You are on page 1of 6

บทที่ 3

วิธีดําเนินการศึกษา

การศึกษาในครั้งนี้ดําเนินการศึกษาค้นคว้าในเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อความสําเร็จใน
การศึกษาระดับปริญญาตรี ของนักศึกษา มหาวิทยาลัยรามคําแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระ
เกียรติ จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยได้ดําเนินการตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย
2. ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษา
3. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
4. การเก็บรวบรวมข้อมูล
5. การวิเคราะห์ข้อมูล
6. สถิติที่ใช้ในการวิจัย

ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา

ประชากร
ประชากร คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 2 ชั้นปีที่ 3 และชั้นปีที่ 4
มหาวิทยาลัยรามคําแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครศรีธรรมราช

กลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 2 ชั้นปีที่
3 และชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยรามคําแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัด
นครศรีธรรมราช ที่มาลงทะเบียนเรียน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 วันที่ 10 มิถุนายน
2556
 

31

ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษา

การศึกษา “ปัจจัยที่มีผลต่อความสําเร็จในการศึกษาระดับปริญญาตรี ของนักศึกษา


มหาวิทยาลัยรามคําแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครศรีธรรมราช” สําหรับ
ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย
1. ตัวแปรอิสระ ได้แก่
1.1 ข้อมูลปัจจัยส่วนบุคคลของนักศึกษา โดยแบ่งออกเป็น
1.1.1 เพศ
1.1.2 อายุ
1.1.3 สาขาวิชาที่ศึกษาอยู่ในปัจจุบัน
1.1.4 วุฒิที่ใช้สมัครเรียน
1.1.5 สถานภาพการเรียน
1.1.6 สถานภาพที่อยู่ปัจจุบัน
1.1.7 ระยะทางที่เดินทางมาเรียน
1.1.8 จํานวนหน่วยกิตที่สะสมได้ในปัจจุบัน
1.2 ปัจจัยที่มีผลต่อความสําเร็จในการศึกษาระดับปริญญาตรี ได้แก่
1.2.1 เอกสารตํารามีความเหมาะสมที่จะเรียนด้วยตัวเอง
1.2.2 มีโอกาสเข้าฟังบรรยายสรุปในห้องเรียนมากเพียงพอ
1.2.3 มีโอกาสฟังบรรยายทางอินเทอร์เน็ตอย่างครบถ้วนและเพียงพอ
1.2.4 มีโอกาสฟังบรรยายสดทางดาวเทียมอย่างครบถ้วนและเพียงพอ
1.2.5 มีความเข้าใจเนื้อหาตําราเรียน เพราะผู้สอนมีเทคนิคที่ดี
1.2.6 เข้าใจเนื้อหาถ่องแท้จากการได้ซักถามอาจารย์ผู้สอน
1.2.7 ได้อ่านตํารา/เอกสารด้วยตนเองอย่างจริงจัง
1.2.8 ได้ทบทวนแบบฝึกหัดด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง
1.2.9 ได้ติดตามบทเรียนตามตารางบรรยายอย่างสม่ําเสมอ
1.2.10 ได้ค้นคว้าเนื้อหาในบทเรียนเพิ่มเติมจากห้องสมุด
1.2.11 ช่วงเวลาก่อนสอบมีเพียงพอให้เตรียมตัวล่วงหน้า
2. ตัวแปรตาม ได้แก่ ความสําเร็จในการศึกษา
 

32

เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล

เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่สร้างขึ้นเพื่อศึกษาปัจจัยที่มี
ผลต่อความสําเร็จในการศึกษาระดับปริญญาตรีของนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคําแหง สาขา
วิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครศรีธรรมราช แบ่งออกเป็น 4 ตอน คือ
ตอนที่ 1 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม จําแนก
ตาม เพศ อายุ สาขาวิชาที่ศึกษาอยู่ในปัจจุบัน วุฒิที่ใช้สมัครเรียน สถานภาพการเรียน
สถานภาพที่อยู่ปัจจุบัน ระยะทางที่เดินทางมาเรียน และจํานวนหน่วยกิตที่สะสมได้ในปัจจุบัน
ซึ่งเป็นแบบสอบถามเลือกตอบ ซึ่งมีจํานวน 8 ข้อ
ตอนที่ 2 เป็นแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยความสําเร็จในการศึกษาระดับ
ปริญญาตรี ซึ่งครอบคลุมปัจจัยต่างๆ จํานวน 11 ข้อ เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วน
ประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ โดยกําหนดเกณฑ์ การให้คะแนนความคิดเห็น ดังต่อไปนี้
5 หมายถึง ระดับความคิดเห็น มากที่สุด
4 หมายถึง ระดับความคิดเห็น มาก
3 หมายถึง ระดับความคิดเห็น ปานกลาง
2 หมายถึง ระดับความคิดเห็น น้อย
1 หมายถึง ระดับความคิดเห็น น้อยที่สุด
ตอนที่ 3 ลําดับสําคัญของปัจจัยสําเร็จผลการศึกษา เลือกตอบปัจจัยที่สําคัญเพียง 3
ลําดับแรก
ตอนที่ 4 ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะอื่นๆ เป็นแบบสอบถามชนิดปลายเปิด

ขั้นตอนการสร้างเครื่องมือ
ในการศึกษา ปัจจัยที่มีผลต่อความสําเร็จในการศึกษาระดับปริญญาตรี ของนักศึกษา
มหาวิทยาลัยรามคําแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครศรีธรรมราช ผู้วิจัยจะ
ดําเนินการสร้างเครื่องมือตามลําดับต่อไปนี้
1. ศึกษาเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยที่มีผลต่อความสําเร็จในการศึกษา
ระดับปริญญาตรี ตามแนวคิดทฤษฎี ตลอดจนผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับตัวแปรที่ศึกษา เพื่อใช้
เป็นแนวทางในการสร้างแบบสอบถาม
2. สํารวจปัญหารวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้จากเอกสาร งานวิจัย เพื่อนํามาเป็นข้อมูล
 

33

ในการสร้างแบบสอบถาม เกี่ยวกับปัจจัยความสําเร็จในการศึกษาระดับปริญญาตรีของนักศึกษา
โดยกําหนดขอบเขตและเนื้อหาให้ครอบคลุมจุดมุ่งหมาย
3. สร้างเครื่องมือแบบสอบถาม ปัจจัยความสําเร็จในการศึกษาระดับ
ปริญญาตรีของนักศึกษา ให้มีขอบเขตและเนื้อหาครอบคลุมปัจจัยต่างๆ
4. นําแบบสอบถามที่สร้างขึ้น ไปให้คณะกรรมการดําเนินงานวิจัยของสาขาวิทย-
บริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครศรีธรรมราช ตรวจสอบความถูกต้อง และข้อเสนอแนะ
เพิ่มเติม พร้อมทั้งแก้ไขปรับปรุงตามข้อเสนอแนะ
5. นําแบบสอบถามที่ได้ปรับปรุงแก้ไข ให้ผู้เชี่ยวชาญโดยรองศาสตราจารย์
พรรณพิมล ก้านกนก ตรวจสอบความเที่ยงตรงในด้านเนื้อหาและภาษาที่ใช้
6. นําแบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญมาปรับปรุง
7. จัดทําแบบสอบถามฉบับสมบูรณ์ แล้วนําไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลในการศึกษาวิจัย

การเก็บรวบรวมข้อมูล

ในการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความสําเร็จในการศึกษาระดับปริญญาตรี ของนักศึกษา
มหาวิทยาลัยรามคําแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครศรีธรรมราช จะ
ดําเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลตามขั้นตอน ดังนี้
1. นําแบบสอบถามไปขอความร่วมมือกับนักศึกษาที่มาลงทะเบียนเรียน ภาคเรียนที่
1 ปีการศึกษา 2556 โดยได้ดําเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล ขอให้นักศึกษาตอบแบบสอบถามให้
ระหว่างลงทะเบียนเรียนในวันที่ 10 มิถุนายน 2556
2. ตรวจสอบความสมบูรณ์ของแบบสอบถามที่ได้รับคืนมา ไปตรวจให้คะแนนตาม
เกณฑ์กําหนดไว้ หลังจากนั้นนําข้อมูลของแบบสอบถามแต่ละชุดไปคํานวณโดยใช้เครื่อง
คอมพิวเตอร์ด้วยโปรแกรมสําเร็จรูป SPSS

การวิเคราะห์ข้อมูล

การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความสําเร็จในการศึกษาระดับปริญญาตรี ของนักศึกษา
มหาวิทยาลัยรามคําแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครศรีธรรมราช จะทําการ
วิเคราะห์ข้อมูลตามขั้นตอน ดังนี้
 

34

1. ตรวจสอบความสมบูรณ์ของแบบสอบถามที่ได้กลับคืนมาว่ามีความถูกต้อง
สมบูรณ์ทั้งฉบับ
2. จําแนกข้อมูลของแบบสอบถามตามตัวแปรอิสระ
3. นําข้อมูลที่ได้กระทําการประมวลผลข้อมูล เพื่อวิเคราะห์หาค่าสถิติ โดยใช้
โปรแกรมสําเร็จรูป SPSS
4. วิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถามโดยหา
ค่าความถี่ และร้อยละ
5. วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อความสําเร็จในการศึกษาระดับปริญญาตรี ของนักศึกษา
มหาวิทยาลัยรามคําแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยการหา
ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยแบ่งเกณฑ์ความคิดเห็นเป็น 5 ระดับ คํานวณจากสูตร
การหาอันตรภาคชั้น (สุวิมล ติรกานันท์, 2546)
ความกว้างของอันตรภาคชั้น = คะแนนสูงสุด – คะแนนต่ําสุด
จํานวนชั้น
ความกว้างของอันตรภาคชั้น = 5–1 = 0.8
5
ได้เกณฑ์การแบ่งกลุ่มความคิดเห็น ในการแปลคะแนน ดังนี้
ค่าเฉลี่ย 4.20 - 5.00 หมายถึง ส่งผลต่อความสําเร็จมากที่สุด
ค่าเฉลี่ย 3.40 - 4.19 หมายถึง ส่งผลต่อความสําเร็จมาก
ค่าเฉลี่ย 2.60 - 3.39 หมายถึง ส่งผลต่อความสําเร็จปานกลาง
ค่าเฉลี่ย 1.80 - 2.59 หมายถึง ส่งผลต่อความสําเร็จน้อย
ค่าเฉลี่ย 1.00 - 1.79 หมายถึง ส่งผลต่อความสําเร็จน้อยที่สุด
6. เปรียบเทียบความคิดเห็นของนักศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อความสําเร็จใน
การศึกษาโดยใช้การทดสอบค่าที (t – test) ใช้การทดสอบความแปรปรวนแบบทางเดียว
(One - Way Analysis of Variance) และหาค่าความสัมพันธ์

สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
1. สถิติเชิงพรรณา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานอธิบาย
คุณลักษณะตัวแปร
 

35

2. สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ ค่า t-test ค่า f-test อธิบายเปรียบเทียบความแตกต่าง


ระหว่างตัวแปรตามสมมติฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์
3. นําแบบสอบถามตอนที่ 4 มาสรุป วิเคราะห์โดยการบรรยายเชิงพรรณนา

You might also like