You are on page 1of 9

บทที่ 3

วิธีดำเนินการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้ใช้รูปแบบเชิงคุณภาพ เรื่อง การพัฒนาชุดฝึกทักษะวงโยธวาทิตโดยใช้เพลง
พื้นบ้านอีสานใต้สำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษา ผู้วิจัยได้ดำเนินการวิจัยตามลำดับขั้นตอนดังนี้
1. กลุ่มเป้ าหมาย
2. การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
3. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
4. การเก็บรวบรวมข้อมูล
5. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

กลุ่มเป้ าหมาย
การวิจัยในครั้งนี้ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งมีกลุ่มเป้ าหมายคือ ผู้ทรงคุณวุฒิ
ในการประเมินชุดฝึกทักษะสำหรับวงโยธวาทิต โดยใช้เพลงพื้นบ้านอีสานใต้ ซึ่งผู้ทรงคุณวุฒินั้น
ต้องมีประสบการณ์และเป็นที่ยอมรับในเรื่องวงโยธวาทิต โดยจะต้องมีความรู้ 3 ด้าน คือ ด้านการ
เรียบเรียงเสียงประสาน ด้านวงโยธวาทิต และด้านการเรียนการสอนวงโยธวาทิตในระดับ
มัธยมศึกษา ซึ่งประเมินผลตามวิธีของลิเคอร์ท (Linkert) เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating
Scale) 5 ระดับ กำหนดการประเมินระดับความเหมาะสม เพื่อให้ได้ข้อมูล และข้อเสนอแนะ โดยมี
รายนามดังต่อไปนี้
1. ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการเรียบเรียงเสียงประสาน คือ ผู้ที่มีความสามารถโดดเด่นในด้าน
การเรียบเรียงเสียงประสานสำหรับวงโยธวาทิต ผู้วิจัยได้กำหนดว่า ผู้ทรงคุณวุฒิต้องมีความรู้
ในด้านการเรียบเรียงเสียงประสานสำหรับวงโยธวาทิต มีผลงานเชิงประจักษ์ และเป็นที่ยอมรับ
โดยจะต้องมีประสบการณ์ด้านการเรียบเรียงเสียงประสานหรือผลงานวิจัยตั้งแต่ พ.ศ. 2559 - 2564
โดยรายชื่อดังต่อไปนี้
1.1 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิรัตน์ เลี้ยงสมบูรณ์
ตำแหน่ง ประธานสาขาวิชาดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
1.2 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัศวิน นาดี
ตำแหน่ง ประธานสาขาวิชาดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

1.3 ผู้ช่วยศาสตราจารย์อดิวัชร์ พนาพงศ์ไพศาล


ตำแหน่ง อาจารย์ภาควิชาดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
1.4 อาจารย์ประเสริฐ ราชมณี
ตำแหน่ง อาจารย์ภาควิชาดนตรีศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
1.5 อาจารย์รุ่งรดิศ จันทร์จำปา
37

ตำแหน่ง ผู้ประพันธ์ดนตรี วงดุริยางค์เยาวชนไทย กระทรวงวัฒนธรรม


1.6 อาจารย์จิณณวัตร หมั่นทรัพย์
ตำแหน่ง อาจารย์ภาควิชาดนตรี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
1.7 อาจารย์วิษณ์กมล ชัยวานิชศิริ
ตำแหน่ง ผู้ช่วยอาจารย์ วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล
2. ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวงโยธวาทิต คือ ผู้ที่มีความรู้ความสามารถทางด้านวงโยธวาทิต ผู้
วิจัยได้กำหนดว่า ผู้ทรงคุณวุฒิต้องมีความรู้ด้านวงโยธวาทิต มีผลงานเชิงประจักษ์ เป็นที่ยอมรับ
โดยจะต้องมีประสบการณ์อย่างน้อย 5 ปี หรือเคยเป็นคณะกรรมการตัดสินการประกวดวงโยธวาทิต
ในระดับชาติหรือนานาชาติอย่างน้อย 1 รายการ ย้อนหลังไม่เกิน พ.ศ. 2559 โดยรายชื่อดังต่อไปนี้
2.1 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ดิฐพงษ์ อุเทศธำรง
ตำแหน่ง อาจารย์ภาควิชาดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
2.2 อาจารย์พงษ์พันธุ์ บัวบล
ตำแหน่ง ครู โรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต
2.3 จ่าสิบเอกนิสันต์ ยกสวัสดิ์
ตำแหน่ง ครู โรงเรียนดุริยางค์ทหารบก
2.4 อาจารย์สมภพ พลอยบ้านแพ้ว
ตำแหน่ง ครู โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้ารัชดา
2.5 อาจารย์โกสินทร์ สืบประสิทธิ์วงษ์
ตำแหน่ง ประธานสมาคมวงโยธวาทิตแห่งประเทศไทย
2.6 อาจารย์อภิวุฒิ มินาลัย
ตำแหน่ง ครู โรงเรียนสุรนารีวิทยา
2.7 อาจารย์กชพร อู่ไพบูรณ์
ตำแหน่ง อาจารย์สาขาวิชาดนตรีศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

3. ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการเรียนการสอนวงโยธวาทิต คือ ผู้ที่มีความรู้ความสามารถทางด้าน


การเรียนการสอนวงโยธวาทิตในระดับมัธยมศึกษา ผู้วิจัยได้กำหนดว่า ผู้ทรงคุณวุฒิต้องมีความรู้
ความสามารถด้านการเรียนการสอนวงโยธวาทิต มีผลงานเชิงประจักษ์ เป็นที่ยอมรับ โดยจะต้องมี
ประสบการณ์การสอนอย่างน้อย 2 ปี ซึ่งมีรายชื่อดังต่อไปนี้
3.1 นายปัญญา มีฤทธิ์
ตำแหน่ง ครู โรงเรียนคำม่วง อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์
3.2 นายเมธัส เพิ่มฉิม
ตำแหน่ง ครู โรงเรียนประชามงคล อำเภอหนองปรือ จังหวัดกาญจนบุรี
3.3 จ่าสิบตรี ธยศ ฐิตะธยศ
ตำแหน่ง อาจารย์ โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ ายมัธยม
38

คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จังหวัดกรุงเทพมหานคร


3.4 นายโชติพงษ์ วิมะลิน
ตำแหน่ง ครู โรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย จังหวัดกรุงเทพมหานคร
3.5 นายยุทธศักดิ์ โพธิรุกข์
ตำแหน่ง ครู โรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี จังหวัดกรุงเทพมหานคร
3.6 นายอรรถพล อาจยิน
ตำแหน่ง ครู โรงเรียนบุรีรัมย์พิทยาคม อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
3.7 นายศรัทธา เชิงหอม
ตำแหน่ง ครู โรงเรียนสุรวิทยาคาร อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์

การสร้างเครื่องมือในการวิจัย
การสร้างเครื่องมือในการวิจัย ผู้วิจัยได้ดำเนินการพัฒนาชุดฝึกสำหรับวงโยธวาทิตใน
โรงเรียนมัธยมศึกษา โดยใช้การเรียบเรียงเพลงพื้นบ้านอีสานดังต่อไปนี้
การสร้างชุดฝึ ก
ชุดฝึกทักษะการบรรเลงสำหรับวงโยธวาทิต โดยใช้การเรียบเรียงเพลงพื้นบ้านอีสาน
ใต้ มีขั้นตอนสร้าง ดังนี้
1. ศึกษาค้นคว้าข้อมูลเพลงพื้นบ้านอีสานใต้ โดยผู้วิจัยได้ศึกษาจากบทเพลงของ
วงมโหรีอีสานใต้ และวงกันตรึม จากเอกสารเกี่ยวข้อง ตำรา และผลงานการวิจัย
2. คัดเลือกบทเพลงพื้นบ้านอีสานใต้ที่จะนำมาเพื่อนำไปเรียบเรียงเสียงประสาน
สำหรับวงโยธวาทิต ซึ่งผู้วิจัยจะทำการวิเคราะห์ทำนองเพลงเพื่อคัดเลือกให้มีความเหมาะสมกับวง
โยธวาทิตในระดับมัธยมศึกษา โดยมีแนวทางการคัดเลือกเพลงพื้นบ้านอีสานใต้ ผู้วิจัยได้กำหนด
แนวทางการคัดเลือกเพลงพื้นบ้านอีสานใต้ เพื่อนำมาวิเคราะห์ และพัฒนาเป็นชุดฝึกทักษะ
การบรรเลงสำหรับวงโยธวาทิต โดยผู้วิจัย กำหนดแนวทางการคัดเลือก คือ ต้องเป็นเพลงพื้นบ้าน
อีสานใต้ที่มีทำนองเหมาะสมกับการนำมา พัฒนาเป็นชุดฝึกหรือเป็นบทเพลงที่มีทำนองคุ้นหู
ไม่ซับซ้อน และมีเอกลักษณ์ที่ชัดเจนในบทเพลง
3. ศึกษาสกอร์เพลงวงโยธวาทิตที่เรียบเรียงในรูปแบบ Flexible Score ซึ่งผู้วิจัย
ได้ศึกษาเพลงทั้งหมด 2 บทเพลง คือ เพลงมาร์ชเจ้าพระยา (Flexible Band Edition) ประพันธ์โดย วิ
ษม์กมล ชัยวานิชศิริ และเพลง Disney on Parade เรียบเรียงโดย Jonnie Vinson พบว่า
มีการจัดรูปแบบแนวเสียง (Part) ที่แตกต่างกัน คือ มาร์ชเจ้าพระยา มีการจัดแนวเสียงของเครื่องเป่ า
(Wind Instrumentation) ทั้งหมด 6 แนวเสียง และมีเครื่องกระทบ (Percussion) ร่วมด้วย ส่วนใน
บทเพลง Disney on Parade มีการจัดแนวเสียงของเครื่องเป่ า (Wind Instrumentation) ทั้งหมด
6 แนวเสียง และมีเครื่องกระทบ (Percussion) ร่วมด้วยเช่นกัน แต่ทั้ง 2 บทเพลง มีการจัดวางเครื่อง
ดนตรีในแนวเสียงที่ใกล้เคียงกัน โดยทุกการจัดวางแนวเครื่องดนตรี สามารถจัดสรรผู้เล่นใน
วงโยธวาทิตให้ตรงกับแนวเสียงการจัดวางเครื่องดนตรีได้โดยไม่จำเป็นต้องมีเครื่องดนตรีครบทุก
39

แนว ทำให้สามารถบรรเลงบทเพลงทั้ง 2 บทเพลงนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเหมาะสมกับ


วงโยธวาทิตทุกขนาด
4. ศึกษาหนังสือชุดแบบฝึกหัดดนตรี Essentials Element Book 1 และ Essential
Element Book 2 จากการศึกษา พบว่า
4.1 ชุดแบบฝึกหัด Essentials Element Book 1 เป็นแบบฝึกหัดที่เริ่มฝึกฝนตั้งแต่
แรกเริ่มเล่นเครื่องดนตรี ตั้งแต่ท่าทาง (Posture), การหายใจและการใช้ลม (Breathing and
Airstream) และอื่น ๆ ที่เป็นพื้นฐานการเริ่มฝึกซ้อม ในชุดแบบฝึกหัด Essentials Element book 1
มีชุดฝึกทั้งหมด 187 ข้อ ซึ่งในแต่ละข้อใช้บทเพลงสั้น ๆ ในการจัดทำชุดฝึก เช่น La Bemba, Eine
Kleine Nachtmusik ทำให้ชุดแบบฝึกหัด Essentials Element Book 1 มีความน่าสนใจมากขึ้น
ทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้องค์ประกอบของการบรรเลงวงโยธวาทิตได้ง่ายขึ้น อีกทั้งชุดแบบฝึกหัด
Essentials Element Book 1 เป็นชุดแบบฝึกหัดเริ่มต้น ทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ง่าย และ
สามารถนำไปใช้เพื่อฝึกฝนการบรรเลงได้อย่างมีคุณภาพ
4.2 หนังสือชุดแบบฝึกหัด Essentials Element Book 2 จากการศึกษาพบว่า
ชุดแบบฝึกหัด Essentials Element Book 2 เป็นแบบฝึกหัดที่มีรายละเอียดเกี่ยวกับการบรรเลง
ดนตรีมากยิ่งขึ้น เช่น ลักษณะการควบคุมเสียง (Articulation) การเปลี่ยนบันไดเสียงในบทเพลง
(Modulation Key) ความเข้มเสียง (Dynamic) มีการใช้เครื่องหมายกำกับจังหวะที่ซับซ้อนมากขึ้น
ในชุดแบบฝึกหัด Essentials Element book 2 มีชุดฝึกทั้งหมด 186 ข้อ ซึ่งในแต่ละข้อใช้บทเพลง
สั้น ๆ ในการจัดทำชุดฝึก เช่น The Thunderer, Victory March ทำให้ชุดแบบฝึกหัด Essentials
Element Book 1 มีความน่าสนใจมากขึ้น และสามารถนำไปใช้เพื่อฝึกฝนการบรรเลงได้อย่าง
มีคุณภาพ
6. ศึกษาทักษะ และองค์ประกอบของการบรรเลงวงโยธวาทิต โดยศึกษาจาก
เอกสาร และตำราที่เกี่ยวข้องในการสร้างชุดฝึก
7. นำบทเพลงพื้นบ้านอีสานใต้ที่ทำการวิเคราะห์เรียบร้อยแล้วมาพัฒนาเป็นชุด
ฝึกทักษะสำหรับวงโยธวาทิตโดยใช้เพลงพื้นบ้านอีสานใต้ ซึ่งประกอบไปด้วย 5 ชุด ดังนี้
7.1 ชุดฝึกทักษะที่ 1 จังหวะ (Rhythmic Pattern) ได้แก่
- แบบฝึกหัดที่ 1 โน้ตตัวขาว (Half Note Pattern)
- แบบฝึกหัดที่ 2 โน้ตตัวดำ (Quarter Note Pattern)
- แบบฝึกหัดที่ 3 โน้ตตัวเขบ็ด 1 ชั้น (Eight Note Pattern)
7.2 ชุดฝึกทักษะที่ 2 การควบคุมเสียง (Articulation) ได้แก่
- แบบฝึกหัดที่ 1 เครื่องหมายเชื่อมเสียง และการเล่นเสียงต่อ
เนื่อง (Slur and Legato)
- แบบฝึกหัดที่ 2 การเล่นเสียงสั้น (Staccato)
- แบบฝึกหัดที่ 3 ความเข้มเสียง และการควบคุมเสียง
(Dynamic and Mix Articulation)
40

7.3 ชุดฝึกทักษะที่ 3 การบรรเลงตามเครื่องหมายแปลงเสียง (Accidental)


ได้แก่
- แบบฝึกหัดที่ 1 เครื่องหมายชาร์ป และเครื่องหมายเนเชอรัล
(Sharp and Natural)
- แบบฝึกหัดที่ 2 เครื่องหมายแฟล็ต (Flat)
7.4 ชุดฝึกทักษะที่ 4 เพลงรวมวงแบบสั้น (Choral) ได้แก่
- แบบฝึกหัดที่ 1 Song Prasart (ทรงปราสาท) in B flat Concert
- แบบฝึกหัดที่ 2 Pakasatraw (ปกาสตราว) in E Flat Concert
7.5 ชุดฝึกทักษะที่ 5 เพลงรวมวงแบบยาว (Music Ensemble) ได้แก่
- แบบฝึกหัดที่ 1 มาร์ชอีสานใต้
8. นำชุดฝึกทักษะที่สร้างเสร็จแล้ว เสนอต่ออาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ เพื่อตรวจ
สอบและนำไปปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องตามที่อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์เสนอแนะ
9. หลังจากทำการแก้ไขสมบูรณ์แล้ว ผู้วิจัยทำการจัดทำรูปเล่มชุดฝึก เพื่อนำไปใช้
ควบคู่กับแบบสอบถามให้ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินความเหมาะสม โดยประเมินผลตามวิธีของลิเคอร์ท
(Linkert) เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ กำหนดคะแนนการประเมิน
ระดับความเหมาะสม
การสร้างแบบสอบถามเพื่อการประเมินชุดฝึ กทักษะการบรรเลงสำหรับวงโยธวาทิต
โดยใช้การเรียบเรียงเพลงพื้นบ้านอีสานใต้
การสร้างแบบสอบถามเพื่อการประเมินชุดฝึกทักษะสำหรับวงโยธวาทิตโดยใช้
การเรียบเรียงเพลงพื้นบ้านอีสานใต้ มีขั้นตอนการสร้าง และวิธีหาคุณภาพ ดังนี้
1. ศึกษาหลักการและวิธีการสร้างแบบประเมินจากเอกสาร ตำราหนังสือ และ
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง แล้วกำหนดกรอบในการสร้างแบบสอบถามเพื่อการประเมินชุดฝึกทักษะ
การบรรเลงสำหรับวงโยธวาทิตโดยใช้การเรียบเรียงเพลงพื้นบ้านอีสานใต้
2. วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะของวงโยธวาทิตกับจุดประสงค์ของชุด
ฝึกทักษะการบรรเลงสำหรับวงโยธวาทิต โดยใช้การเรียบเรียงเพลงพื้นบ้านอีสานใต้
3. สร้างแบบสอบถามเพื่อการประเมินชุดฝึกทักษะการบรรเลงสำหรับวงโยธ
วาทิต โดยใช้การเรียบเรียงเพลงพื้นบ้านอีสานใต้ โดยผู้วิจัยได้กำหนดการประเมินทั้งหมด 4 ด้าน
คือ ด้านองค์ประกอบของดนตรี, ด้านการเรียบเรียงเสียงประสาน, ด้านวงโยธวาทิต และด้านการ
สอนวงโยธวาทิต โดยประเมินผลตามวิธีของลิเคอร์ท (Linkert) เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า
(Rating Scale) 5 ระดับ กำหนดคะแนนการประเมินระดับความเหมาะสม ดังนี้
5 หมายถึง เหมาะสมมากที่สุด
4 หมายถึง เหมาะสมมาก
3 หมายถึง เหมาะสมปานกลาง
2 หมายถึง เหมาะสมน้อย
1 หมายถึง ควรปรับปรุง
41

4. นำแบบสอบถามเพื่อการประเมินชุดฝึกทักษะการบรรเลงสำหรับวงโยธวาทิต
โดยใช้การเรียบเรียงเพลงพื้นบ้านอีสานใต้ที่สร้างเสร็จแล้ว เสนอต่ออาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
เพื่อตรวจสอบและนำไปปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องตามที่อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์เสนอแนะ
5. หลังจากแก้ไขเสร็จสมบูรณ์แล้ว ผู้วิจัยได้จัดทำแบบสอบถามเพื่อให้ผู้
เชี่ยวชาญประเมินความสอดคล้อง (Index of Item Objective Congruence: IOC) โดยวิเคราะห์
3 ประเด็น คือ เหมาะสม ไม่แน่ใจ และไม่เหมาะสม โดยใช้สูตร ดังนี้ (จีระ งอกศิลป์ และจรัญ ชูชื่น.
2556 : 481)
+1 ถ้าเห็นด้วย ว่าแบบสอบถามสอดคล้องวัดจุดประสงค์ตามที่ระบุไว้ได้จริง
0 ถ้าไม่แน่ใจ ว่าแบบสอบถามสอดคล้องวัดจุดประสงค์ตามที่ระบุไว้ได้จริง
-1 ไม่เห็นด้วย ว่าแบบสอบถามสอดคล้องวัดจุดประสงค์ตามที่ระบุไว้ได้จริง
จากวิเคราะห์ค่าดัชนีความสอดคล้อง (Index of Item Objective
Congruence: IOC) โดยใช้ดัชนีความสอดคล้องซึ่งมีค่าเท่ากับ 0.5 ขึ้นไป ถือว่ามีความสอดคล้องอยู่
ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ และจากการวิเคราะห์พบว่า แบบประเมินชุดฝึกทักษะสำหรับวงโยธวาทิต
โดยใช้เพลงพื้นบ้านอีสานใต้ มีค่า IOC เท่ากับ 0.99
6. ผู้วิจัยได้นำแบบสอบถามส่งให้ผู้เชี่ยวชาญทั้งหมด 3 ด้าน คือ ด้านดนตรี ด้านการ
วัดผลประเมินผล และด้านการเรียนการสอน โดยมีรายละเอียดต่าง ๆ ดังนี้
6.1 ผู้เชี่ยวชาญด้านดนตรี มีทั้งหมด 2 ท่าน ได้แก่
6.1.1 อาจารย์ ดร.เอกชัย ธีรภัคสิริ
6.1.2 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐวัฒน์ โฆษิตดิษยนันท์
6.2 ผู้เชี่ยวชาญด้านการวัดผลประเมินผล มีทั้งหมด 2 ท่าน ได้แก่
6.2.1 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุชาติ หอมจันทร์
6.2.2 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. กระพัน ศรีงาน
6.3 ผู้เชี่ยวชาญด้านการเรียนการสอน มีจำนวน 1 ท่าน ได้แก่
6.3.1 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ กฤตษิพัฒน์ เอื้อจิตรเมศ

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้
1. ชุดฝึกทักษะวงโยธวาทิตโดยใช้เพลงพื้นบ้านอีสานใต้สำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษา
ซึ่งมีทั้งหมด 5 ชุดฝึก ดังนี้
1.1 ชุดฝึกทักษะที่ 1 ลักษณะจังหวะ (Rhythmic Pattern) ได้แก่
- แบบฝึกหัดที่ 1 โน้ตตัวขาว (Half Note Pattern)
- แบบฝึกหัดที่ 2 โน้ตตัวดำ (Quarter Note Pattern)
- แบบฝึกหัดที่ 3 โน้ตตัวเขบ็ด 1 ชั้น (Eight Note Pattern)
1.2 ชุดฝึกทักษะที่ 2 การควบคุมเสียง (Articulation Practices) ได้แก่
42

- แบบฝึกหัดที่ 1 เครื่องหมายเชื่อมเสียง และการเล่นเสียงต่อ


เนื่อง (Slur and Legato)
- แบบฝึกหัดที่ 2 การเล่นเสียงสั้น (Staccato)
- แบบฝึกหัดที่ 3 ความเข้มเสียง และการควบคุมเสียง
(Dynamic and Mix Articulation)
1.3 ชุดฝึกทักษะที่ 3 การบรรเลงตามเครื่องหมายแปลงเสียง (Accidental)
ได้แก่
- แบบฝึกหัดที่ 1 เครื่องหมายชาร์ป และเครื่องหมายเนเชอรัล
(Sharp and Natural)
- แบบฝึกหัดที่ 2 เครื่องหมายแฟล็ต (Flat)
1.4 ชุดฝึกทักษะที่ 4 เพลงรวมวงแบบสั้น (Choral) ได้แก่
- แบบฝึกหัดที่ 1 Song Prasart (ทรงปราสาท) in B flat Concert
- แบบฝึกหัดที่ 2 Pakasatraw (ปกาสตราว) in E Flat Concert
1.5 ชุดฝึกทักษะที่ 5 เพลงรวมวงแบบยาว (Music Ensemble) ได้แก่
- แบบฝึกหัดที่ 1 มาร์ชอีสานใต้
2. แบบสอบถามเพื่อการประเมินชุดฝึกทักษะสำหรับวงโยธวาทิต
โดยใช้การเรียบเรียงเพลงพื้นบ้านอีสานใต้

การเก็บรวบรวมข้อมูล
ในการวิจัยเรื่องการพัฒนาชุดฝึกทักษะวงโยธวาทิตโดยใช้เพลงพื้นบ้านอีสานใต้สำหรับ
โรงเรียนมัธยมศึกษา ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมทั้งหมด 2 อย่าง ดังนี้
1. ผู้วิจัยได้ลงพื้นที่เพื่อศึกษาวงดนตรีพื้นบ้านอีสานใต้ในจังหวัดบุรีรัมย์ และ
จังหวัดสุรินทร์ และศึกษาข้อมูลจากหนังสือมโหรีอีสานใต้ของ บุษกร บิณฑสันต์ และขำคม
พรประสิทธิ์ เพื่อนำข้อมูลมาใช้ในการพัฒนาชุดฝึกทักษะวงโยธวาทิตโดยใช้เพลงพื้นบ้าน
อีสานใต้สำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษา
2. ใช้แบบสอบถามเพื่อการประเมินชุดฝึกทั้งหมด 4 ด้าน คือ ด้านองค์ประกอบ
ดนตรี ด้านการเรียบเรียงเสียงประสาน ด้านวงโยธวาทิต และด้านการสอนวงโยธวาทิต โดยให้
ผู้ทรงคุณวุฒิ 21 ท่าน เพื่อประเมินหาความเหมาะสมของชุดฝึกทักษะวงโยธวาทิตโดยใช้เพลง
พื้นบ้านอีสานใต้สำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษา โดยประเมินผลตามเกณฑ์การประเมินผลของ
ผู้ทรงคุณวุฒิและวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ( x) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
(บุญชม ศรีสะอาด. 2553: 105) แล้วนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลในรูปตาราง ซึ่งแปลความ
ค่าเฉลี่ยโดยใช้แบบอิงเกณฑ์ ดังนี้

ค่าเฉลี่ย ระดับความคิดเห็น
4.50 - 5.00 เหมาะสมมากที่สุด
43

3.50 - 4.49 เหมาะสมอย่างมาก


2.50 - 3.49 เหมาะสมปานกลาง
1.50 - 2.49 เหมาะสมน้อย
1.00 - 1.59 ไม่เหมาะสม

สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
การวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์
โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. วิเคราะห์ค่าดัชนีความสอดคล้อง (Index of Item Objective Congruence:
IOC) ประกอบไปด้วย 3 ด้าน คือ ด้านดนตรี ด้านการประเมิน และด้านการสอน โดยให้ผู้เชี่ยวชาญ
อย่างน้อย 3 คน พิจารณาใน 3 ประเด็น คือ เหมาะสม ไม่เหมาะสม และไม่แน่ใจ โดยพิจารณา
ข้อคำถามนั้น ๆ วัดได้ตรงหรือสอดคล้องกับนิยามหรือไม่พร้อมกับมีช่องว่างให้กรอกคำเสนอทั้ง
ในรายข้อ รายด้าน และรวมทั้งฉบับ โดยใช้สูตร ดังนี้ (จีระ งอกศิลป์ และจรัญ ชูชื่น. 2556 : 481)

IOC =
∑R
N

เมื่อ IOC แทน ดัชนีความสอดคล้องของเนื้อหา


∑R แทน ผลรวมคะแนนการพิจารณาของผู้เชี่ยวชาญ
N แทน จำนวนผู้เชี่ยวชาญ

2. วิเคราะห์การประเมินผลคุณภาพเครื่องมือในการวิจัยของผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งผู้วิจัยใช้
การประเมินผลตามวิธีของลิเคอร์ท (Linkert) เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale)
5 ระดับ โดยการประเมินผลคุณภาพเครื่องมือสถิติพื้นฐาน
2.1 ค่าเฉลี่ย (Mean) โดยใช้สูตร (บุญชม ศรีสะอาด. 2553 : 105) ค่าเฉลี่ย
เลขคณิตของข้อมูลสามารถคำนวณได้จากสูตร

x =
∑x
n

เมื่อ x แทน ค่าเฉลี่ยเลขคณิต


∑x แทน ผลบวกของข้อมูลทุกค่า
n แทน จำนวนข้อมูลทั้งหมด
44

2.2 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้สูตร (บุญชม ศรีสะอาด. 2553 : 105)


ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของข้อมูลสามารถคำนวณได้จากสูตร

S.D. ¿
√ ∑ ( x−x
n−1
)2 ¿

เมื่อ S.D. แทน ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


X แทน ค่าคะแนนแต่ละกลุ่ม
x แทน ค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง
n แทน จำนวนประชากรทั้งหมดของกลุ่มตัวอย่าง

You might also like