You are on page 1of 14

บทที่ 4

งาน - พลังงาน
ความหมายของงานโดยทั่วไปในชีวิตประจําวัน งานมักจะหมายถึง การยกของ ทําสวนครัว ปรุง
อาหาร ซักเสื้อผา เขียนหนังสือ หรือทํากิจกรรมใด ๆ เพื่อรับคาตอบแทน และขณะที่เด็กวิ่งเลนกันอยูใน
สนามเด็กเลนหรือเลนแบดมินตัน หรือตีเทนนิส โดยทั่วไปถือวาเปนการออกกําลังกาย หรือเปนการเลน
กีฬา ไมใชเปนการทํางาน แตความหมายของงานโดยทั่วไป กับความหมายทางฟสิกสแตกตางกัน ซึ่ง
ความหมายของงานในทางฟสิกส คือ งานจะเกิดขึ้นตอเมื่อมีแรงมากระทําตอวัตถุแลวทําใหวัตถุมีการเคลื่อนที่
ไดระยะกระจัด (ระยะกระจัดหมายถึงระยะที่วัดในแนวตรง) เพราะฉะนั้นตัวอยางการเลนกีฬาของเด็ก ๆ อาจ
เรียกไดวาเปนการทํางานในทางฟสิกส

4.1 งาน

รูปที่ 4.1 แรงคงตัวผลักวัตถุใหเคลื่อนที่เปนระยะทาง s ในทิศของแรง

ถามีแรงคงที่ F กระทําตอวัตถุและทําใหวัตถุเคลื่อนที่ไดระยะทาง S งานที่กระทําตอวัตถุนี้ จะมีคา


เทากับผลคูณระหวางขนาดของแรง F และขนาดของระยะกระจัด S

งาน ( W ) = แรง F x ระยะกระจัด S

W = FS (4.1)

เมื่อ W แทน งาน หนวย จูล (J)

F แทน แรง หนวย นิวตัน ( N)

S แทน ระยะกระจัด หนวย เมตร (m)

งาน เปนปริมาณสเกลาร กลาวคือบอกแตเพียงขนาดอยางเดียว ถึงงานจะเปนปริมาณสเกลาร


แตก็มีเครื่องหมายเปนบวกและลบได ดังนั้น ถาแรงอยูทิศเดียวกับระยะการเคลื่อนที่ งานเปนบวก แตถาทิศ
ตรงกันขาม งานเปนลบ หรือถาแรงกับระยะเคลื่อนที่ทํามุมฉากกัน งานจะเปนศูนย
ฟสิกสเบื้องตน 40

ตัวอยางที่ 4.1 ถาออกแรงขนาด 1 นิวตัน กระทําตอวัตถุและทําใหวัตถุเคลื่อนที่ไปในทิศเดียวกับแรงนั้น


ดวยระยะกระจัด 1 เมตร จงหาวาเกิดงานกี่จูล

วิธีทํา จากสูตร W = FS

จะได งาน W = 1x1

= 1 จูล (J)

ตอบ เกิดงาน เทากับ 1 จูล

ในกรณีที่แรง F กระทําตอวัตถุในแนวทํามุม θ กับทิศการเคลื่อนที่ของวัตถุ และทําใหวัตถุเคลื่อนที่


ไปดวยระยะกระจัด S

รูปที่ 4.2 แรง F กระทําตอวัตถุในแนวทํามุม θ กับทิศการเคลื่อนที่ของวัตถุ

จากรูปที่ 4.2 จะเห็นวาแรง F ไมไดอยูในแนวเดียวกับการเคลื่อนที่ กลาวคือ แรง F อยูในแนว


เอียง แตการเคลื่อนที่อยูในแนวราบ ซึ่งจะคํานวณหางานจากสูตร W = FS ไมได ดังนั้นจึงตองพิจารณา
โดยการแตกแรง คือแตกแรงเปนแรงองคประกอบในแนวราบ และแนวดิ่ง ดังรูปที่ 4.3

รูปที่ 4.3 องคประกอบของแรงในแนวราบและแนวดิ่ง

สําหรับนักศึกษาคณะสถาปตยกรรมศาสตร/เทคโนโลยีสื่อสารมวลชน
ฟสิกสเบื้องตน 41

จากรูปที่ 4.3 จะสังเกตวาแรงที่อยูในเดียวกับการเคลื่อนที่ คือ แรง Fcos กลาวคือ


แรง Fcos อยูในแนวราบ และวัตถุก็เคลื่อนที่ในแนวราบดวยเชนกัน จึงถือวาอยูในแนวเดียวกัน
แลว เพราะฉะนั้นสามารถคํานวณหางานไดจากสูตร

งาน W = แรง Fcos x ระยะ S

W = Fcos x S

หรือ W = FS cos เมื่อ คือมุมที่แรงทํากับแนวราบ (4.2)

ตัวอยางที่ 4.2 เด็กคนหนึ่งออกแรง 50 นิวตัน ลากกลองใบหนึ่ง ในแนวทํามุม 30 องศากับแนวระดับดัง


รูป ถาเขาลากกลองไปไดไกล 10 เมตร จงหา งานที่เด็กคนนี้ทําในการลากกลอง

วิธีทํา

จากสูตร W = F S cos

จะไดวา W = 50 x 10 x cos30

3
= 50 × 10 ×
2

= 250 3

ตอบ งานที่เด็กคนนี้ทําในการลากกลอง เทากับ 250 3 จูล

สําหรับนักศึกษาคณะสถาปตยกรรมศาสตร/เทคโนโลยีสื่อสารมวลชน
ฟสิกสเบื้องตน 42

4.2 กําลัง
กําลัง คือ อัตราการทํางาน หรืองานที่ทําไดในหนึ่งหนวยเวลา ใชสัญลักษณ P มีหนวยเปน
จูล/วินาที หรือ วัตต (แทนดวยสัญลักษณ W)

ถาให W เปนงานที่ทําไดในชวงเวลา t กําลังเฉลี่ยจะมีคาเปน

W
P = (4.3)
t
F .s
=
t
P = F .v (4.4)

ยังมีหนวยของกําลังที่นิยมใชคือหนวย กําลังมา โดยที่

1 กําลังมา = 746 W = 0.746 kW

ตัวอยางที่ 4.3 เครื่องบินไอพนใหแรงขับดันออกมา 15,000 N ขณะบินดวยความเร็ว 300 m⋅s-1 กําลังของ


เครื่องยนตเปนเทาไร
วิธีทํา
P = F⋅v
= Fvcos00
= (1.50 × 104 N)(300 m⋅s-1 )
= 4.50 × 106 w
⎛ 1 hp ⎞
= (4.500 × 106 w) ⎜ ⎟
⎝ 746w ⎠
= 6,030 hp
คําตอบ กําลังของเครื่องยนตมีคา 6,030 กําลังมา

4.3 พลังงาน
พลังงาน (Energy) คือ ความสามารถในการทํางาน เมื่อเราเห็นคนคนหนึ่งสามารถทํางานไดจํานวน
มาก เราจะกลาววาคนนั้นมีพลังงานมาก หรือน้ํามันแกสโซลีนเปนเชื้อเพลิงซึ่งใหพลังงานออกมาเมื่อเผาไหม
พลังงานสามารถทํางานได จึงทําใหลูกสูบเคลื่อนที่ วัตถุใดๆ ก็ตามมีพลังงานอยูในตัว 2 รูปดวยกันคือ
1. พลังงานอันเกิดจากการเคลื่อนที่ เรียกวา พลังงานจลน (Kinetic energy)
2. พลังงานที่มีสะสมอยูในตัว เนื่องมาจากภาวะของวัตถุ เรียกวา พลังงานศักย (Potential energy)

สําหรับนักศึกษาคณะสถาปตยกรรมศาสตร/เทคโนโลยีสื่อสารมวลชน
ฟสิกสเบื้องตน 43

ตัวอยางของพลังงานจลนและพลังงานศักยนั้นเราพอจะเห็นไดงายๆ จากสิ่งที่เกิดขึ้นรอบๆ ตัวเราอยูทุกวัน เชน


รถยนตกําลังวิ่งดวยความเร็วปกติบนถนนในที่ราบ ถาตองการใหหยุดเราตองใชัหามลอ ซึ่งหมายถึงออกแรง
ตานการเคลื่อนที่ รถยนตยังไมสามารถหยุดไดทันทีแตจะเลื่อนตอไปเปนระยะทางหนึ่ง เราตองทํางานดวยแรง
ตานทานเพื่อใหรถหยุด เพราะรถมีพลังงานเนื่องจากกําลังเคลื่อนที่อยู นั่นคือรถมีพลังงานจลน

4.3.1 พลังงานจลน

พลังงานจลน คือ พลังงานที่สะสมในวัตถุอันเนื่องจากความเร็วในตัวของวัตถุ เปนปริมาณสเกลาร


สมมติใหมีแรงลัพธที่คงตัวกระทําตอวัตถุมวล m ที่อยูนิ่งใหเคลื่อนที่ดวยความเรง ถามวล m เคลื่อนที่เปน
ระยะทาง s งานทั้งหมดที่ทําใหวัตถุเคลื่อนที่คือ แรงคูณกับระยะทางที่มวล m เคลื่อนที่ได ถาใหวัตถุเริ่ม
เคลื่อนที่ดวยความเร็วตนเทากับศูนย

v2 = 2as
1 2
ดังนั้นงานที่ทําคือ Fs = mas = mv (4.5)
2
1 2
ซึ่งปริมาณ mv คือ พลังงานจลนของวัตถุ นั่นเอง แทนดวยสัญลักษณ E k
2
ในกรณีนี้ที่ความเร็วตนของวัตถุไมเทากับศูนย คิดงานที่กระทําตอวัตถุ จะได

1 2 1 2
mas = mv − mu (4.6)
2 2
ความหมายของสมการที่ 4.6 คือ งานของแรงลัพธที่กระทําตอวัตถุ เทากับ พลังงานจลนของวัตถุที่
เปลี่ยนไป เรียกหลักการนี้หลักการของงาน พลังงาน

ตัวอยางที่ 4.4 กอนหินมวล 0.5 กิโลกรัม ถูกขวางออกไปดวยอัตราเร็ว 4 เมตรตอวินาที จะมีพลังงานจลน


เทาใด

1 2
วิธีทํา จากสมการ Ek = mv
2
1
= × 0.5 × 4 2 = 4J
2
คําตอบ พลังงานจลนมีคาเทากับ 4 จูล

สําหรับนักศึกษาคณะสถาปตยกรรมศาสตร/เทคโนโลยีสื่อสารมวลชน
ฟสิกสเบื้องตน 44

4.3.2 พลังงานศักย

พลังงานศักย คือ พลังงานที่สะสมในวัตถุอันเนื่องมาจากตําแหนงของวัตถุ พลังงานศักยถูกแบงเปน 2


ประเภท ดังนี้

1. พลังงานศักยโนมถวง

2. พลังงานศักยยืดหยุน

พลังงานศักยโนมถวง

พลังงานศักยโนมถวงคือพลังงานที่สะสมอยูในตัวของวัตถุอันเนื่องจากระดับความสูงที่วัตถุอยู มีขนาด
เทากับงานเนื่องจากแรงดึงดูดของโลกในการดึงกลับใหวัตถุกลับลงสูพื้นดิน แทนดวยสัญลักษณ E p

กําหนดใหมวล m อยูสูงจากพื้นเทากับ h ดังรูปที่ 4.4 งานจาก A ไป B


เนื่องจากแรง mg มีขนาดดังนี้

WA→B = mgh

∴E p = mgh (4.7)

รูปที่ 4.4 มวล m อยูสูงจากพื้นเปนระยะ h

พิจารณารูปที่ 4.5 ลองยกวัตถุมวล m จากระดับเริ่มตนที่ h1 ขึ้นไปสูงเปนระยะ h2

( )
พลังงานศักยโนมถวง E p = mgh2 − mgh1 (4.8)

รูปที่ 4.5 ยกวัตถุมวล m จากระดับเริ่มตนที่ h1 ขึ้นไปสูงเปนระยะ h2

สําหรับนักศึกษาคณะสถาปตยกรรมศาสตร/เทคโนโลยีสื่อสารมวลชน
ฟสิกสเบื้องตน 45

ตัวอยางที่ 4.5 ถือหนังสือมวล 0.4 กิโลกรัมไวสูงจากพื้นโตะ 50 เซนติเมตร พื้นโตะอยูสูงจากหอง 80


เซนติเมตร จงหาพลังงานศักยโนมถวงของหนังสือ เมื่อ

ก) ใหพื้นโตะเปนระดับอางอิง

ข) ใหพื้นหองเปนระดับอางอิง

วิธีทํา หาพลังงานศักยจาก E p = mgh

ก) เมื่อพื้นโตะเปนระดับอางอิง h = 0.5 m

∴E p = 0.4 × 10 × 0.5 = 2J

ข) เมื่อพื้นหองเปนระดับอางอิง h = 1.3 m

∴E p = 0.4 × 10 × 1.3 = 5.2 J

พลังงานศักยยืดหยุน

พลังงานศักยยืดหยุน คือ พลังงานที่สะสมอยูภายในตัวสปริงขณะที่มีการยืดออกหรือหดเขาจาก


ตําแหนงสมดุล พลังงานศักยยืดหยุนหาไดจากงานที่กระทําโดยแรงภายนอกที่ใชดึงหรือกดสปริง

ออกแรงยืดสปริงออกไดระยะ x แลวปลอยมือสปริงจะมีแรงดึงกลับและเคลื่อนที่ผานจุดสมดุลไปได
ระยะ - X ดังรูปที่ 4.7 จากรูปจะเห็นวาแรง F และการกระจัด X จะมีทิศทางตรงขามกัน โดยที่
F α x
หรือ F = kx (4.9)
เมื่อ k เปนคาคงตัว เรียกวาคานิจสปริง

รูปที่ 4.6 ออกแรงดึงสปริงเปนระยะกระจัด x

สําหรับนักศึกษาคณะสถาปตยกรรมศาสตร/เทคโนโลยีสื่อสารมวลชน
ฟสิกสเบื้องตน 46

รูปที่ 4.8 กราฟแสดงการยืดของสปริง

พิจารณากราฟในรูปที่ 4.8 พบวา


1
พื้นที่ใตกราฟ = kX 2 ซึ่งคืองานในสปริง หรือ พลังงานศักยยืดหยุนนั่นเอง
2

ตัวอยางที่ 4.6 ตาชั่งสปริงอานคาไดระหวาง 0 - 50 นิวตัน ยืดได 0.20 เมตร ขณะอานได 50 นิวตัน ถานํา
มวลขนาด 3 กิโลกรัม แขวนที่ปลายตาชั่ง ขณะนั้นสปริงมีพลังงานศักยยืดหยุนเทาใด
วิธีทํา ขั้นตอนที่ 1 หาคานิจสปริงจากขอมูลที่โจทยกําหนดให
สปริงยืดได 0.20 เมตร ขณะอานได 50 นิวตัน

F = kx
50 = k (0.2)
k = 250 N / m

ขั้นตอนที่ 2 หาระยะยืดของสปริงเมื่อแขวนมวลขนาด 3 กิโลกรัม ที่ปลายตาชั่ง

F = kx
W = kx
30 = (250) x
x = 0.12 m

สําหรับนักศึกษาคณะสถาปตยกรรมศาสตร/เทคโนโลยีสื่อสารมวลชน
ฟสิกสเบื้องตน 47

ขั้นตอนที่ 3 หาพลังงานศักยยืดหยุน

1 2
Es = kx
2
1
= (250)(0.12) 2
2
= 1.8 J

คําตอบ สปริงมีพลังงานศักยยืดหยุน 1.8 จูล

4.4 กฎการอนุรักษพลังงาน
พลังงานรูปหนึ่งสามารถเปลี่ยนเปนพลังงานรูปอื่น ๆ ได พลังงานที่มาจากเปลี่ยนรูปนี้จะมีคาเทากับ
พลังงานเดิม ซึ่งเปนไปตาม กฎการอนุรักษพลังงาน
ยกตัวอยางเชน ขณะที่โยนลูกบอลขึ้นจากพื้น พลังงานเคมีในรางกายบางสวนจะเปลี่ยนเปนพลังงาน
จลนของลูกบอลจึงทําใหลูกบอลเคลื่อนที่ไดเมื่อลูกบอลเคลื่อนที่สูงขึ้น ความเร็วจะลดลง นั่นคือพลังงานจลน
ของลูกบอลจะลดลงโดยเปลี่ยนไปเปนพลังงานศักยโนมถวง ณ ตําแหนงสูงสุด ของการเคลื่อนที่ พลังงาน
จลนของลูกบอลเปนศูนยและพลังงานศักยโนมถวงมีคาสูงสุด ขณะที่ลูกบอลเคลื่อนที่ลง พลังงานศักยโนมถวง
จะเปลี่ยนเปนพลังงานจลน และเมื่อลูกบอลกระทบพื้นพลังงานจลนจะเปลี่ยนเปนพลังงานความรอนและเสียง
หรือเราอาจกลาวไดวาพลังงานที่สะสมใหตัวของวัตถุจะคงที่เสมอ พลังงานที่สะสมอยูในตัวของวัตถุนี้ คือ
ผลรวมของพลังงานจลนและพลังงานศักย เขียนเปนสมการไดวา
∑E 1 = ∑E 2
1 2 1 1 2 1
mv 1 + mgh1 + kx 12 = mv 2 + mgh2 + kx 22
2 2 2 2
ตัวอยางที่ 4.7 น้ําตกตกจากหนาผาสูง 100 เมตร ตกลงมาดวยความเร็วตน 5 เมตร/วินาที จงหาความเร็วของ
น้ําตอนกระทบพื้นลาง
วิธีทํา
1 2 1 2
mv 1 + mgh1 = mv 2 + mgh2
2 2
v 12 + 2gh1 = v 22
(5) 2 + (2 × 9.8 × 100) = v 22
∴v 2 = 44.6 m / s
คําตอบ ความเร็วของน้ําตอนกระทบพื้นลางเทากับ 44.6 เมตรตอวินาที

สําหรับนักศึกษาคณะสถาปตยกรรมศาสตร/เทคโนโลยีสื่อสารมวลชน
ฟสิกสเบื้องตน 48

แบบฝกหัดบทที่ 4
1. แรง 5 นิวตัน กระทําตอวัตถุ มวล 2 กิโลกรัม ที่อยูนิ่งใหเคลื่อนที่ จงหา
ก. งานที่เกิดขึ้นในเวลา 2 วินาที
ข. งานที่เกิดขึ้นระหวางวินาทีที่ 9 และวินาทีที่ 10

2. นักวิ่งคนหนึ่งมวล 60 กิโลกรัม วิ่งขึ้นบันไดอาคาร 25 ชั้น ดวยอัตราคงตัว โดยใชเวลา 10 นาที แตละชั้นอยู


สูง 3.2 เมตร จงคํานวณหากําลังเฉลี่ยของนักวิ่ง

3. เด็กคนหนึ่งมวล 25 กิโลกรัม เลื่อนลงจากไมเลื่อน ซึ่งสูง 4.8 เมตร ถาเด็กคนนี้มาถึงพื้นดวยความเร็ว 3


เมตรตอวินาที จงหาจํานวนพลังงานที่เปลี่ยนแปลงไปเปนพลังงานความรอน

4. วัตถุมวล 2.5 กิโลกรัม เคลื่อนที่ในแนวราบไปทางทิศเหนือ ดวยความเร็วเริ่มตน 4 เมตรตอวินาที จากนั้นมี


แรง 0.1 นิวตัน กระทําตอวัตถุในทิศตะวันออกเปนเวลา 20 วินาที
ก. จงหาความเร็วของวัตถุหลังจากแรงหยุดกระทํา
ข. พลังงานจลนที่เพิ่มขึ้นของวัตถุ
ค. ระยะทางที่เคลื่อนที่โดยวัตถุไปทางตะวันออก

5. ปลอยวัตถุมวล 3 กิโลกรัม จากที่สูง 2 เมตร ลงมากระทบกับสปริงซึ่งมีคาคงตัวสปริงเทากับ 100 นิวตันตอ


เมตร โดยไมเดง สปริงจะถูกกดลงเปนระยะทางมากสุดเทาใด

1
6. ใชเชือกเสนหนึ่งหยอนมวล m ลงมาในแนวดิ่งเปนระยะทาง d ดวยความเรงคงที่เทากับ g จงหางานที่ทํา
2
ไดเนื่องจากเสนเชือก

7. วัวลากของหนัก 2000 นิวตัน ขึ้นเนินซึ่งเอียง 30 องศา ไปเปนระยะทาง 10 เมตร ดวยอัตราเร็วสม่ําเสมอใน


3
เวลา 100 วินาทีถาสัมประสิทธิความเสียดทานระหวางของนั้นกับเนินเปน จงคํานวณหา
2
ก. แรงที่วัวใช
ข. งานที่เกิดขึ้นกับวัตถุในการเคลื่อนที่นี้

8. ลูกโบวลิ่งมวล 4 กิโลกรัม ถูกโยนใหเคลื่อนที่บนพื้นราบเปนระยะทาง 4 เมตร ถาพื้นราบมีสัมประสิทธิ์ความ


เสียดทานจลน 0.1 จงหางานเนื่องจากแรงเสียดทาน

9. ลูกบอลมวล 100 กรัม ตกลงมาจากที่สูง 3 เมตร จงหาพลังงานจลนและอัตราเร็วของลูกบอลเมื่อกระทบพื้น

10. ลูกปนมวล 2 กรัม เคลื่อนที่ดวยอัตราเร็ว 300 เมตรตอวินาที จงหาพลังงานจลนของลูกปน

สําหรับนักศึกษาคณะสถาปตยกรรมศาสตร/เทคโนโลยีสื่อสารมวลชน
ฟสิกสเบื้องตน 49

11. ใหนักศึกษาเขาไปทําการทดลองเสมือนจริงที่
http://www.rmutphysics.com/charud/virtualexperiment/lectureonline/ritphysics/kap5/work/workthai1.htm

ในการทดลองนี้จะเปนการศึกษาความสัมพันธระหวางแรง งาน และระยะกระจัดการเคลื่อนที่ของกลอง โดย


คุณสามารถใชเมาสคลิกและลากกลองไปที่ใดก็ไดในหองทดลองเสมือน หรือจะใชลูกศรของคียบอรดก็ได
เชนเดียวกัน งานที่ไดจากแรงโนมถวงหรือจากแรงเสียดทาน จะปรากฏเปนตัวเลขอยูดานบนของหองทดลอง
เสมือน นักศึกษาสามารถเปลี่ยนมวล m และสัมประสิทธแรงเสียดทาน โดยใชตัวเลื่อน เมื่อคุณตองการให
กลองกลับเขาสูจุดเริ่มตน ใหกดปุม Reset

ตําแหนงเริ่มตนของกลองจะแสดงดวยเงาสีเทาดํา ใหนักศึกษาทดลองเลื่อนกลองไปบนพื้น และสังเกตดูวา


การเปลี่ยนแปลงไปอยางไร ตอไปกดปุม Reset และยกกลองขึ้นจากพื้น โดยไมใหกลองติดพื้น เมื่อยกกลับ
มาที่เดิม หรือจุดเริ่มตน สังเกตวางานมีคาเทาไร ?

กําหนดให สัมประสิทธความเสียดทาน = 0.2 m = 30 kg

การเลื่อนตําแหนง งานรวมที่ทําได (จูล)


1. เลื่อนกลองไปทางขวาบนพื้น 1 เมตร
2. จาก 1 ยกกลองขึ้นบน 1 เมตร
3. จาก 2 เลื่อนกลองไปทางซาย 1 เมตร

คําถาม

• ทําไมงานในตําแหนงที่ 3 จึงไมมีการเพิ่มขึ้น

สําหรับนักศึกษาคณะสถาปตยกรรมศาสตร/เทคโนโลยีสื่อสารมวลชน
ฟสิกสเบื้องตน 50

12. ใหนักศึกษาทําการทดลองเสมือนจริงที่

http://www.rmutphysics.com/charud/virtualexperiment/virtual2/2-ball/index.html

กําหนดใหความเรงโนมถวงของโลกคงที่

ใหนักศึกษาเลือกสีของลูกโบวลิ่ง เชน ถาเลือกลูกสีแดง ใหกดปุม Red ball เลือกสีน้ําเงิน กดปุม Blue ball
และถาเลือกถึงเสนชัยพรอมกันทั้งคู กดปุม Both at the same time เมื่อเลือกสีลูกบอลแลวกด
ปุม start ปลอยลูกโบวลิ่งพรอมกัน สังเกตดูวาลูกโบวลิ่งสีใดจะถึงเสนชัยกอน ทําไมคําตอบจึงเปนเชนนั้น จง
อธิบาย

สําหรับนักศึกษาคณะสถาปตยกรรมศาสตร/เทคโนโลยีสื่อสารมวลชน
หนังสืออิเล็กทรอนิกส

ฟสิกส 1(ภาคกลศาสตร ( ฟสิกส 1 (ความรอน)

ฟสิกส 2 กลศาสตรเวกเตอร
โลหะวิทยาฟสิกส เอกสารคําสอนฟสิกส 1
ฟสิกส 2 (บรรยาย( แกปญหาฟสิกสดวยภาษา c
ฟสิกสพิศวง สอนฟสิกสผานทางอินเตอรเน็ต
ทดสอบออนไลน วีดีโอการเรียนการสอน
หนาแรกในอดีต แผนใสการเรียนการสอน
เอกสารการสอน PDF กิจกรรมการทดลองทางวิทยาศาสตร
แบบฝกหัดออนไลน สุดยอดสิ่งประดิษฐ
การทดลองเสมือน

บทความพิเศษ ตารางธาตุ ) ไทย1) 2 (Eng)


พจนานุกรมฟสิกส ลับสมองกับปญหาฟสิกส

ธรรมชาติมหัศจรรย สูตรพื้นฐานฟสิกส

การทดลองมหัศจรรย ดาราศาสตรราชมงคล
แบบฝกหัดกลาง

แบบฝกหัดโลหะวิทยา แบบทดสอบ

ความรูรอบตัวทั่วไป อะไรเอย ?

ทดสอบ)เกมเศรษฐี ( คดีปริศนา

ขอสอบเอนทรานซ เฉลยกลศาสตรเวกเตอร
คําศัพทประจําสัปดาห
ความรูรอบตัว

การประดิษฐแของโลก ผูไดรับโนเบลสาขาฟสิกส
นักวิทยาศาสตรเทศ นักวิทยาศาสตรไทย
ดาราศาสตรพิศวง การทํางานของอุปกรณทางฟสิกส
การทํางานของอุปกรณตางๆ
การเรียนการสอนฟสิกส 1 ผานทางอินเตอรเน็ต

1. การวัด 2. เวกเตอร
3. การเคลื่อนที่แบบหนึ่งมิติ 4. การเคลื่อนที่บนระนาบ
5. กฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน 6. การประยุกตกฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน
7. งานและพลังงาน 8. การดลและโมเมนตัม
9. การหมุน 10. สมดุลของวัตถุแข็งเกร็ง
11. การเคลื่อนที่แบบคาบ 12. ความยืดหยุน
13. กลศาสตรของไหล 14. ปริมาณความรอน และ กลไกการถายโอนความรอน
15. กฎขอที่หนึ่งและสองของเทอรโมไดนามิก 16. คุณสมบัติเชิงโมเลกุลของสสาร
17. คลื่น 18.การสั่น และคลื่นเสียง
การเรียนการสอนฟสิกส 2 ผานทางอินเตอรเน็ต

1. ไฟฟาสถิต 2. สนามไฟฟา
3. ความกวางของสายฟา 4. ตัวเก็บประจุและการตอตัวตานทาน
5. ศักยไฟฟา 6. กระแสไฟฟา
7. สนามแมเหล็ก 8.การเหนี่ยวนํา
9. ไฟฟากระแสสลับ 10. ทรานซิสเตอร
11. สนามแมเหล็กไฟฟาและเสาอากาศ 12. แสงและการมองเห็น
13. ทฤษฎีสัมพัทธภาพ 14. กลศาสตรควอนตัม
15. โครงสรางของอะตอม 16. นิวเคลียร
การเรียนการสอนฟสิกสทั่วไป ผานทางอินเตอรเน็ต

1. จลศาสตร )kinematic) 2. จลพลศาสตร (kinetics)


3. งานและโมเมนตัม 4. ซิมเปลฮารโมนิก คลื่น และเสียง
5. ของไหลกับความรอน 6.ไฟฟาสถิตกับกระแสไฟฟา
7. แมเหล็กไฟฟา 8. คลื่นแมเหล็กไฟฟากับแสง
9. ทฤษฎีสัมพัทธภาพ อะตอม และนิวเคลียร

ฟสิกสราชมงคล

You might also like