You are on page 1of 15

300104 Dr.

La-iad Nakkrasae

4. Cell communication

การสื่อสารระหวางเซลลของสิ่งมีชีวิตหลายเซลล (multicellular organisms) มีความสําคัญมาก ใน


สัตวและพืชที่มีจํานวนเซลลเปนพันลานเซลลจะตองมีการสื่อสารระหวางกัน เพื่อกิจกรรมของสิ่งมีชีวิตในแตละ
กิจกรรมดําเนินประสานกันไปไดดวยดี การสื่อสารระหวางเซลลของสิ่งมีชีวิตเซลลเดียวก็มีความสําคัญเชนกัน
ยกตัวอยางเชน ยีสตที่ใชหมักทําขนมปง Saccharomyces cerevisiae ยีสตในกลุมนี้แบงแยกเพศโดยสารที่
ยีสตแตละเซลลหลั่งออกมา (ดังรูปที่ 4-1) มี 2 เพศ คือ ชนิด a หลั่งสารที่เรียกวา a factor ที่จะจับตัวรับ
(receptor) บนเซลลยีสตชนิด α ในกรณีเดียวกัน ยีสตชนิด α หลั่ง α factor ซึ่งจะจับกับโปรตีนตัวรับของ
เซลลยีสตชนิด a การจับกันของ 2 factors นี้ทําใหยีสต 2 เซลลเจริญเติบโตไปพรอมๆ กันและเกิดการผสมพันธุ
กันระหวาง 2 เซลล เซลล α/a ใหมจะมีสารพันธุกรรมของเซลลทั้ง 2 ชนิด

รูปที่ 4-1 การสื่อสารระหวางเซลลของยีสต (Campbell and Reece, 2002)

การจับกันของ a factor หรือ α factor บนโปรตีนตัวรับของเซลลชนิดตรงกันขางสามารถทําใหยีสตมี


การเจริญและตอบสนองตอการกระบวนการผสมพันธุไดอยางไร? ซึ่งกระบวนการสงสัญญาณจากผิวของเยื่อ
หุมที่เกิดการจับกันระหวาง factor หรือ ligand กับตัวรับทําใหมีการสงสัญญาณตอเนื่องในระดับภายในเซลล
เราเรียกวากระบวนการนี้วา signal-transduction pathway การศึกษาของกระบวนการนี้มีการศึกษาทั้งในยีสต
และในคน และเราพบวากระบวนการ signal transduction ในยีสตและคนมีความใกลเคียงกัน ซึ่งแมวา
สิ่งมีชีวิตทั้ง 2 กลุมมีความหางกันในแงของวิวัฒนาการ

55
300104 Dr. La-iad Nakkrasae

Communicating cells may be close together or far apart


สิ่ ง มี ชี วิ ต หลายเซลล ส ว นใหญ จ ะสื่ อ สารระหว า งกั น โดยการหลั่ ง สารเคมี ที่ เ รี ย กว า chemical
messenger ออกไปที่เซลลเปาหมาย (target cell) บาง chemical messenger หลั่งแลวมีผลตอเซลลที่อยู
ขางๆ ยกตัวอยางเชน growth factor ซึ่งชวยกระตุนใหเซลลขางๆ เกิดการแบงเซลลเพื่อกระบวนการ
เจริญเติบโต เรียกลักษณะการสงสัญญาณแบบนี้วา paracrine signaling อี ก ตั ว อ ย า ง ห นึ่ ง คื อ ก า ร ส ง
สัญญาณของกระแสประสาท ซึ่งเซลลประสาทจะผลิตสารสื่อประสาท (Neurotransmitter) ซึ่งจะชวยติดตอ
จากเซลลหนึ่งไปอีกเซลลหนึ่ง (ดังรูปที่ 4-2a) การที่พืชมีผนังเซลล ทําใหกระบวนการสงสัญญาณระหวางเซลล
ของพืชยังไมคอยชัดเจน ทั้งพืชและสัตวจะใชฮอรโนในการสงสัญญาณในกรณีที่ระยะทางระหวางเซลลที่ผลิต
สารเคมีและเซลลเปาหมายอยูหางไกลกัน ในการสงสัญญาณของฮอรโมน เรียกวา การสงสัญญาณของระบบ
ตอมไรทอ (endocrine signaling) โดยที่ฮอรโมนจะถูกหลั่งจากเซลลที่ไมมีทอสูกระแสเลือดและจะถูกลําเลียง
ไปตามสวนตางๆ ของรางกาย (ดังรูปที่ 4-2b) ในพืช ฮอรโมนถูกลําเลียงดวยทอหรือบางชนิดทะลุผา นเซลลทอี่ ยู
ระหวางเซลลเปาหมายไปยังเซลลเปาหมาย หรืออาจจะมีการแพรในอากาศ เชน เอทิลีนเปนฮอรโมนพืชที่มี
ลักษณะเปนแกสชวยกระตุนใหผลไมสุกเร็วขึ้น

รูปที่ 4-2 Local and long-distance cell communication in animals (Campbell and Reece, 2002)

เซลลอาจจะมีการสื่อสารกันโดยผานทาง cell junction ทั้งเซลลพืชและเซลลสัตวมีเซลล junction ที่


เชื่อม cytoplasm ระหวาง 2 เซลลเขาดวยกัน ในกรณีนี้สารที่ใชสื่อสารที่ละลายใน cytosol จะสามารถผาน
ระหวาง 2 เซลลไดอยางอิสระ (รูปที่ 4-3a) มากกวานั้นบางเซลลสามารถสื่อสารโดยผานการสัมผัสกับโมเลกุล
บนผิวของเยื่อหุมเซลล (ดังรูป 4-3b) ซึ่งการสื่อสารนี้มีความสําคัญในกระบวนการพัฒนาของตัวออนของสัตว
และการทํางานของระบบภูมิคุมกัน การที่เซลลจะถูกสงสัญญาณตอเนื่องไดนั้น ligand หรือโมเลกุลที่ใชสําหรับ

56
300104 Dr. La-iad Nakkrasae

สงสัญญาณตองมีความจําเพาะเจาะจงและขอมูลที่ถูกสงไปจะตองถูกเปลี่ยนไปในรูปแบบอื่น เรียกวาถูก
transduced ซึ่งจะอธิบายในรายละเอียดตอไป

รูปที่ 4-3a Cell junction ทั้งพืชและสัตวมี cell รูปที่ 4-3b cell-cell recognition ระหวาง 2 เซลลมี
junction ที่ยอมใหสารผานไปมาระหวาง 2 เซลลได สื่ อ ส า ร กั น โ ด ย จั บ กั บ โ ม เ ล กุ ล ที่ อ ยู บ น ผิ ว เ ซ ล ล
(Campbell and Reece, 2002) (Campbell and Reece, 2002)

3 ขั้นตอนของ cell signaling


ในป ค.ศ. 1971 Earl W. Sutherland ไดรับรางวัล Nobel Prize โดยศึกษาวา chemical signaling ทํา
ใหเกิดกระบวนการ signal-transduction pathway ไดอยางไร โดยเอาศึกษาวาฮอรโมน epinephrine สามารถ
กระตุนใหเกิดการสลายโมเลกุลของ glycogen ภายในเซลลของตับและเซลลกลามเนื้อของสัตว เวลาที่โมเลกุล
glycogen ถูกสลายจะได glucose-6-phosphate ซึ่งเซลลสามารถใชตอเนื่องในกระบวนการ glycolysis ตอไป
เพื่อสรางเปนพลังงาน อีกทางหนึ่งหมูฟอสเฟตอขง glucose-1-phosphale อาจถูกตัดออกไปกลายเปน
glucose อิสระออกสูกระแสเลือดเพื่อชวยรักษาระดับของน้ําตาลในกระแสเลือดและนําไปใชสรางพลังงาน
ใหกับเซลลอื่นตอไป
ทีมของ Sutherland คนพบวา epinephrine กระตุนให glycogen เกิดการสลายตัวไดโดยไปกระตุน
เอนไซต glycogen phosphorylase แตอยางไรก็ตามเมื่อเติม epinephrine ลงในหลอดทดลองรวมกับ
glycogen และ glycogen phosphorylase จะไมสามารถยอยโมเลกุลของ glycogen ได ซึ่ง glycogen
phosphorylase สามารถทํางานไดตอเมื่อมีเซลลอยูดวย จากการทดลองนี้ทําใหสรุปไดวา ประการแรก
epinephrine ไมไดกระตุนการทํางานของ glycogen phosphorylase นี้โดยตรง แตเปนลักษณะที่มี
intermediate step หรือมีกระบวนการหลายๆ กระบวนการตอเนื่องจนกระทั่งไปถึงขั้นตอนที่ enzyme ถูก
กระตุน ประการที่สองเยื่อหุมเซลลตองมีความเกี่ยวของกับการสงสัญญาณของ epinephrine ไปกระตุนการ
ทํางานของ glycogen phosphorylase ภายในเซลล
Sutherland แบงกระบวนการสงสัญญาณของเซลลออกเปน 3 ขั้นตอน (ดังรูปที่ 4-4)

57
300104 Dr. La-iad Nakkrasae

1. Reception การรับสัญญาณ ตัวรับของเซลลเปาหมายจะจับกับ chemical messenger หรือ


ligand
2. Transduction การจับกันของ chemical messenger ทําใหตัวโปรตีนตัวรับมีการเปลี่ยนแปลง
โครงสราง เริ่มตนกระบวนการ transduction กระบวนการ transduction จะเปลี่ยนสัญญาณ
เพื่อใหเซลลมีการตอบสนองที่จําเพาะเจาะจง ในการทดลองของ Sutherland การจับกันของ
epinephrine กับโปรตีนตัวรับที่อยูบนผิวของเซลลตับจะสงผลใหเกิดหลายขั้นตอนกอนที่จะเกิด
การกระตุนใหมีการสลายของ glycogen
3. Response การตอบสนองอยางจําเพาะเจาะจง เชน มีการสลายสารดวย enzyme การจัดเรียงตัว
ของ cytoskeleton ภายในเซลลหรือการกระตุนการแสดงของยีนภายในนิวเคลียส กระบวนการ
การสงสัญญาณของเซลลจะชวยใหมั่นใจไดวากิจกรรมที่เกิดตางๆ ที่เกิดภายในเซลลที่จําเพาะ
เกิดในเวลาที่ถูกตอง และในสภาวะที่เหมาะสมในการเชื่อมประสานการทํางานของเซลลกับเซลล
อื่นๆ ภายในรางกาย

รูปที่ 4-4 Overview of cell signaling (Campbell and Reece, 2002)

Signal reception and the initiation of transduction


โอกาสที่จะเกิดขอผิดพลาดในการสงขอมูลของเซลลนอยมาก เชน สัญญาณที่สงโดย α yeast จะถูก
รับโดย a yeast เทานั้น หรือ การที่ฮอรโมน epinephrine ถูกปลอยสูกระแสเลือดเพราะฉะนั้นจะมีโอกาสสัมผัส
กับเซลลทุกเซลลในรางกาย แต epinephrine จะสามารถถูกจับและทํางานในบางชนิดของเซลลเทานั้น โดยมี

58
300104 Dr. La-iad Nakkrasae

ตัวรับบนผิวของเซลลเปาหมายเปนตัวที่ชวยบงบอกถึงความจําเพาะตอสารสื่อสารนั้นๆ การจับกันของโปรตีน
ตัวรับและ Chemical messenger จะจับกันอยางจําเพาะเจาะจงคลายลูกกุญแจกับแมกุญแจ เมื่อจับกันแลว
ทําใหโปรตีนตัวรับเกิดการเปลี่ยนแปลงรูปราง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงรูปรางนี้จะมีผลไปกระตุนโมเลกุลอื่น ๆ
ภายในเซลล
โปรตีนตัวรับ (receptor) บนเยื่อหุมเซลลมี 3 ชนิดหลักๆ
1.G-protein-linked Receptor มีโครงสรางเปนสาย α-helix 7 สายแทรกอยูภายในเยื่อหุมเซลล (ดัง
รูป 4-5) ในการสงสัญญาณของโมเลกุลหลายชนิดผานสูเซลล เชน การกระตุนดวย epinephrine ฮอรโมนตางๆ
และสารสื่อประสาท รวมถึงการสื่อสารระหวาง mating factor ของยีสตดังที่ไดกลาวไปแลว ใช G protein-
linked receptor ถึงแมจะใชตัวรับชนิดเดียวกัน แตตัวรับเหลานี้มี binding site ที่แตกตางกันทําใหมีการจดจํา
chemical messenger ที่แตกตางกัน

รูป 4-5 โครงสรางของ G-protein-linked receptor เปน α-helix แทรกอยูภายในเยื่อหุมเซลล (Campbell and
Reece, 2002)

การกระตุนของ chemical messenger ผานทาง G-protein-linked receptor โดยที่ทางดาน


cytoplasm มี G protein ทําหนาที่คลาย switch ปด-เปด ขึ้นอยูกับจะจับกับ GDP หรือ GTP ถาจับกับ GDP
จะเปนการปด switch คือ G protein อยูในสภาวะ inactive (ดังรูป 4-6a) แตถาจับกับ GTP จะเปลี่ยนเปน
active form พรอมที่จะทํางาน (ดังรูป 4-6b) ซึ่งสภาวะที่ G protein อยูในรูป active form จะอยูไดชั่วขณะ โดย
หลังจากที่ chemical messenger ไมไดจับกันโปรตีนตัวรับแลว GTPase จะสลายหมู phosphate จากโมเลกุล
ของ GTP ใหกลายเปน GDP ทําให G protein กลับมาเปน inactive form อีกครั้ง (ดังรูป 4-6c) การทํางานของ
G protein พบวามีความหลากหลายมาก นอกจากไดกลาวไปขางตนแลว ยังเกี่ยวของกับขั้นตอนการเจริญของ
ตัวออน (embryonic development) ยกตัวอยางเชน ตัวออนของหนูเมาสที่ขาด G protein จะมีปญหาเกี่ยวกับ

59
300104 Dr. La-iad Nakkrasae

การพัฒนาของหลอดเลือดและตายในที่สุด นอกจากนี้ G protein ยังเกี่ยวของกับการสงกระแสประสาทของ


อวัยวะรับรูในคน เชน การมองเห็นและการไดกลิ่น มีเชื้อโรคบางชนิด เชน แบคทีเรียที่เขาสูรางกายไปมีผลตอ G
protein ทําใหเกิดโรคตางๆ เชน cholera, Prussic และ Botulism และมีการคิดคนยาเพื่อชวยรักษาอาการของ
โรคเหลานี้ และพบวายาประมาณ 60% ถูกนํามาใชเพื่อรักษาความผิดปกติที่เกี่ยวกับ G protein pathway

รูป 4-6a G-protein system in inactive form (Campbell and Reece, 2002)

รูป 4-6b G-protein system in active form (Campbell and Reece, 2002)

รูป 4-6c Return to inactive form (Campbell and Reece, 2002)

2.Tyrosine-kinase receptor
Growth factor เปนฮอรโมนที่ชวยการกระตุนใหเซลลมีการแบงตัวเพิ่มจํานวน การสงสัญญาณของ
growth factor ใชตัวรับที่เปนชนิด tyrosine kinase receptor ซึ่งตัวรับนี้จะมีคุณสมบัติเปนเอนไซมดวย ซึ่ง

60
300104 Dr. La-iad Nakkrasae

receptor ชนิดนี้สวนที่เปนตัวรับจะยื่นออกนอกเซลลทําหนาที่คอยจับกับออรโมนหรือ ligand ตางๆ ที่จะมา


ชวยสงสัญญาณใหกับเซลล สวนดาน cytoplasm ของ tyrosine kinase receptor เรียกวา tyrosine kinase ทํา
หนาที่เปนเอนไซมที่ชวยยายหมู phosphate จาก ATP ไปติดที่กรดอะมิโนชนิด tyrosine บน substrate
protein ที่อยูภายในเซลล ทําใหโปรตีนที่ถูกเติมหมู phosphate ถูกกระตุน เปนโปรตีนที่สามารถทํางานได
ภายในเซลล ซึ่งในกรณีที่กระตุนโดย growth factor โปรตีนที่ถูกกระตุนใหทํางานจะเปนโปรตีนที่เกี่ยวของกับ
การแบงเซลลและการเจริญเติบโต เปนตน โครงสรางของ tyrosine-kinase receptor ในสถานะที่เปน inactive
form จะอยูแยกกันเปนสายโปรตีนเดี่ยวๆ ที่ฝงอยูภายในผนังของเยื่อหุมเซลลมีลักษณะที่เปน Helix โดยมี
binding site ยื่นออกมานอกเซลลและภายในเซลลจะมีลําดับกรดอะมิโน tyrosine เรียงบนสายของโปรตีน (ดัง
รูป 4-7a) การที่ receptor นี้จะถูกกระตุนได เปนดังนี้

รูป 4-7 โครงสรางและกลไกการทํางานของ tyrosine-kinase receptor เมื่อถูกกระตุนดวย signal molecule


(Campbell and Reece, 2002)

1. Signal molecules จับกับ binding site ของ Tyrosine-kinase receptor ทําให Tyrosine-kinase
receptor ถูกกระตุนมาจับกันกลายเปน dimer (2 polypeptide) (ดังรูป 4-7b)
2. การเปนโครงสรางที่เปน dimer นี้จะไปกระตุน tyrosine kinase ของตัวรับทั้ง 2 polypeptides โดย
tyrosine kinase จะยายหมู phosphate มาเติมใหกับหมู tyrosine บนหางของ polypeptide แต
ละสาย ถึงขั้นตอนนี้ receptor จะถูกกระตุนอยางเต็มที่
3. โปรตีนที่อยูภายในเซลลที่จําเพาะเจาะจงจะมาจับกันกับบริเวณ phosphorylated tyrosine ทําให
โมเลกุลของโปรตีนนั้นเปลี่ยนแปลงถูกกระตุนตอไป โดยการถูกเติมหมู phosphate หรือไมถูกเติม

61
300104 Dr. La-iad Nakkrasae

ก็ได หนึ่ง dimer ของ tyrosine-kinase receptor อาจจะกระตุน intracellular protein 10 ชนิด
หรือมากกวานั้นก็ได
4. Transduction pathways ตางๆ จะถูกกระตุนและเซลลมีการตอบสนองเกิดขึ้น ความสามารถของ
receptor ชนิดนี้ เพียงแค 1 เหตุการณสามารถกระตุนไดหลายๆ pathways เปนขอแตกตาง
ระหวาง tyrosine-kinase receptor และ G protein-linked receptor

3.Ion–Channel Receptors ตัวรับชนิดนี้เปน channel protein ที่มีลักษณะเปนชองหรือทอฝงภายในเยื่อหุม


เซลล ซึ่งสามารถปด-เปดไดโดยกระตุนจาก ความตางศักยไฟฟาระหวางภายในและภายนอกเซลล เชน ในกรณี
การสงกระแสประสาท Na+ และ K+ channel ที่อยูบนเอกซอน หรือ กระตุนจาก chemical messenger ชวย
เปด channel ของ ion ทําให ion ที่จําเพาะเจาะจงกับ channel นั้นไหลผานรู channel นั้นได (ดังรูปที่ 4-8) เชน
กรณีการสงกระแสประสาท โดยสารสื่อประสาททําหนาที่เปน chemical messenger หรือ signaling molecule
จับกับ binding site ของ Ion-channel receptor ของ Na+ ทําให gate ของ Na+ channel เปดออก Na+ ไหล
ผานชองของ channel ทําใหความตางศักยของเยื่อหุมเซลลของเซลลถัดไปเปลี่ยนแปลง เปนกระบวนการสง
กระแสประสาทใหกับเซลลถัดไป

รูปที่ 4-8 A ligand-gated ion-channel receptor (Campbell and Reece, 2002)

62
300104 Dr. La-iad Nakkrasae

Intracellular Receptor
โปรตีนตัวรับ (Receptor) ทุกชนิดไมไดอยูที่ผนังเซลลอยางเดียวแตมีบางชนิดที่ลองลอยอยูภายใน
cytosol หรือ นิวเคลียส ซึ่ง chemical messenger สามารถผานเยื่อหุมเซลลไดจึงสามารถเขามาจับตัวรับ
ภายในเซลล chemical messenger จะเปนกลุมที่เปน hydrophobic ยกตัวอยางเชน steroid hormone และ
thyroid hormone ของเซลลสัตว นอกจากนี้ chemical messenger ที่มีสถานะเปนแกส เชน NO ก็สามารถ
แพรผานเขาสูเซลลไมอยางงายดาย
ดังรูป 4-9 testosterone เปนsteroid hormone สรางจากเซลลของอัณฑะหลั่งออกสูกระแสเลือดไปที่
เซลลเปาหมายของ testosterone ซึ่งจะมีโมเลกุลตัวรับอยูภายใน cytoplasm ซึ่งฮอรโมนนี้ก็จะจับกับตัวรับและ
ถูกสงตอไปที่ nucleus และจะทําหนาที่เปน transcription factor ชวยควบคุมการแสดงออกของยีนตางๆ
intracellular receptor ที่มีการทํางานคลายๆกับ testosterone มีหลายชนิด

รูป 4-9 Steriod hormone interacting with an intracellular receptor (Campbell and Reece, 2002)

Signal transduction pathways


Signal receptor ที่อยูบนเยื่อหุมเซลลสวนใหญแลวขั้นตอนการสงสัญญาณ (transduction) จะ
ประกอบด ว ยหลายขั้ น ตอนเป น ลํ า ดั บ เหตุ ก ารณ ที่ ต อ เนื่ อ งกั น ซึ่ ง ข อ ดี นี้ คื อ จะเป น การขยายสั ญ ญาณซึ่ ง
หมายความวาโมเลกุลหนึ่งถูกกระตุนและจะมีการสงสัญญาณไปกระตุนโมเลกุลหลายๆโมเลกุลในขั้นตอน
ตอไป ผลคือทําใหมีโมเลกุลที่ถูกกระตุนเปนจํานวนมาก นอกจากนี้ความเขมขนของ extracellular signal

63
300104 Dr. La-iad Nakkrasae

molecule เพียงเล็กนอยสามารถทําใหมีการตอบสนองภายในเซลลหลายเหตุการณเพื่อใหมีการประสานการ
ทํางานภายในเซลล
Pathways relay signals from receptors to cellular responses
Protein phosphorylation เปนกลไกลหลักของ signal transduction ดังที่ไดกลาวไปแลวเกี่ยวกับ
การกระตุน protein receptor โดยการเติมหมู Phosphate บนกรดอะมิโน tyrosine โดย tyrosine kinase
แตความจริงแลวกระบวนการนี้เกิดขึ้นอยางแพรหลายภายในเซลลในการควบคุมการทํางานของโปรตีน ซึ่ง
enzyme ที่ชวยในการยายหมู phosphate จาก ATP ใหกับโปรตีนอื่น เรียกวา protein kinase โดยที่ protein
kinase ที่อยูภายใน cytoplasm จะทําหนาที่แตกตางจาก tyrosine kinase ซึ่งอยูบนเยื่อหุมเซลลโดยทําหนาที่
เติมหมู phosphate ใหกับกรดอะมิโนชนิด serine และ threonine ของ substrate โปรตีนตัวอื่น ซึ่ง
serine/threonine kinase จะเกี่ยวของกับการสงสัญญาณภายในเซลลของสัตว พืช และ fungi
สวนใหญการสงสัญญาณโดย Protein kinase จะเปนไปอยางตอเนื่อง (ดังรูป 4-10) โดยที่ตัวรับบน
เยื่อหุมเซลลซึ่งในกรณีนี้คือตัวรับของ growth factor โดยที่ growth factor 0tจับกับตัวรับ สงผลไปกระตุน
protein kinase ตัวที่ 1 โดยการเติมหมู phosphate ทําใหเปลี่ยนสภาพจาก inactive form ใหกลายเปน active
form และกระตุน protein kinase อื่นๆ ตอเนื่องไปเรื่อยๆ เรียกวา “phosphorylation cascade” แตมีบางกรณี
ที่การเติมหมู phosphate ให protein บางชนิดทําใหเปลี่ยนโปรตีนจาก active ใหกลายเปน inactive form

รูป 4-10 A phosphorylation cascade (Campbell and Reece, 2002)

64
300104 Dr. La-iad Nakkrasae

กระบวนการสงสัญญาณโดย Protein kinase มีความสําคัญมาก พบวาในประมาณ 1% ของยีน


ทั้งหมดแสดงรหัสเปน protein kinase ในเซลล 1 เซลลประกอบดวย protein kinase มากกวา 100 ชนิด แตละ
ชนิดจะมีความจําเพาะเจาะจงกับแตละ substrate protein ซึ่ง protein สวนใหญจะเกี่ยวของกับควบคุมการ
เจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิต เพราะฉะนั้นเมื่อมีความผิดปกติเกี่ยวกับ pathway นี้ทําใหสามารถพัฒนาเปน
เซลลมะเร็งได
การเกิดกระบวนการ Signal transduction จะสิ้นสุดได โดยการทํางานของ enzyme อีกชนิดหนึ่งคือ
protein phosphatase ทําหนาที่ดึงเอาหมู phosphate ออกจากโปรตีนที่ถูกกระตุนในตอนแรกใหกลายเปน
inactive protein ในการควบคุมกิจกรรมของเซลลตองมีความสมดุลระหวาง protein kinase และ protein
phosphatase
Secondary messengers
โมเลกุลที่เปนสวนประกอบของ Signal transduction ไมจําเปนตองเปนโปรตีนเทานั้น มีหลายๆ
pathway ที่เกี่ยวของกับ ion ตางๆ เรียกกลุมโมเลกุลนี้วา secondary messenger (เราเรียก chemical
messenger ที่จับกับตัวรับวา first messenger) เนื่องจาก secondary messengers มีขนาดเล็กและละลาย
น้ําได ทําใหสามารถแพรตลอดทั่วทั้งเซลลไดอยางรวดเร็ว ยกตัวอยางเชน cyclic AMP (cAMP) และ Ca2+
Cyclic AMP (cAMP)
จากการทดลองของ Sutherland พบวา epinephrine สามารถกระตุนให glycogen เกิดการสลายตัว
ไดนั้น epinephrine ไมไดผานทะลุเยื่อหุมเขาไปในเซลล จากขอเท็จจริงนี้ทําใหกลุมของเขาพยายามคนหา
secondary messenger ที่เชื่อมโยงสัญญาณจากเยื่อหุมเซลลผานไปที่ cytoplasm ซึ่งเปนบริเวณที่ถูกกระตุน
เขาพบวาการจับกัน epinephrine กับโปรตีนตัวรับบนผิวของเยื่อหุมเซลลในเซลลของตับไปกระตุนทําให cAMP
เพิ่มสูงขึ้น (โครงสรางโมเลกุล cAMP ดังรูป 4-11) โดยมี enzyme Adenylyl cyclase ที่สรางจากเยื่อหุมเซลล
เปนตัวเปลี่ยน ATP ใหกลายเปน cAMP enzyme นี้จะถูกกระตุนใหทํางานเฉพาะเวลาที่สารสื่อสารจับกับตัวรับ
บนผิวของเยื่อหุมเซลล ดังนั้น first messenger เชน hormone เปนตัวกระตุน membrane enzyme ใหมีการ
สราง cAMP ซึ่งจะมีการสงสัญญาณตอไปที่ Cytoplasm หลังจากที่ Hormone หลุดออกจากตัวรับบนผิวของ
เยื่อหุมแลว cAMP จะถูกเปลี่ยกลับไปเปน AMP ซึ่งเปน inactive form ผลของ cAMP สวนใหญจะไปกระตุน
protein kinase A (ดังรูป 4-12) ซึ่งเปน serine/thrones kinase การกระตุนของ protein kinase นี้จะไปกระตุน
โปรตีนอื่นๆ ตอไปขึ้นอยูกับชนิดของเซลล

65
300104 Dr. La-iad Nakkrasae

รูป 4-11 Cyclic AMP (cAMP) สรางจาก ATP โดย enzyme Adenyly cyclase (Campbell and Reece,
2002)
Secondary messenger ชนิด cAMP เปนสวนหนึ่งของ G-protein signaling pathway ถาใหอธิบาย
สาเหตุที่แบคทีเรียในกลุม Vibrio cholerae ที่ทําใหเกิดอาการทองเสียอยางรุนแรง โดยอธิบายในเชิงของ
ชีววิทยาเชิงโมเลกุลจะอธิบายไดวา bacteria จะผลิตสารพิษที่ไปมีผลตอการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติเชิงเคมี
ของ G protein ในเซลลของลําไส การที่สารพิษทําให G protein เปลี่ยนไปจึงไมสามารถสลาย GTP ให
กลายเปน GDP ทําให G protein อยูในรูปแบบที่เปน active form ตลอดเวลา ทําใหมีการขับน้ําออกสูโพรง
ของลําไส ทําใหเกิดอาการทองเสีย ถาไมไดรับการรักษาอาจจะเกิดการสูญเสียน้ําและเกลือแรจนเกิดอาการ
ช็อคและตายได

รูป 4-12 cAMP เปน secondary messenger (Campbell and Reece, 2002)

66
300104 Dr. La-iad Nakkrasae

Calcium ions and Inosital Trisphosphate


สารสื่อสารหลายชนิดในเซลลสัตว รวมถึงสารสื่อประสาท Growth factor และฮอรโมนบางชนิด
กระตุนการตอบรับของเซลลโดยผาน signal transduction ที่ไปเพิ่มความเขมขนของ Ca2+ ซึ่งเปน secondary
messenger ที่แพรหลายมากกวา cAMP ซึ่งเกี่ยวของกับการหดตัวของกลามเนื้อ การหลั่งของสารตางๆ การ
แบงเซลล เปนตน ในเซลลพืช Ca2+เปน secondary messenger ในการตอบสนองของพืชในสภาวะที่พืชมี
ความเครียด เชน แหงแลงและอากาศหนาว เซลลใช Ca2+เปน secondary messenger ทั้งใน G-protein
pathway และ tyrosine-kinase pathway
ถึงแมวาภายในเซลลจะมี Ca2+อยูแตมีความเขมขนต่ํามากๆ เมื่อเทียบกับขางนอกเซลล ซึ่งความ
เขมขนของ Ca2+ ในกระแสเลือดและ extracellular fluid มีความเขมขนมากกวาภายในเซลลถึง 10,000 เทา
Ca2+จะถูกขนสงออกนอกเซลลและเขาไปเก็บที่ endoplasmic reticulum แบบ active transport (บางเซลลมี
การเก็บที่ mitochondria และ chloroplast) ทําใหความเขมขนของ Ca2+ ภายใน ER มีความเขมขนมากกวา
cytosol ในการตอบสนองตอ signal transduction Ca2+ ภายใน cytosol จะเพิ่มจํานวนอยางรวดเร็วโดยการ
ปลดปลอย Ca2+ ออกมาจาก ER การที่ Ca2+ จะถูกปลดปลอยออกมาไดนั้น เกี่ยวของกับ secondary
messenger ชนิดอื่น นั่นคือ diacylglycerol (DAG) และ inositol triphosphate (IP3) ซึ่ง 2 โมเลกุลนี้จะถูกผลิต
มาจากการแตกตัวของ phospholipids ในเยื่อหุมนั่นเอง (ดังรูป 4-13) แสดงใหเห็นวา IP3 กระตุนให Ca2+ ถูก
ปลดปลอยจาก ER ไดอยางไร เพราะวา IP3 มีบทบาทการทํางานกอน Ca2+เราสามารถเรียก Ca2+ วา “third
messenger” ได แตอยางไรก็ตาม นักวิทยาศาสตรเรียก secondary messenger สําหรับทุกโมเลกุลที่มีขนาด
เล็กและไมใชโปรตีนที่เปนสวนหนึ่งของ signal transduction pathway

รูป 4-13 Calcium and inositol trisphosphate in signaling pathways (Campbell and Reece, 2002)

67
300104 Dr. La-iad Nakkrasae

ในบางกรณี Ca2+กระตุน signal transduction protein โดยตรง แตสวนใหญจะทํางานรวมกับ Calmodulin ซึ่ง


เปน Ca2+ binding protein ซึ่งเกี่ยวของกับกระบวนการของเซลลที่ตองใช Ca2+ในการกระตุนการทํางานใน
หลายๆ กระบวนการ เมื่อ Ca2+ จับกับ Calmodulin ทําใหโปรตีนมีเกิดการเปลี่ยนแปลงรูปรางและไปจับกับ
โปรตีนตัวอื่นๆ ซึ่งสงผลทําใหไมกระตุนหรือยับยั้ง

Cellular responses to signals


Signal transduction นําไปสูการกระตุนเหตุการณภายในเซลลในหนึ่งหรือมากกวาหนึ่งเหตุการณ
ภายใน cytoplasm การตอบสนองจากการสื่อสารของเซลลอาจจะทํามีการเปด-ปดของ ion channel ใน
palma membrane หรือเปลี่ยนแปลง cell metabolism ดังที่ไดกลาวไปแลววา การตอบสนองตอเซลลตับตอ
การกระตุนดวยฮอรโน epinephrine จะเกี่ยวของกับ metabolism ของพลังงานภายในเซลล โดยไปกระตุนการ
สลาย glycogen เพื่อใหไดน้ําตาลมาใชในกระบวนการสรางเปนพลังงาน ดังรูป 4-14 แสดง pathway ทัง้ หมดที่
เปนผลของฮอรโมน epinephrine

รูป 4-14 Cytoplasmic response to a signal: the stimulation of glycogen breakdown by epinephrine
(Campbell and Reece, 2002)

68
300104 Dr. La-iad Nakkrasae

นอกจากจะกระตุนกิจกรรมของ enzyme แลวยังมีกลไกอื่นที่กระตุนการสราง enzyme หรือโปรตีน ซึ่ง


โดยการไปเปดยีนภายใน nucleus ใหมีการแสดงออกอยางจําเพาะเจาะจงดังรูปที่ 4-15 โดยที่ signaling
pathway จะไมกระตุน transcription factor ชวยทําใหยีนเกิดการแสดงออก ในการตอบสนองของเซลลจาก
การกระตุนดวย growth factor จะทําใหมีการสราง mRNA และตอไปจะมีการ translate เปนโปรตีนที่จําเพาะ
ในกรณีตรงกันขาม transcription factor อาจควบคุมโดยการยับยั้งการแสดงของยีน โดยที่ transcription
factor โมเลกุลหนึ่งๆ สามารถควบคุมการแสดงออกของยีนไดหลายีน

รูปที่ 4-15 The specificity of cell signaling (Campbell and Reece, 2002)

69

You might also like