You are on page 1of 8

แบบฝึกเสริมทักษะวิชาภาษาไทย

ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
สัปดาห์ที่ ๑ ( ๖ - ๑๒ เมษายน ๒๕๖๓ )

ชื่อ......................................................นามสกุล.............................................
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ /................... เลขที่ ...............................................

โรงเรียนสุคนธีรวิทย์
อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม
คำชี้แจง
รายวิชาภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
๑.ให้นักเรียนพิมพ์แบบฝึกทักษะวิชาภาษาไทยออกมาทำแบบฝึกหัดต่าง ๆ
๒.ในกรณีที่ไม่สามารถทำการพิมพ์แบบฝึกหัดออกมาได้นั้น
นักเรียนสามารถทำลงในสมุดได้ โดย
- ไม่ต้องเขียนวันที่
- ระบุชุดและตอนทีท่ ำให้ชัดเจน
- ลอกโจทย์ (ยกเว้นโจทย์ตอนที่ ๑)
- ขีดเส้นใต้เมื่อจบแบบฝึกหัดแต่ละเรื่องให้เรียบร้อย
๓.นักเรียนสามารถสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติมจากพจนานุกรมหรืออินเทอร์เน็ตได้
๔.ใช้ดินสอในการทำแบบฝึกหัด
๕.กำหนดส่งแบบฝึกหัดในวันเปิดภาคเรียน

สอบถาม ครูสุนิสา กลัดจ้อย


๐๙๐-๖๘๗๔๘๕๓
ชุดที่ ๑
สัปดาห์ที่ ๑ ( ๖ - ๑๒ เมษายน ๒๕๖๓ )

ตอนที่ ๑ แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ
คำชี้แจง ให้นักเรียนทำเครื่องหมายกากบาททับตัวอักษรหน้าคำตอบที่ถูกต้องที่สุด
อ่านข้อความต่อไปนี้แล้วตอบคำถามข้อ 1 – 5

คำว่า “พรรษา” หมายถึง ฤดูฝน คำว่า “เข้าพรรษา” หมายถึง การอยู่เป็นที่ของพระภิกษุ


ในฤดูฝน ในพุทธประวัติมีว่า แต่เดิมนั้นพระภิกษุนักธุดงค์หมั่นไปสั่งสอน เผยแผ่พระธรรมตามที่
ต่าง ๆ ตลอดเวลาทุกฤดูกาล เมื่อเป็นฤดูฝนก็ท่องจาริกไปในไร่นา บางทีก็เหยียบข้าวกล้าและพืช
พันธุ์ที่ชาวบ้านปลูกไว้ ทำให้ได้รับความเสียหาย และพระภิกษุสงฆ์บางรูปก็เจ็บป่วย พระพุทธองค์
ทรงมีพุทธบัญญัติให้พระภิกษุจำพรรษาอยู่ตลอดฤดูฝน 3 เดือน

1. ช่วงเข้าพรรษามีระยะเวลาประมาณกี่วัน
ก. 120 วัน ข. 90 วัน
ค. 60 วัน ง. 30 วัน
2. สิ่งที่พระภิกษุนำไปเผยแพร่ให้แก่พุทธศาสนิกชนคืออะไร
ก. พุทธบัญญัติ ข. พุทธประวัติ
ค. พระพุทธรูป ง. พระธรรม
3. ใจความสำคัญของข้อความนี้คืออะไร
ก. ทำไมพระภิกษุจึงต้องจำพรรษา
ข. ทำไมจึงต้องเผยแพร่ทำในฤดูฝน
ค. การออกเผยแผ่ธรรมของพุทธสาวก
ง. ข้อควรระวังในฤดูกาลเพาะปลูกของชาวบ้าน
4. “พุทธบัญญัติ” หมายถึงอะไร
ก. ข้อกำหนดของชาวพุทธ
ข. ข้อกำหนดที่กรมศาสนาออกมา
ค. ข้อกำหนดที่พระสงฆ์เป็นผู้กำหนดให้
ง. ข้อกำหนดที่พระพุทธเจ้ากำหนดไว้ให้พระสาวกปฏิบัติ
5.วันเข้าพรรษาตรงกับวันใด
ก. วันขึ้น 15 ค่ำเดือน 3 ข. วันขึ้น 15 ค่ำเดือน 6
ค. วันแรม 1 ค่ำเดือน 8 ง. วันขึ้น 15 ค่ำเดือน 8
อ่านข้อความต่อไปนี้แล้วตอบคำถามข้อ ๖ - ๑๐

“มาคอว์” สีสันแสนสวยที่ธรรมชาติประทานมาให้ ไม่ว่าทุกพันธ์ทุกสีกำลัง


ถูกล่าอย่างหนัก ผู้ดูแลสัตว์ในป่ามักพบลูกนกที่ยังช่วยตัวเองไม่ได้นอนคารังรอคอย
อาหารจากพ่อแม่เสมอ
“มาคอว์” จะมีคู่ในราวเดือนธันวาคม ตัวเมียจะวางไข่ครั้งละเพียง 2 ฟอง
เท่านั้นและใช้เวลาฟัก 1 เดือน ระหว่างนั้นตัวผู้จะหาอาหารมาให้ตัวเมียที่นั่งกกไข่
อยู่ตลอด
“มาคอว์” มีสัญชาตญาณการรักษาตัวที่ดี ไม่ว่าการมีภูมิต้านทานด้านพิษ
ดีกว่าสัตว์อื่น กินผลไม้ที่มีพิษก็ไม่เป็นอันตราย รู้จักหาดินที่มีแร่ธาตุมาล้างพิษ และ
การที่มาคอว์อาวุโสจะทำทุกทางเพื่อช่วยผู้อ่อนวัยกว่า

6. “มาคอว์” คือชื่อของสัตว์ประเภทใด
ก. นก ข. ไก่
ค. เป็ด ง. ผีเสื้อ
7. “มาคอว์” จะวางไข่ครั้งละกี่ฟอง
ก. 4 ฟอง ข. 3 ฟอง
ค. 2 ฟอง ง. 1 ฟอง
8. มาคอว์ ตัวผู้ทำอย่างไรในขณะที่ตัวเมียกำลังกกไข่
ก. ไปหากินที่อื่น
ข. หาอาหารมาให้
ค. ไปหาตัวเมียตัวอื่น
ง. นั่งเฝ้าไม่ยอมไปไหน
9. ในการฟักไข่แต่ละครั้งจะใช้เวลานานเท่าใด
ก. 90 วัน ข. 60วัน
ค. 45 วัน ง. 30 วัน
10. ข้อมูลใดไม่ถูกต้อง
ก. มาคอว์จะออกลูกครั้งละ 1 - 2 ตัว
ข. มาคอว์รู้จักหาดินที่มีแร่ธาตุมาล้างพิษที่อยู่ในร่างกาย
ค. มาคอว์ตัวพี่จะเฝ้าคอยดูแลตัวน้องเป็นอย่างดี
ง. มาคอว์สามารถกินผลไม้ที่มีพิษได้โดยไม่ได้รับอันตราย
อ่านคำกลอนต่อไปนี้แล้วตอบคำถามข้อ ๑๑ - ๒๐

อันนารีที่ยังสาวพวกชาวบ้าน
ถีบกระดานถือตะกร้าเที่ยวหาหอย
ดูแคล่วคล่องล่องแล่นแฉลบลอย
เอาขาห้อยทำเป็นหางไปกลางเลน
อันพวกเขาชาวประมงไม่โหย่งหยิบ
ล้วนตีนถีบปากกัดขัดเขมร
จะได้กินข้าวเช้าก็ราวเพล
ดูจัดเจนโลดโผนในโคลนตม
( จาก นิราศเมืองแกลง ของ สุนทรภู่ )

๑๑. จากคำประพันธ์นี้ สุนทรภู่บรรยายถึงคนในจังหวัดใด


ก. จันทบุรี ข. สมุทรสาคร ค. ตราด ง. ระยอง
๑๒. คำกลอนนี้กล่าวถึงอาชีพใด
ก. ประมง ข. ค้าขาย ค. รับจ้าง ง. รับราชการ
๑๓. เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นที่ไหน
ก. ในทุ่งนา ข. ในสนามหญ้า ค. ริมทะเล ง. ริมแม่น้ำ
๑๔. ชาวบ้านถีบกระดานไปกลางเลนเพื่อทำอะไร
ก. หาปู ข. หาหอย ค. หาปลา ง. หากุ้ง
๑๕. “จะได้กินข้าวเช้าก็ราวเพล” ข้อความนี้หมายความว่าอย่างไร
ก. กินข้าวก่อนพระตีระฆัง ข. งดข้าวมื้อกลางวัน
ค. กินข้าวไม่ตรงเวลา ง. กินข้าวพร้อมพระ
๑๖. คำในข้อใดต่างจากพวก
ก. เลน ข. โผน ค. ตม ง. โคลน
๑๗. “ดูจัดเจนโลดโผนในโคลนตม” แสดงถึงข้อใด
ก. ชำนาญ ข. ตื่นเต้น ค. หวาดเสียว ง. ดุเดือด
๑๘. “ขัดเขมร” เกี่ยวข้องกับข้อใดมากที่สุด
ก. การค้าขาย ข. การวางตัว ค. การกินอาหาร ง. การแต่งกาย
๑๙. นักเรียนคิดว่าผู้คนเหล่านี้เป็นอย่างไร
ก. ไม่ตรงเวลา ข. ขยันทำมาหากิน
ค. ชอบความสนุกสนาน ง. ชอบความโลดโผน
๒๐. คำกลอนนี้จัดเป็นคำประพันธ์ชนิดใด
ก. โคลงสี่สุภาพ ข. กาพย์ยานี ๑๑ ค. กลอนแปด ง. กลอนสักวา
ตอนที่ ๒ แบบฝึกทักษะการอ่านและเขียน
๑. อ่านออกเสียงคำที่กำหนดให้

แกงบวด โกร๋น ขะมุกขะมอม เซ่อซ่า

ดำผุดดำว่าย ตะกละ ตำหนิ นานาชนิด

มิจฉาชีพ ร่มรื่น เศรษฐกิจ สีสนั

ไหม้เกรียม อัญชัน ปรัชญา เกษียณอายุ

เอร็ดอร่อย กล้วยบวชชี หน้าแล้ง น้ำหมักชีวภาพ

ลงชื่อ.................................................(ผู้ปกครอง)
ลงชื่อ.................................................(นักเรียน)

๒. เขียนคำจากคำอ่านให้ถูกต้อง
จอ - ระ – เข้ ........................................................................................................
มา - ระ - ยาด ........................................................................................................
อุน - หะ - พูม ........................................................................................................
จิด - ตะ - กอน ........................................................................................................
อุ - บัด - ติ - เหด .......................................................................................................
สับ - พะ - คุน .......................................................................................................
รด - อะ – หร่อย ........................................................................................................
พระ - ราด - ชะ - นิ - พน ........................................................................................................
สะ - หมุน - ไพร ........................................................................................................
มัง - สะ - วิ - รัด ........................................................................................................
๓. ทำเครื่องหมาย X ทับตัวอักษรหน้าคำที่สะกดถูกต้อง
๑. ก. เทศการ ข. พอกพูล ค. เครื่องเซ่น ง. แก่นสาน
๒. ก. ลักโขมย ข. ปะการัง ค. โฆษนา ง. อนุญาต
๓. ก. หลงไหล ข. ไคลคลา ค. ไหวพลิบ ง. เถลไถล
๔. ก. ดึกดำบรรพ์ ข. ศักดิ์สิทธ์ ค. มหัศจันทร์ ง. ภาพยนตร์
๕. ก. ทักษิน ข. บัณฑิต ค. พสุทา ง. เต้าฮู้
๖. ก. สาบสูณ ข. ฝรั่งเศษ ค. ปราศรัย ง. แมลงมุม
๗. ก. สวดมนต์ ข. รื่นรมณ์ ค. พระโอษฏ์ ง. หุ่นยนตร์
๘. ก. ขะมักขะเม้น ข. พงศาวดาร ค. โปรดปราณ ง. ทนุถนอม
๙. ก. บรรพบุรุษ ข. บรรพบุรุศ ค. บรรพบุรุส ง. บันพบุรุษ
๑๐. ก. สำภาษณ์ ข. สำภาษน์ ค. สัมภาษณ์ ง. สัมภาษน์
๑๑. ก. กาละแม ข. กะละแม ค. การะแม ง. กะระแม
๑๒. ก. ซ่าหริ่ม ข. ซ่าหลิ่ม ค. ซะหริ่ม ง. ซะหลิ่ม
๑๓. ก. จารนัย ข. จารไน ค. จาะระนัย ง. จาระไน
๑๔. ก. กะวีกะวาด ข. กะสับกะส่าย
ค. กะโผลกกะเผลก ง. กะเซอะกะเซิง
๑๕. ก.สร้างสรร ข. พวกพร้อง
ค. อภินิหาริย์ ง. นิทรรศการ
๑๖. ก. ปะดิดปะดอย ข. ประดิดปะดอย
ค. ประดิดประดอย ง. ประดิดประดอย
๑๗. ก. กระยาสารธ ข. กระยาสารท
ค. กระยาสาท ง. กระยาสาธ
๑๘. ก. เขี้ยวน้ำตาน ข. เขี้ยวน้ำตาล
ค. เคี่ยวน้ำตาน ง. เคี่ยวน้ำตาล
๑๙. ก. ดอกอันชัน ข. ดอกอัญชัน
ค. ดอกอันชัญ ง. ดอกอัญชัญ
๒๐. ก. ขนมจ่ามงกุฎ ข. ขนมจ่ามงกุฎ
ค. ขนมจ่ามงกุฐ ง. ขนมจ่ามงกุท
๔. คัดบทร้อยกรองด้วยตัวบรรจงเต็มบรรทัด และฝึกอ่าน

ปลาร้าพันห่อด้วย ใบคา
ใบก็เหม็นคาวปลา คละคลุ้ง
คือคนหมู่ไปหา คบเพื่อน พาลนา
ได้แต่ร้ายร้ายฟุ้ง เฟื่องให้เสียพงศ์

.......................................................................................................................................................................................................
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
.......................................................................................................................................................................................................
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
.......................................................................................................................................................................................................
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
.......................................................................................................................................................................................................
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
.......................................................................................................................................................................................................
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
.......................................................................................................................................................................................................
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
.......................................................................................................................................................................................................
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
.......................................................................................................................................................................................................
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
.......................................................................................................................................................................................................
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
.......................................................................................................................................................................................................
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ลงชื่อ.................................................(ผู้ปกครอง)
ลงชื่อ.................................................(นักเรี ยน)
วันที่...............เดือน..................................พ.ศ................

You might also like