You are on page 1of 163

เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก

สารบัญ
เรื่อง หน้า

๑. คำนำ ก
๒. บทสรุปผู้บริหาร ข
๓. หลักนิยม (Doctrine) ๑
๔ หลักการทำสงคราม (Principles of war) ๒
๕. กองทัพบก ๔
๖. หลักนิยมในการปฏิบัติการของกองทัพบก ๑๑
๗. หลักนิยมของเหล่าทหารราบ ๑๒
๘. หลักนิยมของเหล่าทหารม้า ๒๖
๙. หลักนิยมของเหล่าทหารปืนใหญ่ ๔๗
๑๐. หลักนิยมของเหล่าทหารช่าง ๖๖
๑๑. หลักนิยมของเหล่าทหารสื่อสาร ๗๓
๑๒. หลักนิยมของเหล่าทหารขนส่ง ๗๗
๑๓. หลักนิยมของเหล่าทหารพลาธิการ ๘๒
๑๔. หลักนิยมของเหล่าทหารสรรพาวุธ ๘๖
๑๕. หลักนิยมของเหล่าทหารสารวัตร ๙๐
๑๖. หลักนิยมของเหล่าทหารแพทย์ ๑๐๑
๑๗. หลักนิยมของเหล่าทหารการสัตว์ ๑๐๔
๑๘. หลักนิยมของเหล่าทหารดุริยางค์ ๑๑๐
๑๙. หลักนิยมของเหล่าทหารการข่าว ๑๑๓
๒๐. หลักนิยมการส่งกำลังบำรุงของกองทัพบก ๑๑๘
๒๑. หลักนิยมกิจการพลเรือนของกองทัพบก ๑๒๕
๒๒. หลักนิยมกรมวิทยาศาสตร์ทหารบก ๑๓๖
๒๓. หลักนิยมการรบพิเศษ ๑๔๑
๒๔. หลักนิยมการบินทหารบก ๑๔๙
๒๕. หลักนิยมศูนย์ไซเบอร์ทหารบก ๑๕๒
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก

คำนำ
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก เล่มนี้ จัดทำขึ้นตามนโยบาย จก.ยศ.ทบ.โดยได้
รวบรวมข้อมูล ประเภทการจัด ของหน่ว ย/เหล่า และ หลักนิยมทางยุทธวิธี ซึ่งเป็นหลักพื้นฐานการปฏิบั ติ
ทางยุทธวิธีในปัจจุบัน จากหน่วยและเหล่าสายวิทยาการ ตลอดจนการสืบค้นวิเคราะห์ข้อมูลจาก เอกสาร ตำรา
ที่เกี่ยวข้อง เนื้อหาหลัก ประกอบด้วย หลักนิยม ทบ.และ หลักนิยมทางทหารที่เกี่ยวข้องที่เป็นองค์ประกอบ
ในระดับรองลงไป แนวทางในการกำหนดหลักนิยมทางทหารของกองทัพบก ได้แก่ การปฏิบัติการของกองทัพบก
หลักนิยมของหน่วยและเหล่าทหาร ได้แก่ หลักนิยมของเหล่าทหารราบ หลักนิยมของเหล่าทหารม้า หลักนิยมของ
เหล่าทหารปืนใหญ่ หลักนิยมของเหล่าทหารช่าง หลักนิยมของเหล่าทหารสื่อสาร หลักนิยมของเหล่าทหารขนส่ง
หลักนิยมของเหล่าทหารพลาธิการ หลักนิยมของเหล่าทหารสรรพาวุธ หลักนิยมของเหล่าทหารสารวัตร หลักนิยม
ของเหล่าทหารแพทย์ หลักนิยมของเหล่าทหารการสัตว์ หลักนิยมของเหล่าทหารดุริยางค์ หลักนิยมของเหล่า
ทหารการข่าว หลักนิยมการส่งกำลังบำรุงของกองทัพบก หลักนิยมกิจการพลเรือนของกองทัพบก หลักนิยม
กรมวิทยาศาสตร์ทหารบก หลักนิยมการรบพิเศษ หลักนิยมการบินทหารบก หลักนิยมศูนย์ไซเบอร์ทหารบก
ซึ่งจะทำให้รับทราบถึง ประเภทการจัด และ หลักนิยมหรือแนวทางปฏิบัติการอันเป็นหลักพื้นฐานการปฏิบัติ
ทางยุทธวิธีของหน่วยและเหล่า อันจะเป็นประโยชน์ต่อการประสานงานและการปฏิบัติการร่วมกันให้บรรลุ
เป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่กำหนดอย่างมีประสิทธิภาพ
ขอขอบคุณหน่วยและเหล่าสายวิทยาการที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะกองวิทยาการของเหล่าต่าง ๆ ตลอดจน
เจ้าหน้าที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดทำข้อมูลเอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบกเล่มนี้ จนสำเร็จ
ด้วยความเรียบร้อยตามนโยบายของผู้บังคับบัญชา หากผู้ใช้มีขอ้ เสนอแนะเพื่อการปรับปรุงแก้ไข เพิ่มเติมและพัฒนา
ข้อมูลเนื้อหาเอกสารฉบับนี้ กรุณาส่งข้อมูลโดยระบุหมายเลขหน้า หัวข้อ และเนื้อหา พร้อมด้วยเหตุผลประกอบ
ส่งให้กับ ศพย.ยศ.ทบ.(กพล.ฯ) เลขที่ ๔๑ ถนนเทอดดำริ เขตดุสิต กรุงเทพ ๑๐๓๐๐ หรือ doctrinecdsd@gmail.com
เพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไป

ศูนย์พัฒนาหลักนิยมและยุทธศาสตร์
กรมยุทธศึกษาทหารบก
กรกฎาคม ๒๕๖๓
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ข

บทสรุปผู้บริหาร
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก
หลั ก นิ ย ม (Doctrine) มี พ ื ้ น ฐานมาจากประวั ต ิศ าสตร์ การศึ ก ษา ค้ น คว้า วิ เ คราะห์แ ละตีค วาม
ประสบการณ์จากการรบที่ผ่านมา เป็นหลักการที่นิยมใช้ในการปฏิบัติงานหรือภารกิจ เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย เป็น
หนทางปฏิบัติที่ดีที่สุด เป็นการให้อำนาจในการใช้เป็นแนวทางปฏิบัติ (Authoritative) แต่ไม่ใช่คำสั่งที่ต้องปฏิบัติ
การนำไปใช้ต้องพิจารณาให้สอดคล้องและเหมาะสม
หลักนิยมทางทหาร (Military Doctrine) คือ หลักการพื้นฐานซึ่งกำลังรบทางทหารยึดถือเป็นแนว
ปฏิบัติเพื่อสนับสนุนวัตถุประสงค์ในการใช้กำลังหรือวัตถุประสงค์ของชาติ (National Objectives) ไม่ถือเป็นหลัก
ที่หน่วยจะต้องถือยึดมั่ นเป็นหลักปฏิบัติตายตัว เสมอ การนำไปใช้จะต้องพิจารณาให้เหมาะสมกับสถานการณ์
พื้น ที่ และโอกาส ซึ่งหลักนิยมทางทหารนี้เป็นผลผลิตสำคัญส่วนหนึ่งจากยุทธศาสตร์ทหารของชาติ ( NMS :
National Military strategy)
ประเภทหลั กนิ ยมทางทหาร แบ่ งเป็ น ๓ ประเภท ๑) หลั กนิ ยมพื ้นฐาน (Fundamental Doctrine)
๒) หลักนิยมสงครามพิเศษ ๓) หลักนิยมยุทธวิธีของหน่วย (Organization Doctrine)
การกำหนดหลักนิยมทางทหาร เป็นกระบวนการที่เป็นระบบ ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ ดังนี้
๑) หลักการ ทำสงคราม (Principles of war) ๒) หลักการปฏิบัติการนอกจากสงคราม (Operations other than
War Doctrine) ๓) หลักการทางตำรา (Military Document) ๔) การฝึก (Training) ๕) การยุทธ์ (Operation)
หลั ก การทำสงคราม (Principles of war) เป็ น แนวทางที ่ ก ำหนดเพื ่ อ ให้ ไ ด้ ช ั ย ชนะ มี ห ลั ก การ
๑๐ ประการ คือ ๑) ดำรงความมุ่งหมาย (Maintain Objective) ๒) การรวมกำลัง (Mass) ๓) การดำเนินกลยุทธ์
(Maneuver) ๔) การระวังป้องกันและ รปภ. (Security) ๕) ความง่าย (Simplicity) ๖) การรุก (Offensive) ๗) การ
ออมกำลัง (Economy of force) ๘) เอกภาพในการบังคับบัญชา (Unity of command) ๙) การจู่โจม (Surprise)
และ ๑๐) การต่อสู้เบ็ดเสร็จ (Total Defense)
กองทัพบก เป็นส่วนราชการขึ้นตรงกองบัญชาการทหารสูงสุด ตามพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการ
และกำหนดหน้าที่ของส่วนราชการกองทัพบก กองทัพไทย กระทรวงกลาโหม พ.ศ.๒๕๕๒ และ และ พระราช
กฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการและกำหนดหน้าที่ของส่วนราชการ กองทัพบก กองทัพไทย กระทรวงกลาโหม (ฉบับที่ ๒)
พ.ศ.๒๕๕๘ โดยกำหนดส่วนราชการของกองทัพบกเป็น ๓๔ ส่ วน แบ่งตามลักษณะงานเป็น ๗ ส่วน ๑) ส่วน
บัญชาการ ๒) ส่วนกำลังรบ ๓) ส่วนสนับสนุนการรบ ๔) ส่วนส่งกำลังบำรุง ๕) ส่วนภูมิภาค ๖) ส่วนการฝึกศึกษา
และหลักนิยม ๗) ส่วนช่วยพัฒนาประเทศ
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ค

ในการปฏิบัติการของกองทัพบก ยึดถือปฏิบัติตาม รส.๑ ว่าด้วย กองทัพบก เชื่อมโยงกับ รส.๓-๐


ว่าด้วย การปฏิบัติการยุทธ์ ของกองทัพบก ซึ่งได้ พัฒนาต่อยอดมาจาก รส.๑๐๐-๒๖ ว่าด้วย ระบบการรบร่วม
อากาศ-พื้นดิน และ รส.๑๐๐-๑ – ๔ ว่าด้วยหลักนิยมกองทัพบก รวมทั้ง รส.๑๐๐-๕ ว่าด้วย การยุทธ์ของ
กองทัพบกในสนาม โดยหน่วยและเหล่าทหารได้กำหนดหลักนิยม เป็นแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดในการปฏิบัติการ
หรือปฏิบัติภารกิจให้บรรลุเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่ต้องการ สอดคล้อง และเป็นไปตามหลักในการปฏิบัติการ
ของกองทัพบก สรุปได้ดังนี้
หลัก นิยมของเหล่าทหารราบ ประเภทการจัด ทหารราบออกเป็น ๓ แบบ คือ ๑) ทหารราบเบา
๒) ทหารราบมาตรฐาน ๓) ทหารราบยานเกราะ มีหลักพื้นฐานทางยุทธวิธีมี ๓ แบบ คือ ๑) หลักการรบด้วยวิธรี กุ
๒) หลักการรบด้วยวิธรี ับ ๓) หลักการรบด้วยวิธกี ารร่นถอย หลักพื้นฐานทางยุทธวิธี คือ ทำการรบด้วยการเดินเท้า
เข้ารบประชิดข้าศึกด้วยอำนาจการยิงและการดำเนินกลยุทธ์ เพื่อทำลายและจับเป็นเชลย สามารถยึดครองพื้นที่
และปกครองพื้นที่ได้
หลักนิยมของเหล่าทหารม้า ประเภทการจัด ทหารม้าระดับกองพล (พล.ม.) และ ทหารม้าในกองพล
ทหารราบ โดยทหารม้ามาตรฐาน แบ่งออกเป็น ๓ ประเภท คือ ๑) ทหารม้าลาดตระเวน ม.(ลว.) ๒) ทหารม้า
รถถัง ม.(ถ.) ๓) ทหารม้าบรรทุกยานเกราะ ม.(ก.) ทหารม้านอกเหนือจากทหารม้ามาตรฐาน ได้แก่ ทหารม้า
(อากาศ) และ ทหารม้า (ขี่ม้า) หลักพื้นฐานทางยุทธวิธี ทำการรบบนยานรบเคลื่อนที่เร็ว (ปฏิบัติการรวดเร็ว
รุนแรง เด็ดขาด) ปฏิบัติการเป็นอิสระโดยใช้ความคล่องแคล่วในการเคลื่อนที่และอำนาจการยิงที่รนุ แรง ทำการรบ
แตกหัก หวังผลตัดสินการรบ ไม่รบยืดเยื้อเป็นเวลานาน ทำการรบแบบผสมเหล่า มีความสมบูรณ์ในตัวเอง ทำการรบ
โดยใช้กำลังเป็นปึกแผ่น
หลักนิยมของเหล่าทหารปืนใหญ่ ประเภทการจัด ทหารปืนใหญ่ แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท ได้แก่ ทหาร
ปืนใหญ่สนาม (ปืนใหญ่ในกองพลดำเนินกลยุทธ์ และ ปืนใหญ่นอกกองพลดำเนินกลยุทธ์) และ ทหารปืนใหญ่ต่อสู้
อากาศยาน (หน่วยในระบบควบคุมและแจ้งเตือนภัย และหน่วยในระบบอาวุธ) หลักพื้นฐานทางยุทธวิธี ทหาร
ปืนใหญ่สนาม หลักการในการรบด้วยวิธีรุก มองให้เห็นภาพสนามรบ, รวมอำนาจกำลังรบให้เหนือกว่า, ข่มหรือกด
อาวุธยิงของข้าศึก, ทำลายขวัญ, ปฏิบัติการอย่างห้าวหาญรุนแรง และทำลายข้าศึกให้ได้, โจมตีส่วนหลัง หรือเข้าตี
ถึงหลังข้าศึก, สนับสนุนการรบด้วยอำนาจการยิงอย่างคล่องแคล่วต่อเนื่อง หลักการในการรบด้วยวิธีรับ ทำลาย
รูปขบวนหน่วงเวลาและทำให้ข้าศึกอ่อนกำลังลงก่อนการเข้าตี, ยิงโจมตีข้าศึกในขณะเข้าตี เพื่อทำลายระบบป้องกัน
ภัยทางอากาศและการลาดตระเวนของข้าศึก, ทำให้ข้าศึกช้าลง ทำให้รถถังข้าศึกต้องปิดป้อมและยิงข่มอาวุธเล็งตรง
ของข้าศึก, ยิงต่อต้านด้วยการยิงข่มหรือตัดรอนกำลังต่ออาวุธยิงเล็งจำลองข้าศึก, รวมอำนาจการยิงต่อส่วนเข้าตี
ในพื้นที่การรบหลัก, ยิงเลยพื้นที่การรบหลักออกไปเพื่อทำให้กำลังระลอกที่สองของข้าศึกอ่อนกำลังลง หลักการ
ในการสนับสนุนการรบหน่วงเวลาและการถอนตัว มีข้อพิจารณาเช่นเดียวกับการสนับสนุนการตั้งรับเชิงรุก และใช้
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ง

ข้อพิจารณาเพิ่มเติม ที่ตั้งยิงและการเปลี่ยนที่ตั้งยิง, งานแผนที่, การสนับสนุนทางการช่วยรบ ทหารปืนใหญ่ต่อสู้


อากาศยาน หลักการจัด ปตอ.ทำการรบ ใช้อาวุธเป็นกลุ่มก้อน (MASS), ใช้อาวุธผสมกัน (MIX), ความสามารถ
ในการเคลื่อนที่ (MOBILITY), การทำงานเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน (INTEGRATION)
หลักนิยมของเหล่าทหารช่าง ประเภทการจัด หน่วยทหารช่าง แบ่งเป็น ๑) หน่วยทหารช่างของ กช. ๒)
หน่วยทหารช่างของกองพล ๓) หน่วยทหารช่างของ ทภ. และ ๔) หน่วยทหารช่างของ ทบ. (ฝากการบังคับบัญชา
ไว้กับ กช.) หลักพื้นฐานทางยุทธวิธี มี ๔ พันธกิจ ๑) พันธกิจทางยุทธวิธีของทหารช่าง ประกอบด้วย การอำนวย
ความสะดวกในการเคลื่อนที่ การขัดขวางการเคลื่อนที่ การช่วยให้อยู่รอดในสนามรบ การปฏิบัติงานช่างทั่วไป
และ การแผนที่ทหาร ๒) ภารกิจเฉพาะของทหารช่างในพื้นที่ยุทธบริเวณ หลักการใช้หน่วยทหารช่าง ๔ ประการ
๑) งานนั้นต้องใช้ความชำนาญทางเทคนิค และเครื่องมือพิเศษ ๒) งานนั้นต้องได้รับการจัดลำดับความเร่งด่วน
และอนุมัติแล้ว ๓) งานนั้นต้องมีความสำคัญต่อภารกิจและประโยชน์ต่อส่วนรวม และ ๔) ต้องไม่แบ่งแยกหน่วย
ทหารช่างออกเป็นรายบุคคลในการปฏิบัติงาน หลักการใช้ทางสายการบังคับบัญชา ๑) หน่วยในอัตรา ๒) การ
บรรจุมอบ ๓) การขึ้นสมทบ ๔) การขึ้นควบคุมทางยุทธการ
หลักนิยมของเหล่าทหารสื่อสาร ประเภทการจัด หน่วย ส. ๓ ระดับ ๑) หน่วย ส.ในระดับ ทบ. ๒)
หน่วย ส.ระดับ ทภ. ๓) หน่วย ส.ระดับ พล. หลักพื้นฐานทางยุทธวิธี ความรับผิดชอบในการวางการติดต่อสื่อสาร
หน่วยเหนือวางไปยังหน่วยรอง หน่วยสนับสนุนวางการสื่อสารไปยังหน่วยรับการสนับสนุน หน่วยสบทบวางการ
สื่อสารไปยังหน่วยที่ขึ้นสมทบ หน่วยข้างเคียงวางการสื่อสารจากซ้ายไปขวา การสนับสนุนการสื่อสารที่ใช้ร่วมกัน
หลักนิยมของเหล่าทหารขนส่ง ประเภทการจัด หน่วย กรมการขนส่งทหารบก, ศูนย์การเคลื่อนย้าย
กองทัพบก (ศคย.ทบ.), กรม ขส., พัน.ขส.๑, และ พัน.ขส.๒ (ผสม), พัน.ขส.บชร., พัน.ขส.กรม สน.พล.ร.๙, พัน.ขส.
ซบร.บ.ทบ. การปฏิบัติทางยุทธวิธีในดำเนินการเกี่ยวกับการส่งกำลังบำรุงสายขนส่ง ยึดปฏิบัติตามหลักนิยมการ
ส่งกำลังบำรุงของ ทบ. (รส.๔-๐) และหลักนิยมการส่งกำลังบำรุงของ ทบ ในยามปกติ
หลักนิยมของเหล่าทหารพลาธิการ ประเภทการจัด กรมพลาธิการทหารบก หลักพื้นฐานทางยุทธวิธี
หน่ ว ยทหารเหล่ า พลาธิ ก าร จะต้ อ งยึ ด ถื อ หลั ก การปฏิ บ ั ต ิ ใ นเรื ่ อ งการสนองตอบความอ่ อ นตั ว และริ เ ริ่ ม
ความเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์อย่างรวดเร็วที่เกิดขึ้นในสนามรบ ต้องเข้าใจแผนการปฏิบัติของ ผบ.หน่วยรับ
การสนับสนุน เพื่อที่จะได้ตอบสนองความต้องการทีจ่ ะมีขนึ้ และไม่เพียงแต่จะมุ่งให้มีการสนับสนุนเพียงอย่างเดียว
แต่จะต้องทำให้เกิดความอ่อนตัว แสวงหาและเปลี่ยนแปลงแก้ไขเพิ่มเติมแนวคิดในการสนับสนุนการส่งกำลังบำรุง
ของหน่วยรับการสนับสนุน และรายละเอียดต่าง ๆ ของแผนการยุทธ์ ให้คำแนะนำแก่ ผบ.หน่วยกำลังรบ ในความ
เสี่ยงของการสนับสนุนการส่งกำลังบำรุงตามแผน รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงแนวทางการสนับสนุนตามแผนให้เสี่ยง
น้อยที่สุด
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก จ

หลักนิยมของเหล่าทหารสรรพาวุธ ประเภทการจัด หน่วย กองสรรพาวุธเบากองพล, กองพันสรรพาวุธ


ซ่อมบำรุงเขตหลัง, กองพันสรรพาวุธกระสุน บชร. หลักพื้นฐานทางยุทธวิธี ดำเนินการส่งกำลัง สป.๒, สป.๔ (สาย
สรรพาวุธ) และ สป.๕ จากหลังไปหน้าในเขตยุทธบริเวณ ดำเนินการกู้ซ่อมและการทำลายล้างสรรพาวุธที่ยัง
ไม่ระเบิด
หลักนิยมของเหล่าทหารสารวัตร ประเภทการจัด ในยามปกติ แบ่งออกเป็น ๓ ส่วน คือ ๑) หน่วย
ทหารสารวัตรส่วนกลาง ๒) หน่วยทหารสารวัตรส่วนภูมิภาค และ ๓) หน่วยทหารสารวัตรส่วนกำลังรบ ในยาม
สงคราม พัน.สห.ทภ. หลักพื้นฐานทางยุทธวิธี ในยามปกติ หน่วยทหารสารวัตรส่วนกำลังรบ จัดกำลังสนับสนุนใน
ลักษณะรวมการให้กับกองทัพภาค เป็นหน่วยในอัตราของ พัน.สห.ทภ. โดยอาจกำหนดขึ้นสมทบหรือขึ้นควบคุม
ทางยุทธการ พล.ร./ม. หรือหน่วยอื่น ๆ ตามความจำเป็นทางด้านยุทธการ ในยามสงคราม กรมสารวัตรทหารบก
ทำหน้าที่เป็นนายทหารฝ่ายการสารวัตรของ บก.ทบ.สนาม โดย ทภ.จะมีการจัดหน่วยประกอบด้วย แผนกสารวัตร
แผนกสืบสวนสอบสวน และกองพันทหารสารวั ตร ที่อาจได้รับการแบ่งมอบจากกองบัญชาการกองทัพบกสนาม
เพื่อให้ปฏิบัติภารกิจเกี่ยวกับกิจการสารวัตรทหารให้กับกองทัพภาค
หลักนิยมของเหล่าทหารแพทย์ ประเภทการจัด แบ่งระดับการบริการทางการแพทย์ในยุท ธบริเวณ
แบ่งเป็น ๕ ระดับ ได้แก่ ๑) การบริการแพทย์ระดับหน่วย ๒) การบริการแพทย์ระดับกองพล ๓) การบริการแพทย์
ระดับกองทัพ ๔) การบริการแพทย์ในเขตหลัง ๕) การบริการแพทย์ในเขตภายใน หลักพื้นฐานทางยุทธวิธี การจัด
หน่วยสายแพทย์จำเป็นต้องมีขีดความสามารถในการปรับตัว มี ความอ่อนตัว และยืดหยุ่นเพียงพอที่จะตอบสนอง
ตามต้องการต่อสถานการณ์ที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ ลักษณะของการสนับสนุนบริการแพทย์ในยุทธบริเวณต้องมี
ความต่อเนื่อง เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันไปตลอด ตั้งแต่หน่วยแพทย์ที่ ตั้งอยู่ข้างหน้าสุดจนถึงหน่วยแพทย์ที่ตั้งอยู่
ข้างหลังสุดของยุทธบริเวณ โดยมีหลักการสำหรับการบริการทางการแพทย์ ๖ ประการ ได้แก่ ๑) ความสอดคล้อง
๒) ความต่อเนื่อง ๓) การควบคุม ๔) ความใกล้ชิด ๕) ความอ่อนตัว ๖) การเคลื่อนที่
หลักนิยมของเหล่าทหารการสัตว์ ประเภทการจัด กองพันสุนัขทหาร และ กองพันสัตว์ต่าง หลักพื้นฐาน
ทางยุทธวิธี การใช้หน่วยทหารสัตว์ต่าง ๑) การสนับสนุนส่วนรวม ๒) การสนับสนุนโดยตรง ๓) การสนับสนุน
โดยใกล้ชิด งานด้านยุทธการของ กส.ทบ. ในปัจจุบัน ๑) แผนงานปกติ จัดชุดสุนั ขทหาร (สุนัขยาม-สุนัขยาม
สายตรวจ) สนับสนุนกองบัญชาการช่วยรบ ๒) แผนงานป้องกันประเทศ จัดชุดสุนัขทหารและชุดสัตว์ตา่ งสนับสนุน
หน่วยกำลังรบ ๓) แผนงานการต่อสู้เพื่อเอาชนะคอมมิวนิสต์ จัดชุดสุนัขทหารและชุดพัฒนาอาชีพเกษตรกร
สนับสนุน กอ.รมน.ภาค ๔) แผนงานสนับสนุน กรป.กลาง บก.ทหารสูงสุด จัดชุดสุนัขทหารสนับสนุน นพค.
หลักนิยมของเหล่าทหารดุริยางค์ ประเภทการจัด กรมดุริยางค์ทหารบก หลักพื้นฐานในการปฏิบัติ
ปฏิบัติการแสดงดนตรี และกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการบันเทิง และปฏิบัติการแสดงดนตรี ในงานพระราชพิธีต่าง ๆ
รวมทั้งปฏิบัติการแสดงดนตรี เพื่อสนับสนุนหน่วยทหาร และส่วนราชการอื่น ๆ
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ฉ

หลักนิยมของเหล่าทหารการข่าว ประเภทการจัด ๑) ตำแหน่งงานในหน้าที่ของนายทหารฝ่ายการข่าว


ฝอ.๒ หรือ สธ.๒ ระดับกองทัพ, กองพล : สธ.๒, ระดับกรม, กองพัน : ฝอ.๒ ๒) หน่วยข่าวกรองทางทหาร (ขกท.)
หลักพื้น ฐานทางยุทธวิธี การดำเนิน งานข่าวกรองทางยุทธวิธี ต้องการข่าวกรองเกี่ยวกับฝ่ายตรงข้ามและ
สภาพแวดล้อมในการปฏิบัติการ ประกอบด้วย สภาพภูมิประเทศ ลมฟ้าอากาศ และท่าทีของประชาชนในพื้นที่
โดยจะเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติตามวงรอบข่า วกรอง การเตรียมสนามรบด้านการข่าว การปฏิบัติการข่าวกรอง
การเฝ้าตรวจและการลาดตระเวน การข่าวกรองในการดำเนินกรรมวิธีเป้าหมาย ทั้งนี้ การดำเนินงานตามวงรอบ
ข่าวกรอง (Intelligence Cycle) เป็นกระบวนการให้ได้มาซึ่งข่าวกรองที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการ
ข่าวสารของผู้บังคับบัญชาและฝ่ายอำนวยการ นำไปใช้ในการตกลงใจ โดยดำเนินการเป็นวงรอบ ๔ ขั้นตอน ได้แก่
๑) การวางแผนรวบรวมข่าวสาร ๒) การรวบรวมข่าวสาร ๓) การดำเนินกรรมวิธีต่อข่าวสาร ๔) การใช้และ
การกระจายข่าวกรอง
หลักนิยมการส่งกำลังบำรุงของกองทัพบก ประเภทการจัด หน่วยที่เกี่ยวข้องกับการส่งกำลังบำรุง
ในระดับ ทบ. ได้แก่ กรมฝ่ายเสนาธิการ กรมฝ่ายยุทธบริการ และกรมฝ่ายกิจการพิเศษบางหน่วย ในระดับ ทภ.
มี บชร.และ มทบ. เป็นหน่วยปฏิบัติ ในระดับ พล. มีหน่วยสนับสนุนทางการส่งกำลังบำรุงเป็น ๒ แบบ คือ
๑) พล.ร.แบบเดิม จะมีหน่วยสนับสนุนทางการส่งกำลังบำรุงแบบสายยุทธบริการ ๒) พล.ร.แบบมาตรฐาน จะมี
หน่วยสนับสนุนทางการส่งกำลังบำรุงที่จัดแบบพันธกิจ ในระดับต่ำกว่า พล. ลงมา จะไม่มีการจัดหน่วยสนับสนุน
ทางการส่งกำลังบำรุงชัดเจน จะมีหน่วยและเจ้าหน้าที่ส่งกำลังบำรุงรวมอยู่กับหน่วยกำลังรบ หลักพื้นฐานทาง
ยุทธวิธี แนวคิดในการส่งกำลังบำรุง ใช้ระบบการส่งกำลังบำรุงเดียวกันทั้งในยามปกติและยามสงคราม หลักการ
ส่งกำลังบำรุง ๑) การรวมการสนับสนุน ๒) การสนับสนุนจากข้างหลังไปข้างหน้า ๓) ความเชื่อถือได้ ๔) ความง่าย
๕) การทันเวลา ๖) การได้ส่วนสัมพันธ์ ๗) อำนาจหน้าที่ ๘) ความปลอดภัย ๙) การประหยัด
หลักนิยมกิจการพลเรือนของกองทัพบก ประเภทการจัด หน่วยสายงานกิจการพลเรือน แบ่งเป็น
๑) : กร.ทบ. และ สลก.ทบ. ๒) ส่วนกำลังรบ กกร.ทภ., กกร.ทน., ฝกร.พล., กรมและกองพัน (ฝอ.๕) และ นศส.
(พัน.ปจว.) ๓) ส่วนสนับสนุนการรบ: กกร.นปอ. และ ฝกร.พล.ป. ๔) ส่วนส่งกำลังบำรุง สพ.ทบ., สส., พธ.ทบ.,
พบ. และ ขส.ทบ. มีกองยุทธการและการข่าวรับผิดชอบงานกิจการพลเรือน และ ยย.ทบ., วศ.ทบ., กส.ทบ. มีกอง
แผนและโครงการรับผิดชอบงานกิจการพลเรือน ๕) ส่วนการฝึกศึกษาและหลักนิยม ยศ.ทบ. (กยข.ยศ.ทบ.) และ
รร.จปร. (กกร.รร.จปร.) ๖) ส่วนภูมิภาค มทบ. (พัน.มทบ.) และ ๗) ส่วนพัฒนาประเทศ พล.พัฒนา (ร้อย.บรรเทา
สาธารณภัย) และ พล.ช. หลักพื้นฐานในการปฏิบัติทางยุทธวิธี งานกิจการพลเรือน แบ่งออกเป็น ๔ แขนง ได้แก่
๑) การปฏิบัติการกิจการพลเรือน ๒) การประชาสัมพันธ์ ๓) การเสริมสร้างอุดมการณ์ และ ๔) ก ารปฏิบัติการ
จิตวิทยา โดยการปฏิบัติงานแบ่งออกเป็น ๓ กลุ่ม ๑) การสนับสนุนสถาบันชาติ ๒) การสนับสนุนพลเรือน และ
๓) การสนับสนุนการปฏิบัติทางทหาร: ๓.๑) การป้องกันประเทศ, ๓.๒) การสนับสนุนการรักษาความมั่นคงภายใน
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ช

ราชอาณาจักร ๓.๓) การสนับสนุนการรักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ และ ๓.๔) การสนับสนุนการ


ปฏิบัติการอื่นๆ
หลักนิยมกรมวิทยาศาสตร์ทหารบก ประเภทการจัด กรมวิทยาศาสตร์ทหารบก ทำหน้าที่ส่งกำลังบำรุง
โดยมีหน่วยทหารวิทยาศาสตร์ที่ใช้ อจย. ๒ หน่วย ได้แก่ ร้อย.วศ.๑ ซึ่งเป็นหน่วยสนับสนุนการรบ ทบ. ฝากการ
บังคับบัญชาไว้กับ วศ.ทบ.และมี ตอนปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์เป็น นขต.ของ ร้อย.บร.สนาม พัน.สบร.บชร.
หลักพื้นฐานทางยุทธวิธี ปฏิบัติการเฝ้าตรวจ แจ้งเตือน และการลาดตระเวน คชรน. ปฏิบัติการทำลายล้างพิษ
คชรน. การปฏิบัติการทำควันให้กับหน่วยกำลังรบ
หลักนิยมการรบพิเศษ ประเภทการจัด หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ (นสศ.) พล.รพศ.๑ (๕ กรม รพศ.)
ศูน ย์สงครามพิเศษ (ศสพ.) กองพัน ปฏิบัติการจิตวิทยา (พัน.ปจว.) กองพันทหารสื่อสารที่ ๓๕ (ส.พัน.๓๕)
หลักพื้นฐานทางยุทธวิธี ลักษณะของการปฏิบัติการพิเศษ คือ การกระทำของกำลังทหารและกึ่งทหาร เพื่อให้
บรรลุวัตถุประสงค์ทางทหาร ทางการเมือง ทางเศรษฐกิจ หรือทางจิตวิทยา ด้วยวิธีการไม่ตามแบบในพื้นที่
ของข้ า ศึ ก พื ้ น ที ่ ท ี ่ ถ ู ก ยึ ด ครอง หรื อ พื ้ น ที ่ ท ี ่ ม ี ค วามล่ อ แหลมทางการเมื อ ง โดยใช้ เ ทคนิ ค ของการอำพราง
การปฏิบัติการลับ หรือการปฏิบัติการปกปิด และการมองภาพในระดับชาติ มีกิจกรรมหลัก ดังนี้ ๑) การสงคราม
นอกแบบ : สนบ.(UNCONVENTIONAL WARFARE : UW) ๒) การป้องกันและปราบปรามการก่อความไม่สงบ : ปปส.
(COUNTER INSURGENCY : COIN) ๓) การปฏิบัติการโดยตรง : ปต.(DIRECT ACTION : DA) ๔) การลาดตระเวน
พิ เ ศษ : ลว.พ.(SPECIAL RECONNAISSANCE : SR) ๕) การต่ อ สู ้ ก ารก่ อ การร้ า ย : ตสร.(COMBATTING
TERRORISM : CBT) ๖) การปฏิบัติการจิตวิทยา : ปจว.(PSYCHOLOGICAL OPERATIONS : PSYOP) ๗) การ
ปฏิบัติการพิเศษสนับสนุนการปฏิบัติการทางทหารนอกเหนือจากสงคราม ๘) การสนับสนุนภารกิจพิเศษอื่น ๆ
ที่ ทบ. มอบหมาย
หลักนิยมการบินทหารบก ประเภทการจัด ศูนย์การบินทหารบก (ศบบ.) กรมบิน (กรม บ.) หลักพื้นฐานทาง
ยุทธวิธี ยึดถือหลักนิยมกองทัพบก รส. ๓ – ๐ เป็นกรอบในการปฏิบัติ โดยการบินทหารบกสามารถสนับสนุน
หน่วยกำลังรบและหน่วยทหารอื่นๆ ในการปฏิบัติการยุทธ์ ตามระบบปฏิบัติการในสนามรบ(Battle Operations
System: BOS) ได้ครบทั้ง ๗ ประการ ทั้งในภารกิจด้านการรบ สนับสนุนการรบ สนับสนุนการช่วยรบ และการ
ปฏิบัติการทางทหารอื่นๆ ที่มิใช่สงคราม สามารถตอบสนองพันธกิจ ๕ ประการ ของกองทัพบกได้อย่างครบถ้วน
หลักนิยมศูนย์ไซเบอร์ทหารบก ประเภทการจัด ศูนย์ไซเบอร์กองทัพบก (ศซบ.ทบ.) แปรสภาพจากศูนย์
เทคโนโลยีทางทหาร (ศทท.) รับผิดชอบดำเนินการเกี่ยวกับการปฏิบัติด้านไซเบอร์ และพัฒนาความพร้อมด้าน
ไซเบอร์ของ ทบ.

-------------------------------------------------------------------------
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๑

เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก
หลักนิยม (Doctrine) มีพื้นฐานมาจากประวัติศาสตร์ การศึกษาค้นคว้า การวิเคราะห์ และการตีค วาม
ประสบการณ์จากการรบที่ผ่านมา เป็นหลักการที่นิยมใช้กันในการปฏิบัติงานหรือภารกิจต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุ
เป้าหมายที่ต้องการ จึงกล่าวได้ว่า หลักนิยมเป็นหนทางปฏิบัติที่ดีที่สุดในการที่จะทำให้บรรลุวัตถุประสงค์หรือ
จุดหมายที่ตั้งไว้ หลักนิยมเป็นการให้อำนาจในการใช้เป็นแนวทางปฏิบัติ (Authoritative) แต่ไม่ใช่คำสั่งที่ต้อง
ปฏิบัติ ในการนำไปใช้ควรต้องพิจารณาให้สอดคล้องและเหมาะสมกับลักษณะงานนั้น ๆ
หลักนิยมทางทหาร (Military Doctrine) คือ หลักการพื้นฐานซึ่งกำลังรบทางทหารหรือส่วนของกำลังรบ
ทางทหารยึดถือเป็นแนวปฏิบัติ เพื่อสนับสนุนวัตถุประสงค์ ในการใช้กำลังหรือวัตถุประสงค์ของชาติ (National
Objectives) หลั ก นิ ย มทางทหารนี้ ไม่ ถ ื อ เป็ น หลั ก ที ่ ห น่ ว ยจะต้ อ งถื อ ยึ ด มั ่ น เป็ น หลั ก ปฏิ บ ั ต ิ ต ายตั ว เสมอ
การนำไปใช้จะต้องพิจารณาให้เหมาะสมกับ สถานการณ์ พื้นที่และโอกาส ซึ่งหลักนิยมทางทหารนี้เป็นผลผลิต
สำคัญส่วนหนึ่งจากยุทธศาสตร์ทหารของชาติ (NMS : National Military strategy) โดยคุณลักษณะสำคัญของ
หลักนิยมทางทหารจะต้องสนับสนุนวัตถุประสงค์ของชาติและมีความอ่อนตัวในการปฏิบัตินั่นเอง
ประเภทของหลักนิยมทางทหาร
หลักนิยมทางทหารแบ่งออกเป็น ๓ ประเภท ดังนี้
๑. หลักนิยมพื้นฐาน (Fundamental Doctrine) เป็นหลักนิยมที่ใช้เป็นแนวทางหลักให้กองทัพ
ดำเนินการสนับสนุนให้ชาติสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของชาติได้ จากการศึกษาประวัติศาสตร์ทางทหาร บทเรียน
จากการรบ ยุทธศาสตร์ ยุทธวิธี และ หลักนิยมของชาติอื่น ๆ ตลอดจนชาติมหาอำนาจ และชาติที่อาจจะเป็น ภัย
คุกคามต่อความมั่นคงของชาติ ลักษณะรูปแบบของสงครามที่ประเทศอาจต้องเผชิญ โครงสร้างกำลังทัพ และ
การจัดหน่วยทางยุทธศาสตร์ ความสัมพันธ์ระหว่างพลังอำนาจของชาติ และกำลังทหารของประเทศสัมพันธมิตร
และศัตรู วัตถุประสงค์ทางทหารของชาติ ซึ่งจะกำหนดขึ้นเป็นหลักนิยมพื้นฐานโดยให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ
และพระราชบัญญัติความมั่ นคงของชาติ เพื่อเป็นหลักในการกำหนดหลักนิยมแบบอื่น ๆ ตัวอย่าง ได้แก่ รส.๑
กองทัพบก (พศ.๒๕๕๕), รส.๑๐๐-๑ หลักนิยมกองทัพบกในการรบตามแบบ (๒๕๓๙), รส.๑๐๐-๔ หลักนิยม
กองทัพบกในการต่อสู้เบ็ดเสร็จ (๒๕๓๙) และ รส.๑๐๐-๕ การยุทธ์ของกองทัพบกในสนาม (๒๕๓๘) คู่มือราชการ
สนามทั้ง ๔ เล่มนี้ จึงเป็นหลักนิยมพื้นฐานอันจะเป็นแม่บทในการกำหนดหลักนิยมหรือยุทธวิธีของหน่วยและ
เหล่าต่าง ๆ ต่อไป
๒. หลักนิยมสงครามพิเศษหรือตามสภาพแวดล้อม (Environmental Doctrine) เป็นหลักนิยม
ที่ใช้ในการปฏิบัติการยุทธ์หรือการรบในบางลักษณะจำเป็นต้องศึกษาและคำนึงถึงสภาพแวดล้อมและลักษณะ
พิเศษในการปฏิบัติการหรือการใช้กำลังทางอากาศอย่างรวดเร็วเพื่อผลแตกหักในการรบ ซึ่งจะเป็นหลั กนิยม
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๒

สงครามพิเศษหรือตามสภาพแวดล้อม ตัวอย่างได้แก่ รส.๑๐๐-๒ หลักนิยมกองทัพบกในการสงครามพิเศษ


(๒๕๓๙) และ รส.๑๐๐-๓ หลักนิยมกองทัพบกในการยุทธ์ร่วม (๒๕๓๙)
๓. หลักนิยมยุทธวิธีของหน่วย (Organization Doctrine) เป็นหลักนิยมที่ใช้ในหน่วยระดับต่าง ๆ
ตั้งแต่หน่วยทหารขนาดใหญ่ (ใหญ่กว่าระดับกองพล) ไปจนถึงหน่วยทหารขนาดเล็ก (เล็กกว่ากองพล) ของ
ทุกเหล่า เพื่อสนับสนุนวัตถุประสงค์ในการใช้กำลังหรือวัตถุประสงค์ของชาติที่แตกต่างกันตามภารกิจ และขนาด
ของหน่วย ในกรณีที่มิใช่หน่วยรบการจัดทำหลักนิยมจะเป็นลักษณะของการปฏิบัติของหน่วยหรือบุคคลในภาวะ
สงคราม โดยมีการจัดทำลักษณะแบบเอกสารเช่นเดียวกับหลักนิยมยุทธวิธีของหน่วย ซึ่งจะแตกต่างเฉพาะบทและ
ตอนในรายละเอียดเกี่ยวกับการปฏิบัติของหน่วยในภาวะสงครามเท่านั้น
การกำหนดหลักนิยมทางทหาร เป็นกระบวนการที่เป็นระบบโดยมีคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญด้านการทหาร
ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ ดังนี้
๑. หลักการทำสงคราม (Principles of war)
๒. หลักการปฏิบตั ิการนอกจากสงคราม (Operations other than War Doctrine)
๓. หลักการทางตำรา (Military Document)
๔. การฝึก (Training)
๕. การยุทธ์ (Operation)
หลั ก การทำสงคราม (Principles of war) เป็ น แนวทางที ่ ก ำหนดเพื ่ อ ให้ ไ ด้ ช ั ย ชนะ มี ห ลั ก การ
๑๐ ประการ คือ
๑. หลักดำรงความมุ่งหมาย (Maintain Objective) เป็นการปฏิบตั ิการทางทหารทัง้ ปวงต้องมุ่งไปสู่
ที่หมายที่กำหนดไว้อย่างชัดเจน ได้แก่ ที่หมายแตกหักและที่หมายขั้นสุดท้าย
๒. หลักการรวมกำลัง (Mass) เป็นการรวมอำนาจกำลังรบ ณ ตำบล และ เวลาที่แตกหัก
๓. หลักการดำเนินกลยุทธ์ (Maneuver) เป็นการทำให้ข้าศึกตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบ โดยการใช้อำนาจ
กำลังรบอย่างอ่อนตัว
๔. หลักการระวังป้องกัน และ รปภ.(Security) จะต้องไม่ยอมให้ข้าศึกมีความได้เปรียบโดยที่ฝา่ ยเรา
ไม่คาดคิด
๕. หลักความง่าย (Simplicity) เป็นการเตรียมแผนที่ชดั เจนไม่ยุ่งยากและคำสั่งที่ชดั เจนรัดกุม เพื่อให้
เกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้
๖. หลักการรุก (Offensive) เป็นการชิงความริเริ่ม, การครองความริเริ่ม และการขยายผลจากความริเริ่ม
๗. หลักการออมกำลัง (Economy of force) เป็นการใช้กำลังน้อยที่สุดเท่าที่จำเป็นในด้านการปฏิบัติรอง
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๓

๘. หลักเอกภาพในการบังคับบัญชา (Unity of command) หมายถึง การมีเอกภาพในการปฏิบัติ


ต่อทุก ๆ เป้าหมาย ภายใต้ผู้บังคับบัญชาที่รับผิดชอบเพียงผู้เดียว
๙. หลักการจู่โจม (Surprise) โจมตีข้าศึก ณ เวลา หรือตำบล หรือในรูปแบบที่ข้าศึกไม่ได้เตรียมการ
ไว้ก่อน
๑๐. หลักการต่อสู้เบ็ดเสร็จ (Total Defense) การผนึกกำลังรบหลัก กำลังประจำถิ่นและกำลัง
ประชาชน เพื่อชดเชยความเสียเปรียบในอำนาจกำลังรบ ซึ่งอำนาจกำลังรบประกอบด้วย การดำเนินกลยุทธ์
อำนาจการยิง การพิทักษ์หน่วย และ ความเป็นผู้นำ
หลักนิยมทางทหารของกองทัพบกไทย ได้รับอิ ทธิพลในเรื่องหลักนิยมทางทหารของสหรัฐอเมริกา ซึ่งมี
ขอบเขตในการดำเนิน การที่กว้างขวาง ในการนำมาใช้จึง มีความจำเป็นที่จะต้องปรับปรุงให้เหมาะสมกับ
สภาพแวดล้อมและการปฏิบัติของกองทัพบก ซึ่งจะต้องมีการวิเคราะห์และทดสอบให้เกิดความแน่ใจในผลการ
ปฏิ บ ั ต ิ การที ่ จะพั ฒ นาให้เ กิ ด ผลในอนาคตบุ คคลากรในระดั บต่ า ง ๆ ที ่ เ กี ่ย วข้อ ง จะต้ อ งให้ความร่ว มมือ
เห็นความสำคัญ และเข้ามามีส่วนร่วมโดยการสร้างแรงจูงใจและให้การฝึกศึกษาให้เกิดความรู้ความเข้าใจในเรื่อง
หลักนิยม จัดระบบการดำเนินงานและการกำหนดองค์กรรับผิดชอบที่ชัดเจน ซึ่งปัจจุบันได้กำหนดความรับผิดชอบ
ในการพัฒนาหลักนิยมในระดับต่าง ๆ ไว้ คื อ หลั ก นิ ย มหลั ก ของ ทบ. ซึ่ ง เชื่ อ มต่ อ กั บ หลั ก นิ ย มการรบร่ ว ม
รั บ ผิ ด ชอบโดย ศพย.ยศ.ทบ. ระดั บ ยุ ท ธการ รั บ ผิ ด ชอบโดยวิ ท ยาลั ย การทั พ บก ระดั บ ยุ ท ธวิ ธี ในระดั บ
กองพล รั บ ผิ ด ชอบโดยโรงเรี ย นเสนาธิการทหารบก และระดับยุทธวิธีในระดับกรมลงมา รับผิดชอบโดยหน่วย/
เหล่าสายวิทยาการ ทั้งนี้ อยู่ในการวางแผน อำนวยการ ประสานงาน แนะนำ กำกับการ ของกรมยุทธศึกษา
ทหารบก โดยศูนย์พัฒนาหลักนิยมและยุทธศาสตร์ (ศพย.ยศ.ทบ.)
กรรมวิธีในการพัฒนาหลักนิยม เริ่มต้นจากการนำภัยคุกคาม ภารกิจ และวัตถุประสงค์ของชาติ รวมทั้ง
ขีดความ สามารถทางเทคโนโลยีและบทเรียนจากการรบ ประกอบกับประสบการณ์จากการรบในประวัติศาสตร์
มาเรียงลำดับเป็นแนวคิด แล้วดำเนินการประเมินผล กำหนดออกมาเป็นแนวคิดในการปฏิบัติ แล้วจึงประมวล
สิ่งเหล่านี้จัดทำเป็นหลักนิยม เมื่อมีหลักนิยมแล้วจึงจะนำไปสู่การพัฒนาในด้านการฝึก/ศึกษา ดำเนินการจัดหา
ยุทโธปกรณ์ ตลอดจนการพิจารณาจัดตัง้ หน่วยต่าง ๆ ให้เป็นไปตามหลักนิยม โดยการพัฒนาหลักนิยมเป็นกรรมวิธี
ที่จะต้องปฏิบัติอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา และหาได้สิ้นสุดลงเมื่อมีการจัดพิมพ์เอกสารแล้ว แต่จะต้องมีการพัฒนา
ปรับปรุงตลอดเวลา เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงภัยคุกคาม สภาพแวดล้อม ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี หรือปัจจัยอื่น ๆ
ของชาติ เช่น ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม ความจำกัดของทรัพยากรที่จะนำมาใช้ เป็นต้น
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๔

กองทัพบก
กองทัพบก เป็นส่วนราชการขึ้นตรงกองบัญชาการทหารสูงสุด ตามพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการ
และกำหนดหน้าที่ของส่วนราชการกองทัพบก กองทัพไทย กระทรวงกลาโหม พ.ศ.๒๕๕๒ และ และ พระราช
กฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการและกำหนดหน้าที่ของส่วนราชการ กองทัพบก กองทัพไทย กระทรวงกลาโหม (ฉบับที่ ๒)
พ.ศ.๒๕๕๘ โดยกำหนดส่วนราชการของกองทัพบกเป็น ๓๔ ส่วนราชการ สามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มตามลักษณะ
งานประเภทได้เป็น ๗ ส่วน ดังนี้

๑. ส่วนบัญชาการ มีหน้าที่ ควบคุม บังคับบัญชา วางแผน อำนวยการ ประสานงาน และกำกับการให้


การดำเนินงานของกองทัพบกทั้งในยามปกติ และยามสงคราม เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว ส่วนบังคับ
บัญชาประกอบด้วยส่วนงานต่าง ๆ ดังนี้
๑.๑ กองทัพบก (ส่วนผู้บังคับบัญชา) มีหน้าที่ บังคับบัญชาส่วนราชการต่าง ๆ ในกองทัพบกให้
ปฏิบัติภารกิจของ ทบ.และภารกิจอื่น ๆ ที่มิได้มอบให้ส่วนราชการใดโดยเฉพาะ
๑.๒ สำนักงานเลขานุการ ดำเนินงานเลขานุการ และงานธุรการให้กับส่วนบังคับบัญชา รวมทั้ง
ดำเนินงานและประสานงานเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์ของกองทัพบก
๑.๓ กรมฝ่ายเสนาธิการ มีหน้าที่ วางแผน ประสานงาน ให้ข้อเสนอแนะ กำกับการและดำเนินการ
ในเรื่องอันเกี่ยวกับหน้าที่ของตน ตามที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกา ประกอบด้วย ๖ หน่วย ดังนี้
๑.๓.๑ กรมกำลังพลทหารบก (กพ.ทบ.) มีหน้าที่ วางแผน อำนวยการ ประสานงาน กำกับการ
และดำเนินการเกี่ยวกับงานนโยบายและแผนกำลังพล การเตรียมพล การจัดการกำลังพล การปกครองกำลังพล การ
บริ การ สิ ทธิ และขวั ญกำลั งพล การพั ฒนาความรู ้ ของกำลั งพล การศึ กษาที ่ นอกเหนื อจากสายงานยุ ทธการ
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๕

งบประมาณการกำลังพล การวิเคราะห์และประเมินค่ากำลังพล และดำเนินการเกี่ยวกับกิจการกำลังพลอื่น ๆ


ทั้งปวง ตลอดจนแนะนำและกำกับดูแลฝ่ายกิจการพิเศษในสายงานกำลังพล
๑.๓.๒ กรมข่าวทหารบก (ขว.ทบ.) มีหน้าที่ วางแผน อำนวยการ ประสานงาน กำกับการ และ
ดำเนินการเกี่ยวกับงานด้านการข่าว การรักษาความปลอดภัย การข่าวลับ การทูตฝ่ายทหารบกไทยในและ
ต่างประเทศ การฝึกและการศึกษาของเจ้าหน้าที่ข่าวของกองทัพบก การเตรียมชุดเจ้าหน้าที่ข่าวกรองทางทหาร
สำหรับปฏิบัติงาน ตลอดจนกำหนดความต้องการและควบคุมการแจกจ่ายแผนที่ทหาร
๑.๓.๓ กรมยุทธการทหารบก (ยก.ทบ.) มีหน้าที่ วางแผน อำนวยการ ประสานงาน กำกับการ
และดำเนินการเกี่ยวกับงานด้านยุทธการในเรื่องการจัดเตรียมกำลัง และการใช้กำลังของกองทัพบก ดำเนินงาน
ประวัติศาสตร์และพิพิธภัณฑ์ทหาร ตลอดจนแนะนำและกำกับดูแลเกี่ยวกับการดำเนินงานด้านยุทธการของหน่วย
ต่างๆ ของกองทัพบก
๑.๓.๔ กรมส่งกำลังบำรุง (กบ.ทบ.) มีหน้าที่ วางแผน อำนวยการ ประสานงาน กำกับการ และ
ดำเนินการเกี่ยวกับงานส่งกำลังบำรุงทั้งปวง การฝึกและศึกษาด้านการส่งกำลังบำรุงของกองทัพบก ตลอดจน
แนะนำและกำกับดูแลฝ่ายยุทธบริการ และฝ่ายกิจการพิเศษที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานด้านส่งกำลังบำรุงของ
กองทัพบก
๑.๓.๕ กรมกิจการพลเรือนทหารบก (กร.ทบ.) มีหน้าที่ วางแผน อำนวยการ ประสานงาน
กำกับการ และดำเนินการเกี่ยวกับงานกิจการพลเรือน และงานที่ได้รับมอบหมายที่ดำเนินต่อการสนับสนุนการ
ปฏิบัต ิการทางทหารและการปกครอง การฝึกและศึกษาในหลักสูต รที่เกี่ยวข้องกับงานกิจการพลเรือนของ
กองทัพบก ตลอดจนแนะนำและกำกับดูแลเกี่ยวกับการดำเนินงานกิจการพลเรือนของหน่วยต่าง ๆ ของกองทัพบก
๑.๓.๖ สำนักงานปลัดบัญชีกองทัพบก (สปช.ทบ.) มีหน้าที่ วางแผน อำนวยการ ประสานงาน
กำกับการ และดำเนินการเกี่ยวกับการงบประมาณ การเงิน บัญชี การควบคุมภายใน การพัฒนาระบบราชการ การ
บริ หารทรั พยากร การบริ ห ารงาน ระบบสารสนเทศ และการสำรวจหน่ ว ยอั ต ราเฉพาะกิ จ ของกองทัพบก
อำนวยการศึกษาวิจัยและพัฒนาในสายงานปลัดบัญชี ตลอดจนกำกับดูแลกรมการเงินทหารบก และสำนักงาน
ตรวจสอบภายในทหารบก ในการกำหนดภารกิจ การจัดระเบียบ และการบริหารงาน
๑.๔ กรมฝ่ายยุทธบริการ มีหน้าที่ วางแผน ให้ข้อเสนอแนะ กำกับการ และดำเนินการในเรื่อง
เกี่ยวกับหน้าที่ของตนตามที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกา ประกอบด้วย ๙ หน่วย ดังนี้
๑.๔.๑ กรมการทหารช่าง (กช.) มีหน้าที่ วางแผน อำนวยการ ประสานงาน กำกับการ ดำเนินการ
วิจัย และพัฒนาเกี่ยวกับการผลิต การจัดหา การส่งกำลัง การซ่อมบำรุง และการบริการสิ่งอุปกรณ์สายทหารช่าง
การก่อสร้างและซ่อมแซมสิ่งก่อสร้าง กำหนดหลักนิยมและทำตำรา ตลอดจนการฝึกและศึกษา ทั้งนี้ เกี่ยวกับ
กิจการและสิ่งอุปกรณ์ของเหล่าทหารช่าง
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๖

๑.๔.๒ กรมสรรพาวุธทหารบก (สพ.ทบ.) มีหน้าที่ วางแผน อำนวยการ ประสานงาน กำกับการ


ดำเนินการ วิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับการผลิต การจัดหา การส่งกำลัง การซ่อมบำรุง และการบริการ กำหนด
หลักนิยมและทำตำรา ตลอดจนการฝึกและศึกษา ทั้งนี้ เกี่ยวกับกิจการและสิ่งอุปกรณ์ของเหล่าสรรพาวุธ
๑.๔.๓ กรมแพทย์ทหารบก (พบ.) มีหน้า วางแผน อำนวยการ ประสานงาน แนะนำ กำกับการ
ดำเนินการ วิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับการผลิต การจัดหา การส่งกำลัง การซ่อมบำรุง การบริการ พยาธิวิทยา การส่งเสริม
สุขภาพ เวชกรรมป้องกัน ทันตกรรม และการรักษาพยาบาล ให้การศึกษา อบรม และดำเนินการฝึกนักเรียนแพทย์
และนักเรียนพยาบาลตามที่กองทัพบกมอบหมาย กำหนดหลักนิยมและทำตำรา ตลอดจนการฝึกและศึกษา ทั้งนี้
เกี่ยวกับกิจการและสิ่งอุปกรณ์ของเหล่าทหารแพทย์
๑.๔.๔ กรมการขนส่งทหารบก (ขส.ทบ.) มีหน้าที่ วางแผน อำนวยการ ประสานงาน แนะนำ
กำกับการ ดำเนินการ วิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับการจัดหา การส่งกำลัง การซ่อมบำรุง และการบริการสิ่งอุปกรณ์ขนส่ง
กำหนดหลักนิยมและทำตำรา ตลอดจนการฝึกและศึกษา ทั้งนี้เกี่ยวกับกิจการและสิ่งอุปกรณ์ของเหล่าทหารขนส่ง
๑.๔.๕ กรมพลาธิการทหารบก (พธ.ทบ.) หน้าที่ วางแผน อำนวยการ ประสานงาน แนะนำ
กำกับการ ดำเนินการ วิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับการผลิต การจัดหา การส่งกำลัง การซ่อมบำรุง และการบริการ
กำหนดหลักนิยมและทำตำรา ตลอดจนการฝึกและศึกษา ทั้งนี้เกี่ยวกับกิจการและสิ่งอุปกรณ์ของเหล่าพลาธิการ
๑.๔.๖ กรมยุทธโยธาทหารบก (ยย.ทบ.) มีหน้าที่ วางแผน อำนวยการ ประสานงาน แนะนำ
กำกับการ ดำเนินการ วิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับการจัดหา การก่อสร้าง การส่งกำลัง การซ่อมบำรุง และการบริการ
เกี่ยวกับสิ่งก่อสร้าง และอสังหาริมทรัพย์ของกองทัพบก กำหนดหลักนิยมและทำตำรา ตลอดจนการฝึกและศึกษา
ทั้งนี้เกี่ยวกับกิจการและสิ่งอุปกรณ์ของสายยุทธโยธา
๑.๔.๗ กรมการสัตว์ทหารบก (กส.ทบ) มีหน้าที่ วางแผน อำนวยการ ประสานงาน แนะนำ
กำกับการ ดำเนิน การ วิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับการผลิต การจัด หา การส่งกำลัง การซ่อมบำรุง การบริการ
การสุขาภิบาล เวชกรรมป้องกัน การรักษาพยาบาล การบำรุงรัก ษาและการผสมพันธุ์สัตว์ และการเสบียงสัตว์
สนับสนุนการปฏิบัติการทางทหารด้วยการใช้สัตว์และการเกษตรของกองทัพบก กำหนดหลักนิยมและทำตำรา
ตลอดจนการฝึกและศึกษา ทั้งนี้เกี่ยวกับกิจการและสิ่งอุปกรณ์ของเหล่าทหารการสัตว์
๑.๔.๘ กรมการทหารสื ่ อ สาร (สส.) มี ห น้ า ที่ วางแผน อำนวยการ ประสานงาน แนะนำ
กำกับการ ดำเนินการ วิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับการผลิต การจัดหา การส่งกำลัง การซ่อมบำรุง และการบริการ
ในกิ จ การของเหล่ า ทหารสื ่ อ สารและสิ ่ ง อุ ป กรณ์ ส ายสื ่ อ สาร วิ จ ั ย และพั ฒ นาเกี ่ ย วกั บ การสื ่ อ สาร กิ จ การ
โทรคมนาคม คอมพิว เตอร์ และอิเล็กทรอนิกส์ทั้งปวง สนับสนุนระบบควบคุมบังคับบัญชาและการสื่อสาร
การสงครามข่าวสารกองทัพบก กำหนดหลักนิยมและทำตำรา ตลอดจนการฝึกและศึกษา ทั้งนี้เกี่ยวกับกิจการและ
สิ่งอุปกรณ์ของเหล่าทหารสื่อสาร
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๗

๑.๔.๙ กรมวิ ทยาศาสตร์ ทหารบก (วศ.ทบ.) มี ห น้ าที่ วางแผน อำนวยการ ประสานงาน


กำกับการ ดำเนินการ วิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับการผลิต การส่งกำลัง การซ่อมบำรุง และการบริการ กำหนด
หลักนิยมและทำตำรา ตลอดจนการฝึกและศึกษา ทั้งนี้เกี่ยวกับการปฏิบัติการและการป้องกันทางนิวเคลียร์ ชีวะ
เคมี และกิจการวิทยาศาสตร์ของกองทัพบก
๑.๕ กรมฝ่ายกิจการพิเศษ มีหน้าที่ วางแผน ให้ข้อเสนอแนะ กำกับการ และดำเนินการในเรื่องที่
เกี่ยวข้องกับหน้าที่ของตนตามพระราชกฤษฎีกา ประกอบด้วย ๑๐ หน่วย ดังนี้
๑.๕.๑ กรมสารบรรณทหารบก (สบ.ทบ.) มีหน้าที่ ดำเนินการเกี่ยวกับงานสารบรรณ งานธุรการ
และพิธีการ ดำเนินการเกี่ยวกับการสนับสนุน การจัดการกำลังพล และธุรการกำลังพลตามที่กองทัพบกกำหนด
กำหนดหลักนิยมและทำตำรา ตลอดจนการฝึกและศึกษาของเหล่าสารบรรณ
๑.๕.๒ กรมการเงินทหารบก (กง.ทบ.) มีหน้าที่ ดำเนินการเกี่ยวกับการเบิก รับ จ่าย และรักษาเงิน
การบัญชี การเงินของกองทัพบกตามระเบียบแบบแผนของทางราชการ กำหนดหลักนิยมและทำตำรา ตลอดจน
การฝึกและศึกษาของเหล่าทหารการเงิน
๑.๕.๓ กรมการสารวัตรทหารบก (สห.ทบ.) มีหน้าที่ วางแผน ประสานงาน และกำกับการ
เกี่ยวกับการรักษาวินัย การจับกุมทหารที่กระทำความผิด การเรือ นจำ การจราจรในกิจการทหาร การรักษาความ
ปลอดภัย การฝึกและศึกษาวิชาเหล่าทหารสารวัตร การสืบสวนและสอบสวนคดีอาญาซึ่งอยู่ในอำนาจศาลทหาร
การป้องกันและวิจัยอาชญากรรมในกองทัพบก และพิจารณาอำนวยการเกี่ยวกับทหารพลัดหน่วยและเชลยศึก
กำหนดหลักนิยมและทำตำรา ตลอดจนการฝึกและศึกษาของเหล่าทหารสารวัตร
๑.๕.๔ กรมเจทหารบก (จบ.) มีหน้าที่ ดำเนินการตรวจราชการ สืบสวน และสอบสวนในเรื่อง
ประสิทธิภาพและราชการของหน่วยต่าง ๆ ของกองทัพบก การสืบสวน สอบสวน และพิจารณาเรื่องราวร้องทุกข์
และการร้องเรียน เกี่ยวกับราชการ หรือทหาร หรือข้าราชการของกองทัพบก
๑.๕.๕ กรมสวัสดิการทหารบก (สก.ทบ.) มีหน้าที่ เกี่ยวกับสวัสดิการ และบำบัดทุกข์ บำรุงสุข
ทั้งในด้านทรัพย์สินและสิ่งอุปโภค บริโภค การแนะนำและส่งเสริมวิชาชีพและการศึกษา ทั้งที่เกี่ยวกับทหาร
ข้าราชการ และครอบครัวในกองทัพบก
๑.๕.๖ หน่วยบัญชาการรักษาดินแดน (นรด.) มีหน้าที่วางแผน อำนวยการ ประสานงาน กำกับการ
และดำเนินการเกี่ยวกับกิจการกำลังสำรองทัง้ ปวง กิจการสัสดี รวมทั้งปกครองบังคับบัญชาหน่วยทหารที่กระทรวง
กลาโหมกำหนด
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๘

๑.๕.๗ สำนั ก งานวิ จ ั ย และพั ฒนาการทางทหารกองทั พ บก (สวพ.ทบ.) มี ห น้ า ที ่ ว างแผน


อำนวยการ ประสานงาน ควบคุม กำกับการ และดำเนินการเกี่ยวกับการวิจัยและพัฒนาการทางทหาร ทั้งในด้าน
หลั ก การและด้ า นยุ ท โธปกรณ์ ต ามที ่ ก องทั พ บกกำหนด ตลอดจนดำเนิ นการกำหนดและรั บ รองมาตรฐาน
ยุทโธปกรณ์ภายในกองทัพบก
๑.๕.๘ สำนักงานตรวจสอบภายในทหารบก (สตน.ทบ.) มีหน้าที่ ดำเนินการตรวจสอบภายใน
โดยอิสระ เพื่อประเมินค่าประสิทธิผล ควบคุม และบริหารทรัพยากรตามความมุ่งหมายของกองทัพบก
๑.๕.๙ สำนักงานพระธรรมนูญทหารบก (สธน.ทบ.) มีหน้าที่ วางแผน อำนวยการ ประสานงาน
กำกับดูแล และดำเนินการเกี่ยวกับกิจการด้านกฎหมายของกองทัพบก ให้คำปรึกษาทางกฎหมายของกองทั พบก
สืบสวนคดีตามคำสั่งผู้บังคับบัญชา เสนอความคิดเห็นทางกฎหมายเกี่ยวกับวินัยทหาร การใช้กำลังทหาร และ
ตรวจร่างสัญญาต่าง ๆ ของกองทัพบก ตลอดจนควบคุมวิทยาการของนายทหารพระธรรมนูญในกองทัพบก
๑.๕.๑๐ กรมดุริยางค์ทหารบก (ดย.ทบ.) มีหน้าที่ วางแผน อำนวยการ แนะนำ กำกับการ และ
ดำเนินการเกี่ยวกับกิจการดนตรี การฝึกศึกษา วิทยาการ พัฒนาการการดนตรี และปฏิบัติการแสดงดนตรีของ
กองทัพบก รวมถึงการสนับสนุนกิจกรรมและสร้างความบันเทิง เพื่อบำรุงขวัญและกำลังใจแก่ประชาชน
๒. ส่วนกำลังรบ เป็นองค์ประกอบหลักของกองทัพบก มีหน้าที่ ใช้กำลังรบต่อกำลังของฝ่ายศัตรู เพื่อการ
ป้องกันราชอาณาจักร สำหรับหน้าที่ของแต่ละหน่วยกำลังรบ จะปรากฏตามภารกิจที่กำหนดไว้ในอัตราการจัดของ
หน่วยนั้น ๆ ส่วนกำลังรบประกอบด้วยหน่วยหลักๆ ที่เป็นหน่วยขึ้นตรงกองทัพบก ดังนี้
๒.๑ กองทัพภาค ๑, ๒, ๓ และ ๔ มีหน้าที่ วางแผน อำนวยการ กำกับการ และปฏิบัติหน้าที่หลัก
ในการป้องกันประเทศ รักษาความมั่นคงภายใน การรักษาความสงเรียบร้อยภายในประเทศ การพัฒนาประเทศ
ตามที่ได้รับมอบหมาย การถวายความปลอดภัยแด่สถาบันพระมหากษัตริย์ รวมถึงงานโครงการอันเนื่องมาจาก
พระราชดำริ และการปฏิบัติทางทหารที่ไม่ใช่สงคราม รวมทั้งปกครองบังคับบัญชาหน่วยทหารที่กระทรวงกลาโหม
กำหนด ซึ่งแต่ละกองทัพภาคประกอบด้วยหน่วยต่าง ๆ ดังนี้
๒.๑.๑ กองทัพภาคที่ ๑ (ทภ.๑) ประกอบด้วย ทน.๑, พล.๑ รอ., พล.ร.๒ รอ., พล.ร.๙,
พล.ร.๑๑, พล.ม.๒ รอ., บชร.๑ และ กรม ทพ.๑๑, ๑๒, ๑๓, ๑๔
๒.๑.๒ กองทัพภาคที่ ๒ (ทภ.๒) ประกอบด้วย ทน.๒, พล.ร.๓, พล.ร.๖, พล.ม.๓, บชร.๒ และ
กรม ทพ.๒๑, ๒๒, ๒๓, ๒๖
๒.๑.๓ กองทัพภาคที่ ๓ (ทภ.๓) ประกอบด้วย ทน.๓, พล.ร.๔, พล.ร.๗, พล.ม.๑, บชร.๓ และ
กรม ทพ.๓๑, ๓๒, ๓๓, ๓๕, ๓๖
๒.๑.๔ กองทั พ ภาคที ่ ๔ (ทภ.๔) ประกอบด้ วย ทน.๔, พล.ร.๕, พล.ร.๑๕, บชร.๔ และ
กรม ทพ.๔๑, ๔๒, ๔๓, ๔๔, ๔๕, ๔๖, ๔๗, ๔๘, ๔๙
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๙

๒.๒ หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ (นสศ.) มีหน้าที่ วางแผน อำนวยการ ประสานงาน กำกับการ


และปฏิบัติการเกี่ยวกับสงครามพิเศษ ดำเนินการฝึกและศึกษาเกี่ยวกับการสงครามพิเศษ การส่งกำลังทางอากาศ
การยุทธ์ส่งทางอากาศ และการปฏิบัติการพิเศษอื่นที่กองทัพบกมอบหมาย วิจัยและพัฒนากำหนดหลักนิยมและ
ทำตำราในทางวิทยาการที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งปกครองบังคับบัญชาหน่วยทหารที่กระทรวงกลาโหมกำหนด
๓. ส่วนสนับสนุนการรบ มีหน้าที่ สนับสนุนแก่ส่วนกำลังรบโดยตรง เพื่อให้บรรลุภารกิจของส่วนกำลังรบ
ปกติจะใช้ในลักษณะรวมการ แต่ในบางกรณีเมื่อมีความจำเป็นอาจพิจารณาแบ่งมอบให้กับส่วนราชการใด ๆ ได้ตาม
ความเหมาะสม ประกอบด้วย
๓.๑ กองพลทหารปืนใหญ่ (พล.ป.)
๓.๒ กองพลทหารปืนใหญ่ตอ่ สู้อากาศยาน (พล.ปตอ.)
๓.๓ กรมบิน (กรม บ.)
๓.๔ กองพันปฏิบัตกิ ารจิตวิทยา (พัน.ปจว.)
๓.๕ กรมทหารช่างที่ ๑๑ (ช.๑๑)
๓.๖ กองร้อยวิทยาศาสตร์ (ร้อย.วศ.)
๓.๗ กองพันป้องกันฐานบิน (พัน.ปฐบ.)
๓.๘ กองพันทหารสือ่ สารกองบัญชาการทหารบก (พัน.ส.บก.ทบ.หรือ ส.๑ พัน.๑๐๑)
๓.๙ หน่วยข่าวกรองทางทหารกองทัพบก (ขกท.)
๔. ส่วนส่งกำลังบำรุง มีหน้าที่ สนับสนุนส่วนราชการอื่น ๆ ทางด้านส่งกำลังบำรุง เช่น หน้าที่ในการ
ควบคุมอำนวยการ กำหนดความต้องการ จัดหา ผลิต เก็บรักษา ซ่อมบำรุง และแจกจ่ายสิ่งอุปกรณ์ประเภทต่าง ๆ
ได้แก่ กช., สส., สพ.ทบ., พธ., พบ., ขส.ทบ., ยย.ทบ., กส.ทบ. และ วศ.ทบ.
๕. ส่วนภูมิภาค มีหน้าที่ ปกครอง บังคับบัญชาหน่วยทหารตามที่รบั มอบ ปกครองพื้นที่ รักษาความสงบ
เรียบร้อย ดูแลระเบียบวินัยทหารนอกกรมกอง และมีหน้าที่เกี่ยวกับการระดมสรรพกำลัง การสัสดี การศาลทหาร
การคดี การเรือนจำ การเกณฑ์พลเมือง การศาลทหาร การคดี การเรือนจำ การเกณฑ์พลเมือง การสนับสนุน
หน่วยทหารในเขตพื้นที่รับผิดชอบ ประกอบด้วย ๔ กองทัพภาค ดังนี้
๕.๑ ทภ.๑ ปกครองบังคับบัญชา มทบ.๑๑, มทบ.๑๒, มทบ.๑๓, มทบ.๑๔, มทบ.๑๕, มทบ.๑๖,
มทบ.๑๗, มทบ.๑๘ และ มทบ.๑๙
๕.๒ ทภ. ๒ ปกครองบังคับบัญชา มทบ.๒๑, มทบ.๒๒, มทบ.๒๓, มทบ.๒๔, มทบ.๒๕, มทบ.๒๖,
มทบ.๒๗, มทบ.๒๘, มทบ.๒๙ และ มทบ.๒๑๐
๕.๓ ทภ.๓ ปกครองบังคับบัญชา มทบ.๓๑, มทบ.๓๒, มทบ.๓๓, มทบ.๓๔, มทบ.๓๕, มทบ.๓๖,
มทบ.๓๗, มทบ.๓๘, มทบ.๓๙ และ มทบ.๓๑๐
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๑๐

๕.๔ ทภ.๔ ปกครองบังคับบัญชา มทบ.๔๑, มทบ.๔๒, มทบ.๔๓, มทบ.๔๔, มทบ.๔๕ และ มทบ.๔๖
๖. ส่ ว นการฝึ ก ศึ ก ษาและหลั ก นิ ย ม มี ห น้ าที่ อำนวยการ และดำเนิ นการฝึ ก ศึ ก ษาของกำลังพล
กองทัพบก เพื่อให้กำลังพลเหล่านั้นมีความสามารถเหมาะสมตามตำแหน่งหน้าที่ อันจะทำให้หน่วยต่าง ๆ ของ
กองทัพบก มีประสิทธิภาพในการปฏิบัติภารกิจที่ได้รับมอบหมาย ประกอบด้วยส่วนงานต่าง ๆ ดังนี้
๖.๑ กรมยุทธศึกษาทหารบก (ยศ.ทบ.) มีหน้าที่ วางแผน อำนวยการ ประสานงาน แนะนำ กำกับการ
ดำเนินการ สนับสนุน และตรวจตราเกี่ยวกับกิจการสายวิทยาการ การฝึก และศึกษาของกำลังพลเป็นบุคคล และ
หน่วยต่าง ๆ ของกองทัพบก ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งกิจการอนุสศาสนาจารย์ และการพัฒนา
กำหนดหลักนิยมและยุทธศาสตร์ของกองทัพบก ประกอบด้วยหน่วยขึ้นตรง ได้แก่
๖.๑.๑ ศูนย์การทหารราบ (ศร.)
๖.๑.๒ ศูนย์การทหารม้า (ศม.)
๖.๑.๓ ศูนย์การทหารปืนใหญ่ (ศป.)
๖.๑.๔ วิทยาลัยการทัพบก (วทบ.)
๖.๑.๕ โรงเรียนเสนาธิการทหารบก (รร.สธ.ทบ.)
๖.๑.๖ โรงเรียนนายสิบทหารบก (รร.สธ.ทบ.)
๖.๑.๗ ศูนย์ฝึกทางยุทธวิธีกองทัพบก (ศฝยว.ทบ.)
๖.๒ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า (รร.จปร.) มีหน้าที่ ให้การศึกษา อบรม และดำเนินการฝึก
นักเรียนนายร้อยและบุคลากรตามที่กองทัพบกกำหนด
๖.๓ หน่วยบัญชาการรักษาดินแดน (นรด.) มีหน้าที่ วางแผน อำนวยการ ประสานงาน กำกับการ
และดำเนินการเกี่ยวกับกิจการกำลังสำรอง และกิจการอาสารักษาดินแดน
๖.๔ หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ (นสศ.) มีหน้าที่ วางแผน อำนวยการ และดำเนินการฝึก ศึกษา
เกี่ยวกับการสงครามพิเศษ การส่งกำลังทางอากาศ และการยุทธ์ส่งทางอากาศโดยมีศูนย์สงครามพิเศษ (ศสพ.)
เป็นหน่วยปฏิบัติ
๖.๕ ศูนย์การบินทหารบก (ศบบ.) มีหน้าที่ วางแผน อำนวยการ ดำเนินการฝึก และศึกษาเกี่ยวกับ
กิจการบินของกองทัพบก
๖.๖ โรงเรียนของเหล่าสายวิทยาการต่าง ๆ ได้แก่ โรงเรียนทหารช่าง โรงเรียนทหารสื่อสาร
โรงเรียนทหารพลาธิการ ฯลฯ ซึ่งโรงเรียนเหล่านี้เป็นหน่วยในอัตราของหน่วย/เหล่าสายวิทยาการนั้น ๆ
๗. ส่วนพัฒนาประเทศ รับผิดชอบในการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาประเทศทางด้านการเมือง
เศรษฐกิจ สังคมจิตวิทยา และการทหาร เพื่อให้เกิดความความมั่นคงของชาติ ภายในขอบเขตที่ได้รับมอบหมาย
รวมทั้งการดำเนินการให้การช่วยเหลือบรรเทาทุกข์แก่ประชาชนที่ประสบภัยธรรมชาติ แบ่งออกเป็น ๒ ระดับ ดังนี้
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๑๑

๗.๑ ระดั บกองทั พบก ได้แก่ พล.ช. รับผิดชอบด้านการก่อสร้ างขนาดใหญ่ ที่ เป็นงานพิเศษเกิ น
ขีดความสามารถของ พล.พัฒนา
๗.๒ ระดับกองทัพภาค ได้แก่ พล.พัฒนา โดยแบ่งมอบ ๑ กองพลต่อ ทภ. เพื่อปฏิบัติในพื้นที่ ทภ.

หลักนิยมหลักในการปฏิบัติการของ ทบ.
ในการปฏิบัติการของกองทัพบก ยึด ถือปฏิบัติตาม คู่มือราชการสนาม ว่าด้วย กองทัพบก (รส.๑)
พ.ศ.๒๕๕๕ ซึ่งอธิบายถึง ภารหน้าที่ ความรับผิดชอบ และการปฏิบัติของกองทัพบกในปัจจุบันและอนาคต
เชื่อมโยงกับคู่มือราชการสนาม ว่าด้วย การปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก (รส.๓-๐) พ.ศ.๒๕๕๗ ซึ่งได้พัฒนาต่อ
ยอดมาจากคู ่ ม ื อ ราชการสนาม ว่ า ด้ ว ย ระบบการรบร่ ว มอากาศพื ้ น ดิ น (รส.๑๐๐-๒๖) พ.ศ.๒๕๑๙ และ
คู่มือราชการสนาม ว่าด้วย หลักนิยมกองทัพบก (รส.๑๐๐-๑ – ๔) พ.ศ.๒๕๓๙, ซึ่งประกอบด้วย หลักนิยมการรบ
ตามแบบ (รส.๑๐๐-๑) พ.ศ.๒๕๓๙, หลักการสงครามพิเศษ (รส.๑๐๐-๒) พ.ศ.๒๕๓๙, การยุทธ์ร่วม (รส.๑๐๐- ๓)
พ.ศ.๒๕๓๙, การต่อสู้เบ็ดเสร็จ (รส.๑๐๐-๔) พ.ศ.๒๕๓๙ รวมถึง คู่มือราชการสนาม ว่าด้วย การยุทธ์ของ
กองทัพบกในสนาม (รส.๑๐๐-๕) พ .ศ.๒๕๔๒ โดยหน่วยและเหล่าทหารได้กำหนดหลักนิยม ซึ่งเป็นแนวทางปฏิบตั ิ
ที่ดีที่สุดในการที่จะทำให้การปฏิบัติการหรือภารกิจบรรลุเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่ต้องการ สอดคล้อง และเป็นไป
ตามหลักในการปฏิบัติการของกองทัพบกดังกล่าวข้างต้น โดยเนื้อหาสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าที่จะกล่าว
ต่อไปจะมีขอบเขตเนื้อหาประเภทการจัดและหลักนิยมซึ่งเป็นหลักพื้นฐานทางยุทธวิธีในปัจจุบันของหน่วย/เหล่า
ดังจะกล่าวต่อไป

-------------------------------------------------------------------------
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๑๒

หลักนิยมการปฏิบตั ิการของหน่วย/เหล่าสายวิทยาการ
หลักนิยมของเหล่าทหารราบ
๑. ประเภทการจัดของหน่วย/เหล่า
๑.๑ กล่าวทั่วไป
ทหารราบเป็นหน่วยที่ปฏิบัติการโดยการเข้าประชิด ใช้อำนาจการยิง และการดำเนินกลยุทธ์
เข้าทำลายกำลังข้าศึก หรือเข้ายึดภูมิประเทศ ควบคุมประชาชนและทรัพยากรในพื้นที่ที่ยึดได้ ในการป้องกัน
และรักษาภูมิประเทศที่ยึดได้ ทหารราบจะใช้การผลักดันการเข้าตีของข้าศึกด้วยการยิง การรบประชิด และ
การตีโต้ตอบ
ภารกิจโดยทั่วไปของทหารราบ คือ การเข้าประชิดข้าศึกโดยใช้อำนาจการยิงและการดำเนิน
กลยุทธ์เพื่อทำลายและจับข้าศึก ผลักดันการเข้าตีของข้าศึกด้วยการยิง การรบประชิด และการตีโต้ตอบ
ในหน่ วยระดั บกรมทหารราบขึ ้ นไป นอกจากภารกิ จในการทำลายกำลั งข้ าศึ กแล้ ว จะมี
ขีดความสามารถในการควบคุมพื้นที่ ประชาชน และทรัพยากรในพื้นที่ด้วย ทหารราบมีขีดความสามารถปฏิบัติ
การรบได้ทุกสภาพภูมิประเทศและลมฟ้าอากาศ สามารถใช้อำนาจการทำลายและข่มขวัญได้เมื่อใช้ทหารราบ
ยานเกราะ และ/หรือร่วมกับรถถัง
หน่วยทหารราบ นอกจากมีภารกิจในการรบซึ่งเป็นภารกิจหลักแล้ว ยังมีบทบาทในการปฏิบัติ
ภารกิจอื่น ๆ อีก เช่น การป้องกันและการปราบปรามการก่อความไม่สงบ การรักษาความสงบเรียบร้อยภายใน
ประเทศ ตลอดจนภารกิจในบทบาทที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการเพื่อเสถียรภาพ
การจั ดหน่ วยทหารราบโดยทั ่ วไปจะมี การจั ดเป็ นส่ วนบั งคับบั ญชา, ส่ วนกำลั งรบ และ
ส่วนสนับสนุนการรบ ในหน่วยที่มีขนาดใหญ่ตั้งแต่กองพันขึ้นไป จะมีการจัดครบทั้ง ๕ ส่วน คือ ๑) ส่วนบังคับบัญชา,
๒) ส่วนลาดตระเวน และข่าวกรอง, ๓) ส่วนกำลังรบ, ๔) ส่วนสนับสนุนการรบ และ ๕) ส่วนสนับสนุนการช่วยรบ
ปัจจุบัน มีการจั ด หน่ว ยทหารราบออกเป็น ๓ แบบ คือ ๑) ทหารราบมาตรฐาน, ๒) ทหารราบเบาและ
ทหารราบส่งทางอากาศ และ ๓) ทหารราบยานเกราะ
ทหารราบมาตรฐาน มีรปู แบบการจัดตามที่มีใช้อยู่ในปัจจุบัน เช่น กองพลที่ ๑ รักษาพระองค์,
กองพลทหารราบที่ ๓, ๔, ๕, ๖ เป็นต้น คำย่อที่ใช้ในเอกสารเล่มนี้จะใช้คำว่า พล.ร. โดยมีขีดความสามารถ
- ควบคุม บังคับบัญชา และดำเนินงานทางธุรการต่อกองพันทหารราบ และหน่วยทหาร
ในอัตราในการปฏิบัติการรบและการปราบปรามการก่อความไม่สงบ
- ปฏิ บ ั ต ิ ก ารรบอย่ า งต่ อ เนื ่ อ ง ต่ อ กำลั ง รบของข้ า ศึก ภายในกรอบของกองพลหรื อ
ปฏิบัติการเป็นอิสระ เมื่อได้รับการเพิ่มเติมกำลังอย่างเหมาะสม
- ค้นหา ข้าศึก หรือกำลังฝ่ายตรงข้ามด้วยเครื่องมือที่มีอยู่ดำรงการเกาะ และ/หรือตรึ ง
ข้าศึกแล้วทำลายหรือผลักดันออกไป
- สามารถปฏิบัติการรบ ได้อย่างต่อเนื่องในระยะเวลา ๗๒ ชม. โดยไม่ต้องส่งกำลังบำรุง
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๑๓

- ปฏิบัติการในพื้นที่ที่ภูมิประเทศ หรือสภาพลมฟ้าอากาศยากลำบาก
- สามารถเคลื่อนย้ายกำลังเข้าทำการรบ ด้วยการเคลื่อนย้ายทางถนน ทางเรือ และทาง
อากาศ เมื่อได้รับการสนับสนุนยานพาหนะเพิ่มเติม
- สามารถปฏิบัติการยุทธ์เคลื่อนที่ทางอากาศด้วยกำลังขนาดเบา
- สามารถเป็น หน่ว ยปฏิบัต ิ การยุทธ์ส ่งทางอากาศ เมื่อได้รับการฝึกและสนับ สนุ น
เครื่องบิน ลำเลียง ทั้งนี้ ตามที่กองทัพบกมอบหมาย
- เข้าควบคุมประชากรในดินแดนที่ยึดได้
- ฟื้นฟูความเป็นระเบียบเรียบร้อยในพื้นที่ที่ยึดได้
- ปฏิบัติภารกิจทางทหารที่มิใช่สงคราม
ทหารราบเบา จัดตามความมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ของ ทบ.โดยเฉพาะสำหรับใช้ใน
ภารกิจสนองตอบผลประโยชน์ของชาติอย่างแท้จริงในด้านการรักษาความมั่นคงภายใน ซึ่งหมายรวมถึงการ
ปปส.และภารกิจอื่น ๆ ปัจจุบันมี พล.ร.๗, ๙, ๑๕ มีการจัดหน่วยตาม อจย.๗-๒ ภารกิจของ พล.ร.เบา
คงเป็นเช่นเดียวกับ พล.ร.มาตรฐาน คือ การทำลายกำลังข้าศึกและการยึดครองพื้นที่ โดยมีขีดความสามารถ
- ปฏิบัติการรบอย่างต่อเนื่อง ต่อกำลังรบของข้ าศึกที่มีอาวุธยุทโธปกรณ์อย่ างเดียวกัน
หรือต่ำกว่า อยู่ในกรอบของกองพลหรือปฏิบัติการอิสระเมื่อได้รับการเพิ่มเติมกำลังอย่างเหมาะสม
- ปฏิบัติในพื้นที่ที่มีภูมิประเทศหรือสภาพอากาศยากลำบาก
- ควบคุมประชากร และฟื้นฟูความเป็นระเบียบเรียบร้อยในพื้นที่ที่เข้ายึดครอง
- ดำเนินการปฏิบัติการทางทหารเพื่อรักษาความมั่นคงภายใน
ทหารราบยานเกราะ มีความมุ่งหมายที่จะให้มีความทันสมัย พร้อมที่จะรับสถานการณ์ได้ทุก
รูปแบบ สามารถเคลื่อนที่ได้อย่างรวดเร็ว พร้อมที่จะปฏิบัติการรุกได้ทันทีสอดคล้องกับสภาวะสงครามในอนาคต
รวมทั้งรูปแบบของสงครามเคมี ชีวะ นิวเคลียร์ด้วย ภารกิจของ พล.ร.ยานเกราะ คงเช่นเดียวกับ พล.ร.ทั่วๆ ไป
คือ การทำลายกำลังข้าศึก และควบคุมพื้นที่ รวมทั้งประชาชนและทรัพยากร โดยมีขีดความสามารถ
- สามารถปฏิบัติการรบด้วยวิธีรับ, วิธีรุกและการร่นถอย
- สามารถเคลื่อนที่ได้ด้วยความรวดเร็วในการเคลื่อนที่เข้าปะทะ, การเข้าตีเร่งด่วน และ
ประณีต, การขยายผลและการไล่ติดตาม
- สามารถกระจายกำลังได้เป็นบริเวณกว้าง และรวมกำลังได้อย่างรวดเร็ว
- สามารถต่อสู้รถถังได้
- สามารถปฏิบัติการรบเป็นหน่วยกำบังในการรุก รับ และร่นถอย
- ดำเนินการต่อสู้ป้องกันภัยทางอากาศต่ออากาศยานร่อนต่ำได้
- ควบคุมบังคับบัญชาหน่วยดำเนินกลยุทธ์ได้ ๑๕ กองพัน
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๑๔

๑.๒ การจัด
๑.๒.๑ ทหารราบมาตรฐาน
๑.๒.๑.๑ พล.ร. (INFANTRY DIVISION)
(๑) การจัด

(๒) ภารกิ จ พล.ร.ทำลายกำลั งข้ าศึก ควบคุ มพื ้นที ่ท างบก รวมทั้ง
ประชาชน และทรัพยากร
(๓) ขีดความสามารถ พล.ร.
(๓.๑) ปฏิบัติการรบต่อกำลังทางพื้นดินของข้าศึกที่มียุทโธปกรณ์
คล้ายคลึงกัน หรือด้อยกว่าอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน
(๓.๒) ปฏิบัติการได้ในสภาพอากาศและภูมิประเทศที่ยากลำบาก
(๓.๓) ปฏิบัติการได้ดว้ ยการสนับสนุนทางการส่งกำลังบำรุงอันจำกัด
(๓.๔) ควบคุมประชาชนฝ่ายข้าศึกได้
(๓.๕) ปฏิบัติการฟื้นฟูและรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อยในพื้นที่
(๓.๖) สามารถควบคุ ม หน่ ว ยดำเนิ น กลยุ ท ธ์ ข นาดกองพั น ได้
๑๐ กองพัน
(๔) ขีดจำกัด
(๔.๑) ไม่มีขีดความสามารถของการขนส่งทางอากาศด้วยเครื่องมือ
ในอัตรา
(๔.๒) มีความคล่องแคล่วในการเคลื่อนที่จำกัด
(๔.๓) มีขีดความสามารถในการป้องกันและต่อสู้ยานเกราะจำกัด
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๑๕

๑.๒.๑.๒ กรม ร. อจย.๗-๑๑


(๑) การจัด กรม ร.
กรมทหารราบ อจย ๗ - ๑๑

บก.และร้อย บก. ร้อย ยก. พัน ร.


อจย. ๗ - ๑๒ อจย. ๗ - ๑๙
อจย. ๗ - ๑๕

ร้อย ค.หนัก ร้อย ลว.และเฝ้าตรวจ


อจย. ๗ - ๑๔ อจย. ๗ - ๒๗

(๒) ภารกิจ กรม ร. ทำลายกำลังรบของข้าศึกเข้ายึดและควบคุมพื้นที่


รวมทั้งประชาชนและทรัพยากรในพื้นที่
(๓) การแบ่งมอบ เป็นหน่วยในอัตราของ พล.ร.
(๔) ขีดความสามารถ กรม ร.
(๔.๑) ควบคุมบังคับบัญชาและดำเนินงานทางธุรการต่อกองพัน
ทหารราบ และหน่วยทหารในอัตรา ในการปฏิบัติการรบและการปราบปรามการก่อความไม่สงบ
(๔.๒) ปฏิบัติการรบอย่ างต่อเนื่องต่อกำลังรบของข้ าศึกภายใน
กรอบของกองพล หรือปฏิบัติการเป็นอิสระ เมื่อได้รับการเพิ่มเติมกำลังอย่างเหมาะสม
(๔.๓) ค้นหาข้าศึก หรือกำลังฝ่ายตรงข้ ามด้วยเครื่องมือที่มี อยู่
ดำรงการเกาะ และหรือตรึงข้าศึกแล้ว ทำลายหรือผลักดันออกไป
(๔.๔) สามารถปฏิบัติการรบได้อย่างต่อเนื่องในระยะเวลา ๗๒ ชม.
โดยไม่ต้องส่งกำลังบำรุง
(๔.๕) ปฏิบัติการในพื้นที่ที่ภูมิประเทศ หรือสภาพลมฟ้าอากาศ
ยากลำบาก
(๔.๖) สามารถเคลื่อนย้ายกำลังเข้าทำการรบด้วยการเคลื่อนย้าย
ทางถนน ทางเรือ และทางอากาศ เมื่อได้รับการสนับสนุนยานพาหนะเพิ่มเติม
(๔.๗) สามารถปฏิบัติการยุทธ์เคลื่อนที่ทางอากาศด้วยกำลังขนาดเบา
(๔.๘) สามารถเป็นหน่วยปฏิบัติการยุทธ์ส่งทางอากาศ เมื่อได้รับ
การฝึกและสนับสนุนเครื่องบินลำเลียง ทั้งนี้ตามที่กองทัพบกมอบหมาย
(๔.๙) เข้าควบคุมประชากรในดินแดนที่ยึดได้
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๑๖

(๔.๑๐) ฟื้นฟูความเป็นระเบียบเรียบร้อยในพื้นที่ที่ยึดได้
(๔.๑๑) ปฏิบัติภารกิจทางทหารที่มิใช่สงคราม
๑.๒.๑.๓ พัน.ร. อจย.๗-๑๕
(๑) การจัด พัน.ร.

(๒) ภารกิจ พัน.ร.


(๒.๑) เข้าประชิดข้าศึก โดยใช้อำนาจการยิงและการดำเนินกลยุทธ์
เพื่อจับหรือทำลายข้าศึก
(๒.๒) ผลักดันการเข้าตีของข้าศึกด้วยการยิง การรบประชิด และ
การตีโต้ตอบ
(๓) การแบ่งมอบ เป็นหน่วยในอัตรา กรม ร. ๓ กองพันต่อ ๑ กรม ร.
(๔) ขีดความสามารถ พัน.ร.
(๔.๑) จัดให้มีฐานยิง และดำเนินกลยุทธ์ได้ในเวลาเดียวกัน
(๔.๒) ยึดและรักษาภูมิประเทศได้
(๔.๓) ทำการรบได้ ใ นทุ ก สภาพภู ม ิ ป ระเทศและลมฟ้ า อากาศ
รวมทั้งปฏิบัติการรบภายใต้สภาพพิเศษ
(๔.๔) สามารถทำการรบและเป็นกำลังแก้ปัญหาได้ทุกระดับความ
ขัดแย้ง และทุกประเภทของภัยคุกคาม รวมทั้งการป้องกันและปราบปรามการก่อความไม่สงบ
(๔.๕) สามารถทำการรบแบบทหารราบยานเกราะได้เมื่อได้รับการ
สนับสนุนยานเกราะ
(๔.๖) สามารถปฏิบัติการยุทธ์เคลื่อนที่ทางอากาศด้วยกำลังขนาดเบา
เมื่อได้รับการสนับสนุนอากาศยาน
(๔.๗) สามารถคลื่อนย้ายกำลังเข้าทำการรบ ทั้ งทางบก ทางน้ำ
และทางอากาศ เมื่อได้รับการสนับสนุนยานพาหนะประเภทรถยนต์ เรือ หรืออากาศยานลำเลียง เพิ่มเติม
(๔.๘) สำหรับหน่วยที่ได้รับการฝึกไว้ สามารถปฏิบัต ิการยุทธ์
ส่งทางอากาศได้ เมื่อได้รับการสนับสนุนอากาศยานลำเลียง
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๑๗

๑.๒.๒ ทหารราบเบา
๑.๒.๒.๑ พล.ร.เบา (LIGHT INFANTRY DIVISION)
(๑) การจัด พล.ร.เบา จัดตามความมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ของ ทบ.
โดยเฉพาะ สำหรับใช้ในภารกิจสนองตอบผลประโยชน์ของชาติอย่างแท้จริงในด้านการรักษาความมั่นคง
ภายใน ซึ่งหมายรวมถึงการ ปปส.และภารกิจอื่น ๆ ปัจจุบันมี พล.ร.๗, ๙, ๑๕ มีการจัด

(๒) ภารกิจ พล.ร.เบา เช่นเดียวกับ พล.ร. คือ การทำลายกำลังข้าศึก


และการยึดครองพื้นที่
(๓) ขีดความสามารถ พล.ร.เบา
(๓.๑) ทำการรบเป็นอิสระ
(๓.๒) สามารถปฏิบัติการรบด้วยวิธีรับและวิธีรุก
(๓.๓) ปฏิบัติการรบในภูมิประเทศและลมฟ้าอากาศที่ยากลำบาก
(๓.๔) สามารถต่อสู้รถถังได้
(๓.๕) สามารถเคลื่อนที่ได้ด้วยยานพาหนะในอัตรา ๑๐๐ %
(๓.๖) ควบคุมบังคับบัญชาหน่วยดำเนินกลยุทธ์ได้ ๑๕ กองพัน
๑.๒.๒.๒ กรม ร.เบา อจย.๗-๓๑
(๑) การจัด กรม ร.เบา
กรมทหารราบเบา อจย. ๗ – ๓๑

กองบังคับการและกองร้อยบังคับการ กองร้อยเครื่องยิงลูกระเบิดหนัก กองพันทหารราบเบา

อจย. ๗ – ๓๒ อจย. ๗ – ๓๔ อจย. ๗ – ๓๕


เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๑๘

๑.๒.๒.๓ พัน.ร.เบา อจย.๗-๓๕


(๑) การจัด พัน.ร.เบา

(๒) ภารกิจ พัน.ร.เบา ทำการต่อสู้กับข้าศึกที่มีการจัดแบบเบาในทุก


สภาพภูมิประเทศ และข้าศึกที่มีการจัดแบบหนักเฉพาะในสภาพภูมิประเทศแบบปิด ดังนี้.-
(๒.๑) เข้าประชิดเพื่อทำลายกำลังของข้าศึกหรือยึดครองภูมิประเทศ
(๒.๒) ป้องกัน, รั้งหน่วง, และรบกวน เพื่อรักษาภูมิประเทศหรือ
ทำลายกำลังของข้าศึก
(๒.๓) ดำเนินการปฏิบัติการทางทหารในภูมิประเทศแบบในเมือง
(๒.๔) ปฏิบัติการรบหลังแนวข้าศึกหรือเป็นส่วนหนึ่งของการยุทธ
บรรจบ เมื่อได้รับการเสริมความคล่องแคล่วในการเคลื่อนที่ทางยุทธวิธี
(๒.๕) ดำเนินการปฏิบัติการทางทหารเพื่อรักษาความมั่งคงภายใน
(๓) การแบ่งมอบ เป็นหน่วยในอัตราของ กรม ร.เบา
(๔) ขีดความสามารถ พัน.ร.เบา
(๔.๑) จัดให้มีฐานยิงและส่วนดำเนินกลยุทธ์
(๔.๒) ยึดและรักษาภูมิประเทศได้ในห้วงเวลาจำกัด
(๔.๓) ให้การยิงสนับสนุนแก่หน่วยในอัตราและหน่วยที่ขึ้นสมทบ
(๔.๔) เข้ า ประชิ ด และทำลายกำลังทหารราบข้ าศึ กที่มีการจัด
แบบเบาได้ ทั้งในความขัดแย้งระดับต่ำถึงระดับกลาง
(๔.๕) ปฏิบัติการรบในสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศที่มีความ
ยากลำบาก
(๔.๖) เป็นกองกำลังที่ใช้ในการครองความริเริ่มในการปฏิบัติการได้
อย่างรวดเร็ว
(๔.๗) ปฏิบัติการยุทธ์คลื่อนที่ทางอากาศได้ เมื่อได้รับการสนับสนุน
อากาศยานอย่างเพียงพอ
(๔.๘) เข้าร่วมในการปฏิบัติการยุทธสะเทินน้ำสะเทินบกได้
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๑๙

(๔.๙) ปฏิบัติการเป็นอิสระภายใต้การส่งกำลังบำรุงอย่างจำกัด
เป็นเวลานานไม่เกิน ๗๒ ชั่วโมง
(๔.๑๐) ปฏิบัติการรบในเวลากลางคืนได้เป็นอย่างดี
๑.๒.๓ ทหารราบยานเกราะ
๑.๒.๓.๑ พล.ร.ยานเกราะ (MECHANIZED INFANTRY DIVISION)
(๑) การจัด พล.ร.ยานเกราะ การจัดในรูปแบบนี้มุ่งหมายที่จะให้มีความ
ทันสมัย พร้อมที่จะรับสถานการณ์ได้ทุกรูปแบบ สามารถเคลื่อนที่ได้อย่างรวดเร็ว พร้อมที่จะปฏิบัติการรุก
ได้ทันที สอดคล้องกับสภาวะสงครามในอนาคต รวมทั้งรูปแบบของสงคราม นชค.ด้วย มีการจัด ดังนี้

(๒) ภารกิจ พล.ร.ยานเกราะ ทำลายกำลังข้าศึก และควบคุมพื้นที่ รวมทั้ง


ประชาชน และทรัพยากร
(๓) ขีดความสามารถ พล.ร.ยานเกราะ
(๓.๑) สามารถปฏิบัติการรบด้วยวิธีรุก,รับ และร่นถอย
(๓.๒) สามารถคลื่อนที่ได้ด้ว ยความรวดเร็ว ในการเคลื่อนที่เข้า
ปะทะ, การเข้าตีที่เร่งด่วน และประณีต,การขยายผล และการไล่ติดตาม
(๓.๓) สามารถกระจายกำลังได้เป็นบริเวณกว้าง และรวมกำลังได้
อย่างรวดเร็ว
(๓.๔) สามารถต่อสู้รถถังได้
(๓.๕) สามารถปฏิบัติการรบเป็นหน่วยกำบังได้ในการรุก รับ และ
ร่นถอย
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๒๐

(๓.๖) ดำเนิ น การต่ อ สู้ ป้ อ งกั น ภั ย ทางอากาศ ต่ อ อากาศยาน


ร่อนต่ำได้
(๓.๗) ควบคุมบังคับบัญชาหน่วยดำเนินกลยุทธได้ ๑๕ กองพัน
(๔) ขีดจำกัด พล.ร.ยานเกราะ คือ การคลื่อนที่จะถูกจำกัดด้วยป่าที่ทึบ,
ที่สูงชัน, ภูมิประทศที่ยากลำบาก และทางน้ำ
๑.๒.๓.๒ กรม ร.ยานเกราะ อจย.๗-๔๑
(๑) การจัด กรม ร.ยานเกราะ
กรมทหารราบยานเกราะ อจย. ๗ – ๔๑

กองบังคับการและกองร้อยบังคับการ กองพันทหารราบยาน
อจย.๗ – ๔๒ อจย.๗ – ๔๕
(๒) ภารกิจ กรม ร.ยานเกราะ บังคับบัญชา ควบคุมหน่วยรบและหน่วย
สนับสนุน ในอัตราและหน่วยที่มาขึ้นสมทบ
(๓) ขีดความสามารถ กรม ร.ยานเกราะ
(๓.๑) บังคับบัญชา วางแผน ควบคุม และกำกับดูแล กองพันทหาร
ราบยานเกราะ ได้ตั้งแต่ ๒ – ๕ กองพัน
(๓.๒) จัดให้มีการสนับสนุนการติดต่อสื่อสาร
(๓.๓) วางการติ ด ต่ อ กั บ กองบั งคั บการหน่ วยเหนื อและหน่ว ย
ข้างเคียง
(๓.๔) ดำเนินการให้ กรมทหารราบยานเกราะปฏิบัติการอย่าง
ต่อเนื่องได้ตลอด ๒๔ ชั่วโมง
(๓.๕) ดำเนินการทางธุรการ การเลี้ยงดู การส่งกำลังซ่อมบำรุงขั้น
หน่วย การขนส่ง และการบริการ ทางการแพทย์ (เว้นกองพันทหารราบยานเกราะ)
(๓.๖) จัดการระวังป้องกันที่บังคับการกรม
(๓.๗) มีความคล่องแคล่วและเคลื่อนที่ด้วยยานพาหนะในอัตราได้
๑.๒.๓.๓ พัน.ร.ยานเกราะ อจย.๗-๔๕
(๑) การจัด พัน.ร.ยานเกราะ
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๒๑

(๒) ภารกิจ พัน.ร.ยานเกราะ


(๒.๑) เข้าประชิดข้าศึกโดยใช้อำนาจการยิงและการดำเนินกลยุทธ์
เพื่อทำลายและจับข้าศึก
(๒.๒) ผลักดันการเข้าตีของข้าศึกด้วยการยิง การรบประชิด และ
การตีโต้ตอบ
(๓) การแม่งมอบ เป็นหน่วยในอัตราของ กรม ร.ยานเกราะ

(๔) ขีดความสามารถ พัน.ร.ยานเกราะ


(๔.๑) จัดให้มีฐานยิงและส่วนดำเนินกลยุทธ์
(๔.๒) ยึดและรักษาภูมิประเทศได้
(๔.๓) ให้การยิงสนับสนุนกับหน่วยในอัตราและหน่วยขึ้นสมทบ
(๔.๔) ปฏิบัติการเป็นอิสระในห้วงระยะเวลาจำกัด
(๔.๕) ทำการป้องกันต่อสู้รถถังได้
(๔.๖) ทำการลาดตระเวนระยะไกลเมื่อได้รับการเพิ่มเติมยุทโธปกรณ์
อย่างเหมาะสม
(๔.๗) เพิ่มขีดความสามารถสูงขึ้น เมื่อเข้าปฏิบัติการด้วยการจัด
กำลังรบเป็นชุดรบทหารราบ – รถถัง
(๔.๘) มีความคล่องแคล่วในภูมิประเทศ และสามารถคลื่อนย้าย
ด้วยยานพาหนะในอัตราได้ ๑๐๐ เปอร์เซนต์
(๔.๙) ปฏิบัติการยุทธ์เคลื่อนที่ทางอากาศได้เมื่อได้รับการสนับสนุน
การขนส่งทางอากาศอย่างเพียงพอ
(๔.๑๐) เข้าร่วมปฏิบัติการยุทธ์สะเทินน้ำสะเทินบกได้
(๔.๑๑) ทำการต่อสู้อากาศยานได้อย่างจำกัด
๑.๒.๓.๔ กรม ร.ยานเกราะเบา อจย.๗-๕๑ ก.
(๑) การจัด กรม ร.ยานเกราะเบา
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๒๒

(๒) ภารกิจ กรม ร.ยานเกราะเบา รบกวนและทำลายกำลังข้าศึก เข้ายึด


และควบคุพื้นที่ รวมทั้งประชาชนและทรัพยากรในพื้นที่
(๓) การแบ่งมอบ เป็นหน่วยในอัตราของ พล.ร.
(๔) ขีดความสามารถ กรม ร.ยานเกราะเบา
(๔.๑) ควบคุมบังคับบัญชา และดำเนินงานทางธุรการ ต่อกองพัน
ทหารราบยานเกราะเบา และหน่วยทหารในอัตรา ในการปฏิบัติการและการปราบปรามการก่อความไม่สงบ
การรักษาความมั่นคงภายใน และภารกิจทางทหารที่มิใช่สงคราม
(๔.๒) ปฏิบัติการรบอย่างต่อเนื่องต่อกำลังรบของข้ าศึกภายใน
กรอบของกองพล หรือปฏิบัติการเป็นอิสระ เมื่อได้รับการเพิ่มเติมกำลังอย่างเหมาะสม
(๔.๓) ค้นหาข้าศึกหรือกำลังฝ่ายตรงข้ามด้วยเครือ่ งมือที่มอี ยู่ ดำรง
การเกาะ หรือตรึงข้าศึกแล้วทำลายหรือผลักดันออกไป
(๔.๔) สามารถปฏิบัติการรบได้อย่างต่อเนื่องในระะเวลา ๗๒ ชม.
โดยไม่ต้องส่งกำลังบำรุง
(๔.๕) ปฏิบัติการในภูมิประเทศและสภาพลมฟ้าอากาศยากลำบาก
หรือปฏิบัติการรบในพื้นที่สิ่งปลูกสร้าง
(๔.๖) มีความคล่องแคล่ วในภูมิประเทศ และสามารถคลื่อนย้าย
ด้วยยานพาหนะในอัตรา ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์
(๔.๗) เข้าควบคุมประชาชนในดินแดนที่ยึดได้
(๔.๘) ฟื้นฟูความเป็นระเบียบเรียบร้อยในพื้นที่ที่ยึดได้
๑.๒.๓.๕ พัน.ร.ยานเกราะเบา
(๑) การจัด พัน.ร.ยานเกราะเบา

(๒) ภารกิจ พัน.ร.ยานเกราะเบา ทำการรบประชิดข้าศึกโดยใช้การยิง


และการดำเนินกลยุทธ์ เพื่อทำลายหรือจับกุมข้าศึกหรือต่อต้านการโจมตีของข้าศึกด้วยการยิง การรบประชิด
และการตีโต้ตอบ
(๓) การแบ่งมอบ เป็นหน่วยในอัตราของ กรม ร.ยานเกราะเบา
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๒๓

(๔) ขีดความสามารถ พัน.ร.ยานเกราะเบา


(๔.๑) ควบคุมบังคับบัญชา และดำเนินงานทางธุรการ ต่อกองร้อย
ทหารราบยานเกราะเบา และหน่วยทหารในอัตรา ในการปฏิบัติการและการปราบปรามการก่อความไม่สงบ
การรักษาความมั่นคงภายใน และภารกิจทางทหารที่มิใช่สงคราม
(๔.๒) ยึดและรักษาภูมิประเทศได้ในห้วงเวลาจำกัด
(๔.๓) ให้การยิงสนับสนุนแก่หน่วยในอัตราและหน่วยที่ขึ้นสมทบ
(๔.๔) รบประชิดและทำลายกำลังข้าศึกที่มีการจัดแบบเบาได้ในทุก
ระดับความขัดแยัง
(๔.๕) ปฏิบตั ิการรบได้ในสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศที่มีความ
ยากลำบาก หรือปฏิบัติการรบในพื้นที่สงิ่ ปลูกสร้าง
(๔.๖) เป็นกองกำลังที่ใช้ในการครองความริเริ่มในการปฏิบัติการได้
อย่างรวดเร็วมีความคล่องแคล่วในการเคลื่อนที่และสามารถเคลื่อนย้ายด้วยยานพาหนะในอัตรา ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์
(๔.๗) ปฏิบัติการเป็นอิสระภายใต้การส่งกำลังบำรุงอย่างจำกัด
เป็นเวลานานไม่เกิน ๗๒ ชั่วโมง
(๔.๘) ปฏิบัติการรบภายใต้ทัศนวิสัยจำกัดได้เป็นอย่างดี
(๔.๙) ค้นหาข้าศึกหรือกำลังฝ่ายตรงข้ามด้วยเครือ่ งมือที่มอี ยู่ ดำรง
การเกาะหรือตรึงข้าศึกแล้วทำลายหรือผลักดันออกไป
๒. หลักนิยมทางยุทธวิธีของหน่วยในปัจจุบัน
๒.๑ หลักพื้นฐานทางยุทธวิธีมี ๓ แบบ คือ
๒.๑.๑ หลักการรบด้วยวิธีรุก การปฏิบัติการรบด้วยวิธีรุก เป็นการปฏิบัติการในลักษณะ
ที่ฝ่ายเรานำกำลังเคลื่อนที่เข้าหาข้าศึก เพื่อหักล้างการต้านทานของข้าศึก เมื่อข้าศึกถอยก็ไล่ติดตาม ทำลาย
เสียให้สิ้นเชิง โดยการรบด้วยวิธีรุกมีวัตถุประสงค์หลักคือ การทำลายหรือเอาชนะกำลังฝ่ายข้าศึกสำหรับ
วัตถุประสงค์อื่น ๆ ของการรบ ด้วยวิธีรุก คือ
- ควบคุมภูมิประเทศสำคัญ และภูมปิ ระเทศสำคัญยิ่ง
- ขัดขวางมิให้ขา้ ศึกใช้ทรัพยากร
- ลวงและหันเหข้าศึก
- ให้ได้มาซึง่ ข่าวสาร
- ตรึงข้าศึกให้อยู่ในที่มนั่
- ขัดขวางการเข้าตีของข้าศึก
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๒๔

๒.๑.๒ หลักการรบด้วยวิธีรับ คุณลักษณะของการรบด้วยวิธีรับมี ๕ ประการ คือ การ


เตรียมการ การแบ่งแยก และทำลาย การรวมกำลัง ความอ่อนตัว และการระวังป้องกัน โดยมีวัตถุประสงค์
ของการปฏิบัติการรบด้วยวิธีรับเพื่อให้ได้มาซึ่งการบรรลุภารกิจอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างดังต่อไปนี้
- ทำลายการเข้าตีของข้าศึก หรือทำให้การเข้าตีของข้าศึกไม่ประสบผลสำเร็จ
- ทำให้ข้าศึกอ่อนกำลัง เพื่อที่จะเปลี่ยนไปสู่การรุก
- ให้ได้เวลา
- รวมกำลัง ณ ตำบลอื่น
- ควบคุมภูมิประเทศสำคัญ หรือภูมิประเทศสำคัญยิ่ง
- ยึดรักษาที่หมาย
๒.๑.๓ หลักการรบด้วยวิธีการร่นถอย การปฏิบัติการด้วยวิธีร่นถอยเป็นการเคลื่อนย้าย
กำลังลงไปข้างหลังหรือออกห่างจากข้าศึก อาจเป็นการปฏิบัติที่ถูกบีบบังคับ หรือด้วยความสมัครใจก็ได้ แต่
อย่างไรก็ตามจะต้องได้รับการอนุมัติจากผู้บังคับบัญชาหน่วยเหนือก่อนเสมอ การรบด้วยวิธีร่นถอยแบ่ง
ออกเป็น ๓ แบบ คือ
- การรบหน่วงเวลา
- การถอนตัว
- การถอย
๒.๒ ข้อพิจารณาการใช้ ใช้เมื่อต้องการปฏิบัติการโดยการเข้าประชิดใช้อำนาจการยิงและการ
ดำเนินกลยุทธ์เข้าทำลายกำลังข้าศึกหรือเข้ายึดภูมิประเทศควบคุมประชาชนและทรัพยากรในพื้นที่ที่ยึดได้ใน
การป้องกันและรักษาภูมิประเทศที่ยึดได้ทหารราบจะใช้การผลักดันการเข้าตีของข้าศึกด้วยการยิงการรบ
ประชิดและการตีโต้ตอบ
๒.๓ การจัดกำลังเข้าทำการรบหรือการแบ่งมอบ จำแนกเป็นหน่วยดำเนินกลยุทธ์ หน่วย
สนับสนุนการรบหน่วยสนับสนุนการช่วยรบ การจัดกำลังเข้าทำการรบจะมีการจัดเช่นเดียวกับ ร.เบา และ ร.
มาตรฐาน ร.ยานเกราะ จะจัดแบบเดียวกัน คือ ส่วนสนับสนุนการรบในหน่วยที่มีขนาดใหญ่ตั้งแต่กองพันขึ้น
ไปจะมีการจัด ครบทั้ง ๕ ส่ว น คือ ส่วนบังคับบัญชา, ส่วนลาดตระเวนและข่าวกรอง, ส่วนกำลังรบ, ส่วน
สนับสนุนการรบและส่วนสนับสนุนการช่วยรบ
๒.๔ สรรพตำราที่ใช้ในปัจจุบัน
๒.๔.๑ ทหารราบเบา
- รส. ๗-๗๐ ว่าด้วย หมู่ หมวด ทหารราบเบา
- รส. ๗-๗๑ ว่าด้วย กองร้อยทหารราบเบา
- รส. ๗-๗๒ ว่าด้วย กองพันทหารราบเบา
- คู่มือปฏิบัติการทางยุทธวิธีทหารราบเบาของกองทัพบก พ.ศ. ๒๕๕๖
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๒๕

๒.๔.๒ ทหารราบมาตรฐาน
- รส. ๗-๘ ว่าด้วย หมู่ หมวดปืนเล็กทหารราบ พ.ศ. ๒๕๔๘
- รส. ๗-๑๐ ว่าด้วย กองร้อยอาวุธเบา พ.ศ. ๒๕๔๗
- รส. ๗-๒๐ ว่าด้วย กองพันทหารราบ พ.ศ. ๒๕๔๙
- (ร่าง) รส. ๗-๓๐ ว่าด้วย กรมทหารราบ
- คฝ. ๗-๘ การฝึกและประเมินผลการฝึกหมู่ปืนเล็กและหมวดปืนเล็กเหล่าทหารราบ
พ.ศ. ๒๕๔๑
- คฝ. ๗-๑๐ การฝึกและประเมินผลการฝึกกองร้อยอาวุธเบา/กองร้อยทหารราบ
- คฝ. ๗-๒๐ การฝึกและประเมินผลการฝึกกองพันทหารราบ พ.ศ. ๒๕๔๖
- คู่มือปฏิบัติการทางยุทธวิธีทหารราบมาตรฐานของกองทัพบกพ.ศ. ๒๕๕๖
๒.๔.๓ ทหารราบยานเกราะ
- รส. ๗-๗ ว่าด้วย หมู่ หมวด ทหารราบยานเกราะ พ.ศ. ๒๕๓๙
- รส. ๗๑-๓ ว่าด้วย กรมทหารราบยานเกราะ
- คู่มือปฏิบัติการทางยุทธวิธีทหารราบยานเกราะของกองทัพบก พ.ศ. ๒๕๕๖
- รส. ๓-๒๑.๙ ว่ า ด้ ว ย ชุ ด รบหมู ่ แ ละหมวดทหารราบยานเกราะล้ อ ยาง
พ.ศ. ๒๕๖๒
- รส. ๓-๒๑.๑๑ ว่าด้วย ชุดรบกองร้อยทหารราบยานเกราะล้อยาง พ.ศ. ๒๕๖๒
- รส. ๓-๙๐.๖ ว่าด้วย กรม ร. ฉก./กองพลน้อยชุดรบ พ.ศ. ๒๕๖๑

--------------------------------------------------------------------------
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๒๖

หลักนิยมของเหล่าทหารม้า
๑. ประเภทการจัดของหน่วย/เหล่า
๑.๑ พล.ม. อจย.๗-๒ บก. และร้อย.บก.พล. ( ๕ ม.ค.๓๓ )
๑.๑.๑ กล่าวทั่วไป
ภารกิจ บังคับบัญชา ควบคุมทางยุทธการ และกำกับดูแลการปฏิบัติ การหน่วย
ในอัตรา และหน่วยที่ได้รบัการบรรจุมอบ หรือที่มาขึ้นสมทบ
การแบ่งมอบ เป็นหน่วยในอัตราของกองพล
ผังการจัด

ขีดความสามารถ
- กองบัญชาการกองพล จัดให้ มีการบังคับบัญชา วางแผน ควบคุม กำกับดูแล
การปฏิบัติของหน่วยในอัตรา และหน่วยที่ได้รับการบรรจุมอบหรือที่ขึ้นมาสมทบ
- กองร้อยกองบัญชาการกองพล จัดให้มีการสนับสนุนแก่กองบัญชาการและกองร้อย
กองบัญชาการ ด้านธุรการ การเลี้ยงดู การส่งกำลัง การซ่อมบำรุงขั้นหน่วย การขนส่ง การรักษาพยาบาล
และการระวังป้องกัน
- จัดตั้งที่บังคับการได้ ๑ แห่ง และที่บังคับการทางยุทธวิธีเคลื่อนที่ได้ ๑ แห่ง
- เคลื่อนย้ายด้วยยานพาหนะในอัตราได้ ๑๐๐ %
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๒๗

๑.๑.๒ การจัดหน่วยทหารม้าระดับกองพล ปัจจุบัน มี ๓ กองพล


๑.๑.๒.๑ พล.ม.๑ เป็นหน่วยขึ้นตรง ทภ.๓ มีหน่วยรองหลักระดับ กรม ม. จำนวน
๒ กรม คือ
๑) ม.๒ (กรมทหารม้าแบบ ๓) มีหน่วยรองระดับ พัน.ม. เป็นทหารม้า
บรรทุกยานเกราะ ประเภท ก. แบบใหม่ ทั้ง ๓ กองพัน
- ม.พัน.๗ (พัน.ม.(ก.) จัดกำลังตาม อจย.๑๗-๒๕ ก.) แปรสภาพจาก
หน่วย พัน.ม.(ลว.) อจย. ปรับ โครงสร้างใหม่
- ม.พัน.๑๐ (พัน.ม.(ก.) จัดกำลังตาม อจย.๑๗-๒๕ ก.) แปรสภาพ
จากหน่วย พัน.ม.(ลว.) อจย. ปรับ โครงสร้างใหม่
- ม.พัน.๑๕ (พัน.ม.(ก.) จัดกำลังตาม อจย.๑๗-๒๕ ก.)
๒) ม.๓ (กรมทหารม้าแบบ ๒) มีหน่วยรองระดับ พัน.ม.จำนวน ๓ กองพัน
ประกอบด้วย ๑ พัน.ถ.และ ๒ พัน.ม.(ก.) ประเภท พ.
- ม.พัน.๒๖ (พัน.ถ. จัดกำลังตาม อจย.๑๗-๑๕)
- ม.พัน.๑๓ (พัน.ม.(ก.) จัดกำลงัตาม อจย.๑๗-๒๕ พ.)
- ม.พัน.๑๘ (พัน.ม.(ก.) จัดกำลังตาม อจย.๑๗-๒๕ พ.)
๑.๑.๒.๒ พล.ม.๒ รอ. เป็นหน่วยขึ้นตรง ทภ.๑ มีหน่วยรองหลักระดับ กรม ม.
จำนวน ๓ กรม คือ
๑) ม.๑ รอ.(กรมทหารม้า แบบ ๒ ประกอบด้วย ๑ พัน.ถ.และ ๒ พัน.ม.(ก.))
ปัจจุบนั มีหน่วยรองระดับ พัน.ม. จำนวน ๓ กองพัน
- ม.พัน.๑๗ รอ. (พัน.ถ. จัดกำลังตาม อจย.๑๗-๑๕)
- ม.พัน.๑ รอ. (พัน.ม.(ก.) จัดกำลังตาม อจย.๑๗-๒๕ พ.)
- ม.พัน.๓ รอ. (พัน.ม.(ก.) จัดกำลังตาม อจย.๑๗-๒๕ พ.)
๒) ม.๔ รอ.(กรมทหารม้า แบบ ๒ ประกอบด้วย ๑ พัน.ถ.และ ๒ พัน.ม.(ก.))
ปัจจุบันมีหน่วยรอง ระดับ พัน.ม. จำนวน ๓ กองพัน
- ม.พัน.๕ รอ. (พัน.ถ. จัดกำลังตาม อจย.๑๗-๑๕)
- ม.พัน.๑๑ รอ. (พัน.ม.(ก.) จัดกำลงัตาม อจย.๑๗-๒๕ พ.)
- ม.พัน.๒๕ รอ. (พัน.ม.(ก.) จัดกำลงัตาม อจย.๑๗-๒๕ พ.)
๓) ม.๕ รอ.(กรมทหารม้า แบบ ๒ ประกอบด้วย ๑ พัน.ถ.และ ๒ พัน.ม.(ก.))
ปัจจุบันมีหน่วยรองระดับ พัน.ม. จำนวน ๓ กองพัน
- ม.พัน.๒๐ รอ. (พัน.ถ. จัดกำลังตาม อจย.๑๗-๑๕)
- ม.พัน.๒๓ รอ. (พัน.ม.(ก.) จัดกำลงัตาม อจย.๑๗-๒๕ พ.)
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๒๘

- ม.พัน.๒๔ รอ. (พัน.ม.(ก.) จัดกำลงัตาม อจย.๑๗-๒๕ พ.)


๔) ม.พัน.๒๙ รอ. เป็นหน่วยขึ้นตรง ทบ. ฝากการบังคั บบัญชาไว้กับ
พล.ม.๒ รอ. เป็นหน่วยทหารม้าขี่มา้
๑.๑.๒.๓ พล.ม.๓ เป็นหน่วยขึ้นตรง ทภ.๒ มีหน่วยรองหลักระดั บ กรม ม.จำนวน
๒ กรม คือ
๑) ม.๖ (กรมทหารม้า แบบ ๑ ประกอบด้วย ๒ พัน.ถ.และ ๑ พัน.ม.(ก.))
ปัจจุบนั มหน่วยรองระดับ พัน.ม. จำนวน ๒ กองพัน ประกอบด้วย ๒ พัน.ถ. สำหรับอีก ๑ พัน.ม.(ก.) รอการ
เสริมสร้างเมื่อมีงบประมาณ
- ม.พัน.๖ (พัน.ถ.จัดกำลังตาม อจย.๑๗-๑๕)
- ม.พัน.๒๑ (พัน.ถ.จัดกำลังตาม อจย.๑๗-๑๕)
๒) ม.๗ (กรมทหารม้าแบบ ๒ ประกอบด้วย ๑ พัน.ถ.และ ๒ พัน.ม.(ก.))
ปัจจุบันมีหน่วยรองระดับ พัน.ม.จำนวน ๒ กองพัน สำหรับอีก ๑ พัน.ถ. รอการเสริมสร้างเมื่อมงีบประมาณ
- ม.พัน.๘ (พัน.ถ.จัดกำลังตาม อจย.๑๗-๑๕)
- ม.พัน.๑๔ (พัน.ม.(ก.) จัดกำลังตาม อจย.๑๗-๒๕ พ.)

๑.๑.๓ การจัดหน่วยทหารม้าในกองพลทารราบ
๑.๑.๓.๑ พล.๑ รอ.ประกอบด้วย
๑) ม.พัน.๔ รอ.(พัน.ถ.จัดกำลังตาม อจย.๑๗-๑๕)
๒) ร้อย.ม.(ลว.) ที่ ๑ พล.๑ รอ. (จัดกำลังตาม อจย.๑๗-๕๗ พ.)
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๒๙

๑.๑.๓.๒ พล.ร.๒ รอ. ประกอบด้วย


๑) ม.พัน.๒ พล.ร.๒ รอ. (พัน.ถ.จัดกำลังตาม อจย.๑๗-๑๕)
๒) ม.พัน.๓๐ พล.ร.๒ รอ.(พัน.ม.(ลว.) จัดกำลังตาม อจย.๑๗-๕๕ พ.)
๑.๑.๓.๓ พล.ร.๓
- รอการเสริมสร้างเมื่อมีงบประมาณ
๑.๑.๓.๔ พล.ร.๔ ประกอบด้วย
๑) ม.พัน.๙ (พัน.ถ.จัดกำลังตาม อจย.๑๗-๑๕)
๒) ร้อย.ม.(ลว.) ที่ ๔ พล.ร.๔ (จัดกำลังตาม อจย.๑๗-๕๗ พ.)
๑.๑.๓.๕ พล.ร.๕ ประกอบด้วย
๑) ม.พัน.๑๖ (พัน.ถ.จัดกำลังตาม อจย.๑๗-๑๕)
๒) ร้อย.ม.(ลว.) ที่ ๕ (จัดกำลังตาม อจย.๑๗-๕๗ พ.)
๑.๑.๓.๖ พล.ร.๖
- รอการเสริมสร้างเมื่อมีงบประมาณ
๑.๑.๓.๗ พล.ร.๗
- รอการเสริมสร้างเมื่อมีงบประมาณ
๑.๑.๓.๘ พล.ร.๙ ประกอบด้วย
- ม.พัน.๑๙ (จัดกำลังตาม อจย.๑๗-๕๕ พ.)
๑.๑.๓.๙ พล.ร.๑๕ ประกอบด้วย
- ม.พัน.๓๑ (จัดกำลังตาม อจย.๑๗-๕๕ ก.)
๑.๑.๔ ทหารม้ามาตรฐาน แบ่งออกเป็น ๓ ประเภท
๑.๑.๔.๑ ทหารม้าลาดตระเวน ม.(ลว.)
๑.๑.๔.๒ ทหารม้ารถถัง ม. (ถ.)
๑.๑.๔.๓ ทหารม้าบรรทุกยานเกราะ ม.(ก.)
๑.๑.๕ ทหารม้านอกเหนือดังกล่าวข้างต้น
๑.๑.๕.๑ ทหารม้า (อากาศ) จัดเป็นประเภทหนึ่งของทหารม้าลาดตระเวน ทบ.
จัดตั้งขึ้น ๑ กองร้อย (จัดกำลังตาม อจย.๑๗-๒๗ ฮ.) เดิมฝากการบังคับบัญชาไว้กับ พล.ม.๒ รอ. ปัจจุบันได้
รวมการอากาศยาน และยุทโธปกรณ์ ไว้ที่ ศบบ. แต่ยังคงอัตราการจัดไว้ เนื่องจากยังมีความจ ำเป็นในการ
ปฏิบัติการรบตามหลักนิยมการรบอากาศ-พื้นดิน
๑.๑.๕.๒ ทหารม้า (ขี่ม้า) จัดเป็นประเภทหนึ่ งของทหารม้าลาดตระเวน ทบ.
จัดตั้งขึ้น จำนวน ๑ กองพัน คือ กองพันทหารม้าที่ ๒๙ รักษาพระองค์ (จัดกำลังตาม อจย.๒-๑๕) เป็นหน่วย
ขึ้นตรง ทบ.ฝากการบังคับบัญชาไว้กับ พล.ม.๒ รอ.
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๓๐

๑.๒ กรม ม. อจย.๑๗-๒๑


กล่าวทัว่ ไป
ภารกิจ เข้าประชิดและทำลายล้างกำลังข้าศึกด้วยการยิง การดำเนินกลยุทธ และการข่มขวัญ
การแบ่งมอบ เป็นหน่วยในอัตราของกองพล
ผังการจัด

ขีดความสามารถ
- ปฏิบัติการยุทธ์ ด้วยอำนาจการยิงรุนแรง ความคล่องแคล่วในการเคลื่อนที่ และมีอำนาจ
การข่มขวัญสูง
- เข้าตี หรือโต้ตอบ ภายใต้การยิงของข้าศึก
- ทำลายยานเกราะข้าศึกด้วยการยิง
- จัดให้มีส่วนฐานยิง และส่วนดำเนินกลยุทธ์
- ยึด และรักษาภูมิประเทศ ในห้วงระยะเวลาหนึ่ง
- ปฏิบัติการเป็นอิสระในขีดจำกัด
- สนับสนุนการยิงด้วยอาวุธวิถีโค้ง ให้กับหน่วยในอัตรา หรือหน่วยที่มาสมทบ
- มีความรวดเร็วในการขยายผลแหง่ความมีชัย
๑.๓ พัน.ม.(ถ.) อจย.๑๗-๑๕ (๒๕ ม.ค.๑๙)
กล่าวทั่วไป
ภารกิจ
- เคลื่อนที่เข้าประชิด และทำลายกำลังข้าศึ กโดยใช้อำนาจการยิง การดำเนินกลยุทธ์
อำนาจทำลายและข่มขวัญ
- ปฏิบัติการรบร่วมกับทหารเหล่าอื่น
การแบ่งมอบ เป็นหน่วยในอัตราของ กรมทหารม้า กองพลทหารม้าหรือกองพลทหารราบ
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๓๑

ผังการจัด

ขีดความสามารถ
- ปฏิบัติการรบที่ต้องใช้อำนาจการยิง ความคล่องแคล่วในการเคลื่อนที่ มีเกราะป้องกันตัว
อำนาจการทำลาย และข่มขวัญสูง
- เข้าตี หรือตีโต้ตอบภายใต้อำนาจการยิงของข้าศึก
- ทำลายยานเกราะของข้าศึกด้วยการยิง
- สนับสนุนหน่วยทหารราบยานยนต์ ทหารราบ และ/หรือทหารม้าด้วยการยิง การดำเนิน
กลยุทธ์ อำนาจทำลายและข่มขวัญ
- ขยายผลแห่งความมีชัยหลังการเจาะแนวของข้าศึก โดยใช้ความคล่องแคล่วในการ
เคลื่อนที่ในภูมิประเทศได้อย่างสูง
- ทำการยิงสนับสนุนด้วยอาวุธในอัตราของหน่วย
- จัดการในด้านธุรการ การส่งกำลัง การติดต่อสื่อสาร การซ่อมบำรุงได้สมบูรณ์ในกองพันเอง
- เคลื่อนที่ได้ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์
๑.๔ ร้อย.ถ. อจย.๑๗-๑๗ (๒๕ ม.ค.๑๙)
กล่าวทั่วไป
ภารกิจ
- เข้าประชิดและทำลายกำลังศึกโดยใช้อำนาจการยิง การดำเนินกลยุทธ์ อำนาจทำลาย ข่มขวัญ
- ปฏิบัติการรบร่วมกับทหารเหล่าอื่น
การแบ่งมอบ ๓ กองร้อย ต่อ ๑ กองพันทหารม้า (รถถัง) อจย. ๑๗ – ๑๕
ผังการจัด
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๓๒

ขีดความสามารถ
- เข้าตี หรือตีโต้ตอบภายใต้อำนาจการยิงของข้าศึก
- ทำลายยานเกราะของข้าศึกด้วยการยิง
- สนับสนุนหน่วยทหารราบยานยนต์ ทหารราบและ/หรือทหารม้าด้วยการยิ ง การดำเนิน
กลยทุธ์ อำนาจทำลาย และข่มขวัญ
- ขยายผลแห่งความมีชัยหลังการเจาะแนวของข้าศึก
- มีความคล่องแคล่วในการเคลื่อนที่ในภูมิประเทศได้อย่างสูง
- เคลื่อนที่ได้ ๑๐๐ เปอรเ์ซ็นต์
๑.๕ พัน.ม.(ก.) อจย.๑๗-๒๕ พ.(๑๐ มิ.ย.๒๘)
กล่าวทั่วไป
ภารกิจ เข้าประชิดข้าศึกด้วยการยิง และการดำเนินกลยุทธ์ เพื่อทำลาย หรือจับเป็นเชลย
ทำลายการเข้าตีของข้าศึกด้วยการยิง การรบประชิด และการตีโต้ตอบ
การแบ่งมอบ เป็นหน่วยในอัตราของกรมทหารม้า อจย.๑๗-๒๑ พ.
ผังการจัด

ขีดความสามารถ
- จัดเป็นฐานยิงและส่วนดำเนินกลยุทธ์ได้
- แย่งยึดพื้นที่
- ปฏิบัติการเป็นอิสระได้ในขีดจำกัด
- ป้องกันต่อสู้รถถังได้ในขีดจำกัด
- ยิงสนับสนุนด้วยอาวุธวิถีโค้งให้กับหน่วยในอัตรา และหน่วยที่ขึ้นสมทบ
- ปฏิบัติการลาดตระเวนระยะไกลได้ เมื่อเพิ่มเติมยุทโธปกรณ์ให้ตามความเหมาะสม
- ร่วมในการยุทธเคลื่อนย้ายทางอากาศได้ เมื่อมีอากาศยานขนส่งให้
- มีความคล่องแคล่วในการเคลื่อนทีส่ ูง
- ชดเชยจุดอ่อนซึ่งกันและกันได้
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๓๓

๑.๖ ร้อย.ม.(ก.) อจย.๑๗-๒๗ พ.(๑๐ มิ.ย.๒๘)


กล่าวทั่วไป
ภารกิจ เข้าประชิดข้าศึกด้วยการยิง และการดำเนินกลยุทธ์ เพื่อทำลาย หรือจับเป็นเชลย
ทำลายการเข้าตีของข้าศึกด้วยการยิง การรบประชิด และการตีโต้ตอบ
การแบ่งมอบ เป็นหน่วยในอัตราของ กองพันทหารม้า (บรรทุกยานเกราะ) อจย.๑๗-๒๕ พ.
ผังการจัด

ขีดความสามารถ
- เข้าประชิดข้าศึก ด้วยการยิง และการดำเนินกลยุทธ์ เพื่อทำลาย หรือจับเป็นเชลย
- ทำลายการเข้าตีของข้าศึก โดยการยิง การรบประชิด และการตีโต้ตอบ
- แย่งยึดภูมิประเทศ
- ดำเนินกลยุทธ์ได้ในภูมิประเทศทุกประเภท และทุกสภาพอากาศ
- มีความคล่องแคล่วในการเคลื่อนที่สูง
- ต่อสู้รถถังได้ในขีดจำกัด
๑.๗ พัน.ม.(ก.) อจย.๑๗-๒๕ ก.(๙ พ.ค.๖๑)
กล่าวทั่วไป
ภารกิจ เข้าประชิดข้าศึกด้วยการยิง และการดำเนินกลยุทธ์ เพื่อทำลาย หรือจับเป็นเชลย
ทำลายการเข้าตีของข้าศึก ด้วยการยิง การรบประชิด และการตีโต้ตอบ
การแบ่งมอบ เป็นหน่วยในอัตราของกรมทหารม้า
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๓๔

ผังการจัด

ขีดความสามารถ
- จัดเป็นฐานยิง และส่วนดำเนินกลยุทธ์ได้
- แย่งยึดพื้นที่
- ปฏิบัติการเป็นอิสระได้ในขีดจำกัด
- ทำลายยานเกราะของข้าศึกด้วยอาวุธยิงในอัตรา
- ทำการยิงสนับสนุนให้กับหน่วยในอัตรา และหน่วยที่ขึ้นสมทบ
- ปฏิบัติการลาดตระเวน และทำการระวังป้องกันให้กบั หน่วยเหนือได้
- ร่วมในการยุทธ์เคลื่อนย้ายทางอากาศได้ เมื่อมีอากาศยานขนส่งให้
- ชดเชยจุดอ่อนซึ่งกันและกันได้
- มีความคล่องแคล่วสูง เคลื่อนที่ได้ ๑๐๐%
๑.๘ ร้อย.ม.(ก.) อจย.๑๗-๒๗ ก.(๙ พ.ค.๖๑)
กล่าวทั่วไป
ภารกิจ เข้าประชิดข้าศึกด้วยการยิง และการดำเนินกลยุทธ์ เพื่อทำลาย หรือจับเป็นเชลย
ทำลายการเข้าตีของข้าศึกด้วยการยิง การรบประชิดและการตีโต้ตอบ
การแบ่งมอบ เป็นหน่วยในอัตราของกองพันทหารม้า (ยานเกราะ) อจย.๑๗-๒๑ ก.
ผังการจัด
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๓๕

ขีดความสามารถ
- เข้าประชิดข้าศึกด้วยการยิงและการดำเนินกลยุทธ์ เพื่อทำลาย หรือจับเป็นเชลย
- ทำลายการเข้าตีของข้าศึกด้วยการยิง การรบประชิด และการตีโต้ตอบ
- แย่งยึดภูมิประเทศ
- จัดเป็นฐานยิง และส่วนดำเนินกลยุทธ์ได้
- ทำลายยานเกราะของข้าศึก ด้วยการยิงของอาวุธในอัตรา
- ดำเนินกลยุทธได้ในทุกภูมิประเทศ และทุกสภาพอากาศ
- มีความคล่องแคล่วในการเคลื่อนที่สูง
๑.๙ พัน.ม.(ลว.) อจย.๑๗-๕๕ พ.(๑๐ มิ.ย.๒๘)
กล่าวทั่วไป
ภารกิจ ทำการลาดตระเวนระวังป้องกัน และเป็นหน่วยออมกำลังให้แก่หน่วยเหนือหรือ
หน่วยที่ขึ้นสมทบ
การแบ่งมอบ เป็นหน่วยในอัตราของกองพลทหารม้า หรือกองพลทหารราบ
ผังการจัด

ขีดความสามารถ
- ดำเนินการลาดตระเวนทางพื้นดิน ทั้งทางกว้าง และทางลึก
- รวบรวม และดำเนินกรรมวิธีต่อข่าวสาร
- ป้องกันปีก หรือทำงานทางปีกของหน่วยเหนือ หรือหน่วยขึ้นสมทบ
- ทำการระวังป้องกันช่องว่างระหว่างหน่วย
- เมื่อได้รับการเพิ่มเติมกำลัง สามารถที่จะปฏิบัติเป็นหน่วยกำลังในการปฏิบัติการรบด้วย
วิธีรุก วิธีรับ และการร่นถอย
- ขยายผล และเพิ่มเติมอำนาจการทำลายด้วยอาวุธยิงให้หน่วย
- เมื่อได้รับการเพิ่มเติมกำลังที่ีเหมาะสม สามารถปฏิบตั กิ ารรบเป็นกึ่งอิสระได้
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๓๖

๑.๑๐ ร้อย.ม.(ลว.) อจย.๑๗-๕๗ พ.(๑๐ มิ.ย.๒๘)


กล่าวทั่วไป
ภารกิจ ทำการระวังป้องกัน และทำการลาดตระเวนให้กั บหน่วยเหนือ หรือหน่วยที่ไป
ขึ้นสมทบ และเข้าปะทะข้าศึกในการรบด้วยวิธีรุก วิธีรับ หรือทำการรบหน่วงเวลา
การแบ่งมอบ เป็นหน่วยในอัตราของ พัน.ม.(ลว.) ถ้าแบ่งมอบ ๑ กองร้อยต่อ ๑ กองพล
ทหารราบ ให้เรียกชื่อ กองร้อยทหารม้า (ลาดตระเวน) ที่.........
ผังการจัด

ขีดความสามารถ
- ทำการลาดตระเวน และระวัง ป้ อ งกั นให้ กับ หน่ วยเหนื อ หรื อ หน่ว ยที ่ ไปขึ ้น สมทบ
มักปฏิบัติการเป็นอสิระ โดยไม่มีการเพิ่มเติมกำลัง
- ทำการรบได้ในขีดจำกัด อันเหมาะสมแก่หน่วยยานเกราะขนาดเบา
- แต่ละบุคคลในหน่วยนี้ ทำการรบได้อย่างทหารราบ
- หน่วยนี้สามารถป้องกันตัวเอง และที่ตั้งได้จากการโจมตีทางพื้นดิน
๑.๑๑ พัน.ม.(ลว.) อจย.๑๗-๕๕ ก.
กล่าวทั่วไป
ภารกิจ ทำการลาดตระเวน และระวังป้องกันให้หน่วยเหนือ หรือหน่วยที่ไปขึ้นสมทบ
การแบ่งมอบ เป็นหน่วยในอัตราของกองพลทหารม้า
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๓๗

ผังการจัด

ขีดความสามารถ
- ทำการลาดตระเวน และระวังป้องกัน ทั้งในระยะไกล และระยะใกล้
- ปฏิบัติการรบด้วยวิธีรุก วิธีรับ หรือทำการรบหน่วงเวลา ในฐานะเป็นหน่วยออมกำลัง
เมื่อได้รับการเพิ่มเติมกำลัง
- ทำการปราบจลาจล เมื่อได้รับการสนับสนุนเครื่องมือเครื่องใช้ที่เหมาะสม
- จั ด การในด้ า นธุ ร การ การส่ ง ่ ก ำลั ง บำรุ ง การรั ก ษาพยาบาล และการส่ ง กลั บ การ
ติดต่อสื่อสาร การซ่อมบำรุงได้สมบูรณ์ในกองพันเองได้
- มีความคล่องแคล่วในการเคลื่อนที่ ๑๐๐ %
๑.๑๒ ร้อย.ม.(ลว.) อจย.๑๗-๕๗ ก.
กล่าวทั่วไป
ภารกิจ ทำการลาดตระเวน และระวังป้องกันให้แก่หน่วยเหนือ หรือหน่วยที่ไปขึ้นสมทบ
การแบ่งมอบ ๓ กองร้อย ต่อ ๑ กองพันทหารม้า (ลาดตระเวน) อจย.๑๗-๕๕ ก.
ผังการจัด
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๓๘

ขีดความสามารถ
- ลาดตระเวน และระวังป้องกันให้แก่หน่วยเหนือ หรือหน่วยที่ไปขึ้นสมทบ
- ทำการรบด้วยวิธีรุก วิธีรับ หรือรบหน่วงเวลาได้อย่างจำกัด
- ปฏิบัติการเป็นอิสระ เมื่อได้รบัการสนับสนุนอย่างเหมาะสม
- ทำการปราบจลาจล เมื่อได้รับการสนับสนุนเครื่องมือเครื่องใช้ที่เหมาะสม
- ทำการรบอย่างทหารราบเมื่อจำเป็น และสามารถป้องกันตนเองจากการโจมตีทางพื้นดิน
- ความคล่องแคล่วในการเคลื่อนที่ ๑๐๐ %
๑.๑๓ พัน.ม.(ใช้มา้ ) อจย.๒-๑๕ (๕ มี.ค.๒๓)
กล่าวทั่วไป
ภารกิจ
- ทำการลาดตระเวนให้กับหน่วยเหนือ หรือหน่วยที่ไปขึ้นสมทบ
- เป็นหน่วยสำหรับการแห่นำ ตามเสด็จ และสวนสนาม เนื่องในพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตน
ของหน่วยทหารรักษาพระองค์ฯ
- การถวายอารักขา และความปลอดภัยแด่องค์พระบาทสมเด็ จพระเจ้าอยู่หัวฯ สมเด็ จ
พระนางเจ้า พระบรมราชินี และพระบรมวงศานุวงศ์
การแบ่งมอบ เป็นหน่วยขึ้นการบังคับบัญชาโดยตรงต่อกองทัพบก อาจบรรจุมอบให้กับ
หน่วย ในกองทัพบกได้
ผังการจัด

ขีดความสามารถ
- ปฏิบัติการลาดตระเวนและระวังป้องกันได้ในภูมิประเทศที่ยากลำบากในห้วงระยะเวลาจำกัด
- ปฏิบัติการรบด้วยวิธีรุก วิธีรับ ทำการรบหน่วงเวลาได้ ในห้วงระยะเวลาจำกัด
- สามารถปรับกำลังใช้ในการปราบปรามจลาจล เมื่อได้รับการสนับสนุนเครื่องมือเครื่องใช้
ที่เหมาะสม
- จั ด การในด้ า นธุ ร การ การส่ ง กำลั ง บำรุ ง การรั ก ษาพยาบาล และการส่ งกลั บ การ
ติดต่อสื่อสาร การซ่อมบำรุงได้สมบูรณ์ในกองพันเอง
- มีความคล่องแคล่วในการเคลื่อนที่
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๓๙

๑.๑๔ ร้อย.ม. (ใช้ม้า) อจย.๒-๑๗ (๕ มี.ค.๒๓)


กล่าวทั่วไป
ภารกิจ
- ทำการลาดตระเวนให้กบัหน่วยเหนือ หรือหน่วยที่ไปขึ้นสมทบ
- เป็นหน่วยสำหรับการแห่นำ ตามเสด็จ และสวนสนามเนื่องในพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตน
ของหน่วยทหารรักษาพระองค์
- การถวายอารักขา และความปลอดภัย แด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ สมเด็จ
พระนางเจ้า พระบรมราชินี และพระบรมวงศานุวงศ์
- จัดขบวนม้ากองเกียรติยศ ถวายการต้อนรับองค์พระประมุข หรือประมุขของรัฐบาล
ต่างประเทศ ที่เดินทางมาเยือนประเทศไทย ในฐานะพระราชอาคันตุกะ หรือราชอาคันตุกะ
การแบ่งมอบ เป็นหน่วยในอัตรา กองพันทหารม้า อจย.๒-๑๕ ม.
ผังการจัด

ขีดความสามารถ
- ปฏิบัติการลาดตระเวนและระวังป้องกันได้ในภูมิประเทศที่ยากลำบากในห้วงระยะเวลาจำกัด
- ปฏิบัติการรบด้วยวิธีรุก วิธีรับ ทำการรบหน่วงเวลาได้ ในห้วงระยะเวลาจำกัด
- ทำการระวังป้องกันที่ตั้ง หรือภูมิประเทศที่สำคัญ
- ปฏิบัติการเป็นอิสระ เมื่อได้รับการสนับสนุนอย่างเหมาะสม
- สามารถปรับกำลังใช้ในการปราบจลาจล เมื่อได้รบัการสนับสนุนเครื่องมือเครื่องใช้อย่าง
เหมาะสม
- ทำการรบอย่างทหารราบได้ ในห้วงระยะเวลาจำกัด
- มีความคล่องแคล่วในการเคลื่อนที่
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๔๐

๑.๑๕ ร้อย.ม.(อ.) อจย.๑๗-๕๗ (ฮ.).


กล่าวทั่วไป
ภารกิจ ทำการลาดตระเวน ระวังป้องกั น และสนับสนุนการปฏิบัติทางยุทธวิธีของหน่วย
ดำเนินกลยุทธ์ในการทำลายกำลัง และระบบอาวุธข้าศึก
การแบ่งมอบ เป็น หน่วยของกองทัพบก และอาจแบ่งมอบให้ ห น่วยรองได้ต ามความ
เหมาะสม
ผังการจัด
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๔๑

ขีดความสามารถ
- ปฏิบัติการลาดตระเวน และระวังป้องกันทั้งทางอากาศ และอย่างจำกัดทางพื้นดิน
- ปฏิบัติการเฝ้าตรวจเฉพาะบริเวณได้ทั้งทางอากาศ และทางพื้นดิน
- ทำการรบด้วยวิธีรุก วิธีรับ และร่นถอย รวมกับหน่วยดำเนินกลยุทธ์ได้
- ทำลายยานเกราะหรือกำลังอื่น ๆ ของข้าศึก ด้วยการใช้อาวุธทางอากาศ
- ปฏิบัติการเป็นอิสระได้
- ปฏิบัติการในเวลากลางคืน/ทัศนวิสัยจำกัดได้
- ปฏิบัติการสื่อสาร การพยาบาล และส่งกลับได้ เมื่อได้รั บการสนับสนุนอย่างเหมาะสม
จากหน่วยเหนือ
- ปฏิบัติภารกิจอื่น ๆ ที่ได้รับมอบ
๑.๑๖ ร้อย.ค.หนัก กรม ม. อจย.๑๗-๒๔ พ.(๑ มิ.ย.๓๐)
กล่าวทั่วไป
ภารกิจ จัดเครื่องยิงหนักยิงช่วยหน่วยต่าง ๆ ของ กรมทหารม้า กองพลทหารม้า โดยใกล้ชิด
การแบ่งมอบ เป็นหน่วยในอัตราของกรมทหารม้า กองพลทหารม้า
ผังการจัด

ขีดความสามารถ
- สามารถเข้าที่ตั้งและเปลี่ยนที่ตั้งยิงได้รวดเร็ว ติดตามหน่วยรับการสนับสนุนโดยใกล้ชิด
- สามารถยิงสนั บสนุนอย่างรุนแรงได้ในระยะเวลาหนึ่ง ตามขีด ความสามารถในการ
ลำเลียงกระสุน
- สามารถรวมการยิงโดยใช้ศูนย์อำนวยการยิงของกองร้อย
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๔๒

- สามารถจัดเป็นหน่วยระดับหมวดแยกสมทบหน่วยรับการสนับสนุนได้ตามความจำเป็น
- จัดชุดตรวจการณ์หน้าสนับสนุนได้ ๓ ชุด
- การระวังป้องกันที่ตั้งของตนเอง กระทำได้อย่างจำกัด
- สามารถซ่อมบำรุงยุทโธปกรณ์ตามอัตราในขั้นหน่วยได้
- สามารถเคลื่อนย้ายด้วยตนเองได้ ๑๐๐% มีความคล่องแคล่วในการเคลื่อนที่ บนเส้นทาง
และในภูมิประเทศ
๒. หลักนิยมทางยุทธวิธีของหน่วยในปัจจุบัน
๒.๑ หลักพื้นฐานทางยุทธวิธี
๒.๑.๑ หลักนิยมพื้นฐานในการรบของทหารม้า
- ทำการรบบนยานรบเคลื่อนที่เร็ว (ปฏิบัติการรวดเร็ว รุนแรง เด็ดขาด)
- ปฏิบัติการเป็นอสิระโดยใช้ความคล่องแคล่วในการเคลื่อนที่และอำนาจการยิง
ที่รุนแรง
- ทำการรบแตกหัก หวังผลตัดสินการรบ
- ไม่รบยืดเยื้อเป็นเวลานาน
- ทำการรบแบบผสมเหล่า มีความสมบูรณ์ในตัวเอง
- ทำการรบโดยใช้กำลังเป็นปึกแผ่น
๒.๑.๒ ทหารม้า มีขีดความสามารถ ดังนี้.-
- ดำเนินกลยุทธภายใต้การยิงที่มีเกราะป้องกันในสนามรบ
- เคลื่อนที่อย่างรวดเร็วในพื้นที่หนึ่งและเข้าปะทะกับข้าศึกเพื่ อตัดสินการรบ
ณ ตำบลคับขัน
- มีความคล่องแคล่วในการเคลื่อนที่ทำให้กระจายกำลังและรวมกำลังรวดเร็ว
- ทนต่อการระเบิดของอาวุธนิวเคลียร์ได้ในระดับหนึ่ง
- เข้าปะทะและผละจากการสู้รบกับข้าศึกอย่างรวดเร็ว โดยสูญเสียน้อยที่สดุ
- เข้าโจมตีอย่างหนักหน่วงต่อที่มั่นข้าศึก
๒.๑.๓ การรบด้วยวิธีรุก ทหารม้าสามารถปฏิบัติการรบด้วยวิธีรุกได้ ๕ แบบ
- การเคลื่อนที่เข้าปะทะ
- การเข้าตีเร่งด่วน
- การเข้าตีประณีต
- การขยายผล
- การไล่ติดตาม
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๔๓

๒.๑.๔ การรบด้วยวิธีรับ ใช้ความคล่องแคล่วในการเคลื่อนที่ ตั้งรับแบบคล่องตัว โดย


ภารกิจที่เหมาะสม คือ
- เข้าตียับยั้ง หรือเข้าตีกวาด หรือเพื่อทำลายการเข้าตีของข้าศึก
- เข้าตีโต้ตอบ
- เป็นกองหนุน
- การจัดกำลังในการตั้งรั บแบบคล่องตัว แบ่งออกเป็น ๓ ส่วน คือ ส่วนระวัง
ป้องกัน ส่วนตรึง และ กองหนุน
๒.๑.๕ การรบด้วยวิธีร่นถอย ทหารม้าใช้ในภารกิจ “รบหน่วงเวลา” ได้ดีที่สุด เพราะ
สามารถทำความเสียหายให้แก่ข้าศึกได้มากที่สุด ด้วยอำนาจการยิง การดำเนินกลยุทธ์ ใช้ความคล่องแคล่ว
ในการเคลื่อนที่ และการมีเกราะกำบังให้เป็นประโยชน์สูงสุด โดยในการรบหน่วงเวลา แบ่งกำลังเป็น ๓ ส่วน
คือ ๑) ส่วนกำบัง จัดกำลังส่วนน้อยในการแจ้งเตือนการเข้ามาของข้าศึก ๒) ส่วนรบหน่วงเวลา กำาลังรบส่วนใหญ่
อยูใ่ นส่วนนี้ และ ๓) กองหนุน มีขนาดเล็กกว่าส่วนรบหน่วงเวลา
๒.๑.๖ การลาดตระเวนและระวังป้องกัน
๒.๑.๖.๑ การลาดตระเวน
- เป็นการปฏิบตั ิการทางทหารในพื้นที่การรบ
- เพื่อให้ได้มาซึ่งข่าวสารเกี่ยวกับข้าศึก ภูมิประเทศ สภาพลมฟ้าอากาศ
- เพื่อสามารถประมาณสถานการณ์ และตกลงใจในการปฏิ บัติการทาง
ยุทธวิธีได้ถูกต้อง
- ข่าวสารส่วนใหญ่เกี่ยวกับข้าศึก และพื้นที่ปฏิบัติการมั กจะได้จากการ
ลาดตระเวน
๒.๑.๖.๒ การระวังป้องกัน
- การระวังป้องกัน คือ การใช้มาตรการต่าง ๆ ในการป้องกันตนเองให้
พ้นจากการจารกรรม การก่อวินาศกรรม การรบกวน การตรวจการณ์ และการจู่โจมจากข้าศึก
- มีความสำคัญต่อการปฏิบัติการทางทหารเป็นอย่างมาก
- เป็นหลักการสงครามข้อหนึ่ง
๒.๑.๖.๓ การลาดตระเวน และการระวังป้องกัน
- การปฏิบัติทั้งสองเรื่องนี้เกี่ยวพันกัน ไม่สามารถแยกออกจากกันได้
- การลาดตระเวนโดยธรรมชาติแล้ว จะเป็นการป้องกันในระดับหนึ่ง
- ภารกิจระวังป้องกันทุกประเภท จะต้องดำเนินการลาดตระเวนโดย
ต่อเนื่อง
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๔๔

- การลาดตระเวน และการระวังป้องกัน หน่วยที่ได้รับการฝึ กมาเป็น


อย่างดี ทำให้ไม่ต้องแบ่งกำลังจากหน่วยอื่นมา ทำให้เสียกำลังหลักในการรบ
๒.๑.๖.๔ สาเหตุที่ต้องมีการจัดหน่วยทหารม้าลาดตระเวน
- ทุกระดับหน่วยจะต้องดำเนินการระวังป้องกันตนเอง ซี่งเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง
เป็นหลักการสงครามข้อหนึ่ง
- ถ้าไม่มีทหารม้าลาดตระเวน จะต้องจัดหน่วยลาดตระเวนขึ้น โดยใช้
หน่วยกำลังรบของตนจัดตั้ง ซึ่งจะเสียกำลังรบไปประมาณ ๒๐% ของกำลังรบหลัก
- จะต้องทำการประกอบกำลัง ทำการฝึกเป็นพิเศษอีก ความจำเป็นใน
การจัดทหารม้าลาดตระเวน โดยแยกกำลังจัดตั้งโดยเฉพาะขึ้น มีการฝึกให้มีความสามารถในการลาดตระเวน
และระวังป้องกันขึ้นแยกจากกำลังรบต่างหาก จะดีกว่าการจัดแบ่งกำลังจากกำลังรบหลัก
๒.๑.๗ ภารกิจที่สำคัญของหน่วยทหารม้าในกองพลทหารม้า
- ลาดตระเวน
- ระวังป้องกัน
- ออมกำลัง
- ดำเนินกลยุทธ์หลัก
๒.๑.๘ การแบ่งมอบภารกิจของหน่วยทหารม้าในกองพลทหารม้า
- ทหารม้าลาดตระเวนเหมาะในภารกิจ ลาดตระเวน ระวังป้องกัน ออมกำลัง
- ทหารม้ารถถังและทหารม้าบรรทุกยานเกราะ เหมาะในภารกิจ ดำเนินกลยุทธ์หลัก
๒.๒ ข้อพิจารณาการใช้
- ใช้ ณ ตำบลและเวลาที่ต้องการความเด็ดขาดในการตัดสินการรบ
- ใช้เป็นกลุ่มก้อน หน่วยเล็กที่สุดจะปฏิบัติได้ คือ ระดับหมวด
- ไม่ใช้มากจนเกินความจำเป็น
๒.๓ การจัดกำลังเข้าทำการรบหรือการแบ่งมอบ จำแนกเป็นหน่วยดำเนินกลยุทธ์ หน่วย
สนับสนุนการรบ และหน่วยสนับสนุนกำรช่วยรบ โดยมีหลักการใช้หน่วยทหารม้า แบ่งออกเป็น ๒ รูปแบบ
- ทำการรบอย่างเป็นปึกแผ่น ปฏิบัติการอิสระ (ทั้งทางยุทธวิธี และทางยุทธศาสตร์)
- สนับสนุนทหารราบโดยใกล้ชิด (ในภารกิจของทหารราบ)
๒.๔ สรรพตำราที่ใช้ในปัจจุบัน
- รส.๑๗-๑ การปฏิบัติการยุทธ์ยานเกราะ พ.ศ. ๒๕๑๖
- รส.๑๗-๑๐๐ หลักนิยมและวิธีรบ เหล่า ม.ระดับ กรม พ.ศ. ๒๕๔๒
- รส.๗๑-๑ กองร้อยชุดรบ พ.ศ. ๒๕๖๒
- รส.๗๑-๒ กองพันทหารม้าเฉพาะกิจ พ.ศ. ๒๕๕๙
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๔๕

- รส.๗๑-๓ กรมทหารม้าเฉพาะกิจ พ.ศ. ๒๕๖๓


- รส.๗๑-๑๒๓ เทคนิคและยุทธวิธีสำหรับกำลังรบผสมเหล่า่ในระดับกรมทหารม้าเฉพาะกิจ
กองพันทหารม้าเฉพาะกิจ และกองร้อยชุดรบ พ.ศ. ๒๕๖๔
- รส.๑๗-๑๕-๑ หมวดรถถัง พ.ศ. ๒๕๔๙
- รส.๗-๗ เจ หมวด หมู่ทหารม้าบรรทุกยานเกราะ พ.ศ. ๒๕๖๒
- รส.๑๗-๒๗ หมวด และกองร้อยทหารม้า กองพันทหารม้าบรรทุกยานเกราะ พ.ศ. ๒๕๕๔
- รส.๑๗-๙๘ หมวดลาดตระเวน พ.ศ. ๒๕๕๔
- รส.๓-๒๐.๙๗๑ กองร้อยทหารม้าลาดตระเวน พ.ศ. ๒๕๖๐
- รส.๑-๑๑๔ การปฏิบัติภารกองร้อย กองพันทหารม้าอากาศ พ.ศ. ๒๕๖๓
- รส.๑๗-๕๗ (ฮ.) หลักนิยมทหารม้าอากาศ พ.ศ. ๒๕๖๓
- ลฝ.๑๗-๕๗ ระเบียบและหลักสูตรการฝึก การฝึกเป็นหน่วยเบื้องต้น หมู่ ตอน หมวด
และกองร้อย ของกองร้อยทหารม้าลาดตระเวน พ.ศ. ๒๕๕๓
- ตส.๑๗-๕๗ ระเบียบการตรวจสอบการฝึก การฝึกเป็นหน่วยเบื้องต้น หมู่ ตอน หมวด
ของหมวดลาดตระเวน กองร้อยทหารม้าลาดตระเวน พ.ศ. ๒๕๕๓
- ลฝ.๑๗-๒๕ ระเบียบและหลักสูตรการฝึก การฝึกเป็นหน่วยเบื้องสูง ของกองพันทหารม้า
ลาดตระเวน (๔ สัปดาห์) พ.ศ. ๒๕๕๓
- ลฝ.๑๗-๒๕ ระเบียบ และหลักสูตรการฝึ ก การฝึกเป็นหน่วยเบื้องสูง ของกองพันทหาร
ม้าบรรทุกยานเกราะ (๔ สัปดาห์) พ.ศ. ๒๕๕๓
- ลฝ.๑๗-๒๗ ระเบียบและหลักสูตรการฝึก การฝึกเป็นหน่วยเบื้องต้น หมู่ ตอน หมวด
และกองร้อยของกองพันทหารม้าบรรทุกยานเกราะ (๘ สัปดาห)์ พ.ศ. ๒๕๕๓
- คฝ.๗๑-๑ คู่มือการฝึก และประเมินผลการฝึก แผนการฝึกตามภารกิจ สำหรับกองร้อย
ชุดรบ พ.ศ. ๒๕๕๔
- รส.๑๗-๙๘ คู่มือราชการสนาม ว่าด้วย หมวดลาดตระเวน พ.ศ. ๒๕๕๔
- รปจ. หมวดรถถัง พ.ศ. ๒๕๕๔
- ตส./ระเบียบการตรวจสอบการฝึก การฝึกเป็นหน่วยกองร้อย ของกองร้อยทหารม้า
กองพันทหารม้าลาดตระเวน กองพลทหารราบ พ.ศ. ๒๕๕๕
- คู ่ ม ื อ การใช้ ง าน และปรนนิ บ ั ต ิ บ ำรุ ง ส่ ว นต่ อ ขยายเครื ่ อ งช่ ว ยฝึ ก พลประจำรถถั ง
แบบทาคอส พ.ศ. ๒๕๕๖
- รส.๒๐-๒๒ หลักการกู้รถ พ.ศ. ๒๕๕๖
- ลฝ./ระเบียบและหลักสูตรการฝึก การฝึกเป็นหน่วยตามหน้าที่ของกองร้อยเครื่องยิงหนัก
กรมทหารม้า (๘ สัปดาห์) พ.ศ. ๒๕๕๖
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๔๖

- ตส./ระเบียบการตรวจสอบการฝึก การฝึ กเป็นหน่วยตามหน้าที่ของกองร้อยเครื่องยิ ง


หนัก กรมทหารม้า พ.ศ. ๒๕๕๖
- ลฝ./ระเบียบและหลักสูตรการฝึ ก การฝึกเป็นหน่วยเบื้องต้นของหมวดเครื่ องยิงหนัก
กองร้อยเครื่องยิงหนัก กรมทหารม้า (๗ สัปดาห์) พ.ศ. ๒๕๕๖
- ตส./ระเบียบการตรวจสอบการฝึก การฝึกเป็นหน่วยเบื้องต้น ของหมวดเครื่องยิ งหนัก
กองร้อยเครื่องยิงหนัก กรมทหารม้า พ.ศ. ๒๕๕๖
- คู่มือพลประจำรถ รถถังหลัก ๕๗ (T-84 OPLOT) พ.ศ. ๒๕๕๘
- รส.๗๑-๒ กองพันทหารม้าเฉพาะกิจ พ.ศ. ๒๕๕๙
- รส.๓-๒๐.๙๗๑ ว่าด้วย กองร้อยทหารม้าลาดตระเวน พ.ศ. ๒๕๖๐
- คฝ.๗๑-๒ คู่มือการฝึก และประเมินผลการฝึก แผนการฝึกตามภารกิจ สำหรับกองพัน
เฉพาะกิจ พ.ศ. ๒๕๖๑
- รส.๗๑-๑ ว่าด้วย กองร้อยชุดรบ พ.ศ. ๒๕๖๒
- รส.๗-๗ เจ คู่มือราชการสนาม ว่าด้วย หมวด หมู่ทหารม้าบรรทุกยานเกราะ พ.ศ. ๒๕๖๓
- รส.๑๗-๕๗ (ฮ.) ว่าด้วย หลักนิยมทหารม้าอากาศ พ.ศ. ๒๕๖๓
- ลฝ.๑๗-๕๗ (ฮ.) ว่าด้วย การฝึกเป็นหน่วยเบื้ องต้น หมู่ ตอน หมวด และเป็นหน่ว ย
กองร้อย กองร้อยทหารม้าอากาศ พ.ศ. ๒๕๖๓
- ตส.๑๗-๒๗ ระเบียบการตรวจสอบการฝึก การฝึกเป็นหน่วยเบื้องต้น หมู่ ตอน หมวด
ของหมวดทหารม้า กองร้อยทหารม้า (บรรทุกยานเกราะ) พ.ศ. ๒๕๖๔
- ตส.๑๗-๒๗ พ. ระเบียบการตรวจสอบการฝึก การฝึกเป็นหน่วยตามหน้าที่ของกองร้อย
ทหารม้า กองพันทหารม้า (บรรทุกยานเกราะ) พ.ศ. ๒๕๖๔
- ตส.๑๗-๒๕ ระเบียบการตรวจสอบการฝึก การฝึกเป็นหน่วยเบื้องสูง ของกองพันทหารม้า
(บรรทุกยานเกราะ) พ.ศ. ๒๕๖๔
- คู่มือการฝึก ว่าด้วย การฝึกความชำนาญทหารม้า สำหรับการทดสอบเป็นบุคคลของ
หน่วยทหารม้า (บรรทุกยานเกราะ) พ.ศ. ๒๕๖๔
- คู่มือการฝึก ว่าด้วย การฝึกความชำนาญทหารม้า สำหรับการทดสอบเป็นบุคคลของ
หน่วยทหารม้า (ลาดตระเวน) พ.ศ. ๒๕๖๔
- ระเบียบและหลักสูตรการฝึก การฝึกทหารใหม่เฉพาะหน้าที่ของเหล่าทหารม้า (๒ สัปดาห์)
พ.ศ. ๒๕๖๔

--------------------------------------------------------------------------
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๔๗

หลักนิยมของเหล่าทหารปืนใหญ่
๑. ประเภทการจัดของหน่วย/เหล่า
๑.๑ กล่าวทั่วไป ปัจจุบันเหล่าทหารปืนใหญ่ของไทย แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท ได้แก่ ทหาร
ปืนใหญ่สนาม และ ทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน โดยเหล่าทหารปืนใหญ่จะถูกจัดอยู่ใน ๓ ส่วนราชการของ
กองทัพบก ได้แก่ ส่วนกำลังรบ, ส่วนสนับสนุนการรบ และส่วนการศึกษา โดยมีรายละเอียดดังนี้
๑.๑.๑ ส่วนกำลังรบ เหล่าทหารปืนใหญ่จะถูกบรรจุอยู่ในกองพลดำเนินกลยุทธ์ (พล.ร./
พล.ม.) ของแต่ละกองทัพภาค เรียกว่า “ปืนใหญ่ในกองพล” ซึ่งจะเป็นหน่วยระดับกรม โดยมีการจัด
โครงสร้าง กรม ป. ใน พล.ดำเนินกลยุทธ์ ดังนี้

๑.๑.๒ ส่วนสนับสนุนการรบ เหล่าทหารปืนใหญ่ในส่วนนี้ ได้แก่ กองพลทหารปืนใหญ่


(พล.ป.) และหน่วย บัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ (นปอ.) โดยทั้ง ๒ หน่วยเป็นหน่วยขึ้นตรงกองทัพบก
๑.๑.๓ ส่วนการศึกษา เหล่าทหารปืนใหญ่ในส่วนนี้ ได้แก่ ศูนย์การทหารปืนใหญ่ (ศป.)
เป็นหน่วยขึ้นตรงของกรมยุทธศึกษาทหารบก (ยศ.ทบ.) ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าเหล่าสายวิทยาการของเหล่า
ทหารปืนใหญ่สนาม และเหล่าทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน มีผู้บัญชาการศูนย์การทหารปืนใหญ่ (ผบ.ศป.)
เป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ มีภารกิจที่ส ำคัญ ได้แก่ การวางแผน อำนวยการ กำกับการ และดำเนินการฝึก
ศึกษา เกี่ยวกับวิทยาการ และภารกิจของเหล่าทหารปืนใหญ่ ให้มีความก้าวหน้า สอดคล้องกับยุทโธปกรณ์
และวิทยาการใหม่ ๆ เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของหน่วยกำลังรบได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นอกจากนี้แล้วยังต้องมีการวิจัยและพัฒนา กำหนดหลักนิยม และจัดทำเอกสารตำราในวิทยาการของเหล่า
ทหารปืนใหญ่ ให้มีความทันสมัย ก้าวทันกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๔๘

๑.๒ ปืนใหญ่สนาม (ป.สนาม)

ภารกิจของปืนใหญ่สนาม คือ จัดให้มีการยิงสนับสนุนแก่หน่วยกำลังรบและหน่วยดำเนิน


กลยุทธ์ อย่างต่อเนื่อง แม่นยำ ทันเวลา ด้วยการยิงทำลาย ยิงตัดรอนกำลัง และยิงข่ม ด้วยปืนใหญ่ประเภท
ลำกล้องหรืออาวุธส่งตามลำดับความเร่งด่วนต่อเป้าหมายต่าง ๆ ที่จะขัดขวางความสำเร็จในภารกิจของหน่วย
ดำเนินกลยุทธ์ที่รับการสนับสนุน โดยสามารถแบ่งตามการจัดได้ ๒ ลักษณะ ได้แก่
๑.๒.๑ ปืนใหญ่ในกองพล กล่าวคือ กรมทหารปืนใหญ่สนามที่บรรจุอยู่ในอัตราการจัดของ
กองพลดำเนินกลยุทธ์ (พล.ร./พล.ม.) ในปัจจุบันมีรายละเอียด ดังนี้
ลำดับ หน่วย อจย./อฉก. ยุทโธปกรณ์ ขนาด/ชนิด ที่ตั้งหน่วย
๑. ป.๑ รอ. อจย.๖-๑๐๑ - - กทม.
ป.๑ พ้น.๑ รอ. อจย.๖-๒๕ M101 A1 ๑๐๕ มม./ลจ. กทม.
ป.๑ พ้น.๑๑ รอ. อจย.๖-๒๕ M101 A1 ๑๐๕ มม./ลจ. ลพบุรี
ป.๑ พ้น.๓๑ รอ. อจย.๖-๒๕ M119 ๑๐๕ มม./ลจ. ลพบุรี
๒. ป.๒ รอ. อจย.๖-๑๐๑ - - ปราจีนบุรี
ป.๒ พัน.๒ รอ. อจย.๖-๒๕ M198 ๑๕๕ มม./ลจ. ปราจีนบุรี
ป.๒ พัน.๑๒ รอ. อจย.๖-๒๕ M109 AS ๑๕๕ มม./อจ. ปราจีนบุรี
ป.๒ พัน.๒๑ รอ. อจย.๖-๒๕ M198 ๑๕๕ มม./ลจ. ชลบุรี
ป.๒ พัน.๑๐๒ รอ. อจย.๖-๑๓๕ GHN45 A1 ๑๕๕ มม./ลจ. ปราจีนบุรี
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๔๙

ลำดับ หน่วย อจย./อฉก. ยุทโธปกรณ์ ขนาด/ชนิด ที่ตั้งหน่วย


๓. ป.๓ อจย.๖-๑๐๑ - - นครราชสีมา
ป.๓ พ้น.๓ อจย.๖-๒๕ M101 A1 ๑๐๕ มม./ลจ. นครราชสีมา
ป.๓ พ้น.๘ อจย.๖-๒๕ M101 A1 ๑๐๕ มม./ลจ. ขอนเเก่น
ป.๓ พ้น.๑๓ อจย.๖-๒๕ M101 A1 ๑๐๕ มม./ลจ. อุดรธาน
ป.๓ พ้น.๑๐๓ อจย.๖-๑๓๕ M198 ๑๕๕ มม./ลจ. นครราชสีมา
๔. ป.๔ อจย.๖-๑๐๑ - - พิษณุโลก
ป.๔ พัน.๔ อจย.๖-๒๕ M101 A1 ๑๐๕ มม./ลจ. นครสวรรค์
ป.๔ พน.๑๐๔ อจย.๖-๑๓๕ M198 ๑๕๕ มม./ลจ พิษณุโลก
๕. ป.๕ อจย.๖-๑๐๑ - - นครศรีธรรมราช
ป.๕ พัน.๕ อจย.๖-๒๕ M101 A1 ๑๐๕ มม./ลจ. สงขลา
ป.๕ พัน.๑๕ อจย.๖-๒๕ M101 A1 ๑๐๕ มม./อจ. นครศรีธรรมราช
ป.๕ พัน.๒๕ อจย.๖-๒๕ M101 A1 ๑๕๕ มม./ลจ. ชุมพร
ป.๕ พัน.๑๐๕ อจย.๖-๑๓๕ M71 ๑๒๐ มม./ลจ. นครศรีธรรมราช
๖. ป.๖ อจย.๖-๑๐๑ - - ร้อยเอ็ด
ป.๖ พัน.๖ อจย.๖-๒๕ M101 A1 ๑๐๕ มม./ลจ. อุบลราชธานี
ป.๖ พัน.๑๖ อจย.๖-๒๕ M101 A1 ๑๐๕ มม./ลจ. ร้อยเอ็ด
ป.๖ พัน.๒๓ อจย.๖-๒๕ M101 A1 ๑๐๕ มม./ลจ. นครราชสีมา
ป.๖ พัน.๑๐๖ อจย.๖-๑๓๕ M198 ๑๕๕ มม./ลจ. ร้อยเอ็ด
๗. ป.๗ พัน.๗ อจย.๖-๒๕ M56 ๑๐๕ มม./ลจ. เชียงใหม่
ป.๗ พัน ๑๗ อจย.๖-๒๕ M101 A1 ๑๐๕ มม./ลจ. พะเยา
๘. ป.๙ อจย.๖-๑๐๑ - - กาญจนบุรี
ป.๙ พัน.๙ อจย.๖-๒๕ LG1-MK2 ๑๐๕ มม./ลจ. กาญจนบุรี
ป.๙ พัน.๑๙ อจย.๖-๒๕ LG1-MK1 ๑๐๕ มม./ลจ. กาญจนบุรี
ป.๙ พัน.๑๐๙ อจย.๖-๑๓๕ M198 ๑๕๕ มม./ลจ. กาญจนบุรี
๙. ป.๒๑ อจย.๖-๑๐๑ - - เพชรบูรณ์
ป.๒๑ พัน.๒๐ อจย.๖-๒๕ M101 A1 ๑๐๕ มม./ลจ. อุตรดิตถ์
ป.๒๑ พัน.๓๐ อจย.๖-๒๕ M101 A1 ๑๐๕ มม./ลจ. เพชรบูรณ์
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๕๐

๑.๒.๒ ปืนใหญ่นอกกองพล หมายถึง หน่วยทหารปืนใหญ่สนามที่จัดไว้ที่อื่น ๆ นอกกองพล


ดำเนินกลยุทธ์ (พล.ร./พล.ม.) ได้แก่ แผนกทหารปืนใหญ่ของกองทัพภาค และกองพลทหารปืนใหญ่ โดย
ภารกิจทางยุทธวิธีอาจจะเป็นในรูปแบบของการสมทบ ทภ.หรือไปเพิ่มเติมกำลังยิงให้กับ กรม ป.ของกองพล
ดำเนินกลยุทธ์ก็ได้ ทั้งนี้ เพื่อให้การใช้ปืนใหญ่ทางยุทธวิธีจะได้มีความอ่อนตัวมากยิ่งขึน้ เพราะสถานการณ์รบ
ของแต่ละกองพลจะมีความหนักเบาไม่เหมือนกัน บางกองพล หรือ บางกองทัพภาคอาจจะมีหน่วยปืนใหญ่
ในอัตราไม่พอเพียงที่จะสนับสนุนการรบได้ ดังนั้น จึงต้องมีหน่วยปืนใหญ่นอกกองพลไว้เพื่อแก้ปัญหาของ
ผู้บังคับบัญชาระดับสูง
๑.๒.๒.๑ แผนกทหารปืนใหญ่ มีหน้าที่เป็นที่ปรึกษาของ มทภ. ในงานที่เกี่ยวกับ
ทหารปืนใหญ่ ปัจจุบันไม่มีอาวุธในอัตรา แต่ ทบ.มีแผนจะจัดตั้งในอนาคต
๑.๒.๒.๒ กองพลทหารปืนใหญ่ เป็นหน่วยขึ้นตรงกองทัพบก ประกอบด้วย ๒ กรม
ทหารปืนใหญ่ และ ๖ กองพันทหารปืนใหญ่ ปัจจุบันมี ๑ กองพล มีที่ ตั้งอยู่ที่จังหวัดลพบุรี กองพลทหาร
ปืนใหญ่ ได้รับอาวุธยิงที่มีระยะยิงที่มากกว่า “หน่วยปืนใหญ่ในกองพล” และจะรับภารกิจช่วยส่วนรวมต่อ
กองทัพภาคที่กองทัพบกให้ไปขึ้นสมทบ มีอัตราการจัดดังนี้

หมายเหตุ ปัจจุบันยังไม่มี
การจัดตั้งหน่วย พัน.ป.คปม.

ลำดับ หน่วย อจย./อฉก. ยุทโธปกรณ์ ขนาด/ชนิด ที่ตั้งหน่วย


๑. พล.ป. อจย.๖-๑ - - ลพบุรี
๒. ร้อย.ป.คปม. อจย.๖-๑๐๓ AN/TPQ-36 เรดาห์ ลพบุรี
Searcher MK1 UAV
BOR-A550 เรดาห์
PAR16 เรดาห์
HALO ระบบกำหนดที่ตงั้ ป.
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๕๑

ลำดับ หน่วย อจย./อฉก. ยุทโธปกรณ์ ขนาด/ชนิด ที่ตั้งหน่วย


๓. ป.๗๑ อจย.๖-๔๐๐ - - ลพบุรี
ป.๗๑ พัน.๗๑๑ อจย.๖-๗๒๕ SR4 จรวด/อจ. ลพบุรี
T-85 จรวด/อจ.
DTI-1G จรวด/อจ.
ป.๗๑ พัน.๗๑๒ อจย.๖-๔๒๕ GHN45 A1 ๑๕๕ มม./ลจ. ลพบุรี
ป.๗๑ พัน.๗๑๓ อจย.๖-๔๒๕ GHN45 A1 ๑๕๕ มม./ลจ. ลพบุรี
๔. ป.๗๒ อจย.๖-๔๐๐ - - ลพบุรี
ป.๗๒ พัน.๗๒๑ อจย.๖-๒๒๕ CAESAR ๑๕๕ มม./อจ. ลพบุรี
M758 (ATMG) ๑๕๕ มม./อจ.
GHN45 A1 ๑๕๕ มม./ลจ.
ป.๗๒ พัน.๗๒๒ อจย.๖-๔๒๕ GHN45 A1 ๑๕๕ มม./ลจ. ลพบุรี
ป.๗๒ พัน.๗๒๓ อจย.๖-๔๒๕ GHN45 A1 ๑๕๕ มม./ลจ. ลพบุรี
๑.๒.๓ ภารกิจทางยุทธวิธีของทหารปืนใหญ่ ผบ. หน่วยกำลังรบเป็นผู้มอบภารกิจทาง
ยุทธวิธีให้ทหารปืนใหญ่ตามข้อเสนอแนะของผู้บังคับการทหารปืนใหญ่ของหน่วยกำลังรบ โดยแบ่งเป็น
ภารกิจทางยุทธวิธีแบบมาตรฐาน และ ภารกิจทางยุทธวิธีไม่มาตรฐาน
๑.๒.๓.๑ ภารกิจทางยุทธวิธแี บบมาตรฐาน
(๑) หน่วยปืนใหญ่ระดับกองพันหรือเทียบเท่าอาจได้รับมอบภารกิจทาง
ยุทธวิธีแบบมาตรฐานอย่างใดอย่างหนึง่ ใน ๔ แบบ เมื่อลำดับตามขนาดที่เพิ่มขึ้นของการควบคุมแบบรวมการ
ที่มีอยู่จะเรียงลำดับได้ ดังนี้ คือ
(๑.๑) ภารกิจช่วยโดยตรง (ชต.)
(๑.๒) ภารกิจเพิ่มเติมกำลังยิง (พย.)
(๑.๓) ภารกิจช่วยส่วนรวม - เพิ่มเติมกำลังยิง (ชร.- พย.)
(๑.๔) ภารกิจช่วยส่วนรวม (ชร.)
(๒) การมอบภารกิจทางยุทธวิธีแบบมาตรฐานแบบใดแบบหนึ่งจะเป็น
การระบุความรับผิดชอบในการยิงสนับสนุน ๗ ประการ ให้แก่หน่วย ป. ที่ได้รับมอบ ได้แก่
(๒.๑) การจัดลำดับความเร่งด่วนของภารกิจยิง
(๒.๒) การกำหนดเขตการยิง
(๒.๓) การจัดผูต้ รวจการณ์
(๒.๔) การวางการติดต่อ (นตต./นยส.)
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๕๒

(๒.๕) การวางการติดต่อสือ่ สาร


(๒.๖) การกำหนดที่ตั้งยิง
(๒.๗) การทำแผนการยิง
(๓) ในกรณี ท ี ่ ก ารใช้ ภ ารกิ จ ทางยุ ท ธวิ ธ ี แ บบมาตรฐานทั ้ ง ๔ แบบ
ไม่สามารถตอบสนองความต้องการที่จะบรรลุความสำเร็จในการใช้อำนาจการยิงแล้วก็อาจกำหนดภารกิจทาง
ยุทธวิธีไม่มาตรฐาน หรืออาจจัดหน่วยแยกปฏิบัติเฉพาะภารกิจนั้น ๆ เพื่อให้ตรงตามความต้องการในการรบ
ได้อีก
(๔) การระบุถึงความรับผิดชอบในการยิงสนับสนุน ๗ ประการ ต่อ
ภารกิจทางยุทธวิธีแบบมาตรฐานทั้ง ๔ แบบ จะกำหนดตามตารางดังต่อไปนี้
ภารกิจเพิ่มเติมกำลังยิง ภารกิจช่วยส่วนรวม– ภารกิจช่วยส่วนรวม
ภารกิจ ภารกิจช่วยโดยตรง (ชต.) (พย.) เพิ่มเติม (ชร.)
กำลังยิง (ชร.- พย.)
๑. ลำดับความ ๑. หน่วยรับการสนับสนุน ๑. หน่วยรับการ พย. ๑. บก.ป.หน่วยกำลังรบ ๑. บก.ป.หน่วยกำลังรบ
เร่งด่วนของ ๒. ผู้ตรวจการณ์ของตน(๑) ๒. ผู้ตรวจการณ์ของตน ๒. หน่วยรับการ พย. ๒. ผู้ตรวจการณ์ของตน
ภารกิจยิง ๓. บก.ป.หน่วยกำลังรบ (๑) ๓. ผู้ตรวจการณ์ของตน(๑) (๑)
๓. บก.ป.หน่วยกำลังรบ
๒. เขตการยิง เขตปฏิบัติการของ เขตการยิงของหน่วย เขตปฏิบัติการของหน่วยรับ เขตปฏิบัติการของ
หน่วยรับการสนับสนุน รับการ พย. การสนับสนุน รวมทั้งเขตการ หน่วยรับการสนับสนุน
ยิงของหน่วยรับการ พย,
๓. จัดผู้ตรวจ แต่ละกองร้อยดำเนิน ปกติไม่ต้องจัด ปกติไม่ต้องจัด ปกติไม่ต้องจัด
การณ์ให้กับ กลยุทธ์ของหน่วยรับ
การสนับสนุน
๔. การวางการ จัด นยส. ให้แก่แต่ละ จัด นตต. ให้กับ บก. จัด นตต. ให้กับ บก. ปกติไม่ต้องจัด
ติดต่อ กองพันและกรมของ หน่วยรับการ พย. หน่วยรับการ พย.
หน่วยรับการสนับสนุน
๕. การวางการ ผตน. และ นยส. ที่ บก.หน่วยรับการ พย. บก. หน่วยรับการ พย. ปกติไม่ต้องจัด
ติดต่อสื่อสาร ประจำอยู่กับหน่วยรับ
การสนับสนุน
๖. กำหนดที่ตงั้ ผบ.พัน.ป.ชต. หรือโดย หน่วยรับการ พย. บก.ป.หน่วยกำลังรบ บก.ป.หน่วยกำลังรบ
ยิงโดย คำสั่งของ บก.ป.หน่วย หรือ/ โดยคำสั่งของ หรือหน่วยรับการ พย.
กำลังรบ บก.ป.หน่วยกำลังรบ โดยอนุมัติจาก บก.ป.
หน่วยกำลังรบ
๗. ทำแผนการ พัฒนาแผนการยิงเอง บก.ป.หน่วยรับการ พย. บก.ป.หน่วยกำลังรบ บก.ป.หน่วยกำลังรบ
ยิงโดย
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๕๓

๑.๒.๓.๒ ภารกิจทางยุทธวิธีไม่มาตรฐาน เมื่อการมอบภารกิจยุทธวิธีมาตรฐานทั้ง


๔ แบบ แล้วไม่สามารถที่จะตอบสนองความต้องการที่จะให้บรรลุความสำเร็จภารกิจตามความต้องการของ
ผู้บังคับบัญชา ก็อาจจะมอบภารกิจยุทธวิธีไม่มาตรฐานด้วยการปฏิบัติประการใดประการหนึ่ง ดังนี้ คือ
(๑) มอบภารกิจยุทธวิธีมาตรฐานแล้ว อธิบายการดัดแปลงความรับผิดชอบ
ตามภารกิจยุทธวิธมี าตรฐานนั้น ๆ ติดตามในบรรทัดเดียวกัน เช่น
- ป.พัน.๑ : พย.ป.พัน.๑๐ ; กรม ป.เป็นผู้เลือกที่ตั้ง (ปกติ ป.พัน.๑๐
เป็นผู้เลือกทีต่ ั้งให้กบั ป.พัน.๑)
- ป.พัน.๒ : ชร.- พย.ป.พัน.๒๐ ; ใช้กระสุนไม่เกิน ๕๐ เปอร์เซ็นต์
ในการ พย.
- ป.พัน.๓ : ชร. ; จัด นตต.ประจำ ศปย.กรม ป.(ปกติไม่ต้องจัด)
(๒) หากจะต้องดัดแปลงรายละเอียดความรับผิดชอบ ๗ ประการ ใน
ภารกิจยุทธวิธีมาตรฐานมากกว่าสองข้อแล้วจะต้องลำดับรายละเอียดความรับผิดชอบเป็นลำดับทั้ง ๗ ประการ
เพื่อป้องกันการเข้าใจผิด ดังตัวอย่าง เช่น
- ป.พัน.๕ : เพิ่มการยิง ป.พัน.๗
; ลำดับความเร่งด่วนในการตอบคำขอยิงคือ ป.พัน.๗, ม.พัน.๔
และ กรม ป.
; เขตการยิง กรม ป.เป็นผูก้ ำหนด
; ไม่ต้องจัด ผตน.ให้กับหน่วยใด
; จัด นตต.ให้กับ ป.พัน.๗
; จัดวางการติดต่อสื่อสารกับ ป.พัน.๗ และ ม.พัน.
; กำหนดที่ตงั้ โดย ป.พัน.๗ ด้วยการอนุมตั ิของ กรม ป.
; ทำแผนการยิงโดย กรม ป.
หมายเหตุ การใช้คำว่าเพิ่มการยิง ดังตัวอย่าง “ป.พัน.๕ เพิ่มการยิง ป.พัน.๗” นั้น เพื่อ
หลีกเลี่ยง การใช้คำซ้ำกับคำว่า “เพิ่มเติมกำลังยิง” ซึ่งเป็นศัพท์จำเพาะของภารกิจยุทธวิธีมาตรฐาน
๑.๒.๔ ขีดความสามารถและขีดจำกัดของปืนใหญ่สนาม
๑.๒.๔.๑ ขีดความสามารถ
(๑) สามารถทำการยิงทุกสภาพลมฟ้าอากาศและสภาพภูมิประเทศ
(๒) สามารถย้ า ยยิ ง และรวมอำนาจการยิ ง ได้ อ ย่ า งรวดเร็ ว โดย
ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนที่ตั้งยิง
(๓) เพิ่มความลึกในสนามรบ
(๔) สามารถยิงด้วยชนวน/กระสุนหลายชนิดผสมกัน
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๕๔

(๕) สามารถยิงนิวเคลียร์และเคมี - ชีวะ


(๖) สามารถส่องสว่างสนามรบ
(๗) สามารถทำการยิงสนับสนุนอย่างต่อเนื่องด้วยวิธีการเปลี่ยนที่ตั้ง
อย่างเหมาะสม
(๘) สามารถเคลื่อนที่ได้เท่ากับหน่วยรับการสนับสนุน
(๙) สามารถทำการยิงต่อต้านปืนใหญ่ข้าศึกและยิงข่มต่ออาวุธที่ขดั ขวาง
ความสำเร็จในการบรรลุภารกิจได้อย่างรวดเร็ว (เมื่อเปรียบเทียบกับระบบอาวุธยิงสนับสนุนอื่น ๆ)
๑.๒.๔.๒ ขีดจำกัด
(๑) มีประสิทธิภาพในการป้องกันตนเองจำกัดต่อการโจมตีทางพื้นดิน
และทางอากาศ
(๒) ขี ด ความสามารถในการทำลายเป้ า หมายเป็ น จุ ด มี จ ำกั ด หาก
ปราศจากกระสุนที่ออกแบบมาโดยเฉพาะ
(๓) การยิงปืนใหญ่สร้างจุดอ่อนที่จะถูกตรวจจับจากเครื่องมือค้นหา
เป้าหมายของฝ่ายตรงข้าม
(๔) ประสิทธิภาพในการโจมตีเป้าหมายเคลื่อนที่จำกัด
(๕) การยิงที่ไม่มีการตรวจการณ์ได้ผลน้อยในภูมิประเทศที่เป็นภูเขา
(๖) เคลื่อนที่ยากในภูมิประเทศทุรกันดาร
(๗) เกณฑ์การสิ้นเปลืองในการใช้กระสุนสูง
(๘) การตอบสนองการยิงให้แก่หน่วยรับการสนับสนุนจำกัดด้วยจำนวน
หน่วยยิง
๑.๓ ปืนใหญ่ต่อสู้อาศยาน
ทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานถูกจัดอยู่ในส่วนสนับสนุนการรบของกองทัพบก โดยมีหน่วย
บัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ (นปอ.) เป็นหน่วยรับผิดชอบหลัก ขึ้นตรงต่อกองทัพบก มีผู้บัญชาการหน่วย
บัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ (ผบ.นปอ.) เป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด และเป็นตัวแทนกองทัพบกในก าร
ป้องกันภัยทางอากาศร่วมกับกองทัพอากาศ มีโครงสร้างการจัด ดังนี้
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๕๕

๑.๓.๑ หน่วยทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน แบ่งออกเป็น ๒ ชนิด ได้แก่ หน่วยในระบบ


ควบคุมและแจ้งเตือนภัย และหน่วยในระบบอาวุธ
๑.๓.๑.๑ หน่วยในระบบควบคุมและแจ้งเตือนภัย
(๑) ศูนย์ต่อสู้ป้องกันภัยทางอากาศกองทัพบก (ศปภอ.ทบ.) มีภารกิจ
ในการบังคับบัญชา วางแผน อำนวยการ ประสานงาน ควบคุมกำกับการต่อสู้ ปภอ.ให้กับ ทบ.แจ้งเตือนการ
เคลื่อนไหวของอากาศยานในเขตประเทศไทยและประเทศข้างเคียงให้กับ ศปภอ.ทบ.ประจำพื้นที่ตลอดเวลา
ควบคุมการใช้อาวุธต่อสู้อากาศยานในพื้นที่ส่วนหลังโดยมีการจัดตามแผนผัง

ขีดความสามารถ
- ควบคุมบังคับบัญชา ศปภอ.ทบ.ประจำพื้นที่ ได้ ๔ ศูนย์
- ปฏิบัต ิหน้าที่กองอำนวยการสำรองให้กับกองอำนวยการต่อสู้
ป้องกันภัยทางอากาศได้
- แจ้งเตือนภัยทางอากาศให้กับหน่วยต่าง ๆ และส่วนราชการอื่นอยู่
ในระบบ ปภอ.ตามความจำเป็น
- ควบคุ ม ทางยุ ท ธการต่ อหน่ วย ปตอ.ในภารกิจ ป้ องกั นภั ยทาง
อากาศในพื้นที่ส่วนหลัง
- ประสานการใช้อาวุธที่นอกเหนือจากอาวุธ ปตอ. ซึ่งนำมาใช้ใน
บทบาท ปภอ.ของ ทบ.
- ดำรงการติดต่อสื่อสารกับหน่วยเหนือ หน่วยรอง หน่วยข้างเคียง
และส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้องได้อย่างต่อเนื่องตลอดเวลา
- ให้คำแนะนำ และกำหนดมาตรการในการป้องกันภัยทางอากาศ
- ส่วนปฏิบัติการสามารถปฏิบัติภารกิจได้ตลอด ๒๔ ชม.
- ดำเนินการทางธุรการ การเลี้ยงดู การส่งกำลัง การขนส่ง และการ
รปภ. ให้แก่ บก. และ ร้อย.บก.
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๕๖

(๒) ศูนย์ต่อสู้ป้องกันภัยทางอากาศประจำพื้นที่ (ศปภอ.ทบ.พท.) มี


ภารกิจ อำนวยการ ควบคุม และประสาน การปฏิบัติการทางยุทธวิธี เกี่ยวกับการป้องกันภัยทางอากาศของ
หน่วย ปตอ.และหน่วยต่าง ๆ ในพื้นที่รับผิดชอบ โดยกระจายตามแต่ละกองทัพภาค มีการจัดตามแผนผัง

ขีดความสามารถ
- การปฏิบัติภารกิจต้องได้รบั การสนับสนุนที่จำเป็นจากหน่วยรับการ
สมทบหรือบรรจุมอบ
- อำนวยการ และ ควบคุมทางยุทธการเรื่องการป้องกันภัยทาง
อากาศเชิงรุกต่อหน่วย ปตอ.และ หน่วยต่าง ๆ ในพื้นที่
- ประสานงานเกี่ยวกับข่าวสาร/ข่า วกรองกับหน่วยต่าง ๆ ในระบบ
ป้องกันภัยทางอากาศ
- แจ้งเตือนภัยทางอากาศให้กับหน่วยต่าง ๆ ในระบบการ ปภอ. ใน
พื้นที่รับผิดชอบ
- สามารถแยกกำลังพล และยุทโธปกรณ์เพื่อจัดตั้งศูนย์ต่อสู้ป้องกัน
ภัยทางอากาศได้อีกหนึ่งศูนย์เมื่อจำเป็น
(๓) ศูนย์ต่อสูป้ ้องกันภัยทางอากาศ พัน.ปตอ. (ศปภอ.พัน.ปตอ.) มีภารกิจ
วางแผน อำนวยการ ควบคุมการใช้อาวุธของหน่วยในการ ปภอ. ในพื้นที่รับผิดชอบ ประสานการปฏิบัติในการ
ป้องกันภัยทางอากาศกับ ศปภอ.ทบ.ประจำพื้นที่ ดำเนินการประสานงานในข่ายแจ้งเตือนภัยเนิ่นกับ ศปภอ.ทบ.
ประจำพื้นที่ และหน่วยที่เกี่ยวข้อง ประสานงานในข่ายแจ้งเตือนภัยของหน่วยในระดับกองทัพ และปฏิบัติ
หน้าที่อื่นที่ได้รับมอบ ซึ่ง ศปภอ.นี้ จะจัดตั้งในระดับกองพัน ปตอ.ทุกกองพัน รายละเอียดตามแผนภาพ
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๕๗

๑.๓.๑.๒ หน่วยในระบบอาวุธ
(๑) กองพลทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน (พล.ปตอ.) มีภารกิจในการ
วางแผน อำนวยการ ควบคุม กำกับดูแล การต่อสู้ป้องกันภัยทางอากาศต่อที่ตั้งต่าง ๆ ให้เป็นไปตามที่
กองทัพบกกำหนด มีการจัดตามแผนผัง

(๒) กองพันทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน (พัน.ปตอ.)


(๒.๑) กองพันทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน ขนาด ๔๐ มม. (อจย.
๔๔ - ๗๕ และ ๔๔ - ๘๕) (ปตอ.พัน.๑, ๒, ๓ และ ๔)
ภารกิจ ในการป้องกันภัยทางอากาศเฉพาะตำบลต่อที่ตั้งที่
ได้รับมอบและปฏิบัติการยิงต่อเครื่องบินที่โจมตีระดับต่ำ และทำการยิงต่อยานยนต์ และที่หมายอื่นบนภาคพื้น
การแบ่งมอบ เป็นหน่วยในอัตราของกรมทหารปืนใหญ่ของ
กองพลอาจ ปฏิบัติงานเป็นหน่วยอิสระ หรือ สมทบให้กับหน่วยทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานอื่น ๆ ก็ได้
การจัดกองพัน ปตอ.ขนาด ๔๐ มม.(อจย.๔๔ - ๗๕, ๔๔ - ๘๕)
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๕๘

(๒.๒) ปตอ.พัน.๕ (ควบคุมการยิงด้วยอิเล็กทรอนิกส์)(อจย.๔๔ - ๖๕)


ภารกิจ ให้การป้องกันภัยทางอากาศเฉพาะตำบลต่อที่ตั้ง
สำคัญซึ่งได้รับมอบ อาจป้องกันภัยทางอากาศให้กับหน่วยรบในแนวหน้า และทำการยิงเป้าหมายทางพื้นดิน
การแบ่งมอบ เป็นหน่วยของกองทัพบก อาจแบ่งมอบให้
หน่วยรองตามความเหมาะสม
การจัด

(๒.๓) ปตอ.พัน.๖ (ควบคุมการยิงด้วยอิเล็กทรอนิกส์)(อจย.๔๔ – ๖๕)


ภารกิจ ให้การป้องกันภัยทางอากาศเฉพาะตำบลต่อที่ตั้ง
สำคัญ ซึ่งได้รับมอบอาจป้องกันภัยทางอากาศ ให้กับหน่วยรบในแนวหน้า และทำการยิงเป้าหมายทางพื้นดิน
การแบ่ ง มอบ เป็ น หน่ ว ยของกองทั พ บกอาจแบ่ ง มอบให้
หน่วยรองตามความเหมาะสม
การจัด

(๒.๔) ปตอ.พัน ๗ เป็นหน่วยจัดตั้งใหม่โดยการรวม ร้อย.ปตอ.อต.๑


และ ร้อย.ปตอ.อต.๒ สำหรับอาวุธในกองพันจะประกอบด้วยอาวุธของทั้ง ๒ กองร้อย เหมือนเดิมทุกประการ
(๒.๔.๑) กองร้อยทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานอาวุธนำวิถี
ระดับต่ำที่ ๑ ( อจย. ๔๔ - ๑๖๗ )
ภารกิจ ทำการต่อสู้ป้องกันภัยทางอากาศ ให้กับ
หน่วยปฏิบัติการทางยุทธวิธที ี่ตั้งสำคัญต่าง ๆ และขบวนเดินโดยทำการยิงต่อสู้อากาศยานข้าศึกที่บินระดับต่ำ
การแบ่งมอบเป็นหน่วยของ ทบ. ซึ่งอาจแบ่งมอบ
ให้หน่วยรองได้ตามความเหมาะสม
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๕๙

การจัด

๑.๓.๒ ภารกิจมาตรฐานของทหารปืนใหญ่ต่อสูอ้ ากาศยาน


ช่วยส่วนรวม–เพิ่มเติม
งาน ช่วยส่วนรวม เพิ่มเติมกำลังยิง ช่วยโดยตรง
กำลังยิง
ผู้กำหนด ผบ.หน่วยกำลังรบ ๑. ผบ.หน่วยกำลังรบ ผบ.หน่วยรับการสนับ ผบ.หน่วยรับการ
ความเร่งด่วน ๒. ผบ.หน่วยรับการ สนุนผ่าน ผบ.หน่วย ปตอ. สนับสนุน
ในการ ปภอ. สนับสนุนผ่าน ผบ.หน่วย รับการเพิ่มเติมกำลังยิง
ปตอ.รับการเพิ่มเติม
ผู้กำหนดที่ตั้ง ผบ.ช.ที่มอบภารกิจ ผบ.ช.ที่มอบภารกิจโดย ผบ.หน่วย ปตอ.รับการ ผบ.หน่วย ปตอ.ชต.
หน่วย ปตอ. โดยประสานกับ ผบ. ประสานกับ ผบ.หน่วย เพิ่มเติมกำลังยิงโดย โดยได้รบั อนุมัติจาก
หน่วยพื้นดินที่รบั การ พื้นดินทีร่ ับการสนับสนุน ประสานกับ ผบ.หน่วย ผบหน่วยพื้นดิน
สนับสนุน พื้นดินทีร่ ับการสนับสนุน เจ้าของพืน้ ที่
ผู้กำหนดที่ตั้ง ผบ.หน่วยยิง โดย ผบ.หน่วยยิง โดยประสาน ผบ.หน่วยยิง โดยไต้รับ ผน.หน่วยยิง โดย
หน่วยยิง ประสานกับ ผบ.หน่วย กับ ผบ.หน่วย ปตอ.รับ อนุมตั ิจากหน่วย ปตอ.รับ ได้รบั อนุมัติจาก
ปตอ. พื้นดินเจ้าของพื้นที่ การ พย.และ ผบ.หน่วย การ พย.และผบ.หน่วย ผบ.หน่วยพื้นติน
พื้นดินเจ้าของพื้นที่ พื้นดินเจ้าของพื้นที่ เจ้าของพืน้ ที่
จัดการติดต่อ หน่วยรับการสนับสนุน หน่วย ปตอ.รับการ พย. หน่วย ปตอ.รับการ พย. หน่วยรับการ
กับหน่วยใด ตามความจำเป็น และจัดตามความจำเป็น และจัดตามความจำเป็น สนับสนุน
จัดการสื่อสาร หน่วยรับการสนับสนุน หน่วย ปตอ.รับการ พย. หน่วย ปตอ.รับการ พย. หน่วยรับการ
กับหน่วยใด ตามความจำเป็น และจัดตามความจำเป็น และจัดตามความจำเป็น สนับสนุน
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๖๐

๑.๓.๓ ขีดความสามารถ หลักพื้นฐานทางยุทธวิธี ปตอ.


- ป้องกันภัยทางอากาศเฉพาะตำบลต่อที่ตั้งต่าง ๆ ที่ได้รับมอบโดยปฏิบัติการยิง
อากาศยานในระดับต่ำ
- ทำการยิงเป้าหมายทางผิวพื้นได้
- มีความคล่องแคล่วในการเคลื่อนที่ในภูมิประเทศ สามารถเคลื่อนที่ติดตามกองพลได้
๒. หลักนิยมทางยุทธวิธขี องหน่วยในปัจจุบัน
๒.๑ หลักการในการรบด้วยวิธีรกุ
- มองให้เห็นภาพสนามรบ
- รวมอำนาจกำลังรบให้เหนือกว่า
- ข่มหรือกดอาวุธยิงของข้าศึก
- ทำลายขวัญ ปฏิบัตกิ ารอย่างห้าวหาญ รุนแรง และทำลายข้าศึกให้ได้
- โจมตีสว่ นหลัง หรือเข้าตีถงึ หลังข้าศึก
- สนับสนุนการรบอย่างคล่องแคล่วต่อเนือ่ ง
๒.๒ หลักการในการรบด้วยวิธีรับ
- ทำลายรูปขบวน หน่วงเวลา และทำให้ข้าศึกอ่อนกำลังลงก่อนการเข้าตี
- ยิงโจมตีข้าศึกในขณะเข้าตี เพื่อทำลายระบบป้องกันภัยทางอากาศ และการลาดตระเวน
ของข้าศึก
- ทำให้ข้าศึกช้าลง ทำให้รถถังข้าศึกต้องปิดป้อม และยิงข่มอาวุธเล็งตรงของข้าศึก
- ยิงต่อต้านด้วยการยิงข่มหรือตัดรอนกำลังต่ออาวุธยิงเล็งจำลองข้าศึก
- รวมอำนาจการยิงต่อส่วนเข้าตีในพืน้ ที่การรบหลัก
- ยิงเลยพื้นทีก่ ารรบหลักออกไปเพื่อทำให้กำลังระลอกทีส่ องของข้าศึกอ่อนกำลังลง
๒.๓ หลักการในการสนับสนุนการรบหน่วงเวลาและการถอนตัว
ปืนใหญ่สนามสนับสนุนการรบหน่วงเวลา และการถอนตัวนั้นมีข้อพิจารณาเช่นเดียวกับ
การสนับสนุน การตั้งรับเชิงรุก และใช้ข้อพิจารณาเพิ่มเติมต่อไปนี้คือ
๒.๓.๑ ที่ตั้งยิงและการเปลี่ยนที่ตงั้ ยิงในการสนับสนุนการปฏิบัตกิ ารรบหน่วงเวลา และการ
ถอนตัวนั้น หน่วยปืนใหญ่ควรเลือกที่ตั้งยิงในทางลึกและเปลี่ยนที่ตั้งยิงเป็นกองร้อย หรือเป็นส่วนๆ เพื่อให้มี
กำลังยิงสนับสนุนอย่างต่อเนื่องจำนวนมากอยู่ตลอดเวลา ปืนใหญ่สนามสนับสนุนหน่วยกำลังรบหน่วงเวลา
จะต้องเปลี่ยนที่ตั้งยิงตามความจำเป็นในการยิงสนับสนุน ในการถอนตัวนั้น ปกติหน่วยปืนใหญ่ช่วยส่วนรวม
จะถอนตัวแต่เนิ่นก่อนหน่วยดำเนินกลยุทธ์ ส่วน พัน.ป.ช่วยโดยตรงกับเพิ่มเติมกำลังยิง จะถอนตัวพร้อมกับ
หน่วยรับการสนับสนุน ทั้งนี้ ขณะหน่วยดำเนินกลยุทธ์เปลี่ยนที่ตั้งนั้น จะต้องมีหน่วย ป.อยู่ในที่ตั้งยิงที่
สามารถยิงสนับสนุนหน่วยที่ยังติดพันกับข้าศึกอยู่ด้วย
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๖๑

๒.๓.๒ งานแผนที่ งานแผนที ่ไม่ ควรมี ปั ญหาในระหว่ างการร่นถอย เพราะหน่ว ยจะ


ปฏิบัติงานอยู่ในพื้นที่ที่เคยปฏิบัติงานมาแล้ว ซึ่งอาจมีหลักฐานการควบคุมทางแผนที่อยู่ อาจจำเป็นเพียงการ
ขยายงานแผนที่เล็ก ๆ น้อย ๆ ตามความจำเป็นและตามเวลาที่มีอยู่เท่านั้น
๒.๓.๓ การสนับสนุนทางการช่วยรบ ปัญหาเกี่ยวกับการส่งกำลังเพิ่มเติม อาจเป็นปัญหาที่
ยุ่งยากมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับกระสุนและน้ำมัน อาจต้องนำกระสุนมาจากตำบลจ่ายกระสุนในพื้นที่
ข้างหลังมาวางเรียงรายไว้ไปข้างหน้า แต่ก็อาจจะจัดกระสุนสำรองไว้ให้ในที่ตั้งยิงที่เตรียมไว้ แต่ถ้ามีการ
คุกคามจากการเจาะในทางลึกของข้าศึกแล้วก็ไม่ควรกระทำ ถ้าระยะทางห่างมากและไม่มีข่ายถนนเพียงพอ
ก็ควรจัดตั้งตำบลจ่ายกระสุนเคลื่อนที่ขึ้ น หน่วยปืนใหญ่สนามจะเคลื่อนที่บ่อย และต้องการน้ ำมันมากขึ้น
ผู้วางแผนจะต้องคำนึงถึงเรื่องนี้ไว้เสมอ และจะต้องร้องขอรถบรรทุกน้ ำมันและการสนับสนุนน้ำมันเพิ่มเติม
ตามความจำเป็น การรุกของข้าศึกอาจทำให้จำเป็นต้องละทิ้ง บรรดายุทโธปกรณ์ที่ช ำรุด จะต้องมีการฝึก
ให้บรรดาเจ้าหน้าที่รู้วิธีทำลายยุทโธปกรณ์ในที่ตั้ง เมื่อไม่สามารถนำกลับมาได้
๒.๔ ข้ อ พิ จ ารณาการใช้ ข้ อ พิ จ ารณาที ่ ส ำคั ญ ที ่ ใ ช้ก ั บ ขั ้ นตอนต่ า ง ๆ ของทหารปื น ใหญ่
โดยเฉพาะมีดังต่อไปนี้
๒.๔.๑ ปืนใหญ่กองพลจะต้องจัดให้มีการยิงสนับสนุน แก่หน่วยดำเนินกลยุทธ์อย่างใกล้ชิด
และต่อเนื่องอยู่เสมอ และทำการยิงปืนใหญ่ข้าศึก, ทำการยิงปืนใหญ่ป้องกันภัยทางอากาศข้าศึก , ทำการยิง
รบกวนและขัดขวาง ตลอดทั้งโปรแกรมการยิงอื่น ๆ ที่ต้องการเพื่อสนับสนุนหน่วยกำลังรบที่ดำเนินกลยุทธ์
๒.๔.๒ ปืนใหญ่กองทัพน้อยทำการเพิ่มความลึกในการรบเพิ่มเติมการยิงสนับสนุนให้กับ
ปืนใหญ่กองพลและทำการยิงปืนใหญ่ข้าศึกเป็นกลุ่มก้อนภายใต้การควบคุมของกองทัพน้อยในการสนับสนุน
การยุทธ์นั้น ๆ
๒.๔.๓ ปืนใหญ่กองทัพทำการเพิ่มความลึกในการรบ เพิ่มเติมการยิงสนับสนุนของปืนใหญ่
ทีด่ ำเนินการโดยปืนใหญ่กองทัพน้อย ภายใต้การควบคุมของกองทัพในการสนับสนุนการยุทธ์นั้น ๆ
๒.๔.๓.๑ กองพันทหารปืนใหญ่ประเภทลำกล้องของกองทัพนั้น โดยปกติจะจัด
สมทบให้กับกองทัพน้อย และกองทัพน้อยจะจัดสมทบให้กับกรมทหารปืนใหญ่หรือกองพลต่อไปอีก
๒.๔.๓.๒ กองพันทหารปืนใหญ่ขีปนาวุธระยะยิงใกล้ของกองทัพโดยปกติจะจัด
สมทบให้กับกองทัพน้อยและ อาจจัดกองพันดังกล่าวขึ้นสมทบให้กับกรมทหารปืนใหญ่หรือกองพลต่อไปอีก
๒.๔.๓.๓ ส่วนหน่วยขีปนาวุธระยะยิงไกลของกองทัพนั้นตามปกติจะยังคงอยู่
ภายใต้การควบคุมของปืนใหญ่กองทัพ
๒.๕ การจัด กำลังเข้ า ทำการบหรือการแบ่งมอบ จำแนกเป็ นหน่วยดำเนินกลยุทธ์ หน่ว ย
สนับสนุนการรบ หน่วยสนับสนนุกำรช่วยรบ ดังนี้
๒.๕.๑ หลักการจัดหน่วย ป.ทำการรบ
๒.๕.๑.๑ ให้การสนับสนุนอย่างเพียงพอแก่หน่วยดำเนินกลยุทธ์
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๖๒

- ปกติแล้วการให้กองพันทหารปืนใหญ่สนาม ๑ กองพัน ป.ชต. ต่อ ๑


กรมดำเนินกลยุทธ์
๒.๕.๑.๒ วางน้ำหนักการยิงให้กับด้านเข้าตีหลัก ในการรบด้วยวิธีรุก หรือเพิ่มเติม
กำลังยิงให้กับพื้นที่ล่อแหลมในการรบด้วยวิธีรับ :
- มอบภารกิจ พย., ชร.- พย.ด้านที่ต้องการเพิ่มอำนาจการยิง
- กำหนดที่ตั้งยิง/มอบทิศทางยิง เพื่อพุ่งความสนใจพื้นที่ที่ต้องการ
- มอบจำนวนกระสุนให้มากในด้านที่ต้องการอำนาจการยิงสนับสนุน
๒.๕.๑.๓ เกื้อกูลแก่การปฏิบัติในอนาคต
- ช่วยให้การปฏิบัติในอนาคตเป็นผลสำเร็จ
- ทำให้การปฏิบัต ิจากขั้นตอนหนึ่งถึงอีกขั้นตอนหนึ่งของการยุทธ์
เป็นไปโดยราบรื่น
๒.๕.๑.๔ ให้มี ป. สนับสนุนได้ทันที เพื่อบังคับวิถีการรบ
- มอบภารกิจ ชร.หรือ ชร. - พย.ให้แก่หน่วย ป.สนาม เพื่อตอบสนอง
ความต้องการทางการยิงสนับสนุนของ ผบ.หน่วยกำลังรบโดยตรง
๒.๕.๑.๕ ควบคุมแบบรวมการไว้ให้มากที่สุด ขนาดของการควบคุมแบบรวมการ
เปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์
- การรบวิธีรุก ขีดขนาดของการควบคุมแบบรวมต่ ำ เพราะฝ่ายเราเป็น
ฝ่ายริเริ่ม ผบ.ป.สนามหน่วยรอง จะได้รับเสรีในการใช้ปืนใหญ่สนามของตนเพื่อสนับสนุนหน่วยในแนวหน้า
เพื่อความหนุนเนื่องในการปฏิบัติ กระทำได้โดยจัดหน่วย ป.ชต.และ พย. ไว้ให้มากกว่า ป.ชร.และ ชร. - พย.
๒.๕.๒ หลักการจัดหน่วย ปตอ.ทำการรบ
๒.๕.๒.๑ ใช้อาวุธเป็นกลุ่มก้อน (MASS) คือ การรวมอำนาจกำลังของ ปตอ.เข้า
ด้วยกัน ซึ่งกระทำโดยการแบ่งมอบหน่วยยิง ปตอ.ให้เพียงพอที่จะ “ทำการป้องกันได้อย่างสัมฤทธิ์ผล”
๒.๕.๒.๒ ใช้อาวุธผสมกัน (MIX) การใช้ระบบอาวุธ ปตอ.แบบต่าง ๆ ร่วมกันอย่าง
เหมาะสม เพื่อให้ขีดความสามารถของระบบหนึ่งชดเชยขีดจำกัดของอีกระบบหนึ่งได้
๒.๕.๒.๓ ความสามารถในการเคลื่อนที่ (MOBILITY) ขีด ความสามารถในการ
เคลื่อนย้ายจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง หน่วย ปตอ.ที่สนับสนุนหน่วยกำลังรบควรมีขีดความสามารถในการ
เคลื่อนที่เท่ากับหรือสูงกว่าหน่วยรับการสนับสนุนนั้น
๒.๕.๒.๔ การทำงานเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน (INTEGRATION) การประสานพลัง
อย่างใกล้ชิดและมีเอกภาพในการปฏิบัติงานซึ่งทำให้เกิดประสิทธิผลในการใช้ระบบป้องกันภัยทางอากาศ
แต่ละระบบสูงสุด
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๖๓

๒.๕.๓ การจัดหน่วย ปตอ.สนับสนุนการป้องกันภัยทางอากาศ


- พล.ปตอ. ต่อ กองทัพบก
- กรม ปตอ. ต่อ กองทัพภาค
- พัน.ปตอ. ต่อ กองพลดำเนินกลยุทธ์
- ร้อย.ปตอ. ต่อ กรมดำเนินกลยุทธ์
- มว.ปตอ. ต่อ กองพันดำเนินกลยุทธ์
๒.๖ สรรพตำราที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
๒.๖.๑ รส.๖ – ๒ การแผนที่ทหารปืนใหญ่ พ.ศ.๒๕๔๒
๒.๖.๒ รส.๖ – ๑๕ อุตุนิยมวิทยาของทหารปืนใหญ่สนาม พ.ศ. ๒๕๔๘
๒.๖.๓ รส.๖ - ๒๐ การยิงสนับสนุนในการรบอากาศ-พื้นดิน พ.ศ. ๒๕๕๑
๒.๖.๔ รส.๖ - ๒๐ - ๑ คู่มือราชการสนาม ว่าด้วย กองพันทหารปืนใหญ่สนามลำกล้อง
พ.ศ. ๒๕๓๑
๒.๖.๕ รส.๖ – ๒๐ – ๒ เทคนิคทหารปืนใหญ่ พ.ศ. ๒๕๔๕
๒.๖.๖ รส.๖ – ๒๐ – ๓๐ ยุทธวิธี เทคนิค และกรรมวิธีในการยิงสนับสนุน สำหรับกองทัพ
น้อย และกองพลในการปฏิบัติการยุทธ์ พ.ศ. ๒๕๔๕
๒.๖.๗ รส.๖ – ๒๐ – ๕๐ ยุทธวิธี เทคนิค และกรรมวิธีในการยิงสนับสนุน สำหรับกรม
ปฏิบัติการยุทธ์ พ.ศ. ๒๕๔๕
๒.๖.๘ รส.๖ – ๓๐ ผู้ตรวจการณ์หน้าทหารปืนใหญ่ พ.ศ. ๒๕๓๐
๒.๖.๙ รส.๖ – ๔๐ การอำนวยการยิงปืนใหญ่สนาม พ.ศ. ๒๕๓๗
๒.๖.๑๐ รส.๖ – ๕๐ กองร้อยปืนใหญ่สนาม พ.ศ. ๒๕๓๕
๒.๖.๑๑ รส.๖ – ๖๐ หลักนิยมจรวดหลายลำกล้อง พ.ศ. ๒๕๖๐
๒.๖.๑๒ รส.๖ – ๗๑ ยุทธวิธี เทคนิค และกระบวนการยิงสนับสนุน สำหรับผู้บังคับหน่วย
ผสมเหล่า พ.ศ. ๒๕๕๒
๒.๖.๑๓ รส.๖ – ๑๐๐ คู่มือราชการสนาม ว่าด้วย หลักนิยมทหารปืนใหญ่ พ.ศ.๒๕๔๑
๒.๖.๑๔ รส.๖ – ๑๐๐ – ๑ หลักนิยมการรบของกองพลทหารปืนใหญ่ พ.ศ. ๒๕๕๓
๒.๖.๑๕ รส.๖ – ๑๒๑ การค้นหาเป้าหมายของทหารปืนใหญ่สนาม พ.ศ. ๒๕๕๘
๒.๖.๑๖ รส.๔๔ – ๑ การใช้ปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน พ.ศ. ๒๕๓๔
๒.๖.๑๗ รส.๔๔ – ๔๔ การปฏิบัติการรบของหมู่ ตอน หมวดปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน พ.ศ.
๒๕๕๑
๒.๖.๑๘ รส.๔๔ – ๑๐๐ การปฏิบัติการป้องกันภัยทางอากาศ พ.ศ. ๒๕๕๑
๒.๖.๑๙ รส.๔๔ – ๑๐๐ – ๑ หลักนิยมในการป้องกันภัยทางอากาศ พ.ศ. ๒๕๕๔
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๖๔

๒.๖.๒๐ รส.๔๔ – ๒๐๐ แนวทางการปฏิบัติงานของหน่วยในระบบควบคุมและแจ้งเตือน


พ.ศ. ๒๕๔๕
๒.๖.๒๑ รส.๓ – ๐๑ – ๘๐ การจดจำอากาศยานด้วยสายตา พ.ศ. ๒๕๕๙
๒.๖.๒๒ รส.๓ - ๐๙.๒๒ การปฏิบัติการของหน่วยทหารปืนใหญ่ระดับกรม และกองพล
พ.ศ. ๒๕๕๕
๒.๖.๒๓ ค.๖ - ๒ การยิงสนับสนุน พ.ศ. ๒๕๓๖
๒.๖.๒๔ ค.๖ – ๒ – ๒ ระบบเครื่องมือทำงานแผนที่อัตโนมัติ พ.ศ. ๒๕๕๑
๒.๖.๒๕ ค.๖ – ๑๐๐ ระบบทหารปืนใหญ่สนามและการรบผสมเหล่า พ.ศ. ๒๕๓๖
๒.๖.๒๖ ค.๔๔ – ๑ การใช้ปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน ขนาด ๔๐ มม. แอล ๗๐ พ.ศ. ๒๕๔๖
๒.๖.๒๗ ค.๔๔ - ๒๐๐ เรดาร์แจ้งเตือนภัยทางอากาศระดับต่ำ DR-172 ADV พ.ศ. ๒๕๔๖
๒.๖.๒๘ คฝ.๖ – ๔ การฝึกพลประจำปืน ปกค. แบบ ๒๕ ขนาด ๑๕๕ มม. เอ็ม ๑๙๘
พ.ศ. ๒๕๓๗
๒.๖.๒๙ คฝ.๖ – ๙ การฝึกพลประจำปืน ปกค. แบบ ๓๗ ขนาด ๑๕๕ มม. อจ. เอ็ม ๑๐๙ เอ ๕
พ.ศ. ๒๕๔๘
๒.๖.๓๐ คฝ.๖ – ๑๐ การฝึกพลประจำปืน ปนร. แบบ ๓๔ ขนาด ๑๕๕ มม. จีเอชเอ็น ๔๕ เอ ๑
พ.ศ. ๒๕๔๘
๒.๖.๓๑ คฝ.๖ – ๑๑ การฝึกพลประจำปืน ปบค. แบบ ๓๙ ขนาด ๑๐๕ มม. แอลจี ๑ เอ็มเค ๒
พ.ศ. ๒๕๔๘
๒.๖.๓๒ คฝ.๖ – ๑๒ การฝึกพลประจำปืน รถสายพาน จลก.๓๑ ขนาด ๑๓๐ มม. อจ.
พ.ศ. ๒๕๔๘
๒.๖.๓๓ คฝ.๖ – ๑๓ การฝึกพลประจำปืน ปบค. แบบ ๒๙ ขนาด ๑๐๕ มม. เอ็ม ๕๖
พ.ศ. ๒๕๔๘
๒.๖.๓๔ คฝ.๔๔ – ๘ การฝึกพลประจำปืน ปตอ. ขนาด ๒๐ มม. (วัลแคน) พ.ศ. ๒๕๓๗
๒.๖.๓๕ คฝ.๔๔ – ๙ การฝึกพลประจำปืน ปตอ. ขนาด ๑๒.๗ มม. พ.ศ. ๒๕๓๘
๒.๖.๓๖ คฝ.๔๔ – ๑๑ การฝึกพลประจำเครื่องควบคุม การยิงด้วยเรดาร์ฟลายแคชเชอร์
พ.ศ. ๒๕๔๑
๒.๖.๓๗ คฝป.๖ - ๑๐๐ การฝึกและประเมินผลการฝึกกองร้อยปืนใหญ่สนามลำกล้อง
พ.ศ. ๒๕๓๓
๒.๖.๓๘ คฝป.๖ - ๔๐๐ การฝึกและประเมินผลการฝึกกองพันทหารปืนใหญ่สนามลำกล้อง
พ.ศ. ๒๕๓๓
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๖๕

๒.๖.๓๙ คฝป.๔๔ - ๑๐๐ การฝึ ก และประเมิ น ผลการฝึ ก กองร้ อ ยทหารปื น ใหญ่


ต่อสู้อากาศยาน พ.ศ. ๒๕๕๑
๒.๖.๔๐ คฝป.๔๔ - ๔๑๐ การฝึกและประเมินผลการฝึกกองร้อยและกองพันทหารปืนใหญ่
ต่อสู้อากาศยาน พ.ศ. ๒๕๓๑
๒.๖.๔๑ คฝป.๔๔ – ๒๐๐ การฝึก ศปภอ.ทบ. ประจำพื้นที่ พ.ศ. ๒๕๔๓
๒.๗ สรรพตำราซึ่งกำลังอยู่ในกระบวนกำรที่จะนำมาใช้
๒.๗.๑ การปฏิบัติป้องกันภัยทางอากาศ พ.ศ. ๒๕๕๔
๒.๗.๒ การตรวจสภาพความพร้อมรบของหน่วยต่อสู้ป้องกันภัยทางอากาศกองทัพบก
พ.ศ. ๒๕๕๔
๒.๗.๓ การฝึกปฏิบัติงานในศูนย์ปฏิบัติการทางยุทธวิธีกรมทหารปืนใหญ่ เกี่ยวกับการยิง
ต่อต้าน ป./ค. ฉับพลันของเหล่าทหารปืนใหญ่ พ.ศ.๒๕๕๕
๒.๗.๔ การปฏิบัติการของหน่วยทหารปืนใหญ่ระดับกรมและกองพล พ.ศ. ๒๕๕๖
๒.๗.๕ การสนธิระบบการป้องกันภัยทางอากาศร่วม พ.ศ. ๒๕๕๖
๒.๗.๖ การปฏิบัติการป้องกันภัยทางอากาศของหน่วยระดับกรม พ.ศ. ๒๕๕๗
๒.๗.๗ การวางแผนการยิงสนับสนุนสำหรับกรมดำเนินกลยุทธ์และต่ำกว่า พ.ศ. ๒๕๖๑
๒.๗.๘ ยุทธวิธี เทคนิค และการปฏิบัติสำหรับการยิงสนับสนุนในหน่วยระดับกองพันและ
ต่ำกว่า พ.ศ. ๒๕๖๑
๒.๗.๙ การดำเนินกรรมวิธีต่อเป้าหมาย พ.ศ. ๒๕๖๑
๒.๗.๑๐ หลักนิยมการใช้อากาศยานไร้นักบินในภารกิจของทหารปืนใหญ่ พ.ศ. ๒๕๖๒
๒.๗.๑๑ หลักยิงปืนใหญ่สนาม พ.ศ. ๒๕๖๒
๒.๗.๑๒ การฝึกพลประจำอาวุธนำวิถีต่อสู้อากาศยานระดับต่ำแบบแล่นไต่ลำนำวิถีด้วย
เลเซอร์ STARSTREAK พ.ศ. ๒๕๖๒
๒.๗.๑๓ การฝึกพลประจำอาวุธนำวิธีต่อสู้อากาศยานระดับต่ำชนิดประทับไหล่ยิง IGLA-S
พ.ศ. ๒๕๖๒
๒.๗.๑๔ การฝึกพลประจำปืน ปบค. แบบ ๕๔ ขนาด ๑๐๕ มม. LG1 MKI พ.ศ. ๒๕๖๒
๒.๗.๑๕ การฝึกพลประจำปืน ปนร. แบบ ๕๒ ขนาด ๑๕๕ มม. พ.ศ. ๒๕๖๓
๒.๗.๑๖ การฝึกพลประจำจรวดหลายลำกล้อง แบบ ๕๖ ขนาด ๑๒๒ มม. พ.ศ. ๒๕๖๓
๒.๗.๑๗ การฝึกพลประจำจรวดหลายลำกล้อง แบบ ๓๑ อัตราจร พ.ศ. ๒๕๖๓
๒.๗.๑๘ การฝึกพลประจำปืน ปบค. แบบ ๔๙ ขนาด ๑๐๕ มม. M119 พ.ศ. ๒๕๖๓
๒.๗.๑๙ การแสวงข้อตกลงใจและการจัดทำแผนการสนับสนุน พ.ศ. ๒๕๖๓
๒.๗.๒๐ การยิงสนับสนุนสำหรับกรมชุดรบ พ.ศ. ๒๕๖๓
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๖๖

๒.๗.๒๑ การอ่านแผนที่และการนำทางในภูมิประเทศ พ.ศ. ๒๕๖๓


๒.๗.๒๒ การปฏิบัติการของทหารปืนใหญ่สนามและการยิงสนับสนุน พ.ศ. ๒๕๖๓
๒.๗.๒๓ การควบคุมห้วงอากาศ พ.ศ. ๒๕๖๔
๒.๗.๒๔ คู ่ ม ื อ การปฏิ บ ั ต ิ ง านของนายทหารการยิ ง สนั บ สนุ น และผู ้ ต รวจการณ์ห น้ า
เหล่าทหารปืนใหญ่ พ.ศ. ๒๕๖๔
๒.๗.๒๕ คู่มือราชการสนาม ๓ – ๐ การปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก พ.ศ. ๒๕๕๕
๒.๗.๒๖ คู่มือปฏิบัติการทางยุทธวิธีของกองทัพบก พ.ศ. ๒๕๕๕

-------------------------------------------------------------------------
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๖๖

หลักนิยมของเหล่าทหารช่าง
๑. ประเภทการจัดของหน่วย/เหล่า
๑.๑ กล่าวทั่วไป
การจัดหน่วยทหารช่าง ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญประการหนึ่งของระบบทหารช่าง จาก
การที่ทหารช่าง มีการจัดหน่วยแบ่งเป็นหลายระดับ ตั้งแต่หน่วยทหารช่างขนาดเล็ก ไปจนถึงหน่วยบัญชาการ
ทหารช่าง ซึ่งหน่วยทหารช่างเหล่านั้นจะมีภารกิจ และขีดความสามารถต่างกันไป สืบเนื่องมาจากควา ม
หลากหลายของหน่วยทหารช่างดังกล่าว จึงทำให้เกิดความอ่อนตัวในการจัดโครงสร้างของหน่วยทหารช่าง
ให้เหมาะสมกับการประกอบกำลังของหน่วยดำเนินกลยุทธ์ และสามารถจัดวางหน่วยทหารช่าง ให้สอดคล้อง
กับจังหวะการรบในแต่ละยุทธบริเวณ เพื่อให้สนองตอบการสนับสนุนทางการช่างต่อหน่วยดำเนินกลยุทธ์ ได้
อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
หลักนิยมการรบอากาศพื้นดิน มีผลต่อการพัฒนาปรับปรุงการจัดหน่วยทหารช่าง เพื่อให้
สามารถปฏิบัติ งานช่างตามพันธกิจของทหารช่าง ๕ ประการในยุทธบริเวณ อันได้แก่ การสนับสนุนความ
คล่องแคล่วในการเคลื่อนที่, ต่อต้านความคล่องแคล่วในการเคลื่อนที่, ความอยู่รอดในสนามรบ, งานช่างทั่วไป
และงานแผนที่สนาม ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ต้องมีหน่วยทหารช่าง ซึ่งมีขนาดแตกต่าง
กันไป ตั้งแต่กรมทหารช่าง กองพลทหารช่าง กองพันทหารช่าง กองร้อยทหารช่างอิสระ และชุดทหารช่าง มี
การจัดดังนี้
๑.๑.๑ หน่วยทหารช่างของ กช.: ระดับกรมฝ่ายยุทธบริการ มี พล.ช. เป็นหน่วยในอัตรา
ประกอบด้วย
-ช.๑๑ มีหน่วยในอัตรา คือ ช.๑๑ พัน.๑๑๑ และ ช.๑๑ พัน.๖๐๒
-พัน.ช.คมศ.
๑.๑.๒ หน่วยทหารช่างของกองพล: พัน.ช.พล ในอัตราของ พล.ร./ม. ได้แก่ ช.พัน.๑ พล.๑
รอ., ช.พัน.๒ พล.ร.๒ รอ., ช.พัน.๓ พล.ร.๓, ช.พัน.๔, ช.พัน.๕ พล.ร.๕, ช.พัน.๖ พล.ร.๖, ช.พัน.๘ พล.ม.๑,
ช.พัน.๙ พล.ร.๙ และ ช.พัน.๑๕ พล.ร.๑๕ (พล.ร.๗, พล.ม.๒ รอ. และ พล.ม.๓ ไม่มี พัน.ช.พล ในอัตรา)
๑.๑.๓ หน่วยทหารช่างของกองทัพภาค: กรม ช.ทภ. ในอัตราของ พล.พัฒนาที่ ๑-๔ ได้แก่
-ช.๑ รอ. ประกอบด้วย ช.๑ พัน.๕๒ และ ช.๑ พัน.๑๑๒ รอ.
-ช.๒ ประกอบด้วย ช.๒ พัน.๒๐๑ และ ช.๒ พัน.๒๐๒
-ช.๓ ประกอบด้วย ช.๓ พัน.๓๐๒
-ช.พัน.๔๐๑ พล.พัฒนา ๔ และ ช.พัน.๔๐๒ พล.พัฒนา ๔
๑.๑.๔ หน่วยทหารช่างของกองทัพบก: ทบ. ฝากการบังคับบัญชาไว้กับ กช. ได้แก่
-กรมทหารช่างส่งกำลังและซ่อมบำรุง (ช.๒๑)
-ช.พัน.๕๑
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๖๗

๑.๒ ผังการจัด
๑.๒.๑ กองพันทหารช่างสนาม (กองพล) อจย.๕-๑๕
ภารกิจ เพื่อเพิ่มพูนประสิทธิภาพการรบของกองพลทหารราบ โดยการปฏิบัติงาน
ช่างทั่วไป
การแบ่งมอบ จัดเป็นหน่วยในอัตราของกองพลทหารราบ (กองพล ละ ๑ กองพัน)

ผังการจัด

ขีดความสามารถ
๑. วางแผน อำนวยการ และกำกับการดูแลในหน้าที่ฝ่ายอำนวยการทหารช่าง ใน
เรื่องการปฏิบัติงานช่างของกองพลทั้งหมด
๒. การลาดตระเวนทางการช่าง
๓. สร้าง ซ่อมแซม และบำรุง ถนน ที่ลุย ข้าม ทางระบายน้ำ สะพานเครื่องหนุน
มั่นและเครื่องหนุนลอยแพส่งข้าม เครื่องกีดขวาง (รวมทั้งดงระเบิด) ที่บังคับการ และที่ตั้งการตั้งรับ
๔. ทำการก่อสร้างในสนามโดยทั่วไป รวมทั้งการก่อสร้างสนามบินและสนาม ฮ.
๕. การทำลายและรื้อถอนเครื่องกีดขวาง รวมทั้งดงระเบิด
๖. จัดเจ้าหน้าที่ทหารช่างและเครื่องมือสายช่าง สำหรับการข้ามลำน้ำต่อหน้า
ข้าศึก
๗. จัดการบริการการส่งกำลังสายช่าง รวมทั้งทำการประปาได้ ๔ ชุด
๘. ทำการรบอย่างทหารราบ เมื่อจำเป็นยิ่ง
๑.๒.๒ กองพันทหารช่างสนาม (กองทัพ) อจย.๕-๓๕
ภารกิจ เพื่อเพิ่มพูนประสิทธิภาพการรบของกองทัพบก โดยการปฏิบัติงานช่าง
ทั่วไป และเพิ่มเติมประสิทธิภาพหน่วยทหารช่างของกองพลเมื่อต้องการ
การแบ่งมอบ เป็นหน่วยของกองทัพบก อาจแบ่งมอบให้หน่วยรองได้ตามความ
เหมาะสม
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๖๘

ผังการจัด

ขีดความสามารถ
๑.วางแผน อำนวยการ และกำกับการดูแลในหน้าที่ฝ่ายอำนวยการ
หน่วยทหารช่าง ในเรื่องการปฏิบัติงานช่างทั้งหมด
๒. การลาดตระเวนทางการช่าง
๓. สร้าง ซ่อมแซม และบำรุงถนน ที่ลุย ข้าม ท่อน้ำ สะพานเครื่องหนุน
มั่น เครื่องขีดขวาง (รวมทั้งดงระเบิด) ที่บังคับการและที่ตั้งการตั้งรับ
๔. การทำลายและรื้อถอนเครื่องขีดขวาง รวมทั้งดงระเบิด
๕. จัดการบริการการส่งกำลังสายช่าง รวมทั้งแหล่งน้ำ ๔ แหล่ง
๖. ทำการรบอย่างทหารราบเมื่อจำเป็นยิ่ง
๑.๒.๓ กองพันทหารช่างก่อสร้าง อจย.๕-๑๑๕
ภารกิจ สร้างและฟื้นฟูถนน สนามบิน ระบบทางท่อ โครงสร้าง และสาธารณูปโภค
และช่วยในการปฏิบัติการกู้ภัยฉุกเฉิน
การแบ่งมอบ จัดเป็นหน่วยของกองทัพบก
ผังการจัด

ขีดความสามารถ
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๖๙

๑. สร้าง หรือฟื้นฟูเส้นทางคมนาคม สะพาน สนามบิน และที่ขึ้นลงสำหรับ


เครื่องบินปีกหมุน
๒. สร้างอาคาร โครงสร้าง และสิ่งอำนวยความสะดวกที่เกี่ยวข้อง
๓. ขยายทางรถไฟ สะพานรถไฟ และท่าเรือได้อย่างจำกัด
๔. ทำพื้นผิวบิทูเมนได้อย่างจำกัด
๕. ทำการก่อสร้าง เพื่อป้องกันขนาดย่อม
๑.๒.๓ กองพันทหารช่างเครื่องมือพิเศษ อจย.๕-๑๓๕
ภารกิจ ดำเนินการและสนับสนุนการก่อสร้างเส้นทางคมนาคม ระบบทางท่อและ
งานก่อสร้างขนาดใหญ่ทั่วไป
การแบ่งมอบ เป็นหน่วยในอัตราของกองพลทหารช่าง
ผังการจัด

ขีดความสามารถ
๑. สนับสนุนกำลังพลและยุทโธปกรณ์ เพื่อเสริมขีดความสามารถของหน่วยทหารช่างอื่นๆ
ในการก่อสร้างขนาดใหญ่และงานที่มีลักษณะพิเศษ ทั้งงานก่อสร้างทางระดับและทางดิ่ง
๒. ดำเนิ น การก่ อสร้ างเส้ นทางคมนาคม ระบบทางท่ อ และงานก่ อ สร้ า งขนาดใหญ่
ตลอดจนงานที่มีลักษณะพิเศษ
๓. ให้คำแนะนำทางเทคนิค แก่หน่วยทหารช่าง ในการก่อสร้างงานที่มีลักษณะพิเศษ
๔. ดำเนินการผสมคอนกรีต เพื่อสนับสนุนคอนกรีตผสมเสร็จให้กับหน่วยปฏิบัติงาน
ก่อสร้างได้ไม่น้อยกว่า ๓๐๐ ลบ.ม.ต่อวัน
๕. ดำเนินการผสมแอสฟัลต์ เพื่อสนับสนุนแอสฟัลต์ผสมร้อนให้กับหน่วยปฏิบัติงาน
ก่อสร้างได้ไม่น้อยกว่า ๓๐๐ ตันต่อวัน
๖. ทำการขนย้ายวัสดุได้ไม่น้อยกว่า ๕๐๐ ตันต่อเที่ยว
๗. ทำการซ่อมบำรุงเครื่องมือช่าง ตามอัตราของกองพัน ถึงขั้นการซ่อมบำรุงสนับสนุน
โดยตรง
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๗๐

๒. หลักนิยมทางยุทธวิธขี องหน่วยในปัจจุบัน
๒.๑ หลักพื้นฐานทางยุทธวิธี
๒.๑.๑ พันธกิจทางยุทธวิธีของทหารช่าง ทุกหน่วยที่ให้การสนับสนุนหน่วยดำเนินกลยุทธ์ใน
การยุทธ์ทุกรูปแบบ มีงานที่จะต้องปฏิบัติตามลำดับความสำคัญและเร่งด่วนดังนี้
๒.๑.๑.๑ การอำนวยความสะดวกในการเคลื่อนที่ (Mobility) หมายถึง งานที่
เกี่ยวข้องกับการอำนวยความสะดวก ความคล่องแคล่วในการเคลื่อนที่ของหน่วยดำเนินกลยุทธ์ หน่วยยิง
หน่วยสนับสนุน และการเคลื่อนย้ายยุทโธปกรณ์ที่สำคัญ มีงานที่ทหารช่างจะต้องปฏิบัตไิ ด้แก่
-การเจาะช่องสนามทุน่ ระเบิดและหรือเครื่องขีดขวางอื่นๆ
-การข้ามช่องแคบด้วยลาดหรือสะพานโครงแผง
-การปรับปรุง ซ่อมบำรุง ดูแลรักษาถนน สะพาน ทางคนเดิน สนามบิน
ทางยุทธวิธี

๒.๑.๑.๒ การขัดขวางการเคลื่อนที่ (Counter Mobility) หมายถึง งานการ


ขัดขวางการเคลื่อนที่การเข้ามาหาฝ่ายเราของข้าศึก ในสนามรบด้วยการใช้เครื่องกีดขวาง ฉากขัดขวาง
สนับสนุนการยุทธ์ ทั้งการรุก การตัง้ รับ และการร่นถอย ตามแนวทางที่ผู้บงั คับหน่วยดำเนินกลยุทธต้องการ
มีงานทีท่ หารช่างจะต้องปฏิบัติได้แก่
-การสงครามทุน่ ระเบิด (Mine Warfare)
-การพัฒนาเครื่องขีดขวางให้เป็นฉากขัดขวาง (Obstacles
Development)
๒.๑.๑.๓ การช่วยให้อยู่รดในสนามรบ (Survivability) หมายถึง การช่วยเหลือ
หน่วยดำเนินกลยุทธ์ให้รอดพ้นจากการกระทำของข้าศึกในสนามรบ ทหารช่างมีกำลังพล ยุทโธปกรณ์และ
เครื่องมือช่างขนาดหนัก ใช้ช่วยในการก่อสร้างสิง่ อำนวยความสะดวกต่างๆ ตลอดจนให้คำแนะนำแก่ผบู้ ังคับ
หน่วยดำเนินกลยุทธ์ในเรื่องการพราง การลวง และการใช้ฉากขัดขวางรั้งหน่วยข้าศึก มีงานที่ทหารช่าง
จะต้องปฏิบตั ิได้แก่
-การเตรียมที่มนั่ รบให้แข็งแรง
-การเตรียมที่ป้องกันให้กับอาวุธยิงสนับสนุน
-การพราง การลวง การสร้างฉากขัดขวางรัง้ หน่วงข้าศึก
๒.๑.๑.๔ การปฏิบัติงานช่างทั่วไป (General Engineering) หมายถึง การ
ปฏิบัติงานช่างทัว่ ๆ ไป เพื่อให้การสนับสนุนทางการช่างแก่หน่วยดำเนินกลยุทธ์ ให้มีความต่อเนื่องในการ
ปฏิบัติการยุทธ์ตามที่ผู้บงั คับบัญชาต้องการในสนามรบ ได้แก่ การลาดตระเวนทางการช่าง การก่อสร้าง การ
ทำลาย การประปาสนาม ฯลฯ
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๗๑

๒.๑.๑.๕ การแผนที่สนาม จะช่วยให้ผบู้ ังคับบัญชาได้รบั ข่าวสารเกี่ยวกับภูมิ


ประเทศและมองเห็นภาพสนามรบ เพื่อใช้ในการวางแผนการดำเนินกลยุทธ์ทปี่ ระสานประโยชน์จากลักษณะ
ภูมิประเทศได้อย่างสูงสุด ทหารช่างช่วยเหลือผูบ้ ังคับบัญชาและฝ่ายอำนวยการด้วยการจัดวิเคราะห์ภูมิ
ประเทศ เพื่อให้คำแนะนำเกี่ยวกับเส้นทางเคลือ่ นที่ ลักษณะพื้นที่ปฏิบตั ิการและทีห่ มายและทีต่ ั้งของเครื่อง
ขีดขวาง ซึ่งเป็นการสนับสนุนข้อมูลให้กับฝ่ายข่าวกรองของหน่วยดำเนินกลยุทธ์ เพือ่ ใช้ในการวิเคราะห์พื้นที่
ปฏิบัติการ รวมทั่งการผลิตแผนที่ที่จำเป็นต่อการวางแผนและอำนวยการยุทธ์
๒.๑.๒ ภารกิจเฉพาะของทหารช่างในพื้นที่ยุทธบริเวณ หมายถึง งานเพิ่มเติมรายละเอียด
ปลีกย่อยเฉพาะเจาะจงในการปฏิบตั ิงานของหน่วยทหารช่างในพืน้ ที่การรบ ซึง่ เป็นการในหน้าทีข่ องหน่วย
ทหารช่างที่จะต้องใช้ความคิดริเริ่ม โลกทัศน์ ภาวะความเป็นผูน้ ำของผู้บงั คับหน่วยทหารช่าง ดำเนินการโดย
ไม่ตอ้ งรับคำสัง่ หรือคำร้องขอรับการสนับสนุนจากหน่วยดำเนินกลยุทธ์ที่ทหารช่างไปให้การสนับสนุนอยู่ มี
งานที่จะต้องปฏิบตั ิดงั นี้
๒.๑.๒.๑ งานก่อสร้างอาคาร เส้นทางคมนาคม สิ่งอำนวยความสะดวก และเครื่อง
กีดขวาง
๒.๑.๒.๒ การทำลายอาคาร เส้นทางคมนาคม สิง่ อำนวยความสะดวก และเครื่อง
กีดขวาง
๒.๑.๒.๓ งานแผนที่สนาม
๒.๑.๒.๔ งานดัดแปลงที่มั่นตั้งรับให้แข็งแรง
๒.๑.๒.๕ การประปาสนาม
๒.๑.๒.๖ การส่งกำลังและซ่อมบำรุง สาย สป.สาย ช.
๒.๑.๒.๗ การดำรงหน่วยของตนเอง
๒.๒ ข้อพิจารณาการใช้
๒.๒.๑ หลักการใช้หน่วยทหารช่าง ๔ ประการ ต้องยึดหลักการว่าในการปฏิบตั ิภารกิจ
ใดๆ ก็ตาม การใช้หน่วยทหารช่างไปปฏิบัติภารกิจนัน้ ๆ ให้คำนึงถึงหลักการดังต่อไปนี้
๒.๒.๑.๑ งานนั้นต้องใช้ความชำนาญทางเทคนิค และเครื่องมือพิเศษ
๒.๒.๑.๒ งานนั้นต้องได้รับการจัดลำดับความเร่งด่วน และอนุมตั แิ ล้ว
๒.๒.๑.๓ งานนั้นต้องมีความสำคัญต่อภารกิจและประโยชน์ต่อส่วนรวม
๒.๒.๑.๔ ต้องไม่แบ่งแยกหน่วยทหารช่างออกเป็นรายบุคคลในการปฏิบัตงิ าน
๒.๒.๒ หลักการใช้ทางสายการบังคับบัญชา สามารถกำหนดคุณลักษณะของความสัมพันธ์
ของหน่วยทหารช่างสนับสนุนหน่วยดำเนินกลยุทธ์ ดังนี้
๒.๒.๒.๑ หน่วยในอัตรา กำหนดให้หน่วยทหารช่างเป็นองค์ประกอบการจัดที่
สำคัญของหน่วย และบรรจุในอัตราการจัดอาวุธยุทโธปกรณ์ (อจย.) หรืออัตราการจัดเฉพาะกิจ (อฉก.)
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๗๒

๒.๒.๒.๒ การบรรจุมอบ กำหนดให้หน่วยทหารช่างเข้าไปอยู่ในองค์ประกอบการจัด


ในลักษณะค่อนข้างถาวร เช่น กองทัพบก บรรจุ พัน.ช.สนาม ให้กับ กรม ช.ทภ.
๒.๒.๓.๓ การขึ้นสมทบ กำหนดให้หน่วยทหารช่าง ไปขึ้นการบังคับบัญชาให้กับ
อีกหน่วยหนึ่งในลักษณะชั่วคราว
๒.๒.๓.๔ การขึ้นควบคุมทางยุทธการ เป็นการกำหนดให้หน่วยทหารช่างไปขึ้น
การบังคับบัญชาอีกหน่วยหนึ่ง เพื่อปฏิบัติงานให้บรรลุกิจเฉพาะที่กำหนด
๒.๓ การจัดกำลังพลเข้าทำการรบหรือการแบ่งมอบ
๒.๓.๑ ความที่การรบสัมพันธ์ทางการบังคับบัญชาที่นิยมใช้เป็นการจัดหน่วยทหารช่างใน
การสนับสนุนหน่วยดำเนินกลยุทธ์ในพื้นที่การรบ ดังนี้
- ๑ พัน.ช.พล เป็นหน่วยในอัตรา ๑ พล.ร./ม.
- ๑ ร้อย.ช.สนาม ขึ้นควบคุมทางยุทธการกับ ๑ กรม.ร./ม.
- ๑ มว.ช.สนาม ขึ้นสมทบกับ ๑ พัน.ร./ม.
๒.๓.๒ ความต้องการกำลังทหารช่าง และรูปแบบการจัดหน่วยทหารช่าง แตกต่างกันไป
ตามยุทธบริเวณและยุทธวิธี หลักการจัดหน่วยทหารช่างต่อไปนี้ สามารถใช้เป็นแนวทางสำหรับการจัดหน่วย
ทหารช่างเพื่อปฏิบัติการรบตามหลักนิยมการรบอากาศพื้นดิน และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดทหาร
ช่างเข้าทำการรบในทุกระดับหน่วย ดังนี้
๒.๓.๑ จัดทหารช่างร่วมเป็นกำลังรบเฉพาะกิจเท่าที่จำเป็นต่อการบรรลุภารกิจ
๒.๓.๒ ให้ความเร่งด่วนแก่ความพยายามหลัก
๒.๓.๓ ผสมผสานทหารช่างเข้ากับการดำเนินกลยุทธ์ และอำนาจการยิง
๒.๓.๔ ต้องมัน่ ใจว่าการปฏิบัติงานช่างในปัจจุบันจะเกื้อกูลต่อการปฏิบัติการในอนาคต
๒.๓.๕ ไม่สงวนทหารช่างไว้เป็นกองหนุน
๒.๓.๖ จัดให้มีการสนับสนุนทางการส่งกำลังบำรุงอย่างเพียงพอ
๒.๓.๗ ดำรงการควบคุมบังคับบัญชาที่มปี ระสิทธิภาพ
๒.๓.๘ ใช้ทรัพยากรทางการช่างในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์
๒.๓.๙ ให้สามารถปฏิบตั ิงานช่างได้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ไม่ควรกระจายกำลังทหารช่าง
ออกเป็นลักษณะเบี้ยหัวแตก
๒.๔ สรรพตำราที่ใช้ในปัจจุบัน
- รส. ๓-๓๔ การปฏิบตั ิการของทหารช่าง
- รส. ๕-๓๔ คู่มือทหารช่าง
- รส. ๕-๑๐๑ ความคล่องแคล่วในการเคลื่อนที่
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๗๓

- รส. ๕-๑๐๒ การต่อต้านความคล่องแคล่วในการเคลื่อนที่


- รส. ๕-๑๐๓ ความอยู่รอดในสนามรบ
- รส. ๕-๑๐๔ งานช่างทั่วไป
- รส. ๕-๒๕๐ วัตถุระเบิดและการทำลาย
- รส. ๕-๑๐ หมวดทหารช่างสนาม
-------------------------------------------------------------------------

หลักนิยมของเหล่าทหารสือ่ สาร
๑. ประเภทการจัดของหน่วย/เหล่า
๑.๑ กล่าวทั่วไป
“ความเหนื อ กว่ า ด้ า นสารสนเทศ” เป็ น ปั จ จั ย สำคั ญ ยิ ่ ง ต่ อ ความสำเร็ จ ทางทหาร
เปรียบเสมือนสิ่งรับประกันชัยชนะต่อการปฏิบัติทางทหาร ความเหนือกว่าด้านสารสนเทศสามารถเป็นตัวคูณ
และแหล่งกำเนิดอำนาจการรบของหน่วย สิ่งที่เปลี่ยนไปก็คือ การบรรจบกันของเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่สร้าง
ขีดความสามารถอัน หลากหลายในยุคที่ถูกขับเคลื่อนด้วยสารสนเทศ พร้อม ๆ กับการถือกำเนิดขึ้นของ
บทบาทภัยคุกคามใหม่ ๆ ซึ่งทั้งสองสิ่งนี้ทำให้สภาพแวดล้อมในสนามรบเปลี่ยนแปลงไป ในยุคปัจจุบันที่ เป็น
ยุ ค แห่ ง ข้ อ มู ล ข่ า วสารด้ ว ยการแพร่ ข ยายของเทคโนโลยี ส ารสนเทศ โดยเฉพาะอย่ า งยิ ่ ง เทคโนโลยี
การติดต่อสื่อสารและเทคโนโลยีเครือข่าย แนวคิดต่ าง ๆ ว่าด้วยการทำสงครามสารสนทศ และการทำ
สงครามที่มีเครือข่ายเป็นศูนย์กลาง กำลังได้รับการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง จนกระทั่งสารสนเทศกลายเป็น
ปัจจัยพื้นฐานของกระบวนการแสวงข้อตกลงใจทางทหาร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้ม าซึ่งความเหนือกว่า
ด้านสารสนเทศ ในขณะเดียวกันฝ่ายเราก็จะไม่ยอมให้ฝ่ายตรงข้ามดำเนินการลักษณะเดียวกันกับฝ่ายเรา
ฉะนั้น “ความเป็นศูนย์กลางของเครือข่าย” จึงเกิดจากข้อเท็จจริงที่ว่า..เครือข่ายการติดต่อสื่อสารได้ถูก
นำมาใช้เพื่อช่วยให้การทำสงครามสารสนเทศเกิดขึ้นได้จริงในยุทธบริเวณ
๑.๒ การจัด
๑.๒.๑ พัน.ส.บก.ทบ.
หน่วย ส.ในระดับกองทัพบก คือ กรมทหารสือ่ สารที่ ๑ หรือ ส.๑ ได้แก่ ส.๑ พัน.๑๐๑,
ส.๑ พัน.๑๐๒ ประกอบด้วย
๑.๒.๑.๑ กองบังคับการ และกองร้อยกองบังคับการ (อจย.๑๑-๒)
๑.๒.๑.๒ กองพันทหารสื่อสาร จำนวน ๒ กองพัน (อจย.๑๑-๑๕)
๑.๒.๒ พัน.ส.ทภ.
๑.๒.๒.๑ การจัด หน่วย ส.ในระดับกองทัพภาค คือ พัน .ส.ทภ.(อจย.๑๑-๕๕)
ได้แก่ ส.พัน.๒๑ ทภ.๑, ส.พัน.๒๒ ทภ.๒, ส.พัน.๒๓ ทภ.๓, ส.พัน.๒๔ ทภ.๔, ส.พัน.๓๕ นสศ. ประกอบด้วย
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๗๔

(๑) กองบังคับการและกองร้อยกองบังคับการ
(๒) กองร้อยวิทยุและศูนย์ข่าว
(๓) กองร้อยสายและวิทยุถ่ายทอด
๑.๒.๒.๒ ภารกิจ พัน.ส.ทภ.จัดวางการสื่อสารประภทวิทยุ, การสื่อสารประเภทสาย
และจัดตั้งศูนย์ข่าวให้กับ กองบัญชาการกองทัพภาค รวมทั้งการวางการสื่อสารทางสายด้วยวิทยุถ่ ายทอด
จากกองบัญชาการกองทัพภาคไปยังหน่วยรองหลักของกองทัพภาค, หน่วยขึ้นสมทบ, หน่วยขึ้นการควบคุม
ทางยุทธการ และหน่วยอื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมาย
๑.๒.๒.๓ ขีดความสามารถ พัน.ส.ทภ.
(๑) สามารถสนับสนุนการติดต่อสื่อสารแก่ กองทัพภาคที่มี ๒ - ๔ กองพล
(๒) ติดตั้ง ปฏิบัติการ และดำรงการสื่อสารประเภทวิทยุ ด้วยชุดวิทยุ
โทรพิมพ์ได้ไม่เกิน ๓๕ ชุดพร้อมกันต่อหนึ่งหมวดวิทยุ
(๓) จัดชุดวิทยุสนับสนุนส่วนบังคับบัญชาและอำนวยการ กองบัญชาการ
กองทัพภาค ได้ไม่เกิน ๖ ชุดต่อหนึ่งหมวดวิทยุ
(๔) จัดตั้งศูนย์ข่าว พร้อมบริการนำสารยานยนต์ได้ ๑ ศูนย์ข่าว
(๕) จัดวางการสื่อสารทางสายด้วยวิทยุถ่ายทอด ด้วยระบบวิทยุขนาด
๑๒ ช่องเสียงได้ ๓ ระบบพร้อมกันต่อหนึ่งหมวดวิทยุถ่ายทอด และติดตั้ งปฏิบัติการ และดำรงการสื่อสาร
ทางสาย ได้ไม่เกิน ๑๐๐ ทางสาย
(๖) บริการภาพนิ่ง รวมทั้งล้าง อัด ขยาย ภาพนิ่ง
(๗) ทำการรบอย่างทหารราบเมื่อจำเป็น
๑.๒.๓ พัน.ส.พล.
๑.๒.๓.๑ การจัดหน่วย ส.ในระดับกองพล คือ พัน.ส.พล.(อจย.๑๑ - ๓๕) ได้แก่
ส.พัน.๑, ส.พัน.๒, ส.พัน.๓, ส.พัน.๔ พล.ร.๔, ส.พัน๕ พล.ร.๕, ส.พัน๖ พล.ร.๖, ส.พัน.๙ พล.ร.๙, ส.พัน.๑๑
พล.ม.๑, ส.พัน.๑๒, ส.พัน.๑๓ พล.ปตอ., ส.พัน.๑๕ พล.ร.๑๕ ประกอบด้วย
(๑) กองบังคับการและกองร้อยกองบังคับการ
(๒) กองร้อยวิทยุและศูนย์ข่าว
(๓) กองร้อยสายและวิทยุถ่ายทอด
๑.๒.๓.๒ ภารกิจ พัน.ส.พล.จัดการสื่อสารให้แก่กองบัญชาการกองพล รวมทั้ ง
การสื่อสารไปยังหน่วยต่าง ๆ ที่ปฏิบัติการภายใต้การบังคับบัญชาของกองบัญชาการกองพล และจัดบริการ
การภาพให้กับกองพล
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๗๕

๑.๒.๓.๓ ขีดความสามารถ พัน.ส.พล.


(๑) การวางแผนของฝ่ายอำนวยการ กำกับดูแลการฝึก ปฏิบัต ิการ
สื่อสารและกิจการสื่อสารอื่น ๆ
(๒) ติดตั้ง ปฏิบัติการและดำรงการสื่อสารประภทสายและวิทยุไปยัง
หน่วยต่าง ๆ ที่ปฏิบัติงานภายใต้การบังคับบัญชาของ ผบ.พล.
(๓) ปฏิ บ ั ต ิ การสื ่อ สารด้วยวิ ทยุ ถ่า ยทอดให้ แก่ กองพล รวมทั้งการ
เชื่อมต่อการสื่อสารของกองพลให้เข้ากับระบบโทรคมนาคมในพื้นที่ตามความจำเป็น
(๔) บริการศูนย์การสื่อสารให้แก่ บก.พล.และบริการนำสารด้วยยานยนต์
(๕) บริการส่งกำลังและซ่อมบำรุงประเภทซ่ อมบำรุงในสนาม สาย ส.
ได้แก่ เครื่องสื่อสารของกองพล
(๖) บริการภาพนิ่ง รวมทั้ง ล้าง อัด และขยายภาพนิ่ง
(๗) ทำการรบอย่างทหารราบเมื่อจำเป็น
๒. หลักนิยมทางยุทธวิธีของหน่วยในปัจจุบัน
๒.๑ หลักนิยมพื้นฐานในการสื่อสารทางยุทธวิธี
๒.๑.๑ ความรับผิดชอบในการวางการติดต่อสื่อสาร
- หน่วยเหนือ วางการสื่อสารไปยังหน่วยรอง
- หน่วยสนับสนุน วางการสื่อสารไปยังหน่วยรับการสนับสนุน
- หน่วยสบทบ วางการสื่อสารไปยังหน่วยที่ขึ้นสมทบ
- หน่วยข้างเคียง วางการสื่อสารจากซ้ายไปขวา
- การสนับสนุนการสื่อสารที่ใช้ร่วมกัน
๒.๑.๒ หน่วยทหารที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการสื่อสาร
- หน่วยสื่อสาร หมายถึง หน่ วยทหารเหล่าใดก็ตาม (เว้นเหล่า ส.) ที่ทำหน้าที่
ทางการสื่อสาร โดยปกติหน่วยสื่อสารจะมีขนาด มว.หรือ หมู่ เช่น มว.ส.พัน.ป., หมู่ ส.พัน.ปตอ หมู่ ส.พัน.ร.,
มว.ส.กรม ร.
- หน่วยทหารสื่อสาร หมายถึง หน่วยทหารที่เป็นเหล่า ส.ทั้งที่ทำการสื่อสาร หรือ
กิจกรรมของเหล่า ส.โดยปกติจะเป็นหน่วยขนาด กองร้อย กองพัน และ กรม เช่น พัน.ส.พล., พัน.ส.ทภ., พัน.ส.
บก.ทบ.
๒.๒ แนวความคิดหลักนิยมการสื่อสารรูปแบบใหม่ (แบบใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง) บูรณา
การระบบการสื่อสารแบบพื้นที่เป็นหลัก
๒.๒.๑ ทภ.วางการติตต่อสื่อสารไปยัง กรมผสม และ มทบ.โดย ทภ.มีศูนย์การสื่อสารที่ใช้
ระบบ ปฏิบัติการเครือข่ายเป็นศูนย์กลาง (NCO) เป็นช่องทางหลัก เพื่อรองรับระบบควบคุมบังคับบัญชา
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๗๖

๒.๒.๒ ทบ.วางระบบการสื่อสารมายัง ทภ.โดยใช้ระบบเครือข่ายโทรคมนาคมกองทัพบก


และของหน่วยราชการอื่น จากนั้น ทภ.วางการติดต่อสื่อสารไปยังหน่วยรอง โดยใช้ยุทโธปกรณ์ ระบบ
เครือข่ายโทรคมนาคมดังกล่าวและรถดาวเทียม เพื่อให้เกิดการติดต่อสื่อสารแบบพื้นที่ เพื่อขยายขนาดของ
เครือข่ายให้ครอบคลุมพื้นที่ปฏิบัติการและพื้นที่ส่วนหลัง
๒.๒.๓ คงระบบการสื่อสารแบบพื้นฐาน ได้แก่ ระบบวิทยุ FM และ AM เพื่อทำการสนธิ
เข้ากับระบบปฏิบัติการที่ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง
๒.๓ หน่วยที่ให้การสนับสนุนการสื่อสารแบบใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง
๒.๓.๑ กรมการทหารสื่อสาร : รับผิดชอบ Network Centric ในภาพรวม
๒.๓.๒ กรมทหารสื่อสารที่ ๑ : รับผิดชอบ Network Centric ทางยุทธวิธีระดับกองทัพบก
๒.๓.๓ กองพันทหารสื่อสารระดับกองทัพภาค และระดับกองพล : มีพันธกิจในการให้การ
สนับสนุนหน่วยกำลังรบ ดังนี้
- Network Centric ด้าน Information Electronics Communication Technology
(IECT)
- ส่งกำลังซ่อมบำรุง สป.สาย ส.
- การปฏิบัติการด้าน Cyber และ Information Operation (IO)
- การปฏิบัติการด้านวิทยุกระจายเสียงและโทรทัศน์ (Broadcasting)
- การประชุมและขยายเสียง
๒.๔ สรรพตำราที่ใช้ในปัจจุบัน
- รส.๒๔-๒ หลักนิยมการสื่อสารผ่านดาวเทียมทางยุทธวิธี
- รส.๒๔-๑๑ หลักนิยมการบริหารความถี่ในสนามรบ
- รส.๒๔-๑ หลักนิยมการสื่อสารของกองทัพบก
- รส.๒๔-๔๐ ภาพเคลื่อนไหวทางยุทธวิธี
- รส.๒๔-๒๒ ฝ่ายอำนวยการทางยุทธวิธี
- รส.๒๔-๗ หลักนิยมการจัดการเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทางยุทธวิธี
- รส.๑๑-๔๕ การวางการติดต่อสื่อสารสนับสนุนการรบ

-------------------------------------------------------------------------
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๗๗

หลักนิยมของเหล่าทหารขนส่ง
๑. ประเภทการจัดของหน่วย/เหล่า
๑.๑ กรมการขนส่งทหารบก
๑.๑.๑ เป็นส่วนราชการขึ้นตรงกองทัพบก เป็นเหล่าช่วยรบ มีภารกิจและหน้าที่ในการ
วางแผน อำนวยการ ประสานงาน แนะนำ กำกับการ ดำเนินการวิจัยและพัฒนา เกี่ยวกับการจัดหาส่งกำลัง
ซ่อมบำรุงและการบริการ กำหนดหลักนิยมและทำตำรา ตลอดทั้งการฝึกและศึกษา ทั้งนี้เกี่ยวกับกิจการ และ
สิ่งอุปกรณ์ของเหล่าทหารขนส่ง มี เจ้ากรมการขนส่งทหารบก เป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ
๑.๑.๒ ขอบเขตความรับผิดชอบและหน้าที่สำคัญ
๑.๑.๒.๑ วางแผน อำนายการ ประสานงาน แนะนำ กำกับการ และดำเนินการ
เกี่ยวกับการส่งกำลังบำรุงสายขนส่ง ตามแผนและนโยบายของกองทัพบก
๑.๑.๒.๒ ค้นคว้า วิจัย พัฒนา และให้คำแนะนำทางวิชาการสายขนส่งเกี่ยวกับ
การผลิต การจัดหา การส่งกำลัง การซ่อมบำรุง และการบริการ
๑.๑.๒.๓ กำหนดมาตรฐานและคุณลักษณะเฉพาะของสิ่งอุปกรณ์สายขนส่ง
๑.๑.๒.๔ รวบรวมความต้องการและพิจารณาดำเนินการเกี่ยวกับงบประมาณด้าน
ส่งกำลังบำรุงสายขนส่งและการเคลื่อนย้ายสนับสนุนหน่วยต่าง ๆ ของกองทัพบก
๑.๑.๒.๕ ดำเนินการขนส่งกำลังพล สิ่งอุปกรณ์และสัตว์ ให้แก่หน่วยต่าง ๆ ของ
กองทัพบก และหน่วยอื่นที่ได้รับมอบหมาย ด้วยการขนส่งทางบก การขนส่งทางน้ำเฉพาะในลำน้ำ และการ
ขนส่งทางอากาศอย่างจำกัด
๑.๑.๒.๖ ให้การศึกษาและอบรมกำลังพลเหล่าทหารขนส่งและเหล่าทหารอื่น ๆ
ที่เกี่ยวข้องตามนโยบายของกองทัพบก
๑.๑.๒.๗ กำหนดหลักนิยม จัดทำหลักสูตร ตำรา แบบฝึกวิชาการเหล่าทหาร
ขนส่ง และประสานการศึกษาวิชาการเหล่าทหารขนส่งกับทหารอื่น ๆ
๑.๑.๒.๘ ทำการทดสอบและออกใบอนุญาตขับรถยนต์ทหารให้แก่กำลังพลของ
หน่วยต่าง ๆ ในกองทัพบก
๑.๑.๒.๙ จัดทำและออกแบบเครื่องช่วยฝึกที่เกี่ยวกับวิชาการเหล่าทหารขนส่ง
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๗๘

๑.๑.๓ การจัด กรมการทหารขนส่ง อัตราเฉพาะกิจ หมายเลข ๓๑๐๐

๑.๒ ศูนย์การเคลื่อนย้ายกองทัพบก (ศคย.ทบ.)


๑.๒.๑ ศคย.ทบ.จัดตั้งขึ้นตามวัตถุประสงค์เพื่อแยกบทบาทของหน่วยปฏิบัติการขนส่ง
และกรมฝ่ายยุทธบริการออกจากกันให้ชัดเจน ทำให้มีเอกภาพในการปฏิบัติ สอดคล้องกับปริมาณงาน และ
ความรับผิดชอบที่เพิ่มมากขึ้นของ ขส.ทบ.ประกอบด้วย กองธุรการ กองจัดการเคลื่อนย้าย กองยานพาหนะ
กองการบิ น และกรมทหารขนส่ ง รั ก ษาพระองค์ (หน่ ว ยทหารที ่ กห.กำหนด) โดยมี ภ ารกิ จ วางแผน
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๗๙

อำนวยการ ประสานงาน แนะนำ กำกับการ เกี่ยวกับการเคลื่อนย้าย และบริการขนส่ง ของกองทัพบก มี


ผู้บัญชาการศูนย์การเคลื่อนย้ายกองทัพบก เป็นผู้รับผิดชอบ
๑.๒.๒ การจัด ศคย.ทบ. อฉก.๓๑๑๐

๑.๒.๓ การจัด กรมทหารขนส่ง

๑.๒.๔ การจัด กองพันทหารขนส่งที่ ๑ กรมทหารขนส่ง


เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๘๐

๑.๒.๕ การจัด กองพันทหารขนส่งที่ ๒ (ผสม) กรมทหารขนส่ง

๑.๒.๖ การจัด กองพันทหารขนส่ง กองบัญชาการช่วยรบ อจย.๕๕ - ๒๕ (๑๐ ต.ค.๒๓)

๑.๒.๗ การจัด กองพันทหารขนส่ง กรมสนับสนุน กองพลทหารราบที่ ๙


เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๘๑

๑.๒.๘ การจัด กองพันทหารขนส่งซ่อมบำรุงเครื่องบินทหารบก (พัน.ขส.ซบร.บ.ทบ.)

๒. หลักนิยมทางยุทธวิธขี องหน่วยในปัจจุบัน
การปฏิบัติทางยุทธวิธีในดำเนินการเกี่ยวกับการส่งกำลังบำรุงสายขนส่ง ยึดปฏิบัติตามหลักนิยม
การส่งกำลังบำรุงของ ทบ.(รส.๔-๐) และหลักนิยมการส่งกำลังบำรุงของ ทบ.ในยามปกติ
ปัจจุบัน ขส.ทบ.อยู่ระหว่างดำเนินการปรับปรุงแนวสอนที่ใช้อยู่ใน รร.ขส.ขส.ทบ.วิชาการขนส่ง
ทางรถยนต์ วิชาการขนส่งทางรถไฟ วิชาการขนส่งทางน้ำ วิชาการขนส่งทางอากาศ และวิชาการเคลื่อน
Control ย้าย และเอกสารการแปลเรื่อง การควบคุมการเคลื่อนย้าย (Movement Control ATP 4-16,
April 2013) ทบ.สหรัฐ เพื่อให้สอดคล้องกับหลักนิยมของ ทบ.ไทย และภัยคุกคามในปัจจุบัน

------------------------------------------------------------------------
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๘๒

หลักนิยมของเหล่าทหารพลาธิการ
๑. ประเภทการจัดของหน่วย/เหล่า
๑.๑ กรมพลาธิการทหารบก
๑.๑.๑ เป็นกรมฝ่ายยุทธิบริการ มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงเกี่ยวกับกิจการด้านการกำกับ
การเลี้ยงดูทหาร เพื่อดูแลการปฏิบัติการเลี้ยงดูให้ทหารได้รับประโยชน์มากที่สุด พร้อมทั้งกำกับดูแลปรนนิบตั ิ
บำรุง การจำหน่าย การเบิกทดแทน ชุดสูทภัณฑ์และอุปกรณ์ที่ใช้ในการประกอบเลี้ยง เพื่ อให้หน่วยมีใช้ได้
ตลอดเวลา หากการเลี้ยงดูทหารในกองทัพบกมีแบบแผนและมาตรฐานเลี้ยงดูที่ดีเช่นเดียวกันทุก ๆ หน่วย
ย่อมส่งผลให้ทหารมีขวัญและกำลังใจการการปฏิบัติงาน ซึ่งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพและอำนาจการรบที่
ไม่มีตัวตนให้มากยิ่งขึ้น
๑.๑.๒ ภารกิจ
กรมพลาธิการทหารบก มีหน้าที่วางแผน อำนวยการ ประสานงาน แนะนำ กำกับการ
ดำเนินการ วิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับการผลิต จัดหา ส่งกำลัง ซ่อมบำรุง บริการ กำหนดหลักนิยมและตำรา
ตลอดจนการฝึกและศึกษา ทั้งนี้เกี่ยวกับกิจการและสิ่งอุปกรณ์ของเหล่าทหารพลาธิการ โดยมีขอบเขตความ
รับผิดชอบและหน้าที่ ดังนี้
๑.๑.๒.๑ เสนอนโยบาย วางแผน อำนวยการ ประสานงาน แนะนำ เกี่ยวกับการ
กำหนดความต้องการ ผลิต จัดหา ส่งกำลัง ซ่อมบำรุง การบริการสิ่งอุปกรณ์สายพลาธิการ
๑.๑.๒.๒ ดำเนินการเกี่ยวกับกิจการของเหล่าพลาธิการ
๑.๑.๒.๓ กำหนดหลั ก นิ ย ม วิ จ ั ย และพั ฒ นา จั ด ทำตำราและคู ่ ม ื อ เกี ่ ย วกั บ
วิทยาการสายพลาธิการ
๑.๑.๒.๔ ดำเนินการจัดหา ผลิต และซ่อมบำรุงสิ่งอุปกรณ์สายพลาธิการ
๑.๑.๒.๕ วางแผน อำนวยการ จัดทำและปรับปรุงหลักสูตร ตลอดจนดำเนินการ
ให้การศึกษาเหล่าทหารพลาธิการ
๑.๑.๒.๖ ดำเนินการเกี่ยวกับสถานพักผ่อนตามที่ได้รับมอบ
๑.๑.๒.๗ ดำเนิ น การเกี่ ย วกั บ การเกษตรกรรมเพื ่ อ สนั บ สนุ น การผลิ ต และ
สนับสนุนหน่วยต่าง ๆ ในกองทัพบกตามที่ได้รับมอบ
๑.๑.๓ การจัด
กรมพลาธิการทหารบก ได้มีการจัดโดยใช้ อัตราเฉพาะกิจ หมายเลข ๓๕๐๐ มี
หน่วยขึ้นตรง ๒๐ หน่วย ดังนี้
๑.๑.๓.๑ แผนกธุรการ ๑.๑.๓.๒ กองกำลังพล
๑.๑.๓.๓ กองยุทธการและการข่าว ๑.๑.๓.๔ กองส่งกำลังบำรุง
๑.๑.๓.๕ กองปลัดบัญชี ๑.๑.๓.๖ กองวิทยาการ
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๘๓

๑.๑.๓.๗ กองจัดหา ๑.๑.๓.๘ กองควบคุมสิ่งอุปกรณ์


๑.๑.๓.๙ กองซ่อมบำรุง ๑.๑.๓.๑๐ กองผลิตสิ่งอุปกรณ์สาย พธ.
๑.๑.๓.๑๑ กองเกียกกาย ๑.๑.๓.๑๒ กองยกกระบัตร
๑.๑.๓.๑๓ กองน้ำมันเชื้อเพลิง ๑.๑.๓.๑๔ กองสถานพักผ่อน
๑.๑.๓.๑๕ กองบริการและสนับสนุนทั่วไป ๑.๑.๓.๑๖ โรงเรียนพลาธิการ
๑.๑.๓.๑๗ กองการเงิน ๑.๑.๓.๑๘ กองเทคโนโลยีสารสนเทศ
๑.๑.๓.๑๙ ร้อย.พธ.ส่งกำลังน้ำมัน (ฝากการบังคับบัญชา)
๑.๑.๓.๒๐ แผนกโภชนาการ (ฝากการบังคับบัญชา)
๑.๑.๔ ขีดความสามารถ
๑.๑.๔.๑ รับผิดชอบสิ่งอุปกรณ์สายพลาธิการที่สำคัญและขาดมิได้ คือสิ่ งอุปกรณ์
ประเภท ๑ ที่ใช้ในการเลี้ยงดูกำลังพล โดยกรมพลาธิการทหารบกมีหน้าที่รับผิดชอบที่สำคัญตามระเบียบ
กองทัพบก ว่าด้วยการเลี้ยงดูทหาร พ.ศ.๒๕๔๙
๑.๑.๔.๒ อำนวยการ ดำเนินการ และกำกับการให้การเลี้ยงดูในสนามดำเนินไป
ด้วยความเรียบร้อย โดยเสนอแนะนโยบายการเลี้ยงดูแก่กองทัพบก ปรับปรุงมาตรฐานการเลี้ยงดูทกุ ขั้นตอน
และทุกระดับหน่วย (เว้นการเลี้ยงดูทหารเจ็บป่วยของโรงพยาบาลทหาร และสถานพยาบาลทหาร)
๑.๑.๔.๓ จัดทำคู่มือ ฝึกฝนอบรมเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการเลี้ยงดู อีกทั้งอุปกรณ์ในการ
ประกอบการเลี้ยงดู คือ ชุดสูทภัณฑ์ปกติ ชุดสูทภัณฑ์สนาม ที่ต้องรับผิดชอบในการจัดหา แจกจ่ายให้กับหน่วย
กองพัน และหน่ว ยเทียบเท่าตามระเบียบว่าด้วยอัตราการจ่ายสูทภัณฑ์ปกติ สูทภัณฑ์สำหน่วยกองพัน
พ.ศ.๒๕๓๓
๑.๑.๔.๔ มี ห น่ ว ยประกอบเลี ้ ย งที ่ ม ี ร ถครั ว สนามระดั บ กองพั น ที่ ส ามารถ
ตอบสนองภารกิจของหน่วยในสนาม (ทั้งระดับกองพันและกองร้อยอิสระ) ลดภาระในการจัดเตรียมพื้นที่
ประกอบเลี้ยงในสนาม สามารถเคลื่อนที่ติดตามหน่วยในสนามได้ด้วยตนเอง แต่ยังสามารถประเลี้ยงกับกำลังพล
ครั้งละ ๓๐๐-๖๐๐ นาย ภายในเวลาประมาณ ๒ ชั่วโมง ให้ได้รับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่อย่างเพียงพอ
และถูกต้องตามสุขอนามัย
๒. หลักนิยมทางยุทธวิธีของหน่วยในปัจจุบัน
๒.๑ สิ่งอุปกรณ์สายพลาธิการ ตามระเบียบกองทัพบกว่าด้วยความรับผิดชอบในสิ่งอุปกรณ์
พ.ศ.๒๕๕๕ กำหนดความรับผิดชอบในการกำหนดความต้องการ การควบคุม การจัดหา การเก็บรักษา
การแจกจ่าย การจำหน่าย และการซ่อมบำรุงสิ่งอุปกรณ์รายการต่อไปนี้
๒.๑.๑ อาหาร
๒.๑.๒ เครื่องใช้ในการเลี้ยงดูและประกอบอาหารตลอดจนอุปกรณ์ในการเก็บเสบียง เว้นก๊าซ
ให้ความร้อน
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๘๔

๒.๑.๓ เครื่องแต่งกาย เครื่องนอน เครื่องใช้ประจำกายและประจำหน่วย ซึ่งเป็นจำพวก


เครื่องหนังและสิ่งถักทอ เว้น เครื่องแต่งกายที่ใช้ในการป้องกันสงครามเคมี ชีวะ และรังสี
๒.๑.๔ อุปกรณ์สำหรับใช้ส่งทางอากาศ
๒.๑.๕ น้ำมันเชื้อเพลิงและน้ำมันอุปกรณ์
๒.๑.๖ เครื่องมือเครื่องใช้กิจการน้ำมัน
๒.๑.๗ ปั๊มสูบจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง
๒.๑.๘ ครุภัณฑ์ เครื่องใช้ในสำนักงานและอาคารบ้านพัก
๒.๑.๙ เครื่องเขียน เว้นแบบพิมพ์และกระดาษที่ใช้ในกิจการแผนที่
๒.๑.๑๐ เครื่องบริการซักรีด
๒.๑.๑๑ เครื่องอาบน้ำ อุปกรณ์การอาบน้ำแลเครื่องใช้สิ้นเปลืองในห้องน้ำ
๒.๑.๑๒ รถยกของ และเครื่องทุ่นแรงที่ใช้ในกิจการคลังสิ่งอุปกรณ์
๒.๑.๑๓ วัสดุทำความสะอาด เช่น ยาขัดหนัง ยาขัด โลหะ ผ้าทำความสะอาดโรงเรือนและ
สิ่งอุปกรณ์ เป็นต้น เว้นที่กำหนดไว้ในสายงานอื่น
๒.๑.๑๔ เครื่องมือเครื่องใช้และอุปกรณ์ในการผลิต สร้าง ทดสอบ และซ่อมบำรุงสิ่งอุปกรณ์
ต่าง ๆ ตามข้อ ๒.๑.๑ ถึง ๒.๑.๑๕
๒.๑.๑๕ สิ่งอุปกรณ์รายการใดที่ไม่สามารถอนุโลกเข้าอยู่ในสายงานอื่นใด
๒.๒ หลักพื้นฐานทางยุทธวิธี
๒.๒.๑ หน่วยทหารเหล่าพลาธิการ จะต้องยึดถือหลักการปฏิบัติในเรื่องการสนองตอบ
ความอ่อนตัวและริเริ่ม ความเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์อย่างรวดเร็วที่เกิดขึ้นในสนามรบ ย่อมทำให้
ผบ.หน่วยพลาธิการ ต้องประมาณความต้องการอันจำเป็นไว้ล่วงหน้าโดยมิต้องรอคอย แต่ที่จะตอบสนองความ
ต้องการเหล่านั้น ผบ.หน่วยพลาธิการ ต้องเข้าใจแผนการปฏิบัติของ ผบ.หน่วยรับการสนับสนุน เพื่อที่จะได้
ดำเนินการตอบสนองความต้องการที่จะมีขึ้น ไม่เพียงแต่จะมุ่งให้มีการสนับสนุนเพียงอย่างเดียว แต่จะต้องทำ
ให้เกิดความอ่อนตัวและเป็นผู้ที่ต้องแสวงหาและเปลี่ยนแปลงแก้ไขเพิ่มเติมแนวคิดในการสนับสนุนการ
ส่งกำลังบำรุงของหน่วยรับการสนับสนุน และรายละเอียดต่าง ๆ ของแผนการยุทธ์ ให้คำแนะนำแก่ ผบ.หน่วย
กำลังรบ ในความเสี่ยงของการสนับสนุนการส่งกำลังบำรุงตามแผน รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงแนวทางการ
สนับสนุนตามแผนให้เสี่ยงน้อยที่สุด
๒.๒.๒ การสนับสนุนการส่งกำลังบำรุงในการรบด้วยวิธีรุก ผบ.หน่วยพลาธิการ ต้อง
เตรียมการและจัดกำลังสำหรับปฏิบัติภารกิจให้สอดคล้องกับแผนการปฏิบัติข องหน่วยดำเนินกลยุทธ์ นั่นคือ
จะต้องตรวจสอบสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดความต้องการในการสนับสนุนทางการส่งกำลังบำรุง รูปแบบ
การสนับสนุนทางการส่งกำลังบำรุงย่อมขึ้นอยู่กับแบบของการปฏิบัติการรบด้วยวิธีรุก ๕ แบบ ได้แก่
การเคลื่อนที่เข้าปะทะ การเข้าตีเร่งด่วน การเข้าตีประณีต การขยายผล และการไล่ติดตาม
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๘๕

การเตรียมการสนับสนุน สป.ต่าง ๆ สำหรับการปฏิบัติการรุกจะต้องสอดคล้องกับ


แผนการยุทธ์ การปฏิบัติการบางอย่างอาจจะต้องการเปลี่ยนรูปแบบของการให้การสนับสนุน ผบ.หน่วยทหาร
พลาธิการ จะต้องมีความอ่อนตัวในการจั ด หน่ ว ยให้ ส ามารถให้ ก ารสนั บ สนุ น ได้ โ ดยไม่ ใ ห้ เ กิ ด อุ ป สรรค
ซึ่ ง ความมุ่ง หมายหลั กของการสนั บสนุ นการส่ ง กำลังบำรุงในการรบด้วยวิธีรุก คือ การดำรงไว้ซึ่งแรงหนุน
เนื่องในการเข้าตี การสนับสนุนเพื่อหนุนเนื่องในการเข้ า ตี นั้ น จะเกิ ด ปั ญ หายุ่ ง ยากมากขึ้ น เมื่ อ การเข้ า ตี
ยั ง ดำเนิ น การต่ อ ไป เส้ น ทางหลั ก การส่ ง กำลั ง จะยาวขึ้ น ขีดความสามารถในการติดต่อสื่อสารจะลดลง
ความต้องการในการซ่อมบำรุงและทดแทนยุทโธปกรณ์จะมากขึ้น ผบ.หน่วยพลาธิการจะต้องนำปัญหาเหล่านี้
มาประกอบการพิจารณา เพื่อมิให้เกิดอุปสรรคต่อความสำเร็จของการปฏิบัติทางยุทธวิธี
๒.๒.๓ การสนับสนุนการส่งกำลังบำรุงในการรบด้วยวิธีรับ ผบ.หน่วยพลาธิการ จะต้อง
แน่ใจว่าสามารถที่จะให้การสนับสนุนได้ตลอดห้วงการปฏิบัติทางยุทธวิธี เนื่องจากการปฏิบัติในการส่งกำลัง
บำรุงสำหรับการตั้งรับจะครอบคลุมสถานการณ์ต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง ซึ่งจะได้พิจารณาการปฏิบัติในการ
ส่งกำลังบำรุงทั่ว ๆ ไป โดยอาจใช้การปฏิบัติในลักษณะต่าง ๆ ซึ่งขึ้นอยู่กับแผนยุทธวิธีและหนทางปฏิบัติของ
ผบ.หน่วยทางยุทธวิธีก็ได้ การปฏิบัติทั้งหมดนี้จะต้องได้รับการสนับสนุนการส่งกำลังบำรุง
๒.๓ ข้อพิจารณาการใช้
การสนับสนุนการส่งกำลังเป็นสิ่งที่ยุ่งยาก สลับซับซ้อน เนื่องจากเหตุการณ์หลายอย่างอาจ
เกิดขึ้นได้พร้อม ๆ กัน หน่วยดำเนินกลยุทธ์อาจทำการรุก รับ หรือร่นถอยได้ ณ เวลาใดเวลาหนึ่งที่กำหนด
รบหน่วงเวลา เข้าตี หรือถอนตัว การปฏิบัติทั้งหมดนี้จะต้องได้รับการสนับสนุนการส่งกำลังบำรุงทั้งสิ้น
สำหรับการควบคุมหน่วยและสถานที่ตั้งทางการส่ งกำลังบำรุงในพื้นที่ขบวนสัมภาระของ
กรม จะอยู่ในความควบคุมทางยุทธวิธีของกรม ดังนั้น การเคลื่อนย้ายสถานที่ตั้งทางการส่งกำลังบำรุงของ
กองพลาธิการ จึงอยู่ภายใต้การความคุมของกรม แต่การส่งกำลังบำรุงอยู่ภายใต้การความคุมของกองทหาร
พลาธิการ ที่เป็นหน่วยแม่ของตนที่อยู่ในพื้นที่สนับสนุนของกองพล
๒.๔ สรรพตำราที่ใช้ในปัจจุบัน
หลักนิยมการเลี้ยงดูหน่วยประกอบเลี้ยงในสนาม (Army Field Feeding Operation)
จัดทำเมื่อ ๒๘ ก.ย.๕๙ และหลักนิยมการสนับสนุนทางการช่วยรบชองพลาธิการระดับกองพล

-------------------------------------------------------------------------
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๘๖

หลักนิยมของเหล่าทหารสรรพาวุธ
๑. ประเภทการจัดของหน่วย/เหล่า
๑.๑ กล่าวทั่วไป
เหล่ า ทหารสรรพาวุ ธ มี ฐ านะเป็ น เหล่ า สนั บ สนุ น ทางการช่ ว ยรบ ให้ ก ารสนั บ สนุ น
สิ่งอุปกรณ์ประเภท ๒, ๔ และ ๕ สายสรรพาวุธ ในเขตยุทธบริเวณ เพื่อเป็นหลักในการประกันความสำเร็จ
ให้กับหน่วยรับการสนับสนุนทั้งหลาย ให้ดำรงความคล่องแคล่วในการเคลื่อนที่ และอำนาจการยิงของตนไว้ได้
ตลอดระยะเวลาที่กำหนด และหากภารกิจการสนับสนุนนี้ล้มเหลว ย่อมกระทบกระเทือนต่อผลสำเร็จของ
การปฏิบัติการทางทหารของหน่วยเป็นส่วนรวม สิ่งอุปกรณ์ครบชุดสายสรรพาวุธที่มีอยู่มากมายแบบในพื้นที่
ต่าง ๆ ของยุทธบริเวณทำให้ได้มาซึ่งความคล่องแคล่ว และอำนาจการยิง การสนับสนุนสายสรรพาวุธ
ที่สมบูรณ์ต่อรายการสิ่งอุปกรณ์เหล่านี้ ประกอบด้วย การส่งกำลัง การซ่อมบำรุง และบริการพิเศษอื่น ๆ
ซึ่งจะต้องกำหนดขอบเขตหรือลักษณะแห่งการปฏิบัติตามสภาพ แวดล้อม และปริมาณของยุทโธปกรณ์
สายสรรพาวุธที่ใช้อยู่ในแต่ละส่วนของยุทธบริเวณนั้น ซึ่งเป็นความต้องการและให้การสนับสนุนทางสรรพาวุธ
ทั้งสิ้น ทั้งนี้ จึงทำให้เกิดความจำเป็นที่จะต้องมีหน่วยสรรพาวุธที่แตกต่างกั นหลายประเภท การที่จะจัดให้มี
การสนับสนุนอย่างครบถ้วนรวมอยู่ในหน่วยสรรพาวุธเพียงหน่วยเดียวนั้น ย่อมกระทำไม่ได้ ดังนั้น จึงต้อง
แบ่งหน้าที่ในการสนับสนุนให้แก่หน่วยสรรพาวุธประเภทต่าง ๆ ซึ่งแต่ละหน่วยจัดขึ้นเพื่อปฏิบัติการเฉพาะ
หน้าที่ หน่วยสรรพาวุธบางหน่วย จึงเป็นหน่วยชำนาญเฉพาะในกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ การส่งกำลัง
การซ่อมบำรุง และบางหน่วยจึงเป็นหน่วยที่มีความชำนาญเฉพาะเป็นพิเศษ เช่น การทำลายล้างวัตถุระเบิด
การเทียบสภาพทางขี ปนวิถี และการข่าวกรองทางเทคนิค หน่วยสรรพาวุธสนับสนุนโดยตรงส่วนมาก
จะปฏิบัติทั้งพันธกิจการส่งกำลังและการซ่อมบำรุง ส่วนหน่วยที่สนับสนุนทั่วไป และหน่วยสนับสนุนประจำที่
จะปฏิบัติเฉพาะพันธกิจหลักอันใดอันหนึ่งใน ๓ ประการดังกล่าว
๑.๒ กองสรรพาวุธเบากองพล อจย.๙-๒๕
๑.๒.๑ การจัด
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๘๗

๑.๒.๒ ภารกิจ ให้การสนับสนุนการส่งกำลังอาวุธยุทโธปกรณ์สายสรรพาวุธ และทำการ


ซ่อมบำรุงในสนามแก่ยุทธภัณฑ์สายสรรพาวุธ (ขั้นที่ ๓ และ ขั้นที่ ๔ ได้อย่างจำกัด)
๑.๒.๓ ขีดความสามารถ
๑.๒.๓.๑ หมวดซ่อมบำรุงส่วนหลัง ให้การสนับสนุนโดยต่อกำลังส่วนหลังของกองพล
มีอะไหล่ประมาณ ๘๕ เปอร์เซ็นต์ของอัตราอะไหล่ประจำกองสรรพาวุธ
๑.๒.๓.๒ หมวดซ่อมบำรุงส่วนหน้า ๓ หมวด แต่ละหมวดให้การสนับสนุนโดยตรง
ต่อหนึ่งกรมได้อย่างจำกัด
๑.๓ กองพันสรรพาวุธซ่อมบำรุงเขตหลัง อจย.๙-๓๕
๑.๓.๑ การจัด

๑.๓.๒ ภารกิจ ให้การบริการสรรพาวุธสนับสนุนโดยตรงและทั่วไปแก่ขึ้นตรงกองทัพบก


ประกอบด้วย
๑.๓.๒.๑ สนับสนุนการส่งกำลังอาวุธยุทโธปกรณ์สายสรรพาวุธให้แก่ กองพันซ่อม
บำรุงกองพล และกองทัพภาค
๑.๓.๒.๒ ทำการซ่อมบำรุง บริการ และกู้ซ่อมแก่ยุทธภัณฑ์สายสรรพาวุธ (ขั้นที่ ๓
และ ขั้นที่ ๔)
๑.๓.๓ ขีดความสามารถ
๑.๓.๓.๑ สนับสนุนโดยตรงและทั่วไปในการส่งกำลังและซ่อมบำรุงสิ่งอุปกรณ์
ประเภท ๒ และ ๔ สายสรรพาวุธ ในระดับขั้นที่ ๓ และ ๔ ให้แก่หน่วยขึ้นตรงกองทัพบก
๑.๓.๓.๒ สนับสนุนการซ่อมบำรุง บริการและกู้ซ่อมแก่ยุทธภัณฑ์สายสรรพาวุธ
ที่จำเป็นแก่ กองพันซ่อมบำรุงกองพล และกองทัพภาค
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๘๘

๑.๕ กองพันสรรพาวุธกระสุน บชร. อจย.๙-๕๕


๑.๕.๑ การจัด

๑.๕.๒ ภารกิจ ปฏิบัติการสนับสนุนทางการส่งกำลังบำรุงสิ่งอุปกรณ์ประเภท ๕ แก่หน่วย


ในพื้นที่รับผิดชอบ รวมทั้งการบริการทำลายล้างวัตถุระเบิด
๑.๕.๓ การแบ่งมอบ เป็นหน่วยในอัตราของกองบัญชาการช่วยรบ การจัดเป็น ๑ กองพัน
ต่อ ๑ บชร.หรือขึ้นการบังคับบัญชากับ บชร.อื่นตามความเหมาะสม
๑.๕.๔ ขีดความสามารถ
๑.๕.๔.๑ สามารถจัดตั้งตำบลส่งกำลังกระสุนเพื่อสนับสนุนโดยตรงต่อหน่วยต่าง ๆ
ในพื้นที่รับผิดชอบ
๑.๕.๔.๒ สามารถจัดตั้งคลังกระสุนกองทัพบก เพื่อสนับสนุนโดยตรงต่อหน่วยต่าง ๆ
หลังพื้นที่และเพิ่มกระสุนให้ตำบลส่งกำลังกระสุนต่าง ๆ ในพื้นที่รับผิดชอบ
๑.๕.๔.๓ สามารถบริการทำลายล้างกระสุนวัตถุระเบิดในพื้นที่รับผิดชอบ
๑.๕.๔.๔ การเคลื่อนย้ายทั้งหน่วยจะต้องได้รับการสนับสนุนยานพาหนะเพิ่มเติม
๑.๕.๔.๕ สามารถทำการป้องกันตนเองได้
๒. หลักนิยมทางยุทธวิธขี องหน่วยในปัจจุบัน
๒.๑ หลักพื้นฐานทางยุทธวิธี
- ดำเนินการส่งกำลัง สป.๒, สป.๔ (สายสรรพาวุธ) และ สป.๕ จากหลังไปหน้าในเขตยุทธ
บริเวณ ดำเนินการกู้ซ่อมและดำเนินการทำลายล้างสรรพาวุธที่ยังไม่ระเบิด
๒.๒ ข้อพิจารณาการใช้
- การปฏิบตั ิภารกิจโดยขึ้นการบังคับบัญชาต่อหน่วยดำเนินกลยุทธ์ พื้นทีป่ ฏิบตั ิการใกล้สุด
คือ ส่วนขบวนสัมภาระพักของกรมฯ
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๘๙

๒.๓ การจัดกำลังเข้าทำการรบหรือการแบ่งมอบ จำแนกได้ คือ


- การสนับสนุนแบบพันธกิจ คือ ๑ กอง สพบ.สนับสนุนต่อ ๑ กองพล
- การสนับสนุนแบบยุทธบริการ คือ ๑ กองพันซ่อมบำรุงสนับสนุนต่อ ๑ กองพล
๒.๔ สรรพตำราที่ใช้ในปัจจุบัน
- รส.๙-๑ การบริการสรรพาวุธในสนาม
- รส.๙-๑๕ การบริการสรรพาวุธด้านการทำลายล้างวัตถุระเบิดและการปฏิบตั ิของหน่วย
ทำลายล้างวัตถุระเบิด
- รส.๙-๖ การส่งกำลังกระสุนในสนาม

------------------------------------------------------------------------
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๙๐

หลักนิยมของเหล่าทหารสารวัตร
๑. ประเภทการจัดของหน่วย/เหล่า
๑.๑ กล่าวทั่วไป
ทหารสารวัตรมีภารกิจที่จะต้องปฏิบัติทั้งในยามปกติและยามสงคราม ดังนี้
๑.๑. ยามปกติ
๑.๑.๑ การรักษาระเบียบวินัย กฎหมาย และคำสั่ง โดยการสอดส่องตรวจตราให้
ทหาร ข้าราชการกลาโหมพลเรือน และคนงานในสังกัดกระทรวงกลาโหมอยู่ในระเบียบวินัยความสงบ
เรียบร้อยและศีลธรรมอันดี
๑.๑.๒ ว่ากล่าวตักเตือนและจับกุมทหาร ข้าราชการกลาโหมพลเรือน และคนงาน
ในสังกัดกลาโหมที่กระทำความผิด
๑.๑.๓ การเรือนจำทหาร
๑.๑.๔ การความคุมการจราจรทางทหาร
๑.๑.๕ การอารักขาบุคคลสำคัญ
๑.๑.๖ การักษาความปลอดภัยทางวัตถุ
๑.๑.๗ การป้องกัน และการวิจัยอาชญากรรมในกองทัพบก
๑.๑.๘ การสืบสวนสอบสวนคดีอาญาซึ่งอยู่ในอำนาจศาลทหาร
๑.๑.๙ การฝึก และการศึกษาวิชาการเหล่าทหารสารวัตร
๑.๑.๑๐ การปฏิบัติหน้าที่อื่นตามผู้มีอำนาจสั่งใช้สารวัตรทหารจะกำหนด
๑.๑.๑๑ ปฏิบัติภารกิจตามที่กองทัพบกมอบหมาย
๑.๒ ยามสงคราม
๑.๒.๑ การบังคับให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง คำชี้แจง
และแบบธรรมเนียมทหาร
๑.๒.๒ การควบคุ ม จราจรทางทหาร รวมถึ ง การสนั บ สนุ น และคุ ้ ม กั น การ
เคลื่อนย้ายหน่วยทางยุทธวิธี และทางธุรการ
๑.๒.๓ การอารักขาบุคคลสำคัญ
๑.๒.๔ การรักษาความปลอดภัยทางวัตถุ
๑.๒.๕ การเรือนจำ
๑.๒.๖ การควบคุมทหารพลัดหน่วย
๑.๒.๗ การเชลยศึก
๑.๒.๘ การดำเนินการต่อชนชาติศัตรู ผู้ลี้ภัย และพลเรือนชาติอื่นที่ถูกกักกัน
๑.๒.๙ การปฏิบัติการในพื้นที่ส่วนหลัง
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๙๑

๑.๒.๑๐ การปฏิบัติการอื่นๆ ตามที่ผู้มีอำนาจสั่งใช้สารวัตรทหารสั่งการ


๑.๒.๑๑ ปฏิบัติการภารกิจตามที่กองทัพบกมอบหมาย
๑.๒ การจัดหน่วย ภารกิจ บทบาท อำนาจหน้าที่ และขีดความสารมารถของทหารสารวัตร
๑.๒.๑ การจัดหน่วยทหารสารวัตรในยามปกติ แบ่งเป็น ๓ ส่วน คือ ส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค
และส่วนกำลังรบ ดังนี้
๑.๒.๑.๑ หน่วยทหารสารวัตรส่วนกลาง ได้แก่ กรมการสารวัตรทหารบก ซึ่งเป็น
กรมฝ่ายกิจการพิเศษที่ขึ้นตรงต่อกองทัพบก ประกอบด้วย
(๑) แผนกการเงิน
(๒) แผนกธุรการ
(๓) กองแผนและการฝึก
(๔) กองสืบสวนสอบสวน
(๕) กองควบคุม และรักษาความปลอดภัย
(๖) กองวิทยาการ
(๗) กองบริการ
(๘) โรงเรียนทหารสารวัตร

ภารกิจ มีหน้าที่วางแผน ประสานงาน และกำกับการอันเกี่ยวกับการรักษาระเบียบวินัย การจับกุม


ทหารที่กระทำความผิด การเรือนจำ การจราจรในกิจการทหาร การรักษาความปลอดภัย การฝึกและศึกษา
วิชาการเหล่าทหารสารวัตร การสืบสวนสอบสวนคดีอาญาซึน่ อยู่ในอำนาจศาลทหาร การป้องกันและการวิจัย
อาชญากรรมในกองทัพบกและพิจารณาอำนวยการเกี่ยวกับทหารพลัดหน่วยและเชลยศึก กำหนดหลักนิยม
และทำตำรา ตลอดจนการฝึ กและศึ ก ษาของเหล่ า ทหารสารวัต ร มี เ จ้ า กรมการสารวั ต รทหารบกเป็น
ผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๙๒

ขอบเขตความรับผิดชอบและหน้าที่ที่สำคัญ
๑) เสนอนโยบาย และแนะนำทางวิชาการเกี่ยวกับกิจการทหารสารวัตร
๒) วางแผน อำนวยการ ประสานงาน กำกับการเกี่ยวกับการรักความปลอดภัย สถานที่และบุคคลที่
กองทัพบกกำหนด การรักษาระเบียบวินัย การจับกุมทหารที่กระทำความผิด การอารักขาบุคคลสำ คัญ
การจราจรในกิจการทหาร กิจการเรือนจำ และดำเนินการเกี่ยวกับการสืบสวนสอบสวนคดีอาญาซึ่งอยู่ใน
อำนาจศาลทหาร รวมทั้งทหารพลัดหน่วยและเชลยศึก
๓) ดำเนินการเกี่ยวกับกิจการเหล่าทหารสารวัตร
๔) กำหนดหลักนิยม วิจัยและพัฒนา จัดทำตำรา และคู่มือเกี่ยวกับกิจการของเหล่าทหารสารวัตร
๕) วางแผน อำนวยการ จัดทำและปรับปรุงหลักสูตร ตลอดจนดำเนินการให้การฝึกศึกษากำลังพล
เหล่าทหารสารวัตร
๑.๒.๑.๒ การจัดหน่วยทหารสารวัตรในส่วนภูมิภาค ได้แก่ หน่วยทหารสารวัตรที่ขึ้น
ตรงต่อ กองทัพภาค และมณฑลทหารบก
(๑) กองทัพภาค ประกอบด้วย แผนกสารวัตร แผนกสืบสวนสอบสวน
และกองพันทหารสารวัตรกองทัพภาค

แผนกสารวัตร เป็นฝ่ายกิจการพิเศษในกองบัญชาการกองทัพภาค
แผนกสืบสวนสอบสวน เป็นฝ่ายกิจการพิเศษในกองบัญชาการกองทัพภาค
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๙๓

ภารกิจ
๑) ดำเนินการเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมาย
๒) การควบคุมการจราจรในกิจการทหาร
๓) การสืบสวนสอบสวนอาชญากรรม
๔) การรักษาความปลอดภัยให้แก่บคุ คลสำคัญ อาคารสถานที่ ที่ตงั้ และสิ่งอำนวยความสะดวก
ทางทหาร รวมถึงการปฏิบัตกิ ารควบคุมการก่อความไม่สงบในพื้นที่เขตหลัง
๕) การสนับสนุนการรบให้หน่วยดำเนินกลยุทธ์ของกองทัพภาค และปฏิบตั ิการเกี่ยวกับกิจการ
สารวัตรทหาร ด้านอืน่ ๆ ในลักษณะรวมการให้กบั กองทัพภาคหรือทีไ่ ด้รับมอบหมาย
ขีดความสามารถ
๑) บังคับให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ คำสัง่ ข้อบังคับ และแบบธรรมเนียมทหาร
๒) อารักขาและรักษาความปลอดภัยแก่ผู้บังคับบัญชาชัน้ สูง และบุคคลสำคัญตามทีไ่ ด้รบั
มอบหมาย
๓) กำหนดมาตรการและดำเนินการรักษาความปลอดภัยที่ตั้ง สิง่ อำนวยความสะดวกทางทหาร
และการขนส่ง
๔) จับคุมทหารหรือบุคคลทีอ่ ยู่ในอำนาจศาลทหารทีก่ ระทำความผิด เสนอแนะมาตรการ และ
ป้องกันอาชญากรรมในเขตพื้นที่ทหาร
๕) อำนวยการและควบคุมการจราจรทางทหารในเขตพืน้ ที่รับผิดชอบ
๖) สนับสนุนการปฏิบตั ิการในพื้นที่ส่วนหลัง
๗) ดำเนินการต่อเชลยศึก หรือบุคคลพลเรือนที่ถูกกักกันเมื่อได้รับมอบหมาย
๘) ร่วมมือในการปฏิบตั ิการแบบตำรวจทัง้ การปฏิบตั ิการร่วมและผสม
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๙๔

๙) ซ่อมบำรุงยุทโธปกรณ์ในอัตราขั้นหน่วยได้
๑๐) ทำการรบอย่างทหารราบได้เมื่อจำเป็น

(๒) มณทลทหารบก (มทบ.) ประกอบด้วย ฝ่ายสารวัตร, ฝ่ายการสืบสวน


สอบสวน, หน่วยทหารสารวัตร (กองพัน/ร้อยกองร้อยทหารสารวัตร) และเรือนจำ

ภารกิจ ปกครอง บังคับบัญชา อำนวยการ และกำกับดูแลเกี่ยวกับการบริหารงาน การฝึก การ


ปฏิบัติงาน และการส่งกำลังบำรุงให้กับหน่วยอัตราและหน่วยที่มาขึ้นสมทบ และดำเนินการสอบสวน
อาชญากรรม
ขีดความสามารถ
๑) ปกครอง บังคับบัญชา และอำนวยการปฏิบตั ิของหน่วยในอัตรา และหน่วยที่ขนึ้ สมทบได้ ๓-
๕ กองร้อย
๒) ดำเนินการติดต่อสื่อสาร การขนส่ง ส่งกำลังและซ่อมบำรุงขั้นหน่วย และการเลี้ยงดูแก่หน่วย
ในอัตราและหน่วยทีข่ ึ้นมาสมทบ
๓) สนับสนุนการสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมภายในเขตรับผิดชอบ
๔) วางแผนการปฏิบัติการให้แก่กองพัน รวมทั้งการให้ขอ้ เสนอแนะเกี่ยวกับความต้องการการใช้
หน่วยและกำลังพลสารวัตรทหาร
๕) จัดยานยนต์เพื่อเป็นหน่วยนำขบวน และสายตรวจ
๖) อารักขาและรักษาความปลอดภัยแก่ผู้บังคับบัญชาชัน้ สูง และบุคคลสำคัญตามทีไ่ ด้รบั
มอบหมาย
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๙๕

(๓) ร้อย.สห.มทบ.

ภารกิจ ปฏิบัตงิ านในกิจการสารวัตรทหารให้แก่มณฑลทหารบกที่ ๑๑


การแบ่งมอบ เป็นหน่วยในอัตราของมณฑลทหารบกที่ ๑๑
ขีดความสามารถ
๑) บังคับให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ คำสัง่ ข้อบังคับและแบบธรรมเนียมของทหาร
๒) อารักขาและรักษาความปลอดภัยแก่ผู้บังคับบัญชาชั้นสูง และบุคคลสำคัญคามทีไ่ ด้รบั
มอบหมาย
๓) รักษาความปลอดภัยทีต่ งั้ และสิ่งอำนวยความสะดวกทางทหารและการขนส่ง
๔) จับกุมทหาร ข้าราชการกลาโหมพลเรือนสังกัดกระทรวงกลาโหม ซึง่ อยู่ในอำนาจศาลทหารที่
กระทำผิด และป้องกันอาชญากรรมในเขตพื้นที่ทางทหาร
๕) อำนวยการและควบคุมการจราจรทางทหาร
๖) สนับสนุนการพิทักษ์พื้นที่ส่วนหลัง
๗) ดำเนินการต่อเชลยศึก บุคคลพลเรือนชาติอื่นทีถ่ ูกกักกันเมือ่ ได้รับมอบหมาย
๘) ทำการรบอย่างทหารราบได้เมื่อจำเป็น
๙) มีความคล่องแคล่วในการเคลื่อนที่ ๕๐%
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๙๖

ภารกิจ ปฏิบัติงานในกิจการสารวัตรทหารให้แก่มณฑลทหารบก
การแบ่งมอบ เป็นหน่วยในอัตราของมณฑลทหารบก
ขีดความสามารถ
๑) บังคับให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ คำสั่ง ข้อบังคับ และแบบธรรมเนียมของทหาร
๒) อารักขาและรักษาความปลอดภัยแก่ผู้บังคับบัญชาชั้นสูง และบุคคลสำคัญตามที่ ได้รับ
มอบหมาย
๓) รักษาความปลอดภัยที่ตั้งและสิ่งอำนวยความสะดวกทางทหารและการขนส่ง
๔) จับกุมทหาร ข้าราชการกลาโหมพลเรือนสังกัดกระทรวงกลาโหม ซึ่งอยู่ในอำนาจศาลทหารที่
กระทำความผิด และป้องกันอาชญากรรมในเขตพื้นที่ทหาร
๕) อำนวยการและควบคุมการจราจรทางทหาร
๖) สนับสนุนการพิทักษ์พื้นที่ส่วนหลัง
๗) ดำเนินการต่อเชลยศึก บุคคลพลเรือนชาติอื่นที่ถูกกักกันเมื่อได้รับมอบหมาย
๘) ทำการรบอย่างทหารราบได้เมื่อจำเป็น
๙) มีความคล่องแคล่วในการเคลื่อนที่ ๒๕%
๑.๒.๑.๓ ส่วนกำลังรบ ได้แก่ ฝ่ายการสารวัตร และกองพันทหารสารวัตรกองทัพ
ภาค การสนับสนุนการรบให้หน่วยดำเนินกลยุทธ์ของกองทัพภาค และปฏิบัติการเกี่ยวกับกิจการสารวัตร
ทหารด้านอื่นๆ ในลักษณะรวมการให้กับกองทัพภาคหรือที่ได้รับมอบหมายปฏิบัตงิ านในกิจการสารวัตรทหาร
ด้านการสนับสนุนการรบ มีกองร้อยทหารสารวัตรสนาม เป็นหน่วยในอัตราของกองพันทหารสารวัตรกองทัพ
ภาค โดยอาจกำหนดขึ้นสมทบหรือขึ้นควบคุมทางยุทธการกองพลทหารราบหรือกองพลทหารม้า หรือหน่วย
อื่นๆ ได้ตามความจำเป็นทางด้านยุทธการ
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๙๗

ร้อย สห.สนาม พล.ร./ม.


อจย.๑๙ – ๓๗ (๑๔ ต.ค. ๓๐)
อจย.๑๙ -

(
(

กองร้อยทหารสารวัตรสนาม ของกองทัพภาค (ขึ้นควบคุมยุทธการกับ พล.ร./ม.) มีขีดความสามารถดังนี้


๑) ดำเนินการควบคุมการหมุนเวียนการจราจรยานพาหนะ รวมทั้งขบวนเดินต่าง ๆ ขบวนผู้อพยพ
การอพยพเป็นบุคคล การพิทักษ์ประชาชนและทรัพยากร ตลอดจนควบคุมเส้นทางคมนาคม
๒) ลาดตระเวนด้วยยานยนต์ จัดตั้งตำบลควบคุมจราจรและตำบลควบคุมทหารพลัดหน่วย หรือ
ผสมกัน
๓) ปฏิบัติการลาดตระเว้นเส้นทาง การคุ้มกันขบวนเดิน การระวังป้องกัน การลำเลียงขนส่ง และ
การป้องกันการเคลื่อนย้ายที่มีความเร่งด่วนสูง
๔) ปฏิบัติการระวังป้องกันให้กับที่บังคับการ รวมทั้งการรักษาความปลอดภัยให้แก่บุคคลที่ได้รับ
มอบหมาย
๕) ดำเนินการสอบสวนและการกำหนดมาตรการป้องกันอาชญากรรม
๖) ดำเนินการ ณ ตำบลรวบรวมเชลยศึก และตำบลรวบรวมพลเรือน ผู้ถูกกักกัน ทั้งที่ตำบล
รวบรวมกลาง และส่วนหน้า ซึ่งตั้งอยู่ในเขตของกรมดำเนินกลยุทธ์ในแนวหน้าได้ ๒ กรม เมื่อไปสนับสนุน
การรบให้กับกองพล
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๙๘

๗) ดำเนินการรักษาความปลอดภัยให้กับเชลยศึก และพลเรือนผู้ถูกกักกัน ในระหว่างการส่งกลับ


จากตำบลรวบรวมเชลยศึกหน้ามายังตำบลรวบรวมเชลยศึกกลางของกองพล เมื่อไปสนับสนุนการรบให้กับ
กองพล
๘) ควบคุมนักโทษทหารชั่วคราว
๙) ร่วมมือในการปฏิบัติการแบบตำรวจทั้งการปฏิบัติการร่วมและผสม
๑๐) ดำเนินการบังคับให้เป็นไปตามกฎหมาย คำสั่งระเบียบ ข้อบังคับ และวินัยในพื้นที่สู้รบ โดย
ปฏิบัติตามคำแนะนำและนโยบายของผู้บังคับบัญชา
๑๑) กองร้อยปฏิบัติหน้าที่ตามภารกิจที่กำหนดในพื้นที่ระหว่างเส้นเขตหลังของกรม และเส้นเขต
หลังของกองพล เมื่อสนับสนุนการรบให้กับกำลังพล
๑๒) สนับสนุนการปฏิบัติการด้านการรักษาความมั่นคงภายใน การป้องกันและปราบปราม
การก่อความไม่สงบในพื้นที่ส่วนหลัง เมื่อได้รับการสนับสนุนเครื่องมือที่เหมาะสม
๑.๒.๒ การจัดหน่วยทหารสารวัตรยามสงคราม
เมื่อประกาศสงคราม ศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบกจะจัดทีบ่ ัญชาการทางยุทธวิธขี ึ้นควบคุมการรบ
เรียกว่า กองบัญชาการกองทัพบกสนาม ในส่วนของทหารสารวัตร จะมีกรมการสารวัตรทหารบกทำหน้าที่
เป็นนายทหารฝ่ายการสารวัตรของกองบัญชาการกองทัพบกสนาม เพื่อเสนอแนะเกีย่ วกับการใช้หน่วยทหาร
สารวัตรปฏิบัติภารกิจให้กับกองทัพบกสนาม การจัดหน่วยทหารสารวัตรยามสงครามมีการจัดหน่วยดังนี้
๑.๒.๒.๑ กองทัพภาค มีการจัดหน่วยทหารสารวัตร ซึ่งประกอบด้วย แผนก
สารวัตร แผนกสืบสวนสอบสวน และกองพันทหารสารวัตรสนาม ที่อาจได้รับการแบ่งมอบจากกองบัญชาการ
กองทัพบกสนาม เพื่อให้ปฏิบัติภารกิจเกี่ยวกับกิจการสารวัตรทหารให้กับกองทัพภาค
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๙๙

๑.๒.๒.๒ การจัดหน่วยทหารสารวัตรมณฑลทหารบกทีข่ ึ้นตรงต่อกองทัพภาค มีอัตราการ


จัดเช่นเดียวกับยามปกติ
สำหรับหน่วยบัญชาการอืน่ ๆ เช่น พล.ป., พล.ปตอ., พล.รพศ., พล.พัฒนา, นสศ. และ
นปอ. จะมีฝ่ายการสารวัตรบรรจุไว้ในอัตราเพียงหน่วยเดียวเท่านัน้
๒. หลักนิยมทางยุทธวิธีของหน่วยในปัจจุบัน
๒.๑ หลักพื้นฐานทางยุทธวิธี/การจัดกำลังเข้าทำการรบหรือการแบ่งมอบ
ในยามปกติ ส่วนกำลังรบ ได้แก่ ฝ่ายการสารวัตร และกองพันทหารสารวัตรกองทัพภาค
การสนับสนุนการรบให้หน่วยดำเนินกลยุทธ์ของกองทัพภาค และปฏิบัติการเกี่ยวกับกิจาการสารวัตรทหาร
ด้านอื่นๆ เป็นลักษณะรวมการให้กับกองทัพภาคหรือได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงานในกิจการสารวัตรทหาร
โดยมีกองร้อยทหารสารวัตรสนามเป็นหน่วยในอัตราของกองพันทหารสารวัตรกองทัพภาค โด ยอำนาจ
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๑๐๐

กำหนดขึ้นสมทบหรือขึ้นควบคุมทางยุทธการกองพลทหารราบหรือกองพลทหารม้า หรือหน่วยอื่นๆ ได้ตาม


ความจำเป็นทางด้านยุทธการ
เมื่อประกาศสงคราม ศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบกจะจัดที่บัญชาการทางยุทธวิธีขึ้นควบคุม
การรบ เรียกว่า กองบัญชาการกองทัพบกสนาม ในส่วนของทหารสารวั ตร จะมีกรมสารวัต รทหารบก
ทำหน้าที่เป็นนายทหารฝ่ายการสารวัตรของกองบัญชาการกองทัพบกสนาม เพื่อเสนอแนะเกี่ยวกับการใช้
หน่วยทหารสารวัตรปฏิบัติภารกิจให้กับกองทัพบกสนาม โดย กองทัพภาค จะมีการจัดหน่วยทหารสารวัตร
ประกอบด้วย แผนกสารวัตร แผนกสืบสวนสอบสวน และกองพันทหารสารวัตร ที่อาจได้รับการแบ่งมอบจาก
กองบัญชาการกองทัพบกสนาม เพื่อให้ปฏิบัติภารกิจเกี่ยวกับกิจการสารวัตรทหารให้กับกองทัพภาค ในส่วน
ของการจัดหน่วยทหารสารวัตรมณฑลทหารบกที่ขึ้นตรงต่อกองทัพภาค มีอัตราการจัดเช่นเดียวกับยามปกติ
สำหรับหน่วยอื่น ๆ เช่น พล.ปตอ., พล.รพศ., พล.พัฒนา, นสศ. และ นปอ. จะมีฝ่ายสารวัตรบรรจุไว้ในอัตรา
เพียงหน่วยเดียวเท่านั้น
๒.๒ สรรพตำราที่ใช้ในปัจจุบัน
๒.๒.๑ รส.๑๙-๑๐๐ ว่าด้วย หลักนิยมทหารสารวัตร พ.ศ. ๒๕๕๑
๒.๒.๒ รส.๑๙-๑๕ ว่าด้วย การความคุมจราจรของทหารสารวัตร พ.ศ. ๒๕๕๘
๒.๒.๓ รส.๙-๑ คู่มือราชการสนามว่าด้วย ทหารสารวัตรสนับสนุนกองพล พ.ศ. ๒๕๒๑
๒.๒.๔ รส.๑๙-๔ การสนับสนุนทหารสารวัตรในเขตยุทธบริเวณ พ.ศ. ๒๕๓๙
๒.๒.๕ รส. ๑๙-๕ คู่มือราชการสนามว่าด้วย ทหารสารวัตร พ.ศ. ๒๕๓๙
๒.๒.๖ รส. ๑๙-๑๐ คู่มือราชการสนามว่าด้วย การธุรการและการปฏิบัติงานของสารวัตร
พ.ศ. ๒๕๒๑
๒.๒.๗ รส.๑๙-๑๕ คู่มือราชการสนามว่าด้วย การก่อความไม่สงบของประชาชน พ.ศ.
๒๕๔๒
๒.๒.๘ รส.๑๙-๒๐ คู่มือราชการสนามว่าด้วย การสืบสวนสอบสวนอาชญากรรม พ.ศ.
๒๕๑๒
๒.๒.๙ รส.๑๙-๓๐ การรักษาความปลอดภัยทางวัตถุ พ.ศ. ๒๕๒๒
๒.๒.๑๐ รส.๑๙-๔๐ การเชลยศึกและผู้ถูกกักกันพลเรือน, พลเรือนฝ่ายข้าศึก พ.ศ. ๒๕๑๒
๒.๒.๑๑ รส.๑๙-๙๐ คู่มือราชการสสนามว่าด้วย นายทหารฝ่ายการสารวัตร พ.ศ. ๒๕๕๐
หมายเหตุ: ๒.๒.๓, ๒.๒.๖, ๒.๒.๗, ๒.๒.๘, ๒.๒.๙ และ ๒.๒.๑๑ อยู่ในแผนการปรับแก้ เนื่องจากไม่ทันสมัย
-------------------------------------------------------------------------
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๑๐๑

หลักนิยมของเหล่าทหารแพทย์
๑. ประเภทการจัดของหน่วย/เหล่า
๑.๑ กล่าวทั่วไป/ขีดความสามารถ
หลักนิยมของการบริการแพทย์ในยุทธบริเวณ จำเป็นต้องมีการวางแผนเพื่อให้การบริการ
แพทย์เป็นไปอย่างต่อเนือ่ งตามแผนการดำเนินกลยุทธ์ทุกสถานการณ์ดว้ ยศักยภาพที่สูงสุด โดยเฉพาะในพื้นที่
การรบที่มีการบาดเจ็บจำนวนมาก และสามารถคงไว้ซึ่งการเคลื่อนย้ายติดตามหน่วยดำเนินกลยุท ธ์ โดยที่มี
การบริการแพทย์ต่อหน่วยในสนามได้โดยตรงในขณะปฏิบัติการ การควบคุมแบบรวมการจะได้ผลดี กว่าการ
ควบคุ ม แบบแยกการ หน่ ว ยสายแพทย์ ม ั ก ได้ ร ั บ การควบคุ ม โดยผู ้ บ ั ง คั บ บั ญ ชาหรื อ นายแพทย์ ใ หญ่
กองบัญชาการ/ผู้บังคับหน่วยสายแพทย์ที่ได้รับการมอบหมาย
๑.๒ ระดับการบริการทางการแพทย์ในยุทธบริเวณ แบ่งเป็น ๕ ระดับ ได้แก่
๑.๒.๑ การบริการแพทย์ระดับหน่วย
หมวดเสนารักษ์และการบริการแพทย์ระดับหน่วย อัตราการจัดและยุทโธปกรณ์
(อจย) กรม ร.ร้อย.บก.กรม ร. และ มว.สร.ร้ อย.บก.กรม ร.(ยานยนต์) ตามคำสั่ง ทบ (ฉพาะ) ลับ ที่ ๗๑/๕๐
เรื่อง อัตราการจัดและยุทโธปกรณ์ (ครั้งที่ ๒๓) ลง ๑๒ ก.ย.๕๐ ให้ใช้ อจย.หมายเลข ๗-๑๒ พ. (๕ ธ.ค.๓๐)
กองบังคับการและกองร้อยกองบังคับการ กรมทหารราบ และ อจย.หมายเลข ๗-๑๕ พ. (๕ ธ.ค.๓๐) กองพัน
ทหารราบ
เพื่อติดตามสนับสนุน และเมื่อหน่วยออกปฏิบัติการในพื้นที่ใดก็จะได้รับการ
สนับสนุนจากบริการแพทย์ของหน่วยนั้น ๆ เช่น ถ้าต้องไปปฏิบัติการในพื้นที่ของ พัน .ร.กำลังพลที่ได้รับ
บาดเจ็บ หลังจากที่นายสิบพยาบาลซึ่งประจำอยู่ ได้ให้การปัจจุบันพยาบาลแล้ว เมื่อจำเป็นต้องส่งกลับก็ร้อง
ขอการส่งกลั บไปยังที่พยาบาลกองพัน หรือถ้าหน่วยปฏิบัติอยู่ในพื้นที่ของ กรม ร.ก็ร้องขอการส่งกลับ
ผู้บาดเจ็บไปยังที่พยาบาล ซึ่งการบริการแพทย์ระดับหน่วยนี้ จะดำเนินการต่อผู้บาดเจ็บนั้นต่อไปตามระบบ
ทางการแพทย์ที่เหมาะสม
๑.๒.๒ การบริการแพทย์ระดับกองพล
๑.๒.๒.๑ ฝ่ายการแพทย์กองพล จะจัด ตั้งสำนักงานอยู่ในกองบัญชาการกองพล
ทำหน้าที่เป็นฝ่ายอำนวยการของผู้บังคับบัญชาการกองพล ประเภทฝ่ ายกิจการพิเศษ (ทางการแพทย์) ตอน
เสนารักษ์ กองร้อยกองบัญชาการกองพล จัดเป็นการบริการทางการแพทย์ระดับหน่วย มีภารกิจในการให้การ
รักษาพยาบาลขั้นต้นแก่เจ้าหน้าที่ใน บก.พล. และ นขต.บก.พล.
๑.๒.๒.๒ กองพันเสนารักษ์ กรมสนับสนุน กองพลทหารราบยานยนต์ (พัน.สร.
กรม สน.พล.ม.ตาม อจย. ๘-๓๕ ม. (๒๙ ม.ค. ๒๙) และ พล.ร. ตาม อจย. ๘-๓๕ (๒๙ ม.ค.๒๔) และ ทัน.สร.
พล.ปตอ.ตาม อจย.๘-๔๕ (๒๕ มิ.ย. ๒๒))
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๑๐๒

๑.๒.๒.๓ เป็นหน่วยที่ให้การบริการทางการแพทย์ในระดับกองพล โดยมีหน้าที่


รับผิดชอบในการสนับสนุนการบริการทางการแพทย์ทั้งปวงในพื้นที่ส่วนหน้า และส่วนหลังของกองพลในพันธกิจ
(Functions) ทางการแพทย์ ๔ ประการ
(๑) การเวชกรรมป้องกัน
(๒) การรักษาพยาบาล และการส่งกลับ
(๓) การส่งกำลังบำรุง สิ่งอุปกรณ์ ๒-๔ สายแพทย์
(๔) การบริการทางการแพทย์อื่น ๆ
๑.๒.๓ การบริการแพทย์ระดับกองทัพ
๑.๒.๓.๑ แผนกการแพทย์ กองบัญชาการกองทัพภาค มีแพทย์ใหญ่กองทัพภาค
(พญ.ทภ.) เป็น ผบ.หน่วย ทำหน้าที่ฝ่ายอำนวยการของ ทภ. ตามปกติมีสำนักงานอยู่ ณ ที่ตั้งของ บก.ทภ. มี
หน้าที่สำคัญ คือ การกำกับดูแ ล อำนวยการ ประสานงานในเรื่องทางเทคนิคเกี่ยวกับการบริการทาง
การแพทย์ของหน่วยแพทย์ในพื้นที่ของกองทัพภาคทั้งหมด
๑.๒.๓.๒ กองพันเสนารักษ์ กองบัญชาการช่วยรบ (อจย๘-๕๕ (ต๐ ต.ค. ๒๓))
เป็นหน่วยแพทย์ในอัตราของกองบัญชาการช่วยรบ ๒ กองพัน ต่อ ๑ กองบัญชาการช่วยรบ ปัจจุบันจัดตั้ง
เพียง ๑ กองฟัน และมีการจัดตั้ง เฉพาะในกองบัญชาการช่วยรบที่ ๒ และที่ ๓ โดยใช้นามหน่วย กองพัน
ทหารเสนารักษ์ที่ ๒๒ และกองพันทหารเสนารักษ์ที่ ๒๓ ตามลำดับ
๑.๒.๓.๓ กองพันทหารเสนารั กษ์ เป็นหน่วยในการบริการทางการแพทย์ระดับ
กองทัพ ประกอบด้วยหน่วยรองหลัก ๓ หน่วย คือ หน่วยศัลยกรรมสนาม ชุดรักษาพยาบาล และ กองร้อย
เสนารักษ์สนับสนุน ถ้ามีการใช้ทั้งหน่วย เปิดที่รักษาพยาบาลกองทัพ จะมีขีดความสามารถเป็นโรงพยาบาล
สนามและมี ร้อย.เสนารักษ์สนับสนุน ทำหน้าที่ในการส่งกลับจากที่รักษาพยาบาลที่มีที่ตั้งในพื้นที่กองพล
มายังที่รักษาพยาบาลกองทัพ
๑.๒.๔. การบริการแพทย์ในเขตหลัง
การบริการทางการแพทย์ในเขตหลัง/เขตภายใน หน่วยแพทย์ที่รับผิดชอบในการ
ให้การบริการทางการแพทย์ในระดับเขตหลัง ได้แก่ รพ.ทบ.ในส่วนภูมิภาค
๑.๒.๔.๑ รพ.ทบ.ขนาด ๒๐๐ เตียง จัดหน่วยตาม อจย.หมายเลข ๘-๕๖๔ (๕ ธ.ค.๓๑)
๑.๒.๔.๒ รพ.ทบ.ขนาด ๙๐ เตียง จัดหน่วยตาม อจย.หมายเลข ๘-๕๖๕ (๒๕ ธ.ค.๓๒)
๑.๒.๔.๓ รพ.ทบ.ขนาด ๓๐ เตียง จัดหน่วยตาม อจย.หมายเลข ๘-๕๖๖ (๒๕ ม.ค.๓๒)
๑.๒.๕ การบริการแพทย์ในเขตภายใน
๑.๒.๕.๑ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้ า (อฉก.หมายเลข ๓๖๑๐) จำนวนเตียง
๑,๒๐๐ เตียง ภารกิจ เป็นโรงพยาบาลทั่วไป มีหน้าที่รักษาพยาบาลทหารข้ าราชการกลาโหม พลเรือน
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๑๐๓

ลูกจ้าง ตลอดจนครอบครัว และให้การรักษาพยาบาลบุคคลพลเรือนทั่ วไปตามขีดความสามารถเท่าที่จะ


ดำเนินการให้ได้ นอกจากนี้ยังมีหน้าที่เป็นโรงพยาบาลเพื่อฝึกอบรม และวิจัยตามนโยบายที่ได้รับมอบหมาย
๑.๒.๕.๒ โรงพยาบาลอานันทมหิดล (อฉก.หมายเลข ๓๖๒๐) จำนวน ๔๐๐ เตียง
ภารกิจ เป็นโรงพยาบาลทั่วไป มีหน้ าที่รักษาพยาบาล และการเวชกรรมป้องกัน นอกจากนี้ยังมีหน้าที่เป็น
โรงพยาบาลเพื่อฝึกอบรม และวิจัยตามนโยบายที่ได้รับมอบหมาย
๑.๒.๕.๓ โรงพยาบาลค่ายสุรนารี (อฉก.หมายเลข ๖๑๒๐) จำนวน ๔๐๐ เตียง
ภารกิจ เป็นโรงพยาบาลทั่วไป มีหน้าที่รักษาพยาบาลทหาร และข้าราชการกลาโหม พลเรือน ลูกจ้าง ตลอดจน
ครอบครัว และบุคคลพลเรือนทั่วไป มีหน้าที่เป็นโรงพยาบาลฝึกอบรมกำลังพลตามที่ได้รับมอบหมาย
๒. หลักนิยมทางยุทธวิธีของหน่วยในปัจจุบัน
๒.๑ หลักพื้นฐานทางยุทธวิธี
การจัดหน่วยสายแพทย์จำเป็นต้องมีขีดความสามารถในการปรับตัว มี ความอ่อนตัว และ
ยืดหยุ่นเพียงพอที่จะตอบสนองตามความต้องการต่อสถานการณ์ที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ ลักษณะของ
การจัดหน่วยควรมีความอ่อนตัว ยืดหยุ่นอยู่ในตัวเอง และมีความสามารถในการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ดว้ ยความ
ฉับไวตามสถานการณ์ ลักษณะของการสนับสนุนบริการแพทย์ในยุทธบริเวณมีความต่อเนื่องเกี่ยวข้องสัมพันธ์
กันไปตลอดตั้งแต่หน่วยแพทย์ที่ตั้งอยู่ข้างหน้าสุด จนถึงหน่วยแพทย์ที่ตั้งอยู่ข้างหลังสุดของยุทธบริเวณ โดยมี
หลักการสำหรับการบริการทางการแพทย์ ทั้ง ๖ ประการ ได้แก่ ความสอดคล้อง ความต่อเนื่อง การควบคุม
ความใกล้ชิด ความอ่อนตัว และ การเคลื่อนที่
๒.๒ ข้อพิจารณาการใช้ การจัดกำลังเข้าทำการรบหรือการแบ่งมอบให้หน่วยดำเนินกลยุทธ์
หน่วยสนับสนุนการรบ หน่วยสนับสนุนการช่วยรบ ตามข้อ ๒.๑
๒.๓ สรรพตำราที่ใช้ในปัจจุบัน
๒.๓.๑ หลักนิยมของกองทัพบกว่าด้วยบริการแพทย์ในยุทธบริเวณ รส.๘-๑๐ พ.ศ.๒๕๕๒
๒.๓.๒ หลักนิยมของกองทัพบกวด้วยการบริการทางการแพทย์
๒.๓.๓ เอกสารตำราคู่มือของ รร.สร.พบ.

-------------------------------------------------------------------------
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๑๐๔

หลักนิยมของเหล่าทหารการสัตว์
๑. ประเภทการจัดของหน่วย/เหล่า
๑.๑ กล่าวทั่วไป
กรมการสัตว์ทหารบก มีหน้าที่วางแผน อำนวยการ ประสานงาน แนะนำ กำกับการ
ดำเนินการ วิจัยและพัฒนาเกีย่ วกับการผลิต การจัดหา การส่งกำลัง การซ่อมบำรุง การบริการ การสุขาภิบาล
เวชกรรมป้องกัน การรักษาพยาบาล การบำรุงรักษา การผสมพันธุ์สัตว์ และการเสบียงสัตว์ การสนับสนุนการ
ปฏิบัติการทางทหารด้วยการใช้สัตว์ และการเกษตรของกองทัพบก กำหนดหลักนิยมและทำตำรา ตลอดจน
การฝึก ศึกษา ทั้งนี้ เกี่ยวกับกิจการและสิ่งอุปกรณ์ของเหล่าทหารการสัตว์ มี เจ้ากรมการสัตว์ทหารบก เป็น
ผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ
๑.๒ การจัดหน่วย
หน่วย อจย. ในความรับผิดชอบของกรมการสัตว์ทหารบกประกอบด้วย ๒ หน่วย ได้แก่
๑.๒.๑ กองพันสุนัขทหาร
๑.๒.๑.๑ ภารกิจ สนับสนุนทหารในการรบด้วยการลาดตระเวน สะกดรอบ ค้นหา
วัตถุระเบิดและเพิ่มขีดความสามารถให้กับหน่วยทหารในการรักษาความปลอดภัยที่ตั้งทางทหารและคลัง
ยุทโธปกรณ์ที่สำคัญ ให้การสนับสนุนหน่วยทหารในการค้นหายาเสพติด อาวุธปืนและวัตถุระเบิด ตลอดจน
ปฏิบัติภารกิจอื่น ๆ ตามที่กองทัพบกมอบหมาย
๑.๒.๑.๒ การจัด

๑.๒.๑.๓ การแบ่งมอบ : เป็นหน่วยของกองทัพบก อาจแบ่งมอบให้หน่วยรองได้


ตามความจำเป็น
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๑๐๕

๑.๒.๑.๔ ขีดความสามารถ กองพันสุนัขทหาร


(๑) บั ง คั บบั ญชา ควบคุ ม วางแผน อำนวยการและกำกับการดู แ ล
การปฏิบัติงานของหน่วยรองได้ ๕-๗ กองร้อยสุนัขทหาร
(๒) สนับสนุ นงานรักษาความปลอดภัยแก่หน่วยทหารทุกระดับและ
บุคคลสำคัญ
(๓) สนับสนุนงานปราบปรามการก่อความไม่สงบ
(๔) ดำเนิ น การเกี ่ ย วกั บ เวชกรรมป้ อ งกั น การสั ต วบาล การ
รักษาพยาบาลและการฟื้นฟูสุขภาพสุนัขทหารของกองพัน
(๕) ทำการรบอย่างทหารราบได้เมื่อจำเป็น แต่จะต้องได้รับการเพิ่มเติม
ยุทโธปกรณ์ให้ตามความเหมาะสม
๑.๒.๒ กองพันกองพันสัตว์ต่าง กรมการสัตว์ทหารบก
๑.๒.๒.๑ ภารกิจ กองพันสัตว์ต่าง เป็นหน่วยขึ้นตรง กองทัพบก ฝากการบังคับ
บัญชาไว้กับกรมการสัตว์ทหารบก ภารกิจของหน่วยทหารสัตว์ต่าง แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ ภารกิจหลัก
และภารกิจรอง
(๑) ภารกิจหลัก แบ่งออกเป็น ๓ ลักษณะ
(๑.๑) การสนับสนุนการขนส่งด้วยสัตว์ต่าง ได้แก่ ใช้ขบวนสัตว์ต่าง
ขนสิ่งอุปกรณ์ให้กับหน่วยร้องขอ ทั้งในเขตหน้าและเขตหลัง
(๑.๒) การส่งกลับผู้ป่วยเจ็บด้วยสัตว์ต่าง ได้แก่ การส่งกลับด้วย
สัตว์ต่างโดยวิธีการขี่ เปลเดี่ยว และเปลคู่
(๑.๓) การสนับสนุนการเทียมลาก อาวุธ ยุทโธปกรณ์ ได้แก่ การใช้
สัตว์ต่างในการเทียมลาก อาวุธ ยุทโธปกรณ์ เช่น ปืนใหญ่
(๒) ภารกิจรอง
(๒.๑) การสนับสนุนการปฏิบัติการทางด้านจิตวิทยา
- ใช้ แ รงงาน กำลั ง พล, สั ต ว์ ต ่ า ง และยุ ท โธปกรณ์ เ ข้ า
ช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ปฏิบัติการ
- ให้ความรู้ดา้ นการเกษตร การเลี้ยงสัตว์และด้านสัตวรักษ์
แก่ประชาชนในพืน้ ที่
(๒.๒) การปฏิบัติการรบอย่างทหารราบ
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๑๐๖

๑.๒.๒.๒ การจัด

๑.๒.๒.๓ การแบ่งมอบ : เป็นหน่วยของกองทัพบก อาจแบ่งมอบให้หน่วยรองได้


ตามความจำเป็น
๑.๒.๒.๔ ขีดความสามารถ กองพันสัตว์ต่าง กรมการสัตว์ทหารบก
(๑) การบรรทุกน้ำหนัก
ความสามารถบรรทุกน้ำหนักได้ (กก.)
ลำดับ รายการ
พื้นที่ในภูมิประเทศ พื้นที่ในทางราบ
๑ ล่อ ๑ ตัว ๖๐ ๑๐๐
๒ ล่อ ๑ ตัว หมู่ต่าง (๑๖ ตัว) ๙๖๐ ๑,๖๐๐
๓ ล่อ ๑ ตัว หมวดบรรทุกต่าง (๖๔ ตัว) ๓,๘๔๐ ๖,๔๐๐
๔ ล่อ ๑ ตัว กองร้อยบรรทุกต่าง (๒๕๖ ตัว) ๑๕,๓๖๐ ๒๕,๖๐๐
(๒) ความสามารถในการเดิน
(๒.๑) พื้นที่ในภูมิประเทศ ๓ - ๔ กม./ชม.
(๒.๒) พื้นที่ในทางราบ ๔ – ๖ กม./ชม.
๒. หลักนิยมทางยุทธวิธีของหน่วยในปัจจุบัน
๒.๑ หลักนิยมพื้นฐานในการใช้หน่วยทหารสัตว์ต่าง (กองพันสัตว์ต่าง)
แบบการจัดการสนับสนุนของหน่วยทหารสัตว์ต่าง แบ่งออกเป็น ๓ แบบ ดังนี้
๒.๑.๑ การสนับสนุนส่วนรวม การจัดการสนับสนุนแบบนี้เป็นแบบการสนับสนุนโดยใช้
หน่วยทหารสัตว์ต่างระดับกองพัน โดยกองพันเป็นหน่วยควบคุมและตัดสินใจในการใช้หน่วยในบังคับบัญชา
เป็นส่วนรวม ซึ่งเป็นกองร้อยหลักสนับสนุนแก่หน่วยที่ร้องขอเป็นครั้งคราวไป โดยจะไม่จัดกองร้อยหรือหน่วย
ใดให้มีหน้าที่สนับสนุนหรือสมทบไปกับหน่วยกำลังรบใดเป็นการแน่นอน กองพันอาจหมุนเวียนมอบภารกิจ
ให้กองร้อยใดสนับสนุนหน่วยกำลังรบใดก็ได้ ซึ่งเหมาะกับพื้นที่รับผิดชอบในการสนับสนุนของกองพัน กว้าง
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๑๐๗

และระยะทางไม่ไกลนัก สามารถรวมกองร้อยในอัตราไว้ในกลุ่มเดียวกันได้ ซึ่งสะดวกในการส่งกำลังบำรุง


ให้กับหน่วยในอัตราของตนเอง
๒.๑.๒ การสนับสนุนโดยตรง เป็นการสนับสนุนมอบภารกิจให้กับกองร้อยบรรทุกต่าง
แต่ละกองร้อย มีหน้าที่ สนับสนุนโดยตรงแก่หน่วยกำลังรบใดโดยเฉพาะเป็นการแน่นอน ตลอดห้วงการ
ปฏิบัติการในพื้นที่นั้น ๆ กองพัน อาจเพียงควบคุมและให้การสนับสนุนการส่งกำลังบำรุงและอื่น ๆ เป็น
ครั้งคราว ซึ่งเหมาะสมกับพื้นที่รับผิดชอบในการสนับสนุนค่อนข้างกว้าง และหน่วยขอรับการสนับสนุนแต่ละ
หน่วยอยู่ห่างไกล
๒.๑.๓ การสนับสนุนโดยใกล้ชิด เป็นการสนับสนุนโดยตรงอีกแบบหนึ่ง โดยปกติจะใช้กับ
หน่วยทหารสัตว์ต่างระดับต่ำกว่ากองร้อย ซึ่งอาจเป็นหน่วยระดับหมวดบรรทุกต่าง หรือหมู่ต่าง ซึ่งจะมีสว่ น
ระวังป้องกันตนเองของหน่วย เลยแยกไปสมทบ เพื่อปฏิบัติภารกิจสนับสนุนให้กับหน่วยกำลังรบอิสระหรือ
หน่วยที่อยู่ห่างไกลมาก ๆ การสนับสนุนแบบนี้ หน่วยทหารสัตว์ต่าง ต้องอาศัยการระวังป้องกันจากหน่วยขอรับ
การสนับสนุนอย่างจริงจังเป็นหลัก
๒.๒ การจัดกำลังเข้าทำรบหรือการแบ่งมอบ จำแนกเป็นหน่วยดำเนินกลยุทธ์ หน่วยสนับสนุน
การรบ และหน่วยสนับสนุนการช่วยรบ
๒.๒.๑ การขอรับการสนับสนุนการใช้หน่วยทหารสัตว์ต่าง การจัดหน่วยทหารสัตว์ต่าง
สนับสนุนหน่วยกำลังรบในพื้นที่ปฏิบัติการในปัจจุบันอาจกระทำได้ ๒ กรณีคือ
๒.๒.๑.๑ กองทัพบกพิจารณายุทธบริเวณขั้นต้นแล้วเห็นสมควรให้ จัดหน่วยทหาร
การสัตว์ต่างเป็นหน่วยสนับสนุนการขนส่งในยุทธบริเวณใด จึงสั่งการโดยตรงให้จัดหน่วยทหารสัตว์ต่าง
สนับสนุนแก่หน่วยในยุทธบริเวณนั้น
๒.๒.๑.๒ ในกรณี ผบ. ยุทธบริเวณ ซึ่งประสบปัญหาในการส่งกำลังด้านขนส่งทาง
พื้นดินให้กับหน่วย ซึ่งปฏิบัตกิ ารในพื้นที่รับผิดชอบ พิจารณาเห็นสมควรขอรับการสนับสนุนหน่วยทหารสัตว์ต่าง
เพื่อแก้ปญ
ั หาดังกล่าว สามารถร้องขอการสนับสนุนหน่วยทหารสัตว์ต่างกองทัพบก เพื่อพิจารณาอนุมตั ติ ่อไป
๒.๒.๒ การขอรับการสนับสนุนการใช้หน่วยสุนัขทหาร
๒.๓ งานด้านยุทธการของ กส.ทบ. ในปัจจุบัน ดังนี้
๒.๓.๑ แผนงานปกติ จั ด ชุ ด สุ นั ข ทหาร (สุ น ั ข ยาม-สุ น ั ข ยามสายตรวจ) สนั บ สนุ น
กองบัญชาการช่วยรบ
๒.๓.๒ แผนงานป้องกันประเทศ จัดชุดสุนัขทหารและชุดสัตว์ต่างสนับสนุนหน่วยกำลังรบ
๒.๓.๓ แผนงานการต่อสู้เพื่อเอาชนะคอมมิวนิสต์ จัดชุดสุนัขทหารและชุดพัฒนาอาชีพ
เกษตรกร สนับสนุน กอ.รมน.ภาค
๒.๓.๔ แผนงานสนับสนุน กรป.กลาง บก.ทหารสูงสุด จัดชุดสุนัขทหารสนับสนุน นพค.
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๑๐๘

๒.๔ สรรพตำราที่ใช้ในปัจจุบัน
๒.๔.๑ คู่มือราชการสนาม
- รส.๑๓-๑๐๐-๑ ว่าด้วย กองพันสัตว์ต่าง (พ.ศ.๒๕๔๓)
- รส.๑๓-๑๐๐-๒ ว่าด้วย กองพันสุนัขทหาร (พ.ศ.๒๕๔๕)
- รส.๔-๐๒.๑๘ ว่าด้วย หลักนิยมทหารการสัตว์ (พ.ศ.๒๕๔๕)(ยังไม่ได้ประกาศใช้)
- รส.ทหารการสัตว์ ว่าด้วย การใช้สัตว์ต่าง (พ.ศ.๒๕๕๕) (ยังไม่ได้ประกาศใช้)
- หลั ก นิ ย มของหมวดบรรทุ ก ต่ า ง ในภารกิ จ ช่ ว ยเหลื อ ด้ า นมนุ ษ ยธรรมและ
การบรรเทาสาธารณภัย (พ.ศ.๒๕๖๑)
๒.๔.๒ คู่มือการฝึก/คู่มือเทคนิค
- คท.๑๓-๑ ว่าด้วย การใช้สุนัข
- คู่มือการฝึก ว่าด้วย แบบฝึกผู้บังคับสุนัขทหาร สำหรับสุนขตรวจค้นวัตถุระเบิด
(พ.ศ.๒๕๕๗)
- คู่มือการฝึก ว่าด้วย แบบฝึกผู้บังคับสุนัขทหาร (สำหรับสุนัขตรวจค้นทุ่นระเบิด
และอุโมงค์) (พ.ศ.๒๕๕๗)
- คู่มือการฝึก ว่าด้วย แบบฝึกผู้บังคับสุนัขทหาร (สำหรับสุนัขตรวจค้นยาเสพติด
ให้โทษ) (พ.ศ.๒๕๕๗)
- คู่มือการฝึก ว่าด้วย แบบฝึกผู้ บังคับสุนัขทหาร (สำหรับสุนัขลาดตระเวน)
(พ.ศ.๒๕๕๗)
- คู่มือการฝึก ว่าด้วย แบบฝึกผู้บังคับสุนัขทหาร (สำหรับสุนัขสะกดรอย) (พ.ศ.
๒๕๕๗)
- คู่มือการฝึก ว่าด้วย แบบฝึกผู้บังคับสุนัขทหาร (สำหรับสุนัขยามสายตรวจ)
(พ.ศ.๒๕๕๗)
- คู่มือการฝึก ว่าด้วย แบบฝึกผู้บังคับสุนัขทหาร (สำหรับสุนัขยาม) (พ.ศ.๒๕๕๗)
๒.๔.๓ ระเบียบหลักสูตรการฝึก
- ระเบียบหลักสูตรการฝึกเป็นหน่วยเบื้องต้น (หมู่ หมวด ตอน) สำหรับกองพัน
สัตว์ต่าง เหล่าทหารการสัตว์ (พ.ศ.๒๕๒๑)
- ระเบียบหลักสูตรการฝึกเป็น หมู่ หมวด ตอน ของกองพันสุนขทหารเหล่าทหาร
การสัตว์ (พ.ศ.๒๕๔๒)
- ระเบียบหลักสูตรการฝึกร่วมการรบ ป่า -ภูเขา สำหรับกองพันสัตว์ต่าง กรมการ
สัตว์ทหารบก เหล่าทหารการสัตว์ (๔ สัปดาห์) (พ.ศ.๒๕๕๐)
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๑๐๙

- หลักสูตรการฝึกสุนัขสลายมวลชน ของกองพันสุนัขทหาร เหล่าทหารการสัตว์


(พ.ศ.๒๕๕๐)
- หลักสูตรการฝึกสุนัขค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัยของ กองพันสุนัขทหาร
เหล่าทหารการสัตว์ (พ.ศ.๒๕๕๐)

-------------------------------------------------------------------------
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๑๑๐

หลักนิยมของเหล่าทหารดุริยางค์
๑. ประเภทการจัดของหน่วย/เหล่า : กรมดุริยางค์ทหารบก
๑.๑. กล่าวทั่วไป กรมดุริยางค์ทหารบก เป็น หน่วยทหารของกองทัพบก มีหน้าที่ วางแผน
อำนวยการ ประสานงาน แนะนำ กำกับการ ดำเนินการ เกี่ยวกับกิจการดนตรี การฝึกศึกษา วิทยาการ การพัฒนา
การดนตรี และปฏิบัติการแสดงดนตรีของกองทัพบก โดยมีขอบเขตความรับผิดชอบและหน้าที่สำคัญ ดังนี้
๑.๑.๑ วางแผน อำนวยการ กำกับการ ดำเนินการเกี่ยวกับกิจการดนตรีทั้งปวงในฐานะ
เป็นหัวหน้าเหล่าสายวิทยาการของ ทบ.
๑.๑.๒ ดำเนินการเกี่ยวกับการฝึกและศึกษาวิชาดนตรีให้กับกำลังพลเหล่าทหารดุริยางค์
ของ ทบ.
๑.๑.๓ ดำเนิน การผลิต นักเรียนดุริยางค์ทหารบก เพื่อบรรจุเป็นกำลังพลเหล่าทหาร
ดุริยางค์ให้แก่หน่วยทหารใน ทบ.
๑.๑.๔ ดำเนินการพัฒนาประสิทธิภาพด้านการดนตรีของกำลังพลเหล่าทหารดุริยางค์
ทั้งเป็นบุคคลและเป็นหน่วย ด้วยการทดสอบ เพื่อจัดระดับขีดความสามารถ และการตรวจสอบการฝึก
การบรรเลงและประเมินผลในระดับ มว.ดย.
๑.๑.๕ พัฒนาวิทยาการดนตรี การประพันธ์บทเพลง การเรียบเรียงเสียงประสานตลอดจน
ให้คำแนะนำและเสนอแนะวิทยาการดนตรีให้ส่วนราชการในกองทัพบก และส่วนราชการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
หรือตามที่ได้รับมอบหมายจาก ทบ.
๑.๑.๖ ปฏิบัติการแสดงดนตรี และกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการบันเทิงของกองทัพบก และ
ปฏิบัติการแสดงดนตรีในงานพระราชพิธีต่าง ๆ รวมทั้งปฏิบัติการแสดงดนตรี เพื่อสนับสนุนหน่วยทหาร และ
ส่วนราชการอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบ
๑.๑.๗ กำหนดหลักนิยมด้านการดนตรี คุณลักษณะเฉพาะเครื่ องดนตรี และอุปกรณ์
ประกอบการแสดงดนตรีของ ทบ.
๑.๑.๘ กำหนดความต้อง การจัดหา การเก็บรักษาและการแจกจ่าย สิ่งอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง
กับสายวิทยาการเหล่าทหารดุริยางค์ของ ทบ.
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๑๑๑

๑.๒ การจัด กรมดุริยางค์ทหารบก ตามอัตราเฉพาะกิจ หมายเลข ๔๘๐๐

๑.๓ ขีดความสามารถ
๑.๓.๑ กองดนตรี มีหน้าที่ ปฏิบัติการแสดงดนตรีสากล โยธวาทิต หัสดนตรี และดนตรีไทย
ดำเนินการจัดวงดุริยางค์ จาก มว.ดนตรีต่าง ๆ ไปบรรเลงตามลักษณะงาน ผลิตผลงานเพลงใหม่ และเรียบเรียง
เสียงประสาน เพื่อสนับสนุนภารกิจของ ทบ.และส่วนราชการอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบ
๑.๓.๒ กองวิทยาการ มีหน้าที่ดำเนินการเกี่ยวกับการค้นคว้าและพัฒนาวิทยาการดนตรี
ให้คำแนะนำเกี่ยวกับเทคนิคและวิทยาการที่ทันสมัยให้กับสายงานด้านดนตรีสากล และดนตรีไทย ตลอดจน
ให้คำปรึกษาเสนอแนะด้านการประพันธ์เพลง การเรียบเรียงเสียงประสาน การวิจัยและพัฒนาด้านดนตรี
การบันทึกเสียง เพื่อใช้ในกิจการของ ทบ. รวมทั้งดำเนินการในเรื่องคุณลักษณะเฉพาะ สป.เครื่องดนตรี และ
เครื่องประกอบเครื่องดนตรี การจัดทำหลักนิยมทางทหาร การแปลเอกสารตำราต่างประเทศ ห้องสมุด และ
พิพิธภัณฑ์
๑.๓.๓ แผนกบริการ มีหน้าที่ ให้บริการเกี่ยวกับ การสวัสดิการ การขนส่ง การรักษาพยาบาล
การสาธารณูปโภคและการสุขาภิบาล รวมทั้งการสนับสนุนกำลังพลเกี่ยวกับการรักษาการณ์ รักษาความปลอดภัย
การซักรีด และการบริการอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบ
๑.๓.๔ โรงเรียนดุริยางค์ทหารบก มีหน้าที่ ดำเนินการฝึก และศึกษาวิชาดนตรี ให้กับกำลัง
พลเหล่าทหารดุริยางค์ นักเรียนดุริยางค์ทหารบก
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๑๑๒

๒. หลักนิยมทางยุทธวิธีของหน่วยในปัจจุบัน
สรรพตำราที่ใช้ในปัจจุบัน
- ข้อบังคับทหารว่าด้วยการเคารพ มาตรา ๓ การบรรเลงเพลงเคารพ
- คู่มือการตรวจสอบการฝึกการบรรเลงของหมวดดุริยางค์
- FM ๑๒ – ๕๐ U.S. Army Band เอกสารแปล
- หลักนิยม (รส.) ที่ใช้ในปัจจุบัน กำลังดำเนินการ

-------------------------------------------------------------------------
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๑๑๓

หลักนิยมของเหล่าทหารการข่าว
๑. ประเภทการจัดของหน่วย/เหล่า
๑.๑ กล่าวทั่วไป
กรมข่าวทหารบก (ขว.ทบ.) จัดหน่วยตาม อฉก.๑๒๐๐ มีภารกิจ วางแผน อำนวยการ
ประสานงาน กำกับการ และดำเนินการเกี่ยวกับงานด้านการข่าว การรักษาความปลอดภัย การข่าวลับ การทูต
ฝ่ายทหารบกไทยในต่างประเทศ การติดต่อกับทูตฝ่ายทหารบกต่างประเทศในประเทศไทย การพิธีการทูต
ที่กองทัพบกต้องร่วมด้วย การฝึกและศึกษาของเจ้าหน้าที่ข่าวของกองทัพบก การเตรียมชุดเจ้าหน้าข่าวกรอง
ทางทหารสำหรับปฏิบัติงาน ตลอดจนกำหนดความต้องการและควบคุมการจ่ายแผนที่
การข่าวกรองนั้นจะสามารถให้การสนับสนุนแก่การรบหรือให้การสนับสนุนทางยุทธวิธีได้
อย่างไร ผู้บังคับหน่วยทางยุทธวิธีย่อมต้องการข่าวกรองทางการรบหรือข่าวกรองทางยุทธวิธี รวมทั้งการต่อต้าน
ข่าวกรอง (ตข.) เพื่อที่จะใช้ในการปฏิบัติภารกิจที่ได้รับมอบหมายมานั้นให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ดังนั้น เพื่อที่จะ
ให้ได้การดำเนินงานดังกล่าวได้ผล จำเป็นต้องอาศัยระบบงานทางการข่าวกรองที่ดีมีประสิทธิภาพอันหนึ่ง
ผู้ที่ดำเนินทางด้านข่าวกรองเราเรียกว่า ฝอ.๒ หรือนายทหารฝ่ายการข่าว สธ.๒ เป็นผู้ดำเนินการงานด้าน
ฝ่ายอำนวยการ ทำการกำกับดูแลกิจการเรื่องการข่าวกรองและการต่อต้านข่าวกรองของหน่วยนั้น
๑.๒ การจัด
๑.๒.๑ ตำแหน่งงานในหน้าที่ของนายทหารฝ่ายการข่าว เรียกอีกอย่างหนึ่ง คือ ฝอ.๒ หรือ
สธ.๒ ซึ่งทั้งสองคำนี้จะใช้แทนชื่อนายทหารฝ่ายการข่าว ตามระดับหน่วยดังต่อไปนี้
- ระดับกองทัพ และกองพล เรียกว่า สธ.๒
- ระดับกรม และกองพัน เรียกกว่า ฝอ. ๒
**หน่วยที่ต่ำกว่าระดับกองพัน ไม่มีการจัดแผนกข่าวกรอง**
๑.๒.๒ การจัดแผนกข่าวกรอง
หน่วยตั้งแต่ระดับกองพันขึ้นไป จะมีการจัดแผนกข่าวกรองขึ้นแผนกหนึ่งตาม
อัต ราของหน่วยนั้น ทั้งนี้ ย่อมขึ้นอยู่กับนายทหารฝ่ายการข่าวจะพิจารณากำหนดจัดแผนกของตนให้
เหมาะสมกับสถานการณ์ แล้วเสนอต่อฝ่ายเสนาธิการไปยังผู้บังคับบัญชาหน่วยเพื่ออนุมัติอัตราต่อไป โดย
แผนกข่าวกรองของหน่วยในระดับต่าง ๆ ดังนี้
๑.๒.๒.๑ กองพัน แผนกข่าวกรองของหน่วยระดับกองพันนับว่าเล็กมาก เพราะ
โดยปกติมีกำลังพล คือ นายทหารฝ่ายการข่าว (ฝอ.๒) ยศ ร.ท. ๑ นาย, ผช.นายทหารฝ่ายการข่าว ยศ ร.ท.
๑ นาย, เสมียนข่าวกรอง ยศจ่า ๑ นาย และ เสมียนข่าวกรอง ยศ ส.อ. ๑ นาย
๑.๒.๒.๒ กรม แผนกข่าวกรองของกรมมีเช่นเดียวกับกองพัน คือ นายทหารฝ่าย
การข่าว (ฝอ.๒) ยศ ร.ท. ๑ นาย, ผช.นายทหารฝ่ายการข่าว ยศ ร.ท. ๑ นาย, เสมียนข่าวกรอง ยศจ่า ๑ นาย
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๑๑๔

และ เสมียนข่าวกรอง ยศ ส.อ. ๑ นาย แต่มีบุคคลมาสมทบด้วยอีก คือ น.แผนที่ ยศ ร.อ. ๑ นาย และ
ผช.น. แผนที่ ยศ ร.ท. ๑ นาย
๑.๒.๒.๓ กองพล

๑.๒.๒.๔ การจัดหน่วยข่าวกรองทางทหาร (ขกท.)


(๑) ภารกิจ การดำเนินการข่าวกรอง และการต่อต้านข่าวกรองของ
ขกท.เพื่อให้การสนับสนุนหน่วยปฏิบัติการทางยุทวิธี การแบ่งมอบ เป็นของหน่วย ทบ.ตามความเหมาะสม
(ไม่ตายตัว)
(๒) ขี ด ความสามารถของ ขกท.เพื ่อ สนั บสนุนหน่วยกำลั งรบที่เข้า
ปฏิบัติการทางยุทธวิธีตามที่ได้รับมอบหมายในเรื่อง
- การซักถาม
- ทำเนียบกำลังรบ
- การตีความภาพถ่ายทางอากาศ
- การดำเนินการต่อเอกสาร วัสดุ อุปกรณ์ อาวุ ธยุทโธปกรณ์ของ
ข้าศึกที่ยึดมาได้
- การต่อต้านข่าวกรอง
๑.๓ ขีดความสามารถ
เนื่องจากภารกิจของกองทัพบกมีขอบเขตที่กว้างขวาง ประกอบด้วย การใช้กำลังในการ
ป้องกันประเทศ เพื่อเผชิญภัยคุกคามทางทหารแบบดั้งเดิม (Traditional Threats) และการปฏิบัติการ
ทางทหารเพื ่ อ เผชิ ญ /ตอบสนองต่ อ ภั ย คุ ก คามรู ป แบบอื ่ น ๆ (Non Traditional Threats) ดั ง นั้ น
ขีด ความสามารถด้านการข่าวกรองของกองทัพบกย่อ มมีขอบเขตที่กว้างขวางเช่นกัน จะต้องสามารถ
สนับสนุนการปฏิบัติงานของกองทัพบกได้ทุกภารกิจและทุกระดับหน่วย อันได้แก่ การพิทักษ์รักษาปกป้อง
เทิ ด ทู น สถาบั น พระมหากษั ต ริ ย ์ และการรั ก ษาความปลอดภั ย บุ ค คลสำคั ญ การรั ก ษาความมั ่ น คง
ภายในประเทศ การสนับสนุนการพัฒนาประเทศและช่วยเหลือประชาชน การเสริมสร้างความร่วมมือด้าน
ความมั่งคงกับมิตรประเทศ การปฏิบัติการด้านอื่น ๆ ทางทหารนอกเหนือสงคราม และการป้องกันประเทศ
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๑๑๕

๒. หลักนิยมทางยุทธวิธีของหน่วยในปัจจุบัน
๒.๑ หลักพื้นฐานทางยุทธวิธี
๒.๑.๑ การดำเนินงานข่าวกรองทางยุทธวิธี มีความต้องการข่าวกรองในเรื่องเกี่ยวกับ
ฝ่ายตรงข้ามและสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติการ ประกอบด้วย สภาพภูมิประเทศ ลมฟ้าอากาศ และท่าที
ของประชาชนในพื้นที่เป็นหลัก เพื่อนำมาใช้ให้เกิดความสำเร็จในการปฏิบัติภารกิจของหน่วย ทั้งนี้ ลักษณะ
ของการดำเนินงานข่าวกรองทางยุทธวิธี จะมีความเกี่ยวข้องกับการดำเนินการข่าวกรองต่าง ๆ อาทิ การ
ปฏิบัติตามวงรอบข่างกรอง การเตรียมสนามรบด้านการข่าว การปฏิบัติการข่าวกรอง การเฝ้าตรวจและ
การลาดตระเวน (กฝล.) การข่าวกรองในการดำเนินกรรมวิธีเป้าหมาย
๒.๑.๒ การดำเนินงานตามวงรอบข่าวกรอง (Intelligence Cycle) เป็นกระบวนการให้
ได้มาซึ่งข่าวกรองที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการข่าวสารของผู้บังคับบัญชาและฝ่ายอำนวยการ เพื่อ
นำไปใช้ในการตกลงใจที่บรรลุภารกิจ ขณะเดียวกั นนายทหารข่าวกรองจะใช้เป็นเครื่องมือเพิ่มเติมช่องว่าง
ข่าวกรองที่ขาดหายไป และนำไปใช้ในการยืนยันหรือปฏิเสธประมาณการข่าวกรองต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิง่
นำไปพิจารณาในการพัฒนาหนทางปฏิบัติของฝ่ายตรงข้ามที่ได้จาการเตรียมสนามรบด้านการข่าว (IPB) โดย
ดำเนินการเป็นวงรอบ ๔ ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ ๑ การวางแผนรวบรวมข่าวสาร ขั้น ตอนที่ ๒ การรวบรวม
ข่าวสาร ขั้นตอนที่ ๓ การดำเนินกรรมวิธีต่อข่าวสาร และขั้นตอนที่ ๔ การใช้และการกระจายข่าวกรอง
๒.๒ ข้อพิจารณาการใช้
๒.๒.๑ การปฏิบัติการข่าวกรองกระทำเพื่อช่วยเหลือผู้บังคับบัญชาในเรื่องข่าวสารข้อมูล
เกี่ยวกับภูมิประเทศ ลมฟ้าอากาศ ฝ่ายตรงข้าม และประชาชานในพื้นที่ปฏิบัติการ โดยจะเริ่มดำเนินการก่อน
การปฏิบัติทางยุทธวิธีและปฏิบัตอิ ย่างต่อเนือ่ งไปตามสถานการณ์การรบที่พัฒนาไปตามลำดับ การปฏิบัติการ
ข่าวกรองจะใช้ทรัพยากรของหน่วยต่าง ๆ ที่มีอยู่ ได้แก่ หน่วยดำเนินกลยุทธ์ หน่วยลาดตระเวน ทั้งทาง
อากาศและพื้นดิน ระบบการตรวจจับเป้าหมาย และหน่วยข่าวกรองทางทหาร ตลอดจนข่าวกรองที่ได้รับการ
สนับสนุนจากหน่วยเหนือ รวมทั้งประชาชนในท้องถิ่นและเจ้าหน้าที่ด้านการข่าวของรัฐบาล
๒.๒.๒ ผู้บังคับบัญชาจะให้คำแนะนำในการดำเนินงานข่าวกรอง โดยการกำหนดหัวข้อ
ข่าวสารสำคัญและความต้องการข่าวกรองอื่น ๆ เพื่อนำมาใช้ในระหว่างการแสวงข้อตกลงใจ และวาดภาพ
การรบได้อย่างถูกต้อง ทั้งนี้ ผู้บังคับบัญชาจะต้องมีส่วนร่วมในการวางแผนและควบคุมการปฏิบัติงานด้าน
การข่าวในระดับเดียวกับงานด้านยุทธการ รวมทั้ง จะต้องแน่ใ จว่ามีการกระจายข่าวกรองไปตามความ
ต้องการของหน่วยรองอย่างทันเวลา
๒.๒.๓ นายทหารข่าวกรอง จะต้องให้ข่าวกรองแก่ผู้บังคับบัญชาและฝ่ายอำนวยการ
ที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับสถานการณ์ ขีดความสามารถของฝ่ายตรงข้าม ภูมิประเทศ ลมฟ้าอากาศ โดยต้อง
ดำเนินการในเรื่องต่อไปนี้
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๑๑๖

- การดำเนินการตามวงรอบข่าวกรอง
- การเตรียมสนามรบด้านการข่าว (IPB)

- การปฏิบัติการข่าวกรอง การเฝ้าตรวจ และการลาดตระเวน (ขฝล.)


- การข่าวกรองในการดำเนินกรรมวิธีต่อเป้าหมาย
๒.๓ การจัดกำลังเข้าทำการรบหรือการแบ่งมอบ
๒.๓.๑ ระดับกองทัพบก
๒.๓.๑.๑ ฝ่ายข่าว ศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบก (ฝขว.ศปก.ทบ.) เป็นหน่วยรับผิดชอบ
หลักในหน้าที่ฝ่ายอำนวยการด้านการข่าวในการดำเนินงานข่าวกรองทางยุทธวิธี ทั้งนี้ นโยบาย หลักการ
ดำเนินงานข่าวกรองทางยุทธวิธีจะเป็นไปตามนโยบายและการสั่งการของผู้บัญชาการทหารบก ตามห้วง
ระยะเวลาที่กำหนด และระดับสถานการณ์ยุทธวิธี
๒.๓.๑.๒ หน่วย/เจ้าหน้าที่รวบรวมข่าวสาร ได้แก่
- หน่วยข่าวกรองทางทหาร (ขกท.) เป็นหน่วยหลักในการรวบรวมข่าวสาร
และผลิตข่าวกรองทางยุทธวิธี ตามขอบเขตภารกิจหน้าที่ที่รับผิดชอบ ทั้งในยามปกติและสถานการณ์สงคราม
- กองทัพภาค (ทภ.)/ศูนย์ปฏิบัติการกองทัพภาค (ศปก.ทภ.) และหน่วย
บัญชาการสงครามพิเศษ (นสศ.)/ศูนย์ปฏิบัติการหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ (ศปก.นศส.) เป็นหน่วย
รวบรวมข้อมูลข่ าวสารตอบสนองต่อความต้องการข่าวกรองทางยุทธวิธีบริเวณชายแดน ตามขอบเขตของ
พื้นที่ที่รับผิดชอบ
๒.๓.๒ ระดับของกองทัพภาคและหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ
๒.๓.๒.๑ ระดั บ กองทั พ ภาพและหน่ ว ยบั ญ ชาการสงครามพิ เ ศษเป็ น หน่ ว ย
รับผิดชอบหลักในการดำเนินงานข่าวกรองทางยุทธวิธี ในขอบเขตความรับผิดชอบตามภารกิจ ทั้งในยามปกติ
และในสถานการณ์สงคราม
๒.๓.๒.๒ หน่วย/เจ้าที่รวบรวมข่าวสาร ได้แก่ กองพลและหน่วยต่าง ๆ ในสายการ
บังคับบัญชา รวมทั้งหน่วยต่าง ๆ ที่กองทัพบกจัดให้มาสนับสนุน อาทิ หน่วยข่าวกรองทางทหารสนับสนุน
กองทัพภาค และหน่วยอื่น ๆ ตามความจำเป็นของสถานการณ์ทางยุทธวิธี
๒.๓.๓ ระดับของกองพลและกองกำลังป้องกันชายแดน
๒.๓.๓.๑ ฝ่ายข่าวกรองกองพล/กองกำลังป้องกันชายแดน เป็นหน่วยรับผิดชอบ
หลักในการดำเนินงานตามวงรอบข่าวกรองทางยุทธิวิธี ในขอบเขตความรับผิดชอบของกองพล/กองกำลัง
ป้องกันชายแดนตามลักษณะของสถานการณ์
๒.๓.๓.๒ หน่วย/เจ้าหน้าที่รวบรวมข่าวสาร ได้แก่ หน่วยต่าง ๆ ในสายการบังคับ
บัญชาของกองพล และกองกำลังป้องกันชายแดน รวมทั้ง หน่วยต่าง ๆ ที่กองทัพบกจัดให้มาสนับสนุน อาทิ
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๑๑๗

หน่วยข่าวกรองทางทหารสนับสนุนกองกำลัง กองพันข่าวกรองทางทหาร และหน่วยอื่น ๆ ตามความจำเป็น


ของสถานการณ์ทางยุทธวิธี

๒.๓.๔ ระดับกรมและกองพัน ฝอ.๒ ของ กรม และกองพัน


รับผิดชอบดำเนินงานข่าวกรองทางยุทธวิธีในงานฝ่ายอำนวยการด้านการข่าว โดย
หน่วย/เจ้าหน้าที่รวบรวมข่าวสาร ได้แก่ หน่วยต่าง ๆ ในสายการบังคับบัญชาของกรมและกองพัน
๒.๔ สรรพตำราที่ใช้ในปัจจุบัน
- หลักนิยม (รส.) ที่ใช้ปัจจุบัน : หลักนิยมการข่าวกรองของ ทบ. ปี พ.ศ.๒๕๖๑

-------------------------------------------------------------------------
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๑๑๘

หลักนิยมการส่งกำลังบำรุงของกองทัพบก
๑. ประเภทการจัดของหน่วย/เหล่า
๑.๑ กล่าวทั่วไป
การส่งกำลังบำรุงเป็นงานสาขาหนึ่งของการช่วยรบ ซึ่งประกอบไปด้วยการวางแผน และ
การปฏิบัติการสนับสนุนหน่วยเกี่ยวกับงานการช่วยรบ รวมทั้งกิจการทั้งปวงนอกเหนือไปจากการยุทธ์ อันได้แก่
๑.๑.๑ การกำหนดนโยบาย การวางแผน การวิจัยและพัฒนาการ การทำงบประมาณใน
การส่งกำลังบำรุง
๑.๑.๒ การออกแบบ และการพัฒนา การจัดหา การเก็บรักษา การแจกจ่าย การเคลื่อนย้าย
การซ่อมบำรุง การส่งกลับ และการจำหน่ายยุทโธปกรณ์
๑.๑.๓ การเคลื่อนย้าย การส่งกลับ และการรักษาพยาบาลกำลังพล
๑.๑.๔ การจัดหาหรือการก่อสร้าง การซ่อมแซม การดำเนินงานและการจัดสิ่งอำนวยความ
สะดวกต่าง ๆ
๑.๑.๕ การจัดหาหรือจัดให้มีบริการต่าง ๆ
การส่งกำลังบำรุงเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานมากมายหลายส่วน แต่ความมุ่งหมายนั้น
มีเพียงการสนับสนุนทุกวิถีทางเพื่อให้การช่วยรบสามารถทำการรบได้ชัยชนะในที่สุด โดยการจัดสิ่งอุปกรณ์
และบริการอย่างเพียงพอและทันเวลาให้กับหน่วยรับการสนับสนุนตามความต้องการ ซึ่งปัจจัยที่สำคัญในการ
ส่ ง กำลั ง บำรุ ง ให้ บ รรลุ ว ั ต ถุ ป ระสงค์ ไ ด้ น ั ้ น จะต้ อ งมี ก ารจั ด ระบบงานการส่ ง กำลั ง บำรุ ง ที ่ เ หมาะสม
ประกอบด้วย บุคลากร สิ่งอุปกรณ์ เงินหรืองบประมาณ และการบริหารระบบที่เหมาะสม
๑.๒ การจัดหน่วยส่งกำลังบำรุงของกองทัพบก
ในการดำเนินการด้านการส่งกำลังบำรุง กองทัพบก ได้แบ่งการจัดหน่วยทางการส่งกำลัง
บำรุง ออกเป็น ๔ ระดับ ได้แก่ หน่วยส่งกำลังบำรุงในระดับกองทัพบก หน่วยส่งกำลังบำรุงในระดับกองทัพภาค
หน่วยส่งกำลังบำรุงในระดับกองพล และหน่วยส่งกำลังบำรุงในระดับต่ำกว่ากองพล
๑.๒.๑ หน่วยที่เกี่ยวข้องกับการส่งกำลังบำรุงในระดับกองทัพบก ได้แก่ กรมฝ่ายเสนาธิการ
กรมฝ่ายยุทธบริการ และกรมฝ่ายกิจการพิเศษบางหน่วย
๑.๒.๑.๑ กรมฝ่ายเสนาธิการ
(๑) กรมส่งกำลังบำรุงทหารบก มีหน้าที่
- วางแผน อำนวยการ ประสานงาน กำกับการและดำเนินการ
เกี่ยวกับงานส่งกำลังบำรุงทั้งปวง การฝึกและการศึกษาด้านการส่งกำลังบำรุงของกองทัพบก
- แนะนำและกำกับดูแล ฝ่ายยุทธบริการและฝ่ายกิจการพิเศษ
ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการส่งกำลังบำรุงของกองทัพบก
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๑๑๙

(๒) กรมข่าวทหารบก เกี่ยวข้องในการส่งกำลังบำรุงในเรื่องการกำหนด


ความต้องการและควบคุมการแจกจ่ายแผนที่ทหาร และภาพถ่ายทางอากาศ
๑.๒.๑.๒ กรมฝ่ายยุทธบริการ กรมฝ่ายยุทธบริการของกองทัพบกมี ๙ สาย ได้แก่
กรมสรรพาวุธทหารบก กรมวิทยาศาสตร์ทหารบก กรมการทหารสื่อสาร กรมแพทย์ทหารบก กรมพลาธิการ
ทหารบก กรมการทหารช่าง กรมยุทธโยธาทหารบก กรมการขนส่งทหารบก และกรมการสัตว์ทหารบก มี
หน้าที่วางแผน อำนวยการ ประสานงาน แนะนำ กำกับการ ดำเนินการ วิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับการผลิต
จัดหา ส่งกำลัง ซ่อมบำรุง และบริการเกี่ยวกับกิจการและสิ่งอุปกรณ์ในความรับผิดชอบของตน
๑.๒.๑.๓ กรมฝ่ายกิจการพิเศษที่เกี่ยวข้องกับการส่งกำลังบำรุง ได้แก่
(๑) กรมสารบรรณทหารบก รับผิดชอบการส่งกำลังแบบธรรมเนียม
และแบบพิมพ์ที่กองทัพบกกำหนดให้แก่หน่วยตามที่กองทัพบกมอบหมาย
(๒) กรมสวัสดิการทหารบก รับผิดชอบการส่งกำลังและซ่อมบำรุงเครือ่ ง
กีฬา และเครื่องประกอบการเล่นกีฬา เครื่องดนตรี และเครื่องประกอบการเล่นดนตรี ให้แก่หน่วยตามที่
กองทัพบกมอบหมาย
(๓) หน่วยบัญชาการรักษาดินแดน รับผิดชอบการส่งกำลังแบบพิมพ์
หนังสือสำคัญสายงานสัสดี ให้แก่หน่วยที่กองทัพบกมอบหมาย
๑.๒.๒ หน่วยส่งกำลังบำรุงในระดับกองทัพภาค กองทัพภาครับผิดชอบในการสนับสนุน
ทางการส่งกำลังบำรุงให้แก่หน่วยของกองทัพภาค รวมทั้งหน่วยอื่น ๆ ที่กองทัพภาคมอบหมายให้มีที่ตั้ง หรือ
เข้าปฏิบัติการอยู่ในพื้นที่ของกองทัพภาค โดยมีกองบัญชาการช่วยรบ มณฑลทหารบก เป็นหน่วยปฏิบัติ
๑.๒.๒.๑ กองบัญชาการช่วยรบ รับผิดชอบเกี่ยวกับการสนับสนุนทางการส่งกำลัง
บำรุงดังนี้
(๑) ให้การสนับสนุนโดยตรงต่อหน่วยส่งกำลังบำรุงของหน่วยในบังคับ
บัญชาของกองทัพบกและหน่วยของกองทัพบกที่มีที่ตั้งหรือเข้าปฏิบัติการในพื้นที่ของกองทัพภาคหรือตามที่
กองทัพบกมอบหมายให้
(๒) จัดตั้งตำบลส่งกำลัง ตำบลจ่าย หรือสถานการส่งกำลังบำรุงขึ้น
ณ ตำบลที่เหมาะสมตามความจำเป็น
(๓) กำกับดูแลทางการส่งกำลังบำรุงของหน่วย และส่วนราชการที่ทำ
หน้าที่เกี่ยวกับการส่งกำลังของมณฑลทหารบก ในฐานะหน่วยรับผิดชอบทางการส่งบำรุงสูงสุดในกองทัพภาค
๑.๒.๒.๒ มณฑลทหารบก เป็นหน่วยในอัตราของกองทัพภาค รับผิดชอบในเรื่อง
การระดมสรรพกำลังทางด้านการส่งกำลังบำรุงในพื้นที่รับผิดชอบ นอกจากนั้นยังรับผิดชอบในการสนับสนุน
ทางการส่งกำลังให้แก่ตนเองและหน่วยทหารในพื้นที่รับผิดชอบ ดังนี้
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๑๒๐

(๑) การเคลื่อนย้ายและการขนส่งสิ่งอุปกรณ์
(๒) การดำเนินการเกี่ยวกับที่ดิน การก่อสร้าง การซ่อมแซม ตกแต่ง
อาคารสถานที่ การติดตั้งและซ่อมแซมสิ่งอำนวยความสะดวก
(๓) การรักษาพยาบาลและการส่งกลับ
(๔) เป็นตำบลส่งกำลังของกองทัพภาค หรือตามที่กองทัพบกกำหนด
เพือ่ ทำหน้าที่เก็บรักษา แจกจ่ายสิ่งอุปกรณ์บางประเภท
๑.๒.๓ หน่วยส่งกำลังบำรุงในระดับกองพล ในระดับกองพลจะมีหน่วยสนับสนุนทางการ
ส่งกำลังบำรุงเป็น ๒ แบบ ดังนี้
๑.๒.๓.๑ กองพลทหารราบแบบเดิม จะมีหน่วยสนับสนุนทางการส่งกำลังบำรุง
แบบสายยุทธบริการ ๕ สาย ได้แก่ กองพลาธิการกองพล กองสรรพาวุธเบากองพล กองพันทหารเสนารักษ์
กองพล กองพันทหารสื่อสารกองพล และกองพันทหารช่างสนามของกองพล
๑.๒.๓.๒ กองพลทหารราบแบบมาตรฐาน จะมีหน่วยสนับสนุนทางการส่งกำลัง
บำรุง ที่จัดแบบพันธกิจ คือ กรมสนับสนุน เป็นหน่วยสนับสนุนทางการส่งกำลังบำรุง สำหรับการจัดหน่วย
ของกรมสนับสนุน ขึ้นอยู่กับลักษณะงานและภารกิจที่ได้รับมอบหมาย
๑.๒.๔ หน่วยส่งกำลังบำรุงในระดับต่ำกว่ากองพล ในระดับต่ำกว่ากองพลลงมาจะไม่มี
การจัดหน่วยสนับสนุนทางการส่งกำลังบำรุงแยกให้เห็นอย่างชัดเจน หน่วยและเจ้าหน้าที่ที่ปฏิ บัติหน้าที่
สนับสนุนทางการส่งกำลังบำรุงจะรวมอยู่กับหน่วยกำลังรบ เช่น หมวดสื่อสาร หมวดบริการ หมวด/หมู่
เสนารักษ์ นายทหารส่งกำลัง และนายสิบสูทกรรม เป็นต้น
๑.๓ ขีดความสามารถ
การส่งกำลังบำรุงมีความเกี่ยวเนื่องกับงานด้านต่าง ๆ สรุปได้ ๕ ด้าน ดังนี้
๑.๓.๑ การส่งกำลัง (Supply)
การส่งกำลัง เป็นการปฏิบัติการในเรื่องความต้องการ การจัดหา การแจกจ่าย
และการจำหน่ายสิ่งอุปกรณ์ รวมทั้งการควบคุมการปฏิบัติตามขั้นตอนดังกล่าว ซึ่งเรียกโดยรวมว่า “วงรอบ
การส่งกำลัง”
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๑๒๑

จากภาพวงรอบการส่งกำลังหรือวงจรชีวิตของสิ่งอุปกรณ์ จะหมุนไปตามลำดับ
จากความต้อง การจัดหา การแจกจ่าย การซ่อมบำรุง การจำหน่าย ไม่มีการหมุนย้อยกลับทาง ส่วนการ
ควบคุมนั้น อยู่ตรงกลาง คือ ควบคุมทุกขั้นตอนของวงรอบ ทั้งนี้ วงรอบการส่งกำลังจะเริ่มต้น ณ จุดไหนก็ได้
แต่โดยธรรมดาแล้วความต้องการมักจะเป็นจุดเริ่มต้นของการส่งกำลัง กล่าวคือ เมื่อเกิดความขาดแคลน
ก็จะต้องมีการกำหนด “ความต้องการ” เมื่อ “จัดหา” เสร็จแล้วสิ่งอุปกรณ์จะเข้าสู่ระบบ “การแจกจ่าย” ซึ่ง
ครอบคลุมถึง การรับ การเก็บรักษา การจ่าย และการขนส่งอุปกรณ์ หลังจากสิ่งอุปกรณ์เข้าไปอยู่ใน
ครอบครองของหน่วยใช้ มีการใช้และเสื่อมสภาพไป จำเป็นต้องตัดออกไปจากระบบ นั่นก็คือ “การจำหน่าย”
เมื่อมีการจำหน่ายย่อมนำไปสู่ความขาดแคลนขึ้นอีก ซึ่งจะหมุนเป็นวงรอบเช่นนี้ตลอดไป
๑.๓.๒ การซ่อมบำรุง (Maintenance)
การซ่อมบำรุง เป็นการกระทำใด ๆ ที่มุ่งหมายจะรักษายุทโธปกรณ์ต่าง ๆ ให้อยู่ใน
สภาพที่ใช้การได้หรือมุ่งหมายที่จะทำให้ยุทโธปกรณ์ที่ชำรุดกลับคืนมาอยู่ในสภาพที่ใช้การได้ และหมาย
รวมถึงการตรวจสภาพ การทดสอบ การบริการ การซ่อมแก้ การซ่อมใหญ่ การซ่อมสร้าง การดัดแปลง และ
การซ่อมคืนสภาพ โดยการดำเนินการซ่อมบำรุง จะต้องยึดหลักการดังนี้
๑.๓.๒.๑ ต้องปฏิบัติตามคู่มือที่ได้รับจากกรมฝ่ายยุทธบริการ หรือกรมฝ่ายกิจการ
พิเศษที่รับผิดชอบ
๑.๓.๒.๒ การซ่อมแก้ ต้องพยายามกระทำ ณ ที่ซึ่งยุทโธปกรณ์ตั้งอยู่
๑.๓.๒.๓ ยุทโธปกรณ์ที่ชำรุดเกินขีดความสามารถของหน่วย หน่วยจะส่งไปซ่อม
ที่หน่วยซ่อมบำรุงประเภทสูงกว่า หรือร้องขอให้หน่วยซ่อมบำรุงประเภทสูงกว่าดังกล่าวมาดำเนินการซ่อมให้
๑.๓.๒.๔ ห้ามทำการยุบรวม เว้นแต่จะได้รับอนุมัติจากผู้มีอำนาจหรือสถานการณ์
ทางยุทธวิธีบังคับ
สำหรับความรับผิดชอบในการซ่อมบำรุงเป็นความรับผิดชอบของบุคคล (ผู้ใช้
ยุทโธปกรณ์ หรือมอบหมายให้ผู้ใต้บังคับของบัญชาของตนใช้) จะต้องรับผิดชอบในการดูแลรักษา รวมทั้งการ
ปรนนิบตั ิบำรุงยุทโธปกรณ์ในความรับผิดชอบของตนอย่างรอบคอบอยู่เสมอ ในขั้นของผู้ใช้ และความรับผิดชอบ
ของผู้บงั คับบัญชา ผู้บงั คับบัญชาทุกระดับชัน้ จะต้องสอดส่องดูแลจนเป็นทีแ่ น่ใจว่ายุทโธปกรณ์ที่อยู่ในความ
รับผิดชอบของตนได้รับการปรนนิบตั ิบำรุง และการซ่อมบำรุงอย่างดี และอยูใ่ นสภาพที่ใช้การได้อยู่เสมอ
๑.๓.๓ การขนส่ง (Transportation)
การขนส่ง เป็นการใช้เครื่องมือและสิ่งอำนวยความสะดวกอันจำเป็นมาสนับสนุน
การเคลื่อนย้าย โดยมุ่งที่จะให้การเคลื่อนย้ายสามารถบรรลุภารกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีพันธกิจ คือ
การจัดให้มีการเคลื่อนย้ายกำลังพลและยุทโธปกรณ์จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง ทั้งทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ
และทางท่ อ ขอบเขตของการขนส่งนั้นหมายรวมถึงการเคลื่อนย้ายกำลังพล ยุทโธปกรณ์ อุปกรณ์และ
สิ่งอำนวยความสะดวกในการขนส่งต่าง ๆ การวางแผนทางฝ่ายอำนวยการ การจัดการอันจำเป็นเพื่อให้การ
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๑๒๒

เคลื่อนย้ายดังกล่าวสำเร็จผล การเคลื่อนย้าย หมายถึง การนำกำลังพล ยุทโธปกรณ์ หรือสิ่งอุปกรณ์จาก


ตำบลหนึ่งไปยังอีกตำบลหนึ่ง ตามที่กำหนดความมุ่งหมายเอาไว้ การเคลื่อนย้ายแบ่งได้ ๒ ประเภท คือ
๑.๓.๓.๑ การเคลื ่ อ นย้ า ยทางยุ ท ธวิ ธ ี คื อ การเคลื่ อ นย้ า ยหน่ ว ยทหารและ
ยุทธภัณฑ์ที่มีภารกิจทางยุทธวิธีภายใต้สภาพการรบในเมื่อยังไม่มีการปะทะทางพื้นดินกับกำลังฝ่ายข้าศึก
นายทหารฝ่ายธุรการเป็นผู้รับผิดชอบ (ยกเว้นทางอากาศ)
๑.๓.๓.๒ การเคลื่อนย้ายทางธุรการ คือ การเคลื่อนย้ายหน่วยทหาร ยุทโธปกรณ์
และสิ่งอุปกรณ์ที่ห่างจากความกดดันของข้าศึก ขบวนเคลื่อนย้ายมีความสะดวกสบาย เพราะไม่มีการรบกวน
จากข้าศึก นายทหารฝ่ายส่งกำลังบำรุงรับผิดชอบ
การขนส่งแบ่งออกเป็น ๖ วิธี คือ ทางท่อ ทางน้ำ ทางรถไฟ ทางถนน ทางอากาศ
และเบ็ดเตล็ด (การขนส่งที่มิใช่วิธีการทั้ง ๕ วิธีข้างต้น เช่น ใช้คนหาบหาม สัตว์ต่าง ล้อเลื่อน เป็นต้น) และ
เพื่อให้การขนส่งมีประสิทธิภาพสูงสุด หน่วยจะต้องปฏิบัติตามหลักการขนส่ง ได้แก่ ใช้เครื่องขนส่งให้เกิด
ประโยชน์สูงสุด เลือกใช้เครื่องมือให้เหมาะสมกับสถานการณ์ให้มากที่สุด ลดการขนถ่ายให้เหลือน้อยครั้ง
ที่สุด และหลีกเลี่ยงการขนย้ายย้อนกลับมาข้างหลัง
๑.๓.๔ การบริการทางการแพทย์ (Health service support)
การบริการทางการแพทย์ มีความมุ่งหมายเพื่อถนอมกำลังพลด้วยการดำรงไว้ซึ่ง
คุณภาพและพลานามัยที่เหมาะสมต่อการปฏิบัติการทางทหาร โดยจัดบริการป้องกันทางการแพทย์ เพื่อมิให้
กำลังพลเกิดความเจ็บป่วย จัดให้มีการรักษาพยาบาลอย่างมีประสิทธิภาพ และจัดการบริการอื่ น ๆ เพื่อ
เพิ่มพูนประสิทธิภาพของการบริการสายแพทย์ ซึ่งการบริการสายแพทย์ประกอบด้วย ๑) การบริการส่งเสริม
สุขภาพและเวชกรรมป้องกัน ๒) การรักษาพยาบาลและการส่งกลับ ๓) การบริการทันตกรรม ๔) การบริการ
ทางพยาธิวิทยา (ชัณสูตรโรค) ๕) การบริการโลหิต ๖) การบริการโรคจิตประสาท ๗) การบริการที่ตรวจโรคและ
ที่ปฐมพยาบาล และ ๘) การบริการตรวจสุขทหาร
๑.๓.๕ การบริการอื่น ๆ (Other service)
การบริการอื่น ๆ เป็นงานกิ่งหนึ่งของการส่งกำลังบำรุง ซึ่งเป็นหน่วยบริการแก่
และ/หรือกำลังพลนอกเหนือจากการบริการทางการแพทย์ การบริการอื่น ๆ จะประกอบไปด้วย การก่อสร้าง
และซ่อมแซม ทั้งในที่ตั้งปกติและในสนาม การอสังหาริมทรัพย์ การสาธารณูปโภค การดับเพลิง การที่พัก
การประปา การป้องกัน คชรน. การทำลายล้างวัตถุระเบิด การพราง เป็นต้น
๒. หลักนิยมทางยุทธวิธีของหน่วยในปัจจุบัน
๒.๑ แนวคิดในการส่งกำลังบำรุงของกองทัพบก ใช้ระบบการส่งกำลังบำรุงเดียวกันทั้งในยาม
ปกติและยามสงครามให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยมีมาตรฐานเดียวกัน แต่อาจจะมีข้อแตกต่างกันบ้าง
เนื่องจากความแตกต่างของที่ตั้ง สภาพภูมิอากาศ ลมฟ้าอากาศ และเหตุการณ์ที่เผชิญหน้าของหน่วยนั้น ๆ
ซึ่งกองทัพภาค เป็นหน่วยรับผิดชอบในดำเนินการสนับสนุนหน่วยใช้ที่อยู่ในเขตพื้นที่ให้มากที่สุด ดำเนินการ
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๑๒๓

กระจายสิ่งอุปกรณ์ การบริการ และสิ่ งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ออกไปยังสถานที่ตั้งทางการส่งกำลังบำรุง


ในส่วนภูมิภาค รับผิดชอบในการจัดและเตรียมการให้มีสิ่งอุปกรณ์อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานตลอดเวลาด้วยการ
จัดหาตามปกติ โดยยึดถือนโยบายการดำเนินการเกี่ยวกับกิจการอุตสาหกรรมทหารของกระทรวงกลาโหม
เป็นหลัก รวมถึงการจัดและเตรียมให้มีการสะสมสิ่งอุปกรณ์สำรองสงครามที่จำเป็นไว้ เตรียมการระดมสรรพ
กำลังด้านการส่งกำลังบำรุงให้พร้อมครอบคลุมถึงการให้บริการ สิ่งก่อสร้าง การสาธารณูปโภค รวมทั้งสิ่งอำนวย
ความสะดวกทั้งปวงให้สามารถสนองความต้องการแก่หน่วยต่าง ๆ ได้อย่างครบถ้วน จั ดให้มีหน่วยส่งกำลัง
บำรุงอย่างเพียงพอ และให้ได้ส่วนสัมพันธ์กับหน่วยกำลังรบ โดยการปรับปรุงเพิ่มขีดความสามารถของหน่วย
ส่งกำลังบำรุงที่มีอยู่แล้ว และจัดตั้งหน่วยส่งกำลังบำรุงขึ้นใหม่ตามความจำเป็น ทั้งนี้จะต้องดำเนินการพัฒนา
ระบบส่งกำลังบำรุงให้เหมาะสมและทันสมัยอยู่เสมอ
๒.๒ การส่งกำลังของกองทัพบก มีหลักการส่งกำลังบำรุง ดังนี้
๒.๒.๑ การรวมการสนับสนุน หมายความถึง การรวมขีดความสามารถในการสนับสนุน
ทางการส่งกำลังบำรุงของหน่วยสนับสนุนทั้งปวง ไปสนับสนุนหน่วยทางยุทธวิธีให้สามารถปฏิบัติภารกิจตาม
ที่ได้รับมอบ
๒.๒.๒ การสนับสนุนจากข้างหลังไปข้างหน้า หมายความถึง หน่วยสนับสนุนทางการส่ง
กำลังบำรุงที่อยู่ในเขตหลังหรือใกล้กับฐานการส่งกำลังบำรุงจะต้องให้การสนับสนุนแก่หน่วยที่อยู่ใกล้พื้นที่
การรบตามลำดับ รวมทั้งหมายถึงการสนับสนุนจะกระทำจากหน่วยเหนือไปยังหน่วยรองด้วย เพื่อเป็ นการ
ปลดเปลื้องภาระงานด้านการส่งกำลังบำรุงของหน่วยรองให้มากที่สุด
๒.๒.๓ ความเชื ่ อ ถื อ ได้ หมายความถึ ง หน่ ว ยสนั บ สนุ นการส่ ง กำลั ง บำรุ งจะต้องมี
ขีดความสามารถ ซึ่งให้หน่วยรับการสนับสนุนมีความมัน่ ใจได้ว่าจะได้รับการสนับสนุนได้ตามเวลาและสถานที่
ที่ได้วางแผนไว้ ในการนี้จำเป็นต้องมีแหล่งสนับสนุนสำรอง และแผนสำรองไว้ ผู้บังคับบัญชาทุกระดับชั้น
จะต้องป้องกันแหล่งสนับสนุนของตนจากการสูญหายจากสาเหตุต่าง ๆ ตลอดจนการใช้อย่างไม่ประหยัด
๒.๒.๔ ความง่าย หมายความถึง ความยุ่งยากสลับซับซ้อนเกี่ยวกับระบบการส่งกำลังบำรุง
จะต้องมีน้อยที่สุด ระบบการส่งกำลังบำรุงที่ดีควรหลีกเลี่ยงแบบพิมพ์ที่ต้องกรอกข้อความต่าง ๆ โดยที่ไม่ได้
นำข่าวสารที่กรอกนั้นมาใช้ประโยชน์ ต้องไม่ผ่านสายงานและเจ้าหน้าที่มาก ตลอดจนต้องไม่มีการขออนุมัติ
กันหลายชั้น ความง่ายนี้ ยังหมายรวมถึงการใช้สิ่งอุปกรณ์ที่ ใช้ร่วมกันได้หลาย ๆ รายการ สามารถใช้งาน
ถอดประกอบและซ่อมบำรุงได้โดยง่ายอีกด้วย
๒.๒.๕ การทันเวลา หมายความถึง การส่งกำลังบำรุงจะต้องมีและใช้ได้ในปริม าณที่
ต้องการ ณ เวลา และสถานที่ที่กำหนดเฉพาะ เรื่องเวลานั้นต้องให้มีความพอดีโดยไม่ล่าช้า แต่ไม่ควรก่อน
เวลามากนัก
๒.๒.๖ การได้ส่วนสัมพันธ์ หมายความถึง การจัดหน่วยส่งกำลังบำรุงต้องให้เหมาะสมกับ
ความต้องการในการสนับสนุนไม่น้อยเกินไป จนทำให้ส่วนดำเนินกลยุทธ์ต้องเสียภารกิจทางยุทธการเพราะ
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๑๒๔

ขาดการสนับสนุนเพียงพอ การจัดงานของหน่วยส่งกำลังบำรุงเองต้องได้ส่วนสัมพันธ์กัน ด้วย เช่น ต้องมี


เจ้าหน้าที่ซ่อมบำรุงให้สัมพันธ์กับเจ้าหน้าที่ส่งกำลัง หรือต้องมีหน่วยส่งกลับทางการแพทย์ให้สัมพันธ์กับ
หน่วยรักษาพยาบาล เป็นต้น
๒.๒.๗ อำนาจหน้าที่ หมายความถึง การที่ความรับผิดชอบทางการส่งกำลังบำรุงเป็น
ความรับผิดชอบของผู้บังคับบัญชาแต่เพียงผู้เดียว แต่สมควรมอบอำนาจหน้าที่ให้กับผู้บังคับหน่วยสนับสนุน
ทางการส่งกำลังบำรุงให้เพียงพอที่จะปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นผลสำเร็จ และมีความอ่อนตัวพอสมควร โดยไม่ถูก
แทรกแซงจากบุคคลอื่น ๆ ด้วย
๒.๒.๘ ความปลอดภัย หมายความถึง การสนับสนุนทางการส่งกำลังบำรุงต้องไม่ถูกขัดขวาง
อย่างรุนแรงด้วยการกระทำของข้าศึก และด้วยข้อห้ามจากมาตรการรักษาความปลอดภัยของฝ่ายเดียวกัน
๒.๒.๙ การประหยัด หมายความถึง การใช้กำลังพล สิ่งอุปกรณ์ การบริการและสิ่งอำนวย
ความสะดวกในการส่งกำลังบำรุงเท่าที่จำเป็นให้คุ้มค่ามากที่สุด โดยคำนึงถึงฐานทางเศรษฐกิจของประเทศเป็น
สำคัญ จะต้องเพ็งเล็งในเรื่องการปรนนิบัติบำรุงและซ่อมบำรุงสิ่งอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้สามารถใช้อุปกรณ์นั้น ๆ
ให้สภาพได้นานที่สุด
๒.๓ สรรพตำราที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
หลักนิยมที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ได้แก่ หลักนิยมการส่งกำลังบำรุงของ ทบ. (รส.๔-๐๑) อนุมัติ
เมื่อ ๖ ต.ค.๕๒ และ หลักนิยมการส่งกำลังบำรุงของ ทบ.ในยามปกติ อนุมัติเมื่อ ๑๒ ม.ค. ๕๔

--------------------------------------------------------------------------
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๑๒๕

หลักนิยมกิจการพลเรือนของของกองทัพบก
๑. กล่าวทั่วไป
กรมกิจการพลเรือนทหารบก (กร.ทบ.) จัดตั้งขึ้นเมื่อ ๑๓ มกราคม ๒๕๒๕ ตาม อฉก.๑๗๐๐
มีฐานะเป็นกรมฝ่ายเสนาธิการของกองทัพบก มีหน้าที่ วางแผน อำนวยการ ประสานงาน กำกับการ และ
ดำเนินการเกี่ยวกับงานกิจพลเรือน และงานที่ได้รับมอบหมายที่ดำเนินต่อการสนับสนุนการปฏิบัติการทางทหาร
และการปกครอง การฝึกศึกษาในหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับงานกิจการพลเรือนของกองทัพบก ตลอดจนแนะนำ
และกำกับดูแลเกี่ยวกับการดำเนินงานกิจการพลเรือนของหน่วยต่างๆ ของกองทัพบก
จากประสบการณ์การปฏิบัติงานกิจการพลเรือนของกองทัพบกที่ผ่านมา ประกอบกับสถานการณ์
ภัยคุกคามที่ได้มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบไปจากเดิมอย่างมาก ทำให้การปฏิบัติงานด้านกิจการพลเรือน สนับสนุน
ภารกิจต่างๆ ของกองทัพบก ทั้งในด้านการป้องกันประเทศ การรักษาความมั่นคงภายใน การรักษาความสงบ
เรียบร้อยภายในประเทศ และรวมถึงการช่วยเหลือประชาชน ก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงตามไปด้วยเช่นเดียวกัน
พร้อมทั้งยังประสบกับความขัดแย้งทางความคิดของคนในชาติ ที่แบ่งฝักแบ่งฝ่ายเป็นกลุ่มเป็นพวกจนอาจเป็น
ชนวนสำคัญนำไปสู่การใช้ความรุนแรงต่อกัน ซึ่งเริ่มเห็นชัดว่าสถานการณ์มีแนวโน้มจะทวีความรุนแรงเพิ่มมาก
ยิ่งขึ้น อีกทั้งได้มีกลุ่มบุคคลที่มีเจตนาจาบจ้วงและก้าวล่วงสถาบันหลักของชาติ โดยใช้เทคโนโลยีทางด้านสื่อสาร
มวลชนเป็นเครื่องมือในการตอกย้ำสร้างกระแสอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน กรมกิจการพลเรือนทหารบก จึงได้
นำเอาประสบการณ์ทั้งปวงในทุกมิติ ผนวกเข้ากับวิสัยทัศน์ทางกิจการพลเรือน จัดทำเป็น “หลักนิยม” ซึ่งมี
สาระสำคัญครอบคลุมงานด้านกิจการพลเรือนในทุกมิติ ทั้งในส่วนที่มุ่งเน้นสนับสนุน การปฏิบัติการทางทหาร
เพื่อให้การใช้กำลังทหารของกองทัพบกในทุกภารกิจได้รับการยอมรับ และได้รับการสนับสนุนจากประชาชน
ทุกภาคส่วนในสังคมไทย และประชาคมโลก ในขณะเดียวกันก็จะต้องมีการผสมผสานทรัพยากร ทั้งฝ่ายทหาร
และฝ่ายพลเรือน เข้าด้วยกันเพื่อช่วยเหลือประชาชนให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยความผาสุก โดยแบ่งงาน
งานกิจการพลเรือน ออกเป็น ๔ แขนง ได้แก่ การปฏิบัติการกิจการพลเรือน การประชาสัมพันธ์ การเสริมสร้าง
อุดมการณ์ชาติ และ การปฏิบัติการจิตวิทยา
การปฏิบัติการกิจการพลเรือน หมายถึง การดำเนินงานทั้งปวงของหน่วยทหารที่เกี่ยวข้องหรือ
กระทบกระเทือนต่อส่วนราชการพลเรือน ประชาชน และทรัพยากรในพื้นที่รับผิดชอบ ทั้งในยามปกติ
ยามสงคราม และในสภาวะไม่ปกติอื่นๆ เพื่อให้บรรลุภารกิจที่หน่วยทหารต้องการ
การประชาสัมพันธ์ หมายถึง การดำเนินการเผยแพร่ข่าวสาร และการเสริมสร้างความเข้าใจ
ด้วยวิธีการที่มีแผน และกระทำอย่างต่อเนื่อง เพื่อก่อให้เกิดความสัมพันธ์อันดีภายในองค์กร และระหว่างองค์กร
กับกลุ่มประชาชนที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเสริมสร้างภาพลักษณ์ขององค์กรให้เป็นที่เชื่อมั่นศรั ทธา และได้รับการ
สนับสนุนจากประชาชน
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๑๒๖

การเสริมสร้างอุดมการณ์ ชาติ หมายถึง การเสริมสร้างระบบความคิดที่คนในชาติยึดถือเป็น


ส่วนรวมเพื่อการธำรงรักษา สร้างสรรค์ชาติและทุกคนในชาติมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติให้บรรลุถึงร่วมกัน การพิทักษ์ชาติ
ปกป้องเอกราชอธิปไตย คุ้มครองศาสนา เทิดทูนรักษาดำรงความมั่นคงไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ ประสาน
ประโยชน์ทุกถ้วนหน้ารักษาสิทธิเสรีภาพสร้างความสามัคคีและมีคุณธรรมธำรงไว้ซึ่งเอกลักษณ์และส่งเสริม
วัฒนธรรมอันดีงามของไทย
การปฏิบัติการจิตวิทยา หมายถึง การดำเนินงานทั้งปวงทางด้านจิตวิทยา ที่กระทำต่อเป้าหมาย
บุคคล และกลุ่มบุคคล ทั้งฝ่ายตรงข้าม ฝ่ายเป็นกลาง และฝ่ายเดียวกัน ทั้งในยามปกติ และยามสงคราม
เพื่อมุ่งหวังให้เกิดอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงความคิด ทัศนคติ ท่าที อารมณ์ และพฤติกรรมของเป้าหมาย
ให้บรรลุผลตามวัตถุประสงค์ที่ฝ่ายเรากำหนดไว้
๒. การจัดหน่วยสายงานกิจการพลเรือน
๒.๑ ส่วนบัญชาการ
๒.๑.๑ กรมกิจการพลเรือนทหารบก (กร.ทบ.) เป็น กรมฝ่ายเสนาธิการ รับผิดชอบงาน
กิจการพลเรือนของกองทัพบกเป็นหัวหน้าสายวิทยาการงานกิจการพลเรือนกองทัพบก และหัวหน้าสายวิทยาการ
ของกองพลพัฒนา มี เจ้ากรมกิจการพลเรือนทหารบก เป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ
๒.๑.๒ สำนักงานเลขานุการกองทัพบก (สลก.ทบ.) เป็นหน่วยรับผิดชอบดำเนินงาน และ
ประสานงานการประชาสัมพันธ์ของกองทัพบก โดยทำหน้าที่ศูนย์ประชาสัมพันธ์ กองทัพบก สนับสนุนงาน
ประชาสัมพันธ์ในภารกิจการใช้กำลังของกองทัพบก
๒.๒ ส่วนกำลังรบ
๒.๒.๑ กองทัพภาค มีกองกิจการพลเรือนรับผิดชอบงานกิจการพลเรือนภายในพื้น ที่
รับผิดชอบ มีผู้อำนวยการกองกิจการพลเรือนกองทัพภาค (ผอ.กกร.ทภ.) เป็นผู้รับผิดชอบทางฝ่ายอำนวยการ
๒.๒.๒ กองทัพน้อย มีกองกิจการพลเรือนรับผิดชอบงานกิจการพลเรือนภายในพื้นที่
รับผิดชอบ มีผู้อำนวยการกองกิจการพลเรือนกองทัพน้อย (ผอ.กกร.ทน.) เป็นผู้รับผิดชอบทางฝ่ายอำนวยการ
๒.๒.๓ กองพล มีฝ่ายกิจการพลเรือนรับผิดชอบงานกิจการพลเรือนภายในพื้นที่รับผิดชอบ
มีหัวหน้าฝ่ายกิจการพลเรือนกองพล (หน.ฝกร.พล.) เป็นผู้รับผิดชอบทางฝ่ายอำนวยการ
๒.๒.๔ กรมและกองพัน มีนายทหารฝ่ายกิจการพลเรือน (ฝอ.๕) เป็นผู้รับผิดชอบทาง
ฝ่ายอำนวยการ
๒.๒.๕ หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ (นสศ.) มีกองพันปฏิบัติการจิตวิทยา (พัน.ปจว.)
เป็นหน่วยปฏิบัติการจิตวิทยาโดยตรง ในระดับ กองทัพบก ในด้านยุทธศาสตร์ ยุทธวิธี และเสริมความมั่นคง
ทั้งในสงครามตามแบบ สงครามนอกแบบ การปฏิบัติการจิตวิทยาสนับสนุนการรบ และสนับสนุนมาตรการ
เสริมความมั่นคง มีกองกิจการพลเรือนรับผิดชอบงานกิจการพลเรือนภายในพื้นที่รับผิดชอบ มีผู้อำนวยการ
กองกิจการพลเรือน (ผอ.กกร.นสศ.) เป็นผู้รับผิดชอบทางฝ่ายอำนวยการ
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๑๒๗

๒.๓ ส่วนสนับสนุนการรบ
๒.๓.๑ หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ (นปอ.) มีกองกิจการพลเรือนรับผิดชอบ
งานกิจการพลเรือนภายในพื้นที่รับผิดชอบ มีผู้อำนวยการกองกิจการพลเรือน (ผอ.กกร.นปอ.) เป็นผู้รับผิดชอบ
ทางฝ่ายอำนวยการ
๒.๓.๒ กองพลทหารปืนใหญ่ (พล.ป.) มีฝ่ายกิจการพลเรือนรับผิดชอบงานกิจการพลเรือน
ภายในพื้นที่รับผิดชอบ มีหัวหน้าฝ่ายกิจการพลเรือน (หน.ฝกร.พล.ป.) เป็นผู้รับผิดชอบทางฝ่ายอำนวยการ
๒.๔ ส่วนส่งกำลังบำรุง
๒.๔.๑ กรมสรรพาวุธทหารบก (สพ.ทบ.), กรมการทหารสื่อสาร (สส.), กรมพลาธิ การ
ทหารบก (พธ.ทบ.), กรมแพทย์ทหารบก (พบ.) และกรมการขนส่งทหารบก (ขส.ทบ.) มีกองยุทธการและ
การข่าวรับผิดชอบงานกิจการพลเรือนภายในพื้นที่รับผิดชอบ มีผู้อำนวยการกองยุทธการและการข่าว
(ผอ.กยข.) เป็นผู้รับผิดชอบทางฝ่ายอำนวยการ
๒.๔.๒ กรมยุทธโยธาทหารบก (ยย.ทบ.), กรมวิทยาศาสตร์ทหารบก (วศ.ทบ.) และ
กรมการสัตว์ทหารบก (กส.ทบ.) มีกองแผนและโครงการรับผิดชอบงานกิจการพลเรือนภายในพื้นที่รับผิดชอบ
มีผู้อำนวยการกองแผนและโครงการ (ผอ.กผค.) เป็นผู้รับผิดชอบทางฝ่ายอำนวยการ
๒.๕ ส่วนการฝึกศึกษาและหลักนิยม
๒.๕.๑ กรมยุทธศึกษาทหารบก (ยศ.ทบ.) มีกองยุทธการและการข่าวรับผิดชอบงาน
กิจการพลเรือนภายในพื้นที่รับผิดชอบ มีผู้อำนวยการกองยุทธการและการข่าว (ผอ.กยข.ยศ.ทบ.) เป็นผู้รับผิดชอบ
ทางฝ่ายอำนวยการ
๒.๕.๒ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า (รร.จปร.) มีกองกิจการพลเรือนรับผิดชอบงาน
กิจการพลเรือนภายในพื้นที่รับผิดชอบ มีผู้อำนวยการกองกิจการพลเรือน (ผอ.กกร.รร.จปร.) เป็นผู้รับผิดชอบ
ของทางฝ่ายอำนวยการ
๒.๖ ส่วนภูมิภาค : มณฑลทหารบก (มทบ.) มีหน้าที่บังคับบัญชากำลังประจำถิ่นของกองทัพบก
รวมทั้งระดมสรรพกำลังและการรักษาความสงบเรียบร้อยในเขตพื้นที่ ทั้งนี้มีการปรับภารกิจ/บทบาทให้มี
ความรับผิดชอบเผชิญกับภัยคุกคามรูปแบบอื่นๆ การรักษาความมั่นคงภายใน และการช่วยเหลือประชาชน
โดยมีการจัดตั้งสำนักงานปฏิบัติภารกิจรักษาความมั่นคงภายในจังหวัด (สง.ปรมน.จว.) เพื่อเพิ่มขี ดความสามารถ
ในการอำนวยการและควบคุมการปฏิบัติ ในภารกิจการรักษาความมั่นคงภายใน รวมทั้งมีการจัดตั้งกองพัน
มณฑลทหารบก (พัน.มทบ.) เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการบูรณาการภารกิจการช่วยเหลือประชาชนและ
การรักษาความมั่นคงภายในในพื้นที่รับผิดชอบ มีกองกิจการพลเรือนรับผิดชอบงานกิจการพลเรือนในพื้นที่
รับผิดชอบ มีหัวหน้ากองกิจการพลเรือน (หก.กกร.) เป็นผู้รับผิดชอบทางฝ่ายอำนวยการ
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๑๒๘

๒.๗ ส่วนพัฒนาประเทศ
๒.๗.๑ กองพลพัฒนา (พล.พัฒนา) เป็นหน่วยวางแผน อำนวยการ ประสานงาน และควบคุม
กำกับดูแล การปฏิบัติการส่งเสริมสนับสนุน และดำเนินการพัฒนาประเทศทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม
จิตวิทยา และการทหาร เพื่อให้เกิดความมั่นคงของชาติ รวมทั้งให้การช่วยเหลือบรรเทาทุกข์แก่ประชาชน ที่
ประสบสาธารณภัยภายในขอบเขตที่ได้รับการมอบหมาย ทั้งนี้ จะมีการจัดตั้ง ร้อย.บรรเทาสาธารณภัย เพื่อให้
กองทัพบกมีหน่วยรองรับภารกิจการช่วยเหลือประชาชน มีฝ่ายกิจการพลเรือนรับผิดชอบงานกิจการพลเรือน
ภายในพื้นที่รับผิดชอบ และมีหัวหน้าฝ่ายกิจการพลเรือนกองพล (หน.ฝกร.พล.พัฒนา) เป็นผู้รับผิดชอบ
ทางฝ่ายอำนวยการ
๒.๗.๒ กองพลทหารช่าง (พล.ช.) เป็นหน่วยพัฒนาในระดับ กองทัพบกเสริมให้กับกองพล
พัฒนาของกองทัพภาค ในกรณีที่มีงานช่างขนาดใหญ่ที่เป็นงานพิเศษเกินขีดความสามารถของกองพลพัฒนา
มีฝ่ายกิจการพลเรือนรับผิดชอบงานกิจการพลเรือนภายในพื้นที่รับผิดชอบ และมีหัวหน้าฝ่ายกิจการพลเรือนกองพล
(หน.ฝกร.พล.ช) เป็นผู้รับผิดชอบทางฝ่ายอำนวยการ

๓. การแบ่งกลุ่มงานกิจการพลเรือน
การดำเนินงานด้านกิจการพลเรือนของกองทัพบกส่วนใหญ่เป็นการปฏิบัติภารกิจภายในประเทศ
เป็นหลัก ซึ่งมีความแตกต่างจากการปฏิบัติภารกิจด้านกิจการพลเรือนของกองทัพต่างประเทศ โดยเฉพาะ
ประเทศที่มิได้มีสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นสถาบันหลักของชาติ ดังนั้น การจัดทำหลักนิยมด้านกิจการพลเรือน
ของกองทัพบก จึงเป็นการนำเอาประสบการณ์จากการปฏิบัติงานจริงเป็นแนวคิด โดยพิจารณาให้มีความ
เหมาะสมกับสภาพการเมือง การปกครอง สังคมวัฒนธรรม และวิถีชีวิตแบบไทย รวมทั้ งนำประสบการณ์
ความขัดแย้งทางการเมืองในแต่ละห้วงเวลา และการปฏิบัติภารกิจที่สนับสนุนการปฏิบัติการทางทหาร
ในสถานการณ์ต่างๆ มาผสมผสานเข้าด้วยกัน โดยแบ่งกลุ่มงานด้านกิจการพลเรือนของ ทบ. ออกเป็น ๓ กลุ่ม
ได้แก่ การสนับสนุนสถาบันหลักของชาติ การสนับสนุนพลเรือน และ การสนับสนุนการปฏิบัติทางทหาร
๓.๑ การสนับสนุนสถาบันหลักของชาติ
สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นสถาบันหลักที่สร้างชาติบ้านเมือง และปกครองดูแลให้อาณา
ประชาราษฎร์มีความร่มเย็นเป็นสุข มาตั้งแต่เริ่มความเป็นชาติไทย ให้ดำรงคงอยู่จนถึงพวกเราคนไทยในทุกวันนี้
พระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ได้ทรงทำนุบำรุงประเทศชาติ โดยทรงพระวิริยะอุตสาหะ ทุ่มเทพระวรกาย และ
พระสติปัญญาในการแก้ไขปัญหาชาติบ้านเมืองให้ผ่านพ้นวิกฤตการณ์ต่างๆ มาได้จนถึงปัจจุบัน ดังนั้น กองทัพบก
และกำลังพลทุกคนจึงต้องมุ่งมั่นทุ่มเทในการปกป้องและเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ เอาไว้เหนือเกล้าฯ
โดยจะต้องดำเนินการในทุกวิถีทางที่จะป้องกันมิให้บุคคล หรือกลุ่มบุคคลใดมาจาบจ้วง และล่วงละเมิดพระบรม
เดชานุภาพโดยเด็ดขาด
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๑๒๙

การถวายความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์นั้น ถือว่าเป็น ภารกิจที่สืบเนื่องทาง


ประวัติศาสตร์ ที่เหล่าบรรดานักรบบรรพชนไทยได้ยึดถือสืบเนื่องกันมาจากครั้งโบราณกาลจวบจนปัจจุบัน
ถึงแม้จะมีการบัญญัตไิ ว้ในธรรมนูญการปกครองหรือไม่กต็ าม แต่เหล่าทหารหาญทั้งหลายต่างก็ยึดมั่นในความ
จงรักภักดีไม่เสื่อมคลาย และพร้อมที่จะถวายชีวิตเป็นราชพลีในทุกโอกาส โดยได้แสดงออกด้วยการปฏิบัติหน้าที่
ถวายความปลอดภัย และการถวายพระเกียรติอย่างสุดความสามารถ รวมทั้งได้แสดงออกให้สังคมได้รับรู้
โดยจัดทำเป็นคำขวัญที่เปรียบเสมือนอุดมการณ์ของกองทัพบกที่ว่า “เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์ และประชาชน”
หรือคำปฏิญาณตนต่อธงชัยเฉลิมพลและคำถวายสัตย์ปฏิญาณตนของทหารรักษาพระองค์ ซึ่งถือเป็นเกียรติสูงสุด
ของทหารที่ได้เข้าร่วมพิธีดังกล่าว ซึ่งต่างก็มีเนื้อหาที่จะปกป้อง และเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างสุด
ความสามารถ
๓.๑.๑ การให้ความช่วยเหลือ และเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนรอบวัง
๓.๑.๒ เข้าร่วมและสนับสนุนการจัดกิจกรรมของรัฐบาลและส่วนราชการอื่นเนื่องในโอกาส
มหามงคลต่างๆ อย่างเต็มขีดความสามารถและถวายพระเกียรติสูงสุด
๓.๑.๓ เป็นหน่วยริเริ่มการจัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติฯ เนื่องในโอกาสมหามงคลต่างๆ
๓.๑.๔ จัดกิจกรรมร่วมกับพี่น้องประชาชนทุกสาขาอาชีพ เพื่อเฉลิมพระเกียรติและถวาย
เป็นพระราชกุศล เช่น การให้บริการทางการแพทย์และการรับบริจาคโลหิต
๓.๑.๕ ใช้สื่อในความรับผิดชอบเผยแพร่พระราชกรณียกิจและพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมี
ต่อพสกนิกรชาวไทยทั่วทั้งประเทศ
๓.๑.๖ ฝึกอบรมมวลชนในทุกกลุ่มสาขาอาชีพ ให้มีความเข้าใจในพระมหากรุณาธิคุณและพระเมตตา
ที่สถาบันพระมหากษัตริย์ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทยทั่วทั้งประเทศมาโดยตลอดตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
๓.๑.๗ จัดตั้งเครือข่ายภาคประชาชนให้เฝ้าระวังและติดตามพฤติกรรมของกลุ่มบุคคล ที่
ไม่หวังดี ซึ่งอาจมีเจตนาจาบจ้วงสถาบันพระมหากษัตริย์และล่วงละเมิดพระบรมเดชานุภาพ
๓.๑.๘ ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดทำโครงการและกิจกรรมตามแนวพระราชดำริและพระราช
เสาวนีย์อย่างเต็มความสามารถเพื่อแสดงออกถึงความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ เช่น การดำเนินงาน
ตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ การส่งเสริมให้ประชาชนดำรงชีวิตโดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียงและโครงการอื่น ๆ
๓.๑.๙ จัดหรือเข้าร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกี ยรติกับฝ่ายพลเรือน เพื่อเป็นการเฉลิมฉลอง
เนื่องในวันสำคัญที่เกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ เพื่อเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๑๓๐

๓.๑.๑๐ เพื่อเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ทั่วทั้งประเทศอย่างสุดความสามารถ รักษา


ความเป็นเหล่าบรรพชนไทย เหนือเกล้าฯ และจะส่งเสริมและสนับสนุนการจัดกิจกรรมในงานพระราชพิธตี า่ งๆ
เช่น การจัดกำลังพลร่วมงานพระราชพิธีต่าง ๆ และการสนับสนุนยุทโธปกรณ์ ในงานพระราชพิธี เป็นต้น
๓.๑.๑๑ จัดโครงการอบรมการเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท
๓.๑.๑๒ ส่งเสริมและสนับสนุนการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษั ตริย์ทรง
เป็นประมุข เพื่อธำรงไว้ซึ่งความมั่นคงของสถาบันกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
๓.๑.๑๓ ดำเนินการปฏิบัติการจิตวิทยาและการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อทุกแขนงที่มีอยู่ เพื่อขยายผล
การดำเนินงานโครงการและกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติต่างๆ อย่างต่อเนื่องและกว้างขวาง
๓.๒ การสนับสนุนพลเรือน
การสนับสนุนพลเรือนของฝ่ายทหารนัน้ กระทำเพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง
โดยฝ่ายทหารอาจเข้าไปร่วมให้การช่วยเหลือฝ่ายพลเรือนในรูปแบบต่างๆ เช่น การช่วยเหลือในการรักษา
ความสงบเรียบร้อย การช่วยเหลือในการพัฒนา การช่วยเหลือในการบริหารราชการแผ่นดิน โดยหลักการสำคัญ
ในการสนับสนุนพลเรือน ก็คือฝ่ายทหารมิใช่เป็นผู้ปฏิบัติหลักในงานต่างๆ ของฝ่ ายพลเรือน แต่จะเป็นเพียงผู้
ช่วยเหลือ และให้การสนับสนุนเท่าที่จำเป็นภายในขีดความสามารถ ยกเว้นในบางกรณีหรือบางสถานการณ์ ท่ี
เจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือนไม่สามารถปฏิบัติได้ ฝ่ายทหารจึงจำเป็นที่จะต้องเป็นผู้ปฏิบัติหลักในลำดับแรก และ
ต้องพยายาม ส่งมอบงานดังกล่าวให้กับฝ่ายพลเรือนรับดำเนินการต่อไปเมื่อสถานการณ์เอื้ออำนวย
๓.๒.๑ เพื่อช่วยเหลือและสนับสนุนส่วนราชการพลเรือนให้สามารถบริหารราชการแผ่นดิน
ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย และให้การสนับสนุนในการพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ
๓.๒.๒ เพื ่ อใช้ ศ ั กยภาพของฝ่ ายทหารเข้ าไปให้ การสนั บสนุ นส่ วนราชการพลเรื อน และ
ภาคเอกชน ให้การช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยพิบัติเป็นไปอย่างรวดเร็ว ทันเวลา และทันต่อสถานการณ์
๓.๒.๓ เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับภาคประชาชนและชุมชน ให้มีภูมิคุ้มกันที่จะ
สามารถดำรงชีวิตอยู่อย่างพอเพียงได้ในทุกสถานการณ์
๓.๒.๔ เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจและความสัมพันธ์อันดีต่อกันระหว่างฝ่ายทหารกับฝ่ายพลเรือน
ในการให้ความช่วยเหลือประชาชน รวมทั้งการสร้างความอยู่ดีกินดีและความผาสุกให้กับประชาชน
๓.๒.๕ เพื่อเสริมสร้างและพัฒนาให้สังคมไทยก้า วเข้าสู่การเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้และ
สังคมคุณธรรม โดยหวังผลให้เกิดเป็นวัฒนธรรมและวิถีชีวิตที่สำคัญของคนไทยในอนาคต

๓.๓ การสนับสนุนการปฏิบัติทางทหาร
การปฏิบัติการทางทหารในภารกิจต่างๆ มีความจำเป็นที่จะต้องได้รับความร่วมมือและ
การสนับสนุนจากฝ่ายพลเรือน รวมทั้งมีการใช้ทรัพยากรของฝ่ายพลเรือน ทั้งในยามปกติ ยามสงคราม และ
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๑๓๑

ภายหลังเกิดสงคราม ทั้งนี้เพื่อให้การปฏิบัติการของฝ่ายทหารเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุภารกิจ
ตามที่ต้องการ ดังนั้นการดำเนินงานด้านกิจการพลเรือนของฝ่ายทหารที่มุ่งเน้นสนับสนุนการปฏิบัติทางทหาร
จึงเป็นการดำเนินงานที่ฝ่ายทหาร เข้าไปประสานสัมพันธ์ และใช้ทรัพยากรทั้งฝ่ายทหาร และฝ่ายพลเรือน
ร่วมกัน เพื่อสนับสนุนให้การปฏิบัติในภารกิจต่างๆ ทางทหารสำเร็จได้อย่างสมบูรณ์ ได้แก่ ภารกิจใน การ
ป้องกันประเทศ การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร การรักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ
และการปฏิบัติการอื่น ๆ
๓.๓.๑ การป้องกันประเทศ
การใช้กำลังในการป้องกันประเทศของกองทัพบก ได้จัดทำแผนการปฏิบัติทางทหาร
เอาไว้ตามระดับความรุนแรงของสถานการณ์ ในยามปกติ ยามใกล้เกิดสงครามหรือยามฉุกเฉิน ยามสงคราม
และภายหลังเกิดสงคราม ดังนั้นการดำเนินงานด้านกิจการพลเรือนสนับสนุนการปฏิบัติการทางด้านยุทธการ
และการข่าว จึงเป็นอีกบทบาทหนึ่งที่สำคัญของงานด้านกิจการพลเรือนในการสนับสนุนการปฏิบัติทางทหาร
ซึ่งจะมุ่งเน้นสนับสนุนด้วยกำลังประชาชน และการสนับสนุนการปฏิบัตกิ ารข่าวสาร รวมทั้งงานด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
กับฝ่ายพลเรือนและทรัพยากรในพื้นที่ปฏิบัติการ โดยมีแนวทางการปฏิบัติ ดังนี้
๑) ยามปกติ
(๑) การเตรียมสนามรบด้านกิจการพลเรือน เพื่อสำรวจ รวบรวม และวิเคราะห์
ข้อมูลพื้นที่ด้านกิจการพลเรือน ในการจัดตั้งและพัฒนาเครือข่ายกำลังประชาชนในพื้นที่ชายแดน รวมถึงการ
พัฒนาพื้นที่เพื่อความมั่นคงให้เกื้อกูลต่อการปฏิบัติทางทหารในปัจจุบันและอนาคต
(๒) สนับสนุนการปฏิบัติตามพันธกิจ ๓ ประการ ตามแนวความคิดในการ
สถาปนาความมั่นคงตามแนวชายแดน โดยมีงานกิจการพลเรือนสามารถในการสนับสนุนการปฏิบัติ ได้แก่
- การเฝ้าตรวจและการป้องกันชายแดน เน้นในการใช้กำลังประชาชน
สนับสนุน กำลังรบหลักในภารกิจการเฝ้าตรวจชายแดน โดยใช้กำลังประชาชนที่มีอยู่ในแผนงาน/โครงการ
ทั้งของกองทัพบกและหน่วยงานอื่นๆ
- การจัดระเบียบพื้นที่ และแก้ไขปัญหาความมั่นคงในพื้นที่ชายแดน
ดำเนินการร่วมกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในการเสริมสร้างความเข้มแข็ง และภูมิคุ้มกันให้กับหมู่บ้านหรือ
ชุมชนตามแนวชายแดน ทั้งในเรื่องระบบป้องกันและเตือนภัย การพัฒนาพื้นที่ให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง
ทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมจิตวิทยาและการทหาร จนกระทั่งสามารถอยู่ได้ตามแนวชายแดนอย่างมี
ความสุข และการเสริมสร้างอุดมการณ์ชาติ เพื่อให้รักและหวงแหนแผ่นดินที่อยู่อาศัย จนสามารถจัดตั้งกำลัง
ประชาชนให้การ ช่วยเหลือทางราชการในการป้องกันประเทศ รวมทั้งเป็นแหล่งข่าวประชาชนที่มีประสิทธิภาพ
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๑๓๒

- การประสานความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน ให้ความช่วยเหลือ
ในการพัฒนาประเทศเพื่อนบ้านและช่วยเหลือเมื่อมีภัยพิบัติต่างๆ เกิดขึ้น รวมถึงการจัดที่พักพิงชั่วคราวให้กับ
ผู้หลบหนีภัยจากการสู้รบ นอกจากนั้นยังสามารถใช้การกีฬาและวัฒนาธรรมเป็นสื่อในการสร้างความสัมพันธ์
อันดีต่อกันได้อีกด้วย
(๓) การปฏิบัติการจิตวิทยา ดำเนินการโดยการชี้นำให้กลุ่มเป้าหมายต่างๆ
มีทัศนคติและการกระทำที่เกื้อกูลต่อการปฏิบัติของฝ่ายเรา ซึ่งจะครอบคลุมการโฆษณาชวนเชื่อและการ
ปฏิบัติการทั้งปวง ที่มีผลทางจิตวิทยาต่อกลุ่มเป้าหมายที่กำหนด
(๔) การประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ ทำความเข้าใจ เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์
อันดีระหว่างหน่วยงานของรัฐกับประชาชนด้วยการรับ และกระจายข่าวสารที่จำเป็นตามแผนและโครงการ
ต่างๆ ให้ประชาชนได้ทราบถึงผลการดำเนินงานของฝ่ายเรา เพื่อจะได้รับการสนับสนุนจากประชาชนจน
บรรลุเป้าหมาย โดยใช้สื่อมวลชน เครื่องมือทางการประชาสัมพันธ์ทั้งสิ้นที่มีอยู่
(๕) การช่วยเหลือประชาชนและผู้หลบหนีภัยจากการสู้รบ เตรียมการซักซ้อม
แผนการอพยพประชาชนออกจากพื้นที่การรบ ตลอดจนการช่วยเหลือในเรื่องเครื่องอุปโภคและบริโภคต่างๆ
ตามขีดความสามารถ
(๖) การสนับสนุนการแก้ปัญหาความมั่นคงในพื้นที่ชายแดน โดยการให้
ความร่วมมือ สนับสนุน การติดต่อประสานงานกับหน่วยงาน องค์กรที่เกี่ยวข้องในการแก้ปัญหา
๒) ยามใกล้เกิดสงครามหรือยามฉุกเฉิน
(๑) พัฒนากำลังประชาชนตามแผนการพัฒนาพื้นที่เพื่อเสริมความมั่นคง
ของชาติในการสนับสนุนการจัดระเบียบพื้นที่และแก้ไขปัญหาความมั่นคงในพื้นที่ชายแดน เช่น การฝึกทบทวน
กำลังประชาชนให้มีความพร้อมที่จะทำการสู้รบกับฝ่ายตรงข้ามเมื่อยามสงคราม
(๒) ฝึก/ปฏิบัติร่วม กำลังรบหลัก –กำลังประจำถิ่น–กำลังประชาชน เพื่อให้
มีความพร้อมที่จะสามารถปฏิบัติภารกิจร่วมกับกำลังรบต่างๆ ได้เมื่อยามสงคราม
(๓) สนับสนุนการเฝ้าตรวจและจัดระเบียบพื้นที่ชายแดน โดยให้กำลังประชาชน
ติดตามสถานการณ์และรายงานข่าวสารความเคลื่อนไหวของฝ่ายตรงข้าม รวมทั้งการต่อต้านฝ่ายตรงข้าม
ตามขีดความสามารถ
(๔) ควบคุมและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรในพื้นที่รับผิดชอบ โดยให้มีการ
สำรวจทรัพยากรในพื้นที่และเตรียมวางแผนที่จะขอใช้ประโยชน์จากทรัพยากรในพื้นที่อย่างรอบคอบเมื่อ
ยามสงคราม
๓) ยามสงคราม
(๑) ใช้กำลังประชาชนสนับสนุนกำลังประจำถิ่น และกำลังรบหลัก เช่น แจ้งเตือน
การเข้ามาของข้าศึก สอดส่อง และป้องกันการปฏิบัติของหน่วยก่อวินาศกรรม/บ่อนทำลายของข้าศึก รวมทั้ง
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๑๓๓

เป็นแกนนำของประชาชนในพื้นที่ เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติของฝ่ายเราและขัดขวางการปฏิบัติของข้าศึก
ตลอดจนร่วมปฏิบัติการสงครามกองโจรหรือสงครามนอกแบบเมื่อสามารถกระทำได้
(๒) กำหนดมาตรการควบคุม และอำนวยความสะดวกให้กับประชาชน ไม่ให้
กีดขวางการยุทธ
(๓) ปฏิบัติการจิตวิทยาและการประชาสัมพันธ์ สนับสนุนการรบเป็นการ
ดำเนินการต่อฝ่ายข้าศึกเป็นเป้าหมายหลัก เพื่อทำลายขวัญ และกำลังใจในการต่อสู้ของข้าศึก ประชาชน ใน
พื้นที่การรบ เพื่อก่อให้เกิดความร่วมมือ และสนับสนุนการปฏิบัติของฝ่ายเรา กำลังฝ่ายเรา เพื่อเสริมสร้างขวัญ
และกำลังใจในการปฏิบัติการรบ

(๔) กำหนดมาตรการในการบรรเทาความสูญเสียให้กับประชาชน รวมทั้ง


การช่วยเหลือและการอพยพประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการรบ
(๕) กำหนดมาตรการควบคุมและประสานกับหน่วยงานพลเรือนที่เกี่ยวข้อง
ในการดำเนินการต่อผู้ได้รับผลกระทบจากการสู้รบ เช่น ผู้หลบหนีภัยจากการสู้รบ ผู้อพยพ ผู้ลี้ภัย และผู้พลัดถิ่น
เป็นต้น เพื่อไม่ให้กีดขวางการยุทธ และเป็นภาระกับหน่วยกำลังรบ โดยยึดหลักเพื่อมนุษยธรรม
(๖) สนับสนุนการปฏิบัติในพื้นที่ส่วนหลัง เป็นการดำเนินการในเรื่องการ
ประสานแผนการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนกับแผนพิทักษ์พื้นที่ส่วนหลัง การมอบหมายความรับผิดชอบ/การใช้
ประโยชน์จากฝ่ายกิจการพลเรือนตามความต้องการของแผนพิทักษ์พื้นที่ส่วนหลัง และการใช้กำลังประชาชน
ช่วยในการพิทักษ์พื้นที่ส่วนหลัง
(๗) ควบคุมและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรในพื้นที่รับผิดชอบ เพื่อสนับสนุน
การปฏิบัติการทางทหาร
(๘) จัดการปกครองดินแดนที่ฝ่ายเรายึดครองได้หรือดินแดนที่ฝ่ายเรายึดคืน
กลับมาได้ โดยสนับสนุนให้ฝ่ายพลเรือนปกครองตนเองภายใต้การกำหนดมาตรการที่จำเป็นของฝ่ายเรา
๔) ภายหลังเกิดสงคราม
(๑) ช่วยเหลือประชาชนที่ได้รบั ผลกระทบจากการปฏิบัตกิ ารทางทหาร ตาม
ความเหมาะสม
(๒) การฟื ้ น ฟู บ ู ร ณะสาธารณู ปโภค สิ ่ ง ก่ อ สร้ า งต่ า งๆ รวมทั ้ ง ปรับปรุง
สภาพแวดล้อมของฝ่ายพลเรือนให้กลับคืนสู่สภาพปกติ
(๓) ส่งมอบการปกครองดินแดนที่ฝ่ายเรายึดครองได้หรือดินแดนที่ฝ่ายเรา
ยึดคืนกลับมาได้ให้ฝ่ายพลเรือนโดยเร็ว
(๔) ปฏิบัติการจิตวิทยาและประชาสัมพันธ์ ในทุกขั้นตอนการปฏิบัติ
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๑๓๔

๓.๓.๒ การสนับสนุนการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร
การสนับสนุนการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร หมายถึง การดำเนินการ
เพื่อป้องกัน ควบคุม แก้ไข และฟื้นฟูสถานการณ์ใดที่เป็นภัยอันเกิดจากบุคคล หรือกลุ่มบุคคลที่ก่อให้เกิด
ความไม่สงบสุข ทำลายหรือทำความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย ทรัพย์สินของประชาชนหรือของรัฐ ให้กลับสู่
สภาวะปกติเพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือความมั่นคงของรัฐ ซึ่งการดำเนินการดังกล่าว
เป็นอำนาจหน้าที่ของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) โดยสถานการณ์ที่ถือ
เป็นภัยซึ่งส่งผลกระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ได้แก่ ความแตกแยกทางความคิดของคนในสังคม
ความไม่ เ ชื ่ อ มั ่ น ของประชาชนต่ อ ระบบและสถาบั น การเมื อ ง การขาดความสมดุ ล ของการจั ด การ
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ภัยพิบัติซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ
โรคระบาด ความมั่นคงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ การก่อการร้าย อาชญากรรมข้ามชาติ ผู้หลบหนีเข้าเมือง
ในประเทศ ยาเสพติด และความยากจน
ภารกิจของกองทัพบกในการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร มีความเกี่ยวเนื่อง
และสอดคล้องกันอย่างใกล้ชิดกับภารกิจของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร และใช้
ทรัพยากรส่วนใหญ่ร่วมกัน ดังนั้น งานกิจการพลเรื อนของกองทัพบกในการสนับสนุนการดำเนินงานรักษา
ความมั่นคงภายในราชอาณาจักร จึงเป็นการประสานความร่วมมือหรือการจัดโครงการ/กิจกรรม เพื่อสนับสนุนแผน
ของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร รวมทั้งสนับสนุนหน่วยงานต่างๆ ในการแก้ไข
ปัญหาที่เกิดขึ้น ทั้งนี้ ต้องไม่ ส่งผลกระทบต่อภารกิจหลักของหน่วย และสอดคล้องกับงบประมาณที่ได้รับ
โดยมุ่งเน้นงานด้านจิตวิทยา งานมวลชน และการปฏิบัติการข่าวสาร
๓.๓.๓ การสนับสนุนการรักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ
การสนับสนุนการรักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ เป็นการดำเนินการเพื่อ
ป้องกัน ควบคุม และแก้ไขสถานการณ์ที่เกิดจากบุคคลหรือกลุ่มบุคคลซึ่งก่อให้เกิดความวุ่นวาย การจลาจล
และความไม่สงบสุข ซึ่งทำลายหรือสร้างความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย ทรัพย์สินของประชาชนหรือกระทบ
ต่อการบริหารราชการแผ่นดิน ให้กลับสู่สภาวะปกติ โดยกำหนดให้ภารกิจดังกล่าวเป็นอำนาจหน้าที่ของกำลัง
ของฝ่ายบ้านเมือง
บทบาทของทหารในการรักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศจะเกิดขึ้น ในกรณี
ที่เกิดเหตุการณ์ไม่สงบและกำลังของฝ่ายบ้านเมืองไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ รัฐบาลอาจประกาศใช้
พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายใน พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือ
การประกาศกฎอัยการศึก ตามความรุนแรงของสถานการณ์ โดยมอบหมายให้ฝ่ายทหารเข้าควบคุมและแก้ไข
สถานการณ์
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๑๓๕

๓.๓.๔ การสนับสนุนการปฏิบัติการอื่นๆ
การใช้กำลังทหารในการปฏิบัติภารกิจอื่นๆ เป็นการใช้กำลังตามสถานการณ์ที่อาจ
จะเกิดขึ้นได้ตามห้วงเวลาที่มีปัญหาวิกฤตทั้งภายในประเทศหรือภายนอกประเทศ ซึ่งเมื่อมีการใช้กำลังทหาร
ปฏิบัติทางด้านยุทธการ หรือการใช้กำลังในการปฏิบัติการเพื่อสันติภาพ เป็นต้น การดำเนินงานด้านกิจการพลเรือน
ก็จะต้องมีความพร้อมที่ปฏิบัติควบคู่ไปด้วยเสมอ เพื่อให้การปฏิบัติภารกิจของกองทัพบกต่อสถานการณ์นั้นๆ
สำเร็จโดยสมบูรณ์ มีความชอบธรรมในการปฏิบัติการได้รับการยอมรับและได้รับการสนับสนุนจากประชาชน
ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
งานกิจการพลเรือนในการปฏิบัติการเพื่อสันติภาพ บทบาทของทหารในการ
ปฏิบัติงานด้านกิจการพลเรือนขึ้นอยู่กับภัยคุกคาม สถานภาพความปลอดภัยในพื้นที่ปฏิบัติการ การปฏิบัติงาน
ตามหน้าที่ขององค์กรพลเรือน และองค์กรเอกชน ขาดประสิทธิภาพ ตลอดจนปัญหาอุปสรรค และข้อจำกัด
ต่างๆ ทำให้หน่วยทหารจำเป็นที่จะต้องเข้าไปช่วยเหลือ เพื่อให้ภาพรวมของการปฏิบัติการรักษาสันติภาพมี
ความน่าเชื่อถือ อันเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งในการบรรลุภารกิจในความพยายามทางการทูต และการ
บรรลุข้อตกลงทางการเมือง ตลอดจนเหตุผลทางด้านมนุษยธรรม อันเป็นจุดสูงสุดของการปฏิบัติภารกิจรักษา
สันติภาพ
๔. สรรพตำราที่ใช้ในปัจจุบัน
ปัจจุบัน กร.ทบ. อยู่ในห้วงดำเนินการพัฒนาปรับปรุงหลักนิยมและทบทวนสรรพตำรา
ทั้งหมดที่ใช้ในด้านกิจการพลเรือน

---------------------------------------------------
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๑๓๖

หลักนิยมกรมวิทยาศาสตร์ทหารบก
๑. ประเภทการจัดของหน่วย/เหล่า
๑.๑ กล่าวทั่วไป
กรมวิทยาศาสตร์ทหารบก (วศ.ทบ.) เป็นกรมฝ่ายยุทธบริการ มีหน้าที่วางแผน อำนวยการ
ประสานงาน ให้แนะนำเกี่ยวกับการป้องกัน เคมี ชีวะ รังสี นิวเคลียร์ ตลอดจนดำเนินการตรวจทดลอง
สารพิษหรือสารตัวอย่างให้กับหน่วยต่างๆ ใน ทบ. กำกับการวิจัย และพัฒนาเกี่ยวกับการผลิต ส่งกำลัง ซ่อม
บำรุงและการบริการ กำหนดหลักนิยมและทำตำรา ตลอดจนการฝึกและศึกษา ทั้งนี้เกี่ยวกับการปฏิบัติ และ
การป้องกันทาง เคมี ชีวะ รังสี นิวเคลียร์ ตลอดจนกิจการวิทยาศาสตร์ ของกองทัพ ทหารบก โดย กรม
วิทยาศาสตร์ทหารบก แบ่งส่วนราชการออกเป็น แผนกธุรการ แผนกการเงิน แผนกจัดหา แผนกไพโรเทคนิค
กองแผนและโครงการ กองวิทยาการ กองคลัง กองบริการ โรงเรียนวิทยาศาสตร์ทหารบก และกองร้อย
วิทยาศาสตร์ที่ ๑
๑.๒ การจัดหน่วย
กรมวิทยาศาสตร์ ทหารบก ทำหน้าที่ส่งกำลังบำรุง ใช้ อฉก.๓๙๐๐ สำหรับ หน่วยทหาร
วิทยาศาสตร์ที่ใช้ อจย.ประกอบด้วย ๒ หน่วย ได้แก่ ร้อย.วศ.๑ ใช้ อจย.๓-๔ (๒ ก.ค. ๒๗) ซึ่งเป็นหน่วย
สนับสนุนการรบ โดย ทบ. ฝากการบังคับบัญชาไว้กับ วศ.ทบ .และมีตอนปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ เป็น
นขต.ของ ร้อย.บร.สนาม พัน.สบร.บชร.
๑.๒.๑ กองร้อยวิทยาศาสตร์ที่ ๑ (Chemical Company) มีภารกิจ ให้การสนับสนุนการ
ปฏิบัติการทาง คชรน. แก่หน่วยกำลังรบของ ทบ. มีผังการจัด
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๑๓๗

๑.๒.๓ ตอนปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ (Chemical Section) มีภารกิจ ให้การสนับสนุน


ทาง คชรน. อย่างจำกัด แก่หน่วยในพื้นที่รับผิดชอบ มีผังการจัด

๑.๓ ขีดความสามารถ/การแบ่งมอบ
๑.๓.๑ กองร้อยวิทยาศาสตร์ที่ ๑
๑.๓.๑.๑ ขีดความสามารถ
- ตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างสารเคมีที่ส่งมาจากเขตหน้า
- จัดชุดตรวจทาง นชค. เพื่อการเตือนภัยในสนามได้ ๑ ชุด
- จัดชุดทำลายล้างพิษได้ ๒ ชุด เพื่อทำลายล้างพิษขั้นสมบูรณ์ให้แก่
กำลังพล ยุทโธปกรณ์ หรือเป็นพื้นที่
- จัดชุดทำควันทางยุทธวิธีได้ ๑ ชุด
- ซ่อมบำรุงขั้นหน่วยให้แก่ยานพาหนะและยุทโธปกรณ์สาย วศ.ในอัตรา
๑.๓.๑.๒ การแบ่งมอบ
- เป็น นขต.ของ กองพันวิทยาศาสตร์
- อาจจัดแยกสมทบให้หน่วยระดับกองทัพ หรือหน่วยกำลังรบอื่นของ ทบ.
ตามความเหมาะสม
๑.๓.๒ ตอนปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์
๑.๓.๒.๑ ขีดความสามารถ ให้การสนับสนุนการทำลายล้างพิษ นชค. อย่างจำกัด
แก่หน่วย ในพื้นที่รับผิดชอบ
๑.๓.๒.๒ การแบ่งมอบ
- เป็นหน่วยในอัตราของ ร้อย.บร.สนาม พัน.สบร.บชร.
- ๑ ตอนปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ ต่อ ๑ ร้อย.บร.สนาม
๒. หลักนิยมทางยุทธวิธีของหน่วยในปัจจุบัน
๒.๑ หลักพื้นฐานทางยุทธวิธี
ร้อย.วศ.๑ เป็นหน่วยสนับสนุนการรบ จัดสมทบให้หน่วยระดับกองทัพ หรือหน่วยกำลังรบ
อื่นของ ทบ.ตามความเหมาะสม ให้การสนับสนุนการปฏิบัติการด้าน คชรน.ในพื้นที่รับผิดชอบ เป็นหน่วยทาง
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๑๓๘

เทคนิค การเคลื่อนที่ต่าง ๆ ไม่คล่องแคล่วรวดเร็วเช่นเดียวกับหน่วยกำลังรบ และไม่สามารถระวังป้องกัน


ตนเองได้อย่างสมบูรณ์ การปฏิบัติการ ร้อย.วศ.๑ ปฏิบัติการเฝ้าตรวจ แจ้งเตือน และ ลว.คชรน. คือ การเฝ้า
ตรวจ ค้นหา เส้นทาง/พื้นที่ที่เปื้อนพิษสารเคมี ที่จะเป็นอุปสรรคต่อการเคลื่อนที่ของหน่วยดำเนินกลยุทธ์
หากพบการเปื้อนพิษให้ตรวจพิสูจน์ทราบอย่างรวดเร็ว แม่นยำ ทันการ เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับ ผบ.หน่วย
ในการเลือกวิธีป้องกันอันตรายจากสารเคมี หรือเลือกวิธีปฏิบัตใิ นการปฏิบัตกิ ารต่อไป เมื่อกำลังพลของหน่วย
กำลังรบเกิดการเปื้อนพิษ ร้อย.วศ.๑ จะเลือกสถานที่ที่เหมาะสมและปฏิบัติการทำลายล้างพิษให้กับกำลังพล
ของหน่วยกำลังรบ อาวุธ ยุทโธปกรณ์และยานพาหนะ รวมถึงการปฏิบัติการทำควันให้กับหน่วยกำลังรบ

๒.๒ ข้อพิจารณาการใช้
๒.๒.๑ อาวุธ เคมี ชีวะ รังสี นิวเคลียร์ มีคุณสมบัตเิ ป็นอาวุธทีม่ ีอำนาจทำลายสูง ออกแบบ
เพื่อทำให้เกิดการสูญเสียเป็นกลุ่มก้อน อาวุธนี้เมื่อใช้แล้วหรือขูว่ ่าจะใช้หนทางปฏิบตั ิขนั้ การปฏิบตั ิ เป้าหมาย
เปลี่ยนไป
๒.๒.๑.๑ ลักษณะพิเศษของอาวุธเคมี ชีวะ รังสี นิวเคลียร์
(๑) ยังมีผลให้เกิดการสูญเสียเป็นกลุ่มก้อนในพื้นที่ขนาดใหญ่
(๒) มีผลอันตรายตกค้าง
(๓) ในการป้องกันจำเป็นต้องใช้สิ่งอุปกรณ์และมาตรการที่กำหนดขึน้
โดยเฉพาะ
๒.๒.๑.๒ เป้าหมายการโจมตีด้วยอาวุธ เคมี ชีวะ รังสี นิวเคลียร์ ลงฝ่ายที่
(๑) ไม่ได้มีการเตรียมการไว้เลย
(๒) มีความสามารถในการป้องกันต่ำ
(๓) ไม่มีอาวุธทำลายมนุษย์แบบเดียวกันหรือเหนือกว่า
(๔) ไม่ได้ระวังตัวทั้งที่มียุทธภัณฑ์ป้องกันตนอยู่แล้ว
๒.๒.๑.๓ ผลจากการถูกโจมตีด้วยอาวุธ เคมี ชีวะ รังสี นิวเคลียร์
(๑) สูญเสียกำลังพลที่ไม่ได้รับการป้องกัน
(๒) ประสิทธิภาพการทำงานและการรบของกำลังพลลดลง
(๓) จำกัดการใช้ภูมิประเทศ อาวุธยุทโธปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวก
(๔) เวลาขัดขวางการยิงสนับสนุนและการดำเนินกลยุทธ์
๒.๒.๒ ระดับกองทัพบก วศ.ทบ.เป็นกรมฝ่ายยุทธบริการและสนับสนุนการช่วยรบ มีหน้าที่
๒.๒.๒.๑ วางแผน อำนวยการ ประสานงาน กำกับการ วิจัยพัฒนา เกี่ยวกับ
การผลิต ส่งกำลังบำรุง และบริการ
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๑๓๙

๒.๒.๒.๒ กำหนดหลักนิยมและทำตำรา ตลอดทั้งการฝึกศึกษาเกี่ยวกับการปฏิบัติการ


และการป้องกันทาง เคมี ชีวะ รังสี นิวเคลียร์ มีสิ่งอุปกรณ์รับผิดชอบ คือ ๒, ๔ และ ๕ ได้จัดหา สป.๒ ในอัตรา
อจย.ให้กับทหารราบ, ทหารม้า เพื่อปฏิบัติการรบ (สาย วศ.) โดยมี สป.สาย วศ.ตาม อจย.ดังนี้
(๑) สป.๒ สาย วศ.ในอัตรา อจย.พัน.ร.
รายการ อัตรา หน่วย หมายเหตุ
หน้ากากป้องกันเคมี ชีวะ ๙๙๑ หน้า
เครื่องตรวจสารเคมี ๒๐ เครื่อง
เครื่องวัดอัตรารังสี ๒๐ เครื่อง
เครื่องวัดปริมาณรังสี ๒๐ เครื่อง

(๒) สป.๒ สาย วศ.ในอัตรา อจย.พัน.ม.


รายการ อัตรา หน่วย หมายเหตุ
หน้ากากป้องกันเคมี ชีวะ ๘๙๙ หน้า
เครื่องตรวจสารเคมี ๑๐ เครื่อง
เครื่องวัดอัตรารังสี ๒๐ เครื่อง
เครื่องวัดปริมาณรังสี ๒๐ เครื่อง
(๓) สป.๒ สาย วศ.ในอัตรา พัน.ป.
รายการ อัตรา หน่วย หมายเหตุ
หน้ากากป้องกันเคมี ชีวะ ๖๗๗ หน้า
เครื่องตรวจสารเคมี ๔ เครื่อง
(๔) สป.๒ สาย วศ.ในอัตรา อจย.พัน.รพศ.
รายการ อัตรา หน่วย หมายเหตุ
หน้ากากป้องกันเคมี ชีวะ ๕๑๓ หน้า
เครื่องตรวจสารเคมี ๒๑ เครื่อง
๒.๒.๓ ระดับหน่วย หน่วยกำลังรบตั้งแต่ระดับกองร้อยขึ้นไปจัดชุดเฉพาะกิจป้องกัน คชรน.
จากกำลังพลที่เคยเข้ารับการศึกษาใน รร.วศ.ทบ.และนำยุทโธปกรณ์ที่มีในหน่วย ดำเนินการลาดตระเวน คชรน.,
แจ้งเตือนภัยรายงาน นชค.และทำลายล้างพิษบางส่วน
๒.๒.๔ ความรับผิดชอบด้าน คชรน.ของ ทบ.ทุกหน่วย ทุกเหล่า ผบช. ทุกระดับชั้น
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๑๔๐

๒.๒.๔.๑ ป้องกันและลดอันตรายจากการโจมตีด้วยอาวุธ คชรน.ให้แก่กำลังพล/


หน่วย ให้อยู่รอดและปฏิบัติภารกิจสำเร็จ โดยอาศัยยุทธภัณฑ์ป้องกัน คชรน.ในอัตรา ความรู้ด้านป้องกัน คชรน.
ของกำลังพลในหน่วย
๒.๒.๔.๒ มี ค วามสามารถของหน่ วยที ่ เ ป็ น ภั ย คุ ก คาม ไม่ ต ามแบบและแบบ
ผสมผสานระดับ ทบ.โดย วศ.ทบ.เป็นกรมฝ่ายยุทธบริการและสนับสนุนการช่วยรบ มีภารกิจหน้าที่หลักที่
กล่าวมาแล้ว ภารกิจที่รับมอบหมายจาก ทบ.ในเรื่องการต่อต้านการก่อการร้ายด้าน คชรน.และอุบัติภัยจาก
สารเคมี โดยการจัดชุดปฏิบัติวิทยาศาสตร์ วศ.ทบ.
๒.๒.๔.๓ รูปแบบการทำงาน
- เป็ น ชุ ด ทำงานสนั บ สนุ น ของที ม ปฏิ บ ั ต ิ ก ารพิ เ ศษสำหรั บ การเข้า
ปฏิบัติงานในพื้นที่เป้าหมายทำการตรวจพิสูจน์ทราบ ระงับยับยั้ง กำจัด วัตถุอันตราย (สารพิษ) ออกจากพื้นที่
- เป็นชุดปฏิบัติงานในลักษณะชุดปฏิบั ติงานเต็มรูปแบบสำหรับการ
ระงับเหตุจากอาวุธ เคมี-ชีวะ-รังสี ในพื้นที่ตลอดทั้งการตรวจพิสูจน์ทราบเก็บหลักฐาน ทำลายล้างพิษ ให้มี
ความปลอดภัย
๒.๒.๕ ชุดปฏิบัติการทหารวิทยาศาสตร์ วศ.ทบ. มีภารกิจ
๒.๒.๕.๑ ค้นหา ตรวจพิสูจน์ทราบวัตถุมีพิษ กำหนดขอบเขตพื้นที่อันตราย (เปื้อน
พิษ) ระงับ ยับยั้ง จำกัด การแพร่กระจายของสารพิษ เก็บตัวอย่าง ทำลายล้างพิษพื้นที่เพื่อให้พื้นที่เกิดเหตุ
หมดความเป็นพิษและปลอดภัย
๒.๒.๕.๒ จัดตั้งสถานีทำลายล้างพิษสนับสนุนเจ้าหน้าที่ที่เข้าร่วมปฏิ บัติงานใน
พื้นที่เกิดเหตุ หมดความเป็นพิษและปลอดภัย
๒.๒.๕.๓ จัดตั้งสถานีทำลายล้างพิษ สนับสนุนเจ้าหน้าที่เข้าร่วมปฏิบัติงานในพืน้ ที่
เกิดเหตุ (พื้นที่เปื้อนพิษ) ตามที่ได้รับการร้องขอ
๒.๓ สรรพตำราที่ใช้ในปัจจุบัน
๒.๓.๑ คู่มือราชการสนาม ว่าด้วย การหลีกเลี่ยงการเปื้อนพิษ คชรน.
๒.๓.๒ คู่มือราชการสนาม ว่าด้วย การทำลายล้างพิษ คชรน.
๒.๓.๓ คู่มือราชการสนาม ว่าด้วย การปฏิบัติการป้องกันภายใต้สภาพแวดล้อม คชรน.
๒.๓.๔ คู่มือยุทธวิธี เทคนิคและระเบียบปฏิบัติการลาดตระเวนและการเฝ้าตรวจ คชรน.
๒.๓.๕ คู่มือราชการสนาม ว่าด้วย การปฏิบัติการทำควัน

--------------------------------------------------------------------------
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๑๔๑

หลักนิยมการรบพิเศษ
๑. ประเภทการจัดของหน่วย/เหล่า
๑.๑ หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ (นสศ.)
๑.๑.๑ กล่าวทั่วไป หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ มีหน้าที่เตรียมแผนยุทธการ อำนวยการ
และดำเนินการปฏิบัติการพิเศษ ในพื้นที่รับผิดชอบ งานที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการพิเศษทั้งปวงนั้นอาจจะ
กำหนดงานต่าง ๆ ได้ ดังนี้
๑.๑.๑.๑ เตรียมแผนยุทธการในเรื่องการปฏิบัติการพิเศษ ให้สอดคล้องกับแผน
ป้องกันประเทศ
๑.๑.๑.๒ เตรียมการ อำนวยการ และดำเนินการเกี่ยวกับการปฏิบัติการพิเศษ
ในพื้นที่รับผิดชอบ
๑.๑.๑.๓ กำหนดความเร่งด่วนของพื้นที่ปฏิบัติการพิเศษ
๑.๑.๑.๔ จัดหา เก็บรักษา แจกจ่ายข่าวกรองที่ใช้สนับสนุนการปฏิบัติการพิเศษ
๑.๑.๑.๕ แบ่งมอบภารกิจ พื้นที่ งาน ให้แก่หน่วยรองเพื่อเตรียมการปฏิบัติการ
พิเศษที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
๑.๑.๑.๖ พัฒ นาแผนยุทธการ ธุรการ ส่งกำลังบำรุง การติด ต่อสื่อสาร เพื่อ
สนับสนุนการปฏิบัติการพิเศษ ให้ทันสมัยอยู่เสมอ
๑.๑.๑.๗ วางแผน และดำเนินการฝึกหน่วยในความรับผิดชอบ และประสานการ
ปฏิบัติกับเหล่าทัพอื่น เพื่อฝึกผสมเหล่า เกี่ยวกับการปฏิบัติการพิเศษ
๑.๑.๑.๘ ดำรงการติด ต่อสื่อสารกับหน่วยทหาร หน่วยพลเรือน เจ้าหน้าที่ที่
เกี่ยวข้อง และประชาชนในพื้นที่ปฏิบัติการเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติการพิเศษ
๑.๑.๒ ภารกิจ
๑.๑.๒.๑ วางแผน อำนวยการ ประสานงาน กำกับการ และปฏิบัติการเกี่ยวกับ
การปฏิบัติการพิเศษ
๑.๑.๒.๒ วางแผน อำนวยการ กำกับการและดำเนินการฝึก และศึกษาเกี่ยวกับ
การปฏิบัติการพิเศษ การส่งกำลังทางอากาศ และการยุทธ์ส่งทางอากาศ และการปฏิบัติการพิเศษอื่นที่ ทบ.
มอบหมาย
๑.๑.๒.๓ เป็นหน่วยสายวิทยาการ รพศ.ในการดำเนินการวิจัย พัฒนา กำหนด
หลักนิยม และทำตำราในทางวิทยาการที่เกี่ยวข้อง
๑.๑.๒.๔ ปกครองบังคับบัญชาหน่วยทหารที่กระทรวงกลาโหมกำหนด
๑.๑.๓ การแบ่งมอบ เป็นส่วนราชการขึ้นตรงต่อ ทบ.
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๑๔๒

๑.๑.๔ การจัด

๑.๒ พล.รพศ.๑
๑.๒.๑ การจัด เป็นหน่วยขึ้นตรง นสศ. มีหน่วยรองหลักระดับ กรม รพศ.จำนวน ๕ กรม

๑.๒.๒ ภารกิจ
๑.๒.๒.๑ ปฏิบัติการพิเศษ
๑.๒.๒.๒ ปฏิบัติการสนับสนุนมาตรการรักษาความมั่นคงภายใน
๑.๒.๒.๓ ปฏิบัติภารกิจพิเศษที่ได้รับมอบหมาย
๑.๒.๓ การแบ่งมอบ เป็นหน่วยขึ้นตรง หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ
๑.๒.๔ ขีดความสามารถ
๑.๒.๔.๑ บังคับบัญชา วางแผน ดำเนินการทางธุรการ กำกับดูแลการปฏิบัติงาน
ของกองพล และหน่วยที่ขึ้นสมทบ
๑.๒.๔.๒ ปฏิบัติการพิเศษ การสนับสนุนมาตรการรักษาความมั่นคงภายใน และ
ภารกิจพิเศษที่ได้รับมอบ
๑.๓ ศูนย์สงครามพิเศษ (ศสพ.) และ นขต.ศสพ.
๑.๓.๑ การจัด
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๑๔๓

๑.๓.๒ ภารกิจ ศูนย์สงครามพิเศษ มีหน้าที่


๑.๓.๒.๑ วางแผน อำนวยการ กำกับการ และดำเนินการฝึกและศึกษาเกี่ยวกับ
การปฏิบัติการพิเศษ การส่งกำลังทางอากาศ และการยุทธ์ส่งทางอากาศ
๑.๓.๒.๒ การดำเนินการวิจัย และพัฒนา กำหนดหลักนิยม และทำตำราในทาง
วิทยาการที่เกี่ยวข้อง
๑.๓.๒.๓ ปกครองบังคับบัญชาหน่วยทหารที่กระทรวงกลาโหมกำหนด
๑.๓.๓ การแบ่งมอบ เป็นหน่วยขึ้นตรงหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ
๑.๓.๔ ขอบเขตความรับผิดชอบ
๑.๓.๔.๑ อำนวยการและดำเนินการเกี่ยวกับการฝึกและศึกษาวิชาการปฏิบตั ิการ
พิเศษ การกระโดดร่ม การส่งกำลังทางอากาศ การยุทธ์ส่งทางอากาศของหน่วยทหารขนาดเล็ก การลาดตระเวน
ระยะไกลให้แก่กำลังพลใน ทบ.และเหล่าทัพอื่น ๆ ตามที่ได้รบั มอบหมาย
๑.๓.๔.๒ เสนอแนะ และให้คำแนะนำทางวิชาการ เกี่ยวกับการปฏิบัติการพิเศษ
การส่งกำลังทางอากาศ และการยุทธ์ส่งทางอากาศ
๑.๓.๔.๓ ศึกษา วิจัย พัฒนา กำหนดหลักนิยม และทำตำราในทางวิชาการที่
เกี่ยวข้อง ตลอดจนรวบรวมสถิติเกี่ยวกับการปฏิบัติการพิเศษ การส่งกำลังทางอากาศ และการยุทธ์ส่งทางอากาศ
๑.๓.๔.๔ ปกครองบังคับบัญชาหน่วยทหารที่ ทบ.แบ่งมอบให้
๑.๓.๔.๕ ผลิตและควบคุมกำลังพลที่เป็นนักโดดร่มของ ทบ.
๑.๓.๔.๖ กำกั บ ดู แ ลให้ ก ารสนั บ สนุ น ด้ า นหลั ก การ วิ ช าการ แก่ ห น่ ว ยสาย
วิทยาการตามที่ ทบ.มอบหมาย
๑.๔ กองพันปฏิบัติการจิตวิทยา
๑.๔.๑ การจัด

๑.๔.๒ ภารกิจ ปฏิบัติการจิตวิทยาเพื่อปฏิบัติการรบและสนับสนุนมาตรการรักษาความมั่นคง


เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๑๔๔

๑.๔.๓ การแบ่งมอบ เป็นหน่วยของ ทบ.อาจแบ่งมอบให้กับหน่วยรองได้ตามความเหมาะสม


๑.๔.๔ ขีดความสามารถ
๑.๔.๔.๑ ปกครองบังคับบัญชา ควบคุม วางแผนของฝ่ายอำนวยการ และกำกับ
ดูแลการปฏิบัติของหน่วยตามอัตรา และหน่วยขึ้นสมทบ
๑.๔.๔.๒ ผลิต และแจกจ่ายสิ่งโฆษณา อำนวยการและจัดทำรายการวิทยุ เพื่อ
สนับสนุนการปฏิบัติการทางจิตวิทยา
๑.๔.๔.๓ จัดหมวด หรือชุดปฏิบัติการจิตวิทยาออกปฏิบัติการร่วม หรือสมทบ
หน่วยอื่น โดยได้รับการสนับสนุนทางด้านการส่งกำลังบำรุงจากหน่วยนั้น ๆ
๑.๔.๔.๔ ดำเนินการเกี่ยวกับวิทยุกระจายเสียง การฉายภาพยนตร์ การกระจายเสียง
และบันทึกเสียง
๑.๔.๔.๕ เป็นหน่วยปฏิบัตกิ ารข่าวสาร สนับสนุนการรบ และการปฏิบัติการพิเศษ
๑.๔.๔.๖ ดำเนินการสงครามจิตวิทยา เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติการรบ
๑.๔.๔.๗ ปฏิบัติการสนับสนุนการช่วยเหลือประชาชนในการต่อต้านการก่อความ
ไม่สงบ
๑.๕ กองพันทหารสื่อสารที่ ๓๕ นสศ.
๑.๕.๑ การจัด

๑.๕.๒ ภารกิจ จัดวางระบบการสื่อสารและจัดตั้งศูนย์การสื่อสารให้กับกองบัญชาการ


หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ รวมทั้งวางการสื่อสารจากหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษไปยังหน่วยรองหลัก
หน่วยขึ้นสมทบ หน่วยขึ้นการควบคุมทางยุทธการ และหน่วยอื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมาย
๑.๕.๓ การแบ่งมอบ หนึ่งกองพัน ต่อ หนึ่งหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ
๑.๕.๔ ขีดความสามารถ ระบบการติดต่อสื่อสารของหน่วยรบพิเศษควรจัดให้มีลักษณะดังนี้
๑.๕.๔.๑ จัดตั้งศูนย์ข่าว ศูนย์การสื่อสาร และการนำสารทางพื้นดิน และทาง
อากาศ ใช้ในเมื่อมีข่าวที่ต้องส่งมอบเป็นจำนวนมาก และในกรณีที่ต้องการส่งมอบอย่างรวดเร็ว
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๑๔๕

๑.๕.๔.๒ เครื่องมือสื่อสารประเภททัศนสัญญาณ และเสียงสัญญาณ ใช้ในระบบ


เตรียมพร้อม และการเตือนภัยภายในที่ตั้งของกองบัญชาการ
๑.๕.๔.๓ ระบบวิ ท ยุ เ ป็ น เครื ่ อ งมื อ สื ่ อ สารหลั ก สำหรั บ ติ ด ต่ อสื ่ อ สารภายใน
ที่บัญชาการ และระหว่างกองบัญชาการมีการใช้ทั้งวิทยุชนิดความถี่สูงมาก/ปรุงคลื่นทางความถี่ และวิทยุโทร
พิมพ์ความถี่สูง หรือวิทยุแถบความถี่ดา้ นเดียวความถีส่ ูง ข่ายวิทยุประกอบด้วยข่ายต่าง ๆ เช่น ข่ายบัญชาการ
ข่ายธุรการ ข่ายส่งกำลังบำรุง โดยมีหลายสถานีและหลายหน่วยปฏิบัติงานอยู่ภายในข่ายวิทยุ
๑.๕.๔.๔ การสื่อสารประเภทสาย เป็นการสื่อสารหลัก ระหว่างหน่วยต่าง ๆ
ในกองบัญชาการ และสำหรับอำนวยการอุปกรณ์วิทยุจากระยะไกล เนื่องจากระยะทางระหว่างกองบังคับการ
และหน่วยรอง ในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว รวมถึงความจำกัดของอุปกรณ์และเจ้าหน้าที่
๑.๕.๔.๕ การสื่อสารข้อมูลและระบบสารสนเทศ รองรับการปฏิบัติการทางทหาร
ในปัจจุบันมุ่งเน้นไปที่ระบบการติดต่อสื่อสารที่ใช้ระบบเครือข่ายเป็นศูนย์กลางหรือ Network Centric
Warfare ระบบสื่อสารข้อมูล และสารสนเทศที่เชื่อมต่อผ่านระบบเครือข่าย ช่วยให้ข้อมูลข่าวสาร ข่าวกรอง
การกระจายคำสั่ง นโยบาย การปฏิบัติงาน และองค์ความรู้ต่าง ๆ สามารถไหลเวียนไปมาในระบบที่เชื่อมต่อได้
๒. หลักนิยมทางยุทธวิธีของหน่วยในปัจจุบัน
๒.๑ หลักพื้นฐานทางยุทธวิธี การปฏิบัติการพิเศษ ( SPECIAL OPERATIONS ) แตกต่างไปจาก
การปฏิ บ ั ต ิ ก ารทางทหารตามแบบ มี ค ุ ณ ลั ก ษณะเฉพาะตั ว และนอกจากนี ้ ย ั ง สามารถเกิ ด ขึ ้ น ได้ ใ น
สภาพแวดล้อมของการปฏิบัติการที่ไม่เหมาะสมต่อการปฏิบัตกิ ารทางทหารตามแบบ รวมทั้งความแตกต่างใน
เรื่องความต่อเนื่องในการปฏิบัติการอีกด้วย ภารกิจและบทบาทของหน่วยรบพิเศษที่ผิดแผกแตกต่างอย่าง
เด่นชัดดังกล่าว ย่อมเป็นสิ่งบ่งชี้ให้เห็นว่า หน่วยรบพิเศษนั้น จะต้องประยุกต์ใช้หลักการสงครามในการ
ปฏิบัติการที่แตกต่างกันนั่นเอง
ลักษณะของการปฏิบัติการพิเศษของหน่วยรบพิเศษ
๒.๑.๑ การปฏิบัติการพิเศษ คือ การกระทำของกำลังทหารและกึ่งทหาร ที่มีการจัด การฝึก
และยุทโธปกรณ์เป็นพิเศษหรือโดยเฉพาะ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ทางทหาร ทางการเมือง ทางเศรษฐกิจ
หรือทางจิตวิทยา ด้วยวิธีการไม่ตามแบบในพื้นที่ของข้าศึก พื้นที่ที่ถูกยึดครอง หรือพื้นที่ที่มีความล่อแหลม
ทางการเมือง โดยดำเนินการในยามสงบ ยามขัดแย้ง และยามสงคราม อย่างเป็นอิสระหรือประสานกับการ
ปฏิบัติการของกำลังตามแบบ การวางรูปแบบของการปฏิบัติการพิเศษ มักจะเกิดขึ้นจากข้อพิจ ารณาสภาพ
ทางการเมือง - การทหาร โดยจะต้องอาศัยเทคนิคของการอำพราง การปฏิบัติการลับ หรือการปฏิบัติการปกปิด
และการมองภาพในระดับชาติ ตามปกติแล้วการปฏิบัติการพิเศษจะแตกต่างจากการปฏิบัติการตามแบบใน
เรื่องระดับของการเสี่ยง เทคนิคในการปฏิบัติการ วิธีการใช้ความมีอิสระจากการสนับสนุนจากฝ่ายเดียวกัน
และการข่าวกรองในการปฏิบัติการ รวมทั้งการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับกองกำลังชาวพื้นเมืองอีกด้วย
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๑๔๖

๒.๑.๒ การปฏิบัติการพิเศษ ประกอบด้วยกิจกรรมหลักต่าง ๆ ดังนี้


(๑) การสงครามนอกแบบ : สนบ.(UNCONVENTIONAL WARFARE : UW)
(๒) การป้ อ งกั น และปราบปรามการก่ อ ความไม่ ส งบ : ปปส. (COUNTER
INSURGENCY : COIN)
(๓) การปฏิบัติการโดยตรง : ปต. (DIRECT ACTION : DA)
(๔) การลาดตระเวนพิเศษ : ลว.พ. (SPECIAL RECONNAISSANCE : SR)
(๕) การต่อสู้การก่อการร้าย : ตสร. (COMBATTING TERRORISM : CBT)
(๖) การปฏิ บ ั ต ิ ก ารจิ ต วิ ท ยา : ปจว. (PSYCHOLOGICAL OPERATIONS :
PSYOP)
(๗) การปฏิบัติการพิเศษสนับสนุนการปฏิบัติการทางทหารนอกเหนือจากสงคราม
- การเสริมสร้างกลไกความร่วมมือด้านความมั่นคงกับมิตรประเทศ
- การช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรมและบรรเทาสาธารณภัย
- การป้องกันและการแก้ไขปัญหายาเสพติด
- การต่อต้านการแพร่กระจายอาวุธอานุภาพทำลายล้างสูง
- การปฏิบัติการเพื่อสันติภาพ
(๘) การสนับสนุนภารกิจพิเศษอื่น ๆ ที่ ทบ. มอบหมาย
- การป้องกันภายในให้กับมิตรประเทศ
- งานกิจการพลเรือน
- การปฏิบัติการข่าวสาร
- การลวง
- การสาธิต และการแสดงพลังอำนาจกำลังรบ
๒.๑.๓ หน่ ว ยรบพิ เ ศษ คื อ บรรดากำลัง ที่ ม ี การจั ด การฝึ ก และยุ ท โธปกรณ์ พิเศษ
เพื่อดำเนินกิจกรรมปฏิบัตกิ ารพิเศษ หรือให้การสนับสนุนโดยตรงแก่หน่วยปฏิบัติการพิเศษอื่น ๆ นอกจากนัน้
ยังมีขีดความสามารถทางทหารหลายประการ เพื่อป้องกันผลประโยชน์ของชาติ กำลังส่วนนี้เป็นกำลังที่เกิด
จากการประสานกันอย่างสอดคล้องของกลไก และเครื่องมือป้องกันทางยุทธศาสตร์ตามนโยบายของชาติ
กำลังเหล่านี้เป็น กำลังที่สามารถทำหน้าที่ในบทบาทของการออมกำลัง โดยมีด ุลยภาพระหว่างการใช้
งบประมาณกับการใช้กำลังอย่างสมเหตุสมผล ดังนั้น หน่วยรบพิเศษ จึงทำให้มีทางเลือกทางทหาร เพื่อการ
ตอบสนองต่อเสถียรภาพของชาติ ด้วยการเสี่ยงต่อผลประโยชน์ของชาติน้อยที่สุด
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๑๔๗

๒.๒ ข้อพิจารณาการใช้
๒.๒.๑ หลักการของการปฏิบัติการพิเศษของหน่วยรบพิเศษ
ในการปฏิบัติการทางยุทธวิธี หน่วยรบพิเศษจะปฏิบัติงานไปตามหลักพื้นฐานของ
การยุทธ์อากาศ-พื้นดิน ซึ่งเป็นหลักนิยมในการทำสงครามที่สำคัญของ ทบ.โดยได้อธิบายถึงวิธีการที่กำลังของ
ทบ.จะทำการวางแผนและดำเนินการยุทธ์ (หลัก) การรบและการเข้าปะทะที่สำคัญร่วมกับกำลังของเหล่าทัพ
อื่นๆ และพันธมิตร หลักนิยมนี้เป็นหลักนิยมที่เกื้อกูลต่อยุทธศาสตร์ที่จะบรรลุวัตถุประสงค์ตามยุทธศาสตร์
ทหารในการทำสงครามได้อย่างรวดเร็วและมีผลแตกหัก
๒.๒.๒ การปฏิบัติการร่วมของ หน่วยรบตามแบบ(Conventional Forces) และหน่วย
ปฏิบัติการพิเศษ (Special Operations Forces)
๒.๒.๒.๑ หลักนิยม ในการปฏิบัติการร่วมระหว่างหน่วยรบตามแบบ และหน่วยรบ
พิเศษ มีหลักพื้นฐาน เป็นไปตาม “กรอบแนวความคิดในการใช้กำลัง หน่วยปฏิบัติการพิเศษ ของ ทบ.
ตามแนวทางยุทธศาสตร์ ยุทธการ และยุทธวิธี”
๒.๒.๒.๒ หน่วยรบตามแบบ และหน่วยรบพิเศษ ทบ.และหน่วยรบพิเศษเหล่าทัพ
สามารถเข้าใจแนวทางการปฏิบัติการร่วมกันได้ จะต้องอาศัย “แนวความคิดในการใช้กำลัง (ตามแผนป้องกัน
ประเทศ)” ที่จำเป็นต้องมีความเข้าใจร่วมกัน โดยพื้นฐานการรบร่วม(เหล่า)ใน ทบ.ไทย จะใช้ระบบปฏิบัติการ
ในสนามรบ (Battlefield Operating System) ดังนั้น การปฏิบัติการของหน่วยปฏิบัติการพิเศษจะถูกใช้กำลัง
และสนับสนุน ในลักษณะอย่างไรได้บ้างนั้น ฝ่ายเสนาธิการ และ ผบ.หน่วยรบตามแบบ และหน่วยปฏิบัติการ
พิเศษ จำเป็นต้องศึกษาแนวทางระบบปฏิบัติการในสนามรบตามแผนการป้องกันประเทศ ซึ่งควรต้อง
พิจารณาแต่ละระบบฯ ตามหลักนิยม ระบบปฏิบัติการในสนามรบด้วย
๒.๒.๒.๓ ขีด ความสามารถ ของหน่วยรบตามแบบ ที่จะเกื้อกูล ให้กับหน่ว ย
ปฏิบัติการพิเศษ ได้แก่ การควบคุมบังคับบัญชา การยิง การข่าวกรอง การลาดตระเวน การเฝ้าตรวจ การส่ง
กำลังเร่งด่วน การส่งกลับสายแพทย์ และความสามารถในการเคลื่อนย้าย และหน่ วยรบตามแบบ จะได้รับ
ประโยชน์ เ กื ้ อ กู ล จากความสามารถของหน่ ว ยปฏิ บ ั ต ิ การพิ เ ศษ ได้ แ ก่ ข่ า วแจ้ ง เตื อ นเหตุ การณ์ จาก
ความสัมพันธ์ในสภาพแวดล้อมการปฏิบัตกิ าร และขีดความสามารถในการกำหนดเป้าหมาย (targeting) และ
ชป.รพศ.ช่วยกำหนดจังหวะในการปฏิบัติการให้กับหน่วยตามแบบ ทั้ง นี้ ทั้งหน่วยรบตามแบบ และ หน่วย
ปฏิบัติการพิเศษ จะได้ประโยชน์จากเอกภาพในความพยายาม ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบร่วมกัน
๒.๓ การจัดกำลังเข้าทำการรบ หรือการแบ่งมอบ จำแนกเป็นหน่วยดำเนินกลยุทธ์ หน่วย
สนับสนุนการรบ หน่วยสนับสนุนการช่วยรบ
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๑๔๘

๒.๔ สรรพตำราที่ใช้ในปัจจุบัน
๒.๔.๑ คู่มือหลักนิยมที่สำคัญ
- รส.๓๑-๘๑ ยุทธวิธี เทคนิค และกรรมวิธีการลาดตระเวนพิเศษสำหรับหน่วยรบ
พิเศษ (พิมพ์ปี ๕๕)
- การปฏิบัติการของหน่วยจู่โจม (พิมพ์ปี ๖๐)
- รส.๓๓-๑ หลักนิยมการปฏิบัติการจิตวิทยา ทบ.ไทย (ปี ๕๐)
- รส.๒๐-๑ หลักนิยมหน่วยทหารพราน (ปี ๕๑)
๒.๔.๒ ข้อมูลหลักนิยมที่ประกาศใช้แล้ว
- รส.๓๑-๘๑ เทคนิ คการปฏิ บั ต ิ การพิเศษ ของหน่ วยรบพิเศษกองทัพบกไทย
(พิมพ์ปี ๕๕)
- รส.๓๑-๘๑ เทคนิ คการปฏิ บั ต ิ การพิเศษ ของหน่ วยรบพิเศษกองทัพบกไทย
(พิมพ์ปี ๕๕)
- การปฏิบัติในการรักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญ (พิมพ์ปี ๕๙)
- การปฏิบัติการของหน่วยจู่โจม (พิมพ์ปี ๖๐)
- รส.๓๓-๑ หลักนิยมการปฏิบัติการจิตวิทยา ทบ.ไทย (ปี ๕๐)
- รส.๒๐-๑ หลักนิยมหน่วยทหารพราน (ปี ๕๑)

-------------------------------------------------------------------------
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๑๔๙

หลักนิยมการบินทหารบก
๑. ประเภทการจัดของหน่วย/เหล่า
๑.๑ กล่าวทั่วไป
ศูน ย์การบิน ทหารบกในฐานะหัวหน้าสายวิทยาการการบินทหารบก มีภารกิจในการ
ปกครองบังคับบัญชาหน่วยบินที่ ทบ.แบ่งมอบให้ คือ กรมบิน และหน่วยบินในอัตรา เป็นหน่วยบินทาง
ยุทธวิธีที่สนับสนุนหน่วยดำเนินกลยุทธ์ในการรบ การสนับสนุนการรบและการสนับสนุนการช่วยรบ
๑.๒ กรมบิน อจย.๑-๑๑ (๖ ก.ค.๕๙)
๑.๒.๑ กรมบินได้รับการจัดตั้งขึ้นมาเพื่อให้มีความสมบูรณ์ในการปฏิบัติการรบได้ทุก
รูปแบบ โดยสามารถจัดเป็นหน่วยบินเฉพาะกิจสนับสนุนหน่วยดำเนินกลยุทธ์ภาคพื้นเข้าทำการรบตามความ
ต้องการทางด้านยุทธการ มีหน่วยบินในอัตรา จำนวน ๖ กองพัน ประกอบด้วย กองพันบินปีกหมุน ๔ กองพัน
(กองพันบินที่ ๑, ๒, ๓ และ ๙) กองพันบินปีกติดลำตัว ๑ กองพัน (กองพันบินที่ ๒๑) และกองพันบินสนับสนุน
ทั่วไป (กองพันบินที่ ๔๑)
๑.๒.๒ การจัดหน่วย กรมบิน อจย.๑-๑๑ (๖ ก.ค.๕๙)

๑.๒.๓ ขีดความสามารถ
๑.๒.๓.๑ ทำการเคลื่อนย้ายกำลังพลและยุทโธปกรณ์ทางอากาศ การปฏิบัติการ
ยุทธเคลื่อนที่ทางอากาศ การลาดตระเวน การโจมตี การต่อสู้ยานเกราะและรถถัง การตรวจการณ์ การชี้
เป้าหมาย การถ่ายภาพทางอากาศ การถ่ายทอดพื้นที่การรบ การค้นหาและกู้ภัย การส่งทางอากาศ การ
ติดต่อสื่อสาร การส่องสว่างสนามรบ การปฏิบัติการทางทหารนอกเหนือการสงคราม การปฏิบัติการจิตวิทยา
การบรรเทาสาธารณะภัยและการช่วยเหลือประชาชน
๑.๒.๓.๒ สามารถประกอบกำลังเป็นหน่วยบินโจมตีเคลื่อนที่ทางอากาศปฏิบัตกิ าร
ในทางลึ กได้ ทำการยกหิ ้ว สิ ่ง อุ ปกรณ์ ขนาดใหญ่ / หนั ก ด้ ว ยการยกหิ้ วภายนอกลำตั วอาก าศยานตาม
ขีดความสามารถ
๑.๒.๓.๓ ดำเนินการจัดตั้งสนามบินทหารบกในสนามรบ การจัด การควบคุม
การจราจรทางอากาศและการบริหารห้วงอากาศ ภายใต้การกำกับดูแลของของฝ่ายยุทธการอากาศจากหน่วย
ที่ไปสนับสนุนให้กับอากาศยานของ ทบ.หรืออากาศยานที่อยู่ในการควบคุมด้วยหอบังคับการบินของ ทบ.
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๑๕๐

๒. หลักนิยมทางยุทธวิธีของหน่วยในปัจจุบัน
๒.๑ หลักพื้นฐานทางยุทธวิธีของหน่วยบินทหารบก
ยึด ถือ หลักนิยมกองทัพบก รส. ๓ – ๐ เป็นกรอบในการปฏิบัต ิ โดยการบินทหารบก
สามารถสนับสนุนหน่วยกำลังรบและหน่วยทหารอื่นๆ ในการปฏิบัติการยุทธ์ ตามระบบปฏิบัติการในสนามรบ
(Battle Operations System: BOS) ได้ครบทั้ง ๗ ประการ ทั้งในภารกิจด้านการรบ สนับสนุน การรบ
สนับสนุนการช่วยรบ และการปฏิบัติการทางทหารอื่นๆ ที่มิใช่สงคราม สามารถตอบสนองพัน ธกิจ ๕
ประการ ของกองทัพบกได้อย่างครบถ้วน
๒.๒ ข้อพิจารณาการใช้
ต้องพิจารณาร่วมกันระหว่างหน่วยบินและหน่วยรับการสนับสนุน โดยมีรายละเอียด ดังนี้
- จำนวนและแบบของอากาศยาน
- ภารกิจของหน่วยรับการสนับสนุน
- นามเรียกขานและความถี่
- ที่ตั้งปัจจุบันของหน่วย
- ขีดความสามารถของอากาศยานและเจ้าหน้าที่ประจำ
- น้ำหนักที่ใช้บรรทุก
- ความต้องการในการส่งกำลังบำรุง (สป.๓ (อ.), สป.๕)
- สถานภาพอาวุธ กระสุน สป.๓ (อ.)
- ชิ้นส่วนซ่อมอากาศยาน
- สป.สิ้นเปลืองในแต่ละวัน/ชม.บิน
- ข้อพิจารณาพิเศษ เช่น ที่รวมพล พื้ นที่จอดอากาศยาน การระวังป้องกันพื้นที่ พื้นที่ใน
การเพิ่มเติม สป.๓ (อ.) และ สป.๕
๒.๓ การจัดกำลังเข้าทำการรบหรือการแบ่งมอบ
๒.๓.๑ จำแนกเป็นหน่วยดำเนินกลยุทธ์ หน่วยสนับสนุนการรบและหน่วยสนับสนุนการ
ช่วยรบ โดยมีการจัดหน่วยบินในภารกิจการรบตามภารกิจ ดังนี้
- การลาดตระเวน/การระวังป้องกัน
- การโจมตี
- การยุทธ์เคลื่อนที่ทางอากาศ
- การสนับสนุนการยิง
- การปฏิบัติการพิเศษ
- โดยการใช้ ฮ. ลาดตระเวนติดอาวุธ หรือ ฮ. โจมตี ซึ่งมีขีดความสามารถในด้าน
การทำลายกำลังบางส่วนของข้าศึก ทำลายยุทธภัณฑ์ ยานเกราะที่เป็นอันตรายเพื่อตัดรอนและสกัดกั้นกำลัง
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๑๕๑

ของข้าศึก เพื่อให้กำลังฝ่ายเราที่ตามมาเข้าทำลาย และสามารถโจมตีเป้าหมายในทางลึกเพื่อรบกวนการปฏิบัติ


ของฝ่ายตรงกันข้าม
- การปฏิบัติการยุทธ์เคลื่อนที่ทางอากาศ โดยใช้ ฮ.ท.ของกองพันบินปีกหมุน
สนับสนุนการเคลื่อนย้ายให้กับหน่วยดำเนินกลยุทธ์โดยมี ฮ.ลาดตระเวนติดอาวุธ หรือ ฮ.โจมตี ทำการระวัง
ป้องกันให้กับขบวนบินทางยุทธวิธี
- โดยการใช้เครื่องบินปีกติดลำตัวหรืออากาศยานไร้คนขับ (UAV) ในภารกิจตรวจ
การณ์ทางอากาศ การข่าวกรองสนามรบ การถ่ายทอดพื้นที่การรบ การถ่ายภาพทางอากาศ การค้นหาและ
กำหนดที่ตั้งเป้าหมายของข้าศึก ทั้งทางด้านระยะใกล้และทางลึก ช่วยให้ผู้บังคับบัญชาได้รับข้อมูลตามเวลาที่
เป็นจริงเพื่อใช้ในการวางแผนการรบได้อย่างทันเวลา
- การจัดหน่วยบินสนับสนุนหน่วยดำเนินกลยุทธ์ สามารถจัดได้ ๑ กองพันบิน
สนับสนุน ๑ กองทัพภาค แต่สามารถจัดเป็นกองพันบินเฉพาะกิจสนับสนุนได้ตามความต้องการของภารกิจ
๒.๓.๒ ภารกิจสนับสนุนการรบ
- การบังคับบัญชา การควบคุม และการติดต่อสื่อสาร
- การเคลื่อนย้ายทางอากาศ
- การค้นหาช่วยเหลือ และกู้ภัยจากการรบ
๒.๓.๓ ภารกิจสนับสนุนการช่วยรบ
- การดำรงความต่อเนื่อง
- การส่งกลับผู้เจ็บป่วยทางอากาศ
- โดยการใช้ ฮ.ใช้งานทั่วไปในการเคลื่อนย้ ายกำลังพลและยุทโธปกรณ์ การส่ง
กำลังบำรุง การกระโดดร่มทางยุทธวิธี การส่งกลับสายแพทย์ ซึ่งต้องการความรวดเร็วในการปฏิบัติและไม่มี
ข้อจำกัดทางด้านภูมิประเทศ เพื่อดำรงความต่อเนื่องให้กับหน่วยดำเนินกลยุทธ์
๒.๔ สรรพตำราที่ใช้ในปัจจุบัน
๒.๔.๑ รส.๑ – ๑๑๒ ว่าด้วย การปฏิบตั ิการเฮลิคอปเตอร์โจมตี พ.ศ. ๒๕๔๗
๒.๔.๒ รส.๙๐ – ๔ ว่าด้วย การปฏิบตั ิการยุทธ์โจมตีเคลื่อนที่ทางอากาศ พ.ศ. ๒๕๔๙
๒.๔.๓ รส.๑ – ๔๐๐ ว่าด้วย คู่มือนักบิน พ.ศ. ๒๕๕๒
๒.๔.๔ รส.๑ – ๒๐๒ ว่าด้วย การปฏิบัตกิ ารบินภายใต้สภาพแวดล้อมต่างๆ พ.ศ. ๒๕๕๔
๒.๔.๕ คป. การปฏิบตั ิการบินในพื้นที่ในเมือง พ.ศ. ๒๕๕๖
๒.๔.๖ รส.๑ – ๑๐๐ ว่าด้วย หลักนิยมการปฏิบตั ิการรบของการบินทหารบก พ.ศ. ๒๕๕๗
๒.๔.๗ รส.๑ – ๑๕๕ ว่าด้วย หลักนิยมการปฏิบตั ิการของอากาศยานไร้นักบิน พ.ศ.
๒๕๕๗
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๑๕๒

๒.๔.๘ รส.๑ – ๑๑๖ ว่าด้วย หลักนิยมการปฏิบตั ิการของเฮลิคอปเตอร์ลาดตระเวนติด


อาวุธ พ.ศ. ๒๕๕๙
๒.๔.๙ รส.๓ – ๐๔.๑๒๖ ว่าด้วย การปฏิบตั ิการของเฮลิคอปเตอร์ลาดตระเวนโจมตี พ.ศ.
๒๕๖๑
๒.๔.๑๐ รส.๓ – ๐๔ ว่าด้วย หลักนิยมการบินทหารบก พ.ศ. ๒๕๖๒
๒.๔.๑๑ รส. ๓ – ๐๔.๓๘ ว่าด้วย การปฏิบตั ิการของของผู้นำทางอากาศยาน พ.ศ.
๒๕๖๒
๒.๔.๑๒ รส. ๓-๐๓.๑๑๑ ว่าด้วย หลักนิยมกรมบิน พ.ศ.๒๕๖๓
๒.๔.๑๓ รส. ๓-๐๔ (พัน.บ.ปีกหมุน) ว่าด้วย หลักนิยมกองพันบินปีกหมุน พ.ศ.๒๕๖๓
๒.๔.๑๔ รส. ๓-๐๔ (พัน.บ.ปีกติดลำตัว) ว่าด้วย หลักนิยมกองพันบินปีกติดลำตัว พ.ศ.
๒๕๖๓
๒.๔.๑๕ รส. ๓-๐๔ (พัน.บ.สนับสนุนทัว่ ไป) ว่าด้วย หลักนิยมกองพันบินสนับสนุนทั่วไป
พ.ศ.๒๕๖๓
--------------------------------------------------------------------------

หลักนิยมศูนย์ไซเบอร์ทหารบก
๑. ประเภทการจัดของหน่วย/เหล่า
๑.๑ กล่าวทั่วไป
ศูนย์ไซเบอร์กองทัพบก (ศซบ.ทบ.) ได้แปรสภาพจากศูนย์เทคโนโลยีทางทหาร (ศทท.)
เป็น ศูน ย์ไ ซเบอร์กองทักบก มีฐานะเป็นหน่วยขึ้นตรง ทบ.ตั้งแต่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๙ รับผิด ชอบหน้าที่
ดำเนินการเกี่ยวกับการปฏิบัติด้านไซเบอร์ และพัฒนาความพร้อมด้านไซเบอร์ของ ทบ. มีผู้อำนวยการศูนย์
ไซเบอร์กองทัพบกเป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ
๑.๒ ขอบเขตความรับผิดชอบและหน้าที่ที่สำคัญ
๑.๒.๑ วางแผน ประสานงาน ให้คำปรึกษา และดำเนินการเกี่ยวกับการปฏิบัติด้านไซเบอร์
ได้แก่ การรักษาความมัน่ คงปลอดภัยไซเบอร์ การปฏิบัติการไซเบอร์ และการสนับสนุนการปฏิบัติการข่าวสาร
ของ ทบ.
๑.๒.๒ วางแผนและดำเนินการเกี่ยวกับการสำรองและฟื้นฟูระบบไซเบอร์ของ ทบ.
๑.๒.๓ วิเคราะห์ข้อมูลการจราจรทางไซเบอร์ รวมทั้งพิสจู น์หลักฐานทางดิจิทัล
๑.๒.๔ เฝ้ า ตรวจ แจ้ ง เตื อ น กำหนดมาตรการ และกำกั บดูแลการรัก ษาความมั่น คง
ปลอดภัยไซเบอร์ของหน่วยต่าง ๆ ของ ทบ.
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๑๕๓

๑.๒.๕ ตรวจสอบ ประเมิน รวมทั้งกำหนดมาตรการและกำกับดูแลระบบการรักษาความ


มั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของหน่วยต่าง ๆ ของ ทบ.
๑.๒.๖ ติดตาม รวบรวม วิเคราะห์ข่าวสารบนไซเบอร์ เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติด้านไซเบอร์
และสนับสนุนการปฏิบัติข่าวสารของ ทบ.
๑.๒.๗ ดำเนินการเกี่ยวกับการพัฒนาความรูแ้ ละเทคโนโลยีด้านไซเบอร์ให้กับกำลังพล ทบ.
๑.๒.๘ เสนอแนะและให้คำปรึกษาแก่ผบู้ ังคับบัญชาเกี่ยวกับเทคนิคด้านไซเบอร์
๑.๒.๙ ประสานงาน กับส่วนราชการและหน่วยงานอื่นๆ เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือด้าน
ไซเบอร์
๑.๒ การจัดหน่วย

๒. ศูนย์ไซเบอร์กองทัพบกประกอบด้วยหน่วยต่าง ๆ ในการปฏิบัตกิ าร ดังนี้


๒.๑ กองปฏิบัติการไซเบอร์ ทำหน้าที่เป็นศูนย์ปฏิบัติการไซเบอร์เพื่อเฝ้าระวัง แจ้งเตือน
ป้องกัน และแก้ไขปัญหาที่เกิดจากภัยคุกคามด้านไซเบอร์การเผชิญเหตุฉุกเฉินด้านไซเบอร์ตลอดจนการ
พัฒนา ขีดความสามารถในการปฏิบัติการไซเบอร์เชิงรุก เพื่อให้สามารถปฏิบัติการเชิงรุกและโต้ตอบโจมตี
ฝ่ายตรงข้าม ได้ในกรณีจำเป็น
๒.๒ กองรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ทำหน้าที่เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ สร้างความ
ตระหนัก ติดตาม กำกับดูแลการปฏิบัติของหน่วยตามมาตรการการรักษาความมั่งคงปลอดภัย รวมถึงการเฝ้า
ระวัง แจ้งเตือนภัยคุกคาม การติดตาม สืบค้น และตรวจสอบช่องโหว่ของระบบ โดยใช้เครื่องมือระบบ
ตรวจหา การบุกรุก รวมถึงการกู้คืนสภาพเมื่อถูกโจมตี (Recovery) รวมถึงการดำเนินการพิสูจน์หลักฐานทาง
ดิจิทัล
๒.๓ กองสนับสนุนการปฏิบัติการข่าวสารไซเบอร์ เพื่อให้การสนับสนุนการปฏิบัติการข่าวสาร
ของ ทบ.และหน่วยที่เกี่ยวข้อง โดยทำหน้าที่เฝ้าระวัง แจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารบนไซเบอร์ที่ส่งผลกระทบ ต่อ
สถาบัน และความมั่งคงของชาติรวบรวม วิเคราะห์ทิศทาง แนวโน้ม โครงข่ายความสัมพันธ์ของข้อมูล
ประเภทสื่อ และกลุ่มเป้าหมาย ติดตาม สืบค้น แหล่งที่มาและเป้าหมาย และกำหนดมาตรการป้องปราม
ตอบโต้ สกัดกั้น ตลอดจนพัฒนาโปรแกรมและเครื่องมือต่าง ๆ เพื่อรองรับงานด้านไซเบอร์ นอกจากนี้ยังได้
เอกสารสรุปหลักนิยมของหน่วย/เหล่าของกองทัพบก ๑๕๔

เตรียมการ ด้านการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่าง ๆ ด้านไซเบอร์โดยแสวงหาความร่วมมือกับหน่วยงาน


ต่าง ๆ ทั้งภายใน ทบ.และภาครัฐ และองค์กรเอกชนในด้านวิชาการ การวิจัยพัฒนา (R&D) การสัมมนาเชิง
ปฏิบัติการ (Workshop) และการฝึกปฏิบัติต่าง ๆ โดยเฉพาะการฝึกซ้อมแผนเผชิญเหตุด้านไซเบอร์ (Cyber
Incident Action Plan Exercise) การฝึกซ้อมแผนฉุกเฉินด้านไซเบอร์ (Cyber Emergency) รวมถึงการ
ประสานงานเพื่อดำเนินการตามกฎหมายกับผู้ที่โจมตีระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
๓. การจัดตั้งศูนย์ไชเบอร์กองทัพบก เพื่อพัฒนา ทบ.ให้ทันสมัยโดยสามารถทำงานให้สอดคล้อง
กับหน่วยงานภาครัฐอื่นๆ โดยจะเน้นการปกป้องงานของ ทบ.เพื่อป้องกันการถูกแทรกแซงจากแฮกเกอร์ตา่ งๆ
รวมทั้งงานที่เกี่ยวข้องกับด้านการข่าว โดยเน้นหนักไปในเรื่องการพัฒนากําลังคนและเครื่องมือ โดยเฉพาะที่
กองทัพมีพื้นฐานรองรับงานต่าง ๆ ไว้แล้ว ทบ.ได้มองเห็นปัญหาของภัยคุกคามทางไซเบอร์ ซึ่งมีการใช้
เทคโนโลยีเข้ามาทำลายความมั่นคงของประเทศจึงได้เร่งพัฒนาเสริมศักยภาพของกองทัพไว้ให้พร้อมกับภัย
ที่กําลังเกิดขึ้น โดยเฉพาะประเทศไทยได้เรียนรู้จากประเทศที่เป็นมหาอํานาจทางทหาร ซึ่งประเทศเหล่านั้น
ได้กำหนดพลังอำนาจทางทหารไว้ ๕ ด้าน หรือเรียกว่าเป็นโดเมน คือ ๑) พื้นที่ปฏิบัติการบนดิน (Land
Domain) ๒) พื้นที่ปฏิบัติการในน้ำ (Sea Domain) ๓) พื้นที่ปฏิบัติการในอากาศ (Air Domain) ๔) พื้นที่
ปฏิบัติการบนห้วงอวกาศ (Space Domain) และ ๕) พื้นที่ปฏิบัติการด้านไซเบอร์โดเมน (Cyber Domain)
ซึ่งโดเมนที่ ๕ มีความสำคัญมาก เพราะประเทศที่มีกำลังทหารมากและมีอาวุธที่ทันสมัย แต่ถ้าหากไม่สามารถ
ควบคุมไซเบอร์โดเมน (Cyber Domain) ซึ่งเป็นส่วนควบคุมหรือบังคับบัญชาได้ก็ไม่มีประโยชน์เพราะ
สงคราม ในยุคใหม่จะไม่เห็นภาพการเคลื่อนกำลังทหารในการรบ แต่จะมีการควบคุมสั่งการของกองทัพผ่าน
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ถ้าหากระบบควบคุมสั่งการของกองทัพได้ถูกทำลายไปและบิดเบือนข้อมูลต่าง ๆ
ระบบบังคับบัญชาและระบบสั่งการใช้ไม่ได้ กองทัพในยุคสมัยใหม่ก็จะพ่ายแพ้ในสมรภูมิรบ
๔. ในด้านการพัฒนาหลักนิยม/สรรพตำราของหน่วย อยู่ขั้นตอนการพัฒนา เนื่องจากเป็นหน่วย
จัดตั้งใหม่ ซึ่งปัจจุบันได้ดำเนินการโครงการคู่มือการเทคนิคการปฏิบัติการด้านไซเบอร์ ซึ่งจะแล้วเสร็จใน
ปีงบประมาณ ๒๕๖๕

-------------------------------------------------------------------------

You might also like