You are on page 1of 419

ฉบั

บปร
บปร
ั งพฤษภา
ุ คม2562
คู่มือครู

รายวิชาพื้นฐาน

คณิตศาสตร์
ชั้น

ประถมศึกษาปีที่ ๑ เล่ม ๒
ตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐)
ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑

จัดทำ�โดย
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คํานํา
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) มีหน้าที่ในการพัฒนาหลักสูตร วิธีการเรียนรู้
การประเมินผล การจัดทําหนังสือเรียน คู่มือครู แบบฝึกหัด กิจกรรม และสื่อการเรียนรู้ เพื่อใช้ประกอบการเรียนรู้
ในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ของการศึกษาขั้นพื้นฐาน

คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ เล่ม ๒ นี้ จัดทําตามมาตรฐานการเรียนรู้


และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ โดยมีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับการวิเคราะห์ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้รายชั้นปี
จุดประสงค์การเรียนรู้ สาระสําคัญ แนวการจัดการเรียนรู้ แนวการจัดกิจกรรมในหนังสือเรียน ตัวอย่าง
แบบทดสอบประจําบทพร้อมเฉลย รวมทั้งเฉลยแบบฝึกหัด ซึ่งสอดคล้องกับหนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน
คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ เล่ม ๒ ที่ต้องใช้ควบคู่กัน

สสวท. หวังเป็นอย่างยิ่งว่า คู่มือครูเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการจัดการเรียนรู้ และเป็นส่วนสําคัญ


ในการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษากลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ขอขอบคุณผู้ทรงคุณวุฒิ บุคลากร
ทางการศึกษาและหน่วยงานต่าง ๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดทําไว้ ณ โอกาสนี้

(ศาสตราจารย์ชูกิจ ลิมปิจํานงค์)
ผู้อํานวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระทรวงศึกษาธิการ
คำ�ชี้แจง
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ได้จัดทำ�ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช ๒๕๕๑ โดยมีจุดเน้นเพื่อต้องการพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ความสามารถที่ทัดเทียมกับนานาชาติ
ได้เรียนรู้คณิตศาสตร์ที่เชื่อมโยงความรู้กับกระบวนการ ใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้และแก้ปัญหาที่หลากหลาย
มีการทำ�กิจกรรมด้วยการลงมือปฏิบัติเพื่อให้ผู้เรียนได้ใช้ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ และทักษะแห่ง
ศตวรรษที่ ๒๑ สสวท. จึงได้จัดทำ�คู่มือครูประกอบการใช้หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่
๑ เล่ม ๒ ที่เป็นไปตามมาตรฐานหลักสูตรเพื่อเป็นแนวทางให้โรงเรียนนำ�ไปจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียน

คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ เล่ม ๒ นี้ ประกอบด้วยเนื้อหาสาระเกี่ยวกับ


การวิเคราะห์ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้รายชั้นปี จุดประสงค์การเรียนรู้ สาระสำ�คัญ แนวการจัดการเรียนรู้
แนวการจัดกิจกรรมในหนังสือเรียน ตัวอย่างแบบทดสอบประจำ�บทพร้อมเฉลย รวมทั้งเฉลยแบบฝึกหัด ซึ่งครูผู้สอน
สามารถนำ�ไปใช้เป็นแนวทางในการวางแผนการจัดการเรียนรู้ให้บรรลุจุดประสงค์ที่ตั้งไว้ โดยสามารถนำ�ไป
จัดกิจกรรมการเรียนรูไ้ ด้ตามความเหมาะสมและความพร้อมของโรงเรียน ในการจัดทำ�คูม
่ อื ครูเล่มนี้ ได้รบ
ั ความร่วมมือ
เป็นอย่างดียง่ิ จากผูท
้ รงคุณวุฒิ คณาจารย์ นักวิชาการอิสระ รวมทัง้ ครูผสู้ อน นักวิชาการ จากสถาบันและสถานศึกษา
ทั้งภาครัฐและเอกชน จึงขอขอบคุณมา ณ ที่นี้

สสวท. หวังเป็นอย่างยิ่งว่าคู่มือครูรายวิชาพื้นฐานคณิตศาสตร์ เล่มนี้ จะเป็นประโยชน์แก่ผู้สอน และ


ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ที่จะช่วยให้จัดการศึกษาด้านคณิตศาสตร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากมีข้อเสนอแนะใด
ที่จะทำ�ให้คู่มือครูเล่มนี้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น โปรดแจ้ง สสวท. ทราบด้วย จะขอบคุณยิ่ง

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระทรวงศึกษาธิการ
สารบัญ
หน้า

สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ (1)
คำ�อธิบายรายวิชาพื้นฐาน (2)
โครงสร้างเวลาเรียน (3)
ตัวชี้วัด/สาระการเรียนรู้ (4)
ตารางวิเคราะห์จุดประสงค์ (10)
ผังมโนทัศน์เนื้อหา (17)

แนวการจัดการเรียนรู้
บทที่ 8 การบอกตำ�แหน่งและอันดับที
่ 1
แบบทดสอบบทที่ 8 23
บทที่ 9 รูปเรขาคณิต 26
แบบทดสอบบทที่ 9 72
บทที่ 10 จำ�นวนนับ 21 ถึง 100 76
แบบทดสอบบทที่ 10 127
บทที่ 11 การวัดความยาว 131
แบบทดสอบบทที่ 11 173
บทที่ 12 การบวกที่ผลบวกไม่เกิน 100 176
แบบทดสอบบทที่ 12 201
บทที่ 13 การลบจำ�นวนที่ตัวตั้งไม่เกิน 100 202
แบบทดสอบบทที่ 13 244
บทที่ 14 โจทย์ปัญหาการบวก และโจทย์ปัญหาการลบ 245
แบบทดสอบบทที่ 14 295
เฉลยแบบฝึกหัด เล่ม 2
บทที่ 8 การบอกตำ�แหน่งและอันดับที ่ 298
บทที่ 9 รูปเรขาคณิต 304
บทที่ 10 จำ�นวนนับ 21 ถึง 100 317
บทที่ 11 การวัดความยาว 332
บทที่ 12 การบวกที่ผลบวกไม่เกิน 100 343
บทที่ 13 การลบจำ�นวนที่ตัวตั้งไม่เกิน 100 351
บทที่ 14 โจทย์ปัญหาการบวก และโจทย์ปัญหาการลบ 364

ความรู้เพิ่มเติมสำ�หรับครู 379
คณะผู้จัดทำ� 394
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑

สาระและมาตรฐานการเรียนรู้

สาระที่ ๑ จำ�นวนและพีชคณิต
มาตรฐาน ค ๑.๑ เข้าใจความหลากหลายของการแสดงจำ�นวน ระบบจำ�นวน การดำ�เนินการของจำ�นวน
ผลที่เกิดขึ้นจากการดำ�เนินการ สมบัติของการดำ�เนินการ และนำ�ไปใช้
มาตรฐาน ค ๑.๒ เข้าใจและวิเคราะห์แบบรูป ความสัมพันธ์ ฟังก์ชัน ลำ�ดับและอนุกรม และนำ�ไปใช้
มาตรฐาน ค ๑.๓ ใช้นิพจน์ สมการ และอสมการ อธิบายความสัมพันธ์หรือช่วยแก้ปัญหาที่กำ�หนดให้

สาระที่ ๒ การวัดและเรขาคณิต
มาตรฐาน ค ๒.๑ เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัด วัดและคาดคะเนขนาดของสิ่งที่ต้องการวัด และนำ�ไปใช้
มาตรฐาน ค ๒.๒ เข้าใจและวิเคราะห์รูปเรขาคณิต สมบัติของรูปเรขาคณิต ความสัมพันธ์ระหว่างรูป
เรขาคณิต และทฤษฎีบททางเรขาคณิต และนำ�ไปใช้

สาระที่ ๓ สถิติและความน่าจะเป็น
มาตรฐาน ค ๓.๑ เข้าใจกระบวนการทางสถิติ และใช้ความรู้ทางสถิติในการแก้ปัญหา
มาตรฐาน ค ๓.๒ เข้าใจหลักการนับเบื้องต้น ความน่าจะเป็น และนำ�ไปใช้

© สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.), 2561 (1)


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑

คำ�อธิบายรายวิชาพื้นฐาน

รหัสวิชา ค ๑๑๑๐๑ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์


ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ เวลา ๒๐๐ ชั่วโมง

ศึกษา ฝึกทักษะการคิดคำ�นวณ และฝึกการแก้ปัญหาในสาระต่อไปนี้

การใช้จำ�นวนบอกปริมาณที่ได้จากการนับ การอ่าน และการเขียนตัวเลขฮินดูอารบิกและตัวเลขไทย


แสดงจำ�นวนนับไม่เกิน ๑๐๐ และ ๐ การนับทีละ ๑ และทีละ ๑๐ การบอกอันดับที่ การแสดงจำ�นวนนับ
ไม่เกิน ๒๐ ในรูปความสัมพันธ์ของจำ�นวนแบบส่วนย่อย – ส่วนรวม หลักและค่าของเลขโดดในแต่ละหลัก
การเขียนตัวเลขแสดงจำ�นวนนับในรูปกระจาย การเปรียบเทียบจำ�นวน การใช้เครื่องหมาย = ≠ > <
การเรียงลำ�ดับจำ�นวนไม่เกิน ๕ จำ�นวน

ความหมายของการบวก ความหมายของการลบ การหาผลบวก การหาผลลบ ความสัมพันธ์ของ


การบวกและการลบ โจทย์ปัญหา

แบบรูปของจำ�นวนทีเ่ พิม
่ ขึน
้ หรือลดลงทีละ ๑ และทีละ ๑๐ แบบรูปซ้�ำ ของจำ�นวน รูปเรขาคณิตและรูปอืน
่ ๆ

การเปรียบเทียบและการวัดความยาวเป็นเซนติเมตร เป็นเมตร การเปรียบเทียบและการวัดน้ำ�หนัก


เป็นกิโลกรัม เป็นขีด โจทย์ปัญหาการบวก และโจทย์ปัญหาการลบเกี่ยวกับความยาว น้ำ�หนัก

การจำ�แนกรูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม วงกลม วงรี ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก ทรงกลม ทรงกระบอก และกรวย

การใช้ข้อมูลจากแผนภูมิรูปภาพ เมื่อกำ�หนดรูป ๑ รูปแทน ๑ หน่วย ในการหาคำ�ตอบของโจทย์ปัญหา

การจัดประสบการณ์หรือการสร้างสถานการณ์ที่ใกล้ตัวให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าโดยปฏิบัติจริง ทดลอง
สรุป รายงาน เพื่อพัฒนาทักษะการคิดคำ�นวณ และทักษะการแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสารและการสื่อ
ความหมายทางคณิตศาสตร์ และนำ�ประสบการณ์ความรู้ ความคิด ทักษะและกระบวนการที่ได้ไปใช้ในการเรียนรู้
สิ่งต่าง ๆ และใช้ในชีวิตประจำ�วันอย่างสร้างสรรค์ รวมทั้งเห็นคุณค่าและมีเจตคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์สามารถทำ�งาน
อย่างเป็นระบบระเบียบ รอบคอบ มีความรับผิดชอบ มีวิจารณญาณและเชื่อมั่นในตนเอง

การวัดผลและประเมินผล ใช้วิธีการที่หลากหลายตามสภาพความเป็นจริงของเนื้อหาและทักษะ
ที่ต้องการวัด

รหัสตัวชี้วัด
ค ๑.๑ ป.๑/๑, ป.๑/๒, ป.๑/๓, ป.๑/๔, ป.๑/๕
ค ๑.๒ ป.๑/๑
ค ๒.๑ ป.๑/๑, ป.๑/๒
ค ๒.๒ ป.๑/๑
ค ๓.๑ ป.๑/๑
รวมทั้งหมด ๑๐ ตัวชี้วัด

© สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.), 2561 (2)


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑

โครงสร้างเวลาเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑

ภาคเรียนที่ ๑ ภาคเรียนที่ ๒

รายวิชา ชั่วโมง รายวิชา ชั่วโมง

รหัสวิชา ค ๑๑๑๐๑ ชื่อวิชา คณิตศาสตร์ ๑ ๑๐๕ รหัสวิชา ค ๑๑๑๐๑ ชื่อวิชา คณิตศาสตร์ ๑ ๙๕

บทที่ ๑ จำ�นวนนับ ๑ ถึง ๑๐ และ ๐ ๑๘ บทที่ ๘ การบอกตำ�แหน่งและอันดับที่ ๘

บทที่ ๒ การบวกจำ�นวนสองจำ�นวนทีผ
่ ลบวกไม่เกิน ๑๐ ๑๕ บทที่ ๙ รูปเรขาคณิต ๑๔

บทที่ ๓ การลบจำ�นวนสองจำ�นวนที่ตัวตั้งไม่เกิน ๑๐ ๑๖ บทที่ ๑๐ จำ�นวนนับ ๒๑ ถึง ๑๐๐ ๑๕

บทที่ ๔ จำ�นวนนับ ๑๑ ถึง ๒๐ ๑๒ บทที่ ๑๑ การวัดความยาว ๑๓

บทที่ ๕ การบวก การลบจำ�นวนนับไม่เกิน ๒๐ ๑๙ บทที่ ๑๒ การบวกที่ผลบวกไม่เกิน ๑๐๐ ๑๐

บทที่ ๖ แผนภูมิรูปภาพ ๗ บทที่ ๑๓ การลบจำ�นวนที่ตัวตั้งไม่เกิน ๑๐๐ ๑๔

บทที่ ๗ การวัดน้ำ�หนัก ๑๓ บทที่ ๑๔ โจทย์ปญ


ั หาการบวกและโจทย์ปญ
ั หาการลบ ๑๖

กิจกรรมคณิตศาสตร์เชิงสะเต็ม : ยางยืดหยุ่น ๕ กิจกรรมคณิตศาสตร์เชิงสะเต็ม : พับแบบไหนพุง่ ไกลสุด ๕

หมายเหตุ ๑. ควรสอนวันละ ๑ ชั่วโมงทุกวัน


๒. จำ�นวนชั่วโมงที่ใช้สอนแต่ละบทนั้นได้ รวมเวลาที่ใช้ทดสอบไว้แล้ว
๓. กำ�หนดเวลาที่ให้ไว้แต่ละบทเป็นเวลาโดยประมาณ ผู้สอนอาจปรับให้เหมาะสมกับระดับ
ความสามารถของนักเรียน

© สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.), 2561 (3)


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑

ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

ตัวชี้วัด
สาระที่ มาตรฐานการเรียนรู้
ป.1 ป.2

1 จำ�นวนและพีชคณิต ค 1.1 เข้าใจความหลากหลายของการแสดง 1. บอกจำ�นวนของสิ่งต่าง ๆ แสดงสิ่งต่าง ๆ 1. บอกจำ�นวนของสิ่งต่าง ๆ แสดงสิ่งต่าง ๆ


จำ�นวน ระบบจำ�นวน การดำ�เนินการของจำ�นวน ตามจำ�นวนที่กำ�หนด อ่านและเขียน ตามจำ�นวนที่กำ�หนด อ่านและเขียน
ผลที่เกิดขึ้นจากการดำ�เนินการ สมบัติของการ ตัวเลขฮินดูอารบิก ตัวเลขไทยแสดง ตัวเลขฮินดูอารบิก ตัวเลขไทย ตัวหนังสือ
ดำ�เนินการ และนำ�ไปใช้ จำ�นวนนับไม่เกิน 100 และ 0 แสดงจำ�นวนนับไม่เกิน 1,000 และ 0
2. เปรียบเทียบจำ�นวนนับไม่เกิน 100 และ 0 2. เปรียบเทียบจำ�นวนนับไม่เกิน 1,000
โดยใช้เครื่องหมาย = ≠ > < และ 0 โดยใช้เครื่องหมาย = ≠ > <
3. เรียงลำ�ดับจำ�นวนนับไม่เกิน 100 และ 0 3. เรียงลำ�ดับจำ�นวนนับไม่เกิน 1,000 และ
ตั้งแต่ 3 ถึง 5 จำ�นวน 0 ตั้งแต่ 3 ถึง 5 จำ�นวนจากสถานการณ์
4. หาค่าของตัวไม่ทราบค่าในประโยค ต่าง ๆ
สัญลักษณ์แสดงการบวกและประโยค 4. หาค่าของตัวไม่ทราบค่าในประโยค
สัญลักษณ์แสดงการลบของจำ�นวนนับ สัญลักษณ์แสดงการบวกและประโยค
ไม่เกิน 100 และ 0 สัญลักษณ์แสดงการลบของจำ�นวนนับ
5. แสดงวิธีหาคำ�ตอบของโจทย์ปัญหา ไม่เกิน 1,000 และ 0
การบวกและโจทย์ปัญหาการลบของ 5. หาค่าของตัวไม่ทราบค่าในประโยค
จำ�นวนนับไม่เกิน 100 และ 0 สัญลักษณ์แสดงการคูณของจำ�นวน
หนึ่งหลักกับจำ�นวนไม่เกินสองหลัก

© สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.), 2561 (4)


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑

ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

ตัวชี้วัด
สาระที่ มาตรฐานการเรียนรู้
ป.1 ป.2

6. หาค่าของตัวไม่ทราบค่าในประโยค
สัญลักษณ์แสดงการหารที่ตัวตั้งไม่เกิน
สองหลัก ตัวหารหนึ่งหลัก
โดยที่ผลหารมีหนึ่งหลักทั้งหารลงตัวและ
หารไม่ลงตัว
7. หาผลลัพธ์การบวก ลบ คูณ หารระคน
ของจำ�นวนนับไม่เกิน 1,000 และ 0
8. แสดงวิธีหาคำ�ตอบของโจทย์ปัญหา 2
ขั้นตอนของจำ�นวนนับไม่เกิน 1,000 และ 0

ค 1.2 เข้าใจและวิเคราะห์แบบรูป ความสัมพันธ์ 1. ระบุจำ�นวนที่หายไปในแบบรูปของ


ฟังก์ชัน ลำ�ดับและอนุกรม และนำ�ไปใช้ จำ�นวนที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงทีละ 1 และ
ทีละ 10 และระบุรูปที่หายไปในแบบ
รูปซ้ำ�ของรูปเรขาคณิตและรูปอื่น ๆ ที่
สมาชิกในแต่ละชุดที่ซ้ำ�มี 2 รูป

2 การวัดและเรขาคณิต ค 2.1 เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัด วัดและ 1. วัดและเปรียบเทียบความยาวเป็น 1. แสดงวิธีหาคำ�ตอบของโจทย์ปัญหา


คาดคะเนขนาดของสิ่งที่ต้องการวัด และนำ�ไปใช้ เซนติเมตร เป็นเมตร เกี่ยวกับเวลาที่มีหน่วยเดี่ยวและเป็นหน่วย
2. วัดและเปรียบเทียบน้ำ�หนักเป็นกิโลกรัม เดียวกัน
เป็นขีด 2. วัดและเปรียบเทียบความยาวเป็นเมตร
และเซนติเมตร

© สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.), 2561 (5)


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑

ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

ตัวชี้วัด
สาระที่ มาตรฐานการเรียนรู้
ป.1 ป.2

3. แสดงวิธีหาคำ�ตอบของโจทย์ปัญหา
การบวก การลบเกี่ยวกับความยาวที่
มีหน่วยเป็นเมตรและเซนติเมตร
4. วัดและเปรียบเทียบน้ำ�หนักเป็น
กิโลกรัมและกรัม กิโลกรัมและขีด
5. แสดงวิธีหาคำ�ตอบของโจทย์ปัญหาการบวก
การลบเกี่ยวกับน้ำ�หนักที่มีหน่วยเป็น
กิโลกรัมและกรัม กิโลกรัมและขีด
6. วัดและเปรียบเทียบปริมาตร
และความจุเป็นลิตร

ค 2.2 เข้าใจและวิเคราะห์รูปเรขาคณิต สมบัติ 1. จำ�แนกรูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม 1. จำ�แนกและบอกลักษณะของรูปหลายเหลี่ยม


ของรูปเรขาคณิต ความสัมพันธ์ระหว่าง วงกลม วงรี ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก และวงกลม
รูปเรขาคณิต และทฤษฏีบททางเรขาคณิต และ ทรงกลม ทรงกระบอก และกรวย
นำ�ไปใช้

3 สถิติและความน่าจะเป็น ค 3.1 เข้าใจกระบวนการทางสถิติ และใช้ความรู้ 1. ใช้ข้อมูลจากแผนภูมิรูปภาพในการหา 1. ใช้ข้อมูลจากแผนภูมิรูปภาพในการหา


ทางสถิติในการแก้ปัญหา คำ�ตอบของโจทย์ปัญหา เมื่อ คำ�ตอบของโจทย์ปัญหาเมื่อกำ�หนดรูป 1
กำ�หนดรูป 1 รูปแทน 1 หน่วย รูปแทน 2 หน่วย 5 หน่วย หรือ 10 หน่วย

© สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.), 2561 (6)


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑

ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

สาระการเรียนรู้
สาระที่ มาตรฐานการเรียนรู้
ป.1 ป.2

1 จำ�นวนและพีชคณิต ค 1.1 เข้าใจความหลากหลายของการแสดง ∙∙การนับทีละ 1 และทีละ 10 ∙∙การนับทีละ 2 ทีละ 5 ทีละ 10 และทีละ 100
จำ�นวน ระบบจำ�นวน การดำ�เนินการของ ∙∙การอ่านและการเขียนตัวเลขฮินดูอารบิก ∙∙การอ่านและการเขียนตัวเลขฮินดูอารบิก
จำ�นวน ผลที่เกิดขึ้นจากการดำ�เนินการ ตัวเลขไทยแสดงจำ�นวน ตัวเลขไทย และตัวหนังสือแสดงจำ�นวน
สมบัติของการดำ�เนินการ และนำ�ไปใช้ ∙∙การแสดงจำ�นวนนับไม่เกิน 20 ในรูปความ ∙∙จำ�นวนคู่ จำ�นวนคี่
สัมพันธ์ของจำ�นวนแบบส่วนย่อย– ส่วนรวม ∙∙หลัก ค่าของเลขโดดในแต่ละหลัก และ
(Part – Whole Relationship) การเขียนตัวเลขแสดงจำ�นวนในรูปกระจาย
∙∙การบอกอันดับที่ ∙∙การเปรียบเทียบและเรียงลำ�ดับจำ�นวน
∙∙หลัก ค่าของเลขโดดในแต่ละหลัก และ ∙∙การบวกและการลบ
การเขียนตัวเลขแสดงจำ�นวนในรูปกระจาย
∙∙ความหมายของการคูณ ความหมายของ
∙∙การเปรียบเทียบจำ�นวนและการใช้ การหาร การหาผลคูณ การหาผลหาร
เครื่องหมาย = ≠ > < และเศษ และความสัมพันธ์ของการคูณ
∙∙การเรียงลำ�ดับจำ�นวน และการหาร
∙∙ความหมายของการบวก ความหมายของ ∙∙การบวก ลบ คูณ หารระคน
การลบ การหาผลบวก การหาผลลบ และ ∙∙การแก้โจทย์ปัญหาและการสร้าง
ความสัมพันธ์ของการบวกและการลบ โจทย์ปัญหา พร้อมทั้งหาคำ�ตอบ
∙∙การแก้โจทย์ปัญหาการบวก โจทย์ปัญหา
การลบ และการสร้างโจทย์ปัญหา
พร้อมทั้งหาคำ�ตอบ

© สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.), 2561 (7)


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑

ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

สาระการเรียนรู้
สาระที่ มาตรฐานการเรียนรู้
ป.1 ป.2
ค 1.2 เข้าใจและวิเคราะห์แบบรูป ความสัมพันธ์ ∙∙แบบรูปของจำ�นวนที่เพิ่มขึ้นหรือ ∙∙แบบรูปของจำ�นวนที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงทีละ 2
ฟังก์ชัน ลำ�ดับและอนุกรม และนำ�ไปใช้ ลดลงทีละ 1 และทีละ 10 ทีละ 5 และทีละ 100
∙∙แบบรูปซ้ำ�ของจำ�นวน รูปเรขาคณิต ∙∙แบบรูปซ้ำ�
และรูปอื่น ๆ
2 การวัดและเรขาคณิต ค 2.1 เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัด วัดและ ∙∙การวัดความยาวโดยใช้หน่วยที่ไม่ใช่หน่วย ∙∙การวัดความยาวเป็นเมตรและเซนติเมตร
คาดคะเนขนาดของสิ่งที่ต้องการวัด และนำ�ไปใช้ มาตรฐาน ∙∙การคาดคะเนความยาวเป็นเมตร
∙∙การวัดความยาวเป็นเซนติเมตร เป็นเมตร ∙∙การเปรียบเทียบความยาวโดยใช้ความ
∙∙การเปรียบเทียบความยาวเป็นเซนติเมตร สัมพันธ์ระหว่างเมตรกับเซนติเมตร
เป็นเมตร ∙∙การแก้โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับความยาว
∙∙การแก้โจทย์ปัญหาการบวก การลบเกี่ยวกับ ที่มีหน่วยเป็นเมตรและเซนติเมตร
ความยาวที่มีหน่วยเป็นเซนติเมตร เป็นเมตร ∙∙การวัดน้ำ�หนักเป็นกิโลกรัมและกรัม
∙∙การวัดน้ำ�หนักโดยใช้หน่วยที่ไม่ใช่หน่วย กิโลกรัมและขีด
มาตรฐาน ∙∙การคาดคะเนน้ำ�หนักเป็นกิโลกรัม
∙∙การวัดน้ำ�หนักเป็นกิโลกรัม เป็นขีด ∙∙การเปรียบเทียบน้ำ�หนักโดยใช้ความสัมพันธ์
∙∙การเปรียบเทียบน้ำ�หนักเป็นกิโลกรัม ระหว่างกิโลกรัมกับกรัม กิโลกรัมกับขีด
เป็นขีด ∙∙การแก้โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับน้ำ�หนักที่มีหน่วย
∙∙การแก้โจทย์ปัญหาการบวก การลบเกี่ยวกับ เป็นกิโลกรัมและกรัม กิโลกรัม และขีด
น้ำ�หนักที่มีหน่วยเป็นกิโลกรัม เป็นขีด ∙∙การวัดปริมาตรและความจุโดยใช้หน่วย
ที่ไม่ใช่หน่วยมาตรฐาน

© สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.), 2561 (8)


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑

ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

สาระการเรียนรู้
สาระที่ มาตรฐานการเรียนรู้
ป.1 ป.2
∙∙การวัดปริมาตรและความจุเป็นช้อนชา
ช้อนโต๊ะ ถ้วยตวง ลิตร
∙∙การเปรียบเทียบปริมาตรและความจุเป็น
ช้อนชา ช้อนโต๊ะ ถ้วยตวง ลิตร
∙∙การแก้โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับปริมาตรและ
ความจุที่มีหน่วยเป็นช้อนชา ช้อนโต๊ะ
ถ้วยตวง ลิตร
∙∙การบอกเวลาเป็นนาฬิกาและนาที (ช่วง 5 นาที)
∙∙การบอกระยะเวลาเป็นชั่วโมง เป็นนาที
∙∙การเปรียบเทียบระยะเวลาเป็นชัว่ โมง เป็นนาที
∙∙การอ่านปฏิทิน
∙∙การแก้โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับเวลา
ค 2.2 เข้าใจและวิเคราะห์รูปเรขาคณิต สมบัติ ∙∙ลักษณะของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก ∙∙ลักษณะของรูปหลายเหลีย่ ม วงกลม และวงรี
ของรูปเรขาคณิต ความสัมพันธ์ระหว่าง ทรงกลม ทรงกระบอก กรวย การเขียนรูปเรขาคณิตสองมิติโดยใช้
รูปเรขาคณิต และทฤษฏีบททางเรขาคณิต และ ∙∙ลักษณะของรูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม แบบของรูป
นำ�ไปใช้ วงกลม และวงรี

3 สถิตแิ ละความน่าจะเป็น ค 3.1 เข้าใจกระบวนการทางสถิติ และใช้ความรู้ ∙∙การอ่านแผนภูมิรูปภาพ ∙∙การอ่านแผนภูมิรูปภาพ


ทางสถิติในการแก้ปัญหา

© สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.), 2561 (9)


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑

ตารางวิเคราะห์จุดประสงค์การเรียนรู้ ตัวชี้วัด และสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

บทที่ เรื่อง จุดประสงค์การเรียนรู้ ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้

1 จำ�นวนนับ 1 ถึง 10 และ 0 1. บอกจำ�นวนสิ่งต่าง ๆ และแสดง 1. บอกจำ�นวนของสิ่งต่าง ๆ แสดง ∙∙การนับทีละ 1 และทีละ 10


สิ่งต่าง ๆ ตามจำ�นวนที่กำ�หนด สิ่งต่าง ๆ ตามจำ�นวนที่กำ�หนด ∙∙การอ่านและการเขียนตัวเลขฮินดูอารบิก
1 ถึง 10 และ 0 อ่านและเขียนตัวเลขฮินดูอารบิก ตัวเลขไทยแสดงจำ�นวน
2. อ่านและเขียนตัวเลขฮินดูอารบิก ตัวเลขไทยแสดงจำ�นวนนับ
ไม่เกิน 100 และ 0 ∙∙การแสดงจำ�นวนนับไม่เกิน 20
ตัวเลขไทย แสดงจำ�นวนนับ ในรูปความสัมพันธ์ของจำ�นวนแบบ
1 ถึง 10 และ 0 2. เปรียบเทียบจำ�นวนนับไม่เกิน 100 ส่วนย่อย-ส่วนรวม (Part -Whole
3. เปรียบเทียบและเรียงลำ�ดับ และ 0 โดยใช้เครื่องหมาย = ≠ > < Relationship)
จำ�นวนนับ1 ถึง 10 และ 0 3. เรียงลำ�ดับจำ�นวนนับไม่เกิน 100 ∙∙การเปรียบเทียบจำ�นวนและการใช้
และ 0 ตั้งแต่ 3 ถึง 5 จำ�นวน เครื่องหมาย = ≠ > <
∙∙การเรียงลำ�ดับจำ�นวน
2 การบวกจำ�นวนสองจำ�นวนทีผ่ ลบวก 1. หาผลบวกในประโยคสัญลักษณ์ 1. หาค่าของตัวไม่ทราบค่าในประโยค ∙∙ความหมายของการบวก ความหมาย
ไม่เกิน 10 การบวกของจำ�นวนนับ สัญลักษณ์แสดงการบวกและ ของการลบ การหาผลบวก การหา
ไม่เกิน 10 และ 0 ประโยคสัญลักษณ์แสดงการลบ ผลลบ และความสัมพันธ์ของการบวก
2. แสดงวิธีหาคำ�ตอบของโจทย์ปัญหา ของจำ�นวนนับไม่เกิน 100 และ 0 และการลบ
การบวกของจำ�นวนนับไม่เกิน 10 2. แสดงวิธีหาคำ�ตอบของโจทย์ปัญหา ∙∙การแก้โจทย์ปัญหาการบวก โจทย์
และ 0 การบวกและโจทย์ปัญหาการลบ ปัญหาการลบ และการสร้างโจทย์
ของจำ�นวนนับไม่เกิน 100 และ 0 ปัญหา พร้อมทั้งหาคำ�ตอบ

© สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.), 2561 (10)


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑

ตารางวิเคราะห์จุดประสงค์การเรียนรู้ ตัวชี้วัด และสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

บทที่ เรื่อง จุดประสงค์การเรียนรู้ ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้

3 การลบจำ�นวนสองจำ�นวนที่ตัวตั้งไม่เกิน 1. หาผลลบในประโยคสัญลักษณ์ 1. หาค่าของตัวไม่ทราบค่าในประโยค ∙∙ความหมายของการบวก ความหมาย


10 การลบของจำ�นวนนับไม่เกิน 10 และ 0 สัญลักษณ์แสดงการบวกและ ของการลบ การหาผลบวก การหา
2. ใช้ความสัมพันธ์ของการบวกและ ประโยคสัญลักษณ์แสดงการลบ ผลลบ และความสัมพันธ์ของการบวก
การลบ ช่วยในการหาค่าของ ของจำ�นวนนับไม่เกิน 100 และ 0 และการลบ
ตัวไม่ทราบค่าในประโยคสัญลักษณ์ 2. แสดงวิธีหาคำ�ตอบของโจทย์ปัญหา ∙∙การแก้โจทย์ปัญหาการบวก โจทย์
การบวกและประโยคสัญลักษณ์ การบวกและโจทย์ปัญหาการลบ ปัญหาการลบ และการสร้างโจทย์
การลบของจำ�นวนนับไม่เกิน 10 และ 0 ของจำ�นวนนับไม่เกิน 100 และ 0 ปัญหา พร้อมทั้งหาคำ�ตอบ
3. แสดงวิธีหาคำ�ตอบของโจทย์ปัญหา
การลบของจำ�นวนนับไม่เกิน 10
และ 0
4 จำ�นวนนับ 11 ถึง 20 1. บอกจำ�นวนของสิ่งต่างๆ และแสดง 1. บอกจำ�นวนของสิ่งต่าง ๆ แสดงสิ่ง ∙∙การนับทีละ 1 และทีละ 10
สิ่งต่าง ตามจำ�นวนที่กำ�หนด ต่าง ๆ ตามจำ�นวนที่กำ�หนด ∙∙การอ่านและการเขียน
11 ถึง 20 อ่านและเขียนตัวเลขฮินดู ตัวเลขฮินดูอารบิก
2. อ่านและเขียนตัวเลขฮินดูอารบิก อารบิก ตัวเลขไทยแสดง
จำ�นวนนับไม่เกิน 100 และ 0 ∙∙ตัวเลขไทยแสดงจำ�นวน
ตัวเลขไทย ตัวหนังสือแสดงจำ�นวน
นับ 11 ถึง 20 2. เปรียบเทียบจำ�นวนนับไม่เกิน 100 ∙∙การแสดงจำ�นวนนับไม่เกิน 20
และ 0 โดยใช้เครื่องหมาย = ≠ > < ในรูปความสัมพันธ์ของจำ�นวน
3. เปรียบเทียบและเรียงลำ�ดับจำ�นวน แบบส่วนย่อย-ส่วนรวม (Part - Whole
นับ 11 ถึง 20 3. เรียงลำ�ดับจำ�นวนนับไม่เกิน 100 Relationship)
และ 0 ตั้งแต่ 3 ถึง 5 จำ�นวน
∙∙การบอกอันดับที่
∙∙หลัก ค่าของเลขโดดใแต่ละหลัก และ
การเขียนตัวเลขแสดงจำ�นวน
ในรูปกระจาย

© สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.), 2561 (11)


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑

ตารางวิเคราะห์จุดประสงค์การเรียนรู้ ตัวชี้วัด และสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

บทที่ เรื่อง จุดประสงค์การเรียนรู้ ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้

∙∙การเปรียบเทียบจำ�นวน
และการใช้เครื่องหมาย = ≠ > <
∙∙การเรียงลำ�ดับจำ�นวน

5 การบวก การลบจำ�นวนนับไม่เกิน 20 1. หาผลบวกในประโยคสัญลักษณ์ 1. หาค่าของตัวไม่ทราบค่าในประโยค ∙∙ความหมายของการบวก ความหมาย


การบวกของจำ�นวนนับ สัญลักษณ์แสดงการบวกและ ของการลบ การหาผลบวก การหา
ไม่เกิน 20 และ 0 ประโยคสัญลักษณ์แสดงการลบ ผลลบ และความสัมพันธ์ของการบวก
2. หาผลลบในประโยคสัญลักษณ์ ของจำ�นวนนับไม่เกิน 100 และ 0 และการลบ
การลบของจำ�นวนนับ 2. แสดงวิธีหาคำ�ตอบของโจทย์ปัญหา ∙∙การแก้โจทย์ปัญหาการบวก โจทย์
ไม่เกิน 20 และ 0 การบวกและโจทย์ปัญหาการลบ ปัญหาการลบ และการสร้างโจทย์
3. หาค่าของตัวไม่ทราบค่าใน ของจำ�นวนนับไม่เกิน 100 และ 0 ปัญหา พร้อมทั้งหาคำ�ตอบ
ประโยคสัญลักษณ์การบวก
และประโยคสัญลักษณ์การลบของ
จำ�นวนนับไม่เกิน 20 และ 0
4. แสดงวิธีหาคำ�ตอบของโจทย์ปัญหา
การบวกและโจทย์ปัญหาการลบ
ของจำ�นวนนับไม่เกิน 20 และ 0
6 แผนภูมิรูปภาพ 1. อ่านข้อมูลจากแผนภูมิ 1. ใช้ข้อมูลจากแผนภูมิรูปภาพใน ∙∙การอ่านแผนภูมิรูปภาพ
รูปภาพเมื่อกำ�หนดรูป 1 รูป การหาคำ�ตอบของโจทย์ปัญหา
แทน 1 หน่วย เมื่อกำ�หนดรูป 1 รูปแทน 1 หน่วย
2. ใช้ข้อมูลจากแผนภูมิรูปภาพใน
การหาคำ�ตอบของโจทย์ปัญหา
เมื่อกำ�หนดรูป 1 รูป แทน 1 หน่วย

© สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.), 2561 (12)


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑

ตารางวิเคราะห์จุดประสงค์การเรียนรู้ ตัวชี้วัด และสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

บทที่ เรื่อง จุดประสงค์การเรียนรู้ ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้

7 การวัดน้ำ�หนัก 1. บอกได้ว่าสิ่งใด หนักกว่า เบากว่า 1. วัดและเปรียบเทียบน้ำ�หนัก ∙∙การวัดน้ำ�หนักโดยใช้หน่วยที่ไม่ใช่


หนักเท่ากัน หนักที่สุด เบาที่สุด เป็นกิโลกรัม เป็นขีด หน่วยมาตรฐาน
2. ชั่งและบอกน้ำ�หนักเป็นกิโลกรัม ∙∙การวัดน้ำ�หนักเป็นกิโลกรัม เป็นขีด
เป็นขีด ∙∙การเปรียบเทียบน้ำ�หนักเป็นกิโลกรัม
3. เปรียบเทียบน้ำ�หนักเป็นกิโลกรัม เป็นขีด
เป็นขีด ∙∙การแก้โจทย์ปัญหาการบวก การลบ
4. แก้โจทย์ปัญหาการบวก โจทย์ เกี่ยวกับน้ำ�หนักที่มีหน่วยเป็นกิโลกรัม
ปัญหาการลบเกี่ยวกับน้ำ�หนัก เป็นขีด
8 การบอกตำ�แหน่งและอันดับที่ 1. อธิบายตำ�แหน่งของสิ่งต่าง ๆ ∙∙การบอกอันดับที่
โดยใช้คำ�ที่ใช้ในการบอกตำ�แหน่ง
2. แสดงตำ�แหน่งของสิ่งต่าง ๆ
ตามอันดับที่ที่กำ�หนด
3. นำ�ความรู้เรื่องอันดับไปใช้

9 รูปเรขาคณิต 1. จำ�แนกทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก 1. จำ�แนกรูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม ∙∙แบบรูปซ้ำ�ของจำ�นวน รูปเรขาคณิต


ทรงกลม ทรงกระบอก และกรวย วงกลม วงรี ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก และรูปอื่น ๆ
2. จำ�แนกรูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม ทรงกลม ทรงกระบอก และกรวย ∙∙ลักษณะของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก
วงกลม และวงรี 2. ระบุจำ�นวนที่หายไปในแบบรูปของ ทรงกลม ทรงกระบอก กรวย
3. บอกลักษณะรูปสามเหลี่ยม จำ�นวนที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงทีละ 1 ∙∙ลักษณะของรูปสามเหลี่ยม
รูปสี่เหลี่ยม วงกลม และวงรี และทีละ 10 และระบุรูปที่หายไป รูปสี่เหลี่ยม วงกลม และวงรี
ในแบบรูปซ้ำ�ของรูปเรขาคณิตและ
4. เขียนรูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม รูปอื่น ๆ ที่สมาชิกในแต่ละชุด
วงกลม และวงรี โดยใช้แบบของรูป ที่ซ้ำ�มี 2 รูป

© สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.), 2561 (13)


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑

ตารางวิเคราะห์จุดประสงค์การเรียนรู้ ตัวชี้วัด และสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

บทที่ เรื่อง จุดประสงค์การเรียนรู้ ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้

5. บอกรูปที่หายไปในแบบรูปซ้ำ�
ของรูปเรขาคณิตและรูปอื่น ๆ
6. สร้างแบบรูปของรูปเรขาคณิต

10 จำ�นวนนับ 21 ถึง 100 1. บอกจำ�นวนของสิ่งต่าง ๆ และแสดง 1. บอกจำ�นวนของสิ่งต่าง ๆ แสดง ∙∙การนับทีละ 1 และทีละ 10


สิ่งต่าง ๆ ตามจำ�นวนที่กำ�หนด 21 สิ่งต่าง ๆ ตามจำ�นวนที่กำ�หนด ∙∙การอ่านและการเขียนตัวเลขฮินดู
ถึง 100 อ่านและเขียนตัวเลขฮินดูอารบิก อารบิก ตัวเลขไทยแสดงจำ�นวน
2. อ่านและเขียนตัวเลขฮินดูอารบิก ตัวเลขไทยแสดงจำ�นวนนับไม่เกิน
100 และ 0 ∙∙การแสดงจำ�นวนนับไม่เกิน 20
ตัวเลขไทย ตัวหนังสือแสดง ในรูปความสัมพันธ์ของจำ�นวน
จำ�นวนนับ 21 ถึง 100 2. เปรียบเทียบจำ�นวนนับไม่เกิน 100 แบบส่วนย่อย -ส่วนรวม
3. เปรียบเทียบและเรียงลำ�ดับจำ�นวนนับ และ 0 โดยใช้เครื่องหมาย = ≠ > < (Part - Whole Relationship)
21 ถึง 100 3. เรียงลำ�ดับจำ�นวนนับไม่เกิน 100 ∙∙การบอกอันดับที่
4. บอกจำ�นวนที่หายไปในแบบรูป และ 0 ตั้งแต่ 3 ถึง 5 จำ�นวน
∙∙หลัก ค่าของเลขโดดในแต่ละหลัก
ของจำ�นวนที่เพิ่มขึ้น หรือลดลง และการเขียนตัวเลขแสดงจำ�นวน
ทีละ 1 และทีละ 10 ในรูปกระจาย
∙∙การเปรียบเทียบจำ�นวนและการใช้
เครื่องหมาย = ≠ > <
∙∙การเรียงลำ�ดับจำ�นวน
11 การวัดความยาว 1. เปรียบเทียบความยาวระหว่าง 1. วัดและเปรียบเทียบความยาว ∙∙การวัดความยาวโดยใช้หน่วย
สิ่งของโดยใช้คำ�ว่า ยาวกว่า เป็นเซนติเมตร เป็นเมตร ที่ไม่ใช่หน่วยมาตรฐาน
สั้นกว่า สูงกว่า เตี้ยกว่า เท่ากัน ∙∙การวัดความยาวเป็นเซนติเมตร
ยาวที่สุด สั้นที่สุด สูงที่สุด เตี้ยที่สุด เป็นเมตร

© สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.), 2561 (14)


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑

ตารางวิเคราะห์จุดประสงค์การเรียนรู้ ตัวชี้วัด และสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

บทที่ เรื่อง จุดประสงค์การเรียนรู้ ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้

2. วัดและเปรียบเทียบความยาว ∙∙การเปรียบเทียบความยาว
ที่มีหน่วยเป็นเซนติเมตร เป็นเมตร เป็นเซนติเมตร เป็นเมตร
∙∙การแก้โจทย์ปัญหาการบวก
การลบเกี่ยวกับความยาวที่มี
หน่วยเป็นเซนติเมตร เป็นเมตร

12 การบวกที่ผลบวกไม่เกิน 100 1. หาผลบวกจำ�นวนสองหลักกับ 1. หาค่าของตัวไม่ทราบค่าในประโยค ∙∙ความหมายของการบวก


จำ�นวนหนึ่งหลักที่ผลบวก สัญลักษณ์ แสดงการบวกและ ความหมายของการลบ การหาผลบวก
ไม่เกิน 100 ประโยคสัญลักษณ์แสดงการลบ การหาผลลบ และความสัมพันธ์
2. หาผลบวกจำ�นวนสองหลักกับ ของจำ�นวนนับไม่เกิน 100 และ 0 ของการบวกและการลบ
จำ�นวนสองหลักที่ผลบวก 2. แสดงวิธีหาคำ�ตอบของโจทย์ปัญหา ∙∙การแก้โจทย์ปัญหาการบวก โจทย์
ไม่เกิน 100 การบวกและโจทย์ปัญหาการลบ ปัญหาการลบและการสร้างโจทย์
ของจำ�นวนนับไม่เกิน 100 และ 0 ปัญหา พร้อมทั้งหาคำ�ตอบ
13 การลบจำ�นวนที่ตัวตั้งไม่เกิน 100 1. หาผลลบจำ�นวนสองหลัก 1. หาค่าของตัวไม่ทราบค่าในประโยค ∙∙ความหมายของการบวก
กับจำ�นวนหนึ่งหลักที่ตัวตั้ง สัญลักษณ์ แสดงการบวกและ ความหมายของการลบ การหาผลบวก
มากกว่า 20 แต่ไม่เกิน 100 ประโยคสัญลักษณ์แสดงการลบ การหาผลลบ และความสัมพันธ์
2. หาผลลบจำ�นวนสองหลัก ของจำ�นวนนับไม่เกิน 100 และ 0 ของการบวกและการลบ
กับจำ�นวนสองหลักที่ตัวตั้ง 2. แสดงวิธีหาคำ�ตอบของโจทย์ปัญหา ∙∙การแก้โจทย์ปัญหาการบวก
มากกว่า 20 แต่ไม่เกิน 100 การบวกและโจทย์ปัญหาการลบ โจทย์ปัญหาการลบและการสร้าง
3. หาค่าของตัวไม่ทราบค่าในประโยค ของจำ�นวนนับไม่เกิน 100 และ 0 โจทย์ปัญหา พร้อมทั้งหาคำ�ตอบ
สัญลักษณ์การบวก และ
ประโยคสัญลักษณ์การลบ

© สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.), 2561 (15)


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑

ตารางวิเคราะห์จุดประสงค์การเรียนรู้ ตัวชี้วัด และสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

บทที่ เรื่อง จุดประสงค์การเรียนรู้ ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้

14 โจทย์ปัญหาการบวกและโจทย์ปัญหา 1. แสดงวิธีหาคำ�ตอบของโจทย์ปัญหา 1. หาค่าของตัวไม่ทราบค่าในประโยค ∙∙ความหมายของการบวก ความหมาย


การลบ การบวกของจำ�นวนนับที่ผลบวก สัญลักษณ์ แสดงการบวกและ ของการลบ การหาผลบวก การหา
ไม่เกิน 100 ประโยคสัญลักษณ์แสดงการลบ ผลลบ และความสัมพันธ์ของการบวก
2. แสดงวิธีหาคำ�ตอบของโจทย์ปัญหา ของจำ�นวนนับไม่เกิน 100 และ 0 และการลบ
การลบของจำ�นวนนับที่ตัวตั้ง 2. แสดงวิธีหาคำ�ตอบของโจทย์ปัญหา ∙∙การแก้โจทย์ปัญหาการบวก โจทย์ปญ
ั หา
ไม่เกิน 100 การบวกและโจทย์ปัญหาการลบ การลบและการสร้างโจทย์ปญ ั หา
ของจำ�นวนนับไม่เกิน 100 และ 0 พร้อมทั้งหาคำ�ตอบ

© สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.), 2561 (16)


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑

ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์

จำ�นวนและพีชคณิต การวัดและเรขาคณิต สถิติและความน่าจะเป็น

จำ�นวนนับ 1 ถึง 100 และ 0 แบบรูป การวัดความยาว การนำ�เสนอข้อมูล


∙∙การนับทีละ 1 และทีละ 10 ∙∙แบบรูปของจำ�นวนที่เพิ่มขึ้นและ ∙∙การวัดความยาวที่ไม่ใช่หน่วยมาตรฐาน ∙∙การอ่านแผนภูมิรูปภาพ
∙∙การอ่านและการเขียนตัวเลขฮินดูอารบิก ลดลงทีละ 1 และทีละ10 ∙∙การวัดและเปรียบเทียบความยาว
ตัวเลขไทยและการแสดงจำ�นวน ∙∙แบบรูปซ้ำ�ของจำ�นวน รูปเรขาคณิต เป็นเซนติเมตร เป็นเมตร
∙∙การแสดงจำ�นวนนับไม่เกิน 20 ในรูป และรูปอื่น ๆ ∙∙แก้โจทย์ปัญหาการบวก การลบเกี่ยวกับ
ความสัมพันธ์ของจำ�นวนแบบส่วนย่อย- ความยาวเป็นเซนติเมตร เป็นเมตร
ส่วนรวม (Part-Whole Relationship)
∙∙การบอกอันดับที่ การวัดน้ำ�หนัก
∙∙หลัก ค่าประจำ�หลัก ค่าของเลขโดด การบวก การลบจำ�นวนนับ ∙∙การวัดน้ำ�หนักที่ไม่ใช่หน่วยมาตรฐาน
ในแต่ละหลัก และการเขียนตัวเลข 1 ถึง 100 และ 0
แสดงจำ�นวนในรูปกระจาย ∙∙การวัดและเปรียบเทียบน้ำ�หนัก เป็นกิโลกรัม เป็นขีด
∙∙ความหมายของการบวก การลบ
∙∙การเปรียบเทียบจำ�นวนโดยใช้เครื่องหมาย ∙∙แก้โจทย์ปัญหาการบวก การลบเกี่ยวกับน้ำ�หนักเป็นกิโลกรัม เป็นขีด
= ≠ > < ∙∙การหาผลบวก ผลลบ

∙∙การเรียงลำ�ดับจำ�นวน ∙∙ความสัมพันธ์ของการบวกและการลบ
∙∙การแก้โจทย์ปัญหาการบวก การลบ รูปเรขาคณิตสองมิติ สามมิติ
∙∙การสร้างโจทย์ปัญหา และการหาคำ�ตอบ ∙∙ลักษณะของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก ทรงกลม ทรงกระบอก กรวย
∙∙ลักษณะของรูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม วงกลม และวงรี

© สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.), 2561 (17)


คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 8 | การบอกตำ�แหน่งและอันดับที่

บทที่ 8 การบอกตำ�แหน่งและอันดับที่

จุดประสงค์การเรียนรู้และสาระสำ�คัญ

จุดประสงค์การเรียนรู้ สาระสำ�คัญ

นักเรียนสามารถ
1. อธิบายตำ�แหน่งของสิ่งต่าง ๆ โดยใช้คำ�ที่ใช้ในการบอก การบอกตำ�แหน่งของสิ่งต่าง ๆ อาจใช้คำ� ข้างซ้าย
ตำ�แหน่ง ข้างขวา ตรงกลาง ข้างบน ข้างล่าง ข้างหน้า ข้างหลัง
(เนื้อหาในหัวข้อ 8.1) ถัดจาก ระหว่าง.....กับ..... ตั้งแต่.....ถึง.....

2. แสดงตำ�แหน่งของสิ่งต่าง ๆ ตามอันดับที่ที่กำ�หนด การบอกอันดับที่ของสิ่งต่าง ๆ อาจใช้คำ� อันดับที่


(เนื้อหาในหัวข้อ 8.2, 8.3) คนที่ ชั้นที่
การบอกตำ�แหน่งและอันดับที่ของสิ่งต่าง ๆ ทำ�ให้
เข้าใจตรงกันว่าอยู่ที่ใด หรือกล่าวถึงสิ่งใด

3. นำ�ความรู้ไปใช้ การจัดอันดับที่ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขหรือกติกาที่กำ�หนด
(เนื้อหาในหัวข้อ 8.4) เช่น คะแนนมากที่สุดได้อันดับที่ 1

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  1
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 8 | การบอกตำ�แหน่งและอันดับที่

ตารางการวิเคราะห์เนื้อหากับทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
หัวข้อ เนื้อหา
j k l m n
เตรียมความพร้อม 

8.1 การบอกตำ�แหน่งของสิ่งต่าง ๆ  

8.2 การบอกอันดับที่ของสิ่งต่าง ๆ  

8.3 การแสดงสิ่งต่าง ๆ ตามตำ�แหน่งและอันดับที่  

8.4 การนำ�ไปใช้  

ร่วมคิดร่วมทำ�   

ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

j การแก้ปัญหา k การสื่อสารและการสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์
l การเชื่อมโยง m การให้เหตุผล n การคิดสร้างสรรค์

2  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 8 | การบอกตำ�แหน่งและอันดับที่

คำ�สำ�คัญ
การบอกตำ�แหน่ง ข้างซ้าย ข้างขวา
ตรงกลาง ข้างบน ข้างล่าง ข้างหน้า
ข้างหลัง ถัดจาก ระหว่าง.....กับ.....
ตั้งแต่.....ถึง..... การบอกอันดับที่
อันดับที่ คนที่ ชั้นที่ การจัดอันดับที่
เงื่อนไข กติกา

ความรู้หรือทักษะพื้นฐาน
การรู้จักคำ�บอกตำ�แหน่ง เช่น
มือซ้าย มือขวา ข้างบน ข้างล่าง ตรงกลาง
คนแรก คนสุดท้าย

เวลาที่ใช้จัดการเรียนรู้
6 ชั่วโมง

สื่อและแหล่งเรียนรู้

1. หนังสือเรียน หน้า 2 – 22
2. แบบฝึกหัด หน้า 2 – 13
3. เอกสาร แบบบันทึก ใบกิจกรรม และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการทำ�กิจกรรม ดังนี้
• บัตรคำ�บอกตำ�แหน่งต่าง ๆ เช่น ข้างซ้าย ข้างขวา ฯลฯ
• ภาพอัฒจันทร์ ตู้เก็บอุปกรณ์กีฬา ลู่วิ่ง การแข่งขันการโยนบอลลงตะกร้า เกมโยนห่วง เกมปากระป๋อง
ตารางแสดงเหรียญรางวัลของการแข่งขันกีฬาสี
• บัตรคำ�การบอกอันดับที่ เช่น อันดับที่ 1 อันดับที่ 2 อันดับที่ 3 อันดับที่ 4 ... คนที่ 1 คนที่ 2 คนที่ 3
คนที่ 4 ... ชั้นที่ 1 ชั้นที่ 2 ชั้นที่ 3 ชั้นที่ 4 ...
• รูปอุปกรณ์กีฬา เช่น ลูกฟุตบอล ลูกวอลเลย์บอล ลูกบาสเกตบอล ฯลฯ
• อุปกรณ์การเล่นเกม เช่น ห่วง เสา

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  3
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 8 | การบอกตำ�แหน่งและอันดับที่

แนวการจัดการเรียนรู้
ใช้ภาพในหนังสือเรียนหน้าเปิดบท เพื่อกระตุ้นความสนใจเกี่ยวกับการบอกตำ�แหน่งและอันดับที่
โดยใช้คำ�ถาม เช่น
• ในภาพนี้มีการแข่งขันกีฬาอะไรบ้าง
• นักเรียนเคยเล่นกีฬาอะไร
• นักเรียนเล่นกีฬาได้อันดับที่เท่าไร
• สีอะไรได้ที่ 1 สีอะไรได้ที่ 2 และสีอะไรได้ที่ 3
ในกรณีที่มีการแข่งขันไปแล้ว กรณีที่ยังไม่มีการแข่งขัน ให้ถามว่า ถ้านักเรียนแข่ง.......(ระบุชนิดกีฬา) ในกีฬาสี
สีอะไรจะได้ที่ 1 สีอะไรจะได้ที่ 2 และสีอะไรจะได้ที่ 3 แล้วสนทนาว่าสีที่ได้ที่ 1 จะยืนตำ�แหน่งใดของแท่นรับเหรียญ
รางวัล (บนสุด) สีที่ได้ที่ 2 จะยืนอยู่ตำ�แหน่งใด (ทางซ้ายมือ) สี่ที่ได้ที่ 3 จะยืนตำ�แหน่งใด (ทางขวามือ)

4  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 8 | การบอกตำ�แหน่งและอันดับที่

บาสเกตบอล
ฟุตบอล
วอลเลยบอล

แนวการจัดการเรียนรู้

ใช้หนังสือเรียนหน้าเตรียมความพร้อมเพื่อ ครูอาจจัดกิจกรรมทำ�นองนี้อีก 2–3 ครั้ง โดยใช้


ตรวจสอบความรู้พื้นฐานของนักเรียนเกี่ยวกับการบอก นักเรียนที่ไม่ซ้ำ�กัน
ตำ�แหน่งโดยอาจจัดกิจกรรม ดังนี้ 2. ครูนำ�แก้ว กล่อง ขวด วางบนโต๊ะหน้าชั้นเรียน
1. ครูสุ่มนักเรียน 3 คน ออกมาเข้าแถวตอน เรียงตาม ตามลำ�ดับแล้วใช้คำ�ถามต่อไปนี้
ลำ�ดับความสูงและหันหน้าเข้าหาครู จากนั้นใช้คำ�ถามต่อไปนี้ • อะไรอยู่ตรงกลาง (กล่อง)
• ใครเป็นคนแรกของแถว • อะไรอยู่ข้างซ้ายของกล่อง (แก้ว)
• ใครเป็นคนสุดท้ายของแถว • อะไรอยู่ข้างขวาของกล่อง (ขวด)
• ใครอยู่ข้างหน้า.........(ระบุชื่อ) ครูอาจจัดกิจกรรมทำ�นองนี้อีก 2–3 ครั้ง โดยใช้
• ใครอยู่ข้างหลัง..........(ระบุชื่อ) สิ่งของที่ไม่ซ้ำ�กันหรืออาจใช้สิ่งของเดิมแต่สลับตำ�แหน่งกัน
ก็ได้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  5
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 8 | การบอกตำ�แหน่งและอันดับที่

8.1 การบอกตำ�แหน่งของ
สิ่งต่าง ๆ

จุดประสงค์
บอกตำ�แหน่งของสิ่งต่าง ๆ
โดยใช้คำ�ที่ใช้ในการบอกตำ�แหน่ง

สื่อการเรียนรู้
• บัตรคำ�บอกตำ�แหน่ง เช่น
ข้างซ้าย ข้างขวา ฯลฯ
• ภาพในหนังสือเรียน เช่น
อัฒจันทร์ ตู้เก็บอุปกรณ์กีฬา

แนวการจัดการเรียนรู้

ให้นักเรียนดูภาพและครูสนทนาตามข้อความ โดยเน้นคำ�ที่ใช้บอกตำ�แหน่งทีละคำ�
ขุนวิ่งในลู่ ข้างซ้าย ของดอน
พัดวิ่งในลู่ ข้างขวา ของดอน
จากนั้นใช้ภาพลู่วิ่ง 4 ลู่ ในหนังสือเรียนและบัตรคำ�ชื่อนักเรียน แล้วใช้คำ�ถามต่อไปนี้
ใครวิ่งในลู่ ข้างขวา ของพัด (นัด)
พัดวิ่งในลู่ ข้างซ้าย ของใคร (นัด)
ใครวิ่งในลู่ ข้างซ้าย ของพัด (ดอน)
ถัดจากพัดเป็นใคร (นัด)
ระหว่างดอนกับนัดเป็นใคร (พัด)
ตั้งแต่ดอนถึงนัดเป็นใคร (ดอน พัด และนัด)

6  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 8 | การบอกตำ�แหน่งและอันดับที่

แนวการจัดการเรียนรู้

ใช้ภาพอัฒจันทร์ติดบัตรชื่อของนักเรียนตามหนังสือเรียนหน้า 6 แล้วใช้คำ�ถามต่อไปนี้
• ใครนั่ง ข้างหน้า อ้อม (ฉาย) • ข้างหน้าอ้อมคือใคร (ฉาย)
• ใครนั่ง ข้างหลังฉาย (อ้อม) • ข้างหลังฉายคือใคร (อ้อม)
• ข้างขวาของโอ๋คือใคร (ฉาย) • ใครนั่งข้างขวาของว่าน (โอ๋)
• ข้างซ้ายของโอ๋คือใคร (ว่าน) • ใครนั่งข้างซ้ายของเดียว (รุ้ง)
• นกนั่งระหว่างใครกับใคร (ปลื้มกับต้อง) • ตั้งแต่ฉายถึงว่านมีใครบ้าง (ฉาย โอ๋ ว่าน)
จากนั้นครูอภิปรายร่วมกับนักเรียนจนได้ข้อสรุปว่า ข้างซ้าย ข้างขวา ข้างหน้า ข้างหลัง ระหว่าง.....กับ...
ตั้งแต่.......ถึง... เป็นคำ�ที่ใช้บอกตำ�แหน่ง

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  7
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 8 | การบอกตำ�แหน่งและอันดับที่

ชั้นลางขางซาย
ชั้นกลางขางขวา
ชั้นบนตรงกลาง

แนวการจัดการเรียนรู้

ใช้ภาพตู้เก็บอุปกรณ์กีฬาในหนังสือเรียนหน้า 7 โดยใช้คำ�ถามต่อไปนี้
• อะไรเก็บอยู่ ชั้นบนข้างขวา (ลูกขนไก่) • อะไรเก็บอยู่ ชั้นบนข้างซ้าย (ลูกปิงปอง)
• อะไรเก็บอยู่ ชั้นบนตรงกลาง (ลูกเทนนิส) • อะไรเก็บอยู่ ชั้นล่างข้างขวา (ลูกวอลเลย์บอล)
• อะไรเก็บอยู่ ชั้นล่างข้างซ้าย (ลูกฟุตบอล) • อะไรเก็บอยู่ ชั้นล่างตรงกลาง (ลูกบาสเกตบอล)
• อะไรเก็บอยู่ ชั้นกลางข้างซ้าย (ลูกแฮนด์บอล) • อะไรเก็บอยู่ ชั้นกลางข้างขวา (ลูกกอล์ฟ)
• อะไรเก็บอยู่ ชั้นกลางตรงกลาง (ลูกรักบี้) • ลูกวอลเลย์บอลเก็บอยู่ที่ใด (ชั้นล่างข้างขวา)
• ลูกขนไก่เก็บอยู่ที่ใด (ชั้นบนข้างขวา) • ลูกบาสเกตบอลเก็บอยู่ที่ใด (ชั้นล่างตรงกลาง)
จากนั้นครูอภิปรายร่วมกับนักเรียนจนได้ข้อสรุปว่า นอกจากคำ�ว่า ข้างซ้าย ข้างขวา ข้างหน้า ข้างหลัง
ระหว่าง.....กับ.... ตั้งแต่.......ถึง... เป็นคำ�ที่ใช้บอกตำ�แหน่งแล้วยังมีคำ�อื่นอีกที่ใช้ในการบอกตำ�แหน่งเช่น ชั้นบน ชั้นกลาง
ชั้นล่าง ชั้นบนข้างซ้าย ชั้นบนข้างขวา ชั้นบนตรงกลาง ชั้นล่างข้างซ้าย ชั้นล่างข้างขวา ชั้นล่างตรงกลาง
ชั้นกลางข้างซ้าย ชั้นกลางข้างขวา ชั้นกลางตรงกลาง

8  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 8 | การบอกตำ�แหน่งและอันดับที่

ขางขวา
ขางซาย
ขางหนา
ขางหลัง
ระหวาง กับ
ตั้งแต ถึง

ตรวจสอบความเข้าใจ สิ่งที่ได้เรียนรู้

ตรวจสอบความเข้าใจของนักเรียนเพื่อให้สอดคล้อง การบอกตำ�แหน่งของสิ่งต่าง ๆ อาจใช้คำ�ว่า ข้างซ้าย


กับจุดประสงค์การเรียนรู้ในชั่วโมงนี้ โดยการนำ�คำ�ที่ใช้บอก ข้างขวา ตรงกลาง ข้างบน ข้างล่าง ข้างหน้า ข้างหลัง ถัดจาก
ตำ�แหน่งมาเติมในช่องว่างจากสถานการณ์ที่กำ�หนด ระหว่าง...กับ.... ตั้งแต่...ถึง....
ได้ถูกต้อง
จากนั้นให้นักเรียนทำ�แบบฝึกหัด 8.1 หน้า 2 - 4

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  9
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 8 | การบอกตำ�แหน่งและอันดับที่

8.2 การบอกอันดับที่ของสิ่งต่าง ๆ

จุดประสงค์
บอกอันดับที่ของสิ่งต่าง ๆ

สื่อการเรียนรู้
• ภาพการแข่งขันการโยนบอล
ลงตะกร้า ชั้นเก็บอุปกรณ์กีฬา
• บัตรคำ�บอกอันดับที่ เช่น
อันดับที่ 1 อันดับที่ 2 อันดับที่ 3
อันดับที่ 4 ...
คนที่ 1 คนที่ 2 คนที่ 3 คนที่ 4 ...
ชั้นที่ 1 ชั้นที่ 2 ชั้นที่ 3 ชั้นที่ 4 ...

อันดับที่ 4

แนวการจัดการเรียนรู้
ให้นักเรียนดูภาพในหนังสือเรียนหน้า 9 และครูสนทนาโดยใช้คำ�ถาม ดังนี้
• สีแดงโยนลูกบอลลงตะกร้าได้กี่คะแนน (14 คะแนน)
• สีเขียวโยนลูกบอลลงตะกร้าได้กี่คะแนน (17 คะแนน)
• สีเหลืองโยนลูกบอลลงตะกร้าได้กี่คะแนน (16 คะแนน)
• สีฟ้าโยนลูกบอลลงตะกร้าได้กี่คะแนน (15 คะแนน)
จากนั้นให้นักเรียนเรียงลำ�ดับคะแนนจากมากไปน้อยแล้วถามนักเรียนว่า สีใดได้อันดับที่ 1 2 3 และ 4
พร้อมทั้งบอกเหตุผล

10  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 8 | การบอกตำ�แหน่งและอันดับที่

แนวการจัดการเรียนรู้

นักเรียนดูภาพในหนังสือเรียนหน้า 10 และครูสนทนาเกี่ยวกับการโยนลูกบอลลงตะกร้าที่เมื่อโยนลูกบอลแล้ว
ให้ไปต่อท้ายแถวแล้วถามนักเรียนว่าใครจะโยนลูกบอลเป็นคนที่ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 ซึ่งอาจถามต่อไปเป็น
คนที่ 11 12 13 14 15 16 17 18 19 และ 20
ครูอาจจัดกิจกรรมให้นกั เรียนได้ปฏิบต
ั จิ ริงด้วยการโยนลูกบอลลงตะกร้า และถามนักเรียนด้วยคำ�ถามแบบเดียวกัน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  11
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 8 | การบอกตำ�แหน่งและอันดับที่

แนวการจัดการเรียนรู้

นักเรียนดูภาพในหนังสือเรียนหน้า 11 และสนทนากับนักเรียนเกี่ยวกับการเก็บอุปกรณ์กีฬาในภาพด้วยคำ�ถามว่า
ชั้นที่ 1 เก็บอะไร ถามจนครบทุกชั้น กิจกรรมในหน้านี้ครูอาจใช้แผ่นภาพหรือชั้นเปล่า ๆ แล้วนำ�รูปหรือของจริง เช่น ลูกบอล
ลูกตะกร้อ ลูกวอลเลย์บอล ลูกเทนนิส และลูกปิงปองเก็บในชั้น แล้วถามด้วยคำ�ถามว่า อะไรเก็บในชั้นที่ 1 อะไรเก็บในชั้นที่ 2
ถามจนครบทุกชั้น หรืออาจถามกลับกัน เช่น ลูกฟุตบอลเก็บอยู่ชั้นใด ลูกตะกร้อเก็บอยู่ชั้นใด จากนั้นครูและนักเรียน
อภิปรายร่วมกันจนได้ข้อสรุปว่า การบอกอันดับที่ของสิ่งต่าง ๆ อาจใช้คำ�ว่า อันดับที่ คนที่ ชั้นที่

12  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 8 | การบอกตำ�แหน่งและอันดับที่

5
4
5

3 1 4 2

ตรวจสอบความเข้าใจ สิ่งที่ได้เรียนรู้

ตรวจสอบความเข้าใจของนักเรียนเพื่อให้สอดคล้อง การบอกอันดับที่ของสิ่งต่าง ๆ อาจใช้คำ�ว่า อันดับที่


กับจุดประสงค์การเรียนรู้ของการเรียนในชั่วโมงนี้ โดยการ คนที่ ชั้นที่
ตอบคำ�ถามในหนังสือเรียนหน้า 12
จากนั้นให้นักเรียนทำ�แบบฝึกหัด 8.2 หน้า 5-7

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  13
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 8 | การบอกตำ�แหน่งและอันดับที่

8.3 การแสดงสิ่งต่างๆ
ตามตำ�แหน่งและอันดับที่

จุดประสงค์
แสดงสิ่งต่าง ๆ ตามตำ�แหน่งและ
อันดับที่

สื่อการเรียนรู้
• ภาพตู้เก็บอุปกรณ์กีฬา อัฒจันทร์
ลู่วิ่ง
• ภาพอุปกรณ์กีฬา เช่น ลูกฟุตบอล
ลูกวอลเลย์บอล ลูกบาสเกตบอล
ฯลฯ

แนวการจัดการเรียนรู้
ให้นักเรียนดูภาพในหนังสือเรียนและครูสนทนาเกี่ยวกับชั้นเก็บอุปกรณ์กีฬาในภาพด้วยคำ�ถามต่อไปนี้
• ชั้นเก็บอุปกรณ์กีฬามีทั้งหมดกี่ชั้น
• แต่ละชั้นมีกี่ช่อง
จากนั้นให้นักเรียนชี้ที่ภาพ หรือวางภาพอุปกรณ์กีฬาบนชั้นและช่องตามที่ครูกำ�หนด เช่น
• ลูกวอลเลย์บอลเก็บที่ชั้น 3 ข้างขวา
• ลูกแฮนด์บอลเก็บที่ชั้น 2 ข้างซ้าย
• ลูกรักบี้เก็บที่ชั้น 1 ตรงกลาง
ลำ�ดับต่อไปให้นักเรียนเลือกช่องเก็บลูกฟุตบอล ลูกตะกร้อ ลูกเทนนิส และบอกได้ว่าเก็บที่ชั้นใด ช่องใด
กิจกรรมนี้ครูอาจใช้ลังใส่นมมาวางเป็นชั้นเก็บอุปกรณ์กีฬาตามภาพแล้วให้นักเรียนปฏิบัติจริง หรือใช้ภาพชั้นเก็บ
อุปกรณ์กีฬาติดบนกระดานแล้วนำ�ภาพอุปกรณ์กีฬาไปติดในชั้นตามที่กำ�หนด

14  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 8 | การบอกตำ�แหน่งและอันดับที่

แนวการจัดการเรียนรู้

ครูเขียนรูปหรือทำ�แผ่นภาพเหมือนในหนังสือเรียน แล้วบอกให้นกั เรียนเขียนชือ่ หรือติดบัตรชือ่ ตามทีค


่ รูก�ำ หนด เช่น
ใบบัวนั่งแถว A คนที่ 1 ต้นกล้านั่งแถว A คนที่ 2 ขุนนั่งแถว A คนที่ 3 แก้วตานั่งแถว A คนที่ 4
กิจกรรมนี้ครูอาจเขียนวงกลมบนพื้นและวางบัตรคำ� แถว A แถว B แถว C คนที่ 1 คนที่ 2 คนที่ 3 คนที่ 4
แล้วครูกำ�หนดให้นักเรียนไปนั่งบนวงกลมตามที่ครูบอกทีละคน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  15
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 8 | การบอกตำ�แหน่งและอันดับที่

ออม
เภา
ตาล

แปง

1
3
4
5

แปง
ตาล

* ลําดับที่ 2 ใหนักเรียนเติมชื่อเอง

แนวการจัดการเรียนรู้

ครูให้นักเรียนพิจารณาภาพการแข่งขันวิ่งแล้วสนทนาว่าเป็นภาพเกี่ยวกับอะไร มีผู้แข่งขันกี่คน ลู่วิ่งมีทั้งหมดกี่ลู่ ครูให้


นักเรียนชี้ที่เส้นชัยในภาพและถามว่าเส้นชัยหมายถึงอะไร แล้วให้ชี้ที่รูปนักวิ่งที่คิดว่าน่าจะวิ่งเข้าเส้นชัยเป็นอันดับที่ 1 2 3
4 และ 5 ตามลำ�ดับ พร้อมบอกเหตุผล จากนั้นครูอ่านข้อความแป้งวิ่งในลู่ 4 วิ่งมาเป็นอันดับที่ 1 (นักเรียนชี้ที่รูปแป้ง) ตาล
วิ่งในลู่ 1 วิ่งมาเป็นอันดับที่ 3 (นักเรียนชี้ที่รูปตาล) เภาวิ่งในลู่ 3 วิ่งมาเป็นอันดับที่ 4 (นักเรียนชี้ที่รูปเภา) อ้อมวิ่งในลู่ 2 วิ่ง
มาเป็นอันดับที่ 5 (นักเรียนชี้ที่รูป) …….วิ่งในลู่ 5 วิ่งมาเป็นอันดับที่ 2 (ให้นักเรียนเติมชื่อนักกีฬาที่วิ่งมาเป็นอันดับที่ 2 เอง)
ซึ่งกิจกรรมในหน้านี้ครูอาจใช้ภาพลู่ว่ิงติดบนกระดานแล้วทำ�บัตรคำ�เป็นชื่อนักเรียนหรือใช้กระดาษวงกลมที่ต่างสีกันแล้วให้
นักเรียนนำ�ไปติดบนภาพลู่วิ่งตามอันดับที่ที่ครูกำ�หนด

16  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 8 | การบอกตำ�แหน่งและอันดับที่

4
2
3

สุดา
กอง
วิภา
สุธี

ตรวจสอบความเข้าใจ สิ่งที่ได้เรียนรู้

ตรวจสอบความเข้าใจของนักเรียนเพื่อให้สอดคล้อง การบอกตำ�แหน่งและอันดับที่ของสิ่งต่าง ๆ
กับจุดประสงค์การเรียนรู้ของการเรียนในชั่วโมงนี้ โดยให้ ทำ�ให้เข้าใจตรงกันว่าอยู่ที่ใด หรือกล่าวถึงสิ่งใด
นักเรียนตอบคำ�ถามในหนังสือเรียนหน้า 16 แล้วครูอาจนำ�
จากนั้นให้นักเรียนทำ�แบบฝึกหัด 8.3 หน้า 8-10
แบบฝึกหัดทำ�นองเดียวกันนี้ให้นักเรียนได้ฝึกเพิ่มเติม
จากนั้นร่วมกันสรุปบทเรียน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  17
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 8 | การบอกตำ�แหน่งและอันดับที่

8.4 การนำ�ไปใช้

จุดประสงค์
นำ�ความรู้เรื่องตำ�แหน่งและอันดับที่
ไปใช้ในสถานการณ์ต่าง ๆ

สื่อการเรียนรู้
• ภาพเกมโยนห่วง เกมปากระป๋อง
ตารางแสดงเหรียญรางวัลของ
การแข่งขันกีฬาสี
• อุปกรณ์การเล่นเกม เช่น ห่วง
เสาคล้องห่วงกระป๋อง ลูกบอล

แนวการจัดการเรียนรู้
ครูให้นักเรียนพิจารณาภาพและสนทนาว่า เป็นภาพเกี่ยวกับอะไร มีจำ�นวนทีมที่ลงแข่งขันกี่สี สีอะไรบ้าง
แต่ละสีได้คะแนนเท่าไร สีอะไรได้คะแนนมากที่สุด สีอะไรได้คะแนนน้อยที่สุด แล้วให้นักเรียนเรียงลำ�ดับคะแนนจาก
มากไปน้อย จากนั้นให้นักเรียนจัดอันดับที่ โดยให้ทีมที่ได้คะแนนมากที่สุดได้อันดับที่ 1 พร้อมทั้งบอกเหตุผล ส่วน
คำ�ถามที่กระตุ้นให้นักเรียนคิด ตอนท้าย ถ้าทีมสีฟ้าลงแข่งขันด้วย และได้คะแนน 15 คะแนน อันดับที่จะเป็นอย่างไร
นักเรียนจะต้องนำ�คะแนนของทุกสีมาเรียงลำ�ดับจากมากไปน้อยใหม่ แล้วให้จด ั อันดับทีใ่ หม่ ซึง่ เดิมสีเขียวได้อน
ั ดับที่ 1
สีเหลืองได้อันดับที่ 2 สีแดงได้อันดับที่ 3 จะเปลี่ยนเป็น สีเขียวได้อันดับที่ 1 สีฟ้าได้อันดับที่ 2 สีเหลืองได้อันดับที่ 3
สีแดงได้อันดับที่ 4 ซึ่งกิจกรรมในหน้านี้ ครูอาจจัดการแข่งขันการโยนห่วงให้นักเรียนได้ปฏิบัติจริงแล้วนำ�คะแนนที่
ได้ของแต่ละทีมมาจัดอันดับที่ ถ้าไม่มีหลักอาจใช้ขวดพลาสติกใส่น้ำ�แทนหลัก และใช้ลวด หวาย หรือไม้ไผ่ดัดให้เป็น
วงกลมแทนห่วง หรือครูอาจจัดกิจกรรมอื่น ๆ ที่ใช้คะแนน และเกณฑ์การจัดอันดับที่ โดยใช้คะแนนมากที่สุดเป็น
อันดับที่ 1 ส่วนจำ�นวนทีมและจำ�นวนนักเรียนในแต่ละทีมขึ้นอยู่กับความเหมาะสม

18  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 8 | การบอกตำ�แหน่งและอันดับที่

แนวการจัดการเรียนรู้

ครูให้นักเรียนพิจารณาภาพว่าเป็นภาพเกี่ยวกับอะไร มีจำ�นวนทีมที่ลงแข่งขันกี่สี สีอะไรบ้าง แต่ละสีมีจำ�นวนกระป๋อง


ที่เหลือกี่ใบ สีอะไรเหลือกระป๋องมากที่สุด สีอะไรเหลือกระป๋องน้อยที่สุด แล้วให้นักเรียนเรียงลำ�ดับจำ�นวนกระป๋องของ
แต่ละสีจากน้อยไปมากแล้วจัดอันดับที่โดยพิจารณาจากจำ�นวนกระป๋องที่เหลือน้อยที่สุดได้อันดับที่ 1 พร้อมบอกเหตุผล ซึ่ง
ทีมสีฟ้าได้อันดับที่ 1 เพราะเหลือกระป๋อง 1 กระป๋อง น้อยที่สุด ทีมสีเขียวได้อันดับที่ 2 เพราะเหลือ 2 กระป๋อง ทีมสีแดง
และทีมสีเหลืองได้อันดับที่ 3 เพราะเหลือกระป๋องมากที่สุด และถามคำ�ถามกระตุ้นให้นักเรียนคิดว่ามี 4 ทีม ทำ�ไมไม่มีอันดับ
ที่ 4 ซึ่งเหตุผลก็คือ เพราะมีทีมที่ได้อันดับที่ 3 สองทีม จากนั้นให้นักเรียนพิจารณาผลการปากระป๋องรอบใหม่ท้ายหน้า พบว่า
สีแดงเหลือกระป๋อง 2 กระป๋อง สีเขียวไม่เหลือกระป๋อง สีฟ้าเหลือกระป๋อง 3 กระป๋อง สีเหลืองไม่เหลือกระป๋อง ให้นักเรียน
เรียงลำ�ดับจำ�นวนกระป๋องจากน้อยไปมาก และจัดอันดับที่จากจำ�นวนกระป๋องที่เหลือน้อยที่สุดได้อันดับที่ 1 จะเห็นว่าสีเขียว
และสีเหลืองไม่เหลือกระป๋อง หรือ 0 กระป๋อง จึงได้อันดับที่ 1 ทั้งสองทีม เพราะไม่มีจำ�นวนกระป๋องเหลืออยู่หรือเท่ากับ 0
กระป๋องน้อยที่สุด ครูจึงแนะนำ�ว่าในกรณีที่อันดับที่ซ้ำ�กันซึ่งในที่นี้มี 2 ทีมจึงไม่มีอันดับที่ 2 ดังนั้นทีมสีแดงจะได้อันดับที่ 3
เพราะเหลือกระป๋อง 2 กระป๋อง และสีฟ้าได้อันดับที่ 4 เพราะเหลือกระป๋อง 3 กระป๋อง มากที่สุด ซึ่งกิจกรรมในหน้านี้ครูอาจ
จัดการแข่งขันการปากระป๋องให้นักเรียนได้ปฏิบัติจริงแล้วนำ�คะแนนที่ได้ของแต่ละทีมมาจัดอันดับที่ หรืออาจจัดกิจกรรมอื่น ๆ
ที่ใช้คะแนน และเกณฑ์การจัดอันดับที่ โดยใช้คะแนนน้อยที่สุดเป็นอันดับที่ 1 ส่วนจำ�นวนทีมและจำ�นวนนักเรียนในแต่ละทีม
ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  19
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 8 | การบอกตำ�แหน่งและอันดับที่

แนวการจัดการเรียนรู้

ให้นักเรียนพิจารณาภาพและสนทนาว่าเป็นภาพเกี่ยวกับอะไร มีจำ�นวนสีที่แข่งขันกี่สี สีอะไรบ้าง แต่ละสีได้เหรียญทอง


เหรียญเงิน และเหรียญทองแดงอย่างละกี่เหรียญ สีอะไรได้เหรียญทองมากที่สุด สีอะไรได้เหรียญทองน้อยที่สุด จากนั้นครู
แนะนำ�เกณฑ์การจัดอันดับที่ของการแข่งขัน ให้นับจำ�นวนเหรียญทองก่อน ถ้าเท่ากันให้พิจารณาจำ�นวนเหรียญเงินและ
เหรียญทองแดงตามลำ�ดับ พร้อมทั้งบอกเหตุผล ส่วนคำ�ถามที่กระตุ้นให้นักเรียนคิด ตอนท้าย ถ้ามีการแข่งขันอีก 1 รายการ
แล้วสีแดงได้เหรียญทอง สีฟ้าได้เหรียญเงินและสีเขียวได้เหรียญทองแดง อันดับที่จะเป็นอย่างไร ซึ่งเดิมสีเขียวได้อันดับที่ 1
เพราะได้ 3 เหรียญทอง มากที่สุด สีแดงได้อันดับที่ 2 เพราะได้ 2 เหรียญทอง สีฟ้าได้อันดับที่ 3 เพราะได้ 1 เหรียญทอง และ
2 เหรียญเงิน สีเหลืองได้อันดับที่ 4 เพราะได้ 1 เหรียญทอง และ 1 เหรียญเงิน จะเปลี่ยนเป็น สีแดงได้อันดับที่ 1 เพราะได้
3 เหรียญทอง 2 เหรียญเงิน และ 3 เหรียญทองแดง สีเขียวได้อันดับที่ 2 เพราะได้ 3 เหรียญทอง 1 เหรียญเงิน และ 2 เหรียญ
ทองแดง สีฟ้าได้อันดับที่ 3 เพราะ ได้ 1 เหรียญทอง และ 3 เหรียญเงิน สีเหลืองได้อันดับที่ 4 เพราะ ได้ 1 เหรียญทอง และ
1 เหรียญเงิน ซึ่งกิจกรรมในหน้านี้ครูอาจใช้การแข่งขันจากหลาย ๆ เกมที่จัดขึ้นในห้องเรียนโดยแต่ละเกมให้เหรียญรางวัล
ของแต่ละทีมไว้ แล้วนำ�มาสรุปเช่นเดียวกันกับกิจกรรมในหนังสือเรียนหน้านี้ก็ได้

20  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 8 | การบอกตำ�แหน่งและอันดับที่

1 เหลือง 20
2 ฟา 15
3 เขียว 10
4 แดง 5

ตรวจสอบความเข้าใจ สิ่งที่ได้เรียนรู้

ตรวจสอบความเข้าใจของนักเรียนเพือ ่ ให้สอดคล้อง การจัดอันดับที่ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขหรือกติกาที่กำ�หนด


กับจุดประสงค์ของการเรียนในชั่วโมงนี้ ด้วยการตอบคำ�ถาม เช่น คะแนนมากที่สุดได้อันดับที่ 1
ตามหนังสือเรียนหน้า 20 แล้วครูอาจนำ�แบบฝึกหัดทำ�นอง
จากนั้นให้นักเรียนทำ�แบบฝึกหัด 8.4 หน้า 11-12
เดียวกันนีใ้ ห้นกั เรียนได้ฝกึ เพิม
่ เติมจากนัน
้ ร่วมกันสรุปบทเรียน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  21
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 8 | การบอกตำ�แหน่งและอันดับที่

เกม โยนลูกบอลกระดาษ

อุปกรณ์
1. กล่องที่แบ่งเป็น 9 ช่อง แต่ละช่อง
มีคะแนนกำ�กับ
2. ลูกบอลกระดาษ

วิธีจัดกิจกรรม
1. แบ่งนักเรียนเป็นทีมสี 4 สี เท่า ๆ กัน ลูกบอลกระดาษก็ได้ หรืออาจใช้ภาชนะที่มีขนาดหรือรูปร่าง
2. ตัวแทนแต่ละทีมจับสลากเลขที่กล่องที่จะโยน แตกต่างกันมาใช้แทนกล่องที่ต้องประดิษฐ์ขึ้น ดังรูป
ลูกบอลกระดาษ
3. แต่ละทีมยืนตามตำ�แหน่งที่จะโยนลูกบอลกระดาษ
4. สมาชิกแต่ละทีมสลับกันโยนลูกบอลกระดาษ
ให้ลงช่อง 5 ครั้ง (ไม่ลงช่องไม่นับ)
5. รวมคะแนนที่ได้ ทีมใดได้คะแนนมากที่สุด
เป็นผู้ชนะ หลังจากการรวมคะแนนของแต่ละทีมแล้ว ส่วนลูกบอลกระดาษใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ หรือ
ให้นักเรียนเรียงลำ�ดับคะแนนจากมากไปน้อยและเกณฑ์ที่ใช้ กระดาษอื่น ๆ ขยำ�ปั้นเป็นก้อนกลม อาจใช้กาวด้วยจะทำ�ให้
ในการจัดอันดับ คือทีมทีไ่ ด้คะแนนมากทีส่ ด ุ ได้อน
ั ดับที่ 1 ลูกบอลกระดาษมีความแข็งแรงมากขึ้น
ซึง่ กิจกรรมนีค้ รูอาจทำ�กล่องเพียงชุดเดียวแล้วสลับกันโยน จากนั้นให้นักเรียนทำ�แบบฝึกท้าทาย หน้า 13

22  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 8 | การบอกตำ�แหน่งและอันดับที่

แบบทดสอบบทที่ 8
เป็ น ตั ว อย่ า งแบบทดสอบที่ ใ ช้ ใ นการประเมิ น เพื่ อ พั ฒ นานั ก เรี ย นหากมี นั ก เรี ย นคนใดที่ ไ ม่ ผ่ า นการทดสอบครู ค วร
ให้ นั ก เรี ย นคนนั้ น ฝึ ก ทั ก ษะมากขึ้ น โดยอาจใช้ แ บบฝึ ก เสริ ม จากหนั ง สื อ เสริ ม เพิ่ ม ปั ญ ญาของสสวท.หรื อ แบบฝึ ก อื่ น ที่
เห็นว่าสมควร ซึ่งแบบทดสอบท้ายบทนี้มีจำ�นวน 10 ข้อ คะแนนเต็ม 10 คะแนน ใช้เวลาในการทำ�แบบทดสอบ 20 นาที
และวิเคราะห์เป็นรายจุดประสงค์ได้ดังนี้
จุดประสงค์การเรียนรู้ ข้อที่

1. อธิบายตำ�แหน่งของสิ่งต่าง ๆ โดยใช้คำ�ที่ใช้ในการบอกตำ�แหน่ง 1

2. แสดงตำ�แหน่งของสิ่งต่าง ๆ ตามอันดับที่ที่กำ�หนด 2

3. นำ�ความรู้ไปใช้ 3

1. เลือกคำ�บอกตำ�แหน่งที่กำ�หนดเติมในช่องว่างให้ถูกต้อง

ข้างหน้า ข้างหลัง

ข้างขวา ข้างซ้าย

ระหว่าง ..... กับ ...........

ตั้งแต่ ..... ถึง ...........

ดัง ฝาย ขาว มด 1) ฝ้ายอยู่ ........................ ของข้าว

2) ป๋อมอยู่ ........................ ว่าน

3) ไก่ อยู่ ........................ ฝ้าย ........................ วุ้น

4) ........................ วุ้น ........................ ยุ้ย เป็น วุ้น ป๋อม ยุ้ย


รุง ไก วาน กอง

อุ วุน ปอม ยุย

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  23
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 8 | การบอกตำ�แหน่งและอันดับที่

2. เขียนชื่อสิ่งของตามตำ�แหน่งและอันดับที่ที่กำ�หนด

ชั้นบน

ชั้นกลาง

ชั้นล่าง

1) ตุ๊กตา เก็บอยู่ที่ชั้นกลางตรงกลาง

2) แก้วน้ำ� เก็บอยู่ทีชั้นล่างข้างซ้าย

3) กระเป๋า เก็บอยู่ที่ชั้นบนข้างขวา

3. จัดอันดับที่ตามเกณฑ์ที่กำ�หนดแล้วเขียนอันดับที่เติมในช่องว่างให้ถูกต้อง

ตารางแสดงจำ�นวนเหรียญของการแข่งขันกีฬาสี
สี เหรียญทอง เหรียญเงิน เหรียญทองแดง รวม

สีแดง 3 2 1 6

สีเหลือง 2 2 1 5

สีเขียว 1 2 3 6

สีฟ้า 2 2 3 7

ถ้าอันดับที่ 1 คือทีมที่ได้เหรียญทองมากที่สุด ถ้าเท่ากันให้พิจารณาจำ�นวนเหรียญเงินและเหรียญทองแดงตามลำ�ดับ

1) ทีมสีแดงได้ ........................

2) ทีมสีหลืองได้ ........................

3) ทีมสีเขียวได้ ........................

24  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 8 | การบอกตำ�แหน่งและอันดับที่

เฉลย

1. 1) ข้างซ้าย
2) ข้างหลัง
3) ระหว่าง, กับ
4) ตั้งแต่, ถึง

2.

ชั้นบน
กระเป๋า

ชั้นกลาง
ตุ๊กตา

ชั้นล่าง
แก้วน้ำ�

3. 1) อันดับที่ 1
2) อันดับที่ 3
3) อันดับที่ 4

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  25
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 9 | รูปเรขาคณิต

บทที่ 9 รูปเรขาคณิต

จุดประสงค์การเรียนรู้และสาระสำ�คัญ

จุดประสงค์การเรียนรู้ สาระสำ�คัญ

นักเรียนสามารถ
1. จำ�แนกทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก ทรงกลม ทรงกระบอก • จำ�แนกทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก ทรงกลม ทรงกระบอก และกรวย
และกรวย
ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก ทรงกลม
2. จำ�แนกรูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม วงกลม และวงรี
(เนื้อหาในหัวข้อ 9.1-9.3) ทรงกระบอก กรวย

• สิ่งของรอบตัวเราที่มีลักษณะคล้ายทรงสี่เหลี่ยมุมฉาก
ทรงกลม ทรงกระบอก และกรวย

• จำ�แนกรูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม วงกลม และวงรี

รูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม

วงกลม วงรี

3. บอกลักษณะรูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม วงกลม และวงรี • ลักษณะของรูปสามเหลี่ยม มี 3 ด้าน 3 มุม รูปสี่เหลี่ยม


(เนื้อหาในหัวข้อ 9.4) มี 4 ด้าน 4 มุม วงกลมและวงรี ไม่มีด้าน ไม่มีมุม

4. เขียนรูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม วงกลม และวงรี • การเขียนรูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม วงกลม และวงรี


โดยใช้แบบของรูป โดยใช้แบบของรูป และใช้สิ่งของรอบ ๆ ตัวมาเป็นแบบ

(เนื้อหาในหัวข้อ 9.5-9.6)

5. บอกรูปที่หายไปในแบบรูปซ้ำ�ของรูปเรขาคณิตและ • แบบรูปซ้ำ�ของรูปเรขาคณิตและรูปอื่น ๆ
รูปอื่นๆ • การหารูปที่หายไปในแบบรูปซ้ำ�ของรูปเรขาณิตและ
รูปอื่นๆ
(เนื้อหาในหัวข้อ 9.7-9.8)

6. สร้างแบบรูปของรูปเรขาคณิต • การสร้างแบบรูปซ้ำ�ของรูปเรขาคณิตและรูปอื่น ๆ
(เนื้อหาในหัวข้อ 9.9-9.10) • การนำ�ไปใช้

26  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 9 | รูปเรขาคณิต

ตารางการวิเคราะห์เนื้อหากับทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
หัวข้อ เนื้อหา
j k l m n
เตรียมความพร้อม 

9.1 ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก ทรงกลม ทรงกระบอก และกรวย  

9.2 สิ่งรอบตัวกับทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก ทรงกลม ทรงกระบอก และกรวย  

9.3 รูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม วงกลม และวงรี  

9.4 ลักษณะของรูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม วงกลม และวงรี  

9.5 การเขียนรูปสามเหลีย่ ม รูปสีเ่ หลีย่ ม วงกลมและวงรีโดยใช้แบบของรูป  


9.6 การเขียนรูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม วงกลม และวงรี  
โดยใช้สิ่งของเป็นแบบ

9.7 แบบรูปซ้ำ�ของรูปเรขาคณิตและรูปอื่นๆ  

9.8 การหารูปที่หายไปในแบบรูปซ้ำ�ของรูปเรขาคณิตและรูปอื่นๆ  

9.9 การสร้างแบบรูปซ้ำ�ของรูปเรขาคณิตและรูปอื่นๆ   

9.10 การนำ�ไปใช้   

ร่วมคิดร่วมทำ�     

ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

j การแก้ปัญหา k การสื่อสารและการสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์
l การเชื่อมโยง m การให้เหตุผล n การคิดสร้างสรรค์

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  27
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 9 | รูปเรขาคณิต

คำ�สำ�คัญ
รูปเรขาคณิต ทรงสี่เหลี่ยมุมฉาก
ทรงกลม ทรงกระบอก กรวย รูปสามเหลี่ยม
รูปสี่เหลี่ยม วงกลม วงรี มุม ด้าน
แบบของรูป แบบรูป แบบรูปซ้ำ�

ความรู้หรือทักษะพื้นฐาน
การจำ�แนก การสังเกต รูปปิด
รูปเปิด การเขียนรูปเรขาคณิต

เวลาที่ใช้จัดการเรียนรู้
12 ชั่วโมง

สื่อและแหล่งเรียนรู้

1. หนังสือเรียน หน้า 22 – 65
2. แบบฝึกหัด หน้า 14 – 40
3. สิ่งของที่มีลักษณะคล้ายทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก ทรงกลม ทรงกระบอก และกรวย
4. บัตรภาพทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก ทรงกลม ทรงกระบอก และกรวย
5. แผ่นกระดาษสี หรือแผ่นพลาสติกที่ตัดเป็นรูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม วงกลมและวงรี

28  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 9 | รูปเรขาคณิต

แนวการจัดการเรียนรู้
ใช้ข้อมูลในหนังสือเรียนหน้าเปิดบท เพื่อกระตุ้น ความสนใจและฝึกการสังเกตสิ่งของต่าง ๆ โดยใช้คำ�ถาม เช่น

• ในภาพห้องเรียนมีสิ่งของอะไรบ้าง
• สิ่งของใดบ้างคล้ายทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก ทรงกลม ทรงกระบอก และกรวย
• มีสิ่งของใดบ้างที่คล้ายรูปเรขาคณิตที่นักเรียนรู้จัก
แล้วให้นักเรียนลองมองรอบ ๆ ห้องเรียนของตนเอง แล้วถามว่าในห้องเรียนของเรามีสิ่งของใดบ้างที่เป็นรูปเรขาคณิต
ที่นักเรียนรู้จัก เพื่อนำ�เข้าสู่บทเรียน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  29
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 9 | รูปเรขาคณิต

3 1
2 2

แนวการจัดการเรียนรู้

เตรียมความพร้อม เพื่อตรวจสอบความรู้พื้นฐานของนักเรียนเรื่องรูปเรขาคณิต อาจนำ�สนทนาซักถามนักเรียน


โดยให้นักเรียนยกตัวอย่างสิ่งของที่มีส่วนประกอบของรูปเรขาคณิต จากนั้นให้นักเรียนทำ�แบบฝึกเตรียมความพร้อม
เกี่ยวกับรูปเรขาคณิต
ครูอาจนำ�สิ่งของที่มีส่วนประกอบของรูปเรขาคณิตมาวางเพิ่มเติมในห้อง เพื่อให้นักเรียนได้ฝึกสังเกต

30  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 9 | รูปเรขาคณิต

9.1 ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก
ทรงกลม ทรงกระบอก
และกรวย

จุดประสงค์
จำ�แนกทรงสี่เหลี่ยมมุฉาก
ทรงกลม ทรงกระบอก และกรวย

สื่อการเรียนรู้
ใช้สิ่งของ หรือบัตรภาพ
ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก ทรงกลม
ทรงกระบอก และกรวย

แนวการจัดการเรียนรู้

ใช้บัตรภาพ หรือสิ่งของที่มีลักษณะคล้ายทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก ทรงกลม ทรงกระบอก และกรวยที่มีขนาด สี


ที่แตกต่างกัน โดยครูพูดกระตุ้นชี้ชวนให้นักเรียนฝึกสังเกตสิ่งของ หรือบัตรภาพดังกล่าวว่าเหมือนหรือต่างกันอย่างไร
อาจให้นักเรียนแสดงความคิดเห็นร่วมกันทั้งชั้นเรียนก่อน แล้วให้นักเรียนแต่ละกลุ่มลองจัดกลุ่มรูปเรขาคณิต
อย่างอิสระ ไม่มีถูกหรือผิด แล้วให้ออกมานำ�เสนอเหตุผลในการจัดกลุ่ม

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  31
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 9 | รูปเรขาคณิต

แนวการจัดการเรียนรู้

ใช้ภาพในหนังสือเรียนหน้า 26 - 27 ประกอบกับสื่อของจริงในการแนะนำ�ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก ทรงกลม ทรงกระบอก


และกรวย โดยครูอาจเตรียมของจริงที่มีลักษณะคล้ายทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก ทรงกลม ทรงกระบอก และกรวย
มาให้นักเรียนได้เห็นและสัมผัส จะช่วยทำ�ให้นักเรียนเข้าใจได้ดียิ่งขึ้น
ครูอาจถามคำ�ถามนักเรียนว่า ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก ทรงกลม มีลักษณะรูปร่างอย่างไร ให้นักเรียนตอบตามความเข้าใจ
ของตนเอง ขณะที่ครูแนะนำ� ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก ทรงกลม อาจมีของจริงมาให้นักเรียนสังเกต เช่น กล่องที่มีลักษณะคล้าย
ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก ลูกบอล แล้วให้นักเรียนสังเกตว่ามีลักษณะอย่างไร โดยให้นักเรียนแสดงความคิดเห็นร่วมกันในชั้นเรียน

32  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 9 | รูปเรขาคณิต

แนวการจัดการเรียนรู้

ครูอาจถามคำ�ถามนักเรียนว่า ทรงกระบอก และกรวย มีลักษณะรูปร่างอย่างไร ให้นักเรียนตอบตามความเข้าใจ


ของตัวเอง ในขณะที่ครูแนะนำ�ทรงกระบอก และ กรวย อาจมีของจริงมาให้นักเรียนสังเกต เช่น นำ�กระป๋องที่มีลักษณะคล้าย
ทรงกระบอก แล้วให้นักเรียนลองสังเกตดูทีละด้านว่ามีลักษณะอย่างไร ให้นักเรียนได้แสดงความคิดเห็นร่วมกันในชั้นเรียน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  33
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 9 | รูปเรขาคณิต

1 3 2

4 1
2

3 4
1

ตรวจสอบความเข้าใจ สิ่งที่ได้เรียนรู้

ตรวจสอบความเข้าใจของนักเรียนเพื่อให้สอดคล้อง 1. ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก เช่น


กับจุดประสงค์ของการเรียนในชั่วโมงนี้ โดยการให้นักเรียน
2. ทรงกลม เช่น
เขียนหมายเลข 1-4 ลงบนทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก ทรงกลม
ทรงกระบอก และกรวย ตามลำ�ดับ ตามหนังสือหน้าเรียน 3. ทรงกระบอก เช่น
หน้า 28 และอาจมีบัตรภาพทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก ทรงกลม
4. กรวย เช่น
ทรงกระบอก และกรวย ทบทวนเพื่อความเข้าใจอีกครั้ง
จากนั้นให้นักเรียนทำ�แบบฝึกหัด 9.1 หน้า 14 - 15

34  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 9 | รูปเรขาคณิต

9.2 สิ่งรอบตัวกับทรงสี่เหลี่ยม
มุมฉาก ทรงกลม
ทรงกระบอก และกรวย

จุดประสงค์
บอกได้ว่าสิ่งที่อยู่รอบตัวมีส่วน
ประกอบของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก
ทรงกลม ทรงกระบอก หรือกรวย

สื่อการเรียนรู้
บัตรภาพสิ่งของ หรือสิ่งของ
ที่เป็นของจริงที่มีลักษณะคล้าย
ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก ทรงกลม
ทรงกระบอก และกรวย

แนวการจัดการเรียนรู้

กิจกรรมสิ่งใดคล้ายทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก ทรงกลม ทรงกระบอก หรือกรวย ใช้ของจริง ควรเลือกสิ่งของที่หลากหลาย


และรูปร่างชัดเจน เช่น ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก ควรหาสิ่งของที่มีด้านและมุมชัดเจน หรือทรงกลมก็ควรหาสิ่งของที่กลม
เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง โดยอาจเป็นสิ่งของที่อยู่ในห้องเรียน ของใช้ในชีวิตประจำ�วัน เป็นต้น

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  35
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 9 | รูปเรขาคณิต

แนวการจัดการเรียนรู้

ครูแนะนำ�สิ่งของที่มีลักษณะคล้ายทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก ทรงกลม ทรงกระบอก และกรวย ควรใช้ของจริง ที่มีรูปร่าง


ชัดเจนมาเป็นสื่อประกอบการสอน โดยเปิดโอกาสให้นักเรียนได้สัมผัสสิ่งของนั้นด้วยจะทำ�ให้การเรียนรู้เข้าใจได้ดีขึ้น
ถ้าหาของจริงยากอาจใช้บัตรภาพแทนได้ แต่ควรทำ�เส้นเน้นขอบเพื่อง่ายต่อการสังเกตรูปร่าง ครูอาจจัดกิจกรรมเสริม
ให้นักเรียนหาสิ่งของในห้องที่มีลักษณะคล้ายทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก ทรงกระบอก ทรงกลม หรือกรวย เพื่อให้นักเรียนเข้าใจยิ่งขึ้น

36  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 9 | รูปเรขาคณิต

1 6
3 5
4
2

แนวการจัดการเรียนรู้

ให้นักเรียนสังเกต รูป 1 – รูป 6 แล้วเติมคำ�ตอบลงในช่องว่าง ซึ่งบางข้ออาจมีมากกว่า 1 รูป ครูควรอธิบายเพิ่มเติมว่า


สิ่งของที่มีลักษณะคล้ายทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากมีลักษณะเหมือนกันอย่างไรหรือสิ่งของที่มีลักษณะคล้ายทรงกลมมีลักษณะ
เหมือนกันอย่างไร

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  37
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 9 | รูปเรขาคณิต

2 2
2 2
2
2 2
2 2
2
2
2 4

4 3

3 3 1 1 1 1
3 1
1 3
2
4 4
4 2
2 2 2

ตรวจสอบความเข้าใจ สิ่งที่ได้เรียนรู้

ตรวจสอบความเข้าใจของนักเรียนเพื่อให้สอดคล้อง สิ่งของบางชนิดมีลักษณะคล้ายทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก เช่น


กับจุดประสงค์ของการเรียนในชั่วโมงนี้ โดยให้นักเรียนเขียน กล่องชอล์ก
หมายเลข 1 – 4 บนภาพสิ่งของที่มีลักษณะคล้าย สิ่งของบางชนิดมีลักษณะคล้ายทรงกลม เช่น ลูกบอล
ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก ทรงกลม ทรงกระบอก หรือกรวย สิ่งของบางชนิดมีลักษณะคล้ายทรงกระบอก เช่น กระป๋องนม
ตามหนังสือเรียนหน้า 32 อาจทบทวนก่อน สิ่งของบางชนิดมีลักษณะคล้ายกรวย เช่น หมวกปีใหม่
ตรวจสอบความเข้าใจโดยให้นักเรียนช่วยกันยกตัวอย่าง
จากนั้นให้นักเรียนทำ�แบบฝึกหัด 9.2 หน้า 16 - 18
สิ่งของที่มีลักษณะคล้ายทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก ทรงกลม
ทรงกระบอก หรือกรวย ตามที่ครูกำ�หนด

38  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 9 | รูปเรขาคณิต

9.3 รูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม


วงกลม และวงรี

จุดประสงค์
จำ�แนกรูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม
วงกลม และวงรี

สื่อการเรียนรู้
แผ่นกระดาษสี หรือแผ่นพลาสติกสี
ที่ตัดเป็นรูปสามเหลี่ยม
รูปสี่เหลี่ยม วงกลม และวงรี
หรือใช้บัตรภาพ

แนวการจัดการเรียนรู้

ครูควรเตรียมสื่อแผ่นกระดาษสี หรือแผ่นพลาสติกที่ตัดเป็นรูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม วงกลม และวงรี ที่มีขนาดและ


สีที่หลากหลาย เปิดอิสระให้นักเรียนได้จัดกลุ่มรูปเรขาคณิต โดยไม่มีถูกหรือผิด จากนั้นให้นักเรียนบอกเหตุผลใน
การจัดกลุ่ม

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  39
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 9 | รูปเรขาคณิต

แนวการจัดการเรียนรู้

ครูแนะนำ�รูปสี่เหลี่ยม รูปสามเหลี่ยม วงกลม และวงรี โดยใช้สื่อแผ่นกระดาษสี หรือแผ่นพลาสติก ตัดเป็นรูปเรขาคณิต


แต่ละชนิดให้มีรูปร่างหลากหลาย เพื่อให้นักเรียนจะได้เห็นรูปเรขาคณิตที่หลากหลาย แล้วอาจสนทนาซักถามนักเรียนถึง
ลักษณะความเหมือนและความต่างของรูปเรขาคณิตแต่ละชนิด ครูอาจติดรูปเรขาคณิตบนกระดานเพื่อให้นักเรียน
ได้แสดงความคิดเห็น โดยเฉพาะลักษณะของวงกลม กับวงรี

40  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 9 | รูปเรขาคณิต

แนวการจัดการเรียนรู้

ครูอาจติดรูปสิ่งของต่าง ๆ ที่มีส่วนประกอบคล้ายรูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม วงกลม หรือวงรี ที่มีเส้นเน้นขอบเพื่อง่าย


ต่อการสังเกตรูปร่าง แล้วถามนักเรียนว่า เส้นสีแดงที่เน้นขอบเป็นรูปเรขาคณิตชนิดใด และมีสิ่งใดอีกที่มีส่วนประกอบ
คล้ายรูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม วงกลมหรือวงรี

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  41
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 9 | รูปเรขาคณิต

6 10
1 3

ตรวจสอบความเข้าใจ สิ่งที่ได้เรียนรู้

ตรวจสอบความเข้าใจของนักเรียนเพื่อให้สอดคล้อง รูปสี่เหลี่ยม เช่น รูปสามเหลี่ยม เช่น


กับจุดประสงค์ของการเรียนในชั่วโมงนี้ โดยให้นกั เรียน
วงกลม เช่น วงรี เช่น
นับรูปเรขาคณิตและเติมตัวเลขแสดงจำ�นวนตามหนังสือเรียน
หน้า 36 ครูอาจสนทนาซักถามเกี่ยวกับภาพว่าในภาพ จากนั้นให้นักเรียนทำ�แบบฝึกหัด 9.3 หน้า 19-21
เป็นภาพอะไร มีส่วนประกอบเป็นรูปเรขาคณิตชนิดใดบ้าง
เพื่อทบทวนความรู้ให้กับนักเรียนก่อนลงมือทำ�

42  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 9 | รูปเรขาคณิต

9.4 ลักษณะของรูปสามเหลี่ยม
รูปสี่เหลี่ยม วงกลมและวงรี

จุดประสงค์
บอกลักษณะของรูปสามเหลี่ยม
รูปสี่เหลี่ยม วงกลม และวงรี

สื่อการเรียนรู้
กล่องกระดาษที่มีช่องอยู่ด้านบน
กล่อง หรือจะเป็นปีบขนม
แผ่นกระดาษสี หรือพลาสติกที่
ตัดเป็นรูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม
วงกลม และวงรี

แนวการจัดการเรียนรู้

ก่อนเริ่มกิจกรรมครูอาจสนทนาซักถามนักเรียนเพื่อเป็นการทบทวนความรู้เดิม โดยให้นักเรียนลองมองสิ่งของ
ในห้องเรียน หรือสิ่งของในชีวิตจริงที่มีส่วนประกอบของรูปเรขาคณิต กิจกรรมกล่องปริศนาควรเลือกใช้สื่อแผ่นกระดาษ
สี หรือแผ่นพลาสติกที่ตัดเป็นรูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม วงกลม และวงรี ถ้าเลือกใช้กระดาษสีควรเลือกใช้กระดาษแข็ง
เนื่องจากนักเรียนต้องสัมผัสรูปเรขาคณิต ดังนั้นรูปร่างของสื่อรูปเรขาคณิตต้องชัดเจน และหลากหลายรูปแบบ
เพื่อความสนุกสนานและตื่นเต้นมากยิ่งขึ้น

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  43
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 9 | รูปเรขาคณิต

แนวการจัดการเรียนรู้

ครูนำ�ภาพรูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม วงกลม และวงรี โดยใช้สื่อกระดาษสี หรือแผ่นพลาสติกที่ตัดเป็นรูปเรขาคณิต


ให้มีขนาดใหญ่พอเหมาะ พร้อมเขียนมุมและด้านกำ�กับตามหนังสือเรียนติดบนกระดาน เวลาอธิบายจะได้ชัดเจนและเข้าใจ
ง่ายยิ่งขึ้น หรืออาจให้นักเรียนออกมาชี้มุมและด้านของรูปเรขาคณิตเพิ่มเติมก็ได้เพื่อความเข้าใจมากขึ้น

44  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 9 | รูปเรขาคณิต

4
4
รูปสี่เหลี่ยม

0
0
วงกลม

0
0
วงรี

แนวการจัดการเรียนรู้

ครูอธิบายลักษณะของรูปสามเหลี่ยมโดยคุณครูนับจำ�นวนด้านและมุม พร้อมชี้ให้นักเรียนสังเกต จากนั้นนักเรียนและ


ครูช่วยกันนับพร้อมกันอีกครั้งเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง ก่อนทำ�แบบฝึกหัดครูอาจติดรูปเรขาคณิตเพิ่มเติมอีก 1 – 2 รูป
แล้วให้นักเรียนออกมานับจำ�นวนด้านและมุม โดยให้เพื่อนในชั้นเรียนร่วมกันตรวจสอบความถูกต้อง และอาจใช้คำ�ถามว่า
รูปเรขาคณิตแต่ละรูปมีลักษณะต่างกันอย่างไร เพื่อให้นักเรียนได้แสดงความคิดเห็น โดยเฉพาะลักษณะของวงกลมกับวงรี

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  45
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 9 | รูปเรขาคณิต

ตรวจสอบความเข้าใจ สิ่งที่ได้เรียนรู้

ตรวจสอบความเข้าใจของนักเรียนเพื่อให้สอดคล้อง รูปสามเหลี่ยมมี 3 ด้าน 3 มุม


กับจุดประสงค์การเรียนรู้ของการเรียนในชั่วโมงนี้ โดย รูปสี่เหลี่ยม มี 4 ด้าน 4 มุม
ให้นักเรียนโยงเส้นจับคู่ หน้า 40 ก่อนเริ่มทำ�อาจสนทนา วงกลมและวงรี ไม่มีด้าน ไม่มีมุม
กับนักเรียนเกี่ยวกับภาพว่าให้นักเรียนสังเกตดูที่เส้นขอบ
จากนั้นให้นักเรียนทำ�แบบฝึกหัด 9.4 หน้า 22-23
ของภาพ เมื่อนักเรียนทำ�เสร็จ ครูและนักเรียนร่วมกันสรุป
บทเรียน โดยให้นักเรียนยกตัวอย่างสิ่งของอื่น ๆ ที่มีส่วน
ประกอบของรูปเรขาคณิต

46  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 9 | รูปเรขาคณิต

9.5 การเขียนรูปสามเหลี่ยม
รูปสี่เหลี่ยม วงกลมและวงรี
โดยใช้แบบของรูป

จุดประสงค์
เขียนรูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม
วงกลม และวงรีโดยใช้แบบของรูป

สื่อการเรียนรู้
• กระดาษขนาด A4
• กระดาษแข็งสี หรือแผ่นพลาสติกที่
ตัดเป็นรูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม
วงกลม และวงรี

แนวการจัดการเรียนรู้

กิจกรรมจิตรกรน้อย ให้นักเรียนวาดรูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม วงกลม และวงรี อย่างละ 1 รูปลงในกระดาษ A4


เมื่อนักเรียนวาดเสร็จ ครูซักถามนักเรียนถึงความรู้สึกขณะที่วาดแต่ละรูปว่ารู้สึกอย่างไร วาดง่ายหรือยาก เพราะเหตุใด และ
รูปเรขาคณิตรูปใดที่นักเรียนคิดว่าวาดยากที่สุด จากนั้นครูสนทนากับนักเรียน โดยให้นักเรียนลองแสดงความคิดเห็นว่า
เราจะมีวิธีวาดรูปเรขาคณิตอย่างไรให้ง่ายและถูกต้อง

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  47
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 9 | รูปเรขาคณิต

แนวการจัดการเรียนรู้

ครูอธิบายวิธีวาดรูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม วงกลม และวงรี ครูเตรียมแผ่นกระดาษแข็งสี หรือแผ่นพลาสติกที่ตัด


เป็นรูปเรขาคณิต แล้วสาธิตการวาดตามแบบขอบในบนกระดานทีละรูป ครูให้นักเรียนทดลองใช้แบบของรูปทดลองวาด
รูปเรขาคณิตลงในกระดาษ A4

48  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 9 | รูปเรขาคณิต

แนวการจัดการเรียนรู้

ครูอธิบายวิธีวาดรูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม วงกลม และวงรี ครูเตรียมแผ่นกระดาษแข็งสี หรือแผ่นพลาสติกที่ตัดเป็น


รูปเรขาคณิต แล้วสาธิตการวาดตามแบบขอบนอกบนกระดานทีละรูป ครูให้นักเรียนทดลองใช้แบบของรูปทดลองวาดรูป
เรขาคณิตลงในกระดาษ A4

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  49
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 9 | รูปเรขาคณิต

* คําตอบอาจแตกตางจากนี้

ตรวจสอบความเข้าใจ สิ่งที่ได้เรียนรู้

ตรวจสอบความเข้าใจของนักเรียนเพื่อให้สอดคล้อง การเขียนรูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม วงกลม และวงรี


กับจุดประสงค์ของการเรียนในชั่วโมงนี้ โดยให้นักเรียน อาจใช้แบบของรูปมาเป็นแบบ
เขียนรูปเรขาคณิตโดยใช้แบบของรูปตามที่โจทย์กำ�หนด ใน
จากนั้นให้นักเรียนทำ�แบบฝึดหัด 9.5 หน้า 24-26
หนังสือเรียนหน้า 44 ครูเตรียมแผ่นกระดาษแข็งสี หรือแผ่น
พลาสติกที่ตัดเป็นแบบของรูป โดยให้มีขนาดหลากหลาย เพื่อ
ให้นักเรียนได้เลือกใช้ตามโจทย์ โดยครูอาจให้นักเรียน
นั่งทำ�เป็นกลุ่มจะได้เตรียมแบบของรูปเป็นชุด ๆ

50  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 9 | รูปเรขาคณิต

9.6 การเขียนรูปสามเหลี่ยม
รูปสี่เหลี่ยม วงกลมและวงรี
โดยใช้สิ่งของเป็นแบบ

จุดประสงค์
เขียนรูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม
วงกลม และวงรี โดยใช้สิ่งของ
เป็นแบบ

สื่อการเรียนรู้
สิ่งของหลากหลายชนิดที่มี
ส่วนประกอบของรูปสามเหลี่ยม
รูปสี่เหลี่ยม วงกลม และวงรี

แนวการจัดการเรียนรู้

นักเรียนทำ�กิจกรรม มีรูปเรขาคณิตใดบ้าง ครูควรเตรียมสิ่งของที่มีส่วนประกอบของรูปเรขาคณิตหลากหลายชนิด


เพื่อจะได้มีส่วนประกอบของรูปเรขาคณิตครบ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  51
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 9 | รูปเรขาคณิต

แนวการจัดการเรียนรู้

ครูอธิบายวิธก
ี ารเขียนรูปสามเหลีย่ ม รูปสีเ่ หลีย่ ม โดยครูเตรียมสิง่ ของแล้วสาธิตการวาดรูปสามเหลีย่ ม รูปสี่เหลี่ยม
โดยใช้สิ่งของเป็นแบบบนกระดาน จากนั้นครูให้นักเรียนฝึกวาดโดยหาสิ่งของภายในห้อง โดยที่ครูต้องเตรียมสิ่งของมาเพิ่ม
เพื่อให้นักเรียนสามารถวาดรูปเรขาคณิตได้ครบทุกชนิด

52  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 9 | รูปเรขาคณิต

แนวการจัดการเรียนรู้

ครูอธิบายวิธก
ี ารเขียนวงกลม และวงรี โดยครูเตรียมสิง่ ของแล้วสาธิตการวาดวงกลม และวงรี โดยใช้สิ่งของเป็นแบบ
บนกระดาน จากนั้นครูให้นักเรียนฝึกวาด โดยหาสิ่งของภายในห้อง ครูต้องเตรียมสิ่งของมาเพิ่มเพื่อให้นักเรียนสามารถวาด
รูปเรขาคณิตได้ครบทุกชนิด

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  53
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 9 | รูปเรขาคณิต

* อยูในดุลยพินิจของผูสอน

ตรวจสอบความเข้าใจ สิ่งที่ได้เรียนรู้

ตรวจสอบความเข้าใจของนักเรียนเพื่อให้สอดคล้อง การเขียนรูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม วงกลม และวงรี อาจใช้


กับจุดประสงค์ของการเรียนในชั่วโมงนี้ โดยให้นักเรียนเลือก สิ่งของรอบตัวมาเป็นแบบ
สิ่งของมาเป็นแบบในการเขียนรูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม
จากนั้นให้นักเรียนทำ�แบบฝึกหัดหน้า 9.6 หน้า 27-29
วงกลม หรือวงรี 1 รูป แล้วต่อเติมให้สวยงาม ตามหนังสือเรียน
หน้า 48 จากนั้นครูและนักเรียนร่วมกันสรุปโดยให้นักเรียน
เห็นว่าสิ่งของรอบตัวเราล้วนแต่มีส่วนประกอบของ
รูปเรขาคณิต

54  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 9 | รูปเรขาคณิต

9.7 แบบรูปซ้ำ�ของรูปเรขาคณิต
และรูปอื่น ๆ

จุดประสงค์
บอกชุดที่ซ้ำ�ของแบบรูปเรขาคณิต
และรูปอื่น ๆ ที่กำ�หนด

สื่อการเรียนรู้
ลูกปัดรูปร่างต่าง ๆ ตะกร้าใบใหญ่
ตะกร้าใบเล็ก pattern block

แนวการจัดการเรียนรู้

ครูนำ�สร้อยข้อมือลูกปัดของจริงที่ครูร้อยมาแล้ว โดยร้อยให้สอดคล้องกับภาพในหนังสือเรียนให้นักเรียนดู และ


ให้ดูว่าลูกปัดมีรูปร่างอย่างไรบ้าง ช่วยกันหาชุดที่ซ้ำ�ในแบบรูป นักเรียนบางคนที่หาไม่ได้ครูอาจใช้ pattern block
ให้นักเรียนวางเรียงตามที่กำ�หนดก่อน แล้วจึงหาชุดที่ซ้ำ�ในแบบรูป โดยครูจะวางจัดกลุ่มให้เห็นชัดเจน จากนั้นจึงมาดูภาพ
ในหนังสือเรียนแล้วสนทนาถาม-ตอบ เสนอตัวอย่างเพิ่มเติมเพื่อให้นักเรียนเข้าใจยิ่งขึ้น

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  55
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 9 | รูปเรขาคณิต

หนงัสอื เรย
ี นรายวช
ิ าพน �ื ฐาน | คณต
ิ ศาสตร� ป.1
บทท�ี 9 | รปู เรขาคณติ

า า า า
วา ารวา า
า า

า า า า า

า า

แนวการจัดการเรียนรู้

หน้านีเ้ ป็นแบบรูปซ้�ำ ทีเ่ กีย่ วกับขนาด ทำ�กิจกรรมลักษณะเดียวกันกับหน้า 49 คือใช้ของจริงอาจเป็นตะกร้าหรือกระถาง


ที่มีขนาดใหญ่และเล็ก การเตรียมสื่อครูต้องคำ�นึงเรื่องขนาดใหญ่หรือเล็กทุกใบต้องเท่ากัน อาจเปลี่ยนเป็นครูวางให้ดูแล้ว
นักเรียนวางตามแบบที่ครูวางแล้วจึงหาชุดที่ซ้ำ�ในแบบรูป การที่นักเรียนได้จัดวางของด้วยตนเองนั้นทำ�ให้เด็กได้สัมผัส
ของจริง ซึ่งจะเข้าใจมากยิ่งขึ้น เมื่อทำ�กิจกรรมเสร็จแล้วจึงมาดูภาพในหนังสือเรียนแล้วสนทนาถาม-ตอบ ครูเสนอตัวอย่าง
เพิ่มเติมเพื่อให้นักเรียนเข้าใจยิ่งขึ้น

56  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 9 | รูปเรขาคณิต

แนวการจัดการเรียนรู้

หน้านี้เป็นแบบรูปซ้ำ�ที่เกี่ยวกับสี โดยครูพานักเรียนไปดูสิ่งที่อยู่รอบ ๆ โรงเรียน ได้แก่ รั้วโรงเรียน ผนังห้อง พื้นสนาม


เด็กเล่น ฯลฯ ที่เป็นแบบรูปซ้ำ�เกี่ยวกับสี หรือถามนักเรียนว่านักเรียนเคยเห็นอะไรบ้างที่เป็นแบบรูปซ้ำ�เกี่ยวกับสี เช่น
ทางม้าลาย ชุดกระโปรงคุณแม่ ผ้าปูโต๊ะ จากนั้นจึงมาดูภาพในหนังสือเรียนแล้วสนทนาถาม-ตอบ ครูควรสอนจาก
สิ่งที่อยู่ใกล้ตัวนักเรียน จะทำ�ให้นักเรียนเข้าใจได้ง่ายขึ้น

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  57
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 9 | รูปเรขาคณิต

ตรวจสอบความเข้าใจ สิ่งที่ได้เรียนรู้

ตรวจสอบความเข้าใจของนักเรียนเพื่อให้สอดคล้อง แบบรูปซ้ำ�ของรูปเรขาคณิตและรูปอื่น ๆ เป็นการเรียง


กับจุดประสงค์ของการเรียนในชั่วโมงนี้ โดยการให้นักเรียนดู รูปเรขาคณิตหรือรูปอื่น ๆ เป็นชุดที่ซ้ำ�ไปเรื่อย ๆ โดยชุดที่ซ้ำ�
ภาพแล้วหาชุดที่ซ้ำ�ในแบบรูปซ้ำ� อาจมีภาพที่มีแบบรูปซ้�ำ ในแบบรูปอาจเกี่ยวกับรูปร่าง ขนาด หรือสี
ทัง้ รูปเรขาคณิตและรูปอืน
่ ๆ ให้นกั เรียนดูแล้วตอบคำ�ถามก่อน
จากนั้นให้นักเรียนทำ�แบบฝึกหัด 9.7 หน้า 30-32
แล้วจึงตรวจสอบความเข้าใจตามหนังสือเรียน หน้า 52
จากนั้นร่วมกันสรุปบทเรียน

58  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 9 | รูปเรขาคณิต

9.8 การหารูปที่หายไปใน
แบบรูปซ้ำ�ของรูปเรขาคณิต
และรูปอื่น ๆ

จุดประสงค์
บอกรูปที่หายไปในแบบรูปซ้ำ�ของ
รูปเรขาคณิตและรูปอื่น ๆ

สื่อการเรียนรู้
บัตรภาพเครื่องดนตรี
pattern block

แนวการจัดการเรียนรู้

ครูและนักเรียนร่วมกันจัดเครื่องดนตรีตามแบบที่กำ�หนด ซึ่งมีบางรูปที่หายไป เครื่องดนตรีควรเป็นเครื่องที่มี


น้ำ�หนักเบา เช่น กรับ ขลุ่ย ฉิ่ง เป็นต้น นอกจากการจัดของจริงแล้วอาจจัดโดยใช้รูปภาพ หรือ pattern block
ให้นักเรียนช่วยกันหาชุดที่ซ้ำ�ในแบบรูป และบอกรูปที่หายไป จากนั้นจึงมาดูภาพในหนังสือเรียนแล้วสนทนาถาม-ตอบ
ในหน้านี้เป็นแบบรูปซ้ำ�ที่เกี่ยวกับรูปร่าง ควรหาสิ่งของที่มีรูปร่างต่างกัน เช่น ขลุ่ย กับ ฉิ่ง ไม่ควรเป็นสิ่งของที่มี
ลักษณะที่คล้ายกันมากเกินไป เช่น ฉิ่ง กับ ฉาบ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  59
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 9 | รูปเรขาคณิต

แนวการจัดการเรียนรู้

ในการสอนแบบรูปซ้ำ�ที่เกี่ยวกับขนาด ทำ�กิจกรรมลักษณะเดียวกันกับหน้า 53 คือ ให้นักเรียนได้เห็นและสัมผัส


ของจริงก่อนแล้วจึงใช้สื่อ เช่น รูปภาพแบบจำ�ลองเครื่องดนตรี การเตรียมสื่อครูต้องคำ�นึงเรื่องขนาดให้ชัดเจน อาจเปลี่ยน
กิจกรรมเป็นครูวางให้ดแู ล้วนักเรียนวางตามแบบทีค่ รูวาง หาชุดทีซ
่ �ำ้ ในแบบรูป แล้วจึงหารูปทีห
่ ายไป การทีน
่ กั เรียนได้จด
ั วาง
ของด้วยตนเองนั้นทำ�ให้เด็กได้สัมผัสของจริงซึ่งจะเข้าใจมากยิ่งขึ้น จากนั้นจึงมาดูภาพในหนังสือเรียนแล้วสนทนาถาม-ตอบ

60  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 9 | รูปเรขาคณิต

แนวการจัดการเรียนรู้

ในการสอนแบบรูปซ้ำ�ที่เกี่ยวกับสี การหาเครื่องดนตรีชนิดเดียวกัน ขนาดเดียวกัน แต่มีสีต่างกันนั้นหายาก


ในหน้านี้อาจใช้รูปภาพหรือแบบจำ�ลองเครื่องดนตรีได้ อาจจะใช้สิ่งของอื่นที่มีแทนเครื่องดนตรี เช่น กระถาง แก้วน้ำ�
ธงสี เป็นต้น จัดเป็นกิจกรรมให้นักเรียนได้ปฏิบัติ เช่น ให้นักเรียนทุกคนหันหลัง ครูวางแบบรูปซ้ำ� ขออาสาสมัครนักเรียน
1 คน มาหยิบออก 1 ชิ้น เมื่อหันกลับมาช่วยกันหาชุดที่ซ้ำ�ในแบบรูป แล้วจึงหารูปที่หายไป เป็นต้น เมื่อทำ�กิจกรรมเสร็จ
จึงมาดูภาพในหนังสือเรียนแล้วสนทนาถาม-ตอบ เสนอตัวอย่างเพิ่มเติมเพื่อให้นักเรียนเข้าใจยิ่งขึ้น

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  61
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 9 | รูปเรขาคณิต

ตรวจสอบความเข้าใจ สิ่งที่ได้เรียนรู้

ตรวจสอบความเข้าใจของนักเรียนเพื่อให้สอดคล้อง การหารูปที่หายไปในแบบรูปซ้ำ�ของรูปเรขาคณิตและ
กับจุดประสงค์ของการเรียนในชั่วโมงนี้ โดยการให้นักเรียน รูปอื่น ๆ จะต้องหาชุดที่ซ้ำ�ของแบบรูปก่อน
ทำ�กิจกรรม เช่น เสนอภาพแบบรูปต่าง ๆ ทั้งรูปเรขาคณิต
จากนั้นให้นักเรียนทำ�แบบฝึกหัด 9.8 หน้า 33-35
และรูปอื่น ๆ แข่งขันกันหารูปที่หายไป เป็นต้น ให้นักเรียน
ขีด × ทับรูปที่หายไปในแบบรูปที่กำ�หนดตามหนังสือเรียน
หน้า 56 จากนั้นร่วมกันสรุปบทเรียน

62  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 9 | รูปเรขาคณิต

9.9 การสร้างแบบรูปซ้ำ�ของ
รูปเรขาคณิตและรูปอื่น ๆ

จุดประสงค์
สร้างแบบรูปซ้ำ�ของรูปเรขาคณิต
และรูปอื่น ๆ ตามตัวอย่างและ
ตามจินตนาการ

สื่อการเรียนรู้
ธงสี รูปภาพ pattern block
กระดาษแข็งตัดเป็นรูปต่าง ๆ

* คําตอบขึ้นอยูกับดุลยพินิจของผูสอน

แนวการจัดการเรียนรู้

ครูนำ�เสนอภาพสิ่งต่าง ๆ รอบตัวนักเรียนที่มีแบบรูปซ้ำ�ที่เกี่ยวกับสี เช่น เส้นจราจรขาว-แดง ปกสมุด ให้ช่วยกันดูว่า


มีแบบรูปซ้ำ�หรือไม่ จากนั้นจึงให้ดูภาพในหนังสือเรียนแล้วสนทนากัน ให้นักเรียนสังเกตในห้องเรียนจริงว่ามี
แบบรูปซ้ำ�หรือไม่ ถ้ามีเป็นแบบรูปซ้ำ�เกี่ยวกับอะไร จากนั้นให้สร้างแบบรูปซ้ำ�ของท้ายหน้านี้ในระยะแรกของการสร้าง
แบบรูปซ้ำ�เกี่ยวกับสี ควรมีภาพมาให้นักเรียนระบายสี ยังไม่ควรให้นักเรียนวาดเองเพราะนักเรียนบางคนยังวาดภาพ
ตามตัวอย่างไม่ได้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  63
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 9 | รูปเรขาคณิต

* อยูในดุลยพินิจของผูสอน

แนวการจัดการเรียนรู้

ครูนำ�เสนอแบบรูปซ้ำ�ที่เกี่ยวกับรูปร่าง ให้นักเรียนดูตัวอย่างหลาย ๆ แบบ ทั้งรูปเรขาคณิตและรูปอื่น ๆ


อาจเพิ่มกิจกรรมโดยใช้ pattern block หรือ กระดาษแข็งตัดเป็นรูปต่าง ๆ เช่น ผลไม้ สัตว์ สิ่งของ ให้นักเรียนวาง
ตามตัวอย่าง ตามจินตนาการ ให้ปฏิบัติเป็นกลุ่มเพื่อจะได้ช่วยกันเรียนรู้ การสร้างแบบรูปตามจินตนาการอาจให้ทำ�เป็น
รายบุคคล จากนั้นจึงให้สร้างแบบรูปซ้ำ�ตามหนังสือเรียน ควรมีแบบรูปเรขาคณิต ให้นักเรียนบางคนทาบและวาดตามแบบ
เพื่อรูปจะได้สัดส่วนที่พอดี

64  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 9 | รูปเรขาคณิต

* อยูในดุลยพินิจของผูสอน

แนวการจัดการเรียนรู้

ในการสอนแบบรูปซ้ำ�ที่เกี่ยวกับขนาด ครูอาจให้นักเรียนดูตัวอย่างหลาย ๆ แบบ ทั้งรูปเรขาคณิตและรูปอื่น ๆ


อาจเพิ่มกิจกรรมโดยใช้ของจริง pattern block หรือ กระดาษแข็งตัดเป็นรูปต่าง ๆ เช่น ผลไม้ สัตว์ สิ่งของ
ให้นักเรียนวางตามตัวอย่าง ตามจินตนาการ ให้ปฏิบัติเป็นกลุ่มเพื่อจะได้ช่วยกันเรียนรู้ เน้นย้ำ�ในเรื่องขนาด
ถ้าเป็นรูปขนาดใหญ่หรือขนาดเล็กทุกรูปก็ต้องใหญ่หรือเล็กเท่ากัน การสร้างแบบรูปตามจินตนาการอาจให้ทำ�เป็น
รายบุคคล จากนั้นจึงให้สร้างแบบรูปซ้ำ�ที่เกี่ยวกับขนาดตามหนังสือเรียน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  65
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 9 | รูปเรขาคณิต

* อยูในดุลยพินิจของผูสอน

ตรวจสอบความเข้าใจ สิ่งที่ได้เรียนรู้

ตรวจสอบความเข้าใจของนักเรียนเพื่อให้สอดคล้อง การสร้างแบบรูปซ้�ำ ของรูปเรขาคณิตและรูปอืน


่ ๆ อาจสร้างได้
กับจุดประสงค์ของการเรียนในชั่วโมงนี้ โดยการให้นักเรียน 3 ลักษณะ คือ แบบรูปซ้ำ�ที่เกี่ยวกับสี แบบรูปซ้ำ�ที่เกี่ยวกับ
ทำ�กิจกรรม เช่น แบ่งกลุ่มช่วยกันสร้างแบบรูปซ้ำ�ที่เกี่ยวกับ รูปร่าง และแบบรูปซ้ำ�ที่เกี่ยวกับขนาด
สี ขนาด หรือรูปร่าง อย่างใดอย่างหนึ่งตามจินนาการ
จากนั้นให้นักเรียนทำ�แบบฝึกหัด 9.9 หน้า 36-38
(ในชุดที่ซ้ำ�อาจมีมากกว่า 2 รูปได้) จาก pattern block
หรือ กระดาษแข็งตัดเป็นรูปต่าง ๆ และออกมานำ�เสนอ
เป็นต้น แล้วจึงตรวจสอบความเข้าใจตามหนังสือเรียน
หน้า 60 จากนั้นร่วมกันสรุปบทเรียน

66  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 9 | รูปเรขาคณิต

9.10 การนำ�ไปใช้

จุดประสงค์
อธิบายแบบรูปของรูปเรขาคณิต
จากแบบรูปที่สร้างตามจินตนาการ

สื่อการเรียนรู้
หนังสือเรียนหน้า 61-64
แบบฝึกหัดหน้า 39
• รูปภาพ pattern block
กระดาษแข็งตัดเป็นรูปต่างๆ

* อยูในดุลยพินิจของผูสอน

แนวการจัดการเรียนรู้

ครูให้นักเรียนทำ�กิจกรรม เช่น เสนอภาพห้องเรียนต่าง ๆ เช่น ห้องศิลปะ ห้องครัว ห้องวิทยาศาสตร์ ฯลฯ


เป็นต้น (ในภาพต้องมีส่วนที่เป็นแบบรูปซ้ำ�) แบ่งกลุ่มนักเรียนให้ช่วยกันหาแบบรูปซ้ำ�จากภาพที่ได้รับและออกมานำ�เสนอ
โดยให้บอกชุดที่ซ้ำ�ในแบบรูป และเป็นแบบรูปซ้ำ�เกี่ยวกับอะไร จากนั้นให้ดูภาพห้องเรียนในหนังสือแล้วสนทนาถามตอบกัน
และให้ออกแบบมู่ลี่โดยใช้ความรู้เรื่องแบบรูปซ้ำ�ที่เกี่ยวกับรูปร่าง และบอกชุดที่ซ้ำ�ในแบบรูป

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  67
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 9 | รูปเรขาคณิต

* อยูในดุลยพินิจของผูสอน

แนวการจัดการเรียนรู้

ในการสอนแบบรูปซ้ำ�ที่เกี่ยวกับขนาด ครูให้นักเรียนดูภาพในหนังสือเรียนสนทนาถาม-ตอบกัน เสนอตัวอย่าง


หลาย ๆ แบบรูปทั้งแบบรูปของรูปเรขาคณิตและรูปอื่น ๆ อาจเพิ่มกิจกรรมโดยให้ใช้ของจริง เช่น กระถางต้นไม้
กล่องเก็บของ ชั้นวางหนังสือ เป็นต้น ให้ปฏิบัติเป็นกลุ่มเพื่อจะได้ช่วยกัน จากนั้นจึงให้ออกแบบการจัดวางกระถางต้นไม้
โดยใช้ความรู้เรื่องแบบรูปซ้ำ�ที่เกี่ยวกับขนาดตามหนังสือเรียน และบอกชุดที่ซ้ำ�ในแบบรูป

68  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 9 | รูปเรขาคณิต

* อยูในดุลยพินิจของผูสอน

แนวการจัดการเรียนรู้

ครูนำ�เสนอภาพหรือของจริงที่มีแบบรูปซ้ำ�ที่เกี่ยวกับสีหลาย ๆ ตัวอย่าง เช่น กล่องดินสอ กระดาษห่อของขวัญ


ผ้าตัดเสื้อ ถุงใส่ขนม เป็นต้น ให้นักเรียนบอกแบบรูปซ้ำ�ที่พบ ให้นักเรียนดูภาพในหนังสือเรียนสนทนาถามตอบกัน
อาจเพิ่มให้นักเรียนทำ�กิจกรรม เช่น ระบายสีตารางสี่เหลี่ยม ร้อยลูกปัด ติดธงขอบประตูห้องโดยใช้ความรู้เรื่องแบบรูปซ้ำ�
ที่เกี่ยวกับสี เป็นต้น ให้ปฏิบัติเป็นกลุ่มเพื่อจะได้ช่วยกัน จากนั้นจึงให้ออกแบบตกแต่งเวทีการแสดงของโรงเรียน
โดยใช้ความรู้เรื่องแบบรูปซ้ำ�ที่เกี่ยวกับสีตามหนังสือเรียน และบอกชุดที่ซ้ำ�ในแบบรูป

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  69
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 9 | รูปเรขาคณิต

* อยูในดุลยพินิจของผูสอน

ตรวจสอบความเข้าใจ สิ่งที่ได้เรียนรู้

ตรวจสอบความเข้าใจของนักเรียนเพื่อให้สอดคล้อง แบบรูปอาจนำ�มาใช้สร้างงานที่สวยงามและเป็นประโยชน์ใน
กับจุดประสงค์ของการเรียนในชั่วโมงนี้ โดยการให้นักเรียน ชีวิตจริง
ทำ�กิจกรรม เช่น แข่งขันกันต่อแบบรูปซ้�ำ จาก pattern block
จากนั้นให้นักเรียนทำ�แบบฝึกหัด 9.10 หน้า 39 ซึ่งเป็น
โดยแบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย สลับกันวาง หรือ การบอกชุดที่ซ้ำ�
กิจกรรมเสริมที่ให้นักเรียนได้นำ�ความรู้เรื่องแบบรูปในใช้ใน
ในแบบรูปซ้ำ�โดยครูเสนอแบบรูปซ้ำ� ทั้งรูปเรขาคณิตและรูป
การสร้างสรรค์ผลงาน
อื่น ๆ ให้นักเรียนตอบ เป็นต้น แล้วจึงออกแบบที่
คั่นหนังสือ ในหน้าตรวจสอบความเข้าใจตามหนังสือเรียน
หน้า 64 จากนั้นร่วมกันสรุปบทเรียน

70  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 9 | รูปเรขาคณิต

กิจกรรม ปกสมุดสร้างสรรค์

อุปกรณ์
1. กระดาษปก ขนาด A4
2. กระดาษสีรูปเรขาคณิตชนิดต่างๆ
ที่มีขนาดและสีหลากหลาย
3. สีเทียนหรือสีไม้
4. กาว

เตรียมสถานที่
ห้องเรียนที่กว้างพอเหมาะกับจำ�นวน
นักเรียน ภายในห้องมีโต๊ะกว้างพอ
ที่จะวางอุปกรณ์ต่าง ๆ และมีที่ว่าง
สำ�หรับทำ�งาน เก้าอี้ที่มีน้ำ�หนักเบา
สามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวก
เพราะนักเรียนทำ�งานเป็นคู่ โต๊ะ เก้าอี้
และอุปกรณ์ต่าง ๆ ครบ เพียงพอกับ
จำ�นวนนักเรียน

* อยูในดุลยพินิจของผูสอน

วิธีจัดกิจกรรม
นักเรียนจับคู่ปฏิบัติกิจกรรมดังนี้
1. ออกแบบภาพร่างปกสมุด โดยใช้ความรู้เรื่องแบบรูปซ้ำ�ของรูปเรขาคณิตและรูปอื่น ๆ และวาดรูปในภาพร่างที่ให้มา
2. เมื่อออกแบบภาพร่างเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้ลงมือทำ�ปกสมุดตามภาพร่างโดยใช้อุปกรณ์ที่ครูเตรียมให้ เมื่อทำ�เสร็จ
จะต้องเก็บอุปกรณ์และเศษกระดาษให้เรียบร้อย
3. นำ�เสนอผลงาน โดยให้แต่ละคู่ออกมาเล่าให้เพื่อนฟังว่า ผลงานของคู่ตนใช้แบบรูปซ้ำ�เกี่ยวกับอะไรบ้าง
และแต่ละแบบรูปมีชุดที่ซ้ำ�อย่างไร เมื่อนำ�เสนอเรียบร้อยแล้วทุกคู่ ให้นำ�มาจัดแสดงผลงานภายในห้อง หรือ ระดับชั้น
เพื่อแลกเปลี่ยนกัน
จากนั้นให้นักเรียนทำ�แบบฝึกท้าทาย หน้า 40

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  71
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 9 | รูปเรขาคณิต

แบบทดสอบบทที่ 9
เป็ น ตั ว อย่ า งแบบทดสอบที่ ใ ช้ ใ นการประเมิ น เพื่ อ พั ฒ นานั ก เรี ย นหากมี นั ก เรี ย นคนใดที่ ไ ม่ ผ่ า นการทดสอบครู ค วร
ให้ นั ก เรี ย นคนนั้ น ฝึ ก ทั ก ษะมากขึ้ น โดยอาจใช้ แ บบฝึ ก เสริ ม จากหนั ง สื อ เสริ ม เพิ่ ม ปั ญ ญาของสสวท.หรื อ แบบฝึ ก อื่ น ที่
เห็นว่าสมควร ซึ่งแบบทดสอบท้ายบทนี้มีจำ�นวน 10 ข้อ คะแนนเต็ม 10 คะแนน ใช้เวลาในการทำ�แบบทดสอบ 20 นาที
และวิเคราะห์เป็นรายจุดประสงค์ได้ดังนี้

จุดประสงค์การเรียนรู้ ข้อที่

1. จำ�แนกทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก ทรงกลม ทรงกระบอก กรวย 1

2. จำ�แนกรูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม วงกลม และวงรี 2, 4

3. บอกลักษณะรูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม วงกลม และวงรี 3

4. เขียนรูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม วงกลม และวงรี โดยใช้แบบของรูป 8, 9

5. บอกรูปที่หายไปในรูปแบบซ้ำ�ของรูปเรขาคณิตและรูปอื่น ๆ 5, 6, 7

6. สร้างแบบรูปของรูปเรขาคณิต 10

ตอนที่ 1 เขียน × ทับตัวเลือกที่เป็นคำ�ตอบที่ถูกต้อง

1. รูปในข้อใดคือทรงกระบอก

ก. ข. ค.

2. จากภาพ มีวงกลมทั้งหมดกี่รูป

ก. 5 รูป ข. 6 รูป ค. 7 รูป

3. รูปสามเหลี่ยมมีลักษณะอย่างไร

ก. มี 3 ด้าน 3 มุม ข. มี 4 ด้าน 4 มุม ค. ไม่มีด้าน ไม่มีมุม

72  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 9 | รูปเรขาคณิต

4. รูปในข้อใดแตกต่างจากพวก
ก. ข. ค.

5. รูปถัดไปคือรูปใด

ก. ข. ค.

6. รูปที่หายไปคือรูปใด

ก. ข. ค.

7. รูปที่หายไปคือรูปใด

ก. ข. ค.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  73
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 9 | รูปเรขาคณิต

ตอนที่ 2 เขียนรูปเรขาคณิตตามที่กำ�หนด

8. เขียนวงกลม อยู่ในรูปสี่เหลี่ยมโดยใช้แบบของรูป

9. เขียนรูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม วงกลม หรือวงรี โดยใช้สิ่งของเป็นแบบมาอย่างละ 1 รูป

74  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 9 | รูปเรขาคณิต

10. ออกแบบกรอบรูป โดยใช้ความรู้เรื่องแบบรูปซ้ำ�ของรูปเรขาคณิตและรูปอื่น ๆ

ชุดที่ซ้ำ�ในแบบรูปนี้คือ ........................................

เฉลย

1. ข
2. ค
3. ก
4. ค
5. ค
6. ค
7. ค

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  75
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 10 | จำ�นวนนับ 21 ถึง 100

บทที่ 10 จำ�นวนนับ 21 ถึง 100

จุดประสงค์การเรียนรู้และสาระสำ�คัญ

จุดประสงค์การเรียนรู้ สาระสำ�คัญ

นักเรียนสามารถ
1. บอกจำ�นวนของสิ่งต่าง ๆ และ • นับได้ 1 สิบ เขียนเป็นตัวเลขฮินดูอารบิก 10 ตัวเลขไทย ๑๐ ตัวหนังสือ สิบ
แสดงสิ่งต่าง ๆ ตามจำ�นวนที่ นับได้ 2 สิบ เขียนเป็นตัวเลขฮินดูอารบิก 20 ตัวเลขไทย ๒๐ ตัวหนังสือ ยี่สิบ
.
กำ�หนด 21 ถึง 100 .
.
(เนื้อหาในหัวข้อ 10.1) นับได้ 10 สิบ เขียนเป็นตัวเลขฮินดูอารบิก 100 ตัวเลขไทย ๑๐๐ ตัวหนังสือ หนึง่ ร้อย
• 10 20 30 ... 100 เป็นจำ�นวนนับที่เพิ่มขึ้นทีละ 10 ตามลำ�ดับ
2. อ่านและเขียนตัวเลขฮินดูอารบิก • จำ�นวนนับ 21 ถึง 100 เป็นจำ�นวนนับที่เพิ่มขึ้นทีละ 1 ตามลำ�ดับ
ตัวเลขไทย ตัวหนังสือแสดง • การเขียนแสดงจำ�นวน สามารถเขียนเป็นตัวเลขฮินดูอารบิก ตัวเลขไทย หรือตัวหนังสือ
จำ�นวนนับ 21 ถึง 100 • 10 11 ... 99 เป็นจำ�นวนสองหลัก ถ้าเลขโดด 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9 อยู่ในหลักหน่วย
มีค่าเป็น 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9 ตามลำ�ดับ และถ้าเลขโดด 1 2 3 4 5 6 7 8 9 อยู่
(เนื้อหาในหัวข้อ 10.2, 10.3,
ในหลักสิบมีค่าเป็น 10 20 30 40 50 60 70 80 90 ตามลำ�ดับ
10.4, 10.5, 10.6)
100 เป็นจำ�นวนสามหลัก เลขโดด 1 อยู่ในหลักร้อย มีค่าเป็น 100
• การเขียนตัวเลขแสดงจำ�นวนในรูปกระจาย เป็นการเขียนในรูปการบวกค่าของ
เลขโดดในหลักต่าง ๆ ของจำ�นวนนั้น

3. เปรียบเทียบและเรียงลำ�ดับ • การเปรียบเทียบจำ�นวนสองจำ�นวน
จำ�นวนนับ 21 ถึง 10 ถ้าจำ�นวนหลักไม่เท่ากัน จำ�นวนที่มีจำ�นวนหลักมากกว่า จะมากกว่าอีกจำ�นวนหนึ่ง
ถ้าจำ�นวนหลักเท่ากัน ให้พิจารณาเลขโดดในหลักสิบก่อน เลขโดดในหลักสิบของ
(เนื้อหาในหัวข้อ 10.7, 10.8)
จำ�นวนใดมากกว่า จำ�นวนนั้นจะมากกว่า ถ้าเลขโดดในหลักสิบเท่ากัน ให้พิจารณา
เลขโดดในหลักหน่วย
• การเรียงลำ�ดับจำ�นวนจากมากไปน้อย หรือจากน้อยไปมาก อาจทำ�ได้โดยพิจารณา
จำ�นวนที่มากที่สุดและน้อยที่สุดก่อน จากนั้นนำ�จำ�นวนที่เหลือมาเปรียบเทียบกัน
แล้วนำ�จำ�นวนมาเรียงตามลำ�ดับ

76  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 10 | จำ�นวนนับ 21 ถึง 100

จุดประสงค์การเรียนรู้ สาระสำ�คัญ

นักเรียนสามารถ
4. บอกจำ�นวนที่หายไปใน • แบบรูปของจำ�นวนที่เพิ่มขึ้นทีละ 1 ทีละ 10 เป็นชุดของจำ�นวนที่มีความสัมพันธ์กัน
แบบรูปของจำ�นวนที่เพิ่มขึ้น อย่างต่อเนื่องในลักษณะของการเพิ่มขึ้นทีละ 1 ทีละ 10 เช่น 10 11 12 13 14 หรือ
หรือลดลงทีละ 1 และทีละ 10 10 20 30 40 50 ตามลำ�ดับ
• แบบรูปของจำ�นวนที่ลดลงทีละ 1 ทีละ 10 เป็นชุดของจำ�นวนที่มีความสัมพันธ์กัน
(เนื้อหาในหัวข้อ 10.9, 10.10,
อย่างต่อเนือ
่ งในลักษณะของการลดลงทีละ 1 ทีละ 10 เช่น 30 29 28 27 26 95 หรือ
10.11,)
85 75 65 55 ตามลำ�ดับ

1 2 3 4 5 6 7 8 9 10

11 12 13 14 15 16 17 18 19 20

21 22 23 24 25 26 27 28 29 30

31 32 33 34 35 36 37 38 39 40

41 42 43 44 45 46 47 48 49 50

51 52 53 54 55 56 57 58 59 60

61 62 63 64 65 66 67 68 69 70

71 72 73 74 75 76 77 78 79 80

81 82 83 84 85 86 87 88 89 90

91 92 93 94 95 96 97 98 99 100

จากตารางร้อย
จำ�นวนจากซ้ายไปขวา เป็นจำ�นวนที่เพิ่มขึ้นทีละ 1
จำ�นวนจากขวาไปซ้าย เป็นจำ�นวนที่ลดลงทีละ 1
จำ�นวนจากบนลงล่าง เป็นจำ�นวนที่เพิ่มขึ้นทีละ 10
จำ�นวนจากล่างขึ้นบน เป็นจำ�นวนที่ลดลงทีละ 10

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  77
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 10 | จำ�นวนนับ 21 ถึง 100

ตารางการวิเคราะห์เนื้อหากับทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
หัวข้อ เนื้อหา
j k l m n
เตรียมความพร้อม 

10.1 การนับทีละ 10  

10.2 จำ�นวนนับ 21 ถึง 30  

10.3 จำ�นวนนับ 31 ถึง 50  

10.4 จำ�นวนนับ 51 ถึง 100  

10.5 หลัก ค่าของเลขโดดในแต่ละหลักของจำ�นวนนับไม่เกิน 100  

10.6 การเขียนแสดงจำ�นวนในรูปกระจาย  

10.7 การเปรียบเทียบจำ�นวน   

10.8 การเรียงลำ�ดับจำ�นวน   
10.9 แบบรูปของจำ�นวนที่เพิ่มขึ้นทีละ 1 และแบบรูปของจำ�นวน
ที่ลดลงทีละ 1   

10.10 แบบรูปของจำ�นวนที่เพิ่มขึ้นทีละ 10 และแบบรูปของจำ�นวน


ที่ลดลงทีละ 10   

10.11 แบบรูปของจำ�นวนบนตารางร้อย   

ร่วมคิดร่วมทำ�   

ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

j การแก้ปัญหา k การสื่อสารและการสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์
l การเชื่อมโยง m การให้เหตุผล n การคิดสร้างสรรค์

78  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 10 | จำ�นวนนับ 21 ถึง 100

คำ�สำ�คัญ
การอ่านและเขียนตัวเลขฮินดูอารบิก
ตัวเลขไทย ตัวหนังสือ การบอกหลักหน่วย
หลักสิบ หลักร้อย การบอกค่าของเลขโดด
การเขียนจำ�นวนในรูปกระจาย
การเปรียบเทียบจำ�นวน การเรียงลำ�ดับจำ�นวน
การบอกแบบรูปของจำ�นวนและเติมจำ�นวน
ในแบบรูปของจำ�นวน

ความรู้หรือทักษะพื้นฐาน
การนับ การบวก การลบ
จำ�นวนนับ การจำ�แนก
การสังเกต

เวลาที่ใช้จัดการเรียนรู้
14 ชั่วโมง

สื่อและแหล่งเรียนรู้
1. หนังสือเรียน หน้า 66 – 113
2. แบบฝึกหัด หน้า 41 – 70
3. เอกสาร แบบบันทึก ใบกิจกรรม และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการทำ�กิจกรรม ดังนี้
• สื่อของจริง เช่น สิ่งของต่าง ๆ ที่ใช้เป็นตัวนับ เหรียญบาท
• บัตรตัวเลข บัตรตารางหลักสิบ บัตรตารางหลักหน่วย บัตรตารางร้อย
• บัตรข้อความ เช่น บัตรคำ�
• อุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น แผ่นตารางร้อย แผ่นตารางสิบ แผ่นตารางหน่วย
• ใบบันทึกกิจกรรม
• บัตรภาพต่าง ๆ เช่น บัตรภาพ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  79
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 10 | จำ�นวนนับ 21 ถึง 100

แนวการจัดการเรียนรู้
ใช้หน้าเปิดบทที่เป็นสวนมะพร้าวของคุณพ่อของแก้วตา ซึ่งกำ�ลังเก็บมะพร้าวโดยใช้ลิงเก็บและได้จัดเป็นกอง กองละ
สิบไว้แล้ว มานำ�สนทนาเกี่ยวกับจำ�นวนในชีวิตจริง เพื่อฝึกให้รู้จักการสังเกต การมองสิ่งต่าง ๆ รอบตัวที่สามารถนำ�มาใช้
ในการเรียนการสอนเรื่องการนับได้โดยครูใช้คำ�ถามถึงสิ่งที่ใกล้ตัวนักเรียน กระตุ้นความสนใจดังนี้

บ้านของนักเรียนมีคนอยู่ทั้งหมดกี่คน เป็นผู้หญิงกี่คน เป็นผู้ชายกี่คน มีห้องกี่ห้อง มีหน้าต่างกี่บาน มีห้องน้ำ�กี่ห้อง


มีพัดลมกี่อัน เลี้ยงสุนัขหรือแมวกี่ตัว แล้วสนทนาเกี่ยวกับต้นไม้ที่อยู่หน้าบ้านมีต้นไม้อะไรบ้าง กี่ต้น มีดอกไม้ร่วง
อยู่ใต้ต้นไม้หรือไม่ ถ้ามีดอกไม้ร่วงจะนับจำ�นวนดอกไม้อย่างไรดี เพื่อนำ�เข้าสู่ “เตรียมความพร้อม”

80  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 10 | จำ�นวนนับ 21 ถึง 100

4 ๔
9 ๙
11 ๑๑

20 ๒๐

18
5
5 7
11 13 18

18 13 11 7 5

แนวการจัดการเรียนรู้
เตรียมความพร้อมเพื่อทบทวนความรู้พื้นฐานเรื่องจำ�นวนนับ 1 ถึง 20 โดยอาจใช้สิ่งของใกล้ตัว บัตรคำ�/บัตรภาพ/
บัตรตัวเลข และใช้คำ�ถาม เช่น
• ชูสิ่งของจำ�นวนหนึ่ง มีจำ�นวนเท่าใด นับอย่างไร • สี่ เขียนเป็นตัวเลขฮินดูอารบิกได้อย่างไร
• เก้า เขียนเป็นตัวเลขไทยได้อย่างไร • 11 20 อ่านว่าอย่างไร มีความหมายอย่างไร
• ยกตัวอย่างความหมายของ 0 • 17 ๑๔ 19 ๑๖ 13 ๑๗ จำ�นวนใดเป็นจำ�นวนเดียวกัน
• จำ�นวนใดมากกว่า จำ�นวนใดน้อยกว่า • จำ�นวนใดมากที่สุด จำ�นวนใดน้อยที่สุด
• เรียงลำ�ดับจำ�นวนจากมากไปน้อยได้อย่างไร • เรียงลำ�ดับจำ�นวนจากน้อยไปมากได้อย่างไร
แล้วให้เขียนตัวเลขฮินดูอารบิก ตัวเลขไทย และเติมคำ�ตอบตามหนังสือเรียนหน้า 68 ครูควรเดินดูนักเรียนโดยรอบ
เพื่อประเมินความรู้พื้นฐานของนักเรียน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  81
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 10 | จำ�นวนนับ 21 ถึง 100

10.1 การนับทีละ 10

จุดประสงค์
นับและแสดงจำ�นวน 10 20 ...
90 100

สื่อการเรียนรู้
แถบกรอบสิบ บัตรคำ�

แนวการจัดการเรียนรู้
นำ�เข้าสู่บทเรียน โดยใช้สถานการณ์ร้านขนมไทยแม่เอย เด็ก ๆ แต่ละคนกำ�ลังช่วยแม่เอยนับขนมตามที่ป้าพร
น้าจิและลุงนูญสั่ง ครูอาจใช้คำ�ถาม เช่น
• ป้าพรสั่งขนมกี่ชิ้น นับขนมอย่างไร
• น้าจิ ลุงนูญสั่งขนมกี่ชิ้น นับขนมอย่างไร
• นับรวมขนมทั้งหมดที่มีคนสั่งอย่างไร
ให้นักเรียนบอกวิธีนับทุกวิธีที่แตกต่างจากเพื่อน สรุปว่า “การนับ อาจนับทีละหนึ่ง ทีละสิบ”

82  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 10 | จำ�นวนนับ 21 ถึง 100

แนวการจัดการเรียนรู้
ครูสอนการนับทีละ 10 โดยใช้แผ่นตารางสิบ ติดบัตรคำ� “ตัวเลขฮินดูอารบิก” “ตัวเลขไทย” และ “ตัวหนังสือ”
เพื่อเชื่อมโยงจากสื่อแผ่นตารางสิบไปยังตัวเลขและตัวหนังสือ และให้เห็นถึงการเพิ่มขึ้นทีละ 10 อย่างชัดเจน หลังจาก
ที่ติดแผ่นตารางสิบ เขียนเป็นตัวเลขและตัวหนังสือ ต่อไปครูควรถือแผ่นตารางสิบ 1 แผ่น ให้นักเรียนออกเสียง อ่าน 1 สิบ
พร้อมกัน แล้วหยิบแถบแผ่นตารางสิบเพิ่ม 1 แผ่น เน้นการนับจำ�นวนด้วยการให้ออกเสียงนับ 2 สิบพร้อมกัน เสียงสุดท้าย
ของการนับ บอกถึงจำ�นวนของแผ่นตารางสิบที่ถืออยู่ เน้นย้ำ�ว่าบอกจำ�นวนของสิ่งต่าง ๆ ได้จากเสียงสุดท้ายของการนับ
แล้วจึงนำ�แผ่นตารางสิบ 2 แผ่นติดบนกระดาน จากนั้นสอนจำ�นวนนับ 30 ถึง 100 ในทำ�นองเดียวกัน ให้นักเรียนนับ
ออกเสียง 10 20 ... จนถึง 100 อีกครั้ง โดยไม่ต้องเขียน สรุปว่า 10 20 30 40 50 60 70 80 90 100 เป็นจำ�นวนนับ
ที่เพิ่มขึ้นทีละ 10 ตามลำ�ดับ

หมายเหตุ ครูควรสอนโดยมีแผ่นตารางสิบ บัตรคำ� ติดบนกระดาน และเขียนตัวเลข ตัวหนังสือบนกระดานให้ชัดเจน


ดังหน้า 70 – 71 เพื่อให้นักเรียนมีพื้นฐานที่ดีในการเรียนต่อไป

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  83
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 10 | จำ�นวนนับ 21 ถึง 100

7 สิบ หรือ เจ็ดสิบ

2 สิบ หรือ ยี่สิบ

5 สิบ หรือ หาสิบ

แนวการจัดการเรียนรู้
เมื่อนักเรียนทำ�กิจกรรมนับจำ�นวนที่เพิ่มขึ้นทีละสิบโดยใช้แผ่นตารางสิบแล้ว ครูให้นักเรียนร่วมกันนับและบอกจำ�นวน
ของสิ่งของที่อยู่ในหนังสือเรียน หน้า 71 โดยครูพูดนำ�ก่อนแล้วให้นักเรียนพูดตามจนนักเรียนนับจนคล่องด้วยตนเอง

84  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 10 | จำ�นวนนับ 21 ถึง 100

ตรวจสอบความเข้าใจ สิ่งที่ได้เรียนรู้
ตรวจสอบความเข้าใจของนักเรียนเพื่อให้สอดคล้อง การนับสิ่งต่าง ๆ อาจนับทีละ 10 ดังนี้ 1 สิบ (หรือสิบ)
กับจุดประสงค์การเรียนรู้ของการเรียนในชั่วโมงนี้ โดยวงล้อม 2 สิบ (หรือยี่สิบ) 3 สิบ 4 สิบ 5 สิบ 6 สิบ 7 สิบ
รอบตัวเลขแสดงจำ�นวนทีต่ รงกับภาพทีก่ �ำ หนดตามหนังสือเรียน 8 สิบ 9 สิบ 10 สิบ (หรือหนึ่งร้อย)
หน้า 72 ถ้านักเรียนตอบถูกแสดงถึงการบรรลุจุดประสงค์
จากนั้นให้นักเรียนทำ�แบบฝึกหัด 10.1 ในหนังสือแบบฝึกหัด
ในชั่วโมงนี้ ถ้านักเรียนตอบไม่ถูก ครูควรสอนเสริมพิเศษ
หน้า 41 – 42
ให้นักเรียน จากนั้นร่วมกันสรุปบทเรียน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  85
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 10 | จำ�นวนนับ 21 ถึง 100

10.2 จำ�นวนนับ 21 ถึง 30

จุดประสงค์
1. นับและแสดงจำ�นวน 21 ถึง 30
2. เขียนตัวเลขฮินดูอารบิก
ตัวเลขไทย และตัวหนังสือ
แสดงจำ�นวน

สื่อการเรียนรู้
แผ่นตารางสิบ
แผ่นตารางหน่วย
บัตรภาพ บัตรคำ�

แนวการจัดการเรียนรู้
ครูนำ�เข้าสู่บทเรียน โดยสร้างสถานการณ์นับต้นกล้าใส่กระบะ ซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตจริง เวลานับต้นกล้าใส่กระบะ
กระบะละ 10 ต้น เมื่อเต็มกระบะก็นำ�ไปใส่กระบะอื่น เวลานับต้นกล้าก็นับทีละ 10 ครูอาจใช้คำ�ถาม เช่น
• กระบะของใบบัวสองกระบะแรกนับได้กี่สิบต้น กระบะที่สามมีต้นกล้ากี่ต้น (ติดบัตรภาพกระบะต้นกล้าของ
ใบบัว ให้อ่าน 2 สิบ กับ 1 หน่วย 20 กับ 1 ออกเสียง อ่าน ยี่สิบเอ็ด พร้อมกัน และเขียนเป็น
ตัวเลขฮินดูอารบิก ตัวเลขไทย และตัวหนังสือ)
• กระบะของแก้วตาสองกระบะแรกนับได้กี่สิบต้น กระบะที่สามมีต้นกล้ากี่ต้น (ติดบัตรภาพอ่านและเขียน)
สรุปว่า “การนับจำ�นวนสิ่งของที่เต็มสิบ อ่านออกเสียง 1 สิบ 2 สิบ ... การนับจำ�นวนสิ่งของที่ไม่เต็มสิบ
อ่านออกเสียง 1 หน่วย 2 หน่วย ...”

86  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 10 | จำ�นวนนับ 21 ถึง 100

แนวการจัดการเรียนรู้
ครูสอนการนับเพิ่มทีละ 1 จาก 21 ถึง 30 โดยใช้แผ่นตารางสิบ แผ่นตารางหน่วย ติดบัตรคำ� “ตัวเลขฮินดูอารบิก”
“ตัวเลขไทย” และ“ตัวหนังสือ” เพื่อเชื่อมโยงจากสื่อแผ่นตารางสิบไปยังตัวเลขและตัวหนังสือ และให้เห็นถึงการเพิ่มขึ้นทีละ 1
อย่างชัดเจน หลังจากที่ติดแผ่นตารางสิบ 2 แผ่น เขียนเป็นตัวเลขและตัวหนังสือ ต่อไปครูควรถือแผ่นตารางสิบ 2 แผ่น
ให้ออกเสียง 2 สิบ พร้อมกัน แล้วหยิบแผ่นตารางหน่วยเพิ่ม 1 แผ่น เน้นการนับจำ�นวนด้วยการให้ออกเสียงนับ 2 สิบ
กับ 1 หน่วย 20 กับ 1 อ่านว่า ยีส่ บ ิ เอ็ด พร้อมกัน เสียงสุดท้ายของการนับ บอกถึงจำ�นวนของแผ่นตารางสิบ แผ่นตารางหน่วย
ทีถ ื อยู่ เน้นย้�ำ ว่า บอกจำ�นวนของสิง่ ต่างๆ ได้จากเสียงสุดท้ายของการนับ แล้วจึงนำ�แผ่นตารางสิบ 2 แผ่น แผ่นตารางหน่วย
่ อ
1 แผ่น ติดบนกระดาน หลังจากนัน ้ สอนจำ�นวนนับ 22 ถึง 30 ในทำ�นองเดียวกัน ให้นกั เรียนนับออกเสียง 21 ... จนถึง 30 อีกครัง้
โดยไม่ต้องเขียน สรุปว่า 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30 เป็นจำ�นวนนับที่เพิ่มขึ้นทีละ 1

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  87
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 10 | จำ�นวนนับ 21 ถึง 100

22 ๒๒
ยี่สิบสอง

28 ๒๘
ยี่สิบแปด

แนวการจัดการเรียนรู้
เมื่อฝึกนับสิ่งของโดยใช้แผ่นตารางสิบและแผ่นตารางหน่วยเสร็จแล้ว ครูให้นักเรียนฝึกนับด้วยตนเอง และเขียนแสดง
จำ�นวนที่นับได้เป็นตัวเลขฮินดูอารบิก ตัวเลขไทย และตัวหนังสือ ตามหนังสือเรียนหน้า 75

88  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 10 | จำ�นวนนับ 21 ถึง 100

* อยูในดุลยพินิจของผูสอน

ตรวจสอบความเข้าใจ สิ่งที่ได้เรียนรู้
ตรวจสอบความเข้าใจของนักเรียนเพื่อให้สอดคล้อง • 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30
กับจุดประสงค์ของการเรียนในชั่วโมงนี้ โดยให้นักเรียนเลือก เป็นจำ�นวนนับที่เพิ่มขึ้นทีละ 1
จำ�นวน 21 ถึง 30 มา 1 จำ�นวน วาดรูปพร้อมทัง้ เขียนตัวเลข
• สามารถเขียนเป็นตัวเลขฮินดูอารบิก ตัวเลขไทย
และตัวหนังสือแสดงจำ�นวนตามหนังสือเรียน หน้า 76
หรือตัวหนังสือแสดงจำ�นวน
ถ้านักเรียนวาดรูปถูกต้องแสดงถึงการบรรลุจุดประสงค์
ในชั่วโมงนี้ ถ้านักเรียนวาดรูปไม่ถูกต้อง ครูควรสอนเสริม จากนั้นให้นักเรียนทำ�แบบฝึกหัด 10.2 หน้า 43-45
พิเศษให้นักเรียน จากนั้นร่วมกันสรุปบทเรียน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  89
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 10 | จำ�นวนนับ 21 ถึง 100

10.3 จำ�นวนนับ 31 ถึง 50

จุดประสงค์
1. นับและแสดงจำ�นวน 31 ถึง 50
2. เขียนตัวเลขฮินดูอารบิก
ตัวเลขไทย และตัวหนังสือ
แสดงจำ�นวน

สื่อการเรียนรู้
แผ่นตารางสิบ แผ่นตารางหน่วย
บัตรภาพ บัตรคำ�

แนวการจัดการเรียนรู้
ครูน�ำ เข้าสูบ
่ ทเรียน โดยสร้างสถานการณ์ให้นบ ั เค้กทีจ่ ดั ใส่กล่อง กล่องละ 10 ชิน
้ เต็มแล้วใส่กล่องถัดไป ซึง่ เป็นสถานการณ์
ทีน
่ ก
ั เรียนเห็นในชีวต ิ จริง ซึง่ จะทำ�ให้นก
ั เรียนเชือ
่ มโยงกับชีวต ิ จริง และเรียนอย่างมีความหมาย ครูอาจสอดแทรกคุณธรรม
จริยธรรมในบทเรียนที่เกี่ยวข้องทุกครั้ง ในหน้านี้ครูอาจใช้คำ�ถาม เช่น
• เค้กของต้นกล้านับได้กี่สิบกับกี่หน่วย (ติดบัตรภาพกล่องเค้กของต้นกล้า ให้อ่าน 3 สิบ กับ 1 หน่วย 30 กับ 1
เป็นเค้ก 31 ชิ้น)
• เค้กของขุนนับได้กี่สิบกับกี่หน่วย (ติดบัตรภาพกล่องเค้กของขุนให้อ่าน 3 สิบ กับ 2 หน่วย 30 กับ 2
เป็นเค้ก 32 ชิ้น)
สรุปว่า “การนับจำ�นวนสิ่งของที่เต็มสิบ อ่านออกเสียง 3 สิบ การนับจำ�นวนสิ่งของที่ไม่เต็มสิบ อ่านออกเสียง
1 หน่วย 2 หน่วย ...”

90  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 10 | จำ�นวนนับ 21 ถึง 100

แนวการจัดการเรียนรู้
ครูสอนการนับเพิ่มทีละ 1 จาก 31 ถึง 40 โดยใช้แผ่นตารางสิบ แผ่นตารางหน่วยติดบัตรคำ� “ตัวเลขฮินดูอารบิก”
“ตัวเลขไทย” และ“ตัวหนังสือ” เพื่อเชื่อมโยงจากสื่อแผ่นตารางสิบไปยังตัวเลขและตัวหนังสือ และให้เห็นถึงการเพิ่มขึ้นทีละ 1
อย่างชัดเจน หลังจากที่ติดแผ่นตารางสิบ 3 แผ่น เขียนเป็นตัวเลขและตัวหนังสือ ต่อไปครูควรถือแผ่นตารางสิบ 3 แผ่น
ให้ออกเสียง 3 สิบ พร้อมกัน แล้วหยิบแผ่นตารางหน่วยเพิ่ม 1 แผ่น เน้นการนับจำ�นวนด้วยการให้ออกเสียงนับ 3 สิบ กับ
1 หน่วย 30 กับ 1 อ่านว่า สามสิบเอ็ด พร้อมกัน เสียงสุดท้ายของการนับ บอกถึงจำ�นวนของแผ่นตารางสิบ แผ่นตารางหน่วย
ที่ถืออยู่ เน้นย้ำ�ว่า บอกจำ�นวนของสิ่งต่าง ๆ ได้จากเสียงสุดท้ายของการนับ แล้วจึงนำ�แผ่นตารางสิบ 3 แผ่น แผ่นตาราง
หน่วย 1 แผ่น ติดบนกระดาน จากนั้นสอนจำ�นวนนับ 32 ถึง 50 ในทำ�นองเดียวกัน ให้นักเรียนนับออกเสียง 30 31 ... 48
49 50 อีกครั้ง โดยไม่ต้องเขียน สรุปว่า 31 32 33 ... 48 49 50 เป็นจำ�นวนนับที่เพิ่มขึ้นทีละ 1

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  91
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 10 | จำ�นวนนับ 21 ถึง 100

42

๔๔

สี่สิบหก

49 ๔๙ สี่สิบเกา

50 ๕๐ หาสิบ

แนวการจัดการเรียนรู้
การจัดการเรียนการสอนในหน้านี้อาจให้นักเรียนนับจำ�นวนจากภาพที่อยู่ในตารางแล้วให้นักเรียนเขียนเป็นตัวเลข
ฮินดูอารบิก ตัวเลขไทย หรือตัวหนังสือแสดงจำ�นวนตามที่นับได้ลงในสมุด

92  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 10 | จำ�นวนนับ 21 ถึง 100

37
๓๗
สามสิบเจ็ด

ตรวจสอบความเข้าใจ สิ่งที่ได้เรียนรู้
ตรวจสอบความเข้าใจของนักเรียน เพื่อให้สอดคล้อง • 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44
กับจุดประสงค์ของการเรียนในชั่วโมงนี้ โดยนับจำ�นวน 45 46 47 48 49 50 เป็นจำ�นวนนับที่เพิ่มขึ้นทีละ 1
ปลากระป๋องพร้อมทั้งเขียนตัวเลขและตัวหนังสือแสดง
• สามารถเขียนตัวเลขฮินดูอารบิก ตัวเลขไทย
จำ�นวนตามหนังสือเรียนหน้า 80 ถ้านักเรียนตอบถูก
และตัวหนังสือ แสดงจำ�นวน
แสดงถึงการบรรลุจุดประสงค์ในชั่วโมงนี้ ถ้านักเรียน
ตอบไม่ถูก ครูควรสอนเสริมพิเศษให้นักเรียน จากนั้นให้นักเรียนทำ�แบบฝึกหัด 10.3 หน้า 46-48
จากนั้นร่วมกันสรุปบทเรียน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  93
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 10 | จำ�นวนนับ 21 ถึง 100

10.4 จำ�นวนนับ 51 ถึง 100

จุดประสงค์
1. นับและแสดงจำ�นวน 51 ถึง 100
2. เขียนตัวเลขฮินดูอารบิก
ตัวเลขไทย และตัวหนังสือ
แสดงจำ�นวน

สื่อการเรียนรู้
แผ่นตารางสิบ แผ่นตารางหน่วย
บัตรภาพ บัตรคำ�

แนวการจัดการเรียนรู้
ครูนำ�เข้าสู่บทเรียน โดยสร้างสถานการณ์เป็นสวนมะพร้าว ครูอาจสนทนากระตุ้นความสนใจให้นักเรียนตั้งใจเรียน
โดยใช้คำ�ถามดังตัวอย่าง เช่น
เคยเห็นลิงที่ใดบ้าง เคยดูละครลิงหรือไม่ เคยเห็นลิงปีนต้นมะพร้าวหรือไม่ คนกับลิงใครปีนต้นไม้ได้เร็วกว่ากัน
ในสถานการณ์นี้ มีเจ้าจ๋อเก็บลูกมะพร้าวจากต้นมะพร้าวหล่นอยู่ใต้ต้นมะพร้าวมากมาย แก้วตากับพ่อช่วยกันนับลูกมะพร้าว
แต่ลูกมะพร้าวอยู่กระจัดกระจาย แก้วตาจึงใช้ความรู้ที่ได้เรียนมา นับลูกมะพร้าวเป็นกอง กองละ 10 ลูก ครูติดบัตรภาพ
ลูกมะพร้าวกองละ 10 ลูก ทั้งหมด 10 กอง แก้วตานับลูกมะพร้าวทีละ10 ได้ 10 สิบ ครูไพลินนับลูกมะพร้าวได้ 100 ลูก
เขียน 10 สิบ หรือ 100 เป็นตัวเลขและตัวหนังสือแสดงจำ�นวน สรุปว่า “การนับจำ�นวนสิ่งของทีละสิบ อ่านออกเสียง
3 สิบ 4 สิบ ... 7 สิบ 8 สิบ 9 สิบ และ 10 สิบ ซึ่ง10 สิบ คือ จำ�นวน 100 อ่านว่า หนึ่งร้อย”

94  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 10 | จำ�นวนนับ 21 ถึง 100

แนวการจัดการเรียนรู้
ครูสอนการนับและการแสดงจำ�นวน 51 ถึง 100 โดยใช้แผ่นตารางสิบ แผ่นตารางหน่วย ครูตดิ บัตรคำ� “ตัวเลขฮินดูอารบิก”
“ตัวเลขไทย” และ “ตัวหนังสือ” เพื่อเชื่อมโยงจากสื่อแผ่นตารางสิบไปยังตัวเลขและตัวหนังสือแสดงจำ�นวน และให้เห็นถึง
การเพิ่มขึ้นทีละ 1 อย่างชัดเจน หลังจากที่ติดแผ่นตารางสิบ 5 แผ่น เขียนเป็นตัวเลขและตัวหนังสือแสดงจำ�นวน จากนั้น
ครูควรถือแผ่นตารางสิบ 5 แผ่น ให้ออกเสียง 5 สิบ พร้อมกัน แล้วหยิบแผ่นตารางหน่วยเพิ่ม 1 แผ่น เน้นการนับจำ�นวนด้วย
การให้ออกเสียงนับ 5 สิบ กับ 1 หน่วย 50 กับ 1 อ่านว่า ห้าสิบเอ็ด พร้อมกัน เสียงสุดท้ายของการนับ บอกถึงจำ�นวนของ
แผ่นตารางสิบ แผ่นตารางหน่วยที่ถืออยู่ เน้นย้ำ�ว่า บอกจำ�นวนของสิ่งต่าง ๆ ได้จากเสียงสุดท้ายของการนับ แล้วจึงนำ�
แผ่นตารางสิบ 5 แผ่น แผ่นตารางหน่วย 1 แผ่นติดบนกระดาน หลังจากนั้นสอนจำ�นวนนับ 52 59 60 63 74 77 85 98
99 100 ในทำ�นองเดียวกัน ให้นักเรียนนับออกเสียง 50 ถึง 60 70 ถึง 80 90 ถึง 100 อีกครั้ง สรุปว่า 51 52 53 ...
98 99 100 เป็นจำ�นวนนับที่เพิ่มขึ้นทีละ 1 ตามลำ�ดับ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  95
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 10 | จำ�นวนนับ 21 ถึง 100

๗๗

85 ๘๕

๙๘ เกาสิบแปด

99

๑๐๐ หนึ่งรอย

แนวการจัดการเรียนรู้
ครูสอนการนับและการแสดงจำ�นวน 51 ถึง 100 โดยใช้แผ่นตารางสิบ แผ่นตารางหน่วย ครูตด ิ บัตรคำ�
“ตัวเลขฮินดูอารบิก” “ตัวเลขไทย” และ“ตัวหนังสือ” แล้วให้นักเรียนช่วยกันเขียนตัวเลขฮินดูอารบิก ตัวเลขไทย
และตัวหนังสือแสดงจำ�นวนตามที่กำ�หนดในตาราง

96  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 10 | จำ�นวนนับ 21 ถึง 100

63
๖๓
หกสิบสาม

ตรวจสอบความเข้าใจ สิ่งที่ได้เรียนรู้
ตรวจสอบความเข้าใจของนักเรียนเพื่อให้สอดคล้อง • 51 52 53 54 55 56 57 58 59 60 61 62 ... 98
กับจุดประสงค์ของการเรียนในชั่วโมงนี้ โดยเขียน 99 100 เป็นจำ�นวนนับที่เพิ่มขึ้นทีละ 1
ตัวเลขฮินดูอารบิก ตัวเลขไทย และตัวหนังสือแสดงจำ�นวน
• สามารถเขียนตัวเลขฮินดูอารบิก ตัวเลขไทย
มะพร้าวทีเ่ จ้าจ๋อเก็บได้ ตามหนังสือเรียนหน้า 84
และตัวหนังสือแสดงจำ�นวน
ถ้านักเรียนตอบถูกแสดงถึงการบรรลุจด ุ ประสงค์ในชัว่ โมงนี้
ถ้านักเรียนตอบไม่ถกู ครูควรเสริมพิเศษให้นักเรียน จากนั้นให้นักเรียนทำ�แบบฝึกหัด 10.4 หน้า 49-50
จากนั้นร่วมกันสรุปบทเรียน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  97
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 10 | จำ�นวนนับ 21 ถึง 100

10.5 หลัก ค่าของเลขโดด


ในแต่ละหลักของ
จำ�นวนนับไม่เกิน 100

จุดประสงค์
บอกหลักของเลขโดด ค่าของเลขโดด
ในหลักสิบ หลักหน่วย และสามารถ
เขียนจำ�นวนในรูปกระจาย

สื่อการเรียนรู้
แผ่นตารางสิบ แผ่นตารางหน่วย
บัตรตารางหลักสิบและหลักหน่วย

แนวการจัดการเรียนรู้
ครูนำ�เข้าสู่บทเรียน ด้วยสถานการณ์ปล่อยปลาทำ�บุญวันเกิด เป็นการสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมในบทเรียนที่
อยากให้เกิดขึ้นกับนักเรียน ครูอาจสนทนาใช้คำ�ถาม เช่น
• เคยไปทำ�บุญที่ไหนกับคุณพ่อคุณแม่บ้าง
• ทำ�บุญแบบใดกันบ้าง เคยทำ�บุญปล่อยปลาหรือไม่
• จากสถานการณ์ไปทำ�บุญปล่อยปลาเนื่องในโอกาสอะไร
• นำ�ปลามากี่ถุง ปลาในถุง ถุงละกี่ตัว ถุงสุดท้ายมีปลากี่ตัว
• นับได้กี่สิบกับกี่หน่วย (ติดบัตรภาพปลา 5 ถุง ให้อ่าน 4 สิบ กับ 2 หน่วย 40 กับ 2 เป็นปลา 42 ตัว)
ครูติดแผ่นตารางสิบ 4 แผ่น แผ่นตารางหน่วย 2 แผ่น แสดงจำ�นวน 42 42 คือ 40 กับ 2 ติดบัตรตารางหลักสิบและ
หลักหน่วย อธิบายเชื่อมโยงกับแผ่นตารางสิบ 4 แผ่น กับ 4 สิบ เพื่อเขียน 4 ในบัตรตารางช่อง หลักสิบ และเชื่อมโยงกับ
แผ่นตารางหน่วย 2 แผ่น กับ 2 เพื่อเขียน 2 ในตารางช่องหลักหน่วย สรุปและเน้นย้ำ�ว่า 4 ในหลักสิบ มีค่าเป็น 40
2 ในหลักหน่วย มีค่าเป็น 2 42 เป็นจำ�นวนสองหลัก หลักสิบอยู่ทางซ้าย หลักหน่วยอยู่ทางขวา

98  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 10 | จำ�นวนนับ 21 ถึง 100

แนวการจัดการเรียนรู้
สอนจำ�นวน 50 และจำ�นวน 100 ในทำ�นองเดียวกัน โดยใช้การถาม-ตอบ อาจถามเป็นรายบุคคล เพื่อให้คิดคำ�ตอบ
ได้ด้วยตนเอง ครูควรยกตัวอย่างเพิ่มเติมอีก 2 – 3 ตัวอย่าง ให้นักเรียนเข้าใจอย่างแท้จริง

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  99
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 10 | จำ�นวนนับ 21 ถึง 100

30
3

8
60

1
10

9 90
4 4

แนวการจัดการเรียนรู้
ครูติดบัตรตารางสิบและตารางหน่วยบนกระดาน แล้วยกตัวอย่างจำ�นวน 33 แล้วสุ่มนักเรียนออกมาเขียนตัวเลข
แสดงจำ�นวนในช่องว่างบนกระดานตามหนังสือเรียนหน้า 87 จากนั้นครูเขียนจำ�นวนอื่น เช่น 68 11 และ 94
แล้วสุ่มนักเรียนคนอื่นมาเขียนตัวเลขแสดงจำ�นวนในช่องว่างบนกระดาน เมื่อนักเรียนทำ�ได้ครบทุกจำ�นวนแล้ว
ครูอาจจะยกตัวอย่างอื่นอีก 2 – 3 ตัวอย่าง สุ่มถามเป็นรายบุคคล ถ้ามีนักเรียนไม่เข้าใจ อธิบายซ้ำ�อีกครั้ง

100  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 10 | จำ�นวนนับ 21 ถึง 100

7 70
7 7

8 80
6 6

ตรวจสอบความเข้าใจ สิ่งที่ได้เรียนรู้

ตรวจสอบความเข้าใจของนักเรียนเพื่อให้สอดคล้อง • จำ�นวนที่มีหลักหน่วยและหลักสิบเป็นจำ�นวนสองหลัก
กับจุดประสงค์ของการเรียนในชั่วโมงนี้ โดยให้เติมตัวเลข โดยเลขโดด 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9 ในหลักหน่วย
แสดงจำ�นวนในช่องว่างตามหนังสือเรียนหน้า 88 ซึ่งเป็น มีค่าเป็น 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9 และเลขโดด 1 2 3
การบอกค่าของเลขโดดในหลักต่าง ๆ เน้นย้ำ�ในเรื่องค่า 4 5 6 7 8 9 ในหลักสิบมีค่าเป็น 10 20 30 40 50
ของหลักสิบและหลักหน่วย ถ้านักเรียนทำ�ได้ แสดงถึง 60 70 80 90 ตามลำ�ดับ
การบรรลุจุดประสงค์ในชั่วโมงนี้ ถ้านักเรียนทำ�ไม่ได้
• 100 เป็นจำ�นวนสามหลัก เลขโดด 0 ในหลักหน่วย
ครูควรสอนเสริมพิเศษ ให้นักเรียน จากนั้นร่วมกัน
มีค่าเป็น 0 เลขโดด 0 ในหลักสิบมีค่าเป็น 0 และ
สรุปบทเรียน
เลขโดด 1 ในหลักร้อยมีค่าเป็น 100

จากนั้นให้นักเรียนทำ�แบบฝึกหัด 10.5 หน้า 51-53

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  101
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 10 | จำ�นวนนับ 21 ถึง 100

10.6 การเขียนแสดงจำ�นวน
ในรูปกระจาย

จุดประสงค์
สามารถเขียนจำ�นวนในรูปกระจาย

สื่อการเรียนรู้
• เหรียญบาท (อาจใช้ฝาขวดหรือ
อื่น ๆแทน)
• บัตรตารางหลักร้อย หลักสิบ
และหลักหน่วย

แนวการจัดการเรียนรู้
ครูใช้เหรียญบาทวางซ้อนกัน 10 เหรียญในแนวตั้งทั้งหมด 9 กอง และวางไม่เป็นระเบียบอย่างละเหรียญทั้งหมด
9 เหรียญ (อาจใช้สอ่ื บัตรภาพได้) นำ�เข้าสูบ
่ ทเรียนเพือ่ ให้นกั เรียนรูจ้ กั หลักร้อยค่าของเลขโดดในหลักร้อย และการเขียน 100
ในรูปการกระจาย ครูอาจใช้วิธีการนับเหรียญและถามคำ�ถาม ตัวอย่างเช่น ให้นักเรียน 10 คน นับจำ�นวนเหรียญที่วางกองไว้
1 คนนับเหรียญที่วางไม่เป็นระเบียบ บอกว่ามีกี่เหรียญ
ครูหยิบเหรียญ 1 กอง ชูให้บอกว่า 1 กองกี่สิบ ชูเหรียญกองต่อไป รวม 2 กองเป็นกี่สิบ จนได้ครบ 9 กองเป็น
กี่สิบ และเหรียญที่วางไว้กี่เหรียญ รวมเป็นเงินเท่าไร
ครูทบทวนจำ�นวน 99 ถามว่าหลักและค่าของเลขโดดในหลักสิบ หลักหน่วย และเขียนในรูปกระจายได้อย่างไร
ครูติดบัตรตารางหลักร้อย หลักสิบ หลักหน่วย อธิบายเชื่อมโยงกับจำ�นวน 99 ถ้าเพิ่มอีก 1 เหรียญเป็นกี่สิบ 10 สิบ
คือ 100 เขียน 1 ในบัตรตารางช่องหลักร้อย เขียน 0 ในบัตรตารางช่องหลักสิบ เขียน 0 ในบัตรตารางช่องหลักหน่วย
สรุปและเน้นย้ำ�ว่า 1 ในหลักร้อย มีค่าเป็น 100 0 ในหลักสิบ มีค่าเป็น 0 0 ในหลักหน่วย มีค่าเป็น 0
เขียนในรูปกระจาย 100 = 100 + 0 + 0 จากนั้นครูยกตัวอย่างจำ�นวนอื่นที่อยู่ในหนังสือเรียนหน้า 89 ได้แก่ 47 35
และ 29

102  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 10 | จำ�นวนนับ 21 ถึง 100

70 + 6
80 + 0
80 + 8
100 0 0

แนวการจัดการเรียนรู้
ครูให้นักเรียนเขียนจำ�นวนที่กำ�หนดให้ในรูปกระจายโดยใช้ความรู้เรื่องค่่าประจำ�หลัก ครูนำ�การเขียนโดยใช้คำ�ถามว่า
ตัวเลขที่กำ�หนดให้อยู่ในหลักใด มีค่าเท่าไรและเขียนในรูปกระจายได้อย่างไร

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  103
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 10 | จำ�นวนนับ 21 ถึง 100

73
73 70 3

96
96 90 6

60
60 60 0

แนวการจัดการเรียนรู้
เป็นลักษณะโจทย์ บอกตัวเลขที่อยู่ในหลักสิบและหลักหน่วย ให้หาจำ�นวนสองหลักนั้น พร้อมทั้งเขียนในรูปการกระจาย
ได้อย่างไร ครูติดบัตรตารางหลักสิบและหลักหน่วย ให้นักเรียนนำ�ตัวเลขที่โจทย์กำ�หนดไปเขียนเติมในช่องหลักสิบ และ
ช่องหลักหน่วย ด้วยความคุ้นเคยกับบัตรตารางที่ผ่านมาจะทำ�ให้นักเรียนบอกจำ�นวนนั้นได้ง่ายว่าคือจำ�นวนใด และจะทำ�ให้
เขียนในรูปกระจายได้ง่ายขึ้น ครูควรยกตัวอย่างเพิ่มเติมอีก 2 – 3 ตัวอย่าง แล้วใช้การถาม-ตอบ อาจถามเป็นรายบุคคล
เพื่อให้คิดคำ�ตอบได้ด้วยตนเอง สรุปเน้นย้ำ�ว่า การเขียนตัวเลขแสดงจำ�นวนในรูปผลบวกของสิบกับหน่วย เรียกว่า
การเขียนในรูปกระจาย หลังจากนั้นร่วมกันเติมคำ�ตอบตามหนังสือเรียนหน้า 91 ถ้ามีนักเรียนไม่เข้าใจ อธิบายซ้ำ�อีกครั้ง

104  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 10 | จำ�นวนนับ 21 ถึง 100

7 70
4 4
74 70 4

81
81 80 1

58
58 50 8

ตรวจสอบความเข้าใจ สิ่งที่ได้เรียนรู้

ตรวจสอบความเข้าใจของนักเรียนเพื่อให้สอดคล้อง การเขียนแสดงจำ�นวนในรูปกระจาย เป็นการเขียน


กับจุดประสงค์ของการเรียนในชั่วโมงนี้ โดยเติมตัวเลขแสดง ในรูปการบวกค่าของเลขโดดในหลักต่างๆ ของจำ�นวนนั้น
จำ�นวนในช่องว่างตามหนังสือเรียนหน้า 92 ครูเน้นย้�ำ ใน
จากนั้นให้นักเรียนทำ�แบบฝึกหัด 10.6 หน้า 54-56
เรือ
่ งค่าของหลักสิบและหลักหน่วย ถ้านักเรียนทำ�ได้ แสดง
ถึงการบรรลุจุดประสงค์ ถ้านักเรียนทำ�ไม่ได้ ครูควรสอนเสริม
พิเศษจากนัน ้ ร่วมกันสรุปบทเรียน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  105
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 10 | จำ�นวนนับ 21 ถึง 100

10.7 การเปรียบเทียบจำ�นวน

จุดประสงค์
บอกได้ว่าจำ�นวนใดมากกว่า
น้อยกว่า หรือเท่ากัน

สื่อการเรียนรู้
• บัตรตารางหลักสิบ หลักหน่วย
• บัตรภาพ บัตรคำ�

แนวการจัดการเรียนรู้
ครูทบทวนการเปรียบเทียบจำ�นวน 1 ถึง 9 โดยการถาม-ตอบ เช่น 8 มากกว่าหรือน้อยกว่า 3 ก้อยมีเงินในกระเป๋า 10 บาท
แก้มถือเงินอยู่ในมือ 10 บาท ก้อยกับแก้มมีเงินเท่ากันหรือไม่ ครูทบทวนเครื่องหมาย > < = หรือ ≠ โดยการถามว่า
เครื่องหมายใดแสดงการเปรียบเทียบมากกว่า น้อยกว่า เท่ากัน หรือไม่เท่ากัน ครูติดบัตรภาพแสดงจำ�นวนหนังสือนิทาน
38 เล่ม และหนังสือสารคดี 12 เล่ม ถามว่านักเรียนมีวิธีนับอย่างไร ให้นำ�เสนอวิธีคิดที่แตกต่าง ครูยกตัวอย่างจำ�นวน
สองหลักที่แสดงจำ�นวนไม่เท่ากัน ให้คิดวิเคราะห์ว่า ถ้าไม่เท่ากัน สองจำ�นวนนั้นจะเป็นอย่างไร จากนั้นครูใช้การถาม-ตอบ
แสดงการเปรียบเทียบจำ�นวน 38 กับ 12 ด้วยการใช้แผ่นตารางสิบ แผ่นตารางหน่วย เชื่อมโยงกับตารางหลักสิบ หลักหน่วย
สังเกตแผ่นตารางสิบกับจำ�นวนในหลักสิบ 3 สิบ มากกว่า 1 สิบ ดังนั้น 38 > 12 หรือ 12 < 38 สรุปว่า ให้เปรียบเทียบ
จำ�นวนในหลักสิบก่อน จำ�นวนในหลักสิบของจำ�นวนใดมากกว่า จำ�นวนนัน ้ จะมากกว่าจำ�นวนในหลักสิบ
ของจำ�นวนใดน้อยกว่า จำ�นวนนั้นจะน้อยกว่า

106  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 10 | จำ�นวนนับ 21 ถึง 100

แนวการจัดการเรียนรู้
ครูให้นักเรียนฝึกการเปรียบเทียบจำ�นวนสองจำ�นวน โดยการเขียนจำ�นวนในหลักสิบ และหลักหน่วยในตารางเพื่อให้
เปรียบเทียบได้ง่ายและชัดเจนยิ่งขึ้นถ้าจำ�นวนให้หลักสิบเท่ากัน ให้พิจารณาที่หลักหน่วย ถ้าหลักหน่วยของจำ�นวนใดมากกว่า
จำ�นวนนั้นจะมากกว่า

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  107
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 10 | จำ�นวนนับ 21 ถึง 100

แนวการจัดการเรียนรู้
ครูให้นกั เรียนฝึกการเปรียบเทียบจำ�นวนสองจำ�นวน โดยใช้ตารางหลักสิบ หลักหน่วย ตัวเลขในตารางหลักสิบ หลักหน่วย
จะช่วยให้เห็นจำ�นวนที่มากกว่า หรือน้อยกว่า หรือเท่ากันง่ายขึ้น ครูควรเน้นย้ำ�ว่าให้พิจารณาตัวเลขในหลักสิบก่อน
ถ้าจำ�นวนในหลักสิบของจำ�นวนใดมากกว่า จำ�นวนนั้นจะมากกว่า ถ้าจำ�นวนในหลักสิบของจำ�นวนใดน้อยกว่า จำ�นวนนั้น
จะน้อยกว่า ถ้าจำ�นวนในหลักสิบเท่ากัน ให้เปรียบเทียบจำ�นวนในหลักหน่วย เมื่อเข้าใจแล้ว ครูและนักเรียนร่วมกันเติม
เครื่องหมาย > < หรือ = ตามหนังสือเรียนหน้า 95 ครูควรยกตัวอย่างเพิ่มเติมอีก 2 – 3 ตัวอย่าง แล้วใช้การถาม-ตอบ
ถามเป็นรายบุคคล เพื่อให้คิดคำ�ตอบได้ด้วยตนเอง

108  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 10 | จำ�นวนนับ 21 ถึง 100

ตรวจสอบความเข้าใจ สิ่งที่ได้เรียนรู้

ตรวจสอบความเข้าใจของนักเรียนเพื่อให้สอดคล้อง การเปรียบเทียบจำ�นวนสองจำ�นวน
กับจุดประสงค์ของการเรียนในชัว่ โมงนี้ โดยเขียนเครือ่ งหมาย
• ถ้าจำ�นวนหลักไม่เท่ากัน จำ�นวนที่มีจำ�นวนหลักมากกว่า
> หรือ < ใน แสดงการเปรียบเทียบจำ�นวนสองจำ�นวน
จะมากกว่าอีกจำ�นวนหนึ่ง
ตามหนังสือหน้า 96 ถ้านักเรียนเติมเครื่องหมายแสดง
การเปรียบเทียบถูกต้องแสดงถึงการบรรลุจุดประสงค์ • ถ้าจำ�นวนหลักเท่ากัน ให้พิจารณาเลขโดดในหลักสิบก่อน
ถ้านักเรียนเติมเครื่องหมายแสดงการเปรียบเทียบผิด เลขโดดในหลักสิบของจำ�นวนใดมากกว่า จำ�นวนนั้น
แสดงว่านักเรียนยังไม่เข้าใจ ครูควรสอนเสริมพิเศษนอกเวลา จะมากกว่า ถ้าเลขโดดในหลักสิบเท่ากัน ให้พจิ ารณาเลขโดด
จากนั้นร่วมกันสรุปบทเรียน ในหลักหน่วย โดยที่เลขโดดในหลักหน่วยของจำ�นวนใด
มากกว่า จำ�นวนนั้นจะมากกว่า

จากนั้นให้นักเรียนทำ�แบบฝึกหัด 10.7 หน้า 57-59

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  109
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 10 | จำ�นวนนับ 21 ถึง 100

10.8 เรียงลำ�ดับจำ�นวน

จุดประสงค์
เรียงลำ�ดับจำ�นวนจากมากไปน้อย
หรือจากน้อยไปมาก

สื่อการเรียนรู้
• บัตรตัวเลข

แนวการจัดการเรียนรู้
ครูทบทวนโดยการถาม-ตอบเรื่องการเปรียบเทียบจำ�นวนสองหลักว่ามีวิธีใดบ้างที่ใช้ในการเปรียบเทียบจำ�นวน
สองหลักสองจำ�นวน วิธีใดง่ายต่อการเปรียบเทียบที่ไม่ต้องใช้สื่อ ถาม-ตอบ จนได้คำ�ตอบว่าใช้วิธีดูหลักและค่าของตัวเลขโดด
ในหลักสิบหรือหลักหน่วย ยกตัวอย่างจำ�นวนสองหลักสองจำ�นวน จำ�นวนใดมากกว่าหรือน้อยกว่าจำ�นวนใด ด้วยเหตุผลใด
เพราะเรื่องการเรียงลำ�ดับ นักเรียนต้องมีพื้นฐานการเปรียบเทียบมาก่อน จึงจะเรียงลำ�ดับได้อย่างรวดเร็ว ครูนำ�เข้าสู่บทเรียน
โดยสร้างสถานการณ์ว่าเพื่อน ๆ เล่นตัวต่อกัน ขุนมีตัวต่อ 12 ชิ้น ต้นกล้ามีตัวต่อ 35 ชิ้น ใบบัวมีตัวต่อ 28 ชิ้น ต้องการ
เรียงลำ�ดับจำ�นวนตัวต่อจากน้อยไปมาก ติดบัตรตัวเลข 12 35 28 ให้พจิ ารณาจากตัวเลขโดดในหลักสิบ แล้วใช้ค�ำ ถาม เช่น
• เลขโดดในหลักสิบของจำ�นวนใดน้อยที่สุด (12 น้อยที่สุด)
• เลขโดดในหลักสิบของจำ�นวนใดมากที่สุด (35 มากที่สุด)
ทำ�ให้สามารถเรียงลำ�ดับจากน้อยไปมาก คือ 12 น้อยที่สุด เรียงลำ�ดับเป็นตัวแรก 35 มากที่สุด เรียงลำ�ดับเป็น
ตัวสุดท้ายเหลือ 28 นำ�ไปเรียงไว้ตรงกลาง จะได้จำ�นวนที่เรียงจากน้อยไปมากดังนี้ 12 28 35 ครูควรยกตัวอย่าง
ฝึกเรียงลำ�ดับจำ�นวนสามจำ�นวนเพิ่มเติมอีก 2 – 3 ตัวอย่าง

110  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 10 | จำ�นวนนับ 21 ถึง 100

72
21

72 39 35 21

21 35 39 72

แนวการจัดการเรียนรู้
ครูสอนการเรียงลำ�ดับจำ�นวนสี่จำ�นวนโดยการให้นักเรียนหาจำ�นวนที่มากที่สุดและจำ�นวนที่น้อยที่สุดก่อน
จากนัน้ นำ�จำ�นวนทีเ่ หลือมาเปรียบเทียบกัน แล้วเขียนจำ�นวนเรียงจากมากไปน้อยหรือจากน้อยไปมาก ครูควรสอนไปพร้อมกัน
นักเรียนจะได้เห็นถึงการเรียงลำ�ดับจำ�นวนว่าถ้าเรียงจากมากไปน้อยในทางกลับกันจะเป็นการเรียงจากน้อยไปมาก

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  111
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 10 | จำ�นวนนับ 21 ถึง 100

54 48 36 11 8

แนวการจัดการเรียนรู้

ครูให้นักเรียนฝึกการเรียงลำ�ดับจำ�นวนห้าจำ�นวนจากน้อยไปมาก ติดบัตรตัวเลข 35 20 80 56 41 พิจารณา


เลขโดดในหลักสิบ แล้วใช้คำ�ถาม เช่น
• เลขโดดในหลักสิบของจำ�นวนใดน้อยที่สุด (20 น้อยที่สุด)
• เลขโดดในหลักสิบของจำ�นวนใดมากที่สุด (80 มากที่สุด)
ทำ�ให้สามารถเรียงลำ�ดับได้สองจำ�นวน คือ 20 น้อยที่สุด เรียงลำ�ดับเป็นตัวแรก 80 มากที่สุด เรียงลำ�ดับเป็น
ตัวสุดท้าย เหลือ 35 56 41 ที่ต้องนำ�ไปเรียงไว้ตรงกลาง นำ� 35 56 41 มาพิจารณาเลขโดดในหลักสิบอีกครั้ง
จะได้ 35 น้อยที่สุด 56 มากที่สุด เหลือ 41 นำ�ไปเรียงไว้ตรงกลางจะได้ 35 41 56 ดังนั้นเรียงจำ�นวนห้าจำ�นวน
จากน้อยไปมากได้ดังนี้ 20 35 41 56 80 หากมีเวลาเหลือ ควรฝึกเพิ่มเติม

112  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 10 | จำ�นวนนับ 21 ถึง 100

85

23

85 75 71 59 23

23 59 71 75 85

ตรวจสอบความเข้าใจ สิ่งที่ได้เรียนรู้

ตรวจสอบความเข้าใจของนักเรียนเพื่อให้สอดคล้อง การเรียงลำ�ดับจำ�นวนจากมากไปน้อย หรือจากน้อยไปมาก


กับจุดประสงค์ของการเรียนในชั่วโมงนี้ โดยให้เรียงลำ�ดับ อาจทำ�ได้โดยหาจำ�นวนที่มากที่สุดและน้อยที่สุดก่อน
85 23 71 75 59 จากน้อยไปมากและจากมากไปน้อย จากนัน
้ นำ�จำ�นวนทีเ่ หลือมาเปรียบเทียบกันแล้วเรียงตามลำ�ดับ
ถ้านักเรียนเรียงลำ�ดับจำ�นวนถูกต้องแสดงถึงการบรรลุ
จากนั้นให้นักเรียนทำ�แบบฝึกหัด 10.8 หน้า 60-62
จุดประสงค์ในชั่วโมงนี้ ถ้านักเรียนเรียงลำ�ดับจำ�นวนผิด
ครูควรสอนเสริมพิเศษให้นกั เรียน จากนัน ้ ร่วมกันสรุปบทเรียน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  113
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 10 | จำ�นวนนับ 21 ถึง 100

10.9 แบบรูปของจำ�นวน
ที่เพิ่มขึ้นทีละ 1
และแบบรูปของจำ�นวน
ที่ลดลงทีละ 1

จุดประสงค์
1. บอกความสัมพันธ์ของแบบรูปที่
เพิ่มขึ้นหรือลดลง
2. บอกจำ�นวนที่หายไปในแบบรูปที่
กำ�หนด

สื่อการเรียนรู้
• บัตรคำ� บัตรภาพ
25

40

61

87

แนวการจัดการเรียนรู้

นักเรียนต้องมีพื้นฐานการบวกจำ�นวนทีละ 1 ครูจึงควรทบทวนการบวกจำ�นวนก่อนโดยการถาม-ตอบ เช่น 6 + 1


ได้ ..... 7 + 1 ได้ ..... 8 + 1 ได้ ..... 9 + 1 ได้ ..... ครูติดบัตรภาพกบกระโดดบนใบบัว กบเริ่มต้นกระโดดจาก 6
ให้นักเรียนสังเกตชุดของจำ�นวน 6 7 8 9 10 คิดและตอบให้ได้ด้วยตนเอง ถามนักเรียนหลาย ๆ คนว่า 6 7 8 9 10
เป็นการเรียงจำ�นวนในลักษณะอย่างไร จนได้คำ�ตอบ พร้อมทั้งเขียนความเชื่อมโยงด้วยลูกศร + 1 แล้วสรุปว่า 6 7 8 9 และ
10 เป็นจำ�นวนนับที่เพิ่มขึ้นทีละ 1 แนะนำ�ความสัมพันธ์ที่ต่อเนื่องกันในลักษณะนี้ว่าเป็นแบบรูป ฝึกหาจำ�นวนที่หายไป
ในแบบรูปของจำ�นวน 21 22 23 24 ... โดยถามว่าเป็นแบบรูปที่เพิ่มขึ้นหรือไม่ ถ้าเป็น เพิ่มขึ้นทีละเท่าไร ต่อจาก 24
เป็นจำ�นวนใด จำ�นวนที่หายไปคือ 25 เมื่อเข้าใจแบบรูปที่เพิ่มขึ้น ให้บอกจำ�นวนที่หายไปในแบบรูปตามหนังสือเรียน
หน้า 101

114  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 10 | จำ�นวนนับ 21 ถึง 100

22

35

61

90

แนวการจัดการเรียนรู้

ครูทบทวนความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการลบจำ�นวนทีละ 1 ก่อน โดยการถามตอบ เช่น 23 - 1 ได้ ..... 22 - 1 ได้ .....


21 - 1 ได้ ..... ติดบัตรภาพแสดงจำ�นวน 8 7 6 5 4 ให้สังเกตว่าเป็นอย่างไร เป็นจำ�นวนที่เพิ่มขึ้นใช่หรือไม่ ให้นักเรียน
คิดและตอบให้ได้ด้วยตนเอง ถามนักเรียนหลาย ๆ คนว่า 8 7 6 5 4 เป็นการเรียงจำ�นวนในลักษณะอย่างไร จนได้คำ�ตอบ
พร้อมทั้งเขียนความเชื่อมโยงด้วยลูกศร - 1 แล้วสรุปว่า 8 7 6 5 4 เป็นจำ�นวนที่ลดลงทีละ 1 แนะนำ�ความสัมพันธ์ที่
ต่อเนื่องกันในลักษณะนี้ว่าเป็นแบบรูป ฝึกหาจำ�นวนที่หายไปในแบบรูปของจำ�นวน 25 24 23 ... 21 โดยถามว่าเป็นแบบ
รูปที่ลดลงหรือไม่ ถ้าเป็น ลดลงทีละเท่าไร ต่อจาก 23 เป็นจำ�นวนใด ดังนั้นจำ�นวนที่หายไปคือ 22 หลังจากที่เข้าใจแบบรูป
ที่ลดลงแล้วให้บอกจำ�นวนที่หายไปในแบบรูปตามหนังสือเรียนหน้า 102

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  115
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 10 | จำ�นวนนับ 21 ถึง 100

24

ลดลง

60
เพิ่มขึ้น

80

เพิ่มขึ้น

99
ลดลง

แนวการจัดการเรียนรู้

ครูให้นก
ั เรียนฝึกเติมจำ�นวนทีห
่ ายไปในแบบรูปของจำ�นวนทีเ่ พิม
่ ขึน
้ หรือลดลงทีละ 1 และเขียน “เพิม
่ ขึน
้ ” หรือ “ลดลง”
โดยอาจให้นักเรียนตอบทีละคน พร้อมทั้งให้อธิบายว่าเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างไร หากมีเวลาเหลือ ควรฝึกเพิ่มเติม ซึ่งครู
อาจให้นักเรียนตั้งโจทย์ขึ้นมา แล้วให้เพื่อนตอบ เพื่อฝึกทักษะการคิดด้วยตนเองของนักเรียน และฝึกให้มีความกล้าที่จะพูด
ที่จะแสดงออกมากขึ้น

116  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 10 | จำ�นวนนับ 21 ถึง 100

40

69

61

ตรวจสอบความเข้าใจ สิ่งที่ได้เรียนรู้

ตรวจสอบความเข้าใจของนักเรียนเพื่อให้สอดคล้อง • แบบรูปของจำ�นวนที่เพิ่มขึ้นทีละ 1 เป็นชุดของ


กับจุดประสงค์ของการเรียนในชั่วโมงนี้ โดยให้เติมตัวเลข จำ�นวนที่มีความสัมพันธ์กันอย่างต่อเนื่องในลักษณะ
ที่หายไปในแบบรูปตามหนังสือเรียนหน้า 104 ถ้านักเรียน ของการเพิ่มขึ้นทีละ 1 เช่น 10 11 12 13 14
ตอบถูกต้องแสดงว่าเข้าใจในแบบรูป ถ้านักเรียนตอบ
• แบบรูปของจำ�นวนที่ลดลงทีละ 1 เป็นชุดของจำ�นวน
ไม่ถูกต้อง ครูควรสอนเสริมพิเศษให้นักเรียน
ที่มีความสัมพันธ์กันอย่างต่อเนื่องในลักษณะของ
จากนั้นร่วมกันสรุปบทเรียน
การลดลงทีละ 1 เช่น 30 29 28 27 26

จากนั้นให้นักเรียนทำ�แบบฝึกหัด 10.9 หน้า 63-64

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  117
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 10 | จำ�นวนนับ 21 ถึง 100

10.10 แบบรูปของจำ�นวนที่เพิ่ม
ขึ้นทีละ 10 และแบบรูป
ของจำ�นวนที่ลดลงทีละ 10

จุดประสงค์
1. บอกความสัมพันธ์ของแบบรูปที่
เพิ่มขึ้นหรือลดลง
2. บอกจำ�นวนที่หายไปในแบบรูปที่
กำ�หนดได้

สื่อการเรียนรู้
• บัตรคำ� บัตรภาพ

42

100

65 75

แนวการจัดการเรียนรู้

นักเรียนต้องมีพื้นฐานความรู้เรื่องการบวกจำ�นวนทีละ 10 ครูจึงควรทบทวนการบวกจำ�นวนก่อนโดยการถาม-ตอบ
เช่น 7 + 10 ได้ ..... 8 + 10 ได้ ..... 9 + 10 ได้ ..... ครูติดบัตรภาพแสดงแบบรูปที่เพิ่มขึ้นของจำ�นวน เริ่มต้นจำ�นวนแรก
เป็น 10 ให้นักเรียนสังเกตชุดของจำ�นวน 10 20 30 40 50 คิดและตอบให้ได้ด้วยตนเอง ถามนักเรียนหลาย ๆ คนว่า
10 20 30 40 50 เป็นแบบรูปที่เรียงจำ�นวนในลักษณะอย่างไร จนได้คำ�ตอบพร้อมทั้งเขียนความเชื่อมโยงด้วยลูกศร
+ 10 ทุกจำ�นวนแล้วสรุปว่า 10 20 30 40 และ 50 เป็นจำ�นวนที่เพิ่มขึ้นทีละ 10 ครูเน้นย้ำ�ว่าความสัมพันธ์ที่ต่อเนื่องกัน
ในลักษณะนี้เป็นแบบรูป สำ�หรับชุดของจำ�นวน 12 22 32 42 52 ใช้วิธีการให้นักเรียนคิดเช่นเดียวกัน หลังจากนั้นให้
เติมจำ�นวนที่หายไปตามหนังสือเรียน

118  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 10 | จำ�นวนนับ 21 ถึง 100

85

100

42 32

แนวการจัดการเรียนรู้

ครูทบทวนความรูพ ้ื ฐานเรือ่ งการลบจำ�นวนก่อน โดยการถาม-ตอบ เช่น 78 - 10 ได้ .... 68 - 10 ได้ ....58 - 10 ได้ ....
้ น
ครูติดบัตรภาพแสดงจำ�นวน 40 30 20 10 0 และ 85 75 65 55 45 ให้นักเรียนสังเกตชุดของจำ�นวนทั้งสอง
คิดและตอบให้ได้ด้วยตนเอง ถามนักเรียนหลายๆ คนว่า แบบรูปทั้งสองเป็นแบบรูปที่เรียงจำ�นวนในลักษณะอย่างไรจนได้
คำ�ตอบพร้อมทั้งเขียนความเชื่อมโยงด้วยลูกศร - 10 แล้วสรุปว่า 40 30 20 10 0 และ 85 75 65 55 45
เป็นแบบรูปของจำ�นวนที่ลดลงทีละ 10 หลังจากที่เข้าใจแบบรูปที่ลดลงแล้ว ให้บอกจำ�นวนที่หายไป ในแบบรูปตาม
หนังสือเรียนหน้า 106

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  119
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 10 | จำ�นวนนับ 21 ถึง 100

90

เพิ่มขึ้น

44

ลดลง

75
เพิ่มขึ้น

30
ลดลง

แนวการจัดการเรียนรู้
ครูให้นกั เรียนฝึกบอกจำ�นวนทีห่ ายไปในแบบรูปของจำ�นวนทีเ่ พิม ่ ขึน
้ หรือลดลงทีละ 10 และเขียน “เพิม
่ ขึน
้ ” หรือ “ลดลง”
ตามหนังสือเรียนโดยอาจให้นักเรียนตอบทีละคน พร้อมทั้งให้อธิบายว่าเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างไร หากมีเวลาเหลือ ควรฝึก
เพิ่มเติม ซึ่งครูอาจให้นักเรียนตั้งโจทย์ขึ้นมา แล้วให้เพื่อนตอบ เพื่อฝึกทักษะการคิดด้วยตนเองของนักเรียน และฝึกให้มี
ความกล้าที่จะพูดและกล้าที่จะแสดงออกมากขึ้น

120  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 10 | จำ�นวนนับ 21 ถึง 100

7
17
27
33 37
43
53
63

ตรวจสอบความเข้าใจ สิ่งที่ได้เรียนรู้

ตรวจสอบความเข้าใจของนักเรียนเพื่อให้สอดคล้อง • แบบรูปของจำ�นวนที่เพิ่มขึ้นทีละ 10 เป็นชุดของ


กับจุดประสงค์ของการเรียนในชั่วโมงนี้ โดยเติมตัวเลขใน จำ�นวนที่มีความสัมพันธ์กันอย่างต่อเนื่องในลักษณะ
ช่องว่างให้เป็นแบบรูปของจำ�นวนที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง ของการเพิ่มขึ้นทีละ 10 เช่น 10 20 30 40 50
ทีละ 10 ตามหนังสือเรียนหน้า 108 ซึ่งลักษณะของโจทย์
• แบบรูปของจำ�นวนที่ลดลงทีละ 10 เป็นชุดของ
เป็นแบบรูปในลักษณะแนวนอนและแนวตั้งผสมกัน
จำ�นวนที่มีความสัมพันธ์กันอย่างต่อเนื่องในลักษณะ
หากนักเรียนทำ�ได้ แสดงว่าเข้าใจในแบบรูป หากนักเรียนทำ�
ของการลดลงทีละ 10 เช่น 95 85 75 65 55
ไม่ได้ แสดงว่านักเรียนยังขาดความเชื่อมโยงของ
ความต่อเนื่อง ครูควรสอนเสริมพิเศษให้นักเรียน จากนั้นให้นักเรียนทำ�แบบฝึกหัด 10.10 หน้า 65 - 66
จากนั้นร่วมกันสรุปบทเรียน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  121
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 10 | จำ�นวนนับ 21 ถึง 100

10.11 แบบรูปของจำ�นวนบน
ตารางร้อย

จุดประสงค์
1. บอกความสัมพันธ์ของแบบรูปที่
เพิ่มขึ้นหรือลดลงบนตารางร้อย
2. บอกจำ�นวนที่หายไปในแบบรูปที่
กำ�หนดบนตารางร้อย

สื่อการเรียนรู้
• บัตรคำ� บัตรภาพ

แนวการจัดการเรียนรู้
ให้นักเรียนสังเกตชุดของจำ�นวนบนตารางร้อย 12 13 14 15 16 17 คิดและตอบให้ได้ด้วยตนเอง โดยถาม
นักเรียนหลาย ๆ คนว่า 12 13 14 15 16 17 เป็นการเรียงจำ�นวนในลักษณะอย่างไร จนได้คำ�ตอบ พร้อมทั้งเขียน
ความเชื่อมโยงด้วยลูกศร + 1 แล้วสรุปว่า 12 13 14 15 16 17 เป็นจำ�นวนทีเ่ พิม ่ ขึน
้ ทีละ 1 แนะนำ�ความสัมพันธ์
ที่ต่อเนื่องกันในลักษณะนี้ว่าเป็นแบบรูป ฝึกหาจำ�นวนที่หายไปในแบบรูปของจำ�นวน 25 24 23 21 โดยถามว่า
เป็นแบบรูปที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง และเพิ่มขึ้นหรือลดลงทีละเท่าไร ต่อจาก 23 เป็นจำ�นวนใด จำ�นวนที่หายไปคือ 22
โดยให้ผู้เรียนดูจากตารางร้อย เพื่อให้เข้าใจแบบรูปที่เพิ่มขึ้นหรือแบบรูปที่ลดลงจากตารางร้อย

122  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 10 | จำ�นวนนับ 21 ถึง 100

แนวการจัดการเรียนรู้
ให้นักเรียนสังเกตชุดของจำ�นวน 30 40 50 60 70 ว่าเป็นอย่างไร เป็นจำ�นวนที่เพิ่มขึ้นใช่หรือไม่ ให้นักเรียนคิดและ
ตอบให้ได้ด้วยตนเอง ถามนักเรียนหลาย ๆ คนว่า 30 40 50 60 70 เป็นการเรียงจำ�นวนในลักษณะอย่างไร จนได้คำ�ตอบ
พร้อมทั้งเขียนความเชื่อมโยงด้วยลูกศร + 10 แล้วสรุปว่า 30 40 50 60 70 เป็นจำ�นวนที่เพิ่มขึ้นทีละ 10 แนะนำ�
ความสัมพันธ์ที่ต่อเนื่องกันในลักษณะนี้ว่าเป็นแบบรูป ฝึกหาจำ�นวนที่หายไปในแบบรูปของจำ�นวน 25 35 45 65
โดยถามว่าเป็นแบบรูปที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงใช่หรือไม่ จำ�นวนที่ต่อจาก 45 เป็นจำ�นวนอะไร ดังนั้นจำ�นวนที่หายไปคือ 55
หลังจากที่เข้าใจแบบรูปแล้ว ให้บอกจำ�นวนที่หายไปในแบบรูปตามหนังสือเรียนหน้า 111

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  123
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 10 | จำ�นวนนับ 21 ถึง 100

55 56 57
94 93 92
42 52 62 72
18 28 38
13 17 18
69 59 49
37 36 35
23 13 3

แนวการจัดการเรียนรู้

ให้นักเรียนเติมตัวเลขแสดงจำ�นวนที่หายไปในแบบรูปตามหนังสือเรียน โดยอาจให้นักเรียนตอบทีละคน พร้อมทั้งให้


อธิบายว่าเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างไร หากมีเวลาเหลือ ควรฝึกเพิ่มเติม ซึ่งครูอาจให้นักเรียนตั้งโจทย์แล้วให้เพื่อนตอบเพื่อ
ฝึกทักษะการคิดด้วยตนเองของนักเรียน และฝึกให้มีความกล้าที่จะพูดและกล้าที่จะแสดงออกมากขึ้น

124  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 10 | จำ�นวนนับ 21 ถึง 100

44 45 47
56
66
19
76
29
39
46 47 48

ตรวจสอบความเข้าใจ สิ่งที่ได้เรียนรู้

ตรวจสอบความเข้าใจของนักเรียนเพื่อให้สอดคล้อง จากตารางร้อย
กับจุดประสงค์ของการเรียนในชั่วโมงนี้ โดยให้เติมตัวเลข จำ�นวนจากซ้ายไปขวาในแนวเดียวกันเป็นจำ�นวนที่เพิ่มขึ้น
แสดงจำ�นวนที่หายไปในแบบรูปตามหนังสือเรียนหน้า 112 ทีละ 1 จำ�นวน
ถ้านักเรียนตอบถูกต้อง แสดงว่าเข้าใจในแบบรูป ถ้านักเรียน จากขวาไปซ้ายในแนวเดียวกันเป็นจำ�นวนที่ลดลงทีละ 1
ตอบไม่ถูกต้อง ครูควรสอนเสริมพิเศษให้นักเรียน
จำ�นวนจากบนลงล่างในแนวเดียวกันเป็นจำ�นวนที่เพิ่มขึ้น
จากนั้นร่วมกันสรุปบทเรียน
ทีละ 10

จำ�นวนจากล่างขึ้นบนในแนวเดียวกันเป็นจำ�นวนที่ลดลง
ทีละ 10

จากนั้นให้นักเรียนทำ�แบบฝึกหัด 10.11 หน้า 67-69

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  125
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 10 | จำ�นวนนับ 21 ถึง 100

กิจกรรม เรียงแก้ว

อุปกรณ์
1. แก้วกระดาษหรือถ้วยพลาสติก
กลุ่มละ 55 ใบ
2. แบบบันทึก

3 ๓ สาม
6 ๖ หก

15 ๑๕ สิบหา
21 ๒๑ ยี่สิบเอ็ด
28 ๒๘ ยี่สิบแปด
36 ๓๖ สามสิบหก
45 ๔๕ สี่สิบหา
55 ๕๕ หาสิบหา

วิธีจัดกิจกรรม
1. ครูแบ่งกลุ่มนักเรียนและให้แต่ละกลุ่มจัดเรียงแก้วตามรูปในหนังสือเรียนหน้า 113 แล้วบอกจำ�นวนแก้วที่ใช้
2. จัดเรียงแก้วตามรูปในหนังสือเรียนหน้า 113 แต่ให้ชั้นล่างสุดมีแก้ว 2 ใบ 3 ใบ 4 ใบ 5 ใบ 6 ใบ 7 ใบ 8 ใบ 9 ใบ
และ 10 ใบ ตามลำ�ดับจะต้องใช้แก้วในการวางเรียงทั้งหมดกี่ใบ
3. บันทึกผลลงในแบบบันทึก

จากนั้นให้นักเรียนทำ�แบบฝึกท้าทาย หน้า 70

126  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 10 | จำ�นวนนับ 21 ถึง 100

แบบทดสอบบทที่ 10

เป็ น ตั ว อย่ า งแบบทดสอบที่ ใ ช้ ใ นการประเมิ น เพื่ อ พั ฒ นานั ก เรี ย นหากมี นั ก เรี ย นคนใดที่ ไ ม่ ผ่ า นการทดสอบครู ค วร
ให้ นั ก เรี ย นคนนั้ น ฝึ ก ทั ก ษะมากขึ้ น โดยอาจใช้ แ บบฝึ ก เสริ ม จากหนั ง สื อ เสริ ม เพิ่ ม ปั ญ ญาของสสวท.หรื อ แบบฝึ ก อื่ น ที่
เห็นว่าสมควร ซึ่งแบบทดสอบท้ายบทนี้มีจำ�นวน 10 ข้อ คะแนนเต็ม 10 คะแนน ใช้เวลาในการทำ�แบบทดสอบ 20 นาที
และวิเคราะห์เป็นรายจุดประสงค์ได้ดังนี้

จุดประสงค์การเรียนรู้ ข้อที่

1. บอกจำ�นวนของสิ่งต่าง ๆ และแสดงสิ่งต่าง ๆ ตามจำ�นวนที่กำ�หนด 21 ถึง 100 23

2. อ่านและเขียนตัวเลขฮินดูอารบิก ตัวเลขไทย ตัวหนังสือแสดงจำ�นวนนับ 21 ถึง 100 14

3. เปรียบเทียบและเรียงลำ�ดับจำ�นวนนับ 21 ถึง 100 5 6 8

4. บอกจำ�นวนที่หายไปในแบบรูปของจำ�นวนที่เพิ่มขึ้น หรือลดลงทีละ 1 และทีละ 10 7 9 10

ตอนที่ 1 เขียน × ทับตัวเลือกที่เป็นคำ�ตอบที่ถูกต้อง

1. เดือนเมษายนซึง่ เป็นช่วงปิดภาคเรียน เด็กชายตูนออมเงิน


ตามวันที่ในปฏิทินเดือนเมษายน ดังนี้
วันที่ 1 ออมเงิน 1 บาท
วันที่ 2 ออมเงิน 2 บาท รวมสองวัน เด็กชายตูนออม
เงินได้ 3 บาท
ถ้าเด็กชายตูนออมเงินเป็นแบบนี้ไปจนถึงวันที่ 6 เมษายน
เด็กชายตูนจะมีเงินออมทั้งหมดกี่บาท

ก. ๖ บาท ข. ๑๖ บาท ค. ๒๑ บาท


- 6 เม.ย. หยุด วันจกรี
- 12 เม.ย. - 16 เม.ย. หยุด เทศกาลสงกรานต

2. ในการเล่นเกมกระโดดต้องเริ่มต้นกระโดดที่ช่อง A และ
กระโดดไปตามลูกศรทีละช่อง เด็กหญิงแก้วต้องกระโดด
25 ครั้ง เมื่อกระโดดครบแล้ว เด็กหญิงแก้วจะยืนอยู่ที่
ช่องใด

ก. ข. ค.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  127
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 10 | จำ�นวนนับ 21 ถึง 100

3. ข้อใดบอกจำ�นวนได้ถูกต้อง

ก. สองสิบสอง ข. ๒๒ ค. 12

4. แม่ค้ามีส้ม 78 ผล ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับตัวเลขที่ขีดเส้นใต้
ก. อยู่ในหลักสิบ ข. มีค่า 70 ค. มีค่าน้อยกว่า 8

5. ในตู้ปลามีปลา 49 ตัว ข้อใดคือจำ�นวนที่น้อยกว่าจำ�นวนปลา


ก. 94 ข. ๔๘ ค. ห้าสิบเอ็ด

6. ข้อใดเรียงลำ�ดับจำ�นวนจากน้อยไปมาก
ก. 70 80 90 100
ข. 17 71 18 81
ค. 29 92 29 92

7. จากบางส่วนของตารางร้อย ที่กำ�หนดให้ เติมตัวเลขแสดงจำ�นวนในช่องว่าง

23 24 25

33 34 35

44 45 46
ก. 21 และ 47 ข. 21 และ 48 ค. 22 และ 47

128  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 10 | จำ�นวนนับ 21 ถึง 100

8. กำ�หนดจำ�นวนดังนี้

69 77 85 52

73 58 100

ข้อใดเรียงลำ�ดับจำ�นวนจากมากไปน้อย

ก.
73 77 85

ข.
100 58 85

ค. 73 69 52

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  129
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 10 | จำ�นวนนับ 21 ถึง 100

9. จากรูปที่กำ�หนดให้ข้อใดเป็นแบบรูปที่ลดลงทีละ 1

43 52 56 45
49 50
51
47 54
55 48 46
53

ก.

48 47 46 45 43

ข.

52 51 50 49 48

ค.

56 54 52 50 48

10. จากแบบรูป
41 51 61 71 81

ข้อใดกล่าวถูกต้อง
ก. เป็นแบบรูปที่เพิ่มขึ้นทีละ 11
ข. เป็นแบบรูปที่เพิ่มขึ้นทีละ 10
ค. เป็นแบบรูปที่ลดลงทีละ 10

เฉลย

1. ค 6. ก
2. ค 7. ค
3. ข 8. ค
4. ค 9. ข
5. ข 10. ข

130  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 11 | การวัดความยาว

บทที่ 11 การวัดความยาว

จุดประสงค์การเรียนรู้และสาระสำ�คัญ

จุดประสงค์การเรียนรู้ สาระสำ�คัญ

นักเรียนสามารถ
1. เปรียบเทียบความยาวระหว่างสิ่งของโดยใช้คำ�ว่า ยาวกว่า สั้นกว่า สูงกว่า เตี้ยกว่า เท่ากัน ยาวที่สุด สั้นที่สุด
ยาวกว่า สั้นกว่า สูงกว่า เตี้ยกว่า เท่ากัน ยาวที่สุด สูงที่สุด เตี้ยที่สุด เป็นคำ�ที่ใช้ในการเปรียบเทียบความยาวของ
สั้นที่สุด สูงที่สุด เตี้ยที่สุด สิ่งต่าง ๆ

(เนื้อหาในหัวข้อ 11.1, 11.2, 11.3) การเปรียบเทียบความยาวต้องวางให้ปลายข้างหนึ่งเสมอกัน


แล้วดูที่ปลายอีกข้างหนึ่ง

2. วัดและเปรียบเทียบความยาวที่มีหน่วยเป็นเซนติเมตร เซนติเมตร เมตร เป็นหน่วยมาตรฐานที่ใช้บอกความยาว


เป็นเมตร ความสูงของสิ่งต่าง ๆ
(เนื้อหาในหัวข้อ 11.4, 11.5, 11.6, 11.7) การเปรียบเทียบความยาวสามารถทำ�ได้โดยนำ�ความยาว
ในหน่วยเดียวกันมาเปรียบเทียบกัน

(เนื้อหาในหัวข้อ 11.8, 11.9) การแก้โจทย์ปัญหาสามารถทำ�ได้โดยอ่าน และทำ�ความเข้าใจ


วางแผนวิธีคิด โดยอาจใช้การวาดภาพ หาคำ�ตอบและตรวจสอบ
ความสมเหตุสมผล

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  131
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 11 | การวัดความยาว

ตารางการวิเคราะห์เนื้อหากับทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
หัวข้อ เนื้อหา
j k l m n
เตรียมความพร้อม 

11.1 การเปรียบเทียบความยาวของสิ่งต่าง ๆ 

11.2 การวัดความยาวโดยใช้หน่วยที่ไม่ใช่หน่วยมาตรฐาน  

11.3 การเปรียบเทียบความยาวโดยใช้หน่วยที่ไม่ใช่หน่วยมาตรฐาน 

11.4 การวัดความยาวเป็นเซนติเมตร  

11.5 การคาดคะเนความยาวเป็นเซนติเมตร  

11.6 การวัดความยาวเป็นเมตร  

11.7 การเปรียบเทียบความยาวที่มีหน่วยเป็นเซนติเมตร เป็นเมตร 

11.8 โจทย์ปัญหาการบวกและโจทย์ปัญหาการลบ (1)   

11.9 โจทย์ปัญหาการบวกและโจทย์ปัญหาการลบ (2)   

ร่วมคิดร่วมทำ�     

ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

j การแก้ปัญหา k การสื่อสารและการสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์
l การเชื่อมโยง m การให้เหตุผล n การคิดสร้างสรรค์

132  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 11 | การวัดความยาว

คำ�สำ�คัญ
การวัดความยาว ความสูง
การเปรียบเทียบความยาว เครื่องวัด
เซนติเมตร เมตร การคาดคะเน

ความรู้หรือทักษะพื้นฐาน
ความหมายของคำ�ที่ใช้ใน
การเปรียบเทียบ ได้แก่ คำ�ว่า
ยาวกว่า สั้นกว่า สูงกว่า เตี้ยกว่า
เท่ากัน ยาวที่สุด สั้นที่สุด สูงที่สุด
เตี้ยที่สุด การบวก การลบ

เวลาที่ใช้จัดการเรียนรู้
11 ชั่วโมง

สื่อและแหล่งเรียนรู้

1. หนังสือเรียน หน้า 114 ถึง 153


2. แบบฝึกหัด หน้า 71 ถึง 92
3. เอกสาร แบบบันทึก ใบกิจกรรม และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการทำ�กิจกรรม ดังนี้
• สื่อของจริง เช่น สื่อของจริงมาใช้ในการวัด โบติดของขวัญ ริบบิ้น ดินสอ ยางลบ กรรไกร แก้วน้ำ� พู่กัน
หลอดดูดน้ำ� ไม้ไอศกรีม ตะเกียบ สมุด หนังสือ ปากกา ขวดน้ำ� กล่องนม ดินสอที่ยังไม่เหลา กล่องนม
• บัตรตัวเลข เช่น บัตรตัวเลขการวัด
• บัตรข้อความ เช่น แถบโจทย์ปัญหาการวัด
• สื่อตัวนับ
• อุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น แถบกระดาษสี แผนรูปภูมิภาพ ลวดเสียบกระดาษ ไม้บรรทัด ไม้เมตร สายวัดชนิดตลับ
สายวัดตัว แถบกระดาษทีม ่ คี วามยาวเต็มเมตรต่างกัน 2 เมตร 3 เมตร และ 5 เมตร เชือกฟาง กรรไกรปลายมน
• ใบบันทึกกิจกรรม
• บัตรภาพต่าง ๆ เช่น บัตรภาพสิ่งต่าง ๆ ที่จะวัดความยาว บัตรภาพประกอบโจทย์เกี่ยวกับการวัด

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  133
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 11 | การวัดความยาว

แนวการจัดการเรียนรู้
ใช้ข้อมูลในหนังสือเรียนหน้าเปิดบท เพื่อกระตุ้นความสนใจเกี่ยวกับการวัดความยาว โดยถามคำ�ถามนักเรียนว่า

• นักเรียนเคยห่อของขวัญด้วยตัวเองไหม
• ถ้าเคย นักเรียนใช้ริบบิ้นผูกอย่างไร
• เมื่อผูกริบบิ้นเสร็จแล้ว ตัดส่วนที่ยาวเกินไป ออกหรือไม่
• ถ้าไม่เคย นักเรียนคิดว่าคนที่ผูกริบบิ้น เขาทำ�อย่างไรจึงจะผูกริบบิ้นได้พอดี โดยไม่ต้องตัดริบบิ้นทิ้ง

สนทนาเกี่ยวกับภาพในหน้าเปิด เพื่อนำ�เข้าสู่บทเรียน

134  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 11 | การวัดความยาว

แนวการจัดการเรียนรู้
เตรียมความพร้อม เพื่อตรวจสอบความรู้พื้นฐานของนักเรียนเกี่ยวกับความหมายของ คำ�ว่า ยาว สั้น โดยสนทนา
เกี่ยวกับภาพว่า นักเรียนคิดว่ากระดาษสีแผ่นใดยาวที่สุด
ครูอาจจัดกิจกรรมเพิ่มเติม โดยให้นักเรียนนำ�ริบบิ้นที่หยิบได้ไปวัดสิ่งของในห้องเรียนแล้วเปรียบเทียบ
หรือให้นักเรียนหยิบของตามที่ครูกำ�หนด เช่น หยิบของที่ยาวกว่าหรือสั้นกว่าสิ่งของตามที่ครูกำ�หนด ให้แต่ละคนมาเทียบ
สิ่งของที่ตนเองหยิบกับสิ่งของที่ครูกำ�หนดว่าถูกต้องหรือไม่ ถ้าไม่ถูกต้องให้ไปหยิบใหม่ เพื่อให้มีความเข้าใจเกี่ยวกับ
คำ�ว่า สั้นกว่า ยาวกว่า

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  135
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 11 | การวัดความยาว

11.1 การเปรียบเทียบความยาว
ของสิ่งต่าง ๆ

จุดประสงค์
เปรียบเทียบความยาวของสิง่ ต่าง ๆ
โดยใช้สง่ิ ของเทียบกันโดยตรง

สื่อการเรียนรู้
• บัตรภาพสิ่งต่าง ๆ ที่จะ
วัดความยาว
• แถบกระดาษสี แผนภาพ
หรืออาจนำ�ของจริง
มาใช้ในการเปรียบเทียบ

แนวการจัดการเรียนรู้
ครูใช้ของจริง หรือ บัตรภาพดินสอ ในการเปรียบเทียบความยาว โดยเน้นว่า การเปรียบเทียบความยาวต้องวางให้
ปลายข้างหนึ่งเสมอกันแล้วดูที่ปลายอีกข้างหนึ่ง จากนั้นใช้สิ่งต่าง ๆ ที่มีอยู่ในห้องเรียน ให้นักเรียนลองเปรียบเทียบ
ความยาวโดยครูขีดเส้นที่ใช้ในการเปรียบเทียบไว้บนโต๊ะ หรือกระดานหรือให้ใช้สันของหนังสือเป็นจุดที่ใช้ใน
การเปรียบเทียบความยาว

136  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 11 | การวัดความยาว

แนวการจัดการเรียนรู้
ในการเปรียบเทียบความสูง โดยให้นักเรียนดูภาพและตอบคำ�ถามว่า ใครสูงกว่า ใครเตี้ยกว่า และอะไรที่สูงเท่ากัน
เน้นย้ำ�ว่าการเปรียบเทียบความสูงต้องเริ่มที่ระดับเดียวกัน แล้วดูที่ปลายอีกข้างหนึ่ง เช่นเดียวกับการเปรียบเทียบ
ความยาว ครูอาจจะสุ่มเรียกให้นักเรียนออกมาเปรียบเทียบความสูง โดยคนตัวเตี้ยยืนบนม้านั่ง คนตัวสูงยืนที่พื้น ทำ�ให้คน
ตัวเตี้ยสูงกว่าคนตัวสูง แล้วให้นักเรียนช่วยกันคิดว่า ใครสูงกว่า ตอบได้หรือไม่เพราะเหตุใด ให้ร่วมสรุปอีกครั้งว่า การเปรียบ
เทียบความสูงต้องเริ่มที่ระดับเดียวกัน ให้นักเรียนคู่เดิมมายืนที่พื้นห้องที่ระดับเดียวกัน แล้วให้เปรียบเทียบความสูงกันอีกครั้ง
ว่าใครสูงกว่า ใครเตี้ยกว่า บอกได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  137
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 11 | การวัดความยาว

ขุน แกวตา
ตนกลา ใบบัว

แนวการจัดการเรียนรู้
ครูขีดเส้นตรงแนวดิ่งบนกระดาน (อาจใช้แถบแม่เหล็กได้) ใช้บัตรภาพรูปเข็มขัด 3 ภาพติดเหมือนในหนังสือเรียน
หน้า 119 แล้วถามนักเรียนว่า เข็มขัดสีอะไรยาวที่สุด เข็มขัดสีอะไรสั้นที่สุด ขีดเส้นตรงแนวนอนบนกระดาน ใช้บัตรภาพ
รูปขวดน้ำ� แจกัน แก้ว ติดเหมือนในหนังสือเรียนหน้า 119 แล้วถามนักเรียนว่า อะไรสูงที่สุด อะไรเตี้ยที่สุด
จากนัน
้ ให้นกั เรียนดูภาพในหนังสือเรียน หน้า 119 แล้วช่วยกันตอบคำ�ถามเกีย่ วกับการเปรียบเทียบความสูงของเด็ก ๆ ในภาพ

138  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 11 | การวัดความยาว

ยาวกวา
สั้นกวา
ยาวเทากัน
ยาวที่สุด
สั้นที่สุด

สูงกวา
เตี้ยกวา
สูงที่สุด
เตี้ยที่สุด

ตรวจสอบความเข้าใจ สิ่งที่ได้เรียนรู้
ตรวจสอบความเข้าใจของนักเรียนเพื่อให้สอดคล้อง การเปรียบเทียบความยาวและความสูงของสิ่งต่าง ๆ โดยตรง
กับจุดประสงค์ของการเรียนในชั่วโมงนี้ โดยการยกตัวอย่าง จะต้องวางให้ปลายข้างหนึ่งเสมอกัน แล้วเปรียบเทียบปลาย
แล้วให้นักเรียนดูภาพแล้วตอบปากเปล่าก่อน ตัวอย่างควรจะ อีกข้างหนึ่ง
เป็นสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวนักเรียน และเหมาะสมที่จะวัดความยาว
จากนั้นให้นักเรียนทำ�แบบฝึกหัด 11.1 หน้า 71-73
หรือความสูงแล้วจึงให้นักเรียนทำ�ตามหนังสือเรียนหน้า 120
ข้อ 1 เติมคำ�ว่า ยาวว่า สั้นกว่า ยาวเท่ากัน ยาวที่สุด หรือ
สั้นที่สุด และ ข้อ 2 เติมคำ�ว่า สูงกว่า เตี้ยกว่า
สูงเท่ากัน สูงที่สุด หรือ เตี้ยที่สุด

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  139
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 11 | การวัดความยาว

11.2 การวัดความยาวโดยใช้
หน่วยที่ไม่ใช่หน่วยมาตรฐาน

จุดประสงค์
วัดความยาวของสิ่งต่าง ๆ
โดยใช้หน่วยที่ไม่ใช่หน่วย
มาตรฐาน

สื่อการเรียนรู้
• ไม้ไอศกรีม ลวดเสียบกระดาษ
• บัตรภาพสิ่งต่าง ๆ ที่จะวัด
ความยาว หรืออาจนำ�ของจริง
มาใช้ในการวัด

แนวการจัดการเรียนรู้
ครูให้นักเรียนทำ�กิจกรรมจับไม้ยาว ไม้ที่ครูกำ�ไว้ด้านที่นักเรียนเห็นจะเท่ากันหมด แนะนำ�ลวดเสียบกระดาษ
แล้วให้ช่วยกันคิดว่าไม้ไอศกรีมที่ยาวที่สุดน่าจะยาวเท่ากับลวดเสียบกระดาษกี่อัน ครูจะต้องวัดหรือกำ�หนดความยาว
ของไม้ไอศกรีมให้พอดีกับลวดเสียบกระดาษ 4 อัน เน้นว่า หน่วยวัดทุกหน่วยต้องมีความยาวเท่ากัน จากนั้นให้จับกลุ่มกัน
ใช้ลวดเสียบกระดาษวัดไม้ไอศกรีมที่เหลือ เวลาวัดให้วางหน่วยวัดต่อกันเหมือนกับภาพในหนังสือเรียนหน้า 121

140  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 11 | การวัดความยาว

แนวการจัดการเรียนรู้
ให้นักเรียนดูภาพการวัดความยาวโดยใช้หน่วยที่ไม่ใช่หน่วยมาตรฐานในหนังสือเรียนหน้า 122 แล้วตอบคำ�ถาม
ครูเน้นย้ำ�ว่า หน่วยวัดทุกหน่วยต้องมีความยาวเท่ากัน อาจจะให้นักเรียนวัดจากของจริง ครูควรเตรียมของที่จะวัดและ
หน่วยวัดมา ซึ่งครูควรต้องวัดมาก่อนและต้องเตรียมหน่วยวัดให้พอดีกับสิ่งที่จะวัด ไม่ควรเกิน 10 หน่วย
เพราะเพิ่งเริ่มเรียน การเลือกหน่วยวัดควรเลือกสิ่งของที่ไม่เป็นอันตรายต่อนักเรียนไม่เล็กจนเกินไป ให้เด็กสามารถหยิบจับได้
หน่วยวัดที่มีปลายแข็งจะดีกว่า ปลายนิ่ม ยุ่ยง่าย

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  141
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 11 | การวัดความยาว

แนวการจัดการเรียนรู้
ครูขออาสาสมัครนักเรียนออกมาหน้าห้อง 2 คน เปรียบเทียบความสูง แล้วร่วมกันตอบคำ�ถามว่า ใครสูงว่าหรือ
เตี้ยกว่ากัน และสูงกว่าหรือเตี้ยกว่ากันอยู่เท่าไร ถ้าเราไม่รู้ส่วนสูงของเพื่อนทั้งสองคนและเราไม่มีที่วัดส่วนสูง เราจะทำ�
อย่างไรจึงจะทราบคำ�ตอบ จากนั้นให้นักเรียนดูภาพในหนังสือเรียนหน้า 123 แล้วตอบคำ�ถาม เน้นย้ำ�ว่า
การเปรียบเทียบความสูงต้องเริ่มที่ระดับเดียวกัน

142  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 11 | การวัดความยาว

6
5
7
5

5
7
5
4

ตรวจสอบความเข้าใจ สิ่งที่ได้เรียนรู้
ตรวจสอบความเข้าใจของนักเรียนเพื่อให้สอดคล้อง • การวัดความยาวหรือความสูง อาจใช้สิ่งต่าง ๆ ที่มี
กับจุดประสงค์ของการเรียนในชั่วโมงนี้ โดยการให้นักเรียน ความยาวเท่ากันมาเป็นหน่วยวัดซึ่งเป็นหน่วยที่ไม่ใช่
ดูภาพแล้วเติมคำ�ตอบให้ถูกต้อง ทั้งความยาวและความสูง หน่วยมาตรฐาน
ตามหนังสือเรียนหน้า 124 อาจใช้การถามตอบปากเปล่า
• การวัดความยาวหรือความสูงของสิ่งต่าง ๆ ทำ�ได้โดย
ก่อนแล้วจึงเขียนตอบ
วัดจากปลายข้างหนึ่งไปยังปลายอีกข้างหนึ่งของสิ่งนั้น ๆ

จากนั้นให้นักเรียนทำ�แบบฝึกหัด 11.2 หน้า 74 – 76

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  143
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 11 | การวัดความยาว

11.3 การเปรียบเทียบความยาว
โดยใช้หน่วยที่ไม่ใช่หน่วย
มาตรฐาน

จุดประสงค์
เปรียบเทียบความยาวของ
สิ่งต่าง ๆ โดยใช้หน่วยที่ไม่ใช่
หน่วยมาตรฐาน

สื่อการเรียนรู้
• โบติดของขวัญ ริบบิ้น
บัตรภาพ สิ่งต่าง ๆ ที่จะวัด
ความยาว หรืออาจนำ�ของจริง
มาใช้ในการวัด
• แถบกระดาษสี

แนวการจัดการเรียนรู้
ครูนำ�เสนอโบติดกล่องของขวัญ 3 รูปแบบ แล้วให้นักเรียนช่วยกันตอบว่า ริบบิ้นที่ทำ�เป็นโบเส้นไหนยาวที่สุด
ทำ�ไมจึงคิดเช่นนั้น โบที่นำ�มาเสนอควรวัดและกำ�หนดความยาวมาให้สอดคล้องกับในหนังสือเรียน แต่อาจจะมีขนาดใหญ่กว่า
เพื่อให้นักเรียนเห็นชัดเจน หรือให้นักเรียนดูภาพในหนังสือเรียนและตอบคำ�ถามท้ายหน้าที่ว่า ริบบิ้นสีเขียวสั้นกว่าริบบิ้น
สีฟ้ากี่หน่วย ให้นักเรียนบอกวิธีคิดคำ�ตอบด้วย ครูเน้นย้ำ�ว่าการเปรียบเทียบความยาวต้องวางให้ปลายข้างหนึ่งเสมอกัน
แล้วดูที่ปลายอีกข้างหนึ่งและหน่วยวัดทุกหน่วยต้องมีความยาวเท่ากัน

144  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 11 | การวัดความยาว

แนวการจัดการเรียนรู้
เปรียบเทียบความสูง โดยให้นักเรียนดูภาพและตอบคำ�ถาม เน้นย้ำ�ว่า การเปรียบเทียบความสูงต้องเริ่มที่
ระดับเดียวกัน แล้วดูที่ปลายอีกข้างหนึ่งและหน่วยวัดทุกหน่วยต้องมีความสูงเท่ากัน การตอบคำ�ถามในตอนท้ายของหน้า
ให้นักเรียนบอกวิธีคิดคำ�ตอบ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  145
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 11 | การวัดความยาว

ลวดกํามะหยี่ ไมไอศกรีม 3
ไมไอศกรีม ลวดกํามะหยี่ 3

ลวดกํามะหยี่ ไมไอศกรีม หลอดกาแฟ * ครูอาจถามเหตุผลวาทําไมคิดเชนนั้น

เหยือกนํ้า แกวนํ้า 3
แกวนํ้า เหยือกนํ้า 3
* คําตอบอาจแตกตางจากนี้

แนวการจัดการเรียนรู้
ครูใช้ของจริงสาธิตการวัด ลวดกำ�มะหยี่ ไม้ไอศกรีม และหลอดกาแฟ โดยใช้หน่วยวัดที่กำ�หนด ครูวัดความยาว
มาก่อนให้สอดคล้องกับในหนังสือเรียนแล้วให้นักเรียนช่วยกันตอบคำ�ถาม ให้นักเรียนลองออกมาเก็บของใส่กล่อง
ที่มีความยาว 6 หน่วย และบอกเหตุผลว่าทำ�ไมจึงเลือกของแต่ละอย่างได้ จากนั้นให้ดูภาพในข้อ 2 การเปรียบเทียบ
ความสูงแล้วตอบคำ�ถามและบอกวิธีคิดหาคำ�ตอบ

146  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 11 | การวัดความยาว

ยีราฟ 5
หมี 3
ยีราฟ หมี 2
หมี ชาง 1

ฟา 6
เหลือง 3
แดง เหลือง 1
แดง ฟา 2
* คําตอบอาจแตกตางจากนี้

ตรวจสอบความเข้าใจ สิ่งที่ได้เรียนรู้
ตรวจสอบความเข้าใจของนักเรียนเพื่อให้สอดคล้อง การหาว่าสิ่งใดยาวกว่าหรือสั้นกว่าอีกสิ่งหนึ่งอยู่เท่าไร
กับจุดประสงค์ของการเรียนในชั่วโมงนี้ โดยการให้นักเรียน ทำ�ได้โดยนำ�ความยาวในหน่วยเดียวกันของสองสิ่งนั้น
ดูภาพแล้วเติมคำ�ตอบตามหนังสือเรียนหน้า 128 หรือ มาลบกัน
อาจใช้การถามตอบเพิ่มเติมเช่น
จากนั้นให้นักเรียนทำ�แบบฝึกหัด 11.3 หน้า 77-78
• ตุ๊กตาอะไรสูงเท่ากัน
• ตุ๊กตาอะไรเตี้ยกว่ายีราฟ แต่สูงกว่าแรด
• มีกล่องยาว 5 หน่วย จะเก็บสีอะไรใส่กล่องได้บ้าง
เป็นต้น

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  147
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 11 | การวัดความยาว

11.4 การวัดความยาวเป็น
เซนติเมตร

จุดประสงค์
เมื่อกำ�หนดสิ่งต่าง ๆ ให้ สามารถ
วัดความยาว หรือความสูง โดยใช้
เครื่องมือวัดที่มีหน่วยมาตรฐาน
และบอกความยาว ความสูงเป็น
เซนติเมตร

สื่อการเรียนรู้
• ไม้บรรทัด อุปกรณ์ของจริงต่าง ๆ
ดินสอ ยางลบ กรรไกร แก้วน้ำ�
พู่กัน หลอดดูดน้ำ� ไม้ไอศกรีม
ตะเกียบ สายวัดตัว
สายวัดชนิดตลับ ไม้เมตร

แนวการจัดการเรียนรู้
ครูใช้สิ่งของ เช่น หลอดดูดน้ำ� ไม้ไอศกรีม ตะเกียบ เป็นเครื่องวัด ในการวัดความยาวของโต๊ะเรียน และซักถามว่า
ทำ�ไมผลการวัดความยาวของโต๊ะเรียนต่างกัน ลองให้นักเรียนวัดสิ่งต่าง ๆ ในห้องเรียนเพิ่มเติม เช่น ความสูงของโต๊ะครู
ความยาวของกระดาน จากนั้นร่วมกันอภิปรายถึงผลการวัดที่ได้ จะเห็นว่า การวัดสิ่งของเดียวกัน ด้วยเครื่องมือ
ที่ต่างกัน ทำ�ให้ผลการวัดไม่เท่ากัน สรุปได้ว่า เราจำ�เป็นต้องมีเครื่องมือและหน่วยที่เป็นมาตรฐาน จะได้ผลการวัด
เดียวกัน แนะนำ�เครื่องมือที่ใช้ในการวัดความยาวชนิดต่าง ๆ ที่มีหน่วยเป็นมาตรฐาน เช่น ไม้เมตร ไม้บรรทัด สายวัดตัว
สายวัดชนิดตลับ

148  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 11 | การวัดความยาว

แนวการจัดการเรียนรู้
ครูให้นักเรียนสังเกตเครื่องมือที่ใช้ในการวัด คือ ไม้บรรทัด จะมีช่องและมีตัวเลขกำ�กับในแต่ละช่องในหนึ่งช่อง
มีความยาวเท่ากับ 1 เซนติเมตร ครูสาธิตการวัดความยาวโดยใช้ไม้บรรทัดและให้นก ั เรียนวัดความยาวสิง่ ของต่าง ๆ ทีก
่ �ำ หนดให้
สิ่งของที่นำ�มาวัด ครูต้องเตรียมก่อนสอนเพื่อให้ได้ผลการวัดที่แน่นอน บอกผลการวัดเป็นเซนติเมตร และสรุปว่า เซนติเมตร
เป็นหน่วยมาตรฐานที่ใช้บอกความยาว ใช้อักษรย่อว่า ซม.

หมายเหตุ ก่อนสอนใช้ไม้บรรทัดวัดความยาวอาจทำ�กิจกรรมให้นักเรียนฝึกวัดความยาวโดยใช้ไม้บรรทัดจำ�ลองที่ผู้สอน
ทำ�ขึ้นเอง โดยใช้แถบกระดาษแข็ง แบ่งเป็นช่วงยาว 1 เซนติเมตรก่อน เพื่อนักเรียนจะได้ไม่สับสนรอยขีดอื่นบนไม้บรรทัด

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  149
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 11 | การวัดความยาว

แนวการจัดการเรียนรู้
ครูสาธิตการวัดความสูงโดยใช้ไม้บรรทัด และให้นักเรียนวัดความสูงของสิ่งของที่กำ�หนด เช่น ขวดพริกไทย แก้วน้ำ�
(สิ่งของที่นำ�มาวัดครูต้องเตรียมก่อนสอน เพื่อให้ได้ผลการวัดที่แน่นอน) บอกผลการวัดเป็นเซนติเมตร ในการสาธิตการวัด
ความสูง ต้องอธิบายหลักการวัดให้ชัดเจนก่อนให้นักเรียนปฏิบัติการวัด ดังนี้ ควรวางเครื่องวัดทาบไปกับสิ่งที่จะวัด โดยให้
ตัวเลข 0 อยู่ปลายด้านใดด้านหนึ่งของสิ่งที่วัดและอ่านค่าตัวเลขที่ปลายอีกด้านหนึ่งของสิ่งที่วัด จากนั้นให้นักเรียน
ฝึกปฏิบัติการวัดความสูงจากสิ่งรอบตัว หรือสิ่งของที่กำ�หนดให้ โดยอาจจัดเป็นกิจกรรมการแข่งขันเพื่อให้นักเรียนเกิดทักษะ
ในการวัดมากยิ่งขึ้น

150  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 11 | การวัดความยาว

6
3
12
8

ตรวจสอบความเข้าใจ สิ่งที่ได้เรียนรู้
ตรวจสอบความเข้าใจของนักเรียนเพื่อให้สอดคล้อง • การวัดความยาวโดยใช้เครื่องมือหรือหน่วยที่แต่ละคน
กับจุดประสงค์ของการเรียนในชั่วโมงนี้ โดยให้นักเรียนบอก กำ�หนดขึ้นเอง อาจทำ�ให้ผลการวัดไม่ตรงกัน จึงต้อง
ผลการวัดความยาวตามหนังสือเรียนหน้า 132 ควรเน้นให้ มีเครื่องมือที่ใช้หน่วยมาตรฐาน
นักเรียนได้ปฏิบัติการวัดและตอบคำ�ถาม จากนั้นร่วมกันสรุป
• เซนติเมตร เป็นหน่วยมาตรฐานที่ใช้บอกความยาว
ถึงหลักการสำ�คัญในการวัดความยาว และบอกผลการวัด
ใช้อักษรย่อว่า ซม.
เป็นเซนติเมตร
จากนั้นให้นักเรียนทำ�แบบฝึกหัด 11.4 หน้า 79 – 81

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  151
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 11 | การวัดความยาว

11.5 การคาดคะเนความยาว
เป็นเซนติเมตร

จุดประสงค์
เมื่อกำ�หนดสิ่งต่าง ๆ ให้ สามารถ
คาดคะเนความยาว หรือความสูง
เป็นเซนติเมตร

สื่อการเรียนรู้
• ไม้บรรทัด
• อุปกรณ์ของจริงต่าง
ๆ สมุด
หนังสือ ดินสอ ยางลบ ปากกา
แก้วน้ำ� ขวดน้ำ� กล่องนม)

แนวการจัดการเรียนรู้
ครูแจกแถบกระดาษแข็งที่มีความยาว 1 เซนติเมตรให้นักเรียน ได้สังเกตและเชื่อมโยงกะประมาณในการวัด
โดยครูกำ�หนดสิ่งต่าง ๆ ให้นักเรียน และถามตอบเกี่ยวกับความยาวของสิ่งต่าง ๆ โดยให้นักเรียนบอกความยาวให้ใกล้เคียง
ที่สุด ให้นักเรียนปฏิบัติการวัดโดยใช้เครื่องวัดมาตรฐาน เพื่อตรวจสอบการคาดคะเนความยาวของตนเอง

จากนั้นให้นักเรียนทำ�แบบฝึกหัด 11.5 หน้า 1 (หน้า 82)

152  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 11 | การวัดความยาว

แนวการจัดการเรียนรู้
ให้นักเรียนได้สังเกตและเชื่อมโยงการคาดคะเนความยาว จาก 1 เซนติเมตร โดยครูกำ�หนดสิ่งต่าง ๆ ให้นักเรียน และ
ถาม-ตอบเกี่ยวกับความสูงของสิ่งต่างๆ โดยให้นักเรียนบอกความสูงให้ใกล้เคียงที่สุด จากนั้นให้นักเรียนปฏิบัติการวัดโดยใช้
เครื่องวัดมาตรฐาน เพื่อตรวจสอบการคาดคะเนในการวัดความสูงที่ตนเองคาดคะเนไว้ พิจารณาร่วมกันว่าคาดคะเนก่อนวัด
เท่าไรและเมื่อวัดจริงได้เท่าไร ครูแนะนำ�ว่า การทำ�เช่นนี้ คือ การคาดคะเน เป็นการบอกความยาว หรือความสูงให้ใกล้เคียง
กับความยาวหรือความสูงจริงโดยเทียบกับความยาว 1 เซนติเมตรหรือเทียบกับความสูง 1 เซนติเมตรโดยไม่ใช้เครื่องมือ

หากนักเรียนไม่สามารถทำ�แบบฝึกหัด 11.5 หน้า 1 และหน้า 2 เสร็จทันในชัว่ โมงครูอาจให้นกั เรียนทำ�


แบบฝึกหัด 11.5 ท้ายชั่วโมงหรือนอกเวลาเรียน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  153
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 11 | การวัดความยาว

แนวการจัดการเรียนรู้
ให้นักเรียนทำ�กิจกรรม สนุกกับการคาดคะเน
อุปกรณ์ ดินสอที่ยังไม่เหลา กล่องนม ไม้บรรทัด
วิธีจัดกิจกกรม
• ให้นักเรียนคาดคะเนความยาวของสิ่งที่กำ�หนดและบันทึกผล
• ให้นักเรียนคาดคะเนความสูงของสิ่งที่กำ�หนดและบันทึกผล
• ให้นักเรียนวัดความยาวและความสูงจากของจริงและบันทึกผล
เมื่อปฏิบัติการวัดจริงเรียบร้อย ควรให้นักเรียนออกมารายงานผลที่ได้จากการคาดคะเนและการวัด และเพื่อให้
นักเรียนเกิดทักษะในการคาดคะเน ควรฝึกให้นักเรียนได้ทำ�กิจกรรมนี้สัก 2-3 ครั้ง โดยกำ�หนดสิ่งต่าง ๆ
ให้อุปกรณ์ที่ใช้ในการคาดคะเนและการวัด ควรมีการเตรียมสิ่งของที่ใช้ในการวัดล่วงหน้า เพื่อให้ผลการวัดแน่นอน

154  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 11 | การวัดความยาว

6
8

8
5

* คําตอบอาจแตกตางจากนี้

ตรวจสอบความเข้าใจ สิ่งที่ได้เรียนรู้
ตรวจสอบความเข้าใจของนักเรียนเพื่อให้สอดคล้อง การคาดคะเนความยาวหรือความสูงเป็นเซนติเมตร
กับจุดประสงค์ของการเรียนในชั่วโมงนี้ โดยให้นักเรียน เป็นการบอกความยาว หรือ ความสูงให้ใกล้เคียงกับ
คาดคะเนเทียบเคียงกับความยาว 1 เซนติเมตร และ ความยาว หรือ ความสูงจริง โดยเทียบกับ 1 เซนติเมตร
ให้คาดคะเนก่อนปฏิบัติการวัดจริงทุกครั้ง
ในกรณีที่นักเรียนไม่สามารถคาดคะเนได้ ครูอาจแจก
แถบกระดาษที่มีความยาว 1 เซนติเมตร เพื่อให้นักเรียนได้
เทียบเคียงกับสิ่งที่วัด

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  155
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 11 | การวัดความยาว

11.6 การวัดความยาวเป็นเมตร

จุดประสงค์
เมื่อกำ�หนดสิ่งต่าง ๆ ให้ สามารถวัด
ความยาว หรือความสูง โดยใช้
เครื่องมือวัดที่มีหน่วยมาตรฐานและ
บอกความยาว หรือความสูงเป็นเมตร

สื่อการเรียนรู้
• ไม้บรรทัด ไม้เมตร
• แถบกระดาษที่มีความยาวเต็ม
เมตรต่างกัน เช่น 1 เมตร
2 เมตร 3 เมตร 5 เมตร
เชือกฟาง กรรไกรปลายมน
ริบบิ้นยาว 1 เมตร

แนวการจัดการเรียนรู้
ครูนำ�แถบกระดาษที่มีความยาว 100 เซนติเมตร ติดบนกระดาน และให้นักเรียนทบทวนความรู้เดิม เรื่อง การวัด
ความยาวของแถบกระดาษโดยใช้ไม้บรรทัดทีละคน คำ�ตอบแต่ละคนอาจแตกต่างกัน ครูเฉลยด้วยการสาธิตการวัดด้วย
ไม้บรรทัด ซึ่งจากผลการวัดจะเห็นว่า การวัดความยาวของสิ่งของที่มีความยาวมาก ๆ หากนักเรียนใช้ไม้บรรทัดเป็นเครื่องมือ
วัด จะต้องวัดต่อกันหลายครั้ง ผลการวัดความยาวที่ได้เป็นการวัดด้วยไม้บรรทัด วัดได้ความยาว 30 เซนติเมตร 3 ครั้ง
กับอีก 10 เซนติเมตร คิดเป็น 100 เซนติเมตรและเป็นความยาวเท่ากับ 1 เมตร หรือใช้อักษรย่อว่า ม.

156  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 11 | การวัดความยาว

แนวการจัดการเรียนรู้
ครูสาธิตการวัดความยาวของแถบกระดาษที่ติดบนกระดานด้วยไม้เมตร ซึ่งจะได้ความยาวเท่ากับ 1 เมตร พอดี และ
แนะนำ�ว่า ไม้เมตรเป็นเครื่องมือที่ใช้วัดความยาว ซึ่งมีความยาวเท่ากับ 100 เซนติเมตร หรือ 1 เมตร จากนั้น
ครูสาธิตการวัดความยาวของกระดานและให้นักเรียนปฏิบัติการวัดจริง

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  157
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 11 | การวัดความยาว

แนวการจัดการเรียนรู้
ครูให้นักเรียนทำ�กิจกรรม สนุกกับการวัด อุปกรณ์ 1 ชุด ประกอบด้วย
1. แถบกระดาษที่มีความยาวเต็มเมตรไม่เกิน 5 เมตร ที่มีความยาวแตกต่างกัน เช่น 2 เมตร 3 เมตร 5 เมตร
2. ไม้เมตร
3. แบบบันทึกการวัด
วิธจี ด
ั กิจกรรม แบ่งนักเรียนเป็นกลุม
่ แจกอุปกรณ์กลุม
่ ละ 1 ชุด โดยแถบความยาวของแต่ละกลุม่ มีความยาวแตกต่างกัน
จากนั้นให้นักเรียนลงมือปฏิบัติการวัดจริง พร้อมทั้งบันทึกผลการวัดที่ได้และนำ�เสนอ หลังจากนำ�เสนอ ครูและนักเรียน
ร่วมกันเฉลย โดยครูสาธิตการวัดที่ถูกต้อง ในขณะที่ทำ�กิจกรรม ครูควรให้คำ�แนะนำ�อย่างใกล้ชิดในการวัดด้วยไม้เมตร
หมายเหตุ การสอนการวัดความยาวโดยใช้ไม้เมตรนั้น ในระยะแรกครูควรเตรียมสิ่งของที่จะวัดความยาว
ให้มีความยาวเต็มเมตรก่อน เช่น เชือกหรือแถบกระดาษที่มีความยาว 1 เมตร 2 เมตร หรือ 3 เมตร

158  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 11 | การวัดความยาว

ตรวจสอบความเข้าใจ สิ่งที่ได้เรียนรู้
ตรวจสอบความเข้าใจของนักเรียนเพื่อให้สอดคล้อง • เมตรเป็นหน่วยมาตรฐานที่ใช้บอกความยาว ใช้อักษรย่อ ม.
กับจุดประสงค์ของการเรียนในชั่วโมงนี้ โดยจัดกิจกรรม
• ความยาว 1 เมตรเท่ากับความยาว 100 เซนติเมตร
วัดได้ตามใจ ตามหนังสือเรียนหน้า 140 ที่นักเรียนได้มี
โอกาสได้ลงมือทำ� และควรจัดเตรียมสื่อที่หาง่ายและ จากนั้นให้นักเรียนทำ�กิจกรรมแบบฝึกหัด 11.6 หน้า 84
ไม่ยากในการปฏิบัติการวัด ควรคำ�นึงถึงความพร้อมของ
นักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  159
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 11 | การวัดความยาว

11.7 การเปรียบเทียบความยาว
ที่มีหน่วยเป็นเซนติเมตร
เป็นเมตร

จุดประสงค์
เมื่อกำ�หนดสิ่งต่าง ๆ ให้สองสิ่ง
สามารถเปรียบเทียบความยาว
ความสูงที่มีหน่วยเดียวกัน

สื่อการเรียนรู้
• ไม้บรรทัดไม้เมตร
• อุปกรณ์ของจริงต่าง ๆ
ดินสอ ปากกา กรรไกร
แปรงลบกระดาน พู่กัน
กระติกน้ำ� แก้วน้�ำ ขวดน้�ำ
• ภาพของสิง่ ของต่าง ๆ ที่มี
ความยาวความสูงเป็นเมตร
เป็นเซนติเมตร

แนวการจัดการเรียนรู้
ครูนำ�เสนอสิ่งของต่าง ๆ ที่มีความยาวแตกต่างกัน ครูถามนักเรียนเพื่อให้นักเรียนเปรียบเทียบความยาวของสิ่งของ
ทีละคู่ เช่น ส้อมกับพู่กัน สิ่งใดยาวกว่า (พู่กัน) ยาวกว่ากันกี่เซนติเมตร จากนั้นให้นักเรียนเปรียบเทียบความยาวของสิ่งของ
โดยการวัดและหาคำ�ตอบ ยาวกว่ากี่เซนติเมตร (6 เซนติเมตร) ให้นักเรียนฝึกปฏิบัติการวัดเพื่อเปรียบเทียบความยาวเพิ่มเติม
อีก 2 – 3 ตัวอย่าง

160  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 11 | การวัดความยาว

แนวการจัดการเรียนรู้
ครูให้นก
ั เรียนทำ�จัดกิจกรรม โดยกำ�หนดสิง่ ของต่าง ๆ สัก 3 – 4 อย่าง ให้นก
ั เรียนแบ่งกลุม
่ เพือ
่ เปรียบเทียบความยาว
ของสิ่งของโดยการวัดและหาคำ�ตอบ รวมทั้งเปรียบเทียบความสูงของสิ่งของโดยการวัดและหาคำ�ตอบด้วย ครูควรใช้คำ�ถาม
กระตุ้นให้นักเรียนได้วิเคราะห์และหาคำ�ตอบ เช่น ดินสอยาว 14 เซนติเมตร ปากกายาว 12 เซนติเมตร ดังนั้น
ดินสอยาวกว่า 14 – 12 = 2 เซนติเมตร กระติกน้ำ�สูง 25 เซนติเมตร ขวดน้ำ�สูง 20 เซนติเมตร ดังนั้นขวดน้ำ�เตี้ยกว่า
กระติกน้ำ� 25 – 20 = 5 เซนติเมตร ครูตั้งคำ�ถามเพื่อให้นักเรียนตอบประมาณ 4-5 ข้อ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  161
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 11 | การวัดความยาว

แนวการจัดการเรียนรู้
ครูจัดกิจกรรม โดยใช้ภาพของสิ่งของต่าง ๆ ที่มีความยาว ความสูงเป็นเมตรประมาณ 3 - 4 ภาพ และให้นักเรียน
แบ่งกลุ่มเพื่อเปรียบเทียบความยาว ความสูงของสิ่งของต่าง ๆ จากการวัดที่มีหน่วยเป็นเมตรและหาคำ�ตอบ เช่น อาคาร A
สูง 12 เมตร อาคาร B สูง 16 เมตร ดังนั้นอาคาร B สูงกว่าอาคาร A 16 –12 = 4 เมตร ในกรณีที่นักเรียนหาคำ�ตอบไม่ได้
ครูอาจใช้วิธีเขียนรอยขีดประกอบการอธิบาย ครูยกตัวอย่างเพื่อถามคำ�ถาม และจัดกิจกรรมทำ�นองนี้อีก 2-3 ตัวอย่าง
ครูชี้แนะว่า การหาว่าสิ่งใดยาวกว่าหรือสั้นกว่าอีกสิ่งหนึ่งอยู่เท่าไร สามารถทำ�ได้โดยนำ�ความยาว ความสูง
ในหน่วยเดียวกันของสองสิ่งนั้นมาลบกัน

162  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 11 | การวัดความยาว

3-1=2
20 - 18 = 2
15 - 12 = 3

ตรวจสอบความเข้าใจ สิ่งที่ได้เรียนรู้
ตรวจสอบความเข้าใจของนักเรียนเพื่อให้สอดคล้อง การหาว่าสิ่งใดยาวกว่าหรือสั้นกว่าอีกสิ่งหนึ่งอยู่เท่าไร
กับจุดประสงค์ของการเรียนในชั่วโมงนี้ โดยกำ�หนด ทำ�ได้โดยนำ�ความยาวในหน่วยเดียวกัน
สถานการณ์ของจริง หรือใช้รูปภาพที่บอกความยาว หรือ ของสองสิ่งนั้นมาลบกัน
ความสูงของสิ่งของต่าง ๆ ในภาพ เป็นเซนติเมตร เป็นเมตร
จากนั้นให้นักเรียนทำ�แบบฝึกหัด 11.7 หน้า 85 – 87
มาให้และให้นักเรียนร่วมกันหาคำ�ตอบตามหนังสือเรียน
หน้า 144 โดยใช้ความรู้ที่ได้ในบทนี้มาตอบคำ�ถาม
โดยผู้สอนใช้การตั้งคำ�ถามเกี่ยวกับการเปรียบเทียบ
ความยาวหรือความสูงมาซักถาม ในการจัดกิจกรรม
เพื่อเปรียบเทียบความยาวหรือความสูง สื่อที่ใช้ควรคำ�นึง
ถึงความเหมาะสมและควรเตรียมสิ่งของที่จะใช้เปรียบเทียบ
ความยาว ให้มีความยาวเต็มหน่วย

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  163
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 11 | การวัดความยาว

11.8 โจทย์ปัญหาการบวก
และโจทย์ปัญหาการลบ (1)

จุดประสงค์
เมื่อกำ�หนดสถานการณ์ที่เกี่ยวข้อง
กับการวัดความยาวให้ สามารถ
วิเคราะห์สถานการณ์ และหาคำ�ตอบ
พร้อมทั้งตระหนักถึงความสมเหตุ
สมผลของคำ�ตอบที่ได้

สื่อการเรียนรู้
• บัตรภาพประกอบโจทย์เกี่ยวกับ
การวัด
• แถบโจทย์ปัญหาการวัด
• บัตรตัวเลข

แนวการจัดการเรียนรู้
ครูตด
ิ แถบโจทย์ปญั หาทีเ่ กีย่ วกับการวัดบนกระดาน พร้อมภาพประกอบโจทย์ เช่น แก้วตานำ�กิง่ หม่อนไปปักชำ�ในดิน
ส่วนทีป
่ ก
ั ในดินลึก 8 เซนติเมตร ส่วนที่โผล่พ้นดินขึ้นมา 12 เซนติเมตร กิ่งหม่อนนี้ยาวกี่เซนติเมตร จากนั้นให้นักเรียนช่วยกัน
วิเคราะห์โจทย์ โดยครูอาจตั้งคำ�ถามนำ� เช่น
• โจทย์ถามว่าอะไร (กิ่งหม่อนนี้ยาวกี่เซนติเมตร)
• เราสามารถหาคำ�ตอบได้อย่างไร (นำ�ส่วนที่ปักในดิน รวมกับส่วนที่โผล่พ้นดิน)
• เขียนเป็นประโยคสัญลักษณ์ได้อย่างไร (12 + 8 = )
• ได้คำ�ตอบเท่าไร (20 เซนติเมตร)
• คำ�ตอบที่หาได้สมเหตุสมผลหรือไม่เพราะเหตุใด
ครูตั้งคำ�ถามชี้นำ�เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนคิดวิเคราะห์ หากนักเรียนยังไม่สามารถหาคำ�ตอบได้ ครูควรให้นักเรียน
ใช้การวาดรูปคร่าว ๆ ใช้อุปกรณ์จริง หรือเขียนรอยขีดเพื่อช่วยในการหาคำ�ตอบ

164  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 11 | การวัดความยาว

แนวการจัดการเรียนรู้
ครูกำ�หนดสถานการณ์เกี่ยวกับการวัดมาให้ เช่น บัตรภาพประกอบโจทย์ปัญหาเกี่ยวกับการวัด นักเรียนร่วมกัน
อภิปรายและวิเคราะห์โจทย์และคิดหาคำ�ตอบ ครูยกตัวอย่างโจทย์ปัญหาการวัด และจัดกิจกรรมทำ�นองนี้อีก 1 - 2 ตัวอย่าง

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  165
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 11 | การวัดความยาว

11 เมตร

ถังนํ้าใบแรก 1 ม. 1 ม. 1 ม. 1 ม. 1 ม. 1 ม. 1 ม. 1 ม. 1 ม. 1 ม. 1 ม.
ถังนํ้าใบที่สอง 1 ม. 1 ม. 1 ม.
ใบที่สองยาวกวาใบแรก 3 เมตร
ประโยคสัญลักษณ 11 + 3 =
11 + 3 = 14

๑๔

5 เมตร

12 เมตร

ประโยคสัญลักษณ 12 - 5 =
12 - 5 = 7 ธงชาติ ธงสี

แนวการจัดการเรียนรู้
ครูติดแถบโจทย์ปัญหาการวัดตามหนังสือเรียน นักเรียนร่วมกันอภิปราย วิเคราะห์โจทย์และคิดหาคำ�ตอบ ควรให้
นักเรียนพิจารณาความสมเหตุสมผลของคำ�ตอบด้วยทุกครั้ง ในระยะแรกครูอาจใช้ของจริง วาดรูปคร่าว ๆ หรือเขียนรอยขีด
ประกอบการอธิบาย ทั้งนี้เพื่อช่วยให้นักเรียนเกิดแนวคิดสามารถวิเคราะห์โจทย์ และหาคำ�ตอบได้ถูกต้อง ครูยกตัวอย่าง
โจทย์ปัญหาที่เกี่ยวกับการวัดและจัดกิจกรรมทำ�นองนี้อีก 1 - 2 ตัวอย่าง สำ�หรับโจทย์บางข้อที่นักเรียนหาคำ�ตอบไม่ได้
ครูควรแนะนำ�ให้นักเรียนใช้การวาดรูปประกอบ หรือเขียนรอยขีด เพื่อช่วยในการหาคำ�ตอบ หากนักเรียนยังหาคำ�ตอบ
ไม่ได้อีก ครูควรนำ�โจทย์ปัญหาง่าย ๆ ที่เกี่ยวกับการวัด ที่มีจำ�นวนที่เกี่ยวข้องไม่เกิน 10 มาฝึกทำ�ก่อน

166  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 11 | การวัดความยาว

5-2=

20 - 8 =
๑๒

ตรวจสอบความเข้าใจ สิ่งที่ได้เรียนรู้
ตรวจสอบความเข้าใจของนักเรียนเพื่อให้สอดคล้อง การแก้โจทย์ปัญหาทำ�ได้โดย อ่านทำ�ความเข้าใจปัญหา
กับจุดประสงค์ของการเรียนในชั่วโมงนี้ โดยให้นักเรียนเขียน วางแผนวิธีคิดซึ่งอาจใช้การวาดภาพ หาคำ�ตอบ
ประโยคสัญลักษณ์และหาคำ�ตอบของโจทย์ปัญหา และตรวจสอบความสมเหตุสมผล
ตามหนังสือเรียน ถ้านักเรียนทำ�ไม่ได้ต้องสอนเสริมนอกเวลา
จากนั้นให้นักเรียนทำ�แบบฝึกหัด 11.8 หน้า 88 – 89

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  167
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 11 | การวัดความยาว

11.9 โจทย์ปัญหาการบวก และ


โจทย์ปัญหาการลบ ( 2 )

จุดประสงค์
เมื่อกำ�หนดสถานการณ์ที่เกี่ยวข้อง
กับการวัดความยาวให้ สามารถ
วิเคราะห์สถานการณ์ และหาคำ�ตอบ
พร้อมทั้งตระหนักถึงความสมเหตุ
สมผลของคำ�ตอบ

สื่อการเรียนรู้
• แถบโจทย์ปัญหาการวัด
• ภาพสถานการณ์ต่าง ๆ
• บัตรตัวเลข

แนวการจัดการเรียนรู้
ครูติดแถบโจทย์ปัญหาที่เกี่ยวกับการวัด ซึ่งในชั่วโมงนี้จะมีตัวไม่ทราบค่าให้นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์โจทย์และ
หาคำ�ตอบ โดยครูอาจตั้งคำ�ถามนำ� เช่น
• โจทย์ถามอะไร
• เราสามารถหาคำ�ตอบได้อย่างไร
• เขียนเป็นประโยคสัญลักษณ์ได้อย่างไร
• ได้คำ�ตอบเท่าไร
• คำ�ตอบที่หาได้สมเหตุสมผลหรือไม่ เพราะเหตุใด
ครูตั้งคำ�ถามชี้นำ�เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหา หากนักเรียนยังไม่สามารถแก้ปัญหาและหาคำ�ตอบได้
ครูควรให้นักเรียนใช้การวาดรูปคร่าว ๆ ประกอบการคิด

168  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 11 | การวัดความยาว

แนวการจัดการเรียนรู้
ครูกำ�หนดสถานการณ์เกี่ยวกับการวัดมาให้ เช่น บัตรภาพประกอบโจทย์ปัญหาเกี่ยวกับการวัดตามหนังสือเรียน
ให้นักเรียนร่วมกันอภิปราย วิเคราะห์โจทย์และเสนอวิธีคิดหาคำ�ตอบ ครูยกตัวอย่างโจทย์ปัญหาการวัด และจัดกิจกรรม
ทำ�นองนี้อีก 1 - 2 ตัวอย่าง

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  169
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 11 | การวัดความยาว

แนวการจัดการเรียนรู้
ครูติดแถบโจทย์ปัญหาที่เกี่ยวกับการวัดตามหนังสือเรียน นักเรียนร่วมกันอภิปราย วิเคราะห์โจทย์หาแนวคิดในการหา
คำ�ตอบและควรให้นักเรียนพิจารณาความสมเหตุสมผลของคำ�ตอบด้วยทุกครั้ง ซึ่งในชั่วโมงนี้ เนื้อหาจะเน้นเรื่องหาค่าของ
ตัวไม่ทราบค่าในระยะแรกครูอาจใช้ของจริง หรือการวาดรูปคร่าว ๆ ประกอบการอธิบาย ทั้งนี้เพื่อช่วยให้นักเรียนเกิด
แนวคิดสามารถวิเคราะห์โจทย์ และหาคำ�ตอบได้ถก ู ต้อง ครูยกตัวอย่างโจทย์ปญ
ั หาทีเ่ กีย่ วกับการวัดและจัดกิจกรรมทำ�นองนี้
อีก 1 - 2 ตัวอย่างสำ�หรับโจทย์บางข้อที่นักเรียนหาคำ�ตอบไม่ได้ ครูควรแนะนำ�ให้นักเรียนใช้วาดรูปประกอบ และเขียนเป็น
ประโยคสัญลักษณ์ เพื่อช่วยในการหาคำ�ตอบ

170  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 11 | การวัดความยาว

6 เมตร

ไมทอนแรก ไมทอนที่สอง
11 เมตร

6 บวกจํานวนใด ได 11
6+ = 11
11 - 6 =
11 - 6 = 5
จะได 6 + 5 = 11

ตรวจสอบความเข้าใจ สิ่งที่ได้เรียนรู้
ตรวจสอบความเข้าใจของนักเรียนเพื่อให้สอดคล้อง การแก้โจทย์ปัญหาทำ�ได้โดย อ่านทำ�ความเข้าใจปัญหา
กับจุดประสงค์ของการเรียนในชั่วโมงนี้ ครูกำ�หนด วางแผนวิธีคิดซึ่งอาจใช้การวาดภาพหาคำ�ตอบ
สถานการณ์โจทย์ปัญหาตามหนังสือเรียน ให้นักเรียน และตรวจสอบความสมเหตุสมผล
เสนอวิธีการคิดโดยอาจใช้การวาดรูปคร่าว ๆ เขียน
จากนั้นให้นักเรียนทำ�แบบฝึกหัด 11.9 หน้า 90-91
ประโยคสัญลักษณ์และหาคำ�ตอบ รวมทั้งตรวจสอบ
ความสมเหตุสมผลของคำ�ตอบ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  171
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 11 | การวัดความยาว

กิจกรรม ใครยาวกว่ากัน

อุปกรณ์ 1 ชุด ประกอบด้วย


1. กระดาษหนังสือพิมพ์ กลุ่มละ 1 แผ่น
2. ไม้เมตร 1 อัน
3. ไม้บรรทัด 1 อัน

เตรียมสถานที่
การจัดกิจกรรมนี้ ควรให้นักเรียน
นัง่ ทำ�กิจกรรมทีพ
่ น
้ื ห้องเรียน โดยนัง่ เป็นกลุม

กลุ่มละไม่เกิน 5 – 6 คน หรือนำ�นักเรียน
ออกไปจัดกิจกรรมนอกห้องเรียนที่เป็น
พื้นที่โล่งกว้าง เพื่อนักเรียนจะได้มีพื้นที่
ในการวัดด้วยไม้เมตร หรือไม้บรรทัด และ
สะดวกในการทำ�ความสะอาดหลังปฏิบัติ
กิจกรรมแล้ว

วิธีจัดกิจกรรม
1. แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ เท่า ๆ กัน ไม่ควรเกินกลุ่มละ 5 – 6 คน และแจกอุปกรณ์ให้กลุ่มละ 1 ชุด
ประกอบด้วย กระดาษหนังสือพิมพ์กลุ่มละ 1 แผ่น ไม้เมตร ไม้บรรทัด
2. ให้นักเรียนช่วยกันวางแผนฉีกกระดาษให้เป็นเส้นให้ยาวที่สุด โดยที่กระดาษต้องไม่ขาดออกจากกัน
ในกรณีที่กระดาษขาดนักเรียนจะต้องฉีกกระดาษที่เหลืออยู่ใหม่
3. นำ�ผลงานที่ได้จากการฉีกกระดาษของแต่ละกลุ่มมาเปรียบเทียบความยาว แล้ววัดความยาวเป็นเมตร
ส่วนที่เหลือจากเมตรนำ�มาวัดความยาวเป็นเซนติเมตร
4. กลุ่มที่ยาวที่สุดจะเป็นผู้ชนะ
จากนั้นให้นักเรียนทำ�แบบฝึกท้าทาย หน้า 92
หมายเหตุ ครูควรเดินดูและสังเกตการทำ�งานของนักเรียนเกี่ยวกับการวัด เช่น นักเรียนวัดได้ถูกวิธี การวางแผน
ในการทำ�กิจกรรมการฉีกกระดาษ ความคิดในการแก้ปัญหาของนักเรียนในแต่ละกลุ่ม เพื่อนำ�ไปแก้ไข ปรับปรุงและ
พัฒนานักเรียนต่อไป

172  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 11 | การวัดความยาว

แบบทดสอบบทที่ 11

เป็ น ตั ว อย่ า งแบบทดสอบที่ ใ ช้ ใ นการประเมิ น เพื่ อ พั ฒ นานั ก เรี ย นหากมี นั ก เรี ย นคนใดที่ ไ ม่ ผ่ า นการทดสอบครู ค วร
ให้ นั ก เรี ย นคนนั้ น ฝึ ก ทั ก ษะมากขึ้ น โดยอาจใช้ แ บบฝึ ก เสริ ม จากหนั ง สื อ เสริ ม เพิ่ ม ปั ญ ญาของสสวท.หรื อ แบบฝึ ก อื่ น ที่
เห็นว่าสมควร ซึ่งแบบทดสอบท้ายบทนี้มีจำ�นวน 10 ข้อ คะแนนเต็ม 10 คะแนน ใช้เวลาในการทำ�แบบทดสอบ 20 นาที
และวิเคราะห์เป็นรายจุดประสงค์ได้ดังนี้

จุดประสงค์การเรียนรู้ ข้อที่
1. เปรียบเทียบความยาวระหว่างสิ่งของโดยใช้คำ�ว่า ยาวกว่า สั้นกว่า สูงกว่า เตี้ยกว่า เท่ากัน ยาวที่สุด 1, 2, 3, 4
สั้นที่สุด สูงที่สุด เตี้ยที่สุด

2. วัดและเปรียบเทียบความยาวที่มีหน่วยเป็นเซนติเมตร เป็นเมตร 5 , 6, 7, 8

3. โจทย์ปัญหาการบวก การลบที่เกี่ยวกับความยาว (ผู้สอนอาจไม่วัดจุดประสงค์ข้อนี้) 9 , 10

เขียน × ทับต้องเลือกที่เป็นคำ�ตอบที่ถูกต้อง
ดูภาพแล้วตอบคำ�ถามข้อ 1 และ 2
กำ�หนด แทนความยาว 1 หน่วย

1. ไม้บรรทัดสีอะไรสั้นที่สุด
ก. สีเขียว ข. สีฟ้า ค. สีแดง

2. ไม้บรรทัดสีอะไรยาวกว่าไม้บรรทัดสีเขียวและแดง
ก. สีเหลือง ข. สีแดง ค. สีเขียว

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  173
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 11 | การวัดความยาว

ดูภาพแล้วตอบคำ�ถาม ข้อ 3 และ 4

กำ�หนดให้ แทนความสูง 1 หน่วย

STRAWBERRY

PINEAPPLE

BANANA GRAPE

กล้วย สตรอว์เบอร์รี่ สับปะรด องุ่น

3. ขวดแยมชนิดใดสูงกว่าขวดแยมสับปะรด
ก. ขวดแยมกล้วย ข. ขวดแยมสตรอว์เบอร์รี่ ค. ขวดแยมองุ่น

4. ขวดแยมชนิดใดเตี้ยที่สุด
ก. ขวดแยมสตรอว์เบอร์รี่ ข. ขวดแยมสับปะรด ค. ขวดแยมกล้วย

174  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 11 | การวัดความยาว

จากภาพตอบคำ�ถามข้อ 5 และ 6

1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15

5. ริบบิ้นยาวกี่เซนติเมตร
ก. 8 เซนติเมตร ข. 9 เซนติเมตร ค. 12 เซนติเมตร

6. ดินสอยาวกว่าตะปูกี่เซนติเมตร
ก. 9 เซนติเมตร ข. 8 เซนติเมตร ค. 7 เซนติเมตร

7. “เชือกยาว 1 เมตร ริบบิ้นยาว 3 เมตร” ข้อใดถูกต้อง


ก. เชือกยาวกว่าริบบิ้น ข. ริบบิ้นยาวกว่าเชือก ค. เชือกยาวเท่ากับริบบิ้น

8. ผ้าตัดเสื้อยาว 1 เมตร มีความยาวเท่ากับข้อใด


ก. เชือกลูกเสือยาว 100 เซนติเมตร ข. ริบบิ้นยาว 80 เซนติเมตร ค. โบผูกผมยาว 50 เซนติเมตร

9. พ่อมีไม้ไผ่สองท่อน ท่อนแรกยาว 6 เมตร และยาวกว่าท่อนที่สอง 2 เมตร ไม้ไผ่ท่อนที่สองยาวกี่เมตร


ก. ยาว 8 เมตร ข. ยาว 6 เมตร ค. ยาว 4 เมตร

10. แม่วางแท่งไม้ต่อกันได้สูง 8 เซนติเมตร จะต้องต่อแท่งไม้อีกกี่เซนติเมตรจึงจะได้ความสูง 16 เซนติเมตร


ก. 7 เซนติเมตร ข. 8 เซนติเมตร ค. 16 เซนติเมตร

เฉลย

1. ข 6. ค
2. ก 7. ข
3. ข 8. ก
4. ค 9. ค
5. ก 10. ข

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  175
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 12 | การบวกที่ผลบวกไม่เกิน 100

บทที่ 12 การบวกที่ผลบวกไม่เกิน 100

จุดประสงค์การเรียนรู้และสาระสำ�คัญ

จุดประสงค์การเรียนรู้ สาระสำ�คัญ

นักเรียนสามารถ
1. หาผลบวกจำ�นวนสองหลักกับจำ�นวนหนึ่งหลักที่ผลบวก การบวกเป็นการนับรวมจำ�นวนสิง่ ต่าง ๆ ตัง้ แต่สองกลุม
่ ขึน
้ ไป
ไม่เกิน 100
การบวกจำ�นวนสองหลักเมื่อสลับที่กันผลบวกยังคงเท่ากัน
(เนื้อหาในหัวข้อ 12.1, 12.3, 12.4, 12.5)
การบวกจำ�นวนที่มีสองหลักใช้วิธีบวกจำ�นวนที่อยู่ในหลัก
2. หาผลบวกจำ�นวนสองหลักกับจำ�นวนสองหลักที่ผลบวก เดียวกันเข้าด้วยกัน
ไม่เกิน 100
วิธีการบวกเพื่อความรวดเร็วใช้วิธีการนับต่อจากจำ�นวน
(เนื้อหาในหัวข้อ 12.2, 12.4, 12.5) ที่มากกว่า

ตารางการวิเคราะห์เนื้อหากับทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
ทักษะและกระบวนการ
หัวข้อ เนื้อหา ทางคณิตศาสตร์
j k l m n
เตรียมความพร้อม

12.1 การบวกจำ�นวนสองหลักกับหนึ่งหลักที่ผลบวกไม่เกิน 100 ไม่มีการทด   

12.2 การบวกจำ�นวนสองหลักกับสองหลักที่ผลบวกไม่เกิน 100 ไม่มีการทด   

12.3 การบวกจำ�นวนสองหลักกับหนึ่งหลักที่ผลบวกไม่เกิน 100 มีการทด   

12.4 การหาผลบวกโดยการตั้งบวกไม่มีการทด   

12.5 การหาผลบวกโดยการตัง้ บวกทีม


่ กี ารทด   

ร่วมคิดร่วมทำ�    

ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

j การแก้ปัญหา k การสื่อสารและการสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์
l การเชื่อมโยง m การให้เหตุผล n การคิดสร้างสรรค์

176  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 12 | การบวกที่ผลบวกไม่เกิน 100

คำ�สำ�คัญ
จำ�นวนสองหลัก การตั้งบวก
ความสัมพันธ์ของจำ�นวนแบบส่วนย่อย-
ส่วนรวม การทด

ความรู้หรือทักษะพื้นฐาน
การนับต่อ การจำ�แนก
การจับคู่ครบสิบ การสังเกต
การบวกจำ�นวนไม่เกิน 10
จำ�นวนนับไม่เกิน 100 และ 0

เวลาที่ใช้จัดการเรียนรู้
7 ชั่วโมง

สื่อและแหล่งเรียนรู้

1. หนังสือเรียน หน้า 154 – 177


2. แบบฝึกหัด หน้า 93 – 108
3. เอกสาร แบบบันทึก ใบกิจกรรม และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการทำ�กิจกรรม ดังนี้
• บัตรตัวเลข เช่น บัตรคำ�ตอบ บัตรคำ�ตอบเปล่า
• บัตรข้อความ เช่น บัตรโจทย์การบวก บัตรโจทย์เปล่า บัตรคำ�ถาม บัตรโจทย์
• อุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น แผ่นตารางสิบ ไม้มัด ตารางร้อย ปากกาเคมี
• ใบบันทึกกิจกรรม
• บัตรภาพต่าง ๆ เช่น บัตรภาพสถานการณ์

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  177
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 12 | การบวกที่ผลบวกไม่เกิน 100

แนวการจัดการเรียนรู้
ใช้ขอ้ มูลในหนังสือเรียนหน้าเปิดบท เพือ่ กระตุน
้ ความสนใจเกีย่ วกับการบวกทีผ
่ ลบวกไม่เกิน 100 โดยใช้ค�ำ ถาม เช่น

• นักเรียนเคยไปตลาดน้ำ�หรือไม่
• ที่ตลาดน้ำ�ขายของประเภทใดบ้าง
• ในภาพแม่ของขุนและขุน ซื้อผักผลไม้ชนิดใดบ้าง และซื้อขนมอะไร
• ในภาพ ผัก ผลไม้ และขนม ที่แม่ซื้อ ติดราคาต่อหน่วยเท่าไร

ครูสนทนากับนักเรียนเกี่ยวกับการหาผลรวม จำ�นวนเงินที่คุณแม่ของขุนซื้อผัก ผลไม้ และขนมเป็นจำ�นวนเท่าไร


เพื่อนำ�เข้าสู่บทเรียน

178  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 12 | การบวกที่ผลบวกไม่เกิน 100

12 + 4 =
แมตองซื้อแอปเปลทั้งหมด ๑๖ ผล

8+7=
พวกเราเก็บฝรั่งไดทั้งหมด ๑๕ ผล

5+ = 15
ตองซื้อมาเพิ่มอีก ๑๐ ฟอง

แนวการจัดการเรียนรู้
เตรียมความพร้อม เพื่อตรวจสอบความรู้พื้นฐานของนักเรียน เรื่องการบวกที่ผลบวกไม่เกิน 100 โดยอาจสนทนา
เกี่ยวกับภาพตามหนังสือเรียนแม่จะไปตลาดเพื่อซื้อแอปเปิลฝากคุณยายและน้อง โดยขุนถามแม่ว่า “แม่ต้องซื้อแอปเปิล
ทั้งหมดกี่ผลครับ” ต่อจากนั้นใช้คำ�ถาม ให้นักเรียนคิด

• แม่จะนำ�ฝรั่งที่ปลูกไว้ไปขาย โดยแก้วตาเก็บฝรั่งไว้ 8 ผล และต้นกล้าเก็บมาเพิ่ม 7 ผล


ดังนั้นจะนำ�ฝรั่งไปขายกี่ผล

• ถ้ายายต้องการทำ�ไข่เค็ม 15 ฟอง ขุนบอกว่า “มีไข่เป็ดอยู่แล้ว 5 ฟอง ต้องซื้อมาเพิ่มอีกกี่ฟอง”

ครูอาจใช้ของจริงแสดงหรือบัตรภาพแสดงการหาผลบวก โดยให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง ตามสถานการณ์จากภาพ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  179
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 12 | การบวกที่ผลบวกไม่เกิน 100

12.1 การบวกจำ�นวนสองหลัก
กับหนึ่งหลักที่ผลบวก
ไม่เกิน 100 ไม่มีการทด

จุดประสงค์
หาผลบวกของจำ�นวนสองหลักกับ
หนึ่งหลักที่ผลบวกไม่เกิน 100
ไม่มีการทด

สื่อการเรียนรู้
• บัตรภาพ
• แผ่นตารางสิบ แผ่นตารางหน่วย
• ไม้มัด

38 59

แนวการจัดการเรียนรู้
นักเรียนพิจารณาภาพในหนังสือเรียน หน้า 157 ในการขายกล้วยปิ้งของแม่ค้าที่ขุนซื้อ 21 ลูก และต้นกล้าซื้อ
อีก 3 ลูก ซึ่งหาคำ�ตอบได้โดยการนับต่อจาก 21 ทีละ 1 ไป 3 ครั้ง ดังนั้น แม่ค้าขายกล้วยปิ้งไปทั้งหมด 24 ลูก ต่อจากนั้น
ครูสนทนากับนักเรียนพร้อมใช้สื่อบัตรภาพการ์ตูนประกอบ ถ้าครูมีภาพการ์ตูน 36 ภาพ แล้วซื้อมาอีก 2 ภาพ ครูจะมีภาพ
การ์ตูนทั้งหมดกี่ภาพ นักเรียนลองหาคำ�ตอบ แบ่งกลุ่มนักเรียนช่วยกันหาคำ�ตอบจากโจทย์การบวก 55 + 4 =
โดยครูให้นักเรียนแสดงบัตรภาพการ์ตูนถามคำ�ถามให้นักเรียนตอบและสรุปการหาคำ�ตอบโดยใช้วิธีการนับต่อ

180  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 12 | การบวกที่ผลบวกไม่เกิน 100

49 76

แนวการจัดการเรียนรู้

ครูนักเรียนช่วยกันหาคำ�ตอบจากโจทย์ 50 + 7 = โดยครูและนักเรียนช่วยกันวางแผ่นตารางสิบตามภาพใน
หนังสือเรียน จากนั้นให้นักเรียนวางมัดไม้เพื่อหาคำ�ตอบจากโจทย์ 5 + 60 =

• นักเรียนใช้แผ่นตารางสิบ แผ่นตารางหน่วย และมัดไม้ หาคำ�ตอบจากโจทย์ 40 + 9 =


และ 6 + 70 =

• นักเรียนอาจใช้สื่อที่มีอยู่ในห้องเรียนหาคำ�ตอบ เพื่อให้เกิดความคล่องแคล่ว

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  181
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 12 | การบวกที่ผลบวกไม่เกิน 100

78 78
88 88

แนวการจัดการเรียนรู้

ครูให้นักเรียนช่วยกันวางแผ่นตาราสิบ แผ่นตารางหน่วยในการหาคำ�ตอบจากโจทย์ 32 + 7 = ตามรูปใน


หนังสือเรียนหน้า 159 และพิจารณาการใช้ความสัมพันธ์ของจำ�นวนแบบส่วนย่อย-ส่วนรวม เช่น
32 สามารถแยกส่วนย่อยเป็น 30 กับ 2 ดังนั้น การหาผลบวกของ 32 + 7 ทำ�ได้โดย
ขั้นที่ 1 นำ� 2 บวก 7 ได้ผลบวก 9
ขั้นที่ 2 นำ� 30 บวก 9 ได้ผลบวก 39
ดังนั้น 32 + 7 มีผลบวกเป็น 39 จากนั้นครูให้นักเรียนพิจารณา 7 + 32 =
นักเรียนร่วมกันอภิปรายสรุป 32 + 7 และ 7 + 32 ได้ผลบวก 39 เท่ากัน ครูแบ่งกลุ่มนักเรียนช่วยกันหาผลบวก
แต่ละคู่เท่ากันหรือไม่
73 + 5 = และ 5 + 73 =
82 + 6 = และ 6 + 82 =

182  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 12 | การบวกที่ผลบวกไม่เกิน 100

77

48

38

28

48

ตรวจสอบความเข้าใจ สิ่งที่ได้เรียนรู้
ตรวจสอบความเข้าใจของนักเรียนเพื่อให้สอดคล้อง การหาผลบวกของจำ�นวนสองหลักกับจำ�นวนหนึ่งหลัก
กับจุดประสงค์ของการเรียนในชั่วโมงนี้ โดยให้นักเรียน อาจใช้การนับต่อ หรือใช้ความสัมพันธ์ของจำ�นวน
หาผลบวกตามหนังสือเรียนหน้า 160 หรือครูอาจตั้งโจทย์ แบบส่วนย่อย-ส่วนรวม
การบวกเพิ่มเติม จากนั้นร่วมกันสรุปบทเรียน
จากนั้นให้นักเรียนทำ�แบบฝึกหัด 12.1 หน้า 93 - 95

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  183
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 12 | การบวกที่ผลบวกไม่เกิน 100

12.2 การบวกจำ�นวนสองหลัก
กับสองหลักที่ผลบวก
ไม่เกิน 100 ไม่มีการทด

จุดประสงค์
หาผลบวกจำ�นวนสองหลักกับ
จำ�นวนสองหลักที่ผลบวก
ไม่เกิน 100 ไม่มีการทด

สื่อการเรียนรู้
• ตารางร้อย
• แผ่นตารางสิบ แผ่นตารางหน่วย

80 100

แนวการจัดการเรียนรู้
ครูให้นักเรียนพิจารณาภาพในหนังสือเรียน หน้า 161 ในการขายผักของแม่ค้า แม่ค้าขายแคร์รอต 30 บาท และ
ขายผักกาดหัว 20 บาท นักเรียนช่วยกันคิดว่า แม่ค้าจะขายแคร์รอต และผักกาดหัวได้เงินกี่บาท โดยพิจารณา
จากตารางร้อย ที่ใช้วิธีการนับต่อจาก 30 ทีละ 10 ไป 2 ครั้ง จะได้ 40 50
ดังนั้น แม่ค้าขายได้เงิน 30 + 20 = 50
จากนั้นให้นักเรียนใช้วิธีนับต่อโดยพิจารณาจากตารางร้อย
ในการหาคำ�ตอบของโจทย์ 50 + 30 = และ 20 + 80 =
ครูอาจเพิ่มเติมโจทย์การบวก เพื่อฝึกนักเรียนคิด

184  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 12 | การบวกที่ผลบวกไม่เกิน 100

59 59

แนวการจัดการเรียนรู้

ครูให้นักเรียนช่วยกันหาผลบวกโดยใช้วิธีนับต่อแล้วพิจารณาตารางร้อย จากโจทย์การบวก 28 + 40 =
ซึ่งได้จากการนับต่อจาก 28 ทีละ 10 ไป 4 ครั้ง จะได้ 38 48 58 68 และหาคำ�ตอบของโจทย์ 40 + 28 =
โดยนับต่อจาก 40 ทีละ 10 ไป 2 ครั้ง จะได้ 50 60 จาก 60 นับต่อทีละ 1 ไปอีก 8 ครั้ง ได้ 61 62 63 64 65 66
67 68 ดังนั้น 40 + 28 = 68 ซึ่งนักเรียนพิจารณาจากตารางร้อย ประกอบการนับต่อ นักเรียนสรุปได้ว่า 28 + 40
และ 40 + 28 ผลบวกมีคา่ เท่ากัน จากนัน ้ ให้นก
ั เรียนแต่ละกลุม
่ ลองหาคำ�ตอบของโจทย์ 30 + 29 = และ 29 + 30 =

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  185
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 12 | การบวกที่ผลบวกไม่เกิน 100

แนวการจัดการเรียนรู้

ครูให้นักเรียนพิจารณารูปในหนังสือเรียนหน้า 163 ในการหาคำ�ตอบของโจทย์ 23 + 30 = โดยใช้แผ่นตารางสิบ


และความสัมพันธ์ของจำ�นวนแบบส่วนย่อย-ส่วนรวม ซึ่ง 23 สามารถแยกส่วนย่อยเป็น 20 กับ 3
ขั้นที่ 1 นำ� 20 + 30 = 50 และขั้นที่ 2 นำ� 50 + 3 = 53
จากนั้นให้นักเรียนพิจารณา 34 + 25 = ที่ใช้แผ่นตารางสิบ แผ่นตารางหน่วย และความสัมพันธ์ของจำ�นวน
แบบส่วนย่อย-ส่วนรวมในการหาผลบวกจะพบว่า 34 สามารถแยกส่วนย่อย เป็น 30 กับ 4 และ 25 สามารถแยกส่วนย่อย
เป็น 20 กับ 5
ขั้นที่ 1 นำ� 4 + 5 = 9
ขั้นที่ 2 นำ� 30 + 20 = 50 และ
ขั้นที่ 3 นำ� 50 + 9 = 59
ดังนั้น 34 + 25 = 59 ครูลองให้นักเรียนหาผลบวกโดยใช้แผ่นตารางสิบ และแผ่นตารางหน่วย

186  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 12 | การบวกที่ผลบวกไม่เกิน 100

75

93

48

79

100

ตรวจสอบความเข้าใจ สิ่งที่ได้เรียนรู้
ตรวจสอบความเข้าใจของนักเรียนเพื่อให้สอดคล้อง การหาผลบวกของจำ�นวนสองหลักกับจำ�นวนสองหลัก
กับจุดประสงค์ของการเรียนในชั่วโมงนี้ โดยให้นักเรียน อาจใช้การนับต่อ หรือใช้ความสัมพันธ์ของจำ�นวน
หาผลบวกตามหนังสือเรียน หน้า 164 หรือให้นักเรียน แบบส่วนย่อย-ส่วนรวม
ช่วยกันตั้งโจทย์การบวก และหาผลบวกเพิ่มเติม จากนั้น
จากนั้นให้นักเรียนทำ�แบบฝึกหัด 12.2 หน้า 96 - 98
นักเรียนช่วยกันสรุปบทเรียน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  187
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 12 | การบวกที่ผลบวกไม่เกิน 100

12.3 การบวกจำ�นวนสองหลัก
กับหนึ่งหลักที่มีผลบวก
ไม่เกิน 100 มีการทด

จุดประสงค์
หาผลบวกของจำ�นวนสองหลักกับ
จำ�นวนหนึ่งหลักที่มีผลบวก
ไม่เกิน 100 มีการทด

สื่อการเรียนรู้
• แผ่นตารางสิบ แผ่นตารางหน่วย

แนวการจัดการเรียนรู้
ครูให้นักเรียนพิจารณาภาพในหนังสือเรียน หน้า 165 การซื้อไอศกรีมของขุนที่พ่อค้าติดราคาไอศกรีมไว้ถ้วยละ 25 บาท
เพิ่มหน้าอย่างละ 5 บาท ขุนซื้อไอศกรีม 1 ถ้วย และเพิ่มหน้าข้าวโพด
ดังนั้น ขุนต้องจ่ายเงิน 30 บาท แผ่นตารางหน่วยคิดได้จาก 25 เพิ่มอีก 5 นับต่อจาก 25 ได้ 26 27 28 29 30
นักเรียนช่วยกันใช้แผ่นตารางสิบและความสัมพันธ์ของจำ�นวนแบบส่วนย่อย-ส่วนรวมในการหาคำ�ตอบ
25 + 5 = โดยพิจารณาจากหนังสือเรียน หน้า 165 ประกอบ 25 สามารถแยกส่วนย่อยเป็น 20 กับ 5
ขั้นที่ 1 นำ� 5 + 5 = 10 และขั้นที่ 2 นำ� 20 + 10 = 30
ดังนั้น ขุนต้องจ่ายเงิน 25 + 5 = 30 บาท

188  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 12 | การบวกที่ผลบวกไม่เกิน 100

65 72

แนวการจัดการเรียนรู้

ครูให้นักเรียนช่วยกันหาคำ�ตอบ 34 + 9 = โดยแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่มให้หาผลบวกโดยใช้แผ่นตารางสิบ
แผ่นตารางหน่วยและพิจารณารูปจากหนังสือเรียน หน้า 166 จะได้ 34 + 9 = 43 จากนั้น ให้นักเรียนช่วยกันหาผลบวกโดย
ใช้ความสัมพันธ์ของจำ�นวนแบบส่วนย่อย-ส่วนรวม

34 สามารถแยกส่วนย่อยเป็น 30 กับ 4

ขั้นที่ 1 นำ� 4 + 9 = 13

ขั้นที่ 2 นำ� 30 + 13 = 43

หรือ 34 สามารถแยกส่วนย่อยเป็น 33 กับ 1

ขั้นที่ 1 นำ� 1 + 9 = 10 และขั้นที่ 2 นำ� 33 + 10 = 43

ดังนั้น 34 + 9 = 43 ครูให้นักเรียนเสนอวิธีการหาคำ�ตอบของ 58 + 7 = และ 69 + 3 =

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  189
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 12 | การบวกที่ผลบวกไม่เกิน 100

4 12 2 10
12 72 10 72
72 72

6 6 12 4 56 60
50 12 62 60 2 62
62 62

35 81

แนวการจัดการเรียนรู้

ครูให้นักเรียนพิจารณาหนังสือเรียนหน้า 167 ในการหาผลบวก 64 + 8 = โดยใช้ความสัมพันธ์ของจำ�นวน


แบบส่วนย่อย-ส่วนรวม
แบบที่ 1 64 สามารถแยกส่วนย่อยเป็น 60 กับ 4 นักเรียนร่วมกันอภิปราย
ขั้นที่ 1 นำ�จำ�นวนใดบวก 8 ได้เท่ากับเท่าไร (4 + 8 = 12)
ขั้นที่ 2 นำ� 60 บวกจำ�นวนใดได้เท่ากับเท่าไร (60 + 12 = 72)
และแบบที่ 2 64 สามารถแยกส่วนย่อยเป็น 62 กับ 2
ขั้นที่ 1 นำ�จำ�นวนใด บวก 8 ได้เท่ากับเท่าไร (2 + 8 = 10)
และขั้นที่ 2 นำ� 62 บวกจำ�นวนใดได้เท่ากับเท่าไร (62 + 10 = 72)
จากนั้นให้นักเรียนหาคำ�ตอบ 6 + 56 = โดยครูใช้คำ�ถามกระตุ้นให้นักเรียนคิดเช่นเดียวกับ 64 + 8 =
นักเรียนช่วยกันสรุปจำ�นวนที่เป็นส่วนย่อยอาจเป็นจำ�นวนอื่นก็ได้ที่ง่ายต่อการหาผลบวกและลองให้นักเรียนหาคำ�ตอบ
ของโจทย์ 7 + 28 = และ 75 + 6 =

190  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 12 | การบวกที่ผลบวกไม่เกิน 100

3 9 12
30 12 42
30 3
42

33 7 40
40 2 42
7 2
42

ตรวจสอบความเข้าใจ สิ่งที่ได้เรียนรู้
ตรวจสอบความเข้าใจของนักเรียนเพื่อให้สอดคล้อง การหาผลบวกของจำ�นวนสองหลักกับจำ�นวนหนึ่งหลัก
กับจุดประสงค์ของการเรียนในชั่วโมงนี้โดยนักเรียนแสดง อาจใช้ความสัมพันธ์ของจำ�นวนแบบส่วนย่อย-ส่วนรวม
วิธีหาผลบวก
จากนั้นให้นักเรียนทำ�แบบฝึกหัด 12.3 หน้า 99 – 101
33 + 9 = ตามหนังสือเรียนหน้า 168
ที่ใช้ความสัมพันธ์ของจำ�นวนแบบส่วนย่อย-ส่วนรวมหรือ
ครูอาจตั้งโจทย์การบวกเพิ่มเติม จากนั้นนักเรียนร่วมกัน
สรุปบทเรียน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  191
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 12 | การบวกที่ผลบวกไม่เกิน 100

12.4 การหาผลบวกโดย
การตั้งบวกไม่มีการทด

จุดประสงค์
หาผลบวกโดยการตั้งบวกไม่มีการทด

สื่อการเรียนรู้
• แผ่นตารางสิบ แผ่นตารางหน่วย

แนวการจัดการเรียนรู้
ครูให้นักเรียนพิจารณาภาพในหนังสือเรียน หน้า 169 การซื้อขนมของคุณแม่ที่ซื้อขนมกล้วย 32 ชิ้น และขนมตาล
อีก 6 ชิ้น คุณแม่ซื้อขนมทั้งหมดกี่ชิ้น นักเรียนช่วยกันคิด 32 + 6 = โดยใช้แผ่นตารางสิบ แผ่นตารางหน่วย นักเรียน
พิจารณาภาพจากหนังสือเรียน หน้า 169 ประกอบ หาผลบวกในหลักหน่วยก่อน จากนั้นหาผลบวกในหลักสิบ
ขั้นที่ 1 นำ� 2 หน่วย บวก 6 หน่วย ได้ 8 หน่วย
ขั้นที่ 2 นำ� 3 สิบ บวก 0 สิบ ได้ 3 สิบ และเขียนแสดงการตั้งบวกบนกระดาน ดังนี้
หลักสิบ หลักหน่วย

3 2
+
6

3 8

ดังนั้น คุณแม่ซื้อขนมทั้งหมด 38 ชิ้น


192  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 12 | การบวกที่ผลบวกไม่เกิน 100

แนวการจัดการเรียนรู้
ครูให้นักเรียนพิจารณาการหาผลบวกโดยการตั้งบวก ครูแนะนำ�การเขียนแสดงวิธีหาผลบวกโดยการตั้งบวก
ในหนังสือเรียนหน้า 170 หาผลบวก 25 + 23 = ไม่จำ�เป็นต้องเขียน คำ�ว่า “หลักสิบ” และ “หลักหน่วย”
นักเรียนดูแผ่นตารางสิบ แผ่นตารางหน่วยและขั้นตอน แต่ต้องเขียนเลขโดดที่อยู่ในหลักเดียวกันให้ตรงกัน ดังนี้
การหาผลบวกโดยการตั้งบวก

ขั้นที่ 1 บวกในหลักหน่วย หลักสิบ หลักหน่วย


5 หน่วย บวก 3 หน่วย ได้ 8 หน่วย 25
2 5
+ +
ขั้นที่ 2 บวกในหลักสิบ 2 3 23
2 สิบ บวก 2 สิบ ได้ 4 สิบ
4 8 48
ครูเขียนแสดงการตั้งบวก
บนกระดาน

ดังนั้น 25 + 23 = 48

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  193
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 12 | การบวกที่ผลบวกไม่เกิน 100

6 9 9 7
๖๙ ๙๗

4 0 3 7
8 5 0
4 8 8 7
๔๘ ๘๗

แนวการจัดการเรียนรู้
ครูให้นักเรียนพิจารณาตัวอย่างการหาผลบวกโดย ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายและสรุปวิธีหา
วิธีตั้งบวกในหนังสือเรียนหน้า 171 ผลบวกในหลักหน่วยก่อนแล้วจึงหาผลบวกในหลักสิบ
นักเรียนพิจารณาตัวอย่าง 36 + 41 = ครูเน้นย้ำ�กับ
นักเรียนว่าต้องเขียนเลขโดดที่อยู่ในหลักเดียวกันให้
54 + 5 = ตรงกันและบวกจำ�นวนที่อยู่ในหลักเดียวกัน
วิธีทำ� จากนั้นให้นักเรียนช่วยกันหาผลบวกข้อที่ 1 – 4
5 4
+
5
5 9
ตอบ ๕๙

194  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 12 | การบวกที่ผลบวกไม่เกิน 100

2 5
4
2 9
๒๙
4 3
5 1
9 4
๙๔

ตรวจสอบความเข้าใจ สิ่งที่ได้เรียนรู้
ตรวจสอบความเข้าใจของนักเรียนเพื่อให้สอดคล้อง การหาผลบวกโดยการตั้งบวก ต้องเขียนเลขโดด
กับจุดประสงค์ของการเรียนในชั่วโมงนี้ โดยนักเรียนแสดงวิธี ในหลักเดียวกันให้ตรงกัน แล้วจึงนำ�จำ�นวนที่อยู่ในหลัก
หาผลบวกโดยการตัง้ บวกไม่มกี ารทดตามหนังสือเรียนหน้า 172 เดียวกันมาบวกกัน
โดยครูอาจให้นักเรียนช่วยกันทำ�พร้อมกันบนกระดานใน
จากนั้นให้นักเรียนทำ�แบบฝึกหัด 12.4 หน้า 102 - 104
ข้อที่ 1 และให้นก
ั เรียนแต่ละคนทำ�ข้อ 2 จากนั้นนักเรียน
ช่วยกันสรุปบทเรียน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  195
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 12 | การบวกที่ผลบวกไม่เกิน 100

12.5 การหาผลบวก
โดยการตั้งบวกที่มีการทด

จุดประสงค์
หาผลบวกโดยการตั้งบวกที่มีการทด

สื่อการเรียนรู้
• แผ่นตารางสิบ แผ่นตารางหน่วย

แนวการจัดการเรียนรู้
ครูให้นก
ั เรียนพิจารณาภาพในหนังสือเรียน หน้า 173 การซือ้ นม 1 ขวด กับแซนด์วช ิ 1 ชิน
้ ซึง่ นมราคาขวดละ 8 บาท
และแซนด์วิชราคาชิ้นละ 24 บาท ใบบัวต้องจ่ายเงินทั้งหมดกี่บาท นักเรียนช่วยกันคิด 24 รวมกับ 8 ได้เท่าใด โดยพิจารณา
จากแผ่นตารางสิบ และแผ่นตารางหน่วย ที่แสดงการรวมกัน และขั้นตอนการบวกโดยการตั้งบวก
ขั้นที่ 1 บวกในหลักหน่วย นำ� 4 หน่วยบวก 8 หน่วยได้ 12 หน่วย หรือ 1 สิบ กับ 2 หน่วย
โดยเขียน 2 ในหลักหน่วยและทดไปหลักสิบ 1 สิบ ดังภาพในหนังสือเรียน หน้า 173
ขั้นที่ 2 บวกในหลักสิบ นำ� 2 สิบ บวก 0 สิบ และบวกกับทด 1 สิบ ได้ 3 สิบ
ครูเขียนการบวกโดยการตั้งบวกบนกระดาน ดังนี้ หลักสิบ หลักหน่วย

2 4
+
8
3 2

ดังนั้น ใบบัวต้องจ่ายเงินทั้งหมด 32 บาท


196  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 12 | การบวกที่ผลบวกไม่เกิน 100

แนวการจัดการเรียนรู้
ครูให้นักเรียนพิจารณาหนังสือเรียนหน้า 174 ครูแนะนำ�การเขียนแสดงวิธีหาคำ�ตอบ 19 + 26
หาคำ�ตอบของ 19 + 26 = โดยพิจารณาจาก ไม่จำ�เป็นต้องเขียน คำ�ว่า หลักสิบ และหลักหน่วย
แผ่นตารางสิบ แผ่นตารางหน่วย และขั้นตอน แต่ต้องเขียนเลขโดดที่อยู่ในหลักเดียวกันให้ตรงกัน
การหาผลบวกโดยการตั้งบวก และอย่าลืมทด ดังนี้

ขั้นที่ 1 บวกในหลักหน่วย นำ� 9 หน่วย บวกกับ


1
6 หน่วย ได้ 15 หน่วย หรือ 1 สิบ กับ 5 หน่วย 19
เขียน 5 ในหลักหน่วย และทดไปหลักสิบ 1 สิบ +
26
ขั้นที่ 2 บวกในหลักสิบนำ� 1 สิบ บวก 2 สิบ และ
บวกกับที่ทด 1 สิบ ได้ 4 สิบ 45

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  197
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 12 | การบวกที่ผลบวกไม่เกิน 100

6 0 4 5
๖๐ ๔๕

1 1
3 6 7 5
6 2 5
4 2 1 0 0
๔๒ ๑๐๐

แนวการจัดการเรียนรู้
ครุให้นักเรียนพิจารณาตัวอย่างจากหนังสือเรียน ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายว่าหาผลบวกใน
หน้า 175 หลักหน่วยก่อนแล้วจึงหาผลบวกในหลักสิบ
จากนั้นพิจารณาตัวอย่าง 29 + 36 = ครูเน้นย้ำ�
45 + 9 =
กับนักเรียนว่า ต้องเขียนเลขโดดที่อยู่ในหลักเดียวกัน
1
วิธีทำ� 4 5 ให้ตรงกันและบวกจำ�นวนที่อยู่ในหลักเดียวกัน แล้วให้
+ นักเรียนช่วยกันหาผลบวก
9
ข้อที่ 1 8 + 52 = บนกระดาน และให้นักเรียน
5 4
แต่ละคนหาผลบวกข้อ 2 – 4
ตอบ ๕๔

198  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 12 | การบวกที่ผลบวกไม่เกิน 100

1
3 3
9
4 2
๔๒
1
6 3
2 7
9 0
๙๐

ตรวจสอบความเข้าใจ สิ่งที่ได้เรียนรู้
ตรวจสอบความเข้าใจของนักเรียนเพื่อให้สอดคล้อง การหาผลบวกของจำ�นวนสองจำ�นวนโดยการตั้งบวก
กับจุดประสงค์ของการเรียนในชั่วโมงนี้ โดยให้นักเรียนแสดง ต้องเขียนเลขโดดในหลักเดียวกันให้ตรงกัน แล้วจึงนำ�จำ�นวน
วิธห
ี าคำ�ตอบของ 33 + 9 = พร้อมกันบนกระดาน ที่อยู่ในหลักเดียวกันมาบวกกันถ้าผลบวกในหลักหน่วยเป็น
ครูย้ำ�ว่าต้องเขียนเลขโดดที่อยู่หลักเดียวกันให้ตรงกันและ 1 สิบ หรือมากกว่า 1 สิบ ต้องทด 1 สิบ ไปรวมกับจำ�นวน
บวกจำ�นวนที่อยู่ในหลักเดียวกัน ผลบวกในหลักหน่วยเป็น ในหลักสิบ
จำ�นวนสองหลักต้องทด 1 สิบ จากหลักหน่วยไปรวมกับ
จากนั้นให้นักเรียนทำ�แบบฝึกหัด 12.5 หน้า 105-107
จำ�นวนในหลักสิบ หลังจากนั้นให้นักเรียนทำ�ข้อ 2
63 + 27 = ด้วยตนเอง

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  199
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 12 | การบวกที่ผลบวกไม่เกิน 100

กิจกรรม เกมคู่ฉันอยู่ไหน

อุปกรณ์
1. บัตรโจทย์การบวก
2. บัตรผลบวก
3. บัตรเปล่าสำ�หรับให้นักเรียนเขียน
โจทย์การบวกและบัตรผลบวก
4. ปากกาเคมีสำ�หรับใช้เขียน
บัตรโจทย์การบวก และบัตรผลบวก

เตรียมสถานที่
ห้องเรียนที่จัดนักเรียนเป็นกลุ่ม

วิธีจัดกิจกรรม
ขั้นที่ 1 เล่นเกมคู่ฉันอยู่ไหน
ครูแจกบัตรโจทย์การบวก และบัตรผลบวกให้กลุ่มละ 1 ชุด นักเรียนแต่ละกลุ่มแข่งขันกันจับคู่บัตรโจทย์
การบวกและบัตรผลบวก กลุ่มใดจับคู่เสร็จก่อน และถูกต้องเป็นผู้ชนะ

ขั้นที่ 2 สร้างเกมคู่ฉันอยู่ไหน
ครูแจกบัตรเปล่าให้นักเรียนเขียนโจทย์การบวก และผลบวก กลุ่มละ 1 ชุด ครูตรวจสอบความถูกต้อง
ของบัตรโจทย์การบวก และบัตรผลบวก และให้นักเรียนแลกเปลี่ยนกันเล่นเกม

จากนั้นให้นักเรียนทำ�แบบฝึกท้าทาย หน้า 108

200  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 12 | การบวกที่ผลบวกไม่เกิน 100

แบบทดสอบบทที่ 12

เป็ น ตั ว อย่ า งแบบทดสอบที่ ใ ช้ ใ นการประเมิ น เพื่ อ พั ฒ นานั ก เรี ย นหากมี นั ก เรี ย นคนใดที่ ไ ม่ ผ่ า นการทดสอบครู ค วร
ให้ นั ก เรี ย นคนนั้ น ฝึ ก ทั ก ษะมากขึ้ น โดยอาจใช้ แ บบฝึ ก เสริ ม จากหนั ง สื อ เสริ ม เพิ่ ม ปั ญ ญาของสสวท.หรื อ แบบฝึ ก อื่ น ที่
เห็นว่าสมควร ซึ่งแบบทดสอบท้ายบทนี้มีจำ�นวน 10 ข้อ คะแนนเต็ม 10 คะแนน ใช้เวลาในการทำ�แบบทดสอบ 20 นาที
และวิเคราะห์เป็นรายจุดประสงค์ได้ดังนี้

จุดประสงค์การเรียนรู้ ข้อที่

1. หาผลบวกของจำ�นวนสองหลักกับจำ�นวนหนึ่งหลักที่ผลบวกไม่เกิน 100 1, 3, 6

2. หาผลบวกของจำ�นวนสองหลักกับจำ�นวนสองหลักที่ผลบวกไม่เกิน 100 2, 4, 5, 7, 8, 9, 10

ให้นักเรียนเติมคำ�ตอบ

1. 23 + 4 = * 6. 2 + 55 =*

ตอบ ......................................................................... ตอบ .........................................................................

2. 40 + 50 =* 7. 38 + 21 =*

ตอบ ......................................................................... ตอบ .........................................................................

3. 9 + 72 =* 8. 56 + 7 =*

ตอบ ......................................................................... ตอบ .........................................................................

4. 24 + 16 =* 9. 33 + 28 =*

ตอบ ......................................................................... ตอบ .........................................................................


5. 46 + 25 =* 10. 63 + 37 =*

ตอบ ......................................................................... ตอบ .........................................................................

เฉลย
1. ๒๗ 6. ๕๗
2. ๙๐ 7. ๕๙
3. ๘๑ 8. ๖๓
4. ๔๐ 9. ๖๑
5. ๗๑ 10. ๑๐๐

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  201
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 13 | การลบจำ�นวนที่ตัวตั้งไม่เกิน 100

บทที่ 13 การลบจำ�นวนที่ตัวตั้งไม่เกิน 100

จุดประสงค์การเรียนรู้และสาระสำ�คัญ

จุดประสงค์การเรียนรู้ สาระสำ�คัญ

นักเรียนสามารถ
1. หาผลลบจำ � นวนสองหลั ก กั บ จำ � นวนหนึ่ ง หลั ก ที่ ตั ว ตั้ ง สามารถหาผลลบของจำ�นวนสองจำ�นวนที่ตัวตั้ง
มากกว่า 20 แต่ไม่เกิน 100 มากกว่า 20 แต่ไม่เกิน 100 ได้หลายวิธี เช่น การนับต่อ
(เนื้อหาในหัวข้อ 13.1 13.3 13.5 - 13.8) การนับถอยหลัง การเปรียบเทียบแล้วหาว่าต่างกันอยู่เท่าไร
การเอาออกแล้วหาจำ�นวนที่เหลือ การใช้ความสัมพันธ์ของ
จำ�นวนแบบส่วนย่อย-ส่วนรวม การตั้งลบ เป็นต้น ทั้งนี้ใน
2. หาผลลบจำ�นวนสองหลักกับจำ�นวนสองหลักที่ตัวตั้ง
การตั้งลบจะลบในหลักหน่วยก่อน และต้องเขียนเลขโดดใน
มากกว่า 20 แต่ไม่เกิน 100
หลักเดียวกันให้ตรงกันแล้วนำ�จำ�นวนที่อยู่ในหลักเดียวกันมา
(เนื้อหาในหัวข้อ 13.2 13.4 13.5 – 13.7 13.9)
ลบกัน ซึ่งตัวตั้งต้องมากกว่าตัวลบ หากตัวตั้งน้อยกว่าตัวลบ
ต้องกระจายจากหลักสิบมาหลักหน่วยก่อน

3. หาค่าของตัวไม่ทราบค่าในประโยคสัญลักษณ์
สามารถหาค่าของตัวไม่ทราบค่าในประโยคสัญลักษณ์
การบวกและประโยคสัญลักษณ์การลบ
การบวกและประโยคสัญลักษณ์การลบอาจใช้ความสัมพันธ์
(เนื้อหาในหัวข้อ 13.1-13.9)
ของการบวกและการลบในการแปลงประโยคสัญลักษณ์
การบวกเป็นประโยคสัญลักษณ์การลบ เพื่อให้หาคำ�ตอบ
ง่ายขึ้นหรือ อาจแปลงประโยคสัญลักษณ์การลบเป็น
ประโยคสัญลักษณ์การบวกเพื่อให้หาคำ�ตอบง่ายขึ้น

202  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 13 | การลบจำ�นวนที่ตัวตั้งไม่เกิน 100

ตารางการวิเคราะห์เนื้อหากับทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
หัวข้อ เนื้อหา
j k l m n
เตรียมความพร้อม   

13.1 การลบจำ�นวนสองหลักกับจำ�นวนหนึ่งหลักไม่มีการกระจาย   

13.2 การลบจำ�นวนสองหลักกับจำ�นวนสองหลักไม่มีการกระจาย   

13.3 การลบจำ�นวนสองหลักกับจำ�นวนหนึ่งหลักมีการกระจาย   

13.4 การลบจำ�นวนสองหลักกับจำ�นวนสองหลักมีการกระจาย   

13.5 การหาผลลบโดยการตั้งลบไม่มีการกระจาย   

13.6 การหาผลลบโดยการตั้งลบมีการกระจาย   

13.7 ความสัมพันธ์ของการบวกและการลบ    

13.8 การหาค่าของตัวไม่ทราบค่า (1)   

13.9 การหาค่าของตัวไม่ทราบค่า (2)    

ร่วมคิดร่วมทำ�   

ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

j การแก้ปัญหา k การสื่อสารและการสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์
l การเชื่อมโยง m การให้เหตุผล n การคิดสร้างสรรค์

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  203
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 13 | การลบจำ�นวนที่ตัวตั้งไม่เกิน 100

คำ�สำ�คัญ
ความสัมพันธ์ของการบวกและการลบ
การลบโดยการตั้งลบมีการกระจาย

ความรู้หรือทักษะพื้นฐาน
การลบจำ�นวนที่ตัวตั้งไม่เกิน 20
ความสัมพันธ์ของการบวกและการลบ

เวลาที่ใช้จัดการเรียนรู้
11 ชั่วโมง

สื่อและแหล่งเรียนรู้

1. หนังสือเรียน หน้า 178 – 217


2. แบบฝึกหัด หน้า 109 – 134
3. เอกสาร แบบบันทึก ใบกิจกรรม และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการทำ�กิจกรรม ดังนี้
• สื่อของจริง
• บัตรข้อความ เช่น บัตรโจทย์การบวก บัตรโจทย์เปล่า บัตรคำ�ถาม บัตรโจทย์
• อุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น แผ่นตารางสิบ แผ่นตารางหน่วย ไม้มัด สื่อตัวนับ
• ใบบันทึกกิจกรรม
• บัตรภาพต่าง ๆ เช่น บัตรภาพสถานการณ์

204  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 13 | การลบจำ�นวนที่ตัวตั้งไม่เกิน 100

แนวการจัดการเรียนรู้
ใช้ข้อมูลในหนังสือเรียนหน้าเปิดบท เกี่ยวกับร้านสหกรณ์ของโรงเรียน โดยใช้คำ�ถาม เช่น

• นักเรียนเคยไปซื้อของที่ร้านสหกรณ์ไหม

• นักเรียนเคยไปช่วยคุณครูขายของไหม

• นักเรียนขายสินค้าไปเท่าไร

• นักเรียนเหลือสินค้าเท่าไร

และสนทนาเกี่ยวกับการนำ�ความรู้เรื่องการลบไปใช้ในชีวิตจริงเรื่องอื่น ๆ ก่อนที่จะนำ�เข้าสู่บทเรียน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  205
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 13 | การลบจำ�นวนที่ตัวตั้งไม่เกิน 100

20 - 7 =
เหลือคุกกี้ ๑๓ กลอง

8-5=
เหลือรสถั่วมากกวา และมากกวาอยู ๓ กลอง

20 - 5 =
สหกรณจะตองสั่งคุกกี้รสเนย มาเพิ่มอีก ๑๕ กลอง

แนวการจัดการเรียนรู้
ใช้หนังสือเรียนหน้าเตรียมความพร้อม เพื่อตรวจสอบความรู้พื้นฐานของนักเรียนเรื่องการลบจำ�นวนที่ตัวตั้งไม่เกิน 20
โดยอาจนำ�สนทนาเกีย่ วกับร้านสหกรณ์โรงเรียนว่าแต่ละวันขายอะไรไปบ้างและเหลือจำ�นวนเท่าไร แล้วให้นก ั เรียนตอบคำ�ถาม
ในหน้าเตรียมความพร้อม หากยังมีนักเรียนตอบคำ�ถามในหน้าเตรียมความพร้อมไม่ได้ ครูอาจจัดกิจกรรมเพิ่มเติมโดยใช้
บัตรโจทย์การลบจำ�นวนที่ตัวตั้งไม่เกิน 20 เพื่อช่วยในการทบทวนความรู้เรื่องการลบ และให้นักเรียนมีความพร้อมที่จะเรียน
เรื่องการลบจำ�นวนที่มากขึ้น

206  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 13 | การลบจำ�นวนที่ตัวตั้งไม่เกิน 100

13.1 การลบจำ�นวนสองหลักกับ
จำ�นวนหนึ่งหลัก

จุดประสงค์
หาผลลบของจำ�นวนสองหลักกับ
จำ�นวนหนึ่งหลักไม่มีการกระจาย

สื่อการเรียนรู้
• แผ่นตารางสิบ แผ่นตารางหน่วย
• มัดไม้

23

แนวการจัดการเรียนรู้
ครูนำ�เข้าสู่บทเรียนโดยการสนทนาเกี่ยวกับการขายขนมในร้านสหกรณ์โรงเรียน และใช้สถานการณ์ในหนังสือเรียน
เพื่ออธิบายเกี่ยวกับการลบในลักษณะของการขายไปแล้วหาจำ�นวนที่เหลืออยู่ โดยใช้สื่อแผ่นตารางสิบและแผ่นตารางหน่วย
ช่วยในการอธิบายเกี่ยวกับการคำ�นวณ ในการสอนเรื่องนี้จะเริ่มจากการลบจำ�นวนสองหลักกับจำ�นวนหนึ่งหลักที่ไม่มี
การกระจาย โดยเริ่มจากง่าย ๆ ก่อน ซึ่งนักเรียนสามารถใช้การนับต่อหรือการนับถอยหลังช่วยในการหาคำ�ตอบ
ซึ่งการนับถอยหลังอาจใช้เส้นจำ�นวนเป็นสื่อจะมองเห็นได้ง่ายขึ้น

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  207
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 13 | การลบจำ�นวนที่ตัวตั้งไม่เกิน 100

แนวการจัดการเรียนรู้
ครูแจกบัตรโจทย์การลบซึ่งจะยากขึ้นโดยตัวลบเป็นจำ�นวนหนึ่งหลักที่มากกว่า 5 การลบนี้จะไม่ใช้การนับถอยหลัง
เนื่องจากจะเกิดความสับสน อาจใช้สื่อมัดไม้ หรือใช้ความสัมพันธ์ของจำ�นวนแบบส่วนย่อย-ส่วนรวมตามที่เสนอ
ไว้ในหนังสือเรียน ส่วนการลบที่ตัวลบเป็นจำ�นวนหนึ่งหลักที่น้อยกว่า 5 เราใช้การนับถอยหลังจะสะดวกและง่ายกว่า

208  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 13 | การลบจำ�นวนที่ตัวตั้งไม่เกิน 100

45
61
50 25
83 91
30
72
22
51
90
44

แนวการจัดการเรียนรู้
ครูให้นักเรียนฝึกการลบหลังจากที่เรียนเรื่องการลบมาแล้วในหนังสือเรียนหน้า 181 และ 182 ทั้งนี้จะเพิ่มการลบ
ด้วย 0 เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับจำ�นวนใดก็ตามเมื่อลบด้วยศูนย์จะได้ผลลบเป็นจำ�นวนนั้น และนอกจากนี้ยังสอดแทรก
การลบที่เลขโดดในหลักหน่วยของตัวตั้งเป็นตัวเลขเดียวกันกับตัวลบจะทำ�ให้ผลลบในหลักหน่วยเป็นศูนย์ ซึ่งการฝึกนี้มีอยู่
3 ชุด หากเวลาในการสอนไม่เพียงพออาจเลือกชุดใดชุดหนึ่งก็ได้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  209
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 13 | การลบจำ�นวนที่ตัวตั้งไม่เกิน 100

72

41

80

20

51

ตรวจสอบความเข้าใจ สิ่งที่ได้เรียนรู้
ตรวจสอบความเข้าใจของนักเรียนเพื่อให้สอดคล้อง การหาผลลบของจำ�นวนสองหลักกับจำ�นวนหนึ่งหลัก
กับจุดประสงค์ของการเรียนในชั่วโมงนี้ โดยการให้นักเรียน อาจใช้การเอาออกแล้วหาจำ�นวนที่เหลือ การนับถอยหลัง
หาผลลบของจำ�นวนสองหลักกับจำ�นวนหนึ่งหลักตาม หรือการใช้ความสัมพันธ์ของจำ�นวนแบบส่วนย่อย-ส่วนรวม
หนังสือเรียนโดยนักเรียนอาจใช้วิธีการหาผลลบด้วย
จากนั้นให้นักเรียนทำ�แบบฝึกหัด 13.1 หน้า 109-111
วิธีใดก็ได้ตามที่เรียนมาแล้วจากหน้าพัฒนาความรู้
จากนั้นร่วมกันสรุปบทเรียน

210  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 13 | การลบจำ�นวนที่ตัวตั้งไม่เกิน 100

13.2 การลบจำ�นวนสองหลัก
กับจำ�นวนสองหลักไม่มี
การกระจาย
จุดประสงค์
หาผลลบของจำ�นวนสองหลักกับ
จำ�นวนสองหลักไม่มีการกระจาย

สื่อการเรียนรู้
• แผ่นตารางสิบ แผ่นตารางหน่วย
• มัดไม้

แนวการจัดการเรียนรู้
ครูนำ�เข้าสู่บทเรียนด้วยสถานการณ์การลบที่เป็นการเปรียบเทียบจำ�นวน ตามที่เสนอไว้ในหนังสือเรียน เพื่อให้นักเรียน
ได้ทบทวนด้วยว่าการเปรียบเทียบจำ�นวนว่ามากกว่ากันหรือน้อยกว่ากันอยู่เท่าไรก็เป็นสถานการณ์การลบอีกรูปแบบหนึ่ง
ส่วนในเรื่องการหาผลลบของจำ�นวนสองหลักกับจำ�นวนสองหลักที่ไม่มีการกระจายนั้นจะเริ่มสอนจากการลบจำ�นวนเต็มสิบ
ก่อนเพื่อให้เข้าใจง่ายอาจใช้สื่อแผ่นตารางสิบมาช่วยอธิบายการลบ ดังที่เสนอไว้ในหนังสือเรียน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  211
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 13 | การลบจำ�นวนที่ตัวตั้งไม่เกิน 100

แนวการจัดการเรียนรู้
หลังจากนักเรียนได้เรียนรู้เรื่องการลบจำ�นวนสองหลักกับจำ�นวนสองหลักที่เป็นจำ�นวนเต็มสิบแล้ว ต่อไปจะเป็น
การสอนการลบจำ�นวนสองหลักกับจำ�นวนสองหลักที่มีค่าใกล้เคียงกัน เช่น 45 กับ 40 หรือ 61 กับ 58 ซึ่งนักเรียนสามารถ
ใช้การนับต่อหรือการนับถอยหลังช่วยในการหาผลลบได้

212  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 13 | การลบจำ�นวนที่ตัวตั้งไม่เกิน 100

20 50
9 7
0 0
40 60
4 3

แนวการจัดการเรียนรู้
ในการสอนการลบจำ�นวนสองหลักกับจำ�นวนสองหลักไม่มีการกระจายของจำ�นวน ทั่วไปโดยใช้สื่อมัดไม้ช่วย
ในการอธิบายการลบ เพื่อสร้างความเข้าใจมากขึ้น หากยังมีเวลาเพียงพอควรให้นักเรียนฝึกการหาผลลบจากชุดการลบ
ที่นำ�เสนอในหนังสือเรียนไว้สองชุดหรืออาจเลือกชุดใดชุดหนึ่ง ซึ่งแต่ละชุดจะมีทั้งการลบของจำ�นวนเต็มสิบ การลบ
ของจำ�นวนที่มีค่าใกล้เคียงกันและการลบของจำ�นวนทั่วไป

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  213
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 13 | การลบจำ�นวนที่ตัวตั้งไม่เกิน 100

20

38

32

ตรวจสอบความเข้าใจ สิ่งที่ได้เรียนรู้
ตรวจสอบความเข้าใจของนักเรียนเพื่อให้สอดคล้อง การลบจำ�นวนสองหลักด้วยจำ�นวนสองหลัก
กับจุดประสงค์ของการเรียนในชั่วโมงนี้ โดยการให้นักเรียน อาจใช้การเปรียบเทียบจำ�นวนสองจำ�นวนนั้นว่าต่างกันเท่าไร
หาผลลบของจำ�นวนสองหลักกับจำ�นวนสองหลักตามหนังสือ การเอาออก การนับต่อ หรือการนับถอยหลัง
เรียนหน้า 188 โดยนักเรียนอาจจะใช้วิธีการหาผลลบด้วยวิธี
จากนั้นให้นักเรียนทำ�แบบฝึกหัด 13.2 หน้า 112 - 114
ใดก็ได้ตามที่เรียนมาแล้วจากหน้าพัฒนาความรู้
จากนั้นร่วมกันสรุปบทเรียน

214  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 13 | การลบจำ�นวนที่ตัวตั้งไม่เกิน 100

13.3 การลบจำ�นวนสองหลัก
กับจำ�นวนหนึ่งหลักมี
การกระจาย
จุดประสงค์
หาผลลบของจำ�นวนสองหลักกับ
จำ�นวนหนึ่งหลักมีการกระจาย

สื่อการเรียนรู้
• แผ่นตารางสิบ แผ่นตารางหน่วย
• มัดไม้

แนวการจัดการเรียนรู้
ครูนำ�เข้าสู่บทเรียนด้วยสถานการณ์การลบในหนังสือเรียนที่เป็นลักษณะเอามาเพิ่มอีกเท่าไรจึงจะครบตามจำ�นวน
ที่ต้องการ สถานการณ์ลักษณะนี้มีคำ�ว่าเพิ่มอีก ซึ่งนักเรียนอาจเข้าใจว่าเป็นสถานการณ์การบวก ครูควรอธิบายและเน้นย้ำ�
ให้นักเรียนเข้าใจตรงจุดนี้ด้วย ส่วนการใช้สื่อการสอนอาจใช้มัดไม้ ด้วยจำ�นวนเท่ากับตัวตั้งแล้วแยกมัดไม้ออกเป็นสองกลุ่ม
กลุ่มหนึ่งเป็นตัวลบอีกกลุ่มหนึ่งเป็นคำ�ตอบ ทำ�ให้นักเรียนมองเห็นภาพการแยกจำ�นวนทั้งหมด (ส่วนรวม) ออกเป็นส่วนย่อย
สองส่วน ซึ่งนักเรียนมีพื้นฐานเรื่องความสัมพันธ์ของจำ�นวนแบบส่วนย่อย-ส่วนรวมมาแล้วจะทำ�ให้นักเรียนเข้าใจมากขึ้น
และเข้าใจต่อเนื่อง

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  215
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 13 | การลบจำ�นวนที่ตัวตั้งไม่เกิน 100

แนวการจัดการเรียนรู้
ในการสอนการลบจำ�นวนสองหลักกับจำ�นวนหนึ่งหลักที่มีการกระจายอาจเริ่มจากตัวลบที่เป็นจำ�นวนน้อย ๆ ก่อน
เช่น 32 – 4 ซึ่งอาจใช้การนับถอยหลัง หรือการลบจำ�นวนเต็มสิบ ซึ่งอาจใช้สื่อแผ่นตารางสิบและแผ่นตารางหน่วย
ช่วยอธิบายโดยกระจายแท่งสิบออกมาเป็นหน่วย จะทำ�ให้นักเรียนเข้าใจง่ายขึ้น หรืออาจใช้ความสัมพันธ์ของจำ�นวน
แบบส่วนย่อย-ส่วนรวมที่ส่วนรวมเป็นจำ�นวนเต็มสิบและส่วนย่อยเป็น 1 สิบ กับอีกจำ�นวนหนึ่ง ก็สามารถทำ�ได้เช่นกัน

216  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 13 | การลบจำ�นวนที่ตัวตั้งไม่เกิน 100

58
43
78
35
77
62
48
75

89
31
59
67

แนวการจัดการเรียนรู้
ในสอนการลบจำ�นวนสองหลักกับจำ�นวนหนึ่งหลักมีการกระจายเป็นการฝึกหาผลลบ เพื่อสร้างความเข้าใจมากขึ้น
หากยังมีเวลาเพียงพอควรให้นักเรียนฝึกการหาผลลบจากชุดการลบที่นำ�เสนอไว้สามชุดในหนังสือเรียนหรืออาจเลือก
ชุดใดชุดหนึ่งซึ่งแต่ละชุดจะมีทั้งการลบของจำ�นวนเต็มสิบกับจำ�นวนหนึ่งหลัก การลบของจำ�นวนที่มีค่าใกล้เคียงกันและ
การลบของจำ�นวนทั่วไป

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  217
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 13 | การลบจำ�นวนที่ตัวตั้งไม่เกิน 100

47

51

68

38

86

ตรวจสอบความเข้าใจ สิ่งที่ได้เรียนรู้
ตรวจสอบความเข้าใจของนักเรียนเพื่อให้สอดคล้อง การลบจำ�นวนสองหลักด้วยจำ�นวนหนึ่งหลัก
กับจุดประสงค์ของการเรียนในชั่วโมงนี้ โดยการให้นักเรียน อาจใช้การเอาออกแล้วหาจำ�นวนที่เหลือ การนับถอยหลัง
หาผลลบของจำ�นวนสองหลักกับจำ�นวนหนึ่งหลัก หรือการใช้ความสัมพันธ์ของจำ�นวนแบบส่วนย่อย-ส่วนรวม
มีการกระจายตามหนังสือเรียนหน้า 192 โดยนักเรียน
จากนั้นให้นักเรียนทำ�แบบฝึกหัด 13.3 หน้า 115 - 117
อาจจะใช้วิธีการหาผลลบด้วยวิธีใดก็ได้ตามที่เรียนมาแล้ว
จากหน้าพัฒนาความรู้ จากนั้นร่วมกันสรุปบทเรียน

218  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 13 | การลบจำ�นวนที่ตัวตั้งไม่เกิน 100

13.4 การลบจำ�นวนสองหลัก
กับจำ�นวนสองหลักมี
การกระจาย
จุดประสงค์
หาผลลบของจำ�นวนสองหลักกับ
จำ�นวนสองหลักมีการกระจาย

สื่อการเรียนรู้
• แผ่นตารางสิบ แผ่นตารางหน่วย
• มัดไม้

แนวการจัดการเรียนรู้
ครูน�ำ เข้าสูบ
่ ทเรียนด้วยสถานการณ์การลบทีเ่ ป็นการขายไปแล้วเหลืออยูเ่ ท่าไรในหนังสือเรียนซึง่ เป็นสถานการณ์การลบ
ทีเ่ ข้าใจง่าย ๆ แต่จะเพิ่มขอบเขตของจำ�นวนเป็นจำ�นวนสองหลักกับจำ�นวนสองหลักที่มีการกระจาย ควรใช้สื่อมัดไม้ใน
การกระจายจำ�นวน 1 สิบ ไปหลักหน่วย จนนักเรียนเกิดความเข้าใจแล้วจึงเปลีย่ นวิธก ี ารเป็นการใช้ความสัมพันธ์ของจำ�นวน
แบบส่วนย่อย-ส่วนรวม เพื่อแยกจำ�นวนที่เป็นตัวตั้งหรืออาจต้องแยกทั้งตัวตั้งและตัวลบ เพื่อให้ง่ายในการหาผลลบ
ในการแยกจำ�นวนนั้นจะแยกเป็นจำ�นวนเต็มสิบดังที่เสนอไว้ในหนังสือเรียน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  219
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 13 | การลบจำ�นวนที่ตัวตั้งไม่เกิน 100

แนวการจัดการเรียนรู้
ครูอาจใช้แผ่นตารางสิบและแผ่นตารางหน่วยช่วยในการมองเห็นภาพการกระจายจากสิบมาเป็นหน่วย หรืออาจใช้
ความสัมพันธ์ของจำ�นวนแบบส่วนย่อย-ส่วนรวม ในการแยกจำ�นวนเพื่อให้ง่ายต่อการลบ ทั้งนี้ควรสอนให้นักเรียนได้คุ้นเคย
กับการแยกจำ�นวนให้มากเพราะจะใช้ความรู้เรื่องนี้ต่อเนื่องในบทอื่น ๆ

220  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 13 | การลบจำ�นวนที่ตัวตั้งไม่เกิน 100

38
27
37

3
48
17

19
8
18

แนวการจัดการเรียนรู้
ครูให้นักเรียนฝึกการลบจำ�นวนสองหลักกับจำ�นวนสองหลักมีการกระจาย เพื่อสร้างความเข้าใจมากขึ้นหากยังมี
เวลาเพียงพอควรให้นักเรียนฝึกการหาผลลบจากชุดการลบที่นำ�เสนอไว้สามชุดในหนังสือเรียนหรืออาจเลือกชุดใดจุดหนึ่ง
ซึ่งแต่ละชุดจะมีทั้งการลบของจำ�นวนเต็มสิบกับจำ�นวนหนึ่งหลัก การลบของจำ�นวนที่มีค่าใกล้เคียงกันและการลบ
ของจำ�นวนทั่วไป ส่วนนักเรียนจะเลือกใช้วิธีไหนในการหาผลลบนั้นขึ้นอยู่กับถนัดของนักเรียน แต่ครูควรแนะนำ�วิธีที่ง่าย
และเหมาะสม ถ้าเป็นจำ�นวนที่ใกล้เคียงกันควรนับต่อหรือนับถอยหลัง เป็นต้น

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  221
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 13 | การลบจำ�นวนที่ตัวตั้งไม่เกิน 100

15

37

24

ตรวจสอบความเข้าใจ สิ่งที่ได้เรียนรู้
ตรวจสอบความเข้าใจของนักเรียนเพื่อให้สอดคล้อง การลบจำ�นวนสองหลักด้วยจำ�นวนสองหลัก อาจใช้การเอา
กับจุดประสงค์ของการเรียนในชั่วโมงนี้ โดยการให้นักเรียน ออกแล้วหาจำ�นวนที่เหลือ หรือใช้ความสัมพันธ์ของจำ�นวน
หาผลลบของจำ�นวนสองหลักกับจำ�นวนสองหลัก แบบส่วนย่อย-ส่วนรวม
มีการกระจายตามหนังสือเรียน หน้า 196 ซึง่ นักเรียนอาจจะ
จากนั้นให้นักเรียนทำ�แบบฝึกหัด 13.4 หน้า 118 - 120
ใช้วธิ ก
ี ารหาผลลบด้วยวิธีใดก็ได้ตามที่เรียนมาแล้วจาก
หน้าพัฒนาความรู้ จากนั้นร่วมกันสรุปบทเรียน

222  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 13 | การลบจำ�นวนที่ตัวตั้งไม่เกิน 100

13.5 การหาผลลบโดย
การตั้งลบไม่มีการกระจาย

จุดประสงค์
หาผลลบของจำ�นวนสองจำ�นวน
โดยการตั้งลบไม่มีการกระจาย

สื่อการเรียนรู้
• แผ่นตารางสิบ แผ่นตารางหน่วย

แนวการจัดการเรียนรู้
ครูนำ�เข้าสู่บทเรียนด้วยสถานการณ์การลบในลักษณะขายไปแล้วเหลืออยู่เท่าไรในหนังสือเรียน จากนั้นนำ�มาเขียน
ประโยคสัญลักษณ์การลบ การสอนโดยการตั้งลบการเขียนประโยคสัญลักษณ์การลบมีความสำ�คัญมาก เนื่องจากนักเรียน
ต้องรู้ว่าจำ�นวนใดเป็นตัวตั้ง จำ�นวนใดเป็นตัวลบ จากประโยคสัญลักษณ์ครูควรชี้ให้นักเรียนเห็นว่าจำ�นวนใดเป็นตัวตั้ง
จำ�นวนใดเป็นตัวลบ แล้วนักเรียนจะนำ�มาเขียนแบบตั้งลบได้ถูกต้อง และในการเขียนตั้งลบครูควรเน้นย้ำ�ในเรื่องการเขียน
ตัวเลขให้ตรงหลักในหนังสือเรียนหน้านี้ได้เขียนหลักเลขกำ�กับไว้ให้ เพื่อเป็นการเน้นย้ำ�ในเรื่องการเขียนหลักเลขให้ตรงกัน
นั่นเอง เมื่อเขียนหลักเลขตรงกันแล้วก็จะลบจำ�นวนที่อยู่หลักเดียวกันได้โดยง่าย ครูอาจใช้สื่อแผ่นตารางสิบและ
แผ่นตารางหน่วยประกอบ เพื่อเชื่อมโยงความเข้าใจเกี่ยวกับการลบจากชั่วโมงก่อนหน้าและควรให้นักเรียนตรวจสอบ
คำ�ตอบด้วยการบวกเพื่อให้นักเรียนคุ้นเคย

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  223
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 13 | การลบจำ�นวนที่ตัวตั้งไม่เกิน 100

แนวการจัดการเรียนรู้
หลังจากนักรียนคุ้นชินกับการเขียนตัวเลขให้ตรงหลักแล้วครูสามารถละการเขียนคำ�ว่าหลักสิบ หลักหน่วย ตามที่ได้
เสนอไว้ส่วนท้ายหน้าของหนังสือเรียนหน้า 198 ทั้งนี้ครูควรเน้นย้ำ�เรื่องการตรวจสอบคำ�ตอบด้วยการบวก

224  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 13 | การลบจำ�นวนที่ตัวตั้งไม่เกิน 100

5 7
7
7 3 5 0
๗๓ ๕๐

6 5 8 8
3 1 5 2
3 4 3 6
๓๔ ๓๖

แนวการจัดการเรียนรู้
ครูให้นักเรียนฝึกหาผลลบโดยการตั้งลบ ซึ่งมีตัวอย่างในหนังสือเรียนให้นักเรียนเขียนเองตามตัวอย่าง หากนักเรียน
ยังไม่สามารถหาคำ�ตอบได้ด้วยตนเอง ครูอาจใช้สื่อแผ่นตารางสิบและแผ่นตารางหน่วยมาประกอบการสอนเพื่อให้นักเรียน
สามารถหาผลลบได้ด้วยตนเอง ทั้งนี้อย่าลืมให้นักเรียนตรวจสอบคำ�ตอบด้วยการบวก เพื่อให้นักเรียนคุ้นชินด้วย

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  225
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 13 | การลบจำ�นวนที่ตัวตั้งไม่เกิน 100

8 9
7
8 2
๘๒
9 7
6 3
3 4
๓๔

ตรวจสอบความเข้าใจ สิ่งที่ได้เรียนรู้
ตรวจสอบความเข้าใจของนักเรียนเพื่อให้สอดคล้อง การหาผลลบโดยการตั้งลบ ต้องเขียนเลขโดดในหลักเดียวกัน
กับจุดประสงค์ของการเรียนในชั่วโมงนี้ โดยการให้นักเรียน ให้ตรงกัน แล้วจึงนำ�จำ�นวนที่อยู่ในหลักเดียวกันมาลบกัน
แสดงวิธีหาผลลบของจำ�นวนสองหลักกับจำ�นวนหนึ่งหลัก
จากนั้นให้นักเรียนทำ�แบบฝึกหัด 13.5 หน้า 121 - 123
และจำ�นวนสองหลักกับจำ�นวนสองหลักไม่มีการกระจาย
โดยการตั้งลบตามหนังสือเรียนหน้า 200 ซึ่งนักเรียนอาจจะ
ใช้วิธีการหาผลลบด้วยวิธีใดก็ได้ตามที่เรียนมาแล้วจาก
หน้าพัฒนาความรู้ จากนั้นร่วมกันสรุปบทเรียน

226  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 13 | การลบจำ�นวนที่ตัวตั้งไม่เกิน 100

13.6 การหาผลลบ
โดยการตัง้ ลบมีการกระจาย

จุดประสงค์
หาผลลบของจำ�นวนสองจำ�นวน
โดยการตั้งลบมีการกระจาย

สื่อการเรียนรู้
• แผ่นตารางสิบ แผ่นตารางหน่วย

แนวการจัดการเรียนรู้
ครูนำ�เข้าสู่บทเรียนด้วยสถานการณ์การลบที่เป็นลักษณะมีของทั้งหมด แยกเป็นสองส่วน ส่วนหนึ่งทำ�ไปแล้วแต่ยัง
เหลืออีกเท่าไรที่ยังไม่ได้ทำ�ในหนังสือเรียนสถานการณ์ลักษณะนี้นักเรียนก็พบบ่อย ๆ ในชีวิตจริง การยกตัวอย่างสถานการณ์
ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตจริงจะทำ�ให้นักเรียนมีความเข้าใจในบทเรียนมากยิ่งขึ้น เมื่อเข้าใจสถานการณ์การลบแล้วนำ�มาเขียนเป็น
ประโยคสัญลักษณ์การลบ จากนั้นหาผลลบโดยการตั้งลบ ทั้งนี้อย่าลืมเน้นตัวตั้ง และตัวลบ เขียนเลขโดดให้ตรงหลัก
นำ�จำ�นวนที่อยู่หลักเดียวกันมาลบกัน แต่เนื่องจากตัวตั้งที่อยู่หลักเดียวกันมีค่าน้อยกว่าตัวลบจึงต้องกระจายจากหลักที่อยู่
ทางซ้าย อาจใช้สื่อแผ่นตารางสิบ และแผ่นตารางหน่วยช่วยในการอธิบายเรื่องการกระจายจากหลักสิบมาหลักหน่วย
เมื่อกระจายมาแล้วจำ�นวนในหลักสิบต้องลดลง 1 สิบ ครูควรอธิบายให้ชัดเจนในเรื่องการกระจาย จากนั้นอาจตรวจสอบ
คำ�ตอบด้วยการบวก

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  227
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 13 | การลบจำ�นวนที่ตัวตั้งไม่เกิน 100

แนวการจัดการเรียนรู้
ครูยกตัวอย่างการลบที่มีการกระจายของจำ�นวนสองหลักกับจำ�นวนสองหลัก ใช้หลักการสอนทำ�นองเดียวกับ
การสอนในหนังสือเรียนหน้า 201 เมื่อนักเรียนเขียนเลขโดดในหลักเดียวกันให้ตรงกันคล่องแล้วครูอาจละการเขียนคำ�ว่า
หลักสิบ หลักหน่วย ดังที่เสนอไว้ในหนังสือเรียนตอนท้ายหน้า 202

228  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 13 | การลบจำ�นวนที่ตัวตั้งไม่เกิน 100

6 11 4 13

5 3
6
6 4 4 7
๖๔ ๔๗

4 16 7 10

8 0
2 2
0 8 5 8
๘ ๕๘

แนวการจัดการเรียนรู้
ครูให้นกั เรียนฝึกหาผลลบทัง้ จำ�นวนสองหลักกับจำ�นวนหนึง่ หลัก และจำ�นวนสองหลักกับจำ�นวนสองหลัก โดยวิธต
ี ง้ั ลบ
เขียนเลขโดดในหลักเดียวกันให้ตรงกัน ละการเขียนคำ�ว่าหลักสิบ หลักหน่วย ให้นักเรียนฝึกหาผลลบด้วยตนเอง
โดยครูเป็นผู้แนะนำ� หากยังมีนักเรียนคนใดไม่สามารถหาผลลบได้ ครูอาจใช้สื่อแผ่นตารางสิบ แผ่นตารางหน่วยช่วยใน
การอธิบายเรื่องการกระจายอีกครั้ง ทั้งนี้อย่าลืมเน้นย้ำ�การตรวจสอบคำ�ตอบด้วยการบวก

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  229
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 13 | การลบจำ�นวนที่ตัวตั้งไม่เกิน 100

6 14

7 4
8
6 6
๖๖
5 15

6 5
3 6
2 9
๒๙

ตรวจสอบความเข้าใจ สิ่งที่ได้เรียนรู้
ตรวจสอบความเข้าใจของนักเรียนเพื่อให้สอดคล้อง การหาผลลบโดยการตั้งลบ ต้องเขียนเลขโดด
กับจุดประสงค์ของการเรียนในชั่วโมงนี้ โดยการให้นักเรียน ในหลักเดียวกันให้ตรงกัน แล้วนำ�จำ�นวนที่อยู่ในหลักเดียวกัน
แสดงวิธีหาผลลบของจำ�นวนสองหลักกับจำ�นวนหนึ่งหลัก มาลบกัน ถ้าในหลักหน่วยตัวตั้งน้อยกว่าตัวลบ
และจำ�นวนสองหลักกับจำ�นวนสองหลักมีการกระจาย ต้องกระจายจำ�นวนจากหลักสิบไปหลักหน่วย
โดยการตั้งลบตามหนังสือเรียนหน้า 204 ซึ่งนักเรียนอาจจะ
จากนั้นให้นักเรียนทำ�แบบฝึกหัด 13.6 หน้า 124 - 125
ใช้วิธีการหาผลลบด้วยวิธีใดก็ได้ตามที่เรียนมาแล้วจาก
หน้าพัฒนาความรู้ จากนั้นร่วมกันสรุปบทเรียน

230  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 13 | การลบจำ�นวนที่ตัวตั้งไม่เกิน 100

13.7 ความสัมพันธ์ของการบวก
และการลบ

จุดประสงค์
หาผลลบของจำ�นวนสองจำ�นวน
โดยใช้ความสัมพันธ์ของการบวก
และการลบ

สื่อการเรียนรู้
• สื่อของจริง

แนวการจัดการเรียนรู้
ครูนำ�เข้าสู่บทเรียนด้วยสถานการณ์ที่มีลักษณะของจำ�นวนทั้งหมดที่แบ่งออกเป็นสองจำ�นวนในหนังสือเรียน
ซึ่งสองจำ�นวนนี้บวกกันแล้วได้จำ�นวนทั้งหมด การอธิบายเรื่องความสัมพันธ์ของการบวกและการลบจะเริ่มต้นด้วย
ประโยคการบวก ตามด้วยประโยคการลบสองประโยคที่มีตัวตั้งเป็นผลบวกของสองจำ�นวนนั้น โดยในหน้าหนังสือเรียน
จะนำ�เสนอเป็นตัวสีแดงให้เห็นชัดเจนถึงทีม ่ าทีม
่ ค
ี วามสัมพันธ์กน
ั อาจใช้สอ
่ื ของจริงหรือสือ
่ ตัวนับทีม
่ ี 35 ตัว แล้วแบ่งเป็น
สองกอง กองทีห ่ นึง่ 30 ตัว กองทีส่ อง 5 ตัว แล้วทำ�ให้นักเรียนเห็นการรวมกันของ 30 กับ 5 ได้ 35 จากนั้นทำ�ให้เห็น
35 - 30 เหลือ 5 และ 35 - 5 เหลือ 30 ซึ่งนักเรียนจะได้เห็นถึงความสัมพันธ์กันของสามจำ�นวนนี้ ที่เอามาบวกกัน
เอามาลบกัน จนเกิดความเข้าใจ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  231
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 13 | การลบจำ�นวนที่ตัวตั้งไม่เกิน 100

แนวการจัดการเรียนรู้
ครูใช้สื่อของจริง ลูกปิงปองสีขาวและสีส้มมาช่วยในการมองเห็นจำ�นวนสองจำ�นวน 23 และ 25 ที่รวมกันแล้วได้ 48
ให้นก
ั เรียนเห็นประโยคการบวกก่อน จากนัน ้ ถามว่าเป็นสีขาวกีล่ ก
ู เป็นสีสม
้ กีล่ ก
ู ซึง่ จะแสดงได้ดว้ ยประโยคการลบสองประโยค
เน้นย้ำ�ให้เห็นความสัมพันธ์กันของสามจำ�นวนนี้

232  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 13 | การลบจำ�นวนที่ตัวตั้งไม่เกิน 100

8 61
48 7

48
35 48
27

17 90
77 75

100
100 86 14 93 55 38
93 38 55

แนวการจัดการเรียนรู้
ครูให้นักเรียนฝึกการสังเกตความสัมพันธ์ของจำ�นวนสามจำ�นวน ซึ่งบางครั้งอาจไม่จำ�เป็นต้องคำ�นวณหาคำ�ตอบ
เพียงแต่พิจารณาจากประโยคการบวก แล้วสังเกตจำ�นวนสามจำ�นวนในประโยคการบวก ในประโยคการลบก็เช่นกัน
ก็จะเป็นความสัมพันธ์ของสามจำ�นวนจากประโยคการบวก ซึ่งข้อสังเกตนี้ครูไม่จำ�เป็นต้องบอกนักเรียน ให้นักเรียนฝึก
เติมจำ�นวนตามที่กำ�หนดไว้ในหนังสือเรียนจนคล่องแล้ว ครูจึงให้นักเรียนสรุปข้อสังเกตนี้ด้วยตนเอง หากมีนักเรียนบางคน
ยังมองไม่เห็นข้อสังเกตอาจให้เพื่อนนักเรียนคนที่เข้าใจแล้วเป็นคนอธิบายให้ฟัง จะเกิดสังคมแห่งการเรียนรู้ของนักเรียน
ในห้องเรียนด้วย

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  233
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 13 | การลบจำ�นวนที่ตัวตั้งไม่เกิน 100

8
66
73 57

58 60 20 80
96 80
38

ตรวจสอบความเข้าใจ สิ่งที่ได้เรียนรู้
ตรวจสอบความเข้าใจของนักเรียนเพื่อให้สอดคล้อง จำ�นวนสองจำ�นวนบวกกัน ผลบวกที่ได้ลบด้วยจำ�นวนใด
กับจุดประสงค์ของการเรียนในชั่วโมงนี้ โดยการให้นักเรียน จำ�นวนหนึง่ ในสองจำ�นวนนัน
้ ผลลบคือจำ�นวนอีกจำ�นวนหนึง่
เติมตัวเลขแสดงจำ�นวนที่หายไปในช่องว่างจากการกำ�หนด
จากนั้นให้นักเรียนทำ�แบบฝึกหัด 13.7 หน้า 126 - 127
ประโยคการบวกและประโยคการลบของจำ�นวนสามจำ�นวน
ที่มีความสัมพันธ์กันให้ตามหนังสือเรียนหน้า 208 นักเรียน
อาจใช้ข้อสังเกตที่ได้จากการเรียนรู้ในหน้าพัฒนาความรู้
จากนั้นร่วมกันสรุปบทเรียน

234  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 13 | การลบจำ�นวนที่ตัวตั้งไม่เกิน 100

13.8 การหาค่าของตัวไม่ทราบค่า
(1)

จุดประสงค์
หาค่าของตัวไม่ทราบค่าใน
ประโยคสัญลักษณ์การบวกและ
ประโยคสัญลักษณ์การลบของ
จำ�นวนสองหลักกับจำ�นวนหนึ่งหลัก

สื่อการเรียนรู้
• ตัวนับ

3
ใชวิธีการนับตอจาก 59 ไปจนถึง 62 ได 3 ครั้ง เพราะงายดี
* เหตุผลอาจแตกตางจากนี้

แนวการจัดการเรียนรู้
ในการสอนแปลงโจทย์ปัญหาการบวกและโจทย์ปัญหาการลบให้เป็นประโยคสัญลักษณ์การบวกและประโยค
สัญลักษณ์การลบนั้น ครูควรสอนให้นักเรียนเข้าใจว่าโจทย์ปัญหาหนึ่งสามารถเขียนเป็นประโยคสัญลักษณ์การบวกหรือ
ประโยคสัญลักษณ์การลบก็ได้หากไม่กำ�หนดว่าตัวไม่ทราบจะอยู่หลังเครื่องหมายเท่ากับเสมอ เช่น สถานการณ์ปัญหาใน
หนังสือเรียนหน้า 209 หากเขียนประโยคสัญลักษณ์ให้ตัวไม่ทราบค่าอยู่ตรงกลางจะเป็นประโยคสัญลักษณ์การบวก
แต่หากกำ�หนดให้ตัวไม่ทราบค่าอยู่หลังเครื่องหมายเท่ากับจะเป็นประโยคสัญลักษณ์การลบ ส่วนวิธีหาคำ�ตอบจะใช้
ความสัมพันธ์ของการบวกและการลบ เพราะไม่ว่าจะเขียนเป็นประโยคสัญลักษณ์การบวกหรือประโยคสัญลักษณ์การลบ
ก็สามารถหาคำ�ตอบได้โดยใช้ความสัมพันธ์ของการบวกและการลบ หรือหากยังไม่คล่องเรื่องคำ�นวณอาจใช้สื่อตัวนับ
ช่วยในการคำ�นวณ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  235
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 13 | การลบจำ�นวนที่ตัวตั้งไม่เกิน 100

9
ใชวิธีการนับตอจาก 63 ไปจนถึง 72 ได 9 ครั้ง เพราะงายดี
* เหตุผลอาจแตกตางจากนี้

แนวการจัดการเรียนรู้
ให้นักเรียนฝึกหาค่าของตัวไม่ทราบค่าในประโยคสัญลักษณ์การบวกและประโยคสัญลักษณ์การลบในหนังสือเรียน
หากเป็นจำ�นวนที่ใกล้เคียงกันวิธีที่สะดวกคือการนับต่อ นับถอยหลัง หรือจะใช้ความสัมพันธ์ของการบวกและการลบก็ได้

236  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 13 | การลบจำ�นวนที่ตัวตั้งไม่เกิน 100

42 29
71 6

แนวการจัดการเรียนรู้
ให้นักเรียนฝึกหาค่าของตัวไม่ทราบค่าโดยใช้ความสัมพันธ์ของการบวกและการลบในหนังสือเรียนเนื่องจากวิธีนี้เป็น
วิธีที่ใช้หาค่าของตัวไม่ทราบค่าโดยทั่วไป นักเรียนควรได้ฝึกวิธีนี้ให้มาก เพื่อการเรียนรู้ในเรื่องจำ�นวนบทอื่นต่อไป เมื่อกำ�หนด
ประโยคสัญลักษณ์การบวกมาให้ นักเรียนควรบอกได้ว่าเขียนเป็นประโยคสัญลักษณ์การลบได้อย่างไร หรือเมื่อกำ�หนด
ประโยคสัญลักษณ์การลบมาให้ นักเรียนควรบอกได้ว่าเขียนเป็นประโยคสัญลักษณ์การบวกได้อย่างไร ซึ่งในการฝึกเริ่มแรก
ครูอาจจะยังไม่ให้หาคำ�ตอบ แต่ให้ฝึกการเขียนเป็นประโยคสัญลักษณ์ตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้นให้คล่องก่อนแล้วจึงค่อย
ฝึกให้นักเรียนหาคำ�ตอบต่อไป

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  237
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 13 | การลบจำ�นวนที่ตัวตั้งไม่เกิน 100

59 + = 67 + 35 = 44
67 - 59 = 44 - 35 =
67 - 59 = 8 44 - 35 = 9
ดังนั้น 59 + 8 = 67 ดังนั้น 9 + 35 = 44

76 + = 81 - 7 = 52
81 - 76 = 52 + 7 =
81 - 76 = 5 52 + 7 = 59
ดังนั้น 81 - 5 = 76 ดังนั้น 59 - 7 = 52

ตรวจสอบความเข้าใจ สิ่งที่ได้เรียนรู้
ตรวจสอบความเข้าใจของนักเรียนเพื่อให้สอดคล้อง การหาค่าของตัวไม่ทราบค่าในประโยคสัญลักษณ์การบวก
กับจุดประสงค์ของการเรียนในชั่วโมงนี้ โดยการให้นักเรียน และประโยคสัญลักษณ์การลบ อาจใช้วิธีการนับต่อ การนับ
แสดงวิธีคิดหาตัวไม่ทราบค่าโดยแปลงประโยคสัญลักษณ์ ถอยหลัง หรือใช้ความสัมพันธ์ของการบวกและการลบ
การบวกเป็นประโยคสัญลักษณ์การลบ หรือแปลง
จากนั้นให้นักเรียนทำ�แบบฝึกหัด 13.8 หน้า 128 - 130
ประโยคสัญลักษณ์การลบเป็นประโยคสัญลักษณ์การบวก
แล้วหาคำ�ตอบโดยใช้ความสัมพันธ์ของการบวกและการลบ
ตามหนังสือเรียนหน้า 212 จากนั้นร่วมกันสรุปบทเรียน

238  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 13 | การลบจำ�นวนที่ตัวตั้งไม่เกิน 100

13.9 การหาค่าของตัวไม่ทราบค่า
(2)

จุดประสงค์
หาค่าของตัวไม่ทราบค่าในประโยค
สัญลักษณ์การบวกและประโยค
สัญลักษณ์การลบของจำ�นวน
สองหลักกับจำ�นวสองหลัก

สื่อการเรียนรู้
• ตัวนับ

แนวการจัดการเรียนรู้
ครูนำ�เข้าสู่บทเรียนด้วยสถานการณ์ที่มีตัวไม่ทราบค่าและเขียนเป็นประโยคสัญลักษณ์การบวก เมื่อตัวไม่ทราบค่า
อยู่ตรงกลาง แต่อาจจะเขียนเป็นประโยคสัญลักษณ์การลบได้หากเขียนเป็นตัวไม่ทราบค่าอยู่หลังเครื่องหมายเท่ากับ
เมื่อเขียนประโยคสัญลักษณ์การบวกที่มีตัวไม่ทราบค่าอยู่ตรงกลาง วิธีหาคำ�ตอบอาจใช้การนับต่อ หรือใช้ความสัมพันธ์ของ
การบวกและการลบตามที่เสนอไว้ในหนังสือเรียน หากนักเรียนยังไม่สามารถหาคำ�ตอบได้ ครูควรใช้สื่อตัวนับช่วยในการหา
คำ�ตอบ แม้จะไม่ได้เสนอไว้ในหนังสือเรียนครูสามารถหาสื่อเพิ่มเติมเพื่อให้นักเรียนเข้าใจบทเรียนมากยิ่งขึ้นได้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  239
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 13 | การลบจำ�นวนที่ตัวตั้งไม่เกิน 100

แนวการจัดการเรียนรู้
ครูให้นักเรียนฝึกหาคำ�ตอบโดยใช้ความสัมพันธ์ของการบวกและการลบ ซึ่งจะกำ�หนดประโยคสัญลักษณ์การบวก
มาให้ตามหนังสือเรียน นักเรียนควรจะสามารถเขียนให้เป็นประโยคสัญลักษณ์การลบได้ และเมื่อกำ�หนดประโยคสัญลักษณ์
การลบมาให้นักเรียนควรจะสามารถเขียนเป็นประโยคสัญลักษณ์การบวกได้ เพื่อให้เกิดความคล่องอาจเริ่มฝึกจากการเขียน
ประโยคสัญลักษณ์ตามที่กล่าวข้างต้นก่อนแล้วจึงฝึกการหาคำ�ตอบโดยใช้ความสัมพันธ์ของการบวกและการลบ

240  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 13 | การลบจำ�นวนที่ตัวตั้งไม่เกิน 100

58 73 - 35 38
58 38

78 44 + 44 88
78 88

90
16 90 - 69 21
16 21

แนวการจัดการเรียนรู้
ครูให้นักเรียนฝึกหาค่าของตัวไม่ทราบค่าในประโยคสัญลักษณ์การบวกและประโยคสัญลักษณ์การลบตามหนังสือเรียน
ซึ่งตัวไม่ทราบค่าอาจจะอยู่หน้าประโยค หรืออยู่ตรงกลางของประโยคสัญลักษณ์ ซึ่งเป็นรูปประโยคสัญลักษณ์ที่ยาก
สำ�หรับนักเรียน ดังนั้นจึงจำ�เป็นต้องให้นักเรียนเขียนประโยคสัญลักษณ์ให้อยู่ในรูปที่ง่ายสำ�หรับการหาคำ�ตอบ นั่นคือ
การเขียนประโยคสัญลักษณ์ที่มีตัวไม่ทราบค่าอยู่ท้ายประโยค ซึ่งต้องใช้ความสัมพันธ์ของการบวกและการลบช่วยใน
การเปลี่ยนประโยคสัญลักษณ์ที่กำ�หนดให้อยู่ในรูปที่ง่ายขึ้น จากนั้นจึงหาคำ�ตอบ หากนักเรียนเปลี่ยนประโยคสัญลักษณ์
ในรูปดังกล่าวจนคล่องแล้วก็จะทำ�ให้สามารถหาคำ�ตอบได้อย่างรวดเร็ว และเข้าใจความหมายของความสัมพันธ์ของการบวก
และการลบ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  241
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 13 | การลบจำ�นวนที่ตัวตั้งไม่เกิน 100

45 + = 70 + 55 = 83
70 - 45 = 83 - 55 =
70 - 45 = 25 83 - 55 = 28
ดังนั้น 45 + 25 = 70 ดังนั้น 28 + 55 = 83

39 + = 88 - 35 = 35
88 - 39 = 35 + 35 =
88 - 39 = 49 35 + 35 = 70
ดังนั้น 88 - 49 = 39 ดังนั้น 70 - 35 = 35

ตรวจสอบความเข้าใจ สิ่งที่ได้เรียนรู้
ตรวจสอบความเข้าใจของนักเรียนเพื่อให้สอดคล้อง การหาค่าของตัวไม่ทราบค่าในประโยคสัญลักษณ์การบวก
กับจุดประสงค์ของการเรียนในชั่วโมงนี้ โดยการให้นักเรียน และประโยคสัญลักษณ์การลบ อาจใช้การนับต่อ หรือ
หาค่าของตัวไม่ทราบค่าในประโยคสัญลักษณ์การบวกและ ใช้ความสัมพันธ์ของการบวกและการลบ
ประโยคสัญลักษณ์การลบตามหนังสือเรียนหน้า 216
จากนั้นให้นักเรียนทำ�แบบฝึกหัด 13.9 หน้า 131 – 133
โดยเริ่มจากแปลงประโยคสัญลักษณ์การบวกเป็นประโยค
สัญลักษณ์การลบหรือแปลงจากประโยคสัญลักษณ์การลบ
เป็นประโยคสัญลักษณ์การบวกแล้วหาคำ�ตอบโดยใช้
ความสัมพันธ์ของการบวกและการลบ จากนั้นร่วมกัน
สรุปบทเรียน

242  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 13 | การลบจำ�นวนที่ตัวตั้งไม่เกิน 100

เกมปริศนาตัวเลขไขว้

อุปกรณ์
บัตรตารางปริศนา

เตรียมสถานที่ 3
ห้องเรียนที่จัดนักเรียนเป็นกลุ่ม
7 4 9

8 7

2 5 5

6 7 3

วิธีจัดกิจกรรม
1. นักเรียนจับคู่กัน ครูแจกเกมปริศนาตัวเลขไขว้ให้คู่ละ 1 แผ่น
2. ให้นักเรียนแต่ละคู่ช่วยกันเติมตัวเลขในเกมปริศนาให้ครบทุกช่อง
3. เมื่อเสร็จแล้วให้นำ�ผลงานติดหลังห้อง
4. ให้เพื่อนกลุ่มอื่น ๆ มาช่วยกันตรวจผลงานโดยครูเป็นผู้ให้คำ�แนะนำ�และตรวจสอบอีกครั้ง
5. คู่ที่ตอบถูกทุกข้อจะได้รับรางวัล

จากนั้นให้นักเรียนทำ�แบบฝึกท้าทาย หน้า 134

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  243
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 13 | การลบจำ�นวนที่ตัวตั้งไม่เกิน 100

แบบทดสอบบทที่ 13

เป็ น ตั ว อย่ า งแบบทดสอบที่ ใ ช้ ใ นการประเมิ น เพื่ อ พั ฒ นานั ก เรี ย นหากมี นั ก เรี ย นคนใดที่ ไ ม่ ผ่ า นการทดสอบครู ค วร
ให้ นั ก เรี ย นคนนั้ น ฝึ ก ทั ก ษะมากขึ้ น โดยอาจใช้ แ บบฝึ ก เสริ ม จากหนั ง สื อ เสริ ม เพิ่ ม ปั ญ ญาของสสวท.หรื อ แบบฝึ ก อื่ น ที่
เห็นว่าสมควร ซึ่งแบบทดสอบท้ายบทนี้มีจำ�นวน 10 ข้อ คะแนนเต็ม 10 คะแนน ใช้เวลาในการทำ�แบบทดสอบ 20 นาที
และวิเคราะห์เป็นรายจุดประสงค์ได้ดังนี้

จุดประสงค์การเรียนรู้ ข้อที่

1. หาผลลบจำ�นวนสองหลักกับจำ�นวนหนึ่งหลักที่ตัวตั้งมากกว่า 20 แต่ไม่เกิน 100 1, 2

2. หาผลลบจำ�นวนสองหลักกับจำ�นวนสองหลักที่ตัวตั้งมากกว่า 20 แต่ไม่เกิน 100 3, 4, 5

3. หาค่าของตัวไม่ทราบค่าในประโยคสัญลักษณ์การบวกและประโยคสัญลักษณ์การลบ 6, 7, 8, 9, 10

เติมตัวเลขแสดงจำ�นวนในช่องว่างให้ถูกต้อง
1. 38 – 4 = 37 – ……

2. 40 – 8 = …… – 5

3. 90 – 30 = ………….

4. 60 – 60 = ………….

5. 72 – 18 = ………….

6. 50 – …... = 10

7. 50 + …... = 84

8. …… – 20 = 75

9. …… + 27 = 32

10. …… – …... = 20

หมายหตุ ข้อ 10 คำ�ตอบอยู่ในดุลยพินิจของครูผู้สอน

เฉลย 1. 3 6. 40
2. 37 7. 34
3. 60 8. 95
4. 0 9. 5
5. 54 10. 60 40

244  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 14 | โจทย์ปัญหาการบวก และโจทย์ปัญหาการลบ

โจทย์ปัญหาการบวกและ
บทที่ 14
โจทย์ปัญหาการลบ

จุดประสงค์การเรียนรู้และสาระสำ�คัญ

จุดประสงค์การเรียนรู้ สาระสำ�คัญ

นักเรียนสามารถ
1. แสดงวิธีหาคำ�ตอบของโจทย์ปัญหาการบวกจำ�นวนนับ สถานการณ์หรือปัญหาที่หาคำ�ตอบได้ด้วยการบวก หรือ
ที่ผลบวกไม่เกิน 100 การลบ มีหลากหลายลักษณะให้ทำ�ความเข้าใจ วิเคราะห์
และหาคำ�ตอบ
2. แสดงวิธีหาคำ�ตอบของโจทย์ปัญหาการลบจำ�นวนนับ การแก้โจทย์ปัญหาทำ�ได้โดย อ่านทำ�ความเข้าใจปัญหา
ที่ตัวตั้งไม่เกิน 100 วางแผนแก้ปญั หา หาคำ�ตอบและตรวจสอบความสมเหตุสมผล
ของคำ�ตอบ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  245
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 14 | โจทย์ปัญหาการบวก และโจทย์ปัญหาการลบ

ตารางการวิเคราะห์เนื้อหากับทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
หัวข้อ เนื้อหา
j k l m n
เตรียมความพร้อม     

14.1 สถานการณ์การบวก (1)   

14.2 สถานการณ์การบวก (2)   

14.3 สถานการณ์การลบ (1)   

14.4 สถานการณ์การลบ (2)   

14.5 โจทย์ปัญหาการบวกและโจทย์ปัญหาการลบ (1)   

14.6 โจทย์ปัญหาการบวกและโจทย์ปัญหาการลบ (2)   

14.7 โจทย์ปัญหาการบวกและโจทย์ปัญหาการลบ (3)   

14.8 โจทย์ปัญหาการบวกและโจทย์ปัญหาการลบ (4)   

14.9 โจทย์ปัญหาการบวกและโจทย์ปัญหาการลบ (5)   

14.10 การสร้างโจทย์ปัญหาการบวกและโจทย์ปัญหาการลบจากภาพ    

14.11 การสร้างโจทย์ปัญหาการบวกและโจทย์ปัญหาการลบ   

จากประโยคสัญลักษณ์
ร่วมคิดร่วมทำ�    

ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

j การแก้ปัญหา k การสื่อสารและการสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์
l การเชื่อมโยง m การให้เหตุผล n การคิดสร้างสรรค์

246  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 14 | โจทย์ปัญหาการบวก และโจทย์ปัญหาการลบ

คำ�สำ�คัญ
สถานการณ์การบวก
สถานการณ์การลบ
โจทย์ปัญหาการบวก
โจทย์ปัญหาการลบ

ความรู้หรือทักษะพื้นฐาน
การบวกจำ�นวนที่ผลบวกไม่เกิน 100
การลบจำ�นวนที่ตัวตั้งไม่เกิน 100
การหาคำ�ตอบของโจทย์ปญ ั หาการบวก
โจทย์ปัญหาการลบ

เวลาที่ใช้จัดการเรียนรู้
13 ชั่วโมง

สื่อและแหล่งเรียนรู้

1. หนังสือเรียน หน้า 218 – 265


2. แบบฝึกหัด หน้า 135 – 162
3. เอกสาร แบบบันทึก ใบกิจกรรม และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการทำ�กิจกรรม ดังนี้
• สื่อของจริง
• บัตรข้อความ เช่น บัตรสถานการณ์ บัตรโจทย์ บัตรประโยคสัญลักษณ์
• อุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น แผ่นตารางสิบ แผ่นตารางหน่วย มัดไม้ สื่อตัวนับ แผนภาพ
• ใบบันทึกกิจกรรม
• บัตรภาพต่าง ๆ เช่น บัตรภาพสถานการณ์ บัตรภาพวาด

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  247
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 14 | โจทย์ปัญหาการบวก และโจทย์ปัญหาการลบ

แนวการจัดการเรียนรู้
ใช้หน้าเปิดเพื่อกล่าวถึงการนำ�ความรู้เกี่ยวกับการแก้ปัญหาการบวกและโจทย์ปัญหาการลบในชีวิตประจำ�วัน นักเรียน
สามารถนำ�ไปใช้ได้ทุกสถานการณ์ เมื่อมีการกำ�หนดเงื่อนไข หรือให้พิจารณาตามความเหมาะสม เพื่อให้นักเรียนสามารถที่จะ
แก้ปัญหาเหล่านั้นได้ ดังสถานการณ์หน้าเปิดนี้ นักเรียนคิดว่าจะแก้ปัญหานี้อย่างไร ซึ่งคำ�ถามสำ�คัญของบทเรียนนี้มีเงื่อนไข
ว่านักเรียนมีเงินเพียง 100 บาท จะซื้อขนมได้อย่างไรบ้าง และมีเงินเหลือหรือไม่ ถ้าเหลือจะเหลือกี่บาท ซึ่งคำ�ถามสำ�คัญนี้
นักเรียนอาจจะยังไม่ตอบตอนนี้ นักเรียนต้องเรียนเนื้อหาในบทเรียนนี้ก่อน แล้วจึงกลับมาตอบคำ�ถามหน้านี้

248  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 14 | โจทย์ปัญหาการบวก และโจทย์ปัญหาการลบ

12 + 8 = 20

15 - 8 = 7

แนวการจัดการเรียนรู้
กิจกรรมเตรียมความพร้อม ครูให้นักเรียนทุกคนร่วมกันคิดคำ�ตอบจากสถานการณ์ที่กำ�หนดให้ในหนังสือเรียน
หน้า 220 พร้อมทั้งเขียนประโยคสัญลักษณ์ ซึ่งกิจกรรมนี้จะเป็นการตรวจสอบความรู้พื้นฐานที่เกี่ยวกับการแก้โจทย์ปัญหา
การบวก และโจทย์ปัญหาการลบจำ�นวนนับที่ไม่เกิน 20 ครูอาจจะช่วยอธิบายกิจกรรมนี้เพิ่มเติมเพื่อให้นักเรียนเข้าใจมาก
ยิ่งขึ้น หากมีนักเรียนที่ทำ�ไม่ได้ หรือยังไม่เข้าใจ ครูอาจยกตัวอย่างอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการแก้โจทย์ปัญหาการบวกและ
โจทย์ปัญหาการลบของจำ�นวนนับที่ไม่เกิน 20 เพิ่มเติม

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  249
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 14 | โจทย์ปัญหาการบวก และโจทย์ปัญหาการลบ

14.1 สถานการณ์การบวก (1)

จุดประสงค์
นักเรียนสามารถบอกสถานการณ์
การบวกอย่างง่าย พร้อมทั้ง
เขียนประโยคสัญลักษณ์การบวก

สื่อการเรียนรู้
• สื่ิอของจริง เช่น ตุ๊กตา ของเล่น
• บัตรภาพ

แนวการจัดการเรียนรู้
ครูใช้สถานการณ์ในชีวิตจริงเชื่อมโยงกับสถานการณ์การบวกในหนังสือเรียนโดยการสนทนา ถาม-ตอบ ซึ่งในหนังสือ
เรียนหน้านี้แสดงให้เห็นการรวมกันและแสดงให้เห็นการเพิ่มขึ้น สถานการณ์แรก 8 รวมกับ 14 จะเห็นว่า “รวมกับ” เป็นภาษา
ในชีวต ิ จริง แสดงให้เห็นการรวมกันของสองจำ�นวนได้ 8 + 14 สถานการณ์ทส่ี องเป็นการเพิ่มขึ้นของจำ�นวน 22 เพิ่มอีก 5
ซึ่ง “เพิ่มอีก” เป็นภาษาในชีวิตจริง เราทราบจำ�นวนทั้งหมดจาก 22 + 5 = 27

250  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 14 | โจทย์ปัญหาการบวก และโจทย์ปัญหาการลบ

แนวการจัดการเรียนรู้
สถานการณ์การบวกในหน้านี้ เป็นสถานการณ์การบวกในเชิงเปรียบเทียบ โดยจะเห็นว่ามีการใช้คำ�ว่า “มากกว่า”
เปรียบเทียบโดยบอกจำ�นวนหนึ่งแล้วให้หาอีกจำ�นวน ซึ่งจำ�นวนนั้นมากกว่าจำ�นวนที่กำ�หนดให้อยู่เท่าไร... ซึ่งสถานการณ์
ในลักษณะนี้จะหาคำ�ตอบโดยคิดจากจำ�นวนที่เท่าก่อนแล้วค่อยเพิ่มส่วนที่ต่างกัน ดังนั้นจึงสามารถเขียนแสดงด้วย
ประโยคสัญลักษณ์การบวกได้เป็น 20 + 4 = 24 อีกสถานการณ์จะเป็นลักษณะเดียวกัน ครูให้นักเรียนสังเกตสถานการณ์
และประโยคสัญลักษณ์การบวกแล้วยกตัวอย่างเพิ่มเติมเพื่อให้นักเรียนเข้าใจยิ่งขึ้น

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  251
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 14 | โจทย์ปัญหาการบวก และโจทย์ปัญหาการลบ

20 10
20 10 30

50 5
50 5 55

18 7
18 7 25

* คําตอบอาจแตกตางจากนี้ ขึ้นอยูกับคําตอบของผูเรียน

แนวการจัดการเรียนรู้
ครูให้นักเรียนช่วยกันเติมตัวเลขแสดงจำ�นวนในสถานการณ์การบวก เพื่อให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการสร้างสถานการณ์
การบวก เมื่อเติมตัวเลขแสดงจำ�นวนในสถานการณ์การบวกแล้ว ให้นักเรียนเขียนเป็นประโยคสัญลักษณ์การบวก จากนั้นครูให้
นักเรียนอ่านพร้อมกันเพื่อให้เกิดความคุ้นเคย

252  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 14 | โจทย์ปัญหาการบวก และโจทย์ปัญหาการลบ

12 20
12 20 32

35
13
35 13 48

ตรวจสอบความเข้าใจ สิ่งที่ได้เรียนรู้
ตรวจสอบความเข้าใจของนักเรียนเพื่อให้สอดคล้อง เรื่องราวหรือสถานการณ์ที่แสดงให้เห็นถึงการนำ�จำ�นวนมา
กับจุดประสงค์ของการเรียนในชั่วโมงนี้ โดยให้นักเรียน รวมกัน สามารถเขียนแสดงด้วยประโยคสัญลักษณ์การบวก
วิเคราะห์แล้วเติมตัวเลขแสดงจำ�นวนจากสถานการณ์ เป็นสถานการณ์การบวก
ที่กำ�หนดให้ตามหนังสือหน้า 224 ซึ่งสถานการณ์ที่กำ�หนด
จากนั้นให้นักเรียนทำ�แบบฝึกหัด 14.1 หน้า 135-137
ให้นี้จะเกี่ยวกับการเปรียบเทียบแล้วหาคำ�ตอบได้ด้วยการหา
จำ�นวนที่เท่ากันก่อนแล้วจึงบวกส่วนที่ต่างกัน จากนั้นครูและ
นักเรียนร่วมกันสรุปบทเรียน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  253
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 14 | โจทย์ปัญหาการบวก และโจทย์ปัญหาการลบ

14.2 สถานการณ์การบวก (2)

จุดประสงค์
นักเรียนสามารถบอกสถานการณ์
การบวกอย่างง่าย พร้อมทั้ง
เขียนประโยคสัญลักษณ์

สื่อการเรียนรู้
-

แนวการจัดการเรียนรู้
ครูใช้สถานการณ์การบวกเชื่อมโยงกับวิถีชีวิตพอเพียงในหนังสือเรียน เริ่มสถานการณ์การบวกจากการต่อดินสอ
ที่ผ่านการใช้งานจนกระทั่งไม่สามารถเหลาหรือจับได้ นักเรียนนำ�วัสดุอื่นมาต่อให้ดินสอนั้นยาวขึ้น การต่อในลักษณะนี้
สามารถหาความยาวของดินสอแท่งใหม่ได้จากการบวกความยาวของดินสอและวัสดุที่นำ�มาต่อ นอกจากนี้ยังสามารถ
ต่อดินสอกับดินสอด้วยกันได้

254  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 14 | โจทย์ปัญหาการบวก และโจทย์ปัญหาการลบ

24 12 36

แนวการจัดการเรียนรู้
ครูแนะนำ�สถานการณ์การบวกในลักษณะของการเปรียบเทียบเพื่อหาอีกจำ�นวนหนึ่ง เมื่อบอกจำ�นวนหนึ่งให้ พร้อมทั้ง
บอกส่วนที่ต่างกัน จากคำ�ว่า “น้อยกว่า” ซึ่งจะให้นักเรียนวิเคราะห์หาจำ�นวนนั้นจากการหาจำ�นวนที่เท่ากันก่อน และ
พิจารณาว่า ถ้าจำ�นวนหนึ่งน้อยกว่าอีกจำ�นวนหนึ่ง แสดงว่าจำ�นวนหลังจะมากกว่า จึงจำ�เป็นต้องเพิ่มจำ�นวนนั้นด้วย
การบวก เมื่ออธิบายด้วยภาพในหนังสือเรียน แล้วนักเรียนเข้าใจ ครูยกตัวอย่างอื่นอีก 2-3 ตัวอย่าง เพื่อให้นักเรียน
ฝึกวิเคราะห์สถานการณ์การบวกและเขียนเป็นประโยคสัญลักษณ์

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  255
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 14 | โจทย์ปัญหาการบวก และโจทย์ปัญหาการลบ

9 16 25

แนวการจัดการเรียนรู้
ครูแนะนำ�สถานการณ์การบวกที่แสดงให้เห็นว่าสถานการณ์การเปรียบเทียบที่หาคำ�ตอบได้ด้วยการบวกในหนังสือเรียน
ครูควรเน้นย้ำ�ว่า นักเรียนไม่ควรจำ�คำ�หลัก เช่น มากกว่า หาคำ�ตอบด้วยการบวก น้อยกว่าหาคำ�ตอบได้ด้วยการลบ
แต่ให้ใช้การวิเคราะห์จากการหาส่วนที่เท่ากันก่อน แล้วจึงพิจารณาว่าเราควรจะบวกเพิ่มจำ�นวนใดจากสถานการณ์
ที่กำ�หนดให้

256  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 14 | โจทย์ปัญหาการบวก และโจทย์ปัญหาการลบ

5 12 17

20
10
20 10 30

* คําตอบอาจแตกตางจากนี้ ขึ้นอยูกับคําตอบของนักเรียน

ตรวจสอบความเข้าใจ สิ่งที่ได้เรียนรู้
ตรวจสอบความเข้าใจของนักเรียนเพื่อให้สอดคล้อง เรื่องราวหรือสถานการณ์ที่แสดงให้เห็นถึงการนำ�จำ�นวน
กับจุดประสงค์ของการเรียนในชั่วโมงนี้ โดยให้นักเรียน มารวมกัน สามารถเขียนแสดงด้วยประโยคสัญลักษณ์
เติมตัวเลขแสดงจำ�นวนตามหนังสือเรียนหน้า 228 การบวก เป็นสถานการณ์การบวก
จากนั้นครูและนักเรียนร่วมกันสรุปบทเรียน
จากนั้นให้นักเรียนทำ�แบบฝึกหัด 14.2 หน้า 138 - 140

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  257
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 14 | โจทย์ปัญหาการบวก และโจทย์ปัญหาการลบ

14.3 สถานการณ์การลบ (1)

จุดประสงค์
นักเรียนสามารถบอกสถานการณ์
การลบอย่างง่าย พร้อมทั้ง
เขียนประโยคสัญลักษณ์การลบ

สื่อการเรียนรู้
• สื่อของจริง
• บัตรภาพ

แนวการจัดการเรียนรู้
ครูแนะนำ�สถานการณ์การลบในหนังสือเรียนโดยแสดงให้เห็นว่าสถานการณ์การลบเริ่มต้นด้วยการเอาออก
ซึ่งนักเรียนจะคุ้นเคยมาแล้วจากบทเรียนที่เคยเรียนผ่านมา นอกจากนี้สถานการณ์การลบที่นักเรียนคุ้นเคยก็จะเป็น
สถานการณ์การเปรียบเทียบเพื่อหาส่วนต่างระหว่างจำ�นวนสองจำ�นวนทั้งสองสถานการณ์เป็นการหาคำ�ตอบด้วย
การลบเริ่มต้น เพื่อให้นักเรียนเข้าใจจะใช้การวิเคราะห์และหาคำ�ตอบด้วยการวาดรูป

258  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 14 | โจทย์ปัญหาการบวก และโจทย์ปัญหาการลบ

25 17 8

แนวการจัดการเรียนรู้
ครูแนะนำ�สถานการณ์การลบที่แสดงให้เห็นว่านอกจากสถานการณ์การลบที่ใช้วิธีการเอาออก หรือการเปรียบเทียบ
จำ�นวนสองจำ�นวนเพื่อหาส่วนต่างแล้ว ยังมีสถานการณ์การลบที่ใช้วิธีการเปรียบเทียบเพื่อหาจำ�นวนอีกจำ�นวนหนึ่งจากการ
ทราบจำ�นวนใดจำ�นวนหนึ่ง และทราบส่วนที่ต่างกันระหว่างสองจำ�นวนนั้น ดังตัวอย่างจากสถานการณ์การลบในหนังสือเรียน
หน้า 230 ซึ่งวิธีการวิเคราะห์และหาคำ�ตอบจะเริ่มจากการกำ�หนดจำ�นวนทั้งสองให้เท่ากันก่อน แล้วพิจารณาว่าจำ�นวนใด
น้อยกว่าให้หักออก หรือเอาออก ซึ่งการหักออกหรือเอาออกจะใช้การลบ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  259
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 14 | โจทย์ปัญหาการบวก และโจทย์ปัญหาการลบ

20 5
20 5 15

12
8 12 8 4

10 3
10 3 7

* คําตอบอาจแตกตางจากนี้ ขึ้นอยูกับคําตอบของผูเรียน

แนวการจัดการเรียนรู้
ครูให้นักเรียนร่วมกันเติมตัวเลขแสดงจำ�นวนในสถานการณ์การลบและเขียนประโยคสัญลักษณ์การลบโดยแสดง
ให้เห็นว่าสถานการณ์การลบที่ใช้การเปรียบเทียบเพื่อหาจำ�นวนอีกจำ�นวนหนึ่งในหนังสือเรียนหน้า 230 จะอธิบาย
ให้นักเรียนเข้าใจด้วยการวาดภาพ ส่วนหนังสือเรียนหน้า 231 ครูจะต้องใช้ภาษานำ�พาให้นักเรียนร่วมกันวิเคราะห์
หากนักเรียนยังไม่เข้าใจอาจจะใช้วิธีการวาดภาพประกอบด้วย และในชั่วโมงนี้จะเห็นได้ว่า สถานการณ์เปรียบเทียบนี้
จะใช้คำ�ว่า “น้อยกว่า” หรือ “มากกว่า”

260  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 14 | โจทย์ปัญหาการบวก และโจทย์ปัญหาการลบ

30 16
30 16 14

15 7
15 7 8

* คําตอบอาจแตกตางจากนี้

ตรวจสอบความเข้าใจ สิ่งที่ได้เรียนรู้
ตรวจสอบความเข้าใจของนักเรียนให้สอดคล้องกับ เรื่องราวหรือสถานการณ์ที่แสดงให้เห็นถึงการเอาออก
จุดประสงค์ของการเรียนในชั่วโมงนี้ โดยให้นักเรียนเติม เปรียบเทียบหาส่วนที่ต่างกัน สามารถเขียนแสดงด้วย
ตัวเลขแสดงจำ�นวนซึ่งเป็นสถานการณ์การลบที่ใช้ ประโยคสัญลักษณ์การลบเป็นสถานการณ์การลบ
การเปรียบเทียบเพื่อหาอีกจำ�นวนหนึ่งเมื่อกำ�หนดจำ�นวน
จากนั้นให้นักเรียนทำ�แบบฝึกหัด 14.3 หน้า 141 - 143
และส่วนที่น้อยกว่าให้ตามหนังสือเรียนหน้า 232 ซึ่งนักเรียน
จะต้องวิเคราะห์จากจำ�นวนที่เท่ากันก่อนแล้วจึงลบด้วย
ส่วนที่ต่างกัน จากนั้นครูและนักเรียนร่วมกันสรุปบทเรียน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  261
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 14 | โจทย์ปัญหาการบวก และโจทย์ปัญหาการลบ

14.4 สถานการณ์การลบ (2)

จุดประสงค์
นักเรียนสามารถบอกสถานการณ์
การลบอย่างง่าย พร้อมทั้ง
เขียนประโยคสัญลักษณ์การลบ

สื่อการเรียนรู้
• สื่อของจริง
• บัตรภาพ

แนวการจัดการเรียนรู้
ครูแนะนำ�สถานการณ์การลบในหนังสือเรียนโดยแสดงให้เห็นว่าสถานการณ์การลบมีทว่ั ไปในชีวต ิ จริงของนักเรียน
การละเล่นของเด็ก ๆ ก็สามารถเชื่อมโยงสู่การสอนการลบได้ ดังสถานการณ์ในชั่วโมงนี้ เริ่มต้นของการสอนจะเห็นได้ว่า
จะเป็นการทบทวนสถานการณ์การลบอย่างง่ายที่นักเรียนคุ้นเคย เป็นสถานการณ์การลบแบบเปรียบเทียบจำ�นวน
สองจำ�นวนเพื่อหาส่วนต่าง เมื่อนักเรียนมีความเข้าใจเรื่องส่วนต่างแล้วนักเรียนจะสามารถเข้าใจเนื้อหาการลบในบริบท
ของการเปรียบเทียบได้ดีขึ้น

262  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 14 | โจทย์ปัญหาการบวก และโจทย์ปัญหาการลบ

28 - 6 = 22

แนวการจัดการเรียนรู้
ครูแนะนำ�สถานการณ์การลบในหนังสือเรียนโดยแสดงให้เห็นว่าในสถานการณ์การลบที่ผ่านมานักเรียนได้เรียน
สถานการณ์การลบในบริบทการเปรียบเทียบที่ใช้คำ�ว่า “น้อยกว่า” ในชั่วโมงจะใช้คำ�ต่างกัน โดยจะใช้คำ�ว่า “มากกว่า”
ในการเปรียบเทียบและสามารถหาคำ�ตอบได้โดยการลบ ในการวิเคราะห์หาคำ�ตอบนีจ้ ะเริม ่ จากกำ�หนดให้สองจำ�นวนนี้
เท่ากันก่อนแล้วจึงพิจารณาว่าถ้าจำ�นวนใดมากกว่าอีกจำ�นวนแสดงว่าจำ�นวนนั้นจะน้อยกว่าจำ�นวนที่กำ�หนด และ
สามารถหาคำ�ตอบของจำ�นวนนั้นได้ด้วยการลบส่วนที่ต่างกัน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  263
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 14 | โจทย์ปัญหาการบวก และโจทย์ปัญหาการลบ

18 2
18 2 16

24 10
24 10 14

40
5
40 5 35

* คําตอบอาจแตกตางจากนี้ ขึ้นอยูกับคําตอบของนักเรียน

แนวการจัดการเรียนรู้
การสอนการหาจำ�นวนจากการเปรียบเทียบในหนังสือเรียนเริ่มต้นการวิเคราะห์หาคำ�ตอบด้วยการวาดภาพ และ
เมื่อนักเรียนเข้าใจจากภาพแล้ว ครูควรฝึกให้นักเรียนวิเคราะห์จากการใช้ภาษา หากในระหว่างการสอนนักเรียนยังไม่เข้าใจ
ครูอาจใช้การวาดภาพช่วยในการอธิบายด้วย โดยครูให้นักเรียนช่วยกันเติมตัวเลขแสดงจำ�นวนในสถานการณ์การลบและ
เขียนประโยคสัญลักษณ์การลบในการวิเคราะห์สถานการณ์แต่ละข้อ ครูควรเน้นย้ำ�ด้วยว่า เพราะเหตุใดสถานการณ์
ที่กำ�หนดให้นี้จึงเป็นสถานการณ์การลบ

264  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 14 | โจทย์ปัญหาการบวก และโจทย์ปัญหาการลบ

19 7 12

23
10
23 10 13
* คําตอบอาจแตกตางจากนี้

ตรวจสอบความเข้าใจ สิ่งที่ได้เรียนรู้
ตรวจสอบความเข้าใจของนักเรียนเพื่อให้สอดคล้อง เรื่องราวหรือสถานการณ์ที่แสดงให้เห็นถึงการเอาออก
กับจุดประสงค์ของการเรียนในชั่วโมงนี้ โดยให้นักเรียน เปรียบเทียบหาส่วนที่ต่างกัน สามารถเขียนแสดง
เติมตัวเลขแสดงจำ�นวนตามหนังสือเรียนหน้า 236 ด้วยประโยคสัญลักษณ์การลบเป็นสถานการณ์การลบ
นักเรียนอาจต้องใช้เวลาในการวิเคราะห์ ดังนั้นการตรวจสอบ
จากนั้นให้นักเรียนทำ�แบบฝึกหัด 14.4 หน้า 144 - 146
จึงกำ�หนดสถานการณ์เพียงสองสถานการณ์เท่านั้น
จากนั้นครูและนักเรียนร่วมกันสรุปบทเรียน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  265
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 14 | โจทย์ปัญหาการบวก และโจทย์ปัญหาการลบ

14.5 โจทย์ปัญหาการบวก และ


โจทย์ปัญหาการลบ (1)

จุดประสงค์
แสดงวิธีหาคำ�ตอบของโจทย์
ปัญหาการบวกของจำ�นวนนับ
ที่ผลบวกไม่เกิน 100 และ 0

สื่อการเรียนรู้
• สื่อของจริง
• ตัวนับ

แนวการจัดการเรียนรู้
ให้นักเรียนยกตัวอย่างโจทย์ปัญหาการบวกและโจทย์ปัญหาการลบอย่างง่าย ๆ ที่พบในชีวิตจริง แล้วร่วมกันบอกว่า
เรียนเรื่องการบวกและการลบไปทำ�ไมและใช้การบวกและการลบในเรื่องใดบ้าง จากนั้นให้นักเรียนพิจารณาโจทย์ปัญหา
ในหนังสือเรียนหน้า 237 ครูให้นักเรียนอ่านโจทย์ปัญหาพร้อมกัน แล้วให้นักเรียนวิเคราะห์โจทย์ และคิดหาคำ�ตอบ
พร้อมทั้งแนะนำ�การหาคำ�ตอบควบคู่กันไปกับคำ�ตอบของนักเรียน ดังนี้ โจทย์ถามอะไร โจทย์บอกอะไร จำ�นวนไก่ที่อยู่
ในรั้วรวมกับจำ�นวนไก่ที่อยู่นอกรั้วจะมากกว่าหรือน้อยกว่า 23 จะหาคำ�ตอบได้อย่างไร เขียนประโยคสัญลักษณ์ได้อย่างไร
คำ�ตอบเป็นเท่าไร คำ�ตอบที่ได้สมเหตุสมผลหรือไม่ ในการสอนการแก้โจทย์ปัญหา ถ้านักเรียนยังไม่สามารถหาคำ�ตอบได้
ครูอาจใช้สื่อของจริง ตัวนับ วาดภาพคร่าว ๆ หรือเขียนรอยขีดแสดงจำ�นวน หรืออาจใช้การนับต่อ เพื่อช่วยให้นักเรียน
เกิดแนวคิดสามารถวิเคราะห์โจทย์และหาคำ�ตอบได้ถูกต้อง

266  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 14 | โจทย์ปัญหาการบวก และโจทย์ปัญหาการลบ

แนวการจัดการเรียนรู้
ครูให้นก
ั เรียนอ่านโจทย์ปญ ั หาในหนังสือเรียนแล้วสนทนากับนักเรียนว่าโจทย์ปญ
ั หาดังกล่าวเป็นเรือ
่ งเกีย่ วกับใคร
ทำ�อะไร แล้วร่วมกันวิเคราะห์โจทย์และหาคำ�ตอบ ครูอาจใช้คำ�ถามนำ� พร้อมทั้งแนะนำ�ให้นักเรียนวาดภาพคร่าว ๆ หรือ
เขียนรอยขีดประกอบเพือ ่ ช่วยให้นก
ั เรียนเกิดแนวคิดสามารถวิเคราะห์โจทย์และหาคำ�ตอบได้ถกู ต้อง และควรให้นก ั เรียน
พิจารณาความสมเหตุสมผลของคำ�ตอบทุกครั้ง

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  267
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 14 | โจทย์ปัญหาการบวก และโจทย์ปัญหาการลบ

50 + 50 =
50 + 50 = 100
๑๐๐

40 - 17 =
40 - 17 = 23
๒๓

แนวการจัดการเรียนรู้
ครูและนักเรียนร่วมกันทำ�กิจกรรมเกีย่ วกับการแก้โจทย์ปญ
ั หาในหนังสือเรียนหน้า 239 แล้วช่วยกันบอกว่าโจทย์ปญ
ั หานี้
เป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร ครูแนะนำ�ว่าโจทย์ปัญหาข้อนี้เป็นโจทย์ปัญหาที่มีความซับซ้อนขึ้น ครูควรอธิบายหรือวาดภาพประกอบ
เพื่อให้นักเรียนเข้าใจว่า นุชออมเงินเดือนละ 50 บาท นุชออมเงิน 2 เดือน หมายความว่า เดือนแรกนุชออมเงิน 50 บาท
เดือนที่สองนุชออมเงิน 50 บาท ถ้านุชออมเงิน 2 เดือน นุชจะออมเงินได้มากกว่าหรือน้อยกว่า 50 บาท หาคำ�ตอบได้อย่างไร
แล้วให้นักเรียนเขียนประโยคสัญลักษณ์และหาคำ�ตอบ จากนั้นให้นักเรียนจับคู่ทำ�กิจกรรมในหนังสือเรียนหน้า 239
เพื่อฝึกการแก้โจทย์ปัญหาการบวกและแก้โจทย์ปัญหาการลบ

268  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 14 | โจทย์ปัญหาการบวก และโจทย์ปัญหาการลบ

20 + 9 =
๒๙

24 - 5 =
๑๙

ตรวจสอบความเข้าใจ สิ่งที่ได้เรียนรู้
ตรวจสอบความเข้าใจของนักเรียนเพื่อให้สอดคล้อง การแก้โจทย์ปัญหาทำ�ได้โดย อ่านทำ�ความเข้าใจปัญหา
กับจุดประสงค์ของการเรียนในชั่วโมงนี้ โดยให้นักเรียนเขียน วางแผนแก้ปัญหา หาคำ�ตอบ และตรวจสอบ
ประโยคสัญลักษณ์และเติมคำ�ตอบตามหนังสือเรียนหน้า 240 ความสมเหตุสมผล
ถ้านักเรียนเขียนประโยคสัญลักษณ์และหาคำ�ตอบได้
จากนั้นให้นักเรียนทำ�แบบฝึกหัด 14.5 หน้า 147 – 149
ถูกต้องแสดงว่านักเรียนเข้าใจเรื่องการแก้โจทย์ปัญหา
การบวกและแก้โจทย์ปัญหาการลบ แต่ถ้านักเรียนเขียน
ประโยคสัญลักษณ์และหาคำ�ตอบถูกต้องบางข้อหรือ
ไม่ถูกต้องเลย แสดงว่านักเรียนยังไม่เข้าใจ
เรื่องการแก้โจทย์ปัญหาการบวกและโจทย์ปัญหาการลบ
ครูอาจสอนสริมหรือให้นักเรียนทำ�แบบฝึกหัดเพิ่มเติม
และร่วมกันสรุปบทเรียน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  269
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 14 | โจทย์ปัญหาการบวก และโจทย์ปัญหาการลบ

14.6 โจทย์ปัญหาการบวก และ


โจทย์ปัญหาการลบ (2)

จุดประสงค์
• แสดงวิธีหาคำ�ตอบของโจทย์
ปัญหาการบวกของจำ�นวนนับ
ที่ผลบวกไม่เกิน100
• แสดงวิธีหาคำ�ตอบของโจทย์
ปัญหาการลบจำ�นวนตัวตั้ง
ไม่เกิน 100

สื่อการเรียนรู้
• สื่อของจริง
• ตัวนับ
• แผนภาพ (bar model)

60 - 44 =
60 - 44 = 16
๑๖

แนวการจัดการเรียนรู้
ครูทบทวนโจทย์ปัญหาการบวก และโจทย์ปัญหาการลบโดยให้นักเรียนยกตัวอย่างโจทย์ปัญหาการบวกและ
โจทย์ปัญหาการลบอย่างง่ายที่สามารถหาคำ�ตอบได้โดยไม่ต้องคำ�นวณ จากนั้นให้นักเรียนอ่านโจทย์ปัญหาในหนังสือเรียน
หน้า 241 พร้อมกัน แล้วช่วยกันบอกว่าโจทย์ปัญหานี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร ครูแนะนำ�ว่าเป็นการเปรียบเทียบหาผลต่าง
ของจำ�นวนต้นมะม่วงกับจำ�นวนต้นชมพู่ที่ใช้คำ�ว่า มากกว่า ครูวาดภาพคร่าว ๆ แสดงการเปรียบเทียบจำ�นวนต้นมะม่วง
กับต้นชมพู่ เพื่อให้นักเรียนเห็นว่าอะไรมากกว่า ครูควรใช้จำ�นวนน้อย ๆ ก่อน เพื่อให้นักเรียนเกิดแนวคิดสามารถวิเคราะห์
โจทย์และหาคำ�ตอบได้ถูกต้อง จากนั้นให้นักเรียนฝึกวิเคราะห์โจทย์ปัญหาลักษณะเช่นนี้เพิ่มเติม พร้อมคิดหาคำ�ตอบ

270  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 14 | โจทย์ปัญหาการบวก และโจทย์ปัญหาการลบ

50 + 15 =
50 + 15 = 65
๖๕

แนวการจัดการเรียนรู้
ครูให้นักเรียนอ่านโจทย์ปัญหาในหนังสือเรียนแล้วช่วยกันวิเคราะห์โจทย์และหาคำ�ตอบ ครูแนะนำ�การหาคำ�ตอบ
ควบคู่กันไปกับคำ�ตอบของนักเรียน โดยครูอาจวาดภาพคร่าว ๆ ประกอบการตั้งคำ�ถาม เช่น โจทย์ถามอะไร โจทย์บอกอะไร
ถ้าวิภาเก็บฝรั่งได้เท่ากับส้มโอวิภาเก็บฝรั่งได้กี่ผล (20 ผล) วิภาเก็บฝรั่งได้มากกว่าส้มโอ 40 ผล จะต้องวาดภาพฝรั่งเพิ่มอีก
กี่ผล (40 ผล) หาจำ�นวนฝรั่งที่วิภาเก็บได้อย่างไร (20 + 40) เขียนประโยคสัญลักษณ์ได้อย่างไร คำ�ตอบที่ได้สมเหตุสมผล
หรือไม่ เพราะเหตุใด ให้นักเรียนวิเคราะห์โจทย์ลักษณะนี้เพิ่มเติม ครูอาจใช้สื่อของจริง ตัวนับหรือวาดภาพคร่าว ๆ เพื่อช่วย
ให้นักเรียนเกิดแนวคิดสามารถวิเคราะห์โจทย์ เขียนประโยคสัญลักษณ์และหาคำ�ตอบได้ถูกต้อง และควรให้นักเรียนพิจารณา
ความสมเหตุสมผลของคำ�ตอบทุกครั้ง

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  271
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 14 | โจทย์ปัญหาการบวก และโจทย์ปัญหาการลบ

40 - 10 =
40 - 10 = 30
๓๐

แนวการจัดการเรียนรู้
ครูและนักเรียนร่วมกันวิเคราะห์โจทย์ปัญหาในหนังสือเรียนหน้า 243 ครูแนะนำ�ว่าโจทย์ปัญหาข้อนี้เป็นโจทย์ปัญหา
ที่แตกต่างจากหนังสือเรียนหน้า 242 ครูวาดภาพแสดงจำ�นวนไก่ตัวเมียและไก่ตัวผู้ที่เลี้ยงเท่ากันก่อน จากนั้นจึงเขียนภาพ
ที่แสดงจำ�นวนไก่ตัวเมียมากกว่าไก่ตัวผู้ 5 ตัว เพื่อให้นักเรียนเข้าใจว่าจะหาคำ�ตอบได้อย่างไร เขียนประโยคสัญลักษณ์ได้
อย่างไร ได้คำ�ตอบเท่าไร ให้นักเรียนจับคู่ทำ�กิจกรรมในหนังสือเรียนเพิ่มเติม พร้อมทั้งแนะนำ�ให้นักเรียนวาดภาพคร่าว ๆ
หรือเขียนรอยขีดเพื่อช่วยให้นักเรียนเกิดแนวคิดสามารถวิเคราะห์โจทย์และหาคำ�ตอบได้ถูกต้อง และควรให้นักเรียนพิจารณา
ความสมเหตุสมผลของคำ�ตอบทุกครั้ง

272  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 14 | โจทย์ปัญหาการบวก และโจทย์ปัญหาการลบ

25 - 14 =
25 - 14 = 11
๑๑

24 + 12 =
24 + 12 = 36
๓๖

ตรวจสอบความเข้าใจ สิ่งที่ได้เรียนรู้
ตรวจสอบความเข้าใจของนักเรียนเพื่อให้สอดคล้อง การแก้โจทย์ปัญหาทำ�ได้โดย อ่านทำ�ความเข้าใจปัญหา
กับจุดประสงค์ของการเรียนในชั่วโมงนี้ โดยให้นักเรียน วางแผนแก้ปญั หา หาคำ�ตอบ และตรวจสอบความสมเหตุสมผล
เขียนประโยคสัญลักษณ์และเติมคำ�ตอบตามหนังสือ
จากนั้นให้นักเรียนทำ�แบบฝึกหัด 14.6 หน้า 150 - 151
เรียนหน้า 244 เป็นรายบุคคล ถ้านักเรียนเขียนประโยค
สัญลักษณ์และหาคำ�ตอบได้ถูกต้องแสดงว่านักเรียนเข้าใจ
เรือ่ งการแก้โจทย์ปญ
ั หาการบวก และโจทย์ปญั หาการลบ
แต่ถ้านักเรียนเขียนประโยคสัญลักษณ์และหาคำ�ตอบถูกต้อง
บางข้อหรือไม่ถูกต้องเลยแสดงว่านักเรียนยังไม่เข้าใจเรื่อง
การแก้โจทย์ปัญหาการบวก และโจทย์ปัญหาการลบ
ครูอาจสอนเสริมนอกเวลาและมอบหมายให้นักเรียน
ทำ�แบบฝึกหัดเพิ่มเติมและร่วมกันสรุปบทเรียน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  273
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 14 | โจทย์ปัญหาการบวก และโจทย์ปัญหาการลบ

14.7 โจทย์ปัญหาการบวก และ


โจทย์ปัญหาการลบ (3)

จุดประสงค์
• แสดงวิธีหาคำ�ตอบของโจทย์
ปัญหาการบวกจำ�นวนนับที่
ผลบวกไม่เกิน 100
• แสดงวิธีหาคำ�ตอบของโจทย์
ปัญหาการลบจำ�นวนนับ
ที่ตัวตั้งไม่เกิน 100

สื่อการเรียนรู้
• ตัวนับ

60 - 48 =
60 - 48 = 12
๑๒

แนวการจัดการเรียนรู้
ครูทบทวนโจทย์ปัญหาการบวกและโจทย์ปัญหาการลบที่ใช้คำ�ว่า “มากกว่า” โดยให้นักเรียนยกตัวอย่างโจทย์ปัญหา
เช่น พี่มีลูกโป่ง 10 ลูก น้องมีลูกโป่ง 4 ลูก พี่มีลูกโป่งมากกว่าน้องกี่ลูก หรือ นารีมีตุ๊กตา 8 ตัว สุดามีตุ๊กตามากกว่านารี 3 ตัว
สุดามีต๊กตากี่ตัว จากนั้นให้นักเรียนอ่านโจทย์ปัญหาในหนังสือเรียนหน้า 245 พร้อมกัน แล้วบอกว่าโจทย์ปัญหานี้เป็นเรื่องเกี่ยว
กับอะไร ครูแนะนำ�ว่าโจทย์ข้อนี้เป็นการเปรียบเทียบหาผลต่างของจำ�นวนแพะกับจำ�นวนแกะที่ใช้คำ�ว่า “น้อยกว่า” ครูควร
วาดภาพแสดงการเปรียบเทียบจำ�นวนแพะกับจำ�นวนแกะ ให้นก ั เรียนสังเกตว่าจำ�นวนใดน้อยกว่ากัน ครูอาจใช้จ�ำ นวนน้อย ๆ
เพื่อช่วยให้นักเรียนเกิดแนวคิดสามารถวิเคราะห์โจทย์และหาคำ�ตอบได้ถูกต้อง จากนั้นให้นักเรียนฝึกวิเคราะห์โจทย์ปัญหา
พร้อมคิดหาคำ�ตอบ

274  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 14 | โจทย์ปัญหาการบวก และโจทย์ปัญหาการลบ

45 - 18 =
45 - 18 = 27
๒๗

แนวการจัดการเรียนรู้
ครูให้นักเรียนอ่านโจทย์ปัญหาในหนังสือเรียนหน้า 246 แล้วช่วยกันวิเคราะห์โจทย์และหาคำ�ตอบ โดยครูอาจ
วาดภาพคร่าว ๆ ประกอบการตัง้ คำ�ถาม เช่น โจทย์ถามอะไร โจทย์บอกอะไร ถ้าตัม ้ มีชมพูเ่ ท่ากับโอ๋แสดงว่าตัม
้ มีชมพูก
่ ผ่ี ล
(45 ผล) ตั้มมีชมพู่น้อยกว่าโอ๋ 15 ผล แสดงว่าตั้มต้องมีชมพู่มากกว่าหรือน้อยกว่า 45 ผล (น้อยกว่า 45 ผล) จะหา
จำ�นวนชมพู่ที่ตั้มมีได้อย่างไร (45 – 15) เขียนประโยคสัญลักษณ์ได้อย่างไร หาคำ�ตอบได้อย่างไร คำ�ตอบที่ได้สมเหตุสมผล
หรือไม่ เพราะเหตุใด ให้นักเรียนฝึกวิเคราะห์โจทย์ลักษณะเช่นนี้เพิ่มเติม ครูอาจใช้สื่อของจริง ตัวนับหรือวาดภาพคร่าว ๆ
เพื่อช่วยให้นักเรียนเกิดแนวคิดสามารถวิเคราะห์โจทย์ เขียนประโยคสัญลักษณ์และหาคำ�ตอบได้ถก ู ต้อง และควรให้นก ั เรียน
พิจารณาความสมเหตุ-สมผลของคำ�ตอบทุกครั้ง

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  275
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 14 | โจทย์ปัญหาการบวก และโจทย์ปัญหาการลบ

24 + 6 =
24 + 6 = 30
๓๐

แนวการจัดการเรียนรู้
ครูและนักเรียนร่วมกันวิเคราะห์โจทย์ปัญหาในหนังสือเรียนหน้า 247 โดยครูอาจวาดภาพคร่าว ๆ ประกอบ
การตั้งคำ�ถาม เช่น โจทย์ถามอะไร โจทย์บอกอะไร ถ้ามานะปลูกมะม่วงเท่ากับขนุนแสดงว่ามานะปลูกมะม่วงกี่ต้น (30 ต้น)
แต่มานะปลูกขนุนน้อยกว่ามะม่วง 10 ต้น แสดงว่ามานะปลูกมะม่วงมากกว่าหรือน้อยกว่า 30 ต้น (มากกว่า 30 ต้น)
จะหาจำ�นวนมะม่วงที่มานะปลูกได้อย่างไร (30 + 10) เขียนประโยคสัญลักษณ์ได้อย่างไร ได้คำ�ตอบเท่าไร คำ�ตอบที่ได้
สมเหตุสมผลหรือไม่ เพราะเหตุใด ให้นักเรียนฝึกวิเคราะห์โจทย์ลักษณะเช่นนี้เพิ่มเติม ครูอาจใช้สื่อของจริง ตัวนับหรือ
วาดภาพคร่าว ๆ เพื่อช่วยให้นักเรียนเกิดแนวคิดสามารถวิเคราะห์โจทย์ เขียนประโยคสัญลักษณ์และหาคำ�ตอบได้ถูกต้อง
และควรให้นักเรียนพิจารณาความสมเหตุสมผลของคำ�ตอบ

276  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 14 | โจทย์ปัญหาการบวก และโจทย์ปัญหาการลบ

22 + 12 =
22 + 12 = 34
๓๔

ตรวจสอบความเข้าใจ สิ่งที่ได้เรียนรู้
ตรวจสอบความเข้าใจของนักเรียนเพื่อให้สอดคล้อง การแก้โจทย์ปัญหาทำ�ได้โดย อ่านทำ�ความเข้าใจปัญหา
กับจุดประสงค์ของการเรียนชั่วโมงนี้ โดยให้นักเรียนเขียน วางแผนแก้ปัญหา หาคำ�ตอบ และตรวจสอบ
ประโยคสัญลักษณ์และเติมคำ�ตอบตามหนังสือเรียนหน้า 248 ความสมเหตุสมผล
เป็นรายบุคคล ถ้านักเรียนเขียนประโยคสัญลักษณ์และ
จากนั้นให้นักเรียนทำ�แบบฝึกหัด 14.7 หน้า 152 - 153
หาคำ�ตอบได้ถูกต้องแสดงว่านักเรียนเข้าใจ
เรือ
่ งการแก้โจทย์ปญ
ั หา แต่ถา้ นักเรียนเขียนประโยค
สัญลักษณ์และหาคำ�ตอบถูกต้องบางข้อหรือไม่ถูกต้องเลย
แสดงว่านักเรียนยังไม่เข้าใจเรื่องการแก้โจทย์ปัญหาการบวก
และโจทย์ปัญหาการลบ ครูอาจสอนเสริมและให้นักเรียน
ทำ�แบบฝึกหัดเพิ่มเติมและร่วมกันสรุปบทเรียน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  277
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 14 | โจทย์ปัญหาการบวก และโจทย์ปัญหาการลบ

14.8 โจทย์ปัญหาการบวก และ


โจทย์ปัญหาการลบ (4)

จุดประสงค์
• แสดงวิธีหาคำ�ตอบของโจทย์
ปัญหาการบวกจำ�นวนนับ
ทีผ่ ลบวกไม่เกิน 100
• แสดงวิธีหาคำ�ตอบของโจทย์
ปัญหาการลบจำ�นวนนับ
ที่ตัวตั้งไม่เกิน 100

สื่อการเรียนรู้
• สื่อของจริง 13
• ตัวนับ
• ภาพวาด

แนวการจัดการเรียนรู้
ครูทบทวนโจทย์ปัญหาการบวกและโจทย์ปัญหาการลบ โดยให้นักเรียนยกตัวอย่างที่สามารถหาคำ�ตอบได้โดยใช้
การคำ�นวณไม่ยาก จากนั้นให้นักเรียนอ่านโจทย์ปัญหาในหนังสือเรียนหน้า 249 พร้อมกัน แล้วช่วยกันบอกว่าโจทย์ปัญหานี้
เป็นเรือ
่ งเกีย่ วกับอะไร ครูแนะนำ�ว่า โจทย์ปญ ั หานีก
้ �ำ หนดสิง่ ทีต
่ อ
้ งการทราบหรือสิง่ ทีโ่ จทย์ถาม (ต้องเก็บมะละกออีกกีผ
่ ล)
กับจำ�นวนที่มีอยู่เดิมหรือสิ่งที่โจทย์บอก (ปิ่นเก็บมะละกอได้ 17 ผล) แล้วให้หาจำ�นวนมะละกอที่ต้องเก็บเพิ่มอีกเพื่อให้ได้
มะละกอครบ 30 ผล ครูควรใช้ของจริง ตัวนับ หรือวาดภาพคร่าว ๆ ประกอบคำ�อธิบายแสดงจำ�นวนมะละกอที่เก็บได้
17 ผล รวมกับจำ�นวนมะละกอที่ต้องเก็บเพิ่ม แล้วทำ�ให้ได้มะละกอทั้งหมด 30 ผล เพื่อให้นักเรียนเกิดแนวคิดสามารถ
วิเคราะห์โจทย์และหาคำ�ตอบได้ถูกต้อง ในการสอนครูควรเริ่มจากจำ�นวนน้อย ๆ ก่อน เพื่อช่วยให้นักเรียนเกิดแนวคิด
สามารถวิเคราะห์โจทย์และหาคำ�ตอบได้ถูกต้อง

278  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 14 | โจทย์ปัญหาการบวก และโจทย์ปัญหาการลบ

16

แนวการจัดการเรียนรู้
ให้นักเรียนอ่านโจทย์ปัญหาในหนังสือเรียนหน้า 250 พร้อมกัน แล้วช่วยกันวิเคราะห์โจทย์และหาคำ�ตอบร่วมกับครู
โดยครูอาจใช้สื่อของจริง ตัวนับ หรือวาดภาพคร่าว ๆ ประกอบการตั้งคำ�ถาม เช่น โจทย์ถามอะไร โจทย์บอกอะไร
คิดหาคำ�ตอบได้อย่างไร เขียนประโยคสัญลักษณ์ได้อย่างไร ได้คำ�ตอบเท่าไร คำ�ตอบที่ได้สมเหตุสมผลหรือไม่ เพราะเหตุใด

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  279
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 14 | โจทย์ปัญหาการบวก และโจทย์ปัญหาการลบ

14 6
14 - 6 =
14 - 6 = 8

15 40
40 - 15 =
40 - 15 = 25
๒๕

แนวการจัดการเรียนรู้
ครูและนักเรียนร่วมกันวิเคราะห์โจทย์ปัญหาในหนังสือเรียนหน้า 251 จากนั้นให้นักเรียนจับคู่ทำ�กิจกรรมใน
หนังสือเรียนเพิม
่ เติม เพือ่ ฝึกการแก้โจทย์ปญ
ั หาการหาค่าของตัวไม่ทราบค่า แล้วร่วมกัน ตรวจสอบความสมเหตุสมผลของคำ�ตอบ

280  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 14 | โจทย์ปัญหาการบวก และโจทย์ปัญหาการลบ

100 - 70 =
100 - 70 = 30
๓๐

ตรวจสอบความเข้าใจ สิ่งที่ได้เรียนรู้
ตรวจสอบความเข้าใจของนักเรียนเพื่อให้สอดคล้อง การแก้โจทย์ปัญหาทำ�ได้โดย อ่านทำ�ความเข้าใจปัญหา
กับจุดประสงค์ของการเรียนในชั่วโมงนี้ โดยให้นักเรียนเขียน วางแผนแก้ปัญหา หาคำ�ตอบ และตรวจสอบ
ประโยคสัญลักษณ์และเติมคำ�ตอบตามหนังสือเรียนหน้า ความสมเหตุสมผล
252 ถ้านักเรียนเขียนประโยคสัญลักษณ์และหาคำ�ตอบได้
จากนั้นให้นักเรียนทำ�แบบฝึกหัด 14.8 หน้า 154 - 155
ถูกต้องแสดงว่านักเรียนเข้าใจการแก้โจทย์ปัญหา
แต่ถ้านักเรียนเขียนประโยคสัญลักษณ์และหาคำ�ตอบ
ไม่ถูกต้อง แสดงว่านักเรียนยังไม่เข้าใจการแก้โจทย์ปัญหา
การหาค่าของตัวไม่ทราบค่า ครูอาจสอนเสริมและให้นักเรียน
ทำ�แบบฝึกหัดเพิ่มเติมและร่วมกันสรุปบทเรียน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  281
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 14 | โจทย์ปัญหาการบวก และโจทย์ปัญหาการลบ

14.9 โจทย์ปัญหาการบวก และ


โจทย์ปัญหาการลบ (5)

จุดประสงค์
• แสดงวิธีหาคำ�ตอบของโจทย์
ปัญหาการบวกและโจทย์ปญ ั หา
การลบจำ�นวนนับไม่เกิน 100
• แสดงวิธีหาคำ�ตอบของโจทย์
ปัญหาการลบจำ�นวนนับ
ที่ตัวตั้งไม่เกิน 100
22

สื่อการเรียนรู้
• สื่อของจริง
• ตัวนับ
• ภาพวาด

แนวการจัดการเรียนรู้
ครูทบทวนโจทย์ปัญหาการบวก และโจทย์ปัญหาการลบ โดยให้นักเรียนยกตัวอย่างที่สามารถหาคำ�ตอบได้โดยใช้
การคำ�นวณไม่ยาก จากนั้นให้นักเรียนอ่านโจทย์ปัญหาในหนังสือเรียนหน้า 253 พร้อมกัน แล้วช่วยกันบอกว่าโจทย์ปัญหานี้
เป็นเรือ่ งเกีย่ วกับอะไร ครูแนะนำ�ว่า โจทย์ก�ำ หนดจำ�นวนกล้วยทีใ่ ห้นอ้ งไปกับจำ�นวนกล้วยทีเ่ หลือ แล้วหาจำ�นวนกล้วยทีม
่ อี ยูเ่ ดิม
ครูวาดภาพประกอบคำ�อธิบายแสดงจำ�นวนกล้วยที่ให้น้องไปและจำ�นวนกล้วยที่เหลือ แล้วหาจำ�นวนกล้วยที่มีอยู่เดิม
ในการสอนเพื่อให้นักเรียนเข้าใจดียิ่งขึ้นครูควรใช้จำ�นวนน้อย ๆ ก่อน เพื่อช่วยให้นักเรียนเกิดแนวคิดสามารถวิเคราะห์โจทย์
และหาคำ�ตอบได้ถูกต้อง จากนั้นให้นักเรียนฝึกวิเคราะห์โจทย์ปัญหา พร้อมคิดหาคำ�ตอบ

282  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 14 | โจทย์ปัญหาการบวก และโจทย์ปัญหาการลบ

23

แนวการจัดการเรียนรู้
ให้นักเรียนอ่านโจทย์ปัญหาในหนังสือเรียนหน้า 254 แล้วช่วยกันวิเคราะห์โจทย์และหาคำ�ตอบร่วมกับครู
โดยครูอาจใช้สื่อของจริง ตัวนับ หรือวาดภาพประกอบการตั้งคำ�ถาม เช่น โจทย์ถามอะไร โจทย์บอกอะไร คิดหาคำ�ตอบได้
อย่างไร เขียนประโยคสัญลักษณ์ได้อย่างไร ได้คำ�ตอบเท่าไร คำ�ตอบที่ได้สมเหตุสมผลหรือไม่ เพราะเหตุใด

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  283
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 14 | โจทย์ปัญหาการบวก และโจทย์ปัญหาการลบ

25
12
- 25 = 12
25 +12 = 37
๓๗

8
28
+ 8 = 28
28 - 8 = 20
๒๐
* อาจเขียนประโยคสัญลักษณไดตางจากนี้

แนวการจัดการเรียนรู้
ครูและนักเรียนร่วมกันวิเคราะห์โจทย์ปัญหาในหนังสือเรียนหน้า 255 จากนั้นให้นักเรียนจับคู่ทำ�กิจกรรมใน
หนังสือเรียนเพิม
่ เติม เพือ่ ฝึกการแก้โจทย์ปญ
ั หาการหาค่าของตัวไม่ทราบค่า แล้วร่วมกันตรวจสอบความสมเหตุสมผลของคำ�ตอบ

284  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 14 | โจทย์ปัญหาการบวก และโจทย์ปัญหาการลบ

+ 13 = 20
20 - 13 = 7
๗ * อาจเขียนประโยคสัญลักษณไดตางจากนี้

ตรวจสอบความเข้าใจ สิ่งที่ได้เรียนรู้
ตรวจสอบความเข้าใจของนักเรียนเพื่อให้สอดคล้อง การแก้โจทย์ปัญหา ทำ�ได้โดย อ่านทำ�ความเข้าใจปัญหา
กับจุดประสงค์ของการเรียนในชั่วโมงนี้ โดยให้นักเรียน วางแผนแก้ปญ
ั หา หาคำ�ตอบ และตรวจสอบความสมเหตุสมผล
เขียนประโยคสัญลักษณ์และเติมคำ�ตอบตามหนังสือเรียน
จากนั้นให้นักเรียนทำ�แบบฝึกหัด 14.9 หน้า 156 - 157
หน้า 256 ถ้านักเรียนเขียนประโยคสัญลักษณ์และหาคำ�ตอบ
ได้ถูกต้องแสดงว่านักเรียนเข้าใจเรื่องการแก้โจทย์ปัญหา
แต่ถ้านักเรียนเขียนประโยคสัญลักษณ์และหาคำ�ตอบ
ไม่ถูกต้อง แสดงว่านักเรียนยังไม่เข้าใจเรื่องการแก้โจทย์
ปัญหาการหาจำ�นวนที่มีอยู่เดิม ครูอาจสอนเสริมและ
ให้นักเรียนทำ�แบบฝึกหัดเพิ่มเติมและร่วมกันสรุปบทเรียน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  285
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 14 | โจทย์ปัญหาการบวก และโจทย์ปัญหาการลบ

14.10 การสร้างโจทย์ปัญหา
การบวก และโจทย์ปัญหา
การลบจากภาพ

จุดประสงค์
สร้างโจทย์ปัญหาการบวก หรือ
โจทย์ปัญหาการลบ
ของจำ�นวนนับไม่เกิน 100 และ 0
จากภาพหรือสถานการณ์

สื่อการเรียนรู้
• บัตรภาพ
• บัตรสถานการณ์

แนวการจัดการเรียนรู้
ครูทบทวนโจทย์ปัญหาการบวกและโจทย์ปัญหาการลบโดยครูยกตัวอย่างโจทย์ปัญหาการบวกและโจทย์ปัญหาการลบ
อย่างง่ายที่นักเรียนสามารถหาคำ�ตอบในใจ จากนั้นให้นักเรียนพิจารณาภาพในหนังสือเรียนหน้า 257 พร้อมกัน แล้วช่วยกัน
บอกว่าในภาพมีอะไรบ้าง แต่ละชนิดมีจำ�นวนเท่าไร สิ่งของชนิดเดียวกันมีอะไรที่แตกต่างกัน ในการสอนการสร้าง
โจทย์ปัญหาจากภาพ ครูควรเริ่มจากสิ่งที่นักเรียนเห็นจำ�นวนสิ่งของจากภาพที่กำ�หนดให้ก่อน แล้วให้นักเรียนช่วยกันสร้าง
โจทย์ปัญหาการบวกจากภาพ ซึ่งโจทย์ปัญหาจะต้องมีส่วนที่โจทย์บอกและส่วนที่โจทย์ถาม ครูต้องตรวจสอบว่าโจทย์ปัญหา
ที่นักเรียนสร้างเป็นโจทย์ปัญหาการบวกถูกต้องหรือไม่ มีความเหมาะสมหรือไม่มีความเป็นไปได้หรือไม่และเขียน
ประโยคสัญลักษณ์ถูกต้องตามข้อกำ�หนดหรือไม่ ถ้านักเรียนสร้างโจทย์ปัญหาการบวกไม่ถูกต้องหรือไม่เหมาะสม
ครูควรแนะนำ�แก้ไขโดยให้นักเรียนฝึกสร้างโจทย์ปัญหาการบวกเพิ่มเติม

286  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 14 | โจทย์ปัญหาการบวก และโจทย์ปัญหาการลบ

แนวการจัดการเรียนรู้
ครูและนักเรียนร่วมกันทำ�กิจกรรมในหนังสือเรียนหน้า 258 ครูควรแนะนำ�ว่าในการสร้างโจทย์ปัญหาการลบ
จากภาพหรือสถานการณ์ จะต้องมีความถูกต้อง ความเหมาะสมและความเป็นไปได้ แล้วให้นักเรียนฝึกสร้างโจทย์ปัญหา
เขียนประโยคสัญลักษณ์ และหาคำ�ตอบ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  287
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 14 | โจทย์ปัญหาการบวก และโจทย์ปัญหาการลบ

แกวตาปลูกผักกาดและคะนาทั้งหมดกี่ตน

แกวตาปลูกผักกาดนอยกวาคะนากี่ตน
* คําตอบอาจแตกตางจากนี้

แนวการจัดการเรียนรู้
ครูและนักเรียนร่วมกันทำ�กิจกรรมในหนังสือเรียนหน้า 259 ให้นักเรียนจับคู่ช่วยกันสร้างคำ�ถามจากสิ่งที่กำ�หนดให้
เพื่อให้ได้โจทย์ปัญหาการบวกและโจทย์ปัญหาการลบ ช่วยกันตรวจสอบความถูกต้อง ความเหมาะสมและความเป็นไปได้
ของโจทย์ทส่ี ร้าง จากนัน
้ ครูให้นก
ั เรียนสร้างโจทย์ปญ
ั หาการบวกและโจทย์ปญั หาการลบเพิม ่ เติม 2 - 3 ตัวอย่าง
แล้วให้เพื่อนในห้องช่วยกันตรวจสอบความถูกต้องและความเป็นไปได้ของโจทย์ปัญหาที่สร้าง

288  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 14 | โจทย์ปัญหาการบวก และโจทย์ปัญหาการลบ

โจทยปญหาการบวก
ลุงเลี้ยงวัว 9 ตัว เลี้ยงควาย 10 ตัว ลุงเลี้ยงวัวและควายทั้งหมดกี่ตัว

9 + 10 =
* คําตอบอาจแตกตางจากนี้

ตรวจสอบความเข้าใจ สิ่งที่ได้เรียนรู้
ตรวจสอบความเข้าใจของนักเรียนเพื่อให้สอดคล้อง การสร้างโจทย์ปัญหาต้องมีส่วนที่โจทย์บอกและส่วนที่
กับจุดประสงค์ของการเรียนในชั่วโมงนี้ โดยให้นักเรียน โจทย์ถาม นอกจากนี้โจทย์ที่สร้างต้องมีความเป็นไปได้
สร้างโจทย์ปัญหาการบวกหรือโจทย์ปัญหาการลบ และ
จากนั้นให้นักเรียนทำ�แบบฝึกหัด 14.10 หน้า 158 – 159
เขียนประโยคสัญลักษณ์ตามหนังสือเรียนหน้า 260
เป็นรายบุคคล ถ้านักเรียนสร้างโจทย์ปัญหาการบวก หรือ
สร้างโจทย์ปัญหาการลบ และเขียนประโยคสัญลักษณ์ได้ถูก
ต้องและเหมาะสม แสดงว่านักเรียนเข้าใจเรื่องการสร้าง
โจทย์ปัญหา แต่ถ้านักเรียนสร้างโจทย์ปัญหาการบวก หรือ
สร้างโจทย์ปัญหาการลบไม่ถูกต้องและไม่เหมาะสม
เขียนประโยคสัญลักษณ์ไม่ถูกต้อง แสดงว่านักเรียนยัง
ไม่เข้าใจเรื่องการสร้างโจทย์ปัญหา ครูอาจสอนเสริมและ
ให้นักเรียนทำ�แบบฝึกหัดเพิ่มเติมและร่วมกันสรุปบทเรียน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  289
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 14 | โจทย์ปัญหาการบวก และโจทย์ปัญหาการลบ

14.11 การสร้างโจทย์ปัญหาการ
บวก และโจทย์ปัญหาการ
ลบจากประโยคสัญลักษณ์

จุดประสงค์
สร้างโจทย์ปัญหาการบวกและ
โจทย์ปัญหาการลบของจำ�นวนนับ
ไม่เกิน100 และ 0
จากประโยคสัญลักษณ์

สื่อการเรียนรู้
• บัตรภาพ
• บัตรสถานการณ์
• บัตรประโยคสัญลักษณ์

แนวการจัดการเรียนรู้
ครูทบทวนการสร้างโจทย์ปัญหาการบวก โดยให้นักเรียนดูบัตรภาพหรือบัตรสถานการณ์แล้วช่วยกันสร้างโจทย์ปัญหา
การบวกง่าย ๆ พร้อมหาคำ�ตอบ จากนั้นให้นักเรียนอ่านประโยคสัญลักษณ์ในหนังสือเรียนหน้า 261 พร้อมกัน แล้วช่วยกัน
สร้างโจทย์ปัญหาการบวกจากประโยคสัญลักษณ์ ครูต้องให้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการสร้างโจทย์ปัญหาการบวกจาก
ประโยคสัญลักษณ์ จะต้องมีส่วนที่โจทย์บอก และส่วนที่โจทย์ถาม ซึ่งส่วนที่โจทย์บอกกับส่วนที่โจทย์ถามต้องแสดง
ความสัมพันธ์กันอย่างถูกต้องและเหมาะสม ครูจะต้องตรวจสอบโจทย์ปัญหาที่นักเรียนสร้างว่ามีความถูกต้องหรือไม่
ถ้าไม่ถกู ต้อง ไม่เหมาะสมหรือเป็นไปได้ควรแนะนำ�แก้ไข จากนัน
้ ให้นก
ั เรียนช่วยกันฝึกสร้างโจทย์ปญ
ั หาจากประโยคสัญลักษณ์
เพิม
่ เติม

290  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 14 | โจทย์ปัญหาการบวก และโจทย์ปัญหาการลบ

แนวการจัดการเรียนรู้
ครูและนักเรียนร่วมกันทำ�กิจกรรมเกีย่ วกับการสร้างโจทย์ปญ
ั หาการลบจากประโยคสัญลักษณ์ ในหนังสือเรียนหน้า 262
ช่วยกันตรวจสอบความถูกต้อง ความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโจทย์ที่สร้าง แล้วร่วมกันสรุปว่าในการในการสร้าง
โจทย์ปัญหาการลบจากประโยคสัญลักษณ์ จะต้องมีส่วนที่โจทย์บอก และส่วนที่โจทย์ถามและส่วนที่โจทย์บอกกับส่วนที่
โจทย์ถามต้องสัมพันธ์กันถูกต้องและเหมาะสม

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  291
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 14 | โจทย์ปัญหาการบวก และโจทย์ปัญหาการลบ

พอเก็บมะมวงไดมากกวาชมพูกี่ผล

นามีอายุ 42 ป แมมีอายุมากกวานา 8 ป

แกวตามีริบบิ้นยาว 60 เซนติมตร แกวตามีริบบิ้นยาวกวาใบบัว 30 เซนติเมตร

* คําตอบอาจแตกตางจากนี้

แนวการจัดการเรียนรู้
ครูและนักเรียนร่วมกันทำ�กิจกรรมในหนังสือเรียนหน้า 263 ให้นักเรียนจับคู่ช่วยกันสร้างโจทย์ปัญหาการบวก หรือ
โจทย์ปัญหาการลบจากประโยคสัญลักษณ์ และช่วยกันตรวจสอบความถูกต้อง ความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโจทย์
ที่สร้าง แล้วร่วมกันสรุปว่าการสร้างโจทย์ปัญหาจากประโยคสัญลักษณ์จะมีส่วนที่โจทย์บอกและส่วนที่โจทย์ถาม และ
โจทย์ที่สร้างต้องถูกต้องเหมาะสมและความเป็นไปได้

292  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 14 | โจทย์ปัญหาการบวก และโจทย์ปัญหาการลบ

ตนกลาเก็บมะมวงได 19 ผล เก็บชมพูได 21 ผล
ตนกลาเก็บมะมวงและชมพูไดทั้งหมดกี่ผล

ตนกลาเก็บมะมวงได 19 ผล เก็บชมพูได 21 ผล
ตนกลาเก็บมะมวงไดนอยกวาชมพูกี่ผล

* คําตอบอาจแตกตางจากนี้

ตรวจสอบความเข้าใจ สิ่งที่ได้เรียนรู้
ตรวจสอบความเข้าใจของนักเรียนเพื่อให้สอดคล้อง การสร้างโจทย์ปัญหาต้องมีทั้งส่วนที่โจทย์บอกและส่วนที่
กับจุดประสงค์ของการเรียนในชั่วโมงนี้ โดยให้นักเรียน โจทย์ถาม นอกจากนี้โจทย์ที่สร้างต้องมีความเป็นไปได้
สร้างโจทย์ปัญหาจากประโยคสัญลักษณ์ตามหนังสือเรียน
จากนั้นให้นักเรียนทำ�แบบฝึกหัด 14.11 หน้า 160 – 161
หน้า 264 เป็นรายบุคคล ถ้านักเรียนสร้างโจทย์ปัญหา
การบวก และสร้างโจทย์ปัญหาการลบจากประโยค
สัญลักษณ์ได้ถูกต้องเหมาะสมและเป็นไปได้ แสดงว่านักเรียน
เข้าใจเรื่องการสร้างโจทย์ปัญหาบวก และสร้างโจทย์ปัญหา
การลบจากประโยคสัญลักษณ์ แต่ถ้านักเรียนสร้าง
โจทย์ปัญหาจากประโยคสัญลักษณ์ถูกต้องบางข้อหรือ
ไม่ถูกต้องเลยแสดงว่านักเรียนยังไม่เข้าใจเรื่องการสร้าง
โจทย์ปัญหาจากประโยคสัญลักษณ์ครูอาจสอนเสริมและ
ให้นักเรียนทำ�แบบฝึกหัดเพิ่มเติม จากนั้นครูและนักเรียน
ร่วมกันสรุปบทเรียน
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  293
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 14 | โจทย์ปัญหาการบวก และโจทย์ปัญหาการลบ

กิจกรรม เกมถอดรหัส

อุปกรณ์
1. ดินสอ
2. บัตรโจทย์ปัญหา 7 บัตร
3. ตารางรหัส

เตรียมสถานที่
ห้องเรียนที่จัดนักเรียนเป็นกลุ่ม

พอเพียง หรือ เพียงพอ

วิธีจัดกิจกรรม
1. ให้นักเรียนจับคู่ หาคำ�ตอบจากบัตรโจทย์ปัญหาที่กำ�หนดให้ แล้วนำ�คำ�ตอบที่ได้ไปถอดรหัสกับตาราง
2. ใช้รหัสทุกตัวมาเขียนเป็นคำ�ที่มีความหมาย

10 28 30 41 41 44 45

ย ง สระอี พ พ อ เ

คำ�นั้น คือ .......พอเพียง หรือ เพียงพอ.........

จากนั้นให้นักเรียนทำ�แบบฝึกท้าทาย หน้า 162

294  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 14 | โจทย์ปัญหาการบวก และโจทย์ปัญหาการลบ

แบบทดสอบบทที่ 14

เป็ น ตั ว อย่ า งแบบทดสอบที่ ใ ช้ ใ นการประเมิ น เพื่ อ พั ฒ นานั ก เรี ย นหากมี นั ก เรี ย นคนใดที่ ไ ม่ ผ่ า นการทดสอบครู ค วร
ให้ นั ก เรี ย นคนนั้ น ฝึ ก ทั ก ษะมากขึ้ น โดยอาจใช้ แ บบฝึ ก เสริ ม จากหนั ง สื อ เสริ ม เพิ่ ม ปั ญ ญาของสสวท.หรื อ แบบฝึ ก อื่ น ที่
เห็นว่าสมควร ซึ่งแบบทดสอบท้ายบทนี้มีจำ�นวน 2 ข้อใหญ่ คะแนนเต็ม 12 คะแนน ใช้เวลาในการทำ�แบบทดสอบ 20 นาที
และวิเคราะห์เป็นรายจุดประสงค์ได้ดังนี้

จุดประสงค์การเรียนรู้ ข้อที่

แสดงวิธีหาคำ�ตอบของโจทย์ปัญหาการบวกและโจทย์ปัญหาการลบจำ�นวนนับ 1 และ 2
ไม่เกิน 100 และ 0

1. ชั้นป.1 มีนักเรียนชาย 20 คน มีนักเรียนหญิงมากกว่านักเรียนชาย 4 คน มีนักเรียนหญิงกี่คน

จากโจทย์ปัญหาให้นักเรียนเติมคำ�ตอบต่อไปนี้ (ข้อละ 1 คะแนน)

1) โจทย์ถามอะไร

.............................................................................................................................................................

2) โจทย์บอกอะไร

............................................................................................................................................................

3) ถ้ามีนักเรียนหญิงเท่ากับนักเรียนชายจะมีนักเรียนหญิงกี่คน

………………………………………...............................................................................................................

4) มีนักเรียนหญิงมากกว่านักเรียนชาย 4 คน จะหาจำ�นวนนักเรียนหญิงได้อย่างไร

...........................................................................................................................................................

5) เขียนประโยคสัญลักษณ์ได้อย่างไร

..........................................................................................................................................................

6) มีนักเรียนหญิงกี่คน

……………………………………................................................................................................................

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  295
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 14 | โจทย์ปัญหาการบวก และโจทย์ปัญหาการลบ

2. เขียนประโยคสัญลักษณ์ และเติมคำ�ตอบ (ข้อละ 2 คะแนน)

1) กานดาขายดอกบัวได้ 40 ดอก ขายดอกบัวได้น้อยกว่าดอกกุหลาบ 10 ดอก กานดาขายดอกกุหลาบได้กี่ดอก

ประโยคสัญลักษณ์……..........................................................................................................................................

ตอบ กานดาขายดอกกุหลาบได้......................ดอก

2) แก้วทำ�แบบฝึกหัดคณิตศาสตร์เสร็จแล้ว 8 ข้อ แก้วจะต้องทำ�แบบฝึกหัดคณิตศาสตร์อีกกี่ข้อจึงจะครบ 15 ข้อ

ประโยคสัญลักษณ์……......................................................................................................................................

ตอบ แก้วจะต้องทำ�แบบฝึกหัดคณิตศาสตร์อีก……………..ข้อจึงจะครบ 15 ข้อ

3) ก้อยเก็บดอกบัวสีขาว 16 ดอก สีชมพู 26 ดอก ก้อยเก็บดอกบัวทั้งหมดกี่ดอก

ประโยคสัญลักษณ์……...................................................................................................................................

ตอบ ก้อยเก็บดอกบัวทั้งหมด................…..ดอก

เฉลย

1.
1) มีนักเรียนหญิงกี่คน
2) ชั้น ป.1 มีนักเรียนชาย 20 คน มีนักเรียนหญิงมากกว่านักเรียนชาย 4 คน
3) มีนักเรียนหญิง 20 คน
4) นำ�จำ�นวนชายมาบวกกับ 4
5) 20 + 4 =
6) มีนักเรียนหญิง 24 คน
2.
1) 40 + 10 =
๕๐
2) 15 - 8 =

3) 16 + 26 =
๔๒

296  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
สารบัญ
หน้า
แบบฝึกหัด
บทที่ 8 การบอกตำ�แหน่งและอันดับที่ 298

แบบฝึกหัด
บทที่ 9 รูปเรขาคณิต 304

แบบฝึกหัด
บทที่10 จำ�นวนนับ 21 ถึง 100 317

แบบฝึกหัด
บทที่11 การวัดความยาว 332

แบบฝึกหัด
บทที่12 การบวกที่ผลบวกไม่เกิน 100 343

แบบฝึกหัด
บทที่13 การลบจำ�นวนที่ตัวตั้งไม่เกิน 100 351

แบบฝึกหัด
บทที่14 โจทย์ปัญหาการบวกและโจทย์ปัญหาการลบ 364
298

กาม แหวน

พลอย อั๋น

ออมสิน ออน

แพร ปาน ออม เนย ตาล

ตาล
ออม
ออม
ปาน กับ มะลิ พลอย
ออม กับ เนย แหวน
ออน
299

โตง
9 บุง
1 ดัง
5 ดัง
2 โตง
7 บุง
300

8 1
7 3
9
ฟุตซอล
10

3 4
4
2
1 4
301

3 เขม
1
นัด
2
9 ปอ
7 ปาน
8
6
5
302

จัน

เจี๊ยบ

3 1
2 0

2 2
ติ๋ม 2
1 3
เจี๊ยบ 1
3 1
จัน 3
แปว 4
303

11
3 1 1 1 2 2 10
3 3 1 1 1 2 2 13
3 3 3 1 1 1 1 2 2 14

1
2
3 4
4
2 1

2 1
3 4
304

4
3

3
2
* นักเรียนอาจจะระบายสีตางจากนี้ ครูควรสอบถามถึงเหตุผลในการระบายสีดวย
305
306

3
5 4
2 2
2 2
2
307

รูปสี่เหลี่ยม วงกลม

รูปสามเหลี่ยม วงรี
308

2 5 และ 9
รูปสามเหลี่ยม
0 0 วงกลม
1 3 7 และ 11
3 3 รูปสามเหลี่ยม
รูปสี่เหลี่ยม
4 4 รูปสี่เหลี่ยม
4 6 8 10 และ 12
0 0 วงรี
4 และ 10
6 8 และ 12
309

* คําตอบอาจแตกตางจากนี้ * คําตอบอาจแตกตางจากนี้
310

* คําตอบอยูในดุลยพินิจของครู * คําตอบอาจแตกตางจากนี้
311

* คําตอบอาจแตกตางจากนี้
* คําตอบอยูในดุลยพินิจของครู
312
313

เขียน ทับรูปที่หายไปในแบบรูปต�อไปนี้
314

เขียน ทับรูปที่หายไปในแบบรูปต�อไปนี้ เขียน ทับรูปที่หายไปในแบบรูปต�อไปนี้


315

* อยูในดุลยพินิจของผูสอน
* คําตอบอยูในดุลยพินิจของครู
316

* คําตอบอยูในดุลยพินิจของครู * คําตอบอยูในดุลยพินิจของครู
317

* คําตอบอยูในดุลยพินิจของครู
318

5
319

28
๒๘
ยี่สิบแปด

25
๒๕
ยี่สิบหา

30
๓๐
สามสิบ
320

เติม

31 ๓๑

31
37 ๓๗

39 43 ๔๓

43 49 ๔๙

50 ๕๐
46
321

เขียน

53
๕๓
หาสิบสาม

84
๘๔
* คําตอบอาจแตกตางจากนี้
แปดสิบสี่
322

๖๕ หกสิบหา

79 ๗๙

๙๓ เกาสิบสาม 30
7

81 แปดสิบเอ็ด

๘๘ แปดสิบแปด
40
3
323

2 20 85
5 5 8 80
5 5

3 30
6 6

70
7 70
0 0
4 40
0 0
324

40 4

7 70
20 6
7 7
77 70 7
30 9

6 60
8 8 40 1

68 60 8
30 0
9 90
2 2 50 8
92 90 2
80 2
8 80
3 3
60 6
83 80 3
325

91
91 90 1

54
54 50 4
9 6
76 96 69 69 96
ขาว สี
76 70 6

8
68
68 60 8

5 5 4 4
5 8
55
45 48 48 45
55 50 5 เสือ ทอง
* คําตอบอาจแตกตางจากนี้
326

5 50
7 70
50 นอยกวา 70 * หรือ 70 มากกวา 50
71 53 53 71

3 30

9 9
5 5
9 มากกวา 5 * หรือ 5 นอยกวา 9
39 35 35 39
327

7 70
4 40
2 20 9 90
9 90
8 80
40 90
5 50
90 96
23 82
96 90

23 57 82 96 90 71 44

49 55 62 92 83 65 58

67 61 60 27 45 47 53
328

25

90

55 51 29 21 12 60

73 76
12 21 29 51 55

เติม

64

90 80 71 63 52 48

38

52 63 71 80 90 40 39

* คําตอบอาจแตกตางจากนี้
329

100

เพิ่มขึ้น
38

29
56
ลดลง

50 49 59

ลดลง
32
69 70

เพิ่มขึ้น 54 14

79 83
40 80
เพิ่มขึ้น
330

88

เพิ่มขึ้น 37 38 39

63 64 65

44

ลดลง 83 82 81
ลดลงทีละ 1
58 59 60

69
58 59 60
81 82 83
เพิ่มขึ้นทีละ 1
เพิ่มขึ้น
45 43 42
ลดลงทีละ 1
37 42 43 45

96 97 100
ลดลง
96 97 100
เพิ่มขึ้นทีละ 1
331

10

20

14 15 16 17 31 32 33 34
30

41

51

61

64 66 9
75 19
35 45 55 85 29
เพิ่มขึ้นทีละ 10
95 38 40
35

45 48

55 58

68
68 58 48
ลดลงทีละ 10 39
49 50 82 83
70 80 100
60 91 92
32 เพิ่มขึ้นทีละ 10

70
82 72 32 51
72 80
86 88 89
ลดลงทีละ 10 62 63 64
82

97
100

71 73 75
332

10 12 13 20 21
30 31 40

16 27 38 49 50
61 72 83 94
333

ยาวกวา
สั้นกวา
ยาวเทากัน
ยาวที่สุด
สั้นที่สุด

สูงกวา
เตี้ยกวา
สูงเทากัน
ยางลบ ขวดนํ้ากระเจี๊ยบ สูงที่สุด
พูกัน ขวดนํ้าองุน
เตี้ยที่สุด
334

4
6 6
4 2
2 4
4
ตะหลิว
ไมตีกอลฟ
ตะกรอมือ
ไมปงปอง
ทัพพี ไมนวดแปง
ไมแบดมินตัน ไมเทนนิส
335

4
3 แปรงสีฟน 5
2 กิ๊บติดผม 2
3 3
ก 3
ค แปรงสีฟน หวี 2
ข ง หวี แปรงสีฟน 2
336

3 5 12
2 2 3
3 6
1 7
4 1 ตะเกียบ 12
1 2 คลิปหนีบกระดาษ 3
337

5 5

12 12

8 10

6
6 5 8
338

9
6

9 7
7 6
10
9

5
7

6 2
3
4 4 2
* คําตอบที่เปนการคาดคะเนอยูในดุลยพินิจของครู * คําตอบที่เปนการคาดคะเนอยูในดุลยพินิจของครู
339

7-3=4

18 - 10 = 8

* คําตอบอยูในดุลยพินิจของครู
20 - 14 = 6
340

14 - 12 = 2
10 - 2 = 8
18 - 15 = 3
10 - 6 = 4
20 - 12 = 8
6-2=4
18 - 15 = 3
6-2=4
20 - 14 = 6
ผา ไหมพรม
สอม ชอน
341

แนวคิด
ประโยคสัญลักษณ 20 - 14 =
แนวคิด 20 - 14 = 6
ประโยคสัญลักษณ 18 - 12 =
18 - 12 = 6



แนวคิด
ประโยคสัญลักษณ 3 - 1 =
แนวคิด
3-1= 2
ประโยคสัญลักษณ 24 + 6 =
24 + 6 = 30


๓๐
342

แนวคิด
8+ = 15
15 - 8 =
แนวคิด
4+ =9 15 - 8 = 7
9-4=
9-4= 5 ๗

แนวคิด
-3= 8
แนวคิด
-4= 6 8+3=
6+4= 8 + 3 = 11
6 + 4 = 10

๑๐ ๑๑
343

19
15
13

55 3 56 57 58
58

64 5 65 66 67 68 69
69

77 92

67 46
344

3+4=7
40 3
40 + 7 = 47

47

1+7=8
40 + 8 = 48
40 1

48
345

68 2
78 88
88

70

80
80 4
81 82 83 84
84
36
46 56 66 76 86
14 7
86
24 34 44 54
64 74 84
84
346

2 72
2

72
9 16 6 11
16 66 11 71
6 9 66 71
50 6
50 90
90 9 99

99 3 10 5 10
10 66 10 71
66 71

2 5 7
60 2 20 5
60 20 80
80 7 87 1 60 4 70
60 66 70 71
87 66 71
347

20 8 50 3
4 11 8 13 8 6 14 3 9 12
11 81 13 73 20 14 34 50 12 62
81 73 34 62

24 4 1 52
3 10 8 10 4 6 10 9 1 10
10 81 10 73 24 10 34 52 10 62
81 73 34 62

2 4 2 7
6 80 5 70 28 2 30 53 7 60
80 81 70 73 30 4 34 60 2 62
81 73 34 62
348

5 9

4 8
59

48

7 8 9 9

3 9 7 7
78 99

39 77
349

6 8 7 9 1

๖๘ ๗๙
3 3

33

7 9 8 7
๗๙ ๘๗
1

1
7 2 1
4 1 2 2 5 3 6 7
4 8 4 3
๔๘ ๔๓ 53 67
350

1 1

6 8 4 4
5 6 ๖๘ ๔๔

56
1 1

9 3 1 0 0
๙๓ ๑๐๐
1 1

1 0 0 9 2 1

1
8 3 3
4 8 1 9
100 92 5 6 5 2
๕๖ ๕๒
351

32

3 4 3 3 4 3

4 3 3 6 4 4
42

30

1 7 3 8 4 8

7 7 3 3 4 4
24
352

22

30

61 51

36
85 5
71

80 63

93
4 80
74
74 43

92
9 9 0
90 0 90 53
90
80
353

64 - 60 =

62 64

4 4
10 4

98 - 93 =

22 93

95 96 97

5 98 93 5
5
7
354

25

51

5
5 25

25
355

39

32

67
60 10

64
88 89 90 91

88

80 10

83
59
356

18
13

8
3 10
10 8 10 18
3 10 13 18
13

5
10 3 13
10 3 13 5 13 18
13 18
357

3 2
32

4 3
43

2 4 2 4
358

8 7
3
6 2 8 4
2 3
23
๖๒ ๘๔

9 9
7 5
3 3 2 4
2 7
๓๓ ๒๔
27

3 8 7 6
7 5 1
3 1 2 5

2 3 2 3 ๓๑ ๒๕
359

3 10 4 14

2 10 3 13
1 2 1 5
๑๒ ๑๕
2 6 3 8
๒๖ ๓๘
5 10 6 11

4 10 1 12

3 7 2 7

4 4 1 5 ๓๗ ๒๗
๔๔ ๑๕
7 10 8 15

8 0 9 5
8 10 5 14

9 0 6 4 6 5 5 9
3 9 1 5 3 6
8 7 5 5 ๑๕ ๓๖
๘๗ ๕๕
360

60 30
17 55
50 9
7 70

50 90
75 45 50 61
75 6
92 19
52 5 92
52 92
93
60 40 100
70 7 77
100 75 25 100 60 40
43 40 3 77 70 7
100 25 75
43 3 40
361

9 44 36 = 8
46 8
9
5
5
47 + = 55
39 7 55 47 = 8
3 7 8
3

29 56 84 7 = 77
30 31 32 33 4 56 77
4

57 81 81 + 9 = 90
52 53 53 55 56 57 5
5 81 90
362

30

45 55 65 75
4 40
40

49 59 69 79 89 99
5 50
50
363

17 71 − 38 33 30 + = 50 43 + = 53
50 − 30 = 53 − 43 =
17 33
50 − 30 = 20 53 − 43 = 10
ดังนั้น 30 + 20 = 50 ดังนั้น 43 + 10 = 53

34 80 − 44 36
34 36
+ 47 = 74 49 + = 77
74 − 47 = 77 − 49 =
33 + 61 74 − 47 = 27 77 − 49 = 28
ดังนั้น 27 + 47 = 74 ดังนั้น 77 − 28 = 49
24 61 − 33 28
24 28

− 36 = 36 90 − 65 =
36 + 36 = 90 − 65 = 25
95 37 + 37 74
36 + 36 = 72
95 74 ดังนั้น 72 − 36 = 36 ดังนั้น 90 − 65 = 25
364

15 15 30

12

22
20 10 30
25

12

วันอังคาร
7 15 22
365

23 8
23 8 31
15 10 25

18 10
18 + 10 = 28
25 15 40

45
15
45 + 15 = 60
8 18 26 * คําตอบอาจแตกตางจากนี้ ขึ้นอยูกับคําตอบของนักเรียน
366

56 22 78

9 69 78
30 5 35

34 11 45 75 15 90
367

12
24
48 12 36
12 24 36

55
17
55 + 17 = 72

14 9 5
9
8
9 + 8 = 17

* คําตอบอาจแตกตางจากนี้ ขึ้นอยูกับคําตอบของนักเรียน 44 26 18
368

27
9
27 9 18
12 5 7

30
10
30 − 10 = 20

32 16 16
32
5
32 − 5 = 27

22 9 13 * คําตอบอาจแตกตางจากนี้ ขึ้นอยูกับคําตอบของนักเรียน
369

20 6 14

16 7 9

21 10 11

50 18 32
45 23 22
370

32
12
32 12 20

36 − 8 =
63 36 − 8 = 28
40 ๒๘
63 - 40 = 23

16
55 + 45 =
5 55 + 45 = 100
16 - 5 = 11 ๑๐๐
* คําตอบอาจแตกตางจากนี้ ขึ้นอยูกับคําตอบของนักเรียน
371

22 + 7 =
22 + 7 = 29
๒๙

45 + 45 =
23 - 6 = 45 + 45 = 90
23 - 6 = 17
๙๐
๑๗

43 - 34 =
25 + 15 = 43 - 34 = 9
25 + 15 = 40

๔๐

60 - 12 =
90 - 45 = 60 - 12 = 48
90 - 45 = 45
๔๘
๔๕
372

32 - 25 =
32 - 25 = 7

27- 15 =
27- 15 = 12 60 - 24 =
๑๒ 60 - 24 = 36
๓๖

30 + 12 = 70 + 15 =
30 + 12 = 42 70 + 15 = 85
๔๒ ๘๕

35 - 11 = 32 - 13 =
35 - 11 = 24 32 - 13 = 19
๒๔ ๑๙
373

32 + 17 =
32 + 17 = 49
๔๙
18 - 10 =
18 - 10 = 8

75 - 55 =
75 - 55 = 20
50 + 30 = ๒๐
50 + 30 = 80
๘๐
100 - 20 =
100 - 20 = 80
55 - 20 =
55 - 20 = 35
๘๐
๓๕
374

8 + = 20
20 − 8 = 12
๑๒
6 50
6+ = 50
50 - 6 = 44
๔๔ 7+ = 26
* อาจเขียนประโยคสัญลักษณไดตางจากนี้ 26 − 7 = 19
๑๙

23 5
5+ = 23 45 − =5
23 - 5 = 18 45 − 5 = 40
๑๘ ๔๐
* อาจเขียนประโยคสัญลักษณไดตางจากนี้ * หนานี้นักเรียนอาจเขียนประโยคสัญลักษณไดตางจากนี้
375

+ 18 = 22
22 − 18 = 4

9 = 30

30 + 9 = 39
๓๙

+ 10 = 38
38 − 10 = 28
๒๘
* หนานี้นักเรียนอาจเขียนประโยคสัญลักษณไดตางจากนี้ * หนานี้นักเรียนอาจเขียนประโยคสัญลักษณไดตางจากนี้
376

มีนก 11 ตัว มีลิง 8 ตัว มีนกและลิงทั้งหมดกี่ตัว


มีปลาและเตาทั้งหมดกี่ตัว

10 + 7 = 11 + 8 =

มีปลามากกวาเตากี่ตัว
มีนกทั้งหมด 11 ตัว เกาะบนกิ่งไม 3 ตัว มีนกกําลังบินอยูกี่ตัว

10 − 7 =
* คําตอบอาจแตกตางจากนี้
11 − 3 =

* คําตอบอาจแตกตางจากนี้
377

ฝรั่งกิโลกรัมละ 35 บาท เงาะกิโลกรัมละ 30 บาท


ฝรั่งราคามากกวาเงาะกิโลกรัมละกี่บาท
พลอยซื้อเงาะ
และมังคุดทั้งหมดกี่กิโลกรัม

กลวยหวีละ 18 บาท มังคุด 1 กิโลกรัม ราคามากกวากลวย


แมคาขายสละ 9 บาท มังคุดราคากิโลกรัมละกี่บาท
มากกวาลองกองกี่กิโลกรัม
* คําตอบอาจแตกตางจากนี้ * คําตอบอาจแตกตางจากนี้
378

นภาขายกลวยหอมได 20 หวี
นภาขายกลวยหอมไดนอยกวากลวยไข 5 หวี
ดังนั้น นภาขายกลวยไขได 20 + 5 = 25 หวี
นภาขายกลวยหอมและกลวยไข 20 + 25 = 45 หวี

ตอบ นภาขายกลวยหอมและกลวยไขไดทั้งหมด ๔๕ หวี


คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

ความรู้เพิ่มเติมสำ�หรับครู

หลักสูตร การสอน และการวัดผลประเมินผล เป็นองค์ประกอบหลักที่สำ�คัญในการออกแบบแนวทางการจัดการเรียนรู้


หากมีการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึ่ง จะส่งผลต่อองค์ประกอบอื่นตามไปด้วย ดังนั้น เพื่อความสอดคล้อง
และเกิดประสิทธิผลในการนำ�ไปใช้ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560)
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ จึงกำ�หนดเป้าหมายและจุดเน้นหลายประการที่ครูควรตระหนักและทำ�ความเข้าใจ เพื่อให้
การจัดการเรียนรู้สัมฤทธิ์ผลตามที่กำ�หนดไว้ในหลักสูตร ครูควรศึกษาเพิ่มเติมในเรื่องต่อไปนี้

1. ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์เป็นความสามารถที่จะนำ�ความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ เพื่อให้
ได้มาซึ่งความรู้ และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำ�วันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ในที่นี้ เน้นที่
ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่จำ�เป็น และต้องการพัฒนาให้เกิดขึ้นกับนักเรียน ได้แก่ความสามารถต่อไปนี้

1) การแก้ปัญหา เป็นความสามารถในการทำ�ความเข้าใจปัญหา คิดวิเคราะห์ วางแผนแก้ปัญหา และเลือกใช้


วิธีการที่เหมาะสม โดยคำ�นึงถึงความสมเหตุสมผลของคำ�ตอบพร้อมทั้งตรวจสอบความถูกต้อง
2) การสื่อสารและการสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ เป็นความสามารถในการใช้รูป ภาษาและสัญลักษณ์
ทางคณิตศาสตร์ในการสื่อสาร สื่อความหมาย สรุปผล และนำ�เสนอได้อย่างถูกต้อง ชัดเจน
3) การเชื่อมโยง เป็นความสามารถในการใช้ความรู้ทางคณิตศาสตร์เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้คณิตศาสตร์เนื้อหา
ต่าง ๆ หรือศาสตร์อื่น ๆ และนำ�ไปใช้ในชีวิตจริง
4) การให้เหตุผล เป็นความสามารถในการให้เหตุผล รับฟังและให้เหตุผลสนับสนุนหรือโต้แย้ง เพื่อนำ�ไปสู่การสรุป
โดยมีข้อเท็จจริงทางคณิตศาสตร์รองรับ
5) การคิดสร้างสรรค์ เป็นความสามารถในการขยายแนวคิดที่มีอยู่เดิม หรือสร้างแนวคิดใหม่เพื่อปรับปรุง พัฒนา
องค์ความรู้

2. คุณลักษณะอันพึงประสงค์ในการเรียนคณิตศาสตร์

การจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ควรมุ่งเน้นให้นักเรียนเกิดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ต่อไปนี้
1) ทำ�ความเข้าใจหรือสร้างกรณีทั่วไปโดยใช้ความรู้ที่ได้จากการศึกษากรณีตัวอย่างหลาย ๆ กรณี
2) มองเห็นว่าสามารถใช้คณิตศาสตร์แก้ปัญหาในชีวิตจริงได้
3) มีความมุมานะในการทำ�ความเข้าใจปัญหาและแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์
4) สร้างเหตุผลเพื่อสนับสนุนแนวคิดของตนเองหรือโต้แย้งแนวคิดของผู้อื่นอย่างสมเหตุสมผล
5) ค้นหาลักษณะที่เกิดขึ้นซ้ำ� ๆ และประยุกต์ใช้ลักษณะดังกล่าวเพื่อทำ�ความเข้าใจหรือแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ

3. การวัดผลประเมินผลการเรียนรู้คณิตศาสตร์

การวัดผลประเมินผลการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ในปัจจุบันนี้มุ่งเน้นการวัดและการประเมินการปฏิบัติงานในสภาพ
ที่เกิดขึ้นจริงหรือที่ใกล้เคียงกับสภาพจริง รวมทั้งการประเมินเกี่ยวกับสมรรถภาพของนักเรียนเพิ่มเติมจากความรู้ที่ได้จาก
การท่องจำ� โดยใช้วิธีการประเมินที่หลากหลายจากการที่นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง ได้เผชิญกับปัญหาจากสถานการณ์จริง
หรือสถานการณ์จำ�ลอง ได้แก้ปัญหา สืบค้นข้อมูล และนำ�ความรู้ไปใช้ รวมทั้งแสดงออกทางการคิด การวัดผลประเมินผล
ดังกล่าวมีจุดประสงค์สำ�คัญดังต่อไปนี้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  379
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

1) เพื่อตรวจสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและตัดสินผลการเรียนรู้ตามสาระการเรียนรู้ มาตรฐานการเรียนรู้ และตัวชี้วัด


เพื่อนำ�ผลที่ได้จากการตรวจสอบไปปรับปรุงพัฒนาให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดียิ่งขึ้น
2) เพื่อวินิจฉัยความรู้ทางคณิตศาสตร์และทักษะที่นักเรียนจำ�เป็นต้องใช้ในชีวิตประจำ�วัน เช่น ความสามารถในการ
แก้ปัญหา การสืบค้น การให้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อความหมาย การนำ�ความรู้ไปใช้ การคิดวิเคราะห์ การคิด
สร้างสรรค์ การควบคุมกระบวนการคิด และนำ�ผลที่ได้จากการวินิจฉัยนักเรียนไปใช้เป็นแนวทางในการจัดการ
เรียนรู้ที่เหมาะสม
3) เพื่อรวบรวมข้อมูลและจัดทำ�สารสนเทศด้านการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ข้อมูลจากการประเมินผลที่ได้ในการสรุปผล
การเรียนของนักเรียนและเป็นข้อมูลป้อนกลับแก่นักเรียนหรือผู้เกี่ยวข้องตามความเหมาะสม รวมทั้งนำ�สารสนเทศ
ไปใช้วางแผนบริหารการจัดการศึกษาของสถานศึกษา

การกำ�หนดจุดประสงค์ของการวัดผลประเมินผลอย่างชัดเจน จะช่วยให้เลือกใช้วิธีการและเครื่องมือวัดผลได้อย่าง
มีประสิทธิภาพ สามารถวัดได้ในสิ่งที่ต้องการวัดและนำ�ผลที่ได้ไปใช้งานได้จริง

แนวทางการวัดผลประเมินผลการเรียนรู้คณิตศาสตร์
การวัดผลประเมินผลการเรียนรู้คณิตศาสตร์มีแนวทางที่สำ�คัญดังนี้
1) การวัดผลประเมินผลต้องกระทำ�อย่างต่อเนื่อง โดยใช้คำ�ถามเพื่อตรวจสอบและส่งเสริมความรู้ความเข้าใจ
ด้านเนือ้ หา ส่งเสริมให้เกิดทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ดังตัวอย่างคำ�ถามต่อไปนี้ “นักเรียนแก้ปญ
ั หานีไ้ ด้
อย่างไร” “ใครมีวิธีการนอกเหนือไปจากนี้บ้าง” “นักเรียนคิดอย่างไรกับวิธีการที่เพื่อนเสนอ” การกระตุ้นด้วยคำ�ถาม
ที่เน้นการคิดจะทำ�ให้เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักเรียนด้วยกันเองและระหว่างนักเรียนกับครู นักเรียนมีโอกาสแสดง
ความคิดเห็น นอกจากนี้ครูยังสามารถใช้คำ�ตอบของนักเรียนเป็นข้อมูลเพื่อตรวจสอบความรู้ความเข้าใจ และ
พัฒนาการด้านทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนได้อีกด้วย
2) การวัดผลประเมินผลต้องสอดคล้องกับความรู้ความสามารถของนักเรียนที่ระบุไว้ตามตัวชี้วัดซึ่งกำ�หนดไว้ใน
หลักสูตรที่สถานศึกษาใช้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอน ทั้งนี้ครูจะต้องกำ�หนดวิธีการวัดผลประเมินผล
เพื่อใช้ตรวจสอบว่านักเรียนได้บรรลุผลการเรียนรู้ตามมาตรฐานที่กำ�หนดไว้ และต้องแจ้งตัวชี้วัดในแต่ละเรื่อง
ให้นักเรียนทราบโดยทางตรงหรือทางอ้อมเพื่อให้นักเรียนได้ปรับปรุงตนเอง
3) การวัดผลประเมินผลต้องครอบคลุมด้านความรู้ ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ และคุณลักษณะอันพึง
ประสงค์ โดยเน้นการเรียนรู้ด้วยการทำ�งานหรือทำ�กิจกรรมที่ส่งเสริมให้เกิดสมรรถภาพทั้งสามด้าน ซึ่งงานหรือ
กิจกรรมดังกล่าวควรมีลักษณะดังนี้

• สาระในงานหรือกิจกรรมต้องเน้นให้นักเรียนได้ใช้การเชื่อมโยงความรู้หลายเรื่อง
• วิธีหรือทางเลือกในการดำ�เนินงานหรือการแก้ปัญหามีหลากหลาย
• เงื่อนไขหรือสถานการณ์ของปัญหามีลักษณะปลายเปิด เพื่อให้นักเรียนได้มีโอกาสแสดงความสามารถ
ตามศักยภาพของตน

• งานหรือกิจกรรมต้องเอื้ออำ�นวยให้นักเรียนได้ใช้การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์และการนำ�เสนอ
ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การพูด การเขียน การวาดภาพ

• งานหรือกิจกรรมควรมีความใกล้เคียงกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง เพื่อช่วยให้นักเรียนได้เห็นการเชื่อมโยง
ระหว่างคณิตศาสตร์กับชีวิตจริง ซึ่งจะก่อให้เกิดความตระหนักในคุณค่าของคณิตศาสตร์

380  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

4) การวัดผลประเมินผลการเรียนรู้คณิตศาสตร์ต้องใช้วิธีการที่หลากหลายและเหมาะสม และใช้เครื่องมือที่มีคุณภาพ
เพื่อให้ได้ข้อมูลและสนเทศเกี่ยวกับนักเรียน เช่น เมื่อต้องการวัดผลประเมินผลเพื่อตัดสินผลการเรียนอาจใช้
การทดสอบ การตอบคำ�ถาม การทำ�แบบฝึกหัด การทำ�ใบกิจกรรม หรือการทดสอบย่อย เมื่อต้องการตรวจสอบ
พัฒนาการการเรียนรู้ของนักเรียนด้านทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ อาจใช้การสังเกตพฤติกรรมการเรียน
รู้ การสัมภาษณ์ การจัดทำ�แฟ้มสะสมงาน หรือการทำ�โครงงาน การเลือกใช้วิธีการวัดที่เหมาะสมและเครื่องมือที่มี
คุณภาพ จะทำ�ให้สามารถวัดในสิ่งที่ต้องการวัดได้ ซึ่งจะทำ�ให้ครูได้ข้อมูลและสนเทศเกี่ยวกับนักเรียนอย่างครบถ้วน
และตรงตามวัตถุประสงค์ของการวัดผลประเมินผล อย่างไรก็ตาม ครูควรตระหนักว่าเครื่องมือวัดผลประเมินผลการ
เรียนรู้ที่ใช้ในการประเมินตามวัตถุประสงค์หนึ่ง ไม่ควรนำ�มาใช้กับอีกวัตถุประสงค์หนึ่ง เช่น แบบทดสอบที่ใช้ในการ
แข่งขันหรือการคัดเลือกไม่เหมาะสมที่จะนำ�มาใช้ตัดสินผลการเรียนรู้
5) การวัดผลประเมินผลเป็นกระบวนการที่ใช้สะท้อนความรู้ความสามารถของนักเรียน ช่วยให้นักเรียนมีข้อมูลใน
การปรับปรุงและพัฒนาความรู้ความสามารถของตนเองให้ดีขึ้น ในขณะที่ครูสามารถนำ�ผลการประเมินมาใช้ใน
การวางแผนการจัดการเรียนรู้เพื่อปรับปรุงกระบวนการเรียนรู้ของนักเรียน รวมทั้งปรับปรุงการสอนของครูให้มี
ประสิทธิภาพ จึงต้องวัดผลประเมินผลอย่างสม่ำ�เสมอและนำ�ผลที่ได้มาใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอน ซึ่งอาจ
แบ่งการประเมินผลเป็น 3 ระยะดังนี้
ประเมินก่อนเรียน เป็นการประเมินความรู้พื้นฐานและทักษะจำ�เป็นที่นักเรียนควรมีก่อนการเรียนรายวิชา บทเรียน
หรือหน่วยการเรียนใหม่ ข้อมูลที่ได้จากการวัดผลประเมินผลจะช่วยให้ครูนำ�ไปใช้ประโยชน์ในการจัดการเรียนรู้ดังนี้
• จัดกลุ่มนักเรียนและจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้ตรงตามความถนัด ความสนใจ และความสามารถของนักเรียน
• วางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยครูพิจารณาเลือกตัวชี้วัด เนื้อหาสาระ กิจกรรม แบบฝึกหัด อุปกรณ์
และสื่อการเรียนรู้ต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับความรู้พื้นฐานและทักษะของนักเรียน และสอดคล้องกับการเรียนรู้
ที่กำ�หนดไว้

ประเมินระหว่างเรียน เป็นการประเมินเพื่อวินิจฉัยนักเรียนในระหว่างการเรียน ข้อมูลที่ได้จะช่วยให้ครูสามารถ


ดำ�เนินการในเรื่องต่อไปนี้

• ศึกษาพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนเป็นระยะ ๆ ว่านักเรียนมีพัฒนาการเพิ่มขึ้นเพียงใด ถ้าพบว่านักเรียนไม่มี


พัฒนาการเพิ่มขึ้นครูจะได้หาทางแก้ไขได้ทันท่วงที
• ปรับปรุงกระบวนการเรียนรู้ของนักเรียน ถ้าพบว่านักเรียนไม่เข้าใจบทเรียนใดจะได้จัดให้เรียนซ้ำ� หรือนักเรียน
เรียนรู้บทใด ได้เร็วกว่าที่กำ�หนดไว้จะได้ปรับวิธีการเรียนการสอน นอกจากนี้ยังช่วยให้ทราบจุดเด่นและจุดด้อย
ของนักเรียนแต่ละคน

ประเมินหลังเรียน เป็นการประเมินเพื่อนำ�ผลที่ได้ไปใช้สรุปผลการเรียนรู้หรือเป็นการวัดผลประเมินผลแบบสรุปรวบยอด
หลังจากสิ้นสุดภาคการศึกษาหรือปีการศึกษาของนักเรียน รวมทั้งครูสามารถนำ�ผลการประเมินที่ได้ไปใช้ในการวางแผนและ
พัฒนาการจัดการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

4. การจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21

ในศตวรรษที่ 21 (1 มกราคม ค.ศ. 2001 ถึง 31 ธันวาคม ค.ศ. 2100) โลกมีการเปลี่ยนแปลงในทุก ๆ ด้านไม่ว่าจะ
เป็นด้านเศรษฐกิจ สังคม วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ส่งผลให้จำ�เป็นต้องมีการเตรียมนักเรียนให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง
ของโลก ครูจึงต้องมีความตื่นตัวและเตรียมพร้อมในการจัดการเรียนรู้ให้นักเรียนมีความรู้ ในวิชาหลัก (Core Subjects)
มีทักษะการเรียนรู้ (Learning Skills) และพัฒนานักเรียนให้มีทักษะที่จำ�เป็นในศตวรรษที่ 21 ไม่ว่าจะเป็นทักษะการใช้
เทคโนโลยีสารสนเทศ ทักษะการคิดและการแก้ปัญหา ทักษะการสื่อสาร และทักษะชีวิตทั้งนี้เครือข่าย P21 (Partnership
for 21st Century Skill) ได้จำ�แนกทักษะที่จำ�เป็นในศตวรรษที่ 21 ออกเป็น 3 หมวด ได้แก่

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  381
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

1) ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม (Learning and Innovation Skills) ได้แก่ การคิดสร้างสรรค์ (Creativity)


การคิดแบบมีวจิ ารณญาณ/การแก้ปญ ั หา (Critical Thinking/Problem-Solving) การสือ่ สาร (Communication)
และ การร่วมมือ (Collaboration)
2) ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี (Information, Media, and Technology Skills) ได้แก่
การรู้เท่าทันสารสนเทศ (Information Literacy) การรู้เท่าทันสื่อ (Media Literacy) การรู้ทันเทคโนโลยีและ
การสื่อสาร (Information, Communication, and Technology Literacy)
3) ทักษะชีวิตและอาชีพ (Life and Career Skills) ได้แก่ ความยืดหยุ่นและความสามารถในการปรับตัว (Flexibility
and Adaptability) มีความคิดริเริ่มและกำ�กับดูแลตัวเองได้ (Initiative and Self-direction) ทักษะสังคมและ
เข้าใจในความต่างระหว่างวัฒนธรรม (Social and Cross-cultural Skills) การเป็นผู้สร้างผลงานหรือผู้ผลิตและ
มีความรับผิดชอบเชื่อถือได้ (Productivity and Accountability) และมีภาวะผู้นำ�และความรับผิดชอบ (Leadership
and Responsibility)
ดังนั้น การจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 ต้องมีการเปลี่ยนแปลงให้เข้ากับสภาพแวดล้อม บริบททางสังคม
และเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป ครูต้องออกแบบการเรียนรู้ที่เน้นนักเรียนเป็นสำ�คัญ โดยให้นักเรียนได้เรียนจากสถานการณ์
ในชีวิตจริงและเป็นผู้สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง โดยมีครูเป็นผู้จุดประกายความสนใจใฝ่รู้ อํานวยความสะดวก และสร้าง
บรรยากาศให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน

5. การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ในระดับประถมศึกษา

การแก้ปญ
ั หาทางคณิตศาสตร์เป็นกระบวนการทีม ่ งุ่ เน้นให้ผเู้ รียนใช้ความรูท
้ ห
ี่ ลากหลายและยุทธวิธี ทีเ่ หมาะสมในการหา
คำ�ตอบของปัญหา ผู้เรียนต้องได้รับการพัฒนากระบวนการแก้ปัญหาอย่างต่อเนื่อง สามารถแก้ปัญหาได้เหมาะสมกับสถานการณ์ต่างๆ
กระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ที่ได้รับการยอมรับกันอย่างแพร่หลาย คือ กระบวนการแก้ปัญหาตามแนวคิด
ของโพลยา (Polya) ซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนสำ�คัญ 4 ขั้น ดังนี้
ขั้นที่ 1 ทำ�ความเข้าใจปัญหา
ขั้นที่ 2 วางแผนแก้ปัญหา
ขั้นที่ 3 ดำ�เนินการตามแผน
ขั้นที่ 4 ตรวจสอบ
ขั้นที่ 1 ทำ�ความเข้าใจปัญหา ขั้นตอนนี้เป็นการพิจารณาว่าสถานการณ์ที่กำ�หนดให้เป็นปัญหาเกี่ยวกับอะไร ต้องการ
ให้หาอะไร กำ�หนดอะไรให้บ้าง เกี่ยวข้องกับความรู้ใดบ้าง การทำ�ความเข้าใจปัญหา อาจใช้วิธีการต่าง ๆ ช่วย เช่น การวาดภาพ
การเขียนตาราง การบอกหรือเขียนสถานการณ์ปัญหาด้วยภาษาของตนเอง
ขั้นที่ 2 วางแผนแก้ปัญหา ขั้นตอนนี้เป็นการพิจารณาว่าจะแก้ปัญหาด้วยวิธีใด จะแก้อย่างไร รวมถึงพิจารณา
ความสัมพันธ์ของสิง่ ต่างๆ ในปัญหา ผสมผสานกับประสบการณ์การแก้ปญ ั หาทีผ
่ เู้ รียนมีอยู่ เพือ
่ กำ�หนดแนวทางในการแก้ปญ
ั หา
และเลือกยุทธวิธีแก้ปัญหา

ขั้นที่ 3 ดำ�เนินการตามแผน ขั้นตอนนี้เป็นการลงมือปฏิบัติตามแผนหรือแนวทางที่วางไว้ จนสามารถหาคำ�ตอบได้


ถ้าแผนหรือยุทธวิธีที่เลือกไว้ไม่สามารถหาคำ�ตอบได้ ผู้เรียนต้องตรวจสอบความถูกต้องของแต่ละขั้นตอนในแผนที่วางไว้ หรือ
เลือกยุทธวิธีใหม่จนกว่าจะได้คำ�ตอบ

ขั้นที่ 4 ตรวจสอบ ขั้นตอนนี้เป็นการพิจารณาความถูกต้องและความสมเหตุสมผลของคำ�ตอบ ผู้เรียนอาจมองย้อนกลับ


ไปพิจารณายุทธวิธีอื่น ๆ ในการหาคำ�ตอบ และขยายแนวคิดไปใช้กับสถานการณ์ปัญหาอื่น

382  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

6. ยุทธวิธีการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์

ยุทธวิธีการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้เรียนประสบความสำ�เร็จในการแก้ปัญหา ผู้สอนต้องจัด
ประสบการณ์การแก้ปัญหาที่หลากหลายและเพียงพอให้กับผู้เรียน โดยยุทธวิธีที่เลือกใช้ในการแก้ปัญหาต่าง ๆ นั้น จะต้อง
มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับพัฒนาการของผู้เรียน ยุทธวิธีการแก้ปัญหาที่ผู้เรียนในระดับประถมศึกษาควรได้รับการ
พัฒนาและฝึกฝน เช่น การวาดภาพ การหาแบบรูป การคิดย้อนกลับ การเดาและตรวจสอบ การทำ�ปัญหาให้ง่ายหรือแบ่ง
เป็นปัญหาย่อย การแจกแจงรายการหรือสร้างตาราง การตัดออก และ การเปลี่ยนมุมมอง

1) การวาดภาพ (Draw a Picture)

การวาดภาพ เป็นการอธิบายสถานการณ์ปัญหาด้วยการวาดภาพจำ�ลอง หรือเขียนแผนภาพ เพื่อทำ�ให้เข้าใจปัญหา


ได้ง่ายขึ้น และเห็นแนวทางการแก้ปัญหานั้น ๆ ในบางครั้งอาจได้คำ�ตอบจากการวาดภาพนั้น

ตัวอย่าง
2
โต้งมีเงินอยูจ่ �ำ นวนหนึง่ วันเสาร์ใช้ไป 300 บาท และวันอาทิตย์ใช้ไป ของเงินทีเ่ หลือ ทำ�ให้เงินทีเ่ หลือ คิดเป็นครึง่ หนึง่
5
ของเงินที่มีอยู่เดิม จงหาว่าเดิมโต้งมีเงินอยู่กี่บาท

แนวคิด

แสดงว่า เงิน 1 ส่วน เท่ากับ 300 บาท

เงิน 6 ส่วน เท่ากับ 6 × 300 = 1,800 บาท

ดังนั้น เดิมโต้งมีเงินอยู่ 1,800 บาท

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  383
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

2) การหาแบบรูป (Find a Pattern)

การหาแบบรูป เป็นการวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหา โดยค้นหาความสัมพันธ์ของข้อมูลที่เป็นระบบ หรือที่เป็นแบบรูป


แล้วนำ�ความสัมพันธ์หรือแบบรูปที่ได้นั้นไปใช้ในการหาคำ�ตอบของสถานการณ์ปัญหา

ตัวอย่าง ในงานเลี้ยงแห่งหนึ่งเจ้าภาพจัด และ ตามแบบรูปดังนี้

ถ้าจัดโต๊ะและเก้าอี้ตามแบบรูปนี้จนมีโต๊ะ 10 ตัว จะต้องใช้เก้าอี้ทั้งหมดกี่ตัว

แนวคิด
1) เลือกยุทธวิธีที่จะนำ�มาใช้แก้ปัญหา ได้แก่ วิธีการหาแบบรูป
2) พิจารณารูปที่ 1 รูปที่ 2 รูปที่ 3 แล้วเขียนจำ�นวนโต๊ะและจำ�นวนเก้าอี้ของแต่ละรูป

โต๊ะ 1 ตัว เก้าอี้ที่อยู่ด้านหัวกับด้านท้าย 2 ตัว เก้าอี้ด้านข้าง 2 ตัว

โต๊ะ 2 ตัว เก้าอี้ที่อยู่ด้านหัวกับด้านท้าย 2 ตัว เก้าอี้ด้านข้าง 2+2 ตัว

โต๊ะ 3 ตัว เก้าอี้ที่อยู่ด้านหัวกับด้านท้าย 2 ตัว เก้าอี้ด้านข้าง 2+2+2 ตัว

โต๊ะ 4 ตัว เก้าอี้ที่อยู่ด้านหัวกับด้านท้าย 2 ตัว เก้าอี้ด้านข้าง 2+2+2+2 ตัว

3) พิจารณาหาแบบรูปจำ�นวนเก้าอี้ที่เปลี่ยนแปลงเทียบกับจำ�นวนโต๊ะ พบว่า จำ�นวนเก้าอี้ซึ่งวางอยู่ที่ด้านหัว


กับด้านท้ายคงตัวไม่เปลี่ยนแปลง แต่เก้าอี้ด้านข้างมีจำ�นวนเท่ากับ จำ�นวนโต๊ะคูณด้วย 2
4) ดังนั้นเมื่อจัดโต๊ะและเก้าอี้ตามแบบรูปนี้ไปจนมีโต๊ะ 10 ตัว จะต้องใช้เก้าอี้ทั้งหมดเท่ากับ จำ�นวนโต๊ะคูณด้วย 2
แล้วบวกกับจำ�นวนเก้าอี้หัวกับท้าย 2 ตัว ได้คำ�ตอบ 22 ตัว

384  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

3) การคิดย้อนกลับ (Work Backwards)

การคิดย้อนกลับ เป็นการวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาที่ทราบผลลัพธ์ แต่ไม่ทราบข้อมูลในขั้นเริ่มต้น การคิดย้อนกลับ


เริ่มคิดจากข้อมูลที่ได้ในขั้นสุดท้าย แล้วคิดย้อนกลับทีละขั้นมาสู่ข้อมูลในขั้นเริ่มต้น

ตัวอย่าง

เพชรมีเงินจำ�นวนหนึ่ง ให้น้องชายไป 35 บาท ให้น้องสาวไป 15 บาท ได้รับเงินจากแม่อีก 20 บาท ทำ�ให้ขณะนี้เพชร


มีเงิน 112 บาท เดิมเพชรมีเงินกี่บาท

แนวคิด

จากสถานการณ์เขียนแผนภาพได้ ดังนี้ตัวอย่าง
เงินที่มีอยู่เดิม เงินที่มีขณะนี้
- - +
112
35 15 20
ให้น้องชาย ให้น้องสาว แม่ให้

คิดย้อนกลับจากจำ�นวนเงินที่เพชรมีขณะนี้ เพื่อหาจำ�นวนเงินเดิมที่เพชรมี

เงินที่มีอยู่เดิม เงินที่มีขณะนี้
+ + -
142 107 92 112
35 15 20

ให้น้องชาย ให้น้องสาว แม่ให้

ดังนั้น เดิมเพชรมีเงิน 142 บาท

4) การเดาและตรวจสอบ (Guess and Check)

การเดาและตรวจสอบ เป็นการวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาและเงื่อนไขต่าง ๆ ผสมผสานกับความรู้ และประสบการณ์


เดิมเพื่อเดาคำ�ตอบที่น่าจะเป็นไปได้ แล้วตรวจสอบความถูกต้อง ถ้าไม่ถูกต้องให้เดาใหม่โดยใช้ข้อมูลจากการเดาครั้งก่อนเป็น
กรอบในการเดาคำ�ตอบครั้งต่อไปจนกว่าจะได้คำ�ตอบที่ถูกต้องและสมเหตุสมผล

ตัวอย่าง

จำ�นวน 2 จำ�นวน ถ้านำ�จำ�นวนทั้งสองนั้นบวกกันจะได้ 136 แต่ถ้านำ�จำ�นวนมากลบด้วยจำ�นวนน้อยจะได้ 36


จงหาจำ�นวนสองจำ�นวนนั้น

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  385
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

แนวคิด เดาว่าจำ�นวน 2 จำ�นวนนั้นคือ 100 กับ 36 (ซึ่งมีผลบวก เป็น 136)

ตรวจสอบ 100 + 36 = 136 เป็นจริง

แต่ 100 – 36 = 64 ไม่สอดคล้องกับเงื่อนไข

เนื่องจากผลลบมากกว่า 36 จึงควรลดตัวตั้ง และเพิ่มตัวลบด้วยจำ�นวนที่เท่ากัน

จึงเดาว่าจำ�นวน 2 จำ�นวนนั้นคือ 90 กับ 46 (ซึ่งมีผลบวกเป็น 136 )

ตรวจสอบ 90 + 46 = 136 เป็นจริง

แต่ 90 – 46 = 44 ไม่สอดคล้องกับเงื่อนไข

เนื่องจากผลลบมากกว่า 36 จึงควรลดตัวตั้ง และเพิ่มตัวลบด้วยจำ�นวนที่เท่ากัน

จึงเดาว่าจำ�นวน 2 จำ�นวนนั้นคือ 80 กับ 56 (ซึ่งผลบวกเป็น 136 )

ตรวจสอบ 80 + 56 = 136 เป็นจริง

แต่ 80 – 56 = 24 ไม่สอดคล้องกับเงื่อนไข

เนื่องจากผลลบน้อยกว่า 36 จึงควรเพิ่มตัวตั้ง และลดตัวลบด้วยจำ�นวนที่เท่ากัน โดยที่ ตัวตั้งควรอยู่ระหว่าง 80 และ 90

เดาว่าจำ�นวน 2 จำ�นวน คือ 85 กับ 51

ตรวจสอบ 85 + 51 = 136 เป็นจริง

แต่ 85 – 51 = 34 ไม่สอดคล้องกับเงื่อนไข

เนื่องจากผลลบน้อยกว่า 36 เล็กน้อย จึงควรเพิ่มตัวตั้ง และลดตัวลบด้วยจำ�นวนที่เท่ากัน เดาว่าจำ�นวน 2 จำ�นวน คือ


86 กับ 50

ตรวจสอบ 86 + 50 = 136 เป็นจริง

และ 86 – 50 = 36 เป็นจริง

ดังนั้น จำ�นวน 2 จำ�นวนนั้น คือ 86 กับ 50

386  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

5) การทำ�ปัญหาให้ง่าย (Simplify the problem)

การทำ�ปัญหาให้ง่าย เป็นการลดจำ�นวนที่เกี่ยวข้องในสถานการณ์ปัญหา หรือเปลี่ยนให้อยู่ในรูปที่คุ้นเคย ในกรณี


ที่สถานการณ์ปัญหามีความซับซ้อนอาจแบ่งปัญหาเป็นส่วนย่อย ๆ ซึ่งจะช่วยให้หาคำ�ตอบของสถานการณ์ปัญหาได้ง่ายขึ้น

ตัวอย่าง
จงหาพื้นที่รูปสามเหลี่ยมที่แรเงาในรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า

แนวคิด
ถ้าคิดโดยการหาพื้นที่รูปสามเหลี่ยมจากสูตร 1 × ความสูง × ความยาวของฐาน ซึ่งพบว่ามีความยุ่งยาก
2
มากแต่ถ้าเปลี่ยนมุมมองจะสามารถแก้ปัญหาได้ง่ายกว่า ดังนี้
วิธีที่ 1 จากรูป เราสามารถหาพื้นที่ A + B + C + D แล้วลบออกจากพื้นที่ทั้งหมดก็จะได้พื้นที่ของรูปสามเหลี่ยมที่ต้องการได้

พื้นที่รูปสามเหลี่ยม A เท่ากับ (16 × 10) ÷ 2 = 80 ตารางเซนติเมตร


พื้นที่รูปสามเหลี่ยม B เท่ากับ (10 × 3) ÷ 2 = 15 ตารางเซนติเมตร
พื้นที่รูปสี่เหลี่ยม C เท่ากับ 6 × 3 = 18 ตารางเซนติเมตร
พื้นที่รูปสามเหลี่ยม D เท่ากับ (6 × 7) ÷ 2 = 21 ตารางเซนติเมตร
จะได้พื้นที่ A + B + C + D เท่ากับ 80 + 15 + 18 + 21 = 134 ตารางเซนติเมตร
ดังนั้น พื้นที่รูปสามเหลี่ยมที่ต้องการเท่ากับ (16 × 10) – 134 = 26 ตารางเซนติเมตร

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  387
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

วิธีที่ 2 จากรูปสามารถหาพื้นที่ของรูปสามเหลี่ยมที่ต้องการได้ดังนี้

พื้นที่รูปสามเหลี่ยม AEG เท่ากับ (16 × 10) ÷ 2 = 80 ตารางเซนติเมตร


จากรูปจะได้ว่า พื้นที่รูปสามเหลี่ยม AEG เท่ากับพื้นที่รูปสามเหลี่ยม ACE
ดังนั้น พื้นที่รูปสามเหลี่ยม ACE เท่ากับ 80 ตารางเซนติเมตร
พื้นที่รูปสามเหลี่ยม ABH เท่ากับ (10 × 3) ÷ 2 = 15 ตารางเซนติเมตร
พื้นที่รูปสามเหลี่ยม HDE เท่ากับ (6 × 7) ÷ 2 = 21 ตารางเซนติเมตร
และพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยม BCDH เท่ากับ 3 × 6 = 18 ตารางเซนติเมตร
ดังนั้น พื้นที่รูปสามเหลี่ยม AHE เท่ากับ 80 – (15 + 21 + 18) = 26 ตารางเซนติเมตร

6) การแจกแจงรายการ (Make a list)

การแจกแจงรายการ เป็นการเขียนรายการหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจากสถานการณ์ปัญหาต่าง ๆ การแจกแจงรายการ


ควรทำ�อย่างเป็นระบบ โดยอาจใช้ตารางช่วยในการแจกแจงหรือจัดระบบของข้อมูลเพือ ่ แสดงความสัมพันธ์ระหว่างชุดของข้อมูล
ที่นำ�ไปสู่การหาคำ�ตอบ

ตัวอย่าง

นักเรียนกลุ่มหนึ่งต้องการซื้อไม้บรรทัดอันละ 8 บาท และดินสอแท่งละ 4 บาท เป็นเงิน 100 บาท ถ้าต้องการไม้บรรทัด


อย่างน้อย 5 อัน และ ดินสออย่างน้อย 4 แท่ง จะซื้อไม้บรรทัดและดินสอได้กี่วิธี

แนวคิด เขียนแจกแจงรายการแสดงความสัมพันธ์ระหว่างจำ�นวนและราคาไม้บรรทัดกับดินสอ ดังนี้


ถ้าซื้อไม้บรรทัด 5 อัน ราคาอันละ 8 บาท เป็นเงิน 5 × 8 = 40 บาท
เหลือเงินอีก 100 – 40 = 60 บาท จะซื้อดินสอราคาแท่งละ 4 บาท ได้ 60 ÷ 4 = 15 แท่ง
ถ้าซื้อไม้บรรทัด 6 อัน ราคาอันละ 8 บาท เป็นเงิน 6 × 8 = 48 บาท
เหลือเงินอีก 100 – 48 = 52 บาท จะซื้อดินสอราคาแท่งละ 4 บาท ได้ 52 ÷ 4 = 13 แท่ง
สังเกตได้ว่า เมื่อซื้อไม้บรรทัดเพิ่มขึ้น 1 อัน จำ�นวนดินสอจะลดลง 2 แท่ง

388  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

เขียนแจกแจงในรูปตาราง ได้ดังนี้

ไม้บรรทัด เหลือเงิน ดินสอ


(บาท)
จำ�นวน (อัน) ราคา (บาท) จำ�นวน (แท่ง)

5 5 × 8 = 40 100 – 40 = 60 60 ÷ 4 = 15
6 6 × 8 = 48 100 – 48 = 52 52 ÷ 4 = 13
7 7 × 8 = 56 100 – 56 = 44 44 ÷ 4 = 11
8 8 × 8 = 64 100 – 64 = 36 36 ÷ 4 = 9
9 9 × 8 = 72 100 – 72 = 28 28 ÷ 4 = 7
10 10 × 8 = 80 100 – 80 = 20 20 ÷ 4 = 5

ดังนั้น จะซื้อไม้บรรทัดและดินสอให้เป็นไปตามเงื่อนไขได้ 6 วิธี

7) การตัดออก (Eliminate)
การตัดออก เป็นการพิจารณาเงื่อนไขของสถานการณ์ปัญหา แล้วตัดสิ่งที่กำ�หนดให้ในสถานการณ์ปัญหาที่ไม่
สอดคล้องกับเงื่อนไข จนได้คำ�ตอบที่ตรงกับเงื่อนไขของสถานการณ์ปัญหานั้น

ตัวอย่าง

จงหาจำ�นวนที่หารด้วย 5 และ 6 ได้ลงตัว


4,356 9,084 5,471 9,346 4,782 7,623
2,420 3,474 1,267 12,678 2,094 6,540
4,350 4,140 5,330 3,215 4,456 9,989

แนวคิด พิจารณาจำ�นวนที่หารด้วย 5 ได้ลงตัว จึงตัดจำ�นวนที่มีหลักหน่วยไม่เป็น 5 หรือ 0 ออก

จำ�นวนที่เหลือได้แก่ 2,420 6,540 4,350 4,140 5,330 และ 3,215


จากนั้นพิจารณาจำ�นวนที่หารด้วย 6 ได้ลงตัว ได้แก่ 6,540 4,350 4,140
ดังนั้น จำ�นวนที่หารด้วย 5 และ 6 ได้ลงตัว ได้แก่ 6,540 4,350 4,140

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  389
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

8) การเปลี่ยนมุมมอง (Changing the problem views)


การเปลี่ยนมุมมองเป็นการแก้สถานการณ์ปัญหาที่มีความซับซ้อน ไม่สามารถใช้วิธียุทธวิธีอื่นในการหาคำ�ตอบได้
จึงต้องเปลี่ยนวิธีคิด หรือแนวทางการแก้ปัญหาให้แตกต่างไปจากที่คุ้นเคยเพื่อให้แก้ปัญหาได้ง่ายขึ้น

ตัวอย่าง

จากรูป เมื่อแบ่งเส้นผ่านศูนย์กลางของวงกลมออกเป็น 3 ส่วนเท่า ๆ กัน จงหาพื้นที่ส่วนที่แรเงา

แนวคิด พลิกครึ่งวงกลมส่วนล่างจะได้พื้นที่ส่วนที่ไม่แรเงาเป็นวงกลมรูปที่ 1 ส่วนที่แรเงาเป็นวงกลมรูปที่ 2 ดังรูป

พื้นที่ส่วนที่แรเงา เท่ากับ พื้นที่วงกลมที่ 2 ลบด้วยพื้นที่กลมที่ 1

จะได้ ตารางหน่วย

จากยุทธวิธีข้างต้นเป็นยุทธวิธีพื้นฐานสำ�หรับผู้เรียนชั้นประถมศึกษา ผู้สอนจำ�เป็นต้องสดแทรกยุทธวิธีการแก้ปัญหา
ที่เหมาะสมกับพัฒนาการของผู้เรียน อาทิเช่น ผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 2 ผู้สอนอาจเน้นให้ผู้เรียนใช้การวาดรูป หรือการ
แจกแจงรายการช่วยในการแก้ปัญหา ผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 – 6 ผู้สอนอาจให้ผู้เรียนใช้การแจกแจงรายการ การวาดรูป
การหาแบบรูป การเดาและตรวจสอบ การคิดย้อนกลับ การตัดออก หรือการเปลี่ยนมุมมอง

ปัญหาทางคณิตศาสตร์บางปัญหานั้นอาจมียุทธวิธีที่ใช้แก้ปัญหานั้นได้หลายวิธี ผู้เรียนควรเลือกใช้ยุทธวิธีให้เหมาะสม
กับสถานการณ์ปัญหา ในบางปัญหาผู้เรียนอาจใช้ยุทธวิธีมากกว่า 1 ยุทธวิธีเพื่อแก้ปัญหานั้น

390  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

7. การใช้เทคโนโลยีในการสอนคณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษา
ในศตวรรษที่ 21 ความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำ�ให้การติดต่อ
สื่อสาร และเผยแพร่ข้อมูลผ่านทางช่องทางต่าง ๆ สามารถทำ�ได้อย่างสะดวก ง่ายและรวดเร็ว โดยใช้สื่ออุปกรณ์ที่ทันสมัย
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ก็เช่นกัน ต้องมีการปรับปรุงและปรับตัวให้เข้ากับบริบททางสังคมและเทคโนโลยี
ที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งจำ�เป็นต้องอาศัยสื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ มาประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้น่าสนใจ
สามารถนำ�เสนอเนื้อหาได้อย่างถูกต้อง ชัดเจน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้และช่วยลดภาระงานบางอย่างทั้ง
ผู้เรียนและผู้สอนได้ เช่น การใช้เครือข่ายสังคม (Social network : Line, Facebook, Twitter) ในการสั่งการบ้าน
ติดตามภาระงานที่มอบหมายหรือใช้ติดต่อสื่อสารกันระหว่างผู้เรียน ผู้สอน และผู้ปกครองได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ทุกที่ทุกเวลา
ทั้งนี้ผู้สอนและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาควรบูรณาการและประยุกต์ใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดกิจกรรม
การเรียนรู้ เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ มีความสามารถในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ
และหลากหลาย ตลอดจนพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ

สถานศึกษามีบทบาทอย่างยิ่งในการจัดสิ่งอำ�นวยความสะดวก ตลอดจนส่งเสริมให้ผู้สอนและผู้เรียนได้มีโอกาส
ในการใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศในการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ให้มากที่สุด เพื่อจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำ�นวยต่อ
การใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศให้มากที่สุดสถานศึกษาควรดำ�เนินการ ดังนี้

1) จัดให้มีห้องปฏิบัติการทางคณิตศาสตร์ที่มีสื่อ อุปกรณ์ เทคโนโลยีต่าง ๆ เช่น ระบบอินเทอร์เน็ต คอมพิวเตอร์


โปรเจคเตอร์ ให้เพียงพอกับจำ�นวนผู้เรียน
2) จัดเตรียมสื่อ เครื่องมือประกอบการสอนในห้องเรียนเพื่อให้ผู้สอนได้ใช้ในการนำ�เสนอเนื้อหาในบทเรียน เช่น
คอมพิวเตอร์ โปรเจคเตอร์ เครื่องฉายทึบแสง เครื่องขยายเสียง เป็นต้น
3) จัดเตรียมระบบสื่อสารแบบไร้สายที่ปลอดภัยโดยไม่มีค่าใช้จ่าย (secured-free WIFI) ให้เพียงพอ กระจายทั่วถึง
ครอบคลุมพื้นที่ในโรงเรียน
4) ส่งเสริมให้ผู้สอนนำ�สื่อเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ รวมทั้งสนับสนุนให้ผู้สอนเข้ารับการอบรม
อย่างต่อเนื่อง
5) ส่งเสริมให้ผู้เรียนและผู้ปกครองได้ตรวจสอบ ติดตามผลการเรียน การเข้าชั้นเรียนผ่านระบบอินเทอร์เน็ต เช่น
ผู้ปกครองสามารถเข้าเว็บมาดูกล้องวีดิโอวงจรปิด (CCTV) การเรียนการสอนของห้องเรียนที่บุตรของตนเองเรียน
อยู่ได้

ผู้สอนในฐานะที่เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้เรียน จำ�เป็นต้องศึกษาและนำ�สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้
ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้สอดคล้อง เหมาะสม กับสภาพแวดล้อม และความพร้อมของโรงเรียน ผู้สอนควรมีบทบาท
ดังนี้
1) ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับสื่อ เทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อนำ�มาประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
2) จัดหาสื่อ อุปกรณ์ โปรแกรม แอปพลิเคชันต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์ที่เหมาะสมเพื่อนำ�เสนอเนื้อหาให้ผู้เรียนสนใจ
และเข้าใจมากยิ่งขึ้น
3) ใช้สื่อ เทคโนโลยีประกอบการสอน เช่น ใช้โปรแกรม Power point ในการนำ�เสนอเนื้อหาใช้ Line และ Facebook
ในการติดต่อสื่อสารกับผู้เรียนและผู้ปกครอง
4) ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ใช้สื่อ เทคโนโลยีมาใช้ในการเรียน เช่น เครื่องคิดเลข โปรแกรม The Geometer’s Sketchpad
(GSP), GeoGebra เป็นต้น
5) ปลูกจิตสำ�นึกให้ผู้เรียนรู้จักใช้สื่อเทคโนโลยีอย่างถูกต้อง เหมาะสมกับเวลาและสถานที่ การใช้งานอย่างประหยัด
เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  391
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

เพื่อส่งเสริมการนำ�สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในระดับชั้นประถมศึกษา
เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ มีทักษะ บรรลุผลตามจุดประสงค์ของหลักสูตร และสามารถนำ�ความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ทั้งในการ
เรียนและใช้ในชีวิตจริง ผู้สอนควรจัดหาและศึกษาเกี่ยวกับสื่อ อุปกรณ์และเครื่องมือที่ควรมีไว้ใช้ในห้องเรียน เพื่อนำ�เสนอ
บทเรียนให้น่าสนใจ สร้างเสริมความเข้าใจของผู้เรียนทำ�ให้การสอนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

8. สถิติในระดับประถมศึกษา

ในปัจจุบัน เรามักได้ยินหรือได้เห็นคำ�ว่า “สถิติ” อยู่บ่อยครั้ง ทั้งจากโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ หรืออินเทอร์เน็ต


ซึ่งมักจะมีข้อมูลหรือตัวเลขเกี่ยวข้องอยู่ด้วยเสมอ เช่น สถิติจำ�นวนนักเรียนในโรงเรียน สถิติการมาโรงเรียนของนักเรียน
สถิติการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนในช่วงเทศกาลต่างๆ สถิติการเกิดการตาย สถิติผู้ป่วยโรคเอดส์ เป็นต้น จนทำ�ให้หลายคน
เข้าใจว่าสถิติคือข้อมูลหรือตัวเลข แต่ในความเป็นจริง สถิติยังรวมไปถึงวิธีการที่ว่าด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูล การนำ�เสนอ
ข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการตีความหมายข้อมูลด้วย ซึ่งผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสถิติจะสามารถนำ�สถิติไป
ช่วยในการตัดสินใจ การวางแผนดำ�เนินงาน และการแก้ปัญหาในด้านต่าง ๆ ทั้งด้านการดำ�เนินชีวิต ธุรกิจ ตลอดจนถึง
การพัฒนาประเทศ เช่น ถ้ารัฐบาลต้องการเพิ่มรายได้ของประชากร จะต้องวางแผนโดยอาศัยข้อมูลสถิติประชากร สถิติการ
ศึกษา สถิติแรงงาน สถิติการเกษตร และสถิติอุตสาหกรรม เป็นต้น

ดังนั้นสถิติจึงเป็นเรื่องสำ�คัญและมีความจำ�เป็นที่ต้องจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนเกิดความรู้ความเข้าใจ และ
สามารถนำ�สถิติไปใช้ในชีวิตจริงได้ ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560)
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ระดับประถมศึกษา จึงจัดให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลและการ
นำ�เสนอข้อมูล ซึ่งเป็นความรู้พื้นฐานสำ�หรับการเรียนสถิติในระดับที่สูงขึ้น โดยในการเรียนการสอนควรเน้นให้ผู้เรียนใช้
ข้อมูลประกอบการตัดสินใจและแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสมด้วย

การเก็บรวบรวมข้อมูล (Collecting Data)

ในการศึกษาหรือตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ จำ�เป็นต้องอาศัยข้อมูลประกอบการตัดสินใจทั้งสิ้น จึงจำ�เป็นที่ต้องมีการเก็บ


รวบรวมข้อมูล ซึ่งมีวิธีการที่หลากหลาย เช่น การสำ�รวจ การสังเกต การสอบถาม การสัมภาษณ์ หรือการทดลอง ทั้งนี้
การเลือกวิธีเก็บรวบรวมข้อมูลจะขึ้นอยู่กับสิ่งที่ต้องการศึกษา

การนำ�เสนอข้อมูล (Representing Data)

การนำ�เสนอข้อมูลเป็นการนำ�ข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้มาจัดแสดงให้มีความน่าสนใจ และง่ายต่อการทำ�ความเข้าใจ
ซึ่งการนำ�เสนอข้อมูลสามารถแสดงได้หลายรูปแบบ โดยในระดับประถมศึกษาจะสอนการนำ�เสนอข้อมูลในรูปแบบของ
แผนภูมิรูปภาพ แผนภูมิแท่ง แผนภูมิรูปวงกลม กราฟเส้น และตาราง ซึ่งในหลักสูตรนี้ได้มีการจำ�แนกตารางออกเป็น
ตารางทางเดียว และตารางสองทาง

ตาราง (Table)

การบอกความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ กับจำ�นวนในรูปตาราง เป็นการจัดตัวเลขแสดงจำ�นวนของสิ่งต่าง ๆ


อย่างมีระเบียบในตาราง เพื่อให้อ่านและเปรียบเทียบง่ายขึ้น

ตารางทางเดียว (One - Way Table)

ตารางทางเดียวเป็นตารางที่มีการจำ�แนกรายการตามหัวเรื่องเพียงลักษณะเดียว เช่น จำ�นวนนักเรียนของโรงเรียน


แห่งหนึ่งจำ�แนกตามชั้น

392  |  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

จำ�นวนนักเรียนของโรงเรียนแห่งหนึ่ง

ชั้น จำ�นวน (คน)

ประถมศึกษาปีที่ 1 65
ประถมศึกษาปีที่ 2 70
ประถมศึกษาปีที่ 3 69
ประถมศึกษาปีที่ 4 62
ประถมศึกษาปีที่ 5 72
ประถมศึกษาปีที่ 6 60

รวม 398

ตารางสองทาง (Two – Way Table)


ตารางสองทางเป็นตารางทีม
่ ก
ี ารจำ�แนกรายการตามหัวข้อเรือ
่ ง 2 ลักษณะ เช่น จำ�นวนนักเรียนของโรงเรียนแห่งหนึง่
จำ�แนกตามชั้นและเพศ

จำ�นวนนักเรียนของโรงเรียนแห่งหนึ่ง

เพศ
ชั้น รวม (คน)
ชาย (คน) หญิง (คน)

ประถมศึกษาปีที่ 1 38 27 65
ประถมศึกษาปีที่ 2 33 37 70
ประถมศึกษาปีที่ 3 32 37 69
ประถมศึกษาปีที่ 4 28 34 62
ประถมศึกษาปีที่ 5 32 40 72
ประถมศึกษาปีที่ 6 25 35 60

รวม 188 210 398

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  |  393
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑

คณะผู้จัดทำ�
คณะที่ปรึกษา
นางพรพรรณ ไวทยางกูร สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
รองศาสตราจารย์สัญญา มิตรเอม สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

คณะผู้เขียน
รองศาสตราจารย์ประพนธ์ จ่ายเจริญ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ประสานมิตร (ฝ่ายประถม)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์เรณูรัชต์ ประสิทธิเกตุ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ประสานมิตร (ฝ่ายประถม)
นางสาวฑิฆัมพร สวัสดิ์โยธิน โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ประสานมิตร (ฝ่ายประถม)
นายสุวัฒน์ บุญธรรม โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ประสานมิตร (ฝ่ายประถม)
นางจิรชพรรณ ชาญช่าง โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
(ฝ่ายประถม)
นางสาวทองระย้า นัยชิต โรงเรียนวัดถนน จังหวัดอ่างทอง
นางเนาวรัตน์ ตันติเวทย์ ข้าราชการบำ�นาญ โรงเรียนอนุบาลวัดนางนอง
นายสมเกียรติ เพ็ญทอง สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
นางนวลจันทร์ ฤทธิ์ขำ� สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
นางณัตตยา มังคลาสิริ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

คณะผู้พิจารณา
รองศาสตราจารย์จิราภรณ์ ศิริทวี ข้าราชการบำ�นาญ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
นายสมเกียรติ เพ็ญทอง สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
นางนวลจันทร์ ฤทธิ์ขำ� สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
นางสาวภัทรวดี หาดแก้ว สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
นางณัตตยา มังคลาสิริ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
นางสาวธนภรณ์ เกิดสงกรานต์ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

© สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.), 2561


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑

คณะบรรณาธิการ
รองศาสตราจารย์จิราภรณ์ ศิริทวี ข้าราชการบำ�นาญ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
นายสมเกียรติ เพ็ญทอง สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ฝ่ายสนับสนุนวิชาการ
นางสาวละออ เจริญศรี สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
นางพรนิภา เหลืองสฤษดิ์ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ออกแบบรูปเล่ม
บริษัท ดิจิตอล เอ็ดดูเคชั่น จำ�กัด

© สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.), 2561

You might also like