You are on page 1of 34

พระพุทธศาสนากับแพทย์แผนไทย

จากประวัติศาสตร์สมัยพุทธกาล มีการบัญญัติและกล่าวถึงสมุนไพรในพระไตรปิฎกเช่น
ขมิ้น ขิง ดีปลี สมอ มะขามปูอม มหาหิงคุ์ เป็นต้น รวมทั้งเรื่องราวของชีวกโกมารภัจจ์ปรมาจารย์
แพทย์แผนโบราณ สมัยพุทธกาลหมอชีวกโกมารภัจจ์เป็นแพทย์ที่มีชื่อเสียงที่สุดมีประวัติการศึกษา
และการใช้วิชาการแพทย์ที่น่าสนใจการแพทย์แผนโบราณถือกันว่าหมอชีวกโกมารภัจเป็นบรมครูทาง
การแพทย์ ความเชี่ย วชาญในการใช้วิช าการแพทย์ของท่านเป็นที่กล่ าวขวัญกั นไม่มีที่สิ้ นสุดจนถึง
ปัจจุบันการใช้วิชาชีพการแพทย์ของหมอชีวกไม่เลือกชนชั้นวรรณะหรือยากดีมีจนทาให้ท่านเป็นที่รัก
ของคนทั่วไปได้รับการยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่า “เป็นผู้เลิศในทางเป็นที่รักของประชาชน”
ประวัติของหมอชีวกโกมารภัจจ์มีกล่าวไว้ในพระวินัยปิฎกและคัมภีร์ชั้นอรรถกถาบางส่วน
ว่าหมอชีวกโกมารภัจเป็นหมอที่มีความเชี่ยวชาญในวิชาการแพทย์อย่างยิ่งสมกับที่นักปราชญ์ทาง
ศาสนาได้ให้สมญาท่านว่าเป็น “หมอตัวอย่าง” หรือ “หมอเทวดา” ชีวิตของหมอชีวกโกมารภัจเป็นชีวิต
ตัวอย่างที่น่าศึกษาและถือเอาเป็นแบบอย่างที่ดี๑
ประเทศจีนและอินเดียมีความเจริญก้าวหน้าทางด้านสมุนไพรมากที่สุด เพราะนอกจากจะ
มีตารายาสมุนไพรใช้สืบต่อกันมายาวนานแล้ว ยังได้รับการส่งเสริมให้มีการวิจัยและพัฒนาอย่างเป็น
ระบบครบวงจรจากวัตถุดิบ ถึงผลิตภัณฑ์สาเร็จรูป ทั้งในรูปยาแผนโบราณและยาแผนปัจจุบันมาโดย
ตลอดและอย่างต่อเนื่อง คนไทยมีความศรัทธาและใช้ยาสมุนไพรแผนโบราณ โดยได้รับอิทธิพลจาก
ประเทศจีนและอินเดียเข้ามาพร้ อมๆกับการเผยแพร่พระพุทธศาสนา ประเทศไทยมีตารายาแผน
โบราณเป็ น จานวนมากที่ไ ด้รั บ การตรวจสอบความถูก ต้อ งทั้ง ทางด้า นตารั บ ยาและสรรพคุณ ซึ่ ง
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าให้จารึกไว้ ณ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามเมื่อ
พ.ศ.๒๓๗๕๒
เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๓ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดาเนินวัด
พระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) ในครั้งนั้นพระองค์ทรงมีพระราชปรารภว่า วัดโพธิ์เป็นแหล่งรวม
ตาราแพทย์แผนโบราณอยู่แล้ว เหตุใดจึงไม่จัดให้มีโรงเรียนสอนการแพทย์แผนโบราณในวิชาเวชกรรม
เภสั ช กรรม ผดุ ง ครรภ์ แ ละหั ต ถเวช๔ ทาให้ ค ณะกรรมการวั ด พร้ อ มด้ ว ยผู้ ท รงคุ ณ วุ ฒิ ท างด้ า น
การแพทย์แผนโบราณที่ยั งหลงเหลืออยู่ ได้สนองพระราชปรารภ กล่าวคือ ท่านเจ้าคุณพระธรรม
วโรดม (ปุุ น ปุ ณฺ ณ สิ ริ ) ซึ่ ง ต่ อ มาได้ ด ารงสมณศั ก ดิ์ เ ป็ น สมเด็ จ พระอริ ย วงศาคตญาณ สมเด็ จ
พระสังฆราชองค์ที่ ๑๗ได้จัดตั้งสมาคมแพทย์แผนโบราณและโรงเรียนแพทย์แผนโบราณวัดพระเชตุ
พน(วัดโพธิ์)ขึ้น โดยโรงเรียนได้เริ่มเปิดสอนวิชาแพทย์แผนโบราณทั้ง ๓ ประเภท วิชาตามกฎหมายคือ
วิชาเวชกรรม วิชาเภสัชกรรมและวิชาผดุงครรภ์ ในช่วงเวลาดังกล่าวจึงเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสาคัญที่ทา
ให้วิทยาการเกี่ยวกับสมุนไพรและการแพทย์แผนโบราณหยุดชะงักและกระจัดกระจายและขาดการ


เจ้าพระยาวิชยาธิบดี (กล่อม), ตาราโรคนิทาน, หน้า ๑.

นิพล ธนธัญญา, ตารายาแผนโบราณ, [ออนไลน์], แหล่งที่มา http://doctor.or.th/node/๓๗๒๕,(๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘).

พัฒนาอย่างต่อเนื่องก่อให้เกิดผลกระทบที่สาคัญคือ ๑. ประชาชนขาดการสนใจในเรื่องสมุนไพรและ
ยาแผนโบราณ ๒. ผู้ประกอบโรคศิลปะแผนโบราณได้ใช้สมุนไพรมาปรุงยารักษาโรคตามความเชื่อที่
สืบทอดมา แต่ยังขาดความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาสนับสนุนสรรพคุณยาแผนโบราณที่ปรุงขึ้น ๓. ยังไม่มี
การควบคุมการผลิต จาหน่ายสมุนไพร ทาให้ไม่สามารถคุ้มครองผู้บริโภคได้ ประชาชนไม่เชื่อมั่นใน
สมุนไพร ๔. การศึกษาวิจัยสมุนไพรทางด้านเภสัชวิทยา พิษวิทยาและการพัฒนาตารับยามีไม่เพียงพอ
ทาให้แพทย์สมัยใหม่ยอมรับกันน้อยมาก
พระพุทธศาสนา มีทัศนะว่าความเจ็บปุวยเป็นปัญหาสาคัญของมนุษย์เช่นเดียวกับปัญหา
เรื่องความเกิด ความแก่ และความตาย เนื่องจากความเจ็บปุวยเป็นกระบวนการทางธรรมชาติอย่าง
หนึ่งของทุกชีวิตดาเนินไปตามกฎของธรรมชาติซึ่งใคร ๆ ก็ไม่อาจปฏิเสธได้ แม้แต่พระพุทธเจ้าผู้เป็น
ศาสดาเอกในโลกทรงพ้นจากทุกข์ทั้งปวงพระองค์ก็ทรงประชวรทางพระวรกายและดับขันธปรินิพพาน
เช่นกัน เรื่องนี้เป็นปกติธรรมดาดังที่พระองค์ตรัสว่า๕ "เรามีความแก่เป็นธรรมดาไม่ล่วงพ้นความแก่ไป
ได้ เรามีความเจ็บเป็นธรรมดาไม่ล่วงพ้นความเจ็บไปได้ เรามีความตายเป็นธรรมดาไม่ล่วงพ้นความ
ตายไปได้" เพราะฉะนั้ น เมื่อบุคคลมีความเจ็บปุว ยเกิดขึ้นจึงต้องแสวงหาวิธีการรักษาบาบัดตาม
กระบวนการบาบัดที่แตกต่างกันไป ในแต่ละสังคมนั้น ๆ จะพึงแสวงหาได้ เพื่อให้ตนเองพ้นไปจาก
ความทุกข์ทรมาน ซึ่งได้รับจากความเจ็บปุวยที่เป็นอยู่นั้นโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อให้ชีวิตรอดพ้นจาก
ความตายถึงแม้ว่าในการรักษาบาบัดโรค บางครั้งก็หายบางครั้งก็ไม่หายสุดแล้วแต่สาเหตุของโรคและ
วิธีการรักษาซึ่งในปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่า ความตื่นตัวของ ประชาชนทั่วโลกในการแก้ปัญหา
การเจ็บปุวยด้วยโรคเรื้อรังทุกชนิดก่อให้เกิดทางเลือกในการดูแล สุขภาพของตนเองลักษณะต่างๆกัน
เช่นสมุนไพรบาบัดธรรมชาติบาบัดชีวจิตพลังจักรวาลสมาธิ บาบัดการนวดแผนไทย ซึ่งเป็นการรื้อฟื้น
ภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่เคยใช้ได้ผลดีในอดีตมาผสมผสาน การดูแลสุขภาพตามแนวทางของแพทย์แผน
ปัจจุบัน๖ฉะนั้น การรักษาบาบัดโรคที่มีความเชื่อทาง พระพุทธศาสนาเป็นพื้นฐานและการปฏิบัติตน
ตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามีความสั มพันธ์ อย่างเด่นชัดกับจิตลักษณะที่เป็นรากฐานของ
พฤติกรรมที่น่าปรารถนาของบุคคลนั้นคือบุคคลที่มี ความเชื่อและการปฏิบัติทางพุทธศาสนาจะมี
ความเชื่ออานาจในตนมีเหตุผลเชิงจริยธรรมมีเจตคติที่ดีต่อพฤติกรรมที่น่าปรารถนาทั้งยังมีลักษณะมุ่ง
อนาคตและยังพบว่าความเชื่อและการปฏิบัติทางพุทธศาสนาเมื่อพิจารณาร่วมกับจิตลักษณะสามารถ
เป็นตัวทานายประสิทธิภาพการทางานที่ดีด้วย๓
การแพทย์แผนไทย หรือ การแพทย์แผนโบราณ เป็นการดูแลสุขภาพทั้งสภาวะปกติและ
สภาวะที่ผิดปกติ (เป็นโรค) โดยใช้ทฤษฎีความสมดุลของธาตุต่าง ๆ ในร่างกายและกายวิภาคศาสตร์
(anatomy) หลักวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์เข้ามาอธิบาย ตามหลักวิชาการหลักเวชปฎิบัติ โดย
อาจารย์ณรงค์ฤทธิ์ อัษฎางค์เดชาวุธ (แน่นกระโทก) ผู้อานวยการศูนย์พัฒนาการแพทย์แผนไทยและ


ปริญญาณ วันจันทร์, “ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับประสิทธิภาพในการทางานของครูประถมศึกษาในจังหวัดเชียงราย ”, วิท
ยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, (บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรนครินทรวิโร, ๒๕๓๙).

แพทย์ทางเลือกจังหวัดนครราชสีมา สมาคมแพทย์แผนไทยแห่งประเทศไทย ได้อภิปรายบรรยายไว้


ดังต่อไปนี้๔
จากหลักฐานสมัยอยุธยาพบว่า การแพทย์แผนไทยได้อิทธิพลรับจากอายุรเวทอินเดียเป็น
สาคัญ โดยกล่าวว่าหมอชีวกโกมารภัจจ์ (แพทย์ประจาตัวของพระพุทธเจ้า) เป็นผู้แต่งคัมภีร์แพทย์
ครั้นพระพุทธศาสนาเริ่มเผยแผ่เข้ามาสู่ไทย พระสงฆ์ผู้เข้ามาเผยแผ่พระพุทธศาสนาได้นาความรู้ใน
การรักษาโรคเข้ามาใช้กับชาวบ้านด้วย จึงเกิดการผสมผสานกับวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของคนไทยองค์
ความรู้ด้านการแพทย์แผนไทยล้วนเป็นผลสืบเนื่องจากการสะสมประสบการณ์ในการต่อสู้กับโรคภัย
ไข้เจ็บตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยมองว่าจิตใจและอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายมนุษย์มีการทางานที่
สัมพันธ์และเป็นหนึ่งเดียว นอกจากนี้ยังสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงจักรวาล การแก้ปัญหาจึงใช้
วิธีแบบองค์รวม (holistic) ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องของการแพทย์อย่างเดียวล้วน ๆ แต่เป็นเรื่องของ
ปรัชญาความคิดที่ครอบคลุมไปถึงการดาเนินชีวิตตามแบบวิถีชีวิตคนไทย
การแพทย์ แผนไทย เป็นความจาเป็นในการดาเนินชีวิตของมนุษย์ เนื่องจากร่างกาย
คนเรา ย่อมเสื่อมสภาพไปตามธรรมชาติ หรือด้วยเหตุต่างๆ เพื่อต่อสู้กับภาวะดังกล่าว การค้นหาวิธี
ปูองกันการเจ็บปุวย การบาบัดรักษา การบรรเทาอาการเจ็บปุวย และการบริบาล จึงก่อเกิดขึ้นมาและ
พัฒนาต่อๆ มาจนกับระบบที่มีแบบแผน กลายเป็น "การแพทย์" ที่มีแบบแผนชัดเจนการแพทย์แผน
ไทย จึ ง เป็ น ภู มิ ปั ญ ญาของสั ง คม ที่ มาจากความเชื่ อ ความรู้ ความคิ ด การลองผิ ดลองถู ก และ
กลายเป็นการยอมรับในสังคม แต่ละชนชาติ ต่างมีวิวัฒนาการทางการแพทย์ของตนเอง กลายเป็นภูมิ
ปัญญาของชนชาตินั้นๆ หรือท้องถิ่นนั้นๆ
การแพทย์ แ ผนไทย มี วิ วั ฒ นาการมานาน มี ห ลั ก ฐานตั้ ง แต่ ส มั ย ก่ อ นประวั ติ ศ าสตร์
อย่างไรก็ตามยุคทองของการแพทย์แผนไทย ก็ต้องนับสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น พระบาทสมเด็จพระ
พุทธยอดฟูาจุฬาโลก (พุทธศักราช ๒๓๒๕ - ๒๓๕๒) ได้มีการจัดตั้งกรมหมอ และโรงพระโอสถ มีการ
ปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม โปรดให้รวบรวมตารายา และฤาษีดัดตนไว้ตามศาลาราย ซึ่ง
เป็นที่ยอมรับกันจนถึงปัจจุบัน สมกับเป็นโรงเรียนแพทย์แห่งแรกของไทย

๑.๑ ความหมายและความสาคัญของแพทย์แผนไทย
๑) ความหมาย
กลุ่มงานพัฒนาวิชาการแพทย์แผนไทยและสมุนไพร ได้อ้างถึงการแพทย์แผนไทยตาม
พระราชบั ญญัติ คุ้มครองและส่ งเสริม ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ. ๒๕๔๒ หมายความว่ า
กระบวนการทางการแพทย์ที่เกี่ยวกับการตรวจ วินิจฉัย บาบัด รักษา หรือปูองกันโรค หรือส่งเสริม
สุขภาพของมนุษย์หรือสัตว์ การผดุงครรภ์ การนวดไทย และให้หมายถึงการเตรียมการผลิตยาแผน


การแพทย์แผนไทย, [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki/, [๑๐ มกราคม๒๕๖๔].

ไทย และการประดิษฐ์ อุป กรณ์และเครื่องมือทางการแพทย์ ทั้งนี้โ ดยอาศัยความรู้ห รื อตาราที่ได้


ถ่ายทอดและพัฒนาสืบต่อกันมา๕
การแพทย์แผนไทย คือ ปรัชญา องค์ความรู้ และวิธีการปฏิบัติเพื่อการดูแลสุขภาพและ
การบาบัดรักษาโรค ความเจ็บปุวยของประชาชนแบบดั้งเดิม สอดคล้องกับขนบธรรมเนียม วัฒนธรรม
ไทยและวิถีแบบไทย วิธีการปฏิบัติของการแพทย์แผนไทยประกอบด้วยการใช้สมุนไพร (คือ การต้ม
การอบ การประคบ การปั้ นเป็ นลู กกลอน) หัตถบาบัด การรักษากระดูกแบบดั้งเดิม การใช้พุทธ
ศาสนา (พิธีกรรม) เพื่อดูแลสุขภาพจิต การคลอด การดูแลสุขภาพแบบไทยเดิม และธรรมชาติบาบัด
ซึ่งได้จากการสะสมและถ่ายทอดประสบการณ์อย่างเป็นระบบโดยการบอกเล่า การสังเกต การบันทึก
การวิเคราะห์ วิจัย
การแพทย์แผนโบราณ คือ การแพทย์ที่มีในกาลก่อนแบบเก่าแก่ ระบบการแพทย์พื้นบ้าน
เช่น การแพทย์ของภาคเหนือ ภาคอิสาน ภาคใต้ เป็นระบบวัฒนธรรมในท้องถิ่น มีเรื่องของความเชื่อ
พิธีกรรม ความสัมพันธ์ในสังคมร่วมกับเรื่องของยา หมอและคนไข้ มีความเกี่ยวโยงกัน เช่น การแพทย์
ท้องถิ่น อิสาน มีผีปูุตา ผีฟูา ดังนั้น การปุวย การหายจากการปุวยจึงมีความเกี่ยวข้องกับผีปูุตา ผีฟูา
กระดู ก หั ก จะใช้ เ ฝื อ กไม้ ไ ผ่ มี ต้ น ทุ น น้ อ ยเหมาะสมในตั ว เอง การแพทย์ พื้ น บ้ า น เคารพความ
หลากหลาย ยอมรั บ ความแตกต่ างของความเชื่อ และวิธีการ องค์ความรู้ของการแพทย์พื้นบ้า น
สัมพันธ์กับภาวะเศรษฐกิจสังคมที่เกี่ยวกับสุขภาพ๖
สรุปได้ว่า การแพทย์แผนไทย เป็นวิธีการดูแลสุขภาพและการบาบัดรักษาความเจ็บปุวย
ของคนไทยที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมอันดีของไทย มีการใช้สมุนไพร การอบ การประคบและการนวด
ไทย ที่มีเอกลักษณ์เป็นแบบแผนไทย
๒) ความสาคัญ
การแพทย์แผนไทยมีความสาคัญ มีประโยชน์ต่อการแพทย์ และสาธารณสุขไทยตลอดมา
ดังนี้
๑. มีฐานะเป็นส่วนหนึ่งของสังคมเป็นที่พึ่งทางใจและสุขภาพร่างกายให้แก่ชุมชน
๒. เป็นทางเลือกในการรักษาพยาบาลให้แก่ผู้ปุวยที่จะเลือกระหว่างแพทย์ แผน โบราณ
หรือแผนปัจจุบัน
๓. เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมพื้นบ้าน เป็นมรดกตกทอดกันมาและไม่สูญหายไป จาก
สังคมไทย


กลุ่มงานพัฒนาวิชาการแพทย์แผนไทยและสมุนไพร , รายงานการวิจัยการศึกษาสภาพตาราการแพทย์แผนไทย ,
(นนทบุรี : สถาบันการแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกกระทรวงสาธารณสุข, ๒๕๔๘), หน้า ๔.

สมพร ภูติยานันต์ , ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับแพทย์แผนไทย , (กรุงเทพมหานคร : โครงการพัฒนาตาราสถาบัน
การแพทย์แผนไทย, ๒๕๔๒), หน้า ๕๐-๕๑.

๔. เป็นส่วนส่งเสริมให้ชุมชนพึ่งตนเองได้ในเรื่องของการรักษาพยาบาลเบื้องต้น โดยใช้
ทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่น เช่น การใช้สมุนไพรพื้นบ้านในการรักษาโรค๗
การแพทย์แผนไทยเกิดขึ้นด้วยปัจจัยภายในของแต่ละสังคม มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับ
ชุมชนมานาน ประสิทธิผลของการบาบัดรักษาโรคบางกรณีไม่เป็นรองการแพทย์แผนปัจจุบัน มีการสั่ง
สมภูมิปัญญาต่อเนื่องจนสามารถดารงอยู่คู่กับการเปลี่ยนผ่านของสังคมนั้นๆ ตลอดถึงสามารถสร้าง
ผลิตซ้าองค์ความรู้ใหม่ขึ้นตลอดเวลาพัฒนาการการแพทย์แผนไทยตามลาดับ ตั้งแต่ยุคสุโขทัย จนถึง
ยุคกรุงรัตนโกสินทร์ในปัจจุบันเป็นเครื่องยืนยันความสาคัญของการแพทย์แผนไทยได้ดี

๒.๒ พัฒนาการของการแพทย์แผนไทย
พัฒนาการของการแพทย์แผนไทย มีรากฐานจากการแพทย์อายุรเวทของอินเดียพร้อมกับ
เผยแผ่พระพุทธศาสนาในสังคมไทย ปรัชญา แนวคิดและหลักการ จึงได้รับอิทธิพลจาก การแพทย์ของ
อินเดีย และพระพุทธศาสนาเป็นสาคัญ มุ่งเน้นความเป็นองค์รวม (Holism) ของบุคคลที่ประกอบด้วย
ร่างกาย (Body) จิตใจ สังคมและสิ่งแวดล้อมที่มีการทางานที่สัมพันธ์กัน มีความสอดคล้องกลมกลืน
กับธรรมชาติ เมื่อใดที่มนุษย์มีชีวิตเบี่ยงเบนไปจากกฎเกณฑ์ของ ธรรมชาติ ร่างกายของมนุษย์จะเสีย
สมดุล เกิดการเจ็บปุวย๘
ปรัชญาการแพทย์แผนไทยถือว่า การเจ็บปุวยนั้นมีสาเหตุมาจากความไม่สมดุลภายในตัว
ผู้ปุวย หรือไม่สมดุลกับสิ่งภายนอกและสิ่งแวดล้อม เช่น ดิน น้า อากาศ และฤดูกาล หรือการวินิจฉัย
ว่าการเจ็บปุวยมีสาเหตุมาจากที่ร่างกายไม่สมดุลทั้งระบบ ดังปรากฏในคัมภีร์แพทย์แผนโบราณของ
ไทย เช่น คัมภีร์สมุฏฐานวินิจฉัย กล่าวถึงองค์ประกอบของร่างกายของมนุษย์ ความสมดุล ความ
แปรปรวนอันเป็นที่ตั้งของการเกิดโรค รวมทั้งการบาบัดรักษาด้วยการรักษา สมดุลต่างๆ ในเรื่อง
องค์ประกอบของร่างกายมนุษย์ที่ประกอบด้วยธาตุสี่ คือ ดิน น้า ลม ไฟ
ประวัติศาสตร์ได้กล่าวถึงไว้มากเพียงพอ ถึงระบบการแพทย์และวัฒนธรรมของแต่ละ
ประเทศ เช่ น การแพทย์ แผนจี น การแพทย์อ ายุรเวทของอินเดี ย เป็น ต้น โดยเฉพาะการแพทย์
อายุรเวทของอินเดีย ถูกกล่าวถึงในสังคมการแพทย์แผนโบราณของไทยมากที่สุดว่า “การแพทย์แผน
ไทยเป็นการพัฒนาหรือลอกเลียนแบบมาจากการแพทย์อายุรเวทของอินเดีย ”๙ ซึ่งมาพิจารณาโดยผิว
เผินแล้ว มีความเป็นไปได้มากทีเดียว เพราะประกอบด้วยเหตุผลสนับสนุนอยู่หลายประการเช่น
๑. ประเทศทั้ง ๒ มีภูมิอากาศโดยส่วนใหญ่ใกล้เคียงกัน คือ เป็นประเทศร้อนชื้น
๒. พืชและสมุนไพรจึงมีลักษณะและคุณสมบัติใกล้เคียงกันโดยสืบเนื่องจากเหตุผลข้อที่ ๑


อัมพร ถิ่นประเทศ, นวดเพื่อสุขภาพครบวงจร, (กรุงเทพมหานคร : ภูมิปัญญา, ๒๕๔๖), หน้า๑๔๓.

สมพร ภูติยานันต์, ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับแพทย์แผนไทย, หน้า ๓๙.

ประทีป ชุมพล, ประวัติศาสตร์การแพทย์แผนไทย, (กรุงเทพมหานคร : สานักพิมพ์มติชน, ๒๕๔๕),หน้า ๑๖-๑๘.

๓. ประเพณีและวัฒนธรรมโดยส่วนใหญ่ ประเทศไทยรับอิทธิพลมาจากประเทศอินเดีย
ผ่านทางศาสนาพราหมณ์และฮินดู
๔. ประเทศไทยมีศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจาชาติ ซึ่งพระพุทธเจ้าประสูติที่ประเทศ
อินเดีย พร้อมประกาศคาสอนและมีความจริงอันสมบูรณ์เริ่มต้นในประเทศอินเดีย
๕. คาสอนและเรื่องราวในพุทธกาล ถูกบันทึกลงในคัมภีร์ที่เราเรียกว่า "พระไตรปิฎก"ซึ่ง
ในหลายส่วนเกี่ยวข้องกับอวัยวะและกลไกต่าง ๆ ของร่างกาย (ปัจจุบันเทียบได้กับวิชา กายวิภาคและ
สรีระวิทยา)
๖. พระไตรปิฎกได้กล่าวถึง การเจ็บปุวย วิธีการดูแลรักษา และการใช้สมุนไพรในการ
รักษา ซึ่งก็ปรากฏอยู่ในคัมภีร์แพทย์ของการแพทย์แผนไทย
๗. เหตุผลในการหลั่งไหลของวัฒนธรรมระหว่างชาติ และการเผยแพร่ศาสนาพุทธ จาก
ประเทศอินเดียสู่ดินแดนสุวรรณภูมิ
๘. เหตุผลประกอบอื่น ๆ
จากเหตุผ ลดังกล่ าว เราควรพิจ ารณาถึงการแพทย์อ ายุรเวทของประเทศอินเดียโดย
แท้จริงว่า มีที่มาอย่างไร ใช้วิธีการ ขบวนการรักษา และบาบัด จากการมีพื้น ฐานเช่นไร เพื่อนามา
เปรียบเทียบ การแพทย์แผนไทยที่ถูกบันทึกไว้ตั้งแต่ช่วงต้นรัตนโกสินทร์โดยปราศจากอารมณ์อคติ
"อายุรเวท" หมายถึง ศาสตร์แห่งชีวิต๘ โดยสามารถแยกอธิบายได้ดังนี้
"อายุร" แปลว่าชีวิตหรือช่วงเวลาของการมีชีวิต คือตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย และรวมทั้ง
การดารงหรือการมีชีวิตในแต่ละวัน
"เวท" แปลว่า ศาสตร์วิทยาศาสตร์หรือความรู้
ดังนั้น "อายุรเวท" จึงมีความหมายที่กว้าง เป็นองค์รวม (Holistic) ของการดารงชีวิต
ทั้งหมด กว้างไกลกว่าที่จะพูดถึงแต่เรื่องสุขภาพหรือการเจ็บปุวย แต่เพียงอย่างเดียว๑๐
ศาสตราจารย์ น.พ.เฉลี ย ว ปิ ย ะชน กล่ า วในหนั ง สื อ อายุ ร เวทศาสตร์ แ ห่ ง ชี วิ ต ว่ า
"อายุรเวท" เป็นสาขาหนึ่งของพระเวทอยู่ในระดับที่เรียกว่า อุปเวท คือเป็นศาสตร์ที่เป็นสาขารองหรือ
เกื้อหนุน อาถรรพเวท ซึ่งได้บันทึกจดจาไว้นับแต่โบราณกาลมาไม่น้อยกว่า ๔,๐๐๐ ปี (คงจะคล้ายกับ
พระคัมภีร์ ทางพระพุทธศาสนา คือพระไตรปิฎกที่มีคัมภีร์เกื้อหนุน เช่น อรรถกถา ฎีกา ฯลฯเป็นต้น)
โดยคัมภีร์พระเวทมี ๔ คัมภีร์คือ ฤคเวท(Rig Veda) ยชุรเวท(Yajur Veda) สามเวท(SamaVeda)
อาถรรพเวท (Atharva Veda)๑๑

๑๐
. เฉลียว ปิยะชน, อายุรเวทศาสตร์แห่งชีวิต, พิมพ์ครั้งที่ ๓, (กรุงเทพมหานคร : สานักพิมพ์มติชน,๒๕๔๔), หน้า ๒๗.
๑๑
วุฒิ วุฒิธรรมเวช, ย่อเวชกรรมแผนไทย, (กรุงเทพมหานคร : บริษัทสยามบรรจุภัณฑ์และการพิมพ์ จากัด , ๒๕๔๗),
หน้า ๑๘.

๒.๓ การแพทย์แผนไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
ปรัชญาทางการแพทย์แผนไทย (Philosophy of Thai Traditional Medicine)
การแพทย์แผนไทย (Thai Traditional Medicine) คือ วิธีการดูแลสุขภาพของคนไทยที่
สอดคล้องกับวัฒนธรรมและประเพณีไทย มีการใช้สมุนไพรทั้งในรูปแบบอาหารและยา นามาใช้ในการ
อบ การประคบ การนวด การแพทย์แผนไทยมีการวินิจฉัยโรค โดยมีความเชื่อแบบไทย มีองค์ความรู้
เป็ น ทฤษฏี โดยอาศัย พื้นฐานทางพระพุทธศาสนา ผสมกลมกลื นกับความเชื่อ ทางพิธีกรรมและ
ประสบการณ์การใช้สมุนไพรในท้องถิ่น มีการเรียนการสอนและการถ่ายทอด ความรู้อย่างกว้างขวาง
ลืบทอดมายาวนานหลายพันปี นับเป็นภูมิปัญญาที่น่าตระหนักค่าอย่างยิ่ง๑๒
๑. การแพทย์ก่อนสมัยสุโขทัย
ก่ อ นจะมาเป็ น การแพทย์ แ ผนไทยสมั ย สุ โ ขทั ย ในการพิ จ ารณาเรื่ อ งเกี่ ย วกั บ
การแพทย์ ส มั ย ก่ อ นนั้ น เป็ น เรื่ อ งที่ ค่ อ นข้ า งยากแก่ ก ารพิ จ ารณา เนื่ อ งจากขาดหลั ก ฐานทาง
ประวัติศาสตร์ เพราะสาเหตุการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรเพิ่งจะปรากฏพบในสมัยสุโขทัยยุ คพ่อขุน
รามคาแหง มหาราชทรงประดิษฐ์ลายลือไท ในปี พ.ศ. ๑๘๒๖ แต่เดิมอักษรพราหมณ์สมัยพระเจ้า
อโศก มหาราช เป็นต้นกาเนิดของอักษรสันสกฤต และอักษรนี้ยั งเป็นต้นกาเนิดของอักษรขอม ถูก
นามาใช้ ในดินแดนสุวรรณภูมิมาก่อน และคนไทยใช้อักษรขอม ไทยนี้คัดลอกคัมภีร์พุทธศาสนาและ
ตารา วิชาการที่มาจากอินเดียโบราณ เมื่อพ่อขุนรามคาแหงมหาราช ได้ทรงคิดค้นประดิษฐ์ลายลือไท
หรือ อักษรไทยขนจากอักษรโบราณดังกล่าว แล้วโปรดให้ทาการจารึกไว้ในแท่งหินชนวนสี่เหลี่ยมสูง
๑๑๑ เซนติเมตรในปี พ.ศ.๑๘๓๖ จึงทาให้เราพบหลักฐานเกี่ยวกับบ้านเมืองสยามหรือไทยมากขึ้น๑๓
ดังนั้น การสืบหาเรื่องราวความเป็นไทยต่าง ๆ จึงมักเทียบเคียงจากบันทึกของต่างชาติ
เช่น ชาวตะวันตกที่ผ่านเข้ามาหรืออยู่ในดินแดนสุวรรณภูมิ และที่สาคัญคือการบันทึกของชาวจีนส่วน
วัฒนธรรมการดาเนินชีวิต การเจ็บไข้ก็สามารถเทียบเคียงได้จากการขุดค้นของนักโบราณคดีและนัก
ประวัติศาสตร์ต่างชาติที่สนใจเข้ามาศึกษาข้อมูลของชนชาติในดินแดนแถบนี้ ในเรื่องเกี่ยวกับสุขภาพ
หรือโรคภัยไข้เจ็บของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์จึงมีเงื่อนไขจากัด เพราะสามารถศึกษาได้จากกระดูก
และฟืนเท่านั้น ถ้าโรคใดไม่ทาให้กระดูกและฟืนเปลี่ยนลักษณะไปก็ไม่สามารถศึ กษาได้เพราะไม่มีรอย
โรคที่กระดูก๑๔
สรุปได้ว่า หลักฐานที่พอจะบอกได้ถึงความเจ็บไข้ของมนุษย์ในบางโรคสามารถพบได้จาก
ร่องรอยของกระดูกและฟืนที่ผู้เชี่ยวชาญได้ค้นพบดังกล่าว รวมถึงวิธีการรักษาและเยียวยา คงใช้

๑๒
เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ, ประวัติวิวัฒนาการและการประยุกต์ใช้การแพทย์แผนไทย ,(กรุงเทพมหานคร : บริษัทสาม
เจริญพาณิชย์, จากัด, ๒๕๕๐), หน้า ๙.
๑๓
พลาดิศัย สิทธิธัญกิจ, ประวัติศาสตร์ไทยฉบับเสริมการเรียนรู้, (กรุงเทพมหานคร : บริษัทตราเตาพับลิเคชั่น จากัด,
๒๕๕๒), หน้า ๔๕๑.
๑๔
ประทีป ชุมพล, รศ., ประวัติศาสตร์การแพทย์แผนไทย, (กรุงเทพมหานคร : สานักพิมพ์มติชน,๒๕๔๕), หน้า ๒๕.

สมุนไพรที่ได้ขุดค้นพบร่องรอยและพิธีกรรม ซึ่งหลักฐานดังกล่าวบ่งบอกเรื่องของมนุษย์ที่อาศัยอยู่ใน
ดินแดนของประเทศไทยในสมัยก่อนประวัติศาสตร์
พุทธศาสนานั้น จากหลักฐานดังกล่าวข้างต้นว่าเริ่มเผยแพร่สู่ดินแดนสุวรรณภูมิในสมัย
พุทธศตวรรษที่ ๓ สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช และต่อมาได้มีการเผยแพร่อีกในระยะหลัง เดิมใช้ ภาษา
สันสกฤตของนิกายสรวาสติกวาท ต่อมาเมี่อพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทจากสิงหลทวีป(ศรีลังกา) ได้
เข้ามาเผยแพร่ และมามีอิทธิพลในดินแดนแถบนี้จึงทาให้การคัดลอกตาราเปลี่ยนจากภาษาสันสกฤต
มาเป็นภาษาบาลีแทน ด้วยเหตุนี้ในสมัยอยุธยานั้น วิทยาการโบราณที่เคยคัดลอกเป็นภาษาสั นสกฤต
นั้นจึงถูกคัดลอกเป็นภาษาบาลีมากขึ้น แต่เป็นที่น่าเสียดายว่าในภายหลัง ตาราที่เป็นศาสตร์โบราณ
เหล่านี้ได้ถูกทาลายไปเกือบหมดสิ้น ดังเช่น สมัยอยุธยาเมื่อครั้งแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง
(พ.ศ. ๒๑๗๓ - พ.ศ. ๒๑๙๘) ได้มีการนาเอาตาราวิทยาการโบราณ คือ ตาราไสยศาสตร์และ ตารา
โหราศาสตร์ซึ่งอาจรวมถึงตาราศาสตร์อื่นๆ ด้วยมาเผาทึ้ง เพื่อไม่ให้เป็นหลักฐานของความงมงาย ที่
ทาให้เห็นว่าเป็นสิ่งสร้างความล้าหลังของผู้คนในชาติ และเกรงว่าบุตรหลานของราชวงศ์ก่อนจะใช้ ตา
ราไสยศาสตร์และโหราศาสตร์นั้นมาแก้แค้น และครั้งหลังสุดเมื่อกรุง ศรีอยุธยาถูกพม่าเข้าตีพระนคร
ในปี พ.ศ. ๒๓๑๐ นั้นกรุงศรีอยุธยาถูกเผาทาลายเมือง จึงเป็นเหตุหนึ่งที่ทาให้บรรดาวิทยาการต่างๆ
ที่ นามาจากประเทศอินเดียโบราณเข้ามาเผยแพร่ตามศาสนาได้ถูกทาลายไปด้วยแต่ยังคงเหลืออยู่บ้าง
เพียงส่วนน้อย ที่ยังคงเหลือเป็นคัมภีร์ในพุทธศาสนาที่มีการคัดลอกต่อๆ กันสาหรับใช้สั่งสอนเรียน
อยู่ตามวัด ตามสานักเรียนของครูบาอาจารย์ด้วยเหตุนี้ตารา ตานานและโบราณศาสตร์จึงมีการจดจา
โดยครู บ าอาจารย์ ที่ เ หลื อ อยู่ ภายหลั ง ได้ มี ก ารคั ด ลอกและแต่ ง ขึ้ น ใหม่ ใ นสมั ย รั ต นโกสิ น ทร์ นั้ น
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจึ งโปรดให้รวบรวมตาราต่างๆ รวมถึง ตารายาไทยและแต่งขึ้น
เพื่อจารึกรักษาไว้เป็นสานักเรียนที่วัดโพธิ์ อยู่จนปัจจุบันนี้
นอกจากการใช้โ บราณศาสตร์ที่รับมาจากวัฒ นธรรมอิน เดียโบราณ นามาปรับใช้กั บ
ศาสตร์และความรู้ที่ตนมีอยู่และใช้อยู่ในท้องถิ่น และให้ความสาคัญกับหลักของศาสนา โดยเฉพาะ
พุทธศาสนานามาสร้างแนวทางการอยู่ร่วมกันด้วยความเชื่อ จะเห็นได้ว่าผู้ปกครองประเทศที่ประสบ
ความสาเร็จมักใช้หลักศาสนาเป็นพระธรรมนูญ ควบคุมสังคมหรือบ้านเมืองให้อยู่ร่วมกันด้วยความสุข
และการแผ่อานาจโดยใช้ศาสนาเป็นหลักชัยนั้น สามารถสร้างสังคมเดียวกันได้กว้างไพศาล กษัตริย์
หรือผู้นาอาณาจักรที่ใช้ศาสนาเป็นหลักชัยในการปกครองประเทศนั้น ย่อมได้รับการยกย่องถึง ความ
เป็น พระมหาจักรพรรดิ ที่สามารถแผ่ธรรมานุภาพและพระเดชานุภาพไปทั่วสารทิศ ดังเช่น พระเจ้า
อโศกมหาราชแห่งราชวงศ์โมริยะ และพระมหาธรรมราชาที่ ๑ (พระยาลิไทย) แห่งราชวงศ์ พระร่วง
เมืองสุโขทัย ๑๘ พระองค์เป็นพระมหาธรรมราชาที่นาหลักธรรมปกครองบ้านเมือง และใช้ ธรรมะ
แก้ไขปัญหาความขัดแย้งทั้งปวงทานุบารุงพระศาสนาและสร้างสิ่งก่อสร้างในพระพุทธศาสนาพระองค์
มีความศรัทธา ถึงกับได้ลาผนวช แล้วยังได้พระราชนิพนธ์ไตรภูมิกถา เพื่อ ใช้สั่งสอนประชาชน ทาให้
เมืองสุโขทัยเป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนา แบบลังกาวงศ์ และความสาคัญของพุทธศาสนา ก็
เจริญต่อเนื่องมายังสมัยอยุธยาและในปัจจุบัน

หลักฐานที่พบได้ทางการแพทย์แผนไทยก่อนพุทธศตวรรษที่ ๑๘
หลักฐานเกี่ย วกับการเจ็บไข้ได้ปุวย การดูแลรักษาในสมัยก่ อนพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ไม่
ปรากฏ หลักฐานใดๆ พอจะนามาอ้างอิงได้ แต่มีหลักฐานของกษัตริย์ประเทศกัมพูชา คือ พระเจ้า
ชัยวรมันที่ ๗ ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่าอาณาจักรฟูนันได้เคยเจริญรุ่งเรืองและเสื่อมลง ในพุทธศตวรรษที่
๑๑ และเกิ ดอาณาจั ก รขอมขึ้น มาแทนที่ ในระหว่างนั้น รัฐ และอาณาจั กรต่า งๆ ที่รุ่ งเรือง ได้แ ก่
อาณาจักรทวารวดี อาณาจักรศรีวิชัย อาณาจักรพุกาม อาณาจักรเจนละ และอาณาจักรกัมพูชา ใน
ระหว่ า งนั้ น ได้ มี การผสมผสานของชนหลายเชื้ อ ชาติ ที่ ร วมกั น อยู่ อาณาจั ก รกั ม พู ช าซึ่ ง มี ค วาม
เจริญรุ่งเรืองสูงสุด ในระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๖ -๑๗ และได้ขยายอานาจเข้ามาปกครองดินแดน
บางส่วนในประเทศไทย ปัจจุบันโดยมีหลักฐานบันทึกไว้ว่า พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ทรงสร้างปราสาท
พระขรรค์ขึ้นตั้งอยู่ทาง ทิศเหนือของพระนครหลวง (นครธม) พระองค์ให้สร้างศิลาจารึกสาคัญไว้ที่
ปราสาทนี้ด้วย คือ จารึกปราสาทพระขรรค์ ๑๕ มีข้อความกล่าวถึงที่พักคนเดินทาง (ผู้จาริกแสวงบุญ)
๑๒๑ แห่ง ตั้งอยู่ห่างกัน ประมาณ ๑๕ กิโลเมตร ตามเสันทางเดินที่มีอยู่ในอาณาจักรขอม และทรง
สร้างสถานพยาบาล ๑๐๒ แห่ง ที่ เรียกว่า อโรคยศาล ทั่วราชอาณาจักรขอม ซึ่งในป็จจุบันนี้ได้มีการ
ค้นพบอโรคยศาลดังกล่าวแล้วใน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย มีจานวน ๒๒ แห่ง๑๖
๒. การแพทย์แผนไทยในสมัยสุโขทัย
อาณาจักรสุโ ขทัย ถือได้ว่าเป็นความเจริญรุ่งเรืองอย่างแท้จริงของชนเผ่าไทย โดยเริ่ม
เจริญรุ่งเรืองต่อเนื่องจากการเสื่อมถอยของอาณาจักรขอม ภายหลังจากการสี้นพระชนม์ของ พระเจ้า
ชัยวรมันที่ ๗ เป็นความเจริญและอุดมสมบูรณ์ และงดงามของชนเผ่าไทยที่รับรู้ได้จาก ศิลาจารึกใน
สมัย พ่อขุน รามคาแหง ได้ริ เริ่ มลายสื อไทในปี พ.ศ. ๑๘๒๖ และจารึกไว้ในศิล าชนวน ในปี พ.ศ.
๑๘๓๕๑๗ โดยศิลาจารึกหลักที่ ๑ นี้ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร
โดยความเจริญของสุโขทัยเกิดขึ้นจากผู้ปกครองที่ใช้รูปแบบ "พ่อขุน" มีลักษณะ เหมือนพ่อปกครอง
ลู ก พ่อขุน นั้ น ทาหน้ าที่ดูแลประชาชนอย่างใกล้ ชิ ด ไม่ถือพระองค์ไม่ถืออานาจ ไม่ถือยศศักดิแ ต่
อย่างไร คอยแก้ไขปัญหาและขจัดความเดือดร้อน ตลอดจนให้ความเป็นธรรม พร้อมกับการมีพุทธ
ศาสนาแบบหีนยานเป็นหลักของความศรัทธา แต่เป็นที่น่าเสียดายว่าไม่มี การบันทึกหรือหลักฐาน
เกี่ยวกับการเจ็บไข้ และการรักษาทางการแพทย์แผนไทย สิ่งที่พอพบได้ ก็คือหลักฐานบางประการที่
นาไปสู่การสันนิษฐานถึงเหตุดังกล่าว ซึ่งชาวสุโขทัยก็คงไม่แตกต่างจาก มนุษย์เผ่าพันธุอื่นที่ย่อมต้องม
การเจ็บไข้ และการรักษาพยาบาล ซึ่งสังคมในยุคนี้ถึงแม้จะมี พุทธศาสนาเป็นหลัก แต่ความเชื่อเรื่อง
พระเจ้า สิ่งศักดิ์สิทธิ์ และนับถือผี ยังเป็นเรื่องที่สาคัญ สาหรับ เรื่องความเชื่อในเรื่องการเจ็บปุวยที่ถูก
ผีทา จึงแก้ด้วยการสร้างตุ๊กตาเสียกบาล โดยนาตุ๊กตาเสียกบาล นั้นมาเชิญผีเข้าแทน แล้วหักคอตุ๊กตา
เพื่อแสดงว่าคนปุวยที่ถูกผีเข้านั้นตายแล้ว ผีที่ออกจากร่างผู้ปุวยนั้น เมื่อออกแล้วก็รีบนาตุ๊กตาเสีย
กบาลนั้นไปวางทางสามแพร่งเพื่อหลอกให้ผีหาทางกลับไม่ถูก ซึ่งพบว่ามีการสร้างตุ๊กตาเสียกบาลสังค

๑๕
พลาดิศัย สิทธิธัญกิจ, ประวัติศาสตร์ไทยฉบับเสริมการเรียนรู้, หน้า ๔๖๓.
๑๖
ประทีป ชุมพล, รศ., ประวัติศาสตร์การแพทย์แผนไทย, หน้า ๓๘.
๑๗
พลาดิศัย สิทธิธัญกิจ, ประวัติศาสตร์ไทยฉบับเสริมการเรียนรู้, หน้า ๔๕๐.
๑๐

โลกเป็นจานวนมาก หรือจากการขุดค้นในบริเวณเมืองเก่า พบตุ๊กตาแบบแม่อุ้มลูก พ่อกับลูก ซึ่งแสดง


ให้เห็นว่าในสมัยสุโขทัยคงจะมีปัญหาเรื่องโรคเด็กและการคลอดบุตรแล้วลูกตายหรือตายทั้งแม่และ
ลูก เพราะพิธีเสียกบาลเป็นพิธีที่ทาขึ้นเมื่อเด็กแรกเกิด ไม่สบาย โดยเชื่อว่าเป็นการกระทาของซึ่ง
สอดคล้องกับข้อเขียนของศาสตราจารย์นายแพทย์สุด แสงวิเชียร ที่กล่าวถึงความรู้ปัจจุบัน เรื่องการ
สะเดาะเคราะห์หมอทางไสยศาสตร์มักทาพิธีเอา ดินเหนียวมาปนเป็นรูปคน รูปสัตว์ พร้อมทั้งทา
กระทงมีของคาวหวาน ผลไม้ จุดธูปเทียน แล้วลอยไปตามน้าพร้อมกับรูปปั้น บางแห่งก็ใช้รูปปั้นวาง
ไว้ตรงทางสามแพร่ง แล้วหักคอเสีย ซึ่งที่จังหวัด ราชบุรีใกล้เขตแดนพม่า ได้พบหลักฐานจากการทา
เหมืองแร่พบตุ๊กตาดินเผาเป็นรูปคนไม่มีหัว ทาให้ สันนิษฐานว่าการรักษาอาการเจ็บไข้ได้มีการใช้รูป
ปนสะเดาะเคราะห์ผู้ปุวย และประเพณีนั้นก็สืบ ทอดต่อมาจนถึงสมัยสุโขทัย๑๘
ส่วนในเรื่องการรักษาอาการเจ็บไข้นั้นสันนิษฐานว่า เนื่องจากชุมชนสุโขทัยมีลักษณะ
กระจายเป็นชุมชนหมู่บ้าน ชุมชนตาบล และชุมชนเมือง ในแต่ละชุมชนจะมีหมอกลางบ้านที่เรียกว่า
หมอเชลยศักดิ์ รักษาผู้เจ็บไข้โดยใช้สมุนไพรและการรักษาโดยวิธีทางพุทธศาสนาและไสยศาสตร์ ๑๙
รวมทั้งการรักษาแบบพื้นบ้าน นอกจากหมอกลางบ้านแล้ว ในแต่ละวัดก็ยังมีพระสงฆ์ผู้ที่มีความรู้ ทาง
แพทย์แผนไทย เป็น ผู้ดูแลรักษาชาวบ้านอีกด้วย ส่วนการพยาบาลผู้เจ็บไข้นั้น เมื่อพิจารณา จาก
หลักฐานในสมัยสุโขทัยพอจะอนุมานได้ว่า คนสมัยสุโขทัยเมื่อเจ็บไข้ ญาติผู้ปุวยจะไปบอก อาการแก่
หมอ และหมอจะเป็นผู้จัดยาให้ หรืออาจจะนาผู้ปุวยไปหาหมอ แต่เมื่อได้ยามา ก็จะนาผู้ปุวยกลับไป
รักษาที่บ้าน ทาให้เกิดเป็นระบบ การรักษาผู้ปุวยแบบไทยขึ้นมา ฉะนั้นในสมัยสุโขทัยและในสมัยต่อๆ
มาจึงไม่ปรากฏอโรคยศาล หรือโรงพยาบาลดังเช่นอาณาจักรขอมสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗
๓. การแพทย์แผนไทยในสมัยอยุธยา
ในระหว่างที่อานาจทางการเมืองของสุโขทัยกาลังเสื่อมถอยลง ภายหลังการสวรรคตของ
พ่ อ ขุ น รามคาแหงมหาราช ในราว พ.ศ. ๑๘๔๑ แต่ ภ ายในอาณาจั ก รสุ โ ขทั ย เองยั ง คงมี ค วาม
เจริญรุ่งเรืองทางวัฒนธรรม สังคม และพุทธศาสนา โดยเฉพาะในสมัยพระมหาธรรมราชาที่ ๑ หรือ
พระยาลิไทยนั้น ดินแดนทางลุ่มแม่นั้าเจ้าพระยาซึ่งมีชุมชนหนาแน่นอยู่แต่เดิมได้ก่อตัวเป็นรัฐอิสระ
คืออโยธยาศรีร ามเทพนคร มีเมืองอโยธยาเป็นศูนย์กลาง ได้เกิดโรคระบาดครั้งใหญ่ ซึ่งอาจเป็น
อหิวาตกโรคหรือกาฬโรค เพราะระหว่างปี พ.ศ. ๑๘๗๘ - พ.ศ. ๑๘๙๓ (ค.ศ. ๑๓๓๕ - ค.ศ. ๑๓๕๐)
ได้เกิดกาฬโรคระบาดจากเมืองจี น และได้ระบาดไปทั่วโลก ซึ่งโรคระบาดนี้มาทางเรือสินค้า จาก
ประเทศจีน ซึ่งทาให้พอมองเห็นภาพโรคภัยไข้เจ็บและปัญหาการสาธารณสุขในสมัยด้นกรุงศรีอยุธยา
ได้ ในสมัยนั้นวิธีแก้ไขโรคระบาดรุนแรงที่ดีที่สุดคือ การย้ายเมืองหนีโรคระบาด เป็นการแก้ปัญหา ได้
ในระดับหนึ่ง๒๐

๑๘
รวมบทเรียงความที่ชนะการประกวดเนื่องในโอกาสแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ก่อตังมา
ครบ ๗๕ ปี (พ.ศ. ๒๕๓๙), ประวัติการแพทย์ไทย, (กรุงเทพมหานคร : ม.ป.ท., ๒๕๔๑), หน้า๒๗.
๑๙
ประทีป ชุมพล, รศ., ประวัติศาสตร์การแพทย์แผนไทย, หน้า ๕๔.
๒๐
พลาดิศัย สิทธิธัญกิจ, ประวัติศาสตร์ไทยฉบับเสริมการเรียนรู้, หน้า ๕๔๔.
๑๑

หลังจากนั้น ตลอดรัชสมัยของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง พ.ศ. ๑๘๙๓-


พ.ศ. ๑๙๑๒) ไม่ปรากฏว่ามีโรคห่าตามมาระบาดจนถึงรัชสมัยของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ.
๑๙๙๑ - พ.ศ. ๒๐๓๑) พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยากล่าวว่า "ศักราช ๘๑๖ (พ.ศ. ๑๙๙๗)ปีจอ
กรุงศรีอยุธยาเกิดไข้ทรพิษ ระบาดผู้คนพากันล้มตายเป็นจานวนมากแม้ว่าผู้คนตายมากมายเพราะโรค
ไข้ทรพิษระบาด ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ แต่มีการดูแลรักษาจนโรคร้ายหมดสิ้นโดยไม่มี
การทึ้งเมืองให้ร้าง เช่นแต่ก่อน แสดงให้เห็นถึงความเจริญก้าวหน้าของการแพทย์สมัยอยุธยาได้ใน
ระดับหนึ่ง ในสมัยนี้ กรุงศรีอยุธยาได้เจริญรุ่งเรืองมาก เนื่องจากสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเจ้าทรง
ทาการปฏิรูปการปกครอง บ้านเมือง โดยจัดระบบการปกครองที่ดีจากแคว้นสุโขทัยมาเป็นแบบอย่าง
และจัดการบริหารราชการ แบบจตุสดมภ์ บุคคลในราชการนั้น พระองค์ได้ทรงจัดให้มี ตาแหน่งชั้นยศ
ศักดิ์ สาหรับบังคับบัญชา ตามลาดับและวางตาแหน่งตาม "ศักดินา" คือการกาหนดให้ผู้มียศในแต่ละ
ชั้นยศนั้นมีที่นาตามจานวนไร่ เช่น พลเรือนมีที่นาเพียงคนละ ๒๕ ไร่ ขุนบางมีศักดินาตั้งแต่ ๕๐ -
๑๐๐ ไร่ถึง ๑๐,๐๐๐ ไร่ และที่ สาคัญคือ หลักฐานที่เกี่ยวกับระบบการแพทย์ที่กล่าวไว้ชัดเจน คือ ใน
พ.ศ. ๑๙๙๘ หลังจากไข้ทรพิษ ระบาดเพียง ๑ ปีเท่านั้น มีการสถาปนาระบบการแพทย์แผนไทยขึ้น
อย่ างชัด เจน ปรากฏในทาเนี ย บ ศัก ดิน า ข้า ราชการ ฝุ ายทหาร และพลเรื อนที่ ต ราขึ้น ใน พ.ศ.
๑๙๙๘๒๑
จากการที่หมอรักษาโรค มีทาเนียบศักดินาในสมัยอยุธยาตอนต้น และมีการวางระบบการ
บริหารไว้อย่างตายตัว ทั้งมีหน้าที่เฉพาะอย่างโดยเห็นได้ว่ามีหมอเชี่ยวชาญเฉพาะโรค เช่นหมอนวด
หมอเด็ก เป็นต้น และมีหมอทางปรุงยา ได้แก่ เภสัชกรโดยตรง แต่อย่างไรก็ตามใน สมัยอยุธยา ไม่
ปรากฏหลักฐานเกี่ยวกับโรงเรียนหรือสถาบันผู้มีอาชีพหมอโดยตรง โดยมีผู้ศึกษาเรื่องแพทย์แผนไทย
ไว้คือ พระองค์เจ้าศรีเสาวภางค์๒๘ กล่าวว่า เป็นการศึกษากันในตระกูลหรือใน บางกรณี หมอบางคน
เคยเป็นลูกมือของหมออื่นมาเป็นเวลาหลายปี มีการคุ้นเคยและเห็นการพยาบาล มามาก เมื่อมีความ
ชานาญก็ เ ริ่ ม ต้ น รั ก ษา และวิ ธี ก ารศึ กษาอย่า งเป็น ขั้ นตอนนั้น เริ่ม แรกให้ รู้จั ก ต้ นไม้ ใบยา และ
สรรพคุณ เครื่องสมุนไพรก่อนแล้วจึงศึกษาคัมภีร์ หลังจากนั้นจึงหัดดูอาการไข้ กับอาจารย์เพื่อแนะนา
เทียบอาการจนคุ้นเคยจึงออกรักษาตามลาพัง ผู้เข้ารับราชการเป็นหมอหลวง จะไต้รับพระราชทาน
บรรดาศักดิ์เป็นขุนหลวงพระยา เป็นต้น โดยหมอหลวงนี้นอกจากจะไต้รับ เบี้ยหวัดเป็นรายปีเช่น
ข้าราชการอื่นๆ แล้วยังไต้รับเงินจากผู้ที่ว่าจ้างไปรักษา ถึงแม้ตามธรรมเนียม แล้วจะไม่คิดค่ารักษา
แต่ต้องเสียค่ายกครู
สถานที่จาหน่ายยา
"ย่านปุายาขายสรรพเครื่องเทศ เครื่ องไทย และเป็นสรรพคุณยาทุกสิ่ง" เป็นคาบรรยาย
จาก คาอธิบายแผนที่พระนครศรีอยุธยา แสดงให้เห็นว่า แหล่งขายยาสมุนไพรนั้น จัดไว้ในย่านปุายามี
ร้านขายโดยเฉพาะและเรียกว่า "ถนนปุายา" ซึ่งตรงกับหนังสือคาให้การ ขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม
กล่าวว่า ร้านขายเครื่องสมุนไพรอยู่ที่ ถนนย่านปุายา มีร้านขายเครื่องเทศ เครื่องไทย ครบทุกสิ่ง ชื่อ
ตลาดปุายา นอกจากนี้ยังกล่าวถึงโรงพระโอสถ คือ ที่ผลิตยาสมุนไพรและที่เก็บยาสมุนไพรสาเร็จรูป

๒๑
ประทีป ชุมพล, รศ., ประวัติศาสตร์การแพทย์แผนไทย, หน้า ๕๘.
๑๒

ว่า "นอกประตูไพชยนต์นี้มีโรงพระโอสถ และมีโรงพระโอสถตั้งอยู่หน้าสวนองุ่น" ซึ่งแสดงให้เห็นว่า


โรงพระโอสถของทางราชการมีอยู่ ๒ แห่งในพระนครศรีอยุธยา คือ ใกล้กับพระที่นั่งไพชยนต์กับพระ
ที่นั่งบรรยงค์รัตนาศน์ (ใกล้สวนองุ่น) ซึ่งมีออกญาแพทยพงษาธิบดีอะไภยพิรียบรากรมพาหุ (พระยา
แพทย์พงษาวิสุทธาธิบดี) เป็นผู้กากับ๒๒
นอกจากนี้ ห มอยั ง รั บ สิ ท ธิ พิ เ ศษจากทางราชการด้ ว ย โดยมี ห ลั ก ฐานปรากฏในสมั ย
รัตนโกสินทร์ตอนต้น ซึ่งหน้าเชื่อว่าเป็นประเพณีสืบต่อจากสมัยอยุธยาว่า หมอหลวง สามารถเดินทาง
ไปเก็ บ สมุ น ไพรตามบ้ า นราษฎร หรื อ ที่ ใ ครก็ ไ ต้ ทั้ ง ราชอาณาจั ก ร โดยมี ก ระบองแดง และย่ า ม
พระราชทานเป็นสัญลักษณ์และสมุนไพรใดขาดแคลนไม่สามารถจะหาได้ในบริเวณ เมืองหลวงก็จะมี
ตราสารไปยังหัวเมืองต่างๆ ให้หัวเมืองเหล่านั้นเก็บสมุนไพรส่งมายังโรงพระโอสถโดยมีตราสารเช่น มี
สารหรือมีฆ้อนเป็นเครี่องหมาย ดังที่ปรากฏในกฎหมายพระธรรมนูญ ในรัชกาลสมเด็จพระเอกาทศรถ
(พ.ศ. ๒๑๔๘- พ . ศ. ๒๑๕๓) มาตรา ๒๕ ตราคนมือขวาถือฆ้อน ระวัง ขุน เทเพนทรเทพบดีศรีสมุหะ
พระตารวจหลวงกลางได้ใช้ไปแก่กรรมการแลหัวเมืองเล็ก เรียกสิ่งยา สิ่ง ดี เลือดมัน ตับ พุง แลยาง
แต้วหางยูง ซึ่งเป็นเครื่องยาที่อาจนามาใช้ในโรงพระโอสถ ดังไต้กล่าวไว้แล้วข้างต้น รวมถึงเครื่องยา
จีนที่มีจาหน่ายในย่านของชาวจีน นามาปรุงยาใช้ใน พระราชวัง และเตรียมยาสาหรับใช้ในกองทัพ
เมื่อออกไปทาสงคราม๒๓
๔. การแพทย์แผนไทยในสมัยสมเด็จพระนารายณ์
สมเด็จพระนารายณ์มหาราชขึ้นครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. ๒๑๙๙ พ.ศ. ๒๒๓๑ ในรัชสมัย
ของพระองค์มีการติดต่อกับต่างประเทศทั้งเอเชียและยุโรป เป็นพระมหากษัตริย์ไทยที่ไต้รับการยก
ย่ อ งจากชาวตะวั น ตก โดยเฉพาะในต้ า นความเฉลี ย วฉลาดปราดเปรื่ อ งสิ่ ง ที่ ป ระทั บ ใจส า หรั บ
ชาวต่างชาติ คือ การให้เสรีภาพในการนับถือศาสนา เกี่ยวกับศิลปะวิทยาการต่างๆ ของตะวันตก
พระองค์ทรง สนับสนุนให้มีการศึกษาค้นคว้า และในส่วนที่เป็นการแพทย์แผนตะวันตก พระองค์ก็
ทรงยอมรับและ นามาใช้ในราชสานัก นอกจากนี้พระองค์ทรงยอมรับการแพทย์แผนจีน การแพทย์
แผนอินเดีย และ การแพทย์แผนตะวันตกด้วยทรงเลือกนาสิ่งที่ดี เเละเหมาะสมเข้ามาผสมผสานกับ
ระบบแพทย์แผนไทย๒๔ สิ่งดังกล่าว เป็นการสะท้อนให้เห็นว่า การแพทย์แผนไทยมิได้มีการปิดกั้นหรือ
ดูแคลนวิทยาการ ตะวันตกหรือชาติอื่นๆ ตรงกันข้ามกับรับมาใช้อย่างกลมกลืน แต่ก็มิได้หมายความ
ว่า การแพทย์จากต่างชาติจะเริ่มเข้ามาในสมัยของพระนารายณ์มหาราช เพราะเชื่อได้ว่าการแพทย์
ของแต่ละชาติ โดยเฉพาะการแพทย์แผนตะวันตกน่าจะได้ ติดตัวมากับชนชาติแต่ละชาติซึ่งมีหลักฐาน
ว่า ในแผ่นดินสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ พ.ศ. ๒๐๑๖ ไทยได้เริ่มมีการติดต่อค้าขายกับประเทศต่างๆ
ในทวีปยุโรป ชาวต่างชาติที่เข้ามาติดต่อค้าขายกับกรุงศรีอยุธยาเป็นพวกแรกคือชาวโปรตุเกส ที่มาตั้ง
หลักฐานอยู่ในกรุงศรีอยุธยา เชื่อว่าคงมีแพทย์ร่วมอยู่ด้วย ทั้งนี้เพราะยาขี้ผึ้ง สาหรับใสบาดแผลที่ตก

๒๒
ประทีป ชุมพล, รศ., ประวัติศาสตร์การแพทย์แผนไทย, หน้า ๖๒.
๒๓
เรื่องเดียวกัน, หน้า ๖๔.
๒๔
พลาดิศัย สิทธิธัญกิจ, ประวัติศาสตร์ไทยฉบับเสริมการเรียนรู้, หน้า ๖๘.
๑๓

ทอดมา จนถึงปัจจุบันนี้เป็นตารับของแพทย์ชาวโปรตุเกส ๒๕ และได้ค้นพบเอกสารชิ้นหนึ่ง คือ ตารา


แพทย์แผนไทยที่เรียกว่า "ตาราพระโอสถพระนารายณ์" โดยมีข้อความตอนหนึ่งในตาราพระโอสถนี้ได้
อธิบายสรุปทฤษฎีการแพทย์ และเภสัชกรรมไทยไว้อย่างสั้นแต่ได้ใจความยิ่ง มีความตอนต้นและตอน
ปลายกล่าวว่า "อย กาโย อันว่าร่างกายเราท่านทั้งหลายนี้เหตุธาตุทั้ง ๔ เป็นที่ตั้งแห่งกายและอายุถ้า
ธาตุทั้ง ๔ มิได้บริ บูร ณ์แล้ว เมื่อใด สมุฏฐานก็จะแปรไปให้ กาเนิดแก่โ รค เมื่อนั้น ... เวชโช อัน ว่า
แพทย์ผู้พยาบาลใช้สืบไปเมื่อน่า จงพิจารณาให้แจ้งไปในปฐมธาตุทั้งหลาย อันจะแปรปรวนทาการ กา
เริบ ตามฤดู เดือน วัน เวลา อายุ ที่อยู่ ที่เกิด ก่อน จึงจะรู้ กาเนิดไข้ แล้วให้รู้สรรพคุณยา แลรศยา
ทั้ง ๙ ประการก่อน จึงจะประกอบยา วางยา ถ้าวางยาชอบโรคๆ นั้นกลัวยาดุ จกาเห็นธนู ถ้ามิดังนั้น
ดุจดังหมู่เนื้อเห็นพระยาไกรสรสีหราช ก็จะปลาศหนีไป โดยเร็ว ถ้าดูโรคมิถูกวางยาผิดดังอสรพิศม์ อัน
บุคคลเอาไม้ไปรันลงที่ขนดหาง โรคคือโทโสจะกาเริบขึ้นกลมทั่วสรรพางค์กาย มรณ อันว่าความตาย
ภวิสฺ สติ ก็จ ะมี ทุวัง แท้จ ริ ง ... ถ้า มิรู้จักสรรพยาแท้ ให้ ถามพฤฒาจารย์ ให้ แจ้ง ประจัก ษ์ก่อนจึ ง
ประกอบ จึงจะชอบด้วยโรคอันกล่าวมาแต่หลังนั้นแล๒๖
จากข้อความที่ยกมาข้างต้นนี้จะเห็นได้ว่า แพทย์ไทยโบราณถือว่าร่างกายมนุษย์ประกอบ
ขึ้น ด้วยธาตุทั้งสี่ คือ ดิน น้า ลม ไฟ อย่างสมดุล หากธาตุทั้งสี่ไม่สมดุลกันเมื่อใด ก็จะทาให้เกิดโรคขึ้น
ตาราพระโอสถพระนารายณ์ได้เตือนแพทย์ที่จะเป็นผู้บาบัดโรค ให้ศึกษาและเข้าใจเรื่องธาตุทั้งสี่ ที่จะ
ผิดปกติไปและเป็นสมุฏฐานแห่งโรค โดยได้พิจารณาประกอบกับสมุฏฐานอื่น เพื่อให้รู้ กาเนิด แห่งโรค
และไข้ ทั้งยังต้องรู้จักตัวยาเสียก่อน จึงจะสามารถปรุงยาและวางยาให้ถูกกับโรค จากข้อสังเกตในตา
ราพระโอสถพระนารายณ์ อี ก ประการหนึ่ ง คื อ ได้ ก ล่ า วถึ ง ตาราแพทย์ อี ก ๒ เล่ ม คื อ คั ม ภี ร์
มหาโชตรัตนและคัมภีร์โรคนิทาน อันแสดงให้เห็นว่าในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชนั้นมีตารา
ทางการแพทย์แผนไทยหลายเล่ม แสดงถึงความเจริญทางการแพทย์แผนไทยในสมัยนั้นเป็นอย่างดี
๕. การแพทย์ที่พัฒนามาสู่สมัยธนบุรี และรัตนโกสินทร์
หลังจากการแพทย์แผนตะวันตกได้เข้ามาสู่กรุงศรีอยุธยาและเริ่มจะเจริญรุ่งเรืองด้วยพลัง
ศรัทธา ของมิชชันนารีสอนศาสนา และคณะบาทหลวงชาวฝรั่งเศสที่ได้นาการแพทย์แผนตะวันตก
และการสร้างโรงพยาบาลเป็นครั้งแรกในแผ่นดินสยาม และก็มีพัฒนาการที่ดาเนินไปได้ด้วยดีและ
เนื่ องจากยั งเป็ น ระยะเวลาสั้ น ๆ ยั ง มิส ามารถวางรากฐานทางการแพทย์ แผนตะวันตก หรือการ
ผสมผสานกับการแพทย์แผนไทย ได้ก็มีอันสิ้นสุดเมื่อสิ้นแผ่นดินของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชการ
รักษาโรคจึงน่าจะต้องกลับมาใช้การแพทย์แผนโบราณเป็นหลักดังเช่นแต่ก่อน คือ การรักษาตาม
ความชานาญที่สืบทอดกันมา เช่น หมอยา ก็ใช้ความชานาญการรักษาด้วยยาพื้นบ้าน หรือการรักษา
ตามกรรมวิธีทางการแพทย์แผนไทยแต่กาลก่อน ไม่สามารถสานต่อในเรื่องศัลยกรรมตามการแพทย์
แผนตะวันตกได้ตลอด จนสิ้นสมัยอยุธยาก็ไม่ปรากฏหลักฐานใดที่จะนามากล่าวถึงได้ในเรื่องเกี่ยวกับ
การแพทย์ มีแต่ Iเพียงบันทึกเกี่ยวกับโรคระบาดครั้งใหญ่ ได้แก่ เกิดไข้ทรพิษระบาดในแผ่นดินของ

๒๕
พลาดิศัย สิทธิธัญกิจ, ประวัติศาสตร์ไทยฉบับเสริมการเรียนรู้, หน้า ๗๐.
๒๖
ชยันต์ พิเชียรสุนทร, แม้นมาส ชวลิต, วิเชียร จีรวงส์, คาอธิบายตาราพระโอสถพระนารายณ์ ,(กรุงเทพมหานคร :
บริษัทอมรินทร์ พรินติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จากัด (มหาชน), ๒๕๔๔), หน้า ๔๙.
๑๔

สมเด็จพระเพทราชา พ.ศ. ๒๒๓๙ มีคนตายกว่า ๘๐,๐๐๐ คน๒๗ จนสิ้นสุดสมัยอยุธยาและในการเสีย


กรุงครั้งที่ ๒ จากการถูกเผาทาลายของพม่าใน พ.ศ. ๒๓๑๐ นับเป็น การสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ เพราะ
ศิลปะวิทยาการที่สั่งสมกันมาในช่วงกว่า ๘ ศตวรรษ (กรุงศรีอยุธยาเป็น ราชธานี ๔๑๖ปี) ได้ถูก
ทาลายผู้คนถูกฆ่าและกวาดต้อนไปเป็นเชลย รวมถึงคัมภีร์การแพทย์แผนไทย ก็ถูกเผาทาลายไปด้วย
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชสามารถยึดเอาพระนครคืนมาได้ภายในปีเดียวกัน แต่ก็ไม่สามารถฟืนฟู
สภาพกรุงศรีอยุธยาให้ดีดุจดังเดิมได้หลักฐานเกี่ยวกับการฟืนฟูการแพทย์แผนไทย ไม่ปรากฏ แต่คงมี
การฟืนฟูพร้อมๆ กับวิทยาการสาขาอื่นๆ
อย่ างไรก็ตามมีเรื่องที่น่าสนใจว่า ภายหลั งมีพระราชโอรสของสมเด็จพระเจ้าตากสิ น
มหาราชที่ยังทรงพระชนม์ชีพอยู่ ๔ พระองค์ที่ดารงอาชีพเป็นแพทย์๒๘ ปรากฏในทาเนียบแพทย์ใน
สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งพระราช
โอรส ทั้ง ๔ พระองค์นี้ได้เป็นกาลังสาคัญที่สาคัญที่สุดในการฟื้นฟูการแพทย์ในสมัยรัตนโกสินทร์
ตอนต้น คงเป็นเพราะทั้งสี่พระองค์เติมโตขึ้นมาในช่ว งเปลี่ยนแปลงแผ่ นดินแล้ว และอยู่ในความ
อุปถัมภ์ของราชวงศ์จักรี ดังนั้นเมื่อได้เรียนด้านการแพทย์หรืออาจมีเหตุผลว่าต้องเรียนด้านการแพทย์
ไม่สมควรรับราชการด้านการทหาร จึงทาให้เป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัยของพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์
จักรี อีกทั้งเป็นเพราะทั้งสี่พระองค์มีความรู้ในเรื่องแพทย์แผนไทยเป็นอย่างดี จึงเป็นที่ประจักษ์ยิ่งว่า
ผู้ที่ทาให้ปวงชนชาวไทยส่วนหนึ่งได้ปราศจากโรคภัย ได้แก่ พระราชโอรสทั้งสี่พระองค์ที่เป็นแพทย์
แผนไทย ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นนี้เอง ซึ่งควรแก่การยกย่องว่าเป็นผู้บุกเบิกการแพทย์แผนไทยให้
เป็นปึกแผ่นขึ้นอีกครั้งหนึ่ง
๖. การแพทย์แผนไทยสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
รัชกาลที่ (๑ พ.ศ. ๒๓๒๕ – ๒๓๕๒)
ในยุ ค นี้ ยั ง คงใช้ ก ารรั ก ษาแบบแผนโบราณที่ สั บ เนื่ อ งมาจากสมั ย อยุ ธ ยา คื อ การใช้
ประโยชน์ จากสมุ น ไพร ทั้ ง จากพื ช สั ต ว์ และแร่ ธ าตุ ในการปรุ ง ยาและให้ ก ารรั ก ษาโดยการ
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟูาจุฬาโลกมหาราช ได้ทรงปฏิสังขรณ์วัดโพธารามหรือวัดโพธิ์ขึ้นเป็น
อารามหลวง ให้ชื่อว่า วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ทรงให้รวบรวมและจารึกตารายา ตาราฤาษีดัด
ตน และตาราการนวดไทย ไว้ตามศาลารายส่วนหลักฐานเรื่องการเจ็บไข้ พบว่า ในปี พ.ศ.๒๓๔๓ มี
การระบาดของอหิวาตกโรคแต่ไม่พบหลักฐานว่ามีความรุนแรงเพียงใด๒๙
รัชกาลที่ ๒ (พ.ศ. ๒๓๕๒ - พ.ศ. ๒๓๖๗)
ในยุคนี้พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระองค์ทรงมีพระราชดารัสว่า ". . . ทุก
วันนี้ คัมภีร์แพทย์ ณ โรงพระโอสถเสื่อมสูญไปมิได้เป็นเรื่องต้นเรื่องปลาย อนึ่งเหล่าแพทย์ผู้เฒ่าที่

๒๗
ประทีป ชุมพล, รศ., ประวัติศาสตร์การแพทย์แผนไทย, หน้า ๙๔.
๒๘
เรื่องเดียวกัน, หน้า ๑๐๔.
๒๙
คณะแพทย์ศาสตร์ สิริราชพยาบาล, การแพทย์แผนโบราณ ประวัติการแพทย์สมัยรัตนโกสินทร์,(กรุงเทพมหานคร
: หน่วยพิมพ์โรงพยาบาลสิริราช, ๒๕๒๕), หน้า ๔๔.
๑๕

ชานาญในลักษณะโรคแลสรรพคุณยาก็มีอยู่น้อย ยากที่กุลบุตรจักเล่าเรียนให้ชัดเจนได้ . . ."จึงมีพระ


บรมราช โองการโปรดเกล้ าฯ ให้ พระพงศ์นรินทร์ราชนิกูล พระโอรสของสมเด็จพระเจ้าตากสิ น
มหาราช ซึ่งรับราชการอยู่กรมหมอ เป็นผู้สืบเสาะหาผู้ชานาญลักษณะโรคและสรรพคุณยารวมทั้งผู้ที่
มีตารายาดีๆ นาเข้ามาทูลเกล้าถวาย และบอกหมายให้กรมหมอหลวงคัดเลือกและจดเป็น ตาราหลวง
สาหรับโรงพระโอสถ เรียกว่า ตารายาโรงพระโอสถ ในพ.ศ. ๒๓๕๕ พร้อมกับการจารึกตารายาวัดราช
โอรส และการแต่งตารา "โรคนิทานคาฉันท์" ซึ่งแต่งเป็นคาประพันธ์ฉันท์สิบเอ็ด ที่ได้กล่าวถึงองค์
ความรู้พื้นฐานของการเป็นแพทย์ไว้แทนทั้งหมด๓๐
รัชกาลที่ ๓ (พ.ศ. ๒๓๖๗ - พ.ศ. ๒๓๙๔)
ทรงให้ปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามอีกครั้ง ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ"ให้
รวบรวมเลือกสรรตาราต่างๆ ซึ่งสมควรจะเล่าเรียนเป็นชั้นวิสามัญศึกษา มาตรวจตราแก้ไข หรือใช้
ของเดิมได้บ้าง หรือประชุมผู้รู้หลักวิชานั้นๆ ให้แต่งขึ้นใหม่บ้าง แล้วโปรดให้จารึกแผ่นศิลาประดับไว้
ในบริเวณวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม มีรูปเขียนแลรูปปนประกอบกับตารานั้นๆโดยมากเพื่อคน
ทั้งหลายไม่เลือกว่าตระกูลชั้นใดๆ ใครมีใจรักวิชาอย่างใดก็สามารถเล่าเรียนได้จากศิลาจารึกที่วัด
พระเชตุพนฯ" ที่เป็นเช่นนี้เพราะสมัยนั้นตารับตารายังหายาก โดยความรู้ที่ได้บันทึกโดยผู้เชี่ยวชาญใน
สาขาวิชาต่างๆ เช่น ตารายา ตาราหมอนวด ตาราโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอนโบราณคดี ประวัติศาสตร์
วรรณคดี ประเพณี ศาสนา และสุภาษิต เป็นต้น๓๑
รัชกาลที่ ๔ (พ.ศ. ๒๓๙๔ - พ.ศ. ๒๔๑๑)
ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หั ว ในเรื่องความเข้าใจทางการแพทย์
แผนไทยและการแพทย์แผนตะวันตก เราสามารถศึกษาได้จากพระราชหัตถเลขา ที่เกี่ยวเนื่องกับ
โรคภัยไข้เจ็บที่ปรากฏจะเห็นได้ว่าพระองค์ทรงมีความรู้ในเรื่องเจ็บไข้ได้ปุวย และจากการวินิจฉัยโรค
นั้นพอจะกล่าวได้ว่า ส่วนหนึ่งเป็นอิทธิพลที่ได้รับจากชาวตะวันตก๓๒
รัชกาลที่ ๕ (พ.ศ.๒๔๑๑ - พ.ศ. ๒๔๕๓)
ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถือว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงและ
พัฒนาครั้งสาคัญของสยามประเทศ เป็นการเปลี่ยนแปลงทางวัตถุนิยม และที่สาคัญคือ แนวคิด และ
วิธีการพัฒนาประเทศ เมื่อพระองค์ขึ้นครองราชสมบัติในพ.ศ. ๒๔๑๑ ได้ทรงเห็นความสาคัญของการ
รักษาพยาบาลโดยเฉพาะการรักษาตามแนวแพทย์แผนไทย และพระองค์ทรงสนพระทัยในตาราและ
คัมภีร์แพทย์ซึ่งแต่เดิมคาว่า "คัมภีร์แพทย์พระตารา และตารา" คือ ตารายาเดิมที่ได้จารึกเป็นอักขระ
ในใบลาน ได้มีการประชุมแพทย์หลวงที่เป็นเจ้านายและขุนนาง ข้าราชการ นาตาราแพทย์แผนไทยมา

๓๐
เสาวภา พรสิ ริพ งษ์ , พรทิ พ ย์ อุศุ ภรั ต น , การบัน ทึก และการถ่า ยถอดความรู้ท างการแพทย์แ ผนไทย ,
(กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก, ๒๕๓๗), หน้า ๒๑.
๓๑
คณะแพทย์ศาสตร์ สิริราชพยาบาล, การแพทย์แผนโบราณ ประวัติการแพทย์สมัยรัตนโกสินทร์,หน้า ๑๕.
๓๒
มหามกุฎราชวิทยาลัย , พระราชหัตถเลขาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว , พิมพ์เนื่องในงานฉลอง
ครบรอบ ๘๔ ปี มหามกุฎราชวิทยาลัย, (กรุงเทพมหานคร : ม.ป.ท., ๒๕๒๑), หน้า ๕๔.
๑๖

ตรวจสอบให้ตรงกับต้นฉบับเดิม ในโอกาสนี้ก็ได้มีการจัดพิมพ์ตาราแพทย์หลวงสาหรับโรงเรียน ขึ้นใช้


เป็ น ครั้ ง แรก โดยจั ด พิ ม พ์ เ ป็ น ตอนๆ เริ่ ม เมื่ อ พ.ศ. ๒๔๓๘ ตาราเล่ ม แรกนี้ ก็ คื อ "แพทย์ ศ าสตร์
สงเคราะห์" นั่นเอง และต่อมาไต้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งคณะคอมมิตตี้จัดสร้าง
โรงพยาบาล ในขณะเดียวกันทรงพระกรุณาพระราชทานที่ดินให้ดังประสงค์และพระราชทาน พระ
ราชทรัพย์ส่วนพระองค์ ๒๐๐ ชั่ง ให้ดาเนินการจัดสร้างโรงพยาบาลสิริ๓๓
รัชกาลที่ ๖ (พ.ศ. ๒๔๕๓ - พ.ศ. ๒๔๖๘)
ในสมัย รั ช กาลที่ ๖ ปรากฏว่า ทั้งนักเรียนแพทย์และประชาชนเลื่ อมใสในการแพทย์
ตะวั น ตก มากขึ้ น เป็ น ล าดั บ การสอนการแพทย์ แ ผนไทยจึ งถู ก ลดทอนบทบาทและหมดโอกาส
ถ่ายทอดความรู้ ในโรงเรียนไปในที่สุด
รัชกาลที่ ๗ (พ.ศ. ๒๔๖๘ - พ.ศ. ๒๔๗๗)
ในรัชสมัยนี้พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า เจ้าอยู่หัว ทรงให้การสนับสนุนการแพทย์(แผน
ตะวันตก) เป็นอย่างดี โดยรัชสมัยนี้ไต้มีการตั้งกฎหมายเสนาบดี แบ่งการประกอบโรคศิลปะออกเป็น
แผนปัจจุบันและแผนโบราณ โดยมีข้อกาหนดว่า
ประเภทแผนปัจจุบัน คือ ผู้ประกอบโรคศิลปะโดยความรู้จากตาราอันเป็นหลักวิชา โดย
สากลนิ ย ม ซึ่ ง ตาเนิ น และจาเริ ญ ขึ้ น โดยอาศั ย การศึ ก ษาตรวจค้ น และทดลองของผู้ รู้ ในทาง
วิทยาศาสตร์ทั่วโลก
ประเภทแผนโบราณ คือ ผู้ประกอบโรคศิลปะ โดยอาศัยความสังเกต ความชานาญอันสืบ
ต่อกันมาเป็นที่ตั้ง หรืออาศัยตารา อันมีมาแต่โบราณมิไต้ตาเนินไปในทางวิทยาศาสตร์๓๔
รัชกาลที่ ๘ (พ.ศ. ๒๔๗๗ - พ.ศ. ๒๔๘๙)
ในสมัยนี้ได้เริ่มก่อสร้างโรงพยาบาลประจาจังหวัด อาเภอ และสถานีอนามัยเพิ่มขึ้น จนมี
โรงพยาบาลครบทุก จั ง หวั ด เมื่ อ พ.ศ. ๒๕๐๓ และ พ.ศ. ๒๕๑๘ ในรั ช กาลปั จ จุ บั น กระทรวง
สาธารณสุขได้เริ่มสร้างโรงพยาบาลอาเภอขึ้นทั่วประเทศให้ครบทุกอาเภอ โดยการปรับปรุงจากสถานี
อนามัยเดิม และสร้างขึ้นใหม่ในหลายจังหวัด๓๕
รัชกาลที่ ๙ (พ.ศ. ๒๔๘๗ – ๒๕๖๑)
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ
รวมทั้งพระโอรส พระราชธิดาทุกพระองค์ ทรงให้การสนับสนุนทางด้านการแพทย์ จนเป็นที่ประจักษ์
ชัด สาหรับการพัฒนาทางด้านการแพทย์แผนไทย ในรัชสมัยนี้นั้นในปี พ.ศ. ๒๕๒๕ ศาสตราจารย์

๓๓
สถาบันภาษาไทย กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ, แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ภูมิปัญญาของการแพทย์และมรดก
ทางวรรณกรรมของชาติ, (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภา, ๒๕๔๓), หน้า ๑.
๓๔
เสาวภา พรสิริพงษ์, พรทิพย์ อุศุภรัตน์, การบันทึกและการถ่ายทอดความรู้ทางการแพทย์แผนไทย, หน้า ๕๒.
๓๕
ประทีป ชุมพล, รศ., ประวัติศาสตร์การแพทย์แผนไทย, หน้า ๑๗.
๑๗

นายแพทย์อวย เกตุสิงห์ ได้ก่อตั้งมูลนิธิการส่งเสริมฟืนฟูการแพทย์แผนไทยเดิมขึ้น มูลนิธิได้ก่อตั้ง


อายุรเวทวิทยาลัย (ชีวก โกมารภัจจ์)๓๖
สรุปได้ว่า การแพทย์เป็นศิลปะและภูมิปัญญาของแต่ละสังคมและแต่ละเชื้อชาติซึ่งมักจะ
มีเอกลักษณ์ที่สอดคล้องกับวัฒนธรรม และภูมิประเทศของตนเอง โดยเฉพาะการแพทย์แผนไทยที่มี
เอกลักษณ์ที่สัมพันธ์กับวัฒนธรรมท้องถิ่น และสมุนไพรในประเทศพร้อมกับผสมผสานความคิดและ
ความเชื่ อตามพระพุ ทธศาสนาและสมุ นไพร จากภูมิ ภ าคอื่ นที่ ได้ แพร่เ ข้า มาแล้ ว ในอดีต โดยการ
เคลื่อนย้ายทางวัฒนธรรมและการค้าขาย ผสมผสานเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง และถูกตั้งเป็นระเบียบ
วิธีการที่มีลักษณะเป็นองค์รวม คือ การเกี่ยวกับ การกระจายพันธุสมุนไพร การจัดทายาสามัญประจา
บ้านแผนไทย การจัดทาข้อมูลในพื้นที่ บาบัด และเยียวยา ทั้งกายและจิตไปควบคู่กัน โดยมิได้มุ่งเน้น
หรือแยกส่วนออกมาทาการรักษาหรือเยียวยา เฉพาะอาการโรคที่สาคัญคือ การให้ความสาคัญกับ
ทฤษฎีธ าตุตามคาสอนของพระพุทธศาสนา โดยเน้น การให้รักษาความสมดุลของธาตุทั้ง ๔ หรือ
มหาภูตรูป ๔ และเมื่อธาตุใดธาตุหนึ่งเกิดความหวั่นไหว ก็จะทาให้กระทบหรือเสียสมดุลต่อธาตุอื่นไป
ด้วย ความเจ็บไข้ก็จะแสดงออกมาอย่างชัดเจน
ดังนั้นวิธีการเยียวยาหรือการใช้สมุนไพรจึงให้ความสาคัญกับการบารุงธาตุให้สมดุลและ
ต่อมาจะใช้สมุนไพรที่มุ่งกระทาต่อธาตุที่ผิดปกติ หรือ กาเริบ หย่อน พิการ โดยตรง พร้อมการปรับ
พฤติกรรมและองค์ความรู้ทางการแพทย์แผนไทยถูกสร้าง และพัฒนามาอย่างต่อเนื่องในอดีตโดยหมอ
พื้นบ้านและผู้ที่เป็นที่ยอมรับนับถือในชุมชน ถ่ายทอดอนุรักษ์และพัฒนาตลอดมา โดยบุคคล สาคัญที่
ช่วยให้องค์ความรู้ที่สืบทอดก็คือ องค์พระมหากษัตริย์ของประเทศไทยในแต่ละยุคสมัย แต่ก็เกิดการ
สะดุดและขาดการต่อเนื่องไปตามกระแสแห่งวัฏจักร เช่น การเกิดสงครามและการเสียเมือง แต่ก็ถูก
รื้อฟืนองค์ความรู้ขึ้นมาตลอด โดยวิสัยทัศน์ของพระองค์มหากษัตริย์ไทยจนกระทั่งถึงสมัยอยุธยา
การแพทย์ แ ผนตะวั น ตกได้ เ ริ่ ม หลั่ ง ไหลเข้ า สู่ ส ยามประเทศ และต่ อ เนื่ อ งพร้ อ มกั บ
เจริญรุ่งเรืองในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนด้น แต่ก็ยังมีลักษณะควบคู่ไปกับการแพทย์แผนไทย จนย่างเข้า
สู่สมัยรัชกาลที่ ๕ แผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถือได้ว่าการแพทย์แผนไทยได้
เจริญรุ่งเรืองเป็นที่สุด มีกิจกรรมหรือผลงานที่เป็นรูปธรรมทางการแพทย์แผนไทยที่พัฒนาขึ้นมาอย่าง
ชัดเจน แต่แล้วในปลายรัชสมัยของพระองค์ ในช่วงปลายอนาคตของการแพทย์แผนไทยก็ส่อแววจะ
ถดถอยลงตามคาทานายของพระองค์ที่กล่าวเอาไว้ และเมี่อเข้าสู่ในสมัยรัชกาลที่ ๖ แผ่นดินสมเด็จ
พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ความเจริญของวิทยาศาสตร์ และการแพทย์แผนตะวันตก ก็แพร่ขยายไปทั่ว
โลก รวมถึงสยามประเทศที่ต้องการรับความเจริญและทันสมัยให้เท่าทันอารยประเทศภูมิปัญญาทาง
การแพทย์แผนไทยและการพัฒนาองค์ความรู้ทางการแพทย์แผนไทย ดูเหมือนจะถูกยุติลง ด้วยการ
ออกพระราชบัญญัติควบคุมการประกอบโรคศิลปะ ปี พ.ศ. ๒๔๖๖ มีผลทาให้การแพทย์แผนไทย ต้อง
ออกนอกระบบ ซึ่งรัฐบาลไม่สนับสนุนแม้ว่าการแพทย์แผนไทยถูกออกนอกระบบแล้วก็ตาม แต่การ
ผลิตยาโดยกองโอสถศาลา ๑๐ ขนาน ยังคงผลิตอยู่เช่นเดิม จนถึงพ.ศ. ๒๔๗๔ รัฐบาลจึงเลิกผลิตยา
ไทยโดยสิ้นเชิง แต่เมื่อเกิดภาวะขาดแคลนยาจากตะวันตก หรือยาปฏิชี วนะในระหว่าง สงครามโลก

๓๖
เสาวภา พรสิริพงษ์, พรทิพย์ อุศุภรัตน์, การบันทึกและการถ่ายทอดความรู้ทางการแพทย์แผนไทย, หน้า ๕๙.
๑๘

ครั้งที่ ๒ และภายลังสงครามโลก ทาให้รัฐบาลไทยกลับมาเห็น ความสาคัญของสมุนไพร จึงมีนโยบาย


ให้โรงงานเภสัชกรรมนาสมุนไพรมาผลิตเป็นยารักษาแต่แล้วเมื่อบ้านเมืองกลับเข้าสู่ ภาวะปกติ ไม่มี
ปัญหาหรือการขาดแคลนยา ความสนใจในการศึกษาวิจัยเรื่องสมุนไพรก็ถูกรัฐบาล ละเลยไปอีก แต่ใน
ขณะเดียวกันชาวต่างชาติกลับให้ความสนใจเรื่องสมุนไพรไทยและไต้รวบรวม เสาะหาตารายาไทย
พร้อมซื้อกลับไปศึกษาวิจัยเป็นจานวนมาก๓๗
สรุปประวัติความเป็นมาของการแพทย์แผนไทย
การแพทย์แผนไทย หรือ การแพทย์แผนโบราณ เป็นการดูแลสุขภาพทั้งสภาวะปกติ และ
สภาวะที่ผิดปกติ (เป็นโรค) โดยใช้ทฤษฎีความสมดุลของธาตุต่าง ๆ ในร่างกายและกายวิภาคศาสตร์
(anatomy) หลักวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์เข้ามาอธิบาย ตามหลักวิชาการหลักเวชปฎิบัติ โดย
อาจารย์ณรงค์ฤทธิ์ อัษฎางค์เดชาวุธ (แน่นกระโทก) ผู้อานวยการศูนย์พัฒนาการแพทย์แผนไทยและ
แพทย์ทางเลือกจังหวัดนครราชสีมา สมาคมแพทย์แผนไทยแห่งประเทศไทย ได้อภิปรายบรรยายไว้
ดังต่อไปนี้
จากหลักฐานสมัยอยุธยาพบว่า การแพทย์แผนไทยได้รับจากอายุรเวทอินเดียเป็นสาคัญ
โดยกล่าวว่าหมอชีวกโกมารภัจจ์ (แพทย์ประจาตัวของพระพุทธเจ้า) เป็นผู้แต่งคัมภีร์แพทย์ ครั้น
พระพุทธศาสนาเริ่มเผยแผ่เข้ามาสู่ไทย พระสงฆ์ผู้เข้ามาเผยแผ่พระพุทธศาสนาได้นาความรู้ในการ
รักษาโรคเข้ามาใช้กับชาวบ้านด้วย จึงเกิดการผสมผสานกับวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของคนไทย
องค์ความรู้ด้านการแพทย์แผนไทยล้วนเป็นผลสืบเนื่องจากการสะสมประสบการณ์ในการ
ต่อสู้กับโรคภัยไข้เจ็บตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยมองว่าจิตใจและอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายมนุษย์มี
การทางานที่สัมพันธ์และเป็นหนึ่งเดียว นอกจากนี้ยังสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงจักรวาล การ
แก้ปัญหาจึงใช้วิธีแบบองค์รวม (holistic) ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องของการแพทย์อย่างเดียวล้ว น ๆ แต่เป็น
เรื่องของปรัชญาความคิดที่ครอบคลุมไปถึงการดาเนินชีวิตตามแบบวิถีชีวิตคนไทย
การแพทย์แผนไทยเป็นความจาเป็นในการดาเนินชีวิตของมนุษย์ เนื่องจากร่างกายคนเรา
ย่อมเสื่อมสภาพไปตามธรรมชาติ หรือด้วยเหตุต่างๆ เพื่อต่อสู้กับภาวะดังกล่าว การค้นหาวิธีปูองกัน
การเจ็ บปุว ย การบาบัดรั กษา การบรรเทาอาการเจ็บปุวย และการบริบาล จึงก่อเกิดขึ้นมา และ
พัฒนาต่อๆ มาจนกับระบบที่มีแบบแผนกลายเป็น "การแพทย์แผนไทย" ที่มีแบบแผนชัดเจน
การแพทย์แผนไทย จึงเป็นภูมิปัญญาของสังคม ที่มาจากความเชื่อ ความรู้ ความคิด การ
ลองผิดลองถูก และกลายเป็นการยอมรับในสังคม แต่ละชนชาติ ต่างมีวิวัฒนาการทางการแพทย์ของ
ตนเอง กลายเป็นภูมิปัญญาของชนชาตินั้นๆ หรือท้องถิ่นนั้นๆ
การแพทย์ แ ผนไทย มี วิ วั ฒ นาการมานาน มี ห ลั ก ฐานตั้ ง แต่ ส มั ย ก่ อ นประวั ติ ศ าสตร์
อย่างไรก็ตามยุคทองของการแพทย์แผนไทย ก็ต้องนับสมั ยรัตนโกสินทร์ตอนต้น พระบาทสมเด็จพระ
พุทธยอดฟูาจุฬาโลก (พุทธศักราช ๒๓๒๕ - ๒๓๕๒) ได้มีการจัดตั้งกรมหมอ และโรงพระโอสถ มีการ

๓๗
สถาบันภาษาไทย กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ, แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ภูมิปัญญาของการแพทย์และมรดก
ทางวรรณกรรมของชาติ, (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภา, ๒๕๔๓), หน้า ๗.
๑๙

ปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม โปรดให้รวบรวมตารายา และฤาษีดัดตนไว้ตามศาลาราย ซึ่ง


เป็นที่ยอมรับกันจนถึงปัจจุบัน สมกับเป็นโรงเรียนแพทย์ แห่งแรกของไทยการแพทย์แผนไทย จึงเป็น
วิธีการดูแลสุขภาพและการบาบัดรักษาความเจ็บปุวยของคนไทยที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมอันดีของ
ไทย มีการใช้สมุนไพร การอบ การประคบ และการนวดไทย ที่มีเอกลักษณ์เป็นแบบแผนไทย

หลักพุทธธรรมที่ปรากฏในแพทย์แผนไทย
หลักพุทธธรรมเป็นหลักคาสอนที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบและทรงสอนให้ผู้อื่นรู้ต ามเพื่อให้
เวไนยสัตว์ได้หลุดพ้นจากอาสวะกิเลส หลักพุทธธรรมเป็นหลักเกณฑ์ของทางจริยศาสตร์ที่พระพุทธ
องค์ได้ทรงวางไว้เพื่อเป็นมาตรฐาน ความประพฤติของมนุษย์มีทั้งระดับพื้นฐานเบื้องต้น ระดับกลาง
และระดับสูง เพื่อให้มนุษย์ได้ดาเนินชีวิตที่ดีง ามตามอุดมคติเท่าที่มนุษย์จะเข้ากันได้ให้เป็นมนุษย์ที่
สมบูรณ์พร้อม มีสติปัญญา มีความสุขอันสมบูรณ์ที่สุด เป็นความดีอันสูงสุดของมนุษย์
พระพุ ท ธองค์ ท รงเห็ น ว่ า สิ่ ง จ าเป็ น พื้ น ฐานของมนุ ษ ย์ คื อ ปั จ จั ย ๔ ได้ แ ก่ อาหาร
เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค ทรงบัญญัติให้พระภิกษุสงฆ์ เป็นอยู่ด้วยการบิณฑบาต การ
นุ่ งห่ มผ้ าบั ง สุ กุ ล การอยู่ โ คนไม้ และการฉั นยาดองน้ ามูต รเน่า ถือ ประโยชน์ และความพอดี เป็ น
ประมาณ ทรงสอนให้รักษาสุขภาพ เพื่อเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใส ทั้งสุขภาพส่ วนตัว ส่วนรวม และ
ต่อสิ่ งแวดล้ อมการดูแลสุ ขภาพ เป็นการดูแลรักษาทั้งกายและใจไปพร้อมๆ กัน ผู้ ดูแล การดูแล
สิ่งแวดล้อม เชื่อมโยงประสานกัน มุ่งชีวิตปลอดจากโรค บาบัดโรค และเชื้อโรคเพื่อเป็นฐานชีวิตและ
พัฒนาชีวิตให้ดีงามยิ่งขึ้นไป มีการแก่ เจ็บ ตาย อย่างมีคุณภาพ
พระพุทธองค์ทรงมีบทบาททั้งในฐานะผู้ปุวย และผู้ดูแลรักษาผู้ปุวย ในฐานะผู้ปุวย ทรง
ดูแลจิตให้พ้นจากการเสียดแทงรบกวนของกิเลส หากทรงประชวร ทรงใช้พระโอสถและพระธรรม
โอสถ ในฐานะผู้ดูแลรักษาผู้ปุวย ทรงใช้ยาสมุนไพร และวิธีการต่างๆ รักษาโรคทางกาย ทางใจ ทรง
ปลุกผู้ปุวยให้ตื่ นจากกิเลส ทรงศึกษาวิชาการแพทย์ตั้งแต่ทรงเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ การดูแลรักษา
สุขภาพของผู้ปุวยของพระสาวก มีผลให้ผู้ปุวยหายปุวยก็มี ยังคงปุวยอยู่ แต่จิตใจสงบ หรือตายด้วยจิต
สงบ การดาเนิ นชีวิตเรี ย บง่าย อาหาร น้า อากาศ สิ่งแวดล้ อม ที่ส งบ บริสุ ทธิ์ ทาให้จิตเบิกบาน
ร่างกายกระปรี้กระเปร่า โรคภัยน้อย มีสติสัมปชัญญะ รู้ตัวทั่วถึงตามความจริง ปรับชีวิต เป็นปัจจุบัน
ขณะ
กลุ่มโรคในพระไตรปิฎก จัดได้ ๔ กลุ่ม คือ โรคผิวหนัง โรคระบบทางเดินอาหาร โรคลม
ในกาย และโรคที่เกิดจากสาเหตุต่างๆ โรค ๒ ประเภท คือ โรคทางกายและโรคทางใจ รวมโรคทางจิต
โรคทางกาย เกิดจากความไม่สมดุลของธาตุ ๔ เกิดจากฤดูกาล การบริหารกายไม่สม่าเสมอ การติด
เชื้อ ถูกทาร้าย อุบัติเหตุ กรรมวิบาก เป็นต้น โรคทางใจ เกิดจากกิเลสที่เป็นเหตุปัจจัย อิงอาศัยกัน
ตามหลักปฏิจจสมุปบาท โรคทางจิต มีเหตุจากความเห็นผิด ความหลง นิวรณ์ กิเลส น้าดีหรือสารเคมี
ในร่างกายผิดปกติ สุรา ยาเสพติด
๒๐

พระพุทธศาสนา กล่าวถึงการปูองกันโรคมากกว่าการรักษา ใช้ปัญญาและวิธีการนอกจาก


การใช้ตัวยา ผู้ปฏิบัติตามหลักศีล สมาธิ ปัญญา ย่อมมีโรคน้อย ไม่เป็นโรคทางใจตามความหมายทาง
พระพุทธศาสนาและทางจิตเวช
๑. หลักพุทธวิธี ๓ ประการ ในการดูแลสุขภาพ
(๑) พุ ท ธวิ ธี ก ารดู แ ลรั ก ษาและเสริ ม สร้ า งสุ ข ภาพ เช่ น บริ โ ภคอาหารที่ มี ป ระโยชน์
พอประมาณ การออกกาลังกาย การพักผ่อน
(๒) พุทธวิธีบาบัดรักษาโรค ใช้ยาสมุนไพรฉัน (กิน) ไล้ พอก ทา หยอด
(๓) พุทธวิธีบาบัดด้วยพระธรรมโอสถ ซึ่งเป็นวิธีแห่งปัญญา เป็นสัจธรรม เป็นสิ่งที่มนุษย์
ปฏิบัติได้ด้วยตนเอง เช่น การฟังธรรม การพิจารณาธรรม และปฏิบัติธรรม เป็นเหตุให้ จิตผ่องใสผ่อน
คลาย เป็นผลดีต่อสุขภาพ การสวดสาธยายบทธรรม มิใช่เพื่อความขลังศักดิ์สิทธิ์ แต่เพื่อให้ผู้ปุวยเกิด
การเรียนรู้ เกิดปัญญา เข้าใจชีวิตและธรรมชาติของชีวิตที่ ปรากฏในขณะเจ็บปุวย ผู้ปุวยที่ฟังสัญญา
๑๐ หรือ โพชฌงค์ ๗ แล้วหายปุวยตามที่ปรากฏในพระไตรปิฎกล้วนเป็นพระอรหันต์ การฟังสวด
น่าจะเป็นการดึงพลังแห่งการตรัสรู้มารักษาอาพาธ ศาสตร์ทาง จิตวิทยา เชื่อว่าผู้ไม่เครียด ผ่อนคลาย
ร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกันสูงและส่งภูมิคุ้มกั นต่อต้านโรคได้ในระดับสูงเป็นเหตุหนึ่งให้โรคทุเลาและ
หายได้ ผู้ปุวยที่ฟังธรรมทั่วไป จิตใจสงบส่งใจไปตามธรรม แม้กายจะไม่หายปุวยแต่ก็เสียชีวิตอย่างมี
สติสัมปชัญญะ
๒. พุทธวิธีกับการแพทย์แผนไทย มีความเหมือนกันและความแตกต่างกัน
ความเหมือนกันของพุทธวิถีกับการแพทย์แผนไทย คือ
(๑) ร่างกายประกอบด้วยธาตุสี่ คือ ดิน น้า ลม ไฟ
(๒) ความไม่สมดุลของธาตุสี่ ทาให้เกิดโรค
(๓) โรค การตรวจโรค การวินิจฉัยโรค
(๔) การใช้สมุนไพร ยา วิธีการรักษา สร้างภูมิคุ้มกันโรค การปูองกันโรค
ความต่างกันของพุทธวิธีกับการแพทย์แผนไทย ซึ่งพระพุทธศาสนากล่าวถึง แต่การแพทย์
แผนไทยไม่ได้กล่าวถึง คือ
(๑) กิเลสสาเหตุให้เกิดโรคทางใจ โรคทางจิต
(๒) โรคเกิดจากกรรมในอดีตชาติ
(๓) การบาบัดโรคด้วยพระธรรมโอสถ และการใช้พุทธานุภาพ
แนวคิดและหลักการทางการแพทย์ในพระพุทธศาสนาเถรวาทกับการแพทย์แผนไทย
ความเหมือนกันของแนวคิด หลักการ ทางการแพทย์ คือ
(๑) แนวคิดทางการแพทย์แบบองค์รวม
๒๑

(๒) หลักสุขภาพคือดุลยภาพ
(๓) หลักการสร้างภูมิคุ้มกันโรค
(๔) หลักการพึ่งตนเองในการรักษาเบื้องต้น
(๕) แพทย์สาเร็จวิชาแพทย์ด้านเวชศาสตร์และเวชกรรม
พุทธวิธีการดูแลสุขภาพและการรักษาสุขภาพ ด้วยวิธีการดูแลสุขภาพและการรักษาของ
การแพทย์แผนไทย มีความสอดคล้องกันและแตกต่างกันความสอดคล้องกันของพุทธวิธีกับการแพทย์
แผนไทย คือ
(๑) การบริโภคอาหาร
(๒) การออกกาลังกาย
(๓) การบริหารจิต
(๔) การอยู่กับธรรมชาติ
(๕) สุขลักษณะ
(๖) การใช้เภสัชสมุนไพร
(๗) การใช้ความร้อน
(๘) การพักผ่อนอิริยาบถ
(๑๐) การผ่าตัด
(๑๑) คุณธรรมของผู้พยาบาลและคนไข้
(๑๒) การปฏิบัติตามแนวคิดทางพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรมไทย
ความต่างกันของพุทธวิธีกับการแพทย์แผนไทย คือ
(๑) การรักษาด้วยพระธรรมโอสถ
(๒) การรักษาด้วยพุทธานุภาพ
ผลของการรักษาของพุทธวิธีและผลการรักษาของแพทย์แผนไทย
ผลลัพธ์ของพุทธวิธี คือ
(๑) พระพุทธเจ้าทรงหายประชวร
(๒) พระมหากัสสปะและพระมหาโมคคัลลานะหายจากอาพาธ
(๓) พระสารีบุตรหายจากอาพาธ
(๔) ภิกษุหายจากอาพาธ
(๕) อนาถบิณฑิกคหบดีไม่หายปุวย แต่สิ้นชีวิตอย่างสงบ
๒๒

ผลลัพธ์ของการแพทย์แผนไทยที่สามารถรักษาโรคให้หายขาด ได้แก่
(๑) โรคปวดศีรษะ
(๒) โรคริดสีดวงทวาร
(๓) โรคผอมเหลือง
(๔) โรคหมักหมมในพระวรกายด้วยสิ่งอันเป็นโทษในพระอุทร และโรคห้อพระโลหิตที่
พระบาทของพระพุทธเจ้า
(๕) โรคพยาธิในสมองและเนื้องอกในลาไส้ของชาวราชคฤห์และพาราณสี๓๘
ในสมัยพุทธกาล หมอชีวกโกมารภัจจ์ เป็นแพทย์ประจาพระองค์ และพระเจ้าพิมพิสาร
ถวายการดูแลรักษาพระภิกษุสงฆ์ที่อาพาธทั่วไป หมอชีวกโกมารภัจจ์สาเร็จวิชาแพทย์จากตักสิลา
เชี่ยวชาญในการใช้ยาสมุนไพร และการผ่าตัด หาผู้เสมอเหมือนยากการปฏิบัติโดยใช้หลักแนวคิดทาง
พระพุทธศาสนาที่สอนให้เดินทางสายกลาง ไม่ยึดมั่นถือมั่น ให้รู้จักการปล่อยวาง อันนาไปสู่การปลง
นั่นเอง ซึ่งการปลงเป็นจุดเริ่มของกระบวนการ การพยายามปรับสภาพจิตใจเพื่อให้เกิดความรู้สึก
สบายใจ จิตใจสงบและไม่ฟุูงซ่านการสวดมนต์ ขอพร เพื่อความสงบ และความสบายใจ เป็นวิธีปฏิบัติ
ที่ง่าย สามารถทาได้ทุกวัน ซึ่งเป็นการให้กาลังใจตนเอง สร้างความหวังให้กับตนเอง เพื่อให้ตนเองไม่
คิดมาก และรู้สึกสบายใจ มีกาลังใจที่จะสู้ต่อในการมีชีวิตอยู่ต่อไป
ซึ่งวัฒนธรรมในการดูแลตนเองนั้นเป็นกระบวนการที่มีเปูาหมายเพื่อยืดชีวิตให้ยืนยาว
ประกอบด้วย พฤติกรรมการดูแลตนเอง ด้านการทาใจ ประกอบด้วย การปลง การใช้กรรม การต่อ
อายุ การเบี่ยงเบนความสนใจ การปรึกษาหารือ หรือขอความช่วยเหลือ และการสร้างความหวัง ซึ่งจะ
ช่วยให้เกิดความรู้สึกความมั่นคง สบายใจ และมีขวัญกาลังใจที่จะยืดหยัดสู้ต่อไป การเยียวยาด้านจิต
วิญญาณของผู้ที่นับถือศาสนาพุทธ จะหันเข้าหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา เช่น การสวดมนต์ การ
บูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ การทาพิธีกรรมทางศาสนา เพื่อใช้บรรเทาความทุกข์ใจ เป็นการเยียวยาทางจิต
วิญญาณ การปฏิบัติเหล่านี้ทาให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตวิญญาณ หลุดพ้นจากการมีตัวตน
จิ ต ใจมี ค วามสุ ข สงบไม่ ฟุู ง ซ่ า น มี ค วามมั่ น คงทางอารมณ์ ทาให้ เ กิ ด ความรู้ สึ ก ที่ ดี และการใช้
พระพุทธศาสนาเป็นที่พึ่งทางใจ การยึดมั่นในหลักคาสอนของพระพุทธศาสนา การปฏิบัติกิจกรรม
ตามหลักพระพุทธศาสนา และการประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อส่งผลให้ผู้ปุวยมีความสุข มีความ
สงบ มีความเมตตากรุณา และมีจิตใจที่เข้มแข็ง เนื่องมากจากศาสนามีส่วนช่วยในการดูแลสุขภาพจิต
ทั้งทางด้านอารมณ์ ความคิด จิตวิญญาณ ซึ่งมีอิทธิพลต่อการดาเนินชีวิตของผู้ปุวย เมื่อมีการเจ็บปุวย
ก็จะมีความเชื่อทางศาสนาว่าเป็นเรื่องของกรรมบ้าง เป็นไปตามธรรมชาติที่เกิดขึ้นมาเองบ้าง รวมถึง
การชดใช้กรรม ดังนั้นการยอมรับการชดใช้กรรมและการประกอบความดี จึงเป็นการสร้างผลบุญ ชา
ระบาป และเพิ่มความสิริมงคลให้กับชีวิตด้วย

๓๘
ศศิธร เขมาภิรัต น์ , การศึกษาเปรียบเที ยบพุท ธวิธีในการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมกับ การแพทย์แผนไทย ,
วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, (บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,๒๕๔๙),หน้า ๑๐๖–๑๑๐.
๒๓

สรุปได้ว่า พระพุทธศาสนาทาให้คนไทยมีหลักสาหรับอยู่ร่วมกัน เช่น แสดงหน้าที่ของคน


ในสังคม ความสามัคคี และประเพณี เช่น ประเพณีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือกัน ความมี น้าใจต่อ
กัน ขอกันกินได้ มีความเกรงใจกัน ข้อนี้ก็มาจากสังคหวัตถุ ความรู้บุญคุณคนก็มาจากเรื่องกตัญญู
กตเวที ประเพณีการทอดกฐินก็เนื่องด้วยพระพุทธศาสนา หน้าที่ของบุคคลในสังคมนั้ นๆ ที่พึงปฏิบัติ
ต่อกัน และยาอย่างจากัดที่สุด หาง่ายที่สุด ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ คือ ยาดองด้วยน้าปัสสาวะ
และอีก ๔ อย่าง คือ ปัสสาวะ อุจจาระ(เผา) เถ้า และดิน ของ ๔ อย่างนี้ใช้เป็นยาได้ ชื่อว่ายามหาวิกัต
แม้แต่ของต่าๆ ๔ อย่างนี้ พระกัมมัฏฐานมักใช้ยาสมอดองด้ วยน้าปัสสาวะใช้แก้ไข้ หมอบางคนทายา
แก้ไข้ผสมด้วยอุจจาระเผาเป็นเถ้าถ่าน และการที่ทรงแสดงเรื่องอาการ ๓๒ คือ อวัยวะในร่างกาย ๓๒
ส่วน เริ่มตั้งแต่อวัยวะภายนอก คือ ผม ขน เล็บ เป็นต้น ภายในมี กระดูก หัวใจ ปอดม้าม เป็นต้น

คุณค่าภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย
ภูมิปัญญาไทยเป็นเรื่องของการใช้ความรู้ ความคิด และทักษะการปฏิบัติเป็นการ
ปรับตัวเพื่อความอยู่รอดของตนเองและชุมชน จึงมี การเปลี่ยนแปลงให้สมดุลกับการพัฒนาทางสังคม
อยู่ตลอดเวลา ซึ่งในแต่ละท้องถิ่นก็มีเอกลักษณ์ของตนเอง ปัจจัยที่สาคัญที่มีผลต่อการสร้างสรรค์ภูมิ
ปัญญา การสร้างสรรค์ภูมิปัญญาที่เกิดจากการดารงชีวิต คนไทยในภูมิภ าคต่างๆ มีวิถีการดารงชีวิต
ขนบธรรมเนียมประเพณีที่แตกต่ างกัน แต่ก็ล้วนมีความผูกพันและพึ่งพาอาศัยธรรมชาติ เรียนรู้จาก
ธรรมชาติ ทาให้มีความรู้เกี่ยวกับการทามาหากิน และการดาเนินชีวิตที่สอดคล้องกับธรรมชาติ ปัญหา
ด้านต่างๆ ทาให้ผู้คนจาเป็นต้องปรับตัว และสร้ างสรรค์ภูมิปัญญาเพื่อความอยู่รอด และอยู่อย่ างมี
ความสุข สะดวกสบาย รวมทั้งเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ โดยคิดประดิษฐ์
หรือพัฒนาสิ่งแวดล้อมเพื่อนามาใช้ประโยชน์ เช่น การนาพืชพรรณธรรมชาติมาปรุงเป็นอาหาร ทายา
รักษาโรค
ความหมายของภูมิปัญญาไทย ความหวายของภูมิปัญญา ภูมิ แปลว่า พื้นหรือพื้นที่ ส่วน
ปัญญา แปลว่า ความรอบรู้, ความรู้ทั่ว, ความฉลาด ดังนั้น ภูมิปัญญา หรือ Wisdom หวายถึงความรู้
ความสามารถ ความเชื่อ ที่นาไปสู่การปฏิบัติเพื่อแก้ไขปัญหาของมนุษย์ หรือ ภูมิปัญญาคือ พื้นความรู้
ของปวงชนในสังคมนั้นๆ และปวงชนใน สังคมยอมรับรู้ เชื่อถือ เข้าใจ ร่วมกัน เรียกว่าภูมิปัญญา คา
ว่า ภูมิปัญญา มักใช้ว่า ภูมิปัญญาพื้นบ้าน หรือ ภูมิปัญญาชาวบ้าน คือ ความรู้ความสามารถ ความ
ชาญฉลาดของกลุ่มชนที่ใช้ในการสร้าง ประดิษฐ์ แก้ไข ปรับปรุงสิ่งต่างๆ ที่มีอยู่ตามธรรมชาติ เพื่อให้
อานวยความสะดวกสบายและความสุ ข ในการด ารงชีวิ ต โดยไม่ ไ ด้พึ่ ง เทคโนโลยี ห รือ ความรู้ท าง
วิทยาศาสตร์สมัยใหม่เป็นความชาญฉลาดที่ทาให้สามารถพัฒนาสิ่งต่างๆ ที่ อยู่รอบตัว มาใช้ในการ
ดารงชีพได้อย่างดี ความรู้และความฉลาดนั้นสั่งสมวาจากบรรพบุรุษและถ่ายทอดสืบต่อกันวา เช่น
เครื่องมือจับสัตว์น้าที่เหมาะกับสัตว์น้าชนิดต่างๆ การสร้างบ้านเรือนให้มีเสาสูง ทาให้รับสภาพ การ
เปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศเขตมรสุมได้ดี การเปลี่ยนแปลงส่วนประกอบของอาหารตามฤดูกาล ทาให้
ไม่เดือดร้อนเมื่ออาหารอย่างใดอย่างหนึ่งมีร าคาแพงเกินไป เป็นต้น ภูมิปัญ ญาไทยหมายถึง องค์
ความรู้ ความสามารถและทักษะของคนไทยอันเกิดจากการสั่งสม ประสบการณ์ที่ผ่านกระบวนการ
เรียนรู้ เลือกสรร ปรุงแต่ง พัฒนา และถ่ายทอดสืบต่อกันวา เพื่อใช้แก้ปัญญา และพัฒนาวิถีชีวิตของ
๒๔

คนไทยให้สมดุลกับสภาพแวดล้อมและเหมาะสมกับยุคสมัย ภูมิปัญญาไทยนี้มีลักษณะเป็นองค์รวม มี
คุณค่าทางวัฒนธรรมเกิดขึ้นในวิถีชีวิตไทย ซึ่งภูมิปัญญาท้องถิ่นอาจเป็นที่มาขององค์ความรู้ที่งอกงาม
ขึ้นใหม่ที่จะช่วยในการเรียนรู้การแก้ปัญหา การจัดการและการปรับตัวในการดาเนินวิถีชีวิตของคน
ไทยลั ก ษณะองค์ ร วมของภู มิ ปั ญ ญามี ค วามเด่ น ชั ด ในหลายด้ า นเช่ น ด้ า นเกษตรกรรม ด้ า น
อุตสาหกรรมและหัตถกรรม ด้านการแพทย์แผนไทย ด้านการจัดการทรัพยากรและ สิ่งแวดล้อม ด้าน
กองทุนและธุรกิจชุมชน ด้านศิลปกรรม ด้านภาษาและ วรรณกรรม ด้านปรัชญา ศาสนาและประเพณี
และด้านโภชนาการ วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์เอกลักษณ์และภูมิปัญญา๓๙
สังคมไทยสามารถประยุกต์และปรับใช้ต ามหลักธรรมคาสอนทางพระพุทธศาสนา ความ
เชื่อและประเพณีดั้งเดิมที่มีคุณค่ าให้เหมาะสมต่อการประพฤติปฏิบัติให้บังเกิดผลดีต่อ บุคคลและ
สิ่งแวดล้อม เช่น การถ่ายทอดหลักธรรมทางศาสนา การบวชปุา การประยุกต์ประเพณีบุญ ประทาย
ข้าว เป็นต้น ความสามารถในการถ่ายทอดการอบรมเลี้ยงดูก ารบ่มเพาะ การสอน สั่ง การสร้างสื่อ
และอุปกรณ์การวัดความสาเร็ จ คือลักษณะและประเภทของภูมิปัญญาท้องถิ่นคือ มีลั กษณะเป็น
รูปธรรมและนามธรรม อันเกิดจากการสั่งสมความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับจากการถ่ายทอดจาก
บุ คคลและสถาบั น ต่ างๆ ในท้ องถิ่ น โดยมี ศ าสนาและวัฒ นธรรมเป็นพื้ นฐาน จะมีลั ก ษณะจากั ด
เฉพาะถิ่น มีความเป็นสากล มุ่งการมีชีวิตอยู่ร่วมกับ ธรรมชาติและมีความสัมพันธ์ระหว่างชีวิตกับชีวิต
ภูมิปัญญาชาวบ้านเป็นความรู้เรื่องการทามาหากิน เช่น การจับปลา การปลูกพืช การ
เลี้ยงสัตว์ การทอผ้า ทอเสื่อ การสานตะกร้าและเครื่องใช้ด้วยไม้ไผ่ ด้วยหวาย การทาเครื่องปั้นดินเผา
การทาเครื่องมือทางการเกษตร ศิลปะดนตรี การฟูอนรา และการละเล่นต่างๆ การรักษาโรคด้วยวิธี
ต่างๆ เช่น การใช้ยาสมุนไพร การนวดความสาคัญของภูมิปัญญา๔๐
๑) ภูมิปัญญาทาให้ชาติและชุมชนผ่านพ้นวิกฤติและดารงความเป็นชาติ หรือชุมชนได้
๒) ภูมิปัญญาเป็นองค์ความรู้ที่มีคุณค่าและความดีงามที่จรรโลงชีวิตและวิถีชุมนให้อยู่
ร่วมกับธรรมชาติและสภาวะแวดล้อมได้อย่างกลมกลืนและสมดุล
๓) ภูมิปญ
ั ญาเป็นพื้นฐานการประกอบอาชีพและเป็นรากฐานการพัฒนาที่เริ่มจากการพัฒ
นาเพื่อการพึ่งพาตนเอง การพัฒนาเพื่อการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน และการพัฒนาที่เกิดจากการ
ผสมผสานองค์ความรู้สากลบนฐานภูมิปัญญาเดิม เพื่อเกิดเป็นภูมิปัญญาใหม่ที่เหมาะสมกับยุคสมัย
พุทธพจน์บ่งชี้ว่า“อาหารเป็นพาหะนาโรค หมดอาหารก็หมดโรค”อาหาร ตามศาสตร์และ
ศิลปะในปรัชญาทางพระพุทธศาสนาถือว่าเป็นปัจจัยที่สาคัญที่ สุด สัตว์ลาทุกประเภทย่อมจะต้อง
อาศัยอาหาร ชีพดารงอยู่ได้ก็เพราะอาหาร ขึ้นตอนในการศึกษาคุณโทษของอาหารจาเป็นจะต้อง

๓๙
กิตติชัย อนวัชประยูร, จุลสาร สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ,๒๒ พฤศจิกายน
๒๕๕๘.
๔๐
นิวัติ มณีขัตย์, กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม, [ออนไลน์], แหล่งข้อมูล http://www.environnet.in.th/kids, [๑๐
มกราคม ๒๕๖๔].
๒๕

พิจารณาศึกษาไปตามขึ้นตอน ถ้าศึกษาข้ามขั้นตอน หรือไปยึดติดเพียงบางส่วนจะทาให้ “ชีพ” ต้อง


ผจญกับโรคร่าไป ผู้เขียนขอลาดับขั้นตอนดังนี้ คือ
๑) มโนสัญเจตนา อาหารอันดับแรกที่สาคัญในชีวิต คือ “เจตนา” หมายถึง อาหารที่เกิด
ขึ้นกับจิต ชีวิตเริ่มมาจา “จิต” การจงใจเจตนาเริ่มมาจาก “จิต” จิตที่จงใจเจตนาย่อมนาไปสู่“กรรม”
คือ ภาควจีและกาย ความดีและความชั่ว บุญและบาป สุจริตและทุจริต สวรรค์และนรกปุถุชนและ
อริยชน ทุกกระบวนการย่อมมาจาก “จิต” คือความจงใจเจตนานั่นเอง อาหารประเภทนี้มีอานาจ
เหนืออานาจใดๆ ในชีพ
๒) ผั ส สาหาร อาหารอันดับที่ส องรองลงมา คือ การสั มผั ส ถูกต้อง การสั มผั ส ถูกต้อง
จะต้องรู้ทันในขณะที่ กาลังถูกสัมผัสหรือ กระทบสติความระลึกได้ และความรู้สึกตัวเป็นตัวควบคุม
ผัสสะ ไม่ควรเผลอเรอในขณะกระทบจะต้องควบคุมรูป รส กลิ่น เสียง ผัสสะ เพราะอาหารประเภทนี้
สามารถก่อชนวนให้เกิดอารมณ์ที่พอใจ และอารมณ์ที่เสียใจได้อย่างร้ายแรงที่สุด
๓) วิญญาณาหาร อาหารอันดับที่สาม คือ วิถีประสาทรับรู้แจ้งเห็นจริงตามทวารต่างๆที่
เกิดผัสสะขึ้น เช่น มองเห็นสี ได้ฟังเสียง ได้กลิ่น รู้รส และสัมผัสต่ างๆ อาหารประเภทนี้ ที่แท้จริงคือ
ประสาทตื่น แต่ปัญญาและพิจารณาต้องคอยปรับปรุงให้ถูกไม่ขัดต่อศีลธรรมและกฎหมาย
๔) กวฬิงการาหาร อาหาร คือ การบริโภคดื่มกิน เคี้ยวกิน ให้ล่วงลาคอลงไปสู่กระเพาะ
อาหารในเวลาเช้าถึงเที่ยง (ยามกาลิก) หรือถนอมอาหารไว้ได้ในช่วงสัปดาห์ บางสิ่งที่เป็นยาจึงจัดเป็น
อาหารประเภทตลอดชีพ อาหารประเภทนี้ชาวโลกและสถาบันการศึกษาทั่วโลกมองเห็นความสาคัญ
จึงได้เป็นกระบวนการวิชาการโภชนาการในรูปแบบ “อาหารหลัก ๕ หมู่” เป็นระบบการแพทย์
ตะวัน ตก ยอมรั บ เป็ นทฤษฎีที่ต้องศึกษา แต่ม ามองอีกมุมหนึ่ง เฉพาะการแพทย์แผนไทย เรายึด
อุดมการณ์ระดับความสาคัญของอาหารต่างกัน ดังที่ได้นาเสนอมาแล้วข้างต้นตามลาดับ๔๑
วิชาชีพการแพทย์แผนไทยถือได้ว่ าเป็นภูมิปัญญาแห่งชาติ เป็นเอกลักษณ์หรือมรดกทาง
วัฒนธรรมของประเทศที่สืบทอดกันมาแต่โบราณ ควบคู่มากับสังคมไทย เป็นองค์ความรู้ความสามารถ
และทักษะของคนไทยอันเกิดจากการสั่งสมประสบการณ์ที่ผ่านการเรียนรู้พัฒนา และถ่ายทอดสืบต่อ
กันในวิถีชีวิตของคนไทยอย่างสมดุลกับสภาพแวดล้อม และเหมาะสมกับยุคสมัยการแพทย์แผนไทยมี
ลั ก ษณะเป็ น องค์ ร วม ประกอบด้ ว ย กาย จิ ต สั ง คม วั ฒ นธรรม ธรรมชาติ แ ละสิ่ ง แวดล้ อ ม มี
ความสั มพั น ธ์ เชื่ อมโยง สามารถสะท้ อนออกมาใน ๓ ลั ก ษณะ คื อ ความสั ม พัน ธ์ร ะหว่ า งคนกั บ
ธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ความสัมพันธ์ระหว่างคนในสังคมหรือชุมชน และความสัมพันธ์ระหว่างคนกับสิ่ง
ศักดิ์สิทธิ์ ภูมิปัญญาและปรัชญาการดารงชีวิต นอกจากนี้รากฐานการแพทย์แผนไทยยังมีเอกลักษณ์
และคุณค่าที่โดดเด่น มีการสืบทอดและวิวัฒนาการ ตั้งแต่สมัยดึกดาบรรพ์ ผูกพันกับวิถีชีวิตพิธีกรรม
ความเชื่อ อันได้แก่ไสยศาสตร์ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ และสิ่งที่อยู่เหนือธรรมชาติ ผสมผสานกับระบบการแพทย์
พื้นบ้าน ซึ่งเป็นการแพทย์ประสบการณ์อันเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น กับการแพทย์แผนไทยที่มีร ากฐาน

๔๑
สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ, [ออนไลน์], แหล่งข้อมูล http://www.doctor.or.th., [๑๐ มกราคม
๒๕๖๔].
๒๖

การแพทย์อายุรเวทของอินเดีย กับพระพุทธศาสนา จะเห็นว่าการแพทย์แผนไทย เป็นการแพทย์ที่มี


การหล่อหลอม ถ่ายทอดทางวัฒนธรรม ผ่านกระบวนการเรียนรู้ ลองผิดลองถูกเลือกสรร และการพัฒ
นาองค์ความรู้ ดังนั้นการแพทย์แผนไทยจึงนับว่ าเป็นภูมิปัญญาแห่งชาติ หรือภูมิปัญญาท้องถิ่น อัน
เป็นเอกลักษณ์ของชาติไทย
ความสาคัญในระดับสังคม จะเน้นกลไกการควบคุมวิชาชีพการแพทย์แผนไทย เพื่อความ
ปลอดภัยของผู้ปุวยในสังคม ประกอบด้วยกฎหมาย องค์กรที่เกี่ยวข้องทั้งหน่วยงานรัฐ และหน่วยงาน
เอกชนจะเห็ น ว่ าการแพทย์ แผนไทยมีก ารพัฒ นา มีมาตรฐานในวิช าชีพ สั งเกตได้จ ากกฎหมายที่
เกี่ยวข้องกับวิชาชีพแพทย์แผนไทยที่มีการยกเลิก ปรับ ให้สอดคล้องเหมาะสมกับวิชาชีพแพทย์แผน
ไทย นอกจากนี้สถาบันที่ใช้ในการศึกษาเล่าเรียนและถ่ายทอดความรู้แต่เดิมมีการเรียนการสอนอยู่ใน
วัดและสมาคม ความสาคัญในระดับสังคม๔๒ ปัจจุบันวิชาชีพการแพทย์แผนไทยมีหลักสูตรการเรียน
การสอนที่เป็นระบบ และยังศึกษาในสถาบันการศึกษาที่คณะกรรมการวิชาชีพรับรองอีกด้วย และ
ความสาคัญในระดับชุมชน จะเห็นว่าการแพทย์แผนไทยในระดับชุมชน หรือระดับท้องถิ่น ประชาชน
จานวนมากยังคงพึ่งพาการรักษาจากหมอพื้นบ้าน และหมอแผนไทยในยามเจ็บปุวย ถือว่าเป็นการ
ดูแลสุขภาพแบบพึ่งพาตนเองของชุมชนในระดับท้องถิ่น และการแพทย์แผนไทยยังสอดคล้องกับวิถี
ชีวิต ประเพณี วัฒนธรรม และความเชื่อทางพระพุทธศาสนาของคนไทย ดังนั้นการที่วิชาชีพแพทย์
แผนไทยยังคงปรากฏในชุมชนท้องถิ่นทั่วประเทศ ถือได้ว่ าเป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญาการแพทย์แผน
ไทย หรือการสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นให้คงอยู่คู่กับสังคมไทยทุกสิ่งทุกอย่ างที่ชาวบ้านคิดขึ้นได้เอง
และนามาใช้ในการแก้ปัญหา เป็นเทคนิควิธี เป็นองค์ความรู้ของชาวบ้าน ทั้งทางกว้างและทางลึกที่
ชาวบ้านคิดเอง ทาเอง โดยอาศัยศักยภาพที่มีอยู่แก้ปัญหาการดาเนินชีวิตในท้องถิ่นได้อย่ างเหมาะสม
กับยุคสมัยความเหมือนกันของภูมิปัญญาไทยและภูมิปัญญาท้องถิ่น คือ เป็นองค์ความรู้ และเทคนิคที่
นามาใช้ในการแก้ปัญหาและการตัดสินใจ ซึ่งได้สืบทอดและเชื่อมโยงมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่อดีตถึง
ปัจจุบันความเหมือนกันระหว่างผู้ทรงภูมิปัญญาไทยกับปราชญ์ชาวบ้านคือ บทบาทและภารกิจในการ
นา ภูมิปัญญาไปใช้แก้ปัญหา และการถ่ายทอดเพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงจากอดีตถึงปัจจุบัน ส่วน
ความแตกต่างกันนั้นขึ้นอยู่กับระดับภูมิปัญญาที่จะนาไปแก้ปัญหาและถ่ายทอดกล่ าวคือ ผู้ทรงภูมิ
ปัญญาไทยย่อมมีความสามารถหรือภารกิจในการนาภูมิปัญญาระดับชาติไปแก้ปัญหา หรือถ่ายทอด
หรือผลิตผลงานใหม่ๆที่มีคุณค่าต่อประเทศชาติโดยส่วนรวม ส่วนปราชญ์ชาวบ้านมีความสามารถหรือ
ภารกิจในการนาภูมิปัญญาชาวบ้าน หรือภูมิปัญญาท้องถิ่นไปแก้ปัญหาหรือถ่ายทอดในท้องถิ่น
ภูมิปั ญญาไทยมีความเด่นชัดในเรื่องของการยอมรับนับถือ และให้ความส าคัญแก่คน
สังคม และธรรมชาติอย่างยิ่ง มีเครื่องชี้ที่แสดงให้เห็นได้อย่ างชัดเจนมากมาย เช่น ประเพณีไทย ๑๒
เดือนตลอดทั้งปี ล้วนเคารพคุณค่าของธรรมชาติ ได้แก่ ประเพณีสงกรานต์ ประเพณีลอยกระทง เป็น
ต้น ประเพณีสงกรานต์เป็นประเพณีที่ทาในฤดูร้อนซึ่งมีอ ากาศร้อน ทาให้ต้องการความเย็น จึงมีการ
รดน้าดาหัว ทาความสะอาดบ้านเรือนและธรรมชาติสิ่งแวดล้อม มีการแห่นางสงกรานต์ การทานาย

๔๒
กิตติชัย อนวัชประยูร, จุลสาร สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ,๒๒ พฤศจิกายน
๒๕๕๘.
๒๗

ฝนว่าจะตกมากหรือน้อยในแต่ละปี ส่วนประเพณีลอยกระทง คุณค่าอยู่ที่การบูชาระลึกถึงบุญคุณของ


น้า ที่หล่อเลี้ยงชีวิตของคน พืช และสัตว์ ให้ได้ใช้ทั้ง บริโภคและอุปโภคในวันลอยกระทง คนจึงทา
ความสะอาดแม่น้า ลาธาร บูชาแม่น้า จากตัวอย่างข้างต้น ล้วนเป็นความสัมพันธ์ระหว่างคนกับสังคม
และธรรมชาติทั้งสิ้นอาหารไทยเป็นอาหารที่ปรุงง่าย พืชที่ใช้ประกอบอาหารส่วนใหญ่เป็นพืชสมุนไพร
ที่หาได้ง่ายในท้องถิ่นและราคาถูก มีคุณค่าทางโภชนาการ และยังปูองกั นโรคได้หลายโรค เพราะ
ส่วนประกอบส่วนใหญ่เป็นพืชสมุนไพร เช่น ตะไคร้ ขิง ข่ า กระชาย ใบมะกรูด ใบโหระพา ใบกระ
เพรา เป็นวิธีการปฏิบัติของชาวบ้าน ซึ่งได้มาจากประสบการณ์ แนวทางแก้ปัญหาแต่ละเรื่อง แต่ละ
ประสบการณ์ แต่ละสภาพแวดล้อม ซึ่งจะมีเงื่อนไขปัจจัยเฉพาะแตกต่างกันไป นามาใช้แก้ไขปัญหา
โดยอาศัยศักยภาพที่มีอยู่โดยชาวบ้านคิดเองและปฏิบัติตามคติธรรมทางพระพุทธศาสนา เป็นความรู้
ที่สร้างสรรค์และมีส่วนเสริมสร้างการผลิต หรือเป็นองค์ความรู้ของชาวบ้านที่ผ่านการปฏิบัติมาแล้ว
อย่างโชกโชน เป็นส่วนหนึ่งของมรดกทางพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรม เป็นความรู้ที่ปฏิบัติได้มีพลัง
และส าคัญยิ่ ง ช่ว ยให้ ช าวบ้ านมีชีวิ ตอยู่รอดสร้ า งสรรค์ ก ารผลิ ตและช่ ว ยในด้ านการทางาน เป็ น
โครงสร้างความรู้ที่มีหลักการมีเหตุมีผลในตัวเอง
กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ ได้แบ่งประเภทของภูมิปัญญาไทยไว้ ดังนี้
๑) ภูมิปัญญาด้านคติธรรม ความคิด ความเชื่อ หลักการที่เป็นพื้นฐานขององค์ความรู้ที่
เกิดจากการสั่งสมถ่ายทอดกันมาk
๒) ภูมิปัญญาด้านศิลปวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีที่เป็นแบบแผนการดาเนิน
ชีวิตที่ปฏิบัติสืบทอดกันมา
๓) ภูมิปัญญาด้าการประกอบอาชีพในท้องถิ่น ที่ยึดหลักการพึ่งตนเองและได้รับการพัฒ
นาให้เหมาะสมกับกาลสมัย
๔) ภูมิปัญญาด้านแนวความคิด หลักปฏิบัติ และเทคโนโลยีสมัยใหม่ ที่ช าวบ้านนามา
ดัดแปลงใช้ในชุมชนอย่างเหมาสมกับสภาพแวดล้อมและความเป็นอยู่
วรรณกรรมแพทย์แผนไทยที่เป็นสมุดไทยมีอยู่ ๔ ตาราได้แก่๔๓
๑) ตารายาพระโอสถ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ ทรงให้มี
การรวบรวมวรรณกรรมทางแพทย์ขึ้นใน พ.ศ. ๒๓๕๕ โดยมีพระพงศ์อามรินทร์ เป็นแพทย์หัวหน้าผู้
รวบรวมตารายาต่างๆ
๒) ตาราสรรพคุณยาเป็นผลจากการผสมผสานแนวคิดการแพทย์แผนตะวันตกกับแพทย์
แผนไทย โดยพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท ซึ่งเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จ
พระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงใฝุพระทัยศึกษาการแพทย์จากหมอบรัดเลย์ จนกระทั่งได้เป็นสมาชิก
สถาบันการแพทย์แห่งนครนิวยอร์ก ตาราสรรพคุณยานี้เป็นผลงานเชิงวิจัย โดยทรงศึกษารายละเอียด

๔๓
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข, รายงานประจาปีกรมสุขภาพจิต, (กรุงเทพมหานคร : ชุมนุมสหกรณ์
การเกษตรแห่งประเทศไทย, ๒๕๔๗), หน้า ๑๒.
๒๘

ของส่วนต่างๆของสมุนไพรแต่ละชนิดในการนามาผลิตยารักษาโรค ในลักษณะที่เป็นการทดลองทาง
วิทยาศาสตร์และสามารถนาไปบูรณาการต่อไปได้
๓) ตารายาพิเศษเป็นผลงานนิพนธ์ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวิยาลง
กรณ์ เมื่อพ.ศ. ๒๔๐๗ โดยเนื้อแบ่งออกเป็น ๒ ตอน ตอนต้นเป็นตารายาคาโคลง กล่าวถึงโรคระบาด
ในช่ว งสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่ งเกล้ าเจ้ าอยู่หัว ได้แก่ ไข้ฝีด าษระบาดเมื่อพ.ศ. ๒๓๘๑ และไข้
อหิวาตกโรคระบาดเมื่อพ.ศ. ๒๓๙๒ ซึ่งเป็นสาเหตุสาคัญที่ทาให้พระองค์นิพนธ์ตารายาพิเศษนี้ขึ้น
ส่วนตอนที่สองมีลักษณะเป็นกาพย์
๔) ตาราเวชศาสตร์ฉบับหลวง เป็นวรรณกรรมการแพทย์ที่ใช้เป็นคู่มือสาหรั บผู้สนใจ
ศึกษาวิชาแพทย์ เป็นผลจากครั้งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดาริให้ฟื้นฟู
การแพทย์แผนไทยและอนุรักษ์เอาไว้ แม้ว่าในขณะนั้นการแพทย์แผนตะวันตกจะก้าวหน้ามากก็ตาม
โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นภูบดีราชหฤทัย เป็น
หัวหน้าจัดหารวบรวมและชาระสอบสวนตารับคัมภีร์แพทย์ และได้จัดทาขึ้นใหม่เป็น “คัมภีร์แพทย์
ฉบับหลวง” และตาราเวชศาสตร์ฉบับหลวงนี้เองที่ต่อมาได้เป็นพื้นฐานองค์ความรู้สาคัญสาหรับ
วรรณกรรมตารายาในกาลต่อมา
ในบรรดางานวรรณกรรมทางการแพทย์ต่างๆของไทย พบว่าหลักปรัชญา แนวคิด และ
ความเชื่อสาคัญที่มีผลต่องานเหล่านี้ สามารถแบ่งออกเป็น ๓ หลักแนวคิดและความเชื่อ ได้แก่ปรัชญา
เรื่องธาตุทั้งสี่ แนวคิดเกี่ยวกับร่ างกายและจิตใจในเรื่องโรคภัยไข้เจ็บ และความเชื่อในเรื่องการเกิด
และการตาย ได้แก่๔๔
๑) ปรัชญาเรื่องธาตุทั้งสี่ อิทธิพลความคิดเรื่องธาตุทั้งสี่ปรากฏบ่อยครั้งในวรรณกรรม
แพทย์แผนไทย โดยมีลักษณะโยงใยกับร่างกายและใช้ในการอธิบายสาเหตุของพยาธิต่างๆที่เกิดขึ้นกับ
ร่างกาย อีกทั้งเป็นส่วนสาคัญในการวินิจฉัยโรคและการปรุงยารักษาโรค โดยความเชื่อเกี่ยวกับธาตุทั้ง
สี่มาจากอิทธิพลความคิดที่ปรากฏในพระไตรปิฎกของพุทธศาสนา นิกายเถรวาท อย่างไรก็ตาม แพทย์
แผนไทยเข้าใจและมีความเชื่อในธาตุที่ ๕ซึ่งเพิ่มมาตามความเชื่อในอายุรเวท ธาตุดังกล่าวคือ อากาศ
ธาตุ ซึ่งเข้าใจว่าต่างกับธาตุลม
๒) แนวคิดเกี่ยวกับร่างกายและจิตใจในเรื่องโรคภัยไข้เจ็บ ในวรรณกรรมเวชศาสตร์ฉบับ
หลวงทุกคัมภีร์มีแนวคิดเกี่ยวกับร่ างกายและจิตใจในฐานะเป็นสมุฏฐานของโรคภัยไข้เจ็บ ซึ่งได้รับ
อิทธิพลจากพุทธศาสนา นิกายหินยาน โดยแพทย์ที่จะเป็นผู้ชานาญในการรักษาโรคต้องรู้และเข้าใจ
สภาพทางร่างกายของผู้ปุวย ทั้งในแง่สาเหตุแห่งโรค ชื่อของโรค ยาสาหรับแก้โรค และรู้ว่ายาชนิดใด
ควรแก้โรคชนิดใด ขณะเดียวกันก็มีความเชื่อว่าจิตวิญญาณเป็นส่วนสาคัญอย่างหนึ่งที่ส่งผลต่อสุขภาพ
เนื่องจากความสัมพันธ์ระหว่างร่างกายกับจิตนั้นไม่สามารถแยกออกจากกันได้ ทาให้ในบาครั้งมีการ

๔๔
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร, [ออนไลน์], แหล่งข้อมูล http://www.surdi.su.ac.th., [๑๐ มกราคม
๒๕๖๔].
๒๙

ผสมผสานทั้งการรักษาโดยใช้ยาเพื่อรักษาร่างกาย และการใช้แนวคิดเรื่องไสยศาสตร์ การนั่งสมาธิ


และการรักษาศีลตามแนวทางพุทธศาสนา ซึ่งถือเป็นการรักษาแบบองค์รวม
๓) ความเชื่อในเรื่องการเกิดและการตาย ความเชื่อเรื่องการเกิดและการตายส่วนหนึ่งมา
จากอิ ท ธิ พ ลความเชื่ อ ของอิ น เดี ย ผสมกั บ ความเชื่ อ ของ ท้ อ งถิ่ น คติ เ ช่ น นี้ เ ห็ น ได้ ชั ด ในคั ม ภี ร์
ประถมจินดาและคัมภีร์มรณญาณสูตร ซึ่งทั้งสองปรากฏอยู่ในตาราเวชศาสตร์ฉบับหลวง
หลักพระพุทธศาสนาชี้ให้เห็น คือ ความไม่มีโรค เป็นลาภอันประเสริฐ คือ ส่วนหนึ่งของ
องค์ประกอบการแพทย์แผนไทยที่ได้สืบสานถ่ายทอดสืบกันมาจนถึงปัจจุบัน คนไทยส่ว นใหญ่นับถือ
ศาสนาพุทธ โดยนาหลักธรรมคาสอนของศาสนามาปรับใช้ในวิถีชีวิตได้อย่างเหมาะสม ทาให้คนไทย
เป็นผู้อ่อนน้อมถ่อมตน เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ประนีประนอม รักสงบ ใจเย็น มีความอดทน ให้อภัยแก่ผู้
สานึกผิด ดารงวิถีชีวิตอย่างเรียบง่ายปกติสุข ทาให้คนในชุมชนพึ่งพากันได้ แม้จะอดอยากเพราะแห้ง
แล้ง แต่ไม่มีใครอดตาย เพราะพึ่งพาอาศัยกัน แบ่งปันกันแบบ “พริกบ้านเหนือเกลือบ้านใต้” เป็นต้น
ทั้งหมดนี้สืบเนื่องมาจากหลักธรรมคาสอนของพระพุทธศาสนา เป็นการใช้ภูมิปัญญาในการนาเอา
หลักของพระพุทธศาสนามาประยุกต์ใช้กับชีวิตประจาวัน และดาเนินกุศโลบายด้านต่างประเทศ

พระคิลานุปัฏฐาก (พระอาสาสมัครส่งเสริมสุขภาพประจาวัด-อสว.)
จากกรอบยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี มุ่งหวังพัฒนาให้ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง
ยั่ งยื น ตามหลั ก ปรั ช ญาของเศรษฐกิจ พอเพี ยง น าไปสู่ การพั ฒ นา ให้ ค นไทยมีค วามสุ ข สถาบั น
พระพุทธศาสนาอยู่คู่สังคมไทยมาอย่างช้านาน ปัจจุบันวัดในประเทศไทยมีจานวน 39,481 วัด และมี
พระสงฆ์ จานวน 290,015 รูป สามเณร จานวน 58,418 รูป รวมเป็น 348,433 รูป ซึ่ง มากกว่าร้อย
ละ 50 ของพระสงฆ์เป็นผู้สูงอายุ และมีแนวโน้มเป็นผู้สูงอายุมากขึ้น
คนไทยร้ อ ยละ ๙๕ นั บ ถื อ ศาสนาพุ ท ธ ซึ่ งใช้ ฾ ห ลั ก การทางพระพุ ท ธศาสนาเป็ น แนว
ทางการดาเนินชีวิตจนกลายเป็นรากฐานทางประเพณี และวัฒนธรรม อันเป็นเอกลักษณ์มรดกของ
ชาติไทย พระสงฆ์เป็นผู้มีความสาคัญ ในการสืบทอดพระพุทธศาสนา พัฒนาการเรียนรู้ ฾ด้านคุณธรรม
จริยธรรม และการพัฒนาสังคม ท้องถิ่น ชุมชน อันเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับชุมชน ในเรื่องการดูแล
สุขภาพตนเองสิ่งแวดล้อมภายในวัด และขยายผลสู่฽การพัฒนาสุขภาวะของชุมชน พระสงฆ์มีปัญหา
ทางสุ ขภาพ โดยเฉพาะปุ ว ยเป็ น โรคไม่ ฽ ติด ต่ ฽ อเรื้ อรั ง ได้ ฾ แ ก่ ฽ โรคเบาหวาน โรคความดัน โลหิ ต สู ง
โรคหัวใจขาดเลือดและภาวะไขมันในเลือดสูง ซึ่งสาเหตุสาคัญส่วนหนึ่งมาจากอาหารที่ใส่บาตรทาบุญ
ของประชาชน ที่ยั งขาดความรู้ ความเข฾ าใจ และตระหนักถึ งผลเสี ยต่อการเจ็บปุว ยของพระสงฆ์
นอกจากนี้พระสงฆ์ยังมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อสิ่งที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรค เช่น การสูบบุหรี่ ดื่มกาแฟ
ดื่มเครื่องดื่มชูกาลัง และขาดการออกกาลังกายที่เหมาะสม หากไม่ได้รับการแก้ ฾ไขจะกลายเป็นผู้ปุวย
รายไหม่ ปัญหาสุขภาพของพระสงฆ์ ได้฾มหี น่วยงานต่างๆ ดาเนินการแก้ไขปัญหาอยู่แล้ว แต฽เป็นเพียง
โครงการเฉพาะกิจที่ขาดระบบกลไกการดาเนินงาน ขาดการบูรณาการกับภาคส่วนต่ ฽างๆ อย่างจริงจัง
และมีการดาเนินงานเฉพาะในบางพื้นที่เท่านั้น และแม้ว่าพระสงฆ์จะมีหลักประกันสุขภาพ แต่เมื่อ
อาพาธยังมีปัญหาในการเข้าถึงบริการทางการแพทย์และการสาธารณสุข รวมทั้งขาดการดูแลสุขภาพ
๓๐

พระสงฆ์อย่างต่อเนื่องและครบวงจร หากไม่มีการพัฒนากระบวนการส่งเสริมและการดูแลพระสงฆ์ใน
ด้านสุขภาพ จะทาให้กลไกในการสืบทอดพระพุทธศาสนา และการพัฒนาความดีงามด้านคุณธรรม
จริยธรรมที่สาคัญยิ่งของประเทศไทยก็จะอ่อนแอลง
จากสถานการณ์สุ ขภาพพระสงฆ์ดัง กล฽ าว รัฐ บาลจึงเล็ งเห็ นความส าคัญของสุ ขภาพ
พระสงฆ์ ซึ่งสอดคล฾องมติมหาเถรสมาคม ที่ ๑๙๑/๒๕๖๐ และมติสมัชชาแห่งชาติครั้งที่ ๕ ให้มีการ
ขับเคลื่อนงาน “พระสงฆ์กับการพัฒนาสุขภาวะ” กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เป็นองค์กรหลัก
ของประเทศในการอภิบาลระบบส่งเสริมสุขภาพและระบบอนามัยสิ่งแวดล้อมเพื่อประชาชนสุขภาพดี
จึงได้ร่วมมือกับภาคีเครือข฽ายทุกภาคส่วนรวมในการดาเนินงานส฽งเสริมสุขภาพดูแลประชาชนทุกกลุ่ม
วัย “ วัด” เป็นสถานที่ที่มีบทบาทสาคัญในการส฽งเสริมสุขภาพของประชาชน เพราะวัดเป็นศูนย์กลาง
ของชุมชน มีความสัมพันธ์แน่นแฟูนได้รับความเลี่ยมใสศรัทธาจากประชาชน การส่งเสริมให฾วัดเป็น
“วัดรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health Literate Temple)” จึงเป็นสิ่งสาคัญเพราะจะส่งผลที่ดีให้ ฾กับ
ประชาชน ในท้องถิ่น ชุมชน มีสุขภาพที่ดีตามวิถีแบบไทยๆ กลไกการพัฒนาที่สาคัญ คือการสร้างและ
พัฒนาพระคิลานุปัฏฐาก (พระอาสาสมัครส่งเสริมสุขภาพประจาวัด -อสว.) เพื่อให้฾พระอาสาสมัครส฽ง
เสริมสุขภาพประจาวัด(พระ อสว.) มีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพอนามัยของตนเองและให้
คาแนะนา ดูแลพระสงฆ์ภายในวัด และชุมชนได้
โดยได้การจัดตั้งพระคิลานุปัฏฐาก (พระอาสาสมัครส่งเสริมสุขภาพประจาวัด -อสว.)เพื่อสร้าง
และพัฒนาพระศิลานุปัฏฐาก(พระอาสาสมัครส่งเสริมสุขภาพประจาวัด -อสว.)ให้มีความรู้ ความเข้าใจ
มีทักษะในการดูแลสุขภาพอนามัยตามหลักพระธรรมวินัยและให้คาแนะนา ดูแลพระสงฆ์ภายในวัด
และชุ มชนได้ เพื่ อการเตรี ย มความรับรองระบบการดูแ ลพระสงฆ์แ ละดูแ ลผู้ สู ง อายุร ะยะยาวซึ่ ง
พระสงฆ์ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ และเพื่อพัฒนาศักยภาพพระสงฆ์แกนนา เป็นผู้นาทางจิตวิญญาณ
และผู้นาด้านสุขภาวะของชุมชน และสังคม

สรุปหลักพุทธธรรมที่ปรากฏในการแพทย์แผนไทย
หลักพุทธธรรมเป็นหลักคาสอนที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบและทรงสอนให้ผู้อื่นรู้ตาม
เพื่อให้เวไนยสัตว์ได้หลุดพ้นจากอาสวะกิเลส หลักพุทธธรรมเป็นหลักเกณฑ์ของทางจริยศาสตร์ที่พระ
พุ ท ธองค์ ไ ด้ ท รงวางไว้ เ พื่ อ เป็ น มาตรฐาน ความประพฤติ ข องมนุ ษ ย์ มี ทั้ ง ระดั บ พื้ น ฐานเบื้ อ งต้ น
ระดับกลางและระดับสูง เพื่อให้มนุษย์ได้ดาเนินชีวิตที่ดีงามตามอุดมคติเท่าที่มนุษย์จะเข้ากันได้ให้เป็น
มนุษย์ที่สมบูรณ์พร้อม มีสติปัญญา มีความสุขอันสมบูรณ์ที่สุด เป็นความดีอันสูงสุดของมนุษย์
คาสอนทางพระพุทธศาสนามีลักษณะเป็นปรัชญาที่แบ่งสภาวะของธรรมออกเป็น ๒ระดับ
คือ ระดับโลกียธรรมและโลกุตรธรรม โดยเฉพาะในระดับโลกียธรรม ซึ่งเป็นธรรมที่ต้องเกิดขึ้นใน
ชีวิตประจาวันของบุคคลที่มีจริยโดยทั่วไป ซึ่งต้องรวมถึงอาชีพการแพทย์แผนไทย โดยพุทธธรรมก็ได้
แสดงให้เห็นว่า ในการปฏิบัติ หรือให้บรรลุในสิ่งที่ดีที่สุดนั้น จะต้องอาศัยพื้นฐานที่ดี คือการปฏิบัติ
ตามหลักพุทธธรรมนั่งเอง ซึ่งหลักพุทธธรรมที่ปรากฎในการแพทย์แผนไทย มีดังนี้
๓๑

อริยสัจ ๔
ธรรมข้ อ นี้ ผู้ ใ นการแพทย์ แ ผนไทยจ าเป็ น ต้ อ งใช้ เ พื่ อ การศึ ก ษาหาสาเหตุ ข องปั ญ หา
อุปสรรคในงานนั้น ๆ และยังสามารถกาหนดเปูาหมายโดยทาเป็นยุทธศาสตร์ และแนวทางในการ
ดาเนินหนทางไปสู่เปูาหมายนั้น ๆ ด้วย
(๑) ทุกข์ ความทุกข์ หรือปัญหา
(๒) สมุทัย ต้นเหตุแห่งทุกข์ สมมุติฐาน
(๓) นิโรธ ความดับทุกข์ เปูาหมาย
(๔) มรรค หนทางดับทุกข์ มรรควิธีการเข้าสู่เปูาหมาย
ไตรลักษณ์ หรือ สามัญญลักษณะ ๓
ชีวิตเมื่อเกิดขึ้นมาตั้งแต่กาเนิดในครรภ์จนกระทั่งวาระสุดท้ายย่อมตกอยู่ใต้อานาจของกฎ
ธรรมชาติ ๓ อย่าง ได้แก่ อนิจจตา (ความไม่เที่ยง) ทุกขตา (ความถูกกดดัน) และอนัตตตา (ความหา
สภาพที่เป็นตัวตนแท้จริงไม่ได้) หรือกล่าวตามภาษาที่คล่องปากกันว่า ชีวิต เป็นอนิจจัง ทุกขังอนัตตา
ทั้ง ๓ ประการนี้มีชื่อเรียกตามภาษาธรรมะว่า ไตรลักษณ์ หรือ สามัญญลักษณะ
หลักพรหมวิหาร ๔ ประการ
หลักธรรมนี้ต้องการให้มนุษย์อยู่กันอย่างสันติมีความรักความผูกพันกัน มีความเอื้ออาทร
ต่อกันและกันมีสันติภาพ ภราดรภาพและเสรีภาพอย่างแท้จริง เป็ นธรรมที่ต้องตั้งไว้เป็นหลักใจกากับ
ความประพฤติและปฏิบัติตนต่อมนุษย์สัตว์ทั้งหลายโดยชอบ
(๑) เมตตา ความเมตตาสงสาร ความรักใคร่ ปรารถนาดีอยากให้เขามีความสุข มีจิตอัน
แผ่ไมตรีและคิดทาประโยชน์แก่มนุษย์สัตว์ทั่วหน้า
(๒) กรุณา ความกรุณาเอื้ออาทร สงสาร คิดช่วยให้ พ้นทุกข์ใฝุ ใจในอันจะปลดเปลื้อง
บาบัดความทุกข์ยากเดือดรอนของปวงสัตว์
(๓) มุทิตา ความพลอยยินดี ในเมื่อผู้อื่นอยู่มีสุข มีจิตผ่องใสบันเทิง ประกอบด้วยอาการ
แช่มชื่นเบิกบานอยู่เสมอ ต่อสัตว์ทั้งหลายผู้ดารงในปกติสุข พลอยยินดีเอเขาได้ดีมีสุข เจริญงอกงาม
ยิ่งขึ้นไป
(๔) อุเบกขา ความวางเฉยในโอกาสที่ควรปล่อยวาง การวางใจเป็นกลาง อันจะให้ดารงอยู่
ในธรรมตามที่พิจารณาเห็นด้วยปัญญาคือมีจิตเรียบตรงเที่ยงธรรมดุจตราชั่ง ไม่เอนเอียงด้วยความรัก
ความชังพิจารณาเห็นกรรมที่สัตว์ทั้งหลายกระทาแล้ว อันควรได้รับผลดีหรือชั้วสมควรแก่เหตุอันตน
ประกอบ พร้อมที่จะวินิจและปฏิบัติไปตามธรรม
สรุปหลักพุทธวิธีดูแลสุขภาพแบบองค์รวม
พระพุ ท ธองค์ ท รงเห็ น ว่ า สิ่ ง จาเป็ น พื้ น ฐานของมนุ ษ ย์ คื อ ปั จ จั ย ๔ ได้ แ ก่ อาหาร
เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค ทรงบัญญัติให้พระภิกษุสงฆ์ เป็นอยู่ด้วยการบิณฑบาต การ
๓๒

นุ่ งห่ มผ้ าบั ง สุ กุ ล การอยู่ โ คนไม้ และการฉั นยาดองน้ ามูต รเน่า ถือ ประโยชน์ และความพอดี เป็ น
ประมาณ ทรงสอนให้รักษาสุขภาพ เพื่อเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใส ทั้งสุขภาพส่วนตัว ส่วนรวม และ
ต่อสิ่งแวดล้ อมการดูแลสุขภาพ เป็ นการดูแลรักษาทั้งกายและใจไปพร้อมๆ กัน พระพุทธศาสนา
กล่าวถึงการปูองกันโรคมากกว่าการรักษา ใช้ปัญญาและวิธีการนอกจากการใช้ตัวยา ผู้ปฏิบัติตามหลัก
ศีล สมาธิ ปัญญา ย่อมมีโรคน้อย ไม่เป็นโรคทางใจตามความหมายทางพระพุทธศาสนาและทางจิตเวช

วิเคราะห์หลักพุทธธรรมที่ปรากฏในการแพทย์แผนไทย
พระพุทธศาสนาทาให้คนไทยมีหลักสาหรับอยู่ร่วมกัน เช่น แสดงหน้าที่ของคนใน
สังคมความสามัคคี และประเพณี เช่น ประเพณีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือกัน ความมีน้าใจต่อกัน
ขอกันกินได้ มีความเกรงใจกัน ข้อนี้ก็มาจากพรหมวิหารธรรม ความรู้บุญคุณคนก็มาจากเรื่องกตัญญู
กตเวที ประเพณีการทอดกฐินก็เนื่องด้วยพระพุทธศาสนา หน้าที่ของบุคคลในสังคมนั้นๆ ที่พึงปฏิบัติ
ต่อกัน การสั่งสอนธรรมของพระพุทธเจ้า ทรงมุ่งผลในทางปฏิบัติ ให้ทุกคนจัดการกับชีวิตที่เป็นอยู่
จริ ง ๆ ในโลกนี้ เริ่ มแต่บั ดนี้ เช่น ทรงสอนมนุษ ย์ใ ห้ รู้ จัก ตนเอง รู้จั กร่ างกายและจิต ของตนจะได้
บารุงรักษาร่างกายและจิตใจให้ดารงอยู่อย่างปกติสุข การนาหลักพุทธธรรมมาใช้ในการแพทย์แผน
ไทย เป็นวิธีที่ทาให้ร่างกายและจิตใจมีความอดทนต่อความทุกข์ต่าง ๆ พระสาวกของพระพุทธเจ้า ได้
ให้สมญานามพระองค์ว่า ทรงเป็นนายแพทย์ผู้รักษาโรค ดังปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนาว่า “มหา
การุณิโก สตฺถา สพฺพโลกติกิจฺฉโก” แปลว่า “พระศาสดาทรงมีพระกรุณาอย่างใหญ่หลวง ทรงเยียวยา
รักษาสัตว์โลกทั้งมวล”
หลักพระพุทธศาสนาชี้ให้เห็น คือ ความไม่มีโรค เป็นลาภอันประเสริฐ คือ ส่วนหนึ่งของ
องค์ประกอบการแพทย์แผนไทยที่ได้สืบสานถ่ายทอดสืบกันมาจนถึงปัจจุบัน คนไทยส่วนใหญ่นับถือ
ศาสนาพุทธ โดยนาหลักธรรมคาสอนของศาสนามาปรับใช้ในวิถีชีวิตได้อย่างเหมาะสม ทาให้คนไทย
เป็นผู้อ่อนน้อมถ่อมตน เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ประนีประนอม รักสงบ ใจเย็น มีความอดทน ให้อภัยแก่ผู้
สานึกผิด ดารงวิถีชีวิตอย่างเรียบง่ายปกติสุข ทาให้คนในชุมชนพึ่งพากันได้ แม้จะอดอยากเพราะแห้ง
แล้ง แต่ไม่มีใครอดตาย เพราะพึ่งพาอาศัยกัน แบ่งปันกันแบบ “พริกบ้านเหนือเกลือบ้านใต้” เป็นต้น
ทั้งหมดนี้สืบเนื่องมาจากหลักพุทธธรรม เป็นการใช้ภูมิปัญญาในการนาเอาหลักของพระพุทธศาสนา
มาประยุกต์ใช้กับชีวิตประจาวัน และในการแพทย์แผนไทย
๓๓

บรรณานุกรม

๑. ภาษาไทย
ก. ข้อมูลปฐมภูมิ
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,
กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.
ข. ข้อมูลทุติยภูมิ
(๑) หนังสือ
การแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข, รายงานการสาธารณสุขไทย
การแพทย์พื้นบ้าน ๒๕๕๔-๒๕๕๖. นนทบุรี : กองทุนภูมิปัญญาการแพทย์ไทย, ๒๕๕๖.
การประชุมวิชาการประจาปีการแพทย์แผนไทยการแพทย์พื้นบ้านไทยและการแพทย์ทางเลือก พ.ศ.
๒๕๔๒. ระบบโครงสร้างกลไกในการอนุรักษ์พัฒนาและคุ้มครองภูมิปัญญาไทสุขภาพ
วิถีไท.กรุงเทพมหานคร : อุ ษาการพิมพ์, ๒๕๔๘.
กองการประกอบโรคศิลปะ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ, พระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ
พ.ศ. ๒๕๔๒. พิมพ์ครั้งที่ ๓. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ลดาวัลย์ พริ้นท์ติง, ๒๕๔๗.
กลุ่มงานพัฒนาวิชาการแพทย์แผนไทยและสมุนไพร. รายงานการวิจัยการศึกษาสภาพตารา
การแพทย์แผนไทย. นนทบุรี : สถาบันการแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์แผนไทย
และการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข, ๒๕๔๘.
แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์. ภูมิปัญญาทางการแพทย์และมรดกทางวรรณกรรมของชาติ.
กรุงเทพมหานคร : สถาบันภาษาไทย กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ, ๒๕๔๒.
พลาดิศัย สิทธิธัญกิจ. ประวัติศาสตร์ไทยฉบับเสริมการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : บริษัท ตราเต่าพับลิเคชั่น
จากัด, ๒๕๕๒.
พิศพุ ประสาตรเวช, พระยา. เวชศึกษาแพทย์ศาสตร์สังเขปเป็นสมุดคู่มือของหมอและผู้พยาบาล
ไข้.พิมพ์ครั้งที่ ๓. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จันเฮง, ๒๔๖๗.
มูลนิธิฟื้นฟูส่งเสริมการแพทย์ไทยเดิมฯ อายุรเวทวิทยาลัย (ชีวกโกมารภัจจ์). ตาราการแพทย์ไทย
เดิม (แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์) ฉบับพัฒนา ตอนที่ ๑. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สีไทย,
๒๕๔๑.
๓๔

(๒) วิทยานิพนธ์
เกรียงไกร ผาสุตะ. “พิธีกรรมลาทรง ในเขตอาเภอมัญจาคีรี และอาเภอพระยืน จังหวัดขอนแก่น”.
วิทยานิพนธ์สาขาวิชาปรัชญา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ๒๕๕๑.
ปริญญาณ วันจันทร์. “ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับประสิทธิภาพในการทางานของครูประถมศึกษาใน
จังหวัดเชียงราย”. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย :
มหาวิทยาลัยศรนครินทรวิโร, ๒๕๓๙.
ปัณณวัชญ์ ชูพันธ์นิส. “ศึกษาวิเคราะห์พุทธจริยศาสตร์ในการแพทย์แผนไทย”. วิทยานิพนธ์ปริญญา
พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรฌราชวิทยาลัย,
๒๕๕๕.
พระมหาปองปรีดา ปริปุณฺโณ(จาปาศรี). “การปูองกันและการรักษาโรคตามหลักพระพุทธศาสนา”.
วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬา
ลงกรฌราชวิทยาลัย, ๒๕๔๕.
(๓) บทความ/สาระสังเขปออนไลน์
การแพทย์แผนไทย. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki/, [๑๐ มกราคม
๒๕๖๔].
กิตติชัย อนวัชประยูร. จุลสาร สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. ๒๒
พฤศจิกายน ๒๕๕๘.
ขุนโสภิดบรรณลักษณ์ (อาพัน กิตติขจร).สมาคมเภสัชกรรมไทยโบราณแห่งประเทศไทย .
https://be7herb.wordpress.com, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๘.
โครงการสารานุกรมไทยฯ. http://kanchanapisek.or.th/kp6, ๑๐ มกราคม ๒๕๖๔.
จุลสารสาขาวิทยาศาตร์สุขภาพ. ออนไลน์. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, ฉบับที่ ๔/ ๒๕๕๔.
ห ลั ก ธ ร ร ม า น า มั ย กั บ ภู มิ ปั ญ ญ า ก า ร แ พ ท ย์ แ ผ น ไ ท ย . [ อ อ น ไ ล น์ ] . แ ห ล่ ง ข้ อ มู ล
http://www.firefara.org/thaimed.html, [๑๐ มกราคม ๒๕๖๔.].
องค์ความรู้เกี่ยวกับการแพทย์แผนไทยและการเกิดโรค. [ออนไลน์]. แหล่งข้อมูล
http://www.firefara.org/thaimed.html, [๑๐ มกราคม ๒๕๖๔.].

You might also like