You are on page 1of 31

ผลลัพธ์และต้นทุนประสิทธิผลของการให้บริการตรวจคัดกรองโรคหืด

และโรคปอดอุดกัน
้ เรื้อรัง
โดยเภสัชกรรมชุมชน
Cost-Effectiveness of Asthma and COPD screening
provided by community pharmacy
1 1 1
สมชาย สุริยะไกร , เทจิต แสงสุพิน , ธนัญญา ธรรมสุรักษ์ , สุณี เลิศสิน
1*
อุดม

บทคัดย่อ
ผลลัพธ์และต้นทุนประสิทธิผลของการให้บริการตรวจคัดกรองโรคหืดและ
โรคปอดอุดกัน
้ เรื้อรังโดยเภสัชกรรมชุมชน
1 1 1
สมชาย สุริยะไกร , เทจิต แสงสุพิน , ธนัญญา ธรรมสุรักษ์ , สุณี เลิศสิน
1
อุดม
บทนำ: ในปั จจุบันร้านยาคุณภาพในประเทศไทยมีการให้บริการ
ตรวจคัดกรองความเสี่ยงโรคหืดและโรคปอดอุดกัน
้ เรื้อรังเบื้องต้นใน
ประชาชนทั่วไปที่มีอาการ แต่ทงั ้ นีก
้ ารศึกษาหาต้นทุนประสิทธิผล (cost-
effectiveness) ที่ได้จากการตรวจคัดกรองโรคหืดและโรคปอดอุดกัน

เรื้อรังยังมีน้อย และยังไม่มีการอธิบายการคำนวณต้นทุนรวมทางตรง
(total direct cost) ที่ชัดเจน วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินต้นทุน
ประสิทธิผลของการตรวจคัดกรองโรคหืดและโรคปอดอุดกัน
้ เรื้อรังใน
เภสัชกรรมชุมชน วิธีการ: งานวิจัยนีเ้ ป็ นการศึกษาเชิงวิเคราะห์ โดย
ข้อมูลด้านต้นทุนได้จากการสัมภาษณ์เภสัชกรผู้ปฏิบัติหน้าที่ที่ร้านยา
เดี่ยว จำนวน 10 ร้าน ในจังหวัดขอนแก่นและข้อมูลด้านประสิทธิผลได้
จากฐานข้อมูลกิจกรรมบริการสร้างเสริมสุขภาพและการดูแลการใช้ยาฯ
โดยเภสัชกรชุมชน สมาคมเภสัชกรรมชุมชน(ประเทศไทย) และมูลนิธิ
เภสัชกรรมชุมชน (CPA project) ของร้านยาจำนวน 265 ร้าน ผล: จาก
ผู้เข้ารับบริการตรวจคัดกรองทัง้ สิน
้ 1,307 ราย พบว่า มีผู้ที่มีสมรรถภาพ
ปอด (PEFR) <62% และ <80% เท่ากับ 10.18% และ 29.61% ตาม
ลำดับและจากการสัมภาษณ์เภสัชกรที่เป็ นเจ้าของร้านยาเดี่ยวจำนวน 10
ราย พบว่าต้นทุนค่าแรงงานเฉลี่ย, ต้นทุนค่าวัสดุเฉลี่ย,และต้นทุนค่า
ลงทุนเฉลี่ย เท่ากับ 78,068.82, 1,724.55 และ  6,414.38 บาทตาม
ลำดับ คิดเป็ นต้นทุนรวมเท่ากับ 103,449.28 บาท ต้นทุนประสิทธิผล
ของจำนวนผู้รับบริการทัง้ หมด, ผู้ที่มี PEFR <62%, และผู้ที่มี PEFR
<80% เท่ากับ 79.15, 777.81 และ 267.31 บาท ตามลำดับ สรุปผล:
การให้บริการตรวจคัดกรองด้วยการวัดสมรรถภาพปอดโดยใช้ peak
flow meter ร่วมกับการทำแบบคัดกรอง มีต้นทุนต่อรายที่ไม่สูงสำหรับ
การสร้างความตระหนักถึงสุขภาพของผู้รับบริการ แต่ยังไม่เหมาะสมกับ
ค่าตอบแทนในการให้บริการที่เภสัชกรได้รับจากสำนักงานกองทุน
สนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) ดังนัน
้ ผลการศึกษานีส
้ ามารถนำไป
อ้างอิงเพื่อพิจารณาของบประมานสนับสนุนและกำหนดให้เป็ นบริการที่
ควรมีในเภสัชกรรมชุมชนทุกแห่ง
คำสำคัญ: ต้นทุนประสิทธิผล, คัดกรอง, โรคหืด, โรคปอดอุดกัน
้ เรื้อรัง,
เภสัชกรชุมชน

Abstract
Cost-Effectiveness of Asthma and COPD screening provided
by community pharmacy
1 2
Somchai Suriyakrai , Thejit Saengsupin , Thanunya
2 1*
Thamsurak , Sunee Lertsinudom
Introduction: At present, In community pharmacy,
especially quality drugstores, there are asthma and chronic
obstructive pulmonary disease (COPD) screening services in
people who have symptoms. But, lack of cost-effectiveness
study of asthma and COPD screening and there is not the
direct cost calculation. Objectives: To evaluate the cost-
effectiveness of asthma and COPD screening services
provided by community pharmacy Material and methods:
The research is an analytical study. The data of cost is
obtained from interviewing of pharmacists on duty in 10
stand-alone drugstores in Khon Kaen province. The data of
effectiveness is obtained from the CPA project database of
275 stand-alone drugstores. Results: The total number of
screening services was 1,307 persons. We found that people
with lung function (PEFR) <62% and <80% were 10.18% and
29.61% respectively. From the interviewing of 10 pharmacists
who own stand-alone drugstore, we found that the average
labor cost, average material cost, and average capital cost
were 78,068.82, 1,724.55 and 6,414.38 baht respectively. The
total cost was 103,449.28 baht. The results of cost-
effectiveness of the total number of screening services,
people who have PEFR <62%, and <80% were 79.15, 777.81
and 267.31 baht respectively. Conclusions: The asthma and
COPD screening service by a peak flow meter with a
questionnaire has a cost per service that no high for
awareness-raising of customers. But, the cost is not
appropriate with a fee provided by Thai Health Promotion
Foundation. Thus, this study can be brought to propose the
budget and set asthma and COPD screening service to all of
the community pharmacies.
Keywords: cost-effectiveness, asthma, COPD, screening,
community pharmacy

1
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
*
Corresponding author: ภาควิชาเภสัชกรรมคลินิก คณะเภสชัศาสตร์
มหาวิทยาลัยขอนแก่น อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 40002
Email: thejits@kkumail.com, t.thanunya@kkumail.com

บทนำ
โรคหืดเป็ นหนึง่ ในกลุ่มโรคทางเดินหายใจเรื้อรังเกิดจากการได้รับสิ่ง
กระตุ้นส่งผลให้เกิดการอักเสบเรื้อรังของเยื่อบุหลอดลมโดยผู้ป่วยจะมี
อาการเด่นดังนี ้ หายใจมีเสียงหวีด, เหนื่อยหอบ, แน่น, และไอ ในด้าน
ระบาดวิทยามีผู้ป่วยโรคหืดทั่วโลกมากกว่า 300 ล้านคน ซึ่งเพิ่มขึน
้ เป็ น 2
เท่าภายในระยะเวลา 15 ปี คาดการณ์ว่าในปี 2568 ผู้ป่วยจะเพิ่มขึน
้ เป็ น
(1)
400 ล้านคน ในประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่าค่าใช้จ่ายเฉลี่ยรายคนต่อปี
(2)
ของผู้ป่วยเด็กโรคหืด อยู่ในช่วง 3,076 - 13,612 ดอลลาร์สหรัฐ และใน
ด้านคุณภาพชีวิตในพบว่าในผู้ป่วยโรคหืดมีคะแนนคุณภาพชีวิต (EQ-VAS
(3)
score) ต่ำกว่ากลุ่มที่ไม่เป็ นโรคอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.0001)  โ
รคปอดอุดกัน
้ เรื้อรัง (Chronic obstructive pulmonary disease;
COPD) เป็ นโรคที่เป็ นอันตรายต่อชีวิต มีการดำเนินของโรคช้า เกิดจาก
การได้รับสิ่งระคายเคืองอย่างต่อเนื่องเป็ นเวลานาน อาการสำคัญของโรค
(4)
คือการไอเรื้อรัง, มีเสมหะและเหนื่อยหอบ ในด้านระบาดวิทยาความชุก
ของโรคปอดอุดกัน
้ เรื้อรังทั่วโลกเท่ากับ 251 ล้านคน ในปี 2016 ผู้ป่วย
(5)
ทั่วโลกเสียชีวิตจากโรคนีเ้ ท่ากับ 3.17 ล้านคน ด้านค่าใช้จ่ายในประเทศ
สหรัฐอเมริกาพบว่าค่าใช้จ่ายโดยตรงที่เพิ่มขึน
้ จากการเป็ นโรคปอดอุดกัน

เรื้อรังเมื่อเทียบกลับกลุ่มที่ไม่มีโรคเท่ากับ 6,246 ดอลลาร์/ราย/ปี ค่าใช้
จ่ายโดยตรงในผู้ป่วยที่เคยมีอาการกำเริบสูงกว่าค่าใช้จ่ายโดยตรงของผู้ที่
ไม่เคยเกิดอาการกำเริบเท่ากับ 11,395 ดอลลาร์ต่อปี อย่างมีนัยสำคัญทาง
(6)
สถิติ จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นได้ว่าโรคหืดและโรคปอดอุดกัน
้ เรื้อรังเป็ น
ปั ญหาสำคัญทางสาธารณสุข มีผลกระทบต่อด้านค่าใช้จ่ายและด้าน
คุณภาพชีวิต
ในด้านการศึกษาต้นทุนประสิทธิผลด้านการตรวจคัดกรองโรคปอด
อุดกัน
้ เรื้อรังด้วยวิธีการต่างๆ ในผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานครจำนวน
3,094 ราย พบว่าการตรวจค่า mini peak expiratory flow โดยใช้ค่า
predicted PEF เท่ากับ 62% เมื่อเทียบกับวิธีมาตรฐานที่ใช้ในการ
วินิจฉัยโรคพบว่ามี sensitivity 72.7% และ specificity 81.1% มีต้นทุน
ประสิทธิผลสูงที่สุดในการตรวจคัดกรองอื่นๆ โดยมีต้นทุนประสิทธิผล
(7),(8)
เท่ากับ 923 บาทต่อราย และการคัดกรองโรคปอดอุดกัน
้ เรื้อรังโดยใช้
แบบสอบถามจำนวน 10 ข้อ เกี่ยวกับประวัติการสูบบุหรี่ อาการทาง
ระบบหายใจและประวัติเกี่ยวกับโรควัณโรคปอด พบว่าต้นทุนในการ
(9)
ตรวจพบคนที่เสี่ยงต่อโรคปอดอุดกัน
้ เรื้อรัง 1 รายเท่ากับ 1,538 บาท
ปั จจุบันการศึกษาหาต้นทุนประสิทธิผลที่ได้จากการการตรวจคัด
กรองโรคหืดและโรคปอดอุดกัน
้ เรื้อรังยังมีน้อยและยังไม่มีการอธิบายการ
คำนวณต้นทุนรวมโดยตรงที่ชัดเจน ทางผู้วิจัยจึงได้จัดทำงานวิจัยนีข
้ น
ึ้
โดยมีวัตถุประสงค์ทั่วไปเพื่อประเมินต้นทุน-ประสิทธิผล (Cost-
Effectiveness) ของการให้บริการตรวจคัดกรองโรคหืดและโรคปอดอุด
กัน
้ เรื้อรังในเภสัชกรรมชุมชน นำไปสูก
่ ารประเมินค่าใช้จ่ายที่แท้จริงและ
เสนอพิจารณาการของบประมาณสนับสนุนการคัดกรองและนำไปสู่การ
กำหนดนโยบายให้ร้านยาทุกร้านมีการบริการคัดกรองความเสี่ยงต่อโรค
ทางเดินหายใจ และมีวัตถุประสงค์เฉพาะเพื่อทราบจำนวนผู้เข้ารับการ
ตรวจคัดกรองในแต่ละจังหวัด, ร้อยละของผู้ที่เสี่ยงต่อโรคหืดและโรคปอด
อุดกัน
้ เรื้อรัง, ต้นทุนรวมของการให้บริการคัดกรองต่อหนึ่งบริการและ
ร้อยละของผู้ที่มีสมรรถภาพปอดต่ำกว่าร้อยละ 62 และ 80

วิธีดำเนินการวิจัย
2.1 รูปแบบการศึกษา Analytical study
2.2 ขอบเขตงานวิจัย ร้านยาเดี่ยวในประเทศไทย จำนวน 265 ร้าน
2.3 คำนิยามในการวิจัย
2.3.1 Peak flow meter หมายถึง เครื่องมือที่ใช้วัดค่า Peak
expiratory flow rate (PEFR) โดยการเป่ าลมหายใจเข้าเครื่อง
2.3.2 CPA project หมายถึง ระบบฐานข้อมูลกิจกรรมบริการสร้าง
เสริมสุขภาพและการดูแลการใช้ยาฯ โดยเภสัชกรชุมชน สมาคม
เภสัชกรรมชุมชน (ประเทศไทย) ภายในมีข้อมูลของการคัดกรองโรค
ต่าง ๆ ในผู้เข้าร่วมการคัดกรอง ซึ่งข้อมูลเหล่านีผ
้ ู้วิจัยได้นำมาใช้
ประกอบการวิจัย
2.3.3 การวิเคราะห์ต้นทุนประสิทธิผล หมายถึง การประเมินความ
คุ้มค่าทางสาธารณสุขของการให้บริการคัดกรองโรคหืดและโรคปอด
อุดกัน
้ เรื้อรัง โดยนำต้นทุนรวมหารด้วยจำนวนผลลัพธ์ที่สนใจและ
พิจารณาต้นทุนในมุมมองผู้ให้บริการ (Provider perspective)
2.3.4 Labor cost หมายถึง ต้นทุนค่าแรงทัง้ หมดของเภสัชกรผู้รับ
ผิดชอบขัน
้ ตอนการตรวจคัดกรองโรคหืดและโรคปอดอุดกัน
้ เรื้อรัง
เฉลี่ย ต่อ เภสัชกร 1 รายซึง่ ประกอบด้วยเงินเดือนเฉลี่ยและค่า
ประกอบวิชาชีพ
2.3.5 Material cost หมายถึง ต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับวัสดุ, อุปกรณ์,
เครื่องมือ ที่ใช้ในการตรวจคัดกรองโรคในราคาต่ำกว่า 5,000 บาทต่อ
เดือน ตลอดจนต้นทุนค่าใช้จ่ายที่ใช้ไปหรือเสียโอกาสไปจากการตรวจ
คัดกรอง ในที่นี ้ ได้แก่ ค่าไฟฟ้ า, ค่าน้ำ, ค่าโทรศัพท์มือถือ และค่า
อินเทอร์เน็ต
2.3.6 Capital Cost หมายถึง ต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับวัสดุ, อุปกรณ์,
เครื่องมือ ที่ใช้ในการตรวจคัดกรองโรค ในราคามากกว่าหรือเท่ากับ
5,000 ตลอดจนค่าสถานที่และค่าบำรุงสถานที่ ในที่นี ้ ได้แก่ ค่า Peak
Flow meter, ค่าวัสดุเครื่องคอมพิวเตอร์ และค่าบำรุงรักษาร้านยา
2.3.7 Total direct cost หมายถึง ต้นทุนรวมทางตรง คำนวณได้
จาก Labor cost + Material cost + Capital cost  
2.3.8 Indirect cost หมายถึง ต้นทุนทางอ้อม เป็ นต้นทุนของ
กิจกรรมที่เกิดจากการใช้ทรัพยากรร่วมกัน และต้นทุนอื่น ๆ สำหรับ
การสนับสนุนการตรวจคัดกรอง เช่น ค่าสนับสนุนการคัดกรองจาก
(10),(11),(12)
หน่วยงานกลาง คิดเป็ น 20% ของต้นทุนรวมทางตรง
2.4 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษา
2.4.1 ข้อมูลจากฐานข้อมูล CPA project ช่วงเดือนกรกฎาคม
2561 - มิถุนายน 2562 จากร้านยาจำนวน 265 ร้าน
2.4.2 ร้านยาเดี่ยวคุณภาพที่มีการให้บริการคัดกรองความเสี่ยงต่อ
โรคหืดและโรคปอดอุดกัน
้ เรื้อรัง ในจังหวัดขอนแก่น จำนวน 10
ร้าน
2.4.3 เกณฑ์ในการคัดเข้า (Inclusion criteria)
2.4.3.1 เภสัชกรผู้ปฏิบัติหน้าที่ในร้านยาเดี่ยวใน
จังหวัดขอนแก่น ที่อยู่ในระบบฐานข้อมูล CPA project
2.4.3.2 เภสัชกรที่มีโทรศัพท์สามารถติดต่อเก็บข้อมูล
ได้
2.4.3.3 เภสัชกรที่ยินดีให้ความร่วมมือในการศึกษา
2.4.4 เกณฑ์ในการคัดออก (Exclusion criteria)
2.4.4.1 เภสัชกรผู้ปฏิบัติหน้าที่ในร้านยาเดี่ยวสังกัด
มหาวิทยาลัย
2.4.4.2 ผู้เข้ารับบริการตรวจคัดกรองที่ไม่ได้เป่ า
peak flow meter
2.5 เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย
2.5.1 แบบสัมภาษณ์ต้นทุนของการให้บริการคัดกรองโรคหืดและ
โรคปอดอุดกัน
้ เรื้อรังในร้านยา
2.5.2 ฐานข้อมูล CPA project ซึง่ ได้ขออนุญาตจากมูลนิธิ
เภสัชกรรมชุมชนของ สสส.
2.5.3 โปรแกรม Microsoft Excel

2.6 การอนุมัติด้านจริยธรรม
โครงการวิจัยเลขที่ HE622289 ได้ผ่านการรับรองจากคณะ
กรรมการจริยธรรมการวิจัย
ในมนุษย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยยึดหลักเกณฑ์ตามคำประกาศ
เฮลซิงกิ (Declaration of Helsinki) และแนวทางการปฏิบัติการวิจัยทาง
คลินก
ิ ที่ดี (ICH GCP) เมื่อวันที่ 30 มกราคม พ.ศ.2563

2.7 วิธีการเก็บข้อมูล
ข้อมูลการคัดกรองได้จากฐานข้อมูล CPA project โดยเก็บข้อมูล
ทั่วไป ได้แก่ เพศ, อายุ, ชื่อร้านยา, ระยะเวลาในการคัดกรองและผลลัพธ์
ของการตรวจคัดกรอง ได้แก่ จำนวนผู้ที่มี PEFR น้อยกว่า 62% และ
80% จำนวนคนที่มีความเสี่ยงต่อโรคปอดอุดกัน
้ เรื้อรัง จำนวนผู้ที่มีความ
เสี่ยงต่อโรคหืด จำนวนผู้ที่ถูกส่งต่อแพทย์ เป็ นต้น
ข้อมูลด้านต้นทุนได้จากการสัมภาษณ์เภสัชกรร้านยาเดี่ยวจำนวน
10 ร้านในจังหวัดขอนแก่นโดยเก็บข้อมูลต้นทุนค่าแรงงาน (labor
cost:LC) ของเภสัชกรผู้รับผิดชอบขัน
้ ตอนการตรวจคัดกรองโรคหืดและ
โรคปอดอุดกัน
้ เรื้อรัง 1 ราย ได้มาจากข้อมูลรายรับรวม ต้นทุนค่ายา ราย
จ่ายทัง้ หมด ต้นทุนค่าวัสดุ (material cost:MC) ได้แก่ ค่า
โทรศัพท์ ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้ า ค่าอินเตอร์เน็ต ค่าสำลีและแอลกอฮอล์ ต้นทุน
ค่าลงทุน (capital Cost:CC) ได้แก่ ค่า พีคโฟลว์มิเตอร์ (Peak Flow
meter) ค่าวัสดุเครื่องคอมพิวเตอร์และค่าอาคารสิ่งก่อสร้าง และต้นทุน
ทางอ้อม (Indirect cost:IDC) คิดเป็ น 20% ของต้นทุนรวมทางตรง

2.8 การวิเคราะห์ข้อมูล 
2.8.1 สถิติที่ใช้ descriptive statistics
2.8.2 สูตรการคำนวณต้นทุนประสิทธิผล (cost-effectiveness
Analysis) หน่วยบาทต่อราย
ต ้ นทุนรวม
                          ต้นทุนประสิทธิผล = ป ระสิทธิผล

หมายเหตุ :  
ประสิทธิผลประกอบด้วย 4 ตัวชีว้ ัด ได้แก่ จำนวนผู้รับบริการ
ทัง้ หมด, จำนวนของผู้ที่มีความเสี่ยงสูงโรคหืดหรือโรคปอดอุดกัน

เรื้อรัง, จำนวนของผู้ที่มี PEFR < 62%, จำนวนของผู้ที่มี PEFR <
80%

2.8.3 การคำนวณต้นทุนค่าแรงงาน
รายได้สุทธิ (1 ราย) = รายรับรวมต่อเดือน – (รายจ่าย
รวมต่อเดือน + ต้นทุนยาต่อเดือน)
ต้นทุนค่าแรงงานเฉลี่ย = รายได้เฉลี่ย (บาท/นาที) x เวลาคัด
กรองเฉลี่ยจาก CPA (นาที/ราย)
2.8.4 การคำนวณต้นทุนค่าวัสดุ
ต้นทุนค่าวัสดุเฉลี่ย = ค่าน้ำเฉลี่ย+ค่าไฟฟ้ าเฉลี่ย+ค่าโทรศัพท์
เฉลี่ย+ ค่าอินเทอร์เน็ตเฉลี่ย+ค่าสำลีและแอลกอฮอล์เฉลี่ย
2.8.4.1 ค่าน้ำ ในงานวิจัยนีไ้ ม่คิดค่าน้ำ เนื่องจากไม่มีผู้
ป่ วยใช้น้ำขณะคัดกรอง
ค่าน้ำ (บาท/ราย) = ค่าน้ำต่อเดือน/จำนวนคนที่ใช้น้ำ

ค่าน้ำเฉลี่ย 10 ร้าน = ค่าน้ำต่อคนรวมทัง้ 10 ร้าน/10

2.8.4.2 ค่าไฟฟ้ า
ค่าไฟ (1 ร้าน) (บาท/นาที) = [ค่าไฟต่อเดือน x (พื้นที่
คัดกรอง/พื้นที่ใช้สอย)]/(28x24x60)
ค่าไฟเฉลี่ย (บาท/ราย) = ค่าไฟเฉลี่ยต่อนาที x เวลาคัด
กรองเฉลี่ยจาก CPA (นาที/ราย)
2.8.4.3 ค่าโทรศัพท์ (คิดเฉพาะร้านที่มีการใช้โทรศัพท์ในการ
ติดตาม)
ค่าโทรศัพท์ (1 ร้าน) (บาท/นาที) = ค่าโทรศัพท์ต่อ
เดือน/(28x24x60)
ค่าโทรศัพท์ (บาท/ราย) = ค่าโทรศัพท์ต่อนาที x
ระยะเวลาที่ใช้โทรศัพท์
ค่าโทรศัพท์เฉลี่ย 4 ร้าน = ค่าโทรศัพท์ต่อรายรวมทัง้ 4
ร้าน/4
2.8.4.4 ค่าอินเทอร์เน็ต
ค่าอินเทอร์เน็ต (1 ร้าน) (บาท/นาที) = ค่าอินเทอร์เน็ต
ต่อเดือน x(พื้นที่คัดกรอง/พื้นที่ใช้สอย)]/(28x24x60)
ค่าอินเทอร์เน็ต (บาท/ราย) = ค่าอินเทอร์เน็ตต่อนาที
x ระยะเวลาที่ใช้คอมพิวเตอร์
ค่าอินเทอร์เน็ตเฉลี่ย 10 ร้าน = ค่าอินเทอร์เน็ตต่อราย
รวมทัง้ 10 ร้าน/10
2.8.4.5 ค่าสำลี
ค่าสำลีเฉลี่ย (บาท/ราย) = (ค่าสำลีต่อห่อ/300) x 4
(ครัง้ /ราย)
2.8.4.6 ค่าแอลกอฮอล์
ค่าแอลกอฮอล์เฉลี่ย (บาท/ราย) = (ค่าแอลกอฮอล์ต่อ
ขวด/100) x 4 (ครัง้ /ราย)
2.8.5 การคำนวณต้นทุนค่าลงทุน
ต้นทุนค่าลงทุนเฉลี่ย = ค่าเครื่อง peak flow meter เฉลี่ย+
ค่าเครื่องคอมพิวเตอร์+ ค่าอาคารสิ่งก่อสร้าง
2.8.5.1 ค่าเครื่อง peak flow meter
ค่าเครื่อง peak flow meter (บาท/ครัง้ ) = ราคา
peak flow meter/อายุการใช้งาน (ครัง้ )
ค่าเครื่อง peak flow meter (บาท/ราย) = ราคาค่า
เครื่อง peak flow meter ต่อครัง้ x 3 (ครัง้ /ราย)
ค่าเครื่อง peak flow meter เฉลี่ย 10 ร้าน =
ค่าเครื่อง peak flow meter ต่อรายรวมทัง้
10 ร้าน/10
2.8.5.2 ค่าเครื่องคอมพิวเตอร์ / แท็บเล็ต
ค่าเสื่อมราคา (บาท/เดือน) = (ราคาคอมพิวเตอร์ x
อัตราเสื่อมราคาต่อปี )/12
ค่าเสื่อมราคา (บาท/นาที) = ค่าเสื่อมราคาต่อ
เดือน/(28x24x60)
ค่าเสื่อมราคารวมของแต่ละร้าน (บาท/นาที) = ค่าเสื่อม
ราคา 1 +…..+ ค่าเสื่อมราคา n
ค่าเสื่อมราคา (บาท/ราย) = ค่าเสื่อมราคาต่อนาที x
ระยะเวลาใช้คอมพิวเตอร์ (นาที)
ค่าเสื่อมราคาเฉลี่ย 10 ร้าน = ค่าเสื่อมราคารวมทัง้ 10
ร้าน/10
2.8.5.3 ค่าอาคารสิ่งก่อสร้าง
กรณีซ้อ

เนื่องจากไม่ทราบอัตราดอกเบีย
้ และระยะเวลากู้ที่แน่่
นอน จึงใช้ราคาตึกในการคำนวณ ยกเว้นกรณีเช่า)
ปรับราคาสิ่งก่อสร้างเป็ นมูลค่าของปี ที่วิเคราะห์ พ.ศ.
2562 ดังสมการ
มูลค่าของปี ที่วิเคราะห์ = มูลค่าเดิมที่ซ้อ
ื มา x (ดัชนี
(13)
ราคาของปี ที่วิเคราะห์/ดัชนีราคาของปี ที่ซ้อ
ื มา)
มูลค่าของปี ที่วิเคราะห์ (บาท/ปี ) = มูลค่าของปี ที่
วิเคราะห์/เกณฑ์อายุการใช้งาน (30 ปี )
มูลค่าของปี ที่วิเคราะห์ (บาท/นาที) = มูลค่าของปี ที่
วิเคราะห์ต่อปี /(12x28x24x60)
ค่าอาคารเฉพาะพื้นที่คัดกรอง (บาท/นาที) = [มูลค่าปี ที่
วิเคราะห์ต่อนาที x (พื้นที่คัดกรอง/พื้นที่ใช้สอย)]
กรณีเช่า
ค่าเช่าอาคาร (บาท/นาที) = ค่าเช่าต่อ
เดือน/(28x24x60)
ค่าเช่าอาคารเฉพาะพื้นที่คัดกรอง (บาท/นาที) = ค่าเช่า
ต่อนาที x (พื้นที่คัดกรอง/พื้นที่ใช้สอย)
ค่าอาคารสิง่ ก่อสร้างเฉลี่ย (บาท/นาที) = ค่าอาคารและ
ค่าเช่าอาคารเฉพาะพื้นที่คัดกรองเฉลี่ย(บาท/นาที)x เวลาคัด
กรองเฉลี่ยจาก CPA (นาที/ราย)
2.9 ขัน
้ ตอนการตรวจคัดกรอง
คัดกรองในประชากรไทย อายุมากกว่าเท่ากับ 15 ปี ไม่เคยเป็ นโรค
2.9.1 เก็บข้อมูลการประเมินสมรรถภาพปอด (ส่วนที่ (1) ของแบบ
คัดกรอง)
2.9.2 ทำการทดสอบสมรรถภาพปอดด้วย peak flow meter
เลือกค่าที่มากที่สุดจากการเป่ า peak flow meter 3 ครัง้
หารด้วยค่ามาตรฐานของประชากรและคูณด้วย 100 (ส่วนที่
(2) ของแบบคัดกรอง)
2.9.3 หากได้ %PEFR มากกว่า 70 ให้เภสัชกรแนะนำการปรับ
เปลี่ยนพฤติกรรม
2.9.4 หากได้ %PEFR น้อยกว่าเท่ากับ 70 ให้ทำการประเมินความ
เสี่ยงต่อโรคปอดอุดกัน
้ เรื้อรังและโรคหืด
2.9.5 ประเมินความเสี่ยงต่อโรคปอดอุดกัน
้ เรื้อรัง (ส่วนที่ (3) ของ
แบบคัดกรอง)
- หากได้คะแนนน้อยกว่า 5 จัดเป็ นความเสี่ยงต่ำ 
- หากได้คะแนนมากกว่าหรือเท่ากับ 5 จัดเป็ นเสี่ยงโรค
ปอดอุดกัน
้ เรื้อรัง ควรส่งต่อศูนย์แพทย
2.9.6 ประเมินความเสี่ยงต่อโรคหืด (ส่วนที่ (4) ของแบบคัดกรอง)
- หากได้คะแนนน้อยกว่า 2  จัดเป็ นความเสี่ยงต่ำ
- หากได้คะแนนมากกว่า 2 จัดเป็ นเสี่ยงโรคหืด ควรส่ง
ต่อศูนย์แพทย์
ผลการศึกษาวิจัย
ข้อมูลทั่วไปของผู้เข้ารับบริการคัดกรองและเภสัชกร
จำนวนผู้เข้ารับบริการคัดกรองโรคหืดและโรคปอดอุดกัน
้ เรื้อรังทัง้
สิน
้ 1,362 ราย มีผ ู้ที่ได้รับ การตรวจสมรรถภาพปอด 1,307 ราย โดยผู้
เป็ นเพศหญิง ร้อ ยละ 58.00 และเพศชายร้อ ยละ 42.00 มีอ ายุเ ฉลี่ย
44.49 ± 17.90 ปี รายละเอียดดังที่แสดงในตารางที่ 1
ตารางที่ 1: ข้อมูลทั่วไปของผู้เข้ารับบริการคัดกรอง (N=1,307)
ข้อมูลทั่วไป จำนวนผู้เข้ารับบริการ
คัดกรอง (ราย)(%)
ผู้เข้ารับบริการคัดกรอง 1,362
ผู้ที่ตรวจสมรรถภาพปอดด้วย peak 1,307
flow meter 55
ผู้ที่ไม่ได้ตรวจสมรรถภาพปอดด้วย
peak flow meter
เพศ
ชาย 549 (42.00)
หญิง 758 (58.00)
อายุ
≤ 20 ปี 98 (7.50)
21 – 40 ปี 409 (31.29)
41 – 60 ปี 511 (39.10)
≥ 61 ปี 289 (22.11)
Mean ± SD 44.49 ± 17.90
เภสัช กรผู้ป ฏิบ ัต ิง านในร้า นยาเดี่ย วจำนวน 10 ราย เป็ นเจ้า ของ
กิจ การทัง้ หมด มีอ ายุเ ฉลี่ย 34.89 ± 5.19 ปี มีร ะยะเวลาทำงานเฉลี่ย
281.40 ± 45.16 ชั่วโมง/เดือน ใช้เวลาในการให้บริการคัดกรองโรคหืด
และโรคปอดอุดกัน
้ เฉลี่ย 17 ± 4.83 นาที มีผ ู้รับ บริก ารเฉลี่ย 1,493 ±
586.74 ราย/เดือน และมีรายได้สุทธิเฉลี่ย 10 ราย เท่ากับ 75,823.36 ±
29,015.13 บาท/เดือน รายละเอียดดังที่แสดงในตารางที่ 2
ตารางที่ 2: ข้อมูลทั่วไปของเภสัชกร
ข้อมูลทั่วไป รายละเอียด
อายุ (ปี ) Mean ± SD 34.89 ± 5.19
ระยะเวลาทำงาน (ชั่วโมง)
Mean ± SD 226 ± 26.33
ชั่วโมงทำงานต่อเดือน (จันทร์- 55.4 ± 30.11
ศุกร์) 281.40 ± 45.16
ชั่วโมงทำงานต่อเดือน (เสาร์-
อาทิตย์)
ชั่วโมงทำงานรวมต่อเดือน
ระยะเวลาให้บริการคัดกรอง 17 ± 4.83
(นาที) Mean ± SD
จำนวนผู้รับบริการ (ราย/เดือน) 1,493 ± 586.74
Mean ± SD
รายได้สุทธิ (บาท/เดือน) Mean 76,510.11± 28,844.53
± SD (IQR) (68,220.83)
ผลลัพธ์ของการคัดกรอง: ร้อยละของผู้ที่มี PEFR<62%, ร้อยละของผู้
ที่มี PEFR<80%, ร้อยละของผู้ที่เสี่ยงสูงต่อโรคหืด และโรคปอดอุดกัน

เรื้อรัง
จากการให้บริการคัดกรอง เมื่อตรวจสมรรถภาพปอดด้วย peak
flow meter พบว่ามีผู้รับบริการที่ได้ค่า PEFR<62% บ่งชีว้ ่ามีความเสี่ยง
ต่อโรคปอดอุดกัน
้ เรื้อรังร้อยละ 10.18 และ PEFR<80% ซึ่งบ่งชีว้ ่ามี
ความเสี่ยงต่อร้อยละ 29.61 รายละเอียดดังที่แสดงในตารางที่ 3
ตารางที่ 3: ผลลัพธ์ของการคัดกรอง (N=1,307)
ผลลัพธ์ของการคัดกรอง จำนวนผู้เข้ารับบริการคัดกรอง
(ราย)(%)
ค่าสมรรถภาพปอด (PEFR)
<62% 133 (10.18)
<80% 387 (29.61)
Mean ± SD 88.35 ± 21.35
ความเสี่ยงต่อโรคหืดจากข้อ
คำถาม 1296 (99.16)
เสี่ยงต่ำ 10 (0.76)
เสี่ยงสูง
ความเสี่ยงต่อโรคปอดอุดกัน

เรื้อรังจากข้อคำถาม 1248 (95.48)
เสี่ยงต่ำ 58 (4.44)
เสี่ยงสูง
ความเสี่ยงสูงในโรคหืดหรือโรค 68 (5.20)
ปอดอุดกัน
้ เรื้อรัง
ผลของการศึกษาต้นทุนของการให้บริการคัดกรองโรคหืดและโรคปอด
อุดกัน
้ เรื้อรัง
จากการศึกษาด้านต้นทุนต่าง ๆ จากเภสัชกรร้านยาจำนวน 10 ราย
พบว่าต้นทุนค่าแรงงาน (labor cost: LC) เฉลี่ยเท่ากับ 59.73 บาท/ราย
ต้นทุนค่าวัสดุ (material cost; MC) เฉลี่ยเท่ากับ 1.32 บาท/ราย ต้นทุน
ค่า ลงทุน (capital cost; CC) เฉลี่ย เท่า กับ 4.91 บาท/ราย ต้น ทุน รวม
ทางตรงเท่ากับ 65.96 บาท/ราย ต้นทุนทางอ้อมคิดเป็ นร้อยละ 20 ของ
ต้นทุนรวมทางตรงเท่ากับ 13.19 บาท/ราย ต้นทุนรวมเท่ากับ 79.15 บา
ท/ราย รายละเอียดดังที่แสดงในตารางที่ 4
ตารางที่ 4: แสดงต้นทุนการคัดกรองโรคหืดและโรคปอดอุดกัน

(n=1,307)

ประเภท รายละเอียดต้นทุน ต้นทุน ต้นทุน ต้นทุน


ต้นทุน (บาท) รวม รวม
(บาท) (บาท/
ราย)
ต้นทุน ค่าแรงงานเฉลี่ย 78,06 78,06 59.73
ค่าแรงงาน 8.82 8.82

ต้นทุนค่า ค่าน้ำ (ต่อราย) 0 1,724. 1.32


วัสดุ 55
ค่าไฟฟ้ า 36.91

ค่าโทรศัพท์ 108.1
9

ค่าอิินเทอร์เน็ต 11.05

ค่าสำลี/แอลกอฮอล์ 1,568.
40

ต้นทุนค่า ค่าเครื่อง peak 5,959. 6,414. 4.91


ลงทุน flow meter 92 38

ค่าเสื่อมราคาของ 167.3
คอมพิวเตอร์/ 4
แท็บเล็ต

ค่าอาคารสิ่ง 287.1
ก่อสร้าง 2

ต้นทุนรวม LC+MC+CC 86,207.73 65.96


ทางตรง

ต้นทุนทาง 20%(LC+MC+CC) 17,241.54 13.19


อ้อม
ต้นทุนรวม 103,449.28 79.15

ผลการศึกษาด้านต้นทุนประสิทธิผลของการให้บริการตรวจคัดกรอง
โรคหืดและโรคปอดอุดกัน
้ เรื้อรัง
จากการศึกษาต้นทุนประสิทธิผ ลของการคัด กรองโรคหืด และโรค
ปอดอุด กัน
้ เรื้อรัง สามารถแบ่งต้นทุนประสิทธิผ ลตามวัต ถุป ระสงค์ข อง
การศึกษาได้ต่อไปดังนี ้ ต้นทุนประสิทธิผลของผู้ที่มีความเสี่ยงสูงในโรคหืด
หรือโรคปอดอุดกัน
้ เรื้อรัง, ต้นทุนประสิทธิผลของผู้ที่มี PEFR<62%, และ
ต้น ทุน ประสิท ธิผ ลของผู้ท ี่ม ี PEFR<80%  สามารถคำนวณผลลัพ ธ์ข อง
แต่ละต้นทุนประสิทธิผลได้เท่ากับ 1,521.31, 777.81 และ 267.31 บาท
ตามลำดับ รายละเอียดดังที่แสดงในตารางที่ 5
ตารางที่ 5: แสดงค่าต้นทุนประสิทธิผลในการให้บริการตรวจคัดกรอง
โรคหืดและโรคปอดอุดกัน
้ เรื้อรัง

รายการ ราคา จำนวน


ประสิทธิผล

ต้นทุนรวม (N=1,307) 103,449.28

ต้น ทุน ประสิท ธิผ ลของผู้ท ี่ม ีค วามเสี่ย งสูง 1,521.3 68


ในโรคหืดหรือโรคปอดอุดกัน
้ เรื้อรัง 1

ต้นทุนประสิทธิผลของผู้ที่มี PEFR < 62% 777.81 133

ต้นทุนประสิทธิผลของผู้ที่มี PEFR < 80% 267.31 387


อภิปรายและสรุปผล
จากผลลัพธ์ของการให้บริการตรวจคัดกรองโรคหืดและโรคปอดอุด
กัน
้ เรื้อรังด้วย
peak flow meter ร่วมกับทำแบบคัดกรองโรคหืดและโรคปอดอุดกัน

เรื้อรังของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) (F15)
มีจำนวนของผู้รับบริการคัดกรอง 1,307 ราย พบผู้ที่มีค่า PEFR ต่ำกว่า
ร้อยละ 62 และ 80 เท่ากับ ร้อยละ 10.18 และ 29.61 ตามลำดับ และ
จากการศึกษาการให้บริการตรวจคัดกรองในร้านยาเดี่ยวสังกัดคณะ
เภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นด้วยเครื่องมือชนิดเดียวกัน มีจำนวน
ผู้รับบริการ 193 ราย พบผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคทางเดินหายใจร้อยละ
(14) 
21.39 เมื่อใช้ cut-off ของ PEFR ต่ำกว่าร้อยละ 80 จะเห็นได้ว่าทัง้
สองการศึกษาให้ผลลัพธ์การให้บริการตรวจคัดกรองแตกต่างกันและจาก
การศึกษานีม
้ ีผู้เข้ารับบริการที่มากกว่าจึงสามารถใช้ผลลัพธ์ของการให้
บริการตรวจคัดกรองโรคหืดและโรคปอดอุดกัน
้ เรื้อรังของการศึกษานีเ้ ป็ น
ค่าอ้างอิงในการตรวจคัดกรองด้วยเครื่อง peak flow meter
จากการวิเคราะห์ต้นทุนประสิทธิผลของการให้บริการตรวจคัดกรอง
โรคหืดและโรคปอด
อุดกัน
้ เรื้อรัง พบว่า ต้นทุนประสิทธิผลของผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคปอดอุด
กัน
้ เรื้อรังเท่ากับ 777.81 บาท ซึ่งมีต้นทุนต่ำกว่าการศึกษาต้นทุน
ประสิทธิผลของการคัดกรองโรคปอดอุดกัน
้ เรื้อรังด้วยเครื่อง mini peak
(7) (9)
flow meter และการใช้แบบสอบถาม เนื่องจากมีการใช้กลุ่ม
ประชากรแตกต่างกัน โดยในการศึกษานีจ
้ ะทำการคัดกรองในผู้ที่มีอายุ
มากกว่า 15 ปี ขึน
้ ไปและมีอาการทางระบบทางเดินหายใจ เช่น อาการไอ
เป็ นต้น ในขณะที่อีก 2 การศึกษาทำการคัดกรองในผู้ที่มีอายุมากกว่า 60
ปี ขึน
้ ไปและเครื่องมือที่ใช้ในการคัดกรองของแต่ละการศึกษาก็มีความ
แตกต่างเช่นกัน หากพิจารณาต้นทุนประสิทธิผลโดยใช้ตัวชีว้ ัดเป็ นค่า
สมรรถภาพปอด (PEFR) ที่ต่ำกว่าร้อยละ 62 และ 80 มีค่าเท่ากับ
777.81 และ 267.31 บาทตามลำดับ จะมีต้นทุนที่ต่ำกว่าเนื่องจากตัวชี ้
วัดประสิทธิผลที่เป็ นความเสี่ยงสูงต่อโรคทัง้ สองที่มีต้นทุนประสิทธิผล
เท่ากับ 1,521.31 บาท เป็ นการประเมินโดยใช้ข้อคำถามเท่านัน
้ ไม่ได้
พิจารณาค่า PEFR ร่วมด้วยและต้องมีประวัติและอาการครบตามข้อ
คำถามจึงจะจัดเป็ นความเสี่ยงสูง จากฐานข้อมูล CPA project พบว่าผู้ที่
มีความเสี่ยงต่ำเฉพาะในโรคอุดกัน
้ เรื้อรังจำนวน 1,248 ราย มีผู้ที่มี PEFR
ต่ำกว่าร้อยละ 62 เท่ากับร้อยละ 8.09 และผู้ที่มีความเสี่ยงต่ำเฉพาะใน
โรคหืดจำนวน 1,296 ราย มีผู้ที่มี PEFR ต่ำกว่าร้อยละ 80 เท่ากับ ร้อย
ละ 29.48 จะเห็นได้ว่ามีผู้ที่มีสมรรถภาพปอดต่ำกว่าค่า cut-off ของทัง้
สองโรคภายใต้ผู้ที่ถูกประเมินว่ามีความเสี่ยงต่ำจำนวนมากโดยเฉพาะโรค
หืด ดังนัน
้ หากใช้ตัวชีว้ ัดเป็ นค่า PEFR จะทำให้ตรวจพบผู้ที่มีความเสี่ยง
ต่อโรคหืดและโรคปอดอุดกัน
้ เรื้อรังได้มากขึน
้ หากเปรียบเทียบกั บวิธี
มาตรฐาน (gold standard) ในการตรวจวินิจฉัยโรคหืดและโรคปอดอุด
กัน
้ เรื้อรังคือ spirometer ที่ต้องอาศัยพยาบาลในการใช้เครื่องและมีค่า
ใช้จ่ายในการบำรุงรักษาเครื่องอีกด้วย ในการตรวจคัดกรอง 1 ครัง้ มี
(15)
ต้นทุนเท่ากับ 409.03 บาท และการตรวจคัดกรองด้วย peak flow
meter ร่วมกับแบบคัดกรอง F15 มีต้นทุนเท่ากับ 79.15 บาท ในการ
ตรวจคัดกรอง 1 ครัง้ จะเห็นว่าการตรวจคัดกรองด้วย peak flow
meter ร่วมกับแบบคัดกรอง F15 มีต้นทุนที่ต่ำกว่าและเหมาะกับบริบท
ร้านยามากกว่าที่มีวัตถุประสงค์ของการตรวจคัดกรองคือเพื่อให้ผู้เข้ารับ
บริการตระหนักถึงสุขภาพที่แย่ลงและให้คำแนะนำในการปรับพฤติกรรม
ต่อไปและเมื่อพิจารณาค่าตอบแทนในการให้บริการที่เภสัชกรได้รับจาก
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) เมื่อให้บริการ
ตรวจคัดกรอง 1 ราย คือ 50 บาท แลกกับต้นทุน 79.15 บาทในมุมมอง
ของผู้ให้บริการอาจมองว่ามีความไม่เหมาะสม
จากผลการศึกษาพบว่าต้นทุนค่าแรงงานต่อชั่วโมงเท่ากับ 237.37
บาทต่อชั่วโมง ซึง่ ในปั จจุบันการศึกษาด้านต้นทุนค่าแรงงานของเภสัชกร
ร้านยาเดี่ยวยังมีจำกัด จากข้อมูลของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง
การจ่ายเงินบำรุงเพื่อเป็ นค่าตอบแทนแก่เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในการให้
บริการเพิ่มพิเศษสำหรับประชาชนของหน่วยบริการในสังกัดกระทรวง
สาธารณสุข พ.ศ. 2560 พบว่าทัง้ ค่าตอบแทนต่อชั่วโมงของเภสัชกรกรณี
ให้บริการผู้ป่วยนอกและค่าตอบแทนของเภสัชกรกรณีให้บริการในหอผู้
ป่ วยไม่เกินเท่ากับ 180 บาท/ชั่วโมง พบว่าต้นทุนค่าแรงของการศึกษานีม
้ ี
ค่าที่สูงกว่า เนื่องจากร้านยาเดี่ยวเป็ นการทำธุรกิจอย่างหนึ่ง จำเป็ นต้อง
บริหารร้านให้มีกำไรเพื่อสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ และจากผลการ
ศึกษาพบว่า อัตราส่วนกำไรขัน
้ ต้น (%Gross margin) เฉลี่ยเท่ากับ 41.9
%  พบว่าอัตราส่วนกำไรขัน
้ ต้นจากการศึกษานีม
้ ีค่าที่สูงกว่า เมื่อเปรียบ
(16)
เทียบกับผลลัพธ์อัตราส่วนกำไรขัน
้ ต้นเฉลี่ยจากการสำรวจข้อมูล
เท่ากับ 26.1% ซึง่ เบื้องต้นแสดงให้เห็นว่าร้านยาทัง้ 10 ร้าน ไม่เกิดการ
ขาดทุนการค้าหรือยังคงได้กำไรจากการขายยา และทำให้มั่นใจได้ว่า
ข้อมูลต้นทุนที่ได้จากการสัมภาษณ์มีความถูกต้อง ไม่ได้ต่ำกว่าความเป็ น
จริงอันเกิดจากอคติเพื่อให้ต้นทุนของการคัดกรองถูกกว่าความเป็ นจริง
การวิจัยในครัง้ นีย
้ ังคงมีข้อจำกัดดังนี ้ ประการที่หนึ่ง จำนวน
เภสัชกรร้านยาผู้ให้ข้อมูลด้านต้นทุนมีน้อยเพียง 10 รายและเป็ นร้านที่ตงั ้
อยู่ในจังหวัดขอนแก่นทัง้ หมด ซึง่ ต้นทุนของการให้บริการตรวจคัดกรองนี ้
ไม่สามารถอ้างไปถึงต้นทุนของการบริการในร้านยาที่ตงั ้ อยู่ในที่อ่ น
ื ได้
เนื่องจาก การคำนวณต้นทุนประกอบไปด้วยต้นทุนค่าแรงงาน ซึ่งต้นทุน
ดังกล่าวขึน
้ อยู่กับรายได้จากการขายยา ซึ่งแต่ละพื้นที่อาจมีการขายยาใน
ราคาแตกต่างกัน และต้นทุนค่าลงทุน ในส่วนของต้นทุนค่าอาคารสิ่ง
ก่อสร้างจะขึน
้ อยู่ทำเลที่ตงั ้ ของร้านยานัน
้ ๆ ด้วย ทำให้ต้นทุนของการให้
บริการตรวจคัดกรองสูงกว่าในจังหวัดขอนแก่นได้ แต่สามารถนำมาใช้
เป็ นตัวแทนของต้นทุนในจังหวัดขอนแก่นได้ เนื่องจากทำเลที่ตงั ้ ของร้าน
ยาทัง้ 10 ร้านครอบคลุมพื้นที่ในจังหวัดขอนแก่นและยังสามารถใช้เป็ น
ตัวแทนของของต้นทุนในจังหวัดที่มีค่าครองชีพใกล้เคียงกันได้ ประการที่
สอง ในการคำนวณต้นทุนค่าแรงงาน เนื่องจากเภสัชกรผู้ให้ข้อมูลทุกราย
เป็ นเจ้าของกิจการ ทำให้ไม่สามารถระบุเงินเดือนได้โดยตรงเหมือน
เภสัชกรที่ถูกจ้างแบบ full-time จึงต้องใช้การคำนวณรายได้สุทธิซึ่งได้
จากการนำรายรับทัง้ หมดหักลบด้วยรายจ่ายและต้นทุนค่ายา ประการที่
สาม ในการคำนวณต้นทุนค่าวัสดุ เนื่องจากร้านยาทัง้ 10 ร้านไม่ได้
อนุญาตให้ลูกค้าใช้ห้องน้ำ งานวิจัยนีจ
้ ึงไม่ได้คิดค่าน้ำประปาเป็ นต้นทุนที่
เภสัชกรต้องเสียไปเพื่อให้บริการคัดกรอง ประการที่สี่ ในการคำนวณ
ต้นทุนค่าลงทุน ต้นทุนของอาคารสิ่งก่อสร้างจะคำนวณเฉพาะบริเวณที่ใช้
คัดกรองและเวลาที่ใช้คัดกรองเท่านัน
้ เนื่องจากอาคารที่ใช้เป็ นร้านยา
จาก 10 ร้านนี ้ ส่วนใหญ่ใช้เป็ นที่อยู่อาศัยด้วย จึงคิดต้นทุนค่าอาคาร
เฉพาะพื้นที่คัดกรอง แต่ในการปฏิบัติงานจริงบริเวณที่ใช้คัดกรองดังกล่าว
ถูกใช้ในการให้คำปรึกษาและการคัดกรองโรคอื่น ๆ ด้วย จึงจำเป็ นต้อง
คิดต้นทุนค่าอาคารเฉพาะเวลาที่ใช้ในการคัดกรองโรคปอด และประการ
ที่ห้า ในการคำนวณต้นทุนรวมที่ใช้ในการให้บริการตรวจคัดกรองโรค
ต้องรวมค่าต้นทุนทางอ้อมด้วย ซึ่งผู้วิจัยไม่ได้ทำการเก็บข้อมูลส่วนนี ้ จึง
กำหนดค่าต้นทุนทางอ้อมเป็ นร้อยละ 20 ของต้นทุนรวมทางตรงตัง้ แต่
ก่อนทำวิจัยเพื่อให้ข้อมูลมีความครอบคลุมมากขึน

จากผลการศึกษาพบว่าการให้บริการตรวจคัดกรองโรคหืดและโรค
ปอดอุดกัน
้ เรื้อรังด้วยการวัดสมรรถภาพปอดด้วย peak flow meter
ร่วมกับทำคัดกรอง F15 มีต้นทุนต่อรายที่ไม่สูงสำหรับการสร้างความ
ตระหนักถึงสุขภาพของผู้รับบริการแต่ยังไม่เหมาะสมกับค่าตอบแทนใน
การให้บริการที่เภสัชกรได้รับจากสสส. ซึง่ วิธีการคัดกรองดังกล่าวเหมาะ
สมกับการให้บริการในบริบทร้านยาทัง้ ด้านอุปกรณ์และบุคลากรที่
เกี่ยวข้องและยังเป็ นประโยชน์ต่อผู้รับบริการ เนื่องจากผู้รับบริการที่ไม่
ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการคัดกรองแต่สามารถทราบว่าตนเองมีความเสี่ยง
ต่อโรคหืดและปอดอุดกัน
้ เรื้อรังหรือไม่ หากมีความเสี่ยงจะได้รับคำ
แนะนำในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทำให้อาการที่เป็ นอยู่ดีขน
ึ ้ และถ้ามี
ความผิดปกติจะได้รับการส่งต่อแพทย์เพื่อให้ได้รับการวินิจฉัยได้เร็วขึน

และควบคุมอาการของโรคได้ กล่าวโดยสรุปการทำวิจัยในครัง้ นีแ
้ สดงให้
เห็นถึงค่าใช้จ่ายของการให้บริการตรวจคัดกรองและยังแสดงให้เห็นถึง
บทบาทของเภสัชกรและความสำคัญของการตรวจคัดกรองโรคนำไปสู่
การพิจารณาของบประมานสนับสนุนและกำหนดให้เป็ นบริการที่ควรมีใน
เภสัชกรรมชุมชนทุกแห่ง ในการทำงานวิจัยในอนาคตผู้วิจัยควรเพิ่ม
จำนวนเภสัชกรร้านยาที่เป็ นผู้ให้ข้อมูลโดยให้มีตัวแทนจากทุกจังหวัดที่
เข้าร่วมโครงการ CPA project เพื่อให้ข้อมูลด้านต้นทุนมีความครอบคลุม
มากขึน
้ และทำการเก็บข้อมูลต้นทุนทางอ้อมของร้านยาด้วย เช่น ค่าบำรุง
รักษา ค่าภาษี เป็ นต้นเพื่อลดความคลาดเคลื่อนจากการใช้ค่าประมาณ
ทั่วไปคือร้อยละ 20 ของต้นทุนรวมทางตรงเพื่อให้ข้อมูลด้านต้นทุนมี
ความแม่นยำมากขึน
้ นอกจากนีค
้ วรมีการศึกษาความตรง (validity) ของ
วิธีการคัดกรองนีต
้ ่อไป
เอกสารอ้างอิง
1.  Tareram J. Utilization of Protection Motivation Theory
with Caring and Advice for Patients with Asthma. 37(1):12–21.
2.  Perry R, Braileanu G, Palmer T, Stevens P. The Economic
Burden of Pediatric Asthma in the United States: Literature
Review of Current Evidence. Pharmacoeconomics [Internet].
2019;37(2):155–67. Available from:
https://doi.org/10.1007/s40273-018-0726-2
3. Mungan D, Aydin O, Mahboub B, Albader M, Tarraf H,
Doble A, et al. Burden of disease associated with asthma
among the adult general population of five Middle Eastern
countries: Results of the SNAPSHOT program. Respir Med.
2018;139:55–64.
4. WHO.int. Causes of COPD [Internet]. World health
organization. 2019 [cited 2019 Sep 28]. Available from:
https://www.who.int/respiratory/copd/causes/en/
5. WHO.int. Chronic Obstruction Pulmonary Disease
[Internet]. World health organization. 2017 [cited 2019 Sep
28]. Available from: www.who.int/news-room/fact-
sheets/detail/chronic-obstructive-pulmonary-disease-(copd)
6. Patel JG, Coutinho AD, Lunacsek OE, Dalal AA. COPD
affects worker productivity and health care costs. Int J COPD.
2018;13:2301–11.
7. Chuaychoo B, Maranetra N, Naruman C, Dejsomritrutai
W, Lertakyamanee J CN et al. The most cost-effective
screening method for chronic obstructive pulmonary disease
among the Bangkok elderly. NHS Econ Eval Database. 2019;1–
7.
8. Maranetra N, Chuaychoo B, Naruman C, et al. The cost-
effectiveness of mini peak expiratory flow as a screening test
for chronic obstructive pulmonary disease among the
Bangkok elderly. J Med Assoc Thai. 2003;86(12):1133‐1139.
9. Maranetra N, Chuaychoo B, Lertakyamanee J, Nuruman
C, Chierakul N, Dejsomritrutai W, Nana A, et al. The Cost-
Effectiveness of a Questionnaire as a Screening Test for
Chronic Obstructive Pulmonary Disease among the Bangkok
Elderly. J Med Assoc Thai.2003;86:1033.
10. คณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติ. การประเมิน
เทคโนโลยีด้านสุขภาพสำหรับ ประเทศไทย. 2nd ed. กรุงเทพฯ: ศูนย์
หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2556. 23–28.
11. อาทร ริว้ ไพบูลย์. การวิเคราะห์ต้นทุนในการพัฒนาระบบสุขภาพ.
1st ed. กรุงเทพฯ:; 2561.11–17.
12. Tongsukhowong A. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการบัญชีต้นทุน
[Internet]. Management Science :Khonkaen University. 2005
[cited 2019 Sep 12]. Available from:
https://home.kku.ac.th/anuton/cost accounting/cost split.htm
13. สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า. ดัชนีราคาผู้บริโภค. [สืบค้น 20
กุมภาพันธ์ 2562]. เข้าถึงได้จาก:
http://www.price.moc.go.th/price/cpi/index_new.asp.
14. Sunee Lertsinudom, Achara Nasatid, Acharawan Topark-
ngarm, Nadthatida Hansuri, Nirachara Tawinkan. Results of
Screening People at Risk of Chronic Diseases in
Community Pharmacy Organized by Faculty of
Pharmaceutical Sciences Community Pharmacy, Khon Kaen
University. Journal of Pharmaceutical Sciences. 2014;9:155–
158.
15. Boonpiyathad T, Yimsawad S, Sangasapaviriya A. The
Cost of Asthma Treatment in Phramongkutklao Hospital:
Population-Based Study in Adults. J Med Assoc
Thai.2016;99:51.
16. Adam FJ. Independent Pharmacy Economics Keep
Deteriorating [Internet]. Drug Channels Institute. 2019 [cited
2020 Feb 29]. Available from:
https://www.drugchannels.net/2019/01/independent-
pharmacy-economics-keep.html

You might also like