You are on page 1of 165

การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ เรือ่ ง การผลิตรายการวิทยุการศึกษา

สําหรับนิสติ ปริญญาตรี สาขาเทคโนโลยีสอ่ื สารการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

สารนิพนธ์
ของ
เอกสิทธิ ์ อภิสทิ ธิกุล

เสนอต่อบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒเพือ่ เป็ นส่วนหนึ่งของการศึกษา


ตามหลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา
พฤษภาคม 2555
การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ เรือ่ ง การผลิตรายการวิทยุการศึกษา
สําหรับนิสติ ปริญญาตรี สาขาเทคโนโลยีสอ่ื สารการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

สารนิพนธ์
ของ
เอกสิทธิ ์ อภิสทิ ธิกุล

เสนอต่อบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒเพือ่ เป็ นส่วนหนึ่งของการศึกษา


ตามหลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา
พฤษภาคม 2555
ลิขสิทธิ ์เป็ นของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ เรือ่ ง การผลิตรายการวิทยุการศึกษา
สําหรับนิสติ ปริญญาตรี สาขาเทคโนโลยีสอ่ื สารการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

บทคัดย่อ
ของ
เอกสิทธิ ์ อภิสทิ ธิกุล

เสนอต่อบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒเพือ่ เป็ นส่วนหนึ่งของการศึกษา


ตามหลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา
พฤษภาคม 2555
เอกสิท ธิ ์ อภิส ิท ธิกุ ล . (2555). การพัฒ นาบทเรีย นออนไลน์ เรือ่ งการผลิต รายการวิท ยุการศึก ษา
สําหรับนิสติ ปริญญาตรี สาขาเทคโนโลยีสอื ่ สารการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. สารนิพนธ์
กศ.ม (เทคโนโลยีการศึกษา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
อาจารย์ทป่ี รึกษาสารนิพนธ์: อาจารย์ ดร.รัฐพล ประดับเวทย์.

การศึกษาค้นคว้าในครัง้ นี้มจี ุดมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาบทเรียนออนไลน์ เรื่องการผลิตรายการ


วิทยุการศึกษา สําหรับนิสติ ปริญญาตรี สาขาเทคโนโลยีส่อื สารการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ให้มปี ระสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผูเ้ รียนต่อการเรียนบทเรียน
ออนไลน์เรือ่ งการผลิตรายการวิทยุการศึกษา
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าเป็ นนิสติ ระดับปริญญาตรี ชัน้ ปี ท่ี 2 ปี การศึกษา 2554
จํานวน 45 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจงจากนิสติทล่ี งทะเบียนเรียนในวิชาการผลิตรายการวิทยุ
การศึกษา (ET321) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ บทเรียนออนไลน์ เรื่องการผลิตรายการวิทยุ
การศึกษา สําหรับนิสติ ปริญญาตรี สาขาเทคโนโลยีส่อื สารการศึกษา มหาวิทยาลัย ศรีนครินท
รวิโ รฒ แบบทดสอบวัด ผลสัม ฤทธิท์ างการเรีย น แบบประเมิน คุ ณ ภาพบทเรีย นออนไลน์ สํา หรับ
ผูเ้ ชี่ยวชาญ และ แบบประเมินความพึงพอใจของผูเ้ รียนต่อการเรียนบทเรียนออนไลน์ เรื่องการผลิต
รายการวิทยุการศึกษา สถิตทิ ใ่ี ช้ในการวิเคราะห์ขอ้ มูลคือ ค่าเฉลีย่ และร้อยละ
ผลการศึกษาค้นคว้า ได้บทเรียนออนไลน์ เรื่องการผลิตรายการวิทยุการศึกษา สําหรับนิสติ
ปริญญาตรี สาขาเทคโนโลยีส่อื สารการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ทีม่ คี ุณภาพด้านเนื้อหา
และด้านเทคโนโลยีการศึกษาอยูใ่ นระดับดี มีประสิทธิภาพ 85.67/87.75 เป็ นไปตามเกณฑ์ 80/80 และ
ผูเ้ รียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนบทเรียนออนไลน์เรือ่ งการผลิตรายการวิทยุการศึกษา อยูใ่ นระดับปาน
กลาง
THE DEVLOPEMENT OF WEB-BASED INSTRUCTION ON THE RADIO PRODUCTION
PROGRAM FOR EDUCATIONAL COMMUNICATION TECHNOLOGY UNDERGRADE
STUDENTS, SRINAKHARINWIROT UNIVERSITY

AN ABSTRACT
BY
EAKSIT APISITTIKOOL

Presented in Partial Fulfillment of the Requirements for the


Master of Education Degree in Education Technology
at Srinakharinwirot University
May 2012
Eaksit Apistiikool. (2012). The Development of a web-based Instruction on the Radio Production
Program for Educaitonal Communication Technology Undergrade Students,
Srinakharinwirot University. Master’s Project, M.Ed.(Educational Technology). Bangkok :
Graduate School, Srinakharinwirot University. Project Advisor : Dr. Rathapol Pradubwate

The Purpose of this study were to 1) develop a web-based instruction on the radio
production program for educational communication technology undergrade students
Srinakharinwirot University 2nd to find out its efficiency at, 80/80 criteria. 2) to determine the
satisfaction of the students to learn on web-based instruction on the radio production program.
The samples were selected by purposive sampling including 40 students who enrolled in
educational radio program production in the second year of Educational Communication and
Technology department, Faculty of Education, Srinakharinwirot University. The instruments were
web-based instruction on the radio production program , achievement test , quality evaluation
form , evaluation of satisfaction. The data were analyzed by mean and percent.
The findings revealed that the quality of the web-based instruction on the radio
production program for educational communication technology undergrade students,
Srinakharinwirot University was ranked good by content and educational technology experts its
efficiency were 85.67/87.75 that corresponding with the 80/80 criteria and the student’s
satisfaction with web-based courseware were middle level.
อาจารย์ทป่ี รึกษาสารนิพนธ์ประธานคณะกรรมการบริหารหลักสูตรและคณะกรรมการสอบ ได้
พิจารณาสารนิพนธ์เรื่อง การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ เรื่อง การผลิตรายการวิทยุการศึกษา สําหรับนิสติ
ปริญญาตรี สาขาเทคโนโลยีส่อื สารการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ของ เอกสิทธิ ์ อภิสทิ ธิกุล
ฉบับนี้แล้ว เห็นสมควรรับเป็ นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต
สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา ของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒได้

อาจารย์ทป่ี รึกษาสารนิพนธ์

…..…….……..…………………….…………..
(อาจารย์ ดร. รัฐพล ประดับเวทย์)

ประธานคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
…..…….……..…………………….……… …..
(ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร. ฤทธิชยั อ่อนมิง่ )

คณะกรรมการสอบ
…..…….……..………………………………… ประธาน
(อาจารย์ ดร. รัฐพล ประดับเวทย์)
…..…….……..………………………………… กรรมการสอบสารนิพนธ์
(อาจารย์ ดร. นฤมล ศิระวงษ์)
…..…….……..………………………………… กรรมการสอบสารนิพนธ์
(อาจารย์ ดร. นัทธีรตั น์ พีระพันธุ)์

อนุ มตั ิใ ห้ร บั สารนิ พ นธ์ฉ บับ นี้ เ ป็ น ส่ว นหนึ่ งของการศึกษาตามหลัก สูต รปริญญาการศึก ษา
มหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา ของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
…..…….……..…………………….………….. คณบดีคณะศึกษาศาสตร์
(รองศาสตราจารย์ ดร. องอาจ นัยพัฒน์)
วันที่ เดือน เมษายน พ.ศ. 2555
ประกาศคุณูปการ

สารนิพนธ์ฉบับนี้สําเร็จลุล่วงไปด้วยดี เพราะได้รบั ความกรุณาจาก อาจารย์ ดร.รัฐพล ประดับ


เวทย์ อาจารยทีป่ รึกษาสารนิพนธ์ ทีไ่ ด้กรุณาให้คาํ ปรึกษาแนะนํ า สนับสนุ นช่วยเหลือ ตลอดจนแก้ไข
ข้อบกพร่องในสาระสําคัญทีเ่ ป็ นประโยชน์ต่อการจัดทําสารนิพนธ์ฉบับนี้จนเสร็จสมบูรณ์
ผูศ้ กึ ษาค้นคว้าขอขอบพระคุณ อาจารย์ ดร.นฤมล ศิรวงศ์ อาจารย์ ดร.ขวัญหญิง ศรีประเสิรฐ
ภาพ อาจารย์ ดร.กนกพร ฉั น ทนารุ่ ง ภัก ดิ ์ คณาจารย์ ภาควิช าเทคโนโลยีท างการศึก ษา คณะ
ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ผูช้ ่วยศาสตราจารย์ ดร.สุรพล บุญลือ อาจารย์ ดร.สรกฤช
มณีวรรณ อาจารย์ไพฑูรย์ กานต์ธญ ั ลักษณ์ ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.พรปภัสสร ปริญชาญกล คณาจารย์
ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศ าสตร์อุต สาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัย
เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุ รี อาจารย์ ดร.สุวิมล กฤชคฤหาสน์ อาจารย์ภาควิช าวัดผลและวิจยั
การศึกษา คณะศึก ษาศาสตร์ มหาวิท ยาลัย ศรีนคริน ทรวิโ รฒ อาจารย์ นันทวิท ย์ เผ่ามหานาคะ
อาจารย์ภาควิชาการแนะแนวและจิตวิทยาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และ อาจารย์
สุทธิศกั ดิ ์ ตันติวทิ ติ พงศ์ นิสติ ปริญญาเอกภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ ทีไ่ ด้ให้ความอนุ เคราะห์ ตรวจสอบคุณภาพเครืองมือในการศึกษาค้นคว้า
ขอขอบคุ ณ น้ อ งๆ นิ ส ิ ต ปริ ญ ญาตรี ภาควิ ช าเทคโนโลยีก ารศึ ก ษา คณะศึ ก ษาศาตร์
มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ ทีใ่ ห้ความร่วมมือในการศึกษาค้นคว้าในครัง้ นี้
ขอขอบคุณเพื่อนๆ พีๆ่ ปริญญาโท ปริญญาเอก ภาคปกติ และ ภาคพิเศษ สาขาวิชาเทคโนโลยี
การศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ เพื่อนๆ พีๆ่ ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสาร
การศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ที่
คอยให้กาํ ลังใจเสมอมา และผูท้ อ่ี ยูเ่ บือ้ งหลังในการทําสารนิพนธ์ ทีม่ ไิ ด้กล่านาม มา ณ โอกาศนี้

เอกสิทธิ ์ อภิสทิ ธิกุล


สารบัญ

บทที่ หน้ า
1 บทนํา................................................................................................................. 1
ภูมหิ ลัง............................................................................................................ 1
ความมุง่ หมายของการวิจยั ............................................................................... 4
ความสําคัญของการวิจยั ................................................................................... 4
ขอบเขตของการวิจยั ........................................................................................ 4
นิยามศัพท์....................................................................................................... 5

2 เอกสารและงานวิ จยั ที่เกี่ยวข้อง........................................................................ 8


เอกสารและงานวิจยั ทีเ่ กีย่ วข้องกับการวิจยั และพัฒนา…………………..…..…... 8
เอกสารและงานวิจยั ทีเ่ กีย่ วข้องกับการออกแบบบทเรียนออนไลน์………..……. 12
เอกสารทีเ่ กีย่ วข้องกับการเรียนรูด้ ว้ ยตัวเอง…………………..………………….. 30
ทฤษีและหลักการทีเ่ กีย่ วกับจิตวิทยาการเรียนรู… ้ …………..…………………... 38
เอกสารทีเ่ กีย่ วข้องกับรายวิชาการผลิตรายการวิทยุการศึกษา..………………… 45

3 วิ ธีการดําเนิ นการวิ จยั ....................................................................................... 81


ประชากรและกลุ่มตัวอย่างทีใ่ ช้ในการวิจยั ......................................................... 81
การสร้างและหาคุณภาพเครือ่ งมือทีใ่ ช้ในการวิจยั ………………………...……… 82
การดําเนินการทดลอง……………………………………………………………… 86
การประเมินความพึงพอใจของผูเ้ รียน................................................................ 87
สถิตทิ ใ่ี ช้ในการวิเคราะห์ขอ้ มูล…………………………..…………………………. 88

4 ผลการศึกษาค้นคว้า........................................................................................... 89
บทเรียนออนไลน์……………………………….................................................... 89
ผลการประเมินคุณภาพของบทเรียนออนไลน์..................................................... 89
ผลการหาประสิทธิภาพของบทเรียนออนไลน์...................................................... 95
ผลการประเมินความพึงพอใจของผูเ้ รียน............................................................. 97
สารบัญ(ต่อ)

บทที่ หน้ า

5 สรุปผล อภิ ปราย และข้อเสนอแนะ.............................................................. 101


ความมุง่ หมายของการวิจยั .............................................................................. 101
ความสําคัญของการวิจยั .................................................................................. 101
ขอบเขตของการวิจยั ....................................................................................... 102
ประชากรทีใ่ ช้ในการวิจยั ........................................................................ 102
เนื้อหาทีใ่ ช้ในการวิจยั ............................................................................ 102
เครือ่ งมือทีใ่ ช้ในการวิจยั ................................................................................. 102
การทดลองหาประสิทธิภาพของบทเรียนออนไลน์........................................... 103
การประเมินความพึงพอใจของผูเ้ รียน............................................................. 104
สรุปผลการวิจยั .............................................................................................. 104
อภิปรายผลการวิจยั ....................................................................................... 105
ข้อเสนอแนะ.................................................................................................. 107

บรรณานุกรม............................................................................................................... 108

ภาคผนวก.................................................................................................................... 112
ภาคผนวก ก…………….….................................................................................... 113
ภาคผนวก ข……………………………………………….......................................... 119
ภาคผนวก ค…………………………………………................................................. 131
ภาคผนวก ง……………………………………….…………………........................... 139
ภาคผนวก จ……………………………................................................................... 146

ประวัติย่อผูท้ าํ สารนิ พนธ์............................................................................................ 155


บทที่ 1
บทนํา
ภูมิหลัง
โลกของเรากําลังมีการเปลีย่ นแปลงทีส่ าํ คัญ นับเป็ นช่วงเวลาทีว่ ทิ ยาศาสตร์และเทคโนโลยีมี
ความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วและมีบทบาทอย่างสูงต่อการเปลีย่ นแปลงของโลกอีกยุคหนึ่ง ช่วงเปลีย่ น
ผ่านจากคริสต์ศตวรรษที่ 20 สู่ คริสต์ศตวรรษที่ 21 จะเป็ นหัวเลี้ยวทีโ่ ลกก้าวสู่การประยุกต์ใช้
เทคโนโลยีดจิ ติ อลอย่างกว้างขวาง เทคโนโลยีมบี ทบาทอย่างสูงต่อการกําหนดโฉมหน้าของสังคมยุค
ใหม่ วัฒนธรรม วิถชี วี ติ ความเป็ นอยูแ่ ละความสัมพันระหว่างผูค้ นจะสะท้อนการปรับตัวของผูค้ นที่
รับเอาเทคโนโลยีเหล่านี้ไปใช้ ลักษณะการอยู่ การกิน การแต่งกาย อาชีพการงาน การหาความ
บันเทิงพักผ่อนหย่อนใจรวมไปถึงวิธกี ารเรียนรู้ การเก็บรักษา และการถ่ายทอดองค์ความรูต้ ่างๆ
จะเปลี่ย นไปในขณะที่ส งั คมถู ก บุ ก รุ ก ด้ว ยเทคโนโลยีแ ละสื่อ สมัย ใหม่ต่ า งๆ จนไม่ท นั ตัง้ ตัว นัน้
การศึกษาต้องตกเป็ นฝ่ายรับ ก่อนอื่นต้องต่อกรโดยตรงกับอิทธิพลของสื่อทีร่ งั ้ แต่จะโน้มน้าวหันเห
ผูค้ นออกไปจากระบบระเบียบแบบแผนเดิม ถัดมาต้องตกเป็ นฝ่ายรับในฐานะที่เป็ นความคาดหวัง
ของผูค้ นว่า ระบบการศึกษาควรจะทําหน้าที่อะไรบางอย่างเพื่อเตรียมคนเตรียมเยาวชนเข้าสู่โลก
ใหม่ทก่ี ําลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วนี้ การศึกษาในยุคใหม่เริม่ หันหลังกลับมาทบทวนตัวเองและ
บทบาทของตัวเอง อย่างน้อยทีส่ ุดเกีย่ วกับการเปลีย่ นแปลงสําคัญ 3 สิง่ คือ เนื้อหา สื่อ และวิธี
จัดการเรียนรู้ แต่ก่อนนัน้ นอกจากประสบการณ์ตรงของมนุ ษย์แล้ว ก็มเี พียงหนังสือทีเ่ ป็ นสื่อชนิด
เดียวที่เป็ นแหล่งความรูต้ ่างๆ ต่อมาเทคโนโลยีก็ทําให้เกิดมี วิทยุ โปรเจคเตอร์ ไสลด์ โทรทัศน์
ฟิลม์ เทป วิดโี อ และในทีส่ ุดก็มี “สื่อประสม” หรือ “มัลติมเี ดีย” ซึง่ เป็ นสื่อสมัยใหม่ หนึ่งในสื่อ
ดิจติ อลแห่งยุคเทคโนโลยีสารสนเทศนี้ ครู ผูป้ กครอง นักบริหาร และผูท้ าํ งานนโยบาย ตระหนัก
กันแล้วว่าการศึกษาจําเป็ นต้องเปลี่ยนแปลง สังคมต้องการโรงเรียนแบบใหม่ท่เี ตรียมเด็กให้รูจ้ กั
เลือกสรรข่าวสารความรูม้ าใช้ประโยชน์ รูจ้ กั ประโยชน์สูงสุดจากสารสนเทศ มีความสามารถเรียน
ทักษะใหม่ๆ เพื่อรับมือกับโลกทีเ่ ปลี่ยนแปลงเร็วมาก รูปแบบการศึกษาใหม่น้ีจะเพิม่ การเชื่อมโยง
ระหว่างผู้เรียนกับชุมชน เวลาและสถานที่จะยืดหยุ่นมากขึน้ ซึ่งสะท้อนสภาพที่สถานที่ทํางานจะ
เปลีย่ นแปลงไป เพีอ่ ให้มคี วามเหมาะสมและก่อให้เกิดประสทธิภาพในการทํางานมากขึน้ เส้นแบ่ง
ระหว่างในกับนอกรัว้ โรงเรียนจะมีน้อยลงเรื่อย ๆ ข้อถกเถียงเรื่องการปฏิรูปการศึกษายัง
รวมไปถึงเรือ่ งของสือ่ และวิธกี ารทีจ่ ะนําสือ่ นัน้ มาใช้เพือ่ การศึกษา เทคโนโลยีทก่ี า้ วหน้าในปจั จุบนั ได้
ทําให้ขา่ วสารข้อมูลกลายเป็ นสิง่ ทีม่ อี ทิ ธิพลอย่างมากต่อสังคม โดยผ่านสื่อเทคโนโลยีสมัยใหม่ทเ่ี ข้า
2

ไปถึงทุกซอกทุกมุมในครัวเรือน ด้วยศักยภาพทีส่ ามารถโน้มน้าวชักจูงอย่างยิง่ และศักยภาพของ


เทคโนโลยีดงั กล่าวนี้กไ็ ด้ถูกนํามาเพื่อใช้ประโยชน์ในการศึกษาเช่นกัน ในทศวรรษที่ 90 มีซอฟทต์
แวร์มลั ติมเี ดียเพือ่ การศึกษาของบริษทั ชัน้ นําต่างๆ ออกมาสูต่ ลาดมากมาย เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
มัลติมเี ดียได้นําไปสู่การออกแบบซอฟต์แวร์ทใ่ี ห้ทงั ้ ความสนุ กสนานและเนื้อหาสาระ ทําให้ผคู้ นหวัง
กันว่าเด็กๆ จะได้เรียนหนังสืออย่างสนุ กสนานมีชวี ติ ชีวา ความรูจ้ ากไม่กแ่ี หล่งกลายเป็ นความรูจ้ าก
หลายมุ ม หลายสื่อ โดยเฉพาะจากวิท ยุ โทรทัศ น์ และสื่อ บนจอคอมพิว เตอร์ซ่ึง มาพร้อ มกับ
ความก้าวหน้าของเวิลด์ไวด์เว็บบนระบบอินเทอร์เน็ตและการใช้เทคโนโลยีปฏิสมั พันธ์แบบต่างๆ

เทคโนโลยีสอ่ื สารทีก่ า้ วหน้าทําให้ขอ้ จํากัดของซอฟต์แวร์ออฟไลน์ต่าง ๆ ลดลงโรงเรียนอาจ


เปลีย่ นโฉมหน้ามากในอนาคต การเรียนทางไกล (tele-education) โรงเรียนเสมือน (virtual school
หรือ cyber school) มหาวิทยาลัยเสมือน (virtual university หรือ cyber university) จะมีมากขึน้
เด็กๆ และนักศึกษาจะอยู่ทไ่ี หนก็สามารถหาความรูไ้ ด้ โรงเรียนยุคใหม่น้ีอาจจะเข้าเรียนได้โดยไม่
จํากัดสถานที่และเวลา เทคโนโลยีเหล่านี้กด็ ูเหมือนว่าจะทําให้การเรียนรูไ้ ม่มขี อบเขตจํากัด และ
สามารถ ให้เกิดประสิทธิผลมากกว่าแต่ก่อน เทคโนโลยีอนิ เทอร์เน็ต ทําให้เกิดลักษณะการเรียนรู้
แบบใหม่ มีการถ่ายทอดข้อความ ภาพ เสียง และมีปฏิสมั พันธ์ โดยใช้โปรแกรมซอฟท์แวร์และ
ระบบคอมพิวเตอร์มลั ติมเี ดียประมวลผลออกมาทางอุปกรณ์ คือ “ลําโพงและจอภาพ” เวิลด์ไวด์เว็บ
หรือ เว็บ ทีอ่ ยู่บนอินเทอร์เน็ตนัน้ ทําให้การเรียนรูผ้ ่านจอคอมพิวเตอร์นัน้ เกิดขึน้ ได้งา่ ย มีการเชื่อ
โยงข้อมูลจากแหล่งต่างๆ วิธกี ารเรียนรู้ จากสื่อมัลติมเี ดียบนเว็บโดยผ่านอินเทอร์เน็ตนี้เป็ นวิธกี าร
เรียนรูแ้ ห่งยุคสมัยเทคโนโลยีดจิ ติ อล

อาณัติ รัตนถิรกุล (2553: 3) ได้กล่าวไว้ว่า ปจั จุบนั การสร้างระบบจัดการเรียนการสอนผ่าน


เครือข่ายอินเทอร์เน็ต หรือนิยมเรียกกันในชื่อ “ระบบ e-Learning” กําลังได้รบั ความนิยมเป็ นอย่าง
มาก ไม่ว่าจะเป็ นสถาบันการศึกษา หน่ วยงานภาครัฐบาล หรือองค์กรภาคเอกชน มีระบบ e-
Learning ให้พนักงานใช้ภายในหน่ วยงานโดยการเรียนรูผ้ า่ นระบบ e-Learning มีขอ้ ดีอยูท่ ่ี
ผูเ้ รียนสามารถเรียนรูไ้ ด้ทุกที่ทุกเวลาไม่จํากัดเรื่อง วัน เวลา และสถานที่เรียน บางหน่ วยงานใช้
ระบบ e-Learning สําหรับประเมินพนักงานในหน่ วยงาน โดยก่อนการประเมินจะมีการกําหนด
ช่วงเวลาให้ผเู้ รียนเข้าเรียนเนื้อหาก่อน รวมทัง้ ครูผสู้ อนสามารถกําหนดรหัสผ่าน และช่วงเวลาใน
การเข้าเรียนแต่ละรายวิชาได้

การสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีขอ้ ดีคอื เป็ นการเปิ ดโอกาสให้ผูเ้ รียนที่อยู่ห่างไกล


หรือไม่มเี วลามาเข้าชัน้ เรียนไม่สามารถเรียนในเวลาเข้าไปใช้บริการอินเทอร์เน็ตได้ ผูเ้ รียนสามารถ
3

เรียนเวลาใด ก็ได้ สถานทีใ่ ดก็ได้ ทีม่ คี วามพร้อมด้านการเชื่อมต่อระบบ สามารถใช้เครื่องมือต่างๆ


เช่น E-Mail, Chat, Webboard, Newsgroup สื่อสารกับเพื่อนๆ ผูส้ อน หรือบุคคลอื่นๆทีส่ นใจและ
ผูเ้ ชีย่ วชาญต่างๆ แต่ผเู้ รียนไม่ต้องเข้าชัน้ เรียน เข้าโรงเรียน เพราะถือว่าเว็บไซต์เป็ นเสมือน
ห้องเรียนหรือโรงเรียน หนังสือเนื้อหาการเรียนถูกแทนทีด่ ว้ ยเนื้อหาดิจทิ ลั ลักษณะต่างๆ ทัง้ ข้อความ,
ภาพนิ่ง,ภาพเคลื่อนไหว, เสียง และวีดทิ ศั น์ ตามแต่ลกั ษณะของเว็บไซต์ การสอนผ่านเครือข่าย
อินเทอร์เน็ตช่วยส่งเสริมแนวคิดในเรื่องของการเรียนรูต้ ลอดชีวติ เนื่องจากเว็บเป็ นแหล่งความรูท้ เ่ี ปิ ด
กว้าง ค้นคว้าหาความรูไ้ ด้อย่างต่อเนื่องและตลอดเวลา และทําให้ผเู้ รียนทีไ่ ม่กล้าแสดงออกใน
ห้องเรียนปกติ จะกล้าแสดงออก และแสดงความคิดเห็นได้มากกว่าเดิม สําคัญทีส่ ุดคือสามารถทีจ่ ะ
แก้ไขปรับปรุงฐานข้อมูลทีม่ อี ยูเ่ ดิมให้ทนั สมัยอยูต่ ลอดเวลาได้ตามต้องการ
โ ด ย บ ท เ รี ย น อ อ น ไ ล น์ นั ้ น ผ ศ . ด ร . ถ น อ ม พ ร ( ตั น พิ พั ฒ น์ ) เ ล า ห จ รั ส แ ส ง
จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ให้คําจํากัดความไว้ 2 ความหมาย คือบทเรียนออนไลน์ (Online)
อีเลิรน์ นิง (e-Learning) ความหมายแรกบทเรียนออนไลน์ (Online) อีเลิรน์ นิง (e-Learning) หมายถึง
การเรียนเนื้อหา หรือสารสนเทศสําหรับการสอน หรือการอบรม ซึ่งใช้การนํ าเสนอด้วยตัวอักษร
(Text) ภาพนิ่ง (Image) ผสมผสานกับการใช้ภาพเคลื่อนไหว (Animation) วีดทิ ศั น์ และเสียง
(Sound) โดยอาศัยเทโนโลยีของเว็บ (Web Technology) ในการถ่ายทอดเนื้อหา รวมทัง้ ใช้
เทคโนโลยีการจัดการคอร์ส (Course Management System) ในการบริหารจัดการงานสอนต่างๆ
ความหมายทีส่ องบทเรียนออนไลน์ (Online) อีเลิรน์ นิ่ง (e-Learning) คือ การเรียนใน
ลักษณะใดก็ได้ ซึ่งใช้การถ่ายทอดเนื้อหาผ่านทางอุปกรณ์อเิ ล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็ นคอมพิวเตอร์
(Computer) เครือข่ายอินทราเน็ต (Intranet) อินเทอร์เน็ต (Internet) เอ็กซทราเน็ต (Extranet) หรือ
สัญญาณโทรทัศน์ สัญญาณดาวเทียม ในยุคสมัยแห่งสังคมไร้พรมแดน วิทยุการศึกษา นับเป็ น
สื่อมวลชนที่ได้รบั การยอมรับกันทัวไปว่ ่ าสามารถเข้าถึงประชาชนได้มากที่สุดทัง้ ด้านเวลา ความ
รวดเร็วและปริมาณของผูร้ บั สาร สถานีวทิ ยุการศึกษาในปจั จุบนั มีการแข่งขันกันสูงและต้องปรับตัว
ให้เข้ากับเทคโนโลยีท่ีทนั สมัย ดังนัน้ การผลิตรายการวิทยุการศึกษา จึงเป็ นงานที่ต้องอาศัย
ความคิดสร้างสรรค์ ประกอบกับการศึกษาข้อมูลทัง้ ศาสตร์และศิลปะผสมผสานกัน รวมทัง้ การนํ า
เทคโนโลยีต่างๆ มาช่วย สนับสนุ นเพื่อผลิตรายการให้มรี ูปแบบที่สอดคล้องกับความต้องการของ
กลุ่มผู้ฟงั เป้าหมายผู้ผลิตรายการ จึงควรมีความรู้ในกระบวนการผลิตรายการวิทยุการศึกษาใน
รูปแบบต่างๆ มีความรู้ ความสามารถในการใช้เครื่องมืออุปกรณ์ทเ่ี กีย่ วข้องกับการผลิต ตลอดจน
หาเทคนิควิธนี ํ าเสนอรายการที่แปลกใหม่ มีประสิทธิภาพ เพื่อสร้างความน่ าสนใจและ
สร้างความนิยมรายการ ตลอดจนเกิดประโยชน์สงู สุด แก่ผฟู้ งั
ในการศึกษาเนื้อหา เรือ่ ง การผลิตรายการวิทยุการศึกษา นัน้ เป็ นการศึกษาทีเ่ น้นการปฏิบตั ิ
เพราะผูเ้ รียนต้องสามารถผลิตรายการวิทยุการศึกษาได้จริง จากการสอบถามจากอาจารย์ผู้สอน
ในการเรียนเนื้อหาในเรื่อง การผลิตรายการวิทยุการศึกษาในปจั จุบนั นัน้ จะมีส่วนทีเ่ ป็ นเนื้อหาทฤษฎี
4

ประกอบอยู่ด้วยทําให้ ต้องแบ่งเวลาเรียนในส่วนของปฏิบตั ิ ซึ่งทําให้การเรียนการสอนในเนื้อหา


เรือ่ ง การผลิตรายการวิทยุการศึกษาในภาคปฏิบตั ไิ ม่สามารถทําได้เต็มที่
จากปญั หาดังกล่าวผูว้ จิ ยั จึงมีความสนใจที่จะศึกษาและพัฒนาบทเรียนออนไลน์ เรื่องการ
ผลิตรายการวิทยุการศึกษาโดยนํ าระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมาใช้ในการเรียนการสอน โดยผูว้ จิ ยั
เล็งเห็นถึงความสําคัญของการนํ าบทเรียนออนไลน์ เข้ามาใช้ในการเรียนการสอน โดย บทเรียน
ออนไลน์นนั ้ เป็ นสือ่ ทีผ่ เู้ รียนสามารถเข้าถึงได้โดยง่าย ซึง่ จะสามารถช่วยลดเวลาในการเรียนการสอน
ในส่วนของทฤษฎี ได้ เพราะผูเ้ รียนสามารถเรียนได้ทุกทีท่ ุกเวลา ผูเ้ รียนสามารถทบทวนบทเรียนเอง
ได้ตลอดเวลา และ เพือ่ เพิม่ ศักยภาพในการจัดการเรียนการสอนของผูส้ อนให้มศี กั ยภาพมายิง่ ขึน้ อีก
ด้วย และ เพื่อให้การเรียนการสอนสัมฤทธิ ์ผล ซึง่ มีวตั ถุประสงค์เพื่อเป็ นการสร้างความรูค้ วามเข้าใจ
ในพื้นฐานที่ถูกต้องในการผลิตรายการวิทยุการศึกษา อันจะช่วยผูเ้ รียนนัน้ สามารถ ผลิตรายการ
วิทยุการศึกษาได้ออกมาอย่างประสิทธิภาพ และสามารถนํามาใช้ในการผลิตสือ่ การเรียนการสอนได้

ความมุ่งหมายของการวิจยั
1. เพื่อพัฒนาบทเรียนออนไลน์เรื่องการผลิตรายการวิทยุการศึกษาให้มปี ระสิทธิภาพ ตาม
เกณฑ์ 80/80
2. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนิสติ ที่เรียนโดยใช้บทเรียนออนไลน์ เรื่องการผลิตรายการ
วิทยุการศึกษา

ความสําคัญของการวิจยั
ผู้เรียนสามารถศึกษาทบทวนบทเรียนเรื่องการผลิต รายการวิทยุการศึกษาผ่านบทเรียน
ออนไลน์ เรื่องการผลิตรายการวิทยุการศึกษาได้ทุกที่ทุกเวลาและผูเ้ รียนเกิดทักษะใหม่ๆที่เกิดจาก
การค้นคว้าด้วยตนเอง และ การค้นคว้านอกห้องเรียน และเกิดความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนาใน
การผลิตรายการวิทยุโดยทีผ่ สู้ อนสามารถประหยัดเวลาในการสอนเนื้อหาเรือ่ งการผลิตวิทยุการศึกษา
ในบางส่วนทีผ่ เู้ รียนสามารถศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองได้

ขอบเขตของการวิจยั
ประชากร
ประชากรที่ใช้ ในการศึกษาเป็ นนิ สิตปริญญาตรี สาขาเทคโนโลยีส่ือสารการศึ กษา คณะ
ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ จํานวน 213 คน
5

กลุ่มตัวอย่าง
กลุ่ มตัวอย่ างที่ใช้ในการศึกษาเป็ น นิ ส ิตระดับปริญญาตรี ชัน่ ปี ท่ี2 สาขาเทคโนโลยีส่ือสาร
การศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ จํานวน 45 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจงจากนิสติ ที่
ลงทะเบียนเรียนวิชา การผลิตรายการวิทยุการศึกษา(ET 321) ในปี การศึกษา 1/2554 โดยแบ่งเป็ น
การทดลองครัง้ ที่ 1 จํานวน 3 คน ซึง่ ได้มาโดยวิธกี ารสุม่ อย่างง่าย
การทดลองครัง้ ที่ 2 จํานวน 12 คน ซึง่ ได้มาโดยวิธกี ารสุม่ อย่างง่ายจากจํานวนทีเ่ หลือ
การทดลองครัง้ ที่ 3 จํานวน 30 คน ซึง่ ได้มาโดยวิธกี ารสุม่ อย่างง่ายจากจํานวนทีเ่ หลือ
เนื้ อหาที่ใช้ในการวิ จยั
เนื้อหาทีน่ ํามาใช้ใน บทเรียนออนไลน์เรือ่ งการผลิตรายการวิทยุการศึกษา มีดงั นี้
1. ความเป็ นมาของวิทยุการศึกษา
2. หลักการเกีย่ วกับการผลิตรายการวิทยุการศึกษา
3. การเขียนบทวิทยุการศึกษา
4. ห้องบันทึกเสียงและเครือ่ งมือ
5. รูปแบบของรายการวิทยุการศึกษา

นิยามศัพท์
1. บทเรียนออนไลน์ หมายถึง บทเรียนเรื่องการผลิตรายการวิทยุการศึกษา ทีน่ ํ าเสนอ
เนื้อหาผ่านคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งบทเรียนออนไลน์ ซึง่ ประกอบด้วย ตัวอักษร,
ภาพ (ภาพนิ่ง,ภาพเคลื่อนไหว, ภาพกราฟิ ก) เสียง, แบบฝึ กหัด, แหล่งสืบค้นข้อมูล, ผูเ้ รียน
สามารถแลกเปลีย่ นแสดงความคิดเห็นได้ และเนื้อหาในบทเรียนสามารถเชื่อมโยงกลับไปกลับมาได้
เพือ่ ใช้ในการเรียนรูโ้ ดยนิสติ ได้เรียนรูด้ ว้ ยตนเอง

2. การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ หมายถึง การนําเอาเนื้อหาเรื่อง การผลิตรายการวิทยุ


การศึกษา มาสร้างเป็ นบทเรียนออนไลน์ โดยใช้โปรแกรม Moodle ในการพัฒนาบทเรียนออนไลน์
เสร็จแล้วบันทึกลงในเครื่องแม่ขา่ ย(Server) จากนัน้ นําไปให้ผเู้ ชีย่ วชาญด้านเนื้อหาและ ผูเ้ ชีย่ วชาญ
ด้านเทคโนโลยีการศึกษาประเมินคุณภาพ นํามาปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะของผูเ้ ชีย่ วชาญ แล้ว
นําไปทดลองเพือ่ ปรับปรุงและพัฒนาหาประสิทธิภาพของบทเรียนให้ได้ตามเกณฑ์กาํ หนด

3. ความพึงพอใจหมายถึง ความคิดเห็นหรือความรูส้ กึ ส่วนบุคคลทีม่ ตี ่อการเรียนการใช้บทเรียน


ออนไลน์เรื่องการผลิตรายการวิทยุการศึกษา อันทีเ่ กิดจากการทีผ่ เู้ รียนได้เปรียบเทียบความต้องการของ
ตนเองกับประสบการณ์ หรือสิง่ ที่ตนเองได้รบั จากการเรียนการสอนผ่านบทเรียนออนไลน์ เรื่องการผลิต
6

รายการวิทยุการศึกษา ในด้านความชอบ – ไม่ชอบ หรือ พอใจ – ไม่พอใจ โดยวัดจากแบบวัดความพึง


พอใจ

4. ประสิ ทธิ ภาพของบทเรียนบทเรียนออนไลน์ เรื่องการผลิ ตวิ ทยุการศึกษา หมายถึง ผล


การเรียนรูข้ องผูเ้ รียนเมื่อเรียนรูผ้ ่านบทเรียนออนไลน์ เรื่องการผลิตวิทยุการศึกษา แล้วไม่ต่ํากว่า 80/80
(E1/E2)
80 ตัวแรก(E1) หมายถึง คะแนนของผูเ้ รียนทีไ่ ด้จากการทําแบบทดสอบระหว่าง
เรียนของผูเ้ รียนโดยคิดเป็ นร้อยละ 80 ขึน้ ไป
80 ตัวที่ 2(E2) หมายถึง คะแนนของผูเ้ รียนทีไ่ ด้จากการทําแบบทดสอบวัดผล
สัมฤทธิ ์ทางการเรียนของผูเ้ รียนโดยคิดเป็ นร้อยละ 80 ขึน้ ไป

5. ผูเ้ ชี่ยวชาญ
5.1 ผู้เชี่ ยวชาญด้านเนื้ อหา หมายถึง ผูท้ จ่ี บการศึกษาระดับปริญญาตรี ในสาขา
เทคโนโลยีการศึกษา นิเทศศาสตร์ สื่อสารมวลชน หรือสาขาอื่นทีเ่ กี่ยวข้อง ทีม่ คี วามเข้าใจด้าน
การผลิตรายการวิทยุการศึกษา และ มีประสบการณ์ ไม่น้อยกว่า 10 ปี หรือ
ผูท้ จ่ี บการศึกษาระดับปริญญาโท ในสาขาเทคโนโลยีการศึกษา นิเทศศาสตร์
สื่อสารมวลชน หรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง ที่มคี วามเข้าใจด้านการผลิตรายการวิทยุการศึกษา และ
มีประสบการณ์ ไม่น้อยกว่า 5 ปี หรือ
ผูท้ จ่ี บการศึกษาระดับปริญญาเอก ในสาขาเทคโนโลยีการศึกษา นิเทศศาสตร์
สื่อสารมวลชน หรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง ที่มคี วามเข้าใจด้านการผลิตรายการวิทยุการศึกษา และ
มีประสบการณ์ ไม่น้อยกว่า 3 ปี
5.2 ผู้เชี่ ยวชาญด้านเทคโนโลยีการศึกษา หมายถึง ผูท้ ่จี บการศึกษาระดับ
ปริญ ญาตรี ในสาขาเทคโนโลยีก ารศึก ษา และมีป ระสบการณ์ ใ นการทํ า งานด้า นเทคโนโลยี
การศึกษาไม่น้อยกว่า 10 ปี หรือ
ผู้ ท่ี จ บการศึ ก ษาระดับ ปริ ญ ญาโท ในสาขาเทคโนโลยี ก ารศึ ก ษา และมี
ประสบการณ์ในการทํางานด้านเทคโนโลยีการศึกษาไม่น้อยกว่า 5 ปี หรือ
ผู้ ท่ี จ บการศึ ก ษาระดับ ปริญ ญาเอก ในสาขาเทคโนโลยีก ารศึ ก ษา และ มี
ประสบการณ์ในการทํางานด้านเทคโนโลยีการศึกษาไม่น้อยกว่า 3 ปี
7

5.3 ผู้เชี่ยวชาญด้านจิ ตวิ ทยา หมายถึง ผูท้ จ่ี บการศึกษาระดับปริญญาตรี ใน


สาขาจิตวิทยา หรือ สาขาอื่นทีเ่ กีย่ วข้อง และมีประสบการณ์ในการทํางานด้านจิตวิทยาการศึกษา
ไม่น้อยกว่า 10 ปี หรือ
ผูท้ จ่ี บการศึกษาระดับปริญญาโท ในสาขาจิตวิทยา หรือ สาขาอื่นทีเ่ กีย่ วข้อง และ
มีประสบการณ์ในการทํางานด้านจิตวิทยาการศึกษาไม่น้อยกว่า 5 ปี หรือ
ผูท้ ่จี บการศึกษาระดับปริญญาเอก ในสาขาจิตวิทยา หรือ สาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง
และมีประสบการณ์ในการทํางานด้านจิตวิทยาการศึกษาไม่น้อยกว่า 3 ปี
บทที่ 2

เอกสารและงานวิจยั ที่เกี่ยวข้อง
ในการวิจยั ครัง้ นี้ ผูว้ จิ ยั ได้ศกึ ษาเอกสารและงานวิจยั ทีเ่ กีย่ วข้อง และได้นําเสนอตามหัวข้อ

ต่อไปนี้

1. เอกสารและงานวิจยั ทีเ่ กีย่ วข้องกับการวิจยั และพัฒนาทางการศึกษา


2. เอกสารและงานวิจยั ทีเ่ กีย่ วข้องกับการออกแบบบทเรียนออนไลน์
3. เอกสารทีเ่ กีย่ วข้องกับการเรียนรูด้ ว้ ยตัวเอง
4. ทฤษฎีและหลักการทีเ่ กีย่ วกับจิตวิทยาการเรียนรู้
5. เอกสารทีเ่ กีย่ วข้องกับรายวิชาการผลิตรายการวิทยุการศึกษา

1. เอกสารและงานวิจยั ที่เกี่ยวข้องกับการวิจยั และพัฒนาทางการศึกษา


ความหมายของการวิ จยั และพัฒนาทางการศึกษา
คําว่า การวิจยั และพัฒนาการศึกษา ตรงกับคําว่า Education research and Development
ในภาษาอังกฤษ ซึง่ หมายถึง การดําเนินงานพัฒนาด้านการศึกษาโดยอาศัยการวิจยั เป็ นพืน้ ฐานหรือ
เป็ นเครื่องมือดําเนินการ ทัง้ นี้ โดยมีเป้าหมาย คือ ใช้เป็ นกระบวนการในการพัฒนาและเพื่อ
ตรวจสอบคุณภาพผลงาน หรือผลิตภัณฑ์ทางการศึกษา (พฤทธิ ์ ศิรบิ รรณพิทกั ษ์. ม.ป.ป. : 21-25;
อํานาจช่างเรียน. 2532: 26-28; รัตนะ บัวสนธ์. 2539: 1)
การวิจยั และพัฒนาทางการศึกษา (Education Research and Development) เป็ นการ
พัฒนาการศึกษาโดยพืน้ ฐานการวิจยั เป็ นกลยุทธหรือวิธกี ารสําคัญวิธหี นึ่งที่นิยมใช้ในการปรับปรุง
เปลีย่ นแปลงหรือพัฒนาการศึกษาโดยเน้นหลักเหตุผลและตรรกวิทยา เป้าหมายหลักคือ ใช้เป็ น
กระบวนในการพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของผลิตภัณฑ์ทางการศึกษา (พฤทธิ ์ ศิรบิ รรณ
พิทกั ษ์.2531: 21 – 24)
ในทศวรรษที่ผ่านมาได้มกี ารนํ าการวิจยั และพัฒนามาใช้อย่างกว้างขวางในการศึกษาซึ่ง
เรียกว่า การวิจยั และพัฒนาทางการศึกษา โดยมีจุดมุง่ หมายเพื่อคิดค้นแนวปฏิบตั ใิ หม่ ทีเ่ รียกว่า
นวัตกรรม (Innovation) ทีม่ งุ่ แก้ปญั หาบางประการของการจัดการศึกษาหรือเพื่อยกระดับคุณภาพ
ของการจัดการศึกษาในแง่มุมต่างๆ เช่น นวัตกรรมหลักสูตร นวัตกรรมวิธสี อน นวัตกรรมทางสื่อการ
เรียนการสอน เป็ นต้น การวิจยั และพัฒนาทางการศึกษา เป็ นการวิจยั ทางการศึกษามุง่ ค้นหา
ความรูใ้ หม่โดยการวิจยั พืน้ ฐานหรือมุ่งหาคําตอบเกี่ยวกับการปฏิบตั งิ านโดยการวิจยั ประยุกต์และ
ตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์ทางการศึกษา แม้ว่าการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการศึกษา เช่น การวิจยั
เปรียบเทียบประสิทธิผลของวิธกี ารสอนหรืออุปกรณ์การสอน ผูว้ จิ ยั อาจพัฒนาสื่อหรือผลิตภัณฑ์ทาง
9

การศึกษาสําหรับการสอนแต่ละแบบ ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ได้ใช้สาํ หรับการทดสอบสมมติฐานของการ


วิจยั แต่ละครัง้ เท่านัน้ ไม่ได้พฒ
ั นาไปสู่การใช้สาํ หรับโรงเรียนทัวไป
่ กระบวนการวิจยั และพัฒนาที่
นิยมใช้กนั มากคือ การใช้วธิ กี ารระบบ(Systems Approach) โดยมีขนั ้ ตอนดังนี้

กําหนดปั ญหา

กําหนดผลที่ต้องการ

กําหนดแนวทางเลือก

ข้ อจํากัด เลือกแนวทางที่น่าจะได้ ผล ปั จจัยเอื ้อ

ดําเนินการพัฒนา

ทดลองและประเมินผล

ปรับปรุงและนําไปใช้

ภาพประกอบ1 การแสดงความสัมพันธ์ของกระบวนการวิจยั และพัฒนาทีใ่ ช้วธิ กี ารระบบ

หลักการวิ จยั และพัฒนา


บอร์ก และ กอล์ล (Borg and Gall. 1979: 221 – 223) ได้กล่าวถึงหลักการวิจยั และพัฒนา
ทางการศึกษาไว้ว่า การวิจยั และพัฒนาทางการศึกษา (Educational Research and Development)
คือ การพัฒนาการศึกษาโดยพืน้ ฐานการวิจยั เป็ นกลยุทธ์หรือวิธกี ารสําคัญทีน่ ิยมใช้ในการปรับปรุง
เปลีย่ นแปลงหรือพัฒนาการศึกษาโดยเน้นหลักเหตุผลและตรรกวิทยา เป้าหมายหลักคือ ใช้เป็ น
กระบวนการในการพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของผลผลิตทางการศึกษาอันหมายถึงวัสดุ ครุภณ ั ฑ์
ทางการศึกษา ได้แก่ หนังสือแบบเรียน ฟิลม์ สไลด์ เทปเสียง เทปโทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ และ
โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็ นต้น
10

การวิจยั และพัฒนาทางการศึกษา มีความแตกต่างจากการวิจยั ทางการศึกษา 2 ประการคือ


1. เป้าประสงค์ การวิจยั ทางการศึกษามุง่ ค้นคว้าหาความรูใ้ หม่ โดยการวิจยั พืน้ ฐาน หรือมุง่
หาคําตอบเกี่ยวกับการปฏิบตั งิ านโดยการวิจยั ประยุกต์ แต่การวิจยั และพัฒนาทางการศึกษามุ่ง
พัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของผลผลิตทางการศึกษา แม้ว่าการวิจยั ประยุกต์ทางการศึกษาหลาย
โครงการก็มกี ารพัฒนาทางการศึกษา เช่น การวิจยั เปรียบเทียบประสิทธิผลของวิธสี อนหรืออุปกรณ์
การสอน ผูว้ จิ ยั อาจพัฒนาสื่อหรือผลผลิตทางการศึกษาสําหรับการสอนแต่ละแบบ แต่ละผลผลิต
เหล่านี้ได้ใช้สําหรับการทดสอบสมมุตฐิ านของการวิจยั แต่ละครัง้ เท่านัน้ ไม่ได้พฒ ั นาไปสู่การใช้
สําหรับโรงเรียนทัวไป่
2. การนําไปใช้ การวิจยั ทางการศึกษามีช่องว่างระหว่างผลการวิจยั กับการนําไปใช้จริงอย่าง
กว้างขวาง กล่าวคือ ผลการวิจยั ทางการศึกษาจํานวนมากอยูใ่ นตู้ ไม่ได้รบั การพิจารณานําไปใช้ นัก
การศึกษาและนักวิจยั จึงหาทางลดช่องว่างดังกล่าวโดยวิธที เ่ี รียกว่าการวิจยั และพัฒนาการวิจยั ของ
การศึกษาทีจ่ ะเพิม่ ศักยภาพของการศึกษาให้มผี ลต่อการจัดการทางการศึกษา เพื่อใช้ประโยชน์ได้
จริงในการศึกษา ดังนัน้ การใช้การวิจยั และพัฒนาทางการศึกษาก็มจี ุดมุ่งหมายเพื่อปรับปรุง
เปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาการศึกษา จึงใช้ผลการวิจยั ทางการศึกษา ให้เป็ นประโยชน์มากยิง่ ขึน้
สามารถสรุปความสัมพันธ์และความแตกต่างได้
ขัน้ ตอนการวิ จยั และพัฒนา
การวิจยั และพัฒนาทางการศึกษาโดยพื้นฐานการวิจยั เป็ นวิธีหนึ่งที่นิยมใช้ในการพัฒนา
การศึกษาโดยเน้นหลักเหตุผลในการพัฒนาตรวจสอบคุณภาพของสื่อการเรียนการสอนซึง่ บอร์กและ
กอลล์ (Borg. 1981: 222-223) ได้เสนอแนะขัน้ ตอนสําคัญของการวิจยั และพัฒนาไว้ 10 ขัน้ ตอน ดังนี้
คือ
1. กําหนดผลผลิตทางการศึกษาทีจ่ ะทําการพัฒนา ขัน้ นี้ตอ้ งกําหนดให้ชดั ว่าผลผลิต
ทางการ
ศึกษาทีจ่ ะวิจยั และพัฒนาคืออะไรโดยต้องกําหนดว่า
1.1 ตรงกับความต้องการหรือไม่
1.2 ความก้าวหน้าทางวิชาการมีพอเพียงในการทีจ่ ะพัฒนาผลผลิตทีก่ าํ หนดหรือไม่
1.3 บุคลากรทีม่ อี ยูม่ ที กั ษะความรูแ้ ละประสบการณ์ทจ่ี าํ เป็ นต่อการวิจยั และพัฒนา
นัน้ หรือไม่
1.4 ผลผลิตนัน้ จะพัฒนาขึน้ ในเวลาอันสมควรได้หรือไม่
2. วางแผนวิจยั และพัฒนา ขัน้ นี้ประกอบไปด้วย
2.1 กําหนดวัตถุประสงค์ของการใช้ผลผลิต
2.2 ประมาณค่าใช้จา่ ย กําลังคนและเวลาทีต่ อ้ งใช้เพือ่ ศึกษาหาความเป็ นไปได้
2.3พิจารณาผลสืบเนื่องของผลผลิต
3. พัฒนารูปแบบขัน้ ต้นของผลผลิต
11

ขัน้ นี้เป็ นการออกและจัดทําผลผลิตการศึกษาตามทีว่ างแผนไว้ เช่นถ้าเป็ นโครงการวิจยั และ


พัฒนาบทเรียนมัลติมเี ดียก็จะต้องออกแบบและวิเคราะห์เนื้อหาสร้างบทเรียนมัลติมเี ดีย และ
แบบทดสอบวัดการเรียนรู้
4. ทดลองหรือทดสอบผลผลิต ครัง้ ที่ 1
ขัน้ นี้เป็ นการนํ าผลผลิตที่ออกแบบและจัดเตรียมไว้ในขัน้ ที่3 ไปทดลองใช้เพื่อทดสอบ
คุณภาพขัน้ ต้นของผลผลิต ใช้กลุ่มตัวอย่างขนาดเล็ก ประเมินผลโดยการใช้แบบสอบถาม การสังเกต
และการสัมภาษณ์ แล้วรวบรวมข้อมูลมาวิเคราะห์
5. ปรับปรุงผลผลิต ครัง้ ที่ 1
ขัน้ นี้เป็ นการนําข้อมูลและผลการทดลองใช้จากขัน้ ที่ 4 มาพิจารณาปรับปรุง
6. ทดลองหรือทดสอบผลผลิต ครัง้ ที่ 2
ขัน้ นี้ เ ป็ น การนํ า ผลผลิ ต ที่ ป รับ ปรุ ง แล้ ว ไปทดลองเพื่ อ ทดสอบคุ ณ ภาพผลผลิ ต ตาม
วัตถุประสงค์ ประเมินผลเชิงปริมาณในลักษณะ Pre-test กับ Post-test นําผลไปเปรียบเทียบกับ
วัตถุประสงค์ของการใช้ผลผลิต อาจมีกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง
7. ปรับปรุงผลผลิต ครัง้ ที่ 2
นําข้อมูลและผลการทดลองจากขัน้ ที่ 6 มาพิจารณาปรับปรุง
8. ทดลองหรือทดสอบผลผลิต ครัง้ ที่ 3
ขัน้ นี้ เป็ นการนํ าผลผลิตที่ปรับ ปรุงไปทดลองเพื่อทดสอบคุณภาพการใช้งานของผลผลิต
ประเมินผลโดยการใช้แบบสอบถาม การสังเกต และการสัมภาษณ์ แล้วรวบรวมข้อมูลการวิเคราะห์
9. ปรับปรุงผลผลิต ครัง้ ที่ 3 (ครัง้ สุดท้าย)
นําข้อมูลจากการทดลองขัน้ ที่ 8 มาพิจารณาปรับปรุงเพือ่ ผลิตและเผยแพร่ต่อไป
10. เผยแพร่
ขัน้ นี้เป็ นการเสนอรายงานเกี่ยวกับผลการวิจยั และพัฒนาผลผลิต ในทีป่ ระชุมสัมมนาทาง
วิชาการหรือวิชาชีพ
เอสพิช และ วิลเลียมส์ (Espich & Williams. 1967: 75-79) ได้ให้แนวความคิดในการ
ปรับปรุงสือ่ ทีพ่ ฒ
ั นาขึน้ 3 ขัน้ ตอน ดังนี้

ขัน้ ตอนที่ 1 ทดสอบทีละคน (One to One Testing) โดยใช้กลุ่มตัวอย่างทีม่ ผี ลการเรียนตํ่า


กว่าปานกลางเล็กน้อย จํานวน 2-3 คน เพื่อศึกษาสื่อทีพ่ ฒ ั นาขึน้ และหลังจากการศึกษา ผูพ้ ฒั นา
จะสอบถามความคิดเห็นเกีย่ วกับข้อบกพร่องของสือ่ จากกลุ่มตัวอย่าง

ขัน้ ตอนที่ 2 ทดลองกับกลุ่มเล็ก (Small Group Testing) โดยใช้กลุ่มตัวอย่าง 5-8 คน


ดําเนินการคล้ายกับขัน้ ตอนแรก แต่กลุ่มตัวอย่างจะได้รบั การทดสอบก่อนละหลังเรียนเพื่อนําผลไป
วิเคราะห์ทดสอบประสิทธิภาพของสือ่ โดยอาศัยเกณฑ์มาตรฐาน 90/90 90 ตัวแรก คือคะแนนเฉลีย่
12

ของผูเ้ รียนทัง้ หมดเมือ่ คิดเป็ นร้อยละได้ 90 หรือ สูงกว่า 90 ส่วน 90 ตัวหลังหมายถึง ผูเ้ รียนร้อยละ
90 ของทัง้ หมด สามารถทําข้อสอบข้อหนึ่ง ๆ ได้ถูกต้อง ถ้าผลการวิเคราะห์เป็ นไปตามเกณฑ์
ดังกล่าว ก็ทําการปรับปรุงแก้ไขเฉพาะส่วนทีบ่ กพร่อง เพื่อนํ าไปทดลองใช้ในขัน้ ตอนที่ 3 ต่อไป
หากผลการวิเคราะห์ไม่เป็ นไปตามเกณฑ์ดงั กล่าว ก็จะดําเนินการด้วยวิธเี ดิมของกลุ่มตัวอย่างใหม่
จนกว่าจะได้ผลตามเกณฑ์ทก่ี าํ หนด

ขัน้ ตอนที่ 3 การทดสอบภาคสนาม (Field Testing) เป็ นการทดสอบกับกลุ่มตัวอย่างทีเ่ ป็ น


ประชากรเป้าหมายจริง โดยผูพ้ ฒ
ั นาสื่อไม่เข้าไปเกี่ยวข้องกับการทดลองแต่จะอาศัยผูด้ ําเนินการ
แทน โดยใช้วธิ ดี าํ เนินการเช่นเดียวกับตอนทีส่ อง

โดยสรุปแล้ว การวิจยั และการพัฒนาจึงเป็ นรูปแบบของการวิจยั ที่จะทําให้การวิจยั ทาง


การศึกษา ทัง้ การวิจยั พืน้ ฐานและการวิจยั ประยุกต์ ได้รบั การนํ าไปใช้ในการปรับปรุง หรือพัฒนา
การศึกษาให้มากยิง่ ขึน้ เพราะการวิจยั และพัฒนาเน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการศึกษามาใช้ในการ
จัดการศึกษาให้มปี ระสิทธิภาพและประสิทธิผลได้อย่างกว้างขวางและได้ประโยชน์มากยิง่ ขึน้ นันเอง

2. เอกสารและงานวิจยั ที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบบทเรียนออนไลน์
ปจั จุบนั เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทในชีวติ ประจําวันเป็ นอย่างมาก เนื่องจากเป็ น
แหล่งรวบรวมความรูใ้ นรูปแบบของข้อความหลายมิติ (Hypertext) บนเครือข่ายเวิลด์ไวด์เว็บ ทีม่ กี าร
จัดเก็บข้อมูลจํานวนมหาศาล และเป็ นช่องทางสือ่ สารทีส่ ะดวก รวดเร็ว ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายใน
การติดต่อสื่อสาร อีกทัง้ ผูใ้ ช้ยงั สามารถโต้ตอบมีปฏิสมั พันธ์ได้หลายรูปแบบ ทําให้มกี ารพัฒนาเว็บ
เพื่อการศึกษาและมีการจัดการเรียนการสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตขึน้ ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
เว็บจึงกลายเป็ นเครือ่ งมือทีส่ าํ คัญในการเรียนการสอนและการเรียนรูซ้ ง่ึ สามารถใช้เสริมการเรียนการ
สอนในชัน้ เรียนปกติหรือใช้เป็ นรูปแบบหนึ่งของการเรียนการสอนในหลักสูตรได้
ความหมายของบทเรียนบนเครือข่ายอิ นเทอร์เน็ต
คําว่า Web-Based Instruction ประกอบขึน้ จากคําศัพท์ต่าง ๆ ดังนี้ Web หมายถึง เว็บ
(ศัพท์คอมพิวเตอร์ฉบับราชบัณฑิตยสถาน แก้ไขเพิม่ เติม. 2543: 157) Based หมายถึง ฐาน
(ศัพท์คอมพิวเตอร์ฉบับราชบัณฑิตยสถาน แก้ไขเพิม่ เติม. 2543: 13) Instruction หมายถึง คําสัง่
หรือการสอน (ศัพท์คอมพิวเตอร์ฉบับราชบัณฑิตยสถาน แก้ไขเพิม่ เติม. 2543: 18)
ราชบัณฑิตยสถานบัญญัตศิ พั ท์ Web-based Instruction ไว้ว่า “การสอนบนเครือข่าย
อินเทอร์เน็ต” เนื่องจาก เมื่อมีการพูดหรือเขียนในภาษาอังกฤษจะใช้คาํ ว่า“on web” ซึง่ เมื่อแปลเป็ น
ภาษาไทยอย่างตรงตัว คือ “บนเว็บ” นักวิชาการหลายท่านได้ให้ความหมายของการสอนบนเครือข่าย
อินเทอร์เน็ตไว้ดงั นี้
13

ใจทิ พ ย์ ณ สงขลา (2542) ได้ ใ ห้ค วามหมายไว้ ว่ า การเรีย นการสอนบนเว็บ (Web-


BasedInstruction) เป็ นการผนวกคุณสมบัตไิ ฮเปอร์มเี ดียเข้ากับคุณสมบัตขิ องเครือข่ายเวิลด์ไวด์เว็บ
เพื่อสร้างสิง่ แวดล้อมแห่งการเรียนในมิติท่ไี ม่มขี อ้ จํากัดด้านระยะทางและเวลาที่แตกต่างกันของ
ผูเ้ รียน (Learning Without Boundary)
กิดานันท์ มลิทอง (2540) ได้ให้ความหมายไว้ว่า การสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็ นการ
ใช้เว็บในการเรียนการสอน โดยอาจใช้เว็บเพื่อการนํ าเสนอบทเรียนในลักษณะสื่อหลายมิตขิ องวิชา
ทัง้ หมดตามหลักสูตร หรือใช้เป็ นเพียงการนําเสนอข้อมูลบางอย่างเพื่อประกอบการสอนก็ได้รวมทัง้
ใช้ประโยชน์ต่างๆของการสื่อสารทีม่ อี ยู่ในระบบอินเทอร์เน็ต เช่น การพิมพ์ขอ้ ความโต้ตอบกันทาง
ไปรษณียอ์ เิ ล็กทรอนิกส์ และการพูดคุยด้วยข้อความและเสียง เพือ่ ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
ถนอม เลาหจรัสแสง (2540) ได้ให้ความหมายไว้วา่ การสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต(Web–
Based Instruction) เป็ นการผสมผสานกันระหว่างเทคโนโลยีปจั จุบนั กับกระบวนการออกแบบการ
เรียนการสอน เพือ่ เพิม่ ประสิทธิภาพทางการเรียนรูแ้ ละแก้ปญั หาในเรือ่ งข้อจํากัดทางด้านสถานทีแ่ ละ
เวลา โดยการสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจะประยุกต์ใช้คุณสมบัตแิ ละทรัพยากรของเวิลด์ไวด์เว็บ
ในการจัดสภาพแวดล้อมทีส่ ่งเสริมและสนับสนุ นการเรียนการสอนซึ่งการเรียนการสอนทีจ่ ดั ขึน้ ผ่าน
เว็บนี้ อาจเป็ นบางส่วนหรือทัง้ หมดของกระบวนการเรียนการสอน
การสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็ นเครื่องมือสําหรับการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบ
การเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (E-learning) ซึง่ เป็ นส่วนหนึ่งของการศึกษาอิเล็กทรอนิกส์ (E-education) และ
เป็ นส่วนย่อยของระบบใหญ่การค้าอิเล็กทรอนิกส์ (E–commerce) การสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
เป็ นการจัดการศึกษาในรูปแบบเชื่อมตรงฐานความรูบ้ นเว็บ (Web Knowledge-basedOnline) ซึง่
เป็ น การจัด สภาวการณ์ ก ารเรีย นการสอนในรูป แบบเชื่อ มตรง (Online) โดยมีข้อ กํา หนด
(http://www.thaiwbi.com/topic/WBI/)
จากความหมายดังกล่ าวสามารถสรุปได้ว่า การสอนบนเครือข่ายอิน เทอร์เ น็ ต หมายถึง
รูปแบบการเรียนการสอนที่ทํางานบนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยผูเ้ รียน เรียนจากฐานข้อมูล
ความรู้ และสามารถรับส่งข้อมูลการศึกษาอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Education Data) ได้อย่างไม่
จํากัดเวลาและสถานทีภ่ ายใต้ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ลักษณะของ Web-Based Instruction เป็ น
แบบห้องเรียนเสมือนจริง (Virtual Classroom) โดยการใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็ นช่องทางในการ
สื่อสาร ผูเ้ รียนและผูส้ อนจึงต้องมีความรู้ ทักษะการใช้อนิ เทอร์เน็ตเป็ นอย่างดีเพื่อการเรียนการสอน
อย่างมีประสิทธิภาพ

ความสําคัญของการสอนบนเครือข่ายอิ นเทอร์เน็ต
เหตุผลทีม่ กี ารจัดการเรียนการสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตขึน้ เนื่องจากความก้าวหน้าทาง
เทคโนโลยีการสื่อสารและคอมพิวเตอร์ ทําให้การสื่อสารข้อมูล ความรู้ สารสนเทศต่างๆเป็ นไปอย่าง
รวดเร็ว ด้ว ยคุ ณ สมบัติข องคอมพิว เตอร์ป ระกอบกับ คุ ณ สมบัติข องเครือ ข่ า ย ส่ ง ผลให้มีค วาม
เหมาะสมที่จะใช้อนิ เทอร์เน็ตเป็ นสื่อเพื่อการศึกษา ปจั จุบนั เนื้อหาความรูแ้ ละสารสนเทศต่างๆถูก
14

จัดเก็บในรูปแบบของเอกสารอิเล็กทรอนิกส์มากขึน้ การเรียกดูขอ้ มูลและเนื้อหาจึงทําได้งา่ ยขึน้ โดย


ผู้ใช้ไม่จําเป็ นต้องไปถึงสถานที่หรือแหล่งข้อมูลด้วยตนเอง เพียงแค่เชื่อมต่อเข้าสู่อินเทอร์เน็ ตก็
สามารถเรียกดูขอ้ มูลได้ทนั ที ทัง้ นี้ไม่ได้หมายความว่าสื่อและเนื้อหาต่างๆจะถูกจัดเก็บในลักษณะ
อิเล็กทรอนิกส์ทงั ้ หมด เอกสาร หนังสือ สิง่ พิมพ์ต่างๆก็ยงั มีความสําคัญ เพียงแต่มรี ปู แบบการจัดเก็บ
เพิม่ ขึน้ ทําให้สามารถค้นคว้าหาข้อมูลได้รวดเร็วขึน้
เว็บ ไซต์ ใ นระบบอิน เทอร์เ น็ ต เว็บ ที่เ รีย กว่ า การสอนบนเว็บ อัน ดับ แรกต้ อ งพิจ ารณา
ความหมายและลักษณะความเป็ นเว็บ ก่ อน เนื่ องจากมีคําหลายที่ย งั สับ สน และอาจทําให้เ ข้าใจ
คลาดเคลื่อ นได้ จากนิ ย ามของการสอนบนเว็บ ของนัก การศึก ษาต่ า งๆ เช่ น เป็ น โปรแกรม ใน
ลักษณะสื่อหลายมิตชิ ่วยในการสอน ใช้ประโยชน์จากคุณลักษณะ และทรัพยากรของอินเทอร์เน็ตมา
สร้างให้เกิดการเรียนรู้โดยส่งเสริมและสนับสนุ นการเรียนรู้ในทุกทาง หรือเป็ นการสอนที่นําสิง่ ที่
ต้องการส่งบางส่วนหรือทัง้ หมดโดยการอาศัยเว็บ การสอนบนเว็บสามารถได้หลายรูปแบบและหลาย
ขอบเขตเชื่อมโยงทัง้ การเชื่อมต่อบทเรียน วัสดุช่วยการเรียนรู้ และการศึกษาทางไกล นิยามต่างๆ
เป็ นเพียงการให้ความหมายกว้างๆ ยังไม่ได้เจาะจงสภาพการเป็ นการสอนบนเว็บอย่างชัดเจนการ
สอนบนเว็บรวมถึงการใช้เครื่องมือต่างๆ ในระบบอินเทอร์เน็ตเข้ามาประกอบการสอน เช่นไปรษณีย์
อิเล็กทรอนิกส์(E-mail), ห้องสนทนา(Internet Relay Chat : IRC), กระดานฝากข้อความ(Bulletin
Board), เครื่องมือสืบค้น (Search Engine) และการประชุมทางไกลด้วยภาพและเสียง(Audio and
Video Conferencing) เป็ นต้น ทําให้ผเู้ รียนสามารถเรียนรูไ้ ด้ทุกทีท่ ุกเวลา มีปฏิสมั พันธ์กนั ระหว่าง
ผูเ้ รียนและผูส้ อนได้ในทันที และเป็ นการศึกษาทางไกลได้ ซึง่ คอมพิวเตอร์ช่วยสอนไม่สามารถทําได้
หรือจัดไว้เป็ นส่วนหนึ่งของเว็บช่วยสอนเท่านัน้ เมื่อดูจากโครงสร้าง ระบบอินเทอร์เน็ต เว็บช่วยสอน
จัด เป็ น องค์ป ระกอบหนึ่ ง ที่นํ า มาช่ ว ยในการเรีย นการสอน โดยผ่ า นคอมพิว เตอร์ท่ีติด ตัง้ ระบบ
อินเทอร์เน็ต (ปรัชญานันท์ นิลสุข. 2543: 48-49)
การใช้บริการเวิลด์ไวด์เว็บนัน้ จําเป็ นจะต้องมีส่วนประกอบสองส่วนคือ แหล่งข้อมูลหรือ
เว็บไซต์ และโปรแกรมค้นดูขอ้ มูลแหล่งข้อมูลหรือเว็บไซต์ (Web Site) คือ ระบบคอมพิวเตอร์ทเ่ี ป็ น
แหล่งเก็บ เว็บเพ็จ (Web Page) ผูใ้ ช้บริการสามารถเรียกดูในเว็บไซต์นนั ้ ได้ ซึง่ เครื่องคอมพิวเตอร์
อาจใช้ระบบปฏิบตั กิ ารยูนิกซ์ (UNIX) หรือวินโดวส์เอ็นที (Windows NT) ก็ได้ ผูเ้ ป็ นเจ้าของเว็บไซต์
จะสร้างเว็บเพ็จของตนเพือ่ ให้ผใู้ ช้คนอื่นทัวโลกสามารถเข้
่ ามาดูเว็บเพ็จทีเ่ ก็บไว้ในเว็บไซต์ได้
เว็บเพ็จ (Web Page) เป็ นเอกสารแบบข้อความหลายมิติ (Hypertext Document) เก็บอยูท่ ่ี
เว็บไซต์ต่างๆในรูปแฟ้มข้อมูลทีม่ กั สร้างด้วยภาษาเอชทีเอ็มแอล (Hypertext Markup Language :
HTML) โดยมีนามสกุลเป็ น .htm หรือ .html ผูใ้ ช้สามารถเรียกข้อมูลได้โดยใช้โปรแกรมค้นดู เช่น
เน็ตสเคป นาวิเกเตอร์ (Netscape Navigator) หรือ อินเทอร์เน็ต เอ็กพลอเลอร์ (Internet Explorer)
หากมีเพียงไฟล์เดียวหรือหน้าเดียวจะเรียกว่า เว็บเพ็จ (Web Page) และหลายๆเว็บเพ็จรวมกันจะ
เรียกเป็ น เว็บไซต์ แต่หน้าแรกของเว็บไซต์เรียกว่า โฮมเพจ (Homepage) ซึง่ เว็บเพ็จหน้าแรกของ
เว็บไซต์
15

รูปแบบของการสอนบนเครือข่ายอิ นเทอร์เน็ต
กิดานันท์ มลิทอง (2540) กล่าวว่า การสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสามารถใช้ได้กบั การ
สอนทุกวิชา โดยอาจเป็ นการใช้เว็บเพื่อการสอนวิชานัน้ ทัง้ หมด หรือใช้เพื่อประกอบเนื้อหาวิชาได้
สามารถแบ่งการสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ 3 รูปแบบดังนี้
1. วิชาเอกเทศ (Stand – Alone Course or Web–based Course) เป็ นวิชาทีเ่ นื้อหาและ
ทรัพยากรทัง้ หมด มีการนําเสนอบนเว็บ รวมถึงการสื่อสารกันเกือบทัง้ หมดระหว่างผูส้ อนและผูเ้ รียน
จะผ่ า นทางคอมพิ ว เตอร์ การใช้ รู ป แบบนี้ ส ามารถใช้ ไ ด้ ก ั บ วิ ช าที่ ผู้ เ รี ย นนั ง่ เรี ย นอยู่ ใ น
สถาบันการศึกษาและส่วนมากแล้วจะใช้ในการศึกษาทางไกลโดยผูเ้ รียนจะลงทะเบียนเรียนและมีการ
โต้ตอบกับผูส้ อนและเพื่อนร่วมชัน้ เรียนคนอื่นๆผ่านทางการสื่อสารบนอินเทอร์เน็ต ด้วยวิธกี ารนี้จะ
ทําให้ผเู้ รียนในทุกส่วนของโลกสามารถเรียนร่วมกันได้โดยไม่มขี ดี จํากัดในเรื่องของสถานทีแ่ ละเวลา
ตัวอย่าง เช่น มหาวิทยาลัยอทาบาสคา (Athabasca University) จัดให้มวี ชิ าเอกเทศหลายวิชาเป็ น
ส่วนหนึ่งของโปรแกรมการสอนทางไกลในระดับปริญญามหาบัณฑิตและมหาวิทยาลัยแห่งโอคลาโฮ
มากลาง (University of Central Oklahoma) จัดให้มชี นั ้ เรียนโดยการใช้เว็บในลักษณะการศึกษา
ทางไกลเรียกว่า “ชัน้ เรียนไซเบอร์” (Cyber Classes) โดยผูเ้ รียนไม่ตอ้ งเดินทางไปมหาวิทยาลัยแต่
ทํ า การเรีย นผ่ า นทางอิน เทอร์เ น็ ต ทัง้ หมดนั บ ตัง้ แต่ ก ารลงทะเบีย นเรีย น บัน ทึก เปิ ด เข้า ไปดู
รายละเอียดและวิธกี ารเรียน ศึกษาเนื้อหาจากเว็บไซต์ของอาจารย์ประจําวิชา ค้นคว้าเพิม่ เติมจาก
เว็บไซต์อ่นื ๆ ทํากิจกรรมส่งทางอีเมล์ หรือทางไปรษณียถ์ ้าเป็ นชิน้ งานทีไ่ ม่สามารถส่งทางอีเมล์ได้
และติดต่อสือ่ สารกับผูส้ อนและผูเ้ รียนอื่นทางอีเมล์และโทรศัพท์ เว็บเพื่อการสอนหนึ่งวิชาแบบเฉพาะ
เป็ นการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต โดยมีส่อื เนื้อหา ข้อมูลต่างๆ รวมทัง้ รูปแบบการสื่อสาร อยู่
ในระบบของอิน เทอร์เ น็ ต ทัง้ หมด การติด ต่ อ ต้อ งกระทํ า ผ่ า นเครื่อ งคอมพิว เตอร์ ถือ เป็ น ระบบ
การศึกษาทางไกลรูปแบบหนึ่ง
2. วิชาใช้เว็บเสริม (Web Supported Course) เป็ นการทีผ่ สู้ อนและผูเ้ รียนจะพบกับใน
สถาบันการศึกษา แต่ทรัพยากรหลายๆอย่าง เช่น การอ่านเนื้อหาทีเ่ กี่ยวข้องกับบทเรียนและข้อมูล
เสริมจะอ่านจากเว็บไซต์อ่นื ๆทีเ่ กีย่ วข้องโดยการทีผ่ สู้ อนกําหนดมาให้หรือผูเ้ รียนหาเพิม่ เติม ส่วนการ
ทํางานที่สงั ่ การทํากิจกรรม และการติดต่อสื่อสาร จะทํากันบนเว็บเช่นกัน ตัวอย่างเช่น วิชาการ
สื่อสารในองค์กร ในมหาวิทยาลัยแห่งเท็กซัส แพนอเมริกนั (University of Texas – Pan American)
เป็ นต้น เว็บเสริมการเรียนการสอนเป็ นการเรียนการสอนในสภาพปกติแต่มกี จิ กรรม การเรียนต่างๆ
เช่น การให้แบบฝึ กหัด การกําหนดแหล่งข้อมูลให้อา่ น การสือ่ สารผ่านคอมพิวเตอร์รปู เพิม่ ในกิจกรรม
การเรียน
3. ทรัพยากรการสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Web Pedagogical Resources) เป็ นการนํา
เว็บไซต์ต่างๆ ทีม่ ขี อ้ มูลเกี่ยวข้องกับเนื้อหาวิชามาใช้เป็ นส่วนหนึ่งของวิชานัน้ หรือใช้เป็ นกิจกรรม
การเรียนของวิชา ทรัพยากรเหล่านี้จะหลากหลายรูปแบบ เช่น ข้อความ ภาพกราฟิกภาพเคลื่อนไหว
เสียง การติดต่อระหว่างผู้เรียนกับเว็บไซต์ ฯลฯ โดยจะดูได้จากเว็บไซต์ต่างๆตัวอย่างเช่น Blue
Web’s Application Library และ Canada’s SchoolNet สําหรับผูเ้ รียนและชัน้ ประถมและมัธยม เว็บ
16

รวมแหล่งวิชาการ จะรวบรวมแหล่งข้อมูลในอินเทอร์เน็ตทีส่ ามารถใช้เป็ นแหล่งค้นคว้าด้านวิชาการ


ได้ อาจอยูใ่ นรูปของตัวอักษร กราฟิก ภาพเคลื่อนไหว เป็ นต้น

องค์ประกอบของบทเรียนบนเครือข่ายอิ นเทอร์เน็ต
องค์ประกอบของบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีหลายอย่าง อาจใช้เพียงอย่างใดอย่าง
หนึ่งหรือทัง้ หมดในการสอนก็ได้ ได้แก่
1. ข้อความหลายมิติ (Hypertext) เป็ นการเสนอเนื้อหาตัวอักษร ภาพกราฟิ กอย่างง่ายๆและ
เสียง ในลักษณะไม่เรียงลําดับกันเป็ นเส้นตรง ในสภาพแวดล้อมของเว็บนี้การใช้ขอ้ ความหลายมิตจิ ะ
ให้ผใู้ ช้คลิกส่วนทีเ่ ป็ น“จุดพร้อมโยง”(Hot Spot) ซึง่ ก็คอื “จุดเชื่อมโยงหลายมิต”ิ (Hyperlink)นัน่ เอง
โดยอาจเป็ นภาพหรือข้อความทีข่ ดี เส้นใต้ เพื่อเข้าถึงแฟ้มทีเ่ ชื่อมโยงกับจุดพร้อมโยงนัน้ แฟ้มนี้อาจ
อยู่ในเอกสารเดียวกันหรือเชื่อมโยงกับเอกสารอื่นที่อยู่ห่างไกลได้ การใช้เว็บเพ็จที่บรรจุขอ้ ความ
หลายมิติจะช่วยให้ผูเ้ รียนที่มเี ครื่องคอมพิวเตอร์ท่มี สี มรรถนะปานกลางสามารถบรรจุลงเนื้อหาได้
โดยง่ายเนื่องจากไม่ตอ้ งใช้โปรแกรมช่วยอื่นๆร่วมด้วย ข้อความหลายมิตจิ งึ เป็ นการเสนอสารสนเทศ
ซึง่ ได้รบั การคิดค้นขึน้ มาด้วยเหตุผลทีว่ ่า ในการอ่านหนังสือนัน้ ผูอ้ ่านไม่จําเป็ นต้องอ่านเนื้อหาในมิติ
เดียวเรียงลําดับกันในแต่ละบทแต่ละตอนตลอดทัง้ เล่มแต่สามารถข้ามไปอ่านตอนใดทีต่ นสนใจก่อนก็
จะได้ความเช่นเดียวกัน นอกจากนี้ผูอ้ ่านไม่จําเป็ นต้องยึดติดกับวิธกี ารที่ผเู้ ขียนแสดงความคิดเห็น
ออกมา ดังนัน้ ผูอ้ ่านจึงสามารถเชื่อมต่อความคิดของตนโดยการข้ามหรือผ่านเนื้อหาและเชื่อมโยง
เนื้ อหาเองตามที่ตนต้องการได้เช่นกันและในขณะที่อ่านนัน้ ก็อาจจะมีความคิดอื่นที่เกี่ยวข้องกับ
เนื้อหานัน้ แทรกเข้ามาได้หรืออยากจะค้นคว้าข้อมูลเกีย่ วกับเนื้อหานัน้ ก็สามารถกระทําได้โดยทันที
โดยการเรียกจากข้อมูลทีบ่ รรจุอยูใ่ นเรือ่ งราวนัน้ หรือจากเรือ่ งอื่นๆในโปรแกรมเดียวกันมาดูได้
ข้อความหลายมิติเป็ นเทคโนโลยีของการอ่าน และการเขียนที่ไม่เรียงลําดับเนื้อหากันโดย
เสนอในลักษณะของข้อความทีเ่ ป็ นตัวอักษร ภาพกราฟิ ก และเสียง ทีม่ กี ารเชื่อมโยงถึงกันเรียกว่า
“จุดต่อ” (Nodes) ผูใ้ ช้หรือผูอ้ ่านสามารถเคลื่อนทีจ่ ากจุดต่อหนึ่งไปยังอีกจุดต่อหนึ่งได้โดยการ
เชื่อมโยงจุดต่อเหล่านัน้ หรืออาจกล่าวง่ายๆได้วา่ ข้อความหลายมิตเิ ป็ นความสามารถในการเชื่อมโยง
ข้อมูลในทีใ่ ดก็ได้ทบ่ี รรจุในคอมพิวเตอร์กบั ส่วนอื่นๆทีอ่ ยูใ่ นเรื่องเดียวกันหรือต่างเรื่องก็ได้ดว้ ยความ
รวดเร็วในลักษณะข้อความทีไ่ ม่เรียงลําดับเป็ นเส้นตรง
รูปแบบของข้อความหลายมิตจิ งึ เป็ นลักษณะของการเสนอเนื้อหาทีไ่ ม่เป็ นเส้นตรงมิตเิ ดียว
ผูอ้ ่านสามารถอ่านเนื้อหาข้อมูลในมิติอ่นื ๆ ได้โดยไม่จําเป็ นต้องเรียงลําดับตามเนื้อหา ทัง้ นี้เพราะ
ข้อความหลายมิตมิ กี ารตัดข้อมูลเป็ นส่วนย่อยเป็ นตอนๆ เรียกว่า “จุดต่อ” การเรียกจุดต่อขึน้ มาอ่าน
เรียกว่า “การเลือกอ่าน” (Browse) ผูอ้ ่านจะเรียกจุดต่อมาใช้ได้เมื่อจุดต่อนัน้ มีความเกีย่ วข้องกับ
ข้อมูลหรือเนื้อหาเกีย่ วกับเรื่องนัน้ ก็ได้ จุดต่อเหล่านี้ตดิ ต่อกันได้โดยการ “เชื่อมโยง” (Link) ซึง่ ผูอ้ ่าน
สามารถกระโดดข้ามจากจุดต่อหนึ่งไปยังอีกจุดต่อหนึ่งได้โดยการคลิกที่ “ปุม่ ” (Buttons) ในเนื้อหาซึง่
อาจทําไว้ในลักษณะตัวอักษรดําหนา ตัวอักษรสี ตัวขีดเส้นใต้ แถบดํา จุดดํา สัญลักษณ์ เช่นอาจเป็ น
17

รูปตาถ้าต้องการแสดงจุดต่อของรูปภาพ หรือทําเป็ นรูปลําโพงหรือไมโครโฟนเพื่อเสนอเสียงพูดหรือ


เสียงดนตรีกไ็ ด้ การเชื่อมโยงและปุม่ นี้กค็ อื “จุดเชื่อมโยงหลายมิต”ิ (Hyperlink)
ปจั จุบนั เว็บทีม่ กี ารนําเสนอบนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีการออกแบบทัง้ ตัวอักษรรูปภาพ
เสียง ทีด่ งึ ดูดความสนใจผูใ้ ช้บริการ หากต้องการทําข้อความของเว็บเพ็จทีเ่ กีย่ วกับการเรียนการสอน
ให้มีมิติแ ละดึง ดู ด ความสนใจผู้เ รีย นได้ดีพ อๆกับ เว็บ ที่เ กี่ย วกับ ด้า นบัน เทิง เช่น เทคนิ ค การใช้
ตัวอักษรต่างขนาด
2. สือ่ หลายมิติ (Hypermedia) เป็ นพัฒนาการของข้อความหลายมิติ (Hypertext) เป็ นวิธกี าร
ในการรวบรวมและเสนอข้อความ ภาพกราฟิ ก ภาพเคลื่อนไหว และเสียง การใช้ส่อื หลายมิติใน
บางครัง้ อาจทําให้ผูเ้ รียนที่มเี ครื่องคอมพิวเตอร์ทม่ี สี มรรถนะปานกลางไม่สามารถใช้งานได้สะดวก
เนื่องจากอาจมีภาพกราฟิกทีม่ ขี นาดใหญ่ มีภาพเคลื่อนไหวและเสียงทีต่ อ้ งใช้โปรแกรมช่วยเช่น จาวา
แอบเพล็ต (JAVA Applet) และเรียลเพลเยอร์ (Real Player) ซึง่ ใช้กบั คอมพิวเตอร์ทม่ี หี น่วยความจํา
สูงและการประมวลผลเร็วเท่านัน้ (กิดานันท์ มลิทอง. 2540: 346)
นํ้ ามนต์ เรืองฤทธิ ์ (2543) กล่าวว่า รูปแบบของเว็บช่วยสอนที่จะต้องใช้บริการต่างๆทีม่ ใี น
อินเทอร์เน็ตมีมากมาย เช่น การใช้บริการไปรษณียอ์ เิ ล็กทรอนิกส์ การถ่ายโอนแฟ้ม (File Transfer
Protocal : FTP) การค้นหาแฟ้ม การสนทนาในข่ายงาน (Internet Relay Chat : IRC) กลุ่มอภิปราย
หรือกลุ่มข่าว (News Group) เวิลด์ไวด์เว็บ ซึง่ เราสามารถใช้กจิ กรรมเหล่านี้เข้ามาใช้กบั การเรียน
การสอนทางเว็บได้ ดังนี้
1. บริการรับ-ส่งไปรษณียอ์ เิ ล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail) เป็ นการส่งข้อความโดยเครื่อง
คอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยที่ผูร้ บั ไม่ต้องอยู่รอรับข้อความในขณะนัน้ แต่สามารถ
เปิ ดอ่านได้ตลอดเวลาในภายหลัง ไม่ว่าผูใ้ ช้จะเป็ นใครก็ตาม จะได้รบั สิทธิ ์เท่าเทียมกันในการบริการ
ถ้ามีทอ่ี ยู่ (Address) ของผูท้ จ่ี ะส่งข้อความถึง เช่น การใช้ตดิ ต่อสื่อสารระหว่างอาจารย์หรือเพื่อนร่วม
ชัน้ ใช้สง่ การบ้านหรืองานทีไ่ ด้รบั มอบหมาย เป็ นต้น
2. บริการรับ - ส่งข่าวสาร (News Group) คล้ายกับอีเมล์ (E-mail) แต่แบ่งเป็ นหัวข้อใหญ่
และหัวข้อย่อย ใช้เป็ นเวทีแสดงความคิดเห็นที่สมาชิกทัวโลกสามารถส่
่ งข้อความหรือบทความที่
ต้องการนํ ามาเผยแพร่ เพื่อให้สมาชิกทีส่ นใจได้อ่านและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึง่ กันและกัน เช่น
การแลกเปลีย่ นข่าวสารกันระหว่างเพือ่ นร่วมชัน้ เป็ นต้น
3. การส่งข่าวขอคําปรึกษา แลกเปลีย่ นความคิดเห็นทางวิชาการกับผูเ้ ชีย่ วชาญต่างๆทัวโลก ่
ประโยชน์ เช่น การที่นักเรียนไทยไปศึกษาต่างประเทศ สามารถหาข้อมูลจากภายในประเทศเพื่อ
เขียนวิทยานิพนธ์ หรือศึกษาต่อในระดับที่สูงขึน้ ในประเทศ สามารถติดต่ออาจารย์ในต่างประเทศ
เพื่อปรึกษาและขอความคิดเห็นในการทําวิทยานิพนธ์ โดยไม่ต้องเดินทางไปมาด้วยตนเอง เรียกว่า
บริการคุยผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Internet Relay Chat : IRC) ทีช่ ว่ ยให้สมาชิกอินเทอร์เน็ต
สามารถพูดคุย โดยผ่านจอเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยเสียค่าใช้จ่ายเป็ นค่าโทรศัพท์ราคาปกติ เช่น การ
สนทนาระหว่างผู้เรียนและอาจารย์ในห้องเรียนหรือชัวโมงเรี ่ ยนนัน้ ๆเสมือนว่ากําลังคุยกันอยู่ใน
ห้องเรียนจริง
18

4. เวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web : WWW) เป็ นบริการทีช่ ่วยเพิม่ ความสะดวกสบายใน


การติดต่อแก่ผใู้ ช้ เมื่อต้องพิมพ์คาํ สังของระบบยู
่ นิกซ์ โดยใช้รปู ภาพและกราฟิ กเข้ามาช่วยให้การใช้
อินเทอร์เน็ตง่ายขึน้ โปรแกรมนี้จะแสดงตัวหนังสือ รูปภาพรวมทัง้ เสียง ใช้เมาส์ในการสืบค้นสามารถ
ค้นหาข้อมูลใหม่ๆ ผลวิจยั หรือใช้เล่นเกมต่างๆ โดยเพียงแค่สมั ผัสปลายนิ้ว ก็สามารถรับสารสนเทศ
จากแหล่งต่างๆทัวโลกได้ ่ เช่น การใช้ เว็บไซต์ ต่างๆในการค้นคว้าหาข้อมูลเพิม่ เติมบทเรียนที่
อาจารย์สงั ่ เป็ นต้น
5. กระดานข่าว (Web Board) ใช้กําหนดประเด็นหรือกระทู้ ตามทีอ่ าจารย์กําหนดหรือ
ตามแต่นกั เรียนจะกําหนด เพือ่ ช่วยกันอภิปรายตอบประเด็นหรือกระทูน้ นั ้ ทัง้ อาจารย์และผูเ้ รียน
6. การประชุมทางไกล (Teleconference) ใช้ตดิ ต่อสื่อสารระหว่าง อาจารย์ และผูเ้ รียน แบบ
เวลาจริง (Real Time) โดยทีผ่ เู้ รียนและอาจารย์สามารถเห็นหน้ากันได้โดยผ่านทางกล้องโทรทัศน์ท่ี
ติดอยูก่ บั เครือ่ งคอมพิวเตอร์ทงั ้ สองฝา่ ย
7. การบ้านอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Home Work) ใช้ตดิ ต่อสื่อสารระหว่าง ผูเ้ รียนอาจารย์
เป็ นเสมือนสมุดประจําตัวนักเรียนโดยที่อาจารย์สามารถเปิ ดดูการบ้านอิเล็กทรอนิกส์( Electronic
Home Work) ของนักเรียนและเขียนบันทึกเพือ่ ตรวจงานและให้คะแนนได้แต่นกั เรียนด้วยกันจะเปิดดู
ไม่ได้
การสอนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์มกี ารดําเนินการอย่างจริงจังทัวโลกโดยเฉพาะในกลุ
่ ่ม
ประเทศซีกโลกตะวันตก สําหรับวงการศึกษาในประเทศไทยเริม่ เปลีย่ นแปลงจากการเป็ นผูร้ บั ข้อมูล
และสังเกตการณ์การเรียนการสอนบนเครือข่าย โดยเป็ นความพยายามในการจัดการเรียนการสอน
และใช้เครื่องมือบนเครือข่ายเวิลด์ไวด์เว็บเสริมในชัน้ เรียนปกติ และบางมหาวิทยาลัยที่มกี ารเรียน
การสอนแบบทางไกลกําลังดําเนินการสร้างชัน้ เรียนเสมือนให้เกิดขึน้ สาระสําคัญสําหรับผูท้ ่จี ะนํ า
เครือข่ายเวิลด์ไวด์เว็บมาใช้เพื่อการเรียนการสอน เพื่อการสร้างสิง่ แวดล้อมทีเ่ อือ้ ต่อการประยุกต์ใช้
เครือข่ายเวิลด์ไวด์เว็บ ต่อไปนี้
1. ความพร้อมของเครื่องมือและทักษะการใช้งานเบือ้ งต้น ความไม่พร้อมและการขาดทักษะ
ทีจ่ ําเป็ นในการใช้เครื่องมือหรือโปรแกรมเป็ นสาเหตุสาํ คัญทีก่ ่อให้เกิดความสับสนและผลทางลบต่อ
ทัศนคติของผูใ้ ช้ จากการศึกษาพบว่า ผูใ้ ช้ทไ่ี ม่มคี วามพร้อมจะพยายามแก้ปญั หาและศึกษาเรื่องของ
เทคนิคมากกว่าความสนใจทีเ่ นื้อหา นอกจากนัน้ ยังพบความไม่พร้อมด้านทักษะการใช้ภาษาเขียน
และภาษาต่างประเทศ ซึง่ เป็ นทักษะพืน้ ฐานทีจ่ าํ เป็ นอีกประการหนึ่งสําหรับการสือ่ สารผ่านเครือข่าย
2. การสนับสนุ นจากฝา่ ยบริหารและผูใ้ ช้ ทัง้ การสนับสนุ นด้านเครื่องมือ และนโยบายส่งเสริม
การใช้เครือข่ายเวิลด์ไวด์เว็บ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษาการกําหนดการใช้เครื่องมือจึงไม่สามารถ
เป็ นไปในแนวดิง่ (Top Down) โดยการกําหนดจากฝ่ายบริหารเพียงฝ่ายเดียว แต่ต้องเป็ นการ
ประสานจากทัง้ สองฝ่ายคือฝ่ายบริหารและผูใ้ ช้ ดังนัน้ จะต้องมีการประสานจากแนวล่างขึน้ บน ผูใ้ ช้
ต้องมีทศั นะที่ย อมรับ การใช้ส่ือดังกล่ าวเพื่อประโยชน์ ท างการศึกษา ฝ่ายบริหารก็สามารถสร้าง
นโยบายทีก่ ระตุน้ แรงจูงใจของผูใ้ ช้ เช่น สร้างแรงจูงใจจากภายในของผูใ้ ช้ให้รสู้ กึ ถึงความท้าทายและ
19

ประโยชน์ทจ่ี ะได้รบั หรือสร้างแรงจูงใจจากภายนอก เช่น สร้างเงือ่ นไขผลตอบแทนพิเศษทัง้ ในแบบ


นามธรรมและรูปธรรม
3. การเปลีย่ นพฤติกรรมผูเ้ รียนจากการเรียนรูแ้ บบตัง้ รับ (Passive) โดยการป้อนข้อมูลจาก
ครูผู้สอน มาเป็ นพฤติกรรมการเรียนที่สอดคล้องกับการเรียนรู้แบบผู้เรียนเป็ นศูนย์กลาง คือเป็ น
ผูเ้ รียนทีเ่ รียนรูว้ ธิ กี ารเรียน (Learning How to Learn) เป็ นผูเ้ รียนทีก่ ระตือรือร้นและมีทกั ษะสามารถ
เลือกรับข้อมูล วิเคราะห์ และสังเคราะห์ขอ้ มูลได้อย่างมีระบบ ผูส้ อนจะต้องสร้างวุฒทิ างการเรียน
ให้ก ับ ผู้เ รีย นก่ อ น คือ จะต้อ งเตรีย มการให้ผู้เ รียนพัฒ นาทัก ษะพื้น ฐานที่จํา เป็ นต่ อการเลือกสรร
วิเคราะห์ และสังเคราะห์การเรียนผ่านเครือข่าย ทักษะดังกล่าว ได้แก่ ทักษะการอ่านเขียน ทักษะใน
เชิงภาษา ทักษะในการอภิปราย และทักษะทีจ่ ําเป็ นอย่างยิง่ คือ ทักษะในการควบคุมตรวจสอบการ
เรียนรูข้ องตนเอง
4. บทบาทของผูส้ อนในการเรียนการสอนบนเครือข่าย จะต้องเปลีย่ นแปลงไปสูบ่ ทบาททีเ่ อือ้
ต่อการเรียนการสอนทีใ่ ห้ผเู้ รียนเป็ นศูนย์กลาง ในเบือ้ งต้นจะเป็ นบทบาทของผูน้ ํา (Leadership) เพื่อ
สนับสนุ นกลุ่มและวัฒนธรรมการเรียนรูบ้ นเครือข่าย ผูเ้ รียนจะต้องสร้างทักษะทีจ่ าํ เป็ น โดยอาศัยการ
ชี้แนะและความช่วยเหลือจากผูส้ อน ผูส้ อนจะต้องทําหน้าที่เสมือนพีเ่ ลี้ยง (Mentor) ผูส้ นับสนุ น
(Facilitator) และเป็ นทีป่ รึกษา (Consultant)
5. การสร้างความจําเป็ นในการใช้ ผู้ส อนที่นําการเรีย นการสอนผ่านเครือข่ายมาใช้ค วร
คํานึงถึงความจําเป็ นและผลประโยชน์ทต่ี อ้ งการจากกิจกรรมบนเครือข่าย ซึง่ เป็ นตัวกําหนดรูปแบบ
การใช้ว่าผูส้ อนต้องการใช้เครือข่ายเพื่อเสริมการเรียน หรือเป็ นการศึกษาทางไกล อย่างไรก็ตาม
ผูส้ อนจะต้องสร้างสภาวะให้ผใู้ ช้มคี วามจําเป็ นทีต่ อ้ งใช้ เช่น การส่งผ่านข้อมูลทีจ่ ําเป็ นทางการเรียน
ให้กบั ผูใ้ ช้ผ่านทางเครือข่าย หรือสร้างแรงจูงใจที่เป็ นประโยชน์ทางการเรียนให้กบั ผูใ้ ช้ จากทฤษฎี
การแพร่หลายนวัตกรรมเทคโนโลยีการสื่อสารกล่าวว่า เมื่อมีกลุ่มผูใ้ ช้จํานวนหนึ่งมากพอจะทําการ
สื่อสาร ผู้ท่ยี งั ไม่ได้อยู่ร่วมในการสื่อสารจะถูกจูงใจด้วยความจําเป็ นที่ต้องร่วมวงการสื่อสารนัน้ ๆ
(Critical Mass) ดังนัน้ ความร่วมมือและความสนใจของผูเ้ รียนเป็ น ปจั จัยสนับสนุ นทีส่ าํ คัญซึง่ ถ้าไม่มี
อยูก่ ่อน ผูส้ อนจะต้องสร้างให้เกิดขึน้
6. ผูส้ อนต้องออกแบบการเรียนการสอนและใช้ประโยชน์เครือข่ายอย่างสูงสุดและเหมาะสม
ปจั จุบนั ผูส้ ร้างการเรียนการสอนบนเครือข่ายไม่จําเป็ นต้องใช้ทกั ษะความรูท้ างเทคนิคมากนักในการ
สร้างสื่อไฮเปอร์มเี ดีย แต่วิธีออกแบบการเรียนการสอนควรพัฒนาให้เข้ากับคุณสมบัติความเป็ น
คอมพิวเตอร์เครือข่าย ซึง่ มีความแตกต่างจากการออกแบบโปรแกรมช่วยสอนในคอมพิวเตอร์ทวไป ั่
ตัวอย่างเช่น นอกเหนือจากเนื้อหาบทเรียนทีผ่ สู้ ร้างได้นําเสนอโดยส่งผ่านเครือข่าย ผูส้ อนสามารถ
สร้างการเชื่อมโยงแหล่งข้อมูลอื่นที่สนับสนุ นเนื้อหาหลักที่ผูส้ อนสร้างเป็ นการแนะแนวทางให้กบั
ผู้เรียนได้ศึกษาเปรียบเทียบกับเนื้อหาหลัก ทัง้ นี้เนื้อหาและการเชื่อมโยงควรจะต้องปรับปรุงให้
ทันสมัยตลอดเวลา การออกแบบกิจกรรมการมีปฏิสมั พันธ์ให้ผูเ้ รียนได้รบั ประโยชน์จากการศึกษา
ร่วมกับผูอ้ ่นื จะต้องมีการวางแผนและส่งเสริมในเรือ่ งการมีปฏิสมั พันธ์กลุ่มอย่างรอบคอบ
20

ประเภทของบทเรียนบนเครือข่ายอิ นเทอร์เน็ต
บทเรียนบนเว็บจําแนกออกเป็ น 3 ประเภท ได้แก่
1. Embedded Web-based Instruction เป็ นบทเรียนทีน่ ําเสนอข้อความ และกราฟิ กเป็ น
หลัก ส่วนใหญ่พฒ ั นาขึน้ ด้วยภาษาเอชทีเอ็มแอล (HyperText Markup Language : HTML)
2. Interactive Web-based Instruction เป็ นบทเรียนทีพ่ ฒ ั นาจากบทเรียนประเภทแรกเน้น
การมีปฏิสมั พันธ์กบั ผูใ้ ช้เป็ นหลัก จะนําเสนอด้วยสือ่ ต่างๆทัง้ ข้อความกราฟิ กและภาพเคลื่อนไหวการ
พัฒนาบทเรียนในระดับนี้ต้องใช้ภาษาคอมพิวเตอร์ยุคที่ 4 ได้แก่ ภาษาเชิงวัตถุ (Object Oriented
Programming) เช่น โปรแกรม Visual Basic, Visual C++ รวมทัง้ ภาษา HTML, Perlเป็ นต้น
3. Interactive Multimedia Web-based Instruction เป็ นบทเรียนบนเว็บทีย่ ดึ คุณสมบัตทิ งั ้ 5
ด้านของมัลติมเี ดีย ได้แก่ ข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียงและการมีปฏิสมั พันธ์จดั ว่าเป็ น
ระดับ สูงสุด เนื่ องจากการมีป ฏิส มั พัน ธ์เ พื่อ จัดการภาพเคลื่อนไหวและเสีย งของบทเรีย นโดยใช้
โปรแกรมค้นดูเว็บ (Web Browser) นัน้ มีความยุง่ ยากกว่าบทเรียนทีน่ ําเสนอแบบใช้งานเพียงลําพัง
ผูพ้ ฒ
ั นาบทเรียนต้องใช้เทคนิคต่างๆเพื่อให้การปรับเปลี่ยนบทเรียนจากการมีปฏิสมั พันธ์เป็ นไปได้
รวดเร็วและราบรื่น เช่น การเขียนคุกกี้ (Cookies) ช่วยสื่อสารข้อมูลระหว่างเครื่องบริการเว็บ (Web
Sever) กับตัวบทเรียนทีอ่ ยู่ในเครื่องรับบริการ (Client) เป็ นต้น ตัวอย่างของภาษาที่ใช้พฒ ั นา
บทเรียนในระดับนี้ ได้แก่ภาษา Java Script, ASP และ PHP เป็ นต้น

ลักษณะของบทเรียนบนเครือข่ายอิ นเทอร์เน็ต
ลักษณะของการเรียนการสอนผ่านเว็บนัน้ ผู้เรียนจะเรียนผ่านจอคอมพิวเตอร์ท่เี ป็ นการ
เชื่อมโยงกับเครือข่าย ผูเ้ รียนสามารถเรียนจากสถานที่และเวลาใดก็ได้ ขึน้ อยู่กบั ความพร้อมของ
ผู้เ รีย นเพีย งแต่ ผู้เ รีย นต้ อ งเชื่อ มต่ อ เข้า กับ อิน เทอร์ เ น็ ต เพื่อ เข้า ไปศึก ษาและผู้เ รีย นสามารถ
ติดต่อสื่อสาร สนทนา อภิปรายกับผูเ้ รียนด้วยกัน อาจารย์ หรือผูเ้ ชีย่ วชาญต่างๆได้ โดยใช้ไปรษณีย์
อิเล็กทรอนิกส์ โปรแกรมสนทนา หรือกลุ่มข่าว เหมือนชัน้ เรียนปกติ การเรียนการสอนผ่านเว็บ
ผูเ้ รียนไม่ต้องเข้าชัน้ เรียน ห้องเรียนจะถูกแทนด้วย เว็บเพจห้องเรียน หนังสือ จะถูกแทนด้วย เว็บ
เพ็จเนื้อหา การพูดคุย อภิปรายจะใช้ไปรษณีย์อเิ ล็กทรอนิกส์ โปรแกรมสนทนา และกระดานข่าว
โดยเฉพาะผูเ้ รียนทีไ่ ม่กล้าแสดงออก จะกล้าแสดงความคิดเห็น ซักถามมากยิง่ ขึน้ รูปแบบการเรียน
การสอนผ่านเว็บจะมีความยืดหยุน่ ในเรือ่ งเวลาและสถานที่ ผูเ้ รียนจึงต้องมีความรับผิดชอบ
กระตือรือร้นมากขึน้ มีความตัง้ ใจใฝ่หาความรูใ้ หม่ๆโดยมีผสู้ อนเป็ นผูแ้ นะนํ า ให้คําปรึกษา
แนะนําแหล่งข้อมูลต่างๆทีเ่ กีย่ วข้องกับบทเรียน ผูเ้ รียนยังสามารถทราบผลย้อนกลับรูค้ วามก้าวหน้า
ในการเรียน ได้โดยทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์และเว็บเพ็จประวัติ ส่วนการประเมินผลจะมีการ
ประเมินผลย่อย และการประเมินผลรวม โดยการประเมินผลรวมจะจัดห้องสอบรวม ไม่ได้สอบผ่าน
เว็บ เพื่อป้ องกันการช่ว ยเหลือกันของผู้เ รีย น เพราะผู้ส อนไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าผู้เ รีย นทํา
ข้อสอบด้วยตัวเองจริงหรือไม่
21

การสอนบนเครือข่ายอิ นเทอร์เน็ต
การสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็ นการประยุกต์ใช้วธิ กี ารสอนแบบต่างๆหลายรูปแบบโดย
การใช้เว็บเป็ นแหล่งทีใ่ ช้เก็บเนื้อหาบทเรียนตามหลักสูตร ใช้เว็บในการเสริมเนื้อหาจากการเรียนใช้
เป็ น แหล่ ง ทรัพ ยากรในการค้น คว้า ข้อ มูล เพิ่ม เติม และใช้ใ นการสื่อ สาร การสอนบนเครือ ข่า ย
อินเทอร์เน็ตใช้ได้ทงั ้ การสอนในระบบโรงเรียนและในลักษณะการศึกษาทางไกลซึง่ กําลังเป็ นทีน่ ิยมใช้
กันมากในปจั จุบนั
การสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในระบบโรงเรียน ซึ่งมีการกําหนดวัน เวลา และสถานที่
เรียน ตามวิชาอยู่แล้วจะมีวธิ กี ารเรียนโดยผูส้ อนและผูเ้ รียนจะมีการพบกันในครัง้ แรกของการเปิ ด
ภาคเรียน เพื่อผูส้ อนสามารถอธิบายวิธกี ารเรียนและการประมวลรายวิชาซึ่งมีรายละเอียดว่าจะต้อง
เรียนในหัวข้อใดบ้างในเว็บไซต์ท่ผี ู้สอนจัดทําไว้สําหรับวิชานัน้ และอาจมีการทํางานส่งในแต่ละ
สัปดาห์ เมื่อทราบวิธกี ารเรียนแล้วผุเ้ รียนจะต้องมีรหัสเพื่อบันทึกเข้าไปเรียนในเว็บไซต์เพื่อเรียน
เนื้อหาที่กําหนดไว้ รวมถึงอีเมล์เพื่อการติดต่อระหว่างกัน หากมีคําถามหรือข้อสงสัยก็สามารถส่ง
อีเมล์ไปยังผูส้ อน หรือจะไปพบผูส้ อนด้วยตนเองก็ได้ หรือติดต่อกับผูเ้ รียนคนอื่นๆด้วยอีเมล์ และการ
สนทนากันด้วยโปรแกรม Chat เกีย่ วกับเนื้อหาบทเรียนนัน้ อาจให้ผเู้ รียนเชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์อ่นื ๆ
เพื่ออ่านเนื้อหาเพิม่ เติม หรือผูเ้ รียนต้องค้นคว้าจากเว็บไซต์อ่นื เพื่อทํางานทีไ่ ด้รบั มอบหมายและส่ง
งานทาง อีเมล์การประเมินผลการเรียนผูส้ อนสามารถทําได้โดยบันทึกการเข้าเรียนของผูเ้ รียนแต่ละ
คน ว่าได้เข้ามาอ่านบทเรียนตามทีก่ ําหนดไว้หรือไม่ รวมถึงการส่งงานและการสอบซึง่ สามารถทําได้
โดยการใช้อเี มล์ เช่นกัน นอกจากนี้แล้ว หากเป็ นการเรียนในชัน้ เรียนปกติจะมีการใช้เว็บไซต์ต่างๆที่
เกีย่ วข้องกับเนื้อหาบทเรียนมาใช้เป็ นส่วนหนึ่งในวิชานัน้ หรือใช้เป็ นกิจกรรมการเรียน โดยทีผ่ สู้ อน
และผูเ้ รียนอาจร่วมกันค้นหาเว็บไซต์ต่างๆมาใช้ประกอบการเรียน และมีการสื่อสารกัน ด้วยอีเมล์
เพือ่ ปรึกษาการเรียนร่วมกัน ตัวอย่างเช่น ขณะนี้หลายคณะในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีการสอนใน
ลัก ษณะนี้ บ้ า งแล้ว โดยอาจใช้ก ารสอนบนเครือ ข่า ยอิน เทอร์เ น็ ต อย่ า งเต็ม รูป แบบหรือ อาจใช้
ประกอบการเรียนปกติโดยใช้เว็บเสริม
การสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในการศึกษาทางไกล จะเป็ นรูปแบบ “มหาวิทยาลัยเสมือน”
โดยทีผ่ เู้ รียนไม่จาํ เป็ นต้องเดินทางไปยังสถานศึกษา แต่สามารถเรียนในเวลาทีส่ ะดวกไม่ว่าจะอยูท่ ใ่ี ด
ในโลก ทําให้ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ตัง้ แต่ขนั ้ ตอนการลงทะเบียนเรียนเพื่อขอ
รหัสบันทึกเข้าเรียน การเรียนเนื้อหาตามหลักสูตรจากเว็บไซต์ของอาจารย์ประจําวิชาและเว็บไซต์
อื่นๆทีก่ ําหนด รวมถึงการค้นคว้าเพิม่ เติมในเว็บไซต์ต่างๆโดยผูเ้ รียนเอง การทํากิจกรรมหรือส่งงาน
ทีไ่ ด้รบั มอบหมายจะส่งได้โดยทางอีเมล์และแนบแฟ้มงานติดไปด้วย หรือส่งงานทางไปรษณียห์ าก
เป็ นชิน้ งานทีไ่ ม่สามารถส่งทางอีเมล์ได้ การติดต่อระหว่างผูเ้ รียนและผูส้ อนจะใช้อเี มล์และโทรศัพท์
บนเว็บโดยไม่ต้องมีการพบหน้ากัน ผูส้ อนสามารถประเมินผลโดยดูบนั ทึกการเข้าเรียนของผูเ้ รียน
รวมถึงการสอบซึง่ ทําผ่านทางอีเมล์หรือจากเว็บไซต์ทผ่ี เู้ รียนสร้างขึน้ คุณลักษณะสําคัญของเว็บทีเ่ ป็ น
ประโยชน์ต่อการจัดการเรียนการสอนมี 8 ประการ ได้แก่
22

1. เว็บเปิ ดโอกาสให้เกิดการมีปฏิสมั พันธ์ (Interactive) ระหว่างผูเ้ รียนกับผูส้ อน กับผูเ้ รียน


ด้วยกัน หรือ กับเนื้อหาบทเรียน
2. เว็บสามารถนําเสนอเนื้อหาในรูปแบบของสือ่ ประสม (Multimedia)
3. เว็บเป็ นระบบเปิ ด (Open System) อนุ ญาตให้ผใู้ ช้มอี สิ ระในการเข้าถึงข้อมูลได้ทวโลก
ั่
4. เว็บอุดมไปด้วยทรัพยากรเพือ่ การสืบค้นออนไลน์ (Online Search/Resource)
5. ไม่ มี ข้ อ จํ า กั ด ทางสถานที่ และเวลาของการสอนบนเครื อ ข่ า ยอิ น เทอร์ เ น็ ต
(Device,Distance and Time Independent) ผูเ้ รียนทีม่ คี อมพิวเตอร์ซง่ึ ต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ตจะ
สามารถเข้าเรียนจากทีใ่ ดและในเวลาใดก็ได้
6. เว็บอนุ ญาตให้ผเู้ รียนเป็ นผูค้ วบคุม (Learner Controlled) สามารถเรียนตามความพร้อม
ความถนัดและความสนใจของตน
7. เว็บมีความสมบูรณ์ในตนเอง (Self-contained) ทําให้สามารถจัดกระบวนการเรียนการ
สอนทัง้ หมดผ่านเว็บได้
8. เว็บอนุ ญาตให้มกี ารติดต่อสื่อสารทัง้ แบบเวลาเดียวกัน (Synchronous Communication)
เช่น การสนทนา (Chat or Talk) และต่างเวลากัน (Asynchronous Communication) เช่น กระดาน
สําหรับแจ้งข่าวสาร (Web Board) เป็ นต้น

ข้อดี ของการสอนบนเครือข่ายอิ นเทอร์เน็ตมีดงั นี้


1. การสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็ นการเปิ ดโอกาสให้ผูเ้ รียนที่อยู่ห่างไกล หรือไม่มี
เวลามาเข้าชัน้ เรียนไม่สามารถเรียนในเวลา และสถานที่ๆต้องการ อาจเป็ นที่บ้าน ที่ทํางาน หรือ
สถานศึกษาทีผ่ ูเ้ รียนสามารถเข้าไปใช้บริการอินเทอร์เน็ตได้ การทีผ่ ูเ้ รียนไม่จําเป็ นต้องเดินทางมา
สถานศึกษา สามารถแก้ปญั หาในด้านข้อจํากัดเกีย่ วกับเวลาและสถานทีไ่ ด้เป็ นอย่างดี
2. เป็ นการส่ ง เสริ ม ให้ เ กิ ด ความเท่ า เที ย มกัน ทางการศึ ก ษา ผู้ เ รี ย นที่ ศึ ก ษาอยู่ ใ น
สถาบันการศึกษาในภูมภิ าคหรือในประเทศสามารถที่จะศึกษา อภิปราย กับอาจารย์ ซึ่งสอนอยู่ท่ี
สถาบันการศึกษาในนครหลวง หรือในต่างประเทศก็ตาม
3. ช่วยส่งเสริมแนวคิดในเรื่องของการเรียนรูต้ ลอดชีวติ เนื่องจากเว็บเป็ นแหล่งความรูท้ เ่ี ปิ ด
กว้าง ค้นคว้าหาความรูไ้ ด้อย่างต่อเนื่องและตลอดเวลา การสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสามารถ
ตอบสนองต่อผูเ้ รียนทีม่ คี วามใฝร่ ู้ และมีทกั ษะในการตรวจสอบการเรียนรูด้ ว้ ยตนเอง (Metacognitive
Skills) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4. การสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเปลี่ยนจากห้องเรียนสี่เหลี่ยม ไปสู่โลกกว้างแห่งการ
เรียนรู้ เปิ ดโอกาสให้ผเู้ รียนเข้าถึงแหล่งข้อมูลต่างๆได้อย่างสะดวกและมีประสิทธิภาพทีเ่ ชื่อมโยง สิง่
ทีเ่ รียนกับปญั หาทีพ่ บ โดยเน้นให้เกิดการเรียนรูใ้ นโลกแห่งความจริง (Contextualization) และการ
เรียนรูจ้ ากปญั หา (Problem-based Learning) ตามแนวคิดแบบ Constructivism
5. เป็ นวิธกี ารเรียนการสอนทีม่ ศี กั ยภาพมากเนื่องจากทีเ่ ว็บ ช่วยแก้ปญั หาด้านข้อจํากัดของ
แหล่งค้นคว้าแบบเดิมจากห้องสมุด ได้แก่ ปญั หาทรัพยากรการศึกษาทีม่ จี ํากัดและเวลาทีใ่ ช้ในการ
23

ค้นหาข้อมูล เนื่องจากเว็บมีขอ้ มูลทีห่ ลากหลายและเป็ นจํานวนมาก รวมทัง้ การเชื่อมโยงในลักษณะ


ของไฮเปอร์มเี ดียหรือสือ่ หลายมิติ ซึง่ ทําให้การค้นหาสะดวกและง่ายกว่าการค้นหาข้อมูลแบบเดิม
6. การสอนบนเครือ ข่า ยอิน เทอร์เ น็ ต ช่ว ยสนับ สนุ น การเรีย นรู้ท่ีก ระตือ รือ ร้น เนื่ อ งจาก
คุณลักษณะของเว็บทีเ่ อือ้ อํา นวยให้เกิดการศึกษาในลักษณะทีผ่ เู้ รียนถูกกระตุน้ ให้แสดงความคิดเห็น
ได้ตลอดเวลาโดยไม่จําเป็ นต้อง เปิ ดเผยตัวตนทีแ่ ท้จริง ตัวอย่างเช่น การให้ผเู้ รียนร่วมมือกันในการ
ทํากิจกรรมต่างๆบนเครือข่าย การให้ผเู้ รียนได้มโี อกาสแสดงความคิดเห็นและแสดงไว้บนเว็บบอร์ด
หรือการให้ผเู้ รียนพบปะกับผูเ้ รียนคนอื่นๆ อาจารย์ หรือผูเ้ ชีย่ วชาญ ในเวลาเดียวกันทีห่ อ้ งสนทนา
เป็ นต้น
7. การสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเอือ้ ให้เกิดการมีปฏิสมั พันธ์ซง่ึ อาจทําได้ 2 รูปแบบคือ
7.1 ปฏิสมั พันธ์กบั ผูเ้ รียนด้วยกันและกับผูส้ อน
7.2 ปฏิสมั พันธ์กบั บทเรียนหรือในเนื้อหาหรือสื่อการสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ในลักษณะแรกอยูใ่ นรูปของการเข้าไปพูดคุย พบปะ แลกเปลีย่ นความคิดเห็นกัน ส่วนในลักษณะหลัง
จะอยูใ่ นรูปแบบของกิจกรรมการเรียนการสอน แบบฝึ กหัด หรือแบบทดสอบทีผ่ สู้ อนได้จดั หาไว้ให้แก่
ผูเ้ รียน
8. เป็ นการเปิ ดโอกาสสําหรับผู้เรียนในการเข้าถึงผู้เชี่ยวชาญสาขาต่างๆ ทัง้ ใน และนอก
สถาบัน ทัง้ ในและต่างประเทศทัวโลก ่ โดยผูเ้ รียนสามารถติดต่อ สอบถามปญั หาของข้อมูลต่างๆที่
ต้องการศึกษาโดยตรง ประหยัดทัง้ เวลาและค่าใช้จ่าย เมื่อเปรียบเทียบกับการติดต่อสื่อสาร ใน
ลักษณะเดิม
9. เปิ ดโอกาสให้ผเู้ รียนมีโอกาสแสดงผลงานของตนสู่สายตาผูอ้ ่นื ทีอ่ ยู่ทวโลก
ั่ จึงถือเป็ นการ
สร้างแรงจูงใจ ภายนอกในการเรียนอย่างหนึ่ง ผูเ้ รียนจะพยายามผลิตผลงานทีด่ เี พื่อไม่ให้เสียชื่อเสียง
ตนเอง นอกจากนี้ผู้เรียน ยังมีโอกาสได้เห็นผลงานของผูอ้ ่นื เพื่อนํ ามาพัฒนางานของตนเองให้ดี
ยิง่ ขึน้
10. เปิ ดโอกาสให้ผสู้ อนปรับปรุงเนื้อหาหลักสูตรให้ทนั สมัยได้อย่างสะดวก เนื่องจากข้อมูล
บนเว็บมีลกั ษณะเป็ นพลวัตร (Dynamic) ดังนัน้ ผูส้ อนสามารถปรับปรุงเนื้อหาหลักสูตรทีท่ นั สมัยได้
ตลอดเวลา การให้ผเู้ รียนได้แสดงความคิดเห็นเกีย่ วกับเนื้อหา ทําให้เนื้อหาการเรียนมีความยืดหยุ่น
มากกว่าการเรียนการสอนแบบเดิม และเปลีย่ นแปลง ไปตามความต้องการของผูเ้ รียน
11. สามารถนํ า เสนอเนื้ อ หาในรู ป ของมั ล ติ มี เ ดี ย ได้ แ ก่ ข้ อ ความ ภาพนิ่ ง เสี ย ง
ภาพเคลื่อนไหว วีดทิ ศั น์ ภาพ 3 มิตไิ ด้ ผูส้ อนและผูเ้ รียนสามารถเลือกรูปแบบการนําเสนอเพือ่ ให้เกิด
ประสิทธิภาพสูงสุดทางการเรียน

ข้อจํากัด ของการสอนบนเครือข่ายอิ นเทอร์เน็ต


มีสาเหตุมาจากความเร็วในการนํ าเสนอและการมีปฏิสมั พันธ์ซง่ึ เป็ นเหตุมาจากข้อจํากัดของ
แบนวิดธ์ในการสื่อสารข้อมูล โดยเฉพาะการนํ าเสนอภาพเคลื่อนไหว ภาพวีดทิ ศั น์ และเสียงทําให้
ภาพเกิดอาการกระตุก (Jitter) และขาดความต่อเนื่อง ถ้าบทเรียนมีสอ่ื ประเภทนี้ จึงเป็ นข้อจํากัดในการ
24

ใช้งาน ประการสําคัญทีล่ ดความสนใจลงไป บทเรียนผ่านเว็บในปจั จุบนั ส่วนใหญ่พยายามหลีกเลีย่ ง


การนํ า เสนอภาพเคลื่อ นไหวขนาดใหญ่ ๆ จึง ทํ า ให้คุ ณ ภาพของบทเรีย นยัง ไม่ ถึง ขัน้ สมบู ร ณ์
นอกจากนี้บทเรียนที่มกี ารพัฒนาขึ้นในปจั จุบนั มักมีความใกล้เคียงกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-
books) มาก โดยผูพ้ ฒ ั นาบทเรียนบางคนยังมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนว่าบทเรียนผ่านเว็บ ก็คอื
หนังสือทีน่ ําเสนอโดยใช้เว็บเบราเซอร์นนเอง ั่ ซึง่ ทําให้มเี นื้อหาตายตัวมากเกินไปไม่ยดื หยุน่ ในการใช้
งานเท่าทีค่ วร
โดยสรุปแล้ว การเรียนการสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจึงเป็ นอีกทางเลือกหนึ่งของการจัด
การศึกษาไทย ทีส่ ามารถตอบสนองการเรียนรูโ้ ดยไม่จาํ กัดเวลาและสถานที่ โดยอาศัยเทคโนโลยีการ
สื่อสารทีท่ นั สมัย แต่สงิ่ เหล่านี้ยงั เป็ นสิง่ ใหม่สาํ หรับการศึกษาของไทยอยู่ดงั นัน้ จึงต้องมีการพัฒนา
รูปแบบการเรียนการสอน เนื้อหา กิจกรรมต่างๆ ทีเ่ หมาะสมกับการเรียนการสอนผ่านเว็บอีกต่อไป
เพื่อให้ระบบการเรียนการสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็ นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ความเป็ นไปได้
ขึ้นอยู่กบั ความสามารถของนักเทคโนโลยีการศึกษา ผู้สอนและผู้เรียนที่จะต้องช่วยกันพัฒนาหา
รูปแบบที่เหมาะสมกับสภาพการเรียนการสอนของประเทศไทยโดยการนํ าเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิด
ประโยชน์สงู สุด

การประเมิ นบทเรียนบนเครือข่ายอิ นเทอร์เน็ต


การประเมินเว็บไซต์ว่าเป็ นบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตหรือไม่ต้องมีทงั ้ การประเมิน
ลักษณะสําคัญเบือ้ งต้น คือ มีวตั ถุประสงค์เพือ่ การศึกษา และเป็ นเว็บทีอ่ อกแบบอย่างเป็ นระบบและมี
กระบวนการเพื่อ การเรีย นการสอน ยัง ไม่ส ามารถตัด สิน ว่ า เว็บ ช่ ว ยสอนนัน้ มีคุ ณ ภาพดี หรือ มี
ประสิทธิภาพในการสอนหรือไม่ เพราะการแยกระหว่างการเป็ นเว็บช่วยสอนกับการเป็ นฐานข้อมูล
เป็ นเรือ่ งทีต่ อ้ งประเมินก่อน
การประเมินว่าเว็บไซต์ใดเป็ นบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ควรมีระดับการประเมินดังนี้
1. เว็บไซต์เกีย่ วข้องกับการศึกษา
2. เว็บไซต์เกีย่ วข้องกับการเรียนการสอนวิชาใดวิชาหนึ่ง หรือการศึกษาตามอัธยาศัย
3. เว็บไซต์สามารถเรียนรูไ้ ด้เองโดยอิสระจากทุกทีท่ ุกเวลา
4. เว็บไซต์ออกแบบให้มปี ฏิสมั พันธ์กบั ผูเ้ รียน
5. เว็บไซต์มเี ครือ่ งมือทีว่ ดั ผลการเรียนรูข้ องผูเ้ รียนได้
6. เว็บไซต์มกี ารออกแบบการเรียนการสอนอย่างเป็ นระบบ
7. เว็บไซต์ไม่ได้มแี ต่ขอ้ มูลให้อา่ นแต่เพียงอย่างเดียว
8. เว็บไซต์ไม่มผี ลประโยชน์แอบแฝงอื่นใด นอกจากเพือ่ การเรียนรู้
เมื่อประเมินแล้วว่าเว็บใดเป็ นบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ขัน้ ต่อไปเป็ นการประเมินว่า
เว็บช่วยสอนนัน้ มีคุณลักษณะและองค์ประกอบทีเ่ หมาะสมหรือไม่
การประเมินเว็บไซต์ของโซวาร์ด (Soward : 1997) มีหลักการ คือ
1. การประเมินวัตถุประสงค์ (Purpose) ต้องมีวตั ถุประสงค์วา่ เพือ่ อะไรเพือ่ ใคร
25

2. การประเมินลักษณะ (Identification) ควรจะทราบได้ทนั ทีเมื่อเปิ ดใช้ว่าเกีย่ วข้องกับเรื่อง


ใด หน้าแรกทีท่ าํ หน้าทีอ่ ภิปราย (Title) เป็ นสิง่ จําเป็ นในการบอกลักษณะของเว็บ
3. การประเมินภารกิจ (Authority) หน้าแรกของเว็บบอกขนาดขององค์กรและควรบอกชื่อ
ผูอ้ อกแบบ แสดงทีอ่ ยูแ่ ละเส้นทางภายในเว็บ
4. การประเมินโครงการและการออกแบบ (Lay out and Design) ผูอ้ อกแบบควรจะประยุกต์
แนวคิด ตามมุมมองของผูใ้ ช้ ความซับซ้อน เวลา รูปแบบทีเ่ ป็ นทีต่ อ้ งการ
5. การประเมินการเชื่อมโยง (Links) ถือเป็ นหัวใจของเว็บไซต์เป็ นสิง่ ทีจ่ ําเป็ น และมีผลต่อ
การใช้ การเพิม่ จํานวนการเชื่อมโยงโดยไม่จําเป็ นไม่เป็ นประโยชน์ กบั ผูใ้ ช้ควรใช้เครื่องมือ ในการ
สืบค้นแทนการเชื่อมโยง
6. การประเมินเนื้อหา (Content) เนื้อหาทีเ่ ป็ นข้อความ ภาพ หรือเสียง เนื้อหาต้องเหมาะสม
กับเว็บ และให้ความสําคัญกับองค์ประกอบทุกส่วนเท่าเทียมกัน
การประเมินลักษณะทัวไปของบทเรี
่ ยนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จึงใช่การประเมินโดยตรงที่
การออกแบบและการจัดระบบของเนื้ อหา เป็ น เพีย งประเมิน ว่าถ้าจะสร้างเว็บช่ว ยสอนควรจะมี
อะไรบ้างเข้ามาเกีย่ วข้อง ถ้าสามารถสร้างเว็บช่วยสอนตามคุณลักษณะทีค่ วรมีได้ครบถ้วนก็จะได้เว็บ
ช่วยสอนทีม่ คี ุณภาพ
จากทีผ่ ่านมาข้างต้นจะเป็ นการประเมินคุณลักษณะโดยทัวไปของเว็ ่ บ ชีใ้ ห้เห็นองค์ประกอบ
ต่างๆ ทีค่ วรจะต้องพิจารณา เพื่อให้การออกแบบเว็บมีคุณภาพ และประสิทธิภาพไม่ว่าจะนํ าเว็บไป
ดําเนินการในด้านใด สําหรับการประเมินเว็บช่วยสอนจะมีลกั ษณะที่แตกต่างอยู่บ้าง แต่ก็อยู่บน
พืน้ ฐานความต้องการให้เว็บช่วยสอนมีคุณภาพและประสิทธิภาพต่อการเรียนการสอน สําหรับการ
ประเมินในแง่ของการจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บ ซึง่ จัดว่าเป็ นการจัดการเรียนการสอนทางไกลวิธี
ในการประเมิน ผลสามารถทํ า ได้ท ัง้ ผู้ส อน ประเมิน ผู้เ รีย นหรือ ให้ผู้เ รีย นประเมิน ผลผู้ส อนซึ่ง
องค์ประกอบทีใ่ ช้เป็ นมาตรฐานจะเป็ นคุณภาพของการเรียนการสอน วิธปี ระเมินผลทีใ่ ช้กนั อยูใ่ นการ
ประเมินผลมีหลายวิธกี าร แต่ถา้ จะประเมินผลการใช้เว็บช่วยสอน ก็ต้องพิจารณาวิธกี ารทีเ่ หมาะสม
และทันกับเทคโนโลยีทเ่ี ปลีย่ นแปลงอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะกับเว็บซึง่ เป็ นการศึกษาทางไกล
เกณฑ์ในการพิจารณาเลือกใช้บทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทีก่ ําหนดไว้ในหนังสือคู่มอื
Multimedia and Internet Training Awards ประกอบไปด้วยข้อกําหนดจํานวน 10 ข้อ
1. เนื้อหา (Content) พิจารณาทัง้ ปริมาณและคุณภาพของเนื้อหาบทเรียนว่ามีความ
เหมาะสมหรือ ไม่ เนื่ อ งจากเนื้ อ หาที่เ หมาะสมต้ อ งมีค วามเป็ น สารสนเทศที่เ ป็ น องค์ ค วามรู้
(Information) ไม่ใช่ขอ้ มูล (Data) อันเป็ นคุณสมบัตพิ น้ื ฐานของบทเรียนคอมพิวเตอร์ชว่ ยสอน
2. การออกแบบการเรียนการสอน (Instructional Design) บทเรียนผ่านเว็บทีด่ ี จะต้องผ่าน
กระบวนการวิเคราะห์และการออกแบบ เพื่อพัฒนาเป็ นระบบการเรียนการสอน โดยไม่ใช่หนังสือ
อิเล็กทรอนิกส์ทน่ี ําเสนอผ่านจอภาพคอมพิวเตอร์
3. การมีปฏิสมั พันธ์ (Interactivity) บทเรียนผ่านเว็บจะต้องนํ าเสนอโดยยึดหลักการมี
ปฏิสมั พันธ์กบั ผูเ้ รียน องค์ความรูท้ เ่ี กิดขึน้ ควรเกิดจากการทีผ่ เู้ รียนมีปฏิสมั พันธ์โดยตรงกับบทเรียน
26

เช่น การตอบคําถาม การร่วมกิจกรรม เป็ นต้น ต้องไม่เป็ นการนํ าเสนอในลักษณะของการสื่อสาร


แบบทางเดียว (One-way Communication)
4. การสืบท่องข้อมูล (Navigation) เป็ นหลักการนําเสนอในรูปแบบของไฮเปอร์เท็กซ์บทเรียน
ผ่านเว็บควรประกอบไปด้วยเนื้อหาทัง้ เฟรมหรือโนดหลักและเชื่อมไปยังโนดย่อยทีม่ คี วามสัมพันธ์กนั
ใช้วธิ กี ารสืบค้นข้อมูลแบบต่างๆ เช่น Bookmarks, Backtracking, History Listsหรือวิธอี ่นื ๆ ทีเ่ ป็ น
คุณลักษณะเฉพาะของโปรแกรมค้นดูเว็บ
5. ส่วนของการนําเข้าสูบ่ ทเรียน (Motivational Components) เป็ นการพิจารณาในด้านการ
ใช้คําถาม เกม แบบทดสอบ หรือกิจกรรมต่างๆในขัน้ การกล่าวนํ าหรือการนํ าเข้าสู่บทเรียน เพื่อ
ดึงดูดความสนใจของผูเ้ รียนก่อนทีจ่ ะเริม่ เรียน
6. การใช้สอ่ื (Use of Media) การพิจารณาความหลากหลายและความสมบูรณ์ของสื่อทีใ่ ช้ใน
บทเรียนว่าเหมาะสมเพียงใด เช่น การใช้ภาพเคลื่อนไหว การใช้เสียง การใช้ภาพกราฟิกเป็ นต้น
7. การประเมินผล (Evaluation) บทเรียนผ่านเว็บทีด่ ตี อ้ งมีส่วนของคําถาม แบบฝึ กหัดหรือ
แบบทดสอบ เพื่อ ประเมิน ผลทางการเรีย นของผู้เ รีย น และต้ อ งพิจ ารณาระบบสนั บ สนุ น การ
ประเมินผลด้วย เช่น การตรวจวัด การรวบรวมคะแนน และการรายงานผลการเรียน เป็ นต้น
8. ความสวยงาม (Aesthetics) เป็ นเกณฑ์พจิ ารณาด้านความสวยงามทัวๆไป ่ เกี่ยวกับ
ตัวอักษร กราฟิก และการใช้ส ี รวมทัง้ รูปแบบการนําเสนอ และการติดต่อกับผูใ้ ช้
9. การเก็บบันทึก (Record Keeping) ได้แก่ การเก็บบันทึกประวัตผิ เู้ รียน บันทึกผลการเรียน
และระบบฐานข้อมูลต่างๆที่สนับสนุ นกระบวนการเรียนรู้ เช่น การออกใบประกาศนียบัตรหลังจาก
เรียนจบ
10. เสียง (Tone) ถ้าบทเรียนผ่านเว็บ มีการสนับสนุ นมัลติมเี ดียด้วย ควรพิจารณาด้านเสียง
เกีย่ วกับลักษณะของเสียงปริมาณการใช้และความเหมาะสม

หลักการออกแบบเว็บเพ็จเพื่อการศึกษา
เว็บเพ็จ (Web page) เปรียบเสมือนหน้าหนังสือทีป่ ระกอบด้วยข้อความและภาพ เรียกได้ว่า
เป็ นหน้าสิง่ พิมพ์อเิ ล็กทรอนิกส์ แต่สงิ่ ทีแ่ ตกต่างจากหน้าสิง่ พิมพ์ทวไป
ั ่ คือ เว็บเพ็จจํานวนมากทีเ่ รา
เห็นกันอยู่ในเวิลด์ไวด์เว็บนัน้ มีสงิ่ ที่เหมือนกันทัง้ หมดเนื่องจากเป็ นหน้าสิง่ พิมพ์ท่เี ข้ารหัสเนื้อหา
เพือ่ ให้โปรแกรมค้นดู (Browser) ถอดรหัส และแสดงผลออกมาให้ผใู้ ช้ทราบ เว็บเพ็จจะรวมกันอยูบ่ น
เว็บไซต์ (Web site) ซึ่งเป็ นที่รวบรวมเว็บเพ็จเหล่านัน้ อยู่ในเครื่องบริการอินเทอร์เน็ ต
(InternetServer) ก่อนออกแบบเว็บเพ็จแต่ละหน้า ผูอ้ อกแบบควรทําโครงร่างเว็บไซต์ไว้ก่อนเพื่อให้
ทราบว่าเว็บไซต์นัน้ ควรประกอบด้วยเว็บเพ็จอะไรบ้าง จํานวนกี่หน้ า จึงควรเริม่ ด้วยการวางแผน
อย่างง่ายๆไม่ยงุ่ ยากซับซ้อน โดยในขัน้ แรกจะต้องทํารายการสารสนเทศทีร่ วมอยูใ่ นเว็บไซต์เสียก่อน
รายการนี้จะเป็ นการร่างแบบอย่างหยาบๆ เพื่อช่วยเป็ นแนวคิดกว้างๆของเนื้อหาทีจ่ ะรวมอยู่ในเว็บ
แล้วจึงทําโครงร่าง (Out line) ตามรายการนัน้ เพื่อเป็ นการรวมสารสนเทศเข้าด้วยกัน การทํา
เช่นนี้จะเป็ นการทําโครงร่างพืน้ ฐานของเว็บไซต์ เพื่อให้ภายหลังเราสามารถเปลีย่ นแปลงสิง่ ทีอ่ ยู่ใน
27

โครงร่างได้เช่น การรวมหัวข้อต่างๆเข้าเป็ นหัวข้อเดียวกันหรือแยกหัวข้อใหญ่ออกเป็ นหัวข้อย่อยๆ


แล้วจึงเป็ นการออกแบบเว็บเพ็จแต่ละหน้าต่อไป
จุดประสงค์ของการออกแบบเว็บเพ็จเพือ่ การศึกษา คือ ต้องการให้ผเู้ รียนได้รบั ผลดังต่อไปนี้
1. เรียนรูไ้ ด้งา่ ย (Easy to Learn) หมายถึง การทีผ่ เู้ รียนสามารถปฏิบตั ติ ามคําสังที
่ ม่ อี ยูใ่ น
เว็บได้อย่างรวดเร็ว
2. สามารถใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ (Efficient to Use) หมายถึง การที่ผเู้ รียนและ
ผูอ้ อกแบบต่างเข้าใจความสามารถของระบบการเชื่อมโยงเอกสาร (Hypertext Systems) ได้
3. จดจําได้งา่ ย (Easy to Remember) หมายถึง ผูเ้ รียนสามารถกลับมาใช้ส่อื การเรียนใน
เครือข่ายอินเทอร์เน็ตตามอัธยาศัยได้ แม้จะไม่เป็ นชัวโมงที
่ เ่ รียนก็ตาม
4. มีขอ้ ผิดพลาดน้อย (Few Errors) ขณะทีเ่ รียนอยู่ปญั หาทีอ่ าจเกิดขึน้ ซึง่ ควรเป็ นเพียง
ปญั หาเล็กๆทีผ่ เู้ รียนสามารถแก้ไขได้ดว้ ยตนเอง
5. น่าใช้ (Pleasant to Use) หมายถึง ความพึงพอใจของผูเ้ รียนต่อเว็บไซต์ทส่ี ร้างขึน้

การใช้มลั ติมเี ดียในอินเทอร์เน็ตควรคํานึงถึงรูปแบบของการจัดเว็บไซต์ เพราะข้อความที่


ซับซ้อนจะส่งผลต่อการเรียนและความคิดริเริม่ สร้างสรรค์ของผูเ้ รียน จึงควรจัดให้มปี ริมาณเนื้อหามี
ความเหมาะสมในแต่ละหน้ า ใช้รูปแบบการนํ าเสนอที่ตรงประเด็นทีละประเด็น เพื่อให้การเรียน
เป็ นไปตามลําดับขัน้ ตอนทีต่ ่อเนื่อง เนื้อหาทีใ่ ช้ควรเป็ นสิง่ ทีผ่ เู้ รียนจะสามารถเข้าใจได้งา่ ย ไม่สบั สน
สามารถรับความรูด้ ว้ ยวิจารณญาณของตนเอง

งานวิ จยั ที่เกี่ยวกับบทเรียนออนไลน์

พิเชษฐ เพียรเจริญ (2547: บทคัดย่อ) ได้พฒ ั นาบทเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และทํา


การทดลองเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ ์ทางการเรียน และหาประสิทธิภาพบทเรียน โดยใช้บทเรียนผ่าน
เครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรือ่ ง โสตทัศนูปกรณ์ กับนักศึกษาทีไ่ ม่เคยเรียนวิชา 263-201 เทคโนโลยี
การศึกษามาก่อน โดยกลุ่มตัวอย่างได้มาจากการสุม่ อย่างง่ายโดยวิธกี ารจับสลาก จํานวน 55 คนใช้
ในการทดลอง 3 ครัง้ ได้แก่ การทดลองรายบุคคล จํานวน 5 คน การทดลองภาคสนาม จํานวน 50
คน ผลวิจยั พบว่า บทเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรือ่ ง โสตทัศนูปกรณ์ มีประสิทธิภาพ
81.8/83.87ตามเกณฑ์ทก่ี าํ หนด 80/80 ผลสัมฤทธิ ์ทางการเรียนของนักศึกษาหลังจากเรียนด้วย
บทเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สูงกว่า ก่อนเรียนอย่างมีระดับนัยสําคัญทางสถิตทิ ร่ี ะดับ 0.01

ทิพย์เกสร บุญอํา ไพ (2540: บทคัดย่อ) ได้พฒ ั นาระบบการสอนเสริมทางไกลผ่าน


อินเทอร์เน็ตของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และทําการทดลองเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ ์ทางการ
เรียนของนักศึกษาทีเ่ รียนจากการสอนเสริมทางไกลผ่านอินเทอร์เน็ต กับนักศึกษาทีเ่ รียนจากการ
28

สอนเสริมโดยวิธเี ผชิญหน้า และประเมินความคิดเห็นของนักศึกษาทีม่ ตี ่อการสอนเสริมทางไกลผ่าน


อินเทอร์เน็ต โดยกลุ่มตัวอย่างทีใ่ ช้เป็ นนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา แขนงเทคโนโลยีและสื่อสาร
การศึกษาของมหาวิท ยาลัย สุโขทัย ธรรมาธิร าชที่ล งทะเบีย นเรีย นชุ ดวิช าเทคโนโลยีและสื่อสาร
การศึกษากับการพัฒนาทรัพยากรมนุ ษย์ จํานวน 40 คน โดยแบ่งเป็ นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม
กลุ่มละ 20 คน ซึง่ กลุ่มทดลองเรียนจากการสอนเสริมทางไกลผ่านอินเทอร์เน็ต และกลุ่มควบคุมเรียน
จากการสอนเสริมโดยวิธเี ผชิญหน้า ผลจากการทดลองพบว่าผลสัมฤทธิ ์ทางการเรียนจาการสอนเสริม
ทางไกลผ่านอินเทอร์เน็ต กับผลสัมฤทธิ ์ทางการเรียนจากการสอนเสริมโดยวิธเี ผชิญหน้าไม่แตกต่าง
กัน และความคิดเห็นของนักศึกษาทีเ่ รียนจากการสอนเสริมทางไกลผ่านอินเทอร์เน็ตอยูใ่ นเกณฑ์“
เห็นด้วยมาก”
บุญเรือง เนียมหอม (2540: บทคัดย่อ) ได้ทาํ การศึกษาสภาพการจัดการเรียนการสอนทาง
อินเทอร์เน็ตในปจั จุบนั และพัฒนารวมถึงประเมินระบบการเรียนการสอนทางอินเทอร์เน็ตทีส่ ร้างขึน้
ด้วย ผลจากการศึกษาสภาพการจัดการเรียนการสอนทางอินเทอร์เน็ตในปจั จุบนั พบว่าการเรียนการ
สอนจะเน้นกิจกรรมและบริการของอินเทอร์เน็ต ผูส้ อนเป็ นผูค้ วบคุม ตรวจสอบ ติดตามการเรียนของ
ผูเ้ รียน และเป็ นผูเ้ ตรียมความพร้อมทรัพยาการสนับสนุ นการเรียนทาง อินเทอร์เน็ต มีการใช้
ไปรษณียอ์ เิ ล็กทรอนิกส์ และเวิลด์ไวด์เว็บในการเรียนการสอนมากทีส่ ุด เน้นการเรียนแบบร่วมมือ
และการเรียนด้วยตนเอง
พจนารถ ทองคําเจริญ (2539: บทคัดย่อ) ได้ศกึ ษาสภาพความต้องการ และปญั หาการใช้
อินเทอร์เน็ตในการเรียนการสอน ในสถาบันอุดมศึกษาสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย โดยกลุ่มตัวอย่าง
เป็ นสมาชิกเครือข่ายอินเทอร์เน็ ตในสถาบันอุดมศึกษา สังกัดทบวงมหาวิทยาลัย ในเขต
กรุงเทพมหานคร7 แห่ง จํานวน 794 คน แบ่งเป็ น 3 กลุ่ม ได้แก่ ผูบ้ ริหาร อาจารย์ผสู้ อน และนิสติ
นักศึกษา ซึ่งจากการวิจยั พบว่าประเภทบริการในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทีอ่ าจารย์และนิสติ
นักศึกษาใช้ประโยชน์ทางการศึกษาบ่อยทีส่ ุดคือ การสืบค้นข้อมูลแบบเวิลด์ไวด์เว็บ การใช้ไปรษณีย์
อิเล็กทรอนิกส์ การถ่ายโอนแฟ้มข้อมูล และการขอเข้าใช้เครื่องจากระยะไกล นอกจากนัน้ ยังมี
นโยบายที่จะผลักดันให้คณะหรือสถาบันมีการปรับปรุงกระบวนการเรียนการสอนในหลักสูตรวิชา
ต่างๆ ให้มกี ารค้นหาข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตมากขึน้ ด้วย ส่วนผูบ้ ริหารระดับหัวหน้าภาควิชามี
ความเห็นด้วยอย่างมากกับแนวคิดในการนําอินเทอร์เน็ตมาใช้ในการเรียนการสอน
สุธภิ า แสนทอน (2540 :บทคัดย่อ) ได้ทาํ การศึกษาตัวแปรทีส่ มั พันธ์กบั การยอมรับเครือข่าย
อินเทอร์เน็ตเพื่อการเรียนการสอนของอาจารย์สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ สังกัดทบวงมหาวิทยาลัย
โดยการวิจยั ครัง้ นี้มวี ตั ถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการยอมรับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อการเรียนการ
29

สอนของอาจารย์สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ สังกัดทบวงมหาวิทยาลัย รวมถึงศึกษาความสัมพันธ์


ระหว่างการยอมรับกับตัวแปร 5 ด้าน คือ สถานภาพของอาจารย์ผสู้ อน การสนับสนุ นของผูบ้ ริหาร
มหาวิทยาลัย การแสวงหาความรู้ และการรับรูค้ ุณลักษณะและระบบการใช้งานของเครือข่าย
อินเทอร์เน็ต รวมถึงการศึกษาตัวแปรทีร่ ว่ มกันอธิบายการยอมรับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อการเรียน
การสอนของอาจารย์สถาบันอุดมศึกษาของรัฐสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย โดยกลุ่มตัวอย่างเป็ นอาจารย์
ที่ใช้งานเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อการเรียนการสอนของอาจารย์สถาบันอุดมศึกษาของรัฐสังกัด
ทบวงมหาวิทยาลัย ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จํานวน 335 คน ซึง่ ผลการวิจยั พบว่า
อาจารย์สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ สังกัดทบวงมหาวิทยาลัยมีการยอมรับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อ
การเรียนการสอนอยูใ่ นระดับมาก ซึง่ ตัวแปรทีท่ าํ ให้มกี ารยอมรับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อการเรียน
การสอนอยูใ่ นระดับมากก็คอื การใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อการเรียนการสอนนัน้ มีความคุม้ ค่ามาก
อีกทัง้ มีประโยชน์ ในการพัฒนาการเรียนการสอนและสะดวกในการนํ ามาใช้ในการเรียนการสอน
รวมถึงเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสามารถสืบค้นข้อมูลต่างๆ ได้โดยไม่จาํ กัดอีกด้วย
ณัฐพล จีนุพงศ์ (2540: บทคัดย่อ) ได้พฒ ั นาและหาประสิทธิภาพของบทเรียนวิชาการ
ถ่ายภาพเบือ้ งต้นโดยใช้รปู แบบของไฮเปอร์เท็กซ์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึง่ กลุ่มตัวอย่างทีใ่ ช้เป็ น
นักศึกษาระดับปริญญาตรี ชัน้ ปีท่ี 1 สาขาเทคโนโลยีและสือ่ สารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ สถาบัน
เทคโนโลยีราชมงคล จํานวน 42 คน ซึง่ จากการเปรียบเทียบผลการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน
พบว่าคะแนนเฉลีย่ ทดสอบหลังเรียนสูงกว่าคะแนนจากการทดสอบก่อนเรียน
กนกวรรณ อินทรัตน์ (2544: บทคัดย่อ) ได้พฒ ั นาเว็บไซต์เพื่อการศึกษาด้วยตนเองเรื่องการ
จัดระบบการเรียนการสอน โดยมีวตั ถุประสงค์เพื่อ สร้างเว็บไซต์เพื่อการศึกษาด้วยตนเอง เรื่องการ
จัดระบบการเรียนการสอน ให้มปี ระสิทธิภาพไม่ต่ํากว่าเกณฑ์ 80/80 และศึกษาเปรียบเทียบ
ผลสัมฤทธิ ์ทางการเรียนของนักศึกษาโดยการใช้เว็บไซต์เพือ่ การศึกษาด้วยตนเอง เรื่อง การจัดระบบ
การเรียนการสอน กลุ่มตัวอย่างทีใ่ ช้เป็ นนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ทไ่ี ม่เคยเรียนวิชา 263-201
เทคโนโลยีการศึกษามาก่อน ได้มาโดยวิธกี ารสุม่ อย่างง่าย จํานวน 55 คน ทําการทดลอง 3 ครัง้
ได้แก่การทดลองรายบุคคล จํานวน 5 คน การทดลองรายกลุ่มจํานวน 20 คน และการทดลอง
ภาคสนามจํานวน 30 คน ผลการวิจยั พบว่า เว็บไซต์เพื่อการศึกษาด้วยตนเอง เรื่องการจัดระบบการ
เรียนการสอนมีประสิทธิภาพ 90.00/90.25 ซึง่ สูงกว่า เกณฑ์ทก่ี ําหนดไว้ 80/80 และผลสัมฤทธิ ์
ทางการเรียนของนักศึกษาหลังจากเรียนด้วยเว็บไซต์เพื่อการศึกษาด้วยตนเอง สูงกว่าก่อนเรียน
อย่างมีนยั สําคัญทางสถิตทิ ร่ี ะดับ 0.01
30

3. เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรูด้ ้วยตนเอง
ความหมายของการเรียนรู้ด้วยตนเอง
นักการศึกษาได้ให้ความหมายของการเรียนรูด้ ว้ ยตนเอง ไว้ดงั นี้
สมบัติ สุวรรณพิทกั ษ์ (2524: 6) กล่าวว่า การเรียนรูด้ ว้ ยตนเอง เป็ นกระบวนการเรียนรูด้ ว้ ย
ตนเองเป็ นหลัก โดยได้รบั การช่วยเหลือและสนับสนุ นจากผูอ้ ่นื เช่น เพื่อน ครู และผูร้ เู้ ท่าทีจ่ าํ เป็ น
การเรียนรูด้ ว้ ยตนเองในทีน่ ้ีประกอบด้วยองค์ประกอบทีส่ าํ คัญ ดังนี้
1. การวิเคราะห์และกําหนดความต้องการของตนเอง
2. การกําหนดจุดมุง่ หมายในการเรียน
3. การหาแหล่งวิทยาการทัง้ ทีเ่ ป็ นวัสดุและบุคคล
4. การเลือกวิธกี ารและกิจกรรมการเรียน
5. การกําหนดวิธกี ารประเมินผลการเรียน
สเคเจอร์ (Skager.1978: 13) ได้อธิบายว่าการเรียนรูด้ ว้ ยตนเอง เป็ นการพัฒนาการเรียนรู้
และประสบการณ์ตนเอง ตลอดจนความสามารถในการวางแผนการปฏิบตั แิ ละการประเมินผลของ
กิจกรรม การเรียนทัง้ ในลักษณะทีเ่ ป็ นเฉพาะบุคคล และในฐานะทีเ่ ป็ นสมาชิกของกลุ่มการเรียนที่
ร่วมมือกัน
กริฟฟิน (Griffin. 1983: 153) อธิบายว่า การเรียนรูด้ ว้ ยตนเอง เป็ นการจัดประสบการณ์การ
เรียนรูเ้ ฉพาะของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง โดยมีเปาหมายไปสู่การพัฒนาทักษะการเรียนรูข้ องตนและ
ความสามารถในการวางแผนปฏิบตั กิ าร และประเมินผลการเรียนรูก้ ารจัดการเรียนรูเ้ ป็ นเฉพาะบุคคล
ทัฟ (Tough. 1979: 114) ผูท้ ท่ี ําการศึกษาเรื่องนี้อย่างจริงจังได้กําหนดหน่ วยในการวัด
ปริมาณการเรียนรูด้ ว้ ยตนเองออกเป็ นโครงการเรียน (Learning Project) โดยกําหนดค่าเรียบเทียบ
ว่าการเรียนด้วยตนเองเรื่องใดเรื่องหนึ่งทีใ่ ช้เวลารวมกันตัง้ แต่ 7 ชังโมง่ ขึน้ ไป ถือว่าเป็ นหนึ่ง
โครงการเรียน และเมื่อผูเ้ รียนได้ใช้กระบวนการเรียนรูด้ ว้ ยตนเองแล้วผูเ้ รียนควรจะได้รบั ความรู้ เกิด
เจตคติ ได้รบั ทักษะ หรือความสามารถทีก่ ่อให้เกิดกระบวนการเปลีย่ นแปลงต่าง ๆ อันเป็ นมาจาก
การเรียนรูน้ นั ้ ๆ ดังนัน้ การเรียนรูด้ ว้ ยตนเองอาจจะเกิดได้จากการใช้บทเรียนสําเร็จรูป การศึกษา
ด้วยตนเอง เช่น การอ่านเอง คิดเอง ทดลองหรือปฏิบตั หิ รือค้นคว้าด้วยตนเอง เป็ นต้น
บรูคฟิ ล (Brookfied. 1984: 59-71) กล่าวว่า การเรียนรูด้ ว้ ยตนเอง หมายถึง การเป็ นตัวของ
ตัวเอง ควบคุมการดรียนรูข้ องตนเอง มีความเป็ นอิสระ โดยอาศัยความช่วยเหลือจากแหล่งภายนอก
น้อยทีส่ ดุ
สรุปได้ว่า การเรียนรูด้ ว้ ยตนเองหรือการเรียนรูร้ ายบุคคล เป็ นการพัฒนาการเรียนรูแ้ ละ
ประสบการณ์ของตนเอง สามารถในการวางแผนปฏิบตั กิ าร และประเมินผลการเรียนรูเ้ ฉพาะบุคคล
และกลุ่มผูเ้ รียนทีร่ ว่ มมือกัน
31

ความสําคัญของการเรียนรู้ด้วยตนเอง
โนลล์ (Knowles. 1975: 15-17) ได้กล่าวถึงความสําคัญของการเรียนรูด้ ว้ ยตนเอง ไว้ดงั นี้
1. คนทีเ่ รียนรูด้ ว้ ยความริเริม่ ของตนเองจะเรียนได้มากกว่า ดีกว่าคนทีเ่ ป็ นเพียงผูร้ บั หรือรอ
ให้ครูถ่ายทอดวิชาความรูใ้ ห้เท่านัน้ คนทีเ่ รียนด้วยตนเองจะเรียนอย่างตัง้ ใจ มีจุดมุ่งหมายและมี
แรงจูงใจสามารถใช้ประโยชน์จากการเรียนรูไ้ ด้ดกี ว่าและยาวนานกว่าบุคคลทีร่ อรับคําสอนแต่เพียง
อย่างเดียว
2. การเรียนด้วยตนเองสอดคล้องกับพัฒนาการทางจิตวิทยาและกระบวนการทางธรรมชาติ
มากกว่าคือ เมื่อตอนเป็ นเด็กธรรมชาติทต่ี ้องพึง่ พิงผูอ้ ่นื ต้องการผูป้ กครองปกป้องเลี้ยงดูและ
ตัดสินใจแทนให้ เมื่อเติบโตขึน้ ก็ค่อยๆ พัฒนาตนเองไปสูค่ วามเป็ นอิสระ ไม่ตอ้ งพึง่ พิงครู ผูป้ กครอง
และผูอ้ ่นื การพัฒนานําไปสูค่ วามเป็ นตัวของตัวเองมากขึน้
3. พัฒนาการใหม่ ๆ ทางการศึกษา มีหลักสูตรใหม่ ห้องเรียนแบบเปิ ด ศูนย์บริการทาง
วิชาการ การศึกษาอย่างอิสระ โปรแกรมการเรียนทีจ่ ดั แก่บุคคลภายนอกมหาวิทยาลัยเปิ ด ฯลฯ
รูปแบบการศึกษาเหล่านี้ลว้ นผลักภาระรับผิดชอบไปทีผ่ เู้ รียนให้เรียนรูด้ ว้ ยตนเอง
4. การเรียนรูด้ ว้ ยตนเองเป็ นความอยู่รอดของชีวติ ในฐานะทีเ่ ป็ นบุคคลและเผ่าพันธุม์ นุ ษย์
เนื่องจากโลกปจจุบนั เป็ นโลกใหม่ทแ่ี ปลกไปจากเดิม ซึง่ มีความเปลีย่ นแปลงใหม่ ๆ เกิดขึน้ เสมอและ
ข้อเท็จจริงเช่นนี้เป็ นเหตุผลไปสู่ความจําเป็ นทางการศึกษาและการเรียนรู้ การเรียนรูด้ ว้ ยตนเองจึง
เป็ นกระบวนการต่อเนื่องตลอดชีวติ
ทัฟ (Tough. 1979: 116-117) กล่าวถึงความสําคัญเกีย่ วกับการเรียนรูด้ ว้ ยตนเองไว้ว่า
กิจกรรมการเรียนรู้ หรือโครงการทีผ่ เู้ รียนเกีย่ วข้อง (Learning Project) มาจากการวางแผนด้วย
ตนเองทัฟเน้ นว่ากิจกรรมการเรียนเป็ นแรงผลักดันที่ทําให้เกิดความสนใจเกี่ยวกับการเป็ นตัวของ
ตัวเองและแนะนําตนเองในการเรียนรู้ จะเห็นได้วา่ การเรียนรูด้ ว้ ยตนเองมีความสําคัญอย่างยิง่ เพราะ
การเรียนรูด้ ว้ ยตนเองเป็ นกิจกรรมการเรียนรูท้ เ่ี กิดจากความต้องการของผูเ้ รียนเอง ผูเ้ รียนสามารถมี
อิสระในการเรียนในด้านเวลา สถานที่ เพราะผูท้ ่เี รียนรูด้ ว้ ยตนเองมีจุดมุ่งหมายและมีแรงจูงใจ
สามารถใช้ประโยชน์จากการเรียนรูไ้ ด้ดกี ว่าและยาวนานกว่าบุคคลทีร่ อรับคําสอนแต่เพียงอย่างเดียว
ลักษณะของการเรียนรู้ด้วยตนเอง
สมคิด อิสระวัฒน์ (2532: 76) กล่าวว่า ลักษณะของการเรียนรูด้ ว้ ยตนเอง คือ
1. สมัครใจทีจ่ ะเรียนด้วยตนเอง (Voluntarily to Learn) มิได้เกิดจากการบังคับ แต่มเี จตนาที่
จะเรียนด้วยความอยากรู้
2. ตนเองเป็ นแหล่งข้อมูลของตนเอง (Self Resourceful) นันคื ่ อ ผูเ้ รียนสามารถบอกได้ว่าสิง่ ที่
ตนเรียนคืออะไร รูว้ า่ ทักษะและข้อมูลทีต่ อ้ งการหรือจําเป็ นทีต่ อ้ งใช้มอี ะไรบ้าง สามารถกําหนดเป้าหมาย
วิธรี วบรวมข้อมูล ทีต่ อ้ งการและวิธปี ระเมินผลการเรียนรู้ ผูเ้ รียนต้องเป็ นผูจ้ ดั การเกีย่ วกับการเปลีย่ นแปลง
ต่าง ๆ ด้วยตนเอง (Manager of Change) ผูเ้ รียนต้องมีความตระหนักในความสามารถของตนเองว่า
สามารถตัดสินใจได้ มีความรับผิดชอบต่อหน้าทีแ่ ละบทบาทในการเป็ นผูเ้ รียนทีด่ ี
32

3. ผูเ้ รียนต้องรู้ “วิธกี ารจะเรียน” (Know How to Learn) นันคื ่ อ ผูเ้ รียนควรทราบขัน้ ตอนการ
เรียนรูข้ องตนเอง รูว้ า่ เขาไปสูจ่ ุดทีท่ าํ ให้เกิดการเรียนรูไ้ ด้อย่างไร
โนลล์ (Knowles. 1975: 61) ได้สรุปลักษณะของผูเ้ รียนทีเ่ รียนรูด้ ว้ ยตนเองโดยใช้สรุปของ
“สัญญาการเรียน” ทีจ่ ะทําให้เกิดผลดี 9 ประการคือ
3.1 มีความเข้าใจในความแตกต่างด้านความคิดเกีย่ วกับผูเ้ รียนและทักษะทีจ่ าํ เป็ นใน
การเรียนรูน้ นคื
ั ่ อ รูค้ วามแตกต่างระหว่างการสอนทีค่ รูเป็ นผูช้ น้ี ํากับการเรียนรูด้ ว้ ยตนเอง
3.2 มีแนวคิดเกีย่ วกับตนเอง ในฐานะทีเ่ ป็ นบุคคลทีเ่ ป็ นตัวของตัวเอง มีความเป็ น
อิสระและความสามารถทีน่ ําตนเองได้
3.3 มีความสามารถทีจ่ ะสัมพันธ์กบั เพื่อน ๆ ได้ดี เพื่อทีจ่ ะใช้บุคคลเหล่านี้เป็ น
เหมือนสิง่ สะท้อนให้ทราบถึงความต้องการในการเรียนรูข้ องตนเอง การวางแผนการเรียนรูข้ องตนเอง
การเรียนรูแ้ ละการช่วยเหลือบุคคลอื่น และการได้รบั ความช่วยเหลือจากบุคคลเหล่านัน้
3.4 มีความสามารถในการวิเคราะห์ความต้องการในการเรียนรูอ้ ย่างสมจริง โดย
ความช่วยเหลือจากผูอ้ ่นื
3.5 มีความสามารถในการแปลความต้องการในการเรียนออกมาเป็ นจุดมุง่ หมายของ
การเรียนรูใ้ นรูปแบบทีอ่ าจจะทําให้การประเมินผลสําเร็จนัน้ เป็ นไปได้
3.6 มีความสามารถในการโยงความสัมพันธ์กบั ผูส้ อน ใช้ประโยชน์จากผูส้ อนในการ
ทําเรือ่ งยากให้งา่ ยขึน้ และเป็ นผูใ้ ห้ความช่วยเหลือเป็ นทีป่ รึกษา
3.7 มีความสามารถในการหาบุคคลและแหล่งเอกสารวิทยาการ ที่เหมาะสมกับ
วัตถุประสงค์การเรียนรูท้ แ่ี ตกต่างกัน
3.8 มีความสามารถในการเลือกแผนการเรียนทีม่ ปี ระสิทธิภาพ โดยใช้ประโยชน์จาก
แหล่งวิทยาการและมีความคิดริเริม่ ในการวางแผนนโยบายอย่างมีทกั ษะความชํานาญ
3.9 มีความสามารถในการเก็บรวบรวมข้อมูลและนําผลของข้อค้นพบต่าง ๆ ไปใช้
อย่างเหมาะสม
สเคเจอร์ (Skager. 1978: 24-25) ได้อธิบายคุณลักษณะของผูเ้ รียนทีม่ กี ารเรียนรูด้ ว้ ยตนเอง
ควรมีลกั ษณะ 7ประการ ดังนี้
1. เป็ นผูย้ อมรับตนเอง (Self Acceptance) หมายถึง มีทศั นคติต่อตนเองในด้านการเป็ น
ผูเ้ รียน
2. มีความสามารถในด้านการวางแผนการเรียน (Planfulness) ซึง่ มีลกั ษณะทีส่ าํ คัญคือ
2.1 สามารถวินิจฉัยความต้องการในการเรียนรูข้ องตนเอง
2.2 วางจุดมุ่งหมายทีเ่ หมาะสมกับตนเอง ให้สอดคล้องกับความต้องการ
ทีต่ งั ้ ไว้
2.3 มีความสามารถในการใช้ยทุ ธ์เพือ่ ให้บรรลุวตั ถุประสงค์ของการเรียน
33

3. มีแรงจูงใจภายใน (Intrinsic Motivation) เป็ นผูเ้ รียนทีม่ แี รงจูงใจในการเรียนอยูใ่ นตนเอง


จะสามารถเรียนรูโ้ ดยปราศจากสิง่ ทีค่ วบคุมภายนอก เช่น รางวัล การถูกตําหนิ การถูกลงโทษ หรือ
เรียนเพือ่ ต้องการวุฒบิ ตั รหรือตําแหน่ง
4. มีการประเมินตนเอง (Internalized Evaluation) สามารถทีจ่ ะประเมินตนเองได้ว่าจะเรียน
ได้ดแี ค่ไหน ซึง่ อาจจะขอให้ผอู้ ่นื ประเมินการเรียนรูข้ องตนเองก็ได้ โดยผูเ้ รียนจะต้องยอมรับการ
ประเมินผลภายนอกว่าถูกต้อง ก็ต่อเมือ่ ผูป้ ระเมินมีความคิดอย่างอิสระและการประเมินต้องสอดคล้อง
กับสิง่ ต่าง ๆ ทีป่ รากฏเป็ นจริงอยูใ่ นขณะนัน้
5. การเปิ ดกว้างต่อประสบการณ์ (Openness to Experience) ผูเ้ รียนทีน่ ําประสบการณ์เข้า
มาใช้ในกิจกรรมชนิดใหม่ ๆ อาจจะสะท้อนกับการเรียนรูห้ รือการจัดวางเป้าหมายโดยจะมีเหตุผล
หรือไม่กไ็ ด้ในการทีจ่ ะเข้าไปทํากิจกรรมใหม่ ๆ ความใคร่รู้ ความอดทนต่อปญั หาทีย่ งั สงสัย การชอบ
ในสิง่ ทีย่ ุง่ ยากสับสนและการเรียนอย่างสนุ กจะทําให้เกิดแรงจูงใจในการทํากิจกรรมใหม่ ๆ และทําให้
เกิดประสบการณ์ใหม่ๆ อีกด้วย
6. มีความยืดหยุน่ (Flexibility) มีความยืดหยุน่ ในการเรียนรู้ มีความเต็มใจทีจ่ ะเปลีย่ นแปลง
เป้าหมายหรือวิธกี ารเรียนและใช้ระบบการเข้าถึงปญั หา โดยใช้ทกั ษะการสํารวจ การลองผิดลองถูก
ซึ่งไม่ได้แสดงถึงการขาดความตัง้ ใจที่จะเรียนรู้ ความล้มเหลวจะได้รบั การนํ ามาปรับปรุงแก้ไข
มากกว่าทีจ่ ะยอมแพ้หรือยกเลิก
7. การเป็ นตัวของตัวเอง (Autonomy) ผูเ้ รียนทีด่ แู ลตนเองได้ เลือกทีจ่ ะผูกพันกับรูปแบบ
ของการเรียนรูแ้ บบใดแบบหนึ่ง ผูเ้ รียนสามารถจัดการกับปญั หาตามเวลาทีก่ ําหนด โดยพิจารณาถึง
สิง่ ทีต่ อ้ งการว่าลักษณะการเรียนแบบใดทีม่ คี ุณค่าและเป็ นทีย่ อมรับได้

หลักการเรียนรู้ด้วยตนเอง
กิบบอนส์ (Gibbons. 1980: 41-46) ได้ศกึ ษาชีวประวัตขิ องผูเ้ ชีย่ วชาญทีม่ ชี ่อื เสียงทางด้าน
การแสดง นักประดิษฐ์ นักสํารวจ นักอักษรศาสตร์ นักวิทยาศาสตร์ และผูบ้ ริหารจํานวน 20คน ซึง่
ไม่ได้รบั การศึกษาตามชัน้ เรียนปกติสงู กว่าระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยศึกษาลักษณะของการ
เรียนรูด้ ว้ ยตนเองของบุคคลดังกล่าว แล้วนํามาประมวลเป็ นหลักการเรียนรูด้ ว้ ยตนเองดังนี้
1. ในการศึกษาด้วยตนเอง ผูศ้ กึ ษาเป็ นผูค้ วบคุมตนเอง ในขณะที่การศึกษาอย่างเป็ น
ทางการ (Formal Education) จุดควบคุมอยูท่ ส่ี ถาบันการศึกษา ตัวแทนเป็ นสิง่ กํากับการสอน เพือ่ ให้
การศึกษาด้วยตนเองช่วยนักศึกษาให้รจู้ กั ควบคุมสิง่ ทีอ่ ยูภ่ ายในตนเอง เพือ่ การเรียนรูข้ องตน
2. การศึกษาด้วยตนเอง มักจะเป็ นความพยายามทีแ่ น่วแน่ในความรูเ้ ฉพาะด้านอย่างใดอย่าง
หนึ่ง มากกว่าการศึกษาหลาย ๆ แขนงวิชา การสอนให้รจู้ กั ศึกษาด้วยตนเองจะช่วยให้นกั ศึกษา
สามารถแยกแยะและมีความชํานาญในกิจกรรมบางอย่าง หรือหลายอย่างทีจ่ าํ เป็ นต่อชีวติ
3. การศึกษาด้วยตนเอง มักจะเป็ นการประยุกต์การศึกษา คือ การเรียนรูเ้ พื่อการนําไปใช้
งานการสอนการเรียนรู้ด้วยตนเองเกี่ยวข้องกับการศึกษาทางทฤษฎีท่สี มั พันธ์กบั การฝึ กฝนทาง
เทคนิคและการนําไปดัดแปลงใช้อย่างเหมาะสม
34

4. ผูศ้ กึ ษาด้วยตนเอง เป็ นคนทีเ่ รียนรูด้ ว้ ยแรงจูงใจของตนเอง นันคื ่ อ การผูกพันตนเองกับ


เนื้อหาวิชาทีต่ นเลือกแม้จะพบว่ามีอุปสรรคก็ตาม การศึกษาด้วยตนเองช่วยให้ผเู้ รียนรู้ ตระหนักถึง
ความต้องการของตนและมีเป้าหมายของตนเองมากกว่าทีจ่ ะให้ผอู้ ่นื มาวางเป้าหมายให้
5. สิง่ จูงใจสําหรับการศึกษาด้วยตนเอง ได้แก่ ความสําเร็จซึง่ เป็ นรางวัลทีป่ ระเมินคุณค่าได้
โดยตนเอง การสอนเพื่อให้เกิดการเรียนรูด้ ว้ ยตนเองจึงเป็ นการให้ประสบการณ์เพื่อดําเนินไปสู่
เป้าหมายทีต่ อ้ งการ รูจ้ กั วางแผนและการเลือก้ใช้วชิ าการทีม่ ปี ระสิทธิภาพเพือ่ จะทํางานนัน้ สําเร็จ
6. ผูศ้ กึ ษาด้วยตนเอง มักจะตัดสินใจใช้รปู แบบต่าง ๆ ทัง้ ทีเ่ ป็ นทางการและไม่เป็ นทางการ
และวิธเี ฉพาะตน ซึง่ สามารถเรียนรูด้ ว้ ยตนเองได้ดที ส่ี ุด ซึง่ ข้อสรุปอาจจะใช้ได้จากการศึกษา การ
สังเกต ประสบการณ์ การเข้าเรียนในบางวิชา การฝึ กอบรม การสนทนา การฝึ กหัดลองผิดลองถูก
การฝึกหัดกิจกรรมทีใ่ ห้ผลดี การประสานระหว่างกลุ่ม เหตุการณ์และโครงการ
7. การเรียนรูด้ ว้ ยตนเอง เกีย่ วข้องกับการพัฒนาความเชื่อ โดยปกติจะเกีย่ วข้องสัมพันธ์กบั
บุคลิกลักษณะของคน การประสานสัมพันธ์ ความมีระเบียบวินยั ในตนเอง ความบากบันขยั ่ นขันแข็ง
ไม่เห็นแก่ตวั ความรูส้ กึ เกรงใจผูอ้ ่นื และมีหลักการอย่างเข้มแข็ง
8. ผูท้ เ่ี รียนรูด้ ว้ ยตนเอง จะมีแรงขับ (Drive) ความคิดอิสระ มีสติปญั ญาเฉลียวฉลาด การ
สอนการศึกษาด้วยตนเองเกีย่ วข้องกับการเสริมแรงขับ ความกระตือรือร้น โดยรวมความคิดอิสระไม่
ขึน้ อยู่กบั บุคคลใดบุคคลหนึ่ง ความเป็ นผูร้ เิ ริม่ มากกว่าทีจ่ ะประพฤติตามผูอ้ ่นื และมักจะทําอะไรเป็ น
แบบของตนเองมากกว่าทําคล้าย ๆ ผูอ้ ่นื
9. ผูท้ เ่ี รียนด้วยตนเอง มักจะใช้การอ่านและกระบวนการทักษะอื่น ๆ ในการเข้าถึงข้อมูลและ
คําแนะนําทีเ่ ขาต้องการเพื่อโครงการเหล่านัน้ การสอนเพื่อการศึกษาด้วยตนเองเกี่ยวข้องกับการ
ฝึกฝนทักษะ เช่น การอ่านและจํา โดยเฉพาะอย่างยิง่ ในเวลาทีน่ กั ศึกษามีความต้องการอย่างเต็มทีใ่ น
การเข้าถึงข้อสนเทศ
10. การเรียนรูด้ ว้ ยตนเอง เป็ นท่วงทีทเ่ี กิดจากประสบการณ์สาํ คัญหลายประการตัง้ แต่วยั เด็ก
ประสบการณ์และการพัฒนาจนกระทัง้ กลายเป็ นจุดของการเลือกในชีวติ ของตน การสอนเพื่อ
การศึกษาด้วยตนเอง จึงเป็ นการช่วยเหลือผูเ้ รียนทีจ่ ะจําแนกท่วงทีแนวทางทีเ่ กิดขึน้ ในชีวติ เพื่อ
กําหนดวิถที างทีต่ นเลือกและสร้างวิถที างใหม่ทต่ี นปรารถนา
11.การเรียนรูด้ ว้ ยตนเองอาจเกิดขึน้ ได้ดที ส่ี ุดในสิง่ แวดล้อมในการทํางานทีอ่ บอุ่น มีลกั ษณะ
ของการสนับสนุ น มีบรรยากาศใกล้ชดิ เป็ นกันเอง ซึง่ คนมักจะกระตือรือร้นและมีความสัมพันธ์ใกล้ชดิ
กับบุคคลอย่างน้อย 1 คน การสอนให้เกิดการศึกษาด้วยตนเองเกีย่ วข้องกับการสร้างบรรยากาศที่
กระฉับกระเฉง ซึ่งกิจกรรมการศึกษาด้วยตนเองนี้จะได้รบั การสนับสนุ นอย่างอบอุ่นและมีโอกาส
หลายด้าน ทีจ่ ะสร้างความสัมพันธ์ในการทํางานอย่างใกล้ชดิ ให้เกิดขึน้
12. ผูท้ เ่ี รียนรูด้ ว้ ยตนเอง จะชอบผูอ้ ่นื เหมือนกับทีจ่ ะทําให้อ่นื ชื่นชอบตน บุคคลเหล่านี่จะมี
สุขภาพจิตทีด่ ี มีเจตคติทด่ี ที งั ้ กายและใจ การสอนให้ศกึ ษาด้วยตนเองจึงสนับสนุ นวิธกี ารเรียนรูโ้ ดย
ผูเ้ รียนไม่เพียงแต่เรียนรูท้ กั ษะเท่านัน้ แต่ยงั ได้พฒ ั นาจิตใจของตนเองและผูอ้ ่นื อีกด้วย
35

องค์ประกอบของการเรียนรู้ด้วยตนเอง
การเรียนรูด้ ว้ ยตนเองมีองค์ประกอบทีส่ าํ คัญ ดังนี้
โนลล์ (Knowles. 1976: 40-47) ได้กล่าวถึงองค์ประกอบในการเรียนรูด้ ว้ ยตนเองไว้ดงั นี้
1. การวิเคราะห์ความต้องการของตนเอง เริม่ จากการให้ผเู้ รียนแต่ละคนบอกความต้องการ
และความสนใจพิเศษของตนเองในการเรียน ให้เพื่อนอีกคนหนึ่งทําหน้าทีเ่ ป็ นผูใ้ ห้ปรึกษาแนะนําและ
เพื่อนอีกคนหนึ่งทําหน้าทีจ่ ดบันทึก กระทําเช่นนี้หมุนเวียนกันไปจนครบทัง้ 3 คน ได้แสดงบทบาท
ครบ 3 ด้าน คือ ผูเ้ สนอความต้องการ ผูใ้ ห้คาํ ปรึกษาและผูจ้ ดบันทึกสังเกตการณ์ การเรียนรูบ้ ทบาท
ดังกล่าวให้ประโยชน์อย่างยิง่ ในการเรียนร่วมกันและช่วยเหลือซึง่ กันและกันในทุก ๆ ด้าน
2. การกําหนดจุดมุง่ หมายในการเรียน โดยเริม่ ต้นจากบทบาทของผูเ้ รียนเป็ นสําคัญ ดังนี้
2.1 ผูเ้ รียนควรศึกษาจุดมุง่ หมายของวิชา แล้วจึงเริม่ เขียนจุดมุง่ หมายในการเรียน
2.2 ผูเ้ รียนควรเขียนจุดมุง่ หมายให้ชดั เจนเข้าใจได้ไม่ครุมเครือคนอื่นอ่านแล้วเข้าใจ
2.3 ผูเ้ รียนควรเน้นถึงพฤติกรรมทีผ่ เู้ รียนคาดหวัง
2.4 ผูเ้ รียนควรกําหนดจุดมุง่ หมายทีส่ ามารถวัดได้
2.5 การกําหนดจุดมุง่ หมายของผูเ้ รียนในแต่ละระดับ มีความแตกต่างอย่างชัดเจน
3. การวางแผนการเรียน โดยให้ผเู้ รียนกําหนดวัตถุประสงค์ของวิชา ผูเ้ รียนควรวางแผนจัด
กิจกรรมตามลําดับ ดังนี้
3.1 ผูเ้ รียนจะต้องเป็ นผูก้ าํ หนดเกีย่ วกับการวางแผนการเรียนด้วยตนเอง
3.2 การวางแผนการเรียนของผูเ้ รียน ควรเริม่ ต้นจากการกําหนดจุดมุ่งหมายในการเรียนด้วย
ตนเอง
3.3 ผูเ้ รียนเป็ นผูจ้ ดั เนื้อหาให้เหมาะสมกับสภาพความต้องการและความสนใจของ
ผูเ้ รียน
3.4 ผูเ้ รียนเป็ นผูร้ ะบุวธิ กี ารเรียน เพือ่ ให้เหมาะสมกับตนเองมากทีส่ ดุ
4. การแสวงหาแหล่งวิทยาการ เป็ นกระบวนการศึกษาค้นคว้าทีม่ คี วามสําคัญต่อการศึกษา
ในปจั จุบนั อย่างมาก ดังนี้
4.1 ประสบการณ์การเรียนแต่ละด้าน ทีจ่ ดั ให้ผเู้ รียนแสดงให้เห็นถึงความมุ่งหมาย
ความหมายและความสําเร็จของประสบการณ์นนั ้
4.2 แหล่งวิทยาการ เช่น ห้องสมุด วัด สถานีอนามัย ถูกนํามาใช้อย่างเหมาะสม
4.3 เลือกแหล่งวิทยาการให้เหมาะสมกับผูเ้ รียนแต่ละคน
4.4 มีการจัดสรรอย่างดี เหมาะสมทีก่ จิ กรรมบางส่วนจะต้องเป็ นผูจ้ ดั เองตามลําพัง
และบางส่วนเป็ นกิจกรรมทีจ่ ดั ร่วมกันระหว่างครูกบั ผูเ้ รียน
5. การประเมินผลเป็ นขัน้ ตอนสําคัญในการเรียนรูด้ ว้ ยตนเอง ช่วยให้ผูเ้ รียนทราบถึง
ความก้าวหน้าในการเรียนของตนเป็ นอย่างดี การประเมินผลจะต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์
โดยทัวไปจะเกี
่ ย่ วกับความรู้ ความเข้าใจ ทักษะ ทัศนคติและค่านิยม ซึง่ ขัน้ ตอนในการประเมินผลมี
ดังนี้
36

5.1 กําหนดเปาหมาย วัตถุประสงค์ให้แน่ชดั


5.2 ดําเนินการทุกอย่างเพื่อให้บรรลุวตั ถุประสงค์ทว่ี างไว้ ขัน้ ตอนนี้สาํ คัญในการใช้
ประเมินผลการเรียนการสอน
5.3 รวบรวมหลักฐาน การตัดสินใจจากการประเมินจะต้องอยูบ่ นพืน้ ฐานของข้อมูลที่
สมบูรณ์และเชื่อถือได้
5.4 รวบรวมข้อมูลก่อนเรียน เพื่อเรียบเทียบกับหลังเรียน ว่าผูเ้ รียนก้าวหน้าเพียงใด
5.5 แหล่งข้อมูล จะหาข้อมูลจากครูและผูเ้ รียนเป็ นหลักในการประเมินผล

บทบาทของผูเ้ รียนที่เรียนรู้ด้วยตนเอง
การเรียนการสอนการเรียนรูด้ ว้ ยตนเองจะเน้นบทบาทของผูเ้ รียน ซึง่ นักการศึกษาได้สรุป
บทบาทของผูเ้ รียนในการเรียนรูด้ ว้ ยตนเองดังนี้
โนลล์ (Knowles. 1976: 47) ได้สรุปบทบาทของผูเ้ รียนรูด้ ว้ ยตนเอง ดังนี้
1. การเรียนรูด้ ว้ ยตนเองควรเริม่ จากการทีผ่ เู้ รียนมีความต้องการทีจ่ ะเรียนในสิง่ หนึ่งสิง่ ใด
เพือ่ การพัฒนาทักษะ ความรู้ สําหรับการพัฒนาชีวติ และการงานอาชีพของตน
2. การเตรียมตัวของผูเ้ รียน คือ ผูเ้ รียนจะต้องศึกษาหลักการ จุดมุง่ หมาย และโครงสร้าง
หลักสูตรรายวิชา และจุดประสงค์ของรายวิชาทีเ่ รียน
3. ผูเ้ รียนควรจัดเนื้อหาวิชาด้วยตนเองตามจํานวนคาบทีก่ ําหนดไว้ในโครงสร้างและกําหนด
วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมลงไปให้ชดั เจนว่าบรรลุผลในด้านใดเพื่อแสดงให้เห็นว่าผูเ้ รียนได้เกิดการ
เรียนรูใ้ นเรือ่ งนัน้ ๆ แล้ว และมีความคิดหรือเจตคติในการนําไปใช้ในชีวติ สังคมและสิง่ แวดล้อมด้วย
4. ผูเ้ รียนเป็ นผูว้ างแผนการสอนและดําเนินกิจกรรมการเรียนการสอนนัน้ ด้วยตนเอง โดย
อาจข้อแนะนําจากครูหรือเพือ่ น ในลักษณะของการร่วมมือกันทํางานได้เช่นกัน
5. การประเมินผล การเรียนรูด้ ว้ ยตนเองควรเป็ นการประเมินผลร่วมกันระหว่างครูผสู้ อนกัน
ผูเ้ รียน โดยครูและผูเ้ รียนร่วมกันตัง้ เกณฑ์การประเมินผลร่วมกัน
เวนบอร์ก (สิรริ ตั น์ สัมพันธ์ยุทธ. 2540: 23; อ้างอิงจาก Wenburg.1972: 116) ได้สรุป
ความสําคัญและบทบาทของผูเ้ รียนด้วยการนําตนเองไว้ดงั นี้
1. ผูเ้ รียนรูไ้ ด้จากสถานการณ์และสิง่ แวดล้อมทีเ่ ป็ นอิสระ หมายถึง ผูเ้ รียนเป็ นตัวของตัวเอง
ไม่ถูกควบคุมจากบุคคลอื่น ซึง่ มีผลทําให้ผเู้ รียนเรียนได้เร็วขึน้
2. ผูเ้ รียนเรียนได้จากการลงมือปฏิบตั ซิ ง่ึ จะทําให้ผเู้ รียนค้นพบความจริงด้วยตนเอง
3. ผูเ้ รียนเรียนได้จากการร่วมมือกัน การร่วมมือไม่ได้หมายถึง การเข้ากลุ่มอย่างเดียว
เท่านัน้ แต่ยงั หมายถึงการทีแ่ ต่ละฝายช่วยเหลือส่งเสริมซึ่งกันและกันในสถานการณ์การเรียนโดยสัง่
การป้อนกลับให้สมาชิกอื่น ๆ ทราบ สิง่ ทีช่ ว่ ยให้ผเู้ รียนร่วมมือกัน คือ กระบวนการกลุ่ม
4. ผูเ้ รียนเรียนจากภายในตัวออกมา หมายถึง การทีผ่ เู้ รียนโดยสร้างความรูส้ กึ บางอย่าง
เกีย่ วกับสิง่ ทีจ่ ะเรียน ไม่ใช่เรียนโดยถูกกําหนดบางสิง่ บางอย่างเข้าไปในผูเ้ รียน
37

การส่งเสริ มให้ผเู้ รียนมีการเรียนรู้ด้วยตนเอง


ชิดชงค์ ส.นันทนาเนตร (2534: 1) เสนอเกีย่ วกับเครื่องมือทีจ่ ะช่วยส่งเสริมให้ผเู้ รียนมีการ
เรียนรูด้ ว้ ยตนเองด้วยวิธกี ารต่อไปนี้
1. สัญญาการเรียน(Learning Contract) เป็ นสิง่ ทีก่ ําหนดขึน้ ระหว่างผูส้ อนกับผูเ้ รียน เป็ น
การสอนแบบรายบุคคลเพือ่ ให้ผเู้ รียนมีความรับผิดชอบ มีระเบียบวินยั ในตนเอง เป็ นตัวของตัวเองให้
มาก โดยให้สาํ รวจและค้นหาความสนใจทีแ่ ท้จริงของตนเอง แล้วให้ผเู้ รียนเลือกเรียนตามความสนใจ
(Personal Interest) “สัญญาการเรียน” จะช่วยให้ผเู้ รียนมีการเรียนรูด้ ว้ ยตนเองได้มากขึน้ เพราะได้
เปิดเผยและพึง่ พาตนเองได้มากทีส่ ดุ
2. การเรียนรูจ้ ากกลุ่มเพียร์ (Peer Learning Group) สิง่ ทีจ่ ะได้จากการเรียนรูจ้ ากกลุ่มเพื่อ
คือประสบการณ์ทต่ี ่างคนต่างนํามาแลกเปลีย่ นกัน ประสบการณ์ของตนเองอาจช่วยชีน้ ําเพื่อนได้และ
ในทางตรงกันข้ามประสบการณ์ ความคิดเห็นระหว่างครูผสู้ อนหรือผูอ้ าํ นวยความสะดวกกับผูเ้ รียนใน
กลุ่มด้วย
3. ทัศนะเกีย่ วกับเวลา (Time Cornmitment) การกําหนดระยะเวลาตายตัวกับกิจกรรมต่าง ๆ
จะช่วยให้ผูเ้ รียนตระหนักถึงคุณค่าของเวลาที่จะเรียนรูส้ งิ่ ต่าง ๆ และการนํ าไปใช้ได้ทนั ทีใน
ชีวติ ประจําวัน
4. ประโยชน์ของการเรียนรู้ (Perceived Benefits) ผูเ้ รียนจะเรียนรูด้ ว้ ยตนเองได้มากขึน้ หาก
การเรียนรูเ้ ป็ นการแก้ปญั หา มิใช่การจดจําเนื้อหา การจัดโปรแกรมการเรียนจึงจําเป็ นต้องสนอง
ความต้องการของผูเ้ รียนเป็ นการให้ความรู้ ทักษะทีจ่ าํ เป็ นและทันต่อเหตุการณ์สถานการณ์ทเ่ี ป็ นอยู่
5. ความพร้อมในการเรียนรูด้ ว้ ยตนเอง (Preparation of Self – directed Learning) ผูเ้ รียน
ต้องมีความสมัครใจ เต็มใจทีจ่ ะเรียนด้วยตนเอง เพราะการเรียนรูด้ ว้ ยตนเองเป็ นเรื่องจิตใต้สาํ นึกของ
ผูเ้ รียน เป็ นการเปลีย่ นแปลงทีอ่ ยูภ่ ายในของผูเ้ รียนมากกว่าการจัดการภายนอก
เมซิโรว์ (Mezirow. 1981: 1) เสนอวิธกี ารทีจ่ ะส่งเสริมให้ผเู้ รียนมีการเรียนรูด้ ว้ ย ตนเองต้อง
ดําเนินการดังนี้
1. ลดการให้ผเู้ รียนพึง่ พาผูส้ อนหรือผูอ้ าํ นวยความสะดวก
2. ช่วยให้ผเู้ รียนเข้าใจถึงการใช้แหล่งวิทยาการต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิง่ ประสบการณ์จาก
ผูอ้ ่นื รวมทัง้ ครูหรือผูอ้ าํ นวยความสะดวก ซึง่ ต้องใช้ความสัมพันธ์อนั ดีต่อกัน
3. ช่วยให้ผเู้ รียนตระหนักถึงความจําเป็ น ในการเรียนรูเ้ นื่องจากการรับรูค้ วามต้องการของ
ตนเอง อันเป็ นผลมาจากอิทธิพลของวัฒนธรรม สภาพแวดล้อมทีเ่ ปลีย่ นแปลงไป
4. ช่วยให้ผเู้ รียนเพิม่ ความรับผิดชอบในการหาเป้าหมายของการเรียนรู้ การวางแผนและการ
ประเมินผลการเรียนรูด้ ว้ ยตนเอง
5. ช่วยให้ผเู้ รียนเกิดการเรียนรูจ้ ากปญั หาแต่ละบุคคล
6. ช่วยให้ผเู้ รียนตัดสินใจในวิชาต่างๆ ทีเ่ สนอทางเลือกให้ผเู้ รียนตัดสินใจทีจ่ ะเรียนรูต้ ่อไป
7. กระตุน้ ให้ผเู้ รียนใช้เกณฑ์หรือบรรทัดฐานในการตัดสินใจ หรือพินิจพิเคราะห์สงิ่ ต่างๆ ที่
เกีย่ วกับตนและประสบการณ์ทงั ้ หมดทีผ่ า่ นมา
38

8. ช่วยให้ผเู้ รียนเข้าไปสูก่ ารเรียนรูด้ ว้ ยการมองตนเองอย่างถูกต้อง


9. ชีป้ ญั หาและแก้ไขปญั หาโดยง่าย ซึง่ ต้องตระหนักถึงความสัมพันธ์ของปญั หาส่วนบุคคล
และส่วนรวมด้วย
10. เสริมแรงมโนมติของผูเ้ รียนว่าต้องเป็ นทัง้ ผูเ้ รียนและผูจ้ ดั การชีวติ ของตนเอง โดยจัด
บรรยากาศทีน่ ่าสนับสนุ นและรับปฏิกริ ยิ าตอบกลับของผูเ้ รียน เพื่อเป็ นการกระตุน้ ความสามารถของ
ผูเ้ รียนให้ปรากฏ
11. เน้นการนําประสบการณ์การมีสว่ นร่วมและวิธกี ารสร้างโครงการอย่างเป็ นระบบ โดยทํา
ในรูปลักษณ์ “สัญญาการเรียน” (Learning Contract)
โดยสรุปแล้วสําหรับการพัฒนาบทเรียนออนไลน์เป็ นการเน้นให้ผเู้ รียนได้เรียนรูด้ ว้ ยตนเองใน
บทเรียนทีพ่ ฒ ั นาขึน้ ซึง่ การเรียนการสอนโดยใช้บทเรียนนี้จะสามารถกระตุน้ ความคิดริเริม่ สร้างสรรค์
ให้กบั ผูเ้ รียนได้มปี ฏิสมั พันธ์กบั ผูเ้ รียนโดยใช้เครื่องมือทางอินเทอร์เน็ต ผูเ้ รียนสามารถ เรียนรู้ และ
ทบทวนบทเรียนได้ทุกทีท่ ุกเวลาได้ดว้ ยตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ

4. เอกสารที่เกี่ยวข้องกับทฤษี แหละหลักการทางจิตวิทยาการเรียนรู้
ทฤษฎีและหลักการทางจิ ตวิ ทยาการเรียนรู้

หลักการและทฤษฎีทส่ี าํ คัญทางจิตวิทยาการศึกษาเป็ นพืน้ ฐานของเทคโนโลยีทางการศึกษา


ได้แก่ ทฤษฎีการเรียนรู้ ด้วยเหตุผลตามข้อตกลงเบือ้ งต้นของการศึกษา คือ การทําให้มนุ ษย์เกิดการ
เรีย นรู้ ดัง นั น้ ในการจัด การเรีย นการสอนจึง ต้ อ งพยายามทุ ก วิถี ท างที่จ ะทํ า ให้ผู้ เ รีย นบรรลุ
วัตถุประสงค์ นักเทคโนโลยีทางการศึกษาซึง่ เป็ นผูพ้ ฒ ั นาสื่อ เป็ นผูค้ น้ คว้าหาแนวคิด เทคนิควิธกี าร
ทีจ่ ะนําไปช่วยให้ขบวนการเรียนการสอนสัมฤทธิ ์ผล จําเป็ นทีจ่ ะต้องศึกษาค้นคว้าหลักการและทฤษฎี
ทางจิตวิทยาการศึกษา เพื่อนํ ามาเป็ นแนวทางในการผลิตสื่อการเรียนการสอนและเทคนิควิธกี าร
เรียนการสอนทีจ่ ะช่วยให้ผเู้ รียนเกิดการเรียนรูไ้ ด้ดที ส่ี ุด ทฤษฎีทน่ี ํามาใช้กนั มาก ได้แก่ ทฤษฎีการ
เรียนรู้ ซึง่ ส่วนใหญ่จะเกีย่ วข้องกับพฤติกรรมและความรูค้ วามเข้าใจของมนุษย์
การเรียนรูข้ องมนุ ษย์เป็ นเรื่องที่เกี่ยวเนื่องกับการเรียนรู้ทุกระดับและทุกสถานการณ์ ของ
มนุ ษย์ดงั นัน้ การศึกษาเกีย่ วกับการเรียนรูข้ องมนุ ษย์จงึ เป็ นสิง่ ทีค่ ่อนข้างกว้าง ครอบคลุมตัง้ แต่การ
วางเงื่อ นไขอย่า งง่า ยไปจนถึง กระบวนการซับ ซ้อ นที่เ กี่ย วข้อ งกับ การเรีย นรู้แ ละการแก้ป ญ ั หา
(เสาวณีย์ สิกขาบัณฑิต. 2528: 11 )
39

หลักการทางจิ ตวิ ทยาการเรียนรู้

1. วุฒภิ าวะ (Maturation)


กฎของการเรียน : ผูเ้ รียนเจริญเพียงใดย่อมสามารถเรียนรูไ้ ด้เพียงนัน้
กฎของการสอน : ในการสอนครูต้องคํานึงถึงความเจริญเติบโตทางร่างกายและสมองของ
ผู้เ รียน และทํา การสอนให้เ หมาะสมกับ ความเจริญ ดัง กล่า ว ผู้เ รียนจะอ่า นหนัง สือ ออกก็ต่ อ เมื่อ
องค์ประกอบต่างๆ ของการเรียนรูเ้ จริญถึงขัน้ ทีจ่ ะเรียนได้ องค์ประกอบเหล่านี้ คือ ร่างกาย สมอง
อารมณ์และความสนใจ
2. ความพร้อม (Readiness)
กฎของการเรียน : ผู้เรียนต้องมีวุฒภิ าวะสูงพอและมีพ้นื ฐานพอเสียก่อนจึงจะเรียนรู้จาก
ประสบการณ์ใหม่อย่างใดอย่างหนึ่งทีส่ งู ขึน้ ไป
กฎของการสอน : การสอนจะได้ผลดียงิ่ ขึน้ ถ้าครูคาดคะเนความพร้อมของผูเ้ รียนไว้ล่วงหน้า
และจัดประสบการณ์ให้ผเู้ รียนทดลองทํา ครูคอยสังเกตดู และเมื่อเห็นว่าได้คาดคะเนไว้ไม่ถูกต้องครู
ต้องปรับปรุงโครงการสอนเสียใหม่ โครงการสอนจะใช้ได้ผลดีท่สี ุด เมื่อครูปรับปรุงให้สมั พันธ์กบั
ลักษณะของเด็กแต่ละคน
3. ผลต่อการกระทํา (Effect)
กฎของการเรียน : เมื่อผู้เรียนแสดงปฏิกริ ยิ าต่อสิง่ ใดสิง่ หนึ่งด้วยวิธหี นึ่ง และวิธีนัน้ ทําให้
ได้รบั ผลที่ผูเ้ รียนพอใจภายหลังจากที่ได้ทําไปแล้วโดยทันที หรือได้รบั ผลเป็ นที่น่าพอใจในขณะที่
ทํางานนัน้ ในโอกาสต่อไป เมื่อผูเ้ รียนมาพบสถานการณ์นนั ้ เข้าอีก เขาจะแสดงปฏิกริ ยิ าแบบเดียวกัน
นัน้ อีก
กฎของการสอน : การสอนจะได้ผลดีเมื่อครูแสดงให้ผเู้ รียนเห็นผลของการกระทําของตนเอง
ในทันที การตอบสนองการกระทําของผู้เรียน ให้ทนั ท่วงทีให้เหมาะกับผู้เรียนแต่ละคนจะช่วยให้
ผูเ้ รียนเรียนรูไ้ ด้ดขี น้ึ การตอบสนองในการส่งเสริมมักจะใช้ได้ผลดีเสมอ ส่วนการตอบสนองในทางที่
หักห้ามอาจจะได้ผลเมือ่ เราควบคุมอยู่
4. การฝึ กหัด (Exercise)
กฎของการเรียน : สิง่ ใดทีผ่ เู้ รียนทําบ่อยๆ ซํ้าๆ หรือมีการฝึก ผูเ้ รียนย่อมทําสิง่ นัน้ ได้ดี สิง่ ใด
ทีไ่ ม่ได้ทาํ นานๆ ย่อมทําสิง่ นัน้ ไม่ได้เหมือนเดิม
กฎของการสอน : ในการสอนเกี่ยวกับวิชาทักษะ ควรมีการทําซํ้าๆ และฝึ กบ่อยๆ เช่นการ
เรียนภาษาอังกฤษ ดนตรี เทนนิส ตลอดจนการฝึ กปฏิบตั ใิ นวิชาศิลปะ ซึง่ แพฟลอฟ (Pavlov) กล่าว
ว่า การทําซํ้าๆ หลายๆ ครัง้ จะเกิดผลดีในการเรียนรูท้ างเจตคติและสร้างนิสยั ทีด่ ดี ว้ ย
40

5. ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Differences)


กฎของการเรียน : ผูเ้ รียนแต่ละคนย่อมเรียนรูใ้ นสิง่ เดียวกันด้วยเวลาทีไ่ ม่เท่ากันผูเ้ รียนคน
เดียวกันเรียนสิง่ ต่างประเภทกันได้ในเวลาทีไ่ ม่เท่ากัน
กฎของการสอน : การสอนจะได้ผลดียงิ่ ขึ้น ถ้าครูพยายามหาสาเหตุ ท่ที ําให้ผู้เรียนแสดง
ปฏิกริ ยิ าไม่ดแี ละหาสาเหตุท่ที ําให้ผเู้ รียนแตกต่างกัน ครูหาทางแก้สาเหตุท่พี อจะแก้ไขได้ และวาง
แนวในการปฏิบตั สิ าํ หรับผูเ้ รียนบางคนทีเ่ ห็นว่าเฉพาะการแก้จะไม่ได้ผล และครูพยายามทําให้ความ
แตกต่างของผูเ้ รียนกลุ่มเดียวกันลดน้อยลงเป็ นลําดับ เช่น ทําให้ผเู้ รียนทีเ่ รียนช้าสามารถเรียนได้ทนั
ผูเ้ รียนทีเ่ รียนปานกลางมากขึน้ และไม่แสดงให้ผเู้ รียนรูว้ า่ ตนแตกต่างจากผูอ้ ่นื
6. การจูงใจ (Motivation)
กฎของการเรียน : การเรียนจะได้ผลดีกต็ ่อเมือ่ ผูเ้ รียนมีความสนใจมีวตั ถุประสงค์และมีเจต
คติทด่ี ตี ่อการเรียน
กฎของการสอน : การสอนจะได้ผลดีกต็ ่อเมือ่ ครูรจู้ กั ใช้การจูงใจให้ผเู้ รียนเกิดความต้องการที่
จะเรียนรูโ้ ดยใช้แรงจูงใจทัง้ ภายในและภายนอกแรงจูงใจภายใน ได้แก่ ความสนใจ ความต้องการ
และ เจตคติแรงจูงใจภายนอก ได้แก่ บุคลิกภาพของครู วิธสี อนทีท่ ําให้ผเู้ รียนมองเห็นวัตถุประสงค์
ของการเรียน การชมเชย การให้รางวัล การให้คะแนน การลงโทษ เป็ นสาเหตุให้เกิดการเรียนครู
จําเป็ นต้องรูจ้ กั ใช้แรงจูงใจทีเ่ หมาะสม การสอนทีใ่ ช้แรงจูงใจจากภายในของผูเ้ รียนย่อมได้ผลดีกว่า
การกระตุ้นหรือเร้าจากภายนอก การใช้แรงจูงใจภายนอกจะได้ผลก็ต่อเมื่อผูส้ อนช่วยให้ผเู้ รียนเห็น
วัตถุประสงค์และคุณค่าอันแท้จริงของการเรียนนัน้ แรงจูงใจทางด้านบวก (Positivemotivation) ย่อม
ได้ผลดีกว่าด้านลบ (Negative motivation)
7. กิจกรรมและประสบการณ์ (Activities and Experiences)
กฎของการเรียน : ผู้เรียนจะเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยเริม่ กระทําการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือ
หลายอย่างไม่วา่ จะเป็ นทางการหรือการคิดไตร่ตรอง โดยมีวตั ถุประสงค์ว่าทําเพื่อให้เกิดอะไร และทํา
สิง่ นัน้ ต่อไปอีกตามทีต่ นต้องการอย่างสมบูรณ์
กฎของการสอน : การสอนจะได้ผลดี ครูจะต้องช่วยให้ผเู้ รียนหาให้พบว่าต้องการอะไรทีเ่ ห็น
ว่าสําคัญพอที่จะทําอะไรสักอย่า งหนึ่ งให้ผู้เ รีย นรู้ว่า เมื่อเกิดความต้องการเช่น นัน้ แล้ว ควรจะทํา
อะไรบ้างเพื่อให้ได้ดงั ความมุ่งหวัง ถ้าทํากิจกรรมใดลงไปแล้วไม่ได้ผลตามที่มุ่งหวังไว้ ก็ให้ผูเ้ รียน
ดัดแปลงกิจกรรมนัน้ เพื่อให้เกิดความสําเร็จตามต้องการ ให้ผเู้ รียนตระหนักว่าการกระทําของเขาเอง
ทีเ่ ปลีย่ นแปลงไปจากเดิมนัน้ คือการเรียนรู้
41

8. การเรียนรูผ้ า่ นประสาทสัมผัสหลายด้าน
กฎของการเรียน : ประสบการณ์การเรียนรู้ท่ดี นี ัน้ คือ ประสบการณ์ท่ที ําให้ผูเ้ รียนต้องใช้
ประสาทสัมผัสหลายด้านร่วมกัน หรืออย่างน้อยก็ตอ้ งให้ผเู้ รียนได้ใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่ง
อย่างเหมาะสม
กฎของการสอน : การสอนจะได้ผลดีเมื่อครูทําการสอนโดยก่อให้เกิดสิง่ พิมพ์ใจโดยผ่าน
ประสาทสัมผัสหลายๆ ด้านเกี่ยวกับประสบการณ์ เดียวกัน และการใช้ประสาทสัมผัสแต่ละอย่าง
หลายๆ วิธกี จ็ ะช่วยให้การสอนได้ผลดียงิ่ ขึน้
9. การเรียนแบบรวม-แยก-รวม (Whole-part-whole Learning)
กฎของการเรียน : การเรียนสิง่ ใด ถ้าได้มองเห็นส่วนใหญ่ทงั ้ หมด จะเรียนได้ดกี ว่าเห็นหรือ
เรียนส่ว นย่อย ของสิง่ นัน้ ทีละส่วนเพราะการได้มองเห็นส่วนใหญ่ ทงั ้ หมดช่วยให้ผู้เรียนมองเห็น
ความสัมพันธ์ระหว่างส่วนย่อยเหล่านัน้
กฎของการสอน : การสอนจะได้ผลดียงิ่ ขึน้ ถ้าแสดงสิง่ ที่สอนนัน้ เป็ นส่วนรวมให้ผูเ้ รียนเห็น
และเข้า ใจความสัม พัน ธ์ร ะหว่า งส่ว นย่อ ยแตะละส่ว นในส่ว นรวมนั น้ เพราะว่ า สิ่ง ต่ า งๆที่มีส่ว น
เกี่ยวข้องสัมพันธ์กนั ครูส อนแยกจากกัน ย่อยจะไม่สามารถทําให้ผู้เ รีย นเห็น ความเกี่ย วเนื่ อง
สัมพันธ์ระหว่างส่วนย่อยเหล่านัน้
การออกแบบมัล ติมีเ ดีย ที่มีคุ ณ ภาพ ผู้ส ร้า งสรรค์จํา เป็ น ต้อ งคํา นึ ง ถึง หลัก เกณฑ์ใ นการ
ออกแบบ ซึ่งเป็ นไปตามทฤษฎีและจิต วิท ยาเกี่ยวกับ กาเรียนรู้ข องมนษุ ย์ผนวกกับ หลักการและ
ทฤษฎีทางโสตทัศนะ
ความเคลื่อ นไหวของโสตทัศ นะมิไ ด้ ข้ึน อยู่ ก ับ ทฤษฎี ก ารเรีย นรู้ท ฤษฎี ใ ดทฤษฎี ห นึ่ ง
โดยเฉพาะแต่นักโสตทัศนะส่วนใหญ่ มักจะสะท้อนแนวปฏิบตั อิ อกมาตามความเชื่อของกลุ่มทฤษฎี
การเรียนรูก้ ลุ่มความรูแ้ ละ ทฤษฎีการติดต่อสื่อสาร นักโสตทัศนะจะเน้นไปในเรื่องการใช้โสตทัศนะ
วัสดุ เป็ นสือ่ กลางทีจ่ ะทําให้เกิดการเรียนรูข้ น้ึ ในตัวผูเ้ รียน นักการศึกษาได้วจิ ยั พบว่ามนุ ษย์เราเรียนรู้
ผ่านทางสายตา 75% ทางหู 13% ทางนาสิกสัมผัส 3% ทางกายสัมผัส 6% และทางชิวหาสัมผัส 3%

นัน่ หมายความว่าการรับรูด้ ว้ ยการมองเห็นจะทํามนุ ษย์สามารถเรียนรูแ้ ละจดจําสิง่ ต่างๆ ได้


สูงกว่าการสัมผัสในด้านอื่นในการจะผลิตงานเพื่อนําเสนอจําเป็ นต้องเน้นความสําคัญกับการสื่อสาร
ด้วยการมองเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายเกิดการเรียนรู้และจดจําสิง่ ที่พบเห็นได้เป็ นระยะเวลายาวนาน
(สุปาณี สนธิรตั น์. 2539: 143)
42

ทฤษฎีการเรียนรู้

1. ทฤษฎีพฤติกรรมนิยม
เป็ นทฤษฎีทเ่ี ชื่อว่าจิตวิทยาเป็ นเสมือนการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ของพฤติกรรมของมนุ ษย์
และการเรียนรูข้ องมนุ ษย์เป็ นสิง่ ทีส่ ามารถสังเกตได้จากพฤติกรรมภายนอก นอกจากนี้ยงั มีแนวคิด
เกีย่ วกับความสัมพันธ์ระหว่างสิง่ เร้าและการตอบสนอง ซึง่ เชื่อว่าการตอบสนองกับสิง่ เร้าของมนุ ษย์
จะเกิดขึน้ ควบคุมกันในช่วงเวลาทีเ่ หมาะสม นอกจากนี้ยงั เชื่อว่า การเรียนรูข้ องมนุ ษย์เป็ นพฤติกรรม
แบบแสดงอาการกระทําซึง่ มีการเสริมแรงเป็ นตัวการ โดยทฤษฎีพฤติกรรมนิยมนี้จะไม่กล่าวถึงความ
นึกคิดภายในของมนุ ษย์ เช่น ความทรงจํา ภาพ ความรูส้ กึ ซึง่ ถือว่าเป็ นคําต้องห้าม ทฤษฎีน้ีสง่ ผล
ต่อการเรียนการสอนในอดีต ในลักษณะทีเ่ รียนเป็ นชุดของพฤติกรรมซึง่ จะต้องเกิดขึน้ ตามลําดับที่
แน่ นอน การทีผ่ เู้ รียนจะบรรลุวตั ถุประสงค์ได้นัน้ จะต้องมีการเรียนการสอนตามลําดับขัน้ เป็ นไปตาม
วัตถุประสงค์ทต่ี งั ้ ไว้ ผลทีไ่ ด้จากการเรียนรูข้ นั ้ แรกจะเป็ นพืน้ ฐานของการเรียนในขัน้ ต่อไปมัลติมเี ดียที่
ออกแบบตามแนวคิดของทฤษฎีน้ีจะมีโครงสร้างของเนื้อหาเป็ นเชิงเส้นตรง โดยผูเ้ รียนจะได้รบั การ
เสนอเนื้อหาในลําดับขัน้ ตอนคงที่ ซึง่ เป็ นลําดับทีผ่ สู้ ร้างได้พจิ ารณาตามลําดับการสอนทีด่ แี ละผูเ้ รียน
สามารถเรียนรูไ้ ด้อย่างมีประสิทธิภาพมากทีส่ ุด นอกจากนัน้ การตัง้ คําถามอย่างสมํ่าเสมอโดยมีการ
ตอบสนองกับชุดมัลติมเี ดียจะเป็ นการเสริมแรงเพื่อให้เกิดพฤติกรรมทีต่ อ้ งการ มัลติมเี ดียทีอ่ อกแบบ
ในทางแนวคิดนี้จะบังคับให้มกี ารประเมินผลการใช้มลั ติมเี ดียในแต่ละลําดับขัน้ อีกด้วย
2. ทฤษฎีปญั ญานิยม
ทฤษฎีเกิดจากแนวคิดของชอมสกี้ (Chomsky) ทีไ่ ม่เห็นด้วยกับสกินเนอร์ (Skinner)บิดาของ
ทฤษฎีพฤติกรรม ในการมองพฤติกรรมมนุษย์ไว้วา่ เหมือนการทดลองทางวิทยาศาสตร์ชอมสกีเ้ ชื่อว่า
พฤติกรรมมนุ ษย์นนั ้ เป็ นเรือ่ งของภายในจิตใจ มนุษย์ไม่ใช่ผา้ ขาวทีเ่ มื่อใส่สอี ะไรลงไปก็จะกลายเป็ นสี
นัน้ มนุ ษย์มคี วามนึกคิด มีอารมณ์ จิตใจและความรูส้ กึ ภายในทีแ่ ตกต่างกันออกไปดังนัน้ การ
ออกแบบการเรียนการสอนก็ควรทีจ่ ะคํานึงถึงความแตกต่างภายในของมนุ ษย์ดว้ ยการนํ าความคิด
ของทฤษฎีปญั ญานิยมมาออกแบบมัลติมเี ดียมีอสิ ระในการเลือกลําดับของการนํ าเสนอที่เหมาะสม
ลักษณะการนําเสนอของมัลติมเี ดียจะขึน้ อยูก่ บั ความสนใจของผูใ้ ช้เป็ นลําดับแรก
3. ทฤษฎีโครงสร้างความรู้
ภายใต้ทฤษฎีปญั ญานิยมได้เกิดทฤษฎีโครงสร้างความรูข้ น้ึ ซึง่ เป็ นแนวคิด ทีเ่ ชื่อว่าโครงสร้าง
ภายในของความรูท้ ม่ี นุ ษย์มอี ยูน่ นั ้ จะมีลกั ษณะเป็ นโหนด หรือ เป็ นกลุ่มทีม่ กี ารเชื่อมโยงกันอยูใ่ นการ
ทีม่ นุ ษย์เรียนรูอ้ ะไรใหม่ๆ นัน้ มนุ ษย์จะนํ าความรูใ้ หม่ๆ ทีเ่ พิง่ ได้รบั นัน้ ไปเชื่อมโยงกับกลุ่มความรูท้ ม่ี ี
อยูเ่ ดิม
รูเมลฮาร์และออโทนี่ (Rumalhart and Ortony) ได้ให้นิยามความหมายของคําว่าโครงสร้าง
ความรู้ไ ว้ว่าเป็ นโครงสร้า งข้อมูล ภายในสมองของมนุ ษ ย์ซ่ึงรวบรวมความรู้เ กี่ย วกับ วัต ถุ ลําดับ
เหตุการณ์ รายการกิจกรรมต่าง ๆ เอาไว้ หน้าทีข่ องโครงสร้างความรูน้ ้ี คือ การนําไปสูก่ ารรับรูข้ อ้ มูล
43

การรับรูน้ นั ้ จะไม่สามารถเกิดขึน้ ได้หากขาดโครงสร้างความรูท้ งั ้ นี้กเ็ พราะการรับรู้ ข้อมูลเป็ นการสร้าง


ความหมาย โดยการถ่ายโอนความรูใ้ หม่เข้ากับความรูเ้ ดิมทีม่ อี ยู่และจากการกระตุ้นโดยเหตุการณ์
หนึ่งทีช่ ว่ ยให้เกิดความรูน้ นั ้ ๆ เข้าด้วยกัน การรับรูเ้ ป็ นสิง่ สําคัญทีท่ าํ ให้เกิดการเรียนรูเ้ นื่องจากไม่มี
การเรียนรูใ้ ดเกิดขึน้ ได้โดยปราศจากการรับรู้นอกจากโครงสร้างความรูจ้ ะช่วยในการรับรูแ้ ละการ
เรียนรูแ้ ล้วนัน้ โครงสร้างความรูย้ งั ช่วยในการระลึกถึงสิง่ ต่าง ๆ ทีเ่ คยเรียนรูม้ า

4. ทฤษฎีความยืดหยุน่ ทางปญั ญา
นอกจากทฤษฎีโครงสร้างความรูแ้ ล้ว เมื่อต้น ค.ศ.1990 ยังได้เกิดทฤษฎีใหม่มชี ่อื ว่าความ
ยืดหยุ่นทางปญั ญา ซึ่งเป็ นแนวคิดที่เชื่อว่า ความรู้แต่ ล ะองค์ค วามรู้นัน้ มีโครงสร้างที่แน่ ช ดั และ
สลับซับซ้อนมากน้อยแตกต่างกันไป โดยองค์ความรูบ้ างประเภทสาขาวิชา เช่น คณิตศาสตร์หรือ
วิทยาศาสตร์กายภาพนัน้ ถือว่าเป็ นองค์ความรูป้ ระเภททีม่ โี ครงสร้างตายตัว ไม่สลับซับซ้อน เพราะ
ตรรกะและความเป็ นเหตุเป็ นผลทีแ่ น่ นอนของธรรมชาติขององค์ความรู้ ในขณะเดียวกันองค์ความรู้
บางประเภท เช่น จิตวิทยาถือว่าเป็ นองค์ความรูป้ ระเภทที่ไม่มโี ครงสร้างตายตัวและสลับซับซ้อน
เพราะความเป็ นเหตุเป็ นผลของธรรมชาติขององค์ความรูต้ ามประเภทสาขาวิชาไม่สามารถหมายรวม
ไป ทัง้ องค์ความรูใ้ นวิชาหนึ่ง ๆ ได้ทงั ้ หมด บางส่วนขององค์ความรูบ้ างประเภททีม่ โี ครงสร้างตายตัว
ก็สามารถทีจ่ ะเป็ นองค์ความรูป้ ระเภททีไ่ ม่มโี ครงสร้างตายตัวได้เช่นกัน แนวคิดในเรื่องความยืดหยุน่
ทางป ญ ั ญานี้ ส่ง ผลให้เ กิด ความคิด ในการออกแบบมัล ติมีเ ดีย ทางการศึก ษา เพื่อ ตอบสนองต่ อ
โครงสร้างขององค์ความรูท้ แ่ี ตกต่างกัน ซึง่ ได้แก่แนวคิดในเรื่องการออกแบบมัลติมเี ดียแบบสื่อหลาย
มิตนิ นเอง
ั่

ทฤษฎีโครงสร้างความรูแ้ ละทฤษฎีความยืดหยุน่ ทางปญั ญาส่งผลต่อการออกแบบมัลติมเี ดีย


ทางการศึกษาและสนับสนุ นแนวคิดเกีย่ วกับการจัดระเบียบโครงสร้างการนํ าเสนอเนื้อหาในลักษณะ
สื่อหลายมิติท่ตี อบสนองต่อวิธกี ารเรียนรู้ของมนุ ษย์ในความพยายามที่จะเชื่อมโยงความรูใ้ หม่กบั
ความรู้ท่ีมีอยู่เ ดิมได้เ ป็ น อย่า งดี ซึ่ง ตรงกับ แนวคดิ ของทฤษฎีโ ครงสร้า งความรู้ นอกจากนี้ การ
นําเสนอเนื้อหาในลักษณะสือ่ หลายมิตยิ งั สามารถทีจ่ ะตอบสนองความแตกต่างของโครงสร้างขององค์
ความรูท้ ไ่ี ม่ชดั เจนหรือมีความสลับซับซ้อน ซึง่ เป็ นแนวคิดของทฤษฎีความยืดหยุ่นทางปญั ญาได้อกี
ด้วย โดยการจัดระเบียบโครงสร้างการนํ าเสนอเนื้อหาในลักษณะในลักษณะสื่อหลายมิตจิ ะให้ผูใ้ ช้
สามารถที่จะมีอิส ระในการควบคุ มการเรียนของตนตามความสามารถ ความสนใจ ความถนัดและพื้น
ฐานความรูข้ องตนได้อย่างเต็มที่

5. ทฤษฎีสมั พันธ์เชื่อมโยง
44

ทฤษฎีส มั พัน ธ์เ ชื่อ โยงระหว่ า งสิ่ง เร้า และการตอบสนองเป็ น ทฤษฎีเ รื่อ ที่ร องรับ สื่อ ทาง
การศึกษาทีส่ าํ คัญเป็ นการเรียนรูท้ เ่ี กิดจากการเชื่อมโยงสิง่ เร้ากับการตอบสนองโดยมีตวั เสริมแรงเป็ น
ตัวเชื่อมระหว่างปจั จัยในการเรียนรูท้ งั ้ สอง การเริม่ ต้นการเรียนรูจ้ ะเกิดในลักษณะของการลองผิด
ลองถู กกล่ า วคือเมื่อมีสงิ่ เร้าอย่า งใดอย่างหนึ่ งปรากฏก็จะมีการตอบสนองหลาย ๆ ครัง้ ถ้าการ
ตอบสนองใดเกิดความพึงพอใจ การเรียนรูใ้ นการตอบสนองสิง่ เร้าก็จะเกิดขึน้ ในรูปแบบนี้เรื่อยไป
(ปรีชา คร้ามพักตร์. 2535: 31)

การลองผิดลองถูกของธอร์นไดท์ (Thorndike) ได้ทดลองโดยสร้างกรง Puzzle box ซึง่ มี


ลักษณะของกรงจะทําด้วยไม้ทส่ี ามารถมองเห็นด้านในของกรงชัดเจนในกรงจะมีคานไม้ และ คาน
ไม้น้ีถ้ากดลงไปเพียงเล็กน้ อย ประตูกรงจะเปิ ดเอง การทดลองได้นําแมวตัวหนึ่งใส่เข้าไปในกรง
ในขณะทีแ่ มวหิว ภายนอกกรงจะมีอาหารวางล่อไว้เมื่อแมวเห็นอาหารประกอบกับความหิวของแมว
แมวจะพยายามออกมากินอาหารนอกกรง แมวจะใช้วธิ กี ารต่าง ๆ จนในทีส่ ุดมันสามารถออกมาจาก
กรงได้ครัง้ แรก ๆ แมวก็ไม่รวู้ ่า จะออกมาจากกรงวิธใี ดแต่หลังจากทีท่ ดลองผ่านไปหลายๆ ครัง้ แมว
จะค่อย ๆ เรียนรูใ้ นการเลือกวิธที จ่ี ะทําให้ออกจากกรงได้ ในทีส่ ุดแมวเกิดการเรียนรูโ้ ดยสมบูณณ์ว่า
ถ้าจะออกจากกรงต้องกดคานทุกครัง้
6. ทฤษฎีของพีอาเจต์ (Piaget)
แนวคิดของพีอาเจต์ ได้กล่าวถึงความสามารถในการเรียนรูน้ นั ้ ขึน้ อยูก่ บั ความสามารถทาง
สติปญั ญาเป็ นเรื่องของการเก็บสะสมคือ มนุ ษย์จะค่อยๆเพิม่ ความสามารถทางสติปญั ญาไปเรื่อยๆ
ตามประสบการณ์ทไ่ี ด้ปฏิสมั พันธ์กบั สิง่ แวดล้อมและเมื่อใดก็ตามทีไ่ ด้ปฏิสมั พันธ์กบั สิง่ แวดล้อมก็ได้
ประสบการณ์เข้าไปเก็บสะสมไว้ในสนามทางจิตและประสบการณ์เหล่านี้เองทีม่ นุ ษย์จะนํากลับมาใช้
เพือ่ ทําให้เกิดการเรียนรูด้ ว้ ยตนเอง
7. ทฤษฎีการวางเงือ่ นไข
การสร้างมัล ติมีเ ดีย ทางการศึกษาต้องอาศัย พื้น ฐานทางทฤษฎีการเรีย นรู้ข องสกินเนอร์
(Skinner) คือทฤษฎีการวางเงือ่ นไขแบบลงมือกระทํา (Operant Conditioning) หรือทีเ่ รียกว่าทฤษฎี
การเสริมแรง ซึง่ เป็ นแม่บทในการพัฒนาบทเรียนแบบโปรแกรมและเครือ่ งช่วยสอนทฤษฎีน้ีสรุปได้ว่า
ปฏิกริ ยิ าการตอบสนองหนึ่งๆ อาจมิได้มาจากสิง่ เร้าเดียว สิง่ เร้าอื่นๆก็อาจทําให้เกิดการตอบสนอง
เช่นเดียวกันได้ถา้ มีการเสริมแรงให้แก่พฤติกรรมนัน้ ๆ (สมพร สุทศั นีย.์ 2533 : 63)
ในปี ค.ศ.1904สกินเนอร์(Skinner.1959 :96)ได้ทาํ การทดลองการเรียนรูก้ บั นกพิราบพบว่า
นกพิราบเมื่อหิวก็สามารถมีปฏิกิรยิ าตอบสนองที่ถูกต้องโดยการจิกปุ่มที่ทําไว้จงึ จะมีอาหารหล่น
ออกมา สกินเนอร์เรียกว่า แรงเสริมกําลัง ทัง้ นี้จะต้องได้รบั แรงเสริมกําลัง ซึง่ หมายถึงอาหารหลายๆ
ครัง้ จะมองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างการจิกโดนปุ่มกับอาหารทีห่ ล่นออกมา การแสดงปฏิกริ ยิ า
ตอบสนองของนกในขัน้ แรกอาจจะต้องใช้เวลานานในการกระทํา ซึง่ ในขัน้ แรกถึงแม้นกพิราบจะจิก
45

โดนทีใ่ กล้ๆ ปุม่ กลไกนัน้ ผูท้ ดลองก็จะปล่อยอาหารออกมาเพื่อจะช่วยให้เกิดพฤติกรรมทีถ่ ูกต้องเร็ว


ยิง่ ขึน้ จากการทดลองพบว่า เวลาทีน่ กพิราบใช้ในการทําพฤติกรรมทีถ่ ูกต้องคือการจิกโดนปุม่ นัน้ จะลดลง
และค่อยๆหายไปในทีส่ ดุ
จะเห็นได้ว่า การเรียนรูต้ ามแนวคิดนี้ หมายถึงการเปลีย่ นแปลงพฤติกรรมจากการกระทําที่
ไม่ได้รบั แรงเสริมกําลัง เป็ นการกระทําทีไ่ ด้รบั แรงเสริมกําลังโดยอาศัยหลักการให้แรงเสริมกําลังแก่
ผูเ้ รียนจะทําให้ผเู้ รียนเกิดการเรียนรูใ้ นการกระทําพฤติกรรมทีถ่ ูกต้องได้
สกินเนอร์ได้เสนอทฤษฎีการเรียนรูแ้ บบการปฏิบตั ิ ซึง่ เชื่อว่าการเรียนรูจ้ ากการกระทําของ
ผูเ้ รียนเอง เนื่องจากพฤติกรรมของคนส่วนใหญ่จะเป็ นการเรียนรูแ้ บบการกระทําและการเสริมแรง ซึง่
เป็ นสิง่ สําคัญทีท่ าํ ให้คนแสดงพฤติกรรมตอบสนองโดยอาศัยสิง่ เร้าภายในมาเป็ นตัวกระตุน้ เพื่อสนอง
ความต้องการของตน
ทฤษฎีการวางเงื่อนไขของสกินเนอร์สามารถนํ ามาประยุกต์ใช้ได้กบั การเรียนการสอนเพื่อ
เปลีย่ นแปลงพฤติกรรมของผูเ้ รียน ซึง่ อาจจะให้แรงเสริมในรูปของคําชมเชยหรือให้รางวัลอย่างอื่น
นํ ามาซึ่งความพึงพอใจให้กบั ผู้เรียนและเมื่อใดที่ผู้เรียนแสดงปฏิกิรยิ าตอบสนองไม่ถูกวิธีก็จะงด
รางวัลนัน้ การกระทําเช่นนี้จะช่วยให้ผเู้ รียนได้เรียนรูว้ ่าสิง่ ทีก่ ระทํานัน้ เป็ นการกระทําทีถ่ ูกต้องและจะ
ปฏิบตั เิ ป็ นนิสยั ต่อไป ซึง่ ชุดการเรียนทีว่ ่ามัลติมเี ดียเป็ นหนึ่งของนวัตกรรมทางการเรียนการสอนที่
ประยุกต์ทฤษฎีน้ีมาใช้
ดังนัน้ ในการเรียนรู้ ผูเ้ รียนจะต้องแสดงปฏิกริ ยิ าตอบสนองตามเงื่อนไขก่อน จึงจะได้แรง
เสริมกําลัง และแรงเสริมกําลังนี้จะช่วยให้ผเู้ รียนได้เรียนรูว้ ่าสิง่ ทีต่ นกระทํานัน้ เป็ นสิง่ ทีถ่ ูกต้องเมื่อใด
ทีต่ กอยู่ในสภาวะทีเ่ ป็ นปญั หาอีก ก็จะทําพฤติกรรมทีท่ าํ ให้ตอนได้รบั แรงเสริมกําลังนัน้ อีกแรงเสริม
กําลังนี้จะมีอทิ ธิพลต่อการเรียนรูไ้ ด้มากทีส่ ุด ถ้าระยะเวลาระหว่างการกระทําพฤติกรรมทีถ่ ูกต้องและ
การได้รบั แรงเสริมกําลังใกล้เคียงกันมากทีส่ ดุ

5. เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการผลิตรายการวิทยุการศึกษา
ความนํา
ยุคแห่งสังคมไร้พรมแดน วิทยุการศึกษา นับเป็ นสื่อมวลชนที่ได้รบั การยอมรับกันทัวไปว่
่ า
สามารถเข้าถึงประชาชนได้มากทีส่ ุดทัง้ ด้านเวลา ความรวดเร็วและปริมาณของผูร้ บั สาร สถานีวทิ ยุ
การศึกษาในปจั จุบนั มีการแข่งขันกันสูงและต้องปรับตัวให้เข้ากับเทคโนโลยีท่ที นั สมัย ดังนัน้ การ
ผลิตรายการวิทยุและโทรทัศน์ การศึกษา จึงเป็ นงานที่ต้องอาศัยความคิดสร้างสรรค์ ประกอบกับ
การศึกษาข้อมูลทัง้ ศาสตร์และศิลปะผสมผสานกัน รวมทัง้ การนําเทคโนโลยีต่างๆ มาช่วย สนับสนุ น
เพือ่ การผลิตรายการให้มรี ปู แบบสอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มผูฟ้ งั เป้าหมายผูผ้ ลิตรายการ จึง
มีความรู้ในกระบวนการผลิตรายการวิทยุการศึกษารูปแบบต่างๆ มีความรู้ในกระบวนการผลิต
46

รายการวิทยุการศึกษา มีความรู้ ความสามารถในการใช้เครื่องมืออุปกรณ์ท่เี กี่ยวข้องกับการผลิต


ตลอดจนหาเทคนิควิธนี ําเสนอรายการทีแ่ ปลกใหม่มปี ระสิทธิภาพ เพื่อสร้างความน่ าสนใจและสร้าง
ความนิยมรายการ ตลอดจนเกิดประโยชน์สงู สุดแก่ผฟู้ งั

รหัสและชื่อรายวิ ชา
รหัส ET321 การผลิตรายวิทยุโทรทัศน์การศึกษา

สภาพรายวิ ชา
วิชาเลือก ในหลักสูตรปริญญาตรี สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คําอธิ บายรายวิ ชา
ศึกษาความหมาย ขอบข่าย ข้อดีและข้อจํากัดการนําวิทยุและโทรทัศน์มาใช้ทางการศึกษา
วิเคราะห์ วิจารณ์รายการวิทยุและโทรทัศน์การศึกษา ศึกษา การเลือก การผลิต การใช้ และการ
ประเมินรายการวิทยุและโทรทัศน์การศึกษาอย่างมีระบบ

เนื้ อหา
1. ความเป็ นมาของวิทยุการศึกษา
2. หลักการเกีย่ วกับการผลิตรายการวิทยุการศึกษา
3. การเขียนบทวิทยุการศึกษา
4. ห้องบันทึกเสียงและเครือ่ งมือ
5. รูปแบบรายการวิทยุการศึกษา

ความเป็ นมาของวิ ทยุการศึกษา

ยุคก่อตัง้ (พ.ศ. ๒๔๙๗ - ๒๕๐๐)

สถานีวทิ ยุศกึ ษา กระทรวงศึกษาธิการ จัดตัง้ ขึน้ โดยมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๒๑ สิงหาคม


พ.ศ. ๒๔๙๖ ซึ่งอนุ มตั ใิ ห้กระทรวงศึกษาธิการดําเนินโครงการวิทยุกระจายเสียงเพื่อการ ศึกษา
เนื่องจาก ฯพณฯ ม.ล.ปิ่ น มาลากุล ผูบ้ ริหารการศึกษาขณะนัน้ เล็งเห็นว่าวิทยุกระจายเสียงเป็ น
สื่อมวลชนทีส่ ามารถ เผยแพร่ความรู้ ข่าวสาร และเข้าถึงประชาชนได้โดยสะดวก จึงมีการจัดตัง้
สถานีวทิ ยุศกึ ษา ขึน้ ทีว่ ทิ ยาลัยเทคนิค ทุ่งมหาเมฆ กระจายเสียงครัง้ แรกเมื่อวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ.
47

๒๔๙๗ ด้วยเครื่องส่งทีค่ ณาจารย์วทิ ยาลัยเทคนิคประกอบเอง มีกําลังส่งเพียง ๕๐๐ วัตต์ ใช้ความถี่


คลื่นยาว ๑๑๖๐ กิโลไซเคิล และคลื่นสัน้ ๑๑.๖ เมกาไซเคิล

กองเผยแพร่การศึกษา กรมวิชาการ ในขณะนัน้ รับผิดชอบการบริหารงานด้านจัดรายการ ซึง่


ต่อ มาย้ายมาสังกัดสํานักงานปลัด กระทรวงศึกษาธิการ ในระยะแรกรายการ ทีจ่ ดั ออกอากาศ ได้แก่
บทความ รายการสําหรับเด็ก ดนตรีไทยและสากล ละคร ทัง้ ละครไทยและละครภาษาอังกฤษ วิชาชุด
ครูระดับต่างๆ ผูจ้ ดั รายการของวิทยุศกึ ษา เช่น ดร.ก่อ สวัสดิ ์พานิชย์, เปลือ้ ง ณ นคร, เจือ สตะเวทิน
,
ฉันทิชย์ กระแสสินธุ,์ เจริญพัน ชุมสาย ณ อยุธยา, ฉันท์ ขําวิไล, จินตนา ยศสุนทร, ม.ล.ตุย้ ชุมสาย, ครูชน้ิ
ศิลปบรรเลง,ครูเทวาประสิทธิ ์ พาทยโกศล รายการวิทยุในยุคนี้ เช่น วิทยุปริทรรศน์ เยีย่ มวิทยุศกึ ษา เป็ นต้น

นอกจากนี้ยงั มีการจัด ทํา วารสารวิทยุศกึ ษา เพื่อประชาสัมพันธ์วทิ ยุศกึ ษาให้เป็ นที่รจู้ กั


ประกอบด้วยรายการกระจายเสียง ข่าวสารของสถานี บทความ และความรูด้ า้ นต่างๆ ออกเป็ นราย
ปกั ษ์ ฉบับละ ๑ บาท โดยฉบับแรกออกเมื่อ ๑๕ ธันวาคม ก่อนสถานีวทิ ยุศกึ ษาเริม่ ส่งกระจายเสียง
เป็ นครัง้ แรก

ยุคแรก (พ.ศ. ๒๕๐๑ - ๒๕๑๔)

หลังจากจัดตัง้ สถานีวทิ ยุศกึ ษาแล้ว ๔ ปี จึงเริม่ บริการวิทยุโรงเรียน โดยเริม่ ออกอากาศต้นปี


การศึกษา พ.ศ. ๒๕๐๑ มีวตั ถุประสงค์หลักเพือ่ ช่วยส่งเสริมคุณภาพของการเรียนการสอนในโรงเรียน
ชนบท ที่ยงั ขาดแคลนครูและอุปกรณ์ในการเรียนการสอน วิชาทีจ่ ดั ออกอากาศ ได้แก่ สังคมศึกษา
ดนตรีแ ละขับ ร้อ ง ระดับ ประถม และภาษาอัง กฤษระดับ มัธ ยม ในปี ๒๕๑๐ รัฐ บาลประเทศ
ออสเตรเลียได้ให้ความช่วยเหลือ ภายใต้แผนโคลัมโบ มอบเครือ่ งส่งขนาด ๑๐ กิโลวัตต์ รวมทัง้ ติดตัง้
เสาอากาศสู ง ๑๒๕ เมตร และต่ อ มาได้ ใ ห้ เ ครื่ อ งรั บ ฟ งั วิ ท ยุ จํ า นวน ๓,๐๐๐ เครื่ อ งแก่
กระทรวงศึกษาธิการเพือ่ แจกจ่ายให้โรงเรียนทีร่ บั ฟงั วิทยุโรงเรียน ด้วย

การดําเนินงานของวิทยุศกึ ษาในระยะนี้ได้ขยายขอบข่ายงานผลิตรายการโดยเชิญวิทยากร
ภายนอกทีม่ คี วามรูแ้ ละประสบการณ์ในเรือ่ งต่างๆ โดยเฉพาะรายการเกีย่ วกับการศึกษา ศาสนา และ
วัฒนธรรม มาร่วมรายการ เช่น น.พ.ประเวศ วะสี,ดร.วิจติ ร ศรีสอ้าน,น.พ.อุทยั รัตนิน,ดร.ศักดิ ์ศรี
แย้ม นั ด ดา,ดร.เจตนา นาควัช ระ,ดร.เกษม สุว รรณกุ ล ,ดร.สมศัก ดิ ์ ชูโ ต,ดร.เขีย น ธีร ะวิท ย์,ดร.
นววรรณ พันธุเมธา,คุณพิชยั วาสนาส่ง เป็ นต้น การจัดรายการให้ความสําคัญกับบท (script) ซึง่ ต้อง
48

เตรียมล่วงหน้าและตรวจสอบก่อนออกอากาศทุกครัง้ บางครัง้ มีรายการสัมภาษณ์นอกสถานที่ และ


เพิม่ การนําเสนอข่าวในบางช่วงเวลาซึง่ ส่วนมากเป็ นการอ่านข่าว

รายการที่จดั ออกอากาศ เช่น วิทยุวทิ ยา วิชาชุดครู เพื่อให้ครูตดิ ตามฟงั และสามารถสอบ


เลื่อนวิทยฐานะจากกรมการฝึ กหัดครูในสมัย นัน้ ได้ รายการส่งเสริมด้านดนตรี โดยเฉพาะรายการ
ดนตรีไทยของวิทยุศกึ ษา ถือเป็ นเอกลักษณ์ของสถานีทน่ี ํ าเสนอการบรรเลงดนตรีทไ่ี พเราะและเป็ น
แบบฉบับ ของดนตรีไทยอย่างแท้จริง ทัง้ วงดนตรีจากกรมศิลปากรและวงดนตรีของบรมครูดนตรีไทย
เช่น วงพาทยโกศล เป็ นต้น ผูท้ ม่ี าจัด รายการดนตรีไทยให้วทิ ยุศกึ ษาเป็ นประจํา เช่น ครูมนตรี ตรา
โมท, ครูประสิทธิ ถาวร, นายแพทย์พนู พิศ อมาตยกุล, นายแพทย์สุพจน์ อ่างแก้ว และอีกหลายๆ
ท่าน รวมทัง้ เปิ ดโอกาสให้นักเรียนและครูโรงเรียนต่างๆได้มาแสดงดนตรีไทยและสากล ด้วย วิทยุ
ศึกษายังได้จดั รายการละคร ซึ่งเป็ นละครทีเ่ ขียนขึน้ เอง ส่วนใหญ่เป็ นละครที่ส่งเสริมด้านคุณธรรม
และบางครัง้ ก็มผี แู้ สดงกิตติมศักดิ ์ เช่น พลเอกมังกร พรหมโยธี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
สมัยนัน้ หม่อมหลวงปิ่ น มาลากุล ผูก้ ่อตัง้ สถานีวทิ ยุศกึ ษา คุณหญิงอัมพร มีศุข ม.ร.ว.ฉันทากร
วรวรรณ นอกจากนี้มกี ารจัดออกอากาศสด รายการธรรมะ ซึ่งเป็ นการแสดงธรรมในห้องส่งที่มคี รู
ข้าราชการ และนักเรียน มาร่วมฟงั ออกอากาศเป็ นประจําทุกสัปดาห์ และได้พฒ ั นาการจัดทํารายการ
ในระยะต่อมาเป็ นรายการชุดความรู้สนั ้ ๆเกี่ยวกับ ธรรมะในชีวติ ประจําวัน รวมทัง้ การนํ าเทปไป
บันทึกเสียงรายการทีว่ ดั ซึง่ ผูจ้ ดั ก็มี ท่านปญั ญา นันทภิกขุ เป็ นต้น

สิง่ หนึ่งที่ทําให้ สถานีวทิ ยุศกึ ษาเป็ นที่รูจ้ กั ในยุคนี้คอื การประกาศผลสอบของผูท้ ่เี รียนจบ
มัธยมศึกษาปี ท่ี ๖ ซึง่ เป็ นชัน้ มัธยมสูงสุดในสมัยนัน้ และมีการสอบโดยใช้ขอ้ สอบเดียวกันทัวประเทศ

วิทยุศกึ ษาเป็ นสถานีวทิ ยุแห่งเดียวที่ประกาศผลสอบของผูส้ อบได้อนั ดับ ๑๕๐ และผูส้ อบได้ทุกคน
จนกระทังมี่ การยกเลิกการสอบแบบวัดผลทัวประเทศ ่ และให้โรงเรียนต่างๆ จัดสอบเอง

ยุคพัฒนา (พ.ศ. ๒๕๑๕ - ๒๕๓๖)

สถานีวทิ ยุศกึ ษา ออกอากาศทีว่ ทิ ยาลัยเทคนิคทุ่งมหาเมฆมา จนถึงปี ๒๕๑๕ จึงได้ยา้ ยมา


ออกอากาศที่ตึกวิทยุศกึ ษา ในบริเวณกระทรวงศึกษาธิการในระบบ AM ความถี่ ๑๑๘๐ KHz,
๓๒๑๐, และ ๖๐๘๐ KHz และกระจายเสียงใน ระบบ FM ความถี่ ๙๐.๗๕ MHz ภายหลังได้
เปลีย่ นแปลงคลื่นความถีใ่ นระบบ AM เป็ น ๑๑๙๗ KHz และระบบ FM เป็ น ๙๒ MHz และในปจั จุบนั
ออกอากาศด้วยระบบ AM ๑๑๖๑ KHz และ FM ๙๒ MHz
49

ในด้า นการจัด รายการ ของวิท ยุ ศึก ษา มีก ารพัฒ นารายการละครโดยนํ า นวนิ ย ายของ
นักเขียนที่ มีช่อื เสียงมาปรับเป็ นละครวิทยุโดยขออนุ ญาตผูเ้ ขียนก่อนนําออกอากาศ

รายการสําหรับเด็กเพิม่ พัฒนาการเป็ นรายการประเภท magazine และ documentary มี


ความหลากหลายในรายการ เช่ น มีนิ ท าน การสัม ภาษณ์ การตอบจดหมาย เพลง เป็ น ต้ น
เช่นเดียวกับรายการสําหรับแม่บา้ นและคนทีไ่ ม่ได้ทาํ งานหรือทํางานในโรงงาน วิทยุศกึ ษาก็เริม่ จัดทํา
รายการที่ให้ความรูเ้ รื่องการ ดูแลรักษาสุขภาพ โภชนาการ การประกอบอาหาร การเลี้ยงดูลูก คห
เศรษฐศาสตร์ ตอบจดหมายผู้ฟงั เป็ นต้น รายการสําหรับเด็กสมัยนัน้ คือ รายการเพื่อนคุย และ
รายการสําหรับแม่บา้ นคือ รายการมิตรในเรือนรายการสอนภาษาต่างประเทศ จากเดิมทีม่ แี ต่รายการ
สอนภาษาอังกฤษ ก็เริม่ มีรายการสอนภาษาฝรังเศส ่ โดยความร่วมมือกับหน่ วยศึกษานิเทศก์ กรม
สามัญ ศึก ษา และสมาคมฝรังเศส ่ และรายการสอนภาษาเยอรมัน โดยความร่ว มมือ กับ สถาบัน
วัฒนธรรมเยอรมัน ในการจัดทํารายการ

นอกจากการปรับรายการแล้วในยุคนี้ยงั มีการปรับวารสารวิทยุศกึ ษาให้ทนั สมัยยิง่ ขึน้ ทัง้


รูปเล่มและเนื้อหา โดยจัดทําเป็ นเล่มเล็กๆ ขนาดสิบแปดหน้ายก ประกอบด้วยรายการกระจายเสียง
ทัง้ วิทยุศกึ ษา วิทยุโรงเรียน และโทรทัศน์ เพื่อการศึกษา เนื้อหาของรายการต่างๆที่ออกอากาศไป
แล้วทางวิทยุศกึ ษาซึง่ เป็ นประโยชน์แก่ ผูฟ้ งั ก็นํามาลงในหนังสือด้วย รวมทัง้ ข่าวสารต่างๆของสถานี
โดยออกหนังสือเป็ นรายเดือนแจกให้หอ้ งสมุดโรงเรียน สถานศึกษา หน่ วยงานต่างๆ และผูท้ ่สี นใจ ที่
บอกรับเป็ นสมาชิก

กระทรวงศึก ษาธิก ารได้พ ฒ ั นาการใช้วิท ยุ เ พื่อ การศึก ษาทัง้ วิท ยุ โ รงเรีย นและวิท ยุ เ พื่อ
การศึกษาประชาชนมาเป็ น ลําดับ ปญั หาอุปสรรคทีส่ าํ คัญซึง่ ทําให้การพัฒนาเป็ นไปค่อนข้างช้า คือ
งบลงทุนทีส่ ูงมาก แต่ในที่สุดกระทรวงศึกษาธิการก็สามารถร่วมมือกับกรมประชาสัมพันธ์ จัดสร้าง
เครือ ข่ า ยวิท ยุ เ พื่อ การศึก ษาแห่ ง ชาติ ขึ้น สํ า เร็จ เริ่ม ออกอากาศเมื่อ ปี พ.ศ. ๒๕๒๖ โดยใช้
งบประมาณส่วนหนึ่งจากเงินยืม IDA แห่งธนาคารโลก (International Development Association)

เครือข่ายวิทยุทส่ี ร้างขึน้ ใหม่ มีจุดประสงค์เพื่อการศึกษาและการพัฒนาโดยเฉพาะ แม้ว่าจะ


สังกัดกรมประชาสัมพันธ์ และกรมประชาสัมพันธ์เป็ นผู้ดําเนินการ แต่มหี ลักการตัง้ แต่ต้นว่ากรม
ประชาสัมพันธ์จะไม่ผลิตรายการเอง แต่ให้หน่ วยงานการศึกษาต่างๆรับผิดชอบการผลิตรายการ
ทัง้ หมด สําหรับกระทรวงศึกษาธิการซึง่ เป็ นหน่ วยงานแกนนําได้รบั มอบหมายให้ผลิตรายการ ป้อน
เครือข่ายวิทยุเพื่อการศึกษาแห่งชาติน้ี วันละ ๘ ชัวโมง ่ หรือสัปดาห์ละ ๕๖ ชัวโมง
่ และเพื่อรองรับ
ภาระการผลิตรายการจํานวนมากมายดังกล่าว กระทรวงศึกษาธิการจึงลงทุน โดยใช้เงินช่วยเหลือ
50

IDA สร้างศูนย์ผลิต รายการวิทยุแห่งใหม่ พร้อมติดตัง้ อุปกรณ์อย่างทันสมัยขึน้ ทีถ่ นนศรีอยุธยา เป็ น


ที่ทําการใหม่ของหน่ วยงานที่เรียกว่า ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา รับผิดชอบด้านการผลิตและ
พัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆเพื่อการศึกษา และในขณะเดียวกันก็ได้เพิม่ กําลังเครื่องส่งคลื่น AM ของ
สถานีวทิ ยุศกึ ษาเป็ น ๒๐ กิโลวัตต์ โดยจัดซือ้ เครื่องส่งระบบ PDM เป็ นเครื่องแรกของประเทศไทย
และย้ายเครือ่ งส่งดังกล่าวจากบริเวณวิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพ ทุ่งมหาเมฆ ไปยังทีต่ งั ้ ใหม่ทแ่ี ขวงแสม
ดํา เขตบางขุนเทียน เสาอากาศสูง ๖๓ เมตร ส่วนคลื่น FM ของสถานีวทิ ยุศกึ ษานัน้ ได้จดั หา
เครือ่ งส่งทีก่ าํ ลังสูงขึน้ เป็ น ๕ กิโลวัตต์ ติดตัง้ ณ อาคารศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา ออกอากาศทัง้
รายการวิทยุโรงเรียนและรายการวิทยุเพื่อการศึกษาประชาชน ส่วนการออกอากาศทางคลื่น AM ทัง้
จากเครือข่ายวิทยุเพือ่ การศึกษาและสถานีวทิ ยุศกึ ษานัน้ ใช้วธิ สี ง่ สัญญาณจากอาคารศูนย์เทคโนโลยี
ทางการศึกษา โดยมีเครื่องส่งสัญญาณไมโครเวฟ (Microwave) จากอาคารศูนย์เทคโนโลยีทาง
การศึกษาตรงไปยังสถานีแม่ขา่ ยของกรมประชาสัมพันธ์ ทีซ่ อยอารียส์ มั พันธ์ ถนนพหลโยธิน และไป
ยังเครื่องส่งของสถานีวทิ ยุศกึ ษาทีแ่ สมดํา นับได้ว่าเป็ นการดําเนินการผลิตรายการและออกอากาศที่
สมบูรณ์และทันสมัย

เมื่อ วิท ยุ ศึก ษา ย้า ยที่ทํ า การมาที่ถ นนศรีอ ยุ ธ ยา เป็ น ยุ ค ที่วิท ยุ กํ า ลัง เป็ น ขวัญ ใจของ
ประชาชน รายการวิทยุศกึ ษาทีจ่ ดั ออกอากาศให้ความสําคัญกับการมีสว่ นร่วมของผูฟ้ งั และรายการ
ความรู้ซ่ึงนํ าเสนอเป็ นการสนทนาพูดคุยกับวิทยากรมากขึ้น ไม่เน้ นรายการวิทยุท่ตี ้องมีบทวิทยุ
เหมือนอย่างเดิมมากนัก แต่จะเน้นประเด็นคําถาม และการประสานงานล่วงหน้าก่อนการออกอากาศ
สดหรือบันทึกเทป บางครัง้ เป็ นการบันทึกเสียงทางโทรศัพท์ เพื่อความคล่องตัวในการจัดทํารายการ
และรวดเร็วในการนํ าเสนอ การจัดทํารายการเป็ นแบบ phone-in มากขึน้ เพื่อให้ผฟู้ งั มีส่วนร่วมใน
รายการเพื่อปรึกษาปญั หา หรือแสดงความคิดเห็น เนื้อหารายการปรับให้ทนั ต่อความเปลี่ยนแปลง
ของสังคม อาทิ เรื่องสิง่ แวดล้อม โรคเอดส์ แนะแนวการศึกษา วิเคราะห์ข่าวต่ างประเทศ มีการ
นํ า เสนอเพลงที่ผู้ ฟ งั ต้ อ งการฟ งั ในบางรายการ และจัด ทํ า รายการสอนภาษาญี่ ปุ่ น เพิ่ม ขึ้น
นอกเหนื อ จากสอนภาษาอัง กฤษ ฝรัง่ เศส และเยอรมัน การจัด รายการเน้ น การให้ค วามรู้ก ับ
กลุ่มเป้าหมายทุกกลุ่ม เช่น รายการตามตะวัน สําหรับผูด้ อ้ ยโอกาส ผูท้ ศ่ี กึ ษา หาความรูด้ ว้ ยตนเอง
แม่บา้ น รายการโลกสดใส สําหรับกลุ่มเด็ก รายการนัดพบ สําหรับกลุ่มวัยรุ่น รายการเพื่อนยามคํ่า
สําหรับผูส้ งู อายุ

ผูจ้ ดั รายการวิทยุศกึ ษาในยุคนี้ ในช่วงต้นๆ อาทิ ดร.สมเกียรติ อ่อนวิมล, รองศาสตราจารย์


ประทุมพร วัชรเสถียร และอาจารย์จากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อีกหลายท่าน
51

ช่วงต่อมาก็มี ดร.สรจักร เกษมสุวรรณ, ดร.เลอสรร ธนสุกาญจน์, ดร.จรวยพร ธรณินทร์, ศรีสมร คงพันธุ์


เป็ นต้น

นอกจากการจัดทํารายการวิทยุแล้ว วิทยุศกึ ษายังได้รวบรวมเนื้อหารายการความรูต้ ่างๆที่


เป็ นประโยชน์ สําหรับผู้ฟงั จัดพิมพ์เ ป็ นหนังสือเพื่อเผยแพร่อีกด้วย เช่น เรื่องสําหรับเด็ก ได้แก่
หนังสือ ดวงดาวและอวกาศ, ความลับของจักรวาล, ทําไมท้องฟ้าจึงมีสฟี ้ า, คณิตคิดสนุ ก, สัตว์ปา่
น่ารัก, เด็กดี, ภาษาไทย ใช้ให้ถูก เป็ นต้น หนังสือความรูต้ ่างๆ เช่น สมุนไพรใกล้ตวั ธรรมะประดับ
ใจ เกษตรน่ า รู้ แอโรบิก ด๊ า นซ์ข นั ้ พื้น ฐาน รวมทัง้ จัด ทํา คู่มือ ประกอบการรับ ฟ งั รายการสอน
ภาษาอังกฤษอีกหลายชุด เช่น Zero English, Five Minutes Everyday English, Project Aftermath,
Bedtime Stories, Stories from Asia เป็ นต้น

สําหรับวิทยุโรงเรียนทีเ่ คยออกอากาศทางวิทยุศกึ ษานัน้ ได้มกี ารปรับ เปลีย่ นไปออกอากาศ


ทางสถานีวทิ ยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยเพื่อการศึกษา เมื่อปี การศึกษา ๒๕๒๗ แต่ยงั คงใช้
วิ ธี ส่ ง สัญ ญาณจากอาคารศู น ย์ เ ทคโนโลยี ท างการศึ ก ษาตรงไปยัง สถานี แม่ ข่ า ยของกรม
ประชาสัมพันธ์ทซ่ี อยอารียส์ มั พันธ์ ถนน พหลโยธิน

ยุคแห่งการแข่งขัน (พ.ศ. ๒๕๓๗ - ๒๕๔๑)

สถานีวทิ ยุศกึ ษาในบทบาทและภารกิจของสถานีวทิ ยุเพื่อการศึกษาทีไ่ ม่มกี าร โฆษณาสินค้า


มาตลอดระยะเวลา ๓๙ ปี เมื่อถึงยุคที่ส่อื มีการเติบโตและขยายตัวอย่างรวดเร็วโดยมีบรรยากาศ
ประชาธิปไตยที่เบ่งบาน และเทคโนโลยีทนั สมัยเป็ นตัวเสริม ไม่ว่าจะเป็ นดาวเทียม ใยแก้ว และ
คอมพิวเตอร์ส่งผลให้เกิดการแข่งขันระหว่างสื่อมากขึน้ เพื่อช่วงชิงผูฟ้ งั เนื่องจากประชาชนมีโอกาส
เลือกรับสื่อได้มากขึน้ วิทยุเพื่อการค้า (commercial radio) พัฒนาอย่างรวดเร็ว และระบบการ
กระจายเสียงเป็ นแบบเครือข่าย (network) มีรปู แบบการนํ าเสนอทีเ่ น้นในด้านการรายงานข่าวด่วน
ข่าวเด่น และข่าวเฉพาะหน้ า เพราะได้เปรียบกว่าสื่ออื่นที่เข้าถึง ผูร้ บั ได้มากกว่าและรวดเร็วกว่า
ส่งผลให้สถานีวทิ ยุศกึ ษาต้องปรับบทบาทและหน้าทีต่ ามสถานการณ์ท่ี เปลีย่ นแปลงไปด้วยเช่นกัน

การจัดรายการเน้นการตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวติ
และเน้นการทํางานร่วมกับเครือข่ายมากขึน้ มีการนําเสนอข่าวการศึกษาทุกต้นชัวโมงและการจั
่ ดทํา
ข่าวประกอบเสียง เนื้อหารายการปรับให้ทนั สมัย นําเสนอเรื่องประชาธิปไตย เทคโนโลยีสารสนเทศ
วิทยาศาสตร์ สิง่ แวดล้อม การศึกษา อาชีพการทํามาหากิน ครอบครัว สิทธิผบู้ ริโภค ศิลปวัฒนธรรม
เพลงลูกทุ่ง และเพิม่ รายการสอนภาษาจีน รายการสนทนาและอภิปรายด้านสังคม เศรษฐกิจ และ
52

เหตุการณ์บา้ นเมือง มากขึน้ รายการวิทยุศกึ ษาทีอ่ อกอากาศในยุคนี้ ได้แก่ เส้นทางประชาธิปไตย,


ก้าวไปกับไอที, ๙๒ สนทนา, มิตใิ หม่ ไฮเทค, เมืองไทยไม้งาม, เส้นทางเศรษฐี, เพื่อนคู่คดิ , เวที
ผูบ้ ริโภค, สืบสานมรดกไทย, เก็บเก่ามาเล่าใหม่, เวทีวาทะศิลป-วัฒนธรรม,ผูจ้ ดั รายการ ก็เช่น พงศ์
เทพ เทพกาญจนา,ดร.พรชัย พัชรินทร์ตนะกุล, ดร.บวร ปภัสราทร,เจนภพ จบกระบวนวรรณ, อเนก
นาวิกมูล, อรอนงค์ อินทรจิตร,นรินทร์ กรินชัย เป็ นต้น

การดํ า เนิ น งานของสถานี แ สวงหาความร่ ว มมือ กับ หน่ ว ยงาน สถาบัน องค์ก รเอกชน
ผู้เ ชี่ย วชาญด้านต่ างๆ มากขึ้น แต่ ย งั คงหลัก การของความเป็ น สถานี วิท ยุเ พื่อการศึก ษา โดย
คํานึงถึงประโยชน์ทผ่ี ฟู้ งั จะได้รบั การนําไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวติ และส่งเสริมการเรียนรูต้ ลอด
ชีวติ ของผูฟ้ งั แม้จะมีกระแสการแข่งขันกับรายการบันเทิงของสถานีวทิ ยุเพื่อการค้า ซึง่ เป็ นทีน่ ิยม
อย่างมากในช่วงนัน้ วิทยุศกึ ษายังคงยึดมันในหลั
่ กการและเป็ นสถานีวทิ ยุทไ่ี ม่มโี ฆษณา

วารสารวิทยุศึกษา ที่เคยออกอากาศรายเดือนซึ่งแจกให้ผู้สนใจ ห้องสมุด และหน่ วยงาน


ต่างๆ ต่อเนื่องกันมา ได้ยกเลิกไปในยุคนี้ แต่วทิ ยุศกึ ษายังคงติดต่อสัมพันธ์กบั ผูฟ้ งั อยูต่ ลอดเวลา มี
การจัดกิจกรรมพบปะผูฟ้ งั ประจําปี เพือ่ สนทนาแลกเปลีย่ นความคิดเห็น และเพื่อทราบความต้องการ
ของผูฟ้ งั นํามาพัฒนาการจัดและเผยแพร่รายการของวิทยุศกึ ษาให้ผฟู้ งั ได้รบั ประโยชน์มาก ทีส่ ดุ

ยุคปฏิ รปู การศึกษา (พ.ศ. ๒๕๔๒ - ปัจจุบนั )

สถานี วิท ยุศึกษาป จั จุบ นั ก้าวเข้าสู่ยุคแห่งการปฏิรูปการศึกษา ซึ่งมีภารกิจสําคัญในการ


ส่งเสริมให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรูต้ ลอดชีวติ แก่ ประชาชน เพื่อสร้างศักยภาพและความสามารถใน
การแข่งขัน ปรับตัว รูเ้ ท่าทันการเปลีย่ นแปลงของเทคโนโลยีสมัยใหม่ รวมทัง้ มีคา่ นิยมและพฤติกรรม
ที่เหมาะสม และอนุ รกั ษ์สบื ทอดประเพณีวฒ ั นธรรมที่ดงี าม จึงเน้นการพัฒนาคุณภาพรายการและ
การออกอากาศ โดยเฉพาะการขยายช่องทางการรับ ฟ งั ทัง้ การรับ ฟงั ผ่านดาวเทีย ม และระบบ
ออนไลน์ เพื่อให้ผฟู้ งั สามารถเลือกรับฟงั รายการได้ตามความต้องการและในเวลาทีส่ ะดวก ปจั จุบนั
สถานีวทิ ยุศกึ ษานอกจากกระจายเสียงด้วยระบบ FM ความถี่ 92 MHz และระบบ AM ความถี่ 1161
KHz แล้ว ยังสามารถรับ ฟ งั ผ่านดาวเทีย มได้ท าง ช่อง R 30 และทางอิน เทอร์เ น็ ต ที่
www.moeradiothai.net ซึง่ ผูฟ้ งั สามารถรับฟงั ได้ทงั ้ รายการสด (Live Radio) และเลือกรับฟงั รายการ
ตามความต้องการ (Radio on Demand)

การดําเนินงานของสถานีวทิ ยุศกึ ษา กระทรวงศึกษาธิการ มีการวางแผน บริหารจัดการอย่าง


เป็ นระบบและมีมาตรฐาน จัดทําฐานข้อมูลผูฟ้ งั ประชาสัมพันธ์รายการและสถานี ดําเนินการสํารวจ
53

ติดตามประเมินผลการรับฟงั เพือ่ นําข้อมูลวิชาการมาเป็ นแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนางานให้มี


ประสิทธิภาพ การจัดรายการส่งเสริมและสนับสนุ นการปฏิรูปการศึกษา เพื่อสร้างความเข้าใจและ
ประชาสัมพันธ์การปฏิรปู การศึกษาแก่ประชาชน การพัฒนาคนและสังคมทีม่ คี ุณภาพ การเสริมสร้าง
สุขภาวะของประชาชน รายการทีจ่ ดั ออกอากาศ เช่น รอบรัว้ เสมา เพื่อนยามเย็น คลินิกรักษ์สุขภาพ
ชีวติ ธรรมชาติ พูดจา ภาษาไทย วิถไี อที เป็ นต้น

หลักการผลิ ตรายการวิ ทยุการศึกษา

วิทยุการศึกษาเป็ นสื่อมวลชนทีไ่ ด้รบั การยอมรับกันทัวไปว่


่ าสามารถเข้าถึงประขาชนได้มาก
ทีส่ ดุ ทัง้ ด้านเวลา และความรวดเร็ว และ ปริมาณของผูร้ บั เนื่องจากเป็ นสือ่ ทีท่ าํ ให้ผรู้ บั ฟงั รูส้ กึ คล้อย
ตามและเข้าใจง่าย และผูร้ บั ฟงั ยังได้ขอ้ มูลข่าวสารที่รวดเร็ว การผลิตรายการวิทยุการศึกษา จึง
จําเป็ นต้องมีรปู แบบทีส่ อดคล้องกับกลุ่มผูฟ้ งั เป้าหมาย ดังนัน้ ผูผ้ ลิตรายการควรรูจ้ กั เลือกใช้รปู แบบ
ในการผลิตรายการ และสามารถนํ าเสนอรายการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ชวนรับฟงั ชวนติดตาม
อย่างต่อเนื่อง

ความหมายของวิ ทยุการศึกษา

ความหมายของวิ ทยุกระจายเสียง

ก่ อ นที่จ ะใช้คํ า ว่ า วิท ยุ ก ระจายเสีย งเราใช้คํ า อื่น มาหลายคํ า เช่ น จอมพลเรือ กรมพระ
นครสวรรค์วรพินิต ทรงใช้ทบั ศัพท์ว่า “ราดิโอโทรเลข” (Radio Telegraph) พระบาทสมเด็จพระ
มงกุฎเกล้าเจ้าอยู๋หวั ใช้คาํ ว่า “วิทยุ” แทนคําว่า “ราดิโอ” ต่อมาราชบัณฑิตยสถานได้กําหนดคําทีใ่ ช้
เป็ นทางการว่า “วิทยุกระจายเสียง” ตรงกับคําภาษาอังกฤษว่า “Radio Broadcasting” ทีจ่ ริงคําว่า
“Radio” ต้องเขียนเป็ นภาษาไทยว่า “เรดิโอ”

สําหรับพจนานุ กรมสื่อสารมวลชนได้ใ ห้ความหมาย “วิทยุ” หมายถึง การใช้คลื่น


แม่เหล็กไฟฟ้าหรือคลื่นวิทยุเพื่อส่งกระจายออกอากาศ หรือเพื่อรับสัญญานไฟฟ้าโดยไม่ตอ้ งใช้สาย
ต่อเชื่อมระหว่างกัน

สารานุ ก รมบริเ ทนิ ก าได้ใ ห้ค วามหมายของคํา ว่ า ”วิท ยุ ก ระจายเสีย ง” หมายถึง


การกระจายหรือแพร่ไปของสือ่ แม่เหล็กไฟฟ้าในอากาศเพือ่ ส่งสาร
54

ความหมายของการศึกษา

การศึกษาเป็ นกระบวนการทําคนให้เปลีย่ นแปลงไปในทางทีด่ ตี ามทีส่ งั คมปราถนา มนุ ษย์จะ


เรียนรูไ้ ด้จากการศึกษาตามปกติวสิ ยั การศึกษาในระบบดรงเรียน และการศึกษานอกระบบโรงเรียน
การศึกษาตามปกติวสิ ยั (Informal Education) เป็ นการศึกษาจากสภาพแวดล้อมรอบตัว
เป็ นไปได้โดยธรรมชาติและเป็ นการศึกษาตลอดชีวติ
การศึกษาในระบบโรงเรียน (Formal Education) เป็ นการศึกษาทีม่ กี ารจัดโครงสร้างเป็ น
ลํ า ดับ ขัน้ เพื่อ ให้ ก ารเรีย นรู้เ ป็ น ไปอย่ า งมีร ะเบีย บระบบ มีก ารจัด หมวดหมู่ ม วลความรู้แ ละ
ประสบการณ์ มีการจัดลําดับขัน้ ความสําเร็จ เพื่อให้เกิดพัฒนาการอย่างต่อเนื่องตามวัย วุฒภิ าวะ
และความยากง่ายของเนื้อหาสาระ

การศึกษานอกระบบโรงเรียน (Non-Formal Education) เป็ นการศึกษาเฉพาะเรื่องเฉพาะ


ด้านเพิม่ เดิมหรือต่อเนื่องจากการศึกาในระบบโรงเรียน เพื่อให้มคี วามรูแ้ ละประสบการณ์เท่าทัน
ความรูท้ เ่ี ปลีย่ นแปลงไป

โดยสรุปแล้ว วิทยุการศึกษา เป็ นสื่อเสียงทีเ่ สนอเนื้อหาสาระทัง้ ทีเ่ ป็ นความรูท้ วไปแก่


ั่ ผฟู้ งั
และทีเ่ ป็ นส่วนหนึ่งของหลักสุตรทีเ่ ปิ ดสอนในสถาบันการศึกษา วิทยุการศึกษามีความสําคัญในการ
ให้ความรูท้ วไปแก่
ั่ ประชาชน และใช้ในการเรียนการสอน

องค์ประกอบของการผลิ ตรายการวิ ทยุการศึกษา

การผลิต วิท ยุ ก ารศึก ษาเป็ น ทัง้ ศาสตร์แ ละศิล ป์ อาจไม่ มีก ฎเกณฑ์ต ายตัว ที่ช้ีล งไปว่ า
จะต้องผลิตรายการอย่างไรถึงจะถูกใจคนฟงั แต่อย่างไรก็ตาม การผลิตรายการวิทยุการศึกษามี
องค์ ป ระกอบพื้น ฐานที่ สํ า คัญ ซึ่ ง จะทํ า ให้ ผู้ ผ ลิ ต รายการมีแ นวทางในการผลิ ต รายการที่ มี
ประสิทธิภาพต่อไป ได้แก่องค์ประกอบดังต่อไปนี้
1. ผูฟ้ งั (audience) หมายถึง กลุ่มผูฟ้ งั ทีเ่ ป็ นเป้าหมายของการผลิตรายการ(target
audience) ผู้ผลิตรายการต้องทราบว่ากลุ่มผู้ฟงั รายการเป็ นใคร การศึกษาข้อมูลทางด้าน
ประชากรศาสตร์และพฤติกรรมการรับฟงั วิทยุการศึกษาของกลุ่มผูฟ้ งั กลุ่มต่างๆ เช่น กลุ่มวัยเด็ก
กลุ่มวัยรุ่น กลุ่มวัยทํางาน เป็ นต้น ข้อมูลดังกล่าวจะช่วยให้ทงั ้ ผูบ้ ริหารสถานีวทิ ยุการศึกษา และ
ผูจ้ ดั รายการ ผูผ้ ลิตรายการสามารถใช้ประกอบการตัดสินใจวางแผนกลยุทธ์ในการผลิตรายการให้
สอดคล้องกับกลุ่มผูฟ้ งั เป้าหมายในชุมชนนัน้ โดยศึกษาจากอัตราส่วนความนิยมรายการ (rating) ใน
การศึกษาอัตราส่วนความนิยมรายการจะทําให้ทราบว่าสถานีวทิ ยุการศึกษาของตนติดอันดับความ
55

นิยมของประชาชนหรือไม่ และ สามารถทําให้ทราบว่ารายการประเภทใดของสถานีวทิ ยุการศึกษาใด


ทีไ่ ด้รบั ความนิยมสูงสุดเพือ่ นํามาเป็ นกลยุทธ์ในการผลิตรายการให้เป็ นทีน่ ิยมของผูฟ้ งั
2. เนื้อหา (content) คือเรื่องราวต่างๆ ทีผ่ ผู้ ลิตรายการต้องการนํ าเสนอให้แก่ผฟู้ งั ซึง่
เนื้อหาดังกล่าวต้องสอดคล้องกับกลุ่มผูฟ้ งั เป้าหมาย โดยพิจารณาขอบข่ายของเนื้อหาความยากง่าย
รวมถึง การแบ่ ง สรรเนื้ อ หาที่จ ะนํ า เสนอในแต่ ล ะช่ ว งแต่ ล ะครัง้ ด้ว ย รายการวิท ยุ ก ารศึก ษามี
ส่วนประกอบสําคัญ คือเนื้อหา ภาษาทีใ่ ช้ และลีลาการนําเสนอรายการทัง้ 3 ส่วน ต้องประสม
กลมกลืนกันอย่างเหมาะสม เพื่อให้ผฟู้ งั และผูช้ มเข้าใจง่าย สนใจติดตามและได้ประโยชน์จากการ
ฟงั
3. วิธกี ารนําเสนอ เป็ นกระบวนการทีจ่ ะนําเนื้อหา เรื่องราวสาระต่างๆ มาประกอบกัน
เข้าเป็ นรายการ โดยจัดลําดับเนื้อหาสาระและวิธกี ารนํ าเสนอให้เหมาะสมและน่ าฟงั โดยมีลกั ษณะ
การนํ า เสนอด้ว ยลีล าการพูด และนํ้ า เสีย ง เสีย งประกอบที่เ หมาะสมกับ รู ป แบบของรายการ
ตลอดจนการนําเสนอทีม่ คี วามหลากหลายซึง่ จะช่วยให้รายการไม่น่าเบื่อ แต่ในขณะเดียวกันรายการ
ยังคงต้องมีความเป็ นอันหนึ่งอันเดียวกัน ทัง้ ในแง่เนื้อหาและวิธกี ารนําเสนอ
4. เวลาออกอากาศ เวลาที่ออกอากาศรายการอยู่ในช่วงใด ความยาวของรายการ
ระยะเวลาเท่าไร ซึ่งเวลาในการออกอากาศจะเป็ นตัวกําหนดให้ผลิตรายการในรูปแบบใดได้บ้าง
บรรจุเนื้อหาเพียงพอหรือไม่ อย่างไร จึงจะเป็ นทีพ่ งึ พอใจของผูฟ้ งั กลุ่มเป้าหมาย
5. การประเมินผล การผลิตรายการวิทยุการศึกษาจะประสบความสําเร็จได้รบั การ
ยอมรับ หรือเป็ นทีพ่ งึ พอใจจากผูฟ้ งั มากน้อยเพียงใดนัน้ ผูผ้ ลิตรายการจําเป็ นต้องมีการประเมินผล
รายการของตนเองจากผูฟ้ งั ในระยะต่างๆ ไม่ว่าจะเป็ นการประเมินผลทัง้ ก่อนการผลิต ระหว่างการ
ผลิต และเมื่อผลิตรายการเรียบร้อยแล้ว โดยอาจใช้วธิ กี ารสํารวจวิจยั เข้ามาช่วยในการประเมินผล
ระยะต่างๆ ทัง้ นี้การประเมินผลจะก่อนให้เกิดประโยชน์ในการวางแผนกลยุทธ์การผลิต และการจัด
รายการของสถานีวทิ ยุต่อไป

กระบวนการผลิ ตวิ ทยุการศึกษา

การผลิตวิทยุการศึกษา (Program production) เป็ นการเสนอเนื้อหาความรู้ ความบันเทิง


โดยใช้รปู แบบรายการต่างๆ เพื่อให้รายการนัน้ บรรลุวตั ถุประสงค์ทไ่ี ด้กําหนดไว้ กระบวนการผลิต
รายการแบ่งออกเป็ น 4 ขัน้ ตอนใหญ่ๆ ดังนี้ คือ

1. ขัน้ วางแผนการผลิตรายการ (Planning)


2. ขัน้ เตรียมการผลิต (Preparation)
56

3. ขัน้ ดําเนินการผลิต (Production)


4. ขัน้ กระประเมินผล (evalution)

1. ขัน้ วางแผนการผลิตรายการ (Planning)

ก่อนที่จะดําเนินการผลิตรายการใดรายการหนึ่ง ผูผ้ ลิตรายการและทีมงานจะร่วมกัน


วางแผนโดยรวมข้อมูลพืน้ ฐาน ได้แก่

1.1 วัตถุประสงค์และนโยบายด้านรายการของสถานี ในการผลิตรายการวิทยุการศึกษา


จะต้องไม่ขดั กับวัตถุประสงค์และนโยบายของสถานี
1.2 ข้อมูลเกีย่ วกับการวิเคราะห์และกําหนดกลุ่มผูฟ้ งั เป้าหมายให้แน่ชดั
1.3 ความมุ่งหมายของรายการ ต้องการเน้นการผลิตรายการเพื่อวัตถุประสงค์ใด เช่น
เพือ่ ให้ขา่ วสาร ความบันเทิง หรือเพือ่ การศึกษา
1.4 รูปแบบและประเภทของรายการทีค่ วรจะผลิต ประเด็นเนื้อหา
1.5 ตารางการกระจายเสียงหรือตารางในการออกอากาศ การวางแผนจะต้องมีการ
ตรวจสอบเพื่อทีจ่ ะได้ทราบความยาวของรายการ และวันเวลาในการออกอากาศ เพื่อนํามากําหนด
ขอบเขตของเนื้อหาและกําหนดเวลาในการทํางานได้ถูกต้อง
1.6 อุปกรณ์ ท่ใี ช้สนับสนุ นการผลิตรายการวิทยุการศึกษาที่จําเป็ นได้แก่ ชุดอุปกรณ์
บันทึกเสียง แผ่นซีดี เทป ไมโครโฟนชนิดต่างๆ อุปกรณ์ตดั ต่อ เป็ นต้น
1.7 เวลาที่ใช้ในการผลิตรายการต้องมีเพียงพอกับการศึกษาข้อมูล วางแผนการผลิต
รายการ การเขียนบท การติดต่อประสานงาน การเดินทางไปบันทึกเสียงนอกสถานที่ การตัดต่อ
เทปแทรก ฯลฯ
1.8 งบประมาณ และทรัพยาการในการผลิตรายการ

หลังจากนัน้ นํ าข้อมูลมาวางแผนกําหนดวัต ถุ ประสงค์ข องการผลิต รายการว่าจะผลิต


รายการประเภทใด เช่นรายการบันเทิง หรือรายการความรู้ เพื่อใคร เพื่อหลุ่มผูฟ้ งั ทัวไป่ หรือ
กลุ่มผูฟ้ งั เฉพาะกลุ่ม คิดรายการในรูปแบบใดจึงจะเหมาะสมกับเนื้อหา และความสนใจของกลุ่มผูฟ้ งั

2. ขัน้ เตรียมการผลิต

หลังจากได้วางแผนการผลิตรายการเสร็จสมบูรณ์ดแี ล้ว ขัน้ ตอนต่อไปคือขัน้ ตอนการ


เตรียมการผลิต ซึง่ มีดงั นี้
57

2.1 ขัน้ ตอนการเขียนบท

เป็ นขัน้ ตอนทีผ่ ผู้ ลิตรายการมอบหมายให้ผเู้ ขียนบทนําแนวคิด และประเด็นเนื้อหาอย่าง


กว้างๆ ไปสร้างจินตนาการและเรีย บเรีย งออกมาเป็ น คําพูด เสีย งเพลง เสียงดนตรีและเสียง
ประกอบอื่นๆ บทวิทยุจะใช้เป็ นเครื่องมือในการทํางานร่วมกันของแต่ละฝ่ายให้เป็ นไปในทิศทาง
เดียวกัน โดยผูเ้ ขียนโครงร่างบทคร่าวๆ ก่อน (draft) เพือ่ ทีจ่ ะนําร่างบทนี้มาพิจารณาร่วมกันอีกครัง้
หนึ่งว่าเนื้อหาถูกต้องหรือไม่ รูปแบบของรายการเหมาะสมหรือไม่ เทคนิคและส่วนประกอบอื่นๆ
ของรายการเป็ นที่หน้ าสนใจเพียงพอหรือไม่ เพื่อจะให้ช่วยกันแก้ไขปรับปรุงให้เป็ นรายการที่มี
คุณภาพและสมบูรณ์ทส่ี ดุ

2.2 ขัน้ ประสานงานและจัดเตรียมวัสดุรายการ

เมื่อได้รบั มอบหมายมาแล้ว ผู้เ กี่ยวข้องทุ กคนต้องศึกษาบทที่ไ ด้ร บั เพื่อจะได้ทราบ


บทบาทและหน้ า ที่ท่ีต้อ งจัด เตรีย ม เช่น ผู้ท่ีเ กี่ย วข้อ งกับ อุ ป กรณ์ ด้า นเสีย งเตรีย มบัน ทึก เสีย ง
สําหรับบันทึกการซ้อมเพื่อนํ ามาเปิ ดฟงั ข้อผิดพลาด และเตรียมไว้ เพื่อใช้บนั ทึกเสียงจริง หรือ
จัดเตรียมเพลงทีจ่ ะใช้ประกอบรายการ ส่วนผูท้ ท่ี าํ หน้าทีป่ ระสานงานกับผูร้ ว่ มรายการฝา่ ยต่างๆ ก็
เตรียมนัดหมายกับผูแ้ สดง ผูด้ ําเนินรายการ วิทยากรผูท้ ่มี คี วามสามารถในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็ น
พิเศษ รวมทัง้ เจ้าหน้าทีด่ า้ นเทคนิค เพื่อเตรียมตัวให้พร้อมทีจ่ ะปฏิบตั งิ านตามแผนผลิตรายการที่
วางไว้ พร้อ มกัน นั น้ ต้ อ งมีก ารจองห้อ งบัน ทึก เสีย งไว้ล่ ว งหน้ า ด้ว ยเพื่อ ซัก ซ้อ ม และวัน ที่จ ะ
ออกอากาศจริงไว้ดว้ ย

2.3 ขัน้ ซักซ้อม

การผลิตรายการวิทยุการศึกษาทีด่ ี ต้องมีการซักซ้อมก่อนการบันทึกเสียง การซักซ้อม


อาจจะมีหลายขัน้ ตอน ขึ้นอยู่กบั รูปแบบของรายการ ถ้าเป็ นรายการที่ผลิตยากและมีผู้เกี่ยวข้อง
จํานวนมาก ก็ตอ้ งซ้อมอย่างพิถพี ถิ นั เพื่อช่วยลดความผิดพลาดทัง้ ด้านเนื้อหา การพูด การอ่าน
บทไล่มาตามลําดับตัง้ แต่ต้นจนจบรายการ เรียกว่า “การซ้อมแห้ง” เป็ นการซ้อมคิวว่าใครควรทํา
อะไรก่อน และฟงั ความถูกต้องทัง้ ด้านเนื้อหาและการอ่านออกเสียง เป็ นการซ้อมและจับเวลาอย่าง
คร่าวๆ เพือ่ จะได้ปรับให้ถูกต้อง ส่วนการซ้อมอีกลักษณะหนึ่ง เรียกว่า ”ซ้อมจริง” เป็ นการซ้อม
กับไมโครโฟน โดยจัดวางไมโครโฟน โดยจัดวางไมโครโฟนไว้ในตําแหน่ งทีจ่ ะใช้การจริง และต้อง
ซ้อมกันในห้องบันทึกเสียง เมือ่ การซ้อมเป็ นทีน่ ่าพอใจแล้วจึงลงมือผลิตรายการต่อไป
58

3. ขัน้ ดําเนินการผลิต
การดําเนินการผลิตอาจทําได้โดยการบันทึกเสียงรายการไว้ก่อน แล้วนํ าไปออกอากาศ
หรือแบบรายการสด โดยมีขอ้ ดี ข้อเสียแตกต่างกัน ซึ่งการบันทึกเสียงสามารถปรับปรุงแก้ไขได้
สะดวกกว่า แต่หากเป็ นรายการสดมักจะได้เปรียบในด้านความสดใหม่ทนั เหตุ การณ์ และมีสสี นั
สมจริงกว่า
อย่างไรก็ตาม รูปแบบรายการส่วนหนึ่งในปจั จุบนั ยังคงต้องอาศัยการบันทึกเสียงไว้ก่อน
เพือ่ ความสมบูรณ์และมีคุณภาพของรายการ เช่นรายการสารคดี รายการสัมภาษณ์ รายการสปอต
โฆษณาประชาสัมพันธ์ รายการละครวิทยุ
การผลิตรายการวิทยุการศึกษาด้วยการบันทึกเทปในปจั จุบนั มีเทคโนโลยี โปรแกรมตัด
ต่อและปรับแต่งเสียงด้วยคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยได้มาก ทําให้คุณภาพของงานเสียงทีบ่ นั ทึกอยู่ใน
ระดับมาตรฐานเมื่อนํ าไปใช้ออกอากาศจริง กระบวนการตัดต่อเรียบเรียงเสียงออกมาเป็ นชิน้ งานที่
สมบูรณ์ทาํ ได้ดว้ ยกระบวนการต่อไปนี้
3.1 การตัดต่ อเสีย งพูด ไม่ว่าจะเป็ น เสีย งผู้ประกาศ เสีย งสัมภาษณ์ เสีย งสนทนา
สามารถตัดต่อเสียงบางช่วงทีไ่ ม่พงึ ประสงค์ออก เช่น เสียงลมหายใจ เสียงไอกระแอม เสียงคําพูด
เกินทีไ่ ม่ตอ้ งการ เพือ้ ให้เกิดการเว้นวรรคเสียง การลําดับบทพูด เป็ นไปตามเวลาทีก่ าํ หนด
3.2 การปรับแต่งเสียง ด้วยการผสมสัญญานเสียงผ่านเครื่อง มิกเซอร์ และโปรแกรม
ปรับแต่งเสียงด้วยคอมพิวเตอร์ ปรับให้เสียงนุ่ มนวล ใส เสียงทุม้ เสียงแหลม ปรับระดับเสียงดัง
เสียงค่อย ความเร็วของเสียง จังหวะช้า – เร็ว แล้วแต่ความเหมาะสมของชิน้ งาน
3.3 ใส่เสียงดนตรี และเสียงประกอบ ด้วยการเลือกดนตรีคนั ่ ดนตรีคลอ ดนตรีประจํา
รายการ รวมถึงเสียงประกอบเพือ่ เพิม่ ความสมจริงให้สอดคล้องกับสถาณการณ์ต่างๆ
3.4 การเรียบเรียง (Mix Down) คือ การเรียบเรียงเสียงทุกประเภทเข้าด้วยกันอย่างมี
ศิลปะเป็ นชิน้ งานทีส่ มบูรณ์

4. ขัน้ การประเมินผล

ในการผลิต รายการที่ดีนัน้ ผู้ผ ลิต รายการจําเป็ นต้อ งมีการประเมินผลด้ว ย เพราะการ


ประเมินผลจะทําให้รูข้ อ้ บกพร่อง เพื่อหาทางแก้ไขให้การทํางานในครัง้ ต่อไปได้ผลดียงิ่ ขึน้ ในการ
ประเมินผล แบ่งออกได้เป็ น 2 ประเภทคือ

4.1 การประเมินผลรายการ เป็ นการประเมินทัศนคติ และความสนใจของกลุ่มผู้ฟงั


เป้าหมายที่มตี ่อรายการ หลังจากที่รายการนัน้ ได้เผยแพร่ออกอากาศไปแล้ว นัน้ หมายถึงการ
59

ติดตามผลว่ารายการที่ผลิตนัน้ มีคุณค่าเป็ นที่ประทับใจผูฟ้ งั หรือไม่ คุณภาพของรายการดีหรือไม่


สภาพการรับฟงั รวมทัง้ ปญั หาและอุปสรรคในการรับฟงั เป็ นไปอย่างไรบ้างการประเมินผลรายการ
ทําได้ดงั นี้ คือ
4.1.1 การประเมินจากปฏิกริยาสะท้อนกลับของผูฟ้ งั การประเมินความนิยม
ของรายการด้วยการเปิ ดโอกาสให้ผฟู้ งั แสดงความคิดเห็นต่อรายการมีวธิ กี ารต่างๆดังนี้
- การส่งจดหมายจากผูฟ้ งั
- การให้ผฟู้ งั โทรเข้ามาร่วมรายการ
- การให้ผฟู้ งั รับฟงั ผ่านวิทยุออนไลน์ เพือ่ การตอบโต้แบบ real time

4.1.2 การทํา Focus Groups เป็ นวิธที ใ่ี ช้ในการวิจยั เชิงการตลาด โดยผูจ้ ดั
รายการอาจทําการประเมินจากการรวบรวมผูฟ้ งั รายการวิทยุทเ่ี ป็ นกลุ่มเป้าหมายจํานวน 10-12 คน
มาพูดคุยโต้ตอบแลกเปลี่ยนความคิดเห้นเกี่ยวกับรายการนัน้ ๆ โดยในกลุ่มจะจัดให้มผี ูน้ ํ ากลุ่ม 1
คน ทําหน้ าที่เ ป็ นผู้นําในรายการพูดคุ ย ตามหัว ข้อที่กําหนดไว้ เช่น ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับ เนื้ อหา
รูปแบบรายการ ตัวผูด้ ําเนินรายการ ฯลฯ เพื่อให้ผูผ้ ลิตรายการสามารถนํ าข้อมูลมาใช้ประโยชน์ใน
การพิจารณาปรับปรุง และเปลีย่ นแปลงรายการให้มคี ุณภาพเป็ นทีถ่ ูกใจกลุ่มผูฟ้ งั เป้าหมาย มากขึน้

4.1.3 การประเมินจากการสํารวจเรตติง้ เป็ นวิธที ใ่ี ช้กนั มาก โดยให้แต่ละคน


ในครัวเรือนที่ได้รบั การสุ่มตัวอย่าง และมีอายุ 12 ปี ขน้ึ ไป บันทึกการฟงั รายการวิทยุตลอด 1
สัปดาห์ แล้วส่งกลับมา เพื่อคํานวนหาค่า เรตติ้งออกมา ซี่งข้อมูลทีไ่ ด้นัน้ จะ นํ าไปถึงการพัฒนา
รูปแบบของรายการ แล้ว เป็ น เป้าหมายในการสนับสนุนรายการในการขาย สปอต โฆษณา อีก ด้วย

4.1.4 การสังเกตและการพูดคุยกับคนในชุมชน เป็ นการออกสํารวจพูดคุยโดย


การสังเกตพฤติกรรมการฟงั รายการของคนในชุมชน หรืออาจจะสํารวจโดยตรงกับร้านขายเทปแผ่น
ซีดี และ กลุ่มผูซ้ อ้ื เพือ่ สอบถามถึงประเภทของเพลงทีไ่ ด้รบั ความนิยมจากผูฟ้ งั ซึง่ จะมีประโยชน์ต่อ
การจัดรายการเพลง เพราะจะทราบถึงความสนใจในการฟงั เพลง ของกลุ่มคนนัน้ ๆ

4.1.5 การสํารวจอย่างเป็ นทางการ เป็ นการประเมินผลทีต่ ้องใช้เวลาและ


วิธกี ารในเชิงวิชาการ คือ การสํารวจ วิจยั ซึ่งควรจะมีผูเ้ ชี่ยวชาญ เป็ นผูร้ บั ผิดชอบการสํารวจ
โดยอาจจะ ส่งเจ้าหน้าทีอ่ อกไป สัมภาษณ์ หรือส่งแบบสอบถาม ทางไปรษณียใ์ ห้ผฟู้ งั ซึง่ งวิธนี ้ี จะ
ทําให้ได้ขอ้ มูลทีล่ ะเอียดครอบคลุมหลายประเด็น ส่วนข้อเสียคือ ใช้งบประมาณ และ เวลา มาก
60

4.2 การประเมินคุณภาพการผลิตรายการ หมายถึง การพิจารณาดูว่ารายการทีผ่ ลิต


ออกมานัน้ มีคุณภาพความเหมาะสมทีจ่ ะออกอากาศหรือไม่ ส่วนใดบ้างทีค่ วรแก้ไข ข้อบกพร่องที่
เกิดนัน้ มีสาเหตุมาจากอะไร เพื่อเป็ นแนวทางในการผลิตครัง้ ต่อไป ข้อพิจารณา ในการประเมิน
คุณภาพการผลิตรายการได้แก่

4.2.1 ด้านเทคนิคการผลิต พิจารณาตัง้ แต่รปู แบบรายการคุณภาพของเสียง


ทีบ่ นั ทึก เสียงพูด เสียงดนตรี เสียงประกอบ ความต่อเนื่องของรายการ ความเหมาะสมของเวลา
ในการออกอากาศ

4.2.2 ด้านเนื้อหาสาระ ผูฟ้ งั สามารถเข้าใจในเนื้อหาได้หรือไม่ เนื้อหาสาระ


ยุงยากซับซ้อนเกินไปหรือไม่ เนื้อหามีความสมบูรณ์มากน้อยเพียงใด เช่นการลําดับเนื้อหาในแต่ละ
ช่วงรายการให้ผฟู้ งั ได้ตดิ ตามอย่างต่อเนื่องและเชื่อมโยงกันได้

4.2.3 เทคนิคการเสนอรายการ หมายถึง รูปแบบการนํ าเสนอสอดคล้องกับ


เนื้อหาหรือไม่ รวมถึงลีลาของผูด้ ําเนินรายการด้วย เช่น รายการอ่านข่าว วิเคราะห์ข่าว อาจจะ
ต้องใช้น้ําเสียงทีน่ ่าเชื่อถือ ลีลาในการอ่านข่าวหนักแน่น มีจงั หวะ

จากข้อมูลดังกล่าว จะเห็นว่าการประเมินผลรายการ และการประเมินคุณภาพของการผลิต


รายการนัน้ จําเป็ นต้องมีการประเมินผลเป็ นระยะๆ และการประเมินผลนัน้ เป็ นองค์ประกอบสําคัญ
ในกระบวนการผลิตรายการวิทยุ เพราะเป็ นดัชนีทจ่ี ะชีว้ ดั ความสําเร็จของรายการ การยอมรับจาก
ผูฟ้ งั ซึง่ ผลของการประเมินจะช่วยให้ผทู้ เ่ี กีย่ วข้องกับการผลิตรายการสามารถวางแผนผลิตรายการ
ได้ตรงตามความต้องการของผูฟ้ งั เป้าหมายมากทีส่ ดุ และผลิตรายการทีม่ คี ุณค่าแก่สงั คม
61

จากกระบวนการผลิตรายการวิทยุกระสายเสียงทัง้ หมด 4 ขัน้ ตอนนัน้ สามารถสรุปขัน้ ตอน


ดังกล่าวตามแผนผังดังต่อไปนี้

รูปแบบละประเภท เวลา

ขันวางแผนการผลิ
้ ตรายการ

อุปกรณ์ งบประมาณ

ขันเขี
้ ยนบท

ขันเตรี
้ ยมการผลิต ขันฝึ
้ กซ้ อม

ขันประสานงาน

บันทึกเทป ขันดํ
้ าเนินการผลิต รายการสด

ประเมินผล ประเมินผลการ
ขันการประเมิ
้ นผล
รายการ ผลิตรายการ

ภาพแสดงการกระบวนการผลิตรายการวิทยุการศึกษา
62

บุคลากรในการผลิ ตรายการวิ ทยุการศึกษา

การผลิตรายการวิทยุการศึกษานัน้ มีลกั ษณะเป็ นกระบวนการหรือขัน้ ตอน จึงเป็ นงานที่


ต้องร่วมกับหลายฝ่าย ซึง่ แต่ละฝ่ายนัน้ ล้วนแล้วแต่สาํ คัญและต้องพึง่ พาอาศัยกันโดยทีจ่ ะต้องเข้าใจ
ในหน้าที่ของแต่ละฝ่าย เพื่อจะได้ทํางานได้อย่างถูกต้อง ดังนัน้ ผูท้ ่เี กี่ยวข้องกับการผลิตรายการ
วิทยุการศึกษามีอยู่ 5 ฝา่ ยหลักๆ ดังนี้

1. ผู้ผลิ ตรายการ (Producer) เป็ นผูร้ เิ ริม่ สร้างสรรค์ในการผลิตรายการใดรายการหนึ่ง


ขึน้ มา ดังนัน้ จึงมีบทยาทสําคัญในการเป็ นผูว้ างแผนการผลิตทุกด้านเริม่ ตัง้ แต่การรวบรวมข้อมูล
กําหนดรูปแบบรายการและเนื้อหา ตลอดจนเป็ นคนกลางในการประสานงาน และควบคุมตรวจสอบ
คุ ณ ภาพในการผลิต รายการ ด้ว ยคุ ณ สมบัติข องผู้ผ ลิต รายการต้ อ งมีค วามรอบรู้ใ นหลัก การ
บริหารงานและบริหารคน สามารถวางแผนกลยุทธ์ด้านรายการ โดยอาศัยพื้นฐานในการเข้าใจ
ธรรมชาติของสื่อวิทยุการศึกษา มีความรูเ้ รื่องเพลงรูเ้ รื่องการพัฒนาเทคโนโลยีในการผลิตรายการ
และที่สําคัญต้องรูจ้ กั กลุ่มผูฟ้ งั เป้าหมายในทุกๆด้าน ประกอบกับการวางแผนกลยุทธ์การบริหาร
จัด การ ได้แ ก่ การบริห ารจัด การทรัพ ยากรในการผลิต งบประมาณ การจัด การรายได้แ ละ
ค่าใช้จา่ ย เป็ นต้น
2. ผู้เขียนบท (Script Writer) เป็ นผูน้ ํ าแนวความคิด เค้าโครงเนื้อหามาตีความเพื่อ
ถ่ายทอดออกเป็ นเสียงต่างๆ ไม่ว่าจะเป็ นเสียงพูด เสียงดนตรี เสียงประกอบ โดยมีการนําเสนอที่
น่ าสนใจ เพื่อให้ผฟู้ งั ได้รบั ความรู้ ความบันเทิง เกิดความเข้าใจ อารมณ์ ความรูส้ กึ คล้อยตาม
ได้ และถูกต้องตามวัตถุประสงค์ของการนําเสนอรายการ
3. ผูก้ าํ กับรายการ (Program Director) เป็ นผูก้ าํ กับ ควบคุม ให้คาํ แนะนําในระหว่างการ
ผลิตรายการ เพือ่ ให้เป็ นรายการทีส่ มบูรณ์ ผูก้ าํ กับรายการมักเป็ นคนๆ เดียวกับผูผ้ ลิตรายการ
4. ผูป้ ระกาศ (Announcer) เป็ นผูท้ าํ หน้าทีถ่ ่ายทอดข่าวสารต่างๆ ด้วยคําพูดวิธนี ําเสนอ
รายการ เพื่อให้ผฟู้ งั เกิดความเข้าใจ โดยมีคําเรียกขานได้หลายคําตามบทบาทหน้าทีท่ ไ่ี ด้รบั เช่น
ผู้ประกาศของสถานี ผู้อ่านข่าว ดีเจ ผู้ดําเนินรายการ เป็ นต้น ผู้ทําหน้ าที่ประกาศต่างๆ
เหล่านี้ ควรมีความรู้อย่างกว้างขวาง และสามารถใช้เครื่องมือที่เกี่ยวกับการผลิตรายการวิทยุ
การศึก ษาได้ด้ว ย ดัง นัน้ ในที่น้ี จ ะขอใช้คํา ว่ า “ผู้ดํา เนิ น รายการ” แทนชื่อ ตามตํ า แหน่ ง ต่ า งๆ
ทัง้ หมด
63

5. เจ้าหน้ าที่เทคนิ ค (Technician Staff) ทําหน้าทีร่ บั ผิดชอบงานด้านเทคนิค ได้แก่


5.1 เจ้าหน้าทีค่ วบคุมเสียง หมายถึง เจ้าหน้าทีซ่ ง่ึ ดูแลรับผิดชอบการควบคุมเสียงจาก
แหล่ ง เสีย งต่ า งๆ ให้มีคุ ณ ภาพเสีย งที่ดี บางสถานี จ ะให้เ จ้า หน้ า ที่ค วบคุ ม เสีย งควบคุ ม การ
ออกอากาศทัง้ หมด บางสถานีจะให้ ดีเจ เป็ นผูค้ วบคุมเสียงเอง
5.2 เจ้าหน้ าที่ควบคุมเครื่องส่งกระจายเสียง หมายถึง เจ้าหน้ าที่ซ่งึ ดูแลรับผิดชอบ
ระบบการกระจายเสียง การบํารุงรักษา การถ่ายทอดเสียง เพื่อให้การออกอากาศดําเนินไปอย่าง
ปกติดว้ ยคุณภาพเสียงทีม่ ปี ระสิทธิภาพ

สรุป

วิทยุการศึกษา เป็ นสือ่ ทีส่ ามารถเข้าถึงประชาชนได้มากทีส่ ดุ ทัง้ ด้านเวลา ความรวดเร็วและ


ปริมาณของผูร้ บั ดังนัน้ ผูผ้ ลิตรายการจึงต้องพิถพี ถิ นั ในกระบวนการผลิต เพือ่ นําเสนอรายการไปยัง
ผูฟ้ งั ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยคํานึงถึงองค์ประกอบของการผลิตรายการวิทยุการศึกษาได้แก่ ผูท้ ่ี
ฟงั เป้าหมายของรายการ เนื้อหาต้องสอดคล้องกับกลุ่มผูฟ้ งั เป้าหมาย วิธกี ารนํ าเสนอ เหมาะสม
และหน้าฟงั เวลาในการออกอากาศจะเป็ นตัวกําหนดให้ผลิตรายการในรูปแบบใดได้บา้ ง และการ
ประเมิน ผลซึ่ง จํา เป็ น ต้อ งประเมิน ผลทัง้ ก่ อ นการผลิต ระหว่า งการผลิต และเมื่อ ผลิต รายการ
เรียบร้อยแล้ว โดยอาจใช้วธิ กี ารสํารวจวิจยั เข้ามาช่วยในการประเมินผล สําหรับกระบวนการผลิต
รายการแบ่งออกเป็ นขัน้ ตอนใหญ่ๆ 4 ขัน้ ตอนดังนี้ คือ ขัน้ วางแผนการผลิตรายการ โดยการ
กํ า หนดวัต ถุ ป ระสงค์แ ละนโยบายของสถานี ขัน้ เตรีย มการผลิต ได้แ ก่ การเขีย นบท การ
ประสานงานและจัดเตรียมวัสดุรายการรวมทัง้ การซักซ้อมก่อนผลิตรายการ ขัน้ ดําเนินการผลิต อา
จะทําได้โดยการบันทึกเสียงรายการไว้ก่อน แล้วนํ าไปออกอากาศหรือแบบรายการสด และสุดท้าย
คือขัน้ การประเมินผลจะทําให้รขู้ อ้ บกพร่องเพื่อหาทางแก้ไขให้การทํางานในครัง้ ต่อไปได้ผลดียงิ่ ขึน้
สําหรับบุคลากรในการผลิตรายการวิทยุการศึกษาประกอบด้วย ผูผ้ ลิต ผูเ้ ขียนบท ผูก้ ํากับรายการ
ผูป้ ระกาศและเจ้าหน้าทีเ่ ทคนิค
64

การเขียนบทวิ ทยุการศึกษา

วิทยุการศึกษา ต้องอาศัยการถ่ายทอดเนื้อหาสาระโดยใช้เสียงเป็ นสื่อกลางระหว่างผูส้ ่งกับ


ผูร้ บั ฟงั ซึ่งไม่เห็นหน้ากัน ดังนัน้ เสียงทุกเสียงทีส่ ่งไป จึงต้องสื่อความหมายและความเข้าใจได้
เป็ น อย่า งดี การถ่ า ยทอดจิน ตนาการไปยัง ผู้ร บั ฟ งั จึง เกิด จากการเรีย บเรีย งข้อ มูล เนื้ อ หาสาระ
ตลอดจนความรูส้ กึ นึกคิดทีถ่ ่ายทอดลงสู่ “บทวิทยุ” เพื่อให้ผรู้ บั ฟงั เกิดการรับรูเ้ ช่นเดียวกับทีผ่ สู้ ง่ หรือ
ผูเ้ ขียนบทต้องการ

ความหมายและความสําคัญของบทวิ ทยุการศึกษา

บทวิทยุการศึกษา หมายถึง ข้อความทีบ่ อกกล่าว เล่าเรื่องเหตุการณ์ต่างๆ ตังแต่ ่ ต้นจน


จบรายการ รวมถึงรายละเอียดของรายการวิทยุการศึกษาทีเ่ รียบเรียงอย่างมีลําดับขัน้ ตอน เพื่อใช้
ถ่ายทอดด้วยเสียงให้ผูฟ้ งั จินตนาการเป็ นภาพตรงตามวัตถุประสงค์ผูบ้ อกกล่าว ทัง้ นี้ เพื่อทําให้
รายการดําเนินไปอย่างมีทศิ ทางตามขอบเขตเนื้อหา รูปแบบรายการทีก่ าํ หนดไว้

ความสําคัญของบทวิทยุการศึกษาเป็ นสิง่ ที่บอกเนื้อหาสาระ รูปแบบ ลําดับการนํ าเสนอ


ตลอดจนรายละเอียด เป็ นแนวทางให้ผทู้ ํางานทราบว่าใครจะทําอะไร เมื่อไหร่ อย่างไร เป็ นการ
บอกล่วงหน้าให้ผูท้ ํางานแต่ละหน้าที่ทราบว่าจะต้องทําอะไร เช่น ผูด้ ําเนินรายการจะให้พูดอะไร
เมือ่ ไหร่ ผูค้ ุมเสียงจะเปิ ดเพลงอะไร และไว้เพือ่ ค้นคว้าได้

สรุ ป บทวิท ยุ นั น้ มีค วามสํ า คัญ มากในด้ า นการผลิต รายการ โดยสามารถถ่ า ยทอด
จินตนาการออกมาให้เห็นเป็ นตัวอักษร และใช้เป็ นเครื่องมือสําหรับผูร้ ่วมรายการทุกคนให้มคี วาม
เข้าใจในกระบวนการผลิตตรงกัน ประกอบกับบทวิทยุนนั ้ สามารถใช้เป็ นข้อมูลอ้างอิงได้

ประเภทของบทวิ ทยุ

บทวิทยุทใ่ี ช้ในงานวิทยุการศึกษาสามารถแบ่งได้ ดังนี้

1. บทโครงร่างรายการอย่างคร่าวๆ (Rundown Sheet) เป็ นบททีบ่ อกคิวการดําเนินการ


ระหว่างการผลิตรายการตัง้ แต่ต้นจนจบว่า ใครจะทําอะไร เมื่อไหร่ อย่างไร บทแบบนี้จะไม่มี
รายละเอียดของเนื้อหา และมักใช้เป็ นที่เข้าใจเฉพาะผูร้ ่วมงาน บทแบบนี้เหมาะสําหรับรายการ
สัมภาษณ์ รายการสนทนา รายการอภิปราย รายการพูดคุย รายการเพลงประเภท Disc Jockey
ซึง่ มีรายละเอียดดังนี้
65

1.1 ชื่อรายการ
1.2 รูปแบบรายการ
1.3 ลําดับรายการ
1.4 ประเด็นหรือแนวทางในการพูด หรือ แนวคําถาม
1.5 เพลงทีใ่ ช้ในรายการ
2. บทวิทยุการศึกษาแบบกึง่ สมบูรณ์ (Semi Script) เป็ นบททีม่ รี ายละเอียด ของเนื้อหา
ตามลําดับขัน้ ตอน มีคาํ พูดทีส่ าํ คัญๆ และเสียงทีต่ อ้ งการใช้ โดยมีบางส่วนทีเ่ ปิ ดกว้างไว้ไม่กําหนด
รายละเอียดลงไป โดยมักใช้ในรายการสัมภาษณ์ รายการอภิปราย
3. บทวิทยุการศึกษาแบบสมบูรณ์ (Fully Script) เป็ นบททีม่ คี าํ พูดทุกคําพูดเรียงลําดับตาม
ขัน้ ตอน รูป แบบรายการที่ใ ช้บ ทประเภทนี้ ได้แ ก่ ละครวิท ยุ สปอตโฆษณารายการสารคดี
รายการข่าว และบทความ

ส่วนประกอบของบทวิ ทยุการศึกษา

บทวิทยุการศึกษาจะประกอบด้วย ส่วนประกิบสําคัญ 3 ส่วน ดังนี้

1. ส่วนหัว (Heading) จะบอกชื่อรายการ ชื่อตอน สถานีทอ่ี อกอากาศ ความถี่ และ วัน -


เวลาทีอ่ อกอากาศ
2. ส่วนเนื้อหา (Body) เป็ นรายละเอียดของเนื้อหา เรือ่ งราว ตามลําดับ เป็ นส่วนทีบ่ อกถึง
ผูเ้ กีย่ วข้องในรายการว่าจะต้องทําอะไร
3. ส่วนปิ ดท้าย (Closing or Conclusion) เป็ นส่วนสรุปเนื้อหา กล่าวขอบคุณผูร้ ว่ มรายการ
ส่วนนี้จะเป็ นส่วนทีแ่ สดงให้ผฟู้ งั ทราบว่ารายการกําลังจะจบลง

ขัน้ ตอนและหลักในการเขียนบทวิ ทยุการศึกษา

รายการทุกรายการก่อนลงมือเขียนเป็ นบท เราควรศึกษาแนวคิดของรายการโดยเบือ้ งต้นให้


ถ่องแท้เสียก่อน ซึ่งจะช่วยในการจัดเรียงลําดับหรือวางเค้าโครงของรายการได้อย่างดีว่าควรจะ
เริม่ ต้นอย่างไร ดําเนินไปอย่างไร และจบอย่างไร

1. จุดเริ่ มต้นการเขียนบทรายการวิ ทยุ


1.1 การกําหนดแนวคิดรายการ เป็ นจุดเริม่ ต้นในการชี้แนะแนวทางว่าเราจะทําอะไร
จะนําเสนออะไร เพื่อกําหนดแนวคิดรายการ ต้องคํานึงถึงผูฟ้ งั ว่ามีความเหมาะสมหรือไม่ มีความ
น่าสนใจอย่างไร
66

1.2 การค้นคว้า ซึ่งเป็ นงานสําคัญของผู้เขียนบท การค้นคว้าข้อมูลจะได้จากแหล่ง


ต่างๆ เช่น ห้องสมุด หนังสือพิมพ์ อินเทอร์เน็ต
1.3 ลงมือเขียนบท โดยการนํ าข้อมูลที่ได้จาการค้นคว้ามาเรียบเรียงให้เป็ นเนื้อหาที่
เข้าใจง่าย น่าสนใจ สรุปเนื้อหา และปิดรายการอย่างน่าประทับใจ
1.4 ตรวจทานบท เพื่อดูว่าบทที่เขียน มานัน้ ชัดเจน หรือไม่ ใช้ภาษาถูกต้องหรือไม่
สะดวกในการอ่านออกเสียงหรือไม่ ไม่ขดั หู การลําดับเนื้อหาเป็ นอย่างไร และ เวลาของรายการได้
ตามกําหนดหรือไม่

เมือ่ ปรับปรุงเรียบร้อยแล้วจึงแจกจ่ายบทให้ทมี งานเพือ่ ดําเนินการผลิตรายการต่อไป

2. ขัน้ ตอนการเขียนบทวิ ทยุการศึกษา


การเขียนบทรายการจะช่วยป้องกันความผิดพลาดในการนํ าเสนอเนื้อหา และสามารถ
ปรับ ปรุง เนื้ อ หาได้ท นั ก่ อ นการออกอากาศ เราสามารถจัด ลํา ดับ และแบ่ ง ขัน้ ตอนการเขีย นบท
ออกเป็ น 4 ขัน้ ตอนหลัก ได้ดงั นี้
2.1 ขัน้ เริม่ รายการ (Introduction) เป็ นขัน้ ตอนของการเปิ ดรายการ หรือแนะนํ า
รายการ หรือแนะนํารายการเป็ นขัน้ เรียกร้องความสนใจซึง่ ต้อง จูงความสนใจและ ให้ผฟู้ งั ติดตามฟงั
ต่อไปให้มากทีส่ ดุ โดยอาจจะใช้เทคนิคการตัง้ คําถาม หรือ ใช้เสียงดนตรีประกอบ
2.2 ขัน้ จัดรูปและตกแต่งรายการ (Development) ช่วงนี้เป็ นการนํ าเอาแก่นของเรื่องมา
ขยายแล้วจัดให้เป็ นรูปแบบรายการทีน่ ่าสนใจ โดยใช้เทคนิคต่างๆ ให้เหมาะสม จะทําให้ รายการมี
รสชาติ สมอารมณ์มากขึน้
2.3 ขัน้ สร้างจุดประทับใจ (Climax) ขัน้ ตอนนี้เป็ นขัน้ ตอนตอนในการสร้างความ
ประทับใจของรายการ โดยเสนอประเด็นต่างๆ หรือความคิดเห็นต่างๆ
2.4 ขัน้ สรุป (Conclusion) เป็ นขัน้ ทีน่ ําขัน้ ตอนดังกล่าวทัง้ 3 ขัน้ มาตอกยํ้าหรือทบทวน
โดยเรียบเรียงเข้าด้วยกันอย่างมีระเบียบ เพือ่ ให้ผฟู้ งั กระจ่างชัดแจ้งและจดจําได้งา่ ย

3. หลักการเขียนบทวิ ทยุการศึกษา
การเขียนบทควรคํานึงถึงหลักการดังต่อไปนี้
3.1 ผู้เขียนบทควรเข้าใจองค์ประกอบของการดําเนินรายการวิทยุการศึกษา ได้แก่
วัต ถุ ป ระสงค์ร ายการ กลุ่ ม ผู้ฟ งั เป้ า หมาย เนื้ อ หารายการ วิธีก ารนํ า เสนอรายการ เวลาที่
ออกอากาศ ความยาวรายการ ความหลายหลาย ความเป็ นเอกภาพ
67

3.2 การรูจ้ ุดมุง่ หมายของการเขียนบท ได้แก่


3.2.1 เขียนบทเพื่อบอกกล่าว (To inform) การรายงาน เล่าเรื่อง ถ่ายทอดสิง่ ที่
เกิดขึน้ ไปยังผูฟ้ งั อย่างถูกต้องตามข้อเท็จจริง
3.2.2 เขียนบทเพื่อให้ความรู้ (To Knowledge) ให้รายละเอียดของเรื่องราวต่างๆ
ทีเ่ ป็ นประโยชน์ในชีวติ ประจําวัน
3.2.3 เขียนบทเพื่อโน้มน้าวชักจูงใจ (To Persuade) ให้ผฟู้ งั รูส้ กึ คิด หรือมีความ
เชือ่ มีความเห็นคล้อยตาม เป็ นการเชิญชวนเพือ่ ให้เกิดการกระทําหรือตอบสนองในทางใดทางหนึ่ง
3.2.4 เขียนบทเพื่อความบันเทิง (To Entertain) ให้ความเพลิดเพลิน ความสุข
สบายใจ
3.3 การสร้างความเข้าใจในโครงสร้างรายการ เพื่อเป็ นการสร้างความหลากหลายและความ
กลมกลืนของรายการ
3.4 ควรรูจ้ ริงในเรือ่ งทีจ่ ะเขียน โดยได้จากการศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลจากแหล่งต่างๆ
3.5 ศึกษาเทคนิคในการเขียนบท หลักง่ายๆ ด้วยการตอบคําถาม 5w+1H
3.5.1 Who (ใคร) กลุ่มผูฟ้ งั เป้าหมายของรายการนัน้ คือใคร
3.5.2 Why (ทําไม) เขียนบทเพือ่ วัตถุประสงค์อะไร
3.5.3 What (อะไร) อะไรคือแก่นสารของรายการ
3.5.4 When (เมือ่ ใด) ช่วงวันเวลาทีอ่ อกอากาศให้สอดคล้องกับเนื้อหาสาระเรือ่ ง
นัน้ ๆ
3.5.5 Where (ทีไ่ หน) สถานทีอ่ อกอากาศ
3.5.6 How (อย่างไร) รูปแบบรายการเป็ นอย่างไร ใช้วสั ดุประกอบรายการ
อะไรบ้าง เทคนิคในรายการเป็ นอย่างไร

ภาษาที่ใช้ในการเขียนบทวิ ทยุการศึกษา

การใช้ภาษาเพือ่ การเขียนบททางสือ่ วิทยุการศึกษานัน้ มีขอ้ แนะนําดังนี้

1. เขียนด้วยภาษาแบบการสนทนาหรือพูดคุยกัน
2. ใช้คาํ ทีผ่ ฟู้ งั คุน้ เคย เมือ่ ฟงั แล้วเข้าใจ ชัดเจน
3. ใช้ประโยคสัน้ ๆ ง่ายๆ ไม่ยดื ยาว ไม่วกวน ชัดเจน เข้าใจได้ทนั ที
4. เลี่ยงประโยคยาวๆ ที่เต็มไปด้วยคําคุณศัพท์ หรือคําเชื่อมต่างๆ เช่นคําว่า ที่ ซึ่ง
หรือ กับ ต่อ เพราะจะทําให้ประโยคนัน้ เยิน่ เย้อ จนไม่รวู้ า่ ความสําคัญของประโยคอยูท่ ไ่ี หน
68

5. ใช้ประโยคบอกเล่าให้มากกว่าประโยค ปฏิเสธ
6. เลีย่ งการใช้คาํ ทีม่ เี สียงทําให้ลน้ิ พันกันเวลาเปล่งเสียง เช่น คําทีม่ เี สียงคล้ายกัน คําซํ้า
ในประโยคเดียวกัน คําทีม่ อี กั ษรซํ้ากันหรือการเล่นคําอื่นๆ
7. ใช้ภาษาที่บรรยาย ให้เกิดภาพหรือจินตนาการ เช่น การบอกสีสนั การบอกตําแหน่ ง
การใช้ภาษาเปรียบเทียบเป็ นต้น
8. ประโยคแต่ละประโยค ควรมีแนวความคิดเดียว ควรเป็ นประโยคสัน้ ๆ มีความหมาย
จบในประโยคนัน้ และให้ขน้ึ ย่อหน้าใหม่เมื่อขึน้ ประเด็นหรือเนื้อหาใหม่ การย่อหน้าคือ การแสดง
ให้ทราบว่าความคิดสําคัญหรือตอนใหม่กําลังจะเริม่ ขึ้น ย่อหน้ าหนึ่ งๆ ต้องพูดถึงเรื่องๆ เดียว
เท่านัน้
9. อย่ายัดเยียดความคิดมากเกินไป
10. ควรยกตัวอย่างประกอบความคิดเห็นอย่างชัดเจน
11. ยํา้ ความคิดสําคัญได้บ่อยๆ โดยใช้การพูดทีไ่ ม่ซ้าํ กัน
12. คําเล็กๆ น้อยๆ เป็ นกันเอง สามารถแทรกลงในการเขียนได้บา้ ง เพื่อให้การอ่านออก
เสียงได้ จะช่วยให้บทรืน่ หูชวนฟงั มากขึน้
13. จัดวรรคตอนให้ดี
14. ถ้าต้อการกล่าวถึงตัวเลข ให้ใช้ตวั เลขโดยประมาณ เช่น 955 บาท ใช้คําว่า ประมาณ
1,000 บาท และถ้าตัวเลขมีความสําคัญและ มีจาํ นวนมากให้ วงเล็บคําอ่านไว้ ด้วย
15. อย่าใช้คาํ ย่อ เพือ่ มิให้เกิดปญั หาในการอ่าน การฟงั ทีจ่ ะทําให้เกิดความผิดพลาดกันได้
16. อย่าใช้คาํ ทีฟ่ ุม่ เฟือย ไม่จาํ เป็ น ทีไ่ ม่ได้สอ่ื ความหมายอะไรให้ชดั เจนขึน้
17. คําทีอ่ า่ นยาก ชื่อเฉพาะ ต้องวงเล็บคําอ่านไว้ให้ชดั เจน
18. การยกข้อความหรือคําพูดของคนอื่นมา ควรเขียนให้ขดั เจนด้วยว่า คําพูดที่ยกมานัน้
เป็ นคําพูดของใคร
19. บทสําหรับพูดเพื่อแสดงอารมณ์ ความรูส้ กึ ต่างๆ ได้แก่ ร้องไห้ รําคาญ โกรธ ควร
วงเล็บไว้ ให่ผพู้ ดู เปล่งเสียงได้ถูกต้องตามอารมณ์เหล่านัน้
20. การใช้เครือ่ งหมายในบท มี ข้อแนะนําดังนี้
20.1 จุดไข่ปลา (………..) ใช้เมือ่ ต้องการให้พดู ทอดเสียงแล้วหยุด
20.2 การขีดเส้นใต้เฉพาะคําหรือข้อความ ใช้เพื่อแสดงว่าต้องการเน้ นหรือยํ้าคํา
ข้อความนัน้ ๆ
20.3 เครือ่ งหมายขีดขัน้ (/) ใช้เพือ่ ต้องการให้เห็นถึงการแยกความออกจากกัน
69

ข้อเสนอแนะอีกประการหนึ่งในการเขียนบท ผูเ้ ขียนบทยังคงต้องทําความเข้าใจคําสังการใช้



ดนตรีและเสียงประกอบต่างๆ ในบทด้วย เช่น

1. Fade in คือการนําเสียงจากไม่มเี สียงเข้ามาด้วยวิธคี ่อยๆ เพิม่ ทีละน้อยจนเป็ นระดับเสียง


ปกติ
2. Fade Out คือ การค่อยๆ ลดความดังของเสียงลง จนกระทังไม่ ่ ได้ยนิ เสียงอีกต่อไป
3. Fade under คือการหรีค่ ลอเสียงใดเสียงหนึ่งให้ค่อยลงกว่าระดับปกติเป็ นพืน้ หลัง
(Background)
4. Fade Up คือการเพิม่ ระดับความดังของเสียงทีม่ อี ยูใ่ ห้ดงั ขึน้
5. Fade down คือการลดระดับความดังของเสียงทีม่ อี ยูใ่ ห้เบากว่าปกติ
6. Cross fade คือการลดระดับเสียงต่างๆ ได้แก่เสียงดนตรี หรือ เสียงพูด(เสียงที1่ )
ค่อยๆ จางหายไป ขณะ (เสียงที่ 2) ค่อยๆดังขึน้ มา
7. Seque (อ่านว่า seg – way) คือการเปลีย่ นหรือต่อเสียงดนตรีหรือเสียงประกอบจาก
อารมณ์หนึ่ง

สรุป

บทวิทยุนัน้ มีความสําคัญในการผลิตรายการ โดยเฉพาะสามารถถ่ายทอดจินตนาการ เป็ น


สื่อ กลางระหว่ า งผู้ส่ง กับ ผู้ร บั ฟ งั ซึ่ง ไม่ เ ห็น หน้ า กัน ดัง นั น้ เสีย งทุ ก เสีย งที่ส่ ง ไป จึง ต้อ งสื่อ
ความหมายและความเข้าใจเป็ นอย่างดี การทอดจินตนาการไปยังผูร้ บั ฟงั จึงเกิดจากการเรียบเรียง
ข้อมูลเนื้อหาสาระ ตลอดจนความรูส้ กึ นึกคิดทีถ่ ่ายทอดลงสู่ “บทวิทยุ” เพื่อให้ผรู้ บั ฟงั เกิดการรับรู้
เช่นเดียวกับผูส้ ง่ หรือผูเ้ ขียนบทต้องการ

บทวิทยุทใ่ี ช้ในงานวิทยุการศึกษาสามารถแบ่งได้ดงั นี้ คือ บทโครงร่างรายการอย่างคร่าวๆ


บทแบบกึง่ สมบูรณ์ และบทแบบสมบูรณ์ ส่วนประกอบของบทวิทยุการศึกษาประกอบด้วย 3 ส่วน
ได้แก่ ส่วนหัว ส่วนเนื้อหา และส่วนปิดท้าย

ขัน้ ตอนการเขียนบทวิทยุการศึกษา เริม่ ตัง้ แต่ขนั ้ แนะนํ ารายการ ด้วยวิธแี นะนํ ารายการ
สัน้ ๆ ง่ายๆ มาเป็ นจุดดึงดูดความสนใจ ขัน้ ต่อมาคือ ขัน้ การจัดรูปแบบและตกแต่งรายการเป็ น
การนํ าเอาแก่นของเรื่องมาขยายแล้วจัดให้เป็ นรูปแบบรายการทีน่ ่ าสนใจ หลังจากนัน้ ขัน้ สร้างจุด
ประทับใจ โดยการเสนอประเด็นสําคัญต่างๆ ของรายการ ขัน้ สุดท้ายคือ ขัน้ สรุป เป็ นขัน้ ที่นํา
70

ขัน้ ตอนดังกล่าวทัง้ 3 ขัน้ มาตอกยํ้าหรือทบทวนโดยเรียบเรียงเข่าด้วยกันอย่างมีระเบียบเพื่อให้


ผูฟ้ งั กระจ่างชัดแจ้งและจดจําได้งา่ ย

ห้องบันทึกเสียงและเครือ่ งมือ

ห้องบันทึกเสียงเป็ นส่วนสําคัญต่อการทํางาน เป็ นทัง้ ห้องที่วางอุปกรณ์ ทงั ้ หมด และต้อง


สามารถควบคุมสภาพแวดล้อมในการเก็บและสะท้อนเสียงได้เป็ นอย่างดี องค์ประกอบที่กล่าวมา
ทัง้ หมดนี้มสี ว่ นสําคัญอย่างมากต่อตัวงาน คุณภาพของเสียงและความรูส้ กึ ในขณะทํางาน การสร้าง
ห้องบันทึกเสียงไม่ว่าจะแบบอาชีพหรือส่วนตัวมีจุดมุ่งหมายเดียวกันเพื่อความสมบูรณ์ของเสียงจะ
แตกต่างกันไปก็ในเรือ่ งของรายละเอียด ราคาลงทุน

ห้องบันทึกเสียงและเครือ่ งมือ (Recording Studio) ส่วนใหญ่แบ่งออกเป็ น 2 ส่วนคือ

1. ห้องควบคุมเสียง
2. ห้องบันทึกเสียง

ห้องควบคุมเสียง

เป็ นห้องที่มเี ครื่องมือและอุปกรณ์ในการบันทึกเสียงทัง้ หมดและเป็ นห้องทีใ่ ช้มกิ ซ์ดาวน์ อกี


ด้วย และยังสามารถใช้เป็ นห้องบันทึกเสียงดนตรีในระบบมิตไิ ด้อกี ด้วย

เอ็นจิเนียร์และโปรดิวเซอร์จะนังทํ
่ างานในห้องนี้เป็ นหลัก ในห้องควบคุมเสียงแบบมืออาชีพที่
ออกแบบอย่างดีสว่ นมากมักจะรักษาอุณหภูมเิ ครื่องให้คงทีต่ ลอดเวลาการทํางานและกันเสียงรบกวน
ของเครื่องในขณะทํางานเพื่อให้บรรยากาศในห้องควบคุมเสียงมีความเงียบมากทีส่ ุดเพื่อให้ได้ การ
ฟงั ทีม่ คี วามคมชัดสูงสุด ณ ตําแหน่งทีฟ่ งั

ห้องบันทึกเสียง

เป็ นห้องทีใ่ ช้ทําการบันทึกเสียงเครื่องดนตรีต่างๆ ทีต่ ้องใช้ไมโครโฟนในการเก็บเสียง เช่น


บันทึกเสียงกลอง กีตาร์ เสียงร้อง ซึ่งต้องสามารถกันเสียงรบกวนจากภายนอกห้องให้ได้มากที่สุด
เพื่อทีจ่ ะเก็บเสียงได้สะอาดทีส่ ุดจากแหล่งกําเนิดเสียง ห้องนี้จะเน้นเรื่องความเป็ นอะคูสติกของเสียง
71

อย่างมาก เพื่อช่วยให้เสียงเครื่องดนตรีหรือเสียงร้อง เสียงพูด มีคุณภาพมากสมจริงมีการสะท้อน


เสียงทีเ่ หมาะสมและถูกต้อง

ห้องบันทึกเสียงส่วนมากจะทําเป็ นห้องลอย คือ ทําเป็ นห้องเล็กซ้อนอยู่ในห้องใหญ่ เพื่อ


ป้องกันการสะท้อนไปมาของเสียง และจะแยก กับ ห้องควบคุมเสียง อย่างชัดเจน ภายในห้อง ฝา
ผนัง เพดาน วัสดุทใ่ี ช้ภายในห้อง จะสะท้อนเสียงน้อยทีส่ ดุ เพือ่ ให้ได้ยนิ เสียงเฉพาะจากผูป้ ระกาศ
หรือ เครือ่ งดนตรีเท่านัน้

วัสดุท่ใี ช้ควรเป็ นวัสดุท่มี ีความยืดหยุ่นในตัว เนื้ อนุ่ ม อาจมีรูพรุนตลอดทัง้ แผ่น เหมือน


ฟองนํ้า หรืออาจจะใช้ผา้ ม่านแทนก็ได้ พืน้ จะต้องปูพรหมทัง้ หมดในห้อง ช่องว่าระหว่างห้อง เล็ก
กับ ห้องใหญ่ ควรจะเว้นช่องว่างไว้เล็กน้อย เพื่อให้มอี ากาศอยู่ระหว่างผนัง เพื่อเป็ นฉนวนเก็บ
เสียง บางแห่งอาจจะนําวัสดุเก็บเสียงเข้าไปในช่องว่างนัน้ อีก เช่น พวกใย แก้ว หรือ ขีเ้ ลื่อย เป็ นตัน้
ทางเข้าห้องบันทึกเสียงมันจะมีประดูอยู่ 2 ชัน้ เพือ่ กันเสียงภายนอกเข้า เรียกว่า ประตูดกั เสียง

อุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้ในการผลิ ตรายการวิ ทยุการศึกษา

อุ ป กรณ์ ใ นการผลิต รายการวิท ยุ ก ารศึก ษา นับ ว่า เป็ น สิ่ง สํา คัญ ในการสร้า งเสีย งต่ า งๆ
ก่อนทีจ่ ะออกอากาศให้ผฟู้ งั ได้รบั ฟงั ซึง่ ผูผ้ ลิตรายการจะต้องรูห้ ลัก เทคนิคในการใช้ รูจ้ กั ควบคุม
อุปกรณ์เหล่านี้อย่างดี ซึง่ อุปกรณ์ทใ่ี ช้ในการผลิตเสียง มีดงั นี้

1. ไมโครโฟน

ไมโครโฟนทําหน้าทีเ่ ปลี่ยนคลื่นเสียงจากแหล่งกําเนิดเสียง เช่น เสียงพูด เสียงเพลง ให้


เป็ นพลังงานไฟฟ้า เพือ่ ส่งต่อไปยังเครือ่ งขยายซึง่ เป็ นภาคขยายสัญญาน

1.1 การจําแนกประเภทไมโครโฟน ไมโครโฟนจะมีลกั ษณะและคุณสมบัตแิ ตกต่างกัน


จําแนกได้ 2 ประเภท คือ จําแนกตามวัสดุทใ่ี ช้และ จําแนกตามทิศทางการรับคลื่นเสียง
1.1.1 ไมโครโฟนทีจ่ าํ แนกตามวัสดุทใ่ี ช้สามารถแบ่งออกตามวัสดุทใ่ี ช้ เป็ น 6 ชนิดได้แก่
1.1.1.1 ไมโครโฟนชนิดคาร์บอน (Carbon Microphone) ไมโครโฟน
ชนิดนี้ให้เสียงคุณภาพค่อนข้างไม่ดนี กั ในปจั จุบนั จะใช้ในเครือ่ งโทรศัพท์เท่านัน้
1.1.1.2 ไมโครโฟนชนิดคริสทัล (Crystal Microphone) เป็ นไมโครโฟน
ราคาถูก ให้คุ ณภาพเสีย งพอใช้ไ ด้ นํ้ าหนักเบา แต่ ไม่ท นต่ อสภาพความร้อนหรือความชื้น สูง
เพราะจะทําให้คริสทัลเสือ่ มได้
72

1.1.1.3 ไมโครโฟนชนิดเซรามิก (Ceramic Microphone) เป็ น


ไมโครโฟนที่มลี กั ษณะการออกแบบหรือหลักการทํางานคล้ายไมโครโฟนชนิดคริสทัล ต่างกันที่
ไมโครโฟนชนิดนี้ใช้เซรามิกแทนคริสทัลจึงทําให้มคี ุณภาพดีกว่า ทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงของ
อุณหภูมแิ ละความชืน้ ได้มากกว่า
1.1.1.4 ไมโครโฟนชนิดคอนเดนเซอร์ (Condenser Microphone) เป็ น
ไมโครโฟนทีม่ คี ุณภาพดี และ นิยมใช้กนั มากในปจั จุบนั สามารถรับเสียงได้ไวมาก มีราคาสูง มัก
ใช้ตดิ อยูต่ ามห้องบันทึกเสียงทัวไป

1.1.1.5 ไมโครโฟนชนิดริบบอน (Ribbon Microphone) เป็ น
ไมโครโฟนทีม่ คี ุณภาพสูง และมีความไวต่อสัญญานเสียงสูงมาก ไมโครโฟนชนิดนี้ไม่มไี ดอะแฟรมอ
ยูด่ า้ นใน ใช้ทาํ งานโดยอาศัยการสันสะเทื
่ อนของริบบอนซึง่ มีลกั ษณะบางเบาจึงทําให้มขี อ้ เสียคือ มี
ความบอบบาง เสียง่าย จึงไม่เหมาะกับงานนอกสถานที่
1.1.1.6 ไมโครโฟนชนิดไดนามิก (Dynamic Microphone) เป็ น
ไมโครโฟนชนิดทีไ่ ด้รบั ความนิยมมาก เพราะคุณภาพเสียงดีเหมือนธรรมชาตริ มีความทนทานมาก
เหมาะสําหรับใช้ในการกระจายเสียงหรือระบบเสียงหลายประเภท แต่ราคาค่อนข้างสูง

1.1.2 ไมโครโฟนจําแนกตามทิศทางการรับคลื่นเสียง ไมโครโฟนประเภทนี้แบ่ง


ออกเป็ น 4 ชนิด คือ

1.1.2.1 ไมโครโฟนชนิดรับเสียงทิศทางเดียว (Uni-directional)


ไมโครโฟนชนิดนี้จะไม่สามารถรับเสียงจากด้านอื่นได้ นอกจากเสียงทีม่ าจากด้านหน้าเท่านัน้ จึง
เหมาะสําหรับการบรรยาย การประชุม ทีผ่ พู้ ดู จะยืนอยูเ่ ฉพาะด้านหน้าของไมโครโฟน

1.1.2.2 ไมโครโฟนชนิดรับเสียงสองทิศทาง (Bidirectional) ไมโครโฟน


ชนิดนี้สามารถรับเสียงได้เฉพาะด้านหน้าและด้านหลังเท่านัน้ เหมาะสําหรับการใข้งานทีผ่ พู้ ดู อยูด่ า้ น
ตรงข้ามกัน เช่น การสัมภาษณ์ การสนทนา การแสดงละครวิทยุ เป็ นต้น

1.1.2.3 ไมโครโฟนทุกชนิดรับเสียงได้ทุกทิศทาง (Omni or directional)


ไมโครโฟนชนิดนี้ไวต่อการรับเสียงทุกทิศทาง จึงเหมาะสําหรับงานทีแ่ หล่งเสียงมาจากทุกทิศทาง
เช่น การแสดงบนเวที แต่จะมีขอ้ เสียคือ จะรับเสียงได้ทงั ้ หมดมากเกินไปแม้เสียงทีไ่ ม่ตอ้ งการและ
ควบคุมสัญญานรบกวนซึง่ เป็ นสัญญาณย้อนกลับได้ยาก
73

1.1.2.4 ไมโครโฟนชนิดรับเสียงบริเวณด้านหน้า หรือไมโครโฟนรูป


หัวใจ (Cardiod or heart shaped microphone) เป็ นไมโครโฟนชนิดรับเสียงได้ทศิ ทางเดียวคล้าย
แบบแรก แต่สามารถรับเสียงด้านหน้าได้ในบริเวณกว้างกว่า มีองศาในการรับเสียงอยูร่ ะหว่าง 120-
180 องศาจากศูนย์กลางด้านหน้าของไมโครโฟน จึงเป็ นไมโครโฟนทีน่ ิยมใช้กนั มาก

2. เครื่องเล่นซีดี

เครื่องเล่นซีดี (Compact disc player) เป็ นอุปกรณ์ภาคสัญญานเข้าระบบดิจทิ ลั โดยใช้แสง


เลเซอร์ในการอ่านข้อมูลบนแผ่นซีดี แล้วแปลงเป็ นสัญญานไฟฟ้าส่งไปยังภาคขยายสัญญาณ เพื่อ
แปลงเป็ นสัญญาณเสียงและถ่ายทอดเป็ นเสียงให้ได้ยนิ เครือ่ งเล่น ซีดจี ะเล่นแผ่นได้ตงแต่
ั ่ 1-4 แผ่น
แล้วแต่สมรรถนะของแต่ละเครือ่ ง ทําให้สามารถฟงั เสียงได้นานติดต่อกันหลายชัวโมง ่

3. แผ่นซีดี

แผ่นซีดี (Compact disc : CD) เป็ นวิวฒ ั นาการทีก่ า้ วหน้าของการประดิษฐ์หน่วยความจํา


สํารอง เพื่อใช้ในการเก็บข้อมูลจํานวนมาก การเก็บข้อมูลบนแผ่น ซีดี ใช้หลักการทางแสง แผ่น
ซีดที อ่ี ่านได้อย่างเดียวเรียกกันว่า ซีดรี อม ข้อมูลทีบ่ นั ทึกจะถูกบันทึกมากจากโรงงานผูผ้ ลิตเหมือน
การบันทึกเพลงหรือภาพยนต์ ข้อเด่นของแผ่น ซีดี คือ ราคาถูก จุขอ้ มูลได้มาก สามารถเก็บ
ข้อมูลหรือ โปรแกรมได้มากกว่า ซีดแี ผ่นหนึ่งมีความจุขอ้ มูลตัง้ แต่ 680-700 เมกะไบท์

4. เครื่องขยายเสียง

เครื่องขยายเสียง (Amplifier) หรือเรียกทับศัพท์เป็ นภาษาไทยว่า “เครื่องเล่น แอมพลิไฟล์”


เป็ นอุปกรณ์ไฟฟ้าในภาคขยายสัญญาณ ซึง่ ทําหน้าทีข่ ยายสัญญาณความถี่เสียงให้มกี ําลังเพิม่ มาก
่ งสําหรับผูฟ้ งั รายการจํานวนมาก กําลังของ
ขึน้ เพือ่ ส่งออกไปยังลําโพงให้มเี สียงดังให้ได้ยนิ อย่างทัวถึ
เครือ่ งขยายเสียงมีหน่วยวัดเป็ น วัตต์ เช่น 20 30 50 วัตต์ เป็ นต้น

5. ลําโพง

ลําโพง (Loud speaker) เป็ นอุปกรณ์ในภาคสัญญานออก ทําหน้าทีเ่ ปลีย่ นสัญญาณไฟฟ้า


ความถีเ่ สียงทีถ่ ูกขยายแล้วให้เป็ นคลื่นเสียงธรรมชาติ ประเภทของลําโพง ลําโพงแบ่งออกเป็ น 5
ประเภท ได้แก่
74

5.1 ลําโพงเสียงทุม้ ตํ่า หรือ ซับวูฟเฟอร์ (Sub Woofer) เป็ นลําโพงทีต่ อบสนอง
ความถี่เสียงในช่วงตํ่ามาก คือ ประมาณ 50 เฮิรตซ์ลงมา ให้เสียงทุม้ มากและลึกหนักแน่ น เป็ น
พิเศษ

5.2 ลําโพงเสียงทุม้ (Woofer) เป็ นลําโพงทีต่ อบสนองความถี่ในช่วง 25-250


เฮิรตซ์ ให้เสียงทุม้ แบบนุ่ มนวล ลุ่มลึก ลําโพงประเภทนี้จะมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 6 นิ้วขึน้
ไป

5.3 ลําโพงเสียงกลาง (Midrange) เป็ นลําโพงทีต่ อบสนองความถีเ่ สียงในช่วง 500-


5,000 เฮิรตซ์ ให้เสียงระดับกลางทัวไป
่ เช่น เสียงคนพูด ลําโพงประเภทนี้มี เส้นผ่านศูนย์กลาง
ประมาณ 4-6 นิ้ว

5.4 ลําโพงเสียงแหลม (Tweeter) เป็ นลําโพงทีต่ อบสนองความถี่เสียงสูงในช่วง


ประมาณ 5,000 เฮิรตซ์ขน้ึ ไป ให้เสียงระดับเล็กแหลม ลําโพงประเภทนี้จะมีเส้นผ่านศูนย์กลาง
ประมาณ 2-3 นิ้วครึง้ โครงสร้างมักบอบบาง ชํารุดง่าย

5.5 ลําโพงปากแตร (horn) เป็ นลําโพงทีใ่ ช้งานกลางแจ้ง มีโครงสร้างเป็ นโลหะ


มีความแข็งแรงทนทาน ทนแดดทนฝน มีกาํ ลังเสียงมาก สามารถส่งเสียงไปได้ไกล

7. เครื่องผสมสัญญาน

เป็ นอุปกรณ์ในการผลิตเสียงที่สําคัญอย่างยิง่ มีคุณสมบัติทวไปในการผสมสั


ั่ ญญาณเสียง
และควบคุ ม เสีย งจากแหล่ ง เสีย งต่ า งๆ เช่ น ไมโครโฟน เครื่อ งเล่ น ซี ดี เครื่อ งเล่ น เทป
คอมพิวเตอร์ ฯลฯ ที่สามารถเชื่อมต่อสัญญาณผ่านช่อง AV-In-Out ส่งต่อไปยังลําโพง และ
เครือ่ งส่งวิทยุการศึกษาเพือ่ ออกอากาศต่อไป โดยปกติเครือ่ งผสมสัญญาณทีใ่ ช้ในงานวิทยุการศึกษา
สามารถเลือกใช้ได้ตงแต่ั ่ ขนาด 8,16 และ 24 ช่องสัญญาณ โดยมีปุ่มปรับความถี่ ทุม้ กลาง
แหลม และปุม่ ปรับความดังเป็ นแบบเลื่อน ขึน้ – ลง

ป จั จุ บ ัน มีก ารผลิต เครื่อ งผสมสัญ ญาณเสีย งระบบดิจิท ัล ขึ้น มา เพื่อ รองรับ การขยาย
ช่องสัญญาณให้เพิม่ มากขึน้ และเชื่อมต่อการทํางานเข้ากับระบบคอมพิวเตอร์ และระบบออนไลน์
ผ่านดาวเทียม ซึง่ ทําให้วทิ ยุการศึกษาสะดวกรวดเร็วมีคุณภาพมากขึน้
75

8. เครื่องคอมพิ วเตอร์

ปจั จุบนั มีการนํ าเอาเทคโนโลยีโปรแกรมตัดต่อและปรับแต่งเสียงด้วยคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้


ในงานกระจายเสียงทางวิทยุแทนการบันทึกเสียงทางวิทยุแทนการบันทึกเทปด้วยระบบอนาลอกเดิม
ซีง่ ทําให้คุณภาพของงานเสียงทีบ่ นั ทึกอยูใ่ นระดับมาตรฐานเมือ่ นําไปใข้ออกอากาศจริง

สรุป

วิทยุการศึกษาเป็ นสื่อทีใ่ ช้เฉพาะเสียง ผูฟ้ งั สามารถรับฟงั เนื้อหาสาระหรือจินตนาการตาม


ด้วยการได้ยนิ เสียง ดังนัน้ เสียงทีจ่ ะใช้ในวิทยุการศึกษานัน้ จะต้องเป็ นเสียงทีเ่ หมาะสมกับรูปแบบ
รายการเพื่อให้สามารถสื่อความหมาย ความเข้าใจแก่ผฟู้ งั ได้อย่างชัดเจน เสียงประกอบทีส่ ามารถ
สร้างความสมจริงตามเหตุการณ์ได้ในการผลิตรายการวิทยุการศึกษา มีการใช้เครื่องมืออุปกรณ์ทใ่ี ช้
ในการผลิต ได้แก่ ไมโครโฟน เครื่องเทปเสียง เครื่องเล่น ซีดี เครื่องขยายเสียง ลําโพง เครื่อง
ผสมสัญ ญาน และเครื่อ งคอมพิว เตอร์ซ่ึง อุ ป กรณ์ เ หล่ า นี้ นั น้ จะสามารถทํ า งานได้อ ย่ า งเต็ ม
ประสิทธิภาพ เมือ่ ยูใ่ นห้องบันทึกเสียงและห้องควบคุมเสียงทีถ่ ูกออกแบบเป็ นอย่างดี

รูปแบบรายการวิ ทยุการศึกษา
การผลิตรายการวิทยุการศึกษา จะต้องรายการคํานึงถึงลักษณะของสถานีวทิ ยุ กลุ่มผู้ฟงั
เป้าหมาย วัตถุประสงค์ของรายการ ความยาวและระยะเวลาในการออกอากาศ จากนัน้ จึงกําหนด
เนื้อหารายการ และรูปแบบของรายการให้เหมาะสม

ปจั จุ บนั สถานีวิทยุการศึกษาในประเทศไทยจะอยู่ในความรับผิดชอบของหน่ วยงานของ


ภาครัฐ แต่การนํ าเสนอรายการบริษทั ผลิตรายการวิทยุ หรือนักจัดรายการจะใช้วธิ กี ารประมูลเวลา
ของแต่ละคลื่น จัดรายการโดยรายได้มาจากการชือ้ เวลาเพื่อการขายโฆษณาหรือสนับสนุ นรายการ
ของแต่ละบริษทั สถานีวทิ ยุการศึกษาในกรุงเทพมหานครจะใช้วธิ กี ารประมูลทัง้ คลื่นภายในระยะเวลา
กี่ปี สถานีวิท ยุการศึกษาต่ างจังหวัดใช้วิธีการประมูลเฉพาะช่วงเช้า บ่าย หรือช่วงดึก ขึ้นอยู่กบั
อัตรากําลังและงบประมาณ

รูปแบบรายการวิ ทยุการศึกษา แบ่งได้กว้างๆ ออกเป็ น 12 รูปแบบรายการดังนี้

1. รายการพูดคุยกับผูฟ ้ ัง (Talk Programme) การสื่อสารจะมีลกั ษณะเป็ นการสื่อสารแบบ


สองทาง (Two way Communication) กับผูฟ้ งั โดยปกติผจู้ ดั รายการจะอาศัยเทคโนโลยีการสื่อสารที่
ทันสมัย และจําเป็ นต้องมีผชู้ ่วยประจํารายการ คอยทําหน้าทีใ่ นการรับสายโทรศัพท์ ลักษณะรายการ
76

ส่วนใหญ่จะเน้นการแสดงความคิดเห็นในประเด็นสาธารณะ เปิ ดกว้างในการแสดงความคิดเห็น ผู้


ดํา เนิ นรายการจะต้องมีค วามอดทนและต้องรู้จ กั วิธีก ารกํา หนดกรอบการแสดงความคิดเห็น ให้
เหมาะสมตามช่ ว งเวลาในรายการและให้ไ ด้ค วามคิด เห็น ของคนฟ งั ที่ห ลากหลาย ป จั จุ บ ัน ด้ว ย
เทคโนโลยีทก่ี า้ วหน้ารายการอาจจะมีการเสริมด้วยการส่งข้อความ (SMS) และอ่านข้อความนัน้ ๆ
ออกอากาศแทน รูปแบบรายการนี้จะทําให้ทราบระดับความนิยมในรายการ ทราบความหลากหลาย
ของกลุ่มคนฟงั และจํานวนคนฟงั ในรายการ จนกระทังสามารถสร้
่ างชมรมคนฟงั ในรายการได้ เช่น
รายการของ จส. 100 รายการร่วมด้วยช่วยกัน เป็ นต้น

2. รายการสนทนา (Conversational Programme) การสื่อสารจะเป็ นการสื่อสารสองทาง


(Two way Communication) กับผูด้ ําเนินรายการร่วม แต่จะเป็ นการสื่อสารทางเดียว (One way
Communication) กับผูฟ้ งั ทางบ้าน ยกเว้นจะเปิ ดโอกาสให้คนฟงั สามารถโทรศัพท์เข้ามาสอบถาม
ประเด็นในเรื่องทีผ่ ดู้ าํ เนินรายการร่วม รูปแบบรายการลักษณะนี้ ผูผ้ ลิตรายการและผูด้ าํ เนินรายการ
ร่วมจะต้องทําการกําหนดวาระในการสนทนาที่เป็ นประเด็นทันสมัย ศึกษาข้อมูล ทําความตกลง
ร่วมกันว่าจะแบ่งประเด็นในการพูดคุยแลกเปลี่ยนกันอย่างไร สิง่ ทีค่ วรจะระวังในรายการ คือ ความ
ขัดเแย้งทางความคิด เพราะจะทําให้ผฟู้ งั ทางบ้านเกิดความสับสนในการจับประเด็น และสรุปประเด็น
หากต้องการจะสอดแทรกความคิดเห็นควรจะเริม่ ต้นว่า เห็นด้วยกับผูด้ ําเนินรายการร่วมก่อน แต่มี
ข้อเสนอเพิม่ เติมว่าอย่างไร

3. รายการสัมภาษณ์ (Interview Programme) รายการนี้จะมีลกั ษณะเป็ นการสื่อสารสอง


ทางกับผู้ท่เี ชิญมาร่วมในรายการ หรืออาจจะใช้วิธีการสัมภาษณ์ ผ่านทางโทรศัพท์ในกรณีท่ผี ู้ถูก
สัมภาษณ์ไม่สะดวกทีจ่ ะเข้ามาร่วมรายการในสถานีวทิ ยุ ผูด้ าํ เนินรายการควรจะแจ้งให้ผฟู้ งั ทางบ้าน
ทราบว่าผูท้ เ่ี ชิญเข้ามาสัมภาษณ์ในรายการชื่ออะไร ตําแหน่ งหน้าทีก่ ารทํางาน ความสามารถเฉพาะ
เรือ่ งทีเ่ ชิญเข้ามาสัมภาษณ์ในรายการ หรือกําลังเป็ นบุคคลทีป่ ระชาชนให้ความสนใจในเวลานัน้ หรือ
เป็ นบุ ค คลสาธารณะ หรือ เป็ นบุ ค คลที่กําลังเกิดข้อ พิพากษ์ วิจารณ์ ช่ว งเริ่ม ต้น รายการผู้ดําเนิ น
รายการควรจะนําเสนอประเด็นทีเ่ กีย่ วข้องกับผูท้ เ่ี ชิญมาสัมภาษณ์ในรายการให้กบั ผูฟ้ งั รับทราบ หรือ
สรุปประเด็นที่สําคัญในช่ว งต้นของรายการให้ผู้ฟ งั ทราบเบื้องต้น ก่อน แล้ว จึงแนะนํ าผู้ท่ีเ ชิญ มา
สัมภาษณ์ และจึงเข้าสู่การสัมภาษณ์ ข้อควรปฏิบตั ทิ ่ดี ี ผูด้ ําเนินรายการควรจะทําการนัดวัน เวลา
และกําหนดประเด็นทีจ่ ะสัมภาษณ์ให้กบั ผูท้ จ่ี ะเชิญมาสัมภาษณ์ก่อนล่วงหน้าอย่างน้อย 3 วัน เพื่อให้
ผู้ท่ีถูกสัมภาษณ์ ส ามารถเตรีย มเนื้ อหา หากเกิดกรณีฉุ กเฉิ น ผู้ถู กเชิญ มาสัมภาษณ์ ส ามารถแจ้ง
77

ล่ ว งหน้ า ว่ า ไม่ ส ามารถมาร่ ว มได้ ผู้ดํ า เนิ น รายการจะต้อ งเตรีย มประเด็น สํา รอง หรือ เชิญ ผู้ถู ก
สัมภาษณ์อ่นื มาแทนในรายการได้ทนั ท่วงที

4. รายการอภิ ปราย (Discussion Programme) การสื่อสารของรายการลักษณะนี้จะเป็ น


การสื่อสารแบบสองทางระหว่างผูด้ ําเนินการอภิปรายกับผูร้ ่วมอภิปราย รายการลักษณะนี้จะเป็ น
รายการที่มผี ูด้ ําเนินการอภิปราย 1 คน และผูร้ ่วมอภิปรายตัง้ แต่ 2 - 4 คน เนื่องจากหากมีผูท้ ่เี ข้า
ร่ ว มอภิป รายในรายการมาก การแสดงความคิด เห็น จะทํ า ให้เ กิด ความหลากหลายจนกระทัง่
ผูด้ ําเนินการอภิปรายไม่สามารถควบคุมประเด็นได้ รายการลักษณะนี้จะต้องอาศัยทีมงานทีม่ คี วาม
เชี่ยวชาญในการประสานงาน และการเชิญบุคคลเข้ามาร่วมอภิปรายที่สามารถได้ความคิดเห็นที่
หลากหลาย อย่างน้อยผูท้ เ่ี ข้าร่วมในรายการจะต้องอภิปรายได้ 2 ฝา่ ย คือ ฝา่ ยทีเ่ ห็นด้วยและฝา่ ยที่
ไม่เห็นด้วย รายการอภิปรายทีด่ ี สามารถเปิ ดโอกาสให้ผฟู้ งั โทรศัพท์เข้ามาแสดงความคิดเห็น หรือ
สามารถสอบถามข้อสงสัย ในประเด็น ที่เ กี่ย วข้องในรายการกับ ผู้อภิปรายได้ใ นช่ว งเวลาที่กําลัง
ออกอากาศ (Real time) ผูด้ าํ เนินการอภิปรายจะเป็ นเพียงผูต้ งั ้ คําถาม และกําหนดประเด็น กําหนด
ขอบเขต ควบคุมเวลาในการอภิปรายของแต่ละบุคคล รวมทัง้ จะต้องมีความสามารถในการควบคุม
ความขัดแย้งทีอ่ าจจะเกิดขึน้ ในรายการได้เป็ นอย่างดี

5. รายการสารคดี (Documentary or Feature Programme) การสื่อสารของรายการ


ลักษณะนี้จะเป็ นการสื่อสารแบบทางเดียวกับผูฟ้ งั ทางบ้าน โดยมีผบู้ รรยาย 1-2 คน โดยควรจะเป็ น
คนๆ เดียวกันตลอดไป ผูท้ ท่ี ําหน้าทีเ่ ป็ นผูบ้ รรยายควรจะมีน้ํ าเสียงที่น่าเชื่อถือ โทนเสียงไม่สูงมาก
นัก เพื่อทําให้ผฟู้ งั สามารถฟงั ได้จนจบรายการและเป็ นการสร้างลักษณะเฉพาะของรายการ (Identity
Programme) ไม่จาํ เป็ นต้องเป็ นรายการทีจ่ ดั สด สามารถบันทึกเทปล่วงหน้าได้ เพือ่ ให้สามารถตัดต่อ
และแก้ไขข้อมูลทีถ่ ูกต้องในรายการได้ โดยส่วนใหญ่รายการสารคดีของหน่ วยงานต่างๆ จะมีขนาด
สัน้ ความยาวไม่เกิน 5 นาที การกําหนดเนื้อหาจะเป็ นไปตามวัตถุประสงค์ดา้ นการประชาสัมพันธ์
ของหน่วยงานนัน้ ทัง้ นี้รายการสารคดี 1 ชัวโมงควรแบ่
่ งออกเป็ น 4 ส่วน โดยมีช่วงเวลาทีเ่ ท่ากัน คือ
10 – 15 นาที และควรจะมีความต่อเนื่องกันในการนํ าเสนอเนื้อหาของรายการ การกําหนดประเด็น
ของรายการ (Theme) ควรจะเป็ นประเด็นกว้างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ เหตุการณ์ทาง
ประวัตศิ าสตร์ สิง่ มีชวี ติ สิง่ ประดิษฐ์ เป็ นต้น รายการลักษณะนี้ทมี งานต้องมีความรู้ ความสามารถ
ในการสืบ ค้น ข้อ มูล เรีย บเรีย งและนํ าเสนอเนื้ อ หา เลือกเพลงประกอบรายการ หรือจัดทําเสีย ง
ประกอบรายการได้อย่างเหมาะสม หากทําให้ผฟู้ งั ทางบ้านมองเห็นภาพได้จะเป็ นรายการทีช่ ่วยสร้าง
อรรถรสให้กบั คนฟงั ได้เป็ นอย่างดี รายการสารคดีไม่จําเป็ นต้องคํานึงถึงวันเวลาในการออกอากาศ
78

แต่ควรจะเป็ นเรื่องทีส่ ง่ เสริมความรูใ้ ห้กบั ผูฟ้ งั มากขึน้ เจาะลึกในสิง่ ทีผ่ ฟู้ งั ยังไม่ทราบ หรือเป็ นเรื่องที่
ไม่เคยมีใครรูจ้ กั มาก่อน เช่น “ธิเบต” ดินแดนหลังคาโลก ในแต่ละช่วงควรจะนําเสนอเนื้อหาทีก่ ระชับ
สร้างความเข้าใจและความต่อเนื่องได้อย่างดี การเชื่อมโยงช่วงเวลาอาจจะอาศัยเสียงเพลง เพลง
บรรเลง เสียงประกอบ เสียงบรรยาย หรืออาศัยสปอตรณรงค์ (PSA) คันระหว่ ่ างช่วงเวลาได้

6. รายการนิ ตยสารทางอากาศ (Magazine Programme) การสื่อสารจะเป็ นลักษณะของ


การสื่อสารทางเดียวกับผูฟ้ งั ทางบ้าน รายการนิตยสารทางอากาศควรจะเป็ นรายการที่มผี ูด้ ําเนิน
รายการหลัก 1 คน และมีผดู้ าํ เนินรายการในแต่ละช่วงรายการช่วงละ 1 คน ทัง้ นี้รายการใน 1 ชัวโมง ่
ควรแบ่งออกเป็ น 4 ช่วงๆ ละ 10 – 15 นาที มีความหลากหลายทัง้ เนื้อเรื่องและรูปแบบการนํ าเสนอ
เน้นความทันสมัยและตรงกับเหตุการณ์ของเรื่องราวทีน่ ําเสนอ โดยคํานึงถึงกลุ่มเป้าหมายเป็ นสําคัญ
การนํ าเสนอควรจะให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย เช่น กําหนดกลุ่มเป้าหมายเป็ น รายการนิตยสาร
สําหรับผูห้ ญิง ข้อมูลที่นําเสนอจะเกี่ยวข้องกับการดูแลรักษารูปร่าง การรักษาผิวพรรณ แฟชันการ ่
แต่งกาย การสร้างเสน่หก์ บั เพศตรงข้าม เป็ นต้น โดยมีประเด็นในการนําเสนอทีแ่ ตกต่างกันแต่ควรจะ
อยูใ่ นหัวข้อทีใ่ กล้เคียงกัน หรืออาจจะเป็ นประเด็นทีเ่ กีย่ วข้องกับช่วงวันและเวลาทีจ่ ะออกอากาศ เช่น
รายการจะออกอากาศวันที่ 10 ตุลาคม 2547 ประเด็นควรจะเป็ นเรื่องของ เทศกาลกินเจ ระหว่าง
วันที่ 13-20 ตุลาคม 2547 โดยช่วงแรกนํ าเสนอประวัติความเป็ นมาและความสําคัญของการกินเจ
ช่วงทีส่ อง ร้านอาหารทีเ่ ปิ ดบริการอาหารเจ ช่วงทีส่ าม เป็ นข้อมูลสุขภาพของอาหารเจ เป็ นต้น ทัง้ นี้
การนําเสนอในแต่ละช่วงควรอาศัยบทบรรยาย การสัมภาษณ์ การสนทนา หรือ Vox pop สลับกับ
เพลงประกอบรายการ จิงเกิล้ รายการ เสียงประกอบ เพลงบรรเลง เป็ นต้น

7. รายการข่าว (News Programme) การสื่อสารจะเป็ นการสื่อสารแบบทางเดียวกับผูฟ้ งั


ทางบ้าน โดยส่วนใหญ่รายการข่าวจะมีอยู่ 2 รูปแบบ คือ รายการข่าวประจําวัน และรายการข่าวสัน้
ในแต่ละช่วงของวัน ซึ่งจะมีความยาวของรายการทีแ่ ตกต่างกัน และมีวธิ กี ารนํ าเสนอทีแ่ ตกต่างกัน
รายการข่าวประจําวันจะมีความยาว 1 ชัวโมง ่ โดยจะแบ่งออกตามประเภทของข่าว ได้แก่ ข่าวเด่น
ประจําวัน ข่าวสังคม ข่าวเศรษฐกิจ ข่าวเกษตร ข่าวต่างประเทศ ข่าวกีฬา ทัง้ นี้จะมีผปู้ ระกาศข่าว 1-
2 คน และมีผสู้ ่อื ข่าวนอกสถานทีก่ ระจายตามพืน้ ที่ โดยเป็ นการรายงานสดทางโทรศัพท์ รายงานสด
จากสถานทีจ่ ดั ประชุม หรือเป็ นการส่งเทปทีต่ ดั ต่อแล้วมาออกอากาศทางสถานี ส่วนข่าวสัน้ ในแต่ละ
ช่วงของวันนัน้ จะมีความยาวไม่เกิน 3-5 นาที ซึง่ จะเป็ นประเด็นด่วนในช่วงเวลานัน้ การผลิตรายการ
จะอาศัยจิงเกิล้ รายการข่าวทีฟ่ งั แล้วเกิดความรูส้ กึ อยากรู้ อยากฟงั ทัง้ นี้ควรจะมีสโลแกนของรายการ
ข่าวเพือ่ ให้คนฟงั สามารถจดจําได้วา่ เป็ นรายการข่าวประจําสถานีวทิ ยุนนั ้
79

8. รายการเพลง (Music Programme) การสื่อสารจะเป็ นลักษณะสองทาง โดยมีผูจ้ ดั


รายการ หรือ DJ รายการละ 1 คน ดําเนิ น รายการ 1 – 3 ชัวโมงต่ ่ อวัน รวมทัง้ ทําหน้ าที่ใ นการ
ประสานความบันเทิงในรายการตามคําขอของผูฟ้ งั หรืออาจจะเป็ นการเปิ ดเพลงทีก่ ําลังอยู่ในความ
นิย ม ตามรูปแบบของรายการ หรือให้ตรงกับกลุ่มเป้ าหมายของคนฟ งั ในรายการ โดยส่ว นใหญ่
รายการเพลงจะเป็ นรายการที่เ น้ นการเปิ ดเพลงเพื่อการประชาสัมพันธ์ การโฆษณาสินค้า หรือ
ผูส้ นับสนุ นรายการ ซึง่ รายการลักษณะนี้จะเป็ นรายการทีม่ จี าํ นวนมาก เนื่องจากเป็ นรายการทีม่ กี ลุ่ม
ผูฟ้ งั สูงกว่ารายการประเภทอื่น ปจั จุบนั รายการเพลงของสถานีวทิ ยุในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล
นัน้ จะเน้นการเปิ ดเพลงมากกว่าการพูด หรือทีเ่ รียกว่า Non – stop music เนื้อหาทีน่ ําเสนอใน
รายการจะมีความเบา ฟงั ง่ายและเกีย่ วข้องกับการดําเนินชีวติ ประจําวัน สลับกับการเล่นเกมส์ ตอบ
ปญั หาชิงรางวัลจากผูส้ นับสนุ นรายการ การเปิ ดสปอตโฆษณา และการรายงานข่าวตามสถานการณ์
หรือการรายงานข่าวจราจร เป็ นต้น รูปแบบรายการเพลงนัน้ ผูจ้ ดั รายการจะจัดรายการและเลือกเปิ ด
เพลงตามความถนัดของตนเอง รวมทัง้ จะต้องมีความสามารถในการเลือกเพลง จดจํารายชื่อเพลง
เชื่อมต่อเพลงในรายการได้อย่างต่อเนื่อง (Smooth) สามารถให้ขอ้ มูลเพลงที่เปิ ดได้ เช่น ข้อมูล
นักร้อง (Singer) ผูแ้ ต่งเพลง (Composer) อัลบัม้ (Album/ Version) ผลงานสร้างชื่อเสียง รางวัลทีไ่ ด้
ความเคลื่อนไหวในวงการเพลง ความเคลื่อนไหวของศิลปิ น เป็ นต้น

9. รายการปกิ ณกะ (Variety Programme) เป็ นรายการที่มคี วามหลากหลายในการ


นํ าเสนอเนื้อหาสาระ หรือเป็ นการเปิ ดกว้างของรายการภายในเวลา 1 ชัวโมง ่ โดยจะมีผู้ดําเนิ น
รายการ 1 คน คอยทําหน้าทีเ่ ชื่อมโยงเนื้อหารายการในแต่ละช่วง ไม่จาํ เป็ นต้องเป็ นรายการสด และ
ไม่จาํ เป็ นต้องเป็ นหัวเรื่องเดียวกัน (Theme) ความหลากหลายในแต่ละช่วงจะถูกกําหนดโดยชื่อของ
ช่วงรายการทีจ่ ะต้องเป็ นชื่อช่วงรายการเดิมแต่เปลีย่ นแปลงเนื้อหาทีน่ ํ าเสนอได้ ความยาวของแต่ละ
ช่วงรายการมีขนาดไม่เท่ากัน โดยอยู่ระหว่าง 3-15 นาที ขึน้ อยู่กบั ขอบเขตในการนํ าเสนอเนื้อหา
เสียงผูบ้ รรยายในแต่ละช่วงจะเป็ นคนเดียวกันทุกช่วงหรือหลายคนก็ได้ หากเป็ นคนเดียวกันควรจะ
อาศัยบทสัมภาษณ์ การสนทนา การ Vox pop เพลง เสียงประกอบ สปอตรณรงค์ สปอตโฆษณา
เพื่อ ไม่ใ ห้ค นฟ งั เกิด ความเบื่อ หน่ า ยในการฟ งั รายการได้ การกํา หนดเนื้ อ หาในรายการนัน้ ควร
สอดคล้องกับเหตุการณ์ หรือเรือ่ งทีค่ นกําลังสนใจในเวลานัน้ เป็ นสําคัญ

10. รายการละครวิ ทยุ (Radio Drama) เป็ นรายการการแสดงทีใ่ ช้เสียงบอกเล่าเรื่องราว


แสดงอารมณ์ ความรู้สกึ และสามารถถ่ายทอดความนึกคิดต่างๆ ไปสู่ผู้ฟ งั ได้ โดยไม่จําเป็ นต้อง
มองเห็นท่าทางกิรยิ าของผูแ้ สดง ละครที่แสดงทางวิทยุการศึกษานัน้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างสรรค์
80

ความบันเทิง ให้ความรู้ ให้แง่คดิ แก่คนฟงั หรือเป็ นละครเพื่อการรณรงค์ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง การ


ผลิตรายการละครหนึ่งเรือ่ งต้องอาศัยทีมงานทีป่ ระกอบไปด้วย ผูเ้ ขียนบทละคร ผูแ้ สดงละคร ผูก้ ํากับ
ละคร และบุคลากรทางด้านเทคนิค เสียงประกอบ ทัง้ นี้รายการละครจะต้องทําการผลิตและบันทึก
เทปล่ ว งหน้ า 3 ขัน้ ตอน คือ ขัน้ วางแผนและเตรีย มงาน ขัน้ การผลิต และขัน้ หลัง การผลิต เพื่อ
ตรวจสอบและประเมินผลรายการ ส่วนใหญ่แล้วความยาวของรายการละครหนึ่งเรื่องจะไม่เกิน 30-45
นาที โดยจะเป็ นเรื่องสัน้ จบในตอนหรือแบ่งออกเป็ นตอนๆ เพื่อสร้างความต่อเนื่อง ทีมงานละคร
จะต้องตัง้ ชื่อทีมละคร กําหนดเพลงรายการละคร และมีผบู้ รรยายประจํารายการเพื่อนํ าเสนอเรื่องย่อ
ความเดิมจากตอนทีแ่ ล้ว ของรายการทุกวัน

11. รายการตอบปัญหา (Quiz Programme) เป็ นรายการทีค่ ล้ายคลึงกับกับรายการทีเ่ น้น


เนื้อหาทางวิชาการ ซึ่งเป็ นลักษณะของการสื่อสาร 2 ทิศทางระหว่างผู้ดําเนินรายการ และผู้ตอบ
ปญั หาทางบ้าน รายการลักษณะนี้จะไม่ค่อยปรากฏเนื่องจากไม่ค่อยมีผสู้ นับสนุ นรายการชัดเจน ผู้
ดําเนินรายการจะต้องศึกษาข้อมูลในเชิงวิชาการมามาก และจําเป็ นต้องมีผเู้ ชีย่ วชาญทางวิชาการทีจ่ ะ
มาเป็ นผูร้ ว่ มรายการเพือ่ สร้างความน่าเชื่อถือให้กบั รายการ

12. รายการบรรยายเหตุการณ์ (Commentary Programme) เป็ นรายการถ่ายทอดสด


จากสถานที่เกิดเหตุการณ์ในเวลานัน้ โดยส่วนใหญ่จะแทรกได้ทุกช่วงเวลาของการเกิดเหตุการณ์
ทัง้ นี้ เ หตุ ก ารณ์ นัน้ จะต้อ งมีค วามสํา คัญ และเกิด ผลกระทบต่ อ ประชาชนระดับ ประเทศ หรือ เป็ น
ประเด็นสาธารณะทีค่ นสนใจในขณะนัน้ เช่น การโต้วาทีของผูส้ มัครเลือกตัง้ ของประธานาธิบดี การ
เลือกตัง้ สมาชิกสภาผูแ้ ทนราษฎร การเลือกตัง้ ผูว้ า่ ราชการกรุงเทพมหานคร เป็ นต้น

สรุป

รายการวิทยุการศึกษานัน้ เป็ นสื่อเสียงทีเ่ สนอเนื้อหาสาระทัง้ ทีเ่ ป็ นความรูท้ วไปแก่


ั่ ผฟู้ งั และ
ทีเ่ ป็ นส่วนหนึ่งของหลักสูตรทีเ่ ปิ ดสอนในสถาบันการศึกษา วิทยุการศึกษานัน้ จึงมึความสําคัญในการ
ให้ความรู้ทวไปแก่
ั่ ประชาชน และใช้ในการเรียนการสอน โดยสื่อวิทยุกระจายเสียงช่วยให้เข้าถึง
ผูเ้ รียนด้วยคุณลักษณะเด่นของวิทยุกระจายเสียงสามารถรับส่งสัญญานครบคลุมพืน้ ที่ได้กว้างไกล
สื่อวิทยุกระจายเสียงช่วยให้ผูเ้ รียนทีอ่ ยู่ต่างถิน่ ต่างที่ สามารถเรียนได้พร้อมกัน เป็ นการลดความ
แตกต่างทางคุณภาพทางการศึกษาอีกด้วย
บทที่ 3

วิธีการดําเนินการวิจยั
ในการดําเนิ นการศึกษาทดลองครัง้ นี้ ผู้วิจยั ได้สร้างและหาประสิทธิภาพของการพัฒนา
บทเรียนออนไลน์เรือ่ งการผลิตรายการวิทยุการศึกษา ดังต่อไปนี้

1. ประชากรกลุ่มเป้าหมาย
2. เครือ่ งมือทีใ่ ช้ในการวิจยั
3. การสร้างและหาคุณภาพเครือ่ งมือทีใ่ ช้ในการวิจยั
4. การดําเนินการทดลอง
5. การวิเคราะห์ขอ้ มูล

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากร
ประชากรทีใ่ ช้ในการศึกษาเป็ นนิสติ ปริญญาตรี สาขาเทคโนโลยีสอ่ื สารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ จํานวน 213 คน
กลุ่มตัวอย่าง
กลุ่ มตัวอย่ างที่ใช้ในการศึกษาเป็ น นิ ส ิตระดับปริญญาตรี ชัน่ ปี ท่ี2 สาขาเทคโนโลยีส่ือสาร
การศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ จํานวน 45 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจงจากนิสติ ที่
ลงทะเบียนเรียนวิชา การผลิตรายการวิทยุการศึกษา(ET 321) ในปี การศึกษา 1/2554 โดยแบ่งเป็ น
การทดลองครัง้ ที่ 1 จํานวน 3 คน เป็ นการทดลองเพื่อหาข้อบกพร่องของบทเรียนออนไลน์
เรือ่ งการผลิตรายการวิทยุการศึกษา ซึง่ ได้มาโดยวิธกี ารสุม่ อย่างง่าย
การทดลองครัง้ ที่ 2 จํานวน 12 คน เป็ นการทดลองเพื่อหาแนวโน้มของบทเรียนออนไลน์
เรือ่ งการผลิตรายการวิทยุการศึกษา ซึง่ ได้มาโดยวิธกี ารสุม่ อย่างง่ายจากจํานวนทีเ่ หลือ
การทดลองครัง้ ที่ 3 จํ า นวน 30 คน เป็ น การทดลองเพื่อ หาประสิท ธิภ าพของบทเรีย น
ออนไลน์เรือ่ งการผลิตรายการวิทยุการศึกษา ซึง่ ได้มาโดยวิธกี ารสุม่ อย่างง่ายจากจํานวนทีเ่ หลือ

เครือ่ งมือที่ใช้ในการวิจยั
เครื่ องมือที่ใช้ในการศึกษาทดลองครั้งนี้ประกอบด้วย
1. บทเรียนออนไลน์เรือ่ งการผลิตรายการวิทยุการศึกษา
82

2. แบบประเมินคุณภาพ บทเรียนออนไลน์เรือ่ งการผลิตรายการวิทยุ แบ่งเป็ น


2.1 แบบประเมินคุณภาพ บทเรียนออนไลน์เรือ่ งการผลิตรายการวิทยุ ฉบับ
สําหรับผูเ้ ชีย่ วชาญ ด้านเนื้อหา
2.2 แบบประเมินคุณภาพ บทเรียนออนไลน์เรือ่ งการผลิตรายการวิทยุ ฉบับ
สําหรับผูเ้ ชีย่ วชาญ ด้านเทคโนโลยีการศึกษา
3. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ ์ทางการเรียน
4. แบบประเมินความพึงพอใจ

การสร้างและหาคุณภาพเครือ่ งมือที่ใช้ในการวิจยั
1. การสร้างบทเรียนออนไลน์ วิชาการผลิ ตรายการวิ ทยุการศึกษา
1.1 ศึกษารายละเอียดและเลือกเนื้อหา
1.2 วิเคราะห์เนื้อหาและแยกออกเป็ นหน่วยย่อยดังนี้
วิชาการผลิตรายการวิทยุกระจายเสียงเพื่อการศึกษา จํานวน 5 หน่ วยการเรียนรู้
ประกอบด้วยเนื้อหา ดังนี้
1.2.1 ความเป็ นมาของวิทยุการศึกษา
1.2.2 หลักการเกีย่ วกับการผลิตรายการวิทยุการศึกษา
1.2.3 การเขียนบทวิทยุการศึกษา
1.2.4 ห้องบันทึกเสียงและเครือ่ งมือ
1.2.5 รูปแบบของรายการวิทยุการศึกษา
1.3 กําหนดวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม ดังนี้
1.3.1 เพือ่ ให้ผเู้ รียนได้เรียนรูแ้ ละเข้าใจความเป็นมาของวิทยุการศึกษา
1.3.2 เพือ่ ให้ผเู้ รียนได้เรียนรูแ้ ละเข้าใจหลักการเกีย่ วกับการผลิตรายการวิทยุ
การศึกษา
1.3.3 เพือ่ ให้ผเู้ รียนได้เรียนรูแ้ ละเข้าใจเกีย่ วกับการเขียนบทวิทยุการศึกษา
1.3.4 เพือ่ ให้ผเู้ รียนได้เรียนรูแ้ ละเข้าใจเกีย่ วกับห้องบันทึกเสียงและเครือ่ งมือใน
การผลิตรายการวิทยุการศึกษา
1.3.5 เพือ่ ให้ผเู้ รียนได้เรียนรูแ้ ละเข้าใจเกีย่ วกับรูปแบบของรายการวิทยุ
การศึกษา
1.4 นํ าเนื้อหาให้ผเู้ ชีย่ วชาญด้านเนื้อหาจํานวน 3 ท่าน ประเมินคุณภาพของบทเรียน
พร้อมนําข้อเสนอแนะมาแก้ไขปรับปรุงต่อไป
1.5 นําเนื้อหาทีได้ผา่ นการปรับปรุงแล้วนํามาสร้างบทเรียน
83

1.6 การสร้างบทเรียนมีขนั ้ ตอนดังต่อไปนี้


1.6.1 เขียน Flow chart เพือ่ แสดงลําดับในการเข้าถึงบทเรียน
1.6.2 เขียน Script เพือ่ เตรียมข้อความลงในแต่ละกรอบของเนื้อหา
1.6.3 จัดเตรียมข้อมูลประกอบ เช่น รูปภาพประกอบต่างๆ เสียง เป็ นต้น
1.6.4 เลือกโปรแกรมทีใ่ ช้ในการสร้างบทเรียน
- โปรแกรม Moodle
- โปรแกรม ตกแต่งภาพ
1.7 นําบทเรียนออนไลน์ทส่ี ร้างขึน้ เสนอให้ผเู้ ชีย่ วชาญด้านเทคโนโลยีการศึกษา
จํานวน 3 ท่าน ประเมินคุณภาพของบทเรียน โดยใช้เกณฑ์ 3.51 อยูใ่ นระดับดี พร้อมกับปรับปรุง
แก้ไข โดยผลการประเมินคุณภาพบทเรียนออนไลน์โดยผูเ้ ชีย่ วชาญด้านเทคโนโลยีการศึกษาอยูใ่ น
ระดับดี(4.33)

2. การสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน
2.1 ศึกษารายละเอียดของโครงสร้างเนื้อหา คําอธิบายรายวิชา และเนื้อหาในเรื่องการ
ผลิตรายการวิทยุการศึกษา
2.2 ศึกษาทฤษฎี หลักการ และวิธกี ารสร้างแบบทดสอบ การเขียนข้อสอบ และการ
วิเคราะห์ขอ้ สอบของบทเรียนออนไลน์
2.3 วิเคราะห์เนื้อหาและเขียนวัตถุประสงค์การเรียนรูข้ องเนื้อหาในแต่ละเรื่องของ
บทเรียนออนไลน์
2.4 ให้ผเู้ ชีย่ วชาญด้านเนื้อหาตรวจสอบวัตถุประสงค์การเรียนรูท้ ส่ี ร้างขึน้ ว่าถูกต้อง
เหมาะสมและสอดคล้องครอบคลุมเนื้อหาหรือไม่
2.5 สร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ ์ทางการเรียนให้ครอบคลุมเนื้อหาและวัตถุประสงค์
การเรียนรูแ้ บบปรนัย 4 ตัวเลือกจํานวน 100 ข้อ แล้วให้ผเู้ ชีย่ วชาญด้านเนื้อหาตรวจสอบเพื่อ
ปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมด้วยแบบประเมินความสอดคล้อง (IOC) ผลแสดงในภาคผนวก
2.6 นําแบบทดสอบทีส่ ร้างขึน้ ไปทดลองใช้กบั นิสติ ทีเ่ คยเรียนวิชาการผลิตรายการวิทยุ
การศึกษาจํานวน 35 คน และตรวจให้คะแนนข้อถูกต้อง 1 คะแนน ข้อทีผ่ ดิ ได้ 0 คะแนน เพื่อ
วิเคราะห์หาค่าความยากง่ายและค่าอํานาจจําแนกของแบบทดสอบ
2.7 คัดเลือกข้อสอบไว้ 40 ข้อ แบ่งเป็ นเรือ่ งละ 8 ข้อ ทีม่ คี วามยากง่ายระหว่าง 0.20 –
0.80 และมีค่าอํานาจจําแนกตัง้ แต่ 0.20 ขึน้ ไป โดยใช้วธิ วี เิ คราะห์อย่างง่าย เพื่อนํ าไปใช้ใน
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ ์ทางการเรียน ผลได้ขอ้ สอบทีม่ คี ่าความยากง่ายอยูร่ ะหว่าง 0.21-0.79
และค่าอํานาจจําแนกอยูร่ ะหว่าง 0.20-0.60 (รายละเอียดแสดงในภาคผนวก)
84

2.8 นําแบบทดสอบไปคํานวนหาค่าความเชื่อมันของแบบทดสอบวั
่ ดผลสัมฤทธิ ์ทางการ
เรียนแต่ละเรื่อง และรวมทัง้ ฉบับ โดยใช้สตู ร KR-20 ของ คูเดอร์ ริชาร์ดสัน ผลได้ความเชื่อมัน่
ของข้อสอบเท่ากับ 0.73 (รายละเอียดแสดงในภาคผนวก)
2.9 นํ าแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ ์ทางการเรียนที่ตรวจสอบคุณภาพแล้วไปใช้ใน
บทเรียนออนไลน์ทส่ี ร้างขึน้ ต่อไป

3. การสร้ างแบบประเมิ นคุณภาพบทเรี ยนออนไลน์ เรื่ อง การผลิ ต รายการวิ ท ยุ


การศึกษา
สร้างแบบประเมินคุ ณ ภาพบทเรียนออนไลน์ เรื่อ ง การผลิต รายการวิท ยุการศึกษา
มีขนั ้ ตอนดังนี้
3.1 ศึกษาเอกสารเกีย่ วกับการประเมินสือ่ การสอน
3.2 กําหนดคุณลักษณะในด้านต่างๆ เกีย่ วกับสือ่ ทีต่ อ้ งการจะประเมิน

3.3 สร้างข้อคําถามให้ตรงกับคุณลักษณะทีต่ อ้ งการจะประเมิน โดยใช้แบบประเมินเป็ น


มาตราส่วนประมาณค่า (rating scale) กําหนด 5 ระดับแบ่งระดับความคิดเห็นออกเป็ นดังนี้
5 คะแนน หมายถึง มีคุณภาพดีมาก
4 คะแนน หมายถึง มีคุณภาพดี
3 คะแนน หมายถึง มีคุณภาพพอใช้
2 คะแนน หมายถึง ต้องปรับปรุง
1 คะแนน หมายถึง ใช้ไม่ได้
การแปลความหมายของค่าเฉลีย่ ดังนี้
4.51-5.00 หมายถึง มีคุณภาพระดับดีมาก
3.51-4.50 หมายถึง มีคุณภาพระดับดี
2.51-3.50 หมายถึง มีคุณภาพระดับพอใช้
1.51-2.50 หมายถึง คุณภาพระดับต้องปรับปรุง
1.00-1.50 หมายถึง คุณภาพระดับใช้ไม่ได้
3.4 นํ าแบบประเมินทีป่ รับปรุงแก้ไขแล้วไปให้ผเู้ ชีย่ วชาญด้านเนื้อหาและผูเ้ ชีย่ วชาญ
ด้านเทคโนโลยีการศึกษาประเมินคุณภาพของบทเรียนออนไลน์ทผ่ี ศู้ กึ ษาสร้างขึน้
ซึง่ ค่าเฉลีย่ ทีผ่ วู้ จิ ยั กําหนด จะต้องมีค่าตัง้ แต่ 3.51 ขึน้ ไปซึง่ หมายถึง บทเรียนออนไลน์
ต้องอยูใ่ นระดับดีขน้ึ ไปจึงจะยอมรับว่ามีคุณภาพดีพอจะนําไปใช้ในการทดลองได้
85

4. การสร้างแบบวัดความพึงพอใจ

ขัน้ ตอนการสร้างแบบวัดความพึงพอใจ มีการดําเนินการดังนี้

4.1 ศึกษาวิธกี ารสร้างแบบวัดความพึงพอใจกําหนดกรอบคําถาม


4.2 ดําเนินการสร้างแบบวัดความพึงพอใจ โดยแบ่งออกเป็ น 2 ตอน ตอนที่ 1 เป็ น
แบบสอบถาม ข้อมูลทัวไปของผู
่ ต้ อบแบบสอบถาม เป็ นการเลือกรายการ (Check List) ตอนที่ 2
แบบสอบถามวัดความพึงพอใจของผูเ้ รียน เป็ นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 อันดับ ของ
ลิเคอร์ท (Likert) กล่าวคือ

5 หมายถึง มีความพึงพอใจในระดับมากทีส่ ดุ
4 หมายถึง มีความพึงพอใจในระดับมาก
3 หมายถึง มีความพึงพอใจในระดับปานกลาง
2 หมายถึง มีความพึงพอใจในระดับน้อย
1 หมายถึง มีความพึงพอใจในระดับน้อยมาก
ในการแปลผลหาค่าเฉลีย่ ของความพึงพอใจ มีดงั นี้

4.51 – 5.00 มีความพึงพอใจในระดับมากทีส่ ดุ


3.51 – 4.50 มีความพึงพอใจในระดับมาก
2.51 – 3.50 มีความพึงพอใจในระดับปานกลาง
1.51 – 2.50 มีความพึงพอใจในระดับน้อย
1.00 – 1.50 ทีความพึงพอใจในระดับน้อยมาก

4.3 นําแบบวัดความพึงพอใจให้ผเู้ ชีย่ วชาญด้านจิตวิทยาตรวจสอบ และ นํามาปรับปรุง


แก้ไข

4.4 นําแบบวัดความพึงพอใจทีผ่ า่ นการปรับปรุงแล้วไปทดลองใช้กบั นิสติ ระดับปริญญา


ตรี สาขาเทคโนโลยีส่อื สารการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ ชัน้ ปี ท่ี 2 ทีล่ งทะเบียนเรียน
วิชา การผลิตรายการวิทยุการศึกษา จํานวน 30 คน ซึง่ เป็ นกลุ่มทดลองหาประสิทธิภาพครัง้ ที่ 3 โดย
ดําเนินการทดลองหลังจากผูเ้ รียนได้เรียนจบจากบทเรียนออนไลน์และทําแบบวัดผลสัมฤทธิ ์ทางการ
เรียนเสร็จแล้ว
86

การดําเนินการทดลอง
ผูว้ จิ ยั ได้นําบทเรียนออนไลน์ทป่ี รับปรุงแก้ไขแล้วมาดําเนินการทดลองกับกลุ่มประชากรซึ่ง
เป็ นนิสติ ระดับปริญญาตรีช นั ้ ปี ท่ี 2 สาขาวิช าเทคโนโลยีส่ือ สารการศึก ษา คณะศึกษาศาสตร์
มหาวิท ยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ เพื่อ หาประสิท ธิภาพของบทเรีย นออนไลน์ โดยดํา เนิ น การตาม
ขัน้ ตอนต่อไปนี้

การทดลองครัง้ ที่ 1 เป็ นการทดลองกับผูเ้ รียนเป็ นรายบุคคลเพื่อตรวจสอบในด้านการใช้


ภาษา การนํ าเสนอ การมีป ฎิส มั พันธ์เ พื่อ หาข้อบกพร่องของบทเรีย นออนไลน์ โดยนํ า ไปใช้ก บั
กลุ่มทดลองกลุ่มที่ 1 จํานวน 3 คน โดยดําเนินการดังนี้

1. จัดเตรียมห้องคอมพิวเตอร์ทเ่ี ชื่อมต่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สําหรับการเรียนบทเรียนบน


เครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่อง การบริหารจัดการเรียนรูบ้ นเครือข่าย โดยจัดเครื่องคอมพิวเตอร์ 1 ชุด
ต่อผูเ้ รียน 1 คน

2. การดําเนินการทดลอง มีขนั ้ ตอนดังนี้

2.1 ผูเ้ รียนศึกษาคําแนะนําในการใช้บทเรียนและวิธกี ารเข้าศึกษาบทเรียน

2.2 ผูเ้ รียนศึกษาบทเรียนและประกอบกิจกรรมต่างๆ ทีไ่ ด้กําหนดไว้ในบทเรียน โดยให้


อิสระในการศึกษาเนื้อหาบทเรียนตามความต้องการ และระยะเวลาของแต่ละบุคคล

2.3 ผูว้ จิ ยั สังเกตพฤติกรรมของผูเ้ รียนเป็ นระยะ และสัมภาษณ์ความคิดเห็นเกีย่ วกับ


บทเรียนดังกล่าวจากผูเ้ รียน

ผู้วิจยั ได้สงั เกตและสัมภาษณ์ ผู้เรียนเกี่ยวกับข้อบกพร่องด้านต่างๆ ของบทเรียน พบว่า


ผูเ้ รียนให้ความสนใจต่อการเรียนด้วยบทเรียนออนไลน์เป็ นอย่างดี แต่ยงั พบข้อบกพร่องทีต่ อ้ งปรับปรุง
แก้ไขดังนี้

1. ควรเพิม่ ขนาดของภาพประกอบให้ใหญ่ขน้ึ เพือ่ ความชัดเจนในการมองเห็น


2. ควรเพิม่ แหล่งข้อมูลให้หลากหลายกว่าทีม่ อี ยู่ เพือ่ ให้ครอบคลุมเนื้อหามากขึน้
3. ควรใช้ Unicode ทีเ่ ป็ นสากล เพือ่ ความสะดวกในการเข้าถึงเนื้อหา
ซึ่ง ผู้ วิจ ัย ได้ ร วบรวมข้อ บกพร่ อ งและความเห็น ของนิ ส ิต ที่มีต่ อ บทเรีย นบนเครือ ข่ า ย
อินเทอร์เน็ต แล้วนําไปปรับปรุงแก้ไข เพือ่ นําไปทดลองในครัง้ ที่ 2 ต่อไป
87

การทดลองครัง้ ที่ 2 เป็ นการหาแนวโน้มของประสิทธิภาพของบทเรียนและเป็ นการตรวจหา


ข้อบกพร่องในด้านต่างๆ เพื่อนําไปปรับปรุงแก้ไข โดยนําบทเรียนทีผ่ ่านการปรับปรุงแก้ไขจากการ
ทดลองครัง้ ที่ 1 ไปใช้กบั กลุ่มทดลองกลุ่มที่ 2 จํานวน 12 คน โดยให้ผเู้ รียนศึกษาบทเรียนออนไลน์
ทัง้ 5 เรื่อง พร้อมกับทําแบบฝึ กหัดระหว่างเรียนควบคู่ไปด้วย เมื่อทุกคนเรียนจบให้ทาํ แบบทดสอบ
วัดผลสัมฤทธิ ์ทันที และนํ าคะแนนทีไ่ ด้จากการทําแบบฝึ กหัดระหว่างเรียนและแบบทดสอบวัดผล
สัมฤทธิทางการเรี
์ ยน มาหาแนวโน้มประสิทธิภาพของบทเรียนโดยรวมเป็ น 73.00/78.33 ซึง่ ผูว้ จิ ยั ทําการเก็บ
ข้อมูลเพื่อหาข้อบกพร่องในด้านต่างๆ จากการใช้บทเรียนออนไลน์ แล้วนํ ามาปรับปรุงแก้ไขก่อน
ทดลองครัง้ ที่ 3

การทดลองครัง้ ที่ 3 เป็ นการหาประสิทธิภาพของบทเรียน โดยนํ าบทเรียนทีผ่ ่านการ


ปรับปรุงแก้ไขจากการทดลองครัง้ ที่ 2 ไปใช้กบั กลุ่มทดลองกลุ่มที่ 3 จํานวน 30 คน โดยให้ผเู้ รียน
ศึกษาบทเรียนบนบทเรียนออนไลน์ทงั ้ 5 เรื่อง พร้อมกับทําแบบฝึ กหัดระหว่างเรียนควบคู่ไปด้วย
เมื่อทุกคนเรียนจบให้ทําแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ ์ทันที และนํ าคะแนนทีไ่ ด้จากการทําแบบฝึ กหัด
ระหว่างเรียนและแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ ์ทางการเรียน มีประสิทธิภาพของบทเรียนออนไลน์
โดยรวมเป็ น 85.67/87.75

การประเมินความพึงพอใจของผูเ้ รียน
ผูว้ จิ ยั ได้นําแบบประเมินความพึงพอใจ ทีผ่ ่านการปรับปรุงแก้ไขแล้วมาดําเนินการศึกษากับ
กลุ่มประชากรซึ่งเป็ นนิ ส ิต ระดับปริญญาตรีช ัน้ ปี ที่ 2 สาขาวิชาเทคโนโลยีส่อื สารการศึกษา คณะ
ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผูเ้ รียน โดยดําเนินตามขัน้ ตอน
ต่อไปนี้

1. นํ าแบบวัดความพึงพอใจที่ผ่านการปรับปรุงแล้วไปทดลองใช้กบั นิสติ ระดับปริญญาตรี


สาขาเทคโนโลยีสอ่ื สารการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ ชัน้ ปีท่ี 2 ทีล่ งทะเบียนเรียน วิชา การ
ผลิตรายการวิทยุการศึกษา จํานวน 30 คน ซึ่งเป็ นกลุ่มทดลองหาประสิทธิภาพครัง้ ที่ 3 โดย
ดําเนินการทดลองหลังจากผูเ้ รียนได้เรียนจบจากบทเรียนออนไลน์และทําแบบวัดผลสัมฤทธิ ์ทางการ
เรียนเสร็จแล้ว
2. นํ าแบบประเมินที่ผูเ้ รียนประเมินหลังจากเรียนจบจากบทเรียนออนไลน์ และทําแบบวัด
ผลสัมฤทธิ ์ทางการเรียนเสร็จแล้วมาประเมินความพึงพอใจของผูเ้ รียน โดยพบว่าผูเ้ รียนมีความพึง
พอใจโดยรวมอยูใ่ นระดับปานกลาง
88

สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
1. สถิตทิ ใ่ี ช้ในการหาคุณภาพของเครือ่ งมือ
1.1 การหาค่าความยากง่าย ค่าอํานาจจําแนก และค่าความเชื่อมัน่ ของแบบทดสอบ
โดยใช้สตู ร KR-20 (Kuder Richardson) (ล้วน สายยศ และ อังคณา สายยศ. 2538: 197-198)

2 สถิตใิ นการวิเคราะห์ขอ้ มูล (ชูศรี วงศ์รตั นะ.2550)


2.1 สถิตพิ น้ื ฐาน
2.1.1 ค่าเฉลีย่ เลขคณิต
2.1.1 ค่าร้อยละ
2.2 การหาประสิทธิภาพของบทเรียนออนไลน์รายวิชาการผลิตรายการวิทยุ
การศึกษา ตามเกณฑ์ 85/85 (E1/E2) (เสาวณีย์ สิกขาบัณฑิต. 2528: 294-295)
บทที่ 4

ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
ในการวิจยั ครัง้ นี้ เป็ นการพัฒนาบทเรียนออนไลน์ เรือ่ ง การผลิตรายการวิทยุการศึกษา
สําหรับนิสติ ปริญญาตรี สาขาเทคโนโลยีสอ่ื สารการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ โดยได้ผลดังนี้

บทเรียนออนไลน์
บทเรียนออนไลน์ เรือ่ งการผลิตรายการวิทยุการศึกษา สําหรับนิสติ ปริญญาตรี สาขาเทคโนโลยี
สือ่ สารการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประกิบด้วยเนื้อหาจํานวน 5 เรือ่ งได้แก่
1. ความเป็ นมาของวิทยุการศึกษา
2. หลักการเกีย่ วกับการผลิตรายการวิทยุการศึกษา
3. การเขียนบทวิทยุการศึกษา
4. ห้องบันทึกเสียงและเครือ่ งมือ
5. รูปแบบของรายการวิทยุการศึกษา
โดยในบทเรียนประกอบด้วย เนื้อหาของบทเรียน นํ าเสนอเป็ นตัวหนังสือ ภาพนิ่ง ภาพกราฟิ ก
การสื่อสารภายในบทเรียน การเชื่อมโยงทัง้ ภายในและภายนอกบทเรียน เพื่อดึงดูดความสนใจของ
ผูเ้ รียน และกระตุ้นให้ผูเ้ รียนเกิดการเรียนรูต้ ามที่ผวู้ จิ ยั กําหนดไว้ แบบฝึ กหัดระหว่างเรียน จํานวน 25
ข้อ และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ ์ทางการเรียน จํานวน 40 ข้อ

ผลการประเมินคุณภาพของบทเรียนออนไลน์
1.1 การประเมิ นคุณภาพบทเรียนออนไลน์ ด้านเนื้ อหา

การประเมินหาคุณภาพของบทเรียนออนไลน์ เรื่อง การผลิตรายการวิทยุการศึกษา สําหรับนิสติ


ปริญญาตรี สาขาเทคโนโลยีส่อื สารการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ โดยผู้เชี่ยวชาญด้าน
เนื้อหาได้ผลการวิเคราะห์ดงั ตาราง 1
90

ตาราง 1 : ผลการประเมินคุณภาพบทเรียนออนไลน์ เรื่อง การผลิตรายการวิทยุการศึกษา โดย


ผูเ้ ชีย่ วชาญด้านเนื้อหา

ค่าเบี่ยงเบน ระดับ
รายการประเมิ น ค่าเฉลี่ย
มาตรฐาน คุณภาพ
1. จุดประสงค์
1.1 การกําหนดวัตถุประสงค์มคี วามเหมาะสม 4.67 .58 ดีมาก
1.2 การกําหนดวัตถุประสงค์มคี วามขัดเจน 4.33 .58 ดี
1.3 จํานวนของวัตถุประสงค์มคี วามเหมาะสม 4.67 .58 ดีมาก
ค่าเฉลี่ย 4.56 .58 ดีมาก
2. เนื้ อหาบทเรียน
2.1 การนําเสนอเนื้อหาตรงตามวัตถุประสงค์ 4.67 .58 ดีมาก
2.2 ความสอดคล้องของเนื้อหากับจุดประสงค์ 5.00 .00 ดีมาก
2.3 ความถูกต้องของเนื้อหา 4.00 .00 ดี
2.4 ความเหมาะสมของการจัดลําดับเนื้อหา 4.00 .00 ดี
2.5 ความยากง่ายเหมาะสมกับระดับผูเ้ รียน 4.00 .00 ดี
2.6 ความเหมาะสมของปริมาณเนื้อหาในแต่ละ 5.00 .00 ดีมาก
บทเรียน
2.7 ความเหมาะสมของขัน้ ตอนการนําเสนอเนื้อหา 4.00 .00 ดี
2.8 ความถูกต้องของการใช้ภาษา 4.00 .00 ดี
2.9 ความน่าสนใจในการดําเนินเรือ่ ง 3.67 .58 พอใช้
2.10 ความสอดคล้องของภาพประกอบในเนื้อหา 4.33 .58 ดี
ค่าเฉลี่ย 4.27 .17 ดี
3. แบบทดสอบ
3.1 ความสอดคล้องของคําถามกับเนื้อหา 4.67 .58 ดีมาก
3.2 ความชัดเจนของคําถาม 4.00 .00 ดี
3.3 ความเหมาะสมของจํานวนคําถาม 4.67 .58 ดีมาก
ค่าเฉลี่ย 4.44 .35 ดี
รวมเฉลี่ย 4.35 .29 ดี
91

จากตาราง 1 แสดงผลการประเมินคุณภาพของบทเรียนออนไลน์ เรื่อง การผลิตรายการวิทยุ


การศึกษา สําหรับนิสติ ปริญญาตรี สาขาเทคโนโลยีส่อื สารการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
โดยผูเ้ ชีย่ วชาญด้านเนื้อหาจํานวน 3 ท่านพบว่าคุณภาพโดยรวมอยูใ่ นระดับดี (xˉ = 4.35, SD = .29) เมื่อ
วิเคราะห์คุณภาพรายด้านสรุปได้ดงั นี้

ด้านจุดประสงค์ พบว่า มีคุณภาพโดยรวมอยูใ่ นระดับดีมาก (xˉ = 4.56, SD = .58) กล่าวคือ


การกําหนดวัตถุประสงค์มคี วามเหมาะสมในระดับดีมาก (xˉ = 4.67, SD = .58) การกําหนดวัตถุประสงค์มี
ความชัดเจนในระดับดี (xˉ = 4.33, SD = .58) และ มีจาํ นวนของวัตถุประสงค์อยูใ่ นระดับดีมาก (xˉ = 4.67, SD = .58)

ด้านเนื้ อหาบทเรียน พบว่า มีคุณภาพโดยรวมอยูใ่ นระดับดี (xˉ = 4.27, SD = .17) กล่าวคือมีการ


นําเสนอเนื้อหาตรงตามวัตถุประสงค์อยูใ่ นระดับดีมาก (xˉ = 4.67, SD = .58) มีความสอดคล้องของเนื้อหากับ
จุดประสงค์อยู่ในระดับดีมา (xˉ = 5.00, SD = .00) มีความถูกต้องข้องเนื้อหาอยู่ในระดับดี
(xˉ = 4.00, SD = .00) มีความเหมาะสมของการจัดลําดับเนื้อหาอยูใ่ นระดับดี (xˉ = 4.00, SD = .00) มีความ
ยากง่ายเหมาะสมกับระดับของผูเ้ รียนอยู่ในระดับดี (xˉ = 4.00, SD = .00) มีความเหมาะสมของปริมาณ
เนื้อหาในแต่ละบทเรียนในระดับดี มีความเหมาะสมของขัน้ ตอนการนําเสนอเนื้อหาอยูใ่ นระดับดี (xˉ = 4.00, SD =
.00) มีความถูกต้องของการใช้ภาษาอยูใ่ นระดับดี (xˉ = 4.00, SD = .00) มีความน่าสนใจในการดําเนินเรื่อง
อยู่ในระดับพอใช้ (xˉ = 3.67, SD = .58) และมีความสอดคล้องของภาพประกอบในเนื้อหาอยู่ในระดับดี
(xˉ = 4.33, SD = .58)

ด้านแบบทดสอบ พบว่า มีคุณภาพโดยรวมอยูใ่ นระดับดี (xˉ = 4.44, SD = .38) กล่าวคือ มีความ


สอดคล้องของคําถามกับเนื้อหาอยูใ่ นระดับดีมาก (xˉ = 4.67, SD = .58) มีความชัดเจนของคําถามอยูใ่ น
ระดับดี (xˉ = 4.00, SD = .00) และมีความเหมาะสมของจํานวนคําถามอยูใ่ นระดับดีมาก (xˉ = 4.67, SD = .58)

แม้วา่ ผูเ้ ชีย่ วชาญจะมีความเห็นว่าเนื้อหาในบทเรียนออนไลน์น้ี มีคุณภาพอยูใ่ นระดับดี แต่ในหัว


ข้อความน่าสนใจในการดําเนินเรือ่ งยังอยูใ่ นระดับพอใช้ ผูว้ จิ ยั จึงแก้ไขด้วยการ
1. ดําเนินเนื้อหาให้กระชับมากขึน้
2. เพิม่ ตัวอย่างในเนื้อหาของบทเรียน
ผู้วิจ ยั ได้แ ก้ไ ขและพัฒ นา เนื้ อหา ของบทเรีย น และนํ า ไป หาคุ ณภาพจากผู้เ ชี่ย วชาญด้า น
เทคโนโลยีการศึกษาต่อไป
92

1.2 การประเมิ นคุณภาพบทเรียนออนไลน์ ด้านเทคโนโลยีการศึกษา


การประเมินหาคุณภาพของบทเรียนออนไลน์ เรื่อง การผลิตรายการวิทยุการศึกษา สําหรับนิสติ
ปริญญาตรี สาขาเทคโนโลยีส่อื สารการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ โดยผู้เชี่ยวชาญด้าน
เทคโนโลยีการศึกษาได้ผลการวิเคราะห์ดงั ตาราง 2

ตาราง 2 : ผลการประเมินคุณภาพบทเรียนออนไลน์ เรื่อง การผลิตรายการวิทยุการศึกษา โดย


ผูเ้ ชีย่ วชาญด้านเทคโนโลยีการศึกษา

ค่าเบี่ยงเบน
รายการประเมิ น ค่าเฉลี่ย ระดับคุณภาพ
มาตรฐาน
1. ด้านภาพ
1.2 ความชัดเจนของภาพ 4.33 .58 ดี
1.2 ขนาดของภาพกราฟิกมีความเหมาะสม 4.33 .58 ดี
1.3 ความเหมาะสมระหว่างภาพกับเนื้อหา 4.33 .58 ดี
1.4 ความเหมาะสมของภาพกับระดับของผูเ้ รียน 4.33 .58 ดี
1.5 ความหมายของภาพสอดคล้องกับเนื้อหา 4.33 .58 ดี
ค่าเฉลี่ย 4.33 .58 ดี
2 ด้านตัวอักษรและการใช้สี
2.1 ความเหมาะสมของรูปแบบและขนาดของ 4.33 .58 ดี
ตัวอักษรทีใ่ ช้ประกอบบทเรียนกับพืน้ หลัง
2.2 ความเหมาะสมของการเลือกใช้สตี วั อักษร 4.33 .58 ดี
2.3 ความน่าสนใจในการออกแบบหน้าจอ 4.33 .58 ดี
2.4 สีทช่ี ว่ ยให้ภาพตัวอักษรและพืน้ หลังมีความ 4.33 .58 ดี
สวยงามน่าสนใจ
ค่าเฉลี่ย 4.33 .58 ดี
3 ด้านการเชื่อมโยงข้อมูล
3.1 การเชื่อมโยงในหน้าเดียวกันและหน้าอื่นๆ 4.33 .58 ดี
ของบทเรียน
3.2 จุดเชื่อมโยงมีความสอดคล้องกับเนื้อหา 4.67 .58 ดีมาก
3.3 การเชื่อมโยงของแต่ละหัวข้อภายในบทเรียน 4.67 .58 ดีมาก
ค่าเฉลี่ย 4.56 .58 ดีมาก
93

ค่าเบี่ยงเบน
รายการประเมิ น ค่าเฉลี่ย ระดับคุณภาพ
มาตรฐาน
4 ด้านการออกแบบบทเรียนและปฏิ สมั พันธ์
4.1 ความเหมาะสมของการออกแบบหน้าจอของ 4.33 .58 ดี
บทเรียนโดยรวม
4.2 การควบคุมบทเรียน 4.67 .58 ดีมาก
4.3 ความน่าสนใจในการปฏิสมั พันธ์ระหว่าง 3.67 .58 พอใช้
บทเรียนกับผูเ้ รียน
4.4 ความน่าสนใจของบทเรียน 4.00 0 ดี
4.5 ความเหมาะสมของเทคนิคการนําเสนอง่าย 4.33 .58 ดี
และ สะดวกในการใช้บทเรียน
ค่าเฉลี่ย 4.20 .46 ดี
รวมเฉลี่ย 4.33 .54 ดี

จากตาราง 3 แสดงผลการประเมินคุณภาพของบทเรียนออนไลน์ เรื่อง การผลิตรายการวิทยุ


การศึกษา สําหรับนิสติ ปริญญาตรี สาขาเทคโนโลยีส่อื สารการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
โดยผู้เ ชี่ย วชาญด้านเทคโนโลยีการศึกษาจํานวน 3 ท่านพบว่าคุ ณ ภาพโดยรวมอยู่ใ นระดับ ดี
(xˉ = 4.33, SD = .54) เมือ่ วิเคราะห์คุณภาพรายด้านสรุปได้ดงั นี้

ด้านภาพ พบว่า มีคุณภาพโดยรวมอยูใ่ นระดับดี (xˉ = 4.33, SD = .58) กล่าวคือมีความชัดเจน


ของภาพในระดับดี (xˉ = 4.33, SD = .58) ขนาดของภาพกราฟฟิ กมีความเหมาะสมอยู่ในระดับดี
(xˉ = 4.33, SD = .58)มีความเหมาะสมระหว่างภาพกับเนื้อหาอยูใ่ นระดับดี (xˉ = 4.33, SD = .58) มีความ
เหมาะสมของภาพกับระดับผูเ้ รียนอยู่ในระดับดี (xˉ = 4.33, SD = .58) และมีความหมายของภาพ
สอดคล้องกับเนื้อหาในบทเรียนอยูใ่ นระดับดี (xˉ = 4.33, SD = .58)

ด้านตัวอักษร พบว่า มีคุณภาพโดยรวมอยู่ในระดับดี (xˉ = 4.33, SD = .58) กล่าวคือ มีความ


เหมาะสมของรู ป แบบและขนาดของตั ว อัก ษรที่ ใ ช้ ป ระกอบบทเรี ย นกับ พื้ น หลั ง อยู่ ใ นระดั บ ดี
(xˉ = 4.33, SD = .58) มีความเหมาะสมของการเลือกใช้สตี วั อักษรอยูใ่ นระดับดี (xˉ = 4.33, SD = .58)
94

มีความน่ าสนใจในการออบแบบหน้าจออยู่ในระดับดี (xˉ = 4.33, SD = .58) และมีสที ช่ี ่วยให้ภาพ


ตัวอักษรและพืน้ หลังมีความสวยงามน่าสนใจอยูใ่ นระดับดี (xˉ = 4.33, SD = .58)

ด้านการเชื่อมโยงข้อมูล พบว่ามีคุณภาพโดยรวมอยู่ในระดับดีมาก (xˉ = 4.56, SD = .58)


กล่าวคือมีการเชื่อมโยงในหน้าเดียวกันและหน้าอื่นๆ ของบทเรียน ในระดับดี (xˉ = 4.33, SD = .58)
มีจุดเชื่อมโยงทีม่ คี วามสอดคล้องกับเนื้อหาทีเ่ ชื่อมไป ในระดับดีมาก (xˉ = 4.67, SD = .58) และ
มีการเชื่อมโยงของแต่ละหัวข้อภายในบทเรียนในระดับดีมาก (xˉ = 4.67, SD = .58)

ด้ า นการออกแบบบทเรี ย นและปฏิ สัม พัน ธ์ พบว่ า มี คุ ณ ภาพโดยรวมอยู่ ใ นระดับ ดี


(xˉ = 4.20, SD = .46) กล่าวคือ มีความเหมาะสมของการออกแบบหน้าจอของบทเรียนโดยรวมในระดับ
ดี (xˉ = 4.33, SD = .58) มีการควบคุมบทเรียนในระดับดี (xˉ = 4.33, SD = .58) มีความน่ าสนใจในการ
ปฏิสมั พันธ์ระหว่างบทเรียนกับผูเ้ รียนในระดับพอใช้ (xˉ = 3.67, SD = .58) มีความน่ าสนใจของบทเรียน
ในระดับดี (xˉ = 4.00, SD = .0) และมีความเหมาะสมของเทคนิคการนําเสนอง่ายและสดวกในการใช้
บทเรียนในระดับดี (xˉ = 4.33, SD = .58)

แม้ วา่ ผู้เชี่ยวชาญจะมีความเห็นว่าบทเรียนออนไลน์นี ้ มีคณ ุ ภาพอยูใ่ นระดับดีมาก แต่ผ้ เู ชี่ยวชาญมี


ข้ อเสนอแนะดังต่อไปนี ้
1. ควรปรับรายละเอียดของเนื ้อหาให้ อยูใ่ นรูปแบบที่ผ้ เู รี ยนสามารถเรี ยนรู้ได้ สะดวกขึ ้น
2. ควรปรับปรุงเรื่ องความชัดเจนของตัวอย่าง และเพิ่มตัวอย่างในบทเรี ยนให้ มากขึ ้น เพื่อให้ ผ้ เู รี ยน
สามารถเข้ าใจเนื ้อหาได้ ดีขึ ้น
3. ควรเพิ่มเติมเอกสารจากภายนอกให้ ผ้ เู รี ยนดาวน์โหลด หรื อเพิ่มเติมแหล่งการเรี ยนรู้อื่นๆ
ซึง่ ผู้วิจยั ได้ นําข้ อบกพร่องและข้ อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญที่มีตอ่ บทเรี ยนออนไลน์ไปปรับปรุงแก้ ไข
แล้ วนําไปทดลองต่อไป
95

ผลการหาประสิทธิภาพของบทเรียนออนไลน์
ผูว้ จิ ยั ได้นําบทเรียนออนไลน์ทป่ี รับปรุงแก้ไขแล้วมาดําเนินการทดลองกับกลุ่มประชากรซึง่ เป็ น
นิ ส ิต ระดับ ปริญ ญาตรีช ั น้ ปี ที ่ 2 สาขาวิช าเทคโนโลยีส ื่อ สารการศึก ษา คณะศึก ษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เพื่อหาประสิทธิภาพของบทเรียนออนไลน์ โดยดําเนินการตามขัน้ ตอน
ต่อไปนี้

การทดลองครัง้ ที่ 1 เป็ นการทดลองกับผูเ้ รียนเป็ นรายบุคคลเพื่อตรวจสอบในด้านการใช้


ภาษา การนํ าเสนอ การมีปฎิส มั พันธ์เพื่อหาข้อบกพร่องของบทเรียนออนไลน์ โดยนํ าไปใช้กบั กลุ่ม
ทดลองกลุ่มที่ 1 จํานวน 3 คน ในขณะทีก่ ลุ่มตัวอย่างเรียนบทเรียน ผูว้ จิ ยั ได้สงั เกตและสัมภาษณ์ผเู้ รียน
เกี่ยวกับข้อบกพร่องด้านต่างๆ ของบทเรียน พบว่า ผูเ้ รียนได้ให้ความสนใจต่อการเรียนด้วยบทเรียน
ออนไลน์เป็ นอย่างดีแต่ยงั พบข้อบกพร่องทีต่ อ้ งปรับปรุงแก้ไขดังนี้
1. ควรเพิม่ ขนาดของภาพประกอบให้ใหญ่ขน้ึ เพือ่ ความชัดเจนในการมองเห็น
2. ควรเพิม่ แหล่งข้อมูลให้หลากหลายกว่าทีม่ อี ยู่ เพือ่ ให้ครอบคลุมเนื้อหามากขึน้
3. ควรใช้ Unicode ทีเ่ ป็ นสากล เพือ่ ความสะดวกในการเข้าถึงเนื้อหา
ซึง่ ผูว้ จิ ยั ได้รวบรวมข้อบกพร่องและความเห็นของนิสติ ทีม่ ตี ่อบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
แล้วนําไปปรับปรุงแก้ไข เพือ่ นําไปทดลองในครัง้ ที่ 2 ต่อไป

การทดลองครัง้ ที่ 2 เป็ นการหาแนวโน้มของประสิทธิภาพของบทเรียนและเป็ นการตรวจหา


ข้อบกพร่องในด้านต่างๆ เพื่อนํ าไปปรับปรุงแก้ไข โดยนํ าบทเรีย นทีผ่ ่านการปรับ ปรุงแก้ไ ขจากการ
ทดลองครัง้ ที่ 1 ไปใช้กบั กลุ่มทดลองกลุ่มที่ 2 จํานวน 12 คน โดยให้ผเู้ รียนศึกษาบทเรียนออนไลน์ทงั ้ 5
เรื่อง พร้อมกับทําแบบฝึ กหัดระหว่างเรียนควบคู่ไปด้วย เมื่อทุกคนเรียนจบให้ทําแบบทดสอบวัดผล
สัมฤทธิ ์ทันที และนํ าคะแนนที่ได้จากการทําแบบฝึ กหัดระหว่างเรียนและแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ ์
ทางการเรียน มาหาแนวโน้มประสิทธิภาพของบทเรียน พร้อมทัง้ หาข้อบกพร่องของบทเรียน โดยการ
สังเกตพฤติกรรมขณะทดลองและสัมภาษณ์ผเู้ รียน ซึง่ ได้ผลการทดลองดังตารางต่อไปนี้
96

ตาราง 4 : ผลการวิเคราะห์แนวโน้ มประสิทธิภาพของบทเรียนออนไลน์ เรื่อง การผลิตรายการวิทยุ


การศึกษา ในการทดลองครัง้ ที่ 2
แบบฝึ กหัดระหว่างเรียน แบบทดสอบหลังเรียน
บทเรียน E1 / E2
คะแนนเต็ม ค่าเฉลีย่ E1 คะแนนเต็ม ค่าเฉลีย่ E2
เรือ่ งที่ 1 10 8.5 85.00 10 7.1 71.87 85.00/71.87
เรือ่ งที่ 2 10 7.0 70.00 10 7.8 78.12 70.00/78.12
เรือ่ งที่ 3 10 5.6 56.66 10 7.7 77.08 56.66/77.08
เรือ่ งที่ 4 10 8.5 85.00 10 7.8 78.12 85.00/78.12
เรือ่ งที่ 5 10 6.8 68.33 10 8.6 86.45 68.33/86.45
รวม 50 36.5 73.00 50 32.5 78.33 73.00/78.33

จากตาราง 4 แสดงผลการวิเคราะห์แนวโน้มประสิทธิภาพของบทเรียนออนไลน์ เรื่องการผลิต


รายการวิทยุการศึกษา ในการทดลองครัง้ ที 2 พบว่าแนวโน้มประสิทธิภาพของเรื่องที1่ เป็ น 85.00/71.87
เรื่องที2่ เป็ น 70.00/78.12 เรื่องที3่ เป็ น 56.66/77.08 เรื่องที4่ เป็ น 85.00/78.12 เรื่องที5่ เป็ น
68.33/86.45 และมีแนวโน้มประสิทธิภาพโดยรวมเป็ น 73.00/78.33 ซึ่งแสดงว่าประสิทธิภาพของ
บทเรียนมีแนวโน้ มไม่เป็ นไปตามเกณฑ์ท่กี ําหนด จึงตรวจสอบบทเรียนออนไลน์ รวมถึงการสังเกต
พฤติกรรมและการสอบถามจากนิสติ ขณะทดลองใช้บทเรียนบน พบว่า บทเรียนมีข้อบกพร่องที่ควร
ปรับปรุงเพิม่ เติม ดังนี้

1. บทเรียนไม่สามารถเปิ ดได้ เนื่องจากบางเนื้อหามีขนาดไฟล์ทใ่ี หญ่


2. โปรแกรมเบราเซอร์บางชนิดไม่รองรับการทําแบบฝึกหัด
3. เซิรฟเวอร์ ล่มในบางครัง้ ทําให้ไม่สามารถเข้าใช้บทเรียนได้

ซึ่งผู้วิจยั ได้รวบรวมข้อบกพร่องและความเห็นของผู้เรียนที่มีต่อบทเรียนออนไลน์ แล้วนํ ามา


ปรับปรุงแก้ไข ได้แก่ ลดขนาดของไฟล์ท่มี ขี นาดใหญ่โดยการแบ่งไฟล์ เพื่อให้บทเรียนสามารถเปิ ดได้
ชีแ้ จงผ่านหน้าเว็บในการเข้าทําแบบฝึ กหัด โดยระบุให้ผเู้ รียนเปิ ดจากโปรแกรมเว็บเบราเซอร์ท่รี องรับ
อาทิเช่น Internet Explorer , Safari , Mozila Firefox เพื่อให้สามารถเข้าทําแบบฝึ กหัดได้ และปรับปรุง
เซิรฟเวอร์ ให้มคี วามเสถียร เพื่อให้ ผู้เรียนสามารถเข้าใช้บทเรียนได้ จากนัน้ นํ าไปทดลองครัง้ ที่ 3
ต่อไป
97

การทดลองครัง้ ที่ 3 เป็ นการหาประสิทธิภาพของบทเรียน โดยนําบทเรียนทีผ่ ่านการปรับปรุง


แก้ไขจากการทดลองครัง้ ที่ 2 ไปใช้กบั กลุ่มทดลองกลุ่มที่ 3 จํานวน 30 คน โดยให้ผเู้ รียนศึกษา
บทเรียนบนบทเรียนออนไลน์ทงั ้ 5 เรื่อง พร้อมกับทําแบบฝึ กหัดระหว่างเรียนควบคู่ไปด้วย เมื่อทุกคน
เรียนจบให้ทาํ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ ์ทันที และนําคะแนนทีไ่ ด้จากการทําแบบฝึ กหัดระหว่างเรียนและ
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ ์ทางการเรียน มาหาประสิทธิภาพของบทเรียน ซึง่ ได้ผลการทดลองดังตาราง
ต่อไปนี้

ตาราง 5 : ผลการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของบทเรียนออนไลน์ เรือ่ ง การผลิตรายการวิทยุการศึกษา ในการ


ทดลองครัง้ ที่ 3

แบบฝึ กหัดระหว่างเรียน แบบทดสอบหลังเรียน


บทเรียน E1 / E2
คะแนนเต็ม ค่าเฉลีย่ E1 คะแนนเต็ม ค่าเฉลีย่ E2
เรือ่ งที่ 1 10 9.2 92.66 10 9.3 93.33 92.66/93.33
เรือ่ งที่ 2 10 8.1 81.33 10 8.4 84.16 81.33/84.16
เรือ่ งที่ 3 10 8.1 81.00 10 8.2 82.91 81.00/82.91
เรือ่ งที่ 4 10 9.0 90.00 10 9.1 91.25 90.00/91.25
เรือ่ งที่ 5 10 8.3 83.33 10 8.7 87.08 83.33/87.08
รวม 50 42.8 85.67 50 43.8 87.75 85.67/87.75

จากตาราง 5 แสดงผลการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของบทเรียนออนไลน์ เรื่อง การผลิตรายการ


วิทยุการศึกษา ในการทดลองครัง้ ที่ 3 พบว่า ประสิทธิภาพของเรื่องที่ 1 เป็ น 92.66/93.33 เรื่องที่ 2
เป็ น 81.33/84.16 เรื่องที่ 3 เป็ น 81.00/82.91 เรื่องที่ 4 เป็ น 90.00/91.25 เรื่องที่ 5 เป็ น 83.33/87.08
และมีประสิทธิภาพโดยรวมเป็ น 85.67/87.75 ซึง่ แสดงว่าบทเรียนในทุกเรื่องและโดยรวมมีคุณภาพตาม
เกณฑ์ทก่ี าํ หนด

ผลการประเมินความพึงพอใจของผูเ้ รียน
การประเมิน ความพึง พอใจของผู้เ รีย นที่มีต่ อ บทเรีย นออนไลน์ เรื่อ ง การผลิต รายการวิท ยุ
การศึกษา สําหรับนิสติ ปริญญาตรี สาขาเทคโนโลยีส่อื สารการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ได้ผลการวิเคราะห์ดงั ตาราง 6
98

ตาราง 6 : ผลการประเมินความพึงพอใจของผูเ้ รียนทีม่ ตี ่อบทเรียนออนไลน์ เรือ่ ง การผลิตรายการวิทยุการศึกษา

ค่าเบี่ยงเบน ระดับ
รายการประเมิ น ค่าเฉลี่ย
มาตรฐาน ความพึงพอใจ
1. ภาพประกอบ
1.1 ความเหมาะสมของขนาดภาพ 3.71 .81 มาก
1.2 ความชัดเจนของภาพ 3.86 .65 มาก
1.3 ความสอดคล้องกับภาพและเนื้อหา 3.71 .90 มาก
ค่าเฉลี่ย 3.76 .79 มาก
2. ตัวอักษร
2.1 ความเหมาะสมของตัวอักษรกับหน้าจอ 3.43 1.07 ปานกลาง
2.2 ความเด่นชัดของหัวข้อและส่วนทีเ่ น้นสําคัญ 3.64 1.06 มาก
2.3 ขนาดความชัดเจนของตัวอักษร 3.71 1.05 มาก
2.4 การใช้สตี วั อักษร 3.86 .65 มาก
2.5 รูปแบบของตัวอักษรมีความเหมาะสมอ่านง่าย 3.50 1.20 ปานกลาง
ค่าเฉลี่ย 3.63 1.01 มาก
3. การเรียนบนบทเรียนออนไลน์
3.1 ความเหมาะสมของการนําเข้าสูโ่ ปรแกรม 3.21 1.34 ปานกลาง
3.2 ความสะดวกในการเรียน 2.57 1.32 ปานกลาง
3.3 เนื้อหาชัดเจนเข้าใจง่าย 3.36 1.19 ปานกลาง
3.4 การดําเนินเรือ่ งมีความกระชับจากง่ายไปสูย่ าก 3.57 1.00 มาก
3.5 การเชื่อมโยงในหัวข้อต่างๆ และ แหล่งข้อมูล 3.57 1.14 มาก
ค่าเฉลี่ย 3.26 1.20 ปานกลาง
4. ประโยชน์ ของการเรียนผ่านบทเรียนออนไลน์
4.1 เข้าใจเนื้อหาชัดเจนมากขึน้ 3.21 1.10 ปานกลาง
4.2 ช่วยให้เนื้อหาในการเรียนน่าสนใจมากขึน้ 3.21 1.17 ปานกลาง
4.3 นําความรูท้ ไ่ี ด้รบั ไปผลิตรายการวิทยุได้ 3.29 1.05 ปานกลาง
4.4 ประโยชน์ทไ่ี ด้รบั จากการเรียนผ่านบทเรียน 3.36 0.99 ปานกลาง
ออนไลน์ในภาพรวม
ค่าเฉลี่ย 3.27 1.08 ปานกลาง
ค่าเฉลี่ยรวม 3.48 1.02 ปานกลาง
99

จากตาราง 6 แสดงผลการประเมินความพึงพอใจของผูเ้ รียนที่มตี ่อบทเรียนออนไลน์ เรื่อง


การผลิ ต รายการวิ ท ยุ ก ารศึ ก ษา สํ า หรับ นิ ส ิ ต ปริ ญ ญาตรี สาขาเทคโนโลยีส่ือ สารการศึ ก ษา
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พบว่าผูเ้ รียนมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (xˉ = 3.48,
SD = 1.02) เมือ่ วิเคราะห์รายด้านสรุปได้ดงั นี้

ด้านภาพประกอบ พบว่าผูเ้ รียนมีความพึงพอใจโดยรวมอยูใ่ นระดับมาก (xˉ = 3.76, SD = .79)


กล่าวคือมีความพึงพอใจกับความเหมาะสมของขนาดภาพในระดับมาก (xˉ = 3.71, SD = .81) มีความพึง
พอใจกับความชัดเจนของภาพในระดับมาก (xˉ = 3.86, SD = .65) และมีความพึงพอใจกับความ
สอดคล้องกับภาพและเนื้อหาในระดับมาก (xˉ = 3.71, SD = .90)

ด้านตัวอักษร พบว่าผูเ้ รียนมีความพึงพอใจโดยรวมอยูใ่ นระดับมาก (xˉ = 3.63, SD = 1.01)


กล่ า วคื อ มี ค วามพึ ง พอใจกั บ ความเหมาะสมของตั ว อั ก ษรกั บ หน้ า จอในระดั บ ปานกลาง
(xˉ = 3.43, SD = 1.07) มีความพึงพอใจกับความเด่นชัดของหัวข้อและส่วนทีเ่ น้นสําคัญในระดับมาก
(xˉ = 3.64, SD = 1.06) มีความพึงพอใจกับขนาดความชัดเจนของตัวอักษรในระดับมาก
(xˉ = 3.71, SD = 1.05) มีความพึงพอใจกับการใช้สขี องตัวอักษรในระดับมาก (xˉ = 3.86, SD = .65)
และ มีความพึงพอใจกับรูปแบบของตัวอักษรมีความเหมาะสม อ่านง่ายในระดับปานกลาง
(xˉ = 3.50, SD = 1.20)

ด้านการเรียนบนบทเรียนออนไลน์ พบว่าผู้เรียนมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับปาน
กลาง (xˉ = 3.26, SD = 1.20) กล่าวคือ มีความพึงพอใจกับความเหมาะสมของการนําเข้าสูโ่ ปรแกรม
ในระดับปานกลาง (xˉ = 3.21, SD = 1.34) มีความพึงพอใจกับความสดวกในการเรียนในระดับปานกลาง
(xˉ = 2.57, SD = 1.32) มีความพึงพอใจกับเนื้อหาชัดเจนเข้าใจง่ายในระดับปานกลาง
(xˉ = 3.36, SD = 1.19) มีความพึงพอใจกับการดําเนินเนื้อหามีความกระชับเรียงจากเรื่องง่ายไปสูเ่ รื่อง
ยากในระดับมาก (xˉ = 3.57, SD = 1.00) และมีความพึงพอใจในการเชื่อมโยงในหัวข้อต่างๆ และ
แหล่งข้อมูล ในระดับมาก (xˉ = 3.57, SD = 1.14)

ด้านประโยชน์ ของการเรียนผ่านบทเรียนออนไลน์ พบว่าผูเ้ รียนมีความพึงพอใจโดยภาพ


รวมอยู่ในระดับปานกลาง (xˉ = 3.27, SD = 1.08) กล่าวคือ มีความพึงพอใจเมื่อเรียนผ่านบทเรียน
100

ออนไลน์แล้วสามารถเข้าใจเนื้อหาชัดเจนมากขึน้ ในระดับปานกลาง (xˉ = 3.21, SD = 1.10) มีความพึง


พอใจกับการช่วยให้เนื้อหาในการเรียนน่ าสนใจมากขึน้ ในระดับปานกลาง (xˉ = 3.21, SD = 1.17) มี
ความพึงพอใจในการนําความรูท้ ไ่ี ด้รบั ไปผลิตรายการวิทยุได้ในระดับปานกลาง (xˉ = 3.29, SD = 1.05)
มีความพึงพอใจกับประโยชน์ทไ่ี ด้รบั จากการเรียนผ่านบทเรียนออนไลน์ในภาพรวมในระดับปานกลาง (xˉ
= 3.36, SD = .99)
บทที่ 5

สรุปผล อภิปราย และข้อเสนอแนะ


การวิจยั ครัง้ นี้เป็ นการพัฒนาบทเรียนออนไลน์ เรื่อง การผลิตรายการวิทยุการศึกษา สําหรับ
นิสติ ระดับปริญญาตรี สาขาเทคโนโลยีส่อื สารการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ทัง้ นี้เพื่อให้
ผูเ้ รียนสามารถศึกษาทบทวนบทเรียนเรื่องการผลิตวิทยุการศึกษาผ่านบทเรียนออนไลน์ เรื่องการผลิต
วิทยุการศึกษาได้ทุกที่ทุกเวลาและผู้เรียนเกิดทักษะใหม่ๆที่เกิดจากการค้นคว้าด้วยตนเอง และ การ
ค้นคว้านอกห้องเรียน และเกิดความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนาในการผลิตรายการวิทยุโดยที่ผู้สอน
สามารถประหยัดเวลาในการสอนเนื้อหาเรื่องการผลิตวิทยุการศึกษาในบางส่วนทีผ่ เู้ รียนสามารถศึกษา
ค้นคว้าด้วยตนเองได้ ซึง่ สามารถสรุปผล อภิปราย และข้อเสนอแนะได้ดงั นี้

ความมุ่งหมายของการวิจยั
1. เพื่อพัฒนาบทเรียนออนไลน์เรื่องการผลิตรายการวิทยุการศึกษาให้มปี ระสิทธิภาพ ตาม
เกณฑ์ 80/80
2. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนิสติ ที่เรียนโดยใช้บทเรียนออนไลน์ เรื่องการผลิตรายการวิทยุ
การศึกษา

ความสําคัญของการวิจยั
ผูเ้ รียนสามารถศึกษาทบทวนบทเรียนเรือ่ งการผลิตวิทยุการศึกษาผ่านบทเรียนออนไลน์เรื่องการ
ผลิตวิทยุการศึกษาได้ทุกทีท่ ุกเวลาและผูเ้ รียนเกิดทักษะใหม่ๆทีเ่ กิดจากการค้นคว้าด้วยตนเอง และ การ
ค้นคว้านอกห้องเรียน และเกิดความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนาในการผลิตรายการวิทยุโดยที่ผู้สอน
สามารถประหยัดเวลาในการสอนเนื้อหาเรื่องการผลิตวิทยุการศึกษาในบางส่วนทีผ่ เู้ รียนสามารถศึกษา
ค้นคว้าด้วยตนเองได้
102

ขอบเขตของการวิจยั
ประชากร
ประชากรที่ใ ช้ใ นการศึก ษาเป็ น นิ สิต ปริญ ญาตรี สาขาเทคโนโลยีส่ือสารการศึกษา คณะ
ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ จํานวน 213 คน
กลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มตัวอย่างทีใ่ ช้ในการศึกษาเป็ น นิสติ ระดับปริญญาตรี ชันปี
่ ท2่ี สาขาเทคโนโลยีส่อื สารการศึกษา
มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ จํานวน 45 คน ได้มาโดยวิธกี ารเลือกแบบเจาะจงจากนิสติ ทีล่ งทะเบียนเรียนวิชา
การผลิตรายการวิทยุการศึกษา(ET 321) ในปี การศึกษา 1/2554 โดยแบ่งเป็ น
การทดลองครัง้ ที่ 1 จํานวน 3 คน เป็ นการทดลองเพื่อหาข้อบกพร่องของบทเรียนออนไลน์เรื่อง
การผลิตรายการวิทยุการศึกษา ซึง่ ได้มาโดยวิธกี ารสุม่ อย่างง่าย
การทดลองครัง้ ที่ 2 จํานวน 12 คน เป็ นการทดลองเพื่อหาแนวโน้มของบทเรียนออนไลน์เรื่อง
การผลิตรายการวิทยุการศึกษา ซึง่ ได้มาโดยวิธกี ารสุม่ อย่างง่ายจากจํานวนทีเ่ หลือ
การทดลองครัง้ ที่ 3 จํานวน 30 คน เป็ นการทดลองเพื่อหาประสิทธิภาพของบทเรียนออนไลน์
เรือ่ งการผลิตรายการวิทยุการศึกษา ซึง่ ได้มาโดยวิธกี ารสุม่ อย่างง่ายจากจํานวนทีเ่ หลือ
เนื้ อหาที่ใช้ในการวิ จยั
เนื้อหาทีน่ ํามาใช้ใน บทเรียนออนไลน์เรือ่ งการผลิตรายการวิทยุการศึกษา มีดงั นี้
1. ความเป็ นมาของวิทยุการศึกษา
2. หลักการเกีย่ วกับการผลิตรายการวิทยุการศึกษา
3. การเขียนบทวิทยุการศึกษา
4. ห้องบันทึกเสียงและเครือ่ งมือ
5. รูปแบบของรายการวิทยุการศึกษา

เครือ่ งมือที่ใช้ในการวิจยั
เครื่ องมือที่ใช้ในการศึกษาทดลองครั้งนี้ประกอบด้วย
1. บทเรียนออนไลน์เรือ่ งการผลิตรายการวิทยุการศึกษา
2. แบบประเมินคุณภาพ บทเรียนออนไลน์เรือ่ งการผลิตรายการวิทยุการศึกษา แบ่งเป็ น
2.1 แบบประเมินคุณภาพ บทเรียนออนไลน์เรือ่ งการผลิตรายการวิทยุการศึกษา ฉบับ
สําหรับผูเ้ ชีย่ วชาญ ด้านเนื้อหา
2.2 แบบประเมินคุณภาพ บทเรียนออนไลน์เรือ่ งการผลิตรายการวิทยุการศึกษา ฉบับ
สําหรับผูเ้ ชีย่ วชาญ ด้านเทคโนโลยีการศึกษา
103

3. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ ์ทางการเรียน
4. แบบประเมินความพึงพอใจ

การทดลองหาประสิทธิภาพของบทเรียนออนไลน์
ผูว้ จิ ยั ได้นําบทเรียนออนไลน์ทป่ี รับปรุงแก้ไขแล้วมาดําเนินการทดลองกับกลุ่มประชากรซึง่ เป็ น
นิ ส ิต ระดับ ปริญ ญาตรีช ั น้ ปี ที ่ 2 สาขาวิช าเทคโนโลยีส ื่อ สารการศึก ษา คณะศึก ษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เพื่อหาประสิทธิภาพของบทเรียนออนไลน์ โดยดําเนินการตามขัน้ ตอน
ต่อไปนี้
การทดลองครัง้ ที่ 1 เป็ นการทดลองกับผูเ้ รียนเป็ นรายบุคคลเพื่อตรวจสอบในด้านการใช้
ภาษา การนํ าเสนอ การมีปฎิส มั พันธ์เพื่อหาข้อบกพร่องของบทเรียนออนไลน์ โดยนํ าไปใช้กบั กลุ่ม
ทดลองกลุ่มที่ 1 จํานวน 3 คน โดยดําเนินการดังนี้
1. จัดเตรียมห้องคอมพิวเตอร์ทเ่ี ชื่อมต่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สําหรับการเรียนบทเรียนบน
เครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่อง การบริหารจัดการเรียนรูบ้ นเครือข่าย โดยจัดเครื่องคอมพิวเตอร์ 1 ชุด ต่อ
ผูเ้ รียน 1 คน
2. การดําเนินการทดลอง มีขนั ้ ตอนดังนี้
2.1 ผูเ้ รียนศึกษาคําแนะนําในการใช้บทเรียนและวิธกี ารเข้าศึกษาบทเรียน
2.2 ผูเ้ รียนศึกษาบทเรียนและประกอบกิจกรรมต่างๆ ทีไ่ ด้กําหนดไว้ในบทเรียน โดยให้อสิ ระ
ในการศึกษาเนื้อหาบทเรียนตามความต้องการ และระยะเวลาของแต่ละบุคคล
2.3 ผูว้ จิ ยั สังเกตพฤติกรรมของผูเ้ รียนเป็ นระยะ และสัมภาษณ์ความคิดเห็นเกีย่ วกับบทเรียน
ดังกล่าวจากผูเ้ รียน
ผูว้ จิ ยั ได้สงั เกตและสัมภาษณ์ผเู้ รียนเกีย่ วกับข้อบกพร่องด้านต่างๆ ของบทเรียน พบว่า ผูเ้ รียน
ให้ความสนใจต่อการเรียนด้วยบทเรียนออนไลน์ เป็ นอย่างดี แต่ยงั พบข้อบกพร่องที่ต้องปรับปรุงแก้ไข
ดังนี้
1. ควรเพิม่ ขนาดของภาพประกอบให้ใหญ่ขน้ึ เพือ่ ความชัดเจนในการมองเห็น
2. ควรเพิม่ แหล่งข้อมูลให้หลากหลายกว่าทีม่ อี ยู่ เพือ่ ให้ครอบคลุมเนื้อหามากขึน้
3. ควรใช้ Unicode ทีเ่ ป็ นสากล เพือ่ ความสะดวกในการเข้าถึงเนื้อหา
ซึง่ ผูว้ จิ ยั ได้รวบรวมข้อบกพร่องและความเห็นของนิสติ ทีม่ ตี ่อบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
แล้วนําไปปรับปรุงแก้ไข เพือ่ นําไปทดลองในครัง้ ที่ 2 ต่อไป
การทดลองครัง้ ที่ 2 เป็ นการหาแนวโน้มของประสิทธิภาพของบทเรียนและเป็ นการตรวจหา
ข้อบกพร่องในด้านต่างๆ เพื่อนํ าไปปรับปรุงแก้ไข โดยนํ าบทเรีย นทีผ่ ่านการปรับ ปรุงแก้ไ ขจากการ
104

ทดลองครัง้ ที่ 1 ไปใช้กบั กลุ่มทดลองกลุ่มที่ 2 จํานวน 12 คน โดยให้ผเู้ รียนศึกษาบทเรียนออนไลน์ทงั ้ 5


เรื่อง พร้อมกับทําแบบฝึ กหัดระหว่างเรียนควบคู่ไปด้วย เมื่อทุกคนเรียนจบให้ทําแบบทดสอบวัดผล
สัมฤทธิ ์ทันที และนํ าคะแนนที่ได้จากการทําแบบฝึ กหัดระหว่างเรียนและแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ ์
ทางการเรียน มาหาแนวโน้มประสิทธิภาพของบทเรียนโดยรวมเป็ น 73.00/78.33 ซึง่ ผูว้ จิ ยั ทําการเก็บ
ข้อมูลเพื่อหาข้อบกพร่องในด้านต่างๆ จากการใช้บทเรียนออนไลน์แล้วนํ ามาปรับปรุงแก้ไขก่อนทดลอง
ครัง้ ที่ 3
การทดลองครัง้ ที่ 3 เป็ นการหาประสิทธิภาพของบทเรียน โดยนําบทเรียนทีผ่ ่านการปรับปรุง
แก้ไขจากการทดลองครัง้ ที่ 2 ไปใช้กบั กลุ่มทดลองกลุ่มที่ 3 จํานวน 30 คน โดยให้ผเู้ รียนศึกษา
บทเรียนบนบทเรียนออนไลน์ทงั ้ 5 เรื่อง พร้อมกับทําแบบฝึ กหัดระหว่างเรียนควบคู่ไปด้วย เมื่อทุกคน
เรียนจบให้ทาํ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ ์ทันที และนําคะแนนทีไ่ ด้จากการทําแบบฝึ กหัดระหว่างเรียนและ
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ ์ทางการเรียน มีประสิทธิภาพของบทเรียนออนไลน์ โดยรวมเป็ น 85.67/87.75

การประเมินความพึงพอใจของผูเ้ รียน
ผูว้ จิ ยั ได้นําแบบประเมินความพึงพอใจ ทีผ่ า่ นการปรับปรุงแก้ไขแล้วมาดําเนินการศึกษากับกลุ่ม
ประชากรซึ่ง เป็ น นิ ส ิต ระดับ ปริญ ญาตรีช ัน้ ปี ที่ 2 สาขาวิช าเทคโนโลยีสื่อ สารการศึก ษา คณะ
ศึกษาศาสตร์ มหาวิท ยาลัย ศรีนครินทรวิโ รฒ เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เ รีย น โดยดํา เนิ น ตาม
ขัน้ ตอนต่อไปนี้
1. นําแบบวัดความพึงพอใจทีผ่ ่านการปรับปรุงแล้วไปทดลองใช้กบั นิสติ ระดับปริญญาตรี สาขา
เทคโนโลยีส่อื สารการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ ชัน้ ปี ท่ี 2 ทีล่ งทะเบียนเรียน วิชา การผลิต
รายการวิทยุการศึกษา จํานวน 30 คน ซึง่ เป็ นกลุ่มทดลองหาประสิทธิภาพครัง้ ที่ 3 โดยดําเนินการ
ทดลองหลังจากผูเ้ รียนได้เรียนจบจากบทเรียนออนไลน์และทําแบบวัดผลสัมฤทธิ ์ทางการเรียนเสร็จแล้ว
2. นํ า แบบประเมิน ที่ผู้เ รีย นประเมิน หลัง จากเรีย นจบจากบทเรีย นออนไลน์ แ ละทํา แบบวัด
ผลสัมฤทธิ ์ทางการเรียนเสร็จแล้วมาประเมินความพึงพอใจของผูเ้ รียน โดยพบว่าผูเ้ รียนมีความพึงพอใจ
โดยรวมอยูใ่ นระดับปานกลาง

สรุปผลการวิจยั
จากการพัฒนาบทเรียนออนไลน์ เรือ่ ง การผลิตรายการวิทยุการศึกษา สําหรับนิสติ ระดับปริญญา
ตรี สาขาเทคโนโลยีสอ่ื สารการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สามารถสรุปผลการวิจยั ได้ดงั นี้
1. ได้บทเรียนออนไลน์ทส่ี ามารถเรียนผ่านเครื่องข่ายอินเทอร์เน็ต โดยในบทเรียนประกอบด้วย
เนื้อหาของบทเรียน นํ าเสนอเป็ นภาพนิ่ง ภาพกราฟิ ก ตัวหนังสือ การสื่อสารภายในบทเรียน การ
105

เชื่อมโยงนอกบทเรียน เพื่อดึงดูดความสนใจของผูเ้ รียนและกระตุน้ ให้ผเู้ รียนเกิดการเรียนรูต้ ามทีผ่ ูว้ จิ ยั


กําหนดไว้ แบบฝึ กหัดระหว่างเรียน จํานวน 25 ข้อ และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ ์ทางการเรียน
จํานวน 40 ข้อ นอกจากนี้ผเู้ รียนยังสามารถทราบผลการเรียนได้ดว้ ยตนเองทันที
2. ผลการประเมินคุณภาพของบทเรียนออนไลน์ เรื่องการผลิตรายการวิทยุการศึกษา สําหรับ
นิสติ ระดับปริญญาตรี สาขาเทคโนโลยีส่อื สารการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ด้านเนื้อหา
พบว่าเนื้อหาทัง้ 5 เรื่อง อยู่ในระดับดี และ ด้านเทคโนโลยีการศึกษา พบว่าบทเรียนทัง้ 5 เรื่อง มี
คุณภาพอยูใ่ นระดับดี
3. ผลการหาประสิทธิภาพของบทเรียนออนไลน์ เรื่องการผลิตรายการวิทยุการศึกษา สําหรับ
นิ สิต ระดับ ปริญ ญาตรี สาขาเทคโนโลยีส่ือ สารการศึ ก ษา มหาวิท ยาลัย ศรีน คริน ทรวิโ รฒ มี
ประสิทธิภาพโดยรวมเป็ น 85.67/87.75 ซึง่ เป็ นไปตามเกณฑ์ทก่ี าํ หนดไว้
4. ผลการประเมินความพึงพอใจของผูเ้ รียนที่มตี ่อบทเรียนออนไลน์ เรื่องการผลิตรายการ
วิท ยุ ก ารศึก ษา สํ า หรับ นิ ส ิต ระดับ ปริญ ญาตรี สาขาเทคโนโลยีส่ือ สารการศึก ษา มหาวิท ยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ พบว่ามีความพึงพอใจโดยรวมอยูใ่ นระดับปานกลาง

อภิปรายผลการวิจยั
จากการพัฒนาบทเรียนออนไลน์เรื่องการผลิตรายการวิทยุการศึกษา สําหรับนิสติ ระดับปริญญา
ตรี สาขาเทคโนโลยีส่ือ สารการศึก ษา มหาวิท ยาลัย ศรีน คริน ทรวิโ รฒ ที่ส ร้า งขึ้น มีคุ ณ ภาพด้า น
เทคโนโลยีการศึกษาอยู่ในระดับดี และมีประสิทธิภาพโดยรวมเป็ น 85.67/87.75 ซึง่ เป็ นไปตามเกณฑ์
ทีก่ าํ หนดไว้ สามารถอภิปรายผลได้ดงั นี้
1. การหาคุณภาพของบทเรียนออนไลน์ เรื่อง การผลิตรายการวิท ยุการศึกษา สําหรับนิสิต
ระดับปริญญาตรี สาขาเทคโนโลยีสอ่ื สารการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ผูว้ จิ ยั ได้ดาํ เนินการ
ขึน้ ในความควบคุมของ อาจารย์ท่ปี รึกษา คณะผูเ้ ชี่ยวชาญด้านเนื้อหา และ คณะผูเ้ ชี่ยวชาญด้านสื่อ
จนทําให้บทเรียน มีคุณภาพอยู่ในระดับดี 85.67/87.75 ซึง่ เป็ นไปตามเกณฑ์ทก่ี ําหนด โดยในบทเรียน
ประกอบด้วย เนื้อหาของบทเรียน นํ าเสนอเป็ นภาพนิ่ง ภาพกราฟิ ก ตัวหนังสือ การสื่อสารภายใน
บทเรียน การเชื่อมโยงนอกบทเรียน เพื่อดึงดูดความสนใจของผู้เรียนและกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการ
เรียนรู้ ผูเ้ รียนสามารถศึกษาทบทวนบทเรียนเรือ่ งการผลิตวิทยุการศึกษาผ่านบทเรียนออนไลน์เรื่องการ
ผลิตวิทยุการศึกษาได้ทุกทีท่ ุกเวลาและผูเ้ รียนเกิดทักษะใหม่ๆทีเ่ กิดจากการค้นคว้าด้วยตนเอง และ การ
ค้นคว้านอกห้องเรียน และเกิดความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนาในการผลิตรายการวิทยุโดยที่ผู้สอน
106

สามารถประหยัดเวลาในการสอนเนื้อหาเรื่องการผลิตวิทยุการศึกษาในบางส่วนทีผ่ เู้ รียนสามารถศึกษา


ค้นคว้าด้วยตนเองได้ เมื่อผู้เรียนทําแบบฝึ กหัดเสร็จ ผูเ้ รียนสามรารถที่จะทราบผลได้โดยทันที และ
สามารถเข้าไปทบทวนเนื้อหาในเรื่องดังกล่าวได้ เพื่อให้เกิดความเข้าใจในเนื้อหานัน้ มากขึน้ สอดคล้อง
กับ ข้อดีของบทเรียนออนไลน์ทร่ี ะบุว่า การสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็ นการเปิ ดโอกาสให้ผเู้ รียนที่
อยูห่ า่ งไกล หรือไม่มเี วลามาเข้าชัน้ เรียนไม่สามารถเรียนในเวลา และสถานทีๆ่ ต้องการ อาจเป็ นทีบ่ า้ น ที่
ทํางาน หรือสถานศึกษาที่ผู้เรียนสามารถเข้าไปใช้บริการอินเทอร์เน็ตได้ การที่ผู้เรียนไม่จําเป็ นต้อง
เดิน ทางมาสถานศึก ษา สามารถแก้ป ญ ั หาในด้า นข้อ จํา กัด เกี่ย วกับ เวลาและสถานที่ไ ด้เ ป็ น อย่า งดี
สามารถนําเสนอเนื้อหาในรูปของมัลติมเี ดีย ได้แก่ ข้อความ ภาพนิ่ง เสียงภาพเคลื่อนไหว ได้ ผูส้ อนและ
ผูเ้ รียนสามารถเลือกรูปแบบการนําเสนอเพือ่ ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดทางการเรียน
2. จากการประเมินความพึงพอใจของผูเ้ รียนที่มตี ่อบทเรียนออนไลน์ เรื่อง การผลิตรายการ
วิทยุการศึกษา สําหรับนิสติ ปริญญาตรี สาขาเทคโนโลยีส่อื สารการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิ
โรฒ หลังจากการเรียน พบว่าผูเ้ รียนมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (xˉ = 3.48, SD =
1.02) จากการที่ได้วเิ คราะห์รายข้อแล้วผูเ้ รียนมีความพึงพอใจภาพประกอบที่ความเหมาะสม ชัดเจน
และสอดคล้องกับเนื้อหา บทเรียนมีตวั อักษรทีช่ ดั เจน เน้นส่วนสําคัญได้เด่นชัด การใช้สขี องตัวอักษรที่
เหมาะสม การดําเนินเนื้อหามีความกระชับเรียงจากเรื่องง่ายไปสู่เรื่องยาก และพอใจกับการ
เชื่อมโยงในหัวข้อต่างๆและแหล่งข้อมูล ส่วนสาเหตุท่ผี ูเ้ รียนมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับปาน
กลางพบว่า ในหัวข้อการประเมินด้านความสะดวกในการเรียนและประโยชน์ของการเรียนผ่านบทเรียน
ออนลน์ นัน้ มีค่าเฉลี่ยที่ต่ํา จากการวิเคราะห์แล้วพบว่าการเข้าสู่บทเรียนนัน้ มีความช้าของการเข้าถึง
เพราะความเร็วอินเทอร์เน็ ตของผู้เรียนนัน้ มีความเร็วตํ่าทําให้ไม่มคี วามสะดวกในการเข้าเรียน และ
หลังจากได้สอบถามกับผูเ้ รียนบางส่วนพบว่า โครงสร้างพืน้ ฐานของผูเ้ รียนบางคนไม่พร้อมในการเรียน
บนอินเทอร์เ น็ ต จากที่บ้าน สอดคล้องกับ ข้อจํากัดของการสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เ น็ ต ที่ระบุ ว่า
ข้อจํากัดมีสาเหตุมาจากความเร็วในการนําเสนอและการมีปฎิสมั พันธ์ซง่ึ เป็ นเหตุมาจากข้อจํากัดของแบน
วิดธ์ในการสื่อสารข้อมูลทําให้ภาพเกิดอาการกระตุก (Jitter) และขาดความต่อเนื่อง ถ้าบทเรียนมีส่อื
ประเภทนี้ จึงเป็ นข้อจํากัดในการใช้งานประการสําคัญทีล่ ดความสนใจลงไป
จากการอภิปรายดังกล่าวในข้างต้นจึงสามารถสรุปได้ว่า บทเรียนออนไลน์ เรื่อง การผลิตรายการวิทยุ
การศึกษา สําหรับนิสติ ปริญญาตรี สาขาเทคโนโลยีส่อื สารการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ที่ได้
พัฒนาขึน้ ในครัง้ นี้ มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 ทีก่ าํ หนด และ สามารถนําไปใช้ได้จริง
107

ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะทัวไป ่
1. การพัฒ นาบทเรีย นออนไลน์ ผู้วิจ ัย ต้อ งมีค วามรู้ใ นด้า นการเตรีย มข้อ มูล การออกแบบ
บทเรีย น การวิเ คราะห์และการจัดลําดับ เนื้ อหา ตลอดจนควรศึกษาโปรแกรมที่จําเป็ น ต้องใช้อาทิ
โปรแกรมระบบบริหารจัดการการเรีย นรู้ ซึ่งจะทําให้ส ามารถพัฒนาบทเรีย นได้อย่างรวดเร็ว และมี
ประสิทธิภาพมากยิง่ ขึน้
2. ควรสนับสนุ นและส่งเสริมให้สถาบันการศึกษาทุกระดับมีการใช้บทเรียนออนไลน์มากขึน้ ซึง่
เป็ น การส่ง เสริม การเรีย นรู้แ บบผู้เ รีย นเป็ น ศูน ย์กลาง และเพื่อ ตอบสนองกับ กลยุท ธ์ใ นการพัฒ นา
เทคโนโลยีสารสนเทศเพือ่ การศึกษา
3. ควรมีการจัดอบรมการาสร้างบทเรียนออนไลน์ เพือ่ ให้ผสู้ อนสามารถสร้างบทเรียนในรายวิชา
ต่างๆ ใช้ได้เอง
ข้อเสนอแนะสําหรับการวิ จยั ครัง้ ต่อไป
1. ควรมีก ารศึกษาวิจยั ด้านการมีคุ ณธรรม จริย ธรรม ในการเรียนรู้ข องผู้เ รียนที่เ รียนด้ว ย
บทเรียนออนไลน์
2. ควรมีการศึกษาทักษะการใช้อนิ เทอร์เน็ต ของผูเ้ รียนทีเ่ รียนด้วยบทเรียนออนไลน์
3. ควรมีการพัฒนาบทเรียนให้มรี ปู แบบการเรียนรูท้ ห่ี ลากหลายมากขึน้ เช่น เกม สถานการณ์
จําลอง เป็ นต้น
4. ควรมีการศึกษาวิจยั ด้านความพร้อมของผูเ้ รียน ในการเรียนรูข้ องผูเ้ รียนทีเ่ รียนด้วยบทเรียน
ออนไลน์
บรรณานุกรม
109

บรรณานุกรม
กิดานันท์ มลิทอง. (2540). เทคโนโลยีการศึกษาร่วมสมัย. กรุงเทพฯ: เอดิสนั เพรส โพรดักส์.
กิดานันท์ มลิทอง. (2540). เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์.
กําธร บุญเจริญ. (2550). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิท์ างการเรียนจากหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ผา่ นเว็บ 2
รูปแบบทีต่ ่างกัน เรือ่ งการเขียน สําหรับนิสติ ระดับปริญญญาตรี. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม
(เทคโนโลยีการศึกษา). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ. ถ่ายเอกสาร.
จตุรงค์ ขันทเขตต์. (2549). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์มลั ติมเี ดียบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเรือ่ ง
เทคนิคการผลิตรายการโทรทัศน์การศึกษา ระดับปริญญาตรีสาขาวิชาเทคโนโลยีสอื ่ สาร
การศึกษา. สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (เทคโนโลยีการศึกษา) กรุงเทพฯ : บัณฑิต
วิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ถ่ายเอกสาร.
ชูศรี วงศ์รตั นะ. (2550). เทคนิคการใช้สถิตเิ พือ่ การวิจยั . พิมพ์ครัง้ ที่ 10. นนทบุร:ี ไทเนรมิตกิจ
อินเตอร์ โปรเกรสซิฟ.
ณัฐภณ สุเมธอธิคม. (2551). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ผา่ นเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
วิชา กราฟิกเพือ่ การสือ่ สาร เรือ่ ง องค์ประกอบการออกแบบงานกราฟิก ระดับปริญญาตรี.
สารนิพนธ์ กศ.ม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ. ถ่ายเอกสาร.
ณัฏฐพรณ์ หลาวทอง. (2551) เอกสารประกอบการสอนรายวิชา การวัดผลและการประเมินผลทาง
การศึกษา.ครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ถนอมพร เลาหจรัสแสง. (2541). คอมพิวเตอร์ชว่ ยสอน. กรุงเทพฯ: วงกมล โพรดักชัน.
นงนุช เพ็ชรรืน่ . (2543). บทเรียนคอมพิวเตอร์ชว่ ยสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรือ่ ง ความปลอดภัย
ของโปรแกรม. วิทยานิพนธ์ คอ.ม. กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร
ลาดกระบัง. ถ่ายเอกสาร.
บุญเกือ้ ควรหาเวช. (2539). คูม่ อื การผลิตรายการวิทยุ. กรุงเทพฯ: ศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ.
ปรีชา คร้ามพักตร์. (2553). จิตวิทยาการเรียนรู.้ กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
เปรือ่ ง กุมทุ . (2541). เทคโนโลยีการเรียนการสอนในยุคสารสนเทศ. ศึกษาศาสตร์ มอ.
วิทยาเขตปตั ตานี.
110

พูลศรี เวศย์อุฬาร. (2543). ผลการเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของนักเรียนชัน้ มัธยมศึกษาปีท4ี ่ .


ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (เทคโนโลยีการศึกษา). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรฒ. ถ่ายเอกสาร.
พรพิไล เลิศวิชา. (2543). มัลติมเี ดียเทคโนโลยี กับ โรงเรียนในศตวรรษที ่ 21 . กรุงเทพฯ :
ไทยวัฒนาพานิช.
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2540) . เอกสารสอนวิชาวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์เพือ่
การศึกษา = Radio and Television in Education สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. นนทบุร ี : สํานักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ล้วน สายยศ; และอังคณา สายยศ. (2538). เทคนิคการวิจยั ทางการศึกษา. พิมพ์ครัง้ ที่ 4.
กรุงเทพฯ:สุวรี ยิ าศาส์น.
ศศิธร ฤดีศริ ศิ กั ดิ ์. (2544). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์มลั ติมเี ดีย เรือ่ งการถ่ายภาพบุคคล.
สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (เทคโนโลยีการศึกษา) กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ถ่ายเอกสาร.
ศิรนิ นั ท์ ประสิทธิลกั ษณะ. (2540). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ชว่ ยสอนเรือ่ ง ปญั หาการหายใจ
ลําบากทีเ่ กีย่ วข้องกับด้านกุมารศัลยศาสตร์. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต
(เทคโนโลยีการศึกษา) กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ถ่ายเอกสาร.
ศุภางค์ นันตา. (2552). การผลิตรายการวิทยุกระจายเสียงเบื้องต้น. มหาสารคาม :
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ศูนย์เทคโนโลยีทางการศีกษา. (2006). ประวัตสิ ถานีวทิ ยุศกึ ษา กระทรวงศึกษาธิการ. สืบค้นเมือ่
31 มีนาคม 2554 , จาก http://www.moeradiothai.net/aboutus.php?webid=1&link=1
สิรพิ รรณ หนูทอง. (2551). การพัฒนาบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรือ่ งการใช้กล้องดิจทิ ลั .
สารนิพนธ์ กศ.ม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ถ่ายเอกสาร.
สุรพล บุญลือ. (2550). การพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้หอ้ งเรียนเสมือนจริงแบบใช้ปญั หาเป็ นหลัก.
กศ.ด. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ. ถ่ายเอกสาร.
เสาวณีย์ สิกขาบัณฑิต. (2528). การเรียนการสอนรายบุคคล. พิมพ์ครัง้ ที่ 3. กรุงเทพมหานคร:
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
111

เสาวณีย์ สิกขาบัณฑิต. (2528). เทคโนโลยีทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร:


สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
อาณัติ รัตนถิรกุล. (2553) . สร้างระบบ e-Learning ด้วย Moodle ฉบับสมบูรณ์ . กรุงเทพฯ : ซีเอ็ด
ยูเคชัน.่
Likert Scaling. (2006). Research Methods Knowledge Base. สืบค้นเมือ่ 4 เมษายน 2554 , จาก
http://www.socialresearchmethods.net/kb/scallik.php
ภาคผนวก
113

ภาคผนวก ก
ตัวอย่างบทเรียนออนไลน์
114

ภาพที่ 1 หน้าแรกเว็บไซต์ของภาควิชาเทคโลยีทางการศึกษา

ภาพที่ 2 ช่องกรอกชือ่ ผูใ้ ช้ และ รหัสผ่าน เพือ่ เข้าสูร่ ะบบ


115

ภาพที่ 3 เข้าสูบ่ ทเรียนผ่านแบนเนอร์

ภาพที่ 4 หน้าแรกของบทเรียน
116

ภาพที่ 5 ตัวอย่างบทเรียนออนไลน์เรือ่ งการผลิตรายการวิทยุการศึกษา


(บทที่ 1 ความเป็ นมาของวิทยุการศึกษา)

ภาพที่ 6 ตัวอย่างแบบฝึกหัดในระบบ
117

ภาพที่ 7 ตัวอย่างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ ์ทางการเรียนบนเว็บไซต์

ภาพที่ 8 แบบประเมินความพึงพอใจของผูเ้ รียน


118

ภาคผนวก ข
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน
119

แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธ์ ิ ทางการเรียน
เรื่องเทคนิคการผลิตรายการวิทยุการศึกษา

บทที่ 1 ความเป็ นมาของวิทยุการศึกษา


1. ในยุคก่อตัง้ หน่วยงานใดเป็ นผูร้ บั ผิดชอบบริหารงานด้านจัดรายการ
ก. กรมประชาสัมพันธ์
ข. กระทรวงกลาโหม
ค. สํานักงานปลัด กระทรวงศึกษาธิการ
ง. สํานักนายกรัฐมนตรี
เฉลย ค. สํานักงานปลัด กระทรวงศึกษาธิ การ

2. วัตถุประสงค์หลักของวิทยุโรงเรียนคืออะไร
ก. เพือ่ ช่วยส่งเสริมคุณภาพของการเรียนการสอนในโรงเรียนชนบท ทีย่ งั ขาดแคลนครู
ข. เพือ่ ช่วยส่งเสริมคุณภาพของการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัย
ค. เพือ่ เผยแพร่ขา่ วสารการศึกษาแก่ประชาชน
ง. ถูกทุกข้อ
เฉลย ก. เพื่อช่วยส่งเสริ มคุณภาพของการเรียนการสอนในโรงเรียนชนบท ที่ยงั ขาดแคลนครู

3. ในยุคแรกของวิทยุการศึกษาท่านใดเป็ นผูก้ ่อตัง้ สถานีวทิ ยุศกึ ษา


ก. หม่อมหลวงปิ่ น มาลากุล
ข. พลเอกมังกร พรหมโยธี
ค. ท่านปญั ญา นันทภิกขุ
ง. ม.ร.ว.ฉันทากร วรวรรณ
เฉลย ก. หม่อมหลวงปิ่ น มาลากุล
120

4. ในยุคพัฒนาสถานีวทิ ยุศกึ ษาได้ทาํ การออกอากาศจากทีใ่ ด


ก. วิทยาลัยเทคนิคทุง่ มหาเมฆ
ข. กระทรวงศึกษาธิการ
ค. มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ
ง. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เฉลย ข. กระทรวงศึกษาธิ การ

5. ในยุคพัฒนาสถานีวทิ ยุศกึ ษาได้ทาํ การออกอากาศในระบบใด


ก. FM
ข. AM
ค. FM และ AM
ง. Internet
เฉลย ค. FM และ AM

6. ในยุคพัฒนา หน่วยงานใดมีหน้าทีร่ บั ผิดชอบในการผลิตรายการวิทยุการศึกษา


ก. กรมประชาสัมพันธ์
ข. ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา
ค. วิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพฯ ทุง่ มหาเมฆ
ง. วิทยาลัยครู
เฉลย ข. ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา

7. ในปจั จุบนั สถานีวทิ ยุศกึ ษาออกอากาศในระบบ FM ในความถีเ่ ท่าใด


ก. 100.25 MHz
ข. 108.50 MHz
ค. 92.00 MHz
ง. 97.75 MHz
เฉลย ค. 92.00 MHz
121

8. ในปจั จุบนั สถานีวทิ ยุศกึ ษาออกอากาศในระบบ AM ในความถีเ่ ท่าใด


ก. 1161 KHz
ข. 1171 KHz
ค. 1181 KHz
ง. 1191 KHz
เฉลย ก. 1160 KHz

บทที่2 หลักการเกี่ยวกับการผลิตรายการวิทยุการศึกษา
9. ข้อใดไม่ใช้องค์ประกอบของการผลิตรายการวิทยุการศึกษา
ก. ผูฟ้ งั
ข. เนื้อหา
ค. วิธกี ารนําเสนอ
ง. ผูส้ นับสนุ น
เฉลย ง. ผูส้ นับสนุน

10. ข้อใดเรียงลําดับขัน้ ตอนการผลิตรายการวิทยุการศึกษาได้ถูกต้อง


ก. ขัน้ วางแผนการผลิตรายการ , ขัน้ เตรียมการผลิต , ขัน้ ดําเนินการผลิต , ขัน้ การประเมินผล
ข. ขัน้ เตรียมการผลิต , ขัน้ ดําเนินการผลิต , ขัน้ การประเมินผล , นําไปใช้จริง
ค. ขัน้ วางแผนการผลิต , ขัน้ ดําเนินการผลิต , ขัน้ การประเมินผล , นําไปใช้จริง
ง. ขัน้ วางแผนการผลิต , ขัน้ เตรียมการผลิต , ขัน้ ดําเนินการผลิต , นําไปใช้จริง
เฉลย ก. ขัน้ วางแผนการผลิ ตรายการ , ขัน้ เตรียมการผลิ ต , ขัน้ ดําเนิ นการผลิ ต ,
ขัน้ การประเมิ นผล
122

11. การ “ซ้อมแห้ง” หมายถึงอะไร


ก. การซ้อมหน้าไมโครโฟน
ข. การซ้อมอ่านบทตามลําดับอย่างคร่าวๆ
ค. การซ้อมกลางแดด
ง. การซ้อมโดยทําการบันทึกเสียงไปด้วย
เฉลย ข. การซ้อมอ่านบทตามลําดับอย่างคร่าวๆ

12. รายการประเภทใดนิยมบันทึกเสียงไว้ก่อนการออกอากาศ
ก. รายการถามตอบปญั หา
ข. รายการข่าว
ค. รายการเปิ ดเพลงตามคําขอ
ง. รายการสารคดี
เฉลย ง. รายการสารคดี

13. ในปจั จุบนั การผลิตวิทยุการศึกษานิยมใช่เครือ่ งมือใดในการผสมสัญญานเสียง


ก. Amplifier
ข. Speaker
ค. Mixer
ง. Tuner
เฉลย ข. Mixer

14. วัตถุประสงค์ของการประเมินผลรายการวิทยุการศึกษาคืออะไร
ก. ทําให้รขู้ อ้ บกพร่องเพือ่ หาทางแก้ไขในการทํางาน
ข. ทําให้รถู้ งึ แนวทางในการทํางาน
ค. ทําให้รถู้ งึ เวลาในการผลิต
ง. ไม่มขี อ้ ใดถูก
เฉลย ก. ทําให้ร้ขู ้อบกพร่องเพื่อหาทางแก้ไขในการทํางาน
123

15. ข้อใดคือการประเมินทัศนคติของผูฟ้ งั
ก. การทํา Focus Groups
ข. การทําแบบสํารวจเรตติง้
ค. การสังเกตุ
ง. ถูกทุกข้อ
เฉลย ง. ถูกทุกข้อ

16. บุคคลในข้อใดมีหน้าทีห่ าข้อมูลในการผลิตรายการวิทยุการศึกษา


ก. ผูเ้ ขียนบท
ข. ผูป้ ระกาศ
ค. โปรดิวเซอร์
ง. คนควบคุมเสียง
เฉลย ค. โปรดิ วเซอร์

บทที่3 การเขียนบทรายการวิทยุการศึกษา
17. บทโครงร่างอย่างคร่าวๆ (Rundown sheet) เหมาะสําหรับรายการประเภทใด
ก. รายการละครวิทยุ
ข. รายการสารคดี
ค. สปอตโฆษณา
ง. รายการสัมภาษณ์
เฉลย ง. รายการสัมภาษณ์

18. บทวิทยุรปู แบบใดเหมาะกับรูปแบบ ”รายการข่าว”


ก. Rundown sheet
ข. Semi Script
ค. Fully Script
ง. ถูกทุกข้อ
เฉลย ค. Fully Script
124

19. ส่วนใดของบทวิทยุการศึกษาทีบ่ อกถึงรายละเอียดการออกอากาศของรายการ


ก. ส่วนหัว
ข. ส่วนเนื้อหา
ค. ส่วนปิ ดท้าย
ง. ส่วนสําคัญรายการ
เฉลย ก. ส่วนหัว

20. ขัน้ ตอนการเขียนบทขัน้ ตอนใดทีเ่ ป็ นการเขียนเพือ่ เรียกร้องความสนใจข้อผูฟ้ งั


ก. ขัน้ เริม่ รายการ
ข. ขัน้ จัดรูปและตกแต่งรายการ
ค. ขัน้ สร้างจุดประทับใจ
ง. ขัน้ สรุป
เฉลย ก. ขัน้ เริ่ มรายการ

21. “ขัน้ สรุป” ในการเขียนบทวิทยุการศึกษานัน้ เป็ นขัน้ ตอนทีม่ คี วามสําคัญอย่างไร


ก. เป็ นขัน้ ตอนสร้างความประทับใจให้ผฟู้ งั
ข. เป็ นขัน้ ตอนเรียกร้องความสนใจของผูฟ้ งั
ค. เป็ นขัน้ ตอนการทบทวนเนื้อหารายการให้กบั ผูฟ้ งั
ง. เป็ นขัน้ ตอนทีท่ าํ ให้รายการมีความน่าสนใจ
เฉลย ค. เป็ นขัน้ ตอนการทบทวนเนื้ อหารายการให้กบั ผูฟ้ ัง

22. การเขียนบทเพือ่ บอกกล่าว (To inform) เป็ นการเขียนบทเพือ่ จุดประสงค์ใด


ก. เพือ่ ถ่ายทอดสิง่ ต่างๆไปยังผูฟ้ งั
ข. เพือ่ ให้ผฟู้ งั ได้วเิ คราะห์
ค. ให้ผฟู้ งั มีความเห็นคล้อยตาม
ง. ให้ผฟู้ งั รูส้ กึ คิด
เฉลย ก. เพื่อถ่ายทอดสิ่ งต่างๆ ไปยังผูฟ้ ัง
125

23. เครือ่ งหมาย (/) ใช้เมือ่ ต้องการให้ผพู้ ดู ปฏิบตั อิ ย่างไร


ก. การยํา้ ข้อความนัน้ ๆ
ข. การแยกข้อความออกจากกัน
ค. ขึน้ บรรทัดใหม่
ง. ลากเสียงพูดทอดยาว
เฉลย ข. การแยกข้อความออกจากกัน

24. คําสังใดในการเขี
่ ยนบทวิทยุการศึกษา หมายถึง “การลดระดับ(เสียงที1่ ) พร้อมกับค่อยๆเพิม่ ระดับ (เสียงที2่ )”
ก. Fade In
ข. Fade Out
ค. Cross Over
ง. Cross Fade
เฉลย ง. Cross Fade

บทที่4 ห้องบันทึกเสียงและเครือ่ งมือ


25. ห้องบันทึกเสียงทีด่ คี วรแบ่งออกเป็ นกีส่ ว่ น อะไรบ้าง
ก. 1 ส่วน (ส่วนบันทึกเสียง)
ข. 2 ส่วน (ส่วนบันทึกเสียง , ส่วนควบคุมเสียง)
ค. 2 ส่วน (ส่วน Production , ส่วน Pre Production)
ง. 1 ส่วน (ส่วนควบคุมเสียง)
เฉลย ข. 2 ส่วน (ส่วนบันทึกเสียง , ส่วนควบคุมเสียง)

26. ห้องบันทึกเสียง “ห้องลอย” หมายถึงอะไร


ก. ห้องเล็กซ้อนอยูใ่ นห้องใหญ่
ข. ห้องทีล่ อยจากพืน้
ค. ห้องทีม่ นี ้ําเป็ นส่วนรองรับ
ง. ถูกทุกข้อ
เฉลย ก. ห้องเล็กซ้อนอยู่ในห้องใหญ่
126

27. วิธใี ดช่วยลดเสียงสะท้อนภายในห้องบันทึกเสียงได้ดที ส่ี ดุ


ก. ปล่อยห้องให้โล่งทีส่ ดุ
ข. นํากระจกมาติดในห้อง
ค. ใช้วสั ดุผวิ เรียบในการบุผนัง
ง. ติดผ้าม่านภายในห้อง
เฉลย ง. ติ ดผ้าม่านภายในห้อง

28. ไมโครโฟนมีหลักการทํางานอย่างไร
ก. รับเสียง
ข. เปลีย่ นพลังงานไฟฟ้าเป็ นคลื่นแม่เหล็ก
ค. เปลีย่ นคลื่นเสียงให้เป็ นพลังงานไฟฟ้า
ง. ขยายเสียง
เฉลย ค. เปลี่ยนคลื่นเสียงให้เป็ นพลังงานไฟฟ้ า

29. อุปกรณ์ชนิดใดทําหน้าทีใ่ นการขยายสัญญานเสียง


ก. Speaker
ข. Microphone
ค. Amplifier
ง. Mixer
เฉลย ค. Amplifier

30. ลําโพง(Speaker) มีหลักในการทํางานอย่างไร


ก. เปลีย่ นสัญญานไฟฟ้าเป็ นสัญญานดิจติ อล
ข. เปลีย่ นสัญญานไฟฟ้าเป็ นคลื่นเสียงธรรมชาติ
ค. เปลีย่ นสัญญานดิจติ อลเป็ นสัญญานไฟฟ้า
ง. ถูกทุกข้อ
เฉลย ข. เปลี่ยนสัญญานไฟฟ้ าเป็ นคลื่นเสียงธรรมชาติ
127

31. โปรแกรมใดเป็ นโปรแกรมทีส่ ามารถออกอากาศรายการวิทยุผา่ นระบบอินเทอร์เน็ตได้


ก. Moodle
ข. Windows Media Player
ค. Windows Media Encoder
ง. Microsoft Internet Explorer
เฉลย ค. Windows Media Encoder

32. โปรแกรมใดใช้ในงานตัดต่อเสียง
ก. Adobe Audition
ข. Adobe Premier
ค. Edius
ง. Finalcut
เฉลย ก. Adobe Audition

บทที่ 5 รูปแบบรายการวิทยุการศึกษา
33. รายการประเภทพูดคุยกับผูฟ้ งั Talk Program มีลกั ษณะรายการอย่างไร
ก. รายการทีเ่ น้นการแสดงความคิดเห็นในประเด็นสาธารณะ
ข. รายการทีม่ ผี ดู้ าํ เนินรายการพูดคุยกันเอง
ค. รายการทีเ่ ปิ ดโอกาศให้ผฟู้ งั เข้ามาจัดรายการได้
ง. รายการทีอ่ อกไปหาผูฟ้ งั นอกสถานที่
เฉลย ก. รายการที่เน้ นการแสดงความคิ ดเห็นในประเด็นสาธารณะ

34. รายการประเภทรายการสนทนา Conversation Program เป็ นรายการทีจ่ ะต้องระวังในเรือ่ งใด


ก. การกําหนดเวลาในการดําเนินรายการ
ข. การเลือกผูส้ นทนา
ค. ผูฟ้ งั
ง. ความขัดแย้งทางความคิด
เฉลย ง. ความขัดแย้งทางความคิ ด
128

35. รายการประเภทรายการอภิปรายมีรปู แบบรายการอย่างไร


ก. เป็ นรายการพูดคุยกับผูฟ้ งั
ข. เป็ นรายการทีเ่ ป็ นการพูดคุยเสนอความคิดเห็นกันในรายการ
ค. เป็ นรายการนําเสนอข่าวสาร
ง. เป็ นรายการทีม่ กี ารเปิ ดเพลง
เฉลย ข. เป็ นรายการที่เป็ นการพูดคุยเสนอความคิ ดเห็นกันในรายการ

36. รายการสารคดีควรใช้โทนเสียงใดในการจัดรายการ
ก. ห้วนๆ กระชับกระเฉง
ข. เสียงดัง รุนแรง
ค. สุขมุ น่าเชื่อถือ
ง. สดใส น่ารัก
เฉลย ค. สุขมุ น่ าเชื่อถือ

37. การจะทําให้ผฟู้ งั จดจํารายการข่าวได้ รายการควรจะมีอะไรเพือ่ จะให้ผฟู้ งั จดจําได้


ก. เพลงประจํารายการ
ข. ผูป้ ระกาศทีเ่ ป็ นดารานักแสดง
ค. จิงเกิล้ รายการ และ สโลแกนรายการ
ง. ช่วงเวลาของรายการ
เฉลย ข. จิ งเกิ้ลรายการ และ สโลแกนรายการ

38. การเลือกเพลงเปิ ดในรายการควรคํานึงถึงสิง่ ใด


ก. เพลงทีไ่ ด้รบั ความนิยมอยูใ่ นขณะนัน้
ข. เพลงทีผ่ เู้ ปิ ดชอบ
ค. เพลงนอกกระแส
ง. เพลงทีผ่ จู้ ดั แต่งเอง
เฉลย ก. เพลงที่ได้รบั ความนิ ยมอยู่ในขณะนัน้
129

39. ข้อใดคือจุดมุง่ หมายของละครวิทยุ


ก. ความบันเทิงแก่ผฟู้ งั
ข. ให้ความรูแ้ ก่ผฟู้ งั
ค. ให่แง่คดิ แก่ผฟู้ งั
ง. ถูกทุกข้อ
เฉลย ง. ถูกทุกข้อ

40. เหตุการณ์ใดเหมาะกับรายการบรรยายเหตุการณ์
ก. การเปิดตัวสินค้า
ข. การดีเบตผูล้ งสมัครนายกรัฐมนตรี
ค. การสัมมนาวิชาการ
ง. การรายงานราคาทอง
เฉลย ข. การดีเบตผูล้ งสมัครนายกรัฐมนตรี
130

ภาคผนวก ค
1. ผลการประเมิ นความสอดคล้อง (IOC)

2. ค่าความยากง่าย (p) ค่าอํานาจจําแนก (r)

3. ค่าความเชื่อมันของแบบทดสอบ
่ (KR20)
131

ตารางแสดงผลการประเมินความสอดคล้อง
ของแบบวัดผลสัมฤทธ์ ิ ทางการเรียนจากผูเ้ ชี่ยวชาญ
ความคิ ดเห็นของผูเ้ ชี่ยวชาญ
ข้อ IOC ความหมาย
ผูเ้ ชี่ยวชาญคนที่ 1 ผูเ้ ชี่ยวชาญคนที่ 2 ผูเ้ ชี่ยวชาญคนที่ 3
1 1 1 1 1.00 ใช้ได้
2 0 1 0 0.33 ใช้ไม่ได้
3 1 1 1 1.00 ใช้ได้
4 0 0 0 0.00 ใช้ไม่ได้
5 1 1 1 1.00 ใช้ได้
6 1 1 1 1.00 ใช้ได้
7 1 1 1 1.00 ใช้ได้
8 1 -1 1 0.33 ใช้ไม่ได้
9 1 1 1 1.00 ใช้ได้
10 1 1 1 1.00 ใช้ได้
11 1 -1 0 0.00 ใช้ไม่ได้
12 1 1 1 1.00 ใช้ได้
13 1 1 1 1.00 ใช้ได้
14 1 1 1 1.00 ใช้ได้
15 1 1 1 1.00 ใช้ได้
16 1 1 -1 0.33 ใช้ไม่ได้
17 1 1 1 1.00 ใช้ได้
18 0 -1 1 0.00 ใช้ไม่ได้
19 1 1 1 1.00 ใช้ได้
20 0 -1 1 0.00 ใช้ไม่ได้
21 1 1 1 1.00 ใช้ได้
22 1 1 1 1.00 ใช้ได้
23 1 1 -1 0.33 ใช้ไม่ได้
24 1 1 1 1.00 ใช้ได้
25 1 -1 1 0.33 ใช้ไม่ได้
26 1 -1 1 0.33 ใช้ไม่ได้
132

27 1 1 -1 0.33 ใช้ไม่ได้
28 1 1 0 0.67 ใช้ได้
29 1 1 1 1.00 ใช้ได้
30 1 1 1 1.00 ใช้ได้
31 1 1 1 1.00 ใช้ได้
32 1 1 1 1.00 ใช้ได้
33 1 1 1 1.00 ใช้ได้
34 1 1 1 1.00 ใช้ได้
35 1 0 1 0.67 ใช้ได้
36 1 1 1 1.00 ใช้ได้
37 1 1 0 0.67 ใช้ได้
38 1 1 0 0.67 ใช้ได้
39 1 1 -1 0.33 ใช้ไม่ได้
40 1 1 -1 0.33 ใช้ไม่ได้
41 1 1 1 1.00 ใช้ได้
42 1 1 1 1.00 ใช้ได้
43 1 1 1 1.00 ใช้ได้
44 1 1 1 1.00 ใช้ได้
45 1 0 1 0.67 ใช้ได้
46 1 1 1 1.00 ใช้ได้
47 1 1 -1 0.33 ใช้ไม่ได้
48 1 1 1 1.00 ใช้ได้
49 1 1 1 1.00 ใช้ได้
50 1 1 1 1.00 ใช้ได้
51 1 1 1 1.00 ใช้ได้
52 1 1 1 1.00 ใช้ได้
53 1 1 1 1.00 ใช้ได้
54 1 1 1 1.00 ใช้ได้
55 1 1 -1 0.33 ใช้ไม่ได้
56 1 1 1 1.00 ใช้ได้
133

57 1 1 1 1.00 ใช้ได้
58 1 1 1 1.00 ใช้ได้
59 1 1 1 1.00 ใช้ได้
60 1 1 1 1.00 ใช้ได้
61 1 1 1 1.00 ใช้ได้
62 1 1 0 0.67 ใช้ได้
63 1 1 0 0.67 ใช้ได้
64 1 1 1 1.00 ใช้ได้
65 1 1 1 1.00 ใช้ได้
66 1 1 1 1.00 ใช้ได้
67 1 1 1 1.00 ใช้ได้
68 1 1 0 0.67 ใช้ได้
69 1 1 1 1.00 ใช้ได้
70 1 1 1 1.00 ใช้ได้
71 1 1 1 1.00 ใช้ได้
72 1 1 1 1.00 ใช้ได้
73 1 1 1 1.00 ใช้ได้
74 1 1 1 1.00 ใช้ได้
75 1 1 1 1.00 ใช้ได้
76 1 1 0 0.67 ใช้ได้
77 1 1 1 1.00 ใช้ได้
78 1 1 1 1.00 ใช้ได้
79 1 1 -1 0.33 ใช้ไม่ได้
80 1 1 0 0.67 ใช้ได้
81 1 1 1 1.00 ใช้ได้
82 1 1 1 1.00 ใช้ได้
83 1 1 1 1.00 ใช้ได้
84 1 1 1 1.00 ใช้ได้
85 1 0 1 0.67 ใช้ได้
86 1 1 1 1.00 ใช้ได้
134

87 1 1 1 1.00 ใช้ได้
88 1 0 1 0.67 ใช้ได้
89 1 1 0 0.67 ใช้ได้
90 1 1 1 1.00 ใช้ได้
91 1 1 1 1.00 ใช้ได้
92 1 1 1 1.00 ใช้ได้
93 1 1 1 1.00 ใช้ได้
94 1 1 1 1.00 ใช้ได้
95 1 0 1 0.67 ใช้ได้
96 1 1 1 1.00 ใช้ได้
97 1 1 1 1.00 ใช้ได้
98 1 0 1 0.67 ใช้ได้
99 1 1 1 1.00 ใช้ได้
100 1 1 0 0.67 ใช้ได้
135

ตารางแสดงค่าความยากง่าย(p) ค่าอํานาจจําแนก(r)
ดผลสัมฤทธ์ ิ ทางการเรียน
และค่าความเชื่อมันของแบบวั

ข้อ ความยากง่าย ค่าอํานาจจําแนก ความหมาย
1 0.32 0.21 ใช้ได้
2 0.21 0.42 ใช้ได้
3 0.26 0.32 ใช้ได้
4 0.24 0.16 ใช้ไม่ได้
5 0.68 0.21 ใช้ได้
6 0.63 0.21 ใช้ได้
7 0.39 0.16 ใช้ไม่ได้
8 0.55 0.37 ใช้ได้
9 0.05 0.00 ใช้ไม่ได้
10 0.32 0.42 ใช้ได้
11 0.21 0.32 ใช้ได้
12 0.53 0.21 ใช้ได้
13 0.42 0.21 ใช้ได้
14 0.68 0.40 ใช้ได้
15 0.61 0.34 ใช้ได้
16 0.50 0.27 ใช้ได้
17 0.74 0.29 ใช้ได้
18 0.63 0.53 ใช้ได้
19 0.74 0.47 ใช้ได้
20 0.76 0.29 ใช้ได้
21 0.24 0.26 ใช้ได้
22 0.71 0.29 ใช้ได้
23 0.24 0.08 ใช้ไม่ได้
24 0.45 0.21 ใช้ได้
25 0.76 0.35 ใช้ได้
26 0.34 0.26 ใช้ได้
27 0.45 0.21 ใช้ได้
136

28 0.55 0.10 ใช้ไม่ได้


29 0.58 0.22 ใช้ได้
30 0.76 0.38 ใช้ได้
31 0.50 0.51 ใช้ได้
32 0.34 0.30 ใช้ได้
33 0.26 0.06 ใช้ไม่ได้
34 0.34 0.49 ใช้ได้
35 0.68 0.30 ใช้ได้
36 0.76 0.33 ใช้ได้
37 0.50 0.40 ใช้ได้
38 0.47 0.03 ใช้ไม่ได้
39 0.79 0.20 ใช้ได้
40 0.74 0.27 ใช้ได้
41 0.42 0.13 ใช้ไม่ได้
42 0.79 -0.03 ใช้ไม่ได้
43 0.50 0.58 ใช้ได้
44 0.74 0.50 ใช้ได้
45 0.58 0.22 ใช้ได้
46 0.71 0.38 ใช้ได้
47 0.68 0.45 ใช้ได้
48 0.76 0.11 ใช้ไม่ได้
49 0.29 0.59 ใช้ได้
50 0.79 0.44 ใช้ได้
51 0.68 0.53 ใช้ได้
52 0.79 0.37 ใช้ได้
53 0.24 0.09 ใช้ไม่ได้
54 0.18 0.16 ใช้ไม่ได้
55 0.45 0.30 ใช้ได้
56 0.34 0.39 ใช้ได้
57 0.47 0.49 ใช้ได้
58 0.39 0.52 ใช้ได้
137

59 0.03 0.06 ใช้ไม่ได้


60 0.79 0.50 ใช้ได้
61 0.66 0.38 ใช้ได้
62 0.29 0.26 ใช้ได้
63 0.74 0.44 ใช้ได้
64 0.79 0.23 ใช้ได้
65 0.42 0.60 ใช้ได้
66 0.50 0.54 ใช้ได้
67 0.47 0.20 ใช้ได้
68 0.61 0.55 ใช้ได้
69 0.71 0.33 ใช้ได้
70 0.71 0.56 ใช้ได้
71 0.71 0.38 ใช้ได้
72 0.79 0.44 ใช้ได้
73 0.05 0.00 ใช้ไม่ได้
74 0.58 0.15 ใช้ไม่ได้
75 0.42 0.14 ใช้ไม่ได้
76 0.71 0.33 ใช้ได้
77 0.71 0.27 ใช้ได้
78 0.70 0.33 ใช้ได้
79 0.76 0.27 ใช้ได้
80 0.74 0.33 ใช้ได้
81 0.71 0.27 ใช้ได้
82 0.79 0.39 ใช้ได้
83 0.68 0.38 ใช้ได้
84 0.68 0.27 ใช้ได้

ค่าความเชื่อมันของแบบทดสอบทั
่ ง้ ฉบับ เท่ากับ 0.73
138

ภาคผนวก ง
1. แบบประเมิ นคุณภาพบทเรียนออนไลน์

2. แบบประเมิ นความพึงพอใจเกี่ยวกับบทเรียนออนไลน์
139

แบบประเมิ นคุณภาพบทเรียนออนไลน์ (ด้านเทคโนโลยีการศึกษา)


เรื่อง
การผลิ ตรายการวิ ทยุการศึกษา
สําหรับนิ สิตปริ ญญาตรี สาขาเทคโนโลยีสื่อสารการศึกษา
มหาวิ ทยาลัยศรีนคริ นทรวิ โรฒ
พัฒนาบทเรียนโดย นายเอกสิ ทธิ์ อภิ สิทธิ กลุ

ชื่อผูป้ ระเมิ น............................................................................ตําแหน่ ง.............................................


หน่ วยงาน...........................................................................................................................................

คําชี้แจง โปรดทําเครือ่ งหมาย  ลงในช่องทีต่ รงกับระดับความคิดเห็นของท่านหลังการตรวจสอบ

ระดับความคิ ดเห็น
รายการประเมิ น ดีมาก ดี พอใช้ ปรับปรุง ใช้ไม่ได้
(5) (4) (3) (2) (1)
1. ด้านภาพ
1.1 ความชัดเจนของภาพ
1.2 ขนาดของภาพกราฟิกมีความเหมาะสม
1.3 ความเหมาะสมระหว่างภาพกับเนื้อหา
1.4 ความเหมาะสมของภาพกับระดับของผูเ้ รียน
1.5 ความหมายของภาพสอดคล้องกับเนื้อหาใน
บทเรียน
2 ด้านตัวอักษรและการใช้สี
2.1 ความเหมาสมของรูปแบบและขนาดของตัวอักษร
ทีใ่ ช้ประกอบบทเรียนกับพืน้ หลัง
2.2 ความเหมาะสมของการเลือกใช้สตี วั อักษร
2.3 ความน่าสนใจในการออกแบบหน้าจอ
2.4 สีทช่ี ว่ ยให้ภาพตัวอักษรและพืน้ หลังมีความ
สวยงามน่าสนใจ
140

ระดับความคิ ดเห็น
รายการประเมิ น ดีมาก ดี พอใช้ ปรับปรุง ใช้ไม่ได้
(5) (4) (3) (2) (1)
3 ด้านการเชื่อมโยงข้อมูล
3.1 การเชื่อมโยงในหน้าเดียวกันและหน้าอื่นๆ ของ
บทเรียน
3.2 จุดเชื่อมโยงมีความสอดคล้องกับเนื้อหาทีเ่ ชื่อมไป
3.3 การเชื่อมโยงของแต่ละหัวข้อภายในบทเรียน
4 ด้านการออกแบบบทเรียนและปฏิ สมั พันธ์
4.1 ความเหมาะสมของการออกแบบหน้าจอของ
บทเรียนโดยรวม
4.2 การควบคุมบทเรียน
4.3 ความน่าสนใจในการปฏิสมั พันธ์ระหว่างบทเรียน
กับผูเ้ รียน
4.4 ความน่าสนใจของบทเรียน
4.5 ความเหมาะสมของเทคนิคการนําเสนอง่ายและ
สะดวกในการใช้บทเรียน

ข้อเสนอแนะ
……………………………………………………………………………………………………………......
……………………………………………………………………………………………………………......
……………………………………………………………………………………………………………......
……………………………………………………………………………………………………………......
……………………………………………………………………………………………………………......

ลงชื่อ ………………………………………..
(…...………………………………….)
ผูป้ ระเมิ น
141

แบบประเมินคุณภาพบทเรียนออนไลน์ (ด้านเนื้ อหา)


เรื่อง
การผลิ ตรายการวิ ทยุการศึกษา
สําหรับนิ สิตปริ ญญาตรี สาขาเทคโนโลยีสื่อสารการศึกษา
มหาวิ ทยาลัยศรีนคริ นทรวิ โรฒ
พัฒนาบทเรียนโดย นายเอกสิ ทธิ์ อภิ สิทธิ กลุ

ชื่อผูป้ ระเมิ น......................................................................ตําแหน่ ง..................................................


หน่ วยงาน...........................................................................................................................................

คําชี้แจง โปรดทําเครือ่ งหมาย ลงในช่องทีต่ รงกับระดับความคิดเห็นของท่านหลังการตรตรวจสอบ

ระดับความคิ ดเห็น
รายการประเมิ น ดีมาก ดี พอใช้ ปรับปรุง ใช้ไม่ได้
(5) (4) (3) (2) (1)
2. จุดประสงค์
1.1 การกําหนดวัตถุประสงค์มคี วามเหมาะสม
1.2 การกําหนดวัตถุประสงค์มคี วามชัดเจน
1.3 จํานวนของวัตถุประสงค์มคี วามเหมาสม
3. เนื้ อหาบทเรียน
2.1 การนําเสนอเนื้อหาตรงตามวัตถุประสงค์
2.2 ความสอดคล้องของเนื้อหากับจุดประสงค์
2.3 ความถูกต้องของเนื้อหา
2.4 ความเหมาะสมของการจัดลําดับเนื้อหา
2.5 ความยากง่ายเหมาะสมกับระดับผูเ้ รียน
2.6 ความเหมาะสมของปริมาณเนื้อหาในแต่ละ
บทเรียน
2.7 ความเหมาะสมของขัน้ ตอนการนําเสนอเนื้อหา
2.8 ความถูกต้องของการใช้ภาษา
2.9 ความน่าสนใจในการดําเนินเรือ่ ง
142

ระดับความคิ ดเห็น
รายการประเมิ น
ดีมาก ดี พอใช้ ปรับปรุง ใช้ไม่ได้
(5) (4) (3) (2) (1)
2.10 ความสอดคล้องของภาพประกอบในเนื้อหา
4. แบบทดสอบ
3.1 ความสอดคล้องของคําถามกับเนื้อหา
3.2 ความชัดเจนของคําถาม
3.3 ความเหมาะสมของจํานวนคําถาม

ข้อเสนอแนะ
……………………………………………………………………………………………………………......
……………………………………………………………………………………………………………......
……………………………………………………………………………………………………………......
……………………………………………………………………………………………………………......
……………………………………………………………………………………………………………......
……………………………………………………………………………………………………………......
……………………………………………………………………………………………………………......

ลงชื่อ ………………………………………..
(…...………………………………….)
ผูป้ ระเมิ น
143

แบบประเมิ นความพึงพอใจเกี่ยวกับบทเรียนออนไลน์
เรื่อง
การผลิ ตรายการวิ ทยุการศึกษา
สําหรับนิ สิตปริ ญญาตรี สาขาเทคโนโลยีสื่อสารการศึกษา
มหาวิ ทยาลัยศรีนคริ นทรวิ โรฒ

ชื่อผูป้ ระเมิ น.......................................................................ตําแหน่ ง..................................................


หน่ วยงาน............................................................................................................................................

คําชี้แจง โปรดทําเครือ่ งหมาย  ลงในช่องทีต่ รงกับระดับความคิดเห็นนิสติ มากทีส่ ดุ


5 หมายถึง ระดับความเหมาะ / เห็นด้วยมากทีส่ ดุ
4 หมายถึง ระดับความเหมาะ / เห็นด้วยมาก
3 หมายถึง ระดับความเหมาะ / เห็นด้วยปานกลาง
2 หมายถึง ระดับความเหมาะ / เห็นด้วยน้อย
1 หมายถึง ระดับความเหมาะ / เห็นด้วยน้อยทีส่ ดุ

ระดับความคิ ดเห็น
รายการประเมิ น มากที่สดุ มาก ปานกลาง น้ อย น้ อยทีสดุ
(5) (4) (3) (2) (1)
5. ภาพประกอบ
4.1 ความเหมาะสมของขนาดภาพ
1.2 ความชัดเจนของภาพ
1.3 ความสอดคล้องกับภาพและเนื้อหา
6. ตัวอักษร
2.1 ความเหมาะสมของตัวอักษรกับหน้าจอ
2.2 ความเด่นชัดของหัวข้อและส่วนทีเ่ น้นสําคัญ
2.3 ขนาดความชัดเจนของตัวอักษร
2.4 การใช้สตี วั อักษร
144

ระดับความคิ ดเห็น
รายการประเมิ น มากที่สดุ มาก ปานกลาง น้ อย น้ อยมาก
(5) (4) (3) (2) (1)
2.5 รูปแบบของตัวอักษรมีความเหมาะสม อ่านง่าย
7. การเรียนในบทเรียนออนไลน์
3.1 ความเหมาะสมของการนําเข้าสูโ่ ปรแกรม
3.2 ความสะดวกในการเรียน
3.3 เนื้อหาชัดเจนเข้าใจง่าย
3.4 การดําเนินเนื้อหามีความกระชับ เรียงจากเรือ่ ง
ง่ายไปสูเ่ รือ่ งยาก
3.5 การเชื่อมโยงในหัวข้อต่างๆ และ แหล่งข้อมูล
8. ประโยชน์ ของการเรียนผ่านบทเรียนออนไลน์
4.1 เข้าใจเนื้อหาชัดเจนมากขึน้
4.2 ช่วยให้เนื้อหาในการเรียนน่าสนใจมากขึน้
4.3 นําความรูท้ ไ่ี ด้รบั ไปผลิตรายการวิทยุได้
4.4 ประโยชน์ทไ่ี ด้รบั จากการเรียนผ่านบทเรียน
ออนไลน์ในภาพรวม

ขอขอบคุณสําหรับความร่วมมือในการตอบแบบสอบถาม
145

ภาคผนวก จ
1. รายชื่อผูเ้ ชี่ยวชาญตรวจคุณภาพเนื้ อหา และเครื่องมือ

2. หนังสือขอความอนุเคราะห์
146

รายชื่อผูเ้ ชี่ยวชาญตรวจคุณภาพเนื้ อหา และเครือ่ งมือ

ผูเ้ ชี่ยวชาญด้านเนื้ อหา


1. ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.สุรพล บุญลือ อาจารย์ภาควิชาเทคโนโลยีและสือ่ สารการศึกษา
คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
2. อาจารย์ ไพฑูรย์ กานต์ธญ
ั ลักษณ์ อาจารย์ภาควิชาเทคโนโลยีและสือ่ สารการศึกษา
คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
3. อาจารย์ สุทธิศกั ดิ ์ ตันติวทิ ติ พงศ์ อาจารย์พเิ ศษประจําสาขาวิชา
เทคโนโลยีการโทรทัศน์และวิทยุกระจายเสียง
ภาควิชาเทคโนโลยีสอ่ื สารและอุตสาหกรรม
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ

ผูเ้ ชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการศึกษา
1. อาจารย์ ดร.นฤมล ศิระวงษ์ อาจารย์ภาควิชาเทคโนโลยีทางการศึกษา
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ
2. อาจารย์ ดร.ขวัญหญิง ศรีประเสริฐภาพ อาจารย์ภาควิชาเทคโนโลยีทางการศึกษา
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ
3. อาจารย์ ดร.กนกพร ฉันทนาภักดิ ์ อาจารย์ภาควิชาเทคโนโลยีทางการศึกษา
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ
147

ผูเ้ ชี่ยวชาญด้านจิตวิทยา
1. อาจารย์ ดร.สุวมิ ล กฤชคฤหาสน์ อาจารย์ภาควิชาการวัดผลและวิจยั การศึกษา
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ
2. อาจารย์ นันทวิทย์ เผ่ามหานาคะ อาจารย์ภาควิชาการแนะแนวและจิตวิทยาการศึกษา
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ
3. ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร. พรปภัสสร ปริญชาญกล อาจารย์ภาควิชาเทคโนโลยีและสือ่ สารการศึกษา
คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
148
149
150
151
152
153
ประวัติย่อผูท้ าํ สารนิพนธ์
ประวัติย่อผูท้ าํ สารนิพนธ์

ชื่อ ชื่อสกุล นายเอกสิทธิ ์ อภิสทิ ธิกุล


วัน เดือน ปี เกิด 12 เมษายน 2529
สถานทีเ่ กิด กรุงเทพมหานคร
สถานทีอ่ ยูป่ จั จุบนั 3 หมู่ 10 ซ.หมูบ่ า้ นร่มไทรการเด้นวิลล์
แขวงบางบอน เขตบางบอน กรุงเทพฯ 10150
ตําแหน่งหน้าทีก่ ารงานปจั จุบนั ช่างภาพอิสระ

ประวัตกิ ารศึกษา
พ.ศ. 2543 มัธยมศึกษาปีท่ี 3
จากโรงเรียนมัธยมสาธิต
สถาบันราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
พ.ศ. 2546 ประกาศนียบัตรวิชาชีพ สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
จากโรงเรียนพณิชยการราชดําเนินธนบุร ี
พ.ศ. 2548 ประกาศนียบัตรวิชาชีพชัน้ สูง สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ
จากโรงเรียนพณิชยการราชดําเนินธนบุร ี
พ.ศ. 2550 คอ.บ สาขาวิชาครุศาสตร์เทคโนโลยี
จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
พ.ศ. 2554 กศ.ม สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา
จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

You might also like