จัดกาลังมีหน่วยรองตั้งแต่สองหน่วยขึ้น
ไปอยู่ข้างหน้า จะสามารถทาให้ กรม ม. รุกคืบหน้าได้อย่างรวดเร็วแม้ในลักษณะภูมิประเทศที่ต้องทาการรุก
ด้วยกว้างด้านหน้ามากๆ ก็เหมาะที่จะใช้รูปขบวนหน้ากระดาน ส่วนเข้าตีจะแบ่งเป็นส่วนเข้าตีสนับสนุน และ
ส่วนเข้าตีหลัก ส่วนเข้าตีหลั กจะได้รับมอบให้เข้ายึดที่หมายแห่งหนึ่งหรือหลายแห่ง ที่ จะช่วยให้บรรลุภารกิจ
ของกรม และจะได้ รั บ น้ าหนั ก ในการแบ่ ง มอบอ านาจการรบ ส่ ว นเข้ า ตี ส นั บ สนุ น ช่ ว ยให้ ส่ วนเข้ า ตี ห ลั ก
ประสบผลสาเร็จ โดยการปฏิบัติหลายๆ อย่างเช่น บังคับให้ข้าศึกต้องใช้ กองหนุนก่อนเวลาอันสมควร หรือ
ในพื้นที่ซึ่งไม่ก่อให้เกิดผลแตกหัก ในขณะที่กรมทหารม้ าดาเนินการรุกเข้าหาที่หมาย ข้าศึกใช้กาลังเข้าตีโต้ตอบ
ผู้บังคับการกรมทหารม้าจะใช้กองหนุนของกรมที่เคลือ่ นที่ตามมา จะพร้อมที่จะทาลายการตีโต้ตอบของข้าศึก
เมื่อการปฏิบัติการเข้าตีของ กรม ม.มีเหตุการณ์จนทาให้การเข้าตีต้องหยุดชะงักลง กรม ม.จะวางฉากกาบัง
เพื่อต่อต้านการลาดตระเวน, ดารงการปะทะไว้กับข้าศึกและหาข่าวสารเพิ่มเติม, วางกาลังรบใหม่ โดยถือการปฏิบัติ
ในอนาคตที่คาดไว้เป็นมูลฐาน ดารงการติดต่อสื่อสารกับหน่วยข้างเคียง ตลอดจนทาการจัดกาลัง ใหม่ และ
การส่งกาลังเพิ่มเติม
ในการตั้งรับแบบคล่องตัวของกองพล กาลังที่วางไว้ในพื้นที่ตั้งรับหน้ามีกิจเฉพาะที่จะจัดส่วนระวังป้องกัน
หน้า ขนพร.อยู่แล้ว กรมที่เป็นส่วนตรึงอาจจะเข้าทาการต้านทานโดยเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์ที่ข้าศึก
จะเข้าตีระดับการต้านทานนั้นได้แก่ ป้องกัน รั้งหน่วง ฉากกาบัง ส่วนตรึงนั้นจะมีการปฏิบัติโดยการจัดที่ตรวจการณ์
ที่ฟังการณ์ ทาการเข้ายึดและต้านทาน ณ ที่มั่นสกั ดกั้น การเข้าตีต่อที่หมายจากัดและการปฏิบัติการรบหน่วงเวลา
ขึ้นอยู่กับขนาดของพื้นที่ที่จะตั้งรับและกาลังที่มีอยู่ของ ในส่วนของ กรม ม.ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของการตั้งรับ
แบบคล่องตัว มักถูกจัดให้เป็นส่วนตรึง และในการตั้ งรับแบบคล่องตัว มักจะจัดหน่ว ยรถถังให้เป็นกองหนุน
ของกองพลเสมอ
กรม ม. ในการตั้ ง รั บ แบบยึ ด พื้ น ที่ จะจั ด ส่ วนระวั ง ป้ อ งกั น ที่ ต รวจการณ์ ที่ ฟั ง การณ์ หมู่ ต รวจ
หน่วยระวังป้องกันปีก และหน่วยระวังป้ องกันพื้นที่ส่วนหลัง หน่วยระวัง ป้องกันของกองพล (พัน.ม.(ลว.))
จะเป็นผู้จัดและควบคุม มีหน้าที่จะขัดขวาง, เข้าปะทะ, หน่วงเหนี่ยว, ทาลายระเบียบ และลวงก่อนที่ข้าศึก
จะเข้าตี ส่วนระวังป้องกันบริเวณขอบหน้าพื้นที่การรบ (ขนพร.) จะจัดกาลังจากหน่วยที่วางในพื้นที่ตั้งรับหน้า
ภารกิจของ กรม ม. ในการตั้งรับแบบยึดพื้นที่ คือ ผลักดันการเข้าตีของข้าศึกด้วยการยิง การรบประชิด
และการตีโต้ตอบ ส่ วนระวั งป้ องกั นเมื่อกรมทหารม้ า ตั้ งรับโดยเป็ นส่ วนหนึ่ งของกองพลหน่ วยเหนื อจะจั ด
ส่วนระวังป้องกันข้างหน้าร่วมกับหน่วยบินเฉพาะกิจ ส่วนในการระวังป้องกันของ กรม.ม.ในการตั้งรับแบบยึดพื้นที่
จะจั ดส่วนระวั งป้ องกั นเฉพาะบริเวณที่ ตั้ ง โดยหน่ วยในแนวหน้ า ในการตั้ งรั บนั้ น ที่ มั่ น ใหญ่ คื อ พื้ นที่ ห ลั ก
ในการตั้งรับประกอบด้วย ที่มั่นตั้งรับหลายแห่งที่สามารถสนับสนุนซึ่งกันและกันได้ มาตรการต่างๆ ในการตั้งรับ
จะประกอบด้วย
๑. เครื่องกีดขวางและฉากขัดขวาง
๒. การป้องกันต่อสู้ยานเกราะ
๓. การป้องกันต่อสู้การโจมตีของหน่วยส่งทางอากาศ หรือหน่วยเคลื่อนที่ทางอากาศ
๔. การปฏิบัติของกองโจร การแทรกซึม
๕. การป้องกันต่อสู้อาวุธเคมี - ชีวะ – รังสี
๓ - ๑๖

๖. การป้องกันต่อสู้การโจมตีทางอากาศ
๗. การป้องกันในขณะทัศนวิสัยจากัด
เมื่ อ กรม ม. ตั้ ง รั บ แบบยึ ด พื้ น ที่ ร้ อ ย.ม.(ลว.) นอกจากจะได้ รั บ ภารกิ จ เป็ น ส่ ว นระวั ง ป้ อ งกั น
โดยอยู่ภ ายใต้ ก ารควบคุ ม ของ กรม.ม. ในการระวัง ป้ อ งกั น ปี ก แล้ว ยั ง ให้ ก ารระวัง ป้ องกั น พื้ น ที่ ส่ วนหลั ง
โดยแจ้ ง เตื อ นและเข้ า ตี ต่ อ หน่ ว ยส่ง ทางอากาศ หน่ วยเคลื่ อ นที่ ท างอากาศ กองโจร หรื อ หน่ ว ยแทรกซึ ม
ของข้าศึก การรบแตกหักจะเกิดขึ้นเมื่อหน่วยเข้าทาการรบอย่างสมบูรณ์แบบ และไม่มีเสรีในการดาเนินกลยุทธ์
หรือไม่อาจผละจากการรบได้ด้วยหน่วยเอง ในการรบหน่วงเวลา ไม่มีความมุ่ง หมายที่จะทาลายกาลังข้าศึก
โดยสิ้นเชิง และไม่ทาการรบติดพันแตกหัก กรม ม. ควรใช้กาลังมากที่สุดในการรบปะทะกับข้าศึก และใช้กาลัง
เป็นกองหนุนน้อยที่สุด ในการรบหน่วงเวลาต้องดารงการเกาะข้าศึก และประสานการระวังป้องกัน เพื่อมิให้ข้าศึก
อ้อมผ่านหรือโอบล้อ ม และเมื่อ กรม.ม.ต้อ งการควบคุ มแบบรวมการน้ อย ก็จ ะมอบภารกิ จให้ พัน .ม.ฉก.
รบหน่วงเวลาในเขต และจะทาการรบจนกระทั่งการคุกคามของข้าศึกบ่งถึงการรบขั้นแตกหัก หรือการโอบล้อม
กล่าวคือเมื่อข้าศึกรุกเข้ามาถึงจุดที่อยู่ในระยะยิงหวังผลของอาวุธประจากายหรือเมื่อ ผบ.หน่วยแต่ละระดับ
พิจารณาว่าหน่วยอยู่ในอันตราย และจะสูญเสียเสรีในการดาเนินกลยุทธ์ จึงทาการถอนตัว และจะหลีกเลี่ยง
ต่อการรบติดพันแตกหัก กรม ม.อาจมีความจาเป็นต้องเสี่ยงที่จะต้องทาการรบแตกหักเมื่อต้องทาการรบหน่วงเวลา
เพื่ อ หน่ วงเหนี่ ย วข้ าศึ ก ไว้เป็ น ระยะเวลานานในพื้ น ที่ ที่ มี ค วามลึ ก แต่ เพี ยงเล็ กน้ อ ย หากมีพื้ น ที่ ที่ เพี ย งพอ
ในการดาเนินกลยุท ธ์ ด้วยการตีโต้ตอบระหว่างกระท าการรบหน่ วงเวลา ก็จะเข้าตีข้าศึกโดยจะไม่ยึด และ
รัก ษาภู มิ ป ระเทศ แต่ จ ะรั ก ษาความหนุ น เนื่ อ งในการเข้ าตี ไ ว้ เพื่ อ ให้ ห น่ ว ยเข้ าตี ผ่ า นรู ป ขบวนของข้ า ศึ ก
แล้วกลับเข้ามายังพื้ นที่ของทหารฝ่ ายเดี ยวกั นยึดอยู่ ซึ่ งเป็ นลักษณะของการกวาดล้างด้ วยรถถัง เมื่ อที่มั่นรบ
หน่วงเวลาของ กรม ม. สามารถสนับสนุนซึ่งกันและกันได้ ก็จะรบหน่วงเวลา ณ ที่มั่นสลับขั้น แต่จะเป็นอันตราย
จากการโจมตีด้วยอาวุธนิวเคลียร์
ในการถอนตัว สิ่งสาคัญ คือ กรม ม. ต้องผละจากข้าศึกให้เร็วที่สุด และสิ่งที่พึงประสงค์มากที่สุด คือ
การปฏิบัติโดยมิให้ข้าศึกตรวจพบ เมื่อจะต้องจัดส่วนแยกทิ้งไว้ปะทะจานวน ๑ ใน ๓ ของกรม ส่วนการถอย คือ
การเคลื่อนย้ายหน่วยอย่างมีระเบียบไปข้างหลัง โดยปกติการถอยจะเป็นการปฏิบัติ ต่อเนื่องจากการถอนตัว
และมักจัดกองระวังหลังที่มี หน่วย ถ. เป็นหลัก
***********************************************************************
๔-๑

ภาคที่ ๔
การจัดหน่วยทหารม้าของ ทบ. ไทย
(ล่าสุดเมื่อ ม.ค. ๒๕๖๒)

ทหารม้าในกองพลทหารม้า
๑. กองพลทหารม้าที่ ๑
๑.๑ ส่วนฐานกองพล
- กองพันทหารม้าที่ ๑๒ กองพลทหารม้าที่ ๑ (ม.พัน.๑๒ พล.ม.๑) (พัน.ม.(ลว.))
- กองพันทหารม้าที่ ๒๘ กองพลทหารม้าที่ ๑ (ม.พัน.๒๘ พล.ม.๑) (พัน.ม.(ลว.))
๑.๒ กรมทหารม้าที่ ๒
- กองพันทหารม้าที่ ๗ กรมทหารม้าที่ ๒ (ม.๒ พัน.๗) (พัน.ม.(ยก.) รูปแบบใหม่
- กองพันทหารม้าที่ ๑๐ กรมทหารม้าที่ ๒ (ม.๒ พัน.๑๐) (พัน.ม.(ยก.) รูปแบบใหม่
- กองพัน.ทหารม้าที่ ๑๕ กรมทหารม้าที่ ๒ (ม.๒ พัน.๑๕) (พัน.ม.(ยก.) รูปแบบใหม่
๑.๓ กรมทหารม้าที่ ๓
- กองพันทหารม้าที่ ๑๓ กรมทหารม้าที่ ๓ (ม.๓ พัน.๑๓) (พัน.ม.(ก.))
- กองพันทหารม้าที่ ๑๘ กรมทหารม้าที่ ๓ (ม.๓ พัน๑๘) (พัน.ม.(ก.))
- กองพันทหารม้าที่ ๒๖ กรมทหารม้าที่ ๓ (ม.๓ พัน.๒๖) (พัน.ม.(ถ.))
๒. กองพลทหารม้าที่ ๒ รักษาพระองค์
๒.๑ ส่วนฐานกองพล
- กองพันทหารม้าที่ ๒๗ กองพลทหารม้าที่ ๒ รักษาพระองค์ (ม.พัน.๒๗ พล.ม.๒ รอ.) (พัน.ม.(ลว.))
๒.๒ กรมทหารม้าที่ ๑ รักษาพระองค์
- กองพันทหารม้าที่ ๑ กรมทหารม้าที่ ๑ รักษาพระองค์ (ม.๑ พัน.๑ รอ.) (พัน.ม.(ก.))
- กองพันทหารม้าที่ ๓ กรมทหารม้าที่ ๑ รักษาพระองค์ (ม.๑ พัน.๓ รอ.) (พัน.ม.(ก.))
- กองพันทหารม้าที่ ๑๗ กรมทหารม้าที่ ๑ รักษาพระองค์ (ม.๑ พัน.๑๗ รอ.) (พัน.ม.(ถ.))
๒.๓ กรมทหารม้าที่ ๔ รักษาพระองค์
- กองพันทหารม้าที่ ๕ กรมทหารม้าที่ ๔ รักษาพระองค์ (ม.๔ พัน.๕ รอ.) (พัน.ม.(ถ.))
- กองพันทหารม้าที่ ๑๑ กรมทหารม้าที่ ๔ รักษาพระองค์ (ม.๔ พัน.๑๑ รอ.) (พัน.ม.(ก.))
- กองพันทหารม้าที่ ๒๕ กรมทหารม้าที่ ๔ รักษาพระองค์ (ม.๔ พัน.๒๕ รอ.) (พัน.ม.(ก.))
๒.๔ กรมทหารม้าที่ ๕ รักษาพระองค์
- กองพันทหารม้าที่ ๒๐ กรมทหารม้าที่ ๕ รักษาพระองค์ (ม.๕ พัน.๒๐ รอ.) (พัน.ม.(ถ.))
- กองพันทหารม้าที่ ๒๓ กรมทหารม้าที่ ๕ รักษาพระองค์ (ม.๕ พัน.๒๓ รอ.) (พัน.ม.(ก.))
- กองพันทหารม้าที่ ๒๔ กรมทหารม้าที่ ๕ รักษาพระองค์ (ม.๕ พัน.๒๔ รอ.) (พัน.ม.(ก.))
๓. กองพลทหารม้าที่ ๓
๓.๑ กรมทหารม้าที่ ๖
- กองพันทหารม้าที่ ๖ กรมทหารม้าที่ ๖ (ม.๖ พัน.๖) (พัน.ม.(ถ.))
- กองพันทหารม้าที่ ๒๑ กรมทหารม้าที่ ๖ (ม.๖ พัน.๒๑) (พัน.ม.(ถ.))
๓.๒ กรมทหารม้าที่ ๗
- กองพันทหารม้าที่ ๘ กรมทหารม้าที่ ๗ (ม.๗ พัน.๗) (พัน.ม.(ถ.)
- กองพันทหารม้าที่ ๑๔ กรมทหารม้าที่ ๗ (ม.๗ พัน.๑๔) (พัน.ม.(ก.))
๔-๒

หน่วยทหารม้านอกกองพลทหารม้า (ในกองพลทหารราบ)
๑. กองพลที่ ๑ รักษาพระองค์
- กองพันทหารม้าที่ ๔ กองพลที่ ๑ รักษาพระองค์ (ม.พัน.๔ พล.๑ รอ.) (พัน.ม.(ถ.))
- กองร้อยทหารม้า(ลาดตระเวน) ที่ ๑ กองพลที่ ๑ รักษาพระองค์ (ร้อย.ม.(ลว.) ๑ พล ๑ รอ.)
๒. กองพลทหารราบที่ ๒ รักษาพระองค์
- กองพันทหารม้าที่ ๒ กองพลทหารราบที่ ๒ รักษาพระองค์ (ม.พัน.๒ พล.ร.๒ รอ.) (พัน.ม.(ถ.))
- กองพันทหารม้าที่ ๓๐ กองพลทหารราบที่ ๒ รักษาพระองค์ (ม.พัน.๓๐ พล.ร.๒ รอ.) (พัน.ม.(ลว.))
๓. กองพลทหารราบที่ ๓
- กองร้อยทหารม้า(ลาดตระเวน) ที่ ๓ กองพลทหารราบที่ ๓ (ร้อย.ม.(ลว.) ๓ พล.ร.๓)
๔. กองพลทหารราบที่ ๔
- กองร้อยทหารม้า(ลาดตระเวน) ที่ ๔ กองพลทหารราบที่ ๔ (ร้อย.ม.(ลว.) ๔ พล.ร.๔)
๕. กองพลทหารราบที่ ๕
- กองพันทหารม้าที่ ๑๖ กองพลทหารราบที่ ๕ (ม.พัน.๑๖ พล.ร.๕) (พัน.ม.(ถ.))
- กองร้อยทหารม้า(ลาดตระเวน) ที่ ๕ กองพลทหารราบที่ ๕ (ร้อย.ม.(ลว.) ๕ พล.ร.๕)
๖. กองพลทหารราบที่ ๖
- กองร้อยทหารม้า(ลาดตระเวน) ที่ ๖ กองพลทหารราบที่ ๖ (ร้อย.ม.(ลว.) ๖ พล.ร.๖)
๗. กองพลทหารราบที่ ๙
- กองพันทหารม้าที่ ๑๙ กองพลทหารราบที่ ๙ (ม.พัน.๑๙ พล.ร.๙) (พัน.ม.(ลว.))
๘. กองพลทหารราบที่ ๑๕
- กองพันทหารม้าที่ ๓๑ กองพลทหารราบที่ ๑๕ (ม.พัน.๓๑ พล.ร.๑๕) (พัน.ม.(ลว.))
หน่วยทหารม้าตามที่ กห. กาหนด
๑. กองพันทหารม้าที่ ๒๒ ศูนย์การทหารม้า (ม.พัน.๒๒ ศม.) (ฝากการบังคับบัญชากับ ศม.)
๒. กองพันทหารม้าที่ ๒๙ รักษาพระองค์ (ม.พัน.๒๙ รอ.) (ฝากการบังคับบัญชากับ พล.ม.๒ รอ.)
********************************

You might also like