You are on page 1of 10

รายงานปฏิบตั กิ ารที่ 1

หัวข้อ Stroke

จัดทำโดย
กลุ่มที่ 7
นางสาวศิรินุช ลีนะธรรม 60150040569
นางสาวโศภิษฐ์ สันตะวงศ์ 60150041249
นางสาวณัฐวรา ประเสริฐธิติพงษ์ 61150040155
นายพีรณัฐ ถิ่นทวี 61150040322
นางสาววิภาวี ร่วมสุข 61150040474
นางสาวอาทิมา จริงสูงเนิน 61150040629
นายยศศรัล สามารถ 61150040814
นางสาววรัชยา จันทร์อุป 61150040984
นางสาวสุพรรณิการ์ ศุภโกศล 61150041130
นางสาวอภิสรา เมืองทอง 61150041295

เสนอ
ผศ. ฑิภาดา สามสีทอง

รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาเภสัชบำบัด 3 รหัสวิชา 1506 514


ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
เอกสารประกอบการสอนรายวิชา 1506 515 เภสัชบำบัด 3 2

กิจกรรมที่ 2 นักศึกษาจะได้รับข้อมูลเป็นชาร์ตผู้ป่วยจำลอง โดยเป็นข้อมูลที่ทำขึ้นมาโดยเอกสารชุดนี้ใช้


สำหรับประกอบการเรียนการสอนเท่านั้น โดยข้อมูลทั้งหมดเป็นการจำลองสถานการณ์ และขอให้นักศึกษางด
การเผยแพร่เอกสาร

กิจกรรมที่ 2 ศึกษาข้อมูลผู้ป่วยจากชาร์ตจำลอง ให้ตอบคำถามชุดที่ 1


จากกรณีศึกษาที่นักศึกษาได้ไปราวน์ที่หอผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง ในช่วงวันที่ 24 สิงหาคม 2561 ให้นักศึกษา
ตอบคำถามเหล่านี้
1. จงระบุ medical problem ของผู้ป่วยรายนี้ โดยเรียงลำดับความสำคัญ
Active problem Acute ischemic Stroke
Underling diseases Benign Prostatic Hyperplasia
Hypertension (on ยา)

2. จงระบุในส่วนที่เป็น subjective ของภาวะ acute ischemic stroke


ผู้ป่วยชายไทยคู่ อายุ 66 ปี 11 เดือน น้ำหนัก 51 กิโลกรัม ส่วนสูง 162 เซนติเมตร
Chief complaint (CC) มีอาการปากเบี้ยว แขนขาข้างซ้ายอ่อนแรงมา 1 ชั่วโมง ก่อนมาโรงพยาบาล
Present illness (PI) 1 ชัว่ โมง ก่อนมาโรงพยาบาล ขณะเดินอยู่ มีอาการเดินเซ ล้ม
ใบหน้ากระแทกพื้น ไม่สลบ จากนั้นมีอาการปากเบี้ยว พูดไม่ชัด
Past medical history (PMH) Benign Prostatic Hyperplasia, Hypertension (on ยา)
Social history (SH) สูบบุหรี่ 20 มวน/วัน นาน 20 ปี ดื่มสุรา 10 ครั้ง/เดือน นาน 10 ปี
Allergy (ALL) ไม่แพ้

3. จงระบุในส่วนที่เป็น objective ของภาวะ acute ischemic stroke


Physical examination
Vital signs: T = 36.1 °c, BP = 148/104 mmHg, P = 76 ครั้ง/นาที, R = 20 ครั้ง/นาที
HEENT: not pale, no jx, Pupil RE2 LE 2
Heart: normal S1, S2 no murmur
Lung: clear
Abdomen: soft
Extremities: no edema
Neurological examination: Conscious, E4V5M6 = 15 คะแนน, NIHSS score: 6/42, MRS = 2

motor power

ปฏิบัติการที่ 1 Stroke ฑิภาดา สามสีทอง


เอกสารประกอบการสอนรายวิชา 1506 515 เภสัชบำบัด 3 3

Laboratory
DTX: 110 mg%
Platelet : 271,000 cell/mm3
EKG : Sinus bradycardia, Nonspecific ST and T wave abnormality

4. จงประเมินความเหมาะสมในการรักษาภาวะ acute ischemic stroke ในวันที่ 24 สิงหาคม 2562 พร้อม


ทั้งระบุเอกสารอ้างอิงอย่างถูกต้องและเหมาะสม
การรักษาภาวะ Acute ischemic stroke ในวันที่ 24 สิงหาคม 2562 ประกอบด้วย
- General supportive care:
ตามแนวทางการการจัดการภาวะ Acute ischemic stroke ปี 2019 ของ AHA/ASA1 ได้ให้
คำแนะนำว่าเกี่ยวกับ General supportive care ไว้ดังนี้
Airway, Breathing and Oxygenation
1. Airway support and ventilatory assistance แนะนำให้ใช้เครื่องช่วยหายใจสำหรับการผู้ป่วย
ทีม่ รี ะดับการรับรู้สติที่ลดลงหรือมีความผิดปกติของ bulbar ผู้ป่วยรายนี้รู้สึกตัวดี และหายใจได้
ปกติ โดยมีอัตราการหายใจอยู่ที่ 20 ครั้ง/นาที จึงไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ
2. ควรให้ออกซิเจนเสริม เพื่อให้ O2 saturation > 94% ผู้ปว่ ยรายนี้มี O2 saturation 95% จึงไม่
จำเป็นต้องให้ออกซิเจนเสริม
Temperature
ถ้ามีภาวะ hyperthermia อุณหภูมิร่างกาย > 38.0°c ควรได้รับการรักษาด้วย Antipyretic
พร้อมทั้งหาสาเหตุและรักษาตามสาเหตุ ผู้ป่วยรายมีนี้อุณหภูมิร่างกายอยู่ที่ 36.1°c ซึ่งไม่เกิน 38.0 °c
จึงไม่จำเป็นต้องให้ยาลดไข้
Blood glucose
ควบคุมระดับระดับน้ำตาลในเลือด (blood glucose) ให้อยู่ในช่วง 140-180 mg/dl
ในผู้ ป่ ว ยที่ มี ภ าวะ Hyperglycemia blood glucose >180 mg/ dl ให้ ก ารรั ก ษาด้ ว ย
short-acting insulin เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลให้ใกล้เคียงปกติ
ในผู้ป่วยที่มีภาวะ Hypoglycemia (blood glucose <60 mg/dl) ควรให้การรักษาด้วย IV
glucose (slow IV push of 25mL of 50% dextrose)
ผู้ป่วยรายมีระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ที่ 101 mg/dl ซึง่ ถือว่าไม่มีภาวะ Hyperglycemia และ
Hypoglycemia จึงไม่จำเป็นต้องได้รับ IV glucose และ short-acting insulin

ปฏิบัติการที่ 1 Stroke ฑิภาดา สามสีทอง


เอกสารประกอบการสอนรายวิชา 1506 515 เภสัชบำบัด 3 4

Blood pressure
ควรควบคุมความดันโลหิตก่อนเริ่มยา alteplase ให้น้อยกว่า 185/110 mmHg ในกรณีที่มี
ความดันโลหิตสูงมากกว่า 185/110 mmHg อาจพิจารณาให้ยาลดความดันโลหิตทางหลอดเลือดดำ
ผู้ป่ วยรายนี้มีความดันโลหิ ตอยู่ที่ 148/104 mmHg จึงไม่จำเป็นต้องได้รับยาลความดัน โลหิ ตทาง
หลอดเลือดดำ
Intravenous infusion
การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ ผู้ป่วยทุกคนทั้งที่มีภาวะ hypervolemia hypovolemia
และ euvolemia ควรพิ จ ารณาให้ เป็ นสารน้ำประเภท isotonic solution ได้แก่ 0.9% NSS ซึ่งมี
อัตราการให้ยาที่แตกต่างกัน โดยอยู่ในช่วง 40-100 ml/hr เพื่อคงระดับน้ำที่สูญเสียไป และยังช่วย
preserve penumbra zone ไม่ให้ถกู ทำลาย
ผู้ป่วยรายนี้ไม่ได้มีภาวะบวมน้ำ เป็นโรคไต หรือโรคหัวใจล้มเหลว การได้รับ NSS 1000 ml
IV drip 80 ml/hr ถือว่าเหมาะสมแล้ว

- Reperfusion therapy:
ตามแนวทางการการจั ด การภาวะ Acute ischemic stroke ปี 2019 ของ AHA/ASA1 ได้ ใ ห้
คำแนะนำว่าหากผู้ป่วยสามารถให้ยา IV Alteplase ได้ ควรเริ่มยาให้เร็วที่สุด เพราะยามีประโยชน์ในการลด
อัตราการพิการ ซึ่งประโยชน์ขึ้นกับระยะเวลาผู้ป่วยได้รับยา (Level of evidence: A) ซึ่งผู้ป่วยมีข้อบ่งใช้ใน
การได้รับยา Alteplase ตามเกณฑ์การให้ยา Alteplase ของ AHA/ASA2 ดังนี้
1. ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือด (Acute ischemic Stroke )
2. มีระยะเวลาตั้งแต่เกิดอาการของโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดจนถึงมาถึงโรงพยาบาลภายใน
4.5 ชั่วโมง ซึ่งผู้ป่วยมีอาการมาเป็นระยะเวลา 1 ชั่วโมงก่อนมาถึงโรงพยาบาล
3. อายุมากกว่าหรือเท่ากับ 18 ปี โดยผู้ป่วยมีอายุ 66 ปี
และไม่มีข้อห้ามในการให้ยา Alteplase ได้แก่
- ความดันโลหิต Systolic > 185 mmHg หรือ Diastolic > 110 mmHg โดยไม่สามารถลดความดัน
โลหิตได้ด้วยยาลดความดันทางหลอดเลือดดํา ซึ่งผู้ป่วยมีความดันโลหิตอยู่ที่ 148/104 mmHg
- มีภาวะเสี่ยงต่อการมีเลือดออกได้ง่าย ประกอบด้วยเกล็ดเลือด < 100,000 /mm3 หรือ INR > 1.7
หรือ aPTT>40 วินาที PT>15 วินาที หรือได้รับ heparin ในช่วง 48 ชั่วโมง เป็นผลให้ aPTT ผิดปกติ หรือ ใช้
ยาป้องกันเลือดแข็งตัว และมีค่า INR > 1.7 หรือ PT > 15 วินาที ซึ่งผู้ป่วยมีเกล็ดเลือดอยู่ที่ 271,000 /mm3
INR 0.88 aPTT 23.4 วินาที PT 10.6 วินาทีและไม่มีประวัติได้รับ heparin ในช่วง 48 ชั่วโมงมาก่อน
- ระดั บ น้ ำ ตาลในเลื อ ด < 50 mg/dl ซึ่ ง ผู้ ป่ ว ยมี ร ะดั บ น้ ำ ตาลในเลื อ ดจากการตรวจด้ ว ยวิ ธี
Dextrostick อยู่ที่ 101 mg/dl
โดยขนาดยา IV alteplase ที่แนะนำ คือ 0.9 mg/kg (ขนาดสูงสุดไม่เกิน 90 mg) แบ่งร้อยละ 10 ฉีด
ทันทีภายใน 1 นาที ที่เหลือหยดให้ทางหลอดเลือดดําภายใน 60 นาที ซึ่งผู้ป่วยมีน้ำหนั ก 51 kg ขนาดยาที่

ปฏิบัติการที่ 1 Stroke ฑิภาดา สามสีทอง


เอกสารประกอบการสอนรายวิชา 1506 515 เภสัชบำบัด 3 5

ผู้ป่วยควรได้รับ คื อ 45.9 mg แบ่งฉีด 4.59 mg ทันที และที่เหลือ 41.31 mg หยดให้ทางหลอดเลือดดํา


ภายใน 60 นาที
มีการศึกษา NINSD trial study3 พบว่าการได้รับยา Alteplase ภายใน 3 ชั่วโมง กลุ่มที่ได้รับยาจะมี
ความพิการลดลง หรือมีอาการดีขึ้นจนเกือบเป็นปกติที่ 3 เดือน เป็นจำนวน 60% ในขณะที่กลุ่มที่ไม่ได้รับยา
จะมีความพิการลดลง หรือมีอาการดีขึ้นจนเกือบเป็นปกติที่ 3 เดือน เป็นจำนวน 51% ซึ่งโดยรวมผู้ป่วยจะ
ได้รับประโยชน์จากยา Alteplase
ดังนั้น การที่ผู้ป่วยได้รับการรักษา rt-PA 4.59 mg IV bolus in 1 minute then rt-PA 41.31 mg
drip in 60 minute จึงถือว่ามีความเหมาะสม

- Stress ulcer prophylaxis:


Omeprazole 40 mg IV q 12 hr
เนื่องจากผู้ป่วยมีความเสี่ยงที่จะเกิด Bleeding ขึ้น ได้แก่ การที่งดน้ำและอาหาร (NPO) และการที่
ผู้ป่ ว ยจะได้รับ ยา Alteplase ผู้ ป่ วยจึ งมีข้อบ่งใช้ในการได้รับยา Omeprazole ซึ่งขนาดยาที่ผู้ป่ว ยได้รับมี
เหมาะสม

5. จงระบุแผนการรักษาในวันที่ 24 สิงหาคม 2562 ให้ครบถ้วนทั้งด้านประสิทธิภาพ และความปลอดภัย


Therapeutic plan
- IV NSS 1,000 ml IV drip q 80 ml/hr
- rt-PA 4.59 mg IV bolus in 1 minute then rt-PA 41.31 mg drip in 60 minute
- Omeprazole 40 mg IV q 12 hr
• rt-PA
เนื่องจาก 1 ชั่วโมงก่อนที่ป่วยจะมาโรงพยาบาลผู้ป่วยได้มีอาการเดินเซ หลังจากนั้นมีอาการปากเบี้ยว
และพูดไม่ชัด ซึ่งเป็น Clinical sign ของ Acute ischemic stroke ซึ่งในการรักษา Acute ischemic stroke
ด้วยยา rt-PA นั้นจะใช้เมื่อ Onset ของผู้ป่วยไม่เกิน 3-4.5 ชั่วโมง ดังนั้นยา rt-PA จึงสามารถใช้ได้ในผู้ป่วย
รายนี้ โดยขนาดยาที่ใช้ในผู้ป่วยรายนี้อยู่ที่ 0.9*51 = 45.9 mg
Efficacy monitoring
- ประเมิน NIHSS แล้วมีคะแนนลดลง โดยประเมินภายหลังการได้รับยา
- อาการทางระบบประสาท และอาการอ่อนแรงของผู้ป่วยดีขึ้น โดยประเมินอาการแสดงของ
ผู้ป่วยภายหลังการได้รับยา
Safety monitoring
- ติดตามระดับ ความดั น โลหิ ตของผู้ ป่ ว ยก่ อนการให้ ย า เป้ าหมายอยู่ที่ น้ อยกว่า 185/110
mmHg

ปฏิบัติการที่ 1 Stroke ฑิภาดา สามสีทอง


เอกสารประกอบการสอนรายวิชา 1506 515 เภสัชบำบัด 3 6

- ติดตามระดับ ความดัน โลหิ ตของผู้ ป่ว ยในขณะที่ได้รับยาและหลั งจากได้รับ ยาไปแล้ ว 24


ชั่วโมง เป้าหมายอยู่ที่น้อยกว่า 180/105 mmHg
- ติดตาม NIHSS หากค่าเพิ่มขึ้นมากกว่า 4 แต้ม ผู้ป่วยอาจเกิด เลือดออกในสมอง โดยสังเกตุ
อาการแสดงอื่นๆ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน สับสน แนะนำให้หยุดใช้ยา rt-PA แล้วส่งผู้ป่วย
ทำ CT
- ติดตามอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา rt-PA
- Intracranial haemorrhage : รักษาโดยให้ Cryopicipitate 10 U infused over 10-30
minutes ; จะเพิ่ ม dose ห ากระดั บ ของ fibrinogen < 150 mg/dl (The american
Heart Association, stroke 2019)
- Orolingual angioedema เกิดปากบวม ลิ้นบวม โดยติดตามในระหว่างช่วงที่ให้ยาและ
หลังจากให้ยาไปแล้วประมาณ 45-60 นาที : รักษาโดยให้ Antihistamine,
Corticosteroids
ตัวย่างยา Corticosteroids ที่แนะนำให้ใช้ในการรักษา (The american Heart
Association, Stroke 2019)
• Methylprednisolone 125 mg IV
• Diphenhydramine 50 mg IV

• Omeprazole
มี indication สำหรับ Stress Ulcer Prophylaxis
Efficacy monitoring
- ติดตามการเกิดเลือดออกในทางเดินอาหารของผู้ป่วย
Safety monitoring
ติดตามผลข้างเคียงที่เกิดจากการใช้ยา ได้แก่
- คลื่นไส้ อาเจียน
- อาการท้องเสีย ท้องผูก

ปฏิบัติการที่ 1 Stroke ฑิภาดา สามสีทอง


เอกสารประกอบการสอนรายวิชา 1506 515 เภสัชบำบัด 3 7

เอกสารอ้างอิง
1 Powers WJ, Rabinstein AA, Ackerson T, et al. Guidelines for the Early Management of
Patients With Acute Ischemic Stroke: 2019 Update to the 2018 Guidelines for the Early
Management of Acute Ischemic Stroke: A Guideline for Healthcare Professionals From
the American Heart Association/American Stroke Association [published correction
appears in Stroke. 2019 Dec;50(12):e440-e441]. Stroke. 2019;50(12):e344-e418.
doi:10.1161/STR.0000000000000211
2 Demaerschalk BM, Kleindorfer DO, Adeoye OM, et al. Scientific Rationale for the
Inclusion and Exclusion Criteria for Intravenous Alteplase in Acute Ischemic Stroke: A
Statement for Healthcare Professionals From the American Heart Association/American
Stroke Association [published correction appears in Stroke. 2016 Nov;47(11):e262].
Stroke. 2016;47(2):581-641. doi:10.1161/STR.0000000000000086
3 National Institute of Neurological Disorders and Stroke rt-PA Stroke Study Group. Tissue
plasminogen activator for acute ischemic stroke. N Engl J Med. 1995;333(24):1581-1587.
doi:10.1056/NEJM199512143332401

ปฏิบัติการที่ 1 Stroke ฑิภาดา สามสีทอง


เอกสารประกอบการสอนรายวิชา 1506 515 เภสัชบำบัด 3 8

กิจกรรมที่ 2 ศึกษาข้อมูลผู้ป่วยจากชาร์ตจำลอง ให้ตอบคำถามชุดที่ 2


นักศึกษาไปราววอดวันที่ 25 สิงหาคม 2562 โดยมีข้อมูลตามที่ปรากฏ
1. จงระบุปัญหาของผู้ป่วยที่เกิดขึ้น
1. Acute ischemic stroke with Atrial fibrillation
2. Hypertension
3. Benign prostatic hyperplasia

2. จงประเมินการรักษาในวันที่ 25 สิงหาคม 2562


วันที่ 25/8/2562 เวลา 12.00 น. ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว
แพทย์สั่งจ่าย Amiodarone 150 mg + D5W 100 ml in 30 min then amiodarone 600 mg IV
drip in 24hr Hold if HR < 40 ซึ่งสามารถใช้ขนาดยาสูงสุดในผู้ป่วย AF ได้ไม่เกิน 2.2 g/24 hrs โดยให้
Amiodarone 150 mg เป็น loading dose จากนั้นให้ยา 360 mg ใน 6 ชั่วโมงด้วยอัตราเร็ว 1
mg/min แล้วให้ 540 mg ใน 18 ชั่วโมง ด้วยอัตราเร็ว 0.5 mg/min รวมขนาดยาทั้งหมดจะได้ที่ 1050
mg ซึ่งขนาดยาที่ป่วยได้รับทั้งหมดคือ 750 mg ใน 24 ชั่วโมง ซึ่งยังไม่เหมาะสม ควรปรับเพิ่มขนาดยาที่
จะใช้ในการ maintenance เป็น 900 mg

3. เนื่องจากแพทย์มีการสั่งเจาะค่าทางห้องปฏิบัติการ จงระบุความสำคัญและความสัมพันธ์ กับเหตุการณ์


ที่เกิดขึ้น
- Ultrasound carotid เพื่อประเมินอัตราการไหลเวียนเลือดที่ carotid ที่จะไปเลี้ยงสมอง
- ECG เพื่อประเมินว่าเกิด Stroke จาก Cardiogenic embolism หรือไม่
- CT brain หลังให้ rt-PA ครบ 24 ชั่วโมง เพื่อประเมินว่าเกิด Stroke จาก Atherosclerotic หรือ
cerebrovascular disease
- NIHSS เพื่อใช้เป็น parameter ในการติดตามอาการของผู้ป่วย ว่ามีความรุนแรงของโรคหลอด
เลือดสมองลดลงหรือไม่
- Ca2+, Mg, PO4, albumin ตรวจเพื่อดูว่ามี electrolytes imbalance ที่อาจทำให้เกิด Mimic
stroke หรือไม่
- TFT ตรวจเพื่อ rule out ภาวะ Atrial fibrillation จาก hyperthyroid และตรวจเพื่อติดตาม
ระดับ TFT เนื่องจากการใช้ยา Amiodarone จะส่งผลทำให้ Hypo/hyper thyroid

4. จงวางแผนการได้รับยาเมื่อผู้ป่วยกลับบ้าน
ผู้ปว่ ยถูกวินิจฉัยว่าเป็น Atrial fibrillation จำเป็นต้องได้ยากลุ่ม anticoagulant (warfarin
หรือ ยากลุ่ม NOAC) ตาม ESC guideline ปี ค.ศ. 2016 ซึ่งจะต้องมีการประเมินความเสี่ยงในการเกิด
Stroke โดยใช้ CHA2DS2VAS ซึ่งได้คะแนนเท่ากับ 4 และประเมินความเสี่ยงในการเกิดเลือดออก โดยใช้

ปฏิบัติการที่ 1 Stroke ฑิภาดา สามสีทอง


เอกสารประกอบการสอนรายวิชา 1506 515 เภสัชบำบัด 3 9

HAS-BLED ซึ่งได้คะแนนเท่ากับ4 (คะแนน >3 หมายความว่ามีความในการเกิดเลือดออกสูง) ดังนั้นยาที่


ผู้ป่วยจำเป็นที่จะได้รับ คือ warfarin หรือ ยากลุ่ม NOAC ซึ่งจะพิจารณายาดังนี้ ในด้านประสิทธิภาพ
ของยา ยาทั้ง 2 ไม่ได้แตกต่างกัน ในด้านความปลอดภัย warfarin จะทำให้เกิด ICH มากกว่ายากลุ่ม
NOAC แต่ยากลุม่ NOAC จะทำให้เกิด Dyspepsia และ GI bleeding มากกว่า warfarin ซึ่งเมื่อ
พิจารณาในผู้ป่วย ผู้ป่วยไม่ได้มีปัญหาในระบบ GI ดังนั้น จะแนะนำให้ใช้ยากลุ่ม NOAC ซึ่งก็คือยา
Dabigatran 110 mg BID pc และในผู้ป่วยทุกรายควรจะได้รับยากลุ่ม statin ซึ่งยาที่แนะนำ คือ
Atorvastatin 40 mg OD hs
หากผู้ป่วยยังมีค่าความดันที่สูง แนะนำใช้ยา Enalapril 10 mg OD pc (เช้า) ร่วมกับ HCTZ 25
mg OD (เช้า)
เนื่องจากผู้ป่วยเป็น Atrial fibrillation with rapid ventricular response มีความผิดปกติด้าน
อัตราเร็วที่เร็วกว่าปกติ ดังนั้นผู้ป่วยควรได้รับยาควบคุมอัตราการเต้นของหัวใจ ยาที่เลือกใช้กับผู้ป่วยราย
นี้คือ Atenolol 25 mg OD
ยาที่ผู้ป่วยจะได้รับกลับบ้านมีดังนี้
- Dabigatran 110 mg BID pc
- Atorvastatin 40 mg OD hs
- Enalapril 10 mg OD pc (เช้า)
- HCTZ 25 mg OD pc (เช้า)
- Atenolol 25 mg OD pc(เช้า)

5. ฝึกการทำ Intervention แพทย์ โดยใช้หลักการ SBAR


สวัสดีค่ะ โทรจากห้องยาผู้ป่วยในค่ะ เภสัชกรหญิง A ขออนุญาตปรึกษาแพทย์ เรื่องปัญหาการ
ใช้ยาของผู้ป่วย ชื่อนายอาทิตย์ แสงจันทร์ AN 146564 อายุ 66 ปี เริ่มเข้ารับการรักษาเมื่อวันที่ 24
สิงหาคม 2562 ด้วย ภาวะ Acute ischemic stroke โดยผู้ป่วยได้รับ NSS 1000 ml IV drip 80 ml/hr
และยา Alteplase 4.59 mg IV bolus in 1 minute rt-PA 41.31 mg IV drip in 60 minute และใน
วันที่ 25/8/61 ได้รับ 150 mg ผสม D5W 100 ml ให้ 30 นาที และ amiodarone 600 mg iv drip in
24hr และวิเคราะใบสั่งยาในวันที่ 25 สิงหาคม 2561 จากการพิจารณาความรุนแรงของการเกิด
Recurrent stroke ซึ่งเป็นสาเหตุมาจากของ Atrial fibrillation เภสัชขอเสนอความคิดเห็นว่า ผู้ป่วย
ควรได้รับยา Dabigatran 110 mg BID ซึ่งเป็นยากลุ่ม anticoagulant และ Atorvastatin 40 mg OD
hs เพื่อป้องกันการเกิด stroke และ Atenolol 25 mg OD pc เพื่อควบคุมอัตราการเต้นของหัวใจกลับ
บ้านร่วมด้วยค่ะ
จึงเรียนแพทย์ เพื่อพิจารณา

ปฏิบัติการที่ 1 Stroke ฑิภาดา สามสีทอง


เอกสารประกอบการสอนรายวิชา 1506 515 เภสัชบำบัด 3 10

เอกสารอ้างอิง
1 นรงฤทธิ์ เกษมทรัพย์. Non-vitamin K Antagonist Oral Anticoagulants (NOAC) in Ischemic
Stroke Patients with Atrial [อินเตอร์เน็ต]. เข้าถึงเมื่อ 19 มิถุนายน 2565. เข้าถึงจาก
https://neurosci.kku.ac.th/wp-content/uploads/2018/12/Recent-Advances3.pdf
2 Gioia LC, Kate M, Sivakumar L, Hussain D, Kalashyan H, Buck B, Bussiere M, Jeerakathil
T, Shuaib A, Emery D, et al. Early rivaroxaban use after cardioembolic stroke may not
result in hemorrhagic trans- formation: a prospective magnetic resonance imaging
study. Stroke. 2016;47:1917–1919. doi: 10.1161/STROKEAHA.116.013491
3 Patel P, Pandya J, Goldberg M. NOACs vs. Warfarin for Stroke Prevention in
Nonvalvular Atrial Fibrillation. Cureus. 2017;9(6):e1395. Published 2017 Jun 26.
doi:10.7759/cureus.1395
4 Kate M, Gioia L, Buck B, Sivakumar L, Jeerakathil T, Shuaib A, Butcher K. Dabigatran
therapy in acute ischemic stroke patients without atrial fibrillation. Stroke.
2015;46:2685–2687. doi: 10.1161/ STROKEAHA.115.010383
5 Kirchhof P, Benussi S, Kotecha D, Ahlsson1 A, Atar D, Casadei B, et al. 2016 ESC
Guidelines for themanagement of atrial fibrillation developed in collaboration with
EACTS:The Task Force for themanagement of atrial fibrillation of the European Society
of Cardiology (ESC). European Heart Journal (2016) 37, 2893–2962.doi:
10.1093/eurheartj/ehw210.
6 Powers WJ, Rabinstein AA, Ackerson T, et al. Guidelines for the Early Management of
Patients With Acute Ischemic Stroke: 2019 Update to the 2018 Guidelines for the Early
Management of Acute Ischemic Stroke: A Guideline for Healthcare Professionals From
the American Heart Association/American Stroke Association [published correction
appears in Stroke. 2019 Dec;50(12):e440-e441]. Stroke. 2019;50(12):e344-e418.
doi:10.1161/STR.0000000000000211
7 Demaerschalk BM, Kleindorfer DO, Adeoye OM, et al. Scientific Rationale for the
Inclusion and Exclusion Criteria for Intravenous Alteplase in Acute Ischemic Stroke: A
Statement for Healthcare Professionals From the American Heart Association/American
Stroke Association [published correction appears in Stroke. 2016 Nov;47(11):e262].
Stroke. 2016;47(2):581-641. doi:10.1161/STR.0000000000000086

ปฏิบัติการที่ 1 Stroke ฑิภาดา สามสีทอง

You might also like