You are on page 1of 7

แห้วหมู

ชื่อในตำรับยาล้านนา

ชื่อท้องถิ่น หญ้าขนหมู (แม่ฮ่องสอน) หญ้าแห้วหมู หัวแห้วหมู หญ้ามะ


นิ่วหมู

ชื่อวิทยาศาสตร์ Cyperus rotundus L.

ชื่อภาษาอังกฤษ Nut grass

ชื่อวงศ์ Cyperaceae

ส่วนที่ใช้ หัว

ลักษณะพฤกษศาสตร์

หัวและราก แห้วหมูมีหัวใต้ดิน เชื่อมต่อด้วยไหลขยายจากต้นเดิม


เป็ นหัวใหม่ และสามารถงอกเป็ นต้นใหม่ได้ หัวมีขนาดเล็ก ปกคลุมด้วย
เปลือกสีดำ เนื้อด้านในมีสีเหลืองขาว มีรสเผ็ดปร่า ส่วนไหลมีลักษณะสี
น้ำตาลดำ ต้นแห้วหมูพันธุ์ขนาดเล็กจะให้รสเผ็ดมากกว่าต้นแห้วหมูพันธุ์
ใหญ่

ลำต้น มีลักษณะตัง้ ตรง ผิวลำต้นมันเรียบ ไม่แตกแขนง รูปทรง


สามเหลี่ยม มีสีเขียวแก่ มีความสูงประมาณ 10 -60 เซนติเมตร ตาม
ลักษณะสายพันธุ์ เนื้อเยื่อด้านในอ่อน มีลักษณะเป็ นเส้น

ใบ มีลักษณะเรียวแคบ และยาว ปลายแหลม กลางใบมีสันร่อง


ขนาดใบกว้าง 2-5 มิลลิเมตร ยาว 5-20 เซนติเมตร ใบสีเขียวเข้ม ผิวใบ
ด้านบนมีสารจำพวก cutin เคลือบ ไม่มีปากใบ ส่วนผิวใบด้านล่างมี
cutin เคลือบเช่นกัน แต่มีปากใบ

ดอกมีขนาดเล็กสีขาว ดอกออกเป็ นช่อสีน้ำตาล ประกอบด้วยก้านชู


ดอก มีลักษณะเป็ นก้านแข็งรูปสามเหลี่ยม ตัง้ ตรง มีดอกเชิงลด ยาว 5-
10 เซนติเมตร กว้าง 3-8 เซนติเมตร มีใบประดับรองรับช่อดอก 1 ช่อ
ดอกประกอบด้วยช่อดอกย่อย 3-10 ช่อ ดอกย่อยไม่มีก้านดอก ภายใน
ดอกมีเกสรเพศผู้จำนวน 3 อัน อับเรณูยาว 1 มิลลิเมตร และมีเกสรเพศ
เมีย 3 อัน เกสรตัวผู้มี 3 อัน อับเรณูยาวแคบ ปลายท่อรังไข่มี 3 แฉก

ผล และเมล็ด ผลมีเปลือกแข็งรูปยาวเรียว รูปขอบขนานแกมรูปไข่


กลับ ปลายแหลม มีหน้าตัดเป็ นรูป 3 เหลี่ยมขนาดยาว 1.3-1.5
มิลลิเมตร กว้าง 0.5-0.7 มิลลิเมตร สีน้ำตาล เป็ นที่สะสมอาหารประเภท
แป้ ง และสารสำคัญหลายชนิด เช่น alkaliods, cardiac glycoside,
flavonoides, polyphenols, vitamin C, essentail oils ทำให้เกิด
กลิ่นฉุนเล็กน้อย

ข้อบ่งใช้ทางเภสัชกรรมล้านนา

แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้ อ แน่นจุกเสียด การที่หัวแห้วหมูสามารถ


แก้ อาการท้องอืดท้องเฟ้ อ แน่นจุกเสียดได้ เพราะ ในหัวมีน้ำมันหอม
์ ลายอาการเกร็งของกล้ามเนื้อเรียบ
ระเหย ซึ่งจะออกฤทธิค

ข้อบ่งใช้ทางการแพทย์แผนไทย

หัว รสซ่าติดจะร้อนเผ็ด บำรุงธาตุ เจริญอาหาร ขับลมในลำไส้ แก้


ท้องขึน
้ อืดเฟ้ อ บำรุงกำลัง บำรุงครรภ์รักษา
ข้อบ่งใช้ทางการแพทย์แผนปั จจุบัน

สารสำคัญที่มีในสมุนไพร

สารสำคัญ เช่น alkaliods, cardiac glycoside, flavonoides,


polyphenols, vitamin C

รูปที่ 1 สูตรโครงสร้างทางเคมีของ Alkaliods

รูปที่ 2 สูตรโครงสร้างทางเคมีของ Cardiac glycoside

รูปที่ 3 สูตรโครงสร้างทางเคมีของ Flavonoids


รูปที่ 4 สูตรโครงสร้างทางเคมีของ Vitamin C

์ างเภสัชวิทยา
ฤทธิท

ฤทธิย์ ับยัง้ การหดเกร็งและลดการบีบตัวของลำไส้

การทดสอบในหลอดดลองว่ามีสารสกัดหญ้าแห้วหมูมีฤทธ์ยังยัง้ การ
หดเกร็งของลำไส้เล็ของหนูแรทและยังมีผลคลายกล้ามเนื้อของลำไส้
กระต่าย

ฤทธิข์ ับลม

หญ้าแห้วหมูมีน้ำมันหอมระเหยซึ่งมีฤทธิข์ ับลม

ข้อมูลการวิจัยที่เกี่ยวข้อง

์ ้านเชื้อ
Sharma and Singh (2011) ได้ทำการศึกษาฤทธิต
แบคทีเรียของสารสกัดจากหญ้าแห้วหมู พบว่ามีฤทธิใ์ นการยับยัง้ ในการ
เจริญเติบโตของเชื้อทดสอบเป็ นผลมาจากสารฟลาโวนอยด์ แทนนินและ
อัลคาลอยด์ที่เป็ นสาระสำคัญในหญ้าแห้วหมู มีรายงานการศึกษาที่ยืนยัน
์ างเภสัชวิทยาของพลาโวนอยด์ที่ใช้ในการรักษาโรคต่างๆ เช่น ฤทธิ ์
ฤทธิท
ทางเภสัชในการต้านมะเร็ง การต้านแบคทีเรีย ต้านการอักเสบเป็ นต้น
แทนนินเป็ นสารที่ทำให้เกิดรสฝากในพืชบางชนิดและมีฤทธิใ์ นการยังยัง้
การเจริญเติบโตของแบคทีเรียได้ ส่วนแอลคาลอยด์เป็ นสารที่เป็ นองค์
์ างวิทยาต่อมนุษย์
ประกอบทางเคมีที่มีอยู่ในพืชส่วนใหญ่ อีกทัง้ ยังมีฤทธิท
และสัตว์

Mansour และคณะ (2004) ได้ศึกษานำสารสกัดจากหัวแห้วหมู


สกัดด้วยเอธานอล 70% มากำจัด spider mite พบว่า สารสกัดที่ได้
สามารถลดจำนวนครัง้ การวางไข่ spidermite ได้อย่างมีนัยสำคัญ

Dadang และคณะ (1996) ได้ศึกษานำสารสกัดจากหัวแห้วหมู


ด้วยวิธีการสกัดซอกซ์เลต (Soxhlet) พบว่า สารสกัดหัวแห้วหมู ความ
เข้มข้น 5.3 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เซนติเมตร ทำให้ตัวอ่อนของ
diamondback moth ตายได้ 60 % มีค่า LD50 และ LD95 ที่ 1, 3, 8
และ 24 ชั่วโมง ที่ 0.30 และ 1.20, 0.11 และ 0.73, 0.11 และ 0.47,
0.09 และ 0.27 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร ตามลำดับ และพบ
คุณสมบัติของสาร Alpha-cyperone (4,11- selinadiene-3-one) มีผล
ยับยัง้ การสร้างไคติน ทำให้แมลงไม่สามารถสร้างผนังลำตัวให้แข็งได้ จน
ตายในที่สุด

ภาพประกอบ

รูปที่ 1 Cyperus rotundus L. (แห้วหมู) แสดงทัง้ ต้น


รูปที่ 2 Cyperus rotundus L. (แห้วหมู) แสดงส่วนใบ

รูปที่ 3 Cyperus rotundus L. (แห้วหมู) แสดงส่วนดอก

รูปที่ 4 Cyperus rotundus L. (แห้วหมู) แสดงส่วนหัว

เอกสารอ้างอิง
Medthai. (2560). แห้วหมู สรรพคุณและประโยชน์ของกระเม็ง 60 ข้อ.
สืบค้น 19 กรกฎาคม 2563. จาก
https://medthai.com/%E0%B9%81%E0%B8%AB
%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%AB
%E0%B8%A1%E0%B8%B9/

ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลับอุบลราชธานี. ดองดึง.


สืบค้น 19 กรกฎาคม 2563, จาก
http://www.thaicrudedrug.com/main.php?
action=viewpage&pid=201

Disthai. แห้วหมูประโยชน์ดีๆ สรรพคุณเด่นๆและข้อมูลงานวิจัย. สืบค้น


4 สิงหาคม 2563

http://www.thaiherbalexpert.com/detail_herb.php?h_id=62

https://puechkaset.com/%E0%B8%AB%E0%B8%8D
%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%AB
%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%AB
%E0%B8%A1%E0%B8%B9/

You might also like