You are on page 1of 44

พระราชบัญญัติ

สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ
พ.ศ. ๒๕๕๙

กองสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ กองสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ
กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ
โทร. ๐๒ ๑๙๓ ๗๐๐๐ ตอ ๑๘๔๐๘ กระทรวงสาธารณสุข
www.thaispa.go.th
พระราชบัญญัติ
สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ
พ.ศ. ๒๕๕๙

กองสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ
กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ
กระทรวงสาธารณสุข
สารบัญ

หน้า
พระราชบัญญัติสถานประกอบการ ๑
เพื่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙
หมวด ๑ คณะกรรมการสถานประกอบการ ๕
เพื่อสุขภาพ
หมวด ๒ ใบอนุญาตและการขึ้นทะเบียน ๑๐
หมวด ๓ หน้าที่ของผู้รับอนุญาตและ ๑๙
ผู้ดําเนินการ
หมวด ๔ การพักใช้ใบอนุญาต การเพิกถอน ๒๔
ใบอนุญาตและการลบชื่อ
ออกจากทะเบียน
หมวด ๕ พนักงานเจ้าหน้าที่ ๒๘
หมวด ๖ การอุทธรณ์ ๓๐
หมวด ๗ บทกําหนดโทษ ๓๒
บทเฉพาะกาล ๓๕
อัตราค่าธรรมเนียม ๓๗
พระราชบัญญัติ
สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ
พ.ศ. ๒๕๕๙

ภูมพิ ลอดุลยเดช ป.ร.


ให้ไว้ ณ วันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๙
เป็นปีที่ ๗๑ ในรัชกาลปัจจุบนั

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมพิ ลอดุลยเดช
มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่ เ ป็ น การสมควรมี ก ฎหมายว่ า ด้ ว ยสถาน
ประกอบการเพื่อสุขภาพ
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติ
ขึ้นไว้โดยคําแนะนําและยินยอมของสภานิติบัญญัติ
แห่งชาติ ดังต่อไปนี้

เล่ม ๑๓๓ ตอนที่ ๓๐ ก ราชกิ จ จานุ เ บกษา ๓๑ มี น าคม ๒๕๕๙

มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราช


บัญญัติสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙”
มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้น
กํ า หนดหนึ่ ง ร้ อ ยแปดสิ บ วั น นั บ แต่ วั น ประกาศใน
ราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้
“สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ” หมายความว่า
สถานที่ที่ตั้งขึ้นเพื่อดําเนินกิจการ ดังต่อไปนี้
(๑) กิจการสปา อันได้แก่ บริการที่เกี่ยวกับการ
ดูแลและเสริมสร้างสุขภาพโดยวิธีการบําบัดด้วยน�้ำ
และการนวดร่างกายเป็นหลัก ประกอบกับบริการอื่น
ตามที่กําหนดในกฎกระทรวงอีกอย่างน้อยสามอย่าง
เว้ น แต่ เ ป็ น การดํ า เนิ น การในสถานพยาบาลตาม
กฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล หรือการอาบน�้ำ นวด
หรืออบตัวที่เป็นการให้บริการในสถานอาบน�้ำ นวด
หรืออบตัวตามกฎหมายว่าด้วยสถานบริการ
(๒) กิจการนวดเพือ่ สุขภาพหรือเพือ่ เสริมความงาม
เว้นแต่การนวดเพื่อสุขภาพหรือเพื่อเสริมความงาม


เล่ม ๑๓๓ ตอนที่ ๓๐ ก ราชกิ จ จานุ เ บกษา ๓๑ มี น าคม ๒๕๕๙

ในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล
หรือในหน่วยบริการสาธารณสุขของหน่วยงานของรัฐ หรือ
การนวดที่ เป็ น การให้บริก ารในสถานอาบน�้ำ นวด
หรืออบตัวตามกฎหมายว่าด้วยสถานบริการ
(๓) กิจการอื่นตามที่กําหนดในกฎกระทรวง
“ผู้อนุญาต” หมายความว่า อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดี
มอบหมาย
“ผู้รับอนุญาต” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาต
ให้ประกอบกิจการสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ
“ผู้ดําเนินการ” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาต
ให้ดําเนินการบริหารจัดการสถานประกอบการเพื่อ
สุขภาพ
“ผูใ้ ห้บริการ” หมายความว่า ผูไ้ ด้รบั การขึน้ ทะเบียน
ให้ทําหน้าที่บริการเพื่อสุขภาพในสถานประกอบการ
เพื่อสุขภาพ
“คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการ
สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ
“พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ข้าราชการ


เล่ม ๑๓๓ ตอนที่ ๓๐ ก ราชกิ จ จานุ เ บกษา ๓๑ มี น าคม ๒๕๕๙

พลเรือนหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งดํารงตําแหน่ง ไม่ต�่ำ
กว่าข้าราชการพลเรือนสามัญระดับปฏิบัติการหรือ
เที ย บเท่ า ซึ่ ง รั ฐ มนตรี แ ต่ ง ตั้ ง ให้ ป ฏิ บั ติ ก ารตาม
พระราชบัญญัตินี้
“อธิบดี” หมายความว่า อธิบดีกรมสนับสนุนบริการ
สุขภาพ
“ปลัดกระทรวง” หมายความว่า ปลัดกระทรวง
สาธารณสุข
“รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการ
ตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
รั ก ษาการตามพระราชบั ญ ญั ติ นี้ และให้ มี อํ า นาจ
แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ ออกกฎกระทรวงกําหนด
ค่ า ธรรมเนี ย มไม่ เ กิ น อั ต ราท้ า ยพระราชบั ญ ญั ติ นี้
ลดหรือยกเว้นค่าธรรมเนียม และกําหนดกิจการอืน่ เพือ่
ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
การกําหนดค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึง่ อาจกําหนด
ให้ แ ตกต่ า งกั น โดยคํ า นึ ง ถึ ง ประเภทและขนาด
ของสถานประกอบการเพื่อสุขภาพที่กําหนดไว้ใน
ใบอนุญาตด้วยก็ได้

เล่ม ๑๓๓ ตอนที่ ๓๐ ก ราชกิ จ จานุ เ บกษา ๓๑ มี น าคม ๒๕๕๙


กฎกระทรวงนัน้ เมือ่ ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
แล้วให้ใช้บังคับได้

หมวด ๑
คณะกรรมการสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ

มาตรา ๕ ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่ง เรียกว่า


“คณะกรรมการสถานประกอบการเพื่ อ สุ ข ภาพ”
ประกอบด้วย
(๑) ปลั ด กระทรวงสาธารณสุ ข เป็ น ประธาน
กรรมการ
(๒) กรรมการโดยตําแหน่ง ได้แก่ อธิบดีกรมการ
ท่องเที่ยว อธิบดีกรมการปกครอง อธิบดีกรมพัฒนา
การแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก อธิบดีกรม
สนับสนุนบริการสุขภาพ เลขาธิการคณะกรรมการ
คุ้มครองผู้บริโภค เลขาธิการคณะกรรมการอาหาร
และยา และผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
(๓) กรรมการผูท้ รงคุณวุฒจิ าํ นวนสีค่ น ซึง่ รัฐมนตรี
แต่ ง ตั้ ง จากผู ้ มี ค วามรู ้ ค วามสามารถด้ า นบริ ก าร
เพื่อสุขภาพ

เล่ม ๑๓๓ ตอนที่ ๓๐ ก ราชกิ จ จานุ เ บกษา ๓๑ มี น าคม ๒๕๕๙


ให้อธิบดีแต่งตัง้ ข้าราชการของกรมสนับสนุนบริการ
สุขภาพคนหนึ่งเป็นเลขานุการและอีกไม่เกินสองคน
เป็นผู้ช่วยเลขานุการ
มาตรา ๖ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระการดํารง
ตําแหน่งคราวละสามปี
เมือ่ ครบกําหนดตามวาระในวรรคหนึง่ หากยังมิได้มี
การแต่งตัง้ กรรมการผูท้ รงคุณวุฒขิ นึ้ ใหม่ ให้กรรมการ
ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นจากตําแหน่งตามวาระนั้นอยู่ใน
ตําแหน่งเพื่อดําเนินงานต่อไป จนกว่ากรรมการผู้ทรง
คุณวุฒิซึ่งได้รับแต่งตั้งใหม่เข้ารับหน้าที่
กรรมการผูท้ รงคุณวุฒซิ งึ่ พ้นจากตําแหน่งตามวาระ
อาจได้รับแต่งตั้งอีกได้ แต่จะดํารงตําแหน่งติดต่อกัน
เกินสองวาระไม่ได้
มาตรา ๗ นอกจากการพ้นจากตําแหน่งตามวาระ
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตําแหน่งเมื่อ
(๑) ตาย
(๒) ลาออก


เล่ม ๑๓๓ ตอนที่ ๓๐ ก ราชกิ จ จานุ เ บกษา ๓๑ มี น าคม ๒๕๕๙


(๓) เป็นบุคคลล้มละลาย
(๔) เป็นบุคคลวิกลจริต คนไร้ความสามารถ หรือ
คนเสมือนไร้ความสามารถ
(๕) ได้รบั โทษจําคุกโดยคําพิพากษาถึงทีส่ ดุ ให้จาํ คุก
(๖) รั ฐ มนตรี ใ ห้ อ อกเพราะบกพร่ อ งต่ อ หน้ า ที่
มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือหย่อนความสามารถ
มาตรา ๘ ในกรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจาก
ตํ า แหน่ ง ก่ อ นวาระ ให้ รั ฐ มนตรี แ ต่ ง ตั้ ง ผู ้ อื่ น ดํ า รง
ตําแหน่งแทน เว้นแต่วาระของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
เหลื อ ไม่ ถึ ง เก้ า สิ บ วั น จะไม่ แ ต่ ง ตั้ ง กรรมการผู ้ ท รง
คุณวุฒิแทนก็ได้ และให้ผู้ได้รับแต่งตั้งแทนตําแหน่งที่
ว่ า งนั้ น อยู ่ ใ นตํ า แหน่ ง เท่ า กั บ วาระที่ เ หลื อ อยู ่ ข อง
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้ว
ในกรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตําแหน่ง
ก่อนวาระ ให้คณะกรรมการประกอบด้วย กรรมการ
ทั้งหมดเท่าที่มีอยู่จนกว่าจะมีการแต่งตั้งกรรมการ
ผู้ทรงคุณวุฒิตามความในวรรคหนึ่ง


เล่ม ๑๓๓ ตอนที่ ๓๐ ก ราชกิ จ จานุ เ บกษา ๓๑ มี น าคม ๒๕๕๙


มาตรา ๙ คณะกรรมการมีอํานาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑) เสนอนโยบาย แผน และยุทธศาสตร์เกี่ยวกับ
การประกอบกิจการสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ
ต่อรัฐมนตรี
(๒) กําหนดมาตรการในการส่งเสริมสถานประกอบ
การเพื่อสุขภาพให้ได้มาตรฐาน ตลอดจนการส่งเสริม
บุ ค ลากรที่ เ กี่ ย วข้ อ งทุ ก กลุ ่ ม ให้ เข้ า ถึ ง และได้ รั บ
ประโยชน์
(๓) กําหนดหลักเกณฑ์การรับรองวุฒิบัตรหรือ
ประกาศนียบัตรที่ผู้ดําเนินการหรือผู้ให้บริการได้รับ
จากสถาบันการศึกษา หน่วยงาน หรือองค์กรต่าง ๆ
(๔) กําหนดหลักเกณฑ์การทดสอบและประเมิน
ความรู้ความสามารถของผู้ดําเนินการ
(๕) ให้ คํ า แนะนํ า แก่ รั ฐ มนตรี ใ นการออกกฎ
กระทรวงตามพระราชบัญญัตินี้
(๖) ปฏิบตั กิ ารอืน่ ใดตามทีก่ ฎหมายกําหนดให้เป็น
อํานาจหน้าที่ของคณะกรรมการหรือตามที่รัฐมนตรี
มอบหมาย


เล่ม ๑๓๓ ตอนที่ ๓๐ ก ราชกิ จ จานุ เ บกษา ๓๑ มี น าคม ๒๕๕๙


มาตรา ๑๐ การประชุ ม คณะกรรมการต้ อ งมี
กรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวน
กรรมการทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม
ในการประชุมคณะกรรมการ ถ้าประธานกรรมการ
ไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ที่ประชุม
เลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม
การวิ นิ จ ฉั ย ชี้ ข าดของที่ ป ระชุ ม ให้ ถื อ เสี ย งข้ า ง
มาก กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน
ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออก
เสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
มาตรา ๑๑ คณะกรรมการมี อํ า นาจแต่ ง ตั้ ง
คณะอนุ ก รรมการเพื่ อ พิ จ ารณาหรื อ ปฏิ บั ติ ก าร
อย่ า งหนึ่ ง อย่ า งใดแทนคณะกรรมการหรื อ ตามที่
คณะกรรมการมอบหมายได้
การประชุมคณะอนุกรรมการ ให้นําบทบัญญัติ
มาตรา ๑๐ มาใช้บังคับโดยอนุโลม


เล่ม ๑๓๓ ตอนที่ ๓๐ ก ราชกิ จ จานุ เ บกษา ๓๑ มี น าคม ๒๕๕๙

หมวด ๒
ใบอนุญาตและการขึ้นทะเบียน


มาตรา ๑๒ ผู ้ ใ ดประสงค์ จ ะประกอบกิ จ การ
สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ ต้องได้รับใบอนุญาต
ประกอบกิจการสถานประกอบการเพื่อสุขภาพจาก
ผู้อนุญาต
การขอรับใบอนุญาต การออกใบอนุญาต แบบ
ใบอนุญาต การออกใบแทนใบอนุญาต และการชําระ
ค่าธรรมเนียมใบอนุญาต ให้เป็นไปตามแบบหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขที่กําหนดในกฎกระทรวง
กฎกระทรวงตามวรรคสอง รัฐมนตรีจะกําหนด
โดยแยกใบอนุญาตตามประเภท หรือขนาดของสถาน
ประกอบการเพื่อสุขภาพก็ได้
มาตรา ๑๓ ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการ
สถานประกอบการเพื่อสุขภาพต้องมีอายุไม่ต�่ำกว่า
ยี่สิบปีบริบูรณ์และไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้

๑๐
เล่ม ๑๓๓ ตอนที่ ๓๐ ก ราชกิ จ จานุ เ บกษา ๓๑ มี น าคม ๒๕๕๙


(๑) เป็นบุคคลล้มละลาย
(๒) เป็นบุคคลวิกลจริต คนไร้ความสามารถ หรือ
คนเสมือนไร้ความสามารถ
(๓) เป็ น ผู ้ เ คยต้ อ งคํ า พิ พ ากษาถึ ง ที่ สุ ด ว่ า เป็ น
ผูก้ ระทํ า ผิ ด ในความผิ ด เกี่ ย วกั บ เพศตามประมวล
กฎหมายอาญา ความผิ ด ตามกฎหมายเกี่ ย วกั บ
ยาเสพติด ความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกัน
และปราบปรามการค้ า มนุ ษ ย์ หรื อ ความผิ ด ตาม
กฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้า
ประเวณี
(๔) เป็นผู้เจ็บป่วยด้วยโรคติดต่ออันเป็นที่รังเกียจ
แก่สังคม โรคพิษสุราเรื้อรัง หรือติดยาเสพติดให้โทษ
(๕) เป็ น ผู ้ อ ยู ่ ใ นระหว่ า งถู ก สั่ ง พั ก ใช้ ใ บอนุ ญ าต
ประกอบกิจการสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ
(๖) เป็ น ผู ้ เ คยถู ก เพิ ก ถอนใบอนุ ญ าตประกอบ
กิจการสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ และยังไม่พ้น
กําหนดสองปีนบั ถึงวันยืน่ คําขอรับใบอนุญาตประกอบ
กิจการสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ

๑๑
เล่ม ๑๓๓ ตอนที่ ๓๐ ก ราชกิ จ จานุ เ บกษา ๓๑ มี น าคม ๒๕๕๙


ในกรณีทนี่ ติ บิ คุ คลเป็นผูข้ อรับใบอนุญาตประกอบ
กิจ การสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ ผู้มีอํานาจ
จั ด การแทนนิ ติ บุ ค คลนั้ น ต้ อ งมี คุ ณ สมบั ติ แ ละไม่ มี
ลักษณะต้องห้ามตามความในวรรคหนึ่ง
มาตรา ๑๔ ใบอนุ ญ าตประกอบกิ จ การสถาน
ประกอบการเพือ่ สุขภาพให้มอี ายุหา้ ปีนบั แต่วนั ทีอ่ อก
ใบอนุญาต
การขอต่ออายุใบอนุญาต ให้ผู้รับอนุญาตยื่นคําขอ
ก่อนวันทีใ่ บอนุญาตสิน้ อายุ และเมือ่ ได้ยนื่ คําขอดังกล่าว
แล้ว ให้ผู้ยื่นคําขอประกอบกิจการสถานประกอบการ
เพือ่ สุขภาพนัน้ ต่อไปได้จนกว่าจะได้รบั แจ้งคําสัง่ ไม่ต่อ
อายุใบอนุญาตจากผู้อนุญาต
การขอต่ออายุใบอนุญาตและการให้ตอ่ อายุใบอนุญาต
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธกี าร และเงือ่ นไข ตลอดจน
ชําระค่าธรรมเนียมตามที่กําหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๑๕ ให้ผู้รับอนุญาตชําระค่าธรรมเนียมการ
ประกอบกิจการสถานประกอบการเพื่อสุขภาพรายปี
ตามอัตรา หลักเกณฑ์ วิธกี าร เงือ่ นไข และภายในระยะ
เวลาที่กําหนดในกฎกระทรวง
๑๒
เล่ม ๑๓๓ ตอนที่ ๓๐ ก ราชกิ จ จานุ เ บกษา ๓๑ มี น าคม ๒๕๕๙


ผู ้ รั บ อนุ ญ าตผู ้ ใ ดไม่ ชํ า ระค่ า ธรรมเนี ย มตาม
วรรคหนึ่งภายในระยะเวลาที่กําหนด ให้ผู้อนุญาต
สัง่ พักใช้ใบอนุญาตประกอบกิจการสถานประกอบการ
เพื่อสุขภาพจนกว่าจะชําระค่าธรรมเนียม
ในกรณีที่ผู้รับอนุญาตซึ่งถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาต
ตามวรรคสองไม่ชําระค่าธรรมเนียมภายในหกเดือน
นับแต่วันสั่งพักใช้ใบอนุญาต ให้ผู้อนุญาตสั่งเพิกถอน
ใบอนุญาต
มาตรา ๑๖ ใบอนุ ญ าตประกอบกิ จ การสถาน
ประกอบการเพื่อสุขภาพสิ้นสุดลง เมื่อผู้รับอนุญาต
(๑) ตาย เว้นแต่ได้ดําเนินการตามที่บัญญัติไว้ใน
มาตรา ๑๘ หรือสิ้นสุดความเป็นนิติบุคคล
(๒) เลิกประกอบกิจการตามมาตรา ๑๙
(๓) ถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบกิจการสถาน
ประกอบการเพื่อสุขภาพตามมาตรา ๑๕ วรรคสาม
หรือมาตรา ๓๒ (๑) (๒) หรือ (๓) หรือวรรคสาม

๑๓
เล่ม ๑๓๓ ตอนที่ ๓๐ ก ราชกิ จ จานุ เ บกษา ๓๑ มี น าคม ๒๕๕๙


มาตรา ๑๗ การโอนใบอนุญาตประกอบกิจการ
สถานประกอบการเพื่ อ สุ ข ภาพให้ แ ก่ บุ ค คล ซึ่ ง มี
คุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๓
ให้กระทําได้ เมื่อได้รับอนุญาตจากผู้อนุญาต
การขอโอนใบอนุญาตและการอนุญาตให้เป็นไป
ตามหลั ก เกณฑ์ วิ ธี ก าร และเงื่ อ นไขที่ กํ า หนดใน
กฎกระทรวง
มาตรา ๑๘ ในกรณีผู้รับอนุญาตถึงแก่ความตาย
และทายาทมีความประสงค์จะประกอบกิจการสถาน
ประกอบการเพื่ อ สุ ข ภาพต่ อ ไป ให้ ผู ้ จั ด การมรดก
หรือทายาทซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม
ตามมาตรา ๑๓ หรือในกรณีที่มีทายาทหลายคนให้
ทายาทด้ ว ยกั น นั้ น ตกลงตั้ ง ทายาทคนหนึ่ ง ซึ่ ง มี
คุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๓
ยืน่ คําขอต่อผูอ้ นุญาตเพือ่ ขอรับโอนใบอนุญาตภายใน
เก้าสิบวันนับแต่วนั ทีผ่ รู้ บั อนุญาตตาย ถ้ามิได้ยนื่ คําขอ
ภายในระยะเวลาดังกล่าว ให้ถอื ว่าใบอนุญาตประกอบ
กิจการสถานประกอบการเพื่อสุขภาพนั้นสิ้นสุดลง

๑๔
เล่ม ๑๓๓ ตอนที่ ๓๐ ก ราชกิ จ จานุ เ บกษา ๓๑ มี น าคม ๒๕๕๙


ในระหว่างระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้จัดการ
มรดกหรือทายาทซึ่งเป็นผู้ยื่นคําขอรับโอนใบอนุญาต
เข้าประกอบกิจการสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ
โดยมีหน้าที่และความรับผิดชอบเสมือนผู้รับอนุญาต
ทั้งนี้จนกว่าผู้อนุญาตจะมีคําสั่งไม่อนุญาต
ถ้าผลการตรวจสอบปรากฏว่าผูย้ นื่ คําขอมีคณ ุ สมบัติ
และไม่มลี กั ษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๓ ให้ผอู้ นุญาต
มีคําสั่งอนุญาตแก่ผู้ยื่นคําขอ
การขอรั บ โอนและการอนุ ญ าตให้ เ ป็ น ไปตาม
หลั ก เกณฑ์ วิ ธี ก าร และเงื่ อ นไขที่ กํ า หนดใน
กฎกระทรวง
มาตรา ๑๙ ผูร้ บั อนุญาตซึง่ ประสงค์จะเลิกประกอบ
กิจการ ให้แจ้งให้ผู้อนุญาตทราบ พร้อมทั้งส่งคืน
ใบอนุญาตประกอบกิจการสถานประกอบการเพื่อ
สุขภาพแก่ผู้อนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่เลิก
ประกอบกิจการ
การเลิกประกอบกิจการไม่เป็นเหตุให้ผู้รับอนุญาต
พ้นจากความรับผิดที่มีตามพระราชบัญญัตินี้

๑๕
เล่ม ๑๓๓ ตอนที่ ๓๐ ก ราชกิ จ จานุ เ บกษา ๓๑ มี น าคม ๒๕๕๙


มาตรา ๒๐ ผู ้ ใ ดประสงค์ จ ะปฏิ บั ติ ห น้ า ที่ เ ป็ น
ผู้ดําเนินการในสถานประกอบการเพื่อสุขภาพต้อง
ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ดําเนินการจากผู้อนุญาต
การขอรับใบอนุญาต การออกใบอนุญาต แบบ
ใบอนุญาต การออกใบแทนใบอนุญาต และการชําระ
ค่าธรรมเนียมใบอนุญาต ให้เป็นไปตามแบบหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขที่กําหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๒๑ ผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ดําเนินการใน
สถานประกอบการเพื่ อ สุ ข ภาพ ต้ อ งมี คุ ณ สมบั ติ
และไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
ก. คุณสมบัติ
(๑) มีอายุไม่ต�่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์
(๒) ได้รบั วุฒบิ ตั รหรือประกาศนียบัตรด้านการ
บริการเพือ่ สุขภาพทีไ่ ด้รบั การรับรองจากกรมสนับสนุน
บริการสุขภาพ
(๓) ผ่านการทดสอบและประเมินความรู้ความ
สามารถจากกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ
ข. ลักษณะต้องห้าม
(๑) เป็นบุคคลวิกลจริต คนไร้ความสามารถ
หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
๑๖
เล่ม ๑๓๓ ตอนที่ ๓๐ ก ราชกิ จ จานุ เ บกษา ๓๑ มี น าคม ๒๕๕๙


(๒) เป็นผู้เคยต้องคําพิพากษาถึงที่สุดว่าเป็น
ผู ้ ก ระทํ า ผิ ด ในความผิ ด เกี่ ย วกั บ เพศหรื อ ความผิ ด
เกีย่ วกับทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญาความผิดตาม
กฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด ความผิดตามกฎหมาย
ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ หรือ
ความผิ ด ตามกฎหมายว่ า ด้ ว ยการป้ อ งกั น และ
ปราบปรามการค้าประเวณี
(๓) เป็นผูเ้ จ็บป่วยด้วยโรคติดต่ออันเป็นทีร่ งั เกียจ
แก่สังคม โรคพิษสุราเรื้อรัง หรือติดยาเสพติดให้โทษ
(๔) เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาต
เป็นผู้ดําเนินการ
(๕) เป็ น ผู ้ เ คยถู ก เพิ ก ถอนใบอนุ ญ าตเป็ น
ผู ้ ดํ า เนิ น การและยั ง ไม่ พ ้ น กํ า หนดหนึ่ ง ปี นั บ ถึ ง วั น
ยื่นคําขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ดําเนินการ
มาตรา ๒๒ ผู้ใดประสงค์จะปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ให้
บริการในสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ ให้ยื่นคําขอ
ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ให้บริการต่อผู้อนุญาต
การขึ้ น ทะเบี ย นตามวรรคหนึ่ ง ให้ เ ป็ น ไปตาม
หลักเกณฑ์ วิธกี าร และเงือ่ นไขทีก่ าํ หนดในกฎกระทรวง
๑๗
เล่ม ๑๓๓ ตอนที่ ๓๐ ก ราชกิ จ จานุ เ บกษา ๓๑ มี น าคม ๒๕๕๙


มาตรา ๒๓ ผู้ขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ให้บริการต้องมี
คุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้
ก. คุณสมบัติ
(๑) มีอายุไม่ต�่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์
(๒) ได้รบั วุฒบิ ตั รหรือประกาศนียบัตรด้านการ
บริการเพือ่ สุขภาพทีไ่ ด้รบั การรับรองจากกรมสนับสนุน
บริการสุขภาพ
ข. ลักษณะต้องห้าม
(๑) เป็นบุคคลวิกลจริต คนไร้ความสามารถ
หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(๒) เป็นผู้เคยต้องคําพิพากษาถึงที่สุดว่าเป็น
ผูก้ ระทําผิดในความผิดเกีย่ วกับเพศ หรือความผิดเกี่ยว
กับทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา ความผิดตาม
กฎหมายเกีย่ วกับยาเสพติด หรือความผิดตามกฎหมาย
ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี
เว้นแต่ได้พ้นโทษมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปี ก่อนวันยื่น
คําขอขึ้นทะเบียน

๑๘
เล่ม ๑๓๓ ตอนที่ ๓๐ ก ราชกิ จ จานุ เ บกษา ๓๑ มี น าคม ๒๕๕๙


(๓) เป็ น ผู ้ เจ็ บ ป่ ว ยด้ ว ยโรคติ ด ต่ อ อั น เป็ น ที่
รังเกียจแก่สังคม โรคพิษสุราเรื้อรัง หรือติดยาเสพติด
ให้โทษ

หมวด ๓
หน้าที่ของผู้รับอนุญาตและผู้ดําเนินการ

มาตรา ๒๔ ผู้รับอนุญาตต้องประกอบกิจการให้
ตรงตามประเภทของสถานประกอบการเพื่อสุขภาพที่
ระบุไว้ในใบอนุญาตประกอบกิจการสถานประกอบ
การเพื่อสุขภาพ
มาตรา ๒๕ การใช้ชอื่ สถานประกอบการเพือ่ สุขภาพ
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่อธิบดีประกาศกําหนด
มาตรา ๒๖ มาตรฐานด้านสถานที่ ความปลอดภัย
และการให้บริการในสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ
แต่ละประเภท ให้เป็นไปตามทีก่ าํ หนดในกฎกระทรวง

๑๙
เล่ม ๑๓๓ ตอนที่ ๓๐ ก ราชกิ จ จานุ เ บกษา ๓๑ มี น าคม ๒๕๕๙


มาตรา ๒๗ สถานประกอบการเพือ่ สุขภาพประเภท
ใดต้องมีผดู้ าํ เนินการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ทีอ่ ธิบดี
ประกาศกําหนด
มาตรา ๒๘ ผู้รับอนุญาตมีหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) แสดงใบอนุญาตประกอบกิจการสถานประกอบการ
เพื่อสุขภาพไว้ในที่เปิดเผย และเห็นได้ง่าย ณ สถาน
ประกอบการเพื่อสุขภาพที่ระบุไว้ในใบอนุญาต
(๒) จัดให้มผี ดู้ าํ เนินการอยูป่ ระจําสถานประกอบการ
เพื่ อ สุ ข ภาพตลอดเวลาทํ า การ พร้ อ มทั้ ง แสดงชื่ อ
ผู้ดําเนินการไว้ในที่เปิดเผยและเห็นได้ง่าย
(๓) จัดทําทะเบียนประวัติผู้ดําเนินการและผู้ให้
บริการ
(๔) รักษามาตรฐานด้านสถานที่ ความปลอดภัย
และการให้บริการให้เป็นไปตามที่ได้รับอนุญาต
(๕) รั บ ผู ้ ซึ่ ง ได้ ขึ้ น ทะเบี ย นเป็ น ผู ้ ใ ห้ บ ริ ก ารตาม
มาตรา ๒๒ เท่านั้นเข้าทํางานในสถานประกอบการ
เพื่อสุขภาพ
(๖) ไม่โฆษณาเกีย่ วกับการให้บริการเพือ่ สุขภาพใน
ลักษณะ ดังต่อไปนี้
๒๐
เล่ม ๑๓๓ ตอนที่ ๓๐ ก ราชกิ จ จานุ เ บกษา ๓๑ มี น าคม ๒๕๕๙


(ก) ใช้ข้อความโฆษณาอันเป็นเท็จหรือโอ้อวด
เกินความเป็นจริง
(ข) โอ้อวดสรรพคุณของการบริการเพือ่ สุขภาพ
หรืออุปกรณ์ ผลิตภัณฑ์ และเครื่องมือ เครื่องใช้ต่าง ๆ
อันเป็นส่วนประกอบในการให้บริการว่าสามารถบ�ำบัด
รั ก ษาหรื อ ป้ อ งกั น โรคได้ หรื อ ใช้ ถ ้ อ ยคํ า อื่ น ใดที่ มี
ความหมายในทํานองเดียวกัน
(ค) โฆษณาในประการที่ น ่ า จะก่ อ ให้ เ กิ ด
ความเข้าใจผิดในสาระสําคัญเกีย่ วกับการให้บริการเพือ่
สุขภาพ
(ง) โฆษณาที่ มี ลั ก ษณะส่ อ ไปในทางลามก
อนาจาร
(๗) ควบคุมดูแลมิให้สถานประกอบการเพือ่ สุขภาพ
ก่อให้เกิดความเดือดร้อนรําคาญแก่ผู้อาศัย ในบริเวณ
ใกล้เคียง
(๘) ห้ามมิให้มีการจัดสถานที่หรือสิ่งอื่นใดสําหรับ
ให้ผใู้ ห้บริการแสดงตนเพือ่ ให้สามารถเลือกผูใ้ ห้บริการได้
(๙) ควบคุ ม ดู แ ลมิ ใ ห้ มี ก ารลั ก ลอบหรื อ มี ก าร
ค้ า ประเวณี หรื อ มี ก ารกระทํ า หรื อ บริ ก ารที่ ขั ด ต่ อ
๒๑
เล่ม ๑๓๓ ตอนที่ ๓๐ ก ราชกิ จ จานุ เ บกษา ๓๑ มี น าคม ๒๕๕๙

กฎหมาย ความสงบเรียบร้อย และศีลธรรมอันดีใน


สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ
(๑๐) ห้ามมิให้หรือยินยอมหรือปล่อยปละละเลย
ให้มีการจําหน่ายหรือเสพเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือ
ผลิตภัณฑ์ยาสูบในสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ
(๑๑) ห้ามมิให้หรือยินยอมหรือปล่อยปละละเลย
ให้ มี ก ารกระทํ า ความผิ ด เกี่ ย วกั บ ยาเสพติ ด ใน
สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ
(๑๒) ห้ามมิให้หรือยินยอมหรือปล่อยปละละเลยให้
ผู้มีอาการมึนเมาจนประพฤติตนวุ่นวาย หรือครองสติ
ไม่ได้เข้าไปในสถานประกอบการเพื่อสุขภาพระหว่าง
เวลาทําการ
(๑๓) ห้ามมิให้หรือยินยอมหรือปล่อยปละละเลยให้
มีการนําอาวุธเข้าไปในสถานประกอบการ เพือ่ สุขภาพ
มาตรา ๒๙ ผู้ดําเนินการมีหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) จัดทําคู่มือปฏิบัติงานสําหรับบริการหรือคู่มือ
การใช้อปุ กรณ์ ผลิตภัณฑ์และเครือ่ งมือ เครือ่ งใช้ตา่ ง ๆ
และพัฒนาผูใ้ ห้บริการให้สามารถให้บริการได้ตามคูม่ อื
ที่จัดทําขึ้น
๒๒
เล่ม ๑๓๓ ตอนที่ ๓๐ ก ราชกิ จ จานุ เ บกษา ๓๑ มี น าคม ๒๕๕๙


(๒) ควบคุมดูแลการบริการ อุปกรณ์ ผลิตภัณฑ์
และเครื่ อ งมื อ เครื่ อ งใช้ ต ่ า ง ๆ ให้ ไ ด้ ม าตรฐาน
ถูกสุขลักษณะ และใช้ได้อย่างปลอดภัย
(๓) สอบถามและบั น ทึ ก ข้ อ มู ล สุ ข ภาพพื้ น ฐาน
และคัดกรองผู้รับบริการเพื่อจัดบริการที่เหมาะสม
แก่สุขภาพของผู้รับบริการ
(๔) ควบคุมดูแลผู้ให้บริการให้ปฏิบัติตามคู่มือการ
ปฏิบัติงานอย่างเคร่งครัด และควบคุมดูแลมิให้ผู้ให้
บริการออกไปให้บริการนอกสถานประกอบการเพื่อ
สุขภาพในเวลาทํางาน
(๕) จัดให้มีมาตรการดูแลความปลอดภัยในการ
ทํางานและป้องกันมิให้ผู้รับบริการ ผู้ให้บริการ และ
บุ ค คลซึ่ ง ทํ า งานในสถานประกอบการเพื่อสุข ภาพ
ถูกล่วงละเมิดทางเพศ
นอกจากหน้าทีท่ กี่ าํ หนดไว้ในวรรคหนึง่ ให้ผดู้ าํ เนิน
การมี ห น้ า ที่ ต ามมาตรา ๒๘ (๙) (๑๐) (๑๑) (๑๒)
และ (๑๓) ด้วย

๒๓
เล่ม ๑๓๓ ตอนที่ ๓๐ ก ราชกิ จ จานุ เ บกษา ๓๑ มี น าคม ๒๕๕๙

หมวด ๔
การพักใช้ใบอนุญาต การเพิกถอนใบอนุญาต
และการลบชื่อออกจากทะเบียน

มาตรา ๓๐ เมื่อปรากฏแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ว่า
ผูร้ บั อนุญาตฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบตั ติ ามหน้าที่ ทีไ่ ด้บญ ั ญัติ
ไว้ในมาตรา ๒๘ (๑) (๒) (๓) (๔) (๕) (๖) (๗) หรือ (๘)
กฎกระทรวง หรือประกาศทีอ่ อกตามพระราชบัญญัตนิ ี้
ให้ พ นั ก งานเจ้ า หน้ า ที่ มี อํ า นาจสั่ ง ให้ ผู ้ รั บ อนุ ญ าต
ดําเนินการแก้ไขให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่กําหนด
หากผู้รับอนุญาตไม่ดําเนินการแก้ไขภายในระยะ
เวลาที่พนักงานเจ้าหน้าที่กําหนดตามวรรคหนึ่ง ให้
พนักงานเจ้าหน้าที่รายงานต่อผู้อนุญาตเพื่อพิจารณา
ในการนี้ ให้ผู้อนุญาตมีอํานาจสั่งพักใช้ใบอนุญาต
ประกอบกิ จ การสถานประกอบการเพื่ อ สุ ข ภาพ
ได้ จนกว่าจะได้ดําเนินการแก้ไขให้ถูกต้อง เมื่อผู้รับ
อนุญาต ได้ดาํ เนินการแก้ไขให้ถกู ต้องแล้ว ให้ผอู้ นุญาต
สั่งเพิกถอนคําสั่งพักใช้ใบอนุญาตนั้น

๒๔
เล่ม ๑๓๓ ตอนที่ ๓๐ ก ราชกิ จ จานุ เ บกษา ๓๑ มี น าคม ๒๕๕๙

ผู ้ รั บ อนุ ญ าตซึ่งถูก สั่งพัก ใช้ใบอนุญาตต้องหยุ ด


ประกอบกิจการตามที่ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาต
มาตรา ๓๑ เมื่อปรากฏแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ว่า
ผู ้ ดํ า เนิ น การฝ่ า ฝื น หรื อ ไม่ ป ฏิ บั ติ ต ามหน้ า ที่ ที่ ไ ด้
บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๙ วรรคหนึ่ง กฎกระทรวง หรือ
ประกาศที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงาน
เจ้าหน้าที่มีอํานาจสั่งให้ผู้ดําเนินการปฏิบัติตามหน้าที่
ของตนให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่กําหนด
หากผู้ดําเนินการไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องภายในระยะ
เวลาที่พนักงานเจ้าหน้าที่กําหนดตามวรรคหนึ่งให้
พนักงานเจ้าหน้าที่รายงานผู้อนุญาตเพื่อพิจารณา
ในการนี้ ให้ผู้อนุญาตมีอํานาจสั่งพักใช้ใบอนุญาต
เป็นผู้ดําเนินการในสถานประกอบการเพ่ื่อสุขภาพได้
จนกว่าจะได้ปฏิบตั ใิ ห้ถกู ต้อง เมือ่ ผูด้ าํ เนินการได้ปฏิบตั ิ
ให้ถูกต้องแล้ว ให้ผู้อนุญาตสั่งเพิกถอนคําสั่งพักใช้
ใบอนุญาตนั้น
ผู ้ ดํ า เนิ น การซึ่งถูก สั่งพัก ใช้ใบอนุญาตต้องหยุ ด
ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาต

๒๕
เล่ม ๑๓๓ ตอนที่ ๓๐ ก ราชกิ จ จานุ เ บกษา ๓๑ มี น าคม ๒๕๕๙


มาตรา ๓๒ อธิบดีมีอํานาจสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
เมื่อปรากฏว่า
(๑) ผู้รับอนุญาตขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้อง
ห้ามตามมาตรา ๑๓ (๑) (๒) (๓) (๔) หรือ (๖)
(๒) ผู้รับอนุญาตฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหน้าที่
ทีบ่ ั ญ ญั ติ ไ ว้ ใ นมาตรา ๒๘ (๙) (๑๐) (๑๑) (๑๒)
หรือ (๑๓)
(๓) ผู้รับอนุญาตฝ่าฝืนคําสั่งพักใช้ใบอนุญาตตาม
มาตรา ๓๐
(๔) ผู้ดําเนินการขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๒๑ ก.
(๑) (๒) หรือ (๓) หรือมีลักษณะต้องห้าม ตามมาตรา
๒๑ ข. (๑) (๒) (๓) หรือ (๕)
(๕) ผู้ดําเนินการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหน้าที่
ที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๙ วรรคสอง
(๖) ผู้ดําเนินการฝ่าฝืนคําสั่งพักใช้ใบอนุญาตตาม
มาตรา ๓๑
ในกรณี ที่ ผู ้ รั บ อนุ ญ าตเป็ น บุ ค คลธรรมดาหาก
อธิบดีมีคําสั่งเพิกถอนใบอนุญาตตาม (๑) ให้สามารถ

๒๖
เล่ม ๑๓๓ ตอนที่ ๓๐ ก ราชกิ จ จานุ เ บกษา ๓๑ มี น าคม ๒๕๕๙

ประกอบกิ จ การสถานประกอบการเพื่อสุขภาพได้
ต่อไปอีกหกสิบวันนับแต่วันที่อธิบดีมีคําสั่งเพิกถอน
ใบอนุญาต
ในกรณีที่ผู้รับอนุญาตเป็นนิติบุคคล และปรากฏ
ต่อผู้อนุญาตว่าผู้มีอํานาจจัดการแทนนิติบุคคลขาด
คุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๓ (๑)
(๒) (๓) (๔) หรือ (๖) ให้ผู้อนุญาตแจ้งให้ผู้รับอนุญาต
แต่ ง ตั้ ง บุ ค คลอื่ น เข้ า ดํ า รงตํ า แหน่ ง แทนภายใน
สามสิ บ วั น นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง หากผู้รับอนุญาต
ไม่ดําเนินการภายในระยะเวลาดังกล่าว ให้อธิบดีมี
คําสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
มาตรา ๓๓ ในกรณีทปี่ รากฏว่าผูใ้ ห้บริการผูใ้ ดขาด
คุ ณ สมบั ติ ห รื อมีลัก ษณะต้องห้ามตามที่กําหนดใน
มาตรา ๒๓ ให้ผู้อนุญาตลบชื่อผู้ให้บริการนั้นออกจาก
ทะเบียน
มาตรา ๓๔ คําสั่งพักใช้ใบอนุญาต คําสั่งเพิกถอน
ใบอนุญาต และคําสั่งลบชื่อออกจากทะเบียน ให้ทํา
เป็นหนังสือแจ้งผู้รับอนุญาต ผู้ดําเนินการ หรือผู้ให้
บริการทราบ แล้วแต่กรณี
๒๗
เล่ม ๑๓๓ ตอนที่ ๓๐ ก ราชกิ จ จานุ เ บกษา ๓๑ มี น าคม ๒๕๕๙


การแจ้งคําสัง่ ตามวรรคหนึง่ ให้นาํ หมวดว่าด้วยการ
แจ้งตามกฎหมายว่าด้วยวิธปี ฏิบตั ริ าชการทางปกครอง
มาใช้บังคับโดยอนุโลม

หมวด ๕
พนักงานเจ้าหน้าที่

มาตรา ๓๕ ในการปฏิบตั หิ น้าที่ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่


มีอํานาจ ดังต่อไปนี้
(๑) เข้าไปในสถานประกอบการเพื่อสุขภาพใน
ระหว่างเวลาทําการของสถานทีน่ นั้ เพือ่ ตรวจสอบ หรือ
ควบคุมให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้
(๒) เก็บอุปกรณ์ ผลิตภัณฑ์ และเครือ่ งมือเครือ่ งใช้
ต่าง ๆ ที่ใช้ในการให้บริการเพื่อสุขภาพ ในปริมาณพอ
สมควรเพือ่ เป็นตัวอย่างในการตรวจสอบหรือวิเคราะห์
(๓) ยึดหรืออายัดอุปกรณ์ ผลิตภัณฑ์ และเครือ่ งมือ
เครื่องใช้ต่าง ๆ ตลอดจนภาชนะบรรจุ หีบห่อ ฉลาก
และเอกสารกํากับ และเอกสารหรือวัตถุอื่นใดที่มี เ หตุ
อันควรเชื่อได้ว่าจะเกี่ยวข้องกับการกระทําความผิด
๒๘
เล่ม ๑๓๓ ตอนที่ ๓๐ ก ราชกิ จ จานุ เ บกษา ๓๑ มี น าคม ๒๕๕๙


(๔) มีหนังสือเรียกให้บคุ คลท่เี่ กีย่ วข้องมาให้ถอ้ ยคํา
หรือส่งเอกสารหรือหลักฐานทีจ่ าํ เป็น เพือ่ ประกอบการ
พิจารณาของพนักงานเจ้าหน้าที่
ให้ผรู้ บั อนุญาต ผูด้ าํ เนินการ ผูใ้ ห้บริการ หรือบุคคล
ซึง่ เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของสถานประกอบการเพือ่
สุขภาพนั้นอํานวยความสะดวกตามสมควร
มาตรา ๓๖ ในการปฏิบตั หิ น้าที่ พนักงานเจ้าหน้าที่
ต้องแสดงบัตรประจําตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ ต่อบุคคล
ที่เกี่ยวข้อง
บัตรประจําตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ให้เป็นไปตาม
แบบที่อธิบดีประกาศกําหนด
มาตรา ๓๗ ในการปฏิ บั ติ ห น้ า ที่ ให้ พ นั ก งาน
เจ้าหน้าทีเ่ ป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา

๒๙
เล่ม ๑๓๓ ตอนที่ ๓๐ ก ราชกิ จ จานุ เ บกษา ๓๑ มี น าคม ๒๕๕๙

หมวด ๖
การอุทธรณ์

มาตรา ๓๘ ในกรณีผู้อนุญาตไม่ออกใบอนุญาต
ไม่ให้ต่ออายุใบอนุญาต ไม่ให้โอนใบอนุญาต หรือไม่
รับขึ้นทะเบียนเป็นผู้ให้บริการ ให้ผู้ขออนุญาต ผู้ขอ
ต่ออายุใบอนุญาต ผูข้ อรับโอนใบอนุญาต หรือผูข้ อขึน้
ทะเบียนมีสิทธิอุทธรณ์เป็นหนังสือต่อปลัดกระทรวง
ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งการไม่ออก
ใบอนุญาต การไม่ให้ต่ออายุใบอนุญาต การไม่ให้โอน
ใบอนุญาต หรือการไม่รับขึ้นทะเบียน แล้วแต่กรณี
มาตรา ๓๙ ผู้รับอนุญาต ผู้ดําเนินการ หรือผู้ให้
บริการ ซึ่งถูกพักใช้ใบอนุญาต ถูกเพิกถอนใบอนุญาต
หรือถูกลบชื่อออกจากทะเบียน มีสิทธิอุทธรณ์เป็น
หนังสือต่อปลัดกระทรวง ภายในสามสิบวันนับแต่วนั ที่
ได้รบั แจ้งคําสัง่ พักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาต หรือคําสัง่
ลบชื่อออกจากทะเบียน แล้วแต่กรณี

๓๐
เล่ม ๑๓๓ ตอนที่ ๓๐ ก ราชกิ จ จานุ เ บกษา ๓๑ มี น าคม ๒๕๕๙

การอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่งไม่เป็นเหตุให้ทุเลาการ
บังคับตามคํ า สั่ ง พั ก ใช้ ใ บอนุ ญ าต คํ า สั่ ง เพิ ก ถอน
ใบอนุญาต หรือคําสั่งลบชื่อออกจากทะเบียน
มาตรา ๔๐ การพิจารณาอุทธรณ์ตามมาตรา ๓๘
หรือมาตรา ๓๙ ให้ปลัดกระทรวง พิจารณาอุทธรณ์ให้
แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วนั ทีไ่ ด้รบั คําอุทธรณ์
ถ้ามีเหตุจําเป็นไม่อาจพิจารณา ให้แล้วเสร็จภายใน
ระยะเวลาดังกล่าว ให้มีหนังสือแจ้งให้ผู้อุทธรณ์ทราบ
ก่อนครบกําหนดเวลาดังกล่าว ในการนี้ ให้ขยายระยะ
เวลาพิจารณาอุทธรณ์ออกไปได้ไม่เกินสามสิบวันนับแต่
วันที่ครบกําหนดระยะเวลา ดังกล่าว
คําวินิจฉัยของปลัดกระทรวงให้เป็นที่สุด

๓๑
เล่ม ๑๓๓ ตอนที่ ๓๐ ก ราชกิ จ จานุ เ บกษา ๓๑ มี น าคม ๒๕๕๙

หมวด ๗
บทกําหนดโทษ

มาตรา ๔๑ ผู้ใดใช้ชื่อหรือคําแสดงชื่อในธุรกิจ
ว่า “สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ” “กิจการสปา”
“นวดเพือ่ สุขภาพหรือเพือ่ เสริมความงาม” หรือกิจการ
อื่นตามที่กําหนดในกฎกระทรวง ที่ออกตามความ
ใน (๓) ของบทนิยามคําว่า “สถานประกอบการเพื่อ
สุขภาพ” ในมาตรา ๓ หรือคําอื่นใดที่มีความหมาย
เช่นเดียวกัน ในประการที่อาจทําให้ประชาชนเข้าใจ
ว่าเป็นสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ โดยมิได้เป็น
ผูร้ บั อนุญาตตามพระราชบัญญัตนิ ี้ ต้องระวางโทษปรับ
ไม่เกินสี่หมื่นบาท
มาตรา ๔๒ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๑๒ ต้องระวางโทษ
จําคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินห้าหมืน่ บาท หรือ
ทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๔๓ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๒๐ ต้องระวาง
โทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท

๓๒
เล่ม ๑๓๓ ตอนที่ ๓๐ ก ราชกิ จ จานุ เ บกษา ๓๑ มี น าคม ๒๕๕๙


มาตรา ๔๔ ผู้รับอนุญาตผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๒๔ ต้อง
ระวางโทษปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท
มาตรา ๔๕ ผู้รับอนุญาตผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติ
ตามมาตรา ๒๘ (๙) (๑๐) (๑๑) (๑๒) หรือ (๑๓) หรือ
ผู้ดําเนินการผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๙
วรรคสอง ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน สามหมื่นบาท
มาตรา ๔๖ ผูใ้ ดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบตั ติ ามมาตรา ๓๕
วรรคสอง ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน หนึ่งหมื่นบาท
มาตรา ๔๗ ในกรณี ที่ ผู ้ ก ระทํ า ความผิ ด เป็ น
นิติบุคคล ถ้าการกระทําความผิดของนิติบุคคลนั้น
เกิดจากการสั่งการ หรือการกระทําของบุคคลใด หรือ
ไม่สงั่ การ หรือไม่กระทําการอันเป็นหน้าทีท่ ตี่ อ้ งกระทํา
ของกรรมการผู้จัดการ หรือบุคคลใด ซึ่งรับผิดชอบ
ในการดําเนินงานของนิติบุคคลนั้น ผู้นั้นต้องรับโทษ
ตามที่บัญญัติไว้สําหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
มาตรา ๔๘ บรรดาความผิดตามพระราชบัญญัตินี้
ให้ผอู้ นุญาตมีอาํ นาจเปรียบเทียบได้ ตามหลักเกณฑ์ที่
อธิบดีประกาศกําหนด

๓๓
เล่ม ๑๓๓ ตอนที่ ๓๐ ก ราชกิ จ จานุ เ บกษา ๓๑ มี น าคม ๒๕๕๙


เมื่ อ ผู ้ ต ้ อ งหาชํ า ระเงิ น ค่ า ปรั บ ตามจํ า นวนที่
เปรียบเทียบภายในระยะเวลาที่กําหนดแล้ว ให้ถือว่า
คดีเลิกกันตามบทบั ญ ญั ติ แ ห่ ง ประมวลกฎหมายวิ ธี
พิ จ ารณาความอาญา

๓๔
เล่ม ๑๓๓ ตอนที่ ๓๐ ก ราชกิ จ จานุ เ บกษา ๓๑ มี น าคม ๒๕๕๙

บทเฉพาะกาล

มาตรา ๔๙ ผูป้ ระกอบกิจการ ผูด้ าํ เนินการ และผูใ้ ห้


บริการในสถานทีเ่ พือ่ สุขภาพหรือเพือ่ เสริมสวยทีไ่ ด้ รั บ
การรั บ รองตามประกาศกระทรวงสาธารณสุ ข
เรื่องกําหนดสถานที่เพื่อสุขภาพหรือเพื่อเสริมสวย
มาตรฐานของสถานที่ การบริ ก าร ผู ้ ใ ห้ บ ริ ก าร
หลั ก เกณฑ์ และวิ ธี ก ารตรวจสอบเพื่ อ การรั บ รอง
ให้เป็นไปตามมาตรฐานสําหรับสถานที่เพื่อสุขภาพ
หรือเพื่อเสริมสวย ตามพระราชบัญญัติสถานบริการ
พ.ศ. ๒๕๐๙ พ.ศ. ๒๕๕๑ อยู ่ ใ นวั น ก่ อ นวั น ที่
พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ยื่นคําขอรับใบอนุญาต
ประกอบกิจการ คําขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ดําเนินการ
หรือคําขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ให้บริการต่อผู้อนุญาต
ภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัติ
นี้ ใช้ บั ง คั บ และเมื่ อ ยื่ น คํ า ขอรั บ ใบอนุ ญ าตหรื อ
คําขอขึ้นทะเบียนแล้วให้ประกอบกิจการ ดําเนินการ
หรื อ ให้ บ ริ ก ารต่ อ ไปได้ จ นกว่ า จะได้ รั บ แจ้ ง
๓๕
เล่ม ๑๓๓ ตอนที่ ๓๐ ก ราชกิ จ จานุ เ บกษา ๓๑ มี น าคม ๒๕๕๙

คํา สั่ ง ไม่ อ อกใบอนุญาตหรือไม่รับขึ้นทะเบียนจาก


ผู้อนุญาต แล้วแต่กรณี

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี

๓๖
เล่ม ๑๓๓ ตอนที่ ๓๐ ก ราชกิ จ จานุ เ บกษา ๓๑ มี น าคม ๒๕๕๙

อัตราค่าธรรมเนียม

(๑) ใบอนุญาตประกอบกิจการ
สถานประกอบการ
เพื่อสุขภาพ ฉบับละ ๑๐,๐๐๐ บาท
(๒) ใบอนุญาตเป็นผู้ดําเนินการ
ฉบับละ ๑,๕๐๐ บาท
(๓) การต่ออายุใบอนุญาต
ประกอบกิจการสถาน
ประกอบการเพื่อสุขภาพ
ครั้งละเท่ากับค่าธรรมเนียม
ใบอนุญาตประเภท
และขนาดนั้น ๆ แต่ละฉบับ

(๔) ใบแทนใบอนุญาต
ฉบับละ ๕๐๐ บาท
(๕) การเปลี่ยนแปลงแก้ไข
รายการในใบอนุญาต
ครั้งละ ๕๐๐ บาท

๓๗
เล่ม ๑๓๓ ตอนที่ ๓๐ ก ราชกิ จ จานุ เ บกษา ๓๑ มี น าคม ๒๕๕๙

(๖) ค่าธรรมเนียมการประกอบ
กิจการสถานประกอบการ
เพื่อสุขภาพรายปี
ปีละ ๑,๐๐๐ บาท

๓๘
เล่ม ๑๓๓ ตอนที่ ๓๐ ก ราชกิ จ จานุ เ บกษา ๓๑ มี น าคม ๒๕๕๙

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติ
ฉบับนี้ คือ โดยทีก่ จิ การสถานประกอบการเพือ่ สุขภาพ
เป็นกิจการด้านบริการทีส่ ร้างงานและรายได้แก่ประเทศ
เป็นจํานวนมาก และเป็นกิจการที่ได้รับความเชื่อมั่น
จากผู้รับบริการทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศมา
ยาวนาน จึงมีผปู้ ระกอบกิจการสถานประกอบการเพือ่
สุขภาพ เพิ่มมากขึ้นในแต่ละปี แต่ปัจจุบันยังไม่มี
กฎหมายกํากับดูแลการดําเนินกิจการนีเ้ ป็นการเฉพาะ
ผูป้ ระกอบกิจการ ผูด้ าํ เนินการ และผูใ้ ห้บริการจํานวน
มากขาดความรูแ้ ละทักษะในการประกอบกิจการ และ
การให้ บ ริ ก ารของสถานประกอบการเพื่ อ สุ ข ภาพ
ส่วนใหญ่ไม่ได้มาตรฐานและส่งผลกระทบโดยตรงต่อ
สุขภาพร่างกาย หรือจิตใจ ของผูร้ บั บริการ ประกอบกับ
มีผใู้ ช้คาํ ว่าสถานประกอบการเพือ่ สุขภาพเพือ่ ประกอบ
กิจการแฝงอย่างอืน่ อันส่งผลกระทบต่อความเชือ่ มัน่ ของ
ผูร้ บั บริการชาวไทยและชาวต่างประเทศทีม่ ตี อ่ กิจการ
สถานประกอบการเพื่อสุขภาพสมควรมีกฎหมายที่
กํากับดูแลการประกอบกิจการสถานประกอบการเพือ่
สุขภาพขึ้นเป็นการเฉพาะ เพื่อให้การดําเนินกิจการ
ดังกล่าวเป็นไปอย่างมีมาตรฐานอันเป็นการส่งเสริม
สุขภาพของประชาชนและคุม้ ครองผูบ้ ริโภค จึงจําเป็น
ต้องตราพระราชบัญญัตินี้
๓๙
พระราชบัญญัติ
สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ
พ.ศ. ๒๕๕๙

กองสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ กองสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ
กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ
โทร. ๐๒ ๑๙๓ ๗๐๐๐ ตอ ๑๘๔๐๘ กระทรวงสาธารณสุข
www.thaispa.go.th

You might also like