You are on page 1of 14

โรคภูมิแพ้

(Allergy)
ผู้จัดทำ
นางสาวจันทร์ธิรา สายทองทิพย์
รหัส 641630008-4
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
สาขาวิทยาการจัดการสุขภาพ
โรคภูมิแพ้คืออะไร
ภูมิแพ้ คือ โรคที่มีความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน โดยที่ร่างกายจะ
มีปฏิกิริยาไวต่อสารที่ก่อให้เกิดโรคภูมิแพ้หรือสารระคายเคือง ซึ่งจะ
ทำให้เกิดอาการแพ้ โรคชนิดนี้มักไม่ค่อยรุนแรงถึงชีวิต แต่จะส่งผล
รบกวนต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นการเรียนหรือทำงาน
ภูมิแพ้เป็นโรคที่พบมากในประชากรทั่วโลก
อาการของโรคภูมิแพ้
มีผื่นที่ผิวหนัง เช่นผื่นแพ้ ลมพิษ คันตามผิวหนัง
คัดจมูก น้ำมูกไหล จาม
ไอ แน่นหน้าอก หายใจมีเสียงหวีด โรคหอบ หืด
เคืองตา
และตาแดง คัดจมูก
บวมรอบปาก อาเจียน และถ่ายเหลว
แสบคอ น้ำมูกไหลลงคอ หูอื้อ
โรคภูมิแพ้เกิดขึ้นกับระบบใดใน
ร่างกาย
ระบบหายใจ มีอาการตั้งแต่น้ำมูกไหล จาม คันจมูก คัดจมูก (คนทั่วไป
เรียกว่าโรคแพ้อากาศ) หรืออาจมีอาการรุนแรง เช่น ไอ แน่นหน้าอก มี
อาการหอบ ซึ่งเป็นอาการของโรคหืด สาเหตุของโรคภูมิแพ้ของระบบ
ทางเดินหายใจ ส่วนมากเกิดจากสารก่อภูมิแพ้ในอากาศ โดยในคนไทย
ส่วนใหญ่มักเกิดจากการแพ้ไรฝุ่ น รองลงมาคือ แมลงสาบ ขนและรังแค
สัตว์เลี้ยง เช่น แมว สุนัข เกสรพืช หรือเชื้อราในอากาศ “สำหรับในเด็ก
เล็กๆ การแพ้อาหารเช่น นมวัว ไข่ อาจแสดงอาการออกมาทางระบบ
หายใจได้ เช่น หายใจครืดคราด เป็นต้น”
 ผิวหนัง เช่น ผื่นลมพิษ ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง (Eczema) หรือ ผื่นแพ้จากการ
สัมผัส สาเหตุใหญ่ของลมพิษมักเกิดจากอาหารและยา
 ระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ อาการปวดท้อง อาเจียน ถ่ายเป็นมูกเลือด
สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการแพ้อาหาร
 ระบบอื่นๆ (ที่มักมีอาการรุนแรง) ผู้ป่ วยบางรายมีอาการแพ้มาก อาจมีอาการ
เกิดขึ้นในทุกระบบ เช่น หอบ ลมพิษ ช็อค หรืออาจรุนแรงจนเสียชีวิตภาย
หลังจากการกินอาหารบางชนิด เช่น กุ้ง ถั่วลิสง ฯลฯ หรือภายหลังได้รับยา
เช่น เพนิซิลลิน
โรคแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้

ผู้ป่ วยโรคภูมิแพ้ หากไม่ได้รับการรักษาหรือปล่อยให้มีอาการ


เวลานานๆ อาจทำให้มีภาวะแทรกซ้อนตามมาได้ เช่น ไซนัส
อักเสบ ริดสีดวงจมูก นอนกรน ปอดอุดกั้นเรื้อรัง ผิวหนังติดเชื้อ
คออักเสบ ไอเรื้อรัง หูชั้นกลางอักเสบ ปวดหู หูอื้อ เป็นต้น
นอกจากนี้ยังมีปัจจัยร่วมที่ทำให้เกิดอาการโรคภูมิแพ้ได้ง่าย หรือ
มีอาการรุนแรงขึ้น เช่น อากาศหนาว อาการเปลี่ยน หรือมลพิษใน
อากาศ
สาเหตุ ของโรคภูมิแพ้
โรคภูมิแพ้ไม่ใช่โรคติดต่อแต่เกิดจากปัจจัยสำคัญ 2 อย่าง คือ
 กรรมพันธุ์ กรณีที่คนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคภูมิแพ้ คือ สิ่ง
หนึ่งที่เป็นเครื่องบ่งชี้ว่าบุคคลนั้นจะมีโอกาสเสี่ยงเป็นภูมิแพ้ได้ง่าย
เพราะภูมิแพ้เป็นโรคที่ถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ได้ ถ้าพ่อ หรือแม่
เป็น ลูกก็จะมีโอกาสป่ วยเป็นโรคภูมิแพ้ได้ประมาณ 30% แต่ถ้า
หากทั้งพ่อและแม่เป็นโรคภูมิแพ้ทั้งคู่ ลูกที่เกิดจะมีโอกาสเสี่ยงต่อ
การเป็นภูมิแพ้สูงถึง 60 - 70 %
สิ่งแวดล้อม เป็นปัจจัยที่มีความสำคัญอย่างมากเพราะสารก่อภูมิแพ้
ที่จะเข้าสู่ร่างกายของเรา เกิดจากภาวะแวดล้อมทั้งสิ้น ซึ่งสามารถ
เข้าสู่ร่างกายได้หลายทาง เช่น การหายใจ การรับประทานอาหาร
หรือแม้กระทั่งการสัมผัสสารที่ร่างกายได้รับ หรือสัมผัสแล้วทำให้
เกิดอาการของโรคภูมิแพ้ตามมา ที่พบบ่อย ได้แก่ ไรฝุ่ น ละออง
เกสร เชื้อรา อาหารบางชนิด เช่น นมวัว ไข่ขาว อาหารทะเล
นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นที่ส่งเสริมให้เกิดอาการของโรคภูมิแพ้
ได้แก่ อากาศเปลี่ยน การสัมผัสสารระคายเคือง เช่น ควันธูป ควัน
บุหรี่
การทดสอบภูมิแพ้ (Allergy Skin Prick
Test)
เมื่อร่างกายเกิดโรคภูมิแพ้ เราจำเป็นต้องทราบว่าร่างกายแพ้สารก่อ
ภูมิแพ้ชนิดใด เพราะการรักษาที่ดีสุด คือ การหลีกเลี่ยงสิ่งที่แพ้ การ
ทดสอบภูมิแพ้ เป็นการทดสอบภูมิแพ้ต่อสารชนิดต่างๆ ทางผิวหนัง โดย
แพทย์จะเป็นผู้ทำการทดสอบด้วยน้ำยาทดสอบภูมิแพ้โดยเฉพาะ ซึ่งทำให้
ทราบว่าผู้ป่ วยมีอาการแพ้สารใดบ้าง เช่น แมลงสาบ ขนแมว ไรฝุ่ น เชื้อรา
ขนสุนัข เกสร หญ้า ฝุ่ นบ้าน และแพ้อาหารต่างๆ เป็นต้น ซึ่งการทดสอบ
ชนิดนี้ไม่ทำให้คนไข้เกิดความรู้สึกเจ็บปวด และแพทย์ก็สามารถแจ้งผล
การตรวจให้คนไข้ทราบได้ทันที
การรักษาภูมิแพ้
หลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ และสารระคายเคือง เนื่องจากการรักษาที่ดี
ที่สุดของโรคภูมิแพ้ คือ การหลีกเลี่ยงสารที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้ หากไม่
สามารถหลีกเลี่ยงได้ก็จำเป็นต้องใช้ยาเพื่อการรักษา หรือเพื่อ
บรรเทา และควบคุมอาการที่จะเกิดขึ้น
การใช้ยารักษา แพทย์จะวินิจฉัย และจ่ายยาให้ผู้ป่ วยอย่างเหมาะสม
เพื่อบรรเทา และควบคุมอาการที่จะเกิดขึ้น ผู้ที่มีอาการคัดจมูกมาก
อาจจะต้องใช้ยาลดอาการคัดจมูก สำหรับผู้ที่มีอาการเรื้อรังอาจจะ
ต้องใช้ยาพ่นจมูก
การฉีดวัคซีนรักษาโรคภูแพ้ โดยผู้ป่ วยจะได้รับการฉีดสารก่อ
ภูมิแพ้เพื่อให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันชนิด IgG การฉีดจะเลือกฉีด
เฉพาะสารก่อภูมิแพ้ที่ทดสอบทางผิวหนังแล้วพบว่าแพ้ จากนั้น
แพทย์จะเพิ่มขนาดยาตามตารางเวลา ซึ่งผลข้างเคียงจากการฉีดจะ
มีรอยผื่นแดง ผื่นคัน นานประมาณ 4 - 8 ชั่วโมง ส่วนผลข้างเคียง
อื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้น คือ การคัดจมูก น้ำมูกไหล อาการเหล่านี้มักจะ
เกิดภายใน 30 นาทีหลังฉีด มีส่วนน้อยที่อาจจะแพ้ยาที่ฉีดชนิด
รุนแรง แต่อาการมักเป็นชั่วคราว และหายได้หลังจากแพทย์ให้ยา
แก้แพ้
การปฏิบัติตัวสำหรับผู้ที่เป็ น
ภูมิแพ้
หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสาร หรือสิ่งที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้
ดูแลร่างกายให้สดชื่น แข็งแรงอยู่เสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ และควร
ออกกำลังกายเป็นประจำ
ล้างจมูกด้วยน้ำเกลือเป็นประจำเมื่อมีน้ำมูกเรื้อรัง
ปฏิบัติตามคำแนะนำ และรับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง พบแพทย์
เมื่อมีอาการแทรกซ้อนระหว่างการรักษา เช่น มีไข้ น้ำมูก ไอมี
เสมหะ หอบ เป็นต้น
การป้ องกันไม่ให้เกิดโรคภูมิแพ้
 ให้ทารกกินนมแม่อย่างเดียวตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุอย่างน้อย 4-6 เดือน
 ให้นมสูตรพิเศษ กรณีที่นมแม่ไม่พอหรือจำเป็นต้องให้นมอื่นเสริม อาจ
มีประโยชน์ในการป้ องกันการเกิดผื่นแพ้ผิวหนังอักเสบในทารกกลุ่ม
เสี่ยง
 อาหารเสริมตามวัยสามารถให้ได้เมื่อทารกอายุ 4-6 เดือน ทั้งนี้ขึ้นกับ
ความพร้อมของทารก โดยเริ่มจากอาหารที่มีความเสี่ยงต่อการแพ้น้อย
ก่อน เช่น ข้าว ผักใบเขียว ไก่ หมู เป็นต้น
 หลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ในบ้านโดยเฉพาะ
ขอบคุณค่ะ

You might also like