You are on page 1of 78

รายงานวิจัยในชั้นเรียน

การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาเรื่องแรงเสียดทานในรายวิชากลศาสตร์
เครื่องมือกล 20102-2006 ของนักเรียนระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2
แผนกเทคนิคอุตสาหกรรม วิทยาลัยเทคนิคเพชรบุรี

โดย

นายนิ่มอนันต์ เสริมศรี
แผนกวิชาเทคนิคอุตสาหกรรม
ปีการศึกษา 2565

แผนกวิชาเทคนิคอุตสาหกรรม
วิทยาลัยเทคนิคเพชรบุรี อาชีวศึกษาภาคกลาง 5
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาเรื่องแรงเสียดทานในรายวิชากลศาสตร์
เครื่องมือกล (20102-2006) ของนักเรียนระดับชัน้ ประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2
แผนกเทคนิคอุตสาหกรรม วิทยาลัยเทคนิคเพชรบุรี

โดย

นายนิ่มอนันต์ เสริมศรี
แผนกวิชาเทคนิคอุตสาหกรรม
ปีการศึกษา 2565

แผนกวิชาเทคนิคอุตสาหกรรม
วิทยาลัยเทคนิคเพชรบุรี อาชีวศึกษาภาคกลาง 5
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
The Development of Educational Achievement on Friction in Machine
Tool (20102-2006) Mechanics Course of Vocational Certificate
Sophomores, Department of Industrial Technology

Submitted by

Mr. Nimanan Sermsri

Industrial Technical Department


Phetchaburi Technical College Central Vocational Education 5
Office of the Vocational Education Commission Ministry of Education

หัวข้อวิจัย การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาเรื่องแรงเสียดทานในรายวิชากลศาสตร์
เครื่องมือกล (20102-2006) ของนักเรียนระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2
แผนกเทคนิคอุตสาหกรรม วิทยาลัยเทคนิคเพชรบุรี
ชื่อผู้วิจัย นายนิ่มอนันต์ เสริมศรี
แผนกวิชา เทคนิคอุตสาหกรรม
ปีที่ทำการวิจัย 2565

บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชา กลศาสตร์
เครื่องมือกล เรื่อง แรงเสียดทานของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 โดยใช้สื่อ
แบบจำลอง 2) เพื ่ อ เปรี ย บเที ย บผลสั มฤทธิ์ ของคะแนนข้ อ สอบก่ อ นเรีย นและหลั งเรี ย น วิช า
กลศาสตร์เครื่องมือกล เรื่อง แรงเสียดทาน ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตร วิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 โดย
ใช้สื่อแบบจำลอง 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจนักเรียนที่เรียนโดยใช้สื่อแบบจำลอง วิชากลศาสตร์
เครื่องมือกล เรื่องแรงเสียดทาน กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนระดับประกาศนียบัตร
วิชาชีพชั้นปีที่ 2 แผนกวิชาช่างเทคนิคอุตสาหกรรม จำนวน 14 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แผนการ
จัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อแบบจำลอง, แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังเรียน, แบบประเมินความพึง
พอใจในการใช้สื่อการสอนแบบจำลอง, แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้สื่อแบบจำลองและ
สื่อแบบจำลอง เรื่องแรงเสีย ดทาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย(𝑥̅ )และส่ว น
เบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน (t - test dependent)
ผลการวิจัยพบว่า
1.ผลการวิเคราะห์ประสิทธิภาพแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้สื่อ
แบบจำลองพบว่านักเรียน จำนวน 14 คน ได้คะแนนเฉลี่ยจากการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการ
เรียนรู้ก่อนเรียน เท่ากับ 4.5 จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน และการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการ
เรียนรู้หลังเรียนเท่ากับคะแนนเฉลี่ย 9.6 จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน
2.การวิเคราะห์หาการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยวิธีการการสอนโดยใช้สื่ อ
แบบจำลอง ก่อนเรียนและหลังเรียน ก่อนเรียนคิดเป็นร้อย 45 และหลังเรียนคิดเป็นร้อยละ 96
3.เปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยวิธีการการสอนโดยใช้สื่อแบบจำลองมี
คะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้เพิ่มขึ้นจากก่อนเรียนอย่างมีมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ หลังจากได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อ
แบบจำลองอยู่ในระดับมาก
5. นักเรียนมีความเห็นในหัวข้อ “นักเรียนมีความคิดเห็นอย่างไรต่อการใช้สื่อแบบจำลอง”
ส่วนใหญ่จะเห็นด้วยกับการที่นำสื่อแบบจำลองมาใช้เพราะทำให้เห็นภาพได้ชัดขึ้น ได้ทดลองและ
สนุกสนานไม่น่าเบื่อ และในหัวข้อ “สื่อแบบจำลองมีประโยชน์ในการเรียนหรือไม่ อย่างไร” ส่วน
ใหญ่นักเรียนมีความคิดเห็นตรงกันว่า มีประโยชน์ เพราะดีกว่าการสอนปกติแบบไม่มีสื่อจำลอง ทำให้
มีสีสันไม่เครียดจนเกินไป และในหัวข้อ “นักเรียนมีความพึงพอใจในภาพรวมต่อเทคนิคและวิธีการ
สอนในรายวิชากลศาสตร์เครื่องมือกลอย่างไร” นักเรียนมีความคิดเห็นว่า พึงพอใจในการที่ผู้สอน
นำเอาสื่อแบบจำลองมาใช้ทำให้ เข้าใจในเรื่องที่เรียนได้ง่าย มองเห็นภาพได้ชัดเจนขึ้นและดีกว่าการ
เรียนการสอนแบบบรรยายหรือเรียนแต่ในหนังสือ และในหัวข้อสุดท้าย “ข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ
เพิ่มเติมเกี่ยวกับสื่อแบบจำลอง” นักเรียนมีความคิดเห็นเพิ่มเติมว่า อยากให้เพิ่มสื่อการสอนให้มาก
ขึ้น สนใจในตัวผู้เรียนมากขึ้นและส่วนใหญ่ไม่มีข้อเสนอแนะ

Research Title The Development of Educational Achievement on Friction in


Machine Tool (20102-2006) Mechanics Course of Vocational
Certificate Sophomores, Department of Industrial Technology
Researcher Mr. Nimanan Sermsri
Department Industrial Techniques
Year 2022

Abstract
This research aimed to 1) develop educational achievement in Machine Tool
Mechanics Course on friction of vocational certificate sophomores using the model; 2)
compare the pretest and posttest scores in Machine Tool Mechanics Course on friction
of vocational certificate sophomores using the model; and to 3) assess student
satisfaction toward the model used in Machine Tool Mechanics Course on friction. The
target in the research included 14 vocational certificate sophomores from Department
of Industrial Technology. The instruments included lesson plan using the model,
pretest and posttest, satisfaction assessment form, opinion survey form toward the use
of the model and the model itself on friction. The statistics for data analysis included
mean (𝑥̅ ), SD, and t-test.
The results revealed as follows.
1 . According to the analysis results of the efficiency between pretest and
posttest using the model, it was found that the pretest score of 14 students was 4 . 5
points out of 10. And their posttest score was 9.6 points out of 10.
2. According to the analysis of the comparison of achievement between pretest
and posttest using the model, the pretest was 45% and the posttest was 96%.
3. According to the comparison between pretest and posttest scores using the
model, it was found that the mean of learning achievement was significantly higher
than the pretest (p < .05).

4. Student satisfaction toward learning management was high.


5. According to student opinions under the item “How are your opinions
towards the use of the model?,” most of the students agreed with such use because
it made them see clearer pictures, along with try-out and fun. According to the item
“Is the model useful for your study? How?,” most of the students agreed that it was
useful because it was better than non-media teaching. It colored the course and
relieve stress. According to the item “How are your overall satisfaction toward
teaching techniques and method in Machine Tool Mechanics Course?,” the
students were satisfied with the use of the model because it created easier
understanding of the lesson, along with clearer pictures and better than instruction by
giving lectures or textbooks only. And according to the last item “Other
comments/suggestions about the model,” the student expected more teaching
media and more attention to students. Most of them did not have any suggestions.

กิติกรรมประกาศ

วิจัยฉบับนี้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี เนื่องด้วยได้รับความกรุณาจาก นายชาคริต กลิ่นจันทร์


หัวหน้าแผนกช่างเทคนิคอุตสาหกรรม คณะครูและนักเรียนนักศึกษาแผนกช่างเทคนิคอุตสาหกรรม ที่
คอยให้คำแนะนำและให้ความช่วยเหลืออำนวยความสะดวกในการทำสื่อการสอนทำให้งานวิจัยในครั้ง
นี้และให้ความร่วมมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลและทดลองใช้เครื่องมืออย่างดียิ่ง
และสุดท้ายนี้ขอขอบพระคุณ คุณพ่อ คุณแม่และพี่ ๆ เพื่อน ๆ ทุกท่าน ที่เป็นกำลังใจสำคัญ
คอยให้ความช่วยเหลือ และให้การสนับสนุนในทุก ๆ ด้าน ในการทำวิจัยฉบับนี้ราบรื่น และสำเร็จ
ด้วยดี คุณค่าและประ โยชน์อันพึงมี จากการทำวิจัยฉบับนี้ ผู้วิจัยขอมอบบูชาบุพการีบูรพาอาจารย์
และผู้มีพระคุณทุกท่าน ไว้ ณ โอกาสนี้

นายนิ่มอนันต์ เสริมศรี
ผู้วิจัย

สารบัญ
เรื่อง หน้า
บทคัดย่อภาษาไทย ก
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ ค
กิติกรรมประกาศ จ
สารบัญ ฉ
สารบัญตาราง ซ
สารบัญภาพ ฌ
บทที่ 1 บทนำ 1
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา 1
วัตถุประสงค์การวิจัย 2
สมมติฐานงานวิจัย 3
ขอบเขตการวิจัย 3
นิยามศัพท์เฉพาะ 3
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 4
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 5
สาระการเรียนรู้เรื่องแรงเสียดทาน 5
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 6
แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับสื่อการสอน 11
แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับแบบจำลอง 14
แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับความพึงพอใจ 17
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 18
กรอบแนวคิดในการวิจัย 20
บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย 21
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 21
เครื่องมือวิจัย 21
การสร้างและการหาคุณภาพเครื่องมือ 21
การเก็บรวบรวมข้อมูล 23
การวิเคราะห์ข้อมูล 24
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล 25

สารบัญ (ต่อ)

เรื่อง หน้า
บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล 27
สัญลักษณ์ที่ใช้นำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล 27
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล 28
ผลประเมินความพึงพอใจ 31
บทที่ 5 สรุปผลการวิจัย อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ 34
วัตถุประสงค์ของการวิจัย 34
วิธีการดำเนินการวิจัย 34
เครื่องมือวิจัยและการสร้างเครื่องมือ 34
การวิเคราะห์ข้อมูล 35
สรุปผลการวิจัย 35
อภิปรายผล 36
บรรณานุกรม 38
ภาคผนวก 40
ภาคผนวก ก. 41
ภาคผนวก ข. 43
ภาคผนวก ค. 46

สารบัญตาราง
หน้า
ตารางที่ 4.1 ผลการวิเคราะห์ประสิทธิภาพแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและ 28
หลังเรียนด้วยสื่อแบบจำลอง

ตารางที่ 4.2 เปรียบเทียบความสามารถในการทำแบบทดสอบก่อนเรียนและหลัง 29


เรียนด้วยวิธีการสอนโดยใช้สื่อแบบจำลอง รายวิชากลศาสตร์เครื่องมือกล ของ
นักเรียนแผนกวิชาช่างเทคนิคอุตสาหกรรม ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2

ตารางที่ 4.3 การเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยวิธีการการสอน 30


โดยใช้สื่อแบบจำลอง รายวิชากลศาสตร์เครื่องมือกล ของนักเรียนแผนกวิชาช่าง
เทคนิคอุตสาหกรรมระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 ก่อนเรียนและหลังเรียน

ตารางที่ 4.4 ตารางแสดงจำนวนนักเรียนที่มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ 31


โดยใช้สื่อแบบจำลอง

ตารางที่ 4.5 เกณฑ์ระดับคุณภาพความพึงพอใจ และการแปลความหมาย 32

ตารางที่ 4.6 วิเคราะห์ผลประเมินความพึงพอใจ 32


สารบัญภาพ

หน้า
ภาพที่ 2.1 แรงที่เกิดขึ้นระหว่างผิวสัมผัสของวัตถุเมื่อ คือ แรงเสียด 5
ทานที่เกิดขึ้นระหว่างผิวสัมผัส และ คือ แรงกระทำต่อวัตถุ

ภาพที่ 2.2 ความสัมพันธ์ระหว่างแรงที่กระทำและแรงเสียดทาน 6


ภาพที่ 2.3 แสดงกรอบแนวคิดในการวิจัย 20
บทที่ 1
บทนำ

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
ปัจจุบันการศึกษาถือว่ามีความสำคัญต่อความสำเร็จในชีวิตของบุคคลเป็นอย่างมากเพราะ
เป็นรากฐานสำหรับ ช่วยให้บุคคลสามารถก้าวไปถึงความสำเร็จตามที่บุคคลนั้น ๆ ได้คาดหวังเอาไว้
ครูผู้ให้การศึกษาแก่เยาวชนมีหน้าที่ให้การศึกษา สั่งสอนอบรมบ่มนิสัยให้แก่บุคลคลนั้น ๆ ทั้งในต้าน
วิชาความรู้ ทั้งในด้านจิตใจและความประพฤติ คุณภาพของผู้เรียนนั้นนอกจากจะเกี่ยวข้องกับ
องค์ ป ระกอบในตั ว ผู ้ เ รี ย นเอง เช่ น ความพร้ อ ม สติ ป ั ญ ญา เจตคติ และสภาพ แวดล้ อ มอื ่ น ๆ
กระบวนการเรียนการสอนที่ครูจัดให้ก็นับว่าเป็นสิ่งสำคัญยิ่งต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน
เช่นกันโดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำนวัตกรรมต่าง ๆมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียน
สามารถเรียนรู้เข้าใจในสิ่งที่ต้องการให้รู้การส่งเสริมให้ผู้สอนได้เข้าใจถึงแนวทางการสอนอย่างมี
ประสิทธิภาพจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง สุมิตร คุณากร (2542) ได้ให้ความหมายของการสอนไว้ว่า การ
สอนมิได้ หมายถึง การให้วิชาความรู้หรือเนื้อหาเท่านั้นแต่ยังรวมถึงการช่วยให้เด็กได้คิด โดยการถาม
คำถามเด็ก การแนะนำแนะแนวเพื่อช่วยเด็กแก้ปัญหา การให้ความช่วยเหลือแก่เด็กด้านต่าง ๆ และ
นอกจากนี้ ทิศนา แขมมณี (2552) ยังได้กล่าวไว้ว่า การสอนคือการที่บุคคลผู้หนึ่ง (ครู นำเอา
ความรู้สึกนึกคิดและชีวิตของตนเองมาเผยแพร่ให้อีกบุคคลหนึ่ง (ผู้เรียน) ทราบ เพื่อให้ผู้เรียนได้
พิจารณาและเลือกสรรเอาคุณสมบัติ ทัศนคติ และค่านิยมมายึดถือเป็นของตนเองและปฏิบัติตาม
การที่ครูจะสามารถปฏิบัติงานการสอนได้ดีขึ้นอยู่กับความสามารถในการผสมผสานกับ
ศาสตร์อื่น ๆ ว่าด้วยการสอนกับศิลปะของการสอนเข้าด้วยกันเพื่อให้เกิดประสิทธิผลของการสอน
สูงสุด ซึ่งวิธีสอน/เทคนิคการสอนของครู ไม่สามารถกล่าวได้ว่าวิธีใดเป็นวิธีสอนที่ดีที่สุดเพราะการ
เรียนการสอนนั้นจะต้องขึ้นกับองค์ประกอบหลายประการ ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของครูที่จะต้อง
ตัดสินใจเลือกวิธีการสอนตามความเหมาะสมของสภาพที่เป็นอยู่ควรนำเทคนิคต่าง ๆ มากระตุ้นและ
ปลุกเร้าเพื่อเลือกความสนใจของผู้เรียนโดยพิจารณาให้เหมาะสมกับเนื้อหาและเวลาที่กำหนดให้ และ
การเลือกวิธีการสอนนั้นผู้สอนสามารถจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้หลากหลายวิธีและสามารถ
เลือกใช้ได้ตามความเหมาะสมกับผู้เรียนกับแต่ละสถานการณ์และแต่ละสิ่งแวดล้อมเนื่องจากการสอน
มีหลากหลายรูปแบบ ครูผู้สอนจึงจำเป็นต้องเลือกวิธีสอนให้สอดคล้องกับกิจกรรมการเรียนการสอน
กระบวนการสอนแบบใช้สื่อแบบจำลองเป็นรูปแบบที่ มุ่งให้ผู้เรียนได้คันพบคำตอบด้วยตนเอง จาก
การสังเกตการนำข้อมูลมาอธิบายพยากรณ์ ทดสอบ และการนำความรู้ไปใช้ จึงทำให้ระบบการสอน
แบบใช้สื่อจำลองเรื่อง แรงเสียดทาน เป็นการสร้างคุณภาพให้ผู้เรียนในลักษณะเสริมทักษะเป็นวิธี

 

เรียนรู้จากประสบการณ์ตรงการเรียนการสอนวิชากลศาสตร์เครื่องมือกล เรื่อง แรงเสียดทานของ


นักเรียนระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 โดยการสอนแบบปกติมีครูผู้สอนเป็นผู้บรรยาย
โดยใช้สื่อหนังสือเรียน และเอกสารประกอบการสอนนั้น เป็นสิ่งที่ผู้เรียนคุ้นชินอยู่แล้ว โดยลักษณะ
ของวิชากลศาสตร์เครื่องมือกล เป็นไปในลักษณะที่ต้องอาศัยทักษะทั้งด้านความเข้าใจกับความจำและ
การคิดวิเคราะห์และคำนวณอย่างมาก ทำให้ผู้เรียนเกิดอาการเบื่อหน่าย ไม่สนใจในการเรียนและทำ
ให้ผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนโดยภาพรวมลดลง ดังนั้น จึงควรมีการค้นหาวิธีการสอนแบบใหม่ทดแทน
แบบเดิมที่ผู้เรียนคุ้นเคย และ สร้างความสนใจให้กับผู้เรียนให้สามารถเรียนได้อย่างมีความสุข ผู้วิจัย
จึงได้นำแนวคิดวิธีการสอนโดยใช้สื่อจำลอง เรื่อง แรงเสียดทาน มาทดลองใช้กับนักเรียนซึ่งสื่อจำลอง
เรื่อง แรงเสียดทาน จะได้ผลหรือไม่นั้นจะต้องมีการทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พรเพ็ญ ฤทธิลัน
(2554) กล่าวว่า การประเมินก่อนมีการเรียนการสอน เป็นการประเมินเพื่อตรวจสอบว่าองค์ประกอบ
ก่อนจัดให้มีการเรียนการสอนทั้งทางตรงและทางอ้อม ส่วนการประเมินขณะทำการเรียนการสอน
เพื่อปรับปรุงการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพสูงสุดและการประเมินผลเมื่อสิ้นสุดการเรียนกรสอน
เป็นการประเมินตรวจสอบโดยสรุปของการเรียนการสอนว่าเมื่อครบระยะเวลาที่กำหนดนักเรียนมี
ความสำเร็จในการเรียนรู้มากน้อยเพียงใด
จากแนวคิด สภาพปัญหา และงานวิจัยที่กล่าวมาข้างต้น ทำให้ผู้วิจัยมีความสนใจในการนำ
การจัดการเรียนการสอนโดยใช้การจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการใช้สื่อแบบจำลอง มาใช้ในการจัดการ
เรียนการสอนวิชากลศาสตร์เครื่องมือกล เรื่อง แรงเสียดทาน ของนักเรียนระดับชั้นประกาศนียบัตร
วิชาชีพชั้นปีที่ 2 อันเป็นแนวทางที่จะช่วยส่งเสริมให้นักเรียนเกิดการรู้ ความเข้าใจมากขึ้นและสามารถ
นำไปประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการสอนให้มีประสิทธิภาพต่อไป

วัตถุประสงค์การวิจัย
1. เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชา กลศาสตร์เครื่องมือกล เรื่อง แรงเสียดทานของ
นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 โดยใช้สื่อแบบจำลอง
2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ ของคะแนนข้อสอบก่อนเรียนและหลังเรียน วิชา กลศาสตร์
เครื่องมือกล เรื่อง แรงเสียดทาน ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 โดยใช้สื่อ
แบบจำลอง
3. เพื่อประเมินความพึงพอใจนักเรียนที่เรียนโดยใช้สื่อแบบจำลอง วิชากลศาสตร์เครื่องมือ
กล เรื่องแรงเสียดทาน

 

สมมติฐานงานวิจัย
1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชากลศาสตร์เครื่องมือกล เรื่องแรงเสียดทาน ของนักเรียน
แผนกเทคนิคอุตสาหกรรม ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 หลังเรียนสูงขึ้นกว่าก่อนเรียน
2. ความพึงพอในของนักเรียนที่เรียนโดยใช้สื่อแบบจำลองโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับมากขึ้นไป

ขอบเขตการวิจัย
1. ประชากรที่ใช้ในการวิจัย
นักเรียนแผนกวิชาเทคนิคอุตสาหกรรม ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 จำนวน
14 คน
2. ตัวแปรที่ทำการศึกษา
ตัวแปรต้น
วิธีการจัดการเรียนการสอนด้วยการใช้สื่อแบบจำลอง เรื่องแรงเสียดทาน
ตัวแปรตาม
ใช้สื่อแบบจำลองได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. ระยะเวลาการดำเนินการวิจัย
15 ธันวาคม 2565 – 30 มกราคม 2566

นิยามศัพท์เฉพาะ
1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นความสามารถของนักเรียน
ในด้านต่างๆ ซึ่งเกิดจากนักเรียนได้รับประสบการณ์จากกระบวนการเรียนการสอนของครู โดยครูต้อง
ศึกษาแนวทางในการวัดและประเมินผล การสร้างเครื่องมือวัดให้มีคุณภาพ
2. สื่อการสอน (Instructional Media) หมายถึง ตัวกลางหรือสิ่งต่างๆ เช่น วัสดุ อุปกรณ์
เครื่องมือ และเทคนิควิธีการ รวมทั้งกิจกรรมต่างๆ ที่ช่วยในการถ่ายทอดเรื่องราว ความรู้ ข้อเท็จจริง
แนวคิด ตลอดจน เจตคติ จากแหล่งความรู้ หรือผู้สอนไปสู่ผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมี
ประสิทธิภาพ
3. แบบจำลอง (Model) คื อ สิ่งที่ ม นุษย์ได้สร้างขึ้นเพื่อใช้ แทนของจริง เพื ่ อ ให้ ง่ายต่อ
การศึกษา สามารถทำความเข้าใจการทำงานของระบบจริงได้ง่ายกว่าศึกษาจากระบบจริงโดยตรง
4. ความพึงพอใจ หมายถึง ระดับความรู้สึกของการแสดงออกของนักเรียนซึ่งมี 5 ระดับ คือ
มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อยและน้อยที่สุด หลังเรียนด้วยชุดการสอน

 

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. นักเรียนที่เรียนโดยใช้สื่อแบบจำลอง วิชากลศาสตร์เครื่องมือกล เรื่องแรงเสียดทาน
มีประสิทธิผลทางการเรียนรู้สูงขึ้น
2. สามารถนำรูปแบบและวิธีการวิจัยนี้ ไปใช้ในการพัฒนาสื่อการสอนในวิชาอื่นๆ ได้
3. เป็นประโยชน์สำหรับผู้สนใจงานวิจัย
 
บทที่ 2
เอกสารและงานวิจยั ที่เกี่ยวข้อง

การค้นคว้าเอกสารข้อมูลต่าง ๆ โครงงานที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย ผู้จัดทำได้ดำเนินการค้นคว้า


เอกสารที่เกี่ยวข้อง ได้สืบค้นจากหนังสือ อินเทอร์เน็ต ตำราเรียนและเอกสารแล้วสรุปรายละเอียดที่
ศึกษาดังนี้

สาระการเรียนรู้เรื่องแรงเสียดทาน
1. ความหมายของแรงเสียดทาน
แรงเสียดทาน ( Friction, ) คือ แรงที่ต้านการเคลื่อนที่ของวัตถุ มีทิศตรงข้ามกับการ
เคลื่อนที่ของวัตถุเมื่อออกแรงกระทำต่อวัตถุ แรงเสียดทานจะเกิดขึ้นระหว่างผิวสัมผัส
ดังภาพประกอบ 1

ภาพที่ 2.1 แรงที่เกิดขึ้นระหว่างผิวสัมผัสของวัตถุเมื่อ คือ แรงเสียดทานที่เกิดขึ้นระหว่าง


ผิวสัมผัส และ คือ แรงกระทำต่อวัตถุ

2. ชนิดแรงเสียดทานแบ่งเป็น 2 ชนิด
2.1 แรงเสียดทานสถิต คือแรงเสียดทานที่เกิดขึ้นเมื่อออกแรงกระทำกับวัตถุแต่
ขนาดของแรงกระทำยังไม่มากพอที่จะทำให้วัตถุเคลื่อนที่ได้ ขนาดของแรงเสียดทาน
จะเท่ากับขนาดของแรงกระทำ สังเกตว่าแรงเสียดทานสถิตจะมีค่าได้หลายค่าแปรตามแรงที่กระทำ
ตราบที่ วัตถุยังคงหยุดนิ่ง และจะมีค่าสูงสุดได้ค่าหนึ่งก่อนที่วัตถุจะเริ่มเคลื่อนที่
2.2 แรงเสียดทานจลน์ คือแรงเสียดทานที่มีค่ามากสุดพอดีที่จะทำให้วัตถุที่ถูกแรง
กระทำเคลื่อนที่ในสภาวะสมดุล (ความเร็วคงที่)
ดังนั้นสรุปได้ว่าวัตถุจะหยุดนิ่งเมื่อแรงกระทำเท่ากับหรือน้อยกว่าแรงเสียดทานสูงสุดโดย
แรงเสียดทานจะเปลี่ยนไปตามแรงที่กระทำ ซึ่งแรงที่กระทำสูงสุดเมื่อวัตถุหยุดนิ่งเราจะเรียก แรง
เสียดทานนั้นว่า แรงเสียดทานสถิต และวัตถุจะเคลื่อนที่เมื่อแรงกระทำมากกว่าแรงเสียดทานสูงสุด

 

ขณะที่วัตถุเคลื่อนที่ด้วยความเร่งเราจะเรียกแรงเสียดทานนั้นว่า แรงเสียดทานจลน์โดยภาพประกอบ
2 จะแสดงความสัมพันธ์ระหว่างแรงเสียดทาน และแรงกระทำ พบว่าเมื่อวัตถุหยุดนิ่ง แรงเสียดทาน
สถิตจะมีค่าเท่ากับแรงกระทำ และเมื่อเพิ่มแรงกระทำมากขึ้นแรงเสียดทานสถิตจะมีค่าสูงสุดจากนั้น
เมื่อวัตถุเคลื่อนที่จะทำให้แรงเสียดทานมีค่าลดลง ในช่วงนี้แรงกระทำจะมีค่ามากกว่าแรงเสียดทาน
จลน์ ทำให้มวลเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงความเร็วจนเกิดความเร่งขึ้น ในช่วงแรกของการเคลื่อนที่พบว่า
ถ้าเพิ่มแรงกระทำไม่ทำให้แรงเสียดทานจลน์เกิดการเปลี่ยนแปลง แต่เมื่อแรงกระทำมีค่าเพิ่มสูงมากๆ
จะส่งผลให้แรงเสียดทานจลน์มีค่าลดลง

ภาพที่ 2.2 ความสัมพันธ์ระหว่างแรงที่กระทำและแรงเสียดทาน

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
หมายถึง สิ่งที่สามารถบอกถึงผลสำเร็จในการจัดการเรียนการสอน คือ ผลการเรียนของ
ผู้เรียนซึ่งจะทราบได้จากการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนนั่นเอง มีนักการศึกษาได้ให้ความหมายของ
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไว้ ดังนี้
ปราณี กองจินดา (2549 : 42) กล่าว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง ความสามารถหรือ
ผลสำเร็จที่ได้รับจากกิจกรรมการเรียนการสอนเป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและประสบการณ์
เรียนรู้ทางด้านพุทธิพิสัย จิตพิสัย และทักษะพิสัย และยังได้จำแนกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไว้ตาม
ลักษณะของวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอนที่แตกต่างกัน
รสริน พันธุ (2550 : 37) กล่าวว่า ความหมายของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง ผลของ
การเรียนการสอนหรือความสามารถของบุคคลอันเกิดจากการได้รับการฝึกฝน สั่งสอนในด้านความรู้
และทักษะที่ได้พัฒนาขึ้นตามลาดับขั้นในวิชาต่าง ๆ

 

ศิริพร สะอาดล้วน (2551 : 28) กล่าวว่า ความหมาย ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นผลรวมของ


มวลประสบการณ์ที่ได้รับจากการเรียนรู้ ในด้านของทักษะ ความรู้ ความสามารถ ซึ่งผลการเรียนรู้นั้น
สามารถแสดงออกมาได้และสามารถที่จะวัดได้
สุพัตรา เกษมเรืองกิจ (2551 : 32) กล่าวว่า ความหมาย ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง
ความรู้ ความเข้าใจ ความสามารถในการแก้ปัญหาและทักษะทางวิชาการรวมทั้งสมรรถภาพทางสมอง
ด้านต่าง ๆ ที่ได้จากการอบรมสั่งสอนและวัดได้โดยอาศัยเครื่องมือและวิธีการที่หลากหลาย
สิริสรณ์ สิทธิรินทร์ (2554 : 18) กล่าวว่า ความหมายผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง
ความสำเร็จทางการเรียนของบุคคลที่วัดได้จากระบวนการทดสอบหรือกระบวนการที่ไม่ต้องอาศัยการ
ทดสอบด้วยวิธีการอย่างหลากหลาย เช่น การตรวจผลงานของผู้เรียน การสังเกตพฤติกรรม เป็นต้น
กูด (Good, 1993 : 7 อ้างถึงใน รสริน พันธุ, 2550 : 42) กล่าวว่า ผลสัมฤทธิ์ คือ การทำให้
สำเร็จ (accomplishment) หรือประสิทธิภาพทางด้านการกระทาที่กำหนดให้ หรือในด้านความรู้
ส่วนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง การซึ้งความรู้ (knowledge attained) การพัฒนาทักษะใน
การเรียน ซึ่งอาจจะพิจารณาจากคะแนนสอบที่กำหนดให้ คะแนนที่ได้จากงานที่ครูมอบหมายให้ หรือ
ทั้งสองอย่าง
สรุปได้ว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหมายถึง ความสำเร็จความสามารถของบุคคลในด้าน
ต่าง ๆ ทั้งด้านความรู้ทักษะกระบวนการตลอดจนค่านิยมความเห็นต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นหลังจากผ่าน
กระบวนการเรียนการสอนการฝึกฝนอบรมมาแล้ว
1. พฤติกรรมที่ตอ้ งการทำการวัดประเมินผูเ้ รียน
1.1 ด้านความรู้ความจำ หมายถึง ความสามารถในการระลึกถึงสิ่งที่เคยเรียนรู้มาแล้ว
เกี่ยวกับข้อเท็จจริงศัพท์นิยาม มโนทัศน์ ข้อตกลง การจัดประเภท เทคนิควิธีการ หลักการ กฎ ทฤษฎี
และแนวคิดที่สำคัญทางด้านวิทยาศาสตร์ นักเรียนที่มีความสามารถในด้านนี้ จะแสดงออกโดย
สามารถให้คำจำกัดความหรือนิยาม เล่าเหตุการณ์ จดบันทึก เรียกชื่ออ่านสัญลักษณ์ และระลึก
ข้อสรุปได้ การวัดพฤติกรรมด้านความรู้ความจำลักษณะของข้อสอบจะถามเกี่ยวกับความรู้ความจำไม่
เกินร้อยละยี่สิบของข้อสอบทั้งหมด
1.2 ด้านความเข้าใจ หมายถึง ความสามารถในการอธิบาย การแปลความ การตีความ
สร้างข้อสรุป ขยายความ นักเรียนมีความสามารถในด้านนี้จะแสดงออกโดยสามารถเปรียบเทียบแสดง
ความสัมพันธ์ การอธิบายชี้แนะการจำแนกเข้าหมวดหมู่ ยกตัวอย่าง ให้เหตุผล จับใจความเขียน
ภาพประกอบ ตัดสินเลือก แสดงความเห็น อ่านกราฟแผนภูมิและแผนภาพได้

 

พฤติกรรมความเข้าใจ แบ่งออกเป็น 3 ระดับ


1. ความสามารถอธิบายความเข้าใจต่าง ๆ ได้ด้วยตนเอง
2. ความสามารถจำแนกหรือระบุความรู้ได้เมื่อปรากฏในรูปสถานการณ์ใหม่
3. ความสามารถแปลความรู้จากสัญลักษณ์หนึ่งไปสู่อีกสัญลักษณ์หนึ่ง
การวัดพฤติกรรมความเข้าใจ
ลักษณะของข้อสอบจะถามให้นักเรียนอธิบายหรือบรรยายความรู้ต่างๆด้วยคำพูด
ของตัวหรือให้ระบุข้อเท็จจริง มโนทัศน์ หลักการ กฎ หรือทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง กับสถานการณ์ที่
กำหนดให้หรือให้แปลความหมายสถานการณ์ ที่กำหนดให้ซึ่งอาจอยู่ในรูปของข้อความ สัญลักษณ์
รูปภาพ หรือแผนภาพ
1. ด้านการนำไปใช้ เป็นการวัดความสามารถด้านการนำเอาความรู้ความเข้าใจ มา
ประยุกต์ใช้ หรือแก้ปัญหาในเหตุการณ์ หรือสถานการณ์ใหม่ได้อย่างเหมาะสม การเขียนคำถามใน
ระดับนี้อาจเขียนคำถามความสอดคล้องระหว่างวิชาและการปฏิบัติ ถามให้อธิบาย หลักวิชา ถามให้
แก้ปัญหา ถามเหตุผลของภาคปฏิบัติ
2. ด้ า นการวิ เ คราะห์ เป็ น การวั ด ความสามารถในการแยกแยะหรื อ แจกแจง
รายละเอียดของเรื่องราวความคิด การปฏิบัติออกเป็นระดับย่อย ๆ โดยอาศัยหลักการหรือกฎเกณฑ์
ต่างๆ เพื่อค้นพบข้อเท็จจริงและคุณสมบัติบางประการ คำถามระดับการวิเคราะห์ แบ่งออก 3
ประเภท คือ การวิเคราะห์ความสำคัญ การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ และการวิเคราะห์หลักการ
3. ด้านการสังเคราะห์ เป็นการวัดความสามารถในการรวบรวมและผสมผสานใน
ด้านรายละเอียดหรือเรื่องราวปลีกย่อย ของข้อมูลสร้างเป็นสิ่งใหม่ที่แตกต่างจากเดิม ความสามารถ
ดังกล่าวเป็นพื้นฐานของความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ คำถามระดับนี้แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ การ
สังเคราะห์ข้อความ การสังเคราะห์แผนงานการสังเคราะห์ความสัมพันธ์
4. ด้านการวัดและประเมินค่า เป็นการวัดความสามารถในด้านการสรุปค่าหรือตี
ราคา เกี่ยวกับเรื่องราวความคิด พฤติกรรมว่าดี-เลว เหมาะสม-ไม่เหมาะสม เพื่อหาจุดประสงค์บาง
ประการมาอ้างโดยใช้เกณฑ์ภายในและการประเมินโดยใช้เกณฑ์ภายนอก
ดังนั้นการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ จะเป็นไปตามแนวคิดของ Bloom โดย
เป็นการวัดพฤติกรรมการเรียนรู้ทั้งหมด 6 ด้าน คือความรู้ความจำ ด้านความเข้าใจ ด้านการนำไปใช้
ด้านการวิเคราะห์ ด้านการประเมินค่า ซึ่งผู้วิจัยใช้เป็นแนวทางในการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
รายวิชาชีววิทยาในการวิจัยครั้งนี้

 

2. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
พิชิต ฤทธิ์จรูญ (2545 : 96) กล่าวว่า แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง
แบบทดสอบที่ใช้วัดความรู้ ทักษะ และความสามารถทางวิชาการที่นักเรียนได้เรียนรู้มาแล้วว่า
บรรลุผลสำเร็จตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้เพียงใด
สิริพร ทิพย์คง (2545 : 193) กล่าวว่า แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึงชุด
คำถามที่มุ่งวัดพฤติกรรมการเรียนของนักเรียนว่ามีความรู้ ทักษะ และสมรรถภาพด้านสมองด้านต่างๆ
ในเรื่องที่เรียนรู้ไปแล้วมากน้อยเพียงใด
สมพร เชื้อพันธ์ (2547 : 59) กล่าวว่า แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง
แบบทดสอบหรือชุดของข้อสอบที่ใช้วัดความสำเร็จหรือความสามารถในการทำกิจกรรมการเรียนรู้
ของนักเรียนที่เป็นผลมาจากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครูผู้สอนว่าผ่านจุดประสงค์การ
เรียนรู้ที่ตั้งไว้เพียงใด
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนประเภททีค่ รูสร้างมีหลายแบบ
แต่ที่นิยมใช้มี 6 แบบ ดังนี้
1. ข้ อสอบอัตนั ยหรือความเรี ยง (Subjective or Essay test) เป็ นข้อสอบที ่ม ี เฉพาะ
คำถาม แล้วให้นักเรียนเขียนตอบอย่างเสรี เขียนบรรยายตามความรู้และเขียนข้อคิดเห็นของแต่ละคน
2. ข้อสอบแบบกาถูก-ผิด (True-false test) คือข้อสอบแบบเลือกตอบที่มี 2 ตัวเลือกแต่
ตัวเลือกดังกล่ าวเป็ นแบบคงที ่และมีความหมายตรงกันข้าม เช่น ถูก-ผิด ใช่ - ไม่ ใช่ จริ ง-ไม่จริง
เหมือนกัน-ต่างกัน เป็นต้น
3. ข้อสอบแบบเติมคำ (Completion test) เป็นข้อสอบที่ประกอบด้วยประโยค หรือ
ข้อความที่ยังไม่สมบูรณ์แล้วให้ตอบเติมคำหรือประโยค หรือข้อความลงในช่องว่างที่เว้นไว้นั้นเพื่อให้มี
ใจความสมบูรณ์และถูกต้อง
4. ข้อสอบแบบตอบสั้นๆ (Short answer test) เป็นข้อสอบที่คล้ายกับข้อสอบ แบบเติม
คำ แต่แตกต่างกันที่ข้อสอบแบบตอบสั้นๆเขียนเป็นประโยคคำถามสมบูรณ์ (ข้อสอบเติมคำเป็น
ประโยคหรือข้อความที่ยังไม่สมบูรณ์) แล้วให้ผู้ตอบเขียนตอบ คำตอบที่ต้องการจะสั้นและกะทัดรัดได้
ใจความสมบูรณ์ไม่ใช่เป็นการบรรยายแบบข้อสอบอัตนัยหรือความเรียง
5. ข้อสอบแบบจับคู่ (Matching test) เป็นข้อสอบแบบเลือกตอบชนิดหนึ่งโดยมีค่าหรือ
ข้อความแยกออกจากกันเป็น 2 ดูแล้วให้ผู้ตอบเลือกจับคู่ว่าแต่ละข้อความในชุดหนึ่งจะคู่กับคำหรือ
ข้อความใดในอีกชุดหนึ่งซึ่งมีความสัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ผู้ออกข้อสอบกำหนดไว้
6. ข้อสอบแบบเลือกตอบ (Multiple choice test) คำถามแบบเลือกตอบโดยทั่วไปจะ
ประกอบด้วย 2 ตอน คือ ตอนนำหรือคำถาม (Stem) กับตอนเลือก (Choice) ในตอนเลือกนั้นจะ
ประกอบด้วยตัวเลือกที่เป็นคำตอบถูกและตัวเลือกลวง ปกติจะมีคำถามที่กำหนดให้พิจารณา แล้วหา
10 
 

ตัวเลือกที่ถูกต้องมากที่สุดเพียงตัวเลือกเดียวจากตัวเลือกอื่นๆและคำถามแบบเลือกตอบที่ดีนิยมใช้
ตัวเลือกที่ใกล้เคียงกัน
ดังนั้นในการสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จึงเป็นวิธีการวัดประเมินผลการ
เรียนรู้ซึ่งมีการสร้างแบบทดสอบหลากหลายได้แก่ ข้อสอบอัตนัยหรือความเรียงข้อสอบแบบกาถูกกา
ผิดข้อสอบแบบเติมคำ ข้อสอบแบบตอบสั้นๆ ข้อสอบแบบจับคู่ และข้อสอบแบบเลือกตอบ ในการ
วิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบเลือกตอบเนื่องจากเป็นแบบทดสอบ
ที่สามารถวัดพฤติกรรมทั้ง 6ด้านได้แก่ ด้านความรู้ ด้านความเข้าใจ ด้านการนำไปใช้ ด้านการ
วิเคราะห์ ด้านการสังเคราะห์และด้านการประเมินค่า
3. ลักษณะของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ที่ดี
นักการศึกษาหลายท่านได้กล่าวถึงลักษณะของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ที่ดี (สิริพร ทิพย์คง.
2545: 195;พิชิต ฤทธิ์จรูญ. 2545: 135 - 161)
3.1 ความเที่ยงตรง เป็นแบบทดสอบที่สามารถนำไปวัดในสิ่งที่เราต้องการวัดได้อย่าง
ถูกต้อง ครบถ้วน ตรงตามจุดประสงค์ที่ต้องการวัด
3.2 ความเชื่อมั่น แบบทดสอบที่มีความเชื่อมั่น คือ สามารถวัดได้คงที่ไม่ว่าจะวัดกี่ครั้งก็
ตาม เช่ น ถ้ า นำแบบทดสอบไปวั ด กั บ นั ก เรี ย นคนเดิ ม คะแนนจากการสอบทั ้ ง สองครั ้ ง ควรมี
ความสัมพันธ์กันดี เมื่อสอบได้คะแนนสูงในครั้งแรกก็ควรได้คะแนนสูงในการสอบครั้งที่สอง
3.3 ความเป็นปรนัย เป็นแบบทดสอบที่มีคำถามชัดเจน เฉพาะเจาะจง ความถูกต้องตาม
หลักวิชา และเข้าใจตรงกัน เมื่อนักเรียนอ่านคำถามจะเข้าใจตรงกัน ข้อคำถามต้องชัดเจนอ่านแล้ว
เข้าใจตรงกัน
3.4 การถามลึก หมายถึง ไม่ถามเพียงพฤติกรรมขั้นความรู้ความจำ โดยถามตามตำรา
หรือถามตามที่ครูสอน แต่พยายามถามพฤติกรรมขั้นสูงกว่าขั้นความรู้ความจำได้แก่ ความเข้าใจการ
นำไปใช้ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์และการประเมินค่า
3.5 ความยากง่ายพอเหมาะ หมายถึง ข้อสอบที่บอกให้ทราบว่าข้อสอบข้อนั้นมีคนตอบ
ถูกมากหรือตอบถูกน้อย ถ้ามีคนตอบถูกมากข้อสอบข้อนั้นก็ง่ายและถ้ามีคนตอบถูกน้อยข้อสอบข้อ
นั้นก็ยาก ข้อสอบที่ยากเกินความสามารถของนักเรียนจะตอบได้นั้นก็ไม่มีความหมาย เพราะไม่
สามารถจำแนกนักเรียนได้ว่าใครเก่งใครอ่อนในทางตรงกันข้ามถ้าข้อสอบง่ายเกินไปนักเรียนตอบได้
หมด ก็ไม่สามารถจำแนกได้เช่นกัน ฉะนั้นข้อสอบที่ดีควรมีความยากง่ายพอเหมาะ ไม่ยากเกินไปไม่
ง่ายเกินไป
11 
 

3.6 อำนาจจำแนก หมายถึง แบบทดสอบนี้สามารถแยกนักเรียนได้ว่าใครเก่งใครอ่อน


โดยสามารถจำแนกนักเรียนออกเป็นประเภทๆ ได้ทุกระดับอย่างละเอียดตั่งแต่อ่อนสุดจนถึงเก่งสุด
3.7 ความยุติธรรม คำถามของแบบทดสอบต้องไม่มีช่องทางชี้แนะให้นักเรียนที่ฉลาดใช้
ไหวพริบในการเดาได้ถูกต้องและไม่เปิดโอกาสให้นักเรียนที่เกียจคร้านซึ่งดูตำราอย่างคร่าวๆตอบได้
และต้องเป็นแบบทดสอบที่ไม่ลำเอียงต่อกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
สรุปได้ว่า แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ที่ดี ต้องเป็นแบบทดสอบที่มีความเที่ยงตรงความ
เชื่อมั่น ความเป็นปรนัย ถามลึก มีความยากง่ายพอเหมาะ มีค่าอำนาจจำแนก และมีความยุติธรรม

แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับสื่อการสอน
ชวลิต เข่งทอง (ม.ป.ป.) กล่าวว่า สื่อการเรียนการสอน นับเป็นองค์ประกอบที่สำคัญมาก
ประการหนึ่งในกระบวนการเรียนการสอน สื่อการเรียนการสอนก็คือตัวกลางหรือช่องทาง ที่ใช้ในการ
นำเรื่องราวข้อมูลข่าวสารจากผู้สอนไปสู่ผู้เรียน เพื่อทำให้การเรียนรู้หรือการเรียนการสอนบรรลุผล
สำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายที่วางไว้ได้เป็นอย่างดี จึงอาจกล่าวได้ว่า สื่อการเรียนการสอน
นับได้ว่าเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่จะทำให้การเรียนการสอนดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพสื่อ
การเรียนการสอนมีหลายประเภท แต่ละประเภทก็มีคุณลักษณะหรือคุณสมบัติต่างกันไป ผู้สอนที่
ตระหนักในคุณค่าของสื่อการเรียนการสอน จะต้องศึกษาให้เข้าใจถึงเงื่อนไขการเลือกใช้สื่อ และใช้
งานได้อย่างถูกต้องเต็มตามประสิทธิภาพของสื่อการเรียนการสอนนั้น ๆ
1. คุณค่าของสื่อการเรียนการสอน
1.1 คุณค่าด้านวิชาการ
1.1.1 ทำให้ผู้เรียนรับประสบการณ์ตรง และเรียนรู้ได้มากกว่าที่ไม่ใช้สื่อการสอน
1.1.2 ลักษณะที่เป็นรูปธรรมของสื่อการสอน ช่วยทำให้ผู้เรียนเข้าใจความหมายของ
สิ่งต่างๆ ได้ดีขึ้นและยังช่วยส่งเสริมด้านความคิดและการแก้ปัญหาอีกด้วย
1.1.3 ผลจากการสรุปวิจัยสรุปได้ว่า สื่อการสอนให้ประสบการณ์ที่เป็นจริงแก่ผู้เรียน
ทำให้ผู้เรียนเรียนรู้อย่างถูกต้อง ทั้งยังช่วยให้ผู้เรียนจดจำเรื่องราว ต่างๆได้มาก และจำได้นาน
1.1.4 สื่อการสอนบางชนิด เช่น ภาพยนตร์ ภาพนิ่ง จะช่วยเร่งทักษะในการเรียนรู้
1.2 คุณค่าทางด้านจิตวิทยาการเรียนรู้
1.2.1 สื่อการสอนทำให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ และต้องการเรียนรู้สิ่งต่างๆ มากขึ้น
เช่น การอ่านความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ จินตนาการ เจตคติ การแก้ปัญหาและความซาบซึ้งทางศิลปะ
1.2.2 สื่อการสอนทำให้ผู้เรียนเกิดความคิดรวบยอดเป็นอย่างเดียวกัน ทั้งมีเจตคติที่
ดีต่อการเรียนด้วย
12 
 

1.2.3 สื่อการสอนเร้าให้ผู้เรียนเกิดความพอใจ และยั่วยุให้กระทำกิจกรรมด้วย


ตนเอง
1.3 คุณค่าทางเศรษฐกิจการศึกษา
1.3.1 สื่อการสอนช่วยให้นักเรียนที่เรียนช้าเรียนได้เร็วและมากขึ้น
1.3.2 ถ้าใช้สื่อการสอนจะช่วยขจัดความสิ้นเปลือง และยังช่วยให้ครูที่สอยดีอยู่แล้ว
สอนได้ดียิ่งขึ้น
1.3.3 สื่อการสอนช่วยประหยัดคำพูดและเวลาของครู
1.3.4 สื่อการสอนช่วยขจัดปัญหาเรื่องสถานที่ เวลาและระยะทาง
1.3.5 สื่อการสอนช่วยลดการตกซ้ำชั้นของนักเรียนได้จำนวนมาก
2. ประโยชน์ของสื่อการเรียนการสอน
สื่อการเรียนการสอนสามารถใช้ประโยชน์ได้ทั้งผู้เรียนและผู้สอนดังต่อไปนี้
2.1 สื่อกับผูเ้ รียน
2.1.1 เป็นสิ่งที่ช่วยให้การเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะจะช่วยให้ผู้เรียนเกิด
ความเข้าใจเนื้อหาบทเรียนที่ยุ่งยากซับซ้อนได้ง่ายขึ้นในระยะเวลาอันสั้น และสามารถช่วยให้เกิด
ความคิดรวบยอดในเรื่องนั้นได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว
2.1.2 สื่อจะช่วยกระตุ้นและสร้างความสนใจให้กับผู้เรียน ทำให้เกิดความสนุกสนาน
และไม่รู้สึกเบื่อหน่ายการเรียน
2.1.3 การใช้สื่อจะทำให้ผู้เรียนมีความเข้าใจตรงกัน และเกิดประสบการณ์ร่วมกันใน
วิชาที่เรียนนั้น
2.1.4 ช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอนมากขึ้น ทำให้เกิดมนุษย
สัมพันธ์อันดีในระหว่างผู้เรียนด้วยกันเองและกับผู้สอนด้วย
2.1.5 ช่วยสร้างเสริมลักษณะที่ดีในการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ ช่วยให้ผู้เรียนเกิด
ความคิดสร้างสรรค์จากการใช้สื่อเหล่านั้น
2.1.6 ช่วยแก้ปัญหาเรื่องของความแตกต่างระหว่างบุคคลโดยการจัดให้มีการใช้สื่อ
ในการศึกษารายบุคคล
2.2 สื่อกับผู้สอน
2.2.1 การใช้สื่อวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ประกอบการเรียนการสอน เป็นการช่วยให้
บรรยากาศในการสอนน่าสนใจยิ่งขึ้น ทำให้ผู้สอนมีความสนุกสนานในการสอนมากกว่าวิธีการที่เคยใช้
การบรรยายแต่เพียงอย่างเดียว และเป็นการสร้างความเชื่อมั่นในตัวเองให้เพิ่มขึ้นด้วย
2.2.2 สื่อจะช่วยแบ่งเบาภาระของผู้สอนในด้านการเตรียมเนื้อหา เพราะบางครั้ง
อาจให้ผู้เรียนศึกษาเนื้อหาจากสื่อได้เอง
13 
 

2.2.3 เป็นการกระตุ้นให้ผู้สอนตื่นตัวอยู่เสมอในการเตรียมและผลิตวัสดุใหม่ๆ เพื่อ


ใช้เป็นสื่อการสอนตลอดจนคิดค้นเทคนิควิธีการต่างๆ เพื่อให้การเรียนรู้น่าสนใจยิ่งขึ้น
วิวรรธน์ จันทร์เทพย์ (2551) ได้กล่าวถึงประโยชน์ของสื่อการเรียนการสอนไว้ดังนี้
1. ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่
1.1 เรียนรู้ได้ดีขึ้นจากประสบการณ์ที่มีความหมายในรูปแบบต่างๆ
1.2 เรียนรู้ได้อย่างถูกต้อง
1.3 เรียนรู้ได้ง่ายและเข้าใจได้ซัดเจน
1.4 เรียนรู้ได้มากขึ้น
1.5 เรียนรู้ได้ในเวลาที่จำกัด
2. ช่วยให้สามารถเอาชนะข้อจำกัดต่าง ๆ ในการเรียนรู้ ได้แก่
2.1 ทำสิ่งนามธรรมให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น
2.2 ทำสิ่งซับซ้อนให้ง่ายขึ้น
2.3 ทำสิ่งเคลื่อนไหวช้าให้เร็วขึ้น
2.4 ทำสิ่งเคลื่อนไหวเร็วให้ช้าลง
2.5 ทำสิ่งเล็กให้ใหญ่ขึ้น
2.6 ทำสิ่งใหญ่ให้เล็กลง
2.7 นำสิ่งที่อยู่ไกลมาศึกษาได้
2.8 นำสิ่งที่เกิดในอดีตมาศึกษาได้ช่วยกระตุ้นความสนใจของผู้
2.9 ช่วยให้จดจำได้นาน เกิดความประทับใจและมั่นใจในการเรียน
2.10 ช่วยให้ผู้เรียนได้คิดและแก้ปัญหา
2.11 ช่วยแก้ปัญหาเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล
ในเรื่องเดียวกันนี้ ชวลิต เข่งทอง (ม.ป.ป.) ยังได้กล่าวถึงประโยชน์ของสื่อการเรียนการสอน
ในลั กษณะของข้ อพิจ ารณาว่ า ทำไมผู้ส อนจึ งควรนำสื ่อ การเรีย นการสอนมาใช้ โดยได้กล่ า วไว้
หลากหลายประเด็นที่มีความน่าสนใจ อันได้แก่
1. ช่วยให้คุณภาพการเรียนรู้ดีขึ้น เพราะมีความจริงจังและมีความหมายชัดเจนต่อผู้เรียน
2. ช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในปริมาณมากขึ้น ในเวลาที่กำหนดไว้จำนวนหนึ่ง
3. ช่วยให้ผู้เรียนสนใจ และมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในกระบวนการเรียนการสอน
4. ช่วยให้ผู้เรียนจำ ประทับความรู้สึกได้รวดเร็วและดีขึ้น
5. ช่วยส่งเสริมการคิดและการแก้ปัญหาในกระบวนการเรียนการสอน
6. ช่วยให้สามารถเรียนรู้ในสิ่งที่เรียนได้ยากลำบาก ให้มีความเป็นไปได้โดย
6.1 การทำสิ่งที่ซับซ้อนให้ง่ายขึ้น
14 
 

6.2 การทำนามธรรมให้เป็นรูปธรรมขึ้น
6.3 การทำสิ่งที่เคลื่อนไหวหรือเปลี่ยนแปลงช้า ให้ดูเร็วขึ้น
6.4 การทำสิ่งที่เคลื่อนไหวหรือเปลี่ยนแปลงเร็ว ให้ดูช้าลง
6.5 การทำสิ่งที่ใหญ่มากให้ย่อขนาดลง
6.6 การทำสิ่งที่เล็กมากให้ขยายขนาดขึ้น
6.7 การนำอดีตมาให้ผู้เรียนเห็นได้
6.8 นำสิ่งที่อยู่ไกลหรือลี้ลับมาให้ผู้เรียนศึกษาได้ เป็นการส่งเสริมการเรียนการสอนให้มี
คุณภาพดีขึ้น และยังสอดคล้องกับวิธีการสอนที่ผู้สอนพิจารณานำมาใช้
7. ช่วยให้ผู้เรียนเรียนสำเร็จง่ายขึ้น และผ่านการวัดผลได้อย่างตรงตามวัตถุประสงค์ของ
บทเรียน

แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับแบบจำลอง
1. ความหมายของแบบจำลอง
ชาตรี ฝ่ายคำตา และกรทิพย์ สุภัทรชัยวงศ์ (2557) ให้ความหมายของแบบจำลองว่าเป็นสิ่งที่
นักวิทยาศาสตร์สร้างขึ้นเพื่อใช้อธิบายแนวคิด หลักการ ทฤษฎี กฎ หรือเป็นตัวแทนของวัตถุแนวคิด
กระบวนการหรือระบบ ซึ่งเป็นสิ่งที่เชื่อมโขงระหว่างทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์กับความจริง
ชัยวิชิต เชียร ชนะ (2560) ให้ความหมายของแบบจำลองว่า เป็นโครงสร้างความสัมพันธ์ของ
ส่วนประกอบ ตัวแปร หลักการ แนวคิด ฟังก์ชัน ที่สามารถอธิบายปรากฏการณ์ ใด ๆ สามารถเรียก
แทนได้ อ ย่ า งหลากหลาย เช่ น โมเดล รู ป แบบ แบบจำลอง ตั ว แบบ โดยแปลมาจากคำศั พ ท์
ภาษาอังกฤษเพียงหนึ่งคำคือ model
วาโร เพ็งสวัสดิ์ (2553 ให้ความหมายของแบบจำลองว่า เป็นแนวทางของระบบที่ใช้
ยึดถือในการทำงาน เช่น กฎเกณฑ์หรือวิธีการดำเนินงาน เพื่อให้สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของการ
ทำงานได้
กล่าวโดยสรุปได้ว่า นักวิทยาศาสตร์สร้างแบบจำลองเพื่อเป็นตัวแทนในการอธิบายสิ่งที่มี
ความสัมพันธ์ระหว่างกัน ทำให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่างวิทยาศาสตร์กับความจริง
2. ประเภทของแบบจำลอง
2.1 แบบจำลองความคิด
แบบจำลองความคิด (อังกฤษ: Conceptual model) ในความหมายทั่วไป แบบจำลอง
หรือโมเดลใช้ในการแสดงสิ่งๆ หนึ่ง โมเดลบางตัวแสดงถึงสิ่งของที่เป็นรูปแบบเช่น โมเดลของเล่น
ขณะที่โมเดลทางความคิด ใช้ในการแสดงผ่านทางข้อความ ภาพวาด โมเดลเหล่านี้ใช่ในการช่วยแสดง
ให้ผู้อื่นได้เข้าใจถึงประเด็นหัวข้อที่ต้องการอธิบายแบบจำลองความคิดมีหลากหลายตั้งแต่แบบจำลอง
15 
 

ที่ชัดเจนเป็นรูปธรรม เช่นภาพของวัตถุที่คุ้นเคย ไปถึงภาพหรือวัตถุทางนามธรรมเช่นแบบจำลอง


คณิตศาสตร์ ซึ่งไม่สามารถวาดหรือแสดงเป็นรูปธรรมได้ แบบจำลองอาจจะแสดงถึงสิ่งของหนึ่งขึ้น
(เช่น เทพีเสภาพ) แสดงถึงสิ่งของทั้งกลุ่ม (เช่น อิเล็กตรอน) หรือแม้แต่กลุ่มของที่แสดงในภาพรวม
เช่ น ระบบจั ก รวาล โดยความหลากหลายและขอบเขตของแบบจำลองความคิ ด จะขึ ้ น อยู ่ กั บ
จุดประสงค์ของผู้จัดทำแบบจำลองนั้น
2.2 แบบจำลองทางวิทยาศาสตร์
แบบจำลองทางวิทยาศาสตร์ (scientific modeling) คือการสร้างของสิ่งหนึ่งเพื่อแทน
วัตถุ กระบวนการ ความสัมพันธ์หรือ สถานการณ์ เช่น การสร้างแบบจำลองของโครงสร้างหลังคา
เพื่อให้วิศวกร สามารถคำนวณต่างๆได้ ก่อนที่จะสร้างจริง ไม่ว่าจะเป็น แบบจำลองคณิตศาสตร์
แบบจำลองแบบไม่เป็นคณิตศาสตร์ เช่น แบบจำลองการทดสอบเชิงจิตวิทยา แบบจำลองที่เป็น
รูปธรรมหรือจับต้องได้ แบบจำลองใช้แผนภาพ เช่น แบบจำลองการเพิ่มของจำนวนกระต่ำหรือ
แบบจำลองสามมิติ
2.3 แบบจำลองทางคณิตศาสตร์
แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ (อังกฤษ: Mathematical model) เป็นการใช้คณิตศาสตร์
ในการอธิบายระบบ แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ได้ถูกใช้ทั้งในสายงานวิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์
มนุษยศาสตร์ และ เศรษฐศาสตร์ แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ยังถูยามว่าเป็นการแสดผลของส่วน
สำคัญของระบบที่มีอยู่ หรือระบบที่กำลังจะถูกสร้าง เพื่อแสดงความรู้ของระบบในรูปแบบที่สามารถ
นำมาใช้งานได้
2.4 แบบจำลองทางคอมพิวเตอร์ – คอมพิวเตอร์โปรแกรมทีท่ ำงานโดยการทดสอบ
สมมุติฐานด่าง ๆ
2.5 แบบจำลองมาตรฐาน
แบบจำลองมาตรฐาน (อังกฤษ: Standard Model) ของ ฟิสิกส์ของอนุภาคเป็นทฤษฎี
หนึ่งที่เกี่ยวข้องกับปฏิสัมพันธ์ของนิวเคลียสที่เป็นแบบแม่เหล็กไฟฟ้า, ที่อ่อนแอ, และที่แข็งแกร่ง
เช่นเดียวกับการแยกประเภทของอนุภาคย่อยของอะตอมที่เรารู้จักแล้วทั้งหมด มันถูกพัฒนาขึ้นในช่วง
ครึ่งหลังของศตวรรษที่ 20 ในฐานะที่เป็นความพยายามในความร่วมมือของนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลก 1
รูปแบบปัจจุบันได้รับการสรุปขั้นตอนสุดท้ายในช่วงกลางของทศวรรษที่ 1970 ภายใต้การยืนยันด้วย
การทดลองของการดำรงอยู่ของควาร์ก ตั้งแต่นั้นมา การค้นพบ
ทอปควาร์ก (1 995), เทานิวทริโน (2000 ), และ ฮิกส์โบซอน (2012), ได้เพิ่มเครดิต
ให้กับแบบจำลองพื้นฐาน เนื่องจากความสำเร็จของมันในการอธิบายความหลากหลายอย่างกว้างขวาง
ของผลลัพธ์จากการทดลอง แบบจำลองพื้นฐานบางครั้งถูกพิจารณาว่าเป็น "ทฤษฎีของเกือบทุกสิ่ง"
16 
 

แม้ว่าแบบจำลองมาตรฐานจะถูกเชื่อว่าจะเป็นความสม่ำเสมอในทางทฤษฎีด้วยตัวมันเอง
ก็ตามและได้แสดงให้เห็นถึงความสำเร็จอย่างใหญ่หลวงและต่อเนื่องในการให้การคาดการณ์จากการ
ทดลองที่ดี มันทิ้งปรากฏการณ์ที่อธิบายไม่ได้บางอย่างไว้ให้และมันให้ผลงานต่ำกว่าที่ประมาณการไว้
ของการเป็นทฤษฎีที่สมบูรณ์แบบของการปฏิสัมพันธ์พื้นฐาน มันไม่ได้รวบรวมทฤษฎีที่สมบูรณ์ของ
แรงโน้มถ่วงตามที่ถูกอธิบายไว้โดย'ความสัมพันธ์ทั่วไป' หรือมีส่วนรับผิดชอบในการขยายตัวแบบเร่ง
ของกรวาล (ตามที่อาจได้อธิบายไว้โดยพลังงานมืด)แบบจำลองไม่ได้ประกอบด้วยอนุภาคสสารมืดที่ใช้
การได้ใด ๆ ที่ครอบครองทั้งหมดของคุณสมบัติที่ต้องการที่ได้ข้อสรุปมาจากจักรวาลที่สังเกตการณ์
มันก็ไม่ได้รวบรวมการสั่นของนิวตัน (อังกฤษ: neutrino oscillation) (และมวลที่ไม่เป็นศูนย์ของพวก
มัน) อีกด้วย
พัฒนาการของแบบจำลองมาตรฐานถูกผลักดันโดยนักฟิสิกส์อนุภาคที่ทำงานในทาง
ทฤษฎีและการทดลองเหมือนกัน สำหรับนักทฤษฎีทั้งหลาย แบบจำลองมาตรฐานเป็นกระบนทัศน์
หนึ่งของ'ทฤษฎีสนามควอนตัม' ที่แสดงความหลากหลายของทฤษฎีฟิสิกส์ที่รวมถึง'การทำลายทาง
สมมาตรที่เกิดขึ้นเอง', ความผิดปติด้านฟิสิกส์, พฤติกรรมที่ไม่รบกวน ฯลฯ มันถูกใช้เป็นพื้นฐานสำรับ
การสร้างแบบจำลองที่แปลกใหม่มากขึ้นที่จะรวบรวม'อนุภาคสมมุติ', พวกที่มีขนาดเกินพิเศษ, และ
พวกสมมาตรซับซ้อน (เช่นซูเปอร์สมมาตร) ในความพยายามหนึ่งที่จะอธิบายผลลัพธ์จากการทดลองที่
แตกต่างกับแบบจำลองมาตรฐาน เช่นการดำรงอยู่ของสสารมืดและการสั่นของนิวตรอน
2.6 หุ่นจำลอง หรือโมเดลฟิกเยอ
วัตถุจำลองที่สร้างขึ้นมาในขนาดเดิมหรือย่อส่วนจากต้นแบบเดิม เช่นรถยนต์จำลอง เครื่องบินจำลอง
2.7 แบบจำลองสามมิติ
ในคอมพิวเตอร์กราฟฟิกส์สามมิติ การสร้างโมเดลสามมิติ หรือ 3D modeling หมายถึง
กระบวนการทางคณิตศาสตร์ในการสร้างแบบจำลองโดยอาศัยโครงสร้าง wireframe เพื่อแสดงวัตถุ
ในสามมิติทั้งแบบที่เคลื่อนไหวได้และไม่เคลื่อนไหว โดยใช้ซอฟต์แวร์สามมิติสร้างขึ้น เพื่อให้ได้ผลลัพธ์
ออกมาเป็น โมเดลสามมิติ ซึ ่ งสามารถนำมาแสดงผลด้ วยกระบวนการ 3D rendering หรื อ 3D
projection หรือ การพิมพ์ 3 มิติ (3D printing) ที่ใช้สร้างวัตถุที่จับต้องได้จริงๆได้ โมเดลสามมิตินี้
อาจถูกสร้างขึ้นโดยอัตโนมัติหรือโดยใช้คนทำขึ้นทั้งนี้ การสร้างแบบจำลองสามมิติไม่จำเป็นต้องใช้
คอมพิวเตอร์ในการสร้าง แต่ใช้วิธีวาดขึ้นเช่นในการเขียนแบบทัศนียภาพก็ได้
17 
 

แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับความพึงพอใจ
1. ความหมายของความพึงพอใจ
ชริณี เดชจินดา (2535, หน้า 6) ให้ความหมายของความพึงพอใจไว้ว่า ความพึงพอใจเป็น
ความรู้สึกนึกคิดหรือทัศนคติของบุคคลที่มีต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใด หรือปัจจัยที่เกี่ยวข้องความรู้สึกพอใจจะ
เกิดขึ้นเมื่อความต้องการของบุคคลได้รับการตอบสนองหรือบรรลุจุดมุ่งหมายในระดับหนึ่ง ความรู้สึก
ดังกล่าวจะลดลงและไม่เกิดขึ้นหากความต้องการหรือจุดมุ่งหมายนั้นไม่ได้รับการตอบสนอง
สง่า ภู่ณรงค์ (2540, หน้า ๆ ได้กล่าวว่าความพึงพอใจหมายถึงความรู้สึกที่เกิดขึ้น เมื่อได้รับ
ความสำเร็จตามความมุ่งหมาย หรือเป็นความรู้สึกขั้นสุดท้ายที่ได้รับผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์
ปริญญา จเรรัชต์และคณะ (2546, หน้า 3) กล่าวไว้ว่าความพึงพอใจ หมายถึงท่าทีความรู้สึก
หรือทัศนคติในทางที่ดีของบุคคลที่มีต่อสิ่งที่ปฏิบัติร่วมปฏิบัติ หรือได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติโดย
ผลตอบแทนที่ได้รับรวมทั้งสภาพแวดล้อมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเป็นปัจจัยทำให้เกิดความพึงพอใจหรือไม่
พึงพอใจจากความหมายของความพึงพอใจดังกล่าวพอสรุปความได้ว่าความพึงพอใจเป็นทัศนคติอย่าง
หนึ่ง ที่เป็นนามธรรมเป็นความรู้สึกส่วนตัวทั้งทางค้านบวกและลบขึ้นอยู่กับการได้รับการตอบสนอง
เป็นสิ่งที่กำหนดพฤติกรรม ในการแสดงออกของบุคคลที่มีผลต่อการเลือกที่จะปฏิบัติสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
2. แนวความคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวกับความพึงพอใจ
วิชัย เหลืองธรรมชาติ (2331, หน้า 1) ได้ให้แนวความคิดเกี่ยวกับความพึงพอใจว่า ความพึง
พอใจมีส่วนเกี่ยวข้องกับความต้องการของมนุษย์ คือพึงพอใจจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อความต้องการของ
มนุษย์ได้รับการตอบสนองซึ่งมนุษย์ไม่ว่าอยู่ในที่ใดย่อมมีความต้องการขั้นพื้นฐานไม่ต่างกัน
สุเทพ พานิชพันธุ์ (2541, หน้า 5) ได้สรุปถึงสิ่งจูงใจที่ใช้เป็นเครื่องมือกระตุ้นให้บุคคลเกิด
ความความพึงพอใจไว้ดังนี้
2.1 สิ่งจูงใจที่เป็นวัตถุได้แก่เงินสิ่งของเป็นต้น
2.2 สภาพทางกายที่ปรารถนา คือสิ่งแวดล้อมในการประกอบกิจกรรมต่างๆซึ่งเป็นสิ่ง
สำคัญอย่างหนึ่งอันก่อให้เกิดความสุขทางกาย
2.3 ผลประ โยชน์ทางอุคมคติ หมายถึงสิ่งต่างๆที่สนองความต้องการของบุคคล
2.4 ผลประ โยชน์ทางสังคม คือความสัมพันธ์ฉันท์มิตรกับผู้ร่วมกิจกรรมอันจะทำให้เกิด
ความผูกพันความพึงพอใจ และสภาพการอยู่ร่วมกันอันเป็นความพึงพอใจของบุคคลในค้านสังคมหรือ
ความมั่นคงในสังคมซึ่งจะทำให้รู้สึกมีหลักประกันและมีความมั่นคงในการประกอบกิจกรรม
ความพึงพอใจเป็นความรู้สึกที่ดีที่ชอบที่พอใจหรือที่ประทับใจของบุคคลต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่
ได้รับโดยสิ่งนั้นสามารถตอบสนองความต้องการทั้งด้นร่างกาย และจิตใจบุคคลทุกคนมีความต้องการ
หลายสิ่งหลายอย่างและมีความต้องการหลายระดับซึ่งหากได้รับการตอบสนองก็จะก่อให้เกิดความพึง
18 
 

พอใจ การจัดการเรียนรู้ใดๆที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดความพึงพอใจการเรียนรู้นั้นจะต้องสนองความ
ต้องการของผู้เรียนทฤษฎีเกี่ยวกับความต้องการที่ส่งผลต่อความพึงพอใจที่สำคัญ
3. การวัดความพึงพอใจ
ปริญญา จเรรัชต์และคณะ (2546, หน้า 5) กล่าวว่ามาตรวัดความพึงพอใจสามารถกระทำได้
หลายวิธีได้แก่
3.1 การใช้แบบสอบถาม โดยผู้สอบถามจะออกแบบสอบถามเพื่อต้องการทราบความ
คิดเห็นซึ่งสามารถทำได้ในลักษณะที่กำหนดคำตอบให้เลือก หรือตอบคำถามอิสระคำถามดังกล่าวอาจ
ถามความพึงพอใจในด้านต่างๆ เช่นการบริการการบริหารและเงื่อนไขต่างๆเป็นต้น
3.2 การสัมภาษณ์เป็นวิธีวัดความพึงพอใจทางตรงทางหนึ่งซึ่งต้องอาศัยเทคนิค และ
วิธีการที่ดีที่จะทำให้ได้ข้อมูลที่เป็นจริงได้
3.3 การสังเกตเป็นวิธีการวัดความพึงพอใจโดยสังเกตพฤติกรรมของบุคคลเป้าหมาย ไม่
ว่าจะแสดงออกจากการพูดกิริยาท่าทาง วิธีนี้จะต้องอาศัยการกระทำอย่างจริงจัง และการสังเกตอย่าง
มีระเบียบแบบแผน

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
จงกล บุ ญรอด (2557) ได้ศ ึ กษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการสร้าง
คำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ ด้วยการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้แบบจำลอง ผลการศึกษา
ปรากฎว่านักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์สูงขึ้น เนื่องจากการจัดการเรียนการสอน
โดยใช้แบบจำลองช่วยพัฒนาความเข้าใจมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ เนื่องจากการออกแบบดำเนินการ
ทดลอง เก็บรวบรวมข้อมูล เป็นการลงมือปฏิบัติและส่งเสริมการสร้างความรู้ด้วยตนเองอีกทั้งการ
แก้ไขแบบจำลองยังมีส่วนช่วยส่งเสริมการเชื่อมโยงให้นักเรียนเข้าใจหลักการทางวิทยาศาสตร์มาก
ยิ่งขึ้น เนื่องจากต้องอาศัยการเชื่อมโยงข้อมูลใหม่กับหลักการทางวิทยาศาสตร์ในการแก้ไขแบบจำลอง
และนำไปใช้เป็นตัวแทนทางความคิดในการอธิบายปรากฎการณ์ทางวิทยาศาสตร์
หนึ่งฤทัย แสงทอง (2562) ได้ศึกษาผลของการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์
โดยใช้ แ บบจำลอง ที ่ ม ี ต ่ อ ผลสั ม ฤทธิ์ ท างการเรีย นวิ ท ยาศาสตร์แ ละความสามารถในการสร้ าง
คำอธิ บ ายทางวิ ท ยาศาสตร์ ข องนั ก เรี ย นมั ธ ยมศึ ก ษาตอนต้ น มี ว ั ต ถุ ป ระสงค์ เ พื ่ อ ศึ ก ษาและ
เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นที่เรียนด้วยการ
จัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้แบบจำลอง กับนักเรียนที่เรียนด้วยวิธีการสอนแบบทั่วไป
และเพื่อศึกษา เปรียบเทียบความสามารถในการสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน
มัธยมศึกษาตอนต้นที่เรียนด้วยการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ โดยใช้แบบจำลองกับนักเรียนที่
เรียนด้วยวิธีการสอนแบบทั่วไป กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียน ทุ่งใหญ่
19 
 

วิทยาคม จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 2 ห้องเรียน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 37 คน และกลุ่มควบคุม


38 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ แบบสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ และแบบวัด
ความสามารถใน การสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ ตามลาดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าเฉลี่ย
ค่าเฉลี่ยร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที่ผลการวิจัยสรุปได้ คือ นักเรียนกลุ่ม
ทดลองมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ
ร้อยละ 70 นักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์สูงกว่า
นักเรียนกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ
ความสามารถในการสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ ร้อยละ 70 นักเรียน
กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละความสามารถในการสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์สูงกว่านักเรียน
กลุ่มควบกุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
พัศยา สันสน ( 2558 : 90 -95 ) ได้ศึกษาการสำรวจมโนคติวิทยาตาสตร์ เรื่องสมบัติการนำ
ไฟฟ้าและรูปร่างโมเลกุลของสารโคเวเลนต์ โดยใช้เทคนิคแบบจำลอง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 4 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบมโนคติวิทยาศาสตร์ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียน
รายชื ่ อและรายวัตถุ ประสงค์ ศึ กษาความก้าวหน้า ทางการเรียนของนักเรีย นแบบรายชั้ น เรี ย น
รายบุคคล และรายข้อ และสำรวจแบบจำลอง แบบจำลองเบื้องต้นก่อนเรียน และแบบจำลองที่
ปรับปรุงแล้ว เรื่อง สมบัติการนำไฟฟ้าและรูปร่างโมเลกุลของสารโคเวเลนต์ โดยใช้เทคนิคแบบจำลอง
แบบแผนการวิจัยเป็นแบบกลุ่มเดียว ทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 50 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 เครื่องมือที่ใช้ในการ
วิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้แบบจำลอง แบบทดสอบวัดมโนคติวิทยาศาสตร์ชนิดเลือกตอบ
พร้อมให้เหตุผลจำนวน 15 ข้อ และเกณฑ์การให้คะแนนของแบบจำลองเบื้องต้นและแบบจำลองที่
ปรับปรุงแล้ว คะแนนสอบจากข้อสอบวัดมโนคติวิทยาศาสตร์ มโนคติคลาดเคลื่อน และมโนคติที่ผิด
ข้อมูลถูกวิเคราะห์ด้วยค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าสถิติทดสอบแบบกลุ่มตัวอย่างไม่อิสระต่อกัน และ
ความก้าวหน้าทางการเรียน ผลการวิจัยพบว่า เทคนิคแบบจำลอง พัฒนามโนมติวิทยาศาสตร์รายข้อ
หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน จากร้อยละ 20.43 เป็น 69.52 มโนมติวิทยาศาสตร์รายวัตถุประสงค์เพิ่ม
สูงขึ้นจากก่อนเรียนร้อยละ 1.14 เป็นร้อยละ 59.44 ในขณะที่มโนมติคลาดเคลื่อนและมโนมติที่ผิด
รายวั ต ถุ ป ระสงค์ ล ดลงจากก่ อ นเรี ย น ร้ อ ยละ45.50 และ 53.06 เป็ น ร้ อ ยละ 33.25 และ 7.31
ตามลำดับ ความก้าวหน้าทางการเรียนของนักเรียนรายชั้นเรียน รายบุคคลและ รายข้อ อยู่ในระดับ
ปานกลาง และแบบจำลองที่ปรับปรุงแล้วหลังเรียนของนักเรียนอยู่ในระดับดี
20 
 

กรอบแนวคิดในการวิจยั

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนใน
วิธีการจัดการเรียนรู้
รายวิชากลศาสตร์เครื่องมือกล
โดยใช้สื่อแบบจำลอง
 
เรื่องแรงเสียดทาน

ภาพที่ 2.3 แสดงกรอบแนวคิดในการวิจัย

 
บทที่ 3
วิธีดำเนินงานวิจัย

การวิจัยเรื่องการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาเรื่องแรงเสียดทานในรายวิชากลศาสตร์
เครื่องมือกล ของนักเรียน ระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 แผนกเทคนิคอุตสาหกรรม
วิทยาลัยเทคนิคเพชรบุรี ได้ดำเนินการตามลำดับ ดังนี้

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยจะทำการศึ กษานักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 แผนก
ช่างเทคนิคอุตสาหกรรม วิทยาลัยเทคนิคเพชรบุรี ในรายวิชากลศาสตร์เครื่องมือกล จำนวน 14 คน

เครื่องมือวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ
1. แผนการจัดการเรียนรู้เรื่องแรงเสียดทาน
2. แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียน-หลังเรียน
3. แบบประเมินความพึงพอใจในการใช้สื่อการสอนแบบจำลอง
4. แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้สื่อแบบจำลอง
5. สื่อแบบจำลองแรงเสียดทาน

การสร้างและการหาคุณภาพเครื่องมือ
1. แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลอง
1.1 ศึกษาหลักสูตรประกาศนี ยบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2562 กลุ่มสมรรถนะวิชาชีพ
เฉพาะมาตรฐานการเรียนรู้ ผลการเรียนรู้ การวัดการประเมินผล และศึกษารูปแบบการจัดการเรียนรู้
โดยใช้แบบจำลองเพื่อใช้เป็นรูปแบบในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
1.2 ศึ ก ษาการจั ด การเรี ย นรู ้ ข องกลุ ่ ม สมรรถนะวิ ช าชี พ เฉพาะ คำอธิ บ ายรายวิ ช า
ขอบข่ายเนื้อหา ตัวชี้วัด หน่วยการเรียนรู้ การวัดการประเมินผล ในหลักสูตรประกาศณียบัตรวิชาชีพ
พุทธศักราช 2562
1.3 สร้างสื่อแบบจำลอง เพื่อใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน รายวิชากลศาสตร์
เครื่องมือกลเรื่องแรงเสียดทาน
22

2. การสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
2.1 ศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2562 กลุ่มสมรรถนะวิชาชีพ
เฉพาะ โดยการวิเคราะห์จุดประสงค์การเรียนรู้เรื่องแรงเสียดทาน และศึกษาคู่มือการวัดและการ
ประเมินผล เพื่อใช้เป็นแนวทางในการสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
2.2 สร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นแบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน
10 ข้อ วิชากลศาสตร์เครื่ องมือกล เรื่อง แรงเสียดทาน ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ใช้เวลาทำ
ข้อสอบทั้งหมด 10 นาที
2.3 นำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนฉบับที่ 1 จำนวน 10 ข้อ เสนอต่ออาจารย์
ที่ปรึกษาเพื่อตรวจสอบเนื้อหา ภาษา และข้อคำถาม
2.4 นำมาปรับปรุงแก้ไขแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนฉบับที่ 1 จำนวน 10
ตามคำแนะนำของอาจารย์ที่ปรึกษา แล้วสร้างเป็นแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนฉบับที่ 2
จำนวน 10 ข้อ
2.5 นำแบบทดสอบวัดผลสั มฤทธิ์ ท างการเรี ยนฉบั บที่ 2 จำนวน 10 ข้อ เสนอต่ อ
ผู้เชี่ยวชาญชุดเดิม เพื่อตรวจสอบความถูกต้องด้านเนื้อหา ภาษา และประเมินความสอดคล้องระหว่าง
ข้อคำถามกับจุดประสงค์การเรียนรู้ (IOC) โดยแบบทดสอบต้องมีค่าตั้งแต่ 0.50 - 1.00 ขึ้นไปโดย
พิจารณาจากเกณฑ์การให้คะแนน ดังนี้
ให้คะแนน +1 เมื่อแน่ใจว่าข้อสอบนั้นวัดได้ตรงตามจุดประสงค์
ให้คะแนน 0 เมื่อไม่แน่ใจว่าข้อสอบนั้นวัดได้ตรงตามจุดประสงค์
ให้คะแนน -1 เมื่อแน่ใจว่าข้อสอบนั้นวัดได้ไม่ตรงตามจุดประสงค์
นำผลการประเมินความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับจุดประสงค์การเรียนรู้ที่ได้จาก
ผู้เชี่ยวชาญมาวิเคราะห์หาดัชนีความสอดคล้อง
3. ขั้นตอนการสร้างแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน
ผู้วิจัยได้ทำการสร้างแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยการใช้
แบบจำลอง ดังนี้
ขั้นที่ 1 การวิเคราะห์ ศึกษาเอกสารวิธีสร้างแบบสอบถามความคิดเห็นแบบมาตราส่วน
ประมาณค่า (Rating scale) ตามวิธีของลิเคอร์ท จากหนังสือคู่มือการสร้างเครื่องมือวัดคุณลักษณะ
ด้านจิตพิสัยของสำนักทดสอบทางการศึกษา กรมวิชาการ (2539 : 47-77)
ขั้นที่ 2 การออกแบบและสร้างแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียน
ด้วยการใช้สื่อแบบจำลอง โดยประเมินค่าระดับความพึงพอใจ จำนวน 10 ข้อ เป็นแบบมาตราส่วน 5
ระดับ ดังนี้
23

ระดับ 5 หมายถึง มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด


ระดับ 4 หมายถึง มีความพึงพอใจในระดับมาก
ระดับ 3 หมายถึง มีความพึงพอใจในระดับปานกลาง
ระดับ 2 หมายถึง มีความพึงพอใจในระดับน้อย
ระดับ 1 หมายถึง มีความพึงพอใจในระดับน้อยที่สุด
การพิจารณาระดับความพึงพอใจของผู้เรียน พิจารณาจากค่าเฉลี่ยของคะแนนโดยเทียบ
กับเกณฑ์ ดังนี้
ช่วงคะแนน 4.51 - 5.00 หมายถึง พึงพอใจมากที่สุด
ช่วงคะแนน 3.51 - 4.50 หมายถึง พึงพอใจมาก
ช่วงคะแนน 2.51 - 3.50 หมายถึง พึงพอใจปานกลาง
ช่วงคะแนน 1.51 - 2.50 หมายถึง พึงพอใจน้อย
ช่วงคะแนน 1.00 - 1.50 หมายถึง พึงพอใจน้อยที่สุด
ขั้นที่ 3 การพัฒนา นำแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่สร้างขึ้นเสนออาจารย์ที่
ปรึกษาร่วมพิจารณาความเหมาะสม ตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหาและภาษาแล้วนำไปปรับปรุง
แก้ไขตามคำแนะนำ

การเก็บรวบรวมข้อมูล
การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยจะทำการศึ กษานักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 แผนก
ช่างเทคนิคอุตสาหกรรม วิทยาลัยเทคนิคเพชรบุรี ในรายวิชากลศาสตร์เครื่องมือกล จำนวน 14 คน
1. นักศึกษากลุ่มเป้าหมายจำนวน 14 คน ทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ เรื่องแรงเสียดทาน
ก่อนการจัดการเรียนรู้ด้วยแบบจำลองแล้วบันทึกผลการสอบไว้เป็นคะแนนทดสอบก่อนเรียน เพื่อใช้
วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ
2. ผู้วิจัยดำเนินการสอนและจัดกิจกรรมตามแผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง กลศาสตร์เครื่องมือ
กล โดยใช้สื่อแบบจำลอง
3. นักศึกษากลุ่มเป้าหมายจำนวน 14 คน ทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์เรื่องแรงเสียดทาน
หลังเรียน แล้วบันทึกผลการสอบไว้เป็นคะแนนทดสอบหลังเรียน เพื่อใช้วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ
4. ประเมินความพึงพอใจโดยใช้แบบสอบถาม ซึ่งเป็นการสอบถามความคิดเห็นและเจตคติ
ของนักเรียนที่มีต่อวิช ากลศาสตร์เครื่องมือกลโดยใช้สื่อ แบบจำลองภายหลังจากเสร็จสิ้นการใช้
บทเรียนแล้ว
24

5. ผู้วิจัยนำคะแนนการทดสอบก่อนเรียน และคะแนนการทดสอบหลังเรียนมาเปรียบเทียบ
และพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชากลศาสตร์เครื่องมือกล โดยใช้สื่อแบบจำลองวิเคราะห์
ข้อมูลทางสถิติเพื่อทดสอบสมมติฐาน

การวิเคราะห์ข้อมูล
ผู้วิจัยได้ดำเนินการตามระยะเวลา ผู้วิจัยนำข้อมูลที่จัดเก็บและรวบรวมได้มาวิเคราะห์ ดังนี้
1. นำคะแนนทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียน จำนวน 14 คน มาหาค่าเฉลี่ย(𝑥̅ )
และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน (t - test dependent)
2. หาผลต่างระหว่างคะแนนก่อนเรียนหลังเรียนของนักเรียนแต่ละคน
3. เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้วยการทดสอบหาค่าของความแตกต่างระหว่าง
คะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยการใช้สถิติ (t-test)
4. รวบรวมข้อมูลจากการตรวจข้อสอบทั้งหมด มาวิเคราะห์สถิติ
5. ผู้วิจัยนำแบบทดสอบที่เก็บรวบรวมได้ ไปตรวจให้คะแนนตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้หลังจาก
นั้นนำข้อมูลของแบบทดสอบไปวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ
6. วิเคราะห์ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยบทเรียนวิชากลศาสตร์เครื่องมือ
กลโดยใช้สื่อแบบจำลอง เรื่อง แรงเสียดทาน โดยใช้ค่าเฉลี่ยและค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน จากการ
ตอบแบบสอบถามความพึงพอใจ ซึ่งมีลักษณะของ แบบสอบถามเป็นแบบมาตรประมาณคำถามตาม
วิธีของลิเคอร์ท โดยเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนกับ เกณฑ์ ดังนี้ (พิสุทธา อารีราษฎร์. 2548 : 13)
ช่วงคะแนน 4.51 - 5.00 หมายถึง พึงพอใจมากที่สุด
ช่วงคะแนน 3.51 - 4.50 หมายถึง หึงพอใจมาก
ช่วงคะแนน 2.51 - 3.50 หมายถึง พึงพอใจปานกลาง
ช่วงคะแนน 1.51 - 2.50 หมายถึง หึงพอใจน้อย
ช่วงคะแนน 1.00 - 1.50 หมายถึง พึงพอใจน้อยที่สุด
25

สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูล โดยเลือกใช้สถิติดังนี้
1. สถิติพื้นฐาน
1.1 ค่าเฉลี่ย (Mean)
สูตรคำนวณค่าเฉลี่ย

∑𝑥
𝑥̅ =
𝑁

เมื่อ 𝑥̅ แทน คะแนนเฉลี่ย


∑ 𝑥 แทน ผลรวมของคะแนนทั้งหมด
N แทน จำนวนนักเรียนทั้งหมด

1.2 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)


สูตรคำนวณค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

√𝑁 ∑ 𝑥 2 − (∑ 𝑥 )2
𝑆𝐷 =
𝑁2

เมื่อ 𝑆𝐷 แทน ความเบี่ยงเบนมาตรฐานของคะแนน


∑𝑥 แทน ผลรวมคะแนนทั้งหมด
∑ 𝑥2 แทน ผลรวมคะแนนแต่ละตัวยกกำลังสอง
N แทน จำนวนนักเรียน
26

1.3 สถิติเพื่อทดสอบสมมติฐาน
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชากลศาสตร์เครื่องมือกลเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียน
หลังจากใช้สื่อแบบจำลอง โดยใช้สถิติ t – test Dependent
สูตร
∑𝐷
𝑡=
2
√ 𝑁 ∑ 𝐷 (∑ 𝐷)2
𝑁−1

เมื่อ t แทน ค่าที่ใช้ในการพิจารณา t –Distribution


∑ 𝐷 แทน ผลรวมของความแตกต่างระหว่างคะแนนการทดสอบก่อนและหลัง
∑ 𝐷2 แทน ผลรวมกําลังสองของความแตกต่างระหว่างคะแนนการทดสอบก่อน
และหลัง
N แทน จำนวนผู้เรียนในกลุ่มตัวอย่าง

2. สถิติที่ใช้ในการหาคุณภาพของเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา
หาค่าความสอดคล้องระหว่างวัตถุประสงค์แบบทดสอบรายข้อกับวัตถุประสงค์
ที่ต้องการวัด (IOC) โดยใช้สูตรการคำนวณ ดังนี้

∑𝑅
𝐼𝑂𝐶 =
𝑁

เมื่อ IOC แทน ดัชนีความสอดคล้อง


∑ 𝑅 แทน ผลรวมของคะแนนการพิจารณาจากผู้เชี่ยวชาญ
N แทน จำนวนผู้เชี่ยวชาญ
บทที่ 4
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

การวิ จ ั ย นี ้ เ ป็ น การวิ จ ั ย เชิ ง ปฏิ บ ั ต ิ ก ารในชั ้ น เรี ย น (Classroom action research) ที ่ มี


วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง กลศาสตร์เครื่องมือกล และความพึงพอใจต่อ
การจัดการเรียนรู้ ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้
สื่อแบบจำลอง (Model) ซึ่งผู้วิจัยได้นำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลเป็น 3 ประเด็น ดังต่อไปนี้

สัญลักษณ์ที่ใช้นำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล
เพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกันในการสื่อความหมายของข้อมูล ผู้วิจัยได้กำหนดความหมายของ
สัญลักษณ์ในการวิเคราะห์ข้อมูลดังนี้
𝑥̅ แทน คะแนนเฉลี่ย
∑𝑥 แทน ผลรวมของคะแนนทั้งหมด
N แทน จำนวนนักเรียนจากกลุ่มตัวอย่าง
S.D. แทน ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน
∑ 𝑥2 แทน ผลรวมของคะแนนแต่ละตัวยกกําลังสอง
(∑ 𝑥)2 แทน ผลรวมของคะแนนทั้งหมดยกกําลังสอง
t แทน ค่าที่ใช้ในการพิจารณา t -Distribution
∑𝐷 แทน ผลรวมของความแตกต่างเป็นรายคู่ระหว่างคะแนนการทดสอบ
ก่อนและหลัง
∑ 𝐷2 แทน ผลรวมกําลังสองของความแตกต่างระหว่างคะแนนการ
ทดสอบก่อนและหลัง
28

ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
ตารางที่ 4.1 ผลการวิเคราะห์ประสิทธิภาพแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยสื่อ
แบบจำลอง
ทดสอบก่อนเรียน ทดสอบหลังเรียน
คนที่
(10 คะแนน) (10 คะแนน)
1 2 5
2 3 7
3 3 7
4 5 6
5 7 9
6 5 8
7 3 6
8 1 6
9 1 6
10 5 10
11 0 4
12 3 6
13 3 8
14 4 8
∑𝒙 45 96

̅
𝒙 4.5 9.6
S.D. 1.81 1.55
ร้อยละ 45 96

จากตารางที่ 4.1 ผลการวิเคราะห์ประสิทธิภาพแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลัง


เรียน โดยใช้สื่อแบบจำลอง พบว่านักศึกษา จำนวน 14 คน ได้คะแนนเฉลี่ยจากการทดสอบวัด
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ก่อนเรียนด้วยวิธีการการสอนโดยใช้สื่อแบบจำลอง รายวิชากลศาสตร์
เครื่องมือกล ของนักเรียนแผนกวิชาช่างเทคนิคอุตสาหกรรม ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2
เท่ากับ 4.5 (𝑥̅ = 4.5) จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.81 (S.D. =
29

1.81) ร้อยละของคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 45 และได้คะแนนเฉลี่ยจากการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการ


เรียนหลังเรียนด้วยวิธีการการสอนโดยใช้สื่อแบบจำลอง รายวิชากลศาสตร์เครื่องมือกล ของนักเรียน
แผนกวิชาช่างเทคนิ คอุตสาหกรรม ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 คะแนนเฉลี่ย 9.6 (𝑥̅ =
=9.6) จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.55 (S.D. = 1.55) ร้อยละของ
คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 96

ตารางที่ 4.2 เปรียบเทียบความสามารถในการทำแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยวิธีการ


สอนโดยใช้สื่อแบบจำลอง รายวิชากลศาสตร์เครื่องมือกล ของนักเรียนแผนกวิชาช่าง
เทคนิคอุตสาหกรรม ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2
ทดสอบก่อนเรียน ทดสอบหลังเรียน
คนที่ ∑𝐷 ∑ 𝐷2
(10 คะแนน) (10 คะแนน)
1 2 5 3 6
2 3 7 4 8
3 3 7 4 8
4 5 6 1 2
5 7 9 2 4
6 5 8 3 6
7 3 6 3 6
8 1 6 5 10
9 1 6 5 10
10 5 10 5 10
11 0 4 4 8
12 3 6 3 6
13 3 8 5 10
14 4 8 4 8
∑𝑥 45 96 51 102
𝑥̅ 4.5 9.6 5.1 10.2
S.D. 1.81 1.55 1.17 2.34
ร้อยละ 45 96 - -
30

จากตารางที่ 4.2 พบว่าการวิเคราะห์หาการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยวิธีการ


การสอนโดยใช้สื่อแบบจำลอง รายวิชา กลศาสตร์เครื่องมือกล ของนักเรียนแผนกวิชาช่างเทคนิค
อุตสาหกรรม ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2ก่อนเรียนและหลังเรียน ก่อนเรียนคิดเป็นร้อย
45 และหลังเรียนคิดเป็นร้อยละ 96

ตารางที่ 4.3 การเปรีย บเทีย บคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนด้ว ยวิธ ีการการสอนโดยใช้สื่ อ


แบบจำลอง รายวิช ากลศาสตร์เครื่องมือกล ของนักเรียนแผนกวิชาช่างเทคนิค
อุตสาหกรรมระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 ก่อนเรียนและหลังเรียน
คะแนนผลสัมฤทธิ์
ตัวแปร ∑𝐷 ∑ 𝐷2
ก่อนเรียน (𝟏𝟎) หลังเรียน (𝟏𝟎)
t
∑𝑥 45 96 51 102
𝑥̅ 4.5 9.6 5.1 10.2 10.64**
S.D. 1.81 1.55 1.17 2.34

จากตารางที่ 4.3 พบว่าการเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยวิธีการการสอน


โดยใช้สื่อแบบจำลอง รายวิชากลศาสตร์เครื่องมือกล ของนักเรียนแผนกวิชาช่างเทคนิคอุตสาหกรรม
ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 ก่อนเรียนและหลังเรียน มีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการ
เรียนรู้เพิ่มขึ้นจากก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
31

ผลประเมินความพึงพอใจ
ตารางที่ 4.4 ตารางแสดงจำนวนนักเรียนที่มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อแบบจำลอง
ระดับความพึงพอใจ
ข้อ ข้อความ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด
5 4 3 2 1
เร้าหรือกระตุ้นความสนใจ
1 3 7 4 0 0
ให้เกิดการใฝ่รู้ในเรื่องที่เรียน
มีสอดคล้องกับจุดประสงค์
2 4 8 2 0 0
การเรียนรู้ที่สอน
มีความสัมพันธ์กับเนื้อหา
3 3 9 2 0 0
บทเรียนที่สอน
ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ /
4 กระตุ้นกระบวนการคิดของ 2 9 3 0 0
นักเรียน
ทำให้เกิดการค้นพบความรู้ด้วย
5 4 5 5 0 0
ตนเอง
มีความทันสมัยแปลกใหม่
6 5 6 3 0 0
แตกต่างไปจากการเรียนปกติ
สามารถถ่ายทอดเนื้อหาที่เป็น
7 3 6 5 0 0
นามธรรมให้เป็นรูปธรรมได้
เป็นสื่อที่มีการประยุกต์ใช้ได้
8 2 10 2 0 0
อย่างเหมาะสม
สื่อเสริมสร้างความเข้าใจใน
9 2 11 1 0 0
บทเรียน
ท่านมีความพึงพอใจต่อสื่อการ
10 สอนและอุปกรณ์การเรียนรู้ที่ 6 5 3 0 0
ได้รับโดยภาพรวมเป็นอย่างไร
32

ตารางที่ 4.5 เกณฑ์ระดับคุณภาพความพึงพอใจ และการแปลความหมาย

ช่วงค่าเฉลี่ยของเกณฑ์ระดับคุณภาพ การแปลความหมาย
4.51 – 5.00 มากที่สุด
3.51 – 4.50 มาก
2.51 – 3.50 ปานกลาง
1.51 – 2.50 น้อย
1.00 – 1.50 น้อยที่สุด

ตารางที่ 4.6 วิเคราะห์ผลประเมินความพึงพอใจ

ผลประเมิน
1 เร้าหรือกระตุ้นความสนใจ ให้เกิดการใฝ่รู้ในเรื่องที่เรียน 3.92
2 มีความสอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้ที่สอน 4.14
3 มีความสัมพันธ์กับเนื้อหาบทเรียนที่สอน 4.07
4 ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ /กระตุ้นกระบวนการคิดของนักเรียน 3.92
5 ทำให้เกิดการค้นพบความรู้ด้วยตนเอง 3.92
6 มีความทันสมัยแปลกใหม่แตกต่างไปจากการเรียนปกติ 4.14
7 สามารถถ่ายทอดเนื้อหาที่เป็นนามธรรมให้เป็นรูปธรรมได้ 4.00
8 เป็นสื่อที่มีการประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม 4.00
9 สื่อเสริมสร้างความเข้าใจในบทเรียน 4.07
ท่านมีความพึงพอใจต่อสื่อการสอนและอุปกรณ์การเรียนรู้ที่ได้รับ
10 4.21
โดยภาพรวมเป็นอย่างไร
คะแนนเฉลี่ยในภาพรวม 4.10

จากผลประเมินความพึงพอใจพบว่าผู้เรียนมีความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ที่ 4.10 อยู่ในระดับ


มาก ผู้เรียนมีความพึงพอใจมากที่สุดในหัวข้อ ท่านมีความพึงพอใจต่อสื่อการสอนและอุปกรณ์การ
เรียนรู้ที่ได้รับโดยภาพรวมเป็นอย่างไร มีผลการประเมินอยู่ที่ 4.21 อยู่ในระดับมาก และรองลงไปใน
หัวข้อ มีความสอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้ที่สอนและมีความทันสมัยแปลกใหม่แตกต่างไปจาก
การเรียนปกติ มีผลการประเมินอยู่ที่ 4.14 อยู่ในระดับมาก ในส่วนที่ผู้เรียนมีความพึงพอใจน้อยที่สุด
คือเรื่อง เร้าหรือกระตุ้นความสนใจ ให้เกิดการใฝ่รู้ในเรื่องที่เรียน , ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ /
33

กระตุ้นกระบวนการคิดของนักเรียนและทำให้เกิดการค้นพบความรู้ด้วยตนเอง มีผลการประเมินอยู่ที่
3.92 อยู่ในระดับมาก รองลงไปคือเรื่อง สามารถถ่ายทอดเนื้อหาที่เป็นนามธรรมให้เป็นรูปธรรมได้
และเป็นสื่อที่มีการประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม มีผลการประเมินอยู่ที่ 4.00 อยู่ในระดับมาก

สรุปความคิดเห็นของนักเรียนที่ได้รับการเรียนการสอนโดยใช้สื่อแบบจำลอง ดังนี้
นักเรียนมีความเห็นในหัวข้อ “นักเรียนมีความคิดเห็นอย่างไรต่อการใช้สื่อแบบจำลอง”
ดังนี้ “ได้เห็นภาพและได้ทดลองด้วยตัวเอง” “เห็นด้วย เพราะการใช้สื่อทำให้เห็นภาพชัดเจนขึ้น
ความหมายชัดขึ้น” “ดี ได้ทดลองจริง ไม่เบื่อและสนุกสนาน มีความตั้งใจเรียนมากขึ้น” “การที่เอาสื่อ
มาใช้ในการสอนทำให้นักเรียนเห็นภาพในการเรียนการสอนทำให้นักเรียนเข้าใจในสื่อที่ครูส อนมาก
ขึ้น” “คิดว่าการใช้สื่อแบบจำลองเห็นภาพได้ดีกว่าการเรียนแบบปกติ เข้าใจง่ายกว่า ” “ดีกว่าการ
เรียนในหนังสือ เรียนแบบนี้เราจะได้เห็นภาพจริงๆและเข้าใจ” “เหมาะสมกับนักเรียนที่จะนำความรู้
ไปใช้จริงได้” และในหัวข้อ “สื่อแบบจำลองมีประโยชน์ในการเรียนหรือไม่ อย่างไร” นักเรียนมี
ความคิดเห็นดังนี้ “มีประโยชน์ เพราะนักเรียนนักศึกษาที่เรียนวิชานี้ได้เข้าใจมากขึ้น ” “มีประโยชน์
มาก เพราะไม่น่าเบื่อ มีการให้ทดลอง เข้าใจง่ายกว่าเห็นภาพมากกว่า” “มีประโยชน์ เพราะดีกว่าการ
สอนปกติแบบไม่มีสื่อจำลอง ทำให้มีสีสันไม่เครียดจนเกินไป” “มีประโยชน์ เพราะสามารถนความรู้ไป
ใช้” “มีประโยชน์ ทำจริงทดลองจริง ได้ความรู้ในการทดลอง” “มีประโยชน์ เพราะนักเรียนเข้าใจใน
สื่อที่ครูเตรียมมาเพื่อสอน” และในหัวข้อ “นักเรียนมีความพึงพอใจในภาพรวมต่อเทคนิคและ
วิธีการสอนในรายวิชากลศาสตร์เครื่องมือกลอย่างไร” นักเรียนมีความคิดเห็นดังนี้ “พึงพอใจในการ
สอนของครูที่เอาสื่อมาสอนและเข้าใจวิชานี้มากขึ้น ” “พึงพอใจเพราะสอนเข้าใจได้ง่าย” “มีความพึง
พอใจมากครับ ทำให้เรามีความรู้มากขึ้นและเข้าใจกับวิชากลศาสตร์มากขึ้น” “การสอนดีมากได้เรียน
อย่างเข้าใจง่าย” “พึงพอใจ เพราะมีทดลองจะได้ไม่เบื่อ” “ทำให้เรามีความรู้จากเรื่องที่เรียนจากครู
สอน” “มีความพึงพอใจในระดับนึง เพราะเป็นวิชาที่เข้าใจง่าย” “พอใจมาก เพราะมีการสอนที่เข้าใจ
ง่ายมาก ไม่เครียด มีสื่อต่างๆเข้ามาสอนทำให้เห็นภาพได้ดี” ส่วนใหญ่จะมีความคิดเห็นไปในเชิง “พึง
พอใจมาก” และในหัวข้อสุ ดท้าย “ข้อคิดเห็น /ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมเกี่ยวกับสื่อแบบจำลอง”
นักเรียนมีความคิดเห็นดังนี้ “อยากให้เพิ่มสื่อการสอนให้มากขึ้น สนใจในตัวนักศึกษามากขึ้น สั่งงาน
น้อยลง” “มันดีกว่าเรียนในหนังสือ ทำให้เราเข้าใจมากขึ้น ไม่ต้องเพิ่มเติมอะไรแบบนี้ดีอยู่แล้ว ”
“อยากให้เพิ่มการทดลองมากขึ้น” “ดี ดีมาก พอใจ เยี่ยม” “ไม่มีข้อเสนอแนะ เพราะที่เป็นแบบนี้
ก็ดีอยู่แล้ว” ส่วนใหญ่จะมีความเห็นไปในเชิง “ไม่มีข้อเสนอแนะ”
บทที่ 5
สรุป อภิปรายและข้อเสนอแนะ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชากลศาสตร์เครื่องมือกลของ
นักเรีย นแผนกวิช าช่างเทคนิ ค อุตสาหกรรม ระดับประกาศนียบัตรวิช าชี พชั ้นปี ที่ 2 โดยใช้สื่ อ
แบบจำลองเปรียบเทียบความสามารถในการทำแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยวิธีการสอน
โดยใช้สื่อแบบจำลอง สรุปขั้นตอนและผลการวิจัยดังนี้

วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชา กลศาสตร์เครื่องมือกล เรื่อง แรงเสียดทานของ
นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 โดยใช้สื่อแบบจำลอง
2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ ของคะแนนข้อสอบก่อนเรียนและหลังเรียน วิชา กลศาสตร์
เครื่องมือกล เรื่อง แรงเสียดทาน ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 โดยใช้สื่อ
แบบจำลอง
3. เพื่อประเมินความพึงพอใจนักเรียนที่เรียนโดยใช้สื่อแบบจำลอง วิชากลศาสตร์เครื่องมือ
กล เรื่องแรงเสียดทาน

วิธีการดำเนินการวิจัย
ประชากร
ประชากร คือ นักเรียนแผนกวิชาช่างเทคนิคอุตสาหกรรม ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ
ชั้นปีที่ 2 จำนวน 14 คน

เครื่องมือวิจัยและการสร้างเครื่องมือ
เครื่องมือวิจัยที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้
1. แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อแบบจำลอง
2. แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียน-หลังเรียน
3. แบบประเมินความพึงพอใจในการใช้สื่อการสอนแบบจำลอง
4. แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้สื่อแบบจำลอง
5. สื่อแบบจำลองแรงเสียดทาน
35

การวิเคราะห์ข้อมูล
ผู้วิจัยทําการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูปดังต่อไปนี้
1. วิเคราะห์ประสิทธิภาพแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียน ด้วยวิธีการจัดการ
เรียนรู้โดยใช้สื่อแบบจำลอง
2. เปรียบเทียบความสามารถในการทํา แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยวิธีการการ
สอนโดยใช้สื่อแบบจำลอง
3. เปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยวิธีการการสอนโดยใช้สื่อแบบจำลอง
4. สรุปความพึงพอใจของนักเรียนที่ได้รับการเรียนการสอนโดยใช้สื่อแบบจำลอง

สรุปผลการวิจัย
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. ผลการวิเคราะห์ประสิทธิภาพแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้สื่อ
แบบจำลองพบว่านักเรียน จำนวน 14 คน ได้คะแนนเฉลี่ยจากการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการ
เรียนรู้ก่อนเรียน เท่ากับ 4.5 (𝑥̅ = 4.5) จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ
1.81 (S.D. = 1.81) ร้อยละของคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 45 และการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้
หลังเรียนเท่ากับคะแนนเฉลี่ย 9.6 (𝑥̅ = =9.6) จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
เท่ากับ 1.55 (S.D. = 1.55) ร้อยละของคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 96
2. การวิเคราะห์หาการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยวิธีการการสอนโดยใช้ สื่อ
แบบจำลอง ก่อนเรียนและหลังเรียน ก่อนเรียนคิดเป็นร้อย 45 และหลังเรียนคิดเป็นร้อยละ 96
3. เปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยวิธีการการสอนโดยใช้สื่อแบบจำลอง
มีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้เพิ่มขึ้นจากก่อนเรียนอย่างมีมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ หลังจากได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อ
แบบจำลองอยู่ในระดับมาก
5. นักเรียนมีความเห็นในหัวข้อ “นักเรียนมีความคิดเห็นอย่างไรต่อการใช้สื่อแบบจำลอง”
ส่วนใหญ่จะเห็นด้วยกับการที่นำสื่อแบบจำลองมาใช้เพราะทำให้เห็นภาพได้ชัดขึ้น ได้ทดลองและ
สนุกสนานไม่น่าเบื่อ และในหัวข้อ “สื่อแบบจำลองมีประโยชน์ในการเรียนหรือไม่ อย่างไร” ส่วน
ใหญ่นักเรียนมีความคิดเห็นตรงกันว่า มีประโยชน์ เพราะดีกว่าการสอนปกติแบบไม่มีสื่อจำลอง ทำให้
มีสีสันไม่เครียดจนเกินไป และในหัวข้อ “นักเรียนมีความพึงพอใจในภาพรวมต่อเทคนิคและวิธีการ
สอนในรายวิชากลศาสตร์เครื่องมือกลอย่างไร” นักเรียนมีความคิดเห็นว่า พึงพอใจในการที่ผู้สอน
นำเอาสื่อแบบจำลองมาใช้ทำให้เข้าใจในเรื่องที่เรียนได้ง่าย มองเห็นภาพได้ชัดเจนขึ้ นและดีกว่าการ
เรียนการสอนแบบบรรยายหรือเรียนแต่ในหนังสือ และในหัวข้อสุดท้าย “ข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ
36

เพิ่มเติมเกี่ยวกับสื่อแบบจำลอง” นักเรียนมีความคิดเห็นเพิ่มเติมว่า อยากให้เพิ่มสื่อการสอนให้มาก


ขึ้น สนใจในตัวผู้เรียนมากขึ้นและส่วนใหญ่ไม่มีข้อเสนอแนะ

อภิปรายผล
1. ผลการวิเคราะห์ประสิทธิภาพแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้สื่อ
แบบจำลองพบว่านักเรียน จำนวน 14 คน ได้คะแนนเฉลี่ยจากการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการ
เรียนรู้ก่อนเรียนเท่ากับ 4.5 (𝑥̅ = 4.5)) จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ
1.81 (S.D. = 1.81) ร้อยละของคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 45 และการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้
หลังเรียนเท่ากับคะแนนเฉลี่ย 9.6 (𝑥̅ = =9.6) จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
เท่ากับ 1.55 (S.D. = 1.55) ร้อยละของคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 96
2. การวิเคราะห์หาการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยวิธีการการสอนโดยวิธีการ
จัดการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อน ก่อนเรียนและหลังเรียน ก่อนเรี ยนคิดเป็นร้อย 45 และหลังเรียน
คิดเป็นร้อยละ 96
จากการเปรีย บเทีย บผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้ว ยวิธ ีการการสอนโดยใช้ส ื่อแบบจำลอง
นักเรียนแผนกวิชาช่างเทคนิคอุตสาหกรรม ระดับชั้นปวช.2 คะแนนหลังสอบหลังการสอนด้วยวิธีการ
จัดการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อนสูงกว่าคะแนนสอบก่อ นเรียนคือคะแนนสอบก่อนเรียนมีค่าคะแนน
เฉลี่ย 45 และคะแนนหลังเรีย นมีคะแนนเฉลี่ยร้ อยละ 96 แสดงว่าการจัดการเรียนรู้โ ดยใช้ สื่ อ
แบบจำลอง ทำให้นักเรียนเข้าใจเรื่องแรงเสียดทานได้ดียิ่งขึ้นซึ่งสอดคล้องกับผลงานวิจัย
3. เปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยวิธีการการสอนโดยใช้สื่อแบบจำลอง
มีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้เพิ่มขึ้นจากก่อนเรียนอย่างมีมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05
จากผลการวิจัยดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าการสอนโดยใช้สื่อแบบจำลอง ทําให้ผลสัมฤทธิ์ใน
เรียนเรื่องแรงเสียดทาน มีผลสัมฤทธิ์สูงขึ้นอาจเนื่ องจากผู้เรียนได้ใช้สื่อที่สามารถจับต้องได้และได้
ทดลองใช้สื่อด้วยตนเองจึงทำให้เกิดการคิดวิเคราะห์และสังเกตความแตกต่างระหว่างวัตถุกับพื้นผิว
แต่ละชนิดที่แตกต่างกันทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตัวเองและเข้าใจในเรื่องแรงเสียดทานมากขึ้น
อย่างไรก็ตามการที่นักเรียนจะประสบความสำเร็จในการเรียนหรือมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ที่ดีหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับวิธีการสอนที่ดีแล้ว อีกประการหนึ่งที่สําคัญผู้วิจัยพบจากการวิจัยครั้งนี้คือ
สิ่งแวดล้อมและบรรยากาศในการเรียนของนักเรียน การที่ผู้วิจัยได้ทําหน้าที่ของครูที่ดีพยายามเข้าใจ
นักเรียนให้มากที่สุดให้ความเมตตากับนักเรียนอย่างเสมอภาคกัน แสดงให้เห็นว่าในกระบวนการ
จัดการเรียนรู้นั้นจะนำมาซึ่งผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ดีจะต้องอาศัยทั้งวิธีการสอนที่ดี มีเทคนิคการ
สอนที่หลากหลายรูปแบบเพื่อให้การเรียนการสอนไม่น่าเบื่อและบุคลิกภาพของผู้สอนส่ง เสริมให้
นักเรียนเกิดการพัฒนาทางด้านอารมณ์ จิตใจ ความรู้ และสนุกเพลิดเพลินไปด้วย
37

4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ หลังจากได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อ
แบบจำลองอยู่ในระดับมาก
จากผลประเมินความพึงพอใจพบว่าผู้เรียนมีความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ที่ 4.10 อยู่ในระดับ
มาก ผู้เรียนมีความพึงพอใจมากที่สุดในหัวข้อ ท่านมีความพึงพอใจต่อสื่อการสอนและอุปกรณ์การ
เรียนรู้ที่ได้รับโดยภาพรวมเป็นอย่างไร มีผลการประเมินอยู่ที่ 4.21 อยู่ในระดับมาก และรองลงไปใน
หัวข้อ มีความสอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้ที่สอนและมีความทันสมัยแปลกใหม่แตกต่างไปจาก
การเรียนปกติ มีผลการประเมินอยู่ที่ 4.14 อยู่ในระดับมาก ในส่วนที่ผู้เรียนมีความพึงพอใจน้อยที่สุด
คือเรื่อง เร้าหรือกระตุ้นความสนใจ ให้เกิดการใฝ่รู้ในเรื่องที่เรียน , ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ /
กระตุ้นกระบวนการคิดของนักเรียนและทำให้เกิดการค้นพบความรู้ด้วยตนเอง มีผลการประเมินอยู่ที่
3.92 อยู่ในระดับมาก รองลงไปคือเรื่อง สามารถถ่ายทอดเนื้อหาที่เป็นนามธรรมให้เป็นรูปธรรมได้
และเป็นสื่อที่มีการประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม มีผลการประเมินอยู่ที่ 4.00 อยู่ในระดับมาก
5. นักเรียนมีความเห็นในหัวข้อ “นักเรียนมีความคิดเห็นอย่างไรต่อการใช้สื่อแบบจำลอง”
ส่วนใหญ่จะเห็นด้วยกับการที่นำสื่อแบบจำลองมาใช้เพราะทำให้เห็นภาพได้ชัดขึ้น ได้ทดลองและ
สนุกสนานไม่น่าเบื่อ และในหัวข้อ “สื่อแบบจำลองมีประโยชน์ในการเรียนหรือไม่ อย่างไร” ส่วน
ใหญ่นักเรียนมีความคิดเห็นตรงกันว่า มีประโยชน์ เพราะดีกว่าการสอนปกติแบบไม่มีสื่อจำลอง ทำให้
มีสีสันไม่เครียดจนเกินไป และในหัวข้อ “นักเรียนมีความพึงพอใจในภาพรวมต่อเทคนิคและวิธีการ
สอนในรายวิชากลศาสตร์เครื่องมือกลอย่างไร” นักเรียนมีความคิดเห็นว่า พึงพอใจในการที่ผู้สอน
นำเอาสื่อแบบจำลองมาใช้ทำให้เข้าใจในเรื่องที่เรียนได้ง่าย มองเห็นภาพได้ชัดเจนขึ้ นและดีกว่าการ
เรียนการสอนแบบบรรยายหรือเรียนแต่ในหนังสือ และในหัวข้อสุดท้าย “ข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ
เพิ่มเติมเกี่ยวกับสื่อแบบจำลอง” นักเรียนมีความคิดเห็นเพิ่มเติมว่า อยากให้เพิ่มสื่อการสอนให้มาก
ขึ้น สนใจในตัวผู้เรียนมากขึ้นและส่วนใหญ่ไม่มีข้อเสนอแนะ
บรรณานุกรม

กวิน นวลแก้ว และ สมเกียรติ พรพิสุทธิมาศ. (2562). การพัฒนามโนมติทางวิทยาศาสตร์ของ


นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายเรื่อง โครงสร้างที่ใช้แลกเปลี่ยนแก๊สของคนด้วยการ
77 จัดการเรียนรู้แบบจำลองเป็นฐาน. Paper presented at the รายงานสืบเนื่องจากการ
ประชุมวิชาการ วิทยาศาสตร์วิจัย ครั้งที่ 10, มหาวิทยาลัยสารคาม.
จุฑามาศ กันทะวัง. (2563). การจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐานวิชาชีววิทยาเพื่อพัฒนา
ผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนและ การให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่4
มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี. (2559). สาระการเรียนรู้เรื่องแรงเสียดทาน. [ออนไลน์]. ได้จาก:
https://etheses.rbru.ac.th/pdf-uploads/thesis-177-file06-2016-02-25-15-29-
52.pdf [สืบค้นเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2565].
ธณัฏฐา คงทน, บุญนาค สุขุมเมฆ และชาตรี ฝ่ายคำตา. (2559). การพัฒนาแนวคิดเรื่อง เคมีอินทรีย์
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยอาศัยการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน.
วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม, 7(1), 62-76.
ณัชธฤต เกื้อธาน. (2557). การพัฒนาตัวแทนความคิด เรื่อง พันธะเคมี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 4 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
นิสิต ชำนาญเพชร, สิรินภา กิจเกื้อกูล และมะลิวรรณ นาคขุนทด. (2019). การวิจัยปฏิบัติการเพื่อ
พัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้เคลย์แอนิเมชั่นร่วมกับการจัด การเรียนรู้โดยใช้แบบจำลอง
เป็นฐานที่ส่งเสริมการพัฒนามโนทัศน์ เรื่อง ระบบย่อยอาหาร. วารสาร มหาวิทยาลัยนเรศวร
,21(4), 183-197.
อารยา ควัฒน์กุล, จันทร์พร พรหมมาศ และภัทรภร ชัยประเสริฐ. (2558). ผลการจัดการเรียนรู้วิชา
เคมี เรื่อง สารชีวโมเลกุล ด้วยการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน เพื่อพัฒนามโนทัศน์ทาง
วิทยาศาสตร์และความสามารถในการสร้างแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 6. วารสารศึกษาศาสตร์, 26(2), 42-55.
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน. (2560). [ออนไลน์]. ได้จาก : https://www.pratya.nuankaew.com/wp-
content/uploads/2017/01/Academic-Achievement-20160109.pdf
พรรณวิไล ชมชิด. (2552). การเรียนการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้แบบจำลอง. นิตยาสาร สสวท.,
38(163), 33-34.
39

กรทิพย์ สุภัทรชัยวงศ์, ชาตรี ฝ่ายคำตา และพจนารถ สุวรรณรุจิ. (2558). การจัดการเรียนรู้โดยใช้


แบบจำลองเป็นฐาน เพื่อพัฒนาแบบจำลองทางความคิด เรื่อง โครงสร้างอะตอมและความ
เข้าใจธรรมชาติของแบบจำลองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารนวัตกรรมการ
เรียนรู้, 1(1),97-124.
เยาวดี รางชัยกุล วิบูลข์ศรี. (2553),. การวัคผลและการสร้างแบบสอบผลสัมฤทธิ์ (พิมพ์ครั้งที่ ๑).
กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ภาคผนวก
ภาคผนวก ก.
รายนามผู้เชี่ยวชาญ
42

รายนามผู้เชี่ยวชาญ
รายนามผู้เชี่ยวชาญตรวจแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อแบบจำลอง
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชากลศาสตร์เครื่องมือกล

1. ครูชาคริต กลิ่นจันทร์ หัวหน้าแผนกวิชาเทคนิคอุตสาหกรรม

2. ครูเอกชัย พาลีบุตร ครูประจำแผนกวิชาเทคนิคอุตสาหกรรม

3. ครูวีรพล ดวงเพ็ชร ครูประจำแผนกวิชาเทคนิคอุตสาหกรรม

4. ครูวรกานต์ ศุภเลิศมงคลชัย ครูประจำแผนกวิชาเทคนิคอุตสาหกรรม

5. ครูประหยัด จงดี ครูประจำแผนกวิชาช่างกลโรงงาน


ภาคผนวก ข.
- การวิเคราะห์ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ของข้อสอบกับจุดประสงค์การเรียนรู้
และ พฤติกรรมที่ต้องการวัด
- ผลคะแนนผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนวิชากลศาสตร์เครื่องมือกลที่ได้จากการทำ
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนวิชากลศาสตร์เครื่องมือกลก่อนและหลังเรียน
44

ตารางที่ ข-1 ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ของข้อสอบตรงกับจุดประสงค์การเรียนรู้ และ


พฤติกรรมที่ต้องการวัด

คะแนนความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ
แบบทดสอบข้อที่ R IOC
คนที่ 1 คนที่ 2 คนที่ 3

1 +1 +1 +1 3 1.00
2 +1 +1 +1 3 1.00
3 +1 +1 +1 3 1.00
4 +1 +1 +1 3 1.00
5 +1 0 +1 2 0.67
6 +1 +1 +1 3 1.00
7 +1 +1 +1 3 1.00
8 +1 +1 +1 3 1.00
9 +1 +1 +1 3 1.00
10 +1 +1 +1 3 1.00

จากตารางที่ ข-1 เมื่อวิเคราะห์ผลคะแนนความคิ ดเห็นของผู้ เชี่ยวชาญทั้ง 3 ท่าน พบว่า


แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนกลศาสตร์เครื่องมือกล มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ระหว่าง
ข้อสอบกับจุดประสงค์การเรียนรู้ และพฤติกรรมที่ต้องการวัด ระหว่าง .67 ถึง 1.00
45

ตารางที่ ข-2 คะแนนผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ที่ได้จากการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์


ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน (คะแนนเต็ม 10 คะแนน)
ทดสอบก่อนเรียน ทดสอบหลังเรียน
คนที่
(10 คะแนน) (10 คะแนน)
1 2 5
2 3 7
3 3 7
4 5 6
5 7 9
6 5 8
7 3 6
8 1 6
9 1 6
10 5 10
11 0 4
12 3 6
13 3 8
14 4 8
̅
𝒙 4.5 9.6
S.D. 1.81 1.55
ภาคผนวก ค.
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
- แผนการจัดการเรียนรู้เรื่องแรงเสียดทาน
- แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชากลศาสตร์เครื่องมือกล
- แบบประเมินความพึงพอใจในการใช้สื่อการสอนแบบจำลอง
- แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้สื่อแบบจำลอง
- สื่อแบบจำลองแรงเสียดทาน
47

แผนการจัดการเรียนรู้ หน่วยที่ 6
วิชา กลศาสตร์เครื่องมือกล (20102-2006) สัปดาห์ที่ 15-16
ชื่อหน่วย แรงเสียดทาน เวลา 2 ชั่วโมง
ชื่อบทเรียน แรงเสียดทาน
หัวเรื่อง
1. นิยามของแรงเสียดทาน
2. คุณสมบัติของแรงเสียดทาน
3. ประเภทของแรงเสียดทาน
4. สัมประสิทธิ์แรงเสียดทาน
5. สัมประสิทธิ์แรงเสียดทานในแนวระดับ
6. สัมประสิทธิ์แรงเสียดทานในแนวระนาบเอียง
สาระสำคัญ
แรงเสียดทาน เป็นแรงที่เกิดขึ้นได้กับวัตถุทุกชนิดที่ต้องใช้ร่วมกับวัตถุชิ้นอื่นๆ ซึ่งโดยทั่วไปจะ
เกิดในสองลักษณะ คือ ลักษณะที่เกิดขึ้นโดยไม่พึงปรารถนา สาเหตุเนื่องจากความเสียดทานนี้จะ
ส่งผลทางด้านลบกับชิ้นส่วนเครื่องจักรกล เช่น ทำให้ชิ้นส่วนสึกหรอ เป็นต้น ส่วนลักษณะที่เกิดขึ้น
โดยปรารถนา เนื่องจากหากไม่มีความเสียดทานในชิ้นส่วนเครื่องจักรกลก็จะทำให้ไม่สามารถ
ทำงานได้ เช่นสายพาน คลัตซ์ และเบรกรถยนต์ เป็นต้น ดังนั้นการศึกษาถึงลักษณะต่าง ๆ ของแรง
เสียดทานและขนาดของแรงเสียดทานที่เกิดขึ้นจึงมีความสำคัญในวิชากลศาสตร์
จุดประสงค์การสอน
จุดประสงค์ทั่วไป เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจแรงเสียดทาน
จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม : เมื่อผู้เรียนเรียนแล้วสามารถ
1. บอกความหมายของแรงเสียดทานได้
2. บอกคุณสมบัติของแรงเสียดทานได้
3. บอกประเภทของแรงเสียดทานได้
4. บอกความหมายของสัมประสิทธิ์ของแรงเสียดทานได้
5. คำนวณหาสัมประสิทธิ์ของแรงเสียดทานได้
6. คำนวณหาสัมประสิทธิ์ของแรงเสียดทานในแนวระดับได้
7. คำนวณหาสัมประสิทธิ์ของแรงเสียดทานในแนวระนาบเอียงได้
สมรรถนะย่อย
แสดงความรู้เกี่ยวกับการคำนวณหาแรงเสียดทาน
48

แผนการจัดการเรียนรู้ หน่วยที่ 6
วิชา กลศาสตร์เครื่องมือกล (20102-2006) สัปดาห์ที่ 15-16
ชื่อหน่วย แรงเสียดทาน เวลา 2 ชั่วโมง
เนื้อหา
1. นิยามของแรงเสียดทาน
แรงเสียดทาน หมายถึง แรงต้านทานที่เกิดขึ้นจากการเสียดสีระหว่างผิวสัมผัสของวัตถุ ซึ่งวัตถุที่
เสียดสีกันอาจจะเกิดจากเสียดผิวระหว่างผิวของแข็งกับผิวของของแข็ง ซึ่งเรียกว่า "แรงเสียดทาน
แห้ง"หรือเกิดจากผิวของของแข็งเสียดสีกับผิวของของเหลว ซึ่งเรียกว่า "แรงเสียดทานเปียก" แต่
สำหรับในที่นี้จะกล่าวเฉพาะแรงเสียดทานแห้งเท่านั้น
2. คุณสมบัติของแรงเสียดทาน
แรงเสียดทานมีคุณสมบัติดังนี้
1. แรงเสียดทานเป็นอิสระต่อพื้นที่ผิวสัมผัส
2. แรงเสียดทานแปรผันตรงกับความดันที่ตั้งฉากกับพื้นที่ผิวสัมผัสนั้น
3. อุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงมีอิทธิพลต่อแรงเสียดทานไม่มากนัก
4. แรงเสียดทานมีทิศทางตรงกันข้ามกับการเคลื่อนที่เสมอ
5. วัตถุที่มีการเคลื่อนที่ที่ความเร็วต่ำ ค่าของแรงเสียดทานจะเป็นอิสระต่อความเร็ว
6. วัตถุที่มีการเคลื่อนที่ที่ความเร็วสูง ค่าของแรงเสียดทานจะมีค่าน้อยลงเมื่อความเร็วเพิ่มขึ้น
3. ประเภทของแรงเสียดทาน
แรงเสียดทาน สามารถแบ่งตามลักษณะการเกิดแรงได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. แรงเสียดทานสถิต (Static Friction) หมายถึง แรงเสียดทานที่เกิดขึ้นขณะที่วัตถุพยายามจะ
เคลื่อนที่ แรงเสียดทานสถิตจะมีค่าสูงสุดมักจะเกิดขึ้นเมื่อวัตถุกำลังจะเริ่มเคลื่อนที่
2. แรงเสียดทานจลน์ (Kinetic Friction) หมายถึง แรงเสียดทานที่เกิดขึ้นขณะที่วัตถุเกิดการ
เคลื่อนที่โดยทั่วไปแล้วแรงเสียดทานจลน์ จะมีค่าน้อยกว่าแรงเสียดทานสถิตประมาณ 25%
49

แผนการจัดการเรียนรู้ หน่วยที่ 6
วิชา กลศาสตร์เครื่องมือกล (20102-2006) สัปดาห์ที่ 15-16
ชื่อหน่วย แรงเสียดทาน เวลา 2 ชั่วโมง
เนื้อหา (ต่อ)
4. สัมประสิทธิ์แรงเสียดทาน
สัมประสิทธิ์แรงเสียดทาน คือ ค่าอัตราส่วนระหว่างแรงเสียดทานสูงสุด กับแรงปฏิกิริยาที่สัมผัสที่
กระทำกับวัตถุในแนวตั้งฉาก โดยสามารถเขียนเป็นสมการได้ดังนี้
𝐹
𝜇 = 𝑁
เมื่อ μ คือ ค่าสัมประสิทธิ์ความเสียดทาน
F คือ แรงเสียดทาน
N คือ แรงปฏิกิริยาที่ผิวสัมผัสที่กระทำกับวัตถุในแนวตั้งฉาก
5. สัมประสิทธิ์แรงเสียดทานในแนวระดับ

พิจารณา วัตถุหนัก W ถูกดึงด้วยแรง P จนวัตถุเกือบเคลื่อนที่ แรงที่พยายามต้านทานการ


เคลื่อนที่คือแรงเสียดทาน F ซึ่งแปรผันตามขนาดของแรงปฏิกิริยาที่ผิวสัมผัสที่กระทำกับวัตถุใน
แนวตั้งฉาก N ดังนั้น
50

แผนการจัดการเรียนรู้ หน่วยที่ 6
วิชา กลศาสตร์เครื่องมือกล (20102-2006) สัปดาห์ที่ 15-16
ชื่อหน่วย แรงเสียดทาน เวลา 2 ชั่วโมง

ส่วนมุมของแรงเสียดทาน ซึ่งเป็นมุมที่เกิดขึ้นระหว่างแรงปฏิกิริยา N กับแรงลัพธ์ R นั้นสามารถ


หาค่ามุมได้โดยอาศัยหลักการของตรีโกณมิติได้ ดังนี้

เมื่อ θ คือ มุมของแรงเสียดทาน

7.6 สัมประสิทธิ์แรงเสียดทานในแนวระนาบเอียง
51

แผนการจัดการเรียนรู้ หน่วยที่ 6
วิชา กลศาสตร์เครื่องมือกล (20102-2006) สัปดาห์ที่ 15-16
ชื่อหน่วย แรงเสียดทาน เวลา 2 ชั่วโมง
เนื้อหา (ต่อ)
พิจารณา วัตถุน้ำหนัก W วางอยู่บนพื้นเอียงทำมุมกับแนวระดับ θ มีแรงเสียดทาน F
ต้านทานการลื่นไถลของพื้นเอียง ซึ่งแรงเสียดทาน F นั้นจะแปรผันไปตามขนาดของแรงปฏิกิริยา
ทีผ่ ิวสัมผัสกระทำกับวัตถุในแนวตั้งฉาก N ซึ่งเอียงทำมุมกับแนวระดับ θ เช่นกัน ฉะนั้นการ
คำนวณหาค่าต่างๆ จะเป็นดังนี้
F = W Sin θ
ขณะที่แรงปฏิกิริยาที่ผิวสัมผัส N มีค่า หาได้จากสมการ
N = W Cos θ
52

แผนการจัดการเรียนรู้ หน่วยที่ 6
วิชา กลศาสตร์เครื่องมือกล (20102-2006) สัปดาห์ที่ 15-16
ชื่อหน่วย แรงเสียดทาน เวลา 2 ชั่วโมง
กิจกรรมการสอน/วิธีการสอน (ภาคทฤษฎี)
เวลา
กิจกรรมผู้สอน กิจกรรมผู้เรียน วิธีการ/สื่อ
(นาที)
ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน -
1. ครูตรวจสอบการมาเรียนของนักเรียน 1. ผู้เรียนขานชื่อเมื่อครู ใช้PowerPoint
โดยการเช็คชื่อ เรียก
2. ครูชี้แจงรายละเอียดหัวข้อเรื่องที่จะ 2. ผู้เรียนนั่งฟังครู
เรียนตลอดจน สาระการเรียนรู้ และ อธิบายด้วยความตั้งใจ
จุดประสงค์การเรียนรู้ให้นักเรียนทราบ 3. ผู้เรียนฟังครูอธิบาย 5
3. ครูชี้แจงเกณฑ์การวัดผลและประเมิน ด้วยความตั้งใจ
ผลให้นักเรียนทราบ 4. ผู้เรียนตอบคำถาม
4. ครูสนทนาและซักถามนักเรียนว่ายาง
ของรถยนต์ที่ไม่มี ดอกยางกับมีดอกยางมี
ผลอย่างไรต่อการเกาะยืดถนน
ขั้นให้เนื้อหา ขั้นให้เนื้อหา -หนังสือเรียน
1. อธิบายความหมายของแรงเสียดทาน 1. ผู้เรียนฟังการอธิบาย - กระดาน
2. อธิบายคุณสมบัติของแรงเสียดทาน และตอบคำถามพร้อม - สื่อ
3. อธิบายประเภทของแรงเสียดทาน จดใจความที่สำคัญลง แบบจำลอง
30
4.สาธิตการคำนวณหาสัมประสิทธิ์ของแรง บนสมุดหรือหนังสือ
เสียดทานทั้งในแนวระดับและแนวระนาบ 2. ผู้เรียนดูการสาธิต
เอียง และสอบถามเพิ่มเติมใน
ส่วนที่ไม่เข้าใจ
53

แผนการจัดการเรียนรู้ หน่วยที่ 6
วิชา กลศาสตร์เครื่องมือกล (20102-2006) สัปดาห์ที่ 15-16
ชื่อหน่วย แรงเสียดทาน เวลา 2 ชั่วโมง
กิจกรรมการสอน/วิธีการสอน (ภาคทฤษฎี)
เวลา
กิจกรรมผู้สอน กิจกรรมผู้เรียน วิธีการ/สื่อ
(นาที)
ขั้นพยายามและสำเร็จผล ขั้นพยายามและสำเร็จ -หนังสือเรียน
1. ครูให้ผู้เรียนทำกิจกรรมทดสอบแรง ผล -แบบฝึกหัด
เสียดทานและทำแบบฝึกหัดท้ายหน่วย 1. ผู้เรียนร่วมทำ ท้ายหน่วย
2. ครูให้ทำแบบทดสอบท้ายหน่วยที่ 6 กิจกรรมและทำ -แบบทดสอบ
3. ตรวจผลการทำแบบทดสอบท้ายหน่วย แบบฝึกหัด ท้ายหน่วยที่6
ร่วมกับผู้เรียน 2. ผู้เรียนทำ
210
4. อภิปรายเกี่ยวกับกิจกรรมทดสอบแรง แบบทดสอบท้ายหน่วยที่
เสียดทาน 6
3. ผู้เรียนร่วมอภิปราย
และตรวจคำตอบของ
แบบทดสอบท้ายหน่วยที่
6
54

แผนการจัดการเรียนรู้ หน่วยที่ 6
วิชา กลศาสตร์เครื่องมือกล (20102-2006) สัปดาห์ที่ 15-16
ชื่อหน่วย แรงเสียดทาน เวลา 2 ชั่วโมง
สื่อการเรียนรู้
1. หนังสือเรียนวิชา กลศาสตร์เครื่องมือกล รหัส 20102-2006 หน่วยที่ 6
2. แบบฝึกหัดท้ายหน่วยที่ 6.1
3. แบบฝึกหัดท้ายหน่วยที่ 6.2
4. แบบฝึกหัดท้ายหน่วยที่ 6.3
5. แบบทดสอบท้ายหน่วยที่ 6
6. สื่อแบบจำลอง
การวัดและประเมินผล
1. ก่อนเรียน : ใช้สมุดบันทึกเวลาเรียน เรียกชื่อผู้เรียนและตรวจการตรงต่อเวลา
2. ขณะเรียน : สังเกตพฤติกรรมการเรียน การตอบคำถาม
3. หลังเรียน : คะแนนจากการทำแบบฝึกหัดท้ายหน่วยและแบบทดสอบท้ายหน่วย

งานที่มอบหมาย
-
หนังสืออ้างอิง
เสกสรร ศรียศ กลศาสตร์เครื่องมือกล นนทบุรี: 2562.
55

บันทึกหลังการสอน หน่วยที่ 6
ชื่อวิชา กลศาสตร์เครื่องมือกล (20102-2006) สัปดาห์ที่ 15
ชื่อหน่วย แรงเสียดทาน ปวช. 2 ทอ. ก 1
ความสำเร็จในการจัดการเรียนรู้
…………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………
แนวทางการพัฒนา
…………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………
ปัญหาหรืออุปสรรคในการจัดการเรียนรู้
…………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………
แนวทางแก้ปัญหา
…………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………
สิ่งที่ไม่ได้ปฏิบัติตามแผน
…………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………

(.......................................................)
ผู้สอน
56

แบบทดสอบก่อนเรียน
วิชา กลศาสตร์เครื่องมือกล (20102-2006) เวลา 10 นาที
ครูผู้สอน นายนิ่มอนันต์ เสริมศรี
คำสั่ง จงทำเครื่องหมายกากบาท (×) ลงในกระดาษคำตอบในข้อที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว

1. แรงเสียดทาน หมายถึงข้อใด
ก. แรงต้านที่เกิดขึ้นจากการเบียดระหว่างผิวสัมผัสของวัตถุ 2 ขึ้น
ข. แรงต้านทานที่เกิดขึ้นจากการเสียดสีระหว่างผิวสัมผัสของวัตถุ 2 ชิ้น
ค. แรงต้านที่เกิดขึ้นจากการบีบระหว่างผิวสัมผัสของวัตถุ 2 ชิ้น
ง. แรงต้านที่เกิดขึ้นจากทับระหว่างผิวสัมผัสของวัตถุ 2 ชิ้น

2. ข้อใดให้ความหมายของแรงเสียดทานสถิต ได้ถูกต้อง
ก. แรงเสียดทานสถิตจะมีค่าสูงสุดมักจะเกิดขึ้นเมื่อวัตถุกำลังจะเริ่มเคลื่อนที่
ข. แรงเสียดทานสถิตจะมีค่าต่ำสุดเมื่อวัตถุกำลังจะเริ่มเคลื่อนที่
ค. แรงเสียดทานสถิตจะมีค่าน้อยกว่าแรงเสียดทานจลน์ประมาณ 25%
ง. แรงเสียดทานที่เกิดขึ้นขณะที่วัตถุมีการเคลื่อนที่

3. ข้อใดไม่ใช่สมบัติของแรงเสียดทาน
ก. การทำปฏิกิริยาต่อพื้นผิวสัมผัส
ข. อุณหภูมิมีผลต่อแรงเสียดทานไม่มากนัก
ค. แรงเสียดทานเป็นอิสระต่อพื้นผิวสัมผัส
ง. แรงเสียดทานมีทิศทางตรงกันข้ามกับการเคลื่อนที่เสมอ

4. ข้อใดไม่ใช่ปัจจัยที่มีผลต่อแรงเสียดทาน
ก. มวลของวัตถุ
ข. ลักษณะผิวสัมผัส
ค. ชนิดผิวสัมผัส
ง. ขนาดผิวสัมผัส
57

แบบทดสอบก่อนเรียน
วิชา กลศาสตร์เครื่องมือกล (20102-2006) เวลา 10 นาที
ครูผู้สอน นายนิ่มอนันต์ เสริมศรี
5. ข้อใดเป็นประเภทของแรงเสียดทาน
ก. แรงเสียดทานต้าน
ข. แรงเสียดทานกด
ค. แรงเสียดทานสถิต
ง. แรงเสียดทานทับ
6. จากภาพเป็นแรงเสียดทานประเภทใด
ก. ไม่มีแรงเสียดทาน
ข. แรงเสียดทานจลน์
ค. แรงเสียดทานสถิต
ง. แรงเสียดทานจลน์และสถิต

7. แรงเสียดทานมีกี่ประเภท
ก. 5 ประเภท ข. 4 ประเภท ค. 3 ประเภท ง. 2 ประเภท
8. สัมประสิทธิ์แรงเสียดทาน หมายถึงข้อใด
ก. ค่าอัตราส่วนระหว่างแรงเสียดทานต่ำสุด กับแรงปฏิกิริยาที่ผิวสัมผัสที่กระทำกับวัตถุในแนว
ข. ค่าอัตราส่วนระหว่างแรงเสียดทานสูงสุด กับแรงปฏิกิริยาที่ผิวสัมผัสที่กระทำกับ วัตถุในแนว
ค. ค่าอัตราส่วนระหว่างแรงเสียดทานต่ำสุด กับแรงปฏิกิริยาที่ผิวสัมผัสที่กระทำกับวัตถุใน
ง. ค่าอัตราส่วนระหว่างแรงเสียดทานสูงสุด กับแรงปฏิกิริยาที่ผิวสัมผัสที่กระทำกับ วัตถุใน
9.กล่องหนัก 200 นิวตัน ผลักไปบนพื้นเกิดแรงเสียดทานจลน์ 100 นิวตัน จงหาสัมประสิทธิ์
แรงเสียดทานจลน์
ก.0 ข. 0.5 ค. 1 ง. 1.5
10. กล่องไม้หนัก 1000 นิวตัน เคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงที่ด้วยแรงดึง 100 นิวตัน ตามพื้นราบ
จะมีค่าสัมประสิทธิ์ของแรงเสียดทานเท่าใด
ก.2 ข. 1 ค. 0.5 ง. 0.1
58

แบบทดสอบหลังเรียน
วิชา กลศาสตร์เครื่องมือกล (20102-2006) เวลา 10 นาที
ครูผู้สอน นายนิ่มอนันต์ เสริมศรี
คำสั่ง จงทำเครื่องหมายกากบาท (×) ลงในกระดาษคำตอบในข้อที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว

1. แรงเสียดทาน หมายถึงข้อใด
ก. แรงต้านที่เกิดขึ้นจากการเบียดระหว่างผิวสัมผัสของวัตถุ 2 ขึ้น
ข. แรงต้านทานที่เกิดขึ้นจากการเสียดสีระหว่างผิวสัมผัสของวัตถุ 2 ชิ้น
ค. แรงต้านที่เกิดขึ้นจากการบีบระหว่างผิวสัมผัสของวัตถุ 2 ชิ้น
ง. แรงต้านที่เกิดขึ้นจากทับระหว่างผิวสัมผัสของวัตถุ 2 ชิ้น
2. ข้อใดให้ความหมายของแรงเสียดทานสถิต ได้ถูกต้อง
ก. แรงเสียดทานสถิตจะมีค่าสูงสุดมักจะเกิดขึ้นเมื่อวัตถุกำลังจะเริ่มเคลื่อนที่
ข. แรงเสียดทานสถิตจะมีค่าต่ำสุดเมื่อวัตถุกำลังจะเริ่มเคลื่อนที่
ค. แรงเสียดทานสถิตจะมีค่าน้อยกว่าแรงเสียดทานจลน์ประมาณ 25%
ง. แรงเสียดทานที่เกิดขึ้นขณะที่วัตถุมีการเคลื่อนที่
3. ข้อใดไม่ใช่สมบัติของแรงเสียดทาน
ก. การทำปฏิกิริยาต่อพื้นผิวสัมผัส
ข. อุณหภูมิมีผลต่อแรงเสียดทานไม่มากนัก
ค. แรงเสียดทานเป็นอิสระต่อพื้นผิวสัมผัส
ง. แรงเสียดทานมีทิศทางตรงกันข้ามกับการเคลื่อนที่เสมอ
4. ข้อใดไม่ใช่ปัจจัยที่มีผลต่อแรงเสียดทาน
ก. มวลของวัตถุ
ข. ลักษณะผิวสัมผัส
ค. ชนิดผิวสัมผัส
ง. ขนาดผิวสัมผัส
5. ข้อใดเป็นประเภทของแรงเสียดทาน
ก. แรงเสียดทานต้าน
ข. แรงเสียดทานกด
ค. แรงเสียดทานสถิต
ง. แรงเสียดทานทับ
59

แบบทดสอบหลังเรียน
วิชา กลศาสตร์เครื่องมือกล (20102-2006) เวลา 10 นาที
ครูผู้สอน นายนิ่มอนันต์ เสริมศรี

6. จากภาพเป็นแรงเสียดทานประเภทใด
ก. ไม่มีแรงเสียดทาน
ข. แรงเสียดทานจลน์
ค. แรงเสียดทานสถิต
ง. แรงเสียดทานจลน์และสถิต

7. แรงเสียดทานมีกี่ประเภท
ก. 5 ประเภท ข. 4 ประเภท ค. 3 ประเภท ง. 2 ประเภท

8. สัมประสิทธิ์แรงเสียดทาน หมายถึงข้อใด
ก. ค่าอัตราส่วนระหว่างแรงเสียดทานต่ำสุด กับแรงปฏิกิริยาที่ผิวสัมผัสที่กระทำกับวัตถุในแนว
ข. ค่าอัตราส่วนระหว่างแรงเสียดทานสูงสุด กับแรงปฏิกิริยาที่ผิวสัมผัสที่กระทำกับ วัตถุในแนว
ค. ค่าอัตราส่วนระหว่างแรงเสียดทานต่ำสุด กับแรงปฏิกิริยาที่ผิวสัมผัสที่กระทำกับวัตถุใน
ง. ค่าอัตราส่วนระหว่างแรงเสียดทานสูงสุด กับแรงปฏิกิริยาที่ผิวสัมผัสที่กระทำกับ วัตถุใน

9.กล่องหนัก 200 นิวตัน ผลักไปบนพื้นเกิดแรงเสียดทานจลน์ 100 นิวตัน จงหาสัมประสิทธิ์


แรงเสียดทานจลน์
ก.0 ข. 0.5 ค. 1 ง. 1.5

10. กล่องไม้หนัก 1000 นิวตัน เคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงที่ด้วยแรงดึง 100 นิวตัน ตามพื้นราบ


จะมีค่าสัมประสิทธิ์ของแรงเสียดทานเท่าใด
ก.2 ข. 1 ค. 0.5 ง. 0.1
60

เฉลยคำตอบ
ข้อที่ คำตอบ
1 ข
2 ก
3 ก
4 ง
5 ค
6 ข
7 ง
8 ข
9 ข
10 ง
61

แบบสอบถามวัดความพึงพอใจที่มีต่อการใช้สื่อแบบจำลอง
เรื่อง แรงเสียดทาน
คำชี้แจง ให้ท่านทำเครื่องหมาย √ ในช่องระดับที่ตรงกับความพึงพอใจของท่าน เพียงช่องเดียวเท่านั้น
ระดับความพึงพอใจ
ข้อ ข้อความ มาก ปาน น้อย
ที่สุด มาก กลาง น้อย ที่สุด
5 4 3 2 1
1 เร้าหรือกระตุ้นความสนใจ ให้เกิดการ
ใฝ่รู้ในเรื่องที่เรียน
2 มีสอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้ที่
สอน
3 มีความสัมพันธ์กับเนื้อหาบทเรียนที่
สอน
4 ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ /กระตุ้น
กระบวนการคิดของนักเรียน
5 ทำให้เกิดการค้นพบความรู้ด้วยตนเอง
6 มีความทันสมัยแปลกใหม่แตกต่างไป
จากการเรียนปกติ
7 สามารถถ่ายทอดเนื้อหาที่เป็น
นามธรรมให้เป็นรูปธรรมได้
8 เป็นสื่อที่มีการประยุกต์ใช้ได้อย่าง
เหมาะสม
9 สื่อเสริมสร้างความเข้าใจในบทเรียน
10 ท่านมีความพึงพอใจต่อสื่อการสอน
และอุปกรณ์การเรียนรู้ที่ได้รับโดย
ภาพรวมเป็นอย่างไร
ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
......................................................................................................................................................
......................................................................................................................................................
62

แบบสอบถาม
เรื่อง การพัฒ นาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิช ากลศาสตร์เครื่องมือกลของนักเรียนระดับ
ประกาศนียบัตรวิชาชีพ ระดับชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาช่างเทคนิคอุตสาหกรรม วิทยาลัยเทคนิค
เพชรบุรีโดยใช้สื่อแบบจำลอง
คำชี้แจง : ให้นักเรียนอ่านคำถามแล้วตอบคำถามต่อไปนี้
แบบสอบถามแบ่งเป็น 2 ตอนดังนี้
ตอนที่ 1 ข้อมูลส่วนตัว
ตอนที่ 2 แบบสอบถามความพึงพอใจการใช้สื่อแบบจำลอง
ตอนที่ 1 เพศ  ชาย  หญิง
ตอนที่ 2 แบบสอบถามความพึงพอใจการใช้สื่อแบบจำลอง

1. ผู้สอนนำสื่อแบบจำลองมาใช้ในการเรียนการสอนผู้เรียนมีความรู้สึกอย่างไรบ้าง
…………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………
สื่อแบบจำลองมีประโยชน์ในการเรียนหรือไม่ อย่างไร
…………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………
นักเรียนมีความพึงพอใจในภาพรวมต่อเทคนิคและวิธีการสอนในรายวิชากลศาสตร์เครื่อง
มือกลอย่างไร
…………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………
ข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมเกี่ยวกับสื่อแบบจำลอง
…………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………
63

สื่อแบบจำลองแรงเสียดทาน

ภาพประกอบที่ 1 ตัวอย่างแบบจำลองแรงเสียด
ทาน
64

ภาพประกอบที่ 2 ตัวอย่างการทดลองแบบจำลองแรงเสียดทานบนพื้นทราย

ภาพประกอบที่ 3 ตัวอย่างการทดลองแบบจำลองแรงเสียดทานบนพื้นพลาสติกขรุขระ
65

ภาพประกอบที่ 4 ตัวอย่างการทดลองแบบจำลองแรงเสียดทานบนพื้นกระดาษที่เป็นลูกระนาด

ภาพประกอบที่ 5 ตัวอย่างการทดลองแบบจำลองแรงเสียดทานบนพื้นไม้

ภาพประกอบที่ 6 ตัวอย่างการทดลองแบบจำลองแรงเสียดทานบนพื้นหญ้า
66

ขั้นตอนการใช้สื่อ
1. นำวัตถุวางบนพื้นผิวแต่ละชนิด ได้แก่ พื้นไม้ พื้นหญ้า พื้นพลาสติกผิวขรุขระ พื้นทราย
และพื้นกระดาษที่เป็นลูกระนาด
2. การทดลอง คือนำลูกแก้วหย่อนลงแก้วที่แขวนไว้กับวัตถุ จากนั้นวัตถุจะค่อยๆ เคลื่อนลง
ตามน้ำหนักของลูกแก้วที่เราหย่อนลงไป
3. สังเกตจำนวนของลูกแก้ว และระยะเวลาที่วัตถุเคลื่อนที่จนหล่นจากพื้นผิว
4. สังเกตดูแรงเสียดทานของวัตถุกับพื้นผิวแต่ละชนิดมีความแตกต่างกัน

You might also like