You are on page 1of 112

คู่มือส�ำหรับเภสัชกร

ในการด�ำเนินงานเภสัชกรรม


เน ในหน่วยบริการปฐมภูมิ
ส� ำ

คณะท�ำงานจัดท�ำคูม่ อื ส�ำหรับเภสัชกรในการด�ำเนินงานเภสัชกรรมในหน่วยบริการปฐมภูมิ
ส�ำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)
ส�ำนักงานแผนงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ (คคส.) คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ชมรมเภสัชกรปฐมภูมิ (ประเทศไทย)
คู่มือส�ำหรับเภสัชกร
ในการด�ำเนินงานเภสัชกรรมในหน่วยบริการปฐมภูมิ

ที่ปรึกษา
นพ.ชูชัย ศรช�ำนิ ผศ.ดร.ภญ.วรรณา ศรีวิริยานุภาพ
ภก.ภาณุโชติ ทองยัง ดร.ภญ.รุ่งทิวา หมื่นปา
ภญ.พรพิมล จันทร์คุณาภาส ภก.คณิตศักดิ์ จันทราพิพัฒน์

บรรณาธิการ
ภก.ภาณุโชติ ทองยัง ดร.ภก.วีรพงษ์ ภูมิประพัทธ์
ดร.ภญ.ยุภาพรรณ มันกระโทก ภก.สายชล ช�ำปฏิ


ภก.จตุพร ทองอิ่ม ภญ.นันทิกร จ�ำปาสา
ภญ.จันทกานต์ อภิสิทธิ์ศักดิ์ ภญ.สมจิตร โชติชัยสุวัฒน
ภญ. อรวรรณ กาศสมบูรณ์
ภก.ชาญชัย บุญเชิด
ภญ.รุจิรา ปัญญา
เน ภญ.ศิราณี ยงประเดิม
ภญ.สุภาวดี เปล่งชัย
ภก. ตฤณวัตฬ์ จิตจักร
ภญ.มูนาดา แวนาแว ภญ.นงพรรณ ลอยทอง
ภก.กฤษฎา จักรไชย ภญ.นพรัตน์ พวงทอง
ภญ.จันทร์จรี ดอกบัว
ส� ำ
ผู้ประสานงาน
ภญ.รุจิรา ปัญญา ภญ.ศิราณี ยงประเดิม
ภก.ธนพัฒน์ เลาวหุตานนท์

พิมพ์ครั้งที่ 1 มีนาคม 2560

จ�ำนวนพิมพ์ 1,500 เล่ม

จัดพิมพ์และเผยแพร่
ส�ำนักสนับสนุนระบบบริการยาและเวชภัณฑ์ ส�ำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

สนับสนุนการพิมพ์
ส�ำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

พิมพ์ที่ บริษัท ศรีเมืองการพิมพ์ จ�ำกัด


 

คํานํา
 
แนวคิดในการพัฒ นาระบบงานเภสัชกรรมในหน่วยบริการปฐมภูมิ ได้ถูกกล่าวถึงจากหน่วยงานที่
เกี่ยวข้องกับวิชาชีพเภสัชกรรมและการปฏิรูประบบสุ คําขนํภาพมาระยะหนึ
า ่ง แต่ยังไม่ปรากฏว่า มีการนําแนวคิด
ดังกล่าวไปพั แนวคิฒดนาอย่ ในการพั างเป็ฒนนาระบบงานเภสั
รูป ธรรมที่ ชัดเจนชกรรมในหน่ สํ านั กงานหลั ก ประกั
วยบริ นสุข ภาพแห่
การปฐมภู มิ ได้ถูกงชาติ (สปสช.)
กล่าวถึ งจากหน่สําวนัยงานทีกงาน่
แผนงานคุ
เกี่ยวข้องกั้มบครองผู วิชาชีพ้บเภสั ริโภคด้ านสุขภาพ (คคส.)
ชกรรมและการปฏิ คณะเภสัขภาพมาระยะหนึ
รูประบบสุ ชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ ่ง แต่มยหาวิ
ังไม่ปทรากฏว่
ยาลัย สมาคมเภสั
า มีการนําแนวคิ ชกรรมด
ดัชุมงกล่
ชนา(ประเทศไทย)
วไปพั ฒ นาอย่ากลุ งเป็่มนเภสั
รูปชธรรมที
กรครอบครั ่ ชัดเจนว สมาคมเภสัสํ านั กงานหลั ชกรรมโรงพยาบาล
ก ประกั นสุข ภาพแห่ (ประเทศไทย)
งชาติ (สปสช.)และสําสมาคม นั กงาน
เภสัชกรปฐมภู
แผนงานคุ ้มครองผูมิ (ประเทศไทย)
้บริโภคด้านสุได้ เห็นความสํ
ขภาพ (คคส.)าคณะเภสั คัญต่อแนวคิ ดดังกล่จุาฬวาลงกรณ์
ชศาสตร์ จึงได้ร่วมมกัหาวิ
นพัทฒยาลันาระบบงานเภสั
ย สมาคมเภสัชชกรรม กรรม
ชุในหน่
มชนวยบริ การปฐมภูมกลุ
(ประเทศไทย) ิขึ้น่มเภสั
โดยในปี งบประมาณ
ชกรครอบครั 2552-2553ชกรรมโรงพยาบาล
ว สมาคมเภสั สํานักงานหลักประกั นสุขภาพแห่งชาติ
(ประเทศไทย) และ (สปสช.)
สมาคม
เภสัชกรปฐมภูมิ (ประเทศไทย) ได้เห็นความสําคัญต่อแนวคิดดังกล่าว จึงได้ร่วมกันพัฒนาระบบงานเภสัชกรรมา
ได้ ม น
ี โยบายและจั ด สรรงบประมาณให้ พ ฒ
ั นางานเภสั ช กรรมในหน่ ว ยบริ ก ารปฐมภู ม ิ 200 หน่ ว ยบริ ก ารประจํ
(CUP)วทัยบริ
ในหน่ ่วประเทศ
การปฐมภู และในปี งบประมาณ
มิขึ้น โดยในปี งบประมาณ 2557-2559 2552-2553สํานักงานหลั
สํานักกงานหลั
ประกันกสุประกั
ขภาพแห่ นสุขงภาพแห่
ชาติ ร่วงมกั
ชาติบสภาเภสั
(สปสช.)ช


กรรมและ
ได้ มีนโยบายและจั สํ า นั กดงานแผนงานคุ
สรรงบประมาณให้ ้ ม ครองผู
พัฒนางานเภสั ้ บ ริ โภคด้ชากรรมในหน่
นสุ ข ภาพ ว(คคส.)
ยบริการปฐมภูคณะเภสั มิ 200 ช ศาสตร์
หน่วยบริ จุ ฬกาลงกรณ์
ารประจํา
มหาวิ
(CUP)ททัยาลั ย ได้ พและในปี
่วประเทศ ั ฒ นาโครงการเรี
เน งบประมาณ ย นรู2557-2559
้ เชิ ง ปฏิ บั ติสํกาารของเภสั
นักงานหลักชประกักรครอบครั
นสุขภาพแห่ว และชุ ม ชน
งชาติ (Family
ร่วมกั บสภาเภสั andช
Communityสํ าPharmacist
กรรมและ นั ก งานแผนงานคุ Practice Learning:
้ ม ครองผู FCPL)า นสุ
้ บ ริ โภคด้ และดํ าเนิน(คคส.)
ข ภาพ งานถอดบทเรีคณะเภสั ยนงานเภสั
ช ศาสตร์ชกรรมปฐมภู
จุ ฬ าลงกรณ์มิ
การดําทเนิยาลั
มหาวิ นงานครั
ย ได้้งพนีั ฒ้จงึ นาโครงการเรี
นับเป็นจุดเริ่มต้ยนนรู ของการพั
้ เชิ ง ปฏิ บฒั ตนาระบบงานเภสั ชกรรมในหน่ววและชุ
ิ ก ารของเภสั ช กรครอบครั ยบริกมารปฐมภู
ชน (Family มิอย่างเป็ andน
รูCommunity
ปธรรมและเป็Pharmacist นฐานในการพัPractice ฒนาระบบงานเภสั
Learning:ชกรรมในหน่ FCPL) และดํ วยบริ
าเนิกนารปฐมภู
งานถอดบทเรี มิของประเทศไทย
ยนงานเภสัชกรรมปฐมภูมิ
การดําเนิหนั งสือ “คู
นงานครั ้งนี่ม้จือึงสํนัาบหรั
เป็บนเภสั
จุดเริช่มกรในการดํ
ต้นของการพั าเนินฒงานเภสั ชกรรมในหน่
นาระบบงานเภสั วยบริการปฐมภู
ชกรรมในหน่ วยบริกมารปฐมภู
ิ” เป็นส่วมนหนึิอย่า่งงเป็
ของน
การจั ดการความรู
รูปธรรมและเป็ ้เพื่อการพัฒฒนาระบบงานเภสั
นฐานในการพั นาระบบงานเภสัชชกรรมในหน่ กรรมในหน่ววยบริ ยบริกการปฐมภู
ารปฐมภูมมิขิ องประเทศไทย
เนื้อหาในหนังสือเล่มนี้อาจไม่
สมบูรณ์คหนั รบถ้งสืวอนเนื
“คู่อ่มงจากข้
ือสําหรัอบจํเภสั
ากัดชในด้ านเวลาการทํ
กรในการดํ างานที่ตช้อกรรมในหน่
าเนินงานเภสั งสอดคล้องกั บการเริ
วยบริ ่มปฏิบมัติ”ิงานของเภสั
การปฐมภู เป็นส่วนหนึชกรใน ่งของ
ส� ำ
พืการจั
้นที่ ดคณะทํ
การความรู างานจั ้เพืด่อทํการพั
าคู่มืฒ อเภสั ชกรรมปฐมภูชมกรรมในหน่
นาระบบงานเภสั ิจึงต้องขออภั ยไว้กณ
วยบริ ที่นี้ และหวั
ารปฐมภู มิ เนื้องหาในหนั
เป็นอย่างงยิ
สือ่งเล่
ว่ามเภสั ชกร
นี้อาจไม่
ผูสมบู
้ปฏิรบณ์ัติคงานในหน่
รบถ้วนเนืว่อยบริ งจากข้การปฐมภู
อจํากัดมในด้ิจะได้ ใช้เป็นแนวทางในการทํ
านเวลาการทํ างานเพืองกั
างานที่ต้องสอดคล้ ่อร่บวการเริ
มกันพั่มฒปฏิ นาระบบงานเภสั
บัติงานของเภสัชชกรรม กรใน
พืในหน่
้นที่ วคณะทํ
ยบริการปฐมภูางานจัดมทํิตา่อคูไป ่มือเภสัชกรรมปฐมภูมิจึงต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี้ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า เภสัชกร
ผู้ปฏิบัติงานในหน่วยบริการปฐมภูมิจะได้ใช้เป็นแนวทางในการทํางานเพื่อร่วมกันพัฒนาระบบงานเภสัชกรรม
ในหน่วยบริการปฐมภูมิต่อไป คณะทํางานจัดทํา คู่มือสําหรับเภสัชกรในการดําเนินงาน
เภสัชกรรมในหน่วยบริการปฐมภูมิ
คณะทํางานจัดทํา คู่มือสําหรับเภสัชกรในการดําเนินงาน
เภสัชกรรมในหน่วยบริการปฐมภูมิ
สารบัญ

แนวคิดในการจัดท�ำคู่มือ.................................................................................................................................... 1
งานบริหารเวชภัณฑ์........................................................................................................................................... 3
1. การก�ำหนดนโยบายด้านการบริหารเวชภัณฑ์........................................................................................ 4
2. การก�ำหนดความต้องการ และการประมาณการจ�ำนวนส�ำรองเวชภัณฑ์.............................................. 4
3. การจัดหายาและเวชภัณฑ์..................................................................................................................... 5
4. การบริหารจัดการคลังเวชภัณฑ์............................................................................................................. 5


5. การรายงานและการประเมินภายใน.....................................................................................................10
การบริบาลเภสัชกรรมในหน่วยบริการปฐมภูม.ิ ................................................................................................14
เน
การประยุกต์กระบวนการท�ำ PWDT มาใช้ในการบริบาลเภสัชกรรมในหน่วยบริการปฐมภูมิ.....................15
1. การรวบรวมข้อมูลของผู้ป่วย (Patient Database).............................................................................15
2. การวินิจฉัยปัญหาและสาเหตุที่เกี่ยวเนื่องกับการใช้ยา (Patient specific Drug related problem
(DRP) list)....................................................................................................................................................18
3. การก�ำหนดเป้าหมายการแก้ปัญหาการใช้ยา (Desired outcomes for each drug related
ส� ำ
problem)....................................................................................................................................................19
4. การก�ำหนดวิธีการแก้ปัญหา (Choose the best solution for each drug related problem)....19
5. การประเมินผลการแก้ปัญหา (Outcome Monitoring).....................................................................20
6. การจ�ำหน่ายผู้ป่วยและการสื่อสารข้อมูล (Discharge summary and communication)...............21
ผลลัพธ์ของงาน............................................................................................................................................21
งานส่งมอบยาและให้ค�ำแนะน�ำการใช้ยา..........................................................................................................24
บทบาทหน้าที่ของเภสัชกรในการบริหารจัดการเครือข่ายให้มีการส่งมอบยาที่มีมาตรฐาน เพื่อให้ผู้ป่วย
มีการใช้ยาอย่างถูกต้อง ปลอดภัย................................................................................................................24
กระบวนการส่งมอบยาที่มีมาตรฐาน.............................................................................................................27
การบริบาลทางเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วยที่บ้าน (เยี่ยมบ้าน).....................................................................................32
ขั้นตอนการด�ำเนินงานบริบาลทางเภสัชกรรมผู้ป่วยที่บ้าน...........................................................................34
1. การด�ำเนินงานก่อนออกเยี่ยมบ้าน.......................................................................................................34
2. การด�ำเนินงานขณะออกเยี่ยมบ้าน.......................................................................................................37
3. การด�ำเนินงานหลังออกเยี่ยมบ้าน........................................................................................................52
งานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุขในหน่วยบริการปฐมภูม.ิ ........................................................................59
ขั้นตอนการด�ำเนินการเพื่อให้ชุมชนมีความปลอดภัยด้านยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ
โดยใช้แนวทางการบริหารความเสี่ยง............................................................................................................61
การจัดการความเสี่ยง (Risk management)...............................................................................................62
การสื่อสารความเสี่ยง...................................................................................................................................63


กรณีศึกษา การเฝ้าระวัง สืบค้นและจัดการปัญหา รวมถึงการสร้างกลไกการเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์กลุ่มเสี่ยง
โดยชุมชนมีส่วนร่วม อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด ในการสร้างกลไกเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์กลุ่มเสี่ยงในชุมชน.............67
เน
กรณีศึกษา ถอดบทเรียน รูปแบบการด�ำเนินงานแก้ไขปัญหายาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ กลุ่มเสี่ยงอ�ำเภอ
โนนคูณ จังหวัดศรีสะเกษ.............................................................................................................................68
งานส่งเสริมการพึ่งตนเองด้านสมุนไพรและสุขภาพ..........................................................................................72
1. การสนับสนุนการใช้ยาสามัญประจ�ำบ้าน.............................................................................................73
2. การส่งเสริมการใช้สมุนไพร..................................................................................................................75
ส� ำ
3. การพัฒนาระบบฐานข้อมูลหมอพื้นบ้านและอนุรักษ์ปัญญาท้องถิ่นในการดูแลสุขภาพ.......................77
4. แหล่งข้อมูลที่ส�ำคัญด้านแพทย์แผนไทย และยาสามัญประจ�ำบ้าน......................................................78
การปฐมพยาบาลในภาวะฉุกเฉินเบื้องต้น. .......................................................................................................80
การปฐมพยาบาลผู้ป่วยโรคเบาหวานที่เกิดภาวะน�้ำตาลในเลือดต�่ำ.............................................................80
การปฐมพยาบาลบาดแผลผู้ป่วยเบื้องต้น.........................................................................................................82
ภาคผนวก.........................................................................................................................................................85
ภาคผนวกที่ 1 ตัวอย่างแบบบันทึกข้อมูลการบริบาลทางเภสัชกรรมที่บ้าน.................................................87
ภาคผนวกที่ 2 แบบประเมิน ADL การจ�ำแนกผู้สูงอายุตามกลุ่มศักยภาพ ตามความสามารถ
ในการประกอบกิจวัตรประจ�ำวัน (Barthel Activities of Daily Living : ADL).........................................94
ภาคผนวกที่ 3 รายชื่อคณะท�ำงานจัดท�ำ คู่มือส�ำหรับเภสัชกรในการด�ำเนินงานเภสัชกรรม
ในหน่วยบริการปฐมภูมิ................................................................................................................................97
ส� ำ
เน

คู่มือส�ำหรับเภสัชกร
ในการด�ำเนินงานเภสัชกรรมในหน่วยบริการปฐมภูมิ


เน
ส� ำ
ส� ำ
เน

คู่มือส�ำหรับเภสัชกรในการด�ำเนินงานเภสัชกรรมในหน่วยบริการปฐมภูมิ 1 

แนวคิดในการจัดทําคู่มือ

ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2559 มาตรา 258 ได้กําหนดให้มีระบบการแพทย์ปฐม


ภูมิที่มีแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวดูแลประชาชน ในสัดส่วนที่เหมาะสม จากทิศทางดังกล่าว จะส่งผลให้เกิด
การพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิ อย่างเป็นรูปธรรม และส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์ใหม่ทาง
สุขภาพ จากมิติด้านการรักษาพยาบาล ดูแลรักษาสุขภาพของผู้เจ็บป่วย ซึ่งเป็นบริการสุขภาพเชิงรับ ไปสู่มิติ
ด้านการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค การรักษาพยาบาลและการฟื้นฟู โดยพิจารณาปัญหาอย่างเป็นองค์รวม
เน้นบทบาทการให้บริการสุขภาพเชิงรุก เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค และการเพิ่มศักยภาพการ


พึ่งตนเองของประชาชน ร่วมดูแลสุขภาพกับประชาชนอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ก่อนป่วย ขณะป่วย และช่วงฟื้นฟู
สภาพ พร้อมกับจัดทําระบบข้อมูลของประชาชน ตั้งแต่เกิดจนเสียชีวิต
การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของบุคลากรทางการแพทย์ทุกสาขา รวมถึงเภสัชกร
เน
ซึ่งแต่เดิมมีบทบาทหลักในการจ่ายยาให้แก่ผู้ป่วยในโรงพยาบาลและร้านยา เน้นความรับผิดชอบที่งานบริหาร
เวชภัณฑ์ ตั้งแต่การจัดซื้อ การเก็บรักษา การตรวจสอบคุณภาพ และการเตรียมยา และการบริบาลเภสัชกรรม
แก่ผู้ป่วย ซึ่งเป็นการทําหน้าที่เชิงรับ จึงมักเกิดคําถามว่า งานเชิงรุกของเภสัชกรควรมีลักษณะเป็นอย่างไร จาก
การเปลี่ยนแปลงด้านวิชาชีพของเภสัชกร ประกอบกับมีการเปลี่ยนแปลงแนวคิดในการรักษาพยาบาล ที่เน้นให้
ผู้ป่วยดูแลส่งเสริมสุขภาพตนเองได้มากขึ้น จึงเสมือนเป็ นงานที่ท้ าทายความสามารถของเภสัชกรในการ
ปรับเปลี่ยนวิชาชีพให้สอดคล้องกับการปฏิรูประบบสุขภาพ ที่ผ่านมารูปแบบการให้บริการเภสัชกรรมในหน่วย
ส� ำ
บริการปฐมภูมิยังขึ้นอยู่กับ แต่ละพื้นที่ กิจกรรมที่เกิดขึ้นจึงมีความแตกต่างหลากหลาย นับตั้งแต่มีเภสัชกร ที่
ทําหน้าที่ดูแลระบบการจัดการ จัดเก็บ และบริหารเวชภัณฑ์ ประมาณ 4 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ หรือ การทํางาน
บริการเภสัชกรรมที่ครอบคลุมตั้งแต่การบริหารเวชภัณฑ์ งานบริการจ่ายยา งานดูแลผู้ป่วยที่บ้านและชุมชน
และงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข
จากรูปแบบการให้บริการเภสัชกรรมในหน่วยบริการปฐมภูมิที่มีความหลากหลายดังกล่าวข้างต้น จึง
เห็นควรที่จะมีการจัดทําคู่มือ “คู่มือสําหรับเภสัชกรในการดําเนินงานเภสัชกรรมในหน่วยบริการปฐมภูมิ
เพื่อ ให้มีแนวทางการดําเนินงานในทิศทางเดียวกัน โดยมุ่งเน้นให้เกิดการให้บริการเภสัชกรรมที่ตอบสนอง
หรือส่งเสริมให้เกิดระบบบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิที่พึงประสงค์ โดยเป็นระบบบริการที่ยึดปรัชญาสุขภาพ
แบบองค์รวม ต่อเนื่อง ผสมผสาน และ เป็นระบบบริการที่ทําให้ประชาชนพึ่งตนเองได้ และเป็นบริการที่อยู่
ใกล้บ้านใกล้ใจของประชาชน

2 คู่มือส�ำหรับเภสัชกรในการด�ำเนินงานเภสัชกรรมในหน่วยบริการปฐมภูม ิ

งานเภสัชกรรมปฐมภูมิ

งานบริหหาราร
งานบริ
เวชภัณณฑ์ฑ์
เวชภั


การบริ บาลเภสั
การบริ บาล ช
เภสักรรมในหน่
ชกรรมในหน่วย วย
เน บริกการปฐมภู
บริ ารปฐมภูมมิ ิ

การบริบบาลทาง
การบริ าลทาง
เภสัชชกรรมแก่
เภสั กรรมแก่
ผูผู้ป้ป่ว่วยที
ยที่บ่บ้า้านน
(เยี่ย่ยมบ้
(เยี มบ้าาน) น)
ส� ำ
งานคุ้ม้มครอง
งานคุ ครอง
ผูผู้บ้บริริโโภคด้
ภคด้าานน
สาธารณสุขข
สาธารณสุ

งานส่งงเสริ
งานส่ เสริมมการ
การ
พึ่งตนเองด้านน
พึ ง
่ ตนเองด้ า
สมุนนไพรและ
สมุ ไพรและ
สุสุขขภาพ
ภาพ
คู่มือส�ำหรับเภสัชกรในการด�ำเนินงานเภสัชกรรมในหน่วยบริการปฐมภูมิ 33 

 
 
งานบริหารเวชภัณฑ์
งานบริ
การบริหารเวชภั ณ ฑ์ เป็ นกระบวนการทํ หารเวชภั
างานที ่ สําคัญณ ฑ์
ในระบบยาของสถานบริ การสาธารณสุข การ
การบริณหฑ์ารเวชภั
บริหารเวชภั ที่ดีและมีณปฑ์ระสิ
เป็ นทกระบวนการทํ
ธิภาพ ทําให้หน่าวงานที ่ สําคัญ ในระบบยาของสถานบริ
ยงานประหยั ดงบประมาณด้านยา ผู้รกับารสาธารณสุ บริการได้รับยาที ข การ ่ดีมี
บริ
คุณหภาพในการดู
ารเวชภัณฑ์ทแลตนเอง ี่ดีและมีปในบริ
ระสิทบธิทของงานเภสั
ภาพ ทําให้หน่ชวยงานประหยั กรรมปฐมภูมดิ งบประมาณด้ งานบริหารเวชภั านยาณฑ์ผู้ใรห้ับคบริวามสํ
การได้ าคัรญับยาที
กับการ ่ดีมี
คุจัณ ภาพในการดู
ดระบบทั แลตนเอง ในบริ
้งภายในสถานบริ การบทของงานเภสั
และชุมชน เพืช่อกรรมปฐมภู ให้ประชาชนเข้ มิ งานบริ
าถึงบริ หารเวชภั ณฑ์ให้่จคําวามสํ
การด้านยาที เป็นได้าอคัย่ญากังเสมอ
บการ
จัดระบบทั้งภายในสถานบริ
ภาคและปลอดภั ย การ และชุมชน เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการด้านยาที่จําเป็นได้อย่างเสมอ
ภาคและปลอดภั
เวชภัณ ฑ์ ยหมายถึง ยาและเวชภัณ ฑ์ ที่มิใช่ยา การบริหารเวชภัณ ฑ์ จะแตกต่างจากวัสดุอื่น ที่ต้องให้
ความสํเวชภัาคัญเป็ณ ฑ์นกรณี หมายถึ ง ยาและเวชภั
พิเศษ เนื่องจากยาเป็ ณ ฑ์นทหนึ
ี่มิใ่งช่ในปั
ยา จการบริ จัยสี่ทหี่จําารเวชภั
เป็นต่อณสุขฑ์ภาพและชี จะแตกต่าวงจากวั
ิตของผูส้ปดุ่วอยโดยตรง
ื่น ที่ต้องให้มี
ความสํ าคัญงานและเสื
เป็นกรณีพ่อิเมสภาพได้
ศษ เนื่องจากยาเป็
ง่าย เวชภันณหนึฑ์่งชในปั จจัยยวกั สี่ทนี่จอาจมี
ําเป็นคตุ่ณอสุภาพแตกต่
ขภาพและชี างกัวิตนของผู
จึงจํา้ปเป็่วยโดยตรง
นต้องมีการมี


อายุการใช้ นิดเดี
อายุ
บริหการจัารใช้ งานและเสื
ดการที ่เหมาะสม ่อมสภาพได้
เพื่อให้ได้ง่าเวชภั
ย เวชภั
ณฑ์ณที่ดฑ์ี ชมีนิคดุณเดีภาพยวกัราคาเหมาะสม
นอาจมีคุณภาพแตกต่ างกัน จึบงริจํกาเป็
มาใช้ในการให้ ารนรวมทั ต้องมี้งกการ
าร
บริ
จัดหระบบให้
ารจัดการที
ผู้บริ่เโหมาะสม เพื่อให้าไนัด้้นเวชภั
ภคเข้าถึงยาเหล่ เน ณฑ์ทมี่ดีอี ุปมีคสรรค
ได้โดยไม่ ุณภาพ ราคาเหมาะสม มาใช้ในการให้บริการ รวมทั้งการ
จัดระบบให้การบริ ผู้บหริารเวชภั
โภคเข้าณถึงฑ์ยาเหล่
ในหน่าวนัยบริ
้นได้กโารปฐมภู
ดยไม่มีอมุปิ สรรค จึงหมายถึง การบริหารจัดการที่อยู่บนพื้นฐานหลักการทาง
การบริหสารเวชภั
เศรษฐศาสตร์ าธารณสุ ณฑ์ขในหน่ วยบริการปฐมภู
และการบริ ห ารจั ด การทีมิ จึงหมายถึ
่ ดี เพื่ องให้การบริ
ได้ ย าทีห่ มารจั
ี คุ ณดการที
ภาพ ่อมียูก่บารสํ
นพืา้นรองในปริ
ฐานหลักการทาง ม าณที่
เศรษฐศาสตร์
เหมาะสมทั ส าธารณสุ ขและฉุ
้งในภาวะปกติ และการบริ
กเฉิน มีหการจัดการเพื การที่ ด่อี เก็เพืบ่ อรัให้ ได้ ย าที่ มมี คีคุ ณุ ภาพ
กษายาให้ ภาพดีมีและการจั
ก ารสํ ารองในปริ ดช่องทางเพื ม าณที่อ่
ผูเหมาะสมทั
้บริโภคเข้า้งถึในภาวะปกติ
งยาอย่างเท่าแเทีละฉุ ยมกรวมถึ
เฉิน มีงการมี
การจัรดะบบสนั
การเพื่อบเก็สนุบนรักเพืษายาให้ ่อให้ผู้ปม่วยเก็ีคุณบภาพดี และการจัดช่อ่เงทางเพื
รักษายาในสภาวะที หมาะสม่อ
ผู้บ่อริคงคุ
เพื โภคเข้ าถึงยาอย่่ดีตางเท่
ณภาพยาที าเทียมกษา
ลอดการรั รวมถึงการมีระบบสนับสนุนเพื่อให้ผู้ป่วยเก็บรักษายาในสภาวะที่เหมาะสม
เพื่อคงคุณภาพยาที่ดีตลอดการรักษา
ส� ำ
วัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้มียาที่มีคุณภาพดี เพียงพอ และเหมาะสม รองรับความต้องการของผู้รับบริการได้ทั้งใน
1. เพื ่อให้มียาทีป่มกติ
สถานการณ์ ีคุณและฉุ
ภาพดีกเฉิเพีน ยงพอ และเหมาะสม รองรับความต้องการของผู้รับบริการได้ทั้งใน
2. สถานการณ์
เพื่อให้ประชาชนเข้ปกติและฉุ าถึงกบริเฉิกนารด้านยาได้อย่างเท่าเทียมและปลอดภัย
2.
3. เพื่อให้ปมีรระชาชนเข้
ะบบการบริ าถึหงารจั
บริกดารด้ านยาได้
การด้ อย่างเท่าเที
านยาและเวชภั ณยฑ์มและปลอดภั
ที่รัดกุม ตรวจสอบได้ ย
3. เพื่อให้มีระบบการบริหารจัดการด้านยาและเวชภัณฑ์ที่รัดกุม ตรวจสอบได้
การดําเนินงาน
การดําเนิ1.นงาน การกําหนดนโยบายด้านการบริหารเวชภัณฑ์
1.
2. การกําหนดนโยบายด้หนดความต้องการ านการบริ หารเวชภัณฑ์ านวนสํารอง
และการประมาณการจํ
2.
3. การกํ
การจัดาหนดความต้
หายาและเวชภั องการณฑ์ และการประมาณการจํานวนสํารอง
3.
4. การจั
การบริดหหายาและเวชภั
ารจัดการคลังณ ฑ์ ณฑ์
เวชภั
4.
5. การบริ หารจัดการคลังเวชภันณผล
การรายงานและการประเมิ ฑ์
5. การรายงานและการประเมินผล

4  คู่มือส�ำหรับเภสัชกรในการด�ำเนินงานเภสัชกรรมในหน่วยบริการปฐมภูมิ

1. การกําหนดนโยบายด้านการบริหารเวชภัณฑ์
การกําหนดนโยบายเป็นกระบวนการหลักที่จะมีผลต่อภาพรวมการบริหารเวชภัณฑ์ของหน่วยบริการ
ปฐมภูมิ และมีผลต่อผลลัพธ์ด้านการบริหารเวชภัณฑ์ การกําหนดนโยบายจะถูกกําหนดโดยคณะกรรมการ
ระดับอําเภอหรือจังหวัด ควรมีการประชุมเพื่อประเมินผลการดําเนินงานอย่างสม่ําเสมออย่างน้อยทุก 3 เดือน
ตามแนวทางที่กระทรวงกําหนด นโยบายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารเวชภัณฑ์ ได้แก่

1.1 การกําหนดกรอบบัญชีรายการยาและเวชภัณฑ์
การกําหนดกรอบบัญชีรายการยาและเวชภัณฑ์ และหลักเกณฑ์หรือขอบเขตในการสั่งใช้ ควรครอบคลุม
และสอดคล้องกับบริบทของหน่วยบริการในพื้นที่บางแห่งมีบุคลากรทางการแพทย์จากโรงพยาบาลแม่ข่ายมา
ให้ บ ริการตรวจรักษาหรือมี การส่ งต่ อผู้ป่วยโรคเรื้อรังมารับ ยาต่ อเนื่ อง สามารถเพิ่ ม รายการยาตามความ


เหมาะสมได้ โดยอยู่ในกรอบรายการยาของโรงพยาบาลแม่ข่าย กรณีที่หน่วยบริการปฐมภูมิสํารองรายการยาที่
มีความซับซ้อนในการใช้ จะต้องมีการกําหนดกระบวนการในการควบคุมและติดตามลงไปด้วยเสมอ โดยเฉพาะ
เน
กลุ่มยาช่วยชีวิต กลุ่มยาเสพติดให้โทษ กลุ่มยาที่เป็นวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท
นอกจากกรอบบัญชียาทั่วไปแล้วยังต้องกําหนดกรอบบัญชียาสามัญประจําบ้านและยาสมุนไพรในบัญชียา
หลักแห่งชาติ เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการใช้ยาที่ปลอดภัยในชุมชนการกําหนดกรอบบัญชียาที่เหมาะสมต้อง
คํานึงถึง ความรู้และศักยภาพของบุคลากรที่มีหน้าที่รับผิดชอบหลักในการสั่งใช้ยาของสถานบริการนั้นๆ และ
ความจําเป็นด้านสุขภาพของประชาชนในพื้นที่การจัดทํากรอบบัญชียาและเวชภัณฑ์ควรมีการทบทวนบัญชี
อย่างน้อย ปีละ 1 ครั้ง
ส� ำ
1.2 การกําหนดนโยบายด้านการบริหารเวชภัณฑ์
เป็นการกําหนดทิศทาง เพื่อกํากับ การดําเนินงาน และการกําหนดแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนในการบริหาร
เวชภัณฑ์ จะครอบคลุมถึง การบริหารงบประมาณ การเบิกจ่าย การกําหนดอัตราคงคลัง และแนวทางการ
สนับสนุนด้านเวชภัณ ฑ์ เพื่ อใช้ประโยชน์ด้านต่างๆ เช่น การส่งเสริมการใช้ยาสมุนไพรหรือการกระจายยา
สามัญประจําบ้านสู่ชุมชน รวมถึงแนวทางการนิเทศติดตาม
2. การกําหนดความต้องการ และการประมาณการจํานวนสํารองเวชภัณฑ์
2.1 การกําหนดความต้องการ
การกําหนดความต้องการด้านยา (รายการยาและปริมาณการใช้) ของพื้นที่ ต้องกําหนดให้สอดคล้องกับ
บริบทของพื้นที่ ได้แก่สภาวะสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ ปัจจัยเสี่ยงหรือภาวะคุกคามด้านสุขภาพที่อาจ
เกิดขึ้น (เพื่อสํารองยาฉุกเฉิน) ลักษณะทางภูมิศาสตร์ และข้อมูลที่จําเป็นในการกําหนดความต้องการคือ
ข้อมูลปัญหาด้านสุขภาพในพื้นที่ (จากสถิติการเจ็บป่วยในพื้นที่) ข้อมูลรายการ และปริมาณการหมุนเวียนใช้
ของยาแต่ละรายการ

คู  ่มือส�ำหรับเภสัชกรในการด�ำเนินงานเภสัชกรรมในหน่วยบริการปฐมภูมิ 5
หน่วยบริการปฐมภูมิ จะต้องทําบัญชีรายงานการตรวจรับ-จ่าย พัสดุประจําทุกปี เพื่อให้ทราบปริมาณการ
ใช้เวชภัณฑ์รายปี และนําข้อมูลดังกล่าวมาใช้ ร่วมกับการประเมินบริบทและปัญหาสุขภาพในพื้นที่เพื่อทําแผน
ประมาณการความต้องการเวชภัณฑ์ประจําปี เพื่อจัดสรรงบประมาณด้านยาและเวชภัณฑ์ของหน่วยบริการ
ปฐมภูมิ โดยทั่วไปใช้ข้อมูลการใช้เวชภัณฑ์ย้อนหลัง 3 ปี และประมาณการความต้องการใช้ในปีถัดไป แล้วส่ง
มาที่ โรงพยาบาลแม่ข่ายเพื่อรวบรวม ในการวางแผนจัดซื้อ จัดหายาและเวชภั ณ ฑ์ สนับสนุ นหน่ วยบริการ
บริการต่อไป
2.2 การประมาณการจํานวนสํารองเวชภัณฑ์
การประมาณการจํานวนสํารองเวชภัณฑ์ เป็นการประมาณการความต้องการใช้เวชภัณฑ์ให้เพียงพอใน
ช่วงเวลาหนึ่ ง (อัตราคงคลัง) การกําหนดอัตราคงคลังขึ้นกับปัจจัยด้านความต้องการใช้ และลักษณะทาง
ภูมิศาสตร์ ทั้งนี้ต้องระมัดระวังการสํารองเกินความจําเป็น และยาหมดอายุ ซึ่งจะทําให้หน่วยงานเสียค่าใช้จ่าย


ด้านยาโดยไม่จําเป็น โดยทั่วไปในหน่วยบริการปฐมภูมิกําหนดให้มีอัตราคงคลังเฉลี่ยไม่เกิน 2-3 เดือน ซึ่ง
อัตราคงคลัง คํานวณจากมูลค่าเวชภัณฑ์คงเหลือ ต่อมูลค่าใช้เวชภัณฑ์ต่อเดือน
เน
3. การจัดหายาและเวชภัณฑ์
โดยทั่ วไป หน่ ว ยบริ ก ารปฐมภู มิ จ ะจั ด หายาและเวชภั ณ ฑ์ ต ามกรอบบั ญ ชี รายการยาและเวชภั ณ ฑ์ ที่
คณะกรรมการระดับอําเภอหรือระดับจังหวัดกําหนด โดยการเบิกจากโรงพยาบาลแม่ข่ายการประมาณการเบิก
ยาและเวชภัณฑ์ให้เพียงพอกับปริมาณการใช้ตามรอบเบิก มีขั้นตอนดังนี้
 สํารวจปริมาณการใช้จริงในแต่ละรอบเบิก
 สํารวจปริมาณคงเหลือ
ส� ำ
 ประมาณการเบิก โดยคํานวณจาก
ประมาณการเบิก = (ปริมาณการใช้ในแต่ละรอบเบิก x อัตราคงคลัง) – ปริมาณคงเหลือ
เมื่อได้รับยาและเวชภัณฑ์จากโรงพยาบาลแม่ข่าย ต้องมีพื้นที่เฉพาะเพื่อตรวจรับเวชภัณฑ์ และทําการ
ตรวจรับ ก่อนจัดเก็บเวชภัณฑ์เข้าคลังให้เหมาะสม

4. การบริหารจัดการคลังเวชภัณฑ์
การบริการจัดการคลั งเวชภั ณ ฑ์ ในหน่ วยบริการปฐมภู มิ มีวัตถุประสงค์ เพื่ อให้ มี การเก็ บรักษายาและ
เวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาให้มีคุณภาพดี มีจํานวนเพียงพอสําหรับการหมุนเวียนใช้ในหน่วยบริการ โดยนําระบบบริหาร
จัดการคลังเวชภัณ ฑ์ในโรงพยาบาลมาประยุกต์ให้เข้ากับบริบทของหน่วยบริการปฐมภูมิ เนื่องจากหน่วย
บริการปฐมภู มิ จะมีข้ อจํากัดทั้ งในด้ านสถานที่ ภาระงาน และเครื่องมื อที่ ใช้ในการบริห ารจัด การคลั ง จึ ง
จําเป็นต้องมีการประยุกต์ปัจจัยด้านต่างๆ ให้เป็นไปตามมาตรฐานด้านการบริหารเวชภัณฑ์ ดังนี้
4.1 สถานที่ อุปกรณ์ และการเก็บรักษายาและเวชภัณฑ์

6  คู่มือส�ำหรับเภสัชกรในการด�ำเนินงานเภสัชกรรมในหน่วยบริการปฐมภูมิ

4.1.1 สถานที่
เนื่องจากอาคารของหน่วยบริการปฐมภูมิไม่ได้ออกแบบมาสําหรับให้มีคลังเวชภัณฑ์โดยตรง จึงต้องมี
การปรับปรุงห้องต่างๆ ให้สามารถใช้เป็นคลังเวชภัณฑ์ โดยมีข้อกําหนดที่ต้องพิจารณาให้เป็นไปตามมาตรฐาน
ดังนี้
1) สถานที่แยกจากกันเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นคลังเวชภัณฑ์ และส่วนที่เป็นห้องจ่ายยาประจําวัน
ควรมีผู้รับผิดชอบแยกจากกัน ทั้งนี้เพื่อให้แต่ละส่วนมีการตรวจสอบและเฝ้าระวังความคลาด
เคลื่อนที่ อาจเกิ ดขึ้นในการบริหารเวชภัณ ฑ์ มีการจัดทํ าบั ญ ชีค วบคุมการรับ จ่ายที่ สอดคล้อง
สัมพันธ์กัน
2) คลังเวชภัณฑ์ต้องเป็นพื้นที่เฉพาะสําหรับเก็บยาและเวชภัณฑ์เท่านั้น และรวมไว้ในที่แห่งเดียวกัน
ทั้งหมด ไม่ควรแยกเก็บเป็นหลายห้องหรือหลายอาคาร หากไม่มีพื้นที่เฉพาะควรจัดหาตู้ที่มิดชิด


มีกุญแจปิดเปิดและระบบการป้องกันการโจรกรรม มีความสะอาด ป้องกันฝุ่นละออง ความชื้น
และแสงแดด ปลอดภัยจากแมลงและสัตว์กัดแทะเข้าไปทําลายยาและเวชภัณฑ์
เน
3) หากใช้พื้นที่ที่มิได้กําหนดไว้ในแบบแปลนของหน่วยปฐมภูมิให้เป็นคลังเวชภัณฑ์ เช่น บ้านพัก
เจ้ าหน้ าที่ ต้ อ งทํ า บั น ทึ ก เป็ น หนั งสื อ ขออนุ มั ติ ผ่ านผู้ อํ านวยการโรงพยาบาลแม่ ข่ า ยเพื่ อ ขอ
ดําเนินการก่อน
4) ควรมีระบบปรับอากาศในคลังเวชภัณฑ์ หากไม่สามารถดําเนินการได้ ห้องที่ใช้เป็นคลังเวชภัณฑ์
ต้องเป็นห้องที่มีการหมุนเวียนอากาศที่ดี ควรมีพัดลมดูดอากาศ เพื่อป้องกันความชื้น อยู่ในทิศที่
ไม่ถูกแสงแดด เพื่อป้องกันไม่ให้อุณหภูมิสูงเกินไป และลดการสํารองยาและเวชภัณฑ์ โดยให้มี
ส� ำ
อัตราคงคลังต่ําเพื่อให้ยาและเวชภัณฑ์หมุนเวียนออกจากคลังเวชภัณฑ์เร็วที่สุด ควรมีการบันทึก
อุณหภูมิคลังเวชภัณฑ์ และจุดบริการจ่ายยา วันละ 2 ครั้ง ในช่วงเช้า และช่วงบ่าย ควรควบคุม
อุณหภูมิไม่เกิน 30 องศาเซลเซียส
5) มีระบบป้องกันการโจรกรรมล็อคด้วยกุญ แจชนิดดี อาจติดตั้งสัญ ญาณป้องกันการโจรกรรมมี
อุปกรณ์ดับเพลิง และสามารถเคลื่อนย้ายเวชภัณฑ์ออกได้โดยสะดวกเมื่อเกิดอัคคีภัย
6) มีตู้เย็นสําหรับเก็บเวชภัณฑ์ที่ต้องควบคุมอุณหภูมิต่ํา หรือแช่แข็ง เช่น อินซูลิน วัคซีน และมี
เทอร์โมมิเตอร์สําหรับวัด เพื่อควบคุมอุณหภูมิให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน โดยเทอร์โมมิเตอร์ต้อง
ได้รับการเทียบสอบอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และต้องบันทึกการตรวจวัดอุณหภูมิของตู้เย็นอย่าง
สม่ําเสมอ วันละ 2 ครั้ง ในช่วงเช้าและบ่าย
7) มีกระติกหรืออุปกรณ์เก็บวัคซีนที่มีฉนวนไม่น้อยกว่า 30 มม.และสามารถใส่ไอซ์แพคได้ทั้ง 4
ด้าน
8) มี ชั้ น สํ าหรับ เก็ บ เวชภั ณ ฑ์ ที่ ย กสู งจากพื้ น มี ค วามแข็ งแรงและเพี ย งพอไม่ วางลั งยาสั ม ผั ส พื้ น
โดยตรง

คู  ่มือส�ำหรับเภสัชกรในการด�ำเนินงานเภสัชกรรมในหน่วยบริการปฐมภูมิ 7
9) มีการแยกเก็บรักษายาควบคุมพิเศษ, ยาเสพติดให้โทษ, วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทให้เป็น
สัดส่วน จัดเก็บในที่ที่มั่นคงแข็งแรงและตรวจสอบได้ตลอดเวลา
10) มีอุปกรณ์ดับเพลิง พร้อมใช้งานหากเกิดอัคคีภัย
4.1.2 การเก็บรักษา
ยาและเวชภัณฑ์แต่ละรายการมีคุณสมบัติทางเคมีและฟิสิกส์แตกต่างกัน ทําให้ความไวของเวชภัณฑ์
ต่อความชื้น แสงสว่าง และอุณหภูมิแตกต่างกัน การเก็บยาและเวชภัณฑ์จึงอยู่บนพื้นฐานสําคัญคือ ต้องเก็บยา
และเวชภัณฑ์ โดยควบคุมสภาวะต่างๆให้เหมาะสม ตามคุณสมบัติของยาและเวชภัณฑ์แต่ละชนิด เพื่อป้องกัน
การเสื่อมสภาพ และควรจัดวางยาและเวชภัณฑ์เป็นหมวดหมู่ เรียงลําดับตามหลักสากล
4.2 เครื่องมือที่ใช้ควบคุมคลังเวชภัณฑ์
เครื่องมือที่ใช้ในการควบคุมคลังเวชภัณฑ์ ควรประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับภาระงาน ควรลดความ


ซ้ําซ้อนในขั้นตอนการดําเนินงานและยังคงไว้ในหลักการความโปร่งใสและตรวจสอบได้ แนวทางการดําเนินงาน
เพื่อควบคุมคลังเวชภัณฑ์มีดังนี้ เน
 การทําบัญชีหรือทะเบียนควบคุมการรับจ่าย และแสดงการหมุนเวียนของเวชภัณฑ์แต่ละรายการ
เนื่องจากมียาและเวชภัณฑ์ที่ต้องเก็บรักษาเป็นจํานวนมาก บัญชีควบคุมที่เกี่ยวข้อง มีดังนี้
1) บัญชีควบคุมรายการรับยาและเวชภัณฑ์ และเอกสารใบสําคัญที่เกี่ยวข้อง เพื่อแสดงที่มา
และรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับยาและเวชภัณ ฑ์ เช่น เลขที่ผลิต วันผลิต วันหมดอายุ
ฯลฯ และการเคลื่อนไหวของเอกสารที่ควบคู่มากับยาและเวชภัณฑ์
2) บัญ ชีควบคุมการรับ-จ่าย เพื่อแสดงการหมุนเวียนของยาและเวชภัณ ฑ์แต่ละรายการ
ส� ำ
ตรวจสอบวันหมดอายุ เพื่อสร้างระบบป้องกันยาหมดอายุในคลังยา สามารถดําเนินการ
โดย
 ทํ าบั ญ ชีค วบคุม เวชภั ณ ฑ์ โดยใช้แ บบ รบ.301 หรือจัดพิ มพ์ เป็นสต็ อกการ์ด
(Stock card)
 ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการควบคุมเวชภัณฑ์
4.3 ขั้นตอนและวิธีการบริหารจัดการคลังเวชภัณฑ์
การบริหารเวชภัณฑ์ในหน่วยบริการปฐมภูมิ อยู่บนแนวคิดในการลดขั้นตอนที่ไม่จําเป็น แต่ยังคง
ผลลั พ ธ์ที่ ห น่ ว ยบริ ก ารปฐมภู มิ ต้ อ งการหากอั ต ราการหมุ น เวี ย นใช้ ย าและเวชภั ณ ฑ์ ไม่ ร วดเร็ ว เหมื อ นใน
โรงพยาบาล อาจไม่จําเป็นต้องมีคลังเวชภัณ ฑ์ย่อย แต่ต้องมีระบบในการควบคุมคลังเวชภัณ ฑ์ ให้มีความ
โปร่งใส ตรวจสอบได้

8   คู่มือส�ำหรับเภสัชกรในการด�ำเนินงานเภสัชกรรมในหน่วยบริการปฐมภูมิ

ขัขั้น้นตอนในการเบิ
ตอนในการเบิกกจ่จ่าายเวชภั ยเวชภัณ ณฑ์ฑ์จจากคลั ากคลังงเวชภั
เวชภัณ ณฑ์ฑ์ใในหน่ นหน่ววยบริ ยบริกการปฐมภู
ารปฐมภูมมิมิมีแีแนวปฏิ นวปฏิบบัตัติดิดังังนีนี้้
1)
1) กํกําาหนดบุ หนดบุคคลากรผู ลากรผู้้รรัับบผิผิดดชอบหลั
ชอบหลักกในการเบิ ในการเบิกกจ่จ่าายเวชภั ยเวชภัณ ณฑ์ฑ์คควรกํ
วรกําาหนดแยกจากกั
หนดแยกจากกันนระหว่ ระหว่าางง
คลั
คลังงเวชภั เวชภัณ ณฑ์ฑ์ และห้
และห้อองจ่ งจ่าายยาประจํ
ยยาประจําาวัวันน เพื เพื่อ่อให้ให้สสอดคล้
อดคล้อองกั งกับบมาตรฐานการควบคุ
มาตรฐานการควบคุมมภายใน ภายใน
2)
2) กําหนดรอบการเบิกจ่าย เช่น สัปดาห์ละครั้ง ไม่ควรให้มีการเบิกได้ตลอดเวลา เพราะจะทําา
กํ า หนดรอบการเบิ ก จ่ า ย เช่ น สั ป ดาห์ ล ะครั ้ ง ไม่ ค วรให้ ม ี ก ารเบิ ก ได้ ต ลอดเวลา เพราะจะทํ
ให้
ให้คควบคุ วบคุมมคลั คลังงได้
ได้ยยาก
าก
3)
3) กํกําาหนดแบบฟอร์ หนดแบบฟอร์มมทีที่่ใใช้ช้ใในการเบิ นการเบิกก โดยให้ โดยให้บบุุคคลากรที ลากรที่ร่รัับบผิผิดดชอบห้
ชอบห้อองจ่ งจ่าายยาประจํ
ยยาประจําาวัวันน เบิ เบิกกโดย โดย
ใช้
ใช้แแบบฟอร์ บบฟอร์มมทีที่่กกํําาหนดขึ หนดขึ้้นน จํจําานวนการเบิ
นวนการเบิกกให้ ให้สสััมมพัพันนธ์ธ์กกัับบอัอัตตราการใช้
ราการใช้ทที่ี่สสอดคล้อดคล้อองกังกับบรอบการ
รอบการ
เบิ
เบิกกจ่จ่าายย เช่ เช่นน รอบจ่
รอบจ่าายยาเท่
ยยาเท่าากักับบ 11 สัสัปปดาห์ ดาห์ จํจําานวนยาที นวนยาที่่เเบิบิกกก็ก็คควรให้วรให้เเพีพียยงพอสํ
งพอสําาหรั หรับบการ การ
บริ
บริ กก ารใน ารใน 11 สัสั ปป ดาห์ ดาห์ เเช่ช่ นน กักั นน และลงนามกํ
และลงนามกํ าากักั บบ ในเอกสารการเบิ ในเอกสารการเบิ กก ให้ ให้ คค รบถ้
รบถ้ วว นทันทั้้ งงผูผู้้ เเบิบิ กก
ผูผู้อ้อนุนุมมัตัติิ ผูผู้จ้จ่า่ายและผู
ยและผู้ร้รับับ


4)
4) การจ่ การจ่าายเวชภั ยเวชภัณ ณฑ์ฑ์จจากคลั
ากคลังงเวชภั เวชภัณ ณฑ์ฑ์ ให้
ให้ปปฏิฏิบบัตัติดิดังังนีนี้้
 ก่ก่ออนการเบิ
เน นการเบิกก –– จ่จ่าายเวชภั ยเวชภัณ ณฑ์ฑ์ ให้
ให้เเจ้จ้าาหน้หน้าาทีที่่คคลัลังงเวชภั
เวชภัณ ณฑ์ฑ์ตตรวจสอบความถู
รวจสอบความถูกกต้ต้อองของ งของ
ใบเบิกกเวชภั
ใบเบิ เวชภัณ ณฑ์ฑ์เเมืมื่่ออจ่จ่าายเวชภั
ยเวชภัณ ณฑ์ฑ์แแล้ล้ววให้ให้ผผูู้้จจ่่าายและผู
ยและผู้้รรัับบลงลายมื
ลงลายมืออชืชื่่ออพร้ พร้ออมวัมวันนทีที่่กกํําากักับบ
ไว้เเป็ป็นนหลั
ไว้ หลักกฐาน
ฐาน
 การจ่ การจ่าายเวชภั ยเวชภัณ ณฑ์ฑ์ใให้ห้เเป็ป็นนไปตามหลั
ไปตามหลักกวิวิชชาการ าการ รุรุ่่นนผลิ
ผลิตตทีที่่ววัันนหมดอายุ
หมดอายุกก่่ออนให้นให้ใใช้ช้รรุุ่่นนนันั้้นน
ก่ก่ออนน (FEFO:
(FEFO: First
First Expire Expire date date -First
-First Out) Out)
 บุบุคคลากรที ลากรที่่ดดููแแลควบคุ
ลควบคุมมคลั คลังงเวชภั
เวชภัณ ณฑ์ฑ์ ต้ต้อองตั งตัดดยอดการรั
ยอดการรับบจ่จ่าายในคลั ยในคลังงเวชภั
เวชภัณ ณฑ์ฑ์ใให้ห้เเป็ป็นน
ปัปัจจจุจุบบัันนทุทุกกรอบการเบิ
รอบการเบิกก ทัทั้้งงนีนี้้เเพืพื่่ออให้
ให้สสามารถแก้
ามารถแก้ไไขปั ขปัญญหาได้
หาได้ททัันนทีทีเเมืมื่่ออตรวจพบว่
ตรวจพบว่าายอดคง ยอดคง
ส� ำ
คลังงไม่
คลั ไม่ถถูกูกต้ต้อองง
5) การขออนุ
5) การขออนุมมัตัติเิเบิบิกกเวชภั เวชภัณ ณฑ์ฑ์จจากโรงพยาบาลแม่
ากโรงพยาบาลแม่ขข่า่ายย
 บุบุคคลากรที ลากรที่่ดดููแแลควบคุ
ลควบคุมมคลั คลังงเวชภั
เวชภัณ ณฑ์ฑ์ ตรวจสอบจํ
ตรวจสอบจําานวนคงเหลื นวนคงเหลืออของยาและเวชภั
ของยาและเวชภัณ ณฑ์ฑ์
แต่ลละรายการ
แต่ ะรายการ หากรายการใดถึหากรายการใดถึงงจุจุดดต้ต้อองเบิ งเบิกกมาสํ มาสําารอง(re-order
รอง(re-order point) point) ให้ ให้ดดําําเนิ
เนินนการเบิ
การเบิกก
จากโรงพยาบาลแม่ขข่า่ายมาสํ
จากโรงพยาบาลแม่ ยมาสําารองให้
รองให้สสอดคล้
อดคล้อองกั งกับบอัอัตตราคงคลั
ราคงคลังงและรอบการเบิ
และรอบการเบิกกทีที่ก่กําําหนด หนด

4.4
4.4 การตรวจสอบการเสื
การตรวจสอบการเสื่อ่อมสภาพของยา มสภาพของยา
หน่
หน่วยบริการปฐมภูมิ ต้อองมี
ว ยบริ ก ารปฐมภู ม ิ ต้ งมีรระบบในการควบคุ
ะบบในการควบคุมมกํกําากักับบเพื เพื่อ่อป้ป้อองกั
งกันนไม่
ไม่ใให้ห้ยยาหมดอายุ
าหมดอายุหหรืรืออเสื เสื่อ่อมสภาพ
มสภาพ เพื เพื่่ออให้
ให้
ผูผู้ป้ป่ว่วยได้
ยได้รรับับยาที
ยาที่ม่มีคีคุณ
ุณภาพดี
ภาพดีแและไม่ ละไม่เเกิกิดดความสู
ความสูญ ญเสี เสียยจากยาหมดอายุ
จากยาหมดอายุหหรืรืออเสื เสื่อ่อมสภาพ
มสภาพ
โดยทั
โดยทั่่ววไปยาทุ
ไปยาทุกกชนิ ชนิดดมีมีออายุ ายุกการใช้
ารใช้งงานจนถึ
านจนถึงงวัวันนหมดอายุหมดอายุขของยา
องยา เมื เมื่่ออเก็
เก็บบในสภาวะที
ในสภาวะที่่เเหมาะกั
หมาะกับบการเก็ การเก็บบยาแต่ยาแต่
ละรายการ
ละรายการ แต่ แต่หหากเก็
ากเก็บบรัรักกษาตามสภาวะที
ษาตามสภาวะที่่เเหมาะสมแล้
หมาะสมแล้วว ยัยังงพบการเสืพบการเสื่่ออมสภาพหรื
มสภาพหรืออเกิ เกิดดภัภัยยพิพิบบััตติิทที่ี่ออาจทํ
าจทําาให้
ให้ยยาา
เสื
เสื่อ่อมสภาพมสภาพ มีมีขข้อ้อพิพิจจารณาเพื
ารณาเพื่อ่อประกอบการตั
ประกอบการตัดดสิสินนใจว่ ใจว่าายาเสื
ยาเสื่อ่อมสภาพและควรจํ
มสภาพและควรจําาหน่ หน่าายย ได้
ได้แแก่ก่
1)
1) เอกสารที
เอกสารที่่เเกีกี่่ยยวข้ วข้อองกั
งกับบยา
ยา เช่ เช่นน ฉลากยา
ฉลากยา เอกสารกํเอกสารกําากักับบยา ยา ฯลฯ ฯลฯ ไม่ ไม่สสามารถระบุ
ามารถระบุวว่่าาตัตัววยาที ยาที่่ตตรวจพบ
รวจพบ
ผลิ
ผลิตตตัตั้ง้งแต่
แต่เเมืมื่อ่อใด
ใด เป็
เป็นนยารุ
ยารุ่น่นผลิ
ผลิตตรุรุ่น่นใด
ใด ควรพิ
ควรพิจจารณาจํ
ารณาจําาหน่ หน่าายย

คู  ่มือส�ำหรับเภสัชกรในการด�ำเนินงานเภสัชกรรมในหน่วยบริการปฐมภูมิ 9
2) กรณีไม่ระบุวันผลิตยาบนฉลากหรือภาชนะบรรจุยา มีข้อพิจารณาดังนี้
 ยาเม็ ด มี อ ายุ ห ลั ง จากผลิ ต แล้ ว 2-5 ปี ขึ้ น กั บ กระบวนการตรวจสอบคุ ณ ภาพก่ อ น
ออกจําหน่าย
 ยาน้ํา และยาครีมมีอายุหลังจากผลิตแล้ว 3 ปี
3) ลักษณะทางกายภาพของยาเปลี่ยนไป ได้แก่
 ยาเม็ดเม็ดยาจะแตกร่วน สีซีดจางลงกว่าเดิม ถ้าเป็นยาเคลือบน้ําตาล เช่น วิตามินรวม
สารเคลือบเม็ดยาจะเยิ้มเหนียว เป็นรอยด่างหรือแตกร่วน
 ยาแคปซู ล มี ลั กษณะบวมพอง เกาะติดกัน ผงยาในแคปซู ลเปลี่ยนสี เช่น ยาเตตร้า
ซัยคลินจะเปลี่ยนจากเหลืองเป็นน้ําตาลซึ่งเป็นอันตรายต่อไต ยาบางชนิดผงยาจับตัวเป็น


ก้อนแข็ง
 ยาน้ําแขวนตะกอน มีตะกอนจับกันเป็นก้อนแข็ง แม้เขย่าแรงๆ ไม่กระจาย สี กลิ่น รส
เปลี่ยนไปจากเดิม
เน
 ยาน้ําเชื่อมยาขุ่น หรือตกตะกอน สีเปลี่ยน กลิ่น สี รส เปลี่ยนไปจากเดิม
 ยาฉีดชนิดผงผงสีเปลี่ยน ยาเกาะตัวเป็นก้อนแข็ง ใช้เวลานานกว่าปกติในการละลายผง
ยา หรือละลายแล้วข้นเหนียว ดูดผ่านเข็มฉีดยายากกว่าปกติ
 ยาหยอดตาที่ ต้ อ งเก็ บ ในตู้เย็ น จํ า เป็ น ต้ อ งเก็ บ ในอุ ณ หภู มิ ม าตรฐานคื อ 2-8 องศา
เซลเซียส เพื่อป้องกันการเสื่อมสภาพเร็วก่อนกําหนด
 ยาครีม หรือยาขี้ผึ้ง สีเปลี่ยน ครีมแยกตัวไม่เนียนเป็นเนื้อเดียวกัน มีกลิ่นหืน เป็นต้น
ส� ำ
กรณี ที่ มียาและเวชภั ณ ฑ์ ที่ เสื่อมคุ ณ ภาพ หรือหมดอายุ ควรแยกเก็บใส่ก ล่องไว้ต่างหากเพื่ อ
จําหน่ายออกไปตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุโดยหากเป็นยาและเวชภัณฑ์ที่จัดซื้อเองอาจ
ดํ า เนิ น การแลกเปลี่ ย นกั บ บริ ษั ท ตามระเบี ย บฯ หรื อ อาจทํ า ลายตามหลั ก เกณฑ์ แ ละวิ ธี ก ารที่ ก ระทรวง
สาธารณสุขกําหนด ในกรณีที่เป็นยาและเวชภัณฑ์ที่ดําเนินการโดยโรงพยาบาลแม่ข่ายหรือหน่วยงานอื่น หน่วย
บริการปฐมภูมิต้องทําหนังสือแจ้งโรงพยาบาลแม่ข่ายหรือหน่วยงานอื่นเพื่อขอดําเนินการ ตามระเบียบฯ
4.5 การเตรียมความพร้อมสําหรับภาวะฉุกเฉิน
 มีแผนเตรียมความพร้อมกรณีฉุกเฉินในระบบลูกโซ่ความเย็น ติดไว้ในที่มองเห็นชัดเจน โดยระบุชื่อผู้
ควบคุมและเบอร์โทรศัพท์ ติดไว้ในตําแหน่งที่เห็นชัดเจน
 มีแผนเตรียมความพร้อมกรณีเกิดอัคคีภัย
10 

10
  คู่มือส�ำหรับเภสัชกรในการด�ำเนินงานเภสัชกรรมในหน่วยบริการปฐมภูมิ

5. การรายงานและการประเมินภายใน
5.1 การประเมินภายใน
การประเมินภายใน งานบริหารเวชภัณฑ์ของหน่วยบริการปฐมภูมิ เป็นกระบวนการคู่ขนานกับขั้นตอน
ต่างๆ ตั้งแต่การจัดหา จนถึงการเบิกจ่ายยาไปให้บริการแก่ผู้รับบริการตามหลักการความโปร่งใส ตรวจสอบได้
การประเมินภายในด้านการบริหารเวชภัณฑ์ประกอบด้วย
1) การสุ่มตรวจหลักฐานการเบิกเวชภัณฑ์ตรงกับหลักฐานของหน่วยบริการแม่ข่าย และจํานวนเบิก
สอดคล้องกับปริมาณการใช้ตามรอบเบิก และเป็นไปตามแผนการใช้ยาประจําปี
2) การสุ่มตรวจคลังเวชภัณฑ์ เป็นการสุ่มเพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพการควบคุมคลังเวชภัณฑ์ การ
ตรวจสอบควรตรวจสอบเป็นระยะๆ โดยเฉพาะยาที่มีมูลค่าสูง หรือมีอัตราการใช้สูง มีการบันทึก
หลักฐานการตรวจอย่างสม่ําเสมออย่างน้อยทุก 3 เดือน ดังนี้


 การตรวจสอบคลังเวชภัณฑ์ เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของจํานวนคงคลังให้ตรงกับ
เอกสารควบคุมคลังเวชภัณฑ์ เช่น stock card , ทะเบียนควบคุมการเบิกจ่าย(รบ.301),
เน
เอกสารเบิกจ่ายยาหรือฐานข้อมูลในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งต้องสอดคล้องสัมพันธ์กัน
มีการบันทึกหลักฐานการตรวจสอบอย่างสม่ําเสมอทุกรอบเบิก
 การตรวจสอบห้องจ่ายยาประจําวัน เป็นการตรวจสอบจํานวนการเบิกที่สอดคล้องกับ
อัตราการใช้ โดยตรวจสอบจากใบเบิ กเวชภั ณ ฑ์ จ ากคลั งในช่วงเวลาหนึ่ ง ตรวจสอบ
จํานวนเวชภัณฑ์ท่จี ่ายไปในช่วงเดียวกันจากใบสั่งยาและหลักฐานการจ่ายอื่น ๆ ทั้งหมด
ซึ่งต้องสอดคล้องสัมพันธ์กัน
ส� ำ
 การตรวจสอบรุ่นผลิตหรือวันหมดอายุ เพื่อดูว่าการเบิกยา การจัดเก็บยา เป็นไปตาม
หลักการ FEFO (First Expire date-First Out) หรือไม่

5.2 การรายงานข้อมูลด้านการบริหารเวชภัณฑ์
รายงานข้อมูลด้านการบริหารเวชภัณฑ์ จะต้องดําเนินการให้มีและเก็บไว้เป็นหลักฐาน มีดังนี้
1) รายงานรายการและมูลค่าเวชภัณฑ์คงคลังประจําเดือน
ให้ดําเนินการให้เสร็จสิ้นภายใน 30 วัน ตามหลักการและมาตรการปฏิรูประบบบริหารเวชภัณฑ์และ
การพั ฒ นาประสิท ธิภาพระบบบริหารเวชภั ณ ฑ์ กระทรวงสาธารณสุข และให้ ห น่วยงานในสังกัดกระทรวง
สาธารณสุขลดการสํารองยาและเวชภัณฑ์ในคลังเวชภัณฑ์ของหน่วยงานให้คงเหลือไม่เกิน 3 เดือน ข้อมูลที่
รายงานประกอบด้วย
11 

คู  ่มือส�ำหรับเภสัชกรในการด�ำเนินงานเภสัชกรรมในหน่วยบริการปฐมภูมิ 11
 มูลค่ายาและเวชภัณฑ์คงเหลือยกมาจากเดือนก่อนหน้านี้
 มูลค่าการรับยาและเวชภัณฑ์ประจําเดือน
 มูลค่าการเบิกจ่ายยาและเวชภัณฑ์ประจําเดือน
 มูลค่าคงคลังประจําเดือน
2) รายงานรายการและมูลค่าคงคลังประจําปี ให้ดําเนินการให้เสร็จสิ้นหลังจากสิ้นเดือนกันยายนของ
ทุ ก ปี ภ ายใน 30 วัน ทั้ งนี้ ให้ มี การแต่ งตั้ งคณะกรรมการตรวจพั ส ดุค งคลังประจําปี และทํ าบั นทึ ก
รายงานผลการตรวจให้ผู้บังคับบัญชาทราบด้วย
3) รายงานการใช้ยากลุ่มพิ เศษ ได้แก่ ยาควบคุมพิเศษ, ยาเสพติดให้ โทษ, วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและ
ประสาทให้โรงพยาบาลแม่ข่าย ทุกเดือน(ถ้ามี)


สรุปกรอบการทํางานด้านการบริหารเวชภัณฑ์ดูจากแผนภูมิที่ 1

เน
ส� ำ
12 

 
12
ภาพที่ 1 กรอบการทํางานในการบริหารเวชภัณฑ์ในหน่วยบริการปฐมภูมิ

การกําหนดนโยบาย การกําหนดความต้องการ การจัดหายาและเวชภัณฑ์ การบริหารจัดการ


ด้านการบริหารเวชภัณฑ์ และอัตราคงคลัง 1) การเบิกจ่ายเวชภัณฑ์จาก คลังเวชภัณฑ์
1. กําหนดกรอบบัญชีรายการ 1. การกําหนดความต้ องการ โรงพยาบาลแม่ข่าย 1. สถานที่และการเก็บรักษา
และการกําหนดอํานาจใน 2. กําหนดอัตราคงคลัง 2) การตรวจรับเวชภัณฑ์ เวชภัณฑ์
การสั่งใช้ ยาของสถาน 2. เครื่องมือที่ใช้ ควบคุมคลัง
บริการปฐมภูมิ เวชภัณฑ์
3. ขั้นตอนและวิธกี ารบริหาร
2. กําหนดนโยบายในการ จัดการคลังเวชภัณฑ์
บริหารบริหารเวชภัณฑ์
ของหน่วยบริการปฐมภูมิ
ส� ำ
รายงานและการประเมินผล
เน
การดําเนินงานภายใน
1. การประเมินภายในการบริหาร
เวชภัณฑ์ของหน่วยบริการปฐมภูมิ
2. การรายงานข้ อมูลด้ านการบริหาร

คู่มือส�ำหรับเภสัชกรในการด�ำเนินงานเภสัชกรรมในหน่วยบริการปฐมภูมิ

เวชภัณฑ์
13 

 
คู่มือส�ำหรับเภสัชกรในการด�ำเนินงานเภสัชกรรมในหน่วยบริการปฐมภูมิ 13
เอกสารอ้างอิง
1. กระทรวงสาธารณสุข. แบบประเมินตนเองการดําเนินการตามมาตรฐานงานบริการเภสัชกรรมปฐมภูมิ
ระดับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบล/ศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง. 2558.
2. สํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. มาตรการในการดําเนินการและกํากับดูแลในการบริหารจัดการด้าน
ยาของโรงพยาบาล [Internet]. 2555. Available from:
http://203.157.162.13/~fda/uploads/drug/4214.pdf
3. กระทรวงสาธารณสุข. มาตรการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารเวชภัณฑ์ของหน่วยบริการสังกัดกระทรวง
สาธารณสุข ปีงบประมาณ 2557 [Internet]. 2557. Available from:
http://www.rayongfda.org/download/ED_20012557110153.pdf
4. สํานักนายกรัฐมนตรี. ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม


[Internet]. Available from: http://regu.tu.ac.th/quesdata/Data/O41.pdf
เน
ส� ำ
14 คู่มือส�ำหรับเภสัชกรในการด�ำเนินงานเภสัชกรรมในหน่วยบริการปฐมภู14 
มิ
14 
 
 
การบริบาลเภสัชกรรมในหน่วยบริการปฐมภูมิ
การบริบาลเภสั
การบริบาลทางเภสัชกรรมในหน่ วยบริกชารปฐมภู
กรรมในหน่
มิ อาศัวยยบริ
หลักกการและแนวคิ
ารปฐมภูมิ ดของการบริบาลทางเภสัช
กรรม ซึการบริ
่งเป็นการดํบาลทางเภสั
าเนินงานชกรรมในหน่ เพื่อค้นหาปัวยบริ ญหาที การปฐมภู
่เกี่ยวข้อมงกัิ อาศั
บยายดํหลัาเนิ
กการและแนวคิ
นการแก้ไข หรืดอของการบริป้องกันปัญบหาที าลทางเภสั
่เกี่ยวกับช
กรรม
ยา (Drug ซึ่งเป็- นRelated
การดําเนิProblems,
นงาน เพื่อค้DRP) นหาปัในกระบวนการใช้
ญหาที่เกี่ยวข้องกับยาของผู ยา ดําเนิ้ป่วนยการแก้
ซึ่งจะส่ไขงเสริ
หรือมป้ให้อผงกัู้ปน่วยบรรลุ
ปัญหาทีเป้่เกีา่ยหมายวกับ
ยา (Drugก-ษาด้
ของการรั Related
วยยา ได้ Problems,
แก่ DRP) ในกระบวนการใช้ยาของผู้ป่วย ซึ่งจะส่งเสริมให้ผู้ป่วยบรรลุเป้าหมาย
ของการรั กษาด้วยยา ได้
1. หายจากโรคที ่เป็แนก่อยู่
1.
2. หายจากโรคที
อาการของโรคที ่เป็่เนป็อยู
นอยู่ ่ลดลงหรือหมดไป
2.
3. อาการของโรคที
การดําเนินโรคช้า่เป็ลงนอยู่ลดลงหรือหมดไป
3.
4. การดํ
ป้องกัานเนิโรค นโรคช้
หรือาภาวะอาการของโรค
ลง


4.
5. ป้ผู้ปอ่วงกัยมีนโรค หรือภาวะอาการของโรค
คุณภาพชี วิตที่ดีขึ้น
5.กล่ ผู้ปา่ววโดยสรุ
ยมีคุณภาพชี วิตที่ดีขึ้น บาลทางเภสัชกรรมในหน่วยบริการปฐมภูมิ เภสัชกรจะมีหน้าที่หลัก 3
ปในกระบวนการบริ
ด้าน ได้กล่
เน
แก่าวโดยสรุปในกระบวนการบริบาลทางเภสัชกรรมในหน่วยบริการปฐมภูมิ เภสัชกรจะมีหน้าที่หลัก 3
ด้าน1.ได้แค้ก่นหาและประเมินปัญหาที่เกีย่ วข้องกับยา ประเมินสภาพปัญหาว่ามีความรุนแรงอย่างไร เป็นปัญหาที่
1. ค้เกินดหาและประเมิ
ขึ้นแล้ว หรือมีนแปันวโน้ ญหาที ่เกีย่ วข้ดขึอ้นงกัมีบผยาลต่ประเมิ
มจะเกิ อแผนการรันสภาพปั
กษาด้ญวหาว่ ามีคาวามรุ
ยยาอย่ งไร นแรงอย่างไร เป็นปัญหาที่
2. แก้ เกิดไขึขปั้นแล้ ว หรื่เกิอดมีขึแ้นนวโน้
ญหาที แล้ว มจะเกิดขึ้น มีผลต่อแผนการรักษาด้วยยาอย่างไร
2. ป้แก้อไงกัขปันญปัหาที
3. ญหาที ่เกิ่มดีแขึนวโน้
้นแล้วมจะเกิดขึ้น
3. ขั้นป้ตอนการบริ
องกันปัญหาที ่มีแนวโน้มจะเกิ
บาลทางเภสั ชกรรมในหน่ดขึ้น วยบริการปฐมภูมิ สามารถดําเนินการได้หลากหลายรูปแบบ
ส� ำ
ขั้นพตอนการบริ
ขึ้นกับทรั ยากรที่มีอบยู่าลทางเภสั ทั้งทรัพยากรบุ ชกรรมในหน่ คคล เวลา วยบริ การปฐมภู
และเครื ่องมือมต่ิ สามารถดํ
างๆ ที่ช่วายสนั เนินบการได้ หลากหลายรู
สนุนการปฏิ บัติงานปแบบ อาจ
ขึ้นกับกทรัต์ พใช้ยากรที
ประยุ ่มีอยู่ ทัา้งงานที
ร ะบบการทํ ทรัพยากรบุ
่ เรี ย กว่ าคคล เวลา และเครืWork
Pharmacist’s ่องมือต่upางๆofทีDrug ่ช่วยสนัTherapy
บสนุนการปฏิ บัติงาน
(PWDT) อาจน
ซึ่ ง เป็
ประยุ
ระบบทีก่ชต์่วใช้ยให้ ร ะบบการทํ
เภสัชกรมีกา งานที รอบแนวคิ ่ เรี ย กว่ า Pharmacist’s
ดในการเฝ้ าระวังและค้ Work
นหาปัupญหาที of Drug Therapyยาในผู
่เกิดจากการใช้ (PWDT)
้ป่วย ซึโดยนํ ่ ง เป็ นา
ระบบที
ข้อมูลที่เชกี่ว่ยยให้
วข้อเภสั
งกับชผูกรมี
้ป่วยกรอบแนวคิ
ยา และโรคอย่ ดในการเฝ้
างรอบด้าระวั าน งมาพิ
และค้ นหาปัวญมกัหาที
จารณาร่ นเพื่เกิ่อดเฝ้จากการใช้
าระวังและแก้ ยาในผู ไขปั้ปญ่วยหาการใช้
โดยนํา
ข้ยาในผู
อมูลที้ป่เกี่ว่ยยแต่
วข้อลงกั บผู้ปPWDT
ะราย ่วย ยา และโรคอย่ างรอบด้าน มาพิจาารณาร่
เป็นเหมือนแนวทางในการทํ งาน หรื วมกั นเพื่อเฝ้าระวังและแก้
อกระบวนความคิ ดของเภสั ไขปัญชกรในงาน
หาการใช้
ยาในผู ้ป่วยแต่านการบริ
ทํางานทางด้ ละราย PWDT บาลทางเภสั เป็นเหมื ชกรรมอนแนวทางในการทํ
ทําให้เภสัชกรสามารถที างาน หรื่จอะบริกระบวนความคิ
หารข้อมูลของผู ดของเภสั ชกรในงาน
้ป่วยในเรื ่องต่างๆ
ทํประกอบด้
างานทางด้ วยานการบริบาลทางเภสัชกรรม ทําให้เภสัชกรสามารถที่จะบริหารข้อมูลของผู้ป่วยในเรื่องต่างๆ
ประกอบด้
1. ลําวดัยบความสําคัญของปัญหาจากการใช้ยาในผู้ป่วยแต่ละราย
1.
2. ลํกําดัหนดเป้
บความสํ าคัญของปัญหาจากการใช้
าหมายของการแก้ ปัญหาด้านยาให้ ยาในผูผ้ปู ่วยแต่
ย ละราย
2.
3. กํคัาดหนดเป้ าหมายของการแก้ปัญปัญหาด้
เลือกแนวทางในการแก้ หาด้านยาที
านยาให้ ผู้ป่วย บผูป้ ่วยแต่ละราย
่เหมาะสมกั
3. วางแผนการแก้
4. คัดเลือกแนวทางในการแก้ ปัญหา การติปัญดตามผลลั หาด้านยาที พธ์ ่เและการติ
หมาะสมกัดบตามต่
ผูป้ ่วยแต่
อเนืล่อะราย

4. กํวางแผนการแก้
5. าหนดตัวแปรหรื ปัญอหา เครืการติ
่องชี้วดั ตามผลลั พธ์ และการติดตามต่
ที่ใช้ในการวางแผนการดู แลและเฝ้ อเนื่อางระวังปัญหาของผู้ป่วย
5. กําหนดตัวแปรหรือเครื่องชี้วัดที่ใช้ในการวางแผนการดูแลและเฝ้าระวังปัญหาของผู้ป่วย
15 

คู  ่มือส�ำหรับเภสัชกรในการด�ำเนินงานเภสัชกรรมในหน่วยบริการปฐมภูมิ 15
กลุ่มผู้ป่วยที่อาจได้รับการพิจารณาให้การบริบาลทางเภสัชกรรมในระดับปฐมภูมิ ได้แก่ ผู้ป่วยเฉพาะ
โรค / กลุ่ม ได้แก่กลุ่มโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคไตเรื้อรัง หอบหืด ปอดอุดกั้นเรื้อรัง
หรือ ผู้ป่วยที่ได้รับยาฉีดอินซูลิน ยาพ่นสูดชนิดต่างๆ เป็นต้น โดยอาจพิจารณาในผู้ป่วยรายใหม่ หรือราย
เก่าที่มีหรือสงสัยว่าจะมีปัญหาจากการใช้ยา

การประยุกต์กระบวนการทํา PWDT มาใช้ในการบริบาลเภสัชกรรมในหน่วยบริการปฐมภูมิ ประกอบด้วย


6 ขั้นตอน คือ
1. การรวบรวมข้อมูลของผูป้ ่วย (Patient Database)
เป็นการรวบรวมข้อมูลพื้นฐานที่จําเป็นเกี่ยวกับผู้ป่วย กรณีเป็นผู้ป่วยที่สงต่อ ข้อมูลส่วนหนึ่งถูก


ส่งต่อมาพร้อมกับผู้ป่วยให้เพียงพอต่อการดูแลผู้ป่วย อาจมีการจัดระบบเพื่อให้มีการเข้าถึงข้อมูลของผู้ป่วยโดย
เภสัชกรในหน่วยบริการปฐมภูมิกรณีที่ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมในการดูแลผู้ป่วย ข้อมูลแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ
1.1 ข้อมูลพืน้ ฐานของผูป้ ่วย (Base-line Patient’s characteristics)
เน
1.1.1 ข้อมูลทัว่ ไปของผูป้ ่วย
1) ชื่อผู้ป่วย registration number (HN)
2) อายุ เพศ เชื้อชาติ น้ําหนัก ส่วนสูง ใช้พิจารณาในเรื่องของปั จจัยเสี่ยงในการเกิดอาการ
ข้างเคียงจากการใช้ยาการ metabolize และ elimination ของยาบางรายการการหาขนาดยาที่
เหมาะสมสําหรับผู้ป่วยแต่ละราย โดยเฉพาะผู้ป่วยที่อ้วนมาก ผู้ป่วยเด็กหรือผู้ป่วยโรคมะเร็งที่
รักษาด้วย Chemotherapy
ส� ำ
1.1.2 ข้อมูลทางสังคม
ข้อมูลส่วนนี้มคี วามสําคัญสําหรับการดูแลผูป้ ่วยต่อเนื่อง เป็นข้อมูลทางสังคมของผู้ป่วย ซึ่งข้อมูล
บางอย่างมีผลต่อการใช้ยาของผู้ป่วย ข้อมูลเชิงสังคมเหล่านี้เป็นข้อมูลที่หน่วยบริการทุติยภูมิหรือตติยภูมิไม่
สามารถเข้าถึง หรือเข้าถึงได้น้อย ดังนั้นจึงเป็นบทบาทของเภสัชกรในหน่วยบริการปฐมภูมิในการรวบรวม
และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของข้อมูลกับปัญหาการใช้ยาของผู้ป่วย ได้แก่
1) อาชีพ
2) ฐานะทางเศรษฐกิจ
3) สุขอนามัย สิ่งแวดล้อม ที่อยูอ่ าศัยของผู้ป่วย
4) ความสัมพันธ์ของผู้ป่วยกับคนในครอบครัว
5) ความสัมพันธ์ของผู้ป่วยและคนในชุมชน
6) ประวัติการดื่มเหล้า การสูบบุหรี่
7) พฤติกรรมการรับประทานอาหาร
8) ระดับความเครียด หรือความวิตกกังวลของผู้ป่วยและครอบครัว
16 

16
  คู่มือส�ำหรับเภสัชกรในการด�ำเนินงานเภสัชกรรมในหน่วยบริการปฐมภูมิ

9) ผู้ทําหน้าที่ดูแลผู้ป่วย
1.1.3 ข้อมูลผลการตรวจร่างกาย และ ผลทางห้องปฏิบตั ิการของระบบต่างๆ ทีเ่ กี่ยวข้องในการดูแล
เภสัชกรควรมีทักษะในการสังเกตอาการผิดปกติของผู้ป่วยที่เกี่ยวเนื่องจากการใช้ยา โดยอาศัยข้อมูล
ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการเป็นเพียงส่วนประกอบในการตัดสินใจ เนื่องจากบริบทของปฐมภูมิ ไม่ได้เปิด
โอกาสให้มีการเข้าถึงข้อมูลผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการมากนัก (ยกเว้นว่ามีระบบการในการเข้าถึง เช่น
internet) โดยอาการแสดงต่างๆ มีความสัมพันธ์อย่างไรกับการใช้ยา ได้แก่
1) อาการแสดงที่บ่งถึงการตอบสนองต่อยาที่ใช้ในการรักษา
2) อาการแสดงที่บ่งถึงพิษหรือฤทธิ์ที่ไม่พึงประสงค์จากยาที่ใช้ในการรักษา
3) ความผิดปกติของร่างกายที่อาจมีผลต่อการจัดการของยาในร่างกาย
4) ความผิดปกติของร่างกายที่เป็นข้อบ่งชี้ถึงความจําเป็นในการใช้ยาในการรักษา


1.2 ข้อมูลการรักษาด้วยยาของผู้ป่วย (Patient’s Pharmacotherapy)
เน
1.2.1 ประวัตกิ ารเจ็บป่วยในอดีตและการรักษา
ประวัติการเจ็บป่วยในอดีต รวมถึงการรักษาและการตอบสนองต่อการรักษาจากประวัติการเจ็บป่วย
ในอดีต หรือประวัติการใช้ยา มีผลต่อประสิทธิภาพของยาหรือเป็นข้อห้ามใช้ หรือข้อควรระวังในการใช้ยาบาง
ชนิดหรือไม่
1.2.2 ความร่วมมือในการใช้ยา
ความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วยเป็นผลจากปัจจัยทั้งจากตัวผู้ป่วยเอง และจากสิง่ แวดล้อมที่เป็น
ผลกระทบทางอ้อม เช่น คําบอกเล่าเกี่ยวกับอาการไม่พึงประสงค์ของยาของคนในชุมชน หรือผู้ป่วยที่ใช้ยา
ส� ำ
แบบเดียวกันที่อาจมีผลทําให้ผู้ป่วยรู้สึกกลัว และกังวลกับการใช้ยาของตนเอง ทําให้ไม่ยอมใช้ยา เภสัชกรใน
หน่วยบริการปฐมภูมิเป็นผู้ที่อยู่ใกล้ชิดกับปัญหานี้มากกว่าการบริการในทุติยภูมิหรือตติยภูมิ จึงมีบทบาทสูงใน
การรวบรวมข้อมูลเหล่านี้เพื่อนํามาวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วย
1.2.3 ประวัตกิ ารแพ้ยาและผลิตภัณฑ์อนื่ ๆ
ผู้ป่วยมีประวัติการแพ้ยา หรืออาหารหรือผลิตภัณฑ์อื่นๆ หรือไม่ อย่างไร ลักษณะการแพ้เป็นอย่างไร
1.2.4 ประวัตกิ ารใช้ยาและพฤติกรรมการใช้ยาของผูป้ ่วยและครอบครัว
ประวัติการใช้ยาของผู้ป่วย และพฤติกรรมการใช้ยาของผู้ป่วย มีผลโดยตรงต่อประสิทธิภาพของยา
หรือการตอบสนองต่อยาที่ใช้ โดยเฉพาะผลทางอันตรกิริยาระหว่างยา (Drug interaction; DI) ข้อมูลประวัติ
การใช้ยาจากสถานบริการระดับทุติยภูมิหรือตติยภูมิมักเป็นประวัติการใช้ยาที่เกิดขึ้นในสถานบริการระดับทุติย
ภูมิหรือตติยภูมิ ส่วนข้อมูลการใช้ยาอื่นๆ ของผู้ป่วยโดยเฉพาะการซื้อการกินเอง หรือยาที่ได้จากการรับบริการ
ในสถานบริการอื่นๆ นอกจากสถานบริการระดับทุติยภูมิหรือตติยภูมิ มักเป็นประวัติที่หน่วยบริการทุติยภูมิ
หรือตติยภูมิเข้าถึงได้น้อย ดังนั้นเภสัชกรในภาคปฐมภูมิจะมีบทบาทสูงในการเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้และนํามา
วิเคราะห์ เพื่อประเมินว่ามีผลต่อปัญหาด้านยาของผู้ป่วยที่เกิดขึ้นหรือไม่
17 

คู  ่มือส�ำหรับเภสัชกรในการด�ำเนินงานเภสัชกรรมในหน่วยบริการปฐมภูมิ 17
1.2.5 ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่สําคัญคือผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่ใช้บ่งชี้ประสิทธิภาพ และ
พิษจากการใช้ยา เนื่องจากการเข้าถึงบริการทางห้องปฏิบัติการในระดับปฐมภูมิมีข้อจํากัด จึงต้องใช้การสังเกต
อาการแสดงของผู้ป่วย ช่วยบ่งชี้ว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้น เพื่อช่วยในการเฝ้าระวังปัญหาจากการใช้ยาได้
มากกว่า
1.2.6 รายการยาที่ผปู้ ่วยได้รบั ควรพิจารณาถึง
1) ข้อบ่งใช้ของยา เช่น อาการแสดงของผู้ป่วย หรือสภาวะของโรคของผู้ป่วย
2) ประสิทธิภาพในการรักษา
3) ขนาดของยาเหมาะสมหรือไม่
4) รูปแบบของการให้ยาเหมาะสมหรือไม่


5) มี Drug - Drug Interaction หรือ Drug - Disease Interaction หรือไม่
6) มีการใช้ยาซ้ําซ้อนที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ หรืออาจทําให้เกิดผลเสียต่อผูป้ ่วยหรือไม่
เน
7) ระยะเวลาในการใช้ยาเหมาะสมหรือไม่
8) ค่าใช้จ่ายในการรักษาเหมาะสมหรือไม่
9) ยาที่ใช้มีผลต่อระบบใดของร่างกายบ้าง และอย่างไร
1.2.7 การยอมรับในการรักษา
ผู้ป่วยมีความเข้าใจและยอมรับในการรักษามากน้อยเพียงไร การยอมรับหรือปฏิเสธการรักษาของ
ผู้ป่วยมักมีเหตุผลมาจากความไม่รู้ ไม่เข้าใจเกี่ยวกับแบบแผนการรักษา ผลที่จะเกิดขึน้ จากการรักษา และมี
เหตุผลเชิงสังคมที่ทําให้ผู้ป่วยยอมรับหรือปฏิเสธการรักษา การทําความเข้าใจผู้ปว่ ยอย่างรอบด้านจะช่วย
ส� ำ
พิจารณาปัญหาได้รอบคอบและแก้ปัญหาให้ผู้ป่วยได้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ป่วยมากที่สุด
1.3 กระบวนการดําเนินโรคของผู้ป่วย (Patient disease process)
1.3.1 อาการแสดงของผู้ปว่ ยในปัจจุบัน (Chief complaint; CC)
การสังเกตอาการแสดงของผู้ป่วย และการฝึกทักษะในการประเมินอาการแสดงเหล่านั้นว่ามี
ความสัมพันธ์กับยาที่ผู้ป่วยใช้อยู่หรือไม่ จะช่วยในการเฝ้าระวัง และแก้ปัญหาการใช้ยาของผู้ป่วยได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ ข้อพิจารณาในเรื่องนี้ ได้แก่
1) ความสัมพันธ์ระหว่างอาการสําคัญของผู้ป่วยกับยาที่ใช้ในการรักษาเป็นอย่างไร
2) อาการสําคัญดังกล่าวเป็นปัญหาที่เกิดจากยาหรือไม่
3) อาการสําคัญดังกล่าวต้องการใช้ยาในการรักษาหรือไม่
4) อาการสําคัญดังกล่าวต้องการเปลี่ยนแปลงยาที่ใช้รักษาหรือไม่
1.3.2 ประวัตกิ ารเจ็บป่วยในอดีต (History of Present illness; HPI)
ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่เหมาะสมต่อภาวะ การเจ็บป่วยในครั้งนี้หรือไม่ จากปัญหาของผู้ป่วยบ่งบอกถึง
ข้อห้ามใช้และข้อควรระวังในการใช้ยาอื่นๆอย่างไร และมีผลต่อยาที่ใช้ ในแง่ของ ประสิทธิภาพของยา การดูด
18 

18
  คู่มือส�ำหรับเภสัชกรในการด�ำเนินงานเภสัชกรรมในหน่วยบริการปฐมภูมิ

ซึม การกระจายยา การเปลี่ยนแปลงยาในร่างกายและการกําจัดยาออกจากร่างกาย หรือไม่อย่างไร อาการ


เจ็บป่วยในอดีต สัมพันธ์กับอาการเจ็บป่วย ณ ปัจจุบันหรือไม่ อย่างไร โดยเฉพาะอาการที่บ่งว่าผู้ป่วยอาจมี
อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาที่อาจเกิดซ้ําได้
1.3.3 ประวัตกิ ารใช้ยาของผู้ป่วยในอดีต (Past Medication History; PMH)
ประวัติการเจ็บป่วยในอดีตของผู้ป่วยเคยได้รับการรักษาด้วยยาอะไรบ้าง อย่างไร ผลการตอบสนอง
เป็นอย่างไร ยาที่เคยได้รับมีผลต่อการใช้ยาในปัจจุบันอย่างไร มีการเปลี่ยนแบบแผนการใช้ยาในผูป้ ่วยรายนี้
อย่างไร ด้วยเหตุผลอะไร มีข้อห้ามการใช้ยาอะไรบ้าง
1.3.4 การวินจิ ฉัยโรค (Diagnosis / Provisional Dx)
1) ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยว่าอย่างไร จําเป็นต้องให้การรักษาด้วยยาหรือไม่ หรือการวินิจฉัยดังกล่าว
เกี่ยวข้องกับยาอย่างไร ผลการวินิจฉัยมีสาเหตุมาจากยาใช่หรือไม่


2) ปัญหาดังกล่าวเกิดจากการใช้ยาที่ไม่เหมาะสมหรือไม่อย่างไร
3) ภาวะของโรคมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของยาในร่างกายหรือไม่อย่างไร
เน
4) การยอมรับในการดําเนินไปของโรค (Patient’s perception of the disease process)
การทําความเข้าใจกับผู้ป่วยถึงการดําเนินโรคจะทําให้ผู้ป่วยเข้าใจภาวะ การเจ็บป่วยของตนเอง และ
เตรียมพร้อมกับสภาวะต่างๆ ที่จะเกิดกับตนเอง การที่ผปู้ ่วยรู้และเข้าใจเกี่ยวกับการดําเนินโรคของตนเองเป็น
ส่วนหนึ่งในการส่งเสริมความร่วมมือในการรักษาของผู้ป่วย
2.การวินิจฉัยปัญหาและสาเหตุที่เกี่ยวเนือ่ งกับการใช้ยา (Patient specific Drug related problem
(DRP) list)
ส� ำ
โดยทั่วไปผู้ป่วยที่ได้รับการส่งต่อมาจากหน่วยบริการทุติยภูมิ หรือตติยภูมิจะได้รับการวินิจฉัยปัญหา
ด้านยามาพร้อมกับการส่งต่อเพื่อดูแล เป็นปัญหาที่คัดกรองในหน่วยบริการทุติยภูมิ หรือตติยภูมิแล้วไม่
สามารถแก้ไขด้วยกระบวนการบริบาลทางเภสัชกรรมในสถานบริการระดับนั้น หรือได้รับการแก้ไขแต่ไม่สิ้นสุด
กระบวนการจําเป็นต้องจําหน่ายและมีการดูแลต่อเนื่อง เช่น ปัญหาความร่วมมือในการใช้ยา ปัญหาผู้ป่วยไม่
สามารถใช้ยาด้วยตัวเองแต่ไม่มีผู้ดูแล เป็นต้น ปัญหาเหล่านี้มักมีสาเหตุทางสังคมมากกว่าทางคลินิก ดังนั้นการ
วินิจฉัยปัญหา และสาเหตุของปัญหาเภสัชกรในระดับปฐมภูมิควรให้ความสําคัญกับข้อมูลทางสังคม พฤติกรรม
จิตวิทยา เพิ่มขึ้นจากข้อมูลทางคลินิก เพื่อใช้ประกอบการวินิจฉัย และระบุสาเหตุของปัญหาได้ชัดเจน ซึ่งจะ
นําไปสู่การวางแผนการแก้ปญ ั หาที่ถูกต้อง ปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกับการใช้ยาที่มักพบในระดับปฐมภูมิ ดังนี้
2.1 การหยุดทานยา หรือปรับขนาดยาเอง
2.2 การใช้ยาหรือผลิตภัณฑ์สุขภาพอื่นร่วมกับยาที่ได้รับตามแผนการรักษา เช่น การใช้สมุนไพร
อาหารเสริม ยาจากหน่วยบริการอื่น
2.3 การลืมทานยาหรือการไม่ใช้ยาตามแผนการรักษา หรือปรับแบบแผนการใช้ยาเอง
2.4 ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่คุกคามการเจ็บป่วย หรือมีผลต่อการใช้ยา เช่น สภาพที่อยู่อาศัย
19 

คู  ่มือส�ำหรับเภสัชกรในการด�ำเนินงานเภสัชกรรมในหน่วยบริการปฐมภูมิ 19
2.5 ผู้ป่วยมีความบกพร่องทางสายตา อ่านหนังสือไม่ออก
2.6 ผู้ป่วยมีความเชื่อส่วนตัว มีความเครียดหรือความวิตกกังวล ที่มีผลต่อการดําเนินของต่อโรคและ
การใช้ยา
2.7 ผู้ป่วยที่ได้รับยาที่มีการบริหารแบบพิเศษ ต้องมีการฝึกและประเมินทักษะการใช้ยา
2.8 ผู้ป่วยไม่สามารถบริหารยาโดยวิธีปกติตามรูปแบบยาแต่ละชนิดได้ เช่น ไม่สามารถกลืนยาเม็ดได้
ไม่สามารถฉีดยาด้วยตนเองได้ ป่วยเป็นอัมพฤติ อัมพาต ใส่เครื่องช่วยหายใจ เป็นต้น
2.9 ผู้ป่วยที่มปี ัญหาเกี่ยวกับการใช้ยาแต่ไม่มีผู้ดูแล
2.10 การเก็บรักษาและการจัดการด้านยาที่ไม่เหมาะสม
2.11 ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดพิษจากยา มีความผิดปกติของอวัยวะที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลง
ยาในร่างกาย เช่น ผู้ป่วยไตวายเรื้องรัง ผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ใช้ยาเคมีบําบัด ผู้ป่วยโรคตับอักเสบ มะเร็ง


ตับ
2.12 ผู้ป่วยที่ได้รับยาที่มี therapeutic index แคบ มีความเสี่ยงต่อการเกิดพิษจากยา ต้องติดตาม
เน
ต่อเนื่อง เช่น ผู้ป่วยใช้ยา warfarin

3. การกําหนดเป้าหมายการแก้ปญ
ั หาการใช้ยา (Desired outcomes for each drug related
problem)
การกําหนดเป้าหมายในการแก้ปัญหาที่เกีย่ วเนื่องกับการใช้ยาของผู้ป่วยในระดับปฐมภูมิมีหลักในการ
พิจารณาดังนี้
ส� ำ
3.1 เป้าหมายด้านผลการรักษา และความปลอดภัยด้านยาที่ดีที่สุดที่สอดคล้องกับบริบทของผู้ป่วยแต่
ละราย
3.2 เป้าหมายด้านความร่วมมือของญาติ ครอบครัว และชุมชน ที่เข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาให้
ผู้ป่วย
4. การกําหนดวิธกี ารแก้ปัญหา (Choose the best solution for each drug related problem)
การเลือกวิธีการแก้ปัญหาที่เกีย่ วเนื่องกับการใช้ยาในผู้ป่วยแต่ละรายอาจไม่สามารถแก้ปญ
ั หาด้วยวิธีการ
ใดวิธีการหนึ่ง เหมือนการแก้ปัญหาการใช้ยาในการบริบาลเภสัชกรรมในสถานบริการระดับทุติยภูมิ หรือตติย
ภูมิ (ที่แก้ปัญหาโดยการปรับแผนการรักษา หรือเปลี่ยน regimen ในการรักษา) วิธีการแก้ปัญหาที่เกี่ยวเนื่อง
กับการใช้ยาในระดับปฐมภูมิ ได้แก่
4.1 การให้คําปรึกษารายกลุ่ม เพื่อให้ได้รับความรู้ความเข้าใจเรื่องการใช้ยาอย่างถูกต้อง เหมาะสม
สัมพันธ์กับวิถชี ีวิต กิจวัตรประจําวัน โดยประเด็นในการให้ความรูเ้ ชิงกลุ่มด้านเภสัชกรรม ได้แก่
1) การใช้ยารักษาในโรคที่ผู้ป่วยเป็นอยู่
2) การออกฤทธิ์ของยาแต่ละกลุ่ม
20 

20
  คู่มือส�ำหรับเภสัชกรในการด�ำเนินงานเภสัชกรรมในหน่วยบริการปฐมภูมิ

3) ขนาดที่ใช้
4) การรับประทานยาในเหตุการณ์ปกติ หรือกรณีลืมรับประทานยา
5) อาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น การสังเกตตัวเอง การป้องกัน และการแก้ไขเบื้องต้น
4.2 การให้คําปรึกษาเฉพาะราย ได้แก่
1) ประเด็นการใช้ยาในโรคประจําตัวทั่วไป เช่น ยาลดน้ําตาลในเลือด ยาลดความดันโลหิต ยาที่
ให้แก่ผู้ป่วยเพื่อรักษาโรคหรือภาวะแทรกซ้อน โดยให้คําปรึกษาเพื่อแก้ไขปัญหาให้เหมาะสม
สําหรับผู้ป่วยแต่ละราย
2) การให้ความรู้ / คําปรึกษาแนะนําการใช้ยาเทคนิคพิเศษต่าง ๆ หรือยาที่มีความเสี่ยงสูง ได้แก่
3) ให้คําปรึกษาแนะนําการใช้ยาพ่นสูด ยาฉีดอินซูลิน ฯ
4) ให้คําปรึกษาแนะนําการใช้ยาเทคนิคพิเศษอื่น ๆ เช่น ยาหยอดตา ยาเหน็บ ยาพ่นจมูก เป็นต้น


5) ให้คําปรึกษาแนะนําการใช้ยา Warfarin
6) ให้คําปรึกษาแนะนําในผู้ป่วยที่ได้รับยาต้านไวรัสเอชไอวี / ยาต้านวัณโรค
เน
7) ให้คําปรึกษาแนะนําแก่ผู้ป่วยที่ได้รับยากันชัก Phenytoin
4.3 การดําเนินการเกี่ยวกับการเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากยา (ADRs)
1) การป้องกันการเกิด ADRs ในรายการยาทีม่ ีความเสี่ยงสูงแต่ยังไม่เกิดเหตุการณ์ขนึ้ ได้แก่ การ
ติดตามการเกิด Steven Johnson Syndromes (SJS) ในผู้ป่วยที่ได้รับยา Allopurinol , Anti-
epileptic drugs (AEDs) หรือ การเกิดภาวะบวม หัวใจวายในผู้ป่วยที่ได้รับยา Pioglitazone
หรือการติดตามอาการไม่พึงประสงค์ที่เกิดจากการได้รับยาที่มีปัญหาปฏิกิริยาต่อกัน เป็นต้น
2) การติดตามอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาในกรณีทเี่ กิดเหตุการณ์ขึ้นแล้ว ได้แก่
ส� ำ
 กรณีเป็นประวัติ ซักประวัติ ออกบัตรแพ้ยา และ / หรือ บันทึกข้อมูลลงเวชระเบียน
 กรณีเกิดเหตุการณ์ในปัจจุบนั ซักประวัติ ออกบัตรแพ้ยา บันทึกข้อมูลลงเวชระเบียน
และ เขียนรายงานเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา
4.4 ให้บริการเภสัชสนเทศเบื้องต้น ในกรณีที่พบคําถามหรือสถานการณ์ที่ต้องสืบค้นเพื่อให้ข้อมูลหรือ
ตอบคําถามทางเภสัชกรรมในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการรักษาผู้ป่วย

5. การประเมินผลการแก้ปัญหา (Outcome Monitoring)


เภสัชกรต้องมีการวางแผนติดตามผลการแก้ปัญหาในเรื่อง วิธีการประเมินผล ความถี่ และระยะเวลาที่ต้อง
ติดตามประเมินผล รวมทั้งทราบถึงข้อมูลที่จําเป็นในการประเมินการตอบสนองต่อแผนการแก้ปญ ั หา ทั้งนีใ้ ห้
สอดคล้องกับเป้าหมายของการแก้ปัญหา หลังจากที่ได้มีการแก้ปัญหา และติดตามประเมินผลแล้ว ถ้าปัญหา
ของผู้ป่วยยังคงมีอยู่ ขบวนการก็จะกลับสู่ขั้นตอนการทบทวนปัญหาจากการใช้ยาอีกครั้งหนึ่งจนกว่าปัญหา
ของผู้ป่วยจะแก้ไขได้
21 

คู  ่มือส�ำหรับเภสัชกรในการด�ำเนินงานเภสัชกรรมในหน่วยบริการปฐมภูมิ 21
6. การจําหน่ายผูป้ ่วยและการสือ่ สารข้อมูล (Discharge summary and communication)
ควรมีเกณฑ์ในการจําหน่ายผู้ป่วยออกจากการดูแล และมีการสื่อสารข้อมูลเกี่ยวกับการแก้ปัญหาต่างๆที่
พบ รวมถึงการสื่อสารผลการแก้ปัญหากับผู้เกี่ยวข้องในการวางแผนการรักษาและผลการตอบสนองของผู้ป่วย
ที่ได้ติดตาม เพื่อให้เกิดการเฝ้าระวังต่อเนื่องโดยผู้ดูแล และรายงานเมื่อพบว่าเกิดปัญหาขึ้นอีก ให้กับทีมหรือ
บุคลากรที่ต้องดูแลผู้ป่วยต่อเนื่องทั้งในหน่วยงานระดับสูงกว่า หรือในระดับครอบครัวและชุมชน
ผลลัพธ์ของงาน
ผู้ป่วยได้รับการดูแลต่อเนื่องด้านยา (เชื่อมต่อจากหน่วยบริการระดับสูงกว่า) ได้รับผลลัพธ์ที่ดีจากการ
รักษาด้วยยา และมีความปลอดภัยในการใช้ยา


ตัวชี้วัด
1. ร้อยละของผูป้ ว่ ยที่มีปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกับการใช้ยาที่ได้รับการดูแลต่อเนื่อง
= (จํานวนผู้ป่วยที่มีปัญหาเกีย่ วเนื่องกับการใช้ยาที่ได้รับการดูแลต่อเนื่อง) x 100
เน
จํานวนผูป้ ่วยที่คัดกรองแล้วอยู่ในเกณฑ์ที่ต้องดูแลต่อเนื่องทั้งหมด)
2. ร้อยละของผูป้ ว่ ยที่มีผลลัพธ์ที่ดีจากการรักษาด้วยยา
= (จํานวนผู้ป่วยที่มีผลลัพธ์ทดี่ ีจากการรักษาด้วยยา) x 100
จํานวนผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวเนื่องกับการรักษาด้วยยาที่ได้รับการดูแลต่อเนื่อง

หมายเหตุ ผลลัพธ์ที่ดีจากการรักษาด้วยยา อาจวัดผลลัพธ์ได้ทั้งผลลัพธ์ทางคลินิก ผลลัพธ์ทางเศรษฐศาสตร์


ส� ำ
และผลลัพธ์ทางคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย
22 
22 
22
   
คู่มือส�ำหรับเภสัชกรในการด�ำเนินงานเภสัชกรรมในหน่วยบริการปฐมภูมิ

ภาพที ่ 2 ่ กระบวนการทํ
ภาพที 2 กระบวนการทํา าPWDT
PWDT มาใช้ นการบริบบาลเภสั
มาใช้ในการบริ าลเภสัชกรรมในหน่
ชกรรมในหน่ วยบริ
วยบริ การปฐมภู
การปฐมภู มิ มิ

 ข้อข้มูอลมูพืล้นพืฐานของผู ้ป่วย้ป(Base-line
้นฐานของผู Patient’s
่วย (Base-line Patient’s
1.การรวบรวมข้ characteristics)
1.การรวบรวมข้ อมูลอของผู
มูลของผู
้ป่ว้ปย่ว(Patient
ย (Patient characteristics)
 ข้อมูลการรักษาด้วยยาของผู้ป่วย (Patient’s
Database)  ข้อมูลการรักษาด้วยยาของผู้ป่วย (Patient’s
Database) Pharmacotherapy)
Pharmacotherapy)
 กระบวนการดําเนินโรคของผู้ป่วย (Patient disease
 กระบวนการดําเนินโรคของผู้ป่วย (Patient disease
process(es))
2.การวินิจฉัยปัญหาและสาเหตุที่เกี่ยวเนื่องกับการใช้ process(es))
2.การวิ
ยาน(Patient
ิจฉัยปัญspecific
หาและสาเหตุ ที่เกี่ยวเนื
Drug related ่องกับ(DRP)
problem การใช้
ยา (Patient
list) specific Drug related problem (DRP) การให้คําปรึกษารายกลุ่ม– การใช้ยารักษาในโรคที่ผู้ป่วยเป็นอยู่
list) การให้
 คการออกฤทธิ
ําปรึกษารายกลุ ่ม– การใช้
ละกลุ่มยารักษาในโรคที่ผู้ป่วยเป็นอยู่


์ของยาแต่
 ขนาดที
การออกฤทธิ
่ใช้ ์ของยาแต่ละกลุ่ม
3. การกําหนดเป้าหมายการแก้ปัญหาการใช้ยา
(Desired outcomes for eachปdrug related ยproblem)
 การรั
ขนาดที ่ใช้
บประทานยา, กรณีลืมรับประทานยา
3. การกํ าหนดเป้ าหมายการแก้ ัญหาการใช้ า
เน
(Desired outcomes for each drug related problem)
 อาการข้
การรับางเคี
ประทานยา,
การให้คําปรึอาการข้
 คการใช้
การให้
ยงที่อาจเกิดกรณี
กษาเฉพาะราย
ขึ้น ลืมรับประทานยา
างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
ําปรึกยษาเฉพาะราย
าในโรคประจําตัวทั่วไป ยารักษาโรคหรือ
4. การกําหนดวิธีการแก้ปัญหา (Choose the best ภาวะแทรกซ้อน
 การใช้ยาในโรคประจําตัวทั่วไป ยารักษาโรคหรือ
solution for each drug related problem)  การให้ความรู้ / คําปรึกษาแนะนําการใช้ยาเทคนิคพิเศษ
4. การกําหนดวิธีการแก้ปัญหา (Choose the best
ต่าภาวะแทรกซ้
ง ๆ หรือยาทีอ่มนีความเสี่ยงสูง ได้แก่
solution for each drug related problem)  - ยาพ่
การให้
นสูดคยาฉี
วามรู
ดอิน้ สุ/ลคํินาฯปรึกษาแนะนําการใช้ยาเทคนิคพิเศษ
ส� ำ
- ยาหยอดตา
ต่าง ๆ หรืยาเหน็
อยาทีบ ่มยาพ่ นจมูก ่ยเป็งสู
ีความเสี นต้งน ได้แก่
- ยา Warfarin
5. การประเมินผลการแก้ปัญหา (Outcome - ยาพ่นสูด ยาฉีดอินสุลิน ฯ
- ผู้ป่วยที่ได้รับยาต้านเอชไอวี/ยาต้านวัณโรค
- ยาหยอดตา ยาเหน็บ ยาพ่นจมูก เป็นต้น
Monitoring) - ผู้ป่วยที่ได้รับยากันชัก Phenytoin
- ยา Warfarin
5. การประเมินผลการแก้ปัญหา (Outcome - ผู้ป่วยที่ได้รับยาต้านเอชไอวี/ยาต้านวัณโรค
Monitoring) การดําเนินการเกี
- ผู่ย้ปวกั่วยที
บการเกิ
่ได้รดับADRs
ยากันชัก Phenytoin
- การป้องกันการเกิด ADRs ในยาที่มีความเสี่ยงสูง
6. การจําหน่ายผู้ป่วยและการสื่อสารข้อมูล
- การติดตาม ADRs ในกรณีที่เกิดขึ้นแล้ว ได้แก่
(Discharge summary and communication) การดําเนิน- กรณี
การเกี เป็่ยนวกั
ประวั ติ ด ADRs
บการเกิ
- การป้องกันการเกิด ADRs ใในยาที
- กรณี เ กิ ดเหตุ ก ารณ์ นปัจจุบ่มันีความเสี่ยงสูง
6. การจําหน่ายผู้ป่วยและการสื่อสารข้อมูล
- การติดตาม ADRs ในกรณีที่เกิดขึ้นแล้ว ได้แก่
(Discharge summary and communication) - กรณีเป็นประวัติ
ให้บริการเภสัชสนเทศเบื้องต้น
- กรณีเกิดเหตุการณ์ในปัจจุบัน
เพื่อให้ข้อมูลหรือตอบคําถามทางเภสัชกรรมในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ
การรักษาผู้ป่วย
ให้บริการเภสัชสนเทศเบื้องต้น
เพื่อให้ข้อมูลหรือตอบคําถามทางเภสัชกรรมในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ
การรักษาผู้ป่วย
23 

คู  ่มือส�ำหรับเภสัชกรในการด�ำเนินงานเภสัชกรรมในหน่วยบริการปฐมภูมิ 23
เอกสารอ้างอิง
รุ่งทิวา หมื่นปา. Monitoring Patient’s Drug Therapy. ใน: ศิวพร วิญญา. คู่มือการติดตามการใช้ยาของ
ผู้ป่วยใน โรงพยาบาลลําปาง (Manual of Inpatient Pharmaceutical Care at Lampang Hospital).
พิมพ์ครั้งที่ 3. ลําปาง: กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลลําปาง; 2011. หน้า 18-23. เข้าถึงได้จาก:
http://www.pharmacy.cmu.ac.th/unit/unit_files/files_download/2012-01-
20Acute%20care%20manual%202011,%20LPH%20(1).pdf
 


เน
ส� ำ

 
24 คู่มือส�ำหรับเภสัชกรในการด�ำเนินงานเภสัชกรรมในหน่วยบริการปฐมภู24 
มิ
24 
 
 
งานส่งมอบยาและให้คําแนะนําการใช้ยา
การส่งมอบยา หมายถึงานส่ งมอบยาและให้
ง กระบวนการจ่ ายยาให้คํากแนะนํ าการใช้
ับผู้ป่วยแต่ ยา อมคําแนะนําที่จะทําให้การใช้
ละรายพร้
ยามีประสิการส่ ทธิภงาพปลอดภั
มอบยา หมายถึ ยมากทีง ่สกระบวนการจ่
ุด กระบวนการส่ ายยาให้ กับผู้ป้น่วยแต่
งมอบยานั ต้องมีละรายพร้ อมคําแนะนํนาการสั
ขั้นตอนการประเมิ ที่จะทํ่งาใช้ให้ยกาหรื
ารใช้อ
ยามี
ประเมิ ประสิ ทธิภาพปลอดภั
นความจํ าเป็นในการใช้ ยมากทียาให้่สมุดีคกระบวนการส่
วามครบถ้วนเหมาะสม งมอบยานัโดยพิ
้นต้อจงมีารณาจากประวั
ขั้นตอนการประเมิ นการสั
ติการเจ็ บป่ว่งยใช้ยผลการ าหรือ
ประเมิ
วินิจฉัยนทางคลิ
ความจํนาิกเป็ทีน่เกีในการใช้
่ยวข้อง ยตลอดจนกฎหมายหรื
าให้มีความครบถ้วนเหมาะสม อระเบียบเพืโดยพิ
่อดําจเนิารณาจากประวั
นการเลือก, จัดตเตรี ิการเจ็
ยมยาบป่และอุ
วย ผลการ ปกรณ์
วิจํนาเป็
ิจฉันยอย่
ทางคลิ
างถูกนต้ิกอทีงเหมาะสมก่
่เกี่ยวข้อง อตลอดจนกฎหมายหรื
นส่งมอบแก่ผู้ป่วยแต่อลระเบี ะรายยบเพื่อดําเนินการเลือก, จัดเตรียมยา และอุปกรณ์
จําเป็นอย่การส่ างถูกงต้มอบยาที
องเหมาะสมก่ ่ดีจะต้ออนส่ งจังดมอบแก่
การให้ ผทู้ปีม่วยแต่ ารับลบริะราย
การได้รับบริการตามสิทธิอันพึงได้รับตามคําประกาศ
สิทธิผู้ป่วการส่
ยและข้งมอบยาที
อบังคับสภาเภสั่ดีจะต้อชงจักรรมเป็
ดการให้ นอย่ผู้ทาี่มงน้ารัอบยบริการได้รับบริการตามสิทธิอันพึงได้รับตามคําประกาศ
สิทธิผู้ป่วอนึยและข้
่ง ผู้ปอ่วบัยในฐานะผู
งคับสภาเภสั ้บริชโกรรมเป็
ภคได้รับนการคุ อย่างน้้มครองตามกฎหมายในเรื
อย


่องสิทธิในการได้รับบริการด้านยาที่
เป็นไปตามหลั อนึ่ง ผูก้ปการของมาตรฐานวิ
่วยในฐานะผู้บริโภคได้ ชาชีรพับในทุ การคุกระดั้มครองตามกฎหมายในเรื
บ การได้รับบริการส่งมอบและให้ ่องสิทธิในการได้ รับบริาการใช้
คําแนะนํ การด้ายนยาที าโดย่
เป็นชไปตามหลั
เภสั กร ถือเป็กนการของมาตรฐานวิ
สิทธิของประชาชนทีชาชี ่พึงพได้ในทุ กระดับ การได้ดัรงับนับริ
รับตามกฎหมาย การส่งมอบและให้
้นควรสนั บสนุนให้มีกคารได้
ําแนะนํ าการใช้
รับบริ การส่ยงาโดย มอบ
เภสั
และให้
ความสํ
ดัความสํ
ชกรคําถืแนะนํ
และให้คาําคัแนะนํ
อเป็นาสิการใช้
ญ แต่าการใช้
าคัญข้ อ จํแต่
งกล่ า วมี
ทธิของประชาชนที
ด้วยสถานการณ์
า กัดด้วตามไปด้
ยสถานการณ์
เน
ยาโดยเภสัชกรให้
ยาโดยเภสัชปกรให้
ว ย การพั ปัจจุฒ
่พึงได้ครรอบคลุ
ับตามกฎหมาย
ั จจุบันคด้รอบคลุ
บันนามาตรฐานวิ
มเป็นการคุดัง้มนัครองสิ
วยข้อจํมาเป็กันดการคุ
ด้วยข้อจํากัดด้ชาาชีนอัพตทีรากํ
้นควรสนั
ด้านอั้มตครองสิ
ทธิขบองประชาชนอี
สนุนให้มีการได้กรด้ับานหนึ
รากําลัทงธิทํขาองประชาชนอี
่ เกี่ ยาวข้
ให้การดําเนินกงานตามเป้
ลังอทํงกั
าให้บกการให้
ารดําเนิ
บริการส่
่งที่ตง้อมอบ
ด้านหนึ่งทีา่ตหมาย
บ รินกงานตามเป้
ารส่ งมอบและให้
งให้
้องให้
าหมาย
ดัคํางแนะนํ
กล่ า วมีาการใช้
ข้ อ จํ ายกัาในงานบริ
ด ตามไปด้กวารปฐมภู ย การพัมฒิ มีนามาตรฐานวิ
หลักในการพิจารณาดั ช าชี พ ทีง่ เนีกี้ ่ ย วข้ อ งกั บ การให้ บ ริ ก ารส่ งมอบและให้
คําแนะนํ1.าการใช้ กรณียาในงานบริ
มีอัตรากําลักงารปฐมภู
เภสัชกรเพี มิ มียหงพอในการให้
ลักในการพิจารณาดั บริการงนีเภสั ้ ชกรควรเป็นผู้ส่งมอบและให้คําแนะนํา
1. กรณีการใช้มยีอาัตรากําลังเภสัชกรเพียงพอในการให้บริการ เภสัชกรควรเป็นผู้ส่งมอบและให้คําแนะนํา
ส� ำ
2. กรณีการใช้มยีขา้อจํากัดด้านอัตรากําลัง และ/หรือภาระงาน เภสัชกรไม่สามารถส่งมอบด้วยตนเอง ต้องมี
2. กรณี มีข้อจําบกัเพื
ระบบรองรั ดด้่อาให้
นอัเกิตดรากํ าลัง และ/หรื
การควบคุ ม และประกัอภาระงาน
นคุณภาพให้เภสัชกรไม่ เป็นสไปตามมาตรฐานอย่
ามารถส่งมอบด้วยตนเอง างใกล้ชิดต้องมี
วัตถุประสงค์ระบบรองรับ เพื่อให้เกิดการควบคุม และประกันคุณภาพให้เป็นไปตามมาตรฐานอย่างใกล้ชิด
วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับยาถูกต้องและใช้ยาได้ถูกต้อง ปลอดภัย มีประสิทธิภาพและไม่เกิดอันตรายในการใช้
ยา เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับยาถูกต้องและใช้ยาได้ถูกต้อง ปลอดภัย มีประสิทธิภาพและไม่เกิดอันตรายในการใช้
ยา
บทบาทหน้าทีข่ องเภสัชกรในการบริหารจัดการเครือข่ายให้มีการส่งมอบยาที่มีมาตรฐาน เพื่อให้ผู้ป่วยมี
บทบาทหน้
การใช้ ยาอย่าาทีงถู
ข่ องเภสั
กต้อง ชปลอดภั
กรในการบริ ย หารจัดการเครือข่ายให้มีการส่งมอบยาที่มีมาตรฐาน เพื่อให้ผู้ป่วยมี
การใช้ยาอย่
1. าการกํ
งถูกต้าอหนดกรอบบั
ง ปลอดภัยญชีรายการยาของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบล ให้สอดคล้องกับศักยภาพ
1. ของผู
การกํา้สหนดกรอบบั ญชีรายการยาของโรงพยาบาลส่
ั่งใช้ยาหรือการควบคุ มการสั่งใช้ยา โดยการกํ งเสริ มสุขภาพตําบล ให้่งสใช้
าหนดขอบเขตการสั อดคล้
ยาให้องกั บศักยภาพบ
เหมาะสมกั
ศัของผู ้สั่งใช้ยาหรื
กยภาพของผู ้สั่งอใช้การควบคุ
เช่น กรณีมมการสั ่งใช้เป็ยนาผูโดยการกํ
ีแพทย์ ้สั่งใช้ยาหรืาอหนดขอบเขตการสั
พยาบาลเป็นผู้สั่งใช้่งใช้
ยายขอบเขตการสั
าให้เหมาะสมกั่งใช้บ
ศักยภาพของผู
ยาของบุ พทัน้งกรณี
้สั่งชใช้าชีเช่
คลากรวิ มีแพทย์เาป็งกันนผู้สั่งใช้ยาหรือพยาบาลเป็นผู้สั่งใช้ยา ขอบเขตการสั่งใช้
สองจะแตกต่
2. พัยาของบุ
ฒนาเครืคลากรวิ
อข่าย เพื ชาชี่อส่พงทัเสริ
้งสองจะแตกต่ างกัางสมเหตุ
มการใช้ยาอย่ น ผล
2. พัฒนาเครือข่าย เพื่อส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล
25 

คู  ่มือส�ำหรับเภสัชกรในการด�ำเนินงานเภสัชกรรมในหน่วยบริการปฐมภูมิ 25
3. พัฒนาสิ่งส่งมอบให้ผู้ป่วยได้รับข้อมูลเกี่ยวกับยาให้ครบถ้วน เช่น ฉลากยา ควรมีข้อมูลชื่อ-สกุล
ผู้ป่วย วันที่ส่งมอบ ชื่อยา วิธีการใช้ยา คําเตือนและข้อควรระวังเมื่อใช้ยา(ถ้ามี) วันหมดอายุของ
ยา เป็นต้น
4. จัดระบบการส่งมอบให้มีมาตรฐานตามวิชาชีพ เพื่อความปลอดภัยในการใช้ยาของผู้ป่วย เช่น
 ทบทวนชื่อผู้ป่วยทุกครั้งก่อนจ่ายยา (patient identification)
 การสอบถามประวัติการแพ้ยา เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดแพ้ยาซ้ํา
 การสอบถามประวั ติ ก ารใช้ ย าและผลิ ต ภั ณ ฑ์ สุ ข ภาพจากสถานพยาบาลหรื อ แหล่ งอื่ น ๆ
(medication reconciliation) เพื่อลดอันตรกิริยาจากยา และลดการซ้ําซ้อนของยาที่ผู้ป่วย
ได้รับ


 มีแนวทางให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังนํายาเดิม มาด้วยทุกครั้งที่มารับบริการ
 ค้นหาปัญหาที่เกิดจากการใช้ยาของผู้ป่วย รวมไปถึงมีระบบการบันทึก การแก้ปัญหา และ
เชื่อมโยงไปสู่การดูแลต่อเนื่องที่บ้าน ในกรณีที่ไม่สามารถแก้ปัญหาเบื้องต้นได้
เน
5. มีระบบเฝ้าระวังและป้องกันความคลาดเคลื่อนทางยา ได้แก่
 การทบทวนคําสั่งการใช้ยาก่อนจ่ายยา
 จัดวางเรียงยาที่มีลักษณะภายนอกคล้ายกัน, ชื่อคล้ายกัน หรือมีหลายความแรงไว้ห่างกัน
(LASA: Look Alike Sound Alike)
 ดําเนินการในลักษณะการตรวจสอบซ้ํา ทั้งชือ่ ยา ความแรง ขนาดยา และวิธีการใช้ยาให้ตรง
กับคําสั่งแพทย์ รวมถึงตรวจสอบความถูกต้อง สมบูรณ์ของยาที่จะจ่ายก่อนส่งมอบให้แก่ผู้ป่วย
ส� ำ
อย่างเคร่งครัด
 กําหนดรายการยาที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษได้แก่ ยาในกลุ่มวัตถุออกฤทธิ์มีแนวทางการ
ปฏิบัติงานและการสื่อสาร ผ่านทางลายลักษณ์อักษร กล่าวคือมีการเขียนใบสั่งยาที่ชัดเจน ทั้ง
ในส่วนลายมือ ระบุความแรง รูปแบบยาและเขียนตัวย่อที่เป็นสากลเท่านั้น และห้ามไม่ให้มี
การสั่งยาทางวาจา
 กรณียาที่มีความเสี่ยงสูงที่มีใน รพ. สต.( high alert drug ) ให้มีการจัดทําสัญลักษณ์เตือน
เพื่อเพิ่มความระมัดระวังมากยิ่งขึ้นและ มีการจัดทําแนวทางการใช้ยา ไว้อย่างชัดเจน
 ให้ผู้ป่วยช่วยทวนสอบ การใช้ยากรณีเป็นยาโรคเรื้อรัง
 มีระบบตรวจสอบย้อนกลับ ทัง้ ตรวจสอบการคีย์ใบสั่งยาและเปรียบเทียบกับสต็อคยา และลง
บันทึกยาที่จ่ายจริงจากผูจ้ ัดยาในกรณีที่เป็นยาที่ต้องมีความระมัดระวังเป็นพิเศษ หรือมีโอกาส
หยิบผิดสูง
 มีการลงบันทึกความคลาดเคลื่อนทางยาและนํามาทบทวนเพื่อหาแนวทางในการป้องกันการ
เกิดซ้ํา
26 

26
  คู่มือส�ำหรับเภสัชกรในการด�ำเนินงานเภสัชกรรมในหน่วยบริการปฐมภูมิ

6. มีแนวทางปฏิบัติงานการติดตามและป้องกันการจ่ายยาให้ผู้ป่วยแพ้ยาหรือมีข้อห้ามใช้ยาหรือมี
อั น ตรกิ ริยาที่ สํ าคั ญ และมี ระบบการส่ งต่ อ ข้ อมูล ผู้ ป่ วยแพ้ ยาจากโรงพยาบาลสู่ รพ.สต. และ
กระบวนการรายงานการแพ้ยาจากรพ.สต.ไปยังโรงพยาบาล
7. กรณีที่มียาที่ต้องใช้เทคนิคพิเศษ ต้องมีเอกสารหรือคําอธิบายเพิ่มเติม เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถใช้ยา
ได้อย่างถูกต้อง
8. การจั ด ระบบการให้ ค วามรู้ เช่ น การจั ด ชุ ด ความรู้ เป็ น เอกสารควบคู่ กั บ การส่ งมอบและให้
คําแนะนําการใช้ยา การอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มผู้ป่วยที่มีแบบแผนการรักษาด้วยยาแบบเดียวกัน
9. มีคู่มือ/เอกสารอ้างอิงในการสืบค้นข้อมูลยา: จัดทําเอกสารทางวิชาการที่เป็นข้อมูลจําเป็นพื้นฐาน
ให้สะดวกแก่การใช้ซึ่งได้แก่
1) รายการยาที่ต้องเก็บพ้นแสง


2) รายการยาที่ห้ามแบ่ง/บดหรือเคี้ยวเม็ดยา
3) ฉลากช่วยที่แนะนําแต่ละรายการยาที่จําเป็นต้องใช้ฉลากช่วย
เน
4) รายการยาที่อาจเกิดอันตรกิริยาที่สําคัญ (หากพบว่ามีการจ่ายร่วมกัน ต้องแจ้งกลับให้แพทย์
พิจารณา)
5) รายการยาที่ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่มีโรคหรืออาการที่ให้บริการในหน่วยบริการ(หากพบว่ามีการ
จ่ายร่วมกัน ต้องแจ้งกลับให้แพทย์พิจารณา) ได้แก่
 รายการยาที่ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่ป่วยเป็น G6PD
 รายการยาที่ห้ามใช้ในสตรีตั้งครรภ์
ส� ำ
 รายการยาที่ห้ามใช้หรือหลีกเลี่ยงการในสตรีให้นมบุตร
 รายการยาที่ห้ามใช้หรือหลีกเลี่ยงการใช้ในผู้ป่วยที่ตับบกพร่อง
 รายการยาที่ห้ามใช้หรือหลีกเลี่ยงการใช้ในผู้ป่วยที่ไตบกพร่อง
 รายการยาที่ห้ามใช้หรือหลีกเลี่ยงการใช้ในทารกหรือเด็กเล็ก รายการยาที่ต้องระมัดระวัง
ในการใช้เป็นพิเศษที่กําหนดขึ้นภายในหน่วยบริการเพราะอาจเกิดอันตรายได้ง่ายและ
จัดทําเอกสารความรู้เพิ่มเพื่อใช้แจกจ่ายเมื่อผู้ป่วยมารับยา
 ข้ อ มู ล ยา High alert แบบ ฉี ด ที่ จํ าเป็ น ต้ อ งทราบพร้ อ มแบบติ ด ตามการใช้ ย าอย่ าง
ใกล้ชิดของผู้ป่วยที่ได้รับยานั้นๆ
10. อบรมความรู้แก่บุคลากร/ผู้ช่วยเภสัชกรอย่างสม่ําเสมอ ปีละ 1 ครั้ง
11. จัดให้มีกระบวนการเรียนรู้ในการทบทวนคําสั่ง และการส่งมอบยา เป็นกระบวนการสนับสนุนให้
เกิดองค์ความรู้ และทักษะของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมดในการสั่งใช้ยา และการส่งมอบยา
12. มีระบบในการขอคําปรึกษาจากเภสัชกร กรณีพบปัญหาในการส่งมอบและให้คําแนะนําการใช้ยา
27 

คู  ่มือส�ำหรับเภสัชกรในการด�ำเนินงานเภสัชกรรมในหน่วยบริการปฐมภูมิ 27
กระบวนการส่งมอบยาที่มีมาตรฐาน
ในกระบวนการส่งมอบยา สามารถแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ ก่อนการส่งมอบ ขณะส่งมอบ การ
ประเมินหลังส่งมอบ เภสัชกร และบุคลากรที่ได้รับมอบหมายให้มีการส่งมอบยาควรมีวิธีปฏิบัติที่เป็นมาตรฐาน
เดียวกัน ดังนี้
1. การตรวจสอบความถูกต้องของยาก่อนส่งมอบ
1.1. ตรวจสอบความถูกต้องเหมาะสมของการสั่งใช้ยาโดยใช้หลัก 6R ได้แก่
1.1.1.ความถูกต้องด้านผู้ป่วย (Right patient/client)
1.1.2.ความถูกต้องด้านยา (Right drug)
1.1.3.ความถูกต้องด้านขนาดยา (Right dose)
1.1.4.ถูกต้องด้านเวลา (Right time)


1.1.5.ความถูกต้องด้านวิถีทางของการบริหารยา (Right route)
1.1.6.ความถูกต้องด้านเทคนิค (Right technique)
เน
และความปลอดภัยของการใช้ยาให้เป็นไปตามหลักฐานทางวิชาการและสอดคล้องกับข้อมูลในใบสั่ง
ยา
1.2. การตรวจสอบประวัติการใช้ยาของผู้ป่วย (Medication reconciliation) โดยเฉพาะผู้ป่วยเรื้อรัง
ที่รับยาต่อเนื่อง ควรมีการตรวจสอบหรือสอบถามรายการยาที่ผู้ป่วยใช้อยู่จากโรงพยาบาล/ รพ.สต.
หรือจากสถานพยาบาลอื่นๆ ที่ผู้ป่วยใช้ มาทบทวนและตรวจสอบรายการยา เพื่อลดความซ้ําซ้อน
หรือ อันตรกิริยาจากยาที่จะเกิดขึ้น จากการใช้ยาของผู้ป่วย
ส� ำ
1.3. ประเมินปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกับการใช้ยา (Drug Related Problem) ในใบสั่งยาก่อนส่งมอบยา
หากพบปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกับการใช้ยา ควรวินิจฉัยความรุนแรงที่จะส่งผลกระทบต่อความปลอดภัย
ของผู้ป่วยและหาทางแก้ไขปัญหานั้นอย่างเหมาะสม เช่น การขอคําปรึกษากับผู้สั่งใช้ยาเพื่อปรับปรุง
คําสั่งการใช้ยา หรือการเตรียมพร้อมให้คําปรึกษาแก่ผู้ป่วยรายกรณี (individual drug counseling)
เพื่อหลีกเลี่ยงหรือลดความรุนแรงของปัญหานั้น
1.4. ทําความเข้าใจคําสั่งและแนวทางที่จะส่งมอบยาสําหรับผู้ป่วยแต่ละราย เพื่อความพร้อมในการส่ง
มอบ
2. การส่งมอบและให้คําแนะนําการใช้ยา
2.1 การเรียกชื่อผู้ป่วย ควรกล่าวทักทายเพื่อสร้างสัมพันธภาพและบรรยากาศที่ผ่อนคลาย เป็นกันเอง
2.2 การระบุตัวผู้ป่วย ให้ผู้ป่วยทวนซ้ําชื่อตนเอง ควรแนะนําตนเองพร้อมทั้งสอบทวนความถูกต้อง
ของผู้ ป่ ว ยกั บ ชื่ อ ในใบสั่ ง ยาหรื อ ความเกี่ ย วข้ อ งกั บ ผู้ ป่ ว ย ประเมิ น ความจํ า เป็ น หากต้ อ งให้
คําแนะนําต่อผู้ดูแลเพื่อป้องกันความคลาดเคลื่อนในการระบุตัวผู้ป่วย กรณีเป็นผู้ป่วยที่รับยา
ต่อเนื่องควรสอบถามผู้ป่วยเพื่อทบทวนประวัติการเจ็บป่วย ประวัติการใช้ยาเพื่อยืนยันความ
28 

28
  คู่มือส�ำหรับเภสัชกรในการด�ำเนินงานเภสัชกรรมในหน่วยบริการปฐมภูมิ

ถูกต้องในขั้นตอนนี้ ผู้ส่งมอบยาสามารถเรียกดูเอกสารที่เกี่ยวข้องประกอบเพื่อความถูกต้องใน
การระบุตัวผู้ป่วย ได้แก่ เวชระเบียน สมุดประจําตัวผู้ป่วยบัตรประชาชน บัตรโรงพยาบาล ฯ
2.3 สอบถามประวัติการแพ้ยา หรืออาการผิดปกติที่เคยเกิดขึ้นหลังจากการรับประทานยาทั้งนี้ควร
สอบถามเรื่องการแพ้อาหาร และผลิตภัณฑ์อื่นๆ ด้วย โดยเฉพาะในโรคหรือยาที่มีความเกี่ยวข้อง

2.4 ให้บริการที่สอดคล้องกับผู้ป่วยแต่ละประเภท ดังนี้


 ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มารับยาต่อเนื่อง ตรวจสอบยาเดิมที่ผู้ป่วยได้รับ ตรวจนับจํานวนให้
ผู้ ป่ ว ยสาธิ ต และบอกเล่ า วิ ธี ก ารบริ ห ารยาเพื่ อ ตรวจสอบความร่ ว มมื อ ในการรั บ ประทานยา
(Compliance) หากพบปัญหาหรือความคลาดเคลื่อน ควรแก้ไขตามความรุนแรงของปัญหา
 ผู้ป่ วยโรคเรื้อรังที่ มารับยาต่อเนื่องและได้รับยาใหม่ ใช้แนวทางการส่งมอบและให้


คําแนะนําการใช้ยา เป็นพื้นฐานในการส่งมอบยาและสอบทวนความเข้าใจถึงเหตุผลที่ผู้ป่วยต้องได้รับ
ยาใหม่ หากสัมพันธ์กับการดําเนินของโรคควรทําความเข้าใจกับผู้ป่วย และความจําเป็นในการใช้ยา
เน
ต่อเนื่อง ให้ผู้ป่วยสาธิตและบอกเล่าวิธีการบริหารยาเดิม หากพบความคลาดเคลื่อน ควรแก้ไขตาม
ความรุนแรงของปัญหา
 ผู้ป่วยที่ได้รบั ยาใหม่สาํ หรับอาการปัจจุบนั หรือผู้ป่วยที่ได้รับยาต่อเนื่องรายใหม่ ใช้
แนวทางการส่งมอบและให้คาํ แนะนําการใช้ยาเป็นพื้นฐานในการส่งมอบยาสําหรับผู้ป่วยรายใหม่
กรณีเป็นผู้ป่วยที่ได้รับยาต่อเนื่องให้คําแนะนําเกี่ยวกับเหตุผลที่ผู้ป่วยได้รับยา ความสําคัญของการใช้
ยาอย่างต่อเนื่อง และสอบทวนความเข้าใจ หากพบความคลาดเคลื่อนควรประเมินปัญหาและแก้ไข
ส� ำ
ตามความรุนแรงของปัญหา
2.5 กรณียาที่ส่งมอบเป็นยากลุ่มทีต่ ้องระวังเป็นพิเศษ (high alert drugs) ควรเพิ่มความเข้มข้นใน
การให้บริการเพื่อความถูกต้องในการใช้ยา และต้องให้ข้อมูลถึงพิษของยาที่จะเกิดขึ้นหากมีการใช้
ยาในทางที่ผิด อาจให้ความรู้เพิ่มเติมเป็นเอกสารหรือพิจารณาให้คําปรึกษารายกรณี (individual
drug counseling)
2.6 การให้คําแนะนําเพิ่มเติมเพื่อส่งเสริมความร่วมมือในการใช้ยาโดยวาจาหรือเอกสารประกอบ ดังนี้
 ข้อบ่งใช้ยา
 ขั้นตอนการใช้ยาที่มีการบริหารแบบพิเศษ และเวลาที่ต้องใช้ยา เช่น ยาเหน็บ ยาสวน ยา
หยอด
 อาการข้างเคียงที่พบบ่อย การเฝ้าระวัง และการแก้ไขเบื้องต้น
 การปรับแผนการใช้ชีวิตประจําวันกับแผนการรักษาให้มีความสอดคล้องกัน
 ยาและผลิตภัณฑ์อื่นๆ ทีม่ ีผลต่อยาและการใช้ยา
 การปฏิบัติตนเมื่อลืมรับประทานยาหรือใช้ยา
29 

คู  ่มือส�ำหรับเภสัชกรในการด�ำเนินงานเภสัชกรรมในหน่วยบริการปฐมภูมิ 29
 ระยะเวลาในการรักษา และความจําเป็นของการรับยาต่อเนื่อง
 วิธีการจัดการยา เช่น การเก็บยาที่เหมาะสม ฯลฯ
2.7 ใช้คําถามเปิดเพื่อให้ผู้ป่วยได้ถามในประเด็นที่ไม่เข้าใจหรือต้องการคําอธิบายเพิ่มเติม
3. การประเมินปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกับการใช้ยา และการส่งต่อ
ประเมินปัจจัยที่มีผลต่อการใช้ยาและความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วยที่รับยาแต่ละราย หากพบว่า
ปัญหามีความรุนแรง ควรจัดให้มีการให้คําปรึกษาแก่ผู้ป่วยรายกรณี (individual drug counseling) และส่ง
ต่อให้มีการติดตามต่อเนื่องเพื่อประเมินผลการแก้ปัญหาการใช้ยาของผู้ป่วยแต่ละรายให้ครบวงจร


ผลลัพธ์ของงาน
1. มีระบบการบริหารจัดการด้านยาใน รพ.สต. เพื่อส่งเสริมให้เกิดความปลอดภัยในการใช้ยา
เน
2. ผู้ป่วยได้รับยาและคําแนะนําการใช้ยาที่ถูกต้อง เหมาะสม และเพียงพอต่อการใช้ยาให้ถูกต้อง
ปลอดภัย
3. ญาติและครอบครัว มีส่วนร่วมในการดูแลการใช้ยาของผู้ป่วยให้ถูกต้องเหมาะสม
ตัวชี้วัด
1. อัตราความคลาดเคลื่อนทางยาประเภทต่างๆ
1) ความคลาดเคลื่อนในการสั่งใช้ยา (prescribing error)
ส� ำ
2) คามคลาดเคลือ่ นในกระบวนการส่งมอบยา (dispensing error)
 ความคลาดเคลื่อนในกระบวนการก่อนส่งมอบยา (pre-dispensing error)
 ความคลาดเคลื่อนในการส่งมอบยา (dispensing error)
3) ความคลาดเคลื่อนในการบริหารยา (administration error)
2. อัตราการแพ้ยาซ้ํา
3. ปัญหาด้านการใช้ยา ( Drug related problems)
4. มูลค่าประหยัดยาจากยาเดิมผู้ป่วย
***เป้าหมายขึ้นกับบริบทของหน่วยบริการแต่ละหน่วย
30 30 

30
    คู่มือส�ำหรับเภสัชกรในการด�ำเนินงานเภสัชกรรมในหน่วยบริการปฐมภูมิ

ภาพที
ภาพที่ 3่ 3กรอบการทํ
กรอบการทําางานในการส่งมอบยาและให้
มอบยาและให้คคาํ าํ แนะนํ
แนะนําาการใช้
การใช้ยยาา

การตรวจสอบความถูกต้องของยาก่
การตรวจสอบความถู งของยาก่ออนส่
นส่งงมอบ
มอบ

-- ตรวจสอบความถูกกต้องเหมาะสมของการสั
ตรวจสอบความถู งเหมาะสมของการสัง่ ง่ ใช้ใช้ยยาโดยใช้
าโดยใช้หหลัลักก6R6R
-- ประเมินนปัปัญญหาที
ประเมิ หาที่เ่เกีกี่ย่ยวเนื
วเนื่อ่องกั
งกับบการใช้
การใช้ยยาในใบสั
าในใบสั่ง่งยายา
-- ทํทําาความเข้
ความเข้าาใจคํ
ใจคําาสัสั่ง่งและแนวทางที
และแนวทางที่จ่จะส่ะส่งงมอบยาสํ
มอบยาสําาหรั หรับบผูผู้ป้ป่ว่วยแต่
ยแต่ลละราย
ะราย

การส่งงมอบและให้
การส่ มอบและให้คคาํ าํ แนะนํ
แนะนําาการใช้
การใช้ยยาา
การเรียยกชื
กชื่อ่อผูผู้ป้ป่ว่วยย และการระบุ
และการระบุตตัวัวผูผู้ป้ป่ว่วยย


-
- การเรี
-
- การประเมินนระดั
การประเมิ ระดับบการให้ การให้บบริริกการ
าร
- สอบถามประวัติการแพ้ยา หรืออาการผิดปกติที่เคยเกิดขึ้น
- สอบถามประวัติการแพ้ยา หรืออาการผิดปกติที่เคยเกิดขึ้น
-
-
เน
ให้บริการที่สอดคล้องกับผู้ป่วยแต่ละราย
ให้บริการที่สอดคล้องกับผู้ป่วยแต่ละราย

ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มารับยา ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มารับยา ผู้ป่วยที่ได้รบั ยาใหม่สาํ หรับ


ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มารับยา ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มารับยา ผู้ป่วยที่ได้รบั ยาใหม่สาํ หรับ
ต่อเนื่อง ต่อเนื่องและได้รับยาใหม่ อาการปัจจุบนั หรือผู้ป่วยที่
ต่อเนื่อง ต่อเนื่องและได้รับยาใหม่ อาการปัจจุบนั หรือผู้ป่วยที่
ได้รับยาต่อเนือ่ งรายใหม่
 ตรวจสอบยาเดิ ม ที่ ผู้ ป่ ว ย  ตรวจสอบยาเดิมที่ผู้ป่วยนํามา ได้รับยาต่อเนือ่ งรายใหม่
ส� ำ
 ตรวจสอบยาเดิ
นํามา เพื่อดูความร่ ม ทีว่ ผมมืู้ ปอ่ วใน
ย  ตรวจสอบยาเดิ
เพื่อดูความร่วมมืมอทีในการ่ผู้ป่วยนํามา
เพื  ใช้คําถามหลักในการส่งมอบ
นํากมา รับ่อประทานยาของผู
ดูความร่วมมือในการ
ารรัเพืบ่อปดูระท
ความร่านวมมื
ย าขอใน อง ้ป่วย  สํใช้
าหรั คําบถามหลั
ผู้ป่วยรายใหม่ กในการส่งมอบ
ก ผูารรั บ ป ระท าน ย าข อ ง  รัใช้บคประทานยาของผู
ําถามหลักในการส่้ปง่วมอบย
สําหรั
้ป่วย
 ใช้ คําถามหลักในการส่
สอบทวนความเข้ าใจถึงงเหตุ
มอบผลที่  กรณี เป็บนผูผู้ป้ป่ว่วยรายใหม่
ยที่ได้รับยา
 ผู้ปให้่วผยู้ป่วยสาธิตและบอกเล่า  สอบทวนความเข้
ผู้ป่วยต้องได้รับยาใหม่ าใจถึงความเหตุผลที่
 ต่กรณี
อเนื่อเงให้ ป็นผูค้ปําแนะนํ
่วยที่ได้ารับยา
 ให้วิผธีกู้ปารบริ
่วยสาธิ ตและบอกเล่า
หารยา ผูจํ้ปาเป็
่วยต้ องได้รับยาใหม่ เกีต่่ยอวกั
เนืบ่อเหตุ
งให้ผคลที ําแนะนํ า รับ
่ผู้ป่วยได้
นในการใช้ ยาต่อเนืความ
่อง
วิธีการบริหารยา  จํให้าเป็
ผู้ปน่วในการใช้ ยาต่อเนื่อาง
ยสาธิตและบอกเล่ เกี่ยวกับเหตุผาลที
ยาและความสํ คัญ่ผของการ
ู้ป่วยได้รับ
 ให้
วิธผีกู้ปารบริ หารยาเดิ
่วยสาธิ ม า
ตและบอกเล่ ใช้ยาและความสํ
ยาอย่างต่อเนืา่อคัง ญของการ
วิธีการบริหารยาเดิม ใช้ยาอย่างต่อเนื่อง

การให้คาํ แนะนําเพิ่มเติมเพือ่ ส่งเสริมความร่วมมือในการใช้ยา


การให้คาํ แนะนําเพิ่มเติมเพือ่ ส่งเสริมความร่วมมือในการใช้ยา

การประเมินปัญหาทีเ่ กี่ยวเนือ่ งกับการใช้ยาและการส่งต่อ


การประเมินปัญหาทีเ่ กี่ยวเนือ่ งกับการใช้ยาและการส่งต่อ
31 

คู  ่มือส�ำหรับเภสัชกรในการด�ำเนินงานเภสัชกรรมในหน่วยบริการปฐมภูมิ 31
เอกสารอ้างอิง
1. กรัณฑ์รัตน์ ทิวถนอม, ศุภลักษณ์ ธนานนท์นิวาส. ความคลาดเคลื่อนทางยาและแนวทางป้องกันเพื่อความ
ปลอดภัยของผู้ปวย( Medication error and Prevention guide for patient’s safety). Veridian E –
Journal. 2552;2552(1):195–217.
2. คณะทํางานจัดทําคู่มือเภสัชกรรมปฐมภูมิ. คูม่ ือสําหรับเภสัชกรในการดําเนินงานเภสัชกรรมในหน่วย
บริการปฐมภูมิ [Internet]. พิมพ์ครั้งที่ 1. Vol. 2553. กรุงเทพ: สํานักงานแผนงานคุ้มครองผู้บริโภคด้าน
สุขภาพ (คคส.) คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2553 [cited 2560 May 1]. 183 p.
Available from:
http://www.thaihealthconsumer.org/index.php?option=com_content&view=article&id=5:b
ookdrug&catid=2:cbook&Itemid=29


3. สํานักสนับสนุนคุณภาพและมาตรฐานหน่วยบริการ. แนวทางการตรวจประเมินเพื่อขึ้นทะเบียนหน่วย
บริการประจํา หน่วยบริการปฐมภูมิ หน่วยบริการร่วมให้บริการ. 2559.
เน
4. สภาเภสัชกรรม. ประกาศเกณฑ์มาตรฐานผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมด้านการบริบาลทางเภสัชกรรม ที่
8/ 2554 [Internet]. 2554 [cited 2559 May 1]. Available from:
http://www.pharmacycouncil.org/share/file/file_1633.54%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B
8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%AA%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0
%B8%AF_%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%888_2554.pdf
5. มังกร ประพันธ์วัฒนะ. ระบบยาเพื่อความปลอดภัย. พิษณุโลก: รัตนสุวรรณการพิมพ์;
6. ธิดา นิงสานนท์, กิตติ พิทักษ์นิตินันท์, ปรมินทร์ วีระอนัตน์วัฒน์, มังกร ประพันธ์วัฒนะ, สายัณห์ ชาตะ
ส� ำ
เมธีวงศ์. เส้นทางสู่คุณภาพ บริการเภสัชกรรม [Internet]. พิมพ์ครั้งที่ 2. Vol. 2543. กทม.: RDP; [cited
2560 Aug 1]. Available from: http://www.sem100library.in.th/medias/b10267.pdf

 
32 คู่มือส�ำหรับเภสัชกรในการด�ำเนินงานเภสัชกรรมในหน่วยบริการปฐมภู32 
มิ
  32 

 
การบริบาลทางเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วยที่บ้าน (เยี่ยมบ้าน)
บทนํา การบริบาลทางเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วยที่บ้าน (เยี่ยมบ้าน)
บทนํา
หลั กฐานเชิ งประจัก ษ์ ที่ แ สดงให้ เห็ น ถึ งปัญ หาการใช้ ยาในระดั บ บุ ค คล ครอบครัว และชุ มชน ซึ่ ง
ประกอบด้หลัวยกฐานเชิ งประจัก ษ์ ที่ แ สดงให้ เห็ น ถึ งปัญ หาการใช้ ยาในระดั บ บุ ค คล ครอบครัว และชุ มชน ซึ่ ง
ประกอบด้ปัวญยหาเกี่ยวกับการใช้ยาในระดับบุคคลและครอบครัว: ประกอบด้วย การใช้ยาเองตั้งแต่ 1 ขนาน
จนถึง 13ปัขนาน,
ญ หาเกีใช้
่ยวกั บการใช้
ยาไม่ ถูกต้อยงตามแพทย์
าในระดับบุสคั่ง,คลและครอบครั ว: ประกอบด้
ผู้ป่วยเกิดอาการไม่ พึงประสงค์วจยากการใช้
การใช้ยยาเองตั
า, ได้ร้งับแต่ยาในขนาด
1 ขนาน
จนถึ
ที่ต่ํางและสู 13 ขนาน,
งเกินไป,ใช้การได้
ยาไม่ถยูกาที
ต้อ่องตามแพทย์
ันตรกิริยาต่สอั่ง,กัผูน้ป(1)(2)(3)(4)
่วยเกิดอาการไม่ พึงประสงค์
และยังพบว่ า ผู้ป่วยมีจากการใช้ ยา, ได้รับยาในขนาด
การครอบครองยาเกิ นความ
จํทีา่ตเป็่ําและสู งเกินไป,กษาพบ
การได้ความชุ
ยาที่อันกตรกิ ริยาต่อกัน (1)(2)(3)(4) และยั งพบว่าาเป็ผูน้ปประมาณ
่วยมีการครอบครองยาเกิ
57% โดยความชุนความ


น จากการศึ ของการครอบครองยาเกิ นความจํ กของ
จํการครอบครองยาเกิ
าเป็น จากการศึกษาพบ ความชุ
นความจํ าเป็นกทีของการครอบครองยาเกิ
่โรงพยาบาลศูนย์ มากกว่านความจํ าเป็น ประมาณ
โรงพยาบาลชุ มชน และสิ57%
ทธิข้าโดยความชุ กของา
ราชการมากกว่
การครอบครองยาเกิ
สิทธิหลักประกันสุขนภาพแห่
ความจํงาชาติ
เป็นที(5)่โรงพยาบาลศู นย์ มากกว่า โรงพยาบาลชุ
ซึ่งผลจากการครอบครองยาเกิ นความจํมชน
าเป็และสิ ทธิข้าเกิราชการมากกว่
นส่งผลให้ ดยาเหลือทั้งทีา่
สิทไธิด้หใช้ลักยาเสื
ไม่
ไม่
ประกั่อมสภาพ
ผู้ปไ่วด้ยใช้19.2
นสุขภาพแห่
ยาเสืล้่อามสภาพ
เน
งชาติ (5) ซึ่งผลจากการครอบครองยาเกิ
และยาหมดอายุ
และยาหมดอายุ
นคนครอบครองยาเกิ นจําเป็
เป็นนจํและ
านวนมาก
นความจําเป็นส่งผลให้บเกิประเทศ
เป็นจํานวนมาก (2) จากการประมาณการในระดั ดยาเหลือพบว่
(2) จากการประมาณการในระดั บ ประเทศ พบว่ า
มูลค่าความสู ญ เสียทางการคลังคิดเป็น 2,349 ล้านบาท
ทั้งทีา่

ผู(1.75%
้ป่วย 19.2
ของอัล้ตานคนครอบครองยาเกิ นจําเป็นและ มู(5)ลค่ในกลุ
ราการบริโภคยาทั้งหมดของประเทศ) าความสู
่มผู้สญูงอายุ
เสียทางการคลั
ซึ่งเป็นกลุ่มทีงคิ่มดีคเป็ น 2,349
วามเสี ล้านบาท
่ยงต่อการได้ รับ
อั(1.75% ของอัตราการบริ ษาพบว่า ผู้สูงอายุที่รในกลุ
โภคยาทัก้งหมดของประเทศ) ่มผู้สูงอายุซึ่งเป็นกลุ่มจากปั
ที่มีความเสี ่ยงต่อการได้
ยาพบว่รับา
(5)
นตรายจากการใช้ ยา จากการศึ ับเข้านอนในโรงพยาบาล ญหาการใช้
ปัอันญตรายจากการใช้
หาอยู่ในระดับทีย่รุนา แรงปานกลาง
จากการศึกษาพบว่
93%ารุผูน้สแรงมาก
ูงอายุที่ร5% านอนในโรงพยาบาล
ับเข้และเสี ยชีวิต 2% โดย จากปั
27% ญเป็หาการใช้
นปัญหาทีย่ปาพบว่
้องกันา
ส� ำ
ปัได้ญโดย
หาอยูการใช้
่ในระดัยาหลายขนาน
บที่รุนแรงปานกลาง
(มากกว่93%
าหรือรุเท่
นแรงมาก 5% และเสี
ากับ 5รายการ), ยชีวริตับ2%
การได้ โดยใน27%
ยาใหม่ 1 สัปเป็ดาห์
นปัญหรืหาที
อ 1่ป้อเดืงกัอนน
ได้ โดย การใช้
และการรั ยาหลายขนาน
บยาจากหน่ (มากกว่
วยบริการอื ่นเช่น าคลิ
หรืนอิกเท่และร้
ากับ า5รายการ),
นยา เป็นปัจการได้
จัยสํารคัับญยาใหม่
ที่ทําให้ใเนกิด1ปัสัญปหาจากการใช้
ดาห์ หรือ 1 ยเดืาจน
อน
และการรั
ผู้ป่วยต้องรับยาจากหน่ วยบริการอื่นเช่นโดยกลุ
บเข้านอนในโรงพยาบาล คลิน่มิกยาที
และร้ านยา
่พบปั ญหาเป็ได้
นปัแจก่จักยลุสํ่มายาในระบบต่
คัญที่ทําให้เกิอดมไร้
ปัญทหาจากการใช้ ยาจน
่อ, ระบบหัวใจและ
ผูหลอดเลื
้ป่วยต้อองรัด,บเข้ านอนในโรงพยาบาล
ระบบประสาท, โดยกลุ่มยาที
และระบบทางเดิ ่พบปั(6)ญหาโดยสาเหตุ
นหายใจ ได้แก่กลุท่มี่ทยาในระบบต่
ําให้ผู้สูงอายุอไมไร้
ด้รับทอั่อน, ตรายจากการใช้
ระบบหัวใจและ
หลอดเลืงกล่าอวเนื
ด, ระบบประสาท,
่องมาจาก 1) วิและระบบทางเดิ อายุ เช่น โดยสาเหตุ
ธีการใช้ยาของผู้สนูงหายใจ ที่ทเป็ํานให้ไปตามคํ
ผู้สูงอายุาไสัด้่งรแพทย์
ับอันตรายจากการใช้
(6)
ยาดั การใช้ยาไม่ และ ใช้ยาเอง
ยาดัางงไม่
อย่ กล่ปาวเนื
ลอดภั่องมาจาก 1) วิอธกสถานบริ
ย 2) การเลื ีการใช้ยาของผู
การเพื้ส่อูงอายุ
รับยาเช่เช่น นการใช้ ยาไม่มเีกป็ารรั
ผู้สูงอายุ นไปตามคํ าสั่ง้งแพทย์
กษาจากทั และ ใช้ยาเองฐ
โรงพยาบาลของรั
อย่ างไม่ปลอดภัย 2) การเลื
โรงพยาบาลของเอกชน คลินอิกกสถานบริ การเพื
เอกชน และร้ านยา่อรับรวมทั
ยา เช่้งนการซื
ผู้สูง้ออายุ มีการรัาโฆษณา
ยาจากคํ กษาจากทั
หรื้งอโรงพยาบาลของรั
จากการบอกต่อ 3)ฐ
โรงพยาบาลของเอกชน
การเก็บรักษายาและการนํ คลิานยาออกมาใช้
ิกเอกชน และร้ านยา
พบว่ ามีกรวมทั
ารเก็บ้ง ยาของหลาย
การซื้อยาจากคํ
ๆ าคน
โฆษณา หรือจากการบอกต่
เช่น ยาของภรรยา อ 3)
ไว้ในซอง
การเก็
เดียวกับนรัทีก่เษายาและการนํ ายาออกมาใช้
ดียวกัน, เก็บยาไม่ พบว่่อมสภาพ,
ถูกที่ทําให้ยาเสื ามีการเก็บริ
บยาของหลาย ๆ คน เช่น สยาของภรรยา
หารยาไม่ตรงตามแพทย์ ั่ง, สะสมยาจําไว้ ในซอง
นวนมาก
เดียวกันอ ทียาที
(ยาเหลื ่เดีย่แวกั น, เเก็
พทย์ ปลีบ่ยยาไม่
นยาแล้ถูกวที)่ท(7)ําให้
ทั้งยนีาเสื ่อมสภาพ,
้ เภสั บริหารยาไม่
ชกรทํางานเภสั ตรงตามแพทย์
ชกรรมปฐมภู สั่ง, าสะสมยาจํ
มิสามารถดํ เนินการแก้านวนมาก
ไขปัญหา
(ยาเหลื อ ยาที
ดังกล่าวได้ กว่า่แร้พทย์ นยาแล้ว) ทั้งนี้ เภสัชกรทํางานเภสัชกรรมปฐมภูมิสามารถดําเนินการแก้ไขปัญหา
อยละเปลี90่ย(1)(3)(2)
(7)

ดังกล่าวได้กว่าร้อยละ 90(1)(3)(2)
33 

คู  ่มือส�ำหรับเภสัชกรในการด�ำเนินงานเภสัชกรรมในหน่วยบริการปฐมภูมิ 33
ปัญหาเกี่ยวกับยาในระดับชุมชน พบว่า ยาอันตรายกระจายอยู่ในชุมชนเป็นจํานวนมาก เช่น กลุ่มยา
แก้ ท้ องเสี ย หรื อ ยาห ยุ ด ถ่ า ย (Loperamide 2 mg) , ยาแก้ ป วดกลุ่ ม NSAIDs (Piroxicam 20 mg ,
Diclofenac 50 mg), ยาปฏิ ชี ว นะ (Antibiotics) (Tetracycline 250 mg, Penicillin V 500,000 Unit ),
หรือพบรูปแบบบรรจุภัณฑ์ยา ที่มีลักษณะกล่องบรรจุ ชื่อทางการค้า คล้ายคลึงกัน แต่มีตัวยา สําคัญแตกต่าง
กัน (หรือเราเรียกว่า Look Twin Sound Twin หรือ Look Alike Sound Alike) ตัวอย่างที่ชัดเจน เช่น ยา
ชื่อการค้า Trex- 250 มีตัวยาสําคัญคือ Tetracycline Hydrochloride กับยาชื่อการค้า Trex-120 แต่มีตัวยา
สํ า คั ญ คื อ Trimethoprim + Sulfamethoxazole หรื อ ยาชื่ อ การค้ า ไมโครสามธงน้ํ า มี ตั ว ยาสํ า คั ญ คื อ
Trimethoprim + Sulfamethoxazole กั บ ยาชื่ อ การค้ า ไมโครสามธงเม็ ด แต่ มี ตั ว ยา สํ า คั ญ เป็ น
Triamphenicol นอจากรายการยาอันตรายแล้ว ยังพบปัญหาการเข้าถึงยาอย่างที่เสี่ยงต่อการใช้ยาอย่างไม่


สมเหตุผล การใช้ยาเกินจําเป็น การใช้ยาไม่ถูกวิธี ไม่ถูกขนาด การนิยมใช้ยาตามโฆษณาทางวิทยุในผู้สูงอายุ
และผู้ ป่ ว ยโรคเรื้ อ รั ง ผู้ ป่ ว ยใช้ ย าจากหน่ ว ยบริ ก ารหลายแห่ ง เช่ น โรงพยาบาล คลิ นิ ก ร้ า นขายยา
เน
(Polypharmacy), การแพ้ยาซ้ําของผู้ป่วย เป็นต้น การนิยมใช้ยาชุดทั้งที่ประชาชนไม่มีความรู้ในการเลือกซื้อ
ยาและการใช้ยา และ ผู้ประกอบการไม่มีความรู้ในการสั่งจ่ายยาอย่างเหมาะสม ทําให้เกิดปัญ หาที่รุนแรง
ตามมา เช่น การดื้อยา การแพ้ยาอย่างรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต(2)(8)

เพื่ อ ให้ เกิ ด การวางระบบการแก้ ไขปั ญ หา การใช้ ย าในระดั บ บุ ค คล ครอบครั ว และชุ ม ชน ที่ มี
ประสิทธิภาพ การบริบาลทางเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วยที่บ้าน (เยี่ยมบ้าน) โดยเภสัชกรครอบครัว เป็นกระบวนการ
ส� ำ
บริบาลทางเภสัชกรรมอย่างต่อเนื่อง (Continuous pharmaceutical care) เพื่อก่อให้เกิดการบริบาลทาง
เภสั ช กรรมแบบไร้ ร อยต่ อ (Seamless pharmaceutical care) เภสั ช กรที่ ดํ า เนิ น งานในบริ บ ทเภสั ช กร
ครอบครัวนั้น เน้นการดูแลด้านยาแบบองค์รวม ผสมผสาน ทั้งโรคทางกาย มิติความเจ็บป่วย สภาพจิตใจ
อารมณ์ สังคม ทั้งของผู้ป่วย คนดูแล และสมาชิกในครอบครัว การออกเยี่ยมบ้านเพื่อให้บริบาลทางเภสัชกรรม
เป็นเพียงกระบวนการหนึ่งในการทํางานของเภสัชกร ครอบครัว ทั้งนี้สามารถนํากรอบแนวคิดการดําเนินงาน
ในบริบทความเป็นเภสัชกรครอบครัวไปใช้ในงานบริการ และบริบาลทางเภสัชกรรมในส่วนอื่นได้ เช่น ร้านยา
แผนกผู้ป่วยนอก แผนกผู้ป่วยใน

เภสัชกรครอบครัว ต้องมีทักษะในการดําเนินงานแบบผสมผสาน (Skill mixied) ทั้งในด้านการทํางาน


เป็นทีมร่วมกับผู้อื่น ทักษะการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ ทักษะทางคลินิกในการรวบรวมข้อมูล การประเมิน
ผู้ป่วย การค้นหาและวินิจฉัยปัญ หาที่เกี่ยวกับยา การวางแผนและลงมือปฏิ บัติเพื่ อแก้ไข ป้ องกันปั ญ หาที่
เกี่ยวกับยา การประเมินและติดตามผลการดําเนินงาน
34 

34
  คู่มือส�ำหรับเภสัชกรในการด�ำเนินงานเภสัชกรรมในหน่วยบริการปฐมภูมิ

สิ่งสําคัญของการดําเนินงานการบริบาลทางเภสัชกรรมที่บ้าน (เยี่ยมบ้าน) มิใช่การลงไปแก้ไขปัญหา


ผู้ป่วยเฉพาะรายเท่านั้น แต่เน้นการดําเนินงานเชิงระบบ มีการส่งต่อข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ โดยมีเป้าประสงค์
ในการพัฒนาระบบยา เพื่อก่อให้เกิดความปลอดภัยด้านยาแก่ผู้ป่วยโดยรวม

วัตถุประสงค์

เพื่อพัฒนาการบริบาลทางเภสัชกรรมที่บ้าน (เยี่ยมบ้าน) ให้ผู้ป่วย เข้าถึงบริการ ต่อเนื่องรอบด้าน ไร้รอยต่อ


และชุมชนมีส่วนร่วม

ขั้นตอนการดําเนินงานบริบาลทางเภสัชกรรมผู้ป่วยที่บา้ น ประกอบด้วย


1. การดําเนินงานก่อนออกเยี่ยมบ้าน
1.1 การคัดกรองผูป้ ่วยเพื่อเข้ารับการบริบาลทางเภสัชกรรมที่บ้าน (เยี่ยมบ้าน)
เน
วัตถุประสงค์: เพื่อให้เภสัชกรสามารถกําหนดเกณฑ์ในการคัดกรองผู้ป่วยเพื่อเข้ารับบริบาลทางเภสัช
กรรมที่บ้านโดยการออกเยี่ยมบ้าน ได้สอดคล้องกับสภาพปัญหา ความต้องการ และจํานวนบุคลากรใน
หน่วยงาน

แนวทางการดําเนินงาน:
ส� ำ
1.1.1 เภสัชกรต้องจัดทําเกณฑ์คัดกรองผู้ป่วยเพื่อเข้ารับการบริบาลทางเภสัชกรรมที่บ้าน ทั้งนี้เกณฑ์คดั
กรองควรอ้างอิงจากสภาพปัญหาที่พบในโรงพยาบาล หรือสถานที่ปฏิบัติงาน รวมถึงสอดคล้องกับกรอบ
อัตรากําลังบุคลากรของหน่วยงาน และนําเสนอเกณฑ์ดังกล่าว เพื่อรับฟังความเห็นของ ฝ่ายเภสัชกรรม
และ ทีมสหสาขาวิชาชีพในโรงพยาบาล ตัวอย่างเกณฑ์การคัดกรองได้แก่

เกณฑ์ รายละเอียด
กําหนดตามกลุ่มโรค โรคเรื้อรังที่มีการใช้ยาจํานวนมากและมีแนวโน้มที่จะเกิดปัญหา
การใช้ยาได้ง่าย เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไต
เรื้อรัง โรคหืด โรคทางจิตเวช โรคลมชัก โรคหลอดเลือดสมอง
โรคมะเร็ง
กําหนดตามกลุ่มผู้ป่วย ผู้ป่วยเด็ก ผู้ป่วยสูงอายุ ผู้ป่วยพิการ หรือมีความผิดปกติด้าน
การเคลื่ อ นไหว ผู้ ป่ วยติ ด เตี ย ง ผู้ ป่ วยที่ ต้ อ งให้ ย าทางสายให้
อาหาร
35 

คู  ่มือส�ำหรับเภสัชกรในการด�ำเนินงานเภสัชกรรมในหน่วยบริการปฐมภูมิ 35
เกณฑ์ รายละเอียด
กําหนดตามรายการยาที่ผู้ป่วยได้ รายการยาที่ต้องเฝ้าระวังเพราะมีแนวโน้มเกิดปัญหาจากการใช้
ยาได้ง่าย เช่น
 ย าที่ มี วิ ธี ก ารใช้ เฉ พ าะ เช่ น ย าฉี ด Insulin ย าฉี ด
Erythropoietin ยาพ่นรักษาหรือบรรเทาอาการโรคหืด
 ยาที่ต้องระมัดระวังสูง (High alert drug)
 ยาที่ เกิ ด ป ฏิ กิ ริ ย าระห ว่ า งยาได้ ม าก เช่ น Warfarin
Phenytoin Amiodarone
 ยาที่ มี อุบัติการณ์ ของการเกิดอาการไม่ พึงประสงค์ได้ง่าย


หรือรุนแรง เช่น Insulin Allopurinol Nevirapine
กําหนดตามสภาพปัญหาที่พบและ ผู้ป่วยขาดนัด ผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมโรคหรืออาการผิดปกติได้
จําเป็นต้องได้รับการเยี่ยมบ้านโดย
เน ตามเป้าหมายแม้จะได้รับการดูแลอย่างดีจากหน่วยงานต่างๆใน
เภสัชกร โรงพยาบาล รวมถึงผู้ป่วยที่ให้ญาติมารับยาแทน หรือมาซือ้ ยา
แทน (กรณีร้านยา)
1.1.2 เภสัชกรคัดเลือกผู้ป่วยเข้ารับบริการทางเภสัชกรรมที่บ้านโดยอาศัยเกณฑ์การคัดกรองที่กําหนด
ดังกล่าว โดยในช่วงเริ่มต้นของการปฏิบัติงาน การคัดเลือกผู้ป่วยเข้ารับบริการทางเภสัชกรรมที่บ้าน ควร
ดําเนินงานในกลุ่มผู้ป่วยที่มีความจําเป็นเร่งด่วน สอดคล้องกับสภาพปัญหาของโรงพยาบาล และควร
ส� ำ
เริ่มต้นการดําเนินงานในกลุ่มผู้ป่วยที่มีจํานวนไม่มาก มีสภาพปัญหาที่ไม่ซับซ้อนจนเกินไป และ สามารถ
ประเมินผลลัพธ์ของการออกเยี่ยมบ้านได้อย่างชัดเจน ซึ่งจะนําไปสู่การยอมรับการยอมรับของผู้บริหาร
และ ทีมสหสาขาวิชาชีพในโรงพยาบาล

1.2 การศึกษาข้อมูลและเตรียมความพร้อมด้านข้อมูลก่อนออกเยี่ยมบ้าน

วัตถุประสงค์: เพื่อให้เภสัชกรมีความพร้อมในการรวบรวม ศึกษา และสรุปข้อมูลผู้ป่วยที่ตนเองจะออก


เยี่ยมบ้านได้ อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะนําไปสู่การเตรียมความพร้อมด้านองค์ความรู้ ทักษะที่ต้องใช้
และอุปกรณ์ตา่ งๆ ให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาของผู้ป่วย เพื่อให้เกิดความสะดวกในการปฏิบัติงาน การ
ติดตามประเมินผล ซึ่งจะส่งผลเกิดการบริบาลทางเภสัชกรรมที่มีประสิทธิภาพ
36 

36
  คู่มือส�ำหรับเภสัชกรในการด�ำเนินงานเภสัชกรรมในหน่วยบริการปฐมภูมิ

แนวทางการดําเนินงาน:

1.2.1 กรณี ผู้ ป่วยรายใหม่ เภสั ชกรต้ องรวบรวมข้อมูลที่ จําเป็ นจากแหล่งข้อมู ลที่ เชื่ อถื อได้ เช่ น เวช
ระเบียน หนังสือส่งตัว แบบบันทึกส่งต่อผู้ป่วยเพื่อการเยี่ยมบ้าน รวมทั้งข้อมูลส่งต่ออื่นๆจากหน่วยงานที่
เกี่ยวข้อง

1.2.2 กรณีผู้ป่วยรายเก่า เภสัชกรต้องศึกษาข้อมูลที่มีอยู่เดิมจากการเยี่ยมบ้านที่ผ่านมาแล้ว จากแฟ้ม


ครอบครัว แฟ้มบันทึกการเยี่ยมบ้านทั้งของฝ่ายเภสัชกรรม หรือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น เวชกรรม
สังคม พยาบาลอนามัยชุมชน


1.2.3 ข้อมูลที่ควรศึกษาและรวมรวมก่อนออกเยี่ยมบ้าน ประกอบด้วย

ข้อมูล เน รายละเอียด
ข้อมูลพื้นฐานผู้ป่วย ชื่อ นามสกุล เพศ อายุ วันเดือนปีเกิด อาชีพ เชื้อชาติ
ข้อมูลด้านความเจ็บป่วย โรคเรื้อรัง โรคเฉียบพลัน อาการเจ็บป่วยปัจจุบัน การเข้ารับการรักษาใน
โรงพ ยาบ าล การผ่ า ตั ด ผลการตรวจร่ า งกาย ผลการตรวจท าง
ห้องปฏิบัติการ เช่น ผลการตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ ตรวจภาพรังสี
ข้อมูลด้านยา รายการยา สมุ น ไพร และผลิ ต ภั ณ ฑ์ เ สริ ม อาหาร ที่ ผู้ ป่ ว ยได้ รั บ จาก
สถานพยาบาล และ ผู้ ป่ วยซื้อ ใช้ เอง โดยข้ อมู ล ยาควรประกอบด้ วย ชื่ อ
ส� ำ
สามัญทางยา ชื่อการค้า (ตามความเหมาะสม) ความแรง วิธีใช้ ระยะเวลาใน
การใช้ยา ข้อมูลการแพ้ยา ซึ่งต้องระบุทั้งชื่อยา รูปแบบยา วิถีทางใช้ยา หรือ
การบริหารยา และอาการที่แพ้

ข้อมูลด้านพฤติกรรมและ การบริโภคอาหาร การแพ้อาหาร การออกกําลังกาย การสูบบุหรี่ เครื่องดื่ม


การดําเนินชีวิต ที่มีแอลกอฮอล์หรือคาเฟอีน รวมถึงประวัติการใช้สารเสพติด (ถ้ามี)
ข้อมูลด้านสังคม สภาพความเป็นอยู่ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลหรือสมาชิกในครอบครัว
เศรษฐศาสตร์ และการ เพื่ อนบ้ านและชุม ชนรอบข้าง ผู้ดูแล การนั บถือศาสนา ความเชื่อในการ
ดํารงชีวิต ดําเนินชีวิต ฐานะทางการเงินและรายได้ สิทธิด้านการรักษาพยาบาล
1.2.4 เภสัชกรต้องประเมินความถูกต้องและความน่าเชื่อถือของข้อมูลผู้ป่วยที่ได้รับก่อนออกเยี่ยม
และต้องปฏิบัติตามระเบียบของโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลที่เกี่ยวข้องกับสิทธิและความลับของผู้ป่วย
37 

คู  ่มือส�ำหรับเภสัชกรในการด�ำเนินงานเภสัชกรรมในหน่วยบริการปฐมภูมิ 37
1.2.5 เภสัชกรควรมีการประสานงานกับทีมสหสาขาวิชาชีพที่เกี่ยวข้องเพื่อการเข้าถึงข้อมูลจําเป็น
เบื้องต้นของผู้ป่วยก่อนการออกเยี่ยมบ้าน ซึ่งสามารถสืบค้นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเช่น เวชระเบียน ฝ่าย
เภสัชกรรม ฝ่ายเวชกรรมสังคม ฝ่ายอนามัยชุมชน ฝ่ายเวชศาสตร์ครอบครัว รวมถึงการสืบค้นผ่านทางระบบ
สารสนเทศของโรงพยาบาล

1.2.6 เภสัชกรควรนําข้อมูลทีไ่ ด้จากการศึกษารวบรวมก่อนออกเยี่ยมบ้านมาใช้ในการวางแผนการ


เยี่ยมรวมถึงการจัดเตรียมอุปกรณ์จําเป็นสําหรับออกเยีย่ มบ้าน เช่น แผ่นพับ ตลับยา ที่ตัดเม็ดยา ซองใส่ยา
โกร่งบดยา เครื่องวัดความดันโลหิต Peak flow meter

2. การดําเนินงานขณะออกเยีย่ มบ้าน


2.1 การสร้างความสัมพันธ์และการสื่อสารที่มปี ระสิทธิภาพ

วัตถุประสงค์: เพื่อให้เภสัชกรมีความรู้ความเข้าใจในการสร้างความสัมพันธ์และสื่อสารกับผู้ป่วย

แนวทางการดําเนินงาน:
เน
2.1.1 กรณีออกเยี่ยมบ้านครั้งแรก เภสัชกรต้องแนะนําตนเองว่าเป็น “เภสัชกร” ชี้แจงวัตถุประสงค์ของ
การมาเยี่ยมบ้าน ว่ามาเพื่อดูแลด้านยา ติดตามผลการใช้ยาทั้งประสิทธิภาพและความปลอดภัย รวมถึง
ปัญหาด้านยาและปัญหาอื่นที่มีความเกี่ยวข้องต่อการใช้ยาที่อาจส่งผลต่อประสิทธิภาพของการรักษาด้วย
ส� ำ
ยาดังกล่าว

2.1.2 เภสัชกรไม่ควรขอดูยา หรือ สอบถามเรื่องยา ของผู้ป่วยทันทีหลังจากได้แนะนําตัวเองแล้ว แต่ควร


พูดคุยสร้างความสัมพันธ์จนเกิดความสนิทสนมคุ้นเคย จึงค่อยนําไปสู่การขอดูยา หรือ สอบถามข้อมูลยา
ที่ต้องการ

2.1.3 กรณีที่เป็นการออกเยี่ยมบ้านซ้ํา เภสัชกรต้องสอบถามถึงสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นจากการเยี่ยมบ้าน


ครั้งที่ผ่านมา ว่ามีการเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะใด ดีขึ้น หรือ แย่ลง หากมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการ
บริหารยา ผู้ป่วยได้ปฏิบัติตามคําแนะนําหรือข้อตกลงในการแก้ไขปัญหาที่ได้มีการกําหนดร่วมกันหรือไม่
มีปัญหาเกิดขึน้ เกิดขึ้นหรือไม่จากการกระทําตามคําแนะนําดังกล่าว เพื่อติดตามผลการบริบาลทางเภสัช
กรรมที่ผ่านมา
38 

38
  คู่มือส�ำหรับเภสัชกรในการด�ำเนินงานเภสัชกรรมในหน่วยบริการปฐมภูมิ

2.1.4 ระหว่างการสื่อสาร เภสัชกร ควรใช้คําถามเปิด ในการเปิดประเด็นการสื่อสาร เช่น “วันนี้คุณป้า


เป็นอย่างไรบ้าง” หลังจากได้ข้อมูลเบื้องต้น อาจจะใช้คําถามปิด หรือมีความเฉพาะเจาะจงกับข้อมูลที่
ต้องการมากขึ้น เช่น “คุณป้าบอกว่าฉีดยาตามขนาดที่แนะนําแล้ว มีอาการตามัวเกิดขึ้น คุณป้าเล่าให้ฟัง
หน่อยได้ไหมครับว่า อาการตามัวเป็นอย่างไร”

2.1.5 การสื่อสารที่สําคัญที่สุดคือ ทักษะการฟังที่มีประสิทธิภาพ ควรระวังเพียงการได้ยินในสิ่งที่ผู้ป่วย


พู ด แต่เภสั ชกรไม่ ได้ ฟังให้ เข้าใจว่าสิ่งที่ ผู้ ป่วยพู ดออกมานั้น สื่ อถึง การคิด อารมณ์ ความรู้สึ ก หรือ
คาดหวังอย่างไรต่อสิ่งที่พูดออกมา

2.1.6 เภสัชกรควรหลีกเลี่ยงรูปแบบการสื่อสารทางเดียว ในลักษณะของการสอน การให้ความรู้ การ


อบรม การให้ข้อมูลเพื่อให้ผู้ป่วยทําตามคําแนะนําของตนเพียงอย่างเดียว โดยไม่เปิดโอกาสให้ผู้ป่วย
ซักถาม ออกความเห็น หรือ แสดงความรู้สึกต่อข้อมูลที่ได้รับ ควรใช้รูปแบบการสื่อสารสองทางตลอด
ระยะเวลาการพูดคุย
เน
2.1.7 เภสัชกร ต้องไม่จดบันทึกข้อมูลเพียงอย่างเดียว โดยไม่สนใจในตัวผู้ป่วย เพราะอาจทําให้ผู้ป่วย
เข้าใจว่าเภสัชกรเข้าไปเพียงการเก็บข้อมูล ไม่ใช่ลงไปดูแลผู้ป่วย ควรจดข้อมูลเท่าที่จําเป็น เช่น ข้อมูล
รายการยาที่ ผู้ป่วยได้รับ ส่วนข้อมูลอื่นอาจจดสั้นๆ แล้วนํามาลงรายละเอียดภายหลัง ก่อนมีการลง
บันทึกข้อมูลต่อหน้าผู้ป่วย ควรมีการขออนุญาตผู้ป่วยก่อนพร้อมให้เหตุผลของการบันทึกข้อมูลดังกล่าว
ส� ำ
เพื่อนําไปใช้ประกอบการดูแลด้านยาแก่ผู้ป่วยต่อไป หากมีญาติ ผู้ดูแล หรือบุคคลอื่นในครอบครัวอยู่
ด้วย เภสัชกร อาจต้องแจ้งเหตุผลในการบันทึกข้อมูลดังกล่าวแก่บุคคลเหล่านี้เช่นเดียวกัน

2.1.8 เภสัชกรควรใช้อวัจนภาษาในการสื่อสารอย่างเหมาะสมต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น เช่น การสบตา


กิริยาท่าทาง (เช่น การพยักหน้า การยิ้ม การนิ่ง) การสัมผัส (เช่น แตะเข่า ข้อศอก จับมือ) เพื่อเป็นการ
สื่อสารถึงความเข้าใจ เห็นอกเห็นใจในสิ่งทีผ่ ู้ป่วยสื่อออกมา

2.1.9 เภสัชกรต้องสอบทานความเข้าใจและความถูกต้องขององค์ความรู้และทักษะ ในการใช้ยาของ


ผู้ ป่ ว ย ญาติ ผู้ ดู แ ล หรื อ สมาชิ ก ในครอบครั ว ภายหลั งจากที่ เภสั ช กรให้ คํ า แนะนํ า หากพบความ
คลาดเคลื่อนด้านการรับรู้ และความเข้าใจ เภสัชกรต้องอธิบาย แสดงทักษะ หรือ สอนใหม่ และสอบ
ทานซ้ําจนกว่าจะมั่นใจว่าผู้ป่วยเข้าใจและปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง
39 

คู  ่มือส�ำหรับเภสัชกรในการด�ำเนินงานเภสัชกรรมในหน่วยบริการปฐมภูมิ 39
2.1.10 ก่ อนสิ้นสุดการเยี่ยม เภสัชกรต้องเปิ ดโอกาสให้ ผู้ป่วย ญาติ ผู้ดูแล หรือสมาชิกในครอบครัว
ซักถามปัญหา ความไม่เข้าใจ หรือความกังวลใจอื่นๆ โดยอาจใช้คําถามเปิด เพื่อให้ ผู้ป่วย ญาติ ผู้ดูแล
หรือสมาชิกในครอบครัวได้ถามในประเด็นที่ไม่เข้าใจ หรือ ต้องการคําอธิบายเพิ่มเติม เช่น “คุณป้ามี
อะไรที่ไม่เข้าใจ จะถามอีกหรือไม่” หรือ “มีอะไรอยากถามเภสัชกรไหมครับ”

2.2 การรวบรวมข้อมูลยา ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและสมุนไพร

วัตถุประสงค์: เพื่อให้เภสัชกรสามารถรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับยา ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและสมุนไพร ที่


ผู้ป่วยใช้ได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน ทั้งข้อมูลจากที่แพทย์สั่งหรือได้รับมาจากสถานพยาบาลและข้อมูลที่
ผู้ป่วยใช้จริง


แนวทางการดําเนินงาน:
เน
2.2.1 เภสัชกรต้องจัดทําประวัติการใช้ยา ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และสมุนไพร ของผู้ป่วยทุกรายที่ได้รับ
การเยี่ยมบ้าน โดยข้อมูลการใช้ยาอาจจะได้มาจากเวชระเบียน ใบส่งตัว สัมภาษณ์ผู้ป่วย ญาติผู้ป่วย
หรือการสังเกตยาที่ผ้ปู ่วยซื้อมาใช้เอง หรือ ยาที่ผู้ป่วยหรือ ญาติผู้ป่วยนํามาให้เภสัชกรดูในวันที่ออก
เยี่ยมบ้าน ซึ่ งข้ อมู ลยาที่ ต้องบั นทึ กประกอบด้วย ชื่อสามัญ ทางยา อาจมีวงเล็บชื่อการค้ าตามความ
เหมาะสม ความแรง ความถี่ของการใช้และวิธีการใช้ตามที่แพทย์สั่ง ความถี่และวิธีการใช้ยาที่ผู้ป่วยใช้
จริง หากพบว่ามีความแตกต่างกัน โดยบันทึกลงในแบบบันทึกที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ป่วย ทั้งของฝ่าย
ส� ำ
เภสัชกรรม และของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงและส่งต่อข้อมูล

2.2.2 หากผู้ป่วยรับบริการจากหลายโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาล เภสัชกรจะต้องจัดทําประวัติการใช้


ยาให้ครบถ้วน สมบูรณ์ หากพบปัญหาความคลาดเคลื่อนจากยา เช่น การได้รับยาซ้ําซ้อน เภสัชกรต้อง
ประสานงานกลับไปยังโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลที่ได้รับยาเพื่อส่งต่อข้อมูลและจัดการกับปัญหา
ด้านยาที่เกิดขึ้น

2.2.3 เภสัชกรต้องซักประวัติการแพ้ยา หากพบว่ามีประวัติการแพ้ยา ต้องลงบันทึกประวัติการแพ้ยา ซึ่ง


ประกอบด้วย ชื่อยา รูปแบบยา และอาการที่แพ้

2.2.4 เภสัชกรต้องขออนุญาตผู้ป่วยหรือญาติ ก่อนการจัดเก็บบันทึกข้อมูล รวมถึงต้องคํานึงถึงสิทธิและ


การรักษาความลับผู้ป่วย
40 
40 
 
40
  คู่มือส�ำหรับเภสัชกรในการด�ำเนินงานเภสัชกรรมในหน่วยบริการปฐมภูมิ
2.3 การประเมินข้อมูลยา ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและสมุนไพร
2.3 การประเมินข้อมูลยา ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและสมุนไพร
วัตถุประสงค์: เพื่อให้เภสัชกรสามารถประเมินข้อมูลเกี่ยวกับยา ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและสมุนไพร ที่
วัตถุประสงค์: เพื่อให้เภสัชกรสามารถประเมินข้อมูลเกี่ยวกับยา ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและสมุนไพร ที่
ผู้ป่วยใช้ ได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วนทั้งข้อมูลจากที่แพทย์สั่ง หรือ ได้รับมาจากสถานพยาบาล และข้อมูลที่
ผู้ป่วยใช้ ได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วนทั้งข้อมูลจากที่แพทย์สั่ง หรือ ได้รับมาจากสถานพยาบาล และข้อมูลที่
ผู้ป่วยใช้จริง โดยใช้หลัก IESAC
ผู้ป่วยใช้จริง โดยใช้หลัก IESAC
แนวทางการดําเนินงาน:
แนวทางการดําเนินงาน:
หลัก IESAC รายละเอียด
หลัก IESAC รายละเอียด
Indication ประเมินข้อบ่งใช้ของรายการยาที่ผู้ป่วยได้รับว่ามีความเหมาะสมกับผู้ป่วยที่เราดูแล
Indication ประเมินข้อบ่งใช้ของรายการยาที่ผู้ป่วยได้รับว่ามีความเหมาะสมกับผู้ป่วยที่เราดูแล
หรือไม่ ข้อมูลในส่วนนี้ช่วยให้เภสัชกรสามารถประเมินเบื้องต้นได้ว่า ผู้ป่วยมีความ
หรือไม่ ข้อมูลในส่วนนี้ช่วยให้เภสัชกรสามารถประเมินเบื้องต้นได้ว่า ผู้ป่วยมีความ


เจ็บป่วยหรือโรคอะไรบ้าง หากมีประวัติการรักษาพยาบาล หรือ การวินิจฉัยอยู่แล้ว
เจ็บป่วยหรือโรคอะไรบ้าง หากมีประวัติการรักษาพยาบาล หรือ การวินิจฉัยอยู่แล้ว
จะทําให้ เภสัชกรสามารถประเมินข้อบ่งใช้ของยาได้ง่ายขึ้น ทั้งนี้เภสัชกรต้องประเมิน
จะทําให้ เภสัชกรสามารถประเมินข้อบ่งใช้ของยาได้ง่ายขึ้น ทั้งนี้เภสัชกรต้องประเมิน
ว่ามีความเจ็บป่วยใดที่จําเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยยา แล้วไม่ได้มีการสั่งจ่ายยา
เน
ว่ามีความเจ็บป่วยใดที่จําเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยยา แล้วไม่ได้มีการสั่งจ่ายยา
หรือไม่ ถ้ามี ควรดําเนินการประสานงานกับแพทย์ผู้ให้การรักษาหรือสถานพยาบาลที่
หรือไม่ ถ้ามี ควรดําเนินการประสานงานกับแพทย์ผู้ให้การรักษาหรือสถานพยาบาลที่
เกี่ยวข้อง
เกี่ยวข้อง
Efficacy ประเมินประสิทธิภาพของยาที่ได้รับ โดยพิจารณาว่ารายการยาที่ได้รับมีประสิทธิภาพ
Efficacy ประเมินประสิทธิภาพของยาที่ได้รับ โดยพิจารณาว่ารายการยาที่ได้รับมีประสิทธิภาพ
เหมาะสมเพียงใดกับโรค ความเจ็บป่วย และสภาวะของผู้ป่วย เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยที่มี
เหมาะสมเพียงใดกับโรค ความเจ็บป่วย และสภาวะของผู้ป่วย เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยที่มี
การทํางานของตับ ไต ผิดปกติ โดย อาศัยข้อมูลจากการพูดคุย ซักประวัติ ซึ่งเป็น
การทํางานของตับ ไต ผิดปกติ โดย อาศัยข้อมูลจากการพูดคุย ซักประวัติ ซึ่งเป็น
Subjective data มาประกอบกับผลการตรวจร่างกายและผลการตรวจทางห้อง
ส� ำ
Subjective data มาประกอบกับผลการตรวจร่างกายและผลการตรวจทางห้อง
ปฏิบัติอื่นๆ ซึ่งถือว่าเป็น Objective data
ปฏิบัติอื่นๆ ซึ่งถือว่าเป็น Objective data
Safety ประเมิ น ความปลอดภั ย จากยาที่ ได้ รับ โดยพิ จารณาว่ารายการยาที่ ได้รับ มี ความ
Safety ประเมิ น ความปลอดภั ย จากยาที่ ได้ รับ โดยพิ จารณาว่ารายการยาที่ ได้รับ มี ความ
ปลอดภัยเพียงใดกับโรค ความเจ็บป่วย และสภาวะของผู้ป่วย เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยที่มี
ปลอดภัยเพียงใดกับโรค ความเจ็บป่วย และสภาวะของผู้ป่วย เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยที่มี
การทํางานของตับ ไตผิดปกติ โรคร่วมอื่นๆที่เป็นอยู่ โดย อาศัยข้อมูลจากการพูดคุย
การทํางานของตับ ไตผิดปกติ โรคร่วมอื่นๆที่เป็นอยู่ โดย อาศัยข้อมูลจากการพูดคุย
ซักประวัติ ซึ่งเป็ น Subjective data เพื่ อประเมิน อาการ (symptom) ผิดปกติ
ซักประวัติ ซึ่งเป็ น Subjective data เพื่ อประเมิน อาการ (symptom) ผิดปกติ
มาประกอบกับผลการตรวจร่างกายและผลการตรวจทางห้องปฏิบัติอื่นๆ ซึ่งถือว่า
มาประกอบกับผลการตรวจร่างกายและผลการตรวจทางห้องปฏิบัติอื่นๆ ซึ่งถือว่า
เป็ น Objective data เพื่ อ ป ระเมิ น อ าการแส ด ง (sign) โด ยป ระเมิ น ห า
เป็ น Objective data เพื่ อ ป ระเมิ น อ าการแส ด ง (sign) โด ยป ระเมิ น ห า
ความสัมพันธ์ว่า อาการและอาการแสดงที่ผิดปกติของผู้ป่วยนั้น เป็นผลมาจากการใช้
ความสัมพันธ์ว่า อาการและอาการแสดงที่ผิดปกติของผู้ป่วยนั้น เป็นผลมาจากการใช้
ยาได้หรือไม่ ทั้งอาการไม่พึงประสงค์จากยา การแพ้ยา และ Drug induced disease
ยาได้หรือไม่ ทั้งอาการไม่พึงประสงค์จากยา การแพ้ยา และ Drug induced disease
โดยพิจารณาตามหลัก LOQQSAM ได้แก่
โดยพิจารณาตามหลัก LOQQSAM ได้แก่
 Location (ตําแหน่งที่เกิด) เช่น อาการลิ้นม้วน จากการได้รับยายาต้านโรคจิตมา
 Location (ตําแหน่งที่เกิด) เช่น อาการลิ้นม้วน จากการได้รับยายาต้านโรคจิตมา
เป็นเวลานาน
เป็นเวลานาน
 Onset เช่น acute akathisia จากยาต้านจิตเวช จะเกิดขึ้นในช่วง 1-2 สัปดาห์
 Onset เช่น acute akathisia จากยาต้านจิตเวช จะเกิดขึ้นในช่วง 1-2 สัปดาห์
41 

คู  ่มือส�ำหรับเภสัชกรในการด�ำเนินงานเภสัชกรรมในหน่วยบริการปฐมภูมิ 41
หลัก IESAC รายละเอียด
แรกหลังได้รับยา
 Quality อาการเป็นอย่างไร เช่น การใช้ยา amiodarone แล้วโดนแสงจะทําให้
เกิ ด ผื่ น ที่ ห น้ า เป็ น ลั ก ษณะสี เ ทา ที่ เ รี ย กว่ า slate-coloured, blue-grey or
purple discolouration ซึ่งจะพบได้ประมาณ 9% ในผู้ป่วยอายุน้อยที่ได้รับยา
ขนาดสู งต่ อ เนื่ องเป็ น เวลานาน รวมถึ งความแตกต่ างในการ metabolism ยา
เนื่ อ งจาก desethylamiodarone จะเกิ ด phototoxic ได้ ม ากกว่ า ตั ว ยา
amiodarone เอง 2-10 เท่า
 Qauntity อาการเป็นมากน้อยเพียงใด
 Setting เกิด ขึ้ น ในสภาวการณ์ ใดบ้ าง เช่น ผู้ ป่ วยสู งอายุ ที่ มี การทํ างานของไต


บกพร่อง มีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการเอ็นร้อยหวายอักเสบได้ง่ายจากการได้รับยา
Fluoroquinolone ได้มากกว่าผู้ป่วยทั่วไป
เน
 Associated symptom อาการอื่ น ที่ เป็ น ร่ วมด้ ว ย เช่ น ผู้ ป่ วยที่ มี อ าการปวด
เมื่อยกล้ามเนื้อจากการได้รับยากลุ่ม statin นั้น หากเป็นภาวะ rhabdomyolysis
อาจมีปัสสาวะสีเข้มหรือสีดําร่วมด้วยเป็นต้น
 Modifying factor อะไรทําให้อาการดีขึ้นหรือแย่ลง การหยุดยาทําให้อาการดี
ขึ้นหรือไม่
จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้นเภสัชกรต้องประเมินให้ได้ว่า อาการเจ็บป่วย (illness)
ส� ำ
ของผู้ป่วยนั้นเป็นผลมาจากการใช้ยาได้หรือไม่ เพราะถ้าใช่ สิ่งนั้นคือ ทุกข์จากยา
(Drug Related Suffering)
Adherence การประเมินความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วย และหากพบว่าผู้ป่วยไม่ใช้ยาตามสั่ง
หรือไม่ให้ความร่วมมือในการใช้ยา เภสัชกรต้องประเมินข้อจํากัดด้านอื่นที่อาจส่งผล
กระทบต่อปัญหาความร่วมมือในการใช้ยา เช่น
 ข้อจํากัดด้านการเคลื่อนไหว ทําให้ผู้ป่วยไม่สามารถหักเม็ดยาได้
 กล้ามเนื้อมือไม่มีแรงทําให้ไม่สามารถฉีดยาอินซูลินเองได้
 ข้อจํากัดด้านผู้ดูแล เมื่อไม่มีผู้ดูแลด้านยา ทําให้ผู้ป่วยไม่สามารถบริหารยาได้ตาม
สั่ง
 การใช้ยาแล้วเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา ทําให้ผู้ป่วยและผู้ดูแลหยุดยา
หรือ ลดขนาดยาลง เพราะความกังวลที่เกิดขึ้น
42 

42
  คู่มือส�ำหรับเภสัชกรในการด�ำเนินงานเภสัชกรรมในหน่วยบริการปฐมภูมิ

หลัก IESAC รายละเอียด


Cost ค่าใช้จ่ายด้านยา อาจเป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึงยา และรูปแบบพฤติกรรมการใช้ยาได้
เภสัชกรต้องประเมินปั จจัยแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง เช่น ยามีราคาแพง ทําให้ผู้ป่วยลด
ขนาดยาลง เพื่อให้มียาเหลือพอใช้ในระยะเวลาที่ยาวนานขึ้น เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย
ด้านยา
เภสัชกรต้องประเมินความคลาดเคลื่อนทางยา โดยเฉพาะรายการยาที่มีความเสี่ยงสูง (high alert drug)
รวมถึงรายการยาที่มีดัชนีการรักษาแคบ (narrow therapeutic index) เช่น digoxin, theophylline
หากพบความคลาดเคลื่อนทางยาเกิดขึ้นทั้งในด้านการสั่งใช้ยา การจ่ายยา และการบริหารยา เภสัชกร
ต้องดําเนินการแก้ไขหรือป้องกันในเชิงระบบ และควรประสานงานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง


2.4 การรวบรวมข้อมูลและประเมินข้อมูล INHOMESSS

วัตถุประสงค์: เพื่อให้เภสัชกรสามารถรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องในการบริบาลทางเภสัชกรรมผู้ป่วยที่
เน
บ้านได้อย่างครอบคลุม และเป็นระบบสอดคล้องกับแนวทางการดําเนินงานด้านเวชศาสตร์ครอบครัว
รวมถึงสามารถประเมินข้อมูลที่รวบรวมได้ เพื่อเชื่อมโยงหาความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับรายการยาและ
การใช้ยาที่ผู้ป่วยได้รับ

แนวทางการดําเนินงาน:
ส� ำ
การรวบรวมข้อมูลโดยใช้หลัก INHOMESSS นั้น หากเป็นการเยี่ยมบ้านครั้งแรก เภสัชกรต้องรวบรวม
ข้อมูลให้ครบทุกหัวข้อ ถ้าเป็นการออกเยี่ยมซ้ํา ต้องลงบันทึกข้อมูลในส่วนที่มีการเปลี่ยนแปลง สิ่งสําคัญ
มากกว่าการรวบรวมข้อมูล คือ การประเมินข้อมูลที่รวบรวมได้เพื่อค้นหาความเกี่ยวข้องที่สัมพันธ์กับ
รายการยาและพฤติกรรมการใช้ยาที่ผู้ป่วยได้รับ

INHOMESSS รายละเอียด
Immobility ได้จากการสังเกต การเคลื่อนไหวของผู้ป่วย รวมถึงการซักถามถึงการดําเนินกิจวัตร
(การเคลื่อนไหว ประจําวันทั่วไป เช่น การรับประทานอาหาร การพักผ่อนนอนหลับ การขับถ่าย
การดําเนินกิจวัตร อุจจาระ ปัสสาวะ การมองเห็น การได้ยิน รวมถึงพิจารณาว่า
ประจําวัน)  การเคลื่อนไหวส่งผลกระทบต่อการใช้ยาหรือไม่ เช่น การหักแบ่งเม็ดยา การ
เปิดซองยา การใช้ยาสูดพ่น การหยอดตา การอ่านฉลาก
 ยาที่ผปู้ ่วยได้รบั ส่งผลต่อการดําเนินกิจวัตรประจําวัน หรือการเคลื่อนไหวที่
ผิดปกติหรือไม่ เช่น ยาต้านจิตเวช
43 

คู  ่มือส�ำหรับเภสัชกรในการด�ำเนินงานเภสัชกรรมในหน่วยบริการปฐมภูมิ 43
INHOMESSS รายละเอียด
ทั้งนี้เภสัชกรสามารถประเมิน Immobility โดยใช้แบบประเมิน Barthel
activity of daily living scale หรือเรียกสั้นๆว่า แบบประเมินคัดกรอง ADL ใน
การประเมินการเคลื่อนไหวของผู้ป่วยได้ (ตัวอย่างแบบประเมินอยู่ในภาคผนวกที่ 2
แบบประเมินคัดกรอง ADL)
Nutrition นอกจากการรวบรวมข้อมูลอาหารที่ผู้ป่วยรับประทานหรือชอบรับประทานแล้ว
(อาหารและ ต้องพิจารณาผลกระทบที่มีต่อโรคของผู้ป่วย รวมถึงการเกิดปฏิกิริยาระหว่างยากับ
โภชนาการ) อาหารที่ผู้ป่วยได้รับ รวมถึงกรณีของการบริหารยาทางสายให้อาหาร ควรพิจารณา
ความเข้ากันไม่ได้ และการเกิดปฏิกิริยาระหว่างยากับชนิดของอาหารที่ให้ทางสาย
ยากับประเภทของสายให้อาหาร นอกจากนี้เภสัชกรต้องประเมินว่ารายการยาที่


ผู้ป่วยได้รับ ส่งผลกระทบต่อภาวะโภชนาการและการรับประทานอาหารหรือไม่
เช่น ยาที่ทําให้เบื่ออาหาร กลืนอาหารลําบาก ท้องอืด
เน
Housing (สภาพ พิจารณาสภาพแวดล้อมทั้งภายในบ้านและนอกบ้านที่อาจส่งผลกระทบต่อการเก็บ
บ้าน) รักษายาและความปลอดภัยจากการใช้ยา เช่น หากสภาพบ้านเสี่ยงต่อความ
ปลอดภัยในการหกล้ม อาจต้องระวังหากผู้ป่วยได้รับยาที่มีฤทธิ์ทําให้ง่วงซึม
Other people ประเมินว่าใครเป็นผู้ดูแลด้านยาให้กับผู้ป่วยทั้งการพาไปพบแพทย์ จัดยา รวมถึง
(สมาชิกใน การบริหารที่สอดคล้องกับรูปแบบยาที่ได้รับ รวมถึงพิจารณาด้านความสัมพันธ์ของ
ครอบครัวและ บุคคลในครอบครัวว่าส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมและรูปแบบการใช้ยาของผู้ป่วย
ส� ำ
บุคคลอื่นที่ หรือไม่ ผู้ดูแลด้านยาผู้ป่วยมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ยา และรายการยาที่
เกี่ยวข้อง) ผู้ป่วยได้รับเพียงใด ทั้งนี้เภสัชกร ควรรวบรวมและบันทึกข้อมูลในรูปแบบแผนภูมิ
ครอบครัว (Family Genogram) รายละเอียดการเขียน Family Genogram
สามารถศึกษาได้ตาม
link: http://www.dlfp.in.th/upload/forum/genogram.pdf
Medication เภสัชกรต้องรวบรวมข้อมูลรายการยาที่ผู้ป่วยได้รับทั้งจากสถานพยาบาลทุกแห่งที่
(ยาและผลิตภัณฑ์ ผู้ป่วยรับบริการ และการซื้อใช้ด้วยตนเอง รวมถึงสมุนไพรผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
ที่เกี่ยวข้อง) ชนิดต่างๆ โดยใช้แนวทางตามข้อ 2.2 และ 2.3
Examination เภสัชกรใช้ข้อมูลในส่วนนี้เพื่อการประเมินและติดตามผลการใช้ยาทั้งในด้านข้อบ่ง
(การตรวจร่างกาย ใช้ ประสิทธิภาพและความปลอดภัย โดย
แปลผลการตรวจ  เภสัชกรต้องขออนุญาตผู้ป่วย รวมถึงญาติ หรือ ผู้ดูแล และแนะนําว่าตนเอง
ร่างกายและผล เป็นเภสัชกร จะทําการตรวจร่างกายเพื่อติดตามผลของการใช้ยาว่าเป็นอย่างไร
การตรวจอื่นๆที่ ก่อนตรวจร่างกายผู้ป่วยทุกครั้ง
เกี่ยวข้อง)
44 

44
  คู่มือส�ำหรับเภสัชกรในการด�ำเนินงานเภสัชกรรมในหน่วยบริการปฐมภูมิ

INHOMESSS รายละเอียด
 เภสัชกรต้องประเมินความเหมาะสมของการตรวจร่างกายที่จําเป็นกับรายการ
ยาที่ผู้ป่วยได้รับเพื่อประเมินข้อบ่งใช้ยาและติดตามผลการใช้ยาทั้งในด้านของ
ประสิทธิภาพและความปลอดภัย เช่น การฟังปอด หรือ การใช้ peak flow
meter ในผู้ป่วยโรคหืดที่ได้รับยาขยายหลอดลมหรือยาต้านการอักเสบในกลุ่ม
Steroid การจับชีพจร หรือ ฟังเสียงหัวใจในผู้ป่วยที่ได้รับยาที่มีผลต่อการเต้น
ของหั วใจ การวั ดความดั น โลหิ ต ในผู้ ป่ วยที่ ได้ รับ ยาลดความดั น โลหิ ต ทั้ งนี้
รวมถึงการตรวจร่างกายโดยการสังเกตด้วยการมองดูภายนอก เช่น ลักษณะ
ผิวหนัง การเคลื่อนไหว การพูด การได้ยิน
 เภสัชกรพึงระลึกไว้เสมอว่า การตรวจร่างกายโดยเภสัชกรนั้น มิได้ทําเพื่อการ


วินิ จ ฉั ยโรค แต่ ทํ าเพื่ อ ประเมิ น ข้ อ บ่ งใช้ ติ ด ตามผลของการใช้ ยาทั้ งในด้ าน
ประสิทธิภาพและความปลอดภัย นอกจากนี้ในบางบริบทเช่น ร้านยา การออก
เน
หน่ ว ยเคลื่ อ นที่ เชิ ง รุ ก เภสั ช กรอาจทํ า การตรวจร่ า งกายเพื่ อ คั ด กรองโรค
เบื้องต้น หากพบความผิดปกติ ต้องดําเนินการส่งต่อไปยังสถานพยาบาลเพื่อ
รับการรักษาต่อไป
Safety เป็ น การประเมิ น ความปลอดภั ย ในภาพรวมของการดํ าเนิ น งานชี วิ ต ประจํ าวั น
(ความปลอดภัย) ภายในบ้านและสภาพแวดล้อมภายนอกที่เกี่ยวข้อง โดยพิจารณาว่ามีความสัมพันธ์
กับรายการยาที่ผู้ป่วยได้รับหรือไม่ เช่น ผู้ป่วยสูงอายุได้รับยาที่มีโอกาสทําให้เกิด
ส� ำ
อาการง่วงซึม อาจเกิดความเสี่ยงในการหกล้มได้ง่าย หากพบว่าพื้นบ้านมีการเล่น
ระดับไม่แข็งแรง บันได หรือ ห้องน้ํา ไม่มีราวจับ พื้นห้องน้ํามีลักษณะลื่น หรือ หก
ล้มง่าย
Spirituality เภสัชกรต้องรวบรวมข้อมูลด้านทัศนคติ ความเชื่อ ความศรัทธาต่อการใช้ชีวิตของ
(ทัศนคติ ความ ผู้ป่วย รวมถึงสมาชิกในครอบครัว โดยอาศัยการสังเกตจากสิ่งต่างๆภายในบ้าน
ศรัทธา ความเชื่อ) เช่น รูปถ่าย วัตถุมงคล หรือ จากการพูดคุย ซักถาม ซึ่งจากข้อมูลดังกล่าวข้างต้นที่
รวบรวมได้ เภสัชกรต้องประเมินว่าส่งผลกระทบต่อพฤติกรรม ทัศนคติ ความเชื่อ
และความร่วมมือต่อการใช้ยาของผู้ป่วย รวมถึงสมาชิกในครอบครัวได้หรือไม่
Service เภสัชกรต้องรวบรวมข้อมูลแหล่งบริการด้านการรักษาพยาบาล ด้านสุขภาพ และ
(การรับบริการ ด้ า นยาของผู้ ป่ ว ยว่ า ได้ รั บ บริ ก ารจากที่ ใ ดบ้ า ง เช่ น โรงพยาบาลระดั บ ต่ า งๆ
ด้านสุขภาพ) โรงพยาบาลส่ ง เสริ ม สุ ข ภาพตํ า บล ศู น ย์ บ ริ ก ารสาธารณสุ ข ร้ า นยา ร้ า นชํ า
สถานพยาบาลการแพทย์แผนไทย การแพทย์ทางเลือกต่างๆ
45 

คู  ่มือส�ำหรับเภสัชกรในการด�ำเนินงานเภสัชกรรมในหน่วยบริการปฐมภูมิ 45
INHOMESSS รายละเอียด
 ในกรณีที่ผู้ป่วยรับยาจากหลายสถานพยาบาล เภสัชกรต้องประเมินและทําการ
ประสานรายการยา (Medication Reconciliation) ที่ ผู้ ป่ ว ยได้ รั บ ทั้ ง หมด
หากพบปัญหาหรือความคลาดเคลื่อนทางยาเกิดขึ้น เภสัชกรต้องดําเนินการ
ประสานงานทันที กับสถานพยาบาลที่เกี่ยวข้องทั้งทางวาจา (ทางโทรศัพท์ )
รวมถึงการสื่อสารข้อมูลเป็นลายลักษณ์อักษรตามความเหมาะสม
 เภสั ช กรควรทราบสิ ท ธิ ด้ า นการรั ก ษาพยาบาลและสภาพการใช้ สิ ท ธิ
รักษาพยาบาลดังกล่าวว่ามีปัญหาเกิดขึ้นหรือไม่ รวมถึงผลกระทบที่อาจส่งผล
ต่อการเข้าถึงยาและการใช้ยา


2.5 การประเมินความเจ็บป่วย (Iillness) โดยใช้หลัก IFFE
เน
วัตถุประสงค์: เพื่อให้เภสัชกรสามารถประเมินความเจ็บป่วย (Iillness) ของผู้ป่วยได้อย่างถูกต้องโดยใช้
หลักการฟังที่มปี ระสิทธิภาพ และประเมินด้วยหลัก IFFE (Idea-Feeling-Function-Expectation)

แนวทางการดําเนินการ

2.5.1 เภสัช กรต้ องประเมิ น ความเจ็บ ป่ วย (Iillness) ของผู้ ป่ วยทุ ก รายที่ อ อกเยี่ ย มบ้ าน ค้ น หา และ
ส� ำ
วิ นิ จ ฉั ย ทางเภสั ช กรรม (Pharmaceutical diagnosis) ว่ า เป็ น ปั ญ หาที่ เกิ ด จากยา (Drug Related
Problem) ก่อให้เกิดทุกข์ที่เกิดจากยา (Drug Related Suffering: DRS) หรือไม่

2.5.2 เภสัชกรต้องมีหน้าที่ประเมินและติดตามผล (Monitoring) การใช้ยาของผู้ป่วยที่ออกเยี่ยมบ้านทุก


รายในด้านของประสิทธิภาพและความปลอดภัย การค้นพบและประเมินได้ว่าผู้ป่วยมีความทุกข์จากการ
ใช้ยา (DRS) เป็นการสะท้อนให้เห็นมิติด้านความปลอดภัยที่เภสัชกรต้องให้ความสําคัญเช่นเดียวกับการ
ติดตามด้านประสิทธิภาพของการใช้ยา

2.5.3 เภสัชกรต้องอาศัยทักษะการฟังที่มีประสิทธิภาพ เพื่อประเมินความเจ็บป่วย โดยใช้หลัก IFFE ซึ่ง


ประกอบด้ ว ย Idea (ความคิ ด ) Feeling (ความรู้ สึ ก ) Function (การใช้ ชี วิ ต ) Expectation (ความ
คาดหวัง) โดยพิจารณาทั้งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับโรคที่ผู้ป่วยเป็น รูปแบบการรักษา และในส่วนที่สําคัญ
มากสําหรับเภสัชกรคือ ต่อยา และรูปแบบการรักษาด้วยยาที่ผู้ป่วยได้รับ
46 

46
  คู่มือส�ำหรับเภสัชกรในการด�ำเนินงานเภสัชกรรมในหน่วยบริการปฐมภูมิ

IFFE รายละเอียด
Idea (ความคิด) ผู้ป่วยคิดอย่างไรต่อโรคที่ตนเองเป็น การดําเนินของโรค ยาและการใช้ยาที่ได้รับ
Feeling ผู้ป่วยรู้สึกอย่างไรต่อการเป็นโรค ต่อรูปแบบการรักษา ต่อการใช้ยาหรือ ผลลัพธ์
(ความรู้สึก) จากการใช้ยาดีขึ้นหรือแย่ลง
Function โรคที่ผู้ป่วยเป็น รูปแบบการรักษา หรือยาที่ผู้ป่วยได้รับ มีผลต่อรูปแบบการดําเนิน
(การใช้ชีวิต) ชี วิ ต และสมรรถนะต่ างๆ ของผู้ ป่ ว ยในการดํ า เนิ น ชี วิ ต หรื อ ไม่ การใช้ ย าทํ า ให้
สมรรถนะในการทํางานเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะใด รวมถึงพิจารณาสมรรถนะใน
การทํ างานของร่างกายว่ามีผลกระทบต่อรูปแบบการใช้ยาหรือไม่ เพี ยงใด เช่น
ผู้ป่วยรู้สึกว่ารับประทานยาไปแล้ว ทําให้นอนไม่หลับ หรือ ผู้ป่วยที่มีปัญ หาการ
กลืนลําบาก ทําให้มีอุปสรรคต่อการรับประทานยา ในกรณีนี้ต้องพิจารณาเป็น 2


ประเด็นคือ
 การกลืนลําบากเป็นผลมากจากการใช้ยาได้หรือไม่ เช่น การได้รับยาที่มีฤทธิ์
เน Anticholinergic สู ง จะทํ า ให้ ป ากคอแห้ ง ก่ อ ให้ เกิ ด ปั ญ หาด้ า นการกลื น
ตามมาได้
 การกลืนลําบากส่งผลต่อประสิทธิภาพและรูปแบบในการบริหารยาหรือไม่
Expectation ผู้ป่วยมีความคาดหวังอย่างไรต่อการดําเนินชีวิต รูปแบบการรักษาโรค ต่อการใช้ยา
(ความคาดหวัง)
ส� ำ
2.5.4 นอกจากผู้ป่วยแล้ว เภสัชกรต้องประเมินความเจ็บป่วยของผู้ดูแล และสมาชิกในครอบครัว รวมถึง
บุคคลรอบข้างที่เกี่ยวข้องด้วย หากพบว่า มีปัญหาด้านสุขภาพ ความเจ็บป่วยหรือความวิตกกังวลเกิดขึ้น
ต้องให้การดูแล เพราะอาจส่งผลกระทบต่อการดูแลผู้ป่วยตามมาได้ในภายหลัง

2.6 การประเมินการใช้ยาผูป้ ่วยโรคเรื้อรังด้วยหลัก 4C

วัตถุประสงค์: เพื่อให้เภสัชกรสามารถประเมินผู้ป่วยโรคเรื้อรังได้อย่างครอบคลุมและมีประสิทธิภาพ
สามารถประเมินรูปแบบการรักษาด้วยยาได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม สอดคล้องกับสภาวะของผู้ป่วยเพื่อ
นําไปสู่การวางแผนในการป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านยาอย่างมีประสิทธิภาพ
47 

คู  ่มือส�ำหรับเภสัชกรในการด�ำเนินงานเภสัชกรรมในหน่วยบริการปฐมภูมิ 47
แนวทางการดําเนินงาน

2.6.1 ในการประเมิ น ผู้ ป่ ว ยโรคเรื้ อ รั ง เภสั ช กรต้ อ งใช้ ห ลั ก 4C ได้ แ ก่ Control (การควบคุ ม โรค)
Compliance (ความร่วมมือ) Complication (ภาวะแทรกซ้อน) และ Concern (ความตระหนัก) โดย
ในแต่ละหัวข้อของการประเมินนั้น จะใช้ข้อมูลทั้งในส่วนของ Subjective data และ Objective data
มาประกอบการพิจารณาร่วมกันเสมอ ซึ่งข้อมูลทั้งหมดมาจากทั้งในส่วนของ INHOMESSS และการฟัง
ให้ได้ IFFE

4C รายละเอียด
Control การที่เภสัชกรจะประเมินผลของการควบคุมโรคได้ ต้องทราบแนวทางการรักษาโรค


(การควบคุมโรค) เหล่านั้น รวมถึงต้องทราบเป้าหมายในการรักษาผู้ป่วยแต่ละราย รวมถึงผลลัพธ์
ด้ านประสิท ธิภาพของรายการยาที่ ผู้ ป่ วยได้ รับ ทั้ งนี้ เภสั ช กรต้ อ งทราบ อาการ
อาการแสดง และผลการตรวจอื่นๆที่เกี่ยวข้องที่แสดงให้เห็นว่าผู้ป่วยนั้นสามารถ

Compliance
เน
ควบคุมโรคได้ดีมากน้อยเพียงใด
นอกจากความร่วมมือในการใช้ยาแล้ว เภสัชกรต้องประเมินความร่วมมือ
(ความร่วมมือ) ในด้ า นอื่ น ๆ ที่ ส่ ง ผลกระทบต่ อ รู ป แบบการรั ก ษาและอาจมี ส่ ว นเกี่ ย วข้ อ งต่ อ
ประสิทธิภาพในการรักษาด้วยยา เช่น การควบคุมอาหาร การออกกําลังกาย ซึ่ง
ความร่วมมือในส่วนอื่นนั้น ขึ้นกับโรค สภาวะโรค รวมถึงสภาวะของผู้ป่วย หาก
พบว่าผู้ป่วยมีปัญหาด้านความร่วมมือในการใช้ยาและการปฏิบัติตัว เภสัชกรต้อง
ส� ำ
ประเมิ น หาสาเหตุ ห รือ ผลกระทบอื่ น เพื่ อ หาแนวทางการแก้ ไขปั ญ หา ได้ อ ย่ าง
ถูกต้อง เหมาะสม
เช่น หากผู้ป่วยไม่ได้รับการฉีดอินซูลินอย่างสม่ําเสมอ เพราะผู้ดูแลที่ฉีดยา
ให้กลับบ้านไม่เป็นเวลา ในกรณีนี้การแก้ปัญหา ไม่ใช่ที่ตัวผู้ป่วย แต่ต้องดําเนินการ
ประสานแก้ไขปัญหากับผู้ดูแล หรือ ผู้ป่วยที่ไม่สามารถเปิดซองยา หรือ ฉีกแผงยา
ได้ทําให้ไม่สามารถรับประทานยาได้อย่างต่อเนื่อง ทั้งที่ผู้ป่วยเห็นความสําคัญของ
การรับประทานยาแต่มีข้อจํากัดด้านสมรรถนะทางกายที่ส่งผลกระทบต่อความ
ร่วมมือในการใช้ยา กรณีนี้ เภสัชกรต้องออกแบบรูปแบบแนวทางการบริหารยาที่
เหมาะสมกับผู้ป่วยรายนี้จึงจะสามารถแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
Complication เภสัชกรต้องประเมินให้ได้ว่า ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นเป็นผลมาจากโรค หรือ ยา
(ภาวะแทรกซ้อน) โดยเฉพาะภาวะแทรกซ้อนที่เป็นผลมากจากการใช้ยานั้น เป็นสิ่งที่เภสัชกรต้อง
ประเมินและดําเนินการแก้ไขให้ได้ ทั้งนี้ภาวะแทรกซ้อนจากการใช้ยาเป็นสิ่งสําคัญ
เพราะอาจส่งผลกระทบต่อความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วยในระยะยาว
48 

48
  คู่มือส�ำหรับเภสัชกรในการด�ำเนินงานเภสัชกรรมในหน่วยบริการปฐมภูมิ

Concern เภสัชกรต้องประเมินความตระหนักต่อการใช้ยา และรูปแบบการรักษาด้วยยาที่


(ความตระหนัก) ผู้ป่วยได้รับ รวมถึง ความตระหนักต่อการดําเนินไปของโรค โดยอาศัยทักษะการฟัง
ให้ได้ IFFE หากพบว่าผู้ป่วยมีความตระหนักหรือกังวลต่อการใช้ยา อาจจะส่งผล
กระทบต่อความร่วมมือในการใช้ยาได้ เภสัชกร ต้องดําเนินการแก้ไขบนพื้นฐาน
ของความเข้าใจในความคิด อารมณ์ ความรู้สึก ความคาดหวัง และข้อจํากัดอื่นๆ ที่
อาจจะส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมการใช้ยาของผู้ป่วย

2.6.2 ในการประเมินผู้ป่วยโรคเรื้อรังนั้น การเกิดปัญหาในข้อใดข้อหนึ่งของ 4C อาจส่งผลกระทบต่อ


ภาพรวมของผลลั พ ธ์ ใ นการรั ก ษาของผู้ ป่ ว ย เช่ น ผู้ ป่ ว ยเกิ ด ภาวะแทรกซ้ อ นจากการใช้ ย า


(Complication) ทํ า ให้ ผู้ ป่ ว ยกั ง วล เกิ ด ความกลั ว หรื อ ตระหนั ก ต่ อ ผลลั พ ธ์ ที่ เ กิ ด จากการใช้ ย า
(Concern) ส่งผลให้มีปัญหาด้านความร่วมมือในการใช้ยาตามมา (Compliance) ส่งผลให้ท้ายสุด ไม่
เน
สามารถควบคุ ม โรคได้ ต ามเป้ า หมายของการรั ก ษาที่ ค วรจะเป็ น (Control) หรื อ ผู้ ป่ ว ยเกิ ด
ภาวะแทรกซ้อนจากโรค เช่น คลื่นไส้ อาเจียน จากโรคไตเรื้อรังระยะที่ 5 แต่ผู้ป่วยคิดว่าเป็นผลแทรก
ซ้อนจากการใช้ยา จึงหยุดยา ส่งผลให้การรักษาโรคไม่เป็นไปตามเป้าหมายได้เช่นเดียวกัน

2.7 การประเมินผูด้ ูแลด้วยหลัก Caregiver

วัตถุประสงค์: เพื่อให้เภสัชกรสามารถประเมินผู้ดูแลได้อย่างครอบคลุมและมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะ


ส� ำ
ผู้ดูแลที่ทําหน้าที่ดูแลด้านยาให้แก่ผู้ป่วยที่ไม่สามารถ บริหารยาได้เอง หรือ จัดการดูแลด้านยาได้เอง
อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้การประเมินผู้ดูแลทําให้เภสัชกรสามารถประเมินได้ว่าผู้ดูแลมีความ
เจ็บป่วย ความเครียดหรือความวิตกกังวลใดหรือไม่ หากพบว่ามีปัญหาดังกล่าว เภสัชกรจะได้ดําเนินการ
แก้ไข หรือป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นได้

แนวทางการดําเนินงาน

2.7.1 เภสัชกรประเมินผู้ดูแลหลักด้วยหลัก CAREGIVER ได้แก่

CAREGIVER รายละเอียด
Care เภสัชกรสอบถามผู้ดูแลเกี่ยวกับ
 รายละเอียดในการดูแลผู้ปว่ ยโดยเฉพาะการดูแลด้านยา เช่น การให้ยาทาง
สายให้อาหาร การฉีดอินซูลิน การจัดยาเป็นมื้อ การพาไปพบแพทย์ตามนัด
รวมถึงการดูแลด้านอื่นตามสมควร
49 

คู  ่มือส�ำหรับเภสัชกรในการด�ำเนินงานเภสัชกรรมในหน่วยบริการปฐมภูมิ 49
CAREGIVER รายละเอียด
 ประเมินความสามารถของผูด้ ูแล หากพบความคลาดเคลื่อนในการบริหารยา
เภสัชกรต้องประเมินความรู้ ความเข้าใจพื้นฐานของผู้ดูแล ก่อนที่จะให้ความรู้
ความเข้าใจและแนวทางการปฏิบัติใหม่ที่ถกู ต้อง ทั้งนี้เภสัชกรต้องจัดรูปแบบ
การดูแลด้านยาให้สอดคล้องกับรูปแบบการดําเนินชีวิตของผู้ป่วยและผู้ดูแล
โดยให้ผู้ดูแลมีส่วนร่วมในการเสนอแนะทางเลือกและทางออกในการวางแผน
บริหารยา

Affection เภสัชกรประเมินสภาพทางอารมณ์และความรู้สึกต่างๆของผู้ดูแลทีม่ ีความสัมพันธ์


และเป็นผลจากการดูแลผู้ป่วยทั้งทางด้านยาและด้านอื่นๆ เช่น ความเครียด ความ


วิตกกังวล เมื่อต้องทําหน้าที่บริหารยาอินซูลิน ให้กับผู้ป่วย
Rest เภสัชกรประเมินว่าผู้ดูแลได้รับการพักผ่อนอย่างเพียงพอหรือไม่ รวมถึงมีโอกาสได้
เน
ทํากิจกรรมในสิ่งที่ตนเองชอบบ้างหรือไม่ รูปแบบและวิธีการบริหารยาที่ต้อง
กระทําต่อผู้ป่วยส่งผลกระทบต่อการพักผ่อนของผู้ดูแลหรือไม่อย่างไร
Empathy เภสัชกรต้องแสดงความเห็นอกเห็นใจเมื่อมีโอกาส หากพบว่าผู้ดูแลมีความเหนื่อย
ล้า ขาดความมั่นใจ โดยเฉพาะต่อการดูแลด้านยาแก่ผู้ป่วย ไม่ตําหนิหากพบว่าเกิด
ความผิดพลาดในการดูแลด้านยา
Goal of care เภสัชกรควรสอบถามผู้ดูแลว่า ทราบเป้าหมายของการดูแลผู้ป่วยหรือไม่ และ
ส� ำ
เป้าหมายเป็นอย่างไร รวมถึงเป้าหมายในการรักษาด้วยยา รวมถึงพิจารณาว่า
ผู้ดูแลมีความคาดหวังต่อรูปแบบการรักษาและการใช้ยาเป็นอย่างไร อยากได้
ผลลัพธ์อย่างไร จากการรักษาด้วยยา มีการกําหนดเป้าหมายในการรักษาด้วยยา
ร่วมกันระหว่างเภสัชกรและผู้ดูแล

Informationเภสัชกรต้องให้ความรู้เรื่องยา การใช้ยา ความรู้เรื่องโรค การดําเนินไปของโรค และ


ภาวะแทรกซ้อน ทั้งนี้เภสัชกรต้องให้คําแนะนําการเฝ้าระวังอาการข้างเคียงที่
อาจจะเกิดขึ้นจากยา รวมถึงแนวทางการป้องกันและแก้ไข หากเกิดอาการข้างเคียง
จากการใช้ยาดังกล่าว
Ventilation เภสัชกรควรรับฟังผู้ดูแล รวมถึงให้คําแนะนําผู้ดูแลในการหาบุคคลอื่นที่สามารถคุย
เพื่อขอคําปรึกษา ขอความช่วยเหลือ และสามารถระบายความรู้สึกเมื่อเกิดความ
กังวลหรือไม่สบายใจได้ เภสัชกรต้องใช้ทักษะการฟังให้ได้ IFFE เพื่อให้เข้าใจ
ความคิด อารมณ์ ความรู้สกึ การใช้ชีวิตและความคาดหวังของผู้ดูแล
Empowerment เภสัชกรควรชื่นชมให้กําลังใจในสิ่งที่ผู้ดแู ลกระทําได้ดี โดยเฉพาะในส่วนของการ
50 

50
  คู่มือส�ำหรับเภสัชกรในการด�ำเนินงานเภสัชกรรมในหน่วยบริการปฐมภูมิ

CAREGIVER รายละเอียด
ดูแลด้านยาและการบริหารยาให้แก่ผู้ป่วย หากต้องมีการแก้ไข ต้องให้กาํ ลังใจและ
โน้มน้าวให้ผู้ดูแลเกิดความมัน่ ใจในตนเองและมีความเชื่อมั่นว่าตนเองสามารถ
กระทําได้อย่างถูกต้องตามคําแนะนํา
Resources เภสัชกรควรหาผู้ช่วยเหลือด้านต่างๆ ตามความเหมาะสมและความจําเป็น
สอดคล้องตามสภาพปัญหาและสภาวะแวดล้อมของผู้ป่วยและผู้ดูแล โดยเฉพาะ
แหล่งข้อมูลในการช่วยเหลือด้านยาและการบริหารยาแก่ผู้ป่วย
2.7.2 หากเภสัชกรประเมินผู้ดูแลแล้วพบว่ามีความคลาดเคลื่อน ความเข้าใจผิด หรือเกิดความผิดพลาด
ในการบริหารยาแก่ผู้ป่วย เภสัชกรต้องไม่ตําหนิ หรือ กล่าวโทษ แต่ต้องให้ความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง


แสดงความเห็นอกเห็นใจ รับฟังสาเหตุของการเกิดความผิดพลาดดังกล่าว และร่วมกันหาแนวทางในการ
แก้ไขหรือป้องกันปัญหาดังกล่าว
เน
2.7.3 ในกรณีที่พบว่า ผู้ดูแลมีความเจ็บป่วย และต้องการความช่วยเหลือจากสมาชิกในทีมสหสาขา
วิชาชีพ เภสัชกรต้องมีการประสานงานส่งต่อข้อมูล และมีการวางแผนร่วมกันกับสมาชิกในทีมสุขภาพ
เพื่อให้การช่วยเหลืออย่างถูกต้อง เหมาะสม ทันเวลา

2.8 การจัดการปัญหาด้านยา

วัตถุประสงค์: เพื่อให้เภสัชกรสามารถจัดการปัญหาด้านยาได้อย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับสภาพ


ส� ำ
ปัญหา ความรุนแรง และความเร่งด่วนของปัญหา

แนวทางการปฏิบัติงาน:

เมื่อเภสัชกร ได้รวบรวมข้อมูล และดําเนินการประเมินผู้ป่วยอย่างเป็นระบบแล้ว หากพบว่าเกิดปัญหา


ด้านยา เภสัชกรต้องดําเนินการแก้ไขปัญหาตามสภาพปัญหา ความรุนแรงและความเร่งด่วนของปัญหา
ในกรณีที่ยังไม่เกิดปัญหา เภสัชกรต้องวางแผนในการป้องกันมิให้เกิดปัญหาขึ้น

2.8.1 กรณีที่เป็นปัญหาด้านยาที่รุนแรง เร่งด่วน หากปล่อยทิ้งไว้อาจเกิดอันตรายกับผู้ป่วย เภสัชกรต้อง


ดําเนินการแก้ไขปัญหาทันที เช่น ผู้ป่วยมีค่าความดันโลหิตสูงวิกฤติ ค่าระดับน้ําตาลในเลือดสูงมาก ชีพ
จรเต้นน้อยกว่า 50 ครั้งต่อนาที

2.8.2 กรณีที่เป็นปัญหาที่ไม่รุนแรง ไม่เร่งด่วน เภสัชกรควรพิจารณาแนวทางการดําเนินงานที่เหมาะสม


เช่น การกําหนดเยี่ยมซ้ําเพื่อติดตามผู้ป่วย
51 

คู  ่มือส�ำหรับเภสัชกรในการด�ำเนินงานเภสัชกรรมในหน่วยบริการปฐมภูมิ 51
2.8.3 รูปแบบการแก้ไขปัญหา ดําเนินการได้ 3 ระดับ ได้แก่

1) เภสัชกรสามารถดําเนินการแก้ไขได้ด้วยตนเอง หรือภายในฝ่ายเภสัชกรรม เช่น ผู้ป่วยบริหาร


ยาผิด ผู้ป่วยมีปัญหาด้านความจํา เภสัชกรอาจออกแบบรูปแบบวิธีการบริหารยาที่เอื้อต่อ
การใช้ ยาของผู้ ป่วย การปรับ เปลี่ยนเวลาในการบริหารยาให้ สอดคล้ องกับ รูป แบบการ
ดําเนินชีวิต โดยนําข้อมูลทางเภสัชจลนศาสตร์ของยาที่เกี่ยวข้องมาประกอบการพิจารณา
2) เภสัชกรต้องอาศัยสมาชิกในทีมสหสาขาวิชาชีพในการแก้ปัญหา เช่น โทรปรึกษาแพทย์ เพื่อ
ขอคําแนะนําในการปรับขนาดยา ส่งต่อพยาบาลวิชาชีพกรณีผู้ป่วยต้องการการพยาบาลที่
จําเป็น ส่งต่อนักกายภาพบําบัดสําหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านการเคลื่อนไหว ส่งต่อนักสังคม


สงเคราะห์ กรณีผู้ป่วยมีปัญหาด้านสวัสดิการที่เกี่ยวข้องกับการรักษาพยาบาล
3) เภสัชกรต้องประสานงานกับหน่วยงานภายนอกหรือสถานพยาบาล หรือโรงพยาบาลของตน
เน
ในการดําเนินการ เช่น หากผู้ป่วยได้รับยาจากหลายโรงพยาบาล อาจต้องโทรประสานขอ
ข้อมูลยาที่เกี่ยวข้องจากโรงพยาบาลอื่นๆ การขอความช่วยเหลือจากองค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่น สถานสงเคราะห์หรือมูลนิธิที่เกี่ยวข้อง

2.8.4 การปรับ ขนาดยา หรื อ รู ป แบบการรัก ษาด้ ว ยยา ขึ้ น อยู่ กั บ ข้ อ ตกลงของสถานพยาบาลหรื อ
โรงพยาบาลที่กําหนดไว้ เช่น บางโรงพยาบาลอาจกําหนดแนวทางการปรับขนาดยามอร์ฟีน เพื่อระงับ
ส� ำ
ปวด ยาฉีดอินซูลิน ในผู้ป่วยเบาหวาน ยาต้านโรคจิตในผู้ป่วยจิตเวชสําหรับเภสัชกร

2.8.5 ในกรณี ที่ไม่มีการกําหนดแนวทางในการปรับขนาดยาไว้ เภสัชกรไม่ควรปรับขนาดยาเอง ทั้งนี้


เภสัชกรต้องประสานแพทย์เจ้าของไข้ หรือ แพทย์ผู้เกี่ยวข้องก่อนทุกครั้ง เพื่อขอคําปรึกษาและแนวทาง
ในการปรับขนาดยาผู้ป่วย ในกรณีที่เป็นการปรึกษาทางโทรศัพท์ หรือ การสื่อสารด้วยวาจา ให้เภสัชกร
ลงบันทึกเป็นหลักฐานในเวชระเบียนหรือแบบบันทึกที่เกี่ยวข้องพร้อมระบุ วันเวลาที่ขอคําปรึกษาใน
ภายหลัง

2.8.6 ในกรณีที่ผู้ป่วยปฏิเสธการเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลตามที่แนะนํา เนื่องจากมีข้อจํากัดบาง


ประการ และต้องการให้เภสัชกรแนะนํารายการยาเพื่อไปซื้อมาใช้เอง เภสัชกรควรโทรประสานแพทย์ใน
สถานพยาบาลของตน เพื่อส่งต่อข้อมูลและขอคําแนะนํารายการยาที่ผู้ป่วยควรใช้ทั้งชื่อยา ขนาดยา
วิธีการบริหารยา และระยะเวลาในการใช้ยา
52 

52
  คู่มือส�ำหรับเภสัชกรในการด�ำเนินงานเภสัชกรรมในหน่วยบริการปฐมภูมิ

3. การดําเนินงานหลังออกเยี่ยมบ้าน
3.1 การลงบันทึกการเยี่ยมบ้าน

วัตถุประสงค์: เพื่อให้การลงบันทึกการเยี่ยมบ้านเป็นไปอย่างถูกต้อง สมบูรณ์ ครอบคลุมข้อมูลที่


จําเป็นต้องใช้ในการบริบาลทางเภสัชกรรมอย่างต่อเนื่อง รวมถึง เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยง ส่งต่อข้อมูลไป
ยังหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในการดูแลผูป้ ่วยร่วมกัน

แนวทางปฏิบตั ิงาน

เภสัชกรผู้ให้การบริบาลทางเภสัชกรรมที่บ้าน ต้องมีการจัดทําและลงข้อมูลในแบบบันทึกที่มีการเก็บไว้


ในฝ่ายเภสัชกรรม รวมถึงมีการลงบันทึกข้อมูลด้านยาและการบริบาลเภสัชกรรมที่ได้ดําเนินไปในแบบ
บันทึกอื่นที่เกี่ยวข้องกับงานเยี่ยมบ้านของฝ่ายหรือแผนกอืน่ ที่มีการออกเยี่ยมบ้าน ทั้งนี้การลงแบบ
บันทึกแยกออกเป็น 2 กรณีคือ แบบบันทึกการบริบาลทางเภสัชกรรมผู้ป่วยที่บา้ นของฝ่ายเภสัช

แบบบันทึก
เน
กรรม และ แบบบันทึกการเยี่ยมบ้านของหน่วยงานทีเ่ กี่ยวข้อง

ข้อมูลที่ควรมี
การบันทึกการบริบาลทาง 1. ข้อมูลพื้นฐานทั่วไป ประกอบด้วย ชื่อ นามสกุล เลขที่บัตรประชาชน
เภสัชกรรมผู้ปว่ ยที่บ้าน อายุ เพศ วันเดือนปีเกิด โรคประจําตัว ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ ชื่อที่อยู่
ของฝ่ายเภสัชกรรม และเบอร์ติดต่อของผู้ดูแลหรือญาติในกรณีฉุกเฉิน รวมถึงประวัติการ
ส� ำ
แพ้ยาที่ระบุชื่อยาสามัญ และอาการที่เกิดขึ้น
2. แผนที่ บ้ า นของผู้ ป่ ว ยเพื่ อ ความสะดวกในการออกเยี่ ย มครั้ งต่ อ ไป
พร้อมระบุที่อยู่และเบอร์โทรศัพท์ในข้อมูลส่วนนี้
3. ข้อมูล INHOMESSS ในการออกเยี่ยมครั้งแรก และปรับปรุงให้ เป็ น
ปัจจุบันในการเยี่ยมครั้งต่อไป และควรระบุวันเดือนปีที่เยี่ยมและมี
การเปลี่ยนแปลงข้อมูล
4. ข้อมูลแผนภูมิครอบครัว (Genogram) โดยอาจเป็นส่วนหนึ่งของการ
ลงบันทึกในส่วนของ INHOMESSS หัวข้อ Other people
5. ข้อมูลการตรวจร่างกายหรือสัญญาณชีพที่ตรวจวัดได้ทุกครั้งที่มีการ
ออกเยี่ยมบ้าน รวมถึงบันทึกผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการอื่นๆ (ถ้า
มี) เช่น ผลการตรวจเลือด ผลการตรวจปัสสาวะ ผลการตรวจภาพรังสี
53 

คู  ่มือส�ำหรับเภสัชกรในการด�ำเนินงานเภสัชกรรมในหน่วยบริการปฐมภูมิ 53
แบบบันทึก ข้อมูลที่ควรมี
6. ข้อมูลการใช้ยาของผู้ป่วย ซึ่งระบุ ชื่อสามัญทางยา ชื่อการค้า (ตาม
ความเหมาะสม) ความแรง วิธีการบริหารยา โดยควรบันทึกในรูปแบบ
ตารางเพื่อง่ายต่อการประเมินการเปลี่ยนแปลงรายการยาและวิธีการ
บริหารยาของผู้ป่วย หลีกเลี่ยงการลงบันทึกโดยพิจารณาจากข้อมูล
บนซองยาอย่างเดียว โดยไม่มีการสอบถามวิธีการใช้ยาจริงของผู้ป่วย
7. ข้อมูลการบริบาลทางเภสัชกรรมซึ่งประกอบด้วย
1) ปัญหาที่พบ
2) ข้ อ มู ล เชิ ง จิ ต พิ สั ย (Subjective data) ข้ อ มู ล เชิ ง วั ต ถุ พิ สั ย
(Objective data) ที่ มี ค วามสอดคล้ อ งกั บ ข้ อ มู ล ที่ มาจาก


INHOMESSS
เน 3) การประเมินปัญหาที่พบว่ามีความเกี่ยวข้องกับปัญหาที่เกิดจากยา
(Drug Related Problem: DRP) โดยใช้ รู ป แบบการประเมิ น
ความเจ็บป่วยด้วย IFFE และการประเมินโรคเรื้อรังด้วย 4C
4) การวางแผนและการลงมือแก้ปัญหาที่ได้ดําเนินการไป ควรมีการ
กําหนดเป้าหมายที่เป็นรูปธรรม จับต้องได้ และง่ายต่อการนําไป
ปฏิ บั ติ นอกเหนื อ จากการกํ าหนดเป้ าหมายตามแนวทางการ
รักษามาตรฐาน (guideline)
ส� ำ
5) แผนการติดตามเยี่ยมบ้านซ้ํา
8. หากพบว่าผู้ป่ วยไม่ สามารถช่ วยเหลือตนเองได้ จําเป็ น ต้องมี ผู้ ดูแ ล
เภสั ชกรต้องมี การบัน ทึ กผลการประเมิ น ผู้ดูแ ลตามแนวทาง CARE
GIVER ลงในแบบบันทึกการเยี่ยมบ้านด้วย
9. ลงบันทึกชื่อ นามสกุล ของเภสัชกรผู้ดําเนินการทุกครั้งในแบบบันทึก
การบริบาลทางเภสัชกรรม
การบันทึกข้อมูลด้านยา 1. รายการยาที่ผู้ป่วยได้ รับ โดยระบุ ชื่อสามั ญ ทางยา ชื่ อการค้า (ตาม
หรือการบริบาลทางเภสัช ความเหมาะสม) ความแรง วิธีบริหารยา โดยควรบั นทึกในรูปแบบ
กรรมลงในแบบบันทึก ตารางเพื่อง่ายต่อการประเมินการเปลี่ยนแปลงรายการยา และวิธีการ
ของหน่วยงานอื่นที่ บริหารยาของผู้ป่วย หากผู้ป่วยบริหารยาไม่สอดคล้องกับวิธีที่แพทย์
เกี่ยวข้อง ระบุไว้บนหน้าซอง ต้องระบุทั้งวิธีที่แพทย์สั่ง และวิธีที่ผู้ป่วยใช้จริง
2. ปัญหาด้านยาที่พบ
54 

54
  คู่มือส�ำหรับเภสัชกรในการด�ำเนินงานเภสัชกรรมในหน่วยบริการปฐมภูมิ

แบบบันทึก ข้อมูลที่ควรมี
3. การประเมิน ปั ญ หาที่ พ บว่ามี ความเกี่ยวข้องกับ ปั ญ หาที่ เกิดจากยา
(Drug Related Problem: DRP) นําข้อมูลเชิงจิตพิสัย (Subjective
data) ข้อมูลเชิงวัตถุพิสัย (Objective data) ที่มีความสอดคล้องกับ
ปั ญ หามาประกอบการประเมิ น ความเจ็ บ ป่ ว ยด้ ว ย IFFE และการ
ประเมินโรคเรื้อรังด้วย 4C
4. การวางแผนและการลงมือแก้ไขปัญหาที่ได้ดําเนินการไป
5. การประสานงาน ส่ งต่ อ และการขอความช่ ว ยเหลื อ กั บ สมาชิ ก ใน
ทีมสหสาขาวิชาชีพที่เกี่ยวข้องตามสภาพปัญหาที่พบ
6. แผนการติดตามเยี่ยมบ้านซ้ํา


7. ในกรณีที่พบว่า ผู้ดูแลมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดปัญหาด้านยาทั้งต่อ
เน การดูแลผู้ป่วย และตัวผู้ดูแลเอง ภายหลังที่เภสัชกรประเมินด้วยหลัก
CARE GIVER แล้ ว เภสั ช กรต้ อ งบั น ทึ ก ข้ อ มู ล ลงในแบบบั น ทึ ก ของ
หน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อสื่อสารให้กับสมาชิกในทีมหรือผู้เกี่ยวข้อง
3.1.1 เภสัชกรต้องลงบันทึกข้อมูลด้วยลายมือที่สามารถอ่านได้ง่าย ไม่เกิดความคลาดเคลื่อนในการ
สื่อสาร ใช้คําย่อที่เป็นสากลเท่านั้น หลีกเลีย่ งการใช้คําย่อที่ไม่เป็นทางการ เพื่อลดความคลาดเคลื่อนใน
การสื่อสาร

3.1.2 หากหน่วยงานมีการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการบันทึกข้อมูล


ส� ำ
เภสัชกรต้องบันทึกข้อมูลลงในโปรแกรมดังกล่าวทุกครั้งทีม่ ีการออกเยี่ยมบ้าน เพื่อให้ข้อมูลเป็นปัจจุบัน
และเกิดการสือ่ สาร ส่งต่อข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ

3.1.3 เภสัชกรควรสร้างระบบการจัดเก็บข้อมูลที่ง่ายต่อการเข้าถึง เช่น จัดทําเป็นหมวดหมู่ตามชุมชน ที่


อยู่ของผู้ป่วย หรือ ตามกลุ่มของความรับผิดชอบโดยผู้ดูแลแต่ละพื้นที่ ทัง้ นี้รูปแบบการจัดระบบเพื่อเก็บ
ข้อมูลควรเป็นไปตามความเหมาะสมของหน่วยงานและพื้นที่เป็นสําคัญ

3.2 การประสานงานและส่งต่อข้อมูล

วัตถุประสงค์: เพื่อให้การประสานงานและการส่งต่อข้อมูลผู้ป่วยที่เภสัชกรออกเยี่ยมบ้าน เป็นไปอย่างมี


ประสิทธิภาพ ทั้งในฝ่ายเภสัชกรรม ระหว่างเภสัชกรด้วยกัน และกับทีมสหสาขาวิชาชีพ เพื่อให้เกิดการ
ดูแลแบบเชื่อมโยงและไร้รอยต่อ รวมถึงมีการประสานงานและส่งต่อข้อมูลกับหน่วยงานภายนอกที่
เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ป่วย
55 

คู  ่มือส�ำหรับเภสัชกรในการด�ำเนินงานเภสัชกรรมในหน่วยบริการปฐมภูมิ 55
แนวทางปฏิบตั ิงาน:

การประสานงาน แนวทางปฏิบตั ิงาน


การประสานงานและส่งต่อ เภสัชกรที่ออกเยี่ยมบ้านต้องประสานงานกับเภสัชกรที่ปฏิบัติงานในแผนก
ข้อมูลระหว่างเภสัชกร ต่างๆ ให้ได้รับทราบข้อมูลปัญหาที่เภสัชกรออกเยี่ยมบ้านและไปพบ
เพื่อที่จะได้นํามาปรับปรุง พัฒนา หรือแก้ไขรูปแบบการดําเนินงาน เพื่อให้
เกิดการเชื่อมโยงบริการระหว่างโรงพยาบาลและบ้านผู้ป่วยต่อไป
การประสานงานกับทีมสห เภสัชกรต้องประเมินว่าสภาพปัญหาที่ตนเองพบนั้น มีความต้องการในการ
สาขาวิชาชีพภายใน ได้รับความช่วยเหลือจากผู้ใดหรือแผนกใด โดยเฉพาะหากพบว่าปัญหา
โรงพยาบาล เหล่านั้นไม่สามารถแก้ไขได้โดยเภสัชกรตามลําพัง โดยทีมสหสาขาวิชาชีพ


ที่เภสัชกรสามารถประสานงานในการส่งต่อเช่น แพทย์ ทันตแพทย์
พยาบาลวิชาชีพ นักสังคมสงเคราะห์ นักกายภาพบําบัด นักจิตวิทยา นัก
กําหนดอาหาร
การประสานงานกับ
หน่วยงานภายนอก เช่น
เน
หากพบว่าการช่วยเหลือผู้ป่วย ไม่สามารถดําเนินงานภายใต้การบริหาร
จัดการของโรงพยาบาลตนเอง เภสัชกรต้องประสานงานกับหน่วยงาน
โรงพยาบาลอื่นๆ ร้านยา ต่างๆภายนอก เพื่อให้เกิดการดูแลและช่วยเหลือผู้ป่วยอย่างมี
องค์กรปกครองส่วน ประสิทธิภาพ
ท้องถิ่น สถานีตํารวจ
สํานักงานสาธารณสุข
ส� ำ
จังหวัด

3.3 การนําข้อมูลที่ได้จากการเยี่ยมบ้านมาปรับปรุง พัฒนาระบบยา และการดําเนินงานในส่วนที่


เกี่ยวข้อง

วัตถุประสงค์: เพื่อให้เภสัชกรสามารถนําข้อมูลที่ได้จากการออกเยี่ยมบ้าน นํามาใช้ในการพัฒนาระบบ


ยา ระบบบริการ และบริบาลทางเภสัชกรรมที่มีประสิทธิภาพ สามารถป้องกันไม่ให้เกิดปัญหากับผู้ป่วย
รายอื่น ซึ่งเป็นการพัฒนาระบบยาเพื่อความปลอดภัยแก่ผู้ป่วยอย่างยั่งยืนต่อไป
56 

56
  คู่มือส�ำหรับเภสัชกรในการด�ำเนินงานเภสัชกรรมในหน่วยบริการปฐมภูมิ

แนวทางการปฏิบัติงาน

3.3.1 เภสัชกรผู้รับผิดชอบงานเยี่ยมบ้านต้องนําข้อมูล หรือ ปัญหาที่พบจากการออกเยี่ยมบ้านมาสื่อสาร


ส่งต่อให้เภสัชกรที่ปฏิบัติงานในแผนกอื่นๆ ได้รับทราบ โดย กลุ่มงานเภสัชกรรมควรจัดให้มีการประชุม
ภายในหน่ วยงาน เพื่ อให้ เภสั ชกรที่ ออกเยี่ ยมบ้ านได้ นําเสนอปั ญ หาและข้อมู ลที่ พบให้ กับ เภสั ชกรที่
ปฏิบัติงานในแผนกอื่นได้รับทราบ เพื่อนําไปสู่การพัฒนางานบริการและบริบาลเภสัชกรรมต่อไป

3.3.2 ควรมีการกําหนดตัวชี้วัดเพื่อแสดงให้เห็นว่าภายหลังจากการนําปัญหาที่พบจากการออกเยี่ยมบ้าน
มาปรับปรุง พัฒนางานเภสัชกรรมและระบบยาที่เกี่ยวข้องแล้ว เกิดผลลัพธ์ที่ดีขึ้นในการบริการและ
บริบาลทางเภสัชกรรม


ตัวอย่างอุปกรณ์การเยีย่ มบ้านด้านยา
เน
อาจเป็นกระเป๋าพยาบาล เป้ หรือย่ามที่ไม่ใหญ่มาก ไม่เกะกะ เทอะทะ เพราะต้องการความคล่อง
สะดวก เหมาะแก่การพกพาไปในที่ต่าง ๆ ซึง่ สิ่งที่ควรมี ในกระเป๋า คือ เครื่องวัดความดัน เครื่องวัดระดับ
น้ําตาลในเลือด Strethoscope เข็มฉีดยา syringe น้ําเกลือ ผ้าก๊อส นีโอพอร์ ยาแก้ปวด ยาแก้แพ้ ผ้าปิดจมูก
(แจกกรณีผู้ป่วยโรคติดเชื้อ) ถุงมือ ถุงขยะสําหรับเก็บขยะติดเชื้อ กระป๋องสําหรับเก็บเข็มที่ใช้แล้ว เป็นต้น
ส� ำ
58 
58 
คู  ่มือส�ำหรับเภสัชกรในการด�ำเนินงานเภสัชกรรมในหน่วยบริการปฐมภูมิ 57
 
ภาพที่ 4 สรุปขั้นตอนการดําเนินงานบริบาลทางเภสัชกรรมผู้ป่วยที่บา้ น
ภาพที่ 4 สรุปขั้นตอนการดําเนินงานบริบาลทางเภสัชกรรมผู้ป่วยที่บา้ น


เน
ส� ำ
59 

58
  คู่มือส�ำหรับเภสัชกรในการด�ำเนินงานเภสัชกรรมในหน่วยบริการปฐมภูมิ

เอกสารอ้างอิง

1. รุ่งทิวา หมื่นปา. โครงการ การดูแลผู้ป่วยต่อเนื่องในหน่วยบริการปฐมภูมิ Continuity of Care in Primary Care Unit.


2554.

2. ยุพดี ศิริสินสุข. การเปลี่ยนแปลงระดับการกระจายและระดับการใช้ยา. In: รายงานสถานการณ์ระบบยา ประจําปี 2554.


1st ed. กรุงเทพ: อุษาการพิมพ์; p. 51.

3. บุษบา เหล่าพาณิชย์กุล. ปัญหาจากการใช้ยาของผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลที่บ้าน โดยเภสัชกร ศูนย์แพทย์ชุมชนสันทราย.


2552.

4. อรอนงค์ วลีขจรเลิศ และคณะ. ความรู้เกี่ยวกับนโยบายสนับสนุนระบบบริการสุขภาพโรคเรื้อรังและการมีส่วนร่วมทีฎ่


หน่วยบริการปฐมภุมิของเภสัชกรโรงพยาบาล. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 2555(4):446–54.

5. ณธร ชัยญาคุณาพฤกษ์, ปิยะรัตน์ นิ่มพิทักษ์พงศ์, นภวรรณ เจียรพีรพงษ์, ปิยะเมธ ดิลกธรสกุล. การศึกษาขนาดและ


เน
ผลกระทบทางการคลังของการครอบครองยาเกินจําเป็น และการแก้ปัญหาเชิงนโยบาย [Internet]. ศูนย์วิจัยผลลัพธ์ทาง
เภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร;
http://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/3641?show=full
2012 Feb p. 1–84. Available from:

6. ชื่นจิตร กองแก้ว. การเข้ารับรักษาตัวในโรงพยาบาลเนื่องจากปัญหาการใช้ยาในผู้สูงอายุ (Drug-related hospital


admission problems in Thai elderly) [Internet]. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร; [cited 2016 Aug 10]
ส� ำ
p. 1–103. Available from: http://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/4302?show=full

7. อุไรวรรณ ชัยชนะวิโรจน์, นิรนาท วิทยโชคกิติคุณ . พฤติกรรมการใช้ยาในผู้สูงอายุไทย Medication Use Behaviors


among the Older Thai Adults [Internet]. คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2557 p. 1–87. Available
from: http://www.hsri.or.th/research/detail/6398

8. นุชรินธ์ โตมาชา. ปัญหายาในชุมชนและทางออก: ข้อมูล 13 จังหวัด ยืนยันความเสี่ยงจากยาไม่เหมาะสมในชุมชน. ยา


วิพากษ์ จดหมายข่าวศูนย์ข้อมูลเฝ้าระวังระบบยา. เมษายน-มิถุนายน 56;ปีที่ 5(17):10–2.

9. สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย). ร่างแนวทางปฏิบัติการบริบาลทางเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วยที่บ้าน (เยี่ยมบ้าน)


โดยเภสัชกรครอบครัว (Thai HP Practice Guidelines on Home Pharmaceutical Care for Family Pharmacist.

 
คู่มือส�ำหรับเภสัชกรในการด�ำเนินงานเภสัชกรรมในหน่วยบริการปฐมภูมิ 59
60 
60 
 
 
งานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุขในหน่วยบริการปฐมภูมิ
บทนํา งานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุขในหน่วยบริการปฐมภูมิ
บทนํา ในพื้นที่ทั้งชนบทและชุมชนเมือง ประชาชนผู้บริโภคสามารถเข้าถึงผลิตภัณฑ์สุขภาพ ได้แก่ ยา อาหาร
เครื่องสํในพื าอาง้นทีเครื่ทั้งชนบทและชุ
่องมือแพทย์มชนเมื รวมถึองงสถานบริ
ประชาชนผู การสุ้บขริภาพได้
โภคสามารถเข้
มากน้อยแตกต่ าถึงผลิตางกั ภัณนฑ์ตามแต่
สุขภาพบริได้บทของพื
แก่ ยา ้อาหาร
นที่ ซึ่ง
เครื ่องสําอาง เครืต่อภังมืณอฑ์แพทย์
การกระจายผลิ สุ ข ภาพผ่ รวมถึ
านช่งสถานบริ
อ งทางต่กาารสุ งๆ กัขนภาพได้เช่ น มร้ากน้
านชํอยแตกต่
า รถเร่ าขายตรงงกันตามแต่ บริบวทของพื
สถานี ้นที้ ล่ ทีซึว่งี
ิท ยุ เคเบิ
การกระจายผลิ
สถานพยาบาล หากผลิ ต ภั ณ ฑ์ตสภัุ ขณภาพผ่
ฑ์สุขภาพมี านช่ อคงทางต่
วามเสีา่ยงๆ กั น าเช่ให้นเกิดร้ผลกระทบต่
ง จะทํ านชํ า รถเร่อขายตรง สถานี วิท ยุ เคเบิซึ้ ล่งทีในวี
สุขภาพของประชาชนได้
สถานพยาบาล
หลายๆพื้นที่มีปหากผลิ ระชาชนที ตภัณ ่ได้ฑ์รสับุขอัภาพมี ความเสี่ยง จะทํ
นตรายจากการบริ าให้เกิดดยาลู
โภคยาชุ ผลกระทบต่กกลอนทีอสุ่ปขลอมปนสเตี
ภาพของประชาชนได้
ยรอยด์ น้ําซึหมั ่งในก
หลายๆพื
ชีวภาพ ผลิ ้นทีต่มภัีปณระชาชนที
ฑ์เสริมอาหารที ่ได้รับอั่อนวดอ้ ตรายจากการบริ
างสรรพคุณรักโษาโรค ภคยาชุเครื ด ยาลู ่องสํกากลอนที
อางที่มีส่ปารห้ ลอมปนสเตี ยรอยด์ อน้ให้
ามใช้ หลายรายก่ ําหมั เกิดก
ชีอัวนภาพ
ตรายถึผลิ งชีตวภัิตณก่ฑ์อเสริ
ให้มเกิอาหารที
ดผลเสีย่อต่วดอ้ างสรรพคุ
่เป็นอยูณ่ ก่รัอกให้
ษาโรค เครื่องสํญาเสีอางที ่มีสารห้ามใช้กษาที หลายรายก่
่ถูกต้องอรวมถึ
ให้เกิดง


อโรคที เกิดความสู ยโอกาสในการรั
อัการสู
นตรายถึญเสียงทรั ชีวพิตย์สก่ินอจากการซื
ให้เกิดผลเสี ้อผลิ ยต่ตอภัโรคที
ณฑ์ร่เาคาแพงๆมาบริ
ป็นอยู่ ก่อให้เกิโดภค ความสูญเสียโอกาสในการรักษาที่ถูกต้อง รวมถึง
การสูญในส่ เสียวทรันของผู
พย์สิน้บจากการซื
ริโภคนั้น้อพฤติ
เน ผลิตกภัรรมการใช้
ณฑ์ราคาแพงๆมาบริ ยาและผลิโตภค ภัณฑ์สุขภาพของประชาชน ยังมีปัญหาที่พบได้
บ่อยมาก ในส่เช่วนของผู
น การใช้ ้บริยโาไม่
ภคนัส้มเหตุ
นพฤติสกมผล รรมการใช้
การใช้ยยาและผลิ
าเกินจําเป็ ตภันณการใช้
ฑ์สุขภาพของประชาชน
ยาไม่ถูกวิธี ไม่ถูกขนาด ยังมีปอััญนหาที
ทําให้่พบได้
เกิด
ปับ่ญอยมาก
หาที่เกิเช่ดจากการใช้
น การใช้ยยาไม่ าทีส่ไมเหตุ สมผล การใช้ยเช่าเกิ
ม่เหมาะสมตามมา นจําเป็้อนยาการใช้
น การดื การแพ้ยาไม่ ยา ถพฤติ ูกวิธกี ไม่ ถูกขนาดผลิอัตนภัทํณาฑ์ให้เสริ
รรมการใช้ เกิมด
ปัอาหารเพื
ญหาที่เกิ่อดรักจากการใช้
ษาโรคตามโฆษณาก่ ยาที่ไม่เหมาะสมตามมาอให้เกิดผลกระทบต่ เช่น การดือโรคที ้อยา่เป็นการแพ้
อยู่ได้ ยทําาอย่พฤติางไรประชาชนในพื
กรรมการใช้ผลิตภั้นณที่จฑ์ึงเจะมี สริม
อาหารเพื
ความรู้ที่เท่่อารัทักษาโรคตามโฆษณาก่
นสามารถเลือกซื้อผลิอตให้ภัณ เกิฑ์ดทผลกระทบต่
ี่ปลอดภัย อหลี โรคที
กเลี่เ่ยป็งผลิ
นอยูต่ไภัด้ณทํฑ์าทอย่ี่มีอางไรประชาชนในพื
ันตรายได้ และใช้ย้นาอย่ ที่จึงาจะมี
งสม
ความรู
เหตุผล้ทอย่ ี่เท่าางถู
ทันกสามารถเลื
ต้องได้ อกซื้อผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัย หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มีอันตรายได้ และใช้ยาอย่างสม
เหตุผลในส่ อย่าวงถูนของแหล่
กต้องได้ งกระจายยาและผลิต ภั ณ ฑ์ สุ ข ภาพนั้ น มี ทั้ งจากแหล่ งกระจายในชุ ม ชนและแหล่ ง
ส� ำ
กระจายนอกชุ ในส่ วนของแหล่
มชน ทําอย่ งกระจายยาและผลิ
างไรคนในชุมชนจะมี ต ภัคณวามเข้
ฑ์ สุ ขาภาพนั
ใจไม่น้ นํายาและผลิ
มี ทั้ งจากแหล่
ตภัณงฑ์กระจายในชุ
ที่ผิดกฎหมายมาจํ ม ชนและแหล่
าหน่ายให้ง
กระจายนอกชุ
คนในชุมชน และทํ มชน าทํอย่ าอย่างไรแหล่
างไรคนในชุ มชนจะมีความเข้ตาภัใจไม่
งกระจายยาและผลิ ณ ฑ์นกําลุยาและผลิ
่มเสี่ยงนอกชุ ตภัณมชนจึ ฑ์ที่ผงิดจะไม่
กฎหมายมาจํ
เข้ามาทําให้ หน่คานใน ยให้
คนในชุ
ชุมชนเกิมดชน และทําอย่างไรแหล่งกระจายยาและผลิตภัณ ฑ์กลุ่มเสี่ยงนอกชุมชนจึงจะไม่เข้ามาทําให้คนใน
อันตราย
ชุมชนเกิทัด้งในส่ อันตราย
วนของผู้บริโภค และผู้จําหน่ายนี้ รอการแก้ไขทั้งจากเภสัชกรและเครือข่ายที่ทํางานเภสัชกรรม
ปฐมภูมทัิท้งี่จในส่ ะทํวานของผู
ให้ชุมชนมี ้บริโคภค และผู้จํายหน่
วามปลอดภั ายนีญ้ รอการแก้
จากปั หาเหล่านีไ้ ขทั ้งจากเภสั
การดํ าเนินงานคุ ชกรและเครื
้มครองผูอ้บข่ริโาภคด้ยที่ทาํานสาธารณสุ
งานเภสัชกรรม ขใน
ปฐมภู
ชุมชนมจะสํ ิที่จะทําเร็าให้ ชุมชนมี
จและยั ่งยืคนวามปลอดภั
ได้นั้น สิ่งที่สยํจากปั
าคัญ คืญอหาเหล่
การมีสา่วนีนร่้ การดํ าเนินงานคุ้มครองผู
วมของคนในชุ ชนในการให้ ้บริโภคด้ านสาธารณสุ
ความสํ าคัญ ความ ขใน
ชุมชน กจะสํ
ตระหนั าเร็จและยัตภั่งยืณนฑ์ได้กลุน่มั้นเสีสิ่ย่งงมี
ว่ายาและผลิ ที่สผําลกระทบต่
คัญ คือการมี อสุขสภาพและทํ
่วนร่วมของคนในชุ าให้เกิดอาการไม่มชนในการให้ ความสํ
พึงประสงค์ าคัญ ความ
ต่อคนในชุ มชน
ตระหนั
ได้ แล้วกร่ว่วามลงมื ยาและผลิ อวางแผนตภัณฑ์จักดลุทํ่มาเสีกิ่ยจงมี ผลกระทบต่
กรรมแก้ ไขปัญอหา สุขภาพและทํ
เพื่อให้ชุมาชนมี ให้เกิคดวามปลอดภั
อาการไม่พึงยประสงค์ ต่อคนในชุ
ด้านยาและผลิ ตภัมณชนฑ์
ได้ แล้วร่วมลงมือวางแผน จัดทํากิจกรรมแก้ไขปัญหา เพื่อให้ชุมชนมีความปลอดภัยด้านยาและผลิตภัณ ฑ์
สุขภาพตลอดไป
สุขภาพตลอดไป
วัตถุประสงค์
วัเพืต่อถุให้
ประสงค์
ชุมชนมีความปลอดภัยในการบริโภคยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ
เพื่อให้ชุมชนมีความปลอดภัยในการบริโภคยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ
61 

60
  คู่มือส�ำหรับเภสัชกรในการด�ำเนินงานเภสัชกรรมในหน่วยบริการปฐมภูมิ

นิยาม
คุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข หมายถึงกระบวนการที่ทําให้ผู้บริโภคมีความปลอดภัยจากการ
บริโภค ทั้ งผลิต ภั ณ ฑ์ สุ ข ภาพ สถานบริก ารสุข ภาพ ธุรกิ จ สุ ข ภาพ รวมถึ ง การโฆษณาและการจั ด การข้ อ
ร้องเรียน หรือหมายถึง การดูแลปกป้อง มาตรฐาน ความปลอดภัย ของ ผลิตภัณฑ์สุขภาพ บริการสุขภาพ
และ ธุรกิจสุขภาพ รวมถึงการพัฒนาศักยภาพผู้บริโภคให้สามารถพิทักษ์สิทธิ์ของผู้บริโภคเองได้
ผลิตภัณฑ์สุขภาพ หมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในความรับผิดชอบของสํานักงานคณะกรรมการอาหาร
และยา ได้แก่ ยา อาหาร เครื่องสําอาง เครื่องมือแพทย์ วัตถุอันตรายที่ใช้ในบ้านเรือน วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิต
และประสาท วัตถุเสพติดบางชนิดที่ใช้เป็นยา (ยาเสพติดให้โทษที่ใช้ในทางการแพทย์) และสารระเหย
ยา หมายถึง วัตถุที่มุ่งหมายสําหรับใช้ในการวินิจฉัย บําบัด บรรเทา รักษา หรือป้องกันโรคหรือความ
เจ็บป่วยของมนุษย์ รวมทั้ง วัตถุที่มุ่งหมายสําหรับให้เกิดผลต่อสุขภาพ โครงสร้างหรือการกระทําหน้าที่ใดๆ


ของร่างกายมนุษย์
อาหาร หมายถึงของกินหรือเครื่องค้ําจุนชีวิต ได้แก่ วัตถุทุกชนิดที่คนกิน ดื่ม หรืออม หรือนําเข้าสู่
เน
ร่างกายไม่ว่าด้วยวิธีใดๆ หรือในรูปลักษณะใดๆ แต่ไม่รวมถึงยา วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท หรือยาเสพ
ติดให้โทษตามกฎหมาย และเป็นวัตถุที่มุ่งหมายสําหรับใช้หรือใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตอาหาร รวมถึงวัตถุ
เจือปนอาหาร สี และเครื่องปรุงแต่งกลิ่นรส
เครื่องสําอาง หมายถึง วัตถุที่มุ่งหมายสําหรับทา ถู นวด โรย พ่น หยอด ใส่ อบ หรือกระทําด้วยวิธี
อื่นใด ต่อส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย เพื่อความสะอาด ความสวยงาม หรือส่งเสริมให้เกิดความสวยงาม และ
รวมตลอดเครื่องประทิ่ นผิวต่างๆด้วย แต่ไม่รวมเครื่องประดับและเครื่องแต่งตั ว ซึ่งเป็นอุปกรณ์ ภายนอก
ส� ำ
ร่างกาย
เครื่องมือแพทย์ หมายถึง เครื่องใช้ ผลิตภัณฑ์ หรือวัตถุสําหรับใช้ในการประกอบวิชาชีพ เวชกรรม
การประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ การประกอบ โรคศิลปะ หรือการบําบัดโรคสัตว์ตาม
กฎหมายว่าด้วยการนั้น ๆเครื่องใช้ ผลิตภัณฑ์ หรือวัตถุสําหรับใช้ให้เกิดผลแก่สุขภาพ โครงสร้างหรือการ
กระทําหน้าที่ใด ๆ ของร่างกายมนุษย์หรือสัตว์
บริการสุขภาพ ได้แก่ คลินิกเวชกรรม คลินิกการพยาบาลและการผดุงครรภ์ คลินิกทันตกรรม คลินิก
เทคนิคการแพทย์ คลินิกกายภาพบําบัด เป็นต้น
ธุรกิจสุขภาพ ได้แก่ สปา
ผลิตภัณ ฑ์สุขภาพกลุ่มเสี่ยง หมายถึง ยาและผลิตภัณ ฑ์สุขภาพที่ส่งผลหรืออาจส่งผลกระทบต่อ
สุขภาพอนามัย หรือเศรษฐกิจของผู้บริโภค
62 
62 
 
คู  ่มือส�ำหรับเภสัชกรในการด�ำเนินงานเภสัชกรรมในหน่วยบริการปฐมภูมิ 61
ขั้นตอนการดําเนินการเพื่อให้ชุมชนมีความปลอดภัยด้านยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ขั้นตอนการดําเนินการเพื่อให้ชุมชนมีความปลอดภัยด้านยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ
โดยใช้แนวทางการบริหารความเสี่ยง
โดยใช้แนวทางการบริหารความเสี่ยง
1.1.การสื
การสืบบค้ค้นนข้ข้ออมูมูลล หรื
หรืออ ปัปัญญหาการบริ
หาการบริโโภคยาและผลิ
ภคยาและผลิตตภัภัณณฑ์ฑ์กกลุลุ่ม่มเสี
เสี่ย่ยงในชุ
งใน มชน
1.การสืบค้นข้อมูล หรือ ปัญหาการบริโภคยาและผลิตภัณฑ์กลุ่มเสี่ยงใน
การประเมิ
การประเมินนความเสี
ความเสี่ยง่ย ง
การประเมิ น ความเสี่ย ง
2. การระบุ
2. การระบุ ปัญหาการบริ
ปัญหาการบริ โภคยาและผลิ
โภคยาและผลิ ตภัณฑ์ตกภัลุณ่มฑ์เสีก่ยลุงในชุ
่มเสี่ยมงในชุ
ชน มชน
2. การระบุปัญหาการบริโภคยาและผลิตภัณฑ์กลุ่มเสี่ยงในชุมชน

3. การคื3.นข้การคื
อมูลสูน่ชขุ้มอชน
มูลสู่ชุมชน
3. การคืนข้อมูลสู่ชุมชน


4. การระบุ4. การระบุ
สาเหตุขสองปั
าเหตุญขหาองปัแหล่
ญหางทีแหล่
่มา งที่มา
ประชากรกลุ
4. การระบุ ่มสเสีาเหตุ
่ยงของยาและผลิ ตภัณฑ์กลุ่มเสี่ยงในชุมชน
ของปัญตภัหาณฑ์แหล่
กลุ่มงทีเสี่ม่ยางในชุมชน
ประชากรกลุ ่มเสี่ยงของยาและผลิ

ความสํำาคัคัญญของปั
เน
ประชากรกลุ่มเสี่ยงของยาและผลิตภัณฑ์กลุ่มเสี่ยงในชุมชน

5.5.การจั
การจัดดล�ลํำาดัดับบความส� ของปัญญหาการบริ
หาการบริโโภคยาและผลิ
ภคยาและผลิตตภัภัณณฑ์ฑ์กกลุลุ่ม่มเสีเสี่ย่ยงในชุ
งในชุมมชน
ชน
5. การจัดลําดับความสําคัญของปัญหาการบริโภคยาและผลิตภัณฑ์กลุ่มเสี่ยงในชุมชน
การจัดการความเสี่ยง
6. การวางแผนแก้
6. การวางแผนแก้ ไขปัญไหาการบริ
ขปัญหาการบริ โภคยาและผลิ
โภคยาและผลิ ตภัณฑ์ตกภัลุณ่มฑ์เสีก่ยลุงในชุ
่มเสี่ยมงในชุ
ชน มชน
ส� ำ
6. การวางแผนแก้ไขปัญหาการบริโภคยาและผลิตภัณฑ์กลุ่มเสี่ยงในชุมชน
การจัด การความเสี่ย ง
การจัด การความเสี่ย ง
7.7.มีมีกการประเมิ
ารประเมินนผลการแก้
ผลการแก้ไขปั
ไขปัญญหาการบริ
หาการบริโภคยาและผลิ
โภคยาและผลิตตภัภัณณฑ์ฑ์กกลุลุ่ม่มเสีเสี่ย่ยงในชุ
งในชุมมชนชน
7. มีการประเมินผลการแก้ไขปัญหาการบริโภคยาและผลิตภัณฑ์กลุ่มเสี่ยงในชุมชน

8. กลไกเฝ้
8. กลไกเฝ้ าระวัางระวั งยาและผลิ
ยาและผลิ ตภัณตฑ์ภักณลุฑ์่มกเสีลุ่ย่มงในชุ
เสี่ยงในชุ
มชนมชน
8. กลไกเฝ้าระวังยาและผลิตภัณฑ์กลุ่มเสี่ยงในชุมชน

9.การเตือ9.นภัการเตื
ยเร่งด่อวนภั ยเร่งมด่ชน
นในชุ วนในชุมชน
9.การเตือนภัยเร่งด่วนในชุมชน

10.งต่การส่
10. การส่ อข้องมูต่ลอยัข้งอหน่
มูลวยัยงานที
งหน่วยงานที
่เกี่ยวข้อ่เกีงเพื
่ยวข้่อจัอดงเพื ่อจัดญการปั
การปั หาที่แญหล่
หาที
งต้่แนหล่
น้ํางต้นน�้ำ
10. การส่งต่อข้อมูลยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดการปัญหาที่แหล่งต้นน้ํา
การสื่อสารความเสี่ยง
การสื่อ สารความเสี่ย ง
11. การแลกเปลี
11. การแลกเปลี ่ยนเรีย่ยนรู
นเรี้ภยายในชุ
นรู้ภายในชุ มชน
มชน หรื หรือาระหว่
อระหว่ งเครืาองเครื
ข่าย อข่าย การสื่อ สารความเสี่ย ง
11. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในชุมชน หรือระหว่างเครือข่าย
63 

62
  คู่มือส�ำหรับเภสัชกรในการด�ำเนินงานเภสัชกรรมในหน่วยบริการปฐมภูมิ

การจัดการความเสี่ยง (Risk management)


การจั ด การความเสี่ ย ง (Risk management) เป็ น เครื่ อ งมื อ หนึ่ ง ที่ สํ า คั ญ ในการนํ า มาใช้ ใ นการ
ดําเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคในหน่วยบริการปฐมภูมิ โดยอาศัยข้อมูลและองค์ความรู้ทางเภสัชศาสตร์ในการ
ดําเนินงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพภายใต้ทรัพยากรด้านงบประมาณระยะเวลาบุคลากร
เทคนิคและวิธีการที่มีอยู่การจัดการความเสี่ยงไม่จําเป็นต้องทําให้ความเสี่ยงหมดไปแต่เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้
การตัดสินใจและการดําเนินงานอยู่บนเหตุผลที่สามารถควบคุมหรือลดผลกระทบที่ไม่พึงประสงค์ให้ลดลงอยู่ใน
ระดับที่ยอมรับได้
กรอบในการจัดการความเสี่ยง
การประเมินความเสี่ยง
การประเมินความเสี่ยงคือการอธิบายลักษณะความเสี่ยงโดยพิจารณาในประเด็น


 การระบุปัญหา อันตรายและการได้รับสัมผัสกับสิ่งที่ก่อให้เกิดอันตราย โดยสามารถ
อธิบายอันตรายด้วยหลักการทางเภสัชวิทยาได้ เช่น อาการไม่พึงประสงค์จากการบริโภคน้ํา
เน
หมักชีวภาพ ในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
 บุคคลหรือกลุ่มคนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงมีใครที่มีความเสี่ยงมากกว่าบุคคลอื่น
 ระดับความรุนแรงของผลกระทบ
 การอธิบายลักษณะของความเสี่ยง ขนาดของปัญหา ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อสุขภาพทั้ง
ผู้ป่วย ครอบครัว ชุมชน
การจัดการความเสี่ยง
ส� ำ
คือกระบวนการระบุความเสี่ยงที่จะต้องจัดการคืออะไร การจัดลําดับความสําคัญของความเสี่ยง จะใช้
ยุทธศาสตร์ มาตรการอะไรในการจัดการความเสี่ยงนั้น โดยการพิจารณาข้อมูลที่ได้จากการประเมินความ
เสี่ยง รวมทั้งข้อมูลบริบททางด้านสังคม วัฒนธรรม ความเชื่อ เพื่อจะเลือกวิธีการดําเนินการในการลดความ
เสี่ยงได้อย่างเหมาะสม ทั้งนี้เมื่อเลือกวิธีการลดความเสี่ยงแล้ว จําเป็นต้องมีการประเมินประสิทธิภาพและ
ประสิท ธิผลของทางเลือกดั งกล่ าว เพื่ อให้ มั่นใจว่าระดั บ ความเสี่ ยงที่ เหลืออยู่นั้น อยู่ในระดั บที่ ยอมรับ ได้
กระบวนการ การออกแบบเพื่อการจัดการกับความเสี่ยง ควรให้ครอบคลุมทั้ง ผู้ป่วย ครอบครัว และชุมชนซึ่ง
สิ่งที่สําคัญของการจัดการความเสี่ยงในงานคุ้มครองผู้บริโภคในหน่วยบริการปฐมภูมิ คือการมีส่วนร่วมของคน
ในชุมชน และเจ้าหน้าที่ในระดับพื้นที่ เช่น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตําบล (รพ.สต.) องค์กรบริหาร
ส่วนท้องถิ่น (อปท.)
การพิจารณาสร้างทางเลือกหรือมาตรการในการจัดการความเสี่ยงนั้น มีดังต่อไปนี้
1. การหลีกเลี่ยงความเสี่ยง เป็นการไม่เข้าไปเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ความเสี่ยงนั้น
2. การลดความเสี่ยงโดยการคัดเลือกเทคนิคที่เหมาะสมในการในการลดความเสี่ยงที่เกิดขึ้น
ให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้
64 

คู  ่มือส�ำหรับเภสัชกรในการด�ำเนินงานเภสัชกรรมในหน่วยบริการปฐมภูมิ 63
3. การโอนย้ายความเสี่ยง ในกรณีที่ความเสี่ยงยังไม่ได้หมดไป อาจโอนย้ายความรับผิดชอบ
ไปยังองค์กรหรือหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
4. การคงความเสี่ยง หากความเสี่ยงมีโอกาสเกิดต่ํามาก และมีผลกระทบที่ไม่รุนแรงอยู่ใน
ระดับที่ยอมรับได้ ดังนั้นเลือกวิธีที่จะคงความเสี่ยงไว้

การสื่อสารความเสี่ยง
การสื่อสารมิได้เป็นขั้นตอนสุดท้ายของการจัดการความเสี่ยงแต่เป็นขั้นตอนที่ต้องดําเนินงานตลอดเวลา
ของการจัดการความเสี่ยงเนื่องจากการจัดการความเสี่ยงมีลักษณะการทํางานเป็นทีมและผู้มีส่วนได้เสียอาจ
แตกต่างกันในแต่ละขั้นตอนของงานจึงต้องจัดให้มีการสื่อสารที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพทั้งการสื่อสาร


ภายในเพื่อให้บุคลากรทุกระดับสามารถสื่อสารกันได้ผู้ปฏิบัติสามารถเข้าใจบทบาทหน้าที่ตนเองและผู้บริหาร
ได้รับทราบปัญหาที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติจริงรวมถึงผลการดําเนินงาน และการสื่อสารภายนอกเพื่อสร้างความ
เข้าใจให้กับบุคคลภายนอกประชาชนสื่อมวลชนต่างๆทําให้ได้รับความร่วมมือและสามารถจัดการความเสี่ยงได้
อย่างมีประสิทธิภาพ
เน
ประเด็นหลักของการสื่อสาร มีดังนี้
 ใครจะเป็นผู้สื่อสาร
 ใครจะเป็นผู้รับสาร
 ต้องการสื่อสารอะไร
 ต้องการสื่อสารด้วยวิธีการและช่องทางใด
ส� ำ
ขั้นตอนการดําเนินการ
1. สื บ ค้ น ข้ อ มู ล หรื อ ปั ญ หาการบริ โภคยาและผลิ ต ภั ณ ฑ์ ก ลุ่ ม เสี่ ย ง เพื่ อ ให้ มี ฐ านข้ อ มู ล ที่
เกี่ยวข้องกับยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพกลุ่มเสี่ยงในชุมชนได้แก่ ข้อมูลรายละเอียดของผลิตภัณฑ์สุขภาพ
แหล่งที่มา แหล่งกระจายผลิตภัณฑ์สุขภาพ ข้อมูลประชาชนที่ได้รับผลกระทบ
การมีฐานข้อมูลยาและผลิ ตภั ณ ฑ์ กลุ่ มเสี่ยง มีวัตถุประสงค์เพื่อเข้าใจ รับทราบสถานการณ์
สภาพปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข ซึ่งในการได้มาซึ่งฐานข้อมูล มีหลากหลายวิธี
เช่น การเข้าไปศึ กษาบริบ ทพื้ น ฐานชุมชน ประวัติศาสตร์ชุมชน มุม มองชุมชนต่ อสุ ขภาพของชุมชน และ
คัดเลือก วิเคราะห์ ประเด็นที่เชื่อมโยงกับความเสี่ยงด้านการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข หรือใช้วิธีการ
ค้นหาผู้บริโภคยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชน ได้แก่ การเยี่ยมบ้านของเภสัชกรครอบครัวโดยใช้หลักเวช
ศาสตร์ชุมชน จากการปฏิบัติงานตรวจเฝ้ากํากับระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพหลังออกสู่ตลาด (Post-marketing)
เช่ น การตรวจเฝ้ า ระวั งร้ า นชํ า การตรวจสอบการจํ าหน่ า ยยาในรถเร่ จุ ด พั ก ยาในชุ ม ชน ร้ า นจํ า หน่ า ย
เครื่องสําอาง โดยใช้แบบสอบถาม คัดกรองผู้ป่วย โดยอาจเป็นทีมอสม.ลงสํารวจกลุ่มตัวอย่างในชุมชน ซึ่ง
รายละเอียดของแบบสอบถามให้มี รายละเอียดของผลิตภัณฑ์ แหล่งที่มา วิธีการใช้ ความถี่ ระยะเวลาที่ใช้
65 

64
  คู่มือส�ำหรับเภสัชกรในการด�ำเนินงานเภสัชกรรมในหน่วยบริการปฐมภูมิ

และผลกระทบต่อผู้บริโภค ซึ่งการสืบค้นปัญ หาผลิตภัณ ฑ์ สุขภาพกลุ่มเสี่ยงที่อาจจะก่อให้ เกิดอันตรายต่อ


ผู้บริโภคในพื้นที่ การไปตรวจและเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์สุขภาพเพื่อนํามาตรวจสอบส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์
ที่อาจจะก่อให้เกิดอันตรายกับผู้บริโภค เช่น การเก็บและตรวจตัวอย่างอาหาร ยา เครื่องสําอางรวมถึง ข้อ
ร้องเรียนที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุขในชุมชน
2. การระบุปัญหาการบริโภคผลิตภัณฑ์กลุ่มเสี่ยงในชุมชน
จากฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับยาและผลิตภัณ ฑ์สุขภาพกลุ่มเสี่ยงในชุมชน ควรนํามาวิเคราะห์
รวบรวมจัดหมวดหมู่และสรุปผลรายละเอียดข้อมูลเบื้องต้น เพื่อ ระบุว่ายาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ ที่มีผลทําให้
เกิดปัญหาด้านสุขภาพของคนในชุมชนคืออะไร ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพอย่างไรบ้าง
3. การคืนข้อมูลสู่ชุมชน
นําข้อมูลการบริโภคยาและผลิตภัณฑ์กลุ่มเสี่ยงที่ผ่านการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นสู่ชุมชน โดย


การจัดเวทีชุมชนเพื่อ คืนข้อมูล แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ทัศนคติ ต่อสถานการณ์ปัญหายาและผลิตภัณฑ์ยาก
ลุ่มเสี่ยงที่พบชุมชน ให้เครือข่ายในชุมชนได้รับทราบข้อมูล เกิดความตระหนัก ความเข้าใจว่าเป็นปัญหาที่
เน
ส่งผลกระทบด้านสุขภาพต่อคนในชุมชน และเป็นประเด็นปัญหาร่วมกัน ในขั้นตอนนี้ มักจะได้ข้อมูลเพิ่มเติม
จากเวที ทั้ งในการใช้ ย าและผลิต ภั ณ ฑ์ สุ ข ภาพที่ ไม่ เหมาะสม เช่ น การใช้ นํ ายาแคปซู ล โรยแผล การใช้
ผลิ ต ภั ณ ฑ์ เสริม อาหารที่ มี ป ฏิ กิ ริ ยาต่ อ ยาที่ ใช้ป ระจํ า (Food drug interaction) การกระทํ าความผิ ดตาม
พระราชบัญญัติต่างๆ โดยความไม่รู้ เช่น การจําหน่ายยาที่ห้ามจําหน่ายในร้านชํา ตามพระราชบัญญัติยา
แนะนําควรสอดแทรกความรู้ความเข้าใจเรื่องความเข้าใจในการเลือก การใช้ ยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ โดยใช้
องค์ความรู้ทางเภสัชกรรม เช่น เภสัชบําบัด เภสัชวิทยา เภสัชเวท เภสัชสาธารณสุข เป็นต้น
4. การระบุสาเหตุของปัญหา แหล่งที่มา ประชากรกลุ่มเสี่ยงของผลิตภัณฑ์กลุ่มเสี่ยงในชุมชน
ส� ำ
การคืนข้อมูล แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ในเวทีคืนข้อมูลชุมชน ทําให้ผู้เข้าร่วมเวทีชุมชนเกิดความ
เข้าใจในประเด็นผลกระทบของยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพกลุ่มเสี่ยง ที่ส่งผลกระทบด้านสุขภาพต่อคนในชุมชน
เป็นการกระตุ้น ส่งเสริม สนับสนุน ให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการร่วมกันวิเคราะห์เชิงลึกหาสาเหตุการบริโภคยา
และผลิตภัณฑ์กลุ่มเสี่ยงเหล่านั้น ว่าผู้บริโภคใช้เพื่อวัตถุประสงค์ใด ประชากรกลุ่มเสี่ยงของแต่ละผลิตภัณฑ์คือ
ใครในชุ ม ชน ในขั้ น ตอนนี้ อาจใช้ เครื่ อ งมื อ วิ เคราะห์ ร ากปั ญ หา (Root -Cause Analysis) ช่ ว ยในการ
วิเคราะห์เชิงลึก หรือ เครื่องมืออื่นๆตามความถนัดของผู้นําการวิเคราะห์สาเหตุปัญหาเชิงลึก
5. การจัดลําดับความสําคัญของปัญหาการบริโภคผลิตภัณฑ์กลุ่มเสี่ยงในชุมชน
จากการวิเคราะห์ ห าสาเหตุ เชิ งลึ ก โดยชุ ม ชนมี ส่ วนร่วม จะได้ ปั ญ หาจากการบริ โภคยาและ
ผลิตภัณฑ์กลุ่มเสี่ยง ซึ่งมักจะได้มากกว่า 1 ปัญหา ด้วยข้อจํากัด เรื่องเวลา งบประมาณ รวมถึงทรัพยากรต่างๆ
จึงควรต้องนําปัญหาเหล่านั้นมาจัดลําดับความสําคัญ โดยใช้เครื่องมือ เช่น การประเมินโดยตารางตัดสินใจ
(Multi-variable decision) โดยมีตัวแปรต่างๆ ใช้ในการตัดสินใจ ได้แก่
1. ขนาดของปัญหา (size of problem)
2. ความรุนแรงของปัญหา (ต่อตนเอง ครอบครัวและชุมชน)
66 

คู  ่มือส�ำหรับเภสัชกรในการด�ำเนินงานเภสัชกรรมในหน่วยบริการปฐมภูมิ 65
3. แนวโน้มการแก้ปัญหาหรือความยากง่ายในการแก้ปัญหา
4. ความร่วมมือของชุมชนหรือความตระหนักของชุมชน
5. ผลกระทบในระยะยาว (ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม)
การจัดลําดับของปัญหา จะสกัดให้ได้ปัญหาที่ชุมชนมีความเห็นร่วม ว่าเป็นปัญหาที่ควรได้รับการ
แก้ไขตามลําดับก่อนหลัง
6. การวางแผนแก้ไขปัญหาการบริโภคยาและผลิตภัณฑ์กลุ่มเสี่ยงในชุมชน เช่น การให้ความรู้
การพั ฒ นาศั ก ยภาพผู้ บ ริ โภค การบั ง คั บ ใช้ ก ฎหมาย รวมถึ ง ระบบการส่ ง ต่ อ ผู้ ป่ ว ยเข้ า สู่ ก ารรั ก ษาที่
เหมาะสม
จากปัญหาที่คัดเลือกจากขั้นตอนการจัดลําดับความสําคัญจะนํามาสู่การวางแผนเพื่อการจัดการ
กับปัญหาที่เกิดขึ้น โดยให้ครอบคลุมทั้งระดับ ผู้ป่วย ครอบครัว และชุมชน โดยผ่านกลไกการมีส่วนร่วมของคน


ในชุมชน รวมถึง องค์กรภาคีเครือข่ายต่างๆที่อยู่ในชุมชนด้วย ซึ่งมีกระบวนการร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมทํา
ร่วมตรวจสอบและร่วมรับประโยชน์ควบคู่ไปกับกระบวนการเรียนรู้ของชุมชน โดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง
เน
และแก้ปัญหาโดยใช้กระบวนการเรียนรู้ (Problem-Learning Process)
ซึ่งกลไกการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน ในการสร้างข้อตกลงร่วมกัน กฎระเบียบ หรือมาตรการที่
ใช้ในการแก้ไขปัญหาโดยผ่านเวทีการทําประชาคม หรือการประชุมภาคีเครือข่าย รวมถึงเชิญผู้มีส่วนได้เสียเข้า
ร่วมในกระบวนการ เพื่อให้เกิดความเข้าใจและตระหนักถึงเป้าหมายร่วมกัน ก่อให้เกิดแนวทางในการปฏิบัติได้
จริง
รวมถึงการส่งต่อผู้ป่วยที่มีอาการไม่พึงประสงค์จากการบริโภคยาและผลิตภัณฑ์กลุ่มเสี่ยงเข้าสู่
กระบวนการรักษาหรือเยียวยาที่ถูกต้อง เป็นส่วนที่สําคัญในการแก้ไขปัญหาของการได้รับผลกระทบ
ส� ำ
7. มีการประเมินผลการแก้ไขปัญหาการบริโคยาและผลิตภัณฑ์กลุ่มเสี่ยงในชุมชน
ประเมินผลการแก้ไขปัญหาโดยการดําเนินโครงการ หรือ มาตรการที่ใช้ในชุมชนนั้นว่าประสบ
ความสําเร็จหรือไม่ อะไรคือปัจจัยแห่งความสําเร็จ ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับเป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้หรือไม่
จําเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนมาตรการที่ใช้หรือไม่ ทั้งนี้การประเมินผลการแก้ไขปัญหา สามารถดําเนินการได้
ขณะดําเนินการตามโครงการ/มาตรการ หรือ หลังสิ้นสุดแผนงาน/มาตรการ ขึ้นอยู่กับข้อตกลงร่วมของชุมชน
ตามขั้นตอนการวางแผนแก้ไขปัญหาการบริโภคยา

8. มีกลไกเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์กลุ่มเสี่ยงในชุมชน โดยเครือข่ายในชุมชน มีการระดมสมองผ่าน


การประชาคม เพื่อสร้างมาตรการเชิงสังคม
การประเมินผลการแก้ไขปัญหา ยาและผลิตภัณฑ์กลุ่มเสี่ยงในชุมชน จะทําให้ได้กลไกเฝ้าระวัง
ซึ่งเป็นกระบวนการสร้างมาตรการร่วมกันของคนในชุมชนในการจัดการปัญหา ดําเนินการแก้ไขปัญหาเพื่อให้
ชุมชนมีความปลอดภัยจากการใช้ยาและผลิตภัณฑ์กลุ่มเสี่ยงอย่างเข้มเข็มและต่อเนื่อง ซึ่งมาตรการจะเกิดขึ้น
67 

66
  คู่มือส�ำหรับเภสัชกรในการด�ำเนินงานเภสัชกรรมในหน่วยบริการปฐมภูมิ

ได้ หรือ มีความเข็มแข็งเพียงไร จะขึ้นกับศักยภาพของแกนนําเครือข่ายในชุมชน บริบทของปัญหา บริบทของ


สังคม วัฒนธรรม ความเชื่อของแต่ละพื้นที่
9. การเตือนภัยเร่งด่วนในชุมชนโดยการผลิตสื่อหรือสื่อสารข้อมูลให้กับผู้ป่วยและชุมชน
โดยการผลิตสื่อหรือสื่อสารข้อมูลสถานการณ์ปัญหายาและผลิตภัณฑ์สุขภาพกลุ่มเสี่ยง รวมถึง
ความรู้ด้านวิชาการ ให้กับผู้ป่วยและชุมชนโดยการที่คนในชุมชนมีความเข้าใจและสามารถเข้าถึงได้ง่าย ซึ่งหาก
คนในชุมชนได้มีส่วนร่วมในการผลิตสื่อด้วย จะยิ่งทําให้คนในชุมชนเข้าใจและตระหนักมากยิ่งขึ้น
10. การส่งต่อข้อมูลยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดการปัญหาที่แหล่งต้นน้ํา
การส่งต่อข้อมูลสถานการณ์ ปัญ หาของยา และผลิตภัณ ฑ์สุขภาพกลุ่มเสี่ยง ไปยังหน่วยงานที่
เกี่ยวข้อง เช่น สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดที่เป็นแหล่งต้นทางของการผลิต และ สํานักงานคณะกรรมการ
อาหารและยา เพื่อได้ดําเนินการจัดการปัญหาร่วมกันอย่างต่อเนื่องและเชื่อมโยง


11. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในชุมชน หรือระหว่างเครือข่าย เพื่อสร้างศักยภาพชุมชน
การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในชุมชน หรือระหว่างเครือข่าย เป็นการถอดบทเรียนการดําเนินการ
เน
แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นให้รู้ถึงรูปแบบการดําเนินงาน ปัจจัยแห่งความสําเร็จ บุคคลที่เป็นแกนนําคือใคร ปัญหา
และอุปสรรคที่ต้องแก้ไข เพื่อเป็นการสร้างศักยภาพของชุมชนให้มีเพิ่มขึ้น
ส� ำ
68 

คู  ่มือส�ำหรับเภสัชกรในการด�ำเนินงานเภสัชกรรมในหน่วยบริการปฐมภูมิ 67
68 

  กรณีศึกษา การเฝ้าระวัง สืบค้นและจัดการปัญหา รวมถึงการสร้างกลไกการเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์กลุ่มเสี่ยง


กรณีโดยชุ
ศึกษามชนมี สว่ านร่
การเฝ้ วมง อ.เสลภู
ระวั มิ จ.ร้ดอการปั
สืบค้นและจั ยเอ็ดญในการสร้
หา รวมถึางงกลไกเฝ้าระวังผลิตภัณ
การสร้างกลไกการเฝ้ ฑ์กงลุผลิ
าระวั ่มเสีต่ยภังในชุ
ณฑ์กมลุชน
่มเสี่ยง
โดยชุมชนมีสว่ นร่วม อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด ในการสร้างกลไกเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์กลุภญ.สุ ่มเสี่ยภงในชุ
าวดีมเปล่
ชน งชัย
โรงพยาบาลเสลภู ภญ.สุมิ จัภงาวดี
หวัดเปล่
ร้อยเอ็
งชัดย
รูปแบบกลไกชุมชนจัดการปัญหาสเตียรอยด์ระดับตําบลในอําเภอเสลภู มิ จังหวัดมร้ิ อจัยเอ็
โรงพยาบาลเสลภู งหวัดดร้อยเอ็ด
รูปแบบกลไกชุมชนจัดการปัญหาสเตียรอยด์ระดับตําบลในอําเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด
ผลิ ต ภัณ ฑ์ ผูข้ าย

ยาชุด, ยานํ้าผลิ ต ภัผลิ


แผนโบราณ ณ ฑ์
ตภัณลูฑ์กกลอน, ประเมิ น ในชุม ชนผู้ขาย ผูร้ข้ านชํ
าย า, จุดพักยา, วัด
ประเมิน
สถานการณ์
เครือ่ งดื่มดสมุ
ยาชุด,ยาชุ
นไพร
ยานํ้า, แผนโบราณ
ยาน� ยาฝุ่ น, ยาผง
้ำแผนโบราณ ลูกกลอน,ลูกกลอน, ประเมิ นปัญ หา ในชุมชน ร้านช�ำ, จุดร้พัากนชํ
ในชุมมชน ยา,า,วัจุดดพักยา, วัด


สถานการณ์ปัญหา นอกชุ ชน รถเร่ ,สถานี วทิ ยุ, ขายตรง
เครือ่ งดืเครื ่องดืน่มไพร
่มสมุ สมุนยาฝุ่
ไพรนยาฝุ
, ยาผง่น, ยาผง ยา Steroid
สถานการณ์ ปัญ หา นอกชุมชน รถเร่, สถานีวิทยุ, ขายตรง
ยา Steroid นอกชุม ชน รถเร่,สถานีวทิ ยุ, ขายตรง
ผูป้ ระเมิน เครือ่ งมือ ในระดั
ผู้ประเมิน เครื่องมือ
เน ในระดั บบพืพื้นน้ ทีที่ ่
ยา Steroid อุบตั กิ ารณ์ในสถานพยาบาล
อุบัติการณ์ในสถานพยาบาล
พนักผูงานเจ้
ป้ ระเมิาหน้
น าที่ เครือ่ งมือ
ชุดตรวจ ในระดับ พืน้ ที่ อุบตั กิ ารณ์ในสถานพยาบาล
พนักงานเจ้าหน้าที่ ชุดตรวจ รายงาน ADR
พนัผูกแ้ งานเจ้
ทนชุมาหน้ ชน าที่ ชุดตรวจ
Website รายงาน ADR
ผู้แทนชุมชน Website รายงาน ADR
ผูแ้ ทนชุมชน Website

การมีสการมี
ว่ นร่วสม่วนร่วม กลุ่มเป้กลุ ม่ เป้ าหมาย
าหมาย
กลยุทกลยุ
ธ์ ทธ์ คืคืนนข้ข้ออมูมูลลให้
ให้ชชุมมุ ชน
ชน คืนข้อคืมูนลข้อมูล กลุม่ เป้ าหมาย
มีการมี
KeyมีสPerson
ว่ Key
นร่วมPerson
และสร้ ่ววนม ประชาชน ประชาชน
มูางการมี
คืน ข้อางการมี ล ให้สช่วมุ สนร่
ชน
ส� ำ
กลยุทธ์ และสร้ คืนข้อมูล
ประชาคม
ประชาคม
มี Key
ศรัทPerson
ธาศรัทธา ร่ว มของชุ
และสร้ ของชุ มชน
างการมี ม ชน ส ่ว น ผู้น�ำประชาชน
อปท.อปท. ชุผูมน้ ชน
ําชุมชน รพ.
ประชาคม รพ.สต. อืสต.
่นๆ อื่นๆ
ศรัเป้ทาธา
เป้ าหมายร่ หมายร่
วมกันวมกัน ร่ว มของชุม ชน อปท. ผูน้ ําชุมชน รพ.
สต. อื่นๆ
ก�ำหนดบทบาทหน้
เป้ าหมายร่วมกัน าที่
กําหนดบทบาทหน้ าที่ 
กําหนดบทบาทหน้ าที่ 
ส่งต่อสถานพยาบาลเพื่อรักษา วางระบบการจัดการ เข้าใจ ตระหนักอันตราย
ผู้ป่วยที่ได้รับผลกระทบจาก เข้าใจ ตระหนักอันตราย
ส่งต่อสถานพยาบาลเพื อ่ รักษาผูป้ ่ วยที่ Steroid ในชุมดชนการ
วางระบบการจั ลดการบริโภค
การบริ โ ภคสเตอรอยด์
ได้รบั ผลกระทบจากการบริโภค เข้าใจลดการบริ
ตระหนักโอัภค
นตราย
สเตอรอยด์ • Adrenal insufficiency
ส่งต่อสถานพยาบาลเพื อ่ รักษาผู
Steroid Without ป้ ่ วยที่
Syndrome Steroid ในชุมดชน
วางระบบการจั การ เพิ่มทางเลือกดู แลสุขภาพ

ได้รบั ผลกระทบจากการบริ โภค
Steroid ในชุม ชน ลดการบริ
อกดูแโลสุ
เพิม่ ทางเลื ภคขภาพ

สเตอรอยด์•Steroid
โรคหรืWithout
อ อาการที Syndrome
่ต้องใช้ยา
เฉพาะinsufficiency
 Adrenal
Steroid Without Syndrome มาตรการเฝ้าระวัง/สกัดกั้น เพิม่ ทางเลือกดูแลสุขภาพ
 โรคหรื อ อาการที
Adrenal insufficiency ต
่ อ้ งใช้ยา
มาตรการเฝ้าระวัง/สกัดกั้น
เฉพาะ
 โรคหรืออาการทีต่ อ้ งใช้ยา
มาตรการเฝ้าระวัง/สกัดกั้น
เฉพาะ
69 

68
  คู่มือส�ำหรับเภสัชกรในการด�ำเนินงานเภสัชกรรมในหน่วยบริการปฐมภูมิ

กรณีศึกษา ถอดบทเรียน รูปแบบการดําเนินงานแก้ไขปัญหายาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ กลุ่มเสี่ยงอําเภอ


โนนคูณ จังหวัดศรีสะเกษ
ภญ.เบญจมาศ บุดดาวงศ์และคณะ
โรงพยาบาลโนนคูณ จังหวัดศรีษะเกษ
การดําเนินงานเพื่ อแก้ไขปั ญ หายาและผลิตภั ณ ฑ์ สุข ภาพที่ ไม่ ปลอดภั ยในชุมชนของอําเภอโนนคู ณ
ดําเนินการโดยภาคีเครือข่ายความร่วมมือและบูรณาการงานกับหน่วยงานต่างๆ เครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคจึง
ต้ อ งเป็ น ภาคี ที่ ม าจากหลายภาคส่ ว นที่ มุ่ ง เน้ น ให้ แ ต่ ล ะภาคส่ ว นที่ เข้ า มาร่ ว มเป็ น เครื อ ข่ า ยได้ ใช้ ค วามรู้
ความสามารถและบทบาทอํานาจหน้าที่มาเสริมศักยภาพซึ่งกันและกัน เช่น ตํารวจ สถานศึกษา ฝ่ายปกครอง
องค์กรส่วนท้องถิ่น สื่อมวลชน องค์กรภาคประชาชน ผู้ประกอบการ หน่วยงานสาธารณสุข โดยมีนโยบายและ
แผนงาน ต่อเนื่อง กําหนดบทบาททุกส่วนให้มีส่วนร่วมกันผลักดันให้บรรลุเป้าหมาย โดยมีการนิเทศติดตาม


อย่างจริงจัง ดังนี้
1.ระดับเครือข่ายในชุมชน
เน
ส่งเสริมให้มีกระบวนการสร้างมาตรการป้องกันภัยแบบมีส่วนร่วมของชุมชน มีวิธีการจัดการกับ
ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ปลอดภัยในชุมชน โดยมีเป้าหมายเดียวกัน คือ สร้างมาตรการป้องกันภัยแบบมีส่วนร่วม
ของชุมชน ผลักดันให้แต่ละชุมชนมุ่งไปถึงลักษณะร่วมที่โดดเด่นของชุมชน ได้แก่
1.) เสริมสร้างสามัคคี ลดความขัดแย้ง สร้างมีสว่ นร่วมของภาคีในชุมชน
2.) เรียนรู้ความรู้ในด้านการบริโภคยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ปลอดภัย มีความตื่นตัว รู้เท่าทันการ
โฆษณาและการขายในรูปแบบต่างๆ
ส� ำ
3.) ชุมชนมีความสามารถจัดการปัญหาโดยตนเองและสร้างเครือข่ายนอกชุมชนให้ช่วยจัดการปัญหา
ที่มีแรงกระทบสูง
4.) สร้างแกนนําทีม่ ีความรู้ความกล้าที่จะนําชุมชนให้ต้านสิ่งที่ไม่ปลอดภัย ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
ไม่ให้เข้ามาสู่ชมุ ชน และมีความสามารถในการประสานกับหน่วยงานอื่นได้
5.) สร้างเครือข่ายพร้อมระบบเฝ้าระวังจัดการปัญหาในชุมชนตนเองผ่านนโยบายสาธารณะของ
ชุมชน เช่น ธรรมนูญตําบล แผนพัฒนาตําบล หรือข้อมติจากการประชาคม แล้วมีการประกาศใช้ในชุมชนโดย
ความสมัครใจถือเป็นนโยบายสาธารณะของชุมชนที่เด่นชัด ภาคีหลักในชุมชนที่ร่วมกระบวนการคือ
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบล องค์กรปกครองท้องถิ่น อาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน ผู้นําท้องที่
ท้องถิ่น สถานศึกษา วัด ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้ประกอบการรวมทั้งเจ้าหน้าที่ตํารวจและโรงพยาบาล
6.) จัดตั้งศูนย์รับเรื่องร้องเรียนและตรวจสอบผลิตภัณฑ์สุขภาพผลิตภัณฑ์ในชุมชน เพื่อสร้าง
ศักยภาพของชุมชนให้มีความรู้ รู้เท่าทันสื่อ มีการแจ้งเตือนภัย เฝ้าระวัง รับเรื่องร้องเรียน และตรวจสอบ
ผลิตภัณฑ์สุขภาพโดยชุดทดสอบพื้นฐาน ให้สามารถคุ้มครองตนเองจากการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่
ปลอดภัยและส่งต่อข้อมูลไปสู่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เพื่อแจ้งเตือนภัยใน “Single Window เตือนภัย”
70 

คู  ่มือส�ำหรับเภสัชกรในการด�ำเนินงานเภสัชกรรมในหน่วยบริการปฐมภูมิ 69
2. ระดับเครือข่ายอําเภอ
เป็นเครือข่ายที่เป็นตัวเชื่อมระหว่างเครือข่ายระดับชุมชนกับเครือข่ายระดับจังหวัด ภาคีหลักในระดับ
อําเภอมีโครงสร้างเครือข่ายและกระบวนการทํางานล้อตามเครือข่าย ระดับจังหวัดที่ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่
ตํารวจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นําชุมชน สถานศึกษา วัด ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้ประกอบการและบุคลากร
สาธารณสุข ทําหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงคอยสนับสนุนและพัฒนาศักยภาพสมาชิกของเครือข่ายชุมขน ด้านความรู้
ทักษะที่เกี่ยวข้อง พัฒนาด้านความเป็นผู้นํา จัดแนวทางช่องทางการติดต่อประสานงานของเครือข่าย เป็นผู้รับ
ช่วงข้อมูลจากชุมชนและสะท้อนสถานการณ์ปัญหาของชุมชน ให้เครือข่ายภายนอกอําเภอที่มีศักยภาพสูงกว่า
ช่วยจัดการปัญหาที่มีแรงกระทบเกินศักยภาพของตนเอง เช่น สํานักงานสาธารณสุขจังหวัด หรือหน่วยงาน
ภายนอกจังหวัด นอกจากนี้ ปลายน้ําระดับอําเภอยังต้องคอยกระตุ้นให้มีการดําเนินกิจกรรมระหว่างสมาชิก
เครือข่ายย่อยระหว่างชุมชนเป็นระยะอย่างต่อเนือง พร้อมทั้งจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถอดบทเรียนตามความ


เหมาะสม เพื่ อให้ เกิดการเรียนรู้ ร่วมกันวางแผนพั ฒ นาร่วมกันต่อ คอยสนั บสนุนอุปกรณ์ เครื่องมือ และ
ประสานงานด้านการสนั บสนุนงบประมาณจากหน่วยงานอื่นๆ เครือข่ายระดับอําเภอเป็นเครือข่ายที่ต้อง
เน
ส่งเสริมให้มีการบูรณาการร่วมกับงานด้านอื่น เพราะจะได้ขับเคลื่อนงานต่างๆไปพร้อมกัน

พบผลิตภัณฑ์ สุขภาพทีส่ งสั ยว่ าไม่ ปลอดภัยจากเส้ นทางการกระจายต่ างๆ


พบผลิตภัณฑ์สุขภาพที่สงสัยว่าไม่ปลอดภัยจากเส้นทางการกระจายต่างๆ ในพื้นที่
ตักเตือน/ บันทึกการตักเตือน
ประชาชน/ ผู้นําชุ มชน/
ตักเตืรวมรายงานส่ ง ทีมกรพ.สต.
อน/ บันทึกการตั เตือน
ประชาชน/ผู้น�ำชุมชน/เครื
  อข่าย
ส� ำ
รวมรายงานส่ง ทีม รพ.สต.
ตักเตือน/ บันทึกการตักเตือน
ทีมงานคบส.รพสต. รวมรายงานส่ ง ทีมระดับ
ตักเตือน/ บันทึกการตักเตือน
ทีมงาน คบส.รพสต.
  รวมรายงานส่
ตักเตือน / งบัทีนมทึระดั บอ�กำเภอ
กการตั เตือน
ทีมงานระดับอําเภอ ตักเตืหรืออนดํ/าเนิ
บันนทึการตามกฏหมาย
กการตักเตือน
ทีมงานระดับอ�ำ  เภอ หรือด�พร้ ำเนิอนมรายงานส่ ง สสจ.
การตามกฏหมาย
พร้อมรายงานส่ง สสจ.
ส่ งต่ อ / ประสานเครื อข่ าย องค์ กร
กลุ่มงาน คบ.สสจ. นอกจังหวัดอข่าย
ส่งต่อ / ประสานเครื
กลุ่มงาน คบ.สสจ.
องค์กรนอกจังหวัด
71 

  70
ภาพรวมการขับเคลื่อน : จากตําบลเข้มแข็ง ถึงอําเภอเข้มข้น มุ่งสู่จงั หวัดปลอดการขายยาไม่เหมาะสมในร้านชํา
ดําเนิน กิจ กรรมเครือ ข่ าย ขยายสู่ “อําเภอต้ น แบบ   ขยายประสบการณ์ แ ละกระบวนการจาก อ.โนนคูณสู่อ าํ เภออื่น ๆ
เกิด ตํด�าำบลต้ ่ อ ง ด การยา
เนินต่กินอจแบบจั
เนืกรรมเครื อข่าย จัดขยายสู
การยาอั่ น“อ�
ตรายฯ”ที
ำเภอต้น่ อ.แบบ ขยายผลต่ อ ขยายประสบการณ์และกระบวนการจาก อ.โนนคูณสู่อ�ำเภออื่นๆ
ต่อัอนเนืตรายในร้
่อง เกิดาต�นชํำบลต้ แบบจั์ ดการ จัดการยาอั ขยายผลต่อ
ในศรีส ะเกษ ขณะที ่ ใ นพืน้ ที่ อ.โนนคูณ ยังคงทํางานนีอ้ ย่ างเข้ ม แข็ง
ในศรีสะเกษ ขณะที่ในพื้นที่ อ.โนนคูณ
า ที่ นต.โพธิ โนนคูณนตรายฯ”ที่
ยาอันตรายในร้านช�ำ ที่ ต.โพธิ์ อ.โนนคูณ ยังคงท�ำงานนี้อย่ต่าองเข้เนืม่ อแข็งงต่จนถึ
อเนื่องงปัจนถึ
จ จุบงปัันจจุบัน

2551  2553  2553    2555  2556


ก่อน 2551 
ก่อน 2551 2551 2553 2553 2554 
2554 2555 2556 25572557 

เห็นปัญหาเดิมๆทําปั ญหาให้ ท�ำปัเ ห็ญนหาให้เห็น นําข้ อ น� ข้อมูลเสนอ


มูลำเสนอ ประชาคม
ประชาคม ผู้น ํา ผู้น�ำ ขยายผลเฝ้
ขยายผลเฝ้าาระวั ระวังง ออกตรวจเฝ้
ออกตรวจเฝ้ าระวัง า ด�ำเนินดํกิาจเนิกรรม
น กิจ กรรม ด�ำเนินกิจกรรมเครื
ดําเนิน กิอจ กรรม
เห็น ปั ญหา ผู บ
้ ริ ห
ผู้บ ริห ารระดับ อําเภอารระดั บ ผู ป
้ ระกอบการ
ผู้ป ระกอบการรายตําบล
ยาอันตรายจาก
ตรายจาก ระวั ง ต่ อ เนื่อ ง เครื อ ข่ า ย เครื
เดิม ๆ รายงาน รายงานไป ทัง้ ชุม ชน ทั้งชุมชน
อ�ำเภอ รายต�ำบล แหล่ ต่อเนื่องตามแผน เครือข่ายต่อเนื่อง ข่ายต่อเนือ่อข่งายต่ อ เนื่อ ง
ไม่ ม อ
ี ะไรเปลี ย
่ น แหล่งงอือื่น่ นๆๆ ตามแผน ่ ่ื
ไปไม่ ม ีอ ะไร
เปลี่ยน ส�ำรวจปัญหา X-ray หาเครือข่าย / กติกาชุมชน/ ออกตรวจ ตลาดนัด
ออกตรวจ รับเรื่องร้องเรียน / อสม. ดีเด่น เข้าสู่งานในระบบ
เห็นผลกระทบ สํารวจปั ญหา กติก าชุม ชน/ บัญชีบัยญาชี าระวังรถเร่
เฝ้ตลาดนั ด เฝ้ขายา จัดรัการปั
บ เรื่ อญงร้หาโดย ระดับอสม.ดี
อ งเรี ยน ชาติ เ ด่ น สุขภาพระดัเข้ บอ�าำสูเภอ
่ งานใน
ส� ำ
ทั้งอ�ำเภอ หาเครือผูข่้สานัยบสนุ / น
ที จ
่ �ำหน่ายได้ ด้านระดัคบส. บ ชาติด้ าน (DHS)
จากยาในชุมชน X-ray ทัง้ อําเภอ ผู้ส นับ สนุน ยาที่จ าํ หน่ ายได้ ระวังรถเร่ ข าย /เครื
จัดอการปั
ขาย ญหา ระบบสุข ภาพ
เห็น ผลกระทบ คบส.
ต่อเนื่อง ส่ง/ขายยา โดยเครื อ ขาย ระดับ อําเภอ
จากยาในชุม ชน สร้างทีมระดับต�ำบล ขยายผลร้านช�ำ เข้าร่วมอบรม น�ำข้อมูลจาก
ต่ อ เนื่อ ง รวบรวม เรียบเรียง ทางไปรษณี
ส่ ง/ขายยาย์
โดย สถานีอนามัย ปลอดยาอันตราย ทางวิ
ทางไปรษณี
ทยุชุมชนย์ ตลาดนัดสุขภาพ หลักสูตร ชุมชนสู่ข้อเสนอเชิง
วิเคราะห์ข้อมูล ระสาน ขยายผลร้ ทั้งอ�าำเภอนชํา ผู น
้ ำ
� ระบบยา เข้ า ร่ กพย.
ว มอบรม นโยบาย
ชวนผู้ใหญ่ / รวบรวม เรียบเรียง  สร้ างทีมเป็ระดั
นศูบนตํย์าปบล ทางวิท ยุช ุม ชน ตลาดนัด นําข้ อ มูล จาก
ปลอดยา หลัก สูต ร ผู้น ํา
ผู้รับผิดชอบพื้นที่ โดย สถานีอ นามัย ส�ำรวจการรับรู้และ ชุม ชนสู่ข้ อ เสนอ
ชวนผู้ใ หญ่ ร่/วมคิด วิเ คราะห์เชืข่อ้ อมโยงปั มูล ญหากับ เป็ นศูจันดย์ตัป้งระสาน ต�ำบลร้านช�ำ ออกตรวจแนะน�
อัน ตราย  ำ
ความคิ ดเห็นของ บูรณาการ วิทระบบยา
ยากร กพย. น�ำเสนอข้เชิองมูนโยบาย  ล
โดยเครือข่ายใน สํารวจการรั บ รู้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้
ผู้ร ั บ ผิด ชอบ ผลกระทบต่อผู้ป่วย ปลอดยาอันตราย ้ประกอบการ
ผูและความคิ ด เห็/น กับงานอื่นๆ สู ส
่ อ
่ ื สาธารณะ
ชุม้ ชน / ตรวจซ�้ำ นอกเครือข่าย
เน
พืน้ ที่ร่ วมคิด ของผู ประชาชน
้ ป ระกอบการ
บูร ณาการกับ
ปักหมุดหมาย เชื่อ มโยงปั ญหากับ โดยทีมอ�ำเภอ งานอื่น ๆ วิท ยากร นําเสนอข้ อ มูล สู่
สุข ภาพ จัด ตัง้ ออกตรวจแนะนํ า /ประชาชน
“ชุมชนมียาที่ ผลกระทบต่ อเริผู้่มป่แก้วย ปัญหา ตําบลร้ านชําปลอด ประเมิ น ผล แลกเปลี่ยนเรียนรู้/ เข้าร่วมเครืแลกเปลี
อข่ายระดั ่ ยนเรี
บ ยนรู้ ถอดบทเรีสืย่ อนงาน สาธารณะ
โดยเครื อ ข่ ายใน ส�ำรวจความพึงพอใจ
ปั ก หมุด หมาย เหมาะสมและ และสรุปผล ท�ำแผนโดย เขต + ภาคนอกเครื+ หน่วยงาน อ ข่ าย เครือข่าย คบส.
กฎหมาย” จากจุ ด ที ท
่ ำ
� ได้ ั ใน 4 เดือน ชุ มแลกเปลี
ชน / ตรวจซํ ่ยนเรีาย้ นรู้ ของ อสม. ผู้น�ำชุมชน เครือข่ายชุมชน ที่เกี่ยวข้อง โนนคูณ
”ชุม ชนมีถูยกาที ่ โดยทีม อําเภอ สํารวจความพึง- แลกเปลี่ยน
เหมาะสมและ พอใจของ เรี ยนรู้/ทําแผน ถอดบทเรี ยนงาน
เริ่ม แก้ ปั ญหา ประเมิน ผลและ ต�ำบลดีเด่น ร้านช�ำ แลกเปลี่ยนเรีอสม. ยนรู้/ เข้ า ร่ ว มเครื อ ข่ า ย เครื อ ข่ าย คบส.
ถูก กฎหมาย”
จากจุด ที่ท าํ ได้ สรุ ป ผล ใน 4 เดือ น ปลอดภั
แลกเปลี ่ ย นเรี
ย ยจันรูงหวั
้ ด ําชุม ชน
ท�ผูำ้ นแผนโดย
า โดย 
ระดับ เขต + ภาค โนนคูณ 
คู่มือส�ำหรับเภสัชกรในการด�ำเนินงานเภสัชกรรมในหน่วยบริการปฐมภูมิ

ศรีสะเกษ เครือข่ายชุมชน
แลกเปลี่ยน + หน่ วยงานที่
ตําบลดีเ ด่ น ร้ าน เรี ยนรู้/ทําแผน เกี่ยวข้ อ ง
ชําปลอดภัย โดย
จังหวัด ศรี ส ะเกษ เครื อ ข่ ายชุม ชน
72 

คู  ่มือส�ำหรับเภสัชกรในการด�ำเนินงานเภสัชกรรมในหน่วยบริการปฐมภูมิ 71
แหล่งข้อมูลทีส่ ามารถศึกษาเพิ่มเติมเพื่อใช้เป็นแนวทางในการทํางาน ได้แก่

1. แผนงานพัฒนาวิชาการและกลไกคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ
(คคส.) http://www.thaihealthconsumer.org
2. ศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) http://www.thaidrugwatch.org
3. มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค http://www.consumerthai.org
4. หนังสือ บทเรียนสหายปลาทู , อย่าปล่อยให้สเตียรอยด์ลอยนวล ปฏิบัติการมัดไม้ซกี ไปงัดไม้ซุง
5. ทุกข์ล้นเหลือ เหยื่อโฆษณา คู่มือ อสม.คุม้ ครองผู้บริโภค สมุนไพรไม่ใช่ยาขม ฯลฯ


เอกสารอ้างอิง เน
1. นันทิกา สุนทรไชยกุล, เพ็ญศรี วัจฉละญาณ, สิริมา มงคลสัมฤทธิ์. การวิเคราะห์ความเสี่ยงทางสุขภาพ
สํ า ห รั บ เจ้ า ห น้ า ที่ ส า ธ า ร ณ สุ ข [Internet]. [cited 2017 Jan 19]. 185 p. Available from:
http://hsmi.psu.ac.th/upload/forum/dh_risk_analysis.pdf
2. กองส่งเสริมงานคุ้มครองผู้บริโภค สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา. คู่มือการดําเนินงานคุ้มครอง
ผู้ บ ริโภค ด้ า นผลิ ต ภั ณ ฑ์ สุ ขภาพ สํ าหรั บ พนั ก งานเจ้ าหน้ าที่ ระดั บ อํ าเภอ. พิ ม พ์ ค รั้งที่ 1. Vol. 2558.
กรุงเทพ: บริษัท หกหนึ่งเจ็ด จํากัด; 2558.
ส� ำ
3. เบญจมาศ บุดดาวงค์. สรุปผลการดําเนินงานกลุ่มงานเภสัชกรรมและคุ้มครองผู้บริโภค โรงพยาบาลโนน
คูน. 2557.
72 คู่มือส�ำหรับเภสัชกรในการด�ำเนินงานเภสัชกรรมในหน่วยบริการปฐมภู73 
มิ
73 
 
 
งานส่งเสริมการพึ่งตนเองด้านสมุนไพรและสุขภาพ
บทนํา งานส่งเสริมการพึ่งตนเองด้านสมุนไพรและสุขภาพ
บทนํา งานบริการปฐมภูมิเป็นงานบริการสาธารณสุขภาครัฐที่เน้นภารกิจในด้านการสร้างเสริมสุขภาพและ
ป้องกันงานบริ การปฐมภู
โรคในระดั บบุ คคล มิเป็ครอบครั
นงานบริวกและชุ ารสาธารณสุม ชน ซึ่ขงการมี
ภาครัสฐ่วทีนร่่เน้นวมของชุ
ภารกิจมในด้ ชนนัานการสร้
บเป็ นปัาจงเสริ จัยสํมาคัสุญ ขภาพและ
ยิ่ง การ
ป้อบงกัสนุนโรคในระดั
สนั นและส่งเสริบมบุความสามารถในการพึ
คคล ครอบครัวและชุ่งมตนเองด้ ชน ซึ่งการมีานสุขสภาพของประชาชนในทุ
่วนร่วมของชุม ชนนั บเป็ นปั จบจัให้ยเสํข้ามคัแข็
กระดั ญ ยิงนั่ง บการ
เป็น
สนับสนุนและส่
บทบาทหนึ ่งที่สํางเสริ
คัญมทีความสามารถในการพึ
่หน่วยบริการปฐมภูมิซ่งึ่งตนเองด้ เป็นหน่วายบริ นสุขกภาพของประชาชนในทุ
ารสาธารณสุขที่อยู่ใกล้กชระดั ิดชุมบชนมากที
ให้เข้มแข็่สงุดนัจะต้ บเป็อนง
บทบาทหนึ ่งที่สําคัาญเนิทีน่หการ
มีส่วนร่วมในการดํ น่วยบริการปฐมภูมิซึ่งเป็นหน่วยบริการสาธารณสุขที่อยู่ใกล้ชิดชุมชนมากที่สุดจะต้อง
มีส่วนร่ความสามารถในการพึ
วมในการดําเนินการ ่ งตนเองด้ านสุ ข ภาพ หมายถึ ง การที่ ชุม ชนมี ข้ อมู ล มี ค วามรู้ที่ ถู ก ต้ องและมี
ความสามารถในการพึ
อก/การตัดสิ่ งนตนเองด้ ใจเลือกวิาธนสุ ข ภาพ
แลสุขหมายถึ ง การที ่ ชุมดชนมี ข้ อมู ล บมีป่คววามรู ย ส่ว้ทนหนึี่ ถู ก ต้่งอของตนที
งและมี่


ศักยภาพในการเลื ีการดู ภาพรวมถึ งการจั การความเจ็
ศัเหมาะสมและเท่
กยภาพในการเลืาทัอนก/การตัดสินใจเลือกวิธีการดูแลสุขภาพรวมถึงการจัดการความเจ็บป่วย ส่วนหนึ่งของตนที่
เหมาะสมและเท่
งานส่งเสริามทัการพึ
น ่งตนเองด้านสมุนไพรและสุขภาพ ที่กล่าวถึงในที่นี้ มุ่งเน้นการส่งเสริมการพึ่งตนเองด้าน
งานส่งเสริ
สมุนไพรและสุ
สมุ
มี พนฤติ
ไพรและสุ
ก รรมการใช้
มีประชาชนสามารถเข้
มการพึ่อ่งให้ตนเองด้
ขภาพเพื
ขภาพเพื
พ ฤติ ก รรมการใช้ ยาาที
ย าที่อ่ ให้
เหมาะสม
ถึง่ยาจํ
เหมาะสม
เน านสมุ
เกิดการใช้ นไพรและสุ
ยาที
เกิดการใช้ถูยกาที
่เหมาะสมในชุ
ต้ อ่เงหมาะสมในชุ
าเป็น เพืถู่อกดูต้แอลสุ
ขภาพมชน
ปลอดภั ย มซึชน
ง ปลอดภั
ขภาพตนเองได้
ที่กโดยมี
ล่าวถึเงป้ในที
โดยมีเป้าหมาย
่ งหมายรวมถึ
ย ซึ่ งหมายรวมถึ
อย่างครอบคลุ
่นี้ มุ่ง(1)
าหมาย
ง การไม่
ง การไม่
เน้นเพื
การส่ ่อให้งปเสริ
(1) ใเพืช้ ย่อาถ้
ม (3) ใเพืช้ ย่อาถ้
ให้ปาไม่
มการพึ่งตนเองด้
ระชาชนตระหนั
ระชาชนตระหนั
จํ าเป็ น (2) เพืก่และ
าไม่บจชุํ ามเป็
ร่วมกั
กและาน
อ ให้
น (2) เพืน่ อหา
ชนในการค้ ให้
ประชาชนสามารถเข้
แหล่ งทรัพยากรด้านสุาถึขงภาพ ยาจําได้เป็แนก่ เพื
สมุ่อนดูไพร
แลสุขหมอพื
ภาพตนเองได้
้นบ้านและพั อย่าฒงครอบคลุ
นาศักยภาพการนํม (3) เพื่อาร่ทรั วมกั บชุมชนในการค้
พยากรนั ้นมาใช้ในการ นหา
แหล่
ดูแลสุงทรั พยากรด้
ขภาพอย่ างถูานสุ
กต้ขอภาพ ง ปลอดภั ได้แก่ย สมุ นไพร หมอพื
โดยการนํ าองค์ค้นวามรูบ้านและพั
้ทางเภสัฒชนาศั
ศาสตร์กยภาพการนํ
เข้าไปประยุ าทรักต์พใยากรนั
ช้ ผสมผสานกั ้นมาใช้ใบนการ องค์
ดูความรู
แลสุข้แภาพอย่ างถูกต้องทปลอดภั
ละประสบการณ์ ี่มีอยู่ในชุยมโดยการนํ
ชนให้สอดคล้ าองค์อคงกัวามรู
บบริ้ทบางเภสั
ทของชุชมศาสตร์
ชนนั้นเข้าไปประยุกต์ใช้ ผสมผสานกับองค์
ส� ำ
ความรู้แเภสัละประสบการณ์
ชกรผู้ปฏิบัติงานในหน่ ที่มีอยู่ในชุ มชนให้
วยบริ การปฐมภูสอดคล้มอิ จึงกังมีบบบริทบาทสํ
บทของชุ าคัมญชนนั
ในการดํ ้น าเนินงานฟื้นฟู ส่งเสริม สนับสนุน
การพึ่งเภสั ชกรผูานสมุ
ตนเองด้ ้ปฏิบนัตไพรและสุ
ิงานในหน่ขวยบริ ภาพเพืการปฐมภู
่อให้เกิดมการใช้
ิ จึงมีบยทบาทสํ าคัญในการดํ
าที่เหมาะสมในชุ มชนาเนิโดยมี
นงานฟื ้นฟู ส่งเสริมาเนิ
แนวทางการดํ สนันบงานที
สนุน่
การพึ
เป็นรูป่งตนเองด้
ธรรมเบื้อางต้ นสมุ
นดันงไพรและสุ
นี้ ขภาพเพื่อให้เกิดการใช้ยาที่เหมาะสมในชุมชน โดยมีแนวทางการดําเนินงานที่
เป็นรูป1.ธรรมเบืการสนั
้องต้นดับงสนุ นี้ นการใช้ยาสามัญประจําบ้าน
1. การส่
2. การสนังเสริบสนุมการใช้
นการใช้สมุยนาสามั
ไพร ญประจําบ้าน
2. การพั
3. การส่งฒเสริ มการใช้สมุนอไพร
นาระบบฐานข้ มูลหมอพื้นบ้านและอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการดูแลสุขภาพ
3. การพัฒนาระบบฐานข้อมูลหมอพื้นบ้านและอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการดูแลสุขภาพ
74  74 

  คู  ่มือส�ำหรับเภสัชกรในการด�ำเนินงานเภสัชกรรมในหน่วยบริการปฐมภูมิ 73
กรอบงานส่
กรอบงานส่
งเสริมงการพึ
เสริมการพึ
่งตนเองด้
่งตนเองด้
านสมุานนสมุ
ไพรและสุ
นไพรและสุ
ขภาพขภาพ

งานส่งงานส่
เสริมงการพึ
เสริม่งการพึ
ตนเองด้
่งตนเองด้
านสมุานนสมุ
ไพรและสุ
นไพรและสุ
ขภาพขภาพ

สนับสนุสนันการใช้
บสนุนการใช้ ส่งเสริมส่การใช้
งเสริมสการใช้
มุนไพรสมุนไพร พัฒนาระบบฐานข้
พัฒนาระบบฐานข้อมูลหมอ อมูลหมอ
พื้นบ้านและอนุ
พื้นบ้านและอนุ
รักษ์ภูมริปักัญ
ษ์ภญาูมิปัญญา
ยาสามัยาสามั
ญประจํญาประจํ
บ้าน าบ้าน ท้องถิ่นท้ในการดแลสขภาพ
องถิ่นในการดแลสขภาพ


วัตถุปวัระสงค์
ตถุประสงค์
1. 1.เพื่อสนัเพืบ่อสนุ สนันบให้สนุปนระชาชนใช้เน ยาสามัยาสามั
ให้ประชาชนใช้ ญ ประจํ าบ้านแทนการใช้
ญ ประจํ าบ้านแทนการใช้ ยาอันยตรายในการรั
าอันตรายในการรั กษาอาการกษาอาการ
เจ็บป่วเจ็ยเบื
บป่้อวงต้
ยเบืน้องต้น
2. 2.เพื่ อ จัเพื ด ระบบการสนั
่ อ จั ด ระบบการสนับ สนุ นบให้
สนุมนี กให้
ารกระจายยาสามั
มี ก ารกระจายยาสามั ญ ประจํ า บ้ า นอย่
ญ ประจํ า บ้ าานอย่
งมี คาุ ณงมีภาพและมี
คุ ณ ภาพและมี
ประสิประสิ
ทธิภาพเพืทธิภ่อาพเพื
ให้ประชาชนสามารถเข้
่อให้ประชาชนสามารถเข้ าถึงได้างถึ่างยได้ง่าย
3. 3.เพื่อส่งเพืเสริ่อส่มงการใช้ สมุนไพรเพื
เสริมการใช้ ่อการพึ่อ่งการพึ
สมุนไพรเพื ตนเองในการดู แลสุขแภาพ
่งตนเองในการดู ลสุขภาพ
4. 4.เพื่อพัฒ เพืนาระบบฐานข้
่อพัฒนาระบบฐานข้ อมูลหมอพื ้นบ้านและอนุ
อมูลหมอพื รักษ์ภรูมักิปษ์ัญภญาท้
้นบ้านและอนุ ูมิปัญอญาท้
งถิ่นในการดู แลสุขแภาพ
องถิ่นในการดู ลสุขภาพ
1. การสนั บสนุนบการใช้
1. การสนั ยาสามัยาสามั
สนุนการใช้ ญประจํ าบ้านาบ้าน
ญประจํ
ส� ำ
ยาสามัยาสามั ญ ประจํ าบ้ านาบ้คื อานยาที
ญ ประจํ คื อ่ กยาที
ระทรวงสาธารณสุ
่ กระทรวงสาธารณสุ ข ได้ พขิ จได้
ารณาคั ดเลื อ กแล้
พิ จารณาคั ดเลื อวกแล้ ว่าเป็วนว่ยาทีาเป็ น่ เหมาะสม
ยาที่ เหมาะสม
ปลอดภั ย ที่จะให้
ปลอดภั ย ทีป่จะให้
ระชาชนหาซื
ประชาชนหาซื ้อมาใช้้อไมาใช้
ด้ด้วยตนเองเพื
ได้ด้วยตนเองเพื ่อการดู่อแการดู
ลรักแษาอาการเจ็
ลรักษาอาการเจ็ บป่วยเล็ บป่กวๆน้ ยเล็อกยๆ
ๆน้ทีอ่ยๆ
มักจะ
ที่มักจะ
เกิดขึ้นเกิได้ดขึสามารถหาซื
้นได้ สามารถหาซื ้อได้ท้อั่วไป
ได้ทโดยผู
ั่วไป ้ขโดยผู
ายไม่้ขตายไม่
้องขออนุ ต้องขออนุ ญาต ญ การสนั
าต การสนับสนุนบให้สนุปนระชาชนใช้
ให้ประชาชนใช้ ยาสามัยญ ประจํ
าสามั า า
ญประจํ
บ้านแทนการใช้
บ้านแทนการใช้ ยาอันยตรายในการรั
าอันตรายในการรั กษาอาการเจ็
กษาอาการเจ็บป่วยเบื บป่้อวงต้
ยเบืน้อนังต้
้น นถือนัเป็
้น นถืการสนั บสนุนบการใช้
อเป็นการสนั ยารักษาตนเอง
สนุนการใช้ ยารักษาตนเอง
อย่างเหมาะสม
อย่างเหมาะสม ที่ช่วยแก้
ที่ช่วไขปั
ยแก้ญไหาสุ
ขปัญขหาสุภาพและลดภาระค่
ขภาพและลดภาระค่ าใช้จ่าายของสถานพยาบาลได้
ใช้จ่ายของสถานพยาบาลได้ ด้วย เภสั ด้วยชกรผู
เภสัช้ปกรผู
ฏิบัต้ปิ ฏิบัติ
หน้ า ทีหน้
่ จํ า ทีเป็่ นจํ าต้เป็
อ งจั
น ต้ดอระบบการสนั
งจั ด ระบบการสนั บ สนุ นบให้ สนุมนี กให้
ารกระจายยาสามั
มี ก ารกระจายยาสามั ญ ประจํ า บ้ า นอย่
ญ ประจํ า บ้ าานอย่งมี คาุ ณงมีภาพและมี
คุ ณ ภาพและมี
ประสิประสิ
ทธิภาพเพื ทธิภ่อาพเพื ให้ป่อระชาชนสามารถเข้
ให้ประชาชนสามารถเข้ าถึงได้างถึ่างยได้ต้ง่าอยงสื่อต้สาร
องสื่อเผยแพร่
สาร เผยแพร่ ความรูค้ใวามรู
นเรื่อ้ใงของการใช้
นเรื่องของการใช้ ยา ข้อยควร
า ข้อควร
ระวัง ระวั
การเก็ ง การเก็
บรักษาบรัฯลฯ กษา ให้ ฯลฯ
ประชาชนได้
ให้ประชาชนได้ รับรู้นรําับสู่พรู้นฤติําสูก่พรรมการใช้
ฤติกรรมการใช้ ยาที่เหมาะสม
ยาที่เหมาะสม (ศึกษารายละเอี
(ศึกษารายละเอี ยดเพิ่มยเติ
ดเพิม ่มเติม
บัญชียบัาจากสมุ
ญชียาจากสมุ นไพรในบันไพรในบั
ญชียาหลั ญชียกาหลั
แห่งกชาติ
แห่งพ.ศ.
ชาติ 2556 พ.ศ. 2556 จาก หัจาก วข้อหัแหล่
วข้องแหล่
ข้อมูงลข้ทีอ่สมูําลคัทีญ่สด้ําาคันแพทย์
ญด้านแพทย์ แผนไทยแผนไทย
และ ยาสามั
และ ยาสามั ญประจํ ญประจํ
าบ้าน)าบ้าน)
75 

 
74 คู่มือส�ำหรับเภสัชกรในการด�ำเนินงานเภสัชกรรมในหน่วยบริการปฐมภูมิ

กรอบการสนับสนุนการใช้ยาสามัญประจําบ้าน

เผยแพร่ความรู้เรื่องยาสามัญประจําบ้าน

- ในสถานบริการ
- นอกสถานบริการ : ชุมชน โรงเรียน
วัด หมู่บ้าน ฯลฯ
การสนับสนุนการใช้ยา
สามัญประจําบ้าน
การกระจายยาสามัญประจําบ้านในชุมชน

- ศูนย์สุขภาพชุมชนประจําหมู่บ้าน


- วัด
- โรงเรียน
- ร้านชํา ฯลฯ
เน
การสนับสนุนการใช้ยาสามัญประจําบ้านควรดําเนินการ 2 ด้านหลัก ดังนี้
1.1 เผยแพร่ความรู้เรื่องยาสามัญประจําบ้าน
เป็นการดําเนินงานต่อเนื่องจากการนําข้อมูลปัญหาการใช้ยาที่ได้มาจากการสํารวจ ควบคู่กับการ
ส� ำ
ให้ความรู้กับประชาชน ในเรื่องของอันตรายที่เกิดจากการใช้ยาอย่างไม่เหมาะสมที่พบจากการดําเนินงาน
คุ้มครองผู้บริโภคในหน่วยบริการปฐมภูมิการเผยแพร่ความรู้เรื่องยาสามัญประจําบ้านเพื่อให้เกิดการใช้ยาที่
ถูกต้อง เหมาะสม เป็นสิ่งที่เภสัชกรควรดําเนินให้ครอบคลุมและมีความต่อเนื่อง โดยมีกระบวนการดําเนินการ
ดังนี้
1.1.1 กําหนดกลุ่มเป้าหมายที่จะดําเนินการ กลุ่มเป้าหมายที่จะดําเนินการควรมีความครอบคลุม
ทั้งผู้ให้บริการ/จําหน่าย ผู้บริโภค และผู้ที่จะทําการสื่อสารให้เกิดความเข้าใจอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ เช่น ร้านชํา
อสม. พระภิกษุ ครู นักเรียน ผู้มารับบริการที่หน่วยบริการปฐมภูมิ ประชาชนทั่วไป นักจัดรายการเสียงตาม
สาย/วิทยุ โดยอาจพิจารณากลุ่มเป้าหมายเชื่อมโยงกับการดําเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคที่ได้จากการดําเนินการ
พัฒนาระบบฐานข้อมูล
1.1.2 คิดค้นสื่อ รูปแบบวิธีการสื่อสาร ที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย และสภาพแวดล้อมและมี
ความต่อเนื่อง โดยมุ่งเน้ นให้ประชาชนได้ตระหนักถึงความปลอดภั ยอันเกิดจากการใช้ยา การเก็บรักษาที่
ถูกต้องและนําสู่การปฏิบัติ ได้แก่ การใช้โสตทัศนูปกรณ์ต่าง ๆ การจัดนิทรรศการ การสอน/ฝึกอบรม การให้
ข้อมูลผ่านหอกระจายข่าว เสียงตามสาย การใช้สื่อบุคคล การจัดมุมแสดงตัวอย่างภายในสถานบริการ
76 

คู  ่มือส�ำหรับเภสัชกรในการด�ำเนินงานเภสัชกรรมในหน่วยบริการปฐมภูมิ 75
1.1.3 กํ าหนดช่ ว งระยะเวลาการดํ าเนิ น การ ให้ ส อดคล้ อ งกั บ กลุ่ ม เป้ า หมายและควรมี ก าร
ประสานกับงานอื่นๆในการจัดโปรแกรมเพื่อให้การทํางานมีประสิทธิภาพ
1.1.4 วิเคราะห์และประเมินผลการดําเนินการ ทั้งเชิงกระบวนการและผลลัพธ์ในการดําเนินงาน
เพื่อนํามาพัฒนาปรับปรุงรูปแบบวิธีการการสื่อสาร ให้เกิดความเหมาะสมสอดคล้องและบรรลุวัตถุประสงค์เช่น
การประเมินความรู้ การติดตามเยี่ยมโดยผสมผสานไปกับการลงพื้นที่ในงานอื่น ๆ

1.2 การกระจายยาสามัญประจําบ้านในชุมชน
เป็นการดําเนินการต่อเนื่อง เชื่อมโยงกับงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาในชุมชน เพื่อแก้ไขปัญหา
การกระจายยาที่ไม่เหมาะสมในชุมชน สิ่งที่เภสัชกรต้องคํานึงถึงควบคู่ไปด้วยคือคุณภาพในการเก็บรักษายา ณ
แหล่งที่มีการให้บริการยาสามัญประจําบ้าน โดยมีกระบวนการดังนี้


1.2.1 ร่วมกําหนดแหล่งกระจายยาสามัญประจําบ้านกับชุมชน ได้แก่ ศูนย์สุขภาพชุมชนประจํา
หมู่บ้าน (ศสมช.) วัดโรงเรียนร้านชําฯลฯ
เน
1.2.2 จัดระบบการสํารองและจําหน่ายยาสามัญประจําบ้านให้กับแหล่งกระจายยาสามัญประจํา
บ้านในชุมชนถ้าเป็นไปได้อาจให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการเป็นเจ้าของทั้งในด้านการเงินและ/หรือการ
บริหารจัดการด้วยจะทําให้เกิดความเข้มแข็งในการดําเนินงานมากขึ้น
1.2.3 มีการนิเทศ ติดตาม ประเมิน วิเคราะห์ และรายงานผลให้ผู้เกี่ยวข้อง ทั้งภายในหน่วยงาน
และชุมชน ได้นําไปใช้ประกอบการพัฒนาปรับปรุงแก้ไขปัญหา ทั้งนี้อาจดําเนินการผสมผสานกับการลงพื้นที่
ร่วมกับงานอื่นๆ ในชุมชนที่องค์กรชุมชนเข้มแข็งควรให้ชุมชนมีส่วนร่วมในกระบวนการนี้ด้วย
ส� ำ
การประเมินผล
1. ชุมชนมีการใช้ยาสามัญประจําบ้านในการรักษาสุขภาพเบื้องต้นเพิ่มขึ้น (80%)
2. ประชาชนในชุมชนมีความรู้ในการใช้ยาสามัญประจําบ้านเพิ่มขึ้น
2. การส่งเสริมการใช้สมุนไพร
การส่งเสริมการใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพอย่างถูกต้องและปลอดภัย ถือเป็นการพึ่งตนเองด้าน
สุขภาพที่สําคัญที่ต้องสร้างให้เกิดความตระหนักในทุกระดับ เภสัชกรผู้ปฏิบัติหน้าที่จําเป็นต้องใช้องค์ความรู้
ทางวิชาการ เข้ามาประยุกต์ผสมผสานกับองค์ความรู้และประสบการณ์การใช้ยาสมุนไพรที่มีอยู่ในชุมชนอย่าง
เหมาะสม ตลอดจนจัดให้มีการนํายาสมุนไพรตามบัญชียาจากสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ. 2556 มา
ใช้ในการดูแลรักษาผู้ป่วยในสถานบริการสาธารณสุขของรัฐและในชุมชน โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เกิดความ
ปลอดภัยในการใช้สมุนไพรเพื่อการพึ่งตนเองตั้งแต่ระดับบุคคล ครอบครัว ชุมชน จนถึงระดับชาติ (ศึกษา
รายละเอียดเพิ่มเติม บัญชียาจากสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ. 2556 จาก หัวข้อแหล่งข้อมูลที่สําคัญ
ด้านแพทย์แผนไทย และ ยาสามัญประจําบ้าน)
77  77 

   
76 คู่มือส�ำหรับเภสัชกรในการด�ำเนินงานเภสัชกรรมในหน่วยบริการปฐมภูมิ

กรอบการส่
กรอบการส่
งเสริงมเสริ
การใช้
มการใช้
สมุนสไพร
มุนไพร

การใช้การใช้
ยาจากสมุ
ยาจากสมุ
นไพรในนไพรใน สํารองยาจากสมุ
สํารองยาจากสมุ
นไพรเพื
นไพรเพื
่อใช้ในสถานบริ
่อใช้ในสถานบริ
การฯและชุ
การฯและชุ
มชน มชน
สถานบริ
สถานบริ
การสาธารณสุ
การสาธารณสุ
ข ข
มชน2551 
และชุและชุ มชน2551  เผยแพร่
เผยแพร่ ความรูความรู
้แก่บุค้แลากรและชุ
ก่บุคลากรและชุ
มชน มชน

ส่งเสริส่มงการ
เสริมการ
ใช้สมุใช้
นไพรสมุนไพร สํารวจ/รวบรวมข้
สํารวจ/รวบรวมข้
อมูลและประสบการณ์
อมูลและประสบการณ์
การใช้กสารใช้
มุนไพร
สมุน2553
ไพร 2553

การใช้การใช้
สมุนไพร
สมุนไพร
เผยแพร่
เผยแพร่
ความรู
ความรู
้เรื่องสมุ
้เรื่อนงสมุ
ไพรแก่
นไพรแก่
บุคลากรและชุ
บุคลากรและชุ
มชนมชน


ในชุมในชุ
ชน มชน
เน สนับสนั
สนุบนสนุ
การปลู กเพื่อกนํเพืาไปใช้
นการปลู ในการดู
่อนําไปใช้ แลสุขแภาพชุ
ในการดู มชนมชน
ลสุขภาพชุ

การส่การส่
งเสริงมเสริ
การใช้ สมุนสไพร
มการใช้ ควรมีควรมี
มุนไพร การดํกาารดํ
เนินาการดั งนี้ งนี้
เนินการดั
2.1 การจั ดให้มดีกให้ารใช้
2.1 การจั ยาจากสมุ
มีการใช้ ยาจากสมุ นไพรตามบั
นไพรตามบั ญ ชียญาจากสมุ
ชียาจากสมุ นไพรในสถานบริ
นไพรในสถานบริ การสาธารณสุ
การสาธารณสุ ขและชุขและชุ
มชนมชน
(สามารถดํ
(สามารถดํ าเนินาการควบคู
เนินการควบคู ่กับการสนั
่กับการสนั บสนุบนสนุ นการใช้
การใช้ ยาสามั
ยาสามั ญประจํ
ญประจํ าบ้าน)าบ้ควรมี
าน) ควรมี
การดํกาารดํ
เนินาการโดย
เนินการโดย
ส� ำ
2.1.12.1.1จัดให้จัมดีรให้ะบบการสํ
มีระบบการสํ ารองยาจากสมุ
ารองยาจากสมุ นไพรตามบั
นไพรตามบั ญชียญาจากสมุ
ชียาจากสมุ นไพรในบั
นไพรในบั ญชียญาหลัชียกาหลั
แห่กงชาติ
แห่งชาติ
พ.ศ.พ.ศ.
25562556 เพืบ่อริให้การผู
เพื่อให้ บริก้ปารผู
่วยที้ป่มวยที
ารับ่มบริ
ารักบารทีบริก่หารที ่หน่วกยบริ
น่วยบริ การปฐมภู
ารปฐมภู มิและหน่
มิและหน่ วยที่เวป็ยที ่เป็นแหล่
นแหล่ งกระจายยาในชุ
งกระจายยาในชุ มชนอย่มชนอย่
าง าง
พอเพีพอเพี
ยง ยง
2.1.22.1.2เผยแพร่ เผยแพร่
ความรู ความรู
้ให้แก่้ให้บแุคก่ลากรทางสาธารณสุ
บุคลากรทางสาธารณสุ ขและประชาชน
ขและประชาชน เพืเ่อกิให้
เพื่อให้ เกิดการใช้
ดการใช้ ยาอย่ยาาอย่
งถูกาต้งถูอกง ต้อง
ปลอดภั
ปลอดภั ยในยามเจ็
ยในยามเจ็ บป่วบยทีป่่มวยที ่มีความจํ
ีความจํ าเป็นาต้เป็อนงใช้
ต้อยงใช้
า ยา

2.2 การส่
2.2 การส่ งเสริงมเสริ มและฟื
และฟื ้นฟูก้นารใช้ ฟูการใช้
สมุนสไพรในชุมุนไพรในชุ มชนมชน
โดยเน้โดยเน้
นการส่ นการส่
งเสริงมเสริ มการใช้
การใช้ สมุนสไพรในงานสาธารณสุ
มุนไพรในงานสาธารณสุ ขมูลขฐาน
มูลฐาน
ซึ่งส่วซึนใหญ่
่งส่วนใหญ่
เป็นผัเป็กนพืผั้นกบ้พืา้นนซึบ้่งาถืนซึอเป็
่งถืนอเป็น
สมุนสมุ
ไพรที นไพรที
่มีในท้่มอีในท้
งถิ่นอทีงถิ่ใช้่นเทีป็่ในช้อาหารอยู
เป็นอาหารอยู ่แล้ว ่แและยั
ล้ว และยั งสามารถนํ
งสามารถนํ ามาใช้ามาใช้ ในการดู
ในการดู แลสุขแภาพเบื
ลสุขภาพเบื
้องต้น้อทังต้้งในด้
นทั้งาในด้ นการ านการ
ป้องกัป้นองกั
รักนษาอาการหรื
รักษาอาการหรื อโรคที อโรคที
่ไม่ซับ่ไม่ซ้ซอับนซ้รวมถึ
อน รวมถึงสมุนงสมุ นไพรที
ไพรที ่มีการใช้
่มีการใช้ อยูอ่ในท้
อยู่ในท้ งถิ่นอและได้
งถิ่นและได้
ผลดีผสิลดี ่งที่เสิภสั
่งทีช่เภสั
กรควร ชกรควร
ดําเนิดํนาการมี
เนินการมี
ดังนี้ ดังนี้
78 
78 

  คู  ่มือส�ำหรับเภสัชกรในการด�ำเนินงานเภสัชกรรมในหน่วยบริการปฐมภูมิ 77
2.2.1
2.2.1สํ าสํรวจ ารวจรวบรวมข้ รวบรวมข้อ มูอลมูทางวิ ล ทางวิช าการและประสบการณ์
ช าการและประสบการณ์การใช้ การใช้ส มุสนมุไพรอย่น ไพรอย่างเป็ างเป็น ระบบ น ระบบจาก จาก
แหล่
แหล่งข้งอข้มูอลมูทีล่นที่านเชื่าเชื่อถื่ออถือเช่เช่น นกรมวิ
กรมวิทยาศาสตร์
ทยาศาสตร์การแพทย์
การแพทย์สถาบั สถาบันการศึ นการศึกษาที กษาที่เกี่เ่ยกีวข้
่ยวข้ององหมอยาพืหมอยาพื้นบ้้นาบ้นานโดย โดย
คําคํนึางนึถึงงถึความปลอดภั
งความปลอดภัยเป็ ยเป็นหลั
นหลัก ก
2.2.2
2.2.2เผยแพร่
เผยแพร่ค วามรู ค วามรู้แ ก่้แบกุ่ คบลากรทางสาธารณสุ
ุ ค ลากรทางสาธารณสุข และประชาชน ข และประชาชนทั้ งทัในด้ ้ งในด้านประโยชน์
านประโยชน์ของการใช้ ของการใช้
สมุสมุนไพร
นไพรข้อข้ควรระวั
อควรระวังหรื งหรืออาการข้
ออาการข้างเคี างเคียงที
ยงที่อาจเกิ
่อาจเกิดขึด้นขึถ้้นาถ้ใช้าใช้ไม่ไถมู่กถตู้กอต้งองและในการเผยแพร่
และในการเผยแพร่ฯ ฯควรแสดงให้ ควรแสดงให้เห็เนห็น
ตัวตัอย่
วอย่างพื างพืชสมุ
ชสมุน ไพรพร้
น ไพรพร้อมชื อมชื่อประกอบด้
่อประกอบด้วยวยเพืเพื่ อป้่ ออป้งกั องกัน การสั
น การสับสนจากการเรี
บสนจากการเรียกชื ยกชื่อที่อ่ แทีตกต่
่ แ ตกต่างกัางกันในแต่ นในแต่ล ะล ะ
ท้อท้งถิ
องถิ่น ่น
2.2.3
2.2.3สนัสนับสนุ บสนุนให้ นให้มีกมารปลู
ีการปลูก/กระจายพั
ก/กระจายพันธุน์ ธุเพื์ เพื่อสามารถนํ
่อสามารถนํามาใช้ ามาใช้ในการดู
ในการดูแลสุ แลสุขภาพชุ ขภาพชุมชนได้ มชนได้ไม่ไขม่าด ขาด
แคลน
แคลนทั้งทัในส่ ้งในส่วนของสมุ
วนของสมุนไพรในงานสาธารณสุ
นไพรในงานสาธารณสุขมูขลมูฐานที ลฐานที่นิย่นมใช้ ิยมใช้รวมถึ รวมถึงพืงชพืสมุ
ชสมุนไพรในท้
นไพรในท้องถิ องถิ่นที่น่ใทีช้่ใไช้ด้ไผด้ลดี
ผลดี
การประเมิ
การประเมินผล นผล


1.1. สถานบริสถานบริการด้ การด้านสุานสุขภาพในชุ
ขภาพในชุมชนมี มชนมีการใช้
การใช้ยาสมุ ยาสมุนไพรเพินไพรเพิ่มขึ่ม้นขึ้น(5(5รายการหรื รายการหรือ10 อ10รายการและมี
รายการและมี
ยาสมุ
ยาสมุนไพรเพีนไพรเพียงพอต่ยงพอต่อความต้ อความต้องการ)
เน องการ)
2.2. มีกมีารปลู การปลูกสมุ กสมุนไพรและใช้
นไพรและใช้สมุสนมุเพื นเพื่อการดู
่อการดูแลสุแลสุขภาพในชุ
ขภาพในชุมชนเพิ มชนเพิ่มขึ่ม้นขึ้น(ตามบ้
(ตามบ้านหรื านหรือมีอแมีปลงสาธิแปลงสาธิต)ต)

3.3.การพั
การพัฒฒนาระบบฐานข้
นาระบบฐานข้อมูอลมูหมอพื ลหมอพื้นบ้้นาบ้นและอนุ
านและอนุรักรษ์ักภษ์ูมภิปูมัญ
ิปัญญาท้ ญาท้องถิ
องถิ่นในการดู
่นในการดูแลสุ แลสุขภาพ
ขภาพ
การดําเนิาเนินงานส่
การดํ นงานส่งเสริงเสริมการพึ
มการพึ่งตนเองด้
่งตนเองด้านสมุ
านสมุนไพรและสุ
นไพรและสุขภาพให้ ขภาพให้เข้เมข้แข็
มแข็งมีงคมีวามปลอดภั
ความปลอดภัย ย เภสั เภสัชกร ชกร
จะต้
จะต้องปฏิ
องปฏิบัตบิหัตน้ิหาน้ทีา่ใทีนการค้
่ในการค้นหา
นหารวบรวมและวิ
รวบรวมและวิเคราะห์ เคราะห์ข้อขมู้อลมูด้ลาด้นศัานศักยภาพที
กยภาพที่เกี่เ่ยกีวข้
่ยวข้องกั
องกับการดู
บการดูแลสุ
แลสุขภาพและ
ขภาพและ
สมุสมุนไพรที
นไพรที่มีอ่มยูีอ่ใยูนชุ
่ในชุมชนมชนโดยเฉพาะอย่
โดยเฉพาะอย่างยิ างยิ่งหมอพื
่งหมอพื้นบ้้นาบ้นซึ
านซึ่งเป็่งเป็นส่นวส่นหนึ
วนหนึ่งของระบบสุ
่งของระบบสุขภาพชุ ขภาพชุมชนที
มชนที่สํา่สคัําญคัญในใน
การพั
การพัฒฒนาระบบฐานข้
นาระบบฐานข้อมูอลมูหมอพื ลหมอพื้นบ้้นาบ้นาน
ส� ำ
กรอบการพั
กรอบการพัฒฒนาระบบฐานข้
นาระบบฐานข้อมูอลมูหมอพื
ลหมอพืน้ บ้น้ าบ้นและอนุ
านและอนุรกั รษ์กั ภษ์ูมภิปูมัญ
ิปัญญาท้
ญาท้องถิ
องถิ่นในการดู
่นในการดูแลสุ
แลสุขภาพ
ขภาพ

การจั
การจัดทํดาทํฐานข้
าฐานข้
อมูอลมูล สําสํรวจ
ารวจรวบรวมข้
รวบรวมข้
อมูอลมูหมอพื
ลหมอพื้นบ้้นาบ้นในชุ
านในชุ
มชน    
มชน
หมอพื
หมอพื้นบ้้นาบ้นาน
จัดจัเก็ดเก็
บข้บอข้มูอลมูอย่
ลอย่างเป็
างเป็
นระบบ
นระบบ
การพั
การพัฒฒ
นานา
ระบบ
ระบบ สําสํรวจ/รวบรวมข้ อมูอลมูภูลมภูิปมัญิปญาท้
ารวจ/รวบรวมข้ องถิ
ัญญาท้ ่น ่น
องถิ

การอนุ
การอนุรักรษ์ักภษ์ูมภิปูมัญิปญา
ัญญา
เผยแพร่ ความรู
เผยแพร่ ้ด้า้ดนภู
ความรู มิปมัญิปญาท้
้านภู องถิ
ัญญาท้ ่นแก่
องถิ ประชาชน
่นแก่ ประชาชน
ท้อท้งถิ ่น ่น
องถิ
ส่งส่เสริ มบทบาทและพั
งเสริ ฒนาศั
มบทบาทและพั กยภาพของหมอพื
ฒนาศั ้นบ้้นาบ้นาน
กยภาพของหมอพื
79 

78
  คู่มือส�ำหรับเภสัชกรในการด�ำเนินงานเภสัชกรรมในหน่วยบริการปฐมภูมิ

ควรมีการดําเนินการดังนี้
3.1 สํารวจ รวบรวมข้อมู ล หมอพื้ นบ้ านในชุมชนรวมถึ งองค์ ค วามรู้ด้านภู มิ ปั ญ ญาท้ องถิ่ น
ประกอบด้วยข้อมูลต่าง ๆ เช่น ข้อมูลส่วนบุคคล ความเชี่ยวชาญ/ความถนัด ประสบการณ์ในการให้การรักษา
เป็นต้น
3.2 จัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ
3.3 วิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็งเพื่ อหาแนวทางในการสนับสนุนเพื่ อให้เกิดความปลอดภัยกับ
ประชาชนผู้รับบริการ
3.4 สนับสนุนหมอพื้นบ้านให้เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรในชุมชนและส่งเสริม สนับสนุนใน
การจัดกิจกรรมด้านการแพทย์พื้นบ้าน (สามารถดูตัวอย่างแบบฟอร์มการเก็บข้อมูลด้านการแพทย์พื้นบ้านได้ที่
http://www.stpho.go.th/Rx/planthai/servey.doc)


การประเมินผล
1. มีข้อมูลแพทย์พื้นบ้านครบถ้วนและเป็นปัจจุบัน
เน
2. มีการรายงานการวิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็งของแพทย์พื้นบ้านอย่างเป็นปัจจุบัน
3. มีการจัดเก็บองค์ความรู้ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพอย่างเป็นระบบ
4. แหล่งข้อมูลทีส่ ําคัญด้านแพทย์แผนไทย และ ยาสามัญประจําบ้าน
หัวข้อ แหล่งข้อมูล
สมุนไพร สรรพคุณลดระดับ http://www.abhaiherb.com/knowledge/thaiherb/2871
น้ําตาลในเลือด https://www.doctor.or.th/article/detail/11212
ส� ำ
บัญชียาจากสมุนไพร http://drug.fda.moph.go.th:81/nlem.in.th/medicine/herbal/list
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข http://drug.fda.moph.go.th/zone_law/law024.asp
เรื่องยาสามัญประจําบ้าน
แผนปัจจุบัน
แบบสํารวจข้อมูลทําเนียบ http://www.stpho.go.th/Rx/planthai/servey.doc
บุคลากรด้านการแพทย์แผน
ไทย
80 

คู  ่มือส�ำหรับเภสัชกรในการด�ำเนินงานเภสัชกรรมในหน่วยบริการปฐมภูมิ 79
เอกสารอ้างอิง
คณะทํางานจัดทําคู่มือเภสัชกรรมปฐมภูมิ. คูม่ ือสําหรับเภสัชกรในการดําเนินงานเภสัชกรรมในหน่วยบริการ
ปฐมภูมิ [Internet]. พิมพ์ครั้งที่ 1. Vol. 2553. กรุงเทพ: สํานักงานแผนงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ
(คคส.) คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2553 [cited 2560 May 1]. 183 p. Available from:
http://www.thaihealthconsumer.org/index.php?option=com_content&view=article&id=5:book
drug&catid=2:cbook&Itemid=29


เน
ส� ำ
81 

80
  คู่มือส�ำหรับเภสัชกรในการด�ำเนินงานเภสัชกรรมในหน่วยบริการปฐมภูมิ

การปฐมพยาบาลในภาวะฉุกเฉินเบื้องต้น
การปฐมพยาบาล หมายถึง การให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ป่วยหรือผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ ณ สถานที่เกิดเหตุ
โดยใช้อุปกรณ์เท่าที่จะหาได้ในขณะนั้น นํามาใช้ในการรักษาเบื้องต้น ควรทําการปฐมพยาบาลให้เร็วที่สุดหลัง
เกิดเหตุโดยอาจทําได้ในทันที หรือระหว่างการนําผู้ป่วยหรือผู้บาดเจ็บไปยังโรงพยาบาลหรือสถานที่
รักษาพยาบาลอื่นๆ เพื่อช่วยบรรเทาอาการเจ็บป่วย หรืออาการบาดเจ็บนั้นๆ ก่อนที่ผู้ป่วยหรือผู้ที่ได้รับ
บาดเจ็บจะได้รับการดูแลรักษาจากบุคลากรทางการแพทย์ หรือถูกนําส่งไปยังโรงพยาบาล
การปฐมพยาบาล มีวัตถุประสงค์ที่สําคัญคือ
1. เพื่อช่วยชีวิตผู้ป่วยหรือผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจากเหตุการณ์หรืออุบัติเหตุต่างๆในขณะนั้น
2. เพื่อเป็นการลดความรุนแรงของอาการบาดเจ็บหรือการเจ็บป่วย
3.เพื่อทําให้บรรเทาความเจ็บปวดทรมานของผู้ป่วยหรือผู้ที่ได้รับบาดเจ็บและช่วยให้กลับสู่สภาพเดิม


โดยเร็ว
4. เพื่อป้องกันความพิการ หรือความเจ็บปวดอื่นๆที่จะเกิดขึ้นตามมาภายหลัง
เน
การปฐมพยาบาลผู้ป่วยโรคเบาหวานที่เกิดภาวะน้ําตาลในเลือดต่ํา
คือภาวะที่ระดับน้ําตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานมีค่าต่ํากว่า 70 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร เกิดขึ้นได้
ในผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ได้รับการรักษาด้วยยาลดระดับน้ําตาลในเลือดหรือยาฉีดอินซูลนิ ในกรณีที่รบั ประทาน
อาหารผิดเวลา รับประทานอาหารปริมาณเพียงเล็กน้อย ออกกําลังกายหรือทํางานหนัก หรือระดับการทํางาน
ของไตผิดปกติ ส่งผลให้การออกฤทธิ์และการขับยาออกจากร่างกายไม่เป็นไปตามภาวะปกติที่ควรจะเป็น
อาการที่พบขึน้ กับความรุนแรง ในระยะแรกที่ระดับน้ําตาลในเลือดต่ําลงไม่มาก ผูป้ ่วยจะมีอาการ
ส� ำ
เตือน ได้แก่ รูส้ ึกอ่อนเพลีย หวิวๆ ร่วมกับมีการหิว อยากรับประทานอาหาร มือสั่น ใจสั่น กระสับกระส่าย ถ้า
ภาวะนี้ยังไม่ได้รับการแก้ไข ระดับน้ําตาลในเลือดจะต่ําลงมาก จนทําให้ผู้ป่วยเริ่มมีอาการของสมองขาดน้ําตาล
ได้แก่ ปวดมึนศีรษะ แขนขาอ่อนแรง มือชา ปากชา และถ้าเป็นรุนแรง อาจมีอาการชักหรือหมดสติรว่ มด้วย
การแก้ไขเบื้องต้น สําหรับผู้ที่สงสัยว่ามีภาวะน้ําตาลในเลือดต่ํา ขึ้นกับอาการความรุนแรงและระดับ
ความรู้สึกตัว ถ้ายังรู้สึกตัว ให้รีบดื่มน้ําหวานหรือรับประทานของหวานๆ เช่น ลูกอมทันที ซึ่งจะช่วยให้อาการ
ทุเลาลงได้ แต่ถ้าผู้ป่วยไม่รู้สึกตัวหรือหมดสติ ควรรีบนําส่งโรงพยาบาลใกล้บ้าน เพื่อให้น้ําตาลกลูโคสทาง
หลอดเลือดดํา ไม่ควรกรอกน้าํ ตาลหรือน้ําหวานเข้าปากช่วงที่หมดสติ เพราะอาจทําให้สําลักลงปอดได้
สําหรับผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับยารักษาเบาหวานอยู่ และมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะน้ําตาลในเลือดต่ํา
ควรพกของหวานติดตัวไว้รับประทานเมื่อมีอาการนอกจากนี้แพทย์หรือเภสัชกรควรให้คําแนะนํา หลังจาก
รับประทานยาลดระดับน้ําตาลในเลือด (ยาก่อนอาหาร) หรือฉีดยาอินซูลินแล้ว ภายใน 30 นาทีผู้ป่วยต้อง
รับประทานอาหาร ไม่ควรทําภารกิจอื่นที่อาจทําให้ลืมรับประทานอาหารหรืออดอาหารเป็นเวลานานๆ เพื่อ
ป้องกันภาวะระดับน้ําตาลในเลือดต่ํา
82 
คู่มือส�ำหรับเภสัชกรในการด�ำเนินงานเภสัชกรรมในหน่วยบริการปฐมภูมิ 81
 

ผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะน้ําตาลต่ําในเลือด

ระดับกลูโคสในเลือด ≤70 มก./ดล.และมีอาการ

อาการของภาวะน้ําตาลต่ําในเลือดไม่รุนแรง อาการของภาวะน้ําตาลต่ําในเลือดรุนแรง
หรือปานกลาง (ผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเองได้) (ผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเองไม่ได้)
 อาการออโตโนมิ ค ได้ แ ก่ ใจสั่ น หั วใจเต้น เร็ ว  อาการสมองขาดกลู โคส ได้ แก่ ตาพร่ามั ว พู ด ช้า


รู้สึ ก หิ ว รู้สึ ก ร้ อ น เหงื่อ ออก มื อ สั่ น ความดั น ง่วง ซึม ปฏิกิริยาตอบสนองช้าลง ไม่มีสมาธิ สับสน
ก ารทํ างาน ส ม อ งด้ าน cognitive บ ก พ ร่ อ ง
เลือดซิสโตลิคสูง รู้สึกกังวล คลื่นไส้ และชา
พฤติ ก รรมเปลี่ ย นแปลง ตั ว เย็ น ชื้ น หมดสติ อั ม
 อาการสมองขาดกลูโคส ได้แก่ อ่อนเพลีย มึนงง
ปวดศีรษะ
เน พฤกษ์ อัมพาตและชัก
 อาจตรวจพบอาการออโตโนมิค ได้แก่ เหงื่อออก
หัวใจเต้นเร็ว ความดันเลือดซิสโตลิคสูง

การรักษาภาวะน้ําตาลต่ําในเลือดที่มีอาการ การรักษาภาวะน้ําตาลต่ําในเลือดระดับรุนแรง
ส� ำ
 โดยบุคลากรการแพทย์หรือญาติผู้ป่วย : บริหารกลูคา
 กินอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตในปริมาณ 15 กรัม
กอน (ถ้ามี) 1 มก. ฉีดเข้ากล้ามหรือใต้ผิวหนัง
ได้แก่ กลูโคสเม็ด 3 เม็ด น้ําส้มคั้น 180 มล. น้ําอัดลม
 โดยบุ ค ลากรการแพทย์ : เปิ ด หลอดเลื อ ดดํ า เก็ บ
180 มล. น้ําผึ้ง 3 ช้อนชา ขนมปังปอนด์ 1 แผ่นสไลด์
ตั ว อย่ า งเลื อ ดเพื่ อ ส่ ง ตรวจเพิ่ ม เติ ม ที่ จํ า เป็ น และฉี ด
นมสด 1 ถ้วย ข้าวต้มหรือโจ๊ก ½ ถ้วยชาม
สารละลายกลู โคส 50% อย่างเร็วปริมาณ 10-20 มล.
 ติดตามระดับกลูโคสในเลือดที่ 15 นาที
ทันที แล้วจึงฉีดสารละลายกลูโคส 50% ต่อเนื่องจนครบ
 กิ น คาร์ โบไฮเดรตในปริ ม าณ 15 กรั ม ซ้ํ า ถ้ า ระดั บ 50 มล. (อาจฉีดสารละลายกลูโคส 50% ซ้ํา ถ้าไม่ดีขึ้น
กลูโคสในเลือดยังคง <70 มก./ดล. หรือระดับกลูโคสในเลือดยังคง <70 มก./ดล.) แล้วหยด
 ถ้าอาการดีขึ้นและการตรวจวัดระดับกลูโคสในเลือดซ้ํา สารละลายเด็กซโตรส 10% ต่อในอัตราที่ให้เด็กซโตรส
ได้ ผ ล >80 มก./ดล. ให้รับ ประทานอาหารทั น ที เมื่ อ 2 มก./น้ําหนักตัว 1 กก./นาที
ใกล้หรือถึงเวลาอาหาร ถ้ารอเวลาอาหารนานกว่า 1  ติดตามระดับกลูโคสในเลือดที่ 15 นาที
ชั่ ว โมงให้ รั บ ประทานอาหารว่ า ง เช่ น นมสด 1 ถ้ ว ย
 รัก ษาระดั บ กลู โคสในเลื อ ดที่ >80 มก./ดล. โดยปรับ
ซาลาเปา 1 ลูก หรือ แซนวิช 1 ชิ้น
อัตราหยดสารละลายเด็กซโตรส 10% ให้เหมาะสม
83 

82
  คู่มือส�ำหรับเภสัชกรในการด�ำเนินงานเภสัชกรรมในหน่วยบริการปฐมภูมิ

การปฐมพยาบาลบาดแผลผู้ป่วยเบือ้ งต้น
การปฐมพยาบาลบาดแผลอย่างถูกต้องจะช่วยป้องกันอันตรายและลดอาการแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้นได้
ชนิดของบาดแผล
1. บาดแผลปิด หมายถึง บาดแผลที่มีการฉีกขาดของเนื้อเยื่อภายใต้ผิวหนัง เช่น แผลฟกช้ํา ห้อเลือด ข้อเท้า
พลิก ข้อแพลง
การดูแล
1.1 ใน 24 ชั่วโมงแรก ใช้น้ําแข็งหรือถุงน้ําเย็นประคบ เพื่อไม่ให้เลือดออกและช่วยระงับอาการปวด
1.2. หลัง 24 ชั่วโมง ควรประคบด้วยน้ําอุ่น เพื่อช่วยละลายลิ่มเลือด
2. บาดแผลเปิด หมายถึง บาดแผลทีม่ ีการฉีกขาดและมีเลือดไหลออกมานอกผิวหนัง เช่น แผลถลอก แผลตัด
แผลฉีกขาด แผลถูกยิง แผลถูกแทง เป็นต้น


การดูแล
2.1 ชะล้างแผลและทําความสะอาดรอบๆ แผล ถ้าแผลสกปรกมาก ควรล้างด้วยน้ําสะอาดและสบู่
เน
2.2 ใช้ผ้าสะอาดหรือผ้ากอซสะอาด ซับบริเวณแผลให้แห้ง
2.3 ใส่ยาฆ่าเชื้อ เช่น Povidone iodine ไม่จําเป็นต้องปิดแผล ถ้าเป็นแผลถลอก หากมีเลือดซึม
ควรใช้ผ้ากอซสะอาดปิดแผลไว้
2.4 ถ้าบาดแผลมีขนาดใหญ่ กว้างและลึก มีเลือดออกมาก ให้ห้ามเลือดและรีบนําส่งโรงพยาบาล
การดูแลแผลไม่ให้สกปรก
1. ไม่ควรให้แผลถูกน้ําเพราะจะทําให้แผลที่เย็บไม่ติดและเกิดการติดเชื้อได้ง่าย
ส� ำ
2. การเปลี่ยนผ้าปิดแผลควรทําให้น้อยที่สุดหรือทําเมื่อมีความจําเป็นเท่านั้น ถ้าแผลสะอาดไม่ต้อง
เปลี่ยนผ้าปิดแผลจนถึงกําหนดตัดไหม ยกเว้น แผลสกปรก อาจต้องล้างแผลบ่อยขึ้น
3. จะตัดไหมเมื่อครบกําหนด 7 วัน แต่ถ้าแผลยังอักเสบ หรือยังไม่แน่ใจว่าแผลติดแล้ว อาจต้องรอ
ต่อไปอีก 2 – 3 วัน ให้แผลติดกันดีจึงค่อยตัดไหม ยกเว้นรายที่มีการติดเชื้อ แผลเป็นหนอง จําเป็นจะต้องตัด
ไหมออกก่อนกําหนด

การทําแผลแบบแห้ง( Dry dressing)


1. เปิดแผลโดยใช้มือหยิบผ้าปิดแผลโดยพับส่วนที่สัมผัสแผลอยู่ด้านในทิง้ ลงในภาชนะรองรับหรือชาม
รูปไต
2. เปิดชุดทําแผล หยิบปากคีบอันแรกโดยใช้มือจับด้านนอกของผ้าห่อชุดทําแผลหยิบขึ้นแล้วหยิบปาก
คีบอันที่สอง โดยใช้ปากคีบอันแรกหยิบ และส่งให้มืออีกข้างหนึ่ง โดยให้มือข้างที่ถนัด จับปากคีบมีเขี้ยว กรณี
ใส่ถุงมือปลอดเชื้อให้ใช้มือหยิบได้เลย
3. ใช้ปากคีบไม่มีเขี้ยว คีบสําลีชุบแอลกอฮอล์ 70% ประมาณ 2/3 ของก้อนหรือพอหมาด ส่งต่อปาก
คีบมีเขี้ยวที่อยู่ต่ํากว่านําไปเช็ดชิดขอบแผลและวนออกนอกแผลประมาณ 2-3 นิ้ว หากยังไม่สะอาดใช้สําลีชุบ
84 

คู  ่มือส�ำหรับเภสัชกรในการด�ำเนินงานเภสัชกรรมในหน่วยบริการปฐมภูมิ 83
แอลกอฮอล์ 70% เช็ดซ้ํา สําลีที่ใช้ทําความสะอาดแล้วให้ทิ้งลงในภาชนะรองรับ หรือชามรูปไต โดยที่ปากคีบ
ไม่สัมผัสภาชนะรองรับหรือชามรูปไต
4. ปิดแผลด้วยผ้าก๊อสและติดพลาสเตอร์ตามแนวขวางของลําตัว

การทําแผลแบบเปียก ( Wet dressing)


1. เปิดแผลโดยใช้มือหยิบผ้าปิดแผลส่วนบนทิ้งลงในภาชนะรองรับหรือชามรูปไต เปิดผ้าปิดแผลชั้นที่
ติดกับแผลด้วยปากคีบมีเขี้ยว หากผ้าปิดแผลหรือผ้าก๊อสแห้งติดแผล ให้ใช้สําลีชุบน้ําเกลือหยดบนผ้าปิดแผล
หรือผ้าก๊อสก่อน เพื่อให้เลือดหรือสิ่งขับหลั่งอ่อนตัว จะช่วยให้ผ้าปิดแผลหลุดง่ายและไม่ทําลายเนื้อเยื่อที่สร้าง
ขึ้น
2. ทําความสะอาดริมขอบแผลเช่นเดียวกับการทํา dry dressing


3. ใช้สําลีชุบน้ําเกลือหรือน้ํายาตามแผนการรักษาเช็ดภายในแผลจนสะอาด
4. ใช้ผ้าก๊อสชุบน้ํายาตามแผนการรักษาใส่ในแผล เพื่อฆ่าเชื้อโรค ดูดซับสิ่งขับหลั่งและให้ความชุ่มชื้น
เน
แก่เนื้อเยื่อ
5. ปิดแผลด้วยผ้าก๊อสหรือผ้าก๊อสหุ้มสําลีตามปริมาณของสิ่งขับหลั่ง ขนาดของ แผลและปิดพลา
สเตอร์ตามแนวขวางของลําตัว

การปฐมพยาบาลอาการเป็นลมหรือหมดสติ
ภาวะเป็นลมหรือหมดสตินั้น เราสามารถพบเจอได้ตลอดเวลา ซึ่งอาการดังกล่าวเกิดจากการที่เลือดไป
เลี้ยงสมองไม่พอ ภาวะความดันโลหิตต่ําหรืออาจเกิดได้หลายสาเหตุ เช่น เหนื่อยหรือร้อนจัด หิวหรือเครียด
ส� ำ
โดยผู้ที่จะให้การช่วยเหลือผู้เป็นลมได้นั้น ควรมีความรู้ความเข้าใจในวิธีการ ดังนี้
วิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้นผูเ้ ป็นลม
1. นําเข้าพักในที่ร่ม มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก
2. ให้นอนราบและคลายเสื้อผ้าให้หลวม
3. ใช้ผ้าชุบน้ําเย็นเช็ดเหงื่อที่หน้าผาก มือ และเท้า
4. ให้ผู้เป็นลมหรือหมดสติดมแอมโมเนีย
ข้อสังเกต ถ้าใบหน้าผู้ที่เป็นลมขาวซีด ให้นอนศีรษะต่ํา ยกเท้าสูง ถ้าใบหน้ามีสีแดงให้นอนศีรษะสูงถ้า
ผู้เป็นลมรู้สกึ ตัวดีให้ดื่มน้ําหวานหรือน้ําเกลือแร่
85 

84
  คู่มือส�ำหรับเภสัชกรในการด�ำเนินงานเภสัชกรรมในหน่วยบริการปฐมภูมิ

วิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้นผู้หมดสติ
1. ตรวจดูในปากว่ามีสิ่งอุดตันทางเดินหายใจหรือไม่ ถ้ามีต้องรีบนําออกโดยเร็ว
2. จัดให้ผู้หมดสติอยู่ในท่าที่เหมาะสม โดยให้ผู้หมดสตินอนตะแคงคว่ําไปด้านใดด้านหนึ่ง
3. คลายเครื่องนุ่งห่มให้หลวม และห้ามให้นา้ํ หรืออาหารทางปาก
4. ถ้ามีอาการชักให้ใช้ ผ้าม้วนเป็นก้อนสอดระหว่างฟันบนกับฟันล่างเพื่อกันผู้ป่วยกัดลิ้น
ตนเอง
5. ทําการห้ามเลือดในกรณีทมี่ ีเลือดออก ถ้ามีอาการไม่ดีขึ้นให้รีบนําส่งโรงพยาบาลโดยด่วน

เอกสารอ้างอิง
1. ศูนย์ฝึกอบรมปฐมพยาบาลและสุขภาพอนามัย. คู่มือปฐมพยาบาลเบื้องต้น (basic first aid manual).


พิมพ์ครั้งที่ 3. กทม.: รุ่งแสงการพิมพ์;
2. สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย, สมาคมต่อมไร้ท่อแห่งประเทศไทย, กรมการแพทย์, สํานักงาน
เน
หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. แนวทางเวชปฏิบัติสําหรับโรคเบาหวาน 2557 [Internet]. พิมพ์ครั้งที่ 1. Vol.
2557. ก รุ ง เ ท พ : ห จ ก . อ รุ ณ ก า ร พิ ม พ์ ; [cited 2017 Jan 19]. 175 p. Available from:
http://www.nhso.go.th/FrontEnd/page-forhospital_cpg.aspx
ส� ำ
ภาคผนวก


เน
ส� ำ
ส� ำ
เน

86 

 
คู่มือส�ำหรับเภสัชกรในการด�ำเนินงานเภสัชกรรมในหน่วยบริการปฐมภูมิ 87
ภาคผนวกที่ 1 ตัวอย่างแบบบันทึกข้อมูลการบริบาลทางเภสัชกรรมที่บ้าน

ชื่ อ นามสกุล...............................................................เพศ ชาย หญิง อายุ.........ปี อาชีพ ..............................วันทีเ่ ก็บข้ อมูล............................

ทีอ่ ยู่............................................................................................................................................................................................................................

สิ ทธิรักษาพยาบาล ข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ /เบิกได้ หลักประกันสุ ขภาพถ้วนหน้า ประกันสังคม อื่นๆ(ระบุ).......................................

ชื่ อสถานพยาบาลทีร่ ับยาหรื อรักษาอยู่ประจํา..1……………………………………………..2……………………………………………………

ประวัติแพ้ยา(ระบุชื่อยา/อาการแพ้)............................................................................................................................................................................


ผลการวินิจฉัยโรค HT IHD MI HF DM Thyroid DLP CKD CVA/Stroke/TIA Asthma COPD HIV TB

Gout/Hyperuricemia Osteoarthritis Rheumatoid Alzheimer’s Parkinson Epilepsy Schizophrenia Bipolar Depression


เน
จิตเวช อื่นๆ(ระบุ)............................................. Cancer (ระบุ)..................................... อื่นๆ (ระบุ)..............................................................

แผนภูมคิ รอบครัวและการใช้ ยา
ส� ำ
แบบบันทึกเยีย่ มบ้ านทางเภสั ชกรรม INHOMESSS

I (ยามีผลต่ อการเคลื่อนไหว/การเคลื่อนไหวของผู้ป่วยมีผลต่ อการใช้ ยาหรื อไม่ )

……………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………

N (ยามีผลต่ อการกินอาหารของผู้ป่วย/อาหารของผู้ป่วยมีผลต่ อการใช้ ยาหรื อไม่ )

……………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………

H (สภาวะแวดล้ อมในบ้ านเหมาะสมกับการใช้ ยา/การเก็บรักษายาหรื อไม่ )

...................................................................................................................................................................................................................................
...................................................................................................................................................................................................................................
87 
88
  คู่มือส�ำหรับเภสัชกรในการด�ำเนินงานเภสัชกรรมในหน่วยบริการปฐมภูมิ

O (มีผ้ ูดูแลการใช้ ยาหรื อไม่ ผู้ดูแลหลัก/ผู้ดูแลรอง)

...................................................................................................................................................................................................................................
...................................................................................................................................................................................................................................

M (ยาและผลิตภัณฑ์ ทเี่ กีย่ วข้ อง)

...................................................................................................................................................................................................................................
...................................................................................................................................................................................................................................

E (การตรวจร่ างกาย แปลผลการตรวจร่ างกายและผลการตรวจอื่นๆทีเ่ กีย่ วข้ อง)

...................................................................................................................................................................................................................................


..................................................................................................................................................................................................................................

S (ความปลอดภัย) เน
...................................................................................................................................................................................................................................
...................................................................................................................................................................................................................................

S (ทัศนคติ ความศรัทธา ความเชื่ อ)

...................................................................................................................................................................................................................................
...................................................................................................................................................................................................................................
ส� ำ
S (การรับบริการสุ ขภาพ)

...................................................................................................................................................................................................................................
...................................................................................................................................................................................................................................

การใช้ ยา จัดยารับประทานเอง มีผดู ้ ูแลจัดยาให้ ให้ยาทางสายให้อาหาร (NG Tube)

ข้ อจํากัดในการใช้ ยา อ่านหนังสื อไม่ออก มีปัญหาด้านการมองเห็น / ตาบอด ปัญหาการได้ยนิ / หูหนวก ไม่มีผดู ้ ูแล/อยูล่ าํ พัง

ปัญหาการใช้กล้ามเนื้อมือ มือสัน่ กล้ามเนื้ออ่อนแรง อื่นๆ (ระบุ)...............................................................................

รู ปแบบการใช้ ยา ใช้เฉพาะยาที่ได้รับจากแพทย์หรื อสถานพยาบาลเท่านั้น ซื้ อยาใช้เองเท่านั้น ซื้ อยาใช้เองร่ วมกับยาที่ได้รับจากแพทย์


ใช้ยาสมุนไพร/ยาลูกกลอนเท่านั้น ใช้ยาสมุนไพร/ยาลูกกลอนร่ วมกับยาแผนปัจจุบนั ใช้ผลิตภัณฑ์เสริ มอาหาร อื่นๆ(ระบุ)...............

ปัญหาการเก็บรักษายา ยาไม่ได้เก็บในซอง หรื อ ภาชนะที่เหมาะสม ยาในซองไม่ตรงกับชื่อยาที่ระบุหน้าซองยา ยาที่ตอ้ งป้องกันแสง


ไม่ได้เก็บในซอง หรื อ ภาชนะที่กนั แสง ซองยาเสื่ อมสภาพ ยาที่ควรเก็บในตูเ้ ย็นไม่ได้เก็บในตูเ้ ย็น เก็บยาในตูเ้ ย็นตําแหน่งที่ไม่ถูกต้อง
เช่น ฝาตูเ้ ย็น ฉลากยาเลอะเลือน อ่านไม่ชดั เจน
88 

คู  ่มือส�ำหรับเภสัชกรในการด�ำเนินงานเภสัชกรรมในหน่วยบริการปฐมภูมิ 89
พบยาเหลือใช้ จํานวนมาก ระบุชื่อยาและจํานวนโดยประมาณ …………………………………….………………………………………….
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
พบยาหมดอายุ ระบุชื่อยาและจํานวน…………………………………….…………………………………….……………………………..
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
ผลการตรวจร่ างกาย / การตรวจทางห้ องปฏิบตั ิการ(ถ้ ามี)

วันที่ นน/ BP ชีพ FBS/HbA1c TC/TG LDL/HDL Cr/BUN AST/ALT Na/K Hgb/Hct
สู ง จร


รายการยาทีไ่ ด้ รับ (ยาทีไ่ ด้ รับจากแพทย์ /สถานพยาบาล ยาทีซ่ ื้อใช้ เอง ยาสมุนไพร ยาลูกกลอน ผลิตภัณฑ์ เสริมอาหาร)

ชื่อยา/ความแรง วิธีใช้ วิธีใช้จริ ง ชื่อยา/ความแรง วิธีใช้ วิธีใช้จริ ง ชื่อยา/ความแรง วิธีใช้ วิธีใช้จริ ง

2
เน 4

5
7

3 6 9
ส� ำ
ปัญหาทีพ่ บจากการใช้ ยา

ปัญหา สาเหตุของปัญหา แนวทางการแก้ ไข การแก้ ไขเชิงระบบ หมาย


เหตุ

Drug Related Problems (DRP) ผูป้ ่ วยไม่ไปพบแพทย์ ให้ความรู ้ คําปรึ กษา ประสานงานแพทย์
Appropiate drug ผูป้ ่ วยซื้ อยาใช้เอง แนะนําเกี่ยวกับโรคที่ และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง
ไม่ได้รับยาที่ควรจะได้รับ ผูด้ ูแลไม่ยอมให้ใช้ยา ผูป้ ่ วยเป็ นและ เพื่อการส่ งต่อผูป้ ่ วยเข้าสู่
ได้รับยาที่ไม่มีขอ้ บ่งใช้(ระบุชื่อ อื่นๆ(ระบุ)................................. ความสําคัญของการใช้ ระบบการรักษาพยาบาล
ยา)..................................................... ....................................................... ยา ประสานงานแพทย์
ได้รับยาที่ไม่เหมาะสม (ระบุชื่อ ....................................................... อื่นๆ(ระบุ).............. เพื่อปรับเปลี่ยนรายการยา
ยา)..................................................... ....................................................... .................................... ให้เหมาะสม
อื่นๆ (ระบุ)....................................... …………………………………… อื่นๆ(ระบุ)..............
....................................
89 
90
  คู่มือส�ำหรับเภสัชกรในการด�ำเนินงานเภสัชกรรมในหน่วยบริการปฐมภูมิ

ปัญหา สาเหตุของปัญหา แนวทางการแก้ ไข การแก้ ไขเชิงระบบ หมาย


เหตุ

Efficacy ผูป้ ่ วยได้รับยาจากหลาย ให้ความรู ้ คําปรึ กษา ประสานงานแพทย์


ได้รับยาที่ไม่เหมาะสม(ระบุชื่อ สถานพยาบาล แนะนํา และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง
ยา).................................................... ผูป้ ่ วยซื้อยาใช้เองร่ วมด้วย ประสานทบทวน ปรับระบบการ
ขนาดยาน้อยเกินไป(ระบุชื่อยา) ผูป้ ่ วยใช้ยาสมุนไพรและผลิตภัณฑ์ รายการยา (Medication ประสานทบทวนรายการ
.......................................................... เสริ มอาหารร่ วมด้วย Reconciliation) ยา(Medication
Drug interaction(ระบุชื่อยา) ผูป้ ่ วยขาดความรู ้ความเข้าใจเกี่ยวกับ ออกแบบอุปกรณ์ Reconciliation)ให้มี
.......................................................... ยาที่ได้รับ ช่วยในการใช้ยา (Drug ประสิ ทธิภาพและ
ผูป้ ่ วยปฏิเสธการใช้ยา/ ข้อบ่งใช้ หรื อคําเตือนในฉลากยา Design) สอดคล้องกับรายการยาที่


ผูป้ ่ วยลดขนาดยาเอง…………… ผูด้ ูแลขาดความรู ้ความเข้าใจเกี่ยวกับ อื่นๆ(ระบุ).............. ผูป้ ่ วยมีอยูท่ ้ งั หมดและใช้
ผูป้ ่ วยหยุดยาเอง…………… ยาที่ได้รับ ……………………… จริ งนอกจากยาที่ได้รับ
ผูด้ ูแลลดขนาดยา หยุดให้ยาผูป้ ่ วยเอง อื่นๆ(ระบุ)................................. ………………………. จากสถานพยาบาล
อื่นๆ (ระบุ)....................................

Safety
เน
.......................................................
…………………………………..
ผูป้ ่ วยได้รับยาจากหลาย ให้ความรู ้ คําปรึ กษา
อื่นๆ(ระบุ)..............
........................................

ประสานงานแพทย์
ผูป้ ่ วยเพิ่มขนาดยาเอง สถานพยาบาล แนะนํา และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง
ผูด้ ูแลเพิ่มขนาดยาเอง ผูป้ ่ วยซื้อยาใช้เองร่ วมด้วย ประสานทบทวน ปรับระบบการ
ได้รับยาที่เคยมีประวัติแพ้ยา(ระบุชื่อ ผูป้ ่ วยใช้ยาสมุนไพรและผลิตภัณฑ์ รายการยา (Medication ประสานทบทวนรายการ
เสริ มอาหารร่ วมด้วย Reconciliation) ยา(Medication
ส� ำ
ยา)...............................................
ขนาดยามากเกินไป(ระบุชื่อยา) ผูป้ ่ วยขาดความรู ้ความเข้าใจเกี่ยวกับ ออกแบบอุปกรณ์ Reconciliation)ให้มี
.......................................................... ยาที่ได้รับ ช่วยในการใช้ยา (Drug ประสิ ทธิภาพและ
ได้รับยาซํ้าซ้อน............................ ผูป้ ่ วยไม่ทราบประวัติการแพ้ยา Design) สอดคล้องกับรายการยาที่
Drug interaction(ระบุชื่อยา) ผูป้ ่ วยไม่แจ้งประวัติการแพ้ยา อื่นๆ(ระบุ).............. ผูป้ ่ วยมีอยูท่ ้งั หมดและใช้
.......................................................... ผูด้ ูแลขาดความรู ้ความเข้าใจเกี่ยวกับ .................................... จริ งนอกจากยาที่ได้รับ
ADR (ระบุชื่อยา)………………. ยาที่ได้รับ …………………….. จากสถานพยาบาล
.......................................................... อื่นๆ(ระบุ)................................. อื่นๆ(ระบุ)..............
อื่นๆ (ระบุ)................................... …………………………………… ....................................
90 

  คู่มือส�ำหรับเภสัชกรในการด�ำเนินงานเภสัชกรรมในหน่วยบริการปฐมภูมิ 91
ปัญหา สาเหตุของปัญหา แนวทางการแก้ ไข การแก้ ไขเชิงระบบ หมาย
เหตุ

Drug Related Suffering (DRS) ยาที่ได้รับไม่เหมาะสมกับรู ปแบบ พิจารณายาอื่นที่ ประสานงานแพทย์


ผูป้ ่ วย ผูด้ ูแล สมาชิกใน การดําเนินชีวติ ของผูป้ ่ วยและ เหมาะสมทดแทน และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง
ครอบครัว ครอบครัว ให้ความรู ้ คําปรึ กษา อื่นๆ(ระบุ)..............
Value ผูป้ ่ วยขาดความรู ้เกี่ยวกับโรคที่เป็ น แนะนําแก่ผปู ้ ่ วย ....................................
การใช้ยาส่ งผลกระทบต่อความรู ้สึก ผูป้ ่ วยขาดความรู ้ ความเข้าใจ ให้ความรู ้ คําปรึ กษา
ของผูป้ ่ วยว่า ทําให้ตนเองต้องเป็ นภาระ เกี่ยวกับยาที่ได้รับ แนะนําแก่ผดู ้ ูแล
ของผูอ้ ื่น คุณค่าความเป็ นคนของตนเอง ผูด้ ูแลและสมาชิกในครอบครัวขาด อื่นๆ(ระบุ)..............
ลดลง ความรู ้เกี่ยวกับโรคที่เป็ น ....................................


การใช้ยาส่ งผลกระทบต่อ ผูด้ ูแลและสมาชิกในครอบครัวขาด
ความสัมพันธ์ของบุคคลในครอบครัว ความรู ้ ความเข้าใจเกี่ยวกับยาที่ได้รับ
ก่อให้เกิดความขัดแย้ง อื่นๆ(ระบุ).......................................
เน
Happiness ผูป้ ่ วยขาดความรู ้เกี่ยวกับโรคที่เป็ น ให้ความรู ้ คําปรึ กษา ประสานงานแพทย์
ผูป้ ่ วยสู ญเสี ยความสามารถในการ ผูป้ ่ วยขาดความรู ้ ความเข้าใจ แนะนําแก่ผปู ้ ่ วย และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง
ดํารงชีวติ ประจําวันซึ่ งเป็ นผลข้างเคียงมา เกี่ยวกับยาที่ได้รับ ให้ความรู ้ คําปรึ กษา เพื่อให้สงั่ จ่ายยา
จากการใช้ยา ผูป้ ่ วยมีขอ้ จํากัดต่อการใช้ยา เช่น แนะนําแก่ผดู ้ ูแล สอดคล้องกับรู ปแบบการ
ผูป้ ่ วยเกิดความเครี ยด วิตกกังวลจาก การมองเห็น การใช้มือ ออกแบบอุปกรณ์ ดําเนินชีวติ ของผูป้ ่ วย
การใช้ยา ผูป้ ่ วยขาดผูด้ ูแลด้านยา ช่วยในการใช้ยา (Drug นําข้อมูลที่ได้มาใช้
ประกอบการพิจารณา
ส� ำ
รู ปแบบการใช้ยาไม่สอดคล้องกับ รู ปแบบการใช้ยาไม่สอดคล้องกับ Design)
สภาพผูป้ ่ วย เช่น การมองเห็น การใช้ การดําเนินชีวติ เช่น การกินอาหาร ประสานงานหา รายการยาให้เหมาะสม
กล้ามเนื้อมือ ข้อบ่งใช้ หรื อคําเตือนในฉลากยา ผูด้ ูแลด้านยา กับผูป้ ่ วยที่ดูแล
ผูด้ ูแลหรื อสมาชิกในครอบครัว เกิด อื่นๆ(ระบุ)................................. อื่นๆ(ระบุ).............. ปรับเปลี่ยนข้อบ่งใช้
ความเครี ยด วิตกกังวลจากการดูแลด้าน ………………………………….. .................................... หรื อคําเตือนบนฉลากยา
ยาให้กบั ผูป้ ่ วย รวมถึงการใช้ยาของผูป้ ่ วย ………………………………….. ……………………….. อื่นๆ(ระบุ)..............
ผูป้ ่ วยกังวลเกี่ยวกับผลข้างเคียงของยา ……………………… ....................................
เช่น ไตวาย ตับวาย
ผูป้ ่ วยไม่มนั่ ใจในประสิ ทธิภาพของยา
ที่ตนได้รับ
91 
92
  คู่มือส�ำหรับเภสัชกรในการด�ำเนินงานเภสัชกรรมในหน่วยบริการปฐมภูมิ

ปัญหา สาเหตุของปัญหา แนวทางการแก้ ไข การแก้ ไขเชิงระบบ หมาย


เหตุ

Drug System in Primary care (DSP) ผูป้ ่ วยมีปัญหาด้านค่ายา (กรณี ยาใน พิจารณายาทดแทน ประสานงานแพทย์
Accessibility บัญชียาหลักแห่งชาติ) อื่นๆ......................... เพื่อเปลี่ยนรายการยาที่
ผูป้ ่ วยไม่ได้รับยา เป็ นยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติ ………………………. สอดคล้องกับสถานะ
และต้องเสี ยค่าใช้จ่ายด้านยาเอง ………………………... ทางการเงิน
นโยบายด้านยาของสถานพยาบาล ประสานนักสังคม
ทําให้เข้าถึงยาได้ลาํ บาก เช่น ยา สงเคราะห์
ประเภทวัตถุเสพติด วัตถุออกฤทธิ์ ปรับนโยบายด้านยา
อื่นๆ (ระบุ)……………………….. ของสถานพยาบาลให้


………………………………………. สอดคล้องกับสถานการณ์
อื่นๆ(ระบุ)..............

Continuity ผูป้ ่ วยมีปัญหาการเดินทางลําบาก มี ให้ความรู ้ คําปรึ กษา ประสานงานแพทย์


ผูป้ ่ วยไม่ได้รับยาอย่างต่อเนื่อง
เน
ปั ญหาด้านค่าใช้จ่ายในการเดินทาง
ผูป้ ่ วยมีปัญหาขาดผูด้ ูแลในการพา
ไปรับยา
แนะนําแก่ผปู ้ ่ วย
ให้ความรู ้ คําปรึ กษา
แนะนําแก่ผดู ้ ูแล
เพื่อให้เกิดระบบการส่ ง
ต่อผูป้ ่ วยไปรับบริ การ
สถานพยาบาลที่ใกล้บา้ น
ผูป้ ่ วยมีปัญหาค่าใช้จ่ายด้านยา พัฒนาศักยภาพ
ผูป้ ่ วยขาดความรู ้ ความเข้าใจ สถานพยาบาลใกล้บา้ น
เกี่ยวกับความสําคัญของการใช้ยาอย่าง ในการให้บริ การ เช่น รพ.
ส� ำ
ต่อเนื่อง สต.
สถานพยาบาลที่รับการรักษาไม่มียา ประสานนักสังคม
อื่นๆ (ระบุ)……………………….. สงเคราะห์

Seamless care ขาดการเชื่ อมโยงข้ อมูล ไม่มีการส่ งต่อข้อมูลที่มี เภสัชกรที่ออกเยีย่ ม พัฒนาระบบประสาน


ด้ านยาทีม่ ปี ระสิ ทธิภาพทําให้ เกิดปัญหา ประสิ ทธิภาพระหว่างสถานพยาบาล บ้านจัดทําบันทึกรายการ ทบทวนรายการยาที่มี
ผูป้ ่ วยได้รับยาซํ้าซ้อน ผูป้ ่ วยไม่เห็นความสําคัญของการ ยาที่เป็ นปัจจุบนั ในแบบ ประสิ ทธิภาพ
ผูป้ ่ วยได้รับยาที่มีปฏิกิริยาระหว่างยา จัดทําบันทึกรายการยา บันทึกการเยีย่ มบ้าน (medication
ผูป้ ่ วยได้รับยาชนิดเดียวกัน แต่รูปแบบ ผูด้ ูแลและสมาชิกในครอบครัวไม่ จัดทําสมุดบันทึก reconciliation)
หรื อลักษณะเม็ดยา แตกต่างกัน ทําให้ เห็นความสําคัญของการจัดทําบันทึก รายการยาให้กบั ผูป้ ่ วย พัฒนาระบบการส่ งต่อ
ได้รับยาเกินขนาดเพราะเข้าใจว่าเป็ นยา รายการยา พร้อมแนะนํา และเชื่อมโยงข้อมูลการ
คนละชนิดกัน สถานพยาบาลไม่มีกระบวนการ ความสําคัญของสมุด รักษาพยาบาลระหว่าง
ผูป้ ่ วยได้รับยาไม่ครบจากที่เคยได้รับ ประสานทบทวนรายการยา บันทึกยาและการ สถานพยาบาล
(medication reconciliation) นําไปใช้
อื่นๆ (ระบุ)………………………... อื่นๆ (ระบุ)………...
92 
คู  ่มือส�ำหรับเภสัชกรในการด�ำเนินงานเภสัชกรรมในหน่วยบริการปฐมภูมิ 93
ข้อมูลเพิ่มเติม/ข้อเสนอแนะ………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
วันที่........เดือน...............พ.ศ……….... ชื่อผูป้ ่ วย............................................... ผูต้ ิดตาม/บันทึก....................................
S:

O:

A:


P:
เน
วันที่........เดือน...............พ.ศ……….... ชื่อผูป้ ่ วย............................................... ผูต้ ิดตาม/บันทึก....................................
S:

O:
ส� ำ
A:

P:

 
93 

94
  คู่มือส�ำหรับเภสัชกรในการด�ำเนินงานเภสัชกรรมในหน่วยบริการปฐมภูมิ

ภาคผนวกที่ 2 แบบประเมิน ADL การจําแนกผูส้ ูงอายุตามกลุ่มศักยภาพ ตามความสามารถ


ในการประกอบกิจวัตร ประจําวัน (Barthel Activities of Daily Living :ADL)
คําจํากัดความ
การจําแนกกลุ่ ม ผู้สู งอายุเพื่ อให้เหมาะสมกับ การดํ าเนิ นงานดูแ ลส่งเสริม สุ ขภาพผู้ สูงอายุ ระยะยาว
ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายตามกลุ่มศักยภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขร่วมกับภาคีเครือข่ายและ
ผู้ทรงคุณวุฒิ ได้ประยุกต์จากเกณฑ์การประเมินความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจําวัน ดัชนีบาร์เธล
เอดีแอล (Barthel ADL index) ซึ่งมีคะแนนเต็ม 20 คะแนน ดังนี้
ผู้สงู อายุกลุ่มที่ 1 ผู้สงู อายุที่พึ่งตนเองได้ ช่วยเหลือผู้อื่น ชุมชนและสังคมได้ (กลุ่มติดสังคม) มีผลรวม


คะแนน ADL ตั้งแต่ 12 คะแนนขึ้นไป
ผูส้ ูงอายุกลุ่มที่ 2 ผู้สงู อายุที่ดูแลตนเองได้บ้าง
เน ช่วยเหลือตนเองได้บ้าง (กลุ่มติดบ้าน) มีผลรวม
คะแนน ADL อยู่ในช่วง 5 – 11 คะแนน
ผู้สงู อายุกลุ่มที่ 3 ผู้สงู อายุกลุ่มที่พึ่งตนเองไม่ได้ ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ พิการ หรือทุพพลภาพ (กลุ่มติด
เตียง) มีผลรวมคะแนน ADL อยู่ในช่วง 0 -4 คะแนน
ความสามารถในการดําเนินชีวิตประจําวันดัชนีบาร์เธลเอดีแอล (Barthel ADL index)

1. Feeding (รับประทานอาหารเมื่อเตรียมสํารับไว้ให้เรียบร้อยต่อหน้า)
ส� ำ
0. ไม่สามารถตักอาหารเข้าปากได้ ต้องมีคนป้อนให้

1. ตักอาหารเองได้แต่ต้องมีคนช่วย เช่น ช่วยใช้ช้อนตักเตรียมไว้ให้หรือตัดเป็นเล็กๆไว้ล่วงหน้า

2. ตักอาหารและช่วยตัวเองได้เป็นปกติ

2. Grooming (ล้างหน้า หวีผม แปรงฟัน โกนหนวด ในระยะเวลา 24 - 28 ชั่วโมงที่ผา่ นมา)

0. ต้องการความช่วยเหลือ

1. ทําเองได้ (รวมทั้งที่ทาํ ได้เองถ้าเตรียมอุปกรณ์ไว้ให้)


94 

คู  ่มือส�ำหรับเภสัชกรในการด�ำเนินงานเภสัชกรรมในหน่วยบริการปฐมภูมิ 95
3. Transfer (ลุกนั่งจากที่นอน หรือจากเตียงไปยังเก้าอี้)

0. ไม่สามารถนั่งได้ (นั่งแล้วจะล้มเสมอ) หรือต้องใช้คนสองคนช่วยกันยกขึ้น

1. ต้องการความช่วยเหลืออย่างมากจึงจะนั่งได้ เช่น ต้องใช้คนที่แข็งแรงหรือมีทักษะ 1 คน หรือใช้คน

ทั่วไป 2 คนพยุงหรือดันขึ้นมาจึงจะนั่งอยู่ได้

2. ต้องการความช่วยเหลือบ้าง เช่น บอกให้ทําตาม หรือช่วยพยุงเล็กน้อย หรือต้องมีคนดูแลเพื่อความปลอดภัย

3. ทําได้เอง


4. Toilet use (ใช้ห้องน้ํา)

0. ช่วยตัวเองไม่ได้
เน
1. ทําเองได้บ้าง (อย่างน้อยทําความสะอาดตัวเองได้หลังจากเสร็จธุระ) แต่ต้องการความช่วยเหลือในบางสิ่ง

2. ช่วยตัวเองได้ดี (ขึ้นนั่งและลงจากโถส้วมเองได้ ทําความสะอาดได้เรียบร้อยหลังจากเสร็จธุระ

ถอดใส่เสื้อผ้าได้เรียบร้อย)
ส� ำ
5. Mobility (การเคลื่อนที่ภายในห้องหรือบ้าน)

0. เคลื่อนที่ไปไหนไม่ได้

1. ต้องใช้รถเข็นช่วยตัวเองให้เคลื่อนที่ได้เอง (ไม่ต้องมีคนเข็นให้) และจะต้องเข้าออกมุมห้อง

หรือประตูได้

2. เดินหรือเคลื่อนที่โดยมีคนช่วย เช่น พยุง หรือบอกให้ทําตาม หรือต้องให้ความสนใจดูแลเพื่อความปลอดภัย

3. เดินหรือเคลื่อนที่ได้เอง

6. Dressing (การสวมใส่เสื้อผ้า)

0. ต้องมีคนสวมใส่ให้ ช่วยตัวเองแทบไม่ได้หรือได้น้อย

1. ช่วยตัวเองได้ประมาณร้อยละ 50 ที่เหลือต้องมีคนช่วย


95 

96
  คู่มือส�ำหรับเภสัชกรในการด�ำเนินงานเภสัชกรรมในหน่วยบริการปฐมภูมิ

2. ช่วยตัวเองได้ดี (รวมทั้งการติดกระดุม รูดซิบ หรือใช้เสื้อผ้าที่ดัดแปลงให้เหมาะสมก็ได้)

7. Stairs (การขึ้นลงบันได 1 ชั้น)

0. ไม่สามารถทําได้

1. ต้องการคนช่วย

2. ขึ้นลงได้เอง (ถ้าต้องใช้เครื่องช่วยเดิน เช่น walker จะต้องเอาขึ้นลงได้ด้วย)

8. Bathing (การอาบน้ํา)


0. ต้องมีคนช่วยหรือทําให้

1. อาบน้ําเองได้
เน
9. Bowels (การกลั้นการถ่ายอุจจาระในระยะ 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา)

0. กลั้นไม่ได้ หรือต้องการการสวนอุจจาระอยู่เสมอ

1. กลั้นไม่ได้บางครั้ง (เป็นน้อยกว่า 1 ครั้งต่อสัปดาห์)


ส� ำ
2. กลั้นได้เป็นปกติ

10.Bladder (การกลั้นปัสสาวะในระยะ 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา)

0. กลั้นไม่ได้ หรือใส่สายสวนปัสสาวะแต่ไม่สามารถดูแลเองได้

1. กลั้นไม่ได้บางครั้ง (เป็นน้อยกว่าวันละ 1 ครั้ง)

2. กลั้นได้เป็นปกติ

 
96 96 
96 
  คู   ม่ ือส�ำหรับเภสัชกรในการด�ำเนินงานเภสัชกรรมในหน่วยบริการปฐมภูมิ 97
ภาคผนวกที
ภาคผนวกที
่ 3 ่่ รายชื
ภาคผนวกที 33 รายชื
่อคณะทํ
รายชื ่อ่อคณะทํ
างานจั
คณะทํ าางานจั
ดทํดดาทํทํคูาา่มคูคูือ่ม่มสํือือาสํสํหรัาาหรั
งานจั บเภสั
หรั บบเภสั
ชกรในการดํ
เภสั ชชกรในการดํ
าเนิาานเนิ
กรในการดํ เนิงานเภสั
นนงานเภสั
ชกรรม
งานเภสั ชชกรรม
กรรม
ในหน่
ในหน่
ในหน่วยบริววยบริ
ยบริ การปฐมภู กการปฐมภู
ารปฐมภู มิ มมิิ
ลําดัลํลํบาาทีดัดั่ บบทีที่่ ชื่อ-สกุ
ชืชื่อ่อ-สกุ
ล ลล
-สกุ โรงพยาบาล/สั
โรงพยาบาล/สั
งกัดงงกักัดด
โรงพยาบาล/สั จังหวั
จัจังงดหวั
หวัดด
1 11 ภญ.ภญ.
สุวิมสุสุลววต้ิมิมนลลกัต้ต้นนนกักันน
ภญ. โรงพยาบาลน่ าน าานน
โรงพยาบาลน่
โรงพยาบาลน่ น่านน่น่าานน
2 22 ผศ.ดร.
ผศ.ดร. นันทวรรณ
ผศ.ดร. นันันนทวรรณ
ทวรรณ กิติกกิกิรรณากรณ์
ตติกิกรรณากรณ์
รรณากรณ์ คณะเภสั
คณะเภสั
คณะเภสั ชชศาสตร์
ชศาสตร์ มหาวิมหาวิ
ศาสตร์ ทยาลัททยาลั
มหาวิ ยเชียยงใหม่
ยาลั เชี
เชียยงใหม่
งใหม่ เชี
เชียยงใหม่
เชียงใหม่งใหม่
3 33 ภญ.รุภญ.รุ
จิราจจปัิริรญาา ญา
ภญ.รุ ปัปัญ
ญญา
ญา โรงพยาบาลดอกคํ าใต้ าาใต้
โรงพยาบาลดอกคํ
โรงพยาบาลดอกคํ ใต้ พะเยา
พะเยา
พะเยา
4 44 ภญ.ภญ.
ภญ.อรวรรณ
อรวรรณ
อรวรรณ กาศสมบู รณ์ รรณ์
กาศสมบู
กาศสมบู ณ์ โรงพยาบาลลอง
โรงพยาบาลลอง
โรงพยาบาลลอง แพร่แพร่
แพร่
5 55 ภญ.ภญ.
ภญ. ชวนชม
ชวนชม
ชวนชมธนานิธนานิ
ธิศักธธดิิศิศ์ ักักดิดิ์์
ธนานิ คณะเภสั
คณะเภสั
คณะเภสั ชชศาสตร์
ชศาสตร์ มหาวิมหาวิ
ศาสตร์ ทยาลัททยาลั
มหาวิ ยนเรศวร
ยาลั ยยนเรศวร
นเรศวร พิษณุพิพิโษษลก
ณุ
ณุโโลก
ลก
6 66 ภญ.สมจิ ตร โชติ
ภญ.สมจิ
ภญ.สมจิ ตตรร ชโชติ
ัยสุชชวัยัยฒสุสุนววัฒ
โชติ ัฒนน โรงพยาบาลวั งทองงงทอง
โรงพยาบาลวั
โรงพยาบาลวั ทอง พิษณุพิพิโษษลก
ณุ
ณุโโลก
ลก


7 77 ภก.ดร.วี รพงษ์รรพงษ์
ภก.ดร.วี
ภก.ดร.วี ภูมิปภูภูระพั
พงษ์ ทธ์ ททธ์ธ์
มมิปิประพั
ระพั โรงพยาบาลทุ ่งเสลี่ง่ง่ยเสลี
โรงพยาบาลทุ
โรงพยาบาลทุ ม ่่ยยมม
เสลี สุโขทัสุสุโโยขทั
ขทัยย
8 88 ภญ.อรวลั
ภญ.อรวลั ญช์ ญ
ภญ.อรวลั ช์ช์ วเสนี
ญเสนี งศ์ววณงศ์
เสนี ณ
ณธอยุ
งศ์อยุ ยาธธยา
อยุ ยา โรงพยาบาลคลองลาน
โรงพยาบาลคลองลาน
โรงพยาบาลคลองลาน กํกําาแพงเพชร
กําแพงเพชรแพงเพชร
9 99 ภญ.จัภญ.จั
ภญ.จั นนทกานต์
นทกานต์ทกานต์อภิสอภิ ิทธิสส์ศิทิทักธิธิดิ์ศ์ศ์ ักักดิดิ์์
อภิ
เน โรงพยาบาลสวรรค์
โรงพยาบาลสวรรค์
โรงพยาบาลสวรรค์ ปประชารั
ประชารั กษ์ กกษ์ษ์
ระชารั นครสวรรค์
นครสวรรค์
นครสวรรค์
10 10
10 ภญ.ปราณิ
ภญ.ปราณิ
ภญ.ปราณิ สา สสกอร่
าา กอร่ม มม
กอร่ โรงพยาบาลลํ
โรงพยาบาลลํ
าลูกาากาลูลูกกกา
โรงพยาบาลลํ กา ปทุมปทุ
ธานีมมธานี
ปทุ ธานี
11 11 ภก.สายชล
11 ภก.สายชล
ภก.สายชล ชําปฏิชํชําาปฏิ
ปฏิ โรงพยาบาลตราด
โรงพยาบาลตราด
โรงพยาบาลตราด ตราดตราด
ตราด
12 12
12 ภญ.ดวงลั
ภญ.ดวงลั
กษณ์กกษณ์
ภญ.ดวงลั คงขาว
ษณ์ คงขาว
คงขาว โรงพยาบาลบางบ่
โรงพยาบาลบางบ่
อ ออ
โรงพยาบาลบางบ่ สมุทสมุ
รปราการ
สมุ ททรปราการ
รปราการ
13 13
13 ภก. ภก.
ภก. ตฤณวั
ตฤณวั ตฬ์ ตตจิฬ์ฬ์ตจัจิจิกตตรจัจักกรร
ตฤณวั โรงพยาบาลสมเด็
โรงพยาบาลสมเด็
โรงพยาบาลสมเด็ จจพระยุ
จพระยุ
พระยุ พพราชกุ
พราชกุราชกุ ฉฉินินารายณ์
ฉินารายณ์ ารายณ์ กาฬสิ
กาฬสิ นธุ์ นนธุธุ์์
กาฬสิ
14 14
14 ภก.ศุภก.ศุ
กรักกกษ์รัรักกศุษ์ษ์ภเอม
ภก.ศุ ศุศุภภเอม
เอม โรงพยาบาลอุ
โรงพยาบาลอุ บลรับบตลรั
โรงพยาบาลอุ น์ ตตน์น์
ลรั ขอนแก่
ขอนแก่ น นน
ขอนแก่
15 15
15 ภญ.สุภญ.สุ
ภาวดีภภาวดี
ภญ.สุ เปล่เปล่
าวดี งชัยงงชัชัยย
เปล่ โรงพยาบาลเสลภู มิ มมิิ
โรงพยาบาลเสลภู
โรงพยาบาลเสลภู ร้อยเอ็
ร้ร้ออดยเอ็
ยเอ็ดด
ส� ำ
16 16
16 ภญ.ยุภญ.ยุ
ภญ.ยุ พพาพรรณ
พาพรรณ าพรรณ มัมันนกระโทก
มันกระโทก กระโทก โรงพยาบาลมหาราชนครราชสี
โรงพยาบาลมหาราชนครราชสี มา มมาา
โรงพยาบาลมหาราชนครราชสี นครราชสี
นครราชสี
นครราชสี มา มมาา
17 17
17 ภญ.นงพรรณ
ภญ.นงพรรณ
ภญ.นงพรรณ ลอยทอง
ลอยทอง
ลอยทอง โรงพยาบาลจอมพระ
โรงพยาบาลจอมพระ
โรงพยาบาลจอมพระ สุรินสุสุทร์รรินินทร์
ทร์
18 18
18 ภญ.นพรั ตน์ ตตพวงทอง
ภญ.นพรั
ภญ.นพรั น์น์ พวงทอง
พวงทอง โรงพยาบาลมุ กดาหาร
โรงพยาบาลมุ
โรงพยาบาลมุ กกดาหาร
ดาหาร มุกดาหาร
มุมุกกดาหาร
ดาหาร
19 19
19 ภก.กฤษฎา
ภก.กฤษฎา
ภก.กฤษฎาจักรไชยจัจักกรไชย
รไชย โรงพยาบาลคํ
โรงพยาบาลคํ
าเขื่อาานแก้
โรงพยาบาลคํ เขื
เขื่อ่อนแก้
ว วว
นแก้ ยโสธร
ยโสธร
ยโสธร
20 20
20 ภก.ชาญชั
ภก.ชาญชั
ภก.ชาญชัย บุยยญเชิ บุบุญ
ญด เชิ
เชิดด โรงพยาบาลกุ
โรงพยาบาลกุ
ดชุมดดชุชุมม
โรงพยาบาลกุ ยโสธร
ยโสธร
ยโสธร
21 21
21 ภญ.นั นทิกนนรทิทิจํกการรปาสา
ภญ.นั
ภญ.นั จํจําาปาสา
ปาสา โรงพยาบาลวาริ นชํานนราบ
โรงพยาบาลวาริ
โรงพยาบาลวาริ ชํชําาราบ
ราบ อุบลราชธานี
อุอุบบลราชธานี
ลราชธานี
22 22
22 ภญ.พชรณั
ภญ.พชรณั
ภญ.พชรณั ฐฎ์ ฐฐชยณั ฐพงศ์ฐฐพงศ์
ฎ์ฎ์ ชยณั
ชยณั พงศ์ โรงพยาบาลพรหมคี รี รรีี
โรงพยาบาลพรหมคี
โรงพยาบาลพรหมคี นครศรี ธรรมราช
นครศรี
นครศรี ธธรรมราช
รรมราช
23 23
23 ภญ.ศรี สุดาสสุดุดศิาาลาโชติ
ภญ.ศรี
ภญ.ศรี ศิศิลลาโชติ
าโชติ โรงพยาบาลปากพนั ง งง
โรงพยาบาลปากพนั
โรงพยาบาลปากพนั นครศรี ธรรมราช
นครศรี
นครศรี ธธรรมราช
รรมราช
24 24
24 ภญ.ศิภญ.ศิ
ราณีรราณี
ภญ.ศิ ยงประเดิ
าณี ยงประเดิ
ยงประเดิ ม มม สํานัสํสํกาาวินันัชกกาเภสั ชศาสตร์
วิวิชชาเภสั
าเภสั มหาวิมหาวิ
ชชศาสตร์
ศาสตร์ ทยาลัททยาลั
มหาวิ ยวลัยยวลั
ยาลั ลักยยษณ์
วลั ลัลักกษณ์
ษณ์ นครศรี ธรรมราช
นครศรี
นครศรี ธธรรมราช
รรมราช
25 25
25 ภญ.วิภญ.วิ
ภา ภภกลั
ภญ.วิ าา ่นกลั
สุว่น่นรรณ
กลั สุสุววรรณ
รรณ โรงพยาบาลห้
โรงพยาบาลห้
วยยอด
โรงพยาบาลห้ ววยยอด
ยยอด ตรังตรั
ตรังง
26 26
26 ภญ.มูภญ.มู
นาดานนาดา
ภญ.มู แวนาแว
าดา แวนาแว
แวนาแว โรงพยาบาลยะหริ
โรงพยาบาลยะหริ
่ง ่ง่ง
โรงพยาบาลยะหริ ปัตตานี
ปัปัตตตานี
ตานี
27 27
27 ภญ.ภญ.
ภญ.มณีกมณี
ัลยากกัลัลชมชาญ
มณี ยา
ยา ชมชาญ
ชมชาญ โรงพยาบาลกระแสสิ นธุ์ นนธุธุ์์
โรงพยาบาลกระแสสิ
โรงพยาบาลกระแสสิ สงขลา
สงขลา
สงขลา
28 28
28 ภญ.ภญ.
ศุภธิศุศุดภภาธิธิวัดดฒาา นพรหม
ภญ. วัวัฒ
ฒนพรหม
นพรหม โรงพยาบาลจะนะ
โรงพยาบาลจะนะ
โรงพยาบาลจะนะ สงขลา
สงขลา
สงขลา
97 

  98 คู่มือส�ำหรับเภสัชกรในการด�ำเนินงานเภสัชกรรมในหน่วยบริการปฐมภูมิ

ลําดับที่ ชื่อ-สกุล โรงพยาบาล/สังกัด จังหวัด


29 ภก.สมพงษ์ อภิรมรักษ์ ร้านหมอยา สงขลา
30 ภญ.วราภรณ์ ริมชัยสิทธิ์ โรงพยาบาลอุดรธานี อุดรธานี
31 ภญ.จันทร์จรี ดอกบัว โรงพยาบาลปทุมราชวงศา อํานาจเจริญ
32 ภญ.พจมาลย์ บุญกลาง โรงพยาบาลจังหาร ร้อยเอ็ด
33 ภญ.พัชรินทร์ ดอรอมาน โรงพยาบาลเวชการุณย์รัศมิ์ กรุงเทพ
34 ภญ.ขัตติยา ชัยชนะ โรงพยาบาลระยอง ระยอง
35 ภญ.สวณี ภูมิประโคน โรงพยาบาลประโคนชัย บุรีรัมย์
36 ภญ.ธิดารัตน์ เรืองโพธิ์ โรงพยาบาลแก้งคร้อ ชัยภูมิ
37 ภญ.อินทิรา กาญจนพิบูลย์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร นครปฐม


38 ภญ.พิธัญญา มะลารัมย์ โรงพยาบาลบ้านบึง ชลบุรี
39 ภญ.วิบูลย์ศรี ลาภเกิน เน โรงพยาบาลลับแล อุตรดิตถ์
40 ภก.ธนพงศ์ ภูผาลี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาสารคาม
41 ภญ.ศิริพรรณ รุ่งอรุณสุนทร โรงพยาบาลห้วยพลู นครปฐม
42 ภก.วิษณุ ยิ่งยอด โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช สว่างแดนดิน สกลนคร
43 ภญ.กาญจนา ไชยประดิษฐ์ กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข สํานักงาน มหาสารคาม
สาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม
44 ภญ.เสาวลักษณ์ อุไรรัตน์ โรงพยาบาลสงขลา สงขลา
45 ภญ.ธิญญรัตน์ ประสานนิษฐุ์ โรงพยาบาลกันทรลักษณ์ ศรีสะเกษ
ส� ำ
46 ภก.นวเรศ เหลืองใส โรงพยาบาลสุขสําราญ ระนอง
47 ภญ.อารีวรรณ ทองขุนดํา โรงพยาบาลควนขนุน พัทลุง
48 ภก.วิทยา ทองแกมแก้ว โรงพยาบาลบ้านนาเดิม สุราษฎร์ธานี
49 ภญ.จิดาภา ทับเนียม โรงพยาบาลอู่ทอง สุพรรณบุรี
50 ภญ.ตมิสา เดชอาคม ร้านเฟื่องฟ้าเภสัช สุราษฎร์ธานี
51 ภก.พงศ์พันธุ์ สุริยงค์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ชลบุรี
52 ภก.จตุพร มหานิล โรงพยาบาลน่าน น่าน
53 ภก.องอาจ มณีใหม่ มหาวิทยาลัยพะเยา พะเยา
54 ภญ.วรพร เกียรติวุฒิอมร โรงพยาบาลเขาค้อ เพชรบูรณ์
55 ภก.กําพล มงคลสูง โรงพยาบาลทัพทัน อุทัยธานี
56 ภญ.แสงระวี บุญมา โรงพยาบาลบ้านหมี่ ลพบุรี
57 ภญ.จิราภรณ์ นิรากรณ์ โรงพยาบาลพระพุทธบาท สระบุรี
58 ภญ.ดร.กรกมล รุกขพันธ์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สงขลา
บันทึก ......................................................................
วัน ......................../......................../........................


เน
ส� ำ
บันทึก ......................................................................
วัน ......................../......................../........................


เน
ส� ำ

You might also like