You are on page 1of 25

รายงานการวิเคราะห์ข้อสอบ

วิชา คณิตศาสตร์ เพิ่มเติม ชัน


้ ม.5
ภาคเรียนที่ ๒ ปี การศึกษา ๒๕๖๔

นางสาววิภาณี มุมแดง
ตำแหน่งครู
โรงเรียนธาตุพนม
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
มัธยมศึกษานครพนม

บันทึกข้ อความ
ส่วนราชการ โรงเรียนธาตุพนม อำเภอธาตุพนม จังหวัด
นครพนม
ที่……….. วันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๖
เรื่อง รายงานผลการวิเคราะห์ข้อสอบปลายภาคเรียน ประจำภาค
เรียนที่ ๒ ปี การศึกษา ๒๕๖๔
..............................................................................................................
.................................................……
เรียน ผู้อำนวยการโรงเรียนธาตุพนม

สิ่งที่สง่ มาด้วย รายงานการวิเคราะห์ข้อสอบ จำนวน ๑ ฉบับ

ด้วยข้าพเจ้า นางสาววิภาณี มุมแดง ตำแหน่ง ครู ไม่มีวิทยฐานะ


ปฏิบ ัต ิก ารสอนวิช า คณิต ศาสตร์ เพิ่ม เติม กลุ่ม สาระการเรีย นรู้
คณิตศาสตร์ ได้วิเคราะห์ข้อสอบ
ปลายภาค วิชาคณิตศาสตร์ เพิ่มเติม ชัน
้ ม.๕/๘ เพื่อตรวจสอบคุณภาพ
ของเครื่องมือที่ใช้วัดและประเมินผล
การเรียนรู้ของผู้เรียน ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างเครื่องมือที่ได้มาตรฐานต่อไป
บัดนี ้ ได้ทำการวิเคราะห์ข้อสอบ ดังกล่าวเสร็จสิน
้ แล้ว ขอรายงานผลตาม
เอกสารที่แนบมานี ้

จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ

( นางสาววิภาณี มุมแดง )
ตำแหน่ง ครู

ลงชื่อ……………………………………………….
(นายอลงกรณ์ จันทรโคตร)

หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้
คณิตศาสตร์
ความคิดเห็นรองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารวิชาการ ความคิด
เห็นผู้อำนวยการโรงเรียน
…..………………………………………
……………………………………………….……
.………………………………………….
…………………………………………………….

ลงชื่อ......................................
ลงชื่อ………………………………………
(นายธีรพงษ์ แสนคำ) ( นาย
ยอดชาย พ่อหลอน )
รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารวิชาการ ผู้
อำนวยการโรงเรียนธาตุพนม
๑๙ /พฤษภาคม/๒๕๖๖ ๑๙
/พฤษภาคม/๒๕๖๖

สารบัญ

ความเป็ นมาและความสำคัญของปั ญหา



วัตถุประสงค์ ๓
วิธีดำเนินการ ๓
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

ผลการวิเคราะห์ข้อสอบ ๗
อภิปรายผล ๘

หนังสืออ้างอิง ๙

ภาคผนวก
ก ข้อสอบวิชา คณิตศาสตร์ เพิ่มเติม ชัน
้ ม.๕/๘
ข ผลการวิเคราะห์ข้อสอบวิชา คณิตศาสตร์ เพิ่มเติม
๑. ความเป็ นมาและความสำคัญของปั ญหา

หลัก สูต รแกนกลางการศึก ษาขัน


้ พื้น ฐาน พุท ธศัก ราช ๒๕ 51 ได้
กำหนดแนวทางการประเมินผลการเรียนตามหลักสูตรในฐานะเป็ นกลไก
นำไปสูก
่ ารพัฒนาคุณภาพการศึกษา ได้กำหนดให้มีการวัดและประเมินผล
ในระดับต่าง ๆ คือ การวัดและประเมินผลระดับชัน
้ เรียน มีจุดมุ่งหมาย
เพ ่ อ
ื ดค
ู วา มก ้า วหน ้า ของ ผู้เ รีย นร ายบ ุค ค ล ในด ้า นค วามรู้ ทัก ษะ
พัฒนาการ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์เพื่อทราบปั ญหาและอุปสรรค
ในการเรียนรู้ของผู้เรียนที่จะเป็ นประโยชน์ต่อการแก้ปัญหา และช่วยเหลือ
ผู้เรียน การประเมินระดับสถานศึกษา มีจุดมุ่งหมายเพื่อสรุปผลการ
เรีย นรู้ข องผู้เ รีย น ว่า มีผ ลการเรีย นรู้ต ามที่ค าดหวัง หรือ ไม่ หรือ มีผ ล
สัมฤทธิร์ ะดับใด เมื่อสิน
้ ภาคเรียน/สิน
้ ปี การศึกษา หรือเมื่อจบช่วงชัน
้ เพื่อ
การตัดสินผลการเรียน และตัดสินการเลื่อนช่วงชัน
้ การประเมินคุณภาพ
การศึกษาระดับชาติ มีจุดมุ่งหมายเพื่อได้ข้อมูลซึง่ เป็ นตัวบ่งชีค
้ ณ
ุ ภาพการ
ศึก ษาของชาติใ นภาพรวม ซึ่ง จะเป็ นประโยชน์ใ นการวางแผนพัฒ นา
คุณ ภาพการศึก ษา และใช้เ ป็ นข้อ มูล ประกอบการตัด สิน ใจเกี่ย วกับ
นโยบาย
ดัง นัน
้ จุด มุ่ง หมายของการจัด การศึก ษา คือ พัฒ นาผูเ้ รีย นให้ม ี
คุณภาพตามความคาดหวัง กระบวนการจัดการเรียนรู้จึงมุ่งที่จะส่งเสริมให้
ผู้เรียนแต่ละคนได้พัฒนาอย่างเต็มตามศักยภาพ การประเมินการเรียนรู้ที่
สามารถสนองตอบเป้ าประสงค์ดังกล่าวก็คือการประเมินในระดับชัน
้ เรียน
และเพื่อให้การประเมินในชัน
้ เรียนมีประสิทธิภ าพ ผู้ทำหน้าที่ประเมินจะ
ต้องคำนึงถึงเครื่องมือวัดผลการเรียนรู้ที่วัดได้เที่ยงตรง(Validity)มีความ
ยากง่ายปานกลาง มีอำนาจจำแนกสูง และมีความเชื่อมั่น(Reliability)สูง
เพื่อ ให้ก ารวัด และประเมิน ผลการเรียนรู้ต อบสนองต่อ เป้ าประสงค์ข อง
หลัก สูต ร ในอัน ที่จ ะพัฒ นาผู้เ รีย นให้เ กิด การเรีย นรู้อ ย่า งเต็ม ศัก ยภาพ
การวิเคราะห์ข้อสอบจึงเป็ นวิธีที่จะตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวัดผลการ
เรียนรู้หรือข้อสอบ ให้ได้มาตรฐาน
การวิเคราะห์ข้อสอบ (Item Analysis) คือกระบวนการตรวจสอบ
คุณภาพของข้อสอบแต่ละข้อ ซึง่ พิจารณาถึงระดับความยาก ง่าย ระดับ
อำนาจจำแนก ตลอดจนประสิทธิภาพตัวลวง (ในกรณีที่เป็ นข้อสอบแบบ
เลือกตอบ)แล้วจึงคัดเลือกข้อสอบที่มีคุณภาพตามที่ต้องการเพื่อใช้ทดสอบ
ต่อไป(บุญเรียง ขจรศิลป์ . ๒๕๒๗:๘๑)
ในด้านการเรียนการสอน ใช้ผลการวิเคราะห์ข้อสอบรายข้อ ในการ
ตรวจสอบคุณภาพของข้อสอบ ผลการวิเคราะห์ข้อสอบรายข้อ ทำให้มี
ประโยชน์ต่อการเรียนการสอนคือทำให้ร้ค
ู ุณภาพของข้อสอบ และ
สามารถปรับแก้ไข ข้อสอบได้ตรงเพื่อให้ได้ข้อสอบที่มีคุณภาพเช่น
ข้อสอบที่ยากไป ข้อสอบมีอำนาจจำแนกหรือไม่ ใช้ภาษาถูกต้องหรือไม่
ตัวลวงบางตัวเลือกมีประสิทธิภาพหรือไม่ เป็ นต้น ซึ่งคุณภาพของ
ข้อสอบดูจากค่าความยากง่าย (p) ค่าอำนาจจำแนก (r) และดูจาก
ประสิทธิภาพตัวลวง และจากค่าความยากง่าย (p) ค่าอำนาจจำแนก (r)
และประสิทธิภาพตัวลวง ทำให้ครูต้องปรับข้อสอบแต่ละข้อให้ดีขน
ึ ้ ช่วย
ให้ครูเขียนข้อสอบได้ดีขน
ึ ้ และสามารถนำข้อสอบมาใช้ได้อีก เมื่อมีการ
วิเคราะห์ข้อสอบ ผลการวิเคราะห์ข้อสอบที่เก็บไว้ สามารถนำข้อสอบมา
ใช้ได้อีก และนำข้อสอบมาใช้เหมาะสมกับกลุ่มนักเรียนที่เข้าสอบ เช่น

ออกข้อสอบเพื่อสอบปกติ ก็คัดเลือกข้อสอบที่ความยากง่ายปานกลาง ค่า


อำนาจจำแนกสูง ,ออกข้อสอบเพื่อสอบเรียนต่อ ก็คัดเลือกข้อสอบที่มี
ความยากง่ายเป็ น ยากหรือค่อนข้างยาก,ออกข้อสอบเพื่อสอบซ่อม ก็คัด
เลือกข้อสอบที่มีความยากง่ายเป็ นง่ายหรือค่อนข้างง่ายเป็ นต้น
ผู้รายงานจึงได้ดำเนินการวิเคราะห์ข้อสอบ โดยใช้สอบวัดผลปลาย
ภาค ชนิด เลือ กตอบ ๔ ตัว เลือ กวิช า คณิต ศาสตร์ เพิ่ม เติม ชัน
้ ม.๕
จำนวน ๒๐ ข้อ โดยใช้กระดาษคำตอบของนักเรียนชัน
้ ม.๕/๘ จำนวน 1
ห้อ ง เพื่อตรวจสอบคุณ ภาพของข้อสอบซึ่ง จะนำไปสู่ก ารปรับ ปรุง และ
พัฒนาข้อสอบที่มีคุณภาพที่มีความเที่ยงตรง(Validity)มีความยากง่ายปาน
กลาง มีอ ำนาจจำแนกสูง และมีค วามเชื่อ มั่น (Reliability)สูง และดู
ประสิทธิภาพตัวลวง
๒. วัตถุประสงค์
๑. เพื่อวิเคราะห์ข้อสอบวัดผลกลางภาค วิชา คณิตศาสตร์ ชัน

มัธยมศึกษาปี ที่ ๕/๘
๒. เพื่อรายงานผลการวิเคราะห์ข้อสอบกลางภาค วิชาคณิตศาสตร์
เพิ่มเติม ชัน
้ มัธยมศึกษาปี ที่ ๕/๘

๓. วิธด
ี ำเนินการ
๓.๑ กลุ่มเป้ าหมาย ที่ใช้ในการศึกษาในครัน
้ นี ้ ได้แก่
นักเรียนชัน
้ มัธยมศึกษาปี ที่ ๕/๘ โรงเรียน ธาตุพนม อำเภอ
ธาตุพนม จังหวัดนครพนม
ภาคเรียนที่ ๑ ปี การศึกษา ๒๕๖๔ จำนวน ๓๐ คน กลุ่มตัวอย่าง
เป็ นการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย ได้แก่นักเรียนชัน
้ ม.๕/๘ จำนวน ๓๐ คน
๓.๒ ข้อมูลที่เก็บรวบรวม การดำเนินการครัง้ นี ้ มุ่งวิเคราะห์
ข้อสอบที่ใช้สอบกลางภาค จึงใช้กระดาษคำตอบของนักเรียนชนิด เลือก
ตอบ เพื่อตรวจสอบคุณภาพของข้อสอบมีความเที่ยงตรง (Validity) และ
มีความเชื่อมั่น(Reliability) ความยากง่าย(p ) ค่าอำนาจจำแนก(r) และดู
จากประสิทธิภาพตัวลวง
๓.๓ เครื่องมือที่ใช้
กระดาษคำตอบของนัก เรีย นชัน
้ ม.๕/๘ จำนวน ๓๐
คน ที่สอบวัดผลลางภาค
วิชาคณิตศาสตร์ เพิ่มเติม จำนวน ๒๐ ข้อ

๓.๔ การวิเคราะห์และการแปลความหมาย
วิธีการวิเคราะห์ข้อสอบ ว ิธ ีก า ร ว ิเ ค ร า ะ ห ์ข ้อ ส อ บ
สามารถทำได้ ๒ วิธี ได้แก่
๑) วิเ คราะห์ข ้อสอบแบบอิง กลุ่ม เป็ นการวิเ คราะห์ข ้อ สอบโดย
ตรวจกระดาษคำตอบแล้วเรียงคะแนนจากสูงไปหาต่ำ แบ่งกระดาษออก
เป็ นกลุ่มสูง กลุ่มกลาง และกลุ่มต่ำ นำกระดาษคำตอบของกลุ่มสูง และ
กลุ่มต่ำมาตรวจนับ (Tally) การตอบแต่ละตัวเลือก หาค่าสถิติ
๒) วิเคราะห์ข้อสอบอิงเกณฑ์ เป็ นการวิเคราะห์ข้อสอบโดยตรวจ
กระดาษคำตอบให้ค ะแนน วิเ คราะห์ท ีล ะจุด ประสงค์ โดยแต่ล ะจุด
ประสงค์ นักเรียนที่สอบผ่านเป็ น “กลุ่มรอบรู้” นักเรียนที่สอบไม่ผ่านเป็ น
“กลุ่มไม่รอบรู้” ทำการตรวจนับ (Tally) การตอบแต่ละตัวเลือก หา
ค่าสถิติ
การวิเ คราะห์ข ้อ สอบแบบอิง กลุ่ม ด้ว ย“โปรแกรมวิเ คราะห์
ข้อสอบ”วิเคราะห์ได้จากการคีย์
คำตอบจากกระดาษคำตอบของนักเรียน โดย การเรียงคะแนนจากสูง ไป
หาต่ำ แล้วแบ่งกลุ่ม ดังนี ้
๑. หากจำนวนกระดาษคำตอบอยู่ใ นช่ว ง ๑ ถึง ๔๐ ใช้
เทคนิคการแบ่งกลุ่มร้อยละ ๕๐ มี ๒ กรณี
- กรณีจำนวนกระดาษคำตอบเป็ นเลขคู่ ไม่มีกลุ่มกลาง เช่น
กระดาษคำตอบ ๖ แผ่น
แบ่งเป็ นกลุ่มสูง ๓ แผ่น และกลุ่มต่ำ ๓ แผ่น เป็ นต้น
- กรณีจ ำนวนกระดาษคำตอบเป็ นเลขคี่ มีก ลุ่ม กลาง ๑
แผ่น(ตัดทิง้ ไม่นำมาวิเคราะห์-
ข้อ สอบ) เช่น กระดาษคำตอบ ๗ แผ่น แบ่ง เป็ นกลุ่ม สูง ๓ แผ่น
กลุ่มต่ำ ๓ แผ่น และกลุ่มกลาง ๑ แผ่น เป็ นต้น
๒. หากจำนวนกระดาษคำตอบอยู่ใ นช่ว ง ๔๑ ถึง ๑๕๐ ใช้
เทคนิคการแบ่งกลุ่มร้อยละ ๓๓.๓๓ จะมี ๓ กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มสูง กลุ่มต่ำ
และกลุ่มกลาง(ตัดทิง้ ไม่น ำมาวิเ คราะห์ข ้อ สอบ) เช่น กระดาษคำตอบ
๔๑ แผ่น แบ่งได้ก ลุ่มสูง ๑๓ แผ่น กลุ่มต่ำ ๑๓ แผ่น กระดาษคำ
ตอบที่เหลือเป็ นกลุ่มกลาง ๑๕ แผ่น เป็ นต้น
๓. หากจำนวนกระดาษคำตอบมากกว่า ๑๕๐ ขึน
้ ไป ใช้
เทคนิคการแบ่งกลุ่มร้อยละ ๒๗
จะมี ๓ กลุ่ม ได้แ ก่ กลุ่ม สูง กลุ่ม ต่ำ และกลุ่ม กลาง (ตัด ทิง้ ไม่น ำมา
วิเคราะห์ข้อสอบ) เช่น กระดาษคำตอบ ๑๕๑ แผ่น แบ่งได้กลุ่มสูง ๔๐
แผ่น กลุ่มต่ำ ๔๐ แผ่น กระดาษคำตอบที่เหลือเป็ นกลุ่มกลาง ๗๑ แผ่น
เป็ นต้น
๔. ต่อ จากนัน
้ โปรแกรมฯ จะตรวจนับ (Tally) ตัว เลือ กใน
แต่ล ะข้อ ทัง้ กลุ่ม สูง และกลุ่มต่ำ แล้ว หาค่า ความยากง่า ย(p) ค่า อำนาจ
จำแนก(r) ประสิทธิภาพตัวลวง และผลสรุปข้อสอบรายข้อ
๕. ต่อจากนัน
้ โปรแกรมฯ จะหา สถิตพ
ิ ้น
ื ฐานข้อสอบทัง้ ฉบับ
ได้แ ก่ คะแนนต่ำสุด คะแนนสูง สุด คะแนนเฉลี่ย ส่ว นเบี่ย งเบน
มาตรฐาน ค่าความเชื่อมั่น สัมประสิทธิก์ ารแปรผัน ค่าเฉลี่ยความยาก
ง่าย และค่าเฉลี่ยอำนาจจำแนก

หมายเหตุ
๑) กระบวนการตามข้อ ๔. เป็ นกระบวนการวิเคราะห์ข้อสอบราย
ข้อ ผลที่ได้สามารถนำไปพัฒนาปรับปรุงข้อสอบให้มีคณ
ุ ภาพ นำไปสู่การ
สร้างข้อสอบมาตรฐาน และนำไปสู่การสร้างธนาคารข้อสอบ
๒) กระบวนการตามข้อ ๕. เป็ นกระบวนการหาค่าสถิติ ข้อสอบ
ทัง้ ฉบับ ผลที่ได้สามารถนำไปใช้ในการวิจัย เพื่อสรุปว่าเครื่องมือที่สร้างมี
คุณ ภาพเพีย งใดโดยดูจ ากค่า สถิต ิท ี่ไ ด้ ถ้า เครื่อ งมือ ยัง ไม่ม ีค ุณ ภาพ
สามารถปรับ ข้อ สอบรายข้อ ตามผลที่ไ ด้จ ากกระบวนการข้อ ๕. แล้ว
ทดลองวิเ คราะห์ข้อสอบใหม่ เพื่อ ให้ไ ด้เ ครื่อ งมือ มีค ุณ ภาพดียิ่ง ขึน
้ และ
สามารถนำไปใช้เป็ นเครื่องมือในการวิจัยต่อไป

วิเคราะห์ข้อสอบแบบอิงเกณฑ์
การวิเ คราะห์ข ้อ สอบแบบอิง เกณฑ์ม ีห ล ายวิธ ี สำหรับ
โปรแกรมวิเคราะห์ข้อสอบนี ้
เป็ นการวิเ คราะห์ข ้อสอบโดยตรวจกระดาษคำตอบให้ค ะแนน แยกจุด
ประสงค์ ให้คะแนนรวม คะแนนเฉลี่ย แล้ววิเคราะห์ทีล ะจุดประสงค์
โดยแต่ละจุดประสงค์ นักเรียนที่สอบผ่านเป็ น “กลุ่มรอบรู้” นักเรียนที่
สอบไม่ผ ่า นเป็ น “กลุ่ม ไม่ร อบรู้” ทำการตรวจนับ (Tally) การตอบ
แต่ละตัวเลือก หาค่าสถิติหากมีข้อมูลจากการตรวจกระดาษให้ค ะแนน
ตัง้ แต่ ๕ คนขึน
้ ไป สามารถวิเ คราะห์ข ้อ สอบแบบอิง เกณฑ์ไ ด้ท ัน ที
ตามขัน
้ ตอนต่างๆ ดังนี ้
๑. กำหนดเกณฑ์ผ ่า น (จุด ตัด ) ของแต่ล ะจุด ประสงค์ ซึ่ง
กำหนดได้ ๒ แบบ ได้แก่ กำหนดตามแนวคิดของ Sheehand and
Davis และกำหนดเป็ นร้อยละ
๒. วิเ คราะห์ข ้อ สอบแบบอิง เกณฑ์จ ุด ประสงค์ใ ด ก็เ รีย ง
คะแนนรวมในจุดประสงค์นน
ั ้ จากสูงไปหาต่ำ แล้วแบ่งกลุ่มเป็ น ๒ กลุ่ม
โดยที่ห ากคะแนนมากกว่า หรือ เท่า กับ เกณฑ์ผ ่า น (จุด ตัด ) เป็ น “กลุ่ม
รอบรู้” หากคะแนนน้อยกว่าเกณฑ์ผ่าน (จุดตัด) เป็ น “กลุ่มไม่รอบรู้” ต่อ
จากนัน
้ โปรแกรม จะตรวจนับ (Tally) ข้อสอบรายข้อ ทัง้ กลุ่มรอบรู้แ ละ
กลุ่มไม่รอบรู้ แล้วหาค่าความยากง่าย(p) ค่าอำนาจจำแนก B-index (B)
ประสิทธิภาพตัวลวง และผลสรุปข้อสอบรายข้อ จนครบทุกจุดประสงค์
๓. การหาสถิตพ
ิ ้น
ื ฐานข้อสอบทัง้ ฉบับ ได้แก่ คะแนนต่ำสุด
คะแนนสูงสุด คะแนนเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า ความเชื่อ มั่น
สัม ประสิท ธิก์ ารแปรผัน ค่า เฉลี่ย ความยากง่า ย และค่า เฉลี่ย อำนาจ
จำแนก
หมายเหตุ
๑) เมื่อกำหนดเกณฑ์ผ่าน (จุดตัด) เปลี่ยนไป ผลการวิเคราะห์
ข้อสอบจะเปลี่ยนตามไปด้วย การกำหนดเกณฑ์ผ่าน(จุดตัด)มากไป หรือ
น้อยไปอาจทำให้ไม่มี “กลุ่มรอบรู้” หรือไม่มี “กลุ่มไม่รอบรู้” ซึ่งจะ
ทำให้ ไม่มีผลการวิเคราะห์ข้อสอบ
๒) กระบวนการตามข้อ ๒. เป็ นกระบวนการวิเคราะห์ข้อสอบ
รายข้อ ผลที่ได้สามารถนำไปพัฒนาปรับปรุงข้อสอบให้มีคุณภาพนำไปสู่
การสร้างข้อสอบมาตรฐานและนำไปสูก
่ ารสร้างธนาคารข้อสอบ

๓) กระบวนการตามข้อ ๓. เป็ นกระบวนการหาค่า สถิต ิ


ข้อสอบทัง้ ฉบับ ผลที่ได้สามารถนำไปใช้ในการวิจัย เพื่อสรุปว่า เครื่อง
มือที่สร้างมีคุณภาพเพียงใด โดยดูจากค่าสถิติที่ได้ ถ้าเครื่องมือ ยัง ไม่มี
คุณภาพ สามารถปรับข้อสอบรายข้อ ตามผลที่ได้จากกระบวนการข้อ ๒.
แล้วทดลองวิเคราะห์ข้อสอบใหม่เพื่อให้ได้เครื่องมือมีคุณภาพดียิ่งขึน
้ และ
สามารถนำไปใช้เป็ นเครื่องมือในการวิจัยต่อไป
ข้อ สัง เกต การวิเ คราะห์ข ้อ สอบแบบอิง กลุ่ม กับ การวิเ คราะห์
ข้อสอบแบบ อิงเกณฑ์ ไม่ส ามารถนำผลการวิเคราะห์ข้อสอบมาเปรียบ
เทียบกันได้ เพราะเป็ นคนละทฤษฎี และสูตรในการหาค่าสถิติกค
็ นละ
สูตร

๓.๕ สถิติที่ใช้ การพิจารณาประสิทธิภาพตัวลวง และเกณฑ์การ


เลือกข้อสอบที่มีคุณภาพ ดังนี ้
ความยากง่าย (Difficulty) หมายถึง ค่าที่แสดงว่าเครื่องมือนัน
้ หรือ
แบบทดสอบนัน
้ มีความยากหรือความง่ายเพียงใด แบบทดสอบที่ดี ควรมี
ค่าความยากง่ายปานกลาง การพิจารณาความยากง่ายของ -
แบบทดสอบรายข้อ หาได้จากสูตรดังนี ้

เมื่อ p แทน ความยากง่ายของข้อสอบ


H แทน จำนวนคนที่ตอบถูกในกลุ่มสูง
L แทน จำนวนคนที่ตอบถูกในกลุ่มต่ำ
N แทน จำนวนคนในกลุ่มสูงและกลุ่มต่ำรวมกัน

ค่าความยากง่ายจะมีค่าอยู่ระหว่าง ๐.๐๐ ถึง ๑.๐๐ โดยที่


ถ้า ๐.๐๐ <= p < ๐.๒๐ แสดงว่า ข้อสอบยากมาก
ถ้า ๐.๒๐ <= p <๐.๔๐ แสดงว่า ข้อสอบค่อนข้างยาก
ถ้า ๐.๔๐ <= p <= ๐.๖๐ แสดงว่า ข้อสอบยากง่ายปาน
กลาง
ถ้า ๐.๖๐ < p <= ๐.๘๐ แสดงว่า ข้อสอบค่อนข้างง่าย
ถ้า ๐.๘๐ < p <= ๑.๐๐ แสดงว่า ข้อสอบง่ายมาก

อำนาจจำแนก (Discrimination) หมายถึง ค่า ที่แสดงว่า เครื่อ งมือ หรือ


แบบประเมินสามารถแยก
นัก เรีย นเก่ง และอ่อ นได้ โดยคนเก่ง จะตอบถูก ส่ว นคนอ่อ นจะตอบผิด
การพิจารณาอำนาจจำแนกของ
แบบทดสอบเป็ น รายข้อ แต่ละข้อหาได้จากสูตรดังนี ้

เมื่อ r แทน อำนาจจำแนกของข้อสอบ


H แทน จำนวนคนที่ตอบถูกในกลุ่มสูง

L แทน จำนวนคนที่ตอบถูกในกลุ่มต่ำ
N แทน จำนวนคนในกลุ่มสูงและกลุ่มต่ำรวมกัน

ค่าอำนาจจำแนกจะมีค่าอยู่ระหว่าง –๑.๐๐ ถึง ๑.๐๐ โดยที่


ถ้าข้อสอบมีอำนาจจำแนกเป็ น บวก แสดงว่า ข้อสอบข้อนัน
้ จำแนก
ได้
ถ้าข้อสอบมีอำนาจจำแนกเป็ น ลบ แสดงว่า ข้อสอบข้อนัน
้ จำแนก
ตรงกันข้าม
ถ้าข้อสอบมีอำนาจจำแนกเป็ น ศูนย์ แสดงว่า ข้อสอบข้อนัน

ไม่ม ีอ ำนาจจำแนก หรือ จำนวนนัก เรีย นตอบถูก ในกลุ่ม สูง และจำนวน
นักเรียนตอบถูกในกลุ่มต่ำมีจำนวนเท่ากัน
ข้อ สอบที่ม ีอ ำนาจจำแนก ได้แ ก่ ข้อ สอบที่ม ีค ่า อำนาจจำแนก
มากกว่าหรือเท่ากับ ๐.๒๐
ประสิทธิภาพตัวลวง
ตัวลวง หมายถึง ตัวเลือกที่ผิด ตัวลวงที่ดีควรมีลักษณะดังนี ้
๑) มีคนเลือกอย่างน้อยร้อยละ ๕
๒) จำนวนคนในกลุ่มสูงเลือกน้อยกว่ากลุ่มต่ำ
เกณฑ์การเลือกข้อสอบที่มีคณ
ุ ภาพ พิจารณาจากสิ่งต่อไปนี ้
๑) ความยากง่าย ควรมีค่าอยู่ระหว่าง ๐.๒๐ – ๐.๘๐
๒) อำนาจจำแนก ควรมีค่าตัง้ แต่ ๐.๒๐ ขึน
้ ไป
การพิจารณาด้วยรูป ก จะทำให้พิจารณาได้ชัดเจนขึน

r

1
0.4
0.2

-1 p
1

0.2 0.4
0.6 0.8

แทน ข้อสอบ ใช้ได้


แทน ข้อสอบ พอใช้ได้
แทน ข้อสอบ ใช้ไม่ได้

๔. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
๑) ทำให้ร้ค
ู ุณภาพของข้อสอบ และสามารถปรับแก้ไข ข้อสอบได้
ตรงเพื่อให้ได้ข้อสอบที่มีคุณภาพเช่น ข้อสอบที่ยากไป ข้อสอบมีอำนาจ
จำแนกหรือไม่ ใช้ภาษาถูกต้องหรือไม่ ตัวลวงบางตัวเลือกมี-
ประสิทธิภาพหรือไม่ เป็ นต้น ซึ่งคุณภาพของข้อสอบดูจากค่าความยาก
ง่าย (p) ค่าอำนาจจำแนก (r) และดูจากประสิทธิภาพตัวลวง
๒) จากค่าความยากง่าย (p) ค่าอำนาจจำแนก (r) และ
ประสิทธิภาพตัวลวง ทำให้ครูต้องปรับ-
ข้อสอบแต่ละข้อให้ดีขน
ึ ้ ช่วยให้ครูเขียนข้อสอบได้ดีขน
ึ้
๓) สามารถนำข้อสอบมาใช้ได้อีก เมื่อมีการวิเคราะห์ข้อสอบ ผล
การวิเคราะห์ข้อสอบที่เก็บไว้ สามารถนำข้อสอบมาใช้ได้อีก และนำ
ข้อสอบมาใช้เหมาะสมกับกลุ่มนักเรียนที่เข้าสอบ เช่น ออกข้อสอบเพื่อ
สอบปกติ ก็คัดเลือกข้อสอบที่ความยากง่ายปานกลาง ค่าอำนาจจำแนกสูง
,ออกข้อสอบเพื่อสอบเรียนต่อ ก็คัดเลือกข้อสอบที่มีความยากง่ายเป็ น
ยากหรือค่อนข้างยาก,ออกข้อสอบเพื่อสอบซ่อม ก็คัดเลือกข้อสอบที่มี
ความยากง่ายเป็ นง่ายหรือค่อนข้างง่ายเป็ นต้น

๕. ผลการวิเคราะห์ข้อสอบ
๑. ข้อสอบวิชา ค๓๒๒๐๒ ชัน
้ มัธยมศึกษาปี ที่ ม.๕/๘ จำนวน ๒๐
ข้อ ชนิด ๔ ตัวเลือก
จำนวนกระดาษคำตอบ ๓๐ แผ่น แบ่งกลุ่มใช้เทคนิคร้อยละ
1 ๒ กลุ่มสูง : กลุ่มต่ำ :
คะแนนต่ำสุด …๑๓….. คะแนน
คะแนนสูงสุด …๑๙…คะแนน
คะแนนเฉลี่ย ……๑๔.๒๘๕๗…….
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน …๑.๓๐……..
ความเชื่อมั่น(Reliability) KR-๒๐ …- ๐.๘๒๑…
สัมประสิทธิก์ ารแปรผัน …๐.๙๓๓๓…….
ค่าเฉลี่ยความยากง่าย …๐.๕๙๒………
ค่าเฉลี่ยอำนาจจำแนก ……๐.๕๑๗…..
สรุปผล การวิเคราะห์ขอ
้ สอบวิชา คณิตศาสตร์ เพิ่มเติม
ข้อสอบ จำนวน ๓๐ ข้อ
ใช้ได้ โดยไม่ต้องปรับตัวเลือก จำนวน …
๓๐…. ข้อ
ใช้ได้ แต่ต้องปรับตัวเลือก จำนวน ๐ ข้อ
พอใช้ได้ โดยไม่ต้องปรับตัวเลือก จำนวน ๐ ข้อ
พอใช้ได้ แต่ต้องปรับตัวเลือก จำนวน ๐ ข้อ
ใช้ไม่ได้ และต้องปรับตัวเลือก จำนวน ๐ ข้อ

อภิปรายผล
ผลการวิเคราะห์ข้อสอบทัง้ สองวิช า ในครัง้ นีไ้ ด้นำกระดาษคำตอบ
ของนัก เรีย น ที่เ รีย นกับ ผู้ร ายงานมาวิเ คราะห์เ ท่า นัน
้ ดัง นัน
้ ผลการ
วิเคราะห์ในครัง้ นีอ
้ าจมีค่า ไม่ตรงความเป็ นจริง เท่าที่ควร และอีกประการ
หนึ่ง ก่อนที่น ักเรียนจะสอบกลางภาคเรียน ระบบการจัด การเรียนการ
สอนไม่ต่อเนื่อง เนื่องจากโรงเรียนมีก ิจกรรมเสริมหลัก สูต ร เช่น กีฬ าสี
ภายใน กิจ กรรมแห่เ ทีย นเข้า พรรษา กิจ กรรมเข้า ค่า ยพุท ธบุต รของ
นักเรียนชัน
้ มัธยมศึกษาปี ที่ …. ทำให้ผู้เรียนเกิดความเหนื่อยล้า ไม่มีสมาธิ
ในการอ่านหนังสือ มีผลต่อประสิทธิภาพ
การเตรียมความพร้อมในการสอบ
ข้อเสนอแนะ
๑. ควรกำหนดให้ค รูด ำเนิน การวิเ คราะห์ข ้อ สอบทัง้ ระดับ ชัน

เนื่องจากใช้ข้อสอบฉบับเดียวกัน
ทัง้ ระดับมีผลต่อค่าสถิติ
๒. ก่อ นสอบ ๑ เดือ นไม่ค วรมีก ิจ กรรมหนัก เพราะจะมีผ ลต่อ
ประสิทธิภาพผู้เรียน ทำให้ไม่มีสมาธิในการเตรียมความพร้อม หรืออ่าน
หนังสือ
เอกสารอ้างอิง

การศึกษาทางไกล, สถาบัน, ชุดการเรียนทางไกล หลักสูตรการ


วิจย
ั เพื่อการพัฒนาการเรียนรู้.
กรุงเทพมหานคร : คุรุสภาลาดพร้าว,๒๕๔๙
บุญเรียง ขจรศิลป์ . หลักการวัดและประเมินผลการศึกษา.
กรุงเทพมหานคร : ภาควิชาการศึกษา
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์,๒๕๒๗.
เพลินพิศ สุพพัตกุล .รายงานการวิเคราะห์ข้อสอบกลางภาคเรียน
ท๔๑๑๐๑. เอกสารสำเนา,๒๕๕๑
เพลินพิศ สุพพัตกุล .รายงานการวิเคราะห์ข้อสอบปลายภาคเรียน
ท๔๑๑๐๑. เอกสารสำเนา,๒๕๕๑
ธีรวัฒน์ สุพพัตกุล, เพลินพิศ สุพพัตกุล. การวิจย
ั ในชัน
้ เรียน.
กรุงเทพมหานคร : อักษราพิพัฒน์,
๒๕๔๖
ธีรวัฒน์ สุพพัตกุล. วิเคราะห์ขอ
้ สอบ.กรุงเทพมหานคร : อักษรา
พิพัฒน์,๒๕๕๑
สมศักดิ ์ ภูว่ ิภาคดาวรรธน์. การยึดผู้เรียนเป็ นศูนย์กลางและการ
ประเมินตามสภาพจริง. เชียงใหม่ :
THE KNORLEDGE CENTER, ๒๕๔๕
เอกรินทร์ สี่มหาศาล, สุดปรารถนา ยุกตะนันทน์. การออกแบบ
เครื่องมือวัดและประเมินผล-
ตามสภาพจริง. นนทบุรี : ไทยร่มเกล้า
ภาคผนวก ก
ข้อสอบ วิชา คณิตศาสตร์ เพิ่มเติม
ภาคผนวก ข
ผลการวิเคราะห์ข้อสอบ วิชา
คณิตศาสตร์ เพิ่มเติม

You might also like