You are on page 1of 34

เส้นชัน้ ความสูงของโครงสร้าง 31

เส้นชัน้ ความสูงของโครงสร้าง
(Structural Contours)
เส้นชัน้ ความสูงของโครงสร้าง (structural contours) คือ เส้นทีล่ ากผ่านระดับความสูง
เท่ากันบนผิวของโครงสร้าง เช่น (1) ผิ วของระนาบเรียบ [รูปที่ 5.1 (ก) และ (ข) และรูปที่ 5.2] ซึ่ง
ตัวอย่างของผิวระนาบเรียบ ได้แก่ ระนาบจากการวางตัวของชัน้ หิน (bedding plane) ดังภาพตัวอย่าง
แสดงในรูปที่ 5.1 (ก) และ (ข) ระนาบจากรอยเลื่อน (fault plane)] และ (2) ผิ วระนาบโค้งหรือกึง่ โค้ง
[รูปที่ 5.1 (ค) และ (ง) และ รูปที่ 5.3] ซึง่ ตัวอย่างของผิวระนาบโค้ง ได้แก่ ผิวระนาบโค้งของชัน้ หินทีเ่ กิด
จากกระบวนการคดโค้ง ดังภาพตัวอย่างแสดงในรูปที่ 5.1 (ค) และ (ง) ผิวระนาบโค้งจากรอยสัมผัส
ตัวอย่างเช่น รอยสัมผัสจากการเลื่อน (fault contact) รอยสัมผัสจากการตกสะสมตะกอน (depositional
contact) หรือรอยสัมผัสจากการขาดความต่อเนื่องของการตกสะสมของตะกอน (unconformity contact)

รูปที ่ 5.1 ตัวอย่างโครงสร้างทางธรณีวทิ ยาทีแ่ สดง (ก) และ (ข) ระนาบเรียบ (ค) และ (ง)
ระนาบโค้ง [ภาพ (ก) (ข) และ (ง) เพียงตา สาตรักษ์ ถ่ายภาพ ภาพ (ค) ณัฐวิโรจน์ ศิลารัตน์ ถ่ายภาพ]
32 คู่มอื ปฏิบตั กิ ารธรณีวิทยาโครงสร้างและธรณีวิทยาภาคสนาม

รูปที ่ 5.2 ลักษณะของระนาบเรียบทีม่ มี ุมเทคงที ่ สามารถสร้างแผนทีเ่ ส้นชัน้ ความสูง ผิวบนของ


ระนาบเรียบ ซึง่ ได้เป็ นเส้นขนาน มีระยะห่างเท่ากัน พิจารณาจากแผนทีเ่ ส้นชัน้ ความสูงสามารถแปลเป็ น
ระนาบรูปสามมิตไิ ด้ [ทีม่ าของภาพ: http://www.uwgb.edu/dutchs/structge/labman.htm]

ดังนัน้ เส้นชัน้ ความสูงของโครงสร้าง (structural contours) แตกต่างจากเส้นชัน้ ความสูงของ


ภูมปิ ระเทศ (topographic contours) โดยทีเ่ ส้นชัน้ ความสูงภูมปิ ระเทศ แสดงความสูงของพืน้ ผิวดินเทียบ
กับระดับน้าทะเลในแนวราบ (horizontal plane) ความแตกต่างของความสูงวัดตัง้ ฉากกับระนาบแนวราบ
เช่น 10, 20, 30, 100 หรือ 1,000 เมตรจากระดับน้ าทะเลปานกลาง หรือเทียบจากจุดความสูงอ้างอิง
(reference point) จุดใดจุดหนึ่ง ถ้าค่าความสูงมากกว่าจุดอ้างอิง กาหนดให้มคี ่าเป็ นบวก ถ้าค่าความ
สูงต่ ากว่าจุดอ้างอิง กาหนดให้ค่าความสูงมีค่าเป็ นลบ ส่วนเส้นชัน้ ความสูงของโครงสร้าง แสดงระดับ
ความสูงเท่ากันของผิวของโครงสร้างทางธรณีวทิ ยา (geologic structures) ซึง่ ผิวของโครงสร้างอาจเป็ น
ผิวระนาบเรียบ (planar surface) ดังตัวอย่างแสดงในรูปที่ 5.1 (ก) และ (ข) หรือผิวระนาบโค้งหรือกึง่ โค้ง
(curvi-planar surface) ดังตัวอย่างแสดงในรูปที่ 5.1 (ค) และ (ง) หรือผิวจากรอยสัมผัสผิวบนหรือล่าง
ของหินชุดใดชุดหนึ่ง (top surface or bottom surface) และวัดเทียบกับจุดอ้างอิงจุดใดจุดหนึ่ง ซึง่ อาจ
เป็ นระดับน้าทะเลปานกลาง
แผนทีแ่ สดงเส้นชัน้ ความสูงของโครงสร้าง (structural contours map) ให้ภาพลักษณ์หรือเป็ น
สื่อทีช่ ดั เจนของการวางตัว (attitude) หรือรูปร่าง (shape) ของโครงสร้าง เส้นชัน้ ความสูงของโครงสร้าง
(รูปที่ 5.2 และ 5.3) คือ เส้นทีแ่ สดงแนวระดับ (strike lines) ของโครงสร้าง ส่วนทิศทางการเอียงเท
(dip direction) จะตัง้ ฉากกับแนวระดับ
เส้นชัน้ ความสูงของโครงสร้าง 33

การอ่านแผนที ่ (map reading) หรืออีกชื่อเรียกว่า การแปลความหมายจากแผนที ่ (map


interpretation) และ การสร้างแผนที ่ (map construction) เมื่อได้ช่อื ว่าเป็ นนักธรณีวทิ ยา ต้อง
สามารถทาได้ เพราะถือเป็ นงานพืน้ ฐาน ทีน่ กั ธรณีวทิ ยาต้องทราบและต้องทาได้

รูปที ่ 5.3 ลักษณะของระนาบโค้งหรือกึง่ โค้ง มีมุมเทไม่คงที ่ สามารถสร้างแผนทีแ่ สดงเส้นชัน้


ความสูงผิวบนของระนาบโค้งหรือกึง่ โค้งซึง่ ลากด้วยเส้นประในภาพล่าง พิจารณาจากแผนทีส่ ามารถแปล
เป็ นระนาบรูปสามมิตไิ ด้ [ทีม่ าของภาพ: Fig. 19 โดย Powell, 1992]

เมือ่ ได้พจิ ารณารูปทีผ่ ่านมาทัง้ 2 รูป อย่างเข้าใจแล้ว ควรทาแบบฝึกหัดท้ายบท ข้อ


1-3 ก่อนทีจ่ ะอ่านในหัวข้อต่อไป
34 คู่มอื ปฏิบตั กิ ารธรณีวิทยาโครงสร้างและธรณีวิทยาภาคสนาม

5.1 การสร้างเส้นชัน้ ความสูงของระนาบเรียบ


การสร้างเส้นชัน้ ความสูงของโครงสร้าง (structural contouring) ในกรณีของระนาบเรียบ
(planar surface) สิง่ ทีต่ อ้ งทราบ คือ แนวระดับ (strike) และมุมเท (dip) ของระนาบ
คุณลักษณะ (properties) ของเส้นชัน้ ความสูงของโครงสร้าง ของผิวระนาบเรียบ (รูปที่
5.2) จะต้อง
(1) เป็ นเส้นตรงเสมอ (always straight line)
(2) ขนานกับแนวระดับของระนาบเสมอ (always parallel to strike)
(3) ขนานซึง่ กันและกันเสมอ (always parallel to each other) และ
(4) หากมุมเทของระนาบนัน้ คงที่ ระยะห่างระหว่างเส้นชัน้ ความสูงต้องเท่ากันเสมอ
(always equally-spaced)
การสร้างเส้นชัน้ ความสูงของโครงสร้างลงในแผนที่ เส้นชัน้ ความสูงของโครงสร้างระนาบ
เรียบ มีวธิ กี ารสร้าง 2 วิธี ได้แก่
(1) วาดภาพโดยใช้มาตราส่วนจากแผนทีเ่ พื่อวัดระยะและวัดมุม (รูปที่ 5.4) หรือ
(2) คานวณ โดยใช้สมการทางเรขาคณิต (รูปที่ 5.4)

CI
tan(dip) 
HS

เมื่อ CI = ระยะห่างของเส้นชัน้ ความสูงของระนาบในแนวดิง่ (contour interval)


HS = ระยะห่างระหว่างเส้นชัน้ ความสูงในแนวนอนโดยวัดตัง้ ฉาก (horizontal spacing
between contour measured perpendicular to a contour line)

ตัวอย่างที่ 1 ในกรณีทท่ี ราบการวางตัวของระนาบ (strike and dip) และระดับความสูง ณ


ตาแหน่งทีว่ ดั การวางตัวของระนาบ (elevation) เช่น สมมติให้หน่วยหินทราย (sandstone unit) ดังแสดง
ในรูปที่ 5.1 (ก) เป็ นระนาบเรียบอย่างสมบูรณ์ (perfect plane) โดยมีแนวระดับ (strike) 25N และมุมเท
(dip) 15 วัดผิวบนของหน่ วยหินชัน้ หินทราย (top surface of sandstone bed) ทีค่ วามสูง 340 เมตร
จากระดับน้ าทะเลปานกลาง สามารถสร้างแผนที่เส้นชัน้ ความสูงของโครงสร้าง (structural contours
map) แนวระนาบของผิวบนของชัน้ หินทราย วิธกี ารสร้าง ด้วยการวาดภาพ ต้องใช้ มาตราส่วนที ่
กาหนดในแผนที ่ หรือการคานวณด้วยสมการทางเรขาคณิต ดังแสดงในรูปที่ 5.4
ตัวอย่างที่ 2 ในกรณีทต่ี อ้ งการหาแนวระดับ (strike) มุมเท (dip) จากแผนทีเ่ ส้นชัน้ ความสูงของ
โครงสร้างระนาบเรียบ สามารถหาได้โดยวิธีเดียวกันกับตัวอย่างที่ 1 นัน่ คือ วาดภาพ โดยกาหนด
เส้นชัน้ ความสูงของโครงสร้าง 35

มาตราส่วนเดียวกับแผนทีแ่ ละวัดมุมเทจากภาพทีว่ าด (รูปที่ 5.5) หรือคานวณ โดยใช้สมการทางเราขา


คณิต ค่าทีต่ ้องการคานวณหา คือ ค่ามุมเท ส่วนค่าช่วงชัน้ ความสูง (contour interval, CI) ซึง่ หาได้
จากการนาเอาค่าความสูงของเส้นชัน้ ทีอ่ ยู่ตดิ กันมาลบออกจากกัน จะได้เป็ นค่าความแตกต่างของเส้นชัน้
ความสูง ของโครงสร้า งในแนวดิ่ง ส าหรั บ การหาค่ า ระยะห่ า งระหว่ า งเส้น ชัน้ ความสูง ในแนวนอน
(horizontal spacing, HS) วัดระยะจากแผนที่ การวัดจะต้องวัดฉากกับทิศทางการวางตัว ของเส้นชัน้
ความสูง ดังแสดงในรูปที่ 5.5

รูปที ่ 5.4 (ก) ชัน้ หินทรายโผล่ทรี ่ ะดับ 340 เมตร มีแนวระนาบ 25N และมุมเท 15 (ข) วิธกี าร
สร้างชัน้ ความสูงของโครงสร้าง โดยวิธวี าดภาพ และวิธกี ารคานวณโดยใช้สมการทางเรขาคณิต ในทีน่ ้ ี
โดยกาหนดเส้นชัน้ ความสูงทีร่ ะดับช่วงชัน้ ห่างกัน 100 เมตร (contour interval, CI = 100 m) (ค) ลากเส้น
ขนานกับแนวระดับ (strike) โดยลงชัน้ ความสูงเทียบกับจุดความสูงทีพ่ บชัน้ หินทราย (ง) แผนทีเ่ ส้นชัน้
ความสูงของโครงสร้างของระนาบของหินทราย (structural contour map of top surface sandstone)
36 คู่มอื ปฏิบตั กิ ารธรณีวิทยาโครงสร้างและธรณีวิทยาภาคสนาม

รูปที ่ 5.5 การหาแนวระดับ (strike) และมุมเท (dip) ของระนาบ จากแผนทีเ่ ส้นชัน้ ความสูงของ
โครงสร้างระนาบเรียบ (ก) แผนทีเ่ ส้นชัน้ ความสูงของโครงสร้าง (ข) วิธหี าทิศทางของแนวระดับ วัดตาม
แนวของเส้นชัน้ ความสูง เพราะเส้นชัน้ ความสูงของโครงสร้างขนานกับแนวระดับ การวัดแนวระดับวัด
เทียบกับทิศเหนือของแผนที ่ (ค) วิธกี ารหามุมเทจากการคานวณ และจากการวาดภาพ (ง) ผลทีค่ านวณ
ได้ คือ แนวระดับ 25N และมุมเท 15 ทิศทางของมุมเท ตัง้ ฉากกับแนวระดับและเอียงเทไปในทิศทาง
ทีม่ ตี าแหน่งของเส้นชัน้ ความสูงค่าตา่

ตัวอย่างที่ 3 ในกรณีทต่ี อ้ งการหาแนวระดับ (strike) มุมเท (dip) และสร้างเส้นชัน้ ความสูงของ


โครงสร้างระนาบเรียบ จากการทราบ ค่าความสูงของผิ วระนาบ 3 จุด (three points problem)
ซึง่ ค่าความสูงของผิวระนาบอาจพบจากหินโผล่ (outcrop) ให้เห็นทีผ่ วิ ดิน หรือจากการเจาะหลุมสารวจ
(bore hole) สิง่ ทีต่ ้องทราบ คือ ความสูงของผิวระนาบ ในกรณีทร่ี ะนาบนัน้ ความหนา จะเป็ นผิวบน
(top surface) 3 จุด หรือผิวล่าง (bottom surface) 3 จุด รูปที่ 5.6 แสดงการวิเคราะห์หาแนวระดับและ
มุมเทของระนาบของชัน้ ซึง่ พบอยู่บนแผนที่ 3 ตาแหน่ง คือ A, B และ C ทีต่ าแหน่ ง A และ B พบผิวบน
ของชัน้ หินอยู่ลกึ ใต้ผวิ ดิน ส่วนตาแหน่ ง C พบเป็ นหินโผล่ ดังนัน้ จะต้องหาความสูงของผิวบนของชัน้
เส้นชัน้ ความสูงของโครงสร้าง 37

หินทีต่ าแหน่ง A และ B ดังแสดงในรูปที่ 5.6 (ก) และ (ข) กาหนดช่วงชัน้ เส้นความสูงทีต่ อ้ งการสร้าง ใน
รูปกาหนดช่วงชัน้ (contours interval, CI) 100 เมตร จากนัน้ ประมาณหาค่าความสูงจากค่าทีท่ ราบ 3
ตาแหน่ง เชื่อมต่อเส้นชัน้ ความสูงผ่านตาแหน่งทีม่ คี วามสูงเท่ากัน ดังแสดงในรูปที่ 5.6 (ค) และ (ง)

รูปที่ 5.6 การหาแนวระดับ (strike) มุมเท (dip) ของระนาบ และสร้างเส้นชัน้ ความสูงของ


โครงสร้างจากตาแหน่งทีท่ ราบความสูงของโครงสร้าง 3 ตาแหน่ง (three points problem) (ก) แผนทีแ่ สดง
ตาแหน่งทีพ่ บชัน้ หิน ทีม่ กี ารเอียงเท ตาแหน่ง A และ B พบอยู่ใต้ผวิ ดิน ตาแหน่ง C พบหินทราบบนผิวดิน
(ข) เชือ่ มต่อจุด 3 จุด เพือ่ ประมาณหาค่าทีไ่ ม่ทราบจากค่าทีท่ ราบ (interpolation) (ค) สร้างเส้นชัน้ ความ
สูง (ง) แผนทีเ่ ส้นชัน้ ความสูงของชัน้ หิน

เมือ่ อ่านจบหัวข้อนี้แล้ว ควรทาแบบฝึกหัดท้ายบท ข้อ 4-6 ก่อนทีจ่ ะอ่านในหัวข้อ


ต่อไป
38 คู่มอื ปฏิบตั กิ ารธรณีวิทยาโครงสร้างและธรณีวิทยาภาคสนาม

ตัวอย่างที่ 4 ในกรณีทท่ี ราบเส้นแนวระดับ และตาแหน่ งความสูง ต้องการหามุมเท และสร้าง


แผนทีเ่ ส้นชัน้ ความสูง การทีจ่ ะสร้างได้ ต้องทราบตาแหน่ งของผิวระนาบทีห่ ่างจาก ตาแหน่ งเส้นแนว
ระดับ อย่างน้อย 1 ตาแหน่ง [รูปที่ 5.7 (ก)] จากนัน้ เทียบหาความสูง คานวณหรือวาดภาพเพื่อหามุมเท
ต่อมากาหนดช่วงชัน้ ความสูง ในทีน่ ้กี าหนดช่วงชัน้ 100 เมตร สามารถสร้างเส้นชัน้ ความสูงตามช่วงชัน้
ทีก่ าหนดได้ ดังแสดงในรูปที่ 5.7 (ข)-(ง)

รูปที ่ 5.7 (ก) เส้นแนวระดับพร้อมตาแหน่ งความสูง และตาแหน่ งทีพ่ บ ห่างจากเส้นแนวระดับ


(ข) คานวณหามุมเท โดยจะต้องหาค่าระยะห่างในแนวนอนทีว่ ดั ได้จากแผนที ่ (ค) วาดภาพหามุมเท โดย
เทียบมาตราส่วนจากแผนที ่ กาหนดช่วงชัน้ ความสูงของเส้นชัน้ และประมาณค่าทีไ่ ม่ทราบจากค่าทีท่ ราบ
(ง) แผนทีเ่ ส้นชัน้ ความสูงของโครงสร้างระนาบเรียบ ซึง่ เส้นชัน้ ความสูงของโครงสร้างทีส่ ร้างเพิม่ ขึ้นมา
จะต้องขนานและมีระยะห่างของเส้นชัน้ เท่ากัน

รูปที่ 5.4-5.7 ถือเป็ นรูปพืน้ ฐานทีต่ ้องทาความเข้าใจ หากยังความมีสบั สนควรทบทวนอีกครัง้


จากรูปที่ 5.4-5.7 สามารถประยุกต์ เพื่อทาแผนที่ธรณีวทิ ยาของหินโผล่ รูปที่ 5.8 แสดงลาดับการ
เส้นชัน้ ความสูงของโครงสร้าง 39

วิเคราะห์เพื่อหา รูปแบบของหิ นโผล่ (outcrop pattern) เมื่อทาการสารวจในสนาม จาเป็ นต้องทาแผน


ทีฐ่ าน (base map) ให้อยู่ในมาตราส่วนทีต่ อ้ งการสารวจ ซึง่ ประกอบด้วยเส้นชัน้ ความสูงของภูมปิ ระเทศ
[รูปที่ 5.8 (ก)] จากนัน้ ทาการสารวจสภาพธรณีวทิ ยาของพืน้ ที่ ในกรณีทพ่ี บชัน้ หินวางตัวเอียงเท วัดแนว
ระดับ (strike) และมุมเท (dip) และนามาสร้างเส้นชัน้ ความสูงของโครงสร้าง [รูปที่ 5.8 (ข)] เพื่อหา
รูปแบบของหินโผล่ [รูปที่ 5.8 (ค)] ซึง่ สภาพธรณีวทิ ยาที่ควบคุมการปรากฏของหินโผล่ ได้แก่ (1)
ระนาบหรือระนาบกึง่ โค้ง (2) มุมเทและทิศทาง และ (3) ความหนาของหน่วยหิน (รูปที่ 5.8-5.10)

รูปที ่ 5.8 ลาดับการวิเคราะห์เพือ่ หารูปแบบของหินโผล่ (outcrop pattern) (ก) สภาพภูมิ


ประเทศทีป่ รากฏในพื้นทีส่ ารวจและแผนทีภ่ ูมปิ ระเทศ (ข) สภาพธรณีวทิ ยา พบชัน้ หินวางคัวเอียงเท และ
แผนทีแ่ สดงเส้นชัน้ ความสูงของระนาบ (ค) การหารูปแบบของหินโผล่ หาได้โดยการวางซ้อนแผนทีเ่ ส้น
ชัน้ ความสูงของระนาบกับแผนทีภ่ ูมปิ ระเทศ ตาแหน่ งทีค่ วามสูงของแผนทีท่ งั ้ สองเท่ากัน คือ ตาแหน่ ง จะ
พบหินโผล่ ถ้าความสูงของภูมปิ ระเทศมากกว่า ความสูงของผิวระนาบ แสดงว่า ผิวระนาบอยู่ใต้ผวิ ดิน ถ้า
ความสูงของภูมปิ ระเทศน้อยกว่า ความสูง ของผิวระนาบ แสดงว่า ผิวระนาบผุกร่อนออกไปแล้ว เพราะใน
กรณีน้ ีกาหนดให้เป็ นระนาบบาง (thin bed) ยังไม่นาความหนาของชัน้ หินมาพิจารณา [ทีม่ าของภาพ:
ภาพจาก www.fault-analysis-group.ucd.ie/gallery]
40 คู่มอื ปฏิบตั กิ ารธรณีวิทยาโครงสร้างและธรณีวิทยาภาคสนาม

รูปที ่ 5.9 (ก)-(ฉ) รูปแบบของหินโผล่ ขึ้นกับสภาพภูมปิ ระเทศ การวางตัวของชัน้ หิน ความหนา


ของชัน้ หิน ในรูปเป็ นชัน้ หินบาง [ทีม่ าของภาพ: ภาพจาก www.fault-analysis-group.ucd.ie/gallery]
เส้นชัน้ ความสูงของโครงสร้าง 41

รูปที่ 5.10 แสดงรูปร่างแบบหินโผล่ ทีข่ น้ึ กับสภาพธรณีวทิ ยา 3 ประการทีก่ ล่าวมาข้างต้น กรณี


ของชัน้ หินทีว่ างตัวในแนวราบ [รูปที่ 5.10 (ก)] จะได้การโผล่ของหินขนานไปกับเส้นชัน้ ความสูงของภูมิ
ประเทศ (parallel to topographic contours) เมื่อชัน้ หินหรือหน่ วยหินมีการเอียงเท การปรากฏของ
รูปร่างหินโผล่จะแตกต่างกันออกไป ขึน้ อยู่กบั ทิศทางของแนวระดับ (strike) และมุมเท (dip) ดังแสดงใน
รูปที่ 5.10 (ข)-(ฉ) โดยชัน้ หินหรือหน่วยหินทีแ่ สดงด้วยสีทบึ มีความหนาเท่ากันทุกรูป แนวระดับวางใน
ทิศทางเดียวกัน แต่องศาของมุมเทต่างกัน

รูปที ่ 5.10 ภาพบล็อกไดอะแกรมและแผนทีแ่ สดงหินโผล่ (ก) ชัน้ หินมีมุมเท 0 พบการวางตัว


ขนานกับเส้นชัน้ ความสูงของภูมปิ ระเทศ ลักษณะของภูมปิ ระเทศกาหนดรูปแบบของหินโผล่ (ข) ชัน้ หินมี
มุมเท 90 สภาพภูมปิ ระเทศไม่มผี ลต่อลักษณะของหินโผล่ (ค) ชัน้ หินมีมุมเท 45 (ง) ชัน้ หินมีมุมเท
30 (จ) ชัน้ หินมีมุมเท 17 เท่ากับความลาดชันของภูมปิ ระเทศ (ฉ) ชัน้ หินมีมุมเท 6 [ทีม่ าของภาพ:
Figure 3.4 โดย Ragan, 1968]
42 คู่มอื ปฏิบตั กิ ารธรณีวิทยาโครงสร้างและธรณีวิทยาภาคสนาม

จากรูปที่ 5.10 สรุปได้ว่า กรณีแผนทีแ่ สดง หิ นโผล่รปู ตัววี (V-shaped) หากมุมเทของหิน


มากกว่ามุมเทของภูมปิ ระเทศ ทิศทางของรูปตัววี บ่งบอกทิศทางของมุมเทของหิน นัน่ คือ มุมเทชีไ้ ป
ตามแนวของตัววี [รูปที่ 5.10 (ค) และ (ง)] แต่ถ้ามุมเทของภูมปิ ระเทศมากว่า มุมเทชีใ้ นทิศทางตรงกัน
ข้ามกับตัววี [รูปที่ 5.10 (ฉ)] กรณีหนิ มีมุมเท 90 สภาพภูมปิ ระเทศไม่มผี ลต่อรูปร่างการปรากฏของหิน
โผล่ [รูปที่ 5.10 (ข)] และถ้าเส้นความสูง-ต่าของภูมปิ ระเทศแตกต่างกันมีความลาดชันไม่สม่าเสมอทัวทั ่ ง้
พืน้ ที่ รูปร่างของหินโผล่และความหนา-บางของชัน้ หินทีโ่ ผล่ในแผนทีจ่ ะแตกต่างกันออกไป ซึง่ สาเหตุมา
จากภูมปิ ระเทศไม่ใช่เกิดจากความหนา-บางของหน่วยหินทีไ่ ม่เท่ากัน
รูปที่ 5.11 แสดงตัวอย่างของหินโผล่ในแผนทีอ่ กี หนึ่งตัวอย่าง กาหนดให้ชนั ้ หินมีความหนามาก
จากรูปจะเห็นว่าขอบเขตของหินโผล่ แม้ผวิ บนของชัน้ หินทีร่ ะบายด้วยสีทบึ มีลกั ษณะทีเ่ ป็ นระนาบเรียบ
แต่ขอบเขตของหินโผล่ยงั ขึน้ อยู่กบั ความสูง-ต่าของภูมปิ ระเทศ โดยเฉพาะอย่างยิง่ ถ้าภูมปิ ระเทศขรุขระ
สูงๆ ต่าๆ หรือเป็ นร่องเขา ขอบเขตของหิน มีรปู ร่างทีอ่ าจทาให้เข้าใจผิดได้ง่าย ดังนัน้ เมื่อเห็นขอบเขต
ของหินตัดกับเส้นความสูงไปมา ควรพิจารณาให้ดกี ่อนที่จะแปลความหมาย ควรมองหาความสัมพันธ์
ระหว่างทิศทางการวางตัว ด้วยการลากเส้นชัน้ ความสูงของโครงสร้าง และหาการเอียงเทของชัน้ หิน
จากการพบขอบเขตทีป่ รากฏร่วมกับเส้นชัน้ ความสูงของภูมปิ ระเทศ การวิเคราะห์ทาเช่นเดียวกับรูปที่
5.8-5.10

รูปที ่ 5.11 ลักษณะของหินโผล่เมือ่ ลักษณะภูมปิ ระเทศมีความสูง -ตา่ แตกต่างกัน กาหนดให้


ชัน้ หินทีล่ งสีทบึ มีความหนามาก แสดงเฉพาะผิวบนของชัน้ หิน [ทีม่ าของภาพ: ภาพปรับปรุงต่อจาก Fig.
2.10 โดย Lisle, 1995]
เส้นชัน้ ความสูงของโครงสร้าง 43

การแสดงรูปแบบของหินโผล่รปู ตัววี (V-shape) รูปทีน่ ิยมนาแสดงหรืออ้างถึงมาก คือ รูปแบบ


หินโผล่รปู ตัววี (V-shaped outcrop patterns) คือ รูปที่ 5.10 เสนอโดย Ragan (1968) ส่วนรูปที่ 5.11
คล้ายรูปที่ 5.10 แต่แสดงเส้นชัน้ ความสูงของโครงสร้าง เพื่อกาหนดขอบเขตของหินโผล่ เป็ นการแสดง
ให้เห็นวิธกี ารหาขอบเขตหินโผล่ อย่างไรก็ดไี ม่ว่ารูปใดๆ ทีน่ าเสนอในบทนี้ ขอให้ทาความเข้าใจให้ดี
เพราะเป็ นพืน้ ฐานทีจ่ ะช่วยให้มองเห็นความแตกต่างของการโผล่ของหิน ที่สมั พันธ์กบั สภาพภูมปิ ระเทศ
เมื่อมีมุมเทแตกต่างกัน

เมือ่ อ่านจบหัวข้อนี้แล้ว ควรทาแบบฝึกหัดท้ายบท ข้อ 7-10 ก่อนทีจ่ ะอ่านในหัวข้อ


ต่อไป

พืน้ ฐานจาเป็ นทีต่ อ้ งทราบเพื่อทาให้สามารถสร้าง (create) วิเคราะห์ (analyze) อ่าน (read) หรือ
แปลความหมาย (interpret) แผนทีธ่ รณีวทิ ยาได้อย่างถูกต้อง คือ ต้องทราบลักษณะของรูปแบบหินโผล่
(outcrop pattern) โดยปจั จัยควบคุมการปรากฏของหินโผล่ คือ (1) ระนาบหรือกึง่ โค้ง (2) มุมเทและ
ทิ ศทาง และ (3) ความหนาของหน่ วยหิ น การทีไ่ ด้หยุดทาแบบฝึ กหัด ในทุกๆ ครัง้ ทีแ่ นะนา หาก
สามารถทาได้โดยไม่เกิดความสับสน จะนาไปสูค่ วามเข้าใจทีถ่ ูกต้องในอนาคต อย่าอ่านแบบผ่านๆ โดย
ไม่ลงมือทา ในหัวข้อนี้ ยังอยู่ในเงือ่ นไขของระนาบเรียบ ลาดับต่อไป จะแสดงให้เห็นวิธกี ารนาไป
ประยุกต์ใช้ เช่น หากพบชัน้ หินโผล่ทเ่ี ส้นความสูงของภูมปิ ระเทศ (topographic contours) เดียวกันสอง
ตาแหน่ ง สามารถลากเส้นตรงระหว่างตาแหน่ ง หินโผล่ทงั ้ สองตาแหน่ ง เส้นที่เชื่อมต่อ คือ เส้นแนว
ระดับหรือเส้นชัน้ ความสูงของโครงสร้าง (strike line or structural contours) ดังแสดงในรูปที่ 5.12 (ก)
และ (ข) จุดทีบ่ ริเวณเส้นชัน้ ความสูงของโครงสร้าง (structural contours) ตัดกับเส้นชัน้ ความสูงของภูมิ
ประเทศ (topographic contours) ทีร่ ะดับความสูงทีเ่ ท่ากัน เมื่อลากต่อจุดทีต่ ดั กันเหล่านี้ จะได้ขอบเขต
ทีป่ รากฏของชัน้ หิน [รูปที่ 5.12 (ค) และ (ง)] ในบริเวณทีค่ วามสูงของเส้นชัน้ ความสูงของภูมปิ ระเทศ
(topographic contours) มีค่าความสูงมากกว่าความสูงของเส้นชัน้ ความสูงของโครงสร้าง (structural
contours) แสดงว่าชัน้ หินถูกปิ ดทับ (รูปที่ 5.9, 5.10 และ 5.11) ดังนัน้ สามารถประเมินหาระดับความ
ลึกของชัน้ หิน ที่ถูกปิ ดทับ ใต้ผวิ ดิน เพื่อนามากาหนดความลึกของหลุมเจาะ เมื่อต้องการเจาะสารวจ
เพื่อให้พบผิวบนของชัน้ หินนัน้ หากชัน้ หินนัน้ มีแร่ทส่ี ามารถขุดขึน้ มาใช้ประโยชน์ได้ ความแตกต่างของ
เส้นชัน้ ความสูงของภูมปิ ระเทศ กับเส้นชัน้ ความสูงของโครงสร้าง เท่ากับความลึกทีถ่ ูกฝงั อยู่ใต้ผวิ ดิน
[รูปที่ 5.12 (ง) และ (จ)] การทราบความลึกของชัน้ หินที่มแี ร่ทส่ี ามารถนามาใช้ประโยชน์ได้ ทาให้
วิเคราะห์หาความเหมาะสม หรือประเมินความคุม้ ทุน-ไม่คมุ้ ทุน ทีจ่ ะนาแร่นนั ้ ขึน้ มาใช้ เป็ นต้น
รูปที่ 5.13 แสดงตัวอย่างในกรณีท่วี ดั แนวระดับและมุมเท ในตาแหน่ งใดตาแหน่ งหนึ่ง และ
สามารถเขียนตาแหน่งนัน้ ลงในแผนทีเ่ ส้นชัน้ ความสูงของภูมปิ ระเทศ จะสามารถหาขอบเขตของหินโผล่
44 คู่มอื ปฏิบตั กิ ารธรณีวิทยาโครงสร้างและธรณีวิทยาภาคสนาม

ได้ โดยการสร้างเส้นชัน้ ความสูงของระนาบ ซึง่ มีทศิ ทางขนานกับแนวระดับ จากนัน้ คานวณหาระยะห่าง


ในแนวนอน (horizontal spacing) ด้วยการกาหนดระยะห่างของช่วงชัน้ ความสูง (contour interval) ใน
รูปที่ 5.13 กาหนดระยะห่างช่วงชัน้ ความสูง 100 เมตร รูปที่ 5.14 และ 5.15 เป็ นรูปทีก่ าหนดขอบเขต
ของหินโผล่ ให้วเิ คราะห์หาการวางตัวของชัน้ หิน หลักการวิเคราะห์ คือ ทาด้วยวิธยี อ้ นกลับ รูปที่ 5.13

รูปที ่ 5.12 (ก) แผนทีเ่ ส้นชัน้ ความสูงของภูมปิ ระเทศ และพบตาแหน่งของรอยสัมผัสระหว่างชัน้


หิน 2 ชนิด พบหินโผล่สองบริเวณ (ข) สร้างเส้นชัน้ ความสูงของผิวรอยสัมผัส ด้วยการเชือ่ มตาแหน่ งที ่
พบทีค่ วามสูงเดียวกัน ได้เส้นแนวระดับ และความสูง และหามุมเท (ค) สร้างเส้นชัน้ ความสูงของระนาบ
รอยสัม ผัสและลงต าแหน่ ง ทีเ่ ส้น ชัน้ ความสูง ของภู มิป ระเทศ มีค วามสูง เท่ า กับ เส้น ชัน้ ความสูง ของ
โครงสร้างผิวสัมผัส (ง) สร้างแผนทีธ่ รณีวทิ ยาด้วยการลงขอบเขตของหินโผล่และลงสัญลักษณ์ (จ)
ภาพตัดขวางของแผนทีธ่ รณีวทิ ยารูป (ง) ตามแนว AB [ทีม่ าของภาพ: Fig.20 โดย Powell, 1992]
เส้นชัน้ ความสูงของโครงสร้าง 45

รูปที ่ 5.13 การหาขอบเขตหินโผล่เมือ่ ทราบแนวระดับและมุมเท และตาแหน่ ง (ก) แผนทีภ่ ูมิ


ประเทศและตาแหน่ งทีว่ ดั การวางตัว (ข) หาขอบเขตของหินโผล่ ด้วยการสร้างเส้นชัน้ ความสูงของ
โครงสร้าง เส้นแรกทีส่ ร้าง คือ เส้นความสูง 900 เมตร โดยลากขนานกับแนวระดับ (strike) จากนัน้ หา
ระยะห่างแนวนอน (HS) [ทีม่ าของภาพ: www.uwgb.edu/dutchs/strucge/labman.htm]

รูปที ่ 5.14 การวิเคราะห์หาการวางตัวของชัน้ หินจากแผนทีแ่ สดงหินโผล่ (ก) แผนทีแ่ สดงหิน


โผล่ (ข) การหาระนาบขอบเขตหินโผล่ ด้วยการสร้างเส้นชัน้ ความสูงของโครงสร้าง (ค) ภาพตัดขวางตาม
แนว AB ในรูป (ข) [ทีม่ าของภาพ: : www.uwgb.edu/dutchs/strucge/labman.htm]
46 คู่มอื ปฏิบตั กิ ารธรณีวิทยาโครงสร้างและธรณีวิทยาภาคสนาม

รูปที ่ 5.15 การวิเคราะห์หาการวางตัวของชัน้ หินจากแผนทีแ่ สดงหินโผล่ พบหินโผล่สามชุดหิน


(ก) แผนทีแ่ สดงหินโผล่ (ข) การหาระนาบจากขอบเขตหินโผล่ หลักการวิเคราะห์แม้มสี ามชุดหิน ใช้
หลักการเดียวกัน ซึง่ รูปที ่ 5.14 คือ สร้างเส้นชัน้ ความสูงของโครงสร้าง โดยการเชือ่ มจุดอย่างน้อย 2 จุด
เป็ น จุ ด ทีพ่ บเส้น ขอบเขตหิน โผล่ ตัด กับ เส้น ชัน้ ความสูง ของภู มิป ระเทศ ทีเ่ ส้น ความสูง เดีย วกัน (ค)
ภาพตัดขวางตามแนว AB ในรูป (ข) [ทีม่ าของภาพ: : www.uwgb.edu/dutchs/strucge/labman.htm]

เมือ่ อ่านจบหัวข้อนี้แล้ว ควรทาแบบฝึกหัดท้ายบท ข้อ 11-16 ก่อนทีจ่ ะอ่านในหัวข้อ


ต่อไป

5.2 การสร้างเส้นชัน้ ความสูงของระนาบโค้ง


ธรรมชาติข องโครงสร้ า งทางธรณี วิท ยา เมื่อ พิจ ารณาระยะทางยาวมากๆ หรือ มาตรา
ส่วนกว้างๆ ระนาบของโครงสร้างทางธรณีวทิ ยาจะมีมุมเทไม่คงที่ หรือไม่เป็ นระนาบเรียบ การสร้างเส้น
ชัน้ ความสูงของโครงสร้าง ทีม่ รี ูปร่างเป็ นเส้นตรง มีระยะห่างเท่ากัน และขนานกันและกัน ไม่สามารถ
นามาวิเคราะห์ได้ ส่วนใหญ่ ระนาบของโครงสร้างจะไม่เป็ นระนาบเรียบ (perfect plane) แนวระดับ
(strike) และมุมเท (dip) ของระนาบจะเปลีย่ นแปลงไป (รูปที่ 5.16) ถ้าทาในพืน้ ทีแ่ คบๆ หรือขนาดไม่
เส้นชัน้ ความสูงของโครงสร้าง 47

กว้างมากนัก การสมมติให้เป็ นระนาบเรียบอาจใช้ได้ แต่ถา้ พืน้ ทีข่ นาดกว้าง จาเป็ นต้องวิเคราะห์ในกรณี


ทีไ่ ม่เป็ นระนาบ (non – planar surfaces)

รูปที ่ 5.16 ภาพเปรียบเทียบลักษณะของเส้นความสูงของโครงสร้าง (ก) ระนาบเรียบ (ข)


ระนาบโค้ง [ทีม่ าของภาพ: : www.uwgb.edu/dutchs/strucge/labman.htm]

ในกรณีของเส้นชัน้ ความสูงของโครงสร้างทีไ่ ม่เป็ นระนาบเรียบ มีขอ้ แตกต่างจากเส้นชัน้ ความสูง


ของภูมปิ ระเทศ คือ
(1) เส้นชัน้ ความสูงของโครงสร้าง สามารถตัดกันได้
(2) เส้นชัน้ ความสูงของโครงสร้าง สามารถหยุดหรือตัดขาดได้ และไม่จาเป็ นต้องปิ ดแบบ
วงรอบ
หลักการสร้างเส้นชัน้ ความสูงของโครงสร้างที่ไม่เป็ นระนาบเรียบ สามารถสรุปได้เป็ นข้อๆ
(รูปที่ 5.3, 5.16 (ข) และ 5.17) ดังนี้
(1) สร้างเส้นชัน้ ความสูงของโครงสร้าง ให้ขนานกับแนวระดับ (strike) ของโครงสร้างใน
ทุกๆ จุด
(2) สร้างเส้นชัน้ ความสูงของโครงสร้าง ให้มรี ูปร่างเรียบง่าย (smooth and simple) และ
ต้องสอดคล้องกับข้อมูลทีป่ รากฏ
(3) การประมาณหาค่าที่ไม่ทราบจากค่าที่ท ราบ (interpolate) ควรใช้เฉพาะจุดที่อ ยู่
ใกล้เคียงกันเท่านัน้ จุดทีห่ ่างมากๆ ไม่ควรนามาพิจารณา ใช้หลักเดียวกับการสร้าง
เส้นชัน้ ความสูงของภูมปิ ระเทศ
(4) ถ้ า โครงสร้ า งมี ผิ ว โค้ ง เล็ ก น้ อ ย ควรใช้ ก ารวิ เ คราะห์ แ บบแบ่ ง ย่ อ ยเป็ น ส่ ว นๆ
(segments)
48 คู่มอื ปฏิบตั กิ ารธรณีวิทยาโครงสร้างและธรณีวิทยาภาคสนาม

(5) ใช้การวิเคราะห์หาค่าที่ไม่ทราบด้วยการเชื่อมจุดใกล้เคียงแบบ 3 จุด (Delaunay


triangulation) ทีอ่ ยู่ในแต่ละส่วน จากนัน้ เขียนต่อกันเป็ นระนาบโค้ง
(6) ข้อมูลใต้ผวิ ดินมักมีน้อยกว่าข้อมูลที่ผวิ ดิน ดังนัน้ ความรูเ้ กีย่ วกับรูปทรงสัณฐานของ
โครงสร้าง อาจจาเป็ นต้องนามาใช้ประกอบการสร้างเส้นชัน้ ความสูงของโครงสร้า ง
หมายเหตุ: การทีจ่ ะทราบรูปทรงสัณฐานของโครงสร้างทางธรณีวทิ ยาได้ดี คือ การได้
ศึกษาเนื้อหาวิชาธรณีวทิ ยาโครงสร้าง ในส่วนของการวิเคราะห์โครงสร้างแบบพรรณนา
(descriptive analysis)

รูปที ่ 5.17 การสร้างเส้นชัน้ ความสูงของโครงสร้างทีม่ รี ะนาบโค้ง (ก) ระดับความสูงทีพ่ บ


ระนาบของโครงสร้าง พบทัง้ ค่าสูงกว่าค่าอ้างอิงและตา่ กว่าค่ าอ้างอิง หรือค่าบวกและค่าลบ (ข) การ
ประมาณค่าระหว่างจุดทีอ่ ยู่ใกล้เคียง (ไม่ควรเลือกจุดทีห่ ่างกันมากๆ ควรใช้จุดทีใ่ กล้สุด) (ค) อาจใช้การ
วิเคราะห์แบบ 3 จุด (Delaunay triangulation) โดยแยกเป็ นส่วนย่อยๆ (ง) ประมาณค่าทีไ่ ม่ทราบตาม
แนวสามเหลีย่ ม จากนัน้ ลากเส้นชัน้ ความสูง [ทีม่ าของภาพ: www.uwgb.edu /dutchs /strucge/
labman.htm]
เส้นชัน้ ความสูงของโครงสร้าง 49

การสร้า งเส้น ชัน้ ความสูง ของระนาบโค้ง มีห ลัก อยู่ว่ า ต้ อ งสร้า งในรูป แบบที เ่ รี ย บง่ า ย
(smooth and simple) พิจารณารูปที่ 5.18 (ก) แสดงแผนทีเ่ ส้นชัน้ ความสูงของภูมปิ ระเทศและมีขอ้ มูล
ทีพ่ บชุดหินทีส่ นใจ 3 ตาแหน่ง เมื่อข้อมูลมีเพียง 3 ตาแหน่ ง การสร้างเส้นชัน้ ภายใต้หลักทีว่ ่า สร้างให้
เรียบง่าย จึงต้องสร้างให้เป็ นระนาบเรียบ [รูปที่ 5.18 (ข)] เมื่อมีขอ้ มูลเพิม่ เติมเข้ามาเรื่อยๆ ดังแสดงใน
รูปที่ 5.18 (ค) และ (ง) จะต้องทาการปรับแก้ ภายใต้ขอ้ มูลใหม่ทพ่ี บ เส้นชัน้ ความสูงของโครงสร้างจึง
ต้องปรับจากระนาบเรียบ ให้สอดคล้องกับข้อมูลใหม่ทเ่ี พิม่ ขึน้ ได้เป็ นระนาบโค้ง หากมีขอ้ มูลเพิม่ มาอีก
จะต้องทาการปรับแก้ เมื่อพบว่าเส้นชัน้ ความสูงของโครงสร้าง ไม่สอดคล้องกับข้อมูล

รูปที ่ 5.18 ลักษณะของการสร้างเส้นชัน้ ความสูง เมือ่ มีขอ้ มู ลจากัด การสร้างต้องสร้างภายใต้


หลักทีว่ ่า สร้างเส้นชัน้ ความสูงให้เรียบง่าย และสอดคล้องกับข่อมูล (ก) กรณีทมี ่ ขี อ้ มูลเพียงสามตาแหน่ ง
สร้างให้เป็ นระนาบเรียบ (ข) (ค) และ (ง) เมือ่ มีขอ้ มูลจากหลุมเจาะเพิม่ มากขึ้น จึงนามาปรับแก้ เส้นชัน้
ความสูงของโครงสร้างให้สอดคล้องกับข้อมูล ได้เป็ นระนาบโค้ง [ทีม่ าของภาพ: Figure 3.9 โดย
Maltman, 1998]

รูปที่ 5.19 แสดงการสร้างเส้นชัน้ ความสูงระนาบโค้ง จากขอบเขตของหินโผล่ท่พี บในแผนที่


ธรณีวทิ ยา [รูปที่ 5.19 (ก)] สิง่ แรกทีพ่ จิ าณา ได้แก่ หาตาแหน่ งทีพ่ บขอบเขตของชุดหิน ตัดกับเส้นชัน้
ความสูงของภูมปิ ระเทศทีเ่ ท่ากัน 2 ตาแหน่ง ดังแสดงในรูปที่ 5.19 (ข) จากนัน้ เชื่อมต่อด้วยเส้นตรง [รูป
50 คู่มอื ปฏิบตั กิ ารธรณีวิทยาโครงสร้างและธรณีวิทยาภาคสนาม

ที่ 5.19 (ค)] ปรับเส้นตรงให้โค้งในแนวทีส่ อดคล้องกับเส้นทีอ่ ยู่ขา้ งเคียง ดังแสดงในรูปที่ 5.19 (ง) หา
มุมเทและลงตาแหน่งของแนวระดับ (strike) และมุมเท (dip)

รูปที ่ 5.19 (ก) และ (ข) ลักษณะของชัน้ หินหรือหน่ วยหิน ทีม่ รี ะยะของเส้นชัน้ ความสูงของ
โครงสร้างไม่เท่ากัน เนือ่ งจากเป็ นระนาบผิวโค้ง (ค) และ (ง) การเชือ่ มจุดเพือ่ สร้างเส้นชัน้ ความสูง [ทีม่ า
ของภาพ: Fig. 22 โดย Powell, 1992]

ตัวอย่างอีกหนึ่งตัวอย่างของการหาเส้นชัน้ ความสูงของโครงสร้างระนาบโค้ง แสดงในรูปที่ 5.20


จากรูปที่ 5.20 (ก) พบขอบเขตของหินโผล่ 3 ชุ ดหิน คือ หินทราย (sandstone) หิน ดินเหนีย ว
(mudstone) และหินกรวดมน (conglomerate) สามารถสร้างเส้นชัน้ ความสูงของโครงสร้างบริเวณรอย
สัมผัสของหินดินเหนียวและหินทราย [รูปที่ 5.20 (ก) และ (ข)] และบริเวณรอยสัมผัสของหินดินเหนียว
และหินกรวดมน [รูปที่ 5.20 (ค) และ (ง)] เปรียบเทียบเส้นชัน้ ความสูงของโครงสร้างในรูป ที่ 5.20 (ก)
เส้นชัน้ ความสูงของโครงสร้าง 51

และ (ค) หรือค่าของมุมเท ในรูปที่ 5.20 (ข) และ (ง) สามารถแปลความหมายได้ว่า รอยสัมผัสผิวล่างและ
ผิวบนของหินดินเหนียว มีการวางตัวแตกต่างกัน เป็ นต้น

รูปที ่ 5.20 (ก) เส้นชัน้ ความสูงของโครงสร้างบริเวณรอยสัมผัสระหว่างหินทรายและหินดินดาน


(ข) แนวระดับและมุมเท หาจากเส้นชัน้ ความสูงของโครงสร้างรูป (ก) (ค) เส้นชัน้ ความสูงของโครงสร้าง
บริเวณรอยสัมผัสระหว่างหินดินดานและหินกรวดมน (ง) แนวระดับและมุมเท หาจากเส้นชัน้ ความสูงของ
โครงสร้างรูป (ค) [ทีม่ าของภาพ: Fig. 24 โดย Powell, 1992]

เมือ่ อ่านจบหัวข้อนี้แล้ว ควรทาแบบฝึกหัดท้ายบท ข้อ 17-19 ก่อนทีจ่ ะอ่านใน


หัวข้อต่อไป
52 คู่มอื ปฏิบตั กิ ารธรณีวิทยาโครงสร้างและธรณีวิทยาภาคสนาม

การสร้างภาพตัดขวางในกรณีระนาบโค้งหรือกึง่ โค้ง มีวธิ กี ารทาดังแสดงในรูปที่ 5.21 และ 5.22


ในรูปที่ 5.21 (ก) แสดงการหาภาพตัดขวาง โดยพิจารณาผิวบนของหินดินดานทีส่ มั ผัสกับผิวล่างของหิน
กรวดมน โดยสร้างเส้นชัน้ ความสูงของโครงสร้างขึน้ มาเป็ นลาดับแรก จากนัน้ สร้างภาพตัดขวางกาหนด
ความสูงความความสูงของเส้นชัน้ ความสูงของโครงสร้าง จากลักษณะปรากฏของเส้นชัน้ ความสูงของ
โครงสร้าง พบว่าขนานกัน แสดงว่า ชัน้ หินมีแนวระดับ (strike) ไม่เปลีย่ นแปลง แต่ระยะห่างไม่เท่ากัน
แสดงว่า ชัน้ หินมีมุมเทแตกต่างกัน สามารถสร้างเส้นชัน้ ความสูงของโครงสร้างได้ทงั ้ ซ้ายและขวา โดยมี
การเอียงเทเข้ากันทีต่ รงกลาง แสดงว่า ชัน้ หินมีโครงสร้างของการคดโค้งรูปประทุนหงาย (syncline) ใน
รูปที่ 5.21 (ข) พิจารณาทีผ่ วิ ล่างของหินดินดาน มีวธิ กี ารทาเช่นเดียวกับ รูปที่ 5.21 (ก) คือ การสร้างเส้น
ชัน้ ความสูงของโครงสร้าง ทานองเดียวกันกับรูปที่ 5.22 พบชัน้ หินมีการคดโค้ง การสร้างภาพตัดขวาง
ของผิวบนและผิวล่างของชุดหิน หากปรากฏหลายหน่วยหิน ต้องวิเคราะห์ไปตามจนครบทุกหน่วย

รูปที ่ 5.21 การสร้างภาพตัดขวางเพือ่ แสดงโครงสร้างของชัน้ หิน (ก) กรณีพจิ ารณาทีผ่ วิ บนของ


หินดินดานทีส่ มั ผัสกับผิวล่างหินกรวดมนกับหินดินดาน (ข) พิจารณาทีผ่ วิ ล่างของหินดินดาน พบชัน้ หินมี
การเอียงเทเข้าหากัน เป็ นลักษณะของชัน้ หินคดโค้งแบบประทุนหงาย (syncline) [ทีม่ าของภาพ: Fig.25
โดย Powell, 1992]
เส้นชัน้ ความสูงของโครงสร้าง 53

รูปที ่ 5.22 การสร้างภาพตัดขวางเพือ่ แสดงโครงสร้างการวางตัวของชัน้ หิน (ก) แผนทีแ่ สดง


ขอบเขตของหินโผล่ (ข) แสดงการสร้างภาพตัดขวางของผิวบนของหินทราย และหากทาครบทุกชัน้ หิน
จะได้ภาพตัดขวางดังทีแ่ สดงในภาพล่าง ของรูป (ข) [ทีม่ าของภาพ: Fig. 26 โดย Powell, 1992]

เมือ่ อ่านจบหัวข้อนี้แล้ว ควรทาแบบฝึกหัดท้ายบท ข้อ 20 ก่อนทีจ่ ะอ่านในบทต่อไป


54 คู่มอื ปฏิบตั กิ ารธรณีวิทยาโครงสร้างและธรณีวิทยาภาคสนาม

แบบฝึกหัดท้ายบท
แบบฝึ กหัดนี้ มีเฉลยบางข้อ ในภาคผนวก ข ควรลงมือทาก่อนดูเฉลย
1. จงสเกต (sketch) (ก) แผนทีเ่ ส้นชัน้ ความสูงผิวล่าง (bottom surface) ของระนาบเรียบในรูปที่ 5.2
และ (ข) แผนทีเ่ ส้นชัน้ ความสูงผิวล่าง (bottom surface) ของระนาบโค้งในรูปที่ 5.3
2. จงสเกตรูปและสร้างแผนที่เส้นชัน้ ความสูงของโครงสร้าง (ก) ระนาบเรียบ (ข) ระนาบโค้งนู น
(convex) (ค) ระนาบโค้งเว้า (concave) (ง) ระนาบโค้งนูนและโค้งเว้า (ดูเฉลยภาคผนวก ข)
3. จงสร้างแผนทีเ่ ส้นชัน้ ความสูงของโครงสร้าง (ก) ระนาบเรียบมีแนวระดับ 45 (ข) ระนาบเรียบมี
แนวระดับ 90 กาหนดมุมเทได้ตามต้องการ
4. จงสร้างแผนที่เส้นชัน้ ความสูงของโครงสร้าง (ก) ระนาบเรียบมีแนวระดับ 45 และมุมเท 20
(ข) ระนาบเรียบมีแนวระดับ 45 และมุมเท 60
5. จากแผนทีภ่ ูมปิ ระเทศในรูปที่ 5.23 พบชัน้ ถ่านบาง (thin coal bed) โผล่ทผ่ี วิ ดินในตาแหน่ ง A, B
และ C จงหา แนวระดับและมุมเท ของชัน้ ถ่าน (ดูเฉลยภาคผนวก ข)
6. จากแผนทีร่ ปู ที่ 5.23 เมื่อเจาะหลุมสารวจทีต่ าแหน่ ง A พบผิวบนของชัน้ หินดินเหนียวทีค่ วามลึก
60 เมตร ทีต่ าแหน่ง B พบผิวบนของชัน้ หินดินเหนียวทีค่ วามลึก 40 เมตร ทีต่ าแหน่ ง C พบผิว
บนของชัน้ หินดินเหนียวทีค่ วามลึก 120 เมตร จงหาการวางตัวของชัน้ ถ่าน (ดูเฉลยภาคผนวก ข)

รูปที ่ 5.23 สาหรับคาถามข้อ 5, 6, และ 10


เส้นชัน้ ความสูงของโครงสร้าง 55

7. จงสเกตภาพให้คล้ายกับรูปที่ 5.9 โดยใช้แผนทีภ่ ูมปิ ระเทศ และแผนทีเ่ ส้นชัน้ ความสูงของระนาบ


ทีก่ าหนดให้ในรูปที่ 5.24 แผนทีก่ าหนดให้ซอ้ นทับได้พอดีและอยู่ในมาตราส่วนของแผนที่เท่ากัน
(ดูเฉลยภาคผนวก ข)

รูปที ่ 5.24 สาหรับคาถามข้อ 7

8. จงสเกตภาพแผนที่เส้นชัน้ ความสูงของภูมปิ ระเทศที่แสดง เนินเขาและร่องน้ า ขึน้ มา 1 ภาพ


จากนัน้ กาหนดแนวระดับของชุดหิน N 45 E และมุมเท 30 และจงเขียนขอบเขตของหินโผล่
9. จงสเกตภาพแผนที่เส้นชัน้ ความสูงของภูมปิ ระเทศที่แสดง เนินเขาและร่องน้ า ขึน้ มา 1 ภาพ
กาหนดแนวระดับและมุมเท (strike/dip) ของชุดหิน ภายใต้เงื่อนไงว่า ค่าความลาดชัน้ ของภูมิ
ประเทศจะต้องมากกว่าค่ามุมเทของชุดหิน และจงเขียนขอบเขตของหินโผล่
10. แผนทีใ่ นรูปที่ 5.23 ให้ระบายสีชนั ้ หินวางตัวในแนวราบจานวน 5 ชัน้ และลงขอบเขต พนัง
(dyke) ของหินอัคนี ทีม่ แี นวระดับ N 45 W จานวน 1 แนว และแนวระดับ E-W อีก 1 แนว
ความหนาของพนัง 200 เมตร
11. ชัน้ ถ่านบาง (coal seam) โผล่ให้เห็น ทีต่ าแหน่ ง A, B และ C แผนทีร่ ูป 5.25 (ก) จงหาการ
วางตัวของชัน้ ถ่าน (ข) ทีต่ าแหน่ ง R และ S ถ้าเจาะหลุมสารวจ จะพบชัน้ ถ่านทีค่ วามลึก
เท่าใด แสดงวิธหี าลงในแผนที่ (ดูเฉลยภาคผนวก ข)
12. จงสร้างแผนทีธ่ รณีวทิ ยา ทีพ่ บรอยสัมผัสระหว่างหินทรายและหินดิ นดานได้ในตาแหน่ งทีแ่ สดง
บนแผนทีร่ ปู ที่ 5.26 (ดูเฉลยภาคผนวก ข)
13. จงหาการวางตัวของชัน้ หินในแผนที่รูปที่ 5.27 พร้อมสร้างภาพตัดขวางตามแนว AB (ดูเฉลย
ภาคผนวก ข)
14. จงหาการวางตัวของชัน้ หินในแผนทีร่ ปู ที่ 5.28 พร้อมสร้างภาพตัดขวางตามแนว AB
56 คู่มอื ปฏิบตั กิ ารธรณีวิทยาโครงสร้างและธรณีวิทยาภาคสนาม

รูปที ่ 5.25 สาหรับคาถามข้อ 11 และ 17

15. จงต่อเติมขอบเขตของหินโผล่ในแผนที่รูปที่ 5.29 ให้สมบูรณ์ และสร้างภาพตัดขวางตามแนว ที่


ตัดตัง้ ฉากกับแนวระดับของการวางตัวของชัน้ หิน (ดูเฉลยภาคผนวก ข)
16. จงสร้างแผนที่ธรณีวทิ ยาทีม่ ชี นั ้ หินเอียงเทจานวนอย่างน้อย 3 ชัน้ ให้กาหนดทุกอย่างขึน้ มา
เองทัง้ หมด พร้อมภาพตัดขวาง ลงสัญลักษณ์ หรือระบายสีให้สวยงาม
17. จากแผนที่ในรูปที่ 5.25 จงสร้าง (ก) เส้นชัน้ ความสูงของของโครงสร้าง ทีพ่ บชัน้ ถ่านโผล่ท่ี
ตาแหน่ง A, B และ C (ข) จากเส้นชัน้ ความสูงทีส่ ร้างใน (ก) ต่อมามีการเจาะหลุมทีต่ าแหน่ ง
Q พบชัน้ ถ่านทีค่ วามลึก 400 เมตร ตาแหน่ง P พบชัน้ ถ่านทีค่ วามลึก 500 เมตร และตาแหน่ ง
T พบชัน้ ถ่านทีค่ วามลึก 500 เมตร จงปรับแก้เส้นชัน้ ความสูง ให้สอดคล้องกับข้อมูลหลุมเจาะ
เส้นชัน้ ความสูงของโครงสร้าง 57

รูปที ่ 5.26 สาหรับคาถามข้อ 12

18. จงสร้างเส้นชัน้ ความสูงของโครงสร้างในรูปที่ 5.30 (ดูเฉลยภาคผนวก ข)


19. จงสร้างเส้นชัน้ ความสูงของโครงสร้างในรูปที่ 5.31 (ดูเฉลยภาคผนวก ข)
20. จงสร้างเส้นชัน้ ความสูงของโครงสร้างและสร้างภาพตัดขวาง ในรูปที่ 5.32 และ 5.33 (ดูเฉลย
ภาคผนวก ข)
58 คู่มอื ปฏิบตั กิ ารธรณีวิทยาโครงสร้างและธรณีวิทยาภาคสนาม

รูปที ่ 5.27 สาหรับคาถามข้อ 13


เส้นชัน้ ความสูงของโครงสร้าง 59

รูปที ่ 5.28 สาหรับคาถามข้อ 14


60 คู่มอื ปฏิบตั กิ ารธรณีวิทยาโครงสร้างและธรณีวิทยาภาคสนาม

รูปที ่ 5.29 สาหรับคาถามข้อ 15


เส้นชัน้ ความสูงของโครงสร้าง 61

รูปที ่ 5.30 สาหรับคาถามข้อ 18


62 คู่มอื ปฏิบตั กิ ารธรณีวิทยาโครงสร้างและธรณีวิทยาภาคสนาม

รูปที ่ 5.31 สาหรับคาถามข้อ 19


เส้นชัน้ ความสูงของโครงสร้าง 63

รูปที ่ 5.32 สาหรับคาถามข้อ 20


64 คู่มอื ปฏิบตั กิ ารธรณีวิทยาโครงสร้างและธรณีวิทยาภาคสนาม

รูปที ่ 5.33 สาหรับคาถามข้อ 20

You might also like