You are on page 1of 11

รายงานปฏิบัติการ

เรื่อง Tray dryer

นำเสนอ

รศ.ดร.พัชรินทร์ วรธนกุล

โดย
1. นางสาวชุติกาญจน์ นิลทราช รหัสนักศึกษา 6201031630071
2. นางสาวณัฐธิดา นะเป๋า รหัสนักศึกษา 6201031630080
3. นางสาวธัญรดา พูลพันธ์ รหัสนักศึกษา 6201031630098
4. นายนราธร สุธาวา รหัสนักศึกษา 6201031630101
5. นายบุญพเรศ พลับพลา รหัสนักศึกษา 6201031630110
6. นางสาวปวีร์กฤตย์ พรหมพงษ์ รหัสนักศึกษา 6201031630128
7. นางสาวขวัญจิรา จิระพัฒนา รหัสนักศึกษา 6201032660012

ทำการทดลองวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2565


ส่งรายงานวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

รายงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา
010313305 Chemical Engineer Unit Operation Laboratory
ภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2564

ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

ทำการตรวจและบันทึกคะแนนแล้ว

............................................อาจารย์/ผู้ช่วยสอน
ส่งคืนวันที่..........................................................
1
บทคัดย่อ

การทดลองที่ 4 การทดลองเรื่องการอบแห้ง (Tray dryer) เป็นการทดลองที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเรียนรู้


ปรากฏการณ์ทางทฤษฎีและการทดลองของการอบแห้ง และเพื่อศึกษาและทำความเข้าใจสมการการถ่ายโอน
มวล ซึ่งในการทดลองจะใช้น้ำ 10 g และทราย 50 g โดยประมาณ อบแห้งโดยปรับอุณหภูมิของ Heater อยู่ที่
180°C และ 220°C ที่ความเร็ว 1 m/s โดยการทดลองนี้จะเก็บค่าตัวแปรสำคัญ ได้แก่ อุณหภูมิกระเปาะแห้ง
(Tdb), อุณหภูมิกระเปาะเปียก (Twb), อุณหภูมิภายนอก และน้ำหนักของถาดและทรายซึ่งอ่านได้จากเครื่องชั่ง
น้ำหนัก โดยนำตัวแปรทั้งหมดมาคำนวณหาอัตราการอบแห้งของทราย จากนั้นนำไปสร้างกราฟความสัมพันธ์
ระหว่างค่าเปอร์เซ็นต์ความชื้นกับเวลาและอัตราการอบแห้งกับค่าเปอร์เซ็น ต์ความชื้น โดยจากการทดลอง
พบว่าในการอบแห้งเมื่อเวลาผ่านไปค่าเปอร์เซ็นต์ความชื้นในทรายจะลดลงอย่างช้าๆ จนกระทั่งค่าเปอร์เซ็นต์
ความชื้นคงที่ โดยที่อุณหภูมิ 180°C จะมีค่าเปอร์เซ็นต์ความชื้นมากกว่าที่อุณหภูมิ 220°C เนื่องจาก 180°C
เป็นอุณหภูมิที่ต่ำกว่า 220°C จึงส่งผลให้ความชื้นที่ระเหยออกมาน้อยกว่า

2
บทนำ

การอบแห้ง เป็นกระบวนการที่ทำให้ปริมาณความชื้นในวัสดุมีค่าลดลงโดยดึงความชื้นออกจากวัสดุที่
ต้องการ ใช้หลักการพาความร้อนจากลมร้อน ทำให้เกิดการถ่ายโอนความร้อนจากลมร้อนไปยังวัสดุที่มีความชื้น
ความชื้นในวัสดุของแข็งเกิดการระเหยเป็นไอทำให้ความชื้นมีค่าลดลง ในการทดลองนี้ใช้เครื่อง Tray dryer
เป็นเครื่องที่ใช้หลักการเป่าด้วยลมร้อนขนานไปกับผิวของวัสดุ หรือเป่าลมร้อนตั้งฉากผ่านถาดที่ให้ลมร้อนผ่าน
ได้ โดยทำงานร่วมกันกับ Heater และ Blower เพื่อให้ลมร้อนผ่านเข้าไปในวัสดุ ซึ่งลมร้อนที่ผ่านเข้าไปในวัสดุ
จะช่วยลดความชื้น และลมร้อนมีความเร็วต่ำจึงทำให้วัตถุอยู่นิ่งไม่เกิดการสั่นสะเทือนหรือการแตกหัก ในการ
ทดลองเรื่อง การอบแห้ง (Tray dryer) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปรากฏการณ์ทางทฤษฎี และการทดลองของ
การอบแห้ง และเพื่อศึกษาและเข้าใจในสมการการถ่ายโอนมวล (Mass Transfer Equation) โดยวัสดุที่ใช้ใน
การทดลองคือ ทราย โดยเพิ่มความชื้นด้วยการพรมน้ำ ตัวแปรที่เก็บค่าจากการทดลองได้แก่ อุณหภูมิกระเปาะ
เปียก (Twb), อุณหภูมิกระเปาะเเห้ง (Tdb), อุณหภูมิภายนอก และน้ำหนักของถาดและทราย มีการปรับอุณหภูมิ
Heater เป็น 2 ค่าได้แก่ 180°C และ 220°C เพื่อศึกษาอุณหภูมิที่มีผลต่อค่าเปอร์เซ็นต์ความชื้นที่มีค่าลดลง

3
วิธีการทดลอง
- แผนภาพเครื่อง Tray dryer และองค์ประกอบ

รูปที่ 1 แสดงองค์ประกอบเครื่อง Tray dryer

รูปที่ 2 แสดงองค์ประกอบของ Control panel

4
- ขั้นตอนการทดลอง

รูปที่ 3 ขั้นตอนการทดลอง

5
ผลการทดลอง

กราฟที่ 1 แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง %Humidity กับเวลา

กราฟที่ 2 แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง Drying rate กับ %Humidity

6
อภิปรายผลทดลอง

จากการทดลอง นำผลที่ได้จากการทดลองมาวาดกราฟระหว่างค่าเปอร์เซ็นต์ความชื้นกับเวลา ที่


อุณหภูมิ 180°C และ 220°C โดยพบว่าเมื่อเวลาผ่านไปค่าเปอร์เซ็นต์ความชื้นจะลดลงอย่างต่อเนื่อง จน
หลังจาก 25 นาที ค่าเปอร์เซ็นต์ความชื้นจะลดลงอย่างช้าๆ เนื่องจากในตอนแรกความชื้นในทรายมีค่ามากทำ
ให้ค่าเปอร์เซ็นต์ความชื้นลดลงอย่างต่อเนื่อง และเมื่ออบแห้งไปอีกสักระยะหนึ่งความชื้นในทรายมีค่ าลดลงจึง
ทำให้ค่าเปอร์เซ็น ต์ความชื้นลดลงอย่างช้าๆ จนกระทั่งมีค่าคงที่ และที่อุณหภูมิ 180°C จะมีค่าเปอร์เซ็น ต์
ความชื้นมากกว่าที่อุณหภูมิ 220°C เพราะที่อุณหภูมิ 180°C มีความสามารถทำให้ความชื้นระเหยได้น้อยกว่าที่
อุณหภูมิ 220°C
จากกราฟความสัมพันธ์ระหว่างอัตราการอบแห้งกับค่าเปอร์เซ็นต์ความชื้น ที่อุณหภูมิ 180°C และ
220°C โดยอ่านกราฟจากขวาไปซ้ายจะพบว่าในช่วงแรกอัตราการอบแห้งมีค่าลดลงและค่าเปอร์เซ็นต์ความชื้น
ยังมีค่าสูงอยู่จนถึงจุดที่อัตราการอบแห้งต่ำสุดหลังจากนั้นอัตราการอบแห้งจะเริ่มคงที่เนื่องจากผิวของทรายเริ่ม
แห้ง เมื่อความชื้นในทรายมีค่าน้อยค่าเปอร์เซ็นต์ความชื้นจะมีค่า คงที่ และอัตราการอบแห้ง เป็นศูนย์เนื่องจาก
น้ำในทรายไม่สามารถระเหยได้อีก

7
สรุปและวิจารณ์ผลทดลอง

จากการทดลองสามารถสรุปได้ว่าการทดลอง Tray dryer เป็นการทดลองที่อาศัยหลักการของการพา


ความร้อนด้วยลมร้อน โดยความชื้นในทรายจะถูกทำให้กลายเป็นไอเนื่องจากการแลกเปลี่ยนมวลสารของน้ำใน
ทรายและน้ำในอากาศที่มีปริมาณไม่เท่ากัน เมื่อบริเวณผิวทรายมีอุณหภูมิสูงและความชื้นต่ำแต่ภายในมี
อุณหภูมิต่ำและความชื้นสูง ทำให้น้ำจากภายในเคลื่อนที่ไปยังบริเวณผิวทรายเพื่อรักษาสมดุล ในการทดลองมี
การปรับค่าอุณหภูมิไปที่ 180°C และ 220°C พบว่าที่อุณหภูมิ 180°C มีจุดวิกฤตอัตราการอบแห้งที่ความชื้น
38% และลดลงจนถึงอัตราส่วนสมดุลที่ 36% และที่อุณหภูมิ 220°C มีจุดวิกฤตอัตราการอบแห้งที่ความชื้น
36% และลดลงจนถึงอัตราส่วนสมดุลที่ 35% สรุปคือเมื่อเวลาผ่านไปค่าอัตราส่วนความชื้นจะลดลงโดยที่อัตรา
การอบแห้งคงที่ และเมื่ออัตราส่วนความชื้นมีค่าต่ำกว่าอัตราส่วนความชื้นวิกฤตจะทำให้อัตราการอบแห้งจะมี
ค่าลดลง ดังนั้นจากการทดลองสามารถสรุปได้ว่าค่าอัตราส่วนความชื้ นวิกฤตจะมีค่าน้อยเมื่ออยู่ในอุณหภูมสิ ูง
หมายความว่าความชื้นจะสามารถเข้าสู่สมดุลได้เร็วขึ้น

8
เอกสารอ้างอิง

การอบแห้ง (DRYING). (2565). [ออนไลน์]. สืบค้น 11 กุมภาพันธ์ 2565. จาก https://ienergyguru.com


/2015/09/drying/

Tray Dryer. (2565). [ออนไลน์]. สืบค้น 11 กุมภาพันธ์ 2565. จาก https://www.eurobest.co.th/prod


ucts/tray-dryer/

เอกสารประกอบวิชา Chemical Engineer Unit Operation Laboratory. รศ.ดร.พัชรินทร์ วรธนกุล. King


Mongkut’s University of Technology North Bangkok. 2022

9
ภาคผนวก
ตารางบันทึกผลการทดลอง
Time Temp (°C) Weight Material Surrounding Air % Humidity Weight Humidity Drying
(min) T db T wb tray + weight temperature velocity Input Output of water (wet ratio
material (g) (°C) (m/s) in sand standard) (g/min)
(g) (g)
0 41.3 41.4 500.0 60.2 30.5 1 40.8 41.0 10.2 0.169 0.000
5 42.1 42.2 497.8 58.0 30.8 1 38.8 39.5 8.0 0.138 -0.460
10 42.9 42.1 495.4 55.6 30.8 1 37.3 39.2 5.6 0.101 -0.560
15 42.8 42.6 492.2 52.4 31.3 1 37.6 38.3 2.4 0.046 -0.380
20 43.4 43.2 491.6 51.8 31.4 1 36.7 37.5 1.8 0.035 -0.140
25 43.4 43.3 490.8 51.0 31.7 1 36.2 37.4 1.0 0.020 -0.160
30 43.7 43.2 490.0 50.2 31.9 1 36.2 37.4 0.2 0.004 -0.090
35 43.8 43.2 489.9 50.1 31.9 1 36.2 37.4 0.1 0.002 0.007
Table 1 Result of samples drying with time at Heater Temperature 180°C

Time Temp (°C) Weight Material Surrounding Air % Humidity Weight Humidity Drying
(min) T db T wb tray + weight temperature velocity Input Output of (wet ratio
material(g) (g) (°C) (m/s) water standard) (g/min)
in sand
(g)
0 43.1 43.3 500.4 60.6 32.0 1 36.8 37.2 10.6 0.175 0.000
5 43.7 43.5 498.2 58.4 32.2 1 36.3 37.1 8.4 0.144 -0.480
10 43.8 43.9 495.6 55.8 32.5 1 35.7 36.4 5.8 0.104 -0.500
15 43.7 43.9 493.2 53.4 32.1 1 36.0 36.3 3.4 0.064 -0.360
20 44.2 43.9 492.0 52.2 32.4 1 35.4 36.1 2.2 0.042 -0.280
25 43.8 43.5 490.4 50.6 32.5 1 35.2 36.0 0.6 0.012 -0.220
30 44.4 43.7 489.8 50.0 32.7 1 34.9 35.9 0.0 0.000 -0.060
35 44.4 43.6 489.8 50.0 32.5 1 34.9 35.9 0.0 0.000 0.000
Table 2 Result of samples drying with time at Heater Temperature 220°C

ชื่อตารางควรอยู่ด้านบนตาราง

10
ตัวอย่างการคำนวณ
แสดงการคำนวณที่ Heater temperature 180°C cross sectional area of the dryer = 0.09 m2

• คำนวณ Humidity (wet standard) ที่เวลา 5 นาที


Weight of water in sand
Humidity (wet standard) = Weight of material
8g
= 58 g
∴ Humidity (wet standard) = 0.138

• คำนวณ Drying ratio (g/min) ที่เวลา 5 นาที


Drying ratio = the weight of water in sand in the next time−the weight of water in sand in the previous time
next time−previous time

5.6 g−10.2 g
=
10 min−0 min

= -0.46 g/min

∴ Drying ratio = -0.46 g/min

11

You might also like