You are on page 1of 51

•...

ธรรมดารถซึ่งขับเร็วไปในถนนซึ่งมีโคลน โคลนนั้นก็ย่อมกระเด็นเปรอะ
เปื้อนรถเป็นธรรมดา และบางทีก็เป็นอันตรายได้โดยเหตุที่ม้าพลาดหรือ
ล้ม แต่ล้อแห่งรถนั้นในเวลาที่ถึงที่หยุดแล้วจะมีโคลนก้อนใหญ่ๆ ติดอยู่
ก็หาไม่ เพราะว่าโคลนซึ่งติดล้อในระหว่างที่เดินทางนั้นได้หลุดกระเด็น
ไปเสียแล้ว ด้วยอานาจความเร็วแห่งรถนั้น ส่วนรถที่ขับขี่ช้าๆ ไปในถนน
ซึ่งมีโคลนทางเดียวกันย่อมไม่สู้จะเปรอะเปื้อนหรือเป็นอันตรายด้วยเหตุ
ที่ม้าพลาดหรือล้มนั้นจริง แต่ล้อแห่งรถนั้นย่อมเต็มไปด้วยโคลนอันใหญ่
และเหนียวเตอะตัง ซึ่งนอกจากแลดูไม่เป็นที่จาเริญตาแล้ว ยังสามารถ
เป็นเครื่องกีดขวางและทาให้ล้อเคลื่อนช้าลงได้...

หากเปรียบรถเป็นชีวิตเรา โคลนน่าจะหมายถึงสิ่งใด
•ผู้แต่ง: พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
•ทรงใช้พระนามแฝงว่า: “อัศวพาหุ”
•รูปแบบ: บทความ
ที่มา
•พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราช
นิพนธ์เรื่อง โคลนติดล้อ ซึ่งมีทั้งหมด ๑๒ ตอน ลงพิมพ์
ในหนังสือไทย พ.ศ. ๒๔๕๘
•ตอนความนิยมเป็นเสมียนเป็นตอนที่ ๔ ลงพิมพ์ใน
หนังสือสยาม(สยามออบเซอร์เวอร์) ฉบับวันที่ ๓
พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๕๘
ความสาคัญของหนังสือพิมพ์
•ร.๖ ทรงเห็นว่าหนังสือพิมพ์เป็นเครื่องมือที่จาเป็นใน
ระบอบประชาธิปไตย ทรงพยายามปลูกฝังให้ประชาชน
รู้จักการใช้เสรีภาพอย่างมีขอบเขต และยังให้เสรีภาพ
แก่หนังสือพิมพ์ในการแสดงความคิดเห็นวิพากษ์วิจารณ์
บ้านเมืองได้อย่างกว้างขวาง
•พระองค์ทรงพระราชนิพนธ์บทความต่างๆ ไปลงใน
หนังสือพิมพ์หลายฉบับ โดยทรงใช้พระนามแฝง ซึ่งทา
ให้บุคคลต่างๆ ได้แสดงความคิดเห็นโต้แย้งบทความ
ของพระองค์ได้อย่างเสรี
•ดังเช่น ผู้ใช้นามปากกาว่า “โคนันทวิศาล” เขียน
บทความเรื่อง “ล้อติดโคลน” แสดงความเห็นแย้ง
โคลนติดล้อ ลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ “กรุงเทพเดลิเมล์”
•การแสดงความคิดเห็นนั้นเป็นการแสดงความคิดเห็นใน
เชิงสร้างสรรค์ที่เรียกว่า “ติเพื่อก่อ” นอกจากจะไม่ทรง
ถือโทษผู้ที่แสดงความเห็นแย้งนั้นแล้ว ยังทรงพระ
กรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานพานทองเครื่องยศเป็น
บาเหน็จความชอบแก่ พระยาวินัยสุนทร (วิม พลกุล)
เจ้าของนามปากกา “โคนันทวิศาล” อันเป็นการรับรอง
เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของหนังสือพิมพ์ที่
เปิดกว้างเป็นอย่างมากในรัชกาลนี้
•รวมทั้งทรงใช้หนังสือพิมพ์เพื่อประโยชน์ในการเป็น
สื่อมวลชนที่ให้ข่าวสาร ถ่ายทอดความคิดเห็นและปลุก
สานึกของประชาชนให้รักความเป็นไทยและรักชาติ
บ้านเมืองตามพระราชปณิธานของพระองค์
•พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตรา
พระราชบัญญัติการพิมพ์ฉบับแรกขึ้น เรียกว่า
พระราชบัญญัติสมุดเอกสารและหนังสือพิมพ์ พ.ศ.
๒๔๖๕
โคลนติดล้อมีทั้งหมด ๑๒ ตอน ดังนี้
•๑. การเอาอย่างโดยไม่ตริตรอง •๗. ความจนไม่จริง
•๒. การทาตนให้ต่าต้อย •๘. แต่งงานชั่วคราว
•๓. การบูชาหนังสือเกินเหตุ •๙. ความไม่รับผิดชอบบิดามารดา
•๔. ความนิยมเป็นเสมียน •๑๐. การค้าหญิงสาว
•๕. ความเห็นผิด •๑๑. ความหยุมหยิม
•๖. ถือเกียรติไม่มีมูล •๑๒. หลักฐานไม่มั่นคง
ตอน ๑ การเอาอย่างโดยไม่ตริตรอง
•การเอาอย่างชาวตะวันตกโดยไม่ลืมหูลืมตาเป็น
เหตุให้ชาวตะวันตกเสื่อมความนับถือในตัวเรา
•คนไทยควรเป็นตัวของตัวเองและสนับสนุนผู้มี
ความคิดสร้างสรรค์
ตอน ๒ การทาตนให้ต่าต้อย
•คนไทยทาตนให้ต่าต้อยด้วยการไม่เชื่อคนไทย
ด้วยกันเอง แม้ผู้นั้นจะมีการศึกษาดีสักเพียงใด
กลับเชื่อว่าการทางานทุกอย่างให้ได้ดีต้องอาศัย
ชาวตะวันตกทั้งสิ้น
ตอน ๓ การบูชาหนังสือเกินเหตุ
•คนไทยไม่ควรเชื่อทุกสิ่งที่ปรากฏในหนังสือพิมพ์
เพราะนักหนังสือพิมพ์อาจอาจมีความแค้นส่วนตัว
กับรัฐบาล จึงโจมตีรัฐบาลอย่างไร้เหตุผลเป็นการติ
เพื่อทาลายและไม่รับผิดชอบ
•ควรใช้วิจารณญาณในการรับข้อมูลข่าวสาร
ตอน ๔ ความนิยมเป็นเสมียน
• เสมียน คือ ผู้ทาหน้าที่เกี่ยวกับหนังสือ
• ผู้มีการศึกษานั้นนิยมเป็นเสมียน คือ นิยมเข้ารับราชการ
• ผู้ที่เป็นเสมียนจึงไม่สนใจกลับไปทาการเกษตรใน
ภูมิลาเนาของตนซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์ได้มากกว่า
• ผู้ที่เป็นเสมียนจึงนิยมใช้ชีวิตอยู่ในกรุงเทพฯ
ตอน ๕ ความเห็นผิด
• คนไทยบางคนมีความเห็นผิดว่า การประพฤติตนตาม
แบบฝรั่งเป็นเรื่องถูกต้อง แม้จะผิดจรรยา ผิดกฎหมาย
อ้างว่าเป็นเรื่องของอิสรภาพและเสรีภาพ
•คนไทยจึงควรสงวนความประพฤติอันดีงามแบบไทยไว้
ตอน ๖ ถือเกียรติไม่มีมูล
• มีคนจานวนหนึ่งคิดว่าตนเป็นผู้นิยมลัทธิแห่งความ
เสมอภาค จึงไม่นับถือผู้ที่มีอายุหรือผู้ที่อายุสูงกว่า
ไม่มีความถ่อมตน ผู้ใดแสดงความนอบน้อมต่อผู้
อาวุโสก็เห็นว่าเป็นพวกชอบประจบ
ตอน ๗ ความจนไม่จริง
•คนไทยไม่ได้ยากจนจริงแต่ชอบใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่าย
และเล่นการพนันจึงต้องลาบาก อันเกิดจากการ
เห็นแก่ตัว มุ่งแสวงหาความสุขของตน เป็นเหตุ
ให้มีผู้ร้องทุกข์แก่รัฐบาลให้หาทางแก้ไข
ตอน ๘ แต่งงานชั่วคราว
•หญิงสาวบางคนถูกบิดามารดาขายให้ชายโดย
ตนไม่ได้ยินดี ครั้งเมื่ออยู่ด้วยกันไม่ได้ ฝ่ายชายก็
ทาย่ายีต่างๆ นานา เช่นขับไล่ไปไม่เลี้ยงดูซึ่งเป็น
ผลร้ายแก่ฝ่ายหญิงมาก ยิ่งถ้ามีลูก ความ
เดือดร้อนก็ยิ่งตกอยู่กับลูก
ตอน ๙ ความไม่รับผิดชอบของบิดามารดา
•ผู้เป็นบิดามารดาโดยการแต่งงานแบบชั่วคราว
มักไม่รับผิดชอบในบุตรของตน ทาให้เด็กที่เติบโต
มาเป็นคนมีปัญหา
•การแก้ไขทาได้โดยให้หญิงชายเข้าใจในการ
รับผิดชอบของการแต่งงาน
ตอน ๑๐ การค้าหญิงสาว
•พวกผู้ชายที่มียศศักดิ์หลายคนชอบแสวงหาหญิงมา
เป็นภรรยาลับโดยการซื้อหญิงนั้นจากบิดารมารดาที่
ยากจน ผู้หญิงที่ถูกซื้อมานั้นเมื่อชายเบื่อแล้วจะทิ้ง
ขวางเสียงอย่างไรก็ได้ พฤติกรรมอันชั่วร้ายนี้เกิดขึ้น
เพราะความเห็นแก่ตัวของชาย ความโลภของแม่สื่อ
และความไม่รู้จักอัปยศของบิดามารดา
ตอน ๑๑ ความหยุมหยิม
•ความหยุมหยิม คือ บุคคลซึ่งมีนิสัยใจแคบ ยกตัวให้
สาคัญกว่าผู้อื่นเป็นจานวนมาก สิ่งใดที่มีบุคคลทาไป
เพื่อชาติ แต่ตนไม่ได้เกี่ยวข้องด้วย จะต้องคัดค้าน
ทั้งสิ้น เช่น การตั้งกองเสือป่า
•นิสัยหยุมหยิมคอยจับผิดคิดทาลายกันเป็นการบ่อน
ทาลายชาติอย่างหนึ่ง
ตอน ๑๒ หลักฐานไม่มั่นคง
•บุคคลผู้มีหลักฐานไม่มั่นคงได้แก่ผู้ที่ยังบกพร่องใน
กิจการส่วนตัว เช่น ข้าราชการชอบเล่นการพนัน
นักเขียน นักหนังสือพิมพ์ชอบเมาสุราการที่มีพลเมือง
ไม่มีคุณภาพทาให้ชาวต่างชาติไม่ไว้ใจ คนไทยควร
ประพฤติตนเป็นผู้มีความสุจริตทั้งกายวาจา ใจ
เนื้อเรื่อง
•ผลแห่งการบูชาหนังสือจนเกินเหตุ ตามที่ข้าพเจ้าได้กล่าว
มาแล้วนั้น มีอยู่อีกอย่างหนึ่งซึ่งข้าพเจ้าจะขอเรียกว่า ความ
นิยมเป็นเสมียน เพราะจะหาคาให้สั้นกว่านี้ไม่ได้
•การตั้งโรงเรียนขึ้นทั่วทั้งพระราชอาณาจักร ให้โอกาสแก่
บรรดาชายหญิงทุก ๆ ขั้นได้ศึกษาให้รู้อ่านรู้เขียนหนังสือนั้น
กลับให้ผลที่ทาให้เป็นที่ราคาญ และอาจจะทาให้ราคาญยิ่ง
กว่าที่เป็นอยู่เดี๋ยวนี้ก็เป็นได้ โดยไม่กล่าวถึงความเสียหาย
อย่างอื่นซึ่งจะพึงมีมาในไม่ช้าวัน
•เด็กทุก ๆ คนซึ่งเล่าเรียนสาเร็จออกมาจากโรงเรียนล้วนแต่มี
ความหวังฝังอยู่ว่าจะได้มาเป็นเสมียน หรือเป็นเลขานุการ
และจะได้เลื่อนยศเลื่อนตาแหน่งขึ้นเร็ว ๆ เป็นลาดับไป เด็ก
ที่ออกมาจากโรงเรียนเหล่านี้ย่อมเห็นว่ากิจการอย่างอื่นไม่
สมเกียรติยศนอกจากการเป็นเสมียน ข้าพเจ้าเองได้เคยพบ
เห็นพวกหนุ่ม ๆ ชนิดนี้หลายคนเป็นคนฉลาดและว่องไว และ
ถ้าหากเขาทั้งหลายนั้นไม่มีความกระหายจะทางานอย่างที่
พวกเขาเรียกกันว่า "งานออฟฟิศ" มากีดขวางอยู่แล้ว เขาก็
อาจจะทาประโยชน์ได้มาก
•การที่จะบอกให้เขาเหล่านี้กระทาตัวของเขาให้เป็นประโยชน์
โดยกลับไปบ้านและช่วยบิดามารดาเขาทาการเพาะปลูกนั้น
เป็นการป่วยกล่าวเสียเวลา เขาตอบว่าเขาเป็นผู้ที่ได้รับความ
ศึกษามาจากโรงเรียนแล้ว ไม่ควรจะเสียเวลาไปทางานชนิด
ซึ่งคนที่ไม่รู้หนังสือก็ทาได้ และเพราะเขาไม่อยากจะลืมวิชาที่
เขาได้เรียนรู้มาจากโรงเรียนนั้นด้วย เพราะเหตุนี้เขาสู้สมัคร
อดอยากอยู่ในกรุงเทพฯ ได้เงินเดือนเพียงเดือนละ 15 บาท
หรือ 20 บาท ยิ่งกว่าที่จะกลับไปประกอบการเพื่อเพิ่มพูน
ความสมบูรณ์แห่งประเทศในภูมิลาเนาเดิมของเขา
•นึกไปก็น่าประหลาดที่สุด ที่คนจาพวกนี้สู้อดทนต่อความ
ลาบากเพื่อแสวงหาและรักษาตาแหน่งเสมียนของเขา ใน
เงินเดือน 15 บาทนี้พ่อเสมียนยังอุตส่าห์จาหน่ายจ่ายทรัพย์
ได้ต่าง ๆ เช่นนุ่งผ้าม่วงสี ใส่เสื้อขาว สวมหมวกสักหลาด
และในเวลาที่กลับจากออฟฟิศแล้วก็ต้องสวมกางเกงแพรจีน
ด้วย และจะต้องไปดูหนังอีกอาทิตย์ละ 2 ครั้งเป็นอย่างน้อย
ต้องไปกินข้าวตามกุ๊กช๊อป แล้วยังมิหนาซ้าจะต้องเสียค่าเช่า
ห้องอีกด้วย (หรือบางทีเขาจะไม่เสียก็ไม่ทราบ)
นุ่งผ้าม่วงสี ใส่เสื้อขาว
สวมหมวกสักหลาด
ต้องสวมกางเกงแพรจีน
ดูหนังอาทิตย์ละ 2 ครั้ง
กินข้าวตามกุ๊กช๊อป
เสียค่าเช่าห้อง
•ครั้นเมื่อเงินเดือนขึ้นเป็นเดือนละ 20 บาท เขาก็คิดอ่าน
แต่งงานทีเดียว (ข้าพเจ้าต้องขออธิบายคาว่าแต่งงานไว้ใน
วงเล็บในที่นี้ว่า ที่ข้าพเจ้าเรียกว่าแต่งงานนั้น ข้าพเจ้าพูด
อย่างละม่อม เพราะว่าการแต่งงานชนิดนี้มักเป็นการ
ชั่วคราวโดยมาก ซึ่งข้าพเจ้าจะได้กล่าวต่อไปในบทหน้า
เพราะว่าเป็นโคลนก้อนหนึ่งซึ่งจะได้ยกขึ้นให้ท่านพิจารณา
ต่อไป)
•ข้าพเจ้าย่อมเข้าใจอยู่ว่า ชายหนุ่มซึ่งได้ฝึกตัวให้คุ้นแก่ความ
สนุกสนานในเมือง ย่อมจะรู้สึกเบื่อหน่ายถิ่นฐานบ้านเดิมของ
เขาตามบ้านนอก และที่จะกล่าวว่าถ้าเขาอยู่ในเมือง เขา
อาจจะทาประโยชน์ให้แก่บ้านเกิดเมืองนอนของเขาดีกว่าอยู่
บ้านนอกนั้น เป็นความเหลวไหลโดยแท้ ท่านผู้มีความคิดคง
จะเข้าใจได้ดีว่า อันประเทศอย่างเมืองไทยของเรานี้ ชาวนา
ชาวสวน อาจจะทาประโยชน์ให้แก่บ้านเมืองได้มากกว่า
เสมียน ซึ่งเป็นแต่เครื่องมือเท่ากับปากกาและพิมพ์ดีด ซึ่ง
เขาใช้(หรือใช้ผิด)
•ถ้าจะเปรียบพืชที่เขาได้ทาให้งอกต้องนับว่าน้อยกว่าผลที่เขา
ได้กินเข้าไป แต่ถึงกระนั้นเขาก็ยังนึกว่าตัวเขาดีกว่าชาวนา
และข้อที่ร้ายนั้น พวกเราทั้งหลายก็พลอยยอมให้เขาคิดเห็น
เช่นนั้นเสียด้วย
•เมื่อไรหนอ พวกหนุ่ม ๆ ของเราจึงจะเข้าใจได้บ้างว่า การ
เป็นชาวนา ชาวสวน หรือคนทางานการอื่น ๆ นั้น ก็มี
เกียรติยศเท่ากับที่จะเป็นผู้ทางานด้วยปากกาเหมือนกัน?
เมื่อไรจึงจะบังเกิดความรู้สึกเกียรติยศแห่งการงานอื่น ๆ
นอกจากงานที่ทาด้วยปากกาแลพิมพ์ดีด?
•คาตอบแห่งปัญหาข้อนี้ ก็เป็นดังที่กล่าวมาแล้วนั้นเอง
กล่าวคือเป็นความผิดของเราทั้งหลายด้วยกัน มิใช่
ความผิดของพวกหนุ่ม ๆ โดยเฉพาะเท่านั้นหามิได้ ถ้า
เรายังคงแสดงความเห็นโดยประการต่าง ๆ ว่าเสมียน
เป็นบุคคลชั้นที่สูงกว่าชาวนา ชาวสวน หรือพ่อค้าอยู่
ตราบใด พวกหนุ่ม ๆ ของเราก็คงจะทะเยอทะยาน
ฝักใฝ่ในทางเป็นเสมียนอยู่ตราบนั้น
•ใช่แต่เท่านั้น ยังมีคนอยู่เป็นอันมากที่ช่วยเปิดทางหาการงาน
ให้แก่ผู้ที่อยากจะเป็นเสมียน ส่วนผู้ที่ปรารถนาจะช่วยให้คนได้
ตั้งตัวเป็นชาวนา ชาวสวน หรือคนทางานอื่น ๆ ที่เป็น
ประโยชน์เหมือนกันนั้นมีน้อยนัก
•ข้อที่ว่าบรรดากระทรวงทบวงการมีเสมียนมากกว่าความจา
เป็นนั้น ถึงแม้ผู้ที่ดูแต่เผิน ๆ ก็เห็นได้ว่าเป็นความจริง
เพราะฉะนั้นสถานที่เหล่านั้นจึ่งต้องจัดการถ่ายเทพวกที่เกิน
ต้องการออกเสียเป็นครั้งคราว เพื่อได้รับคนใหม่ ๆ ต่อไป
•ส่วนพวกที่ถูกคัดออกนั้นเล่าเป็นอย่างไรบ้าง? ข้อนี้แหละ
เป็นที่น่าสังเวชยิ่งนัก คนเราที่ปล่อยให้ชีวิตล่วงไปโดยทา
การเป็นเสมียนเสียนานแล้ว จะไปทางานการอะไรอื่นก็ไม่
สามารถจะทาได้ ถ้าเขาเป็นคนที่ทาประโยชน์ได้อยู่ เขาก็
คงจะได้เลื่อนขึ้นไปในตาแหน่งอื่น ไม่ต้องถูกคัดออก ก็
เช่นนั้นเขาจะไปทาอะไรเล่า? เขาจะไปเป็นชาวนาไม่ได้
ด้วยเหตุผลหลายประการ
•ประการ 1 ก็เพราะความหยิ่งอันหามูลมิได้ของเขา
นั้นเอง เขาเห็นว่าไม่สมเกียรติยศที่จะไปหาการงานทา
กับชาวนา ซึ่งเขาเห็นว่าเป็นคนชั้นต่าและสามัญ ครั้นเขา
จะเป็นเจ้าของเองก็ไม่ได้ ด้วยเหตุว่าเป็นการเหลือวิสัยที่
เขาจะเก็บหอมรอมริบไว้ได้จากเงินเดือนอันน้อย ซึ่งเขา
ต้องจับจ่ายซื้อสิ่งของซึ่งเขาถือว่าเป็นของจาเป็นใน
ระหว่างที่เขาทาการเป็นเสมียนอยู่
•แต่เหตุสาคัญที่เขาจะเป็นชาวนาไม่ได้นั้นก็คือ เขาตกลง
ใจไม่ได้ที่จะทิ้งเมืองไปอยู่ตามบ้านนอกขอกนา
เพราะฉะนั้น พวกเสมียนที่เกินอัตราเหล่านี้จึงคงอยู่ใน
เมือง เที่ยวพยายามแสวงหาตาแหน่งเสมียนต่อไป และ
ถ้าโชคดีก็คงจะเข้าได้ชั่วคราว แต่ไม่ช้าก็ต้องเปิดออกไป
อีก ในระหว่างนี้อายุของเขาก็ล่วงเข้าไปทุกวัน และผู้ที่
เป็นนายหรือก็ชอบใช้แต่เสมียนที่หนุ่ม
• เพราะฉะนั้นโอกาสที่จะหางานทาก็มีน้อยเข้าทุกวันจนเป็นที่น่า
อัศจรรย์ว่าเขาหาเลี้ยงชีพอยู่ได้อย่างไร ถ้าเขาเป็นผู้ที่มีนิสัย
สุจริตเขาก็เลี่ยงไปตายอยู่ในที่ลับ ๆ แห่ง 1 ไม่มีใครเห็น ไม่มี
ใครรู้จัก ไม่มีใครรัก ไม่มีใครอาลัย เป็นการลงเอยอย่างมืดแห่ง
ชีวิตที่มืดไม่มีสาระ! แต่ถ้าความยากจนข้นแค้นของเขานาเขา
ไปสู่ทางทุจริต เขาอาจจะได้ความสนุกสนานอยู่พัก 1 แล้วเขาก็
คงจะต้องยาตราเข้าสู่ศาลพระราชอาญาและไม่ช้าก็คงจะได้
เข้าไปอยู่ในคุก แล้วต่อไปก็เท่ากับอันตรธาน ตกลงเป็นลงเอย
อย่างน่าสังเวชทั้ง 2 สถาน
•ดังนี้จะไม่เป็นการสมควรแลหรือ ที่เราจะสอนให้พวกหนุ่ม ๆ
ของเราปรารถนาหาการงานอื่น ๆ อันพึงหวังประโยชน์ได้ดีกว่า
การเป็นเสมียน ถ้าเราจะสอนเขาทั้งหลายให้รู้สึกเกียรติยศแห่ง
การที่จะเป็นผู้เพาะความสมบูรณ์ให้แก่ประเทศ เช่น ชาวนา
ชาวสวน พ่อค้าและช่างต่าง ๆ จะไม่ดีกว่าหรือ? ท่านเชื่อหรือว่า
พวกหนุ่ม ๆ ของเราจะทาประโยชน์ให้แก่บ้านเมืองโดยทางการ
เป็นเสมียนมากกว่าทางอื่น ๆ? เราจะมีข้าวของเครื่องใช้อื่น ๆ ได้
อย่างไร ถ้าเราไม่อุดหนุนคนจาพวกที่จะเพาะสิ่งของนั้น ๆ ขึ้น?
•ท่านทั้งหลายจะช่วยได้เป็นอันมากด้วยความเห็นของท่าน
เพราะว่าถึงแม้พวกหนุ่ม ๆ นั้นจะมีความคิดเห็นว่าตัวสาคัญปาน
ใด ก็คงจะต้องฟังความเห็นของผู้อื่น ถ้าความเห็นของ
สาธารณชนเห็นว่าชาวนา ชาวสวน พ่อค้าและช่างต่างๆ มี
เกียรติยศเสมอเสมียนและไม่ยกเสมียนขึ้นลอยไว้ในที่อันสูงเกิน
กว่าควร ก็จะเป็นประโยชน์ช่วยเหลือได้มาก
•เพราะฉะนั้นท่านจะไม่ช่วยกันในทางนี้บ้างหรือ?
ที่มา : http://www.oocities.org/tokyo/shrine/6611/a008_04.htm
บทสรุปของเรื่อง
•การรับราชการเป็นค่านิยมของสังคมในสมัยนั้นผู้มี
การศึกษามีค่านิยมดังกล่าวและต้องการทางานใน
เมืองหลวงจึงไม่สนใจที่จะกลับไปประกอบอาชีพที่
ภูมิลาเนาของตนความนิยมเป็นเสมียนจึงนับเป็น
ค่านิยมที่บั่นทอนความเจริญก้าวหน้าของประเทศ
คุณค่าของเรื่อง
•เป็นตัวอย่างบทความที่ดี
•เสนอข้อคิดเกี่ยวกับปัญหาบ้านเมืองในเรื่องค่านิยม
ที่เป็นอุปสรรคทาให้ประเทศเจริญได้ช้า
•ให้แนวคิดว่าอาชีพอื่นก็สามารถทาประโยชน์ให้แก่
ประเทศชาติได้
แนวคิดของเรื่อง
•การไม่ยึดติดกับค่านิยมผิดๆที่ว่าอาชีพรับราชการนั่นป็นอาชีพที่
มีเกียรติยิ่งกว่าอาชีพใดๆและดูถูกว่าอาชีพเกษตรกรหรืออาชีพ
ของบรรพบุรุษของตนนั้นต่าต้อยไร้เกียรติ
•การไม่หลงใหลความสะดวกสบายของเมืองหลวง
•การใช้ความรู้ที่ได้ศึกษาเล่าเรียนมาพัฒนาท้องถิ่นตน
•ความร่วมมือกันในการสร้างค่านิยมที่ถูกต้องแก่เยาวชนของชาติ
ค่านิยมที่สะท้อนจากเรื่อง
•ค่านิยมของคนรุ่นใหม่ที่ได้รับการศึกษาจากโรงเรียน
แล้วมุ่งหวังจะประกอบอาชีพรับราชการและใช้ชีวิต
ในเมืองหลวงแทนการกลับไปพัฒนาท้องถิ่นของตน
คุณค่าด้านวรรณศิลป์
•เป็นบทความที่ดี :จงใจให้ผู้อ่านอ่านตั้งแต่ต้นจนจบ
เพราะมีเนื้อหาสาระที่เป็นประโยชน์เนื้อความแสดง
แนวคิดสาคัญเน้นความชัดเจนตลอดเรื่อง
•การลาดับความแต่ละย่อหน้าเป็นการแสดงแนวคิด
ที่ต่อเนื่องเป็นระเบียบทาให้ผู้อ่านไม่สับสน
คุณค่าด้านวรรณศิลป์
•การใช้ภาษาน่าสนใจ : ใช้ภาษาได้ราบรื่นลาดับคา
ในประโยคและลาดับเนื้อความทุกย่อหน้าได้อย่าง
เหมาะสม การแสดงเหตุผลประกอบความคิดเห็น
มีความชัดเจน
คุณค่าด้านวรรณศิลป์
•ศิลปะการประพันธ์: การตั้งชื่อเรื่องให้แปลกใหม่
เพื่อเรียกความสนใจของผู้อ่าน
•การใช้โวหารเปรียบเทียบเพื่อให้เข้าใจชัดเจน
•การตั้งคาถามเพื่อสะกิดใจให้คิด
•การโน้มน้าวใจโดยใช้ภาษาที่เร้าความรู้สึกเพื่อให้
ผู้อื่นเกิดวามคิดคล้อยตาม
คุณค่าด้านสังคม
•1.ปลุกใจให้ตื่นตัวในเรื่องความรักชาติกระตุ้นให้เห็น
ปัญหาที่กีดขวางความเจริญของชาติและเกิดความสานึก
ที่จะร่วมมือกันแก้ปัญหานั้น
•2.เตือนสติผู้ที่มีค่านิยมผิดๆ เห็นแก่ตัวเห็นแก่ความสุข
และความสะดวกสบายในเมืองหลวงให้หันไปทางานเพื่อ
ความเจริญในท้องถิ่นตน
คุณค่าด้านสังคม
•3.โน้มน้าวให้สังคมส่วนรวมร่วมมือกันในการเปลี่ยนแปลง
ค่านิยมที่ไม่ถูกต้องของคนรุ่นใหม่
•4.มีความทันสมัยเพราะในปัจจุบันแม้ค่านิมเกี่ยวกับการ
รับราชการจะเปลี่ยนไปบ้างแล้วแต่ค่านิยมเกี่ยวกับการใช้
ชีวิตในเมืองหลวงและการมองอาชีพเกษตรกรว่าต่าต้อยก็
ยังคงมีอยู่

You might also like