You are on page 1of 21

เอกสารประกอบการสอน

กระบวนวิชา
STA 2003
หลักสถิติ

การวิเคราะห์ความแปรปรวนจาแนกทางเดียว
(One-way Analysis of Variance)

โดย

ผูช้ ่วยศาสตราจารย์ ดร.จุฑารัตน์ วรประทีป


ภาควิชาสถิติ
คณะวิทยาศาสตร์
มหาวิทยาลัยรามคาแหง
2

การวิเคราะห์ความแปรปรวนจาแนกทางเดียว (One-way analysis of variance)


การวิเคราะห์ความแปรปรวนจาแนกทางเดียวคือ วิธีการทางสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมุติฐานค่าเฉลี่ยประชากร
มากกว่า 2 กลุ่มขึ้นไปว่าแตกต่างกันหรือไม่ เช่น การทดสอบความแตกต่างของคะแนนสอบวิชาหลักสถิติเมื่อใช้วิธีการสอน
3 วิธี การทดสอบความแตกต่างของยอดขายสินค้าของบริษัทเมื่อใช้วิธีส่งเสริมการขาย 4 วิธี เป็นต้น โดยการเปรียบเทียบ
ความแตกต่างของค่าฉลี่ยประชากรมากกว่า 2 กลุ่มขึ้นไป เราจะใช้ความแปรปรวนตัวอย่างของข้อมูลในแต่ละประชากรมา
ทดสอบสมมุติฐานแทนการใช้ค่าเฉลี่ยตัวอย่าง ทั้งนี้โครงสร้างข้อมูลที่ใช้สาหรับการวิเคราะห์ความแปรปรวนจาแนกทาง
เดียวเป็นดังนี้

ประชากร/วิธีการ
1 2 3 ... k
X11 X12 X13 . . . X1k
X21 X22 X23 . . . X2k
X31 X32 X33 . . . X3k
. . . . .
. . . . .
. . . . .
Xn 1 k Xn 2 k Xn 3 k . . . Xn k k
จานวนข้อมูล (nj) n1 n2 n3 ... nk
ค่าเฉลี่ยตัวอย่าง (Xj ) X1 X2 X3 ... Xk X

ความแปรปรวนตัวอย่าง (Sj2 ) S12 S22 S32 ... Sk2

ข้อตกลงเบื้องต้นของการวิเคราะห์ความแปรปรวนจาแนกทางเดียว
ถ้า Xij คือข้อมูลตัวที่ i จากประชากร/วิธีการ ที่ j , j = 1 , 2 , … , k และ i = 1 , 2 , … , nj
1. Xij มีการแจกแจงปรกติ
2. ความแปรปรวนประชากรทั้ง k กลุ่มต้องเท่ากัน (σ 12 = σ 22 = … = σ 2k = 2)
3

ขั้นตอนการทดสอบสมมุติฐาน
1. Ho: 1 = 2 = … = k
(ภายใต้ข้อสมมุติว่า σ 12 = σ 22 = … = σ 2k = 2)
Ha: j ไม่เท่ากันทั้งหมด
หรือ Ha: มีค่าเฉลี่ยอย่างน้อย 1 คู่ที่แตกต่างกัน
2. กาหนดระดับนัยสาคัญ 
3. เขตปฏิเสธ Ho: ปฏิเสธ Ho เมื่อ F > f(k – 1 , N – k), 
(ค่าวิกฤตจากตารางการแจกแจง F ที่  = 0.05 แสดงในภาคผนวก)
4. คานวณตัวสถิติทดสอบ F = ความแปรปรวนระหว่างกลุ่ม
ความแปรปรวนภายในกลุ่ม
k 2
 n j (X j  X) /( k  1)
หรือ F = jk1
2
 ( n j  1)S j /( N  k )
j1

เมื่อ X = ค่าเฉลี่ยรวม
X j = ค่าเฉลี่ยตัวอย่างจากประชากร/วิธีการที่ j, j =1, 2, 3, …, k
Sj2 = ความแปรปรวนตัวอย่างจากประชากร/วิธีการที่ j, j =1, 2, 3, …, k
N = จานวนข้อมูลทั้งหมด = n1 + n2 + n3 + . . . + nk
โดยที่
nj k nj nj
2
i=1 j=1 X ij i=1 X ij i=1(X ij − X j )
X= , Xj = , Sj2 =
N nj (n j − 1)

5. สรุปผลการทดสอบ
4

ตัวอย่างที่ 1 จากการศึกษาจานวนครั้งของความผิดพลาดที่เกิดจากการให้บริการเติมเงินโทรศัพท์มือถือจากตู้เติมเงิน
อัตโนมัติจานวน 4 เครื่อง ภายในเวลา 3 สัปดาห์ พบข้อมูลที่น่าสนใจดังนี้

ตู้เติมเงิน
1 2 3 4
17 10 12 9
22 15 7 8
24 8 8 4

เมื่อจานวนครั้งของความผิดพลาดที่เกิดขึ้นมีการแจกแจงปรกติโดยประมาณ โดยความแปรปรวนประชากรของจานวนครั้ง
ชองความผิดพลาดจากตู้เติมเงินทั้ง 4 เครื่องไม่ต่างกัน จงทดสอบว่าจานวนครั้งชองความผิดพลาดจากการให้บริการเติม
เงินโทรศัพท์มือถือจากตู้เติมเงินอัตโนมัติทั้ง 4 เครื่องแตกต่างกันหรือไม่ ที่  = 0.05
วิธีทา เราคานวณค่าเฉลี่ยรวมของความผิดพลาด (X) ค่าเฉลี่ยและความแปรปรวนตัวอย่างชองความผิดพลาดจากตู้เติม
เงินแต่ละเครื่อง (X j และ Sj2 ) แสดงค่าต่างๆ ได้ดังตารางต่อไปนี้

ตู้เติมเงิน 1 2 3 4
17 10 12 9
22 15 7 8
24 8 8 4
จานวนข้อมูล (nj) 3 3 3 3 N = 12
ค่าเฉลี่ยตัวอย่าง (X j ) 21 11 9 7 X = 12
ความแปรปรวนตัวอย่าง (Sj2 ) 13 13 7 7

การคานวณค่า X แสดงได้ดังนี้
nj k
i=1 j=1 X ij 17 + 10 + 12 + … + 8+ 4 144
X= = = = 12
N 12 12
5

สาหรับค่าเฉลี่ยและความแปรปรวนตัวอย่างของความผิดพลาดจากตู้เติมเงินเครื่องที่ 2 (X 2 และ S22 ) คานวณได้


ดังนี้
n2
i=1 X i2 10 + 15 + 8 33
X2 = = = = 11
n2 3 3

n2 2 n2 2
i=1(X i2 − X 2 ) i=1(X i2 − 11) (10 − 11)2 + (15 − 11)2 + (8 − 11)2
S22 = = =
(n 2 − 1) (3 − 1) 2

1 + 16 + 9 26
= = = 13
2 2

ขั้นตอนการทดสอบสมมุติฐาน เป็นดังนี้
ให้ j คือจานวนครั้งเฉลี่ยประชากรของความผิดพลาดที่เกิดจากการให้บริการเติมเงินโทรศัพท์มือถือจากตู้เติม
เงินอัตโนมัติเครื่องที่ j, j = 1, 2 , 3, 4
1. Ho: 1 = 2 = 3 = 4
Ha: j ไม่เท่ากันทั้งหมด
หรือ Ha: มีค่าเฉลี่ยอย่างน้อย 1 คู่ที่แตกต่างกัน
2.  = 0.05
3. เขตปฏิเสธ Ho: ปฏิเสธ Ho เมื่อ F > f(k – 1 , N – k),  = f(3, 8), 0.05 = 4.0662
4. คานวณตัวสถิติทดสอบ F = ความแปรปรวนระหว่างกลุ่ม
ความแปรปรวนภายในกลุ่ม
k 2
 n j (X j  X) /( k  1)
หรือ F = jk1
2
 ( n j  1)S j /( N  k )
j1

3 21−12 2 + 3 11−12 2 + 3 9 −12 2 + 3 7−12 2 /(4−1)


=
3−1 13 + 3−1 13 + 3−1 7 + 3−1 7 /(12−4)

348/3 116
= = = 11.6
80/8 10
6

5. สรุปผลการทดสอบ
F = 11.6 > 4.0662 ดังนั้นเราปฏิเสธ Ho นั่นคือจานวนครั้งชองความผิดพลาดจากการให้บริการเติมเงิน
โทรศัพท์มือถือจากตู้เติมเงินอัตโนมัติทั้ง 4 เครื่องแตกต่างกัน
โดยปกติการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยประชากรมากกว่า 2 กลุ่มขึ้นไป ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวน
จาแนกทางเดียวนั้น เราสามารถแสดงค่าต่างๆที่ได้จากการคานวณลงในตารางการวิเคราะห์ความแปรปรวน (Analysis of
Variance table: ANOVA table) ดังตารางที่ 1 ซึ่งเราอธิบายค่าต่างๆในตารางได้ดังนี้

ตารางที่ 1 ตารางการวิเคราะห์ความแปรปรวน (ANOVA table)


SOV SS df Variance or Mean Square (MS) F
ระหว่างกลุ่ม (B) SSB k–1 MSB = SSB/(k – 1) F = MSB/MSE
ภายในกลุ่ม (E) SSE N–k MSE = SSE/(N – k)
Total SST N-1

1. สดมภ์ที่ 1 (คอลัมน์ที่ 1) แสดงที่มาความผันแปรของข้อมูล (Source of Variation: SOV) โดยที่


ความผันแปรทั้งหมดของข้อมูล (Total of variation) ถูกแบ่งออกเป็นสองส่วนคือ ความผันแปรที่เกิดจากกลุ่มหรือวิธีการ
(between groups: B) และความผันแปรที่เกิดภายในกลุ่ม (within groups: E)
2. สดมภ์ที่ 2 (คอลัมน์ที่ 2) แสดงค่าผลบวกกาลังสอง ( sum of square: SS) จากแต่ละแหล่งที่มาของความผัน
แปรของข้อมูล
3. สดมภ์ที่ 3 (คอลัมน์ที่ 3) แสดงค่าองศาเสรี (degree of freedom: df) จากแต่ละแหล่งที่มาของความผันแปร
ของข้อมูล
4. สดมภ์ที่ 4 (คอลัมน์ที่ 4) แสดงค่าความแปรปรวนหรือค่าเฉลี่ยของผลบวกกาลังสอง (Variance or Mean
Square: MS) จากแต่ละแหล่งที่มาของความผันแปรของข้อมูล ซึ่งคานวณได้จากการนาค่าผลบวกกาลังสอง (SS) จาก
สดมภ์ที่ 2 (คอลัมน์ที่ 2) หารด้วยค่าองศาเสรี (df) จากสดมภ์ที่ 3 (คอลัมน์ที่ 3)
5. สดมภ์ที่ 5 (คอลัมน์ที่ 5) แสดงค่าตัวสถิติทดสอบ F ซึ่งคานวณได้จากอัตราส่วนของความแปรปรวนสองค่า คือ
ความแปรปรวนระหว่างกลุ่ม (MSB) และภายในกลุ่ม (MSE)
7

จากตัวอย่างที่ 1 เราสามารถแสดงค่าต่างๆ ที่ได้จากการคานวณลงในตารางการวิเคราะห์ความแปรปรวนดังนี้

ตารางที่ 2 ตารางการวิเคราะห์ความแปรปรวน (ANOVA table) จากตัวอย่างที่ 1


SOV SS df Variance or Mean Square (MS) F
ระหว่างกลุ่ม (B) 348 3 348/3 = 116 F = 116/10 = 11.6
ภายในกลุ่ม (E) 80 8 80/8 = 10
Total 428 11

ตัวอย่างที่ 2 ผู้จัดการฝ่ายขายของบริษัทแห่งหนึ่งได้ทาการบันทึกยอดขายสินค้า (หน่วยเป็นล้านบาท) เมื่อใช้วิธีส่งเสริม


การขายที่แตกต่างกัน 3 วิธีในระยะเวลา 5 เดือน ได้ข้อมูลที่น่าสนใจดังนี้

วิธีส่งเสริมการขาย
1 2 3
25 19 27
27 22 30
32 25 33
23 22 27
26 20 29

จงทดสอบว่ายอดขายสินค้าของบริษัทมีความแตกต่างกันหรือไม่เมื่อใช้วิธีส่งเสริมการขายแตกต่างกันที่  = 0.05 โดยเรา


สมมุติว่ายอดขายสินค้ามีการแจกแจงปรกติโดยประมาณและความแปรปรวนประชากรของยอดขายสินค้าจากวิธีส่งเสริม
การขาย 3 วิธีมีค่าไม่ต่างกัน
วิธีทา เราคานวณค่าเฉลี่ยรวมของยอดขายสินค้า (X) ค่าเฉลี่ยและความแปรปรวนตัวอย่างชองยอดขายสินค้าจากวิธี
ส่งเสริมการขายที่ต่างกัน (Xj และ Sj2 ) แสดงค่าต่างๆ ได้ดังตารางต่อไปนี้
8

วิธีส่งเสริมการขาย 1 2 3
25 19 27
27 22 30
32 25 33
23 22 27
26 20 29
จานวนข้อมูล (nj) 5 5 5 N = 15
ค่าเฉลี่ยตัวอย่าง (X j ) 26.6 21.6 29.2 X = 25.8
ความแปรปรวนตัวอย่าง (Sj2 ) 11.3 5.3 6.2

การคานวณค่า X แสดงได้ดังนี้
nj k
i=1 j=1 X ij 25 + 19 + 27 + … +20 +29 387
X= = = = 25.8
N 15 15

สาหรับค่าเฉลี่ยและความแปรปรวนตัวอย่างของยอดขายสินค้าเมื่อใช้วิธีส่งเสริมการขายวิธีที่ 3 (X 3 และ S32 )


คานวณได้ดังนี้
n3
i=1 X i3 27 + 30 + 33 + 27 + 29 146
X3 = = = = 29.2
n3 5 5

n3 2 n3 2
i=1(X i3 − X 3 ) i=1(X i3 − 29.2)
S32 = =
(n 3 − 1) (5 − 1)

(27 −29.2)2 + (30 −29.2)2 + (33 −29.2)2 + (27 −29.2)2 + (29 −29.2)2
=
4

4.84 + 0.64 + 14.44 + 4.84 + 0.04 24.8


= = = 6.2
4 4
9

ขั้นตอนการทดสอบสมมุติฐาน เป็นดังนี้
ให้ j คือยอดขายสินค้าเฉลี่ยประชากรเมื่อใช้วิธีส่งเสริมการขายวิธีที่ j, j = 1, 2 , 3
1. Ho: 1 = 2 = 3
Ha: j ไม่เท่ากันทั้งหมด
หรือ Ha: มีค่าเฉลี่ยอย่างน้อย 1 คู่ที่แตกต่างกัน
2.  = 0.05
3. เขตปฏิเสธ Ho: ปฏิเสธ Ho เมื่อ F > f(k – 1 , N – k),  = f(2, 12), 0.05 = 3.8853
4. คานวณตัวสถิติทดสอบ F = ความแปรปรวนระหว่างกลุ่ม
ความแปรปรวนภายในกลุ่ม
k 2
 n j (X j  X) /( k  1)
หรือ F = jk1
2
 ( n j  1)S j /( N  k )
j1

2
5 26.6 − 25.8 2 + 5 21.6 − 25.8 2 + 5 29.2 – 25.8 /(3 − 1)
=
5 − 1 11.3 + 5 − 1 5.3 + 5 − 1 6.2 /(15 −3)

149.2/2 74.6
= = = 9.816
91.2/12 7.6

เราสามารถแสดงค่าต่างๆ ที่ได้จากการคานวณลงในตารางการวิเคราะห์ความแปรปรวนดังนี้
ตารางการวิเคราะห์ความแปรปรวน (ANOVA table)
SOV SS df Variance or Mean Square (MS) F
ระหว่างกลุ่ม (B) 149.2 2 149.2/2 = 74.6 F = 74.6/7.6 = 9.81.6
ภายในกลุ่ม (E) 91.2 12 91.2/12 = 7.6
Total 240.4 14
10

5. สรุปผลการทดสอบ
F = 9.816 > 3.8853 ดังนั้นเราปฏิเสธ Ho นั่นคือยอดขายสินค้าของบริษัทมีความแตกต่างกันเมื่อใช้วิธี
ส่งเสริมการขายแตกต่างกัน

ตัวอย่างที่ 3 โรงงานผลิตอาหารแปรรูปชนิดหนึ่งได้วัดค่าความชื้นของอาหารแปรรูปที่ผลิตได้เมื่อใช้วิธีเก็บที่แตกต่างกัน 3
วิธี ในช่วงเวลาต่างๆ กัน ค่าความชื้นที่เกิดขึ้นกับอาหารแปรรูปที่ผลิตได้มีดังนี้

วิธีเก็บอาหารแปรรูป
1 2 3
8 12 12
7 15 9
8 11 10
7 10

จงทดสอบว่าความชื้นที่เกิดขึ้นกับอาหารแปรรูปที่ผลิตได้มีความแตกต่างกันตามวิธีเก็บหรือไม่ที่  = 0.05
โดยเราสมมุติว่าความชื้นของอาหารแปรรูปที่ผลิตได้มีการแจกแจงปรกติโดยประมาณและความแปรปรวนประชากรของ
ความชื้นของอาหารแปรรูปจากวิธีเก็บทั้ง 3 วิธีมีค่าไม่ต่างกัน
วิธีทา เราคานวณค่าเฉลี่ยรวมของความชื้นที่เกิดขึ้น (X) ค่าเฉลี่ยและความแปรปรวนตัวอย่างชองความชื้นที่เกิดขึ้นจากวิธี
เก็บอาหารแปรรูปที่ต่างกัน (Xj และ Sj2 ) แสดงค่าต่างๆ ได้ดังตารางต่อไปนี้

วิธีเก็บอาหารแปรรูป 1 2 3
8 12 12
7 15 9
8 11 10
7 10
จานวนข้อมูล (nj) 4 4 3 N = 11
ค่าเฉลี่ยตัวอย่าง (X j ) 7.5 12 10.33 X = 9.91
ความแปรปรวนตัวอย่าง (Sj2 ) 0.33 4.67 2.33
11

การคานวณค่า X แสดงได้ดังนี้
nj k
i=1 j=1 X ij 8 + 12 + 12 + … + 7 + 10 109
X= = = = 9.91
N 11 11

สาหรับค่าเฉลี่ยละความแปรปรวนตัวอย่างของความชื้นที่เกิดขึ้นจากวิธีเก็บอาหารแปรรูปวิธีที่ 1
(X1 และ S12 ) คานวณได้ดังนี้

n1
i=1 X i1 8 +7+8+7 30
X1 = = = = 7.5
n1 4 4

n1 2 n1 2
i=1(X i1 − X 1 ) i=1(X i1 − 7.5)
S12 = =
(n 1 − 1) (4 − 1)

(8 − 7.5)2 + (7 − 7.5)2 + (8 − 7.5)2 + (7 − 7.5)2


=
3

0.25 + 0.25 + 0.25 + 0.25 1


= = = 0.33
3 3

ขั้นตอนการทดสอบสมมุติฐาน เป็นดังนี้
ให้ j คือความชื้นเฉลี่ยประชากรที่เกิดขึ้นจากวิธีเก็บอาหารแปรรูปวิธีที่ j, j = 1, 2 , 3
1. Ho: 1 = 2 = 3
Ha: j ไม่เท่ากันทั้งหมด
หรือ Ha: มีค่าเฉลี่ยอย่างน้อย 1 คู่ที่แตกต่างกัน
2.  = 0.05
3. เขตปฏิเสธ Ho: ปฏิเสธ Ho เมื่อ F > f(k – 1 , N – k),  = f(2, 8), 0.05 = 4.4590
4. คานวณตัวสถิติทดสอบ F = ความแปรปรวนระหว่างกลุ่ม
ความแปรปรวนภายในกลุ่ม
12

k 2
 n j (X j  X) /( k  1)
หรือ F = jk1
2
 ( n j  1)S j /( N  k )
j1

2 2 2
4 7.5 – 9.91 + 4 12 – 9.91 + 3 10.33 – 9.91 /(3 − 1)
=
4 − 1 0.33 + 4 − 1 4.67 + 3 − 1 2.33 /(11 − 3)

41.234/2 20.617
= = = 8.389
19.66/8 2.4575

เราสามารถแสดงค่าต่างๆ ที่ได้จากการคานวณลงในตารางการวิเคราะห์ความแปรปรวนดังนี้
ตารางการวิเคราะห์ความแปรปรวน (ANOVA table)
SOV SS Df Variance or Mean Square (MS) F
ระหว่างกลุ่ม (B) 41.234 2 41.234/2 = 20.617 F = 20.617/2.4575 = 8.389
ภายในกลุ่ม (E) 19.66 8 19.66/8 = 2.4575
Total 60.894 10

5. สรุปผลการทดสอบ
F = 8.389 > 4.4590 ดังนั้นเราปฏิเสธ Ho นั่นคือความชื้นของอาหารแปรรูปที่ผลิตได้มีความแตกต่าง
กันเมื่อใช้วิธีเก็บอาหารแตกต่างกัน

จากการศึกษาการวิเคราะห์ความแปรปรวนจาแนกทางเดียวนั้น เมื่อสมมุติฐานหลักได้รับการปฏิเสธ นั่นคือ


ค่าเฉลี่ยประชากรทั้ง k กลุ่มแตกต่างกันหรือมีค่าเฉลี่ยประชากรอย่างน้อย 1 คู่ที่แตกต่างกัน ดังนั้นเราควรทาการศึกษา
เพิ่มเติมเพื่อตรวจสอบว่าค่าเฉลี่ยประชากรใดบ้างที่แตกต่างกัน โดยทาการทดสอบภายหลัง (post hoc test) ที่เรียกว่า
การทดสอบเปรียบเทียบพหุคูณ (multiple comparison test) ซึ่งทาได้โดยการเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย
ตัวอย่างรายคู่ (pairwise) ทั้งนี้วิธีการทดสอบเปรียบเทียบพหุคูณมีด้วยกันหลายวิธี เช่น LSD (least Significance
Difference), Tukey, Scheffe, Bonferroni เป็นต้น สาหรับกระบวนวิชา STA 2003 จะไม่กล่าวถึงรายละเอียดของการ
ทดสอบเปรียบเทียบพหุคูณแต่ละวิธี รายละเอียดของการทดสอบฯ สามารถศึกษาได้จากกระบวนวิชาสถิติวิเคราะห์
เบื้องต้น STA 2004
13

ตัวอย่างต่อไปนี้เป็นตัวอย่างการวิเคราะห์ความแปรปรวนจาแนกทางเดียวโดยใช้โปรแกรมสาเร็จรูปทางสถิติใน
การวิเคราะห์ค่าต่างๆ รวมถึงการทดสอบสมมุติฐานเกี่ยวกับการเท่ากันของค่าเฉลี่ยประชากรทั้ง k กลุ่มและทาการ
ตรวจสอบภายหลังเมื่อสมมุติฐานหลักได้รับการปฏิเสธโดยการทดสอบเปรียบเทียบพหุคูณด้วยวิธี LSD

ตัวอย่างที่ 4 จากการศึกษาปริมาณน้าตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานเมื่อใช้ยาควบคุมน้าตาลในเลือดจาก
บริษัทผู้ผลิต 4 บริษัท เราต้องการศึกษาประสิทธิภาพของยาควบคุมน้าตาลในเลือดจากบริษัทผู้ผลิตทั้งสี่บริษัทว่าแตกต่าง
กันหรือไม่ที่ระดับนัยสาคัญ 0.05 โดยผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสาเร็จรูปทางสถิติแสดงได้ดังตารางต่อไปนี้

ตารางที่ 1
Descr iptive s

ปริมาณน้ าตาลในเลือด
95% C onfidence Interv al for
Mean
Std. Std. Low er U pper
N Mean Dev iation Error Bound Bound Minimum Maximum
บริษั ทผู ้ผลิต ที1่ 9 90.56 3.644 1.215 87.75 93.36 83 96
บริษั ทผู ้ผลิต ที2่ 10 86.40 3.777 1.194 83.70 89.10 81 91
บริษั ทผู ้ผลิต ที3่ 7 95.71 3.638 1.375 92.35 99.08 91 101
บริษั ทผู ้ผลิต ที4่ 8 79.88 1.727 .611 78.43 81.32 77 82
Total 34 87.88 6.428 1.102 85.64 90.13 77 101

ตารางที่ 1 แสดงค่าสถิติพรรณนาของปริมาณน้าตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานจานวน 34 คน เมื่อใข้ยา


ควบคุมน้าตาลในเลือดจากบริษัทผู้ผลิต 4 บริษัท เราพบว่า
1. ผู้ป่วยจานวน 9 คน ใช้ยาควบคุมน้าตาลในเลือดจากบริษัทผู้ผลิตที่ 1 ปริมาณน้าตาลในเลือดเฉลี่ยเท่ากับ
90.56 หน่วย พร้องด้วยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 3.644 หน่วย ค่าเคลื่อนมาตรฐาน 1.215 หน่วย ที่ระดับความเชื่อมั่น
95% ปริมาณน้าตาลในเลือดเฉลี่ยมีค่าระหว่าง 87.75 และ 93.36 หน่วย ค่าต่าสุดและค่าสูงสุดของปริมาณน้าตาลใน
เลือดคือ 83 และ 96 หน่วย
2. ผู้ป่วยจานวน 10 คน ใช้ยาควบคุมน้าตาลในเลือดจากบริษัทผู้ผลิตที่ 2 ปริมาณน้าตาลในเลือดเฉลี่ยเท่ากับ
86.40 หน่วย พร้องด้วยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 3.777 หน่วย ค่าเคลื่อนมาตรฐาน 1.194 หน่วย ที่ระดับความเชื่อมั่น
95% ปริมาณน้าตาลในเลือดเฉลี่ยมีค่าระหว่าง 83.70 และ 89.10 หน่วย ค่าต่าสุดและค่าสูงสุดของปริมาณน้าตาลใน
เลือดคือ 81 และ 91 หน่วย
3. ผู้ป่วยจานวน 7 คน ใช้ยาควบคุมน้าตาลในเลือดจากบริษัทผู้ผลิตที่ 3 ปริมาณน้าตาลในเลือดเฉลี่ยเท่ากับ
95.71 หน่วย พร้องด้วยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 3.638 หน่วย ค่าเคลื่อนมาตรฐาน 1.375 หน่วย ที่ระดับความเชื่อมั่น
14

95% ปริมาณน้าตาลในเลือดเฉลี่ยมีค่าระหว่าง 92.35 และ 99.08 หน่วย ค่าต่าสุดและค่าสูงสุดของปริมาณน้าตาลใน


เลือดคือ 91 และ 101 หน่วย
4. ผู้ป่วยจานวน 4 คน ใช้ยาควบคุมน้าตาลในเลือดจากบริษัทผู้ผลิตที่ 4 ปริมาณน้าตาลในเลือดเฉลี่ยเท่ากับ
79.88 หน่วย พร้องด้วยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.727 หน่วย ค่าเคลื่อนมาตรฐาน 0.611 หน่วย ที่ระดับความเชื่อมั่น
95% ปริมาณน้าตาลในเลือดเฉลี่ยมีค่าระหว่าง 78.43 และ 81.32 หน่วย ค่าต่าสุดและค่าสูงสุดของปริมาณน้าตาลใน
เลือดคือ 77 และ 82 หน่วย
5. ผู้ป่วยทั้งหมดจานวน 34 คน มีปริมาณน้าตาลในเลือดเฉลี่ยเท่ากับ 87.88 หน่วย พร้องด้วยส่วนเบี่ยงเบน
มาตรฐาน 6.428 หน่วย ค่าเคลื่อนมาตรฐาน 1.102 หน่วย ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% ปริมาณน้าตาลในเลือดเฉลี่ยมีค่า
ระหว่าง 85.64 และ 90.13 หน่วย ค่าต่าสุดและค่าสูงสุดของปริมาณน้าตาลในเลือดคือ 77 และ 100 หน่วย

ตารางที่ 2
T est of Homogeneity of Var iances

ปริมาณน้ าตาลในเลือด
Lev ene
Statistic df1 df2 Sig.
1.978 3 30 .138

ตารางที่ 2 แสดงผลการทดสอบสมมุติฐานเกี่ยวกับการเท่ากันของความแปรปรวนประชากรของปริมาณน้าตาลใน
เลือดจากการใช้ยาควบคุมน้าตาลในเลือดจากบริษัทผู้ผลิตทั้ง 4 บริษัท (ตามข้อตกลงเบื้องต้นของการวิเคราะห์ความ
แปรปรวนจาแนกทางเดียว) นั่นคือเราทดสอบสมมุติฐานสถิติดังนี้
ให้ σ2j คือความแปรปรวนประชากรของปริมาณน้าตาลในเลือดจากการใช้ยาควบคุมน้าตาลในเลือดจาก
บริษัทผู้ผลิตที่ j, j = 1, 2, 3, 4
Ho: σ12 = σ22 = σ23 = σ24 = σ2
Ha: σ2j ไม่เท่ากันทั้งหมด
ตัวสถิติทดสอบ ( Levene Statistic) = 1.978 ตัวสถิติทดสอบนี้มีค่าองศาเสรีสองค่าคือ df1 และ df2 โดยที่ df1
= k – 1 = 4 – 1 = 3, df2 = N – k = 34 – 4 =30
ค่าพีหรือค่า sig. = 0.138 (ค่าพีหรือค่า sig. คือค่าความน่าจะเป็นที่เล็กที่สุดที่เราจะปฏิเสธสมมุติฐานว่าง-เปล่า
หรือสมมุติฐานหลัก: Ho ที่เป็นจริงหรือค่าที่เล็กที่สุดของระดับนัยสาคัญ ()) หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการตัดสินใจเกี่ยวกับการ
ทดสอบสมมุติฐานคือ ถ้าค่าพีหรือค่า sig. น้อยกว่าค่า  เราจะปฏิเสธ Ho แต่ถ้าค่าพีหรือค่า sig. มากกว่าค่า  เราไม่
อาจปฏิเสธ Ho ได้ สาหรับตัวอย่างนี้ค่าพีหรือค่า sig. มากกว่า  = 0.05 ดังนั้นเราไม่อาจปฏิเสธ Ho ได้ นั่นคือ ความ
15

แปรปรวนประชากรของปริมาณน้าตาลในเลือดจากการใช้ยาควบคุมน้าตาลในเลือดจากบริษัทผู้ผลิตทั้ง 4 บริษัทไม่
แตกต่างกัน เราสามารถใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนจาแนกทางเดียวในการศึกษาตัวอย่างนี้ได้

ตารางที่ 3
A NOVA

ปริมาณน้ า ตาลในเลื อด
Sum of
Squares df Mean Square F Sig.
Betw een G roups 1028.604 3 342.868 30.711 .000
Within G roups 334.926 30 11.164
Total 1363.529 33

ตารางที่ 3 แสดงผลการคานวณค่าต่างๆ ในตารางการวิเคราะห์ความแปรวปรวน ดังนี้


1. สดมภ์ที่ 1 (คอลัมน์ที่ 1) แสดงที่มาความผันแปรของข้อมูล (Source of Variation: SOV) โดยที่
ความผันแปรทั้งหมดของข้อมูล (Total of variation) ถูกแบ่งออกเป็นสองส่วนคือ ความผันแปรที่เกิดจากกลุ่มหรือวิธีการ
(between groups: B) และความผันแปรที่เกิดภายในกลุ่ม (within groups: E)
2. สดมภ์ที่ 2 (คอลัมน์ที่ 2) แสดงค่าผลบวกกาลังสอง ( sum of square: SS) จากแต่ละแหล่งที่มาของความผัน
แปรของข้อมูล พบว่า SSB = 1028.604, SSE = 334.926 และ SST = 1363.529
3. สดมภ์ที่ 3 (คอลัมน์ที่ 3) แสดงค่าองศาเสรี (degree of freedom: df) จากแต่ละแหล่งที่มาของความผันแปร
ของข้อมูล พบว่า df(B) = 3, df(E) = 30 และ df(T) = 33
4. สดมภ์ที่ 4 (คอลัมน์ที่ 4) แสดงค่าความแปรปรวนหรือค่าเฉลี่ยของผลบวกกาลังสอง (Variance or Mean
Square: MS) จากแต่ละแหล่งที่มาของความผันแปรของข้อมูล ซึ่งคานวณได้จากการนาค่าผลบวกกาลังสอง (SS) จาก
สดมภ์ที่ 2 (คอลัมน์ที่ 2) หารด้วยค่าองศาเสรี (df) จากสดมภ์ที่ 3 (คอลัมน์ที่ 3) พบว่า MSB = 342.868 และ MSE =
11.164
5. สดมภ์ที่ 5 (คอลัมน์ที่ 5) แสดงค่าตัวสถิติทดสอบ F ซึ่งคานวณได้จากอัตราส่วนของความแปรปรวนสองค่า คือ
ความแปรปรวนระหว่างกลุ่ม (MSB) และภายในกลุ่ม (MSE) พบว่า F = MSB/MSE = 342.868/11.164 = 30.711
6. สดมภ์ที่ 6 (คอลัมน์ที่ 6) แสดงค่าพีหรือค่า sig. ซึ่งมีค่าเท่ากับ 0.000
การทดสอบสมมุติฐานสถิติเกี่ยวกับค่าเฉลี่ยประชากรทั้ง k กลุ่มคือ
16

ให้ j คือปริมาณน้าตาลในเลือดเฉลี่ยประชากรจากการใช้ยาควบคุมน้าตาลในเลือดจากบริษัทผู้ผลิต ที่ j, j = 1,


2, 3, 4
Ho: 1 = 2 = 3 = 4
Ha: j ไม่เท่ากันทั้งหมด หรือ Ha: มีค่าเฉลี่ยอย่างน้อย 1 คู่ที่แตกต่างกัน
ตัวสถิติทดสอบ F = 30.711 และค่าพีหรือค่า sig. = 0.000 ซึ่งมีค่าน้อยกว่า  = 0.05 ดังนั้นเราปฏิเสธ Ho นั่น
คือ ปริมาณน้าตาลในเลือดจากการใช้ยาควบคุมน้าตาลในเลือดจากบริษัทผู้ผลิตทั้ง 4 บริษัทแตกต่างกันหรือกล่าวได้ว่า
ประสิทธิภาพของยาควบคุมน้าตาลในเลือดจากบริษัทผู้ผลิตทั้งสี่บริษัทแตกต่างกัน

ตารางที่ 4

Post Hoc Tests


Multiple Compar isons

Dependent Vari able: ปริ มาณน้ ำตาลในเลือด


LSD

Mean
Difference 95% C onfidence Interv al
(I) บริ ษัทผู้ ผลิต (J) บริ ษัทผู้ ผลิต (I-J) Std. Error Sig. Low er Bound U pper Bound
บริษัทผู ้ผลิต ที1่ บริษัทผู ้ผลิต ที2่ 4.156* 1.535 .011 1.02 7.29
บริษัทผู ้ผลิต ที3่ -5.159* 1.684 .005 -8.60 -1.72
บริษัทผู ้ผลิต ที4่ 10.681* 1.624 .000 7.36 14.00
บริษัทผู ้ผลิต ที2่ บริษัทผู ้ผลิต ที1่ -4.156* 1.535 .011 -7.29 -1.02
บริษัทผู ้ผลิต ที3่ -9.314* 1.647 .000 -12.68 -5.95
บริษัทผู ้ผลิต ที4่ 6.525* 1.585 .000 3.29 9.76
บริษัทผู ้ผลิต ที3่ บริษัทผู ้ผลิต ที1่ 5.159* 1.684 .005 1.72 8.60
บริษัทผู ้ผลิต ที2่ 9.314* 1.647 .000 5.95 12.68
บริษัทผู ้ผลิต ที4่ 15.839* 1.729 .000 12.31 19.37
บริษัทผู ้ผลิต ที4่ บริษัทผู ้ผลิต ที1่ -10.681* 1.624 .000 -14.00 -7.36
บริษัทผู ้ผลิต ที2่ -6.525* 1.585 .000 -9.76 -3.29
บริษัทผู ้ผลิต ที3่ -15.839* 1.729 .000 -19.37 -12.31
*. The mean difference is significant at the .05 lev el.

ตารางที่ 4 แสดงผลการทดสอบภายหลัง (post hoc test) เมื่อสมมุติฐานหลักได้รับการปฏิเสธโดยการทดสอบ


เปรียบเทียบพหุคูณด้วยวิธี LSD ค่าต่างๆในตารางอธิบายได้ดังนี้
1. สดมภ์ที่ 1 (คอลัมน์ที่ 1) แสดงคู่เปรียบเทียบ I และ J ในที่นี้คือบริษัทผู้ผลิตที่ I และ บริษัทผู้ผลิตที่ J
2. สดมภ์ที่ 2 (คอลัมน์ที่ 2) แสดงค่าผลต่างของค่าเฉลี่ยตัวอย่างของคู่เปรียบเทียบ I และ J (XI − XJ )
17

3. สดมภ์ที่ 3 (คอลัมน์ที่ 3) แสดงค่าคลาดเคลื่อนมาตรฐานของผลต่างของค่าเฉลี่ยตัวอย่างของคู่เปรียบเทียบ


4. สดมภ์ที่ 4 (คอลัมน์ที่ 4) แสดงค่าพีหรือค่า sig. ของผลต่างของค่าเฉลี่ยตัวอย่างของคู่เปรียบเทียบ
5. สดมภ์ที่ 5 (คอลัมน์ที่ 5) แสดงช่วงความเชื่อมั่นของผลต่างของค่าเฉลี่ยตัวอย่างของคู่เปรียบเทียบที่ระดับความ
เชื่อมั่น 95%
จากตารางที่ 4 เราพบว่าปริมาณน้าตาลในเลือดเฉลี่ยจากการใช้ยาควบคุมน้าตาลในเลือดจากบริษัทผู้ผลิตทั้ง 4
บริษัทแตกต่างกันทุกคู่เปรียบเทียบ (ค่าพีหรือค่า sig. มีค่าน้อยกว่า  = 0.05) ทั้งนี้สมมุติฐานในการทดสอบเพื่อ
เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยประชากรรายคู่คือ Ho: i = j vs. Ha: i  j , i  j = 1, 2, 3, 4
18

แบบฝึกหัด

1. จากการศึกษาความแตกต่างของวิธีการสอนวิชาสถิติพื้นฐาน 3 วิธี ได้แก่ อาจารย์บรรยาย คอมพิวเตอร์ช่วยสอนและ


อาจารย์บรรยายควบคู่กับคอมพิวเตอร์ช่วยสอน อาจารย์ผู้สอนได้ทาการสุ่มเลือกคะแนนสอบวิชาสถิติพื้นฐานดังกล่าวของ
นักศึกษาในภาคเรียนหนึ่งจากวิธีการสอนทั้ง 3 วิธี ได้ข้อมูลคะแนนสอบดังนี้

วิธีการสอน
อาจารย์บรยาย คอมพิวเตอร์ช่วยสอน อาจารย์บรรยายควบคู่กับคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
68 60 72
59 55 65
71 66 80
67 54 78
53 64 85
62 59 77

จงทดสอบว่าคะแนนสอบวิชาสถิติพื้นฐานของนักศึกษามีความแตกต่างกันตามวิธีการสอนหรือไม่ที่  = 0.05
โดยเราสมมุติว่าคะแนนสอบวิชาสถิติพื้นฐานมีการแจกแจงปรกติโดยประมาณและความแปรปรวนประชากรของคะแนน
สอบจากวิธีการสอนทั้ง 3 วิธีมีค่าไม่ต่างกัน
2. บริษัทผู้ผลิตยางรถยนต์รายหนึ่งได้ศึกษาถึงวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตยางรถยนต์จากโรงงาน 4 โรงงานที่ป้อนวัตถุดิบให้กับ
บริษัท วิศวกรฝ่ายควบคุมการผลิตได้ทาการศึกษาระยะทางที่รถยนต์วิ่งได้ (หน่วยเป็นพันกิโลเมตร) จากวัตถุดิบที่ใช้ในการ
ผลิตจากโรงงาน 4 โรงงาน ได้ข้อมูลดังนี้

โรงงานที่ป้อนวัตถุดิบ
1 2 3 4
23 21 24 17
20 19 23 18
22 24 25 19
21 22 26 20
24 20 22 16
19

จงทดสอบว่ายางรถยนต์ที่ผลิตได้เมื่อใช้วัตถุดิบจากโรงงานที่แตกต่างกันทาให้ระยะทางที่รถยนต์วิ่งได้มีความแตกต่างกัน
หรือไม่ที่  = 0.05 โดยเราสมมุติว่าระยะทางที่รถยนต์วิ่งได้มีการแจกแจงปรกติโดยประมาณและความแปรปรวน
ประชากรของระยะทางที่รถยนต์วิ่งได้จากวัตถุดิบจากโรงงาน 4 โรงงานมีค่าไม่ต่างกัน
3. ผลผลิตที่ได้รับจากการปลูกพืชชนิดหนึ่ง (หน่วยเป็นพันกิโลกรัมต่อไร่) เมื่อใช้ปุ๋ยต่างกัน 5 สูตร เป็นดังนี้

ปุ๋ย
1 2 3 4 5
11 13 16 12 14
9 15 11 14 12
12 11 10 15 11
8 12 12 10 10
14 11

จงทดสอบว่าผลผลิตที่ได้รับจากการปลูกพืชมีความแตกต่างกันเมื่อใช้ปุ๋ยที่ต่างกันหรือไม่ที่  = 0.05 โดยเราสมมุติว่า


ผลผลิตที่ได้รับจากการปลูกพืขขนิดนีม้ ีการแจกแจงปรกติโดยประมาณและความแปรปรวนประชากร
ของผลผลิตที่ได้รับจากการใช้ปุ๋ยทั้ง 5 สูตรมีค่าไม่ต่างกัน
4. ฝ่ายบุคคลของโรงงานแห่งหนึ่งได้ทดสอบความรู้พื้นฐานในการทางานของพนักงานจากแผนกต่างๆจานวน 4 แผนก
คะแนนทดสอบความรู้เป็นดังนี้

แผนก
1 2 3 4
55 60 65 48
50 57 60 50
59 58 61 45
69 64

จงทดสอบว่าคะแนนทดสอบความรู้พื้นฐานในการทางานมีความแตกต่างกันตามแผนกที่พนักงานสังกัดหรือไม่
ที่  = 0.05 โดยเราสมมุติว่าคะแนนทดสอบความรู้พื้นฐานในการทางานมีการแจกแจงปรกติโดยประมาณและ
ความแปรปรวนประชากรของคะแนนทดสอบของพนักงานทั้ง 4 แผนกมีค่าไม่ต่างกัน
20

5. ในการทดสอบปัญหาความเท่ากันของค่าเฉลี่ยประชากร 5 กลุ่มที่แตกต่างกัน โดยจานวนข้อมูลทั้งหมดที่ใช้ในการศึกษา


มีจานวน 25 ค่าสถิติบางค่าจากตารางการวิเคราะห์ความแปรปรวนเป็นดังนี้

ตารางการวิเคราะห์ความแปรปรวน (ANOVA table)


SOV SS df Variance or Mean Square (MS) F
ระหว่างกลุ่ม (B) 240 ____ _____________ _____________
ภายในกลุ่ม (E) _____ ____ _____________
Total 300 ____

(1) จงเติมค่าต่างๆในตารางการวิเคราะห์ความแปรปรวนให้สมบูรณ์
(2) จงทดสอบสมมุติฐานว่าค่าเฉลี่ยประชากรทั้ง 5 กลุ่มแตกต่างกันหรือไม่ที่  = 0.05
21

ภาคผนวก
ตารางการแจกแจง F ที่  = 0.05

You might also like