You are on page 1of 67

เอกสารประกอบการบรรยาย

เรื่อง

การออกแบบระบบกําแพงกันดิน Sheet Pile งานดินขุด

โดย

ผศ. ปิยะ รัตนสุวรรณ

ที่

โรงแรมรอยัลริเวอร์ กรุงเทพ

30 พฤษภาคม 2558
การออกแบบระบบกําแพงกันดิน Sheet Pile งานดินขุด ผศ. ปิยะ รัตนสุวรรณ 30/5/58

สารบัญ
ที่ รายการ หน้า
1 คํานํา............................................................................................................................................................ ก
2 บทที่ 1 ระบบค้ํายันสําหรับงานดินขุด……………………………………………………………………………………………. 1
1.1 งานขุดดินประเภทที่ไม่ใช้ระบบกําแพงกันดิน............................................................................... 1
1.2 ข้อพิจารณาความจําเป็นที่ใช้โครงสร้างระบบค้ํายันในโครงสร้างใต้ดิน ............………………………. 5
1.3ข้อพิจารณาการเลือกใช้โครงสร้างระบบค้ํายันในโครงสร้างใต้ดิน.................................................... 5
3 บทที่ 2 หน่วยแรงดันดินทางด้านข้าง ( Lateral Earth Pressure ) ………………………………………………… 7
2.1 การวิเคราะห์หน่วยแรงดันดินทางด้านทางด้านข้าง (Lateral Earth Pressure ) …………………….. 7
2.1.1 การวิเคราะห์หน่วยแรงดันดินทางด้านข้างแบบสถิต
( Lateral Earth Pressure at Rest )……………………………………………………………………… 7
2.1.2 การวิเคราะห์หน่วยแรงดันดินทางด้านข้างโดยหลักการของ Rankine ………………………… 8
2.1.3 การวิเคราะห์หน่วยแรงดันดินทางด้านข้างโดยใช้ไดอะแกรมของเขตของหน่วยแรงดันดิน
ปรากฏ ( Apparent Pressure Envelope or Pressure Diagram )…………………….. 14
2.2 ลักษณะชั้นดินบริเวณกรุงเทพ ฯ..................................................................................................... 19
4 บทที่ 3 เสถียรภาพสําหรับงานขุดดิน ( Stability of Excavation )………………………………………………….. 20
3.1 การหาเสถียรภาพของก้นหลุมโดย Teng ( 1980 )……………………………………………………………… 20
3.2 การหาเสถียรภาพของก้นหลุมโดย Terzaghi ,s Theory ( 1943 )……………………………………….. 22
3.3 การหาเสถียรภาพของก้นหลุมโดย Bjerrum and Eide ( 1956 )…………………………………………. 23
3.4 กรณีขุดดินเหนียวหลายๆชั้น........................................................................................................... 25
5 บทที่ 4 การออกแบบระบบค้ํายันเข็มพืด( Design of Sheet Pile Bracing System )…………………………. 28
4.1 ระบบค้ํายันเข็มพืด ( Sheet Pile Bracing System)…………………………………………………………… 28
4.2 พฤติกรรมการถ่ายแรงของระบบค้ํายันเข็มพืด……………………………………………………………………… 30
4.3 การออกแบบระบบค้ํายัน………………………………………………………………………………………………………………….. 32
4.3.1 การออกแบบ Sheet pile…………………………………………………………………………………….. 32
4.3.2 การออกแบบ Wale…………………………………………………………………………………………….. 33
4.3.3 การออกแบบ Strut………………………………………………………………………………………………. 37
4.4 การออกแบบ King Post ………………………………………………………………………………………………… 41
4.5 การออกแบบ Lean Concrete ……………………………………………………………………………………….. 44
4.6 การอัดแรงในค้ํายัน ( Preload on Strut )………………………………………………………………………. 46
6 บทที่ 5 การวิเคราะห์และออกแบบระบบค้ํายันเข็มพืดเหล็ก……………………………………………………………… 48
5.1 ลักษณะชั้นดินและคุณสมบัติของชั้นดิน ( Soil Profile and Soil Properties) …………………… 48
5.2 ระดับค้ํายัน( Level of Bracing System)………………………………………………………………………….. 49
5.3 แรงดันดินด้านข้างปรากฏที่เกิดขึ้นและแรงค้ํายันแต่ละชั้น ( Apparent Earth Pressure and
Force in Each Layer of Bracing)……………………………………………………………………………. 49
5.4 ออกแบบเข็มพืดเหล็ก ( Design of sheet pile )………………………………………………………………… 50
5.5 การคํานวณและออกแบบ Wale (Design Wale )………………………………………………………………… 52
5.6 การวิเคราะห์และออกแบบ Strut (Design Strut )…………………………………………………………… 54
5.7 การวิเคราะห์และออกแบบ King Post ( Design King Post )…………………………………………… 55
5.8 การออกแบบระบบ Preload ใน Strut ……………………………………………………………………………. 56
7 บรรณานุกรม……………………………………………………………………………………………………………………………... 57
8 ภาคผนวก ก. คุณลักษณะของ Sheet Pile และ Wide Flange ที่มีจําหน่ายในเมืองไทย ...................... 58
การออกแบบระบบกําแพงกันดิน Sheet Pile งานดินขุด ผศ. ปิยะ รัตนสุวรรณ 30/5/58

การออกแบบระบบกําแพงกันดิน Sheet Pile งานดินขุด

คํานํา
การออกแบบระบบค้ํายันเข็มพืดเหล็ก ( Sheet Pile Bracing System ) เป็นการนําความรู้พื้นฐาน
ทางด้านวิศวกรรมปฐพี ( Soil Mechanics ) อันประกอบด้วย การเจาะสํารวจชั้นดิน ( Soil Investigation )
หน่วยแรงของดิน ( In-Situ stress ) กําลังรับแรงเฉือนของดิน ( Shear Strength of Soil ) นอกจากนี้ยังนํา
ความรู้ในด้าน การออกแบบโครงสร้างโดยเฉพาะโครงสร้างเหล็ก ( Steel Design ) ความรู้พื้นฐานเหล่านี้ นํามา
ประยุกต์ใช้ในการออกแบบระบบค้ํายันเข็มพืดเหล็ก ( Sheet Pile Bracing System ) สําหรับงานขุดดินอ่อน
กรุงเทพ เอกสารฉบับนี้ได้รวบรวมงานวิจัยของผู้ได้ทําการวิจัย ประสบการณ์ ในงานออกแบบ ระบบค้ํายันเข็มพืด
เหล็ก พร้อมทั้งรายละเอียดการแก้ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้น เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถออกแบบด้วยตนเองได้
และสามารถก่อสร้างได้ ประหยัดและปลอดภัย
เอกสารฉบับนี้ได้นําเสนอโครงการก่อสร้างด้วยระบบค้ํายันเข็มพืดเหล็ก ความลึก 8.70 เมตร โดยอธิบาย
แนวคิด วิธีการก่อสร้าง แนวทางการวิจัยและอุปสรรค เพื่อให้เข้าใจปัญหาจริง และผู้เขียนหวังว่าเอกสารฉบับนี้ จะ
เป็นประโยชน์ตอ่ ผู้เข้าอบรม ให้สามารถเข้าใจระบบและสามารถออกแบบได้ด้วยความมั่นใจ

ผศ. ปิยะ รัตนสุวรรณ


พฤษภาคม 2558

  ก
การออกแบบระบบกําแพงกันดิน Sheet Pile งานดินขุด ผศ. ปิยะ รัตนสุวรรณ 30/5/58

บทที่ 1
ระบบค้ํายันสําหรับงานดินขุด
การก่อสร้างห้องใต้ดินยังเป็นสิ่งจําเป็นคู่กับการก่อสร้างอาคารในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ทั้งนี้
เนื่องจากราคาค่าที่ดินทีส่ ูงขึน้ และต้องการหาประโยชน์ใช้สอยโดยเฉพาะพื้นที่จอดรถใต้ดินมากขึ้น การขุดห้อง
ใต้ดินในเขตกรุงเทพฯ อันเป็นพื้นที่ที่ประกอบด้วยดินเหนียวอ่อนอาจจะเกิดปัญหาอย่างมากมายขณะก่อสร้าง
นอกจากนี้การก่อสร้างอาคารสูงเกิดขึ้นมากมายในเขตกรุงเทพมหานครชัน้ ใน โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่ใกล้กับ
แนวรถไฟฟ้าใต้ดินและรถไฟฟ้า BTS หากการออกแบบระบบงานขุดดินไม่ดีเพียงพองานขุดดินเพือ่ ใช้สําหรับ
งานก่อสร้างใต้ดิน มีความจําเป็นที่จะต้องป้องกันการพังทลายของดินทั้งในระหว่างที่ทําการขุดและขณะทีท่ ํา
การก่อสร้าง
1.1 วิธีการที่ใช้สําหรับป้องกันการพังทลายของดินในงานขุดดินแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
1.1.1 งานขุดดินประเภทที่ไม่ใช้ระบบกําแพงกันดิน ซึ่งอาศัยการปรับลดระดับของพื้นที่เอียงทางด้านข้าง
หรือการใช้เชิงลาดคันดิน ( Side Slope ) ซึ่งในขณะทํางานขุดดินมีความจําเป็นที่จะต้องมีพื้นที่ด้านข้าง (
Clearance ) มากพอ สําหรับการทํางานก่อสร้างและต้องไม่มีสิ่งกีดขวางในบริเวณสําหรับใช้ในการปรับลด
ระดับทําพื้นเอียงด้านข้างแต่จะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง นอกจากนี้ดินสามารถรับแรงเฉือนได้สูง ดัง
แสดงในรูปที่ 1.1

รูปที่ 1.1 งานดินขุดประเภทที่ไม่ใช้ระบบกําแพงกันดิน

  1
การออกแบบระบบกําแพงกันดิน Sheet Pile งานดินขุด ผศ. ปิยะ รัตนสุวรรณ 30/5/58

1.1.2 งานขุดดินประเภทที่ใช้ระบบกําแพงกันดิน เหมาะสําหรับการขุดดินที่ลกึ มาก และมีพื้นที่จํากัด


งานขุดดินทีใ่ ช้ระบบกําแพงกันดิน มีดว้ ยกัน 2 ระบบ คือ
ก . ระบบกําแพงกันดินแบบยืดหยุ่น ( Flexible Wall )
เป็นระบบกําแพงกันดินแบบที่ใช้สําหรับงานขุดที่มีความลึกไม่เกิน 10-12 เมตร ( วันชัย , 2539 ) โดย
ระบบกําแพงกันดินชนิดนี้จะมีค่าสตีฟเนสต่าํ เป็นผลให้ปริมาณการเคลือ่ นตัวของดินเกิดขึ้นมาก แต่ระบบนี้ก็ยัง
เป็นที่นิยมใช้กนั มากเนื่องจากราคาในการก่อสร้างต่ํา ก่อสร้างง่าย ประหยัดเวลาในการก่อสร้าง ผูร้ ับเหมามี
ความคุ้นเคยรวมถึงนํากลับมาใช้ได้อีก สําหรับระบบกําแพงกันดินแบบนี้ ได้แก่ ระบบค้ํายันเข็มพืดเหล็ก (
Sheet Pile Bracing System ) ดังแสดงในรูปที่ 1.2 และ 1.3

รูปที่ 1.2 ระบบค้ํายันเข็มพืดเหล็ก ( Sheet Pile Bracing System )

  2
การออกแบบระบบกําแพงกันดิน Sheet Pile งานดินขุด ผศ. ปิยะ รัตนสุวรรณ 30/5/58

รูปที่ 1.3 ระบบค้ํายันเข็มพืดเหล็ก ( Sheet Pile Bracing System )


ข. ระบบกําแพงกันดินแบบแข็ง ( Rigid Wall )
ระบบกําแพงกันดินแบบแข็งจะมีค่าสตีฟเนสสูง ได้แก่ Diaphragm Wall , Secant Pile Wall ,
Contiguous Bored Pile Wall ( CBP Wall )และ Burlin Wall ซึง่ ระบบกําแพงกันดินแบบนี้เหมาะสําหรับ
งานขุดดินทีล่ ึกมาก รวมถึงงานที่ตอ้ งการควบคุมปริมาณการเคลื่อนตัวของดินให้มีปริมาณน้อยทีส่ ดุ พร้อมทั้ง
สามารถปรับเปลี่ยนไปเป็นโครงสร้างใต้ดินถาวร ( Permanent Structure) เช่นการก่อสร้างสถานีรถไฟฟ้าใต้
ดิน และการก่อสร้างทางลอดใต้ดินบริเวณแยกต่างๆ และบ่อ Shaft ขนาดใหญ่ ดังแสดงในรูปที่ 1.4 และ 1..5

  3
การออกแบบระบบกําแพงกันดิน Sheet Pile งานดินขุด ผศ. ปิยะ รัตนสุวรรณ 30/5/58

รูปที่ 1.4 การก่อสร้างชั้นใต้ดิน ด้วย Diaphragm Wall

รูปที่ 1.5 ขั้นตอนการก่อสร้าง Diaphragm Wall


Secant Pile Walls คือกําแพงเสาเข็มเจาะซ้อนโดยใช้หลักการเจาะเสาเข็มคอนกรีตหล่อในทีซ่ ้อน
เฉือนกันเรียงเป็นแนวยาวรอบบริเวณที่ขุด ซึ่งเสาเข็มเจาะจะมี 2 ชุด ชุดแรกเรียกว่า Primary Pile เป็นเข็ม
เจาะเนื้อคอนกรีตล้วน ๆ กําลังต่ําประมาณ 150 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร ไม่มีการเสริมเหล็ก และชุดที่สอง
เรียกว่า Secondary Pile เป็นเข็มเจาะคอนกรีตเสริมเหล็กทั่วไป และมีกําลังรับแรงอัดมากกว่า 250 กิโลกรัม
ต่อตารางเซนติเมตร วัตถุประสงค์ของการทํากําแพงเข็มเจาะซ้อนเพื่อทําเป็นกําแพงกันดินขนาดใหญ่ที่มี

  4
การออกแบบระบบกําแพงกันดิน Sheet Pile งานดินขุด ผศ. ปิยะ รัตนสุวรรณ 30/5/58

คุณสมบัติเป็นกําแพงทึบน้ําในมาตรฐานเดียวกับ Diaphragm Wall กําแพงกันดินชั้นนีม้ ีความแข็งแกร่งใน


ทิศทางดิ่งแต่จะด้อยกว่าในทิศทางราบ ดังแสดงในรูปที่ 1.6

รูปที่ 1.6 ลักษณะการก่อสร้างกําแพงกันดินแบบ Secant Pile Wall


1.2 ข้อพิจารณาความจําเป็นที่ใช้โครงสร้างระบบค้ํายันในโครงสร้างใต้ดิน ขึ้นอยูก่ ับองค์ประกอบหลาย
อย่าง ตัวอย่างเช่น
ก ความต้องการใช้ประโยชน์พื้นที่ใต้ดินเพิ่มมากขึ้น โดยทําเป็นอาคารจอดรถ
ข การก่อสร้างงานดินขุดใต้ดินมีปัจจัยหลายอย่างที่ไม่สามารถควบคุมได้
ค งานก่อสร้างใต้ดินเป็นงานก่อสร้างทีต่ อ้ งใช้เวลานาน
ง โครงสร้างระบบค้ํายันแต่ละระบบจะมีขอ้ ดี ข้อเสียต่างกันต้องเลือกให้เหมาะสม หากเลือกไม่
สอดคล้องกับงานจะทําให้เกิดความเสียหายเช่น ราคาค่าก่อสร้างแพงทําให้ไม่ได้รับงาน งานก่อสร้างไม่
แล้วเสร็จตามกําหนด หรือเกิดความเสียหายกับงานก่อสร้างหรืออาคารข้างเคียง ซึ่งค่าใช้จ่ายงาน
ซ่อมแซมจะสูงมาก
1.3 ข้อพิจารณาการเลือกใช้โครงสร้างระบบค้ํายันในโครงสร้างใต้ดิน ขึ้นอยู่กับข้อมูลต่างๆ ที่จะทําการ
ก่อสร้างเช่น ความลึกของงานขุดดิน ลักษณะของชั้นดิน ความปลอดภัยของระบบโครงสร้างกันดิน

  5
การออกแบบระบบกําแพงกันดิน Sheet Pile งานดินขุด ผศ. ปิยะ รัตนสุวรรณ 30/5/58

ข้อจํากัดของพื้นที่ก่อสร้าง ลักษณะรูปร่างของโครงสร้าง รูปแบบการก่อสร้าง ราคาค่าก่อสร้าง ระยะเวลาที่


ใช้ในการก่อสร้าง เป็นต้น

  6
การออกแบบระบบกําแพงกันดิน Sheet Pile งานดินขุด ผศ. ปิยะ รัตนสุวรรณ 30/5/58

บทที่ 2
หน่วยแรงดันดินทางด้านข้าง ( Lateral Earth Pressure )
2.1 การวิเคราะห์หน่วยแรงดันดินทางด้านทางด้านข้าง (Lateral Earth Pressure )
ในการวิเคราะห์เกี่ยวกับการหาหน่วยแรงดันดินที่กระทํากับโครงสร้างที่อยู่ใต้ดิน( Retaining
Structures ) มีแนวคิดที่ใช้ในการคํานวณหน่วยแรงดันดินด้านข้าง 3 แนวคิด คือ
2.1.1 การวิเคราะห์หน่วยแรงดันดินทางด้านข้างแบบสถิต ( Lateral Earth Pressure at Rest )
เป็นการวิเคราะห์ที่ใช้กับระบบของโครงสร้างป้องกันการเคลื่อนตัวของดินที่มีค่าความแข็งแรงของ
โครงสร้างสูงมาก ( High Stiffness ) เช่น Diaphragm Wall , Secant Pile Wall โดยมีสมมุติฐานว่า
จะไม่เกิดการเคลื่อนที่ของโครงสร้าง ที่ใช้เป็นระบบกําแพงกันดิน การวิเคราะห์จะไม่พิจารณาผลของ
หน่วยแรงภายนอกที่กระทําต่อดินซึ่งจะได้

σ ho = K σ′ ..........( 2.1 )
o vo

σ ho = σ′ho + u ..........( 2.2 )

σ vo = σ′vo + u ..........( 2.3 )

σ ho = K o σ′vo + u ..........( 2.4 )

เมื่อ Ko = Coefficient of Earth Pressure at Rest หรือ สัมประสิทธิ์แรงดันดินด้านข้างของดินแบบสถิตย์


สําหรับการหาค่าหน่วยแรงกระทําทางด้านข้างให้ใกล้เคียงกับสภาพจริงตามธรรมชาตินั้น มีความ
จําเป็นที่จะต้องใช้ค่า Ko ของดินให้เหมาะสม โดยปกติค่า Ko ของดินที่ใช้นั้นได้มาจากความสัมพันธ์แบบ
Empirical ที่ใช้ได้เฉพาะในแต่ละพื้นที่และลักษณะของงานก่อสร้าง ซึ่งต้องการหาค่า Ko ของดินสามารถสรุป
ออกมาได้ดังนี้
2.1.1.1 ค่า Ko สําหรับดินเม็ดหยาบ ( Cohesionless Soil )
โดยปกติ แล้วค่า Ko ในดินเม็ดหยาบขึ้นอยู่กับสภาวะความแน่นและสัดส่วนการอัดแน่นเกินตัว
สําหรับทรายทีม่ ีค่าความแน่นปานกลาง ( Medium Dense Sand) หรือทรายแน่น ( Dense Sand ) และมี
ค่า OCR เท่ากับ 1 ซึ่งค่า Ko อาจจะประเมินได้จาก
Ko = 1 − sin φ ′ Jaky (1944) ..........( 2.5 )

  7
การออกแบบระบบกําแพงกันดิน Sheet Pile งานดินขุด ผศ. ปิยะ รัตนสุวรรณ 30/5/58

2.1.1.2 ค่า Ko สําหรับดินเหนียว ( Cohesive Soil )


Brooker and Ireland ( 1965) เสนอให้คา่ Ko ของดินเหนียวขึ้นอยู่กับค่า PI และค่า OCR โดยที่
ค่า Ko ของ Normally Consolidation Clay ( NC-Clay) จะมีความสัมพันธ์กับค่า φ/ ดังแสดงในสมการ
K o ( NC ) = 0.95 − sin φ ′ ..........( 2.6 ( 1 ) )

K o ( NC ) = 0.4 + 0.007 (PI ) (For PI อยูระหวาง 0 - 40 % ) ..........( 2.6( 2 ) )

K o ( NC ) = 0.64 + 0.001(PI ) (For PI อยูระหวาง 40 - 80 %) ..........( 2.6( 3 ) )

เมื่อ φ/ = ค่ามุมต้านทานแรงเฉือนในรูปของหน่วยแรงประสิทธิผลของ NC – Clay ซึ่งมีค่าอยู่ระหว่าง 20o –


30o
K o (NC) = 0.19 + 0.233 log PI Alpan (1967) .......... .. ( 2.7 )

K o (NC) = 0.24 + 0.311 log PI Lee & Jin (1979) .......... .. ( 2.8 )

K o (NC) = 0.44 + 0.0042 PI Massarsch (1974) .......... .. ( 2.9 )

สําหรับการหาค่า Ko ของ Over Consolidation Clay , Ko(oc) โดย Schmidt ( 1966) ได้เสนอ
ความสัมพันธ์ ระหว่าง Ko ของ NC- Clay กับ Ko ของ OC-Clay อยุ่ในรูปของสมการกับ ค่า OCR ของดิน
ดังนี้
K o (OC) = K o (NC) OCR m .......... .. ( 2.10 )

เมื่อ m = 0.32 – 0.40 เมื่อ PI มีค่าเท่ากับ 80% ถึง 20 % ( Ladd et al , 1977 )


⎛ PI ⎞
m = 0.54 exp⎜ − ⎟ Alpan( 1967 ) .......... .. ( 2.11 )
⎝ 281 ⎠

ในกรณีชั้นดินเหนียวกรุงเทพ ( Bangkok clay) จะพบว่าค่า PI จะมีค่าอยู่ระหว่าง 36 – 40 %


ดังนั้นหากใช้ความสัมพันธ์ของ Brooker and Ireland ( 1965 ) จะพบว่า ค่า Ko = 0.4 + 0.007(38)=0.67
และเนื่องจากดินเหนียวอ่อนกรุงเทพ จะมีคา่ OCR ประมาณ 1.5-1.6 จะได้ค่า Ko = 0.7 ซึ่งจากผลการวิจัย
ดินเหนียวอ่อนกรุงเทพ Ko จะมีค่าประมาณ 0.65
2.1.2 การวิเคราะห์หน่วยแรงดันดินทางด้านข้างโดยหลักการของ Rankine
การหาค่าหน่วยแรงดันดินทางข้างโดยอาศัยการวิเคราะห์ด้วยทฤษฎีของ Rankine และกฎการวิบัติ
ของมวลดินตามหลักการของ Mohr – Coulomb ซึง่ มีสมมติฐานว่า ระนาบของการวิบัติของมวลดินจะ

  8
การออกแบบระบบกําแพงกันดิน Sheet Pile งานดินขุด ผศ. ปิยะ รัตนสุวรรณ 30/5/58

เกิดขึ้นเป็นแบบ Planar surface พร้อมทั้งชั้นดินจะต้องวางอยู่ในลักษณะ Horizontal layer โดยการวิบัติ


ของมวลดินสามารถเกิดขึ้นได้ 2 รูปแบบ คือ สภาพการวิบัติแบบ Active และสภาพการวิบัติ แบบ Passive
2.1.2.1 Rankine ,s Active Earth Pressure
ในขณะที่ทําการขุดดินจะมีผลทําให้เกิดการเคลื่อนตัวของมวลดินที่อยู่บริเวณด้านหลังของกําแพงกัน
ดินเป็นสาเหตุให้กําแพงกันดินเคลื่อนตัว โดยที่การเคลื่อนตัวของกําแพงกันดินเป็นลักษณะเคลื่อนตัวออกจาก
มวลดินเป็นผลทําให้เกิดการลดลงของหน่วยแรงในแนวนอน ขณะที่ค่าหน่วยแรงในแนวดิ่งมีค่าคงที่
จนกระทั่งมวลดินเกิดการวิบัติ ซึ่งสภาพการวิบัติที่เกิดขึ้นเป็นการวิบัติแบบ Rankine Active State คล้าย
ลักษณะของการเคลื่อนตัวของกําแพงกันดินจะเป็นแบบ Tilting ดังแสดงในรูปที่ 2.1

รูปที่ 2.1 (a ) ลักษณะการเคลื่อนตัวของกําแพงกันดินในสถาพ Active ของ Rankine


( b) Rankine,s Active Pressure State
⎛ φ⎞ ⎛ φ⎞
σ ha = σ v tan 2 ⎜ 45 − ⎟ − 2C tan⎜ 45 − ⎟ .......... .. ( 2.12 )
⎝ 2⎠ ⎝ 2⎠

เมื่อพิจารณา Cohesionless Soil ที่มีค่า C = 0 จะได้

  9
การออกแบบระบบกําแพงกันดิน Sheet Pile งานดินขุด ผศ. ปิยะ รัตนสุวรรณ 30/5/58

⎛ φ⎞
σ ha = σ v tan 2 ⎜ 45 − ⎟ .......... .. ( 2.13 )
⎝ 2⎠

σ ha ⎛ φ⎞
Ka = = tan 2 ⎜ 45 − ⎟ .......... .. ( 2.14 )
σv ⎝ 2⎠

σ ha
โดยอัตราส่วน เรียกว่า Coefficient of Rankine,s Active Earth Pressure , Ka
σv
ดังนั้นสมการที่ 2.12 จะเป็น
σ ha = σ v K a − 2C K a .......... ..........( 2.15 )

จากลักษณะของแรงดันดิน ( Pressure Diagram ) ตามทฤษฎี Rankine สําหรับ Cohesionless


Soil หรือทรายและกรวด แสดงในรูปที่ 2.2

รูปที่ 2.2 แรงดันดินทางด้านข้างของ Rankine,s Active State สําหรับดิน แบบ Cohesionless Soil.
สําหรับในกรณี Cohesive Soil จะเกิด Tension Crack ขึ้นจนถึงระดับความลึก Zc ดังนั้น ที่
ระดับผิวดิน ( ที่ Z = 0 )
σv = 0 σ ha = − 2C K a .......... ..........( 2.16 )

ที่ระดับความลึก Z = H จะได้

σ v = γH σ ha = γHK a − 2C K a .......... ..........( 2.17 )

เมื่อเกิด Tension Crack ( σv =0 ) จะหาระยะ Zc ได้ดังนี้

  10
การออกแบบระบบกําแพงกันดิน Sheet Pile งานดินขุด ผศ. ปิยะ รัตนสุวรรณ 30/5/58

0= γHK a − 2C K a

2C
Zc = .......( 2.18 )
γ Ka

สําหรับแรงดันดิน ( Pressure Diagram ) ตามทฤษฎี Rankine สําหรับ Cohesive Soil หรือดิน


เหนียวแสดงในรูปที่ 2.3

รูปที่ 2.3 แรงดันดินทางด้านข้างของ Rankine,s Active State สําหรับดิน แบบ Cohesive Soil.
2.1.2.2 Rankine ,s Passive Earth Pressure
การวิบัติของมวลดินสําหรับสภาวะ Passive เกิดจากการเคลื่อนตัวเข้าของกําแพงกันดินในขณะที่
ทําการขุดดิน ซึ่งมีผลทําให้เกิดการเพิ่มขึ้นของหน่วยแรงในแนวนอนขณะที่ค่าหน่วยแรงในแนวดิง่ มีค่าคงที่
หรือเมื่อพิจารณาในลักษณะของการทดสอบ Triaxial จะได้ว่าเกิดจากการเพิ่มขึ้นของ Axial Stress
ในขณะที่ Confining Pressure คงที่ โดยลักษณะของระนาบการวิบัติในสภาวะ Passive สามารถแสดงดัง
รูปที่ 2.4 (a)

  11
การออกแบบระบบกําแพงกันดิน Sheet Pile งานดินขุด ผศ. ปิยะ รัตนสุวรรณ 30/5/58

รูปที่ 2.4 Rankine,s Passive Earth Pressure


( a) ลักษณะการเคลื่อนตัวของกําแพงกันดินในสภาพ Passive ของ Rankine
( b) Rankine , s Passive Pressure
การพิจารณาหาค่าหน่วยแรงดันดินทางด้านข้างที่ระดับความลึก Z โดยไม่คิด ผลของแรงเสียดทานที่
ผิวของกําแพงกันดิน เริ่มจากในขณะที่มวลดินอยู่ในสภาพตามธรรมชาติ ค่าหน่วยแรงในแนวนอน (σh) จะมี
ค่าเท่ากับ K0σ/vo+ u0 และเมื่อเกิดการเคลื่อนตัวของกําแพงกันดินเข้าหามวลดินจนเกิดการวิบัติที่อยู่ใน
สภาพ Passive ทําให้สามารถหาค่าหน่วยแรงดันดินทางด้านข้าง ( σhp) ได้โดยอาศัยรูปของวงกลมของ
Mohr ดังแสดงในรูปที่ 2.4 (b)
⎛ φ⎞ ⎛ φ⎞
σ hp = σ v tan 2 ⎜ 45 + ⎟ + 2C tan⎜ 45 + ⎟ .......... .. ( 2.19 )
⎝ 2⎠ ⎝ 2⎠

เมื่อพิจารณา Cohesionless Soil ที่มีค่า C = 0 จะได้


⎛ φ⎞
σ hp = σ v tan 2 ⎜ 45 + ⎟ .......... .. ( 2.20 )
⎝ 2⎠

σ hp ⎛ φ⎞
Kp = = tan 2 ⎜ 45 + ⎟ .......... .. ( 2.21 )
σv ⎝ 2⎠

σ hp
โดยอัตราส่วน เรียกว่า Coefficient of Rankine,s Passive Earth Pressure , Kp
σv
ดังนั้นสมการที่ 2.21 จะเป็น

  12
การออกแบบระบบกําแพงกันดิน Sheet Pile งานดินขุด ผศ. ปิยะ รัตนสุวรรณ 30/5/58

σ hp = σ v K p + 2C K p .......... ..........( 2.22 )

จากลักษณะของแรงดันดิน ( Pressure Diagram ) ตามทฤษฎี Rankine สําหรับ Cohesionless


Soil หรือทรายและกรวด แสดงในรูปที่ 2.5

KPγH 
,
รูปที่ 2.5 แรงดันดินทางด้านข้างของ Rankine s Passive State สําหรับดิน แบบ Cohesionless
Soil.

สําหรับในกรณี Cohesive Soil จะสามารถหาค่า σhp ได้ดังแสดงในรูปที่ ทีร่ ะดับผิวดิน ( ที่ Z = 0 )


σv = 0 σ hp = 2C K p .......... ..........( 2.23 )

ที่ระดับความลึก Z = H จะได้
σ v = γH σ hp = γHK p + 2C K p .......... ..........( 2.24 )
สําหรับแรงดันดิน ( Pressure Diagram ) ตามทฤษฎี Rankine สําหรับ Cohesive
Soil หรือดินเหนียวแสดงในรูปที่ 2.6

รูปที่ 2.6 แรงดันดินทางด้านข้างของ Rankine,s Passive State สําหรับดิน แบบ Cohesive


Soil.

  13
การออกแบบระบบกําแพงกันดิน Sheet Pile งานดินขุด ผศ. ปิยะ รัตนสุวรรณ 30/5/58

2.1.3 การวิเคราะห์หน่วยแรงดันดินทางด้านข้างโดยใช้ไดอะแกรมขอบเขตของหน่วยแรงดันดิน
ปรากฎ ( Apparent Pressure Envelope or Pressure Diagram )
การหาค่าหน่วยแรงดันดินทางด้านข้างโดยวิธีนี้ ได้มาจากการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับค่าหน่วยแรงที่
เกิดขึ้นในค้ํายันของงานขุดดินในอดีต ซึ่งพิจารณาได้ว่าเป็นวิธีที่สามารถใช้ได้กับเฉพาะที่ ( Empirical
Method) ในการประยุกต์ใช้เพื่อหาค่าหน่วยแรงดันดินทางด้านข้างกับงานขุดดินค้ํายันโดยจะขึ้นอยู่กับ
ลักษณะของสภาพชั้นดินในบริเวณที่พิจารณาโดยมีแนวคิดต่างๆ ดังนี้
2.1.3.1 ไดอะแกรมของหน่วยแรงดันดิน โดย Terzaghi and Peck ( 1967 )
การหาค่าหน่วยแรงดันดินโดยวิธีนี้จะสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 รูปแบบตามลักษณะของชั้นดิน ดัง
แสดงในรูปที่ 2.7 แสดงไดอะแกรมขอบเขตหน่วยแรงดันดินปรากฎในชั้นดิน( Terzaghi and Peck , 1967 )

Sands Soft to Medium Clays Stiff - Fissured Clays

Strut 0.25H Strut 0.25H Strut

Strut Strut Strut


H 0.50H

Strut 0.75H Strut Strut


0.25H

0.65 Ka γ H 1.0 K aγ H 0.2γ H - 0.4γ H


Ka =1-m(4Suγ H)
m =1.0
m =0.4 for γH/Su > 6 or 4

รูปที่ 2.7 แสดงไดอะแกรมขอบเขตหน่วยแรงดันดินปรากฏในชั้นดิน( Terzaghi and Peck , 1967 )


ซึ่งปริมาณของหน่วยแรงดันดินทางด้านข้างที่เกิดขึ้นของชั้นดินเหนียวอ่อนและแข็งปานกลาง (
Soft to Medium Clays ) สําหรับวิธีนี้ จะขึ้นอยู่กับค่า m โดยในชั้นดินกรุงเทพ ฯ นัน้ จะมีความเหมาะสมที่
จะใช้ไดอะแกรมของกรณี Soft to Medium Clays เพื่อนําไปประมาณหาปริมาณของหน่วยแรงดันดินทาง
ด้านข้างโดยอาศัยหลักการของ Terzaghi and Peck (1967 )
2.1.3.2 ไดอะแกรมของหน่วยแรงดันดิน โดย Tschebotarioff ( 1973 )
การประมาณหาค่าหน่วยแรงดันดินทางด้านข้างที่เสนอโดย Tschebotarioff (1973) สามารถแบ่ง
ออกได้เป็น 3 รูปแบบ ตามลักษณะของชั้นดินรวมถึงค้ํายันที่ใช้ดังแสดงในรูปที่ 2.8 โดยจะพบว่าหน่วย
แรงดันดินที่ประมาณจากวิธีนี้ จะให้ค่าที่น้อยกว่าไดอะแกรมที่เสนอโดย Terzaghi and Peck (1967) เป็น
อย่างมาก

  14
การออกแบบระบบกําแพงกันดิน Sheet Pile งานดินขุด ผศ. ปิยะ รัตนสุวรรณ 30/5/58

Sand Temporary support in stiff clay Permanent support in medium clay

0.1H
0.60H 
0.75
0.7H

0.2H 0.40H  0.25

pa=0.25γH
0.3γH  0.2γH  0.375 0.125
รูปที่ 2.8 รูปแบบไดอะแกรมแรงดันดินโดย Tschebotarioff ( 1973)
2.1.3.3 ไดอะแกรมของหน่วยแรงดันดิน โดย Sower ( 1979 )
การประมาณหาหน่วยแรงดันดินทางด้านข้างที่ได้จาก Sower ( 1979 ) ซึ่งสามารถแบ่งได้ตาม
ชนิดของดินต่างๆ ดังแสดงในรูปที่ 2.9 สําหรับหาค่าหน่วยแรงที่ได้นั้นจะมีค่ามากน้อยเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับ
ค่าของ PD ที่มีค่าเปลี่ยนแปลงตามลักษณะชนิดของดินที่พิจารณาโดยในชั้นทรายค่า PD จะมีคา่ ขึ้นอยู่กับ
แรงดันดินที่ได้จากหน่วยแรงดันดินทางด้านข้างในสภาวะ Active ( Pa/)และในชั้นดินเหนียวค่า PD จะขึ้นอยู่
กับหน่วยแรงดันดินทางด้านข้างในสภาวะสถิต ( Lateral Earth Pressure at Rest , PO) หรือค่าของหน่วย
แรงดันดินทางด้านข้างที่อยู่ในสภาวะ Active ( Pa/)
Type of Soil PD
Loose sand , loose gravel 1.4 Pa/
Dense sand , dense gravel 1.3 Pa/
Soft clay 1.5Pa/ or Po
Stiff clay 1.4 Pa/ or Po
Unsaturated clay 1.3Pa/ or Po

  15
การออกแบบระบบกําแพงกันดิน Sheet Pile งานดินขุด ผศ. ปิยะ รัตนสุวรรณ 30/5/58

Sower (1979) Pressure Diagram


0.6Po/H
0.2 H

H 0.7 H

0.1 H
Pa Po
1.2 Po/H

รูปที่ 2.9 รูปแบบแรงดันดินโดย Sower (1979)

2.1.3.4 การหาหน่วยแรงดันดิน โดยใช้วิธี Modified ของ Rankine ในชั้นดินเหนียวอ่อน


ในบริเวณกรุงเทพฯ
ในการวิเคราะห์งานขุดดินโดยระบบกําแพงกันดินเข็มพืด ( Sheet Pile Wall ) ด้วยวิธี Limit
State Analysis หรือวิธี Equilibrium จะมีวิธีการวิเคราะห์การสมดุลย์ เช่นเดียวกันถึงแม้ว่าจะเป็นระบบ
กันดินเข็มพืด ( Sheet Pile Wall ) ที่เป็นระบบ Flexible wall หรือเป็นระบบไดอะแฟรมวอลล์ที่เป้น
ระบบแข็งก็ตาม ดังนั้นจําเป็นจะต้องเลือกแรงดันดินให้เหมาะสม ในการออกแบบแรงดันปรากฎ (
Apparent Earth Pressure Diagram ) เนื่องจากมีหน่วยแรงมากกว่าแรงดันดินด้านข้าง Rankine Active
Earth Pressure อยู่มาก อย่างไรก็ตามก่อนที่จะเลือกใช้ Earth Pressure ดังกล่าวจําเป็นที่จะต้องรู้ความ
เป็นมาและการปรับปรุง Earth Pressure ให้เหมาะสมดังนี้

สําหรับดินเหนียวในสภาพอิ่มตัวด้วยน้ํา ค่า φ = 0 และค่า Cu หรือ Su หรือกําลังรับแรงเฉือนของ


ดินจะเปลี่ยนไปตามความลึกตามทฤษฎี Rankine Lateral Earth Pressure จะพบว่าค่า Ka = Kp =1
และสามารถเขียน สมการแรงดันดินได้ใหม่สาํ หรับดินเหนียวคือ
σ active = σ v − 2C u + q ( ถามี Surcharge , q )

σ passive = σ v + 2C u + q ( ถามี Surcharge , q )

  16
การออกแบบระบบกําแพงกันดิน Sheet Pile งานดินขุด ผศ. ปิยะ รัตนสุวรรณ 30/5/58

ในการออกแบบ Retaining Structure ทั้งถาวร ( Permanent) และชั่วคราว ( Temporary )


นั้น สามารถแบ่งแยกการใช้รูปแบบของ Active Rankine Pressure Diagram สําหรับดินเหนียวอยู่หลาย
แบบดังแสดงในรูปที่ 2.10

2c 2c

σv-2c σv

Actual Pressure Diagram Model 1

2c 2c

σv-4c σv-2c

Model 2 Model 3

รูปที่ 2.10 โมเดลการปรับปรุงแรงดันดินด้านข้างแบบ Rankine


ในกรณีแรก Actual Rankine Earth Pressure จะมีแรงดันดินเป็นลบ ( Tension ) ในส่วนตื้น
ซึ่งจะอันตรายมากในในการนําแรงดันดินรูปแบบนี้ออกแบบ เพราะจะได้ค่าหน่วยแรงดันดินน้อยมากกว่า
ความเป็นจริง (วันชัย , 2534) พบว่า Actual Rankine Earth Pressure ไม่สามารถนํามาใช้ในการ
ออกแบบได้ จะต้องทําการปรับปรุง ( Modify )โดยการ Modify ทฤษฎีของ Rankine Active Earth
Pressure สามารถกระทําได้เป็น 3 วิธี ( Model ) ด้วยกันดังนี้ ( ตามรูปที่ 2.10 )
วิธีที่ 1 ( Model 1 ) : ให้ Lateral Earth Pressure เท่ากับศูนย์ที่ผิวดิน และเส้น Modify
Pressure Diagram ขนานกับทฤษฎี Rankine วิธีนี้ จะได้ หน่วยแรงมากเกินไป และเมื่อนําไปออกแบบจะ
สิ้นเปลือง หรือ Conservative มากๆ

  17
การออกแบบระบบกําแพงกันดิน Sheet Pile งานดินขุด ผศ. ปิยะ รัตนสุวรรณ 30/5/58

วิธีที่ 2 ( Model 2 ): ให้ Lateral Earth Pressure ที่ผิวดินเท่ากับศูนย์ และพื้นที่สุทธิ ( Net


Area ) ของ Pressure Diagram เท่ากับของ ทฤษฎี Rankine วิธีนี้ U.S. Crop of Engineer ( NAVFAC-
DM 7 ,1982 ) ได้แนะนําให้ใช้วิธีนี้ ซึ่งเรียกว่า Triangular Pressure Distribution Equivalent to Net
Rankine Force
วิธีที่ 3 ( Model 3 ) : ให้ Lateral Earth Pressure ที่ผิวดิน เท่ากับศูนย์ และเส้น Modify
Pressure Diagram ที่ระดับดินขุด เท่ากับ Earth Pressure ตามทฤษฎี ของ Rankine (วันชัย,2534)
แนะนําให้ใช้ วิธีนี้ ในการออกแบบระบบค้ํายันเข็มพืดนั้น จําเป็นจะต้องจะต้องเลือกใช้แรงดันดินเพื่อใช้ใน
การออกแบบและความลึกของเข็มพืด
วันชัย (2539, 2543) แนะนําให้ใช้ วิธีที่ 3 ในการออกแบบเพื่อหาความยาวของ Sheet Pile
ในขณะที่การหาแรงกระทําในระบบค้ํายัน ให้ใช้ Apparent Earth Pressure Diagram ที่มีการปรับปรุง (
Modify) โดยจะพบว่าค่าแรงดันที่เสนอโดย Terzaghi & Peck (1967 ) โดยในตําราบางเล่มจะเสนอ
แรงดันดินที่ความลึกใดๆ มีคา่ เท่ากับ σ - 4C เช่นเดียวกับรูปที่ 2.10 หรือในขณะทีต่ ําราบางเล่มจะเสนอ
ให้ใช้แรงดันดินที่ความลึกใดๆ มีค่าเท่ากับ σ - 2C ซึง่ ที่มาของแรงดันดิน Apparent Earth Pressure
ดังกล่าวก็มีการ Modify เช่นเดียวกับทฤษฎี Rankine Active Earth Pressure ในวิธีที่ 2 และ 3
นอกจากนี้แนะนําให้ใช้ระบบแรงดันดิน Modify Apparent Earth Pressure โดยกําหนดให้แรงดันดินที่
ความลึกใดๆ มีค่าเท่ากับ σ - 2C เช่นเดียวกับวิธีที่ 3 หรือใช้ค่าเท่ากับ σ - 4C/SF โดย S.F.= ค่า Safety
Factor ซึ่งควรจะใช้เท่ากับ 2.0
จากหน่วยแรงดันดินด้านข้างของทฤษฎี Rankine สามารถนํามาปรับปรุง เพื่อหาแรงดัน
ดินด้านข้างในชั้นดินเหนียวอ่อนในบริเวณกรุงเทพ ฯ กําหนดให้ φ = 0 ดังนั้น Ka = 0 ดังแสดงในรูป ที่
2.11

  18
การออกแบบระบบกําแพงกันดิน Sheet Pile งานดินขุด ผศ. ปิยะ รัตนสุวรรณ 30/5/58

Surcharge = q

0.25h

0.75h

γh-2c+q

รูปที่ 2.11 แสดงแรงดันดินด้านข้างสําหรับดินเหนียวอ่อนในบริเวณกรุงเทพ ฯ


2.2 ลักษณะชัน้ ดินบริเวณกรุงเทพฯ
ลักษณะชั้นดินกรุงเทพประกอบด้วยดินเหนียวอ่อน (Soft Clay ) หนาประมาณ 12-12.5 เมตร
จากนั้นจะพบชั้นดินเหนียวแข็งปานกลาง ( Medium Stiff Clay)ถึงความลึกประมาณ 15 เมตร จึงพบชั้นดิน
เหนียวแข็ง ( Stiff Silty Clay ) ถึงความลึกประมาณ 25 เมตร และพบชั้นทรายที่ 1 ( First Silty Sand
Layer ) ลักษณะชั้นดินและคุณสมบัติทางวิศวกรรมที่สําคัญแสดงในตารางที่ 2.11
ตารางที่ 2.11 ลักษณะชั้นดินกรุงเทพและคุณสมบัติทางวิศวกรรม
ความลึก (เมตร) ลักษณะชั้นดิน Wn (%) γt ( t/m^3) Su (t/m^2) N(Blows/ft)

0-12.5 ดินเหนียวอ่อน 75 -85 1.6 1.2-1.4 -

12.5-15.0 ดินเหนียวแข็งปานกลาง 65-70 1.65 3.0-4.0 -

15.0-25.0 ดินเหนียวแข็งถึงแข็ง 20-25 1.9-2.0 8-13 12-20


มาก

25.0-……. ทรายชั้นที่ 1 - 2.0 - 28-35

  19
การออกแบบระบบกําแพงกันดิน Sheet Pile งานดินขุด ผศ. ปิยะ รัตนสุวรรณ 30/5/58

บทที่ 3
เสถียรภาพสําหรับงานขุดดิน ( Stability of Excavation )

ในการขุดดินโดยอาศัยระบบค้ํายันนั้นนอกจากการพิจารณาแรงดันดินทางด้านข้างที่กระทําต่อระบบค้ํา
ยันแล้ว ยังคงต้องพิจารณาถึงผลของเสถียรภาพของดินก้นหลุม ( Heave Effect ) โดยเฉพาะในงานขุดดิน
เหนียวอ่อนซึ่งในการพิจารณา จะสมมุติ ให้ดินทีอ่ ยูด่ ้านข้างของหลุมมีพฤติกรรมเป็น Surcharge ที่กระทํากับ
ดินก้นหลุม โดยถ้าแรงกระทํามากกว่าแรงต้านของดินแล้ว ดินข้างหลุมก็จะสามารถไหลเข้ามาในหลุมได้มีผลทํา
ให้เกิดการพังทลายของงานขุดดิน ดังแสดงในรูปที่ 3.1 สําหรับหลักการที่พิจารณาเสถียรภาพของดินก้นหลุม มี
ดังนี้

รูปที่ 3.1 แสดงเสถียรภาพของงานขุดดินในกรณีดินเหนียวอ่อน

3.1 การหาเสถียรภาพของก้นหลุมโดย Teng ( 1980 )


หลักการของ Teng พิจารณาได้ว่าสําหรับงานดินขุดทีม่ ีชั้นดินเหนียวอ่อนอยูด่ ้านล่างของการ
ขุดดังแสดงในรูปที่ 3.2 จากรูป ค่าของน้ําหนักของดินในรูปแท่งสี่เหลี่ยม abcd จะกระทําเสมือนเป็น
Surcharge ต่อชั้นดินเหนียวอ่อน ซึ่งถ้าค่าของแรงกระทํามีค่าเท่ากับหรือมากกว่าค่าความสามารถในการ
รับแรงต้านทาน ( Bearing Capacity ) จะมีผลทําให้บริเวณด้านล่างการขุดเกิดการพังทลายเนื่องจากการปูด
ของดินก้นหลุม(Heaving) ดังนี้

20
การออกแบบระบบกําแพงกันดิน Sheet Pile งานดินขุด ผศ. ปิยะ รัตนสุวรรณ 30/5/58

รูปที่ 3.2 ลักษณะการเกิด Heave Effect ของ Teng ( 1980 )

เมื่อพิจารณาจากรูป สําหรับดินเหนียวจะได้มวลดิน abcd จะเคลือ่ นตัวลงมาในแนวดิ่ง โดยที่ค่าแรง


เฉือนทีต่ ้านทานการเคลื่อนตัวลงมาของดินตามแนว cd จะมีค่า เท่ากับ S ดังแสดงในรูป Free body
diagram ในรูป
1 ⎛ q ⎞
S = qu1 ⎜⎜ H - u1 ⎟⎟ .......... .......(3. 1)
2 ⎝ γ ⎠

⎛ q ⎞
S = S u1 ⎜⎜ H - u1 ⎟⎟ .......... .......... ..(3.2)
⎝ γ ⎠

qu1 = Unconfined Compressive Strength above Excavation Level = 2Su1

สําหรับค่า แรงต้านทานตามแนว ce จะมีค่าเท่ากับ c หรือ cohesion ของดินเหนียวหรือกําลังรับแรง


เฉือนแบบไม่ระบายน้ํา ( Undrained shear strength , Su ) ดังแสดงในสมการ
q u2
c = Su =
2

qu2 = Unconfined Compressive Strength beneath Excavation Level = 2Su1

21
การออกแบบระบบกําแพงกันดิน Sheet Pile งานดินขุด ผศ. ปิยะ รัตนสุวรรณ 30/5/58

ในการหาเสถียรภาพเพื่อหาค่า Factor of safety ได้จากสมการสมดุลของโมเมนต์รอบจุด b ดังนี้


π B
SB1 + cB1 B1 + q u2 B1 1
Resisting Moment 2 2
F.S = = B1
Active Moment (γH + q )B1
2
2S + 0.5q u2 πB1 + q u2 B1
F.S =
(γH + q )B1
2S + S u2πB1 + 2Su2B1
F.S = .......... ...(3.3)
(γH + q)B1

γ = Total Unit Weight of soil , t/m3


H = Depth of excavation , m
q = Surcharge around the excavation , t/m2
L = Length of Sheet pile below the bottom excavation ,m
D1 = Depth of soil clay beneath excavation ,m
B1 = L เมื่อ L > D1
= D1 เมื่อ L < D1

ค่า F.S ที่แนะนําให้ใช้ไม่ควรน้อยกว่า 1.5

3.2 การหาเสถียรภาพของก้นหลุมโดย Terzaghi ,s Theory ( 1943 )

การหาเสถียรภาพของก้นหลุมจากวิธีนี้อาศัยหลักการของ Bearing Capacity จากแนวคิดของฐานราก


แบบตื้น โดยในขุดทีม่ ีอตั ราส่วนของความลึกในการขุดกับความกว้างการขุด ( H/B ) น้อยกว่า 1.0 จะสามารถ
หาค่า Factor of Safety against Basal Heave ได้จากสมการ

QU 5.7 Su B1
F .S . = = .......... ....(3.4)
(γHB1 − SU H + q ) (γHB1 − Su H + q )

เมื่อ Qu = S u N c B1 = 5.7 S u B1

22
การออกแบบระบบกําแพงกันดิน Sheet Pile งานดินขุด ผศ. ปิยะ รัตนสุวรรณ 30/5/58

Qu = Ultimate Bearing Capacity


Su = Undrained Shear Strength below Excavation Level
Nc = Bearing Capacity Factor = 5.7 for clay

นอกจากนี้ค่า Factor of Safety against Basal Heave สามารถหาได้จากสภาพของงานขุด


ในกรณีต่างๆ ดังแสดงในรูป ที่ 3.3 โดยสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กรณีคือ กรณีที่มชี ั้นดินเหนียวที่มีความ
หนามาก ซึ่งจะพิจารณาว่าเกิดการพังทลายดังแสดงในรูปที่ 3.3 (ก) และกรณีทชี่ ั้นดินอ่อนวางตัวอยู่บนชั้นดิน
แข็งโดยมีความหนาของดินเหนียวอ่อนที่ระดับล่างสุดของการขุดจนถึงชั้นดินแข็งเท่ากับ D ดังแสดงในรูปที่
3.3 (ข)

B
0.7B D
H H
Su1 Su1
Su2 45? 45? Su2 45?
0.7B D

Su 2 N c Su 2 N c
F .S . = ........(3.5) F .S . = ........(3.6)
⎛ Su 1 ⎞ ⎛ Su1 ⎞
H ⎜γ − ⎟ H ⎜γ − ⎟
⎝ 0.7 B ⎠ ⎝ D ⎠

(ก) ชั้นดินอ่อนทีม่ คี วามหนามาก (ข) ชั้นดินเหนียวอ่อนทีม่ ีชั้นดินแข็งรองรับ

รูปที่ 3.3 การหาค่า Factor of Safety against Basal Heave โดยวิธี Terzaghi

3.3 การหาเสถียรภาพของก้นหลุมโดย Bjerrum and Eide ( 1956 )

การพิจารณาเสถียรภาพของงานขุดที่มีขนาดของงานขุดเป็นลักษณะรูปสี่เหลี่ยมจัตุรสั สี่เหลี่ยมผืนผ้า
และวงกลม หรือสําหรับงานขุดทีม่ ีความลึกของการขุดมากกว่าความกว้างในการขุด ( H > B ) หรือ Narrow
Excavation จะสามารถใช้การวิเคราะห์หาเสถียรภาพของก้นหลุมโดย Bjerrum and Eide ( 1956) ซึ่งในการ
วิเคราะห์จะพิจารณาให้การขุดเสมือนเป็นฐานรากที่วางอยู่ในระดับความลึกเท่ากับความลึกของการขุด ( H )
23
การออกแบบระบบกําแพงกันดิน Sheet Pile งานดินขุด ผศ. ปิยะ รัตนสุวรรณ 30/5/58

และทําการวิเคราะห์เสมือนกรณีของฐานรากโดยค่า Factor of Safety against Basal Heave ( F.S.) มีค่าดัง


แสดงในสมการที่ 3.7

c
F .S . = N c .......... .....( 3.7)
γH + q
เมื่อ
Nc = Bearing Capacity Factor
c = Undrained Shear Strength of clay ( t / m2 )
γ = Unit Weight of Soil above the Bottom of Excavation ( t / m3 )
H = Depth of Excavation ( m )
q = Uniform Surcharge Load around Excavation ( t / m2)

โดยค่า Nc สามารถหาได้จากรูปที่ 3.4 และสมการที่ 3.7 ไม่ได้รวมผลของแรงเสียดทานที่เกิดขึ้น


ระหว่างกําแพงกับดินที่อยูร่ อบๆ

N c( rec tan g ) = (0.84 + 0.16( B / L ))N c( square )

L = Length of Excavation

รูปที่ 3.4 Bearing Capacity Factor , N ( after Bjerrum and Eide)

24
การออกแบบระบบกําแพงกันดิน Sheet Pile งานดินขุด ผศ. ปิยะ รัตนสุวรรณ 30/5/58

3.4 กรณีขุดดินเหนียวมีหลายๆชั้น
เมื่อสภาพของการขุดดินผ่านชั้นดินเหนียวหลายชั้น ซึ่งแต่ละชั้นมีค่า หน่วยน้ําหนัก (γt , unit weight
) และค่าแรงยึดเหนี่ยวระหว่างเม็ดดิน ( c , undrained cohesion ) หรือค่าหน่วยแรงเฉือนแบบไม่ระบายน้ํา (
Su , Undrained Shear Strength ) ที่แตกต่างกัน ดังแสดงในรูปที่ 2.12

H1 γ1 Su1 Clay
H2 γ2 Su2 Clay
H
H3 γ3 Su3 Clay
Hn γn Su4 Clay

รูปที่ 2.12 การขุดดิน ในดินเหนียวหลายชัน้


จากรูปกรณีทขี่ ุดดินผ่านดินเหนียวชั้นที่ 1 , 2 , 3 , ……….. , n ซึ่งแต่ละชั้นมีค่าหน่วยน้ําหนัก γ1 , γ2
,γ3,…………,γn ตามลําดับ และค่าหน่วยแรงเฉือนแบบไม่ระบายน้ํา Su1 , Su2 ,Su3,…….,Sun ตามลําดับ ใน
การคํานวณเมื่อต้องการใช้ค่าหน่วยน้ําหนักและค่าหน่วยแรงเฉือนแบบไม่ระบายน้ํา ต้องใช้ค่าหน่วยน้ําหนัก
เฉลี่ย, γave ( Average Unit Weight ) ดังสมการ และค่าหน่วยแรงเฉือนแบบไม่ระบายน้ําเฉลี่ย , Suave (
Average undrained Shear Strength ) ดังสมการ
1
γ a ve = [γ 1H1 + γ 2 H 2 + γ 3 H 3 + ... + γ n H n ]
H
1
Su ave = (Su1H1 + Su 2H2 + Su 3H3 + ... + SunHn )
เมื่อ
H
Su1 , Su2 , Su3 ,…….,Sun = ค่าแรงยึดเหนีย่ วระหว่างเม็ดดินของดินชั้นที่ 1 , 2 , 3 ,………,n ตามลําดับ
γ1 ,γ2 ,γ3,……….., γn = หน่วยน้ําหนักของมวลดิน ชัน้ ที่ 1 , 2 , 3 ,……, n ตามลําดับ
H1 , H2 , H3,……., Hn = ความหนาของดินชั้นที่ 1 ,2 , 3 ,………, n ตามลําดับ
H = ความหนาของชั้นดินทั้งหมด = H1+H2+H3+……….+Hn

25
การออกแบบระบบกําแพงกันดิน Sheet Pile งานดินขุด ผศ. ปิยะ รัตนสุวรรณ 30/5/58

ตัวอย่าง จากข้อมูลของชั้นดิน ความยาวของSheet pile 18.00 ม และขุดดินลึก 9.00 ม ดังแสดงในรูป


กําหนดให้ น้ําหนักของ Surcharge = 1 t/m^2 ให้ตรวจสอบเสถียรภาพของก้นหลุมโดยใช้ทฤษฎี
ของ Teng

0.00 m

γt = 1.62 t / m3
Soft Clay
Su = 1.72 t / m2

-9.00 m
-12.50 m
Medium Clay γt = 1.65 t / m 3 Su = 3.8 t / m2
-15.00 m
γt = 1.80 t / m 3 Su = 13 t / m 2
Very Stiff Clay -18.00 m

วิธที ํา จากสมการเสถียรภาพของ Teng

2S + S u2πB1 + 2Su2B1
F.S = .......... ...(3.3)
(γH + q)B1
จากรูปจะได้ว่า

ความยาวของ sheet pile = 18.00 ม อยู่ในดิน 3 ชั้น


ความลึกทีต่ ้องการขุดดิน(H ) = 9.00 ม
หาค่า S จากสมการ = Su1(H-(qu1)/γ) ………..(3.2)
Su1 = Undrained Shear Strength ของชั้นดินเหนือระดับขุดดิน
= 1.72 t/m^2
H = ความลึกของการขุดดิน
= 9.00 m
qu1 = Unconfined compressive strengthของชั้นดินเหนือระดับ
ขุดดิน
= 2Su1 = 2x1.72 = 3.44 t/m^2
26
การออกแบบระบบกําแพงกันดิน Sheet Pile งานดินขุด ผศ. ปิยะ รัตนสุวรรณ 30/5/58

γ = Unit weight ของชั้นดินเหนือระดับขุดดิน


= 1.62 t/m^3
แทนค่าในสมการ 3.2 ได้ S = 11.827 t /m^2
B1 = ความกว้างของมวลดินที่จะกดทับลงมานอกบริเวณขุดดิน
D1 = ความยาวของ Sheet pileใต้ระดับที่ขดุ ดิน
= 18.00-9.00 = 9.00 m = B1
q = 1 t/m^2
Su2 = Undrained Shear Strength ของดินใต้ระดับขุดดินถึงระดับ
ปลายของ Sheet pile.
= เป็นดิน 3 ชั้น ชั้นที1่ Soft clay หนา 12.5-9.00 = 3.5 m
ชั้นที2่ Medium clay หนา 2.50 m และชั้นที่ 3 Very Stiff
Clay หนา 3.00 m
= ดังนั้นใช้ค่า Suave = 6.06 t/m^2
แทนค่าลงในสมการที่ 3.3
F.S = 2.12 > 1.5 O.K.

27
การออกแบบระบบกําแพงกันดิน Sheet Pile งานดินขุด ผศ. ปิยะ รัตนสุวรรณ 30/5/58

บทที่ 4
การออกแบบระบบค้ํายันเข็มพืด
( Design of Sheet Pile Bracing System )
4.1 ระบบค้ํายันเข็มพืด ( Sheet Pile Bracing System) ระบบค้ํายัน Sheet Pile ที่ใช้สําหรับงานดินขุด
จะประกอบด้วย
Sheet Pile
Wale
Strut
King Post
Platform
ลักษณะของงานขุดโดยใช้ระบบค้ํายันเข็มพืด แสดงในรูป ที่ 4.1 .

รูปที่ 4.1 แสดงส่วนประกอบต่างๆของระบบค้ํายันเข็มพืด

  28
การออกแบบระบบกําแพงกันดิน Sheet Pile งานดินขุด ผศ. ปิยะ รัตนสุวรรณ 30/5/58

ประกอบด้วย

1. เข็มพืด ( Sheet Pile) เป็นแผ่นเหล็กลอนรูปต่างๆ มีความยาวตามกําหนดใช้ตอกในแนวดิ่ง สําหรับ


ป้องกันแรงดันน้ํา และแรงดันดิน ที่กระทําตามความลึกของการขุด
2. เหล็กค้ํายันรอบ (Wale) เป็นส่วนของโครงสร้างที่ต้านแรงกระทําทางด้านข้างจากเข็มพืด (Sheet Pile)
ซึ่งจะถ่ายแรงดันดินที่กระทํากับ Sheet Pile ให้เป็นแรงกระจาย (uniform horizontal force) เข้าสู่
เหล็กค้ํายันรอบ (Wale) รูปร่างของ Wale ส่วนใหญ่จะเป็น H - Beam และยาวตลอดเพื่อให้การถ่าย
แรงได้สมบูรณ์
3. เหล็กค้ํายัน (Strut) เป็นส่วนโครงสร้างที่รับแรงแนวแกนทีถ่ ่ายจากเหล็กค้ํายันรอบ (Wale) และรับแรง
แนวดิ่งที่ถ่ายจากแผ่นเหล็กพืน้ (Platform) ซึ่งนํามาวางบนเหล็กค้ํายัน (Strut) เพื่อใช้ประโยชน์ต่างๆ ใน
ขั้นตอนการก่อสร้างเหล็กค้ํายัน (Strut) โดยทั่วไปจะมี 2 ชนิด คือ เหล็กค้าํ ยันตามแนวยาว และเหล็กค้าํ
ยันตามแนวขวางและแบ่งเป็นชั้น ๆ ตามระดับความลึก
4. เสาเหล็กหลัก (Kingpost) เป็นส่วนที่รับแรงจากเหล็กค้ํายัน (Strut) ในแนวดิ่งแล้วถ่ายลงสู่ดินทําหน้าที่
เหมือนเสาในอาคารขนาดใหญ่ ยังสามารถใช้เป็นฐานรากในการรับปั้นจั่นเสาสูง (Tower Crane) ในการ
ลําเลียงวัสดุและสิ่งต่างๆ ได้อกี ด้วย
5. แผ่นเหล็กพืน้ (Platform) เป็นโครงสร้างทีป่ ระกอบด้วยตงเหล็กและแผ่นเหล็กที่นํามาเชื่อมติดกันทํา
หน้าที่เหมือนพื้นวางอยู่บนเหล็กค้ํายัน (Strut) เพื่อใช้ประโยชน์ในการขุดดินการขนส่งวัสดุ และอื่นๆ ฯลฯ
ระบบค้ํายันที่ใช้อยู่ทั่วไปในประเทศไทยมีอยู่ด้วยกัน 2 ระบบ ทีใ่ ช้คือ
1 ระบบการเชือ่ ม ( Welding ) ซึ่งจะทําการต่อ Strut และ Wale ด้วยวิธีการเชื่อม ดังแสดงในรูปที่ 4.2

รูปที่ 4.2 ระบบการเชื่อมค้าํ ยัน ( Welding )

  29
การออกแบบระบบกําแพงกันดิน Sheet Pile งานดินขุด ผศ. ปิยะ รัตนสุวรรณ 30/5/58

2 ระบบเจาะรูขันน๊อต( Bolt and Nut ) ซึ่งการต่อของ Strut และ Wale จะใช้ Bolt and Nut และมีแผ่น
เหล็กประกบอยู่ดัง แสดงในรูปที่ 4.3

รูปที่ 4.3 ระบบเจาะรูขันน๊อต ( Bolt and Nut )


ระบบทั้งสองชนิดมีความต่างกันที่ ระบบเชือ่ มนั้นสามารถใช้ค้ํายันชั้นหนึง่ หรือชั้นแรกร่วมกับ
Platform ได้ ในขณะที่ระบบ Bolt and Nut นั้นจะไม่สามารถรวมค้าํ ยันชั้นหนึ่งกับ Platform ได้ ต้องแยก
ระบบ Platform ออกจากระบบค้ํายัน
4.2 พฤติกรรมการถ่ายแรงของระบบค้ํายันเข็มพืด
เข็มพืดทีใ่ ช้ในประเทศไทยมีอยู่ 2 ระบบ คือ ระบบรวม Platform กับค้ํายันชั้นที่ 1 ดังแสดงในรูป ที่
4.4 และระบบแยก Platform ออกจากระบบค้ํายัน ดังแสดงในรูป ที่ 4.5
ซึ่งจะเห็นได้ว่าระบบแยก Platform ออกจากค้ํายันจะทําให้แรงกระทําจากน้ําหนักรถบรรทุกที่ถ่ายลง
Platform จะถ่ายลงสู่ King Post และจะไม่มีผลกระทบต่อค้ํายัน ( Strut ) ในชั้นที่ 1 เลย ในขณะทีร่ ะบบรวม
Platform กับค้ํายันในชั้นที่ 1นั้นจะมีการถ่ายแรงจาก Platform ลงสู่ Strut ชั้นที่ 1 และ King Post แต่จะไม่
ถ่ายลงสู่ Strut หรือค้ํายันชั้นอื่นๆ

  30
การออกแบบระบบกําแพงกันดิน Sheet Pile งานดินขุด ผศ. ปิยะ รัตนสุวรรณ 30/5/58

รูปที่ 4.4 ระบบรวม Platform กับค้ํายันชั้นที่ 1.


เมื่อแรงดันดินกระทํากับ Sheet Pile แรงดันจาก Sheet pile จะถ่ายไปสู่ระบบ Wale ซึ่ง Wale จะ
เป็นคานเหล็กต่อเนื่อง จากนัน้ จึงถ่ายแรงกระทําไปสู่ค้ํายัน ( Strut ) แรงจากค้ํายันจะถ่ายจากด้านหนึ่งไปอีก
ด้านหนึ่งโดยใช้ King Post เป็นจุดยึด ( pin point) เพื่อวัตถุประสงค์ในการลดความยาวประสิทธิผล (
Effective Length ) ของค้ํายัน ดังนั้นบริเวณจุดตัดระหว่าง Strut กับ King Post ต้องไม่ทําการเชือ่ มติดกัน
โดยต้องออกแบบให้ค้ํายันมีลกั ษณะเป็น Sliding Strut คือ เลือ่ นไปมาโดยมีหชู ้างหรือที่รองรับ ( Support )
จากKing Post โดยทําเหล็กรัดรอบหลวมๆ

รูปที่ 4.5 ระบบแยก Platform ออกจากค้ํายัน

  31
การออกแบบระบบกําแพงกันดิน Sheet Pile งานดินขุด ผศ. ปิยะ รัตนสุวรรณ 30/5/58

4.3 การออกแบบระบบค้ํายัน
หากจะเปรียบเทียบระบบค้ํายันกับโครงสร้างอาคารจะสามารถสรุปได้ดงั นี้
แรงกระทํา มาจากแรงดันดินด้านข้าง(ใช้ทฤษฎี Modify Rankine Model 3 )
เข็มพืดเหล็ก(Sheet เกิดจากแรงกระทําของแรงดันดินสามารถนํามาออกแบบความยาวและขนาดของ Sheet
Pile ) Pile
Wale เป็นคานรัดขวางกับ Sheet Pile เพื่อถ่ายแรงจากเข้มพืดเหล็ก( Sheet Pile ) เพื่อให้
ถ่ายแรงจาก Uniform load มาเป็น Line load และถ่ายสู่ระบบค้ํายัน ( Strut )
ค้ํายัน (Strut) รับแรงจาก Wale ที่เป็น Line load โดยถ่ายแรงจาก Strut ด้านหนึ่งไปสู่ Strut อีกด้าน
หนึ่ง โดย Strut จะมี Kingpost เป็นจุด Pin Point เพื่อเป็นโครงครอบ Strut ให้เลื่อน
ไปมา ( Sliding ) กับ Kingpost โดยไม่อนุญาตให้เชือ่ ม Strut ยึดกับ Kingpost
เด็ดขาด เนือ่ งจากแรงดันดินอาจจะไม่สมดุลย์และจะดึงรัง้ หรือดันให้ Kingpost พังทลาย
มา ทําให้ระบบพังทันที Strut หรือ ค้ํายันจะวางอยู่บน Kingpost เท่านั้น โดยใช้หชู ้าง
หรือ Support ที่เชือ่ มกับ Kingpost รับน้ําหนักของ Strut เท่านั้น

4.3.1 การออกแบบ Sheet pile


4.3.1.1 การออกแบบความยาว Sheet pile
การออกแบบความยาว Sheet pile ต้องทราบแรงดันที่กระทําด้านข้างของดิน ซึ่งตามความเห็นของ วันชัย
(2539, 2543) แนะนําให้ใช้ Modify Rankine Active Earth Pressure หรือ Modify Apparent Earth
Diagram สําหรับกรณีดินเหนียวอ่อน เช่นดินเหนียวอ่อนกรุงเทพ ในส่วนของการออกแบบความยาว Sheet
pile สามารถคํานวณได้จากหลักการ 2 หลักการ คือ
ก. วิเคราะห์การสมดุลย์ของแรง ทั้ง Active และ Passive วิเคราะห์ Net Active Earth Pressure
แนะนําใช้ค่าเท่ากับ γh + q – 2c ซึ่งเท่ากับ วิธี Modify Apparent Earth Pressure Diagram
และกําหนดระดับค้ํายัน ( Strut Level ) จากนั้นทําการวิเคราะห์สมการโดยอาศัยทฤษฎีแรงดันดิน
สมดุลย์ด้านข้าง ΣFx =0 และโมเมนต์สมดุลย์ ΣMO =0 ก็สามารถหาความยาว Sheet Pile ที่
เหมาะสมได้

  32
การออกแบบระบบกําแพงกันดิน Sheet Pile งานดินขุด ผศ. ปิยะ รัตนสุวรรณ 30/5/58

ข. วิเคราะห์หาความยาวโดยตรวจสอบการเกิด Heave ไหลลอดผ่านใต้ Sheet pile ( Heave Effect)


แนะนําให้ใช้วิธีของ Teng.
4.3.1.2 การออกแบบหาขนาดของ Sheet pile
การออกแบบหาขนาดของ Sheet pile กระทําได้โดยการหา โมเมนต์ ที่เกิดขึ้นกับ Sheet pile อัน
เนื่องจากแรงกระทําของดินโดยอาศัย Modify Apparent Earth Pressure Diagram หลักการในการ
ออกแบบคือ ให้เข็มพืดเป็นคานอันหนึ่ง ที่รับแรงดันดินทางด้านข้าง โดยมีจดุ รับแรงดันด้านข้าง คือ ค้ํายัน
หรือ Strut และมีดินรองรับในส่วนใต้ระดับขุดด้านล่าง ( ดังแสดงในรูปที่ 4.6) โดยสภาพที่ปลายเข็มพืดจะ
พิจารณาเป็น Fixed End ถ้าระบบเข็มพืดเป็น Fixed End จะพบว่าจุดที่ความลึกสุดท้ายในการขุดจะมีสภาพ
เป็น Hinge แต่ทั้งนี้จะต้องเท คอนกรีตหยาบ ( Lean Concrete ) ป้องกันไว้ด้วย ถ้าเข็มพืดเป็นระบบ Free
End หรือปลายเข็มพืดไม่ยดึ ลงในดินแข็ง เช่น ดินเหนียวกรุงเทพ ( BKK stiff Clay ) การวิเคราะห์จะต้องทํา
การวิเคราะห์โดยวิธี Analysis Indeterminate Structure เพื่อหาค่า โมเมนต์ในแต่ละ Node และหาค่า
Maximum Bending Moment ต่อไป จากค่า โมเมนต์ดดั สูงสุด ที่กระทํากับ Sheet pile จะสามารถ
คํานวณหา Section Modulus ที่ตอ้ งการได้

Strut
Bending Moment

2
Mmax = Ph. Hmax
H 10

Fictitious Support Assumed hinge

รูปที่ 4.6 Design of Continuous Sheet Pile


4.3.2 การออกแบบ Wale
Wale จะออกแบบเพื่อให้ต้านแรงดันด้านข้างจาก Sheet pile ซึ่งจะถ่ายแรงดันดินที่กระทํากับ Sheet
pile ให้เป็น Uniform Horizontal Force เข้าสู่ Wale รูปร่างของ Wale ส่วนใหญ่จะเป็น H-Beam และยาว
ตลอดเพื่อให้ถา่ ยแรงได้สมบูรณ์ โดยปกติแล้ว Wale จะปฏิบัตติ ัวเองเช่นคานต่อเนือ่ งที่จะรับแรง Bending
moment เท่านั้น เนือ่ งจากจะทํา ตัวเป็นโครงสร้างทีถ่ ่ายแรง Uniform load จากแรงดันดินให้ถ่ายไปสู่
  33
การออกแบบระบบกําแพงกันดิน Sheet Pile งานดินขุด ผศ. ปิยะ รัตนสุวรรณ 30/5/58

ค้ํายัน หรือ Strut นอกจาก Moment จากแรงดันด้านข้างแล้ว ในกรณีงานดินขุดรูปสามเหลี่ยม ( มิใช่การ


ขุดยาวตลอด หรือ Trench) จะยังมีแรง Axial Force ใน Wale เกิดขึ้นด้วย เนือ่ งจากมีแรงกระทําจากจุดตั้ง
ฉากบริเวณจุดเปลี่ยนมุม ทําให้ Wale มีสภาพเป็น Combined Bending & Compression Member ดังนั้น
การออกแบบเพื่อหาขนาด Wale จะคํานวรโดยให้ Wale มีความยาวต่อเนื่อง ( Continuous Beam) รับแรง
ทั้งในแนวราบ ( Lateral Force) และในแนวแกน ( Axial Force) ดังแสดงในรูปที่ 4.7

Sheet Pile

Wale

Strut
L/3 L/3 L/3
L

Horizontal Force
Axial Force

L/3 L/3 L/3

รูปที่ 4.7 รูปแบบการวิเคราะห์แรงกระทําที่เกิดขึ้นใน Wale


ขนาดของ Wale จะเปลี่ยนแปลงขึ้นอยูก่ ับระยะของค้าํ ยัน ( bracing) หรือระยะห่างของ Strut
โดยทั่วๆไปแล้วการออกแบบค้ํายันหรือ Strut จะออกแบบเพื่อให้ระยะค้ํายันใน Wale สั้นลงโดยออกแบบ
ให้ใช้ค้ํายันจาก Strut เป็นรูปตัว Y บริเวณที่ค้ํายันกับ Wale ดังแสดงในรูปที่ 4.7
4.3.2.1 การกําหนดช่วงความยาวของ Wale
ช่วงความยาวของ Wale นั้น ขึ้นอยู่กับระยะห่างของ Strut เป็นหลัก หรือค่า Horizontal Spacing
ในสภาพการก่อสร้างจริงที่ปรากฏของ Strut โดยทั่วๆ ไป จะจัดเป็นรูป Y โดยแต่ละข้างทํามุมกางออกไป
ประมาณ 45o เฉพาะช่วงคานสุดท้ายของค้ํายันเท่านั้น ทั้งนี้เพื่อลดช่องความยาวคานหรือ Span Length
  34
การออกแบบระบบกําแพงกันดิน Sheet Pile งานดินขุด ผศ. ปิยะ รัตนสุวรรณ 30/5/58

ของ Wale ให้ลดลง เพื่อความประหยัดโดยจะไม่ต้องให้หน้าตัดขนาดใหญ่ขึ้น ดังนั้นจะพบว่าความยาวของ


Wale ในการออกแบบโดยทั่วๆ ไป มีค่าเท่ากับ ( Horizontal Spacing)ของค้ํายัน / 3
4.3.2.2 ค่า Uniform Load จากแรงดันดิน
ค่า Uniform Load จากแรงดันดิน ที่กระทําต่อ Wale นั้น จะมีค่าเท่ากับ Load per Meter ของ
Strut ในแต่ละ Layer ที่คํานวณได้ ซึ่งจะก่อให้เกิดค่า Maximum Bending Moment ใน Wale เท่ากับ
WL2
M max = .......... .( 4.1 )
10

เมื่อ W = Uniform Load on Wale ( t / m )


L = Horizontal Spacing ของค้ํายัน / 3

4.3.2.3 การเลือกขนาดของ Wale


การออกแบบ Combined Compression & Bending Moment ตามมาตรฐานกําหนดของ AISC ได้
กําหนดมาตรฐานสําหรับโครงสร้างส่วนที่รับแรงอัดและโมเมนต์ดดั ไว้ดงั นี้

fa
ถ้า 〉 0.15 แล้ว
Fa

fa Cm f b
+ 〈 1 .0 .......... .( 4.2 )
Fa ⎛ f ⎞
Fb ⎜⎜ 1 − a ⎟⎟
⎝ Fe ⎠

fa f
+ b 〈 1.0 .......... ...( 4.3 )
0.6 Fa Fb

fa
ถ้า ≤ 0.15 แล้ว
Fa

  35
การออกแบบระบบกําแพงกันดิน Sheet Pile งานดินขุด ผศ. ปิยะ รัตนสุวรรณ 30/5/58

fa f
+ b 〈 1.0 .......... ....( 4.4 )
Fa Fb

เมื่อ fa = หน่วยแรงอัดที่เกิดขึ้นจริง ( โดยรวมหน่วยแรงอัดใน Wale กับหน่วยแรงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลง


อุณหภูมิ )
fb = หน่วยแรงดัดที่เกิดขึ้นจริง

Fa = หน่วยแรงอัดที่ยอมให้

12π 2 E
Fa = 2
.......... ....(4.5)
⎛ KL ⎞
23⎜ ⎟
⎝ r ⎠

Fy = กําลังจุดคลากของเหล็ก ( ksc) สําหรับเหล็ก A36 : Fy = 2520 ksc

E = 2.1 X 106 ksc


K = ตัวคูณประกอบของความยาวประสิทธิผล
L = ความยาวอิสระ
r = รัศมีใจเรชั่นรอบแกนที่เกิดโมเมนต์ดัด
Cm = ค่าสัมประสิทธิ ( Modification Factor) ซึ่งในที่นี้ กําหนด Cm = 1.0
ดังนั้นในการออกแบบ ผู้ออกแบบจะต้องคํานึงถึงแรงกระทํากับ Wale ทั้งหมด โดยในการ
ออกแบบ ผูอ้ อกแบบจะต้องศึกษารูปร่างของการจัด Sheet Pile ว่ามีรูปร่างอย่างไร มีการถ่ายหน่วยแรงอัดเข้า
ในคานหรือไม่ และผลของอุณหภูมิเปลี่ยนแปลงจะมากน้อยเพียงใด ในกรณีงานขุดร่องน้ําหรือวางท่อต่างๆ
ผลกระทบจากหน่วยแรงอัดใน Wale และผลจากการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิจะไม่นํามาพิจารณาในการออกแบบ
คุณสมบัติและลักษณะของเหล็ก Wide Flange ที่จําหน่ายในเมืองไทย แสดงในภาคผนวก ก
4.3.2.4 การพิจารณาผลการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมติ ่อแรงอัดใน Wale
เนื่องจาก Wale เป็นโครงสร้างเหล็กที่สามารถขยายตัวหรือหดตัวได้ เมือ่ อุณหภูมิของอากาศ
เปลี่ยนแปลง จึงมีความจําเป็นที่ต้องพิจารณาผลของอุณหภูมิ เนือ่ งจากงานก่อสร้างในประเทศไทยมีอากาศ

  36
การออกแบบระบบกําแพงกันดิน Sheet Pile งานดินขุด ผศ. ปิยะ รัตนสุวรรณ 30/5/58

ร้อนมากอยู่แล้ว ความสัมพันธ์ระหว่าง Stress ที่เกิดขึ้นภายในโครงสร้างกับอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงไปสามารถ


ประมาณได้ ดังนี้ ( Teparaksa , 1995 )
Δσ = 0.000011xEs xΔt ...................(4.6 )

เมื่อ Δt = อุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงในหน่วยองศา C มีคา่ ในการออกแบบทั่วๆไป = 5o C

Es = โมดูลสั ของเหล็ก ( ksc)

ดังนั้น Δσ = 0.000011x 2.1x10 6 x5 = 116 ksc

4.3.2.5 การคิดกําลัง Over Stress ของโครงสร้างเหล็ก


เนื่องจากโครงสร้างเหล็กในระบบป้องกันดินนั้น เป็นระบบโครงสร้างชัว่ คราว ( Temporary Work)
ดังนั้นในการออกแบบ บางครั้งจึงยอมให้เกิดการ Over Stress ได้ แต่ไม่ควรเกิน 30 % ( Teng , 1980 ) ทั้งนี้
เพื่อความปลอดภัยในตัวงานเอง ถ้าผูอ้ อกแบบยอมให้เกิดค่า Over Stress จะได้ค่า Acting Axial Stress จะ
ลดลงดังนี้
Force
F = .......... ......( 4.7 )
1.3 xArea

4.3.3 การออกแบบ Strut


ค้ํายัน หรือ Strut จะรับแรงดันดินหรือกระทําผ่าน Sheet Pile และแปลงแรงกระทําจาก Uniform
load โดย Wale ให้เป็น Line load หรือ point load เข้าสู่ค้ํายัน หรือ Strut การออกแบบ Strut
อาจจะแยกเป็นสองส่วน คือ Strut ชั้นบนสุดและ Strut ระดับล่างๆ โดย Strut ชั้นล่างๆนั้นจะเป็นระบบ
Sliding โดยจะออกแบบให้รบั แรงจากแรงดันดินที่ถ่ายมาจาก Wale และกระทํากับค้ํายันในแนว Axial Force
เท่านั้น แต่ในส่วนของ Strut ระดับบนสุดหากเป็นในกรณีที่แยก Platform จาก Strut ( รูปที่ 4.5 ) การ
ออกแบบ Strut ชั้นบนนี้ นอกจากจะออกแบบให้รับ Axial Force แล้ว ยังต้องออกแบบให้รับน้ําหนักจาก
Platform ที่จัดทําขึ้นเพือ่ ให้เครื่องจักรเข้ามาทําการขุดดินและขนส่งออกนอกโครงการ การประมาณแรงกระทํา
ใน Strut สามารถประมาณได้จาก Modify Apparent Pressure Diagram ดังแสดงในรูปที่ 4.8. โดยแบ่ง

  37
การออกแบบระบบกําแพงกันดิน Sheet Pile งานดินขุด ผศ. ปิยะ รัตนสุวรรณ 30/5/58

แรงดันดินออกเป็นช่วงๆ ตามตําแหน่งค้ํายันโดยแบ่งบริเวณ ณ จุดกึ่งกลางของระดับค้ํายันแต่ละชั้น และ


เปลี่ยนแรงดันดินไปเป็นแรงในค้ํายันได้ดังแสดงในรูปที่ 4.8.

RA A LA RA A PA
L1 2
L1
RB B RB B PB
LB
L2 2
L2
RC C RC C PC
LC L3 2
L3
RD D RD D PD
LD
L4 L4 2

REACTIONS APPARENT EARTH PRESSURES


R A RB R C RD
P A = R A etc.
LA

รูปที่ 4.8 การเปลี่ยนแรงดันปรากฏไปเป็นแรงดันดินด้านข้าง

ตัวอย่างในรูป 4.8 ประกอบด้วยค้ํายัน หรือ Strut จํานวน 4 ชั้น คือ RA , RB , RC และ RD โดยจะ
พบว่าค้ํายัน RA จะรับแรงดันดินกระทําในส่วนระยะ LA , ค้ํายัน RB จะรับแรงดันดินกระทําในส่วนระยะ LB , ค้ํา
ยัน RC จะรับแรงดันดินกระทําในส่วนระยะ LC , ในขณะทีค่ ้ํายัน RD จะรับแรงดันดินในส่วนระยะ LD ซึ่งสุดท้าย
จะเห็นว่าแรงดันดินส่วนล่างใต้ระยะ LD หรือแรงดันเท่ากับ L4/2 ไม่ได้ถ่ายแรงให้คา้ํ ยันอะไรเลย ดังนั้นการ
ออกแบบ Strut จะต้องออกแบบ Lean Concrete หรือคอนกรีตหยาบ ที่เทกับพื้นดินขุด ให้รบั แรงในส่วน
ระยะ L4/2 นี้
Strut ต้องออกแบบให้มีจดุ ยึดเพื่อป้องกันการเกิดการโก่งของโครงสร้างซึ่งจุดทีจ่ ะยึดโครงสร้าง คือจุด
ที่ตดิ ตั้ง King Post โดย King Post จะออกแบบให้เป็นระบบเลือ่ น( Sliding Strut ) โดย Strut จะวางอยู่บน

  38
การออกแบบระบบกําแพงกันดิน Sheet Pile งานดินขุด ผศ. ปิยะ รัตนสุวรรณ 30/5/58

King Post ดังแสดงในรูปที่ 4.5 โดยกําหนดในรูปของ L/r ( L = ระยะห่างระหว่าง King Post ในขณะที่ r =
รัศมีใจเรชั่น หรือ Radius of jyration ของค้ํายัน ) เพื่อหาตําแหน่งที่จะติดตั้ง King Post ทั้งในแนวตั้งฉากและ
ในแนวเดียวกับแนวของ Strut ระยะห่างของ King Post หรือจุดยึดต้องห่างเพียงพอให้เครือ่ งจักรสามารถ
ทํางานขุดได้ เช่น ประมาณ 6 เมตร การออกแบบมีรายละเอียดดังนี้
4.3.3.1 การเลือกขนาดของหน้าตัด Strut
จะพิจารณาหาขนาดของหน้าตัดที่เล็กที่สดุ ที่มีค่าหน่วยแรงที่ยอมให้มากกว่าหน่วยแรงที่เกิดขึ้นจริง
ตามมาตรฐาน AISC ที่กําหนดไว้ เหมือนเช่นในการออกแบบ Wale
4.3.3.2 การพิจารณาผลการเปลีย่ นแปลงอุณหภูมิสูงขึน้
เช่นเดียวกับทีก่ ล่าวมาแล้ว ในเรื่องการออกแบบ Wale ค่า Axial Stress จะต้องเพิ่มไป เท่ากับ 116
ksc เนื่องจากอุณหภูมสิ ูงขึ้น
4.3.3.3 การคิด Over Stress ใน Strut
ถ้ายอมให้ Over Stress 30 % การคิด Over Stress นั้น หลักการและเหตุผลคิดเช่นเดียวกับกรณีใน
Wale แต่เพือ่ ความปลอดภัยของโครงสร้างจึงจะกําหนดให้คิด Over Stress เฉพาะในแรงอัดเท่านั้น ไม่รวมถึง
Bending Stress และ พิจารณาเฉพาะในแกน Y เท่านั้น
4.3.3.4 การจัดวางระบบค้ํายัน ( Strut )
การจัดวางระบบระบบค้ํายัน ( Strut ) มีด้วยกันหลายระบบ แต่ละระบบก็มีข้อดี ข้อเสียแตกต่างกันไป
แต่ที่นิยมใช้กันมีดังนี้

รูปที่ 4.9 การจัดวางระบบค้ํายัน ( Strut ) แบบที่ 1


  39
การออกแบบระบบกําแพงกันดิน Sheet Pile งานดินขุด ผศ. ปิยะ รัตนสุวรรณ 30/5/58

แบบที่ 1 ดังแสดงในรูปที่ 4.9


ก วางค้ํายันตามแนวเส้นกริด เพื่อป้องกันการเกิด buckling ในแนวราบ
ข ตรงจุดตัดของ Strut มี Kingpost เพื่อป้องกันการเกิด buckling ในแนวดิ่ง
ค. ที่ปลายของ Strut เป็นรูปตัว Y เพื่อลดระยะของ Wale

รูปที่ 4.10 การจัดวางระบบค้ํายัน ( Strut ) แบบที่ 2


แบบที่ 2 ดังแสดงในรูปที่ 4.10
ก. การเพิ่ม Strut แต่ละแนว จะเป็นการเพิ่มความแข็งแกร่ง ระยะความยาวอิสระ ลดลง
ข. เพิ่มระยะห่างระหว่าง Strut มากขึ้น เพิ่มพืน้ ที่ในการทํางานมากขึ้น

  40
การออกแบบระบบกําแพงกันดิน Sheet Pile งานดินขุด ผศ. ปิยะ รัตนสุวรรณ 30/5/58

รูปที่ 4.11 การจัดวางระบบค้ํายัน ( Strut ) แบบที่ 3

แบบที่ 3 ดังแสดงในรูปที่ 4.11


ก. ใช้เฉพาะ Strut ในแนวเอียงเพิ่มพื้นที่ในการทํางานมากขึ้น
ข. เพิ่มขนาดของ Wale เมื่อ ระยะห่างระหว่าง Strut มากขึ้น
ค. เกิดแรงเฉือนมากขึ้นบริเวณรอยต่อระหว่าง Strut และ Wale
ง. ไม่นิยมในบริเวณดินขุดเป็นบริเวณกว้าง
4.4 การออกแบบ King Post
King Post คือเสาที่ค้ําระบบค้ํายันทั้งหมด ในขณะเดียวกัน King Post จะเป็นเสาหลักที่รับน้ําหนักบรรทุก
จาก Platform หรือรถบรรทุก , รถตักดิน ,ขนดิน หรือแม้กระทั่งกองทราย กองเหล็กที่วางบน Platform และ
จะถ่ายลงสูช่ ั้นดินข้างล่าง ในการก่อสร้าง King Post จะต้องทําการตอกลงในดินเป็นลําดับแรก เพื่อทําการ
ขนส่งและขุดดิน การตอกเสา King Post จะทําการตอกโดยใช้เครือ่ งตอก Vibro Hammer ( มีขนาด 3 ตัน ,
5 ตัน และ 7 ตัน ) จะไม่ใช้ปั่นจั่นตอกเสาเข็มเป็นอันขาด ซึ่งในชั้นดินกรุงเทพ เสา King Post จะต้องได้ลึก
ประมาณ 18-20 เมตร จากระดับผิวดิน

  41
การออกแบบระบบกําแพงกันดิน Sheet Pile งานดินขุด ผศ. ปิยะ รัตนสุวรรณ 30/5/58

4.4.1 การจัดวาง King Post และน้ําหนักบรรทุกบน Platform


การออกแบบ King Post จะกําหนดระยะห่างจากการคํานวณแรงใน Strut ดังได้กล่าวมาแล้ว การจัดวาง
King Post อาจจะออกแบบให้รับแรงจาก 2 ระบบคือ
ก. King Post สําหรับรับน้ําหนักบรรทุกจาก Platform ( น้ําหนักรถต่างๆ ที่ทํางานในโครงการ )
ข. King Post สําหรับยึด Strut ให้เลือ่ นไถล ได้สะดวกและรับน้ําหนักเหล็กของโครงสร้าง Strut
จุดสําคัญในการออกแบบ King Post คือ ขนาด Section ที่กําหนด ต้องสามารถรับแรงที่เกิดจาก
Platform และ ที่ความลึกเท่าใด กําลังรับน้ําหนักบรรทุกปลอดภัยของ King Post ในส่วนจมใต้ดินขุด จึงจะ
รับน้ําหนักบรรทุกจาก Platform ได้
สําหรับน้ําหนักที่ถ่ายจาก Platform ลงสูเ่ สา King Post ได้แสดงในรูปที่ 4.12. น้ําหนักบรรทุกบน
Platform โดยส่วนใหญ่เกิดจากแรงกระทําของรถขนดิน รถขุดดิน ( น้าํ หนักประมาณ 40 ตัน/คัน )เครื่องจักร
อื่นๆ เช่นรถเครนยกวัสดุ (น้ําหนักประมาณ 60 ตัน/คัน ) และเสาเข็มทีต่ ัดแล้ว รวมทั้งกองทราย กองเหล็ก
น้ําหนักบรรทุก บน Platform ( Surcharge = q ) ดังกล่าว พบว่า สําหรับในงานดินขุดลึกใน กรุงเทพ ตัว
ระบบค้ํายัน Sheet Pile สามารถใช้เท่ากับ 2 ตันต่อตารางเมตร ( วันชัย 2538 ) โดยหากพิจารณา จากพื้นที่
ของการจัดการ Platform ในรูปที่ 4.12 จะพบว่า น้ําหนักบรรทุกที่ถ่ายส่ง King Post 1 ต้น จะมีคา่ เท่ากับ q
x L x L/2 หรือ 2 x L x L/2 ตันต่อ ต้น

L Strut

King Post
L
Platform

รูปที่ 4.12 การถ่ายน้ําหนักบรรทุกจาก Platform ลงสู่ King Post


4.4.2 การออกแบบกําลังรับน้ําหนักบรรทุกของ King Post

  42
การออกแบบระบบกําแพงกันดิน Sheet Pile งานดินขุด ผศ. ปิยะ รัตนสุวรรณ 30/5/58

การออกแบบ King Post จะออกแบบให้รบั แรงเฉพาะในแนวแกนเท่านั้น ( Axial Force) คือน้ําหนัก


จาก Surcharge ชอง Platform เท่านั้น ดังนั้นจะพบว่า King Post ก็คือเสาเข็มนัน่ เองหลักการคํานวณใช้
หลักการเดียวกับการออกแบบเสาเข็มโดยแยกออกเป็นแรงเสียดทานผิวของเสาเข็ม ( Skin Friction) และแรง
ปลายเสาเข็ม ( End Bearing Capacity) ส่วนของแรงเสียดทานผิวของ King Post จะคํานึงเฉพาะในส่วนที่
ลึกต่ํากว่าระดับดินขุดเท่านั้น การคํานวณกําลังรับน้ําหนัก ของKing Post ได้จาก
QU = Q P + QS .......... ......( 4.8 )

QP = 9 SU AP (ก รณีปลาย KingPost จมอยูในชันดินเหนียว)

QP = N qσ v/ AP (ก รณีปลาย KingPost จมอยูในชันดินทราย)

QS = p(∑ αSuΔL) (ก รณีหาแรงเสียดทานผิวในชั้นดินเหนียว)

( )
QS = p ∑ Ksσ v/ tanδ (ΔL) (ก รณีหาแรงเเสียดทานผิวในชั้นดินทราย)

QU
Qall = .............( 4.9 )
SF

เมื่อ
Qu = กําลังรับน้ําหนักบรรทุกประลัย ( Ultimate Pile Capacity ) ( ตัน)

QP = กําลังรับน้ําหนักบรรทุกปลายเสาเข็ม ( End Bearing Capacity ) ( ตัน)

QS = กําลังรับน้ําหนักบรรทุกผิวเสียดทาน ( Ultimate Skin Friction) ( ตัน)

p = เสันรอบรูปของเสาเข็ม ( Perimeter of King Post ) ( ม )

α = Adhesion Factor

Nq = Bearing Coefficient

Su = กําลังรับแรงเฉือนของดิน ( Undrained Shear Strength)( ตันต่อตาราง

  43
การออกแบบระบบกําแพงกันดิน Sheet Pile งานดินขุด ผศ. ปิยะ รัตนสุวรรณ 30/5/58

เมตร)

ΔL = ความยาวของ King Post ในแต่ละชั้นดินที่พิจารณา ( Length of King Post


at each soil layer ) (ม)
Ap = พื้นที่หน้าตัดของเสาเข็ม ( Cross Section Area ) ( ตารางเมตร)

SF = สปส. ความปลอดภัย ( Safety Factor)

Ks = สปส. แรงดันดินด้านข้างเสาเข็ม ( Coefficient of Lateral Earth Pressure


= 0.7 ) เฉพาะกรณีเสาเข็มตอกเท่านั้น

σv/ = หน่วยแรงประสิทธิผลในแนวดิ่งของดิน ( Effective Vertical Earth


Pressure )( ตันต่อตารางเมตร )

δ = (3φ)/4 โดย φ = มุมเสียดทานภายในของทราย ( Angle of internal


Friction )(องศา)

ค่า α หรือ adhesion factor สําหรับงานออกแบบ King Post ในชั้นดินกรุงเทพ วันชัย ( 2544 ) ได้
เสนอ ความสัมพันธ์ของ α กับ กําลังรับแรงเฉือน , Su ดังแสดงในรูปที่ 4.13.
ความยาวของ King Post จะต้องคํานวณโดยต้องออกแบบให้กําลังรับน้ําหนักบรรทุกปลอดภัย (
Allowable Pile Capacity ) ให้สามารถรับน้ําหนักบรรทุกจาก Platform ได้ โดยในกรณีงานขุดดินซึ่งเป็นงาน
ชั่วคราวใช้ค่า Safety Factor ประมาณ 1.25 จากค่า Ultimate Pile Capacity ที่คํานวณได้ข้างต้น
ในทางปฏิบัติจริง การออกแบบระบบค้ํายันทั้ง Strut Wale และ King Post จะมีการเปลี่ยนแปลงไป
บ้าง เพื่อให้สามารถทําการก่อสร้างได้ เช่น ต้องจัดวางตําแหน่ง Strut ให้หลบตําแหน่งเสาของโครงสร้าง
ตําแหน่งของ King Post จะต้องออกแบบให้ไม่ตรงกับตําแหน่งของเสาเข็ม ทั้งนี้การเปลี่ยนแปลงใดๆ
ย่อมขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของผูอ้ อกแบบเป็นสําคัญ

  44
การออกแบบระบบกําแพงกันดิน Sheet Pile งานดินขุด ผศ. ปิยะ รัตนสุวรรณ 30/5/58

1.0

0.9
Adhesion Factor ,α

0.8

0.7

0.6

0.5

0.4
0 5 10 15 20 25
Undrained Shear Strength, Su ( t / sq.m )

รูปที่ 4.13 ความสัมพันธ์ของ α กับ กําลังรับแรงเฉือนของดิน , Su (วันชัย , 2544 )

4.5 การออกแบบ Lean Concrete


Lean Concrete คือส่วนทีส่ ําคัญมากทีส่ ดุ สําหรับงานขุด ทั้งนี้เนือ่ งจากเหตุผลดังทีก่ ล่าวมาแล้ว ว่า
แรงดันดินในส่วนล่างสุด คือ ส่วนที่ความกว้างเท่ากับ L4/2 ดังแสดงในรูปที่ 4.8 จําเป็นที่จะต้องมีแรงต้านมา
รับไว้ ในความเข้าใจของวิศวกรทั่วไป เข้าใจว่าแรงดันดินส่วนนี้น่าจะรับโดยแรงต้านดินภายใน ( Passive
Earth Pressure) โดยอนุญาตให้แรงดันดินด้านข้างส่วน L4/2 นี้ถ่ายเข้ามาและแรงดันดินภายในต้านอยู่ ซึ่ง
แสดงว่า เสาเข็มพืด หรือ Sheet Pileจะต้องขยับออก ทําให้จดุ หมุนหรือจุด Fixed point จะไม่อยู่ที่ระดับดิน
ขุด แต่จะเลือ่ นต่ําลงมา อันจะส่งผลให้เกิด Moment กระทํากับ Sheet Pile มากขึ้น และการเคลื่อนตัวของ
กําแพง Sheet Pile เกิดมากขึ้นด้วย
นอกจากเหตุผลข้างต้นแล้ว การเท Lean Concrete ที่ระดับความลึกการขุดมากสุดนัน้ จะช่วยทําให้
เกิด Fixed Point หรือ จุดหมุนที่ระดับความลึกสุดท้ายของการขุด ซึ่งส่วนนี้จะเป็นส่วนสําคัญมาก เพราะ
Lean Concrete จะมีพฤติกรรมเช่นเดียวกับค้ํายัน( Strut) ทั่วไป แต่เป็น Strut ที่บางและเทเป็นผืนๆ ซึ่ง
นอกจากจะมีประโยชน์ในประเด็นการรับแรงและการลด Moment ใน Sheet Pile แล้ว ยังทําให้โครงการ
สะอาด พื้นทีก่ ่อนที่จะวางเหล็กสะอาดและเทคอนกรีตฐานรากได้สะดวก และลดการทรุดตัวของฐานรากขณะ

  45
การออกแบบระบบกําแพงกันดิน Sheet Pile งานดินขุด ผศ. ปิยะ รัตนสุวรรณ 30/5/58

เทคอนกรีต หากกําลังรับแรงต้านทานของดิน ( Bearing Capacity of Soil ) ไม่เพียงพอ ดังแสดงในรูปที่


4.14
การออกแบบ Lean Concrete สามารถออกแบบได้ดังนี้

f c( Lean Concrete) = 0.1 f c/ ................( 4.10 )

โดยที่
fc(Lean = Allowable Compressive Strength of Lean Concrete ( ksc) หรือ
Concrete) กําลังรับแรงอัดปลอดภัยของคอนกรีตหยาบ

fc/ = Ultimate Compressive strength of Lean Concrete ( ksc) หรือกําลัง


รับแรงอัดประลัยของคอนกรีตหยาบ
การใช้ค่าความปลอดภัยของ Lean Concrete ดังแสดงในสมการ จะมีความหนาเพียง 0.10 -0.15
เมตร ดังนั้นพฤติกรรมจะเป็นลักษณะของพื้นบาง ( Thin Plate ) สุธรรม ( 2532) แนะนําในฐานะผู้เชี่ยวชาญ
ด้านวิศวกรรมโครงสร้างว่า เพื่อความปลอดภัยในการออกแบบ ควรใช้กําลังของ Lean Concrete เพียง 10 %
ของกําลังสูงสุดเท่านั้น จากสมการดังกล่าว จึงสามารถหาความหนาของ Lean Concrete ได้ โดยออกแบบ
จากหน่วยแรงอัดของดินที่กระทํากับ Sheet pile ส่วน L4/2

  46
การออกแบบระบบกําแพงกันดิน Sheet Pile งานดินขุด ผศ. ปิยะ รัตนสุวรรณ 30/5/58

รูปที่ 4.14 การเท Lean Concrete


4.6 การอัดแรงในค้ํายัน ( Preload on Strut )
4.6.1 หลักการทั่วไป
การเคลื่อนตัวด้านข้างของ Sheet Pile นัน้ นับเป็นปัญหาใหญ่มาก สําหรับการก่อสร้างทั้งนี้ นอกจาก
จะก่อให้เกิดปัญหาที่จําเป็น ทําให้เกิดความเสียหายต่ออาคารใกล้เคียงแล้ว ยังอาจจะทําให้เกิดการดันให้
เสาเข็มในโครงการหัก หรือชํารุดได้ การเคลื่อนตัวด้านข้างของ Sheet Pile ( Lateral Deformation of
Sheet Pile ) แน่นอนคงจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะระบบ Sheet Pile เป็น Flexible Wall ที่มีการเคลื่อนตัวได้
ง่ายอยู่แล้ว อย่างไรก็ตามควรจะพยายามให้เกิดการเคลือ่ นตัวให้นอ้ ยทีส่ ุด วันชัย ( 2543 , 2535 ) เป็นคน
แรกที่ที่ได้นําระบบการอัดแรงเข้ามาใช้ในเมืองไทย โดยงานที่โครงการก่อสร้างห้องใต้ดนิ ตึกใบหยก 2 ซึ่งขุดลึก
มากที่สดุ ในกรุงเทพ ถึง 11.30 เมตร โดยทําการอัดแรงถึง 70 % ของแรงที่เกิดขึ้น แต่ตอ้ งทําการวัดปริมาณ
การเคลื่อนตัวที่เกิดขึ้นด้วย
วันชัย ( 2534 , 2542 ) และ Teparaksa ( 1993a&b , 1994 a&b , 2000 ) พบว่า ระบบอัดแรงใน
การค้ํายัน หรือการ Preload ใน Strut จะช่วยลดปัญหาการเคลื่อนตัวของ Sheet Pile และสามารถลดการ
เกิดปัญหาการทรุดตัวของดินรอบๆโครงการได้

  47
การออกแบบระบบกําแพงกันดิน Sheet Pile งานดินขุด ผศ. ปิยะ รัตนสุวรรณ 30/5/58

การออกแบบระบบการอัดแรงจึงควรมีการ Preload ที่ปลายทั้ง 2 ด้าน หรือ 2 จุด ใน Strut หนึ่งเส้น


คือ Preload ที่จุดใกล้กับ Sheet Pile มากที่สดุ ทั้ง 2 ด้าน ( ส่วนใหญ่จะเป็น Bay แรก) การ Preload บริเวณ
กึ่งกลางของความยาว Strut จะไม่ช่วยอะไรทั้งสิ้น การ Preload มิใช่ คือ การอัดแรงเข้าไปใน Strut อย่าง
เดียว แต่ตอ้ งคํานึงถึงผลลัพธ์ ที่จะได้และผลเสียที่จะเกิดขึ้นด้วย โดยขัน้ ตอนของการ Preload จะใช้วิธีการอัด
แรงสู่ตัว Strut โดยใช้ Kirin Jack หรือ Oil Jack และ Strut จะไปดัน Sheet Pile ทําให้ Sheet Pile เคลือ่ น
เข้าไปอัดดิน การทรุดตัวของผิวดินรอบโครงการ
การทรุดตัวของผิวดินรอบโครงการงานขุด ( Vertical Ground Settlement ) เกิดขึ้นเนื่องจากมีการ
แอ่นตัวหรือเคลื่อนตัวด้านข้างของกําแพงเข็มพืด ( Lateral Sheet Pile Movement ) และจะมีผลไปสู่การเกิด
การทรุดตัวของผิวดิน อันจะนําไปสู่การทําให้เกิดการทรุดตัวและแตกร้าวของอาคารข้างเคียง บางครั้งอิทธิพล
ของการทรุดตัวของผิวดินรอบๆ โครงการจะกระทบไปไกลจากโครงการ 2-3 เท่า ของความลึกของบ่อขุด หรือ
20- 30 เมตร
4.6.2 บริเวณที่เหมาะแก่การประยุกต์ใช้วธิ ี Preload
วิธี Preload เหมาะสําหรับการขุด ทีค่ าดว่าจะทําให้บริเวณข้างเคียงเกิดการทรุดตัวมาก ซึ่งอาจเกิด
ความเสียหายได้ ได้แก่
ก. บริเวณที่มีการก่อสร้างขนาดใหญ่และบริเวณนั้นมี Weak Soil Layer
ข. รอบๆ บริเวณก่อสร้างมีอาคารอยู่ใกล้เคียง
ดังนั้นการอัดแรงในค้ํายัน บริเวณขุดดินในบริเวณกรุงเทพ จึงเป็นสิ่งจําเป็นมาก และควรกระทําใน
ทุกๆ โครงการ เนื่องจากจะมีผลดีมากกว่าผลเสีย ในส่วนของปริมาณการอัดแรงในค้ํายันนั้น โดยส่วนใหญ่จะ
นิยมใช้ประมาณ 40 – 50 % ของแรงที่คาํ นวณได้ จากแรงกระทําในค้ํายันแต่ละชั้น ดังแสดงในรูปที่ 4.15
แสดงถึงระบบ Preload โดยใช้ระบบ Universal Jack หรือ Kirin Jack

รูปที่ 4.15 แสดงการอัดแรงใน ค้ํายัน หรือ Strut

  48
การออกแบบระบบกําแพงกันดิน Sheet Pile งานดินขุด ผศ. ปิยะ รัตนสุวรรณ 30/5/58

บทที่ 5
การวิเคราะห์และออกแบบระบบค้ํายันเข็มพืดเหล็ก
ตัวอย่างการวิเคราะห์และออกแบบ ให้ออกแบบค้ํายันเข็มพืดเหล็ก( Sheet Pile Braced Cut
System) พร้อมระบบค้ํายันอัดแรงในค้ํายันสําหรับงานขุดดินลึก 8.70 เมตร เพื่อการก่อสร้างฐานรากและห้อง
ใต้ดินในชั้นดินกรุงเทพ ( Bangkok Subsoil) โดยกําหนดให้วางระบบค้ํายัน( Bracing System ) จํานวน 3 ชั้น
โดยมีระดับกึ่งกลางระหว่าง Strut ตามแนวขวาง ( Transverse Strut ) และ Strut ตามแนวยาว (
Longitudinal Strut ) ที่ระดับความลึก -1.20 เมตร , -3.90 เมตร และ -6.45 เมตร ตามลําดับ โดยมี
ระยะห่างของค้ํายันในทางราบเท่ากับ 6.00 เมตร ลักษณะและคุณสมบัติชั้นดินแสดงดังรูป กําหนดให้มีแรง
กระทําทีผ่ ิวดินใกล้กับโครงการขุดดิน ( Surcharge ) เท่ากับ 1 ตันต่อตารางเมตร
5.1 ลักษณะชั้นดินและคุณสมบัติของชั้นดิน ( Soil Profile and Soil Properties)

0.00 m

γt = 1.6 t / m 3
Soft Clay Su = 1.7 t / m2
fs = αSu = 1.63 t / m2
α = 0.96
-12.50 m
Medium Clay γt = 1.65 t / m 3 Su 2= 4.0 t / m2
fs = αSu = 3.52 t / m α = 0.88 -15.00 m
Very Stiff Clay γt = 1.90 t / m 3 Su = 15 t / m 2
fs = αSu = 6.60 t / m 2 α = 0.44

  48
การออกแบบระบบกําแพงกันดิน Sheet Pile งานดินขุด ผศ. ปิยะ รัตนสุวรรณ 30/5/58

5.2 ระดับค้ํายัน( Level of Bracing System)

0.00 m
-1.20 m

- 3.90 m

- 6.45 m

- 8.70 m

Sheet Pile

5.3 แรงดันดินด้านข้างปรากฏที่เกิดขึน้ และแรงค้ํายันแต่ละชั้น ( Apparent Earth Pressure and Force


in Each Layer of Bracing)
เนื่องจากระดับดินขุด – 8.70 ม อยู่ในดินชั้น Soft Clay ดินชัน้ ที่ 1 ดังนั้นในการแรงดันดินด้านข้าง
ปรากฏที่เกิดขึน้ จึงใช้คุณสมบัติทางวิศวกรรมของดินชัน้ ที่ 1 ดังนี้
ที่ระดับความลึก 0.00 ม เท่ากับ Surcharge ( q ) 1.00 t/m2
ที่ระดับความลึก H/4 = 8.70/4 = 2.175 ม เท่ากับ γH + q – 2Su = 1.6*8.70 + 1.0 –( 2*1.7)
= 11.5 t / m2
ที่ระดับความลึก -8.70 ม จะมี Lean Concrete ซึ่งมีพฤติกรรมเช่นเดียวกันกับ Strut สามารถเขียน
เป็นแผนผังแรงดันดินด้านข้างปรากฏได้ ดังแสดงในรูปที่ 5.1

  49
การออกแบบระบบกําแพงกันดิน Sheet Pile งานดินขุด ผศ. ปิยะ รัตนสุวรรณ 30/5/58

Surcharge =1.0 t/sq.m

0.25H=0.25X8.7=2.175 m 1st -1.20 m

2 nd - 3.90 m

0.75H=0.75X8.7=6.525 m 3 rd - 6.45 m

4 th - 8.70 m
11.5 t/sq.m

รูปที่.5.1 แสดงแรงดันดินด้านข้างปรากฏที่เกิดขึ้น
จากรูปสามารถคํานวณแรงในค้ํายัน ได้ดังนี้
0.5*(1+11.5)*2.175 + [{(3.9-1.2)/2+1.2}-2.175]*11.5=
F1 = t/m
17.90
F2 = 11.5*{(3.90-1.20)/2+(6.45-3.90)/2}= 30.20 t/m
F3 = 11.5*{(6.45-3.90)/2+(8.70-6.45)/2} = 27.60 t/m
F4 = 11.5*(8.70-6.45)/2 =12.90 ( For lean concrete) t/m

5.4 ออกแบบเข็มพืดเหล็ก ( Design of sheet pile )


5.4.1 ออกแบบความยาวของ Sheet Pile ( Check Sheet Pile Length By Heaving Effect )
2S + Su2 πB1 + 2Su2 B1
F.S = .......... ... * * * * * *
(γH + q )B1
  50
การออกแบบระบบกําแพงกันดิน Sheet Pile งานดินขุด ผศ. ปิยะ รัตนสุวรรณ 30/5/58

จาก

⎛ q ⎞ ⎛ 2S ⎞
เมื่อ S = S u1 ⎜⎜ H - u1 ⎟⎟ = S u 1 ⎜⎜ H − u 1 ⎟⎟
⎝ γ ⎠ ⎝ γ ⎠

จากลักษณะชัน้ ดิน กําหนดให้ออกแบบระบบค้ํายันเป็นลักษณะ Fixed End โดยปลาย Sheet Pile


ฝังในชั้นดินเหนียวแข็ง ( Stiff Clay ) ดังนั้น คํานวณหาค่าความยาวของ Sheet Pile จากสมการ โดยเปลี่ยน
ค่าความยาวของ Sheet Pile จะได้ค่าความปลอดภัย ( Safety factor against heaving effect , S.F.) ดัง
แสดงในตารางที่ 5.1
ตารางที่ 5.1 แสดงค่าความสัมพันธ์ระหว่างความยาวของเข็มพืดเหล็กกับค่า SF.
ความยาวของ Sheet Pile ( เมตร ) ค่า S.F. ความยาวของ Sheet Pile ( เมตร ) ค่า S.F.
10 1.74 17 2.11
11 1.24 18 2.44
12 1.04 19 2.93
13 1.03 20 3.09
14 1.09 21 3.23
15 1.14 22 3.21
16 1.69

จากตารางเลือกความยาวของ Sheet Pile = 16 เมตร จะได้ค่า S.F. = 1.69 > 1.5 O.K. จากตาราง
ดังกล่าว พบว่า เมือ่ นําค่า S.F. มาเขียนกราฟ แสดงความสัมพันธ์กับความลึก จะได้ ดังกราฟ รูปที่ 5.2 จาก
ตารางพบว่าค่า Safety factor ( S.F. ) มีอยู่ 2 ช่วงด้วยกัน คือ ช่วงแรกที่ความยาวเข็มพืด ( Sheet Pile)
ระหว่าง 10 – 13 เมตร นั้น ค่า Safety factor ( S.F. ) ลดลง เมือ่ ความยาวของ Sheet Pile ยาวขึ้น ซึ่งแสดง
ว่า การตรวจ heave ด้วยวิธีนี้ จะไม่เหมาะสมเนื่องจากที่ปลาย Sheet Pile อยูใ่ นชั้นดินอ่อน ( Soft Clay )
ซึ่งเป็นลักษณะของ Free End ซึ่งอันตรายมาก เพราะระบบไม่มั่นคง ( Not Rigid and Unstable ) จึงควรใช้

  51
การออกแบบระบบกําแพงกันดิน Sheet Pile งานดินขุด ผศ. ปิยะ รัตนสุวรรณ 30/5/58

ความยาวที่ยาวขึ้น คือ ช่วงความยาว Sheet Pile จาก 13 เมตร ขึ้นไป จะเห็นว่าค่า Safety factor จะมาก
ขึ้นเมื่อความยาวของ Sheet Pile ยาวขึ้นและเป็นระบบที่แข็งแรงหรือ ระบบ Fixed End จากรูปที่ 5.2 จะ
พบว่า เมื่อความยาวของ Sheet Pile ยาวขึ้นจาก 13 – 15 เมตร ค่า Safety factor เพิ่มขึ้น น้อยมากนั่น
แสดงว่า ปลาย Sheet Pile ยังอยู่ในช่วงที่ไม่ Rigid เพียงพอ แต่อยู่ในช่วงแข็งกลางๆ หรือ Semi- Rigid
System เนื่องจากปลายจมในชั้น Medium Stiff Clay แต่เมื่อ Sheet Pile ยาวมากกว่า 15 เมตร ขึ้นไป ค่า
Safety Factor จะสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งแสดงว่าระบบของ Sheet Pile เป็น Rigid หรือ Fixed End แล้ว
ดังนั้นวิธีการนี้จะเหมาะสมเมือ่ เป็นระบบ Rigid หรือ Fixed End เท่านั้น ซึ่งโดยปกติจะกําหนดค่า Safety
Factor ให้มากกว่า 1.5 หรือจะพบว่าความยาวของ Sheet Pile ควรจะยาวมากกว่า 15.50 เมตรหรือฝังจมอยู่
ในชั้นดินเหนียวแข็ง ( Stiff Clay )ไม่น้อยกว่า 50 ซม. สรุปใช้ความยาว Sheet Pile ยาว 16 เมตร

4
3
2
S.F.

1
0
7 9 11 13 15 17 19 21 23

ความยาวเสาเข็มพืดเหล็ก ( Sheet Pile ) เมตร

รูปที่ 5.2 กราฟแสดงค่าความสัมพันธ์ระหว่างความยาวของเข็มพืดเหล็กกับค่า SF.


5.4.2 ตรวจสอบหน้าตัดของเข็มพืด ( Check the Section of Sheet Pile )
Mo = 11.5*2.72/8 = 10.5 t/m/m
Require Section, Sx = Mo / 0.6 Fy = 10.5 * 105 / 1250 = 840 cm3 / m
Use Sheet Pile Type FSP III, Sx = 1340 cm3 / m , Length = 16 m

5.5 การคํานวณและออกแบบ Wale (Design Wale )


  52
การออกแบบระบบกําแพงกันดิน Sheet Pile งานดินขุด ผศ. ปิยะ รัตนสุวรรณ 30/5/58

ในตัวอย่างนี้ ใช้ระยะห่างในแนวราบของค้าํ ยัน = 6.00 เมตร

5.5.1 การคํานวณและออกแบบ Wale ชัน้ แรก (Design First Wale )


ใช้แรงกระทํา F1 =17.9 t / m เพื่อใช้ในการออกแบบ
Mo = wl2/10 = 17.9*22/10=7.2 t/m/m
Axial Force in Wale = wl/3 = 17.9*6/3 = 35.9 t
Stress due to Temperature
= 0.000011*Es*Δt ksc
Change
= 0.000011*2*106*5=116 ksc
เลือกหน้าตัด W 300*300*94 kg/m ( A= 119.8 cm2 , Sx =1360 cm3 , rx = 13.1 cm )
Kl/r = 1*200/13.1 = 15.27 จะได้ Fa = 1460 ksc ( ตารางช่วยออกแบบหนังสือการออกแบบ
โครงสร้างเหล็ก(วินิต 2542) , Fb = 0.6 Fy = 1250 ksc
fa = P/A=35.9*1000/119.8 = 300 ksc
fb = Mo/Sx = 7.2*100,000/1360 = 529 ksc
fa/Fa+fb/Fb = (300+116)/1460 +529/1250 = 0.71< 1.0 O.K.
ดังนั้นเลือกใช้หน้าตัด ขนาด W 300*300*94 kg /m
5.5.2 การคํานวณและออกแบบ Wale ชัน้ อื่นๆ (Design Other Wale )
ใช้แรงกระทําที่มากที่สดุ คือ F2 = 30.20 t / m ในการออกแบบ
Mo = wl2/10 = 30.2*22/10=12.1 t/m/m
Axial Force in Wale = wl/3 = 30.2*6/3 = 60.4 t

Stress due to Temperature = 0.000011*Es*Δt ksc

  53
การออกแบบระบบกําแพงกันดิน Sheet Pile งานดินขุด ผศ. ปิยะ รัตนสุวรรณ 30/5/58

Change
= 0.000011*2*106*5=116 ksc
เลือกหน้าตัด W 350*350*137 kg/m ( A= 173.9 cm2 , Sx =2300 cm3 , rx = 15.2 cm )
Kl/r = 1*200/15.2 = 13.2 จะได้ Fa = 1469 ksc ( ตารางช่วยออกแบบหนังสือการออกแบบ
โครงสร้างเหล็ก(วินิต 2542) , Fb = 0.6 Fy = 1250 ksc
fa = P/A =60.4 *1000/173.9 = 347 ksc
fb = Mo/Sx = 12.1*100,000/2300 = 526 ksc
fa/Fa+fb/Fb = (347+116)/1469 +529/1250 = 0.74 < 1.0 O.K.
ดังนั้นเลือกใช้หน้าตัด ขนาด W 350*350*137 kg /m
5.6 การวิเคราะห์และออกแบบ Strut (Design Strut )
5.6.1 การออกแบบ Strut ชั้นแรก ( Design First Strut )
ใช้แรง F1 ในการออกแบบโดยกําหนดให้ระยะห่างของ Strut เท่ากับ 6.00 เมตร แรงตามแนวแกนของ Strut :
P = 17.6 * 6.0 = 107.4 tons พิจารณาเลือกหน้าตัดขนาด W 300 * 300 * 94 kg /m ( A= 119.8 cm2 ,
rx = 13.1 cm , ry= 7.51 cm )
Kl/rx = 600/13.1 = 45.8 จะได้ Fa = 1312
ksc
Kl/ry= 600/7.51 = 79.9 จะได้ Fa = 1077
ksc
พิจารณาหน่วยแรงในแกน X

P/A + fΔt = 107.4 *1,000/119.8 + 116 = 1017.5 ksc < 1312 ksc O.K.
พิจารณาหน่วยแรงในแกน Y ( กําหนดให้ใช้ Over Stress เท่ากับ 30 % , เฉพาะ แกน Y เท่านัน้ )

P/1.3 A + fΔt = 107.4 *1,000/(1.3*119.8) + 116 = 809 ksc < 1077 ksc O.K.

  54
การออกแบบระบบกําแพงกันดิน Sheet Pile งานดินขุด ผศ. ปิยะ รัตนสุวรรณ 30/5/58

ดังนั้นเลือกใช้ หน้าตัดขนาด W 300 * 300 * 94 kg /m ( A= 119.8 cm2 , rx = 13.1 cm , ry=


7.51 cm )
5.6.2 การออกแบบ Strut ชั้นอื่น ๆ ( Design Other Strut )
เลือกใช้แรง กระทําทีม่ ากที่สดุ อันได้แก่ F2 และใช้ระยะห่างของ Strut เท่ากับ 6.00 เมตร แรงตามแนวแกน
ของ Strut : P = 30.2 * 6.0 = 181.2 tons พิจารณาเลือกหน้าตัดขนาด W 300 * 300 * 137 kg /m (
A= 173.9 cm2 , rx = 15.2 cm , ry= 8.84 cm )
Kl/rx = 600/15.2 = 39.47 จะได้ Fa = 1346 ksc
Kl/ry= 600/8.84 = 67.87 จะได้ Fa = 1146 ksc
พิจารณาหน่วยแรงในแกน X

P/A + fΔt = 181.2 *1,000/173.9 + 116 = 1158 ksc < 1346 ksc O.K.
พิจารณาหน่วยแรงในแกน Y ( กําหนดให้ใช้ Over Stress เท่ากับ 30 % , เฉพาะ แกน Y เท่านัน้ )

P/1.3 A + fΔt = 181.2 *1,000/(1.3*173.9) + 116 = 918 ksc < 1146 ksc O.K.
ดังนั้นเลือกใช้ หน้าตัดขนาด W 300 * 300 *137 kg /m ( A= 173.9 cm2 , rx = 15.2 cm , ry=
8.84 cm )
5.7 การวิเคราะห์และออกแบบ King Post ( Design King Post )
กําหนดให้แรงกระจายเนือ่ งจากน้ําหนักบรรทุกบน Platform ( Platform Surcharge) = 2 t / m2
ดังนั้นจะได้ว่าแรงที่ถ่ายลงบน King Post 1 ต้น = 2*6.00*6.00/2 = 36 tons สมมุติเลือกใช้ หน้าตัด W
300 * 300*94 Kg /m ปลายของ King Post ( Tip of King Post ) ที่ระดับความลึก – 18.00 เมตร
5.7.1 หากําลังรับน้ําหนักของ King Post

ΣαΔL = (12.5-8.70)*1.63+(2.5*3.52)+3*6.6) = 34.8 t/m2

Qs = ΣαΔL*p = 4*0.3*34.8 = 41.8 tons ( เส้นรอบรูปใช้รปู สี่เหลี่ยม )


Qp = 9 Su Ap = 9*15*0.32 = 12.20 tons

  55
การออกแบบระบบกําแพงกันดิน Sheet Pile งานดินขุด ผศ. ปิยะ รัตนสุวรรณ 30/5/58

Qult = Qs+ Qp = 41.8 + 12.2 = 54 tons


Qall = Qult/SF = 54/1.25 = 43.2 tons > 36 tons O.K.
ดังนั้น ใช้ หน้าตัด W 300 * 300*94 Kg /m ปลายของ King Post ( Tip of King Post )
ที่ระดับความลึก – 18.00 เมตร
5.8 การออกแบบระบบ Preload ใน Strut
กําหนดให้ Preload 40% ดังนั้นจะได้แรงกระทํา Preload ดังนี้
1st Layer Strut = 0.4*107.4= 43 tons
2nd Layer Strut = 0.4*181.2= 72.5 tons
3rd Layer Strut = 0.4*165.6= 66.2 tons
5.9 การออกแบบ Lean Concrete
จากแรงกระทํา F4 = 12.9 ตันต่อเมตร ใช้คอนกรีต fc/ = 100 ksc
ความหนา ทีต่ อ้ งการของ Lean Concrete = 12.9/(0.1*1000 ) = 0.129 m
ดังนั้นใช้ Lean Concrete หนา 15 cm. โดยมีกําลังคอนกรีตมากกว่า 100 ksc.
5.10 สรุป ( Summary )
จากการออกแบบระบบค้ํายันเข็มพืดเหล็ก ( Sheet Pile Bracing System ) ข้างต้นสามารถสรุปผล
การคํานวณและออกแบบได้ดงั นี้
Sheet Pile Type FSP III Length = 16 .00 m
Bracing System 3 Layer at -1.20 m , -3.70 m and -6.45 m from ground surface
Strut Spacing 6.00 m
Wale and Strut 1st Layer Section W 300*300*94 kg/m
2nd and 3rd Layer Section W 350*350*137 kg/m

  56
การออกแบบระบบกําแพงกันดิน Sheet Pile งานดินขุด ผศ. ปิยะ รัตนสุวรรณ 30/5/58

King Post Section W 300*300*94 kg/m , Tip at -18.00 m from ground surface
Preload 40 %
Lean Concrete fc/ = 100 ksc , Thickness = 15 cm

  57
การออกแบบระบบกําแพงกันดิน Sheet Pile งานดินขุด ผศ. ปิยะ รัตนสุวรรณ 30/5/58

บรรณานุกรม

วันชัย เทพรักษ์ (2539) : การออกแบบระบบค้ํายันเข็มพืดสําหรับงานขุดดินลึกในดินเหนียวอ่อน กรุงเทพ ฯ , การสัมนา


ทางวิชาการและทัศนศึกษาเรื่องประสบการณ์การก่อสร้างห้องใต้ดินในดินเหนียวอ่อนกรุงเทพฯ , วิศวกรรมสถานแห่ง
ประเทศไทย

วันชัย เทพรักษ์ ( 2543 ) : ระบบค้ํายันเข็มพืด , การอบรมทางวิชาการเรื่องฐานรากฐานรากและโครงสร้างใต้ดิน รุ่นที่ 2


ภาควิชาวิศวกรรมโยธา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วันชัย เทพรักษ์ ( 2551 ) : เอกสารประกอบการสอน การออกแบบระบบค้ํายันเข็มพืดเหล็ก ปรับปรุงครั้งที่ 6 /2551


ภาควิชาวิศวกรรมโยธา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ณัฐวุฒิ ธีรามาศ ( 2552 ) : การออกแบบ ก่อสร้าง และการแก้ไขปํญหางานขุดด้วย Steel Sheet Pile บริษัทฤทธา
จํากัด

ปิยะ รัตนสุวรรณ( 2553) : เอกสารประกอบการสอน วิชา EGCE 333 วิศวกรรมฐานราก( Foundation Engineering )
พิมพ์ครั้งที่ 2 ISBN: 978-616-7019-46-8 ภาควิชาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหิดล

ปิยะ รัตนสุวรรณ( 2553) : เอกสารประกอบการสอน วิชา EGCE 331 ปฐพีกลศาสตร์ ( Soil Mechanics ) พิมพ์ครั้งที่
1 ISBN: 978-616-7019-28-4 ภาควิชาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Teng , Wayne C, (1980) : Foundation Design , Prentice-Hall.

Sower B.G.,(1979) : Introductory Soil Mechanics and Foundation , Macillan Co., Ltd.

Terzaghi , K ., Peck , R.B., Mesri ,G., ( 1996 ): Soil Mechanics in Engineering Practice 3rd edition ., Wiley –
Interscience.

Tschebotarioff , G.P.,( 1973) : Foundation Retaining and Earth Structures ( NP ).

Teparaksa , W (1995) : Lecture Note on “ Soil Engineering Design “ Course , Asian Institute of
Technology ,( as an associate faculty staff) , Thailand, 250 pp.

  57
การออกแบบระบบกําแพงกันดิน Sheet Pile งานดินขุด ผศ. ปิยะ รัตนสุวรรณ 30/5/58

ภาคผนวก ก.
คุณลักษณะของ Sheet Pile และ Wide Flange ที่มจี ําหน่ายในเมืองไทย

  58
การออกแบบระบบกําแพงกันดิน Sheet Pile งานดินขุด ผศ. ปิยะ รัตนสุวรรณ 30/5/58

ตารางที่ 1 หน้าตัดเข็มพืดเหล็กที่ใช้ในประเทศไทย

ค่าคุณสมบัตติ ่างๆของเข็มพืดที่นยิ มใช้ในประเทศไทย

Section Dimensions Section Weight Moment of Section Modulus


inertia
Area

W h t per per per per per per per


pile pile  wall pile  wall pile wall
width  width  width

mm mm mm cm2 kg/m kg/m2 cm4 cm4/m cm3 cm3/m

in in in In2 lbs/ft lbs/ft2 in4 in4/ft In3 In3/ft

FSP III 400 125 13 76.42 60.0 150 2,220 16,800 223 1,340

15.7 4.92 0.512 11.85 40.3 30.7 53.3 123 13.6 24.9

FSP IV 400 170 15.5 96.99 76.1 190 4,670 38,600 362 2.270

15.7 6.69 0.61 15.03 51.1 38.9 112 283 22.1 42.2

  59
การออกแบบระบบกําแพงกันดิน Sheet Pile งานดินขุด ผศ. ปิยะ รัตนสุวรรณ 30/5/58

ตารางที่ 2 WIDE FLANGE SHAPE

ค่าคุณสมบัตติ ่างๆของเหล็กรูปพรรณที่นิยมใช้ในงานขุดค้ํายันในประเทศไทย
Section Weight Corner Sectional Moment of Radius of Modulus of
Gyration
index Depth Flange Thickness Radius Area Inertia Section
of
Section Width Web Flange (r) Ix Iy rx ry Sx Sy

(A) (B) (t1) (t2)


mm kg/m mm mm mm mm Mm cm2 cm4 cm4 cm cm cm3 cm3

159.0 356 352 14 22 20 202.00 47,600 16,000 15.30 8.90 2,670 909

156.0 350 357 19 19 20 198.40 42,800 14,400 14.70 8.53 2,450 809

137.0 350 350 12 19 20 173.90 40,300 13,600 15.20 8.84 2,300 776
350x350
131.0 344 354 16 16 20 166.60 35,300 11,800 14.60 8.43 2,050 669

115.0 344 348 10 16 20 146.00 33,300 11,200 15.10 8.78 1,940 646

106.0 338 351 13 13 20 135.30 28,200 9,380 14.40 8.33 1,670 534

106.0 304 304 11 17 18 134.80 23,400 7,730 13.20 7.57 1,540 514

106.0 300 305 15 15 18 134.80 21,500 7,100 12.60 7.26 1,440 466

300x300 94.0 300 300 10 15 18 119.80 20,400 6,750 13.10 7.51 1,360 450

87.0 298 299 9 14 18 110.80 18,800 6,240 13.00 7.51 1,270 417

84.5 294 302 12 12 18 107.70 16,900 5,520 12.50 7.16 1,150 365

  60

You might also like