You are on page 1of 152

คู่มือการเรียนรู้ด้วยตนเอง

ส�ำหรับครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
การสอนอ่านค�ำที่มีตัวสะกด
ตรงมาตราและไม่ตรงมาตรา
ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔–๖

หน่วยศึกษานิเทศก์ ส�ำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร


ค�ำน�ำ
คู่มือการเรียนรู้ด้วยตนเองส�ำหรับครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยเรื่อง
การสอนอ่านค�ำทีม่ ตี วั สะกดตรงมาตรา และไม่ตรงมาตรา ระดับชัน้ ประถมศึกษาปีที่
๔ - ๖ เป็นคู่มือที่หน่วยศึกษานิเทศก์ ส�ำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร จัดท�ำขึ้น
ตามโครงการยกระดับผลสัมฤทธิแ์ ละคุณภาพการอ่าน เขียนภาษาไทย ส�ำหรับครู
เพื่อน�ำไปใช้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ มุ่งเน้นให้
นักเรียนศึกษาเนื้อหา และฝึกทักษะทางภาษา เรื่องการสอนอ่านค�ำที่มีตัวสะกด
ตรงมาตราและไม่ตรงมาตรา โดยคณะผูจ้ ดั ท�ำร่วมกันเรียบเรียงเนือ้ หาและรูปแบบ
กิจกรรม ผสานความเข้าใจลักษณะของภาษาไทย ตระหนักรับรู้ในความงาม
ของภาษา ภูมิปัญญาทางภาษา กระบวนการคิดและการบูรณาการ เพื่อน�ำไปสู่
การเรียนรู้ด้วยตนเองและกระตุ้นความสนใจ สามารถพัฒนาทักษะทางภาษา
เหมาะแก่วัย ระดับชั้น อย่างสูงสุดเต็มตามศักยภาพ เป็นพื้นฐานการคิดเชื่อมโยง
ในการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น ปลูกฝังวัฒนธรรมทางภาษา ความเป็นไทย
รวมทั้งการน�ำความรู้และความคิดไปใช้เป็นแนวทางในการติดต่อสื่อสารใน
การด�ำเนินชีวิตต่อไป
ขอขอบคุณผู้บริหารกรุงเทพมหานคร และผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายที่เห็น
ความส� ำ คั ญ ของการอ่ า น เพื่ อ ยกระดั บ ผลสั ม ฤทธิ์ แ ละคุ ณ ภาพการอ่ า น
เขียนภาษาไทยของนักเรียนโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร คณะผู้จัดท�ำหวัง
เป็นอย่างยิ่งว่า คู่มือการเรียนรู้ด้วยตนเองส�ำหรับครูกลุ่มสาระการเรียนรู้
ภาษาไทย เรื่ อ งการสอนอ่านค�ำที่มีตัวสะกดตรงมาตรา และไม่ตรงมาตรา
ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ - ๖ จะเป็นประโยชน์ต่อการจัดการเรียนรู้ให้
เกิดประสิทธิภาพ เป็นไปตามหลักสูตรและบรรลุตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตร
ส่งผลต่อการพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนต่อไป

คณะผู้จัดท�ำ
ค�ำชี้แจง
คูม่ อื การเรียนรูด้ ว้ ยตนเองส�ำหรับครูกลุม่ สาระการเรียนรูภ้ าษาไทย เรือ่ งการสอน
อ่านค�ำที่มีตัวสะกดตรงมาตราและไม่ตรงมาตรา ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ – ๖
ครูผู้สอนควรปฏิบัติตัวดังนี้
๑. ศึกษาหลักสูตรและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตร เพื่อให้เข้าใจสาระและ
มาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด และสาระการเรียนรู้ชั้นปี รวมทั้งลักษณะอันพึงประสงค์
ให้เกิดแก่นักเรียน
๒. คูม่ อื การเรียนการสอนภาษาไทย เป็นหนังสือทีส่ ำ� นักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
จัดท�ำขึ้นอย่างละเอียด เพื่อใช้เป็นสื่อเสริมในการจัดการเรียนการสอนภาษาไทย และ
แผนการจัดหน่วยการเรียนรู้และแผนการจัดการเรียนรู้ตามความเหมาะสม
๓. ศึกษาพื้นฐานความรู้ความสามารถภาษาไทยและด้านอื่นๆ
ของนักเรียน โดยการปฏิบัติ การทดสอบ การสัมภาษณ์ ฯลฯ
และก่อนเริ่มใช้คู่มือควรเตรียมความพร้อม
อย่างน้อย ๑ - ๒ สัปดาห์
ส่วนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย (คู่มือการเรียนรู้ด้วยตนเองส�ำหรับ
ครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง การสอนอ่านค�ำที่มีตัวสะกดตรงมาตราและ
ไม่ตรงมาตรา ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ – ๖) ครูผู้สอนควรปฏิบัติดังนี้
๑. เข้าใจแนวการน�ำเสนอเนื้อหาแต่ละตอนของภาษาไทย คู่มือการเรียนรู้
ด้วยตนเองส�ำหรับครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่องการสอนอ่านค�ำที่มี
ตัวสะกดตรงมาตราและไม่ตรงมาตรา ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ – ๖
ซึ่งประกอบด้วย
 สนทนาน่าจ�ำ น�ำเรื่องราว เป็นการเสนอบทสนทนาให้ความรู้
เกี่ยวกับมาตราตัวสะกด มาตราต่างๆ ซึ่งครูควรให้นักเรียนได้อ่านเพื่อ
สร้างความคิดรวบยอด ก่อนศึกษาบทเรียนควรจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ในบทสนทนาให้เหมาะสม โดยน�ำเข้าสู่บทเรียนเพื่อกระตุ้นความสนใจ
ของนักเรียนก่อน ซึง่ อาจใช้กจิ กรรมต่างๆ เช่น ร้องเพลง ฟังนิทาน ทายปัญหา
พูดคุยเกี่ยวกับเรื่องในบทเรียน ฯลฯ ในชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ – ๖
ควรเน้นทักษะการอ่านและการเขียน
 อธิบายเพิม่ เติมความหมาย เสนอเนือ้ หาเกีย่ วกับความคิดรวบยอด
ของมาตราตัวสะกดในแต่ละมาตราสั้นๆ เพื่อให้นักเรียนได้เกิดความเข้าใจ
ในเรื่องนั้นๆ
 อ่านเพิ่ม เติมความรู้ เสนอเนื้อหาเกี่ยวกับหลักการใช้ภาษาไทย
ในเรื่องมาตราตัวสะกด เพื่อให้นักเรียนฝึกฟัง ฝึกอ่าน เขียนค�ำและกลุ่มค�ำ
ได้ถูกต้อง โดยได้ก�ำหนดบทร้อยกรองท่องจ�ำ ชุดฝึกอ่านค�ำ และประโยค
ซึ่งได้เสนอเพียงตัวอย่าง ครูควรให้นักเรียนเรียนรู้อย่างสนุก มีชีวิตชีวา
มีความหมายและได้พัฒนาทักษะไปพร้อมกัน รวมทั้งเพิ่มเติมตัวอย่างให้
มากตามที่เห็นสมควร
 ทั้งนี้ควรสอดแทรกการคิดและจินตนาการในทุกทักษะ การฝึกอ่าน
ครู ค วรอ่ า นให้ นั ก เรี ย นฟั ง ด้ ว ยน�้ ำ เสี ย งที่ เ ป็ น ธรรมชาติ ให้ น ่ า สนใจ
ให้นักเรียนอ่านตามหรืออ่านเองเป็นกลุ่มใหญ่ กลุ่มเล็กหรือเป็นรายบุคคล
จะช่วยให้นักเรียนอ่านและเข้าใจบทเรียนได้โดยง่าย หากครูให้นักเรียน
อ่านแบบฝึกทันทีโดยมิได้เตรียมความพร้อมก่อน จะท�ำให้เกิดอุปสรรค
ในการเรียนภาษาไทย
 กิจกรรมชวนคิด ชวนท�ำ เสนอกิจกรรมไว้ครบทุกทักษะ ครอบคลุม
เนือ้ หาทุกส่วนของบทเรียน รวมทัง้ เชือ่ มโยงบูรณาการสาระการเรียนรูอ้ นื่ ๆ
ไว้ด้วย ครูควรพิจารณาให้นักเรียนท�ำกิจกรรมตามความเหมาะสม อาจ
ดัดแปลงได้ตามที่เห็นสมควร
๒. จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่น่าสนใจหลากหลายวิธี เช่น
 สอนอ่าน • เน้นการอ่านออกเสียง อาจใช้วิธีอ่านตามครู เช่น
ครูอ่านน�ำ แล้วให้นักเรียนอ่านตาม อ่านเป็นกลุ่ม อ่านเป็นคู่ อ่านทีละคน
หรือฝึกอ่านตามล�ำพัง สลับปรับเปลี่ยนไปหลายๆ วิธี ทั้งนี้ ครูจ�ำเป็นต้อง
มี สื่ อ ประกอบ เช่ น ของจริ ง หุ ่ น จ� ำ ลอง ภาพประกอบ และบั น ทึ ก
ความก้าวหน้าด้านการอ่านของนักเรียนเป็นรายบุคคลเพื่อช่วยการเรียนรู้
และซ่อมเสริมความสามารถได้อย่างมีประสิทธิภาพ
 สอนเขียน • ควรจัดกิจกรรมส่งเสริมให้น่าสนใจและท้าทายให้เด็ก
รักการเขียน เมื่อนักเรียนเริ่มต้นเขียน ให้นักเรียนฝึกเขียนเป็นค�ำ ประโยค
ข้อความ เรือ่ งราวตามล�ำดับ จนสามารถสร้างงานเขียนง่ายๆ ได้ดว้ ยตนเอง
การให้นกั เรียนเขียนบ่อยๆ และค่อยๆ แก้คำ� ทีเ่ ขียนผิด เด็กจะสามารถเขียน
เรือ่ งราวได้มากขึน้ เขียนค�ำและเรียบเรียงประโยคได้ถกู ต้องไปเอง
 ประเมินผล • ควรมีการวัดและประเมินผลเมื่อจบบทเรียนแต่ละบท
เพื่อน�ำไปปรับปรุงและพัฒนาทักษะต่างๆ เป็นพื้นฐานการจัดการเรียนรู้
บทต่อไป
๓. เข้าใจความพร้อมและพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนแต่ละคน เช่น
•  จัดกิจกรรมบางกิจกรรมในชั้นเรียนแตกต่างกันตามความสามารถและ
เพิ่มเติมตามความเหมาะสม
•  ศึกษาเหตุของปัญหาที่นักเรียนบางคนยังไม่พร้อมที่จะเรียนรู้ หรือเรียน
ได้ช้า
•  ให้ความรัก ความเมตตา เสียสละเวลา ซ่อมเสริมนักเรียนที่เรียนช้า
ให้พัฒนาอย่างเต็มความสามารถ
•  ไม่ควรให้เด็กที่มีปัญหาเรียนช้าหรือปัญหาอื่นๆ เกิดความรู้สึกว่าตน
มีปมด้อยด้วยวาจาและการกระท�ำ แม้โดยตั้งใจและไม่ตั้งใจ
•  ส่งเสริมเด็กที่มีความสามารถพิเศษให้มีความรู้ความสามารถทางภาษา
สูงขึ้นเต็มตามศักยภาพ
๔. ศึกษาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการใช้ภาษา และเรื่องอื่นๆ เพิ่มเติม
เพื่อเป็นพื้นฐานท�ำให้มีความมั่นใจในหลักวิชาและอาจน�ำมาเพิ่มพูนความรู้
แก่นกั เรียนตามทีเ่ ห็นสมควร เช่น ศึกษาหนังสืออุเทศภาษาไทย ชุด บรรทัดฐาน
ภาษาไทย หนังสือหลักภาษาไทยของนักวิชาการท่านต่างๆ หรือหนังสือค้นคว้า
อ้างอิงของราชบัณฑิตยสถาน
สารบัญ
เรื่อง หน้า
หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ๙
แบบทดสอบก่อนเรียน ๑๗
ความรู้เกี่ยวกับมาตราตัวสะกด ๒๖
กลอนมาตราตัวสะกด ๒๘
มาตราแม่กง ๓๐
มาตราแม่กม ๔๐
มาตราแม่เกย ๕๒
มาตราแม่เกอว ๗๔
มาตราแม่กก ๘๘
มาตราแม่กด ๑๐๐
มาตราแม่กน ๑๑๒
มาตราแม่กบ ๑๒๐
แบบทดสอบหลังเรียน ๑๒๘
เฉลยกิจกรรมเรียนรู้ ๑๓๘
ภาคผนวก ๑๔๒

8
หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

ท�ำไมต้องเรียนภาษาไทย
ภาษาไทยเป็นเอกลักษณ์ของชาติเป็นสมบัตทิ างวัฒนธรรมอันก่อให้เกิดความเป็น
เอกภาพและเสริมสร้างบุคลิกภาพของคนในชาติให้มคี วามเป็นไทย เป็นเครือ่ งมือในการ
ติดต่อสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจและความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ท�ำให้สามารถประกอบ
กิจธุระ การงาน และด�ำรงชีวิตร่วมกันในสังคมประชาธิปไตยได้อย่างสันติสุข และเป็น
เครือ่ งมือในการแสวงหาความรู้ ประสบการณ์จากแหล่งข้อมูลสารสนเทศต่างๆ เพือ่ พัฒนา
ความรู้ พัฒนากระบวนการคิดวิเคราะห์ วิจารณ์ และสร้างสรรค์ให้ทนั ต่อการเปลีย่ นแปลง
ทางสังคม และความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ตลอดจนน�ำไปใช้ในการพัฒนา
อาชีพให้มคี วามมัน่ คงทางเศรษฐกิจ นอกจากนีย้ งั เป็นสือ่ แสดงภูมปิ ญ
ั ญาของบรรพบุรษุ
ด้านวัฒนธรรม ประเพณี และสุนทรียภาพเป็นสมบัติล�้ำค่าควรแก่การเรียนรู้ อนุรักษ์
และสืบสานให้คงอยู่คู่ชาติไทยตลอดไป

9
เรียนรู้อะไรในภาษาไทย

ภาษาไทยเป็นทักษะที่ต้องฝึกฝนจนเกิดความช�ำนาญในการใช้ภาษาเพื่อการ
สื่อสาร การเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ และเพื่อน�ำไปใช้ในชีวิตจริง
• การอ่าน การอ่านออกเสียงค�ำ ประโยค การอ่านบทร้อยแก้ว ค�ำประพันธ์ชนิด
ต่างๆ การอ่านในใจเพื่อสร้างความเข้าใจ และการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ความรู้จาก
สิ่งที่อ่าน เพื่อน�ำไปปรับใช้ในชีวิตประจ�ำวัน
• การเขียน การเขียนสะกดตามอักขรวิธี การเขียนสื่อสาร โดยใช้ถ้อยค�ำและ
รูปแบบต่างๆ ของการเขียน ซึ่งรวมถึงการเขียนเรียงความ ย่อความ รายงานชนิดต่างๆ
การเขียนตามจินตนาการ วิเคราะห์วิจารณ์ และเขียนเชิงสร้างสรรค์
• การฟัง การดู และการพูด การฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณ การพูดแสดง
ความคิดเห็น ความรู้สึก พูดล�ำดับเรื่องราวต่างๆ อย่างเป็นเหตุเป็นผล การพูดในโอกาส
ต่างๆ ทั้งเป็นทางการและไม่เป็นทางการ และการพูดเพื่อโน้มน้าวใจ
• หลักการใช้ภาษาไทย ธรรมชาติและกฎเกณฑ์ของภาษาไทย การใช้ภาษา
ให้ถกู ต้องเหมาะสมกับโอกาสและบุคคล การแต่งบทประพันธ์ประเภทต่างๆ และอิทธิพล
ของภาษาต่างประเทศในภาษาไทย
• วรรณคดีและวรรณกรรม วิเคราะห์วรรณคดีและวรรณกรรมเพื่อศึกษาข้อมูล
แนวความคิด คุณค่าของงานประพันธ์ และความเพลิดเพลิน การเรียนรู้และท�ำความ
เข้าใจบทเห่ บทร้องเล่นของเด็ก เพลงพื้นบ้านที่เป็นภูมิปัญญาที่มีคุณค่าของไทย ซึ่งได้
ถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิด ค่านิยม ขนบธรรมเนียมประเพณี เรื่องราวของสังคมในอดีต
และความงดงามของภาษา เพื่อให้เกิดความซาบซึ้งและภูมิใจในบรรพบุรุษที่ได้สั่งสม
สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน

10
สาระและมาตรฐานการเรียนรู้

สาระที่ ๑ การอ่าน
มาตรฐาน ท ๑.๑ ใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้และความคิดเพื่อน�ำไปใช้
ตัดสินใจแก้ปัญหาในการด�ำเนินชีวิตและมีนิสัยรักการอ่าน

สาระที่ ๒ การเขียน
มาตรฐาน ท ๒.๑ ใช้กระบวนการเขียนสื่อสาร เขียนเรียงความ ย่อความ และ
เขียนเรื่องราวในรูปแบบต่างๆ เขียนรายงานข้อมูลสารสนเทศ
และรายงานการศึกษาค้นคว้าอย่างมีประสิทธิภาพ

สาระที่ ๓ การฟัง การดู และการพูด


มาตรฐาน ท ๓.๑ สามารถเลือกฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณ และพูดแสดง
ความรู้ ความคิด และความรู้สึกในโอกาสต่างๆ อย่างมี
วิจารณญาณและสร้างสรรค์

11
สาระที่ ๔ หลักการใช้ภาษาไทย
มาตรฐาน ท ๔.๑ เข้าใจธรรมชาติของภาษาและหลักภาษาไทย การเปลีย่ นแปลง
ของภาษาและพลังของภาษา ภูมิปัญญาทางภาษา และ
รักษาภาษาไทยไว้เป็นสมบัติของชาติ

สาระที่ ๕ วรรณคดีและวรรณกรรม
มาตรฐาน ท ๕.๑ เข้ า ใจและแสดงความคิ ด เห็ น วิ จ ารณ์ ว รรณคดี แ ละ
วรรณกรรมไทยอย่ า งเห็ น คุ ณ ค่ า และน� ำ มาประยุ ก ต์ ใช้
ในชีวิตจริง

12
คุณภาพผู้เรียน

จบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
• อ่านออกเสียงค�ำ ค�ำคล้องจอง ข้อความ เรื่องสั้นๆ และบทร้อยกรองง่ายๆ
ได้ถูกต้องคล่องแคล่ว เข้าใจความหมายของค�ำและข้อความที่อ่าน ตั้งค�ำถามเชิง
เหตุผล ล�ำดับเหตุการณ์ คาดคะเนเหตุการณ์ สรุปความรู้ข้อคิดจากเรื่องที่อ่าน ปฏิบัติ
ตามค�ำสั่ง ค�ำอธิบายจากเรื่องที่อ่านได้ เข้าใจความหมายของข้อมูลจากแผนภาพ
แผนที่และแผนภูมิ อ่านหนังสืออย่างสม�่ำเสมอและมีมารยาทในการอ่าน
• มีทักษะในการคัดลายมือตัวบรรจงเต็มบรรทัด เขียนบรรยาย บันทึกประจำ�วัน
เขียนจดหมายลาครู เขียนเรื่องเกี่ยวกับประสบการณ์ เขียนเรื่องตามจินตนาการและ
มีมารยาทในการเขียน
• เล่ารายละเอียดและบอกสาระสำ�คัญ ตั้งคำ�ถาม ตอบคำ�ถาม รวมทั้งพูดแสดง
ความคิดความรู้สึกเกี่ยวกับเรื่องที่ฟังและดู พูดสื่อสารเล่าประสบการณ์และพูดแนะนำ�
หรือพูดเชิญชวนให้ผู้อื่นปฏิบัติตาม และมีมารยาทในการฟัง ดูและพูด
• สะกดคำ�และเข้ า ใจความหมายของคำ� ความแตกต่ า งของคำ�และพยางค์
หน้าที่ของคำ�ในประโยค มีทักษะการใช้พจนานุกรมในการค้นหาความหมายของคำ�
แต่งประโยคง่ายๆ แต่งคำ�คล้องจอง แต่งคำ�ขวัญและเลือกใช้ภาษาไทยมาตรฐานและ
ภาษาถิ่นได้เหมาะสมกับกาลเทศะ
• เข้ า ใจและสามารถสรุ ป ข้ อ คิ ด ที่ ไ ด้ จ ากการอ่ า นวรรณคดี แ ละวรรณกรรม
เพื่อนำ�ไปใช้ในชีวิตประจำ�วัน แสดงความคิดเห็นจากวรรณคดีท่อี ่าน รู้จักเพลงพื้นบ้าน
เพลงกล่ อ มเด็ ก ซึ่งเป็นวัฒนธรรมของท้องถิ่น ร้องบทร้องเล่นสำ�หรั บ เด็ ก ในท้ อ งถิ่ น
ท่องจำ�บทอาขยานและบทร้อยกรองที่มีคุณค่าตามความสนใจได้

13
จบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
• อ่ า นออกเสี ย งบทร้ อ ยแก้ ว และบทร้ อ ยกรองเป็ น ทำ�นองเสนาะได้ ถู ก ต้ อ ง
อธิบายความหมายโดยตรงและความหมายโดยนัยของคำ� ประโยค ข้อความ สำ�นวน
โวหารจากเรื่องที่อ่าน เข้าใจคำ�แนะนำ� คำ�อธิบายในคู่มือต่างๆ แยกแยะข้อคิดเห็น
และข้อเท็จจริง รวมทั้งจับใจความสำ�คัญของเรื่องที่อ่านและนำ�ความรู้ความคิดจาก
เรื่องที่อ่านไปตัดสินใจแก้ปัญหาในการดำ�เนินชีวิตได้ มีมารยาทและมีนิสัยรักการอ่าน
และเห็นคุณค่าสิ่งที่อ่าน
• มีทักษะในการคัดลายมือตัวบรรจงเต็มบรรทัดและครึ่งบรรทัด เขียนสะกดคำ�
แต่งประโยคและเขียนข้อความ ตลอดจนเขียนสื่อสารโดยใช้ถ้อยคำ�ชัดเจนเหมาะสม
ใช้แผนภาพโครงเรื่องและแผนภาพความคิด เพื่อพัฒนางานเขียน เขียนเรียงความ
ย่ อ ความ จดหมายส่ ว นตั ว กรอกแบบรายการต่ า งๆ เขี ย นแสดงความรู้ สึ ก และ
ความคิดเห็น เขียนเรื่องตามจินตนาการอย่างสร้างสรรค์และมีมารยาทในการเขียน
• พู ด แสดงความรู้ ความคิ ด เกี่ ย วกั บ เรื่ อ งที่ ฟั ง และดู เล่ า เรื่ อ งย่ อ หรื อ สรุ ป
จากเรื่ อ งที่ ฟั ง และดู ตั้ ง คำ�ถาม ตอบคำ�ถามจากเรื่ อ งที่ ฟั ง และดู รวมทั้ ง ประเมิ น
ความน่าเชื่อถือจากการฟังและดูโฆษณาอย่างมีเหตุผล พูดตามลำ�ดับขั้นตอนเรื่อง
ต่างๆ อย่างชัดเจน พูดรายงานหรือประเด็นค้นคว้าจาก การฟัง การดู การสนทนา และ
พูดโน้มน้าวได้อย่างมีเหตุผล รวมทั้งมีมารยาทในการดูและพูด
• สะกดคำ�และเข้าใจความหมายของคำ� สำ�นวน คำ�พังเพยและสุภาษิต รู้และ
เข้าใจชนิดและหน้าที่ของคำ�ในประโยค ชนิดของประโยคและคำ�ภาษาต่างประเทศ
ในภาษาไทย ใช้คำ�ราชาศัพท์และคำ�สุภาพได้อย่างเหมาะสม แต่งประโยค แต่งบท
ร้อยกรองประเภทกลอนสี่ กลอนสุภาพและกาพย์ยานี ๑๑
• เข้ า ใจและเห็ น คุ ณ ค่ า วรรณคดี แ ละวรรณกรรมที่ อ่ า น เล่ า นิ ท านพื้ น บ้ า น
ร้องเพลงพื้นบ้านของท้องถิ่น นำ�ข้อคิดเห็นจากเรื่องที่อ่านไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง
และท่องจำ�บทอาขยานตามที่กำ�หนดได้

14
ตัวชี้วัดชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔

สาระที่ ๑ การอ่าน
มาตรฐาน ท ๑.๑ ใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้และความคิดเพื่อน�ำ
ไปใช้ตดั สินใจ แก้ปญ
ั หาในการด�ำเนินชีวติ และมีนสิ ยั
รักการอ่าน
ตั  
วชี้วัด ป. ๔/๒ อธิบายความหมายของค�ำ ประโยค และส�ำนวนจาก
เรื่องที่อ่าน

สาระที่ ๔ หลักการใช้ภาษาไทย
มาตรฐาน ท ๔.๑ เข้าใจธรรมชาติของภาษาและหลักภาษาไทย การเปลีย่ นแปลง
ของภาษาและพลังของภาษา ภูมปิ ญั ญาทางภาษา และรักษา
ภาษาไทยไว้เป็นสมบัติของชาติ
ตั วชี้วัด ป. ๔/๑
สะกดค�ำและบอกความหมายของค�ำในบริบทต่างๆ

15
แบบทดสอบก่อนเรียน
แบบทดสอบก่อนเรียน
เรื่องมาตราตัวสะกด จ�ำนวน ๒๐ ข้อ

คำ�ชี้แจง จงเลือกคำ�ตอบที่ถูกต้อง
๑. มาตราตัวสะกดใดที่ต้องใช้พยัญชนะตรงตามมาตราเท่านั้น
ก. แม่กง
ข. แม่กด
ค. แม่กบ
ง. แม่กน

๒. มาตราตัวสะกดใดที่ใช้พยัญชนะไม่ตรงตามมาตราได้
ก. แม่กง
ข. แม่เกย
ค. แม่กบ
ง. แม่เกอว

๓. ข้อใดออกเสียงตัวสะกดตรงตามมาตราทั้งหมด
ก. คล่องแคล่ว แก้วแตก
ข. ความคิด พิษสง
ค. รูปภาพ วาดฝัน
ง. สัญญาณ ผ่านพ้น

17
๔. คำ�ใดมีตัวสะกดเหมือนคำ�ว่า “ศิษย์”
ก. เมฆ
ข. นาค
ค. พุทธ
ง. สูญ

๕. ตัวเลือกใดมีตัวสะกดเหมือน “เผือกผ่องผิวพรรณ”
ก. เจ็ดดอกดวงมาลย์
ข. ดอกหนึ่งแบ่งบาน
ค. เป็นแปดพึงยล
ง. จากดวงแก้วกาญจน์

๖. “ทิศทางแผนภาพ” เรียงลำ�ดับตามมาตราตัวสะกดใด
ก. กบ กง กน กบ
ข. กด กง กน กบ
ค. กด กน กง กบ
ง. กด กบ กง กน

18
อ่านค�ำประพันธ์ แล้วตอบค�ำถาม ข้อ ๗ - ๑๐

เห็นไก่เตี้ยเขี่ยคุ้ยที่ขุยไผ่ กระโชกไล่ลดเลี้ยวมันเปรียวปรื๋อ
พบนกยูงฝูงใหญ่ไล่กระพือ มันบินหวือโห่ร้องคะนองใจ
จนเหน็ดเหนื่อยเมื่อยข้อให้ท้อแท้ คิดถึงแม่วันทองแล้วร้องไห้
พระสุริยาสายัณห์ลงเรไร เหมือนจิตใจเจ้าจะขาดลงรอนรอน
(เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ตอน ก�ำเนิดพลายงาม ของ สุนทรภู่)

๗. จากบทกลอนวรรคใดไม่มตี ัวสะกดแม่กน
ก. เห็นไก่เตี้ยเขี่ยคุ้ยที่ขุยไผ่
ข. กระโชกไล่ลดเลี้ยวมันเปรียวปรื๋อ
ค. พบนกยูงฝูงใหญ่ไล่กระพือ
ง. มันบินหวือโห่ร้องคะนองใจ

๘. จากบทกลอนวรรคใดมีค�ำแม่เกยมากที่สุด
ก. จนเหน็ดเหนื่อยเมื่อยข้อให้ท้อแท้
ข. คิดถึงแม่วันทองแล้วร้องไห้
ค. พระสุริยาสายัณห์ลงเรไร
ง. เหมือนจิตใจเจ้าจะขาดลงรอนรอน

19
๙. ตัวเลือกใดไม่ได้สะกดในมาตราเดียวกันทั้งหมด
ก. เขี่ย คุ้ย เมื่อย
ข. ลด จิต ขาด
ค. ร้อง ยูง ทอง
ง. เห็น มัน เหมือน

๑๐. จากบทกลอนข้างต้นมีมาตราตัวสะกดใดมากที่สุด (ไม่นับค�ำซ�้ำ)


ก. แม่กน
ข. แม่กม
ค. แม่กบ
ง. แม่กด

๑๑. ค�ำในข้อใดออกเสียงตัวสะกดเหมือน “สวัสดิ์”


ก. มหรรณพ
ข. ตระหนัก
ค. ประดับ
ง. ประพาส

20
อ่านข้อความ แล้วตอบค�ำถาม ข้อ ๑๒ - ๑๓

คนไทยต้องพร้อมใจกัน เข้มแข็ง มั่นคง อย่าแตกความสามัคคีกัน


อย่าท�ำลายกันเอง คนไทยก็สามารถป้องกันข้าศึกใดๆ ที่เข้ามารุกรานได้
ต้องรวมพลังใจให้เป็นพลังหลักอันส�ำคัญของชาติ ป้องกันชาติหมัน่ ท�ำนุบำ� รุง
ประเทศชาติและพระศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองไปทั่วโลกนานาประเทศก็จะ
สรรเสริญ ยกย่องชาวไทยและประเทศไทยไปตราบชั่วกาลนาน

๑๒. ค�ำใดไม่ได้สะกดด้วยแม่กด
ก. ศาสนา
ข. ประเทศ
ค. สามัคคี
ง. สามารถ

๑๓. “พลังหลักอันส�ำคัญของชาติ” ไม่ปรากฏตามมาตราตัวสะกดใด


ก. แม่กก
ข. แม่กง
ค. แม่กด
ง. แม่กบ

๑๔. ค�ำคู่ใดอยู่ในมาตราเดียวกัน
ก. บทบาท โจษจัน
ข. กล้าหาญ อากร
ค. บาปบุญ คุณโทษ
ง. แกงเลียง เกี่ยวข้อง

21
อ่านเรื่อง แล้วตอบค�ำถาม ข้อ ๑๕ - ๑๖

เรื่อง ไก่สามอย่าง
ไก่เป็นชื่อสัตว์ปีกจ�ำพวกนก ไก่เป็นสัตว์ที่หากินตามพื้นดิน บินได้ใน
ระยะสัน้ ๆ ไม่เก่งเหมือนนก แต่ไก่สามอย่างไม่ใช่ไก่ทเี่ ป็นชือ่ สัตว์ปกี ไก่สามอย่าง
เป็นเครื่องกินแกล้มสุรา มีกุ้งแห้ง ถั่วลิสง และตะไคร้เป็นหลัก ส่วนที่ดัดแปลง
เพิ่มเติมภายหลังมีขิง หัวหอม และพริกขี้หนูเข้าไปร่วมด้วยถือว่าได้ แต่ก็เรียก
ไก่สามอย่างอยู่นั่นเอง

๑๕. ค�ำคู่ใดไม่อยู่ในมาตราเดียวกัน
ก. กุ้งแห้ง
ข. พื้นดิน
ค. เพิ่มเติม
ง. สัตว์ปีก

๑๖.  “ไก่สามอย่างเป็นเครื่องกินแกล้มสุรา มีกุ้งแห้ง ถั่วลิสง และตะไคร้เป็นหลัก”


ข้อความนี้มีตัวสะกดมาตราใดมากที่สุด (ไม่นับค�ำซ�้ำ)
ก. แม่กน
ข. แม่กง
ค. แม่กม
ง. แม่กก

22
อ่านค�ำประพันธ์ แล้วตอบค�ำถาม ข้อ ๑๗ - ๑๘

อุ่นใดใดโลกนี้ไม่มีเทียบเทียม
อุ่นอกอ้อมแขนอ้อมกอดแม่ตระกอง
รักเจ้าจึงปลูกรักลูกแม่ย่อมห่วงใย
ไม่อยากจากไปไกลแม้เพียงครึ่งวัน
เนื้อเพลง อิ่มอุ่น ของ ศุ บุญเลี้ยง

๑๗. จากบทเพลงนี้มีมาตราตัวสะกดแม่กกปรากฏอยู่กี่ค�ำ (ไม่นับค�ำซ�้ำ)


ก. ๗ ค�ำ
ข. ๘ ค�ำ
ค. ๙ ค�ำ
ง. ๑๐ ค�ำ

๑๘. จากบทเพลงไม่ปรากฏมาตราตัวสะกดใด
ก. แม่กม
ข. แม่กง
ค. แม่กน
ง. แม่เกย

23
อ่านข้อความ แล้วตอบค�ำถาม ข้อ ๑๙ - ๒๐

เรือยาวมรดกทางวัฒนธรรมบนสายน�้ำ
ทุกวันนี้ประเพณีแข่งเรือยาวมีการแข่งขันอยู่เกือบทุกภาคของ
ประเทศไทย โดยเฉพาะเรือที่ใช้แข่งขันจะเป็นเรือประเภทเรือยาวทั้งหมด
สนามแข่งทีม่ ชี อื่ เสียงทางภาคเหนือ ได้แก่ น่าน พิษณุโลก พิจติ ร นครสวรรค์
ภาคกลาง ได้แก่ ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง สระบุรี พระนครศรีอยุธยา
กรุงเทพมหานคร และนครปฐม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ บุรีรัมย์
อุบลราชธานี และภาคใต้ ได้แก่ ชุมพร สุราษฎร์ธานี ส�ำหรับภาคตะวันออก
ก็มีปราจีนบุรีและฉะเชิงเทรา เมื่อมีสนามแข่งขันมาก สภาพการแข่งขัน
เรือยาวจากหมู่บ้านเดียวกันในอดีตก็กลายมาเป็นการแข่งเรือยาวทั่ว
ประเทศไทย
(วินัย รอดจ่าย : เรือยาวมรดกทางวัฒนธรรมบนสายน�้ำ)

๑๙. ชื่อจังหวัดที่ปรากฏในข้อความนี้ ข้อใดมีตัวสะกดต่างมาตรากัน


ก. พิจิตร สุราษฎร์ธานี
ข. ฉะเชิงเทรา อ่างทอง
ค. ปราจีนบุรี นครสวรรค์
ง. บุรีรัมย์ สิงห์บุรี

๒๐. ชื่อจังหวัดในข้อใดปรากฏมาตรากนทั้งสองจังหวัด
ก. อุบลราชธานี น่าน
ข. ชุมพร สระบุรี
ค. พระนครศรีอยุธยา พิจิตร
ง. กรุงเทพมหานคร อ่างทอง

24
เฉลยแบบสอบก่อนเรียน
เรื่องมาตราตัวสะกด จ�ำนวน ๒๐ ข้อ

ข้อ เฉลย ข้อ เฉลย


๑. ก ๑๑. ง
๒. ค ๑๒. ค
๓. ก ๑๓. ง
๔. ค ๑๔. ข
๕. ง ๑๕. ง
๖. ข ๑๖. ข
๗. ค ๑๗. ก
๘. ก ๑๘. ง
๙. ก ๑๙. ง
๑๐. ก ๒๐. ก

25
ความรู้เกี่ยวกับ
มาตราตัวสะกด
มาตราตัวสะกดในภาษาไทย
มาตราตัวสะกด คือ พยัญชนะที่ผสมอยู่ข้างหลังค�ำหรือพยางค์ในแม่ ก กา
ท�ำให้แม่ ก กา มีตัวสะกด เช่น มือ เมื่อประสมกับ ด กลายเป็น มืด เป็นต้น
มาตรา ก กา หรือแม่ ก กา คือ ค�ำหรือพยางค์ที่ไม่มีตัวสะกด เช่น มา เสือ
ตัว มือ เสีย ด�ำ ฯลฯ ส่วนมาตราตัวสะกดมีทั้งหมด ๘ แม่ คือ กก กด กบ กม เกย เกอว
กง กน แบ่งได้ดังนี้

๑. ตัวสะกดตรงมาตรา ใช้ตัวสะกดตัวเดียว มี ๔ มาตรา คือ
แม่กง ใช้ ง สะกด เช่น ห้าง ปลิง ส่อง งง แรง ฯลฯ
แม่กม ใช้ ม สะกด เช่น นม แต้ม ล้อม มุม สนาม ฯลฯ
แม่เกย ใช้ ย สะกด เช่น สาย ลอย โปรย เฉย ฯลฯ
แม่เกอว ใช้ ว สะกด เช่น แห้ว กาว เปรี้ยว เปลว เลี้ยว ฯลฯ

๒. ตัวสะกดไม่ตรงมาตรา มีตัวสะกดหลายตัวในมาตราเดียวกัน เพราะ


ออกเสียงเหมือนตัวสะกดเดียวกัน มี ๔ มาตรา คือ
แม่กน ใช้ น ญ ณ ร ล ฬ สะกด เช่น เรียน วิญญาณ กาลเวลา กาฬสินธุ์ ฯลฯ
แม่กก ใช้ ก ข ค ฆ สะกด เช่น รัก เลข วิหค เมฆ ฯลฯ
แม่กด ใช้ ด จ ช ซ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ต ถ ท ธ ศ ษ ส สะกด เช่น เจ็ด ตรวจ ก๊าซ
บงกช กฎหมาย ปรากฏ อิฐ ครุฑ วัฒนา เปรต โอสถ บาท โกรธ
โอกาส อากาศ เพชร ธนบัตร ฯลฯ
แม่กบ ใช้ บ ป ภ พ ฟ สะกด เช่น กลับ บาป ลาภ ลพบุรี รูปภาพ ฯลฯ

27
กลอนมาตราตัวสะกด
มาตราตัวสะกด

มาตราตัวสะกด เขาก�ำหนดไว้แปดแม่
ควรรู้ให้แม่นแท้ ทั้งแปดแม่เรียงล�ำดับ
แม่กง จงจ�ำไว้ ลิงว่องไวย่างส�ำทับ
เก่ง ร้อง กลอง ก�ำกับ ตัวสะกดนั้นคือ ง งู
แม่กม ชม ความ งาม คุม ค�ำถาม ตามที่รู้
จ�ำไว้นะ หนูหนู ม นั้นอยู่ในแม่กม
แม่เกย เฉลย ถ้อย สวย กล้วย อ้อย อร่อยสม
ย สะกดอย่างหลงลม เอาไปปนกับสระเอีย
แม่เกอว แก้ว แมว เหมียว มะนาว เปรี้ยว เที่ยว งัวเงีย
ว สะกดอย่างเผลอเพลีย จดจ�ำไว้ไม่อับอาย
ยังมีอีกสี่แม่ ตัวสะกด แปรได้หลากหลาย
แต่อ่านค�ำลงท้าย เสียงตามแม่แน่นอนจริง
แม่กน คน บ้าน นั้น จ�ำให้มั่น ทั้งชายหญิง
ญ ณ ร ล ลิง อีก ฬ จุฬา อยู่แม่กน
แม่กก ตก ทุก นัก สุข เมฆ พรรค อย่าฉงน
ข ค ฆ อย่าสับสน สะกดเหมือน ก ดูให้ดี
แม่กด รด หยาด หยด บทบาท กฎ ค�ำเหล่านี้
ตัวสะกดต่างกันมี อยู่แม่กดแน่แท้หนอ

28
สวัสดี
ขอบคุณ

จ ช ซ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ต และ ถ
ท ธ ศ ษ ส ล้วนอยู่ในค�ำแม่กด
แม่กบ ครบ ค�ำตอบ กรอบแกรบ ครอบ จ�ำให้หมด
ป พ ฟ ภ สะกด อยู่แม่กบ แน่นอนนั่น
ส่วนค�ำที่แปลกไป เพราะว่าไร้ตัวสะกดนั้น
เขาเรียกเป็นส�ำคัญ แม่ ก กา อย่าลืมเลือน
ถ้าใครท่องจ�ำได้ เก่งเหลือใจหาใครเหมือน
ครูถามตอบก่อนเพื่อน เป็นเด็กดีที่ควรชม

(ที่มา : จากหนังสือเรียน ชุด “ภาษาเพื่อชีวิต” ภาษาพาที ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔)

29
มาตราแม่กง
มาตรา
แม่กง

เด็กๆ คะ วันนี้เราจะมาเรียนรู้เรื่องมาตราแม่กง กันนะคะ

มาตราแม่กง คือ คำ�ที่มี ง เป็นตัวสะกด


เป็นมาตราตัวสะกดที่มีตัวสะกดเพียงตัวเดียว

เช่น ห้อง ถุง ร้อง ช้าง ใช่หรือเปล่าครับ

เก่งมากจ้ะ

31
อธิบายเพิ่ม เติมความหมาย
มาตราแม่กง คือ ค�ำที่มีตัว ง เป็นตัวสะกด เป็นค�ำที่มีตัวสะกดตรงตามมาตรา
เช่น ถุงแดง แสงเสียง เวียงวัง รุ่งเรือง เปล่งปลั่ง

อ่านเพิ่ม เติมความรู้
แม่กง
ร้อยกรองท่องจ�ำ
เด็กเด็กนั้นควรรู้ เมื่อ ง งู สะกดท้ายค�ำใด
รู้ว่าค�ำนั้นไซร้ จัดอยู่ใน มาตราแม่ กง
จง ด�ำรง มั่นคง ซื่อตรง ธง พระสงฆ์
องค์ พงไพร ใหลหลง อย่าพะวง งง แม่ กง

32
ฝึกอ่านค�ำและประโยค

ฝึกอ่านค�ำ ชุดที่ ๑
รุงรัง แมงป่อง รวงผึ้ง
ร้องเพลง เสียงดัง กุ้งนาง
อึ่งอ่าง โกงกาง ข้างหลัง
เสียงดัง ทั้งสอง มองทาง
ปางช้าง วางเรียง เมียงมอง
ทองแดง แกงเลียง เวียงวัง

ฝึกอ่านค�ำ ชุดที่ ๒
โก้งโค้ง โพงพาง ช้างร้อง
ทองแท่ง แง่งขิง สิ่งของ
มองเมียง เสียงก้อง ท้องทุ่ง
รุ่งสาง ยางยูง ฝูงบ่าง
ย่างเยื้อง เรืองรอง ช้องนาง
หางอึ่ง หึงหวง ช่วงชิง

33
ฝึกอ่านค�ำ ชุดที่ ๓
แบ่งครึ่ง ดึงรั้ง ช่างทอง
ครองแครง แกว่งหาง ข้างทาง
แย่งชิง วิ่งแข่ง เพ่งเล็ง
เต็งหนึ่ง กรุ๋งกริ๋ง ปิงปอง
จ้องมอง ร้องดัง ฟังเพลง
สีแดง แต่งตั้ง ชั่งของ

ฝึกอ่านค�ำ ชุดที่ ๔
สีทอง ผ่องใส ใบตอง
กองฟาง ข้างเคียง เกรงใจ
ไก่โต้ง โคลงเคลง เก่งจริง
ผิงไฟ ใส่กล่อง มองดู
สีเหลือง เมืองไทย ร้องเพลง
ระวัง รังผึ้ง ขึงขัง
ฝั่งน�้ำ ต�ำลึง ตึงตัง

34
ฝึกอ่านค�ำ ชุดที่ ๕
งวงช้าง กางมุ้ง กุ้งแห้ง
แสงสว่าง ข้างหลัง ช้างพัง
ระเบียง เสียงดัง นั่งลง
ส่งของ ช่องว่าง ตั่งเตียง
เรียงของ ปรองดอง กองคลัง
โพรงไม้ ล�ำคลอง ร้องเพลง
เกรงกลัว ชั่วโมง โปร่งใส
คล้องจอง ส่องแสง แห้งแล้ง
แข็งแรง กะละมัง วังเวง
เคว้งคว้าง กว้างขวาง กางเกง

35
36
ฝึกอ่านประโยค
และข้อความที่มีค�ำมาตราแม่กง

• กางเกงของเธอใหม่กว่ากางเกงของฉัน
• นักเรียนยืนตรงเคารพธงชาติ
• ชาวนาจูงวัวควายไปเลี้ยง
• ใกล้ทุ่งนามีบึงกว้าง
• น�้ำในแม่น�้ำไม่เต็มฝั่ง พื้นทรายมีน�้ำขังเป็นแอ่งๆ
• เด็กๆ และลูกช้างเล่นฟุตบอลที่ริมตลิ่ง
•  เด็กดีต้องมีหน้าที่ต่อครอบครัว ชุมชน ช่วยกันบ�ำรุงรักษาสมบัติของ
ส่วนรวม เพื่อให้บ้านเมืองมีระเบียบและสวยงาม

37
กิจกรรม ชวนคิด ชวนท�ำ
กิจกรรมการเรียนรู้ที่ ๑
ค�ำชี้แจง  เติมค�ำที่มีตัวสะกดมาตราแม่กง ลงในช่องว่างให้ใจความ
๑. วัวกินหญ้า แต่.....................กินอ้อย
๒. พ่อ.....................รอบหมู่บ้านในเวลาเช้าตรู่ทุกวัน
๓. แม่ของฉันท�ำ.....................มัสมั่นได้อร่อยมาก
๔. ตนเป็นที่.....................แห่งตน
๕. ความ.....................ใจเป็นสมบัติของผู้ดี
๖. อย่าไว้ใจ.....................อย่า.....................ใจคน
๗. ที่บ้าน.....................ฉัน.....................ไก่ มันขันปลุกฉันทุกเช้า
๘. คุณแม่ซื้อ.....................ตัวใหม่ให้น้อง
๙. พ่อซื้อ.....................มาตกแต่งในงานวันเกิดลูก
๑๐. ต้นล�ำพูมี.....................เกาะกิ่งไม้ส่องแสงสวยงาม

38
กิจกรรมการเรียนรู้ที่ ๒
ค�ำชี้แจง เติมค�ำมาตราแม่กง ลงในข้อความให้ได้ใจความ

บ้าน...............(๑) ฉันมีสตั ว์...............(๒) หลายตัว สัตว์...............(๓) ของฉันมีสุนัข


แมว ปลาเงินปลา...............(๔) นก และไก่ แม่ไก่ของฉันออกไข่วันละ...............(๕)
ฉันและ................(๖) ของฉัน ช่วยกันให้ให้อาหารและดูแลมัน แม่บอกว่าเราควรมีความ
เมตตาต่อสัตว์

39
มาตราแม่กม
มาตรา
แม่กม

เด็กๆ คะ วันนี้เราจะมาเรียนรู้เรื่องมาตราแม่กม กันนะคะ

มาตราแม่กม คือ ค�ำที่มี ม เป็นตัวสะกด


มาตราตัวสะกดที่มีตัวสะกดเพียงตัวเดียว

เช่น ถาม ยาม ชม ใช่หรือเปล่าครับ

เก่งมากจ้ะ

41
อธิบายเพิ่ม เติมความหมาย
มาตราแม่กม คือ ค�ำที่มีตัว ม เป็นตัวสะกด เป็นค�ำที่มีตัวสะกดตรงตามมาตรา
เช่น สม ราม ผมหอม เป็นต้น

อ่านเพิ่ม เติมความรู้
แม่กม
ร้อยกรองท่องจ�ำ
เด็กเด็กควรรู้ว่า เมื่อ ม ม้า สะกดท้ายค�ำใด
รู้ว่าค�ำนั้นไซร้ จัดอยู่ใน มาตราแม่ กม
อารมณ์ชม ความ งาม ตอบค�ำถาม ยาม เหมาะสม
ซ่อมแซมใช่แซมผม ล่มจม จ�ำค�ำแม่ กม

42
ฝึกอ่านค�ำและประโยค

ฝึกอ่านค�ำชุดที่ ๑
ชมรม ผมหอม ห้อมล้อม
รอมชอม ซ่อมแซม แก้มบุ๋ม
นุ่มนิ่ม ยิ้มแย้ม แซมผม
ล่มจม ต้มเค็ม เต็มตุ่ม
อุ้มสม อมยิ้ม ติ่มซ�ำ
ค�ำคม บ่มเพาะ เลาะริม

ฝึกอ่านค�ำชุดที่ ๒
จิ้มจุ่ม ทุ่มเท เปรมใจ
มะขาม ถือเสียม เตรียมพร้อม
หวีผม อุดม สมยอม
กลมกล่อม อ้อมตัว หัวหอม
น�้ำนม ชมพู่ ยิ้มแย้ม
สีส้ม กระเทียม ทุ่มเท

43
ฝึกอ่านค�ำชุดที่ ๓
ซื้อเข็ม ปลื้มใจ สามเหลี่ยม
ไร่ส้ม อมยิ้ม ไต่ตอม
ไข่ต้ม ห้อมล้อม ดอมดม
มะยม ไผ่หนาม ไอศกรีม
ประสม ทะนุถนอม ยอมความ
ถามไถ่ ความงาม ส้มต�ำ

ฝึกอ่านค�ำชุดที่ ๔
ห้ามปราม สามเหลี่ยม เตรียมพร้อม
ห้อมล้อม งอมแงม แจ่มใส
อมยิ้ม ก้ามปู งูหลาม
ไร่ส้ม ก้มหัว ร่มเงา
กลมกล่อม ซ่อมแซม แย้มยิ้ม
ลามปาม ดีงาม ทรามเชย
ต้มย�ำ น�้ำนม สมใจ

44
ฝึกอ่านประโยค
และข้อความที่มีค�ำมาตราแม่กม
• แกงชามนี้มีรสกลมกล่อม
• สุมาลีได้รับค�ำชมเชยว่าเป็นคนมีน�้ำใจ
• สมหญิงยิ้มแย้มแจ่มใสท�ำให้ดูน่ารักเสมอ
• นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ติดหวัดกันงอมแงม
• พี่ของฉันซ่อมแซมเสื้อผ้าและของใช้ต่างๆ ได้อย่างเรียบร้อย

45
กิจกรรม ชวนคิด ชวนท�ำ

กิจกรรมการเรียนรู้ที่ ๑ จับคู่รู้ความ
ค�ำชี้แจง จงโยงเส้นจับคู่ค�ำที่คล้องจองกัน
๑. นับสาม
ริมคลอง

๒. สะสม
โน้มลง

๓. ลองชิม
ยืมของ

๔. กระโจม
ชามแตก

๕. ชอบลืม
นมวัว

๖. ยุงชุม
แก้มแดง

๗. น�้ำเต็ม
เอมอิ่ม

๘. น�้ำหอม
นุ่มนิ่ม

๙. แต่งแต้ม
เค็มมาก

๑๐. เล่นเกม
ยอมแพ้

46
กิจกรรมการเรียนรู้ที่ ๒ เติมพยางค์สร้างค�ำใหม่
ค�ำชี้แจง จงหาค�ำมาตราแม่กมเติมในช่องว่าง

๑. น�้ำ.........................................

๒. กระ.......................................

๓. ช้อน......................................

๔. มะ.........................................

๕. ชะ.........................................

๖. เหมาะ...................................

๗. อบ........................................

๘. นิ..........................................

๙. ชื่น........................................

๑๐. นอบ..........................................

47
กิจกรรมการเรียนรู้ที่ ๓ แม่กม ประสมค�ำ
ค�ำชี้แจง จงน�ำค�ำมาตราแม่กม ที่ก�ำหนดให้มาสร้างค�ำใหม่ ๒ พยางค์

ลืม หาม ต้ม ลม ขม


ส้ม ร่ม ส้อม เข็ม ชาม

48
กิจกรรมการเรียนรู้ที่ ๔ ค�ำถาม สร้างความรู้
ค�ำชี้แจง จงกากบาท (X) ทับอักษรหน้าค�ำตอบที่ถูกต้องที่สุด

๑. ค�ำในข้อใดมีตัวสะกดในมาตราแม่กมทั้งหมด
ก. ซุ้ม เมฆ ยิ้ม
ข. สาม เสียม ร่ม
ค. ชาม เมือง กุญแจ
ง. โคมไฟ น�้ำท่วม ม้าน�้ำ

๒. “นักการตกแต่งซุ้มไม้ที่สวนหย่อม” จากประโยคนี้มีค�ำในมาตราแม่กมกี่ค�ำ
ก. ๑ ค�ำ
ข. ๒ ค�ำ
ค. ๓ ค�ำ
ง. ๔ ค�ำ

๓. ข้อใดมีค�ำในมาตราแม่กมมากที่สุด
ก. คุณพ่ออ่านหนังสือพิมพ์
ข. ข้าวโพดต้มมีรสหวานมาก
ค. เรามีใบหน้าที่ยิ้มแย้มแจ่มใส
ง. เด็กๆ ต้องการสิ่งแวดล้อมที่ดี

49
๔. ข้อใดไม่ใช่ค�ำในมาตราแม่กม
ก. ผม
ข. ปุ่ม
ค. แมว
ง. โคม

๕. ข้อใดเป็นค�ำในมาตราแม่กมทั้ง ๒ พยางค์
ก. ประชุม
ข. อึมครึม
ค. สมบูรณ์
ง. มากมาย

๖. “สามชุมชนรวมกันเลือกหัวหน้าคนใหม่” จากประโยคนี้มีค�ำในแม่กมกี่ค�ำ
ก. ๒ ค�ำ
ข. ๓ ค�ำ
ค. ๔ ค�ำ
ง. ๕ ค�ำ

๗. ข้อใดมีค�ำในมาตราแม่กมน้อยที่สุด
ก. พี่ชมก�ำลังตกแต่งสวนหย่อม
ข. เดือนกุมภาพันธ์ มี ๒๘ วัน
ค. ตามมติที่ประชุมให้เลิกประชุม
ง. จังหวัดเชียงรายมีทรัพยากรอุดมสมบูรณ์

50
๘. “น�้ำท่วมสวนส้มเสียหายสามสิบไร่” จากประโยคนี้มีค�ำในมาตราแม่กมกี่ค�ำ
ก. ๒ ค�ำ
ข. ๓ ค�ำ
ค. ๔ ค�ำ
ง. ๕ ค�ำ

๙. ค�ำในข้อใดมีตัวสะกดอยู่ในมาตราแม่กมทั้งหมด
ก. ขิม ฆ้อง ฉาบ
ข. ขนม ทนทาน สมใจ
ค. อมยิ้ม ฉลาม ป้อมยาม
ง. สวยงาม น�้ำหอม ทางด่วน

๑๐. ข้อใดมีค�ำในมาตราแม่กมมากที่สุด
ก. ดอกชวนชมส่งกลิ่นหอม
ข. นักเรียนช่วยกันตกแต่งซุ้มเฟื่องฟ้า
ค. เหนือสุดในสยาม ชายแดนสามแผ่นดิน
ง. สวนของปุ้ม ปลูกต้นส้ม มะยม และมะขาม

51
มาตราแม่เกย
มาตรา
แม่เกย

นักเรียนคะ นักเรียนรู้จักมาตราแม่เกยหรือเปล่า

มาตราแม่เกย คือ ค�ำที่มี ย เป็นตัวสะกด


เป็นมาตราตัวสะกดที่มีตัวสะกดเพียงตัวเดียว

ใช่ค่ะ...เก่งมาก
เช่น เฉลย เนย กล้วย ใช่หรือเปล่าครับ

53
อธิบายเพิ่ม เติมความหมาย
ค�ำที่มีตัว ย เป็นตัวสะกด เป็นค�ำในมาตรา แม่เกย

อ่านเพิ่ม เติมความรู้
แม่เกย
ร้อยกรองท่องจ�ำ
เด็กเด็กควรรู้จัก เมื่อ ย ยักษ์สะกดท้ายค�ำใด
รู้ไว้ค�ำนั้นไซร้ จัดอยู่ในมาตราแม่เกย
ร่วมด้วยช่วยง่ายดาย หอยลายร�ำเพยเฉลย
วัวควายวุ่นวายจนเคย เปิดเผยคอยเคยแม่เกย

54
ตัวอย่างค�ำ น�ำไปใช้

ฝึกอ่านค�ำต่อไปนี้
ฝึกอ่านค�ำ ชุดที่ ๑
ร่วมด้วย ช่วยกัน ง่ายดาย
ขายของ เปิดเผย เอ่ยค�ำ
ร�ำเพย เฉยเมย ถ่ายทอด
กอดก่าย เรียบร้อย พลอยสวย
หอมฉุย คุ้ยเขี่ย เอร็ดอร่อย
ถอยกลับ หลับผล็อย คอยเก้อ

ฝึกอ่านค�ำ ชุดที่ ๒
ระเหย ละลาย จดหมาย
ขายกล้วย หลายร้อย สร้อยพระ
ปวดเมื่อย เลื่อยไม้ ช่วยเหลือ
วัวควาย วุ่นวาย เปิดเผย
ขวนขวาย ถ่ายทอด ปล่อยวัด

55
ฝึกอ่านค�ำ ชุดที่ ๓
อ้ายทุย อุ้ยอ้าย ท้ายทอย
ลอยชาย ง่ายดาย ขายก้อย
หอยลาย ฝ่ายซ้าย นายร้อย
คอยสอย ค่อยจ่าย ขายบ๊วย
ช่วยโรย โวยวาย ขายหวย
ฉวยพาย ชายน้อย ร้อยด้าย
ย้ายกาย ควายคุ้ย อุ๊ยว้าย

ฝึกอ่านค�ำ ชุดที่ ๔
ต้นอ้อย ช่วยด้วย ถ้วยชา
อร่อย ชมเชย เลยไกล
ปลดปล่อย พายเรือ กลับกลาย
เปิดเผย ร่างกาย ค้าขาย
แว่นขยาย ปุยฝ้าย ระเหย

ฝึกอ่านค�ำ ชุดที่ ๕
ชัยชนะ หลากหลาย ดินทราย
กระบวย ปวดเมื่อย กระจาย
รายการ เสียหาย เพลงฉ่อย
ค่ายมวย นิยาย สุขสบาย
เหน็ดเหนื่อย พวงมาลัย ล่องลอย
56
ฝึกอ่านประโยค
และข้อความที่มีค�ำมาตราแม่เกย

• ยายท�ำขนมกลิ่นหอมฉุยน่าอร่อย
• เด็กๆ ไม่ควรพูดคุยเสียงดัง เพราะเป็นการรบกวนผู้อื่น
• แม่ไก่คุ้ยเขี่ยหาอาหารให้ลูกไก่
• น�้ำแข็งเมื่อถูกความร้อนจะละลาย
• เราต้องรู้จักช่วยเหลือผู้อื่น
• สุดาเป็นคนเปิดเผยไม่เคยมีความลับกับใคร
• ครูคือผู้ถ่ายทอดวิชาความรู้ให้แก่ศิษย์
• ของสิ่งนี้ราคาหลายร้อยบาท ต้องระมัดระวังให้ดี
• ปัจจุบันคนไม่นิยมเขียนจดหมายเพราะใช้โทรศัพท์ติดต่อสื่อสารกันแทน
• “ตัดหางปล่อยวัด” เป็นส�ำนวนไทย
• คุณแม่ทาเนยบนขนมปังปิ้ง
• อย่าเชื่อค�ำท�ำนายให้มากนักมักจะเสีย
• พี่ชายมีน�้ำใจดีชอบช่วยเหลือผู้อื่นอยู่เสมอ
• พ่อใช้เศษผักผลไม้มาหมักเป็นปุ๋ยชีวภาพใช้แทนปุ๋ยเคมี
• หญิงมีครรภ์เดินอุ้ยอ้ายขึ้นมาบนรถโดยสารประจ�ำทาง

57
ฝึกอ่านวรรณกรรมในอดีต

กลอนมาตราตัวสะกด

มาตราแม่เกย

อ่านจ�ำค�ำเกย เด็กทั้งหลายเอ๋ย ดูให้ทั่วนา


นกแก้วขนเขียว ตัวเดียวเอกา หัดเจรจา คล้ายคนพูดกัน

สัตว์เนื้อเสือร้าย สัตว์วัวสัตว์ควาย มากมายหลายพันธุ์


ต้นกล้วยแพงพวย อ้อยบุกกลอยกล้วยสั้น ดอกบัวหัวมัน พืชพรรณเขาเพาะ

ถั่วด�ำฝักยาว ถั่วเขียวฝักขาว ถั่วแระถั่วเราะ


ดินอยู่กลางน�้ำ จงจ�ำเรียกเกาะ เรือ่ งน่าหัวเราะ เย้ยเยาะกุ๋ยกุ๋ย

ปลาซิวปลาสร้อย เรือยาวใหญ่น้อย พายคิ้วพายทุ้ย


ปลาค้าวสวาย ปลากราย ดุกอุย คนใส่เสื้อครุย คนถุยน�้ำลาย

คนถ่อยคนชั่ว ท�ำเงินตะกั่ว ไปเที่ยวซื้อขาย


แล้วเป็นขโมย เขาโบยด้วยหวาย เพราะเป็นผู้ร้าย ฉิบหาย หลายร้อย

นกกระตั้วกระต่าย แมวขาวแมวลาย กัดหนูบ่อยบ่อย


ตะกวดแลเหี้ย ไก่เตี้ยไก่ต้อย คนป่วยตะมอย นิ้วก้อยปวดคิ้ว

ลางคนเป็นง่อย เขาเอาไปปล่อย อดข้าวจนหิว


ไม่มีเสื้อใส่ หนาวใจหน้านิ่ว คนเป็นผดสิว ตะคริวชักเมื่อย

58
ไปเที่ยวประเดี๋ยว เรือน้อยคนเดียว น�้ำเชี่ยวพายเหนื่อย
หลายเลีย้ วเปลีย่ วใจ เหงือ่ ไหลเสือ้ เปือ่ ย ไปซือ้ สิว่ เลือ่ ย มาท�ำเรือรัว่

ข้าวสวยข้าวเหนียว กินกับของเปรี้ยว มะนาวมะงั่ว


งูเขียวเลื้อยไป บนไม้ขอบรั้ว แล้วเลื้อยออกจั่ว ห้อยหัวลงมา

ฟั่นเชือกตีเกลียว หมั่นขึงหมั่นเหนี่ยว จึงเหนียวหนักหนา


มะเดื่อมะเขือ มะเกลือย้อมผ้า ต้นฝ้ายหวายตะค้า ถ้วยชาผ้าลาย

คนไข้คนป่วย หาหมอมาช่วย รักษาให้หาย


คนแก่ชรา เรียกว่าตายาย ตะวันบ่ายสาย ค้าขายเรือรวย

ทวายมอญลาว ไว้ผมยาวยาว ต้องเกล้าผมมวย


ลมว่าวหนาวกล้า ต้องห่มผ้าผวย สาวสาวสวยสวย แทงหวยไม่ดี

ที่มา: ประถม ก กา หัดอ่าน

59
กิจกรรม ชวนคิด ชวนท�ำ

ฝึกเขียน เรียนแม่เกย
ค�ำชี้แจง เขียนค�ำที่มี ย สะกดในช่อง ที่ก�ำหนดให้

60
กิจกรรมการเรียนรู้ที่ ๑ รู้ค�ำ ให้ท�ำตาม
ค�ำชี้แจง ระบายสีค�ำที่สะกดด้วยแม่เกย

ร้อย เรียก เลย กล้วย

อ้อย ระเหย เสีย จดหมาย

ทราย เชียร์ เชิญ เพลิน

ร�ำเพย เพลีย เจี๊ยะ ใบเตย

ละลาย หาย พราย เหมือน

61
กิจกรรมการเรียนรู้ที่ ๒ ต่อเติม เสริมค�ำ
ค�ำชี้แจง ห าค�ำคล้องจองที่มีตัวสะกดในมาตราแม่เกยมาเติมลงในช่องว่าง

๑. เพชร__________ _____________เก้อ

๒. เปิด__________ _____________ชม

๓. ยัก__________ _____________เท

๔. สาว__________ _____________ชัย

๕. พูด__________ _____________เขี่ย

62
กิจกรรมการเรียนรู้ที่ ๓ ลองหาค�ำ
ค�ำชี้แจง หาค�ำในมาตราแม่เกยในตาราง และน�ำมาเขียนลงในช่องว่าง

ด เ ล่ น ถ แ ด น แ ร
โ ก บ ว ว ดิ น ช่ ส ะ
ช า ว ล า ภ แ ว บ เ
ย ะ ก๋ ว ย เ ตี๋ ย ว ห
ช ส ข ด ข มึ ถ่ เ ด ย
า มุ า ล อ น า ห ฉุ โ
ย ย ง า ง ดิ น ลื ย อ
เ ล า ย า น า อ ฉ น
ล่ อ น จ้ อ น เ ท า เ
เ อ ร็ ด อ ร่ อ ย ย อ
แ ร ง แ ค้ น แ ส น ง
น ฟ เ ย า ะ เ ย้ ย ย

63
ค�ำในมาตราแม่เกยจากตาราง

64
กิจกรรมการเรียนรู้ที่ ๔ เติมค�ำสร้างประโยค
ค�ำชี้แจง เติมค�ำมาตราแม่เกยลงในช่องว่างให้เป็นประโยคที่สมบูรณ์
๑. ยายท�ำขนม กลิ่นหอม.....................น่า.....................
๒. คุณครู.....................วิธีการพับกระดาษจนนักเรียนหายสงสัย
๓. เด็กๆ .....................กันเสียงดัง
๔. พวกเราควรช่วยกันดูแลห้องเรียนให้สะอาด.....................
๕. ไก่ ไก่ ไก่ ตัวเล็กตัวใหญ่ พากันไป.....................เขี่ยหากิน
๖. แม่ซื้อ.....................ทอง
๗. น้องเต้ยหาใบ.....................ให้ยายมาท�ำขนม
๘. การใช้จ่าย.....................จะท�ำให้ขัดสนในอนาคต
๙. นักเรียนที่ก�ำลังฝึกซ้อมร�ำ.....................
๑๐. เราไม่ควร.....................เพื่อนที่เรียนไม่เก่ง

65
กิจกรรมการเรียนรู้ที่ ๕ หาค�ำ น�ำมาเขียน
ค�ำชี้แจง ขดี เส้นใต้คำ� ทีอ่ ยูใ่ นมาตราแม่เกย แล้วน�ำมาคัดลายมือให้สวยงาม

ผู้ชายพายเรือ ขายเกลือกล้วยอ้อย
สินค้านับร้อย สายสร้อยสวยจริง
หอยลายเสื้อผ้า สรรมาทุกสิ่ง
เด็กเล็กชายหญิง รีบวิ่งเชยชม
คุณยายร้องถาม ถ้วยชามผ้าห่ม
น้อยหน่าถั่วต้ม ยาดมมีไหม
คนขายใจดี พายรี่มาใกล้
หยิบให้เร็วไว สมใจคุณยาย
ตลาดน�้ำสุขล้น ผู้คนหลากหลาย
จับจ่ายมากมาย สบายใจเอย

นฤมล กังวาลไกล

66
คัดค�ำ

67
กิจกรรมการเรียนรู้ที่ ๖ รู้ค�ำ สร้างประโยค
ค�ำชี้แจง น�ำค�ำมาตราแม่เกยที่ก�ำหนดให้แต่งประโยคให้เหมาะสม

๑. เฉลย

๒. ต่อยหอย

๓. เอื่อยเฉื่อย

๔. ย่อยสลาย

๕. อุ้ยอ้าย

๖. เปื่อยยุ่ย

๗. ละห้อย

๘. เต้าฮวย

๙. ลอยนวล

๑๐. ร่วงโรย

68
กิจกรรมการเรียนรู้ที่ ๗ จับคู่ รู้ค�ำ
ค�ำชี้แจง จับคู่ค�ำในผลไม้ต่อไปนี้ แล้วเขียนค�ำลงในช่องว่างให้ถูกต้อง

๑.
ขวน เขี่ย
๒.
โปรย วาย

คุ้ย ๔. เตย

เฉย ๕. ควาย

วุ่น ๖. ทอด

เรียบ เมย
๗.
วัว ปราย
๘.
ถ่าย ทราย
๙.
หาด ร้อย
๑๐.
ต้น ขวาย

69
กิจกรรมการเรียนรู้ที่ ๘ คิดค�ำ เขียนค�ำ
ค�ำชี้แจง คิดค�ำในมาตราแม่เกย และเขียนลงในลูกโป่งให้ถูกต้อง

70
กิจกรรมการเรียนรู้ที่ ๙ รู้ถ้วน ส�ำนวนไทย
ค�ำชี้แจง เติมค�ำมาตราแม่เกยลงในช่องว่างเพื่อให้เป็นส�ำนวนที่ถูกต้อง

๑. ปลาหมอ......................เพราะปาก
๒. ตัดหาง......................วัด
๓. ปอก......................เข้าปาก
๔. เอาปูน......................หัว
๕. แขน......................แขนขวา
๖. วัว......................ล้อมคอก
๗. ......................วัน......................คืน
๘. ยืน......................ขาเดียว
๙. ไป......................เอาดาบหน้า
๑๐. ......................หลังเข้าคลอง
๑๑. ผู้ชาย......................เรือ
๑๒. น�้ำซึมบ่อ......................

71
กิจกรรมการเรียนรู้ที่ ๑๐ น�ำค�ำสร้างเรื่องราว
ค�ำชี้แจง น�ำค�ำมาตราแม่เกยที่ก�ำหนดให้แต่งเรื่องสั้นๆ

ควาย หลานชาย ช่วยด้วย กระสับกระส่าย

72
73
มาตราแม่เกอว
มาตรา
แม่เกอว

นักเรียนคะ นักเรียนรู้จักมาตราแม่เกอว
หรือเปล่าคะ

มาตราแม่เกอว คือ ค�ำที่มี ว เป็นตัวสะกด


เป็นมาตราตัวสะกดที่มีตัวสะกดเพียงตัวเดียว

ใช่ค่ะ...เก่งมาก

เช่น ดาว เร็ว เที่ยว ใช่ไหมครับ

75
อธิบายเพิ่ม เติมความหมาย

ค�ำที่มีตัว ว เป็นตัวสะกด
เป็นค�ำในมาตรา แม่เกอว

อ่านเพิ่ม เติมความรู้
แม่เกอว
ร้อยกรองท่องจ�ำ
แหวน แหวน แหวน เมื่อ ว แหวน สะกดท้ายค�ำใด
รู้ไว้ค�ำนั้นไซร้ จัดอยู่ในมาตราแม่เกอว

76
ตัวอย่างค�ำ น�ำไปใช้

ฝึกอ่านค�ำต่อไปนี้
ฝึกอ่านค�ำ ชุดที่ ๑
ยาเขียว เชี่ยวชาญ ถั่วขาว
ฝักยาว ปลาซิว เรือยาว
ไปเที่ยว แมวลาย นิ้วก้อย
หน้านิ่ว อดข้าว จนหิว
ตะคริว ไม่เกี่ยว ประเดี๋ยว
คนเดียว เลี้ยวลด แมวเหมียว

ฝึกอ่านค�ำ ชุดที่ ๒
น�้ำเชี่ยว หลายเลี้ยว เปลี่ยวใจ
สิ่วเลื่อย ข้าวเหนียว ข้าวสวย
ของเปรี้ยว มะนาว งูเขียว
หมั้นสาว คนลาว ผมยาว
ลมหนาว ว่าวจุฬา กราวกีฬา

77
ฝึกอ่านค�ำ ชุดที่ ๓

ท่องเที่ยว ดอกแก้ว มะพร้าว


เต้าเจี้ยว ชาเขียว แวววาว
ปราดเปรียว ดวงดาว วิ่งเปี้ยว
คล่องแคล่ว หนุ่มสาว แนวทาง
ก้าวหน้า ก๋วยเตี๋ยว ถั่วเขียว
โน้มน้าว เหลียวมอง เกรียวกราว
แผ่วเบา เกี่ยวข้อง ค้างคาว
เจี๊ยวจ๊าว หวานแหวว ลดเลี้ยว
แมวเหมียว เรื่องราว รสเปรี้ยว
แสงดาว โดดเดี่ยว สาวสวย
สุกสกาว ข้าวหลามตัด ซาวด์ดนตรี
ดาวกระจาย ผักสามหาว กระจิ๋วหลิว
สลายนิ่ว ผิวสองสี ปลาริวกิว
คอมมิวนิสต์ ซีอิ๊วขาว อัตราเร็ว
ทองค�ำเปลว คว้าน�้ำเหลว เท้าสะเอว
พระปิ่นแก้ว แถวเรียงหนึ่ง เพชรตาแมว
กังวานแว่ว ประเดี๋ยวเดียว เหลียวหลังมอง

78
อ่านประโยค

• พระปิ่นแก้วเป็นโอรสของพระปิ่นทองกับนางแก้วหน้าม้า
• แม่ของสุดาชอบรับประทานข้าวหลามตัด
• ซีอิ๊วขาวใส่โจ๊กอร่อย
• โบราณบอกว่าน�้ำเชี่ยวอย่าขวางเรือ
• รู้อะไรรู้กระจ่างแต่อย่างเดียว แต่ให้เชี่ยวชาญเถิดจะเกิดผล
• คนไทยกับคนลาวเป็นพี่น้องกัน
• ผักตบค�ำสุภาพเรียกว่าผักสามหาว
• เด็กนักเรียนหญิงที่ไว้ผมยาวต้องมัดผมให้เรียบร้อย
• ว่าวมีหลายประเภท เช่น ว่าวจุฬา ว่าวปักเป้า ว่าวงู เป็นต้น
• คุณพ่อชอบรับประทานแกงส้มใส่ไข่ปลาริวกิว
• น�้ำในแม่น�้ำไหลเชี่ยวมากในฤดูฝน
• เด็กๆ แข่งขันวิ่งเปี้ยวกันอย่างสนุกสนาน
• เด็กๆอย่าส่งเสียงดังเจี๊ยวจ๊าวรบกวนคนอื่นเขานะ
• เราต้องสามัคคีกลมเกลียวกันไว้ สังคมจะได้เจริญก้าวหน้า
• เขาได้รับก�ำลังใจจากคนใกล้ชิด ท�ำให้เกิดเรี่ยวแรงในการต่อสู้

79
ฝึกอ่านร้อยกรอง

หนูแพรวหนูพราว ลูกสาวพ่อแก้ว
คุณแม่ชื่อแวว อยู่แถวลาดพร้าว
หน้าตาบ้องแบ๊ว เสียงแจ๋วผิวขาว
ชอบติดตามข่าว เรื่องราวท่องเที่ยว
ชอบกินมันแกว แห้วต้มข้าวเหนียว
ก๋วยเตี๋ยวและเกี๊ยว ไข่เจียวไข่ดาว
นั่งเรือไปเที่ยว เลี้ยวไปปากอ่าว
เห็นดงมะพร้าว ปลูกยาวเป็นแนว
ชาวนาใช้เคียว เกี่ยวข้าวเป็นแถว
ท�ำงานคล่องแคล่ว ล้วนแล้วแม่เกอว

สมใจ บุญอุรพีภิญโญ

80
กิจกรรม ชวนคิด ชวนท�ำ
ฝึกเขียน เรียนแม่เกอว
ว แหวนวงงาม อยู่ตามท้ายคือแม่เกอว
กิจกรรมการเรียนรู้ที่ ๑
ค�ำชี้แจง ขีดเส้นใต้พยางค์ที่สะกดด้วยมาตราแม่เกอวแล้วฝึกอ่าน

วิ่งเปี้ยว เลี้ยวลด รสเปรี้ยว

เกี้ยวสาว เกี๊ยวน�้ำ เขี้ยวงู

เคี่ยวเนื้อ สีเขียว ข้าวสวย

รวดเร็ว ตะหลิว เหี่ยวเฉา

เต้าเจี้ยว ท่องเที่ยว เชี่ยวชาญ

เหลียวมอง เฉี่ยวโฉบ แก้วน�้ำ

81
กิจกรรมการเรียนรู้ที่ ๒
ค�ำชี้แจง เลือกค�ำที่สะกดด้วยแม่เกอวต่อไปนี้ มาเติมลงในช่องว่างให้มี
ความหมายและเสียงคล้องจองกัน

เหี่ยว เหลียว เหนียว แพรว ยาว


ดาว เกลียว วาว กราว เปลี่ยว

ข้าว...................... ......................กลม

ผม...................... เกรียว...................... ......................เฉา

เปล่า...................... ......................ดู หมู.่ .....................

......................พราว ......................วับ

82
83
กิจกรรมการเรียนรู้ที่ ๓
ค�ำชี้แจง เติมค�ำทีส่ ะกดด้วยมาตราแม่เกอว ลงในส�ำนวนไทยให้มคี วามหมาย
ที่ถูกต้อง

๑. แดงแกงร้อน

๒. ลมห่มผ้า

๓. รัก ให้บั่นรักสั้นให้ต่อ

๔. เจ้าชู้ต้องหมั่น

๕. วันพระไม่มีหน

๖. ปากคน กว่าปากกา

๗. หากินตัวเป็น

๘. เอา ห้าวไปขายสวน

๙. สุดหล้าฟ้า

๑๐. มีแต่ตาหามี ไม่

84
กิจกรรมการเรียนรู้ที่ ๔ รู้ค�ำ สร้างประโยค
ค�ำชี้แจง น�ำค�ำมาตราแม่เกอวที่ก�ำหนดให้ไปแต่งประโยคให้เหมาะสม

๑. เที่ยว

๒. เชี่ยวชาญ

๓. ก๋วยเตี๋ยว

๔. ดาว

๕. สกาว

๖. แพรว

๗. สาว

๘. สีขาว

๙. เดี๋ยวเดียว

๑๐. เร็ว

85
กิจกรรมการเรียนรู้ที่ ๕ คิดค�ำ เขียนค�ำ
ค�ำชี้แจง คิดค�ำในมาตราแม่เกอว และเขียนลงในลูกโป่งให้ถูกต้อง

86
กิจกรรมการเรียนรู้ที่ ๖ เขียนค�ำสร้างเรื่องราว
ค�ำชี้แจง น�ำค�ำมาตราแม่เกอวที่ก�ำหนดให้แต่งเรื่องสั้นๆ

สีขาว สาวสวย รวดเร็ว เกี๊ยว แถว

87
มาตราแม่กก
มาตรา
แม่กก

เด็กๆ คะ รู้ไหมว่ามาตรา
แม่กก คืออะไร

ค�ำที่มี ก เป็นตัวสะกดใช่ไหมครับ

ถูกต้องค่ะ... มาตราแม่กก มี ก เป็นตัวสะกด


และยังมีค�ำที่ออกเสียงเหมือน ก สะกด ด้วยนะคะ

เช่น พยัญชนะตัวไหนบ้างครับ
คุณครู

89
มี ก ข ค ฆ จ้ะ เช่น กัก สุนัข พรรค เมฆ

นอกจากนี้ กร คร ก็สามารถเป็นตัวสะกด
ในมาตราแม่กกได้นะ เช่น จักร สมัคร

ขอบคุณครับคุณครู

90
อธิบายเพิ่ม เติมความหมาย

มาตรา แม่กก
คือ ค�ำที่มี ก ข ค ฆ เป็นตัวสะกด

อ่านเพิ่ม เติมความรู้
แม่กก
ร้อยกรองท่องจ�ำ
แม่กก ตก ทุกข์ หนัก สุข เมฆ พรรค อย่าฉงน
ก ข ค ฆ อย่าสับสน ออกเสียง ก (กอ) ดูดีดี

91
ฝึกอ่านค�ำในมาตราแม่กก

ฝึกอ่านค�ำ ชุดที่ ๑
ลูกฟูก ผูกเชือก เลือกมาก
ฝากบอก ดอกจิก ติ๊กต๊อก
วอกแวก แบกโลก โฮกฮาก
ปากเปียก เรียกนก ปกปัก
ยักยอก ล่อกแล่ก แรกรัก

ฝึกอ่านค�ำ ชุดที่ ๒
หักศอก ดอกโศก โจ๊กสุก
ยุกยิก กิ๊กก๊อก หลอกชก
เสื้อกั๊ก ก๊กมินตั๋ง คางคก
ชกต่อย ซกมก ปาฐก
ดกดื่น ต๊กโต นกกระจอก

92
ฝึกอ่านค�ำ ชุดที่ ๓
กัลบก วณิพก โฆษก
คึกคัก กงจักร ดักนก
ยักยอก นาคปรก ภาคเรียน
ทุกข์สุข ยุกยิก หายาก
น�้ำพริก ซิกแซ็ก แขกยาม

ฝึกอ่านค�ำ ชุดที่ ๔
ความสุข บุคคล ฝนตก
ยกยอ บริจาค หยากไย่
ไข่มุก สุขสันต์ บันทึก
ลึกลับ จับฉลาก มากมาย
สายหมอก บอกเล่า เศร้าโศก

ฝึกอ่านค�ำ ชุดที่ ๕
โยกเยก เลขบวก หมวกผ้า
พญานาค ภาคต้น ขนนก
ปกคลุม ก้อนเมฆ เอกลักษณ์
ดักเหยื่อ เชื้อโรค อึกทึก
ครึกโครม โศกเศร้า ปอกลอก

93
ฝึกอ่านประโยคที่มีตัวสะกดในมาตราแม่กก

• แม่บอกว่าโชคดีที่มีลูกน่ารักทุกคน
• พี่เล่นสาดน�้ำในวันสงกรานต์จนเปียกโชก
• เราไม่เล่นคลุกคลีกับผู้ป่วยเพราะจะติดโรคได้
• พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นประมุขของชาติ
• พวกเรามีความผาสุก เพราะพวกเราต่างรักและสามัคคีกัน

94
กิจกรรมชวนคิด ชวนท�ำ

กิจกรรมการเรียนรู้ที่ ๑ อ่านเขียนเรียนรู้
ค�ำชี้แจง ให้นักเรียนระบายสีค�ำมาตราตัวสะกดแม่กก พร้อมทั้งคัดลายมือ
ให้เรียบร้อย

เมฆ เลข รูปภาพ พุธ

ผลัก ประมุข ทุกข์สุข กาพย์

โรค ศักดิ์ศรี เสร็จ วรรค

พยัคฆ์ กงจักร วาฬ โกรธ

95
๑. ....................................................................................................
๒. ....................................................................................................
๓. ....................................................................................................
๔. ....................................................................................................
๕. ....................................................................................................
๖. ....................................................................................................
๗. ....................................................................................................
๘. ....................................................................................................
๙. ....................................................................................................
๑๐. ....................................................................................................

96
กิจกรรมการเรียนรู้ที่ ๒ เรียงร้อยค�ำน�ำเรื่องราว
ค�ำชี้แจง ให้นักเรียนแต่งเรื่องจากค�ำที่ก�ำหนดให้

ประมุข บุคคล ความสุข ประโยค สุขภาพ

เรื่อง.........................................

.......................................................................................................................
.......................................................................................................................
.......................................................................................................................
.......................................................................................................................
.......................................................................................................................
.......................................................................................................................
.......................................................................................................................
.......................................................................................................................
.......................................................................................................................
.......................................................................................................................
.......................................................................................................................
.......................................................................................................................
.......................................................................................................................

97
กิจกรรมการเรียนรู้ที่ ๓
ตัวสะกดไทยใช้ถูกต้อง
ค�ำชี้แจง จงเขียนค�ำจากค�ำอ่านต่อไปนี้

๑. เลก เขียนเป็น .............................................


๒. สุ – นัก เขียนเป็น .............................................
๓. บอ – ริ – จาก เขียนเป็น .............................................
๔. สา – มัก – คี เขียนเป็น .............................................
๕. อา – นา – จัก เขียนเป็น .............................................
๖. พัก – พวก เขียนเป็น .............................................
๗. โรก – ไพ เขียนเป็น .............................................
๘. พาก – พูม เขียนเป็น .............................................
๙. บุก – คน เขียนเป็น .............................................
๑๐. ท�ำ – มะ – จัก เขียนเป็น .............................................
๑๑. สุก – ขะ – พัน เขียนเป็น .............................................
๑๒. บอ – ริ – โพก เขียนเป็น .............................................

98
กิจกรรมการเรียนรู้ที่ ๔ จากค�ำน�ำสู่ประโยค
ค�ำชี้แจง จงแต่งประโยคจากค�ำที่ก�ำหนดให้

๑. วิหค

๒. อัคคี

๓. บริจาค

๔. สุนัข

๕. กงจักร

๖. แห่นาค

๗. เมฆฝน

๘. วัคซีน

๙. วันศุกร์

๑๐. สุขสันต์

99
มาตราแม่กด
มาตรา
แม่กด

นักเรียนคะ วันนี้ครูจะอธิบายเรื่องมาตราแม่กดให้ฟังนะคะ

มาตราแม่กด คือ ค�ำที่มี ด เป็นตัวสะกด


และค�ำที่ออกเสียงเหมือน ด สะกดค่ะ

คุณครูครับ มาตราแม่กด นอกจากมี


ด เป็นตัวสะกดแล้ว มีตัวไหนอีกครับ

คุณครูอธิบายให้ผมฟังหน่อยครับ

101
คำ�ในแม่กด มีตัวสะกดหลายตัว ได้แก่
ด สะกด เช่น ปาด เชือด ราด
จ สะกด เช่น อำ�นาจ กิจ สำ�เร็จ
ช สะกด เช่น ราช บวช พืช
ซ สะกด เช่น ก๊าซ
ฎ สะกด เช่น กฎ
ฏ สะกด เช่น ปรากฏ
ฐ สะกด เช่น อิฐ
ฑ สะกด เช่น ครุฑ
ฒ สะกด เช่น พัฒนา
ต สะกด เช่น เขต


ถ สะกด เช่น รถ
ท สะกด เช่น บาท มารยาท
ธ สะกด เช่น อาวุธ พิรุธ
ศ สะกด เช่น ประกาศ
ษ สะกด เช่น พิษ
ส สะกด เช่น รส
ฒิ สะกด เช่น วุฒิ
ติ สะกด เช่น สมบัติ ชาติ ญาติ
ตุ สะกด เช่น ธาตุ
ธิ สะกด เช่น พยาธิ

102
นอกจากนี้ยังมีพยัญชนะ
ที่ทำ�หน้าที่เป็นตัวสะกดและออกเสียง
ด สะกด อีกหลายตัวนะ


คำ�เหล่านี้เป็นตัวสะกดสองตัว ได้แก่
ตร สะกด เช่น บัตร เมตร
ชร สะกด เช่น เพชร
ทร สะกด เช่น สมุทร
รถ สะกด เช่น สามารถ
รท สะกด เช่น สารท

คำ�ในมาตราแม่กด มีหลายตัวมากเลยนะครับ

ผมคงต้องฝึกอ่านและเขียนทุกวัน

103
อธิบายเพิ่ม เติมความหมาย

มาตราแม่กด คือ ค�ำที่มี ด จ ช ซ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ต


ถ ท ธ ศ ษ ส เป็นตัวสะกด

อ่านเพิ่ม เติมความรู้
แม่กด
ร้อยกรองท่องจ�ำ
แม่กด หมด หยาด หยด ทุก บาท บท ค�ำเหล่านี้
ตัวสะกดต่างมากมี อยู่แม่กดแน่แท้หนอ
จ ช ซ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ต และ ถ
ท ธ ศ ษ ส ล้วนอยู่ในค�ำแม่กด

104
ตัวอย่างค�ำ น�ำไปใช้

ฝึกอ่านค�ำ ชุดที่ ๑
ทอดยอด ออดแอด แปดเจ็ด
เล็ดลอด กอดรัด ซัดทอด
ยอดฝืด ยืดยาด วาดวัด
ยัดเยียด เขียดปาด คาดคิด
ติดยึด ฮึดฮัด ตัดชุด

ฝึกอ่านค�ำ ชุดที่ ๒
จุดเดือด เลือดฝาด ฟาดฟัด
สะดุด จุดหมาย ชายหาด
ตลาดนัด สวัสดี ชีวิต
ปิดเปิด เกิดเหตุ เมตตา
อาทิตย์ จิตใจ ใกล้ชิด

105
ฝึกอ่านค�ำ ชุดที่ ๓
วิทยุ สุจริต กิจวัตร
พัฒนา กาชาด ญาติผู้ใหญ่
ใสสะอาด คาดหวัง จังหวัด
พลัดถิ่น บิณฑบาต ขาดแคลน
แหวนเพชร เกล็ดปลา ปรากฏ

ฝึกอ่านประโยคที่มีตัวสะกดในมาตราแม่กด
• ฉันไม่พูดหรือท�ำอวดดีกับผู้ใด
• เราต้องช่วยกันพัฒนาโรงเรียนของเรา
• นักเรียนต้องเคารพเชื่อฟังญาติผู้ใหญ่ทุกคน
• รุ้งกินน�้ำเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติอย่างหนึ่ง
• สมเกียรติเป็นคนรอบคอบไม่ประมาทเลินเล่อ

106
กิจกรรม ชวนคิด ชวนท�ำ

กิจกรรมการเรียนรู้ที่ ๑ อ่าน คิด เขียน


ค�ำชี้แจง ให้นักเรียนเลือกค�ำที่อยู่ในมาตราแม่กด แล้วเขียนในช่องที่
ก�ำหนดให้

บุรุษ สามารถ ราชการ

บัลลังก์ มหาดเล็ก ตรัส

ก�ำหนด ฤทธิ์เดช สาคร

อากาศ ทุจริต เพชฌฆาต

107
๑. ...............................................................
๒. ...............................................................
๓. ...............................................................
๔. ...............................................................
๕. ...............................................................
๖. ...............................................................
๗. ...............................................................
๘. ...............................................................
๙. ...............................................................
๑๐. ...............................................................

108
กิจกรรมการเรียนรู้ที่ ๒ เติมพยัญชนะ ทราบค�ำ
ค�ำชี้แจง เติมพยัญชนะสะกดในมาตราแม่กด ลงในค�ำที่ก�ำหนดให้ได้ความหมาย

สั . ...ว์ น�้ ำ รา....ฎร กระดา....

มี ด บา.... วั . ...นธรรม ทายา....

ก....หมาย พั . ...นา กากบา....

ปราก.... สาเห.... ประมา....

สั . ...ส่ ว น ธรรมชา.... เศร....ฐี

ร....ชาติ อาวุ . ... ซื่ อ สั . ...ย์

กิ . ...การ ละเอี ย .... วิ เ ศ....

โอกา.... ประกา.... ก๊ า ....

109
กิจกรรมการเรียนรู้ที่ ๓ อ่านทราบค�ำ
ค�ำชี้แจง อ่านบทร้อยกรอง แล้วขีดเส้นใต้ค�ำที่อยู่ในแม่กด จากนั้นเลือกค�ำมา
แต่งประโยค ๕ ค�ำ

ผู้ขี้เกียจกระเดียดกระจาด ไปตลาดไม่ถนัด
ซื้อมาสารพัด อย่าสะบัดพูดขี้ปด
นักปราชญ์ฉลาดคิด พูดไม่ผิดซื่อสัตย์หมด
จะเกิดประเสริฐยศ มิได้อดแต่ซักนิด
บาทบทจดอย่าคลาด ในกระดาษวาดอย่าผิด
อย่าคิดขบถมิตร จะต้องติดโทษในคุก
จากหนังสือ ประถม ก กา ฉบับหอสมุดแห่งชาติ

110
กิจกรรมการเรียนรู้ที่ ๔ เขียนค�ำสร้างเรื่องราว
ค�ำชี้แจง น�ำค�ำมาตราแม่กดที่ก�ำหนดให้แต่งเรื่องสั้นๆ

ปีชวด เมตตา อากาศ รวดเร็ว สมบัติ

111
มาตราแม่กน
มาตรา
แม่กน

เด็กๆ คะ วันนี้เรามาเรียนเรื่อง มาตราแม่กน กัน

แม่กน คือค�ำที่มี น เป็นตัวสะกด และค�ำที่มี


พยัญชนะท้ายออกเสียง น ใช่ไหมครับ

ใช่จ้ะ ค�ำที่มีเสียง น เป็นตัวสะกด


ได้แก่ น ญ ณ ร ล ฬ

113
มีค�ำอะไรบ้างครับคุณครู

นักเรียนลองคิดดูสิจ๊ะ

น เช่น บ้าน วาน สอน


ญ เช่น เจริญ ช�ำนาญ ร�ำคาญ
ณ เช่น คูณ ปริมาณ วิญญาณ

ร เช่น พร จราจร บริการ หาร


ล เช่น บอล จลาจล ชล
ฬ เช่น วาฬ ทมิฬ

เก่งมากจ้ะ ขอบคุณครับคุณครู

114
อธิบายเพิ่ม เติมความหมาย

มาตรา แม่กน
คือค�ำที่มี น ญ ณ ร ล ฬ เป็นตัวสะกด

อ่านเพิ่ม เติมความรู้
แม่กน
ร้อยกรองท่องจ�ำ
แม่กน คน บ้าน นั้น จ�ำให้มั่น ทั้งชายหญิง
น ญ ณ ร ล ลิง อีก ฬ จุฬา อยู่แม่กน

115
ตัวอย่างค�ำ น�ำไปใช้

ฝึกอ่านค�ำ ชุดที่ ๑
วานวัน ปันส่วน ชวนกิน
ดินปืน ฝืนทน บนบาน
ผ่านผัน ดั้นด้น วนเวียน
เลี่ยนโล้น โผนเผ่น เช่นกัน
ผันผ่อน อ้อนแอ้น แน่นแฟ้น

ฝึกอ่านค�ำ ชุดที่ ๒
เบิกบาน บ้านเรือน เขื่อนดิน
หินอ่อน ทอนเงิน เชิญชวน
สวนผัก จักสาน การบ้าน
ร้านค้า กังหัน ปัญญา
อาหาร ผ่านพ้น ต้นสน

116
ฝึกอ่านค�ำ ชุดที่ ๓
ดนตรี ปีขาล บานชื่น
ยืนยัน สัญญาณ อ่านเขียน
เพียรขยัน วันเพ็ญ เต้นร�ำ
ช�ำนาญ การคูณ ปูนปั้น
อัญชัน วันจันทร์ สัญญา

ฝึกอ่านประโยค
• นิอรมีความพากเพียรอย่างน่าชมเชย
• เราต้องเชื่อฟังค�ำแนะน�ำตักเตือนของผู้หวังดี
• ฉันสนใจอ่านและฟังข่าวสารต่างๆ เพื่อเพิ่มความรู้
• ทหารเปรียบเป็นรั้วของชาติที่ช่วยต่อสู้ป้องกันศัตรูของประเทศ
• พวกเราขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ดลบันดาลให้คุณครูมีความสุขตลอดไป

117
กิจกรรม ชวนคิด ชวนท�ำ

กิจกรรมการเรียนรู้ที่ ๑ ต่อเติม เสริมส�ำนวน


ค�ำชี้แจง เติมส�ำนวนต่อไปนี้ให้ถูกต้องสมบูรณ์

๑. ว่านอน .........ง่าย ๖. เจ้าไม่มีศาล .........ไม่มีวัด

๒. ยากแค้น .........เข็ญ ๗. เล่าเรียน .........อ่าน

๓. รู้เห็น .........ใจ ๘. หมุนเวียน .........ผัน

๔. พะเนิน .........ทึก ๙. รู้เช่น .........ชาติ

๕. ลูกท่าน .........เธอ ๑๐. สุขสันต์ .........เกิด

118
กิจกรรมการเรียนรู้ที่ ๒ เขียนค�ำสร้างเรื่องราว
ค�ำชี้แจง คิดค�ำมาตราแม่กน จ�ำนวน ๕ ค�ำ แล้วแต่งเรื่องสั้นๆ

119
มาตราแม่กบ
มาตรา
แม่กบ
คุณครูครับ ผมมีเรื่องเรียนถามคุณครูครับ

มาตราแม่กบ คือ ค�ำที่มี บ เป็นตัวสะกด


และค�ำที่ออกเสียงเหมือน บ สะกด ใช่ไหมครับ

ใช่ค่ะ ค�ำที่สะกดในมาตราแม่กบ
เป็นค�ำที่มี บ ป พ ฟ ภ เป็นตัวสะกดค่ะ

นักเรียนยกตัวอย่างให้ครูฟังหน่อยได้ไหมคะ
ได้ครับ

121
ค�ำในแม่กบที่มี
บ สะกด เช่น กราบ หาบ พบ
ป สะกด เช่น ธูป สรุป ทวีป
พ สะกด เช่น ภาพ เทพ ภพ
ฟ สะกด เช่น กราฟ ยีราฟ กอล์ฟ นักเรียนเก่งมากเลยค่ะ
ภ สะกด เช่น โลภ ลาภ

122
อธิบายเพิ่ม เติมความหมาย

มาตรา แม่กบ
คือ ค�ำที่มี บ ป พ ฟ ภ เป็นตัวสะกด

อ่านเพิ่ม เติมความรู้
แม่กบ
ร้อยกรองท่องจ�ำ
แม่กบ พบ ค�ำตอบ รอบคอบ กรอบ ต้องจ�ำจด
ป พ ฟ ภ สะกด อยู่แม่กบ นั้นแน่นอน

123
ตัวอย่างค�ำ น�ำไปใช้

ฝึกอ่านค�ำ ชุดที่ ๑
ราบคาบ ลาบดิบ ลิบลับ
สับเสียบ เลียบขอบ ยอบแยบ
แอบชอบ ลอบทุบ ซุบซิบ
กิ๊บก๊าบ วาบวูบ ลูบดาบ
ราบเรียบ เทียบทับ จับกบ
พบบวบ ยวบยาบ กะพริบ
แวบวับ ทัพพี ยีราฟ
หาบของ กองทัพ หลับตา
สารภาพ กราบพระ ประสบ
หุบเขา เคารพ อบอุ่น
บุญบาป ราบเรียบ เปรียบเทียบ
เงียบเชียบ เหยียบย�่ำ ค�ำนับ
กลับกลาย ตลับ ขับรถ
ทดสอบ รอบคอบ กรอบรูป
ธูปเทียน เลียนแบบ แอบข�ำ
ต�ำรับ สัปดาห์ พายัพ

124
ฝึกอ่านประโยค

• ล�ำหับเป็นคนรอบคอบ
• ศรีสุดาชอบให้อาหารแก่นกกระจิบ
• จุ๊บจิ๊บนั่งพับเพียบเรียบร้อยเมื่ออยู่กับผู้ใหญ่
• พนักงานเสิร์ฟอาหารให้ลูกค้าอย่างคล่องแคล่ว
• เอกภพตั้งใจท�ำงานทุกอย่างด้วยความอดทนประสบผลส�ำเร็จทุกครั้ง

125
กิจกรรม ชวนคิด ชวนท�ำ

กิจกรรมการเรียนรู้ที่ ๑ อ่าน คิด เขียน


ค�ำชี้แจง เติมส�ำนวนให้ถูกต้อง

๑. นอนหลับ .........สิทธิ์ ๖. หมอบราบ .........แก้ว

๒. ต้อนรับ .........สู้ ๗. ก�ำเริบ .........สาน

๓. เคารพ .........ไหว้ ๘. จับดาบ .........โจร

๔. ใส่งอบ .........หัว ๙. สวยแต่รูป .........ไม่หอม

๕. ท�ำบาป .........แช่ง ๑๐. ยกทัพ .........ศึก

126
กิจกรรมการเรียนรู้ที่ ๒ เขียนค�ำสร้างเรื่องราว
ค�ำชี้แจง คิดค�ำมาตราแม่กบ จ�ำนวน ๕ ค�ำ แล้วแต่งเรื่องสั้นๆ

127
แบบทดสอบหลังเรียน
แ บบทดสอบหลังเรียน
เรื่องมาตราตัวสะกด จ�ำนวน ๒๐ ข้อ

ค�ำชี้แจง จงเลือกค�ำตอบที่ถูกต้อง
๑. มาตราตัวสะกดใดที่ใช้พยัญชนะไม่ตรงตามมาตราได้
ก. แม่กง
ข. แม่เกย
ค. แม่กบ
ง. แม่เกอว

๒. มาตราตัวสะกดใดที่ต้องใช้พยัญชนะตรงตามมาตราเท่านั้น
ก. แม่กง
ข. แม่กด
ค. แม่กบ
ง. แม่กน

129
๓. ตัวเลือกใดมีตัวสะกดเหมือน “เผือกผ่องผิวพรรณ”
ก. เจ็ดดอกดวงมาลย์
ข. ดอกหนึ่งแบ่งบาน
ค. เป็นแปดพึงยล
ง. จากดวงแก้วกาญจน์

๔. “ทิศทางแผนภาพ” เรียงลำ�ดับตามมาตราตัวสะกดใด
ก. กบ กง กน กบ
ข. กด กง กน กบ
ค. กด กน กง กบ
ง. กด กบ กง กน

๕. ในข้อใดออกเสียงตัวสะกดตรงตามมาตราทั้งหมด
ก. คล่องแคล่ว แก้วแตก
ข. ความคิด พิษสง
ค. รูปภาพ วาดฝัน
ง. สัญญาณ ผ่านพ้น

๖. คำ�ใดบอกเสียงตัวสะกดเหมือนคำ�ว่า “ศิษย์”
ก. เมฆ
ข. สูญ
ค. พุทธ
ง. นาค

130
อ่านคำ�ประพันธ์ แล้วตอบคำ�ถาม ข้อ ๗ - ๑๐

เห็นไก่เตี้ยเขี่ยคุ้ยที่ขุยไผ่ กระโชกไล่ลดเลี้ยวมันเปรียวปรื๋อ
พบนกยูงฝูงใหญ่ไล่กระพือ มันบินหวือโห่ร้องคะนองใจ
จนเหน็ดเหนื่อยเมื่อยข้อให้ท้อแท้ คิดถึงแม่วันทองแล้วร้องไห้
พระสุริยาสายัณห์ลงเรไร เหมือนจิตใจเจ้าจะขาดลงรอนรอน

(ที่มา: เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ตอน ก�ำเนิดพลายงาม ของ สุนทรภู่)

๗. ตัวเลือกใดไม่ได้สะกดในมาตราตัวสะกดเดียวกันทั้งหมด
ก. เขี่ย คุ้ย เมื่อย
ข. ลด จิต ขาด
ค. ร้อง ยูง ทอง
ง. เห็น มัน สายัณห์

๘. จากบทกลอนวรรคใดมีค�ำแม่เกยมากที่สุด
ก. จนเหน็ดเหนื่อยเมื่อยข้อให้ท้อแท้
ข. คิดถึงแม่วันทองแล้วร้องไห้
ค. พระสุริยาสายัณห์ลงเรไร
ง. เหมือนจิตใจเจ้าจะขาดลงรอนรอน

131
๙. จากบทกลอนวรรคใดไม่มตี ัวสะกดแม่กน
ก. เห็นไก่เตี้ยเขี่ยคุ้ยที่ขุยไผ่
ข. กระโชกไล่ลดเลี้ยวมันเปรียวปรื๋อ
ค. พบนกยูงฝูงใหญ่ไล่กระพือ
ง. มันบินหวือโห่ร้องคะนองใจ

๑๐. จากบทกลอนข้างต้นมีมาตราตัวสะกดใดมากที่สุด (ไม่นับค�ำซ�้ำ)


ก. แม่กน
ข. แม่กม
ค. แม่กบ
ง. แม่กด

๑๑. ค�ำในข้อใดออกเสียงตัวสะกดเหมือน “สวัสดิ์”


ก. มหรรณพ
ข. ตระหนัก
ค. ประดับ
ง. ประพาส

132
อ่านเรื่อง แล้วตอบคำ�ถาม ข้อ ๑๒ - ๑๓

เรื่อง ไก่สามอย่าง
ไก่เป็นชื่อสัตว์ปีกจ�ำพวกนก ไก่เป็นสัตว์ที่หากินตามพื้นดิน บินได้
ในระยะสั้นๆ ไม่เก่งเหมือนนก แต่ไก่สามอย่างไม่ใช่ไก่ที่เป็นชื่อสัตว์ปีก
ไก่สามอย่างเป็นเครื่องกินแกล้มสุรา มีกุ้งแห้ง ถั่วลิสง และตะไคร้เป็นหลัก
ส่วนตะไคร้ทดี่ ดั แปลงเพิม่ เติมภายหลังมีขงิ หัวหอม และพริกขีห้ นูเข้าไปร่วม
ด้วยถือว่าได้ แต่ก็เรียกไก่สามอย่างอยู่นั่นเอง

๑๒. ค�ำคู่ใดไม่อยู่ในมาตราเดียวกัน
ก. กุ้งแห้ง
ข. พื้นดิน
ค. เพิ่มเติม
ง. สัตว์ปีก

๑๓. “ ไก่สามอย่างเป็นเครื่องกินแกล้มสุรา มีกุ้งแห้ง ถั่วลิสง และตะไคร้เป็นหลัก”


ข้อความนี้มีตัวสะกดมาตราใดมากที่สุด (ไม่นับค�ำซ�้ำ)
ก. แม่กน
ข. แม่กง
ค. แม่กม
ง. แม่กก

133
อ่านเรื่อง แล้วตอบคำ�ถาม ข้อ ๑๔ - ๑๕

เรือยาวมรดกทางวัฒนธรรมบนสายน�้ำ
ทุกวันนี้ประเพณีแข่งเรือยาวมีการแข่งขันอยู่เกือบทุกภาคของ
ประเทศไทย โดยเฉพาะเรือที่ใช้แข่งขันจะเป็นเรือประเภทเรือยาวทั้งหมด
สนามแข่งที่มีชื่อเสียงทางภาคเหนือ ได้แก่ จังหวัดน่าน พิษณุโลก พิจิตร
นครสวรรค์ ภาคกลาง ได้ แ ก่ ชั ย นาท สิ ง ห์ บุ รี อ่ า งทอง สระบุ รี
พระนครศรีอยุธยา กรุงเทพมหานคร และนครปฐม ภาคตะวันออกเฉียง
เหนือ ได้แก่ บุรีรัมย์ อุบลราชธานี และภาคใต้ ได้แก่ ชุมพร สุราษฎร์ธานี
ส�ำหรับภาคตะวันออกก็มี ปราจีนบุรี และฉะเชิงเทรา เมื่อมีสนามแข่งขัน
มาก สภาพการแข่งขันเรือยาวจากหมู่บ้านเดียวกันในอดีตก็กลายมา
เป็นการแข่งเรือยาวทั่วประเทศไทย
(วินัย รอดจ่าย : เรือยาวมรดกทางวัฒนธรรมบนสายน�้ำ)

๑๔. ชื่อจังหวัดที่ปรากฏในข้อความนี้ ข้อใดมีตัวสะกดต่างมาตรากัน


ก. พิจิตร สุราษฎร์ธานี
ข. ฉะเชิงเทรา อ่างทอง
ค. ปราจีนบุรี นครสวรรค์
ง. บุรีรัมย์ สิงห์บุรี

๑๕. ชื่อจังหวัดในข้อใดปรากฏมาตรากนทั้งสองจังหวัด
ก. อุบลราชธานี น่าน
ข. ชุมพร สระบุรี
ค. พระนครศรีอยุธยา พิจิตร
ง. กรุงเทพมหานคร อ่างทอง

134
อ่านคำ�ประพันธ์ แล้วตอบคำ�ถาม ข้อ ๑๖ - ๑๗

อุ่นใดใดโลกนี้ไม่มีเทียบเทียม
อุ่นอกอ้อมแขนอ้อมกอดแม่ตระกอง
รักเจ้าจึงปลูกรักลูกแม่ย่อมห่วงใย
ไม่อยากจากไปไกลแม้เพียงครึ่งวัน
(เนื้อเพลง อิ่มอุ่น ของ ศุ บุญเลี้ยง)

๑๖. จากบทเพลงนี้มีมาตราตัวสะกดแม่กก ปรากฏอยู่กี่ค�ำ (ไม่นับค�ำซ�้ำ)


ก. ๗ ค�ำ
ข. ๘ ค�ำ
ค. ๙ ค�ำ
ง. ๑๐ ค�ำ

๑๗. จากบทเพลงไม่ปรากฏมาตราตัวสะกดใด
ก. แม่กก
ข. แม่กง
ค. แม่กน
ง. แม่เกย

135
อ่านข้อความ แล้วตอบคำ�ถาม ข้อ ๑๘ - ๒๐

คนไทยต้องพร้อมใจกัน เข้มแข็ง มั่นคง อย่าแตกความสามัคคีกัน อย่า


ท�ำลายกันเองคนไทยก็สามารถป้องกันข้าศึกใดๆ ที่เข้ามารุกรานได้ต้องรวม
พลังใจให้เป็นพลังหลักอันส�ำคัญของชาติ ป้องกันชาติหมั่นท�ำนุบ�ำรุงประเทศ
ชาติและพระศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองไปทั่วโลกนานาประเทศก็จะสรรเสริญ
ยกย่องชาวไทยและประเทศไทยไปตราบชั่วกาลนาน

๑๘. ค�ำใดไม่ได้สะกดด้วยแม่กด
ก. ศาสนา
ข. ประเทศ
ค. สามัคคี
ง. สามารถ

๑๙. “พลังหลักอันส�ำคัญของชาติ” ไม่ปรากฏตัวสะกดมาตราใด


ก. แม่กก
ข. แม่กง
ค. แม่กด
ง. แม่กบ

๒๐. ค�ำคู่ใดอยู่ในมาตราเดียวกัน
ก. บทบาท โจษจัน
ข. กล้าหาญ อาจารย์
ค. บาปบุญ คุณโทษ
ง. แกงเลียง เกี่ยวข้อง

136
เฉลยข้อสอบหลังเรียน
เรื่อง มาตราตัวสะกด จ�ำนวน ๒๐ ข้อ

ข้อ เฉลย ข้อ เฉลย


๑. ค ๑๑. ง
๒. ก ๑๒. ง
๓. ง ๑๓. ข
๔. ข ๑๔. ง
๕. ก ๑๕. ก
๖. ค ๑๖. ก
๗. ก ๑๗. ง
๘. ก ๑๘. ค
๙. ค ๑๙. ง
๑๐. ก ๒๐. ข

137
เฉลย
กิจกรรมการเรียนรู้
เฉลย มาตราแม่กง (น. ๓๘)

กิจกรรมการเรียนรู้ที่ ๑ ก จิ กรรมการเรียนรูท้ ี่ ๔ ค�ำถาม สร้างความรู้


๑. ช้าง ๖. ทาง วาง ๑. ข ๖. ข
๒. วิ่ง ๗. ของ เสียง ๒. ข ๗. ข
๓. แกง ๘. กางเกง ๓. ค ๘. ข
๔. พึ่ง ๙. ลูกโป่ง ๔. ค ๙. ค
๕. เกรง ๑๐. หิ่งห้อย ๕. ข ๑๐. ง

กิจกรรมการเรียนรู้ที่ ๒
๑. ของ เฉลย มาตราแม่เกย (น. ๖๑)
๒. เลี้ยง
๓. เลี้ยง กิจกรรมการเรียนรูท้ ี่ ๑ รูค้ ำ� ให้ทำ� ตาม
๔. ทอง ร้อย เลย กล้วย
๕. ฟอง อ้อย ระเหย จดหมาย
๖. น้อง ทราย ร�ำเพย ใบเตย
ละลาย หาย พราย
เฉลย มาตราแม่กม (น. ๔๖)
กิจกรรมการเรียนรูท้ ี่ ๒ ต่อเติม เสริมค�ำ
กิจกรรมการเรียนรู้ที่ ๑ จับคู่รู้ความ ๑. พลอย คอย
๑.นับสาม ชามแตก ๖. ยุงชุม นุ่มนิ่ม ๒. เผย เชย
๒. สะสม นมวัว ๗. น�้ำเต็ม เค็มมาก ๓. ย้าย ถ่าย
๓. ลองชิม ริมคลอง ๘. น�้ำหอม ยอมแพ้ ๔. สวย อวย
๔. กระโจม โน้มลง ๙. แต่งแต้ม แก้มแดง ๕. คุย คุ้ย
๕. ชอบลืม ยืมของ ๑๐. เล่นเกม เอมอิ่ม

139
กิจกรรมการเรียนรู้ที่ ๓ ลองหาค�ำ กิจกรรมการเรียนรู้ที่ ๙ รู้ถ้วน ส�ำนวนไทย
โชย ชาย ๑. ตาย ๗. สวย
เกาะสมุย ระเหย ๒. ปล่อย ๘. กระต่าย
ก๋วยเตี๋ยว ลาย ๓. กล้วย ๙. ตาย
ถวาย เยาะเย้ย ๔. หมาย ๑๐. ถอย
อร่อย ฉุยฉาย ๕. ซ้าย ๑๑. พาย
๖. หาย ๑๒. ทราย
กิจกรรมการเรียนรูท้ ี่ ๔ เติมค�ำสร้างประโยค
๑. ฉุย, อร่อย ๖. สร้อย
๒. เฉลย ๗. เตย เฉลย มาตราแม่เกอว (น. ๘๑)
๓. คุย ๘. ฟุ่มเฟือย
๔. เรียบร้อย ๙. ฉุยฉาย กิจกรรมการเรียนรู้ที่ ๑
๕. คุ้ยเขี่ย ๑๐. เยาะเย้ย เปี้ยว เลี้ยว เปรี้ยว
เกี้ยวสาว เกี๊ยว เขี้ยว
กิจกรรมการเรียนรู้ที่ ๕ หาค�ำ น�ำมาเขียน เคี่ยว เขียว ข้าว
ชาย พาย ขาย เร็ว หลิว เหี่ยว
กล้วย อ้อย ร้อย เจี้ยว เที่ยว เชี่ยว
สาย สร้อย สวย เหลียว เฉี่ยว แก้ว
หอย ลาย เชย กิจกรรมการเรียนรู้ที่ ๒
ยาย ถ้วย น้อย ข้าวเหนียว เกลียวกลม
หลาย จ่าย มาย ผมยาว เกรียวกราว
สบาย เอย เหี่ยวเฉา เปล่าเปลี่ยว
เหลียวดู หมู่ดาว
แพรวพราว วาววับ
กิจกรรมการเรียนรู้ที่ ๗ จับคู่ รู้ค�ำ
ขวนขวาย โปรยปราย กิจกรรมการเรียนรู้ที่ ๓
คุ้ยเขี่ย เฉยเมย ๑. ข้าว ๒. หนาว ๓. ยาว
วุ่นวาย เรียบร้อย ๔. เกี้ยว ๕. เดียว ๖. ยาว
วัวควาย ถ่ายทอด ๗. เกลียว ๘. มะพร้าว ๙. เขียว
หาดทราย ต้นเตย ๑๐. แวว

140
กิจกรรมการเรียนรู้ที่ ๒ เติมพยัญชนะ ทราบค�ำ
สัตว์ ราษฎร กระดาษ
มีดบาด วัฒนธรรม ทายาท
กฎหมาย พัฒนา กากบาท
ปรากฏ สาเหตุ ประมาท
สัดส่วน ธรรมชาติ เศรษฐี
รสชาติ อาวุธ ซื่อสัตย์
กิจการ ละเอียด วิเศษ
เฉลย มาตราแม่กก (น. ๙๕) โอกาส ประกาศ ก๊าซ

กิจกรรมที่ ๑ อ่านเขียนเรียนรู้ เฉลย มาตราแม่กน (น.๑๑๘)


๑. เมฆ ๖. โรค
๒. เลข ๗. ศักดิ์ศรี
๓. ผลัก ๘. วรรค กิจกรรมการเรียนรู้ที่ ๑ ต่อเติม เสริมส�ำนวน
๔. ประมุข ๙. พยัคฆ์ ๑. สอน ๖. สมภาร
๕. ทุกข์สุข ๑๐. กงจักร ๒. แสน ๗. เขียน
๓. เป็น ๘. เปลี่ยน
กิจกรรมที่ ๓ ตัวสะกดไทยใช้ถูกต้อง ๔. เทิน ๙. เห็น
๑. เลข ๗. โรคภัย ๕. หลาน ๑๐. วัน
๒. สุนัข ๘. ภาคภูมิ
๓. บริจาค ๙. บุคคล
๔. สามัคคี ๑๐. ธรรมจักร เฉลย มาตราแม่กบ (น. ๑๒๖)
๕. อาณาจักร ๑๑. สุขภัณฑ์
๖. พรรคพวก ๑๒. บริโภค กิจกรรมการเรียนรู้ที่ ๑ อ่าน คิด เขียน
๑. ทับ ๖. คาบ
เฉลย มาตราแม่กด (น. ๑๐๗) ๒. ขับ ๗. เสิบ
๓. นบ ๘. ปราบ
กิจกรรมการเรียนรู้ที่ ๑ อ่าน คิด เขียน ๔. ครอบ ๙. จูบ
๑. บุรุษ ๖. ก�ำหนด ๕. สาป ๑๐. รับ
๒. สามารถ ๗. ฤทธิ์เดช
๓. ราชการ ๘. อากาศ
๔. มหาดเล็ก ๙. ทุจริต
๕. ตรัส ๑๐. เพชฌฆาต

141
ภาคผนวก
ค�ำส�ำหรับฝึกอ่าน

ค�ำฝึกอ่านมาตราตัวสะกดต่างๆ
เพื่อฝึกทักษะการอ่านออก อ่านคล่อง
(รวบรวมจากหนังสือแบบเรียนเร็วของกระทรวงศึกษาธิการ)
หมวกสาน หว่านข้าว หน้าหนาว
หมอกหนา กุหลาบ ปลาหลด
หมดจด งูเหลือม หลักแหลม
อย่างไร ใบหนาด อยู่บ้าน
ลูกหลาน อยากรู้ หมั่นเรียน
ข้าวหลาม ขุดหลุม ทองเหลือง
ตกหล่น ยี่หร่า ปาหนัน
ของเหลว หลีกทาง อย่าเที่ยว
ทองหยิบ ทองหยอด แป้งหยาบ
ลดหย่อน หยากไย่ เล็บเหยี่ยว
หยั่งนํ้า หน้าวัว ตัวหนอน
ผักหนาม หนองนํ้า ตัวไหม

143
ใบหม่อน หงอนไก่ ลูกหว้า
ปลาหมึก หนักแน่น หนุ่มสาว
หมูหยอง ทองหลาง เชือกหวาย
จดหมาย ห่อหมก นกหวีด
นํ้าหมึก พยับหมอก เข็มหมุด
ปลาหมอ เหมืองแร่ โลกหมุน
แม้นเหมือน เดือนหงาย หมายมั่น
ลูกไหน เหล็กไหล แหลนหลาว
ข้าวเหนียว ผักหนอก น้อยโหน่ง
เหนียวแน่น ห้วยหนอง ของหวาน
สองสลึง ผ้าโสร่ง ดอกสลิด
ใบสลอด แกะสลัก ไปตลาด
ริมตลิ่ง เอร็ดอร่อย ของแสลง
เรือฉลอม งานเฉลิม แมลงวัน
วันฉลอง เฉลียวฉลาด สนิมเหล็ก
ขยาบเรือ เขม็ดแขม่ เมล็ดข้าว
ขยันเรียน ต้นฝรั่ง ฝาผนัง
ต้นขนุน ขนมผิง สวนสนาม
ปลาสลาด ลมสลาตัน เรือสลุบ
หูฉลาม ขมีขมัน ไขสว่าน

144
ถักสวิง ขมิ้นเครือ แสงสว่าง
สีสวาด เงียบสงัด สงบเสงี่ยม
สงวนไว้ แสวงหา ตลับยา
ฉนวนนํ้า ปลาฉนาก พยายาม
ขยับขยาย ดินถน�ำ ร�ำเขนง
สังขยา พยาบาล ตลาดนัด
ถลุงแร่ ทนายความ อาขยาน
วิ่งตลบ ตลอดวัน ตาลโตนด
เรือขนาน คันธนู หน้าโฉนด
จับฉลาก ปีฉลู เผ่นผยอง
เต็มสวาบ ถ้อยแถลง พนมไพร
ผกากรอง สุกสกาว หญ้าฝรั่น
ลอยโพยม ตีเกราะ ใจกล้า
ไกล่เกลี่ย ตะกร้อ ตะกร้า
มะเกลือ คละกัน กล้าหาญ
ประดานํ้า ค�ำแปล หัวปลี
ไกวเปล หัวเปราะ รถดับเพลิง
มวยปลํ้า นํ้าครํ่า ผ้าไตร
เช้าตรู่ ประดู่ ตะไคร้
ปลอดภัย ใบขลู่ แก้วแกลบ

145
กระดาษ ขวัญข้าว ชะคราม
ครึกครื้น คลิ้งโคลง ควาญช้าง
ไหว้พระ ผ้าแพร แคล่วคล่อง
พลับพลึง เครื่องเคลือบ พูดเพราะ
มีดพร้า ช้าพลู แตงกวา
ค้นคว้า ตรึกตรอง ตะไคร่นํ้า
ฝนพร�ำ กะหลํ่าปลี พลับพลา
กุ้งพล่า แพร่หลาย ผกากรอง
พรํ่าสอน สานครุ ใคร่ครวญ
จากพราก บินไขว่ นกเปล้า
กินปลี พรานป่า ตระเตรียม
ยิงกวาง กลางดง กระบือ
มะขวิด กว้างขวาง ด้ามขวาน
แขวนเสื้อ สรงนํ้า เป่าขลุ่ย
ห้ามปราม ข้าวเปลือก ปากตรอก
ซื่อตรง ตระเตรียม ตรึกตรอง
ร้องเพลง พร้อมเพรียง เพลิดเพลิน
ปลูกพริก มะพร้าว มะพลับ
หล่นผล็อย ผลัดผ้า ครีบปลา
มะปราง กลางวัน วงกลม

146
ว่ากล่าว ด้ายกลุ่ม กราบพระ
ข้าวเกรียบ ไส้กรอก กรงนก
กรองนํ้า คราดนา ปลากราย
กลีบบัว เครื่องบิน ครกหิน
พรวนดิน ความดี พรุ่งนี้
ซี่โครง พลบคํ่า หอยแครง
ขุดคลอง คล่องแคล่ว ตัวครั่ง
คล้ายคลึง ครอบครัว วัวควาย
กวักมือ ปกครอง คราวหลัง
ครั้งแรก กวาดเรือน คลองใหญ่
แพร่หลาย ครัวไฟ กรวดทราย
นกกวัก ครึ่งซีก กลุ้มใจ
ต้นกล้วย นกคลิ้งโคลง เข้ากรุง
กระทรวง โครงกระดูก เพาะปลูก
ท�ำจริง ก้ามปู ปุ้งกี๋
ก้ามกุ้ง อุ้งมือ มีอ่าง
อื่นอื่น อึ่งอ่าง ค่าจ้าง
ต่างกัน กิ้งก่า ก้าวขา
กั้นฝา ผ้าป่าน ที่บ้าน
บากบั่น ปั้นดิน กระดิ่ง

147
ดื่มยา ฝาตุ่ม กระต่าย
ปิดตุ่ม ถามถึง ถูกผิด
ผัดขิง ขัดขัน ขึงขัง
สาบสาง สิบสาม สามสิบ
สากหิน ฝึกหัด หาบหาม
หาบผัก จักสาน สีขาว
ขุดดิน ตัดสิน รู้สึก
ป่าสัก สิบสี่ ห้าสิบ
กันสาด กระสุน พี่สาว
ผ้าขาว ค้าขาย ขับขี่
ผักชี สี่สิบ สิบห้า
ระหัด กังหัน หางตา
ตีฉาบ ฉีดยา กาฝาก
ผิวปาก สายป่าน ปากถัง
กระถาง ถุงมือ มะขาม
ซื้อขาย ตะขาบ สินค้า
ถามหา หุบปาก ผักกาด
ผิดกัน ฝูงกา มาถึง
ปากถุง ผักบุ้ง สุกห่าม
หั่นผัก ขี้ผึ้ง ผึ่งผาย
ปั่นฝ้าย ยาถ่าย ตาข่าย

148
ถามข่าว ข้ามคู ข้าวสุก
ผ้าซิ่น สานสุ่ม ด้ามสิ่ว
หูหิ้ว ปั้นหุ่น ปัดฝุ่น
ฝ่ายดี ตีฉิ่ง ตาชั่ง
นั่งนิ่ง ที่นั่น ขีดคั่น
ลิงค่าง ล้างมือ กางมุ้ง
ย่างกุ้ง ร่างกาย สายรุ้ง
ยุ้งข้าว ช่างคิด ค้างคาว
ขี่ช้าง ลูกชิ้น ลิ้นชัก
ชั้นล่าง ขัดลิ่ม ลิ้นจี่
ดียิ่ง ม้าวิ่ง ชักว่าว
ข้าวนึ่ง ห้านิ้ว ปุยนุ่น
นุ่งผ้า ที่พึ่ง ผ้าพื้น
ชื่นบาน ล้างบ้าน นกแก้ว
เก็บเห็ด ทอดแห ปอกแห้ว
งมหอย เช็ดห้อง หอยโข่ง
แข็งแรง ซ้อมรบ รอบคอบ
ดอกเข็ม ขนนก อ่อนน้อม
ซ่อมแซม ช้อนส้อม ล้อมคอก
ค่อยค่อย ต้นอ้อย อดทน

149
ฝอยทอง แตงดอง ทองแดง
แสงแดด มดแดง แมงป่อง
ท้องร่อง พี่น้อง ห้องนอน
ตอนเย็น อ่อนโยน ฝนตก
สิบหก หอบฟืน ซักฟอก
ฟักทอง กระโถน มีดโกน
กางเกง กางร่ม แลเห็น
แมงมุม แตงโม หนทาง
คางคก ต้นกก กุ้งแห้ง
แมงมุม โม่แป้ง ส้มโอ
สะเอว สิบเอ็ด สิบเจ็ด
กระจก แกงจืด เจ็ดวัน
ปีวอก ข้าวตอก ข้าวต้ม
ตะโพก พบปะ กระบอก
กระรอก ชะลอม โรงนา
น้องสาว กระสอบ เซ็นชื่อ
เด็กชาย กระชอน น้องชาย
เช็ดมือ ลับมีด แมงดา
เย็บผ้า ตัดผม มีดพับ
พัดลม เข็มขัด ตัดเล็บ

150
โรงสี ปีมะเส็ง สับปะรด
ปีมะโรง นักเรียน เรียบร้อย
รวบรวม พ่วงเรือ ร้องเรียก
โรงเรียน งูเลื้อย โรงเลื่อย
บ้านเรือน ทุเรียน รวงข้าว
แปดขวบ เกี่ยวข้าว เดือนขึ้น
เคยเห็น หายป่วย เลี้ยงเป็ด
ปีชวด ถ้วยชาม ผูกเชือก
ช่วยกัน ตะเกียง กระเบื้อง
บ้วนปาก ปู่ทวด เที่ยงวัน
เลี้ยงวัว วาดเขียน จุดเทียน
เงินทอง ถั่วเขียว เขี้ยวเล็บ

151
คณะผู้จัดท�ำ
คณะที่ปรึกษา
นายจรูญ มีธนาถาวร ผู้อำ�นวยการสำ�นักการศึกษา
นางสาวฐานิตา แพร่วานิชย์ รองผู้อำ�นวยการสำ�นักการศึกษา
นางสาวอัปสร พกุลานนท์ ศึกษานิเทศก์ วิทยฐานะศึกษานิเทศก์ชำ�นาญการพิเศษ
ปฏิบัติหน้าที่แทนหัวหน้าหน่วยศึกษานิเทศก์ สำ�นักการศึกษา
นางธารทิพย์ สิทธิเชนทร์ ศึกษานิเทศก์ วิทยฐานะศึกษานิเทศก์ชำ�นาญการพิเศษ
หัวหน้ากลุ่มงานนิเทศการศึกษา ๓
หน่วยศึกษานิเทศก์ สำ�นักการศึกษา
คณะผู้เรียบเรียง
นายสราวุธ แป้นทองรอง ครู วิทยฐานะครูช�ำนาญการพิเศษ
โรงเรียนวัดมหาพฤฒาราม ส�ำนักงานเขตบางรัก
นางสาวนันทิกานต์ สุขส�ำราญ ครู วิทยฐานะครูช�ำนาญการพิเศษ
โรงเรียนตั้งพิรุฬห์ธรรม ส�ำนักงานเขตทวีวัฒนา
นางจารุภัทร แก่นทอง ครู วิทยฐานะครูช�ำนาญการ
โรงเรียนวัดอ่างแก้ว ส�ำนักงานเขตภาษีเจริญ
นางลลิตา เสริมสุข ครู วิทยฐานะครูช�ำนาญการ
โรงเรียนวัดดอกไม้ ส�ำนักงานเขตยานนาวา
นายธนกฤต เส็งหู้ ครูผู้ช่วย รับเงินเดือนอันดับครูผู้ช่วย
โรงเรียนวัดยานนาวา ส�ำนักงานเขตสาทร
คณะบรรณาธิการกิจ
นางสาวนฤมล กังวาลไกล ศึกษานิเทศก์ วิทยฐานะศึกษานิเทศก์ชำ�นาญการพิเศษ
หัวหน้ากลุ่มสาระภาษาไทย หน่วยศึกษานิเทศก์ สำ�นักการศึกษา
นางสาวกัญจนา ทองสิงห์ ศึกษานิเทศก์ วิทยฐานะศึกษานิเทศก์ชำ�นาญการพิเศษ
หน่วยศึกษานิเทศก์ สำ�นักการศึกษา
นางอนุรา สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ศึกษานิเทศก์ วิทยฐานะศึกษานิเทศก์ชำ�นาญการ
หน่วยศึกษานิเทศก์ สำ�นักการศึกษา
นางสวรรค์สวาท แน่นหนา ศึกษานิเทศก์ วิทยฐานะศึกษานิเทศก์ชำ�นาญการ
หน่วยศึกษานิเทศก์ สำ�นักการศึกษา
นางสาวกนกวรรณ ชารีแสน ศึกษานิเทศก์ วิทยฐานะศึกษานิเทศก์ชำ�นาญการ
หน่วยศึกษานิเทศก์ สำ�นักการศึกษา

ผู้พิมพ์: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
โทรศัพท์ ๐-๒๒๒๑-๘๘๙๒, ๐-๒๖๒๓-๕๖๒๓ โทรสาร ๐-๒๖๒๓-๕๖๒๓

You might also like