You are on page 1of 16

ชุดทดลองที่ 1 กังหันน้ำผลิตกระแสไฟฟ้ า

ระดับชัน
้ มัธยมศึกษาปี ที่ 1-3

ระยะเวลา 3 ชั่วโมง

สาระสำคัญ

พลังงานน้ำสามารถทำให้วัตถุต่างๆ เคลื่อนที่หรือหมุนได้ จึงมีการนำ


พลังงานน้ำมาใช้ในการผลิตไฟฟ้ า โดยใช้หลักการถ่ายโอนพลังงานน้ำจาก
แหล่งกักเก็บน้ำไปยังกังหันน้ำที่ต่อกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้ าที่อยู่ในระดับต่ำ
กว่าแหล่งน้ำ เพื่อเปลี่ยนพลังงานศักย์ของน้ำให้เป็ นพลังงานจลน์โดยการ
หมุนของใบกังหัน จากนัน
้ นำไปหมุนแกนเครื่องกำเนิดไฟฟ้ าเพื่อเปลี่ยน
เป็ นพลังงานไฟฟ้ า
การออกแบบกังหันน้ำเพื่อผลิตไฟฟ้ ามีปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ รูปแบบ
และจำนวนของใบพัดแรงของน้ำที่กระทำกับใบพัด รวมถึงวัสดุที่ใช้สร้าง
ใบพัดซึ่งในการสร้างแบบจำลองกังหันน้ำผลิตไฟฟ้ าจำเป็ นต้องใช้ความรู้
เกี่ยวกับการเปลี่ยนรูปพลังงาน และการออกแบบและเลือกใช้วัสดุที่
เหมาะสม การวัดความสามารถในการผลิตกระแสไฟฟ้ าของกังหันน้ำ
สามารถทำได้โดยการเปรียบเทียบค่าความต่างศักย์ไฟฟ้ าที่ตกคร่อมตัว
ต้านทานที่ต่อเข้ากับเครื่องกำเนิดไฟฟ้ า ซึง่ สามารถนำข้อมูลดังกล่าวมาใช้
สำหรับการวิเคราะห์และการแปลความหมายเพื่อจะนำไปใช้งานต่อไป

ตัวชีว
้ ัด

วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม คณิตศาสตร์


อธิบาย สามารถผลิต สร้างสิ่งของเครื่อง สามารถคำนวณ
พลังงานจลน์ กระแส ใช้ หรือวิธีการตาม ค่ากำลัง
พลังงานศักย์โน้ม ไฟฟ้ าได้จาก กระบวนการ ไฟฟ้ าได้จาก
ถ่วง กฎการ กระแส ทางวิศวกรรม เพื่อ สมการทาง
อนุรักษ์พลังงาน น้ำ โดยเปลี่ยน นำไปสูก
่ ารสร้างสิ่ง คณิตศาสตร์และ
และความสัมพันธ์ พลัง ประดิษฐ์ สามารถวัดมุม
ระหว่างปริมาณ งานกลเป็ น ที่สามารถนำใช้ได้ ของใบพัดที่
เหล่านี ้ รวมทัง้ นำ พลังงานไฟฟ้ า จริงได้ รองรับการตกกระ
ความรู้ไปใช้ ทบของน้ำได้
ประโยชน์

สาระการเรียนรู้
วิทยาศาสตร์
พลังงานจลน์เป็ นพลังงานของวัตถุที่เคลื่อนที่ ขึน
้ กับมวลและอัตราเร็ว
ส่วนพลังงานศักย์เป็ นพลังงานที่สะสมอยู่ในวัตถุ ขึน
้ กับตำแหน่งของวัตถุ
กฎการอนุรักษ์พลังงานกล่าวว่า พลังงานรวมของวัตถุไม่สูญหายแต่
สามารถเปลี่ยนจากรูปหนึ่งไปเป็ นอีกรูปหนึ่งได้ พลังงานศักย์และ
พลังงานจลน์ของวัตถุมีการถ่ายโอนพลังงานระหว่างกันได้ ในทำนอง
เดียวกัน พลังงานรวมของระบบอาจเปลี่ยนจากพลังงานหนึ่งเป็ นอีก
พลังงานหนึง่ ได้ เช่น พลังงานกลเป็ นพลังงานไฟฟ้ า พลังงานไฟฟ้ าเป็ น
พลังงานความร้อน พลังงานเคมีเป็ นพลังงานแสง พลังงานที่น้ำมาใช้
ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ จะต้องมีปริมาณมากเพียงพอ จึงสามารถใช้
พลังงานนัน
้ ทำงานได้ เช่น พลังงานน้ำเหนือเขื่อนจะถ่ายโอนพลังงานศักย์
โน้มถ่วงเป็ นพลังงานจลน์ไปหมุนเครื่องกำเนิดไฟฟ้ าเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้ า
เทคโนโลยี
การสร้างสิ่งของเครื่องใช้หรือวิธีการต้องอาศัยความรู้ที่เกี่ยวข้องอื่นอีก
เช่น กลไกและการควบคุมไฟฟ้ า-อิเล็กทรอนิกส์ วิศวกรรมศาสตร์
เทคโนโลยี และการเลือกใช้วัสดุให้มีความเหมาะสมกับการใช้งาน ควร
พิจารณาปั จจัยในด้านต่าง ๆ เช่น รูปร่าง สี พื้นผิว ความแข็ง ความ
เหนียว

วิศวกรรมศาสตร์
การสร้างชุดทดลองกังหันน้ำผลิตกระแสไฟฟ้ า จำเป็ นต้องใช้กระบวนการ
ทางวิศวกรรมมาช่วยในการออกแบบใบพัดเพื่อรับน้ำที่ปล่อยลงมากระทบ
กับกังหัน รวมถึงความยาวและจำนวนแกนของใบพัดที่จะต้องคำนึงถึงค่า
กำลังไฟฟ้ า และค่าความต่างศักย์ที่ผลิตได้จากกังหันน้ำ

คณิตศาสตร์
การนำเสนอข้อมูลในรูปตารางเป็ นวิธีการนำเสนอข้อมูลที่นิยมกันอย่าง
แพร่หลาย เพราะมีความละเอียด เป็ นระเบียบ สามารถแสดงข้อมูลได้
เป็ นจำนวนมาก และแบ่งประเภทของข้อมูลได้หลายประเภทอย่างเป็ น
ระบบ มีความชัดเจนสะดวกต่อการคำนวณค่าต่างๆทางสถิติ รวมถึงการ
ใช้หลักการทางคณิตศาสตร์เพื่อมาคำนวณค่ากำลังไฟฟ้ า และวัดมุมของ
ใบพัดที่รองรับการตกกระทบของน้ำได้
ผังมโนทัศน์

จุดประสงค์
1. สามารถอธิบายหลักการทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับพลังงานศักย์และ
พลังงานจลน์ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของกังหันน้ำเพื่อผลิตไฟฟ้ าได้
2. เพื่อออกแบบและสร้างแบบจำลองกังหันน้ำเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้ าให้
มากที่สุด

วัสดุอุปกรณ์

วัสดุ ภาพประกอบ

1. ฝาขวดน้ำพลาสติก

2. ช้อนพลาสติก

3. พลาสติกลูกฟูก

4. ไม้เสียบลูกชิน

5. ขวดน้ำ 1.5 ลิตร

6. เจเนอเรเตอร์ขนาดเล็ก
วัสดุ ภาพประกอบ

7. เทปกาว

8. หลอด LED

9. ชุดถังน้ำ

10. มัลติมิเตอร์

11. ปื นกาว

12. กรรไกร

13. คัตเตอร์
วัสดุ ภาพประกอบ

14. ไม้บรรทัด

แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
จัดกิจกรรมเพื่อให้นักเรียนเกิดความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการผลิต
กระแสไฟฟ้ าจากพลังงานเชิงกล และเพิ่มทักษะการออกแบบเชิง
วิศวกรรม

1. กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
ขัน
้ ที่ 1 กำหนดปั ญหาหรือความต้องการ
ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมอภิปรายแนวคิดในการนำพลังงานน้ำมาใช้
ประโยชน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผลิตไฟฟ้ าโดยใช้พลังงานน้ำ จากนัน

ร่วมกันสรุปขอบเขตการทดลอง โดยตัง้ สมติฐานการทดลองได้ดังนี ้ “ควา
มสูงของระดับน้ำที่มาก ส่งผลให้ผลิตกำลังไฟฟ้ าได้มาก”

ขัน
้ ที่ 2 รวบรวมข้อมูล
ให้นักเรียนรวบรวมข้อมูลการออกแบบกังหันน้ำในรูปแบบต่างๆ โดย
ศึกษาลักษณะของใบพัดตามลักษณะการไหลของกระแสน้ำ เช่น ความสูง
ของหัวน้ำ ทิศทางการรับน้ำ พื้นที่รับน้ำ รวมถึงลักษณะและจำนวนใบพัด
และให้นักเรียนระดมความคิดเพื่อออกแบบกังหันน้ำผลิตไฟฟ้ าให้ได้ค่า
ความต่างศักย์ และค่ากำลังไฟฟ้ าสูงที่สุด

ขัน
้ ที่ 3 เลือกวิธีการ
ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มเลือกรูปแบบกังหันน้ำผลิตไฟฟ้ าที่ได้มาจากการเก็บ
ข้อมูลและแนวคิดที่ได้จากการวิเคราะห์ เพื่อเลือกรูปแบบกังหันน้ำที่
สามารถผลิตไฟฟ้ าได้มากที่สุด

ขัน
้ ที่ 4 ออกแบบและปฏิบัติการ
ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มทำการออกแบบแนวคิดของกังหันน้ำลงในใบ
กิจกรรม รวมถึงวางแผนและลงมือสร้างกังหันน้ำตามที่ออกแบบไว้ภายใน
เวลาที่กำหนด

ขัน
้ ที่ 5 ทดสอบ
นำกังหันน้ำผลิตไฟฟ้ าของนักเรียนแต่ละกลุ่มมาทดสอบการทำงานของ
กังหันน้ำว่าสามารถผลิตไฟฟ้ าได้หรือไม่ โดยใช้มัลติมิเตอร์วัดค่าความต่าง
ศักย์ไฟฟ้ าที่ได้จากเจนเนอเรเตอร์ พร้อมกับบันทึกข้อมูลการทดสอบ

ขัน
้ ที่ 6 ปรับปรุงแก้ไข
ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มปรับปรุงชิน
้ งานโดยใช้ผลการทดลองที่ได้มาเป็ น
ข้อมูลในการหาแนวทางการปรับปรุง เพื่อให้ผลิตไฟฟ้ าได้มากขึน

ขัน
้ ที่ 7 ประเมินผล
เมื่อนักเรียนปรับปรุงแก้ไขกังหันน้ำผลิตไฟฟ้ าแล้ว ให้ทำการทดลองและ
บันทึกผลการทดลองใหม่อีกครัง้ เพื่อประเมินผลกังหันน้ำผลิตไฟฟ้ าที่
ปรับปรุงแล้ว

2. กิจกรรมรวมยอด
นักเรียนร่วมกันอภิปรายเพื่อสรุปประเด็นและความรู้ที่ได้จากการทดลอง
โดยมีคำถาม ดังต่อไปนี ้
-นักเรียนได้ความรู้วิทยาศาสตร์อะไรบ้างจากการทำกิจกรรมนี ้ (สามารถ
อธิบายทฤษฎีพลังงานศักย์ พลังงานจลน์ และอธิบายการเปลี่ยนแปลง
พลังงานกลเป็ นพลังงานฟ้ าได้)
-นักเรียนได้ความรู้คณิตศาสตร์อะไรบ้างจากการทำกิจกรรมนี ้ (สามารถ
นำเสนอข้อมูลในรูปแบบตาราง รวมถึงการใช้หลักการทางคณิตศาสตร์
เพื่อมาคำนวณค่ากำลังไฟฟ้ า และวัดมุมของใบพัดที่รองรับการตกกระทบ
ของน้ำได้)
-นักเรียนได้ความรู้ทางวิศวกรรมอะไรบ้างจากการทำกิจกรรมนี ้ (สามารถ
สร้างชุดทดลองกังหันน้ำผลิตกระแสไฟฟ้ า โดยใช้กระบวนการทาง
วิศวกรรมมาช่วยในการออกแบบใบพัดเพื่อรับน้ำที่ปล่อยลงมากระทบกับ
กังหัน รวมถึงความยาวและจำนวนแกนของใบพัดที่จะต้องคำนึงถึงค่า
กำลังไฟฟ้ า และค่าความต่างศักย์ที่ผลิตได้จากกังหันน้ำ)
-ในการแก้ปัญหาที่เกิดขึน
้ นักเรียนต้องทำอย่างไร (กำหนดปั ญหาหรือ
ความต้องการ รวบรวมข้อมูล เลือกวิธีการ ออกแบบและปฏิบัติการ
ทดสอบ ปรับปรุงแก้ไข ประเมินผล)
-ขัน
้ ตอนที่นักเรียนทำทัง้ 7 ขัน
้ ตอน รวมแล้วเรียกว่าอะไร (กระบวนการ
เทคโนโลยี หรือ กระบวนการออกแบบทางวิศวกรรม)

การวัดผลประเมินผล
1. อธิบายหลักการทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับพลังงานศักย์และ
พลังงานจลน์ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของกังหันน้ำเพื่อผลิตไฟฟ้ าได้
2. ออกแบบและสร้างแบบจำลองกังหันน้ำเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้ าให้มาก
ที่สุด

เอกสารอ้างอิง
1. ส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ,
สถาบัน.หนังสือเรียนรายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์ พลังงานทดแทนกับ
การใช้ประโยชน์ ชัน
้ มัธยมศึกษาตอนต้น. 2556.
2. ส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ,
สถาบัน.คู่มือกิจกรรมสะเต็ม Science Technology Engineering and
Mathematics Education ระดับมัธยมศึกษาปี ที่ 1-3. 2558.
ใบกิจกรรม ชุดทดลองที่ 1
STEM ศึกษา เรื่อง กังหันน้ำผลิตกระแสไฟฟ้ า
หน่วยงานวิศวกรรมเพื่อความรับผิดชอบต่อสังคม คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหิดล

จุดประสงค์
1. สามารถอธิบายหลักการทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับพลังงานศักย์และ
พลังงานจลน์ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของกังหันน้ำเพื่อผลิตไฟฟ้ าได้
2. เพื่อออกแบบและสร้างแบบจำลองกังหันน้ำเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้ าให้มาก
ที่สุด

วัสดุอุปกรณ์
จำนวนต่อ จำนวนต่อ
ที่ รายการ ที่ รายการ
กลุ่ม กลุ่ม
ฝาขวดน้ำ
1 6 อัน 9 ชุดถังน้ำ 1 ชุด
พลาสติก
2 ช้อนพลาสติก 10 อัน 10 มัลติมิเตอร์ 1 ชุด
3 พลาสติกลูกฟูก 1 แผ่น 11 ปื นกาว 1 อัน
4 ไม้เสียบลูกชิน
้ 10 อัน 12 กรรไกร 1 เล่ม
5 ฝาขวดน้ำ 1 อัน 13 คัตเตอร์ 1 อัน
6 ขวดน้ำ 1.5 ลิตร 1 อัน 14 เทปกาว 1 ม้วน
7 เจเนอเรเตอร์ 1 ตัว 15 ไม้บรรทัด 1 อัน
ขนาดเล็ก
8 หลอด LED 1 ดวง

คำถามก่อนทำกิจกรรม นักเรียนคิดว่าความสูงของระดับน้ำที่ปล่อยลง
มาให้กระทบกับกังหันน้ำ มีผลต่อการผลิตไฟฟ้ าหรือไม่
และเพราะอะไร

สมมติฐานการทดลอง ความสูงของระดับน้ำที่มาก ส่งผลให้ผลิตกำลัง


ไฟฟ้ าได้มาก

ตัวแปรต้น ความสูงของระดับน้ำ
ตัวแปรตาม ค่าความต่างศักย์ไฟฟ้ า
ตัวแปรควบคุม จำนวนรอบของมอเตอร์, ความสูงของกังหันน้ำ

บันทึกแนวคิดในการสร้างแบบจำลองกังหันน้ำผลิตไฟฟ้ าเป็ นภาพและ


ระบุรายละเอียด เช่น รูปร่างของใบพัด จำนวนใบพัด วัสดุที่เลือกใช้สร้าง
ใบพัด พร้อมให้เหตุผลประกอบ

ขัน
้ ตอนการทำกิจกรรม
1. กำหนดความสูงจากระดับที่ปล่อยน้ำถึงจุดที่น้ำกระทบกับกังหัน ที่ระยะ
0.6 เมตร 1.0 เมตร และ 1.5 เมตร
2. ให้แต่ละกลุ่มระดมความคิดเพื่อรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการสร้าง
กังหันน้ำผลิตไฟฟ้ า เพื่อให้ผลิตไฟฟ้ าได้มากที่สุดจากอุปกรณ์ที่กำหนดให้
เช่น รูปแบบของกังหันน้ำ จำนวนแกนใบพัด วัสดุที่ใช้ทำใบพัด ความแข็ง
แรงของกังหันน้ำ ความสูงของระดับน้ำที่ปล่อยลงมากระทบกังหันน้ำ และ
ให้แต่ละกลุ่มเลือกวิธีการสร้างกังหันน้ำที่ต้องการจากข้อมูลที่รวบรวมมา
โดยคำนึงถึงทรัพยากรที่มีอยู่ เช่น วัสดุที่เลือกใช้มีความเหมาะสม วิธีการ
สร้างไม่ยากจนเกินไปและสามารถสร้างได้ในเวลาที่กำหนด
3. แต่ละกลุ่มออกแบบกังหันน้ำผลิตไฟฟ้ าตามรูปแบบที่ต้องการ โดยร่าง
เป็ นภาพและระบุรายละเอียด เช่นรูปร่างของใบพัด จำนวนใบพัด วัสดุที่
เลือกใช้สร้างใบพัด พร้อมให้เหตุผลประกอบ
4. ลงมือสร้างกังหันน้ำตามที่ออกแบบไว้
5. ทดสอบการทำงานของกังหันน้ำว่าสามารถผลิตไฟฟ้ าได้หรือไม่ โดยใช้
โวลต์มิเตอร์วัดค่าความต่างศักย์ไฟฟ้ าที่ได้จากเจเนอเรเตอร์ พร้อมกับบันทึก
ข้อมูลการทดสอบ จากนัน
้ เปลี่ยนความสูงของระดับน้ำตามที่กำหนดแล้ว
ทำการทดสอบซ้ำอีกครัง้
6. นำผลการทดสอบการทำงานของกังหันน้ำมาหาแนวทางในการปรับปรุง
แก้ไขชิน
้ งานให้ดีขึน
้ เพื่อให้สามารถผลิตไฟฟ้ าได้มากขึน
้ กว่าเดิม จากนัน

ลงมือปรับปรุงชิน
้ งานแล้วนำไปทดสอบการทำงานอีกครัง้ พร้อมกับบันทึก
ข้อมูลการทดสอบ
7. แต่ละกลุ่มนำผลการทดสอบการทำงานของกังหันน้ำมาเขียนกราฟความ
สัมพันธ์ระหว่างค่าความต่างศักย์และความสูง แล้วอธิปรายร่วมกันในกลุ่ม
8. ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอแบบจำลองกังหันน้ำผลิตไฟฟ้ าที่สร้างขึน

โดยนำเสนอแนวคิดในการสร้างรูปแบบของกังหัน เหตุผลในการเลือกใช้วัสดุ
รวมทัง้ ผลการทดสอบและการปรับปรุงแก้ไขกังหันน้ำจนมีประสิทธิผลมาก
ที่สุด
9. ให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับปั จจัยที่มีผลต่อการสร้างกังหันน้ำเพื่อ
ให้สามารถผลิตไฟฟ้ าได้มากที่สุด และแนวทางการสร้างกังหันน้ำผลิตกระแส
ไฟฟ้ าสำหรับใช้งานจริง และหลักการทางวิทยาศาสตร์ที่นำมาใช้ในการ
ออกแบบและสร้างชิน
้ งาน

ตัวอย่างผลการทำกิจกรรม
ลักษณะกังหัน

ทดสอบ ค่าความต่างศักย์ไฟฟ้ า (โวลล์)


ครัง้ ที่ ความสูง 0.6 เมตรความสูง 1.0 เมตรความสูง 1.5 เมตร
1 0.5 1.0 1.5
2 0.4 0.9 1.6
3 0.6 1.1 1.4
เฉลี่ย 0.5 1.0 1.5
อภิปรายผลการทำกิจกรรม
1. กังหันน้ำผลิตไฟฟ้ าไม่ได้ อาจมีสาเหตุเกิดมาจากความเร็วในการหมุน
น้อย หรือสายไฟที่ต่อกับขัว้ บวกและขัว้ ลบจากมัลติมิเตอร์เกิดการลัดวงจร
โดยอาจเพิ่มจำนวนใบพัดให้มากขึน
้ หรือต่อวงจรให้ถูกต้อง
2. กังหันน้ำผลิตไฟฟ้ าได้น้อย อาจมีสาเหตุจากอัตราเร็วในการหมุนของ
ใบพัดมีค่าน้อย โดยอาจปรับเปลี่ยนความยาวของแกนใบพัด เพิ่มพื้นที่รับน้ำ
ของใบพัด หรือพิจารณามุมของใบพัดที่รับแรงจากการตกกระทบของน้ำ

สรุปผลการทำกิจกรรม
ความสูงของระดับน้ำที่ปล่อยให้ตกกระทบกับใบพัด มีผลต่อค่าความต่าง
ศักย์ของไฟฟ้ า โดยความสูงของระดับน้ำที่ปล่อยให้ตกกระทบกับใบพัดมีค่า
มาก จะส่งผลให้ค่าความต่างศักย์ของไฟฟ้ ามีค่าสูงขึน

บันทึกแนวทางการแก้ไขปรับปรุงกังหันลมให้สามารถผลิตไฟฟ้ าได้มาก
ที่สุด
1. จำนวนของแกนใบพัดที่เพิ่มขึน
้ จะส่งผลให้กังหันหมุนได้ต่อเนื่อง ทำให้
ความต่างศักย์ของไฟฟ้ ามีค่าสูงขึน

2. ความยาวของแกนใบพัดที่มากขึน
้ จะทำให้ใบพัดหมุนได้ง่ายขึน

3. ลักษณะของใบพัด ควรมีลักษณะโค้งงอ เพื่อช่วยเพิ่มแรงในการหมุน
กังหันมากขึน

คำถามท้ายกิจกรรม
จากการทำกิจกรรม ให้นักเรียนยกตัวอย่างกระบวนการผลิตกระแสไฟฟ้ า
ด้วยวิธีการอื่นๆ นอกเหนือจากการใช้กระแสน้ำ
ตอบ - ผลิตไฟฟ้ าจากพลังงานลม โดยใช้กังหันลม
- ผลิตไฟฟ้ าจากแสงอาทิตย์ โดยใช้แผงโซลาร์เซลล์

You might also like