You are on page 1of 19

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 คลื่นกล

แผนฯ ที่ 1 การถ่ายโอนพลังงานของคลื่น

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1
การถ่ายโอนพลังงานของคลื่น
เวลา 3 ชั่วโมง
1. ผลการเรียนรู้
อธิบายปรากฏการณ์คลื่น ชนิดของคลื่น ส่วนประกอบของคลื่น การแผ่
ของหน้าคลื่นด้วยหลักการของ
ฮอยเกนส์ และการรวมกันของคลื่นตามหลักการซ้อนทับ พร้อมทั้งคำนวณ
อัตราเร็ว ความถี่และความยาวคลื่น

2. จุดประสงค์การเรียนรู้
1. อธิบายปรากฏการณ์ของคลื่น ชนิดของคลื่น รูปร่างและส่วนประกอบ
ของคลื่นได้ (K)
2. สามารถวาดภาพส่วนประกอบของคลื่นได้อย่างถูกต้อง (P)
3. มีความใฝ่ เรียนรู้และมีความมุ่งมั่นในการทำงาน (A)

3. สาระการเรียนรู้
สาระการเรียนรู้เพิ่มเติม สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น
- คลื่นเป็ นปรากฏการณ์การถ่ายโอน พิจารณาตามหลักสูตรของ
พลังงานจากที่หนึ่ง สถานศึกษา
ไปอีกที่หนึ่ง
- คลื่นที่ถ่ายโอนพลังงานโดยต้องอาศัย
ตัวกลาง เรียกว่า คลื่นกล ส่วน
คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ าถ่ายโอนพลังงาน
โดย

71
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 คลื่นกล
แผนฯ ที่ 1 การถ่ายโอนพลังงานของคลื่น

ไม่ต้องอาศัยตัวกลาง นอกจากนี้ยัง
จำแนกชนิดของคลื่นออกเป็ นสอง
ชนิด ได้แก่ คลื่นตามขวางและคลื่น
ตามยาว

4. สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด
คลื่นเป็ นปรากฏการณ์การถ่ายโอนพลังงานจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง โดย
คลื่นมีเกณฑ์การจำแนก ดังนี้ ตัวกลางที่ใช้ในการถ่ายโอนพลังงาน การสั่น
ของอนุภาคของตัวกลาง ลักษณะการเกิดคลื่น และมิติการแผ่ไปของคลื่น
ส่วนรูปร่างของคลื่นจะขึ้นอยู่กับลักษณะของการรบกวน และส่วนประกอบ
ของคลื่น คือ สันคลื่น ความยาวคลื่น ท้องคลื่น แอมพลิจูด คาบ ความถี่
และเฟส

5. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียนและคุณลักษณะอันพึงประสงค์
สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์
1. ความสามารถในการสื่อสาร 1. มีวินัย รับผิดชอบ
2. ความสามารถในการคิด 2. ใฝ่ เรียนรู้
1) ทักษะการสังเกต 3. ซื่อสัตย์ สุจริต
2) ทักษะการสื่อสาร 4. มุ่งมั่นในการทำงาน
3) ทักษะการวิเคราะห์

72
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 คลื่นกล
แผนฯ ที่ 1 การถ่ายโอนพลังงานของคลื่น

สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์
4) ทักษะการทำงานร่วมกัน
3. ความสามารถในการใช้ทักษะ
ชีวิต

6. กิจกรรมการเรียนรู้
 แนวคิด/รูปแบบการสอน/วิธีการสอน/เทคนิค : แบบสืบเสาะหาความรู้
(5Es Instructional Model)

ชั่วโมงที่ 1

ขั้นนำ
ขั้นที่ 1 กระตุ้นความสนใจ (Engage)
1. ครูแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ให้นักเรียนทราบ จากนั้นครูให้
นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียนของ
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 คลื่นกล เพื่อตรวจสอบความรู้เดิมของ
นักเรียนเป็ นรายบุคคลก่อนเข้าสู่กิจกรรม
2. ครูถามคำถามกระตุ้นความสนใจของนักเรียนโดยใช้คำถาม Big
Question จากหนังสือเรียน
รายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์ ฟิ สิกส์ ม.5 เล่ม 1 และร่วมกัน
อภิปรายแสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ
โดยไม่มีการเฉลยว่าถูกหรือผิด ดังนี้
 เสียงและแสงเป็ นคลื่นชนิดใด
(แนวตอบ : เสียงเป็ นคลื่นตามยาว แสงเป็ นคลื่นตามขวาง)
 คลื่นสามารถเกิดการซ้อนทับกันได้หรือไม่ อย่างไร

73
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 คลื่นกล
แผนฯ ที่ 1 การถ่ายโอนพลังงานของคลื่น

(แนวตอบ : คลื่นสามารถเกิดการซ้อนทับกันได้และเกิดเมื่อมีคลื่น
สองขบวนเคลื่อนที่มาพบกัน
โดยการซ้อนทับของคลื่นมี 2 แบบ คือ การรวมกันแบบเสริมและ
การรวมกันแบบหักล้าง)
 คลื่นจะเกิดการสะท้อนเมื่อใด
(แนวตอบ : เมื่อคลื่นเคลื่อนที่ไปกระทบสิ่งกีดขวางแล้วไม่
เคลื่อนที่ต่อไปในทิศทางเดิม
แต่จะเคลื่อนที่กลับสู่ตัวกลางเดิม)
3. นักเรียนตรวจสอบความเข้าใจของตนเองจากกรอบ
Understanding Check ในหนังสือเรียน
รายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์ ฟิ สิกส์ ม.5 เล่ม 1 โดยบันทึกลงในสมุด
ประจำตัว
4. ครูถามคำถาม Prior Knowledge จากหนังสือเรียน รายวิชาเพิ่ม
เติมวิทยาศาสตร์ ฟิ สิกส์ ม.5
เล่ม 1 เพื่อเป็ นการนำเข้าสู่บทเรียนและตรวจสอบความรู้เดิมเกี่ยว
กับ เรื่อง คลื่นกล ของนักเรียนว่า
“การเคลื่อนที่ของคลื่นแตกต่างจากการเคลื่อนที่ของวัตถุอยู่
อย่างไร” จากนั้นครูกล่าวเชื่อมโยงเข้าสู่
กิจกรรมการเรียนการสอน
(แนวตอบ : การเคลื่อนที่ของคลื่นเกิดจากการส่งพลังงานของ
อนุภาคตัวกลางจากบริเวณหนึ่งไปยังอีก
บริเวณหนึ่ง แต่การเคลื่อนที่ของวัตถุเกิดจากการที่วัตถุถูกแรงมาก
กระทำ)

ขั้น
74
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 คลื่นกล
แผนฯ ที่ 1 การถ่ายโอนพลังงานของคลื่น

ขั้นที่ 2 สำรวจค้นหา (Explore)


1. ครูนำอุปกรณ์สาธิตการทดลอง เช่น ถาดคลื่น หลอดหยด และ
กระดาษตัดเป็ นชิ้นเล็ก ๆ
จากนั้นครูใส่น้ำในถาดคลื่นให้สูงประมาณ 1-2 เซนติเมตร แล้วโรย
กระดาษลงบนผิวน้ำให้กระจาย
สม่ำเสมอ นำหยอดหยดที่มีน้ำหยดน้ำลงหนึ่งหยดที่บริเวณกึ่งกลาง
ถาดคลื่น โดยครูให้นักเรียน
แต่ละคนสังเกตการเคลื่อนที่ของคลื่นน้ำผ่านผิวน้ำ และการ
เคลื่อนที่ของชิ้นกระดาษ และร่วมกัน
อภิปรายแสดงความคิดเห็นอย่างอิสระโดยไม่มีการเฉลยว่าถูกหรือ
ผิด
2. ครูให้นักเรียนจับคู่กับเพื่อนในชั้นเรียน ตามความสมัครใจของ
นักเรียน จากนั้นครูตั้งประเด็นคำถาม
จากการสาธิตการทดลองว่า “เมื่อหยดน้ำลงไปในอ่างน้ำ ผิวน้ำและ
กระดาษชิ้นเล็ก ๆ จะเป็ นอย่างไร
เพราะเหตุใดจึงเป็ นเช่นนั้น” โดยให้นักเรียนแต่ละคู่ร่วมกันหาคำ
ตอบ แล้วเขียนลงในสมุดประจำตัว
(แนวตอบ : จะเกิดคลื่นน้ำเป็ นวงกลมแผ่ออกไป โดยกระดาษจะ
ขยับขึ้นลงที่ตำแหน่งเดิมไม่ได้เคลื่อนที่
ไปกับคลื่น สาเหตุที่เป็ นเช่นนั้น เพราะเมื่อหยดน้ำไปกระทบผิวน้ำ
จะถ่ายโอนพลังงานให้กับอนุภาค
ของน้ำ แล้วอนุภาคของน้ำจะมีการขยับขึ้นลงทำให้เห็นผิวน้ำ
กระเพื่อมขึ้นลงแผ่ขยายออกไป)

75
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 คลื่นกล
แผนฯ ที่ 1 การถ่ายโอนพลังงานของคลื่น

3. ครูสุ่มนักเรียนจำนวน 3 คู่ ออกมานำเสนอคำตอบหน้าชั้นเรียน ใน


ระหว่างที่นักเรียนนำเสนอ ครูคอย
ให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมเพื่อให้นักเรียนมีความเข้าใจที่ถูกต้อง

ชั่วโมงที่ 2

ขั้น

ขั้นที่ 2 สำรวจค้นหา (Explore) (ต่อ)


1. ครูทบทวนความรู้เดิมของนักเรียนโดยตั้งคำถามว่า “คลื่นเกิดขึ้น
ได้อย่างไร” โดยให้นักเรียนแต่ละคน
ร่วมกันอภิปรายและแสดงความคิดเห็นเพื่อหาคำตอบ
(แนวตอบ : คลื่น เกิดจากการที่แหล่งกำเนิดถูกรบกวนและส่ง
พลังงานของอนุภาคตัวกลางจากบริเวณ
หนึ่งไปยังอีกบริเวณหนึ่ง)
2. นักเรียนแบ่งกลุ่มออกเป็ น 8 กลุ่ม กลุ่มละเท่า ๆ กัน ตามความ
สมัครใจของนักเรียน จากนั้นให้
นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนออกมาจับสลากหัวข้อที่ศึกษา โดยให้
นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันศึกษา
ค้นคว้าข้อมูล จากหนังสือเรียน รายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์
ฟิ สิกส์ ม.5 เล่ม 1 หรือแหล่งการเรียนรู้
ต่าง ๆ เช่น อินเทอร์เน็ต แล้วเขียนสรุปความรู้ลงในสมุดประจำตัว
ซึ่งหัวข้อประกอบด้วย
- กลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 2 ศึกษาเกี่ยวกับการจำแนกตาม
ตัวกลางที่ใช้ในการถ่ายโอนพลังงาน

76
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 คลื่นกล
แผนฯ ที่ 1 การถ่ายโอนพลังงานของคลื่น

- กลุ่มที่ 3 และกลุ่มที่ 4 ศึกษาเกี่ยวกับการจำแนกตามการสั่น


ของแหล่งกำเนิดหรือการสั่นของ
อนุภาคตัวกลาง
- กลุ่มที่ 5 และกลุ่มที่ 6 ศึกษาเกี่ยวกับการจำแนกตาม
ลักษณะการเกิดคลื่น
- กลุ่มที่ 7 และกลุ่มที่ 8 ศึกษาเกี่ยวกับการจำแนกตามมิติการ
แผ่ไปของคลื่น
(หมายเหตุ : ครูเริ่มประเมินนักเรียน โดยใช้แบบสังเกตพฤติกรรม
การทำงานกลุ่ม)

ขั้นที่ 3 อธิบายความรู้ (Explain)


3. นักเรียนแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอผลการศึกษาหน้าชั้นเรียน ใน
ระหว่างที่นักเรียนนำเสนอครูคอยให้
ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม เพื่อให้นักเรียนมีความเข้าใจที่ถูกต้อง
4. ครูสุ่มเลขที่นักเรียนจำนวน 2-3 คน ให้ยกตัวอย่างคลื่นตามยาว
และคลื่นตามขวาง มาคนละ 1
ตัวอย่าง
(แนวตอบ : ตัวอย่างคลื่นตามยาว เช่น คลื่นเสียง คลื่นในขดสปริง
และตัวอย่างคลื่นตามขวาง เช่น
คลื่นผิวน้ำ คลื่นที่เกิดจากการสะบัดปลายของขดสปริง)
5. ครูถามคำถามท้ายทายการคิดขั้นสูงให้นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกัน
หาคำตอบ โดยใช้คำถาม
H.O.T.S จากหนังสือเรียน รายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์ ฟิ สิกส์
ม .5 เ ล่ ม 1 ว่ า “ ห า ก โ ย น วั ต ถุ ห นึ่ ง

77
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 คลื่นกล
แผนฯ ที่ 1 การถ่ายโอนพลังงานของคลื่น

ที่สามารถลอยน้ำได้โดยบริเวณนั้นมีคลื่นน้ำเคลื่อนที่ผ่าน วัตถุนั้น
จะมีลักษณะการเคลื่อนที่
อย่างไร”
(แนวตอบ : เคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่าย)

ชั่วโมงที่ 3

ขั้น

ขั้นที่ 2 สำรวจค้นหา (Explore) (ต่อ)


1. ครูสาธิตการทดลองให้เรียนดู โดยใช้ปลายดินสอจุ่มลงไปผิวน้ำใน
อ่างน้ำเคาะเป็ นจังหวะ จากนั้นใช้
ด้านยาวของไม้บรรทัดจุ่มลงไปผิวน้ำในอ่างน้ำเคาะเป็ นจังหวะ แล้ว
ให้นักเรียนแต่ละคนสังเกต
การเปลี่ยนแปลงของผิวน้ำ

2. ครูตั้งประเด็นคำถามจากการสาธิตการทดลองว่า “รูปร่างของคลื่น
ที่เกิดจากปลายดินสอกับไม้บรรทัด
เหมือนกันหรือไม่ อย่างไร” โดยให้นักเรียนแต่ละคนร่วมกัน
อภิปรายและแสดงความคิดเห็นเพื่อหา
คำตอบ
(แนวตอบ : ไม่เหมือนกัน โดยคลื่นที่เกิดจากปลายดินสอจะเป็ น
คลื่นแผ่ออกไปเป็ นวง แต่คลื่นที่เกิด
จากไม้บรรทัดจะเป็ นเส้นตรงเคลื่อนที่ออกจากไม้บรรทัด)

78
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 คลื่นกล
แผนฯ ที่ 1 การถ่ายโอนพลังงานของคลื่น

3. นักเรียนจับคู่กับเพื่อนในชั้นเรียน ตามความสมัครใจของนักเรียน
โดยให้แต่ละคู่ร่วมกันศึกษาค้นคว้า
ข้อมูลเกี่ยวกับรูปร่างของคลื่น จากหนังสือเรียน รายวิชาเพิ่มเติม
วิทยาศาสตร์ ฟิ สิกส์ ม.5 เล่ม 1
หรือแหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ เช่น อินเทอร์เน็ต แล้วร่วมกันสรุป
ข้อมูลที่ได้ลงในสมุดประจำตัว
4. ครูถามคำถามนักเรียนว่า “รูปร่างของคลื่นจะขึ้นอยู่กับสิ่งใด”
โดยให้นักเรียนแต่ละคู่ร่วมกัน
อภิปรายและแสดงความคิดเห็นเพื่อหาคำตอบ
(แนวตอบ : รูปร่างของคลื่นจะขึ้นอยู่กับลักษณะของสภาพรบกวน
หรือลักษณะการสั่นของ
แหล่งกำเนิดคลื่น)
5. นักเรียนแต่ละคู่จับคู่กับเพื่อนในชั้นเรียนอีกคู่หนึ่ง ทำให้แต่ละ
กลุ่มมีสมาชิกในกลุ่มจำนวน 4 คน
ให้แต่ละกลุ่มร่วมกันศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับส่วนประกอบของคลื่น
จากหนังสือเรียน รายวิชาเพิ่มเติม
วิทยาศาสตร์ ฟิ สิกส์ ม.5 เล่ม 1 หรือแหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ เช่น
อินเทอร์เน็ต แล้วร่วมกันสรุปข้อมูล
ที่ได้ลงในสมุดประจำตัว โดยครูคอยสังเกตการณ์และให้คำปรึกษา
(หมายเหตุ : ครูเริ่มประเมินนักเรียน โดยใช้แบบสังเกตพฤติกรรม
การทำงานกลุ่ม)

ขั้นที่ 3 อธิบายความรู้ (Explain)


6. นักเรียนสุ่มนักเรียนจำนวน 4 กลุ่ม ออกมานำเสนอผลการศึกษา
หน้าชั้นเรียน ในระหว่างที่นักเรียน

79
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 คลื่นกล
แผนฯ ที่ 1 การถ่ายโอนพลังงานของคลื่น

นำเสนอครูคอยให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม เพื่อให้นักเรียนมีความ
เข้าใจที่ถูกต้อง
(หมายเหตุ : ครูเริ่มประเมินนักเรียน โดยใช้แบบประเมินการนำ
เสนอผลงาน)
7. เมื่อนักเรียนนำเสนอครบแล้ว นักเรียนและครูร่วมกันอภิปราย
และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ
ส่วนประกอบของคลื่น ซึ่งได้ข้อสรุปร่วมกันว่า “ส่วนประกอบของ
คลื่น ประกอบด้วย สันคลื่นหรือ
ยอดคลื่น ความยาวคลื่น ท้องคลื่น แอมพลิจูด หน้าคลื่น เป็ นต้น”

ขั้นที่ 4 ขยายความเข้าใจ (Elaborate)


8. ครูเปิ ดโอกาสให้นักเรียนสอบถามเนื้อหา เรื่อง ชนิดของคลื่น รูป
ร่างและส่วนประกอบของคลื่น
และให้ความรู้เพิ่มเติมจากคำถามของนักเรียน โดยครูใช้
PowerPoint เรื่อง ชนิดของคลื่น รูปร่าง
และส่วนประกอบของคลื่น ในการอธิบายเพิ่มเติม
9. ครูให้นักเรียนวาดภาพส่วนประกอบต่าง ๆ ของคลื่น ลงในสมุด
ประจำตัว

10. นักเรียนแบ่งกลุ่ม (กลุ่มเดิม) โดยให้แต่ละกลุ่มศึกษาตัวอย่างที่


2.1 จากหนังสือเรียน รายวิชา
เพิ่มเติมวิทยาศาสตร์ ฟิ สิกส์ ม.5 เล่ม 1 จากนั้นครูให้นักเรียน
แต่ละกลุ่มทำใบงานที่ 2.1.1
เรื่อง เฟสคลื่น เมื่อทำเสร็จแล้วนำส่งครู

80
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 คลื่นกล
แผนฯ ที่ 1 การถ่ายโอนพลังงานของคลื่น

11. นักเรียนทำ Topic Question เรื่อง การถ่ายโอนพลังงานของ


คลื่น จากหนังสือเรียน รายวิชาเพิ่มเติม
วิทยาศาสตร์ ฟิ สิกส์ ม.5 เล่ม 1 ข้อ 1-3 ลงในสมุดประจำตัว
12. นักเรียนแต่ละคนทำแบบฝึ กหัด เรื่อง การถ่ายโอนพลังงานของ
คลื่น จากแบบฝึ กหัด รายวิชา
เพิ่มเติมวิทยาศาสตร์ ฟิ สิกส์ ม.5 เล่ม 1 เป็ นการบ้านส่งในชั่วโมง
ถัดไป

ขั้น
ขั้นที่ 5 ตรวจสอบผล (Evaluate)
1. ครูตรวจสอบผลการทำแบบทดสอบก่อนเรียนหน่วยการเรียนรู้ที่ 2
คลื่นกล เพื่อตรวจสอบความเข้าใจ
ก่อนเรียนของนักเรียน
2. ครูตรวจสอบความเข้าใจของนักเรียนจากกรอบ Understanding
Check ในสมุดประจำตัว
3. ครูตรวจสอบผลการทำใบงานที่ 2.1.1 เรื่อง เฟสคลื่น
4. ครูตรวจ Topic Question เรื่อง การถ่ายโอนพลังงานของคลื่น ใน
สมุดประจำตัว
5. ครูตรวจสอบแบบฝึ กหัด เรื่อง การถ่ายโอนพลังงานของคลื่น จาก
แบบฝึ กหัด รายวิชาเพิ่มเติม
วิทยาศาสตร์ฟิ สิกส์ ม.5 เล่ม 1
6. ครูประเมินผล โดยการสังเกตพฤติกรรมการตอบคำถาม
พฤติกรรมการทำงานรายบุคคล
และการทำงานกลุ่ม

81
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 คลื่นกล
แผนฯ ที่ 1 การถ่ายโอนพลังงานของคลื่น

7. นักเรียนและครูร่วมกันสรุปเกี่ยวกับการถ่ายโอนพลังงานของคลื่นว่า
“คลื่น (wave) เกิดจากการที่
แหล่งกำเนิดถูกรบกวนและส่งพลังงานของอนุภาคตัวกลางจาก
บริเวณหนึ่งไปยังอีกบริเวณหนึ่ง
โดยจะแผ่ออกเป็ นเส้นตรง ในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง ซึ่งอาจอาศัย
ตัวกลางหรือไม่อาศัยตัวกลางก็ได้
ชนิดของคลื่น สามารถจำแนกตามลักษณะตัวกลาง การสั่นของ
แหล่งกำเนิด การเกิดคลื่น และมิติ
การแผ่ไปของคลื่น ส่วนประกอบของคลื่น ประกอบด้วย สันคลื่น
หรือยอดคลื่น ความยาวคลื่น
ท้องคลื่น แอมพลิจูด หน้าคลื่น”

7. การวัดและประเมินผล
รายการวัด วิธีวัด เครื่องมือ เกณฑ์การ
ประเมิน
7.1 การ
ประเมินก่อน - ตรวจแบบ - แบบทดสอบ - ประเมินตาม
เรียน ทดสอบ ก่อนเรียน สภาพจริง
- แบบทดสอบ ก่อนเรียน หน่วยการเรียน

82
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 คลื่นกล
แผนฯ ที่ 1 การถ่ายโอนพลังงานของคลื่น

รายการวัด วิธีวัด เครื่องมือ เกณฑ์การ


ประเมิน
ก่อนเรียน หน่วยการเรียน รู้ที่ 2 คลื่นกล
หน่วยการ รู้ที่ 2 คลื่นกล
เรียนรู้ที่ 2
คลื่นกล
7.2 การประเมิน
ระหว่างการ
จัดกิจกรรม - ตรวจใบงานที่ - ใบงานที่ - ร้อยละ 60
1) การถ่าย 2.1.1 2.1.1 ผ่านเกณฑ์
โอน - ตรวจแบบ - แบบฝึ กหัด - ร้อยละ 60
พลังงาน ฝึ กหัด ผ่านเกณฑ์
ของคลื่น
2) การนำ - ประเมินการนำ - แบบประเมิน - ระดับคุณภาพ
เสนอผลงาน เสนอ การนำเสนอผล 2
ผลงาน งาน ผ่านเกณฑ์
3) - สังเกต - แบบสังเกต - ระดับคุณภาพ
พฤติกรรม พฤติกรรม 2
พฤติกรรม การทำงานราย การทำงานราย ผ่านเกณฑ์
การทำงาน บุคคล บุคคล
รายบุคคล
4) - สังเกต - แบบสังเกต - ระดับคุณภาพ
พฤติกรรม พฤติกรรม 2
พฤติกรรม การทำงานกลุ่ม การทำงานกลุ่ม ผ่านเกณฑ์
การทำงาน

83
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 คลื่นกล
แผนฯ ที่ 1 การถ่ายโอนพลังงานของคลื่น

รายการวัด วิธีวัด เครื่องมือ เกณฑ์การ


ประเมิน
กลุ่ม
5) - สังเกตความมี - แบบประเมิน - ระดับคุณภาพ
วินัย คุณลักษณะ 2
คุณลักษณะ รับผิดชอบ ใฝ่ อันพึงประสงค์ ผ่านเกณฑ์
อันพึง เรียนรู้
ประสงค์ และมุ่งมั่นใน
การทำงาน

8. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
8.1 สื่อการเรียนรู้
1) หนังสือเรียน รายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์ ฟิ สิกส์ ม.5 เล่ม 1 หน่วย
การเรียนรู้ที่ 2 คลื่นกล
2) แบบฝึ กหัด รายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์ ฟิ สิกส์ ม.5 เล่ม 1 หน่วย
การเรียนรู้ที่ 2 คลื่นกล
3) อุปกรณ์สาธิตการทดลอง เช่น ถาดคลื่น หลอดหยด และกระดาษตัด
เป็ นชิ้นเล็ก ๆ
4) ใบงานที่ 2.1.1 เรื่อง เฟสคลื่น
5) PowerPoint เรื่อง ชนิดของคลื่น รูปร่างและส่วนประกอบของคลื่น
6) สมุดประจำตัว
8.2 แหล่งการเรียนรู้
1) ห้องเรียน
2) อินเทอร์เน็ต

84
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 คลื่นกล
แผนฯ ที่ 1 การถ่ายโอนพลังงานของคลื่น

ใบงานที่ 2.1.1
เรื่อง เฟสคลื่น

คำชี้แจง : พิจารณาคลื่นที่เคลื่อนที่ออกจากแหล่งกำเนิดแห่งหนึ่ง โดยมี


ทิศทางการเคลื่อนจากซ้ายไปทางขวา
ดังภาพ แล้วเติมคำตอบในช่องว่างให้สมบูรณ์

1. ตำแหน่งใดบนขบวนคลื่นที่เคลื่อนที่ออกมาจากแหล่งกำเนิดเป็ นตำแหน่ง
แรก
……………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………
2. หากเทียบตำแหน่งของวัตถุที่เคลื่อนที่แบบวงกลมโดยใช้มุมรอบ
จุดศูนย์กลางในการเคลื่อนที่ พบว่า จุด a เป็ นตำแหน่ง เริ่มต้นมีค่าเฟส ()
เป็ น 0 องศา
จุด b มีค่าเฟส  เป็ น ……………………… องศา
จุด c มีค่าเฟส  เป็ น ……………………… องศา
จุด d มีค่าเฟส  เป็ น ……………………… องศา
จุด e มีค่าเฟส  เป็ น ……………………… องศา หรือ .………………………
องศา

85
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 คลื่นกล
แผนฯ ที่ 1 การถ่ายโอนพลังงานของคลื่น

จุด f มีค่าเฟส  เป็ น …………………….… องศา


3. หากพิจารณาการเคลื่อนที่ของคลื่นครบ 2 ครบ คลื่นจะเคลื่อนที่ผ่าน
ตำแหน่งใดบ้าง เมื่อคลื่นเคลื่อนที่จากตำแหน่ง a
……………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………
4. ตำแหน่ง …………………….… มีค่าเฟสต่างจากตำแหน่ง b 90 องศา
5. ตำแหน่ง …………………….… มีค่าเฟสต่างจากตำแหน่ง b 180 องศา

ใบงานที่ 2.1.1
เรื่อง เฟสคลื่น

คำชี้แจง : พิจารณาคลื่นที่เคลื่อนที่ออกจากแหล่งกำเนิดแห่งหนึ่ง โดยมี


ทิศทางการเคลื่อนจากซ้ายไปทางขวา
ดังภาพ แล้วเติมคำตอบในช่องว่างให้สมบูรณ์

86
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 คลื่นกล
แผนฯ ที่ 1 การถ่ายโอนพลังงานของคลื่น

1. ตำแหน่งใดบนขบวนคลื่นที่เคลื่อนที่ออกมาจากแหล่งกำเนิดเป็ นตำแหน่ง
แรก
q
2. หากเทียบตำแหน่งของวัตถุที่เคลื่อนที่แบบวงกลมโดยใช้มุมรอบ
จุดศูนย์กลางในการเคลื่อนที่ พบว่า จุด a เป็ นตำแหน่ง เริ่มต้นมีค่าเฟส ()
เป็ น 0 องศา
จุด b มีค่าเฟส  เป็ น 90 องศา
จุด c มีค่าเฟส  เป็ น 180 องศา
จุด d มีค่าเฟส  เป็ น 270 องศา
จุด e มีค่าเฟส  เป็ น 360 องศา หรือ 0 องศา
จุด f มีค่าเฟส  เป็ น 90 องศา
3. หากพิจารณาการเคลื่อนที่ของคลื่นครบ 2 ครบ คลื่นจะเคลื่อนที่ผ่าน
ตำแหน่งใดบ้าง เมื่อคลื่นเคลื่อนที่จากตำแหน่ง a
B ถึง i
4. ตำแหน่ง a และ c มีค่าเฟสต่างจากตำแหน่ง b 90 องศา
5. ตำแหน่ง d มีค่าเฟสต่างจากตำแหน่ง b 180 องศา

9. ความเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย

87
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 คลื่นกล
แผนฯ ที่ 1 การถ่ายโอนพลังงานของคลื่น

ข้อเสนอแนะ

ลงชื่อ
.................................
(
................................ )
ตำแหน่ง
.......

10. บันทึกผลหลังการสอน
Ÿ ด้านความรู้

Ÿ ด้านสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน

Ÿ ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์

Ÿ ด้านความสามารถทางวิทยาศาสตร์

Ÿ ด้านอื่น ๆ (พฤติกรรมเด่น หรือพฤติกรรมที่มีปั ญหาของนักเรียนเป็ น


รายบุคคล (ถ้ามี))

Ÿ ปั ญหา/อุปสรรค

88
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 คลื่นกล
แผนฯ ที่ 1 การถ่ายโอนพลังงานของคลื่น

Ÿ แนวทางการแก้ไข

89

You might also like