You are on page 1of 8

สาขาสถาปัตยกรรมศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ การประชุมวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 53

ประสิทธิภาพของระบบป้ องกันการเกิดสนิมในเหล็กเสริมโดยวิธีกลั วานิกคาโทดิก


Efficiency Reinforcement Corrosion Protection of Galvanic Cathodic Protection

สลิลา รักวณิชย์ 1* และ วันชัย ยอดสุดใจ1


Salila Rakvanich1* and Wanchai Yodsudjai1

บทคัดย่ อ
ปั ญหาการกัดกร่ อนเป็ นสนิมของเหล็กเสริ มในโครงสร้ างคอนกรี ตเสริ มเหล็ก สามารถส่งผลกระทบต่อ
การรั บนา้ หนักที่ ลดลงของโครงสร้ างคอนกรี ตเสริ มเหล็กได้ ดังนันการศึ
้ กษาในเรื่ องประสิทธิ ภาพของระบบ
ป้องกันการเกิ ดสนิมในเหล็กเสริ มจึงมีความสาคัญมาก งานวิจัยนี ไ้ ด้ ทาการทดสอบประสิ ทธิ ภาพระบบการ
ป้องกันสนิมของเหล็กเสริ มโดยวิธีกลั วานิกคาโทดิก โดยพิจารณาถึงกาลังรับแรงอัดของคอนกรี ต ประสิทธิภาพ
ของระบบประเมินจากการวัดค่าความต่างศักย์ไฟฟ้าครึ่งเซลล์ (Half-cell Potential) ตามมาตรฐาน ASTM C876
ผลการศึกษาพบว่า การใช้ กาลังรับแรงอัดของคอนกรี ตสูง ทาให้ ประสิทธิภาพของระบบป้องกันสนิม กัลวานิกคา
โทดิกมีประสิทธิภาพมากกว่า และมีอายุการใช้ งานระบบป้องกันสนิมที่ยาวนานกว่า

ABSTRACT
Corrosion is one of the major deteriorations in reinforced concrete structure. Method for
corrosion prevention in reinforced concrete structure is therefore highly of importance. This research
aims to study the efficiency of the protection of reinforcement corrosion using the Galvanic Cathodic
Protection method by varying the compressive strength of concrete. The half-cell potential
measurement according to ASTM C876 was used to assess the corrosion possibility of the
reinforcement. As a result, it was found that the higher of concrete compressive strength was the higher
of the efficiency of the Galvanic Cathodic Protection method (longer time for starting of reinforcement
corrosion) and the longer duration of usage of the zinc anode until it was out of performance.

Key Words: corrosion reinforced concrete, cathodic protection, zinc anode


*
Corresponding author; e-mail address: salila.namfon@gmail.com
1
ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ 10900
1
Department of Civil Engineering , Faculty of Engineer, Kasetsart University, Bangkok, 10900

516
การประชุมวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 53 สาขาสถาปัตยกรรมศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์

คานา

การกัดกร่ อนเป็ นสนิมของเหล็กเสริ มทาให้ เกิดความเสียหายในโครงสร้ างคอนกรี ตเสริ มเหล็ก ซึง่ ความ
เสียหายที่เกิดขึ ้นส่งผลต่อความสามารถในการรับน ้าหนักของโครงสร้ าง เมื่อเหล็กเสริ มในโครงสร้ างเกิดการกัด
กร่ อนเป็ นสนิม หน้ าตัดของเหล็กเสริ มจะลดลงจนกระทัง่ อาจไม่เพียงพอต่อความปลอดภัยในการใช้ งาน และเกิด
การวิบตั ิอย่างเฉี ยบพลันได้ สาเหตุการเกิดการกัดกร่ อนของเหล็กเสริ มส่วนหนึ่งเกิดมาจากคลอไรด์ โดยอิออน
ของคลอไรด์ (Chloride Ions) เป็ นตัวการที่ให้ ความเป็ นด่างของคอนกรี ตที่ป้องกันเหล็กเสริ มไม่ให้ เกิดสนิมลดลง
เมื่อถึงจุดวิกฤต หากมีน ้าและออกซิเจนเพียงพอ ก็จะทาให้ เหล็กเกิดสนิมได้
วิธีการป้องกันการกัดกร่อนเป็ นสนิมของเหล็กเสริ มในโครงสร้ างโดยวิธี Cathodic Protection เป็ นวิธีที่มี
ประสิทธิภาพในการป้องกันและยับยังการเกิ ้ ดสนิมของเหล็กเสริ มในโครงสร้ างคอนกรี ตเสริมเหล็กวิธีการใช้ ได้ กบั
โครงสร้ างที่ เ สื่ อ มสภาพด้ ว ยคลอไรด์ (ACI Committee E706, 2010 and Chess, 2005) โดยวิ ธี Cathodic
Protection สามารถแบ่งได้ เป็ นสองระบบคือ Impressed Current Type System และ Sacrificed Anode Type
System โดยในงานวิจยั นี ้จะดาเนินการโดยใช้ ระบบป้องกันสนิมโดยวิธี Sacrificed Anode Type System โดยวิธี
นี ้ได้ รับการพัฒนามาจากหลักการของความแตกต่างของการสึกกร่ อนของโลหะ และระดับของความสามารถใน
การถ่ายเทประจุของโลหะต่างชนิดกัน ระบบป้องกันแบบนี ้ไม่จาเป็ นต้ องอาศัยแหล่งกาเนิดกระแสไฟฟ้าจาก
ภายนอกแบบวิ ธี Impressed Current Type System ท าให้ การบ ารุ ง รั ก ษาสามารถท าได้ สะดวก ระบบ
Sacrificed Anode จะปล่อยกระแสไฟฟ้าจากอาโนดจากระบบเองเพื่อป้องกันการถ่ายเทประจุของเหล็กเสริ มใน
บริ เวณที่มีการสึกกร่ อนมาก ดังนันระบบนี
้ ้จึงเป็ นการเสียสละประจุ เนื่องจากกระแสไฟฟ้าถูกสร้ างขึ ้นมาจาก
โลหะที่ต่างกันในสารละลาย Electrolyte เดียวกัน ในการวิจยั จะใช้ อาโนดชนิด Zinc Anode
อย่างไรก็ตามถึงแม้ ว่าวิธีการป้องกันการเกิดสนิม Cathodic Protection จะมีการรายงานว่าใช้ ป้องกัน
การเกิดสนิมได้ จริง แต่ก็เป็ นงานวิจยั และการทดสอบที่ดาเนินการในต่างประเทศอย่างหลากหลาย การทดลองใน
สภาพแวดล้ อมของและวัสดุในประเทศไทยยังมีไม่มากนัก ดังนันงานวิ ้ จยั นี ้จึงได้ จดั ทาขึ ้นเพื่อเป็ นแนวทางในการ
ทดสอบประสิทธิภาพของวิธีการป้องกันการเกิดสนิมด้ วยวิธีการป้องกันแบบกัลวานิกคาโทดิก เพื่อให้ ทราบถึง
ประสิทธิภาพในการป้องกันการเกิดสนิมของเหล็กเสริมในคอนกรี ต โดยพิจารณาปั จจัยทางด้ านกาลังรับแรงอัด

517
สาขาสถาปัตยกรรมศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ การประชุมวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 53

อุปกรณ์ และวิธีการ
วิธีการเตรี ยมตัวอย่ างคอนกรี ต

การหาประสิ ทธิ ภาพในการป้องกันการเกิ ดสนิมของเหล็ก เสริ มด้ วยวิธี กัลวานิกคาโทดิก (Galvanic


Cathodic Protection) ดาเนินการโดยจัดเตรี ยมก้ อนตัวอย่างคอนกรี ตขนาด 10 x 10 x 45 เซนติเมตร โดยใช้
เหล็กเสริ มชนิด SR 24 ขนาดเส้ นผ่านศูนย์กลาง 12 มิลลิเมตร ดังแสดงในภาพที่ 1 และแบ่งประเภทของก้ อน
คอนกรี ตเป็ น 2 ประเภทคือ คอนกรี ตที่ติดตังระบบป้
้ องกันการเกิดสนิม วิธีการป้องกันแบบกัลวานิกคาโทดิกและ
คอนกรี ตไม่ติดตังระบบป้
้ องกันการเกิดสนิม (ตัวอย่างควบคุม) โดยเตรี ยมตัวอย่างทดสอบที่มีกาลังรับแรงอัดของ
คอนกรี ตที่แตกต่างกัน 180, 250, 350 kg/cm2 ประเภทละ 3 ตัวอย่าง โดยมีรายละเอียดส่วนผสมคอนกรี ตดัง
ตารางที่ 1

Figure 1 Details of test specimen

Table 1 Concrete Mix Proportion


Strength Cementitious Water Fine Aggregate Coarse Aggregate
(ksc) (kg) (kg) (kg) (kg)
180 321 225 1033 714
250 363 225 991 714
350 469 191 885 714

การเร่ งการเกิดสนิมดาเนินการเป็ น 2 รู ปแบบคือ ตัวอย่างคอนกรี ตกลุ่มแรกนาไปเร่ งการเกิดสนิมโดย


สภาวะธรรมชาติ โดยเร่ งให้ อยู่ในสภาพเปี ยกสลับแห้ งเป็ นระยะเวลา 7 เดือนดังแสดงในภาพที่ 2 และตัวอย่าง
คอนกรี ตกลุ่มที่สองนาตัวอย่างคอนกรี ตไปเร่งการเกิดสนิมด้ วยไฟฟ้าขนาด 6 โวลต์รายละเอียดแสดงในภาพที่ 3

3 Days 3 Days

figure 2 Corrosion acceleration by wet-dry cycles

518
การประชุมวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 53 สาขาสถาปัตยกรรมศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์

Regulated Power Supply


6V
- +

Aluminium

Figure 3 Corrosion acceleration by 6 V DC impress current

วิธีการทดสอบตัวอย่ างคอนกรี ต

วิธีการวัดประสิทธิ ภาพการหาอัตราการกัดกร่ อนของสนิมในเหล็กเสริ มดาเนินการโดยวิธีการวัดค่า


ศักย์ไฟฟ้าครึ่งเซลล์ (Half Cell Potential Measurement) สาหรับเหล็กเสริ มในคอนกรี ตโดยทัว่ ไป ใช้ หลักการคือ
เมื่อเหล็กเกิดการกัดกร่ อนเนื่องมาจากสนิมจะมีการแลกเปลี่ยนอิออนจากเหล็กสู่คอนกรี ต ทาให้ มีอิออนลบใน
คอนกรี ตรวมตัวกันเป็ นจานวนมากในคอนกรี ตที่มีเหล็กเสริมที่เกิดสนิมขึ ้นภายใน การรวมตัวของอิออนลบที่มาก
นี ้จะทาให้ เกิดความต่างศักย์ไฟฟ้าขึ ้น โดยค่าศักย์ไฟฟ้าที่เป็ นลบจะแสดงถึงความเป็ นไปได้ ที่เหล็กเสริ มภายใน
เป็ นสนิมดังแสดงรายละเอียดในตารางที่ 2 เป็ นการแปรผลตามมาตรฐาน ASTM C876 ( American Society for
Testing and Materials, 1999) ในการวัดการกัดกร่ อ นของเหล็กเสริ มจะวัดความต่างของศักย์ ไฟฟ้าระหว่า ง
อุปกรณ์ ครึ่งเซลล์มาตรฐานเพื่อใช้ ในการวัดเปรี ยบเทียบ โดยจะใช้ แท่งครึ่งเซลล์ไฟฟ้าของคอปเปอร์ /คอปเปอร์
ซัลเฟต มาวางบนผิวคอนกรี ตที่มีเหล็กเสริมที่ต้องการวัดอยู่ด้านล่าง (มาตรฐานกรมโยธาและผังเมือง, 2551)

Table 2 The potential of steel and probability for corrosion reported by ASTM-C876
Half-cell potential (mV) relative to copper/copper Percentage chance of
sulfate reference electrode active corrosion

< -350 90%


-200 to -350 50%
> -200 10%

ผลและวิจารณ์ ผลการทดลอง

ตัวอย่างที่ทาการเร่ งโดยวิธีเปี ยกสลับแห้ งพบว่าในช่วงแรกที่ทาการทดสอบ ในตัวอย่างที่ทาการติดตัง้


ระบบป้องกันสนิมจะมีค่าเป็ นลบมากกว่าตัวอย่างคอนกรี ตที่ไม่ได้ ติดตังระบบป้ ้ องกันสนิม เนื่องมาจากในช่วง
แรกเมื่อระบบป้องกันสนิมเริ่ มทางานค่าศักย์ ไฟฟ้าครึ่งเซลล์ที่วดั ได้ จะเป็ นค่าที่วดั ได้ จากอิออนของระบบป้องกัน

519
สาขาสถาปัตยกรรมศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ การประชุมวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 53

สนิม นั่นคือเป็ นค่าที่ได้ จากอิออนของตัวซิงค์ อาโนด ซึ่งซิงค์ อาโนดนั่นมีค่าศักย์ ไฟฟ้ามาตรฐาน (E0) ที่ต่ากว่า
เหล็ก โดยเมื่อเหล็กแตกตัวเป็ นอิออนกลายเป็ นสนิม Fe2+ + 2e- → Fe(s) ค่าศักย์ ไฟฟ้ามาตรฐานของ
เหล็กมีค่าเท่ากับ 0.44 โวลต์ ส่วน Zinc Anode เมื่ อแผ่น Zinc เกิ ดการแตกตัว Zn2+ + 2e- → Zn(s) ค่า
ศักย์ไฟฟ้ามาตรฐาน ของซิงค์มีค่าเท่ากับ -0.76 โวลต์ ผลของค่าศักย์ไฟฟ้าครึ่งเซลล์ในการทดลองได้ จากการหา
ค่าเฉลี่ยค่าศักย์ไฟฟ้าครึ่งเซลล์ของตัวอย่างคอนกรี ตทุกตาแหน่งของคอนกรี ต

14 28 42 56 70 84 98 112 126 140 154 168 Time (days)


0
-100
Half-Cell potential (mV vs. cu/cuso4)

strength 180 ksc with anode


-200 strength 250 ksc with anode
-300 strength 350 ksc with anode
strength 180 ksc
-400 strength 250 ksc
-500 strength 350 ksc

-600
-700
-800 90% chance of active corrosion by ASTM C 876

Figure 4 Variation of half-cell potential with time (Corrosion acceleration by wet-dry cycles)

ค่าศักย์ไฟฟ้าครึ่ งเซลล์ ที่ได้ จาการทดสอบระบบป้องกันการเกิดสนิมโดยพิจารณาปั จจัยด้ านกาลังรับ


แรงอัดของคอนกรี ตโดยเร่ งการเกิดสนิมโดยวิธีการตามธรรมชาติแสดงในภาพที่ 4 พบว่า เมื่อเวลาผ่านไป ใน
ตัวอย่างคอนกรี ตที่ไม่มีการติดตังระบบป้
้ องกันการเกิดสนิมมีค่าลดลง (เป็ นลบมากขึ ้น) เมื่อพิจารณากับกาลังรับ
แรงอัดของคอนกรี ตพบว่า เมื่อกาลังรับคอนกรี ตมากขึ ้น ในส่วนของตัวอย่างคอนกรี ตที่ทาการติดตังระบบป้้ องกัน
สนิมพบว่าตัวอย่างทัง้ 3 กาลังรับแรงอัดมีค่าศักย์ไฟฟ้าครึ่งเซลล์ที่ไม่แตกต่างกันมากนัก และมีค่าสูงขึ ้น (เป็ นลบ
น้ อยลง) เมื่อระยะเวลานานขึ ้น นอกจากนันในส่ ้ วนของตัวอย่างคอนกรี ตที่ไม่มีการติดตังระบบป้
้ องกันการเกิด
สนิมพบว่ามีค่าศักย์ ไฟฟ้าครึ่ งเซลล์ น้อยลง (เป็ นลบมากขึ ้น) เมื่อระยะเวลานานขึ ้นตัวอย่างคอนกรี ตกาลังรับ
แรงอัดต่ามีโอกาสเกิดสนิมได้ มากกว่าตัวอย่างคอนกรี ตที่มีกาลังรับแรงอัดสูงกว่า

เพื่อให้ เห็นประสิทธิภาพของระบบป้องกันสนิมกัลวานิกคาโทดิกโดยพิจารณาปั จจัยด้ านกาลังที่ชดั เจน


ขึ ้น โดยทาการเร่ งกระแสไฟฟ้าตัวอย่างคอนกรี ตโดยใช้ ไฟฟ้าทังติ ้ ดตังระบบป้
้ องกันสนิม และไม่ติดตัง้ ระบบ
ป้องกันสนิม การทดสอบตัวอย่างคอนกรี ตที่ไม่ได้ ติดตังระบบป้
้ อ งกันสนิมดังแสดงในภาพที่ 5 พบว่าในตัวอย่าง
คอนกรี ตที่ ไม่ได้ ทาการติดตัง้ ระบบป้องกันสนิมได้ ผลการทดสอบที่ สอดคล้ องกับวิธีการเร่ งโดยวิธีธรรมชาติ
กล่าวคือตัวอย่างคอนกรี ตที่มีกาลังรับแรงอัดที่สงู กว่าค่าศักย์ไฟฟ้าครึ่งเซลล์จะมีค่าสูงขึ ้นเป็ นลบน้ อยลง ส่วนใน

520
การประชุมวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 53 สาขาสถาปัตยกรรมศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์

ตัวอย่างที่ทาการติดตังระบบป้
้ องกันสนิม เมื่อระบบป้องกันสนิมใกล้ หมดประสิทธิภาพ ค่าศักย์ไฟฟ้าครึ่งเซลล์จะ
มีค่าลบน้ อยลง จนถึงจุดที่มีค่าลบน้ อยที่สุดนัน่ คือจุดที่ระบบป้องกันสนิมหมดประสิทธิภาพ เป็ นตาแหน่งที่การ
แตกตัวเป็ นอิออนย้ ายจาก Zinc Anode มาเป็ นการแตกตัวเป็ นอิออนของเหล็กแทน ดังนันค่ ้ าที่สามารถวัดได้
ในช่วงหลังจากจุดที่มีค่าเป็ นลบน้ อยที่สุดจึงเป็ นค่าของอิออนในเหล็กเสริ มในคอนกรี ตดังแสดงในภาพที่ 6 จาก
การทดสอบโดยการเร่ งกระแสไฟฟ้าในตัวอย่างคอนกรี ตพบว่า ในตัวอย่างคอนกรี ตที่ทาการติดตังระบบป้ ้ องกัน
สนิมที่มีกาลังรับแรงอัดสูงกว่า ค่าศักย์ไฟฟ้าครึ่ งเซลล์ มีแนวโน้ มไปถึงจุดสูงสุดหรื อเป็ นลบน้ อยที่สุด ได้ ช้ากว่า
ตัวอย่างคอนกรี ตกาลังรับแรงอัดที่ต่ากว่า
1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12
Time (Days)
0
-100
Hall-cell potential (mV vs. cu/cuso4)

-200
-300
-400
90% chance of active corrosion
-500
-600
-700 strength 180 ksc
strength 250 ksc
-800
strength 350 ksc
-900
Figure 5 Variation of half-cell potential with time of specimens without Galvanic Cathodic Protection
(Corrosion acceleration by 6 v DC impress current)
1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 Time (Days)
0
-100
Hall-cell potential (mV vs. cu/cuso4)

-200 Day of Galvanic Cathodic


Protection have lost
-300
effectiveness
-400
-500
-600
strength 180 ksc with anode
-700
strength 250 ksc with anode
-800 strength 350 ksc with anode
-900

Figure 6 Variation of half-cell potential with time of specimens with Galvanic Cathodic Protection
(Corrosion acceleration by 6 v DC impress current)

521
สาขาสถาปัตยกรรมศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ การประชุมวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 53

12
10
Duration for reaching 90% chance of active

Effective duration of Galvanic Cathodic


10
8
8

Protection (Days)
corrosion (Days)

6
6 With Anode
4 4

2 2
Without Anode
0 0
180 250 350 180A 250A 350A 180A 250A 350A
Strength (ksc) Strength (ksc)

Figure 7 Influence of compressive strength on duration for reaching 90% chance of active corrosion
and on effective duration of Galvanic Cathodic Protection

จากภาพที่ 7 เป็ นการแสดงความสัมพันธ์ระหว่างระยะเวลาที่ทีมีโอกาสเกิดสนิมร้ อยละ 90 และกาลังรับ


แรงอัดของคอนกรี ต ได้ จากผลการทดสอบตัวอย่างคอนกรี ตที่ติดตังระบบป้ ้ องกันการเกิดสนิมและไม่ได้ ติดตัง้
ระบบป้องกันสนิมโดยพิจารณาปั จจัยด้ านกาลังรับแรงอัดทาการเร่ งโดยใช้ วิธีการเร่งโดยใช้ วิธีทางไฟฟ้า พบว่าใน
ตัวอย่างคอนกรี ตที่ติดตังระบบป้
้ องกันการเกิดสนิม มีโอกาสเกิดสนิมน้ อยกว่าตัวอย่างคอนกรี ตที่ไม่ได้ ติดตัง้
ระบบป้องกันสนิม และทังในตั ้ วอย่างคอนกรี ตที่ไม่มีการติดตังระบบป้
้ องกันสนิมและตัวอย่างคอนกรี ตที่มีการ
ติดตังระบบป้
้ องกันการเกิดสนิม ตัวอย่างที่มีกาลังรับแรงอัดคอนกรี ตที่สงู กว่ามีแนวโน้ มที่จะเกิดสนิมได้ น้อยกว่า
คอนกรี ตที่ มี กาลัง รั บแรงอัดที่ ต่ ากว่ า ในส่ วนของความสัม พันธ์ ร ะหว่ า งระยะเวลาที่ ระบบป้อ งกันสนิมหมด
ประสิทธิภาพกับกาลังรับแรงอัดของคอนกรี ต พบว่าในตัวอย่างคอนกรี ตที่มีกาลังรับแรงอัดสูงประสิทธิภาพของ
ระบบป้องกันการเกิดสนิมมีประสิทธิภาพในการทางานที่ยาวนานกว่าตัวอย่างคอนกรี ตกาลังรับแรงอัดที่ต่ากว่า
จากการทดสอบประสิทธิภาพของระบบการป้องกันการกัดกร่อนเป็ นสนิมในเหล็กเสริม พบว่าปั จจัยด้ าน
กาลังรับแรงอัดของคอนกรี ต ส่งผลต่อประสิทธิภาพของระบบป้องกันการเกิดสนิมในเหล็กเสริ ม โดยในตัวอย่าง
คอนกรี ตที่มีกาลังรับแรงอัดคอนกรี ตสูง ระบบการป้องกันการกัดกร่ อนเป็ นสนิมจะมีประสิทธิภาพในการป้องกัน
การเกิดสนิมได้ ยาวนานกว่า เนื่องมาจากในคอนกรี ตที่มีกาลังรับแรงอัดสูงจะมีอตั ราส่วนน ้าต่อปริ มาณซีเมนต์ที่
ต่าลง และมี ความพรุ นของคอนกรี ต ต่า ทาให้ คอนกรี ตมีความทึบน ้ามากขึ ้น การซึมผ่านของคลอไรด์เข้ าไปใน
คอนกรี ตจึงลดลง (Illston and Domone, 2001) จึงทาให้ เหล็กเสริ มในคอนกรี ตที่มีกาลังรับแรงอัดที่สูงแตกตัว
เป็ นอิออนได้ ช้าลง และเช่นเดียวกันกับอาโนดที่ติดตัง้ อยู่ในคอนกรี ตที่มีกาลังรับแรงอัดที่สูงกว่า จะทาให้ มีการ
สูญเสียอิเล็กตรอนที่ช้ากว่า จึงทาให้ มีประสิทธิภาพในการป้องกันที่ยาวนานกว่านัน่ เอง

522
การประชุมวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 53 สาขาสถาปัตยกรรมศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์

สรุ ป
1. ตัวอย่างคอนกรี ตที่ไม่มีการติดตังระบบป้
้ องกันการเกิดสนิม Galvanic Cathodic Protection
(ตัวอย่างควบคุม) คอนกรี ตกาลังรับแรงอัดสูง มีโอกาสเกิดสนิมได้ น้อยกว่าคอนกรี ตกาลังรับแรงอัดต่า ทังในกรณี

เร่งโดยวิธีเปี ยกสลับแห้ ง และเร่งโดยการใช้ วิธีทางไฟฟ้าไฟฟ้า
2. ในกรณีการเร่งการเกิดสนิมโดยใช้ วิธีทางไฟฟ้า ตัวอย่างที่ติดตังระบบป้
้ องกันการเกิดสนิม Galvanic
Cathodic Protection มีระยะเวลาการเกิดสนิมที่ช้ากว่าตัวอย่างที่ไม่ได้ ติดตังระบบป้
้ องกันสนิม
3. ตัวอย่างคอนกรี ตที่ตดิ ตังระบบป้
้ องกันสนิมโดยวิธี Galvanic Cathodic Protection ในตัวอย่าง
คอนกรี ตรับแรงอัดที่สงู กว่า มีโอกาสเกิดสนิมช้ ากว่าคอนกรี ตกาลังรับแรงอัดต่ากว่า ในกรณีการเร่งโดยใช้ วิธีทาง
ไฟฟ้า
4. ในตัวอย่างคอนกรี ตที่ติดตังระบบป้
้ องกันสนิมโดยวิธี Galvanic Cathodic Protection ในตัวอย่าง
คอนกรี ตรับแรงอัดที่สงู กว่ามีประสิทธิภาพมากกว่าและมีอายุการใช้ งานระบบป้องกันสนิมที่ยาวนานกว่า

กิตติกรรมประกาศ
ขอขอบคุณ REPTECH Service ที่ช่วยสนับสนุน Zinc Anode

เอกสารอ้ างอิง
กรมโยธาธิ การและผังเมือง. 2551. มาตรฐานการตรวจสอบโครงสร้ างคอนกรี ตเสริ มเหล็กด้ วยวิธีการ
ทดสอบแบบไม่ ท าลาย (มยผ.1506). วิ ธี ท ดสอบหาค่ า การสึ ก กร่ อ นของเหล็ ก เสริ ม (Half-Cell
Potential)
ACI Committee E706. 2010. Field Guide to concrete Repair Application Procedures Installation of
Embedded Galvanic Anode. American Concrete Institute.
American Society Testing and Materials, 1999. Standard Test method for Half-Cell Potential of
Uncoated Reinforceing Steel in Concrete. ASTM C 876-91 Reapproved. 1999.
Illston, J.M., and Domone, P.L.J. 2001. Construction Material Their Nature and Behavior, 3rd Edition,
Spon, Press, London
Chess, P.M. 2005. Cathodic Protection of Steel in Concrete. E&FN SPON, Copenhagen Denmark.

523

You might also like