You are on page 1of 33

คำนำ

การเรียนรู้เป็นสิ่งที่คนเราจะต้องกระทำตลอดชีวิต ความเจริญก้าวหน้าในด้านต่าง ๆ ทั้งด้าน


วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีที่เกิดขึ้นตลอดเวลา การศึกษาเกี่ยวกับลักษณะ ชนิด มาตรฐาน กรรมวิธีการ
ผลิต การใช้งาน การจัดเก็บการเลือกวัสดุในงานอุตสาหกรรมประกอบด้วย โลหะ อโลหะ โลห ะผสม
อิทธิพลของธาตุที่มีต่อโลหะผสม วัสดุเชื้อเพลิงสารหล่อเย็น วัสดุหล่อเย็น วัสดุก่อสร้าง วัสดุสังเคราะห์
วัสดุไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ การกัดกร่อนและการป้องกัน หลักการตรวจสอบวัสดุเบื้องต้น เป็นสิ่งที่
ต้องเรียนรู้ เพื่อให้ทันโลก และจะได้นำความรู้ ที่ได้รับมาปรับใช้ให้เหมาะกับชีวิต ครูคือบุคคลที่จะต้อง
ทำหน้าที่ให้ความรู้ ฉะนั้นครูต้องมีการเรียนรู้ ให้ทันความเจริญก้าวหน้าในด้านของวิทยาการ เป็นการ
พัฒนาตนเองให้ทันสมัย และเพื่อนำความรู้ที่ได้รับมาถ่ายทอดให้ศิษย์ คิดค้นวิธีการให้ความรู้ที่ดีที่สุด
เพื่อให้ศิษย์ได้รับความรู้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
ผู้วิจัยคิดสร้างแผนการสอนแบบบูรณาการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับใช้ประกอบการ
เรียนการสอนวิชาวั ส ดุ ง านช่ า งอุ ต สาหกรรม (รหัส 20100-1002) ตามหลักสูตรประกาศนียบัตร
วิชาชีพ (ปวช.) พุทธศักราช 2563 และได้มีการพัฒนาเพื่อใช้ในการเรียนการสอนให้ได้ผลการเรียนรู้ใน
ระดับดี ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อครูผู้สอนที่สอนตามแนวทางที่กำหนดไว้ในแผนการสอนนี้
ผู้วิจัยหวังเป็นอย่างยิ่งว่ารายงานผลการใช้แผนการสอนฉบับนี้ จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่ อ
ครูผู้สอน นักเรียนนักศึกษา และการจัดการเรียนการสอน ในระดับต่าง ๆ ต่อไป

.................................
สารบัญ
หน้า
บทคัดย่อ
คำนำ
สารบัญ
บทที่ 1 บทนำ 1
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 3
บทที่ 3 วิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้า 12
บทที่ 4 ผลการดำเนินการ 15
บทที่ 5 สรุปผล 20
บรรณานุกรม
นิยามศัพท์
ภาคผนวก
กิตติศักดิ์ ปรีชาสิทธิโภคิน. (2564). รายงานการใช้แผนการสอนวิชาวัสดุงานช่างอุตสาหกรรม
(20100-1002) หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) พุทธศักราช 2562 วิทยาลัยเทคนิคสระบุรี
สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
แผนกวิชาเทคนิคพื้นฐาน วิทยาลัยเทคนิคสระบุรี

บทคัดย่อ
เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังใช้แผนการสอน วิชาวัส ดุงานช่างอุ ตสาหกรรม
(รหัส 20100-1002) ระดับชั้น ปวช. ตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และเพื่อศึกษาความ
พึงพอใจต่อครูผู้สอนที่สอนโดยใช้แผนการสอนวิชาวัส ดุงานช่างอุ ตสาหกรรม (รหัส 20100-1002)
ระดับชั้น ปวช. ตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
เพื่อสร้างและพัฒนาแผนการสอน วิชาวัส ดุงานช่างอุตสาหกรรม (รหัส 20100-1002)
ระดับชั้น ปวช. ตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ ที่มีคุณภาพสูง และใช้เป็นแนวทางในการพัฒนา
วิชาอื่นๆต่อไป
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า เป็นนักศึกษาระดับชั้น ปวช. 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563
วิทยาลัยเทคนิคสระบุรี อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี ที่เรียนกับผู้วิจัย จำนวน 2 กลุ่ม จำนวน 38 คน
ซึ่งเลือกแบบเจาะจง ระยะเวลาการดำเนินการ เพื่อหาคุณภาพของแผนการสอน จากกลุ่มประชากร ที่ใช้ในการ
ทดลอง ตลอดภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 ให้เวลาสอน 36 คาบ

อภิปลายผล
จากผลการหาคุณภาพของแผนการสอน โดยภาพรวมคะแนนเฉลี่ยอยู่ในเกณฑ์ที่ ดีมาก และจาก
หลังการใช้แผนการสอนเป็นเอกสารเพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนแล้วผู้เรียนมีความพึง
พอใจโดยภาพรวมอยู่ในระดับ ดี ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังจากการใช้แผนการสอนมีค่าคะแนน
เฉลี่ยร้อยละ 80.82 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด แสดงว่าแผนการสอนวิช าวัส ดุ ง านช่างอุ ตสาหกรรม
(รหัส 20100-1002) ที่ใช้สำหรับนักเรียนระดับชั้น ปวช. ที่สร้างขึ้นมามีคุณภาพเหมาะสมที่จะ
นำไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
บทที่ 1
บทนำ

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

ในการจัดการศึกษาวิชาวัสดุงานช่างอุตสาหกรรม ตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)


พุทธศักราช 2562 มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับลักษณะ ชนิด มาตรฐาน กรรมวิธีการผลิต การใช้
งาน การจัดเก็บการเลือกวัสดุในงานอุตสาหกรรมประกอบด้วย โลหะ อโลหะ โลหะผสม อิทธิพลของ
ธาตุที่มีต่อโลหะผสม วัสดุเชื้อเพลิงสารหล่อเย็น วัสดุหล่อเย็น วัสดุก่อสร้าง วัสดุสังเคราะห์ วัสดุไฟฟ้า
และอิเล็กทรอนิกส์ การกัดกร่อนและการป้องกัน หลักการตรวจสอบวัสดุเบื้องต้น
การเรียนการสอนในทุกรายวิชา มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ครูจะต้องมีการเตรียมตัวอย่างเป็น
ระบบ มีการวางแผนการสอนล่างหน้า มีการปรับปรุงพัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ จึงจะ
สามารถทำให้นักเรียนให้เกิดการเรียนรู้ลงมือปฏิบัติให้มากที่สุดเปิ ดโอกาสให้ผู้เรียนค้นพบคำตอบด้วย
ตนเอง เป็นแผนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ใช้ทักษะกระบวนการที่หลากหลาย และใช้วัสดุ
อุปกรณ์ที่จัดหาได้ในท้องถิ่น
จากการศึกษาสภาพการเรียนการสอน วิชาวั ส ดุ ง า น ช่ า ง อุ ต ส า ห ก ร ร ม
(รหัส 20100-1002) ของนักเรียนในระดับชั้น ปวช. วิทยาลัยเทคนิคสระบุรี อำเภอเมือง จังหวัด
สระบุรี สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา พบว่า ผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนยังไม่เป็นที่พึง
พอใจของผู้สอน จากการสังเกตและสอบถามผู้เรียนพบว่าวิชาวั ส ดุ งานช่ างอุ ตสาหกรรมเป็นวิชาที่ต้อง
ศึกษาเกี่ยวกับลักษณะ ชนิด มาตรฐาน กรรมวิธีการผลิต การใช้งาน การจัดเก็บการเลือกวัสดุในงาน
อุตสาหกรรมประกอบด้วย โลหะ อโลหะ โลหะผสม อิทธิพลของธาตุที่มีต่อโลหะผสม วัสดุเชื้อเพลิงสาร
หล่อเย็น วัสดุหล่อเย็น วัสดุก่อสร้าง วัสดุสังเคราะห์ วัสดุไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ การกัดกร่อนและการ
ป้องกัน หลักการตรวจสอบวัสดุเบื้องต้น และในขณะที่เรียนมีความเข้าใจในเนื้อหา แต่เมื่อเวลาผ่านไป
จนถึงสอบกลางภาคหรือสอบปลายภาคเรียน จำเนื้อหาไม่ได้ ไม่เข้าใจ ทำข้อสอบไม่ได้ ทำให้ผลการ
เรีย นไม่ผ ่านเกณฑ์ที่กำหนด ถ้าผู้เรียนได้ทำการฝึกการใช้ ทฤษฎีบ่อยๆ หรือสอบเก็บคะแนนไป
ตลอดเวลาที่เรียน จะทำให้ผลการเรียนดีขึ้น เมื่อพิจารณาถึงสาเหตุเบื้องต้นของปัญหาแล้วพบว่า
นักเรียนไม่ค่อนสนใจต่อการเรียนวิชาวั ส ดุ ง านช่ า งอุ ต สาหกรรมเท่าที่ควร นักเรียนขาดความสนใจใน
การฝึกทักษะ นักเรียนไม่ได้สืบเสาะหาความรู้ด้ว ยตัวเองมากนัก แหล่งความรู้ที่ให้นักเรียนศึกษา
ค้นคว้ามีน้อย เนื้อหาของรายวิชาไม่ค่อยเป็นรูปธรรม
ผู ้ ร ายงานจึ ง ได้ ส ร้ า ง พั ฒ นาและปรั บ ปรุ ง แผนการสอนที ่ เ น้ น ผู ้ เ รี ย นเป็ น ศู น ย์ ก ลาง
วิชาวัส ดุงานช่างอุตสาหกรรม (รหัส 20100-1002) จัดทำเอกสารประกอบการเรียน สื่อการสอน
นำกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์มาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ผู้จัดทำแผนการสอนจึงได้จัดทำ
แผนการสอนที่เน้นการค้นคว้า การนำทฤษฎีต่าง ๆ ไปใช้ตลอดเวลาที่เรียน มีการวัดผลทุกครั้งที่เรียน
จัดทำแบบทดสอบ ทีไ่ ด้มีการพัฒนาหลายภาคเรียนติดต่อกัน และนำแผนการสอนที่พัฒนาขึ้นนี้ไปใช้ใน
การพัฒนาการเรียนการสอน
2

วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังใช้แผนการสอน วิชาวัส ดุงานช่างอุตสาหกรรม
(รหัส 20100-1002) ระดับชั้น ปวช. ตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ
2. เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อครูผู้สอนที่สอนโดยใช้แผนการสอนวิชาวัส ดุงานช่างอุตสาหกรรม
(รหัส 20100-1002) ระดับชั้น ปวช. ตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ

ประโยชน์ที่ได้รับ
1. เพื่อสร้างและพัฒนาแผนการสอน วิชาวัส ดุงานช่างอุต สาหกรรม (รหัส 20100-1002)
ระดับชั้น ปวช. ตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ ที่มีคุณภาพสูง
2. เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาวิชาอื่นๆต่อไป

ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า
1. ประชากร ประชากรที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ คือ นักศึกษาระดับชั้น ปวช. 1
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 วิทยาลัยเทคนิคสระบุรี อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี ที่เรียนกับผู้วิจัย
จำนวน 2 กลุ่ม จำนวน 38 คน
2. กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า เป็นนักศึกษาระดับชั้น ปวช. 1
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 วิทยาลัยเทคนิคสระบุรี อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี ที่เรียนกับผู้วิจัย
จำนวน 2 กลุ่ม จำนวน 38 คน ซึ่งเลือกแบบเจาะจง
3. ระยะเวลาที่ดำเนินการ ระยะเวลาการดำเนินการ เพื่อหาคุณภาพของแผนการสอน จาก
กลุ่มประชากร ที่ใช้ในการทดลอง ตลอดภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 ให้เวลาสอน 36 คาบ

นิยามศัพท์เฉพาะ
1. แผนการสอน หมายถึง แผนการสอนที่ผู้รายงานได้จัดทำขึ้นสำหรับเตรียมการสอนในวิ ช า
วัส ดุงานช่างอุ ตสาหกรรม (รหัส 20100-1002) ระดับชั้น ปวช. ตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ
2. นักศึกษา หมายถึง นักศึกษาระดับ ปวช. วิทยาลัยเทคนิคสระบุรี อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี
สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 ที่เรียนวิช าวัส ดุงานช่าง
อุตสาหกรรม (รหัส 20100-1002) ระดับชั้น ปวช. ตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ กับผู้วิจัย
และเป็นกลุ่มตัวอย่าง
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง คะแนนที่ได้จากการสอบวัดผลหลังเรียน วิช า
วัส ดุงานช่างอุตสาหกรรม (รหัส 20100-1002) ระดับชั้น ปวช. ตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ
4. ความพึงพอใจต่อครูผู้สอน หมายถึง ความรู้สึกนึกคิ ด ความคิดเห็นที่มีต่อการจัดการเรียน
การสอนของครูผู้สอน วิช าวัส ดุงานช่างอุตสาหกรรม (รหัส 20100-1002) ระดับชั้น ปวช.
ตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ ซึ่งเป็นผู้วิจัย
5. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง แบบทดสอบที่ผู้วิจัยได้รวบรวมและ
สร้างขึ้น สำหรับวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิช าวัส ดุ งานช่า งอุตสาหกรรม (รหัส 20100-1002)
ระดับชั้น ปวช. ตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ
6. เกณฑ์ที่กำหนด หมายถึง ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน ได้จากการสอบวัดผลการเรียน
ตั้งแต่ร้อยละ 60 ขึ้นไป
บทที่ 2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง

ในการรายงานการทดลองใช้แผนการสอนและเอกสารประกอบการเรียนวิช าวัส ดุ งานช่า งอุตสาหกรรม


(รหัส 20100-1002) ผู้รายงานได้ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
1. แผนการสอน
2. เอกสารประกอบการเรียน
3. การหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
4. เจตคติต่อการเรียนการสอน

1. แผนการสอน
1.1 ความหมายของแผนการสอน
กรมวิชาการ (2533 : 336) ได้สรุปความหมายของแผนการสอน ว่า แผนการสอน คือ การนำ
รายวิชาที่จะทำการสอนตลอดภาคเรียนมาสร้างแผนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การใช้สื่อและ
อุปกรณ์การสอนและการวัดประเมินผล สำหรับเนื้อหาสาระ และจุดประสงค์การเรียนรู้ย่อย ๆ ให้
สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ หรือจุเน้นของหลักสูตร สภาพของผู้เรียน ความพร้อมของโรงเรียนในด้าน
วัสดุ อุปกรณ์และตรงกับชีวิตจริงในท้องถิ่น หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง แผนการสอนก็คือ การเตรียมการสอน
เป็นลายลักษณ์อักษรล่วงหน้า ซึ่งก็คือ บันทึกการสอนตามปกตินั่นเอง
สุพล วังสินธ์ (2536 : 5–6) กล่าวว่า แผนการสอน หรือแผนจัดการเรียนรู้เป็นกุญแจดอก
สำคัญที่ทำให้การ เรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากขึ้น
1) ทำให้เกิดการวางแผนวิธีเรียนที่ดีเป็นระบบ ตรวจสอบได้ ผสมผสานความรู้ด้าน
จิตวิทยาการเรียนรู้และจิตวิทยาการศึกษา
2) ช่วยให้ผู้สอนมีคู่มือการสอนที่ทำด้วยตนเองล่วงหน้ามีความมั่นใจในการสอน
3) ส่งเสริมให้ผ ู้ส อนมีความรู้ ความเข้ าใจในด้ านของหลั กสูตร วิธ ีส อนการวัดผล
และประเมินผล
4) เป็นคู่มือสำหรับผู้มาสอนแทน
5) เป็นหลักฐานแสดงข้อมูลที่ถูกต้องเที่ยงตรง เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพ
การสอน และการประกันคุณภาพการศึกษา
6) เป็นผลงานทางวิชาการแสดงความชำนาญความเชี่ยวชาญของผู้สอน
อาภรณ์ ใจเที่ย ง (2537 : 76) ได้ให้ความหมายของแผนการสอนไว้ว ่า แผนการสอนคื อ
การเตรียมการสอนเป็นลายลักษณ์อักษรล่วงหน้า การที่ผู้เรียนจะบรรลุตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้หรือ
จุดมุ่งหมายของหลักสูตรได้ และการเรียนการสอนจะเป็นไปอย่างมีระบบ ดำเนิน การสอนไปตามขั้นตอน
สามารถนำจิตวิทยาการเรียนรู้ ทฤษฎีการสอน และรูปแบบการสอน ต่าง ๆ มาใช้ในการจัดการเรียนการ
สอนได้อย่างเหมาะสม พร้อมทั้งปรับปรุงการสอนอย่างต่อเนื่อง
จากความหมายของแผนการสอนที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น สรุปได้ว่า แผนการสอน คือ เป็นแผน
ที่ครูผู้สอนเตรียมการไว้ล่วงหน้าอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร โดยกำหนดขั้นตอนการเรียนรู้อย่างเป็น
ระบบ ตามจุดประสงค์การเรียนรู้ของหลักสูตร
4

1.2 ความสำคัญของแผนการสอน
กรมวิชาการ (2535 : 1221) ได้สรุปความสำคัญของแผนการสอน ไว้ดังนี้
1) ช่วยให้ครูมีโอกาสในการพิจารณาส่วนประกอบต่าง ๆ ของบทเรียนดังกล่าวมาแล้วอย่าง
รอบคอบอันจะส่งผลถึงประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการเรียนรู้ของผู้เรียน
2) แผนการสอนที่ครูทำขึ้นเองเป็นการสร้างครูที่ดี เพราะครูมีโอกาสคาดการณ์ล่วงหน้า ใน
กระบวนการเรียนการสอน ซึ่งเป็นการเร้าให้ครูมีความคิดสร้างสรรค์
3) ทำหน้าทีเ่ ปรียบเสมือนผู้เตือนความจำให้แก่ผู้สอน ช่วยไม่ให้สับสน สามารถสอนได้ตรงตาม
จุดประสงค์ จัดกิจกรรมได้ตามขั้นตอน ใช้สื่อได้อย่างเหมาะสม มีการวัดและประเมินผลเป็นระยะ ๆ
4) ป้องกันการใช้เวลาอย่างไร้ประโยชน์ การทำแผนการสอนช่วยให้ครูคำนึงถึงเวลาที่ต้องใช้
การเตรียมบทเรียนเกินไปเป็นการยัดเยียดความรู้ให้แก่ผู้เรียน ซึ่งไม่ส่งผลดีต่อการเรียนรู้ และการเตรียม
บทเรียนน้อยไปอาจทำให้ครูทบทวนซ้ำซากไปจนหมดเวลา
5) ช่วยให้เกิดความมั่นใจในการสอน
6) ช่วยให้การบริหารงานเป็นไปได้ด้วยดี เพราะครูใหญ่และศึกษานิเทศก์ก็มีส่วนในการใช้
กล่าวโดยสรุปแผนการสอนมีความสำคัญ เพราะ แผนการสอนเป็นเครื่องมือที่มีคุณภาพ
ในการพัฒนากระบวนการเรียนการสอนของครู ช่วยให้เกิดความมั่นใจในการสอนไม่สับสน
สามารถสอนตรงตามขั้นตอนของกระบวนการเรียนการสอนได้อย่างเหมาะสม

1.3 ส่วนประกอบของแผนการสอน
เป็นแบบที่เขียนหัวข้อต่างๆ เรียงลงไปตามลำดับตั้งแต่หัวข้อแรก จนถังหัวข้อสุดท้าย ซึ่งมีรูปแบบ ดังนี้
(1) วิชา
(2) ระดับชั้น
(3) เรื่อง
(4) จุดประสงค์การเรียนรู้
(5) ระยะเวลาที่สอน
(6) สื่อการเรียนการสอน
(7) วิธีการประเมินผล
(8) เนื้อเรื่องย่อ
(9) กิจกรรมการเรียนการสอน
(10) แบบประเมินผลการเรียนรู้

1.4 ขั้นตอนในการทำแผนการสอน
ขั้นตอนในการทำแผนการสอน สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
(2538 : 13) ได้เสนอขั้นตอนไว้ดังต่อไปนี้
ขั้นที่ 1 การศึกษาและวิเคราะห์หลักสูตร
1.1 การศึกษาหลักสูตรอย่างกว้าง
1.2 การศึกษาและวิเคราะห์หลักสูตรอย่างลึกในกลุ่มวิชาที่สอน
1.2.1 การศึกษาและวิเคราะห์จุดประสงค์ของกลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์
1.2.2 ศึกษาโครงสร้างของวิชา
5

1.2.3 ศึกษาและวิเคราะห์คำอธิบายรายวิชา
ขั้นที่ 2 การกำหนดสาระสำคัญพร้อมกำหนดและวิเคราะห์จุดประสงค์การเรียนรู้
1.1 กำหนดหรือเขียนสาระสำคัญ
1.2 กำหนดและวิเคราะห์จุดประสงค์
2.2.1 จุดประสงค์การเรียนรู้ คืออะไร
2.2.2 ลักษณะของจุดประสงค์การเรียนรู้ที่ดี
2.2.3 องค์ประกอบของจุดประสงค์การเรียนรู้เชิงพฤติกรรม
2.2.4 การกำหนดจุดประสงค์ปลายทาง-นำทาง
ขั้นที่ 3 การกำหนดโครงสร้างรายวิชา
ขั้นที่ 4 การเขียนแผนการสอนรายคาบจากโครงสร้างรายวิชา
ขั้นที่ 5 การประเมินแผนการสอนและปรับปรุงพัฒนา

1.5 การจัดการเรียนการสอนที่เน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลาง
กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่ “เน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลาง” เป็นกระบวนการที่เน้นให้
ผู้เรียนมีบทบาทในการวางแผนการเรียนรู้หรือสร้างองค์ความรู้ การปฏิบัติกิจกรรม การแสวงหาความรู้
การศึกษาทำความเข้าใจ การคิดวิเคราะห์ การสังเคราะห์ การสรุปผล ทั้งนี้ด้วยการส่งเสริมให้ผู้เรียนได้มี
ปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ได้แลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้ความคิดและประสบการณ์มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

2. เอกสารประกอบการเรียน
เอกสารประกอบการเรียน เป็นเอกสารประกอบการสอนประเภทหนึ่ง
2.1 ความหมายและประเภทของเอกสารประกอบการเรียน
1.1 ความหมาย
กองวิจ ัย ทางการศึกษา กรมวิช าการ กระทรวงศึกษาธิการ ได้ให้ความหมายของเอกสาร
ประกอบการเรียนหมายถึง เอกสารที่พัฒนามาจากการแจกแผ่นปลิว ประกอบการเรียนของนักเรียน ใช้
ประกอบคำอธิบายของครู ใช้สำหรับทำกิจกรรมท้ายบทเรียน และใช้เป็นการบ้านช่วยให้วิชาที่เรียนยาก
เรียนง่ายขึ้น
พรรพิศ พลรัฐธนาสิทธ์ (2541 : 3) สรุปว่า เอกสารประกอบการสอน หมายถึง เอกสารหรือ
อุปกรณ์ที่ครูใช้ประกอบการสอนวิชาใดวิชาหนึ่งตามหลักสูตรที่ใช้ในสถานศึกษา มีหัวข้อและเนื้อหา
ครอบคลุมและครบถ้วนตามรายละเอียดของวิชาที่กำหนดไว้ในหลักสูตรไม่น้อยกว่า 1 รายวิชา
โสภณ นุ่มทอง (2542 : 62) กล่าวว่า เอกสารประกอบการเรียน เป็นเอกสารที่เน้นเนื้อหา
แจกจ่ายให้ผู้เรียนได้ศึกษาและทำกิจกรรมท้ายเนื้อหานั้น ซึ่งมีเนื้อหาอย่างละเอียด มีหัวข้อสอดคล้องกับ
หัวข้อในแผนการสอน
กล่าวโดยสรุป เอกสารประกอบการเรียน เป็นเอกสารประกอบการเรียนของนักเรียนที่เน้น
เนื้อหาแจกจ่ายให้ผู้เรียนได้ศึกษา มีเนื้อหาอย่างละเอียดและสอดคล้องกับหัวข้อในแผนการสอน ใช้
ประกอบคำอธิบายของครูและทำกิจกรรมท้ายเนื้อหา
6

2.2 ประเภทของเอกสารประกอบการสอน
วิช ัย วงษ์ใหญ่ อ้างจากเอกสารการสอนชุดวิช าประสบการณ์ว ิช าชี พ ครูห น่ว ยที่ 8
(2525 : 77-78) ได้แบ่งประเภทของเอกสารการสอนออกเป็น 3 แบบ ดังนี้
1. เอกสารการสอนที่ใช้ประกอบคำอธิบาย หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าเอกสารการสอนสำหรับ
ครู เป็นเอกสารการสอนที่กำหนดกิจกรรม และสื่อการเรียนให้ครูใช้ประกอบการสอน
2. เอกสารการสอนที่ใช้กิจกรรมแบบกลุ่ม มุ่งเน้นให้ตัวผู้เรียนได้ประกอบกิจกรรมร่วมกัน
อาจจัดการเรียนในรูปศูนย์การเรียน
3. เอกสารการสอนรายบุคคล เป็นเอกสารการสอนที่จัดระบบขึ้น เพื่อให้ผู้เรียนเรียนด้วยตนเอง

2.3 คุณค่าของเอกสารประกอบการเรียน
เอกสารการสอนประเภทใดๆ ย่อมมีคุณค่าต่อการเพิ่มคุณภาพในการเรียนการสอน หากได้มีการ
ทดสอบหลังการผลิตแล้ว ซึ่งพอสรุปคุณค่าได้ ดังนี้
1. สร้างความพร้อมและความมั่นใจให้แก่ผู้สอน
2. ช่วยให้ผู้เรียนมีโอกาสรับสื่อโดยใช้ประสาทสัมผัสได้หลายทาง
3. ผู้เรียนปลอดจากอารมณ์ของผู้สอนเพราะเอกสารการสอนใช้เรียนไปได้ตลอด
4. มีบรรยากาศการเรียนที่ดีขึ้น
5. ช่วยลดปัญหาการขาดครู การสอนแทน
6. เอกสารการสอนแบบกลุ่ม หรือแบบรายบุคคลใช้สอนซ่อมเสริมได้
7. ครู จะมีความสะดวกในการสอนมากขึ้น
(เอกสารการสอนชุดวิชาประสบการณ์วิชาชีพครู 2525 : 80)
ศรีไพบูลย์ เพชรกูล อ้างจาก วารี ศิริเจริญ (2536 : 28) กล่าวถึง คุณค่าของเอกสารการสอน
ไว้ 8 ประการคือ
1. ทำให้การเรียนมีประสิทธิภาพ เพราะผู้ผลิตเป็นผู้มีความเชี่ยวชาญหลายด้านและทดลองจน
แน่ใจแล้วว่า จะได้ผลดี จึงนำออกไปใช้ทั่วกัน
2. ทำให้ภาวะของผู้สอน เพราะการเรียนการสอนจะเป็นไปตามลำดับขั้นที่บอกไว้ ผู้สอนไม่
จำเป็นต้องทำเพิ่มอีก ใช้ได้ทันที
3. ได้ความรู้ในแนวเดียวกัน การมีผู้สอนหลายคนในรายวิชาเดียวกัน จะเกิดความแตกต่างกัน
ในด้านประสิทธิภาพของการสอน เอกสารการสอนจะแก้ปัญหาด้านนี้ทั้งหมดไม่จำกัดว่าจะมีผู้เรียนมาก
หรือน้อย ก็แก้ปัญหาได้
4. มีวัตถุประสงค์บอกไว้ชัดเจน
5. มีกิจกรรมการเรียนการสอน ตลอดจนข้อเสนอแนะในการทำกิจกรรม พร้อมอุปกรณ์
6. มีข้อสอบประเมินผลเพื่อวัดผลการเรียนได้ครบถ้วน
7. เปิดโอกาสให้ผู้เรียน ได้เรียนตามความสามารถของแต่ละบุคคล อัตราการเรียนของแต่ละ
บุคคลจะมีมากน้อยแตกต่างกันไปตามความสามารถของแต่ละบุคคล เอกสารการสอนจะช่วยให้ทุกคน
ได้ประสบผลสำเร็จทางการเรียนได้ทั้งสิ้น ตามอัตราการเรียนของผู้นั้น
8. เอกสารกรสอนสร้างเสริมการเรียนแบบต่อเนื่อง
7

2.4 หลักการสร้างเอกสารประกอบการเรียน
เอกสารประกอบการเรียนที่จะกล่าวถึงนี้ เป็นเอกสารการเรียนที่เน้นเนื้อหาแจกจ่ายให้ผู้เรียน
ได้ศึกษา และทำกิจกรรมท้ายเนื้อหานั้น ซึ่งมีเนื้อหาอย่างละเอียด มีหัวข้อสอดคล้องกับหัว ข้ อใน
แผนการสอน โสภณ นุ่มทอง (2542:36) ได้ให้มีรูปแบบไว้ ดังนี้
เรื่อง...(นำชื่อเรื่องของแผนการสอนมาเขียน)
จุดประสงค์
นำจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม/นำทาง ในแผนการสอนมาเขียน เพื่อแจ้งให้นักเรียนทราบ
เนื้อหา
เนื้อหาละเอียด มีหัวข้อตรงกับจุดประสงค์นำทาง และตรงกับหัวข้อเนื้อหาในแผนการสอน

กิจกรรม
เป็นกิจกรรมของนักเรียนเมื่อได้ศึกษาเนื้อหาแล้ว อาจจะเป็นแบบฝึกหัด แบบทดสอบการศึกษา
ค้นคว้า การเขียนรายงาน หรือกิจกรรมการทดลอง เป็นต้น

2.5 การหาประสิทธิภาพ
การหาประสิทธิภาพของเอกสารการสอน เป็นการหาประสิทธิผลสื่อประสมอย่างหนึ่ง โดยการ
นำเอกสารการสอนไปทดลองใช้เพื่อนำข้อมูลมาปรับปรุง แล้วจึงนำไปสอนจริง
ชัยยงค์ พรหมวงศ์ (2525 : 248) กล่าวว่าประสิทธิภาพเอกสารการสอนจะกำหนดเป็น
เกณฑ์ที่ผู้สอนคาดหมายว่า ผู้เรียนจะเปลี่ยนพฤติกรรมเป็นที่พึงพอใจ โดยกำหนดให้เป็นเปอร์เซ็นต์ผล
เฉลี่ยของคะแนนการทำงานและการประกอบกิจกรรมของผู้เรียนทั้งหมด ต่อเปอร์เซ็นต์ของผลการสอน
หลังเรียนทั้งหมด คือ E1 / E2 หรือประสิทธิภาพของการบวนการ/ประสิทธิภาพของผลลัพธ์
ระดับประสิทธิภาพของเอกสารการสอนที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ และเป็นระดับที่ผู้ทำ
เอกสารการสอน พอใจว่าหากเอกสารการสอนมีประสิทธิภาพถึงระดับนั้นแล้วเอกสารการสอนนั้นก็มี
คุณค่า น่าพอใจ เรียกระดับประสิทธิภาพที่น่าพอใจนั้นว่า “เกณฑ์ประสิทธิภาพ”
การกำหนดเกณฑ์ประสิทธิภาพ ให้มีค่าเท่าใดนั้นผู้สอนเป็นผู้พิจารณาตามความเหมาะสม โดย
ปกติเนื้อหาที่เป็นความรู้ความจำ มักตั้ง 80/80,85/85 หรือ 90/90 ส่วนเนื้อหาที่เป็นทักษะอาจตั้ง
ไว้ต่ำกว่าเกณฑ์เช่น 75/75 หรือ 70/70 เป็นต้น เมื่อกำหนดเกณฑ์แล้วนำไปทดลองจริง
จากเกณฑ์ห าประสิทธิภ าพดั งกล่าวข้า งต้น ได้แนวคิดว่า เมื่อจะกำหนดเกณฑ์ในการหา
ประสิทธิภาพไว้เท่าไรนั้น ต้องพิจารณาเนื้อหาและจุดประสงค์ที่จะนำมาจัดทำเป็นหลัก
อธิพร ศรียมก (2525 : 252) ได้กล่าวถึงขึ้นตอนการหาประสิทธิภาพ ดังนี้
1. แบบเดี่ยว คือทดลองกับผู้เรียน 1 คน โดยใช้เด็กอ่อน ปากกลาง และเด็กเก่ง คำนวณหา
ประสิทธิภาพ เสร็จแล้วปรับปรุงให้ดีขึ้น
2. แบบกลุ่ม คือทดลองกับผู้เรียน 6-10 คน คละผู้เรียนที่เก่งกับอ่อน คำนวณหาประสิทธิภาพ
แล้วปรับปรุง
3. แบบภาคสนาม คือทดลองใช้กับนักเรียน 40-100 คน คำนวณหาประสิทธิภาพแล้วทำการ
ปรับปรุง ผลลัพธ์ที่ได้ควรใกล้เคียงกับเกณฑ์ที่ตั้งไว้ หากต่ำจากเกณฑ์ไม่เกิน 2.5 ให้ยอมรับ หาก
แตกต่างกันมากผู้สอนต้องกำหนดเกณฑ์ใหม่ โดยยึดสภาพความจริงเป็นเกณฑ์
8

3. การหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ขั้นตอนที่สำคัญอย่างหนึ่งในกระบวนการเรียนการสอนในโรงเรียน คือ การประเมินผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนของนักเรียน เพื่อจะได้ทราบว่านักเรียนมีความสามารถเพียงใด ภายหลังเสร็จสิ้นการเรียน
การสอน ทั้งยังเป็นข้อมูลย้อนกลับ (Feedback) ให้แก่ผู้สอนได้ทราบคุณภาพในการจัดการเรี ยนการ
สอนว่ามีจุดเด่น ด้อย อย่างไร ควรมีการปรับปรุงแก้ไขส่วนใดอย่างไรบ้างผลการประเมินจะถูกต้อง
แม่นยำ ขึ้นอยู่กับการวัดที่ดี แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (Scholastic Achievement test) เป็น
เครื่องมืออย่างหนึ่งโดยทางอ้อม เพื่อเป็นตัวกระตุ้นให้นักเรียนได้ใช้ความรู้ความสามารถที่แท้จริง ใช้
กระบวนการคิดแก้ปัญหาต่างๆ ที่ได้รับจากการเรียนมาสอนมาตอบสนองต่อข้อคำถามที่กำหนดในแบบ
สอบ โดยแสดงออกในรูปแบบพฤติกรรมที่สังเกตได้ วัดได้ เพื่อนำคำตอบที่ได้มาตรวจให้คะแนนแล้วแปร
ความหมายของคะแนนเพื่อประเมินความสามารถของผู้เรียนแต่ละคนต่อไป
1. การจัดทำแบบทดสอบ
แบบทดสอบเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งในการประเมินผล เพื่อสำรวจพฤติกรรมของนักเรียนว่า
บรรลุจุดหมายที่ตั้งไว้หรือไม่ ในการสร้างแบบทดสอบผู้สอนจะต้องศึกษาแนวทางในการปฏิบัติในการ
วัดผลและประเมินผลตามที่หลักสูตรกำหนดให้เข้าใจถูกต้อง จึงสร้า งแบบทดสอบ และผลการทดสอบ
หลายครั้งมารวมกัน แล้วสรุปโดยอาศัยหลักเกณฑ์ว่า ดี-เลว ได้-ตก (บุญชม ศรีสะอาด,มนตรี อนันตรักษ์
และนิ ภ า ศรี ไ พโรจน์ ,2521 : 3) กล่ า วว่ า ควรจะทำการประเมิ น ผลก่ อ นเรี ย นและหลั ง เรี ย น
ซึง่ แต่ละครัง้ จะต้องแยกให้เป็นรายบุคคลและทั้งกลุ่ม
แนวปฏิ บ ั ต ิ ใ นการวั ด ผลประเมิ น ผลตามหลั ก สู ต รมั ธ ยมตอนต้ น พุ ท ธศั ก ราช 2521
(ฉบับปรับปรุง พ.ศ 2533) กำหนดให้โรงเรียนปฏิบัติ ดังนี้
1. การประเมินผลก่อนเรียน เพื่อศึกษาความรู้พื้นฐานของนักเรียนในทางปฏิบัติควรจะประเมิน
เมื่อเริ่มต้นเรียนในรายวิชาต่างๆ หรือแต่ละบทเรียนหรือแต่ละหน่วย
2. วัดผลประเมินผลระหว่างเรียนเป็นระยะ โดยให้โรงเรียนเป็นผู้กำหนดจุดประสงค์ในการวัด
อาจใช้วีธีการหลายๆ อย่างเช่น ตรวจแบบฝึกหัด ตรวจผลการซักถาม ระหว่างการเรียน ใช้แบบทดสอบ
เป็นต้น
3. วัดผลกลางภาคเรียน อย่างน้อย 1 ครั้ง โดยให้กลุ่มโรงเรียนเป็นผู้กำหนดจุดประสงค์
4. วัดผลปลายภาคเรียน เพื่อตรวจสอบผลการเรียน โดยวัดให้ครอบคลุมจุดประสงค์ที่สำคัญที่
กลุ่มโรงเรียนกำหนด

4. เจตคติต่อการเรียนการสอน
1. ความหมายและประเภทของเจตคติ
นักการศึกษาบางท่านใช้คำว่า “เจตคติ” บางท่านใช้คำว่า “ทัศนคติ” ซึ่งมาจากจากราก
ศัพท์คำภาษาอังกฤษ คำเดียวกันคือ Attitude นักการศึกษาได้ให้ความหมายไว้ ดังนี้
กมลรัตน์ หล้าสุวงษ์ (2529 : 172) ได้ให้ความหมายของเจตคติว่า เจตคติ คือ ความรู้สึก
ของบุคคลที่ได้จากการเรียนรู้และประสบการณ์ แล้วแสดงสภาวะของร่างกายและจิตใจในด้านความ
พร้อมที่จะตอบสนองต่อบุคคลหรือสิ่งต่างๆ ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งใน 2 ลักษณะ กล่าวคือแสดง
ความพร้อมที่จะเข้าไปหาเมื่อเกิดความรู้สึก ชอบ เรียกว่า เจตคติที่ดี และความรู้สึกไม่ชอบ เรียกว่า เจต
คติไม่ดี หรือทางลบ
9

สุวัฒก์ นิยมค้า (2531 : 172) ได้กล่าวถึงเจตคติทางวิทยาศาสตร์ไว้ ดังนี้ เจตคติ ทาง


วิทยาศาสตร์ไว้ ดังนี้เจตคติทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Attitudes) มิได้อยู่ในอาณาจักรของความรู้สึก
และจิตใจ (Affective Domain) เจตคติทางวิทยาศาสตร์จะเป็นสิ่งฝังอยู่ในจิตใจของนักวิทยาศาสตร์ทุก
คน ซึ่งมัน จะมี อิทธิพ ลต่ อ การคิ ดการกระทำ และการตัดสินใจตลอดเวลาที่ มี การปฏิบั ติง านทาง
วิทยาศาสตร์ ทั้งนี้เพราะคนเราเมื่อมีเจตคติต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างไรแล้ว ก็จะมีความโน้มเอียงที่จะกระทำ
อย่างนั้นออกมาโดยไม่คิดว่ามันจะมีความยุ่งยาก จะเสียเวลา หรือไม่ได้ค่าตอบแทนเท่าที่ควรก็ตาม
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์ (2535 : 64-66) กล่าวว่า เจตคติเป็นเรื่องของการรู้สึกชอบ
ไม่ชอบ ความลำเอียง ความคิดเห็นที่ฝังใจต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง มักจะเกิดขึ้นเมื่อบุคคลรับรู้และประเมินค่า
จากสิ่งนั้น โดยกล่าวอ้างว่า อัลพอร์ท (Allport 1960) ได้ให้ความหมายของเจตคติว่า เป็นภาวะของ
ความพร้อมทางจิตใจ ซึ่งเกิดจากประสบการณ์ สภาวะความพร้อมนี้เป็นแรงที่กำหนดทิศทางของ
ปฏิกิริยาของบุคคล สิ่งของและสถานการณ์ที่เกี่ยวข้อง เจตคติจึงก่อรูปได้ ดังนี้
1. เกิดจากการเรียนรู้วัฒนธรรม ขนมธรรมเนียมในสังคม
2. การสร้างความรู้สึกจากประสบการณ์ของตนเอง
3. ประสบการณ์ที่ได้จากเดิมมีทั้งบวกและลบส่งผลถึงเจตคติต่อสิ่งใหม่ที่คล้ายคลึงกัน
4. การเลียนแบบบุคคลที่ตนเองให้ความสำคัญ และรับเอาเจตคตินั้นมาเป็นของตน
นอกจากนั้นยังได้กล่าวถึงเบลกินและสกายเดล (Belkin and Skydell 1997) ให้ความสำคัญ
ของเจตคติว่า เป็นแนวโน้มที่บุคคลจะตอบเสนอในทางที่พอใจ ไม่พอใจต่อสถานการณ์ต่างๆ

เจตคติจึงมีความหมายสรุปได้ ดังนี้
1. ความรู้สึกของบุคคลที่มีต่อสิ่งต่างๆ หลังจากที่บุคคลได้ประสบการณ์ในสิ่งนั้นความรู้สึกนี้จึง
แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
1.1 ความรู้สึกในทางบวก เป็นการแสดงออกในลักษณะไม่พึงพอใจ ไม่เห็นด้วย ไม่ชอบและ
ไม่สนับสนุน
1.2 ความรู้สึกในทางลบ เป็นการแสดงออกในลักษณะไม่พึงพอใจ ไม่เห็นด้วย ไม่ชอบ
ไม่สนับสนุน
1.3 ความรู้สึกที่เป็นกลาง คือไม่มีความรู้สึกใดๆ
2. บุคคลแสดงความรู้สึกทางด้านพฤติกรรม ซึ่งแบ่งพฤติกรรมเป็น 2 ลักษณะ คือ
2.1 พฤติกรรมภายนอก เป็นพฤติกรรมที่สังเกตได้ มีการกล่าวถึง สนับสนุน ท่าทาง หน้าตา
บอกความพอใจ
2.2 พฤติกรรมภายใน เป็นพฤติกรรมที่สังเกตไม่ได้ ชอบหรือไม่ชอบก็ไม่แสดงออกหรือ
ความรู้สึกที่เป็นกลาง

2. องค์ประกอบของเจตคติ
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์ (2535: 66) กล่าวถึงองค์ประกอบของเจตคติ ไว้ดังนี้
โดยทั่วไป เจตคติประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ประการคือ
1) องค์ประกอบด้านความรู้ความเข้าใจ (Cognitive Componint) เป็นองค์ประกอบด้าน
ความรู้ความเข้าใจของบุคคลที่มีต่อสิ่งเร้านั้นๆ เพื่อเป็นเหตุที่จะสรุปความและรวมเป็นความเชื่อ หรือช่วยใน
การประเมินค่าสิ่งเร้านั้นๆ
10

2) องค์ประกอบด้านความรู้และอารมณ์ (Affective Component) เป็นองค์ประกอบด้าน


ความรู้สึกหรืออารมณ์ของบุคคล ที่มีความสัมพันธ์กับสิ่งเร้า ต่างเป็นผลต่อเนื่องมาจากที่บุคคลประเมินค่า
ของสิ่งเร้านั้น แล้วพบว่าพอใจหรือไม่พอใจ ต้องการหรือไม่ต้องการ ดีหรือเลว
องค์ประกอบทั้งสองอย่างมีความสัมพันธ์ เจตคติบางอย่างจะประกอบด้วยความรู้ความเข้าใจมาก
แต่ประกอบด้วยองค์ประกอบด้านความรู้สึกและอารมณ์น้อย เช่น เจตคติที่มีต่องานที่ทำ ส่วนเจตคติที่มีต่อ
แฟชั่น เสื้อผ้าจะมีองค์ประกอบด้านความรู้สึกและอารมณ์สูง แต่องค์ประกอบด้านความรู้ความเข้าใจต่ำ
3) องค์ประกอบด้านพฤติกรรม (Behavioral Component) เป็นองค์ประกอบทางด้าน
ความพร้อม หรือความโน้มเอียงที่บุคคลประพฤติปฏิบัติ หรือตอบสนองต่อสิ่งเร้าในทิศทางที่จะสนับสนุน
หรือคัดค้าน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเชื่อ หรือความรู้สึกของบุคคลที่ได้รับจากการประเมินค่าให้ สอดคล้องกับ
ความรู้สึกที่มีอยู่

3. การเกิดและการเปลี่ยนแปลงเจตคติ
ชูชีพ อ่อนโคกสูง (2518: 7) กล่าวว่า เจตคติอาจเปลี่ยนแปลงได้ จากสาเหตุดังนี้
1) เมื่อได้รับข้อมูลใหม่จากบุคคลหรือสื่อมวลชล
2) เมื่อได้รับประสบการณ์ตรงหรือความสะเทือนใจหรือความประทับใจ
3) เมื่อถูกบังคับให้ต้องปฏิบัติไปนานๆ
4) เมื่อได้รับการรักษาทางจิต เพื่อให้เข้าใจเหตุผลที่ถูกต้อง
5) เปลี่ยนเพื่อให้สอดคล้องกับพฤติกรรมใหม่
จะเห็นได้ว่า เจตคติของบุคคลสามารถเปลี่ยนแปลงได้ในสถานการณ์ต่างๆ ดังกล่าว ในทำนอง
เดียวกัน เจตคติของนักเรียนที่มีต่อการเรียนการสอนก็มีโอกาสเปลี่ยนแปลงได้เช่นกัน ถ้านักเรียนได้รับ
สิ่งเร้าหรือสถานการณ์ที่ก่อให้เกิดความรู้สึกในทางบวก

4. ประโยชน์ของเจตคติ
ประภาเพ็ญ สุวรรณ (2520:4-5) ได้กล่าวถึงประโยชน์ของเจตคติ ไว้ดังนี้
1) ช่วยให้เข้าใจสิ่งแวดล้อมรอบๆตัวโดยการจัดรูปหรือจัดระบบสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัวเรา
2) ช่วยให้มีค่านิยมในตนเอง (Self-Esteem) โดยช่วยให้บุคคลหลีกเลี่ยงสิ่งที่ไม่ดีหรือ
ปกปิดความจริงบางอย่าง ซึ่งนำความไม่พอใจมาสู่ตนเอง
3) ช่วยในการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมที่สลับซับซ้อน ซึ่งการมีปฏิกิริยาโต้ตอบ
หรือการกระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดออกไปนั้น ส่วนมากจะทำให้ในสิ่งที่นำความพอใจมาให้ หรือเป็นบำเหน็จ
รางวัลจากสิ่งแวดล้อม
4) ช่วยให้บุคคลสามารถแสดงออกถึงค่านิยม ซึ่งแสดงว่าเจตคตินั้นนำความพอใจมาให้บุคคลนั้น

5. การวัดเจตคติ
กมลรัตน์ หล้าสุวรรณ (2529:187) ได้กล่าวถึงวิธีการวัดเจตคติ สามารถวัดได้ 5 วิธีการคือ
1) โดยการประมาณความรู้สึกตนเอง
2) การสังเกตพฤติกรรมที่แสดงออก
3) การตีความหรือแปรความหมายจากปฏิกิริยาที่บุคคลแสดงต่อสิ่งเร้า
4) การทำงานบางอย่างที่กำหนดให้
11

5) ปฏิกิริยาตอบสนองทางกาย
ชูชีพ อ่อนโคกสูง (2518:117) ได้กล่าวถึงเรื่องการวัดเจตคติว่า วิธีการที่จะทราบว่า วิธีการที่จะทราบว่า
เจตคติของใครคนใดคนหนึ่งต่อวัตถุ คน สังกัป หรือสถานการณ์ต่างๆ เป็นอย่างไรอาจทำได้โดย
1) ใช้แบบสอบถาม
2) สังเกต สัมภาษณ์ และบันทึก
3) ใช้สังคมมิติ
4) การใช้จินตนาการ
จะเห็นได้ว่า การวัดเจตคติเป็นการวัดความรู้สึก ไม่สามารถวัดได้ด้วยแบบทดสอบ
เพราะมันเป็นเรื่องของจิตใจซึ่งเป็นคุณลักษณะเฉพาะภายในบุคคล มีการเปลี่ยนแปลงได้ง่ายเมื่อมีสิ่งเร้า
หรือสถานการณ์ต่างๆ มากระตุ้น แต่อย่างไรก็ตามเจตคติที่มีต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใดก็ยังสามารถวัดได้โดย
ทางอ้อม โดยสังเกตพฤติกรรมหรือเขียนแสดงความรูสึกนั้นๆออกมา เมื่อใช้สิ่งเร้าต่างๆ เพื่อให้บุคคล
ตอบสนองออกมาเป็นระดับความรู้สึก
บทที่ 3
วิธีการดำเนินการศึกษาค้นคว้า

การสร้างแผนการสอนวิช าวัส ดุงานช่า งอุ ตสาหกรรม (รหัส 20100-1002) ระดับชั้น ปวช.


ตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและสร้างเจตคติที่ดีต่อครูผู้สอน
ผู้วิจัยได้ดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้
1. การสร้างแผนการสอนและสื่อเอกสารประกอบการเรียน
2. สร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
3. จัดทำแบบทดสอบวัดเจตคติ
4. การทดลองใช้แผนการสอน
5. การวิเคราะห์ข้อมูล

วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังใช้แผนการสอน วิ ช าวัส ดุงานช่า งอุ ตสาหกรรม
(รหัส 20100-1002) ระดับชั้น ปวช. ตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
2. เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อครูผู้สอนที่สอนโดยใช้แผนการสอนวิช าวัส ดุงานช่ างอุตสาหกรรม
(รหัส 20100-1002) ระดับชั้น ปวช. ตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)

ประโยชน์ที่ได้รับ
1. เพื่อสร้างและพัฒนาแผนการสอน วิช าวัส ดุงานช่า งอุ ต สาหกรรม (รหัส 20100-1002)
ระดับชั้น ปวช. ตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ที่มีคุณภาพสูง
2. เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาวิชาอื่นๆต่อไป

3. แบบทดสอบวัดระดับความพอพอใจของผู้เรียนต่อครูผู้สอน
แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับ “ การจัดการเรียนสอนของครูผู้สอน ”
ชื่อครูผ้สู อน นายกิตติศักดิ์ ปรีชาสิทธิโภคิน วิชาวัสดุงานช่า งอุตสาหกรรม รหัส 20100-1002
ปีการศึกษา 2563 วิทยาลัยเทคนิคสระบุรี

คำชี้แจง แบบสอบถามนี้มุ่งศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนเกี่ยวกับ “ การจัดการเรียนการสอนของ
ครูผู้สอน ตามความรู้สึกของนักเรียน เพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้เท่านั้น ไม่มี
ผลกระทบใดๆ ต่อผู้ตอบแบบสอบถาม
ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม
ระดับชั้น 1. ปวช. 2. ปวส.
สาขาวิชา 1.ช่างยนต์ 2.ช่างกลฯ 3.ช่างเชื่อมฯ
4. ช่างไฟฟ้า 5. ช่างอิเล็กทรอนิกส์ 6. ช่างก่อสร้าง
7.เทคนิคอุตสาหกรรม 8.แมคคาทรอนิกส์ 9. บัญชี
10. คอมพิวเตอร์ธุรกิจ 11. เทคโนโลยีสารสนเทศ
13

ตอนที่ 2 ความรู้สึกของนักเรียนการจัดการเรียนการสอนด้านต่าง ๆ
ระดับความคิดเห็น

ข้อความตัวบ่งชี้ของครู

ปานกลาง

น้อยที่สุด
มากที่สุด

น้อย
มาก
5 4 3 2 1
1. ด้านตัวครูผู้สอน
1. มีความรู้ในวิชาที่สอน
2. ความสามารถในการสื่อสารเพื่อถ่ายทอดความรู้
3. ทันต่อเหตุการณ์การและวิทยาการใหม่ๆ
4. สอนครบตามเวลาที่กำหนดในตารางสอน
5. เป็นผู้มีอารมณ์มั่นคงควบคุมอารมณ์ได้ดี
6. ยอมรับฟังความคิดเห็นของนักศึกษา
7. ใช้ถ้อยคำและวางตัวได้เหมาะสมกับสภาพความเป็นครู
8. อุทิศเวลาให้นักศึกษาพบเพื่อปรึกษาด้านการเรียน
9. มีความตั้งใจในการสอนและเอาใจใส่ต่อนักเรียน
10. สรุปแล้วอาจารย์มีความเหมาะสมในการเป็นครู
2. ด้านเทคนิคการสอน
1. จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเอง
2. จัดกิจกรรมส่งเสริมการทำงานเป็นกลุ่ม
3. มีเทคนิคการสอนกระตุ้นให้ผู้เรียนอยากเรียน
4. ใช้เทคนิควิธีสอนหลากหลาย
5. ส่งเสริมให้รู้จักค้นคว้าด้วยตนเอง
6. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็นซักถาม
7. มอบหมายงานเพื่อเสริมทักษะวิชาการวิชาชีพ
8. มีการสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม
9. มีการตรวจ ติดตามงานและสะท้อนข้อคิดเห็น
10. สรุปรวมแล้วผู้สอนใช้เทคนิคการสอนได้เหมาะสม
3. การวัดผลประเมินผล
1. มีการกำหนดแนวทางการประเมินผลชัดเจน
2. มีเกณฑ์การวัดผลแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
3. วัดผลตรงตามหลักสูตรที่เรียน
4. การวัดผลครอบคลุมเนื้อหา
5. เครื่องมือวัดผลมีความเหมาะสม
6. เมื่อทดสอบมีการป้องกันการรั่วไหลของข้อสอบ
7. เปิดโอกาสให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการประเมินผล
14

ระดับความคิดเห็น

ข้อความตัวบ่งชี้ของครู

ปานกลาง

น้อยที่สุด
มากที่สุด

น้อย
มาก
5 4 3 2 1
8. มีการตรวจงานชิ้นงานแล้วสะท้อนความคิดเห็น
9. มีการตรวจคะแนนแล้วแจ้งให้ผู้เรียนทราบ
10. รวมแล้วอาจารย์มีวิธีการวัดประเมินผลที่เหมาะสม
4. ด้าน สื่อการเรียนการสอน
1. มีการใช้สื่อการเรียนการสอนที่เหมาะสม
2. มีเอกสาร ใบความรู้ประกอบการสอน
3. แจ้งชื่อหนังสือตำราเรียนและแหล่งค้นคว้า
4. นักศึกษามีส่วนร่วมในการผลิตหรือจัดหาสื่อ
5. รวมแล้วอาจารย์ใช้สื่อประกอบการสอนเหมาะสม
5. ด้าน การจัดกิจกรรมส่งเสริมและการพัฒนาการคิด
1. มีการตั้งคำถามหรือมอบหมายงานให้นักศึกษาคิด
2. มีการกำหนดสถานการณ์ให้นักศึกษาคิดวิเคราะห์
3. มีกิจกรรมให้นักศึกษาฝึกคิด ฝึกทำ ฝึกแก้ปัญหา
4. มีการจัดกิจกรรมให้นักศึกษาสรุปความรู้ด้วยตนเอง
5. โดยรวมแล้วอาจารย์มีการจัดกิจกรรมเสริมพัฒนาการคิดได้
อย่างเหมาะสม

ความคิดเห็นอื่นๆ ……………………………………………………………………………………………………
........................................................................................................................................................
........................................................................................................................................................
การวิเคราะห์ข้อมูล
1. การหาคุณภาพของแผนการสอนที่เน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลาง วิช าวัส ดุงานช่า ง
อุตสาหกรรม (รหัส 20100-1002) วิเคราะห์จากคะแนนค่าเฉลี่ย ( X ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ของการแสดงความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ
1.1 หาคะแนนเฉลี่ย คำนวณจากสูตร (อนันต์ ศรีโสภา.2525:48)
X=
X
N
เมื่อ X แทน คะแนนเฉลี่ย
X แทน ผลรวมของคะแนนของผู้เชี่ยวชาญ
N แทน จำนวนผู้เชี่ยวชาญ
บทที่ 4
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

การวิ เ คราะห์ ข ้ อ มู ล ในการรายงานทดลองให้ แ ผนการสอนวิ ช าวั ส ดุ ง านช่ า ง


อุ ต สาหกรรม (รหัส 20100-1002) ระดับชั้น ปวช. ตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ ผู้วิจัยได้
วิเคราะห์ข้อมูล แบ่งออกเป็น 2 ตอน นำเสนอตามลำดับ ดังนี้
1. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิช าวัส ดุงานช่ างอุตสาหกรรม (รหัส20100-1002)
ก่อนและหลังใช้แผนการสอนที่เน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลางและใช้เอกสารประกอบการเรียน
2. การประเมินเจตคติของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อการเรียนการสอน โดยใช้แผนการสอน
และเอกสารประกอบการเรียน วิช าวัส ดุงานช่างอุตสาหกรรม (รหัส 20100-1002)

สัญลักษณ์ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
ในการวิเคราะห์ข้อมูลและแปลความหมายจากการทดลองใช้แผนการสอนที่เน้นนักเรียน
เป็นศูนย์กลางและใช้เอกสารประกอบการเรียน วิช าวัส ดุ ง านช่างอุตสาหกรรม (รหัส 20100-1002)
ระดับชั้น ปวช. วิทยาลัยเทคนิคสระบุรี เพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกันในการแปลความหมายของการวิเคราะห์
ข้อมูล จึงกำหนดสัญลักษณ์และอักษรย่อที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้
X แทน คะแนนเฉลี่ย
S.D. แทน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
E1 แทน ร้อยละของคะแนนเฉลี่ยของนักเรียนในกลุ่ม
ตัวอย่างที่ได้จากการทำกิจกรรมระหว่างเรียนแต่ละบท

ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
หลังจากได้ดำเนินการนำแผนการสอนให้ผู้เชี่ยวชาญประเมินหาคุณภาพ และนำมา
ทดลองใช้แผนการสอนแบบบูรณาการปรัชญาของเศษรฐกิจพอเพียง วิช าวัส ดุง านช่างอุตสาหกรรม
(รหัส 20100-1002) กับนักเรียนชั้น ปวช. วิทยาลัยเทคนิคสระบุรี จำนวน 2 กลุ่ม จำนวน 38 คน
ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 แล้ว ปรากฏผลการวิเคราะห์ข้อมูลในด้านต่างๆ เสนอตามลำดับ
ดังนี้คือ
16

1. ผลการวิเคราะห์คุณภาพของแผนการสอน วิเคราะห์โดยผูเ้ ชี่ยวชาญ


ตาราง 1 แสดงผลการประเมินแผนการสอน วิ ชาวั สดุง านช่า งอุตสาหกรรม (รหัส 20100-1002)
ผลการประเมิน
องค์ประกอบ ของผู้เชี่ยวชาญ ระดับ
(คนที่) 𝑋
1 2 3 คุณภาพ
จุดประสงค์การเรียนรู้
1.1 จุดประสงค์การเรียนรู้สอดคล้องกับมาตรฐานรายวิชาและ 5 4 4 4.33 ดีมาก
ครอบคลุมเนื้อหาสาระ
1.2 จุดประสงค์การเรียนรู้สร้างกระบวนการคิดวิเคราะห์อย่าง 5 5 5 5.00 ดีมาก
ริเริ่มสร้างสรรค์
1.3 จุดประสงค์การเรียนรู้วัดพฤติกรรม พุทธิพิสัย ทักษะพิสัย 5 5 5 5.00 ดีมาก
จิตพิสัย
2 สาระการเรียนรู้
2.1 สาระการเรียนรู้ตรงตามจุดประสงค์การเรียนรู้และ 5 5 5 5.00 ดีมาก
คำอธิบายรายวิชา
2.2 สาระการเรียนรู้เหมาะสมกับระดับการเรียนรู้ 5 5 5 5.00 ดีมาก
2.3 สาระการเรียนรู้แต่ละหน่วยเหมาะสมกับเวลาที่กำหนด 5 5 5 5.00 ดีมาก
3 กิจกรรมการเรียนรู้
3.1 จัดกิจกรรมที่หลากหลายและเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 4 5 4 4.33 ดี
3.2 จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่สอดคล้องลักษณะเนื้อหาและ
เหมาะสมกับเวลาที่กำหนด 5 4 5 4.66 ดี
3.3 มีการบูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 5 5 4 4.66 ดี
3.4 จัดกิจกรรมการเรียนรู้มีขั้นตอนที่สอดคล้องเหมาะสม 4 5 5 4.66 ดี
4 สื่อการเรียนรู้
4.1 มีสื่อการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับเนื้อหาสาระการเรียนรู้ 5 4 5 4.66 ดี
4.2 มีสื่อการเรียนรู้ที่หลากหลายและทันสมัยเหมาะสมกับการ
ใช้ประกอบการเรียนรู้ 5 5 4 4.66 ดี
4.3 นำสื่อภูมิปัญญาท้องถิ่นมีประยุกต์ใช้ สอดแทรกบูรณาการ
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพรียง 4 5 5 4.66 ดี
การวัดผลประเมินผล
5.1 มีเกณฑ์การวัดผลประเมินผลที่ชัดเจนและครอบคลุม
จุดประสงค์การเรียนรู้ 5 4 5 4.66 ดี
5.2 มีการประเมินผลที่หลากหลาย 5 5 4 4.66 ดี
5.3 มีเครื่องมือวัดผลที่เหมาะสม สอดคล้องกับจุดประสงค์การ
เรียนรู้ 4 5 5 4.66 ดี
รวม 49 49 47 4.83 ดีมาก
17

จากตาราง 1 แสดงผลการประเมินแผนการสอนที่เน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลาง วิช าวัส ดุง านช่าง


อุตสาหกรรม (รหัส 20100-1002) โดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า องค์ประกอบในประเด็นสาระสำคัญและ
ความเหมาะสมของเวลาผลการประเมินอยู่ในเกณฑ์ ดี ส่วนองค์ประกอบในประเด็นอื่นๆ อยู่ในเกณฑ์ ดี
มาก โดยภาพรวม คะแนนเฉลี่ยอยู่ในเกณฑ์ ดีมาก

ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับคามพึงพอใจต่อครูผู้สอนในด้านต่างๆ เสนอตามลำดับ ดังนี้คือ


ตาราง 2 แสดงผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนต่อครูผู้สอน
วิช าวัส ดุงานช่างอุ ตสาหกรรม (รหัส 20100-1002) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563
ระดับความคิดเห็น

ข้อความตัวบ่งชี้ของครู

ปานกลาง

น้อยที่สุด
มากที่สุด

เฉลี่ย
น้อย
มาก
5 4 3 2 1
1. ด้านตัวครูผู้สอน 4.00
1. มีความรู้ในวิชาที่สอน 5 5.00
2. ความสามารถในการสื่อสารเพื่อถ่ายทอดความรู้ 4 4.00
3. ทันต่อเหตุการณ์การและวิทยาการใหม่ๆ 4 4.00
4. สอนครบตามเวลาที่กำหนดในตารางสอน 5 5.00
5. เป็นผู้มีอารมณ์มั่นคงควบคุมอารมณ์ได้ดี 4 4.00
6. ยอมรับฟังความคิดเห็นของนักศึกษา 3 3.00
7. ใช้ถ้อยคำและวางตัวได้เหมาะสมกับสภาพความเป็นครู 4 4.00
8. อุทิศเวลาให้นักศึกษาพบเพื่อปรึกษาด้านการเรียน 3 3.00
9. มีความตั้งใจในการสอนและเอาใจใส่ต่อนักเรียน 4 4.00
10. สรุปแล้วอาจารย์มีความเหมาะสมในการเป็นครู 4 4.00
2. ด้านเทคนิคการสอน 4.10
1. จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเอง 5 5.00
2. จัดกิจกรรมส่งเสริมการทำงานเป็นกลุ่ม 4 4.00
3. มีเทคนิคการสอนกระตุ้นให้ผู้เรียนอยากเรียน 3 3.00
4. ใช้เทคนิควิธีสอนหลากหลาย 4 4.00
5. ส่งเสริมให้รู้จักค้นคว้าด้วยตนเอง 4 4.00
6. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็นซักถาม 3 3.00
7.มอบหมายงานเพื่อเสริมทักษะวิชาการวิชาชีพ 4 4.00
8. มีการสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม 5 5.00
9. มีการตรวจ ติดตามงานและสะท้อนข้อคิดเห็น 4 4.00
10. สรุปรวมแล้วผู้สอนใช้เทคนิคการสอนได้เหมาะสม 5 5.00
3. การวัดผลประเมินผล 4.30
18

ระดับความคิดเห็น

ข้อความตัวบ่งชี้ของครู

ปานกลาง

น้อยที่สุด
มากที่สุด

เฉลี่ย
น้อย
มาก
5 4 3 2 1
1. มีการกำหนดแนวทางการประเมินผลชัดเจน 3 3.00
2. มีเกณฑ์การวัดผลแจ้งให้ทราบล่วงหน้า 4 4.00
3. วัดผลตรงตามหลักสูตรที่เรียน 5 5.00
4. การวัดผลครอบคลุมเนื้อหา 5 5.00
5. เครื่องมือวัดผลมีความเหมาะสม 4 4.00
6. เมื่อทดสอบมีการป้องกันการรั่วไหลของข้อสอบ 5 5.00
7. เปิดโอกาสให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการประเมินผล 5 5.00
8. มีการตรวจงานชิ้นงานแล้วสะท้อนความคิดเห็น 4 4.00
9. มีการตรวจคะแนนแล้วแจ้งให้ผู้เรียนทราบ 3 3.00
10. รวมแล้วอาจารย์มีวิธีการวัดประเมินผลที่เหมาะสม 5 5.00
4. ด้าน สื่อการเรียนการสอน 4.20
1. มีการใช้สื่อการเรียนการสอนที่เหมาะสม 3 3.00
2. มีเอกสาร ใบความรู้ประกอบการสอน 5 5.00
3. แจ้งชื่อหนังสือตำราเรียนและแหล่งค้นคว้า 4 4.00
4. นักศึกษามีส่วนร่วมในการผลิตหรือจัดหาสื่อ 5 5.00
5. รวมแล้วอาจารย์ใช้สื่อประกอบการสอนเหมาะสม 4 4.00
5. ด้าน การจัดกิจกรรมส่งเสริมและการพัฒนาการคิด 4.60
1. มีการตั้งคำถามหรือมอบหมายงานให้นักศึกษาคิด 5 5.00
2. มีการกำหนดสถานการณ์ให้นักศึกษาคิดวิเคราะห์ 5 5.00
3. มีกิจกรรมให้นักศึกษาฝึกคิด ฝึกทำ ฝึกแก้ปัญหา 4 4.00
4. มีการจัดกิจกรรมให้นักศึกษาสรุปความรู้ด้วยตนเอง 4 4.00
5. โดยรวมแล้วอาจารย์มีการจัดกิจกรรมเสริมพัฒนาการคิด 5 5.00
ได้อย่างเหมาะสม
เฉลี่ยทั้งหมด 4.24
19

จากตาราง 2 แสดงผลการประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนต่อครูผู้สอน วิช าวัส ดุง านช่าง


อุตสาหกรรม ( รหัส20100-1002 ) พบว่า องค์ประกอบในแต่ละด้านมีผลการประเมินดังนี้
ด้านที่ 1 ด้านตัวครูผู้สอน ผลการประเมินเฉลี่ย 4.00 อยู่ในระดับ ดี
ด้านที่ 2 ด้านเทคนิคการจัดการสอน ผลการประเมินเฉลี่ย 4.10 อยู่ในระดับ ดี
ด้านที่ 3 ด้านการวัดผลประเมินผล ผลการประเมินเฉลี่ย 4.30 อยู่ในระดับ ดี
ด้านที่ 4 ด้านสื่อการเรียนการสอน ผลการประเมินเฉลี่ย 4.20 อยู่ในระดับ ดี
ด้านที่ 5 ด้านการจัดกิจกรรมส่งเสริมการพัฒนากระบวนการคิด ผลการประเมินเฉลี่ย 4.55
อยู่ในระดับ ดีมาก
โดยภาพรวม ผลการประเมินเฉลี่ย 4.24 อยู่ในระดับ ดี

3. ผลการวิเคราะห์ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิช าวัส ดุงานช่างอุ ตสาหกรรม (รหัส 20100-1002)


หลังใช้แผนการสอนเป็นเอกสารประกอบการสอน ปรากฏดังตาราง 3

ตาราง 3 ผลการวิเคราะห์ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิช าวัส ดุงานช่า งอุ ตสาหกรรม (รหัส 20100-1002)
หลังใช้แผนการสอนเป็นเอกสารประกอบการสอน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563

ที่ แผนกวิชา กลุ่ม N X


1 ชอ. 1/1 18 68.98
2 ชอ. 1/2 20 82.18
รวม/เฉลี่ย 38 80.82

จากตาราง 3 แสดงให้เห็นว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิช าวัส ดุงานช่างอุ ตสาหกรรม


(รหัส 20100-1002) หลังการใช้แผนการสอน บทสูงกว่ามีค่าคะแนนเฉลี่ยรวม ร้อยละ 80.82
สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด (กำหนดร้อยละ 70)
บทที่ 5
สรุป อภิปลายผลและข้อเสนอแนะ
การรายงานการทดลองใช้แผนการสอนวิช าวัส ดุง านช่างอุ ตสาหกรรม (รหัส 20100-1002)
สำหรับนักเรียนชั้น ปวช. ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 สรุปสาระสำคัญและผลของการศึกษา ได้ดังนี้

1. คุณภาพของแผนการสอน วิช าวัส ดุงานช่างอุ ตสาหกรรม (รหัส 20100-1002)


ระดับชั้น ปวช. ตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ ซึ่งประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญมีคุณภาพอยู่ในระดับ
ดีมาก (คะแนนเฉลี่ย 4.83)
2. เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อครูผู้สอนที่สอนโดยใช้แผนการสอนวิช าวัส ดุงานช่ างอุตสาหกรรม
(รหัส 20100-1002) ระดับชั้น ปวช. ตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ โดยภาพรวมอยู่ในระดับ ดี
(คะแนนเฉลี่ย 4.24)
3. เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังใช้แผนการสอน วิ ช าวัส ดุงานช่า งอุ ตสาหกรรม
(รหัส 20100-1002) ระดับชั้น ปวช. ตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ เฉลี่ยร้อยละ 80.82
สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด

อภิปลายผล
จากผลการหาคุณภาพของแผนการสอน โดยภาพรวมคะแนนเฉลี่ยอยู่ในเกณฑ์ที่ ดี
มาก และจากหลังการใช้แผนการสอนเป็นเอกสารเพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนแล้ว
ผู้เรียนมีความพึงพอใจโดยภาพรวมอยู่ในระดับ ดี ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังจากการใช้
แผนการสอนมีค่าคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 80.82 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด แสดงว่าแผนการสอนวิ ช าวั ส ดุ
งานช่ า งอุ ต สาหกรรม (รหัส 20100-1002) ที่ใช้สำหรับนักเรียนระดับ ชั้น ปวช. ที่สร้างขึ้นมา
มีคุณภาพเหมาะสมที่จะนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน

ข้อเสนอแนะ
1. จากการวิเคราะห์คุณภาพของแผนการสอนและเอกสารประกอบการเรียน ทำให้ทราบ
คุณภาพของแผนการสอนเป็นที่น่าพอใจ ข้าราชการครูคนอื่นควรนำไปใช้ หรือควรจัดทำแผนการสอน
และเอกสารประกอบการเรียนในลักษณะนี้
2. เอกสารประกอบการเรียน นอกจากใช้ในการเรียนการสอนในห้องเรียนแล้ว ยังใช้สำหรับสอน
ซ่อมเสริมให้กับนักเรียน ใช้เป็นคู่มือสอนแทนหรือสำหรับแทนครูในกรณีที่ครูไม่ได้เข้าสอน
3. การใช้เอกสารประกอบการเรียนควรใช้ควบคู่กับแผนการสอนวิช าวัส ดุงานช่างอุตสาหกรรม
(รหัส 20100-1002)
บรรณานุกรม

กมลรัตน์ หล้าสุวงษ์. จิตวิทยาการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดศรีเดชา, 2529.


กาญจน เกียรติประวัติ. นวัตกรรมททางการศึกษา. กรุงทพฯ: ภาคเรียนวิชาหลักาสูตรและการ
สอนคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร, 2542.
บุญชม ศรีสะอาด และคณะ.การวิจัยเบื้องต้น.กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน์, 2535.
. การวัดและประเมินผลทางการศึกษา. ม.ป.ท. 2528.
บุญมี พันธุ์ไทย. การพัฒนาผลงานทางวิชาการ.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เอมพันธ์, ม.ป.ป.
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์.กรุงเทพฯ:สยามเจริญ.พานิช.2531
ประภาเพ็ญ สุวรรณ.ทัศนคติ : การวัดการเปลี่ยนแปลงและพฤติกรรมอนามัย.กรุงเทพฯ:
โอเดีนยสโตร์, 2526.
โยธินบำรุง.โรงเรียน. สมุดประเมินผลรายวิชา.ปีการศึกษา 2539.
. สมุดประเมินผลรายวิชา. ปีการศึกษา 2540.
ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพฯ:สุวีริยาสาสน์, 2538.
. เทคนิคการวัดผลการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: ชมรมเด็ก, 2539.
วัลลภ กันทรัพย์. ทักษะการะบวนการกับการสอน. ม.ป.ท.(เอกสารอัดสำเนา) 2533.
. ข้อคิดเบื้องต้นในการสอนและสอบที่เน้นกระบวนการ.กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์,
คุรุภาลาดพร้าว,2534.
วิชัย วงษ์ใหญ่. พัฒนาหลักสูตรและการสอนมิติใหม่.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ธเนศวรการพิมพ์, 2525.
สุรชัย บุญญานุสิทธิ์. รูปแบบความชำนาญการและผลงานทางวิชาการอาจารย์ 3(6-7-8)
อาจารย์2(7). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช, 2536.
สุวัฒก์ นิยมค้า. การสอนวิทยาศาสตร์แบบพัฒนาความคิด.กรุงเทพฯ:วัฒนาพานิชย์,2517.
. ทฤษฏีและทางปฏิบัติในการสอนวิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะหาความรู้เล่ม 1.
กรุงเทพฯ:วัฒนาพานิช 2517.
ส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี่,สำนักงาน.หนังสือเรียน ว 101 วิทยาศาสตร์
เล่ม 1. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2535.
ภาคผนวก
นิยามศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับการเขียนแผนการจัดการเรียนรูม้ ุ่งเน้นสมรรถนะ
1. จุดประสงค์รายวิชา หมายถึง ข้อความที่ระบุคุณลักษณะการเรียนรู้และความสามารถที่ครู
ต้องการ ให้เกิดขึ้นกับนักเรียน หลังจากที่นักเรียนได้ผ่านกิจกรรมการเรียนการสอนในเรื่อง หรือบท
หนึ่งๆ แล้ว (กำหนดไว้ในหลักสูตร)
2. สมรรถนะรายวิชา หมายถึง ข้อความที่แสดงความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้ ความ
เข้าใจ ทักษะปฏิบัติและทักษะด้านความคิดในการปฏิบัติงานโดยให้เขียนครอบคลุม 3 ด้าน คือ พุทธิ
พิสัย ทักษะพิสัย และจิตพิสัย แล้ว (กำหนดไว้ในหลักสูตร)
3. คำอธิบายรายวิชา (Course Description) หมายถึง การเขียนบรรยายถึงสิ่งต่าง ๆ ที่ครู
จะต้องสอนซึ่งอาจจะอยู่ในรูปหัวข้อเรื่องในภาคทฤษฎี หรือในลักษณะงานย่อยต่าง ๆ ที่จะต้องมีการ
ฝึกหัดให้แก่ผู้เรียนในวิชาปฏิบัติซึ่งได้จากการวิเคราะห์งาน แล้ว (กำหนดไว้ในหลักสูตร)
4. หน่วยการเรียนรู้ หมายถึง ข้อความที่แสดงถึงหัวข้อเรื่องที่จะสอน ซึ่งในการกำหนดหัวข้อ
เรื่อง (Topic Analysis) สามารถทำได้โดยใช้แผนภูมิปะการัง (Coral Pattern) หรือ Scalar Pattern
ซึ่งอาจเป็นหัวข้อหลัก (Main Element) และหัวข้อย่อย (Element) โดยต้องกำหนดจำนวนชั่วโมงและ
สัปดาห์ในการสอน (ไม่เกิน 18 สัปดาห์) ในหน่วยการเรียนรู้แต่ละหน่วย ต้องกำหนดสมรรถนะที่เกิด
ขึ้นกับผู้เรียนให้ครบทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะที่พึงประสงค์
5. สาระสำคัญ หมายถึง ความคิดรวบยอดเกี่ยวกับเนื้อหา หลักการ วิธีการ ที่ต้องการจะให้
ผู้เรียนได้รับหลังจากเรียนรู้ในหน่วยนั้น
6. สมรรถนะประจำหน่วย หมายถึง ความสามารถที่ผู้เรียนแสดงออกทั้งทางด้าน ความรู้
ทักษะ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของหน่วยนั้น
7. จุดประสงค์การเรียนรู้ หมายถึง ข้อความที่แสดงถึงผู้เรียนเกิดจาดการเรียนรู้และ
เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมโดยผู้เรียนแสดงพฤติกรรมนั้นมี 3 ด้าน คือ
7.1 ความรู้ (Knowledge) หมายถึง พฤติกรรมด้านสมองที่เกี่ยวกับสติปัญญา
ความรู้ ความคิด ความเฉลียวฉลาด ความสามารถในการคิดเรื่องราวต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็น
ความสามารถทางสติปัญญาพฤติกรรมทางพุทธิพิสัย 6 ระดับ ได้
7.1.1 ความรู้ ความสามารถในการเก็บรักษามวลประสบการณ์ต่างๆ จากการที่ได้
รับรู้ไว้และระลึกสิ่งนั้นได้เมื่อต้องการเปรียบดังเทปบันทึกเสียงหรือวีดิทัศน์ที่สามารถเก็บเสียงและภาพ
ของเรื่องราวต่างๆ ได้ สามารถเปิดฟังหรือดูภาพเหล่านั้นได้ เมื่อต้องการ
7.1.2 ความเข้าใจ เป็นความสามารถในการจับใจความสำคัญของสื่อ และสามารถ
แสดงออกมาในรูปของการแปลความ ตีความ คาดคะเน ขยายความหรือการกระทำอื่นๆ
7.1.3 การนำความรู้ไปใช้ เป็นขั้นที่ผู้เรียนสามารถนำความรู้ ประสบการณ์ไปใช้ใน
การแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ได้ ซึ่งจะต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจ จึงจะสามารถนำไปใช้ได้
7.1.4 การวิเคราะห์ ผู้เรียนสามารถคิดหรือแยกแยะเรื่องราวสิ่งต่างๆ ออกเป็น
ส่วนย่อย เป็นองค์ประกอบที่สำคัญได้และมองเห็นความสัมพันธ์ของส่วนที่เกี่ยวข้องกัน ความสามารถใน
การวิเคราะห์ จะแตกต่างกันไปแล้วแต่ความคิดของแต่ละคน
7.1.4 การสังเคราะห์ ความสามารถในการที่ผสมผสานส่วนย่อย ๆ เข้าเป็นเรื่องราว
เดียวกันอย่างมีระบบ เพื่อให้เกิดสิ่งใหม่ที่สมบูรณ์และดีกว่าเดิม อาจเป็นการถ่ายทอดความคิดออกมาให้
ผู้อื่นเข้าใจ ได้ง่าย การกำหนดวางแผนวิธีการดำเนินงานขึ้นใหม่ หรืออาจจะเกิดความคิดในอันที่จะสร้าง
ความสัมพันธ์ ของสิ่งที่เป็นนามธรรมขึ้นมาในรูปแบบหรือแนวคิดใหม่
7.1.6 การประเมินค่า เป็นความสามารถในการตัดสิน ตีราคา หรือสรุปเกี่ยวกับ
คุณค่าของสิ่งต่างๆ ออกมาในรูปของคุณธรรมอย่างมีกฎเกณฑ์ที่เหมาะสม ซึ่งอาจเป็นไปตามเนื้อหา
สาระในเรื่องนั้นๆ หรืออาจเป็นกฎเกณฑ์ที่สังคมยอมรับก็ได้
7.2 ทักษะ หมายถึง จุดประสงค์ที่มุ่งพัฒนาพฤติกรรมที่เกี่ยวกับการกระทำ (Doing) ของ
ผู้เรียน เกี่ยวกับทักษะความชำนาญ พฤติกรรมด้านทักษะพิสัย ประกอบด้วยพฤติกรรมย่อยๆ 5 ขั้น
ดังนี้
7.2.1 เลียนแบบ เป็นการให้ผู้เรียนได้รับรู้หลักการปฏิบัติที่ถูกต้อง หรือเป็นการเลือก
หา ตัวแบบที่สนใจ
7.2.2 ทำได้ตามแบบ เป็นพฤติกรรมที่ผู้เรียนพยายามฝึกตามแบบที่ตนสนในและ
พยายามทำซ้ำ เพื่อที่จะให้เกิดทักษะตามแบบที่ตนสนใจให้ได้ หรือสามารถปฏิบัติงานได้ตาม
ข้อเสนอแนะ
7.2.3 ทำได้ถูกต้องแม่นยำ พฤติกรรมสามารถปฏิบัติได้ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องอาศัย
เครื่องชี้แนะเมื่อได้กระทำซ้ำแล้ว ก็พยายามหาความถูกต้องในการปฏิบัติ
7.2.4 ทำได้ต่อเนื่องประสานกัน หลังจากตัดสินใจเลือกรูปแบบที่เป็นของตัวเองจะ
กระทำ ตามรูปแบบนั้นอย่างต่อเนื่องจนปฏิบัติงานที่ยุ่งยากซับซ้อนได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง คล่องแคล่ว
การที่ผู้เรียน เกิดทักษะได้ ต้องอาศัยการฝึกฝนและกระทำอย่างสม่ำเสมอ
7.2.5 ทำได้อย่างเป็นธรรมชาติ พฤติกรรมที่ได้จากการฝึกอย่างต่อเนื่อง จนสามารถ
ปฏิบัติได้คล่องแคล่วว่องไวโดยอัตโนมัติ เป็นไปอย่างธรรมชาติ
7.3 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ หมายถึง พฤติกรรมที่เกิดขึ้นในจิตใจของผู้เรียน
เกี่ยวข้องกับความรู้สึกหรืออารมณ์ เช่น เจตคติ (Attitude) ค่านิยม (Value) ความสนใจ (Interest)
รวมทั้งปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งคุณลักษณะที่พึงประสงค์แบ่งได้ 5 ระดับ ได้
7.3.1 รับรู้ เป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นต่อปรากฏการณ์หรือสิ่งเร้าอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึง่
เป็นไปในลักษณะของการแปลความหมายของสิ่งเร้านั้นว่าคืออะไร แล้วจะแสดงออกมาในรูปของ
ความรู้สึกที่เกิดขึ้น
7.3.2 ตอบสนอง เป็นการกระทำที่แสดงออกมาในรูปของความเต็มใจ ยินยอมและ
พอใจต่อสิ่งเร้านั้น ซึ่งเป็นการตอบสนองที่เกิดจากการเลือกสรรแล้ว
7.3.3 เห็นคุณค่า การเลือกปฏิบัติในสิ่งที่เป็นที่ยอมรับกันในสังคมการยอมรับนับถือ
ในคุณค่านั้น ๆ หรือปฏิบัติตามในเรื่องใดเรื่องหนึ่งจนกลายเป็นความเชื่อ แล้วจึงเกิดทัศนคติที่ดีในสิ่งนั้น
7.3.4 จัดระบบคุณค่า การสร้างแนวคิด จัดระบบของค่านิยมที่เกิดขึ้นโดยอาศัย
ความสัมพันธ์ ถ้าเข้ากันได้ก็จะยึดต่อไปแต่ถ้าขัดกันอาจไม่ยอมรับอาจจะยอมรับค่านิยมใหม่โดยยกเลิก
ค่านิยมเก่า
7.3.5 พัฒนาเป็นลักษณะนิสัย การนำค่านิยมที่ยึดถือมาแสดงพฤติกรรมที่เป็นนิสัย
ประจำตัว ให้ประพฤติปฏิบัติแต่สิ่งที่ถูกต้องดีงามพฤติกรรมด้านนี้ จะเกี่ยวกับความรู้สึกและจิตใจ ซึ่งจะ
เริ่มจากการได้รับรู้จากสิ่งแวดล้อม แล้วจึงเกิดปฏิกิริยาโต้ตอบ ขยายกลายเป็นความรู้สึกด้านต่างๆ จน
กลายเป็นค่านิยม และยังพัฒนาต่อไปเป็นความคิด อุดมคติ ซึ่งจะควบคุมทิศทางพฤติกรรม
8. เนื้อหาวิชาสาระการเรียนรู้ (Information) หมายถึง รายละเอียดที่เชื่อมโยงกับสาระสำคัญ
และสอดคล้องกับ ใบเนื้อหาสาระ (Information Sheet) มักจะเขียนเนื้อหาสาระการเรียนรู้จากการ
รวบรวม จากหนังสือ วารสารงานวิจัย ประสบการณ์ผู้สอน ฯลฯ แล้วเรียบเรียงความสำคัญและจำเป็น
ออกเป็น 3 ระดับดังนี้
8.1 เนื้อหาที่จะต้องรู้ (Must Know) เป็นเนื้อหาที่จะต้องนำมาใช้ในการเรียนการ
สอนเพราะสำคัญและจำเป็นมากในการเรียนรู้ หากขาดเนื้อหาส่วนนี้แล้ว ผู้เรียนจะไม่สามารถบรรลุผล
ตามวัตถุประสงค์การสอนนั้น ๆ ข้อสังเกตของเนื้อหาส่วนนี้ก็คือ เป็นใจความสำคัญ (Concept) หรือกฎ
พื้นฐานต่าง ๆ ซึ่งอาจต้องใช้เวลาสำหรับการให้เนื้อหาในส่วนนี้มาก
8.2 เนื้อหาที่ควรรู้ (Should Know) เป็นเนื้อหาที่มีความสำคัญรองลงมาที่จะช่วย
ให้การทำ ความเข้าใจหรือช่วยในการเรียนเนื้อหาที่ต้องรู้ เป็นไปด้วยความรวดเร็วและชัดเจนยิ่งขึ้น
เนื้อหาในส่วนนี้ จึงทำหน้าที่เป็นส่วนช่วยเสริมการเรียน การจัดการเรียนการสอนอาจไม่จำเป็นต้องเน้น
เนื้อหาในส่วนนี้มากเท่ากับเนื้อหาที่จะต้องรู้ ซึ่งสำคัญต่อผู้เรียนมากกว่า
8.3 เนื้อหาที่น่าจะรู้ (Could Know) เป็นเนื้อหาที่มีความสำคัญและความจำเป็น
น้อย อาจจะไม่ต้องสอน หากแต่มีเวลาเหลืออาจหยิบยกมากล่าวเพิ่มเติมก็ได้ เพราะจะช่วยเสริมให้การ
เรียนรู้ในส่วนเนื้อหานั้น ๆ กว้างไกลมากขึ้น ในการเรียนการสอนซึ่งมีช่วงเวลาจากัด อาจจะมอบหมาย
ให้ผู้เรียนไปศึกษาค้นคว้ารายละเอียดเนื้อหาส่วนนี้ด้วยตนเองก็ได้
9. กิจกรรมการจัดการเรียนรู้ หมายถึง กระบวนการ วิธีการจัดการเรียนรู้ต่าง ๆ ที่ผู้สอนจัดให้
ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์การเรียนรู้ที่กำหนด รวมทั้งทักษะ กระบวนการและคุณลักษณะที่
พึงประสงค์ ลักษณะของกิจกรรมหรือกระบวนการจัดการเรียนรู้ ยกตัวอย่างเป็นการจัดการเรียนรู้โดยใช้
กระบวนการ MIPP
9.1 การนำเข้าสู่บทเรียน
9.1.1 ขั้นสนใจ (Motivation)
การกระตุ้นความสนใจให้ผู้เรียนเกิดความอยากเรียนรู้ในเนื้อหา โดยใช้สื่อประกอบคำถาม แบบ
กว้างๆ เพื่อให้ผู้เรียนส่วนใหญ่มีส่วนร่วม ที่ครูใช้ในการดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อเตรียมตัว
นักเรียนก่อนเริ่มเรียน และก่อนที่ครูจะสอนเนื้อหาทุกวิชาซึ่งเป็นการเตรียมนักเรียนให้รู้ว่ากำลังเรียน
เรื่องอะไร สามารถนำเอาความรู้และทักษะที่นักเรียนมีอยู่เดิมมาสัมพันธ์กับบทเรียนที่ครูกำลังจะสอนได้
โดยการหากิจกรรมที่เร้าความสนใจของนักเรียนแล้วเชื่อมโยงไปสู่บทเรียน ซึ่งจะทำให้นักเรียนเข้าใจ
บทเรียนได้ดียิ่งขึ้น
9.2 การเรียนรู้
9.2.1 ขั้นศึกษาข้อมูล (Information)
ผู้สอนต้องเลือกเนื้อหาที่ต้องรู้ (Must know) มาสอนก่อนเช่น การสอนเรื่องเครื่องมือวัด ต้อง
สอนวิธีการอ่านก่อนแล้วจึงสอนวิธีการใช้งาน วิธีการบำรุงรักษา และการบอกชื่อชิ้นส่วนต่าง ๆ
9.2.2 ขั้นพยายาม (Application)
ผู้สอนต้องมีแบบฝึกหัดการปฏิบัติ เพื่อให้ผู้เรียนใช้ความรู้ ที่ได้เรียนมาแก้ปัญหาพัฒนาทักษะ
และเป็นการเปลี่ยนกิจกรรมเพื่อไม่ให้เกิดความเบื่อหน่ายในการเรียนรู้
9.3 การสรุป
9.3.1 ขั้นสำเร็จผล (Progress)
ผู้สอนต้องมีการเฉลยแบบฝึกหัด เพื่อให้ผู้เรียนตรวจปรับความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาที่ได้เรียน
มาและเป็นการเปลี่ยนกิจกรรมเพื่อเพิ่มความสนใจ และเป็นการสรุปซ้ำในเนื้อหาครูสามารถจัดกิจกรรม
เรียนรู้อื่น ๆ ที่เหมาะสมกับเนื้อหาวิชาได้
10. สื่อการเรียนรู้/แหล่งการเรียนรู้ หมายถึง สิ่งต่างๆ ที่ใช้เป็นเครื่องมือหรือช่องทางสำหรับ
ทำให้ การสอนของครูถึงผู้เรียนและทำให้ผู้เรียนและทำให้ผู้เรียนเรียนตามจุดประสงค์ได้ดีและมีความ
เข้าใจในเนื้อหา ที่จะเรียนรู้ ได้แก่ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศน์ หุ่นจำลองหรือของจริง เป็นต้น
11. เอกสารประกอบการจัดการเรียนรู้ หมายถึง เอกสารที่ครูจัดทำขึ้นเพื่อใช้ประกอบการ
เรียนการของนักเรียน ได้แก่ ใบปฏิบัติงาน (Operation Sheet) ใบสั่งงาน (Job Sheet) ใบมอบหมาย
งาน (Assignments Sheet)
11.1 ใบปฏิบัติงาน (Operation Sheet) หมายถึง เอกสารที่เป็นข้อมูลที่ใช้เป็นแนวทางใน
การฝึกปฏิบัติ
11.2 ใบสั่งงาน (Job Sheet) หมายถึง เอกสารที่ใช้ประกอบการฝึกอบรมหรือการเรียน
ทางด้านปฏิบัติ โดยการกำหนดให้ผู้เรียนปฏิบัติงานตามคำสั่ง เพื่อให้เกิดทักษะตามวัตถุประสงค์เชิง
พฤติกรรมที่วิเคราะห์ได้จากขั้นตอนการทำงานได้อย่างปลอดภัย
11.3 ใบมอบหมายงาน (Assignments Sheet) หมายถึง เอกสารที่ครูผู้สอนมอบหมายงาน
ให้ผู้เรียนไปฝึกปฏิบัติด้วยตนเองนอกเหนือจากเวลาการเรียนการสอน
12. การบูรณาการ/ความสัมพันธ์กับวิชาอื่น หมายถึง การเรียนรู้ที่เชื่อมโยงศาสตร์สาขา
ต่างๆ ที่สัมพันธ์เกี่ยวข้องกันมาผสมผสานเข้าด้วยกันเพื่อให้เกิดองค์ความรู้ที่มีความหมาย มีความ
หลากหลาย และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน
13. การวัดและประเมินผล หมายถึง การตรวจสอบจุดประสงค์ในการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ใน
แผนการเรียนรู้ เช่น แบบทดสอบ แบบประเมินทักษะ แบบสังเกต แบบบันทึกพฤติกรรมผู้เรียน และ
แบบสัมภาษณ์ เป็นต้น
13.1 การวัดและประเมินผลก่อนเรียน หมายถึง การวัดและประเมินผลความรู้/ทักษะพื้นฐาน
เป็นการตรวจสอบเพื่อดูว่าผู้เรียนมีความรู้/ทักษะพื้นฐานก่อนหน้าที่จะเรียนในบทเรียนนั้น ๆ มากน้อย
เพียงใด สามารถที่จะเรียนต่อไปได้เลยหรือควรที่จะปรับพื้นความรู้/ฝึกทักษะพื้นฐานบางส่วนหรือ
ทั้งหมดเสียก่อน การวัดและประเมินผลความรู้/ทักษะพื้นฐาน ทำเพื่อให้ได้ข้อมูลบางอย่างที่ต้องการมา
จัดกิจกรรมการเรียนการสอน
13.2 การวัดและประเมินผลขณะเรียน หมายถึง เพื่อให้ผู้เรียนได้ตรวจสอบความรู้ความ
เข้าใจ ในเนื้อหาส่วนต่าง ๆ ที่รับจากการเรียนการสอนไปว่ามีอยู่เพียงพอที่จะใช้แก้ปัญหาต่าง ๆ ได้
หรือไม่เพียงใด
ฉะนั้นคะแนนจากการวัดและประเมินผลความรู้ความเข้าใจในบทเรียนต่าง ๆ จึงเป็นเครื่องมือที่สำคัญใน
การวินิจฉัยการจัดการเรียนการสอนซึ่งจะไม่เกี่ยวข้องกับการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแต่อย่างใด
เพราะกิจกรรมดังกล่าวอยู่ในช่วงขั้นพยายามของกระบวนการเรียนรู้เท่านั้น
13.3 การวัดและประเมินผลหลังเรียน หมายถึง วัดและประเมินเมื่อจบการจัดกิจกรรม การ
เรียนรู้ เพื่อตรวจสอบผลการเรียนผู้เรียน โดยเทียบกับจุดประสงค์หรือผลการเรียนรู้ นอกจากนี้การวัด
และประเมินผลหลังเรียนอาจเป็นข้อมูลก่อนเรียนในระดับต่อไป
14. บันทึกหลังสอน หมายถึง เป็นการสรุปและแสดงผลการนำแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ไปใช้ ว่าสามารถจัดกิจกรรมได้บรรลุผลการเรียนรู้หรือไม่ มีปัญหาและอุปสรรคใดบ้างที่ต้องแก้ไข มี
พฤติกรรมของผู้เรียนใดบ้างที่ต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
14.1 ผลการใช้แผนการจัดการเรียนรู้ หมายถึง ผลประเมินการใช้แผนการสอน เป็นการ
ประเมินตนเอง
14.1.1 จุดประสงค์(Objective) จุดประสงค์แต่ละข้อที่กำหนดไว้ในแผนเหมาะสม
เพียงใดควรปรับปรุงเพียงใด และสอนตามตรงจุดประสงค์ที่วางแผนไว้มากน้อยเพียงใด
14.1.2 ห้องเรียน/ห้องฝึกงาน มีความเหมาะสมเพียงใด
14.1.3 เนื้อหาที่มีในแผน เหมาะสมเพียงใด สอนเนื้อหาตามที่วางแผนไว้ได้มากน้อย
เพียงใด
14.1.4 กิจกรรมการเรียนการสอนที่วางแผนไว้เหมาะสมเพียงใด จัดการเรียนรู้ได้ตาม
กิจกรรมที่วางแผนไว้ได้มากน้อยเพียงใด
14.1.5 สื่อการสอน ที่วางแผนไว้ในแผนการจัดการเรียนรู้ เหมาะสมเพียงใด นำมาใช้
สอนมากน้อยเพียงใด
14.1.6 เครื่องมือ/อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร วัสดุฝึก อุปกรณ์ช่วยสอนอื่นๆ ที่
วางแผนไว้เหมาะสมเพียงใดใช้ตามแผนมากน้อยเพียงใด
14.1.7 เวลาที่ใช้ เวลาที่วางแผนไว้เหมาะสมเพียงใด ปฏิบัติการสอนได้ตามเวลามาก
น้อยเพียงใด
14.1.8 การวัดและประเมินผลที่ออกแบบไว้ในแผนเหมาะสมเพียงใด นำไปใช้วัด
ประเมินผล ครบกระบวนการตามที่วางแผนไว้มากน้อยเพียงใด
14.2 ผลการเรียนรู้ของนักเรียน นักศึกษา หมายถึง ตัวผู้เรียนที่จะเข้ามาเรียนในหลักสูตร
รายวิชาที่พัฒนาขึ้น จะต้องตรวจสอบคุณสมบัติต่างๆ เช่น ความรู้/ทักษะพื้นฐาน ลักษณะส่วนบุคคล
(ถ้าจำเป็น) เป็นต้น ให้สอดคล้องตามความต้องการที่กำหนดไว้เป็นพื้นฐานของผู้ที่จะเข้ามาเรียนใน
หลักสูตร
รายวิชานั้น ผลจากการตรวจสอบผลสัมฤทธิ์ในการเรียน ข้อมูลจากแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ในการ
เรียนหลังจากศึกษาจบหลักสูตรรายวิชาที่ทดลองใช้แล้ว
1. โดยเฉลี่ยแล้วผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ในการเรียนรายวิชาที่พัฒนาร้อยละเท่าไร อยู่ในเกณฑ์สูง
หรือต่ำ
2. จากการตรวจสอบมีปริมาณหรือจำนวนผู้เรียนเท่าไร สามารถผ่านรายวิชานั้นไปได้และมี
จำนวนเท่าไรควรศึกษาซ้ำใหม่อีกครั้งหนึ่ง
14.3 แนวทางการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ หมายถึง แนวทางการแก้ปัญหาของครูผู้สอน
การแก้ปัญหาอาจเป็นการแก้ปัญหาทันทีระหว่างปฏิบัติการสอนควรบันทึกไว้ด้วยหรือเสนอแนวทาง
แก้ปัญหาเพื่อปรับปรุงแผนจัดการเรียนรู้ในการสอนครั้งต่อไป (Action Plan) เพื่อพัฒนาคุณภาพการ
เรียนรู้
ใบเนื้อหา (Information Sheet)
เป็นเอกสารที่รวบรวมเนื้อหาสาระการเรียนรู้ของวิชาชีพนั้นๆ เพื่อผู้เรียนได้ศึกษาก่อนการปฏิบัติงาน
ประกอบด้วย
1. สาขาวิชา
2. ชื่อวิชา
3. งาน
4. ชื่อใบเนื้อหา จำนวนแผ่นที่/หน้าที่
5. เนื้อหาสาระการเรียนรู้ (มีภาพ หรือแผนภูมิประกอบ)

ใบสั่งงาน (Job Sheet)


เอกสารที่กำหนดให้ เกิดการฝึก เพื่อให้เกิดทักษะทางกล้ามเนื้อ (Motor Skill) โดยบรรลุตาม
วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมอย่างปลอดภัย ประกอบด้วย
1. สาขาวิชา
2. ชื่อวิชา
3. งาน
4. ชื่อใบสั่งงาน จำนวนแผ่นที่/หน้าที่
5. คำสั่ง/คำสั่งย่อย
6. รูปภาพ
7. ลำดับขั้นการปฏิบัติงาน
8. เครื่องมือ / วัสดุอุกรณ์
9. จำนวนชัว่ โมง

ใบลำดับขั้นตอนการปฏิบัติงาน (Operation Sheet)


ใบเอกสารที่แสดงลำดับขั้นการปฏิบัติงานที่ถูกต้อง เพื่อให้ผู้ฝึกดำเนินตามขั้นตอนนั้นๆ ในการ ทำงาน
ประกอบด้วย
1. สาขาวิชา
2. ชื่อวิชา
3. งาน
4. ชื่อใบลำดับขั้นตอนการปฏิบัติงาน จำนวนแผ่นที/่ หน้าที่
5. ลำดับขั้นตอนการปฏิบัติงาน (มีภาพประกอบ)
6. คำอธิบายขั้นตอนการปฏิบัติงาน
7. เครื่องมือ และอุปกรณ์
8. ข้อควรระวัง
ใบประเมินผลการปฏิบัติงาน (Evaluation Sheet)
เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการจดบันทึกหรือเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของ ผู้เรียน / ผู้ปฏิบัติงานเพื่อ
นำไปประเมินผลการปฏิบัติงาน ประกอบด้วย
1. สาขาวิชา
2. ชื่อวิชา
3. งาน
4. ชื่อใบประเมินผลการปฏิบัติงาน จำนวนแผ่นที/่ หน้าที่
5. จุดที่ประเมิน/ผล
6. คุณภาพของงาน
7. เจตคติ
8. เวลาประเมิน
9. สรุปผลการประเมิน ผ่าน/ไม่ผ่าน

ใบแบบทดสอบ (Test Sheet)


เป็นเอกสารที่ใช้เป็นเครื่องมือในการวัดผลการเรียนการสอน ที่เชื่อถือได้ เพื่อให้ผลการวัดออกมาเป็น
ตัวเลข หรือสัญลักษณ์ ที่มีความหมายแทนคุณลักษณะสิ่งที่จะวัด ประกอบด้วย
1. สาขาวิชา
2. ชื่อวิชา
3. งาน
4. ชื่อใบแบบทดสอบ จำนวนแผ่นที่/หน้าที่
5. คำชี้แจง จำนวนแบบทดสอบ (ระบุข้อ)
6. จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
7. จำนวนข้อแบบทดสอบ

ใบเฉลยแบบทดสอบ (Test solution Sheet)


เป็นเอกสารที่ใช้เป็นเครื่องมือในการประเมินผลการเรียนการสอน ที่เชื่อถือได้ เพื่อให้ผลการประเมิน
ออกมาตามเกณฑ์การประเมินผลที่กำหนด ประกอบด้วย
1. สาขาวิชา
2. ชื่อวิชา
3. งาน
4. ชื่อใบเฉลยแบบทดสอบ จำนวนแผ่นที่/หน้าที่
5. จำนวนข้อแบบทดสอบ/ข้อเฉลย

You might also like