You are on page 1of 8

รหัส 3100–0107 วิชาความแข็งแรงวัสดุ เรื่ องที่ 2 – 1

ความเค้ นและความเครียด
(Stress and Strain)

ในการวิเคราะห์ออกแบบโครงสร้างหรื อเครื่ องจักรกลใด ๆ เรามีขอ้ ต้องพิจารณาอยู่ 2 ข้อ


คือ
1. ภายในโครงสร้างแข็งแรงพอที่จะรับนํ้าหนักหรื อแรงที่กระทําได้หรื อไม่
2. ภายในโครงสร้างแกร่ งพอที่จะไม่ทาํ ให้เกิดการเปลี่ยนรู ปร่ างมากเกินไปหรื อไม่
ในวิชากลศาสตร์ เราจะพิจารณาแรงในวัตถุโดยไม่คาํ นึ งถึงขนาดที่เปลี่ยนแปลง แต่ใน
วิชากลศาสตร์ของแข็ง เราจะต้องพิจารณาทั้งสองอย่างนี้พร้อมกันไปด้วย

ชนิดของแรง (Types of loads)


แรงที่กระทําต่อวัสดุหรื อส่ วนของโครงสร้างใด ๆ ก็ตาม สามารถแบ่งออกเป็ น 3 ชนิด คือ
1. แรงที่อยูน่ ิ่ง (static load)
เป็ นแรงที่กระทําต่อชิ้นส่ วนของโครงสร้างอย่างช้า ๆ จนกระทัง่ มีค่าถึงค่าหนึ่ง แล้วจะมีค่าคงที่อยู่
ตลอดไปหรื อเกือบเท่ากับค่านั้นตลอดไป เช่น แรงที่กระทําบนอาคารต่าง ๆ แรงเนื่ องจากความดัน
ของภายในหม้อความดันที่กระทําต่อรอยเชื่อม

2. แรงที่กระทําซํ้า ๆ (repeated load)


หมายถึง แรงหรื อนํ้าหนักที่กระทําต่อโครงสร้างหรื อวัสดุหลายครั้งซํ้า ๆ กัน และสลับกันไปมา
ในช่วงเวลาหนึ่ ง เช่น แรงกระทําต่อข้อเหวี่ยงของเครื่ องยนต์ เพลารถไฟ ก้านลูกสู บของเครื่ องอัด
อากาศ ฯลฯ

3. แรงกระแทก (impact load)


เป็ นแรงที่กระทําต่อชิ้นส่ วนในระยะเวลาอันสั้นโดยปกติแล้วไม่สามารถที่จะหาระยะเวลาที่แรง
กระแทกนี้ ก ระได้ล่ว งหน้า เช่ น แรงกระแทกที่ เ กิ ดจากรถยนต์วิ่งข้ามสะพาน หรื อการปล่ อย
นํ้าหนักกระทบบนส่ วนของโครงสร้าง เป็ นต้น
รหัส 3100–0107 วิชาความแข็งแรงวัสดุ เรื่ องที่ 2 – 2

1. ความเค้ น (Stress)
ความเค้น คือ แรงภายนอกที่มากระทําผ่านจุดศูนย์ถ่วงของพื้นที่หน้าตัดของวัสดุน้ นั หรื อ
ั ลักษณ์วา่ σ (sigma) โดยวิธี take limit จะได้วา่
คือแรงภายนอกต่อหนึ่งหน่วยพื้นที่ใช้สญ

lim ΔP
σ = (2.1)
ΔA → O ΔA

P
σ =
A

เมื่อวัตถุอยู่ในสภาวะสมดุ ล แรงภายนอกที่มากระทําบนวัตถุจะต้องมี แรงภายในต้าน


ขนาดรวมแล้วเท่ากับแรงภายนอกของวัตถุที่ถูกกระทํา

P = σA
1 1 1 1

F F
รูปที่ 2.1 ความเค้นในวัสดุ

แรงภายนอก = แรงภายใน
F = P

F
ดังนั้น σ = (2.2)
A

F
กําหนดให้ σ คือ เป็ นแรงภายนอกต่อหนึ่งหน่วยพื้นที่ ซึ่งเรี ยกว่า ความเค้น (stress)
A
A คือ พื้นที่หน้าตัดของท่อนวัตถุ
F คือ แรงภายนอกที่กระทํากับวัตถุ
รหัส 3100–0107 วิชาความแข็งแรงวัสดุ เรื่ องที่ 2 – 3

เนื่ องจากในที่น้ ี เราจะใช้หน่วยระบบเอสไอ (SI metric units) ดังนั้นแรง (F) จึงมีหน่วย


เป็ นนิ วตัน (N) พื้นที่ (A) มีหน่วยเป็ นตารางเมตร (m2) และความเค้น (σ) มีหน่วยเป็ นนิ วตันต่อ
ตารางเมตร (N/m2) หรื อเรี ยกว่า ปาสคาล (Pa)

ชนิดของความเค้นที่เกิดขึ้นกับวัสดุสามารถแบ่งออกได้เป็ น 3 ชนิด คือ


1.1 ความเค้ นดึง (tensile stress) สัญลักษณ์ σt จะเกิดขึ้นเมื่อวัตถุอยูภ่ ายใต้แรงดึง โดย
แรงดึงจะต้องตั้งฉากกับพื้นที่หน้าตัดที่กระทํานั้น ความเค้นดึงจะให้เครื่ องหมายแสดงเป็ นบวก

F ท่อนวัตถุ F

รู ปที่ 2.2 แรงดึงกระทํากับวัตถุ

F
สมการ σt = (2.3)
A
ให้ σt คือ ความเค้นดึงที่เกิดขึ้นมีหน่วยเป็ น N/m2
A คือ พื้นที่หน้าตัดของวัตถุมีหน่วยเป็ น m2
F คือ แรงดึงที่กระทํากับท่อนวัตถุต้ งั ฉากกับพื้นที่หน้าตัด มีหน่วย
เป็ น N

1.2 ความเค้ นอัด (compressive stress) สัญลักษณ์ σc จะเกิ ดขึ้นเมื่อวัตถุอยู่ภายใต้


แรงอัดโดยแรงอัดจะต้องกระทําตั้งฉากกับพื้นที่หน้าตัดของท่อนวัตถุที่กระทํานั้น ความเค้นดึงจะ
ให้เครื่ องหมายแสดงเป็ นลบ

F ท่อนวัตถุ F

รู ปที่ 2.3 แรงอัดกระทํากับวัตถุ

F
จะได้สมการ σc = (2.4)
A
ให้ σc คือ ความเค้นอัดที่เกิดขึ้นมีหน่วยเป็ น N/m2
A คือ พื้นที่หน้าตัดของท่อนวัตถุมีหน่วยเป็ น m2
F คือ แรงอัดที่กระทํากับท่อนวัตถุมีหน่วยเป็ น N จะได้ความสัมพันธ์
รหัส 3100–0107 วิชาความแข็งแรงวัสดุ เรื่ องที่ 2 – 4

1.3 ความเค้ นเฉือน (shear stress) สัญลักษณ์ τ (tau) เป็ นแรงภายนอกที่มากระทําต่อ


วัตถุน้ นั โดยพยายามทําให้วตั ถุเกิดการขาดจากกันตามแนวระนาบที่ขนานกับทิศทางของแรงนั้น

F A
F

รู ปที่ 2.4 แรงเฉื อนพยายามทําให้วตั ถุขาด

F
จะได้สมการ τ = (2.5)
A

ให้ τ คือ ความเค้นเฉือนที่เกิดขึ้น มีหน่วยเป็ น N/m2


A คือ พื้นที่หน้าตัดที่ขนานกับแรง มีหน่วยเป็ น m2
F คือ แรงเฉื อนที่กระทํากับท่อนวัตถุ มีหน่วยเป็ น N

ตัวอย่ าง 1.1 ลวดขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2 มิลลิเมตร นํามาใช้แขวนวัตถุมวล 80 กิโลกรัม จงหา


ความเค้นดึงในเส้นลวด
F
วิธีทาํ จากสมการ σt =
A
เมื่อ F = 80 kg×9.81 m/s2
F = 784.8 N
π 2
A = 2 mm2
4
A = 3.1416 mm2
784.8
แทนค่า σt = N/mm2
3.1416
σt = 249.809 N/mm2
ตอบ ความเค้นดึงในเส้นลวดมีค่าเท่ากับ 249.809 นิวตัน/ตารางมิลลิเมตร
รหัส 3100–0107 วิชาความแข็งแรงวัสดุ เรื่ องที่ 2 – 5

ตัวอย่ าง 1.2 เสาคอนกรี ตกลวงมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางภายนอก 140 มิลลิเมตร และเส้นผ่าน


ศูนย์กลางภายใน 60 มิลลิเมตร อยูภ่ ายใต้ แรงอัดในเสาคอนกรี ต 245 กิโลนิ วตัน จงหาความเค้น
อัดในเสาคอนกรี ต
F
วิธีทาํ จากสมการ σc =
A
เมื่อ F = 245×103 N
π 2
A = (140 − 60 2 ) mm2
4
A = 125.37 mm2
245 × 10 3
แทนค่า σc = N/mm2
12566.37

σc = 19.496 N/mm2
ตอบ ความเค้นอัดในเสาคอนกรี ตมีค่าเท่ากับ 19.496 นิวตัน/ตารางมิลลิเมตร

ตัวอย่ างที่ 1.3 จงคํานวณหาความเค้นเฉื อนที่ใช้ตดั เจาะโลหะหนา 2 มิลลิเมตร ให้เป็ นรู ขนาดเส้น
ผ่านศูนย์กลาง 50 มิลลิเมตร โดยใช้แรงในการตัดเท่ากับ 110 กิโลนิวตัน
F
วิธีทาํ จากสมการ τ =
A
เมื่อ F = 110×103 N
A = πdt
A = π×50 mm×2 mm
A = 314.159 mm2
110 × 10 3
แทนค่า τ = N/mm2
314.159
τ = 350.141 N/mm2
ตอบ ความเค้นที่ใช้ตดั เจาะมีค่าเท่ากับ 350.141 นิวตัน/ตารางมิลลิเมตร
รหัส 3100–0107 วิชาความแข็งแรงวัสดุ เรื่ องที่ 2 – 6

2. ความเครียด (Strain)
ั ลักษณ์ ε อักษรกรี ก เรี ยกว่า epsilon เป็ นการเปลี่ยนแปลงของวัตถุเมื่อ
ความเครี ยด ใช้สญ
มีแรง ภายนอกมากระทํากับวัตถุ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเป็ นการเปลี่ยนแปลงต่อขนาดเดิม ซึ่ ง
หมายถึง ความยาวที่เปลี่ยนไปต่อความยาวเดิม จะได้

F ท่อนวัตถุ F

รู ปที่ 2.5 การเกิดความเครี ยด (ε)

ความยาวที่เปลี่ยนไป
ความเครี ยด =
ความยาวเดิม
δ
ε = (2.6)
L
กําหนดให้ ε คือ ความเครี ยด (ไม่มีหน่วย)
δ คือ ความยาวที่เปลี่ยนไปมีหน่วยเป็ น mm (อักษรกรี กอ่านว่า Delta)
L คือ ความยาวเดิมของวัตถุ

ชนิดของความเครียด
ความเครี ยดที่เกิดขึ้นในวัตถุสามารถแบ่งออกได้เป็ น 3 ชนิด คือ
1. ความเครียดดึง (tensild strain) สัญลักษณ์ εt เมื่อท่อนวัตถุถูกกระทําด้วยแรงดึงตาม
แนวแกน และเพิ่มแรงดึงขึ้นอย่างช้า ๆ ท่อนวัตถุน้ ี ก็จะเกิดการยืดออกทีละน้อยตามขนาดของแรง
ดึงที่เพิ่มขึ้นของแรง F ทําให้ท่อนวัตถุยดื ออกเท่ากับ δ ดังแสดงในรู ปที่ 2.6 ขณะที่ท่อนวัตถุยืด
ออกก็จะเกิดการหดตามแนวดิ่งของท่อนวัตถุน้ นั
F
δ

รูปที่ 2.6 ความเครี ยดดึง


รหัส 3100–0107 วิชาความแข็งแรงวัสดุ เรื่ องที่ 2 – 7

เมื่อ εt คือ ความเครี ยดดึงที่เกิดขึ้น


δ คือ ส่ วนที่ยดื ออกของวัตถุมีหน่วยเป็ น mm
L คือ ความยาวเดิมของวัตถุน้ นั มีหน่วยเป็ น mm

2. ความเครียดอัด (compressive strain) สัญลักษณ์ εc เมื่อท่อนวัตถุถูกกระทําด้วยแรง


กดตามแนวแกน และเพิ่มแรงกดขึ้นอย่างช้าจนทําให้ท่อนวัตถุหดตัวลงเท่ากับ
F
δ

รูปที่ 2.7 ความเครี ยดอัด

δ
จะได้สมการ εc =
L
เมื่อ εc คือ ความเครี ยดกดที่เกิดขึ้น
δ คือ ส่ วนที่หดตัวของวัตถุมีหน่วยเป็ น mm
L คือ ความยาวเดิมของวัตถุน้ นั มีหน่วยเป็ น mm

หมายเหตุ ความเครี ยดดึงและความเครี ยดอัดจะไม่มีหน่ วย เพราะหน่ วยของความยาวที่


เปลี่ยนไปทําต่อความยาวเดิมเป็ นหน่วยเดียวกัน จึงตัดไปหมด
รหัส 3100–0107 วิชาความแข็งแรงวัสดุ เรื่ องที่ 2 – 8

3. ความเครียดเฉือน (shear strain) สัญลักษณ์ γเรี ยกว่า gamma เมื่อมีแรงเฉื อนกระทํา


จะเกิ ด การเปลี่ ย นแปลงรู ป ร่ า งหรื อเกิ ด ความเครี ยดขึ้ น มา ความเครี ยดที่ เ กิ ด ขึ้ น นี้ เรี ยกว่ า
ความเครี ยดเฉือน
τ
δ

θ
L

รูปที่ 2.8 ความเครี ยดเฉื อน

δ
ความเครี ยดเฉือน γ =
L
δ
แต่ tan θ =
L
γ = tan θ

เมื่อ θ เป็ นมุมที่เฉไป แต่มุม θ นี้จะเล็กมาก ดังนั้น


tan θ ≈ θ เรเดียน
ดังนั้นความเครี ยดเฉือนจึงเป็ นการวัดมุมที่เฉไป มีหน่วยเป็ นเรเดียน (rad)

You might also like