You are on page 1of 332

คู่มือครู

รายวิชาพื้นฐาน

คณิตศาสตร์
ชั้น

มัธยมศึกษาปีที่ ๑ เล่ม ๑
ตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐)
ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑

จัดทำ�โดย
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 1
กันยายน 2564
คำ�นำ�

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) มีพันธกิจในการศึกษาค้นคว้า วิจัยและพัฒนาหลักสูตร


วิธีการเรียนรู้ วิธีสอนและการประเมินผลการจัดการเรียนรู้ รวมทั้งจัดทำ�หนังสือเรียน คู่มือครู แบบฝึกทักษะ กิจกรรม และ
สื่อการเรียนรู้เพื่อใช้ประกอบการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ เล่ม ๑ นี้ จัดทำ�ขึ้นตามพันธกิจและพัฒนาให้สอดคล้องกับ
ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐) ตามหลักสูตรแกนกลาง
การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ โดยมุ่งหวังให้ผู้สอนนำ�ไปใช้ประกอบการจัดการเรียนรู้ควบคู่กับการใช้หนังสือเรียน
รายวิชาพืน
้ ฐานคณิตศาสตร์ ชัน
้ มัธยมศึกษาปีที่ ๑ เล่ม ๑ เพือ
่ ให้ผเู้ รียนสามารถคิด วิเคราะห์และแก้ปญ
ั หาอย่างเป็นคณิตศาสตร์
เกิดทักษะที่จำ�เป็นสำ�หรับการดำ�รงชีวิตในศตวรรษที่ ๒๑ และประยุกต์ใช้ความรู้และทักษะต่าง ๆ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของ
ตนเอง
สสวท. หวังเป็นอย่างยิง่ ว่า คูม
่ อ
ื ครูเล่มนีจ้ ะเป็นประโยชน์ตอ
่ การจัดการเรียนรู้ และเป็นส่วนสำ�คัญในการพัฒนาคุณภาพ
และมาตรฐานการศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ขอขอบคุณผู้ทรงคุณวุฒิ บุคลากรทางการศึกษาและหน่วยงานต่าง ๆ
ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดทำ�ไว้ ณ โอกาสนี้

(ศาสตราจารย์ชก
ู จิ ลิมปิจ�ำ นงค์)
ผู้อำ�นวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระทรวงศึกษาธิการ
คำ�ชี้แจง

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ได้จด


ั ทำ�ตัวชีว้ ด
ั และสาระการเรียนรูแ้ กนกลาง กลุม
่ สาระ
การเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช ๒๕๕๑ โดยมี
จุดเน้นเพื่อต้องการพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ความสามารถที่ทัดเทียมกับนานาชาติ ได้เรียนรู้คณิตศาสตร์ที่เชื่อมโยงความรู้กับ
กระบวนการคิด มีความคิดริเริม
่ สร้างสรรค์ คิดอย่างมีเหตุผล เป็นระบบ สามารถวิเคราะห์ปญ
ั หาหรือสถานการณ์ได้อย่างรอบคอบ
และถี่ถ้วน ช่วยให้คาดการณ์ วางแผน ตัดสินใจ แก้ปัญหา ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม และสามารถนำ�ไปใช้ในชีวิตจริงได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ ซึ่งในปีการศึกษา ๒๕๖๑ เป็นต้นไปนี้ โรงเรียนจะต้องใช้หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง
พ.ศ. ๒๕๖๐) สสวท. จึงได้จัดทำ�คู่มือครูเพื่อประกอบการใช้หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑
เล่ม ๑ ที่เป็นไปตามมาตรฐานหลักสูตรเพื่อให้โรงเรียนได้ใช้สำ�หรับจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียน
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ เล่ม ๑ นี้ ประกอบด้วยคำ�แนะนำ�การใช้คู่มือครู กำ�หนด
เวลาสอนในภาพรวม และเนื้อหาในแต่ละบทจะกล่าวถึงสาระ มาตรฐานการเรียนรู้ และตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้อง จุดประสงค์ของ
บทเรียน การวิเคราะห์ตวั ชีว้ ด
ั เพือ
่ จัดทำ�จุดประสงค์การเรียนรู้ ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ความรูพ
้ น
ื้ ฐานทีน
่ ก
ั เรียน
ต้องมี ความคิดรวบยอดของบทเรียน แนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ขัน
้ ตอนการจัดกิจกรรมและใบกิจกรรมของกิจกรรม
ที่ปรากฏตามหนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ เล่ม ๑ กิจกรรมเสนอแนะ เฉลยชวนคิดและ
แบบฝึกหัดต่าง ๆ ตัวอย่างแบบทดสอบท้ายบทและเกณฑ์การตรวจให้คะแนน รวมถึง ขั้นตอนการจัดกิจกรรมคณิตศาสตร์
เชิงสะเต็มและเฉลย นอกจากนี้ ยังมีในส่วนของความรู้เพิ่มเติมสำ�หรับครูเพื่อให้ผู้สอนมีความรู้ความเข้าใจและสามารถใช้
เทคโนโลยีต่าง ๆ ในการจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ ผู้สอนสามารถนำ�คู่มือครูเล่มนี้ไปใช้เป็นแนวทาง
ในการวางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรูใ้ ห้บรรลุจด
ุ ประสงค์ทต
่ี ง้ั ไว้ โดยสามารถนำ�ไปจัดกิจกรรมการเรียนรูไ้ ด้ตามความเหมาะสม
และความพร้อมของโรงเรียน
ในการจัดทำ�คู่มือครูเล่มนี้ สสวท. ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดียิ่งจากผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการอิสระ คณาจารย์
รวมทั้ง ครูผู้สอน นักวิชาการ จากสถาบัน และสถานศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน จึงขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานคณิตศาสตร์เล่มนี้ จะเป็นประโยชน์แก่ผู้สอน และผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ที่จะช่วยให้การจัดการศึกษา
ด้านคณิตศาสตร์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ หากมีขอ
้ เสนอแนะใดทีจ่ ะทำ�ให้คม
ู่ อ
ื ครูเล่มนีม
้ ค
ี วามสมบูรณ์ยงิ่ ขึน
้ โปรดแจ้ง สสวท.
ทราบด้วย จะขอบคุณยิ่ง

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระทรวงศึกษาธิการ
คำ�แนะนำ�การใช้คู่มือครู

คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 1 จัดทำ�ขึ้นเพื่อเป็นคู่มือสำ�หรับการใช้หนังสือเรียน


รายวิชาพื้นฐานคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 1 ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในชั้นเรียนให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
มุ่งส่งเสริมให้ผู้เรียนมีพัฒนาการด้านความรู้ทางคณิตศาสตร์ ด้านทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ และด้านคุณธรรม
จริยธรรม และค่านิยม ตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดที่กำ�หนดไว้ในหลักสูตรอย่างครบถ้วน ครูจึงควรศึกษาคู่มือครู
ให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ และทดลองปฏิบต
ั ก
ิ ิจกรรมเพือ
่ ให้เกิดความพร้อมก่อนสอนจริง และเข้าใจลำ�ดับการดำ�เนินกิจกรรมตามที่
เสนอแนะไว้ ทั้งนี้ ครูอาจปรับเปลี่ยนกิจกรรมหรือวิธีการจัดการเรียนการสอนได้ตามความเหมาะสมโดยคำ�นึงถึงศักยภาพของ
นักเรียนเป็นสำ�คัญ
จำ�นวนชั่วโมงเรียนที่แนะนำ�ให้ใช้ในการจัดการเรียนการสอนสำ�หรับหนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานคณิตศาสตร์ในแต่ละ
เล่ม คือ 60–100 ชั่วโมง/ภาคเรียน เพื่อเปิดโอกาสให้ครูสามารถปรับรายละเอียดของเนื้อหาและเวลาเรียนให้เหมาะสมกับ
ทั้งศักยภาพของนักเรียนและบริบทของชั้นเรียน ทั้งนี้ ครูอาจใช้หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
เล่ม 1 เป็นสื่อประกอบการจัดการเรียนการสอนกับทั้งรายวิชาพื้นฐานและเพิ่มเติม โดยอาจจัดเนื้อหาบางส่วนของหนังสือเรียน
ที่มีขอบเขตของเนื้อหา และความซับซ้อนมากกว่าที่ตัวชี้วัดกำ�หนด ให้นักเรียนได้เรียนเป็นรายวิชาเพิ่มเติม
คู่มือครูเล่มนี้ประกอบด้วยหัวข้อต่อไปนี้

1 เป็นส่วนที่ประกอบด้วยชื่อบทเรียน พร้อมทั้งหัวข้อย่อยของบทเรียนและจำ�นวนชั่วโมงที่แนะนำ�
ให้ ใ ช้ ใ นการจั ด การเรี ย นการสอนโดยประมาณ เพื่ อ ให้ ค รู ส ามารถนำ � ไปประกอบการวางแผน
ชื่อบทเรียน
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้รายภาค และเพื่อให้เวลาเรียนสอดคล้องกับโครงสร้างเวลาเรียนของ
รายวิชาพื้นฐานคณิตศาสตร์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
คู่มือครูนี้ จึงกำ�หนดจำ�นวนชั่วโมงเรียนที่แนะนำ�ให้ใช้ในการจัดการเรียนการสอนของทุกหัวข้อไว้
รวม 60 ชั่วโมง/ภาคเรียน

2 เป็ น สาระและมาตรฐานการเรี ย นรู้ ต ามที่ ป รากฏอยู่ ใ นตั ว ชี้ วั ด และสาระการเรี ย นรู้ แ กนกลาง
สาระและมาตรฐาน
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา
การเรียนรู้
ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เพื่อให้ครูได้ตรวจสอบความสอดคล้องและครอบคลุมกับหลักสูตร
สถานศึกษา
3 เป็นตัวชีว้ ด
ั ตามทีป
่ รากฏอยูใ่ นตัวชีว้ ด
ั และสาระการเรียนรูแ้ กนกลาง กลุม
่ สาระการเรียนรูค
้ ณิตศาสตร์
ตัวชี้วัด (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
เพื่ อ ให้ ค รู ไ ด้ คำ � นึ ง ถึ ง ว่ า จะต้ อ งจั ด กิ จ กรรมการเรี ย นรู้ ใ ห้ นั ก เรี ย นได้ เ รี ย นรู้ ต ามตั ว ชี้ วั ด และวั ด
และประเมินผลตามตัวชี้วัด

4 เป็นจุดประสงค์ตามที่ปรากฏอยู่ในหนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
จุดประสงค์ เล่ม 1 ของแต่ละบทเรียน เพือ
่ ให้ครูได้ตระหนักถึงความรูท
้ น
่ี ก
ั เรียนพึงมีหลังสิน
้ สุดการเรียนการสอน
ของบทเรียน รวมทั้งนำ�ไปใช้ในการวัดและประเมินผลของครู

5 เป็นการอธิบายหรือขยายความตัวชี้วัด โดยเชื่อมโยงกับจุดประสงค์ของบทเรียน เพื่อให้ครูได้เห็น


ความเชื่อมโยง
ว่าการจัดการเรียนรู้ตามแต่ละจุดประสงค์จะทำ�ให้นักเรียนบรรลุการเรียนรู้ตามตัวชี้วัดอย่างไร
ระหว่างตัวชี้วัดกับ
จุดประสงค์ของบทเรียน

6 เป็ น ทั ก ษะและกระบวนการเบื้ อ งต้ น ที่ นั ก เรี ย นควรจะได้ รั บ จากการเรี ย นในแต่ ล ะหั ว ข้ อ


ทักษะและ
โดยรายละเอียดในการจัดการเรียนการสอนที่ช่วยส่งเสริมทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
กระบวนการ
ทางคณิตศาสตร์ จะแทรกอยู่ในข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ทั้งนี้ การพัฒนาทักษะและกระบวนการ
ทางคณิตศาสตร์ให้กับนักเรียนจะเกิดขึ้นได้มากหรือน้อยนั้น ขึ้นอยู่กับกระบวนการจัดการเรียน
การสอนของครูเป็นสำ�คัญ

7 เป็นความรูพ
้ น
ื้ ฐานทีน
่ ก
ั เรียนพึงมีกอ
่ นเรียน ซึง่ จะสอดคล้องกับในส่วน "ทบทวน" ของแต่ละบทเรียน
ความรู้พื้นฐาน ในหนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 1 เพื่อให้ครูได้ทราบว่า
ที่นักเรียนต้องมี นักเรียนควรมีพื้นฐานความรู้ในเรื่องใดก่อนที่จะเรียน ซึ่งหากนักเรียนยังมีพื้นฐานไม่เพียงพอ ครูก็
ควรทบทวนผ่านการอภิปราย หรือให้นักเรียนได้ลองทำ�แบบฝึกหัด ทั้งนี้ ในหนังสือเรียนรายวิชา
พื้นฐานคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 1 จะมีแบบทดสอบออนไลน์ เพื่อให้นักเรียน
ได้เข้าไปทดสอบความรู้ของตนเอง ก่อนที่จะเรียนในแต่ละบทเรียน
8 เป็นความคิดรวบยอดของบทเรียนโดยภาพรวม เพือ
่ ให้ครูได้ทราบเกีย่ วกับความรูท
้ เี่ ป็นแนวคิดหลัก
ความคิดรวบยอด ของเนื้อหาที่นักเรียนจำ�เป็นต้องรู้หลังจากเรียนจบบทเรียนนั้น ๆ
ของบทเรียน

9 เป็นหัวข้อภายใต้หัวข้อย่อยของบทเรียนประกอบด้วยหัวข้อ ดังนี้
แนวทางในการจัด 1) ชื่อหัวข้อย่อย เป็นหัวข้อย่อยพร้อมทั้งจำ�นวนชั่วโมงที่แนะนำ�ให้ใช้ในการกิจกรรม
กิจกรรมการเรียนรู้ การเรียนรู้โดยประมาณ เพื่อให้ครูสามารถนำ�ไปประกอบการวางแผนการจัดการเรียน
การสอนรายคาบ ทั้งนี้ ครูอาจยืดหยุ่นได้ตามที่เห็นสมควร
2) จุดประสงค์ เป็นจุดประสงค์รายหัวข้อย่อยของบทเรียน โดยระบุไว้เพื่อให้ครูคำ�นึงถึง
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ให้นักเรียนได้มีความรู้และความสามารถตรงตามจุดประสงค์
ที่วางไว้ จุดประสงค์ในส่วนนี้เป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมที่สามารถสะท้อนกลับไปยัง
จุดประสงค์ของบทเรียนและตัวชี้วัด ทั้งนี้ ครูอาจปรับเปลี่ยนจุดประสงค์นี้ได้ตามที่เห็น
สมควร แต่จะต้องเป็นจุดประสงค์ทสี่ ะท้อนความสามารถของนักเรียนว่าผ่านจุดประสงค์
ของบทเรียนและตัวชี้วัดได้
นอกจากนี้ ครูควรประเมินผลให้ตรงตามจุดประสงค์โดยใช้วิธีการที่หลากหลาย
เช่น การตอบคำ�ถามในชั้นเรียน การทำ�แบบฝึกหัด การทำ�ใบกิจกรรม ชิ้นงาน หรือ
การทดสอบย่อย โดยถ้าจุดประสงค์ใดที่ครูเห็นว่านักเรียนส่วนใหญ่ยังไม่ผ่าน ในชั่วโมง
ต่อไปครูควรนำ�บทเรียนนั้นมาสอนซ่อมเสริมใหม่
3) ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน เป็นตัวอย่างเนื้อหาที่นักเรียนมักเข้าใจคลาดเคลื่อน หรือ
เข้าใจผิด เพื่อให้ครูได้ทราบและป้องกันไม่ให้นักเรียนเกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน
4) สื่อที่แนะนำ�ให้ใช้ในข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เป็นสื่อที่แนะนำ�ให้
ครูใช้สำ�หรับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อให้ครูได้จัดเตรียมสื่อหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ
ล่วงหน้า ทั้งนี้ สื่อดังกล่าว เป็นสื่อที่แนะนำ�ให้ใช้ตามข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรม
การเรียนรู้
5) ข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เป็นจุดเน้นหรือแนวทางในการจัดกิจกรรม
การเรี ย นรู้ ที่ สำ � คั ญ อย่ า งเป็ น ลำ � ดั บ ขั้ น ตอนในแต่ ล ะหั ว ข้ อ ย่ อ ย ซึ่ ง ครู ค วรศึ ก ษาและ
ทำ�ความเข้าใจควบคู่ไปกับหนังสือเรียน เพื่อจะได้เตรียมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้
สอดคล้องกับจุดประสงค์และเหมาะสมกับศักยภาพของนักเรียน
6) กิ จ กรรม เป็ น กิ จ กรรมที่ ป รากฏอยู่ ใ นหนั ง สื อ เรี ย นรายวิ ช าพื้ น ฐานคณิ ต ศาสตร์
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 1 โดยขยายขั้นตอนการทำ�กิจกรรมที่อยู่ในหนังสือเรียน
รวมทั้งมีตัวอย่างหรือใบกิจกรรม เพื่อให้ครูสามารถนำ�ไปใช้ประกอบการจัดกิจกรรม
ในชั้นเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
7) กิจกรรมเสนอแนะ เป็นกิจกรรมที่แนะนำ�ให้ครูนำ�ไปใช้กับนักเรียนในการจัดกิจกรรม
การเรียนรู้ ซึ่งมีอยู่หลายลักษณะ ทั้งกิจกรรมเพื่อนำ�เข้าสู่เนื้อหา กิจกรรมเสริมเนื้อหา
ในบทเรียน เพือ่ ให้เข้าใจเนือ้ หาในบทเรียนนัน
้ ๆ ได้มากขึน
้ โดยแต่ละกิจกรรมจะสอดแทรก
ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ให้นักเรียนได้พัฒนาทักษะและกระบวนการ
อย่างต่อเนือ
่ ง ทัง้ นี้ ครูอาจพิจารณาปรับเปลีย่ นการจัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับเวลาและ
ศักยภาพของนักเรียน
8) เฉลยชวนคิ ด เป็ น การอธิ บ ายแนวคิ ด และคำ � ตอบของกรอบชวนคิ ด ที่ ป รากฏอยู่
ในหนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 1 เพื่อให้ครูใช้
เป็นแนวทางในการอภิปรายร่วมกันกับนักเรียนถึงแนวคิดในการแก้ปัญหานั้น ๆ
9) เฉลยมุ ม เทคโนโลยี เป็ น การอธิ บ ายแนวคิ ด และคำ � ตอบของกรอบมุ ม เทคโนโลยี
ที่ปรากฏอยู่ในหนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 1
เพือ่ ให้ครูใช้เป็นแนวทางในการอภิปรายร่วมกันกับนักเรียนถึงแนวคิดในการแก้ปญ
ั หานัน
้ ๆ
10) เฉลยแบบฝึกหัด เป็นคำ�ตอบของแบบฝึกหัดในหนังสือเรียนรายวิชาพืน
้ ฐานคณิตศาสตร์
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 1 เพื่อให้ครูได้ใช้เป็นแนวทางในการตรวจแบบฝึกหัดของ
นักเรียน ซึง่ ในบางข้อจะมีแนวคิดไว้ เพือ่ เป็นแนวทางหนึง่ ในการหาคำ�ตอบ และในบางข้อ
อาจมีหลายคำ�ตอบ แต่ให้ไว้เพียงตัวอย่างคำ�ตอบที่ถูกต้องและเป็นไปได้ ทั้งนี้ เพราะ
แบบฝึกหัดดังกล่าว ได้สอดแทรกปัญหาที่เปิดโอกาสให้นักเรียนได้คิดอย่างหลากหลาย
และฝึกการให้เหตุผล ซึ่งคำ�อธิบายของนักเรียนอาจแตกต่างจากที่เฉลยไว้ ดังนั้น
ในการตรวจแบบฝึกหัดครูควรพิจารณาอย่างรอบคอบ และยอมรับคำ�ตอบที่เห็นว่า
มีความถูกต้องและเป็นไปได้ที่แตกต่างไปจากที่เฉลยไว้นี้
สำ�หรับแบบฝึกหัดในหนังสือเรียน ครูควรเลือกให้นักเรียนได้ฝึกฝนตามความรู้
ความสามารถ ซึง่ ในหลายแบบฝึกหัด ครูอาจใช้เพือ
่ การตรวจสอบความเข้าใจในชัน
้ เรียน
โดยอาจใช้การถาม–ตอบร่วมกันในชั้นเรียน สำ�หรับแบบฝึกหัดที่เป็นข้อท้าทายนั้น
จะมีความยากและซับซ้อนมากขึ้น ซึ่งนักเรียนทั่วไปอาจยังไม่สามารถทำ�ได้ ดังนั้น
ครูควรพิจารณาความเหมาะสมของการใช้งานกับระดับความรูค
้ วามสามารถของนักเรียน
ในชัน
้ เรียน และไม่ควรนำ�แบบฝึกหัดทีม
่ ค
ี วามยากในระดับนีไ้ ปสร้างแบบทดสอบเพือ
่ วัด
และประเมินผลกับนักเรียนโดยทั่วไป

10 เป็นคำ�ตอบ หรือแนวคิดในการทำ�กิจกรรมท้ายบท เพือ่ เป็นแนวทางให้ครูใช้อภิปรายร่วมกับนักเรียน


เฉลยกิจกรรม และในบางกิจกรรมที่มีลักษณะเป็นปัญหาปลายเปิดจะมีตัวอย่างแนวคิดหรือคำ�ตอบที่ถูกต้องและ
ท้ายบท เป็นไปได้ให้ไว้

11 เป็นคำ�ตอบของแบบฝึกหัดท้ายบทในหนังสือเรียนรายวิชาพืน
้ ฐานคณิตศาสตร์ ชัน
้ มัธยมศึกษาปีท่ี 1
เฉลยแบบฝึกหัด เล่ม 1 เพื่อให้ครูได้ใช้เป็นแนวทางในการตรวจแบบฝึกหัดของนักเรียน ซึ่งมีแนวคิดเช่นเดียวกับ
ท้ายบท
ในส่วนของเฉลยแบบฝึกหัดที่อยู่ในแต่ละหัวข้อย่อย
สำ�หรับแบบฝึกหัดท้ายบทในหนังสือเรียนนี้ มีไว้เพือ
่ ให้นก
ั เรียนได้ฝก
ึ ทำ�โจทย์แบบบูรณาการ
ความรู้ โดยไม่จ�ำ แนกความรูท
้ ใี่ ช้ในการแก้ปญ
ั หาตามหัวข้อย่อย ซึง่ ครูควรเลือกให้นก
ั เรียนได้ฝก
ึ ฝน
ตามระดับความรู้ความสามารถ

12 เป็นตัวอย่างของแบบทดสอบประจำ�บทที่เน้นการประยุกต์ใช้ความรู้ที่เรียนมาทั้งบท และให้เห็น
ตัวอย่าง รูปแบบของแบบทดสอบที่มีความหลากหลาย รวมทั้งมีตัวอย่างเกณฑ์การให้คะแนนที่ครูสามารถ
แบบทดสอบท้ายบท นำ�ไปปรับใช้ให้เข้ากับบริบทของชั้นเรียน อย่างไรก็ตามครูสามารถใช้ตัวอย่างแบบทดสอบท้ายบท
เป็นแนวทางในการสร้างแบบทดสอบสำ�หรับวัดและประเมินผลนักเรียนในแต่ละบทเรียน ซึง่ ตัวอย่าง
แบบทดสอบท้ายบทนี้ จะครอบคลุมและสอดคล้องกับจุดประสงค์ของบทเรียนและตัวชี้วัดของ
หลักสูตร ทั้งนี้ ความซับซ้อนของแบบทดสอบที่จะใช้ควรเหมาะสมกับศักยภาพของนักเรียน

13 เป็นกิจกรรมที่เน้นการประยุกต์ใช้ความรู้คณิตศาสตร์ บูรณาการเข้ากับความรู้ในศาสตร์อ่ืน ๆ
กิจกรรมคณิตศาสตร์ เพื่อแก้ปัญหาสถานการณ์ที่กำ�หนดให้ภายใต้เงื่อนไขและข้อจำ�กัดต่าง ๆ โดยในการแก้ปัญหานั้น
เชิงสะเต็ม จะต้องอาศัยกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม (Engineering Design Process) เป็นเครื่องมือ

14 เป็นความรู้ท่ีครูควรทราบเพิ่มเติมไปจากบทเรียน เช่น ตัวอย่างการใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือ


ความรู้เพิ่มเติม ในการจัดการเรียนรู้เรื่องหนึ่ง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับบทเรียน
สำ�หรับครู
กำ�หนดเวลาสอน

เนือ
่ งจากสถานศึกษาสามารถปรับเกลีย่ จำ�นวนชัว่ โมงเรียนของรายวิชาพืน
้ ฐานได้เอง ดังนัน
้ สถานศึกษาแต่ละแห่งอาจ
กำ�หนดจำ�นวนชั่วโมงเรียนรายวิชาพื้นฐานคณิตศาสตร์ไม่เท่ากัน ซึ่งในที่นี้จะแนะนำ�จำ�นวนชั่วโมงเรียนที่อิงตามโครงสร้าง
เวลาเรียนของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 คือ 60 ชั่วโมง/ภาคเรียน เป็นหลัก ทั้งนี้ สถานศึกษา
สามารถปรับจำ�นวนชั่วโมงนี้ ให้สอดคล้องกับบริบทของตนเองได้ตามความเหมาะสม

หน่วยการเรียนรู้ จำ�นวนชั่วโมงที่แนะนำ�
จำ�นวนเต็ม 17
การสร้างทางเรขาคณิต 11
เลขยกกำ�ลัง 9
ทศนิยมและเศษส่วน 17
รูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ 6
สารบัญ บทที่ 1–3

บทที่ เนื้อหา หน้า

1
บทที่ 1 จำ�นวนเต็ม 13
1.1 จำ�นวนเต็ม 15
1.2 การบวกจำ�นวนเต็ม 23
1.3 การลบจำ�นวนเต็ม 34
1.4 การคูณจำ�นวนเต็ม 39
1.5 การหารจำ�นวนเต็ม 46
1.6 สมบัติของการบวกและการคูณจำ�นวนเต็ม 53

จำ�นวนเต็ม

2
บทที่ 2 การสร้างทางเรขาคณิต 71
2.1 รูปเรขาคณิตพื้นฐาน 73
2.2 การสร้างพื้นฐานทางเรขาคณิต 88
2.3 การสร้างรูปเรขาคณิต 103

การสร้างทางเรขาคณิต

3
บทที่ 3 เลขยกกำ�ลัง 145
3.1 ความหมายของเลขยกกำ�ลัง 148
3.2 การคูณและการหารเลขยกกำ�ลัง 156
3.3 สัญกรณ์วิทยาศาสตร์ 166

เลขยกกำ�ลัง
สารบัญ บทที่ 4–5

บทที่ เนื้อหา หน้า

4
บทที่ 4 ทศนิยมและเศษส่วน 193
4.1 ทศนิยมและการเปรียบเทียบทศนิยม 196
4.2 การบวกและการลบทศนิยม 200
4.3 การคูณและการหารทศนิยม 205
4.4 เศษส่วนและการเปรียบเทียบเศษส่วน 219
4.5 การบวกและการลบเศษส่วน 229
4.6 การคูณและการหารเศษส่วน 238

ทศนิยมและเศษส่วน 4.7 ความสัมพันธ์ระหว่างทศนิยมและเศษส่วน 251

5
บทที่ 5 รูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ 265
5.1 หน้าตัดของรูปเรขาคณิตสามมิติ 268
5.2 ภาพด้านหน้า ภาพด้านข้าง และภาพด้านบนของรูปเรขาคณิตสามมิติ 277

รูปเรขาคณิต
สองมิติและสามมิติ

กิจกรรมคณิตศาสตร์เชิงสะเต็ม 312
ความรู้เพิ่มเติมสำ�หรับครู 314

บรรณานุกรม 326

คณะผู้จัดทำ� 327
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 1 | จำ�นวนเต็ม 13

1
บทที่ จำ�นวนเต็ม
บทจำ�นวนเต็มประกอบด้วยหัวข้อย่อย ดังต่อไปนี้

1.1 จำ�นวนเต็ม 2 ชั่วโมง


1.2 การบวกจำ�นวนเต็ม 3 ชั่วโมง
1.3 การลบจำ�นวนเต็ม 3 ชั่วโมง
1.4 การคูณจำ�นวนเต็ม 3 ชั่วโมง
1.5 การหารจำ�นวนเต็ม 3 ชั่วโมง
1.6 สมบัติของการบวกและการคูณจำ�นวนเต็ม 3 ชั่วโมง

สาระและมาตรฐานการเรียนรู้
สาระ จำ�นวนและพีชคณิต
มาตรฐาน ค 1.1 เข้าใจความหลากหลายของการแสดงจำ�นวน ระบบจำ�นวน การดำ�เนินการของจำ�นวน ผลที่เกิดขึ้น
จากการดำ�เนินการ สมบัติของการดำ�เนินการ และนำ�ไปใช้

ตัวชี้วัด
เข้าใจจำ�นวนตรรกยะและความสัมพันธ์ของจำ�นวนตรรกยะ และใช้สมบัตข
ิ องจำ�นวนตรรกยะในการแก้ปญ
ั หาคณิตศาสตร์
และปัญหาในชีวิตจริง

จุดประสงค์ของบทเรียน
นักเรียนสามารถ
1. เปรียบเทียบจำ�นวนเต็ม
2. หาผลบวก ผลลบ ผลคูณ และผลหารของจำ�นวนเต็ม
3. นำ�ความรู้เรื่องจำ�นวนเต็มไปใช้ในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์

ความเชื่อมโยงระหว่างตัวชี้วัดกับจุดประสงค์ของบทเรียน
เนื่ อ งจากตั ว ชี้ วั ด กล่ า วถึ ง จำ � นวนตรรกยะ และเนื้ อ หาในบทนี้ คื อ จำ � นวนเต็ ม ซึ่ ง เป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ของจำ � นวนตรรกยะ
ดังนั้น เพื่อให้การเรียนรู้ของนักเรียนในเรื่องจำ�นวนเต็มสอดคล้องกับตัวชี้วัด ครูควรจัดประสบการณ์ให้นักเรียนสามารถ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
14 บทที่ 1 | จำ�นวนเต็ม คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

1. เข้าใจเกี่ยวกับจำ�นวนตรรกยะในส่วนของจำ�นวนเต็ม และใช้จำ�นวนเต็มเพื่อแทนปริมาณในบริบทของชีวิตจริง
นั่นคือ นักเรียนควรบอกได้ว่า จำ�นวนใดเป็นจำ�นวนเต็ม และสามารถจำ�แนกจำ�นวนเต็มบวก จำ�นวนเต็มลบ
และศูนย์ รวมทั้งสามารถเปรียบเทียบจำ�นวนเต็มได้
2. เข้าใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของจำ�นวนตรรกยะในส่วนของจำ�นวนเต็ม ซึ่งสะท้อนได้จากการที่นักเรียนสามารถ
บวก ลบ คูณ และหารจำ�นวนเต็มได้ เข้าใจความสัมพันธ์ของการบวกและการลบจำ�นวนเต็ม ความสัมพันธ์ของ
การคูณและการหารจำ�นวนเต็ม รวมทั้งอธิบายผลที่เกิดขึ้นจากการบวก ลบ คูณ และหารจำ�นวนเต็มได้
3. ใช้สมบัติของจำ�นวนตรรกยะในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์และปัญหาในชีวิตจริง ซึ่งสะท้อนได้จากการที่นักเรียน
สามารถนำ�ความรู้ และสมบัติการดำ�เนินการของจำ�นวนเต็มไปใช้ในการแก้ปัญหาได้

ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
หัวข้อ
ทักษะและ 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6
กระบวนการ จำ�นวนเต็ม การบวก การลบ การคูณ การหาร สมบัติของ
ทางคณิตศาสตร์ จำ � นวนเต็ ม จำ � นวนเต็ ม จำ � นวนเต็ ม จำ � นวนเต็ ม การบวกและ
การคูณ
จำ�นวนเต็ม
การแก้ปัญหา ✤ ✤

การสื่อสารและ
การสื่อความหมาย ✤ ✤ ✤
ทางคณิตศาสตร์
การเชื่อมโยง ✤ ✤ ✤ ✤

การให้เหตุผล

การคิดสร้างสรรค์

ความรู้พื้นฐานที่นักเรียนต้องมี
2+2=4

ครูอาจทบทวนความรู้พื้นฐานที่นักเรียนต้องมีก่อนเรียนในเรื่องของการบวก การลบ การคูณ และการหารจำ�นวนนับ

ความคิดรวบยอดของบทเรียน
จำ�นวนเต็ม ประกอบด้วย จำ�นวนเต็มบวก จำ�นวนเต็มลบ และศูนย์ เราใช้จำ�นวนเต็มแทนปริมาณเพื่อเปรียบเทียบ
หรือนำ�ผลลัพธ์ที่ได้จากการดำ�เนินการไปสื่อความหมายต่าง ๆ อีกทั้งสมบัติของการบวกและการคูณจำ�นวนเต็มช่วยให้
การดำ�เนินการของจำ�นวนเต็มง่ายขึ้น จึงถูกนำ�ไปใช้ประโยชน์ในการคิดคำ�นวณและแก้ปัญหา

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 1 | จำ�นวนเต็ม 15

1.1 จำ�นวนเต็ม (2 ชั่วโมง)


จุดประสงค์
นักเรียนสามารถ
1. ระบุหรือยกตัวอย่างจำ�นวนเต็มบวก จำ�นวนเต็มลบ และศูนย์
2. เปรียบเทียบจำ�นวนเต็ม

ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน
นักเรียนอาจเข้าใจคลาดเคลือ
่ นว่า จำ�นวนเต็มลบทีม
่ ค
ี า่ สัมบูรณ์มากกว่า จะมากกว่าจำ�นวนเต็มลบทีม
่ ค
ี า่ สัมบูรณ์นอ
้ ยกว่า
เช่น เข้าใจว่า -10 มากกว่า -2 เนื่องจาก 10 มากกว่า 2 แต่ในความเป็นจริง จำ�นวนเต็มลบที่มีค่าสัมบูรณ์มากกว่า จะน้อยกว่า
จำ�นวนเต็มลบที่มีค่าสัมบูรณ์น้อยกว่า

สื่อที่แนะนำ�ให้ใช้ในข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ใบกิจกรรมเสนอแนะ 1.1 : กรรมการอ่านผลกอล์ฟ

ข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ในหัวข้อนีเ้ ป็นเรือ
่ งเกีย่ วกับจำ�นวนเต็มและการเปรียบเทียบจำ�นวนเต็ม โดยมุง่ ให้นก
ั เรียนเห็นว่าจำ�นวนเต็ม ประกอบด้วย
จำ�นวนเต็มบวก จำ�นวนเต็มลบ และศูนย์ และเน้นที่การเรียนรู้เกี่ยวกับจำ�นวนเต็มลบ เนื่องจากเป็นเรื่องใหม่สำ�หรับนักเรียน
ทั้งนี้ ครูควรพัฒนาความรู้สึกเชิงจำ�นวน (number sense) ให้กับนักเรียน เพื่อให้เข้าใจและสามารถเปรียบเทียบจำ�นวนเต็มได้
กิจกรรมที่ครูควรจัดมีดังนี้
1. ครูนำ�สนทนาเกี่ยวกับความหมายของศูนย์ในสถานการณ์ต่าง ๆ เช่น การใช้ 0 แทนความไม่มี หรือการใช้ 0 แทน
การมีอยู่ในระดับหนึ่ง ๆ รวมทั้งความหมายและความสำ�คัญของจำ�นวนเต็มลบในชีวิตจริง เช่น อุณหภูมิที่ติดลบ
2. ครูควรจัดกิจกรรมให้นักเรียนเข้าใจจำ�นวนเต็มลบ โดยเชื่อมโยงความรู้ในเรื่องจำ�นวนเต็มบวกหรือจำ�นวนนับ
และศูนย์ ทีน
่ ก
ั เรียนเคยเรียนมาแล้วโดยใช้เส้นจำ�นวน และใช้ค�ำ ถามเพือ
่ ให้นก
ั เรียนเกิดความคิดรวบยอดเกีย่ วกับ
จำ�นวนเต็ม ดังตัวอย่างต่อไปนี้
1) 0 ไม่ใช่จำ�นวนนับ
2) 0 เป็นจำ�นวนเต็มที่ไม่เป็นจำ�นวนเต็มบวก และไม่เป็นจำ�นวนเต็มลบ
3) จำ�นวนเต็มบวกที่น้อยที่สุด คือ 1
4) ไม่มีจำ�นวนเต็มบวกที่มากที่สุด
5) จำ�นวนเต็มลบที่มากที่สุด คือ -1

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
16 บทที่ 1 | จำ�นวนเต็ม คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

6) ไม่มีจำ�นวนเต็มลบที่น้อยที่สุด
7) ไม่มีจำ�นวนเต็มที่มากที่สุด
8) ไม่มีจำ�นวนเต็มที่น้อยที่สุด
3. ครูควรชีใ้ ห้นกั เรียนเห็นความแตกต่างของจำ�นวนเต็มทีห
่ ลากหลาย และสามารถเปรียบเทียบจำ�นวนเต็มเหล่านัน
้ ได้
โดยอาจเริ่มจากการสนทนาเกี่ยวกับจำ�นวนและการเปรียบเทียบจำ�นวนในชีวิตจริง และอาจใช้คำ�ถามเพื่อพัฒนา
ความรู้สึกเชิงจำ�นวนเกี่ยวกับจำ�นวนเต็มและการเปรียบเทียบจำ�นวนเต็ม เช่น
✤ การเปรียบเทียบราคาสินค้าชนิดเดียวกัน จากร้านต่าง ๆ เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจ
✤ การเปรียบเทียบอุณหภูมิของอากาศในประเทศต่างๆ เพื่อเตรียมความพร้อมในการเดินทาง
จากนัน
้ ให้นกั เรียนเปรียบเทียบจำ�นวนเต็มโดยใช้เส้นจำ�นวน เพือ่ ฝึกการนึกภาพเกีย่ วกับตำ�แหน่งของจำ�นวนเต็มต่าง ๆ
บนเส้นจำ�นวน ซึง่ เป็นวิธท
ี ง่ี า่ ยในการเปรียบเทียบจำ�นวนเต็ม และเพือ่ นำ�ไปสูก่ ารสรุปหลักการเปรียบเทียบจำ�นวนเต็ม
4. ครูอาจใช้ “กิจกรรมเสนอแนะ 1.1 : กรรมการอ่านผลกอล์ฟ” เพือ
่ ให้นก
ั เรียนได้เห็นสถานการณ์ทใ่ี ช้จ�ำ นวนเต็มบวก
จำ�นวนเต็มลบ และศูนย์ ในชีวิตจริง สำ�หรับตอนที่ 2 ของใบกิจกรรมเป็นการฝึกหาจำ�นวนเต็มแบบง่าย ๆ ที่ไม่ใช้
การคำ�นวณ แต่อาจใช้การนับบนเส้นจำ�นวน
5. ครูควรเน้นย้ำ�ให้นักเรียนเข้าใจว่า จำ�นวนเต็มลบที่มีค่าสัมบูรณ์มากกว่า จะน้อยกว่าจำ�นวนเต็มลบที่มีค่าสัมบูรณ์
น้อยกว่า เช่น -8 น้อยกว่า -3 โดยอาจพิจารณาจากตำ�แหน่งของจำ�นวนเต็มบนเส้นจำ�นวน หรือสถานการณ์
ในชีวิตจริงประกอบ

ความรู้เพิ่มเติมสำ�หรับครู

การเขียนตัวเลขแทนจำ�นวนเต็มลบ โดยทั่วไปเราจะใช้เครื่องหมาย “ - ” กำ�กับ เช่น -8 หรือ -24 แต่ในบางครั้ง


อาจพบการเขียนตัวเลขแทนจำ�นวนเต็มลบ โดยยกเครื่องหมาย “ - ” ให้สูงขึ้น เช่น -8 หรือ -24

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 1 | จำ�นวนเต็ม 17

กิจกรรมเสนอแนะ 1.1 : กรรมการอ่านผลกอล์ฟ


กิจกรรมนี้ แสดงให้เห็นการใช้จำ�นวนเต็มในชีวิตจริง เป็นการใช้จำ�นวนเต็มบวก จำ�นวนเต็มลบ และศูนย์ แทนคะแนน
จากการแข่งขันกีฬากอล์ฟ เพื่อนำ�ไปใช้ในการจัดอันดับผลการแข่งขัน นอกจากนี้ ยังช่วยพัฒนาทักษะและกระบวนการ
ทางคณิตศาสตร์ในด้านการสือ
่ สารและการสือ
่ ความหมายทางคณิตศาสตร์ รวมถึงการเชือ
่ มโยงอีกด้วย โดยมีอป
ุ กรณ์และขัน
้ ตอน
การดำ�เนินกิจกรรม ดังนี้

อุปกรณ์
ใบกิจกรรมเสนอแนะ 1.1 : กรรมการอ่านผลกอล์ฟ

ขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม
1. ครูแบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 2–3 คน
2. ครูอธิบายกติกาการแข่งขันกอล์ฟพอสังเขป พร้อมทั้งยกตัวอย่างผลการแข่งขันกอล์ฟจากใบกิจกรรมเสนอแนะ 1.1 :
กรรมการอ่านผลกอล์ฟ ตอนที่ 1
3. ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกันเกีย่ วกับข้อมูลในตารางแสดงผลการแข่งขัน จากใบกิจกรรม ตอนที่ 1 แล้วตอบคำ�ถาม
ลงในใบกิจกรรม
4. ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันทำ�ใบกิจกรรม ตอนที่ 2 ซึ่งเป็นการหาคะแนนของนักกอล์ฟแต่ละคนจากข้อมูล
ทีก
่ �ำ หนดให้ และตอบคำ�ถาม ทัง้ นี้ นักเรียนสามารถหาคะแนนของนักกอล์ฟแต่ละคนโดยไม่จ�ำ เป็นต้องใช้การคำ�นวณ
แต่อาจใช้การนับบนเส้นจำ�นวน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
18 บทที่ 1 | จำ�นวนเต็ม คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

ใบกิจกรรมเสนอแนะ 1.1 : กรรมการอ่านผลกอล์ฟ

ตอนที่ 1
ตารางรายงานผลคะแนนของนักกอล์ฟบางคนจากการตีกอล์ฟรอบหนึ่งในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2560

นักกอล์ฟ คะแนน
Xiyu Lin -5
Carlota Ciganda -4
Caroline Masson -2
Mi Jung Hur -1
Ryann O E
Haru Nomura E
Chella Choi +3
Porani Chutichai +7

ที่มา : http://www.lpgathailand.com สืบค้นเมื่อ 29 สิงหาคม 2560

สนามกอล์ฟแต่ละแห่งจะกำ�หนดจำ�นวนครั้งที่นักกอล์ฟควรตีลูกให้ลงหลุมแต่ละหลุมไว้ โดยเรียกจำ�นวนครั้ง
ที่กำ�หนดไว้นั้นว่า พาร์ (par) ในการตีกอล์ฟหนึ่งรอบที่สนามแห่งนี้ กำ�หนดพาร์สำ�หรับตีกอล์ฟ 18 หลุมไว้รวม 72
คะแนน -1 ของ Mi Jung Hur มีความหมายว่า ในรอบนี้ Mi Jung Hur ตีกอล์ฟต่ำ�กว่าพาร์ 1 ครั้ง
คะแนน +3 ของ Chella Choi มีความหมายว่า ในรอบนี้ Chella Choi ตีกอล์ฟสูงกว่าพาร์ 3 ครั้ง
สำ�หรับนักกอล์ฟทีต
่ ก
ี อล์ฟได้เท่ากับพาร์จะได้รบ
ั การรายงานคะแนนเป็น E (ย่อมาจาก even ซึง่ ในทีน
่ แ้ี ปลว่า
เสมอกันหรือเท่ากัน) หรือ PAR (พาร์) จากตารางแสดงว่า Ryann O และ Haru Nomura ตีกอล์ฟรอบนีเ้ ท่ากับพาร์
ในการแข่งขันกอล์ฟ ผู้ที่ตีได้ต่ำ�กว่าพาร์จะถือว่ามีคะแนนสูงกว่าผู้ที่ตีได้สูงว่าพาร์
จากตารางข้างต้น จงตอบคำ�ถามต่อไปนี้

ผู้ชนะการแข่งขัน คือ

มีคะแนนเป็น

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 1 | จำ�นวนเต็ม 19

ตอนที่ 2
สนามกอล์ฟแห่งนี้กำ�หนดพาร์ในการตีกอล์ฟหนึ่งรอบไว้ที่ 72 จงเติมข้อมูลการแข่งขันกอล์ฟของนักกอล์ฟ
ที่เข้าร่วมการแข่งขันรายการหนึ่ง ณ สนามแห่งนี้ ลงในตารางให้สมบูรณ์

นักกอล์ฟ พาร์ จำ�นวนครั้งที่ใช้ตี คะแนน


Xiyu Lin 72 67 -5
Na Yeon Choi 72 81
Ryann O 72 72 E
Porani Chutichai 72 79 +7
Pannarat
72 69
Thanapolboonyaras
Ariya Jutanugarn 72 71
Amy Yang 72 -4
Christina Kim 72 +1
Gerina Piller 72 74
Megan Khang 72 70

เมื่อนักเรียนบันทึกข้อมูลลงในตารางแล้ว ให้ตอบคำ�ถามต่อไปนี้

ผู้ชนะการแข่งขัน คือ

มีคะแนนเป็น

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
20 บทที่ 1 | จำ�นวนเต็ม คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

เฉลยใบกิจกรรมเสนอแนะ 1.1 : กรรมการอ่านผลกอล์ฟ


ตอนที่ 1
ผู้ชนะการแข่งขัน คือ Xiyu Lin
มีคะแนนเป็น -5

ตอนที่ 2

นักกอล์ฟ พาร์ จำ�นวนครั้งที่ใช้ตี คะแนน


Xiyu Lin 72 67 -5
Na Yeon Choi 72 81 +9
Ryann O 72 72 E
Porani Chutichai 72 79 +7
Pannarat
72 69 -3
Thanapolboonyaras
Ariya Jutanugarn 72 71 -1
Amy Yang 72 68 -4
Christina Kim 72 73 +1
Gerina PILLER 72 74 +2
Megan KHANG 72 70 -2

ผู้ชนะการแข่งขัน คือ Xiyu Lin


มีคะแนนเป็น -5

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 1 | จำ�นวนเต็ม 21

เฉลยชวนคิด
ชวนคิด 1.1
ต่างกันอยู่ 6 องศาเซลเซียส ทั้งนี้ อาจใช้การนับต่อบนเส้นจำ�นวน โดยไม่ต้องคำ�นวณ

เฉลยแบบฝึกหัด
แบบฝึกหัด 1.1
1. 1) 100 , 7, 3.0, 51, 6 , 99, 4, 10.0 และ 36
2 6 4
2) -1, -3, -13 และ -24

3) -1, 0, 100 , 7, 3.0, -3, 51, -13, 6 , 99, 4, -24, 10.0, 0 และ 36
2 6 5 4

2. แนวคิด อาจใช้เส้นจำ�นวนแสดงการนับลด หรือนับเพิ่ม เพื่อช่วยให้นักเรียนเห็นภาพมากขึ้น


1)

จำ�นวนที่ต่อจาก 0 โดยลดลงทีละ 3 ได้แก่ -3, -6, -9, -12 และ -15


2) จำ�นวนที่ต่อจาก 7 โดยลดลงทีละ 4 ได้แก่ 3, -1, -5, -9 และ -13
3) จำ�นวนที่ต่อจาก -5 โดยเพิ่มขึ้นทีละ 2 ได้แก่ -3, -1, 1, 3 และ 5
4) จำ�นวนที่ต่อจาก -10 โดยเพิ่มขึ้นทีละ 3 ได้แก่ -7, -4, -1, 2 และ 5

3. 1) ตัวอย่างการเปรียบเทียบจำ�นวน โดยใช้การลงจุดบนเส้นจำ�นวน

ดังนั้น -4 น้อยกว่า 0 หรือ 0 มากกว่า -4


2) 0 มากกว่า -7 หรือ -7 น้อยกว่า 0
3) 5 มากกว่า -5 หรือ -5 น้อยกว่า 5
4) -2 น้อยกว่า 8 หรือ 8 มากกว่า -2
5) -6 มากกว่า -9 หรือ -9 น้อยกว่า -6

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
22 บทที่ 1 | จำ�นวนเต็ม คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

6) -8 น้อยกว่า -3 หรือ -3 มากกว่า -8


7) -9 น้อยกว่า -4 หรือ -4 มากกว่า -9
8) -11 น้อยกว่า 11 หรือ 11 มากกว่า -11

4. 1) 14 > 0 2) -9 < 9 3) -3 < 5 4) -18 < 19


5) 0 > -1 6) 11 > -27 7) 29 > -30 8) -4 < 6

5. 1) -5 > -8 2) 5 < 8 3) -25 < -24 4) 25 > 24


5) -46 > -99 6) 46 < 99 7) -35 < -21 8) 21 < 35

6. 1) 3, 1, 0 และ -5 2) -1, -4, -6 และ -7


3) 7, 4, -1, -5 และ -7 4) 9, 5, 0, -2 และ -6
5) 6, 4, 2, -2, -4 และ -6 6) 9, 7, 0, -6, -8 และ -10

7. 1) -9, -4 และ 0
2) -4, -9 และ -17
3) 0, 5 และ 21

8. นักเรียนอาจตอบอย่างน้อยหนึ่งจำ�นวนจากจำ�นวนต่อไปนี้
1) -16, -15, -14, ..., 2, 3, 4 ยกเว้น -9, -4 และ 0
2) -1, -2, -3, ... ยกเว้น -4, -9 และ -17
3) -3, -2, -1, ... ยกเว้น 0, 5 และ 21

9. 1) 4,500 เมตร
2) 900 เมตร
3) ขณะที่เครื่องบินอยู่ที่ระดับความสูงประมาณ 1,800 เมตร จะมีอุณหภูมิภายนอกเครื่องบินสูงกว่าที่ระดับ
ความสูงประมาณ 2,700 เมตร
4) ประมาณ 2,250 เมตร (หรืออาจตอบในช่วง 1,800–2,700 เมตร)
5) ถ้าระดับความสูงของเครื่องบินจากระดับน้ำ�ทะเลเพิ่มขึ้น อุณหภูมิภายนอกเครื่องบินจะลดลง

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 1 | จำ�นวนเต็ม 23

1.2 การบวกจำ�นวนเต็ม (3 ชั่วโมง)


จุดประสงค์
นักเรียนสามารถ
1. หาผลบวกของจำ�นวนเต็มที่กำ�หนดให้
2. ตระหนักถึงความสมเหตุสมผลของผลบวกของจำ�นวนเต็มที่ได้

ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน
-

สื่อที่แนะนำ�ให้ใช้ในข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
1. อุปกรณ์กิจกรรมการบวกของชาวจีน
2. ใบกิจกรรมเสนอแนะ 1.2 : เส้นทางการบวก

ข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ในหัวข้อนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับการบวกจำ�นวนเต็ มบวก จำ � นวนเต็ มลบ และศู น ย์ โดยเน้ น ให้ นั กเรี ยนเห็ น ว่ า จำ � นวน
ชนิดเดียวกันบวกกัน จะได้ผลบวกเป็นจำ�นวนเต็มชนิดนัน
้ แต่ถา้ จำ�นวนต่างชนิดกันบวกกัน ผลบวกจะเป็นจำ�นวนชนิดเดียวกัน
กับจำ�นวนที่มีค่าสัมบูรณ์มากกว่า ทั้งนี้ ครูควรพัฒนาความรู้สึกเชิงจำ�นวนเกี่ยวกับการบวกจำ�นวนเต็มให้กับนักเรียน เพื่อให้
ตระหนักถึงความสมเหตุสมผลของผลบวกที่ได้ กิจกรรมที่ครูควรจัดมีดังนี้
1. ครูควรจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้เข้าใจเกี่ยวกับการบวกจำ�นวนเต็มชนิดเดียวกัน โดยใช้เส้นจำ�นวน เพื่อให้เห็น
การเพิม
่ ขึน
้ หรือลดลงของผลลัพธ์ทไี่ ด้ ตามการบวกจำ�นวนเต็มบวกกับจำ�นวนเต็มบวก หรือการบวกจำ�นวนเต็มลบ
กับจำ�นวนเต็มลบ
ในการนำ�เข้าสูเ่ รือ่ งการบวกจำ�นวนเต็มทีต
่ า่ งชนิดกันโดยใช้เส้นจำ�นวน ครูอาจใช้ “กิจกรรม : การบวกของชาวจีน”
ซึ่งนักเรียนจะได้เห็นการบวกระหว่างจำ�นวนเต็มบวกและจำ�นวนเต็มลบจากการลงมือปฏิบัติ เพื่อให้นักเรียน
ได้เห็นแนวคิดและเข้าใจความหมายของการบวกจำ�นวนเต็มที่ต่างชนิดกัน
2. ครูควรจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้เข้าใจเกี่ยวกับค่าสัมบูรณ์ของจำ�นวนเต็ม ทั้งจำ�นวนเต็มบวก และจำ�นวนเต็มลบ
เพือ
่ นำ�มาใช้ในการคำ�นวณหาผลบวกของจำ�นวนเต็ม โดยให้นก
ั เรียนได้ฝก
ึ สังเกตค่าสัมบูรณ์ของจำ�นวนเต็มหลาย ๆ
จำ�นวน จากเส้นจำ�นวน สำ�หรับบทนี้ ยังไม่เน้นการเรียนรู้บทนิยามของค่าสัมบูรณ์ ดังนั้น การนำ�สัญลักษณ์
มาใช้แทนค่าสัมบูรณ์ให้อยู่ในดุลยพินิจของครู

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
24 บทที่ 1 | จำ�นวนเต็ม คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

3. ครูควรยกตัวอย่างการบวกกันของจำ�นวนเต็มชนิดต่าง ๆ โดยใช้ค่าสัมบูรณ์ และเชื่อมโยงให้นักเรียนเห็นถึง


ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้เส้นจำ�นวนและการใช้คา่ สัมบูรณ์ในการหาผลบวก เพือ
่ นำ�ไปสูข
่ อ
้ สรุปของหลักเกณฑ์
การบวกของจำ�นวนเต็ม ทัง้ ทีเ่ ป็นชนิดเดียวกัน และต่างชนิดกัน ทัง้ นี้ ครูอาจใช้ “กิจกรรมเสนอแนะ 1.2 : เส้นทาง
การบวก” เพื่อพัฒนาความรู้สึกเชิงจำ�นวนและฝึกทักษะการบวกจำ�นวนเต็ม
4. ครูควรให้นกั เรียนสังเกตผลบวกทีไ่ ด้จากการบวกจำ�นวนเต็มต่างชนิดกันทีละคู่ แล้วใช้ค�ำ ถามให้นกั เรียนได้ขอ
้ สรุปว่า
ผลบวกทีเ่ กิดจากจำ�นวนเต็มต่างชนิดกัน จะเป็นจำ�นวนชนิดเดียวกับจำ�นวนทีม
่ ค
ี า่ สัมบูรณ์มากกว่า เพือ
่ ให้นก
ั เรียน
ได้ตระหนักถึงความสมเหตุสมผลของคำ�ตอบที่ได้จากการบวกจำ�นวนเต็ม เมื่อนักเรียนต้องแก้ปัญหาด้วยตนเอง

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 1 | จำ�นวนเต็ม 25

กิจกรรม : การบวกของชาวจีน
กิ จ กรรมการบวกของชาวจี น เป็ น กิ จ กรรมสำ � หรั บ นำ � นั ก เรี ย นเข้ า สู่ ก ารเรี ย นเรื่ อ งการบวกกั น ของจำ � นวนเต็ ม บวก
และจำ�นวนเต็มลบ เพื่อให้นักเรียนได้เข้าใจการบวกจำ�นวนเต็มผ่านการลงมือปฏิบัติก่อนที่จะเรียนหลักการบวกกันของจำ�นวน
เต็มบวกและจำ�นวนเต็มลบ โดยมีอุปกรณ์และขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม ดังนี้

อุปกรณ์
ไม้ไอศกรีม 2 สี สีละ 20 อัน (สำ�หรับแต่ละกลุ่ม)

ขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม
1. ครูแบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 4 คน โดยแต่ละกลุ่มแบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่าย ก และฝ่าย ข
2. ครูให้นักเรียนศึกษาวิธีการบวกกันของจำ�นวนเต็มบวกและจำ�นวนเต็มลบของชาวจีน โดยอาจยกตัวอย่างเพิ่มเติม
เพื่อให้นักเรียนเข้าใจมากขึ้น ดังนี้

ไม้แดง 1 อัน รวมกับไม้แดง 1 อัน จะได้เป็นไม้แดง 2 อัน


เปรียบได้กับ 1 + 1 ซึ่งเท่ากับ 2

ในทำ�นองเดียวกัน
ถ้าไม้ดำ� 1 อัน รวมกับไม้ดำ� 1 อัน จะได้เป็นไม้ดำ� 2 อัน
เปรียบได้กับ (-1) + (-1) ซึ่งเท่ากับ -2

ไม้แดง 1 อัน รวมกับไม้ดำ� 1 อัน จะหักล้างกันหมดไป


เปรียบได้กับ 1 + (-1) ซึ่งเท่ากับ 0

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
26 บทที่ 1 | จำ�นวนเต็ม คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

ไม้แดง 2 อัน รวมกับไม้ดำ� 1 อัน เหลือไม้แดง 1 อัน


เปรียบได้กับ 2 + (-1) ซึ่งเท่ากับ 1

3. ครูกำ�หนดให้นักเรียนฝ่าย ก ตั้งโจทย์การบวกระหว่างจำ�นวนเต็มบวกและจำ�นวนเต็มลบ ที่มีจำ�นวนเต็มบวกไม่เกิน


20 และจำ�นวนเต็มลบไม่น้อยกว่า -20 แล้วให้นักเรียนฝ่าย ข หาคำ�ตอบ โดยใช้แนวคิดเช่นเดียวกับชาวจีน
ในสมัยโบราณ โดยใช้ไม้ไอศกรีมแทนไม้สีต่าง ๆ ของชาวจีน
4. สลับให้นักเรียนฝ่าย ข เป็นผู้ตั้งโจทย์ และนักเรียนฝ่าย ก เป็นผู้หาคำ�ตอบ
5. ทำ�เช่นนี้จนแต่ละฝ่ายแก้ปัญหาครบ 5 ข้อ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 1 | จำ�นวนเต็ม 27

เฉลยกิจกรรม : การบวกของชาวจีน
เนื่องจากกิจกรรมนี้ นักเรียนเป็นผู้กำ�หนดโจทย์ด้วยตนเอง คำ�ตอบจึงมีได้หลากหลาย ดังตัวอย่างต่อไปนี้

โจทย์ แสดงการหาผลลัพธ์โดยใช้ไม้ไอศกรีม ผลลัพธ์

7 + (-4) 3

5 + (-11) -6

-9 + 8 -1

-16 + 1 -15

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
28 บทที่ 1 | จำ�นวนเต็ม คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

กิจกรรมเสนอแนะ 1.2 : เส้นทางการบวก


กิจกรรมนี้ เป็นกิจกรรมทีส
่ ง่ เสริมความรูค
้ วามเข้าใจเกีย่ วกับการบวกจำ�นวนเต็มให้กบ
ั นักเรียน และช่วยพัฒนาทักษะและ
กระบวนการทางคณิตศาสตร์ในด้านการให้เหตุผล รวมทั้งฝึกให้นักเรียนได้สังเกต คิดวิเคราะห์ พัฒนาความรู้สึกเชิงจำ�นวน
และความคิดสร้างสรรค์ โดยมีอุปกรณ์และขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม ดังนี้

อุปกรณ์
ใบกิจกรรมเสนอแนะ 1.2 : เส้นทางการบวก

ขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม
1. ครูอธิบายตัวอย่างเส้นทางแสดงการบวกจำ�นวนจากต้นทางไปยังปลายทาง โดยใช้ใบกิจกรรมเสนอแนะ 1.2 :
เส้นทางการบวก
2. ครูให้นักเรียนทำ�ใบกิจกรรม โดยหาเส้นทางแสดงการบวกจำ�นวนจากต้นทางไปยังปลายทางตามโจทย์ที่กำ�หนดให้
3. ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายเส้นทางที่นักเรียนเลือก โดยอาจสุ่มนักเรียนออกมานำ�เสนอเส้นทางของตนเอง
ทั้งนี้ ครูอาจให้นักเรียนได้ลองหาเส้นทางการบวกอีกครั้ง โดยใช้การสังเกตจำ�นวนเต็มบวกและจำ�นวนเต็มลบที่อยู่บน
เส้นทาง แล้วเลือกเส้นทาง โดยไม่ต้องคำ�นวณ ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนได้พัฒนาความรู้สึกเชิงจำ�นวน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 1 | จำ�นวนเต็ม 29

ใบกิจกรรมเสนอแนะ 1.2 : เส้นทางการบวก

ตัวอย่างเส้นทางแสดงการบวกจำ�นวนจากต้นทางไปยังปลายทางทีก
่ �ำ หนดว่า ผลบวกของแต่ละเส้นทางเท่ากับ -12

ต้นทาง

BA

-4

3 -2 5 เส้นทาง A
(-4) + 3 + (-2) + 5 + (-18) + 4 = -12
-6 1 -18
เส้นทาง B
0 -8 4 (-4) + 3 + (-2) + 1 + (-6) + 0 + (-8) + 4 = -12

-12

ปลายทาง

เมื่อพิจารณาเส้นทางทั้งสอง จะเห็นว่า เส้นทาง A ผ่านหกจำ�นวน และเส้นทาง B ผ่านแปดจำ�นวน


ดังนั้น เส้นทาง A สั้นกว่าเส้นทาง B

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
30 บทที่ 1 | จำ�นวนเต็ม คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

ให้นักเรียนหาเส้นทางที่มีผลบวกจากต้นทางถึงปลายทางเท่ากัน และเขียนประโยคแสดงการบวกจำ�นวนในแต่ละ
เส้นทางที่ได้ จากนั้น หาเส้นทางที่สั้นที่สุด

1) ต้นทาง

5 -3 8

-16 -11 -10

-2 0 -6

-8

ปลายทาง

2) ต้นทาง ปลายทาง

0 -4

16 12 5

-8 -15 -2

2 -7 -10

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 1 | จำ�นวนเต็ม 31

เฉลยใบกิจกรรมเสนอแนะ 1.2 : เส้นทางการบวก


คำ�ตอบมีได้หลากหลาย เช่น

1) ต้นทาง
B A
0 เส้นทาง A ผ่าน 0 + 8 + (-10) + (-6) + 0 = -8
เส้นทาง B ผ่าน 0 + 8 + (-3) + 5 + (-16) + (-2) + 0 = -8
5 -3 8 จะเห็นว่า เส้นทาง A ผ่านห้าจำ�นวน
เส้นทาง B ผ่านเจ็ดจำ�นวน
-16 -11 -10 ดังนั้น เส้นทาง A สั้นที่สุด

-2 0 -6

-8

ปลายทาง

ต้นทาง ปลายทาง
2)
B A เส้นทาง A ผ่าน 0 + 16 + (-8) + 2 + (-7) + (-10) + (-2) + 5 = -4
0 -4
เส้นทาง B ผ่าน 0 + 16 + (-8) + (-15) + (-2) + 5 = -4
16 12 5 จะเห็นว่า เส้นทาง A ผ่านแปดจำ�นวน
เส้นทาง B ผ่านหกจำ�นวน
-8 -15 -2 ดังนั้น เส้นทาง B สั้นที่สุด

2 -7 -10

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
32 บทที่ 1 | จำ�นวนเต็ม คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

เฉลยชวนคิด
ชวนคิด 1.2
-6

ชวนคิด 1.3
1) 6 2) 6 3) 15 4) 15 5) 28 6) 0

ชวนคิด 1.4
การบวกกันระหว่างจำ�นวนเต็มสองจำ�นวน เมื่อสลับที่ระหว่างตัวตั้งและตัวบวก ผลบวกที่ได้ยังคงเท่าเดิม
ดังนั้น การบวกกันของจำ�นวนเต็ม น่าจะมีสมบัติการสลับที่

ชวนคิด 1.5
การบวกกันระหว่างจำ�นวนเต็มสามจำ�นวน แม้จะเปลี่ยนคู่ในการบวก แต่ผลบวกที่ได้ยังคงเท่าเดิม
ดังนั้น การบวกกันของจำ�นวนเต็ม น่าจะมีสมบัติการเปลี่ยนหมู่

เฉลยแบบฝึกหัด
แบบฝึกหัด 1.2
1. 1) 25 2) 54 3) 30 4) -87
5) -61 6) 3 7) 9 8) -60
9) 18 10) -159 11) -160 12) -118

2. 1) -1 2) -1 3) -87 4) -87
5) -8 6) -8 7) -60 8) -60

3. 1) (10 + 7) + (-5) = 17 + (-5) = 12


2) 10 + [7 + (-5)] = 10 + 2 = 12
3) (-6) + (5 + 1) = (-6) + 6 = 0
4) (-6 + 5) + 1 = (-1) + 1 = 0

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 1 | จำ�นวนเต็ม 33

5) [-4 + (-8)] + 15 = (-12) + 15 = 3


6) -4 + [(-8) + 15] = -4 + 7 = 3
7) [-7 + (-12)] + (-6) = (-19) + (-6) = -25
8) (-7) + [(-12) + (-6)] = (-7) + (-18) = -25
9) (-10) + [3 + (-2)] = (-10) + 1 = -9
10) [(-10) + 3] + (-2) = (-7) + (-2) = -9

4. แนวคิด ใช้การลองแทนค่าลงใน ■ เพื่อทำ�ให้ประโยคเป็นจริง


1) 0 2) 0 3) -3 4) -4
5) 6 6) 4 7) 9 8) -11

5. แนวคิด อาจสมมุติจำ�นวนเต็มใด ๆ แทน a และ b แล้วคำ�นวณหาค่า c


จากนั้น จึงพิจารณา c ที่กำ�หนดให้บนเส้นจำ�นวน ว่าอยู่ในตำ�แหน่งที่สมเหตุสมผลหรือไม่
1) ไม่อยู่ในตำ�แหน่งที่สมเหตุสมผล เนื่องจาก a และ b เป็นจำ�นวนเต็มบวกทั้งคู่ และ b > a
ดังนั้น c ควรจะอยู่ทางขวาของ b
2) อยู่ในตำ�แหน่งที่สมเหตุสมผล
3) ไม่อยู่ในตำ�แหน่งที่สมเหตุสมผล เนื่องจาก a เป็นจำ�นวนเต็มลบ และ b เป็นจำ�นวนเต็มบวก
และค่าสัมบูรณ์ของ b มากกว่าค่าสัมบูรณ์ของ a ดังนั้น c ควรจะอยู่ระหว่าง 0 กับ b
4) ไม่อยู่ในตำ�แหน่งที่สมเหตุสมผล เนื่องจาก a และ b เป็นจำ�นวนเต็มลบทั้งคู่ และ a < b
ดังนั้น c ควรจะอยู่ทางซ้ายของ a
5) อยู่ในตำ�แหน่งที่สมเหตุสมผล

6. ฝูงปลาการ์ตูนอยู่ที่ระดับ (-28) + 13 = -15 เมตร จากระดับน้ำ�ทะเล

7. 1) อุณหภูมิของสารละลายใหม่ คือ [24 + (-5)] + (-8) = 11 องศาเซลเซียส


2) แนวคิด เมื่อเวลาผ่านไป 1 ชั่วโมง อุณหภูมิของสารละลายใหม่เป็น 24 + (-5) = 19 องศาเซลเซียส
เมื่อเวลาผ่านไป 2 ชั่วโมง อุณหภูมิของสารละลายใหม่เป็น 19 + (-8) = 11 องศาเซลเซียส
เมื่อเวลาผ่านไป 3 ชั่วโมง อุณหภูมิของสารละลายใหม่เป็น 11 + (-10) = 1 องศาเซลเซียส
เมื่อเวลาผ่านไป 4 ชั่วโมง อุณหภูมิของสารละลายใหม่เป็น 1 + (-14) = -13 องศาเซลเซียส
ดังนั้น สารละลายใหม่นี้วัดอุณหภูมิได้ -13 องศาเซลเซียส เมื่อเวลาผ่านไป 4 ชั่วโมง

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
34 บทที่ 1 | จำ�นวนเต็ม คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

1.3 การลบจำ�นวนเต็ม (3 ชั่วโมง)


จุดประสงค์
นักเรียนสามารถ
1. หาผลลบของจำ�นวนเต็มที่กำ�หนดให้
2. บอกความสัมพันธ์ของการบวกและการลบจำ�นวนเต็ม
3. ตระหนักถึงความสมเหตุสมผลของผลลบของจำ�นวนเต็มที่ได้

ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน
-

สื่อที่แนะนำ�ให้ใช้ในข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
อุปกรณ์กิจกรรมเสนอแนะ 1.3 : จะบวกหรือจะลบ

ข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ในหัวข้อนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับการลบจำ�นวนเต็ม โดยเน้นให้นักเรียนเข้าใจจำ�นวนตรงข้าม เพื่อนำ�มาใช้ในการหาผลลบ
เนื่องจากการหาผลลบของจำ�นวนเต็มจะหาจากความสัมพันธ์ที่ว่า ตัวตั้งบวกด้วยจำ�นวนตรงข้ามของตัวลบ ดังนั้น นักเรียน
จึงต้องมีความแม่นยำ�ในเรือ
่ งของการบวกจำ�นวนเต็มมาก่อน ทัง้ นี้ ครูควรพัฒนาความรูส
้ ก
ึ เชิงจำ�นวนเกีย่ วกับการลบจำ�นวนเต็ม
ให้กับนักเรียน เพื่อให้ตระหนักถึงความสมเหตุสมผลของผลลบที่เป็นไปได้ กิจกรรมที่ครูควรจัดมีดังนี้
1. ครูแนะนำ�จำ�นวนตรงข้าม โดยใช้เส้นจำ�นวนเพื่อให้นักเรียนนำ�ไปใช้ในการลบจำ�นวนเต็ม จากนั้น ครูอธิบาย
การลบจำ�นวนเต็ม ซึ่งใช้หลักการบวกและจำ�นวนตรงข้ามในการหาผลลบ ดังนี้

ตัวตั้ง – ตัวลบ = ตัวตั้ง + จำ�นวนตรงข้ามของตัวลบ


นั่นคือ a – b = a + (-b) เมื่อ a และ b เป็นจำ�นวนเต็มใด ๆ

ทั้งนี้ ครูควรแนะนำ�ให้นักเรียนตรวจสอบผลลบโดยใช้ความสัมพันธ์ต่อไปนี้
ผลลบ + ตัวลบ = ตัวตั้ง
2. สำ�หรับการใช้เครือ
่ งคิดเลขทีเ่ สนอแนะในมุมเทคโนโลยี ครูควรแนะนำ�ให้นก
ั เรียนรูจ้ ก
ั วิธใี ช้เครือ
่ งคิดเลข เพือ
่ ช่วย
ในการตรวจสอบคำ�ตอบเท่านั้น แต่ในการแก้ปัญหา นักเรียนยังจำ�เป็นต้องฝึกคิดด้วยตนเอง เพื่อพัฒนาทักษะ
การคิดคำ�นวณ
3. เพือ
่ ให้นก
ั เรียนได้ฝก
ึ ทักษะการคิดคำ�นวณเกีย่ วกับการบวกและการลบจำ�นวนเต็ม และพัฒนาความรูส้ ก
ึ เชิงจำ�นวน
ครูควรจัดกิจกรรมเพิ่มเติม โดยอาจใช้ “กิจกรรมเสนอแนะ 1.3 : จะบวกหรือจะลบ”
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 1 | จำ�นวนเต็ม 35

กิจกรรมเสนอแนะ 1.3 : จะบวกหรือจะลบ


กิจกรรมนี้ เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบวกจำ�นวนเต็ม และการลบจำ�นวนเต็ม และช่วยพัฒนา
ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ในด้านการให้เหตุผล การแก้ปัญหา รวมทั้งการสื่อสารและการสื่อความหมายทาง
คณิตศาสตร์ โดยมีอุปกรณ์และขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม ดังนี้

อุปกรณ์
บัตรตัวเลข ชุดละ 8 ใบ ดังนี้

1 5 6 12

-1 -5 -6 -12

ขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม
1. ครูแจกบัตรตัวเลข กลุ่มละ 1 ชุด
2. ครูให้นก
ั เรียนแต่ละกลุม
่ ช่วยกันเลือกบัตรเพียง 4 ใบ แล้วใช้การบวกหรือการลบเชือ
่ มระหว่างจำ�นวน เพือ
่ ให้ได้ผลลัพธ์
ตามจำ�นวนที่ครูกำ�หนดให้
3. ครูให้ตัวแทนกลุ่มนำ�บัตรมาติดบนกระดาน พร้อมทั้งเขียนเครื่องหมายแสดงการดำ�เนินการบวก หรือลบระหว่าง
จำ�นวน ดังตัวอย่าง

1 + 5 + 6 + 12 = 24

-1 + -5 + -6 + -12 = -24

-6 + 5 – -1 + 12 = 12

-6 + 5 + -1 – -12 = 10

5 + -5 – 1 + -6 = -7

4. ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายเกีย่ วกับผลของการดำ�เนินการทีไ่ ด้ และตรวจสอบความถูกต้องของแต่ละกลุม


่ จากนัน

ให้นักเรียนกลุ่มที่ทำ�ได้ในรูปแบบที่แตกต่างจากเพื่อนส่วนใหญ่ออกมานำ�เสนอ เพื่อแลกเปลี่ยนแนวคิด
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
36 บทที่ 1 | จำ�นวนเต็ม คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

เฉลยชวนคิด
ชวนคิด 1.6
1) -14 2) 14 3) -37
4) 37 5) -52 6) 52

ชวนคิด 1.7
1) 5 + (-3) 2) 6 + (-10) 3) 4 + 2 4) (-8) + 1

ชวนคิด 1.8
-22

ชวนคิด 1.9
การลบกันระหว่างจำ�นวนเต็มสองจำ�นวน เมื่อสลับที่ระหว่างตัวตั้งและตัวลบ ผลลบที่ได้ไม่เท่ากัน
ดังนั้น การลบกันของจำ�นวนเต็มไม่มีสมบัติการสลับที่

ชวนคิด 1.10
การลบกันระหว่างจำ�นวนเต็มสามจำ�นวน เมื่อเปลี่ยนคู่ในการลบ ผลลบที่ได้จะไม่เท่ากัน
ดังนั้น การลบกันของจำ�นวนเต็มไม่มีสมบัติการเปลี่ยนหมู่

ชวนคิด 1.11
1) 24:00 น. หรือ 00:00 น. 2) 17:00 ถึงก่อน 18:00 น.

เฉลยแบบฝึกหัด
แบบฝึกหัด 1.3
1. 1) -3 2) -12 3) -14 4) 33
5) 74 6) -37 7) -40 8) 18

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 1 | จำ�นวนเต็ม 37

2. 1) -120 2) 120 3) -37 4) 37


5) -90 6) 90 7) 4 8) -4

3. 1) (18 – 11) – 15 = 7 – 15 = -8
2) 18 – (11 – 15) = 18 – (-4) = 22
3) (-25 – 12) – 27 = -37 – 27 = -64
4) -25 – (12 – 27) = -25 – (-15) = -10
5) [36 – (-13)] – (-21) = 49 – (-21) = 70
6) 36 – [(-13) – (-21)] = 36 – 8 = 28
7) [(-50) – (-18)] – (-32) = (-32) – (-32) = 0
8) (-50) – [(-18) – (-32)] = (-50) – 14 = -64

4. 1) (-21) + [14 – (-7)] = (-21) + 21 = 0


2) (-42 + 16) – (-8) = (-26) – (-8) = -18
3) -19 – (-28 + 16) = -19 – (-12) = -7
4) [(-12) – (-23)] + (-11) = 11 + (-11) = 0

5. แนวคิด ใช้การลองแทนค่าลงใน ■ เพื่อทำ�ให้ประโยคเป็นจริง


1) 21 2) 33 3) 5 4) -17
5) 0 6) -24 7) -8 8) -35
9) -33 10) 0 11) 34 12) 16

6. แนวคิด แทนตัวอักษรด้วยจำ�นวนที่กำ�หนดให้ แล้วคำ�นวณหาค่า


1) เมื่อ a = 2, b = -5 และ c = 4
(a – b) + c = [2 – (-5)] + 4 a – (b + c) = 2 – [(-5) + 4]
= 7 + 4 = 2 – (-1)
= 11 = 3
2) (a – b) + c = 4 และ a – (b + c) = 6
3) (a – b) + c = -1 และ a – (b + c) = 1

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
38 บทที่ 1 | จำ�นวนเต็ม คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

7. แนวคิด อาจสมมุติจำ�นวนเต็มใด ๆ แทน a และ b แล้วคำ�นวณหาค่า c


จากนั้น จึงพิจารณา c ที่กำ�หนดให้บนเส้นจำ�นวน ว่าอยู่ในตำ�แหน่งที่สมเหตุสมผลหรือไม่
1) ไม่อยู่ในตำ�แหน่งที่สมเหตุสมผล เนื่องจาก a และ b เป็นจำ�นวนเต็มบวก และสองเท่าของ b น้อยกว่า a
ดังนั้น c ควรจะอยู่ระหว่าง b กับ a
2) อยู่ในตำ�แหน่งที่สมเหตุสมผล
3) ไม่อยู่ในตำ�แหน่งที่สมเหตุสมผล เนื่องจาก a เป็นจำ�นวนเต็มบวก และ b เป็นจำ�นวนเต็มลบ
ดังนั้น c ควรจะอยู่ทางขวาของ a
4) ไม่อยู่ในตำ�แหน่งที่สมเหตุสมผล เนื่องจาก a เป็นจำ�นวนเต็มลบ และ b เป็นจำ�นวนเต็มบวก
ดังนั้น c ควรจะอยู่ทางซ้ายของ a
5) ไม่อยู่ในตำ�แหน่งที่สมเหตุสมผล เนื่องจาก a และ b เป็นจำ�นวนเต็มลบ และ a > b
ดังนั้น c ควรจะอยู่ทางขวาของ 0

8. เรือที่อับปางนี้มีความสูงจากท้องเรือถึงดาดฟ้าประมาณ (-68) – (-92) = 24 เมตร

9. แนวคิด เนื่องจาก จุดต่ำ�สุดที่นักกีฬาคนนี้กระโดดลงไปในสระเป็น (10 + 2) – 15 = -3 เมตร จากผิวน้ำ�


ดังนั้น ถ้าสระนี้ลึก 5 เมตร เขาจะไม่สามารถลงไปแตะก้นสระได้

10. 1) วันศุกร์ และวันเสาร์
2) อุณหภูมิสูงสุดต่างจากอุณหภูมิต่ำ�สุดอยู่ 4 – (-7) = 11 องศาเซลเซียส
3) แนวคิด อาจวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ตาราง เพื่อให้การเปรียบเทียบความแตกต่างของอุณหภูมิง่ายขึ้น
ดังนี้

วัน อาทิตย์ จันทร์ อังคาร พุธ พฤหัสบดี ศุกร์ เสาร์


อุณหภูมิสูงสุด (°C) 4 6 4 4 1 -2 -2

อุณหภูมิต่ำ�สุด (°C) -7 -7 -6 -7 -7 -8 -13

ความแตกต่าง 11 13 10 11 8 6 11

ดังนั้น วันศุกร์เป็นวันที่มีอุณหภูมิสูงสุดและต่ำ�สุดแตกต่างกันน้อยที่สุด และต่างกันอยู่


6 องศาเซลเซียส

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 1 | จำ�นวนเต็ม 39

1.4 การคูณจำ�นวนเต็ม (3 ชั่วโมง)


จุดประสงค์
นักเรียนสามารถ
1. หาผลคูณของจำ�นวนเต็มที่กำ�หนดให้
2. ตระหนักถึงความสมเหตุสมผลของผลคูณของจำ�นวนเต็มที่ได้

ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน
-

สื่อที่แนะนำ�ให้ใช้ในข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ใบกิจกรรมเสนอแนะ 1.4 : เราสัมพันธ์กัน

ข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ในหัวข้อนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับการคูณจำ�นวนเต็ม ซึ่งเน้นให้นักเรียนเข้าใจหลักการคูณจำ�นวนเต็ม โดยใช้ความรู้เกี่ยวกับ
ความหมายของการคูณและแบบรูป ทั้งนี้ ครูควรจะพัฒนาความรู้สึกเชิงจำ�นวนเกี่ยวกับการคูณจำ�นวนเต็มให้กับนักเรียน
เพื่อให้ตระหนักถึงความสมเหตุสมผลของผลคูณที่ได้ กิจกรรมที่ครูควรจัดมีดังนี้
1. การอธิบายหลักการคูณจำ�นวนเต็มมักไม่ใช้เส้นจำ�นวนในการอธิบาย เพราะไม่ได้ช่วยให้นักเรียนเข้าใจง่ายขึ้น
แต่จะใช้ความหมายของการคูณจำ�นวนนับในการอธิบายการคูณจำ�นวนเต็มบวกด้วยจำ�นวนเต็มบวก แล้วจึง
เชื่อมโยงไปสู่การคูณจำ�นวนเต็มบวกด้วยจำ�นวนเต็มลบ โดยใช้หลักการเดียวกัน
2. ในการอธิบายหลักการคูณจำ�นวนเต็มลบกับจำ�นวนเต็มบวก และการคูณจำ�นวนเต็มลบกับจำ�นวนเต็มลบ จะใช้
การอธิบายด้วยแบบรูป ทั้งนี้ ครูอาจใช้ “กิจกรรมเสนอแนะ 1.4 : เราสัมพันธ์กัน” เพื่อให้นักเรียนได้ฝึกสังเกต
เกี่ยวกับแบบรูปและผลคูณที่ได้ เพื่อนำ�ไปสู่หลักการดังกล่าว
3. ครูควรให้นก
ั เรียนสังเกตผลคูณทีไ่ ด้จากการคูณจำ�นวนเต็มทีไ่ ม่ใช่ศน
ู ย์ทลี ะคู่ แล้วใช้ค�ำ ถามให้นก
ั เรียนได้ขอ
้ สรุปว่า
ผลคูณที่เกิดจากจำ�นวนเต็มชนิดเดียวกันจะเป็นจำ�นวนเต็มบวก และผลคูณที่เกิดจากจำ�นวนเต็มต่างชนิดกัน
จะเป็นจำ�นวนเต็มลบ เพื่อให้นักเรียนได้ตระหนักถึงความสมเหตุสมผลของคำ�ตอบที่ได้จากการคูณจำ�นวนเต็ม
เมื่อนักเรียนต้องแก้ปัญหาด้วยตนเอง

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
40 บทที่ 1 | จำ�นวนเต็ม คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

กิจกรรมเสนอแนะ 1.4 : เราสัมพันธ์กัน


กิจกรรมนี้ เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการสังเกตความสัมพันธ์ของจำ�นวนในแบบรูปของการคูณ
และช่วยพัฒนาทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ในด้านการให้เหตุผล และการเชื่อมโยง โดยมีอุปกรณ์และขั้นตอน
การดำ�เนินกิจกรรม ดังนี้

อุปกรณ์
ใบกิจกรรมเสนอแนะ 1.4 : เราสัมพันธ์กัน

ขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม
1. ครูให้นักเรียนแต่ละคนทำ�ใบกิจกรรมเสนอแนะ 1.4 : เราสัมพันธ์กัน ข้อที่ 1 แล้วสังเกตความสัมพันธ์ของการเพิ่ม
หรือการลดของตัวคูณกับผลคูณที่ได้จากข้อ 1 แล้วตอบลงในข้อ 2
2. ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายถึงความสัมพันธ์ของการเพิ่มหรือการลดของตัวคูณกับผลคูณ ที่นักเรียนตอบในข้อ 2
โดยอาจให้ตัวแทนนักเรียนนำ�เสนอข้อความคาดการณ์ที่ตนเองค้นพบกับเพื่อนคนอื่น ๆ เพื่ออภิปรายแลกเปลี่ยน
แนวคิดกัน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 1 | จำ�นวนเต็ม 41

ใบกิจกรรมเสนอแนะ 1.4 : เราสัมพันธ์กัน

1. ให้สังเกตแบบรูปที่กำ�หนดให้แล้วเติมคำ�ตอบลงในช่องว่างให้ถูกต้อง

5×5 = 25 -4 × 5 = -20

5×4 = 20 -4 × 4 = -16

5×3 = 15 -4 × 3 = -12

5×2 = 10 -4 × 2 = ■
5×1 = 5 -4 × 1 = ■
5×0 = 0 -4 × 0 = ■
5 × (-1) = -5 -4 × (-1) = ■
5 × (-2) = ■ -4 × (-2) = ■
5 × (-3) = ■ -4 × (-3) = ■
5 × (-4) = ■ -4 × (-4) = ■
2. ให้นักเรียนสังเกตและสร้างข้อความคาดการณ์เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของการเพิ่มหรือการลดของตัวคูณกับ
ผลคูณในข้อ 1

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
42 บทที่ 1 | จำ�นวนเต็ม คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

เฉลยใบกิจกรรมเสนอแนะ 1.4 : เราสัมพันธ์กัน


1. ให้สังเกตแบบรูปที่กำ�หนดให้แล้วเติมคำ�ตอบลงในช่องว่างให้ถูกต้อง

5×5 = 25 -4 × 5 = -20

5×4 = 20 -4 × 4 = -16

5×3 = 15 -4 × 3 = -12

5×2 = 10 -4 × 2 = -8

5×1 = 5 -4 × 1 = -4

5×0 = 0 -4 × 0 = 0

5 × (-1) = -5 -4 × (-1) = 4

5 × (-2) = -10 -4 × (-2) = 8

5 × (-3) = -15 -4 × (-3) = 12

5 × (-4) = -20 -4 × (-4) = 16

2. ให้ นั ก เรี ย นสั ง เกตและสร้ า งข้ อ ความคาดการณ์ เ กี่ ย วกั บ ความสั ม พั น ธ์ ข องการเพิ่ ม หรื อ การลดของตั ว คู ณ
กับผลคูณในข้อ 1
นักเรียนอาจสร้างข้อความคาดการณ์ได้ว่า
1) เมื่อตัวตั้งเป็นจำ�นวนเต็มบวก คือ 5 และตัวคูณเป็นจำ�นวนเต็มที่น้อยลงทีละ 1
จะทำ�ให้ผลคูณลดลงทีละ 5
2) เมื่อตัวตั้งเป็นจำ�นวนเต็มลบ คือ -4 และตัวคูณเป็นจำ�นวนเต็มที่น้อยลงทีละ 1
จะทำ�ให้ผลคูณเพิ่มขึ้นทีละ 4
ทั้งนี้ นักเรียนอาจสรุปได้ว่า จำ�นวนเต็มชนิดเดียวกันคูณกันจะได้ผลคูณเป็นจำ�นวนเต็มบวก และจำ�นวนเต็ม
ต่างชนิดกันคูณกันจะได้ผลคูณเป็นจำ�นวนเต็มลบ (ยกเว้นกรณีที่มี 0)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 1 | จำ�นวนเต็ม 43

เฉลยชวนคิด
ชวนคิด 1.12
คำ�ตอบมีได้หลากหลาย เช่น
ใช้วิธีจับคู่จำ� นวนที่มีผลบวกเป็น 100 ซึ่งได้ 49 คู่ แล้วจึงนำ � 100 มาคูณด้วยจำ�นวนคู่ที่บวกกัน
และบวกด้วย 50 กับ 100 ซึ่งสองจำ�นวนนี้ไม่ได้ถูกจับคู่

1 + 2 + 3 + 4 + ... + 96 + 97 + 98 + 99 + 100

และได้ผลบวกเป็น (49 × 100) + 50 + 100 = 5,050

ชวนคิด 1.13
การคูณกันระหว่างจำ�นวนเต็มสองจำ�นวน เมื่อสลับที่ระหว่างตัวตั้งและตัวคูณ ผลคูณที่ได้ยังคงเท่าเดิม
ดังนั้น การคูณกันของจำ�นวนเต็ม น่าจะมีสมบัติการสลับที

ชวนคิด 1.14
การคูณกันระหว่างจำ�นวนเต็มสามจำ�นวน แม้จะเปลี่ยนคู่ในการคูณ แต่ผลคูณที่ได้ยังคงเท่าเดิม
ดังนั้น การคูณกันของจำ�นวนเต็ม น่าจะมีสมบัติการเปลี่ยนหมู่

ชวนคิด 1.15
การคูณกันระหว่างจำ�นวนเต็มจำ�นวนหนึ่งกับจำ�นวนเต็มที่บวกกันอยู่คู่หนึ่ง มีผลลัพธ์เท่ากับผลบวกของ
ผลคูณของจำ�นวนนั้นกับจำ�นวนเต็มแต่ละตัวของคู่ที่บวกกันอยู่
ดังนั้น น่าจะมีสมบัติการแจกแจง ซึ่งแสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างการคูณและการบวกจำ�นวนเต็ม

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
44 บทที่ 1 | จำ�นวนเต็ม คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

เฉลยแบบฝึกหัด
แบบฝึกหัด 1.4
1. 1) 98 2) 0 3) -95 4) -44
5) -250 6) -112 7) 104 8) 400

2. 1) -132 2) -132 3) -117 4) -117


5) 300 6) 300 7) 136 8) 136

3. 1) (11 × 3) × 7 = 33 × 7 = 231
2) 11 × (3 × 7) = 11 × 21 = 231
3) [5 × (-8)] × 4 = -40 × 4 = -160
4) 5 × [(-8) × 4] = 5 × (-32) = -160
5) -10[6(-3)] = -10(-18) = 180
6) [(-10)6](-3) = -60(-3) = 180
7) (-7)[(-4)∙(-6)] = -7(24) = -168
8) [-7(-4)]∙(-6) = 28(-6) = -168
9) [(-13)(-5)] × (-20) = 65 × (-20) = -1,300
10) -13[(-5) × (-20)] = -13(100) = -1,300

4. 1) 20(8 + 12) = 20(20) = 400


2) (20 × 8) + (20 × 12) = 160 + 240 = 400
3) 14[10 + (-9)] = 14(1) = 14
4) (14 × 10) + [14 × (-9)] = 140 + (-126) = 14
5) 28 × [-2 + (-3)] = 28 × (-5) = -140
6) [28(-2)] + [28(-3)] = -56 + (-84) = -140
7) -6 × (-20 + 5) = -6 × (-15) = 90
8) [(-6)∙(-20)] + [(-6)∙5] = 120 + (-30) = 90
9) (-10) × [(-5) + (-15)] = (-10) × (-20) = 200
10) [-10(-5)] + [-10(-15)] = 50 + 150 = 200
11) 2 × [27 + (-9)] = 2 × 18 = 36
12) [2(27)] + [2(-9)] = 54 + (-18) = 36
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 1 | จำ�นวนเต็ม 45

5. แนวคิด ใช้การลองแทนค่าลงใน ■ เพื่อทำ�ให้ประโยคเป็นจริง


1) 9 2) 15 3) 1 4) -1
5) 50 6) -50 7) 2 8) -2
9) -21 10) 36 11) -5 12) 13

6. แนวคิด อาจสมมุติจำ�นวนเต็มใด ๆ แทน a และ b แล้วคำ�นวณหาค่า c


จากนั้น จึงพิจารณา c ที่กำ�หนดให้บนเส้นจำ�นวน ว่าอยู่ในตำ�แหน่งที่สมเหตุสมผลหรือไม่
1) ไม่อยู่ในตำ�แหน่งที่สมเหตุสมผล เนื่องจาก a และ b เป็นจำ�นวนเต็มบวกทั้งคู่
ดังนั้น c ควรจะอยู่ที่ b หรือทางขวาของ b
2) ไม่อยู่ในตำ�แหน่งที่สมเหตุสมผล เนื่องจาก a เป็นจำ�นวนเต็มบวก และ b เป็นจำ�นวนเต็มลบ
ดังนั้น c ควรจะอยู่ทางซ้ายของ b และอยู่ห่างจากศูนย์เป็นระยะมากกว่าหรือเท่ากับค่าสัมบูรณ์ของ a
3) ไม่อยู่ในตำ�แหน่งที่สมเหตุสมผล เนื่องจาก a และ b เป็นจำ�นวนเต็มลบทั้งคู่
ดังนั้น c ควรจะอยู่ทางขวาของ 0
4) ไม่อยู่ในตำ�แหน่งที่สมเหตุสมผล เนื่องจาก a เป็นจำ�นวนเต็มลบ และ b เป็นจำ�นวนเต็มบวก
ดังนั้น c ควรจะอยู่ทางซ้ายของ a
5) อยู่ในตำ�แหน่งที่สมเหตุสมผล

7. น้ำ�แข็งแห้งมีอุณหภูมิเป็น 13 × (-6) = -78 องศาเซลเซียส



8. เมื่อเวลาผ่านไป 8 นาที เรือดำ�น้ำ�จะอยู่ที่ระดับ 8 × (-17) = -136 เมตร จากระดับน้ำ�ทะเล

9. กุ้งอาศัยอยู่ที่ระดับ 4 × (-150) = -600 เมตร จากระดับน้ำ�ทะเล

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
46 บทที่ 1 | จำ�นวนเต็ม คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

1.5 การหารจำ�นวนเต็ม (3 ชั่วโมง)


จุดประสงค์
นักเรียนสามารถ
1. หาผลหารของจำ�นวนเต็มที่กำ�หนดให้
2. บอกความสัมพันธ์ของการคูณและการหารจำ�นวนเต็ม
3. ตระหนักถึงความสมเหตุสมผลของผลหารของจำ�นวนเต็มที่ได้

ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน
-

สื่อที่แนะนำ�ให้ใช้ในแนวทางการจัดการเรียนรู้
ใบกิจกรรมเสนอแนะ 1.5 : ปริศนาจำ�นวนเต็ม

ข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ในหัวข้อนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับการหารจำ�นวนเต็มที่มีผลหารเป็นจำ�นวนเต็มเท่านั้น โดยเน้นให้นักเรียนเข้าใจหลักการหาร
จำ�นวนเต็ม และการตรวจสอบผลหารจากความสัมพันธ์ “ตัวหาร × ผลหาร = ตัวตั้ง” ทั้งนี้ ครูควรพัฒนาความรู้สึกเชิงจำ�นวน
เกี่ยวกับการหารจำ�นวนเต็มให้กับนักเรียน เพื่อให้ตระหนักถึงความสมเหตุสมผลของผลหารที่ได้ กิจกรรมที่ครูควรจัดมีดังนี้
1. ครูควรจัดกิจกรรมให้นักเรียนเข้าใจหลักเกณฑ์การหารจำ�นวนเต็ม โดยเริ่มจากการใช้ความสัมพันธ์ระหว่าง
การคูณและการหารที่ว่า ตัวหาร × ผลหาร = ตัวตั้ง และยกตัวอย่างที่หลากหลายให้นักเรียนสังเกตผลหารที่ได้
เพื่อนำ�ไปสู่ข้อสรุปเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การหารจำ�นวนเต็มโดยใช้ค่าสัมบูรณ์
นอกจากนี้ ครูควรเน้นย้ำ�เกี่ยวกับการอ่าน เช่น 12 ÷ (-4) อ่านว่า 12 หารด้วย -4 ไม่ใช่ 12 หาร -4
ซึ่งมีความหมายต่างกัน และการหารจำ�นวนเต็มที่ไม่ใช้ 0 เป็นตัวหาร
2. สำ � หรั บ การใช้ เ ครื่ อ งคิ ด เลขในมุ ม เทคโนโลยี ครู ค วรแนะนำ � ให้ นั ก เรี ย นรู้ จั ก วิ ธี ใ ช้ เ ครื่ อ งคิ ด เลขเพื่ อ ช่ ว ย
ในการตรวจสอบคำ�ตอบเท่านั้น แต่ในการแก้ปัญหา นักเรียนยังจำ�เป็นต้องฝึกคิดด้วยตนเอง เพื่อพัฒนาทักษะ
การคิดคำ�นวณ
3. ครูควรให้นก
ั เรียนสังเกตผลหารทีไ่ ด้จากการหารจำ�นวนเต็มทีไ่ ม่ใช่ศน
ู ย์ทลี ะคู่ แล้วใช้ค�ำ ถามให้นก
ั เรียนเปรียบเทียบ
ผลหารกับผลคูณที่เคยเรียนมาแล้ว จนได้ข้อสรุปว่า ผลหารที่เกิดจากจำ�นวนเต็มชนิดเดียวกัน จะเป็นจำ�นวน
เต็มบวก และผลหารที่เกิดจากจำ�นวนเต็มต่างชนิดกัน จะเป็นจำ�นวนเต็มลบ เพื่อให้นักเรียนได้ตระหนักถึง
ความสมเหตุสมผลของคำ�ตอบที่ได้จากการหารจำ�นวนเต็ม เมื่อนักเรียนต้องแก้ปัญหาด้วยตนเอง ทั้งนี้ ครูอาจใช้
“กิจกรรมเสนอแนะ 1.5 : ปริศนาจำ�นวนเต็ม” เพื่อตรวจสอบความเข้าใจของนักเรียนและฝึกทักษะเกี่ยวกับ
การบวก การลบ การคูณ และการหารจำ�นวนเต็ม
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 1 | จำ�นวนเต็ม 47

กิจกรรมเสนอแนะ 1.5 : ปริศนาจำ�นวนเต็ม


กิจกรรมนี้ เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบวก การลบ การคูณ และการหารจำ�นวนเต็ม ฝึกการแก้
ปัญหา และเสริมสร้างทักษะการคิดคำ�นวณ ช่วยพัฒนาทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ในด้านการให้เหตุผล รวมทั้ง
ความรู้สึกเชิงจำ�นวนของนักเรียน โดยมีอุปกรณ์และขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม ดังนี้

อุปกรณ์
ใบกิจกรรมเสนอแนะ 1.5 : ปริศนาจำ�นวนเต็ม

ขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม
1. ครูให้นักเรียนแต่ละคนทำ�ใบกิจกรรมเสนอแนะ 1.5 : ปริศนาจำ�นวนเต็ม
2. ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายถึงแนวคิดทีใ่ ช้ในการไขปริศนาจำ�นวนเต็ม เช่น ควรเริม
่ คิดจากช่องใดก่อน จึงจะทำ�ให้
การแก้ปัญหาง่ายขึ้น และร่วมกันเฉลยใบกิจกรรมดังกล่าว

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
48 บทที่ 1 | จำ�นวนเต็ม คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

ใบกิจกรรมเสนอแนะ 1.5 : ปริศนาจำ�นวนเต็ม

คำ�ชี้แจง
ให้นักเรียนเติมจำ�นวนเต็มลงในช่องว่างให้ถูกต้อง เมื่อกำ�หนดให้จำ�นวนที่อยู่ในหลักที่หนึ่งเป็นตัวตั้งและ
จำ�นวนที่อยู่ในแถวที่หนึ่งเป็นตัวบวก ตัวลบ ตัวคูณ หรือตัวหาร

ปริศนาการบวก ปริศนาการลบ

+ 0 -3 4 – 5

5 5 2 -1 1

-1 -6 -4

-1 -1

-3 -2 1 -5

ปริศนาการคูณ ปริศนาการหาร

x 4 -9 2 ÷ 2 -2 -4

-8 1

-3 8

35 -14 -2

6 2

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 1 | จำ�นวนเต็ม 49

เฉลยใบกิจกรรมเสนอแนะ 1.5 : ปริศนาจำ�นวนเต็ม

ปริศนาการบวก ปริศนาการลบ

+ 0 -3 1 4 – 5 -2 6 3

5 5 2 6 9 4 -1 6 -2 1

2 2 -1 3 6 -6 -11 -4 -12 -9

-1 -1 -4 0 3 -3 -8 -1 -9 -6

-3 -3 -6 -2 1 1 -4 3 -5 -2

ปริศนาการคูณ ปริศนาการหาร

x -5 4 -9 2 ÷ 2 4 -2 -4

-2 10 -8 18 -4 4 2 1 -2 -1

-3 15 -12 27 -6 8 4 2 -4 -2

-7 35 -28 63 -14 -4 -2 -1 2 1

6 -30 24 -54 12 -8 -4 -2 4 2

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
50 บทที่ 1 | จำ�นวนเต็ม คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

เฉลยชวนคิด
ชวนคิด 1.16
จำ�นวนคู่ ได้แก่ 440, -50 และ 0
จำ�นวนคี่ ได้แก่ 5 และ -3

ชวนคิด 1.17
1) 28 2) 8 3) -95 4) 55

เฉลยแบบฝึกหัด
แบบฝึกหัด 1.5
1. 1) 15 2) 40 3) 0 4) -10
5) 150 6) -3 7) -7 8) -100
9) 14 10) 90
11) [(-100) ÷ (-2)] ÷ 10 = 50 ÷ 10 = 5
12) (-25 ÷ 5) ÷ 5 = (-5) ÷ 5 = -1
13) -300 ÷ (-35 ÷ 7) = -300 ÷ (-5) = 60
14) (-450) ÷ [(-90) ÷ (-3)] = (-450) ÷ 30 = -15
15) [(-144) ÷ 3] ÷ [(-78) ÷ (-13)] = (-48) ÷ 6 = -8

2. 1) [10 × (-6)] ÷ 4 = (-60) ÷ 4 = -15


2) [(-54) + (-9)] ÷ 7 = (-63) ÷ 7 = -9
3) (-200) ÷ (13 – 53) = (-200) ÷ (-40) = 5
4) 169 ÷ [47 + (-60)] = 169 ÷ (-13) = -13
5) [225 ÷ (-15)]∙(-3) = (-15)∙(-3) = 45
6) [(-81) ÷ (-3)] – (-23) = 27 – (-23) = 50
7) -21 + (-440 ÷ 11) = -21 + (-40) = -61
8) -1[(-322) ÷ (-14)] = -1(23) = -23

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 1 | จำ�นวนเต็ม 51

3. แนวคิด ใช้การลองแทนค่าลงใน ■ เพื่อทำ�ให้ประโยคเป็นจริง


1) 28 2) 25 3) 1 4) -17
5) -1 6) -1 7) 10 8) -800
9) -144 10) 25

4. แนวคิด อาจสมมุติจำ�นวนเต็มใด ๆ แทน a และ b แล้วคำ�นวณหาค่า c
จากนั้น จึงพิจารณา c ที่กำ�หนดให้บนเส้นจำ�นวน ว่าอยู่ในตำ�แหน่งที่สมเหตุสมผลหรือไม่
1) ไม่อยู่ในตำ�แหน่งที่สมเหตุสมผล เนื่องจาก a และ b เป็นจำ�นวนเต็มบวก และ a > b
ดังนั้น c ควรจะอยู่ที่ a หรืออยู่ระหว่าง 0 กับ a
2) ไม่อยู่ในตำ�แหน่งที่สมเหตุสมผล เนื่องจาก a และ b เป็นจำ�นวนเต็มลบทั้งคู่
ดังนั้น c ควรจะอยู่ทางขวาของ 0
3) ไม่อยู่ในตำ�แหน่งที่สมเหตุสมผล เนื่องจากมีบางกรณีที่ c สามารถอยู่ระหว่าง 0 กับ b ได้ เช่น
b มีค่าน้อยมาก ๆ เช่น -80 และ a เป็น 320 จะทำ�ให้ c อยู่ระหว่าง 0 กับ b
4) ไม่อยู่ในตำ�แหน่งที่สมเหตุสมผล เนื่องจากไม่มีจำ�นวนเต็ม c ที่เท่ากับ a ÷ b
5) ไม่อยู่ในตำ�แหน่งที่สมเหตุสมผล เนื่องจาก a เป็นจำ�นวนเต็มลบที่มีค่าสัมบูรณ์มากกว่าค่าสัมบูรณ์
ของ b ซึ่งเป็นจำ�นวนเต็มบวก
ดังนั้น c ควรจะอยู่ที่ a หรือ อยู่ทางขวาของ a และทางซ้ายของ 0

5. แนวคิด โดยเฉลี่ยแล้วน้ำ�ทะเลเปลี่ยนแปลงไป (-6) ÷ 6 = -1 เมตรต่อชั่วโมง


นั่นคือ ในช่วงเวลา 9 นาฬิกา ถึง 15 นาฬิกา น้ำ�ทะเลลดลงเฉลี่ย 1 เมตรต่อชั่วโมง

6. แนวคิด เนื่องจาก ต้องการแบ่งส้มออกเป็นกอง กองละเท่า ๆ กัน ให้แต่ละกองมีจำ�นวนมากที่สุด


และไม่เหลือเศษ โดยที่ส้มแต่ละสายพันธุ์ไม่ปนกัน
จำ�นวนส้มแต่ละกองตามเงื่อนไขข้างต้น จะต้องเป็นจำ�นวนเต็มที่มากที่สุดที่หาร 48, 60 และ 84
ได้โดยไม่เหลือเศษ ซึ่งคือ ห.ร.ม. ของทั้งสามจำ�นวน ได้แก่ 12
ดังนั้น ต้องแบ่งส้มแต่ละสายพันธุ์ออกเป็นกองละ 12 ผล
นั่นคือ เราแบ่งส้มสายพันธุ์ที่หนึ่งได้ 4 กอง สายพันธุ์ที่สองได้ 5 กอง และสายพันธุ์ที่สามได้ 7 กอง
ดังนั้น จะแบ่งส้มได้ทั้งหมด 16 กอง กองละ 12 ผล

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
52 บทที่ 1 | จำ�นวนเต็ม คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

7. แนวคิด เส้นทางที่ 1 รถออกทุก 30 นาที


จะได้ว่า หลังจากเวลา 07:30 น. นายท่าจะปล่อยรถโดยสารของเส้นทางที่ 1 เมื่อเวลาผ่านไป
(นาที) 30, 60, 90, 120, 150, ... ซึ่งจำ�นวนเหล่านี้เป็นพหุคูณของ 30
เส้นทางที่ 2 รถออกทุก 40 นาที
จะได้ว่า หลังจากเวลา 07:30 น. นายท่าจะปล่อยรถโดยสารของเส้นทางที่ 2 เมื่อเวลาผ่านไป
(นาที) 40, 80, 120, 160, 200, ... ซึ่งจำ�นวนเหล่านี้เป็นพหุคูณของ 40
เส้นทางที่ 3 รถออกทุก 50 นาที
จะได้ว่า หลังจากเวลา 07:30 น. นายท่าจะปล่อยรถโดยสารของเส้นทางที่ 3 เมื่อเวลาผ่านไป
(นาที) 50, 100, 150, 200, 250, ... ซึ่งจำ�นวนเหล่านี้เป็นพหุคูณของ 50
ดังนั้น ถ้าปล่อยรถโดยสารทั้งสามเส้นทางพร้อมกันครั้งแรก แล้วนายท่าจะปล่อยรถโดยสาร
ทั้งสามเส้นทางพร้อมกันครั้งต่อไป เมื่อเวลาผ่านไปเท่ากับพหุคูณร่วมที่น้อยที่สุดของ 30,
40 และ 50 หรือ ค.ร.น. ของ 30, 40 และ 50 นั่นเอง
เนื่องจาก ค.ร.น. ของ 30, 40 และ 50 คือ 600
แสดงว่า นายท่าจะปล่อยรถโดยสารทั้งสามเส้นทางพร้อมกันครั้งต่อไป เมื่อเวลาผ่านไป
600 นาที หรือ 10 ชั่วโมง
เนื่องจาก นายท่าปล่อยรถโดยสารออกทั้งสามเส้นทางครั้งแรกเมื่อเวลา 07:30 น.
ดังนั้น นายท่าจะปล่อยรถโดยสารทั้งสามเส้นทางพร้อมกันครั้งต่อไปเวลา 17:30 น.

8. 1) ในสัปดาห์นี้ มีอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยเป็น [4 + 3 + 2 + 3 + 3 + (-1) + 0] ÷ 7 = 2 องศาเซลเซียส


2) ในสัปดาห์นี้ มีอุณหภูมิต่ำ�สุดเฉลี่ยเป็น [2 + (-1) + (-2) + (-1) + (-3) + (-5) + (-4)] ÷ 7 = -2 องศาเซลเซียส
3) ในวันศุกร์มีอุณหภูมิเฉลี่ยเป็น [(-1) + (-5)] ÷ 2 = -3 องศาเซลเซียส
4) แนวคิด อาจวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ตาราง เพื่อให้การหาและเปรียบเทียบอุณหภูมิเฉลี่ยง่ายขึ้น ดังนี้

วัน อาทิตย์ จันทร์ อังคาร พุธ พฤหัสบดี ศุกร์ เสาร์


อุณหภูมิสูงสุด (°C) 4 3 2 3 3 -1 0
อุณหภูมิต่ำ�สุด (°C) 2 -1 -2 -1 -3 -5 -4
อุณหภูมิเฉลี่ย (°C) 3 1 0 1 0 -3 -2

ดังนั้น วันที่มีอุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุด คือ วันอาทิตย์


5) แนวคิด เนื่องจากอุณหภูมิเฉลี่ยของทั้งสัปดาห์หาได้จากการนำ�อุณหภูมิเฉลี่ยในแต่ละวันของสัปดาห์นั้น ๆ
มารวมกัน แล้วหารด้วยจำ�นวนวันในสัปดาห์ ซึ่งจากข้อ 4) จะได้ว่า อุณหภูมิเฉลี่ยของสัปดาห์นี้เป็น
[3 + 1 + 0 + 1 + 0 + (-3) + (-2)] ÷ 7 = 0 องศาเซลเซียส

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 1 | จำ�นวนเต็ม 53

1.6 สมบัติของการบวกและการคูณจำ�นวนเต็ม (3 ชั่วโมง)


จุดประสงค์
นักเรียนสามารถนำ�ความรู้และสมบัติการดำ�เนินการของจำ�นวนเต็มไปใช้ในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์

ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน
นักเรียนอาจเข้าใจว่าสมบัติการสลับที่และสมบัติการเปลี่ยนหมู่เป็นจริงสำ�หรับทุกการดำ�เนินการ แต่ในความเป็นจริง
สมบัติการสลับที่และสมบัติการเปลี่ยนหมู่เป็นจริงสำ�หรับการบวกและการคูณเท่านั้น

สื่อที่แนะนำ�ให้ใช้ในข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ใบกิจกรรมเสนอแนะ 1.6 : จัตุรัสกล

ข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ในหัวข้อนีเ้ ป็นเรือ
่ งเกีย
่ วกับสมบัตข
ิ องการบวกและการคูณจำ�นวนเต็ม โดยเน้นให้นก ั เรียนเข้าใจสมบัตก
ิ ารสลับที ่ สมบัติ
การเปลี่ยนหมู่ สมบัติการแจกแจง และสมบัติของศูนย์และหนึ่ง เพื่อนำ�สมบัติเหล่านี้ ไปช่วยให้การคิดคำ�นวณง่ายขึ้น กิจกรรม
ที่ครูควรจัดมีดังนี้
1. ครูแนะนำ�สมบัติของการบวกและการคูณจำ�นวนเต็ม ได้แก่ สมบัติการสลับที่ สมบัติการเปลี่ยนหมู่ สมบัติการ
แจกแจง และสมบัติของศูนย์และหนึ่ง โดยยกตัวอย่างให้นักเรียนได้สังเกตก่อนที่จะสรุปสมบัติแต่ละข้อ สำ�หรับ
เนื้อหาในชั้นนี้ จะขยายความเข้าใจเกี่ยวกับสมบัติให้ครอบคลุมในส่วนของจำ�นวนเต็มลบ ซึ่งเพิ่มขึ้นจากระดับ
ประถมศึกษา
2. ครูควรให้นักเรียนได้ฝึกการคิดคำ�นวณในใจ โดยใช้ความรู้สึกเชิงจำ�นวน และสมบัติของการบวกและการคูณ
จำ�นวนเต็ม เช่น (-20) + 78 + (-80) + 22 ซึ่งครูอาจใช้ชวนคิด 1.18 ในการฝึกฝนเพิ่มเติม
3. ครูอาจใช้ “กิจกรรมเสนอแนะ 1.6 : จัตุรัสกล” เพื่อตรวจสอบความเข้าใจเกี่ยวกับสมบัติของหนึ่ง นอกจากนี้
ครูอาจหาโจทย์เพิ่มเติม เพื่อให้นักเรียนได้ฝึกใช้สมบัติต่าง ๆ ในการหาคำ�ตอบ และฝึกทักษะการคิดคำ�นวณ เช่น
จงเติมเครื่องหมาย > , < หรือ = ลงใน ■ เพื่อทำ�ให้ประโยคต่อไปนี้เป็นจริง
1) 745 + 435 + 603 ■ 747 + 437 + 606
2) 350 + 350 + 350 + 350 + 350 ■ (-5) × 350
3) 70 + 71 + 72 ■ -3 × 71
4) 50 × 15 ■ 51 × 15
5) 350 ÷ 8 ■ 350 ÷ 9
6) -1,500 ÷ 56 ■ -1,499 ÷ 56
7) 2,000 ÷ (-10) ■ (-2,000) ÷ 10
8) (-15) × 16 × (-2) ■ (-2) × 16 × (-15)
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
54 บทที่ 1 | จำ�นวนเต็ม คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

กิจกรรมเสนอแนะ 1.6 : จัตุรัสกล


กิจกรรมจัตรุ สั กล เป็นกิจกรรมทีส่ ง่ เสริมความรูค
้ วามเข้าใจเกีย่ วกับสมบัตข
ิ องหนึง่ และช่วยพัฒนาทักษะและกระบวนการ
ทางคณิตศาสตร์ในด้านการให้เหตุผล โดยมีอุปกรณ์และขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม ดังนี้

อุปกรณ์
ใบกิจกรรมเสนอแนะ 1.6 : จัตุรัสกล

ขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม
1. ครูให้นักเรียนแต่ละคนทำ�ใบกิจกรรมเสนอแนะ 1.6 : จัตุรัสกล
2. ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายเกีย
่ วกับแนวคิดทีใ่ ช้ในการทำ�จัตรุ ส
ั กล เช่น นักเรียนมีแนวคิดอย่างไรในการแก้ปญ
ั หา
และร่วมกันเฉลยใบกิจกรรมดังกล่าว

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 1 | จำ�นวนเต็ม 55

ใบกิจกรรมเสนอแนะ 1.6 : จัตุรัสกล

1. จงเติม 1 ห้าจำ�นวน และ -1 อีกสีจ่ �ำ นวนลงในช่องตารางแต่ละช่อง เพือ


่ ทำ�ให้ผลคูณของจำ�นวนในแนวนอน
แนวตั้ง และแนวเส้นทแยงมุม เท่ากับ 1

2. จงเติม 1 สีจ่ �ำ นวน และ -1 อีกห้าจำ�นวนลงในช่องตารางแต่ละช่อง เพือ


่ ทำ�ให้ผลคูณของจำ�นวนในแนวนอน
แนวตั้ง และแนวเส้นทแยงมุม เท่ากับ -1

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
56 บทที่ 1 | จำ�นวนเต็ม คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

เฉลยใบกิจกรรมเสนอแนะ 1.6 : จัตุรัสกล


1. จงเติม 1 ห้าจำ�นวน และ -1 อีกสีจ่ �ำ นวนลงในช่องตารางแต่ละช่อง เพือ
่ ทำ�ให้ผลคูณของจำ�นวนในแนวนอน แนวตัง้
และแนวเส้นทแยงมุม เท่ากับ 1

-1 1 -1

1 1 1

-1 1 -1

2. จงเติม 1 สีจ่ �ำ นวน และ -1 อีกห้าจำ�นวนลงในช่องตารางแต่ละช่อง เพือ


่ ทำ�ให้ผลคูณของจำ�นวนในแนวนอน แนวตัง้
และแนวเส้นทแยงมุม เท่ากับ -1

1 -1 1

-1 -1 -1

1 -1 1

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 1 | จำ�นวนเต็ม 57

เฉลยชวนคิด
ชวนคิด 1.18
1) 400 2) 501 3) -713 4) 90
5) -90 6) -220

ชวนคิด 1.19
6

ชวนคิด 1.20
1) 0 = 0 × a
2) a เป็นจำ�นวนเต็มใด ๆ
3) a ที่ได้จากข้อ 2) มีมากกว่าหนึ่งจำ�นวน
4) หา a ที่แน่นอนไม่ได้ เพราะ a แทนจำ�นวนเต็มได้ทุกจำ�นวน ซึ่งล้วนแต่ทำ�ให้ประโยค
0 = 0 × a เป็นจริง
5) ไม่มีจำ�นวนเต็ม b ใด ๆ ที่ทำ�ให้ 0 × b = 8
ดังนั้น เราจึงหา 8 ÷ 0 ไม่ได้
6) ไม่มีคำ�ตอบสำ�หรับ 8 ÷ 0 เพราะไม่สามารถหาจำ�นวนมาคูณกับ 0 แล้วได้ผลลัพธ์เท่ากับ 8
7) การหารจำ�นวนใด ๆ ด้วย 0 มีคำ�ตอบที่หลากหลาย จึงไม่มีคำ�ตอบที่แน่นอน
หมายเหตุ : จากชวนคิดนี้ ครูอาจขยายความคิด เพื่อให้ได้ข้อสรุปว่า
“ในทางคณิตศาสตร์ จะไม่ใช้ 0 เป็นตัวหาร”

ชวนคิด 1.21
การลบจำ�นวนใด ๆ อาจทำ�ได้อีกวิธีหนึ่ง คือ หาจำ�นวนที่มาบวกกับตัวลบแล้วเท่ากับตัวตั้ง ซึ่งในที่นี้แม่ค้า
มีลำ�ดับการคิดเพื่อหาค่าของ 500 – 234 โดยเริ่มจากการบวกเพิ่มให้เป็นจำ�นวนเต็มสิบ เต็มร้อย จนถึง
จำ�นวนที่ต้องการ ดังนี้
234 + 6 = 240
240 + 60 = 300
300 + 200 = 500
ดังนั้น แม่ค้าทอนเงินให้พชร 266 บาท

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
58 บทที่ 1 | จำ�นวนเต็ม คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

เฉลยแบบฝึกหัด
แบบฝึกหัด 1.6
1. 1) (-420)∙[39 + (-40)] = (-420)∙(-1) = 420
2) [(-27) – (-27)] × (-582) = 0 × (-582) = 0
3) [(-24) – (-24)] ÷ (-50) = 0 ÷ (-50) = 0
4) 199 ÷ [17 + (-18)] = 199 ÷ (-1) = -199
5) (-23 × 10) + (22 × 10) = (-23 + 22) × 10 = -1 × 10 = -10
6) (-4 × 13) – (9 × 13) = (-4 – 9) × 13 = -13 × 13 = -169
7) [(-9)(-5)] – [(-9)(-12)] = (-9)[-5 – (-12)] = (-9)7 = -63
8) 97 × 15 = (100 – 3) × 15 = (100 × 15) – (3 × 15) = 1,455
9) -12 × 198 = -12 × (200 – 2) = (-12 × 200) – (-12 × 2) = -2,376
10) (-496) × (-25) = 496 × 25 = (500 – 4) × 25 = (500 × 25) – (4 × 25) = 12,400

2. แนวคิด แบบฝึกหัดข้อนี้เน้นให้นักเรียนใช้สมบัติการดำ�เนินการในการแก้ปัญหา
ดังนั้น จึงควรให้นักเรียนสังเกตประโยคที่ให้มาก่อน และวิเคราะห์ว่าต้องใช้สมบัติใด
ซึ่งครูอาจใช้การถามตอบในชั้นเรียน เพื่อพัฒนาทักษะการให้เหตุผลควบคู่ไปด้วย
1) 33 (สมบัติการสลับที่สำ�หรับการบวก)
2) 20 (สมบัติการสลับที่สำ�หรับการคูณ)
3) -17 (สมบัติการเปลี่ยนหมู่สำ�หรับการบวก)
4) 1 (สมบัติของหนึ่ง)
5) -11 (สมบัติการเปลี่ยนหมู่สำ�หรับการคูณ)
6) 0 (สมบัติของศูนย์)
7) -100 (สมบัติของศูนย์)
8) -104 (สมบัติของหนึ่ง)
9) -7 (สมบัติการสลับที่สำ�หรับการบวก และสมบัติการเปลี่ยนหมู่สำ�หรับการบวก)
10) -20 (สมบัติการแจกแจง และสมบัติการสลับที่สำ�หรับการคูณ)
11) -90 (สมบัติการแจกแจง)
12) 9 (สมบัติการแจกแจง)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 1 | จำ�นวนเต็ม 59

3. คำ�ตอบมีได้หลากหลาย เช่น
วิธีที่ 1 คิดจากกุ้งฝอยน้ำ�หนัก 3 กิโลกรัม 4 ขีด ซึ่งเท่ากับ 34 ขีด แล้วจึงนำ�ราคากุ้งฝอยขีดละ 10 บาท คูณกับ
น้ำ�หนัก
วิธีที่ 2 คิดโดยแบ่งน้ำ�หนักกุ้งฝอยออกเป็นสองส่วน คือ 3 กิโลกรัม และ 4 ขีด แล้วนำ�เงินค่ากุ้งฝอยแต่ละส่วน
มารวมกัน
วิธีที่ 3 คิดโดยนำ�เงินค่ากุ้งฝอยน้ำ�หนัก 3 กิโลกรัมครึ่ง หักออกด้วยเงินค่ากุ้งฝอยน้ำ�หนัก 1 ขีด
ซึ่งคิดราคากุ้งฝอยได้เป็น 340 บาท

4. คำ�ตอบมีได้หลากหลาย เช่น
วิธีที่ 1 คิดจากจำ�นวนเสื้อ 3 ตัว และกางเกง 4 ตัว คูณกับราคาเสื้อ และราคากางเกง ตามลำ�ดับ
วิธีที่ 2 คิดจากราคาเสื้อตัวละ 100 บาท 3 ตัว รวมกับราคากางเกงตัวละ 200 บาท 4 ตัว แล้วนำ�มาหักออกด้วย
ราคาที่คิดเกินไป คือ ตัวละ 1 บาท
ซึ่งคิดราคาเสื้อและกางเกงได้เป็น 1,093 บาท

5. คำ�ตอบมีได้หลากหลาย เช่น
วิธีที่ 1 คิดจากราคานม จำ�นวน 18 ลัง นำ�มาคูณกับราคาต่อลัง
วิธีที่ 2 คิดโดยแบ่งจำ�นวนลังของนมออกเป็นสามส่วน คือ 10 ลัง 4 ลัง และ 4 ลัง แล้วนำ�มาคูณกับราคาต่อลัง
วิธีที่ 3 คิดโดยนำ�ราคานม จำ�นวน 20 ลัง หักออกด้วยราคานม จำ�นวน 2 ลัง
ซึ่งคิดราคานมได้เป็น 4,500 บาท

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
60 บทที่ 1 | จำ�นวนเต็ม คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

กิจกรรมท้ายบท : นักขุดเพชร
กิจกรรมนี้ เน้นให้นก
ั เรียนได้ตรวจสอบความเข้าใจของตนเองในเรือ
่ งของการบวก การลบ การคูณ และการหารจำ�นวนเต็ม
และพัฒนาความรูส
้ ก
ึ เชิงจำ�นวนเกีย
่ วกับการดำ�เนินการของจำ�นวนเต็ม ซึง่ เป็นเป้าหมายหลักสำ�หรับการเรียนในบทเรียนนี ้ ทัง้ นี้
ครูอาจให้นักเรียนทำ�กิจกรรมนี้นอกเวลาเรียน โดยมีขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม ดังนี้

อุปกรณ์
-

ขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม
1. ครูให้นักเรียนแต่ละคนทำ�กิจกรรมท้ายบท : นักขุดเพชร ในหนังสือเรียน
2. ครูให้นักเรียนช่วยกันเฉลยคำ�ตอบ พร้อมทั้งอธิบายวิธีคิดและการได้มาซึ่งคำ�ตอบ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 1 | จำ�นวนเต็ม 61

เฉลยกิจกรรมท้ายบท : นักขุดเพชร

ข้อความแทนความในใจจากผม คือ “กดลิฟต์ 1 ครั้ง เท่ากับเปิดไฟนีออน 500 ดวง”

หมายเหตุ ข้อความดังกล่าวเป็นข้อความเพื่อรณรงค์ให้ลดการใช้พลังงาน โดยกระทรวงพลังงาน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
62 บทที่ 1 | จำ�นวนเต็ม คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

เฉลยแบบฝึกหัดท้ายบท
1. 1) (-35) – [(-14) + (-82)] = (-35) – (-96) = 61
2) 99 + (-33) – (-66) = 66 – (-66) = 132
3) (-21)∙[(-22) + 23] = (-21)∙1 = -21
4) [(-30) – (-90)] ÷ (-12) = 60 ÷ (-12) = -5
5) -10[54 ÷ (-27)](-1) = -10(-2)(-1) = 20(-1) = -20
6) [22∙(-4)] ÷ [24 + (-16)] = (-88) ÷ 8 = -11
7) [5 – (-3)] × [(-8) ÷ 2] = 8 × (-4) = -32
8) 5 – (-3) × (-8) ÷ 2 = 5 – 24 ÷ 2 = 5 – 12 = -7
9) [(8 – 5) × (-2)] + [(-27) ÷ (-3)] = [3 × (-2)] + 9 = -6 + 9 = 3
10) 8 – 5 × (-2) + (-27) ÷ (-3) = 8 – (-10) + 9 = 18 + 9 = 27

2. 1) -10 2) 14 3) -46 4) 12
5) -4 6) 1 7) -99 8) 3
9) 88 10) 7

3. แนวคิด 1 ครูอาจให้นักเรียนใช้ปฏิทินประกอบการหาคำ�ตอบ เพื่อช่วยให้นักเรียนแก้ปัญหาได้ง่ายขึ้น


เนื่องจาก ข้าวกล้องมาเยี่ยมแม่ทุก 4 วัน ข้าวเปลือกมาเยี่ยมแม่ทุก 5 วัน และข้าวปั้นมาเยี่ยมแม่ทุก 6 วัน
ดังนั้น วันที่แม่พบกับลูกทั้งสาม เป็นดังนี้

วันที่แม่พบกับลูก
เดือน ข้อสรุป
ข้าวกล้อง ข้าวเปลือก ข้าวปั้น
เมษายน 14 14 14 แม่จะได้พบข้าวกล้องและข้าวปั้นพร้อมกัน
18 19 20 ครั้งต่อไปวันที่ 26 เมษายน
22 24 26
26 29
30

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 1 | จำ�นวนเต็ม 63

วันที่แม่พบกับลูก
เดือน ข้อสรุป
ข้าวกล้อง ข้าวเปลือก ข้าวปั้น
พฤษภาคม 4 4 2 ✤ แม่จะได้พบข้าวกล้องและข้าวเปลือก
8 9 8 พร้อมกันครั้งต่อไปวันที่ 4 พฤษภาคม
12 14 14 ✤ แม่จะได้พบข้าวเปลือกและข้าวปั้น
16 19 20 พร้อมกันครั้งต่อไปวันที่ 14 พฤษภาคม
20 24 26
24 29
28
มิถุนายน 1 3 1 แม่จะได้พบลูกทั้งสามคน
5 8 7 พร้อมกันครั้งต่อไปวันที่ 13 มิถุนายน
9 13 13
13 18 19
17 23 25
21 28
25
29

แนวคิด 2 ใช้ ค.ร.น. ในการแก้ปัญหาดังกล่าว ได้ดังนี้


✤ ถ้าต้องการหาวันที่แม่จะได้พบข้าวกล้องและข้าวเปลือกพร้อมกันครั้งต่อไป
ต้องหา ค.ร.น. ของ 4 และ 5 ซึ่งได้ 20
และเมื่อนับต่อไป 20 วัน จะตรงกับวันที่ 4 พฤษภาคม
✤ ถ้าต้องการหาวันที่แม่จะได้พบข้าวกล้องและข้าวปั้นพร้อมกันครั้งต่อไป
ต้องหา ค.ร.น. ของ 4 และ 6 ซึ่งได้ 12
และเมื่อนับต่อไป 12 วัน จะตรงกับวันที่ 26 เมษายน
✤ ถ้าต้องการหาวันที่แม่จะได้พบข้าวเปลือกและข้าวปั้นพร้อมกันครั้งต่อไป
ต้องหา ค.ร.น. ของ 5 และ 6 ซึ่งได้ 30
และเมื่อนับต่อไป 30 วัน จะตรงกับวันที่ 14 พฤษภาคม
✤ ถ้าต้องการหาวันที่แม่จะได้พบลูกทั้งสามคนพร้อมกันครั้งต่อไป
ต้องหา ค.ร.น. ของ 4, 5 และ 6 ซึ่งได้ 60
และเมื่อนับต่อไป 60 วัน จะตรงกับวันที่ 13 มิถุนายน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
64 บทที่ 1 | จำ�นวนเต็ม คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

4. แนวคิด เนื่องจาก ต้องการจัดแถวนักเรียนชายและนักเรียนหญิงให้ได้แถวละเท่า ๆ กัน และให้ได้แถวยาวที่สุด


โดยไม่ให้นักเรียนชายและนักเรียนหญิงอยู่ในแถวเดียวกัน
จำ�นวนนักเรียนในแต่ละแถวตามเงื่อนไขข้างต้นจะต้องเป็นจำ�นวนนับที่มากที่สุดที่หาร 64 และ 96 ลงตัว
ซึ่งเป็น ห.ร.ม. ของทั้งสองจำ�นวน นั่นคือ 32
ดังนัน
้ ต้องจัดแถวนักเรียนชายและนักเรียนหญิงแถวละ 32 คน ซึ่งจะได้นักเรียนชาย 2 แถว และ
นักเรียนหญิง 3 แถว
นั่นคือ จะจัดแถวนักเรียนได้ 2 + 3 = 5 แถว แถวละ 32 คน

5. 1) อุณหภูมิของอาหารก่อนที่จะนำ�ไปแช่แข็งแบบเร็ว เท่ากับ 5 + 120 = 125 องศาเซลเซียส


2) อาหารที่ต้มสุกแล้วถูกลดอุณหภูมิลง 125 – (-25) = 150 องศาเซลเซียส
3) เมื่อเวลาผ่านไป 1 นาที อุณหภูมิของอาหารแช่แข็งเปลี่ยนแปลงไปโดยเฉลี่ย (-150) ÷ 30 = -5 องศาเซลเซียส

6. แนวคิด เนื่องจาก ความสูงที่เพิ่มขึ้นทุก ๆ 1,000 ฟุต จากระดับน้ำ�ทะเล อุณหภูมิจะลดลง 2 องศาเซลเซียส


จะได้ว่า ที่ความสูงประมาณ 29,000 ฟุต จากระดับน้ำ�ทะเล อุณหภูมิจะเปลี่ยนแปลงไป
(29,000 ÷ 1,000) × (-2) = -58 องศาเซลเซียส
และจากที่โจทย์กำ�หนดให้ว่า อุณหภูมิที่ระดับน้ำ�ทะเลเป็น 15 องศาเซลเซียส
ดังนั้น อุณหภูมิที่ยอดเขาเอเวอเรสต์ประมาณ 15 + (-58) หรือ -43 องศาเซลเซียส

7. 1) ดาวศุกร์ และมีอุณหภูมิประมาณ 470 องศาเซลเซียส


2) ดาวเนปจูน และมีอุณหภูมิประมาณ -200 องศาเซลเซียส
3) ดาวพฤหัสบดีมีอุณหภูมิเฉลี่ยบนพื้นผิวมากกว่าดาวเนปจูนอยู่ประมาณ -110 – (-200) = 90 องศาเซลเซียส
4) แนวคิด ผลรวมของอุณหภูมิเฉลี่ยบนพื้นผิวของดาวพฤหัสบดีและดาวเสาร์ต่างจากอุณหภูมิเฉลี่ยบนพื้นผิว
ของดาวเนปจูนอยู่ประมาณ -250 – (-200) = -50 องศาเซลเซียส
นั่นคือ ผลรวมของอุณหภูมิเฉลี่ยบนพื้นผิวของดาวพฤหัสบดีและดาวเสาร์ต่ำ�กว่าอุณหภูมิเฉลี่ย
บนพื้นผิวของดาวเนปจูนอยู่ประมาณ 50 องศาเซลเซียส
5) แนวคิด เนื่องจาก โลกมีอุณหภูมิเฉลี่ยบนพื้นผิวประมาณ 15 องศาเซลเซียส
ดังนัน
้ อุณหภูมท
ิ เ่ี ป็นสามเท่าของอุณหภูมเิ ฉลีย่ บนพืน
้ ผิวของโลก คือ 3 × 15 = 45 องศาเซลเซียส
จะได้ว่า ดาวเคราะห์ที่มีอุณหภูมิเฉลี่ยบนพื้นผิวน้อยกว่าอุณหภูมิเฉลี่ยบนพื้นผิวโลกอยู่ประมาณ
3 เท่า จะมีอุณหภูมิเป็น 15 – 45 = -30 องศาเซลเซียส
จากภาพ จึงได้วา่ ดาวอังคารมีอณ
ุ หภูมเิ ฉลีย่ บนพืน
้ ผิวน้อยกว่าอุณหภูมเิ ฉลีย่ บนพืน
้ ผิวโลกอยูป
่ ระมาณ
3 เท่า

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 1 | จำ�นวนเต็ม 65

6) แนวคิด เนื่องจาก ดาวอังคารมีอุณหภูมิเฉลี่ยบนพื้นผิวประมาณ -30 องศาเซลเซียส


จะได้ว่า ถ้าอุณหภูมิเฉลี่ยบนพื้นผิวของดาวอังคารลดลง 6 เท่า จะมีอุณหภูมิประมาณ
6 × (-30) = -180 องศาเซลเซียส
และดาวยูเรนัสมีอุณหภูมิเฉลี่ยบนพื้นผิวประมาณ -195 องศาเซลเซียส
ดังนั้น ถ้าอุณหภูมิเฉลี่ยบนพื้นผิวของดาวอังคารลดลงไปอีก 6 เท่า แล้วอุณหภูมิเฉลี่ยบนพื้นผิวของ
ดาวอังคารจะต่างจากอุณหภูมเิ ฉลีย่ บนพืน
้ ผิวของดาวยูเรนัสอยูป
่ ระมาณ -180 – (-195) = 15
องศาเซลเซียส
นั่นคือ ถ้าอุณหภูมเิ ฉลีย่ บนพืน
้ ผิวของดาวอังคารลดลงไปอีก 6 เท่า แล้วจะมีอณ
ุ หภูมเิ ฉลีย่ สูงกว่าอุณหภูมิ
เฉลี่ยบนพื้นผิวของดาวยูเรนัสอยู่ประมาณ 15 องศาเซลเซียส
7) แนวคิด เนื่องจาก ระบบสุ ริ ย ะเป็ น ระบบที่ มี ด วงอาทิ ต ย์ เ ป็ น ศู น ย์ ก ลาง และมี ด าวเคราะห์ เ ป็ น บริ ว าร 8 ดวง
โดยอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ตามลำ�ดับต่อไปนี้ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี
ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน
จากภาพ จะเห็นว่าดาวเคราะห์ส่วนใหญ่ถ้ามีระยะห่างจากดาวเคราะห์นั้น ๆ ถึงดวงอาทิตย์ยิ่งมาก
อุณหภูมิเฉลี่ยบนพื้นผิวของดาวเคราะห์นั้น ๆ จะยิ่งต่ำ� ยกเว้นดาวศุกร์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์
มากกว่าดาวพุธ แต่กลับมีอุณหภูมิเฉลี่ย บนพื้นผิวสูงกว่าดาวพุธ ทั้งนี้เนื่องจากดาวศุกร์มี
บรรยากาศที่หนาทึบ และเต็มไปด้วยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ทำ�ให้เกิดภาวะเรือนกระจก
จึงเป็นสาเหตุให้อุณหภูมิเฉลี่ยบนพื้นผิวของดาวศุกร์สูงกว่าดาวพุธ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
66 บทที่ 1 | จำ�นวนเต็ม คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

ตัวอย่างแบบทดสอบท้ายบท
1. ให้นักเรียนพิจารณาว่า ข้อความในแต่ละข้อต่อไปนี้ถูกหรือผิด โดยไม่ต้องคำ�นวณหาผลลัพธ์ แล้วทำ�เครื่องหมาย
P หรือ  ลงใน ■ หน้าข้อความ พร้อมทั้งแสดงเหตุผลประกอบ (16 คะแนน)
■ 1) -719 + 305 มากกว่า -719 + (-305)
เพราะ
■ 2) -836 น้อยกว่า -836
4 -4
เพราะ
■ 3) (-93)(-125) น้อยกว่า 93 × 125
เพราะ
■ 4) (-65)(13) เท่ากับ 65 × (-13)
เพราะ
■ 5) 0 – (-218) น้อยกว่า 0 + 218
เพราะ
■ 6) 1,350 – 110 มากกว่า 1,350 – 110
5 -5
เพราะ
■ 7) ถ้า a = -65 และ b = -56 แล้ว a < b
เพราะ
■ 8) ถ้า a = 87, b = -12 และ c = -11 แล้ว a + b > a + c
เพราะ

2. จงหาผลลัพธ์ในแต่ละข้อต่อไปนี้ (5 คะแนน)
1) [12 ÷ (-3)] × 2 =
2) (-7) × [3 – (-7)] =
3) 24 ÷ (-3 – 3) =
4) [5 × (-2)] ÷ [3 – (4 – 6)] =
5) จำ�นวนเต็มจำ�นวนหนึ่ง เมื่อบวกกับ -40 แล้ว มีผลบวกเป็น 45 จำ�นวนเต็มจำ�นวนนั้น คือ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 1 | จำ�นวนเต็ม 67

3. เมื่อกำ�หนดให้ a เป็นจำ�นวนเต็มบวก และ b เป็นจำ�นวนเต็มลบ จงพิจารณาว่า ข้อความในแต่ละข้อเป็นจริงหรือไม่


พร้อมทั้งให้เหตุผลประกอบ (12 คะแนน)
1) a + b เป็นจำ�นวนเต็มบวก เป็นจริง / ไม่เป็นจริง / สรุปไม่ได้
เพราะ

2) a – a เป็นจำ�นวนเต็มลบ เป็นจริง / ไม่เป็นจริง / สรุปไม่ได้


เพราะ

3) b – a เป็นจำ�นวนเต็มลบ เป็นจริง / ไม่เป็นจริง / สรุปไม่ได้


เพราะ

4) a × b เป็นจำ�นวนเต็มบวก เป็นจริง / ไม่เป็นจริง / สรุปไม่ได้


เพราะ

5) b × a เป็นจำ�นวนเต็มลบ เป็นจริง / ไม่เป็นจริง / สรุปไม่ได้


เพราะ

6) a × (b + b) เป็นจำ�นวนเต็มบวก เป็นจริง / ไม่เป็นจริง / สรุปไม่ได้


เพราะ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
68 บทที่ 1 | จำ�นวนเต็ม คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

เฉลยตัวอย่างแบบทดสอบท้ายบท
1. ให้นักเรียนพิจารณาว่า ข้อความในแต่ละข้อต่อไปนี้ถูกหรือผิด โดยไม่ต้องคำ�นวณหาผลลัพธ์ แล้วทำ�เครื่องหมาย
P หรือ  ลงใน ■ หน้าข้อความ พร้อมทั้งแสดงเหตุผลประกอบ (16 คะแนน)


P 1) -719 + 305 มากกว่า -719 + (-305)
เพราะ ตัวตั้ง -719 เท่ากัน แต่ตัวบวก 305 มากกว่า -305

P 2) -836 น้อยกว่า -836
4 -4
เพราะ -836 มีผลหารเป็นจำ�นวนลบ แต่ -836 มีผลหารเป็นจำ�นวนบวก
4 -4

 3) (-93)(-125) น้อยกว่า 93 × 125
เพราะ -93 กับ 93 และ -125 กับ 125 แต่ละคู่ ต่างก็มีค่าสัมบูรณ์เท่ากัน และผลคูณของ
ทั้งสองจำ�นวนต่างก็เป็นจำ�นวนเต็มบวก จึงทำ�ให้ (-93)(-125) เท่ากับ 93 × 125

P 4) (-65)(13) เท่ากับ 65 × (-13)
เพราะ -65 กับ 65 มีค่าสัมบูรณ์เท่ากัน 13 กับ -13 มีค่าสัมบูรณ์เท่ากัน และผลคูณของ
ทั้งสองจำ�นวนต่างก็เป็นจำ�นวนเต็มลบ

 5) 0 – (-218) น้อยกว่า 0 + 218
เพราะ 0 – (-218) เขียนในรูปการบวกได้เป็น 0 + 218

P 6) 1,350 – 110 มากกว่า 1,350 – 110
5 -5
เพราะ 1,350 – 110 มีผลลัพธ์เป็นจำ�นวนบวก
5
แต่ 1,350 – 110 มีผลลัพธ์เป็นจำ�นวนลบ
-5
ดังนั้น 1,350 – 110 มากกว่า 1,350 – 110
5 -5

P 7) ถ้า a = -65 และ b = -56 แล้ว a < b
เพราะ -65 < -56

 8) ถ้า a = 87, b = -12 และ c = -11 แล้ว a + b > a + c
เพราะ -12 < -11 หรือ b < c ดังนั้น a + b < a + c

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 1 | จำ�นวนเต็ม 69

ความสอดคล้องกับจุดประสงค์ของบทเรียน
ข้อ 1 นักเรียนสามารถเปรียบเทียบจำ�นวนเต็ม
ข้อ 2 นักเรียนสามารถหาผลบวก ผลลบ ผลคูณ และผลหารของจำ�นวนเต็ม
เกณฑ์การให้คะแนน คะแนนเต็ม 16 คะแนน ข้อละ 2 คะแนน
ส่วนที่ 1 เลือกตอบ ตอบถูกต้อง ได้ 1 คะแนน ตอบไม่ถูกต้องหรือไม่ตอบ ได้ 0 คะแนน
ส่วนที่ 2 ให้เหตุผล ให้เหตุผลได้สมเหตุสมผล ได้ 1 คะแนน
ให้เหตุผลไม่สมเหตุสมผล หรือไม่ให้เหตุผล ได้ 0 คะแนน

2. จงหาผลลัพธ์ในแต่ละข้อต่อไปนี้ (5 คะแนน)
1) [12 ÷ (-3)] × 2 = -8
2) (-7) × [3 – (-7)] = -70
3) 24 ÷ (-3 – 3) = -4
4) [5 × (-2)] ÷ [3 – (4 – 6)] = -2
5) จำ�นวนเต็มจำ�นวนหนึ่ง เมื่อบวกกับ -40 จะมีผลบวกเป็น 45 จำ�นวนจำ�นวนนั้น คือ 85

ความสอดคล้องกับจุดประสงค์ของบทเรียน
ข้อ 2 นักเรียนสามารถหาผลบวก ผลลบ ผลคูณ และผลหารของจำ�นวนเต็ม
เกณฑ์การให้คะแนน คะแนนเต็ม 5 คะแนน ข้อละ 1 คะแนน
ตอบถูกต้อง ได้ 1 คะแนน ตอบไม่ถูกต้องหรือไม่ตอบ ได้ 0 คะแนน

3. เมื่อกำ�หนดให้ a เป็นจำ�นวนเต็มบวก และ b เป็นจำ�นวนเต็มลบ จงพิจารณาว่า ข้อความในแต่ละข้อเป็นจริงหรือไม่


พร้อมทั้งให้เหตุผลประกอบ (12 คะแนน)
1) a + b เป็นจำ�นวนเต็มบวก เป็นจริง / ไม่เป็นจริง / สรุปไม่ได้
เพราะ เราไม่ทราบว่าค่าสัมบูรณ์ของ a มากกว่า b หรือไม่ ถ้ามากกว่า จึงจะได้ว่า a + b เป็นจำ�นวนเต็มบวก

2) a – a เป็นจำ�นวนเต็มลบ เป็นจริง / ไม่เป็นจริง / สรุปไม่ได้


เพราะ a – a = 0

3) b – a เป็นจำ�นวนเต็มลบ เป็นจริง / ไม่เป็นจริง / สรุปไม่ได้


เพราะ เมื่อนำ�จำ�นวนเต็มลบ ลบด้วยจำ�นวนเต็มบวก จะได้ผลลบเป็นจำ�นวนเต็มลบเสมอ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
70 บทที่ 1 | จำ�นวนเต็ม คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

4) a × b เป็นจำ�นวนเต็มบวก เป็นจริง / ไม่เป็นจริง / สรุปไม่ได้


เพราะ เมื่อนำ�จำ�นวนเต็มบวก คูณด้วยจำ�นวนเต็มลบ จะได้ผลคูณเป็นจำ�นวนเต็มลบเสมอ

5) b ÷ a เป็นจำ�นวนเต็มลบ เป็นจริง / ไม่เป็นจริง / สรุปไม่ได้


เพราะ เราไม่ทราบว่า b ÷ a จะมีผลหารเป็นจำ�นวนเต็มหรือไม่

6) a × (b + b) เป็นจำ�นวนเต็มบวก เป็นจริง / ไม่เป็นจริง / สรุปไม่ได้


เพราะ b + b เป็นจำ�นวนเต็มลบ ดังนั้น จำ�นวนเต็มบวกคูณด้วยจำ�นวนเต็มลบ จะได้ผลคูณเป็นจำ�นวน
เต็มลบเสมอ

ความสอดคล้องกับจุดประสงค์ของบทเรียน
ข้อ 3 นักเรียนสามารถนำ�ความรู้เรื่องจำ�นวนเต็มไปใช้ในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์
เกณฑ์การให้คะแนน คะแนนเต็ม 12 คะแนน ข้อละ 2 คะแนน
ส่วนที่ 1 เลือกตอบ ตอบถูกต้อง ได้ 1 คะแนน ตอบไม่ถูกต้องหรือไม่ตอบ ได้ 0 คะแนน
ส่วนที่ 2 ให้เหตุผล ให้เหตุผลได้สมเหตุสมผล ได้ 1 คะแนน
ให้เหตุผลไม่สมเหตุสมผล หรือไม่ให้เหตุผล ได้ 0 คะแนน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 2 | การสร้างทางเรขาคณิต 71

2
บทที่ การสร้างทางเรขาคณิต
บทการสร้างทางเรขาคณิตประกอบด้วยหัวข้อย่อย ดังต่อไปนี้

2.1 รูปเรขาคณิตพื้นฐาน 1 ชั่วโมง


2.2 การสร้างพื้นฐานทางเรขาคณิต 6 ชั่วโมง
2.3 การสร้างรูปเรขาคณิต 4 ชั่วโมง

สาระและมาตรฐานการเรียนรู้
สาระ การวัดและเรขาคณิต
มาตรฐาน ค 2.2 เข้าใจและวิเคราะห์รูปเรขาคณิต สมบัติของรูปเรขาคณิต ความสัมพันธ์ระหว่างรูปเรขาคณิต และ
ทฤษฎีบททางเรขาคณิต และนำ�ไปใช้

ตัวชี้วัด
ใช้ความรู้ทางเรขาคณิตและเครื่องมือ เช่น วงเวียนและสันตรง รวมทั้งโปรแกรม The Geometer’s Sketchpad
หรื อ โปรแกรมเรขาคณิ ต พลวั ต อื่ น ๆ เพื่ อ สร้ า งรู ป เรขาคณิ ต ตลอดจนนำ � ความรู้ เ กี่ ย วกั บ การสร้ า งนี้ ไ ปประยุ ก ต์ ใ ช้
ในการแก้ปัญหาในชีวิตจริง

จุดประสงค์ของบทเรียน
นักเรียนสามารถ
1. ใช้วงเวียนและสันตรง หรือซอฟต์แวร์เรขาคณิตพลวัต ในการสร้างพื้นฐานทางเรขาคณิต
2. ใช้วงเวียนและสันตรง หรือซอฟต์แวร์เรขาคณิตพลวัต ในการสร้างรูปเรขาคณิตและนำ�ไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตจริง

ความเชื่อมโยงระหว่างตัวชี้วัดกับจุดประสงค์ของบทเรียน
เนื่องจากตัวชี้วัดกล่าวถึงการใช้ความรู้ทางเรขาคณิตและเครื่องมือในการสร้างรูปเรขาคณิต และการนำ�ความรู้เกี่ยวกับ
การสร้างดังกล่าวไปใช้ในการแก้ปัญหา เพื่อให้การเรียนรู้ของนักเรียนในเรื่องการสร้างทางเรขาคณิตสอดคล้องกับตัวชี้วัด
ครูควรจัดประสบการณ์ให้นักเรียนสามารถ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
72 บทที่ 2 | การสร้างทางเรขาคณิต คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

1. ใช้ความรู้ทางเรขาคณิตและเครื่องมือ เช่น วงเวียนและสันตรง รวมทั้งโปรแกรม The Geometer’s Sketchpad


หรือซอฟต์แวร์เรขาคณิตพลวัตอืน
่ ๆ เพือ่ สร้างรูปเรขาคณิต ซึง่ สะท้อนได้จากการทีน
่ กั เรียนสามารถอธิบายลักษณะ
และสมบัติของรูปเรขาคณิตพื้นฐาน รวมทั้ง สามารถใช้วงเวียนและสันตรง หรือซอฟต์แวร์เรขาคณิตพลวัต
ในการสร้างพื้นฐานทางเรขาคณิต และบอกขั้นตอนการสร้างได้
2. นำ�ความรู้เกี่ยวกับการสร้างพื้นฐานทางเรขาคณิตไปประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาในชีวิตจริง ซึ่งสะท้อนได้จากการ
ที่นักเรียนสามารถใช้วงเวียนและสันตรง หรือซอฟต์แวร์เรขาคณิตพลวัตในการสร้าง และบอกขั้นตอนการสร้าง
รูปเรขาคณิต รวมทัง้ สำ�รวจ สังเกต และคาดการณ์เกีย่ วกับสมบัตท
ิ างเรขาคณิต และนำ�ไปใช้แก้ปญ
ั หาในชีวต
ิ จริงได้

ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

หัวข้อ
ทักษะและกระบวนการ 2.1 2.2 การสร้าง 2.3
ทางคณิตศาสตร์ รูปเรขาคณิต พื้นฐานทาง การสร้าง
พื้นฐาน เรขาคณิต รูปเรขาคณิต
การแก้ปัญหา ✤

การสื่อสารและการสื่อความหมาย

ทางคณิตศาสตร์
การเชื่อมโยง ✤ ✤

การให้เหตุผล ✤ ✤

การคิดสร้างสรรค์

ความรู้พื้นฐานที่นักเรียนต้องมี
2+2=4

ครูอาจทบทวนความรู้พื้นฐานที่นักเรียนต้องมีก่อนเรียน ดังนี้
1. รูปเรขาคณิตและสมบัตข
ิ องรูปเรขาคณิต เช่น รูปสามเหลีย่ มด้านเท่า รูปสามเหลีย่ มหน้าจัว่ รูปสีเ่ หลีย่ มจัตรุ ส
ั และ
รูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน
2. เส้นขนาน

ความคิดรวบยอดของบทเรียน
การสร้างพื้นฐานทางเรขาคณิต เป็นการสร้างเกี่ยวกับส่วนของเส้นตรง มุม และเส้นตั้งฉาก โดยใช้เครื่องมือที่สำ�คัญ
เพียงสองชนิด ได้แก่ วงเวียนและสันตรง การสร้างดังกล่าวนำ�ไปสู่การสร้างรูปเรขาคณิต และนำ�ไปประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหา
ในชีวิตจริง

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 2 | การสร้างทางเรขาคณิต 73

2.1 รูปเรขาคณิตพื้นฐาน (1 ชั่วโมง)


จุดประสงค์
นักเรียนสามารถ
1. อธิบายลักษณะและสมบัติของจุด เส้นตรง ส่วนของเส้นตรง รังสี และมุม
2. เปรียบเทียบความยาวของส่วนของเส้นตรง และขนาดของมุม โดยใช้วงเวียน

ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน
1. นักเรียนอาจเข้าใจคลาดเคลือ
่ นว่าเส้นตรงและรังสีสามารถหาความยาวได้ เนือ
่ งจากนักเรียนพิจารณาเฉพาะความยาว
ของเส้นตรงและรังสีที่ปรากฏ
2. นักเรียนอาจเข้าใจคลาดเคลื่อนว่าขนาดของมุมขึ้นอยู่กับความยาวแขนของมุม เช่น จากรูปด้านล่าง นักเรียนเข้าใจ
คลาดเคลื่อนว่า มุม ABC มีขนาดเล็กกว่ามุม DEF เพราะแขนของมุม ABC สั้นกว่า ทำ�ให้มีมุมขนาดเล็กกว่า
ซึ่งแท้จริงแล้ว มุมทั้งสองมีขนาดเท่ากัน
F
C

B A E D

สื่อที่แนะนำ�ให้ใช้ในข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
1. วงเวียน และสันตรง
2. โปรแกรม The Geometer’s Sketchpad หรือซอฟต์แวร์เรขาคณิตพลวัตอื่น ๆ
3. ใบกิจกรรมเสนอแนะ 2.1 ก : นับจำ�นวนเส้นตรง
4. ใบกิจกรรมเสนอแนะ 2.1 ข : นับจำ�นวนจุดตัด

ข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ในหัวข้อนีเ้ ป็นเรือ
่ งเกีย่ วกับรูปเรขาคณิตพืน
้ ฐาน ซึง่ ครูควรแนะนำ�อนิยามและนิยามเกีย่ วกับจุด เส้นตรง ส่วนของเส้นตรง
รังสี และมุม ซึ่งเป็นพื้นฐานในการสร้างรูปเรขาคณิต ทั้งนี้ ครูควรพัฒนาความรู้สึกเชิงปริภูมิ (spatial sense) และการนึกภาพ
(visualization) เกี่ยวกับรูปเรขาคณิตให้กับนักเรียน กิจกรรมที่ครูควรจัดมีดังนี้
1. ครูควรเชื่อมโยงความรู้เรื่องรูปเรขาคณิต และสมบัติของรูปเรขาคณิต ที่นักเรียนเคยเรียนมาแล้ว มาแนะนำ�จุด
และเส้นตรง ซึง่ จะนำ�ไปสูก
่ ารนิยามส่วนของเส้นตรง รังสี และมุม รวมทัง้ แนะนำ�สมบัตข
ิ องจุดและเส้นตรง

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
74 บทที่ 2 | การสร้างทางเรขาคณิต คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

2. ครูอาจให้นักเรียนเชื่อมโยงความรู้พื้นฐานทางเรขาคณิตกับสิ่งที่พบเห็นทั่วไปในชีวิตจริง โดยการสำ�รวจและ
ยกตัวอย่างสิ่งต่าง ๆ ที่มีส่วนประกอบของจุด ส่วนของเส้นตรง รังสี และมุม หรือดูรูปภาพประกอบ เช่น

จุดแสดงตำ�แหน่งบนแผนที ่ ส่วนของเส้นตรงจากขอบไม้บรรทัด

รังสีจากลำ�แสงเลเซอร์ มุมที่เกิดจากการพับกระดาษ

3. ครูอาจใช้โปรแกรม The Geometer’s Sketchpad หรือซอฟต์แวร์เรขาคณิตพลวัตอื่น ๆ แสดงให้นักเรียนเข้าใจ


ลักษณะและสมบัติของรูปเรขาคณิตพื้นฐาน ซึ่งจะช่วยพัฒนาความรู้สึกเชิงปริภูมิ และการนึกภาพเกี่ยวกับ
รูปเรขาคณิตพื้นฐาน
4. ครูอาจใช้ “กิจกรรมเสนอแนะ 2.1 ก : นับจำ�นวนเส้นตรง” และ “กิจกรรมเสนอแนะ 2.1 ข : นับจำ�นวนจุดตัด”
เพื่อให้ได้ข้อสรุปเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของจำ�นวนจุดและจำ�นวนเส้นตรงที่สังเกตพบจากการทำ�กิจกรรม
5. ครูควรอธิบายและสาธิตการเปรียบเทียบความยาวของส่วนของเส้นตรง และขนาดของมุม โดยใช้วงเวียน จากนัน

กำ�หนดส่วนของเส้นตรงทีม
่ ค
ี วามยาวแตกต่างกัน และมุมทีม
่ ข
ี นาดหลากหลาย แล้วให้นก
ั เรียนลงมือปฏิบต
ั โิ ดยใช้
วงเวียนในการเปรียบเทียบความยาวของส่วนของเส้นตรงและขนาดของมุม ทั้งนี้ ครูอาจชี้ให้นักเรียนเห็นว่า
เมื่อต่อแขนของมุมทั้งสองข้างออกไปเรื่อย ๆ ขนาดของมุมจะไม่เปลี่ยนแปลง

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 2 | การสร้างทางเรขาคณิต 75

กิจกรรมเสนอแนะ 2.1 ก : นับจำ�นวนเส้นตรง


กิจกรรมนี้ เป็นกิจกรรมทีช
่ ว่ ยสร้างเสริมความเข้าใจเกีย่ วกับสมบัตข
ิ องจุดและเส้นตรง ฝึกให้นก
ั เรียนคุน
้ เคยกับการค้นหา
แบบรูปจากการสังเกตและสืบเสาะ สามารถบอกจำ�นวนเส้นตรงที่ลากผ่านจุดครั้งละสองจุด เมื่อกำ�หนดจุดหลาย ๆ จุดให้
โดยมีอุปกรณ์และขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม ดังนี้

อุปกรณ์
ใบกิจกรรมเสนอแนะ 2.1 ก : นับจำ�นวนเส้นตรง

ขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม
1. ครูให้นักเรียนทำ�ใบกิจกรรมเสนอแนะ 2.1 ก : นับจำ�นวนเส้นตรง โดยลากเส้นตรงผ่านจุดครั้งละสองจุด แล้วเติม
จำ�นวนเส้นตรง และเขียนจำ�นวนเส้นตรงในรูปผลบวกของจำ�นวนนับ
2. ครูให้นักเรียนสังเกตความสัมพันธ์ระหว่างจำ�นวนเส้นตรงกับจำ�นวนจุดในข้อนั้น แล้วตอบคำ�ถามตอนที่ 2 ข้อ 1)
3. ครูให้นักเรียนใช้ความสัมพันธ์ที่ได้จากการตอบคำ�ถามตอนที่ 2 ข้อ 1) ในการตอบคำ�ถามข้อที่ 2) ของตอนเดียวกัน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
76 บทที่ 2 | การสร้างทางเรขาคณิต คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

ใบกิจกรรมเสนอแนะ 2.1 ก : นับจำ�นวนเส้นตรง

ตอนที่ 1
ให้นักเรียนลากเส้นตรงผ่านจุดครั้งละสองจุด แล้วบันทึกจำ�นวนเส้นตรง พร้อมทั้งเขียนจำ�นวนเส้นตรงในรูป
ผลบวกของจำ�นวนนับ

จำ�นวน จำ�นวนเส้นตรงในรูป
ข้อ จำ�นวนจุด รูปที่สร้าง เส้นตรง ผลบวกของจำ�นวนนับ
ก 2 1 1

ข 3 3 1+2

ค 4

ง 5

จ 6

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 2 | การสร้างทางเรขาคณิต 77

ตอนที่ 2
จากตารางข้างต้น จงตอบคำ�ถามต่อไปนี้
1) ในแต่ละข้อ จำ�นวนเส้นตรงที่ได้ สัมพันธ์กับจำ�นวนจุดในข้อนั้นอย่างไร

2) ถ้ากำ�หนดจำ�นวนจุดเป็น 7, 8 และ 9 จุด โดยไม่มีสามจุดใดอยู่บนเส้นตรงเดียวกัน จำ�นวนเส้นตรง


ที่ลากผ่านจุดเหล่านี้ ครั้งละสองจุดมีกี่เส้น

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
78 บทที่ 2 | การสร้างทางเรขาคณิต คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

เฉลยใบกิจกรรมเสนอแนะ 2.1 ก : นับจำ�นวนเส้นตรง


ตอนที่ 1

จำ�นวน จำ�นวนเส้นตรงในรูป
ข้อ จำ�นวนจุด รูปที่สร้าง เส้นตรง ผลบวกของจำ�นวนนับ
ก 2 1 1

ข 3 3 1+2

ค 4 6 1+2+3

ง 5 10 1+2+3+4

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 2 | การสร้างทางเรขาคณิต 79

จำ�นวน จำ�นวนเส้นตรงในรูป
ข้อ จำ�นวนจุด รูปที่สร้าง เส้นตรง ผลบวกของจำ�นวนนับ

จ 6 15 1+2+3+4+5

ตอนที่ 2

1) ในแต่ละข้อ จำ�นวนเส้นตรงที่ได้ สัมพันธ์กับจำ�นวนจุดในข้อนั้นอย่างไร
จำ�นวนเส้นตรงเท่ากับผลบวกของจำ�นวนนับ ตั้งแต่หนึ่งจนถึงจำ�นวนจุดลบด้วยหนึ่ง เช่น เมื่อจำ�นวนจุด
เท่ากับ 4 จำ�นวนเส้นตรงเท่ากับ 1 + 2 + 3 หรือ 6 เส้น

2) ถ้ากำ�หนดจำ�นวนจุดเป็น 7, 8 และ 9 จุด โดยไม่มีสามจุดใดอยู่บนเส้นตรงเดียวกัน จำ�นวนเส้นตรงที่ลากผ่าน


จุดเหล่านี้ ครั้งละสองจุดมีกี่เส้น
21, 28 และ 36 เส้น ตามลำ�ดับ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
80 บทที่ 2 | การสร้างทางเรขาคณิต คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

กิจกรรมเสนอแนะ 2.1 ข : นับจำ�นวนจุดตัด


กิจกรรมนี้ เป็นกิจกรรมทีช
่ ว่ ยสร้างเสริมความเข้าใจเกีย่ วกับสมบัตข
ิ องจุดและเส้นตรง ฝึกให้นก
ั เรียนคุน
้ เคยกับการค้นหา
แบบรูปจากการสังเกตและสืบเสาะ รวมทั้ง สามารถบอกจำ�นวนจุดตัดของเส้นตรงเมื่อกำ�หนดเส้นตรงหลาย ๆ เส้นให้ โดยมี
อุปกรณ์และขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม ดังนี้

อุปกรณ์
ใบกิจกรรมเสนอแนะ 2.1 ข : นับจำ�นวนจุดตัด

ขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม
1. ครูให้นักเรียนทำ�ใบกิจกรรมเสนอแนะ 2.1 ข : นับจำ�นวนจุดตัด โดยให้นักเรียนเขียนเส้นตรงและเติมจำ�นวนจุดตัด
พร้อมทั้งเขียนจำ�นวนจุดตัดในรูปผลบวกของจำ�นวนนับ
2. ครูให้นักเรียนสังเกตความสัมพันธ์ระหว่างจำ�นวนจุดตัดกับจำ�นวนเส้นตรงในข้อนั้น แล้วตอบคำ�ถามตอนที่ 2 ข้อ 1)
3. ครูให้นักเรียนใช้ความสัมพันธ์ที่ได้จากการตอบคำ�ถามตอนที่ 2 ข้อ 1) ในการตอบคำ�ถามข้อ 2) ของตอนเดียวกัน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 2 | การสร้างทางเรขาคณิต 81

ใบกิจกรรมเสนอแนะ 2.1 ข : นับจำ�นวนจุดตัด

ตอนที่ 1
ให้นักเรียนเขียนเส้นตรงโดยให้เส้นตรงสองเส้นใด ๆ ต้องตัดกันเสมอ แล้วบันทึกจำ�นวนจุดตัด พร้อมทั้งเขียน
จำ�นวนจุดตัดในรูปของผลบวกของจำ�นวนนับ

จำ�นวน จำ�นวนจุดตัดในรูป
ข้อ รูปที่สร้าง จำ�นวนจุดตัด
เส้นตรง ผลบวกของจำ�นวนนับ

ก 2 1 1

ข 3 3 1+2

ค 4

ง 5

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
82 บทที่ 2 | การสร้างทางเรขาคณิต คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

ตอนที่ 2
จากตารางข้างต้น จงตอบคำ�ถามต่อไปนี้
1. ในแต่ละข้อ จำ�นวนจุดตัดที่ได้ สัมพันธ์กับจำ�นวนเส้นตรงในข้อนั้นอย่างไร

2. ถ้ากำ�หนดจำ�นวนเส้นตรงเป็น 6, 7 และ 8 เส้น โดยที่ไม่มีเส้นตรงคู่ใดขนานกัน และไม่มีเส้นตรง


สามเส้นใด ๆ ตัดกันที่จุดจุดเดียวกัน จุดตัดที่เกิดขึ้นทั้งหมดมีกี่จุด

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 2 | การสร้างทางเรขาคณิต 83

เฉลยใบกิจกรรมเสนอแนะ 2.1 ข : นับจำ�นวนจุดตัด


ตอนที่ 1

จำ�นวน จำ�นวนจุดตัดในรูป
ข้อ รูปที่สร้าง จำ�นวนจุดตัด
เส้นตรง ผลบวกของจำ�นวนนับ

ก 2 1 1

ข 3 3 1+2

ค 4 6 1+2+3

ง 5 10 1+2+3+4

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
84 บทที่ 2 | การสร้างทางเรขาคณิต คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

ตอนที่ 2

1. ในแต่ละข้อ จำ�นวนจุดตัดที่ได้ สัมพันธ์กับจำ�นวนเส้นตรงในข้อนั้นอย่างไร
จำ�นวนจุดตัดเท่ากับผลบวกของจำ�นวนนับ ตั้งแต่หนึ่งจนถึงจำ�นวนเส้นตรงลบด้วยหนึ่ง เช่น เมื่อจำ�นวนเส้นตรง
เท่ากับ 3 จำ�นวนจุดตัดเท่ากับ 1 + 2 หรือ 3 จุด

2. ถ้ากำ�หนดจำ�นวนเส้นตรงเป็น 6, 7 และ 8 เส้น โดยทีไ่ ม่มเี ส้นตรงคูใ่ ดขนานกัน และไม่มเี ส้นตรงสามเส้นใด ๆ


ตัดกันที่จุดจุดเดียวกัน จุดตัดที่เกิดขึ้นทั้งหมดมีกี่จุด
15, 21 และ 28 จุด ตามลำ�ดับ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 2 | การสร้างทางเรขาคณิต 85

เฉลยชวนคิด
ชวนคิด 2.1
มุมระหว่างเข็มสัน
้ และเข็มยาวของนาฬิกาทีห
่ อนาฬิกาแห่งหนึง่ กับนาฬิกาข้อมือของตนเอง ในเวลาเดียวกัน
มีขนาดเท่ากัน เพราะขนาดของมุมไม่ได้ขึ้นอยู่กับความยาวของแขนของมุม

เฉลยแบบฝึกหัด
แบบฝึกหัด 2.1
1. บอกไม่ได้ว่ามีรังสีกี่เส้น เพราะเราสามารถเขียนรังสีที่มีจุด A เป็นจุดปลาย ไปได้ทุกทิศทาง จึงมีรังสีจำ�นวนไม่จำ�กัด
ที่มีจุด A เป็นจุดปลาย เช่น

E
F
A
D B

2. ส่วนของเส้นตรงสั้นที่สุด

3. ชื่อมุมทั้งหมดมีดังนี้ BÂC, BÂD, BÂE, CÂD, CÂE, DÂE, มุมกลับ BAC, มุมกลับ BAD, มุมกลับ BAE,
มุมกลับ CAD, มุมกลับ CAE และมุมกลับ DAE

C
D
B

E
A

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
86 บทที่ 2 | การสร้างทางเรขาคณิต คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

4. ชื่อมุมมีดังนี้
1) PÂB และ CÂQ

P A Q P A Q

C B C B
X S X S
Y T Y T

2) BÂC, AĈB และ CB̂A


3) PÂQ, QÂB, BÂC, CÂP, มุมกลับ PAQ, มุมกลับ QAB, มุมกลับ BAC, มุมกลับ CAP และมุมรอบจุด A

5. เมื่อใช้วงเวียนตรวจสอบ พบว่า a = d

6. ΔABC เป็นรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว
ΔDEF เป็นรูปสามเหลี่ยมด้านไม่เท่า
ΔPQR เป็นรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า

7. 1) แนวคิด อาจเขียนรังสีและสร้างส่วนของเส้นตรงที่ยาวเท่ากับระยะทางแต่ละช่วงให้ต่อเนื่องกันบนรังสีนั้น
แล้ววัดความยาวครั้งเดียว ดังนี้

11 เซนติเมตร

จะได้ ระยะทางตามเส้นทางในแผนที่ยาว 11 เซนติเมตร


ดังนั้น ระยะทางจริงเป็น 11 × 1,000 เมตร หรือ 11 กิโลเมตร
2) ระยะห่างในแผนที่ยาว 9.5 เซนติเมตร
ดังนั้น ระยะห่างจริงเป็น 9.5 × 1,000 เมตร หรือ 9.5 กิโลเมตร

8. ขนาดของมุมเป็นดังนี้
o o o
1) 30 2) 120 3) 180
o o o
4) 210 5) 270 6) 300

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 2 | การสร้างทางเรขาคณิต 87

o
9. จากการสำ�รวจสามารถสร้างเข็มนาฬิกาที่ทำ�มุม 90 ได้ เช่น

00:16 นาฬิกา 00:49 นาฬิกา 01:21 นาฬิกา 01:54 นาฬิกา

02:27 นาฬิกา 03:32 นาฬิกา 07:21 นาฬิกา 09:00 นาฬิกา

หมายเหตุ ตัวอย่างเฉลยข้างต้นเป็นเพียงเวลาโดยประมาณ หากต้องการคำ�นวณให้เที่ยงตรงจะต้องคิดจนถึงระดับวินาที ดังนั้นในการสำ�รวจ


จึงแนะนำ�ให้สำ�รวจโดยใช้โปรแกรม GSP

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
88 บทที่ 2 | การสร้างทางเรขาคณิต คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

2.2 การสร้างพื้นฐานทางเรขาคณิต (6 ชั่วโมง)


จุดประสงค์
นักเรียนสามารถสร้างและบอกขั้นตอนการสร้างพื้นฐานทางเรขาคณิตเกี่ยวกับส่วนของเส้นตรง มุม และเส้นตั้งฉาก
ที่กำ�หนดให้ โดยใช้วงเวียนและสันตรง หรือโปรแกรม The Geometer’s Sketchpad หรือซอฟต์แวร์เรขาคณิตพลวัตอื่น ๆ

ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน
นักเรียนอาจเข้าใจคลาดเคลื่อนว่าเมื่อเขียนส่วนโค้งด้วยวงเวียนแล้ว จะสร้างส่วนของเส้นตรงจากปลายเหล็กแหลมของ
วงเวียนไปยังส่วนโค้งได้เพียงเส้นเดียวเท่านั้น ดังรูป

B
A

ซึ่งที่จริงแล้ว จะสร้างส่วนของเส้นตรงจากปลายเหล็กแหลมของวงเวียนไปยังส่วนโค้งได้เป็นจำ�นวนไม่จำ�กัด ดังรูป

B
A

สื่อที่แนะนำ�ให้ใช้ในข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
1. วงเวียน และสันตรง
2. โปรแกรม The Geometer’s Sketchpad หรือซอฟต์แวร์เรขาคณิตพลวัตอื่น ๆ

ข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ในหัวข้อนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับการสร้างพื้นฐานทางเรขาคณิต ครูควรเน้นการฝึกปฏิบัติให้นักเรียนได้ใช้วงเวียนและสันตรง
หรือโปรแกรม The Geometer’s Sketchpad หรือซอฟต์แวร์เรขาคณิตพลวัตอื่น ๆ ในการสร้างพื้นฐานทางเรขาคณิตเกี่ยวกับ
ส่วนของเส้นตรง มุม และเส้นตั้งฉาก รวมทั้งจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้สังเกต สำ�รวจ และคาดการณ์เกี่ยวกับการสร้าง เพื่อเป็น
พื้นฐานในการสร้างรูปเรขาคณิตอย่างง่าย ทั้งนี้ ครูควรจะพัฒนาความรู้สึกเชิงปริภูมิ และการนึกภาพเกี่ยวกับรูปเรขาคณิต
กิจกรรมที่ครูควรจัดมีดังนี้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 2 | การสร้างทางเรขาคณิต 89

1. ครูควรจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติ สังเกต สำ�รวจ และคาดการณ์ในการสร้างพื้นฐานทางเรขาคณิต เกี่ยวกับ


ส่วนของเส้นตรง มุม และเส้นตั้งฉาก ดังนี้
✤ การสร้างพื้นฐานทางเรขาคณิตเกี่ยวกับส่วนของเส้นตรง ได้แก่ การสร้างส่วนของเส้นตรงให้ยาวเท่ากับ
ความยาวของส่วนของเส้นตรงที่กำ�หนดให้ และการแบ่งครึ่งส่วนของเส้นตรงที่กำ�หนดให้
✤ การสร้างพืน
้ ฐานทางเรขาคณิตเกีย่ วกับมุม ได้แก่ การสร้างมุมให้มข
ี นาดเท่ากับขนาดของมุมทีก
่ �ำ หนดให้ และ
การแบ่งครึ่งมุมที่กำ�หนดให้
✤ การสร้างพื้นฐานทางเรขาคณิตเกี่ยวกับเส้นตั้งฉาก ได้แก่ การสร้างเส้นตั้งฉากจากจุดภายนอกมายังเส้นตรง
ที่กำ�หนดให้ และการสร้างเส้นตั้งฉากที่จุดจุดหนึ่งที่อยู่บนเส้นตรงที่กำ�หนดให้
2. ครูควรใช้คำ�ถามขยายความคิด เพื่อให้นักเรียนใช้การนึกภาพและความรู้สึกเชิงปริภูมิในการคาดการณ์ เช่น
✤ ในการแบ่งครึง่ ส่วนของเส้นตรง เหตุใดจึงต้องกางวงเวียนมากกว่าครึง่ หนึง่ ของความยาวของส่วนของเส้นตรง
✤ การแบ่งครึ่งมุม และการสร้างเส้นตั้งฉาก มีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร
✤ เป็นไปได้หรือไม่ ที่จะแบ่ง AB ออกเป็น 3 ส่วน หรือ 5 ส่วน ที่เท่ากัน โดยใช้การสร้างพื้นฐาน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
90 บทที่ 2 | การสร้างทางเรขาคณิต คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

เฉลยชวนคิด
ชวนคิด 2.2
ไม่สามารถสร้างรูปสามเหลีย่ มหน้าจัว่ ได้ เพราะเมือ
่ กำ�หนดด้านทีย่ าว q หน่วย เป็นฐาน ด้านทีย่ าว p หน่วย
ซึ่งเป็นด้านประกอบมุมยอดจะต้องมีความยาวมากกว่าครึ่งหนึ่งของด้านที่ยาว q หน่วย จึงจะสามารถสร้าง
รูปสามเหลี่ยมหน้าจั่วได้ เนื่องจากผลบวกของความยาวด้านสองด้านของรูปสามเหลี่ยมต้องมากกว่า
ความยาวของด้านที่เหลือเสมอ ดังภาพ

p p

ชวนคิด 2.3
ถ้าส่วนของเส้นตรงที่กำ�หนดให้อยู่บนกระดาษหรือวัสดุที่สามารถพับได้ สามารถทำ�ได้โดยพับให้จุดปลาย
ของส่วนของเส้นตรงที่กำ�หนดให้ทับกันสนิทพอดี รอยพับที่เกิดขึ้นคือเส้นแบ่งครึ่งส่วนของเส้นตรงนั้น
หากส่วนของเส้นตรงนั้นอยู่บนวัสดุที่พับไม่ได้ ยังจำ�เป็นต้องใช้วงเวียนในการแบ่งครึ่งส่วนของเส้นตรงนั้น

ชวนคิด 2.4
ตัวอย่างการสร้างมุมกลับขนาด 300 องศา อาจทำ�ได้โดยสร้างมุมแหลมขนาด 60 องศา ก่อน ซึ่งจะได้
มุมกลับขนาด 300 องศา ดังรูป

300º
60º

ชวนคิด 2.5
รูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว

ชวนคิด 2.6
ไม่เสมอไป เช่น ไม่สามารถสร้างเส้นตรงจากจุด P ไปตั้งฉากกับส่วนของเส้นตรง AB ได้ ดังรูป

A B

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 2 | การสร้างทางเรขาคณิต 91

เฉลยแบบฝึกหัด
แบบฝึกหัด 2.2 ก
1. สร้าง

A a a B T

จากการสร้าง จะได้ AB ยาวเท่ากับ 2a หน่วย

2. สร้าง

A a b B T

จากการสร้าง จะได้ AB ยาวเท่ากับ a + b หน่วย

สร้าง

a
P R Q T
b

จากการสร้าง จะได้ PR ยาวเท่ากับ a – b หน่วย


(สร้าง PQ ให้ยาวเท่ากับ a หน่วย แล้วใช้จุด Q เป็นจุดศูนย์กลาง รัศมียาวเท่ากับ b หน่วย เขียนส่วนโค้งตัด
PQ ให้จุดตัดคือ จุด R)

3. สร้าง
C

a b

A c B

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
92 บทที่ 2 | การสร้างทางเรขาคณิต คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

1. สร้าง AB ยาวเท่ากับ c หน่วย


2. ใช้จุด A เป็นจุดศูนย์กลาง รัศมียาวเท่ากับ a หน่วย และใช้จุด B เป็นจุดศูนย์กลาง รัศมียาวเท่ากับ
b หน่วย เขียนส่วนโค้งตัดกัน ให้จุดตัดคือ จุด C
3. ลาก AC และ BC
จะได้ ΔABC เป็นรูปสามเหลี่ยมตามต้องการ

4. สร้าง
A

b b

B a C T

1. สร้าง BC ยาวเท่ากับ a หน่วย


2. ใช้จุด B และจุด C เป็นจุดศูนย์กลาง รัศมียาวเท่ากับ b หน่วย เขียนส่วนโค้งตัดกัน ให้จุดตัดคือ จุด A
3. ลาก AB และ AC
จะได้ ΔABC เป็นรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว

5. สร้าง แบ่งครึ่งส่วนของเส้นตรงที่ยาว b หน่วย จะได้ ส่วนแบ่งแต่ละส่วนยาว b


– หน่วย
2

b b
2 2

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 2 | การสร้างทางเรขาคณิต 93

b a a
a
2

A a B T B b C T
2
รูปที่ 1 รูปที่ 2

วิธีสร้างรูปที่ 1
1. สร้าง AB ยาวเท่ากับ a หน่วย
2. ใช้จุด A เป็นจุดศูนย์กลาง รัศมียาวเท่ากับ a หน่วย และใช้จุด B เป็นจุดศูนย์กลาง รัศมียาวเท่ากับ
b
– หน่วย เขียนส่วนโค้งตัดกัน ให้จุดตัดคือ จุด C
2
3. ลาก BC และ AC
จะได้ ΔABC เป็นรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่วตามต้องการ
วิธีสร้างรูปที่ 2
1. สร้าง BC ยาวเท่ากับ b – หน่วย
2
2. ใช้จุด B และจุด C เป็นจุดศูนย์กลาง รัศมียาวเท่ากับ a หน่วย เขียนส่วนโค้งตัดกัน ให้จุดตัดคือ จุด A
3. ลาก AB และ AC
จะได้ ΔABC เป็นรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่วตามต้องการ

6. 1) สร้าง

2a 3a

A B T
2a
3a

จากการสร้าง จะได้ ΔABC ที่มีด้านยาว 2a, 3a และ 4a หน่วย ตามต้องการ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
94 บทที่ 2 | การสร้างทางเรขาคณิต คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

2) ผลบวกของความยาวด้านสองด้านของรูปสามเหลี่ยมต้องมากกว่าความยาวของด้านที่เหลือเสมอ เพราะถ้า
สร้างฐานของรูปสามเหลี่ยมให้ยาวเท่ากับ 3a หน่วย แล้ว ผลบวกของความยาวของด้านอีกสองด้านเท่ากับ
a + 2a = 3a พอดี จะเห็นว่ารูปที่สร้างได้นั้น ส่วนของเส้นตรงที่ยาว a และ 2a ไม่ชนกัน จึงไม่เกิดเป็น
รูปสามเหลี่ยมได้ ดังภาพ

2a
a

A a 2a B

3) ไม่สามารถสร้างได้ เพราะใช้แนวคิดเดียวกับข้อ 2)

7. สร้าง

A E C F B

1. แบ่งครึ่ง AB จะได้ AC = CB
2. แบ่งครึ่ง AC จะได้ AE = EC
3. แบ่งครึ่ง CB จะได้ CF = FB
จะได้ AE, EF, CF และ FB เป็นส่วนของเส้นตรง 4 ส่วน ที่แต่ละส่วนยาวเท่ากัน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 2 | การสร้างทางเรขาคณิต 95

8. เราสามารถแบ่งเป็นส่วนที่ยาวเท่ากัน ได้ดังนี้
1) เราสามารถแบ่งได้ 2 ส่วน 4 ส่วน 8 ส่วน 16 ส่วน … หรือมีแบบรูปเป็น
ครั้งที่ 1 แบ่งได้ 2 = 2 ส่วน
ครั้งที่ 2 แบ่งได้ 2 × 2 = 4 ส่วน
ครั้งที่ 3 แบ่งได้ 2 × 2 × 2 = 8 ส่วน

ซึ่งจะแบ่งได้ตามแบบรูปนี้ไปเรื่อย ๆ กล่าวคือ ในกรณีทั่วไปจะแบ่งได้ 2 × 2 × 2 × . . . × 2 ส่วน เมื่อ n แทน
จำ�นวนครั้งของการแบ่ง n ตัว
2) เราไม่สามารถแบ่งส่วนของเส้นตรงออกเป็น 10 ส่วน ที่ยาวเท่ากันได้ เพราะการแบ่งครึ่งส่วนของเส้นตรง
แต่ละส่วน จะได้จำ�นวนส่วนแบ่งเป็น 2, 4, 8, 16, … เท่านั้น

9. แนวคิด ให้จุด A และ B แทนตำ�แหน่งบ้านของเสรีและสันติ ตามลำ�ดับ

บ้านของเสรี บ้านของสันติ

A
O
B
มาตราส่วน 1 : 500

หาตำ�แหน่งของบ่อน้ำ�โดยการแบ่งครึ่ง AB
จากการสร้าง จะได้จุด O เป็นตำ�แหน่งของบ่อน้ำ�
จากการวัด จะได้ AO = OB = 3.5 เซนติเมตร
บ้านของเสรีและสันติอยูห
่ า่ งจากบ่อน้�ำ 3.5 × 500 = 1,750 เซนติเมตร หรือเท่ากับ 17.50 เมตร

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
96 บทที่ 2 | การสร้างทางเรขาคณิต คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

10. การแบ่งครึ่งส่วนของเส้นตรงที่มีความยาวมาก ๆ สามารถทำ�ได้โดยกางวงเวียนรัศมียาวเท่ากันแบ่งส่วนของเส้นตรง


จากจุดปลายทั้งสองเข้ามาหาจุดกึ่งกลางของส่วนของเส้นตรงนี้ จนกว่าจะเหลือส่วนของเส้นตรงที่มีความยาวสั้นพอ
ที่จะใช้วงเวียนแบ่งครึ่งส่วนของเส้นตรงได้ ดังตัวอย่าง

A C O D B

จากรูป กางวงเวียนรัศมียาวเท่ากันแบ่งส่วนของเส้นตรงจากจุดปลาย A และ B ให้จำ�นวนครั้งที่แบ่งจากปลายทั้งสอง


เท่ากันจนได้จุด C และจุด D ซึ่ง CD มีความยาวพอที่จะใช้วงเวียนแบ่งครึ่งได้ แล้วใช้การแบ่งครึ่ง CD จะได้จุด O
เป็นจุดกึ่งกลางของ AB

แบบฝึกหัด 2.2 ข
1. สร้าง
A

B C
จากการสร้าง จะได้ AB̂C มีขนาดเท่ากับขนาดของมุมที่กำ�หนดให้

2. สร้าง
Z

Y X

จากการสร้าง จะได้ XŶZ มีขนาดเท่ากับขนาดของมุมกลับที่กำ�หนดให้


สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 2 | การสร้างทางเรขาคณิต 97

3. สร้าง
R

P Q
จากการสร้าง จะได้ RP̂Q มีขนาดเท่ากับสองเท่าของขนาดของ AB̂C ที่กำ�หนดให้

4. สร้าง
C

A B
จากการสร้าง CÂB ให้มีขนาดเท่ากับขนาดของ PQ̂R และสร้าง DÂB ให้มีขนาดเท่ากับขนาดของ MÔN
จากรูป จะได้ CÂD = CÂB – DÂB
ดังนั้น CÂD = PQ̂R – MÔN

5. สร้าง AB̂C ให้มีขนาดน้อยกว่า 180°

A D

B C

E
� �
1) จากการสร้าง BD เป็นเส้นแบ่งครึ่ง AB̂C และ BE เป็นเส้นแบ่งครึ่งมุมกลับ ABC

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
98 บทที่ 2 | การสร้างทางเรขาคณิต คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

� �
2) จะได้ข้อความคาดการณ์ว่า BD และ BE ซึ่งเป็นเส้นแบ่งครึ่งมุมในข้อ 1) ต่อเป็นเส้นตรงเดียวกัน ซึ่งสามารถ
แสดงให้เห็นว่าเป็นจริงได้ดังนี้
DB̂A + AB̂E = 1
เนื่องจาก – AB̂C + 1– (ขนาดของมุมกลับ ABC)
2 2
= 1 – (AB̂C + ขนาดของมุมกลับ ABC)
2
= 1
o
– (360 )
2
o
= 180 ซึ่งเป็นขนาดของมุมตรง
� �
ดังนั้น BD และ BE ต่อเป็นเส้นตรงเดียวกัน

6. สร้าง
E
D
C
F

A B
จากการสร้าง จะได้ CÂB มีขนาดเท่ากับขนาดของ XŶ Z

AD แบ่งครึ่ง CÂB

AE แบ่งครึ่ง CÂD

และ AF แบ่งครึ่ง DÂB
ดังนั้น CÂE = EÂD = DÂF = FÂB
1) ไม่สามารถแบ่ง XŶZ ออกเป็น 3 มุม 5 มุม หรือ 6 มุม ที่แต่ละมุมมีขนาดเท่ากันด้วยวิธีการข้างต้นได้
2) โดยใช้การแบ่งครึ่งมุม เราสามารถแบ่ง XŶZ ออกเป็นมุมที่มีขนาดเท่ากัน 2 มุม 4 มุม 8 มุม 16 มุม …
หรือมีแบบรูปเป็นดังนี้
ครั้งที่ 1 แบ่งได้ 2 = 2 มุม
ครั้งที่ 2 แบ่งได้ 2×2 = 4 มุม
ครั้งที่ 3 แบ่งได้ 2 × 2 × 2 = 8 มุม

ซึ่งจะแบ่งได้ตามแบบรูปนี้ไปเรื่อย ๆ กล่าวคือในกรณีทั่วไปจะแบ่งได้ 2 × 2 × 2 × . . . × 2 มุม เมื่อ n แทน


จำ�นวนครั้งของการแบ่ง n

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 2 | การสร้างทางเรขาคณิต 99

7. สร้าง

A a B
จากการสร้าง จะได้ ΔABC มี AB = a หน่วย AB̂C = PQ̂R และ BÂC = XŶZ

8. สร้าง

R
X

P Q S

� �
จากการสร้าง จะได้ QX แบ่งครึ่ง PQ̂R และ QY แบ่งครึ่ง RQ̂S
o
1) PQ̂R + RQ̂S = 180
2) 1
– PQ̂R + 1
– RQ̂S = 1– (PQ̂R + RQ̂S) = 1
o o
– (180 ) = 90
2 2 2 2
o
3) XQ̂Y = 90 เพราะว่า XQ̂Y = XQ̂R + RQ̂Y
= –1 PQ̂R + 1 – RQ̂S
2 2
o
= 90

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
100 บทที่ 2 | การสร้างทางเรขาคณิต คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

แบบฝึกหัด 2.2 ค
1.
C

A O B

1) จากการสร้าง CD แบ่งครึ่ง AB ที่จุด O


o
2) CD ตั้งฉากกับ AB ที่จุด O เพราะว่า AÔC + BÔC = 180 (ขนาดของมุมตรง)
ซึ่งจากการใช้วงเวียนวัดขนาดของ AÔC และ BÔC จะพบว่า AÔC = BÔC
ดังนั้น AÔC = BÔC = 1
o o
– (180 ) = 90
2

2.

A O B


1) จากการสร้าง CD แบ่งครึ่ง AB ที่จุด O

จากข้อ 1 จะได้ว่า CD ตั้งฉากกับ AB ที่จุด O ด้วย

2) ให้จุด P เป็นจุดใด ๆ บน CD เมื่อใช้วงเวียนตรวจสอบความยาวของ PA และ PB จะได้ว่า PA = PB

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 2 | การสร้างทางเรขาคณิต 101

3.
A

D
G F

I
P

B H C

จากการสร้าง จะได้ PD, PE และ PF เป็นเส้นตั้งฉากที่ลากจากจุด P ไปยัง AB, BC และ AC ตามลำ�ดับ


ข้อสังเกตที่เป็นไปได้ เช่น ถ้าให้จุดตัดบน AB, BC และ AC คือ จุด G จุด H และจุด I ตามลำ�ดับ จะได้ว่า
PG เป็นส่วนสูงเส้นหนึ่งของ ΔAPB
PH เป็นส่วนสูงเส้นหนึ่งของ ΔBPC
และ PI เป็นส่วนสูงเส้นหนึ่งของ ΔAPC
ดังนั้น อาจหาพื้นที่ของ ΔABC ได้ ถ้าทราบความยาวของด้านทั้งสามและส่วนสูงเหล่านี้

4.
D
G
K

M J
O

L H

E N F

I
เนื่องจากเราทราบมาแล้วว่า เมื่อใช้การสร้างพื้นฐานทางเรขาคณิตข้อที่ 2 ในการแบ่งครึ่งส่วนของเส้นตรง เส้นที่
แบ่งครึ่งส่วนของเส้นตรงใด ๆ จะตั้งฉากกับส่วนของเส้นตรงนั้นด้วย ดังนั้น เราสามารถสร้างเส้นแบ่งครึ่งและ
ตั้งฉากกับด้านแต่ละด้านของรูปสามเหลี่ยม DEF ได้ดังนี้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
102 บทที่ 2 | การสร้างทางเรขาคณิต คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

1. สร้าง GH แบ่งครึ่ง DE ที่จุด M


2. สร้าง IJ แบ่งครึ่ง EF ที่จุด N
3. สร้าง KL แบ่งครึ่ง FD ที่จุด O
ดังนั้น GH, IJ และ KL จึงเป็นเส้นแบ่งครึ่งและตั้งฉากกับ DE, EF และ FD ซึ่งเป็นด้านของรูปสามเหลี่ยม
DEF ตามลำ�ดับ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 2 | การสร้างทางเรขาคณิต 103

2.3 การสร้างรูปเรขาคณิต (4 ชั่วโมง)


จุดประสงค์
นักเรียนสามารถ
1. อธิบายและสร้างรูปเรขาคณิตโดยการใช้การสร้างพื้นฐานทางเรขาคณิต
2. สำ�รวจ สังเกต และคาดการณ์เกี่ยวกับสมบัติทางเรขาคณิต และนำ�ไปใช้ในการแก้ปัญหา

ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน
1. นักเรียนอาจเข้าใจคลาดเคลื่อนว่า การหาระยะห่างระหว่างเส้นตรงหรือส่วนของเส้นตรงสองเส้น สามารถหาได้จาก
การวัดระยะห่างทีต
่ �ำ แหน่งใดก็ได้ระหว่างเส้นตรงหรือส่วนของเส้นตรงสองเส้นนัน
้ ซึง่ ในความเป็นจริง เราต้องกำ�หนด
จุดบนเส้นตรงหรือส่วนของเส้นตรงหนึง่ ก่อน แล้วจึงวัดระยะห่างจากจุดนัน
้ มาตัง้ ฉากกับเส้นตรงหรือส่วนของเส้นตรง
อีกเส้นหนึ่ง
2. นักเรียนอาจเข้าใจคลาดเคลื่อนว่า ส่วนสูงของรูปสามเหลี่ยมต้องอยู่ภายในรูปสามเหลี่ยมเท่านั้น

สื่อที่แนะนำ�ให้ใช้ในข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
1. วงเวียน และสันตรง
2. โปรแกรม The Geometer’s Sketchpad หรือซอฟต์แวร์เรขาคณิตพลวัตอื่น ๆ
3. ใบกิจกรรมเสนอแนะ 2.3 : สร้างสวนสนุก

ข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ในหัวข้อนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับการสร้างรูปเรขาคณิต โดยเน้นฝึกปฏิบัติให้นักเรียนได้ใช้วงเวียนและสันตรง หรือโปรแกรม
The Geometer’s Sketchpad หรือซอฟต์แวร์เรขาคณิตพลวัตอื่น ๆ ในการสร้างรูปเรขาคณิตเกี่ยวกับมุม รูปสามเหลี่ยม
เส้นขนาน และรูปสี่เหลี่ยม รวมทั้งให้มีการสังเกต สำ�รวจ และคาดการณ์เกี่ยวกับสมบัติทางเรขาคณิต ทั้งนี้ ครูควรจะพัฒนา
ความรู้สึกเชิงปริภูมิ และการนึกภาพเกี่ยวกับรูปเรขาคณิต กิจกรรมที่ครูควรจัดมีดังนี้
1. ในการสอนการสร้างรูปเรขาคณิต ครูควรใช้คำ�ถามประกอบการอธิบายและสาธิต เพื่อให้นักเรียนเชื่อมโยงความรู้
เกี่ยวกับการสร้างพื้นฐานทางเรขาคณิตที่เรียนมาแล้ว มาทำ�ความเข้าใจเกี่ยวกับการสร้างรูปเรขาคณิต ซึ่งได้แก่
✤ การสร้างมุมที่มีขนาดต่าง ๆ
✤ การสร้างและสำ�รวจเกี่ยวกับรูปสามเหลี่ยม
✤ การสร้างเส้นขนาน
✤ การสร้างรูปสี่เหลี่ยม

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
104 บทที่ 2 | การสร้างทางเรขาคณิต คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

2. ในการจัดกิจกรรมเพื่อสร้างรูปเรขาคณิตเกี่ยวกับการสร้างมุมที่มีขนาดต่าง ๆ และเพื่อให้นักเรียนได้ใช้ความรู้สึก
เชิงจำ�นวน ครูควรชี้ให้นักเรียนเห็นความสัมพันธ์ระหว่างมุมที่มีขนาดต่างกัน เช่น
✤ มุมที่มีขนาด 75 องศา 75 อาจได้มาจาก 60 + 15 หรือ 30 + 30 + 15 หรือ 90 – 15
✤ มุมที่มีขนาด 150 องศา 150 อาจได้มาจาก 120 + 30 หรือ 90 + 60 หรือ 180 – 30
✤ มุมที่มีขนาด 210 องศา 210 อาจได้มาจาก 180 + 30 หรือ 270 – 60
3. ครูจด
ั กิจกรรม เพือ
่ ให้นก
ั เรียนได้ส�ำ รวจ สังเกต และคาดการณ์เกีย่ วกับสมบัตท
ิ างเรขาคณิต โดยใช้กจิ กรรมต่อไปนี้
✤ กิจกรรม : สำ�รวจเส้นมัธยฐานของรูปสามเหลี่ยม
✤ กิจกรรม : สำ�รวจเส้นแบ่งครึ่งมุมของรูปสามเหลี่ยม
✤ กิจกรรม : สำ�รวจส่วนของเส้นตรงที่ลากจากจุดยอดของรูปสามเหลี่ยมมาตั้งฉากกับด้านตรงข้ามหรือ
ส่วนต่อของด้านตรงข้ามกับจุดยอดนั้น
✤ กิจกรรม : สำ�รวจเส้นตรงที่แบ่งครึ่งและตั้งฉากกับด้านของรูปสามเหลี่ยม
ทั้งนี้ นักเรียนสามารถใช้วงเวียนและสันตรง หรือโปรแกรม The Geometer’s Sketchpad หรือซอฟต์แวร์
เรขาคณิตพลวัตอื่น ๆ ในการสำ�รวจ โดยครูควรใช้คำ�ถามกระตุ้นเพื่อนำ�ไปสู่การสร้างข้อความคาดการณ์ รวมถึง
สำ�รวจผลที่ได้ว่าเป็นไปตามข้อความคาดการณ์หรือไม่
4. ครูอาจใช้ “กิจกรรมเสนอแนะ 2.3 : สร้างสวนสนุก” เพื่อให้เห็นการนำ�สมบัติทางเรขาคณิตที่เกี่ยวกับ จุดจวบ
ของเส้นแบ่งครึ่งมุมทั้งสามของรูปสามเหลี่ยมไปใช้ในการแก้ปัญหา

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 2 | การสร้างทางเรขาคณิต 105

กิจกรรม : สำ�รวจเส้นมัธยฐานของรูปสามเหลี่ยม
กิ จ กรรมนี้ เป็ น กิ จ กรรมสำ � หรั บ ฝึ ก ให้ นั ก เรี ย นสื บ เสาะ สั ง เกต และคาดการณ์ เ กี่ ย วกั บ สมบั ติ ข องรู ป สามเหลี่ ย ม
เพื่อให้นักเรียนได้ฝึกใช้การสร้างพื้นฐานทางเรขาคณิตในการสร้างเส้นมัธยฐาน และสำ�รวจสิ่งที่นักเรียนค้นพบผ่านการลงมือ
ปฏิบัติ ซึ่งนักเรียนอาจใช้ซอฟต์แวร์เรขาคณิตพลวัตช่วยในการสร้าง โดยมีอุปกรณ์ และขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม ดังนี้

อุปกรณ์
ซอฟต์แวร์เรขาคณิตพลวัต

ขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม
1. ครูให้นักเรียนสร้างรูปสามเหลี่ยม ABC
2. ครูให้นักเรียนสร้างเส้นมัธยฐานของรูปสามเหลี่ยม ABC ให้ครบทั้งสามเส้น
3. ครูให้นักเรียนสังเกตผลที่ได้จากการสร้างในข้อ 2 เปรียบเทียบและอภิปรายผลที่ได้จากการสังเกตกับเพื่อนในห้อง
เพื่อนำ�ไปสู่ข้อสรุปที่ค้นพบ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
106 บทที่ 2 | การสร้างทางเรขาคณิต คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

เฉลยกิจกรรม : สำ�รวจเส้นมัธยฐานของรูปสามเหลี่ยม

B D C

จากการสำ�รวจ จะได้ว่า ในรูปสามเหลี่ยมใด ๆ เส้นมัธยฐานทั้งสามตัดกันที่จุดจุดหนึ่ง

หมายเหตุ จากรูป จุด O เป็นจุดเซนทรอยด์ (centroid)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 2 | การสร้างทางเรขาคณิต 107

กิจกรรม : สำ�รวจเส้นแบ่งครึ่งมุมของรูปสามเหลี่ยม
กิจกรรมนี้ เป็นกิจกรรมสำ�หรับฝึกให้นักเรียนสืบเสาะ สังเกต และคาดการณ์เกี่ยวกับสมบัติของรูปสามเหลี่ยม เพื่อให้
นักเรียนได้ฝึกใช้การสร้างพื้นฐานทางเรขาคณิตในการสร้างเส้นแบ่งครึ่งมุมของรูปสามเหลี่ยม และสำ�รวจสิ่งที่นักเรียนค้นพบ
ผ่านการลงมือปฏิบต
ั ิ ซึง่ นักเรียนอาจใช้ซอฟต์แวร์เรขาคณิตพลวัตช่วยในการสร้าง โดยมีอป
ุ กรณ์ และขัน
้ ตอนการดำ�เนินกิจกรรม
ดังนี้

อุปกรณ์
ซอฟต์แวร์เรขาคณิตพลวัต

ขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม
1. ครูให้นักเรียนสร้างรูปสามเหลี่ยม LMN
2. ครูให้นักเรียนสร้างเส้นแบ่งครึ่งมุมของรูปสามเหลี่ยม LMN ให้ครบทั้งสามเส้น
3. ครู ใ ห้ นั ก เรี ย นสั ง เกตผลที่ ไ ด้ จ ากการสร้ า งในข้ อ 2 จากนั้ น เปรี ย บเที ย บและอภิ ป รายผลที่ ไ ด้ จ ากการสั ง เกต
กับเพื่อนในห้อง เพื่อนำ�ไปสู่ข้อสรุปที่ค้นพบ
4. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปข้อค้นพบที่ได้จากข้อ 3

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
108 บทที่ 2 | การสร้างทางเรขาคณิต คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

เฉลยกิจกรรม : สำ�รวจเส้นแบ่งครึ่งมุมของรูปสามเหลี่ยม

L M

จากการสำ�รวจ จะได้ว่า ในรูปสามเหลี่ยมใด ๆ เส้นแบ่งครึ่งมุมภายในทั้งสามจะตัดกันที่จุดจุดหนึ่ง

หมายเหตุ จากรูป จุด O เป็นศูนย์กลางวงกลมแนบใน (incenter)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 2 | การสร้างทางเรขาคณิต 109

กิจกรรม : สำ�รวจส่วนของเส้นตรงที่ลากจากจุดยอดของ
รูปสามเหลี่ยมมาตั้งฉากกับด้านตรงข้ามหรือส่วนต่อของ
ด้านตรงข้ามกับจุดยอดนั้น
กิ จ กรรมนี้ เป็ น กิ จ กรรมสำ � หรั บ ฝึ ก ให้ นั ก เรี ย นสื บ เสาะ สั ง เกต และคาดการณ์ เ กี่ ย วกั บ สมบั ติ ข องรู ป สามเหลี่ ย ม
เพือ
่ ให้นก
ั เรียนได้ฝก
ึ ใช้การสร้างพืน
้ ฐานทางเรขาคณิตในการสร้างส่วนของเส้นตรงทีล่ ากจากจุดยอดของรูปสามเหลีย่ มมาตัง้ ฉาก
กับด้านตรงข้ามกับจุดยอดนั้นหรือส่วนต่อของด้านตรงข้าม และสำ�รวจสิ่งที่นักเรียนค้นพบ ผ่านการลงมือปฏิบัติ ซึ่งนักเรียน
อาจใช้ซอฟต์แวร์เรขาคณิตพลวัตช่วยในการสร้าง โดยมีอุปกรณ์ และขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม ดังนี้

อุปกรณ์
ซอฟต์แวร์เรขาคณิตพลวัต

ขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม
1. ครูให้นักเรียนสร้างรูปสามเหลี่ยม PQR
2. ครู ใ ห้ นั ก เรี ย นสร้ า งส่ ว นของเส้ น ตรงที่ ล ากจากจุ ด ยอดของรู ป สามเหลี่ ย มมาตั้ ง ฉากกั บ ด้ า นตรงข้ า มหรื อ ส่ ว นต่ อ
ของด้านตรงข้ามกับจุดยอดนั้น ให้ครบทั้งสามเส้น
3. ครูให้นักเรียนสังเกตผลที่ได้จากการสร้างในข้อ 2 จากนั้น เปรียบเทียบและอภิปรายผลที่ได้จากการสังเกตกับเพื่อน
ในห้อง เพื่อนำ�ไปสู่ข้อสรุปที่ค้นพบ
4. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปข้อค้นพบที่ได้จากข้อ 3

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
110 บทที่ 2 | การสร้างทางเรขาคณิต คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

เฉลยกิจกรรม : สำ�รวจส่วนของเส้นตรงที่ลากจากจุดยอดของ
รูปสามเหลี่ยมมาตั้งฉากกับด้านตรงข้ามหรือส่วนต่อของ
ด้านตรงข้ามกับจุดยอดนั้น

Q R

จากการสำ�รวจ จะได้ว่า ส่วนสูงหรือส่วนต่อของส่วนสูงของรูปสามเหลี่ยมใด ๆ จะตัดกันที่จุดจุดหนึ่ง

หมายเหตุ จากรูป จุด O เป็นจุดออร์โทเซนเตอร์ (orthocentre)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 2 | การสร้างทางเรขาคณิต 111

กิจกรรม : เส้นตรงที่แบ่งครึ่งและตั้งฉากกับด้านของรูปสามเหลี่ยม
กิ จ กรรมนี้ เป็ น กิ จ กรรมสำ � หรั บ ฝึ ก ให้ นั ก เรี ย นสื บ เสาะ สั ง เกต และคาดการณ์ เ กี่ ย วกั บ สมบั ติ ข องรู ป สามเหลี่ ย ม
เพื่อให้นักเรียนได้ฝึกใช้การสร้างพื้นฐานทางเรขาคณิตในการสร้างเส้นตรงที่แบ่งครึ่งและตั้งฉากกับด้านของรูปสามเหลี่ยม และ
สำ�รวจสิ่งที่นักเรียนค้นพบ ผ่านการลงมือปฏิบัติ ซึ่งนักเรียนอาจใช้ซอฟต์แวร์เรขาคณิตพลวัตช่วยในการสร้าง โดยมีอุปกรณ์
และขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม ดังนี้

อุปกรณ์
ซอฟต์แวร์เรขาคณิตพลวัต

ขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม
1. ครูให้นักเรียนสร้างรูปสามเหลี่ยม RST
2. ครูให้นักเรียนสร้างเส้นตรงที่แบ่งครึ่งและตั้งฉากกับด้านของรูปสามเหลี่ยม RST ให้ครบทั้งสามเส้น
3. ครูให้นักเรียนสังเกตผลที่ได้จากการสร้างในข้อ 2 จากนั้น เปรียบเทียบและอภิปรายผลที่ได้จากการสังเกตกับเพื่อน
ในห้อง เพื่อนำ�ไปสู่ข้อสรุปที่ค้นพบ

หมายเหตุ ครูควรให้เวลานักเรียนสร้างข้อความคาดการณ์ อภิปรายและนำ�เสนอเหตุผล

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
112 บทที่ 2 | การสร้างทางเรขาคณิต คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

เฉลยกิจกรรม : เส้นตรงที่แบ่งครึ่งและตั้งฉากกับด้านของรูปสามเหลี่ยม

R S

จากการสำ�รวจ จะได้ว่า เส้นแบ่งครึ่งและตั้งฉากกับด้านแต่ละด้านของรูปสามเหลี่ยม RST จะตัดกันที่จุดจุดหนึ่ง

หมายเหตุ จากรูป จุด O เป็นศูนย์กลางวงล้อม (circumcentre)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 2 | การสร้างทางเรขาคณิต 113

กิจกรรมเสนอแนะ 2.3 : สร้างสวนสนุก


กิจกรรมนี้ เป็นกิจกรรมทีช
่ ว่ ยสร้างเสริมประสบการณ์เกีย่ วกับการแบ่งครึง่ มุม ให้เห็นว่าทุกจุดบนเส้นแบ่งครึง่ มุมจะอยูห
่ า่ ง
จากแขนของมุมทัง้ สองเป็นระยะเท่ากันเสมอ และให้เห็นสมบัตเิ กีย่ วกับการตัดกันของเส้นแบ่งครึง่ มุมทัง้ สามของรูปสามเหลีย่ ม
ซึ่งนักเรียนสามารถเรียนรู้โดยการสังเกต สืบเสาะ และหาข้อสรุปจากการลงมือปฏิบัติด้วยการใช้วงเวียนและสันตรง หรืออาจ
ใช้โปรแกรม The Geometer’s Sketchpad และสามารถนำ�ความรูไ้ ปใช้แก้ปญ
ั หา โดยมีอป
ุ กรณ์และขัน
้ ตอนการดำ�เนินกิจกรรม
ดังนี้

อุปกรณ์
1. ใบกิจกรรมเสนอแนะ 2.3 : สร้างสวนสนุก
2. วงเวียนและสันตรง หรือโปรแกรม The Geometer’s Sketchpad หรือซอฟต์แวร์เรขาคณิตพลวัตอืน
่ ๆ ในการสร้าง
และสำ�รวจ

ขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม
1. ครูนำ�เสนอปัญหาที่อยู่ในใบกิจกรรมเสนอแนะ 2.3 : สร้างสวนสนุก
2. ให้นักเรียนใช้ความรู้เรื่องการแบ่งครึ่งมุม และการสร้างเส้นตั้งฉาก มาประกอบการคิดแก้ปัญหา ทั้งนี้ อาจให้นักเรียน
ใช้วงเวียนและสันตรง หรือโปรแกรม The Geometer’s Sketchpad หรือซอฟต์แวร์เรขาคณิตพลวัตอืน
่ ๆ ในการสร้าง
และสำ�รวจ
3. เมื่ อ นั ก เรี ย นได้ ตำ � แหน่ ง ที่ จ ะสร้ า งสวนสนุ ก และวิ ธี ก ารสร้ า งถนนให้ มี ร ะยะทางสั้ น ที่ สุ ด แล้ ว ครู ค วรใช้ คำ � ถาม
ขยายความคิด เช่น ถ้าตำ�แหน่งของหมู่บ้านทั้งสามเปลี่ยนแปลงไป นักเรียนยังสามารถใช้แนวคิดข้างต้น ในการหา
ตำ�แหน่งของสวนสนุกได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
114 บทที่ 2 | การสร้างทางเรขาคณิต คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

ใบกิจกรรมเสนอแนะ 2.3 : สร้างสวนสนุก

ปัญหา “สร้างสวนสนุก”

หมู่บ้านดอนหวาย ไร่ขิง และศาลายา มีถนนสายตรงเชื่อมระหว่างหมู่บ้านทั้งสาม ดังรูป

ดอนหวาย

ไร�ขิง ศาลายา

คณะกรรมการของหมูบ
่ า้ นทัง้ สามตกลงใจทีจ่ ะสร้างสวนสนุกให้อยูห
่ า่ งจากถนนทัง้ สามสายเป็นระยะทางเท่ากัน

1. จงหาตำ�แหน่งที่จะสร้างสวนสนุก

2. ถ้าต้องการสร้างถนนเล็ก ๆ จากสวนสนุกไปยังถนนใหญ่แต่ละสายที่เชื่อมหมู่บ้าน โดยให้มีระยะทาง


สัน
้ ทีส่ ด
ุ จะสร้างอย่างไร

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 2 | การสร้างทางเรขาคณิต 115

เฉลยกิจกรรมเสนอแนะ 2.3 : สร้างสวนสนุก


1. จงหาตำ�แหน่งที่จะสร้างสวนสนุก
ตำ�แหน่งที่จะสร้างสวนสนุก คือ จุดตัดของเส้นแบ่งครึ่งมุม ดังรูป

ดอนหวาย

ไร�ขิง ศาลายา

2. ถ้าต้องการสร้างถนนเล็ก ๆ จากสวนสนุกไปยังถนนใหญ่แต่ละสายที่เชื่อมหมู่บ้าน โดยให้มีระยะทางสั้นที่สุด


จะสร้างอย่างไร
สร้างได้โดยให้แนวของถนนเล็ก ๆ จากสวนสนุกตั้งฉากกับถนนใหญ่แต่ละสาย

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
116 บทที่ 2 | การสร้างทางเรขาคณิต คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

เฉลยชวนคิด
ชวนคิด 2.7
o o
การสร้างมุม 30 และ 45 ใช้แนวคิดจากการสร้างพื้นฐานทางเรขาคณิตข้อที่ 4 : การแบ่งครึ่งมุม
ที่กำ�หนดให้ เช่น
o o
มุมที่มีขนาด 30 ใช้แนวคิดการแบ่งครึ่งมุมที่มีขนาด 60
o o
มุมที่มีขนาด 45 ใช้แนวคิดการแบ่งครึ่งมุมที่มีขนาด 90

ชวนคิด 2.8
แนวคิดอื่น ๆ ในการสร้างมุมที่มีขนาด 75 เช่น 75 = 30 + 45 , 75 = 180 – 30
o

ชวนคิด 2.9
o
การสร้างมุม 120 มีแนวคิดในการสร้างได้หลายแนวคิด เช่น
✤ 120 = 60 + 60
✤ 120 = 90 + 30
✤ 120 = 180 – 60
o
การสร้างมุม 150 มีแนวคิดในการสร้างได้หลายแนวคิด เช่น
✤ 150 = 180 – 30
✤ 150 = 90 + 60
✤ 150 = 120 + 30
✤ 150 = 75 + 75

ชวนคิด 2.10
คาดว่ารังสีนี้จะตัดด้านที่เหลือของรูปสามเหลี่ยมที่จุดกึ่งกลางของด้านนั้น

ชวนคิด 2.11
คาดว่ารังสีนี้จะแบ่งครึ่งมุมที่เหลือ

ชวนคิด 2.12
คาดว่ารังสีนี้จะตัดด้านที่เหลือหรือส่วนต่อของด้านที่เหลือของรูปสามเหลี่ยมในลักษณะตั้งฉากกับด้านนั้น

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 2 | การสร้างทางเรขาคณิต 117

ชวนคิด 2.13
1. เส้นตรงนี้จะตั้งฉากกับด้านที่เหลือ
2. เส้นตรงนี้จะแบ่งครึ่งด้านที่เหลือ

ชวนคิด 2.14
เส้นแบ่งครึง่ มุม ส่วนสูง และเส้นแบ่งครึง่ และตัง้ ฉาก มีโอกาสทีม
่ จี ด
ุ ตัดร่วมกันเพียงจุดเดียว ถ้ารูปสามเหลีย่ ม
รูปนั้นเป็นรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า

ชวนคิด 2.15
� �
CD ขนานกับ AB เพราะขนาดของมุมภายในที่อยู่บนข้างเดียวกันของเส้นตัดรวมกันได้ 180°

ชวนคิด 2.16
มีวิธีการสร้างแบบอื่นอีก เช่น การสร้างรูปสามเหลี่ยม DEF ให้ DE มีความยาวเป็นสองเท่าของ AB
มุม DEF มีขนาดเท่ากับมุม ABC และมุม FDE มีขนาดเท่ากับมุม CAB โดยใช้การสร้างพื้นฐาน
ทางเรขาคณิตข้อที่ 1 และ 3

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
118 บทที่ 2 | การสร้างทางเรขาคณิต คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

เฉลยมุมเทคโนโลยี
มุมเทคโนโลยี
รูปหลายเหลี่ยมมีหลายประเภท เช่น

รูปสามเหลี่ยมด้านเท่า เช่น ΔEFA รูปสามเหลี่ยมมุมฉาก เช่น ΔDGB

รูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว เช่น ΔEGA รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เช่น ■EFBC

รูปสี่เหลี่ยมรูปว่าว เช่น ■EFGC รูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน เช่น ■EACD

รูปสี่เหลี่ยมคางหมู เช่น ■DGBC รูปห้าเหลี่ยม เช่น รูปห้าเหลี่ยม EGBCD

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 2 | การสร้างทางเรขาคณิต 119

รูปหกเหลี่ยม เช่น รูปหกเหลี่ยม EFGBCD

เฉลยแบบฝึกหัด
แบบฝึกหัด 2.3 ก

1. 1) แนวคิด 221 = 45 = 90 – 45
2 2 2
สร้าง

C
D

o
22–1
2
A B

o
1. สร้าง CÂB ให้มีขนาด 90
� o
2. สร้าง AD แบ่งครึ่ง CÂB จะได้ DÂB และ CÂD แต่ละมุมมีขนาด 45

3. สร้าง AE แบ่งครึ่ง DÂB
o
จะได้ DÂE และ EÂB แต่ละมุมมีขนาด 22– 1
2

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
120 บทที่ 2 | การสร้างทางเรขาคณิต คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

2) แนวคิด 135 = 90 + 45
สร้าง
C

o
135
A O B
1. สร้าง AÔB ให้เป็นมุมตรง
o
2. สร้าง BÔC ให้มีขนาด 90
� o
3. สร้าง OD แบ่งครึ่ง AÔC ทำ�ให้ CÔD และ DÔA แต่ละมุมมีขนาด 45
o
ดังนั้น BÔD = BÔC + CÔD = 90 + 45 = 135
3) แนวคิด 240 = 180 + 60
สร้าง

o
240
o
180
A o
60 O B

1. สร้าง AÔB ให้เป็นมุมตรง


o
2. สร้าง AÔC ให้มีขนาด 60
o
ดังนั้น มุมกลับ BOC = AÔB + AÔC = 180 + 60 = 240

o o
2. แนวคิด จากการสร้าง จะได้ BÂD = 60 และ DÂE = 60
เนื่องจาก AF ที่สร้างได้นี้ เป็นเส้นแบ่งครึ่งมุม DAE
o
จะได้ DÂF = 30
o
ดังนั้น FÂB = BÂD + DÂF = 60 + 30 = 90

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 2 | การสร้างทางเรขาคณิต 121

3. สร้าง
Y

a b

A B X

ลาก AX
� �
1. ที่จุด A สร้าง AY ให้ตั้งฉากกับ AX

2. สร้าง AC บน AY ให้ยาวเท่ากับ a หน่วย

3. ใช้จุด C เป็นจุดศูนย์กลาง รัศมียาวเท่ากับ b หน่วย เขียนส่วนโค้งให้ตัด AX ให้จุดตัดคือ จุด B
ลาก BC
จะได้ ΔABC เป็นรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก ตามต้องการ

4. สร้าง D C

o o
45 45
A B

ΔAOB เป็นรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่วและเป็นรูปสามเหลี่ยมมุมฉากด้วย
o � �
เนื่องจาก DÂB = AB̂C = 90 และ AO แบ่งครึ่ง DÂB และ BO แบ่งครึ่ง AB̂C
จะได้ OÂB = OB̂A = 90
o
— = 45
2
ดังนั้น ΔAOB เป็นรูปสามเหลีย่ มหน้าจัว่ (สมบัตข
ิ อ
้ หนึง่ ของรูปสามเหลีย่ มหน้าจัว่ ทีก
่ ล่าวว่า มุมทีฐ่ านมีขนาด
เท่ากัน)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
122 บทที่ 2 | การสร้างทางเรขาคณิต คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

o
เนือ
่ งจาก AÔB + OÂB + OB̂A = 180 (ผลบวกของขนาดของมุมภายในของรูปสามเหลีย่ มเท่ากับสองมุมฉาก)
o o o
จะได้ AÔB + 45 + 45 = 180
o
AÔB = 90
ดังนั้น ΔAOB เป็นรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก

5. สร้าง

o o
45 45
A a B

จากการสร้าง จะได้ AB เป็นฐานของรูปสามเหลี่ยม ABC ยาว a หน่วย


o
เนื่องจาก ต้องการให้ AĈB มีขนาด 90 จะต้องสร้างมุมที่ฐานทั้งสองมุมของรูปสามเหลี่ยมให้มีขนาดเท่ากับ
o
45 จะได้ ΔABC เป็นรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่วตามต้องการ

6. สร้าง A

Q
R
B C
P

� � �
จากการสร้าง AR และ BP เป็นเส้นทีต
่ ง้ั ฉากกับส่วนต่อของ BC และ AC ตามลำ�ดับ และ CQ ตัง้ ฉากกับ AB
จะได้ AR, BP และ CQ เป็นส่วนสูงของ ΔABC
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 2 | การสร้างทางเรขาคณิต 123

แบบฝึกหัด 2.3 ข
1. สร้าง

D
B

C
1. ลาก CA
2. สร้าง CÂD ให้มีขนาดเท่ากับขนาดของ BĈA โดยให้ BĈA และ CÂD เป็นมุมแย้ง
� �
จะได้ AD เป็นแนวถนนที่ขนานกับแนวคลองชลประทาน BC

2. 1) สร้าง

D
E F

A B

1. สร้าง AB
� �
2. สร้าง AD ตั้งฉากกับ AB ที่จุด A และให้ AD ยาว a หน่วย
� �
3. ที่จุด D สร้าง EF ตั้งฉากกับ AD
� � �
จะได้ EF ขนานกับ AB และอยู่ห่างจาก AB เท่ากับ a หน่วย

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
124 บทที่ 2 | การสร้างทางเรขาคณิต คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

2) สร้าง

Y D b C
E

o
60
A b B

1. สร้าง AB ยาว b หน่วย


o
2. สร้าง XÂB ให้มีขนาด 60

3. ตัด AX ที่จุด D ให้ AD = a หน่วย
� �
4. สร้าง EY ให้ขนานกับ AB และผ่านจุด D โดยสร้าง AD̂Y และ XÂB ให้เป็นมุมแย้งทีม
่ ข
ี นาดเท่ากัน

5. ตัด DE ที่จุด C ให้ DC = b หน่วย
6. ลาก BC
จะได้ ■ABCD เป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน ตามต้องการ

อาจสร้างอีกวิธีหนึ่งดังนี้
สร้าง
P

b C
D

o
60
A b B

1. สร้าง AB ยาว b หน่วย


o
2. สร้าง PÂB ให้มีขนาดเท่ากับ 60

3. ตัด AP ที่จุด D ให้ AD = a หน่วย

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 2 | การสร้างทางเรขาคณิต 125

4. ใช้ B และ D เป็นจุดศูนย์กลางรัศมียาวเท่ากับ a หน่วย และ b หน่วย ตามลำ�ดับ เขียนส่วนโค้ง


ให้ตัดกันที่จุด C
5. ลาก BC และ DC
จะได้ ■ABCD เป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน ตามต้องการ
3) สร้าง
P
b
2 C
D
b
b 2
2
o
135
A b B
2

o
วิธีสร้างในทำ�นองเดียวกันกับข้อ 2) โดยสร้าง DÂB ให้มีขนาดเท่ากับ 135
และสร้าง AB = AD = DC = BC = b– หน่วย
2
จะได้ ■ABCD เป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ตามต้องการ
4) สร้าง

D 2a C

a a

A 2a B

สร้างในทำ�นองเดียวกันกับข้อ 2) และข้อ 3)
จะได้ ■ABCD เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ตามต้องการ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
126 บทที่ 2 | การสร้างทางเรขาคณิต คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

3. สร้าง

A B

C R D

E F
� �
1. สร้าง AB ขนานกับ EF โดยสร้าง BÊ F และ AB̂ E ให้เป็นมุมแย้งที่มีขนาดเท่ากัน
� �
2. สร้าง CD ขนานกับ EF โดยสร้าง RÊ F และ CR̂E ให้เป็นมุมแย้งที่มีขนาดเท่ากัน
� �
3. AB จะขนานกับ CD เพราะว่า
AB̂ E = BÊ F จากการสร้าง ข้อ 1
RÊ F = CR̂E จากการสร้าง ข้อ 2
และ BÊ F = RÊF
จะได้ AB̂ E = CR̂E สมบัติของการเท่ากัน
แต่ CR̂E = BR̂D เส้นตรงสองเส้นตัดกันขนาดของมุมตรงข้ามย่อมเท่ากัน
ดังนั้น AB̂ E = BR̂D สมบัติของการเท่ากัน
� �
นั่นคือ AB ขนานกับ CD ถ้าเส้นตรงเส้นหนึ่งตัดเส้นตรงอีกคู่หนึ่ง ทำ�ให้มุมแย้งมีขนาดเท่ากัน แล้ว
เส้นตรงคู่นั้นจะขนานกัน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 2 | การสร้างทางเรขาคณิต 127

กิจกรรมท้ายบท : แผนที่ย่อ–ขยาย
กิจกรรมนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้นักเรียนได้ใช้ความรู้เรื่องการสร้างพื้นฐานทางเรขาคณิตจากสถานการณ์ที่กำ�หนดให้
ในการสร้างแผนทีท
่ งั้ การขยายเส้นทางเดินและการย่อเส้นทางเดิน ซึง่ นักเรียนสามารถเรียนรูโ้ ดยการลงมือปฏิบต
ั ิ โดยมีอป
ุ กรณ์
และขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม ดังนี้

อุปกรณ์
1. ใบกิจกรรม : แผนที่ย่อ–ขยาย
2. วงเวียนและสันตรง

ขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม
1. ครูนำ�เสนอสถานการณ์ที่อยู่ในใบกิจกรรม : แผนที่ย่อ–ขยาย
2. ครูให้นักเรียนใช้ความรู้เรื่องการสร้างพื้นฐานทางเรขาคณิตในการสร้างตามภารกิจที่ได้รับมอบหมาย 2 ภารกิจ
โดยใช้วงเวียนและสันตรง
3. เมื่อนักเรียนสร้างได้ครบตามที่กำ�หนดแล้ว ครูอาจตรวจสอบความถูกต้องของเส้นทางเดินด้วยกระดาษลอกลาย
เพื่อความรวดเร็ว

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
128 บทที่ 2 | การสร้างทางเรขาคณิต คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

ใบกิจกรรม : แผนที่ย่อ-ขยาย

ชวพงษ์และเพื่อน ๆ เตรียมจัดกิจกรรมค่ายคณิตศาสตร์ ชื่อฐานว่า “ย่อก็พบ ขยายก็เจอ...ขุมทรัพย์ล่ารางวัล!”


โดยปฏิบัติภารกิจเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 4 คน ให้ตัวแทนสมาชิกในกลุ่มรับแผนทางเดินเพื่อปฏิบัติ 2 ภารกิจ ดังนี้

a
a 105º
2 a 105º
2
a 60º
2a 2
a

120º

30º 120º a
a
2

ภารกิจที่ 1 : ให้สมาชิกในกลุ่มร่วมกันขยายเส้นทางเดินแต่ละเส้นให้ยาวเป็นสองเท่าของความยาวเดิม โดยใช้


เพียงเครื่องมือวงเวียนและสันตรงเท่านั้น เมื่อขยายเส้นทางเดินแล้ว ให้ส่งผลมาตรวจสอบ ถ้าถูกต้อง สมาชิกในกลุ่ม
จะได้รับจำ�นวนก้าว (a) เพื่อเดินหาขุมทรัพย์ต่อไป
ภารกิจที่ 2 : ให้สมาชิกในกลุม
่ ร่วมกันย่อเส้นทางเดินแต่ละเส้นให้ยาวเป็นครึง่ หนึง่ ของความยาวเดิม โดยใช้เพียง
เครื่องมือวงเวียนและสันตรงเท่านั้น เมื่อย่อเส้นทางเดินแล้ว ให้ส่งผลมาตรวจสอบ ถ้าถูกต้อง สมาชิกในกลุ่มจะได้รับ
จำ�นวนก้าว (a) เพื่อเดินหาขุมทรัพย์ต่อไป
สมมุติว่านักเรียนเป็นหนึ่งในผู้ร่วมรับผิดชอบฐาน จงสร้างเส้นทางเดินของทั้งสองภารกิจด้วยเครื่องมือวงเวียน
และสันตรงเพื่อใช้ตรวจสอบความถูกต้องของเส้นทางเดินแต่ละเส้นที่เกิดจากการย่อและขยายดังกล่าวข้างต้น

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 2 | การสร้างทางเรขาคณิต 129

ภารกิจที่ 1

ภารกิจที่ 2

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
130 บทที่ 2 | การสร้างทางเรขาคณิต คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

เฉลยกิจกรรมท้ายบท : แผนที่ย่อ-ขยาย
ภารกิจที่ 1 : เส้นทางเดินที่เกิดจากการขยายเป็นดังนี้

2a

a 105
o

a
o
105
a
o
60

4a

2a

o
120
o
120 2a

o
30 a

ภารกิจที่ 2 : เส้นทางเดินที่เกิดจากการย่อเป็นดังนี้

a
a 4
2 a
4
a
a 4
a
2

a a
4 2

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 2 | การสร้างทางเรขาคณิต 131

เฉลยแบบฝึกหัดท้ายบท
1. สร้าง

o
60 o
o 105
45
A a B
จากการสร้าง จะได้ AB ยาว a หน่วย
DÂB และ AB̂C มีขนาด 60 + 45 = 105 องศา
o
BC ยาว b หน่วย และ DĈB มีขนาด 90

2. สร้าง

A O B

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
132 บทที่ 2 | การสร้างทางเรขาคณิต คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

1) 1. ลากเส้นผ่านศูนย์กลาง AB

2. ที่จุด O สร้าง XY ตั้งฉากกับ AB และตัดวงกลมที่จุด C และจุด D
o
จะได้ AÔC = CÔB = BÔD = DÔA = 90
2) ลาก AC, CB, BD และ DA จะได้ ■ACBD เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส
เพราะว่าจากการใช้วงเวียนตรวจสอบความยาวของด้านทั้งสี่ของ ■ACBD
พบว่า AC = CB = BD = DA และใช้วงเวียนตรวจสอบขนาดของมุมภายในทั้งสี่ของ ■ACBD
พบว่า AĈB = CB̂D = BD̂A = DÂC
o
เนื่องจากผลบวกของขนาดของมุมภายในของรูปสี่เหลี่ยมใด ๆ เท่ากับ 360
o
ดังนั้น AĈB = CB̂D = BD̂A = DÂC = 90
นั่นคือ ■ACBD เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส เพราะมีด้านทั้งสี่ยาวเท่ากันและขนาด
o
ของมุมภายในแต่ละมุมเท่ากับ 90

3. สร้าง

C B

o
60
o o
60 60 A
D 60 O 60
o o

o
60

E F

รูปหกเหลี่ยมด้านเท่ามุมเท่าประกอบด้วยรูปสามเหลี่ยมด้านเท่าที่มีขนาดเท่ากัน 6 รูป มุมภายในแต่ละมุม


o o
มีขนาด 60 เรียงต่อกันโดยมีจุดยอดมุมของรูปสามเหลี่ยมทุกรูปร่วมกันหนึ่งจุด จะได้มุมรอบจุดนี้มีขนาด 360
ซึ่งมีวิธีการสร้างดังนี้
1. สร้างรูปวงกลมที่มีจุด O เป็นจุดศูนย์กลาง กำ�หนดรัศมียาวเท่ากับ OA
2. ให้จุด A เป็นจุดศูนย์กลาง รัศมียาวเท่ากับ OA เขียนส่วนโค้งตัดเส้นรอบวง
o
ให้จุดตัดคือ จุด B สร้าง OB จะได้ AÔB = 60
ดังนั้น ΔABO เป็นรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า
3. ให้จุด B เป็นจุดศูนย์กลาง รัศมียาวเท่ากับ OA เขียนส่วนโค้งตัดเส้นรอบวง
o
ให้จุดตัดคือ จุด C สร้าง OC จะได้ BÔC = 60
4. ทำ�ต่อในทำ�นองเดียวกันกับข้อ 3 จะได้จุด D จุด E และจุด F ตามลำ�ดับ
จะได้ รูป ABCDEF เป็นรูปหกเหลี่ยมด้านเท่ามุมเท่า

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 2 | การสร้างทางเรขาคณิต 133

4. สร้าง

C
B
D
o
45 45o
o o
45 45 A
E 45
o
O 45o
o
45 45o

F H
G

รูปแปดเหลี่ยมด้านเท่ามุมเท่าประกอบด้วยรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่วที่มีขนาดเท่ากัน 8 รูปเรียงต่อกัน โดยมีจุดยอด


o
ของรูปสามเหลีย
่ มทุกรูปร่วมกันหนึง่ จุด ขนาดของมุมของรูปสามเหลีย
่ มแต่ละรูปทีจ่ ด
ุ ยอดเท่ากับ 45 จะได้มม
ุ รอบจุด
o
มีขนาด 360 จะได้ รูป ABCDEFGH เป็นรูปแปดเหลี่ยมด้านเท่ามุมเท่า

5. 1) สร้าง

P Q

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
134 บทที่ 2 | การสร้างทางเรขาคณิต คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

2) สร้าง
S

P Q

6. แนวคิด


จากการสร้างให้ AY ตั้งฉากกับ BC ให้จุดตัดคือ จุด X
จะได้ AX แทนเส้นทางที่ต้องการหา
AX แทนระยะที่สั้นที่สุดระหว่างตำ�แหน่งที่กวางยืนอยู่กับลำ�ธารริมทุ่งหญ้า
จากการวัด จะได้ AX = 2.7 เซนติเมตร
ดังนั้น ระยะทางที่กวางอยู่ห่างจากแนวลำ�ธารเท่ากับ 2.7 × 1,000 = 2,700 เซนติเมตร หรือ 27 เมตร

� �
7. แนวคิด ให้ริมฝั่งแม่น้ำ�คือ AC และ BD ดังรูป วิธีหาตำ�แหน่งที่จะสร้างสะพานทำ�ได้ดังนี้

1. สร้าง AP ให้ตั้งฉากกับ BD ที่จุด X

2. สร้าง RS แบ่งครึ่งและตั้งฉากกับ XB

จะได้ RS เป็นแนวเส้นตรงที่จะสร้างสะพาน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 2 | การสร้างทางเรขาคณิต 135

8. สร้าง

C G E F D

A B
� �
1) สร้าง CD ขนานกับ AB

2) สร้าง ΔAEB, ΔAFB และ ΔAGB โดยให้มีจุดยอด E, F และ G อยู่บน CD
3) ΔAEB, ΔAFB และ ΔAGB มีส่วนสูงยาวเท่ากัน เพราะว่าถ้าเส้นตรงสองเส้นขนานกันแล้ว ระยะห่าง
ระหว่างเส้นทั้งสองจะยาวเท่ากัน นอกจากนี้ พื้นที่ของรูปสามเหลี่ยมทั้งสามจะเท่ากันด้วย เพราะว่า
แต่ละรูปมีฐานยาวเท่ากัน (กำ�หนดให้) และส่วนสูงยาวเท่ากัน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
136 บทที่ 2 | การสร้างทางเรขาคณิต คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

9. สร้าง
G

F
I

A E B

1) สร้างจุด E เป็นจุดกึ่งกลางของ AB
� �
2) สร้าง EF ให้ขนานกับ BC ให้ EF ตัดกับ AC ให้จุดตัดคือ จุด F
3) AF = CF
� �
4) สร้าง AG ให้ตั้งฉากกับ BC และให้จุดตัดของ AG กับ EF และ BC คือ จุด I และจุด D ตามลำ�ดับ
จะได้ AI เป็นส่วนสูงของ ΔAEF และ AD เป็นส่วนสูงของ ΔABC จากการตรวจสอบโดยใช้วงเวียน
จะได้ AI ยาวเป็นครึ่งหนึ่งของ AD
5) จากการตรวจสอบโดยใช้วงเวียน จะได้ว่า ฐาน EF ของ ΔAEF ยาวเป็นครึ่งหนึ่งของฐาน BC

6) พื้นที่ของ ΔAEF = 1 – × EF × AI
2
= 1
–× 1
2
– × BC × 1
2 [(
– × AD
2 ) ( )]
= 1
–×1 –×1 – × BC × AD
2 2 2
= 1
– 1
4 2
– × BC × AD ( )
= 1
– (พื้นที่ของ ΔABC)
4
จะได้ พื้นที่ของ ΔAEF เป็น 1 – ของพื้นที่ของ ΔABC
4

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 2 | การสร้างทางเรขาคณิต 137

ตัวอย่างแบบทดสอบท้ายบท
1. จากรูปที่กำ�หนดให้ นักเรียนสามารถสรุปเกี่ยวกับมุมได้อย่างไรบ้าง (1 คะแนน)

D
F

B E C

2. การสร้างมุมที่มีขนาด 7.5 องศา เริ่มต้นด้วยการสร้างมุมที่มีขนาดกี่องศา และระบุขั้นตอนโดยไม่ต้องลงมือสร้าง


(1 คะแนน)

� �
3. จากรูป OX แบ่งครึ่ง RÔY และ OZ แบ่งครึ่ง YÔS จงแสดงวิธีการหาขนาดของ XÔZ (2 คะแนน)

Y Z

R O S

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
138 บทที่ 2 | การสร้างทางเรขาคณิต คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

4. จากรูป จงแสดงวิธีหาขนาดของ NÔP (1 คะแนน)

N P
o
25

o
130
M O Q

5. แต่ละข้อต่อไปนี้ ข้อใดบ้างทีไ่ ม่สามารถสร้างได้ พร้อมบอกเหตุผลประกอบ (3 คะแนน)


ก. รูปสามเหลี่ยมที่มีมุมแหลมทุกมุม
ข. รูปสามเหลี่ยมที่มีมุมฉากสองมุม
ค. รูปสามเหลี่ยมที่มีความยาวด้านเป็น 3, 5 และ 8 หน่วย
ง. รูปสามเหลี่ยมที่มีด้านประกอบมุมฉากแต่ละด้านสั้นกว่าด้านตรงข้ามมุมฉาก
จ. รูปสามเหลี่ยมที่มีมุมที่ฐานทั้งสองเป็นมุมป้านและมีขนาดเท่ากัน
ฉ. รูปสามเหลี่ยมที่มีมุมที่ฐานเท่ากันและแต่ละมุมมีขนาดเป็นสองเท่าของมุมยอด

6. จงใส่เครื่องหมาย  เมื่อขนาดของมุมในแต่ละข้อต่อไปนี้สามารถสร้างได้ด้วยวงเวียนและสันตรง และ  เมื่อขนาด


ของมุมไม่สามารถสร้างได้ด้วยวงเวียนและสันตรง (4 คะแนน)
1) 18 องศา 2) 22.5 องศา
3) 37.5 องศา 4) 52.5 องศา
5) 82.5 องศา 6) 105 องศา
7) 112.5 องศา 8) 145 องศา

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 2 | การสร้างทางเรขาคณิต 139

7. วิชยั เล่นกีฬาสนุกเกอร์ ถ้ากำ�หนดให้การเคลือ


่ นทีข
่ องลูกสนุกเกอร์มม
ี ม
ุ ตกกระทบเท่ากับมุมสะท้อน ดังภาพ จงวาดและ
อธิบายวิธีการสร้างตำ�แหน่งที่ลูกสนุกเกอร์กระทบกับขอบโต๊ะจำ�นวน 2 ครั้ง โดยใช้วงเวียนและสันตรง (3 คะแนน)

มุมตกกระทบ มุมสะท้อน

ลูกสนุกเกอร์

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
140 บทที่ 2 | การสร้างทางเรขาคณิต คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

เฉลยตัวอย่างแบบทดสอบท้ายบท
1. จากรูปที่กำ�หนดให้ นักเรียนสามารถสรุปเกี่ยวกับมุมได้อย่างไรบ้าง (1 คะแนน)

D
F

B E C
คำ�ตอบมีได้หลากหลาย เช่น
AB̂C มีขนาดเป็นสองเท่าของ AB̂F หรือ FB̂C
AB̂F หรือ FB̂C มีขนาดเป็นครึ่งหนึ่งของ AB̂C
AB̂F มีขนาดเท่ากับ CB̂F

ความสอดคล้องกับจุดประสงค์ของบทเรียน
ข้อ 1 นักเรียนสามารถใช้วงเวียนและสันตรง หรือซอฟต์แวร์เรขาคณิตพลวัต ในการสร้างพื้นฐานทางเรขาคณิต
เกณฑ์การให้คะแนน คะแนนเต็ม 1 คะแนน
ตอบถูกต้อง ได้ 1 คะแนน ตอบไม่ถูกต้องหรือไม่ตอบ ได้ 0 คะแนน

2. การสร้างมุมที่มีขนาด 7.5 องศา เริ่มต้นด้วยการสร้างมุมที่มีขนาดกี่องศา และระบุขั้นตอนโดยไม่ต้องลงมือสร้าง


(1 คะแนน)
การสร้างมุมที่มีขนาด 7.5 องศา เริ่มต้นด้วยการสร้างมุมที่มีขนาด 60 องศา
แบ่งครึ่งมุมครั้งที่หนึ่งได้มุมที่มีขนาด 30 องศา
แบ่งครึ่งมุมครั้งที่สองได้มุมที่มีขนาด 15 องศา
และ แบ่งครึ่งมุมครั้งที่สามได้มุมที่มีขนาด 7.5 องศา

ความสอดคล้องกับจุดประสงค์ของบทเรียน
ข้อ 1 นักเรียนสามารถใช้วงเวียนและสันตรง หรือซอฟต์แวร์เรขาคณิตพลวัต ในการสร้างพื้นฐานทางเรขาคณิต
เกณฑ์การให้คะแนน คะแนนเต็ม 1 คะแนน
ตอบถูกต้อง ได้ 1 คะแนน ตอบไม่ถูกต้องหรือไม่ตอบ ได้ 0 คะแนน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 2 | การสร้างทางเรขาคณิต 141

� �
3. จากรูป OX แบ่งครึ่ง RÔY และ OZ แบ่งครึ่ง YÔS จงแสดงวิธีการหาขนาดของ XÔZ (2 คะแนน)

Y Z

R O S
� �
จากรูป OX แบ่งครึ่ง RÔY และ OZ แบ่งครึ่ง YÔS จะได้ XÔZ มีขนาด 90 องศา
o
เนื่องจาก RÔY + YÔS = 180

ดังนั้น RÔY + YÔS = 180 = 90


o

2 2 2
o
นั่นคือ XÔZ = 90

ความสอดคล้องกับจุดประสงค์ของบทเรียน
ข้อ 2 นักเรียนสามารถใช้วงเวียนและสันตรง หรือซอฟต์แวร์เรขาคณิตพลวัต ในการสร้างรูปเรขาคณิตและ
นำ�ไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตจริง
เกณฑ์การให้คะแนน คะแนนเต็ม 2 คะแนน โดยมีเกณฑ์การให้คะแนน ดังนี้
✤ เขียนแสดงวิธีทำ�สมบูรณ์และหาคำ�ตอบได้ถูกต้อง ได้ 2 คะแนน
✤ เขียนแสดงวิธีทำ�ไม่สมบูรณ์ แต่หาคำ�ตอบได้ถูกต้อง
หรือเขียนแสดงวิธีทำ� แต่หาคำ�ตอบไม่ถูกต้อง ได้ 1 คะแนน
✤ ไม่เขียนแสดงวิธีทำ� และได้คำ�ตอบไม่ถูกต้อง หรือไม่ตอบ ได้ 0 คะแนน

4. จากรูป จงแสดงวิธีหาขนาดของ NÔP (1 คะแนน)

N P
o
25

o
130
M O Q

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
142 บทที่ 2 | การสร้างทางเรขาคณิต คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

จากรูป NÔP มีขนาด 25 องศา


เนื่องจาก MÔN = 180 – OM̂N – MÔN
= 180 – 130 – 25
o
= 25
o
และ PÔQ = 60
o
ดังนั้น NÔP = 180 – 25 – 60 = 95

ความสอดคล้องกับจุดประสงค์ของบทเรียน
ข้อ 2 นักเรียนสามารถใช้วงเวียนและสันตรง หรือซอฟต์แวร์เรขาคณิตพลวัต ในการสร้างรูปเรขาคณิตและ
นำ�ไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตจริง
เกณฑ์การให้คะแนน คะแนนเต็ม 1 คะแนน
ตอบถูกต้อง ได้ 1 คะแนน ตอบไม่ถูกต้องหรือไม่ตอบ ได้ 0 คะแนน

5. แต่ละข้อต่อไปนี้ ข้อใดบ้างทีไ่ ม่สามารถสร้างได้ พร้อมบอกเหตุผลประกอบ (3 คะแนน)


ก. รูปสามเหลี่ยมที่มีมุมแหลมทุกมุม
ข. รูปสามเหลี่ยมที่มีมุมฉากสองมุม
ค. รูปสามเหลี่ยมที่มีความยาวด้านเป็น 3, 5 และ 8 หน่วย
ง. รูปสามเหลี่ยมที่มีด้านประกอบมุมฉากแต่ละด้านสั้นกว่าด้านตรงข้ามมุมฉาก
จ. รูปสามเหลี่ยมที่มีมุมที่ฐานทั้งสองเป็นมุมป้านและมีขนาดเท่ากัน
ฉ. รูปสามเหลี่ยมที่มีมุมที่ฐานเท่ากันและแต่ละมุมมีขนาดเป็นสองเท่าของมุมยอด
ข้อ ข, ค และ จ ไม่สามารถสร้างเป็นรูปสามเหลี่ยมได้
ข้อ ข เพราะผลรวมของขนาดของมุมภายในของรูปสามเหลี่ยมเท่ากับ 180 องศา รูปสามเหลี่ยม จึงมีสองมุมฉาก
ไม่ได้
ข้อ ค เพราะรูปสามเหลีย่ มจะต้องมีผลรวมของความยาวของด้านสองด้านของรูปสามเหลีย่ มมากกว่าความยาวด้าน
ของอีกด้านหนึ่งที่เหลือเสมอ
ข้อ จ เพราะผลรวมของขนาดของมุมภายในของรูปสามเหลี่ยมเท่ากับ 180 องศา ดังนั้น มุมที่ฐานสองมุมรวมกัน
จะมีขนาดมากกว่า 180 องศา ไม่ได้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 2 | การสร้างทางเรขาคณิต 143

ความสอดคล้องกับจุดประสงค์ของบทเรียน
ข้อ 2 นักเรียนสามารถใช้วงเวียนและสันตรง หรือซอฟต์แวร์เรขาคณิตพลวัต ในการสร้างรูปเรขาคณิตและ
นำ�ไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตจริง
เกณฑ์การให้คะแนน คะแนนเต็ม 3 คะแนน โดยมีเกณฑ์การให้คะแนน ดังนี้
✤ ตอบถูกต้อง และให้เหตุผลได้ถูกต้อง 3 ข้อ ได้ 3 คะแนน
✤ ตอบถูกต้อง และให้เหตุผลได้ถูกต้อง 2 ข้อ ได้ 2 คะแนน
✤ ตอบถูกต้อง และให้เหตุผลได้ถูกต้อง 1 ข้อ ได้ 1 คะแนน
✤ ตอบไม่ถูกต้องทั้งสามข้อหรือไม่ตอบ ได้ 0 คะแนน

6. จงใส่เครื่องหมาย  เมื่อขนาดของมุมในแต่ละข้อต่อไปนี้สามารถสร้างได้ด้วยวงเวียนและสันตรง และ  เมื่อขนาด


ของมุมไม่สามารถสร้างได้ด้วยวงเวียนและสันตรง (4 คะแนน)
1) O 18 องศา 2)  22.5 องศา
3)  37.5 องศา 4)  52.5 องศา
5)  82.5 องศา 6)  105 องศา
7)  112.5 องศา 8) O 145 องศา

แนวคิด ขนาดของมุมที่สามารถสร้างได้ด้วยสันตรงและวงเวียน มีดังนี้



2) 22.5 = 15 + 15
2 ( ) 3) 37.5 = 30 + 7.5

4) 52.5 = 60 + 45 5) 82.5 = {90 + [(90 + 60) ÷ 2]} ÷ 2


2
6) 105 = 120 + 90 7) 112.5 = {120 + [(120 + 90) ÷ 2]} ÷ 2
2

ความสอดคล้องกับจุดประสงค์ของบทเรียน
ข้อ 1 นักเรียนสามารถใช้วงเวียนและสันตรง หรือซอฟต์แวร์เรขาคณิตพลวัต ในการสร้างพื้นฐานทางเรขาคณิต
เกณฑ์การให้คะแนน คะแนนเต็ม 4 คะแนน ข้อละ 0.5 คะแนน
ตอบถูกต้อง ได้ข้อละ 0.5 คะแนน ตอบไม่ถูกต้องหรือไม่ตอบ ได้ข้อละ 0 คะแนน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
144 บทที่ 2 | การสร้างทางเรขาคณิต คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

7. วิชยั เล่นกีฬาสนุกเกอร์ ถ้ากำ�หนดให้การเคลือ


่ นทีข
่ องลูกสนุกเกอร์มม
ี ม
ุ ตกกระทบเท่ากับมุมสะท้อน ดังภาพ จงวาดและ
อธิบายวิธีการสร้างตำ�แหน่งที่ลูกสนุกเกอร์กระทบกับขอบโต๊ะจำ�นวน 2 ครั้ง โดยใช้วงเวียนและสันตรง
ลักษณะตำ�แหน่งที่ลูกสนุกเกอร์กระทบกับขอบโต๊ะจำ�นวน 2 ครั้ง เป็นดังนี้
E C

ลูกสนุกเกอร์

B F D

วิธีสร้าง
1. สร้าง EB̂C ให้มีขนาดเท่ากับ AB̂E โดยใช้การสร้างพื้นฐานทางเรขาคณิตข้อที่ 3
2. สร้าง BC
3. สร้าง CF ให้ตั้งฉากกับ EC ที่จุด C โดยใช้การสร้างพื้นฐานทางเรขาคณิตข้อที่ 6
4. สร้าง FĈD ให้มีขนาดเท่ากับ BĈF โดยใช้การสร้างพื้นฐานทางเรขาคณิตข้อที่ 3

ความสอดคล้องกับจุดประสงค์ของบทเรียน
ข้อ 1 นักเรียนสามารถใช้วงเวียนและสันตรง หรือซอฟต์แวร์เรขาคณิตพลวัต ในการสร้างพื้นฐานทางเรขาคณิต
เกณฑ์การให้คะแนน คะแนนเต็ม 3 คะแนน โดยมีเกณฑ์การให้คะแนน ดังนี้
✤ สร้างมุมได้ถูกต้อง 3 มุม ได้ 3 คะแนน
✤ สร้างมุมได้ถูกต้อง 2 มุม ได้ 2 คะแนน
✤ สร้างมุมได้ถูกต้อง 1 มุม ได้ 1 คะแนน
✤ สร้างไม่ถูกต้อง หรือไม่สร้าง ได้ 0 คะแนน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 3 | เลขยกกำ�ลัง 145

3
บทที่ เลขยกกำ�ลัง
บทเลขยกกำ�ลังประกอบด้วยหัวข้อย่อย ดังต่อไปนี้

3.1 ความหมายของเลขยกกำ�ลัง 2 ชั่วโมง


3.2 การคูณและการหารเลขยกกำ�ลัง 5 ชั่วโมง
3.3 สัญกรณ์วิทยาศาสตร์ 2 ชั่วโมง

สาระและมาตรฐานการเรียนรู้
สาระ จำ�นวนและพีชคณิต
มาตรฐาน ค 1.1 เข้าใจความหลากหลายของการแสดงจำ�นวน ระบบจำ�นวน การดำ�เนินการของจำ�นวน ผลที่เกิดขึ้น
จากการดำ�เนินการ สมบัติของการดำ�เนินการ และนำ�ไปใช้

ตัวชี้วัด
เข้าใจและใช้สมบัติของเลขยกกำ�ลังที่มีเลขชี้กำ�ลังเป็นจำ�นวนเต็มบวกในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์และปัญหาในชีวิตจริง

จุดประสงค์ของบทเรียน
นักเรียนสามารถ
1. เขียนจำ�นวนที่กำ�หนด ให้อยู่ในรูปเลขยกกำ�ลังที่มีเลขชี้กำ�ลังเป็นจำ�นวนเต็มบวก และหาค่าของเลขยกกำ�ลังที่มี
เลขชี้กำ�ลังเป็นจำ�นวนเต็มบวก
2. หาผลคูณและผลหารของเลขยกกำ�ลังเมื่อเลขชี้กำ�ลังเป็นจำ�นวนเต็มบวก และนำ�สมบัติของเลขยกกำ�ลังไปใช้ใน
การคำ�นวณ
3. เขียนจำ�นวนที่มีค่ามาก ๆ ให้อยู่ในรูปสัญกรณ์วิทยาศาสตร์ และหาค่าของจำ�นวนที่อยู่ในรูปสัญกรณ์วิทยาศาสตร์

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
146 บทที่ 3 | เลขยกกำ�ลัง คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

ความเชื่อมโยงระหว่างตัวชี้วัดกับจุดประสงค์ของบทเรียน
เนื่องจากตัวชี้วัดกล่าวถึงการเข้าใจและการใช้สมบัติของเลขยกกำ�ลังที่มีเลขชี้กำ�ลังเป็นจำ�นวนเต็มบวกในการแก้ปัญหา
คณิตศาสตร์และปัญหาในชีวิตจริง และเนื้อหาในบทนี้จะเน้นเลขยกกำ�ลังที่มีฐานเป็นจำ�นวนเต็ม เศษส่วน และทศนิยมที่เป็น
จำ�นวนบวกเท่านั้น ดังนั้น เพื่อให้การเรียนรู้ของนักเรียนในเรื่องเลขยกกำ�ลังสอดคล้องกับตัวชี้วัด ครูควรจัดประสบการณ์ให้
นักเรียนสามารถ
1. เข้าใจเกี่ยวกับเลขยกกำ�ลังที่มีเลขชี้กำ�ลังเป็นจำ�นวนเต็มบวก โดยนักเรียนควรบอกความหมายของเลขยกกำ�ลังได้
รวมทัง้ เขียนจำ�นวนทีก
่ �ำ หนด ให้อยูใ่ นรูปของเลขยกกำ�ลังทีม
่ เี ลขชีก
้ �ำ ลังเป็นจำ�นวนเต็มบวก และหาค่าของเลขยก
กำ�ลังที่มีเลขชี้กำ�ลังเป็นจำ�นวนเต็มบวก
2. เข้าใจเกี่ยวกับสมบัติของเลขยกกำ�ลัง และนำ�สมบัติของเลขยกกำ�ลังไปใช้ในการแก้ปัญหา ซึ่งสะท้อนได้จาก
การที่นักเรียนสามารถนำ�ความรู้และสมบัติของเลขยกกำ�ลังไปใช้ในการหาผลคูณและผลหารของเลขยกกำ�ลัง
เมื่อเลขชี้กำ�ลังเป็นจำ�นวนเต็มบวก ตลอดจนสามารถนำ�ไปใช้ได้
3. เข้าใจเกี่ยวกับสัญกรณ์วิทยาศาสตร์ โดยสามารถเขียนจำ�นวนที่มีค่ามาก ๆ ให้อยู่ในรูปสัญกรณ์วิทยาศาสตร์ และ
หาค่ า ของจำ � นวนที่ อ ยู่ ใ นรู ป สั ญ กรณ์ วิ ท ยาศาสตร์ ไ ด้ รวมทั้ ง สามารถนำ � ไปใช้ ใ นการแก้ ปั ญ หาในชี วิ ต จริ ง
และตระหนักถึงความสมเหตุสมผลของคำ�ตอบที่ได้

ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

หัวข้อ
ทักษะและกระบวนการ 3.1 3.2 3.3
ทางคณิตศาสตร์ ความหมายของ การคูณและการหาร สัญกรณ์
เลขยกกำ�ลัง เลขยกกำ�ลัง วิทยาศาสตร์
การแก้ปัญหา ✤

การสื่อสารและการสื่อความหมาย
✤ ✤ ✤
ทางคณิตศาสตร์

การเชื่อมโยง ✤ ✤

การให้เหตุผล

การคิดสร้างสรรค์

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 3 | เลขยกกำ�ลัง 147

ความรู้พื้นฐานที่นักเรียนต้องมี
2+2=4

ครูอาจทบทวนความรู้พื้นฐานที่นักเรียนต้องมีก่อนเรียน ดังนี้
1. ตัวประกอบของจำ�นวนนับ
2. ตัวประกอบเฉพาะ
3. การแยกตัวประกอบ

ความคิดรวบยอดของบทเรียน
เลขยกกำ�ลัง เป็นสัญลักษณ์แทนจำ�นวนทีป
่ ระกอบด้วยฐานและเลขชีก
้ �ำ ลัง เราสามารถเขียนจำ�นวนทีอ
่ ยูใ่ นรูปการคูณของ
จำ�นวนที่ซ้ำ� ๆ กันให้อยู่ในรูปเลขยกกำ�ลังได้
สัญกรณ์วิทยาศาสตร์ เป็นสัญลักษณ์ท่ีใช้แทนจำ�นวนที่มีค่ามาก ๆ หรือจำ�นวนที่มีค่าน้อย ๆ มีรูปทั่วไปเป็น A × 10
n

เมื่อ 1 ≤ A < 10 และ n เป็นจำ�นวนเต็ม เราใช้สัญกรณ์วิทยาศาสตร์ในการสื่อความหมายให้กระชับและเข้าใจง่ายขึ้น

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
148 บทที่ 3 | เลขยกกำ�ลัง คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

3.1 ความหมายของเลขยกกำ�ลัง (2 ชั่วโมง)


จุดประสงค์
นักเรียนสามารถ
1. บอกความหมายของเลขยกกำ�ลัง
2. เขียนจำ�นวนที่กำ�หนดให้อยู่ในรูปเลขยกกำ�ลังที่มีเลขชี้กำ�ลังเป็นจำ�นวนเต็มบวก
3. หาค่าของเลขยกกำ�ลังที่มีเลขชี้กำ�ลังเป็นจำ�นวนเต็มบวกที่กำ�หนดให้

ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน
1. นักเรียนอาจเข้าใจคลาดเคลื่อนโดยระบุฐานของเลขยกกำ�ลังไม่ถูกต้อง เช่น
2
เข้าใจคลาดเคลื่อนว่า ฐานของ -3 คือ -3 ซึ่งฐานที่ถูกต้องคือ 3

เข้าใจคลาดเคลื่อนว่า ฐานของ 2 คือ 2 ซึ่งฐานที่ถูกต้องคือ 2


3

5 5
n n n
2. นักเรียนอาจเข้าใจคลาดเคลื่อนว่า เลขยกกำ�ลังที่อยู่ในรูป (a + b) คือ a + b
2 2 2 2 2
เช่น (5 + 2) = 5 + 2 ซึ่งไม่ถูกต้อง เนื่องจาก (5 + 2) = 7 = 49
2 2 2 2 2
แต่ 5 + 2 = 25 + 4 = 29 จึงทำ�ให้ (5 + 2) ≠ 5 + 2

สื่อที่แนะนำ�ให้ใช้ในข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ใบกิจกรรมเสนอแนะ 3.1 : เปลี่ยนแปลงไปอย่างไร

ข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ในหัวข้อนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับความหมายของเลขยกกำ�ลัง โดยเน้นให้นักเรียนเห็นว่าเลขยกกำ�ลังเป็นจำ�นวน ซึ่งใช้แสดง
แทนจำ�นวนที่เขียนในรูปการคูณของจำ�นวนที่ซ้ำ� ๆ กัน ทั้งนี้ ครูควรพัฒนาความรู้สึกเชิงจำ�นวนให้กับนักเรียน เพื่อให้เข้าใจถึง
ค่าของเลขยกกำ�ลังที่แสดงให้เห็นถึงการเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างรวดเร็ว กิจกรรมที่ครูควรจัดมีดังนี้
1. ครูแนะนำ�ความหมายของเลขยกกำ�ลังจากบทนิยาม โดยอาจชี้ชวนให้นักเรียนเชื่อมโยงจากความรู้เดิม เช่น พื้นที่
ของรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส พื้นที่ของวงกลม หรือสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตจริง เช่น การแบ่งเซลล์ของแบคทีเรีย
และชีใ้ ห้เห็นประโยชน์ของการใช้เลขยกกำ�ลังแทนจำ�นวนทีอ
่ ยูใ่ นรูปการคูณของจำ�นวนทีซ
่ �
้ำ ๆ กัน ซึง่ ครูควรระวัง
n
ความหมายและการอ่านเลขยกกำ�ลัง กล่าวคือ a หมายถึง จำ�นวนทีม
่ ี a คูณกัน n ตัว และอ่านว่า “a คูณกัน n ตัว”
3
ไม่ใช่ “n ครั้ง” เช่น 2 มี 2 คูณกัน 3 ตัว คือ 2 × 2 × 2 ซึ่งไม่เท่ากับ 2 คูณกัน 3 ครั้ง หรือ 2 × 2 × 2 × 2

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 3 | เลขยกกำ�ลัง 149

นอกจากนี้ ครูควรย้ำ�ว่า ในการเขียนเลขยกกำ�ลังที่มีฐานเป็นจำ�นวนลบหรือเศษส่วน ต้องเขียนฐานไว้ใน


วงเล็บ เพื่อสื่อความหมายให้ถูกต้อง เช่น
2
เมื่อฐานเป็น -5 และเลขชี้กำ�ลังเป็น 2 ต้องเขียนเป็น (-5)

()
3
เมื่อฐานเป็น 3 และเลขชี้กำ�ลังเป็น 3 ต้องเขียนเป็น 3
4 4
2. ครูต้องพัฒนาความรู้สึกเชิงจำ�นวนเกี่ยวกับเลขยกกำ�ลังให้กับนักเรียน เพื่อให้เข้าใจถึงค่าของเลขยกกำ�ลังที่แสดง
ให้เห็นถึงการเพิม
่ ขึน
้ หรือลดลงอย่างรวดเร็ว โดยใช้สถานการณ์การแบ่งเซลล์ของแบคทีเรีย เพือ
่ ชีใ้ ห้นก
ั เรียนเห็นว่า
ถ้าร่างกายของคนเราติดเชื้อแบคทีเรียชนิดที่ให้โทษ เช่น เชื้ออหิวาตกโรค เมื่อเวลาผ่านไปเรื่อย ๆ จะมีจำ�นวน
แบคทีเรียในร่างกายเพิม
่ ขึน
้ อย่างรวดเร็ว ถ้าไม่มก
ี ารให้ยาฆ่าเชือ
้ อาการทีร่ า่ งกายแสดงออกจะทวีความรุนแรงอย่าง
รวดเร็วตามเชื้อแบคทีเรียที่เพิ่มขึ้นนั้น
นอกจากนี้ ครูยังสามารถใช้แบบฝึกหัด 3.1 ข ข้อที่ 3 หรืออาจใช้ “กิจกรรมเสนอแนะ 3.1 : เปลี่ยนแปลง
ไปอย่างไร” เพื่อให้นักเรียนเห็นการเปลี่ยนแปลงของค่าที่ได้จากการยกกำ�ลังของเลขยกกำ�ลังที่มีฐานแตกต่างกัน
3. ครูควรเน้นย้ำ�กับนักเรียนว่า การเขียนจำ�นวนบางจำ�นวนให้อยู่ในรูปเลขยกกำ�ลังอาจมีได้มากกว่าหนึ่งแบบ เช่น
4 2 4 2
การเขียน 16 ในรูปเลขยกกำ�ลังที่มีเลขชี้กำ�ลังมากกว่า 1 อาจเขียนเป็น 2 , 4 , (-2) หรือ (-4) ก็ได้ โดยครูอาจ
ยกตัวอย่างอื่นเพิ่มเติมประกอบการถามตอบเพื่อตรวจสอบความเข้าใจของนักเรียน เช่น 64 อาจเขียนเป็น
2 2 3 6 6
8 , (-8) , 4 , 2 หรือ (-2) ซึ่งในการเขียนคำ�ตอบ ไม่จำ�เป็นต้องเขียนให้ได้ครบทุกแบบ
4. ครูควรเน้นย้ำ�ว่า ในการเขียนเลขยกกำ�ลังแทนจำ�นวนใด ๆ นั้น นักเรียนต้องสามารถระบุฐานและเลขชี้กำ�ลังของ
เลขยกกำ�ลังนั้น ๆ ได้ เช่น
การเขียน 216 ในรูปเลขยกกำ�ลัง
216 = 2×2×2×3×3×3
3 3
= 2 ×3
3 3
เนือ
่ งจาก 2 × 3 ยังไม่อยูใ่ นรูปทีส่ ามารถระบุได้วา่ ฐานและเลขชีก
้ �ำ ลังเป็นจำ�นวนใด แต่เมือ
่ จัดรูปใหม่เป็น
216 = (2 × 3) × (2 × 3) × (2 × 3)
= 6×6×6
3
= 6
3
จะได้ว่า 216 เขียนในรูปเลขยกกำ�ลังได้เป็น 6 ที่มี 6 เป็นฐาน และมี 3 เป็นเลขชี้กำ�ลัง

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
150 บทที่ 3 | เลขยกกำ�ลัง คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

กิจกรรมเสนอแนะ 3.1 : เปลี่ยนแปลงไปอย่างไร


กิจกรรมนี้ เป็นกิจกรรมที่ช่วยพัฒนาความรู้สึกเชิงจำ�นวนให้กับนักเรียน มุ่งให้ศึกษาแบบรูปของเลขยกกำ�ลัง ซึ่งค่าของ
เลขยกกำ�ลังจะเปลีย่ นแปลงไปอย่างไรนัน
้ ย่อมขึน
้ อยูก
่ บ
ั ฐานและเลขชีก
้ �ำ ลัง คำ�ตอบของนักเรียนอาจมีหลากหลาย โดยมีอป
ุ กรณ์
และขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม ดังนี้

อุปกรณ์
ใบกิจกรรมเสนอแนะ 3.1 : เปลี่ยนแปลงไปอย่างไร

ขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม
1. ครูแบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 3–4 คน
2. ครูให้นักเรียนสังเกตค่าของเลขยกกำ�ลังที่เปลี่ยนแปลงไป แล้วช่วยกันตอบคำ�ถามลงในใบกิจกรรม
3. ครูอาจให้นักเรียนแต่ละกลุ่มนำ�เสนอและอภิปรายผลที่ได้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 3 | เลขยกกำ�ลัง 151

ใบกิจกรรมเสนอแนะ 3.1 : เปลี่ยนแปลงไปอย่างไร

คำ�ชี้แจง
ให้นักเรียนศึกษาค่าของเลขยกกำ�ลังในตารางและตอบคำ�ถามของแต่ละข้อต่อไปนี้
1.
เลขยกกำ�ลัง 2 2
2
2
3
2
4
2
5
...
ค่าของเลขยกกำ�ลัง 2 4 8 16 32 ...

นั ก เรี ย นคิ ด ว่ า เลขยกกำ � ลั ง ที่ มี ฐ านเท่ า กั บ 2 เมื่ อ เลขชี้ กำ � ลั ง มี ค่ า เพิ่ ม ขึ้ น ที ล ะหนึ่ ง ค่ า ของ
เลขยกกำ�ลังนั้นจะเป็นอย่างไร จงอธิบาย

2.
1
() () () ()
2
เลขยกกำ�ลัง – 1
– 1

3
1

4
1

5
...
2 2 2 2 2
ค่าของเลขยกกำ�ลัง 1
– 1
– 1
– —1 —1 ...
2 4 8 16 32
นั ก เรี ย นคิ ด ว่ า เลขยกกำ � ลั ง ที่ มี ฐ านเท่ า กั บ –1 เมื่ อ เลขชี้ กำ � ลั ง มี ค่ า เพิ่ ม ขึ้ น ที ล ะหนึ่ ง ค่ า ของ
2
เลขยกกำ�ลังนั้นจะเป็นอย่างไร จงอธิบาย

3.
3
() () () ()
2 3 4 5
– 3 3 3 3 ...
เลขยกกำ�ลัง 2

2

2

2

2
ค่าของเลขยกกำ�ลัง 3 9 27 81 243 ...
2 4 8 16 32
นั ก เรี ย นคิ ด ว่ า เลขยกกำ � ลั ง ที่ มี ฐ านเท่ า กั บ –3 เมื่ อ เลขชี้ กำ � ลั ง มี ค่ า เพิ่ ม ขึ้ น ที ล ะหนึ่ ง ค่ า ของ
2
เลขยกกำ�ลังนั้นจะเป็นอย่างไร จงอธิบาย

4.
เลขยกกำ�ลัง (-2) (-2)
2
(-2)
3
(-2)
4
(-2)
5
...
ค่าของเลขยกกำ�ลัง -2 4 -8 16 -32 ...

นั ก เรี ย นคิ ด ว่ า เลขยกกำ � ลั ง ที่ มี ฐ านเท่ า กั บ -2 เมื่ อ เลขชี้ กำ � ลั ง มี ค่ า เพิ่ ม ขึ้ น ที ล ะหนึ่ ง ค่ า ของ
เลขยกกำ�ลังนั้นจะเป็นอย่างไร จงอธิบาย

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
152 บทที่ 3 | เลขยกกำ�ลัง คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

เฉลยใบกิจกรรมเสนอแนะ 3.1 : เปลี่ยนแปลงไปอย่างไร


1.
เลขยกกำ�ลัง 2 2
2
2
3
2
4
2
5
...
ค่าของเลขยกกำ�ลัง 2 4 8 16 32 ...

นักเรียนคิดว่า เลขยกกำ�ลังที่มีฐานเท่ากับ 2 เมื่อเลขชี้กำ�ลังมีค่าเพิ่มขึ้นทีละหนึ่ง ค่าของ


เลขยกกำ�ลังนั้นจะเป็นอย่างไร จงอธิบาย
ค่าของเลขยกกำ�ลังจะมากขึ้นเป็นสองเท่าของจำ�นวนที่อยู่ติดกันก่อนหน้า
2.
1
() () () ()
2 3 4 5
เลขยกกำ�ลัง – 1
– 1
– 1
– 1
– ...
2 2 2 2 2
ค่าของเลขยกกำ�ลัง 1
– 1
– 1
– —1 —1 ...
2 4 8 16 32
นักเรียนคิดว่า เลขยกกำ�ลังที่มีฐานเท่ากับ 1
– เมื่อเลขชี้กำ�ลังมีค่าเพิ่มขึ้นทีละหนึ่ง ค่าของ
2
เลขยกกำ�ลังนั้นจะเป็นอย่างไร จงอธิบาย
ค่าของเลขยกกำ�ลังจะลดลงเป็นครึ่งหนึ่งของจำ�นวนที่อยู่ติดกันก่อนหน้า แต่จะไม่เท่ากับศูนย์
3.
3
() () () ()
2 3 4 5
เลขยกกำ�ลัง – 3
– 3
– 3
– 3
– ...
2 2 2 2 2
ค่าของเลขยกกำ�ลัง 3 9 27 81 243 ...
2 4 8 16 32
นักเรียนคิดว่า เลขยกกำ�ลังที่มีฐานเท่ากับ 3
– เมื่อเลขชี้กำ�ลังมีค่าเพิ่มขึ้นทีละหนึ่ง ค่าของ
2
เลขยกกำ�ลังนั้นจะเป็นอย่างไร จงอธิบาย
ค่าของเลขยกกำ�ลังจะมากขึ้นเป็น – 3 เท่าของจำ�นวนที่อยู่ติดกันก่อนหน้า
2
4.
เลขยกกำ�ลัง (-2) (-2)
2
(-2)
3
(-2)
4
(-2)
5
...
ค่าของเลขยกกำ�ลัง -2 4 -8 16 -32 ...

นักเรียนคิดว่า เลขยกกำ�ลังที่มีฐานเท่ากับ -2 เมื่อเลขชี้กำ�ลังมีค่าเพิ่มขึ้นทีละหนึ่ง ค่าของ


เลขยกกำ�ลังนั้นจะเป็นอย่างไร จงอธิบาย
เมื่อเลขชี้กำ�ลังเป็นจำ�นวนคู่ที่มากขึ้น ค่าของเลขยกกำ�ลังจะเป็นจำ�นวนบวกที่มีค่ามากขึ้น
และเมือ
่ เลขชีก
้ �ำ ลังเป็นจำ�นวนคีท
่ ม
่ี ากขึน
้ ค่าของเลขยกกำ�ลังจะเป็นจำ�นวนลบทีม
่ ค
ี า่ น้อยลง สลับกันไปเรือ
่ ยๆ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 3 | เลขยกกำ�ลัง 153

เฉลยชวนคิด
ชวนคิด 3.1
2

ชวนคิด 3.2
n n
1) (-3) กับ -3 จะเท่ากัน เมื่อ n เป็นจำ�นวนคี่
n n
2) (-3) กับ -3 จะไม่เท่ากัน เมื่อ n เป็นจำ�นวนคู่

ชวนคิด 3.3
1) 3 แผ่น 9 แผ่น และ 27 แผ่น ตามลำ�ดับ
10
2) 3 แผ่น
n
3) 3 แผ่น

เฉลยแบบฝึกหัด
แบบฝึกหัด 3.1 ก
1. 1) 10 2) 343 3) 10,000
4) 8,000 5) -1 6) 1,296
7) -729 8) 900 9) 0.000001

10) 0.1296 11) 1.0609 12)   1  


32
13)   16   14) 125
625 64

2 2 8 8 4 4 2 2
2. 1) 11 หรือ (-11) 2) 2 , (-2) , 4 , (-4) , 16 หรือ (-16)
3 9 3
3) 7 4) 10 หรือ 1,000
7 5
5) (-2) 6) (-4)
3 7
7) (-11) 8) (-10)

() ( ) ( )
2 2 3
9) (1.5) , (-1.5) , 3 หรือ - 3 10) (0.3) หรือ   3  
2 2 3

2 2 10

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
154 บทที่ 3 | เลขยกกำ�ลัง คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

( ) ( )
5 3
11) (0.1) หรือ   1   12) (2.1) หรือ 21
5 3

10 10

() ()
5 3
13) 1 หรือ (0.5) 14) 5
5

2 6
2 2
15) 0.25 × 0.04 = 0.01 = (0.1) หรือ (-0.1)

( ) ( )
2 2
หรือ 0.25 × 0.04 =   25   ×     4     =     1     =   1   หรือ -   1  
100 100 100 10 10

()
5
16) 1,024 ÷ 3,125 = 1,024 = 4 × 4 × 4 × 4 × 4 = 4 × 4 × 4 × 4 × 4 = 4
3,125 5 × 5 × 5 × 5 × 5 5 5 5 5 5 5

3. 1) 5 หรือ -5 2) 6 3) 4 4) -13

3
4. ไม่ได้ เพราะถังคอนกรีตทรงลูกบาศก์ในบริเวณที่กำ�หนดจะจุน้ำ�ได้เพียง (1.5) = 3.375 ลูกบาศก์เมตร ซึ่งน้อยกว่า
4 ลูกบาศก์เมตร

5. แนวคิด
ครบสัปดาห์ ครบสัปดาห์ ครบสัปดาห์ ครบสัปดาห์
ระยะเวลา เริ่มต้น ที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ที่ 4
2 3 4
จำ�นวนแหนที่ลอย 3×2 3×2 3×2 3×2
3
ในอ่างปลา (ต้น) 6 12 24 48

ดังนั้น เมื่อครบ 4 สัปดาห์ ปุ๊กจะมีแหนอย่างมากที่สุด 48 ต้น (จำ�นวนแหนอย่างมากที่สุด พิจารณาจากไม่มีแหน


ต้นใดตายก่อนครบ 4 สัปดาห์)

แบบฝึกหัด 3.1 ข
1
1. 1) เท่ากัน เพราะว่า 2 ตามบทนิยามของเลขยกกำ�ลัง เลขชี้กำ�ลังเป็นจำ�นวนที่แสดงว่ามีฐานคูณกันกี่ตัว
1 1
ซึ่ง 2 หมายถึงมี 2 เพียงตัวเดียว ดังนั้น 2 = 2
2 2
2) ไม่เท่ากัน เพราะว่า 5 = 25 แต่ -5 = -25
2
3) ไม่เท่ากัน เพราะว่า (-6)2 = 36 แต่ -6 = -(6 × 6) = -36

()
3 3
4) ไม่เท่ากัน เพราะว่า 2 =   8   แต่ 2 = 2 × 2 × 2 = 8
3 27 3 3 3
4
5) ไม่เท่ากัน เพราะว่า (0.2) = (0.2) × (0.2) × (0.2) × (0.2) = 0.0016

()
4 4
6) เท่ากัน เพราะว่า 3 = 3 × 3 × 3 × 3 = 3 × 3 × 3 × 3 = 34
5 5 5 5 5 5 × 5 × 5 × 5 5
3 3
7) เท่ากัน เพราะว่า -10 = -(10 × 10 × 10) = -1,000 และ (-10) = -1,000
10
8) ไม่เท่ากัน เพราะว่า 2 = 1,024 แต่ 102 = 100
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 3 | เลขยกกำ�ลัง 155

2. แนวคิด คำ�นวณหาจำ�นวนในวงเล็บก่อน และใช้ความหมายของเลขยกกำ�ลังเพื่อหาค่าของจำ�นวนทั้งหมด


2
1) (5 + 2) = = 49
2 2
2) (-3)(1 + 2) = (-3)(3 ) = -27

( ) ()
3 3
3) 21 = 7 = 343
3 3 27
2 2
4) 32 + (2 – 5) = + 4(-3) = 18 หรือ 9
9
2 4
2 16 8

( ) ()
3 3
1
5) 2 – = = 7 343
4 4 64
2 2
6) (6 × 2) = 12 = 144
(23) = 82 = 64
2
7)
[(0.2)2] = (0.04)2 = 0.0016
2
8)

2
3. 1) ไม่จริง เพราะว่า เมื่อ a = 0 จะได้ว่า 0 ไม่มากกว่า 0
2) จริง เพราะว่าค่าของเลขยกกำ�ลังจะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า ของจำ�นวนที่อยู่ติดกันก่อนหน้า
3) ไม่จริง เพราะว่าเมื่อเลขชี้กำ�ลัง n เป็นจำ�นวนคู่ที่มากขึ้น ค่าของเลขยกกำ�ลังก็จะเป็นจำ�นวนเต็มบวกที่มีค่า
มากขึน
้ และเมือ
่ เลขชีก
้ �ำ ลังเป็นจำ�นวนคีท
่ ม
ี่ ากขึน
้ ค่าของเลขยกกำ�ลังก็จะเป็นจำ�นวนเต็มลบทีม
่ ค
ี า่ น้อยลง
สลับกันไปเรื่อย ๆ
4) จริง เพราะว่าค่าของเลขยกกำ�ลังจะลดลงเป็นครึ่งหนึ่งของจำ�นวนที่อยู่ติดกันก่อนหน้า
5) ไม่จริง เพราะว่าค่าของเลขยกกำ�ลังจะเพิ่มขึ้น –3 เท่า ของจำ�นวนที่อยู่ติดกันก่อนหน้า
2
6) จริง พิจารณาแยกเป็นกรณี ดังนี้
กรณีที่ 1 เมื่อ a เป็นจำ�นวนเต็มลบ และ n เป็นจำ�นวนเต็มบวกที่เป็นจำ�นวนคู่ ค่าของเลขยกกำ�ลังจะเป็น
จำ�นวนเต็มบวก
กรณีที่ 2 เมื่อ a = 0 และ n เป็นจำ�นวนเต็มบวกที่เป็นจำ�นวนคู่ ค่าของเลขยกกำ�ลังจะเท่ากับ 0
กรณีที่ 3 เมื่อ a เป็นจำ�นวนเต็มบวก และ n เป็นจำ�นวนเต็มบวกที่เป็นจำ�นวนคู่ ค่าของเลขยกกำ�ลังจะเป็น
จำ�นวนเต็มบวก
ดังนั้น เมื่อ a เป็นจำ�นวนเต็ม และ n เป็นจำ�นวนเต็มบวกที่เป็นจำ�นวนคู่ ค่าของ an จะเป็นจำ�นวน
เต็มบวกหรือศูนย์เสมอ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
156 บทที่ 3 | เลขยกกำ�ลัง คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

3.2 การคูณและการหารเลขยกกำ�ลัง (5 ชั่วโมง)


จุดประสงค์
นักเรียนสามารถ
1. หาผลคูณของเลขยกกำ�ลังเมื่อเลขชี้กำ�ลังเป็นจำ�นวนเต็มบวก
2. หาผลหารของเลขยกกำ�ลังเมื่อเลขชี้กำ�ลังเป็นจำ�นวนเต็มบวก
3. นำ�สมบัติของเลขยกกำ�ลังไปใช้

ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน
2 3 2+3
นักเรียนเข้าใจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับการนำ�สมบัติของเลขยกกำ�ลังไปใช้ เช่น 4 + 4 = 4

สื่อที่แนะนำ�ให้ใช้ในข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
-

ข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ในหัวข้อนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับการคูณและการหารเลขยกกำ�ลัง ซึ่งเน้นให้นักเรียนได้เข้าใจว่าเลขยกกำ�ลังเป็นจำ�นวน
จึงสามารถนำ�มาคูณและหารกันได้ โดยใช้สมบัติการคูณและสมบัติการหารเลขยกกำ�ลัง ซึ่งในหัวข้อนี้ จะเน้นการใช้สมบัติ
การคูณและสมบัติการหารเลขยกกำ�ลังที่มีเลขชี้กำ�ลังเป็นจำ�นวนเต็มบวกเท่านั้น กิจกรรมที่ครูควรจัดมีดังนี้
1. ในการสอนเรือ
่ งการคูณเลขยกกำ�ลัง ครูควรใช้ “กิจกรรม : สำ�รวจการคูณเลขยกกำ�ลัง” โดยเน้นให้นก
ั เรียนได้สงั เกต
การคูณเลขยกกำ�ลังทีม
่ ฐี านเป็นจำ�นวนเดียวกัน และค้นหาความสัมพันธ์ระหว่างเลขชีก้ �ำ ลังของตัวตัง้ เลขชีก้ �ำ ลังของ
ตัวคูณ และเลขชีก
้ �ำ ลังของผลคูณ แล้วสร้างข้อความคาดการณ์โดยใช้ภาษาของตนเอง เพือ
่ นำ�ไปสูข
่ อ
้ สรุปเกีย่ วกับ
สมบัตก
ิ ารคูณเลขยกกำ�ลัง
2. ครูควรชี้ให้นักเรียนเห็นว่า ในการหาผลคูณของเลขยกกำ�ลังที่มีฐานต่างกัน ในบางกรณี เราอาจทำ�ฐานของ
เลขยกกำ�ลังที่เป็นตัวตั้งหรือตัวคูณให้เป็นจำ�นวนเดียวกัน เช่น
4 3 3 6
✤ 2 × 4 เราอาจหาค่าของ 4 เป็น 64 แล้วเขียน 64 ในรูปเลขยกกำ�ลังที่มีฐานเป็น 2 ซึ่งก็คือ 2 เพื่อ
4
ให้ฐานเป็นจำ�นวนเดียวกับ 2 แล้วจึงใช้สมบัติในการหาผลคูณของเลขยกกำ�ลัง
4 5 4
✤ (-3) × 3 เราอาจหาค่าของ (-3) เป็น 81 ก่อน แล้วเขียน 81 ในรูปเลขยกกำ�ลังที่มีฐานเป็น 3 ซึ่งก็คือ
4 5
3 เพื่อให้ฐานเป็นจำ�นวนเดียวกับ 3 แล้วจึงใช้สมบัติในการหาผลคูณของเลขยกกำ�ลัง

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 3 | เลขยกกำ�ลัง 157

3. ในการสอนเรื่องการหารเลขยกกำ�ลัง ครูควรใช้ “กิจกรรม : สำ�รวจการหารเลขยกกำ�ลัง” โดยเน้นให้นักเรียน


ได้สังเกตการหารเลขยกกำ�ลังที่มีฐานเป็นจำ�นวนเดียวกัน และค้นหาความสัมพันธ์ระหว่างเลขชี้กำ�ลังของตัวตั้ง
เลขชี้กำ�ลังของตัวหาร และเลขชี้กำ�ลังของผลหาร จากนั้น สร้างข้อความคาดการณ์โดยใช้ภาษาของตนเอง เพื่อ
นำ�ไปสู่ข้อสรุปเกี่ยวกับสมบัติการหารเลขยกกำ�ลัง เมื่อเลขชี้กำ�ลังของตัวตั้งมากกว่าเลขชี้ก�ำ ลังของตัวหาร ทั้งนี้
ในการหาผลหารของเลขยกกำ�ลังทีม
่ ฐี านต่างกัน ในบางกรณี เราอาจทำ�ฐานของเลขยกกำ�ลังทีเ่ ป็นตัวตัง้ หรือตัวหาร
ให้เป็นจำ�นวนเดียวกัน แล้วจึงใช้สมบัติในการหาผลหารของเลขยกกำ�ลัง ทำ�นองเดียวกันกับการหาผลคูณ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
158 บทที่ 3 | เลขยกกำ�ลัง คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

กิจกรรม : สำ�รวจการคูณเลขยกกำ�ลัง
กิจกรรมนี้ เป็นกิจกรรมทีต
่ อ
้ งการให้นก
ั เรียนสังเกตการคูณของเลขยกกำ�ลังทีม
่ ฐี านเป็นจำ�นวนเดียวกัน และสร้างข้อความ
คาดการณ์เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างเลขชี้กำ�ลังของตัวตั้ง เลขชี้กำ�ลังของตัวคูณ และเลขชี้กำ�ลังของผลคูณ เพื่อนำ�ไปสู่
สมบัติของการคูณเลขยกกำ�ลัง โดยมีขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม ดังนี้

อุปกรณ์
-

ขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม
1. ครูให้นักเรียนเติมตารางที่กำ�หนดไว้เป็นกิจกรรมในหนังสือเรียน โดยให้เขียนการคูณเลขยกกำ�ลังโดยใช้บทนิยาม
เขียนผลคูณในรูปเลขยกกำ�ลัง และระบุเลขชี้กำ�ลังของตัวตั้ง ตัวคูณ และผลคูณ
2. ครูให้นักเรียนสังเกตความสัมพันธ์ระหว่างเลขชี้กำ�ลังของตัวตั้ง ตัวคูณ และผลคูณ แล้วสร้างข้อความคาดการณ์
เกี่ ย วกั บ ความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งเลขชี้ กำ � ลั ง ดั ง กล่ า วด้ ว ยภาษาของตนเอง เพื่ อ นำ � ไปสู่ ข้ อ สรุ ป เกี่ ย วกั บ สมบั ติ
ของการคูณเลขยกกำ�ลัง

หมายเหตุ ครูอาจให้นักเรียนทำ�กิจกรรมเดี่ยว เป็นคู่ หรือเป็นกลุ่ม ขึ้นอยู่กับบริบทของห้องเรียน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 3 | เลขยกกำ�ลัง 159

เฉลยกิจกรรม : สำ�รวจการคูณเลขยกกำ�ลัง
1. ให้นักเรียนเติมตารางต่อไปนี้ให้ถูกต้อง

เขียนการคูณ ผลคูณ
การคูณ เลขชี้กำ�ลัง เลขชี้กำ�ลัง เลขชี้กำ�ลัง
เลขยกกำ�ลัง ในรูป
เลขยกกำ�ลัง ของตัวตั้ง ของตัวคูณ ของผลคูณ
โดยใช้บทนิยาม เลขยกกำ�ลัง
3 2 5
2 ×2 (2 × 2 × 2) × (2 × 2) 2 3 2 5
4 3 7
3 ×3 (3 × 3 × 3 × 3) × (3 × 3 × 3) 3 4 3 7
2
(-5) × (-5) [(-5) × (-5)] × (-5) (-5)
3
2 1 3

5
(-7) × (-7)
4 [(-7) × (-7) × (-7) × (-7) × (-7)] (-7)
9
5 4 9
× [(-7) × (-7) × (-7) × (-7)]
3 4
(0.2) × (0.2) (0.2 × 0.2 × 0.2) × 0.2 (0.2) 3 1 4

4 2 (3.6 × 3.6 × 3.6 × 3.6) 6


(3.6) × (3.6) (3.6) 4 2 6
× (3.6 × 3.6)

() ()
1
– × 1
() ()
1
– × 1
()
1 2
– – – 1 1 2
2 2 2 2 2

() ()
4
– × 4
5 2
(
4
3
4 × –
– × –
3
4 × –
3
4 × –
3
4
3 ) ()
4 7

( )
– – 5 2 7
3 3 × 4 4
– × – 3
3 3
n2 × n4
(n × n) × (n × n × n × n) n6 2 4 6
เมื่อ n เป็นจำ�นวนใด ๆ

2. จากตาราง ให้นักเรียนสังเกตและสร้างข้อความคาดการณ์เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างเลขชี้กำ�ลังของทั้งตัวตั้ง
ตัวคูณ และผลคูณ
คำ�ตอบมีได้หลากหลาย เช่น
✤ การคูณเลขยกกำ�ลังที่มีฐานเป็นจำ�นวนเดียวกัน เลขชี้กำ�ลังของผลคูณจะเท่ากับผลบวกของเลขชี้กำ�ลังของตัวตั้ง
กับเลขชี้กำ�ลังของตัวคูณ
✤ การคูณเลขยกกำ�ลังทีม
่ ฐี านเป็นจำ�นวนเดียวกัน เลขชีก
้ �ำ ลังของผลคูณจะเท่ากับผลบวกของเลขชีก
้ �ำ ลังของจำ�นวน
ที่นำ�มาคูณกัน
✤ การคูณเลขยกกำ�ลังทีม
่ ฐี านเป็นจำ�นวนเดียวกัน ผลคูณจะเป็นเลขยกกำ�ลังทีม
่ ฐี านเป็นจำ�นวนนัน
้ และเลขชีก
้ �ำ ลัง
ของผลคูณจะเท่ากับผลบวกของเลขชี้กำ�ลังของตัวตั้งกับเลขชี้กำ�ลังของตัวคูณ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
160 บทที่ 3 | เลขยกกำ�ลัง คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

กิจกรรม : สำ�รวจการหารเลขยกกำ�ลัง
กิจกรรมนี้ เป็นกิจกรรมทีต
่ อ
้ งการให้นก
ั เรียนสังเกตการหารของเลขยกกำ�ลังทีม
่ ฐี านเป็นจำ�นวนเดียวกัน และสร้างข้อความ
คาดการณ์เกีย่ วกับความสัมพันธ์ระหว่างเลขชีก
้ �ำ ลังของตัวตัง้ เลขชีก
้ �ำ ลังของตัวหาร และเลขชีก
้ �ำ ลังของผลหาร เพือ
่ นำ�ไปสูส่ มบัติ
ของการหารเลขยกกำ�ลัง โดยมีขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม ดังนี้

อุปกรณ์
-

ขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม
1. ครูให้นักเรียนเติมตารางที่กำ�หนดไว้เป็นกิจกรรมในหนังสือเรียน โดยให้เขียนการหารเลขยกกำ�ลังโดยใช้บทนิยาม
เขียนผลหารในรูปเลขยกกำ�ลัง และระบุเลขชี้กำ�ลังของตัวตั้ง ตัวหาร และผลหาร
2. ครูให้นักเรียนสังเกตความสัมพันธ์ระหว่างเลขชี้กำ�ลังของตัวตั้ง ตัวหาร และผลหาร แล้วสร้างข้อความคาดการณ์
เกี่ ย วกั บ ความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งเลขชี้ กำ � ลั ง ดั ง กล่ า วด้ ว ยภาษาของตนเอง เพื่ อ นำ � ไปสู่ ข้ อ สรุ ป เกี่ ย วกั บ สมบั ติ
ของการหารเลขยกกำ�ลัง

หมายเหตุ ครูอาจให้นักเรียนทำ�กิจกรรมเดี่ยว เป็นคู่ หรือเป็นกลุ่ม ขึ้นอยู่กับบริบทของห้องเรียน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 3 | เลขยกกำ�ลัง 161

เฉลยกิจกรรม : สำ�รวจการหารเลขยกกำ�ลัง
1. ให้นักเรียนเติมตารางต่อไปนี้ให้ถูกต้อง

ผลหาร เลขชีก
เขียนการหาร ้ �ำ ลัง เลขชีก
้ �ำ ลัง เลขชีก
้ �ำ ลัง
การหาร ในรูป
เลขยกกำ�ลัง ของ ของ ของ
เลขยกกำ�ลัง เลขยก ตัวตั้ง ตัวหาร ผลหาร
โดยใช้บทนิยาม กำ�ลัง
8
5 5×5×5×5×5×5×5×5 6
5 8 2 6
52 5×5
9
3 3×3×3×3×3×3×3×3×3 1
3 9 8 1
38 3×3×3×3×3×3×3×3
6
(-7) (-7) × (-7) × (-7) × (-7) × (-7) × (-7) 3
(-7) 6 3 3
(-7)3 (-7) × (-7) × (-7)
7
(-2) (-2) × (-2) × (-2) × (-2) × (-2) × (-2) × (-2) 5
(-2) 7 2 5
(-2)2 (-2) × (-2)
5
(0.2) 0.2 × 0.2 × 0.2 × 0.2 × 0.2 4
(0.2) 5 1 4
0.2 0.2
7
(4.1) 4.1 × 4.1 × 4.1 × 4.1 × 4.1 × 4.1 × 4.1 2
(4.1) 7 5 2
(4.1)5 4.1 × 4.1 × 4.1 × 4.1 × 4.1
4
n
n2 n×n×n×n 2
n 4 2 2
เมื่อ n เป็นจำ�นวนใด ๆ n×n
และ n ≠ 0

2. จากตาราง ให้นักเรียนสังเกตและสร้างข้อความคาดการณ์เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างเลขชี้กำ�ลังของทั้งตัวตั้ง
ตัวหาร และผลหาร
คำ�ตอบมีได้หลากหลาย เช่น
✤ การหารเลขยกกำ � ลั ง ที่ มี ฐ านเป็ น จำ � นวนเดี ย วกั น เลขชี้ กำ � ลั ง ของผลหารจะเท่ า กั บ เลขชี้ กำ � ลั ง ของตั ว ตั้ ง
ลบด้วยเลขชี้กำ�ลังของตัวหาร
✤ การหารเลขยกกำ � ลั ง ที่ มี ฐ านเป็ น จำ � นวนเดี ย วกั น เลขชี้ กำ � ลั ง ของผลหารจะเท่ า กั บ เลขชี้ กำ � ลั ง ของตั ว ตั้ ง
ลบด้วยเลขชี้กำ�ลังของตัวหาร
✤ การหารเลขยกกำ�ลังทีม
่ ฐี านเป็นจำ�นวนเดียวกัน ผลหารจะเป็นเลขยกกำ�ลังทีม
่ ฐี านเป็นจำ�นวนนัน
้ และเลขชีก
้ �ำ ลัง
ของผลหารจะเท่ากับเลขชี้กำ�ลังของตัวตั้งลบด้วยเลขชี้กำ�ลังของตัวหาร
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
162 บทที่ 3 | เลขยกกำ�ลัง คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

เฉลยแบบฝึกหัด
แบบฝึกหัด 3.2 ก
13 10 11 13
1. 1) 3 2) 8 3) 7 4) (-2)
8 7 5
5) (0.2) 6) (1.2) 7) (0.01)

() () () () ()
4
8) 1
– (0.5) = (0.5) (0.5) = (0.5) หรือ 1
2 4 2 6
– (0.5) = 1
4
2
– 1
4
– = 1
2

6

2 2 2 2 2
3 2 5
9) 343 × 49 = 7 × 7 = 7
3 6 9 2 3
10) (-27) × 729 = (-3) × (-3) = (-3) หรือ (-27) × 729 = (-27) × (-27) = (-27)
m n m+n
11) 3 ∙ 3 = 3 เมื่อ m และ n เป็นจำ�นวนเต็มบวก
m n m+n
12) x ∙ x = x เมื่อ x ≠ 0, m และ n เป็นจำ�นวนเต็มบวก

2. ในบางข้ออาจมีคำ�ตอบที่หลากหลาย แต่แนวคิดควรเป็นไปตามเนื้อหาที่นักเรียนได้เรียนผ่านมา
3 4 8
1) 2 × 2 × 2 = 2
2 3 4 2 3 4 9
2) (-3) × 3 × (-3) = 3 × 3 × 3 = 3
3 4 3 3 4 10
3) 8 × 2 × (-2) = 2 × 2 × 2 = 2
4 1 2 4 7
4) 5 × 25 × (-5) = 5 × 5 × 5 = 5
5 5 5 6 5 6 11
5) (-2) × 2 × (-2) = 2 × (-2) = 2 × 2 = 2
4 3 4 4 4 4 8
6) 5 × (-5) × (-5) = 5 × (-5) = 5 × 5 = 5
4 3 4 4 4 4 8
หรือ 5 × (-5) × (-5) = 5 × (-5) = (-5) × (-5) = (-5)
3 5 3 2 5 2 5 3 7 10
7) (-4) × 4 × (-2) × 2 = (-4) × (-4) × 4 × (-8) × 2 = 64 × 4 × 4 = 4 × 4 = 4
3 5 3 3 5 3 5
หรือ (-4) × 4 × (-2) × 2 = (-4) × 4 × (-8) × 2 = (-4) × (-4) × 16
3 5 2 10
= (-4) × (-4) × (-4) = (-4)
4 3 2 3 4 3 2
8) 27 × (-3 ) × 3 × (-9 ) = 3 × [-(3 )] × 3 × [-(9 )]
3 4 3 2
= 3 × 3 × 3 × 9
3 4 3
= 3 × 3 × 3 × (9 × 9)
3 4 3 2 2
= 3 × 3 × 3 × (3 × 3 )
14
= 3
3 4 5 12
9) x ∙ x ∙ x = x เมื่อ x ≠ 0
2 4 3 2 4 3 2 2 2 2 2 2 2 3
10) a ∙ (-a) ∙ b = a ∙ a ∙ b = a ∙ a ∙ a ∙ b ∙ b ∙ b = (a b) ∙ (a b) ∙ (a b) = (a b)
เมื่อ a ≠ 0 และ b ≠ 0

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 3 | เลขยกกำ�ลัง 163

5
3. แนวคิด ดาวฤกษ์บางดวงอยู่ไกลจากโลกถึง 10 ปีแสง
12
ระยะ 1 ปีแสง มีค่าประมาณ 9.46 × 10 กิโลเมตร
5 12
ดังนั้น ดาวฤกษ์ดวงนั้นอยู่ห่างจากโลกประมาณ 10 × (9.46 × 10 )
17
= 9.46 × 10 กิโลเมตร

3
4. แนวคิด รัศมีของโลกโดยเฉลี่ยยาวประมาณ 6.4 × 10 กิโลเมตร
2
ดวงอาทิตย์มีรัศมีโดยเฉลี่ยเป็น 1.09 × 10 เท่าของโลก
2 3
ดังนั้น รัศมีของดวงอาทิตย์โดยเฉลี่ยยาวประมาณ (1.09 × 10 ) × (6.4 × 10 )
5
= 6.98 × 10 กิโลเมตร

5. แนวคิด ปริมาตรของไม้กระดาน = ความกว้าง × ความยาว × ความหนา


= 16 × 128 × 2
4 7
= 2 × 2 × 2
12
= 2 ลูกบาศก์เซนติเมตร
12
ดังนั้น ไม้กระดานแผ่นนี้มีปริมาตร 2 ลูกบาศก์เซนติเมตร

2 2 2 3
6. 1) 2 + 2 = 2 × 2 = 2
2 2 2 2 3
2) 3 + 3 + 3 = 3 × 3 = 3
3 3 3 3 3 4 4 8 8 2 2
3) 4 + 4 + 4 + 4 = 4 × 4 = 4 , (-4) , 2 , (-2) , 16 หรือ (-16)

() () () ()
1
– + 1
– + 1
– + 1
– = 4 × 1
– = 4 × 1
()
2 2 2 2 2
n
4) – = 1 = 1 เมื่อ n เป็นจำ�นวนเต็มบวก
2 2 2 2 2 4

แบบฝึกหัด 3.2 ข
1. ในบางข้ออาจมีคำ�ตอบที่หลากหลาย แต่แนวคิดควรเป็นไปตามเนื้อหาที่นักเรียนได้เรียนผ่านมา
4 3
1) 2 หรือ 16 2) (-3) หรือ -27

3) (0.5) ,     1   2 หรือ 4


( )
4) (-11) ,    1   4 , 11 ,   1   หรือ -   1  
( )
4 4
-2 -4 -4

(0.5) 11 11 11

()
-1
5) 0.8 หรือ 4 6) 1 หรือ 2
5 2
-3
7) (0.3) 8) 4
4
9) 4 10) 5 หรือ 625
3
11) m เมื่อ m ≠ 0 12) 1
13) a เมื่อ a ≠ 0 14) 1

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
164 บทที่ 3 | เลขยกกำ�ลัง คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

2. 1) —1 2) — 1
23 36
3) —1 4) — 1 เมื่อ m ≠ 0
32 m3

3 -8 0 2 -5 2
5) (a × a ) ÷ (a × a ) = a ÷ a = — 1 เมื่อ a ≠ 0
a7

3 10 -4 -7
6) (a ÷ a ) × a = a × — 1 = —1 × —
1 = — 1 เมื่อ a ≠ 0
a4 a7 a4 a11

2 2 2
3. 1) เนื่องจาก 0 = 0 และ 1 = 1 ดังนั้น n = n เป็นจริง เมื่อ n = 0 และ 1
2
2) จาก n = 2 จะได้ 2 = 4
2 4 2 4
จาก n = 4 จะได้ 4 = 16 และ 2 = 16 นั่นคือ 4 = 2
2 n
ดังนั้น n = 2 เป็นจริง เมื่อ n = 2 และ 4

4. แนวคิด 1 ลูกบาศก์ขนาดใหญ่มีด้านยาวด้านละ 125 เซนติเมตร


3
จะได้ ปริมาตร 125 × 125 × 125 = 125 ลูกบาศก์เซนติเมตร
3
แนวคิด 2 ลูกบาศก์ขนาดใหญ่มีด้านยาวด้านละ 125 = 5 เซนติเมตร
3 3 3 9
จะได้ ปริมาตร (5 )(5 )(5 ) = 5 ลูกบาศก์เซนติเมตร

5. แนวคิด กระดาษ A4 80 แกรม 500 แผ่น หนาประมาณ 5.6 เซนติเมตร

กระดาษ
A4 80 แกรม 1 แผ่น จะหนาประมาณ 5.6
500

= 5.6
5 × 100

= 1.122 เซนติเมตร
10

= 1.122 × 10 มิลลิเมตร
10
= 0.112 มิลลิเมตร

10
6. แนวคิด ใน 1 วัน จะมีปริมาณน้ำ�ไหลผ่านขอบหน้าผาประมาณ 7 × 10 ลิตร
12
ดังนั้น ปริมาณน้ำ�ที่ไหลผ่านขอบหน้าผาประมาณ 10 ลิตร

จะใช้เวลาประมาณ 1012 = 14.3 หรือประมาณ 15 วัน


10
7 × 10

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 3 | เลขยกกำ�ลัง 165

18
7. แนวคิด ดวงอาทิตย์มีปริมาตรประมาณ 1.4 × 10 ลูกบาศก์กิโลเมตร
12
โลกมีปริมาตรประมาณ 1.1 × 10 ลูกบาศก์กิโลเมตร
18
ดังนั้น ปริมาตรของดวงอาทิตย์คิดเป็น 1.4 × 1012 ≈ 1.3 × 10 เท่าของปริมาตรของโลก
6

1.1 × 10

2
8. แนวคิด จำ�นวนประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 100 ปีขึ้นไป มีประมาณ 11,900 คน หรือ 119 × 10 คน
6
จำ�นวนประชากรทั่วประเทศมีอยู่ประมาณ 66 ล้านคน หรือ 66 × 10 คน
2
ดังนั้น จำ�นวนประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 100 ปีขึ้นไป คิดเป็น 119 × 106 ≈ 18 × 10 เท่า
-5

66 × 10
ของจำ�นวนประชากรทั้งประเทศ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
166 บทที่ 3 | เลขยกกำ�ลัง คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

3.3 สัญกรณ์วิทยาศาสตร์ (2 ชั่วโมง)


จุดประสงค์
นักเรียนสามารถ
1. เขียนจำ�นวนที่กำ�หนด ให้อยู่ในรูปสัญกรณ์วิทยาศาสตร์
2. หาค่าของจำ�นวนที่อยู่ในรูปสัญกรณ์วิทยาศาสตร์
3. นำ�ความรูเ้ กีย่ วกับสัญกรณ์วท
ิ ยาศาสตร์ไปใช้ในการแก้ปญ
ั หาคณิตศาสตร์และแก้ปญ
ั หาในชีวต
ิ จริง รวมทัง้ ตระหนัก
ถึงความสมเหตุสมผลของคำ�ตอบที่ได้

ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน
-

สื่อที่แนะนำ�ให้ใช้ในข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ใบกิจกรรมเสนอแนะ 3.3 : เขียนอย่างไร

ข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ในหัวข้อนีเ้ ป็นเรือ
่ งเกีย่ วกับสัญกรณ์วท
ิ ยาศาสตร์ ซึง่ เน้นให้นก
ั เรียนได้เข้าใจการเขียนแทนจำ�นวนทีม
่ ค
ี า่ มาก ๆ และจำ�นวน
ที่มีค่าน้อย ๆ ในรูปสัญกรณ์วิทยาศาสตร์ เพื่อนำ�ไปใช้ในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์และชีวิตจริงได้สะดวกขึ้น ในหัวข้อนี้ จะเน้น
การวัดผลประเมินผลการใช้สัญกรณ์วิทยาศาสตร์แทนการเขียนจำ�นวนที่มีค่ามาก ๆ เท่านั้น สำ�หรับการใช้สัญกรณ์วิทยาศาสตร์
แทนการเขียนจำ�นวนที่มีค่าน้อย ๆ เป็นการสร้างความเข้าใจและความคุ้นเคย เพื่อเป็นพื้นฐานให้กับนักเรียนในการเรียนเนื้อหา
วิชาวิทยาศาสตร์ กิจกรรมที่ครูควรจัดมีดังนี้
1. ครูควรชีใ้ ห้นก
ั เรียนเห็นความเชือ
่ มโยงวิชาคณิตศาสตร์กบ
ั ศาสตร์อน
ื่ ๆ โดยครูอาจยกตัวอย่างเกีย่ วกับขนาดเซลล์
เม็ดเลือดแดงของมนุษย์ ระยะทางระหว่างดาว หรือขนาดของดาวต่าง ๆ ที่เป็นการใช้สัญกรณ์วิทยาศาสตร์
แทนจำ�นวนเหล่านั้น เพื่อให้นักเรียนเห็นว่า เราสามารถเขียนจำ�นวนที่มีค่ามาก ๆ หรือจำ�นวนที่มีค่าน้อย ๆ
9
ให้สื่อความหมายหรือเข้าใจตรงกันได้ด้วยสัญลักษณ์ดังกล่าว เช่น 1,000,000,000 เขียนได้เป็น 1 × 10
ทั้งนี้ ครูควรอธิบายรูปทั่วไปของสัญกรณ์วิทยาศาสตร์ จากนั้น ครูอาจใช้ “กิจกรรมเสนอแนะ 3.3 : เขียน
อย่างไร” เพื่อให้นักเรียนสังเกตความสัมพันธ์ระหว่างจำ�นวนกับสัญกรณ์วิทยาศาสตร์ที่แทนจำ�นวนนั้น แล้วสรุป
เป็นหลักการเขียนจำ�นวนให้อยู่รูปสัญกรณ์วิทยาศาสตร์ ในทางกลับกัน เมื่อกำ�หนดจำ�นวนที่อยู่ในรูปสัญกรณ์
วิทยาศาสตร์มาให้ นักเรียนสามารถหาค่าของจำ�นวนนั้นได้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 3 | เลขยกกำ�ลัง 167

2. ครูควรเน้นการพัฒนาความรู้สึกเชิงจำ�นวนเกี่ยวกับสัญกรณ์วิทยาศาสตร์ โดยใช้คำ�ถามประกอบการยกตัวอย่าง
เพื่ อ ให้ นั ก เรี ย นได้ สั ง เกตและเปรี ย บเที ย บจำ � นวนที่ อ ยู่ ใ นรู ป การคู ณ ที่ มี เ ลขยกกำ � ลั ง ที่ มี ฐ านเป็ น 10
8 3 8
เมื่อเลขชี้กำ�ลังเปลี่ยนไป เช่น 2 × 10 มากกว่า 2 × 10 เนื่องจากจำ�นวนหลักของ 2 × 10 มากกว่า
3
จำ�นวนหลักของ 2 × 10
3. ครูควรฝึกให้นักเรียนได้นำ�ความรู้เกี่ยวกับสัญกรณ์วิทยาศาสตร์ไปใช้ในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์และในชีวิตจริง
โดยให้นักเรียนวิเคราะห์บริบทจากสถานการณ์ในข้อที่เป็นโจทย์ปัญหา โดยอาจใช้แบบฝึกหัด 3.3 ก และ
แบบฝึกหัด 3.3 ข

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
168 บทที่ 3 | เลขยกกำ�ลัง คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

กิจกรรมเสนอแนะ 3.3 : เขียนอย่างไร


กิจกรรมนี้ เป็นกิจกรรมทีเ่ น้นให้นก
ั เรียนได้ฝก
ึ การเขียนจำ�นวนให้อยูใ่ นรูปสัญกรณ์วท
ิ ยาศาสตร์ รวมทัง้ สังเกตจำ�นวนและ
รูปสัญกรณ์วิทยาศาสตร์ของจำ�นวนนั้น เพื่อนำ�ไปสู่วิธีการเขียนจำ�นวนให้อยู่ในรูปสัญกรณ์วิทยาศาสตร์ โดยมีอุปกรณ์และ
ขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม ดังนี้

อุปกรณ์
ใบกิจกรรมเสนอแนะ 3.3 : เขียนอย่างไร

ขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม
1. ครูแบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 3–4 คน
2. ครูให้นกั เรียนเขียนจำ�นวนทีก่ �ำ หนด ให้อยูใ่ นรูปสัญกรณ์วท
ิ ยาศาสตร์ลงในตารางตอนที่ 1 ข้อ 1 แล้วสังเกต เพือ่ สรุปวิธี
การเขียนจำ�นวนทีม
่ ค
ี า่ มาก ๆ ให้อยูใ่ นรูปสัญกรณ์วท
ิ ยาศาสตร์ในข้อ 2
3. ครูให้นักเรียนเขียนจำ�นวนที่กำ�หนด ให้อยู่ในรูปสัญกรณ์วิทยาศาสตร์ลงในตารางตอนที่ 2 ข้อ 1 แล้วสังเกต
เพื่อสรุปวิธีการเขียนจำ�นวนที่มีค่าน้อย ๆ ให้อยู่ในรูปสัญกรณ์วิทยาศาสตร์ ในข้อ 2

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 3 | เลขยกกำ�ลัง 169

ใบกิจกรรมเสนอแนะ 3.3 : เขียนอย่างไร

ตอนที่ 1
การเขียนจำ�นวนที่มีค่ามาก ๆ ให้อยู่ในรูปสัญกรณ์วิทยาศาสตร์
1. ให้นักเรียนเขียนจำ�นวนที่กำ�หนด ให้อยู่ในรูปสัญกรณ์วิทยาศาสตร์

รูปสัญกรณ์ รูปสัญกรณ์ รูปสัญกรณ์


จำ�นวน จำ�นวน จำ�นวน
วิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์
500 250 300.2
5,000 2,500 3,000.2
50,000 25,000 30,000.2
500,000 250,000 300,000.2

2. จากตารางในข้อ 1 ให้นักเรียนสังเกตจำ�นวนและรูปสัญกรณ์วิทยาศาสตร์ของจำ�นวนนั้น แล้วสรุป


วิธีการเขียนจำ�นวนที่มีค่ามาก ๆ ให้อยู่ในรูปสัญกรณ์วิทยาศาสตร์

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
170 บทที่ 3 | เลขยกกำ�ลัง คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

ตอนที่ 2
การเขียนจำ�นวนที่มีค่าน้อย ๆ ให้อยู่ในรูปสัญกรณ์วิทยาศาสตร์
1. ให้นักเรียนเขียนจำ�นวนที่กำ�หนด ให้อยู่ในรูปสัญกรณ์วิทยาศาสตร์

รูปสัญกรณ์ รูปสัญกรณ์ รูปสัญกรณ์


จำ�นวน จำ�นวน จำ�นวน
วิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์
0.5 0.56 0.102
0.05 0.056 0.0102
0.005 0.0056 0.00102
0.0005 0.00056 0.000102

2. จากตารางในข้อ 1 ให้นักเรียนสังเกตจำ�นวนและรูปสัญกรณ์วิทยาศาสตร์ของจำ�นวนนั้น แล้วสรุป


วิธีการเขียนจำ�นวนที่มีค่าน้อย ๆ ให้อยู่ในรูปสัญกรณ์วิทยาศาสตร์

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 3 | เลขยกกำ�ลัง 171

เฉลยใบกิจกรรมเสนอแนะ 3.3 : เขียนอย่างไร


ตอนที่ 1
1. ให้นักเรียนเขียนจำ�นวนที่กำ�หนด ให้อยู่ในรูปสัญกรณ์วิทยาศาสตร์

รูปสัญกรณ์ รูปสัญกรณ์ รูปสัญกรณ์


จำ�นวน จำ�นวน จำ�นวน
วิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์
2 2 2
500 5 × 10 250 2.5 × 10 300.2 3.002 × 10
3 3 3
5,000 5 × 10 2,500 2.5 × 10 3,000.2 3.0002 × 10
4 4 4
50,000 5 × 10 25,000 2.5 × 10 30,000.2 3.00002 × 10
5 5 5
500,000 5 × 10 250,000 2.5 × 10 300,000.2 3.000002 × 10

2. จากตารางในข้อ 1 ให้นักเรียนสังเกตจำ�นวนและรูปสัญกรณ์วิทยาศาสตร์ของจำ�นวนนั้น แล้วสรุปวิธีการเขียน


จำ�นวนที่มีค่ามาก ๆ ให้อยู่ในรูปสัญกรณ์วิทยาศาสตร์

ตัวอย่างคำ�ตอบ
การเขียนจำ�นวนที่มีค่ามาก ๆ ให้อยู่ในรูปสัญกรณ์วิทยาศาสตร์ ทำ�ได้โดยเลื่อนจุดทศนิยมไปทางซ้ายมือครั้งละ
หนึ่งตำ�แหน่งจนถึงตำ�แหน่งที่ทำ�ให้จำ�นวนนั้นมากกว่าหรือเท่ากับ 1 แต่น้อยกว่า 10 และจำ�นวนครัง้ ทีเ่ ลือ่ นจุดทศนิยม
ไปนั้นจะเท่ากับเลขชี้กำ�ลังของ 10

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
172 บทที่ 3 | เลขยกกำ�ลัง คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

ตอนที่ 2
1. ให้นักเรียนเขียนจำ�นวนที่กำ�หนด ให้อยู่ในรูปสัญกรณ์วิทยาศาสตร์

รูปสัญกรณ์ รูปสัญกรณ์ รูปสัญกรณ์


จำ�นวน จำ�นวน จำ�นวน
วิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์
-1 -1 -1
0.5 5 × 10 0.56 5.6 × 10 0.102 1.02 × 10
-2 -2 -2
0.05 5 × 10 0.056 5.6 × 10 0.0102 1.02 × 10
-3 -3 3
0.005 5 × 10 0.0056 5.6 × 10 0.00102 1.02 × 10-
-4 -4 -4
0.0005 5 × 10 0.00056 5.6 × 10 0.000102 1.02 × 10

2. จากตารางในข้อ 1 ให้นักเรียนสังเกตจำ�นวนและรูปสัญกรณ์วิทยาศาสตร์ของจำ�นวนนั้น แล้วสรุปวิธีการเขียน


จำ�นวนที่มีค่าน้อย ๆ ให้อยู่ในรูปสัญกรณ์วิทยาศาสตร์

ตัวอย่างคำ�ตอบ
การเขียนจำ�นวนที่มีค่าน้อย ๆ ให้อยู่ในรูปสัญกรณ์วิทยาศาสตร์ ทำ�ได้โดยเลื่อนจุดทศนิยมไปทางขวามือครั้งละ
หนึ่งตำ�แหน่งจนถึงตำ�แหน่งที่ทำ�ให้จำ�นวนนั้นมากกว่าหรือเท่ากับ 1 แต่น้อยกว่า 10 และจำ�นวนครั้งที่เลื่อนจุดทศนิยม
ไปนั้นจะเป็นเลขชี้กำ�ลังของ 10 แต่เป็นจำ�นวนลบ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 3 | เลขยกกำ�ลัง 173

กิจกรรมเสนอแนะเพิ่มเติม : จริงหรือไม่
กิจกรรมนี้ เป็นกิจกรรมที่นำ�เสนอไว้เพื่อเสริมสร้างและพัฒนาความรู้สึกเชิงจำ�นวน ในการหาคำ�ตอบนักเรียนไม่จำ�เป็น
ต้องใช้การคิดคำ�นวณ แต่ครูต้องให้ความสำ�คัญกับการแสดงแนวคิดและการให้เหตุผลของนักเรียน การหาคำ�ตอบอาจใช้
การถามตอบในชั้นเรียน เพราะการอธิบายเหตุผลด้วยการพูดของนักเรียนทำ�ได้ง่ายกว่าการเขียนอธิบาย โดยมีอุปกรณ์และ
ขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม ดังนี้

อุปกรณ์
ใบกิจกรรมเสนอแนะเพิ่มเติม : จริงหรือไม่

ขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม
1. ครูให้นักเรียนจับคู่ เพื่อช่วยกันคิดและตอบคำ�ถามลงในใบกิจกรรมเสนอแนะเพิ่มเติม : จริงหรือไม่
2. ครูให้นักเรียนช่วยกันอภิปรายคำ�ตอบและเหตุผลในแต่ละข้อ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
174 บทที่ 3 | เลขยกกำ�ลัง คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

ใบกิจกรรมเสนอแนะเพิ่มเติม : จริงหรือไม่

ตอนที่ 1
จงพิจารณาว่าประโยคต่อไปนี้เป็นจริงหรือเป็นเท็จ นักเรียนมีแนวคิดหรือมีเหตุผลในการพิจารณา
หาคำ�ตอบอย่างไรบ้าง
3 3
1. 4 < 5
ตอบ
5 3
2. 2 > 4
ตอบ

()
3
3. (0.5)3 > 1

2
ตอบ
4 5
4. 3 < 3
ตอบ
1 99
5. 99 = 1
ตอบ

ตอนที่ 2
ข้อสรุปของแต่ละข้อต่อไปนี้ถูกหรือผิด จงบอกแนวคิดในการพิจารณา
3 4
1. น้ำ� 1 ลิตร เท่ากับ 10 ลูกบาศก์เซนติเมตร ดังนั้น น้ำ� 10 ลิตร เท่ากับ 10 ลูกบาศก์เซนติเมตร
ตอบ

5 5 6
2. ระยะทาง 10 เซนติเมตร เท่ากับ 1 กิโลเมตร ดังนั้น ระยะทาง 10 × 10 เซนติเมตร เท่ากับ 10
กิโลเมตร
ตอบ

4
3. น้ำ� 0.0005 กรัม หนักเท่ากับน้ำ� 5 × 10 กรัม
ตอบ

4. ถ้าพรพรรณจัดลูกเต๋าขนาด 1 ลูกบาศก์เซนติเมตร ลงในกล่องพลาสติกได้ 1,200 ลูก แสดงว่ากล่องใบนี้


3
ต้องมีความจุมากกว่า 10 ลูกบาศก์เซนติเมตร
ตอบ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 3 | เลขยกกำ�ลัง 175

เฉลยใบกิจกรรมเสนอแนะเพิ่มเติม : จริงหรือไม่
ตอนที่ 1
3 3
1. 4 < 5
3 3
ตอบ เป็นจริง เพราะว่า 4 และ 5 มีเลขชี้กำ�ลังเป็น 3 เท่ากัน แต่ฐาน 4 น้อยกว่า 5
5 3
2. 2 > 4
3 5
ตอบ เป็นเท็จ เพราะว่า 4 คือ 4 คูณกัน 3 ตัว หรือ 2 คูณกัน 6 ตัว ซึ่งมากกว่า 2

()
3
3. (0.5) > 1
3

()
2 3
เป็นเท็จ เพราะว่า (0.5) และ 1
3
ตอบ – มีฐานและเลขชี้กำ�ลังเท่ากัน จึงต้องมีค่าเท่ากัน
4 5
2
4. 3 < 3
4 5
ตอบ เป็นจริง เพราะว่า 3 มีฐานเท่ากับ 3 แต่มีเลขชี้กำ�ลังน้อยกว่า
1 99
5. 99 = 1
1 99
ตอบ เป็นเท็จ เพราะว่า 99 เท่ากับ 99 แต่ 1 เท่ากับ 1

ตอนที่ 2
3 4
1. น้ำ� 1 ลิตร เท่ากับ 10 ลูกบาศก์เซนติเมตร ดังนั้น น้ำ� 10 ลิตร เท่ากับ 10 ลูกบาศก์เซนติเมตร
3
ตอบ ถูก เพราะว่า น้ำ� 1 ลิตร เท่ากับ 10 ลูกบาศก์เซนติเมตร
3 4
ดังนั้น น้ำ� 10 ลิตร จึงเท่ากับ 10 × 10 = 10 ลูกบาศก์เซนติเมตร
5 5 6
2. ระยะทาง 10 เซนติเมตร เท่ากับ 1 กิโลเมตร ดังนั้น ระยะทาง 10 × 10 เซนติเมตร เท่ากับ 10 กิโลเมตร
5
ตอบ ผิด เพราะว่า ระยะทาง 10 เซนติเมตร เท่ากับ 1 กิโลเมตร
5 6
ระยะทาง 10 × 10 เซนติเมตร จะเท่ากับ 10 เซนติเมตร
6 6
ดังนั้น 10 เซนติเมตร จึงน้อยกว่า 10 กิโลเมตร
4
3. น้ำ� 0.0005 กรัม หนักเท่ากับน้ำ� 5 × 10 กรัม
4
ตอบ ผิด เพราะว่า 0.0005 มีค่าน้อยกว่า 1 แต่ 5 × 10 มีค่ามากกว่า 1
4. ถ้าพรพรรณจัดลูกเต๋าขนาด 1 ลูกบาศก์เซนติเมตร ลงในกล่องพลาสติกได้ 1,200 ลูก แสดงว่ากล่องใบนี้ต้องมี
3
ความจุมากกว่า 10 ลูกบาศก์เซนติเมตร
ตอบ ถูก เพราะว่ากล่องนี้ต้องมีความจุอย่างน้อย 1,200 ลูกบาศก์เซนติเมตร
3
หรือ 1.2 × 10 ลูกบาศก์เซนติเมตร

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
176 บทที่ 3 | เลขยกกำ�ลัง คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

เฉลยแบบฝึกหัด
แบบฝึกหัด 3.3 ก
4 5 6
1. 1) 7 × 10 2) 2.1 × 10 3) 4.06 × 10
7 7 9
4) 5.67 × 10 5) 1.5006 × 10 6) 8 × 10
11 10 13
7) 4.9 × 10 8) 7.0101 × 10 9) 2.45 × 10
13
10) 1.9567 × 10

6
2. 1) โลกมีรัศมียาวประมาณ 6.38 × 10 เมตร
6
2) เส้นผ่านศูนย์กลางของดวงอาทิตย์ยาวประมาณ 1.4 × 10 กิโลเมตร
8
3) ดาวเสาร์มีเส้นผ่านศูนย์กลางยาวประมาณ 1.21 × 10 เมตร
9
และอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ประมาณ 1.43 × 10 กิโลเมตร
7
4) ดาวเคราะห์น้อยอีรอสอยู่ห่างจากโลกประมาณ 2.2 × 10 กิโลเมตร

3. 1) 400,000 2) 3,800,000 3) 1,450,000,000


4) 82,570 5) 50,060,000,000 6) 6,052,600,000,000

4. 1) ทะเลทรายแอนตาร์กติกามีพื้นที่ประมาณ 14,000,000 ตารางกิโลเมตร


2) แก๊สไฮโดรเจน 2 กรัม มีจำ�นวนโมเลกุลอยู่ประมาณ 602,380,000,000,000,000,000,000 โมเลกุล
3) เขื่อนศรีนครินทร์สามารถกักเก็บน้ำ�ได้มากที่สุดในประเทศไทยถึงประมาณ 17,700,000,000 ลูกบาศก์เมตร

5. 1) แนวคิด กาแล็กซีทางช้างเผือกมีเส้นผ่านศูนย์กลางยาวประมาณ 100,000 ปีแสง


12
ระยะ 1 ปีแสง มีค่าประมาณ 9.46 × 10 กิโลเมตร
ดังนั้น กาแล็กซีทางช้างเผือกมีเส้นผ่านศูนย์กลางยาวประมาณ
12 17
100,000 × 9.46 × 10 = 9.46 × 10 กิโลเมตร

9
2) แนวคิด ในปี ค.ศ. 2050 โลกจะมีประชากรประมาณ 9.7 × 10 คน
7
พื้นโลกส่วนที่อยู่อาศัยได้มีพื้นที่ประมาณ 15 × 10 ตารางกิโลเมตร
ดังนั้น ความหนาแน่นของประชากรโลกโดยเฉลี่ยต่อพื้นที่ 1 ตารางกิโลเมตร
9
ประมาณ 9.7 × 107 ≈ 6.5 × 10 คนต่อพื้นที่ 1 ตารางกิโลเมตร
1

15 × 10

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 3 | เลขยกกำ�ลัง 177

24
3) แนวคิด โลกมีมวลประมาณ 6 × 10 กิโลกรัม
22
ดวงจันทร์มีมวลประมาณ 7.35 × 10 กิโลกรัม
24 22
ดังนั้น โลกมีมวลมากกว่าดวงจันทร์ประมาณ (6 × 10 ) – (7.35 × 10 )
24
= 5.9265 × 10 กิโลกรัม

4) แนวคิด การผลิตเพื่อจำ�หน่ายในประเทศมีมูลค่าประมาณ 1.7 แสนล้านบาท


การผลิตเพื่อส่งออกต่างประเทศมีมูลค่าประมาณ 9.7 หมื่นล้านบาท
11 10
รวมมีการผลิตเครื่องสำ�อางมูลค่าประมาณ (1.7 × 10 ) + (9.7 × 10 )
11 11
= (1.7 × 10 ) + (0.97 × 10 )
11
= 2.67 × 10 บาท

แบบฝึกหัด 3.3 ข
-3 -4 -4
1. 1) 2 × 10 2) 1.3 × 10 3) 2.05 × 10
-6 -8 -7
4) 7.6 × 10 5) 8.19 × 10 6) 4.00465 × 10

-7
2. 1) คลื่นแสงสีแดงมีความยาวคลื่นประมาณ 6.4 × 10 เมตร
-7
2) คลื่นแสงสีเขียวมีความยาวคลื่นประมาณ 5.3 × 10 เมตร
-7
3) คลื่นแสงสีม่วงมีความยาวคลื่นประมาณ 4.5 × 10 เมตร

3. 1) 0.0005 2) 0.000009 3) 0.000012


4) 0.000000682 5) 0.000000054013 6) 0.0000000089

4. 1) แมลงชนิดหนึ่งยาวประมาณ 3 หรือ 0.03 เซนติเมตร


100
2) แบคทีเรียชนิดหนึ่งยาวประมาณ 3 หรือ 0.0003 เซนติเมตร
10,000
3) ไวรัสชนิดหนึ่งมีขนาดประมาณ 1.5 หรือ 0.00000015 เซนติเมตร
10,000,000
4) อะตอมของธาตุออกซิเจนมีรัศมีประมาณ 6.6 หรือ 0.000000000066 เมตร
100,000,000,000

5. แนวคิด ถ้าน้ำ�หนักตัวเท่ากับ 45 กิโลกรัม จะได้น้ำ�หนักสมองประมาณ 2 × 45 = 0.9 กิโลกรัม


100
-1
หรือ 9 × 10 กิโลกรัม

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
178 บทที่ 3 | เลขยกกำ�ลัง คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

6. แนวคิด จากสูตรพื้นที่วงกลมเท่ากับ πr2 ตารางหน่วย


-4 -4
จะได้ เส้นลวดมีพื้นที่หน้าตัด (3.5 × 10 ) × (3.5 × 10 ) × π ตารางเมตร
3
สายไฟยาว 5.8 × 10 เมตร
-4 -4 3
ปริมาตรของลวดเส้นนี้ประมาณ (3.5 × 10 ) × (3.5 × 10 ) × 3.14 × (5.8 × 10 )
-3
= 2.23097 × 10 ลูกบาศก์เมตร

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 3 | เลขยกกำ�ลัง 179

กิจกรรมท้ายบท : รหัสลับ ภาพปริศนา


กิจกรรมนี้ เป็นกิจกรรมที่เน้นให้นักเรียนได้ตรวจสอบความเข้าใจของตนเองในเรื่องเลขยกกำ�ลัง ในการไขรหัสลับและ
ระบายสีให้เกิดภาพปริศนา นักเรียนต้องใช้การให้เหตุผลและการคิดคำ�นวณเพือ
่ หาว่าตัวอักษรแต่ละตัวแทนด้วยจำ�นวนใด ทัง้ นี้
ครูอาจให้นักเรียนทำ�กิจกรรมนี้นอกเวลาเรียน โดยมีขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม ดังนี้

อุปกรณ์
-

ขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม
1. ครูให้นักเรียนแต่ละคนทำ� "กิจกรรมท้ายบท : รหัสลับ ภาพปริศนา" ในหนังสือเรียน
2. ครูให้นักเรียนช่วยกันเฉลยคำ�ตอบ พร้อมทั้งอธิบายวิธีคิดและการได้มาซึ่งคำ�ตอบ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
180 บทที่ 3 | เลขยกกำ�ลัง คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

เฉลยกิจกรรมท้ายบท : รหัสลับ ภาพปริศนา


J I G S A W
1 2 3 4 8 9

7 7 6 6 6 6 6 5 5 5 5 5 0 0 0 0 0 5 5 5 5 5 6 6 6 6 6 7 7
7 7 0 6 6 6 6 6 5 5 5 5 5 0 8 0 5 5 5 5 5 6 6 6 6 6 0 7 7
7 7 0 0 6 6 6 6 6 5 5 5 5 5 8 8 5 5 5 5 6 6 6 6 6 0 0 7 7
7 7 0 0 0 6 6 6 6 6 5 5 5 5 8 7 8 8 8 6 6 6 6 6 0 0 0 7 7
7 7 0 0 0 0 6 6 6 6 6 5 5 5 8 7 7 7 7 8 6 6 6 0 0 0 0 7 7
7 7 0 0 0 0 0 6 6 6 6 6 5 5 8 8 8 7 7 8 6 6 0 0 0 0 0 7 7
7 7 0 0 0 0 0 7 6 6 6 6 6 5 8 5 6 8 8 8 6 7 0 0 0 0 0 7 7
7 7 0 0 0 0 0 7 7 6 6 6 6 6 8 6 6 6 6 6 7 7 0 0 0 0 0 7 7
7 7 0 0 0 0 0 7 7 7 7 7 7 7 8 7 7 7 7 7 7 7 0 0 0 0 0 7 7
7 7 0 0 0 0 0 6 6 6 6 9 9 7 9 7 9 9 6 6 6 6 0 0 0 0 0 7 7
7 7 5 5 5 5 8 6 6 6 6 9 0 9 0 9 0 9 6 6 6 6 8 5 5 5 5 7 7
7 7 5 5 5 5 8 8 6 6 6 9 0 0 0 0 0 9 6 6 6 6 8 8 5 5 5 7 7
7 7 5 5 5 5 8 5 8 6 6 9 0 0 0 0 0 9 6 6 6 6 8 5 8 5 5 7 7
7 7 5 5 5 5 8 8 8 8 5 5 3 0 0 0 3 5 5 5 5 5 8 8 8 8 5 7 7
7 7 5 5 5 5 8 5 7 7 7 5 3 0 4 0 3 5 7 7 7 5 8 5 5 5 5 7 7
7 7 5 5 5 5 8 5 7 7 7 5 3 0 4 0 3 5 7 7 7 5 8 5 5 5 5 7 7
7 7 5 9 9 5 9 5 9 9 6 5 3 0 4 0 3 5 6 9 9 5 9 5 9 9 5 7 7
7 7 5 9 7 9 7 9 7 9 6 5 3 0 4 0 3 5 6 9 7 9 7 9 7 9 5 7 7
7 7 5 9 7 7 7 7 7 9 6 5 3 0 0 0 3 5 6 9 7 7 7 7 7 9 5 7 7
7 7 5 9 7 7 7 7 7 9 6 5 3 0 0 0 3 5 6 9 7 7 7 7 7 9 5 7 7
7 7 5 5 2 7 7 7 2 5 6 5 3 0 0 0 3 5 6 5 2 7 7 7 2 5 5 7 7
7 7 5 5 2 7 4 7 2 5 6 5 3 0 0 0 3 5 6 5 2 7 4 7 2 5 5 7 7
7 7 5 5 2 7 4 7 2 5 6 5 3 0 0 0 3 5 6 5 2 7 4 7 2 5 5 7 7
7 7 5 5 2 7 4 7 2 5 6 5 3 0 0 0 3 5 6 5 2 7 4 7 2 5 5 7 7
7 7 5 5 2 7 4 7 2 2 2 2 3 0 0 0 3 2 2 2 2 7 4 7 2 5 5 7 7
7 7 5 5 2 6 6 6 6 6 6 6 6 6 6 6 6 6 6 6 6 6 6 6 2 5 5 7 7
7 7 5 5 2 6 6 6 6 6 6 6 6 6 6 6 6 6 6 6 6 6 6 6 2 5 5 7 7
7 7 5 5 2 6 6 6 6 6 6 6 6 4 4 4 6 6 6 6 6 6 6 6 2 5 5 7 7
0 0 0 0 2 6 6 6 6 6 6 6 4 7 7 7 4 6 6 6 6 6 6 6 2 0 0 0 0
0 0 0 0 2 5 5 5 5 5 5 4 7 7 7 7 7 4 5 5 5 5 5 5 2 0 0 0 0
0 0 0 0 2 5 5 5 5 5 5 4 7 4 7 4 7 4 5 5 5 5 5 5 2 0 0 0 0
0 0 0 0 2 5 5 5 5 5 5 4 7 4 7 4 7 4 5 5 5 5 5 5 2 0 0 0 0
0 0 0 0 2 0 0 0 0 0 0 4 0 0 0 0 0 4 0 0 0 0 0 0 2 0 0 0 0
0 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 0
0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 3 | เลขยกกำ�ลัง 181

เฉลยแบบฝึกหัดท้ายบท
1. ในบางข้ออาจมีคำ�ตอบที่หลากหลาย แต่แนวคิดควรเป็นไปตามเนื้อหาที่นักเรียนได้เรียนผ่านมา
-5 3 0 3 3
1) 2 × 2 × 2 =   5 2   5 =   210  = 2
-7

32 2 ×2 2
10 -1 10 10
2) 11 × 115 =       11      = 11 = 112
121 × 11 112 × 115 × 111 118
4 -2 4 4
3) (-13)3 × 13 =        13      = 13 = 13-2
13 × 13 133 × 13 × 132 136
7 -1 3 7 2 7 2 7 9
4) (-1,000) ×3 10 × (-10) =    (-10)8 × 10    1 = (-10) × 10 = 10 × 10 = 108 = 10
1

(-10) × (-10)5 (-10) × (-10) (-10)8 108 10
-5 3 3
5) (0.008) × (0.2) =      (0.2)      = (0.2) =    1    = (0.2)-4
(-0.2)2 (0.2)2 × (0.2)5 (0.2)7 (0.2)4
1
()
– × (0.04) × 5 1 4 2 × 52
() ( )
3 3

() ( ) ( ) ()
2 2
– × —– 2 2 2 2
2 2 100 1 4 2 1 4 1
6) = 1 = – × —– × 5 = – × —– × 5 = —
0.5 – 2 100 2 100 10
2
-7 10 10 10
7) a 3 × a5 =       a       = a = a-5 เมื่อ a ≠ 0
a ×a a7 × a3 × a5 a15
3n 5n 8n
8) 6 n × 62n = 63n = 6 เมื่อ n เป็นจำ�นวนเต็มบวก
5n

6 ×6 6

6
2. 1) (2 × 10 ) ÷ (4 × 10 ) = 2 × 103 = 0.5 × 10 = 5 × 10
6 3 3 2

4 × 10
-7
2) (2.84 × 10 ) ÷ (4 × 10 ) = 2.84 × 105 =    0.71   = 0.71 = 7.1 × 10 × 10 = 7.1 × 10
-7 5 -1 -12 -13

4 × 10 107 ×105 1012

3) (2.4 × 103) × (8 × 10-5) = 2.4 × 8 × 103 = 6.4 × 103 = 6.4 × 10-9


3 × 107 3 × 107 × 105 1012
-11 -1
4) 0.000000000081 ÷ 900 = 8.1 × 102 =      0.9     
11 =
9 × 10 = 9 × 10-14
9 × 10 10 × 10
2
1013

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
182 บทที่ 3 | เลขยกกำ�ลัง คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

3. ในบางข้ออาจมีคำ�ตอบที่หลากหลาย แต่แนวคิดควรเป็นไปตามเนื้อหาที่นักเรียนได้เรียนผ่านมา
8 7 7
1) 256 × 128 = 25 × 28 = 25 = 2 = 4
2

25 28 2 2 2
-3
2) (15 × 3 ) ÷ (5 × 3 ) = 15 × 32 =    2 3   3 = 3
-3 2 -4

5×3 3 ×3
2 2
3) (-1.8 × 5 ) ÷ (6 × 15) = -1.8 × 5 =  -1.8 × 5 = -0.1 × 5 = -0.5
2

6 × 15 6×3×5
-2n 5n 5n  
× 7 ) ÷ (7 × 7 ) = 7 3n × 7n =        7      = 7-n เมื่อ n เป็นจำ�นวนเต็มบวก
-2n 5n 3n n
4) (7
7 ×7 7 × 7 × 7n
2n 3n

5
5)  8a3 b 4 = 4a b เมื่อ a ≠ 0 และ b ≠ 0
2 -3

2a b
6 7 2
6) 26a b3 c3 = 13a b c เมื่อ a ≠ 0, b ≠ 0 และ c ≠ 0
5 4 -1

2ab c

8 8 4 4 2 2 1
4. แนวคิด จาก 256 = 2 , (-2) , 4 , (-4) , 16 , (-16) และ 256
y
และจาก x = 256 เมื่อ x เป็นจำ�นวนเต็มบวก จะได้ว่า x คือ 2, 4, 16 และ 256

5. แนวคิด จำ�นวนจุดทั้งหมดบนรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสมีความสัมพันธ์กับจำ�นวนจุดของแต่ละด้าน ดังตารางต่อไปนี้

จำ�นวนจุดของแต่ละด้าน 2 3 4 5 ... n
จำ�นวนจุดทั้งหมดบนรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส 4 9 16 25 ... n2

ดังนั้น แต่ละด้านของรูปสี่เหลี่ยมรูปที่ 20 แสดงด้วยจุด 20 จุด และรูปที่ 20 นั้นประกอบด้วยจุดทั้งหมด


400 จุด

6. แนวคิด ทุก 1,600 ปี ธาตุเรเดียมจะสลายตัวเหลือครึ่งหนึ่งของปริมาณเดิม ดังตารางต่อไปนี้

ปริมาณธาตุเรเดียมที่เหลือ 640 320 160 ... 0.625

() () () ()
0 1 2
1 1 1 ... 1 10
(กรัม) 2 × 640 2 × 640 2 × 640 2 × 640

0 1,600 3,200 ... 16,000


เวลาที่ใช้ในการสลายตัว (ปี)
0 × 1,600 1 × 1,600 2 × 1,600 ... 10 × 1,600

ดังนั้น เมื่อเวลาผ่านไป 16,000 ปี ธาตุเรเดียม-226 640 กรัม จะสลายตัวเหลือ 0.625 กรัม

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 3 | เลขยกกำ�ลัง 183

7. แนวคิด องค์การสหประชาชาติได้ประมาณจำ�นวนประชากรว่ามีประชากรร้อยละ 40 อาศัยอยู่นอกทวีปเอเชีย


แสดงว่า มีประชากรร้อยละ 60 อาศัยอยู่ในทวีปเอเชีย
เนื่องจากประชากรโลกมีทั้งสิ้นประมาณ 7,350 ล้านคน จะได้ว่า มีประชากรอาศัยอยู่ใน

60 × 7,350 × 106 = 4.41 × 109 คน หรือ 4,410 ล้านคน


ทวีปเอเชียประมาณ —–
100

( )
2
8. แนวคิด โลกมีพื้นที่ผิวประมาณ 4 × 3.14 × 12,800 ≈ 5.14 × 10 ตารางกิโลเมตร
8

2
เนื่องจากโลกมีพื้นที่ผิวปกคลุมด้วยน้ำ�ประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์
จะได้ว่า โลกมีพื้นที่ผิวส่วนที่เหลือประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์
30 8 8
ดังนั้น โลกมีพื้นที่ผิวส่วนที่เหลือประมาณ —– × 5.14 × 10 = 1.542 × 10 ตารางกิโลเมตร
100

3 6
9. แนวคิด อัตราเร็วของเสียงประมาณ 1.2 × 10 กิโลเมตรต่อชั่วโมง คิดเป็น 1.2 × 10 เมตรต่อชั่วโมง
เนื่องจาก 1 ชั่วโมง เท่ากับ 3,600 วินาที
6
ดังนั้น ในเวลา 3,600 วินาที เสียงเดินทางได้ 1.2 × 10 เมตร
6
ถ้าเวลา 1 วินาที เสียงเดินทางได้ 1.2 × 10 ≈ 333 เมตร
3,600
นั่นคือ เสียงเดินทางไปกระทบหน้าผาแล้วสะท้อนกลับมายังติ๊กเป็นระยะทาง 333 เมตร

ดังนั้น ติ๊กยืนอยู่ห่างจากหน้าผาประมาณ 333 = 166.5 เมตร


2

9
10. แนวคิด ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน มีประชากรอาศัยอยู่ประมาณ 1.38 × 10 คน
7
ประเทศไทยมีประชากรอาศัยอยู่ประมาณ 6.53 × 10 คน
ดังนั้น ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนมีประชากรมากกว่าประเทศไทยประมาณ
9 7 9 9
(1.38 × 10 ) – (6.53 × 10 ) = (1.38 × 10 ) – (0.0653 × 10 )
9
= (1.38 – 0.0653) × 10
9
= 1.3147 × 10 คน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
184 บทที่ 3 | เลขยกกำ�ลัง คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

ตัวอย่างแบบทดสอบท้ายบท
1. ในการเข้าค่ายลูกเสือของโรงเรียนแห่งหนึ่ง ครูให้นักเรียนทำ�กิจกรรมผูกเชือกสร้างตาข่าย โดยมีอุปกรณ์เป็นเชือกที่มี
ลักษณะเป็นห่วงและมีปลายเชือก 2 เส้น ซึ่งในครั้งแรก นักเรียน 2 คน ต้องนำ�ห่วงของตัวเองไปผูกกับปลายเชือกของครู
คนละเส้น และในครั้งที่ 2 นักเรียน 4 คนถัดไป ต้องนำ�ห่วงของตัวเองไปผูกต่อกับปลายเชือกของเพื่อนนักเรียนคนที่ 1
และคนที่ 2 เช่นเดียวกับครั้งที่ 1 หากในการเข้าค่ายครั้งนี้มีนักเรียนทั้งหมด 250 คน ต้องผูกเชือกถึงครั้งที่เท่าไร
จึงจะผูกเชือกครบทุกคน (3 คะแนน)

ครู

ครั้งที่ 1 นักเรียน 1 นักเรียน 2

ครั้งที่ 2

-3 10
2. จงเขียน    2 × (-5)
4
    ให้อยู่ในรูปเลขยกกำ�ลังที่มีเลขชี้กำ�ลังมากกว่า 1
0 (3 คะแนน)
50 × (-2) × 15

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 3 | เลขยกกำ�ลัง 185

3. ดาววีกา (Vega) เป็นหนึง่ ในสิบของอันดับดาวฤกษ์ทส


ี่ ว่างทีส
่ ด
ุ และอยูใ่ กล้โลกทีส
่ ด
ุ สามารถมองเห็นได้ดว้ ยตาเปล่าในเวลา
กลางคืน ถ้าดาววีกาอยู่ห่างจากโลกประมาณ 378.4 ล้านล้านกิโลเมตร ดาววีกาจะอยู่ห่างจากโลกประมาณกี่ปีแสง
12
(กำ�หนดให้ 1 ปีแสงเท่ากับ 9.46 × 10 กิโลเมตร) (3 คะแนน)

4. จงพิจารณาว่า ประโยคต่อไปนี้เป็นจริงหรือเป็นเท็จ (4 คะแนน)


8
1) 470,050,000 = 4.7005 × 10
3
2) 9,998.09 = 9.99809 × 10
6 -3
3) 0.005 × 10 = 5 × 10
9
4) ในการลงทุนสร้างห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่งต้องใช้เงินประมาณ 2 × 10 บาท
หรือกล่าวได้ว่าใช้เงินในการสร้างมากถึง 2 ร้อยล้านบาท

3
5. จงเขียน 4,000 ให้อยู่ในรูปสัญกรณ์วิทยาศาสตร์ (3 คะแนน)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
186 บทที่ 3 | เลขยกกำ�ลัง คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

3
6. ถ้ายานอวกาศลำ�หนึ่งเดินทางจากโลกไปยังดาวดวงหนึ่งด้วยอัตราเร็วเฉลี่ยประมาณ 729 × 10 กิโลเมตรต่อวัน โดยใช้
2
เวลา 9 × 10 วัน จงหาว่ายานอวกาศลำ�นี้น่าจะเดินทางไปยังดาวดวงใด และดาวดวงนั้นอยู่ห่างจากโลกประมาณ
กี่กิโลเมตร (ตอบในรูปสัญกรณ์วิทยาศาสตร์) (3 คะแนน)

ดาว ดาว ดาว ดาว ดาว ดาว ดาว


ดาว โลก
พุธ ศุกร์ อังคาร พฤหัสบดี เสาร์ ยูเรนัส เนปจูน
ระยะห่างจาก
ดวงอาทิตย์เฉลี่ย 57.9 108.2 149.6 227.9 778.3 1,427 2,871 4,497
6
(× 10 กม.)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 3 | เลขยกกำ�ลัง 187

เฉลยตัวอย่างแบบทดสอบท้ายบท
1. ในการเข้าค่ายลูกเสือของโรงเรียนแห่งหนึ่ง ครูให้นักเรียนทำ�กิจกรรมผูกเชือกสร้างตาข่าย โดยอุปกรณ์เป็นเชือกที่มี
ลักษณะเป็นห่วงและมีปลายเชือก 2 เส้น ซึ่งในครั้งแรก นักเรียน 2 คน ต้องนำ�ห่วงของตัวเองไปผูกกับปลายเชือกของครู
คนละเส้น และในครั้งที่ 2 นักเรียน 4 คนถัดไป ต้องนำ�ห่วงของตัวเองไปผูกต่อกับปลายเชือกของเพื่อนนักเรียนคนที่ 1
และคนที่ 2 เช่นเดียวกับครั้งที่ 1 หากในการเข้าค่ายครั้งนี้มีนักเรียนทั้งหมด 250 คน ต้องผูกเชือกถึงครั้งที่เท่าไร
จึงจะผูกเชือกครบทุกคน (3 คะแนน)

ครู

ครั้งที่ 1 นักเรียน 1 นักเรียน 2

ครั้งที่ 2

1
ครั้งที่ 1 นักเรียนได้ผูกเชือก 2 = 2 คน
2
ครั้งที่ 2 นักเรียนได้ผูกเชือกเพิ่ม 2 = 4 คน รวมนักเรียนได้ผูกเชือกต่อกัน 2 + 4 = 6 คน
3
ครั้งที่ 3 นักเรียนได้ผูกเชือกเพิ่ม 2 = 8 คน รวมนักเรียนได้ผูกเชือกต่อกัน 6 + 8 = 14 คน
4
ครั้งที่ 4 นักเรียนได้ผูกเชือกเพิ่ม 2 = 16 คน รวมนักเรียนได้ผูกเชือกต่อกัน 14 + 16 = 30 คน
5
ครั้งที่ 5 นักเรียนได้ผูกเชือกเพิ่ม 2 = 32 คน รวมนักเรียนได้ผูกเชือกต่อกัน 30 + 32 = 62 คน
6
ครั้งที่ 6 นักเรียนได้ผูกเชือกเพิ่ม 2 = 64 คน รวมนักเรียนได้ผูกเชือกต่อกัน 62 + 64 = 126 คน
7
ครั้งที่ 7 นักเรียนได้ผูกเชือกเพิ่ม 2 = 128 คน รวมนักเรียนได้ผูกเชือกต่อกัน 126 + 128 = 254 คน
เนื่องจากมีนักเรียนเข้าค่ายทั้งหมด 250 คน
ดังนั้น ในการผูกเชือกต่อกันครั้งที่ 7 นักเรียนทุกคนจะได้ผูกเชือกต่อกันครบทุกคน
ตอบ ในการเข้าค่ายครั้งนี้มีนักเรียนทั้งหมด 250 คน ต้องผูกเชือกถึงครั้งที่ 7 จึงจะผูกเชือกครบทุกคน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
188 บทที่ 3 | เลขยกกำ�ลัง คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

ความสอดคล้องกับจุดประสงค์ของบทเรียน
ข้อ 1 นักเรียนสามารถเขียนจำ�นวนที่กำ�หนด ให้อยู่ในรูปเลขยกกำ�ลังที่มีเลขชี้กำ�ลังเป็นจำ�นวนเต็มบวก และ
หาค่าของเลขยกกำ�ลังที่มีเลขชี้กำ�ลังเป็นจำ�นวนเต็มบวก
เกณฑ์การให้คะแนน คะแนนเต็ม 3 คะแนน โดยมีเกณฑ์การให้คะแนน ดังนี้
✤ เขียนแสดงวิธีทำ�สมบูรณ์และหาคำ�ตอบได้ถูกต้อง ได้ 3 คะแนน
✤ เขียนแสดงวิธีทำ�ไม่สมบูรณ์ แต่ได้คำ�ตอบถูกต้อง
หรือเขียนแสดงวิธีทำ�สมบูรณ์ แต่หาคำ�ตอบไม่ถูกต้อง ได้ 2 คะแนน
✤ ไม่เขียนแสดงวิธีทำ� แต่ได้คำ�ตอบถูกต้อง ได้ 1 คะแนน
✤ ไม่เขียนแสดงวิธีทำ� หรือได้คำ�ตอบไม่ถูกต้อง หรือไม่ตอบ ได้ 0 คะแนน

2. จงเขียน    2 × (-5)     ให้อยู่ในรูปเลขยกกำ�ลังที่มีเลขชี้กำ�ลังมากกว่า 1


-3 10
(3 คะแนน)
50 × (-2) × 150
4

-3 10 -3 10
2 × (-5) = 2 ×5
50 × (-2) × 15 5 × 2 × 24 × 1
4 0 2

8
= 3 5 5
2 ×2
8




= 58

2

= 5 × 5 × 5 × 5 × 5 × 5 × 5 × 5
2 2 2 2 2 2 2 2

()
8
= 5
2

ความสอดคล้องกับจุดประสงค์ของบทเรียน
ข้อ 2 นักเรียนสามารถหาผลคูณและผลหารของเลขยกกำ�ลังเมื่อเลขชี้กำ�ลังเป็นจำ�นวนเต็มบวก และนำ�สมบัติ
ของเลขยกกำ�ลังไปใช้ในการคำ�นวณ
เกณฑ์การให้คะแนน คะแนนเต็ม 3 คะแนน โดยมีเกณฑ์การให้คะแนน ดังนี้
✤ เขียนแสดงวิธีทำ�สมบูรณ์และหาคำ�ตอบได้ถูกต้อง ได้ 3 คะแนน
✤ เขียนแสดงวิธีทำ�ไม่สมบูรณ์ แต่ได้คำ�ตอบถูกต้อง
หรือเขียนแสดงวิธีทำ�สมบูรณ์ แต่หาคำ�ตอบไม่ถูกต้อง ได้ 2 คะแนน
✤ ไม่เขียนแสดงวิธีทำ� แต่ได้คำ�ตอบถูกต้อง ได้ 1 คะแนน
✤ ไม่เขียนแสดงวิธีทำ� หรือได้คำ�ตอบไม่ถูกต้อง หรือไม่ตอบ ได้ 0 คะแนน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 3 | เลขยกกำ�ลัง 189

3. ดาววีกา (Vega) เป็นหนึง่ ในสิบของอันดับดาวฤกษ์ทส


ี่ ว่างทีส
่ ด
ุ และอยูใ่ กล้โลกทีส
่ ด
ุ สามารถมองเห็นได้ดว้ ยตาเปล่าในเวลา
กลางคืน ถ้าดาววีกาอยู่ห่างจากโลกประมาณ 378.4 ล้านล้านกิโลเมตร ดาววีกาจะอยู่ห่างจากโลกประมาณกี่ปีแสง
12
(กำ�หนดให้ 1 ปีแสงเท่ากับ 9.46 × 10 กิโลเมตร) (3 คะแนน)

12
ระยะทาง 9.46 × 10 กิโลเมตร คิดเป็น 1 ปีแสง
12
ระยะทางประมาณ 378.4 × 1012 กิโลเมตร คิดเป็นประมาณ 378.4 × 1012 = 40 ปีแสง
9.46 × 10
นั่นคือ ดาววีกาจะอยู่ห่างจากโลกประมาณ 40 ปีแสง

ตอบ ประมาณ 40 ปีแสง

สอดคล้องกับจุดประสงค์
ข้อ 2 นักเรียนสามารถหาผลคูณและผลหารของเลขยกกำ�ลังเมื่อเลขชี้กำ�ลังเป็นจำ�นวนเต็มบวก และนำ�สมบัติ
ของเลขยกกำ�ลังไปใช้ในการคำ�นวณ
เกณฑ์การให้คะแนน คะแนนเต็ม 3 คะแนน โดยมีเกณฑ์การให้คะแนน ดังนี้
✤ เขียนแสดงวิธีทำ�สมบูรณ์และหาคำ�ตอบได้ถูกต้อง ได้ 3 คะแนน
✤ เขียนแสดงวิธีทำ�ไม่สมบูรณ์ แต่ได้คำ�ตอบถูกต้อง
หรือเขียนแสดงวิธีทำ�สมบูรณ์ แต่หาคำ�ตอบไม่ถูกต้อง ได้ 2 คะแนน
✤ ไม่เขียนแสดงวิธีทำ� แต่ได้คำ�ตอบถูกต้อง ได้ 1 คะแนน
✤ ไม่เขียนแสดงวิธีทำ� หรือได้คำ�ตอบไม่ถูกต้อง หรือไม่ตอบ ได้ 0 คะแนน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
190 บทที่ 3 | เลขยกกำ�ลัง คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

4. จงพิจารณาว่า ประโยคต่อไปนี้เป็นจริงหรือเป็นเท็จ (4 คะแนน)


8
1) 470,050,000 = 4.7005 × 10 เป็นจริง
3
2) 9,998.09 = 9.99809 × 10 เป็นจริง
6 -3
3) 0.005 × 10 = 5 × 10 เป็นเท็จ
9
4) ในการลงทุนสร้างห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่งต้องใช้เงินประมาณ 2 × 10 บาท เป็นจริง
หรือกล่าวได้ว่าใช้เงินในการสร้างมากถึง 2 ร้อยล้านบาท

ความสอดคล้องกับจุดประสงค์ของบทเรียน
ข้อ 3 นักเรียนสามารถเขียนจำ�นวนที่มีค่ามาก ๆ ให้อยู่ในรูปสัญกรณ์วิทยาศาสตร์ และหาค่าของจำ�นวนที่อยู่ใน
รูปสัญกรณ์วิทยาศาสตร์
เกณฑ์การให้คะแนน คะแนนเต็ม 4 คะแนน ข้อละ 1 คะแนน
ตอบถูกต้อง ได้ 1 คะแนน ตอบไม่ถูกต้องหรือไม่ตอบ ได้ 0 คะแนน

3
5. จงเขียน 4,000 ให้อยู่ในรูปสัญกรณ์วิทยาศาสตร์ (3 คะแนน)
3
4,000 = 4,000 × 4,000 × 4,000
3 3 3
= 4 × 10 × 4 × 10 × 4 × 10
9
= 64 × 10
9
= (6.4 × 10) × 10
10
= 6.4 × 10

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 3 | เลขยกกำ�ลัง 191

ความสอดคล้องกับจุดประสงค์ของบทเรียน
ข้อ 2 นักเรียนสามารถหาผลคูณและผลหารของเลขยกกำ�ลังเมื่อเลขชี้กำ�ลังเป็นจำ�นวนเต็มบวก และนำ�สมบัติ
ของเลขยกกำ�ลังไปใช้ในการคำ�นวณ
ข้อ 3 นักเรียนสามารถเขียนจำ�นวนที่มีค่ามาก ๆ ให้อยู่ในรูปสัญกรณ์วิทยาศาสตร์ และหาค่าของจำ�นวนที่อยู่ใน
รูปสัญกรณ์วิทยาศาสตร์
เกณฑ์การให้คะแนน คะแนนเต็ม 3 คะแนน โดยมีเกณฑ์การให้คะแนน ดังนี้
✤ เขียนแสดงวิธีทำ�สมบูรณ์และหาคำ�ตอบได้ถูกต้อง ได้ 3 คะแนน
✤ เขียนแสดงวิธีทำ�ไม่สมบูรณ์ แต่ได้คำ�ตอบถูกต้อง
หรือเขียนแสดงวิธีทำ�สมบูรณ์ แต่หาคำ�ตอบไม่ถูกต้อง ได้ 2 คะแนน
✤ ไม่เขียนแสดงวิธีทำ� แต่ได้คำ�ตอบถูกต้อง ได้ 1 คะแนน
✤ ไม่เขียนแสดงวิธีทำ� หรือได้คำ�ตอบไม่ถูกต้อง หรือไม่ตอบ ได้ 0 คะแนน

6. ถ้ายานอวกาศลำ�หนึ่งเดินทางจากโลกไปยังดาวดวงหนึ่งด้วยอัตราเร็วเฉลี่ยประมาณ 729 × 103 กิโลเมตรต่อวัน โดยใช้


เวลา 9 × 102 วัน จงหาว่ายานอวกาศลำ�นี้น่าจะเดินทางไปยังดาวดวงใด และดาวดวงนั้นอยู่ห่างจากโลกประมาณ
กี่กิโลเมตร (ตอบในรูปสัญกรณ์วิทยาศาสตร์) (3 คะแนน)

ดาว ดาว ดาว ดาว ดาว ดาว ดาว


ดาว โลก
พุธ ศุกร์ อังคาร พฤหัสบดี เสาร์ ยูเรนัส เนปจูน
ระยะห่างจาก
ดวงอาทิตย์เฉลี่ย 57.9 108.2 149.6 227.9 778.3 1,427 2,871 4,497
6
(× 10 กม.)

3
ยานอวกาศเดินทางด้วยอัตราเร็วเฉลี่ยประมาณ 729 × 10 กิโลเมตรต่อวัน
2
ยานอวกาศใช้เวลาเดินทางไปยังดาวดวงหนึ่ง 9 × 10 วัน
3 2
ดังนั้น ยานอวกาศจะเดินทางได้ประมาณ 729 × 10 × 9 × 10
5
= 6,561 × 10 กิโลเมตร
8
หรือ 6.561 × 10 กิโลเมตร
6 6
จากตาราง ดาวพฤหัสบดีอยู่ห่างจากโลกประมาณ (778.3 × 10 ) – (149.6 × 10 )
6
= 628.7 × 10 กิโลเมตร
8
หรือ 6.287 × 10 กิโลเมตร
8
ดังนั้น ยานอวกาศลำ�นี้น่าจะเดินทางไปยังดาวพฤหัสบดี ซึ่งอยู่ห่างจากโลกโดยเฉลี่ย ประมาณ 6.287 × 10 กิโลเมตร
8
ตอบ ยานอวกาศลำ�นี้น่าจะเดินทางไปยังดาวพฤหัสบดี ซึ่งอยู่ห่างจากโลกโดยเฉลี่ย ประมาณ 6.287 × 10 กิโลเมตร
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
192 บทที่ 3 | เลขยกกำ�ลัง คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

ความสอดคล้องกับจุดประสงค์ของบทเรียน
ข้อ 2 นักเรียนสามารถหาผลคูณและผลหารของเลขยกกำ�ลังเมื่อเลขชี้กำ�ลังเป็นจำ�นวนเต็มบวก และนำ�สมบัติของ
เลขยกกำ�ลังไปใช้ในการคำ�นวณ
ข้อ 3 นักเรียนสามารถเขียนจำ�นวนที่มีค่ามาก ๆ ให้อยู่ในรูปสัญกรณ์วิทยาศาสตร์ และหาค่าของจำ�นวนที่อยู่ในรูป
สัญกรณ์วิทยาศาสตร์
เกณฑ์การให้คะแนน คะแนนเต็ม 3 คะแนน โดยมีเกณฑ์การให้คะแนน ดังนี้
✤ เขียนแสดงวิธีทำ�สมบูรณ์และหาคำ�ตอบได้ถูกต้อง ได้ 3 คะแนน
✤ เขียนแสดงวิธีทำ�ไม่สมบูรณ์ แต่ได้คำ�ตอบถูกต้อง
หรือเขียนแสดงวิธีทำ�สมบูรณ์ แต่หาคำ�ตอบไม่ถูกต้อง ได้ 2 คะแนน
✤ ไม่เขียนแสดงวิธีทำ� แต่ได้คำ�ตอบถูกต้อง ได้ 1 คะแนน
✤ ไม่เขียนแสดงวิธีทำ� หรือได้คำ�ตอบไม่ถูกต้อง หรือไม่ตอบ ได้ 0 คะแนน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 4 | ทศนิยมและเศษส่วน 193

4
บทที่ ทศนิยมและเศษส่วน
บททศนิยมและเศษส่วนประกอบด้วยหัวข้อย่อย ดังต่อไปนี้

4.1 ทศนิยมและการเปรียบเทียบทศนิยม 2 ชั่วโมง


4.2 การบวกและการลบทศนิยม 2 ชั่วโมง
4.3 การคูณและการหารทศนิยม 2 ชั่วโมง
4.4 เศษส่วนและการเปรียบเทียบเศษส่วน 2 ชั่วโมง
4.5 การบวกและการลบเศษส่วน 3 ชั่วโมง
4.6 การคูณและการหารเศษส่วน 3 ชั่วโมง
4.7 ความสัมพันธ์ระหว่างทศนิยมและเศษส่วน 3 ชั่วโมง

สาระและมาตรฐานการเรียนรู้
สาระ จำ�นวนและพีชคณิต
มาตรฐาน ค 1.1 เข้าใจความหลากหลายของการแสดงจำ�นวน ระบบจำ�นวน การดำ�เนินการของจำ�นวน ผลทีเ่ กิดขึน

จากการดำ�เนินการ สมบัติของการดำ�เนินการ และนำ�ไปใช้

ตัวชี้วัด
เข้าใจจำ�นวนตรรกยะและความสัมพันธ์ของจำ�นวนตรรกยะ และใช้สมบัตข
ิ องจำ�นวนตรรกยะในการแก้ปญ
ั หาคณิตศาสตร์
และปัญหาในชีวิตจริง

จุดประสงค์ของบทเรียน
นักเรียนสามารถ
1. เปรียบเทียบทศนิยม หาผลบวก ผลลบ ผลคูณ และผลหาร ของทศนิยม
2. เปรียบเทียบเศษส่วน หาผลบวก ผลลบ ผลคูณ และผลหาร ของเศษส่วน
3. นำ�ความรู้เกี่ยวกับทศนิยมและเศษส่วนไปใช้ในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ และปัญหาในชีวิตจริง

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
194 บทที่ 4 | ทศนิยมและเศษส่วน คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

ความเชื่อมโยงระหว่างตัวชี้วัดกับจุดประสงค์ของบทเรียน
เนื่ อ งจากตั ว ชี้ วั ด กล่ า วถึ ง การเข้ า ใจจำ � นวนตรรกยะและความสั ม พั น ธ์ ข องจำ � นวนตรรกยะ และการใช้ ส มบั ติ ข อง
จำ�นวนตรรกยะในการแก้ปญ
ั หา และเนือ
้ หาในระดับนี้ เป็นการเรียนรูพ
้ น
ื้ ฐานเกีย่ วกับจำ�นวนในเรือ
่ งทศนิยมและเศษส่วน ซึง่ เป็น
ส่วนหนึง่ ของจำ�นวนตรรกยะ ดังนั้น เพื่อให้การเรียนรู้ของนักเรียนสอดคล้องกับตัวชี้วัด ครูควรจัดประสบการณ์ให้นักเรียน
สามารถ
1. เข้ า ใจเกี่ ย วกั บ จำ � นวนตรรกยะที่ อ ยู่ ใ นรู ป ของทศนิ ย มและเศษส่ ว น ซึ่ ง สะท้ อ นได้ จ ากการที่ นั ก เรี ย นสามารถ
เปรียบเทียบทศนิยมและเศษส่วนได้
2. เข้าใจความสัมพันธ์ของจำ�นวนตรรกยะทีอ่ ยูใ่ นรูปของทศนิยมและเศษส่วน ซึง่ สะท้อนได้จากการทีน
่ กั เรียนสามารถ
หาผลบวก ผลลบ ผลคูณ และผลหาร ของทศนิยมและเศษส่วน รวมทัง้ เขียนทศนิยมในรูปเศษส่วนและเขียนเศษส่วน
ในรูปของทศนิยมได้
3. เข้าใจและใช้สมบัติของจำ�นวนตรรกยะในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์และปัญหาในชีวิตจริง ซึ่งสะท้อนได้จาก
การทีน
่ ก
ั เรียนสามารถนำ�ความรู้ และสมบัตข
ิ องทศนิยมและเศษส่วนไปใช้ในการแก้ปญ
ั หาคณิตศาสตร์และปัญหา
ในชีวิตจริง

ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

หัวข้อ
ทักษะและกระบวนการ 4.1 4.2 4.3
ทางคณิตศาสตร์ ทศนิยมและ การบวกและ การคูณและ
การเปรียบเทียบ การลบทศนิยม การหารทศนิยม
ทศนิยม
การแก้ปัญหา

การสื่อสารและการสื่อความหมาย
ทางคณิตศาสตร์

การเชื่อมโยง

การให้เหตุผล

การคิดสร้างสรรค์

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 4 | ทศนิยมและเศษส่วน 195

ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

หัวข้อ
4.4 4.5 4.6 4.7
ทักษะและกระบวนการ เศษส่วนและ การบวกและ การคูณและ ความสัมพันธ์
ทางคณิตศาสตร์ การเปรียบเทียบ การลบ การหาร ระหว่าง
เศษส่วน เศษส่วน เศษส่วน ทศนิยมและ
เศษส่วน
การแก้ปัญหา

การสื่อสารและการสื่อความหมาย
ทางคณิตศาสตร์

การเชื่อมโยง

การให้เหตุผล

การคิดสร้างสรรค์

หมายเหตุ ในบททศนิยมและเศษส่วนนี้ เนื่องจากเนื้อหาส่วนใหญ่เน้นความรู้เชิงขั้นตอนหรือวิธีการ (procedural knowledge) ที่นักเรียนจะใช้เป็น


เครื่องมือในการทำ�งานคณิตศาสตร์ (do math) และในการเรียนเนื้อหาอื่น ๆ ในระดับที่สูงขึ้น จึงไม่ได้ส่งเสริมให้เกิดทักษะและกระบวนการ
ทางคณิตศาสตร์โดยตรง อย่างไรก็ตาม ครูสามารถเพิ่มเติมเนื้อหาและกิจกรรมที่จะพัฒนาทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ได้ตาม
ความเหมาะสม

ความรู้พื้นฐานที่นักเรียนต้องมี
2+2=4

ครูอาจทบทวนความรู้พื้นฐานที่นักเรียนต้องมีก่อนเรียน ดังนี้
1. ค่าประจำ�หลัก การเปรียบเทียบ การบวก การลบ การคูณ และการหารทศนิยมที่เป็นจำ�นวนบวก
2. การเปรียบเทียบ การบวก การลบ การคูณ และการหารเศษส่วนที่เป็นจำ�นวนบวก
3. สมบัติของจำ�นวนเต็ม

ความคิดรวบยอดของบทเรียน
ทศนิยมและเศษส่วนต่างก็เป็นจำ�นวน จึงสามารถนำ�มาเปรียบเทียบ และดำ�เนินการได้เช่นเดียวกับจำ�นวนเต็ม การใช้
สมบัติการบวกและสมบัติการคูณของจำ�นวน จะช่วยให้การคำ�นวณและการแก้ปัญหาเกี่ยวกับทศนิยมและเศษส่วนทำ�ได้รวดเร็ว
กว่าการใช้เส้นจำ�นวน และการคำ�นวณแบบตรงไปตรงมา

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
196 บทที่ 4 | ทศนิยมและเศษส่วน คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

4.1 ทศนิยมและการเปรียบเทียบทศนิยม (2 ชั่วโมง)


จุดประสงค์
นักเรียนสามารถ
1. บอกค่าประจำ�หลักของทศนิยมตำ�แหน่งต่าง ๆ และค่าของเลขโดด
2. เปรียบเทียบทศนิยม

ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน
นักเรียนมักมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับทศนิยมที่เป็นจำ�นวนลบ เช่น เข้าใจคลาดเคลื่อนว่า -3.5 เป็นจำ�นวนที่
เกิดจาก -3 รวมกับ 0.5 ที่ถูกต้องคือ ทศนิยมที่เป็นจำ�นวนลบนั้นเกิดจากจำ�นวนเต็มลบรวมกับทศนิยมที่เป็นจำ�นวนลบ ดังนั้น
-3.5 จึงเกิดจาก -3 รวมกับ -0.5

สื่อที่แนะนำ�ให้ใช้ในข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ตัวอย่างข้อมูลในชีวิตประจำ�วัน เช่น ใบเสร็จจากการซื้อสินค้า ใบแจ้งค่าไฟฟ้าหรือน้ำ�ประปา ตั๋วรถประจำ�ทาง ป้ายบอก
ราคาน้ำ�มันเป็นลิตร อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา หรือข้อมูลอื่น ๆ

ข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ในหัวข้อนีเ้ ป็นเรือ
่ งเกีย่ วกับทศนิยมและการเปรียบเทียบทศนิยม โดยให้นก
ั เรียนเห็นว่า ทศนิยมมีทงั้ ทศนิยมทีเ่ ป็นจำ�นวน
บวกและทศนิยมทีเ่ ป็นจำ�นวนลบ และจะเน้นการเรียนรูเ้ กีย่ วกับทศนิยมทีเ่ ป็นจำ�นวนลบ ทัง้ นี้ ครูควรพัฒนาความรูส้ ก
ึ เชิงจำ�นวน
เกี่ยวกับทศนิยมให้กับนักเรียน เพื่อให้เข้าใจและสามารถเปรียบเทียบทศนิยมได้ กิจกรรมที่ครูควรจัดมีดังนี้
1. ครูควรใช้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำ�วัน เช่น ใบเสร็จจากการซื้อสินค้า ใบแจ้งค่าไฟฟ้าหรือน้ำ�ประปา
ตั๋วรถประจำ�ทาง ป้ายบอกราคาน้ำ�มันเป็นลิตร อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา รวมถึงการนำ�เสนอข้อมูลตามสื่อต่าง ๆ
มาอภิปรายหรือสนทนากันในชั้นเรียน เพื่อให้เห็นการใช้ทศนิยมในชีวิตจริง พร้อมทั้งทบทวนว่า จำ�นวนที่อยู่ใน
รูปทศนิยม เช่น 18.542 ประกอบด้วยสองส่วน คือ ส่วนที่เป็นจำ�นวนเต็มซึ่งอยู่หน้าจุดทศนิยม และส่วนที่ไม่ใช่
จำ�นวนเต็ม ซึ่งอยู่หลังจุดทศนิยม
2. ครูแนะนำ�เกี่ยวกับค่าประจำ�หลักและค่าของเลขโดดในตำ�แหน่งต่าง ๆ ของทศนิยม โดยเชื่อมโยงกับเลขยกกำ�ลัง
3. ครูอาจใช้เส้นจำ�นวนแนะนำ�ทศนิยมทีเ่ ป็นจำ�นวนลบ โดยการระบุต�ำ แหน่งของทศนิยมบนเส้นจำ�นวน เช่น ตำ�แหน่ง
ของ -3.5 บนเส้นจำ�นวน ได้จากการรวมกันของส่วนที่เป็นจำ�นวนเต็ม คือ -3 กับส่วนที่อยู่หลังจุดทศนิยม
คือ -0.5 ดังนี้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 4 | ทศนิยมและเศษส่วน 197

-3
-0.5

-4 -3 -2 -1 0 1 2

-3.5

4. ครูควรจัดกิจกรรมให้นก
ั เรียนเข้าใจการเปรียบเทียบทศนิยม โดยเริม
่ จากการให้นก
ั เรียนฝึกการนึกภาพของตำ�แหน่ง
ทศนิยมทีเ่ ปรียบเทียบบนเส้นจำ�นวน จากนัน
้ จึงแนะนำ�หลักเกณฑ์การเปรียบเทียบทศนิยมในกรณีทเี่ ป็นทศนิยม
ชนิดเดียวกัน และทศนิยมต่างชนิดกัน ทั้งนี้ ในกรณีที่เป็นการเปรียบเทียบทศนิยมที่เป็นจำ�นวนลบ เราจะใช้
ความรู้เรื่องค่าสัมบูรณ์มาช่วยในการพิจารณา

-3.5 เกิดจาก
-3 รวมกับ -0.5

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
198 บทที่ 4 | ทศนิยมและเศษส่วน คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

เฉลยชวนคิด
ชวนคิด 4.1
1. ค่าประจำ�หลักของทศนิยมตำ�แหน่งที่ 20 เป็น   1  20
10
2. ค่าประจำ�หลักของทศนิยมตำ�แหน่งที่ 1,990 เป็น    1  
1,990
10
ชวนคิด 4.2
1. ค่าสัมบูรณ์ของ -5.12 คือ 5.12
2. จำ�นวนที่มีค่าสัมบูรณ์เป็น 4.74 คือ 4.74 และ -4.74

เฉลยแบบฝึกหัด
แบบฝึกหัด 4.1 ก

( ) (
1. 1) 0.35 = 3 ×   1   + 5 ×   1 2
10 10 )

10 (
2) 0.08 = 8 ×   1 2
)

10 ( ) (
3) 0.204 = 2 ×   1   + 4 ×   1 3
10 )


4)
( 10 )
87.03 = (8 × 10) + (7 × 1) + 3 ×   1  2



5)
( 10 ) ( 10 ) ( 10 )
16.124 = (1 × 10) + (6 × 1) + 1 ×   1   + 2 ×   1  + 4 ×   1 
2 3



6)
( 10 ) ( 10 ) ( 10 )
90.6705 = (9 × 10) + 6 ×   1   + 7 ×   1  + 5 ×   1 
2 4

2. 1) 10 2)   1 2 3)    1    4)   1 3 5) 1 6)   1 4


10 10 10 10

3. 1)   7   หรือ 0.7 2)    7   หรือ 0.007 3) 7


10 1,000
4)   7   หรือ 0.07 5) 7 × 10 หรือ 70 6)     7    หรือ 0.00007
100 100,000

4. 1) 0.124 2) 4.0135 3) 0.045001


4) 0.302008 5) 30.4001 6) 905.301

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 4 | ทศนิยมและเศษส่วน 199

แบบฝึกหัด 4.1 ข
1. 1) 0.54 < 0.57 2) 7.08 > 7.008
3) 25.01 > -28.3 4) -22.73 < 3.1416
5) -20.75 < -2.71 6) -0.05 > -0.51
7) -0.07 < -0.007 8) -11.810 = -11.8100

2. 1) เป็นจริง 2) เป็นเท็จ 3) เป็นจริง 4) เป็นจริง


5) เป็นเท็จ 6) เป็นเท็จ 7) เป็นเท็จ 8) เป็นเท็จ

3. 1) 0.24, 0.21, 0.2 2) 36.50, 36.25, 36.15


3) -0.15, -0.31, -0.42 4) -1.3, -2.1, -3.1
5) 6.602, 6.152, -6.052, -6.612 6) -30.107, -30.170, -30.701, -30.710

4. น้ำ�หนักตัวที่มากที่สุดคือ 42.0 กิโลกรัม และน้ำ�หนักตัวที่น้อยที่สุดคือ 35.4 กิโลกรัม

5. ธาตุที่มีจุดหลอมเหลวสูงสุด คือ ธาตุไนโตรเจน


ธาตุที่มีจุดหลอมเหลวต่ำ�สุด คือ ธาตุไฮโดรเจน

6. เมืองที่มีอุณหภูมิเฉลี่ยสูงกว่า คือ เมืองแฟร์แบงส์

7. นักกรีฑาสีที่น่าจะวิ่งเข้าเส้นชัยเป็นคนแรก คือ นักกรีฑาสีม่วง

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
200 บทที่ 4 | ทศนิยมและเศษส่วน คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

4.2 การบวกและการลบทศนิยม (2 ชั่วโมง)


จุดประสงค์
นักเรียนสามารถ
1. หาผลบวก และผลลบของทศนิยมที่กำ�หนดให้
2. บอกความสัมพันธ์ของการบวกและการลบทศนิยม
3. ตระหนักถึงความสมเหตุสมผลของผลบวกและผลลบของทศนิยมที่ได้

ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน
-

สื่อที่แนะนำ�ให้ใช้ในข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
-

ข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ในหัวข้อนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับการบวกและการลบทศนิยม โดยเน้นการบวกและการลบทศนิยมที่เป็นจำ�นวนลบ ซึ่งจะใช้
หลักการเดียวกันกับการบวกและการลบจำ�นวนเต็ม ทัง้ นี้ ครูควรพัฒนาความรูส
้ ก
ึ เชิงจำ�นวนเกีย่ วกับการบวกและการลบทศนิยม
ให้กับนักเรียน เพื่อให้ตระหนักถึงความสมเหตุสมผลของผลลัพธ์ที่ได้ กิจกรรมที่ครูควรจัดมีดังนี้
1. ครูควรเชื่อมโยงหลักเกณฑ์การหาผลบวกของจำ�นวนเต็ม และการบวกทศนิยมที่เป็นจำ�นวนบวก เพื่อนำ�ไปสู่
การหาผลบวกของทศนิยมที่เป็นจำ�นวนบวกและจำ�นวนลบ
2. ครูอธิบายให้นักเรียนเข้าใจเกี่ยวกับสมบัติการบวกของจำ�นวนที่ใช้กับทศนิยม ได้แก่ สมบัติการสลับที่ สมบัติ
การเปลีย่ นหมู่ และสมบัตก
ิ ารบวกด้วยศูนย์ ซึง่ อาจยกตัวอย่างให้เห็นถึงความสะดวกและรวดเร็วในการหาผลบวก
อีกทัง้ ยังเป็นการพัฒนาความรูส้ ก
ึ เชิงจำ�นวนให้กบ
ั นักเรียน เช่น การหาผลบวกของ 17.31 + (-12.69) + (-7.31)
หรือ การหาจำ�นวนมาแทนใน ■ ของประโยค 7.3 + (-2.1) = ■ + 7.3 แล้วทำ�ให้ประโยคเป็นจริง
ซึ่งไม่ต้องการให้ใช้วิธีการแก้สมการ จากนั้น ครูยกตัวอย่างเพิ่มเติมและให้นักเรียนฝึกเกี่ยวกับการหาผลบวกของ
ทศนิยม
3. ครู ใ ช้ ค วามรู้ เ รื่ อ งจำ � นวนตรงข้ า มมาประกอบการอธิ บ าย เพื่ อ นำ � ไปสู่ ข้ อ ตกลงในการหาผลลบของทศนิ ย ม
เช่นเดียวกับการหาผลลบของจำ�นวนเต็ม ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ระหว่างการบวกและการลบทศนิยม

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 4 | ทศนิยมและเศษส่วน 201

4. ครูชี้ให้นักเรียนสังเกตผลที่เกิดขึ้นจากการบวกและการลบทศนิยมที่เชื่อมโยงกับตัวตั้ง และตัวบวกหรือตัวลบ
เพื่อพัฒนาความรู้สึกเชิงจำ�นวน เช่น ทศนิยมที่เป็นจำ�นวนลบ รวมกับทศนิยมที่เป็นจำ�นวนลบ จะได้ผลลัพธ์เป็น
ทศนิยมที่เป็นจำ�นวนลบที่น้อยลง และให้นักเรียนสังเกตผลบวกที่ได้จากการบวกทศนิยมที่ต่างชนิดกันทีละคู่
แล้วใช้ค�ำ ถามให้นก
ั เรียนได้ขอ
้ สรุปว่า ผลบวกทีเ่ กิดจากทศนิยมทีต
่ า่ งชนิดกัน จะเป็นทศนิยมชนิดเดียวกับทศนิยม
ที่มีค่าสัมบูรณ์มากกว่า เพื่อให้นักเรียนได้ตระหนักถึงความสมเหตุสมผลของคำ�ตอบที่ได้จากการบวกและการลบ
ทศนิยม เมื่อนักเรียนต้องแก้ปัญหาด้วยตนเอง
5. ครูอาจยกตัวอย่างให้นักเรียนเห็นว่า ทศนิยมไม่มีสมบัติการสลับที่และสมบัติการเปลี่ยนหมู่สำ�หรับการลบ โดย
ยกตัวอย่างค้านอย่างน้อยหนึง่ ตัวอย่างเพือ
่ แสดงให้เห็นว่าประโยคนัน
้ ไม่จริง และเพือ
่ นำ�ไปสูข
่ อ
้ สรุปดังกล่าว เช่น
1) -3.75 – 2.7 = -6.45 และ 2.7 – (-3.75) = 6.45
ดังนั้น -3.75 – 2.7 ≠ 2.7 – (-3.75)
2) (-1.44 – 1.87) – (-5.1) = 1.79 และ -1.44 – [1.87 – (-5.1)] = -8.41
ดังนั้น (-1.44 – 1.87) – (-5.1) ≠ -1.44 – [1.87 – (-5.1)]

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
202 บทที่ 4 | ทศนิยมและเศษส่วน คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

เฉลยชวนคิด
ชวนคิด 4.3
ขั้นตอน A ใช้สมบัติการสลับที่ และขั้นตอน B ใช้สมบัติการเปลี่ยนหมู่

ชวนคิด 4.4
จำ�นวนตรงข้ามของ -0.002, 10.03 และ -11.15 คือ 0.002, -10.03 และ 11.15 ตามลำ�ดับ

ชวนคิด 4.5
ไม่เท่ากัน
เพราะ (-1.75 – 2.01) – 45.25 = -3.76 – 45.25 = -49.01
และ -1.75 – (2.01 – 45.25) = -1.75 – (-43.24) = 41.49

เฉลยแบบฝึกหัด
แบบฝึกหัด 4.2 ก
1. 1) -0.114 2) 1.59 3) -35.031 4) -17.775 5) 24.975 6) -84.007

2. 1) -10.37 2) -59.393 3) 2.2 4) -22.01 5) 0 6) -0.1

3. 1) -2.1 2) -2.09 3) 3.059 4) -6.538 5) -0.6 6) 0.7

4. คำ�ตอบมีได้หลากหลาย เช่น
1) 4.207 กับ -4.207 หรือ -9.71 กับ 9.71
2) 2.37 กับ 1.64 หรือ -1.01 กับ 5.02
3) -4.23 กับ -4.47 หรือ 0.3 กับ -9
4) -9.68 กับ 3.43 หรือ 0 กับ -6.25

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 4 | ทศนิยมและเศษส่วน 203

5. แนวคิด เมื่อเวลา 05:00 น. อ่านอุณหภูมิจากเทอร์โมมิเตอร์ได้ -2.5 องศาเซสเซียส


และช่วงเวลา 05:00 น. ถึงเวลา 07:00 น. อุณหภูมิลดลง 0.7 องศาเซสเซียส
จะได้ เมื่อเวลา 07:00 น. จะอ่านอุณหภูมิจากเทอร์โมมิเตอร์ได้ -2.5 – 0.7 = -3.2 องศาเซสเซียส
และช่วงเวลา 07:00 น. ถึงเวลา 09:00 น. อุณหภูมิเพิ่มขึ้น 1.2 องศาเซสเซียส
ดังนั้น เมื่อเวลา 09:00 น. จะอ่านอุณหภูมิจากเทอร์โมมิเตอร์ได้ -3.2 + 1.2 = -2 องศาเซลเซียส

แบบฝึกหัด 4.2 ข
1. 1) 14.65 2) 12.02 3) -5.01 4) -0.401 5) -109
6) -13.08 7) 2.75 8) 0 9) 14.498 10) -6.007

2. 1) (-5.2 + 8) – 2.8 = 2.8 – 2.8 = 0


2) (-10.1 + 15.9) – (-3.2) = 5.8 – (-3.2) = 9
3) (9.05 – 3.7) + 12.1 = 5.35 + 12.1 = 17.45
4) (8.5 – 11.9) + (-1.04) = -3.4 + (-1.04) = -4.44
5) (-12.6 – 4.4) + 9.9 = -17 + 9.9 = -7.1
6) (-7.3 – 6.2) – 3.32 = -13.5 – 3.32 = -16.82
7) -24.5 + (12.9 – 11.5) = -24.5 + 1.4 = -23.1
8) 20.30 – (2 – 15.5) = 20.30 – (-13.5) = 33.8
9) -1.8 + (-10.15 – 2.4) = -1.8 + (-12.55) = -14.35
10) -5.5 + (12.4 – 3.24) = -5.5 + 9.16 = 3.66

3. 1) ประโยคข้างต้นเป็นจริง เมื่อ a = b
ดังนั้น คำ�ตอบมีได้หลากหลาย เช่น a = 2.3, b = 2.3 หรือ a = -1.2, b = -1.2
2) ประโยคข้างต้นเป็นเท็จ เมื่อ a ≠ b
ดังนั้น คำ�ตอบมีได้หลากหลาย เช่น a = 3.5, b = 1.2 หรือ a = 1.2 , b = -0.5
3) จากข้อ 2) จะเห็นว่าทศนิยมไม่มีสมบัติการสลับที่สำ�หรับการลบ

4. 1) ประโยคข้างต้นเป็นจริง เมื่อ c = 0
ดังนั้น คำ�ตอบมีได้หลากหลาย เช่น a = 3.7, b = 1.2, c = 0 หรือ a = 4.6, b = -1.3, c = 0
2) ประโยคข้างต้นเป็นเท็จ เมื่อ c ≠ 0
ดังนั้น คำ�ตอบมีได้หลากหลาย เช่น a = 8.9, b = 4.7, c = 3.2 หรือ a = -3.7, b = 2.5, c = 1.4
3) จากข้อ 2) จะเห็นว่าทศนิยมไม่มีสมบัติการเปลี่ยนหมู่สำ�หรับการลบ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
204 บทที่ 4 | ทศนิยมและเศษส่วน คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

5. น้ำ�ในแก้วมีน้ำ�หนัก 85.2 – 34.75 = 50.45 กรัม

6. น้ำ�หนักของน้ำ�เต็มถ้วยน้อยกว่าน้ำ�หนักของน้ำ�เกลือเต็มถ้วย 248.5 – 243.2 = 5.3 กรัม

7. น้ำ�หนักของสังกะสีเมื่อชั่งในน้ำ�น้อยกว่าเมื่อชั่งในอากาศ 78.5 – 73.5 = 5 กรัม

8 แนวคิด จากโจทย์เขียนรูปแสดงได้ดังนี้

0.038 ม. 0.038 ม.

เส้นผ่านศูนย์กลางวงนอกของหน้าตัดยาว 0.425 เมตร


ปูนซีเมนต์ที่หล่อหนา 0.038 เมตร
ดังนั้น ความยาวของเส้นผ่านศูนย์กลางวงในของหน้าตัด
ที่เป็นส่วนกลวงเท่ากับ 0.425 – (0.038 + 0.038)
= 0.425 – 0.076
= 0.349 เมตร
0.425 ม.
? ม.

9. เนื่องจาก ธาตุไนโตรเจนมีจุดหลอมเหลวสูงสุด และธาตุไฮโดรเจนมีจุดหลอมเหลวต่ำ�สุด


ดังนั้น ธาตุทั้งสองมีจุดหลอมเหลวสูงสุดและต่ำ�สุดต่างกัน -209.8 – (-259.2) = 49.4 °C

10. ถ้าต้องการให้ออกซิเจนเปลี่ยนสถานะจากของเหลวเป็นแก๊ส จะต้องเพิ่มอุณหภูมิอย่างน้อยที่สุด


-183 – (-218.8) = 35.8 °C

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 4 | ทศนิยมและเศษส่วน 205

4.3 การคูณและการหารทศนิยม (2 ชั่วโมง)


จุดประสงค์
นักเรียนสามารถ
1. หาผลคูณ และผลหารของทศนิยมที่กำ�หนดให้
2. บอกความสัมพันธ์ของการคูณและการหารทศนิยม
3. ตระหนักถึงความสมเหตุสมผลของผลคูณและผลหารทศนิยมที่ได้

ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน
-

สื่อที่แนะนำ�ให้ใช้ในข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ใบกิจกรรมเสนอแนะ 4.3 : สังเกตดี ๆ

ข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ในหัวข้อนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับการคูณและการหารทศนิยม โดยเน้นการคูณและการหารทศนิยมที่เป็นจำ�นวนลบ ซึ่งจะใช้
หลักการเดียวกันกับการคูณและการหารจำ�นวนเต็ม ทัง้ นี้ ครูควรพัฒนาความรูส้ ก
ึ เชิงจำ�นวนเกีย่ วกับการคูณและการหารทศนิยม
ให้กับนักเรียน เพื่อให้ตระหนักถึงความสมเหตุสมผลของผลลัพธ์ที่ได้ กิจกรรมที่ครูควรจัดมีดังนี้
1. ครูเชื่อมโยงหลักเกณฑ์การหาผลคูณของจำ�นวนเต็ม และการคูณทศนิยมที่เป็นจำ�นวนบวก เพื่อนำ�ไปสู่การหา
ผลคูณของทศนิยมทัง้ ทีเ่ ป็นจำ�นวนบวกและจำ�นวนลบ แต่จะเน้นให้นก
ั เรียนหาผลคูณของทศนิยมทีเ่ ป็นจำ�นวนลบ
โดยครูอาจใช้ “กิจกรรมเสนอแนะ 4.3 : สังเกตดี ๆ” เพื่อให้ได้ข้อสังเกตว่า ผลคูณของทศนิยมจะเป็นทศนิยม
กี่ตำ�แหน่ง ขึ้นอยู่กับจำ�นวนตำ�แหน่งของทศนิยมของตัวตั้งและตัวคูณ
2. ครูอธิบายให้นักเรียนเข้าใจเกี่ยวกับสมบัติการคูณของจำ�นวนที่ใช้กับทศนิยม ได้แก่ สมบัติการสลับที่ สมบัติ
การเปลี่ยนหมู่ สมบัติการแจกแจง สมบัติการคูณด้วยศูนย์ และสมบัติการคูณด้วยหนึ่ง ซึ่งอาจยกตัวอย่างให้เห็น
ถึงความสะดวกและรวดเร็วในการหาผลคูณ อีกทัง้ ยังเป็นการพัฒนาความรูส
้ ก
ึ เชิงจำ�นวนของนักเรียน เช่น การหา
ผลคูณของ (-12.5) × 27.85 × 8 หรือการหาจำ�นวนมาแทนใน ■ ของประโยค 2.5 × (-1.2) = ■ × 2.5
แล้วทำ�ให้ประโยคเป็นจริง ซึ่งไม่ต้องการให้ใช้วิธีการแก้สมการ จากนั้น ครูยกตัวอย่างเพิ่มเติมและให้นักเรียนฝึก
เกี่ยวกับการหาผลคูณของทศนิยม
3. ครูอาจใช้ “กิจกรรม : จัตุรัสกลสำ�หรับการคูณทศนิยม” เพื่อให้นักเรียนได้ฝึกทักษะการหาผลคูณทศนิยม และ
ตระหนักถึงความสมเหตุสมผลของผลคูณที่ได้ ทั้งนี้ ครูอาจให้นักเรียนใช้เครื่องคิดเลขในการตรวจสอบผลคูณ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
206 บทที่ 4 | ทศนิยมและเศษส่วน คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

4. ครูเชื่อมโยงหลักเกณฑ์การหารจำ�นวนเต็ มกั บ หลั กเกณฑ์ การหารทศนิ ยมที่ เป็ น จำ � นวนบวก ไปสู่ ห ลั ก เกณฑ์
การหารทศนิยมใด ๆ และใช้หลักการปัดเศษในกรณีทต
ี่ อ
้ งการผลหารเป็นทศนิยมทีม
่ ต
ี �ำ แหน่งน้อยกว่าผลหารทีไ่ ด้
5. ครูชี้ให้นักเรียนสังเกตผลที่เกิดขึ้นจากการคูณและหารทศนิยม ซึ่งมีความหลากหลาย เพื่อพัฒนาความรู้สึกเชิง
จำ�นวน โดยอาจให้นักเรียนใช้การประมาณค่า เพื่อพิจารณาความสมเหตุสมผลของคำ�ตอบที่ได้จากการคูณและ
การหารทศนิยม เช่น
0.9 × 0.8 ได้ผลคูณเป็น 0.72 ซึ่งมีค่าน้อยกว่า 0.9 และ 0.8
-3.1 × 4.0 ได้ผลคูณเป็น -12.4 ซึ่งเป็นจำ�นวนลบที่มีค่าน้อยกว่า -3.1
1.2 ÷ 0.3 ได้ผลหารเป็น 4.0 ซึ่งมีค่ามากกว่า 1.2
-2.5 ÷ 5 ได้ผลหารเป็น -0.5 ซึ่งเป็นจำ�นวนลบที่มีค่ามากกว่า -2.5
6. ครูอาจยกตัวอย่างให้นักเรียนเห็นว่า ทศนิยมไม่มีสมบัติการสลับที่และสมบัติการเปลี่ยนหมู่สำ�หรับการหาร โดย
ยกตัวอย่างค้านอย่างน้อยหนึ่งตัวอย่างเพื่อแสดงให้เห็นว่าสมบัตินั้นไม่จริง และเพื่อนำ�ไปสู่ข้อสรุปดังกล่าว เช่น
1) -15.125 ÷ 6.05 = -2.5 และ 6.05 ÷ (-15.125) = -0.4
ดังนั้น -15.125 ÷ 6.05 ≠ 6.05 ÷ (-15.125)
2) [31.5 ÷ (-1.5)] ÷ (-0.2) = 105 และ 31.5 ÷ [-1.5 ÷ (-0.2)] = 4.2
ดังนั้น [31.5 ÷ (-1.5)] ÷ (-0.2) ≠ 31.5 ÷ [-1.5 ÷ (-0.2)]
7. ครูอาจใช้ “กิจกรรม : เป็นจริงหรือไม่” เพื่อฝึกทักษะและพัฒนาความรู้สึกเชิงจำ�นวนเกี่ยวกับการหาผลบวก
ผลลบ ผลคูณ และผลหารทศนิยม โดยอาจให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายเพื่อหาคำ�ตอบโดยไม่ต้องคำ�นวณ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 4 | ทศนิยมและเศษส่วน 207

กิจกรรม : จัตุรัสกลสำ�หรับการคูณทศนิยม
กิจกรรมนี้ เป็นกิจกรรมที่ให้นักเรียนฝึกทักษะการหาผลคูณทศนิยม และพัฒนาความรู้สึกเชิงจำ�นวนเกี่ยวกับผลคูณที่ได้
โดยมีขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม ดังนี้

อุปกรณ์
-

ขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม
1. ครูอธิบายเงื่อนไขและลักษณะของจัตุรัสกล รวมถึงความหมายของค่ากล
2. ครูให้นก
ั เรียนทำ�กิจกรรมในข้อ 1 เพือ
่ ฝึกพิจารณาว่าจัตรุ ส
ั ทีก
่ �ำ หนดให้แต่ละข้อเป็นจัตรุ ส
ั กลหรือไม่ และทำ�กิจกรรม
ในข้อ 2 เพื่อฝึกในการพิจารณาหาค่ากล และสร้างจัตุรัสกลตามที่กำ�หนด
3. ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายหาแนวทางในการสร้างจัตุรัสกลที่มีค่ากลเป็นจำ�นวนลบ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
208 บทที่ 4 | ทศนิยมและเศษส่วน คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

เฉลยกิจกรรม : จัตุรัสกลสำ�หรับการคูณทศนิยม
1. ก. เป็นจัตุรัสกล เพราะมีผลคูณเท่ากันทุกแนวและมีค่ากลเป็น 1.728

ข.
6.4 0.4 12.8 6.4 × 0.4 × 12.8 = 32.765

6.5 3.2 1.6 6.5 × 3.2 × 1.6 = 33.28

0.8 25.6 1.5

จากการตรวจสอบผลคูณ พบว่ามีอย่างน้อยสองแนวคือ ในแถวที่ 1 และแถวที่ 2 ที่ผลคูณไม่เท่ากัน


ดังนั้น ไม่เป็นจัตุรัสกล

2. ค่ากลคือ 21.6 × 7.2 × 2.4 = 373.248

28.8 0.6 21.6

จำ�นวนที่เติม หาได้จากค่ากล
5.4 7.2 9.6
หารด้วยผลคูณของสองจำ�นวน
ที่อยู่ในแนวเดียวกัน
2.4 86.4 1.8

3. คำ�ตอบมีได้หลากหลาย

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 4 | ทศนิยมและเศษส่วน 209

กิจกรรม : เป็นจริงหรือไม่
กิจกรรมนี้ เป็นกิจกรรมที่ให้นักเรียนฝึกและพัฒนาความรู้สึกเชิงจำ�นวนเกี่ยวกับการบวก การลบ การคูณ และการหาร
ทศนิยม และมีความตระหนักถึงความสมเหตุสมผลของคำ�ตอบ โดยมีขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม ดังนี้

อุปกรณ์
-

ขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม
1. ครูอธิบายวิธีการพิจารณาหาคำ�ตอบ โดยไม่ต้องคำ�นวณ
2. ครูให้นักเรียนพิจารณาว่าแต่ละข้อเป็นจริงหรือไม่ พร้อมทั้งให้เหตุผลประกอบการพิจารณา
3. ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายแนวคิดในการพิจารณาว่า ประโยคที่กำ�หนดให้ในแต่ละข้อเป็นจริงหรือไม่ โดยอาจ
ใช้การถามตอบเพือ
่ กระตุน
้ ให้นก
ั เรียนได้ฝก
ึ การใช้ความรูส
้ ก
ึ เชิงจำ�นวนเกีย่ วกับการบวก การลบ การคูณ และการหาร
ทศนิยม

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
210 บทที่ 4 | ทศนิยมและเศษส่วน คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

เฉลยกิจกรรม : เป็นจริงหรือไม่
การพิจารณาประโยคที่กำ�หนดให้ว่าเป็นจริงหรือไม่นั้น ต้องการให้นักเรียนพิจารณาโดยไม่ต้องทำ�ให้เป็นผลสำ�เร็จ
ซึ่งแนวคิดมีได้หลากหลาย เช่น

1. เป็นจริง พิจารณาจาก 0.64 – 0.64 ได้ 0 และ 2 มากกว่า 1.99

2. ไม่เป็นจริง พิจารณาจากจำ�นวนทางขวาของเครื่องหมายเท่ากับ ซึ่งเป็นทศนิยม 5 ตำ�แหน่ง แต่ผลบวกของจำ�นวน


ทางซ้าย เป็นทศนิยม 4 ตำ�แหน่ง

3. ไม่เป็นจริง พิจารณาจาก -98.2 + 98.2 ได้ 0 และจำ�นวนที่เหลือบวกกันไม่ถึง 200

4. เป็นจริง พิจารณาจาก 1 × 0.003 = 0.003 × 1 และจำ�นวนลบคูณกับจำ�นวนบวกได้จำ�นวนลบ

5. ไม่เป็นจริง พิจารณาจาก จำ�นวนสองจำ�นวนใด ๆ ที่มีค่ามากกว่า 0 แต่น้อยกว่า 1 คูณกันแล้วผลคูณที่ได้จะน้อยกว่า


จำ�นวนเดิมทั้งสองจำ�นวน

6. ไม่เป็นจริง พิจารณาจาก 0.1 × 0.1 = (-0.1) × (-0.1)


ดังนั้น 0.1 × 0.1 × 0.1 ≠ (-0.1) × (-0.1) เพราะจำ�นวนทางซ้ายของเครื่องหมายเท่ากับคูณด้วย
จำ�นวนที่ไม่ใช่ 1

7. เป็นจริง พิจารณาจาก (-0.53)(-0.21) มีผลคูณเป็นจำ�นวนบวกทีเ่ ท่ากับ (0.53)(0.21) ซึง่ (0.53)(0.21) ประมาณ


เป็น (0.5)(0.2) จะได้ผลคูณเป็น 0.1

8. เป็นจริง พิจารณาจาก ศูนย์หารด้วยทศนิยมใด ๆ ที่ไม่เท่ากับศูนย์ จะได้ผลหารเป็นศูนย์



9. เป็นจริง พิจารณาจาก 2.6 ÷ 1.3 = 26 ÷ 13 และ 0.26 ÷ 0.13 = 26 ÷ 13

10. ไม่เป็นจริง พิจารณาจาก ในการหารเมื่อตัวตั้งเท่ากัน ถ้าตัวหารยิ่งมากผลหารจะยิ่งน้อย


ในที่นี้ 0.1 > 0.01 ดังนั้น 2 ÷ 0.1 < 2 0.01 และเมื่อนำ�ผลหารนั้น มาคูณด้วยจำ�นวนเต็มบวก
ที่เท่ากัน ผลลัพธ์ทั้งหมดก็จะน้อยกว่าด้วย

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 4 | ทศนิยมและเศษส่วน 211

กิจกรรมเสนอแนะ 4.3 : สังเกตดี ๆ


กิจกรรมนี้ เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้นักเรียนเข้าใจเกี่ยวกับผลลัพธ์ที่ได้จากการคูณทศนิยมกับทศนิยม ที่ตัวตั้งและตัวคูณ
เป็นทศนิยมที่มีจำ�นวนตำ�แหน่งแตกต่างกัน โดยมีอุปกรณ์และขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม ดังนี้

อุปกรณ์
ใบกิจกรรมเสนอแนะ 4.3 : สังเกตดี ๆ

ขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม
1. ครูให้นักเรียนแต่ละคนทำ�ใบกิจกรรมเสนอแนะ 4.3 : สังเกตดี ๆ
2. ครูและนักเรียนร่วมกันหาข้อสรุปว่า ถ้าตัวตั้งเป็นทศนิยมที่มี a ตำ�แหน่ง และตัวคูณเป็นทศนิยมที่มี b ตำ�แหน่ง
แล้ว ผลคูณจะเป็นทศนิยมทีม
่ ี a + b ตำ�แหน่ง ซึง่ ข้อสรุปนีส
้ ามารถใช้ได้กบ
ั ทัง้ ตัวตัง้ และตัวคูณทีเ่ ป็นทศนิยมบวกและ
ทศนิยมลบ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
212 บทที่ 4 | ทศนิยมและเศษส่วน คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

ใบกิจกรรมเสนอแนะ 4.3 : สังเกตดี ๆ

คำ�ชี้แจง
จงเติมคำ�ตอบลงใน แล้วตรวจสอบคำ�ตอบโดยใช้เครื่องคิดเลข

1 1,428 × 36 =

2 1,428 × 3.6 =

3 1,428 × (-0.36) =

4 (-1,428) × 0.036 =

5 (-1,428) × (-0.0036) =

6 142.8 × (-36) =

7 (-1.428) × (-36) =

8 (-14.28) × (-36) =

9 0.1428 × (-36) =

10 1.428 × (-0.0036) =

11 (-14.28) × (-0.036) =

12 (-142.8) × 3.6 =

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 4 | ทศนิยมและเศษส่วน 213

เฉลยใบกิจกรรมเสนอแนะ 4.3 : สังเกตดี ๆ

1 1,428 × 36 = 51,408

2 1,428 × 3.6 = 5,140.8

3 1,428 × (-0.36) = -514.08

4 (-1,428) × 0.036 = -51.408

5 (-1,428) × (-0.0036) = 5.1408



6 142.8 × (-36) = -5,140.8

7 (-1.428) × (-36) = 51.408

8 (-14.28) × (-36) = 514.08

9 0.1428 × (-36) = -5.1408

10 1.428 × (-0.0036) = -0.0051408

11 (-14.28) × (-0.036) = 0.51408

12 (-142.8) × 3.6 = -514.08

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
214 บทที่ 4 | ทศนิยมและเศษส่วน คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

เฉลยชวนคิด
ชวนคิด 4.6
ขั้นตอน A ใช้สมบัติการสลับที่ และขั้นตอน B ใช้สมบัติการเปลี่ยนหมู่

ชวนคิด 4.7
การคำ�นวณโดยใช้สมบัติการแจกแจง จะทำ�ให้สามารถหาผลลัพธ์ได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น

ชวนคิด 4.8
ในการปัดเศษ 3.449 ให้เป็นทศนิยม 1 ตำ�แหน่ง จะได้เป็น 3.4 เพราะจากหลักการปัดเศษทีว่ า่ ให้พจิ ารณา
เลขโดดในตำ�แหน่งถัดไป ถ้าน้อยกว่า 5 ให้ตัดทศนิยมตำ�แหน่งนั้นทิ้ง แต่ถ้ามากกว่าหรือเท่ากับ 5 ให้ปัด
เลขโดดในตำ�แหน่งก่อนหน้าขึ้นอีก 1 ซึ่งในที่นี้ต้องการทศนิยม 1 ตำ�แหน่ง จึงต้องพิจารณาในตำ�แหน่งที่
2 ซึง่ เลขโดดในตำ�แหน่งที่ 2 คือ 4 ดังนัน
้ จึงปัดเลขโดดในตำ�แหน่งที่ 2 ทิง้ และเราจะไม่ใช้หลักการปัดเศษ
เกิน 1 ครั้ง ในการปัดเศษจำ�นวนหนึ่งจำ�นวน

ชวนคิด 4.9
สมองของนักเรียนหนักประมาณ 0.02 เท่าของน้ำ�หนักตัวของนักเรียน
ถ้านักเรียนหนัก 40 กิโลกรัม
จะมีสมองหนักประมาณ 0.02 × 40 = 0.8 กิโลกรัม
ไดโนเสาร์พันธุ์นี้หนักประมาณตัวละ 5 ตัน เท่ากับ 5 × 1,000 กิโลกรัม
= 5,000 กิโลกรัม
สมองไดโนเสาร์หนักประมาณ 0.000012 เท่าของน้ำ�หนักของไดโนเสาร์ทั้งตัว
ไดโนเสาร์พันธุ์นี้จะมีสมองหนักประมาณ 0.000012 × 5,000 กิโลกรัม
≈ 0.06 กิโลกรัม
สมองของนักเรียนคนนี้หนักประมาณ   0.8   เท่าของน้ำ�หนักสมองของไดโนเสาร์
0.06
≈ 13.3 เท่าของน้ำ�หนักสมองของไดโนเสาร์
ดังนั้น สมองของไดโนเสาร์พันธุ์นี้ประมาณ 13 ตัว จึงจะหนักเท่ากับสมองของนักเรียนที่มีน้ำ�หนักตัว
40 กิโลกรัม

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 4 | ทศนิยมและเศษส่วน 215

เฉลยแบบฝึกหัด
แบบฝึกหัด 4.3 ก
1. 1) 0.001 2) -0.08 3) 0.3 4) -540 5) 0
6) 0 7) -10.9 8) 17.5 9) 0.0111 10) -0.0001

2. 1) 0.455 2) -0.159 3) -151.8 4) -0.475 5) 0
6) 102 7) 1,805
8) (5.7 × 8.2) + (5.7 × 1.8) = 46.74 + 10.26 = 57
หรือ (5.7 × 8.2) + (5.7 × 1.8) = 5.7 × (8.2 + 1.8) = 57
9) (-4.5 × 0.7) + (4.5 × 0.7) = -3.15 + 3.15 = 0
หรือ (-4.5 × 0.7) + (4.5 × 0.7) = (-4.5 + 4.5) × 0.7 = 0 × 0.7 = 0
10) [5.1 × (-2.0)] + [3.2 × (-2.0)] = [5.1 × (-2)] + [3.2 × (-2)] = -10.2 + (-6.4) = -16.6
หรือ [5.1 × (-2.0)] + [3.2 × (-2.0)] = (5.1 + 3.2) × (-2) = 8.3 × (-2) = -16.6

3. 1) 5.37 2) -200 3) 749.8 4) -699.93

4. แนวคิด มะละกอสุกหนัก 1.5 กิโลกรัม คิดเป็น 1,500 กรัม


ถ้ามะละกอสุก 1 กรัม มีน้ำ�อยู่ 0.867 กรัม
ดังนั้น มะละกอสุก 1,500 กรัม จะมีน้ำ�อยู่ 1,500 × 0.867 = 1,300.5 กรัม

5. แก้วจะได้รับเงินค่าขนมในเดือนถัดไป 1.5 × 450 = 675 บาท

6. เส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ยของดาวอังคารยาวประมาณ 0.53 × 12,742.02 = 6,753.2706 กิโลเมตร

7. แนวคิด ชายคนนี้จะมีน้ำ�หนักกระดูกหนักประมาณ 0.18 × 61.5 = 11.07 กิโลกรัม


ดังนั้น น้ำ�หนักส่วนที่ไม่ใช่น้ำ�หนักของกระดูกคิดเป็นประมาณ 61.5 – 11.07 = 50.43 กิโลกรัม

8. เหล็กเส้นนี้หนัก 2.40 × 3.276 = 7.8624 กิโลกรัม

9. เมื่อเวลาผ่านไปครบ 4 สัปดาห์ ระดับน้ำ�ในถังจะลดลงจากเดิม 4 × 7.43 = 29.72 เซนติเมตร

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
216 บทที่ 4 | ทศนิยมและเศษส่วน คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

10. แนวคิด 1 ร้านเพชรร้านนี้ได้ใช้เพชรในการทำ�สร้อยคอ ดังนี้


ขนาด 2.5 กะรัต จำ�นวน 1 เม็ด คิดเป็น 250 สตางค์
ขนาด 50 สตางค์ จำ�นวน 2 เม็ด คิดเป็น 100 สตางค์
ขนาด 30 สตางค์ จำ�นวน 8 เม็ด คิดเป็น 240 สตางค์
ขนาด 20 สตางค์ จำ�นวน 24 เม็ด คิดเป็น 480 สตางค์
ขนาด 15 สตางค์ จำ�นวน 28 เม็ด คิดเป็น 420 สตางค์
รวมเพชรที่ใช้ทั้งหมด 1,490 สตางค์ แต่ 100 สตางค์ เท่ากับ 1 กะรัต
ดังนั้น สร้อยคอเส้นนี้ต้องใช้เพชรทั้งหมด 1,490 ÷ 100 = 14.9 กะรัต
เพชร 1 กะรัต เทียบเท่ากับ 0.2 กรัม
ดังนั้น เพชรที่ใช้ทั้งหมดมีน้ำ�หนัก 14.9 × 0.2 = 2.98 กรัม
นั่นคือ สร้อยเส้นนี้ใช้เพชรทั้งหมด 14.9 กะรัต และคิดเป็นน้ำ�หนักทั้งหมด 2.98 กรัม
แนวคิด 2 ร้านเพชรร้านนี้ได้ใช้เพชรในการทำ�สร้อยคอ ดังนี้
ขนาด 2.5 กะรัต จำ�นวน 1 เม็ด คิดเป็น 2.5 กะรัต
ขนาด 50 สตางค์ คิดเป็น 0.5 กะรัต จำ�นวน 2 เม็ด รวม 1 กะรัต
ขนาด 30 สตางค์ คิดเป็น 0.3 กะรัต จำ�นวน 8 เม็ด รวม 2.4 กะรัต
ขนาด 20 สตางค์ คิดเป็น 0.2 กะรัต จำ�นวน 24 เม็ด รวม 4.8 กะรัต
ขนาด 15 สตางค์ คิดเป็น 0.15 กะรัต จำ�นวน 28 เม็ด รวม 4.2 กะรัต
รวมเพชรที่ใช้ทั้งหมด 14.9 กะรัต เพชร 1 กะรัต เทียบเท่ากับ 0.2 กรัม
ดังนั้น เพชรที่ใช้ทั้งหมดมีน้ำ�หนัก 14.9 × 0.2 = 2.98 กรัม
นั่นคือ สร้อยเส้นนี้ใช้เพชรทั้งหมด 14.9 กะรัต และคิดเป็นน้ำ�หนักทั้งหมด 2.98 กรัม

แบบฝึกหัด 4.3 ข
1. 1) 2.8 ÷ 4 = 0.7
2) 0.45 ÷ (-100) = -0.0045
3) (-13.76) ÷ (-3.2) = -137.6 ÷ (-32) = 4.3
4) (-250) ÷ (-0.8) = -2500 ÷ (-8) = 312.5
5) (-0.07) ÷ 0.07 = -1
6) (-0.7) ÷ (-0.8) = 0.875
7) 5.4 ÷ (-0.6) = -9
8) (-0.031) ÷ (-0.31) = 0.1
9) (-0.441) ÷ 0.63 = -0.7
10) [(-0.015) ÷ 0.2] ÷ (-0.2) = -0.075 ÷ (-0.2) = 0.375

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 4 | ทศนิยมและเศษส่วน 217

2. แนวคิด ในการหารถ้าต้องการคำ�ตอบเป็นทศนิยม 3 ตำ�แหน่ง ให้หาผลหารถึงทศนิยมตำ�แหน่งที่ 4


ถ้าเลขโดดของผลหารในตำ�แหน่งที่ 4 มีค่าน้อยกว่า 5 ให้ตัดทิ้ง
ถ้าเลขโดดของผลหารในตำ�แหน่งที่ 4 มีค่าตั้งแต่ 5 ขึ้นไป ให้ปัดขึ้น
1) 91.538 ÷ 0.74 = 123.700
2) (-68.75) ÷ 0.03 ≈ -2,291.667
3) 671.2 ÷ (-5.1) ≈ -131.608
4) (-0.089) ÷ (-4.3) ≈ 0.021

3. 1) [-8.56 ÷ (-1.44)] × 0 = 0
2) (-0.2)[(-0.092) ÷ 0.23] = (-0.2)(-0.4) = 0.08
3) [(-8.5) + 6.2] ÷ (-2.3) = (-2.3) ÷ (-2.3) = 1
4) [(-1.2) × (-0.52)] ÷ (-0.6) = 0.624 ÷ (-0.6) = -1.04
5) [1.35 ÷ (-0.45)](9) = (-3)(9) = -27
6) (-1.01)[-12.03 ÷ 12.03] = (-1.01)(-1) = 1.01

4. 1) (b – c) ÷ a = [-1.5 – (-2.7)] ÷ 0.2 = 1.2 ÷ 0.2 = 6


2) ab ÷ c = 0.2(-1.5) ÷ (-2.7) = (-0.30) ÷ (-2.7) ≈ 0.11

5. 1) ประโยคข้างต้นเป็นจริง เมื่อ a และ b เป็นจำ�นวนเดียวกัน หรือจำ�นวนตรงข้ามกัน ยกเว้นศูนย์


ดังนั้น คำ�ตอบมีได้หลากหลาย เช่น a = 0.3, b = 0.3 หรือ a = 1.2, b = -1.2
2) ประโยคข้างต้นเป็นเท็จ เมื่อ a และ b ไม่เป็นจำ�นวนเดียวกัน จำ�นวนตรงข้ามกัน หรือศูนย์
ดังนั้น คำ�ตอบมีได้หลากหลาย เช่น a = 2.4, b = 1.2 หรือ a = -0.2, b = 0.8
3) จาก 2) จะเห็นว่าทศนิยมไม่มีสมบัติการสลับที่สำ�หรับการหาร

6. 1) ประโยคข้างต้นเป็นจริง เมื่อ b ≠ 0 และ c = 1.0 หรือ c = -1.0


ดังนั้น คำ�ตอบมีได้หลากหลาย เช่น a = 4.8, b = 2.4, c = 1.0 หรือ a = -3.6, b = 1.2, c = -1.0
2) ประโยคข้างต้นเป็นเท็จ เมื่อ b ≠ 0, c ≠ 0, c ≠ 1.0 และ c ≠ -1.0
ดังนั้น คำ�ตอบมีได้หลากหลาย เช่น a = 0.08, b = 0.4, c = 0.2 หรือ a = 2.4, b = -1.2, c = 2.0
3) จาก 2) จะเห็นว่าทศนิยมไม่มีสมบัติการเปลี่ยนหมู่สำ�หรับการหาร

7. นกกระจอกเทศตัวนี้จะหนักเท่ากับนกกระจิบขนาดนี้ 150 ÷ 0.005 = 30,000 ตัว

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
218 บทที่ 4 | ทศนิยมและเศษส่วน คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

8. แนวคิด ในเวลา 12.5 วินาที นักกรีฑาวิ่งได้ระยะทาง 100 เมตร


ดังนั้น ในเวลา 1 วินาที นักกรีฑาวิ่งได้ระยะทาง 100 ÷ 12.5 = 8 เมตร
นั่นคือ ในเวลา 1 นาที (60 วินาที) นักกรีฑาวิ่งได้ระยะทาง 60 × 8 = 480 เมตร

9. แนวคิด น้ำ�ตาลทรายบรรจุถุง ราคา 23.50 บาท และมีเงินอยู่ 160 บาท


จะซื้อน้ำ�ตาลได้ 160 ÷ 23.50 ≈ 6.81 ถุง
แต่น้ำ�ตาลทรายขายเป็นถุง (ไม่ได้แบ่งขาย)
ดังนั้น จะซื้อน้ำ�ตาลทรายได้มากที่สุด 6 ถุง
และเหลือเงินอีก 160 – (23.50 × 6) = 19 บาท

10. แนวคิด ปรอท 1 ลูกบาศก์เซนติเมตร หนัก 13.6 กรัม


ปรอทหนัก 752.4 กรัม จะมีปริมาตร 752.4 ÷ 13.6 ≈ 55.32 ลูกบาศก์เซนติเมตร

11. ไฮโดรเจนหนักเป็น 0.00009 = 0.075 เท่าของไนโตรเจน


0.0012

12. น้ำ�หนักของชายคนนี้ที่ชั่งบนโลกเป็น 11.6 = 72.5 กิโลกรัม


0.16

13. ใช้เวลาประมาณ -2.28 ÷ (-0.57) = 4 ปี

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 4 | ทศนิยมและเศษส่วน 219

4.4 เศษส่วนและการเปรียบเทียบเศษส่วน (2 ชั่วโมง)


จุดประสงค์
นักเรียนสามารถ
1. บอกเศษส่วนที่แทนด้วยจุดบนเส้นจำ�นวน และหาจุดบนเส้นจำ�นวนที่แทนเศษส่วนที่กำ�หนดให้
2. เปรียบเทียบเศษส่วน

ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน
นักเรียนมักมีความเข้าใจคลาดเคลือ 1 เป็นจำ�นวนทีเ่ กิด
่ นเกีย่ วกับเศษส่วนทีเ่ ป็นจำ�นวนลบ เช่น นักเรียนเข้าใจผิดว่า -3 –
2
1
จาก -3 รวมกับ – แต่ที่ถูกต้องคือ จำ�นวนคละที่เป็นจำ�นวนลบนั้นเกิดจากจำ�นวนเต็มลบรวมกับเศษส่วนที่เป็นจำ�นวนลบ
2
1 1
ดังนั้น -3 – จึงเกิดจาก -3 รวมกับ - –
2 2

สื่อที่แนะนำ�ให้ใช้ในข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ใบกิจกรรมเสนอแนะ 4.4 : ความหมายของเศษส่วน

ข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ในหัวข้อนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับเศษส่วนและการเปรียบเทียบเศษส่วน โดยให้นักเรียนเห็นว่าเศษส่วนประกอบด้วยเศษส่วน
ที่เป็นจำ�นวนบวกและเศษส่วนที่เป็นจำ�นวนลบ และจะเน้นการเรียนรู้เกี่ยวกับเศษส่วนที่เป็นจำ�นวนลบ ทั้งนี้ ครูควรพัฒนา
ความรูส
้ ก
ึ เชิงจำ�นวนเกีย่ วกับการเปรียบเทียบเศษส่วนให้กบ
ั นักเรียน เพือ
่ ให้เข้าใจและสามารถเปรียบเทียบเศษส่วนได้ กิจกรรม
ที่ครูควรจัดมีดังนี้
1. ในการแนะนำ � เศษส่ ว นที่ เ ป็ น จำ � นวนลบ ครู อ าจทำ � ได้ โ ดยการเชื่ อ มโยงการระบุ ตำ � แหน่ ง ของเศษส่ ว นที่ เ ป็ น
จำ�นวนบวกบนเส้นจำ�นวน และใช้ความรู้เรื่องจำ�นวนตรงข้ามมาระบุตำ�แหน่งของเศษส่วนที่เป็นจำ�นวนลบนั้น
ซึ่งช่วยให้นักเรียนได้พัฒนาการนึกภาพเกี่ยวกับตำ�แหน่งของเศษส่วนที่เป็นจำ�นวนลบบนเส้นจำ�นวน
1 บน
ครูชี้ให้นักเรียนสังเกตว่า จากตำ�แหน่งของเศษส่วนบนเส้นจำ�นวน จำ�นวนคละที่เป็นลบ เช่น -3 –
1 ดังแผนภาพ 2
เส้นจำ�นวน ประกอบด้วย -3 และ - –
2

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
220 บทที่ 4 | ทศนิยมและเศษส่วน คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

- –1 -3
2

-4 -3 -2 -1 0 1 2

1
-3–
2

ครูยกตัวอย่างเพิ่มเติม และอาจใช้ “กิจกรรมเสนอแนะ 4.4 : ความหมายของเศษส่วน” เพื่อฝึกให้นักเรียนระบุ


จุดบนเส้นจำ�นวนที่แทนด้วยเศษส่วน หรือบอกเศษส่วนที่แทนด้วยจุดบนเส้นจำ�นวน
2. ครูอาจชีใ้ ห้นก 3 สามารถเขียนในรูป —
ั เรียนเห็นว่า เศษส่วนทีเ่ ป็นจำ�นวนลบ เช่น - – -3 หรือ — 3 ได้ โดยเชือ
่ มโยง
5 5 -5
จากความหมายของเศษส่วนที่ว่า เศษส่วนเป็นจำ�นวนที่เขียนได้ในรูป – a เมือ่ a เป็นจำ�นวนเต็ม และ b เป็น
b
จำ�นวนเต็มที่ไม่เท่ากับศูนย์
3. ในการเปรียบเทียบเศษส่วนที่เป็นจำ�นวนลบ ครูอาจเริ่มโดยการให้นักเรียนเปรียบเทียบเศษส่วนที่เป็นจำ�นวนลบ
ที่ไม่ซับซ้อน โดยใช้เส้นจำ�นวน จากนั้น เชื่อมโยงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเปรียบเทียบเศษส่วนที่เป็นจำ�นวนบวก
และการเปรียบเทียบจำ�นวนเต็ม ไปสู่การเปรียบเทียบเศษส่วนใด ๆ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 4 | ทศนิยมและเศษส่วน 221

กิจกรรมเสนอแนะ 4.4 : ความหมายของเศษส่วน


กิจกรรมนี้ เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้นักเรียนเชื่อมโยงการระบุต�ำ แหน่งของเศษส่วนที่เป็นจำ�นวนบวกและเศษส่วนที่เป็น
จำ�นวนลบบนเส้นจำ�นวน ซึ่งช่วยให้นักเรียนได้พัฒนาการนึกภาพเกี่ยวกับตำ�แหน่งของเศษส่วนที่เป็นจำ�นวนบวกและเศษส่วน
ที่เป็นจำ�นวนลบบนเส้นจำ�นวน โดยมีอุปกรณ์และขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม ดังนี้

อุปกรณ์
ใบกิจกรรมเสนอแนะ 4.4 : ความหมายของเศษส่วน

ขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม
1. ครูให้นักเรียนแต่ละคนทำ�ใบกิจกรรมเสนอแนะ 4.4 : ความหมายของเศษส่วน
2. ครู แ ละนั ก เรี ย นร่ ว มกั น อภิ ป รายเพื่ อ หาข้ อ สรุ ป ในการระบุ ตำ � แหน่ ง ของเศษส่ ว นที่ เ ป็ น บวกและเศษส่ ว นที่ เ ป็ น
จำ�นวนลบบนเส้นจำ�นวน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
222 บทที่ 4 | ทศนิยมและเศษส่วน คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

ใบกิจกรรมเสนอแนะ 4.4 : ความหมายของเศษส่วน

ตอนที่ 1
ให้เขียนเศษส่วนแทนจุดที่กำ�หนดให้บนเส้นจำ�นวน

1 2

1 3

3 4

0 2

-2 0

-5 -4

-8 -7

-4 2

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 4 | ทศนิยมและเศษส่วน 223

ตอนที่ 2
ให้ระบุตำ�แหน่งของเศษส่วนที่กำ�หนดให้บนเส้นจำ�นวน

1 , -3 –
1. -3 – 1 และ -3 –2
2 6 3

1 , -2 –
2. -2 – 3 และ -2 –
4
5 5 5

1, -–
3. -1 – 2, 1 2
– และ -1 –
3 3 3 3

1 , -4 –
4. -5 – 1 , -3 –
1 และ -2 –
1
2 2 4 4

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
224 บทที่ 4 | ทศนิยมและเศษส่วน คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

เฉลยใบกิจกรรมเสนอแนะ 4.4 : ความหมายของเศษส่วน


ตอนที่ 1

1 11 11 13 2
4 2 4

1 11 2 21 3
2 2

3 31 32 33 34 4
5 5 5 5

0 1 2 1 11 12 2
3 3 3 3

-2 -12 -11 -1 -2 -1 0
3 3 3 3

-5 -44 -43 -42 -41 -4


5 5 5 5

-8 -75 -72 -71 -71 -71 -7


6 3 2 3 6

-4 -31 -3 -21 -2 -11 -1 -1 0 1 1 11 2


2 2 2 2 2 2

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 4 | ทศนิยมและเศษส่วน 225

ตอนที่ 2

1 , -3 –
1. -3 – 1 และ -3 –2
2 6 3

-4 -32 -31 -31 -3


3 2 6

1 , -2 –
2. -2 – 3 และ -2 –
4
5 5 5

-3 -24 -23 -21 -2


5 5 5

1, -–
3. -1 – 2, 1 2
– และ -1 –
3 3 3 3

-2 -12 -11 -2 1 1
3 3 3 3

1 , -4 –
4. -5 – 1 , -3 –
1 และ -2 –
1
2 2 4 4

-6 -51 -41 -31 -21 -2


2 2 4 4

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
226 บทที่ 4 | ทศนิยมและเศษส่วน คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

เฉลยชวนคิด
ชวนคิด 4.10

2 = –
ไม่ใช่ เนื่องจาก 1– 6 = –
3 และ 1–
1 = –
3 2 = 1–
ดังนั้น 1– 1
4 4 2 2 2 4 2

ชวนคิด 4.11
ได้ กล่าวคือ จำ�นวนเต็มใด ๆ สามารถเขียนได้ในรูป –a เมื่อ a เป็นจำ�นวนเต็ม และ b เป็นจำ�นวนเต็ม
b
ที่ไม่เท่ากับศูนย์ได้เสมอ ซึ่งแต่ละจำ�นวน สามารถเขียนได้หลากหลายแบบ เช่น

5 เขียนได้เป็น 5 หรือ 20
– —
1 4
19 38
-19 เขียนได้เป็น - — หรือ - —
1 2
0 0
เขียนได้เป็น — หรือ - – 0
53 6

ชวนคิด 4.12

ขวดโหลใบที่ 1 มีลูกแก้วสีขาว 11
— ของทั้งหมด จะมีลูกแก้วสีแดง 13
— ของทั้งหมด
24 24
ขวดโหลใบที่ 2 มีลูกแก้วสีขาว —5 ของทั้งหมด จะมีลูกแก้วสีแดง —7 = 14
— ของทั้งหมด
12 12 24
แต่อุมาต้องการหยิบลูกแก้ว 1 ลูก ให้ได้สีแดง
อุมาควรเลือกหยิบลูกแก้วจากขวดโหลใบที่ 2 จึงจะมีโอกาสหยิบได้ลูกแก้วสีแดงมากกว่า เพราะขวดโหล
ใบที่ 2 มีลูกแก้วสีแดงมากกว่า ขวดโหลใบที่ 1

เฉลยแบบฝึกหัด
แบบฝึกหัด 4.4

1. 1) 13 > 11
4 2 (เพราะ 12 1 = 14 2 และ 134 > 124 )
2) 25 < 2  3  
12 12 (เพราะ 12
25 = 2  1   จะได้ 2  1   < 2  3   หรือ 2   3    = 27 จะได้
12 12 12 12 12
25 < 27
12 12 )
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 4 | ทศนิยมและเศษส่วน 227

3) - 3 < 15 (เพราะจำ�นวนลบมีค่าน้อยกว่าจำ�นวนบวก)
4 7
4) 1 > - 11 (เพราะจำ�นวนบวกมีค่ามากกว่าจำ�นวนลบ)
7 9
5) - = - 21
6
7
18 (เพราะ - 6 7 = - 67 ×× 3 3 = - 18
21 หรือ - 21 = - 21 ÷ 3 = - 7
18 18 ÷ 3 6)
6) - 5 < - 1
3 2 (เพราะ - 3 5 = -13 2 ซึ่ง -123 อยู่ทางซ้ายของ - 21 บนเส้นจำ�นวน
จะได้ -12 < - 1
3 2


ดังนั้น - 5 < - 1
3 2 )
7) - 4 = - 12
5 15 (เพราะ - 4 = - 4 × 3 = - 12 หรือ - 12 = - 12 ÷ 3 = - 4
5 5 × 3 15 15 15 ÷ 3 5 )
8) -
15
11 = -   99  
135 (เพราะ - 11
15
= - 11 × 9
15 × 9
= -   
9 9  
135
หรือ -   
9 9  
135
= -   
9 9 ÷ 9  
135 ÷ 9
= - 11
15 )
9) -   5   > -   6   (เพราะ -5 > -6 และตัวส่วนเป็นจำ�นวนบวกเดียวกัน)
24 24
10) -43 < - 25
5 15 (เพราะ - 15
25 = - 5 = -12
3 3
เปรียบเทียบ -43 กับ -12 จะได้ -4 < -1
5 3


ดังนั้น -43 < - 25
5 15 )
11) -211 = - 37
13 13 (เพราะ -2 11
13
ทำ�เป็นเศษเกินได้ - 37
13 )
12) -13 < -11
4 2 (เพราะ -11 = -12 และ -13 < -12
2 4 4 4 )
13) -21 > -32 (เพราะ -2 > -3)
3 5
14) - 2 > -13
3 5 (เพราะ - 3 2 อยู่ทางขวาของ -135 บนเส้นจำ�นวน
)
2. แนวคิด ลูกเสือหมู่ที่หนึ่งมี 6 คน และนายหมู่หมู่ที่หนึ่งแบ่งเชือกยาว 4 เมตร
ลูกเสือหมู่ที่หนึ่งจะได้เชือกยาวคนละ 4– = – 2 เมตร
6 3
ลูกเสือหมู่ที่สองมี 9 คน และนายหมู่หมู่ที่สองแบ่งเชือกยาว 6 เมตร
ลูกเสือหมู่ที่สองจะได้เชือกยาวคนละ – 6 = – 2 เมตร
9 3
ดังนั้น ลูกเสือแต่ละคนในหมู่ที่หนึ่งและหมู่ที่สองได้เชือกยาวเท่ากัน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
228 บทที่ 4 | ทศนิยมและเศษส่วน คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

3. แนวคิด แบ่งขนมหม้อแกง 3 ถาด ให้เด็ก 5 คน คนละเท่า ๆ กัน จะได้รับคนละ – 3 ถาด


5
แบ่งขนมหม้อแกง 4 ถาด ให้เด็ก 7 คน คนละเท่า ๆ กัน จะได้รับคนละ 4 – ถาด
7
เนื่องจาก –3 > – 4
5 7
ดังนั้น เด็กแต่ละคนในกลุ่ม 5 คน ได้รับขนมหม้อแกงมากกว่าเด็กแต่ละคนในกลุ่ม 7 คน

4. แนวคิด 1 ส้มชนิดที่หนึ่ง 7 ผล ราคา 45 บาท


ส้มชนิดที่หนึ่งราคาผลละ 45
— = 6– 3 บาท
7 7
ส้มชนิดที่สอง 8 ผล ราคา 51 บาท
ส้มชนิดที่สองราคาผลละ — 51 = 6– 3 บาท
8 8
เนื่องจาก – 3 > – 3
7 8
ดังนั้น ส้มชนิดที่สองราคาถูกกว่าส้มชนิดที่หนึ่ง
แนวคิด 2 ใช้ ค.ร.น. ของ 7 และ 8 ในการพิจารณาหาคำ�ตอบ
ส้มชนิดที่หนึ่ง 7 ผล ราคา 45 บาท ถ้าส้ม 56 ผล ราคา 45 × 8 = 360 บาท
ส้มชนิดที่สอง 8 ผล ราคา 51 บาท ถ้าส้ม 56 ผล ราคา 51 × 7 = 357 บาท
ดังนั้น ส้มชนิดที่สองราคาถูกกว่าส้มชนิดที่หนึ่ง

1 ของความจุของโอ่ง
5. แนวคิด กระป๋องของเอื้อยตักน้ำ�เต็มหนึ่งกระป๋องได้น้ำ� –
8
คิดเป็น   
1 7   ของความจุของโอ่ง
136
กระป๋องของอ้ายตักน้ำ�เต็มหนึ่งกระป๋องได้น้ำ� — 2 ของความจุของโอ่ง
17
คิดเป็น   16   ของความจุของโอ่ง
136
เนื่องจาก   17   >   16  
136 136
ดังนั้น ถ้าทัง้ สองคนตักน้�ำ ใส่โอ่งโดยมีจ�ำ นวนครัง้ เท่ากัน โอ่งทีเ่ อือ
้ ยเทน้�ำ ลงไปมีน�้ำ มากกว่า เพราะกระป๋อง
ของเอื้อยตักน้ำ�ในแต่ละครั้งได้มากกว่ากระป๋องของอ้าย

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 4 | ทศนิยมและเศษส่วน 229

4.5 การบวกและการลบเศษส่วน (3 ชั่วโมง)


จุดประสงค์
นักเรียนสามารถ
1. หาผลบวกและผลลบของเศษส่วนที่กำ�หนดให้
2. บอกความสัมพันธ์ของการบวกและการลบเศษส่วน
3. ตระหนักถึงความสมเหตุสมผลของผลบวกและผลลบของเศษส่วนที่ได้

ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน
-

สื่อที่แนะนำ�ให้ใช้ในข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรม
ใบกิจกรรมเสนอแนะ 4.5 : การบวกและการลบเศษส่วน

ข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ในหัวข้อนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับการบวกและการลบเศษส่วน โดยเน้นการบวกและการลบเศษส่วนที่เป็นจำ�นวนลบ ซึ่งจะใช้
หลักการเดียวกันกับการบวกและการลบจำ�นวนเต็ม ทัง้ นี้ ครูควรพัฒนาความรูส้ ก
ึ เชิงจำ�นวนเกีย่ วกับการบวกและการลบเศษส่วน
ให้กับนักเรียน เพื่อให้ตระหนักถึงความสมเหตุสมผลของผลลัพธ์ที่ได้ กิจกรรมที่ครูควรจัดมีดังนี้
1. ครูเชือ
่ มโยงหลักเกณฑ์การหาผลบวกของจำ�นวนเต็ม และหลักเกณฑ์การบวกเศษส่วนทีเ่ ป็นจำ�นวนบวก เพื่อนำ�
ไปสู่หลักเกณฑ์การหาผลบวกของเศษส่วนที่เป็นจำ�นวนบวกและจำ�นวนลบ
2. ครูควรยกตัวอย่างและชี้ให้นักเรียนเห็นว่า จำ�นวนคละที่เป็นลบสามารถเขียนในรูปผลบวกของจำ�นวนเต็มลบกับ
เศษส่วนที่เป็นลบได้เสมอ เช่น -2– 1 เขียนแทนด้วย (-2) + - –
3
1
3 ( )
และเมื่อนักเรียนต้องการบวกเศษส่วน

เช่น (-7) + - –
5 ( )
3 ก็สามารถตอบได้ทันทีเป็น -7– 3 โดยไม่ต้องคำ�นวณ และครูควรเน้นย้ำ�ให้นักเรียนเห็นว่า
5
3
(-7) + – ≠ -7–3
5 5
3. ครูอธิบายให้นักเรียนเข้าใจเกี่ยวกับสมบัติการบวกของจำ�นวนที่ใช้กับเศษส่วน ได้แก่ สมบัติการสลับที่ สมบัติ
การเปลีย่ นหมู่ และสมบัตก
ิ ารบวกด้วยศูนย์ ซึง่ อาจยกตัวอย่างให้เห็นถึงความสะดวกและรวดเร็วในการหาผลบวก
1+ -–
อีกทั้งยังเป็นการพัฒนาความรู้สึกเชิงจำ�นวนของนักเรียน เช่น การหาผลบวกของ 2–
3
1
4 ( ) 1+ 1–87 + –43 หรือ
1
การหาคำ�ตอบโดยการหาเศษส่วนมาแทนใน ■ ของประโยค - – + ■ = - – + -
4 ( ) 3
5 ( ) ( 4–) โดยใช้สมบัติ
การสลับที่ จากนั้น ครูยกตัวอย่างเพิ่มเติมและให้นักเรียนฝึกเกี่ยวกับการหาผลบวกของเศษส่วน
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
230 บทที่ 4 | ทศนิยมและเศษส่วน คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

4. ครู ใ ช้ ค วามรู้ เ รื่ อ งจำ � นวนตรงข้ า มมาประกอบการอธิ บ าย เพื่ อ นำ � ไปสู่ ข้ อ ตกลงในการหาผลลบของเศษส่ ว น


ซึ่งจะเห็นว่าเป็นข้อตกลงเดียวกันกับการหาผลลบของจำ�นวนเต็มและทศนิยม
5. ครูชี้ให้นักเรียนสังเกตผลที่เกิดขึ้นจากการบวกและการลบเศษส่วนที่เชื่อมโยงกับตัวตั้ง และตัวบวกหรือตัวลบ
เพื่อพัฒนาความรู้สึกเชิงจำ�นวน เช่น เศษส่วนที่เป็นจำ�นวนลบ บวกกับเศษส่วนที่เป็นจำ�นวนลบ จะได้ผลลัพธ์
ทีเ่ ป็นเศษส่วนทีเ่ ป็นจำ�นวนลบทีน
่ อ
้ ยลง และให้นก
ั เรียนสังเกตผลบวกทีไ่ ด้จากการบวกเศษส่วนทีต
่ า่ งชนิดกันทีละคู่
แล้วใช้ค�ำ ถามให้นก
ั เรียนได้ขอ
้ สรุปว่า ผลบวกทีเ่ กิดจากเศษส่วนทีต
่ า่ งชนิดกัน จะเป็นเศษส่วนชนิดเดียวกับเศษส่วน
ที่มีค่าสัมบูรณ์มากกว่า เพื่อให้นักเรียนได้ตระหนักถึงความสมเหตุสมผลของคำ�ตอบที่ได้จากการบวกและการลบ
เศษส่วน เมื่อนักเรียนต้องแก้ปัญหาด้วยตนเอง
6. ครูอาจใช้ “กิจกรรมเสนอแนะ 4.5 : การบวกและการลบเศษส่วน” เพื่อฝึกให้นักเรียนได้ฝึกทักษะในการบวกและ
การลบเศษส่วน
7. ครูอาจยกตัวอย่างให้นก
ั เรียนเห็นว่า เศษส่วนไม่มส
ี มบัตก
ิ ารสลับทีแ่ ละสมบัตก
ิ ารเปลีย่ นหมูส
่ �ำ หรับการลบ โดยยก
ตัวอย่างค้านอย่างน้อยหนึง่ ตัวอย่างเพือ
่ แสดงให้เห็นว่าสมบัตน
ิ น
ั้ ไม่จริง และเพือ
่ ให้นก
ั เรียนได้ขอ
้ สรุปดังกล่าว เช่น

1) 1 – - — 5 = 16
11 ( )
— และ - —
11 ( )
5 – 1 = - 16
11

11
ดังนั้น 1 – - —
11 ( ) ( )
5 ≠ -— 5 –1
11
2) - –2––
7 7
3 – -–
[ ] ( )
6 = –
7
1 และ - –
7 [ ( )] = - 11—7
2– –
7 7
3 – -–6
7
ดังนั้น - –2––
7 7 [ ] ( ) [ ( )]
3 – -–
6 ≠ -–
7
2– –
7 7
3 – -– 6
7

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 4 | ทศนิยมและเศษส่วน 231

กิจกรรมเสนอแนะ 4.5 : การบวกและการลบเศษส่วน


กิจกรรมนี้ เป็นกิจกรรมทีส่ ง่ เสริมให้นก
ั เรียนได้ฝก
ึ ทักษะในการบวกและการลบเศษส่วน รวมถึงพัฒนาความรูส้ ก
ึ เชิงจำ�นวน
โดยมีอุปกรณ์และขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม ดังนี้

อุปกรณ์
ใบกิจกรรมเสนอแนะ 4.5 : การบวกและการลบเศษส่วน

ขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม
1. ครูให้นักเรียนทำ�ใบกิจกรรมเสนอแนะ 4.5 : การบวกและการลบเศษส่วน
2. ครูและนักเรียนร่วมกันตรวจคำ�ตอบที่ได้ โดยอาจให้นักเรียนนำ�เสนอผลบวกและผลลบที่ได้บนกระดาน แล้วช่วยกัน
ตรวจคำ�ตอบ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
232 บทที่ 4 | ทศนิยมและเศษส่วน คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

ใบกิจกรรมเสนอแนะ 4.5 : การบวกและการลบเศษส่วน

คำ�ชี้แจง
จงหาจำ�นวนสามจำ�นวนที่มีความสัมพันธ์กัน โดยเมื่อเชื่อมจำ�นวนทั้งสามด้วยเครื่องหมาย +, – และ = แล้ว
ทำ�ให้ได้ประโยคที่เป็นจริง
1
- –2 –
6
3
–7
9

1
1
-2–
9
-1–2
3 8

-1 9

-5

6
-1
– -1

9 3

1
- 1–
-5

3 -8

9 9

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 4 | ทศนิยมและเศษส่วน 233

เฉลยใบกิจกรรม 4.5 : การบวกและการลบเศษส่วน


คำ�ตอบมีได้หลากหลาย เช่น

1+–
1. - –
9 9
8 = –7
9
หรือ –7 – - –
9 9( )
1 = – 8
9
หรือ –7 – –
9 9
8 = -– 1
9

( )
2. 1 + - –1 = –
9 9
8 8–1 = -–
หรือ –
9
1
9
หรือ –
9 ( )
8– -– 1 = 1
9
3. –
6 ( )
1+ -– 5 = -–
6
2
3
2––
หรือ - –
3 6
1 = -– 5
6
หรือ - –
3 ( )
2– -– 5 = –
6
1
6

( )
4. - –5 +1 = –
6 6
1 1– -–
หรือ –
6 6( )
5 = 1 1–1 = -–
หรือ –
6
5
6
5. - –
9 ( )
5+ -– 1 = -–
3
8
9
8– -–
หรือ - –
9 ( )
5 = -–
9
1
3
หรือ - –
9 ( )
8– -– 1 = -–
3
5
9
6. -1–
3 ( )
1+ -– 1 = -1–
3
2
3
หรือ -1–2 – -1–
3 ( )
1 = -–
3
1
3
หรือ -1–
3 ( )
2– -– 1 = -1–
3
1
3
7. -2–1 + –7 = -1–
9 9
1
3
หรือ -1–1 – -2–
3 ( )
1 = –7
9 9
หรือ -1–1 – –7 = -2–
3 9
1
9

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
234 บทที่ 4 | ทศนิยมและเศษส่วน คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

เฉลยชวนคิด
ชวนคิด 4.13
จากตัวอย่างที่ 5 และโจทย์ทใี่ ห้หาผลบวกนี้ สามารถสรุปเป็นข้อสังเกตได้วา่ ในการหาผลบวกของจำ�นวน
เต็มลบกับเศษส่วนที่เป็นจำ�นวนลบ สามารถหาผลบวกได้ทันทีโดยไม่ต้องคำ�นวณ และได้คำ�ตอบที่เป็น
จำ�นวนคละที่เป็นจำ�นวนลบ

ชวนคิด 4.14

1
– 1
-– —1
4 3 12
1
-– 0 1

6 6

-—1 1
– 1
-–
12 3 4

ชวนคิด 4.15
จำ�นวนตรงข้ามของ —9 , -1–
5 , 11 1 และ - 32
— , -12– — คือ - —9 , 1–
5 , - 11 1 และ 32
— , 12– —
10 7 35 8 19 10 7 35 8 19
ตามลำ�ดับ

เฉลยแบบฝึกหัด
แบบฝึกหัด 4.5 ก
1. 1) —2 2) —3 หรือ 1– 27 หรือ -3
3) - —
11 12 4 9
4) - 10 2
— หรือ - – 5) - 19
— หรือ -3–1 6) - 38
— หรือ -5– 3
15 3 6 6 7 7
7) 17
— 8) -—31 หรือ -1—9
18 22 22
9) - 19
— 10) - 305 หรือ -711
24 42 42

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 4 | ทศนิยมและเศษส่วน 235

1+ -–
2. 1) - –
3
5 +–
6 7 ( )
5 = -– 2+ -–
6 6 [ ( )]
5 +– 5 = -–
7
7+–
6 7
5 = - 19

42
3 + 1–
2) –
4
1 + (-2) = –
4
3+–
4 4
5+ -–8 = –
4 4 ( )
0 = 0

3 + 1–
หรือ –
4
1 + (-2) = –
4
3+–
4 4 ( )
5 + (-2) = –
8 + (-2) = 2 + (-2) = 0
4
3) —5 + -–
18 9 18( )
7 + 13
— = — 5 + - 14
18
— + 13
18 18 ( )
— = — 4 = –
18
2
9
5 2
( ) ( )
5
[ ( )] [( ) ]
1 5 5 2 4
4) – + - – + - – + 1– = – + - – + - – + – = 0 + –
6 3 6 3 6 6 3 3
2 = –
3
2
3
3+ -—
5) –
5 10 ( ) ( ) ( ) [( ) ( )]
7 + 1– 2+ -—
5
3 = –
10
3+–
5 5
7 + -— 7 + -—
10
3 = 10
10
— + - 10
5 ( )
— = 2 + (-1) = 1
10

3+—
3. เส้นผ่านศูนย์กลางภายนอก (D) ของท่อ เท่ากับ 1– 3 + 1–
3+—3 = 31 7 นิ้ว
— หรือ 3–
4 16 4 16 8 8

แบบฝึกหัด 4.5 ข
1. 1) —7 2) - 26
— 5 หรือ -1–
3) - – 2
24 35 3 3
17
4) — 5) - 55
— หรือ -3—13 6) - 19
— หรือ -1— 7
40 14 14 12 12
7) 95 23
— หรือ 3— 8) - 151 หรือ -511 9) 55
— หรือ 4— 7
24 24 28 28 12 12

10) —8
15

1
2. 1) - – 2) -11 3) - 11
— 1
4) -20–
7 13 6

3. 1) -7–4 2
2) -15– 11
3) -2— 19
4) -2—
5 9 27 33

4. 1) –
7 14 (
5 + 11
21 ) ( )
— = [(5 × 6) + (11 × 3)] + (13 × 2) = (30 + 33) + 26
— – - 13
42 42

= 63 + 26 = 89 หรือ 2  5  
42 42 42

2) 1
-6–
3 [( ) ] 2
+ 9 – 1–
3
=
[( ) ]
- 19
— +—
3
27 – –
3
5 = –
3
8––
3 3
5 = –3 = 1
3
2–
3) 1–
9 (1 + 2–

7
1 =
3 ) 11
—– –
9 ( )
1+–
7 3
7 = (11 × 7) – [(1 × 9) + (7 × 21)]
63

= 77 – (9 + 147) = 77 – 156 = - 79 หรือ -116


63 63 63 63
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
236 บทที่ 4 | ทศนิยมและเศษส่วน คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

4 – -1–
4) - –
5
1 ––
2 4 [( ) ]
3 = -–4– -–
5
3 + -–
2
3 = - 16
4 20[( ) ( )] ( ) [( ) ( )]
— – - 30 — + - 15
20

20
= - 16
— – - 45
20 ( ) ( )
— = —
20
29 หรือ 1—
20
9
5
20
5) 3 – - –
9[ ( )] (
5 – –4 – 1–
9
1 = –
3
3+–
1 9 ) ( ) ( ) ( ) [ ( )]
5 – –
4––
9 3
4 = – 3+–
1 9
5 – – 4+ -–
9
4
3


27 5
= — +– – –+ -
9 9 ( ) [ ( )] ( )
4
9
12
9
= 32
9
– - 8
9

40 หรือ 4 –
= — 4
9 9
1 – 3–
6) 3–
4 2(
1 – 1–
6 ) [
1 – (-2) = 13
—+ -–
4 2 ] [ ( )] [ ]
7 – –7 + –
6 1
2

= 13
— + - 14
4 4 [ ( )] [ ]
— – –7 + 12
6 6

= -1
– – 19

4 6
41 หรือ -3—
= -— 5
12 12

5. 1) a + b 2) 2 + a 3) 4 4) 4 + a 5) a + b
4 3 a x y

6) a – b 7) x – 2 8) - 1 9) 5 – b 10) a – b
5 3 a x c

6. 1) ประโยคข้างต้นเป็นจริง เมื่อ a = b

4,b = –
ดังนั้น คำ�ตอบมีได้หลากหลาย เช่น a = – 4 หรือ a = - –
3 , b = - –3
5 5 4 4
2) ประโยคข้างต้นเป็นเท็จ เมื่อ a ≠ b

4 , b = –3 หรือ a = - –
ดังนั้น คำ�ตอบมีได้หลากหลาย เช่น a = – 2,b = –
8
5 5 5 3
3) จากข้อ 2) จะเห็นว่าเศษส่วนไม่มีสมบัติการสลับที่สำ�หรับการลบ

7. 1) ประโยคข้างต้นเป็นจริง เมื่อ c = 0

6,b = –
ดังนั้น คำ�ตอบมีได้หลากหลาย เช่น a = – 2 , c = 0 หรือ a = –
2,b = -–
4,c = 0
7 7 3 3
2) ประโยคข้างต้นเป็นเท็จ เมื่อ c ≠ 0

8,b = –
ดังนั้น คำ�ตอบมีได้หลากหลาย เช่น a = – 5,c = –
2 หรือ a = –
8,b = -1 2
–,c = -–
9 9 9 7 7 7
3) จากข้อ 2) จะเห็นว่าเศษส่วนไม่มีสมบัติการเปลี่ยนหมู่สำ�หรับการลบ
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 4 | ทศนิยมและเศษส่วน 237

8.
(1–32 + 3–14) – 4 = (–35 + 13—4 ) – –14 = (12—20 + 1239—) – 1248— = 1259— – 1248— = 1211—
2 และ 3–
ดังนั้น ผลบวกของ 1– 1 มากกว่า 4 อยู่ 11

3 4 12

3 – 163–
9. ปรีชาสูงขึ้น 166–
5
3 = 166 + –
4 5 (
3 – 163 + –
4 ) (
3 = (166 – 163) + –
3–3

5 4 ) ( )
57 หรือ 2—
= — 17 เซนติเมตร
20 20

3+–
10. แนวคิด ดวงใจใช้เวลาทำ�การบ้านทั้งหมด – 1+–
3 = 15 + 10 + 12 = 37
4 2 5 20 20

= 111 หรือ 151 ชั่วโมง


60 60
ดังนั้น ดวงใจใช้เวลาทำ�การบ้านทั้งหมด 1 ชั่วโมง 51 นาที

11. แนวคิด สวนสาธารณะใช้พื้นที่ปลูกไม้ยืนต้น ทำ�ถนนและปลูกไม้ประดับ – 1+2


– = 11
— ของพื้นที่ทั้งหมด
3 5 15
ดังนั้น พื้นที่ส่วนที่เหลือเป็นสนามหญ้า —4 ของพื้นที่ทั้งหมด
15

3 + 1–
12. แนวคิด ช่างไม้ต้องการใช้ไม้ยาว 3–
4
3 = (3 + 1) + –
5
3+3
4 5
– = 4 + 1—
20 ( )
7 = 5—7 เมตร
20
1 = 5—
แต่ไม้ที่มีอยู่ยาว 5– 5 เมตร ซึ่งสั้นกว่า 5—7 เมตร
4 20 20
ดังนั้น เขาจะนำ�ไม้ชิ้นที่มีอยู่มาตัดเป็นไม้ 2 ชิ้น ตามที่ต้องการไม่ได้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
238 บทที่ 4 | ทศนิยมและเศษส่วน คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

4.6 การคูณและการหารเศษส่วน (3 ชั่วโมง)


จุดประสงค์
นักเรียนสามารถ
1. หาผลคูณและผลหารของเศษส่วนที่กำ�หนดให้
2. บอกความสัมพันธ์ของการคูณและการหารเศษส่วน
3. ตระหนักถึงความสมเหตุสมผลของผลคูณและผลหารของเศษส่วนที่ได้

ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน
นักเรียนอาจมีความเข้าใจคลาดเคลือ
่ นเกีย่ วกับการหารเศษส่วนด้วยเศษส่วน เช่น นักเรียนเข้าใจคลาดเคลือ
่ นว่า
16
—÷4– = 16 ÷ 4 แต่จากหลักการหารเศษส่วน จะได้ว่า 16 — ÷– 4 = 16— ×– 5
25
5 25 ÷ 5 25 5 25 4

สื่อที่แนะนำ�ให้ใช้ในข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ใบกิจกรรมเสนอแนะ 4.6 : เครื่องหมายที่หายไป

ข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ในหัวข้อนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับการคูณและการหารเศษส่วน โดยเน้นการคูณและการหารเศษส่วนที่เป็นจำ�นวนลบ ซึ่งจะใช้
หลักการเดียวกันกับการคูณและการหารจำ�นวนเต็ม ทัง้ นี้ ครูควรพัฒนาความรูส้ ก
ึ เชิงจำ�นวนเกีย่ วกับการคูณและการหารเศษส่วน
ให้กับนักเรียน เพื่อให้ตระหนักถึงความสมเหตุสมผลของผลลัพธ์ที่ได้ กิจกรรมที่ครูควรจัดมีดังนี้
1. ครูเชือ
่ มโยงหลักเกณฑ์การคูณจำ�นวนเต็ม และหลักเกณฑ์การคูณเศษส่วนทีเ่ ป็นจำ�นวนบวก เพือ
่ นำ�ไปสูห
่ ลักเกณฑ์
การหาผลคูณของเศษส่วนทั้งที่เป็นจำ�นวนบวกและจำ�นวนลบ แต่จะเน้นให้นักเรียนหาผลคูณของเศษส่วนที่เป็น
จำ�นวนลบ
2. ครูอธิบายให้นักเรียนเข้าใจเกี่ยวกับสมบัติการคูณของจำ�นวนที่ใช้กับเศษส่วน ได้แก่ สมบัติการสลับที่ สมบัติ
การเปลีย
่ นหมู่ สมบัตก
ิ ารแจกแจง สมบัตก
ิ ารคูณด้วยศูนย์ และสมบัตก
ิ ารคูณด้วยหนึง่ ซึง่ อาจยกตัวอย่างให้เห็น
ถึงความสะดวกและรวดเร็วในการหาผลคูณ อีกทัง้ ยังเป็นการพัฒนาความรูส
้ ก
ึ เชิงจำ�นวนของนักเรียน เช่น การหา

ผลคูณของ - —3 ×–
25 8
3 ×—
9 [( ) ]
40 หรือการหาผลคูณของ –
1×–
5 – –
3 2
1 × 25
3 4

( )( ) จากนั้น ครูยกตัวอย่างเพิ่มเติมและ

ให้นักเรียนฝึกเกี่ยวกับการหาผลคูณของเศษส่วน
3. ครูเชือ
่ มโยงหลักเกณฑ์การหารเศษส่วนทีเ่ ป็นจำ�นวนบวก และหลักเกณฑ์การหารจำ�นวนเต็ม เพือ
่ นำ�ไปสูห
่ ลักเกณฑ์
การหารเศษส่วนที่เป็นจำ�นวนบวกและจำ�นวนลบ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 4 | ทศนิยมและเศษส่วน 239

4. ครูชี้ให้นักเรียนสังเกตผลที่เกิดขึ้นจากการคูณและการหารเศษส่วน ซึ่งมีความหลากหลาย เพื่อพัฒนาความรู้สึก


เชิงจำ�นวน และเพือ
่ ให้นก
ั เรียนได้ตระหนักถึงความสมเหตุสมผลของคำ�ตอบทีไ่ ด้จากการคูณและการหารเศษส่วน
เช่น
1×1
– – ได้ผลคูณเป็น –1 ซึ่งมีค่าน้อยกว่าทั้งตัวตั้งและตัวคูณ
2 3 6
-–3 × 12
— ได้ผลคูณเป็น - —9 3
ซึ่งเป็นจำ�นวนลบที่มีค่าน้อยกว่า - –
8 5 10 8
-–2× -–
7 ( )
4
3
ได้ผลคูณเป็น — 8
21
ซึ่งเป็นจำ�นวนบวกที่มีค่ามากกว่าทั้งตัวตั้งและตัวคูณ

1÷1
– – ได้ผลหารเป็น 2 ซึ่งเป็นจำ�นวนบวกที่มีค่ามากกว่าทั้งตัวตั้งและตัวคูณ
2 4
-–1÷1 – 1
ได้ผลหารเป็น - – 1
ซึ่งเป็นจำ�นวนลบที่มีค่าน้อยกว่า - –
4 2 2 4
5. ครูอาจยกตัวอย่างให้นักเรียนเห็นว่า เศษส่วนไม่มีสมบัติการสลับที่และสมบัติการเปลี่ยนหมู่สำ�หรับการหาร
โดยยกตัวอย่างค้านอย่างน้อยหนึ่งตัวอย่าง เพื่อแสดงให้เห็นว่าสมบัตินั้นไม่จริง เช่น

3÷ -–
1) –
8
5 = -—
4 10 ( )
3 และ - –
5÷–
4 8
3 = - 10

3
3÷ -–
ดังนั้น –
8
5 ≠ -–
4 ( )
5÷–
4 8
3

2) -1 ÷ – 2 ÷ -–
3 8 ( ) ( )
1 = 12 และ -1 ÷ –2÷ -–
3
1
8 [ ( )] = —3
16
2 ÷ -1
ดังนั้น -1 ÷ –
3 ( ) ( ) 2÷ -–
– ≠ -1 ÷ –
8 3
1
8 [ ( )]
6. ครูอาจใช้ “กิจกรรม : บอกหน่อยได้ไหม” และ “กิจกรรมเสนอแนะ 4.6 : เครื่องหมายที่หายไป” เพื่อฝึกทักษะ
และพัฒนาความรูส
้ ก
ึ เชิงจำ�นวนเกีย่ วกับการหาผลบวก ผลลบ ผลคูณ และผลหารของเศษส่วน โดยอาจให้นก
ั เรียน
ร่วมกันอภิปรายเพื่อหาคำ�ตอบโดยไม่ต้องคำ�นวณ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
240 บทที่ 4 | ทศนิยมและเศษส่วน คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

กิจกรรม : บอกหน่อยได้ไหม
กิจกรรมนี้ เป็นกิจกรรมที่ให้นักเรียนฝึกและพัฒนาความรู้สึกเชิงจำ�นวนเกี่ยวกับการบวก การลบ การคูณ และการหาร
เศษส่วน และมีความตระหนักถึงความสมเหตุสมผลของคำ�ตอบ โดยมีขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม ดังนี้

อุปกรณ์
-

ขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม
1. ครูยกตัวอย่างเพื่ออธิบายวิธีการพิจารณาหาคำ�ตอบ โดยไม่ต้องคำ�นวณ
2. ครูให้นักเรียนพิจารณาว่าแต่ละข้อเป็นจริงหรือไม่ พร้อมทั้งให้เหตุผลประกอบการพิจารณา
3. ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายแนวคิดในการพิจารณาว่าแต่ละประโยคที่กำ�หนดให้ในแต่ละข้อเป็นจริงหรือไม่
โดยอาจใช้การถามตอบเพือ
่ กระตุน
้ ให้นก
ั เรียนได้ฝก
ึ การใช้ความรูส
้ ก
ึ เชิงจำ�นวนเกีย่ วกับการบวก การลบ การคูณ และ
การหารเศษส่วน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 4 | ทศนิยมและเศษส่วน 241

เฉลยกิจกรรม : บอกหน่อยได้ไหม
1. ไม่เป็นจริง เพราะ -2 – – 1 = -2–1 ซึ่ง -2–
1 < -2 ดังนั้น -2 – –1 < -2
2 2 2 2
2. เป็นจริง เพราะ – 1–– 1 = 0 และ 0 × 100 = 0
4 4
3. ไม่เป็นจริง เนื่องจาก –
5
1– -–
( )
1 =–
3 5 3
1+–1 และ – 1+ -–
5 3 ( )
1 < –1+–
5 3
1

4. ไม่เป็นจริง เนื่องจากทั้งสองข้างของเครื่องหมาย < ต่างมี –1+– 1 เหมือนกัน จึงเปรียบเทียบเฉพาะ –


1 กับ –
1
1 > – 1 2 4 5 8
แต่ –
5 8
5. ไม่เป็นจริง เนื่องจาก – 1×– 1 = —1 และ — 1 < – 1
5 5 25 25 5
6. เป็นจริง เนื่องจาก – 1 < – 1 ดังนั้น –
1×– 1 < – 1×– 1
7 2 3 7 3 2
7. เป็นจริง เนื่องจาก - –
( ) ( )
1 × -–
3
1 = –
3
1 และ –
9
1 < –
9
1
3

( )
8. ไม่เป็นจริง เนื่องจาก 1 ÷ - – 1 = 1× -–
2 1 ( )
2 = -2 และ -2 < - – 1
2
9. ไม่เป็นจริง ตัวตั้งเป็น 10 เท่ากัน แต่ –1 > — 1 ดังนั้น 10 ÷ –
1 < 10 ÷ —1
8 16 8 16
10. เป็นจริง เพราะจำ�นวนลบหารด้วยจำ�นวนบวก ผลลัพธ์ที่ได้เป็นจำ�นวนลบ ซึ่งน้อยกว่า 0

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
242 บทที่ 4 | ทศนิยมและเศษส่วน คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

กิจกรรมเสนอแนะ 4.6 : เครื่องหมายที่หายไป


กิจกรรมนี้ เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้นักเรียนได้ฝึกทักษะในการบวก การลบ การคูณ และการหารเศษส่วน รวมถึงพัฒนา
ความรู้สึกเชิงจำ�นวน โดยมีอุปกรณ์และขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม ดังนี้

อุปกรณ์
ใบกิจกรรมเสนอแนะ 4.6 : เครื่องหมายที่หายไป

ขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม
1. ครูให้นักเรียนทำ�ใบกิจกรรมเสนอแนะ 4.6 : เครื่องหมายที่หายไป
2. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปคำ�ตอบที่ได้ พร้อมทั้งอภิปรายว่ามีแนวทางในการพิจารณาอย่างไร

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 4 | ทศนิยมและเศษส่วน 243

ใบกิจกรรมเสนอแนะ 4.6 : เครื่องหมายที่หายไป

คำ�ชี้แจง
จงเติมเครื่องหมาย + , – , × หรือ ÷ ลงใน ให้ถูกต้อง

3
1. - – 1
– = 1
-–
8 4 8

2. -2 3
– = 3
-2–
7 7

8
3. - – 6
– = - 16

9 7 21

2
4. - – 3
-– = 1

3 4 2

5. 3
– 2
-– = -1
2 3

6. 1
– 1
– = 1

2 2 4

2
7. - – 1
– = 8
-–
5 4 5

8. 3
– 2
-– = 0
6 4

2
9. - – 1
-– = 2
3 3

3
10. - – 1
– = -1
4 4

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
244 บทที่ 4 | ทศนิยมและเศษส่วน คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

เฉลยใบกิจกรรมเสนอแนะ 4.6 : เครื่องหมายที่หายไป

3
1. - – + 1
– = 1
-–
8 4 8

2. -2 – 3
– = 3
-2–
7 7

8
3. - – × 6
– = - 16

9 7 21

2
4. - – × 3
-– = 1

3 4 2

5. 3
– × 2
-– = -1
2 3

6. 1
– × 1
– = 1

2 2 4

2
7. - – ÷ 1
– = 8
-–
5 4 5

8. 3
– + 2
-– = 0
6 4

2
9. - – ÷ 1
-– = 2
3 3

3
10. - – – 1
– = -1
4 4

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 4 | ทศนิยมและเศษส่วน 245

เฉลยแบบฝึกหัด
แบบฝึกหัด 4.6 ก
1
1. 1) – 2) - —2
9 15
3) 0 4) - 50
— หรือ -4— 6
11 11
5) -1 6) 12
— หรือ 1— 1
11 11
51 หรือ -7–
7) - — 2 7 หรือ -3–
8) - – 1
7 7 2 2
9) - 12
— หรือ -1–5 7 หรือ 2–
10) – 1
7 7 3 3
11) 0 12) - 13
— หรือ -6– 1
2 2

2
2. 1) - – 4 หรือ 1–
2) – 1 3) - 4
– 1
4) - –
3 3 3 5 5
5) -1 6) 0 7) - —7 2
8) –
10 5

3. 1) -—
[( ) ] [( ) ]
3 ×—
10 15
7 + -— 3 ×—
10 15
8 = -— 7 + -—
50
8 = -—
50 ( )
3
10 ( )
หรือ - —
[( ) ] [( )
3 ×—
10
7 + -—
15
3 ×—
10 15
8 = -— 3 × —
10
7 +—
15 15 ] (
8 = -—
) (
3 × 15
10
— = -—
15
3
10 ) ( ) ( )
2) —
9 [ ][ ] (
11 × (-3) + (-3) × –
7 = 11
9
—+–
9 9
7 × (-3) = 18
)
— × (-3) = -6
9
3) –
7 [ ( )] ( )
3× -– 5 – –
2
3×—
7 4
25 = –3 × -–
7
5 –—
2 4
25 = –
7 [( )
3 × - 35
]
— = - 15
4

4 ( )
4) –
4 5 [ ( )] [ ( )] (
3 - 4– – – 2 - 4– = –
5 5
3 – –
4
2 - 4– = —
5 5 20 5 )( )
7 - 4– = - —7
25 ( )( )
4. 1) 4 2) 6

3) - 1
– 4) -1
2
5) -1 6) -3

7) 0 7
8) - –
3
3
9) – 10) 0
4

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
246 บทที่ 4 | ทศนิยมและเศษส่วน คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

5. แนวคิด 3 ชั่วโมง
พรชัยขับรถออกจากบ้านจนหยุดพัก ใช้เวลา 2 ชั่วโมง 45 นาที คิดเป็น 2–
4
พรชัยขับรถมาแล้วเป็นระยะทาง 80– 1 × 2–
3 = 161 × 11 = 1,771 หรือ 221–3 กิโลเมตร
2 4 2 4 8 8
ดังนั้น พรชัยขับรถมาแล้วเป็นระยะทาง 221–3 กิโลเมตร
8

6. แนวคิด 1 สุคนธ์อ่านหนังสือไปแล้ว 11 — ของจำ�นวนหน้าทั้งหมด


15
4 ของจำ�นวนหน้าทั้งหมด
เหลือที่ยังไม่ได้อ่านอีก —
15
4 × 405 = 108 หน้า
ดังนั้น เหลือหนังสือที่สุคนธ์ยังไม่ได้อ่าน —
15
แนวคิด 2 สุคนธ์อ่านหนังสือไปแล้ว 11 — × 405 = 297 หน้า
15
ดังนั้น เหลือหนังสือที่สุคนธ์ยังไม่ได้อ่าน 405 – 297 = 108 หน้า

7. แนวคิด จิตราขับรถไปยังเมืองหนึ่ง

วันแรกขับไปได้ทาง – 1 ของระยะทางทั้งหมด
3
3
วันที่สองขับได้ทาง – ของวันแรก คิดเป็นระยะทาง – 3 × –1 ของระยะทางทั้งหมด
4 4 3
1 ของระยะทางทั้งหมด
ดังนั้น วันที่สองจิตราขับรถได้ทาง –
4
รวมระยะทางวันแรกกับวันที่สองได้ทาง – 1 + –1 = — 7 ของระยะทางทั้งหมด
3 4 12
เนื่องจาก สองวันแรกจิตราขับรถได้ระยะทาง — 7 ของระยะทางทั้งหมด
12
ดังนั้น ยังเหลือระยะทางอีก — 5 ของระยะทางทั้งหมด
12

8. แนวคิด 1
อายุของบิดา (ปี) อายุของบุตร (ปี)

ปัจจุบัน 39 6+3 = 9

สามปีที่แล้ว 39 – 3 = 36 1 × 36 = 6

6

ดังนั้น ปัจจุบันบุตรอายุ 9 ปี

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 4 | ทศนิยมและเศษส่วน 247

แนวคิด 2 ปัจจุบันบิดามีอายุ 39 ปี
สามปีที่แล้ว บิดามีอายุ 39 – 3 = 36 ปี
และสามปีที่แล้ว บุตรมีอายุเป็น 1– ของอายุบิดา เท่ากับ 1
– × 36 = 6 ปี
6 6
ดังนั้น ปัจจุบันบุตรมีอายุ 6 + 3 = 9 ปี

9. แนวคิด ปริศนาได้รับเงินเดือน 18,000 บาท


ให้คุณแม่ 1 – ของเงินเดือนทั้งหมด
6
ยังเหลือเงินอีก –5 ของเงินเดือนทั้งหมด คิดเป็น –5 × 18,000 = 15,000 บาท
6 6
ฝากธนาคาร – 1 ของเงินที่เหลือ คิดเป็น –
1 × 15,000 = 3,750 บาท
4 4
และที่เหลือจากฝากธนาคารเก็บไว้เป็นค่าใช้จ่ายส่วนตัว
ดังนั้น ปริศนาเหลือเงินเป็นค่าใช้จ่ายส่วนตัว 15,000 – 3,750 = 11,250 บาท

10. แนวคิด 1 รถคันนี้แล่นได้ระยะทาง 10 กิโลเมตร จะใช้น้ำ�มัน 1 ลิตร


ดังนั้น ถ้าแล่นได้ระยะทาง 150 กิโลเมตร จะใช้น้ำ�มัน 150 ÷ 10 = 15 ลิตร
แต่ขับรถได้ระยะทาง 150 กิโลเมตร เหลือน้ำ�มันอยู่ – 3 ของถัง
4
แสดงว่า ใช้น้ำ�มันไป –1 ของถัง คิดเป็นน้ำ�มัน 15 ลิตร
4
3 ของถัง คิดเป็นน้ำ�มัน 3 × 15 = 45 ลิตร
ดังนั้น จะเหลือน้ำ�มันอีก –
4

แนวคิด 2 ระยะทาง 10 กิโลเมตร ใช้น้ำ�มัน 1 ลิตร


ระยะทาง 150 กิโลเมตร ใช้น้ำ�มัน 150 ÷ 10 = 15 ลิตร

15 ลิตร น้ำ�มันที่ใช้ไปในระยะทาง 150 กม.


15 ลิตร
3 ของถัง คิดเป็น 45 ลิตร
เหลือน้ำ�มัน –
15 ลิตร
4
15 ลิตร

11. แนวคิด ยุ้งเกลือทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากกว้าง 4– 1 = 9


– เมตร
2 2
ยาว 2– เท่าของความกว้าง คิดเป็น 2– × 9
2 2 – = 54
— เมตร
5 5 2 5
และมีความสูง – 2 เท่าของความกว้าง คิดเป็น –
2×9 – = 3 เมตร
3 3 2
ดังนั้น ยุ้งเกลือหลังนี้มีความจุ 9
– × 54
— × 3 = 729 = 145.8 ลูกบาศก์เมตร
2 5 5
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
248 บทที่ 4 | ทศนิยมและเศษส่วน คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

เนื่องจาก กองเกลือทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากที่มีขนาดกว้าง 1 วา ยาว 1 วา และสูง 1 ศอก คิดเป็นปริมาตร


1 เกวียน
ดังนั้น 1 เมตร คิดเป็น
กองเกลือทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากที่มีขนาดกว้าง 2 เมตร ยาว 2 เมตร และสูง –
2
1
ปริมาตร 2 × 2 × – = 2 ลูกบาศก์เมตร ซึ่งเท่ากับ 1 เกวียน
2
จะได้ ความจุ 145.8 ลูกบาศก์เมตร เท่ากับ 145.8 = 72.9 เกวียน
2
และ ปริมาตรหรือความจุ 1 เกวียน เท่ากับ 100 ถัง
จะได้ ความจุ 0.9 เกวียน เท่ากับ 0.9 × 100 = 90 ถัง
นั่นคือ ความจุ 72.9 เกวียน เท่ากับ 72 เกวียน 90 ถัง
ดังนั้น ยุ้งเกลือนี้จุเกลือได้ทั้งหมด 72 เกวียน 90 ถัง

แบบฝึกหัด 4.6 ข

1. 1) - — 2 2) -18
15
3) —45 หรือ 1— 17 4) - – 7
28 28 9
6 หรือ -1–
5) - – 1
5 5
1 4
[( ) ( )] [( ) ( )] ( )
6) – - – ÷ -1–
4 5
1 = –
2
1 -4
4 5
– ÷ -–3 = –
2
1 —8 = —
4 15 15
2


(
3 5
)
11 55 11 5
7) 2– × – ÷ — = — ÷ — = – หรือ 2–
4 6 12 24 12 2
1
2
8) - –
[( ) ]( ) ( )( )
2 ÷— 8 -–
5 21 7
3 = -—21 - –
20 7
3 = — 9
20
9) - —
( ) ( ) ( )
10
9 ÷ 1–+–
6 3
2 = -— 9 ÷–
10 6
5 = -— 27 หรือ -1—
25
2
25
10) -3–
( ) ( ) ( )
1 ÷ 2–
2
1––
8 4
3 = -3–1 ÷ 11
2
— = - 28
8
— หรือ -2—
11
6
11

2. 1) ประโยคข้างต้นเป็นจริง เมื่อ a = b หรือ a = -b และ b ≠ 0


ดังนั้น คำ�ตอบมีได้หลากหลาย เช่น a = – 4, b = – 4 หรือ a = 2
–, b= - 2

5 5 3 3
2) ประโยคข้างต้นเป็นเท็จ เมื่อ a ≠ b หรือ a ≠ -b และ b ≠ 0
ดังนั้น คำ�ตอบมีได้หลากหลาย เช่น a = 12—, b = — 4 หรือ a 3, b = –
= -– 5
7 21 4 6
3) จากข้อ 2) จะเห็นว่าเศษส่วนไม่มีสมบัติการสลับที่สำ�หรับการหาร

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 4 | ทศนิยมและเศษส่วน 249

3. 1) ประโยคข้างต้นเป็นจริง เมื่อ a = 0
ดังนั้น คำ�ตอบมีได้หลากหลาย เช่น a = 0, b = –3 , c = – 5 หรือ a = 0, b = –9 , c = - 15

4 6 7 14
2) ประโยคข้างต้นเป็นเท็จ เมื่อ a ≠ 0
ดังนั้น คำ�ตอบมีได้หลากหลาย เช่น a = – 4, b = — 8 , c = – 3 หรือ a = - –
2, b = –4, c = -— 27
5 15 2 3 9 16
3) จากข้อ 2) จะเห็นว่าเศษส่วนไม่มีสมบัติการเปลี่ยนหมู่สำ�หรับการหาร

4. ล้อจะหมุนประมาณ 60 ÷ 2–2 = 25 รอบ


5

5. แนวคิด ร้านขายน้ำ�ตาลจะบรรจุน้ำ�ตาลได้ 28–1 ÷ 1– = 57 ถุง


2 2
ถ้าขายไปได้ 48 ถุง จะเหลือน้ำ�ตาล 57 – 48 = 9 ถุง
แต่บรรจุน้ำ�ตาลถุงละ 1– กิโลกรัม
2
ดังนั้น จะเหลือน้ำ�ตาล 9 × 1
– = 9 – หรือ 4– 1 กิโลกรัม
2 2 2

6. แนวคิด 2 = 63
รถบรรทุกคันนี้บรรทุกหินจำ�นวน 36 ÷ 2– — หรือ 15– 3 เที่ยว
7 4 4
แสดงว่า รถบรรทุกคันนี้บรรทุกหิน 15 เที่ยว ไม่หมด เพราะมีหินเหลือต้องบรรทุกอีก 1 เที่ยว
ดังนั้น รถบรรทุกจะต้องบรรทุกหินทั้งหมด 16 เที่ยว
2 ตัน
และถ้าเที่ยวก่อนหน้านั้น 15 เที่ยว บรรทุกหินเต็มคันทุกเที่ยว เที่ยวละ 2–
7

(
แล้วเที่ยวสุดท้ายจะบรรทุกหิน 36 – 15 × 2–
)
2 = 12
7
— หรือ 1–5 ตัน
7 7

7. แนวคิด 21 ของจำ�นวนพนักงานทั้งหมด
โรงงานแห่งหนึ่งมีพนักงานชาย —
29
แสดงว่าโรงงานมีพนักงานหญิง — 8 ของจำ�นวนพนักงานทั้งหมด
29
21 – —
ดังนั้น จำ�นวนพนักงานชายและหญิงต่างกันอยู่ — 8 = 13
— ของจำ�นวนพนักงานทั้งหมด
29 29 29
แต่ผลต่างระหว่างจำ�นวนพนักงานชายและหญิงเป็น 65 คน
แสดงว่า พนักงาน 13 ส่วน คิดเป็น 65 คน พนักงาน 1 ส่วน คิดเป็น 65 ÷ 13 = 5 คน
พนักงานทั้งหมด 29 ส่วน คิดเป็น 29 × 5 = 145 คน
ดังนั้น โรงงานแห่งนี้มีพนักงานทั้งหมด 145 คน

8. แนวคิด สวนผลไม้แห่งหนึ่งมีไม้ผล 360 ต้น


4 ของไม้ผลทั้งหมด คิดเป็น –
เป็นต้นเงาะ – 4 × 360 = 160 ต้น
9 9

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
250 บทที่ 4 | ทศนิยมและเศษส่วน คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

เหลือไม้ผลอื่นอีก 360 – 160 = 200 ต้น


แต่เป็นต้นทุเรียน –7 ของไม้ผลที่เหลือ คิดเป็น –7 × 200 = 175 ต้น
8 8
ดังนั้น ยังมีไม้ผลชนิดอื่นอีก 200 – 175 = 25 ต้น

9. แนวคิด ชายคนหนึ่งแบ่งเงินให้บุตรชาย — 7 ของเงินที่เขามีอยู่ ที่เหลือแบ่งให้บุตรสาว


15
นั่นคือ ชายคนนี้แบ่งเงินเป็น 15 ส่วนเท่า ๆ กัน
ให้บุตรชาย 7 ส่วน และให้บุตรสาว 8 ส่วน
แต่บุตรสาวได้รับเงินส่วนแบ่งเป็นเงิน 94,800 บาท
แสดงว่า เงินบุตรสาว 8 ส่วน คิดเป็นเงิน 94,800 บาท
เงิน 1 ส่วน คิดเป็นเงิน 94,800 ÷ 8 = 11,850 บาท
เงินบุตรชาย 7 ส่วน คิดเป็นเงิน 7 × 11,850 = 82,950 บาท
ดังนั้น บุตรชายได้รับส่วนแบ่งเป็นเงิน 82,950 บาท

10. แนวคิด
1) จากส่วนผสมที่กำ�หนดเพื่อทำ�น้ำ�ผลไม้รวม

ดวงแก้วจะได้น้ำ�ผลไม้รวมจำ�นวน – 1+– 5+1 –+1– = 13 — หรือ 1– 5 ถ้วย


2 8 4 4 8 8
ดังนั้น จากส่วนผสมดังกล่าวดวงแก้วจะได้น้ำ�ผลไม้รวม 1– 5 ถ้วย
8
2) ดวงแก้วต้องการทำ�น้ำ�ผลไม้รวมเลี้ยงเพื่อน 20 คน เนื่องจากส่วนผสมในข้อ 1) สามารถเลี้ยงเพื่อนได้ 4 คน
ดังนั้น จะต้องใช้ส่วนผสมทุกอย่างเป็น 5 เท่าของส่วนผสมเดิม ดังนี้

ปริมาณส่วนผสมที่ใช้ (ถ้วย)
ส่วนผสม
สำ�หรับเพื่อน 4 คน สำ�หรับเพื่อน 20 คน

น้ำ�องุ่น 1
– 1 = 5
5×– 1
– หรือ 2–
2 2 2 2

น้ำ�ส้ม 5
– 5 = 25
5×– 1
— หรือ 3–
8 8 8 8

น้ำ�มะนาว 1
– 1 = –
5×– 5 หรือ 1–
1
4 4 4 4

น้ำ�เชื่อม 1
– 1 = –
5×– 5 หรือ 1–
1
4 4 4 4

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 4 | ทศนิยมและเศษส่วน 251

4.7 ความสัมพันธ์ระหว่างทศนิยมและเศษส่วน (3 ชั่วโมง)


จุดประสงค์
นักเรียนสามารถ
1. เขียนเศษส่วนให้อยู่ในรูปทศนิยมและเขียนทศนิยมซ้ำ�ศูนย์ให้อยู่ในรูปเศษส่วน
2. แก้โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับทศนิยมและเศษส่วน

ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน

สื่อที่แนะนำ�ให้ใช้ในข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรม

ข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ในหัวข้อนี้ มุง่ ให้นก
ั เรียนรูจ้ ก
ั ทศนิยมซ้�ำ ทัง้ ทีเ่ ป็นทศนิยมซ้�ำ ศูนย์และไม่ซ�้ำ ศูนย์ รวมทัง้ เชือ
่ มโยงระหว่างทศนิยมกับเศษส่วน
ทีเ่ ป็นจำ�นวนเดียวกัน ครูควรพัฒนาความรูส้ ก
ึ เชิงจำ�นวน และเชือ
่ มโยงระหว่างทศนิยมกับเศษส่วนให้กบ
ั นักเรียน เพือ
่ ให้ตระหนัก
ถึงความสมเหตุสมผลของผลลัพธ์ที่ได้ กิจกรรมที่ครูควรจัดมีดังนี้
1. ครูควรนำ�อภิปรายเพื่อให้นักเรียนเห็นว่า ทศนิยมและเศษส่วนที่นักเรียนเคยเรียนมาแล้วนั้น มีความสัมพันธ์กัน
เช่น

-3–1 เขียนอยู่ในรูปทศนิยมได้เป็น -3.25


4
-2–1 เขียนอยู่ในรูปทศนิยมได้เป็น -2.2
5
1
-1.5 เขียนอยู่ในรูปเศษส่วนได้เป็น -1–
2
ครูอาจยกตัวอย่างอื่นเพิ่มเติม และใช้คำ�ถามเพื่อให้นักเรียนคิดเกี่ยวกับค่าของจำ�นวนที่ยกมานั้น
2 แล้วให้นก
2. ครูยกตัวอย่างเศษส่วนทีส่ ามารถเขียนในรูปทศนิยมซ้�ำ ได้ เช่น - – ั เรียนเขียนเศษส่วนนัน
้ ในรูปทศนิยม
9
ซึ่งจะได้เป็น -0.222… เพื่อเชื่อมโยงไปสู่การเขียนและการอ่านทศนิยมซ้ำ�
3. ครูอาจให้นักเรียนยกตัวอย่างปัญหาหรือสถานการณ์ที่อยู่ในชีวิตจริงที่สามารถใช้เศษส่วนและทศนิยมแทนกันได้
เพื่อให้เห็นการใช้งานของทศนิยมและเศษส่วนในชีวิตจริง

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
252 บทที่ 4 | ทศนิยมและเศษส่วน คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

เฉลยชวนคิด
ชวนคิด 4.16
5 สามารถเขียนในรูปทศนิยมซ้ำ�ได้เป็น 5.0000…

ชวนคิด 4.17
พิจารณาผลบวกในข้อ ก. ถึงข้อ ค. แล้วหาผลบวกในข้อ ง. ถึงข้อ ช.
1+1
ก. – 3
– = –
2 4 4
1+1
ข. – –+–1 = –
7
2 4 8 8
1+1
ค. – –+–1+—1 = 15

2 4 8 16 16

ข้อสังเกตจากข้อ ก. ถึงข้อ ค.
1. เศษส่วนแต่ละจำ�นวน มีตัวเศษเป็น 1
2. เศษส่วนทีน
่ �ำ มาบวกกัน จะมีตวั ส่วนของจำ�นวนถัดไปเป็น 2 เท่าของตัวส่วนตัวทีอ
่ ยูข
่ า้ งหน้าเสมอ
3. คำ�ตอบมีตัวส่วนเท่ากับตัวส่วนของเศษส่วนจำ�นวนสุดท้ายที่นำ�มาบวกกัน
4. คำ�ตอบมีตัวเศษน้อยกว่าตัวส่วนอยู่ 1 เสมอ

1+1
– 1+—
–+– 1 +— 1 = —
ดังนั้น ง. 31
2 4 8 16 32 32
1+1
จ. – 1+—
–+– 1 +— 1 +— 1 = 63 —
2 4 8 16 32 64 64
1+1
ฉ. – 1 + … +    1    = 210 – 1 = 1,024 – 1 = 1,023
–+–
2 4 8 2
10 10
2 1,024 1,024
100
1+1
ช. – 1 + … +   1  = 2 – 1
–+–
2 4 8 2
100
2
100

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 4 | ทศนิยมและเศษส่วน 253

เฉลยแบบฝึกหัด
แบบฝึกหัด 4.7
1. 1) 0.17 2) -21.6 3) 0.125 4) -0.87 5) -0.378
6) -0.537 7) 25.46 8) -4.681 9) 0.472 10) -0.039

2. 1) — 4 หรือ 2 – 2) -— 5 หรือ - 1 –
10 5 10 2
3) -   75   หรือ - 3 4)   36   หรือ   9 
100 4 1,000 250
5) 145 หรือ 1   9   6) -    342    หรือ - 171
100 20 1,000 500
7) 2,180 หรือ 21 4 8)    685    หรือ 137
100 5 1,000 200
9)   37   10) - 212 หรือ -2   3  
100 100 25

3. 1) เนื่องจาก 3.1 = 3.100…


3.1̇ = 3.111…
3.01̇ = 3.01111…
ดังนั้น เรียงลำ�ดับจำ�นวนจากน้อยไปมากได้เป็น 3.01̇ , 3.1, 3.1̇
2) เนื่องจาก -1.2̇ = -1.222…
-1.12̇ = -1.1222…
-1.1̇ 2̇ = -1.121212…
ดังนั้น เรียงลำ�ดับจำ�นวนจากน้อยไปมากได้เป็น -1.2̇ , -1.12̇ , -1.1̇ 2̇
3) เนื่องจาก -0.2̇ 3̇ = -0.232323…
-0.3̇ = -0.3333…
-0.23̇ = -0.2333…
ดังนั้น เรียงลำ�ดับจำ�นวนจากน้อยไปมากได้เป็น -0.3̇ , -0.23̇ , -0.2̇ 3̇
4) เนื่องจาก 0.2̇ = 0.2222…
0.2̇ 12̇ = 0.212212212…
0.21̇ 21̇ = 0.2121121121…
ดังนั้น เรียงลำ�ดับจำ�นวนจากน้อยไปมากได้เป็น 0.21̇ 21̇ , 0.2̇ 12̇ , 0.2̇

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
254 บทที่ 4 | ทศนิยมและเศษส่วน คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

4. 1) -4.25 2) -0.35 3) 0.05̇ 4̇ 4) -1.83̇


5) -3.0̇ 9̇ 6) 0.1̇ 7) -5.0̇ 2̇ 8) -1.0̇ 1̇

5. แนวคิด 1 น้ำ�เมื่อทำ�เป็นน้ำ�แข็งจะขยายตัวออกประมาณ — 1 ของปริมาตรเดิม


10
ถ้าน้ำ�ที่นำ�มาทำ�น้ำ�แข็งมีปริมาตร 56.65 ลูกบาศก์เซนติเมตร
จะได้ น้ำ�แข็งมีปริมาตร 56.65 + —
(
10 )
1 × 56.65 = 56.65 + 5.665

= 62.315 ลูกบาศก์เซนติเมตร
่ ทำ�เป็นน้�ำ แข็งจะมีปริมาตรเป็น 11
แนวคิด 2 น้�ำ เมือ — ของปริมาตรเดิม
10
คิดเป็น 11 — × 56.65 = 62.315 ลูกบาศก์เซนติเมตร
10

6. แนวคิด ต้อยมีน้ำ�หนักตัวเป็น 1–1 หรือ –6 เท่าของน้ำ�หนักตัวของต๋อง


5 5
6
แสดงว่าต๋องมีน้ำ�หนักตัวเป็น – เท่าของน้ำ�หนักตัวของต้อย
5
ถ้าต้อยหนัก 61.8 กิโลกรัม
ดังนั้น ต๋องหนัก –6 × 61.8 = 51.5 กิโลกรัม
5

7. แนวคิด
1+1
1) แบ่งช็อกโกแลตให้น้องและพี่รวมกัน – – = — 7 ของกล่อง
4 3 12
อั๋นจะมีช็อกโกแลตเหลืออีก —5 ของกล่อง คิดเป็น 10 ชิ้น
12
แสดงว่า ช็อกโกแลตที่เหลือ 5 ส่วน คิดเป็น 10 ชิ้น
ช็อกโกแลต 1 ส่วน คิดเป็น 10 ÷ 5 = 2 ชิ้น
ช็อกโกแลตทั้งหมด 12 ส่วน คิดเป็น 12 × 2 = 24 ชิ้น
ดังนั้น เดิมมีช็อกโกแลตอยู่ในกล่อง 24 ชิ้น
2) เนื่องจากช็อกโกแลตกล่องนี้มีน้ำ�หนักสุทธิ 600 กรัม
ดังนั้น ช็อกโกแลตที่เหลือมีน้ำ�หนัก 10
— × 600 = 250 กรัม
24

8. แนวคิด ขวดเปล่าใบหนึ่งหนัก 112 1 = 225 กรัม บรรจุยาได้ 30 เม็ด พอดี


2 2
เมื่อนำ�ขวดยาไปชั่งได้หนัก 131 กรัม
แสดงว่ายา 30 เม็ด หนัก 131 – 225 = 37 กรัม
2 2
37 37
ดังนั้น ยา 1 เม็ด หนัก — ÷ 30 = — × — 1 = 37
— กรัม
2 2 30 60
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 4 | ทศนิยมและเศษส่วน 255

แต่ 1 กรัม เท่ากับ 1,000 มิลลิกรัม


ดังนั้น ยา 1 เม็ด หนัก 37
— × 1,000 ≈ 616.67 มิลลิกรัม
60

9. แนวคิด 1 บริษัทแห่งหนึ่งมีผลกำ�ไรเมื่อสิ้นปี 4.2 ล้านบาท


2 เท่าของผลกำ�ไร
จัดเก็บไว้เป็นเงินสำ�รอง –
5
จะเหลือเงินจากที่เก็บไว้เป็นเงินสำ�รองอีก – 3 เท่าของผลกำ�ไร
5
บริจาคเพื่อสาธารณกุศล — 1 เท่าของผลกำ�ไรที่เหลือ
20


แสดงว่าบริจาคเพื่อสาธารณกุศล — 1 × –
20 ( 5 )
3 เท่าของผลกำ�ไร =   3  เท่าของผลกำ�ไร
100


ยังมีเงินเหลือหลังจากบริจาคอีก – – 3
(
5 100
  3 
)=   57  
100
เท่าของผลกำ�ไร

แต่บริษัทมีกำ�ไร 4.2 ล้านบาท หรือ 4,200,000 บาท


ดังนั้น บริษัทยังเหลือเงินอีก   57   × 4,200,000 = 2,394,000 บาท
100
แบ่งให้หุ้นส่วน 8 คน คนละเท่า ๆ กัน
หุ้นส่วนแต่ละคนจะได้รับส่วนแบ่งคนละ 2,394,000 = 299,250 บาท
8
แนวคิด 2 บริษัทแห่งหนึ่งมีผลกำ�ไรเมื่อสิ้นปี 4.2 ล้านบาท เท่ากับ 4,200,000 บาท
2 เท่าของผลกำ�ไร เท่ากับ –
จัดเก็บไว้เป็นเงินสำ�รอง – 2 × 4,200,000 = 1,680,000 บาท
5 5
ยังเหลือเงินหลังจากเก็บเป็นเงินสำ�รอง 42,000,000 – 1,680,000 = 2,520,000 บาท
บริจาคเพื่อสาธารณกุศล — 1 เท่าของผลกำ�ไรที่เหลือเท่ากับ — 1 × 2,520,000 = 126,000 บาท
20 20
บริษัทจะเหลือเงินหลังจากบริจาค 2,520,000 – 126,000 = 2,394,000 บาท
แบ่งให้หุ้นส่วน 8 คน คนละเท่า ๆ กัน
ดังนั้น หุ้นส่วนแต่ละคนจะได้รับส่วนแบ่งคนละ 2,394,000 = 299,250 บาท
8

10. แนวคิด 1 = 58
ทองคำ�มีความหนาแน่น 19– — กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร
3 3
และมวลของทองคำ� = ความหนาแน่นของทองคำ� × ปริมาตรของทองคำ�
ถ้าทองคำ�แท่งหนึ่งมีปริมาตร 16.5 ลูกบาศก์เซนติเมตร
ทองคำ�แท่งนี้จะมีมวลเท่ากับ 58
— × 16.5 = 319 กรัม
3

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
256 บทที่ 4 | ทศนิยมและเศษส่วน คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

กิจกรรมท้ายบท : รางวัลอะไรเอ่ย
กิจกรรมนี้ เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้นักเรียนได้ฝึกทักษะในการบวก การลบ การคูณ และการหารทศนิยม รวมถึงพัฒนา
ความรู้สึกเชิงจำ�นวน โดยมีอุปกรณ์และขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม ดังนี้

อุปกรณ์
1. ลูกเต๋าพิเศษ 2 ลูก ที่มีแต้มบนแต่ละหน้าดังนี้

-1.3 3.25

-0.625 -0.6 2 0.75 2.2 -0.5 1.25 -1.8

3.5 -2.5

2. รูปประตูห้องเก็บรางวัล 4 บาน พร้อมระบุเงื่อนไขของรหัสในการเปิด (ในหนังสือรียน)

ขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม
1. ครูแบ่งกลุ่มนักเรียน กลุ่มละ 3–5 คน แล้วให้แต่ละกลุ่มดำ�เนินกิจกรรมตามขั้นตอนดังนี้
1) ให้ผู้เล่นแต่ละคนทอดลูกเต๋า 1 ครั้ง แล้วเรียงลำ�ดับการเล่นจากผู้เล่นที่ได้แต้มมากไปน้อย
2) ผู้เล่นแต่ละคนจะผลัดกันทอดลูกเต๋าพร้อมกัน 2 ลูก ตามลำ�ดับการเล่น โดยรอบที่หนึ่ง ให้นำ�จำ�นวนที่อยู่บน
หน้าของลูกเต๋ามาบวกกัน ผลบวกที่ได้จะเป็นรหัสที่ใช้ในการเปิดประตูห้องเก็บของรางวัล
3) เมื่อเล่นรอบที่หนึ่งครบทุกคนแล้ว ให้เล่นในทำ�นองเดียวกับข้อ 2) แต่ให้เปลี่ยนจากการบวกเป็นการลบ โดย
สามารถเลือกจำ�นวนที่อยู่บนหน้าของลูกเต๋าลูกใดเป็นตัวตั้งก็ได้ และใช้จำ�นวนที่อยู่บนหน้าของลูกเต๋าอีกลูก
เป็นตัวลบ
4) ในรอบที่สามและสี่ ให้เปลี่ยนเป็นการคูณ และการหาร ตามลำ�ดับ
5) ผู้เล่นคนใดสามารถเปิดประตูห้องเก็บของรางวัลได้ครบทั้ง 4 บาน ก่อน จะเป็นผู้ชนะ
6) ถ้าเล่นครบสี่รอบแล้ว ยังไม่มีผู้ชนะ ให้ผู้เล่นแต่ละคนทอดลูกเต๋า 2 ลูก แล้วนำ�จำ�นวนที่อยู่บนหน้าของลูกเต๋า
ที่ได้ มาบวก ลบ คูณ หรือหารก็ได้ เพื่อให้ได้รหัสไปเปิดประตูที่ยังเปิดไม่ได้
2. ในระหว่างที่นักเรียนทำ�กิจกรรม ครูอาจให้สมาชิกในกลุ่มช่วยกันตรวจสอบผลลัพธ์ที่ได้
3. ในขั้นตอนที่ 6) ครูอาจให้นักเรียนใช้เครื่องคำ�นวณในการหาคำ�ตอบ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 4 | ทศนิยมและเศษส่วน 257

เฉลยแบบฝึกหัดท้ายบท
1 แนวคิด 4.8 + (-6.035) = -1.235 และ (-0.84) + (-0.9) = -1.74
เนื่องจาก -1.235 – (-1.74) = 0.505
ดังนั้น 4.8 + (-6.035) มากกว่า (-0.84) + (-0.9) อยู่ 0.505

2. แนวคิด (-31.08) + (-6.5) = -37.58 และ (-12.07) – 35.8 = -47.87


เนื่องจาก -37.58 – (-47.87) = 10.29
ดังนั้น (-31.08) + (-6.5) มากกว่า (-12.07) – 35.8 อยู่ 10.29

3. แนวคิด (-0.065) ÷ (-1.3) = 0.05 และ (-17.4) × 0.7 = -12.18


เนื่องจาก 0.05 – (-12.18) = 12.23
ดังนั้น (-0.065) ÷ (-1.3) มากกว่า (-17.4) × 0.7 อยู่ 12.23

4. แนวคิด
(- –54) – (-2–41) = 1—209
ดังนั้น จำ�นวนตรงข้ามของ - 4
( ) ( )
1 คือ -1—
– – -2–
5 4
9
20

5. แนวคิด
( )
-3 – -2– 1 = -–
5
4 และ - –
5
5 + 1–
6
1 =
2
2

3
เนื่องจาก – 2– -–
3 ( )
4 = 1—
5 15
7


( )
1 น้อยกว่า - –
ดังนั้น -3 – -2–
5
5 + 1–
6
1
2
อยู่ 1—7
15

6. แนวคิด
(-5 – 32–) ÷ (5 + –32) = -1 และ (4.1 × 0.5) – (-21.5) = 23.55
เนื่องจาก 23.55 – (-1) = 24.55

( ) ( )
2 ÷ 5+–
ดังนั้น -5 – –
3
2 น้อยกว่า (4.1 × 0.5) – (-21.5) อยู่ 24.55
3

7. m – n = - —9 – 1.45 = -1—
20
9
10 ( )
และ n – m = 1.45 – - —9 = 1—
20
9
10

1 ÷ 2—
8. A ÷ (B – C) = -3–
3 12 4 (
1 – –3 = -3–
1 ÷ 16
3 12 ) 1
— = -2–
2

9. ถ้า y คือ 1.78 จะได้ z = 1.78 + 0.5 = 2.28 และ x = 2.28 – 3.02 = -0.74
จะได้ x + y + z = -0.74 + 1.78 + 2.28 = 3.32
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
258 บทที่ 4 | ทศนิยมและเศษส่วน คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

10. แนวคิด 1 สวนหน้าบ้านมีพื้นที่ (5.65)(10.40) = 58.76 ตารางเมตร


ปลูกสวนไม้ประดับ – 1 ของพื้นที่สวน คิดเป็น –
1 (58.76) = 14.69 ตารางเมตร
4 4
ปลูกหญ้า – 1 ของพื้นที่สวน คิดเป็น – 1 (58.76) = 29.38 ตารางเมตร
2 2
ดังนั้น ทางเดินรอบ ๆ สวนนี้มีพื้นที่ 58.76 – 14.69 – 29.38 = 14.69 ตารางเมตร
แนวคิด 2 สวนหน้าบ้านมีพื้นที่ (5.65)(10.40) = 58.76 ตารางเมตร
1 +
พื้นที่ส่วนที่ใช้ปลูกสวนไม้ประดับและปลูกหญ้า รวมกันเป็น – 1 = –
– 3 ของพื้นที่สวน
4 2 4
ดังนั้น ทางเดินรอบ ๆ สวนนี้มีพื้นที่ 1 – –
4 ( )
3 (58.76) = 14.69 ตารางเมตร

11. แนวคิด 2 เท่าของเงินที่ต้อยจ่าย คิดเป็นเงิน 2,500.50 บาท


ติ๋มจ่ายเงิน –
3
นั่นคือ –2 ส่วน คิดเป็นเงิน 2,500.50 บาท
3
1 ส่วน คิดเป็นเงิน 2,500.50 ÷ – 2 = 3,750.75 บาท
3
จะได้ว่า ต้อยจ่ายเงิน 3,750.75 บาท
ดังนั้น ตุ๊กจ่ายเงินไป 3,750.75 + 2,500.50 = 6,251.25 บาท
นั่นคือ ทั้งสามคนจ่ายเงิน 3,750.75 + 2,500.50 + 6,251.25 = 12,502.50 บาท
ดังนั้น เมื่อนำ�เงินของทั้งสามคนรวมกันแล้วยังไม่สามารถซื้ออุปกรณ์การเรียนตามราคาที่กำ�หนดได้

( )
1 ÷ 2.4 = (-84.32) ÷ 2.4 ≈ -35.13
12. คำ�ตอบที่ถูกต้องเท่ากับ -19.84 × 4–
4

13. แนวคิด ฝนตกต่อเนื่อง 5 ชั่วโมง ทำ�ให้น้ำ�ในแม่น้ำ�น่านสูงขึ้น 15 × 5 = 75 มิลลิเมตร


คิดเป็น 0.075 เมตร
ดังนั้น หลังจากฝนหยุดตก เรือนแพอยู่ที่ระดับ -6.85 + 0.075 = -6.775 เมตร
เมื่อเทียบกับระดับถนนริมตลิ่ง

14. แนวคิด 3 = 37.5 นิ้ว


อีก 10 ปีข้างหน้า พื้นดินของตำ�บลนี้จะทรุดตัว 10 × 3–
4
คิดเป็น 37.5 × 0.0254 = 0.9525 เมตร
ดังนั้น อีก 10 ปีข้างหน้า พื้นดินของตำ�บลนี้จะอยู่สูงจากระดับน้ำ�ทะเล
0.78 – 0.9525 = -0.1725 เมตร
หรือกล่าวได้ว่า อีก 10 ปีข้างหน้า พื้นดินของตำ�บลนี้อยู่ต่ำ�กว่าระดับน้ำ�ทะเล 0.1725 เมตร

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 4 | ทศนิยมและเศษส่วน 259

15. แนวคิด
1) นมปั่นแก้วใหญ่จุ 300 + – 2 (300) = 500 มิลลิลิตร
3
2) สันต์ดื่มนมปั่น –2 (300) = 200 มิลลิลิตร
3
นัทดื่มนมปั่น 1 – (500) = 250 มิลลิลิตร
2
ดังนั้น นัทดื่มนมปั่นมากกว่าสันต์

16. หาผลคูณข้อนี้ใหม่ได้เท่ากับ (-2.38 ÷ 3.01) × 3.1 ≈ -2.451

17. อุณหภูมิที่จังหวัดเลยเป็น -1.25 องศาเซลเซียส คิดเป็น 9


– (-1.25) + 32 = 29.75 องศาฟาเรนไฮต์
5

18. แนวคิด ถ้าใช้บริการที่ศูนย์กีฬาและสุขภาพนี้ 35 ครั้ง ในช่วง 3 เดือน


กรณีไม่เป็นสมาชิก เสียค่าบริการคนละ 35 × 15 = 525 บาท
แต่เนื่องจากแห้วและน้องชายอยู่ในหมู่บ้านนี้ จึงได้ลดราคาค่าใช้บริการ 10%
ดังนั้น เสียค่าบริการคนละ 525 ×   90   = 472.50 บาท
100
กรณีเป็นสมาชิก เสียค่าบริการคนละ 159 × 3 = 477 บาท
ดังนั้น แห้วและน้องชายไม่จำ�เป็นต้องสมัครสมาชิก

19. แนวคิด รถบรรทุกใช้น้ำ�มันไปวันละ 12 ลิตร
ถ้าต้อยใช้รถบรรทุก 6 วัน จะใช้น้ำ�มันไป 12 × 6 = 72 ลิตร คิดเป็น 1 – 1
– = 6
– ของถัง
7 7
6
ดังนั้น ถังน้ำ�มันของรถบรรทุกสามารถบรรจุน้ำ�มันได้ 72 ÷ – = 84 ลิตร
7
1 5
เนื่องจากเช้าวันจันทร์ต้อยเติมน้ำ�มันไป 1 – – = – ของถัง
6 6
5 = 70 ลิตร
ดังนั้น ต้อยเติมน้ำ�มันในเช้าวันจันทร์ 84 × –
6

20. 1) โซ่ในรูป ข ยาว 1– 3 + 1– 3–– 1–– 1 = 26— = 3– 1 นิ้ว


4 4 8 8 8 4
3 + 1–
2) ถ้านำ�ข้อโซ่สามข้อมาต่อกัน จะได้โซ่ยาว 1– 3 + 1–
3––1–1
––1
––1
– = 19 3 นิ้ว
— = 4–
4 4 4 8 8 8 8 4 4
3) แนวคิด จากข้อ 1) และ 2) สังเกตว่า
3 นิ้ว และถ้าต่อข้อโซ่เพิ่ม จะยาวเพิ่มข้อโซ่ละ 3 1
ถ้าข้อโซ่หนึ่งข้อยาว 1– 3 = –
– – 1– 3 นิ้ว
4 4 4 2
ดังนัน
้ ถ้าต้องการโซ่ยาวประมาณ 12 นิว้ ต้องใช้ขอ้ โซ่เพิม 3 ÷3
่ จากอันแรก 12 – 1–
4 2
– = 41
(
— ≈ 7 ข้อ
6 )
นั่นคือ ถ้าต้องการโซ่ยาวประมาณ 12 นิ้ว ต้องใช้ข้อโซ่มาต่อกัน 8 ข้อ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
260 บทที่ 4 | ทศนิยมและเศษส่วน คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

ตัวอย่างแบบทดสอบท้ายบท
1. คุณพ่อมีเชือกสองเส้นยาว 12.45 เซนติเมตร และ 15.25 เซนติเมตร คุณพ่อได้นำ�เชือกทั้งสองเส้นมาผูกต่อกัน
แล้ววัดความยาวเชือกที่ต่อกันแล้ว ได้เชือกยาว 25.32 เซนติเมตร จงหาว่าคุณพ่อเสียเชือกที่ใช้ในการผูกต่อกัน
กี่เซนติเมตร (1 คะแนน)
ตอบ

2. เศษส่วน 22
— เมื่อเขียนให้อยู่ในรูปทศนิยมซ้ำ� แล้วจะได้ทศนิยมตำ�แหน่งที่ 99 เป็นเท่าไร (3 คะแนน)
7
ตอบ
แนวคิด

3. กำ�หนดข้อมูลต่อไปนี้

ธั ญ วิ ช ญ์ วางแผนในการอ่ า นหนั ง สื อ เพื่ อ เตรี ย มตั ว สอบปลายภาคเรี ย นในรายวิ ช าสั ง คมศึ ก ษา


โดยธัญวิชญ์อ่านหนังสือดังนี้ วันแรกอ่านได้ – 1 ของเล่ม วันต่อมาอ่านได้อีก 36 หน้า รวมสองวันอ่านได้
6
ครึ่งเล่มพอดี

จากสถานการณ์ข้างต้น จงพิจารณาข้อความต่อไปนี้ว่าถูกต้องหรือไม่ โดยเขียนวงกลมล้อมรอบคำ�ว่า “ถูกต้อง” หรือ


“ไม่ถูกต้อง” (4 คะแนน)

ข้อความ
1) ธัญวิชญ์อ่านหนังสือวันแรกมากกว่าวันที่สอง ถูกต้อง / ไม่ถูกต้อง

2) ธัญวิชญ์ต้องอ่านหนังสือเพิ่มอีก 54 หน้า จึงจะจบเล่มพอดี ถูกต้อง / ไม่ถูกต้อง

3) ธัญวิชญ์อ่านหนังสือวันที่สองได้เป็น 3 เท่าของวันแรก ถูกต้อง / ไม่ถูกต้อง

4) หนังสือวิชาสังคมศึกษาเล่มนี้มีทั้งหมด 120 หน้า ถูกต้อง / ไม่ถูกต้อง

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 4 | ทศนิยมและเศษส่วน 261

4. กำ�หนดข้อมูลต่อไปนี้

คุณพ่อทำ�สวนผลไม้ จึงได้ทำ�ปุ๋ยหมักชีวภาพเองเพื่อใช้ประโยชน์ โดยคุณพ่อเก็บปุ๋ยหมักชีวภาพ


1 ถัง วันที่สองคุณพ่อ
ไว้ในถัง ซึ่งสามารถบรรจุเต็มถังได้ 200 ลิตร วันแรกคุณพ่อทำ�ปุ๋ยหมักชีวภาพได้ 2–
3 ถัง และวันที่สามคุณพ่อทำ�ปุ๋ยหมักชีวภาพได้ 4– 3 ถัง 4
ทำ�ปุ๋ยหมักชีวภาพได้ 3–
4 8

จากสถานการณ์ข้างต้น จงพิจารณาข้อความต่อไปนี้ว่าถูกต้องหรือไม่ โดยเขียนวงกลมล้อมรอบคำ�ว่า “ถูกต้อง” หรือ


“ไม่ถูกต้อง” (4 คะแนน)

ข้อความ
1) วันแรกคุณพ่อทำ�ปุ๋ยหมักชีวภาพได้ 420 ลิตร ถูกต้อง / ไม่ถูกต้อง

2) คุณพ่อทำ�ปุ๋ยหมักชีวภาพในวันที่สามได้มากกว่าวันที่สอง 120 ลิตร ถูกต้อง / ไม่ถูกต้อง

3) สองวันแรกคุณพ่อทำ�ปุย๋ หมักชีวภาพรวมกันได้มากกว่าวันทีส่ าม 475 ลิตร ถูกต้อง / ไม่ถูกต้อง

4) คุณพ่อทำ�ปุ๋ยหมักชีวภาพทั้งสามวันได้ทั้งหมด 2,075 ลิตร ถูกต้อง / ไม่ถูกต้อง

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
262 บทที่ 4 | ทศนิยมและเศษส่วน คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

เฉลยตัวอย่างแบบทดสอบท้ายบท
1. คุณพ่อมีเชือกสองเส้นยาว 12.45 เซนติเมตร และ 15.25 เซนติเมตร คุณพ่อได้นำ�เชือกทั้งสองเส้นมาผูกต่อกัน
แล้ววัดความยาวเชือกที่ต่อกันแล้ว ได้เชือกยาว 25.32 เซนติเมตร จงหาว่าคุณพ่อเสียเชือกที่ใช้ในการผูกต่อกัน
กี่เซนติเมตร (1 คะแนน)
ตอบ (12.45 + 15.25) – 25.32 = 2.38 เซนติเมตร

ความสอดคล้องกับจุดประสงค์ของบทเรียน
ข้อ 1 นักเรียนสามารถเปรียบเทียบทศนิยม หาผลบวก ผลลบ ผลคูณ และผลหาร ของทศนิยม
เกณฑ์การให้คะแนน คะแนนเต็ม 1 คะแนน
ตอบถูกต้อง ได้ 1 คะแนน ตอบไม่ถูกต้องหรือไม่ตอบ ได้ 0 คะแนน

2. เศษส่วน 22
— เมื่อเขียนให้อยู่ในรูปทศนิยมซ้ำ� แล้วเลขโดดหลังจุดทศนิยมในตำ�แหน่งที่ 99 เป็นเท่าไร (3 คะแนน)
7
ตอบ 2
แนวคิด แนวคิดมีได้หลากหลาย เช่น
เนื่องจาก 22 — = 3.1̇ 42857̇ = 3.142857142857142857…
7
จะเห็นว่าเลขโดดที่อยู่หลังจุดทศนิยมจะเรียงลำ�ดับเป็น 1, 4, 2, 8, 5 และ 7 เป็นเช่นนี้เรื่อย ๆ
ดังนั้น เลขโดดหลังจุดทศนิยมในตำ�แหน่งที่ 6, 12, 18, 24, … , 96, 102, … เป็น 7
จะได้ เลขโดดหลังจุดทศนิยมในตำ�แหน่งที่ 97 เป็น 1
เลขโดดหลังจุดทศนิยมในตำ�แหน่งที่ 98 เป็น 4
ดังนั้น เลขโดดหลังจุดทศนิยมในตำ�แหน่งที่ 99 เป็น 2

ความสอดคล้องกับจุดประสงค์ของบทเรียน
ข้อ 3 นักเรียนสามารถนำ�ความรู้เกี่ยวกับทศนิยมและเศษส่วนไปใช้ในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ และปัญหา
ในชีวิตจริง
เกณฑ์การให้คะแนน คะแนนเต็ม 3 คะแนน โดยมีเกณฑ์การให้คะแนน ดังนี้
✤ ตอบพร้อมแสดงแนวคิดได้ถูกต้อง ได้ 3 คะแนน
✤ ตอบพร้อมแสดงแนวคิดได้ถูกต้องบางส่วน ได้ 2 คะแนน
✤ ตอบไม่ถูกต้อง แต่แสดงแนวคิดได้ถูกต้องบางส่วน
หรือตอบถูกต้อง แต่ไม่แสดงแนวคิด ได้ 1 คะแนน
✤ ตอบไม่ถูกต้องและไม่แสดงแนวคิด หรือไม่ตอบ ได้ 0 คะแนน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 4 | ทศนิยมและเศษส่วน 263

3. กำ�หนดข้อมูลต่อไปนี้

ธั ญ วิ ช ญ์ วางแผนในการอ่ า นหนั ง สื อ เพื่ อ เตรี ย มตั ว สอบปลายภาคเรี ย นในรายวิ ช าสั ง คมศึ ก ษา


โดยธัญวิชญ์อ่านหนังสือดังนี้ วันแรกอ่านได้ –1 ของเล่ม วันต่อมาอ่านได้อีก 36 หน้า รวมสองวันอ่านได้
6
ครึ่งเล่มพอดี

จากสถานการณ์ข้างต้น จงพิจารณาข้อความต่อไปนี้ว่าถูกต้องหรือไม่ โดยให้เขียนวงกลมล้อมรอบคำ�ว่า “ถูกต้อง” หรือ


“ไม่ถูกต้อง” (4 คะแนน)

ข้อความ
1) ธัญวิชญ์อ่านหนังสือวันแรกมากกว่าวันที่สอง ถูกต้อง / ไม่ถูกต้อง

2) ธัญวิชญ์ต้องอ่านหนังสือเพิ่มอีก 54 หน้าจึงจะจบเล่มพอดี ถูกต้อง / ไม่ถูกต้อง

3) ธัญวิชญ์อ่านหนังสือวันที่สองได้เป็น 3 เท่าของวันแรก ถูกต้อง / ไม่ถูกต้อง

4) หนังสือวิชาสังคมศึกษาเล่มนี้มีทั้งหมด 120 หน้า ถูกต้อง / ไม่ถูกต้อง

ความสอดคล้องกับจุดประสงค์ของบทเรียน
ข้อ 2 นักเรียนสามารถเปรียบเทียบเศษส่วน หาผลบวก ผลลบ ผลคูณ และผลหาร ของเศษส่วน
เกณฑ์การให้คะแนน คะแนนเต็ม 4 คะแนน ข้อละ 1 คะแนน
ตอบถูกต้อง ได้ 1 คะแนน ตอบไม่ถูกต้องหรือไม่ตอบ ได้ 0 คะแนน

4. กำ�หนดข้อมูลต่อไปนี้

คุณพ่อทำ�สวนผลไม้ จึงได้ทำ�ปุ๋ยหมักชีวภาพเองเพื่อใช้ประโยชน์ โดยคุณพ่อเก็บปุ๋ยหมักชีวภาพ


ไว้ในถัง ซึง่ สามารถบรรจุเต็มถังได้ 200 ลิตร วันแรกคุณพ่อทำ�ปุย๋ หมักชีวภาพได้ 2 1–4 ถัง วันทีส่ องคุณพ่อ
ทำ�ปุ๋ยหมักชีวภาพได้ 3–43 ถัง และวันที่สามคุณพ่อทำ�ปุ๋ยหมักชีวภาพได้ 4–83 ถัง

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
264 บทที่ 4 | ทศนิยมและเศษส่วน คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

จากสถานการณ์ข้างต้น จงพิจารณาข้อความต่อไปนี้ว่าถูกต้องหรือไม่ โดยเขียนวงกลมล้อมรอบคำ�ว่า “ถูกต้อง” หรือ


“ไม่ถูกต้อง” (4 คะแนน)

ข้อความ
1) วันแรกคุณพ่อทำ�ปุ๋ยหมักชีวภาพได้ 420 ลิตร ถูกต้อง / ไม่ถูกต้อง

2) คุณพ่อทำ�ปุ๋ยหมักชีวภาพในวันที่สามได้มากกว่าวันที่สอง 120 ลิตร ถูกต้อง / ไม่ถูกต้อง

3) สองวันแรกคุณพ่อทำ�ปุย๋ หมักชีวภาพรวมกันได้มากกว่าวันทีส่ าม 475 ลิตร ถูกต้อง / ไม่ถูกต้อง

4) คุณพ่อทำ�ปุ๋ยหมักชีวภาพทั้งสามวันได้ทั้งหมด 2,075 ลิตร ถูกต้อง / ไม่ถูกต้อง

ความสอดคล้องกับจุดประสงค์ของบทเรียน
ข้อ 2 เปรียบเทียบเศษส่วน หาผลบวก ผลลบ ผลคูณ และผลหาร ของเศษส่วน
เกณฑ์การให้คะแนน คะแนนเต็ม 4 คะแนน ข้อละ 1 คะแนน
ตอบถูกต้อง ได้ 1 คะแนน ตอบไม่ถูกต้องหรือไม่ตอบ ได้ 0 คะแนน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 5 | รูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ 265

5
บทที่ รูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ
บทรูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติประกอบด้วยหัวข้อย่อย
ดังต่อไปนี้

5.1 หน้าตัดของรูปเรขาคณิตสามมิติ 3 ชั่วโมง


5.2 ภาพด้านหน้า ภาพด้านข้าง
และภาพด้านบนของรูปเรขาคณิตสามมิติ 3 ชั่วโมง

สาระและมาตรฐานการเรียนรู้
สาระ การวัดและเรขาคณิต
มาตรฐาน ค 2.2 เข้าใจและวิเคราะห์รูปเรขาคณิต สมบัติของรูปเรขาคณิต ความสัมพันธ์ระหว่างรูปเรขาคณิต
และทฤษฎีบททางเรขาคณิต และนำ�ไปใช้

ตัวชี้วัด
เข้าใจและใช้ความรู้ทางเรขาคณิตในการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างรูปเรขาคณิตสองมิติและรูปเรขาคณิตสามมิติ

จุดประสงค์ของบทเรียน
นักเรียนสามารถ
1. อธิบายลักษณะของหน้าตัดที่ได้จากการตัดรูปเรขาคณิตสามมิติด้วยระนาบในทิศทางที่กำ�หนดให้
2. ระบุภาพที่ได้จากการมองด้านหน้า ด้านข้าง และด้านบนของรูปเรขาคณิตสามมิติ
3. เขียนภาพที่ได้จากการมองด้านหน้า ด้านข้าง และด้านบนของรูปเรขาคณิตสามมิติที่ประกอบขึ้นจากลูกบาศก์

ความเชื่อมโยงระหว่างตัวชี้วัดกับจุดประสงค์ของบทเรียน
เนือ
่ งจากตัวชีว้ ด
ั กล่าวถึงการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างรูปเรขาคณิตสองมิตแิ ละสามมิติ และเนือ
้ หาในบทนีเ้ กีย่ วข้อง
กับหน้าตัดของรูปเรขาคณิตสามมิติ และภาพที่เกิดจากการมองด้านหน้า ด้านข้าง และด้านบนของรูปเรขาคณิตสามมิติ ดังนั้น
เพื่อให้การเรียนรู้ของนักเรียนในเรื่องรูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติสอดคล้องกับตัวชี้วัด ครูควรจัดประสบการณ์ให้นักเรียน
สามารถ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
266 บทที่ 5 | รูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

1. เข้าใจและใช้ความรูท
้ างเรขาคณิตในการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างรูปเรขาคณิตสองมิตแิ ละสามมิติ ซึง่ สะท้อน
ได้จากการทีน
่ ก
ั เรียนสามารถอธิบายลักษณะของหน้าตัดทีไ่ ด้จากการตัดรูปเรขาคณิตสามมิตด
ิ ว้ ยระนาบในทิศทาง
ที่กำ�หนดให้
2. เข้าใจและใช้ความรูท
้ างเรขาคณิตในการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างรูปเรขาคณิตสองมิตแิ ละสามมิติ ซึง่ สะท้อน
ได้จากการทีน
่ กั เรียนสามารถระบุภาพทีไ่ ด้จากการมองด้านหน้า ด้านข้าง และด้านบน ของรูปเรขาคณิตสามมิตใิ ดๆ
และสามารถเขียนภาพทีไ่ ด้จากการมองด้านหน้า ด้านข้าง และด้านบน ของรูปเรขาคณิตสามมิตท
ิ ป
่ี ระกอบขึน
้ จาก
ลูกบาศก์

ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

หัวข้อ
ทักษะและกระบวนการ
ทางคณิตศาสตร์ 5.1 หน้าตัดของ 5.2 ภาพด้านหน้า ภาพด้านข้าง และ
รูปเรขาคณิตสามมิติ ภาพด้านบนของรูปเรขาคณิตสามมิติ
การแก้ปัญหา

การสื่อสารและการสื่อความหมาย
✤ ✤
ทางคณิตศาสตร์

การเชื่อมโยง ✤ ✤

การให้เหตุผล

การคิดสร้างสรรค์

ความรู้พื้นฐานที่นักเรียนต้องมี
2+2=4

ครูอาจทบทวนความรู้พื้นฐานที่นักเรียนต้องมีก่อนเรียนในเรื่องรูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 5 | รูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ 267

ความคิดรวบยอดของบทเรียน
เมื่อตัดรูปเรขาคณิตสามมิติด้วยระนาบ จะเกิดหน้าตัดหรือภาคตัดที่เป็นรูปเรขาคณิตสองมิติบนรูปเรขาคณิตสามมิติน้ัน
ซึ่งหน้าตัดที่ได้จะเป็นรูปเรขาคณิตสองมิติชนิดใด ขึ้นอยู่กับชนิดของรูปเรขาคณิตสามมิติ แนวการตัดของระนาบ และตำ�แหน่ง
ที่ตัด
ภาพที่ได้จากการมองรูปเรขาคณิตสามมิติด้านหน้า (front view) ด้านข้าง (side view) และด้านบน (top view) เป็น
รูปเรขาคณิตสองมิตจิ ากการมองในแนวสายตาทีต
่ งั้ ฉากกับด้านทีม
่ อง โดยแนวสายตาของการมองด้านหน้า ด้านข้าง และด้านบน
จะทำ�มุมฉากกัน ดังรูป

ด้านบน

o
90

ด้านหน้า ด้านข้าง
o
90

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
268 บทที่ 5 | รูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

5.1 หน้าตัดของรูปเรขาคณิตสามมิติ (3 ชั่วโมง)


จุดประสงค์
นักเรียนสามารถอธิบายลักษณะของหน้าตัดที่ได้จากการตัดรูปเรขาคณิตสามมิติด้วยระนาบในทิศทางที่กำ�หนดให้

ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน
นักเรียนอาจพิจารณาหน้าตัดที่เกิดจากการตัดรูปเรขาคณิตสามมิติด้วยระนาบ โดยเปรียบเทียบกับส่วนต่าง ๆ ของ
รูปเรขาคณิตสามมิตินั้น เช่น นักเรียนอาจคิดว่าหน้าตัดของการตัดทรงกระบอกจะเป็นหน้าตัดที่มีลักษณะเดียวกับฐานของ
ทรงกระบอกเสมอ แต่จริง ๆ แล้วหน้าตัดของทรงกระบอกอาจมีหลายลักษณะ เช่น วงกลม วงรี หรือรูปสี่เหลี่ยม ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับ
แนวการตัดของระนาบ

ตัดทรงกระบอกด้วยระนาบในแนวขนานกับฐาน หน้าตัดเป็นวงกลม

ตัดทรงกระบอกด้วยระนาบในแนวไม่ตั้งฉากและไม่ขนานกับฐาน หน้าตัดเป็นวงรี

ตัดทรงกระบอกด้วยระนาบในแนวตั้งฉากกับฐาน หน้าตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยม

สื่อที่แนะนำ�ให้ใช้ในข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
1. ภาพแสดงหน้าตัดที่อยู่ในชีวิตจริง เช่น หน้าตัดของผลไม้ อาหาร ขนม
2. ชุดภาคตัด
3. รูปคลี่ของรูปเรขาคณิตสามมิติ ประกอบด้วยรูปคลี่ของปริซึม พีระมิด ทรงกระบอก กรวย

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 5 | รูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ 269

4. สื่อและอุปกรณ์ของกิจกรรม : เด็กปั๊ม
5. สื่อและอุปกรณ์ของกิจกรรม : หัวผักของฉัน

ข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ในหัว ข้อนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับหน้าตัดของรู ป เรขาคณิ ตสามมิ ติ ควรเน้ น ให้ นั กเรี ยนได้ เรี ยนรู้ จ ากการทำ � กิ จกรรมโดย
การทดลองปฏิบัติจริง และสังเกตหน้าตัดที่เกิดขึ้น เพื่อให้นักเรียนได้ฝึกการมองภาพ และอธิบายลักษณะของหน้าตัดที่เกิดขึ้น
จากการตัด ซึ่งจะเป็นการพัฒนาการนึกภาพ และความรู้สึกเชิงปริภูมิให้ผู้เรียน กิจกรรมที่ครูควรจัดมีดังนี้
1. ครูแนะนำ�รูปเรขาคณิตสองมิติ และรูปเรขาคณิตสามมิติ โดยการสนทนาและยกตัวอย่าง สิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัว
นั ก เรี ย น และเปิ ด โอกาสให้ นั ก เรี ย นได้ ทำ � ความเข้ า ใจเกี่ ย วกั บ ความแตกต่ า งระหว่ า งรู ป เรขาคณิ ต หนึ่ ง มิ ติ
รูปเรขาคณิตสองมิติ และรูปเรขาคณิตสามมิติ รวมทั้งฝึกฝนการนึกภาพและความรู้สึกเชิงปริภูมิ
2. ครูควรจัดกิจกรรมเพื่อให้นักเรียนเรียนรู้เกี่ยวกับหน้าตัด โดยใช้ “กิจกรรม : เด็กปั๊ม” ซึ่งมุ่งให้นักเรียนได้ทำ�
ความเข้าใจเกี่ยวกับระนาบที่ใช้ในการตัด ตำ�แหน่ง และแนวการตัด และหน้าตัดที่จะเกิดขึ้นจากการใช้มีดตัดผัก
หรือผลไม้จริง ๆ ซึ่งเป็นวัตถุสามมิติ และให้มีดเป็นระนาบที่ใช้ตัด ซึ่งนักเรียนจะมีโอกาสได้เห็นว่าผักหรือผลไม้
ที่มีรูปร่างแบบเดียวกัน สามารถมีหน้าตัดที่เกิดจากการตัดที่แตกต่างกันได้ เมื่อแนวการตัดเปลี่ยนแปลงไป
3. ครูควรจัดกิจกรรมเพื่อให้นักเรียนได้สำ�รวจหน้าตัดของรูปเรขาคณิตสามมิติ ได้แก่ ปริซึม ทรงกระบอก พีระมิด
กรวย และทรงกลม โดยใช้ “กิจกรรม : หัวผักของฉัน” เพื่อเชื่อมโยงจากสิ่งที่เป็นรูปธรรมไปสู่รูปเรขาคณิตสามมิติ
ที่มีความเป็นนามธรรม
4. จากการทำ�กิจกรรมข้างต้น ครูควรอภิปรายกับนักเรียนเพือ
่ เชือ
่ มโยงไปสูแ่ นวคิดหลักของการตัดรูปเรขาคณิตสามมิติ
ด้วยระนาบ ซึง่ ลักษณะของหน้าตัดจะขึน
้ อยูก
่ บ
ั ปัจจัย 3 ประการ คือ 1) ชนิดของรูปเรขาคณิตสามมิต
ิ 2) แนว
การตัดของระนาบ และ 3) ตำ�แหน่งทีต
่ ด
ั ทัง้ นี้ ครูควรใช้ชด
ุ ภาคตัด ซึง่ เป็นสือ
่ อุปกรณ์ส�ำ เร็จรูปทีแ่ สดงภาคตัดของ
การใช้ระนาบตัดรูปเรขาคณิตสามมิตใิ นแนวต่าง ๆ มาช่วยในการสรุป เพือ
่ ให้นก
ั เรียนเกิดความเข้าใจมากยิง่ ขึน

5. ครูอาจสนทนาเกี่ยวกับการทำ�กิจวัตรประจำ�วันของคนในบางอาชีพ เช่น การเลื่อยไม้ของช่างไม้ให้ได้หน้าตัดที่มี
ลักษณะคล้ายวงกลม หรือรูปสี่เหลี่ยม เพื่อนำ�ไปใช้ประโยชน์ แม่ครัวหั่นหรือตัดชิ้นอาหารให้สวยงาม คนขาย
ผลไม้หน
ั่ หรือตัดผลไม้เป็นรูปหน้าตัดต่าง ๆ เพือ
่ ความสวยงาม หรือสนทนาเกีย่ วกับอาชีพในปัจจุบน
ั ทีเ่ กีย่ วข้องกับ
การใช้หน้าตัด เช่น ช่างไม้ที่ทำ�ชุดม้านั่ง

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
270 บทที่ 5 | รูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

กิจกรรม : เด็กปั๊ม
กิจกรรมนี้ เป็นกิจกรรมที่จำ�ลองการตัดรูปเรขาคณิตสามมิติ โดยใช้มีดตัดผักและผลไม้ชนิดต่าง ๆ ที่มีรูปร่างและลักษณะ
แตกต่างกัน เพื่อให้นักเรียนเห็นภาพหน้าตัดและสามารถระบุลักษณะของหน้าตัดที่ได้จากการตัดผักและผลไม้ในแนวการตัดที่
แตกต่างกัน โดยมีอุปกรณ์และขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรมดังนี้

อุปกรณ์
1. พืช ผัก หรือผลไม้ที่หาได้ตามท้องถิ่นอย่างน้อยสามชนิดที่มีลักษณะแตกต่างกัน เช่น กล้วยดิบ มะเฟือง มันเทศ
ก้านกล้วย น้ำ�เต้า หัวหอม
2. สีโปสเตอร์ (สีเข้ม) และจานสี
3. มีด (เพื่อความปลอดภัย ไม่ควรใช้มีดปลายแหลม)
4. เขียง
5. กระดาษสีขาว หรือสีอ่อน

ขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม
1. ครูแบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม แล้วอภิปรายกับนักเรียนว่าในการตัดสิ่งต่าง ๆ เราสามารถกำ�หนดแนวการตัดของมีด
เมื่อเทียบกับเขียงได้ในลักษณะใดบ้าง โดยครูอาจตรวจสอบความเข้าใจของนักเรียนด้วยการปฏิบัติ สมมุติให้มือ
ข้างหนึ่งเป็นมีด และอีกข้างหนึ่งเป็นเขียง แล้วให้นักเรียนแสดงท่าทางตามที่ครูกำ�หนด เช่น

แนวตั้งฉากกับเขียง แนวขนานกับเขียง แนวที่ไม่ตั้งฉากและ


ไม่ขนานกับเขียง

2. ครูให้นกั เรียนแต่ละกลุม
่ เลือกผักหรือผลไม้มา 1 ชนิด พร้อมทัง้ ระบุลกั ษณะของผักหรือผลไม้ชนิดนัน
้ ว่าคล้ายรูปเรขาคณิต
สามมิติชนิดใด จากนั้น เลือกแนวที่จะตัด แล้วทายว่าหน้าตัดที่ได้จะเป็นรูปเรขาคณิตอะไร เพื่อตรวจสอบคำ�ตอบ
ให้จุ่มส่วนที่เป็นหน้าตัดลงในจานสีที่มีสีโปสเตอร์ แล้วปั๊มลงในกระดาษขาวหรือกระดาษสีอ่อน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 5 | รูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ 271

3. ทำ�เช่นเดิมอีกครัง้ โดยใช้ผลไม้ชน
ิ้ เดิม และแนวการตัดเดิม แต่เปลีย่ นตำ�แหน่งทีต
่ ด
ั ไป เพือ
่ ศึกษาว่าหน้าตัดเปลีย่ นแปลง
ไปหรือไม่ อย่างไร
4. ใช้ผักหรือผลไม้ชนิดเดิม แต่เปลี่ยนแนวการตัด เพื่อศึกษาว่าหน้าตัดมีลักษณะที่เปลี่ยนแปลงไปหรือไม่ อย่างไร
5. เปลีย่ นชนิดของผักหรือผลไม้ ลองตัดด้วยแนวการตัดและตำ�แหน่งทีแ่ ตกต่างกันไป เพือ
่ ศึกษาลักษณะของหน้าตัดทีไ่ ด้
6. เมื่อนักเรียนทุกกลุ่มปั๊มหน้าตัดที่ได้จากการตัดผัก หรือผลไม้ชนิดต่าง ๆ แล้ว ครูอภิปรายกับนักเรียนว่า ลักษณะของ
หน้าตัดที่ได้จากการตัดผักหรือผลไม้ขึ้นอยู่กับปัจจัยใดบ้าง

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
272 บทที่ 5 | รูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

เฉลยกิจกรรม : เด็กปั๊ม
ในการตัดพืช ผัก หรือผลไม้ จะได้หน้าตัดในหลากหลายลักษณะ ซึ่งจากกิจกรรมนี้ครูควรให้นักเรียนสรุปได้ว่า ลักษณะ
ของหน้าตัดจะเป็นอย่างไรนั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่อไปนี้
1. รูปร่างหรือลักษณะของพืช ผัก หรือผลไม้
2. แนวการตัด
3. ตำ�แหน่งที่ตัด

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 5 | รูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ 273

กิจกรรม : หัวผักของฉัน
กิจกรรมนี้ เป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้นักเรียนสำ�รวจหน้าตัดของรูปเรขาคณิตสามมิติ เช่น ปริซึม ทรงกระบอก พีระมิด
กรวย และทรงกลม ในแนวการตัดต่าง ๆ โดยจะจำ�ลองสถานการณ์การตัดรูปเรขาคณิตสามมิตเิ หล่านัน
้ ผ่านการตัดผัก หรือผลไม้
โดยมีอุปกรณ์และขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม ดังนี้

อุปกรณ์
1. ผัก หรือผลไม้ ที่มีลักษณะคล้ายทรงกระบอก เช่น ไชเท้า หรือแคร์รอต อย่างน้อย 2 หัว
2. ผัก หรือผลไม้ ที่มีลักษณะคล้ายทรงกลม เช่น มะนาว หรือ ส้ม
3. มีด (เพื่อความปลอดภัย ไม่ควรใช้มีดปลายแหลม)
4. เขียง

ขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม
1. ครูแบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม แล้วให้นักเรียนตัดผักหรือผลไม้ตามขั้นตอนในกิจกรรม โดยก่อนตัดให้นักเรียนนึก
ภาพลักษณะของหน้าตัดที่จะได้ และอาจให้นักเรียนวาดภาพที่นึกได้ลงในกระดาษ
2. เมื่อตัดแล้วให้นักเรียนตรวจสอบว่าสอดคล้องกับภาพที่นึกไว้หรือวาดไว้หรือไม่
3. ครูนำ�อภิปรายด้วยการถามถึงลักษณะของหน้าตัดที่นักเรียนนึกภาพไว้ และที่ได้จากการตัดจริง รวมถึงการเปลี่ยน
ตำ�แหน่งที่ตัด และแนวการตัด จะทำ�ให้ภาพหน้าตัดเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรโดยไม่ต้องวาดภาพ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
274 บทที่ 5 | รูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

เฉลยกิจกรรม : หัวผักของฉัน
แนวการตัด
ไม่ตั้งฉากและ
ตั้งฉากกับฐาน ขนานกับฐาน
ลักษณะของ ไม่ขนานกับฐาน
ไชเท้าที่ตัดแต่งแล้ว
คำ�ตอบมีมากกว่าหนึ่งอย่าง เช่น
รูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก
ปริซึมสี่เหลี่ยมมุมฉาก รูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก รูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก
รูปสามเหลี่ยม
รูปสี่เหลี่ยมคางหมู

พีระมิดฐานสามเหลี่ยม รูปสามเหลี่ยม รูปสามเหลี่ยม รูปสามเหลี่ยม

คำ�ตอบมีมากกว่าหนึ่งอย่าง เช่น
ทรงกระบอก รูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก วงกลม
วงรี รูปสี่เหลี่ยม

รูปสามเหลี่ยม
วงรี หรือส่วนหนึ่งของวงรี
กรวย (ตัดผ่านจุดยอด) วงกลม
(ตัดผ่านฐาน)
หรือ พาราโบลา

ทรงกลม วงกลม วงกลม วงกลม

เฉลยคำ�ถามท้ายกิจกรรม : หัวผักของฉัน
1. หน้าตัดที่เกิดจากการตัดแบ่งครึ่งมะนาวและส้มจะมีลักษณะคล้ายวงกลมเหมือนกัน แต่สิ่งที่แตกต่างกันคือขนาด
เนื่องจากส้มมีขนาดใหญ่กว่า ดังนั้น หน้าตัดของส้มจึงมีลักษณะคล้ายวงกลมที่มีขนาดใหญ่กว่าหน้าตัดของมะนาว

2. ถ้าเราตัดมะนาวในแนวตั้งฉากกับเขียงในตำ�แหน่งที่แตกต่างกัน ในการตัดแต่ละครั้งจะได้หน้าตัดที่มีลักษณะคล้าย
วงกลมเหมือนกัน แต่มีขนาดแตกต่างกัน

3. ต้องตัดแบ่งครึ่ง นั่นคือตำ�แหน่งตรงกลางของผลมะนาว

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 5 | รูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ 275

เฉลยชวนคิด
ชวนคิด 5.1
งานที่เกี่ยวข้องกับการนึกภาพหน้าตัด เช่น นวัตกรรมการพิมพ์ภาพสามมิติ ที่เรียกว่า 3D printing โดยใช้
เครื่องพิมพ์ภาพ 3 มิติ (3D printer) ซึ่งส่วนใหญ่ใช้หลักการเดียวกัน คือ พิมพ์ภาพ 2 มิติทีละชั้น
ในแนวขนานกับพื้นโลกก่อน จากนั้น เครื่องจะเลื่อนฐานพิมพ์ไปพิมพ์ชั้นถัดไป พิมพ์ไปเรื่อย ๆ หลายร้อย
หลายพัน จนออกมาเป็นรูปสามมิติ นัน
่ คือ 3D printing จะวิเคราะหฺห
์ น้าตัดของรูปสามมิตท
ิ อ
ี่ อกแบบด้วย
ระนาบในแนวขนานกับพื้นโลก แล้วพิมพ์ทีละหน้าตัด

ชวนคิด 5.2
จาก “กิจกรรม : เด็กปั๊ม” เมื่อใช้มีดตัดผักหรือผลไม้แต่ละครั้ง จะได้หน้าตัดสองหน้า โดยหน้าตัดแต่ละหน้า
จะปรากฏอยูบ
่ นผักหรือผลไม้ทถ่ี กู ตัดทัง้ สองส่วน ซึง่ นักเรียนจะพบว่าหน้าตัดแต่ละหน้า จะเป็นรูปทีเ่ หมือนกัน
และทับกันสนิท (ไม่ใช้คำ�ว่ารูปที่เท่ากันทุกประการ เนื่องจากนักเรียนยังไม่รู้จักความเท่ากันทุกประการ)

ชวนคิด 5.3
✤ หน้าตัดส่วนทีค
่ ล้ายรูปสีเ่ หลีย่ มผืนผ้า 3 รูป เกิดจากรูปเรขาคณิตสามมิตท
ิ ม
ี่ ลี ก
ั ษณะคล้ายปริซม
ึ สีเ่ หลีย่ ม
มุมฉาก
✤ หน้าตัดส่วนทีค
่ ล้ายรูปสีเ่ หลีย่ มจัตรุ สั 2 รูป เกิดจากรูปเรขาคณิตสามมิตท
ิ ม
ี่ ลี ก
ั ษณะคล้ายปริซม
ึ สีเ่ หลีย่ ม
มุมฉาก
✤ หน้าตัดส่วนที่คล้ายวงกลม 1 รูป เกิดจากรูปเรขาคณิตสามมิติที่มีลักษณะคล้ายทรงกระบอก
✤ หน้าตัดส่วนที่คล้ายรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก 2 รูป เกิดจากรูปเรขาคณิตสามมิติที่มีลักษณะคล้ายปริซึม
สามเหลี่ยมมุมฉาก

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
276 บทที่ 5 | รูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

เฉลยแบบฝึกหัด
แบบฝึกหัด 5.1
1) 2) 3) 4)

5) 6) 7) 8)

9) 10) 11) 12)

13) 14) 15) 16)

17) 18) 19) 20)

หมายเหตุ คำ�ตอบของนักเรียนอาจเป็นรูปที่อยู่ในทิศทางอื่นได้ เช่น

หรือ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 5 | รูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ 277

5.2 ภาพด้านหน้า ภาพด้านข้าง


และภาพด้านบนของรูปเรขาคณิตสามมิติ (3 ชั่วโมง)
จุดประสงค์
นักเรียนสามารถ
1. ระบุภาพที่ได้จากการมองด้านหน้า ด้านข้าง และด้านบนของรูปเรขาคณิตสามมิติ
2. เขียนภาพที่ได้จากการมองด้านหน้า ด้านข้าง และด้านบนของรูปเรขาคณิตสามมิติที่ประกอบขึ้นจากลูกบาศก์

ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน
-

สื่อที่แนะนำ�ให้ใช้ในข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
1. ภาพการมองด้านหน้า ด้านข้าง และด้านบนในชีวิตจริง เช่น ภาพถ่ายทรงผม ภาพถ่ายรถยนต์ แบบแปลนบ้าน
2. ชุดลูกบาศก์ 64 (มีจำ�หน่าย ณ ร้านศึกษาภัณฑ์พาณิชย์)
3. รูปคลี่ของลูกบาศก์
4. กระดาษจุด
5. อุปกรณ์ของกิจกรรมเสนอแนะ 5.2 ก : มองด้านไหนดี
6. ใบกิจกรรมเสนอแนะ 5.2 ก : มองด้านไหนดี
7. อุปกรณ์ของกิจกรรมเสนอแนะ 5.2 ข : ก่อร่างสร้างรูปเรขาคณิตสามมิติ

ข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ในหัวข้อนีเ้ ป็นเรือ
่ งเกีย่ วกับภาพทีไ่ ด้จากการมองด้านหน้า ด้านข้าง และด้านบน ของรูปเรขาคณิตสามมิติ การจัดกิจกรรม
ควรเน้นให้นก
ั เรียนได้ใช้การนึกภาพ และความรูส
้ ก
ึ เชิงปริภม
ู ิ ในการมองภาพจากวัตถุจริงซึง่ เป็นรูปธรรม เพือ
่ ระบุเป็นภาพทีเ่ กิด
จากการมองด้านหน้า ด้านข้าง และด้านบน ของวัตถุนั้น กิจกรรมที่ครูควรจัดมีดังนี้
1. ครูควรแสดงให้นักเรียนเห็นถึงความสำ�คัญของการมองด้านต่าง ๆ รูปเรขาคณิตในชีวิตจริง เช่น ในการเขียนแบบ
เพื่อสร้างสิ่งต่าง ๆ อย่างไรก็ดี ครูควรชี้แจงให้นักเรียนทราบว่า การเขียนแบบในชีวิตจริง อาจมีการมองภาพ
ด้านต่าง ๆ มากกว่าสามด้าน เช่น ด้านหน้า ด้านข้างทางซ้าย ด้านข้างทางขวา ด้านหลัง ด้านบน หรือด้านล่าง
แต่หนังสือเล่มนี้จะเน้นการมองเพียงสามด้าน คือ ด้านหน้า ด้านข้าง และด้านบน เท่านั้น โดยกำ�หนดให้ด้านใด
ด้านหนึ่งของวัตถุเป็นด้านหน้า และกำ�หนดภาพด้านอื่น ๆ ดังรูป

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
278 บทที่ 5 | รูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

ด้านบน

o
90

ด้านหน้า ด้านข้าง
o
90

ทั้งนี้ ครูอาจใช้ “กิจกรรมเสนอแนะ 5.2 ก : มองด้านไหนดี” เพื่อให้นักเรียนฝึกการมองวัตถุสามมิติในทิศทาง


ต่าง ๆ ที่สัมพันธ์กับการมองด้านหน้า ด้านข้าง และด้านบน และเปิดโอกาสให้นักเรียนฝึกการหมุนและพลิกวัตถุ
เพื่อมองภาพด้านข้างและด้านบนของวัตถุที่ถูกต้องตามหลักการที่แนะนำ�ในหนังสือเรียน
2. ครูแนะนำ�รูปเรขาคณิตสามมิติที่ประกอบขึ้นจากลูกบาศก์โดยใช้ชุดลูกบาศก์ 64 และให้นักเรียนฝึกมองภาพ
ด้านหน้า ด้านข้าง และด้านบนของรูปเรขาคณิตสามมิตท
ิ ป
ี่ ระกอบขึน
้ จากลูกบาศก์ โดยเริม
่ จากลูกบาศก์หนึง่ ลูก
และเพิม
่ เป็นสองลูก โดยวางตามแนวตัง้ หรือแนวนอน แล้วเพิม
่ ลูกบาศก์อก
ี หนึง่ ลูกเป็นสามลูก จากนัน
้ ให้นก
ั เรียน
ช่วยกันวิเคราะห์วา่ เราสามารถวางลูกบาศก์ลกู ทีส่ ามได้แบบใดบ้าง พร้อมทัง้ ฝึกเขียนภาพทีไ่ ด้จากการมองด้านต่าง ๆ

การเรียงลูกบาศก์สองลูก

ตัวอย่างการเรียงลูกบาศก์สามลูก

3. ครูควรเน้นให้นก
ั เรียนทราบว่า การเขียนตัวเลขแสดงจำ�นวนลูกบาศก์มค
ี วามสำ�คัญ เนือ
่ งจากจะทำ�ให้เห็นลักษณะ
การจัดเรียงของลูกบาศก์อย่างชัดเจน เพราะในบางกรณี แม้ภาพที่ได้จากการมองด้านหน้า ด้านข้าง และด้านบน
ของรูปเรขาคณิตสามมิติสองรูปจะเหมือนกัน แต่ลักษณะการจัดเรียงของลูกบาศก์ในแต่ละรูปอาจแตกต่างกัน
จึงจำ�เป็นต้องเขียนตัวเลขแสดงจำ�นวนลูกบาศก์กำ�กับเพื่อให้เห็นการจัดเรียงที่แตกต่างนั้น ดังแสดงในสองรูปนี้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 5 | รูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ 279

ซึ่งนักเรียนควรสังเกตเห็นว่า ภาพที่ได้จากการมองด้านหน้า ด้านข้าง และด้านบนของรูปเรขาคณิตสองรูปนี้


เหมือนกัน แต่จำ�นวนลูกบาศก์ที่แสดงจะไม่เท่ากัน
4. เพื่อให้นักเรียนมีโอกาสได้ฝึกนึกภาพรูปเรขาคณิตที่ประกอบขึ้นจากลูกบาศก์ ครูอาจใช้ “กิจกรรมเสนอแนะ
5.2 ข : ก่อร่างสร้างรูปเรขาคณิตสามมิติ” โดยในกิจกรรมนี้นักเรียนจะต้องสร้างรูปเรขาคณิตที่ประกอบขึ้นจาก
ลู ก บาศก์ จากภาพด้ า นหน้ า ภาพด้ า นข้ า ง และภาพด้ า นบน ที่ ร ะบุ จำ � นวนลู ก บาศก์ โดยใช้ ลู ก บาศก์ จ ริ ง
ในการประกอบ แล้ววิเคราะห์ว่า จากภาพด้านหน้า ภาพด้านข้าง และภาพด้านบน ที่กำ�หนดให้ สามารถสร้างเป็น
รูปเรขาคณิตที่ประกอบขึ้นจากลูกบาศก์ที่แตกต่างกันได้กี่แบบ
5. การประเมินทักษะนักเรียน ควรประเมินจากกระบวนการการเรียนรู้และการทำ�งานของนักเรียนอย่างต่อเนื่อง

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
280 บทที่ 5 | รูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

กิจกรรมเสนอแนะ 5.2 ก : มองด้านไหนดี


กิจกรรมนี้ เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้นักเรียนเข้าใจถึงความสำ�คัญของการกำ�หนดทิศทางการมองด้านหน้า ด้านข้าง และ
ด้านบน รวมถึงฝึกการมองในทิศทางต่าง ๆ ที่สัมพันธ์กับการมองด้านหน้า ด้านข้าง และด้านบน ด้วยการเปิดโอกาสให้นักเรียน
หมุนและพลิกวัตถุเพื่อมองภาพด้านข้างและภาพด้านบนของวัตถุท่ีถูกต้องตามหลักการที่แนะนำ�ในหนังสือเรียน โดยมีอุปกรณ์
และขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม ดังนี้

อุปกรณ์
1. กล่องทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก เช่น กล่องยาสีฟัน กล่องสบู่ หรือกล่องนม
2. ใบกิจกรรมเสนอแนะ 5.2 ก : มองด้านไหนดี

ขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม
1. ครูแบ่งกลุม
่ นักเรียน แล้วแจกกล่องทรงสีเ่ หลีย่ มมุมฉากทีม
่ ลี ก
ั ษณะเหมือนกันให้ทก
ุ กลุม
่ จากนัน
้ ให้แต่ละกลุม
่ เลือกว่า
จะเริ่มมองภาพด้านหน้าของกล่องทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากจากด้านใดก่อนก็ได้
2. ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มวางกล่องที่ได้รับบนโต๊ะ โดยแต่ละกลุ่มจะวางในตำ�แหน่งใดก็ได้
3. ครูให้นักเรียนวาดรูปกล่องแล้วแสดงทิศทางการมองด้านหน้าในใบกิจกรรมเสนอแนะ 5.2 ก : มองด้านไหนดี จากนั้น
ให้นักเรียนพลิกกล่องแล้ววาดภาพที่ได้จากการมองด้านหน้า ด้านข้าง และด้านบน ในใบกิจกรรม
4. ครูให้นก
ั เรียนแต่ละกลุม
่ นำ�เสนอภาพทีไ่ ด้จากการมองด้านหน้า ด้านข้าง และด้านบนของกล่องทีม
่ ล
ี ก
ั ษณะเหมือนกัน
ของแต่ละกลุ่ม แล้วอภิปรายเปรียบเทียบภาพที่ได้ ในกรณีท่ีแต่ละกลุ่มเลือกทิศทางการมองของภาพด้านหน้า
เหมือนกันและแตกต่างกัน
5. ครูสรุปความสำ�คัญของการกำ�หนดทิศทางการมองของภาพด้านหน้า ว่าจะมีผลต่อภาพด้านต่าง ๆ ทีไ่ ด้ โดยเมือ
่ กำ�หนด
ให้ด้านใดด้านหนึ่งของวัตถุเป็นด้านหน้า ด้านข้างต้องเป็นด้านที่มองวัตถุนั้นด้วยมุมมอง 90 องศา จากด้านหน้า
ไปทางขวา และด้านบนจะต้องเป็นด้านที่มองวัตถุนั้นด้วยมุมมอง 90 องศา จากด้านหน้าขึ้นไปข้างบน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 5 | รูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ 281

ใบกิจกรรมเสนอแนะ 5.2 ก : มองด้านไหนดี

คำ�ชี้แจง

จงกำ�หนดทิศทางการมองด้านหน้าของกล่องโดยวาดรูปกล่องในตาราง จากนั้นเขียนภาพที่ได้จากการมอง
ด้านหน้า ด้านข้าง และด้านบน ของกล่อง

รูปเรขาคณิตสามมิติที่ได้รับ

ด้านหน้า

ภาพด้านหน้า ภาพด้านข้าง ภาพด้านบน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
282 บทที่ 5 | รูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

เฉลยใบกิจกรรมเสนอแนะ 5.2 ก : มองด้านไหนดี


คำ�ตอบมีได้หลากหลาย ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ เช่น

รูปเรขาคณิตสามมิติที่ได้รับ

ด้านหน้า

ภาพด้านหน้า ภาพด้านข้าง ภาพด้านบน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 5 | รูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ 283

กิจกรรมเสนอแนะ 5.2 ข : ก่อร่างสร้างรูปเรขาคณิตสามมิติ


กิจกรรมนี้ เป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้นักเรียนฝึกฝนการนึกภาพรูปเรขาคณิตสามมิติที่ประกอบขึ้นจากลูกบาศก์
จากภาพด้านหน้า ด้านข้าง และด้านบน พร้อมทั้งจำ�นวนลูกบาศก์ของรูปเรขาคณิตสามมิติท่ีกำ�หนดขึ้นซึ่งเป็นการฝึกทักษะ
เรือ
่ งการมองภาพด้านหน้า ด้านข้าง และด้านบน ของรูปเรขาคณิตทีป
่ ระกอบขึน
้ จากลูกบาศก์ ทีย
่ อ
้ นกลับจากการแสดงด้วยภาพ
สู่การประกอบลูกบาศก์จริงให้ตรงตามภาพที่กำ�หนด โดยมีอุปกรณ์และขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม ดังนี้

อุปกรณ์
1. ลูกบาศก์ กลุ่มละประมาณ 20 ลูก (อาจให้นักเรียนช่วยกันสร้างจากรูปคลี่ หรือใช้ชุดลูกบาศก์ 64)
2. บัตรภาพลูกบาศก์

ขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม
1. ครูแบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม แล้วแจกลูกบาศก์ให้กลุ่มละประมาณ 20 ลูก
2. ครูแจกบัตรภาพลูกบาศก์ซึ่งแสดงภาพที่ได้จากการมองด้านหน้า ด้านข้าง และด้านบน ของรูปเรขาคณิตสามมิติ
ทีป
่ ระกอบขึน
้ จากลูกบาศก์พร้อมตัวเลขแสดงจำ�นวนลูกบาศก์ แล้วให้นก
ั เรียนแต่ละกลุม
่ แข่งกันต่อลูกบาศก์ให้ได้ตรง
ตามบัตรภาพ กลุ่มใดต่อได้ถูกต้องและรวดเร็วที่สุดเป็นกลุ่มที่ชนะ
3. เมื่อได้ผู้ชนะในรอบแรกแล้วครูจึงแจกบัตรภาพลูกบาศก์รูปอื่น ๆ ให้นักเรียนแข่งขันต่อ โดยอาจเพิ่มความท้าทายคือ
ให้มน
ี ก
ั เรียนเพียงหนึง่ คนทำ�หน้าทีป
่ ระกอบลูกบาศก์ โดยให้ยน
ื ห่างจากเพือ
่ นในกลุม
่ ประมาณ 2 เมตร และไม่สามารถ
มองเห็นภาพจากบัตรภาพ จากนั้น ให้เพื่อนในกลุ่มบอกกับนักเรียนที่ทำ�หน้าที่ประกอบลูกบาศก์ตามคำ�บอก เพื่อฝึก
ทักษะด้านการสื่อสาร
4. นักเรียนกลุ่มที่สามารถต่อลูกบาศก์ได้ถูกต้องและรวดเร็วมากที่สุด เป็นผู้ชนะ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
284 บทที่ 5 | รูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

ตัวอย่างบัตรภาพกิจกรรมเสนอแนะ 5.2 ข :
ก่อร่างสร้างรูปเรขาคณิตสามมิติ

1 1 1 3 3 3 1 3

1 1 1 1 1 1 1 3

3 3 3 2 1 1 1 3 4 4

ภาพด�านหน�า ภาพด�านบน ภาพด�านข�าง

เฉลยตัวอย่างบัตรภาพกิจกรรมเสนอแนะ 5.2 ข :
ก่อร่างสร้างรูปเรขาคณิตสามมิติ

3 3 3 1

1 1 1 1

1 1 1

ภาพด�านบน

1 1 1 3

1 1 1 3

3 3 3 2 3 4 4

ภาพด�านหน�า ภาพด�านข�าง

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 5 | รูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ 285

เฉลยชวนคิด
ชวนคิด 5.4
ไม่จำ�เป็นที่ภาพด้านหน้า ภาพด้านข้าง และภาพด้านบน ของวัตถุสามมิติหนึ่งจะแตกต่างกันเสมอ เช่น
ลูกบาศก์เป็นวัตถุสามมิตท
ิ ม
ี่ ภ
ี าพด้านหน้า ภาพด้านข้าง และภาพด้านบน เป็นภาพเดียวกัน คือ รูปสีเ่ หลีย่ ม
จัตุรัสที่แบ่งเป็นช่องรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส 9 ช่อง ทั้งสามรูป หรืออีกตัวอย่างหนึ่งคือ ทรงกลม มีภาพด้านหน้า
ภาพด้านข้าง และภาพด้านบน เป็นภาพเดียวกัน คือ วงกลม ที่มีรัศมีเท่ากันทั้งสามรูป

ชวนคิด 5.5
1. เท่ากัน
2. จำ�นวนของลูกบาศก์ทั้งหมดที่ประกอบขึ้นเป็นรูปเรขาคณิตสามมิติ

ชวนคิด 5.6
ยังมีคำ�ตอบอื่นได้อีก เนื่องจากอาจมีลูกบาศก์ที่ถูกซ่อนอยู่ด้านหลัง ซึ่งทำ�ให้ไม่สามารถมองเห็นจากการ
มองด้านหน้า หรืออาจมีลูกบาศก์ที่ถูกซ่อนอยู่ด้านข้างอีกด้านหนึ่งที่ทำ�ให้ไม่สามารถมองเห็นจากการมอง
ด้านข้าง ดังภาพ

1
มีลูกบาศก�วางอย�ูด�านหลัง 1 ลูก มีลูกบาศก�วางอย�ูด�านข�าง 1 ลูก

3 2 1 1 3 2 1
2 2
2 2
1 1 1 1 1 1

ภาพด�านบน ภาพด�านบน

1 1 1 1
1 3 1 1 2 1 3 1 1 2
3 4 2 3 1 1 3 1 1 2 4 2 3 1 1 4

ภาพด�านหน�า ภาพด�านข�าง ภาพด�านหน�า ภาพด�านข�าง

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
286 บทที่ 5 | รูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

เฉลยแบบฝึกหัด
แบบฝึกหัด 5.2 ก
1. 1) ค 2) ง 3) ก 4) จ 5) ข

2. 1) ข 2) ค 3) ฉ 4) จ 5) ง

3. 1) ง 2) ค 3) ฉ 4) ข 5) ก

แบบฝึกหัด 5.2 ข
1. 1) 2)

1
1 1 3 1
1 1
1 1 1

ภาพด�านบน ภาพด�านบน

1 1
1 1
1 3 2 2 1 2 1 3 1 1 1 2

ภาพด�านหน�า ภาพด�านข�าง ภาพด�านหน�า ภาพด�านข�าง

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 5 | รูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ 287

3) คำ�ตอบมีได้หลากหลาย เช่น

2 1 2
3 3

ภาพด�านบน ภาพด�านบน

1 1 1 1
2 1 1 2 1 1
2 1 1 1 2 1 2

ภาพด�านหน�า ภาพด�านข�าง ภาพด�านหน�า ภาพด�านข�าง

4) คำ�ตอบมีได้หลากหลาย เช่น

1
3 2 1 3 2 1
1 1

ภาพด�านบน ภาพด�านบน

1 1 1 1
1 1 2 1 1 2
2 1 1 1 3 3 1 1 1 3 1

ภาพด�านหน�า ภาพด�านข�าง ภาพด�านหน�า ภาพด�านข�าง

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
288 บทที่ 5 | รูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

5) คำ�ตอบมีได้หลากหลาย เช่น

1
1 1 1 4 1 1 1 4
1 1
2 2

ภาพด�านบน ภาพด�านบน

1 1 1 1
1 1 1 1
1 1 1 1 1 1 1 1
3 1 1 1 1 1 4 3 1 2 1 1 1 4 1

ภาพด�านหน�า ภาพด�านข�าง ภาพด�านหน�า ภาพด�านข�าง

6) คำ�ตอบมีได้หลากหลาย เช่น

1 1
1 1 1
2 2
1 1 1 1 1 1

ภาพด�านบน ภาพด�านบน

1 1 1 1
1 4 1 3 1 1 1 2 4 1 3 1 2 1

ภาพด�านหน�า ภาพด�านข�าง ภาพด�านหน�า ภาพด�านข�าง

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 5 | รูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ 289

7) คำ�ตอบมีได้หลากหลาย เช่น

1 1
1 1 1
3 3
1 1
ภาพด�านบน ภาพด�านบน

1 1 1 1
1 1 1 1
4 1 1 1 1 1 4 1 1 2 1

ภาพด�านหน�า ภาพด�านข�าง ภาพด�านหน�า ภาพด�านข�าง

8) คำ�ตอบมีได้หลากหลาย เช่น

1
3 4 3 1 3 4 3 1

ภาพด�านบน ภาพด�านบน

1 1 1 1
1 1 1 3 1 1 1 3
1 1 1 3 1 1 1 3
1 1 1 1 4 2 1 1 1 4 1

ภาพด�านหน�า ภาพด�านข�าง ภาพด�านหน�า ภาพด�านข�าง

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
290 บทที่ 5 | รูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

9) คำ�ตอบมีได้หลากหลาย เช่น

3 1 3 1
1 1 1
2 2

ภาพด�านบน ภาพด�านบน

1 1 1 1
2 1 1 2 1 1
3 1 1 1 2 1 3 1 1 2 2

ภาพด�านหน�า ภาพด�านข�าง ภาพด�านหน�า ภาพด�านข�าง

10) คำ�ตอบมีได้หลากหลาย เช่น

2 2 2
4 4 4 4
3 2 3 2

ภาพด�านบน ภาพด�านบน

1 1 2 1 1 2
2 1 1 2 2 1 1 2
2 3 2 2 1 3 3 2 2 2
2 3 2 2 1 3 3 2 2 2

ภาพด�านหน�า ภาพด�านข�าง ภาพด�านหน�า ภาพด�านข�าง

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 5 | รูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ 291

1 2 3 2
4 4 4 4
3 2 3 2

ภาพด�านบน ภาพด�านบน

1 1 2 1 1 2
2 1 1 2 3 1 1 2 1
2 3 2 2 1 3 3 2 2 2
3 3 2 2 2 3 3 2 2 2

ภาพด�านหน�า ภาพด�านข�าง ภาพด�านหน�า ภาพด�านข�าง

2. 1) ก. ภาพด้านบน ข. ภาพด้านข้าง ค. ไม่ใช่ ง. ภาพด้านหน้า

2) ก. ภาพด้านข้าง ข. ภาพด้านบน ค. ไม่ใช่ ง. ภาพด้านหน้า

3) ก. ภาพด้านข้าง ข. ไม่ใช่ ค. ภาพด้านบน ง. ภาพด้านหน้า

4) ก. ภาพด้านข้าง ข. ไม่ใช่ ค. ภาพด้านหน้า ง. ภาพด้านบน

5) ก. ภาพด้านหน้า ข. ไม่ใช่ ค. ภาพด้านข้าง ง. ภาพด้านบน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
292 บทที่ 5 | รูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

กิจกรรมท้ายบท : มิติหรรษา
กิจกรรมนี้ เป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ฝึกทักษะการมองภาพสามมิติ โดยอาศัยการจินตนาการรูปเรขาคณิต
สามมิติที่เกิดจากการหมุนรูปเรขาคณิตสองมิติรอบแกน หรือเลื่อนรูปเรขาคณิตสองมิติขึ้นหรือลงตามแกน เพื่อพัฒนาความรู้สึก
เชิงปริภูมิและความคิดสร้างสรรค์ โดยมีอุปกรณ์และขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม ดังนี้

อุปกรณ์
1. กระดาษแข็งขนาด 20 × 30 ตารางเซนติเมตร 1 แผ่น
2. ไม้เสียบลูกชิ้น 1 ไม้
3. เทปใส หรือกระดาษกาวย่น
4. กรรไกร

ขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม
1. ครูให้นักเรียนเตรียมอุปกรณ์เพื่อสำ�รวจการหมุนรูปเรขาคณิตสองมิติรอบแกน โดยให้นักเรียนเลือกรูปเรขาคณิตสอง
มิติที่ไม่ซับซ้อน เช่น รูปสี่เหลี่ยม รูปสามเหลี่ยม วงกลม เป็นต้น ซึ่งในที่นี้จะนำ�เสนอการหมุนรูปสามเหลี่ยม
2. ครูให้นก
ั เรียนตัดกระดาษแข็งเป็นรูปสามเหลีย่ ม เจาะรู 2 รู แล้วสอดไม้เสียบลูกชิน
้ ผ่านรูทเี่ จาะไว้ ใช้เทปใสติดไม้เสียบ
ลูกชิ้นกับกระดาษแข็งตรงรอยเจาะให้แน่น ดังรูป

ไม้เสียบลูกชิ้น กระดาษแข็งรูปสามเหลี่ยม สอดไม้ผ่านรูที่เจาะไว้แล้ว


เจาะรู 2 รู ปิดทับด้วยเทปใสให้แน่น

หากนักเรียนเลือกรูปสี่เหลี่ยมหรือวงกลม ให้เตรียมอุปกรณ์ในลักษณะเดียวกัน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 5 | รูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ 293

3. ครูให้นักเรียนลองหมุนรูปเรขาคณิตสองมิติที่เตรียมไว้ในข้อ 2 โดยหมุนแกนไม้ตามทิศทางของลูกศร ดังรูป

4. จากการหมุน (ดังรูป) ให้นก


ั เรียนจินตนาการว่าเป็นรูปเรขาคณิตสามมิตช
ิ นิดใด ซึง่ นักเรียนควรสังเกตได้วา่ รูปทีไ่ ด้จาก
การหมุนรูปสามเหลี่ยมเป็นกรวย เนื่องจากไม่ใช่รูปเรขาคณิตสามมิติที่ซับซ้อน ดังรูป

หากนักเรียนเลือกรูปสี่เหลี่ยมหรือวงกลม นักเรียนควรสังเกตได้ว่ารูปที่ได้จากการหมุน รูปสี่เหลี่ยมหรือวงกลม


เป็นทรงกระบอกหรือทรงกลม ตามลำ�ดับ ดังรูป

การหมุนรูปสี่เหลี่ยม การหมุนวงกลม

5. ครูให้นก
ั เรียนเตรียมอุปกรณ์เพือ
่ สำ�รวจการเลือ
่ นรูปเรขาคณิตสองมิตต
ิ ามแกน โดยให้นก
ั เรียนเลือกรูปเรขาคณิตสองมิติ
ที่ไม่ซับซ้อน เช่น รูปสี่เหลี่ยม รูปสามเหลี่ยม วงกลม เป็นต้น ซึ่งในที่นี้จะนำ�เสนอการเลื่อนรูปวงกลม

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
294 บทที่ 5 | รูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

6. ครูให้นก
ั เรียนตัดกระดาษแข็งเป็นรูปวงกลม เจาะรูตรงจุดศูนย์กลางของวงกลม แล้วสอดไม้เสียบลูกชิน
้ ผ่านรูทเี่ จาะไว้
พร้อมทั้งทดสอบว่าสามารถเลื่อนแผ่นกระดาษแข็งรูปวงกลมตามแนวของไม้เสียบลูกชิ้นได้หรือไม่

ไม้เสียบลูกชิ้น กระดาษแข็งรูปวงกลม สอดไม้เสียบลูกชิ้นผ่านรูที่เจาะไว้

7. ครูให้นักเรียนลองเลื่อนรูปเรขาคณิตสองมิติที่เตรียมไว้ในข้อ 6 โดยเลื่อนแผ่นกระดาษแข็งตามทิศทางของลูกศร
พร้อมทั้งสังเกตและจินตนาการว่าเป็นรูปเรขาคณิตสามมิติชนิดใด ซึ่งนักเรียนควรสังเกตได้ว่ารูปที่ได้จากการเลื่อน
วงกลมเป็นทรงกระบอก ดังรูป

การเลื่อนวงกลมไปตามแกน เมื่อแกนอยู่ในแนวจุดศูนย์กลางของวงกลม

8. ครูตงั้ คำ�ถามให้นก
ั เรียนคิด เช่น เป็นไปได้หรือไม่วา่ เราสามารถหมุนรูปเรขาคณิตสองมิตโิ ดยทีไ่ ม่มส
ี ว่ นใดส่วนหนึง่ ของ
รูปเรขาคณิตสองมิติสัมผัสกับแกน ซึ่งนักเรียนอาจตอบว่าได้หรือไม่ได้
9. กิจกรรมต่อไป ให้นักเรียนทำ�กิจกรรมเป็นกลุ่ม โดยทำ�อุปกรณ์ในทำ�นองเดียวกับข้อ 2 และข้อ 6 เมื่อตัดกระดาษแข็ง
เป็ น รู ป เรขาคณิ ต สองมิ ติ แ ล้ ว ทดลองหมุ น รอบแกนหรื อ เลื่ อ นตามแกนในลั ก ษณะเดี ย วกั บ ข้ อ 1)–8) ของ
กิจกรรมท้ายบท : มิติหรรษา ในหนังสือเรียน แล้วจดบันทึกรูปเรขาคณิตสามมิติที่จินตนาการได้ในแบบบันทึก
“รูปในจินตนาการ”
10. ครูนำ�นักเรียนอภิปรายในประเด็นที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างรูปเรขาคณิตสองมิติและรูปเรขาคณิตสามมิติ
เช่น รูปเรขาคณิตสามมิติที่เกิดจากการหมุนหรือเลื่อนรูปเรขาคณิตสองมิติแต่ละรูปมีความสัมพันธ์กันหรือไม่ อย่างไร

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 5 | รูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ 295

เฉลยกิจกรรมท้ายบท : มิติหรรษา
1) 2)

3) 4)

5) 6)

7) 8)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
296 บทที่ 5 | รูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

เฉลยแบบฝึกหัดท้ายบท
1. 1) (1) ขนานกับฐาน (2) รูปสี่เหลี่ยมคางหมู
2) (1) ตั้งฉากกับฐาน (2) รูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก (3) ส่วนหนึ่งของวงกลม
3) (1) ขนานกับฐาน (2) รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส (3) รูปสี่เหลี่ยมคางหมู

2. 1)

2 1
1
1

ภาพด�านบน

1 1
3 1 1 1 2

ภาพด�านหน�า ภาพด�านข�าง

2) มีสองคำ�ตอบคือ

1 1 1
1 2 1 2

ภาพด�านบน ภาพด�านบน

1 1 1 1
1 2 2 1 2 2 2 2

ภาพด�านหน�า ภาพด�านข�าง ภาพด�านหน�า ภาพด�านข�าง

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 5 | รูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ 297

3) คำ�ตอบมีได้หลากหลาย เช่น

4 3 1 1
1 1 4 3 1
1 1 1 1
1 1 1
1
ภาพด�านบน ภาพด�านบน

1 1 1 1
1 1 2 1 1 2
1 1 2 1 1 2
1 4 2 1 1 2 2 3 1 5 2 1 1 2 2 3 1

ภาพด�านหน�า ภาพด�านข�าง ภาพด�านหน�า ภาพด�านข�าง

4) คำ�ตอบมีได้หลากหลาย เช่น

1 1
1 1 1 1 1 1
1 1 1
1 2 1
1 1 1 1 1 1
ภาพด�านบน ภาพด�านบน

1 1
3 2 4 1 3 1 2 3 1 2 3 4 1 3 2 1 3 1

ภาพด�านหน�า ภาพด�านข�าง ภาพด�านหน�า ภาพด�านข�าง

3. 1) ก. ภาพด้านข้าง ข. ไม่ใช่ ค. ภาพด้านบน ง. ภาพด้านหน้า


2) ก. ไม่ใช่ ข. ภาพด้านบน ค. ภาพด้านหน้า ง. ภาพด้านข้าง
3) ก. ภาพด้านหน้า ข. ภาพด้านบน ค. ภาพด้านข้าง ง. ไม่ใช่

4. 1) ค. 2) ข. 3) ค.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
298 บทที่ 5 | รูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

5. 1) คำ�ตอบมีได้หลากหลาย เช่น

3 1 1 3 1
2 2

ภาพด�านบน ภาพด�านบน

1 1 1 1
2 1 1 2 1 1
2 1 1 2 1 2 1 1 3

ภาพด�านหน�า ภาพด�านข�าง ภาพด�านหน�า ภาพด�านข�าง

2) คำ�ตอบมีได้หลากหลาย เช่น

1 1 1 1 1 1 1 1
1 1 1 1 1
2 2

ภาพด�านบน ภาพด�านบน

1 1 1 1
3 2 1 1 1 2 4 1 3 2 1 1 1 3 4

ภาพด�านหน�า ภาพด�านข�าง ภาพด�านหน�า ภาพด�านข�าง

3) คำ�ตอบมีได้หลากหลาย เช่น

3 1 3
2 1 2 1
1 1 1 1

ภาพด�านบน ภาพด�านบน

1 1 1 1
2 1 1 2 1 1
2 2 1 2 2 1 1 2 2 1 2 2 2

ภาพด�านหน�า ภาพด�านข�าง ภาพด�านหน�า ภาพด�านข�าง

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 5 | รูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ 299

4) คำ�ตอบมีได้หลากหลาย เช่น

3 1 3
3 2 2 3 2 2
1 1 1 1

ภาพด�านบน ภาพด�านบน

2 1 1 2 1 1
2 1 1 3 1 2 1 1 3 1
3 2 1 2 3 1 1 3 2 1 2 3 2

ภาพด�านหน�า ภาพด�านข�าง ภาพด�านหน�า ภาพด�านข�าง

5) คำ�ตอบมีได้หลากหลาย เช่น

1
3 2 2 3 2 2
3 1 2 1 3 1 2 1

ภาพด�านบน ภาพด�านบน

2 1 1 2 1 1
2 1 2 2 3 2 1 2 2 3
2 2 2 1 4 3 3 2 2 1 4 3 1

ภาพด�านหน�า ภาพด�านข�าง ภาพด�านหน�า ภาพด�านข�าง

6) คำ�ตอบมีได้หลากหลาย เช่น

1
3 2 1 3 2 1
1 1 1 1

ภาพด�านบน ภาพด�านบน

1 1 1 1
1 1 2 1 1 2
1 2 2 2 3 2 2 2 2 3 1

ภาพด�านหน�า ภาพด�านข�าง ภาพด�านหน�า ภาพด�านข�าง

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
300 บทที่ 5 | รูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

ตัวอย่างแบบทดสอบท้ายบท
1. หน้าตัดที่ได้จากการตัดรูปเรขาคณิตสามมิติด้วยระนาบในแนวการตัดตามรูป ตรงกับข้อใด (1 คะแนน)

ก. รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ข. รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า
ค. รูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ง. รูปสี่เหลี่ยมคางหมู
จ. รูปสามเหลี่ยม ฉ. รูปห้าเหลี่ยม

2. ส้มโอไปเทีย่ วกรุงปักกิง่ สาธารณรัฐประชาชนจีน ในขณะทีเ่ ดินผ่านย่านธุรกิจ ส้มโอเห็นตึกสูงทีถ


่ ก
ู ออกแบบอย่างสวยงาม
ดังรูป

ที่มา: http://www.chinadaily.com.cn สืบค้นเมื่อ 5 เมษายน 2560

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 5 | รูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ 301

จงหาว่าถ้าส้มโอใช้โดรนบินขึ้นไปถ่ายรูปตึกนี้จากด้านบน ภาพถ่ายนั้นจะมีลักษณะคล้ายรูปเรขาคณิตสองมิติตามข้อใด
(1 คะแนน)

ก. ข.

ค. ง.

3. จากรูป ก. – ง. ให้นักเรียนตอบคำ�ถาม ข้อ 1) และ 2)

ก. ข.

ค. ง.

1) ภาพ เป็นภาพที่เกิดจากการมองด้านบนของรูปใด (1 คะแนน)


ตอบ

2) รูปใดบ้างที่มีภาพจากการมองด้านข้างเป็นรูปเดียวกัน (1 คะแนน)
ตอบ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
302 บทที่ 5 | รูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

4. จากรูปเรขาคณิตสามมิติที่ประกอบขึ้นจากลูกบาศก์ที่กำ�หนดให้ต่อไปนี้

ให้นักเรียนวาดภาพด้านหน้า ภาพด้านข้าง และภาพด้านบนในกระดาษจุด (3 คะแนน)

ภาพด้านหน้า ภาพด้านข้าง ภาพด้านบน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 5 | รูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ 303

เฉลยตัวอย่างแบบทดสอบท้ายบท
1. หน้าตัดที่ได้จากการตัดรูปเรขาคณิตสามมิติด้วยระนาบในแนวการตัดตามรูป ตรงกับข้อใด (1 คะแนน)

ก. รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ข. รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า
ค. รูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ง. รูปสี่เหลี่ยมคางหมู
จ. รูปสามเหลี่ยม ฉ. รูปห้าเหลี่ยม

ความสอดคล้องกับจุดประสงค์ของบทเรียน
ข้อ 1 นั ก เรี ย นสามารถอธิ บ ายลั ก ษณะของหน้ า ตั ด ที่ ไ ด้ จ ากการตั ด รู ป เรขาคณิ ต สามมิ ติ ด้ ว ยระนาบในทิ ศ ทาง
ที่กำ�หนดให้
เกณฑ์การให้คะแนน คะแนนเต็ม 1 คะแนน
ตอบถูกต้อง ได้ 1 คะแนน ตอบไม่ถูกต้องหรือไม่ตอบ ได้ 0 คะแนน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
304 บทที่ 5 | รูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

2. ส้มโอไปเทีย่ วกรุงปักกิง่ สาธารณรัฐประชาชนจีน ในขณะทีเ่ ดินผ่านย่านธุรกิจ ส้มโอเห็นตึกสูงทีถ


่ ก
ู ออกแบบอย่างสวยงาม
ดังรูป

ที่มา: http://www.chinadaily.com.cn สืบค้นเมื่อ 5 เมษายน 2560

จงหาว่าถ้าส้มโอใช้โดรนบินขึ้นไปถ่ายรูปตึกนี้จากด้านบน ภาพถ่ายนั้นจะมีลักษณะคล้ายรูปเรขาคณิตสองมิติตามข้อใด
(1 คะแนน)

ก. ข.

ค. ง.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 5 | รูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ 305

ความสอดคล้องกับจุดประสงค์ของบทเรียน
ข้อ 2 นักเรียนสามารถระบุภาพที่ได้จากการมองด้านหน้า ด้านข้าง และด้านบนของรูปเรขาคณิตสามมิติ
เกณฑ์การให้คะแนน คะแนนเต็ม 1 คะแนน
ตอบถูกต้อง ได้ 1 คะแนน ตอบไม่ถูกต้อง หรือไม่ตอบ ได้ 0 คะแนน

3. จากรูป ก. – ง. ให้นักเรียนตอบคำ�ถาม ข้อ 1) และ 2)

ก. ข.

ค. ง.

1) ภาพ เป็นภาพที่เกิดจากการมองด้านบนของรูปใด (1 คะแนน)


ตอบ ข้อ ค.

2) รูปใดบ้างที่มีภาพจากการมองด้านข้างเป็นรูปเดียวกัน (1 คะแนน)
ตอบ ข้อ ค. และ ง.

ความสอดคล้องกับจุดประสงค์ของบทเรียน
ข้อ 2 นักเรียนสามารถระบุภาพที่ได้จากการมองด้านหน้า ด้านข้าง และด้านบนของรูปเรขาคณิตสามมิติ
เกณฑ์การให้คะแนน คะแนนเต็ม 1 คะแนน
ตอบถูกต้อง ได้ 1 คะแนน ตอบไม่ถูกต้อง หรือไม่ตอบ ได้ 0 คะแนน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
306 บทที่ 5 | รูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

4. จากรูปเรขาคณิตสามมิติที่ประกอบขึ้นจากลูกบาศก์ที่กำ�หนดให้ต่อไปนี้

ให้นักเรียนวาดภาพด้านหน้า ภาพด้านข้าง และภาพด้านบนในกระดาษจุด (3 คะแนน)

ภาพด้านหน้า ภาพด้านข้าง ภาพด้านบน

ตอบ

1 1
1 2 1 2 3 2 1
1 2 2 2 4 3 1 1 2 1

ภาพด้านหน้า ภาพด้านข้าง ภาพด้านบน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 5 | รูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ 307

ในกรณีที่มีลูกบาศก์ซ่อนอยู่ด้านหลัง จะทำ�ให้ได้คำ�ตอบแตกต่างจากเดิม เช่น

1 1 1
1 2 1 2 3 2 1
1 3 2 2 4 3 1 1 1 2 1

ภาพด้านหน้า ภาพด้านข้าง ภาพด้านบน

ความสอดคล้องกับจุดประสงค์ของบทเรียน
ข้อ 3 นั ก เรี ย นสามารถเขี ย นภาพที่ ไ ด้ จ ากการมองด้ า นหน้ า ด้ า นข้ า ง และด้ า นบนของรู ป เรขาคณิ ต สามมิ ติ
ที่ประกอบขึ้นจากลูกบาศก์
เกณฑ์การให้คะแนน คะแนนเต็ม 3 คะแนน ภาพละ 1 คะแนน
วาดภาพถูกต้อง ได้ 1 คะแนน วาดภาพไม่ถูกต้อง หรือไม่วาด ได้ 0 คะแนน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
308 บทที่ 5 | รูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

ภาคผนวก
รูปคลี่ของรูปเรขาคณิตสามมิติแบบต่าง ๆ เพื่อครูสามารถนำ�ไป
ถ่ายเอกสาร ตัด แล้วประกอบเป็นรูปเรขาคณิตสามมิติชนิดต่าง ๆ ใช้เป็น
สื่อประกอบในการจัดการเรียนการสอนบทเรียนนี้ในชั้นเรียนได้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 5 | รูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ 309

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
310 บทที่ 5 | รูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 5 | รูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ 311

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
312 บทที่ 4 | ทศนิยมและเศษส่วน คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

กิจกรรมคณิตศาสตร์เชิงสะเต็ม : อุปกรณ์เฟอร์นิเจอร์อย่างง่าย
กิจกรรมคณิตศาสตร์เชิงสะเต็ม เป็นกิจกรรมคณิตศาสตร์ที่มีความเกี่ยวข้องกับชีวิตจริง ซึ่งใช้กระบวนการออกแบบเชิง
วิศวกรรม หรือศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง คือ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี มาช่วยในการแก้ปัญหา สำ�หรับกิจกรรมนี้ มีจุดประสงค์ให้
นักเรียนใช้ทักษะในการมองรูปเรขาคณิตสามมิติจากแบบร่างสองมิติในการศึกษาแบบ รวมทั้ง ออกแบบชิ้นงาน ซึ่งทักษะนี้เป็น
ทักษะที่ใช้ในชีวิตประจำ�วัน โดยเฉพาะการอ่านแบบสำ�หรับการประกอบเฟอร์นิเจอร์อย่างง่ายที่สามารถประกอบได้ด้วยตนเอง
ซึ่งนิยมใช้ในปัจจุบัน ทั้งนี้ ครูอาจให้นักเรียนทำ�กิจกรรมนี้นอกเวลาเรียน โดยมีอุปกรณ์และขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม ดังนี้

อุปกรณ์
✤ กระดาษลูกฟูก หรือ แผ่นพลาสติกลูกฟูก แผ่นใหญ่ 4 แผ่น
✤ ไม้บรรทัด 1 อัน
✤ ปากกาเมจิก 1 ด้าม
✤ กรรไกร หรือ คัตเตอร์ 1 เล่ม

ขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม
สถานการณ์ 1
1. ครูแบ่งนักเรียนออกเป็นกลุม
่ กลุม
่ ละ 3–4 คน แล้วให้นก
ั เรียนศึกษาแบบการสร้างและประกอบทีร่ องอ่านหนังสือ
อย่างง่ายที่กำ�หนด ซึ่งนักเรียนควรพิจารณาขนาดของกระดาษลูกฟูกที่มีขนาดของหนังสือที่ต้องการวาง เพื่อหา
ว่าควรกำ�หนดให้ระยะที่กำ�หนดไว้ในต้นแบบแต่ละช่องยาวเท่าไร และควรออกแบบการตัดชิ้นส่วนต่าง ๆ ให้ตรง
ตามอัตราส่วนของความยาวด้านต่าง ๆ ที่กำ�หนดไว้ในแบบ
2. ครูควรแนะนำ�การแก้ปัญหาในระหว่างที่นักเรียนทำ�กิจกรรม เช่น เมื่อนักเรียนตัดกระดาษตามที่ร่างไว้ และนำ�
มาประกอบกันอาจเกิดปัญหาชั้นวางหนังสือไม่สามารถวางตัวบนพื้นได้ระดับพอดี หรือระนาบของแผ่นรองรับ
หนังสืออาจไม่เท่ากัน นักเรียนควรตัดหรือปรับชิ้นส่วนต่าง ๆ เพื่อให้ชั้นวางหนังสือที่ประกอบขึ้นสามารถวาง
ได้ระดับและใช้งานได้
3. เมื่อประกอบที่รองอ่านหนังสือแล้ว ครูควรให้นักเรียนลองนำ�หนังสือมารองอ่านจริง ๆ แล้วสำ�รวจว่ายังมีปัญหา
ในการใช้งานอะไรอีกบ้าง และสามารถปรับปรุงแบบของที่รองอ่านหนังสือได้อย่างไร เพื่อให้การใช้งานสะดวก
มากขึน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 4 | ทศนิยมและเศษส่วน 313

สถานการณ์ 2
1. ครูแบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 3–4 คน แล้วให้นักเรียนศึกษาสถานการณ์ ซึ่งสถานการณ์นี้มีจุดประสงค์
ให้ นั ก เรี ย นนำ � เอาหลั ก การยึ ด ของชิ้ น ส่ ว นกระดาษลู ก ฟู ก ที่ ไ ม่ จำ � เป็ น ต้ อ งใช้ ก าวหรื อ เทปในการยึ ด ชิ้ น ส่ ว น
เข้าด้วยกัน มาประดิษฐ์เป็นชั้นวางรองเท้าอย่างง่าย
2. ครูให้นก
ั เรียนลองร่างแบบลงบนกระดาษพร้อมทัง้ กำ�หนดขนาดของชัน
้ วางรองเท้าทีต
่ อ
้ งการก่อน โดยอาจใช้ขนาด
รองเท้าจริงของนักเรียนมาเป็นแบบ
3. ครูให้นักเรียนเขียนแบบกำ�หนดชิ้นส่วนต่าง ๆ ที่ต้องการ ว่าต้องมีชิ้นส่วนใด และลักษณะอย่างไรบ้าง
4. เมื่อได้แบบแล้ว ครูให้นักเรียนตัดกระดาษลูกฟูกตามแบบ และประกอบชั้นวางรองเท้าตามแบบที่เขียนไว้ สำ�รวจ
ปัญหาการใช้งานของชั้นวางรองเท้า ปรับปรุงชั้นวางรองเท้าให้ใช้งานได้จริง
5. เมื่อนักเรียนได้ชั้นวางรองเท้าตามที่ต้องการแล้ว ควรให้นักเรียนหาวิธีในการเขียนแบบการสร้างชั้นวางรองเท้า
เพื่อสื่อสารให้ผู้อื่นสามารถสร้างชั้นวางรองเท้าตามที่นักเรียนออกแบบมาได้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
314 บทที่ 4 | ทศนิยมและเศษส่วน คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

ความรู้เพิ่มเติมสำ�หรับครู
การใช้เครื่องคิดเลข

เครื่องคิดเลขที่แตกต่างกันจะมีความสามารถในการคำ�นวณและวิธีใช้แตกต่างกัน ในที่นี้จะกล่าวถึงการใช้เครื่องคิดเลข
ทั่วไป ซึ่งจะมีแป้นต่าง ๆ ดังนี้

1. แป้นตัวเลข 0 ถึง 9 และ . แทนจุดทศนิยม


-
2. แป้นที่เกี่ยวข้องกับการคำ�นวณ ได้แก่ แป้นเครื่องหมาย + , – , × , ÷ , √ , % , = , +-

3. แป้นหน่วยความจำ� เช่น MR , M+ , M–

4. แป้นการแก้ไขข้อมูล เช่น C , AC

✤ การเปิดและปิดเครื่องคิดเลข

◆ การเปิดเครื่องคิดเลขจะใช้แป้น ON หรือบางเครื่องอาจใช้แป้น AC ซึ่งใช้สำ�หรับลบหน้าจอ เพื่อเริ่มต้น


คิดคำ�นวณใหม่
◆ การปิดเครือ
่ งคิดเลขจะใช้แป้น OFF ในบางเครือ
่ งอาจไม่มแี ป้นนี ้ เพราะเครือ
่ งจะปิดเองโดยอัตโนมัติ เมือ
่ หยุด
การใช้งาน

✤ การลบข้อมูลในเครื่องคิดเลข

แป้น AC หรือ C (AC ย่อมาจาก All Clear และ C ย่อมาจาก Clear) ใช้สำ�หรับลบข้อมูลที่ปรากฏบน

หน้าจอ บางเครื่องอาจใช้แป้น C ร่วมกับแป้น CE

แ ป้ น CE (ย่ อ มาจาก Clear Entry) ใช้ สำ � หรั บ ลบค่ า ที่ ใ ส่ เ ข้ า ไปครั้ ง สุ ด ท้ า ย ซึ่ ง เป็ น ค่ า ที่ ต้ อ งการแก้ ไ ข

เช่น 2 + 5 CE 1 = จะได้ผลลัพธ์เป็น 3 เพราะเมื่อกดแป้นที่มีตัวเลข 5 และกดแป้น CE เครื่องจะลบ

ค่าของ 5 (ซึ่งขณะนั้นปรากฏหน้าจอ) โดยไม่ลบ 2 และ + (ซึ่งขณะนั้นไม่ได้ปรากฏที่หน้าจอ)

ในกรณีที่ใช้แป้น AC กับ C หรือแป้น C กับ CE ร่วมกัน เช่น แป้นที่มีสัญลักษณ์ ACC ถ้ากดหนึ่งครั้ง

หมายถึง ใช้แป้น C และกดสองครั้งหมายถึง ใช้แป้น AC

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 4 | ทศนิยมและเศษส่วน 315

แป้น MC หรือ CM (ย่อมาจาก Clear Memory) เป็นแป้นที่ใช้สำ�หรับลบค่าที่สะสมไว้ในหน่วยความจำ�

บางเครื่องที่ไม่มีแป้นนี้ จะใช้แป้น AC เป็นการลบข้อมูลในหน่วยความจำ�ไปด้วย

สำ�หรับการเรียกใช้ขอ
้ มูลทีอ
่ ยูใ่ นหน่วยความจำ�บางเครือ
่ งอาจใช้แป้น MR กับแป้น MC ร่วมกันเป็นแป้น MRC

(หรือ) RCM ซึ่งถ้ากดแป้นนี้หนึ่งครั้ง จะให้ผลลัพธ์เหมือนกับการใช้แป้น MR หรือ RM ซึ่งจะเรียกใช้ข้อมูลในหน่วย

ความจำ� และถ้ากด 2 ครั้งติดกัน เครื่องจะลบข้อมูลในหน่วยความจำ�

✤ การหาผลลัพธ์ทั่วไป

โดยทั่วไป เครื่องคิดเลขจะทำ�งานตามลำ�ดับคำ�สั่งที่ได้รับ ซึ่งผู้ใช้จะต้องคำ�นึงถึงหลักการคำ�นวณทางคณิตศาสตร์ด้วย


ว่าจะต้องคำ�นวณตามลำ�ดับการดำ�เนินการ หรือจะต้องคำ�นวณส่วนใดก่อนหลัง เช่น
1. 12 + 6 – 4 + 2
ใช้เครื่องคิดเลขหาค่าข้างต้นได้ดังนี้

กดแป้น 1 2 + 6 – 4 + 2 =

ผลลัพธ์ 16
2. 20 ÷ (5 × 4) ÷ 2
ในกรณีนี้ จะต้องสั่งให้เครื่องคิดเลขคำ�นวณค่าที่อยู่ในวงเล็บ คือ (5 × 4) เก็บไว้ในหน่วยความจำ�
ก่อน แล้วนำ�ค่าที่ได้ไปหาร 20 และหารด้วย 2 อีกครั้ง ดังนี้

กดแป้น 5 × 4 M+

2 0 ÷ MR = ÷ 2 =
ผลลัพธ์ 0.5

การทำ � งานที่ ต้ อ งใช้ แ ป้ น M+ ทุ ก ครั้ ง ที่ แ ล้ ว เสร็ จ ต้ อ งกดแป้ น MC เพื่ อ ลบความจำ � เดิ ม
ก่อนเริ่มงานใหม่
3. 10 – [(3 – 7) × 2]
ในกรณีน้ี จะต้องสัง่ เครือ ่ ยูใ่ นวงเล็บ คือ [(3 – 7) × 2] เก็บไว้ในหน่วยความจำ�
่ งคิดเลขให้ค�ำ นวณค่าทีอ
ก่อน แล้วจึงนำ�ไปลบออกจาก 10 ดังนี้

กดแป้น 3 – 7 = × 2 M+

1 0 – MR =
ผลลัพธ์ 18

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
316 บทที่ 4 | ทศนิยมและเศษส่วน คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

✤ การหาผลลัพธ์ที่ได้จากการดำ�เนินการจำ�นวนลบ

ในการหาผลลัพธ์ทไี่ ด้จากการดำ�เนินการจำ�นวนลบ เราจะต้องใช้แป้น +- เพือ


่ ระบุคา่ ของจำ�นวนนัน
้ เป็นลบ และ

ถ้ากด 2 ครั้งติดกัน จำ�นวนนั้นจะกลับไปเป็นจำ�นวนบวกเช่นเดิม ตัวอย่างการใช้เครื่องคิดเลข เช่น


1. 8 + (-5)
ใช้เครื่องคิดเลขหาค่าข้างต้นได้ดังนี้

กดแป้น 8 + 5 + =
-
ผลลัพธ์ 3
2. -9 – (-4)
ใช้เครื่องคิดเลขหาค่าข้างต้นได้ดังนี้

กดแป้น 9 + – 4 +- =
-
ผลลัพธ์ -5

✤ การหาค่าของเลขยกกำ�ลัง

โดยปกติ เครื่องคิดเลขทั่วไปจะไม่มีแป้นสำ�หรับหาค่าเลขยกกำ�ลังโดยตรง แต่อาจหาค่าของเลขยกกำ�ลังได้ตาม


3
ความหมายของเลขยกกำ�ลังนั้น เช่น 2 หาจาก 2 × 2 × 2 อย่างไรก็ตาม เครื่องคิดเลขมีการทำ�งานที่เกี่ยวกับการคูณกับ

ค่าคงตัวที่จะช่วยให้หาค่าของเลขยกกำ�ลังได้เร็วขึ้น กล่าวคือ เมื่อเรากดแป้น a × = (ไม่กำ�หนดว่า a คือจำ�นวนใด)


เครื่องจะนำ�ค่า a ไปคูณกับตัวเอง ทำ�ให้ได้ผลลัพธ์เป็น a2 เช่น
2
กดแป้น 2 × = จะได้ผลลัพธ์เหมือนกับกดแป้น 2 × 2 = ซึ่งคือ 4 (หรือ 2 ) และ
3
ถ้ากดแป้น = ต่ออีกหนึ่งครั้ง จะได้ผลลัพธ์เป็น 8 (หรือ 2 ) ทั้งนี้เพราะเครื่องจะนำ�ผลลัพธ์ที่ได้ครั้งสุดท้ายไปคูณกับจำ�นวน

ที่ใส่ไว้ครั้งแรก วิธีการนี้จะช่วยทำ�ให้การหาค่าเลขยกกำ�ลังโดยการคูณเร็วขึ้น เช่น


5
◆ ต้องการหาค่าของ 3 กดแป้น 3 × = = = = ผลลัพธ์คือ 243

( )
3
◆ ต้องการหาค่าของ 1 + –6 กดแป้น 6 ÷ 5 + 1 = × = = ผ ล ลั พ ธ์ คื อ
5
10.648

หมายเหตุ 1. สำ�หรับเครื่องคิดเลขบางรุ่นการคูณกับค่าคงตัว จะต้องใช้การกดแป้น × ถึง 2 ครั้ง ซึ่งเครื่องจะแสดง


5
้ ค่า K ทีจ่ อ เช่น การหาค่าของ 3 ทำ�ได้โดย กดแป้น 3
สถานะโดยขึน × × = = = =

2. จะสังเกตเห็นว่า การหาคำ�ตอบของเลขยกกำ�ลังนัน
้ จำ�นวนครัง้ ทีก
่ ดแป้น = จะน้อยกว่าเลขชีก
้ �ำ ลังอยูห
่ นึง่

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 4 | ทศนิยมและเศษส่วน 317

✤ การเขียนจำ�นวนที่มีค่ามากให้อยู่ในรูปเลขยกกำ�ลัง
สำ�หรับเครือ
่ งคิดเลขแบบธรรมดาทีใ่ ช้กน
ั ทัว่ ไปซึง่ สามารถแสดงตัวเลขได้แปดหลัก จะแสดงผลลัพธ์ทแี่ ทนด้วยจำ�นวน
ที่เกินแปดหลักโดยใช้สัญลักษณ์ E เช่น เมื่อหาค่าของ 10,000,000 × 10 โดยใช้เครื่องคิดเลขดังนี้

กดแป้น 1 0 0 0 0 0 0 0 × 1 0 =
E
่ี รากฏบนจอคือ E1.0000000 ซึง่ E หมายถึง 10 และ 1.0000000 หมายถึง 1.0000000 × 10
8 8
ผลลัพธ์ทป
หรือ 100,000,000
ตัวอย่างผลลัพธ์ที่แทนด้วยตัวเลขที่เกินแปดหลัก
1. 586,000 × 1,731,000
ผลลัพธ์ที่ปรากฏบนจอคือ E 8
10143.660 เท่ากับ 10,143.660 × 10
2. 2,839 × 3,702 × 6,666
ผลลัพธ์ที่ปรากฏบนจอคือ E 8
700.59513 เท่ากับ 700.59513 × 10

หมายเหตุ สำ�หรับเครือ
่ งคิดเลขบางเครือ
่ งอาจจะแสดงตัวเลขได้มากกว่า 8 หลัก เช่น เครือ
่ งคิดเลขทีร่ บ
ั จำ�นวนได้ 12 หลัก
12
จะแสดงผลลัพธ์ที่แทนด้วยจำ�นวนที่เกินสิบสองหลักโดยใช้สัญลักษณ์ E ซึ่งหมายถึง 10

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
318 บทที่ 4 | ทศนิยมและเศษส่วน คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

การใช้เครื่องคิดเลขวิทยาศาสตร์

ปัจจุบัน เครื่องคิดเลขวิทยาศาสตร์ (scientific calculator) มีฟังก์ชันการใช้งานที่สะดวกมากขึ้น ซึ่งบางรุ่นสามารถ


แสดงกราฟของฟังก์ชันได้ การคำ�นวณของเครื่องคิดเลขวิทยาศาสตร์จะแตกต่างจากเครื่องคิดเลขทั่วไป โดยเครื่องจะคำ�นวณ
ตามหลักการคำ�นวณทางคณิตศาสตร์ ในที่นี้จะแนะนำ�คำ�สั่งการใช้งานทั่วไปเกี่ยวกับเศษส่วน ทศนิยม และเลขยกกำ�ลัง

✤ การเขียนและการคำ�นวณเศษส่วนในรูปแบบต่าง ๆ

ในการใส่ค่าของเศษส่วนลงในเครื่องคิดเลขวิทยาศาสตร์นั้น บางรุ่นสามารถใส่เศษส่วนโดยกดแป้น —
j หรือ
J
n n
d  ( SHIFT   p–
— P   หรือ SHIFT  U—
d ) แล้วใส่จำ�นวนเต็ม ตัวเศษ หรือตัวส่วนลงไป แต่บางรุ่นหน้าจอแสดงผลไม่สามารถ
P

แสดงผลหลายบรรทัดได้ ซึ่งเราจะกดแป้น a b/c เพื่อแสดงสัญลักษณ์ แทนเส้นคั่นเศษส่วน และสำ�หรับจำ�นวนคละก็จะ

กดแป้น a b/c เพื่อแสดงสัญลักษณ์ แทนการแบ่งระหว่างจำ�นวนเต็ม ตัวเศษ และตัวส่วน ตัวอย่างการใช้เครื่องคิดเลข

วิทยาศาสตร์ เช่น

1. –3 กดแป้น 3 a b/c 5
5
ภาพที่ปรากฏบนจอคือ 3 5

1
2. -2– กดแป้น – 2 a b/c 1 a b/c 3
3
ภาพที่ปรากฏบนจอคือ -2 1 3

2 – 4–5 กดแป้น –
3. -1– 1 a b/c 2 a b/c 3 – 4 a b/c 5 a b/c 6 =
3 6
1
ผลลัพธ์ -6–
2

4. - –3 × –2 กดแป้น - 3 a b/c 5 × 2 a b/c 7 =


5 7
ผลลัพธ์ - —6
35

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 4 | ทศนิยมและเศษส่วน 319

✤ การแสดงเศษส่วนและทศนิยม

เครื่องคิดเลขวิทยาศาสตร์สามารถแสดงเศษส่วนให้อยู่ในรูปทศนิยม และแสดงทศนิยมให้อยู่ในรูปเศษส่วนได้

โดยใช้แป้น F ↔ D หรือ S ↔ D นอกจากนี้ ยังสามารถแสดงจำ�นวนคละให้อยู่ในรูปเศษเกินได้ โดยใช้แป้น SHIFT  


b d d a
a– c หรือ SHIFT /c หรือ U–
c ↔ –   –n ซึ่งเมื่อกดแป้น 2 ครั้ง ติดกัน หน้าจอก็จะแสดงผลเป็นผลลัพธ์เดิมที่เครื่องได้
b ↔ d

คำ�นวณไว้ ตัวอย่างการใช้เครื่องคิดเลขวิทยาศาสตร์ เช่น


14 ให้อยู่ในรูปทศนิยม
1. การแสดง —
5
กดแป้น 1 4 a b/c 5 =

F ↔ D
ผลลัพธ์ 2.8
2. การแสดง -3.6 ให้อยู่ในรูปเศษส่วนหรือจำ�นวนคละ

กดแป้น – 3 . 6 =

F ↔ D
ผลลัพธ์ -3– 3
5
4 ให้อยู่ในรูปเศษเกิน
3. การแสดง 2–
5
กดแป้น 2 a b/c 4 a b/c 5 =
b d
SHIFT a–
c ↔ –
c
ผลลัพธ์ 14

5

หมายเหตุ 1. เครื่องคิดเลขบางรุ่นที่สามารถพิมพ์จำ�นวนในรูปเศษส่วนได้ จะต้องกดแป้น = ก่อนจึงจะสามารถใช้


แป้นคำ�สั่งการแสดงเศษส่วนและทศนิยมได้
2. เครื่องคิดเลขบางรุ่นสามารถแสดงทศนิยมซ้ำ�ให้อยู่ในรูปเศษส่วนได้ เช่น

กดแป้น 0 . 5 5 5 5 … 5 5 5 =

(กดแป้น 5 ให้หน้าจอแสดงเลข 5 อย่างน้อย 15 ตัว )


5
ผลลัพธ์ –
9

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
320 บทที่ 4 | ทศนิยมและเศษส่วน คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

✤ การเขียนและการคำ�นวณเกี่ยวกับสัญกรณ์วิทยาศาสตร์

ในการใส่ค่าของสัญกรณ์วิทยาศาสตร์ลงในเครื่องคิดเลขวิทยาศาสตร์นั้น เราสามารถกดแป้นตามค่าที่เราต้องการจะ

ใส่ได้ แต่ในเครือ ่ จะมีแป้น EXP หรือ ×10x สำ�หรับอำ�นวยความสะดวกในการใส่คา่ ของสัญกรณ์วท


่ งคิดเลขบางรุน ิ ยาศาสตร์
x
โดยมีความหมายแทน × 10
ตัวอย่างการใช้เครื่องคิดเลขวิทยาศาสตร์ เช่น
-3
1. 2.4 × 10 กดแป้น 2 . 4 EXP - 3

หรือ 2 .
x
4 ×10 - 3
5 4
2. (4.5 × 10 ) + (5.1 × 10 )

กดแป้น ( 4 . 5 EXP 5 ) +

( 4 . 1 EXP 4 ) = (ไม่ต้องใส่วงเล็บก็ได้)

ผลลัพธ์ 501,000 (ผลลัพธ์จะแสดงในรูปแบบสัญกรณ์วิทยาศาสตร์หรือไม่ ขึ้นอยู่กับการตั้งค่า)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 4 | ทศนิยมและเศษส่วน 321

การใช้โปรแกรม The Geometer’s Sketchpad

The Geometer’s Sketchpad (GSP) เป็นซอฟต์แวร์ทางคณิตศาสตร์เชิงเรขาคณิตพลวัต ซึ่งบนหน้าจอจะประกอบ


ไปด้วยกล่องเครื่องมือ แถบเมนู และแบบร่าง ดังรูป

แถบเมนู

กล่องเครื่องมือ แบบร่าง

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
322 บทที่ 4 | ทศนิยมและเศษส่วน คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

กล่องเครื่องมือประกอบไปด้วย 9 เครื่องมือ ดังนี้

เครื่องมือลูกศร ใช้เพื่อเลือกหรือไม่เลือกอ็อบเจกต์ และเพื่อเคลื่อนย้าย

อ็อบเจกต์ นอกจากนี้ยังสามารถเปลี่ยนเป็นเครื่องมือลูกศรหมุน หรือ

เครื่องมือลูกศรย่อ/ขยาย ได้

เครื่องมือจุด ใช้เพื่อสร้างจุด

เครื่องมือวงเวียน ใช้เพื่อสร้างวงกลม

เครื่องมือส่วนของเส้นตรง ใช้เพื่อสร้างส่วนของเส้นตรง และสามารถ

เปลี่ยนเป็นเครื่องมือรังสี หรือเครื่องมือเส้นตรง ได้

เครื่ อ งมื อ บริ เ วณภายในรู ป หลายเหลี่ ย ม ใช้ เ พื่ อ สร้ า งบริ เ วณภายใน
รูปหลายเหลี่ยม และสามารถเปลี่ยนเป็นเครื่องมือรูปหลายเหลี่ยมและบริเวณ

ภายใน หรือเครื่องมือรูปหลายเหลี่ยม ได้

เครื่องมือข้อความ ใช้เพื่อกำ�หนดหรือซ่อนป้ายชื่อ หรือสร้างข้อความ


ในแบบร่าง

เครื่องมือปากกา ใช้เพื่อสร้างเครื่องหมายกำ�กับมุม เครื่องหมายกำ�กับเส้น


หรือวาดรูป

่ งมือข้อมูล
เครือ ใช้เพือ
่ สำ�รวจการสร้างในแบบร่างและสำ�รวจความสัมพันธ์
ระหว่างอ็อบเจกต์

เครื่องมือส่วนตัว ใช้เพื่อสร้าง จัดการเครื่องมือส่วนตัว (เครื่องมือที่ผู้ใช้


สร้างเอง) และนำ�เครื่องมือเหล่านั้นมาใช้งาน

แถบด้านบนสุดของหน้าจอ คือแถบเมนู ในแต่ละเมนูจะมีคำ�สั่งต่าง ๆ ให้เลือกใช้ในการสร้างและการดำ�เนินการ


ทางคณิตศาสตร์ และสามารถดูวิธีการใช้งานคำ�สั่งต่าง ๆ ได้จากเมนูวิธีใช้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 4 | ทศนิยมและเศษส่วน 323

ในการเรียนเกี่ยวกับการสร้างทางเรขาคณิต วงเวียนและสันตรงเป็นเครื่องมือพื้นฐานในการสร้างรูปเรขาคณิต ซึ่งใน


โปรแกรม GSP จะใช้เครื่องมือส่วนของเส้นตรง เครื่องมือรังสี เครื่องมือเส้นตรง และเครื่องมือวงเวียน แทนวงเวียนและสันตรง
นอกจากนี้ ยังสามารถใช้คำ�สั่งจากเมนูสร้างแทนการสร้างด้วยเครื่องมือได้

ตัวอย่างการใช้โปรแกรม GSP ในการสร้างทางเรขาคณิต

การแบ่งครึ่งส่วนของเส้นตรง มีขั้นตอนการสร้าง ดังนี้


1. ใช้เครื่องมือส่วนของเส้นตรงสร้างส่วนของเส้นตรงให้มีความยาวตามต้องการ และใช้กล่องข้อความกำ�หนดชื่อ
จุดปลาย คือ จุด A และ จุด B

A B

2. ใช้เครือ
่ งมือวงเวียนสร้างวงกลมโดยให้จด
ุ A เป็นจุดศูนย์กลางวงกลม รัศมียาวเท่ากับความยาวของส่วนของเส้นตรง
ที่สร้างขึ้น

A B

3. ใช้เครือ
่ งมือวงเวียนสร้างวงกลมโดยให้จด
ุ B เป็นจุดศูนย์กลางวงกลม รัศมียาวเท่ากับความยาวของส่วนของเส้นตรง
ทีส่ ร้างขึน
้ จากนัน
้ เลือกวงกลมทัง้ สองวง แล้วไปทีเ่ มนูสร้าง เลือกคำ�สัง่ จุดตัด (การสร้างวงกลมในขัน
้ ตอนที่ 2 และ 3
สามารถใช้ความยาวรัศมีอน
ื่ ทีส
่ ามารถทำ�ให้วงกลมทัง้ สองวงตัดกันได้ แต่วงกลมทัง้ สองวงต้องมีรศ
ั มียาวเท่ากันและ
ต้องยาวมากกว่าส่วนของเส้นตรง AB)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
324 บทที่ 4 | ทศนิยมและเศษส่วน คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

A B

4. สร้างส่วนของเส้นตรงเชื่อมจุดตัดทั้งสองจุด ทำ�ให้เกิดจุดตัดบนส่วนของเส้นตรง AB กำ�หนดชื่อเป็นจุด C

A C B

5. เลือกจุด A และจุด C จากนั้นไปที่เมนูการวัด เลือกคำ�สั่งระยะทาง จะได้ AC จากนั้นวัดระยะทาง CB ด้วยวิธี


เช่นเดียวกับการวัดระยะทาง AC ซึ่งจะได้ว่า AC = BC และจุด C เป็นจุดกึ่งกลางของส่วนของเส้นตรง AB

จากขั้นตอนที่ 1 ถึง 4 เป็นการแบ่งครึ่งส่วนของเส้นตรง และขั้นตอนที่ 5 เป็นการตรวจสอบ ซึ่งครูอาจจะให้นักเรียน


สำ�รวจต่อว่า เมื่อความยาวของเส้นตรง AB เปลี่ยนไป AC จะเท่ากับ BC เสมอ โดยลากจุด B เพื่อเปลี่ยนความยาวและ
แนวของส่วนของเส้นตรง AB

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 4 | ทศนิยมและเศษส่วน 325

นอกจากการแบ่งส่วนของเส้นตรงด้วยเครื่องมือแล้ว ในโปรแกรม GSP ยังมีคำ�สั่งจุดกึ่งกลาง ในเมนูสร้าง เพื่ออำ�นวย


ความสะดวก โดยเลือกส่วนของเส้นตรง จากนั้นไปที่เมนูสร้าง เลือกคำ�สั่งจุดกึ่งกลาง จะได้จุดกึ่งกลางที่แบ่งส่วนของเส้นตรง
ออกเป็นสองส่วนเท่า ๆ กัน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
326 บทที่ 4 | ทศนิยมและเศษส่วน คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

บรรณานุกรม
ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). ศัพท์วิทยาศาสตร์ อังกฤษไทย ไทยอังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ:
อรุณการพิมพ์.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2553). พจนานุกรมศัพท์คณิตศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์


พับลิเคชั่นส์.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2554). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2557). ศัพท์ต่างประเทศที่ใช้คำ�ไทยแทนได้ (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2558). พจนานุกรมคำ�ใหม่ เล่ม 1–2 ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2557). คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานคณิตศาสตร์ เล่ม 1 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1


กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (พิมพ์ครั้งที่ 3).
กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2558). คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานคณิตศาสตร์ เล่ม 2 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1


กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (พิมพ์ครั้งที่ 4).
กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2558). คู่มือครูรายวิชาเพิ่มเติมคณิตศาสตร์ เล่ม 1 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1


กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (พิมพ์ครั้งที่ 2).
กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว.

สำ�นักงานราชบัณฑิตยสภา. (2559). พจนานุกรมศัพท์คณิตศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสภา (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ:


สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสชิ่ง.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 4 | ทศนิยมและเศษส่วน 327

คณะผู้จัดทำ�
คณะที่ปรึกษา
ดร.พรพรรณ ไวทยางกูร สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
รศ. ดร.สัญญา มิตรเอม สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ดร.สุพัตรา ผาติวิสันติ์ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

คณะผู้จัดทำ�คู่มือครู
ผศ. ดร.ชนิศวรา เลิศอมรพงษ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
นางเสาวรัตน์ รามแก้ว โรงเรียนทุ่งใหญ่วิทยาคม จังหวัดนครศรีธรรมราช
นายเชิดศักดิ์ ภักดีวิโรจน์ โรงเรียน ภ.ป.ร. ราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์
จังหวัดนครปฐม
นางมยุรี สาลีวงศ์ โรงเรียนสตรีสิริเกศ จังหวัดศรีสะเกษ
นายรัฐพล กัลพล โรงเรียนสาธิต “พิบูลบำ�เพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา
จังหวัดชลบุรี
นางสาวดนิตา ชื่นอารมณ์ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
นางสาวพิลาลักษณ์ ทองทิพย์ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
นางสาวจันทร์นภา อุตตะมะ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ดร.รณชัย ปานะโปย สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
นางสาววรนารถ อยู่สุข สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
นางสาวสิริวรรณ จันทร์กูล สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ดร.อลงกต ใหม่ด้วง สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

คณะผู้พิจารณาคู่มือครู
รศ. ดร.อัมพร ม้าคนอง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผศ. ดร.ชนิศวรา เลิศอมรพงษ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ผศ. ดร.วันดี เกษมสุขพิพัฒน์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ดร.ปานทอง กุลนาถศิริ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ผศ.ลัดดาวัลย์ เพ็ญสุภา สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
นางสุวรรณา คล้ายกระแส สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
นายสมนึก บุญพาไสว สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
328 บทที่ 4 | ทศนิยมและเศษส่วน คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

ผศ.มาลินท์ อิทธิรส สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี


ดร.อลงกรณ์ ตั้งสงวนธรรม สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
นางสาวดนิตา ชื่นอารมณ์ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
นางสาวพิลาลักษณ์ ทองทิพย์ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
นางสาวจันทร์นภา อุตตะมะ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ดร.รณชัย ปานะโปย สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
นางสาววรนารถ อยู่สุข สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
นางสาวสิริวรรณ จันทร์กูล สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ดร.อลงกต ใหม่ด้วง สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

คณะบรรณาธิการ
รศ. ดร.อัมพร ม้าคนอง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผศ. ดร.วันดี เกษมสุขพิพัฒน์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ดร.ปานทอง กุลนาถศิริ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ผศ.มาลินท์ อิทธิรส สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

คณะทำ�งานฝ่ายเสริมวิชาการ
ฝ่ายนวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
นางวนิดา สิงห์น้อย สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ออกแบบรูปเล่ม
บริษัท เธิร์ดอาย 1999 จำ�กัด

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

You might also like