You are on page 1of 13

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 6

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ รายวิชา ว 32202 ฟิสิกส์ 4 ชั้น ม.5 ปีการศึกษา 2566


ชื่อหน่วยการเรียนรู้ ไฟฟ้าสถิต เวลา 15 ชั่วโมง
เรื่อง การเหนี่ยวนำประจุไฟฟ้า เวลา 3 ชั่วโมง
วันที่ 20 – 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 สัปดาห์ที่ 6

สาระ / ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
สาระฟิสิกส์
2. เข้าใจแรงไฟฟ้าและกฎของคูลอมบ์ สนามไฟฟ้า ศักย์ไฟฟ้า ความจุไฟฟ้า กระแสไฟฟ้าและกฎของโอห์ม วงจรไฟฟ้ากระแสตรง
พลังงานไฟฟ้าและกำลังไฟฟ้า การเปลี่ยนพลังงานทดแทนเป็นพลังงานไฟฟ้า สนามแม่เหล็ก แรงแม่เหล็ก ที่กระทำกับประจุไฟฟ้าและ
กระแสไฟฟ้า การเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้าและกฎ ของฟาราเดย์ ไฟฟ้ากระแสสลับ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและการสื่อสาร รวมทั้ง นำความรู้ไป
ใช้ประโยชน์
ผลการเรียนรู้
1.ทดลอง และอธิบายการทำวัตถุที่เป็นกลางทาง ไฟฟ้าให้มีประจุไฟฟ้าโดยการขัดสีกันและการเหนี่ยวนำไฟฟ้าสถิต
สาระการเรียนรู้เพิ่มเติม
เมื่อนำวัตถุที่มีประจุไฟฟ้าไปใกล้ตัวนำไฟฟ้า จะทำให้เกิดประจุชนิดตรงข้ามบนตัวนำทางด้าน ที่ใกล้วัตถุและประจุชนิดเดียวกัน
ด้านที่ไกลวัตถุ เรียกวิธีการนี้ว่า การเหนี่ยวนำไฟฟ้าสถิต ซึ่งสามารถใช้วิธีการนี้ในการทำให้วัตถุมีประจุได้
สาระสำคัญ
1. แรงทางไฟฟ้าที่กระทำระหว่างประจุชนิดเดียวกันเป็นแรงผลัก และแรงทางไฟฟ้าที่กระทำระหว่างประจุต่างชนิดกันเป็นแรงดูด
2. ขนาดของแรงระหว่างประจุไฟฟ้าทั้งสอง มีค่าแปรผันตามผลคูณขนาดประจุแต่ละตัว และแปรผกผันกับกำลังสองของระยะห่าง
kQ Q
ระหว่างประจุทั้งสอง เรียกว่า กฎของคูลอมบ์ ตามความสัมพันธ์ 𝐹 = 12 2
𝑟

โดยแรงระหว่างประจุชนิดเดียวกันจะมีทิศผลักออกจากกันและหากเป็นประจุต่างชนิดกันจะมีทิศดึงดูดเข้าหากัน

3. แรงระหว่างจุดประจุหลายจุดที่กระทำต่อจุดประจุหนึ่ง ๆ มีค่าเท่ากับผลรวมของแรงทุกแรงที่กระทำต่อจุดประจุนั้นแบบเวกเตอร์
∑ 𝐹⃑ = 𝐹⃑1 + 𝐹⃑2 + 𝐹⃑3 + …
4. แรงระหว่างตัวนำทรงกลมกับจุดประจุ 1 จุด สามารถคิดได้เสมือนว่า จุดประจุ Q ที่กระจายอยู่บทผิวของตัวนำทรงกลม รวมกัน
kQ Q
อยู่ที่จุดศูนย์กลางของทรงกลม ดังนั้น สำหรับประจุภายนอกทรงกลม แรงไฟฟ้าหาได้จาก 𝐹 = 12 2 สำหรับประจุ
𝑟
ภายในทรงกลม แรงไฟฟ้าที่กระทำต่อประจุนั้นจะมีคา่ เท่ากับ 0
5. แรงระหว่างประจุในแผ่นโลหะขนานกับจุดประจุ 1 จุด จะมีคา่ คงที่
ความรู้ (K)
1. อธิบายแรงทางไฟฟ้าระหว่างประจุไฟฟ้า (ความเข้าใจ)
2. อธิบายแรงที่กระทำต่อกันระหว่างจุดประจุ ตามกฎของคูลอมบ์ (ความจำ)
3. คำนวณหาแรงไฟฟ้าที่กระทำต่อจุดประจุ 1 จุด (การนำไปใช้)
ทักษะ / กระบวนการ (P)
-
คุณลักษณะอันพึงประสงค์ (A)
คุณลักษณะตามหลักสูตร คือ ความมุ่งมั่นในการทำงานและใฝ่รู้ใฝ่เรียน
คุณลักษณะตามคุณค่าพระวรสาร คือ ความรัก (ปฏิบัติต่อผู้อื่นดังที่เราอยากให้ผู้อื่นปฏิบัติต่อเรา รักกันละกัน
เหมือนที่พระเจ้าทรงรักเรา)
สมรรถนะที่ต้องการพัฒนา ความสามารถในการคิด , ความสามารถในการแก้ปัญหา
กิจกรรมการเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้แบบแก้ปัญหา
หลักเศรษฐกิจพอเพียงที่สอดแทรก ความมีเหตุผล รอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง
คุณธรรมพื้นฐานที่สอดแทรก ขยัน มีวินัย
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ชั่วโมงที่ 1
ขั้นนำ
1.ครูใช้คำถามเพื่อตรวจสอบความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องที่จะสอน ดังนี้
- นักเรียนคิดว่าถ้ามีประจุไฟฟ้าชนิดเดียวกัน ขนาดเท่า ๆ กัน เมื่อวางใกล้กัน ขนาดของแรงที่กระทำต่อประจุ จะมีค่าเท่ากัน
หรือไม่ อย่างไร
(นักเรียนตอบตามความเข้าใจและประสบการณ์เดิม)
- นักเรียนคิดว่าถ้ามีประจุไฟฟ้า ชนิดเดียวกัน ขนาดประจุไม่เท่ากันเมือ่ วางใกล้กัน ขนาดของแรงที่กระทำต่อประจุ จะมีค่าเท่ากัน
หรือไม่ อย่างไร
(นักเรียนตอบตามความเข้าใจและประสบการณ์เดิม)
- นักเรียนคิดว่าถ้ามีประจุไฟฟ้ามากกว่าสองประจุ จะสามารถหาแรงลัพธ์ที่กระทำต่อประจุใดประจุหนึ่งแบบสเกลาร์หรือแบบ
เวกเตอร์
(นักเรียนตอบตามความเข้าใจและประสบการณ์เดิม)
2.ครูนำเข้าสู่บทเรียนดังนี้
- คำตอบของนักเรียนจะถูกต้องหรือไม่ เราจะศึกษากันในวันนี้
ขั้นสอน
3.ครูอธิบายพร้อมเขียนกระดาน ดังนี้
- ในหัวข้อที่ผ่านมา นักเรียนจะเห็นได้ว่าแผ่นพีวีซีที่มีประจุไฟฟ้าสามารถดึงดูดเศษกระดาษได้ หรือสามารถทำให้แผ่นโลหะบาง
ในอิเล็กโทรสโคปกางออก เมื่อมีการเหนี่ยวนำประจุไฟฟ้า แสดงว่ามีแรงระหว่างวัตถุเกิดขึ้น เมื่อวัตถุนนั้ ๆมีประจุไฟฟ้า
- โดยการศึกษาของคูลอมบ์ เพื่อศึกษาแรงระหว่างประจุไฟฟ้า โดยใช้อุปกรณ์ดังรูป ประกอบด้วยคานเล็ก ๆ ที่ทำด้วยฉนวนและมี
ทรงกลมเล็ก ๆ ติดที่ปลายคาน และประจุไฟฟ้าทีต่ ้องการทดสอบ ที่ตำแหน่ง A โดนแขวนคานกับลวดเงินเส้นเล็กๆให้คานวางตัว
ในแนวระดับ และนำประจุไฟฟ้าทีต่ ้องการทดสอบอีกตัวที่ตำแหน่ง B โดยอยู่ห่างกันเป็นระยะ r

- จากการทดลองพบว่า ทิศทางของแรงระหว่างประจุไฟฟ้าที่กระทำต่อกันจะอยู่ในแนวเส้นตรงที่ลากเชือ่ มต่อระหว่างประจุคู่นั้นๆ


ถ้าประจุทั้งสองเป็นประจุชนิดเดียวกัน แรงที่กระทำต่อกันจะเป็นแรงผลัก โดยมีทิศชี้ออกจากกันในแนวเส้นตรงที่เชื่อมระหว่าง
ประจุทั้งสอง
- เมื่อประจุทั้งสองต่างชนิดกัน แรงที่กระทำต่อประจุทั้งสองจะเป็นแรงดึงดูดและมีทิศทางชี้เข้าหากันในแนวเส้นตรงที่เชื่อมระหว่าง
ประจุทั้งสอง
- ครูเขียนกระดาน ดังนี้
- นอกจากนี้ คูลอมบ์ยังสามารถเขียนความสัมพันธ์ของแรงระหว่างประจุไฟฟ้ากับขนาดของประจุที่ 1 และ 2 และระยะห่าง
ระหว่างประจุทั้งสอง ดังนี้

4.ครูอธิบายดังต่อไปนี้
- ขนาดของแรงระหว่างประจุไฟฟ้าทั้งสอง มีค่าแปรผันตามผลคูณขนาดประจุแต่ละตัว และแปรผกผันกับกำลังสองของระยะห่าง
ระหว่างประจุทั้งสอง เรียกว่า กฎของคูลอมบ์ (Coulomb’s law) ตามความสัมพันธ์
kq1 q2
𝐹 =
𝑟2
- เมื่อ 𝐹 คือ แรงไฟฟ้าที่กระทำต่อประจุไฟฟ้า มีหน่วยเป็น นิวตัน (N)
𝑘 คือ ค่าคงที่คูลอมบ์ มีหน่วยเป็น นิวตัน∙เมตร ต่อคูลอมบ์ (𝑁 ∙ m2 /C 2 )
ซึ่งมีค่าเท่ากับ 9 × 109 𝑁 ∙ m2 /C 2
- โดยแรงระหว่างประจุไฟฟ้า จะแยกพิจารณาเป็น
1. แรงระหว่างจุดประจุ 2 จุด
2. แรงระหว่างจุดประจุหลายจุดประจุ ที่กระทำต่อจุดประจุ 1 จุด
3. แรงระหว่างตัวนำทรงกลมกับจุดประจุ 1 จุด
4. แรงระหว่างประจุในแผ่นโลหะขนานกับจุดประจุ 1 จุด
5. ครูยกตัวอย่างโจทย์เพื่อถามคำถามและอธิบายดังนี้
- ตัวอย่างที่ 2.1 จงหาขนาดของแรงระหว่างประจุของจุดประจุ 2 จุด ดังต่อไปนี้
1) Q1 = 1x 10-4 คูลอมบ์ และ Q2 = 2 x 10-4 คูลอมบ์ วางห่างกัน 2 เมตร
2) Q1 = 5 x 10-4 คูลอมบ์ และ Q2 = -2 x 10-4 คูลอมบ์ วางห่างกัน 10 เมตร
- จากโจทย์ เราสามารถหาแรงระหว่างจุดประจุได้อย่างไร
kq q
(แนวคำตอบ จากความสัมพันธ์ 𝐹 = 12 2 )
𝑟
- 1) แรงระหว่างจุดประจุจะเป็นแรงดูดหรือแรงผลัก เพราะเหตุใด
(แนวคำตอบ แรงผลัก เนื่องจากเป็นประจุบวกเหมือนกัน)
- 2) แรงระหว่างจุดประจุจะเป็นแรงดูดหรือแรงผลัก เพราะเหตุใด
(แนวคำตอบ แรงดึงดูด เนื่องจากเป็นประจุต่างชนิดกัน)
- ครูเขียนกระดาน ดังนี้
- เมื่อพิจารณาเฉพาะขนาด จะไม่แทนเครื่องหมาย + หรือ – ลงในการคำนวณ ดังนี้

- ครูสรุปคำตอบ 1) แรงระหว่างจุดประจุ มีขนาดเท่ากับ 22.5 นิวตัน ทิศทางผลักออกจากกันและกัน และ 2) แรงระหว่างจุด


ประจุ มีขนาดเท่ากับ 9 นิวตัน ทิศทางดูเข้าหากันและกัน
- ตัวอย่างที่ 2.2 แรงผลักระหว่างนิวเคลียสของอาร์กอน 2 นิวเคลียส ซึ่งอยู่ห่างกัน 1 นาโนเมตร มีขนาดเท่าใด เมื่อประจุบน
นิวเคลียสของอาร์กอนแต่ละนิวเคลียสมีค่า +18e
- จากโจทย์ เนื่องจากเป็นนิวเคลียสของอาร์กอนเหมือนกัน ดังนั้น Q1 = Q2
- เนื่องจาก e คือ ค่าประจุของอิเล็กตอนมีค่าเท่ากับ 1.6 x 10-19 C
- ดังนั้น Q1 = Q2 = +18e = +18 x 1.6 x 10-19 C
- ครูเขียนกระดานดังต่อไปนี้

- ครูสรุปคำตอบ แรงผลักระหว่างนิวเคลียสของอาร์กอน มีค่าเท่ากับ 7.46 X 10-20 นิวตัน


- ตัวอย่างที่ 2.3 ถ้าวางประจุไฟฟ้าคู่หนึง่ ห่างกัน 3 เซนติเมตร จะเกิดแรงผลักต่อแต่ละประจุ 18 นิวตัน ถ้าจับประจุไฟฟ้าคู่นี้
ห่างกัน 6 เซนติเมตร จะมีแรงระหว่างประจุเท่าใด
- จากโจทย์ เกิดแรงผลัก แสดงว่า Q1 และ Q 2 ต้องเป็นประจุบวกและเนื่องจากเป็นการใช้ประจุคู่เดิม
ดังนั้น Q1 และQ 2 คงที่
kQ1 Q2 kQ1 Q2
- เขียนเป็นสมการในแต่ละกรณีได้วา่ F 1 = 2
และ F 2 =
r1 r2 2
- ครูเขียนกระดานดังต่อไปนี้

- ครูสรุปคำตอบ เมื่อจับประจุห่างกัน 6 cm จะเกิดแรงผลักระหว่างประจุ 45 นิวตัน


6. ครูใช้คำถาม ดังนี้
- นักเรียนคิดว่า ถ้ามีจุดประจุหลายจุด ประจุไฟฟ้าจะส่งแรงซึ่งกันและกัน แรงที่กระทำต่อประจุใดประจุหนึ่ง เป็นอย่างไร
(นักเรียนตอบตามความเข้าใจ)
7. ครูอธิบาย ดังนี้
- เมื่อมีจุดประจุหลายจุด ออกแรงกระทำต่อจุดประจุใดประจุหนึ่ง เช่น ถ้ามีประจุ +Q1, -Q2, +Q3, -Q4, +Q5 และ +QA
- แรงที่ประทำต่อประจุ +QA หรือ แรงระหว่างจุดประจุหลายจุดที่กระทำต่อจุดประจุหนึ่ง ๆ มีค่าเท่ากับผลรวมของแรงทุกแรง
ที่กระทำต่อจุดประจุนั้นแบบเวกเตอร์ ∑ 𝐹⃑ = 𝐹⃑1 + 𝐹⃑2 + 𝐹⃑3 + …
- ครูเขียนกระดานดังต่อไปนี้

ชั่วโมงที่ 2

8. ครูทบทวนการรวมแรงลัพธ์แบบเวกเตอร์ของแรงระหว่างประจุไฟฟ้า ดังนี้
- 1. ให้นักเรียนเขียนแรงระหว่างประจุที่เกิดขึ้นบนประจุที่เราสนใจ
- 2. ถ้ามีแรงกระทำต่อประจุในแนวเดียวกันหรือในแกนเดียวกัน ให้ทำการรวมแรงลัพธ์ในแนวนั้นๆ และสรุปผล
- 3. ถ้ามีแรงกระทำต่อประจุในแนวตั้งฉากกัน (ทั้งแกน x และ แกน y) ให้นักเรียนรวมแรงลัพธ์แต่ละแกน จากนั้นค่อยนำมา
หาขนาดของแรงลัพธ์โดยความสัมพันธ์
2 2
|∑ 𝐹⃑ | = √|∑ 𝐹⃑x | + |∑ 𝐹⃑y |

และทำการหาทิศทางของแรงลัพธ์ โดยใช้ความสัมพันธ์
|∑ 𝐹⃑y |
tan 𝜃 =
|∑ 𝐹⃑x |
9. ครูยกตัวอย่างโจทย์เพื่อถามคำถามและอธิบายดังนี้
- ตัวอย่างที่ 2.4 จากรูป จงหาขนาดและทิศของแรงที่กระทําต่อจุดประจุ +2 ไมโครคูลอมบ์ ที่วางไว้ที่จุด A

- ครูใช้คำถามคั่น นักเรียนคิดว่าแรงลัพธ์ที่กระทำต่อประจุที่จดุ A จากทั้ง 2 ข้อ แตกต่างกันอย่างไร


(แนวคำตอบ: ข้อที่ 1 แรงไปทางเดียวกัน จึงสามารถนำมารวมกันได้เลย แต่ข้อที่2 แรงมีทิศสวนทางกัน จึงต้องนำขนาดของแรงมาลบกัน)

3)
- ครูใช้คำถามคั่น นักเรียนคิดว่าขนาดของแรงระหว่างประจุ Q1 ต่อ A และ Q2 ต่อ A มีค่าเท่ากันหรือไม่ อย่างไร
(แนวคำตอบ: ขนาดของแรงจะมีขนาดเท่ากัน เนื่องจาก Q1 และ Q2 มีขนาดของประจุเท่ากัน จึงทำให้แรงระหว่างประจุ Q1 ต่อ A และ Q2
ต่อ A มีขนาดเท่ากันไปด้วย )
- ครูใช้คำถามคั่น นักเรียนคิดว่าแรงลัพธ์ในแนวดิ่ง (แกน X ) เป็นอย่างไร
(แนวคำตอบ: แรงลัพธ์เป็นศูนย์ เนื่องจากขนาดของแรงมีค่าเท่ากันและแรงทั้งสองมีทิศทางตรงกันข้าม)
- ครูใช้คำถามคั่น นักเรียนคิดว่าแรงลัพธ์ในแนวราบ (แกน X ) เป็นอย่างไร
(แนวคำตอบ: แรงลัพธ์มีค่า 36 X 10-3 N เนื่องจากขนาดของแรงมีค่าเท่ากันและแรงทั้งสองมีทิศทางเดียวกัน จึงสามารถนำขนาดของแรง
มารวมกัน)
- ครูใช้คำถามคั่น นักเรียนคิดว่าแรงลัพธ์ที่กระทำต่อประจุ A เป็นอย่างไร
(แนวคำตอบ: แรงลัพธ์จะเหลือเฉพาะแรงในแนวราบ เนื่องจากแรงลัพธ์ในแนวดิ่งมีค่าเป็นศูนย์ จึงทำให้แรงลัพธ์มีขนาด 36 X 10-3 N)
- ครูใช้คำถามคั่น นักเรียนคิดว่าทิศทางของแรงลัพธ์ที่กระทำต่อประจุ A เป็นอย่างไร
(แนวคำตอบ: แรงลัพธ์จะเหลือเฉพาะแรงในแนวราบ ทิศตะวันออก เนื่องจากแรงลัพธ์ในแนวดิ่งมีค่าเป็นศูนย์ จึงทำให้แรงลัพธ์มีทิศไปทาง
ตะวันออก)

- ตัวอย่างที่ 2.5 จุดประจุ +5𝜇𝐶 ถูกวางไว้ที่ตำแหน่ง x = 0 cm และ จุดประจุ +7𝜇𝐶 ถูกวางไว้ที่ตำแหน่ง x = 100 cm
จะต้องวางจุดประจุ+1 ไมโครคูลอมบ์ ต่อไปนี้ที่จุดใด จึงจะทำให้แรงสุทธิที่กระทำต่อประจุตัวที่ 3 เป็นศูนย์

- ครูใช้คำถามคั่น นักเรียนคิดว่าต้องวางประจุตัวที่ 3 ไว้ที่ตำแหน่งใด เพราะเหตุใด


(แนวคำตอบ: เนื่องจากเป็นประจุบวกทั้งสามตัว ดังนั้นจะต้องวางประจุตัวทีส่ าม ไว้ทรี่ ะหว่างประจุตวั ที่ 1 และ 2 เนื่องจากจะต้องให้เกิด
แรงผลักคนละด้านต่อประจุตัวที่3 แรงลัพธ์ที่กระทำต่อประจุตัวที่ 3 จึงมีค่าเป็นศูนย์)

ชั่วโมงที่ 3

- ตัวอย่างที่ 2.6 จุดประจุขนาดเท่ากัน Q C จำนวน 3 ประจุถูกวางไว้ที่มุมของสี่เหลีย่ มจัตุรัสทีม่ ีด้านยาวด้านละ a m ดังรูป


Q
ถ้าที่จุด B มีประจุ + วางอยู่ แรงลัพธ์ที่จุด B จะมีขนาดเท่าใด
4
- ครูใช้คำถามคั่น นักเรียนคิดว่า มีแรงระหว่างประจุไฟฟ้ากระทำต่อประจุไฟฟ้าที่ B เป็นอย่างไร
(แนวคำตอบ: แรงระหว่างประจุทตี่ ำแหน่ง B มีที่งหมด 3 แรง ได้แก่ แรง F1 ทีเ่ ป็นแรงผลักจากประจุ +Q1 ในทิศใต้ แรง F3 ทีเ่ ป็นแรงผลัก
จากประจุ +Q3 ในทิศตะวันตก และแรง F2 ทีเ่ ป็นแรงดึงดูดจากประจุ -Q2 ในทิศตะวันออกเฉียงเหนือ )
- ครูใช้คำถามคั่น นักเรียนคิดว่า ขนาดของแรง F1 = F2 = F3 หรือไม่ อย่างไร
(แนวคำตอบ: แรง F1 = F3 เนื่องจากขนาดของประจุ +Q1 = +Q3 และ r1 = r3 = a แต่ F2 จะมีขนาดของแรงไม่เท่ากัน เนื่องจาก r2
จะต้องหาจากเส้นทแยงมุมของรูปสี่เหลี่ยมจัตุรสั โดยมีค่าเป็น a√2)
- ครูใช้คำถามคั่น นักเรียนคิดว่าแรง F2 ทีเ่ ป็นแรงดึงดูดจากประจุ -Q2 จะทำมุมกี่องศา เพราะเหตุใด
(แนวคำตอบ: เนื่องจากระยะห่างระหว่างประจุ -Q2 และประจุที่ตำแหน่ง B สามารถเขียนเป็นเส้นทแยงมุมของรูปสี่เหลี่ยมจัตุรสั ได้ ดังนัน้
แรง F2 จึงต้องทำมุม 45 องศากับแนวราบ ในทิศตะวันออกเฉียงเหนือ)
- ครูใช้คำถามคั่น นักเรียนจะมีวิธีการรวมแรงลัพธ์ในข้อนี้อย่างไร
(แนวคำตอบ: ให้นักเรียนรวมแรงลัพธ์ระหว่าง F1 และ F3 เนื่องจากเป็นแรงที่มีขนาดเท่ากันและมีทิศทางตั้งฉากกัน เมื่อรวมแรงลัพธ์แบบ
เวกเตอร์แล้ว จะได้แรงลัพธ์ F13 ในทิศตะวันตกเฉียงใต้ และทำมุม 45 องศากับแนวราบ ในทิศตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งจะเป็นแนวเดียวกับแรง
F2 พอดี จากนั้นคำนวณแรงลัพธ์โดยการนำ F13 - F2 )
- ตัวอย่างที่ 2.7 ลูกพิธมวล 0.72 กรัม มีประจุ +25 พิโคคูลอมบ์ ถูกวางอยู่เหนือจุดประจุหนึ่งในแนวดิ่ง ห่างกัน 3 เซนติเมตร
ถ้าต้องการให้ลูกพิธอยู่นิ่งในแนวดิง่ ต้องใช้จุดประจุชนิดใดและขนาดของประจุเป็นเท่าใด (กำหนดให้ g = 10 m/s2)

- ครูใช้คำถามคั่น นักเรียนคิดว่า เพราะเหตุใดลูกพิทที่มีประจุบวก จึงอยู่นิ่งในแนวดิ่ง


(แนวคำตอบ: เนื่องจากลูกพิทมีแรงโน้มถ่วงของโลกกระทำต่อลูกพิทลงในแนวดิ่ง ดังนั้นลูกพิทจะต้องมีแรงทางไฟฟ้าในทิศชี้ขึ้นในแนวดิ่ง )
- ครูใช้คำถามคั่น นักเรียนคิดว่า จะต้องใช้ประจุที่วางอยู่ด้านล่างลูกพิทเป็นประจุชนิดใด
(แนวคำตอบ: เนื่องจากต้องการแรงผลักในทิศชี้ขึ้นในแนวดิ่งให้ลูกพิทอยู่นิ่ง ดังนั้นจะต้องใช้ประจุชนิดบวก)
10. ครูถามนักเรียนดังต่อไปนี้
- นักเรียนคิดว่า เราจะหาขนาดของแรงที่ตัวนำทรงกลมกระทำต่อจุประจุ +q ได้อย่างไร
(นักเรียนตอบตามความเข้าใจ)
11. ครูอธิบายพร้อมเขียนกระดานดังต่อไปนี้
- ในกรณีของแรงไฟฟ้าระหว่างประจุในตัวนำทรงกลม กับจุดประจุ 1 จุด
- ถ้านำประจุ +q ที่วางตำแหน่งนอกทรงกลมเป็นประยะ r จากจุดศูนย์กลางของวงกลม
- ในแนวแกน y แรงจะหักล้างกันหมด แรงลัพธ์จึงเหลือในแนวแกน x เท่านั้น ดังนั้น แรงในแนวแกน x จึงมีทิศไปทางขวา
- ส่วนขนาดของแรงไฟฟ้า สามารถคิดได้เสมือนว่า จุดประจุ Q ที่กระจายอยู่บทผิวของตัวนำทรงกลม รวมกันอยู่ที่จุดศูนย์กลางของ
ทรงกลม
kQ Q
- ดังนั้น จากกฎของคูลอมป์ แรงไฟฟ้าเนื่องจากจุดประจุหาได้จาก 𝐹 = 12 2
𝑟
- แต่ถ้าประจุอยู่ภายในทรงกลม แรงไฟฟ้าที่กระทำต่อประจุนั้นจะมีคา่ เท่ากับ 0 ไม่ว่าประจุนั้นจะอยู่บริเวณในก็ตามในทรงกลม
เนื่องจากแรงไฟฟ้าที่กระทำต่อประจุ จะมีทิศทางหักล้างกันไปหมด
12. ครูถามนักเรียนดังต่อไปนี้
- นักเรียนคิดว่า เราจะหาขนาดของแรงที่แผ่นโลหะขนานกระทำต่อจุประจุ +q ได้อย่างไร
(นักเรียนตอบตามความเข้าใจ)
13. ครูอธิบายพร้อมเขียนกระดานดังต่อไปนี้
- หากมีแผ่นโลหะขนานที่ถูกทำให้มีประจุโดยการต่อเข้ากับแหล่งกำเนิดไฟฟ้า เมื่อเปิดสวิช ประจุลบจะเคลื่อนที่ ทำให้แผ่นโลหะที่
ต่อกับขั้วบวก มีประจุเป็น +Q ส่วนแผ่นโลหะที่ต่อกับขั้วลบมีประจุ -Q
- หากเรานำประจุทดสอบไปวางไว้ระหว่างแผ่นโลหะขนาน พบว่า ไม่ว่าประจุ +q จะอยู่ที่ตำแหน่งใดก็ตาม ระหว่างแผ่นโลหะ
ขนานจะถูกแรงกระทำเท่ากัน (คงที่) ทุก ๆ จุด

ขั้นสรุป
14. ครูและนักเรียนร่วมกันให้ข้อสรุป ดังนี้
1. แรงทางไฟฟ้าที่กระทำระหว่างประจุชนิดเดียวกันเป็นแรงผลัก และแรงทางไฟฟ้าที่กระทำระหว่างประจุต่างชนิดกันเป็นแรงดูด
2. ขนาดของแรงระหว่างประจุไฟฟ้าทั้งสอง มีค่าแปรผันตามผลคูณขนาดประจุแต่ละตัว และแปรผกผันกับกำลังสองของระยะห่าง
kQ Q
ระหว่างประจุทั้งสอง เรียกว่า กฎของคูลอมบ์ ตามความสัมพันธ์ 𝐹 = 12 2 โดยแรงระหว่างประจุชนิดเดียวกันจะมีทิศ
𝑟
ผลักออกจากกันและหากเป็นประจุต่างชนิดกันจะมีทิศดึงดูดเข้าหากัน
3. แรงระหว่างจุดประจุหลายจุดที่กระทำต่อจุดประจุหนึ่ง ๆ มีค่าเท่ากับผลรวมของแรงทุกแรงที่กระทำต่อจุดประจุนั้นแบบเวกเตอร์
∑ 𝐹⃑ = 𝐹⃑1 + 𝐹⃑2 + 𝐹⃑3 + …
4. แรงระหว่างตัวนำทรงกลมกับจุดประจุ 1 จุด สามารถคิดได้เสมือนว่า จุดประจุ Q ที่กระจายอยู่บทผิวของตัวนำทรงกลม รวมกัน
kQ Q
อยู่ที่จุดศูนย์กลางของทรงกลม ดังนั้น สำหรับประจุภายนอกทรงกลม แรงไฟฟ้าหาได้จาก 𝐹 = 12 2 สำหรับประจุ
𝑟
ภายในทรงกลม แรงไฟฟ้าที่กระทำต่อประจุนั้นจะมีคา่ เท่ากับ 0
5. แรงระหว่างประจุในแผ่นโลหะขนานกับจุดประจุ 1 จุด จะมีคา่ คงที่
สื่อ อุปกรณ์และแหล่งการเรียนรู้
- เอกสารประกอบการเรียนเรื่องไฟฟ้าสถิต
- หนังสือเรียนรายวิชาฟิสิกส์ ม.5 เล่ม 4

การวัดและประเมินผลการเรียนรู้

1. วิธีวัดและเครื่องมือวัด
เป้าหมายการเรียนรู้ วิธีการวัด เครื่องมือวัด
ความรู้ (K)
1. อธิ บ ายแรงทางไฟฟ้ า ระหว่ า งประจุ 1.ตรวจแบบฝึกหัดในเอกสาร 1.แบบฝึกหัด
ไฟฟ้า (ความเข้าใจ) ประกอบการเรียน

2.อธิบายแรงที่กระทำต่อกันระหว่างจุด 1.ตรวจแบบฝึกหัดในเอกสาร 1.แบบฝึกหัด


ประจุ ตามกฎของคูลอมบ์ (ความเข้าใจ) ประกอบการเรียน 2.แบบสั ง เกตพฤติ ก รรมการร่ ว ม
2.การสังเกตการตอบคำถามในห้องเรียน กิจกรรมในชั้นเรียนของนักเรียน
3.คำนวณหาแรงไฟฟ้าที่กระทำต่อจุดประจุ 1.ตรวจแบบฝึกหัดในเอกสาร 1.แบบฝึกหัด
1 จุด (การนำไปใช้) ประกอบการเรียน 2.แบบสั ง เกตพฤติ ก รรมการร่ ว ม
2.การสังเกตการตอบคำถามในห้องเรียน กิจกรรมในชั้นเรียนของนักเรียน
ด้านกระบวนการ (P)
-
คุณลักษณะ (A)
คุณลักษณะตามหลักสูตร 1. สังเกตการร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน ใฝ่ 1. แบบสั ง เกตพฤติ ก รรมการร่ ว ม
ความมุ่งมั่นในการทำงานและ เรียนรู้ มุ่งมั่นในการทำงานของนักเรียน กิจกรรมในชั้นเรียนของนักเรียน
ใฝ่รู้ใฝ่เรียน 2. พิจารณาจากการส่งการบ้านของ 2. แบบบันทึกการส่งงาน
คุณลักษณะตามคุณค่าพระวรสาร นักเรียน
ความรัก
สมรรถนะ
ความสามารถในการคิด 1. สังเกตการตอบคำถาม 1. แบบประเมินสมรรถนะ

2. เกณฑ์การวัด
แบบสังเกตพฤติกรรมการร่วมกิจกรรมในชั้นเรียนของนักเรียน
1. ความสนใจใฝ่รู้ 2. ความเพียรพยายาม
3. ความมีเหตุผล 4. ความมีระเบียบรอบคอบ
5. ทางานเสร็จทันเวลา 6. เข้าร่วมกิจกรรม
ช่วงคะแนน และระดับคุณภาพ
1. คะแนนต่ำกว่า 18 คะแนน ระดับคุณภาพ 1 แปลว่า ต้องปรับปรุง
2. คะแนน 18 – 20 คะแนน ระดับคุณภาพ 2 แปลว่า พอใช้
3. คะแนน 21 – 24 คะแนน ระดับคุณภาพ 3 แปลว่า ดี
4. คะแนน 25 – 30 คะแนน ระดับคุณภาพ 4 แปลว่า ดีมาก
แบบสังเกตการถาม – ตอบ
1. กระตือรือร้นในการถาม - ตอบ
2. มีความพยายามในการถาม - ตอบ
3. มีความกล้าที่จะถามในประเด็นที่ไม่เข้าใจ
ช่วงคะแนน และระดับคุณภาพ
1. คะแนนต่ำกว่า 8 คะแนน ระดับคุณภาพ 1 แปลว่า ต้องปรับปรุง
2. คะแนน 8 – 10 คะแนน ระดับคุณภาพ 2 แปลว่า พอใช้
3. คะแนน 11 – 13 คะแนน ระดับคุณภาพ 3 แปลว่า ดี
4. คะแนน 14 – 15 คะแนน ระดับคุณภาพ 4 แปลว่า ดีมาก
3. เกณฑ์การผ่าน
3.1 เกณฑ์การผ่านรายบุคคล
พฤติกรรมการร่วมกิจกรรมในชั้นเรียนของนักเรียน
- นักเรียนต้องได้คะแนนตั้งแต่ 18 คะแนนขึ้นไปจึงจะถือว่าผ่านเกณฑ์
พฤติกรรมการถาม - ตอบ
- นักเรียนต้องได้คะแนนตั้งแต่ 8 คะแนนขึ้นไปจึงจะถือว่าผ่านเกณฑ์
ความถูกต้องของการทำการบ้าน
- นักเรียนต้องได้ระดับคุณภาพ 3 ขึ้นไปจึงจะถือว่าผ่านเกณฑ์
พฤติกรรมการส่งการบ้าน
- นักเรียนต้องส่งการบ้านจึงจะถือว่าผ่านเกณฑ์
3.2 เกณฑ์การผ่านรายกลุ่ม
- นักเรียนในกลุ่ม ร้อยละ 80 ต้องได้คะแนนไม่น้อยกว่า 18 คะแนน
บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้
ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ด้านความรู้ (K)
..........................................................................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................................................................
ด้านทักษะกระบวนการ (P)
..........................................................................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................................................................
ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ (A)
..........................................................................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................................................................
ปัญหา / ข้อเสนอแนะ
..........................................................................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................................................................................
แนวทางแก้ไข
..........................................................................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................................................................................
ผลการดำเนินการ
..........................................................................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................................................................................

ลงชื่อ พันธ์วริศ ฤกษ์วัฒนอำไพ ผู้สอน


วันที่ 20 พฤศจิกายน 2566
ความคิดเห็นของครูพี่เลี้ยง
..........................................................................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................................................................

ครูพี่เลี้ยง

วันที่............เดือน.........................พ.ศ............
ความคิดเห็นของหัวหน้ากลุ่มสาระ และวิชาการ
............................................................................ .................................................................................
............................................................................ .................................................................................
............................................................................ .................................................................................
............................................................................ .................................................................................
............................................................................ .................................................................................

หัวหน้ากลุ่มสาระ วิชาการกลาง
วันที่............เดือน.....................พ.ศ............. วันที่............เดือน.........................พ.ศ............

หมายเหตุ
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….….………..…
…………………………………….................................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................................................................

You might also like