You are on page 1of 9

เอกสารประกอบการสอน

วิชา 132-203 การเงินธุรกิจ


สัปดาห์ที่ 4

ชื่อผู้สอน: อาจารย์วิมล ประคัลภ์พงศ์


ภาควิชาการเงินและการธนาคาร มหาวิทยาลัยสยาม

นักศึกษาคณะ: บริหารธุรกิจ

หัวข้อเรื่อง: การวางแผนและการพยากรณ์ทางการเงิน (Financial Planning and Forecasting)

วัตถุประสงค์: 1. เพื่อให้นักศึกษาสามารถอธิบายความหมายของเงินสดรับ เงินสดจ่ายได้


2. เพื่อให้นักศึกษาสามารถบอกความแตกต่างระหว่างการวางแผนและการ
พยากรณ์ทางการเงินได้
3. เพื่อให้นักศึกษาสามารถทางบประมาณเงินสด, งบกาไรขาดทุนล่วงหน้า และ
งบดุลล่วงหน้าได้
4. เพื่อให้นักศึกษาสามารถนาไปประยุกต์ใช้เกี่ยวกับการวางแผนการใช้จ่าย
และการคาดคะเนรายรับขั้นพื้นฐานเป็น

เอกสารอ้างอิง:

ฐาปนา ฉิ่นไพศาล. การเงินธุรกิจ. พิมพ์ครั้งที่22. กรุงเทพมหานคร : ยงพลเทรดดิ้ง, 2553.


วิมล ประคัลภ์พงศ์ , สมชาย เบ็ญจวรรณ์, สุรชัย ภัทรบรรเจิด . การเงินธุรกิจ . พิมพ์ครั้งที่ 16.
กรุงเทพมหานคร:สุภา, 2553.
สุโขทัยธรรมาธิราช, มหาวิทยาลัย . เอกสารการสอนชุดวิชาการจัดการการเงิน หน่วยที่ 1-8,
พิมพ์ครั้งที่ 7, นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2553.
สุโขทัยธรรมาธิราช, มหาวิทยาลัย. เอกสารการสอนชุดวิชาการจัดการการเงิน หน่วยที่ 9-15,
พิมพ์ครั้งที่ 7, นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2553.
Brigham,Eugenc F.and Gapenski,Iouis C. Financial Management: Theory and Practice.
7th ed. New York:The Dryden Press, 1994.
Dickerson,Bodil, Campscy,B.J. and Brigham,Eugenc F. Introduction to Financial
Management. 4thed. New York: The Dryden Press , 1955.
Van Hornc,James C. Financial Management & Policy . 10th ed. EnglewoodCliFFs,
NJ:Prentice – hall Inc. 1995.
การวางแผนและการพยากรณ์ทางการเงิน
(Financial Planning and Forecasting)
การวางแผนและการพยากรณ์ทางการเงิน จะทาให้ธุรกิจดาเนินไปได้อย่างต่อเนื่อง และ
ไม่ประสบปัญหาทางด้านการเงิน การวางแผนและการพยากรณ์ทางการเงินเป็นการช่วยเพิ่ม
ความสามารถในการตั ด สิ น ใจของผู้ จั ด การทางการเงิ น ท าให้ ผู้ จั ด การทางการเงิ น สามารถ
คาดคะเนและวางแผน ทางการเงิน ของธุรกิจในอนาคตได้อย่างมีเหตุผล และจัดเตรียมหาเงินทุน
เพื่อมาใช้ในการดาเนินธุรกิจในอนาคตได้อย่างเหมาะสม
การวางแผนทางการเงิน (Financial Planning)
การวางแผน คือ การจัดเตรียมข้อมูลต่าง ๆ ทางด้านการเงิน เป็นการล่วงหน้า เพื่อเป็น
แนวทางหรือกาหนดทิศทางในการดาเนินงานของธุรกิจ ซึ่งจะทาให้การบริหารงานเป็นไปอย่างมี
ประสิทธิภาพ
การพยากรณ์ทางการเงิน (Financial Forecasting)
การพยากรณ์ทางการเงิน คือ การคาดคะเนฐานะทางการเงินในอนาคตของกิจการว่าเป็น
อย่างไร และการพยากรณ์เพื่อจะให้กิจการวางแผนและแนวทางในการบริหารการเงินได้ อย่างมี
ประสิทธิภาพ
ประโยชน์ของการพยากรณ์ทางการเงิน
1. ทาให้ทราบยอดขาย และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ของธุรกิจ
2. ทาให้ทราบว่า กิจการต้องการใช้เงินทุนเมื่อไร และจานวนเท่าใด ในการบริหารและการ
จัดหาเงินทุนอย่างมีประสิทธิภาพ
3. ทาให้ทราบปริมาณการลงทุนในสินทรัพย์หมุน เวียน และสินทรัพย์ถาวร เพื่อให้
สอดคล้องกับยอดขายที่ได้พยากรณ์ไว้
4. ช่วยควบคุมให้การดาเนินงานเป็นไปตามแผน
5. เป็นประโยชน์ต่อการจัดหาแหล่งเงินทุน
วิธีพยากรณ์ทางการเงิน (Method of Forecasting Financial Variables)
การพยากรณ์ทางการเงิน เป็นการพยากรณ์รายการทางการเงินซึ่งจะต้องพยากรณ์ รายการ
ทางการเงินทีละรายการ ซึ่งวิธีการพยากรณ์ทางการเงิน สามารถแบ่งได้เป็น 3 วิธี
1. การพยากรณ์โดยใช้แนวโน้ม (Trend Forecasts)
2. การพยากรณ์โดยใช้อัตราส่วน (Ratio Forecasts)
3. การพยากรณ์โดยใช้กราฟและสถิติ (Graphical and Statistical Forecasts)
1. การพยากรณ์โดยใช้แนวโน้ม (Trend Forecasts)
การพยากรณ์โดยใช้แนวโน้ม วิธีนี้ขึ้นอยู่กับข้อมูลที่ผ่านมาในอดีตทั้งหมด ของรายการ
ทางการเงิน หรืองบการเงิน ว่ามีการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างไร การพยากรณ์ในงวดหรือปีต่อไปก็
ให้พยากรณ์ว่าจะเป็นอย่างนั้นอีก
2. การพยากรณ์โดยใช้อัตราส่วน (Ratio Forecasts)
เป็นการใช้ข้อมูลทางการเงินในรูปอัตราส่วน ในการพยากรณ์รายการทางการเงิน แต่ละ
รายการในอนาคต ซึ่งวิธีการมีดังนี้
1. ใช้ข้อมูลในอดีต มาเปรียบเทียบโดยวิธีอัตราส่วน
2. ดูแนวโน้มอัตราส่วน แล้วทาการประมาณการอัตราส่วนสาหรับงวดต่อๆ ไป
3. พยากรณ์ตัวแปร
3. การพยากรณ์โดยใช้กราฟและสถิติ (Graphical and Statistical Forecasts)
การพยากรณ์โดยใช้ กราฟและสถิติ เป็นการพยากรณ์โดยดูความสัมพันธ์ของรายการ
ทางการเงิน 2 รายการ เพื่อใช้ในการพยากรณ์ รายการทางการเงินในอนาคต
งบประมาณทางการเงิน (financial Budget)
งบประมาณทางการเงิน คือ แผนในรูปตัวเงิน ซึ่งใช้เป็นแนวทางในการดาเนินงาน อย่าง
ใดอย่างหนึ่งให้สามารถบรรลุเป้าหมายในช่วงระยะเวลาหนึ่งในอนาคต
ลักษณะของงบประมาณ (The Nature of Budgets)
งบประมาณเป็นแผนงานอธิบายถึงรายละเอียดการดาเนินงานและเงินทุนธุรกิจ ซึ่งคาดว่า
จะนาไปใช้จ่ายและเงินทุนดังกล่าวจะจัดหาได้จากแหล่งใด
งบประมาณแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ คือ
1. งบประมาณตามแผนงาน เป็นงบประมาณที่จัดทาขึ้นตามแผนการ ช่วยในการควบคุม
การดาเนินงานให้เป็นไปตามแผนงาน
2. งบประมาณตามความรับผิดชอบ เป็นงบประมาณที่ทาขึ้นตามอานาจหน้าที่ และความ
รับผิดชอบ ในงานต่าง ๆ
3. งบประมาณตามลักษณะรายจ่าย ซึ่งงบประมาณนี้มีประโยชน์ในการควบคุมการใช้เงิน
ของกิจการ
งบที่แสดงผลการดาเนินงานล่วงหน้า หรืองบแสดงฐานะการเงินล่วงหน้า ประกอบด้วย
1. งบประมาณเงินสด (Cash Budget)
2. งบกาไรและขาดทุนล่วงหน้า (Pro forma Income Statement)
3. งบดุลล่วงหน้า (Pro forma Balance Sheet)
1. งบประมาณเงินสด
เป็นแผนทางการเงินที่คาดคะเนการรับเงินสดและจ่ายเงินสดในอนาคตช่วงเวลาหนึ่ง
เพื่อให้ธุรกิจทราบถึงการเคลื่อนไหวของเงินสด
เงินสดรับ (Receipts) เงินสดรับ ธุรกิจจะมีเงินสดรับจากการดาเนินงาน ได้แก่ เงินสด
รับจากการขายเป็นเงินสด การรับชาระหนี้จากลูกหนี้ซึ่งเกิดจากการขายเชื่อ นอกจากนี้ ยังมีเงินสด
รับอื่น ๆ
ตัวอย่างที่ 2 บริษัท ชวนทอง จากัด มีการขายสินค้าเป็นเงินสดและเงินเชื่อ บริษัทมี
นโยบายการขายเป็นเงินสด 20% ส่วนที่เหลือขายเป็นเงินเชื่อและเรียกเก็บเงินได้หมดภายใน 2
เดือน ถัดจากเดือนที่ขาย โดยเก็บได้เดือนละ 50% ของยอดขายเชื่อ ให้แสดงยอดเงินสดรับของ
เดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน ข้อมูลการขายของบริษัท มีดังนี้
ยอดขายจริงเดือน พฤศจิกายน 25x1 50,000 บาท
ธันวาคม 25x1 60,000 บาท
ยอดพยากรณ์การขายเดือนมกราคม 25x2 80,000 บาท
กุมภาพันธ์ 25x2 90,000 บาท
มีนาคม 25x2 70,000 บาท
เมษายน 25x2 100,000 บาท
และบริษัทมีรายได้รับจากดอกเบี้ยรับและค่าเช่า เป็นรายเดือนอีกเดือนละ 3,000 บาท

ตารางที่ 4-1
กระดาษทาการแสดงงบประมาณเงินสดรับจากการขายสินค้า
หน่วย : พันบาท
พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. รวม
ยอดขาย 50 60 80 90 70 100 340
ขายเชื่อ 80% ของยอดขาย 40 48 64 72 56 80
การรับชาระหนี้
1. เดือนถัดไป 50% ของขายเชื่อ 20 24 32 36 28
2. เดือนถัดไป 50% ของขายเชื่อ 20 24 32 36
รวมรับชาระเงินเงินสดจากลูกหนี้ 44 56 68 64
รับเงินจากการขายเงินสด 20% ของยอดขาย 16 18 14 20
รวมเงินสดรับจากการขาย 60 74 82 84
เงิ น สดจ่ า ย (Disbursements) เงิ น สดจ่ า ย ธุ ร กิ จ จะมี ก ารจ่ า ยเงิ น สดเนื่ อ งจากการ
ดาเนินงาน
ตัวอย่างที่ 2 (ต่อ) บริษัท ชวนทอง จากัด ซื้อสินค้าเป็นเงินสด 20% ส่วนที่เหลือเป็น
ยอดซื้อเชื่อชาระหนึ่งเดือน ถัดไป 20% ของยอดซื้อ ชาระสองเดือนถัดไป 30% ของยอดซื้อ และ
ชาระสามเดือนถัดไป 30% ของยอดซื้อ ยอดซื้อจริงเดือนพฤศจิกายนและธันวาคม 25x1 และยอด
พยากรณ์การซื้อเดือนมกราคมถึงเมษายน 25x2 เป็นดังนี้
ยอดซื้อจริงเดือน ตุลาคม 25x1 30,000 บาท
พฤศจิกายน 25x1 30,000 บาท
ธันวาคม 25x1 34,000 บาท
ยอดพยากรณ์การซื้อเดือน มกราคม 25x2 56,000 บาท
กุมภาพันธ์ 25x2 64,000 บาท
มีนาคม 25x2 50,000 บาท
เมษายน 25x2 70,000 บาท
และมีรายจ่ายอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นดังนี้ จ่ายเงินเดือนและค่าจ้างเดือนละ 15,000 บาท จ่าย
ค่าเช่าเดือนละ ๆ 7,000 บาท ค่าเสื่อมราคา เดือนละ 850 บาท ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เดือนละ 5% ของ
ยอดขายเดือนนั้น จ่ายเงินสดปันผลในเดือนเมษายน 4,000 บาท อัตรากาไรขั้นต้นเท่ากับ 40%
บริษัทต้องการรักษายอดเงินสดขั้นต่าไว้เท่ากับ 10,000 บาท เงินสดต้นงวด 5,000 บาท

ตารางที่ 4-2
กระดาษทาการแสดงงบประมาณเงินสดจ่ายสาหรับการซื้อสินค้า
(หน่วย:พันบาท)
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค . เม.ย. รวม
ยอดซื้อ 30 30 34 56 64 50 70 240
จ่ายชาระหนี้จากการซื้อเชื่อ
1. เดือนถัดไป 20% 6 6 6.8 11.2 12.8 10
2. เดือนถัดไป 30% 9 9 10.2 16.8 19.2
3. เดือนถัดไป 30% 9 9 10.2 16.8
รวมจ่ายเงินสดสาหรับซื้อเชื่อ 24.8 30.4 39.8 46
ซื้อสินค้าเป็นเงินสด 20% ของยอดซื้อ 11.2 12.8 10 14
รวมเงินสดจ่ายสาหรับการซื้อ 36 43.2 49.8 60
ตารางที่ 4-3
บริษัท ชวนทอง จากัด
งบประมาณเงินสด
สาหรับงวด 4 เดือน สิ้นสุด 30 เมษายน 25x2
(หน่วย :พันบาท)
ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย รวม
รายการดาเนินงาน
เงินสดรับจากการขาย (ตาราง4-1) 60 74 82 84 300
รายรับอื่นๆ 3 3 3 3 12
รวม 63 77 85 87 312
เงินสดจ่ายสาหรับการซื้อ(ตาราง4-2) 36 43.2 49.8 60 189
เงินเดือนและค่าจ้าง 15 15 15 15 60
ค่าเช่า 7 7 7 7 28
ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ (5%ของขายเดือนนั้น) 4 4.5 3.5 5 17
เงินปันผลจ่าย - - - 4 4
รวม 62 69.7 75.3 91 298
เงินสดรับสุทธิ (จ่ายสุทธิ) 1 7.3 9.7 (4) 14
รายการทางการเงิน
เงินสดต้นงวด 5 10 17.3 27 59.3
เงินสดรับสุทธิ (จ่ายสุทธิ) 1 7.3 9.7 (4) 14
เงินสดคงเหลือ 6 17.3 27 23 73.3
เงินสดขั้นต่า 10 10 10 10
เงินกู้เพิ่ม (ชาระหนี้) 4 - - - 4
เงินสดคงเหลือปลายงวด 10 17.3 27 23 77.3
เงินกู้สะสม 4 4 4 4
2. งบกาไรขาดทุนล่วงหน้า (Pro forma Income Statement)
เป็นงบที่ใช้ทดสอบความสามารถในการหากาไรของธุรกิจ งบกาไรขาดทุน ล่วงหน้า
ได้ประมาณขึ้นล่วงหน้าสาหรับงวดระยะเวลาหนึ่งในอนาคต ต้องอาศัยข้อมูลจากงบดุลต้นงวด
และรายงานที่เกิดขึ้นในงบประมาณเงินสด
ข้อมูลข้างล่างเป็นงบดุลของบริษัท ชวนทอง จากัด เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการทา
งบกาไรขาดทุนล่วงหน้า
บริษัท ชวนทอง จากัด
งบดุล
ณ. 31 ธันวาคม 25x1
(หน่วย : บาท )
สินทรัพย์ หนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น
เงินสด 5,000 เจ้าหนี้การค้า 54,200
ลูกหนี้ 68,000 เงินกู้ธนาคาร 55,000
สินค้า 70,000 ทุนหุ้นสามัญ 200,000
สินทรัพย์ถาวรสุทธิ 230,000 กาไรสะสม 63,800
รวม 373,000 รวม 373,000
บริษัท ชวนทอง จากัด
งบกาไรขาดทุนล่วงหน้า
งวด 4 เดือน สิ้นสุด 30 เมษายน 25x2
(หน่วย:บาท)
ขาย (จากตาราง 4-1) 340,000
ต้นทุนสินค้าที่ขาย
สินค้าคงเหลือต้นงวด 70,000
บวก ซื้อ (ตาราง 4-2) 240,000
หัก สินค้าคงเหลือปลายงวด 106,000 204,000
กาไรขั้นต้น (40%) 136,000
ค่าใช้จ่ายดาเนินงาน
เงินเดือนและค่าจ้าง 60,000
ค่าเช่า 28,000
ค่าเสื่อมราคา 3,400
ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ 17,000 108,400
กาไรสุทธิ 27,600
บวก รายได้อื่น ๆ 12,000
กาไรสุทธิทั้งสิ้น 39,600
3. งบดุลล่วงหน้า (Pro Forma Balance Sheet)
งบดุลล่วงหน้า เป็นงบที่แสดงฐานะทางการเงินของธุรกิจในอนาคต ซึ่งใช้ข้อมูล จาก
งบประมาณเงินสด งบกาไรขาดทุนล่วงหน้า และจากงบดุลต้นงวด จากข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้ประมาณ
นั้นสามารถทางบดุลล่วงหน้าของ บริษัท ชวนทอง จากัด ได้ดังนี้
บริษัท ชวนทอง จากัด
งบดุลล่วงหน้า
ณ. 30 เมษายน 25x2
(หน่วย:บาท)
สินทรัพย์ หนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น
เงินสด (ตาราง 4-3) 23,000 เจ้าหนีก้ ารค้า 105,200
ลูกหนี้การค้า 108,000 เงินกู้ธนาคาร 59,000
สินค้า 106,000 ทุนหุ้นสามัญ 200,000
สินทรัพย์ถาวรสุทธิ 226,600 กาไรสะสม 99,400
รวม 463,600 รวม 463,600

You might also like